1)
หนอนกอลาย หนอนจะเข้าทำลายในระยะหน่อ
ทำให้อ้อยเกิดอาการยอดแห้งตาย
เมื่ออ้อยอยู่ในระยะย่างปล้องหนอนจะเจาะลำต้น และยอดอ้อย
หนอนกอสีชมพู หนอนเข้าทำลายในระยะหน่อ
ทำให้ยอดอ้อยแห้งตายเหมือนหนอนกอลาย
แต่ในระยะอ้อยย่างปล้องหนอนเจาะเข้าทำลาย ลำต้นอ้อยน้อยกว่าหนอนกอลาย
หนอนกอสีขาว
ทำลายใบยอดที่กำลังเจริญเติบโต
มีผลทำให้ใบยอดมีรูพรุน ยอดสั้นและแห้งตาย
ในระยะอ้อยย่างปล้องหนอนจะเข้าทำลายส่วนเจริญเติบโต
ทำให้ลำอ้อยแตกหน่อข้าง เรียกว่า ยอดพุ่ม
|
อ้อยเขตอาศัยน้ำฝน หรืออ้อยข้ามแล้ง
เมื่ออ้อยอายุ 1 เดือน
และพบอาการยอดเหี่ยวมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ไซเพอร์เมทริน 15 % อีซี.
อัตรา 15 ซีซี. ผสมน้ำ 20 ลิตร พ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 14
วันต่อครั้ง
อ้อยเขตที่ให้น้ำได้
ใช้คาร์โบฟูราน 3 % จี อัตรา 10
กิโลกรัมต่อไร่ โรยบนท่อนพันธุ์อ้อยขณะปลูก หรือตอนแต่งตอ
สำหรับอ้อยตอโดยโรยข้างกออ้อยทั้งสองด้าน
และใส่ซ้ำในอัตราเดิมหรือหลังปลูกหรือสับตอแล้ว 45 วัน
สำหรับการแก้ปัญหาระยะยาว
ใช้แตนเบียนไข่ Trichogramma
confusum อัตรา 20,000 ตัวต่อไร่ต่อครั้ง
ทำการปล่อยเมื่ออ้อยมีอายุ 2 เดือนขึ้นไป ปล่อยทุก ๆ 15 วัน จำนวน 7
ครั้ง สามารถลดการทำลายของหนอนกออ้อยลงได้ 70
% |