http://www.sugarzone.in.th


ข่าวเศรษฐกิจเกี่ยวกับอ้อยและน้ำตาล (เดือนกุมภาพันธ์ 2565]

โรงงานน้ำตาล คาดปิดหีบอ้อยฤดูการผลิตปีนี้ไม่เกินกลางเดือนมีนาคม

โรงงานน้ำตาล คาดปิดหีบอ้อยฤดูการผลิตปีนี้ไม่เกินกลางเดือนมีนาคม หลังเปิดรับผลผลิตแล้ว 79 วัน มีอ้อยเข้าหีบ 69.72 ล้านตัน ผลิตน้ำตาลได้ 75.05 ล้านกระสอบ

นายสิริวุทธิ์  เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการ บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด หรือ TSMC เปิดเผยว่า ภาพรวมฤดูการหีบอ้อยประจำปี 2564/65 หลังจากที่โรงงานทั้ง 57 โรงได้เริ่มทยอยเปิดรับผลผลิตอ้อยเข้าหีบตั้งแต่ช่วงวันที่ 7 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันรวม 79 วัน พบว่า มีปริมาณอ้อยเข้าหีบแล้ว 69.72 ล้านตันอ้อย สูงขึ้นกว่าช่วงเดียวกันของฤดูหีบปีก่อนที่มีผลผลิต 61.36 ล้านตันอ้อย

โดยมีปัจจัยความสำเร็จมาจากการประกันการรับซื้อราคาอ้อยที่ตันละ 1,000 บาท ช่วยสร้างแรงจูงใจให้แก่เกษตรกรหันมาเพาะปลูกอ้อยและร่วมกันดูแลผลผลิตอ้อยให้มีคุณภาพและจัดส่งให้แก่โรงงาน

ทำให้คาดว่าปริมาณผลผลิตอ้อยเข้าหีบในปีนี้มากกว่าปีที่แล้วอยู่ที่ประมาณ 87 ล้านตัน ต่ำกว่าเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ที่ 90 ล้านตัน

ขณะที่สัดส่วนปริมาณอ้อยสดก็ปรับตัวดีขึ้น โดยมีปริมาณ 53.17 ล้านตันอ้อย คิดเป็น 76.27% และปริมาณอ้อยไฟไหม้ลดลงเหลือ 16.54 ล้านตันอ้อย หรือคิดเป็น 23.73%

ซึ่งมาจากความร่วมมือของทุกฝ่าย ตั้งแต่หน่วยงานภาครัฐ ชาวไร่อ้อยและโรงงาน ช่วยกันสร้างความเข้มแข็งแก่อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ที่ต้องการแก้ไขปัญหาการเผาอ้อยที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

โดยมีมาตรการสร้างแรงจูงใจเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวไร่ด้วยการรับซื้อใบอ้อย พร้อมสนับสนุนรถตัดอ้อยและการเพิ่มประสิทธิภาพการหีบสกัดของโรงงาน  ส่งผลดีต่อผลผลิตน้ำตาลทรายต่อตันอ้อยเฉลี่ย (ยิลด์) อยู่ที่ 107.64 กิโลกรัมต่อตันอ้อย

คิดเป็นผลผลิตน้ำตาลรวม 75.05 ล้านกระสอบ แม้ว่าการจัดเก็บผลผลิตในช่วงนี้จะได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศแปรปรวนมีฝนตกในหลายพื้นที่ ทำให้เป็นอุปสรรคในการจัดเก็บผลผลิต

ทั้งนี้ โรงงงานน้ำตาล ประเมินว่าภายในกลางเดือนมีนาคมนี้ จะสามารถประกาศปิดหีบอ้อยประจำฤดูการผลิตนี้ได้ โดยในระหว่างนี้จะเร่งสำรวจอ้อยค้างไร่เพื่อป้องกันอ้อยที่ยังหลงเหลือ

พร้อมให้คำแนะนำและเตรียมพร้อมแหล่งน้ำเพื่อใช้ในการเพาะปลูกอ้อยในฤดูการผลิตใหม่เพื่อเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกและปริมาณผลผลิตอ้อยให้มากขึ้น

หลังจากได้ประกาศระบบประกันราคาอ้อย ในรอบการเพาะปลูกใน 3 ปีข้างหน้า (ปี 2565/66 - 2567/68)

โดยรับซื้ออ้อยสดที่มีคุณภาพ ในราคา 1,200 บาทต่อตันอ้อย ณ ค่าความหวานเฉลี่ยย้อนหลัง 3 ปี ที่ 12.61 ซี.ซี.เอส. ซึ่งจะเริ่มในฤดูการเพาะปลูกปีนี้เป็นปีแรก

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565

อุ้มเบนซินกระทบเกษตรกร ผู้ผลิตเอทานอลค้านปรับสูตรแก๊สโซฮอล์

ผู้ผลิตเอทานอลเกาะติดนโยบายพลังงานหลังมีกระแสอาจลดการผสมเอทานอลในน้ำมันเบนซินจากแก๊สโซฮอล์อี 85 -อี 20 -อี 10 เหลือแค่อี 10 เป็นการชั่วคราวเพื่อลดผลกระทบกลุ่มผู้ใช้เบนซิน จับตา “กบง.” ถกอีกครั้งสัปดาห์หน้าหลังที่ผ่านมายังเคาะมาตรการไม่ได้ ด้านสนค.ห่วงวิกฤติรัสเซีย-ยูเครน ซ้ำเติมค่าครองชีพคนไทย

นายพิพัฒน์ สุทธิวิเศษศักดิ์ นายกสมาคมการค้าผู้ผลิตเอทานอลไทย เปิดเผยว่า สมาคมจะทำหนังสือคัดค้าน หากกระทรวงพลังงานดำเนินมาตรการบรรเทาผลกระทบของกลุ่มผู้ใช้น้ำมันเบนซิน ด้วยการปรับลดการผสมเอทานอลในเบนซินเพื่อจำหน่ายแก๊สโซฮอล์จากปัจจุบันที่กำหนดไว้คือแก๊สโซฮอล์อี 85 แก๊สโซฮอล์อี 20 และแก๊สโซฮอล์อี 10 เหลือเกรดเดียวเป็นอี 10 เป็นการชั่วคราว เนื่องจากยังมองไม่เห็นประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับจากการปรับลดราคาขายปลีกอย่างมีนัยสำคัญ ขณะเดียวกันอุตสาหกรรมเอทานอล ทั้งระบบจะประสบความลำบาก ทั้งเกษตรกรไปจนโรงงานเอทานอลทั้ง 27 แห่ง

“กระทรวงพลังงานได้โทร.มาสอบถามผลกระทบ หากลดส่วนผสมกลุ่มเบนซินเหลืออี 10 เพียงเกรดเดียว และอ้างว่าราคาเอทานอลที่สหรัฐฯและบราซิลต่ำกว่าประเทศไทย จึงอยากจะถามกลับไปว่า 2 ประเทศนี้ซื้อสินค้าเกษตรราคาสูงเหมือนประเทศไทยหรือไม่ โดยสหรัฐฯใช้ข้าวโพดดัดแปลงพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอ บราซิลใช้น้ำอ้อย แต่ของไทยห้ามใช้น้ำอ้อย ให้ใช้กากน้ำตาล และที่ผ่านมาการส่งเสริมเอทานอล รัฐบาลก็อ้างถึงรายได้ให้กับเกษตรกร จึงขอให้มองถึงนโยบายรวมๆ ไม่ใช่เปลี่ยนไปเปลี่ยนมา”

ทั้งนี้ ในปัจจุบันความต้องการใช้เอทานอลอยู่ที่ 4 ล้านลิตรต่อวัน หากเหลือเพียงแก๊สโซฮอล์อี 10 ก็จะทำให้ความต้องการใช้ลดลงถึง 30% ในส่วนนี้จะดำเนินการอย่างไร เพราะมีสต๊อกล่วงหน้าเตรียมค้าขายไว้แล้ว หากรัฐบาลระบุว่าสามารถส่งออกแทนได้ ต้องบอกก่อนว่าไม่ได้ง่ายอย่างที่คาดการณ์ นอกจากนี้ปริมาณการใช้ลดลง ก็จะกระทบต่อเกษตรกรไปด้วย โดยราคาเอทานอลของไทยที่อยู่ที่ 25.60 บาทต่อลิตร ในขณะนี้ ก็เป็นผลพวงจากสินค้าเกษตรที่มีราคาสูง โดย มันเส้น อยู่ที่ 7.50-7.70 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) กากน้ำตาลอยู่ที่ 5.50 บาท ต่อ กก.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ที่มีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รมว.พลังงานเป็นประธานเมื่อวันที่ 22 ก.พ.ที่ผ่านมา ได้มีการหารือถึงมาตรการช่วยเหลือกลุ่มผู้ใช้น้ำมันเบนซิน โดยมีแนวทางทั้งการลดอัตราการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันของกลุ่มเบนซินลง และการลดผสมเอทานอลในกลุ่มเบนซินลงเป็นการชั่วคราวเช่น 3 เดือนแต่ยังไม่ได้ข้อสรุป

ด้านนายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กล่าวว่า หลังจากรัฐบาลได้ปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลง 3 บาท เป็นระยะเวลา 3 เดือน คาดว่าจะทำให้อัตราเงินเฟ้อของไทยในช่วงเดือน ก.พ.-พ.ค.65 ลดลงได้ 0.22% ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและภาคธุรกิจ รวมทั้งจะช่วยชะลอการปรับขึ้นของราคาสินค้าได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่ห่วงกังวลวิกฤติยูเครนที่ทวีความรุนแรงขึ้นจะทำให้ราคาพลังงานพุ่งขึ้น และส่งผลต่อเงินเฟ้อทั่วโลก รวมทั้งไทยได้ เพราะราคาพลังงานที่สูงขึ้นมีผลทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้น ทั้งทางตรง และทางอ้อม เพราะในสินค้าและบริการ ที่ สนค.นำมาคำนวณเงินเฟ้อนั้น ราคาพลังงานมีสัดส่วนน้ำหนักมาก.

จาก https://www.thairath.co.th  วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2565

ธนาคารโลกจี้ไทยปฏิรูปเศรษฐกิจ รื้อเกณฑ์ล้าหลังดึงเงินต่างชาติ

นางเบอร์กิท ฮานสล์ ผู้จัดการธนาคารโลกประจำประเทศไทย กล่าวในงานเปิดตัว “รายงานการวิเคราะห์ภาคเอกชนของประเทศไทย : พลิกฟื้นผลิตภาพด้วยเครื่องยนต์ใหม่ให้เศรษฐกิจเติบโตอย่างยืดหยุ่นและมั่นคง” ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างธนาคารโลกและบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (IFC) โดยระบุว่า ช่วงที่ผ่านมาเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากวิกฤติโควิด-19 สูงมาก แม้ว่าตัวเลขล่าสุดเศรษฐกิจไทยจะอยู่ในช่วงฟื้นตัว แต่เศรษฐกิจโลกกลับมีลดประมาณการการขยายตัวปีนี้ลงจาก 5.5% เหลือ 4% และจะส่งผลกระทบต่อของไทย

ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยมีพื้นฐานที่ดีจากภาคการผลิต และการส่งออก แต่หลายปีที่ผ่านมาพบว่า การลงทุนใหม่ๆที่จะสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับประเทศลดลงมาก เช่นเดียวกับการลงทุนจากต่างประเทศที่ชะลอลง เนื่องจากประเทศเพื่อนบ้านปรับเปลี่ยนเกณฑ์การส่งเสริมการลงทุนได้ดีขึ้น จึงถึงเวลาที่ต้องปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อหาเครื่องยนต์ใหม่ๆ กระตุ้นให้เศรษฐกิจกลับมาขยายตัว ซึ่งพบว่าหากไทยปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์เพื่อสร้างโมเดลใหม่ในด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัล การใช้เทคโนโลยีที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในฐานการผลิต รวมทั้งการส่งเสริมแนว ทางเศรษฐกิจหมุนเวียนจะช่วยสร้างเม็ดเงินการลงทุน ประหยัดค่าใช้จ่าย และสร้างรายได้ให้ประเทศสูงถึง 3,400 ล้านเหรียญสหรัฐฯต่อปี หรือประมาณ 108,800 ล้านบาท (32 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ)

นางรุจิรา คูมาร์ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส IFC กล่าวว่า ประเทศไทยมีข้อจำกัด ความเหลื่อมล้ำในการแข่งขันทางการค้า และมีการผูกขาดตลาดสูง ขณะที่การปรับเปลี่ยนกฎเกณฑ์เพื่อดึงดูดเม็ดเงินลงทุนโดยตรง (FDI) จากต่างประเทศไม่เปลี่ยนแปลงมายาวนาน ทำให้ประเทศที่มีการปรับเปลี่ยนเกณฑ์ได้ดี เช่น เวียดนาม และอินโดนีเซีย ดึงดูดเม็ดเงินลงทุนได้ดีกว่า เงินทุนจากต่างประเทศจึงอยู่ในระดับต่ำกว่าที่ควร เงินจากร่วมลงทุน หรือ Venture Capital ต่ำมากอยู่ที่ 0.03% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ระบบการปล่อยสินเชื่อไม่เอื้อให้ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เข้าถึงแหล่งทุนในการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอย่างเพียงพอ และยังมีความลักลั่นของทักษะแรงงาน โดยแรงงานไทยส่วนใหญ่เป็นแรงงานที่ไร้ทักษะถึงทักษะระดับกลาง ขณะที่เอกชนต้องการแรงงานทักษะสูงเพิ่มขึ้น ดังนั้น หากประเทศไทยจะเข้าถึงโอกาสการเติบโตจะต้องแก้ไขข้อจำกัดสำคัญเหล่านี้อย่างเร่งด่วน.

จาก https://www.thairath.co.th วันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565

เตือนชาวไร่อ้อยระยะแตกกอ ต้องเฝ้าระวัง 3 หนอนกออ้อย

     จากสภาพอากาศในช่วงนี้อากาศเย็นและมีหมอกในตอนเช้า แดดจัดในตอนกลางวัน ท้องฟ้ามีเมฆบางส่วน และมีฝนตกบางพื้นที่กรมวิชาการเกษตรขอแจ้งเตือนเกษตรกรชาวไร่อ้อยขอให้หมั่นสำรวจไร่อ้อยซึ่งอยู่ในระยะแตกกอเพื่อเฝ้าระวัง หนอนกออ้อย ซึ่งเป็นศัตรูพืชสำคัญที่พบเข้าทำลายอ้อย มี 3 ชนิด คือ หนอนกอลายจุดเล็ก  หนอนกอสีขาว  และหนอนกอสีชมพู  โดยให้สังเกตลักษณะการทำลายของหนอนแต่ละประเภท ดังนี้

     หนอนกอลายจุดเล็ก หนอนเจาะเข้าไปตรงส่วนโคนระดับผิวดิน เข้าไปกัดกินส่วนที่กำลังเจริญเติบโตภายในหน่ออ้อย ทำให้ยอดแห้งตาย การเข้าทำลายของหนอนกอลายจุดเล็กจะทำให้ผลผลิตอ้อยลดลง 5 - 40 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้หนอนยังเข้าทำลายอ้อยในระยะอ้อยย่างปล้อง โดยหนอนเจาะเข้าไปกัดกินอยู่ภายในลำต้นอ้อย ซึ่งทำให้อ้อยแตกแขนงใหม่ และแตกยอดพุ่ม

     หนอนกอสีขาว หนอนเจาะไชจากส่วนยอดเข้าไป กัดกินยอดที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้ยอดแห้งตายโดยเฉพาะใบที่ยังม้วนอยู่ ส่วนใบยอดอื่นๆ ที่หนอนเข้าทำลายจะมีลักษณะหงิกงอ และมีรูพรุน เมื่ออ้อยมีลำแล้วหนอนจะเข้าทำลายส่วนที่กำลังเจริญเติบโต ทำให้ไม่สามารถสร้างปล้องให้สูงขึ้นไปได้อีก ตาอ้อยที่อยู่ต่ำกว่าส่วนที่ถูกทำลายจะแตกหน่อขึ้นมาทางด้านข้าง เกิดอาการแตกยอดพุ่ม

     หนอนกอสีชมพู  หนอนเจาะเข้าไปกัดกินตรงส่วนโคนของหน่ออ้อยระดับผิวดิน เข้าไปกัดกินส่วนที่กำลังเจริญเติบโตภายในหน่ออ้อย ทำให้ยอดแห้งตาย ถึงแม้ว่าหน่ออ้อยที่ถูกทำลายจะสามารถแตกหน่อใหม่เพื่อชดเชยหน่ออ้อยที่เสียไป แต่หน่ออ้อยที่แตกใหม่จะมีอายุสั้นลง ทำให้ผลผลิตและคุณภาพของอ้อยลดลง

     แนวทางในการป้องกันและกำจัด ในแหล่งชลประทานควรให้น้ำเพื่อให้อ้อยแตกหน่อชดเชย  ปล่อยแตนเบียนไข่ไตรโครแกรมมา อัตรา 30,000 ตัว/ไร่/ครั้ง โดยปล่อยติดต่อกัน 2 - 3 ครั้ง ช่วงที่พบกลุ่มไข่ของหนอนกออ้อย  ปล่อยแมลงหางหนีบอัตรา 500 ตัว/ไร่ โดยปล่อยให้กระจายทั่วแปลง และควรปล่อยให้ชิดกออ้อย และใช้ใบอ้อยหรือฟางที่เปียกชื้นคลุมจะช่วยให้โอกาสรอดสูงขึ้น   และทำการปล่อยซ้ำถ้าการระบาดยังไม่ลดลงช่วงที่พบหนอนกออ้อยและกลุ่มไข่ของหนอนกออ้อย   หากปล่อยแตนเบียนไข่ไตรโครแกรมมาไม่ต้องปล่อยแมลงหางหนีบ  เพราะแมลงหางหนีบจะกินแตนเบียนไข่ไตรโครแกรมมาด้วย

     ในระยะอ้อยแตกกอหรือเมื่ออ้อยแสดงอาการยอดเหี่ยวมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ให้พ่นสารฆ่าแมลงเดลทาเมทริน 3% EC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อินดอกซาคาร์บ 15% EC อัตรา 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอแรนทรานิลิโพรล 5.17% SC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ลูเฟนนูรอน 5% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นโดยใช้น้ำ 50 ลิตรต่อไร่พ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 14 วัน  ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีในแปลงที่ปล่อยแตนเบียนไข่ไตรโครแกรมมา และแมลงหางหนีบ

จาก https://www.naewna.com  วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

“ประวิตร” ลั่นไม่มีนโยบายเก็บค่าน้ำเกษตรกร

รองนายกฯ โชว์ผลงานพัฒนาและบริหารจัดการน้ำ ย้ำใช้งบอย่างคุ้มค่า พร้อมเร่งสร้างความมั่นคงด้านน้ำ เพิ่มพื้นที่ชลประทานอีก 18 ล้านไร่ ยืนยันไม่เก็บค่าน้ำเกษตรกร

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2565 สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ชี้แจงกรณีการเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อซักถามข้อเท็จจริงหรือเสนอแนะปัญหาต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามที่พรรคฝ่ายค้านได้ซักถามเกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งน้ำของรัฐบาลว่า

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) และผู้อำนวยการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ได้เน้นย้ำว่ารัฐบาลให้ความสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างด้านน้ำอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทรัพยากรน้ำของประเทศเกิดความมั่นคงสูงสุดและประชาชนได้รับประโยชน์ โดยเพิ่มพื้นที่ชลประทานอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งในปัจจุบันมีพื้นที่ที่พัฒนาเป็นพื้นที่ชลประทานแล้ว 33.92 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 22.7 ของพื้นที่เกษตรทั้งหมด และมีเป้าหมายที่จะพัฒนาพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้นอีก 18 ล้านไร่ ภายในปี 2580 ตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี โดยตั้งแต่ปี 2561-2564 เพิ่มพื้นที่ชลประทานได้แล้ว 1.17 ล้านไร่ สำหรับการพัฒนาพื้นที่เกษตรน้ำฝนรัฐบาลได้มุ่งเน้นการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก ฟื้นฟูแหล่งน้ำธรรมชาติ พัฒนาน้ำบาดาล สระน้ำในไร่นา โคกหนองนาโมเดล เพื่อสนับสนุนการอุปโภค-บริโภค และการเกษตรอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยยึดหลักให้เป็นไปตามความต้องการและการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่

ขณะเดียวกัน รัฐบาลยังใช้กลไกการบูรณาการหน่วยงานภายใต้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) เพื่อขับเคลื่อนมาตรการในเชิงป้องกันและลดผลกระทบเมื่อเกิดสถานการณ์วิกฤติด้านน้ำ ทั้งภัยน้ำท่วมหรือภัยแล้ง เช่น การประเมินพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม การเตรียมความพร้อมรับมือน้ำท่วม-ภัยแล้ง อาทิ

10 มาตรการฤดูฝน ปี2564 และ 9 มาตรการรองรับสถานการณ์ขาดแคลนน้ำฤดูแล้ง ปี 2564/2565 ที่สำคัญรัฐบาลได้จัดสรรงบกลางในด้านน้ำเพื่อใช้ในภาวะฉุกเฉินหรือจำเป็นเท่านั้น เช่น ในปี 2563 ได้นำมาใช้แก้ไขปัญหาภัยแล้งและการป้องกันน้ำท่วม สามารถดำเนินได้ถึง 20,824 โครงการ ครอบคลุมพื้นที่ 76 จังหวัด เพิ่มปริมาณน้ำได้ 1,057 ล้าน ลบ.ม. มีพื้นที่รับประโยชน์กว่า 7.58 ล้านไร่

เช่นเดียวกับปี 2564 ที่ผ่านมามีทั้งสิ้น 6,206 โครงการ สามารถน้ำเก็บกักเพิ่มขึ้น 49.95 ล้าน ลบ.ม. ได้ปริมาณน้ำบาดาล 44 ล้าน ลบ.ม. มีครัวเรือนรับประโยชน์ 364,167 ครัวเรือน พื้นที่รับประโยชน์ 507,849 ไร่ ถือเป็นการใช้งบกลางอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนและประเทศชาติ

ซึ่งในปี 2565 อยู่ระหว่างการขอรับการสนับสนุนงบกลางจาก ครม. เพื่อเตรียมการรับมือสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง ให้การแก้ปัญหาด้านน้ำของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความครอบคลุมทั่วประเทศ

นอกจากนี้ เลขาธิการ สทนช. ยังกล่าวเพิ่มเติมถึงประเด็นข้อห่วงใยที่หลายฝ่ายมีข้อกังวลในเรื่องการจัดเก็บค่าน้ำที่จะกระทบถึงประชาชนและเกษตรกรรายย่อยนั้น สทนช.ขอชี้แจงว่า พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า ผู้ใช้น้ำประเภทที่ 1 ได้แก่ การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการดำรงชีพ อุปโภคบริโภคในครัวเรือน ทำเกษตรหรือเลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพ รวมถึงอุตสาหกรรมในครัวเรือน รักษาระบบนิเวศ จารีตประเพณี บรรเทาสาธารณภัย คมนาคม และการใช้น้ำในปริมาณเล็กน้อย ไม่ต้องขอรับใบอนุญาตการใช้น้ำและไม่ต้องชำระค่าใช้น้ำแต่อย่างใด

ดังนั้น จึงไม่มีการเก็บค่าน้ำจากเกษตรกรอย่างแน่นอน แต่จะเก็บเฉพาะประเภทที่ 2 คือ การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการอุตสาหกรรม และประเภทที่ 3 การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อกิจการขนาดใหญ่ที่ใช้น้ำปริมาณมาก โดยกำหนดอัตราค่าใช้น้ำจะมีความเป็นธรรม ไม่แสวงหากำไร เป็นการดำเนินการเพื่อให้ผู้ใช้น้ำได้มีจิตสำนึกในการใช้น้ำร่วมกันอย่างประหยัดเท่านั้น

โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการจัดทำร่างกฎหมายลำดับรองในการกำหนดหลักเกณฑ์การจัดเก็บค่าน้ำประเภทที่ 2 และประเภทที่ 3 ที่อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำฯ ซึ่งต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องก่อนที่จะมีผลบังคับใช้ตามกฏหมายต่อไป.

จาก https://www.prachachat.net  วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ “อ่อนค่า” ที่ระดับ  32.27 บาท/ดอลลาร์

เงินบาทอาจ “อ่อนค่า”ลงได้จากความกังวลสถานการณ์การระบาดของโอมิครอนในประเทศ หลังยอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง จนอาจทำให้รัฐบาลกลับไปใช้มาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดอีก

ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  32.27 บาทต่อดอลลาร์ “อ่อนค่า”ลงากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  32.16 บาทต่อดอลลาร์

นายพูน  พานิชพิบูลย์  นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน  ธนาคารกรุงไทย ระบุ  เรามองว่า เงินบาทมีแนวโน้มผันผวนและอาจอ่อนค่าลงได้จากความกังวลสถานการณ์การระบาดของโอมิครอนในประเทศ หลังยอดผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง จนอาจทำให้รัฐบาลกลับไปใช้มาตรการควบคุมการระบาดที่เข้มงวดอีกครั้งได้

อย่างไรก็ดี เงินบาทจะไม่อ่อนค่าไปมาก เพราะถึงแม้ตลาดการเงินจะปิดรับความเสี่ยงจากปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน แต่ทว่า เงินบาทยังคงได้รับแรงหนุนจากโฟลว์ขายทำกำไรทองคำ

อย่างไรก็ดี เรามองว่า ควรเริ่มจับตาทิศทางฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติที่อาจทยอยขายทำกำไรหุ้นไทยได้บ้าง หลังจากความเสี่ยงสงครามรัสเซีย-ยูเครนกลับมาสูงขึ้นอีกครั้ง จนอาจทำให้ผู้เล่นบางส่วนเลือกที่จะลดการถือครองสินทรัพย์เสี่ยงลงได้ ซึ่งหากนักลงทุนต่างชาติพลิกกลับมาขายทำกำไรหุ้นไทย ก็อาจเป็นแรงกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงได้ แต่มองว่า การอ่อนค่าจะถูกจำกัดไว้ในโซน 32.40-32.50 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับที่ฝั่งผู้ส่งออกต่างรอทยอยขายเงินดอลลาร์อยู่

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 32.20-32.35 บาท/ดอลลาร์

แม้ว่าคืนก่อนหน้าตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะปิดทำการเนื่องจากเป็นวันหยุด Presidential Day ทว่า ตลาดการเงินโดยรวมยังคงอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยงจากปัญหาความตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่อาจบานปลายสู่สงครามได้ หลังจากที่ล่าสุด ประธานาธิบดีวลาดิเมียร์ ปูตินของรัสเซียได้ประกาศรับรองเอกราชของสาธารณรัฐประชาชนโดเนตสก์และสาธารณรัฐประชาชนลูฮันสก์ ซึ่งเป็นพื้นที่ยึดครองของกลุ่มแบ่งแยกดินแดนนับตั้งแต่วิกฤติความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนในปี 2014

นอกจากนี้ การประกาศรับรองเอกราชดังกล่าว ทำให้ผู้เล่นในตลาดกังวลว่า รัฐบาลรัสเซียอาจใช้เป็นข้ออ้างในการส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าสู่พื้นที่ข้อพิพาท ซึ่งอาจปูทางไปสู่การบุกโจมตียูเครนในอนาคตได้

ความตึงเครียดของปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่พุ่งสูงขึ้น ส่งผลให้ สัญญาฟิวเจอร์ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ล้วนปรับตัวลดลง ส่วนในฝั่งยุโรป ดัชนี STOXX50 ของยุโรป ก็ปรับตัวลดลงราว -2.17% จากความกังวลปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่อาจนำไปสู่สงครามได้ทุกเมื่อ โดยแรงเทขายหนักกระจุกตัวในทั้งหุ้นกลุ่มเทคฯ และ หุ้นกลุ่ม Cyclical อย่าง กลุ่มยานยนต์ซึ่งอาจได้รับผลกระทบหนัก หากทางฝั่งยุโรปมีการประกาศมาตรการคว่ำบาตรรัสเซีย

เนื่องจากรัสเซียเป็นผู้ส่งออกแร่ธาตุสำคัญ อาทิ แพลเลเดียม แพลตทินัม ที่ใช้ในท่อกรองไอเสีย (Catalytic Converer) ในรถยนต์ ทั้งนี้ เรามองว่า ยังคงต้องติดตามการเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน/นาโต้ โดยมองว่า ทางการรัสเซียอาจตรึงกำลังทหารประชิดชายแดนยูเครนต่อไป จนกว่าที่ฝั่งตะวันตกจะยอมรับการประกาศเอกราชของ 2 ประเทศใหม่เช่นกัน ทำให้ประเด็นความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน/นาโต้จะยังคงกดดันบรรยากาศการลงทุนต่อไปในระยะสั้น

ส่วนทางด้านฝั่งตลาดบอนด์ก็เผชิญความผันผวนเช่นกัน โดยบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย โดยล่าสุด บอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 1.86% และมีโอกาสปรับตัวลดลงต่อได้จากความกังวลของผู้เล่นในตลาดต่อสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับยูเครน ทั้งนี้ บอนด์ยีลด์มีโอกาสกลับมาปรับตัวสูงขึ้นได้ต่อ จากแนวโน้มการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของเฟด

ในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์แม้จะอ่อนค่าลงในช่วงแรก หลังจากที่เงินปอนด์อังกฤษ (GBP) และเงินยูโร (EUR) ปรับตัวแข็งค่าขึ้นจากรายงานข้อมูลดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและการบริการ (Manufacturing & Services PMIs) ของยุโรปและอังกฤษที่ออกมาดีกว่าคาด ทว่า ปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ก็ได้หนุนให้โดยรวมเงินดอลลาร์ปรับตัวแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก

โดยล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 96.14 จุด นอกเหนือจากเงินดอลลาร์แล้ว ผู้เล่นในตลาดยังเลือกเข้ามาถือเงินเยน (JPY) ด้วยเช่นกัน ส่งผลให้ เงินเยนแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 114.6 เยนต่อดอลลาร์ ทั้งนี้ ความเสี่ยงปัญหาความขัดแย้งรัสเซียกับยูเครนที่ยังร้อนแรงอยู่ยังได้หนุนให้ราคาทองคำพุ่งขึ้นแตะระดับ 1,911 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเราคาดว่าการปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาทองคำจะส่งผลให้ ผู้เล่นในตลาดทยอยเข้ามาขายทำกำไรทองคำมากขึ้น ซึ่งโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวมีส่วนที่จะช่วยให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องได้ แม้ตลาดโดยรวมจะยังปิดรับความเสี่ยงก็ตาม

สำหรับวันนี้ ตลาดจะเฝ้าระวังและติดตามปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนและชาติพันธมิตร NATO อย่างใกล้ชิด เนื่องจากยังมีความเสี่ยงที่ความขัดแย้งอาจบานปลายสู่สงครามและกดดันให้ตลาดการเงินปิดรับความเสี่ยงอย่างหนักในระยะสั้นได้

ส่วนในด้านข้อมูลเศรษฐกิจ ตลาดประเมินว่า ภาพรวมเศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง สะท้อนผ่านดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตและการบริการ (Markit Manufacturing & Services PMIs) เดือนกุมภาพันธ์ ที่จะปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 56 จุด และ 53 จุด (ดัชนีเกินระดับ 50 จุด หมายถึงภาวะขยายตัว)

ส่วนในฝั่งยุโรป ตลาดประเมินว่า ดัชนีความเชื่อมั่นภาคธุรกิจเยอรมนี (Ifo Business Climate) เดือนกุมภาพันธ์ยังมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นแตะระดับ 96.5 จุด สะท้อนมุมมองของภาคธุรกิจต่อทิศทางสภาวะธุรกิจที่เป็นบวกมากขึ้น หลังการระบาดโอมิครอนเริ่มคลี่คลายลง ทว่าปัจจัยเสี่ยงที่ต้องติดตามยังคงเป็นประเด็นความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่อาจบานปลายสู่สงครามได้

จาก https://www.thansettakij.com   วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

KTIS มั่นใจผลการดำเนินงานปีนี้ดีกว่าปีก่อน แจงไตรมาสแรกตัวเลขยังไม่สะท้อนภาพธุรกิจ

นายสมชาย สุวจิตตานนท์ ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือกลุ่ม KTIS กล่าวถึงทิศทางธุรกิจในปี 2565 ว่า ในสายธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย จะได้รับปัจจัยบวกจากราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกที่เคลื่อนไหวในระดับที่สูงกว่าปีก่อน อีกทั้งผลผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายก็มีมากกว่าปีก่อนด้วย จึงมั่นใจว่ารายได้ในสายธุรกิจน้ำตาลจะเติบโตขึ้นอย่างแน่นอน

สำหรับสายธุรกิจชีวภาพ ในปีที่ผ่านมาได้รับผลกระทบจากปริมาณวัตถุดิบที่มีน้อยเนื่องจากปัญหาภัยแล้ง แต่ปีนี้มีผลผลิตอ้อยมากขึ้น ทำให้ได้โมลาสสำหรับผลิตเอทานอลมากขึ้น และได้ชานอ้อยที่ป้อนให้กับโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงชีวมวล และโรงงานผลิตเยื่อกระดาษฟอกขาวจากชานอ้อยมากขึ้น โดยที่ราคาขายไฟฟ้า เอทานอล และเยื่อกระดาษ ก็คาดว่าจะเป็นราคาที่ดีตลอดทั้งปี ดังนั้น ผลการดำเนินงานในสายธุรกิจชีวภาพในปีนี้ก็จะเติบโตขึ้นจากปีก่อนด้วย

“เราไม่ได้กังวลกับงบไตรมาสแรกของปี 2565 (ตุลาคม – ธันวาคม 2564) เพราะทราบดีว่า มีต้นทุนค่าอ้อยที่สูงขึ้น จาก 920 บาทต่อตันอ้อย ที่ค่าความหวาน 10 ซี.ซี.เอส. สูงขึ้นเป็น 1,070 บาทต่อตันอ้อย แต่การเปิดหีบอ้อยเพิ่งเริ่มต้นในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงปลายไตรมาสแล้ว ผลผลิตน้ำตาลยังอยู่ในกระบวนการผลิต อีกทั้งวัตถุดิบที่ป้อนให้กับธุรกิจต่อเนื่องคือโรงไฟฟ้าและโรงผลิตเยื่อกระดาษ ก็ยังไม่เต็มที่ ดังนั้น ตัวเลขของไตรมาสแรกจึงยังไม่ได้สะท้อนภาพรวมธุรกิจทั้งปี แต่สิ่งต่างๆ เหล่านี้จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติของการรับรู้รายได้ที่เพิ่มมากขึ้นพร้อมๆ กับการควบคุมต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นในช่วง 3 ไตรมาสที่เหลือ จึงมั่นใจว่า หลังจากที่ผ่านจุดต่ำสุดของปีนี้ไปแล้วในไตรมาสแรก ผลการดำเนินงานทั้งปี 2565 จะสูงกว่าปี 2564 อย่างแน่นอน” นายสมชายกล่าว

นายสมชายกล่าวอีกว่า โครงการผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจากเยื่อชานอ้อย ซึ่งมีกำลังการผลิตสูงถึง 50 ตันต่อวัน หรือประมาณ 3 ล้านชิ้นต่อวัน โดยมีเครื่องจักร 50 เครื่อง ที่สามารถผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจากเยื่อชานอ้อยออกสู่ตลาดได้หลากหลายรูปแบบ เช่น จาน ชาม กล่อง ถาดหลุม เป็นต้น ก็จะเริ่มสร้างรายได้ในกลางปี 2565 นี้ ซึ่งมั่นใจว่าผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมนี้จะได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี เพราะสอดคล้องกับเทรนด์ของโลก นอกจากนี้ โครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ (NBC) ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท จีจีซี เคทิสไบโออินดัสเทรียล จำกัด หรือ GKBI บริษัทร่วมทุนระหว่างกลุ่ม KTIS และกลุ่ม ปตท. ก็จะทยอยสร้างรายได้ตามส่วนแบ่งของบริษัทฯ เข้ามาอีกด้วย

จาก https://www.matichon.co.th  วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

สภาพัฒน์คาด GDP ปี 65 ขยายตัว 3.5-4.5%

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ เผยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ไตรมาสที่ 4/64 ขยายตัว 1.9% จากที่ลดลง 0.2% ในไตรมาสที่ 3/64 เป็นผลจากความต้องการสินค้าและบริการทั้งในประเทศและต่างประเทศปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับการผ่อนคลายมาตรการเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 รวมทั้งมีการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ และมาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ปรับตัวดีขึ้น ส่งผลให้ GDP ปี 64 โต 1.6% ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิมที่ 1.2%

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒน์ กล่าวว่า ด้านการผลิต ขยายตัวทั้งในภาคเกษตรและภาคนอกเกษตร การผลิตในภาคอุตสาหกรรม และภาคบริการเร่งตัวขึ้นจากไตรมาสที่ 3/64 โดยผลผลิตพืชสำคัญที่ขยายตัว เช่น ยางพารา อ้อยโรงงาน ปาล์มน้ำมัน สับปะรด ขณะที่ผลผลิตปศุสัตว์ลดลงต่อเนื่อง

ด้านการใช้จ่าย การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคขั้นสุดท้ายของเอกชนขยายตัว 0.3% มีปัจจัยสำคัญมาจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เริ่มคลี่คลาย ขณะที่ภาครัฐเริ่มผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ที่ใช้ในการควบคุมโรค รวมทั้งดำเนินมาตรการเพื่อกระตุ้นการใช้จ่าย และสนับสนุนกำลังซื้อของประชาชนอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ด้านการผลิตปรับตัวดีขึ้น ส่งผลกระทบในทางบวกต่อการจ้างงาน รายได้ และกำลังซื้อของครัวเรือน ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคปรับตัวดีขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า อย่างไรก็ตาม ในไตรมาสนี้ มีปัจจัยลบจากอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นจากราคาสินค้าในหมวดพลังงานเป็นสำคัญ

ส่วนการใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคขั้นสุดท้ายของรัฐบาล ขยายตัว 8.1% ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของค่าใช้จ่ายสำหรับกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) ของกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และกองทุนประกันสังคม

การลงทุนรวมลดลง 0.2% โดยการลงทุนภาคเอกชนลดลง 0.9% จากการขยายตัว 2.6% ในไตรมาสที่ 3/64 ขณะที่การลงทุนภาครัฐขยายตัว 1.7% ปรับตัวดีขึ้นจากที่ลดลง 6.2% ในไตรมาส 3/64

ด้านการส่งออก ขยายตัว 17.7% และการนำเข้า 16.6% โดยการส่งออกสินค้ายังขยายตัวต่อเนื่องจากไตรมาส 3/64 เป็นผลจากการขยายตัวของทั้งสินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรม ซึ่งการส่งออกข้าวในไตรมาสนี้ขยายตัวได้ในระดับสูงทั้งในด้านปริมาณและมูลค่า เนื่องจากเงินบาทอ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง ประกอบกับราคาข้าวของไทยลดลง ทำให้สามารถแข่งขันทางด้านราคากับประเทศผู้ส่งออกอื่นๆ ได้มากขึ้น

นายดนุชา กล่าวว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 64 ขยายตัวได้ 1.6% สูงกว่าที่ประมาณการไว้เดิมที่ 1.2% เนื่องจากผลการเติบโตของเศรษฐกิจในไตรมาส 4/64 ที่ขยายตัวได้ 1.9% หลังจากที่ภาครัฐได้เริ่มผ่อนคลายมาตรการด้านสาธารณสุข ส่งผลให้มีการทำกิจกรรมทางเศรษฐกิจได้มากขึ้น ตลอดจนการเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในต้นเดือน พ.ย.64 ทำให้ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัวได้ดีขึ้น

โดยในปี 64 มูลค่าการส่งออกขยายตัว 18.8% อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้น 1.2% ขาดดุลบัญชีเดินสะพัดคิดเป็น 2.2% ของ GDP การบริโภคภาคเอกชนขยายตัว 0.3% การอุปโภคภาครัฐขยายตัว 3.2% การลงทุนภาคเอกชนขยายตัว 3.2% และการลงทุนภาครัฐขยายตัว 3.8%

เลขาธิการสภาพัฒน์ ยังกล่าวถึงการใช้เงินสำหรับเป็นค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิดในปี 63-64 ว่า การเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาลจากโควิด-19 ในภาพรวม ในปี 63 เบิกจ่าย 1.9 แสนล้านบาท ในปี 64 เบิกจ่าย 2.7 แสนล้านบาท รวมกันประมาณ 4.6 แสนล้านบาท ซึ่งการรักษาดังกล่าวมีทั้งจากการใช้เงินกู้จาก พ.ร.ก.1 ล้านล้านบาท พ.ร.ก.เงินกู้ 5 แสนล้านบาท งบกลาง และงบประมาณของหน่วยส่วนอื่นๆ เช่น สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ไม่ได้มาจากเงินกู้ตาม พ.ร.ก.ทั้งหมด

ทั้งนี้ รัฐบาลมีนโยบายชัดเจนว่าไม่มีการยกเลิกโรคโควิด-19 ออกจากการรักษาฉุกเฉิน ดังนั้นการที่โรงพยาบาลเอกชนไปเรียกเก็บเงินจากผู้ป่วยก่อนที่มีการรักษาเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ และเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

นายดนุชา กล่าวด้วยว่า กระทรวงสาธารณสุขได้ทำเรื่องขอใช้เงินกู้จาก พ.ร.ก.กู้เงิน 5 แสนล้านบาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายการรักษาพยาบาลโควิด-19 ให้ประชาชน อีกจำนวน 5 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ เป็นค่ารักษาที่จ่ายไปแล้วในช่วง พ.ย.64-ม.ค.65 จำนวน 3.2 หมื่นล้านบาท และเป็นค่ารักษาพยาบาลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นตั้งแต่เดือน ก.พ.-ก.ย.65 อีก 1.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองการใช้เงินกู้กำลังอยู่ระหว่างพิจารณา

ทั้งนี้ พ.ร.ก.เงินกู้ 5 แสนล้านบาท ได้มีการอนุมัติไปแล้ว 3.9 แสนล้านบาท ยังเหลือเงินอยู่ประมาณ 1 แสนล้านบาท ใช้สำหรับแผน 1.ด้านสาธารณสุข จำนวน 1.9 แสนล้านบาท แผน 2.เพื่อการเยียวยาผลกระทบจากโควิด จำนวน 1.6 แสนล้านบาท และแผน 3.เพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจ จำนวน 1.2 แสนล้านบาท

ในส่วนของการใช้เงินกู้จาก พ.ร.ก. 1 ล้านล้านบาท ที่ได้สิ้นสุดไปแล้วในปี 64 มีการอนุมัติเงินกู้แล้ว 9.82 แสนล้านบาท เบิกจ่ายจริงแล้ว 9.44 แสนล้านบาท และคาดว่าจะเบิกจ่ายได้ครบในเดือน พ.ค.65 ซึ่งอาจจะมีล่าช้าไปบ้างจนถึงเดือน ก.ย.65 ซึ่งเป็นส่วนน้อย ซึ่งโดยสรุปแล้ว ยอดการใช้เงินกู้ตาม พ.ร.ก. 1 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นการใช้ในแผน 1 จำนวน 6.3 หมื่นล้านบาท แผน 2 ที่ 7.9 แสนล้านบาท และแผน 3 ที่ 2.9 แสนล้านบาท โดยคงเหลือวงเงินกู้ที่ใช้ไม่ทันประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาทเท่านั้น

สำหรับแนวโน้มเศรษฐกิจไทย ปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.5 – 4.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนสำคัญประกอบด้วย (1) การปรับตัวดีขึ้นของอุปสงค์ภายในประเทศ (2) การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว (3) การขยายตัวอย่างต่อเนื่องของการส่งออกสินค้า และ (4) แรงขับเคลื่อนจากการลงทุนภาครัฐ ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ สรอ. จะขยายตัวร้อยละ 4.9 การอุปโภคบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวร้อยละ 4.5 และร้อยละ 3.8 ตามลำดับ ส่วนการลงทุนภาครัฐคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.6 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 1.5 – 2.5 และดุลบัญชีเดินสะพัดจะเกินดุลร้อยละ 1.5 ของ GDP

ส่วนรายละเอียดของการประมาณการเศรษฐกิจในปี 2565 ในด้านต่าง ๆ มีดังนี้

การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค (1) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.5 เร่งขึ้นจากการขยายตัวร้อยละ 0.3 ในปี 2564 และเป็นการปรับเพิ่มจากร้อยละ 4.3 ในการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการลดลงในความรุนแรงของผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นและปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายเข้าสู่ภาวะปกติมากขึ้น (2) การใช้จ่ายเพื่อการอุปโภคภาครัฐบาล คาดว่าจะลดลงร้อยละ 0.2 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 3.2 ในปี 2564 และเป็นการปรับลดจากการขยายตัวร้อยละ 0.3 ในการประมาณการครั้งที่ผ่านมา ตามการลดลงของกรอบวงเงินรายจ่ายประจำภายใต้กรอบรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2566 เมื่อเทียบกับกรอบในปีงบประมาณ 2565 รวมทั้งการปรับองค์ประกอบให้สอดคล้องกับแผนงานและโครงการที่ได้รับการอนุมัติภายใต้พระราชกำหนดเงินกู้ฯ เพิ่มเติม พ.ศ.2564 วงเงิน 5 แสนล้านบาท

การลงทุนรวม คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.0 ปรับตัวดีขึ้นจากร้อยละ 3.4 ในปี 2564 โดย

(1) การลงทุนภาคเอกชน คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.8 เร่งขึ้นจากร้อยละ 3.2 ในปี 2564 และปรับลดลงจากร้อยละ 4.2 ในการประมาณการครั้งก่อน และ (2) การลงทุนภาครัฐ คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.6 เทียบกับร้อยละ 3.8 ในปี 2564 และเท่ากับการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการคงสมมติฐานการเบิกจ่ายงบลงทุนภายใต้งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 และการเบิกจ่ายงบลงทุนรัฐวิสาหกิจ

มูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปเงินดอลลาร์ สรอ. คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 4.9 เทียบกับร้อยละ 18.8 ในปี 2564 และเท่ากับการประมาณการครั้งที่ผ่านมา โดยเป็นผลจากการปรับลดปริมาณการส่งออกและการปรับเพิ่มสมมติฐานราคาส่งออก ทั้งนี้ คาดว่าปริมาณการส่งออกสินค้าจะขยายตัวร้อยละ 3.9 ปรับลดลงจากร้อยละ 4.4 ในการประมาณการครั้งก่อน สอดคล้องกับการปรับลดสมมติฐานการขยายตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก ขณะที่ราคาสินค้าส่งออกในปี 2565 มีแนวโน้มจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 0.5-1.5 สูงขึ้นเมื่อเทียบกับร้อยละ 0.0-1.0 ในการประมาณการครั้งก่อน ตามการปรับเพิ่มสมมติฐานราคาน้ำมัน ขณะที่การส่งออกบริการคาดว่าจะขยายตัวได้ดีกว่าการประมาณการครั้งที่ผ่านมา สอดคล้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยวภายหลังการดำเนินมาตรการเปิดรับนักท่องเที่ยวเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เมื่อรวมกับการส่งออกสินค้าทำให้ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการในปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 8.9 เทียบกับการขยายตัวร้อยละ 9.0 ในการประมาณการครั้งก่อน และร้อยละ 10.4 ในปี 2564

ส่วนประเด็นการบริหารเศรษฐกิจในปี 2565 โดยการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2565 ควรให้ความสำคัญกับ (1) การป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดภายในประเทศให้อยู่ในวงจำกัด (2) การสนับสนุนการฟื้นตัวของภาคธุรกิจ ควบคู่ไปกับการดูแลภาคเศรษฐกิจที่ยังมีข้อจำกัดในการฟื้นตัว(3) การรักษาแรงขับเคลื่อนจากการใช้จ่ายภายในประเทศ (4) การดูแลและแก้ไขปัญหาหนี้สินของครัวเรือน โดยให้ความสำคัญกับมาตรการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่ลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบ ควบคู่ไปกับการดำเนินมาตรการจูงใจในการชำระหนี้และบรรเทาภาระหนี้สินที่สำคัญ (5) การขับเคลื่อนการส่งออกสินค้า (6) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน (7) การขับเคลื่อนการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ (8) การติดตาม เฝ้าระวัง และเตรียมมาตรการรองรับความผันผวนของภาคเศรษฐกิจต่างประเทศ และ (9) การขับเคลื่อนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน สนับสนุนการกระจายรายได้ และปรับตัวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

จาก https://mgronline.com  วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

สนง.ทรัพยากรน้ำฯตั้ง คณะกรรมการประจำ ทั้ง22ลุ่มน้ำเน้นบริหาร ทั่วประเทศมีส่วนร่วม

ดร.สุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวถึงความคืบหน้าการจดทะเบียนเพื่อจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำให้แก่ภาคประชาชนใน 3 ภาค ได้แก่ ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคพาณิชยกรรม ว่าปัจจุบันมีองค์กรผู้ใช้น้ำยื่นคำขอจดทะเบียนทั้งสิ้น 3,271 องค์กร พิจารณาอนุมัติแล้ว 3,238 องค์กร ส่วนใหญ่เป็นภาคเกษตรกรรม สำหรับกรรมการลุ่มน้ำทั้ง 22 ลุ่มน้ำ อยู่ระหว่างแต่งตั้ง ซึ่งคณะกรรมการฯ จะไปกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บค่าน้ำ ซึ่งแตกต่างกันตามประเภทและพื้นที่ โดยความเป็นมาของกรรมการประจำลุ่มน้ำ เกิดขึ้นตามพ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 ให้ทั้งหมดได้มีส่วนร่วมและดำเนินการพร้อมกันทั้งประเทศ

ทั้งนี้ สำหรับ 22 ลุ่มน้ำภายใต้การบริหารจัดการต้องร่วมกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรผู้ใช้น้ำของคณะกรรมการลุ่มน้ำที่จัดตั้งขึ้น ได้แก่ 1.ลุ่มน้ำสาละวิน 2.ลุ่มน้ำโขงเหนือ 3.ลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ 4.ลุ่มน้ำชี 5.ลุ่มน้ำมูล 6.ลุ่มน้ำปิง 7.ลุ่มน้ำยม 8.ลุ่มน้ำวัง 9.ลุ่มน้ำน่าน 10.ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 11.ลุ่มน้ำสะแกกรัง 12.ลุ่มน้ำป่าสัก 13.ลุ่มน้ำท่าจีน 14.ลุ่มน้ำแม่กลอง 15.ลุ่มน้ำบางปะกง 16.ลุ่มน้ำโตนเลสาบ 17.ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก 18.ลุ่มน้ำเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ 19.ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน 20.ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา 21.ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่าง และ 22.ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก

จาก https://www.naewna.com วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

สภาพัฒน์ฯ คาดเศรษฐกิจไทยปี 65 โตได้ 4%

สภาพัฒน์ประกาศเศรษฐกิจปี 64 โตดีเกินคาด 1.6% หากคุมโควิดอยู่ ปี 65 โตได้ 4%

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการ สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ฯ เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ปี 2564 ขยายตัวได้ 1.9% เทียบกับช่วงไตรมาสเดียวกันปีก่อนหน้า ทำให้เศรษฐกิจไทยทั้งปี 2564 ขยายตัวได้ 1.6% ขยายตัวกว่าที่คาดการณ์เดิมจะขยายตัวได้ 1.2% และขยายได้มากกว่าปี 2563 ที่ผ่านมาที่ขยายตัวติดลบ 6.2%

ขณะที่เศรษฐกิจปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวได้ 4% ช่วง 3.5-4.5% โดยได้รับปัจจัยสนับสนุนจาก 1.การใช้จ่ายภายในประเทศปรับตัวดีขึ้น 2.การฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ที่คาดว่าทั้งปี 2565 จะมีนักท่องเที่ยว 5 ล้านคน มีรายได้เกิดขึ้นในเศรษฐกิจ 4.2 แสนล้านบาท 3.การส่งออกขยายตัวได้ดีทั้งปีที่ 4.9% และ 4.การใช้จ่ายภาครัฐที่ขยายตัวต่อเนื่อง

"ความเสี่ยงเศรษฐกิจปี 2565 คือ การระบาดของโควิดที่ไม่รู้ว่าจะมีการกลายพันธุ์รุนแรงมากขึ้นหรือไม่ เศรษฐกิจโลกผันผวน ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และสงครามการค้า" นายดนุชา กล่าว

นายดนุชา กล่าวว่า ประเด็นการบริหารเศรษฐกิจปี 2565 ควรให้ความสำคัญกับ 1.การป้องกันการควบคุมการแพร่ระบาดโควิด-19 2.การสนับสนุนการฟื้นตัวภาคธุรกิจควบคู่กับการดูแลภาคเศรษฐกิจที่ยังมีข้อจำกัดในการฟื้นตัว 3.การรักษาแรงขับเคลื่อนการใช้จ่ายภายในประเทศ 4.การดูแลหนี้ภาคครัวเรือน ซึ่งต้องให้ความสำคัญอย่างมาก

5.การขับเคลื่อนการส่งออกให้ขยายตัวต่อเนื่อง 6.การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน 7.การเร่งการใช่จ่ายและการลงทุนภาครัฐ 8.ติดตามและระวังหามาตรการรองรับความผันผวนจากเศรษฐกิจโลกที่มีต่อเศรษฐกิจไทย 9.ขับเคลื่อนการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน และปรับตัวเข้าสู่สังคมคาร์บอนต่ำ

สำหรับเศรษฐกิจปี 2565 คาดว่าจะขยายตัวได้ 4% ช่วง 3.5-4.5% อยู่ภายใต้สมมติฐาน

1.การแพร่ระบาดของโอมิครอน มีการฉีดวัคซีนมาก รวมถึงฉีดวัคซีนเด็ก ทำให้การเสียชีวิตลดลงมาก เทียบการโควิดเดลตา แม้จะมีผู้ติดเชื้อมากขึ้น สาธารสุขรองรับได้ ไม่มีการปรับมาตรการเข้มข้นมากขึ้น แต่จะมีการผ่อนคลายทางเศรษฐกิจมากขึ้น มีนักท่องเที่ยวเดินทางการเข้ามาไทยมากขึ้น

2.ลดประมาณการเศรษฐกิจโลกลดลง เนื่องจากการฟื้นตัวช้า มีปัจจัยเงินเฟ้อสูงของประเทศเศรษฐกิจสำคัญ

3.ค่าเงินไทยอยู่ที่ 32 บาทต่อดอรลาร์

4.ราคาน้ำมันเฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 72 ดอลลาร์ต่อบาเรล

5.มีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวไทย 5 ล้านคน มีรายได้เกิดขึ้นในเศรษฐกิจ 4.2 แสนล้านบาท

"ความเสี่ยงเศรษฐกิจปี 65 คือ การระบาดของโควิดที่ไม่รู้ว่าจะมีการกลายพันธุ์รุนแรงมากขึ้นหรือไม่ เศรษฐกิจโลกผันผวน ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ และสงครามการค้า" นายดนุชา กล่าว

จาก https://www.posttoday.com  วันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

“พลังงาน” เร่ง5แผนลดคาร์บอน สปีดลงทุน “อีวี-พลังงานหมุนเวียน”

ปัจจุบันภาคอุตสาหกรรมได้เริ่มลงทุนนำเทคโนโลยีมาช่วยในกระบวนการผลิตที่ต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน เช่น เทคโนโลยีการกักเก็บคาร์บอน ซึ่งนิยมใช้แพร่หลายในหลายประเทศ และเริ่มมีการพัฒนาแพลตฟอร์มเพื่อการซื้อขายคาร์บอนเครดิต

สุพัฒนพงษ์ พันธุ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า การผลักดันการลงทุน New S curve จะมองถึงการดูแลสิ่งแวดล้อมด้วย โดยเฉพาะการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ และประเทศไทยเป็นผู้ปล่อยก๊าซเรือนกระจกปีละ 350 ล้านตัน ส่วนใหญ่มาจากโรงงานภาคอุตสาหกรรม หากจะดูดซับคาร์บอน 1 ตัน จะต้องใช้เงิน 2,000 ล้านบาท ส่งผลให้ไทยต้องสูญเสียเงิน 7-8 แสนล้านบาทต่อปี

สถานการณ์ดังกล่าวทำให้รัฐบาลต้องประกาศนโยบายการลดคาร์บอน โดยประกาศเป้าหมายของแผนลดก๊าซคาร์บอนในปี 2575 ซึ่งจะถึงเป้าหมายหรือไม่นั้นแต่จะเป็นปีที่ทำให้เร็วที่สุด และอนาคตจะเห็นภาพการใช้พลังงานทั้งด้านอุตสาหกรรมและภาคประชาชน ซึ่งจะต้องให้ความสำคัญกับการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากขึ้น

“พลังงาน” เร่ง5แผนลดคาร์บอน สปีดลงทุน “อีวี-พลังงานหมุนเวียน”ทั้งนี้ รัฐบาลกำลังส่งเสริม อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (รถอีวี) และใช้พลังงานสะอาด โดยจะมีการสร้างอีโคซิสเต็มของอีวี เช่น สถานีอัดประจุไฟฟ้า อุปกรณ์กักเก็บพลังงานงาน รวมทั้งส่งเสริมการผลิตพลังงานสะอาด เช่น พลังงานจากแสงอาทิตย์และลม

กวิน ทังสุพานิช เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงานได้สรุปเทรนด์พลังงานที่จะเห็นมากขึ้นในปี 2565 คือ

1.ยานยนต์ไฟฟ้า โดยหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงาน ตามนโยบายเมื่อหมดสัญญาในการเช่าใช้โดยช่วงต้นอาจมีข้อจำกัดที่สถานีชาร์จในหน่วยงานก็อาจผ่อนให้เช่าใช้รถไฟฟ้าปลั๊กอินไฮบริด (PHEV) ใช้ทั้งระบบเครื่องยนต์และมอเตอร์ไฟฟ้าก่อนเพราะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน และหลังจากนี้กระทรวงพลังงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จะเร่งส่งเสริมพัฒนาสถานีชาร์จมากขึ้น

ทั้งนี้ กฟผ.ได้ปรับการใช้รถอีวีในองค์กรมาระยะหนึ่ง โดยตั้งเป้าทำสัญญาเช่ารถใหม่เป็นอีวีทั้งหมดจึงเป็นการนำร่องที่ดีและมีโครงสร้างพื้นฐานพร้อมโดยเฉพาะสถานี ดังนั้น หัวใจหลัก คือ ความร่วมมือทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ เอกชน ถือเป็นเรื่องที่เปลี่ยนประเทศ มองว่าหน่วยงานภายใต้รัฐบาลก็ควรมีสถานีชาร์จอีวีครอบคลุม

“มีหน่วยงานรัฐหลายหน่วยงานที่มีศูนย์บริการครอบคลุมทั่วประเทศมีแนวคิดติดตั้งสถานีชาร์จอีวีในศูนย์บริการ อาทิ บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด ก็มีแนวคิดเช่นกัน จึงมองว่า หากภาพรวมการใช้รถอีวีมีมากขึ้น จะทำให้เอกชนกล้าลงทุนด้วย ดังนั้น จะเร่งทำแผนพลังงานแห่งชาติ (National Energy Plan 2022) ให้ครอบคลุมทุกภาคส่วน”

2.เทคโนโลยี โดยทุกกลุ่มอุตสาหกรรมต่างมุ่งเห็นถึงประโยชน์ของเทคโนโลยี โดยเฉพาะการลดต้นทุนในด้านต่างๆ เป็นต้น ซึ่งในกลุ่มพลังงานจะเห็นภาพชัดเจนในเรื่องของการใช้เทคโนโลยีเพื่อช่วยประเทศลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนปี 2050 และบรรลุ Net Zero ปี 2065 จากเวที COP26

3.พลังงานหมุนเวียน (RE) จะเริ่มเข้ามามากขึ้น การจะปรับให้ประเทศไทยมุ่งสู่พลังงานสะอาดเร็วหรือช้าก็ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีเช่นกัน และอยู่ที่ว่าจะปรับตัวและรู้ทันเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้หรือไม่ ดังนั้น ทุกคนจะต้องได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง

“ปัจจุบันกลุ่มอุตสาหกรรมได้เริ่มลงทุนนำเทคโนโลยีมาช่วยในกระบวนการผลิตที่ต้องลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน เช่น เทคโนโลยีการกักเก็บคาร์บอน หรือ CCUS ซึ่งนิยมใช้อย่างแพร่หลายในหลายประเทศมาก่อนหน้านี้ เพื่อเป็นอีกแนวทางในการไปสู่คาร์บอนเครดิต”

นอกจากนี้ หากพูดถึงพระเอกของพลังงานสะอาดนั้น คงหนีไม่พ้นพลังงานแสงอาทิตย์กับพลังงานลม เนื่องจากมีต้นทุนที่ถูกลง และอนาคตจะถูกกว่าพลังงานที่ได้จากเชื้อเพลิงฟอสซิลแน่นอน จึงอยากให้เข้าใจในประเด็นที่ว่าพลังงานหมุนเวียนมีภาระค่า Ft ส่วนตัวมองว่าเป็นการสื่อสารที่ผิดพลาด โดยปัจจุบันหลายประเทศสามารถทำพลังงานสะอาดได้ในราคาที่ถูก

4.โซลาร์ภาคประชาชน ประเทศไทยพยายามผลักดันให้เกิด แต่กลับไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควร ดังนั้น โจทย์สำคัญที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะต้องตีโจทย์ให้แตกว่า การที่ส่งเสริมแล้วทำไมประชาชนถึงยังไม่ค่อยให้ความสนใจเท่าที่ควร ทั้งๆที่มีประโยชน์ ดังนั้น จึงควรต้องกลับมาดูที่ระบบเอง เพราะต้นทุนโซลาร์ปัจจุบันอยู่ที่ 1 บาทกว่าๆ และพลังงานรับซื้อในราคา 2 บาทกว่า

“ส่วนตัวมองว่าประชาชนอยากติด แต่ปัญหาน่าจะอยู่ที่กฎระเบียบ เพราะหากขั้นตอนการขอติดตั้งยุ่งยาก ทั้งเงื่อนไขของการไฟฟ้าฯ และในเรื่องของโครงข่าย ประชาชนไม่อยากทำอะไร ดังนั้น จึงต้องกลับไปดูกติกาว่าส่งเสริมหรือไม่ บางทีบอกราคาอย่างเดียวก็ไม่น่าดึงดูดพอ”

5.โรงไฟฟ้าชุมชน สมัยก่อนการจะเกิดโรงไฟฟ้ามักจะเกิดการต่อต้าน ซึ่งขณะนี้ เมื่อมีการลงไปในชุมชน มีการอธิบายข้อดีโดยเฉพาะช่วยในเรื่องของการปลูกพืชช่วยราคาเกษตรกร ประชาชนเห็นประโยชน์ที่จับต้องได้ จึงอยากทำเยอะขึ้น โดยในปีนี้ จะเห็นแผนงานและภาพชัดเจนมากขึ้น

ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ก็ได้เป็นห่วงและอยากเห็นภาพความสำเร็จของโรงไฟฟ้าชุมชนนำร่องเฟสแรก 150 เมกะวัตต์ ก่อนว่ามีระบบจัดการอย่างไร โดยขณะนี้อยู่ระหว่างติดตามซึ่งโดยรวมแล้วถือว่าไปในทิศทางที่ดี จึงให้เร่งดำเนินการทำแผนโรงไฟฟ้าชุมชนเฟส2 จำนวน 400 เมกะวัตต์ต่อไป

อย่างไรก็ตาม ณ วันนี้ ยังมีคนพยายามพูดว่ารัฐบาลสนับสนุนให้เกิดโรงไฟฟ้าชุมชน และจะรับซื้อไฟใหม่เข้าระบบทำไม อีกทั้งยังมีราคารับซื้อที่แพง จึงอยากจะฝากคิดว่าภารกิจขณะนี้จะต้องมุ่งสู่ Net Zero และไฟฟ้าของประเทศไทยปัจจุบันมีพลังงานสะอาดอยู่ในระบบที่ยังน้อยมาก และต่ำกว่าเป้าที่คาดหวัง

ดังนั้น หากไม่รับซื้อไฟใหม่ที่เป็นไฟสะอาดแล้วประเทศไทยจะไปถึงจุดนั้นได้อย่างไรในการนำเอาไฟสะอาดเข้ามาเร็วที่สุด ขณะเดียวกันก็จะต้องจัดการต้นทุนของค่าไฟฟ้าให้ประชาชนไม่ให้รับภาระเยอะ

ขณะนี้นักลงทุนต่างประเทศ กลุ่มเทคคอมพานีรายใหญ่ อาทิ กูเกิล ไมโครซอฟท์ ประกาศเป้าปี 2568 จะใช้พลังงานสะอาดทั้งหมด เมื่อมาทำธุรกิจที่ประเทศไทยจะมุ่งไปที่มีพลังงานสะอาดให้ใช้หรือไม่ ดังนั้น เพื่อดึงดูดนักลงทุนจึงต้องรีบทำ ซึ่งหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องได้ช่วยกันแก้ปัญหา เพื่อจัดการกับต้นทุนที่ซ้ำซ้อน ซึ่งการนำนวัตกรรมทางด้านการเงิน การระดมทุนที่มีรูปแบบใหม่ๆ จะเป็นตัวช่วยให้ต้นทุนถูกลง

“หากไฟสะอาดในไทยมีจำนวนมากพอก็หยุดรับซื้อได้ แต่ปริมาณที่เยอะยังเป็นไฟที่สกปรก และเราตอบโจทย์ความต้องการใหม่หรือยัง เราจะบาลานซ์ตรงนี้อย่างไรนั่นสิสำคัญ หากหยุดรับซื้อไฟต่อไป 5-10 ปีข้างหน้าแล้วไม่มีไฟสะอาดเข้ามาไทยก็จะตกขบวน”

จาก https://www.bangkokbiznews.com   วันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

อาเซียน เตรียมนัดถกประเทศสมาชิก ดัน20ประเด็นเศรษฐกิจให้สำเร็จในปีนี้

อาเซียน เตรียมนัดถกประเทศสมาชิก ดัน20ประเด็นเศรษฐกิจ ให้สำเร็จภายในปีนี้ พร้อมหารือแผนการทำงานกับประเทศคู่เจรจา ตั้งเป้าประชุมคณะเจรจา FTA อาเซียน-แคนาดา รอบแรก เม.ย.นี้ และเตรียมประกาศเริ่มเจรจาอัพเกรดความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน มี.ค.นี้

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า อาเซียนเตรียมจัดการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน หรือ SEOM ครั้งที่ 1/53 ระหว่างวันที่ 21-22 และ 24 กุมภาพันธ์นี้ ผ่านระบบการประชุมทางไกล ซึ่งเป็นการประชุมด้านเศรษฐกิจของอาเซียนอย่างเป็นทางการครั้งแรกของปีนี้ โดยมีกัมพูชาเป็นประธานอาเซียน ภายใต้แนวคิด “ASEAN A.C.T. : Addressing Challenges Together” 

โดยการประชุมครั้งนี้ จะมีการพิจารณาให้ความเห็นชอบประเด็นด้านเศรษฐกิจที่กัมพูชาเสนอให้อาเซียนดำเนินการสำเร็จภายในปีนี้ ภายใต้ยุทธศาสตร์หลัก 4 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการส่งเสริมความเชื่อมโยงทางดิจิทัล วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี (2) ด้านการลดช่องว่างการพัฒนาเพื่อความสามารถในการแข่งขันของอาเซียน (3) ด้านการส่งเสริมการบูรณาการและความสามารถในการแข่งขันที่มากขึ้นของอาเซียน และ (4) ด้านการเป็นส่วนสำคัญของประชาคมโลกเพื่อการเติบโตและการพัฒนา

โดยรวม 20 ประเด็น อาทิ การพัฒนาระบบนิเวศสำหรับวิสาหกิจเริ่มต้น (Startups) ด้านดิจิทัล การเริ่มเจรจายกระดับความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน การสรุปการเจรจายกระดับความตกลงการค้าเสรีอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ และการมีผลใช้บังคับของความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) กับทุกประเทศ ซึ่งล้วนเป็นประเด็นที่ไทยให้ความสำคัญและผลักดันให้ประสบความสำเร็จในปีนี้

สำหรับไฮไลท์ของการประชุมครั้งนี้ มี 2 ประเด็นสำคัญ คือ การหารือแผนการทำงานกับประเทศคู่เจรจาทั้งหมดของอาเซียนในปีนี้ โดยเฉพาะการจัดทำแผนการเจรจาการค้าเสรีอาเซียน-แคนาดา ซึ่งมีเป้าหมายจะเริ่มประชุมคณะเจรจาฯ รอบแรก ในเดือนเมษายนนี้ เพื่อให้ได้ข้อสรุปภายใน 2 ปี และการเตรียมการประกาศเริ่มการเจรจาระดับความตกลงการค้าสินค้าของอาเซียน(ATIGA) ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ (AEM Retreat) ครั้งที่ 28 ในช่วงเดือนมีนาคมนี้ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมและอำนวยความสะดวกทางการค้าในอาเซียนให้มากขึ้น และเป็นการปรับปรุงความตกลงในปัจจุบันให้ทันกับรูปแบบการค้าที่เปลี่ยนไป

ทั้งนี้ ในปี 2564 การค้าระหว่างไทยกับอาเซียน มีมูลค่า 110,799 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 17.1% จากปีก่อนหน้า โดยไทยส่งออกไปอาเซียน มูลค่า 65,015 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 17.2% สินค้าส่งออกที่เติบโตได้ดี คือ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ และอาหารเลี้ยงสัตว์

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2565

“ปุ๋ยโลก” ราคาต่ำสุดรอบ 5 เดือน เอกชนเชียร์ปลุกผีเหมืองโปแตซ

เกษตรกรทั่วโลกเฮ ราคาปุ๋ยต่ำสุดรอบ 5 เดือน ชี้ผลพวงรัฐ ตรึงราคา พ่นพิษ ลาม “โรงงาน-ผู้ค้ากำไรหด” ไม่กล้าสั่งนำเข้าวัตถุดิบ สินค้าใต้ดิน ฉวยโอกาสตีปี๊บขายถูก ลดแลกแจกแถม หวั่นผลผลิตต่ำ สมาคมการค้าปุ๋ยฯ ฝันรัฐปลุกผีเหมืองโปแตซ ลดต้นทุนเกษตรกร เพิ่มอำนาจต่อรองประเทศ

 ปี 2030 (2573) องค์การสหประชาชาติคาดการณ์ประชากรโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 8,500  ล้านคน หรือเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันกว่า ,200 ล้านคน จะส่งผลให้แต่ละประเทศมีความจำเป็นในการใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มผลผลิตสร้างความมั่นคงด้านอาหารเพิ่มขึ้น

แหล่งข่าวจากวงการค้าสารเคมี เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึง สถานการณ์ราคาแม่ปุ๋ยตลาดโลกซื้อขายล่วงหน้าล่าสุด ณ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565 ว่า ราคาปรับตัวลงมาก ปัจจัยสำคัญจากการซื้อยูเรียของอินเดียกดดันให้ราคาที่เสนอต่ำกว่า 600 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน (เป็นราคา CFR ที่ผู้ขายรับภาระค่าใช้จ่าย และค่าขนส่งเพื่อการส่งของถึงปลายทาง แต่ผู้ซื้อจะเป็นผู้รับภาระความเสี่ยงต่อการเสียหายหรือสูญหายของสินค้า) เพราะเป็นความต้องการเดียวที่เกิดขึ้นในตลาดในเวลานี้ ซึ่งสามารถดูดซับสินค้าในตลาดได้ถึง 1.2-1.4 ล้านตัน (ขณะที่ตลาดทั่วโลกมีผู้ใช้ยูเรียรวมกันประมาณ 2 ล้านตัน)

ทั้งนี้หลายฝ่ายคาดว่าราคาจะยังคงได้รับแรงกดดันต่อไป หากสหรัฐฯและยุโรป ยังไม่เข้ามาซื้อแข่ง ส่วนอินเดียคาดจะกลับมาซื้อเพิ่มอีกครั้งประมาณ 45 วันหลังจากนี้ ส่งผลให้ราคายูเรียเวลานี้ต่ำสุดในรอบ 5 เดือน จากก่อนหน้านั้นเคยขึ้นไปสูงกว่า 800 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ถือเป็นข่าวดีของเกษตรกรทั่วโลกที่ราคาปุ๋ยจะลดต่ำลง

ส่วนแม่ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟต ภาพรวมการซื้อขายเงียบ จากความต้องการของยุโรปปรับลดลง ส่วนในภูมิภาคเอเชีย จีนเพิ่งกลับมาเริ่มต้นหลังหยุดยาวตรุษจีน ดังนั้นหากยังไม่มีความต้องการที่ชัดเจน ตลาดน่าจะชะลอตัวอีกระยะหนึ่งจนกว่าจะเข้าฤดูกาลเพาะปลูก

เช่นเดียวกับปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต ทั่วโลกยังคงมีการซื้อต่อเนื่อง เช่น อินเดียยังคงซื้อเพื่อเติมสต๊อกในประเทศที่ต่ำ ส่วนสหรัฐฯและบราซิลยังคงซื้อเติมสต๊อก เนื่องจากราคาธัญพืชที่สูงขึ้นต่อเนื่อง ขณะตลาดที่ชะลอตัวคือจีน ที่เพิ่งกลับจากการหยุดยาวช่วงเทศกาลตรุษจีน และยังคงกำลังการผลิตปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟตไว้เพียง 60% เท่านั้น

ส่วนตลาดปุ๋ยโพแทสเซียมคลอไรด์ มีแนวโน้มคงที่ โดยมีการพูดคุยเกี่ยวกับประเด็นของเบลารุสที่จะส่งสินค้าผ่านทางรัสเซีย ทำให้การซื้อขายในตลาดชะลอตัวและหยุดชะงักลง ส่วนจีนและอินเดีย ไม่มีการซื้อขายอะไรเกิดขึ้นในสัปดาห์นี้

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า วันนี้สิ่งที่ห่วงที่สุดคือ ราคาปุ๋ยเคมีที่รัฐบาลขอความร่วมมือผู้ค้าช่วยตรึงราคาออกไปก่อนทำให้ไม่มีโรงงานกล้าสั่งนำเข้าวัตถุดิบ สถานการณ์ในประเทศปุ๋ยขาดแคลนและขาดตลาดในหลายสูตร  การใช้แรงงานในโรงงานลดลง ช่วงนี้ต้องวางแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบล่วงหน้าเพื่อเตรียมไว้ผลิตในตอนต้นฤดูการเพาะปลูก ทั้งข้าวนาปรัง และนาปี รวมถึงเพื่อใช้ในพืชอื่น ๆ เริ่มเมษายน-พฤษภาคมนี้

“ตอนนี้ไม่มีใครกล้าสั่งนำปุ๋ยเข้ามาเลย ซึ่งจะส่งผลทำให้สินค้าใต้ดินที่ไม่ได้มาตรฐาน ไม่ได้คุณภาพ และราคาถูก จะแทรกขึ้นมาในรูปแบบลดแลกแจกแถม ที่จะลงพื้นที่ไปหาเกษตรกร หากปล่อยให้มีการโฆษณาแบบผิด ๆ จะทำให้คุณภาพผลผลิตของประเทศได้รับผลกระทบ ในส่วนสมาชิกของสมาคมก็ให้ความร่วมมือกับรัฐบาลในการตรึงราคา หลายบริษัทยอมขาดทุน”

ด้านนายเปล่งศักดิ์  ประกาศเภสัช นายกสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย กล่าวว่า หากรัฐบาลมีนโยบายเกี่ยวกับเหมืองโปแตซมองว่า เป็นเรื่องที่ดี หากทำได้จะช่วยเกษตรกรได้มาก เพราะจะทำให้ราคาปุ๋ยต่ำลง โรงงานในประเทศจะมีวัตถุดิบ และมีอำนาจต่อรองระหว่างประเทศมากขึ้น โดยคุณภาพแร่โปแตซไทยมีคุณภาพเกรดเดียวกับประเทศแคนาดาที่ทั่วโลกต่างยอมรับว่าเป็นปุ๋ยที่สุดที่สุดของโลก เปรียบเทียบแคนาดา ต้องขุดแร่ลึกถึง 4-5 กิโลเมตร ต้องเสียค่าใช้จ่ายมากมาย ขณะที่เมืองไทยขุดลึกเพียง 300-600 เมตรเท่านั้น

แต่เวลานี้โครงการต้องแท้งไปเมื่อ 40 ปีที่แล้ว จากกลุ่มเอ็นจีโอ และข้าราชการมหาวิทยาลัยไปปลูกฝังความคิดไว้ว่าเมื่อไรที่เมืองไทยขุดแร่โปแตซ จะทำให้จังหวัดอุดรธานีถล่มจมหาย ทำให้เรื่องนี้ไม่เกิดขึ้นเสียที ทั้งที่เป็นประโยชน์กับประเทศ

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2565

เกษตรฯ จับมือ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ดันเกษตรกรสู่ Start up

กระทรวงเกษตรฯ จับมือ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ลงนาม MOU เดินหน้าปฏิรูปภาคเกษตร ยกระดับเกษตรกรสู่มืออาชีพ ดันเกษตรกรสู่ผู้ประกอบการ Start up การันตีด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร ปั้นคน หนุนนวัตกรรมด้านการเกษตรใหม่ ๆ

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2565 นายธนา ชีรวินิจ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นายนคร ศิลปอาชา ประธานกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ร่วมเป็นประธานและสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนากำลังคนด้านการเกษตรสู่ความเป็นมืออาชีพด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ระหว่าง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) (สคช.)

โดย นายธนากล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดแนวทางการพัฒนาภาคการเกษตรของประเทศไทย ประกอบด้วย 5 ยุทธศาสตร์ 15 นโยบายหลัก ครอบคลุมถึงการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร เช่น นโยบายการสร้างความเข้มแข็งให้แก่สถาบันเกษตรกรและเศรษฐกิจฐานราก และนโยบายการส่งเสริมสถาบันเกษตรกร ผู้ประกอบการ และ Start up

ดังนั้น การบูรณาการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (องค์การมหาชน) ในครั้งนี้ เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนากำลังคนด้านการเกษตร โดยมีเป้าหมายสำคัญคือ การยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน และส่งเสริมให้เกษตรกรมีสมรรถนะ ความรู้ ความสามารถ และความเชี่ยวชาญในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมให้ได้รับการรับรองความรู้ตามมาตรฐานอาชีพ ซึ่งคุณวุฒิวิชาชีพที่เกษตรกรได้รับจะช่วยสร้างโอกาสให้เกษตรกรได้ในระยะต่อไป

พร้อมทั้งจะเป็นกลไกสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่เป็นรูปธรรม ซึ่งจะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องเกษตรกร สร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงให้แก่ภาคเกษตรกรรมของประเทศไทยในอนาคต บรรลุวิสัยทัศน์ “เกษตรกรมั่นคง ภาคการเกษตรมั่งคั่ง ทรัพยากรการเกษตรยั่งยืน” ได้ต่อไป

ด้าน นายนคร ศิลปอาชา ประธานกรรมการสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ (สคช.) กล่าวว่า สคช. มีหน้าที่หลักในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพ จัดทำมาตรฐานอาชีพโดยกลุ่มคนในอาชีพ และการให้การรับรองสมรรถนะเพื่อย้ำความเป็นมืออาชีพที่เป็นไปตามมาตรฐานกำหนด เป็นการสร้างโอกาสความก้าวหน้าในการทำงาน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตามแนวทางที่เป็นสากล

ซึ่งการลงนาม MOU ในวันนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่ทั้งสองหน่วยงานจะได้นำศักยภาพของแต่ละหน่วยงานมาร่วมกันส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านการเกษตรซึ่งเป็นอาชีพเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ ด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพที่ตอบสนองต่อความต้องการของภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม

โดยเฉพาะการพัฒนาอุตสาหกรรมอาหาร ด้านอาหารปลอดภัย ตลอดจนสร้างการรับรู้และผลักดันให้เกิดการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพเพื่อนำไปสู่การยกระดับและสร้างศักยภาพบุคลากรทางด้านเกษตรของประเทศไทยให้ได้รับการยอมรับในระดับสากลเพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจและการส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ทั้งนี้ สถาบันฯ พร้อมผลักดันให้เกิดการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการพัฒนาคน ผลิตนวัตกรรมด้านการเกษตรใหม่ ๆ สอดรับการปรับเปลี่ยนของโลกอนาคต และสนับสนุนคนในอาชีพให้เกิดการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต

สำหรับบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการพัฒนากำลังคนด้านการเกษตรสู่ความเป็นมืออาชีพด้วยระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ในครั้งนี้ มีเป้าหมายขับเคลื่อนร่วมกันในการพัฒนาศักยภาพและสนับสนุนบุคลากรผู้ประกอบอาชีพด้านการเกษตรในเครือข่ายของกระทรวงเกษตรฯ เพื่อเข้ารับการประเมินสมรรถนะของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ ในสาขาวิชาชีพหรือสาขาอาชีพด้านการเกษตร ดำเนินการศึกษาวิจัย พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน และหลักสูตรฝึกอบรมบุคลากรผู้ประกอบอาชีพด้านการเกษตร

รวมทั้งขับเคลื่อนการฝึกอบรมผ่านระบบการเรียนรู้สมรรถนะบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ และคุณวุฒิวิชาชีพในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ สร้างการรับรู้ และยอมรับในระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ตลอดจนเผยแพร่และประชาสัมพันธ์กิจกรรมที่ทำร่วมกันให้เป็นที่แพร่หลาย ยกระดับมาตรฐานในการประกอบอาชีพตามระบบคุณวุฒิวิชาชีพ ยกระดับสมรรถนะกำลังคนด้านการเกษตรของประเทศไทย พัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพสู่การเป็นต้นแบบมืออาชีพที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล

จาก https://www.prachachat.net  วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ดับไฟไหม้อ้อย 47 จังหวัดทั่วประเทศ สอน.จับมือชาวไร่-โรงงาน ลงนามแก้ปัญหาจริงจัง

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) กล่าวว่า ได้เล็งเห็นถึงปัญหาอ้อยไฟไหม้ที่นำส่งเข้าโรงงานน้ำตาลในทุกพื้นที่จึงได้สั่งการให้ สอน.แก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้อย่างเร่งด่วน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการลดอ้อยไฟไหม้ของรัฐบาล ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5

นายเอกภัทร วังสุวรรณ เลขาธิการ(สอน.) กล่าวว่า สถานการณ์ภายหลังเปิดหีบอ้อยในฤดูการผลิตปี 2564/2565 ไปแล้วกว่า 60 วัน พบว่าหลายพื้นที่ยังมีปริมาณอ้อยไฟไหม้เกินกว่า 10% ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมด สถาบันชาวไร่อ้อยในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก รวม 37 สมาคม และโรงงานน้ำตาล 3 แห่ง ได้แก่ บริษัท อุตสาหกรรมโคราช จำกัด บริษัท โรงงานน้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด และบริษัท น้ำตาลระยอง จำกัด สาขาชัยภูมิ จึงได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ เพื่อแสดงเจตนารมย์ในการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ รณรงค์ลดการเผาอ้อยก่อนตัด ผลิตอ้อยสดคุณภาพดี และมีเงื่อนไขให้โรงงานน้ำตาลรับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบได้ไม่เกิน 10% ต่อวัน

 “การลงนามในบันทึกความร่วมมือการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ เป็นความพร้อมใจในการเดินหน้าแก้ไขปัญหาของสมาคมชาวไร่อ้อย และโรงงานน้ำตาลทั้ง 3 แห่ง เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ลดความเดือนร้อนของพี่น้องประชาชน พร้อมทั้งได้ขอความร่วมมือกับจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดออกประกาศฯ ควบคุมไม่ให้มีการเผาอ้อยควบคู่กันไป”นายเอกภัทรกล่าว

จาก https://www.matichon.co.th วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ “แข็งค่า” ที่ระดับ 32.14 บาท/ดอลลาร์

ค่าเงินบาท “แข็งค่า”จนหลุดแนวรับสำคัญโดยยังคงได้รับแรงหนุนจากโฟลว์ขายทำกำไรรทองคำ รวมถึงแรงซื้อหุ้นไทยสุทธิจากนักลงทุนต่างชาติ หนุนให้ผู้ส่งออกบางรายเร่งเข้ามาขายเงินดอลลาร์ กดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น

ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  32.14 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่า”ขึ้นจากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  32.18 บาทต่อดอลลาร์

นายพูน  พานิชพิบูลย์  นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน  ธนาคารกรุงไทย ระบุว่าแนวโน้มค่าเงินบาท แม้ตลาดการเงินจะปิดรับความเสี่ยง ทว่า เงินบาทยังคงได้รับแรงหนุนจากโฟลว์ขายทำกำไรทองคำ รวมถึงแรงซื้อหุ้นไทยสุทธิจากนักลงทุนต่างชาติ

กอปรกับการแข็งค่าหนักจนหลุดแนวรับสำคัญของเงินบาทก็หนุนให้ผู้ส่งออกบางรายเร่งเข้ามาขายเงินดอลลาร์ กดดันให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น ซึ่งเรามองว่า เงินบาทจะยังได้แรงหนุนฝั่งแข็งค่าจากปัจจัยดังกล่าวอยู่ต่อในระยะนี้ โดยเฉพาะแรงเทขายทำกำไรทองคำจากความเสี่ยงที่อาจจะเกิดสงครามได้

อย่างไรก็ดี เรามองว่า เงินบาทก็เริ่มมีโอกาสอ่อนค่าลงได้บ้าง หากสถานการณ์ความตึงเครียดคลี่คลายลง ส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดเริ่มขายทำกำไรธีมการลงทุนในหุ้นกลุ่มพลังงาน ซึ่งอาจจะเห็นนักลงทุนต่างชาติทยอยขายทำกำไรหุ้นไทยได้

นอกจากนี้ ควรติดตามสถานการ์การระบาดของโอมิครอนในประเทศ หลังจากที่ยอดผู้ติดเชื้อ รวมถึงอัตราการครองเตียงในโรงพยาบาลปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่องและอาจกดดันระบบสาธารณสุขได้

กรณีเลวร้ายคือ รัฐบาลอาจพิจารณากลับมายกระดับมาตรการควบคุมการระบาด อีกทั้ง เรามองว่า การแข็งค่าเร็วและผันผวนหนักของเงินบาทจะทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาช่วยดูแล ลดความผันผวนของค่าเงินลง ซึ่งจะช่วยให้การแข็งค่าขึ้นของเงินบาทอาจเริ่มจำกัดลงและเงินบาทจะเริ่มแกว่งตัวในกรอบ sideways

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 32.10-32.20 บาท/ดอลลาร์

ตลาดการเงินยังคงผันผวนหนักและอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง หลังทางการสหรัฐฯ ยังคงเน้นย้ำถึงแนวโน้มที่รัสเซียจะพร้อมเปิดฉากบุกโจมตียูเครนได้ทุกขณะ ทำให้ผู้เล่นในตลาดยังคงกังวลว่าความตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับยูเครนนั้นอาจบานปลายสู่สงครามได้

และเลือกที่จะเทขายสินทรัพย์เสี่ยง พร้อมทยอยเพิ่มการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัย อาทิ เงินดอลลาร์ เงินเยนญี่ปุ่น (JPY) ทองคำ และพันธบัตรรัฐบาล

ภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดส่งผลให้ ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ดิ่งลงถึง -2.88% ส่วนดัชนี S&P500 ก็ปรับตัวลดลงกว่า -2.12% ท่ามกลางความกังวลว่ารัสเซียพร้อมจะบุกโจมตียูเครนส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดสหรัฐฯ เลือกที่จะเทขายสินทรัพย์เสี่ยงออกมาก่อนเพื่อลดความผันผวนต่อพอร์ตการลงทุน

ส่วนในฝั่งยุโรป ดัชนี STOXX50 ของยุโรป ก็ปรับตัวลดลงราว -0.58% จากความกังวลปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนที่อาจนำไปสู่สงครามได้ทุกเมื่อ โดยแรงเทขายหนักกระจุกตัวในทั้งหุ้นกลุ่มเทคฯ และ หุ้นกลุ่ม Cyclical อย่าง กลุ่มการเงิน

อาทิ Adyen -5.3%, Infineon Tech. -2.6%, Intesa Sanpaolo -1.9%, ING -1.7% ทั้งนี้ เรามองว่า ยังคงต้องติดตามการเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน/นาโต้

โดยมองว่า หากทั้งสองฝ่ายสามารถบรรลุข้อตกลงและนำไปสู่การถอนกำลังทหารจากทุกฝ่ายออกจากพื้นที่ ก็จะเป็นสัญญาณที่ดีและอาจช่วยหนุนให้ตลาดกลับมาเปิดรับความเสี่ยงได้มากขึ้น

ส่วนทางด้านฝั่งตลาดบอนด์ก็เผชิญความผันผวนเช่นกัน โดยบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย โดยล่าสุด บอนด์ยีลด์ 10ปี สหรัฐฯ ปรับตัวลดลงสู่ระดับ 1.95% และมีโอกาสปรับตัวลดลงต่อได้จากความกังวลของผู้เล่นในตลาดต่อสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับยูเครน

อย่างไรก็ดี หากเกิดสงครามขึ้นจริง จากสถิติในอดีต ตลาดอาจปิดรับความเสี่ยงแค่ในระยะสั้นไม่ถึง 2 เดือน ทำให้เรามองว่ายังมีโอกาสที่บอนด์ยีลด์ระยะยาวจะสามารถปรับตัวสูงขึ้นในปีนี้ได้ จากแนวโน้มการใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นของเฟด

ในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์โดยรวมยังคงแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก หลังจากที่ตลาดยังคงกังวลปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน ทำให้ผู้เล่นในตลาดเลือกที่จะถือเงินดอลลาร์เป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ส่งผลให้ล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ปรับตัวขึ้นใกล้ระดับ 95.8 จุด

นอกเหนือจากเงินดอลลาร์แล้ว ผู้เล่นในตลาดยังเลือกเข้ามาถือเงินเยน (JPY) ด้วยเช่นกัน ส่งผลให้ เงินเยนแข็งค่าขึ้นแตะระดับ 114.8 เยนต่อดอลลาร์ ทั้งนี้ ความเสี่ยงปัญหาความขัดแย้งรัสเซียกับยูเครนที่ยังร้อนแรงอยู่ยังได้หนุนให้ราคาทองคำพุ่งขึ้นแตะระดับ 1,900 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเราคาดว่าการปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาทองคำจะส่งผลให้ ผู้เล่นในตลาดทยอยเข้ามาขายทำกำไรทองคำมากขึ้น ซึ่งโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวมีส่วนที่จะช่วยให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องได้ แม้ตลาดโดยรวมจะยังปิดรับความเสี่ยงก็ตาม

สำหรับวันนี้ ตลาดจะเฝ้าระวังและติดตามปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนและชาติพันธมิตร NATO อย่างใกล้ชิด เนื่องจากยังมีความเสี่ยงที่ความขัดแย้งอาจบานปลายสู่สงครามและกดดันให้ตลาดการเงินปิดรับความเสี่ยงได้

ส่วนในด้านข้อมูลเศรษฐกิจ ตลาดประเมินว่า ผลกระทบจากการระบาดของโอมิครอนในญี่ปุ่นอาจทำให้การบริโภคในประเทศยังฟื้นตัวได้ไม่ดีนัก สะท้อนผ่านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานที่ไม่รวมราคาสินค้าพลังงานและอาหารสด ของเดือนมกราคมที่จะลดลงสู่ระดับ -1.0%

ขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ที่ระดับ 0.6% หนุนโดยการปรับตัวขึ้นของราคาสินค้าพลังงานและอาหารสดเป็นหลัก ซึ่งแนวโน้มเงินเฟ้อที่ยังไม่ได้เร่งตัวขึ้นมากและยังห่างไกลจากเป้าหมายที่ 2% ของธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) จะทำให้ BOJ ยังคงใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อและยังไม่มีแนวโน้มที่จะขึ้นดอกเบี้ยได้ในปีนี้

ทั้งนี้ แนวโน้มการคงใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายของ BOJ จะช่วยหนุนให้ค่าเงินเยนกลับมาอ่อนค่าลงในโซน 115-116 เยนต่อดอลลาร์ได้ และช่วยให้ตลาดหุ้นญี่ปุ่นสามารถปรับตัวขึ้นได้ในระยะถัดไป แม้ว่าในระยะสั้นตลาดหุ้นญี่ปุ่นจะปรับตัวลดลงจากความเสี่ยงที่จะเกิดสงครามซึ่งหนุนให้เงินเยนกลับมาแข็งค่าในช่วงนี้

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ชาวไร่อ้อยโอดต้นทุนพุ่ง บี้อุตฯเคาะโครงการช่วยเหลือด่วน!

นายนราธิป อนันตสุข หัวหน้าสำนักงานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า ปลายเดือนมีนาคมนี้ 4 องค์กรชาวไร่อ้อยประกอบด้วยสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน สหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทยจะขอเข้าพบนายสุริยะจึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เพื่อขอให้พิจารณาเร่งรัดโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อนำเงินมาเสริมสภาพคล่องในการบำรุงและพัฒนาอ้อยในฤดูต่อไป (ปี 2565/66 )

“ขณะนี้การเปิดหีบอ้อยตั้งแต่ 7 ธันวาคม 2564 ล่าสุดปริมาณอ้อยฤดูหีบปี 2564/65 อยู่ที่ระดับกว่า 62 ล้านตัน และเร็วๆ นี้จะสูงกว่าฤดูหีบปี 2563/64 ที่66.67 ล้านตัน โดยคาดว่าในช่วงต้นมีนาคมนี้โรงงานจะเริ่มทยอยปิดหีบและจะไปปิดหีบเกือบทั้งหมดในสิ้นมีนาคมนี้ซึ่งภาพรวมขณะนี้ปริมาณอ้อยเข้าหีบจะได้ตามเป้าหมายที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(กอน.) กำหนดไว้ที่ 85 ล้านตัน แต่ 90ล้านตัน ตามที่โรงงานน้ำตาลคาดการณ์ไว้นั้นก็มีโอกาสเป็นไปได้หากฝนไม่มาเร็วเกินไป”นายนราธิปกล่าว

ขณะนี้สภาพอากาศค่อนข้างแปรปรวนหลายพื้นที่ฝนตกค่อนข้างมากทำให้โรงงานและชาวไร่อ้อยต้องเร่งตัดอ้อยป้อนโรงงานซึ่งก็ยังกังวลว่าจะทำให้มีการตัดอ้อยไฟไหม้เพิ่มขึ้นแต่ชาวไร่อ้อยภาพรวมจะพยายามตัดอ้อยสดให้เป็นไปตามเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม จากการที่โรงงานได้เสนอระบบประกันการรับซื้ออ้อยสดมีคุณภาพในรอบการเพาะปลูกปี 2565/66-2567/68 ในราคา 1,200 บาทต่อตันอ้อย ณ ค่าความหวาน 12.63 ซี.ซี.เอส.ถือเป็นเรื่องที่ดีหากสภาพฝนเอื้อก็มีโอกาสเห็นปริมาณอ้อยฤดูหีบปี 2565/66 แตะระดับ 100 ล้านตันอีกครั้งก็เป็นไปได้

“อ้อยจะกลับไปสู่ 100 ล้านตันอีกครั้งนั้นขึ้นอยู่กับราคาอ้อยซึ่งระดับขณะนี้ก็จูงใจระดับหนึ่งแต่สภาพฝนก็สำคัญเพราะถ้าหลังปิดหีบฝนตกต่อเนื่องก็จะทำให้อ้อยตอและอ้อยปลูกใหม่โตเร็ว แต่ยอมรับว่าต้นทุนปุ๋ย สารเคมี น้ำมัน หากยังสูงเช่นขณะนี้ก็จะกระทบต่อต้นทุนปี 2565/66 ค่อนข้างมาก” นายนราธิปกล่าว

ปัจจุบันชาวไร่อ้อยประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาไม่ได้เพราะผลกระทบการแพร่ระบาดโควิด-19 การตัดจึงมุ่งเน้นใช้รถตัดอ้อย โดยภาพรวมแรงงานจากอดีตที่ต้องพึ่งพิงต่างด้าว 1 ล้านคนขณะนี้เหลือไม่ถึง 3 แสนคน โดยต้นทุนฤดูหีบปี 2564/65 ที่กำลังหีบเรื่องของราคาปุ๋ยยังกระทบไม่มากนักเพราะราคาเพิ่งขยับในช่วงสิ้นปีแต่ที่กระทบหนักคือแรงงานที่ขาดแคลนกับค่าขนส่งอ้อยที่ปรับขึ้นจากเดิมเฉลี่ยตันละ 130-150 บาท เป็น 180-220 บาทต่อตัน(คิดตามระยะทาง)

ด้านนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่ากระทรวงอุตสาหกรรมกำลังพิจารณาข้อมูลการรายงานผลผลิตอ้อยปี 2564/65 ที่ 57 โรงงานอยู่ระหว่างการเปิดหีบเพื่อสรุปปริมาณอ้อยสดทั้งหมดในการนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)เพื่ออนุมัติโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5)เช่นเดียวกับฤดูหีบปี 2563/64 ที่ผ่านมา

“กระทรวงอุตสาหกรรมยืนยันที่จะสนับสนุนนโยบายรัฐลด PM2.5 ที่ส่งเสริมการตัดอ้อยสด ลดอ้อยไฟไหม้โดยการช่วยเหลือเงินส่งเสริมการตัดอ้อยสดให้กับชาวไร่เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา ซึ่งครม.อนุมัติโครงการดังกล่าวโดยใช้แหล่งเงินทุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) อัตรา 120 บาทต่อตัน การช่วยเหลืออาจต้องรอการปิดหีบเพื่อสรุปปริมาณอ้อยสดก่อน” นายสุริยะกล่าว

นายสุริยะกล่าวว่า ครม.เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 ได้ให้หลักการไว้แล้วในการสนับสนุนการตัดอ้อยสดพร้อมกับกำหนดเป้าหมายการตัดอ้อยสดไว้ได้แก่ กำหนดปริมาณอ้อยไฟไหม้เข้าหีบ แบ่งเป็น 1.ฤดูกาลผลิตปี 2564/65 อ้อยไฟไหม้ไม่เกิน 10% (อ้อยสด 90%)2.ฤดูกาลผลิตปี 2565/66 อ้อยไฟไหม้ไม่เกิน 5%(อ้อยสด 95%) และฤดูกาลผลิตปี 2566/67อ้อยไฟไหม้เป็นศูนย์

จาก https://www.naewna.com วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

สอน. เดินหน้าแก้ปัญหาอ้อยไฟไหม้-ลดปริมาณ PM 2.5

สอน. เดินหน้าแก้ปัญหาอ้อยไฟไหม้-ลดปริมาณ PM 2.5 พื้นที่ปลูกอ้อย 47 จังหวัดทั่วประเทศ สอดรับกับนโยบายของรัฐบาล

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย  (สอน.) ดำเนินการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้อย่างเร่งด่วน

เนื่องจากได้เล็งเห็นถึงปัญหาอ้อยไฟไหม้ที่นำส่งเข้าโรงงานน้ำตาลในทุกพื้นที่  เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการลดอ้อยไฟไหม้ของรัฐบาล ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5

นายเอกภัทร วังสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กล่าวว่า สถานการณ์ภายหลังเปิดหีบอ้อยในฤดูการผลิตปี 2564/2565 ไปแล้วกว่า 60 วัน พบว่าหลายพื้นที่ ยังมีปริมาณอ้อยไฟไหม้เกินกว่า 10% ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมด สถาบันชาวไร่อ้อยในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก รวม 37 สมาคม

และโรงงานน้ำตาล 3 แห่ง ได้แก่ บริษัท อุตสาหกรรมโคราช จำกัด บริษัท โรงงานน้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด และบริษัท น้ำตาลระยอง จำกัด สาขาชัยภูมิ ได้ตกลงร่วมมือในการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้

เพื่อแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ รณรงค์ลดการเผาอ้อยก่อนตัด ผลิตอ้อยสดคุณภาพดี และมีเงื่อนไขให้โรงงานน้ำตาลรับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบได้ไม่เกิน 10% ต่อวัน

โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การดำเนินการดังกล่าว เป็นการร่วมมือกันแก้ไขปัญหาของสมาคมชาวไร่อ้อย และโรงงานน้ำตาลทั้ง 3 แห่ง เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ลดความเดือนร้อนของพี่น้องประชาชน พร้อมทั้งได้ขอความร่วมมือกับจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดออกประกาศฯ ควบคุมไม่ให้มีการเผาอ้อยควบคู่กันไปด้วย

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

สอน.เร่งดึงชาวไร่-โรงงาน MOU เดินหน้าแก้ปัญหาอ้อยไฟไหม้ไม่ให้เกิน 10%

สอน.เดินหน้าแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ในพื้นที่ปลูกอ้อย 47 จังหวัดทั่วประเทศ โดยให้สมาคมชาวไร่อ้อย และโรงงานน้ำตาลร่วมกันแก้ไขปัญหา และความรับผิดชอบต่อสังคมผ่านการ MOU ร่วมกัน โดยมีสถาบันชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลบางส่วนร่วมดำเนินการแล้ว

เปิดเผยว่า นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธาน กอน. ได้เล็งเห็นถึงปัญหาอ้อยไฟไหม้ที่นำส่งเข้าโรงงานน้ำตาลในทุกพื้นที่ จึงได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ดำเนินการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้อย่างเร่งด่วน เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการลดอ้อยไฟไหม้ของรัฐบาลที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 โดยสถานการณ์ภายหลังเปิดหีบอ้อยในฤดูการผลิตปี 2564/2565 ที่ดำเนินไปแล้วกว่า 60 วัน พบว่าหลายพื้นที่ยังมีปริมาณอ้อยไฟไหม้เกินกว่า 10% ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมด ทั้งนี้ สถาบันชาวไร่อ้อยในเขตพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก รวม 37 สมาคม และโรงงานน้ำตาล 3 แห่ง ได้แก่ บริษัท อุตสาหกรรมโคราช จำกัด บริษัท โรงงานน้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด และบริษัท น้ำตาลระยอง จำกัด สาขาชัยภูมิ จึงได้ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้” เพื่อแสดงเจตนารมณ์ในการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ รณรงค์ลดการเผาอ้อยก่อนตัด ผลิตอ้อยสดคุณภาพดี และมีเงื่อนไขให้โรงงานน้ำตาลรับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบได้ไม่เกิน 10% ต่อวัน โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีผลตั้งแต่วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 และภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก มีผลตั้งแต่วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป

การลงนามในบันทึกความร่วมมือการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ เป็นความพร้อมใจในการเดินหน้าแก้ไขปัญหาของสมาคมชาวไร่อ้อย และโรงงานน้ำตาลทั้ง 3 แห่ง เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ลดความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชน พร้อมทั้งได้ขอความร่วมมือกับจังหวัด โดยผู้ว่าราชการจังหวัดออกประกาศฯ ควบคุมไม่ให้มีการเผาอ้อยควบคู่กันไปด้วย

จาก https://mgronline.com  วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

“สุริยะ” ยันชง "ครม." ขอเงินหนุนตัดอ้อยสด-ลุ้นผลผลิตฤดูใหม่ 100 ล้านตัน

 “สุริยะ” ลั่นพร้อมชง ครม.สนับสนุนกรอบวงเงินช่วยเกษตรกรตัดอ้อยสดลด PM 2.5 ตามนโยบายเดิม 120 บาทต่อตันแต่ต้องรอปริมาณอ้อยสดให้ชัดเจนก่อนโดยเฉพาะหลังปิดหีบ ด้าน 4 องค์กรชาวไร่อ้อยเตรียมพบ "สุริยะ" ปลาย มี.ค.นี้หวังเร่งรัดเงินตัดอ้อยสดมั่นใจปิดหีบสิ้น มี.ค.นี้ ชี้ผลผลิตล่าสุดเกินปีที่ผ่านมาแล้ว 85 ล้านตันได้แน่แต่จะถึง 90 ล้านตันยังต้องรอลุ้น ชี้ปี 65/66 หากฝนเอื้อผลผลิตอาจกลับมาสู่ระดับ 100 ล้านตันได้

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรมอยู่ระหว่างการพิจารณาข้อมูลการรายงานผลผลิตอ้อยปี 2564/65 ที่ 57 โรงงานอยู่ระหว่างการเปิดหีบเพื่อที่จะสรุปปริมาณอ้อยสดทั้งหมดในการนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่ออนุมัติโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) เช่นเดียวกับฤดูหีบปี 2563/2564 ที่ผ่านมา

“กระทรวงอุตสาหกรรมยืนยันที่จะสนับสนุนนโยบายรัฐลด PM2.5 ที่ส่งเสริมการตัดอ้อยสด ลดอ้อยไฟไหม้โดยการช่วยเหลือเงินส่งเสริมการตัดอ้อยสดให้ชาวไร่เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมา ซึ่ง ครม.อนุมัติโครงการดังกล่าวโดยใช้แหล่งเงินทุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) อัตรา 120 บาทต่อตัน โดยการช่วยเหลืออาจจะต้องรอการปิดหีบเพื่อสรุปปริมาณอ้อยสดก่อน” นายสุริยะกล่าว

ทั้งนี้ ครม.เมื่อ 11 พ.ค. 2564 ได้ให้หลักการไว้แล้วในการสนับสนุนการตัดอ้อยสดพร้อมกับกำหนดเป้าหมายการตัดอ้อยสดไว้ ได้แก่ กำหนดปริมาณอ้อยไฟไหม้เข้าหีบ แบ่งเป็น 1. ฤดูการผลิตปี 2564/2565 อ้อยไฟไหม้ไม่เกิน 10% (อ้อยสด 90% ) 2. ฤดูการผลิตปี 2565/2566 อ้อยไฟไหม้ไม่เกิน 5% (อ้อยสด 95%) และฤดูการผลิตปี 2566/2567 อ้อยไฟไหม้เป็นศูนย์

นายนราธิป อนันตสุข หัวหน้าสำนักงานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปลายเดือน มี.ค.นี้ 4 องค์กรชาวไร่อ้อย ประกอบด้วย สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน สหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย จะขอเข้าพบนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เพื่อขอให้พิจารณาเร่งรัดโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อนำเงินมาเสริมสภาพคล่องในการบำรุงและพัฒนาอ้อยในฤดูต่อไป(ปี 65/66 )

“ขณะนี้การเปิดหีบอ้อยตั้งแต่ 7 ธ.ค. 64 ล่าสุดปริมาณอ้อยฤดูหีบปี 64/65 อยู่ที่ระดับกว่า 62 ล้านตัน และเร็วๆ นี้จะสูงกว่าฤดูหีบปี 2563/64 ที่ 66.67 ล้านตัน โดยคาดว่าในช่วงต้น มี.ค.นี้โรงงานจะเริ่มทยอยปิดหีบและจะไปปิดหีบเกือบทั้งหมดในสิ้น มี.ค. ซึ่งภาพรวมขณะนี้ปริมาณอ้อยเข้าหีบจะได้ตามเป้าหมายที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) กำหนดไว้ที่ 85 ล้านตัน แต่ 90 ล้านตันตามที่โรงงานน้ำตาลคาดการณ์ไว้นั้นก็มีโอกาสเป็นไปได้หากฝนไม่มาเร็วจนเกินไป” นายนราธิปกล่าว

ทั้งนี้ ยอมรับว่าขณะนี้สภาพอากาศค่อนข้างแปรปรวนโดยหลายพื้นที่ฝนตกค่อนข้างมากทำให้โรงงานและชาวไร่อ้อยต้องเร่งตัดอ้อยป้อนโรงงานซึ่งก็ยังกังวลว่าจะทำให้มีการตัดอ้อยไฟไหม้เพิ่มขึ้นแต่ชาวไร่อ้อยภาพรวมจะพยายามตัดอ้อยสดให้เป็นไปตามเป้าหมาย อย่างไรก็ตาม จากการที่โรงงานได้เสนอระบบประกันการรับซื้ออ้อยสดมีคุณภาพในรอบการเพาะปลูกปี 2565/66-2567/68 ในราคา 1,200 บาทต่อตันอ้อย ณ ค่าความหวาน 12.63 ซีซีเอส ถือเป็นเรื่องที่ดี และหากสภาพฝนเอื้ออำนวยก็มีโอกาสจะเห็นปริมาณอ้อยฤดูหีบปี 2565/66 แตะระดับ 100 ล้านตันอีกครั้งก็เป็นไปได้

“อ้อยจะกลับไปสู่ 100 ล้านตันอีกครั้งนั้นขึ้นอยู่กับราคาอ้อย ซึ่งระดับขณะนี้ก็จูงใจระดับหนึ่งแต่สภาพฝนก็สำคัญมากเพราะถ้าหลังปิดหีบฝนตกต่อเนื่องก็จะทำให้อ้อยตอและอ้อยปลูกใหม่โตเร็ว แต่ยอมรับว่าต้นทุนปุ๋ย สารเคมี น้ำมัน หากยังสูงเช่นขณะนี้ก็จะกระทบต่อต้นทุนปี 2565/66 ค่อนข้างมาก” นายนราธิปกล่าว

ปัจจุบันชาวไร่อ้อยยังคงประสบปัญหาการขาดแคลนแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาไม่ได้เพราะผลกระทบการแพร่ระบาดโควิด-19 การตัดจึงมุ่งเน้นใช้รถตัดอ้อยที่มีอยู่กับเครื่องมือที่ดัดแปลงจากรถไถมาสู่การตัดอ้อยผสมผสานกันไป โดยภาพรวมแรงงานจากอดีตที่ต้องพึ่งพิงต่างด้าว 1 ล้านคนขณะนี้เหลือไม่ถึง 3 แสนคน โดยต้นทุนฤดูหีบปี 2564/65 ที่กำลังหีบเรื่องของราคาปุ๋ยยังกระทบไม่มากนักเพราะราคาเพิ่งขยับในช่วงสิ้นปี แต่ที่กระทบหนักคือแรงงานที่ขาดแคลนกับค่าขนส่งอ้อยที่มีการปรับขึ้นจากเดิมเฉลี่ยตันละ 130-150 บาทเป็น 180-220 บาทต่อตัน (คิดตามระยะทาง)

จาก https://mgronline.com  วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

กรมเจรจาฯเร่งปิดดีลFTA เพิ่มโอกาสการค้า-ลงทุน

 นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงแผนการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) ของไทย ในปี 2565 ว่า กรมฯจะ เดินหน้าเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีอย่างเต็มที่ ตามนโยบายนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ที่ให้เร่งสร้างแต้มต่อให้กับสินค้าส่งออกของไทยและการใช้ประโยชน์จาก FTA สร้างโอกาสทางการค้าการลงทุนให้กับผู้ประกอบการไทย โดยมีแผนเจรจา FTA ที่ค้างอยู่กับตุรกี เตรียมที่จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม รอบที่ 8 ในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน 2565 เพื่อหารือเรื่องการเปิดตลาดสินค้าและจัดทำข้อบท FTA ที่ยังค้างอยู่ให้คืบหน้ามากที่สุด ตั้งเป้าสรุปให้สำเร็จภายในปีนี้

ส่วนการเจรจา FTA กับปากีสถาน ปัจจุบันการจัดทำรายละเอียดของความตกลงใกล้เสร็จแล้ว คงเหลือในส่วนของการเปิดตลาดอยู่ระหว่างนัดหมายปากีสถาน เพื่อเร่งจัดประชุมหารือเรื่องที่ยังค้างโดยเร็ว และการเจรจา FTA อาเซียน-แคนาดา หลังจากที่ได้ตกลงเปิดเจรจาไปเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2564 ซึ่งอยู่ระหว่างกำหนดแผนการเจรจา คาดว่าจะนัดประชุมรอบแรกในเร็วๆ นี้

สำหรับการเปิดเจรจา FTA ฉบับใหม่ 2 ฉบับ คือ FTA ไทย-สหภาพยุโรป (อียู) และ FTA ไทย-สมาคมการค้าเสรียุโรป (เอฟตา) กรมฯ ได้หารือกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องของไทยเพื่อร่างกรอบการเจรจา ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขอความเห็นชอบเปิดการเจรจาต่อไปโดยเอฟตาคาดว่า จะเสนอ ครม. เพื่อพิจารณาช่วงปลายไตรมาสที่ 1 หรือต้นไตรมาส 2 ของปีนี้

จาก https://www.naewna.com วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

กรมโรงงานฯ เตือน 65,000 โรงงานเร่งส่งรายงานกำจัดของเสียภายใน 1 มี.ค.นี้

กรมโรงงานฯ เตือนผู้ก่อกำเนิดของเสีย ผู้รวบรวมและขนส่ง และผู้บำบัดและกำจัดของเสียทั่วประเทศกว่า 65,000 โรงงาน ซึ่งมีหน้าที่ต้องรายงานการกำจัดของเสียประจำปี ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548 ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของ กรอ. ภายในวันที่ 1 มีนาคมนี้ หากฝ่าฝืนมีโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2 แสนบาท

เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบข้อมูลในระบบฐานข้อมูลของ กรอ. พบว่าประเทศไทยมีผู้ประกอบกิจการโรงงานจำนวนมากกว่า 65,000 โรงงาน ทำให้เกิดของเสียอุตสาหกรรมหรือวัสดุไม่ใช้แล้วจากกระบวนการผลิต จำแนกเป็นของเสียอันตราย ประมาณ 1.5 ล้านตัน และของเสียไม่อันตราย ประมาณ 17 ล้านตัน ที่จะต้องได้รับการจัดการให้เป็นไปตามกฎหมาย และผู้ประกอบกิจการโรงงานจะต้องรายงานข้อมูลการผลิต การใช้วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์ รวมถึงปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นต่อ กรอ. ภายในวันที่ 1 มีนาคมของทุกปี นอกจากนี้ยังพบอีกว่ามีโรงงานอีกเป็นจำนวนมากที่ยังไม่ได้ส่งรายงานเกี่ยวกับการกำจัดของเสียประจำปี พ.ศ. 2564 ซึ่งมีกำหนดส่งภายในวันที่ 1 มีนาคม 2565      โดยผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ตั้งอยู่ทั่วประเทศรวมถึงโรงงานที่อยู่ในนิคมอุตสาหกรรม และเขตประกอบการอุตสาหกรรม มีหน้าที่ต้องส่งรายงานดังกล่าวตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548 ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวจะมีความผิดตาม พ.ร.บ. โรงงาน ต้องระวางโทษปรับสูงสุดไม่เกิน 2 แสนบาท ซึ่ง กรอ.จะดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด

“กรอ.อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน ซึ่งประกอบด้วยผู้ก่อกำเนิดของเสีย ผู้รวบรวมและขนส่ง และผู้บำบัดและกำจัดของเสีย สามารถส่งรายงานตามแบบฟอร์มใบแจ้งเกี่ยวกับรายละเอียดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว สำหรับผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (แบบ สก.3) /ใบแจ้งเกี่ยวกับรายละเอียดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว สำหรับผู้รวบรวมและขนส่งสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (แบบ สก.4) / ใบแจ้งเกี่ยวกับรายละเอียดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว สำหรับผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (แบบ สก.5) ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ http://iwmb5.diw.go.th/e-license/login.asp หรือส่งเป็นเอกสารได้ที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศ” อธิบดีกรมโรงงานฯ กล่าว

จาก https://mgronline.com  วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

อีอีซี ถกผู้แทนทูตฮังการี-รัสเซีย ชักจูงลงทุนอุตฯเป้าหมายในพื้นที่

นายเพ็ชร ชินบุตร รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการเขตพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี เปิดเผยว่า ปัจจุบัน สกพอ.กำลังขับเคลื่อนแผนการลงทุนระยะ 2 (ระหว่างปี 2565-2569) ตั้งเป้าหมายให้เกิดการลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท หรือปีละ 5 แสนล้านบาท ต่อเนื่อง 5 ปี มุ่งเน้นดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ โดยตั้งแต่ต้นปี 2565 สกพอ.ได้ผลักดันให้มีการเจรจาทางธุรกิจระหว่างนักลงทุนต่างประเทศ ทั้งจากภูมิภาคเอเชีย ยุโรป และนักลงทุนไทย และเร่งนำเสนอแผนการลงทุน ให้คณะผู้แทนทางทูตประเทศกลุ่มเป้าหมายและประเทศที่มีความสนใจเข้ามาลงทุนในอีอีซี ได้รับทราบถึงสิทธิประโยชน์ต่างๆ และชักจูงให้เกิดการลงทุนร่วมกันต่อไป

ล่าสุด สกพอ.หารือกับนายชานโดร์ ชีโปช เอกอัครราชทูตฮังการีประจำประเทศไทย นำเสนอข้อมูลความก้าวหน้าในการพัฒนาโครงการอีอีซี โอกาสการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย สิทธิประโยชน์ด้านการลงทุนและการอำนวยความสะดวกการลงทุนในพื้นที่ และการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รวมทั้งได้หารือถึงแนวทางการชักจูงการลงทุนจากภาคธุรกิจของฮังการีมายังพื้นที่อีอีซี ซึ่งมีความสนใจในเรื่องการบริหารจัดการน้ำ และการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ

โดยเอกอัครราชทูตฮังการีประจำประเทศไทยได้แสดงความสนใจในการสร้างความร่วมมือกับ สกพอ. ในการชักจูงการลงทุนบริษัทเป้าหมายจากฮังการี และการจับคู่ทางธุรกิจกับภาคเอกชนไทย โดยทางสถานทูตฮังการีประจำประเทศไทยและ สกพอ. จะกำหนดสาขาความร่วมมือที่สนใจร่วมกันและชักจูงการลงทุนจากภาคเอกชนจากฮังการีต่อไป

อีอีซีต้อนรับคณะรัสเซีย

นอกจากนี้ยังได้ให้การต้อนรับ นายสเตฟาน โกโลวิน รองหัวหน้าสำนักงาน สถานเอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐรัสเซียประจำประเทศไทย และคณะ และหารือประเด็นความคืบหน้าโครงการโครงสร้างพื้นฐานและโอกาสการลงทุนในพื้นที่อีอีซี ภายใต้กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย 4 กลุ่ม ได้แก่ สุขภาพ ดิจิทัล การลดการปล่อยคาร์บอน และโลจิสติกส์ โดยผู้แทนฝ่ายรัสเซียได้แสดงความสนใจสานความร่วมมือระหว่างกันอย่างเป็นรูปธรรม ในสาขาดิจิทัล การแพทย์ พลังงานทดแทน การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ การพัฒนาโครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก และด้านการศึกษาและการฝึกอบรมบุคลากร

ทั้งนี้ สกพอ.ยังเสนอให้มีการเดินทางไปเยี่ยมชมโครงการเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซีไอ ในพื้นที่อีอีซี ระหว่างการเยือนไทยอย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีสหพันธ์สาธารณรัฐรัสเซีย ในโอกาสเข้าร่วมการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก หรือเอเปค ช่วงปลายปี 2565 ด้วย

จาก https://www.matichon.co.th  วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

‘สุริยะ’ เล็งชงครม.เพิ่มเงินชาวไร่ตัดอ้อยสด 120 บาทต่อตัน

 ‘สุริยะ’ เล็งชงครม.เพิ่มเงินชาวไร่ตัดอ้อยสด 120 บาทต่อตัน ด้าน 4 องค์กรชาวไร่อ้อยเข้าพบปลายมี.ค.หวังเร่งรัดเงิน ลุ้นอ้อยปิดหีบ 90 ล้านตัน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงอุตสาหกรรมอยู่ระหว่างการพิจารณาข้อมูลการรายงานผลผลิตอ้อยปี 2564/65 จากโรงงานน้ำตาล 57 แห่ง ทั่วประเทศ เพื่อสรุปปริมาณอ้อยสดเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดลดฝุ่นพิษ(พีเอ็ม2.5) เช่นเดียวกับฤดูหีบปี 2563/64 ซึ่งสนับสนุน 120 บาทต่อตัน ใช้แหล่งเงินทุนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) โดยมติครม. เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 อนุมัติหลักการสนับสนุนการตัดอ้อยสดพร้อมกำหนดปริมาณอ้อยสดและอ้อยไฟไหม้ที่เข้าหีบ แบ่งเป็น 1.ฤดูการผลิตปี 2564/2565 อ้อยไฟไหม้ไม่เกิน 10% (อ้อยสด 90% ) 2.ฤดูการผลิตปี 2565/2566 อ้อยไฟไหม้ไม่เกิน 5% (อ้อยสด95% ) และฤดูการผลิตปี 2566/2567 อ้อยไฟไหม้เป็นศูนย์

นายนราธิป อนันตสุข หัวหน้าสำนักงานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปลายเดือนมีนาคมนี้ 4 องค์กรชาวไร่อ้อย ประกอบด้วย สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน สหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย จะขอเข้าพบนายสุริยะ เพื่อขอให้พิจารณาเร่งรัดโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อนำเงินมาเสริมสภาพคล่องในการบำรุงและพัฒนาอ้อยในฤดูต่อไป(ปี 2565/66 ) ส่วนความคืบหน้าการเปิดหีบฤดูการผลิตปี 2564/65 คาดว่าช่วงต้นเดือนมีนาคม โรงงานจะปิดหีบทั้งหมด ภาพรวมปริมาณอ้อยเข้าหีบน่าจะได้ตามเป้าหมาย 85 ล้านตัน แต่จะถึง 90 ล้านตันหรือไม่ต้องติดตามอีกครั้ง

จาก https://www.matichon.co.th  วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

แลฝรั่งมองไทย แก้ฝุ่นพีเอ็ม 2.5

ถึงฤดูแล้ง ฝุ่นพีเอ็ม 2.5 พุ่งปรี๊ดติดชาร์ตเป็นประจำทุกปี จนกลายเป็นปัญหาระดับชาติของประเทศ

และแนวทางหนึ่งที่รัฐบาลพยายามหาทางแก้ปัญหาแต่ไม่ค่อยได้ผล นั่นคือ ลดการเผานาข้าว เผาอ้อย เผาป่า รวมไปถึงลดการเผาในที่โล่ง

ทั้งที่วัสดุถูกเผาเหล่านี้ล้วนมีศักยภาพที่จะนำมาทำเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ หากเก็บรวบรวมมาเผาในระบบปิดที่ถูกออกแบบไว้โดยเฉพาะ

“จากการศึกษาแนวทางการบริหารจัดการในเรื่องนี้ของต่างประเทศ สหภาพยุโรปให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก มีการเก็บรวบรวมทั้งกิ่งก้าน ใบและรากของต้นไม้ในป่า โดยเหลือส่วนหนึ่งทิ้งไว้ให้เป็นประโยชน์ต่อระบบนิเวศ รวมทั้งรวบรวมเศษวัสดุการเกษตรในไร่นาที่เหลือทิ้งจากการเก็บเกี่ยว นำมาใช้เป็นแหล่งพลังงานได้ ไม่ว่าจะเป็นการนำมาเข้าเตาเผาเพื่อผลิตไอน้ำแล้วปั่นไฟฟ้าโดยตรง หรือแปรรูปให้เป็นก๊าซมีเทน ผ่านกระบวนการ gasification หรือ fast pyrolysis แปรรูปเป็นเชื้อเพลิงเหลวที่เรียกว่าไบโอ ออยล์ แล้วจึงนำไปใช้ประโยชน์เป็นเชื้อเพลิง สามารถช่วยให้เกิดสมดุลเรื่องการปลดปล่อยคาร์บอนได้มาก เมื่อเทียบกับการใช้ถ่านหินหรือแหล่งพลังงานจากปิโตรเลียม”

ดร.บุรินทร์ สุขพิศาล คณะบริหารธุรกิจ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง บอกว่า สำหรับบ้านเรา จะมีแต่การนำผลพลอยได้จากโรงงานแปรรูปสินค้าเกษตรมาผลิตไฟฟ้าโดยตรงเท่านั้น เช่น โรงสีข้าว ได้แกลบ นำแกลบมาเผาเพื่อผลิตไอน้ำหรือไฟฟ้า โรงสกัดน้ำมันปาล์ม นำทะลายปาล์มและกะลาปาล์มมาผลิตไอน้ำและไฟฟ้า โรงน้ำตาลนำกากอ้อยมาผลิตไอน้ำและไฟฟ้า

เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหาเพราะผลพลอยได้จากสิ่งเหล่านี้ มีเหลือทิ้งอยู่ที่โรงงานแปรรูปอยู่แล้ว ทำแค่เพียงตั้งโรงผลิตไอน้ำ ตั้งโรงไฟฟ้าในโรงสี ในโรงปาล์ม ในโรงน้ำตาล เป็นเรื่องที่เรานิยมทำกันมานานแล้ว

“แต่เมื่อพูดถึงเศษวัสดุการเกษตรที่เป็นต้นกำเนิดของปัญหาฝุ่นพีเอ็ม 2.5 กลับกลายเป็นเศษวัสดุที่ตกหล่นอยูในไร่นา เช่น ฟางข้าว ใบอ้อย ที่มัก จะถูกกำจัดด้วยวิธีง่ายๆเผากลางแจ้งจนเป็นต้นเหตุสำคัญของฝุ่นพีเอ็ม 2.5

ดังนั้น ประเทศไทยควรเอาแบบอย่างการบริหารจัดการของฝรั่งมาใช้บ้าง แต่ดูเหมือนภาครัฐจะขยับได้ช้า เพราะโควตาการผลิตไฟฟ้ากลายเป็นของมีค่าที่ใครๆก็อยากได้ แถมภาครัฐยังมีขั้นตอนที่เรียกว่าคนธรรมดาไม่อาจเอื้อมถึงได้โดยง่าย”

ดร.บุรินทร์ บอกอีกว่า การจัดการปัญหานี้ในยุโรป มีการทำแผนที่นำทางในระดับภูมิภาค โดยการให้ทุนและผลักดันจนเกิดโครงการต่างๆขึ้น เช่น GoBiGas ของสวีเดน เมื่อปี 2550 ที่ใช้กระบวนการ gasification เพื่อผลิตไบโอมีเทนและความร้อน เชื้อเพลิงยานยนต์และไฟฟ้าจากเศษวัสดุและไม้จากป่า มีกำลังผลิตไฟฟ้า 100 เมกะวัตต์

โครงการของกลุ่ม Carbonarius ของประเทศอังกฤษ เมื่อปี 2556 มีการลงทุนใช้เศษวัสดุจากป่าไม้มาผลิตในลักษณะเดียวกับ GoBiGas ของสวีเดน ในปีเดียวกันโครงการของกลุ่ม Fortum ในฟินแลนด์ ใช้เทคโนโลยี Fast Pyrolysis เพื่อผลิตไบโอออยล์ และอีกสองปีต่อมามีโครงการของกลุ่ม Empyro ในเนเธอร์แลนด์ ผลิตไบโอออยล์เพื่อใช้เป็นพลังงานในการผลิตไอน้ำและกระแสไฟฟ้าแทนการใช้ก๊าซธรรมชาติ และยังมีโครงการในลักษณะเดียวกันเกิดขึ้นที่ประเทศเอสโตเนีย และลัตเวีย เพื่อส่งออกไบโอออยล์ไปยังฟินแลนด์และสวีเดน

ส่วนในประเทศไทยยังไม่มีโครงการเหล่านี้เกิดขึ้นอย่างจริงจัง จะมีก็แต่การรวบรวมใบอ้อยไปผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าอยู่บ้าง ส่วนการนำวัสดุตกค้างในไร่นาสวนหรือป่าไปผลิตเป็นไบโอออยล์ ไบโอมีเทนเพื่อนำไปใช้ผลิตพลังงานในขั้นต่อไปยังไม่เกิดขึ้น

ปัญหาฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ที่เกิดขึ้นทุกปี ถึงเวลาแล้วหรือยังที่หน่วยงานภาครัฐต้องเตรียมขับเคลื่อนอย่างจริงจัง และหากประเทศไทยยังไม่เดินหน้าในการนำวัสดุตกค้างในไร่นาสวนหรือป่ามาแปรรูปเป็นพลังงานรูปแบบใหม่ๆ หรือยังมัวแต่หวงโควตาโรงไฟฟ้าชีวมวลกันไว้แบบนี้ เราคงไม่มีทางที่จะตอบสนองต่อเป้าหมายการสร้างสมดุลคาร์บอน ที่ไปแสดงวิสัยทัศน์ไว้ในการประชุม COP26 ได้

นอกจากประเทศจะเต็มไปด้วยฝุ่นพีเอ็มไปอีกนานแสนนานแล้ว ยังจะทำให้ประเทศต่างๆ มองเราอย่างดูแคลนได้ว่า นโยบาย BCG (Bio-Circular-Green Economy) ของรัฐบาลไทยที่ถูกกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ เป็นแค่เพียงตัวหนังสือบนแผ่นกระดาษและลมปากของนักการเมืองเท่านั้นเอง.

จาก https://www.thairath.co.th  วันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

กฟผ.-กลุ่มมิตรผล วิจัยความรู้นวัตกรรมพลังงานหมุนเวียนมุ่งเป้าโตยั่งยืน

กฟผ.ผนึกกลุ่มมิตรผล วิจัยความรู้นวัตกรรมพลังงานหมุนเวียนมุ่งเป้าโตยั่งยืน พร้อมร่วมแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดปัญหา PM 2.5 และลดการเผาไหม้

นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ได้ดำเนินการร่วมกับกลุ่มมิตรผล เพื่อการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้แห่งนวัตกรรม ด้านพลังงานหมุนเวียนและพลังงานสะอาด ประเภทชีวมวล และอื่น ๆ สู่การเติบโตอย่างมั่นคง ยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้ การดำเนินการดังกล่าวจะเป็นการนำจุดแข็งของทั้ง 2 องค์กรมาร่วมสร้างสรรค์สิ่งที่ดี โดยหลายแนวคิดของกลุ่มมิตรผลเป็นแนวคิดที่เป็นแบบอย่างที่ดี เช่น การใช้ Circular Economy ในองค์กร นำทรัพยากรมาใช้ให้เกิดประโยชน์สุงสุด

ขณะที่ กฟผ. มีความรู้และประสบการณ์ในด้านดูแลบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า ได้นำองค์ความรู้ของ กฟผ. มาศึกษา วิจัยและพัฒนาอุปกรณ์หม้อน้ำในโรงไฟฟ้าชีวมวลของกลุ่มมิตรผล ให้สามารถรองรับการใช้ใบอ้อยเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าได้

นอกจากนี้ ทั้ง กฟผ. และ กลุ่มมิตรผล ยังได้ร่วมมือกันสนับสนุนงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพลังงานหมุนเวียน พลังงานสะอาด และระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน เช่น โครงการพลังงานแสงอาทิตย์แบบทุ่นลอยน้ำ (Floating Solar) ระหว่าง EGATi (บริษัทในเครือ กฟผ.) และ กลุ่มมิตรผล

อีกทั้งยังได้ร่วมกันพัฒนาลีโอนาไดต์และยิปซั่มสังเคราะห์ซึ่งเป็นวัตถุพลอยได้ของ กฟผ.แม่เมาะ เพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย

นายบรรเทิง ว่องกุศลกิจ ประธานกรรมการบริษัท และประธานกรรมการบริหาร กลุ่มมิตรผล กล่าวว่า กลุ่มมิตรผลได้ดำเนินธุรกิจบนเส้นทางอุตสาหกรรมอ้อย น้ำตาล และชีวพลังงาน

โดยมุ่งมั่นพัฒนาต่อยอดคุณค่าจากอ้อย เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทุกกระบวนการผลิต นำไปสู่การต่อยอดธุรกิจ

 "กว่าจะมาถึงวันนี้ กฟผ. และ กลุ่มมิตรผล ใช้เวลาทำงานร่วมกันมาเป็นเวลานาน ตั้งแต่การทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า การทำโรงไฟฟ้าชีวมวลโดยใช้เชื้อเพลิงชานอ้อย จนกระทั่งสามารถนำใบอ้อยซึ่งเป็นสิ่งเหลือทิ้งด้านการเกษตรที่มีจำนวนมากในแต่ละปี มาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าได้ โดยได้รับความร่วมมือด้านองค์ความรู้จาก กฟผ."

ซึ่งนอกจากจะสร้างรายได้ให้เกษตรกรแล้วยังช่วยลดการเผาไหม้ ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของภาวะโลกร้อน และลดปัญหามลพิษทางอากาศจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ได้อีกด้วย

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565

"เงินบาท" แตะระดับแข็งค่าที่สุดในรอบ 2 เดือน จับตาปัจจัยสำคัญสัปดาห์หน้า

"เงินบาท" แตะแข็งค่าที่สุดในรอบกว่า 2 เดือน ขณะที่หุ้นไทยปรับขึ้นจากเงินทุนไหลเข้า ส่วนปลายสัปดาห์จากความกังวลเรื่องดอกเบี้ยขาขึ้นของสหรัฐฯ จับตาปัจจัยสำคัญสัปดาห์หน้า ทั้งสถานการณ์โควิด-19 ทิศทางเงินลงทุนของต่างชาติ รวมถึงผลประกอบการไตรมาส 4/64 ของบจ.ไทย

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สรุปความเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทว่า “เงินบาท” แตะระดับแข็งค่าสุดในรอบกว่า 2 เดือนครึ่งที่ 32.60 บาทต่อดอลลาร์ฯ ทั้งนี้เงินบาทได้รับแรงหนุนจากกระแสเงินทุนต่างชาติ โดยระหว่างวันที่ 7-11 ก.พ. มีเงินทุนไหลเข้าสุทธิในตลาดหุ้นและพันธบัตรไทยสูงถึง 4.2 หมื่นล้านบาท และ 4.7 หมื่นล้านบาทตามลำดับ

อย่างไรก็ดีกรอบการแข็งค่าของเงินบาทเริ่มชะลอลงในช่วงปลายสัปดาห์ เนื่องจากเงินดอลลาร์ฯ ฟื้นตัวขึ้น หลังจากที่เงินเฟ้อสหรัฐฯ แตะระดับสูงสุดในรอบ 40 ปีที่ 7.5% ในเดือนมกราคม ซึ่งหนุนให้ตลาดประเมินโอกาสที่เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 50 bps.ในการประชุมเฟดเดือนมีนาคมนี้

ในวันศุกร์ (11 ก.พ.) เงินบาทปิดตลาดที่ 32.68 เทียบกับระดับ 33.00 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (4 ก.พ.)

สำหรับสัปดาห์ถัดไป (14-18 ก.พ. 2565) ธนาคารกสิกรไทยมองกรอบการเคลื่อนไหวของ "เงินบาท" ที่ 32.40-33.10 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนของต่างชาติ และสถานการณ์โควิด-19

ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ยอดค้าปลีก การผลิตภาคอุตสาหกรรม ดัชนีราคาผู้ผลิต ดัชนีราคานำเข้าและราคาส่งออก ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน และยอดขายบ้านมือสองเดือนมกราคม ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัย ผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์ก และเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย เดือนก.พ. ตลอดจนรายงานการประชุมเฟดเมื่อวันที่ 25-26 มกราคม

นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/64 ของญี่ปุ่นและยูโรโซน รวมถึงอัตราเงินเฟ้อเดือนม.ค. ของจีน ญี่ปุ่นและอังกฤษด้วยเช่นกัน

ส่วนความเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทย หุ้นไทยเผชิญแรงขายปลายสัปดาห์กลับลงมาปิดต่ำกว่า 1,700 จุด โดยดัชนี SET ปิดที่ระดับ 1,699.20 จุด แต่ยังเพิ่มขึ้น 1.49% จากสัปดาห์ก่อน

ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 100,856.58 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 52.96% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai ลดลง 1.58% มาปิดที่ 639.72 จุด

หุ้นไทยปรับตัวขึ้นท่ามกลางแรงหนุนจากแรงซื้อสุทธิอย่างต่อเนื่องของกลุ่มนักลงทุนต่างชาติ ประกอบกับตลาดมีมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจไทยซึ่งมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องในปี 2565 ทั้งนี้ แรงซื้อกระจายไปในหุ้นขนาดใหญ่หลายอุตสาหกรรม อาทิ กลุ่มธนาคารพาณิชย์ และ ICT

อย่างไรก็ดี หุ้นไทยลดช่วงบวกลงบางส่วนในเวลาต่อมาท่ามกลางความกังวลเกี่ยวกับแนวโน้มการปรับขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐฯ หลังเงินเฟ้อพุ่งขึ้นสูงสุดในรอบ 40 ปี ประกอบกับยอดผู้ติดเชื้อโควิดในประเทศกลับมาพุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง

สำหรับสัปดาห์ถัดไป (14-18 ก.พ.)บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,685 และ 1,675 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,710 และ 1,725 จุด ตามลำดับ

โดย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สถานการณ์โควิด-19 ทั้งในและต่างประเทศ ทิศทางเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ รวมถึงผลประกอบการไตรมาส 4/64 ของบจ.ไทย

ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดค้าปลีก ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้านใหม่และยอดขายบ้านมือสองเดือนม.ค. รวมถึงบันทึกการประชุมเฟด

ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ ตัวเลขจีดีพีไตรมาส 4/64 ของญี่ปุ่นและยูโรโซน รวมถึงดัชนีราคาผู้ผลิตและผู้บริโภคเดือนม.ค. ของจีน

จาก https://www.komchadluek.net  วันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2565

‘กรมเจรจาฯ’ นัดถกทุกภาคส่วน  ทบทวนกรอบเจรจาอาเซียน+1

 ‘กรมเจรจาฯ’ นัดถกทุกภาคส่วน  ทบทวนกรอบเจรจาอาเซียน+1 หลังคู่เจรจาเตรียมอัพเกรด FTA ย้ำพิจารณาอย่างรอบคอบ-รัดกุม ทันกับการค้าที่เปลี่ยนไปและได้ประโยชน์สูงสุด ก่อนเสนอ ครม. ให้ความเห็นชอบ

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมฯ เตรียมเชิญหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน เกษตรกร นักวิชาการ ฝ่ายนิติบัญญัติ และภาคประชาสังคม เพื่อหารือทบทวนกรอบการเจรจาอาเซียน+1 ของไทย ที่มีผลใช้บังคับมาตั้งแต่ปี 2552 ในช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค. นี้ เพื่อให้ไทยสามารถเข้าร่วมการเจรจายกระดับ FTA และจัดทำ FTA ใหม่ในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

หลังจากปีที่ผ่านมา อาเซียนกับคู่เจรจา อาทิ จีน อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และเกาหลีใต้ ได้เห็นพ้องว่าจะเริ่มเจรจาเพื่อยกระดับความตกลงการค้าเสรี (FTA) ของอาเซียน+1 ที่มีอยู่ ให้มีความทันสมัยและเปิดเสรีมากขึ้น และประเทศอื่นๆ นอกภูมิภาคที่มีความสนใจจะทำ FTA กับอาเซียน โดยเมื่อช่วงต้นเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา กรมฯ ได้เชิญหน่วยงานภาครัฐ 55 แห่ง หารือผ่านระบบการประชุมทางไกล เพื่อเตรียมการปรับปรุงกรอบการเจรจา FTA อาเซียน+1 เดิมของไทยด้วยแล้ว

สำหรับการเจรจาเพื่อจะยกระดับความตกลง FTA อาเซียน+1 คาดว่าจะมีการผนวกประเด็นใหม่ๆ ที่หลายประเทศให้ความสนใจ ซึ่งไทยจำเป็นต้องเตรียมกรอบการเจรจาในเรื่องเหล่านี้ อาทิ การเจรจาเพื่อปรับปรุงความตกลง FTA อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AANZFTA) จะมีประเด็นเรื่องการคุ้มครองผู้บริโภค วิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) การค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน FTA สำหรับอาเซียน-จีน (ACFTA) จะมีประเด็นเศรษฐกิจสีเขียว เศรษฐกิจดิจิทัล นโยบายแข่งขันทางการค้า การคุ้มครองผู้บริโภค และการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทาน เพื่อให้ทันสถานการณ์การค้าที่เปลี่ยนไป

“กรมฯ ให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน จึงได้เตรียมแผนงานที่จะจัดรับฟังความเห็น เพื่อให้การปรับปรุงกรอบการเจรจา FTA อาเซียน+1 ของไทย รอบคอบและรัดกุมมากที่สุด เพื่อให้ทันรูปแบบการค้าที่เปลี่ยนไป และเป็นประโยชน์สูงสุดของประเทศ หากสามารถหาข้อสรุปการร่างกรอบการเจรจาฯ ได้แล้ว กรมฯ จะเสนอระดับนโยบายกระทรวง เพื่อนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบต่อไป”

ทั้งนี้ ปัจจุบันอาเซียนมี FTA ทั้งหมด 7 ฉบับ ได้แก่ อาเซียน-จีน อาเซียน-ญี่ปุ่น อาเซียน-เกาหลีใต้ อาเซียน-อินเดีย อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ อาเซียน-ฮ่องกง และอาร์เซ็ป (อาเซียน+5) ซึ่งความตกลงฯ ได้เริ่มมีผลใช้บังคับมาตั้งแต่ปี 2548 และอาเซียนได้ประกาศเริ่มเจรจา FTA กับแคนาดา เมื่อปลายปี 2564

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2565

ไทยพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม APEC 2022 

ทำเนียบฯ 12 ก.พ.- โฆษกรัฐบาล เผยไทยพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม APEC 2022 นายกฯ ติดตามความคืบหน้า พร้อมสั่งการทุกหน่วยงานขับเคลื่อนผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม เชิญชวนชาวไทยร่วมเป็นส่วนหนึ่งในความภาคภูมิใจของประเทศ

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยถึงความคืบหน้าในการเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ตลอดปี 2565 ของไทย (APEC 2022) โดยพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กล่าวในการประชุมคณะกรรมการระดับชาติเพื่อเตรียมการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ในช่วงที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ปี พ.ศ. 2565 ครั้งที่ 1/2565 เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ว่าขณะนี้ การเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยเริ่มต้นขึ้นแล้ว ขอให้ทุกหน่วยงานปฏิบัติหน้าที่เจ้าภาพ รวมทั้งร่วมมือกันขับเคลื่อนผลลัพธ์จากการประชุมให้เป็นรูปธรรมอย่างเต็มที่ โดยเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า ความร่วมมือ ความแข็งขัน และความตั้งใจของพวกเราจะทำให้การเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยประสบความสำเร็จและบรรลุผลลัพธ์ ดังที่มุ่งหวังไว้

การประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปค และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ปี 2565 มีหัวข้อหลักของการประชุม คือ “เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล” หรือ “Open. Connect. Balance.” มีประเด็นสำคัญ คือ การทำให้เอเปคเปิดกว้างสู่ทุกโอกาส เชื่อมโยงในทุกมิติ และสร้างสมดุลในทุกด้าน เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน ภายใต้วิสัยทัศน์ที่มุ่งเน้นการแก้ปัญหาความไม่สมดุลที่เห็นเด่นชัดขึ้นจากวิกฤติโรคระบาด และการสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ผ่านแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG Economy เน้นการค้าการลงทุนแบบเสรี และ การกระชับความร่วมมือในการรวมกลุ่มเศรษฐกิจ ให้ความสำคัญกับการเร่งฟื้นฟูความเชื่อมโยงในภูมิภาค อย่างปลอดภัย ส่งเสริมการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรมมาขับเคลื่อนการทำงานในทุกมิติ

นายธนกรฯ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่า ด้วยความร่วมมือ บูรณาการการทำงานเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคอย่างแข็งขัน ส่งผลให้การดำเนินงานมีความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรมจากคณะอนุกรรมการทุกด้าน เพื่อเตรียมการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปคและการประชุมที่เกี่ยวข้อง ในช่วงที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค ปี 2565 ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เน้นย้ำให้ทุกหน่วยงานใช้โอกาสในการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทย เพื่อผลักดันและส่งเสริมผลประโยชน์ต่อภาคธุรกิจและประชาชนคนไทย ในทุกด้าน ทั้งด้านการค้าการลงทุน การพัฒนาเทคโนโลยีและดิจิทัล การพัฒนาชุมชน สตรี สิ่งแวดล้อม พร้อมเชิญชวนให้พี่น้องประชาชนชาวไทยร่วมเป็นส่วนหนึ่งในความภาคภูมิใจครั้งนี้ โดยร่วมเป็นเจ้าบ้านที่ดี ต้อนรับผู้นำจากทั่วโลกเข้าร่วมการประชุมตลอดปีนี้ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีจะกำกับดูแลการเตรียมการ และการดำเนินการเป็นเจ้าภาพเอเปค 2565 ของไทยอย่างต่อเนื่อง โดยสามารถติดตามความเคลื่อนไหวในการเตรียมความพร้อมเป็นเจ้าภาพของไทย ได้ตามช่องทาง ดังนี้

https://www.facebook.com/100075943557331/posts/128924672982317/?d=n

https://twitter.com/apec2022th/status/1491008418332962816?s=21

https://www.instagram.com/apec2022th/

จาก https://tna.mcot.net  วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2565

ธปท.ขยับเงินเฟ้อสูงกว่าที่คาด ปรับประมาณการเพิ่มจากเดิม 1.7%

ธปท.เตรียมปรับประมาณการเงินเฟ้อปี 65 สูงกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ที่ 1.7% จากปัจจัยหลักราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น 27% ราคาเนื้อสัตว์เพิ่ม 22% ในเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา แต่เชื่อเงินเฟ้อปีนี้ยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย 1–3% ยันไม่จำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยตามโลก เหตุเศรษฐกิจไทยยังฟื้นตัวเปราะบาง

นายสักกะภพ พันธ์ยานุกูล ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.จะมีการปรับประมาณการตัวเลขอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของปี 65 ในช่วงการปรับประมาณการเศรษฐกิจสิ้นเดือน มี.ค.นี้ เนื่องจากปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไปในเดือน ม.ค.และ ก.พ. โดยคาดว่าเงินเฟ้อทั่วไปทั้งปีจะสูงกว่า 1.7% ที่ประมาณการไว้เดิม โดยพบว่าผลจากการปรับเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อ กระทบกับผู้มีรายได้น้อยมากกว่าผู้ที่มีรายได้สูง ทั้งในฝั่งของค่าครองชีพ และภาระหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น ส่วนการประมาณการการขยายตัวของเศรษฐกิจ โดยรวมนั้น คาดว่าจะยังอยู่ในระดับเดิมที่ 3.4% โดย การส่งออกจะขยายตัวดีกว่าที่คาดไว้ แต่เศรษฐกิจไทยยังมีความเปราะบางจากความไม่แน่นอนของโควิด-19 ขณะเดียวกันการปรับนโยบายการเงินของธนาคารกลางในต่างประเทศ เช่นสหรัฐฯ แม้จะกระทบเงินทุนเคลื่อนย้าย อัตราแลกเปลี่ยน และผลตอบแทนในตลาดพันธบัตรบ้างแต่ไม่มากนัก

นายสุรัช แทนบุญ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวเพิ่มเติมว่า การปรับเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อของไทย ซึ่งล่าสุดอยู่ที่ระดับ 3.23% ในเดือน ม.ค.นั้น ยังคงเป็นการปรับขึ้นหลังจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงและราคาอาหารบางประเภท โดยราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น 27% ราคาเนื้อสัตว์เพิ่มขึ้น 22% และยังไม่เห็นการปรับเพิ่มขึ้นในหลายๆ หมวดสินค้าเป็นวงกว้าง โดยพบว่า 188 รายการสินค้าจำเป็นที่อยู่ในตะกร้าเงินเฟ้อของกระทรวงพาณิชย์ปรับตัวลดลง ขณะที่จำเป็นต้องติดตามความเสี่ยงการเพิ่มขึ้นของเงินเฟ้อจะกระทบต่อประชาชนใน 3 ด้านคือ 1.การเพิ่มขึ้นของราคาอาหารและพลังงานในช่วงต่อจากนี้ 2.การส่งต่อต้นทุนสินค้าที่เพิ่มขึ้นไปยังราคาขายสินค้าให้กับประชาชนของผู้ค้า ซึ่งขณะนี้เห็นราคาอาหารปรุงสำเร็จในบ้าน และนอกบ้าน ที่ปรับเพิ่มขึ้น หรือราคาสินค้าที่เกี่ยวข้องกับราคาน้ำมัน ที่เพิ่มขึ้น แต่มีสินค้า เช่น ข้าวสาร หรือค่าเล่าเรียนที่ลดลง ขณะที่ผู้ผลิตส่วนใหญ่ยังไม่ส่งผ่านต้นทุนที่เพิ่มขึ้นไปยังราคาสินค้า 3.แนวโน้มการขาดแคลนสินค้าวัตถุดิบ เช่น เซมิคอนดักเตอร์ และตู้สินค้า

ขณะเดียวกัน การเข้าไปช่วยดูแลเสถียรภาพด้านราคา ธปท.ได้ดำเนินการใน 3 ด้านคือ การใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำต่อเนื่อง โดยอยู่ที่ 0.5% มาตั้งแต่เดือน พ.ค.ปี 63 การเติมเงินใหม่ผ่านสินเชื่อฟื้นฟูและสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน รวมทั้งการออกมาตรการร่วมกับสถาบันการเงินในการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อลดภาระหนี้ให้กับประชาชน ทั้งนี้ ธปท.ยืนยันว่ามีอิสระในการดำเนินนโยบายการเงิน และที่ผ่านมาการตัดสินใจนโยบายการเงินจะขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลักไม่ได้ ขึ้นอยู่กับแนวโน้มดอกเบี้ยของธนาคารกลางในต่างประเทศ

ด้าน น.ส.รุ่งพร เริงพิทยา ผู้อำนวยการ ฝ่ายนโยบายการเงิน ธปท. กล่าวเพิ่มเติมว่า สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ จากการศึกษาของ ธปท. พบว่าผู้ที่ได้รับ ผลกระทบจากการปรับขึ้นของราคาสินค้ามากที่สุด ในช่วงที่ผ่านมาคือครัวเรือนของผู้มีรายได้น้อย ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีค่าใช้จ่ายต่อรายได้ในด้านอาหารและพลังงานเป็นหลัก ในอัตราที่สูงกว่าครัวเรือนที่มีรายได้สูง ดังนั้น เมื่อราคาอาหารและพลังงานสูงขึ้นจึงได้รับผลกระทบกับค่าครองชีพมากกว่า ยกตัวอย่างเช่นที่ผ่านมา หากเปรียบเทียบการขึ้นราคาของเนื้อหมูหน้าเขียงกับเนื้อหมูที่มีแบรนด์ขายในห้างสรรพสินค้า เนื้อหมูหน้าเขียงจะขึ้นราคาสูงกว่า ทำให้ครัวเรือนที่ซื้อจากหน้าเขียงได้รับผลกระทบมากกว่า ขณะเดียวกัน ครัวเรือนรายได้น้อย ยังได้รับผลกระทบด้านรายได้จากโควิด-19 มากกว่า และมีหนี้สินเพิ่มขึ้นมากกว่า โดยเฉพาะในภาคบริการ และผู้ประกอบอาชีพอิสระ

สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในปี 65 ธปท.ประเมินว่าจะอยู่ในระดับสูงกว่ากรอบเป้าหมายเงินเฟ้อ 1-3% ในช่วงครึ่งปีแรก แต่จะลดลงในช่วงครึ่งหลัง โดยทั้งปีอัตราเงินเฟ้อของไทยยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย ทั้งนี้ การขาดแคลนเนื้อสัตว์โดยเฉพาะหมู จะหมดไปในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้ส่งผลให้ราคาลดลง เช่นเดียวกันราคาพลังงานที่นักวิเคราะห์มองว่าจะเริ่มลดลงช่วงครึ่งปีหลังเช่นกัน โดยปัญหาผลผลิตหมูคาดว่าจะเริ่มคลี่คลายในเวลา 10 เดือน ขณะที่ปัญหาปัจจัยการผลิตชะงักงันจากการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์และตู้คอนเทนเนอร์จะคลี่คลายในช่วงครึ่งหลังของปี ทําให้แรงกดดันด้านราคาลดลง ส่วนการส่งผ่านต้นทุนราคาสินค้าที่สูงขึ้นต่อราคาขายสินค้า จากการสอบถามผู้ประกอบการและประชาชนถึงเงินเฟ้อคาดการณ์ในช่วง 1 ปี พบว่า ยังอยู่ในกรอบเป้าหมาย 1-3% แต่สถานการณ์สามารถ เปลี่ยนแปลงได้จึงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด.

จาก https://www.thairath.co.th  วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2565

ธ.ก.ส.เร่งช่วยเกษตรกร วางแผนจัดการหนี้ ควบคู่ปล่อยสินเชื่อใหม่

ธ.ก.ส. เร่งช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้าที่ได้รับผลกระทบโควิด ราคาผลผลิตตกต่ำ และภัยธรรมชาติ พร้อมวางแนวทางบริหารจัดการหนี้ให้เหมาะสมกับศักยภาพของลูกค้าแต่ละราย ควบคู่การเติมสินเชื่อใหม่

เมื่อวันที่ 11 ก.พ. 65 นายธนารัตน์ งามวลัยรัตน์ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลได้กำหนดนโยบายให้ปี 2565 เป็นปีแห่งการแก้หนี้ภาคครัวเรือน ซึ่ง ธ.ก.ส. ในฐานะธนาคารของรัฐ พร้อมช่วยเหลือลูกค้าเงินกู้ ทั้งเกษตรกร บุคคล ผู้ประกอบการ และสถาบันเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาผลผลิตการเกษตรได้รับความเสียหายจากภัยธรรมชาติ ราคาผลผลิตตกต่ำ รวมถึงการระบาดของโควิด หรือมีรายได้ไม่สอดคล้องกับแผนการชำระหนี้เดิม เพื่อกำหนดกระบวนการการบริหารจัดการหนี้อย่างยั่งยืน

โดยเริ่มจากการมอบนโยบายให้พนักงานในพื้นที่ไปพบลูกค้าทุกราย โดยมีเป้าหมายเกษตรกรที่ใช้บริการสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. จำนวน 4.83 ล้านราย เพื่อสอบถามข้อมูลการประกอบอาชีพ ที่มาของรายได้มาประเมิน โดยวิเคราะห์ศักยภาพสมรรถนะและความสามารถในการประกอบอาชีพ ความสามารถในการชำระหนี้ จากนั้นจัดกลุ่มลูกหนี้ตามเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด โดยแบ่งลูกค้าเป็นกลุ่มตามศักยภาพ เช่น กลุ่มลูกค้าที่มีศักยภาพสูง กลุ่มศักยภาพปานกลาง กลุ่มมีเหตุผิดปกติ เป็นต้น

ทั้งนี้ เพื่อทำการบริหารจัดการหนี้ให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละราย โดยใช้เครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การปรับตารางกำหนดการชำระหนี้ใหม่ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ โดยพิจารณาขยายระยะเวลาชำระหนี้และการเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ตามศักยภาพของลูกหนี้ การเติมสินเชื่อใหม่เพื่อฟื้นฟูอาชีพ รวมถึงพิจารณาช่วยเหลือลูกค้าที่มีหนี้สินเป็นภาระหนัก เนื่องจากรายได้ครัวเรือนลดลงหรือไม่ได้มีรายได้เพียงพอเพราะเหตุผิดปกติ เช่น เสียชีวิต เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ชราภาพ เป็นต้น เพื่อพิจารณาแนวทางช่วยเหลือเป็นรายกรณีต่อไป

นอกจากบรรเทาความเดือดร้อนและลดความกังวลในเรื่องภาระหนี้สินแล้ว ธ.ก.ส.ยังเสริมสภาพคล่องในการลงทุนและการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ผ่านโครงการชำระดีมีคืน วงเงินงบประมาณ 1,200 ล้านบาท ให้กับลูกค้าที่นำเงินมาชำระหนี้ โดยจะทำการคืนดอกเบี้ยเข้าบัญชีเงินฝากลูกค้าโดยตรงร้อยละ 20 ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง ไม่เกินรายละ 1,000 บาท

ล่าสุด มีการคืนดอกเบี้ยไปแล้วกว่า 622 ล้านบาท มีเกษตรกรได้รับประโยชน์กว่า 850,000 ราย และโครงการนาทีทองลดดอกเบี้ยสู้โควิด โดยจะลดดอกเบี้ยที่ค้างชำระรวมถึงเบี้ยปรับสูงสุดไม่เกิน 50% ของดอกเบี้ยที่ชำระจริง ระยะเวลาตั้งแต่บัดนี้จนถึง 31 มี.ค. 65 หรือจนกว่าจะเต็มวงเงินที่กำหนด โดยมีการช่วยเหลือไปแล้วกว่า 1,110 ล้านบาท.

จาก https://www.thairath.co.th  วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

กรมส่งเสริมเกษตรลดการเผาแก้ฝุ่น-ควัน

นางอัญชลี สุวจิตตานนท์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จ.ชัยนาท ได้จัดงานรณรงค์ลดการเผาในพื้นที่การเกษตรภาคกลาง ที่แปลงใหญ่ข้าว ต.แพรกศรีราชา อ.สรรคบุรีเพื่อรณรงค์ให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียของการเผาในพื้นที่การเกษตร และนำเสนอทางเลือกที่เหมาะสมในการจัดการเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ซึ่งมีจังหวัดในความรับผิดชอบ 9 จังหวัด พื้นที่การเกษตรประมาณ 7.62 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ปลูกข้าว 3.8 ล้านไร่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 5.7 แสนไร่ มันสำปะหลัง 4.8 แสนไร่ และอ้อย 3.1 แสนไร่ โดยฐานข้อมูลของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ในปี 2564 พบว่ามีจุด Hotspotในพื้นที่การเกษตรภาพรวม ระหว่างเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2564 จำนวน 360 จุดคิดเป็นพื้นที่ 18,031 ไร่ ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ปลูกข้าว

สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 1 จ.ชัยนาท ได้ดำเนินการสร้างเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผาในชุมชนต้นแบบ 12 ชุมชน และพบว่าหลายพื้นที่ประสบความสำเร็จทั้งลดการเผาและสร้างรายได้แก่ชุมชนจากการผลิตและจำหน่ายฟางก้อน ผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลจากใบอ้อย การเพาะเห็ดจากฟางข้าว ผลิตปุ๋ยหมักและจำหน่ายน้ำหมักย่อยสลายตอซังคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 3.5 ล้านบาทต่อปี

นางอัญชลีเปิดเผยอีกว่า สำหรับผลการดำเนินโครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร ปี 2564 ภาพรวมทั้งประเทศ จากการสำรวจจากดาวเทียม TERRA และ AQUA ระบบ MODIS ระหว่างวันที่ 1 มกราคม-31 พฤษภาคม 2564 พบจุดความร้อน (Hotspot)ในประเทศไทย 12,705 จุด ลดลงจากเดิมในปี 2563 ซึ่งพบจุดความร้อน 26,310 จุด คิดเป็นร้อยละ 51.71 โดยอยู่ในพื้นที่การเกษตร 3,320 จุด ลดลงจากเดิมในปี 2563 จำนวน 6,285 จุด คิดเป็นร้อยละ 47.17

จาก https://www.naewna.com วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

จับตาธนาคารกลางสหรัฐขยับดอกเบี้ย

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท.ยังคงติดตามใกล้ชิดถึงทิศทางการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่ได้ส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้จำนวน 4-5 ครั้ง โดยจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในเดือน มี.ค.นี้ เนื่องจากจะสะท้อนมายังนโยบายอัตราดอกเบี้ยของประเทศไทยที่ต้องปรับขึ้นตามในที่สุด ทั้งนี้ ยอมรับว่าปัจจัยดอกเบี้ยขาขึ้นจะส่งผลให้ต้นทุนทางการเงินของภาคธุรกิจโดยรวมปรับขึ้นอีกโดยเฉพาะเอสเอ็มอีท่ามกลางภาวะความเปราะบางของเศรษฐกิจไทยที่เผชิญมาต่อเนื่อง 2 ปีจากผลกระทบการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19

“สหรัฐฯจะใช้นโยบายขึ้นดอกเบี้ยปีนี้ 4-5 ครั้ง และปี 2566 อีก 3 ครั้ง เพื่อสกัดเงินเฟ้อ ควบคู่ไปกับการลดปริมาณวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ซึ่งหากดอกเบี้ยขยับทีละ 0.25% รวม 4 ครั้งในปีนี้ ดอกเบี้ยก็จะขึ้นไป 1% และปี 2566 จะขึ้น 1.75-2% ซึ่งยังคงไม่แน่นอน ต้องติดตามใกล้ชิด แต่ที่แน่ๆคือทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นที่ทุกประเทศจะต้องเผชิญรวมถึงไทย เพราะหากไม่ขยับเงินทุนจะไหลออกแต่จะขยับมากน้อยก็เป็นอีกเรื่องที่ต้องติดตาม ซึ่งภาวะนี้คนที่ไม่เป็นหนี้และธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีกระแสเงินสดหมุนเวียนสูงจะกระทบน้อยหรือไม่ได้รับผลกระทบ แต่คนเป็นหนี้จะลำบากขึ้น”

นายเกรียงไกร กล่าวว่า ทั้งนี้ต้องยอมรับว่า ภาพรวมธุรกิจได้มีการปรับตัวในการลดต้นทุนรอบด้านแล้วจากผลกระทบการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา และล่าสุดการเผชิญกับภาวะราคาน้ำมันที่กระทบค่าขนส่ง และวัตถุดิบต่างๆที่สูงขึ้น ฯลฯ ซึ่งเอกชนส่วนใหญ่ได้พยายามที่จะตรึงราคาสินค้าไว้เพื่อไม่ให้กระทบกับประชาชน แต่หากระดับน้ำมันยังสูงขึ้นต่อเนื่องที่สุดจำเป็นต้องทยอยปรับขึ้นบ้าง สิ่งที่น่าห่วงคือธุรกิจเอสเอ็มอี เพราะโควิด-19 ส่งผลให้มีภาระหนี้สินจนเข้าสู่ภาวะหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) จำนวนมาก.

จาก https://www.thairath.co.th  วันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

‘บางจาก’ผนึก‘น้ำตาลขอนแก่น’ ปั้น‘บีบีจีไอ’โกยความมั่งคั่งใหม่

ยุทธศาสตร์ของประเทศไทย ด้วยโมเดล “เศรษฐกิจ BCG” (Bio-Circular-Green Economy) เป็นวาระแห่งชาติ สะท้อนผ่านอุตสาหกรรมเป้าหมายที่สำคัญ กำลังส่งผลดีต่อหุ้นไอพีโอน้องใหม่บริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ BBGI

บริษัทเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) จำนวนไม่เกิน 433.20 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 2.50 บาทคาดซื้อขายวันแรก (เทรด) ไตรมาส 1 ปี 2565

การขยับตัวเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ในครั้งนี้แน่นอนว่า “2 ผู้ถือหุ้นใหญ่” อย่างบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ BCP ถือหุ้น 40.2% และ บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) หรือ KSLถือหุ้น 26.8% (ตัวเลขหลังเสนอขายหุ้น IPO) ต้องการสร้างการเติบโตให้ธุรกิจผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงชีวภาพและผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่าสูงที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ดูแลและส่งเสริมสุขภาพที่เป็น “เรือธง” (Flagship) ของกลุ่ม BCP และ KSL

สะท้อนผ่าน เงินที่ได้จากการระดมทุนส่วนหนึ่งนำไป “ลงทุนขยายกิจการ” และ “ลงทุนโครงการในอนาคต” รวมถึงกระบวนการพัฒนา ปรับปรุงประสิทธิภาพ ส่วนที่เหลือใช้ชำระคืนเงินกู้ยืมให้กับสถาบันการเงินและชำระคืนหุ้นกู้รวมถึงใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียน

ณ ปัจจุบัน BBGI ดำเนินธุรกิจโดยการเข้าถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company) ประกอบด้วย ธุรกิจหลัก คือ “ธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชีวภาพ” (Bio-based Products)ประเภทผลิตภัณฑ์เชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) ได้แก่ ไบโอดีเซล กลีเซอรีนบริสุทธิ์เกรดอาหารและยา เอทานอล แอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อเกรดเภสัชกรรม

และธุรกิจอื่นคือ “ธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่าสูง” (High Value Bio-Based Products หรือ HVP)ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ดูแลและส่งเสริมสุขภาพ (Health and Well-Being) ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงโดยจดสิทธิบัตรหรือได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่ง BBGI เป็นเจ้าของหรือได้รับสิทธิบัตรดังกล่าว

“กิตติพงศ์ ลิ่มสุวรรณโรจน์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) หรือ BBGIให้สัมภาษณ์ “หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ”ว่า บริษัทเล็งเห็นศักยภาพการเติบโตของ “อุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง” หรือ Advanced Biotechnologyซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ของเทคโนโลยีชีวภาพที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงโลกในอนาคต

จากการนำวัตถุดิบธรรมชาติ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง หรือวัตถุดิบทางการเกษตรอื่นๆ มาผ่านกระบวนการทางชีวภาพด้วยจุลินทรีย์ที่ออกแบบขึ้นด้วยนวัตกรรมเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ตั้งแต่ส่วนประกอบชีวภาพในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค หรือส่วนประกอบชีวภาพในยารักษาโรค ที่มีประสิทธิภาพ คุณภาพ ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

สำหรับแผนธุรกิจ3 ปี (2565-2567) คาดใช้เงินลงทุนระดับ “พันล้านบาท” สะท้อนผ่านการมุ่งขยายสู่ธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่าสูง (HVP) ด้วยเทคโนโลยีชีววิทยาสังเคราะห์ (Synbio) ถือเป็น “ธุรกิจ New S-Curve” ของ BBGI โดยจะดำเนินการผ่านโมเดลธุรกิจด้วยการเป็น Strategic Partner กับพันธมิตรชั้นนำระดับโลกที่มีองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง ต่อยอดจากพื้นฐานความชำนาญและประสบการณ์ของ BBGI ในฐานะผู้นำธุรกิจเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) ของประเทศไทย

สอดคล้องกับปัจจุบัน BBGI ได้ร่วมเป็นพันธมิตรและลงทุนในบริษัท Manus Bio Inc. บริษัทจดทะเบียนในประเทศสหรัฐ ซึ่งดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูง ที่มีความเชี่ยวชาญในการค้นคว้าวิจัย และพัฒนากลุ่มผลิตภัณฑ์ชีวภาพมูลค่าสูงที่มีความหลากหลาย ซึ่ง BBGI สามารถนำองค์ความรู้มาต่อยอดเพื่อทำการวิจัย พัฒนาและสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูงได้เป็นอย่างดี เพื่อผลักดันให้เกิดผลิตภัณฑ์นวัตกรรมสีเขียวที่ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและร่วมสร้างความยั่งยืนให้กับโลก

BBGI ได้ร่วมกับ Manus จัดตั้งบริษัท วิน อินกรีเดียนส์ จำกัด (WIN)เพื่อผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่าสูงของ Manus ในภูมิภาคเอเชียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รวม 12 ประเทศ ซึ่ง WIN ได้รับสิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการผลิตและจำหน่าย โดยปัจจุบันได้เริ่มทำการตลาดผลิตภัณฑ์สารให้ความหวานจากธรรมชาติที่ผลิตจากเทคโนโลยีชีวภาพขั้นสูงของ Manus ภายใต้แบรนด์ “NutraSweet” ที่ให้ความหวานและรสชาติใกล้เคียงกับน้ำตาล แต่ไม่มีแคลอรี่ และไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรือส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด

ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์สารให้ความหวานจากหญ้าหวาน (Reb M) สำหรับใช้เป็นส่วนผสมในอาหารและเครื่องดื่ม และผลิตภัณฑ์สารให้ความหวานบรรจุซอง (Table Top) สำหรับจำหน่ายให้ลูกค้าผู้ประกอบการร้านกาแฟ ร้านอาหาร โรงแรมและผู้บริโภคทั่วไปนอกจากนี้ WIN ได้เริ่มแต่งตั้งผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์กลุ่มดังกล่าวใน 5 ประเทศหลักในภูมิภาคเอเชีย และ อยู่ระหว่างกระบวนการเสนอผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าเพื่อพัฒนาเป็นสูตรสินค้าจัดจำหน่ายต่อไป

สุดท้าย “กิตติพงศ์” บอกไว้ว่า ประเทศเศรษฐกิจชั้นนำของโลกได้เริ่มพัฒนา และวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยี SynBio มาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคแล้ว เช่น ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์จากพืชที่มี รสชาติ กลิ่น และสัมผัส เหมือนกับเนื้อสัตว์จริง ตอบรับเทรนด์Health and Wellness ของผู้บริโภคทั่วโลก

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

กรมทรัพยากรน้ำ และ CPAC จับมือพัฒนา-ถ่ายทอดความรู้การจัดการน้ำ

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์  จากนโยบายการบริหารจัดการน้ำของภาครัฐ ภายใต้การกำกับดูแลของพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และนายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ที่มุ่งเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพระบบกระจายน้ำไปสู่ประชาชนอย่างทั่วถึง เพิ่มรายได้และลดความเหลื่อมล้ำให้กับประชาชน กรมทรัพยากรน้ำจึงได้รับนโยบายของกระทรวงฯ มาสู่การปฏิบัติ ตามบทบาทและภารกิจของกรมทรัพยากรน้ำ โดยการประสานความร่วมมือกับทุกภาคส่วน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้มีความมั่นคงอย่างยั่งยืน

นายภาดล ถาวรกฤชรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ เปิดเผยว่า แนวทางการดำเนินงานตามภารกิจของกรมนั้น ครอบคลุมถึงการอนุรักษ์ ฟื้นฟู พัฒนา รักษาสมดุลทรัพยากรน้ำโดยคำนึงถึงระบบนิเวศ รวมถึงการบริหารจัดการน้ำอุปโภค-บริโภค ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม จึงทำให้เกิดความร่วมมือระหว่างกรมทรัพยากรน้ำ กับ บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในการนำเทคโนโลยีและ CPAC Construction Solution มาใช้ในการจัดการน้ำ การสร้างแบบจำลองและการออกแบบก่อสร้างด้วย CPAC BIM ระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์ (Solar Pump System) และระบบการส่งน้ำระยะไกล และประสบการณ์การทำงานโครงการต้นแบบการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืนในพื้นที่ต้นแบบ ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะได้แลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน ทำให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

ทั้งนี้กรมทรัพยากรน้ำ และ บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด(CPAC) ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาและถ่ายทอดองค์ความรู้การบริหารจัดการน้ำ ณ Hall 2 อาคารเอนกประสงค์ ชั้น 10 บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด โดยนายภาดล ถาวรกฤชรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ และ นายสุขธวัช พัทธวรากร ผู้อำนวยการสิ่งแวดล้อม สังคมและบรรษัทภิบาล บริษัท ผลิตภัณฑ์และวัตถุก่อสร้าง จำกัด(CPAC) ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ โดยกรอบแห่งความร่วมมือ มีสาระสำคัญคือ แลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์การบริหารจัดการน้ำ แลกเปลี่ยนประสบการณ์การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน แลกเปลี่ยนนวัตกรรมและเทคโนโลยีในการสำรวจ ออกแบบ ก่อสร้าง การบริหารจัดการน้ำ และเพื่อสร้างองค์ความรู้การบริหารจัดการน้ำร่วมกัน มีเป้าหมาย เพื่อนำองค์ความรู้การบริหารจัดการน้ำในโครงการตัวอย่างและต่อยอดไปสู่การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยการลงนามบันทึกความเข้าใจฯ ในครั้งนี้ มีผลบังคับใช้ภายในกำหนดระยะเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ทั้งสองฝ่ายลงนาม

จาก https://www.matichon.co.th   วันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

กนง.คงดอกเบี้ย0.50% ช่วยเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่อง

นายปิติ ดิษยทัต เลขานุการ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) แถลงผลการประชุม กนง.ครั้งที่ 1/2565 ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ว่าคณะกรรมการ มีมติเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่0.50% ต่อปี โดยประเมินว่าเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่อง การระบาดของ COVID-19 สายพันธุ์ Omicron คาดว่าจะสร้างแรงกดดันต่อระบบสาธารณสุขในวงจำกัดความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโดยรวมจึงลดลง อัตราเงินเฟ้อทั่วไปมีแนวโน้มเร่งขึ้นในช่วงแรกของปี 2565 จากราคาพลังงานและอาหารสดบางประเภท และมีความเสี่ยงด้านสูงเพิ่มขึ้น ขณะที่แรงกดดันเงินเฟ้อด้านอุปสงค์ยังอยู่ในระดับต่ำ สะท้อนรายได้และกำลังซื้อที่เพิ่งเริ่มฟื้นตัว

โดยยังต้องติดตามราคาพลังงานโลกและสัญญาณการปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการ คณะกรรมการ จึงเห็นควรให้คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ โดยนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่องจะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจ ควบคู่กับมาตรการทางการเงินการคลังที่เน้นการฟื้นฟูและยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะช่วยให้ตลาดแรงงาน รวมถึงรายได้ของภาคธุรกิจและครัวเรือนฟื้นตัวได้เข้มแข็ง

คณะกรรมการ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในปี 2565 มีแนวโน้มฟื้นตัว จากการส่งออกสินค้าที่ปรับสูงขึ้น และจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่จะเพิ่มขึ้นจากการผ่อนคลายข้อจำกัดด้านการเดินทาง แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังเปราะบางต้องติดตามพัฒนาการของตลาดแรงงานและผลกระทบจากค่าครองชีพที่สูงขึ้นในภาวะที่รายได้ยังฟื้นตัวไม่เต็มที่

อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2565 มีแนวโน้มสูงและอาจสูงกว่ากรอบเป้าหมาย จากการปรับขึ้นราคาสินค้าโดยเฉพาะราคาพลังงานและอาหารสดบางประเภท อีกทั้งมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น จากการส่งผ่านต้นทุนที่อาจมากขึ้นหากราคาพลังงานและอาหารสดอยู่ในระดับสูงนานกว่าคาด ทั้งนี้จะต้องติดตามราคาพลังงานโลก การปรับเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าและบริการในประเทศ รวมทั้งแรงกดดันต่อค่าจ้างแรงงานอย่างใกล้ชิด

สภาพคล่องในระบบการเงินยังอยู่ในระดับสูง สำหรับอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐ ยังเคลื่อนไหวผันผวน จากแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางประเทศเศรษฐกิจหลักที่เร็วขึ้นและการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดในประเทศจึง เห็นควรให้ติดตามพัฒนาการของตลาดการเงินโลกและไทยอย่างใกล้ชิด

มาตรการภาครัฐและการประสานนโยบายมีความสำคัญต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ โดยมาตรการสาธารณสุขเพื่อควบคุมการระบาดที่เอื้อให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจฟื้นตัวต่อเนื่องยังมีความสำคัญ มาตรการการคลังควรสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างตรงจุด เน้นสร้างรายได้และเร่งเตรียมมาตรการเพื่อฟื้นฟูและยกระดับศักยภาพทางเศรษฐกิจ ขณะที่นโยบายการเงินช่วยสนับสนุนให้ภาวะการเงินโดยรวมยังผ่อนคลายต่อเนื่อง และมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อมีส่วนช่วยกระจายสภาพคล่องไปสู่ผู้ได้รับผลกระทบอย่างตรงจุดและช่วยลดภาระหนี้

ภายใต้กรอบการดำเนินนโยบายการเงินที่มีเป้าหมายเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาควบคู่กับดูแลเศรษฐกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืนและเต็มศักยภาพ และรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน คณะกรรมการ ยังให้น้ำหนักกับการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจเป็นสำคัญ ทั้งนี้ คณะกรรมการ จะติดตามปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อแนวโน้มเศรษฐกิจ ได้แก่ สถานการณ์การระบาดของCOVID-19 ราคาพลังงานโลก การส่งผ่านต้นทุนที่สูงขึ้นรวมถึงความเพียงพอของมาตรการการคลังและมาตรการด้านการเงินและสินเชื่อ โดยพร้อมใช้เครื่องมือนโยบายการเงินที่เหมาะสมหากจำเป็น

จาก https://www.naewna.com  วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565

‘เงินบาท’ วันนี้เปิด’แข็งค่า’สูงสุดในรอบกว่า2เดือนที่32.87บาทต่อดอลลาร์

 “กรุงไทย” ชี้แข็งค่าตามกระแสฟันด์โฟลว์ไหลเข้าหุ้นและบอนด์ไทยต่อเนื่อง แต่มีแนวโน้มผันผวนจากนี้ตลาดรอลุ้นตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐ มองกรอบเงินบาทวันนี้ที่ระดับ 32.70-32.90 บาทต่อดอลลาร์

นายพูน พานิชพิบูลย์  นักวิเคราะห์ประจำห้องค้าเงินธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้(10ก.พ.)ที่ระดับ32.72 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นในรอบกว่า2เดือน และจากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  32.77 บาทต่อดอลลาร์ มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 32.70-32.90 บาทต่อดอลลาร์

สำหรับแนวโน้มค่าเงินบาท แม้ว่า เงินบาทจะแข็งค่าขึ้นมากกว่าคาดจนหลุดแนวรับที่ได้ประเมินไว้ จากฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติที่เข้ามาซื้อทั้งหุ้นไทยและบอนด์ระยะสั้นไม่น้อยกว่า 3.3 หมื่นล้านบาท

แต่เรามองว่า ในวันนี้ เงินบาทอาจมีแนวโน้มผันผวนมากขึ้นได้ เนื่องจากผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯ ซึ่งเราเริ่มเห็นสัญญาณการกลับตัวของเงินดอลลาร์ที่เริ่มกลับมาแข็งค่าขึ้นและมีแนวโน้มอาจแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องในช่วงก่อนรับรู้ข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯ ได้

อย่างไรก็ดี เงินบาทนั้นยังได้แรงหนุนจากโฟลว์ขายทำกำไรทองคำ หลังราคาทองคำปรับตัวสูงขึ้นแตะแนวต้านสำคัญแถว 1,830 ดอลลาร์ต่อออนซ์อีกครั้ง ทำให้เงินบาทอาจไม่ได้อ่อนค่าไปมาก ในกรณีที่เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นหนักหากเงินเฟ้อสหรัฐฯ พุ่งสูงขึ้นมากกว่าคาด

ทั้งนี้ เราคาดว่า ทั้งฝั่งผู้นำเข้าและผู้ส่งออกอาจมีการปรับระดับรอซื้อ/ขายเงินดอลลาร์ หลังเงินบาทแข็งค่าหลุดโซนแนวรับลงมาก โดยคาดว่า ฝั่งผู้นำเข้าต่างจะมารอทยอยเข้าซื้อเงินดอลลาร์ในช่วง 32.70บาทต่อดอลลาร์ ส่วนฝั่งผู้ส่งออกอาจรอทยอยขายเงินดอลลาร์ในช่วง 33.00 บาทต่อดอลลาร์

ผู้เล่นในตลาดเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยงต่อเนื่อง หนุนโดยรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนที่ส่วนใหญ่ออกมาดีกว่าคาด รวมถึงมุมมองของผู้เล่นในตลาดที่เริ่มคลายกังวลต่อแนวโน้มการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ซึ่งสะท้อนผ่านบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ที่ยังเคลื่อนไหว sideways นอกจากนี้ตลาดยังได้แรงหนุนจากความหวังว่าการเจรจาระหว่างผู้นำฝรั่งเศสและผู้นำรัสเซียอาจช่วยลดความร้อนแรงของปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน/นาโต้ได้

ภาวะการเปิดรับความเสี่ยงของตลาดหนุนให้ในตลาดการเงินฝั่งสหรัฐฯ ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq พุ่งขึ้น +2.08% ส่วนดัชนีS&P500 ปรับตัวขึ้น +1.45% โดยตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังคงได้แรงหนุนจากรายงานผลประกอบการที่ดีกว่าคาดรวมถึงความหวังการฟื้นตัวเศรษฐกิจ หลังสถานการณ์การระบาดโอมิครอนได้ผ่านจุดเลวร้ายสุดไปแล้วและทางการก็เริ่มปรับแผนการรับมือการระบาด เพื่อให้ผู้คนสามารถใช้ชีวิตร่วมกับโอมิครอนได้ 

ส่วนในฝั่งยุโรป ดัชนี STOXX50 ของยุโรป ปรับตัวขึ้นกว่า +1.81% หนุนโดยการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่ม Cyclical โดยเฉพาะกลุ่มยานยนต์ อาทิ Volkswagen +6.1%, BMW +3.8% นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังได้แรงหนุนจากการรีบาวด์ขึ้นของหุ้นเทคฯ ที่ปรับตัวลงหนักในช่วงที่ผ่าน อาทิ Adyen +11.5%, Infineon Tech. +5.0%, ASML +3.9% หลังตลาดเริ่มคลายกังวลแนวโน้มการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ทั้งนี้ เรามองว่า ยังคงต้องติดตามการเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน/นาโต้ โดยมองว่า หากมีการถอนกำลังทหารจากทุกฝ่ายออกจากพื้นที่ ก็จะเป็นสัญญาณที่ดีและอาจช่วยหนุนให้ตลาดกลับมาเปิดรับความเสี่ยงได้มากขึ้น

ส่วนทางด้านฝั่งตลาดบอนด์ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ยังคงแกว่งตัว sideways ใกล้ระดับ 1.94% เนื่องจากผู้เล่นในตลาดต่างรอลุ้น รายงานข้อมูลเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ ในวันนี้ ว่าข้อมูลเงินเฟ้อจะเพิ่มโอกาสเฟดขึ้นดอกเบี้ยได้มากกว่าคาด อาทิ ขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมเดือนมีนาคม หรือ ขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 5 ครั้ง ได้หรือไม่ ซึ่งเราคาดว่าตลาดบอนด์อาจเผชิญความผันผวนมากขึ้นได้ในช่วงก่อนรับรู้รายงานข้อมูล เงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ

ในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์โดยรวมยังเคลื่อนไหว sideways โดยล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) แกว่งตัวใกล้ระดับ 95.56 จุด แม้ว่าเงินดอลลาร์จะมีจังหวะอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักในช่วงที่ตลาดเปิดรับความเสี่ยง แต่เงินดอลลาร์ก็สามารถกลับมาแข็งค่าขึ้นเล็กน้อยได้ เนื่องจากผู้เล่นในตลาดต่างรอลุ้นรายงานข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯ ในวันนี้  ซึ่งเรามองว่า ควรระวังความผันผวนของเงินดอลลาร์ทั้งช่วงก่อนรับรู้และหลังรับรู้ข้อมูลเงินเฟ้อสหรัฐฯ โดยหากเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นสูงกว่าคาด กดดันให้ตลาดเชื่อว่าเฟดต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยมากขึ้นกว่าที่คาดไว้ ก็อาจหนุนให้ เงินดอลลาร์กลับมาแข็งค่าขึ้นแต่ แต่หากเงินเฟ้อไม่ได้เร่งสูงไปกว่าคาดมาก ตลาดอาจลดคลายกังวลปัญหาเงินเฟ้อและการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟด กดดันให้เงินดอลลาร์สามารถอ่อนค่าลง สอดคล้องกับภาพตลาดการเงินที่จะเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้น

สำหรับวันนี้ ตลาดจะรอติดตามรายงานอัตราเงินเฟ้อ CPI ของสหรัฐฯ โดยตลาดคาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสหรัฐฯ(CPI) ในเดือนมกราคมจะเร่งตัวขึ้นแตะระดับ 7.3% หนุนโดยราคาสินค้าในกลุ่ม Reopening อาทิ ราคาอาหารที่ปรับตัวสูงขึ้น และราคาสินค้าพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งแนวโน้มเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงนานกว่าที่เฟดเคยคาดการณ์ไว้ และแนวโน้มเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวดีขึ้น จะส่งผลให้เฟดเตรียมใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น ซึ่งล่าสุดผู้เล่นในตลาดต่างคาดว่า เฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยได้ถึง 5 ครั้งในปีนี้ โดยการขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกจะเกิดขึ้นในการประชุมเดือนมีนาคม ทั้งนี้ จุดที่น่าสนใจและอาจกระทบต่อตลาดการเงินได้คือโอกาสการขึ้นดอกเบี้ย 0.50% ในการประชุมดังกล่าว ซึ่งตลาดมองว่ามีโอกาสถึง 40% และตลาดอาจเชื่อในมุมมองดังกล่าวมากขึ้นได้ หากอัตราเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นมากกว่าคาดและตลาดแรงงานฟื้นตัวแข็งแกร่ง

ส่วนในฝั่งเอเชีย ตลาดคาดว่า แนวโน้มการทยอยฟื้นตัวของเศรษฐกิจอินโดนีเซีย จะส่งผลให้ธนาคารกลางอินโดนีเซีย (BI) เลือกที่จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 3.50% จนกว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวได้ดีหรือเผชิญแรงกดดันจากเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นมาก 

จาก https://www.bangkokbiznews.com   วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2565

รัฐทุ่ม 4 หมื่นล้านบาท เดินหน้า “บีซีจีโมเดล” เกษตรกรมีเงินเพิ่มปีละแสน

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ (ร่าง) แผนปฏิบัติการด้านการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจบีซีจี (การพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพเศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular- Green Economy : BCG Model) พ.ศ.2564-2570 ระยะเวลาดำเนินการ 6 ปี (2565-2570) กรอบวงเงินงบรวม 40,972.60 ล้านบาท ภายใต้ 4 ยุทธศาสตร์ 42 แนวทางดำเนินงาน ซึ่งนายกรัฐมนตรี เป็นประธานดูแลเรื่องนี้ด้วยตัวเอง

สำหรับ (ร่าง) แผนปฏิบัติการบีซีจี พ.ศ.2564-2570 ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 การสร้างความยั่งยืนของฐานทรัพยากร ความหลากหลายทางชีวภาพ และวัฒนธรรม ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็งด้วยทุนทรัพยากร อัตลักษณ์ ความคิดสร้างสรรค์ และเทคโนโลยีสมัยใหม่ มีตัวชี้วัด อาทิ อัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ของภูมิภาคเติบโตเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 50% จากปี พ.ศ.2565 และความเหลื่อมล้ำทางรายได้ลดลงไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน กรอบวงเงิน 1,820 ล้านบาท

ยุทธศาสตร์ที่ 3 การยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมภายใต้เศรษฐกิจบีซีจี 5 สาขา ได้แก่ การเกษตร และอาหาร การแพทย์และสุขภาพ พลังงาน วัสดุและเคมีชีวภาพ การท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ และสาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน วงเงิน 33,301 ล้านบาท มีตัวชี้วัดสำคัญ เช่น จีดีพีสาขาเกษตร 300,000 ล้านบาท รายได้ครัวเรือนเกษตรเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 100,000 บาท/ ครัวเรือน/ปี เพิ่มจีดีพีสาขายาและวัคซีน เป็น 90,000 ล้านบาท สาขาเครื่องมือแพทย์สร้างผลกระทบเชิงเศรษฐกิจและสังคม 100,000 ล้านบาท เพิ่มการเข้าถึงเครื่องมือแพทย์ให้ประชาชนในภูมิภาคและชนบท 1 ล้านคน เพิ่มอันดับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็น Top 5 ภายในปี 2570

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การเสริมสร้างความสามารถในการตอบสนองต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก กรอบวงเงิน 3,213.5 ล้านบาท มีตัวชี้วัดอาทิ จำนวนผู้ที่ได้รับการพัฒนาให้มีทักษะที่สูงขึ้นไม่น้อยกว่า 1 ล้านคน วิสาหกิจเริ่มต้น (Startup) และธุรกิจที่ผู้ประกอบการมุ่งเน้นการขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับบีซีจี 1,000 รายการ.

จาก https://www.thairath.co.th วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565

ราคาอ้อยทะลุพันบาทต่อตัน

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบราคาอ้อยขั้นสุดท้ายและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 63/64 โดยกำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ปี 63/64 เฉลี่ยทั่วประเทศในอัตราตันอ้อยละ 1,002.20 บาท ที่ความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. และกำหนดอัตราขึ้น-ลงของราคาอ้อยเฉลี่ยทั่วประเทศเท่ากับ 60.13 บาท ต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส. ขณะที่ผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 63/64 เฉลี่ยทั่วประเทศเท่ากับ 429.51 บาทต่อตันอ้อย ทั้งนี้ กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจึงไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยส่วนต่าง เพราะราคาอ้อยขั้นสุดท้ายฤดูการผลิตปี 63/64 สูงกว่าราคาอ้อยขั้นต้น ส่วนรายได้สุทธิที่ได้จากการจำหน่ายน้ำตาลทรายที่สูงกว่าราคาอ้อยขั้นสุดท้าย โรงงานน้ำตาลต้องนำส่งเงินส่วนต่างให้กับกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย อัตราตันอ้อยละ 8 บาท รวมเป็นเงิน 533.27 ล้านบาท

ครม.ยังกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 64/65 คำนวณราคาอ้อยราคาเดียวทั่วประเทศ โดยราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 64/65 ในอัตราตันอ้อยละ 1,070 บาท ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. กำหนดอัตราขึ้น-ลงราคาอ้อยเท่ากับ 64.20 บาท ต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส. กำหนดผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 64/65 เท่ากับ 458.57 บาทต่อตันอ้อย.

จาก https://www.thairath.co.th   วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

'กนง.'ชี้เงินเฟ้อปี’65แตะ1.7% 'กรุงศรี'เชื่อธปท.ส่อตรึงดบ.ยาว

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุม คณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 8ก.พ.2565 รับทราบรายงานภาวะ และแนวโน้มเศรษฐกิจไทย ของคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) โดยคาดว่า อัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปี 2565 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.7 ตามราคาหมวดพลังงานมีแนวโน้มสูงขึ้น ตามน้ำมันดิบในตลาดโลก พร้อมคาดว่าปี 2566 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ร้อยละ 1.4 โดยเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวจากปัญหา โควิด-19 เริ่มคลี่คลาย ภาวะการเงินไทยโดยรวม จึงเริ่มผ่อนคลาย ภาคธุรกิจสามารถระดมทุนได้อย่างต่อเนื่อง

กนง.คาดการณ์แนวโน้มในปี 2565 เศรษฐกิจจะขยายตัวร้อยละ 3.4 และปี 2566 ขยายตัวร้อยละ 4.7 จากการฟื้นตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติเป็นหลัก โดยจำนวนนักท่องเที่ยวปี 2565 คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยว 5.6 ล้านคน และปี 2566 ประมาณ 20 ล้านคน

ขณะที่ วิจัยกรุงศรี ระบุว่า อัตราเงินเฟ้อเดือนแรกของปีนี้อยู่ที่  3.23% พุ่งแตะระดับสูงสุดในรอบ 8 เดือน สาเหตุสำคัญจากการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ (+27.9%) ตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่ปรับเร่งขึ้น ผนวกกับการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มอาหารบางประเภท โดยเฉพาะเนื้อสุกร และน้ำมันพืช ด้านอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (หักราคาหมวดอาหารสดและพลังงาน)

“อัตราเงินเฟ้อที่เร่งขึ้นมากและยังมีแนวโน้มอยู่เหนือกรอบเงินเฟ้อเป้าหมายของทางการในไตรมาสแรกของปีนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานที่ต่ำมากในช่วงเดียวกันปีก่อน กอปรกับคาดว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกจะยังทรงตัวในระดับสูง เนื่องจากปัญหาอุปทานน้ำมันที่มีแนวโน้มฟื้นตัวช้ากว่าอุปสงค์ในช่วงครึ่งปีแรกก่อนที่จะบรรเทาลงในช่วงครึ่งปีหลัง รวมทั้งสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับยูเครน แรงกดดันทางด้านราคาโดยเฉพาะในหมวดพลังงานจึงเพิ่มมากกว่าคาด กระทบต้นทุนการผลิตสูงขึ้น วิจัยกรุงศรีได้ปรับเพิ่มคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปีนี้ขึ้นเป็น 2.0% (เดิมคาด1.5%)”วิจัยกรุงศรี ระบุ

ส่วนมุมมองด้านดอกเบี้ยนโยบาย แม้อัตราเงินเฟ้อมีแนวโน้มสูงกว่าคาดซึ่งเป็นผลจากด้านอุปทานตามราคาพลังงานที่ปรับเร่งขึ้น ขณะที่การฟื้นตัวเศรษฐกิจยังเปราะบางท่ามกลางกำลังซื้อที่อ่อนแอและหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง อีกทั้งยังต้องพึ่งพามาตรการทางการคลังในการกระตุ้นเศรษฐกิจ การดำเนินนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายจึงยังมีความจำเป็นและเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน จึงคาดว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 0.50% ในการประชุมกลางสัปดาห์นี้ (วันที่ 9 ก.พ. และมีแนวโน้มที่จะตรึงดอกเบี้ยไว้ตลอดทั้งปี 2565

จาก https://www.naewna.com วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

กรมชลฯเร่งติดตาม สถานการณ์น้ำทุกที่ ปรับแผนเพาะปลูก ให้ใช้น้ำอย่างคุ้มค่า

นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ปัจจุบันอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ มีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกันทั้งสิ้น 55,184 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) หรือคิดเป็นร้อยละ 73  ของความจุอ่างฯ รวมกัน เป็นน้ำใช้การได้ 31,254 ล้าน ลบ.ม.หรือร้อยละ 60 ของความจุอ่างฯ รวมกัน ซึ่งได้จัดสรรน้ำไปแล้ว 9,788 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 44 เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 13,219 ล้าน ลบ.ม.หรือร้อยละ 53 ของความจุอ่างฯ รวมกัน ปริมาณน้ำใช้การได้ 6,523 ล้าน ลบ.ม.หรือร้อยละ 36 ของความจุอ่างฯ รวมกัน จัดสรรน้ำไปแล้ว 2,521 ล้าน ลบ.ม.หรือร้อยละ 44

สำหรับผลการเพาะปลูกข้าวนาปรัง ปี 2564/65 ทั้งประเทศเพาะปลูกข้าวไปแล้ว 5.36 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 83.61 เฉพาะพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา เพาะปลูกไปแล้ว 3.63 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 129.03 ของแผนฯ

ทั้งนี้ เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนอยู่ในเกณฑ์น้อย ประกอบกับปัจจุบันมีการเพาะปลูกเกินแผนที่กำหนด จึงได้กำชับให้โครงการชลประทานโดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา บริหารจัดการน้ำด้วยการหมุนเวียนน้ำในพื้นที่ให้ทั่วถึง เพื่อไม่ให้พื้นที่เพาะปลูกแล้วเกิดความเสียหาย ด้านการเพาะปลูกพื้นที่ลุ่มต่ำ ให้ควบคุมการเพาะปลูกให้เป็นไปตามแผน รวมทั้งดำเนินการตามมาตรการรองรับฤดูแล้งปี 64/65 ทั้ง 8 มาตรการอย่างเคร่งครัด ที่สำคัญให้ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ถึงสถานการณ์น้ำ และแนวทางในการบริหารจัดการน้ำ  รณรงค์ให้ทุกภาคส่วนตระหนักถึงความสำคัญของการประหยัดทรัพยากรน้ำ

จาก https://www.naewna.com วันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ครม. เคาะ ราคาอ้อยขั้นสุดท้าย 1,002 บาท ขั้นต้น 1,070 บาท

ครม.เห็นชอบกำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 63/64 ตันอ้อยละ 1,002 บาท และราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 64/65ตันอ้อยละ 1,070 บาท

วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบกำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้ายและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2563/2564

พร้อมทั้งเห็นชอบกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2564/2565 เป็นรายเขต 9 เขต ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ โดยมีรายละเอียดดังนี้

กำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้ายและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2563/2564 มีอัตราเฉลี่ยทั่วประเทศ ดังนี้

1.ราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2563/2564 เฉลี่ยทั่วประเทศในอัตราตันอ้อยละ 1,002.20 บาท ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. (ราคาอ้อยขั้นต้น ณ 23 ก.พ.2564 อยู่ที่ 920 บาท)

2.อัตราขึ้น/ลง ของราคาอ้อย เฉลี่ยทั่วประเทศ เท่ากับ 60.13 บาท ต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส.

3.ผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2563/2564 เฉลี่ยทั่วประเทศ เท่ากับ 429.51 บาทต่อตันอ้อย

ทั้งนี้ ราคาอ้อยขั้นสุดท้ายฤดูการผลิตปี 2563/2564 ที่เสนอครั้งนี้ อยู่ในระดับสูงกว่าราคาอ้อยขั้นต้น ดังนั้น กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจึงไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยส่วนต่าง ส่วนรายได้สุทธิที่ได้จากการจำหน่ายน้ำตาลทรายสูงกว่าราคาอ้อยขั้นสุดท้าย โรงงานน้ำตาลต้องนำส่งเงินส่วนต่างระหว่างรายได้สุทธิและราคาอ้อยขั้นสุดท้ายให้กับกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย อัตราตันอ้อยละ 8 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 533.27 ล้านบาท

กำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2564/2565 โดยคำนวณราคาอ้อยเป็นราคาเดียวทั่วประเทศ

1.ราคาอ้อยขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2564/2565 ในอัตราตันอ้อยละ 1,070 บาท ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. หรือเท่ากับร้อยละ 93.34 ของประมาณการราคาอ้อยเฉลี่ยทั่วประเทศ 1,110.66 บาทต่อตันอ้อย

2.อัตราขึ้น/ลง ของราคาอ้อยเท่ากับ 64.20 บาท ต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส.

3.ผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2564/2565 เท่ากับ 458.57 บาทต่อตันอ้อย

ทั้งนี้ ในส่วนของส่วนประเด็นข้อพิพาทกรณีน้ำตาลภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ระหว่างประเทศไทยกับบราซิลนั้น เรื่องนี้ไม่ขัดกับข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศแต่อย่างใด

จาก https://www.prachachat.net   วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

สทนช.เร่งตั้งกรรมการ 22 ลุ่มน้ำ  ย้ำ “ภาคเกษตร”ได้ยกเว้นค่าน้ำสาธารณะ

“สทนช.” เร่งตั้งกรรมการลุ่มน้ำประจำ 22 ลุ่มน้ำทำหน้าที่ร่วมบริหารจัดการทรัพยากรน้ำทั่วประเทศ ขณะความก้าวหน้าคำขอจดทะเบียนผู้ใช้น้ำอนุมัติแล้ว 3,238 องค์กร คาดได้ข้อสรุป เม.ย. 65 แง้มแผนจัดเก็บค่าน้ำ “อุตสาหกรรม-พาณิชยกรรมขนาดใหญ่” ก่อน ย้ำภาคเกษตรได้ยกเว้น

ดร.สุรสีห์    กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)  เผยถึงความคืบหน้าการจดทะเบียนเพื่อจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำให้แก่ภาคประชาชนใน 3 ภาค ได้แก่   ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคพาณิชยกรรม ว่า   ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2564 เป็นต้นมาถึง ณ  ปัจจุบัน มีองค์กรผู้ใช้น้ำยื่นคำขอจดทะเบียนทั้งสิ้น 3,271 องค์กร พิจารณาอนุมัติแล้ว 3,238 องค์กร ส่วนใหญ่เป็นภาคเกษตรกรรม 2,702 องค์กร ภาคอุตสาหกรรม 271 องค์กร ภาคพาณิชยกรรม 265 องค์กร

สำหรับการคัดเลือกคณะกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำแล้วเสร็จเมื่อเดือนกันยายน 2564 ขณะนี้อยู่ระหว่างการรอประกาศแต่งตั้ง สำหรับกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกรรมการลุ่มน้ำผู้ทรงคุณวุฒิ อยู่ระหว่างการคัดเลือก/สรรหา คาดว่าจะได้ครบทุกองค์ประกอบทั้ง 22 ลุ่มน้ำภายในเดือนมีนาคมนี้ และประกาศแต่งตั้งอย่างเป็นทางการภายในเดือนเมษายนนี้ จากนั้นคณะกรรมการจะไปกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการจัดเก็บค่าน้ำ ซึ่งจะมีอัตราแตกต่างกันตามประเภทและพื้นที่

ทั้งนี้ความเป็นมาของคณะกรรมการลุ่มน้ำประจำลุ่มน้ำ  เกิดขึ้นตาม พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 ที่กำหนดให้มีกรรมการลุ่มน้ำประจำลุ่มน้ำ โดยมีองค์ประกอบ ประกอบด้วย กรรมการลุ่มน้ำโดยตำแหน่ง ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัดในเขตลุ่มน้ำนั้น และผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ กรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากจังหวัดต่าง ๆ ในเขตลุ่มน้ำ จังหวัดละ 1 คน กรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม ภาคพาณิชยกรรม ภาคละ 3 คน รวม 9 คน และ กรรมการลุ่มน้ำผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ จำนวน 4 คน

โดยคณะกรรมการมีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในเขตลุ่มน้ำ ได้แก่ การจัดทำแผนแม่บทการใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบำรุงรักษา การฟื้นฟูและการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำในเขตลุ่มน้ำ การจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง/ภาวะน้ำท่วม การพิจารณาปริมาณการใช้น้ำ การจัดสรรน้ำ และจัดลำดับความสำคัญในการใช้น้ำ การให้ความเห็นชอบการอนุญาตการใช้น้ำประเภทที่ 2 คือ ภาคอุตสาหกรรม  และน้ำประเภทที่  3 คือพาณิชยกรรม ที่ตามพ.ร.บ. กำหนดให้เก็บค่าน้ำ  ขณะที่การใช้น้ำประเภทที่ 1 คือ เพื่อเกษตรกรรมนั้น ไม่มีการจัดเก็บ  

นอกจากนี้คณะอนุกรรมการลุ่มน้ำ ฯ ยังมีหน้าที่การพิจารณาให้ความเห็นแผนงาน โครงการด้านทรัพยากรน้ำในเขตลุ่มน้ำ การไกล่เกลี่ย และชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างผู้ใช้น้ำ ตลอดจนการส่งเสริมและรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้แก่ประชาชนในการใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบำรุงรักษา การฟื้นฟู และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำในเขตลุ่มน้ำ

“เบื้องต้นจะพิจารณาจัดเก็บอัตราค่าน้ำประเภทที่ 2 และ 3 แน่นอน ส่วนอัตราที่ต้องจ่ายจะเป็นเท่าใดนั้น จะต้องมีคณะกรรมการลุ่มน้ำขึ้นมากำหนดในแต่ละพื้นที่ที่ไม่เท่ากัน ส่วนการใช้น้ำเพื่อทำเกษตรประเภทที่ 1 ยังไม่มีการพิจารณา ดังนั้น ภายในเดือนเมษายนนี้น่าจะต้องเกิดคณะกรรมการลุ่มน้ำก่อน ซึ่งจะมีผู้แทนรายภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเข้ามามีส่วนร่วมมิติใหม่ครั้งนี้”  ดร.สุรสีห์  กล่าว

อนึ่ง 22 ลุ่มน้ำภายใต้การบริหารจัดการและจะต้องร่วมกันกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรผู้ใช้น้ำของคณะกรรมการลุ่มน้ำที่จัดตั้งขึ้น ได้แก่   1.ลุ่มน้ำสาละวิน  2.ลุ่มน้ำโขงเหนือ  3. ลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ4. ลุ่มน้ำชี  5.ลุ่มน้ำมูล  6.ลุ่มน้ำปิง  7.ลุ่มน้ำยม 8.ลุ่มน้ำวัง9. ลุ่มน้ำน่าน10. ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 11.ลุ่มน้ำสะแกกรัง 12. ลุ่มน้ำป่าสัก  13. ลุ่มน้ำท่าจีน 14. ลุ่มน้ำแม่กลอง 15. ลุ่มน้ำบางปะกง  16. ลุ่มน้ำโตนเลสาบ 17. ลุ่มน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก 18.ลุ่มน้ำเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์  19.ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนบน 20.ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา  21. ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันออกตอนล่างและ 22 ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก  ทั้งหมดเพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรผู้ใช้น้ำ

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ครม.เห็นชอบกำหนด "ราคาอ้อย" ขั้นสุดท้าย ปี63/64 และขั้นต้น ปี 64/65

ครม.เห็นชอบกำหนด "ราคาอ้อย" ขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2563/2564 และราคาอ้อยขั้นสุดท้ายฤดูการผลิตปี 2563/2564

เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2565 ว่า ครม.เห็นชอบกำหนด "ราคาอ้อย" ขั้นสุดท้ายและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2563/2564 พร้อมทั้งเห็นชอบกำหนด "ราคาอ้อย" ขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2564/2565 เป็นรายเขต 9 เขต ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ

โดยมีรายละเอียดดังนี้ กำหนด "ราคาอ้อย" ขั้นสุดท้ายและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2563/2564 มีอัตราเฉลี่ยทั่วประเทศ ดังนี้

1.ราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2563/2564 เฉลี่ยทั่วประเทศในอัตราตันอ้อยละ 1,002.20 บาท ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. (ราคาอ้อยขั้นต้น ณ 23 ก.พ.2564 อยู่ที่ 920 บาท)

2.อัตราขึ้น/ลง ของราคาอ้อย เฉลี่ยทั่วประเทศ เท่ากับ 60.13 บาท ต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส.

3.ผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2563/2564 เฉลี่ยทั่วประเทศ เท่ากับ 429.51 บาทต่อตันอ้อย

โรงงานน้ำตาล ชงระบบประกันราคารับซื้ออ้อยที่ 1,200 บาทต่อตันอ้อย 3 ปี

สมาคมชาวไร่อ้อย ร้องขอรับคนต่างด้าว แก้วิกฤติขาดแคลนแรงงาน

ทั้งนี้ "ราคาอ้อย" ขั้นสุดท้ายฤดูการผลิตปี 2563/2564 ที่เสนอครั้งนี้ อยู่ในระดับสูงกว่าราคาอ้อยขั้นต้น ดังนั้น กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจึงไม่ต้องจ่ายเงินชดเชยส่วนต่าง ส่วนรายได้สุทธิที่ได้จากการจำหน่ายน้ำตาลทรายสูงกว่าราคาอ้อยขั้นสุดท้าย โรงงานน้ำตาลต้องนำส่งเงินส่วนต่างระหว่างรายได้สุทธิและราคาอ้อยขั้นสุดท้ายให้กับกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย อัตราตันอ้อยละ 8 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 533.27 ล้านบาท

กำหนด "ราคาอ้อย" ขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2564/2565 โดยคำนวณราคาอ้อยเป็นราคาเดียวทั่วประเทศ

1.ราคาอ้อยขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2564/2565 ในอัตราตันอ้อยละ 1,070 บาท ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. หรือเท่ากับร้อยละ 93.34 ของประมาณการราคาอ้อยเฉลี่ยทั่วประเทศ 1,110.66 บาทต่อตันอ้อย

2.อัตราขึ้น/ลง ของราคาอ้อยเท่ากับ 64.20 บาท ต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส.

3.ผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2564/2565 เท่ากับ 458.57 บาทต่อตันอ้อย

ทั้งนี้ ในส่วนของส่วนประเด็นข้อพิพาทกรณีน้ำตาลภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ระหว่างประเทศไทยกับบราซิลนั้น เรื่องนี้ไม่ขัดกับข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศแต่อย่างใด

จาก https://www.bangkokbiznews.com   วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

รับซื้ออ้อยสดตันละ1,200บาท จูงใจชาวไร่พัฒนาคุณภาพผลผลิต

นายสิริวุทธิ์  เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการ บริษัทไทยชูการ์ มิลเลอร์ หรือ TSMC เปิดเผยว่า โรงงานน้ำตาลได้เสนอแนวทางการบริหารระบบราคาอ้อย เพื่อสร้างความมั่นคงด้านผลผลิตและเพิ่มรายได้เพาะปลูกให้แก่ชาวไร่อ้อยมีความมั่นคงในการยึดอาชีพปลูกอ้อยจัดส่งให้แก่โรงงาน พร้อมร่วมมือกันพัฒนาระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทยให้เข็มแข็ง โดยเสนอระบบประกันการรับซื้ออ้อยสดมีคุณภาพในรอบการเพาะปลูกปี 2565/66 – 2567/68 ในราคา 1,200 บาทต่อตันอ้อย ณ ค่าความหวาน 12.63 ซี.ซี.เอส. ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยความหวานย้อนหลัง 3 รอบปีการผลิต จากเดิมที่ประกันราคารับซื้ออ้อยสดที่ราคา 1,000 บาท ณ ค่าความหวาน 10 ซี.ซี.เอส. เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเพาะปลูกอ้อยของชาวไร่ โดยโรงงานน้ำตาลพร้อมสนับสนุนองค์ความรู้แก่เกษตรกรรายใหม่ที่ปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นหันมาเพาะปลูกอ้อยเพื่อจัดส่งให้แก่โรงงาน

ทั้งนี้ระบบประกันราคารับซื้ออ้อยสดที่เสนอดังกล่าว เป็นผลมาจากการตอบรับของชาวไร่ที่ร่วมมือกันเพาะปลูกและดูแลผลผลิตอ้อยที่ดี ส่งผลให้ฤดูการหีบอ้อยปี 2564/65 คาดว่าจะมีปริมาณผลผลิตเพิ่มเป็น 90 ล้านตันอ้อย หลังภาพรวมการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานทั้ง 57 โรง ที่เริ่มเปิดรับผลผลิตอ้อย ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2564ถึงปัจจุบัน รวม 58 วัน พบว่า มีปริมาณอ้อยเข้าหีบแล้ว 50.55 ตันอ้อย แบ่งเป็น ผลผลิตอ้อยสด 39.49 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วน 78.03% ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเวลาหีบเท่ากันของปีก่อน และมีอ้อยไฟไหม้ 11.11 ล้านตัน คิดเป็น 21.97% ส่งผลให้ผลผลิตน้ำตาลอยู่ที่ 104.77 กิโลกรัมต่อตันอ้อย ณ ค่าความหวานที่ 12.31 ซี.ซี.เอส.

“ระบบดังกล่าวจะจูงใจให้แก่ชาวไร่เพาะปลูกอ้อยที่มีคุณภาพจัดส่งอ้อยสด สะอาด ไม่มีสิ่งปนเปื้อนเข้าสู่กระบวนการหีบอ้อยเพื่อให้ได้ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยเพิ่มขึ้น และมีรายได้สูงสุดจากการเพาะปลูกอ้อยและการผลิตน้ำตาล ยังช่วยลดปัญหาอ้อยไฟไหม้อีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพรวมของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบ” นายสิริวุทธิ์ กล่าว

จาก https://www.naewna.com วันที่ 8 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

โรงงานน้ำตาลเสนอประกันราคารับซื้ออ้อย 1,200 บาทต่อตันอ้อย  3 ปี

โรงงานน้ำตาลเสนอประกันราคารับซื้ออ้อย 1,200 บาทต่อตันอ้อย 3 ปี เริ่มฤดูการเพาะปลูกปี 2565/66 – 2567/68 กระตุ้นชาวไร่เพาะปลูกอ้อยเพิ่มและลดปัญหาอ้อยไฟไหม้ในระยะยาว

นายสิริวุทธิ์  เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการ บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด หรือ TSMC เปิดเผยว่า โรงงานน้ำตาลได้เสนอแนวทางการบริหารระบบราคาอ้อย เพื่อสร้างความมั่นคงด้านผลผลิตและเพิ่มรายได้เพาะปลูกให้แก่ชาวไร่อ้อยมีความมั่นคงในการยึดอาชีพปลูกอ้อยจัดส่งให้แก่โรงงาน พร้อมร่วมมือกันพัฒนาระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทยให้เข็มแข็ง

โดยเสนอระบบประกันการรับซื้ออ้อยสดมีคุณภาพในรอบการเพาะปลูกปี 2565/66 – 2567/68 ในราคา 1,200 บาทต่อตันอ้อย ณ ค่าความหวาน 12.63 ซี.ซี.เอส.

ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยความหวานย้อนหลัง 3 รอบปีการผลิต จากเดิมที่ประกันราคารับซื้ออ้อยสดที่ราคา 1,000 บาท ณ ค่าความหวาน 10 ซี.ซี.เอส. เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเพาะปลูกอ้อยของชาวไร่

อย่างไรก็ดี โรงงานน้ำตาลพร้อมสนับสนุนองค์ความรู้แก่เกษตรกรรายใหม่ที่ปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นหันมาเพาะปลูกอ้อยเพื่อจัดส่งให้แก่โรงงานเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ระบบประกันราคารับซื้ออ้อยสดที่เสนอดังกล่าว เป็นผลมาจากการตอบรับของชาวไร่ที่ร่วมมือกันเพาะปลูกและดูแลผลผลิตอ้อยที่ดี ส่งผลให้ฤดูการหีบอ้อยปี 2564/65 คาดว่าจะมีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 90 ล้านตันอ้อย

หลังภาพรวมการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานทั้ง 57 โรง ที่เริ่มเปิดรับผลผลิตอ้อย ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา ถึงปัจจุบัน รวม 58 วัน พบว่า

มีปริมาณอ้อยเข้าหีบแล้ว 50.55 ตันอ้อย แบ่งเป็น ผลผลิตอ้อยสด 39.49 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วน 78.03% ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเวลาหีบเท่ากันของปีก่อน และมีอ้อยไฟไหม้ 11.11 ล้านตัน คิดเป็น 21.97% ส่งผลให้ผลผลิตน้ำตาลอยู่ที่ 104.77 กิโลกรัมต่อตันอ้อย ณ ค่าความหวานที่ 12.31 ซี.ซี.เอส.

นอกจากนี้ โรงงานน้ำตาลทุกโรง ยังมุ่งมั่นลดปัญหาอ้อยไฟไหม้ตามนโยบายของภาครัฐ โดยร่วมมือชาวไร่อ้อยและหน่วยงานราชการ ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 อย่างต่อเนื่อง

ทั้งการจัดหารถตัดอ้อยให้ชาวไร่อ้อยคู่สัญญารวมถึงรับซื้อใบอ้อยสด เพื่อแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

“โรงงานน้ำตาลพร้อมร่วมมือทุกฝ่ายแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ ซึ่งระบบราคารับซื้ออ้อยสดในราคาตันละ 1,200 บาท เป็นอีกหนึ่งในแนวทางจูงใจให้แก่ชาวไร่เพาะปลูกอ้อยที่มีคุณภาพและจัดส่งอ้อยสด สะอาด ไม่มีสิ่งปนเปื้อนเข้าสู่กระบวนการหีบอ้อยเพื่อให้ได้ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยเพิ่มขึ้น และมีรายได้สูงสุดจากการเพาะปลูกอ้อยและการผลิตน้ำตาล ยังช่วยลดปัญหาอ้อยไฟไหม้ในอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพรวมของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบ”

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

‘เฉลิมชัย’ เร่งพลิกโฉมกระทรวงเกษตร พอใจผลพัฒนา-การบริหารภาครัฐคืบหน้า

 “เฉลิมชัย” เร่งปฏิรูปพลิกโฉมกระทรวงเกษตรฯ พอใจผลการพัฒนาการบริหารและการบริการภาครัฐด้วยระบบดิจิตอลคืบหน้า70% “อลงกรณ์”ชู 641เทคโนโลยีใหม่เมดอินไทยแลนด์ ถ่ายทอดสู่เกษตรกรกว่า7.6พันรายพร้อมผนึกสภาอุตสาหกรรมฯ ขยายเกษตรอัจฉริยะ2ล้านไร่ เตรียมจัดงานเกษตรสร้างสรรค์ สู่เกษตรมูลค่าสูงเดือนนี้ตามด้วยงานจุฬาฯ AIC Expo เดือนมีนาคม

เมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 และประธานคณะกรรมการบริหารศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (Agritech and Innovation Center : AIC) เปิดเผยถึงผลงานความคืบหน้าของการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0 ประจำเดือนมกราคม 2565 ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ยุทธศาสตร์การปฏิรูปภาคเกษตรกรรมของดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ว่า จากผลการปฏิรูปการบริการและการบริหารภาครัฐของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่และการดำเนินงานของศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม (AIC : Agritech and Innovation Center) มีความก้าวหน้าอย่างมีนัยยะสำคัญ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ.พอใจต่อผลการทำงานล่าสุด โดยเฉพาะการดำเนินงานด้านระบบบริการภาครัฐด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล ( Gov Tech ) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความคืบหน้าถึง70% จากพัฒนาบริการภาครัฐทั้งหมด 176 ระบบเปลี่ยนเป็นการบริการภาครัฐด้วยดิจิตอล( Digital Service )แล้ว 156 ระบบ ซึ่งในส่วนนี้ดำเนินการเสร็จสิ้นและให้บริการแล้ว 109 ระบบหรือคิดเป็น 70%

ส่วนการพัฒนา NSW (National Single Window) 54 ระบบ อยู่ระหว่างการพัฒนาปรับปรุงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ 47 ระบบ ในขณะที่ด้านระบบฐานข้อมูลดิจิตอล (Big Data) โดยศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติได้เชื่อมโยงข้อมูลสู่ภูมิภาคกับศูนย์ AIC เช่นศูนย์AIC เพชรบุรี (มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี) ในการพัฒนาฐานข้อมูลเพื่อการวิจัยและพัฒนาเกลือทะเลไทยเชิงบูรณาการ การวิจัยและพัฒนาต้นแบบด้าน IT เพื่อสนับสนุนการบริหารจัดการด้านเกษตรกรรม และศูนย์ AIC จังหวัดเชียงราย ในการดำเนินโครงการ Flagship ร่วมกับ สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเชียงราย เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมกาแฟอาราบิกา การใช้งานระบบ CKAN เพื่อจัดทำ Data Catalog เป็นต้น

ทั้งนี้ นายอลงกรณ์ ได้สั่งการให้มีการจัดประชุมเรื่อง NSW เป็นการเฉพาะในเดือนกุมภาพันธ์เพื่อสนับสนุนการค้าระหว่างประเทศและการพยากรณ์ข้อมูลราคาและตลาดสินค้าเกษตรในต่างประเทศ

สำหรับด้านเกษตรอัจฉริยะ ได้มีการรายงานการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ ปี พ.ศ. 2565-2566 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และการขับเคลื่อนการบูรณาการด้านเกษตรอัจฉริยะ ร่วมกับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยดำเนินโครงการเกษตรแม่นยำ2ล้านไร่จับคู่เกษตรแปลงใหญ่(Big Farm)กับบริษัทอุตสาหกรรมเกษตรขนาดใหญ่(Big Brother) โครงการความร่วมมือด้านSmart Farming กับบริษัท ล็อกซ์เล่ย์ จำกัด(มหาชน) เพื่อขับเคลื่อนแปลงใหญ่เกษตรอัจฉริยะข้าว และระบบช่วยการตรวจประเมินระยะไกล (Remote Audit) หรือการตรวจผ่านระบบออนไลน์ แปลง GAP และเกษตรอินทรีย์ (Organic) (แอพพลิเคชั่น Kasettrack)

สำหรับด้าน E-Commerce ได้มีการขับเคลื่อนเรื่องแผนการกระจายผลไม้ในประเทศ และความร่วมมือด้านการเกษตรและการค้าไทย-บาห์เรน รวมทั้งโครงการThailand E-Commerce Village ส่วนงานด้านธุรกิจเกษตร (Agribusiness) มีการนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาแบรนด์ธุรกิจ SMEs ด้วยการสร้างสรรค์คาแรคเตอร์ให้โดนใจกลุ่มผู้บริโภค และการประชาสัมพันธ์การจัดงานตลาดนัด Local CIP Fair และ Character Walking Street โดยความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ในระหว่างวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ 2565

นอกจากนี้นายอลงกรณ์ได้มอบนโยบายให้คณะอนุกรรมการด้านธุรกิจเกษตร ศึกษาจุดอ่อนจุดแข็งในเรื่องของระบบธุรกิจเกษตรแบบ Contract Farming ภายใต้กฎหมายปัจจุบันว่ามีจุดอ่อนจุดแข็งที่จะต้องดำเนินการแก้ไขพัฒนาอย่างไร และการขับเคลื่อนการทำงานในพื้นที่ด้วยคณะทำงานของ AIC ในการพัฒนาธุรกิจเกษตร

ทางด้านผลการดำเนินงานการขับเคลื่อนการทำงานของ AIC ที่ผ่านมา มีการนำเสนอความก้าวหน้าในเรื่องของการเชื่อมโยงศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) กับศูนย์ AIC โดย กรมส่งเสริมการเกษตร ซึ่งในปัจจุบันมีการทำโครงการเชื่อมโยงองค์ความรู้ของศูนย์ AIC ผ่าน ศพก. ใน 6 เขตพื้นที่ โดยเกษตรกรสามารถนำความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และเทคโนโลยีการผลิต ที่เป็นองค์ความรู้จาก AIC ไปใช้ในแปลงเกษตรได้เป็นอย่างมาก และมีการสนับสนุนงบประมาณในกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อการพัฒนาเกษตรกรครบรอบด้านผ่านการดำเนินงานของศูนย์ ศพก.และเครือข่าย การนำ (INNOVATION CATALOG) มาใช้ประโยชน์กับเกษตรกร ของศูนย์ AIC จังหวัดระยอง ร่วมกับศูนย์ ศพก. หน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกรในพื้นที่

สำหรับผลการดำเนินงานด้านแคตตาล็อกนวัตกรรมAIC (INNOVATION CATALOG) มีจำนวน 641 เทคโนโลยี/นวัตกรรม เกษตรกรได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมจาก AIC ผ่าน ศพก. จำนวน 7,679 ราย ศพก. 882 แห่งมีการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมจาก AIC จำนวน 55 แห่ง และการรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานของคณะทำงานคัดเลือกรางวัล AIC Award และพิจารณาเชิญผู้ทรงคุณวุฒิเฉพาะเรื่อง เข้าร่วมในคณะทำงาน AIC Award อีกทั้งการประชาสัมพันธ์นิทรรศการเสมือนจริง AIC CHULA SARABURI VIRTUAL EXPO 2022 ซึ่งจัดโดย AIC จังหวัดสระบุรี ที่จะมีขึ้นในวันที่ 24-25 มีนาคม 2565

นายอลงกรณ์ได้เน้นย้ำถึงการปฏิรูปภาคเกษตรของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และภาคเกษตรกรโดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่เมดอินไทยแลนด์ รวมถึงการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น และศาสตร์พระราชาถือเป็นพื้นฐานสำคัญเสมือนคานงัดการพัฒนาไปสู่เกษตรมูลค่าสูงเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรและประเทศชาติ

ทั้งนี้ เป็นผลจากการประชุมล่าสุดซึ่งมีนายอลงกรณ์ ทำหน้าที่ประธานพร้อมด้วยนายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรฯ.นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ประธานอนุกรรมการธุรกิจเกษตร นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสศก. ประธานอนุกรรมการGovTechและBig Data ดร.วราภรณ์ พรหมพจน์ ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ นายกฤชฐา โภคาสถิตย์ ประธานคณะอนุกรรมการขับเคลื่อน E-Commerce รศ.ดร. อาณัฐชัย รัตตกุล ดร.ดาเรศร์ กิตติโยภาส นายสุวิทย์ รัตนจินดา ประธานสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย ผู้แทนกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย ผู้แทนกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง สถานศึกษา ภาคเอกชน และศูนย์ AIC จากทั่วประเทศ ได้ร่วมประชุมผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings ในการขับเคลื่อนคณะอนุกรรมการทั้ง 4 ด้าน ทั้งด้าน Big Data และ Gov Tech ด้านเกษตรอัจฉริยะ ด้าน E-Commerce ด้านธุรกิจเกษตร (Agribusiness) และศูนย์AIC 77 จังหวัดและAICประเภทศูนย์แห่งความเป็นเลิศอีก23ศูนย์.

จาก https://www.matichon.co.th   วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

เศรษฐกิจโลกฟื้นตัว หนุนส่งออกไทยโตเป็นประวัติการณ์

ไทยกำลังเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจในประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาปากท้องประชาชน อันเนื่องมาจากสินค้าอุปโภคบริโภคมีราคาแพงขึ้น ขณะที่อัตราค่าแรงยังคงอยู่ในระดับเดิม หากจะกล่าวว่าไทยกำลังเข้าสู่ภาวะเงินเฟ้อก็คงไม่ผิดนัก แต่นั่นยังคงอยู่ในการคาดการณ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย และภาวะเงินเฟ้อในปัจจุบันยังไม่รุนแรงมากนัก

ปัจจุบันสินค้าบางรายการเริ่มส่งสัญญาณการปรับราคาลดลง โดยเฉพาะเนื้อหมูที่ประสบปัญหาอย่างหนักก่อนหน้า ขณะที่ข้อมูลล่าสุดพบว่าราคาหมูสดหน้าฟาร์มเริ่มปรับราคาลง ซึ่งน่าจะส่งผลดีต่อตลาดโดยรวม

แม้ว่าเศรษฐกิจในประเทศกำลังอยู่ในภาวะที่ประชาชนต้องระวังในการจับจ่าย ทว่า เศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศกลับเติบโตสวนทางอย่างเห็นได้ชัด

การส่งออกในเดือนธันวาคมยังขยายตัวสูงต่อเนื่องที่ 24.7% และเร่งตัวขึ้นจากเดือนก่อนหน้า โดยการส่งออกหักทองคำและปรับฤดูกาลขยายตัว 4.2% จากเดือนพฤศจิกายน โดยมีมูลค่าส่งออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ขยายตัวในทุกหมวดสินค้าสำคัญและในทุกตลาดสำคัญจากการเร่งนำเข้าสินค้าในช่วงท้ายปีจากหลายประเทศ โดยเฉพาะส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาที่ขยายตัวถึง 36.5% และออสเตรเลียที่ 54.9% ที่มีการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ในส่วนของการส่งออกรายสินค้า รถยนต์และส่วนประกอบ และสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน เช่น น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก ยังขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องจากปัจจัยสนับสนุนของราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในระดับสูง

ขณะที่ภาพรวมของปี 2021 การส่งออกของไทยเติบโตได้ถึง 17.1% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่สูงที่สุดในรอบ 11 ปี (ตัวเลขในระบบศุลกากร) โดยแม้ว่าในบางช่วงจะได้รับผลกระทบจากการปิดโรงงานเพื่อควบคุมการระบาดทั้งในประเทศไทยเองและประเทศที่อยู่ในห่วงโซ่การผลิตเดียวกัน

รวมถึงปัญหาคอขวดอุปทานที่เกิดขึ้นทั่วโลก แต่ยังเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งทั้งจากอานิสงส์ของปัจจัยฐานต่ำในปีก่อนหน้า ที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการระบาดของ Covid-19 และการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและการค้าโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ทั้งนี้หากเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคจะพบว่า การส่งออกของไทยฟื้นตัวได้ในอัตราที่ต่ำกว่าในช่วงครึ่งแรกของปี แต่เร่งตัวขึ้นมาเกาะกลุ่มได้ในช่วงครึ่งหลังของปี

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาการขยายตัวของการส่งออกของไทยในช่วงท้ายปี 2021 ไปยังตลาดยุโรป จะเริ่มเห็นถึงสัญญาณชะลอตัวลง ซึ่งอาจเป็นผลมาจากการระบาดของโอมิครอนในหลายประเทศโดยเฉพาะในยุโรปที่บางประเทศได้เริ่มนำเอามาตรการปิดเมืองกลับมาใช้อีกครั้ง โดยยังคงต้องจับตาถึงผลกระทบของโอมิครอนในระยะต่อไป

นอกจากสินค้าส่งออกสำคัญที่กล่าวไปในข้างต้น ไทยยังคงส่งออกผลิตผลทางการเกษตรได้สูงขึ้นโดยเฉพาะในตลาดจีน ตัวเลขจากกรมศุลกากรต่อการส่งออกผลไม้ของไทยในช่วงเดือนมกราคมถึงพฤศจิกายน ปี 2564 พบว่า ไทยส่งออกผลไม้ทั้ง 7 ชนิด ได้แก่ ทุเรียน มังคุด เงาะ ลองกอง ลำไย ลิ้นจี่ และมะม่วง จำนวน 1,992,751 ตัน ติดเป็นมูลค่า 165,624 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.75% นับเป็นตัวเลขส่งออกผลไม้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ โดยเฉพาะทุเรียนที่สามารถส่งออกได้เกือบหนึ่งแสนตัน

ทั้งนี้ตลาดที่สำคัญของผักผลไม้ของไทยคือประเทศจีน ซึ่งไทยได้ส่วนแบ่งตลาดผักและผลไม้ในจีนเพิ่มขึ้น จากสถิติเดือนมกราคมถึงพฤศจิกายน ปี 2564 มูลค่าการส่งออกผักผลไม้รวม 6,013.03 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 81%

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า ปัจจัยที่ทำให้ผักและผลไม้ไทยครองส่วนแบ่งตลาดในจีนนอกเหนือจากความนิยมในผักผลไม้ของไทยแล้ว ยังมีเรื่องของความเชื่อมั่นในคุณภาพและมาตรฐาน นอกจากนี้ ความตกลงการค้าระหว่างอาเซียนกับจีนหรือ ACFTA ช่วยสร้างความได้เปรียบและขยายโอกาสทางการค้าให้ไทย เพราะจีนได้ยกเลิกการเก็บภาษีนำเข้าผักและผลไม้จากไทยทุกรายการตั้งแต่ปี 2546 จากเดิมที่เคยเก็บภาษี 10-30%

ไทยได้รับอานิสงส์การส่งออกจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลัก เช่น จีน สหรัฐอเมริกา และออสเตรเลีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปีที่ผ่านมา แม้ว่าเครื่องจักรทางเศรษฐกิจตัวอื่นจะไม่สามารถขับเคลื่อนได้อย่างเต็มกำลัง แต่การส่งออกกลับสร้างแรงบวกให้แก่จีดีพีของไทย

เศรษฐกิจจีนปี 64 ขยายตัว 8.1% การส่งออกทั้งปีเกินดุลการค้าสูงสุดตั้งแต่เริ่มบันทึกในปี 2493 โดยแตะระดับ 676 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวราว 29.1% เป็นการส่งออกขยายตัว 29.9% การนำเข้าขยายตัว 30.1%

ทั้งนี้ ไตรมาส 4/2564 เศรษฐกิจจีนโตที่ 4.0% เป็นการขยายตัวรายไตรมาสที่ต่ำสุดในรอบปี ส่วนหนึ่งเพราะฐานที่สูงในปีก่อนหน้า นอกจากนี้ ยังเป็นผลมาจากปัญหาหนี้และการชะลอตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่มีแนวโน้มคลี่คลาย การระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอนซึ่งนำไปสู่การล็อกดาวน์ ทำให้การบริโภคภาคเอกชนเติบโตอย่างจำกัด

ขณะที่ภาคการผลิตยังคงถูกกดดันจากต้นทุนการผลิตที่ยังอยู่ในระดับสูง แม้ว่าวิกฤติพลังงานจะเริ่มคลี่คลาย สำหรับการลงทุนในสินทรัพย์ถาวรยังเติบโตได้ในภาคการผลิตและอุตสาหกรรมไฮเทค แต่การลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและภาคอสังหาริมทรัพย์เติบโตชะลอตัว อันเป็นผลจากนโยบาย “สามเส้นแดง” ที่ออกมาเพื่อลดการก่อหนี้ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ และการกำหนดสัดส่วนสูงสุดที่ธนาคารพาณิชย์สามารถปล่อยกู้ต่อผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และผู้กู้ซื้อบ้าน

อย่างไรก็ตาม จีนได้เลือกใช้นโยบายทางการเงินในการเพิ่มสภาพคล่องและกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านการปรับลดสัดส่วนกันสำรองธนาคารพาณิชย์ในอัตรา 0.5% สำหรับสถาบันทางการเงิน ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 15 ธ.ค.64 โดยเป็นการปรับลดครั้งที่สองในปี 64 รวมถึงลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกค้าชั้นดีสำหรับการกู้ 1 ปี ลง 0.05% สู่ระดับ 3.8% ในวันที่ 20 ธ.ค.64 ซึ่งเป็นการลดดอกเบี้ย LPR ครั้งแรกในรอบ 20 เดือน

กระทรวงพาณิชย์สหรัฐอเมริกาเปิดเผยตัวเลขประมาณการครั้งที่ 1 สำหรับผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ หรือจีดีพี ประจำไตรมาส 4/2564 ระบุว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีการขยายตัว 6.9% สูงกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ก่อนหน้านี้ที่ระดับ 5.5%

ทั้งนี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภครวมทั้งการที่ภาคธุรกิจเพิ่มเติมสต็อกสินค้าคงคลัง ก่อนหน้านี้เศรษฐกิจสหรัฐฯ เติบโต 6.3% ในไตรมาส 1 และ 6.7% ในไตรมาส 2 ก่อนที่จะชะลอตัวสู่ 2.3% ในไตรมาส 3 เนื่องจากการขาดแคลนวัตถุดิบในภาคการผลิตซึ่งกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน ทำให้ยอดขายรถยนต์ และตัวเลขการใช้จ่ายของผู้บริโภคลดลง เมื่อพิจารณาทั้งปี 2564 เศรษฐกิจสหรัฐฯ มีการขยายตัว 5.7% ซึ่งเป็นตัวเลขสูงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2527 หลังจากที่หดตัว 3.4% ในปี 2563 ซึ่งเป็นการหดตัวรุนแรงที่สุดนับตั้งแต่ปี 2489 โดยได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19

เมื่อแรงบวกของการส่งออกในปีที่ผ่านมาสูงขึ้น หลายฝ่ายจึงประเมินและคาดการณ์กันว่าปี 2565 น่าจะเป็นอีกปีที่ภาคการส่งออกของไทยทำได้ดี เพราะมีปัจจัยบวกหลายด้านที่น่าจะเอื้ออำนวย กระนั้นก็ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ยังต้องจับตาใกล้ชิดเช่นกัน

EIC ประเมินการส่งออกในปี 2022 เติบโตต่อเนื่องที่ 3.4% โดยคาดว่าการส่งออกของไทยในปี 2022 จะได้รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวต่อเนื่องของเศรษฐกิจและการค้าโลก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่เศรษฐกิจจะทยอยฟื้นตัว ราคาสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันที่อาจเพิ่มสูงขึ้น และแนวโน้มการอ่อนค่าของเงินบาท

นอกจากนี้ ยังได้รับประโยชน์จากการเข้าร่วมในความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งถือเป็นข้อตกลงการค้าเสรีที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีผลบังคับใช้เมื่อต้นเดือนมกราคม 2022 ที่ผ่านมา โดยจากการคาดการณ์ของธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) การเข้าร่วม RCEP จะทำให้ไทยเข้ามามีบทบาทในห่วงโซ่การผลิตได้มากขึ้น ผ่านการลดภาษีนำเข้าสินค้าและการลดมาตรการทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี ช่วยเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของไทยในเวทีการค้าโลก ทำให้การส่งออกของไทยเพิ่มสูงขึ้นถึง 4.9% ภายในปี 2030

อย่างไรก็ตาม การส่งออกของไทยในปี 2022 ยังต้องเผชิญกับหลากหลายปัจจัยกดดันและปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตามอง ได้แก่ ปัญหาคอขวด อุปทานที่อาจยาวนานขึ้นจากการระบาดของโอมิครอน ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ทำให้อัตราค่าระวางเรือและระยะเวลาในการขนส่งสินค้าอยู่ในระดับสูง ปัญหาขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ (ชิป) อัตราเงินเฟ้อโลกที่อาจปรับเพิ่มขึ้น หรือยืดเยื้อกว่าที่คาด ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภค และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีนจากผลกระทบของนโยบายการจัดการด้านพลังงานรวมถึงปัญหาหนี้ในภาคอสังหาริมทรัพย์.

จาก https://mgronline.com   วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

โรงงานน้ำตาล เสนอระบบประกันราคาอ้อย 1,200 บาทต่อต้นอ้อย นาน 3 ปี

โรงงานน้ำตาลเสนอระบบประกันราคารับซื้ออ้อยที่ 1,200 บาทต่อตันอ้อย เริ่มฤดูการเพาะปลูกปี 2565/66-2567/68 เป็นระยะเวลา 3 ปีกระตุ้นชาวไร่เพาะปลูกอ้อยเพิ่มและลดปัญหาอ้อยไฟไหม้ในระยะยาว

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการ บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด หรือ TSMC เปิดเผยว่า โรงงานน้ำตาลได้เสนอแนวทางการบริหารระบบราคาอ้อย เพื่อสร้างความมั่นคงด้านผลผลิตและเพิ่มรายได้เพาะปลูกให้แก่ชาวไร่อ้อยมีความมั่นคงในการยึดอาชีพปลูกอ้อยจัดส่งให้แก่โรงงาน พร้อมร่วมมือกันพัฒนาระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทยให้เข็มแข็ง

โดยเสนอระบบประกันการรับซื้ออ้อยสดมีคุณภาพในรอบการเพาะปลูกปี 2565/66-2567/68 ในราคา 1,200 บาทต่อตันอ้อย ณ ค่าความหวาน 12.63 ซี.ซี.เอส. ซึ่งเป็นค่าเฉลี่ยความหวานย้อนหลัง 3 รอบปีการผลิต

จากเดิมที่ประกันราคารับซื้ออ้อยสดที่ราคา 1,000 บาท ณ ค่าความหวาน 10 ซี.ซี.เอส. เพื่อสร้างแรงจูงใจในการเพาะปลูกอ้อยของชาวไร่ โดยโรงงานน้ำตาลพร้อมสนับสนุนองค์ความรู้แก่เกษตรกรรายใหม่ที่ปลูกพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นหันมาเพาะปลูกอ้อยเพื่อจัดส่งให้แก่โรงงานเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้ ระบบประกันราคารับซื้ออ้อยสดที่เสนอดังกล่าว เป็นผลมาจากการตอบรับของชาวไร่ที่ร่วมมือกันเพาะปลูกและดูแลผลผลิตอ้อยที่ดี ส่งผลให้ฤดูการหีบอ้อยปี 2564/65 คาดว่าจะมีปริมาณผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 90 ล้านตันอ้อย หลังภาพรวมการผลิตน้ำตาลทรายของโรงงานทั้ง 57 โรง ที่เริ่มเปิดรับผลผลิตอ้อย ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา ถึงปัจจุบัน รวม 58 วัน

พบว่า มีปริมาณอ้อยเข้าหีบแล้ว 50.55 ตันอ้อย แบ่งเป็น ผลผลิตอ้อยสด 39.49 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วน 78.03% ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับระยะเวลาหีบเท่ากันของปีก่อน และมีอ้อยไฟไหม้ 11.11 ล้านตัน คิดเป็น 21.97% ส่งผลให้ผลผลิตน้ำตาลอยู่ที่ 104.77 กิโลกรัมต่อตันอ้อย ณ ค่าความหวานที่ 12.31 ซี.ซี.เอส.

นอกจากนี้ โรงงานน้ำตาลทุกโรง ยังมุ่งมั่นลดปัญหาอ้อยไฟไหม้ตามนโยบายของภาครัฐ โดยร่วมมือชาวไร่อ้อยและหน่วยงานราชการ ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 อย่างต่อเนื่อง ทั้งการจัดหารถตัดอ้อยให้ชาวไร่อ้อยคู่สัญญารวมถึงรับซื้อใบอ้อยสด เพื่อแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้

“โรงงานน้ำตาลพร้อมร่วมมือทุกฝ่ายแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ ซึ่งระบบราคารับซื้ออ้อยสดในราคาตันละ 1,200 บาท เป็นอีกหนึ่งในแนวทางจูงใจให้แก่ชาวไร่เพาะปลูกอ้อยที่มีคุณภาพและจัดส่งอ้อยสด สะอาด ไม่มีสิ่งปนเปื้อนเข้าสู่กระบวนการหีบอ้อยเพื่อให้ได้ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยเพิ่มขึ้น และมีรายได้สูงสุดจากการเพาะปลูกอ้อยและการผลิตน้ำตาล ยังช่วยลดปัญหาอ้อยไฟไหม้ในอีกทางหนึ่งด้วย ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพรวมของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบ” นายสิริวุทธิ์ กล่าว

ส่วนภาพรวมหีบอ้อยประจำฤดูการผลิตปี 2564-65 โรงงานเปิดหีบอ้อยไปแล้ว 58 วัน มีปริมาณอ้อยเข้าหีบ 50.55 ล้านตันอ้อย ผลิตน้ำตาลทรายได้ 52.96 ล้านกระสอบ คิดเป็นผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อย (ยิลด์) อยู่ที่ 104.77 กิโลกรัมต่อตันอ้อย และค่าความหวานอยู่ที่ 12.31 ซี.ซี.เอส

จาก https://www.prachachat.net  วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ผู้ช่วยรมต.ขานรับแก้ไข ขจัดราคาปุ๋ยแพงยั่งยืน

นายนราพัฒน์ แก้วทอง ผู้ช่วย รมต.ประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประชุมคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี ครั้งที่ 1/2565 ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นเจ้าภาพ โดยนำเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาปุ๋ยเคมีราคาสูงอย่างยั่งยืน ให้พิจารณาซึ่งที่ประชุม

มีมติเห็นชอบในหลักการตามมาตรการดังกล่าว ก่อนเสนอนายกรัฐมนตรี พิจารณาเห็นชอบ โดยนายนราพัฒน์กล่าวว่า ได้ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ทำโครงการลดราคาปุ๋ยเคมี กระสอบละ50 บาท และทำโครงการพัฒนาธุรกิจบริการดินและปุ๋ยชุมชน ระยะที่ 1 รวม 394 ศูนย์ ใน 63 จังหวัด ทำให้ต้นทุนการใช้ปุ๋ยลดลงร้อยละ 36.91 ช่วยแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรได้

สำหรับมาตรการแก้ไขปัญหาปุ๋ยเคมีราคาสูงอย่างยั่งยืน มีทั้งระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว โดยมาตรการระยะสั้น ประกอบด้วย 1.สานต่อโครงการลดราคาปุ๋ยเคมีให้เกษตรกรอัตรา 50 บาทต่อกระสอบ เป้าหมายปุ๋ย 500,000 ตัน และ 2.สานต่อโครงการพัฒนาธุรกิจบริการดินและปุ๋ยเพื่อชุมชน ระยะที่ 2 จำนวน 299 ศูนย์ ใน 58 จังหวัด ซึ่งทั้ง 2 โครงการอยู่ระหว่างการของบประมาณตามกรอบแผนงานหรือโครงการแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ส่วนมาตรการระยะกลาง เน้นส่งเสริมโครงการอุตสาหกรรมการผลิตปุ๋ยโพแทส และสำหรับมาตรการระยะยาว ได้เสนอให้ตั้ง

กองทุนรักษาเสถียรภาพราคาปุ๋ย และการเจรจากำหนดราคาแม่ปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมร่วมกับประเทศมาเลเซียและจีน ในฐานะประเทศผู้ผลิตแม่ปุ๋ยหลักในภูมิภาค

จาก https://www.naewna.com วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

สรท.เปิดแผนปฏิบัติการ ดันส่งออกไทยไปซาอุฯ 1.5 แสนล้าน

ปี 2564 การส่งออกไทยทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ มีมูลค่าส่งออก 271,173.51 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 17.07% (ในรูปเงินบาท 8.54 ล้านล้านบาท ขยายตัว 18.91%) ปี 2565 หลายสำนักออกมาคาดการณ์ส่งออกไทยจะขยายตัวได้ในอัตราที่ชะลอตัวลงจากฐานตัวเลขปีที่ผ่านมาสูง

นายชัยชาญ  เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก ให้สัมภาษณ์กับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ทาง สรท. คาดการณ์ส่งออกไทยปี 2565 จะขยายตัวได้ที่ 5-8% มีปัจจัยบวกสำคัญจากเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าหลักอาทิ สหรัฐฯ จีน และญี่ปุ่นฟื้นตัวต่อเนื่อง และมีอุปสงค์หรือความต้องการสินค้ายังทรงตัวในระดับสูง ค่าเงินบาทยังมีทิศทางอ่อนค่า จากความกังวลต่อการแพร่ระบาดของไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่ “โอมิครอน” และการลดปริมาณเงินในมาตรการ QE Tapering และแผนปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 3-4 ครั้งของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด)ในปี 2565

ฟื้นสัมพันธ์ซาอุฯตัวช่วย

นอกจากนี้จากที่ไทยได้ฟื้นฟูความสัมพันธ์กับซาอุดีอาระเบียในรอบกว่า 30 ปี จะช่วยเพิ่มโอกาสการค้าการลงทุนระหว่างกัน ล่าสุดทาง สรท. อยู่ระหว่างการจัดทำแผนปฏิบัติการ (Action Plan) ในการขยายการส่งออกไทยไปซาอุฯ โดยจะนำหารือ และร่วมมือกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ(สค.) กระทรวงพาณิชย์ และทูตพาณิชย์ไทยในตะวันออกกลาง แผนงานส่วนหนึ่ง อาทิ การจัดคณะผู้แทนการค้า (เทรดมิชชั่น)เยือนซาอุฯในเร็วๆ นี้ โดยอาจมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ หรือทูตพาณิชย์เป็นหัวหน้าคณะ แอ็กชั่นแพลนนี้จะแล้วเสร็จในสัปดาห์หน้า

“ผู้ส่งออกคุยกันมีหลายอุตสาหกรรมที่คาดจะได้รับผลบวกทางการค้า จากการฟื้นความสัมพันธ์กับซาอุฯในครั้งนี้ เช่น ยานยนต์และชิ้นส่วน เครื่องใช้ไฟฟ้า ข้าว อาหาร และสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป จากช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ส่งออกไทยไปซาอุฯอยู่ที่ระดับ 1,600 -1,700 ล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปี จากย้อนหลังไป 10 ปี อยู่ที่ระดับ 2,300-25,00 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี ซึ่งจากผลพวงซาอุฯลดระดับความสัมพันธ์ก่อนหน้านี้ ทำให้การขอวีซ่าเข้าซาอุฯยาก โดยต้องได้รับการรับรองจากกระทรวงต่างประเทศของซาอุฯก่อน ประกอบกับโควิดระบาด ทำให้นักธุรกิจเดินทางได้ลำบากขึ้น ค่าใช้จ่ายเรื่องการขอวีซ่าก็แพงมาก ทำให้เราเสียเปรียบประเทศอื่น ทั้งที่ซาอุฯ รู้จักคนไทย และสินค้าไทยเป็นอย่างดี”

มั่นใจ1.5 แสนล้านใน 3 ปี

อย่างไรก็ดี จากการส่งออกไทยไปซาอุฯ ปี 2532 ที่มีมูลค่าประมาณ 1.5 แสนล้านบาท หลังการฟื้นความสัมพันธ์ และมีการบุกตลาดอย่างจริงจัง คาดจะสามารถผลักดันตัวเลขกลับไปสู่จุดเดิม ที่ 1.5 แสนล้านบาท ได้ไม่เกิน 3 ปี จากมีความต้องการของตลาดอยู่แล้ว และจากที่นักธุรกิจเดินทางไปมาหาสู่กันได้สะดวกขึ้น ขณะที่ในปี 2565 นี้ หลังไทยมีแผนงานและเจาะตลาดซาอุฯได้มากขึ้น คาดทั้งปีนี้ไทยจะส่งออกไปซาอุได้ 2,000-2,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 6.60-7.26 หมื่นล้านบาท จากปี 2564 ไทยส่งออกไปซาอุฯ 5.1 หมื่นล้านบาท)

ท่องเที่ยว-แรงงาน-ลงทุนเฮ

นอกจากภาคส่งออกที่จะได้อานิสงส์จากการฟื้นความสัมพันธ์ไทย-ซาอุฯในครั้งนี้แล้ว นายชัยชาญระบุว่ายังมีภาคส่วนอื่น ๆ ที่จะได้รับอานิสงส์ด้วย เช่น ภาคท่องเที่ยว การตรวจสุขภาพและการรักษาพยาบาล การบริการด้านการแพทย์ ภาคแรงงานไทยทั้งแรงงานฝีมือ และแรงงานภาคบริการ จากเวลานี้ชาวซาอุฯรุ่นใหม่เปิดรับมากขึ้นในเรื่องสถานบันเทิง หรือเอ็นเตอร์เทนเมนต์คอมเพล็กซ์ และการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ทำให้มีความต้องการแรงงานภาคบริการเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวมากขึ้น

ส่วนด้านการลงทุน ไทยมีโอกาสร่วมลงทุนกับซาอุฯด้านผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม และผล พลอยได้ เช่น เม็ดพลาสติก จากซาอุฯ มีแหล่งน้ำมันดิบอันดับต้นๆ ของโลก ขณะที่ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตเม็ดพลาสติกของภูมิภาค หากมีการร่วมทุนกันจะช่วยลดต้นทุนและช่วยสร้างโอกาสในการแข่งขันสินค้าเม็ดพลาสติกของไทยได้มากขึ้น รวมถึงไทยจะเป็นศูนย์กลางด้านปิโตรเคมีของภูมิภาคนี้ได้

นายชัยชาญ ยังให้ความเห็นถึงราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่พุ่งสูงขึ้นระดับมากกว่า 90 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรลในเวลานี้ และส่งผลให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศปรับตัวสูงขึ้น กระทบต้นทุนการขนส่งในการส่งออกสินค้า และต้นทุนวัตถุดิบและราคาสินค้าส่งออกและสินค้าในประเทศปรับตัวสูงขึ้นว่า ส่วนตัวมองราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปีนี้เฉลี่ยน่าจะอยู่ที่ประมาณ 75-90 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล เพราะหากราคาน้ำมันดิบสูงเกินไปเชื่อว่าสหรัฐฯ จะนำเชลออยล์ (Shale oil) เข้าสู่ตลาดมากขึ้นเพื่อคานราคาน้ำมันดิบให้ต่ำลง รวมถึงหลาย ๆ ประเทศที่มีน้ำมันสำรองจะนำออกมาเทขายมากขึ้น

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

สทนช. จี้ตั้งคณะกรรมการ22 ลุ่มน้ำ หวังดันเก็บค่าน้ำภาคอุตฯ-พาณิชยกรรม

สทนช.เร่ง ตั้งคณะกรรมการลุ่มน้ำประจำ 22 ลุ่มน้ำ ทำหน้าที่การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในเขตลุ่มน้ำ พร้อมผลักดัน เก็บค่าน้ำภาคอุตฯ-พาณิชยกรรม ส่วนเกษตรยังยกเว้น คาดว่าจะคัดเลือกแล้วเสร็จใน เดือน เม.ย. นี้

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.) กล่าวว่า ตาม พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 กำหนดให้มีกรรมการลุ่มน้ำประจำลุ่มน้ำ โดยมีองค์ประกอบ ประกอบด้วย กรรมการลุ่มน้ำโดยตำแหน่ง ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัดในเขตลุ่มน้ำนั้น และผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆ กรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จากจังหวัดต่าง ๆ ในเขตลุ่มน้ำ จังหวัดละ 1 คน กรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม ภาคพาณิชยกรรม ภาคละ 3 คน รวม 9 คน และ กรรมการลุ่มน้ำผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้และประสบการณ์เกี่ยวกับทรัพยากรน้ำ จำนวน 4 คน

โดยมีหน้าที่และอำนาจเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในเขตลุ่มน้ำ ได้แก่ การจัดทำแผนแม่บทการใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบำรุงรักษา การฟื้นฟูและการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำในเขตลุ่มน้ำ การจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง/ภาวะน้ำท่วม การพิจารณาปริมาณการใช้น้ำ การจัดสรรน้ำ และจัดลำดับความสำคัญในการใช้น้ำ การให้ความเห็นชอบการอนุญาตการใช้น้ำประเภทที่ 2 คือ ภาคอุตสาหกรรม  และน้ำประเภทที่  3 คือพาณิชยกรรม ที่ตามพ.ร.บ. กำหนดให้เก็บค่าน้ำ  ขณะที่การใช้น้ำประเภทที่ 1 คือ เพื่อเกษตรกรรม นั้น ไม่มีการจัดเก็บ

นอกจากนี้คณะอนุกรรมการลุ่มน้ำ ฯ ยังมีหน้าที่การพิจารณาให้ความเห็นแผนงาน โครงการด้านทรัพยากรน้ำในเขตลุ่มน้ำ การไกล่เกลี่ย และชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างผู้ใช้น้ำ ตลอดจนการส่งเสริมและรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้แก่ประชาชนในการใช้ การพัฒนา การบริหารจัดการ การบำรุงรักษา การฟื้นฟู และการอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำในเขตลุ่มน้ำ

สำหรับ การดำเนินงานได้มาซึ่งกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนภาคส่วนต่างๆ ตามกฎกระทรวงการได้มาซึ่งกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำ และผู้ทรงคุณวุฒิ ในคณะกรรมการลุ่มน้ำ พ.ศ.2564 ปัจจุบันได้ดำเนินการคัดเลือกกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำ ทั้งภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคพาณิชยกรรม ครบทั้ง 22 ลุ่มน้ำแล้ว

ในส่วนของกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จะดำเนินการประชุมเพื่อคัดเลือก ในช่วงเดือนม.ค.- ก.พ. 2565 และกรรมการลุ่มน้ำผู้ทรงคุณวุฒิ มีการประชุมครั้งที่ 1 เมื่อเดือนธ.ค. 2564 เพื่อพิจารณาเกณฑ์ในการสรรหากรรมการลุ่มน้ำผู้ทรงคุณวุฒิ และประเด็นคำถามกลาง

และจะมีการประชุมคณะกรรมการสรรหากรรมการลุ่มน้ำผู้ทรงคุณวุฒิ ครั้งที่ 2 เพื่อพิจารณาคัดเลือก ในช่วงเดือนก.พ.- มี.ค. 2565 ซึ่งจะสามารถประกาศแต่งตั้งกรรมการลุ่มน้ำครบทั้ง 3 ภาคส่วนได้ในเดือนมี.ค. 2565 และเมื่อมีคณะกรรมการลุ่มน้ำครบทั้ง 22 ลุ่มน้ำแล้ว จะมีการคัดเลือกกรรมการผู้แทนคณะกรรมการลุ่มน้ำในคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ จำนวน 6 คนจากกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำ กรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกรรมการลุ่มน้ำผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้ง 22 ลุ่มน้ำ ในเดือนเม.ย. 2565

หลังจากได้คณะกรรมการลุ่มน้ำแล้ว จะเห็นความเปลี่ยนแปลงที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่ง สทนช.รับจดทะเบียนเพื่อจัดตั้งองค์กรผู้ใช้น้ำให้แก่ภาคประชาชน ซึ่งแบ่งเป็น 3 ภาค ได้แก่ ภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคพาณิชยกรรม ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2564 เป็นต้นมา

โดยปัจจุบันมีองค์กรผู้ใช้น้ำที่ยื่นคำขอจดทะเบียนทั้งสิ้น 3,271 องค์กร พิจารณาอนุมัติแล้ว 3,238 องค์กร ส่วนใหญ่เป็นภาคเกษตรกรรม ซึ่งมีจำนวน 2,702 องค์กร ภาคอุตสาหกรรม จำนวน 271 องค์กร ภาคพาณิชยกรรม จำนวน 265 องค์กร และได้มีการคัดเลือกกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรผู้ใช้น้ำที่มาจากการเสนอชื่อขององค์กรผู้ใช้น้ำที่ได้จดทะเบียนตาม พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 แล้วเสร็จเมื่อเดือนก.ย. 2564 อยู่ระหว่างการรอประกาศแต่งตั้ง สำหรับกรรมการลุ่มน้ำผู้แทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และกรรมการลุ่มน้ำผู้ทรงคุณวุฒิ อยู่ระหว่างการคัดเลือก/สรรหา คาดว่าจะได้คณะกรรมการลุ่มน้ำครบทุกองค์ประกอบ ทั้ง 22 ลุ่มน้ำ ภายในเดือน มี.ค. นี้

“คณะกรรมการลุ่มน้ำดังกล่าวจะมีส่วนผลักดันกฎหมายอัตราการจัดเก็บค่าน้ำ ภายใต้พระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำปี 2561 โดยเบื้องต้นจะมีการเก็บค่าน้ำ 2 ประเภทคือประเภทที่ 2 และ3  โดยการใช้น้ำประเภทที่ 2  ได้แก่ การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การผลิตพลังงานไฟฟ้า การประปาและกิจการอื่น ซึ่งการใช้ทรัพยากรน้ำดังกล่าว หากมีอัตราการใช้น้ำบาดาลมากกว่า 2,000 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวัน ต่อบ่อ แต่ไม่เกิน 3,200 ลบ.ม.ต่อวันต่อบ่อ หรือมีอัตราการใช้น้ำผิวดินในแม่น้ำ ลำน้ำ คลองส่งน้ำ น้ำในแหล่งกักเก็บน้ำไม่เกิน 30,000 ลบ.ม. ต่อวัน ถือเป็นการใช้น้ำประเภทที่สอง”

และการใช้น้ำประเภทที่3 ได้แก่ การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อกิจการขนาดใหญ่ที่ใช้น้ำปริมาณมาก หรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบข้ามลุ่มน้ำ หรือครอบคลุมพื้นที่อย่างกว้างขวาง จะมีน้ำบาดาล มีการใช้น้ำในอัตราต่อบ่อเกิน 3,200 ลบ.ม. ต่อวัน ส่วน น้ำผิวดิน มีการใช้น้ำในอัตราเกิน 30,000 ลบ.ม. ต่อวัน

ส่วนน้ำภาคเกษตร ซึ่งจัดอยู่ในประเภทที่หนึ่ง ได้แก่ การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการดำรงชีพ การอุปโภคบริโภคในครัวเรือนการเกษตรหรือการเลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพ การอุตสาหกรรมในครัวเรือน การรักษาระบบนิเวศ จารีตประเพณี การบรรเทาสาธารณภัย การคมนาคม และการใช้น้ำในปริมาณ ยังไม่มีแผนจัดเก็บค่าน้ำ

" เบื้องต้น จะพิจารณาจัดเก็บ ประเภทที่ 2 และ 3ส่วนอัตราที่ต้องจ่ายจะเป็นเท่าใดนั้น จะต้องมีคณะกรรมการลุ่มน้ำ ขึ้นมากำหนดในแต่ละพื้นที่ ส่วนการใช้น้ำเพื่อทำเกษตรประเภทที่ 1 ยังไม่มีการพิจารณา ทั้งหมดนี้จะมีการประกาศการจัดเก็บในอัตราที่ไม่เท่ากัน  ซึ่งภายในเดือนเม.ย. นี้จะต้องเกิดคณะกรรมการลุ่มน้ำให้ได้ก่อน มีผู้แทนรายภาค องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องเข้ามามีส่วนร่วมมิติใหม่ครั้งนี้"

สำหรับทิศทางการขับเคลื่อนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับองค์กรผู้ใช้น้ำและ คณะกรรมการลุ่มน้ำ เพื่อให้คณะกรรมการลุ่มน้ำสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามหน้าที่และอำนาจที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ และเกิดการขับเคลื่อนการมีส่วนร่วมขององค์กรผู้ใช้น้ำได้อย่างเป็นรูปธรรม สทนช.ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ และความจำเป็นที่ต้องเร่งดำเนินการให้ทันกับคณะกรรมการลุ่มน้ำที่กำลังจะเกิดขึ้น และสร้างการมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน

จึงได้มีการจัดตั้งหน่วยงานรับผิดชอบขึ้นมาเป็นการเฉพาะภายในองค์กร คือ กองส่งเสริมองค์ความรู้และความสัมพันธ์ระหว่างองค์กร เพื่อรับผิดชอบดำเนินการตามแนวทางที่กำหนด ประกอบด้วย

การ ส่งเสริม สนับสนุน ประชาสัมพันธ์ และสร้างการมีส่วนร่วมในรูปแบบขององค์กรผู้ใช้น้ำ โดยสื่อสารสร้างความเข้าใจอย่างต่อเนื่องผ่านช่องทางที่หลากหลาย สร้างหลักสูตรในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กรผู้ใช้น้ำ เพื่อใช้เป็นหลักสูตรกลางให้แก่หน่วยงานต่าง ๆ ในการถ่ายทอดองค์ความรู้เสริมสร้างความเข้มแข็งขององค์กรผู้ใช้น้ำในพื้นที่ต่อไป

การจัดทำหลักสูตรพัฒนา เสริมสร้างศักยภาพให้แก่คณะกรรมการลุ่มน้ำ ในการปฏิบัติงานตามหน้าที่และอำนาจตามกฎหมาย ได้แก่ การจัดทำแผนแม่บทในเขตลุ่มน้ำ การจัดทำแผนป้องกันและแก้ไขภาวะน้ำแล้ง น้ำท่วม ฯลฯ รวมถึงการรับเรื่องร้องทุกข์ ไกล่เกลี่ย และชี้ขาดข้อพิพาทระหว่างผู้ใช้น้ำ

สำหรับ  22 ลุ่มน้ำหลัก ประกอบด้วย 353 ลุ่มน้ำสาขา ได้แก่ ลุ่มน้ำสาละวิน ลุ่มน้ำโขงเหนือ ลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ ลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำมูล ลุ่มน้ำปิง ลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำวัง  ลุ่มน้ำน่าน ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ลุ่มน้ำสะแกกรัง ลุ่มน้ำป่าสัก ลุ่มน้ำท่าจีน ลุ่มน้ำแม่กลอง ลุ่มน้ำบางปะกง ลุ่มน้ำโตนเลสาบ ลุ่มน้ำชายางทะเลตะวันออก ลุ่มน้ำเพชรบุรี-ประจวบคีรีขันธ์ ลุ่มน้ำภาคใต้ตะวันออกตอนบน ลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ลุ่มน้ำภาคใต้ตะวันออกตอนล่าง ลุ่มน้ำภาคใต้ฝั่งตะวันตก

จาก https://www.bangkokbiznews.com   วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

จับสัญญาณ "เงินเฟ้อ" อุปสรรคการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย ปัญหาใหญ่ปี 65

กระทรวงพาณิชย์ประกาศอัตรา เงินเฟ้อเดือน ม.ค.65 สูงถึง 3.23% อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วในปีนี้ถือเป็นอุปสรรคสำคัญในการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ที่มีการฟื้นตัวอย่างข้าๆหลังจากที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วงจากการระบาดของโควิด-19 ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา

ราคาสินค้าและค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้น แม้จะได้รับการอธิบายจากหน่วยงานของรัฐว่าจะเป็นเหตุการณ์ชั่วคราวตามหลักดีมานต์ – ซัพพลาย เมื่อสินค้าบางชนิดมีความต้องการมากขึ้น แต่สินค้าในตลาดน้อยลงสุดท้ายราคาก็จะเพิ่มขึ้น เรื่องของสุกรเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนว่าราคาเนื้อหมูปรับสูงขึ้นรวดเร็วเกือบเท่าตัวในระยะเวลาไม่นาน

แต่การอธิบายเรื่องของแพงโดยหลักการดังกล่าวอย่างเดียวไม่สามารถเข้าใจ “กำลังซื้อ” และปัญหาปากท้องของคนไทยส่วนใหญ่ได้อย่างแท้จริง เพราะปัญหาเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นไปซ้ำเติมปัญหาเชิงโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่คนกลุ่มหนึ่งพึ่งพารายได้จากภายนอก โดยเฉพาะในภาคการท่องเที่ยวที่รายได้ลดลงอย่างมากในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ขณะที่ราคาพลังงานโดยเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องก็เป็นปัจจัยภายนอกที่เข้ามากระทบกับกระเป๋าเงินคนในไทย และเรื่องนี้รัฐบาลไม่สามารถทำอะไรได้มากนัก นอกจากตรึงราคาน้ำมันดีเซล และใช้เงินจากกองทุนน้ำมันฯเข้าไปชดเชยค่าก๊าซหุงต้มเพื่อลดภาระให้กับประชาชน

ปัญหาเงินเฟ้อในไทย ที่เกิดขึ้นในช่วงที่เงินในกระเป๋าคนลดน้อยลงจึงเป็นอุปสรรค ลดทอนกำลังซื้อ จนเป็นที่มาของการเข็นโครงการคนละครึ่งเฟสที่ 4 ออกมาก่อนกำหนด20 วัน เพื่อช่วยลดค่าครองชีพบางส่วนให้ประชาชน

ปัญหาเงินเฟ้อที่หนักหน่วงสะท้อนผ่านตัวเลขดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI)

ที่กระทรวงพาณิชย์ แถลงเมื่อวันที่ 4 ก.พ.ที่ผ่านมา ปรากฏว่าเงินเฟ้อในเดือน ม.ค.2565 ทะยานขึ้นแตะ 3.23% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกับปีก่อน สูงกว่ากรอบเป้าหมายนโยบายการเงินที่หน่วยงานเศรษฐกิจของรัฐบาลได้วางไว้ที่ 1 – 3% โดยสูงกว่ากรอบบนไปถึง 0.23%

ทั้งนี้เมื่อไปดูใส้ในของเงินเฟ้อเดือน ม.ค.ส่วนที่ทำให้เงินเฟ้อสูงขึ้นมากที่สุดคือหมวดของค่าใช้จ่ายในหมวดพลังงาน ทั้งค่าใช้จ่ายจากพาหนะและน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มถึง 9.44% เมื่อเทียบกับปีก่อน สอดคล้องกับราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นจากการที่ประเทศผู้ผลิตน้ำมันยังไม่เพิ่มกำลังการผลิต ขณะที่ราคาสินค้าในกลุ่มอาหารปรับตัวขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะเนื้อสุกร น้ำมันพืช อาหาร

ข้อมูลที่น่าสนใจก็คือเมื่อไปดูเงินเฟ้อรายภูมิภาค พื้นที่ที่อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นมากคือพื้นที่ภาคใต้ที่เพิ่มขึ้น 3.63% รองลงมาคือภาคกลาง 3.52% ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเพิ่มขึ้น 2.89% ส่วนภาคเหนือและกทม.-ปริมณฑล เพิ่มขึ้น 2.7%

กระทรวงพาณิชย์ได้คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อในปี 2565 อยู่ที่ 0.7 – 2.4% มีค่ากลางอยู่ที่ 1.5% โดยมีสมมุติฐานว่าราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยทั้งปีจะอยู่ที่ 63 – 73 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (ปัจจุบันน้ำมันดิบในตลาดโลกอยู่ที่ 90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) และอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ที่ 3.5 – 4.5%

จับสัญญาณ "เงินเฟ้อ" อุปสรรคการฟื้นตัวเศรษฐกิจไทย ปัญหาใหญ่ปี 65

ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประจำเดือนกุมภาพันธ์ 2565 มีมุมมองที่กังวลต่ออัตราเงินเฟ้อในไทยมากกว่าที่กระทรวงพาณิชย์ประเมิน โดยมีการปรับประมาณการเงินเฟ้อปีนี้ขึ้นจาก 1.2 – 2.2% เป็นกรอบ 1.5-2.5% โดยเฉพาะในช่วงครึ่งปีแรกที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอาจเร่งตัวขึ้นแตะระดับ 3% ได้ซึ่งอาจส่งผลให้เศรษฐกิจไทยเติบโตลดลงกว่าที่ประมาณการได้

สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวว่าหากอัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้นมาก อาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก รวมถึงราคาสินค้าวัตถุดิบที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ราคาสินค้าและบริการในภาพรวมปรับตัวเพิ่มขึ้นมาก จนเริ่มส่งผลกระทบต่อค่าครองชีพและกำลังซื้อของประชาชน

โดยรวมแล้วเศรษฐกิจปี 2565 มีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มมากขึ้นจากอัตราเงินเฟ้อ เมื่อรวมกับความตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับยูเครนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยได้หลายช่องทาง รวมถึงเงินเฟ้อที่เกิดจากราคาน้ำมันและก๊าซจะเพิ่มสูงขึ้นได้หากสถานการณ์รุนแรงมากขึ้นภาครัฐจึงจำเป็นต้องเตรียมการแก้ปัญหาราคาสินค้าแพงเพื่อไม่ให้อัตราเงินเฟ้อเร่งขึ้นมาก จนกระทบกับผู้บริโภคและการเติบโตของเศรษฐกิจไทยโดยรวม

ก่อนหน้านี้สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว.พลังงาน เคยระบุว่ารัฐบาลและหน่วยงานเศรษฐกิจมีการติดตามสถานการณ์เงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด หากเงินเฟ้อทั่วไปปรับขึ้นไปเกินกรอบบนที่ 3% จะมีการหารือกันระหว่างหน่วยงานเศรษฐกิจได้แก่ กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เป็นการเร่งด่วน โดยเรื่องนี้ธปท.เองก็เคยกำหนดแนวทางในการแก้ปัญหาไว้ตั้งแต่ปลายปี 2564 ที่มองเห็นสัญญาณเงินเฟ้อกำลังเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้เมื่อเหตุการณ์เกิดขึ้นเงินเฟ้อเกินกว่า 3% แล้ว ไม่ว่าจะเกิดจากปัจจัยภายนอกหรือภายในประเทศ จำเป็นที่หน่วยงานเศรษฐกิจจะต้องหารือกันว่าจะเอาอย่างไรต่อไป จะรอดูสถานการณ์ว่าเงินเฟ้อจะกลับเข้ามาสู่กรอบปกติหรือไม่ หรือจะมีมาตรการเร่งด่วนออกมาก่อน เพราะในการกำหนดการแก้ไขเป้าหมายของนโยบายการเงินได้กำหนดไว้แล้วว่า ...กรณีที่มีเหตุอันสมควรหรือจำเป็น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจตกลงกันร่วมมือแก้ไขได้ก่อน และจึงนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณารับทราบต่อไป

ส่วนเงินเฟ้อในขณะนี้จะแก้ไขได้ด้วยนโยบายทางการเงินหรือไม่ เป็นเรื่องที่หน่วยงานเศรษฐกิจจะตัดสินใจอย่างรอบครอบที่สุด

จาก https://www.bangkokbiznews.com   วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ไทยใช้สิทธิ GSP 11 เดือนปี64 สหรัฐฯ มาแรง โตต่อเนื่อง 35%

กรมการค้าต่างประเทศ เผยตัวเลขการใช้สิทธิ GSP ส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ สวิตเซอร์แลนด์ กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (CIS) และนอร์เวย์ ช่วง 11 เดือนของปี 2564 มูลค่ารวม 3,437.38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 29.16% โดยสหรัฐฯ ครองอันดับ 1 ใช้สิทธิ GSP 3,071.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มสูงถึง 35.03%

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2565 นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยสถิติการใช้สิทธิประโยชน์สำหรับการส่งออกภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป หรือ GSP ทั้ง 4 ระบบ ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช และนอร์เวย์ ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2564 (มกราคม – พฤศจิกายน) มีมูลค่า 3,437.38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 29.16 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน

และมีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ 62.76% โดยไทยยังคงใช้สิทธิฯ ส่งออกสินค้าไปยังสหรัฐอเมริกาได้เพิ่มขึ้นถึง% 35.03 ในขณะที่การใช้สิทธิฯ ส่งออกไปยัง สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ และกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช ลดลง 10.78% และ 11.42% ตามลำดับ

โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญ ดังนี้ อันดับ 1 สหรัฐอเมริกา (มูลค่า 3,071.76 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูง และขยายตัวดีตลอด 11 เดือนในปี 64 อาทิ ถุงมือยาง (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 488.66 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 62.12%) ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 286.79 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 73.26%) กรดซิทริก (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 108 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 65.62) ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 84.14 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 13.12%) ผลไม้ ลูกนัต และส่วนอื่นที่บริโภคได้ของพืช ที่ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสีย (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 55.79 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 52.86%) เป็นต้น

อันดับ 2 สวิตเซอร์แลนด์ (มูลค่า 241.68 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูง และขยายตัวได้ดี อาทิ ของผสมของสารที่มีกลิ่นหอมชนิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารหรือเครื่องดื่ม (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 24.60 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 25.67%) ของที่ใช้ลำเลียงสินค้าหรือบรรจุสินค้า รวมทั้งจุก ฝาและที่ปิดครอบอื่นๆ ทำด้วยโพลิเมอร์ของเอทิลีน (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 11 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 8.69%) หน้าปัดของนาฬิกาชนิดคล็อกหรือชนิดวอตช์ (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 7.27 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 13.24%) เป็นต้น

อันดับ 3 กลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช (มูลค่า 109.38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูง และขยายตัวได้ดี อยู่ในกลุ่มสินค้าอาหาร อาทิ สับปะรดกระป๋อง (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 31.58 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 14.65%) ปลาทูน่า ปลาสคิปแจ็ก และปลาโบนิโต (ชนิดซาร์ดา) (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 9.81 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 70.01%) ซอสและของปรุงแต่งสำหรับทำซอส (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 8.12 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 39.16%) เป็นต้น

อันดับ 4 นอร์เวย์ (มูลค่า 14.56 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) สินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูง และขยายตัวได้ดี อาทิ ข้าวโพดหวาน (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 3.64 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 42.93%) อาหารปรุงแต่งอื่นๆ (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 2.36 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 2.36%) เครื่องแต่งกายของสตรีหรือเด็กหญิงทำด้วยขนแกะหรือขนละเอียดของสัตว์ (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 1.22 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 132.46%) พาสต้ายัดไส้จะทำให้สุกหรือปรุงแต่งโดยวิธีอื่นหรือไม่ก็ตาม (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 0.52 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 197.94%) พืชผักอื่น ๆ ที่ปรุงแต่งหรือทำไว้ไม่ให้เสีย (มูลค่าการใช้สิทธิฯ 0.45 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 35.17%) เป็นต้น

สหรัฐฯ ยังคงครองแชมป์การใช้สิทธิ GSP สูงสุดต่อเนื่องแม้ว่าการต่ออายุโครงการ GSP ที่สิ้นสุดลงไปเมื่อวันที่ 31 ธันวาคม 2563 จะยังอยู่ระหว่างการพิจารณาผ่านร่างกฎหมายจากรัฐสภาสหรัฐฯ ทั้งนี้ เนื่องจากการใช้สิทธิ GSP สำหรับการส่งออกไปยังสหรัฐฯ ยังคงทำได้ตามปกติ เพียงแต่ผู้นำเข้าสหรัฐฯ จะต้องจ่ายภาษีหรือวางหลักประกันการนำเข้าสินค้าไปก่อน

โดยคาดว่าจะได้รับภาษีคืนเมื่อสหรัฐฯ ต่ออายุโครงการ GSP แล้วเสร็จ และสำหรับการส่งออกไปยังสวิตเซอร์แลนด์และนอร์เวย์ ผู้ส่งออกที่ประสงค์จะใช้สิทธิ GSP สามารถรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าได้ด้วยตนเอง โดยขึ้นทะเบียนกับกรมการค้าต่างประเทศที่เว็บไซต์ http://self-cert.dft.go.th/self-cert/home/ManualRex.aspx ซึ่งการส่งออกโดยใช้สิทธิประโยชน์จะช่วยสร้างแต้มต่อและโอกาสในการส่งออกสินค้าท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ได้

จาก https://www.prachachat.net วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

แก้ไม่ได้!ฝุ่นพิษรง.น้ำตาลพิมาย โอดกากอ้อยฟุ้งป่วนมะเร็งกำเริบ รง.ทุ่ม 100 ล้านบ.สร้างรั้วฝุ่นไม่ลด

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่าวได้รับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้านโดยรอบโรงงานน้ำตาลพิมาย ต.หนองระเวียง อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ได้รับฝุ่นพิษ รง.น้ำตาลพิมายเสียงเครื่องจักร-กากอ้อย กระทบจากการดำเนินกิจการของบริษัท อุตสาหกรรม โคราช จำกัด (หรือโรงงานน้ำตาลพิมาย) ที่ก่อฝุ่นละอองขนาดเล็ก มลพิษทางอากาศ ชาวบ้านได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ และการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ประจำวันนานกว่า 20 ปี ซึ่งปัญหาหลักเกิดขึ้นจากฝุ่นละอองของกากอ้อย และรถบรรทุกอ้อยที่วิ่งเข้า-ออกโรงงานวันละหลายร้อยคัน นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องเสียงที่เกิดจากเครื่องจักรในโรงงาน

ซึ่งปัญหาข้อพิพาทระหว่างโรงงานกับชาวบ้านผู้ได้รับความเดือดร้อนนี้ เป็นปัญหาต่อเนื่องมาจากการร้องเรียนเรื่องปัญหาฝุ่นละอองตั้งแต่ปี 2564 ที่ผ่านมาจนกระทั่ง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ ในขณะนั้น ได้เดินทางลงพื้นที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เกิดขึ้น ซึ่งทางโรงงานทุ่มงบกว่า 100 ล้านบาท ในการดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยการสร้างแนวรั้วป้องกันฝุ่นละอองฟุ้งกระจาย รวมถึงปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้ทางโรงงานผ่านมาตรฐานสามารถเปิดดำเนินการาต่อไปได้

นางสมบัติ  หาสุข ชาวบ้านผู้ได้รับความเดือดร้อนกล่าวว่า ได้รับความเดือดร้อนจากฝุ่นละอองของกากอ้อย ที่ทางโรงงานได้ปล่อยออกมา จนทำให้อาการมะเร็งและโรคทางเดินหายใจกำเริบเดือดร้อนเป็นอย่างมาก เข่นเดียวกันกับผู้สูงอายุและเด็กเล็กอีกหลายคนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ ที่รับผลกระทบมีอาการป่วยแทบทุกคน การใช้ชีวิตประจำวันต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาทั้งเวลาตื่นและเวลาเข้านอน  นอกจากนี้ไร่มันสำปะหลังบริเวณด้านติดกับโรงงานก็ถูกฝุ่นจากกากอ้อยปลิวตกใส่จนทำให้ต้นพืชได้รับความเสียหายไม่สามารถให้ผลผลิตได้ ถึงแม้ทางโรงงานจะทำแนวรั้วกั้นฝุ่นละอองแล้วก็ตามแต่ก็ไม่สามารถกั้นฝุ่นละอองได้หมด

ซึ่งสำนักสิ่งแวดล้อมภาคที่ 11 (นครราชสีมา) ตรวจสอบเมื่อวันที่ 28 มกราคมที่ผ่านมา พบว่ามีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (P.M.2.5) อยู่ในช่วง 37-99 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีแนวโน้มเกินค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไปเฉลี่ย 24 ชั่วโมง

จาก Home (matichon.co.th) วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ศูนย์วิจัย ธ.ก.ส. คาดการณ์ราคาสินค้าเกษตร ดี

​ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. คาดความต้องการสินค้าจากประเทศคู่ค้าที่เพิ่มขึ้นและมาตรการสนับสนุนของรัฐบาล ทำให้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ ข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว น้ำตาลทรายดิบ มันสำปะหลัง สุกร กุ้งขาวแวนนาไม และโคเนื้อ มีแนวโน้มราคาเพิ่มขึ้น ด้านข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปาล์มน้ำมัน และยางพาราดิบชั้น 3 มีแนวโน้มราคาปรับลดลง

นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. คาดการณ์ราคาสินค้าเกษตรในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 โดยสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ราคา 7,957 - 8,209 บาท/ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.45 - 3.64 เนื่องจากอินเดียผู้ส่งออกข้าวอันดับ 1 ของโลกประสบปัญหาขาดแคลนรถไฟบรรทุกสินค้า ทำให้ไม่สามารถส่งออกข้าวตามคำสั่งซื้อได้ทั้งหมด ประเทศคู่ค้าบางรายจึงเปลี่ยนมาซื้อข้าวจากไทยทดแทน ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ ราคา 11,229 - 11,371 บาท/ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 3.00 - 4.30 และข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ราคา 8,922 - 9,391 บาท/ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.69 - 5.99 เนื่องจากภาครัฐดำเนินโครงการสินเชื่อชะลอการขายข้าวเปลือกนาปี ปีการผลิต 2564/65 เพื่อชะลอการขายข้าวที่ออกสู่ตลาดในช่วงที่ผ่านมา ส่งผลให้ราคาข้าวหอมมะลิและข้าวเหนียวปรับตัวเพิ่มขึ้น ประกอบกับเงินบาทยังคงอ่อนค่า จึงทำให้ประเทศคู่ค้ามีความสนใจสั่งซื้อข้าวจากไทยเพิ่มขึ้น น้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์ก ราคา 19.12 - 19.98 เซนต์/ปอนด์ (13.92 - 14.54 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 1.16 - 5.71 เนื่องจากทิศทางราคาน้ำมันดิบที่ยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลดีต่อราคาเอทานอล และอาจจูงใจให้โรงงานน้ำตาลในบราซิลนำอ้อยไปผลิตเอทานอลมากกว่าน้ำตาลทราย อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยกดดันราคาน้ำตาลจากปริมาณผลผลิตอ้อยที่เพิ่มขึ้นทั้งจากอินเดียและไทย

 มันสำปะหลัง ราคา 2.27 - 2.34 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.44 – 3.54 เนื่องจากความต้องการใช้มันสำปะหลังของประเทศคู่ค้าสำคัญ โดยเฉพาะจีนยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง สุกร ราคา 99.51 - 101.44 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.57 - 2.52 เนื่องจากปริมาณผลผลิตเนื้อสุกรยังคงอยู่ในระดับต่ำจากปัญหาการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever : ASF) ประกอบกับรัฐบาลควบคุมการนำเข้าเนื้อสุกรจากต่างประเทศ เพื่อป้องกันการเกิดโรคระบาด ASF อย่างไรก็ตาม ภาครัฐได้ออกคำสั่งห้ามกักตุนหรือฉวยโอกาสขึ้นราคาเนื้อสุกรจะถูกดำเนินคดีขั้นสูงสุด กุ้งขาวแวนนาไม ราคา 178.78 - 185.12 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.44 - 4.01 เนื่องจากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวในประเทศ และการกลับมาเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติในแบบ Test & Go อีกครั้งภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2565 จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ความต้องการบริโภคกุ้งเพิ่มขึ้น ขณะที่ผลผลิตกุ้งลดลงจากปัญหาต้นทุนอาหารสัตว์ที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกษตรกรลดปริมาณการเลี้ยงกุ้ง และโคเนื้อ ราคา 99.20 - 101.00 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.05 – 1.86 เนื่องจากปัญหาเนื้อสุกรราคาสูง และยังไม่สามารถแก้ไขได้ในระยะเวลาอันสั้น ทำให้ราคาเนื้อประเภทอื่นที่เป็นสินค้าบริโภคทดแทนเนื้อสุกรมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้ความต้องการบริโภคเนื้อโคปรับตัวสูงขึ้น

 ด้านสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวลดลง ได้แก่ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคา 8.72 - 8.77 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 0.11 - 0.68 เนื่องจากสัญญาราคาส่งมอบข้าวสาลีปรับลดลงจากการขายออกทำกำไร จึงคาดว่าผู้ประกอบการจะนำเข้าข้าวสาลีเพื่อเป็นวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์เพิ่มขึ้นทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ราคาสูง ส่งผลให้ความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายในประเทศลดลง ปาล์มน้ำมัน ราคา 8.64 - 9.03 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 13.50 - 17.27 เนื่องจากเดือนกุมภาพันธ์ ผลผลิตปาล์มน้ำมันรอบใหม่เริ่มทยอยออกสู่ตลาดเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับรัฐบาลตรึงราคาน้ำมันปาล์มเพื่อไม่ให้กระทบต่อราคาน้ำมันปาล์มบรรจุขวด เพื่อเป็นการช่วยเหลือประชาชน ซึ่งผู้ประกอบการให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และยางพาราแผ่นดิบชั้น 3 ราคา 50.19 - 51.31  บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อน ร้อยละ 1.83 - 3.98 เนื่องจากราคายางพาราล่วงหน้าตลาดโตเกียวมีแนวโน้มลดลง(ราคายางพาราล่วงหน้าตลาดโตเกียวส่วนหนึ่งถูกใช้เพื่อการเก็งกำไร) จากการที่นักลงทุนคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐอเมริกา (Fed) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในเดือนมีนาคม 2565 เพื่อควบคุมภาวะเงินเฟ้อที่สูงขึ้นมากกว่าเป้าหมายของธนาคารกลางสหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม ราคายางพารายังเคลื่อนไหวลดลงไม่มาก จากราคาน้ำมันดิบที่มีแนวโน้มสูงขึ้น เพราะปริมาณความต้องการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของโลกจะกลับมาสู่ระดับใกล้เคียงหรือมากกว่าก่อนเกิดการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

จาก https://www.banmuang.co.th วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

ไทยใช้สิทธิ FTA ช่วง 11 เดือนปี64 พุ่ง 34.13%

อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เผย ไทยใช้สิทธิ FTA ช่วง 11 เดือนปี 64 เพิ่มขึ้น 34.13% ยานยนต์ ผลไม้สด ครองแชมป์สินค้าส่งออกไทย

 นายพิทักษ์ อุดมวิชัยวัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงการใช้สิทธิประโยชน์สำหรับการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี หรือ FTA ในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2564 ว่า มีมูลค่ารวม 69,746.52 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 34.13 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน โดยเป็นการใช้สิทธิฯ ที่เพิ่มขึ้นในทุกตลาด และมีสินค้าสำคัญที่พบว่ามีมูลค่าการส่งออกสูง และมีการส่งออกเพิ่มขึ้นในหลายตลาด อาทิ

ยานยนต์ (ขยายตัวในตลาดอาเซียน จีน ออสเตรเลีย ชิลี)ผลไม้ (ขยายตัวในตลาดอาเซียน จีน เกาหลี)และอาหารปรุงแต่ง (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น เปรู เกาหลี)

โดยตลาดที่มีมูลค่าการใช้สิทธิ FTA สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่

อันดับ 1 อาเซียน มูลค่า 24,028.47 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีตลาดส่งออกสำคัญคือ เวียดนาม มูลค่า 7,002.55 ล้านเหรียญสหรัฐฯ อินโดนีเซีย มูลค่า 5,327.10 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มาเลเซีย มูลค่า 4,522.78 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และฟิลิปปินส์ มูลค่า 4,227.98 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูง และมีการขยายตัวของการใช้สิทธิฯ อาทิ ยานยนต์สำหรับขนส่งของที่น้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุกไม่เกิน 5 ตัน รถยนต์สำหรับขนส่งบุคคล น้ำมันปิโตรเลียมและน้ำมันจากแร่บิทูมินัส ผลไม้สด ฝรั่ง มะม่วง มังคุดสดหรือแห้ง

อันดับ 2 จีน มูลค่า 23,310.38 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูง และมีการขยายตัวของการใช้สิทธิฯ อาทิ ทุเรียนสด มันสำปะหลัง ฝรั่ง มะม่วง มังคุด รถยนต์และยานยนต์ขนส่งบุคคล ความจุของกระบอกสูบ 1,500 – 3,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร ผลไม้สด เช่น ลำไย ลิ้นจี่ เงาะ ลางสาด

อันดับ 3 ออสเตรเลีย มูลค่า 7,647.09 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูง และมีการขยายตัวของการใช้สิทธิฯ อาทิ รถยนต์ขนส่งของน้ำหนักรถรวมน้ำหนักบรรทุก ไม่เกิน 5 ตัน รถยนต์ขนส่งบุคคลความจุของกระบอกสูบเกิน 2,500 ลูกบาศก์เซนติเมตร เครื่องปรับอากาศติดผนังและส่วนประกอบ เครื่องเพชรพลอยหรือรูปพรรณทำหรือชุบด้วยเงิน

อันดับ 4 ญี่ปุ่น มูลค่า 6,453.24 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูง และมีการขยายตัวของการใช้สิทธิฯ อาทิ เนื้อไก่ชนิดแกลลัสโดเมสติกัส ชิ้นเนื้อและส่วนอื่นของสัตว์ปีกแช่เย็นจนแข็ง กุ้งปรุงแต่ง ลวดทองแดง เครื่องเพชรพลอยและรูปพรรณทำด้วยโลหะมีค่า และอันดับ 5 อินเดีย มูลค่า 4,414.75 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าสำคัญที่มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ สูง และมีการขยายตัวของการใช้สิทธิฯ อาทิ ลวดทองแดง โพลิ (ไวนิลคลอไรด์) ส่วนประกอบของเครื่องปรับอากาศ อาหารสุนัขหรือแมว ตู้เย็น ซึ่งผู้ประกอบการสามารถศึกษาและใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าได้เพื่อทำให้การส่งออกยังคงขยายตัวได้อย่างต่อเนื่อง

จาก https://www.innnews.co.th วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

กรมชลฯเกาะติดสถานการณ์น้ำทุกภาค

ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ผ่านไปยังสำนักงานชลประทานที่ 1-17 และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำ และแม่น้ำสายหลักต่างๆ สำหรับเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่

ดร.ทวีศักดิ์ระบุว่า อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศมีปริมาณน้ำรวมกันทั้งสิ้น 55,406 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 73 ของความจุอ่างฯ รวมกัน มีน้ำใช้การได้ 31,474 ล้าน ลบ.ม.ปัจจุบันมีการใช้น้ำไปแล้วประมาณ 9,678 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 43 ของปริมาณน้ำใช้การได้ เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์)มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 14,284 ล้านลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 53 ของความจุอ่างฯ มีน้ำใช้การได้ 6,588 ล้าน ลบ.ม.ปัจจุบันมีการใช้น้ำไปแล้วประมาณ 2,485 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 44 ของปริมาณน้ำใช้การได้ สำหรับผลการเพาะปลูกข้าวนาปรัง ปี 2564/65 ทั้งประเทศเพาะปลูกข้าวไปแล้ว 5.36 ล้านไร่ หรือคิดเป็นร้อยละ 84 ของแผนฯ เฉพาะพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา เพาะปลูกไปแล้ว 3.63 ล้านไร่ เกินแผนที่วางไว้ร้อยละ 29 (แผนวางไว้ 2.81 ล้านไร่)

ทั้งนี้ เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนอยู่ในเกณฑ์น้อย ประกอบกับปัจจุบันมีการเพาะปลูกเกินแผนที่กำหนด จึงกำชับให้โครงการชลประทานโดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา บริหารจัดการน้ำด้วยการหมุนเวียนน้ำในพื้นที่ให้ทั่วถึง เพื่อไม่ให้พื้นที่เพาะปลูกแล้วเกิดความเสียหายด้านการเพาะปลูกพื้นที่ลุ่มต่ำ ให้ควบคุมการเพาะปลูกให้เป็นไปตามแผน รวมทั้งดำเนินการตามมาตรการรองรับฤดูแล้งปี 64/65 ทั้ง 8 มาตรการอย่างเคร่งครัด และสร้างการรับรู้ถึงสถานการณ์น้ำ ให้ทุกภาคส่วนประหยัดน้ำเพื่อให้เพียงพอในฤดูแล้งนี้

จาก https://www.naewna.com วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

เกษตรฯเร่งถกผู้ประกอบการ ส่งออกสินค้าผ่านทางรถไฟลาว-จีน

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษา รมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กรกอ.) และประธานคณะทำงานจัดทำแผนแก้ไขปัญหาผลไม้เศรษฐกิจล่วงหน้าทั้งระบบ กล่าวว่า ได้เดินทางไป จ.หนองคาย-อุดรธานี เพื่อหารือกับผู้ประกอบการ “ไทย-ลาว-จีน” ด้านโลจิสติกส์ เพื่อร่วมมือกันในการสนับสนุนการส่งออกสินค้าเกษตร เช่น ข้าว ยางพารา ผัก ผลไม้ กล้วยไม้ สินค้าประมง และสินค้าปศุสัตว์ บนเส้นทางรถไฟลาว-จีนสำหรับฤดูกาลผลิตปี 2565 ตามข้อสั่งการของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯ รวมทั้งการติดตามความคืบหน้าของนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ทางด้านการลงทุนอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร และโครงการโลจิสติกส์ปาร์ค ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น ไนโตรเจนฟรีสเซอร์ และระบบตรวจสอบย้อนกลับ

“ประเทศไทยสามารถส่งออกข้าวสาร 20 ตู้ ปริมาณ 500 ตัน โดยใช้เส้นทางรถไฟสายจีน-ลาว โดยมีจุดหมายปลายทางที่มหานครฉงชิ่ง ภาคตะวันตกของจีน สามารถผ่านการตรวจตราและออกใบรับรองจากด่านตรวจพืชที่หนองคาย ขนส่งถึงท่าบก ท่านา และผ่านการเห็นชอบของด่านศุลกากรลาว รอขบวนรถขนส่งสินค้าเพื่อเดินทางออกจากสถานีเวียงจันทน์ใต้ ไปมหานครฉงชิ่งก่อนหน้านี้ได้รับรายงานความคลาดเคลื่อนจากหน่วยงานว่าขนส่งไปฉงชิ่ง รวมทั้งจำนวนน้ำหนักซึ่งได้ช่วยประสานงานกับทางลาวและได้รับความร่วมมืออย่างดีในการอนุมัติผ่านด่านศุลกากรและกระทรวงเกษตรของลาว เมื่อขบวนรถไฟขนส่งมาถึงก็พร้อมออกเดินทางได้ทันที” นายอลงกรณ์ กล่าว

ทั้งนี้ การขนส่งระบบรางเป็นระบบใหม่จากไทยผ่านลาวเพื่อขยายโอกาสทางการค้าภายใต้การทำงานร่วมกันอย่างใกล้ชิดระหว่างกระทรวงเกษตรฯ กับกระทรวงพาณิชย์ แลหน่วยงานต่างๆ พัฒนาโลจิสติกส์เกษตรและยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิต เพื่อการส่งออก ได้เจรจากับทางการจีนและลาว อย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยเฉพาะในภาวะที่ต้องเผชิญกับการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ฝ่าฟันอุปสรรคมาได้และถอดบทเรียนปัญหานำมาสู่การขับเคลื่อนร่วมกัน

นายอลงกรณ์ กล่าวอีกว่าภาคอีสานจะเปลี่ยนไปภายใต้ยุทธศาสตร์อีสานเกตเวย์ เชื่อมไทย-เชื่อมโลกไม่เพียงเป็นประตูโลจิสติกส์การค้าหน้าด่านแต่จะเป็นฐานใหม่ของอุตสาหกรรมเกษตรอาหารในการผลิตเกษตรมูลค่าสูง ตามโครงการ 1 กลุ่มจังหวัด 1 นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหารของ กรกอ.ทั้งกลุ่มอีสานเหนือ อีสานกลาง และอีสานใต้เพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกรและผู้ประกอบการโดยรวม

จาก https://www.naewna.com วันที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565

กกร.คาดเศรษฐกิจปี 65 โต 3.0-4.5% ส่งออก 3.0-5.0%

กรุงเทพฯ 2 ก.พ.-กกร. คงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 65 ขยายตัว 3.0-4.5% ขณะที่การส่งออกโต 3.0-5.0% และคาดอัตราเงินเฟ้อปรับตัวขึ้น 1.5-2.5%

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) ในฐานะประธานการประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เผยว่า เศรษฐกิจปี 2565 มีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มมากขึ้น โดยเศรษฐกิจไทยยังมีศักยภาพที่จะเติบโตได้เนื่องจากสามารถบริหารจัดการการแพร่ระบาดของไวรัสสายพันธุ์ใหม่ (โอมิครอน) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้อง Lockdown อย่างไรก็ดี ความตึงเครียดระหว่างรัสเซียกับยูเครนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยได้หลายช่องทางรวมถึงเงินเฟ้อ ภาครัฐจึงจำเป็นต้องเตรียมการแก้ปัญหาราคาสินค้าแพงเพื่อไม่ให้อัตราเงินเฟ้อเร่งขึ้นมาก จนกระทบกับผู้บริโภคและการเติบโตของเศรษฐกิจไทยโดยรวม ที่ประชุม กกร. จึงคงประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2565 จะขยายตัวได้ในกรอบ 3.0% ถึง 4.5% ขณะที่ประมาณการการส่งออกในปี 2565 ว่าจะขยายตัวในกรอบ 3.0% ถึง 5.0% ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปคาดว่าจะปรับตัวขึ้นในกรอบ 1.5% ถึง 2.5%

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากสถานการณ์การปรับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในขณะนี้ โดยเฉพาะอาหารสด และพลังงาน ที่มีการทยอยปรับราคาสูงขึ้น ซึ่งกระทบต่อภาระค่าครองชีพของประชาชนอย่างมาก อาจส่งผลให้เกิดความกังวลเรื่องกำลังซื้อของภาคครัวเรือนที่จะชะลอการบริโภคลง ประกอบกับประชาชนระมัดระวังการใช้จ่ายซื้อสินค้าที่จำเป็นเท่านั้น ซึ่งจะสะท้อนผ่านกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่อาจฟื้นตัวได้ช้ากว่าที่คาดการณ์ โดยที่ประชุม กกร. เสนอ 3 ข้อ ดังนี้

1) ขอความร่วมมือภาคเอกชนตรึงราคาสินค้า โดยขอให้ผู้ประกอบการบริหารจัดการสต๊อกสินค้าและวัตถุดิบที่มีอยู่เพื่อชะลอการปรับขึ้นราคาออกไปก่อน เพื่อช่วยลดภาระค่าครองชีพให้แก่ประชาชนในสถานการณ์ปัจจุบัน

2) ขอให้ภาครัฐตรึงราคาพลังงานเชื้อเพลิงและก๊าซหุงต้มภายในประเทศอย่างต่อเนื่อง  โดยตรึงราคาน้ำมันดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาทต่อลิตร เพื่อช่วยลดภาระต้นทุนการผลิตและการขนส่งให้กับผู้ประกอบการ

3) ขอให้ภาครัฐอำนวยความสะดวกในการเดินทางเข้าประเทศ โดยปรับมาตรการ Test & Go ให้ลดจำนวนครั้งการตรวจ  RT-PCR ให้เหลือเพียงวันที่เดินทางถึงไทย และให้ใช้วิธีการส่งผลตรวจ ATK ผ่านระบบ หลังการเดินทางเข้าประเทศ 5 วัน แทนการตรวจด้วย RT-PCR เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการท่องเที่ยวให้กลับมาอีกครั้ง

ทั้งนี้ภาคเอกชนโดย กกร. ขอมีส่วนร่วมใน ศบค. เพื่อเสนอแนะและให้คำปรึกษาด้านการบริหารจัดการในสถานการณ์โควิด -19 ให้มาตรการที่ออกมามีประสิทธิภาพด้านสาธารณสุขควบคู่ไปกับด้านเศรษฐกิจ   

นอกจากนี้ ยังขอให้ภาครัฐให้การสนับสนุน กิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการ โดยให้ผู้ประกอบการสามารถนำค่าใช้จ่ายในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพในสถานประกอบการไปลดหย่อนภาษีได้ 1.5 เท่า

“ส่วนประเด็นการขอขึ้นค่าแรง ของคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ที่ได้มีการยื่นข้อเสนอให้รัฐบาลประกาศปรับค่าจ้างแรงงานขั้นต่ำเป็น 492 บาท เท่ากันทั่วประเทศนั้น ตนไม่เห็นด้วย แต่ควรจะมีการพิจารณาเป็นรายท้องถิ่น ตามแต่ละจังหวัดจะตกลงกัน เนื่องจากเศรษฐกินของแต่ละจังหวัดไม่เท่ากัน” ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าว

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เผยถึงกรณีสินค้าอุปโภคบริโภคหลายรายการ พาเหรดปรับราคาขึ้น ว่า หลังไตรมาส 1 ของปี 2565 สินค้าคงจะไม่ปรับขึ้นราคาเพิ่มอีก เนื่องจากขณะนี้หลายอย่างปรับเพิ่มจนถึงเพดานราคาแล้ว ส่วนการตรึงราคา ก็สามารถทำได้ในระยะเวลาหนึ่ง จะทำตลอดไปไม่ได้ เนื้องจากการคุมราคา หรือบิดเบือนราคาสินค้าจากความเป็นจริง จะทำให้ผู้ประกอบการอยู่ได้ไม่นาน

“ส่วนมาตรการช่วยเหลือ คนละครึ่งเฟส 4 ที่เริ่มเมื่อวานเป็นวันแรก ถือว่าเป็นเรื่องดีที่จะช่วยลดภาระค่าครองชีพประชาชน แต่ตนมองว่าวงเงินที่ให้น้อยเกินไป เพียง 1200 บาท ซึ่งน้อยกว่าทุกรอบ ควรจะเพิ่มวงเงินให้มากกว่านี้ และเห็นว่าภาครัฐควรขยายระยะเวลา มาตรการ ช้อปดีมีคืน ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 15 ก.พ.นี้ “นายสนั่นกล่าว .-สำนักข่าวไทย

จาก https://tna.mcot.net    วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565

ไทย-เนเธอร์แลนด์ฯ สานต่อความร่วมมือรอบด้าน

นายกฯ หารือเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ฯ สานต่อความร่วมมือรอบด้าน พร้อมพัฒนาศักยภาพทั้งสองประเทศเพื่อสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า นายแร็มโก โยฮันเนิส ฟัน ไวน์คาร์เดิน เอกอัครราชทูตราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ประจำประเทศไทย เข้าเยี่ยมคารวะ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ในโอกาสเข้ารับหน้าที่ ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ

โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวต้อนรับและยินดีกับการเข้ารับตำแหน่งเอกอัครราชทูตในประเทศไทย ซึ่งไทยและเนเธอร์แลนด์ต่างมีความสัมพันธ์และประวัติศาสตร์ร่วมกันมายาวนานกว่า 400 ปี ผ่านการแลกเปลี่ยนการเยือนในทุกระดับ และความร่วมมือพหุภาคี และทวิภาคี โดยเฉพาะด้านการค้าการลงทุน ด้านสิ่งแวดล้อมและการบริหารจัดการน้ำที่ทั้งสองประเทศต่างให้ความสำคัญเพื่อประโยชน์สูงสุดแก่ประชาชน โดยในโอกาสนี้นายกรัฐมนตรีร่วมแสดงความยินดีกับการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่อย่างเป็นทางการของเนเธอร์แลนด์ พร้อมถวายพระพรชัยมงคลแด่สมเด็จพระราชาธิบดีวิลเลม-อเล็กซานเดอร์

ด้านเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ยินดี และเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้เข้ารับตำแหน่ง ไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศในอาเซียนที่เนเธอร์แลนด์ให้ความสำคัญและมีบทบาทในด้านการค้าการลงทุนระหว่างกัน โดยไทยมีศักยภาพอย่างยิ่งในการส่งออกผลิตภัณฑ์ต่างๆไปยังตลาดสหภาพยุโรป รวมทั้งด้านสิ่งแวดล้อมและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เทคโนโลยีการเกษตร อาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งเนเธอร์แลนด์เน้นแนวทางการบริหารจัดการอย่างยั่งยืนและคำนึงถึงการใช้พลังงานทดแทนในอนาคต โดยเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ฯ ยืนยันว่า พร้อมให้ความร่วมมือและแลกเปลี่ยนข้อมูลในด้านต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ร่วมกันต่อไป

โดยทั้งสองฝ่ายได้หารือในประเด็นความร่วมมือที่สำคัญ ดังนี้ ด้านความร่วมมือทางเศรษฐกิจ นายกรัฐมนตรีเห็นว่าเนเธอร์แลนด์เป็นคู่ค้าที่สำคัญของไทย ซึ่งในปีที่ผ่านมามูลค่าการค้าของทั้งสองประเทศเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมทั้งยังลงทุนในไทยมากเป็นอันดับที่ 1 ในกลุ่มสหภาพยุโรป เช่น การส่งออกไม้ดอกไม้ประดับและพันธุ์ไม้ระหว่างกัน ขณะเดียวกันเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ฯ เห็นพ้องว่าทั้งสองฝ่ายสามารถผลักดันการค้าการลงทุนให้มากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันมีบริษัทสัญชาติเนเธอร์แลนด์ลงทุนในไทยแล้วกว่า 300 บริษัท โดยล่าสุดเนเธอร์แลนด์ได้มีการหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพื่อพิจารณาขยายการลงทุนต่อไป รวมทั้งการฟื้นการเจรจา FTA ไทย-EU และการยกระดับความสัมพันธ์อาเซียน-EU ซึ่งเห็นพ้องว่า ไทยและเนเธอร์แลนด์สามารถเป็นกำลังสำคัญในการส่งเสริมความร่วมมือที่จะต่อยอดผลประโยชน์ร่วมกันได้ระหว่างสองภูมิภาค, ด้านการบริหารจัดการน้ำและสิ่งแวดล้อม เนเธอร์แลนด์พร้อมร่วมมือกับไทยในเรื่องการพัฒนาที่ยั่งยืน และเศรษฐกิจสีเขียว ด้านนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงแนวคิด BCG ซึ่งไทยให้ความสำคัญ และสอดคล้องกับความเชี่ยวชาญของเนเธอร์แลนด์ โดยเฉพาะด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ทั้งสองประเทศได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระหว่างสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติกับกระทรวงโครงสร้างพื้นฐานและการบริหารจัดการน้ำแห่งราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์เมื่อปี 2564, ด้านเทคโนโลยีการเกษตร อาหาร และเทคโนโลยีชีวภาพ นายกรัฐมนตรีเสนอให้ขยายความร่วมมือระหว่าง Food Valley ของเนเธอร์แลนด์และเมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) ของไทย ซึ่งทางเนเธอร์แลนด์มีแผนที่จะจัดตั้งจุดประสานงานเครือข่ายระดับโลกด้านนวัตกรรมอาหาร (Global Coordinating Secretariat of the Food Innovation Hubs: GCS) ด้านเอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ฯ ยินดีให้ความร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกัน โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีการเกษตรที่จะต้องคำนึงถึงเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วย

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรียินดีที่เนเธอร์แลนด์จะเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก (EXPO 2022 Floriade Almere) ในช่วงเดือนเมษายน-ตุลาคม 2565 ซึ่งไทยจะเข้าร่วมงานเช่นเดียวกัน ภายใต้ชื่อ “Thailand Pavilion” ในแนวคิด “Trust Thailand” โดยเชื่อมั่นว่างานดังกล่าวจะช่วยสร้างเครือข่ายและแลกเปลี่ยนการใช้เทคโนโลยีสีเขียวและนวัตกรรมเพื่อการผลิตและชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในอนาคต

นอกจากนี้ เอกอัครราชทูตเนเธอร์แลนด์ฯ ได้แสดงความยินดีกับการเป็นเจ้าภาพ APEC 2022 ของไทย ซึ่งเชื่อมั่นว่าจะประสบความสำเร็จและเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจโลก นายกรัฐมนตรียืนยันว่า ไทยพร้อมที่จะเป็นเจ้าภาพการจัดการประชุมอย่างเต็มรูปแบบ ภายใต้หัวข้อ เปิดกว้าง เชื่อมโยง และสมดุล (Open. Connect. Balance.) ซึ่งพร้อมที่จะนำข้อหารือที่ได้ไปสานต่อร่วมกับเนเธอร์แลนด์และEUเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจระหว่างภูมิภาคต่อไป

จาก https://www.innnews.co.th   วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565

ชาวโคราชร้องปัญหาฝุ่นโรงงานกระทบสุขภาพ

แก้ปัญหายังไม่ได้ ชาวบ้านร้องปัญหาฝุ่นละอองโรงงานน้ำตาลพิมายยังลอยฟุ้งส่งผลกระทบกับสุขภาพ

 ผู้สื่อข่าวได้รับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้านโดยรอบโรงงานน้ำตาลแห่งหนึง ในจังหวัดนครราชสีมา หลังได้รับผลกระทบจากการดำเนินกิจการของ โรงงานน้ำตาลแห่งหนึ่ง ที่ได้ก่อให้เกิดฝุ่นละอองขนาดเล็ก มลพิษทางอากาศ สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านในพื้นที่เป็นอย่างมาก โดยชาวบ้านได้รับผลกระทบต่อสุขภาพ และการใช้ชีวิตความเป็นอยู่ประจำวัน มายาวนานกว่า 20 ปี ซึ่งปัญหาหลักเกิดขึ้นจากฝุ่นละอองของกากอ้อย และรถบรรทุกอ้อยที่วิ่งเข้า-ออกโรงงานวันล่ะหลายร้อยคัน นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องเสียงที่เกิดจากเครื่องจักรในโรงงานอีกด้วย

ซึ่งปัญหาข้อพิพาทระหว่างโรงงานกับชาวบ้านผู้ได้รับความเดือดร้อนนี้ เป็นปัญหาต่อเนื่องมาจากการร้องเรียนเรื่องปัญหาฝุ่นละอองตั้งแต่ปี 2564 ที่ผ่านมา จนกระทั่ง ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ ในขณะนั้น ได้เดินทางลงพื้นที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทที่เกิดขึ้น ซึ่งทางโรงงานก็ได้ทุ่มงบประมาณกว่า 100 ล้านบาท ในการดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยการสร้างแนวรั้วป้องกันฝุ่นละอองฟุ้งกระจาย รวมถึงปรับปรุงระบบบำบัดน้ำเสีย เพื่อให้ทางโรงงานผ่านมาตรฐานสามารถเปิดดำเนินการต่อไปได้

ซึ่งจากการลงพื้นที่ชุมชนโดยรอบโรงงาน พบกับนางสมบัติ หาสุข ชาวบ้านผู้ได้รับความเดือดร้อน ได้ชี้ให้ดูถึงฝุ่นละอองที่ลอยฟุ้งกระจายอยู่ทั่วบริเวณบ้าน พร้อมเปิดเผยว่าตนได้รับความเดือดร้อนจากฝุ่นละอองของกากอ้อย ที่ทางโรงงานได้ปล่อยออกมา จนทำให้อาการมะเร็งและโรคทางเดินหายใจกำเริบ ได้รับความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก เช่นเดียวกันกับผู้สูงอายุและเด็กเล็กอีกหลายคนที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ ที่ได้รับผลกระทบมีอาการป่วยแทบทุกคน การใช้ชีวิตประจำวันต้องสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาทั้งเวลาตื่นและเวลาเข้านอน

นอกจากนี้ไร่มันสำปะหลังบริเวณด้านติดกับโรงงานก็ถูกฝุ่นจากกากอ้อยปลิวตกใส่จนทำให้ต้นพืชได้รับความเสียหายไม่สามารถให้ผลผลิตได้ ถึงแม้ทางโรงงานจะทำแนวรั้วกั้นฝุ่นละอองแล้วก็ตามแต่ก็ไม่สามารถกั้นฝุ่นละอองได้หมด

ซึ่งจากการเข้าตรวจสอบของสำนักสิ่งแวดล้อมภาคที่ 11(นครราชสีมา) เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา พบว่า ปริมาณฝุ่นละอองบริเวณบ้านผู้ร้องเรียนติดกับโรงงานด้านทิศเหนือ โดยเครื่องมือตรวจวัดแบบอ่านค่าทันทีขณะตรวจวัด พบว่ามีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน (PM2.5) อยู่ในช่วง 37 – 99 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 10 ไมครอน (PM10) อยู่ในช่วง 50 – 145 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร มีแนวโน้มเกินค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศทั่วไปเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ซึ่งกำหนดให้มีค่า PM2.5 ไม่เกิน 50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร และค่า PM10 ไม่เกิน 120 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยภายในโรงงานพบว่าได้ดำเนินการก่อสร้างแนวกำแพงกันฝุ่นชั้นในความสูง 27 เมตร Zone ที่ 1 บริเวณขอบเขตโรงงานด้านทิศตะวันออกและทิศเหนือบางส่วน มีความยาวรวม 726 เมตร เสร็จแล้ว ส่วนแนวกำแพงกันฝุ่น Zone ที่ 2 ด้านทิศเหนือบางส่วนและด้านทิศตะวันตก มีความยาวรวม 786 เมตร ขณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างฐานรากแล้วเสร็จร้อยละ 80 และยังคงเหลืองานที่ยังมิได้ก่อสร้างได้แก่งานโครงสร้างและติดตั้งตาข่ายกันฝุ่น ซึ่งมีกำหนดแล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2565.

จาก https://www.innnews.co.th   วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565

เกษตรกรไร่อ้อย เดือดร้อนหนัก ช้างป่าทับลานบุกทำลายผลผลิต จนท.ทับลานเร่งช่วย

นครราชสีมา เกษตรกรเดือดร้อนหนัก ต้องเร่งเก็บเกี่ยวหนีโขลงช้าง หลังพบรอยช้างป่าทับลาน บุกทำลายผลผลิตพืชสวนพืชไร่พังราบ เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติ เร่งให้คำแนะ ลดการกระทบกระทั่ง ชาวบ้านและสัตว์ป่า

จังหวัดนครราชสีมา ที่บ้านทรัพย์เจริญ ตำบลบ้านราษฎร์ อำเภอเสิงสาง เกษตรกรที่ปลูก พืชสวนพืชไร่ กำลังเก็บเกี่ยวผลผลิต พี่กำลังโตเต็มที่ หลังจากพบร่องรอยของช้างป่าเริ่มออกนอกพื้นที่เขตอุทยาน ออกมา หากินใกล้บริเวณที่ทำกินของเกษตรกร

โดยเฉพาะบริเวณไร่อ้อยและ สวนขนุน ของชาวบ้านจนชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ของอุทยานต้องจัดเวรยามในการคอยเฝ้าระวังแนวรอยต่อระหว่างเขตพื้นที่อุทยานฯและพื้นที่ทำกินของชาวบ้าน

โดยไร่อ้อยของนางมาลัย วิชัยเกตุ อายุ 42 ปี เกษตรกรบ้านทรัพย์เจริญ ตำบลบ้านราษฎร์ อำเภอเสิงสาง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นเกษตรกรที่มีพื้นที่ปลูกอ้อยใกล้เคียงกับเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน กำลังให้คนงานเร่งตัดอ้อยกว่า 10 ไร่

หลังจากปีก่อนเคยถูกช้างป่าลงทำลายเสียหาย ในช่วงนี้คาดว่าน่าจะเกิดจากปัญหาภัยแล้งที่ทำให้ภายในเขตอุทยานนั้นหาอาหารยาก ช้างป่าจึงต้องเดินออกมา หากินยังบริเวณนอกเขตอุทยาน

ด้านนายอาเขต แววกระโทก ประธานชมรมอนุรักช้างป่าเสิงสาง บอกว่า ช่วงนี้เป็นฤดูการที่ช้างป่า มักจะออกมาหากินนอกเขตอุทยานแห่งชาติบ่อย เพราะปัญหาความแห้งแล้ง น่าจะทำให้ภายในป่านั้น หาของกินยาก สัตว์ป่าจึงมักจะพากันเดินออกมายังแหล่งน้ำของเกษตรกรและพื้นที่เพาะปลูก โดยเฉพาะพื้นที่ของไร่อ้อยและสวนขนุนที่มักจะเป็นพื้นที่สำหรับช้างป่าออกมาหากิน

ช่วง 2-3 วันนี้ ทางชมรมได้รับแจ้งจากชาวบ้านว่า พบช้างป่าออกมานอกเขตอุทยานฯบ่อยขึ้น จึงได้มีการจัดเวรยามในการมาคอยเฝ้าระวังพื้นที่ทำกินให้กับชาวบ้าน

โดยจะเป็นอาสาสมัครของชาวบ้านและเกษตรกรที่มีพื้นที่เพาะปลูกในพื้นที่ใกล้เคียงกับรอยต่อของอุทยาน และมีเจ้าหน้าที่ของอุทยาน ซึ่งมีความรู้และความชำนาญในการผลักดันช้างป่า มาคอยให้คำแนะนำกับชาวบ้านและอาสาสมัครเพื่อเป็นการลดการกระทบกระทั่งกันระหว่างชาวบ้านและสัตว์ป่า

จาก https://www.khaosod.co.th  วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565

สกสว. เปิดพื้นที่สนทนา ‘ปลดล็อค! เพื่ออากาศสะอาด’ ถกงานวิจัยสัญชาติไทย กุญแจสู่มาตรการอากาศสะอาดแก้วิกฤต PM2.5

สกสว. จับมือ ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม สมาคมนักข่าวและนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ร่วมกันจัดงาน TSRI Talk กิจกรรมสนทนาออนไลน์ ‘ปลดล็อค! เพื่ออากาศสะอาด’ ระดมสมองนักวิจัย หน่วยบริหารจัดการทุน (สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ) หน่วยงานราชการ (สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ และ ศูนย์อนามัยที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่) บริษัทเอกชน (กลุ่มมิตรผล) ประชาชน (เกษตรกรไร่อ้อยจังหวัดสิงห์บุรี) ภาคประชาสังคม (สภาลมหายใจ จังหวัดเชียงใหม่) และ คณะอนุกรรมาธิการพิจารณาแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองและมลพิษทางอากาศ สภาผู้แทนราษฎร ถกประเด็น From Output to Impact ถอดรูปแบบเส้นทางการใช้วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม พัฒนามาตรการอากาศสะอาดสร้างผลกระทบแก้วิกฤตฝุ่น PM 2.5

เมื่อเร็วๆ นี้ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ร่วมกับ ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม สมาคมนักข่าวและนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดกิจกรรม TSRI Talk สนทนาออนไลน์ “ปลดล็อค! เพื่ออากาศสะอาด” From Output to Impact : ระบบวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมไทยกับการแก้วิกฤตฝุ่น PM2.5 เพื่อเป็นพื้นที่ในการสื่อสาร สนทนา และระดมสมองถอดรูปแบบ 4 ผลงานวิจัยเด่นสัญชาติไทยที่ถูกใช้งานจริงในระดับจังหวัด และสามารถลดการปลดปล่อยมลพิษอากาศและ PM2.5 ปกป้องประชาชนจากการรับสัมผัสฝุ่นพิษ เพื่อเสนอเป็นแนวทางการผลักดันให้งานวิจัยและนวัตกรรมอื่นๆ ของไทย สามารถพัฒนาเป็นมาตรการอากาศสะอาดที่สร้างผลกระทบได้ โดย 4 งานวิจัยเด่นที่ถูกนำมาวิเคราะห์เส้นทางสู่การสร้างผลลัพธ์ผลกระทบประกอบด้วย

1) DustBoy เครื่องวัดฝุ่น PM2.5 และ PM10 ราคาย่อมเยา (ไม่เกิน 10,000 บาท) ที่มีความแม่นยำกว่า 85% เมื่อเทียบกับเครื่องวัดฝุ่นที่ต้องซื้อมาจากต่างประเทศ (ราคากว่า 1 ล้านบาท) DustBoy ถูกติดตั้งแล้วกว่า 400 จุดทั่วประเทศ ช่วยให้ประชาชนกว่า 300,000 คน ใช้วางแผนหลีกเลี่ยงการรับสัมผัสฝุ่นพิษในชีวิตประจำวัน

2) FireD (ไฟดี) แอปพลิเคชันการจองเผาเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ที่ใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์คาดการณ์การฟุ้งกระจายของฝุ่นจากการเผาล่วงหน้า 3 วันเพื่อการตัดสินใจเวลาที่เหมาะสมที่สุดในการกำจัดเชื้อเพลิงในพื้นที่ ทำให้คณะทำงานระดับจังหวัดของเชียงใหม่มีข้อมูลในการอนุมัติให้เกษตรกรในจังหวัดเชียงใหม่ สามารถเผาเศษวัสดุเหลือใช้โดยเกิดการฟุ้งกระจายของฝุ่นน้อยที่สุด ในปี 2564 แอปพลิเคชัน FireD เป็นหนึ่งตัวช่วยที่ลดจุดความร้อนในจังหวัดเชียงใหม่ได้กว่า 60%

3) สิงห์บุรีโมเดล โมเดลนำร่องการใช้ Open Government ของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการร่วมกับส่วนราชการและภาคเอกชนจังหวัดสิงห์บุรี เพื่อใช้นวัตกรรมและมาตรการจูงใจทั้งจากภาครัฐและภาคเอกชนที่ร้อยเรียงเป็นห่วงโซ่ของมาตรการในการลดการเผาไร่อ้อย ก่อนตัดส่งเข้าโรงงานน้ำตาลให้ได้ 90% อันเป็นการลดการปลดปล่อย PM2.5 และ มลพิษอากาศที่แหล่งกำเนิด

4) นวัตกรรมรถตัดอ้อย ของบริษัท น้ำตาลมิตรผล สิงห์บุรี ที่เกษตรกรชาวไร่อ้อยสามารถใช้ตัดอ้อยสดในไร่ของตัวเอง และยังรับตัดอ้อยของเพื่อนเกษตรกรในพื้นที่โดยไม่ต้องเผา ทำให้ขายอ้อยได้ราคาดี และมีค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยวลดลงกว่า 50% เมื่อเทียบกับการเผาและเก็บเกี่ยวด้วยแรงงานคน นวัตกรรมนี้นำมาใช้งานจริงและช่วยลดการปลดปล่อย PM2.5 จากการเผาเพื่อเก็บเกี่ยวอ้อยในพื้นที่มาแล้วกว่า 4 ปี

โอกาสนี้ รศ.ดร.ปัทมาวดี โพชนุกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) กล่าวถึง “บทบาทของ สกสว. กับ วิกฤตมลพิษอากาศ PM2.5 ว่า ระยะเวลากว่า 4 ปีที่ผ่านมา 7 จังหวัดของประเทศมีค่าความเข้มข้นของ PM2.5 เฉลี่ยรายวันเกินค่ามาตรฐานความปลอดภัยระหว่าง 25-50% ของเวลาใน 1 ปี อย่างในปี พ.ศ. 2563 มีจำนวนวันที่ค่าฝุ่นเกินค่าที่ยอมรับได้ 112 วันต่อปี ในปี พ.ศ. 2564 กรุงเทพฯ ถูกจัดอันดับเป็นเมืองที่มีมลพิษมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ก่อนหน้านี้เวลาเราพูดถึงการแก้ปัญหาฝุ่นละออง เราอาจใช้วิธีการสังเกต การมองท้องฟ้า แต่ปัจจุบันองค์ความรู้ ทำให้เกิดนวัตกรรมและเครื่องมือวัดค่าฝุ่น ซึ่งเราล้วนทราบกันดีว่า ปัญหาฝุ่นเกินค่ามาตรฐานเกิดจากสภาพแวดล้อม ซึ่งมีมนุษย์เป็นผู้สร้าง ทั้งแหล่งกำเนิดมลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม การคมนาคม (จากข้อมูลพบว่าประเทศไทยมีรถยนต์มาตรฐานต่ำที่ผลิตควันดำกว่า 10 ล้านคัน) รวมฝุ่นที่เกิดจากการเผาของภาคเกษตร ฝุ่นควันที่เกิดขึ้นล้วนแล้วเกิดจากกระบวนการผลิตและการบริโภคของมนุษย์ทั้งสิ้น ดังนั้นเวลาแก้ปัญหาจึงควรมองกลับไปทั้งระบบ ทั้งพฤติกรรมการผลิตและการบริโภค การพูดคุยกันในวันนี้จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่ภาคนโยบาย ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม ตลอดจนสื่อมวลชน จะได้บูรณาการการทำงานร่วมกันเพื่อแก้ปัญหาอากาศของประเทศไทย ในส่วนของ สกสว. เล็งเห็นว่า เครื่องมือด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ของประเทศ ทั้งการจัดทำแผนวิจัย การจัดสรรงบประมาณ ตลอดจนการมีระบบติดตามผลและการทำงานร่วมกันกับหน่วยบริหารจัดการทุนวิจัยและนวัตกรรม หรือพีเอ็มยู โดยเฉพาะสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ที่ถือเป็นฟันเฟืองสำคัญ ในการบริหารจัดการงานวิจัยทางด้านฝุ่น เพื่อหนุนเสริมการแก้ปัญหานี้อย่างยั่งยืน

ด้าน ผศ.ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ ผู้เชี่ยวชาญระดับสูง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) คณะอนุกรรมาธิการสภาฯ ด้านแก้ไขปัญหา PM 2.5 ฉายภาพว่า หากเราไปทบทวนดูมาตรการของประเทศอื่นๆ อย่างสหรัฐอเมริกา จะพบว่าประเทศเหล่านั้นประสบความสำเร็จในการสร้างอากาศดีให้ประชาชนก็ด้วยมีมาตรการอากาศสะอาดขึ้นมา เพื่อเป็นกฎระเบียบในการรักษาสภาพอากาศของประเทศ โดยกว่าที่มาตรการนี้จะคลอดออกมานั้นก็ต้องใช้องค์ความรู้จากงานวิจัยและนวัตกรรมมาเป็นสิ่งหนุนเสริม เพื่อให้มาตรการนี้ปกป้องประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประเทศไทยมีองค์ความรู้ด้านการวิจัยการแก้ปัญหานี้อย่างมากมาย แต่ยังไม่ถูกนำไปพัฒนาเป็นมาตรการต่างๆ อย่างจริงจัง ดังนั้นจึงมองว่าข้อเสนอแนะการเพิ่มศักยภาพของงานวิจัยและนวัตกรรมไทยเพื่อการแก้ไขปัญหา PM2.5 และ มลพิษอากาศ มี 4 ประเด็นสำคัญ คือ

1. มาตรการสำหรับกฎหมายอากาศสะอาดของประเทศไทยเป็นหัวใจของความสำเร็จ ลำพังการมีกฎหมายอากาศสะอาดอย่างเดียวไม่เพียงพอ แต่ต้องมีมาตรการที่ดีมีประสิทธิภาพและอิงวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมด้วย

2. งานวิจัยควรเน้นการสนับสนุนการออกแบบมาตรการ การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ การติดตามประเมินผลของมาตรการในการบรรลุเป้าหมายของอากาศสะอาด

3. การเชื่อมโยงงานวิจัยกับมาตรการในกฎหมายอากาศสะอาดที่จะมีในอนาคต จะทำให้ผลผลิตงานวิจัย (Output) นำไปสู่ผลลัพธ์ (Outcome) และผลกระทบ (Impact) ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหน่วยงานภาครัฐ เอกชน และประชาชนที่ต้องปฏิบัติตามมาตรการทางกฎหมายดังกล่าว และต้องการงานวิจัยเพื่อช่วยในการดำเนินมาตรการให้ประสบความสำเร็จ

4. OKRs หรือตัวชี้วัดผลการดำเนินงานของระบบ ววน. ควรมุ่งเน้นไปที่การสนับสนุนเทคโนโลยี นวัตกรรม การบริหารจัดการให้มาตรการในกฎหมายอากาศสะอาดสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ใช่ OKRs ในการบรรลุเป้าหมายอากาศสะอาดโดยตรง เนื่องจากการผลักดันเรื่องนี้ ววน. เปรียบเสมือนหน่วยสนับสนุนเครื่องมือการทำงานให้หน่วยงานด่านหน้าต่างๆ ที่สำคัญทั้งภาครัฐและเอกชน รวมถึงภาคประชาชนให้สามารถบริโภคได้อย่างยั่งยืน โดยการทำงานทั้งหมดต้องทำงานบนฐานข้อมูล องค์ความรู้ ประเทศไทยต้องเรียนรู้ว่ามาตรการแบบไหนดีที่สุดจากต่างประเทศที่เคยประสบความสำเร็จมาแล้ว เอามาใช้แล้วเหมาะสมกับบ้านเรา

ในขณะที่ ดร.ขวัญฤดี โชติชนาทวีวงศ์ ผู้แทนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กล่าวเสริมว่า นอกเหนือจากการใช้องค์ความรู้จากงานวิจัยไปผลักดันให้เกิดกฎหมายแล้ว ควรมีกลไกเชื่อมต่อการใช้ประโยชน์ การนำเอามาตรการต่างๆ ที่ภาครัฐมีอยู่แล้วตอนนี้ แต่ยังขาดการนำไปใช้ (Implementation) การติดตามประเมินผลมาตรการ (Monitoring) ที่เพียงพอก็เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งเช่นกัน

ส่วนทางด้าน นางอารีย์พันธ์ เจริญสุข รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) กล่าวว่า กฎหมายอาจไม่สำคัญเท่ามาตรการและการปฏิบัติจริง ถ้าแต่ละฝ่ายเห็นพ้องร่วมกัน และรู้ว่ามีบทบาทการทำงานในส่วนใดเพื่อแก้ปัญหาก็จะส่งผลสำเร็จมากขึ้น นอกจากนี้ สิ่งสำคัญที่สามารถช่วยเป็นแรงกระตุ้นในสังคมได้ คือ การแจ้งเตือน KPI ตัวเลขที่ชัดเจนว่า หลังจากมีการนำงานวิจัยเชิงนวัตกรรมและงานวิจัยเชิงนโยบายไปปฏิบัติจริง คุณภาพอากาศดีขึ้นเพียงใด ค่าฝุ่นลดลงแล้วมากน้อยเพียงใด มีปริมาณผู้ป่วยโรคทางดินหายใจลดลงเท่าไร สื่อสารให้ประชาชนได้ทราบว่า สิ่งเหล่านี้มันคือเรื่องเชื่อมโยงที่ใกล้ตัวเขา จะทำให้สังคมมีการตระหนักรู้มากขึ้น ทั้งนี้ข้อมูลการถกประเด็นวันนี้ถือเป็นสารตั้งต้นสำคัญ ที่ทั้ง สกสว. และทุกภาคส่วน จะใช้ในการดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหา PM2.5 และผลักดันให้เกิดมาตรการสะอาดขึ้นมาอย่างเป็นรูปธรรม และมีการดำเนินการใช้จริงอย่างมีศักยภาพต่อไป

จาก https://mgronline.com  วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565

เล็งเว้นค่าปรับเครื่องหมายการค้า-ค่าสิทธิบัตร

กรมทรัพย์สินฯ เตรียมประกาศยกเว้นค่าปรับ “ต่ออายุเครื่องหมายการค้า” และ “ค่าธรรมเนียมรายปีสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร”บรรเทาผลกระทบและลดภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน

 นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ด้วยภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ผันผวนจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่และค่าครองชีพของประชาชน รัฐบาลจึงกำหนดมาตรการลดภาระค่าใช้จ่ายและบรรเทาผลกระทบของประชาชนที่เกิดจากความไม่สะดวกในการติดต่อราชการจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19

โดยให้หน่วยงานราชการที่มีอำนาจหน้าที่ในการอนุญาต การรับแจ้ง การรับชำระภาษี หรือเงินอื่นใด พิจารณางดหรือยกเว้นค่าปรับ เบี้ยปรับ เงินเพิ่ม หรือเงินอื่นใด ที่กฎหมายกำหนดให้ชำระเพิ่มในกรณีดำเนินการล่าช้าภายในกรอบของกฎหมาย กรมฯ จึงได้เสนอร่างกฎกระทรวงพาณิชย์ 2 ฉบับ เกี่ยวกับการยกเว้นค่าปรับ หากต่ออายุเครื่องหมายการค้าหรือจ่ายค่าธรรมเนียมรายปีสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตรไม่ทันเวลา

โดยเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการและส่งร่างกฎกระทรวงฯ ทั้ง 2 ฉบับให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้ว ก่อนจะมีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป

ซึ่งร่างกฎกระทรวงฯ ดังกล่าว ประกอบด้วย ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมเพิ่มตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า พ.ศ. …. กำหนดให้ยกเว้นค่าปรับ จำนวน 20% ของค่าธรรมเนียมต่ออายุเครื่องหมายการค้า ในกรณีที่ต่ออายุเครื่องหมายนั้นไม่ทันภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด และ ร่างกฎกระทรวงยกเว้นค่าธรรมเนียมเพิ่มตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตร พ.ศ. …. กำหนดให้ยกเว้นค่าปรับ จำนวน 30% ของค่าธรรมเนียมรายปีสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร ในกรณีที่จ่ายค่าธรรมเนียมรายปีไม่ทันภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด โดยจะมีผลบังคับใช้หลังจากวันที่ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ไปจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2565

จาก https://www.innnews.co.th   วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565