http://www.sugarzone.in.th


ข่าวเศรษฐกิจเกี่ยวกับอ้อยและน้ำตาล(เดือนมกราคม 2563)

ปรับแผนสู้ภัยแล้ง ทำฝนหลวงเร็วขึ้น1เดือน

รมช.เกษตรฯ เผยนายกฯห่วงประชาชนเดือดร้อนจากภัยแล้ง เร่งปรับแผนทำฝนหลวงทั่วประเทศเร็วขึ้น 1 เดือน พร้อมสนธิกำลังกองทัพอากาศ ร่วมปฏิบัติการและจะขยายอัตรากำลังเจ้าหน้าที่ เพิ่มจำนวนอากาศยาน เนื่องจากมีภารกิจมากขึ้น ส่วนที่ จ.เลยแล้งหนัก ขาดน้ำทำประปา ต้องขนน้ำไปแจกชาวบ้าน

เมื่อวันที่ 30 มกราคม ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มอบหมายให้แก้ปัญหาภัยแล้งและฝุ่นละออง PM 2.5 จึงสั่งการให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องในฤดูแล้งนี้ หากพบว่า บริเวณใดสภาพอากาศเอื้ออำนวยให้หน่วยฝนหลวงเคลื่อนที่เร็วซึ่งมีอยู่ 3 ชุดบินขึ้นปฏิบัติการทันที ขณะนี้อยู่ในห้วงที่กรมฝนหลวงฯ ตรวจสอบและซ่อมบำรุงอากาศยาน ปกติแล้วแผนเปิดหน่วยฝนหลวงประจำปีจะเริ่มวันที่ 1 มีนาคม แต่ปีนี้จะเลื่อนเร็วขึ้นมาเป็นวันที่ 3 กุมภาพันธ์ เนื่องจากแนวโน้มสถานการณ์ภัยแล้งและฝุ่นละออง PM 2.5 จะรุนแรง

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเห็นสมควรที่จะขยายอัตรากำลังเจ้าหน้าที่กรมฝนหลวงฯและเพิ่มจำนวนอากาศยานเพราะภารกิจมีมากขึ้น จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่ทำให้เกิดความแห้งแล้งถี่และยาวนานขึ้น ตลอดจนในปี 2562 ช่วงที่มีปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 หลายพื้นที่ กรมฝนหลวงฯ ได้ปฏิบัติการทำให้พ้นวิกฤติมาได้ มั่นใจว่า การขออัตรากำลังเพิ่มไปยังคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.) ซึ่งเสนอขอรับข้าราชการเพิ่มประมาณ 300 คนและพนักงาน-ลูกจ้าง 400 คนนั้นจะได้รับการพิจารณาตามความเหมาะสมของภารกิจและปริมาณงาน

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวว่า หน่วยฝนหลวงเคลื่อนที่เร็ว 3 ชุดประจำอยู่ที่สนามบินนครสวรรค์ ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ติดตามสภาพอากาศอย่างใกล้ชิด หากพบที่ใดมีความชื้นสัมพัทธ์และดัชนีการยกตัวของเมฆเหมาะสมจะบินขึ้นทำฝนทันที การทำฝนช่วยทั้งแก้ภัยแล้ง เพิ่มความชุ่มชื้นในอากาศ และยังช่วยลดฝุ่นละออง PM 2.5 ซึ่งในปีนี้มีแผนการทำงานเหมือนปีที่แล้ว โดยได้รับอนุญาตให้บินเข้าใกล้ท่าอากาศยานนานาชาติได้มากขึ้น จากปกติต้องอยู่ห่างไม่น้อยกว่า 60 ไมล์ โดยสามารถอยู่ห่างไม่น้อยกว่า 45 ไมล์ได้ซึ่งจะสามารถบินปฏิบัติการบริเวณจังหวัดนครนายกและฉะเชิงเทราเพื่อก่อเมฆ แล้วให้ลมพัดพามาตกเป็นฝนในกรุงเทพฯ ได้

การเปิดหน่วยฝนหลวงประจำปีระหว่างวันที่ 3-16 ก.พ. 63 จะเปิดหน่วยปฏิบัติการ 6 หน่วย ได้แก่ จ.พิษณุโลก นครสวรรค์ ขอนแก่น บุรีรัมย์ ระยอง และสุราษฎร์ธานี โดยใช้อากาศยานรวม 12 ลำ เป็นเครื่องบินฝนหลวง 8 ลำและเครื่องบินกองทัพอากาศ 4 ลำ อีกทั้งเปิดฐานเติมสารฝนหลวง 1 ฐานที่ จ. เชียงใหม่ จากนั้นตั้งแต่วันที่ 17 ก.พ. เป็นต้นไปจะเปิดหน่วยปฏิบัติการทั้งหมด 11 หน่วยได้แก่ จ.เชียงใหม่ พิษณุโลก นครสวรรค์ กาญจนบุรี ขอนแก่น อุดรธานี บุรีรัมย์ อุบลราชธานี ระยอง ประจวบคีรีขันธ์ (หัวหิน) และสุราษฎร์ธานี โดยใช้อากาศยาน 29 ลำ เป็นเครื่องบินฝนหลวง 23 ลำและเครื่องบินกองทัพอากาศ 6 ลำ รวมถึงเปิดฐานเติมสารฝนหลวง 5 ฐานที่จ.ตาก ลพบุรี สกลนคร จันทบุรีและสงขลา(หาดใหญ่)

วันเดียวกัน นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ผวจ.เลย พร้อมด้วย นายปรีดา วรหาร นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดเลย นายประมวล ลาภจิตต์ หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเลย

และคณะเดินทางไปตรวจราชการสถานการณ์ภัยแล้งพื้นที่ อ.หนองหิน จ.เลย มี นายต่อศักดิ์ สกุณวัฒน์ นอ.หนองหิน ผอ.รพ.หนองหิน หัวหน้าส่วนราชการ หน่วยงาน รัฐวิสาหกิจ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

นายวัชน์ศิริ เอียสกุล การประปาส่วนภูมิภาค สาขาวังสะพุง กล่าวถึงการป้องกันและการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งในพื้นที่ อ.หนองหินว่า ขณะนี้การประปาส่วนภูมิภาค สาขาวังสะพุงที่รับผิดชอบ อ.หนองหิน หลังจากที่ระบบประปามีปัญหา ไม่สามารถนำน้ำดิบจากบ่อบาดาลขึ้นมาใช้ได้ เนื่องจากมีปริมาณน้ำน้อยและอุปกรณ์ชำรุด ทางการประปาส่วนภูมิภาคสาขาวังสะพุง ได้นำรถขนน้ำบริการประชาชน 4หมู่บ้าน วันละ 6-8เที่ยวและหาบ่อบาดาลเพิ่มจากจิตอาสา เพิ่มอีก 2 บ่อ ซึ่งได้น้ำดิบเพิ่มจากบ่อลุงอุดมที่เป็น ส.อบต.หนองหิน มาเพิ่มเติมเพื่อให้ได้ปริมาณน้ำที่เพียงพอ

โดยก่อนหน้านี้ บ่อน้ำบาดาลที่สูบใช้มีอยู่ 4 บ่อ ในช่วงนี้ มีการใช้น้ำเยอะและปริมาณน้ำในบ่นั้นแห้งและบ่อหนึ่ง เครื่องสืบน้ำเสีย และร่วมกันประสานและทำงาน ร่วมกับเทศบาลหนองหินที่มีผู้ใช้น้ำ ในพื้นที่เดียวกัน 4 หมู่บ้าน 1963 ครัวเรือนประมาณ 4,500-4,700คน ซึ่งมีการใช้น้ำแต่ละเดือนประมาณ 14,200ลูกบาศก์เมตร คาดว่าจะมีการแก้ปัญหานี้ได้

นายวัชน์ศิริ กล่าวต่ออีกว่า ในปีนี้ การประปาส่วนภูมิภาคสาขาวังสะพุง ได้รับงบประมาณ 800,000 บาท กำลังหาผู้รับจ้างและใน ปีงบประมาณ2565 จะได้รับงบประมาณ 195ล้าน เพื่อพัฒนาประปาทั้งระบบ

จาก https://www.naewna.com วันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2563

แก้พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เปิดทางอุ้มไบโอดีเซลและเอทานอล

นายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง(สกนช.) เปิดเผยว่า นายสนธิรัตน์สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน ได้ทำเรื่องไปยังสำนักนายกรัฐมนตรี เพื่อขอแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ.2562 ใหม่ที่ให้สามารถใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้าไปอุดหนุนราคาเชื้อเพลิงชีวภาพ(ไบโอดีเซลและเอทานอล) ได้จากปัจจุบันภายใต้พ.ร.บ.ดังกล่าวมาตรา 55 กำหนดให้ยกเลิกการอุดหนุนภายใน 3 ปีเริ่มตั้งแต่ปี 2563 และขยายระยะเวลาได้อีกไม่เกิน 2 ครั้ง ครั้งละไม่เกิน 2 ปี เพราะรัฐบาลมุ่งให้ความสำคัญกับเชื้อเพลิงชีวภาพในการยกระดับราคาสินค้าภาคการเกษตรโดยเฉพาะปาล์ม อ้อยและมันสำปะหลัง

“นโยบายของ รมว.พลังงาน มองว่า เชื้อเพลิงชีวภาพทั้งไบโอดีเซล เอทานอล เป็นน้ำมันบนดินโดยไบโอดีเซล ขณะนี้ได้ส่งเสริมให้ดีเซล บี10 เป็นน้ำมันพื้นฐานในการช่วยยกระดับราคาปาล์มและต่อไปดูในส่วนของเอทานอลที่ผสมเบนซินในการจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ที่จะยกระดับ อี20เป็นน้ำมันพื้นฐาน ดังนั้นในส่วนนี้ก็จะไปยกระดับราคาอ้อยและมันสำปะหลังที่เป็นวัตถุดิบในการผลิตเอทานอล หากไม่มีกลไกกองทุนน้ำมันเข้ามาดูแล ก็จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพราคาและความมั่นคงทางพลังงาน” นายวีระพลกล่าว

การแก้ไขพ.ร.บ.น้ำมันฯอาจต้องใช้เวลาถึง 2 ปีระหว่างนี้จำเป็นต้องยึดตามกฎหมายเดิม ดังนั้นการลดการอุดหนุนเชื้อเพลิงชีวภาพที่ต้องดำเนินการทุกปีที่ต้องเริ่มในปีนี้เป็นปีแรก ทางสกนช.ได้เตรียมแผนงานไว้รองรับแล้วโดยในส่วนของน้ำมันดีเซล บี7 จะสูงกว่าดีเซล บี10 อัตรา 2 บาท/ลิตร และสูงกว่า น้ำมันดีเซล B20 ในอัตรา 3 บาท/ลิตร ซึ่งระยะต่อไปเมื่อดีเซล บี10 ที่ถูกจัดให้เป็นน้ำมันดีเซลพื้นฐานแทน บี7 การใช้จะเพิ่มขึ้นหากไปถึงระดับ 50 ล้านลิตรต่อวันเงินอุดหนุนจากกองทุนน้ำมันฯจะสูงถึง 3,000 ล้านบาทต่อเดือน ดังนั้นส่วนต่างดังกล่าวก็จะเปลี่ยนแปลงด้วยการลดการชดเชยลงเพื่อดูแลสถานะกองทุน ปัจจุบันกองทุนน้ำมันฯ มีฐานะสุทธิที่ 36,758 ล้านบาท

จาก https://www.naewna.com วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563

ล้ำไปอีกขั้นเกษตรฯพัฒนาข้อมูลบิ๊กดาต้าเรียลไทม์แก้ปัญหาน้ำ

เกษตรฯชูนโยบายโครงการพัฒนาฐานข้อมูลกลาง Big Data ด้านน้ำและการชลประทาน เพื่อใช้เป็นข้อมูลแก้ไขปัญหาในช่วงภัยแล้ง

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ตามที่กระทรวงเกษตรฯ ได้มุ่งมั่นในการปฏิรูปภาคเกษตรกรรมของประเทศ และขับเคลื่อนให้เป็นกระทรวงที่ทันสมัย ยกระดับการบริการสู่ประชาชนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเกษตร

 จึงได้มีการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 และได้ทยอยเปิดใช้งานมาเป็นระยะ โดย 1 หนึ่งในความสำเร็จของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือโครงการพัฒนาฐานข้อมูลกลาง Big Data ด้านน้ำและการชลประทาน ของกรมชลประทาน เป็นการพัฒนาระบบการบริหารงานบนพื้นฐานดิจิทัล (Digital Platform)

 โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาปรับปรุงระบบการทำงาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพ และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และเพื่อให้มีการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ตามนโยบายคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยเฉพาะในช่วงภัยแล้ง

โดยจะมุ่งเน้นให้ประชาชนและบุคคลทั่วไปสามารถติดตามสถานการณ์น้ำได้โดยสะดวก รวดเร็ว มีข้อมูลครบถ้วน ถูกต้อง ข้อมูลเป็น Real Time แสดงผลผ่าน Mobile Web Application ในเว็บเดียว เพื่อให้สามารถติดตามน้ำได้ทั้งระบบ โดยไม่ต้องดาวน์โหลดไว้ในเครื่องโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อใช้งาน สามารถเรียกใช้งานได้ผ่านระบบ Internet

นายธเนศ สมบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญกรมชลประทาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันรัฐบาลได้มีโครงการวางโครงข่ายอินเตอร์เน็ตเข้าถึงเกษตรกร ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน โครงการเน็ตประชารัฐ โดยระบบดังกล่าวมีการเชื่อมโยงข้อมูลแบบ Real Time รายวัน รายชั่วโมง โดยประกอบไปด้วยข้อมูล MIS และ GIS ของกรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 

 ทั้งนี้ประกอบด้วย ข้อมูลพื้นฐาน Base map กรมชลประทาน ประกอบด้วย ลุ่มน้ำหลัก ลุ่มน้ำย่อย ขอบเขตจังหวัด ขอบเขตสำนักงานชลประทาน ที่ตั้งโครงการชลประทาน พื้นที่โครงการชลประทาน พื้นที่ชลประทาน ทางน้ำสายหลัก ทางน้ำสายรอง ถนน ทางรถไฟ ข้อมูลจาก GISTDA พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม พื้นที่เพาะปลูกจากภาพถ่ายดาวเทียม

ข้อมูลจากกรมป่าไม้สัตว์ป่าและพันธ์พืช พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ  ข้อมูลจากกรมพัฒนาที่ดิน Agri-Map (ขอบเขตความเหมาะสมการเพาะปลูกพืช)ข้อมูล real Time Online (IoT) ข้อมูลระดับน้ำจากระบบโทรมาตร ข้อมูลน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ของกรมชลประทาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ข้อมูลน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ข้อมูลผังน้ำ

 เพื่อติดตามสถานการน้ำตามรายลุ่มน้ำโดยเฉพาะผังน้ำเจ้าพระยาตอนบน และเจ้าพระยาตอนล่าง ข้อมูลน้ำท่าจากระบบโทรมาตรขนาดเล็ก ของกรมชลประทาน และการประปาส่วนภูมิภาค ข้อมูลคุณภาพน้ำ จากการประปาส่วนภูมิภาคและกรมควบคุมมลพิษ และข้อมูลจาก Radar ฝน จากกรมฝนหลวงและการบินเกษตร

จาก https://www.komchadluek.net  วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563

เปิดข้อมูลเผาพืชที่เกษตรสร้างความเสียหาย 3.7 หมื่นล้านต่อปี

เพจเฟซบุ๊ก มูลนิธิชีววิถี BIOTHAI โพสต์ข้อความระบุว่า..

นอกจากเป็นหนึ่งในต้นเหตุสำคัญของการเกิดฝุ่นควันพิษสร้างปัญหาให้กับประชาชนในจังหวัดต่างๆตั้งแต่ภาคกลาง ภาคเหนือ และอีสานบางส่วนแล้ว การเผาในพื้นที่เกษตรได้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่ามหาศาลอีกด้วย

ไบโอไทยคำนวณพื้นที่การเผา และการสูญเสียแร่ธาตุอาหารในรูปปุ๋ยไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปตัสเซียม ในพืชหลัก 3 ชนิดที่พบการเผาในเปอร์เซ็นต์สูงเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่การปลูกพืชชนิดนั้น พบว่าความเสียหายมีมูลค่าสูงกว่า 37,610 ล้านบาท/ปี

มาตรการของรัฐบาลที่เพิ่งประกาศให้มีการลดการเผาจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเข้มข้น ทั้งในแง่การใช้มาตรการที่เข้มงวดให้ผู้ประกอบการในห่วงโซ่การผลิตยุติการรับซื้อผลผลิตที่มาจากการเผา การสร้างแรงจูงใจให้เกษตรกรเข้าสู่กระบวนการปรับเปลี่ยน การพัฒนาเทคโนโลยีในการจัดการเศษซาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อฟื้นฟูพัฒนาดิน

ปัญหาระยะยาวมากกว่านั้น คือความจำเป็นในการลดพื้นที่การผลิตพืชเชิงเดี่ยวทั้งข้าวโพด และอ้อย เนื่องจากนอกจากผลตอบแทนจะต่ำกว่าการผลิตรูปแบบอื่นหลายเท่าตัวแล้ว ยังก่อให้เกิดผลกระทบกว้างขวางดังที่เห็น โดยที่ผู้ได้ประโยชน์จากระบบการผลิตเหล่านี้กลับไม่ใช่เกษตรกรรายย่อย แต่เป็นผู้ประกอบการรายใหญ่

ปัญหาฝุ่นควันพิษที่เกิดขึ้น ได้แสดงให้ผู้บริโภคและประชาชนทั่วไปได้แลเห็นว่า เราไม่อาจปล่อยให้ทิศทางการพัฒนาเกษตรกรรมของประเทศเป็นไปตามแรงผลักดันของบริษัทยักษ์ใหญ่หรือหน่วยงานรัฐแต่เพียงลำพัง เนื่องจากผลกระทบที่เกิดขึ้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องสารพิษตกค้างในอาหาร ความเสื่อมโทรมของความหลากหลายทางชีวภาพ และมลพิษที่เกิดขึ้นนั้นจะกระทบกับพวกเราทุกคน

นี่คือเหตุผลว่า ทำไมผู้บริโภคและประชาชนทั่วไป ต้องรวมพลังกับขบวนการเกษตรกรรมและอาหารที่ยั่งยืนในการสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นเป็นจริงร่วมกัน

จาก https://siamrath.co.th  วันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2563

อุทยานมิตรกาฬสินธุ์รับซื้อใบอ้อยลดการเผาร่วมแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5

อุทยานมิตรกาฬสินธุ์รับซื้อใบอ้อย ลดการเผาก่อนตัด แก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 สร้างรายได้เพิ่มเกษตรกรอีกตันละ 1,000 บาท ชาวไร่อ้อยขานรับ เร่งใช้เครื่องอัดใบอ้อยส่งขายคึกคัก

วันที่ 29 มกราคม 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่อุทยานมิตรกาฬสินธุ์ อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ มีเกษตรกรชาวไร่อ้อยในพื้นที่ต่างๆ นำใบอ้อยที่ตัดเอาลำต้นเสร็จแล้วเข้ามาขายให้กับทางโรงงานอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยวันละ 200-300 ตัน โดยทางโรงงานตั้งเป้าการรับซื้อใบอ้อยในปีนี้ไว้ที่ 2.8 หมื่นตัน และปัจจุบันมีเกษตรกรนำใบอ้อยมาขายให้กับโรงงานแล้ว 1.4 หมื่นตัน เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่เริ่มที่จะงดเผาอ้อย ตัดอ้อยสด และนำใบมาขายเพิ่มมากขึ้น และทางโรงงานก็เปิดรับซื้อ เพื่อนำไปเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าชีวมวลในโรงงาน และเป็นการรณรงค์งดการเผาอ้อยและช่วยป้องกันร่วมแก้ปัญหาฝุ่น PM2.5 อีกทั้งยังทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย โดยมีนายคมสันต์ เหล่าจูม ผอ.ด้านโรงงาน และนายศิริศักดิ์ เตียเจริญกิจ ผอ.ธุจกิจไฟฟ้า พร้อมด้วยพนักงานอุทยานมิตรกาฬสินธุ์ อำนวยความสะดวกในการรับซื้อ

นายไพฑูรย์ ประภาถะโร ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ประจำกลุ่มธุรกิจอ้อย บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด กล่าวว่า กลุ่มมิตรผล มีมาตรการในการส่งเสริมเกษตรกรตัดอ้อยสดอย่างต่อเนื่อง และตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคการเกษตร โดยได้รณรงค์ให้เกษตรรายเล็กใช้เครื่องสางใบอ้อยก่อนจะใช้แรงงานคนตัด ขณะที่เกษตรกรรายกลางและรายใหญ่ จะส่งเสริมรถตัดอ้อย เพราะว่าการใช้รถตัดอ้อย 1 คัน ประหยัดค่าแรงและทดแทนแรงงานคนได้ ประมาณ 300 คนที่สำคัญการตัดอ้อยสด ใบอ้อยยังสามารถสร้างมูลค่าให้กับเกษตรกร โดยเก็บใบมาขายให้กับโรงงาน ซึ่งราคารับซื้อหน้าโรงงานตันละ 1,000 บาท ทั้งนี้ การเก็บใบอ้อยมีต้นทุนเฉลี่ยประมาณ 500 บาท ใน 1 ไร่เกษตรกรจะได้เงินเข้ากระเป๋าไร่ละประมาณ 500 บาท ที่เป็นรายได้เพิ่มจากการขายอ้อย

นายไพฑูรย์ กล่าวอีกว่า กลุ่มมิตรผลทุกโรงงานทั่วประเทศ ได้เริ่มรับซื้อใบอ้อยมาได้ประมาณ 5 ปีแล้ว โดยเริ่มแรกรับซื้อตั้งแต่หลักพันตัน เพิ่มขึ้นเป็นหลักหมื่นตัน จนปัจจุบันตั้งเป้าการรับซื้อไว้ที่ 2 แสนตัน และล่าสุดได้รับซื้อใบอ้อยจากสมาชิกหรือชาวไร่อ้อยตั้งแต่เปิดหีบเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา และขณะนี้มียอดการรับแล้วประมาณ 1 แสนตัน แต่ในการเก็บจะไม่ให้เก็บทั้งหมด เพื่อประโยชน์ของเกษตรกรและทำให้ดินมีสภาพสมบูรณ์ที่สุด ทั้งนี้ให้เก็บเพียง 70 เปอร์เซ็นต์ ส่วนใบอ้อยที่เหลือ 30 เปอร์เซ็นต์ ให้เหลือไว้คลุมดิน เพื่อรักษาความชื้น ป้องกันวัชพืช เกษตรกรให้การตอบรับดี เพราะช่วยเพิ่มรายได้จากการขยายใบอ้อย เป็นตัวชี้วัดว่าเกษตรกรมีการตัดอ้อยสดเพิ่มขึ้น เพราะการตัดอ้อยสดมีใบอ้อยให้อัดก้อนขาย เป็นการแก้ไขปัญหาและรณรงค์งดเผาอ้อยก่อนตัด ซึ่งเป็นแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย ทั้งนี้ สำหรับใบอ้อยที่รับซื้อจากเกษตรกร จะนำไปเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลในโรงงาน

ขณะที่นายชาติไทย เปรินทร์  อายุ 37 ปี บ้านเลขที่ 40 หมู่ 5 บ้านหนองบัวทอง ต.สมสะอาด อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย กล่าวว่า ตนปลูกอ้อยในที่ดินของตนเองและพื้นที่เช่าประมาณ 200 ไร่ที่ผ่านมาตัดอ้อยสดเป็นประจำทุกปี โดยใช้รถตัด เพื่อประหยัดแรงงานและรวดเร็ว โดยเฉพาะยังได้ใบอ้อยขายส่งโรงงาน เป็นรายได้เสริมจากการขายอ้อยอีกทางหนึ่ง และผลดีจากการไม่เผาอ้อยก่อนตัด ยังได้ใบอ้อยที่เหลือจากการใช้รถตัดและอัดใบอ้อย ไว้เพื่อป้องกันวัชพืช รักษาสภาพความชุ่มชื้นให้แก่ดิน และช่วยให้ตออ้อยงอกดีอีกด้วย นอกจากตนจะร่วมโครงการกับบริษัทน้ำตาลมิตรผล โดยไม่เผาอ้อยก่อนตัดแล้ว ยังเชิญชวนเกษตรกรนำใบอ้อยมาขาย เพราะหากเผาก่อนตัดจะถูกหักตันละ 30 บาท ขายอ้อยตัดสดจึงได้ราคาสูง และมีรายได้เสริมโดยขายใบอ้อยอีกตันละ 1,000 บาทอีกด้วย

จาก https://www.naewna.com วันที่ 29 มกราคม 2563

ทุ่ม 700 ล.ขุดบ่อขนาดเล็ก แก้แล้ง 66 จังหวัด

“เกษตร"ทุ่มกว่า 700 ล้านบาท ขุดบ่อน้ำขนาดเล็กในไร่นากว่า 4 หมื่นบ่อใน 66 จังหวัดแก้แล้ง ให้เสร็จทันรับฝน พ.ค.นี้

น.ส.ภิทราภรณ์ โสเจยยะ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่านายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สั่งการให้เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยแล้งขุดบ่อน้ำขนาดเล็กในไร่นาเกษตรกร นอกเขตชลประทาน เพิ่มอีก4หมื่นบ่อทั่วประเทศ 66 จังหวัด โดยยกเว้นภาคกลาง 11 จังหวัดในปี 2563 ซึ่งโครงการนี้ได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2548 สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการกักเก็บน้ำไว้ใช้ช่วงฤดูแล้งให้กับเกษตรกรกว่า 5 แสนครัวเรือน

 ทั้งนี้กระทรวงเกษตรฯโดยกรมพัฒนาที่ดิน ให้งบขุดบ่อละ 17,800บาท รวมกว่า 700 ล้านบาท ส่วนเกษตรกรสมบทอีก 2,500 บาทต่อบ่อ ซึ่งได้ดำเนินการสำรวจความต้องการเกษตรกร มีเอกสารสิทธิในที่ดิน และที่ส.ป.ก. เกษตรกรใช้ทำการเกษตร พื้นที่ขุดบ่อประมาณ 1งาน ขนาดบ่อ20 คูณ30เมตร ลึกไม่กิน 3 เมตร จุ 1,260 คิว สามารถใช้หล่อเลี้ยงต้นพืช ในช่วงขาดแคลนน้ำ

ค้นพบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการเกิดสตอร์มเควกและวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์หวังว่าจะได้รับประโยชน์จากปรากฏการณ์ธรรมชาตินี้ในข่าวบีบีซีไทย

 “จะเร่งรัดขุดให้เสร็จก่อนฝนมาเดือนพฤษภาคมจะรองรับน้ำฝนได้ทัน ขณะนี้เกษตรกร สมัครเข้ามา 4 หมื่นราย เจ้าหน้าที่ไปสำรวจพื้นที่ และเตรียมพร้อมจัดซื้อจัดจ้าง เมื่องบผ่านดำเนินได้เลย ใช้เวลาดำเนินการขุดบ่อ 2-3เดือนโดยสถานีพัฒนาที่ดินแต่ละพื้นที่ ตั้งคำของบ ระบุเป็นรายตำบล จะไม่มีการผูกขาดกับผู้รับเหมารายใด เพราะหากเกิน 5 แสนบาท จะเป็นระบบอีบิดดิ้ง ผ่านการประมูล ที่ต้องสมเหตุสมผลกับ จำนวนบ่อ ระยะเวลา ที่เหมาะสม ผู้รับจ้างต้องมีขีดความสามารถ และต้องดูศักยภาพ ที่ผ่านมาไม่มีปัญหาการร้องเรียน”

อย่างไรก็ตามผู้รับเหมา สามารถรับงานข้ามจังหวัดได้ ส่วนจะเป็นผู้รับเหมารายเดิมๆ เพราะงานไม่ยาก ส่วนปี 2564 ได้สำรวจแล้วมีความต้องการกว่า 4 หมื่นบ่อ ได้ตั้งคำขอไปที่สำนักงบประมาณแล้ว สำหรับภารกิจขุดแหล่งน้ำในที่สาธารณะ ซึ่งเดิมอยู่ในการดูแลของกรมพัฒนาที่ดิน ได้ถ่ายโอนภารกิจไปให้ท้องถิ่น เป็นผู้ดำเนินการต่อไป และได้ตัดงบส่วนนี้ ในงบประมาณปีนี้ไปแล้วกว่า 800 ล้านบาท

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 29 มกราคม 2563

ก.เกษตรฯชูบิ๊กดาต้า แก้ปัญหาภัยแล้งฉับไว

เกษตรฯ ชูนโยบาย Quick Win โครงการพัฒนาฐานข้อมูลกลางบิ๊กดาต้าด้านน้ำและการชลประทานใช้เป็นข้อมูลแก้ไขปัญหาในช่วงภัยแล้งได้อย่างฉับไว

 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้มุ่งมั่นในการปฏิรูปภาคเกษตรกรรมของประเทศ และขับเคลื่อนให้เป็นกระทรวงทีทันสมัย ยกระดับการบริการสู่ประชาชนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลด้านการเกษตร จึงได้มีการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 และได้ทยอยเปิดใช้งานมาเป็นระยะ โดย 1 หนึ่งในความสำเร็จของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือโครงการพัฒนาฐานข้อมูลกลาง Big Data ด้านน้ำและการชลประทาน ของกรมชลประทาน เป็นการพัฒนาระบบการบริหารงานบนพื้นฐานดิจิทัล (Digital Platform)

 ทั้งนี้โดยการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาปรับปรุงระบบการทำงาน เพื่อให้มีประสิทธิภาพ และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว และเพื่อให้มีการบูรณาการเชื่อมโยงข้อมูลร่วมกันระหว่างหน่วยงาน ตามนโยบายคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน) โดยเฉพาะในช่วงภัยแล้ง โดยจะมุ่งเน้นให้ประชาชนและบุคคลทั่วไปสามารถติดตามสถานการณ์น้ำได้โดยสะดวก รวดเร็ว มีข้อมูลครบถ้วน ถูกต้อง ข้อมูลเป็น Real Time แสดงผลผ่าน Mobile Web Application ในเว็บเดียว เพื่อให้สามารถติดตามน้ำได้ทั้งระบบ โดยไม่ต้องดาวน์โหลดไว้ในเครื่องโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์อื่น ๆ เพื่อใช้งาน สามารถเรียกใช้งานได้ผ่านระบบ Internet

ด้านนายธเนศ สมบูรณ์ ผู้เชี่ยวชาญกรมชลประทาน กล่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันรัฐบาลได้มีโครงการวางโครงข่ายอินเตอร์เน็ตเข้าถึงเกษตรกร ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน โครงการเน็ตประชารัฐ โดยระบบดังกล่าวมีการเชื่อมโยงข้อมูลแบบ Real Time รายวัน รายชั่วโมง โดยประกอบไปด้วยข้อมูล MIS และ GIS ของกรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย

ข้อมูลพื้นฐาน Base map กรมชลประทาน ประกอบด้วย ลุ่มน้ำหลัก ลุ่มน้ำย่อย ขอบเขตจังหวัด ขอบเขตสำนักงานชลประทาน ที่ตั้งโครงการชลประทาน พื้นที่โครงการชลประทาน พื้นที่ชลประทาน ทางน้ำสายหลัก ทางน้ำสายรอง ถนน ทางรถไฟ

ข้อมูลจาก GISTDA พื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ พื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่เสี่ยงภัยแล้ง พื้นที่เสี่ยงภัยน้ำท่วม พื้นที่เพาะปลูกจากภาพถ่ายดาวเทียม

ข้อมูลจากกรมป่าไม้สัตว์ป่าและพันธ์พืช พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ

ข้อมูลจากกรมพัฒนาที่ดิน Agri-Map (ขอบเขตความเหมาะสมการเพาะปลูกพืช)

ข้อมูล real Time Online (IoT) ข้อมูลระดับน้ำจากระบบโทรมาตร ข้อมูลน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ของกรมชลประทาน และการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ข้อมูลน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ข้อมูลผังน้ำ เพื่อติดตามสถานการน้ำตามรายลุ่มน้ำโดยเฉพาะผังน้ำเจ้าพระยาตอนบน และเจ้าพระยาตอนล่าง ข้อมูลน้ำท่าจากระบบโทรมาตรขนาดเล็ก ของกรมชลประทาน และการประปาส่วนภูมิภาค ข้อมูลคุณภาพน้ำ จากการประปาส่วนภูมิภาคและกรมควบคุมมลพิษ และข้อมูลจาก Radar ฝน จากกรมฝนหลวงและการบินเกษตร

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 29 มกราคม 2563

สั่งตรวจ 6,104 รง.ทั่วประเทศ เสี่ยงปล่อยฝุ่น PM2.5

รมว.อุตสาหกรรมสั่งตรวจโรงงาน 6,104 แห่งทั่วประเทศ เสี่ยงก่อให้เกิดฝุ่นละออง PM2.5 โดยเฉพาะโรงงานที่มีการใช้พลังงานจากหม้อน้ำและหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน

นายสุริยะ  จึงรุ่งเรืองกิจ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า  กระทรวงจะมีการตรวจสอบ และติดตามสถานการณ์โรงงานที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่สามารถก่อให้เกิดฝุ่นละออง PM2.5 จำนวน 6,104 แห่งทั่วประเทศ เนื่องจากเป็นโรงงานที่มีการังงานในหม้อน้ำ หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนและอุปกรณ์การเผาไหม้อื่น ๆ ซึ่งมีจำนวนอุปกรณ์เหล่านั้นรวมกันกว่า 13,629 เครื่องทั่วประเทศ แบ่งเป็น โรงงานภาคกลาง 3,338 แห่ง, ภาคเหนือ 286 แห่งภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 513 แห่ง, ภาคตะวันออก 1,148 แห่ง, ภาคตะวันตก 324 แห่ง และภาคใต้ 495 แห่ง ส่วนใหญ่ฝุ่นละออง PM2.5 จะเกิดจากกระบวนการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้พลังงานในหม้อน้ำ หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อนและอุปกรณ์การเผาไหม้อื่น ๆ เช่น อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม, โรงสีข้าว, ผลิตภัณฑ์อาหารจากแป้ง, การฟอกย้อม, การเกษตรแปรรูป, เคมีภัณฑ์, การแปรรูปไม้, สิ่งทอ และผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น

สำหรับโรงงานอุตสาหกรรมกลุ่มเสี่ยงที่ใช้พลังงานในหม้อน้ำ หม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน และอุปกรณ์การเผาไหม้อื่น ๆ จำนวน 13,629 เครื่อง ส่วนใหญ่จะใช้เชื้อเพลิงประเภทน้ำมันเตา, น้ำมันดีเซล, น้ำมันก๊าด, ก๊าซธรรมชาติ, แอลพีจี, ชีวมวล และถ่านหิน เป็นต้น อย่างไรก็ตามที่ผ่านมากรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ก็ได้มีการจัดโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเผาไหม้สำหรับหม้อน้ำและหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำ  ความร้อน เพื่อการอนุรักษ์พลังงานและลดฝุ่นละออง PM2.5 ของโรงงานในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล  ซึ่งการปรับแต่งการเผาไหม้นอกจากจะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแล้วยังช่วยลดปัญหาฝุ่นละอองแก่โรงงานอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการเป็นอย่างดี และต่อไปก็จะขยายไปโรงงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ

“แม้ว่ากรมควบคุมมลพิษระบุว่าปัญหา PM2.5 ที่เกิดขึ้นในกรุงเทพมหานคร และปริมณฑลส่วนใหญ่  เกิดจากยานพาหนะถึง 52% การเผาในที่โล่ง 35 % จากพื้นที่อื่น 7 % จากฝุ่นดิน ฝุ่นโลหะหนัก 6 % และโรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะโรงงานที่มีการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลที่มีองค์ประกอบของซัลเฟอร์สูง ประมาณ 3-5 % นั้น กระทรวงก็ไม่ได้นิ่งนอนใจจึงได้สั่งการให้หน่วยงานต่าง ๆ โดยเฉพาะกรมโรงงานอุตสาหกรรมให้ตรวจ ติดตาม โรงงานอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสร้างปัญหาฝุ่น PM2.5 อย่างใกล้ชิด พร้อมทั้งให้หน่วยงานในสังกัด  ออกมาตรการต่าง ๆ ในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบแล้ว มั่นใจว่าจะช่วยผลักดันให้โรงงานลดการปล่อยมลพิษรวมถึงฝุ่น PM2.5 ให้เหลือน้อยที่สุดหรือเป็นศูนย์ เพื่อให้พี่น้องประชาชนอยู่ร่วมกับโรงงานอุตสาหกรรมได้อย่างเป็นยั่งยืน”

นายสุริยะ กล่าวต่อไปอีกว่า  ได้สั่งการให้หน่วยงานสังกัดของกระทรวงจับมือกับผู้ประกอบการในการเร่งตรวจสอบ และหามาตรการในการลดปัญหามลพิษ โดยเฉพาะปัญหาฝุ่นละออง PM2.5 ที่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรมอย่างเร่งด่วน เพื่อลดความเดือดร้อนให้กับพี่น้องประชาชน และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนอย่างยั่งยืน ตามนโยบาย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ได้ประกาศให้การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองเป็นวาระแห่งชาติ พร้อมทั้งออกมาตรการ และแผนปฏิบัติการขับเคลื่อน เพื่อเร่งแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการเชิงพื้นที่การป้องกันและลดการเกิดมลพิษที่ต้นทาง รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพ ระบบ เครื่องมือ และกลไกการบริหารจัดการของทุกกระทรวงที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้  ล่าสุด  ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบโรงงาน 2 แห่ง ที่มีหม้อน้ำและหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน ประกอบด้วยบริษัทไมลอทท์ แลบบอราทอรี่ จำกัด ตั้งอยู่ที่ถนนเทพารักษ์ อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ประกอบกิจการผลิตเครื่องสำอาง น้ำหอมปรับอากาศ และเครื่องเสริมความงามอื่น ๆ เช่น สบู่ วัสดุสังเคราะห์สำหรับซักฟอก แชมพู ผลิตภัณฑ์สำหรับโกนหนวด ผลิตภัณฑ์สำหรับชำระล้างหรือขัดถูเกี่ยวกับเคมีอย่างใด อย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เช่น น้ำยา ผง ผงเคมี ครีม ใยทำความสะอาดพื้น ผนัง ห้องครัว ห้องน้ำ สุขภัณฑ์   การทำยาฆ่าเชื้อโรค ยาดับกลิ่น การทำคราม เป็นต้น

สำหรับบริษัทไมลอทท์ จะให้บริการทุกกลุ่มลูกค้า ตั้งแต่ Start-up ไปถึงบริษัทข้ามชาติ (Multinational Company) ผลิตสินค้าสำหรับทั้งในประเทศ และส่งออกไปมากกว่า 50 ประเทศทั่วโลก ส่วนกระบวนการผลิตบริษัทยังได้เปลี่ยนระบบหม้อต้ม (Boiler) จากการใช้น้ำมันเตา เป็นเชื้อเพลิงพลังงานสะอาดแอลพีจี  ซึ่งมีประสิทธิภาพการเผาไหม้สูง ไม่ก่อให้เกิดฝุ่นละออง พร้อมทั้งยังจัดให้มีการใช้รถดูดฝุ่น และฉีดพรมน้ำบริเวณถนนด้วยน้ำที่นำกลับมาใช้ซ้ำ (Re-use) ซึ่งบำบัดมาจากน้ำเสียจากกระบวนการผลิต มีการตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ภายในบริษัท และที่สำคัญบริษัทประกาศพร้อมจะตอบสนองนโยบายของรัฐ สนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งโรงงานต้นแบบที่ประกอบกิจการที่เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม อย่างแท้จริง

และบริษัท แปซิฟิค เวิลด์ อัลลอย จำกัด อำเภอบางพลี จังหวัด สมุทรปราการ  ซึ่งประกอบกิจการหลอมหล่ออลูมิเนียม เช่น วัตถุดิบเศษชิ้นส่วนยานยนต์ เช่นหม้อน้ำ เสื้อสูบฝาสูบรถยนต์ ผลิตภัณฑ์ อลูมิเนียมแท่ง(ingot) ซึ่งมีกำลังการผลิต 2-3 ตันต่อวัน ใช้เชื้อเพลิงน้ำมันเตาทำการหลอมวันละ 3-4 ชั่วโมง โดยมีระบบบำบัดโดยการสเปรย์น้ำและพ่นลงน้ำก่อนระบายอากาศออกปล่องระบายอากาศ ความสูงปล่อง 20 เมตร ในอดีตเคยมีเรื่องร้องเรียน กลิ่น ฝุ่น ควัน แต่ปัจจุบันปรับปรุงแก้ไขระบบบำบัดโดยสร้างใหม่  แทนชุดเดิมทั้งหมด ซึ่งถือเป็นความตั้งใจที่ดีในการแก้ไขปัญหาของผู้ประกอบการ

ขณะเดียวกันยังได้กำชับให้บริษัทฯ ดำเนินการตรวจสอบ และซ่อมบำรุงการ  เผาไหม้เชื้อเพลิงของหม้อน้ำให้มีการเผาไหม้อย่างสมบูรณ์, ตรวจสอบและซ่อมบำรุงระบบขจัดมลพิษอากาศให้มีขนาดและประสิทธิภาพเพียงพอ, ศึกษาการเปลี่ยนชนิดเชื้อเพลิงให้เป็นเชื้อเพลิงที่สะอาดขึ้น, จัดทำมาตรการป้องกันเขม่าควันและไอระเหยของสารเคมีจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงของหม้อน้ำ และตรวจวัดคุณภาพอากาศของปล่องระบายอากาศอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร อีกทั้งยังช่วยลดปัญหามลพิษ และยังช่วยให้บริษัทประหยัดพลังงาน ลดต้นทุนได้อีกด้วย

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 29 มกราคม 2563

มิตรผลรับซื้อใบอ้อยลดปัญหาในการเผา

นายวีรยุทธ  รวดเร็ว ประชาสัมพันธ์ จังหวัดสิงห์บุรี เปิดเผยว่า บริษัทมิตรผลกรุ๊ป ได้ประกาศรับซื้อใบอ้อย ฟางข้าวหน้าโรงงาน ตันละ 1,000 บาท โดยเปิดรับซื้อไปจนถึงวันที่ 30 เม.ย. สำหรับภาคกลาง จ.สิงห์บุรี และจังหวัดใกล้เคียงรับซื้อที่โรงงานน้ำตาลสิงห์บุรี โทร. 03659-1478 ต่อ 1205 จ.สุพรรณบุรี และจังหวัดใกล้เคียง รับซื้อที่โรงงานน้ำตาลมิตรผล โทร.0-3641-8103-5 ต่อ 623 ทั้งนี้ เงื่อนไขในการรับซื้อ เป็นไปตามที่บริษัทกำหนด จึงขอประชาสัมพันธ์มให้เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยและทำนาข้าวได้ทราบและขอความร่วมมือหยุดเผาอ้อยและซังข้าวเพื่อเป็นการลดมลพิษทางอากาศและยังเป็นการเพิ่มรายได้ให้เกษตรกรเองด้วย

จาก https://www.thairath.co.th  วันที่ 29 มกราคม 2563

จัดระเบียบผู้ค้าสารเคมี

กรมวิชาการเกษตร เปิดรับฟังความคิดเห็นร่างประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง หลักเกณฑและวิธีการในการผลิตการนำเข้า การส่งออก และการมีไว้ในครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบ (ฉบับที่ ...) พ.ศ. .... ขีดเส้น 12 ก.พ.นี้

ตามประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีในการผลิต การนำเข้า การส่งออก และการมีไว้ในครอบครอง ซึ่งวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบ พ.ศ. 2547 ลงวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2547 ซึ่งกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับสถานที่ผลิตและเก็บรักษาไว้แล้วนั้น เพื่อให้การผลิตและการเก็บรักษาวัตถุอันตรายมีมาตรฐาน ไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคสามและมาตรา 20(1)แห่พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่4) พ.ศ.2562 มาตรา 20 (2) และมาตรา 20/1 แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย (ฉบับที่3) พ.ศ.2551 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยความเห็นของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ออกประกาศไว้ดังนี้

ข้อ1 ประกาศนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิต การนำเข้า การส่งออก และการมีไว้ในครอบครองซึ่งอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรเป็นผู้รับผิดชอบ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. ....

ข้อ 2 ให้ยกเลิกความในหมวด2 หลักเกณฑ์เกี่ยวกับสถานที่ผลิตและเก็บรักษาของประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิต การนำเข้า การส่งออก และการมีไว้ในครอบครอง ซึ่งวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตร พ.ศ.2547

ตัวอย่าง สถานที่ผลิตวัตถุอันตราย ต้องเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ต้องเป็นไปตามกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดที่ตั้งของสถานประกอบการวัตถุอันตราย ยกเว้นสถานที่ผลิตสารชีวภัณฑ์และสารสกัดจากพืช

ส่วนสถานที่ผลิตวัตถุอันตรายที่ผู้ประกอบการได้รับอนุญาตให้ดำเนินการผลิตวัตถุอันตรายอยู่ก่อนแล้วให้ระยะเวลาดำเนินการปรับปรุงแก้ไขเป็นระยะเวลาอีก 2 ปี นับตั้งวันที่ประกาศฉบับนี้มีผลใช้บังคับ ทั้งนี้ไม่รวมถึงสถานที่ผลิตวัตถุอันตรายที่ผู้ประกอบการได้รับอนุญาตให้ดำเนินการผลิตวัตถุอันตรายที่ถูกจำกัดการใช้

อย่างไรก็ตามดูรายละเอียดและดาว์นโหลดที่  http://www.doa.go.th/rubfung/ard/ ครบกำหนดรับฟังทางออนไลน์วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 16.30  น.

จาก https://www.thansettakij.com   วันที่ 28 มกราคม 2563

เกษตรกรเฮ ‘จุรินทร์’ ไฟเขียว แก้หนี้แสนล้าน

บอร์ดกองทุนฟื้นฟูฯ กล่อมสมาคมธนาคารไทยสำเร็จ ลูกหนี้ไม่เกิน 2.5 ล้านบาท ขึ้นทะเบียนภายใน 31 ธ.ค. 61 ตัดเงินต้น 50% เว้นดอกเบี้ย-ค่าปรับ ชงรัฐชดเชยแทน “จุรินทร์” รับหลักการ เตรียมชง ครม.ไฟเขียวแก้หนี้เกษตรกรแสนล้าน

ในการประชุมคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ครั้งที่ 1/2563 (23 ม.ค. 63) มีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธาน มีวาระการประชุม 12 วาระ ที่เป็นวาระเร่งด่วนคือการแก้ไขหนี้เกษตรกรกว่า 5.4 แสนราย รวมกว่า 7 หมื่นสัญญา วงเงิน 1.01 แสนล้านบาท (กราฟิกประกอบ)

นายยศวัจน์ ชัยวัฒนสิริกุล กรรมการผู้แทนเกษตรกร ในฐานะรองประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) บริหาร สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในส่วนของบอร์ดได้รายงานความคืบหน้าในการเข้าประชุมหารือแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรร่วมกับสมาคมธนาคารไทย ปัจจุบันมีเกษตรกรสมาชิกที่ขึ้นทะเบียนหนี้ เป็นลูกหนี้ 4 ธนาคาร ประกอบด้วย ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารออมสิน และธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) นั้นได้สรุปเห็นชอบแล้วในหลักการจัดการหนี้

“ในที่ประชุมได้แบ่งกลุ่มเกษตรกรเพื่อให้ความช่วยเหลือ โดยให้สำนักงาน กฟก. สรุปรายชื่อเกษตรกรสมาชิก กฟก. ที่สามารถดำเนินการได้และไม่สามารถดำเนินการได้ให้สมาคมธนาคารไทยดำเนินการตรวจสอบรายชื่อในการหาแนวทางให้ความช่วยเหลือต่อไป สาระสำคัญคือสมาชิกที่เป็นหนี้ไม่เกิน 2.5 ล้านบาท และหนี้ NPA (สินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้) นั้น ลำดับสูงสุด เป็นลูกหนี้ ธ.ก.ส. จำนวนกว่า 3 แสนราย มีกว่า 4 แสนสัญญา จำนวนเงินกว่า 6.2 หมื่นล้านบาท รองลงมาเป็นธนาคารพาณิชย์ จำนวน 1.9 หมื่นราย กว่า 2 หมื่นสัญญา มูลหนี้กว่า 1.5 หมื่นล้านบาท”

 ทั้งนี้ผลเจรจากับสมาคมธนาคารไทย พร้อมให้ปรับโครงสร้างหนี้ใหม่ โดยเงินต้นจะเหลือแค่ 50% ส่วนดอกเบี้ย ค่าเบี้ยปรับ และอื่นๆ หากยกให้เกษตรกร จะเกิดความเสียหายต่อธนาคาร ดังนั้นแต่ละธนาคารยินดีที่จะทำเรื่องขอชดเชยจากรัฐบาล โดยรัฐบาลอาจจะชดเชยในรูปภาษีหรือค่าธรรมเนียมอะไรต่างๆ หรือจะใช้กฎกระทรวงการคลังฉบับที่ 186 (ปี 2534) ที่ออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ หรือกฎกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 262 (ปี 2549) ที่ระบุชัดถึงการกำหนดคุณสมบัติการจำหน่ายหนี้สูญจากบัญชีลูกหนี้ให้เกษตรกรสามารถกระทำได้

โดยจำกัดคำว่า “เกษตรกร” หมายความถึงเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนหนี้ไว้กับ กฟก. ซึ่งสอดรับกับตัวองค์กรที่มี พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 รับรองอยู่แล้วเช่นเดียวกัน ซึ่งเรื่องดังกล่าวได้ส่งเข้าที่ประชุมบอร์ดกฟก.ที่มีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นประธานเพื่อให้ความเห็นชอบ ล่าสุดนายจุรินทร์ได้รับหลักการ และเห็นชอบแล้ว และจะได้นำเรื่องเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

“ส่วนหนี้สหกรณ์มีปัญหาเนื่องจากสหกรณ์ไม่ยอมรับเงื่อนไขที่กองทุนฟื้นฟูฯ ชำระหนี้ไม่เกิน 100% ของเงินต้นและดอกเบี้ยไม่เกิน 5% และบังคับให้สมาชิกต้องจ่ายค่าส่วนต่าง ทำให้เกษตรกรถูกหักค่าหุ้นและเงินปันผลหรือกู้ยืมเงินนอกระบบมาจ่ายให้สหกรณ์ จึงทำให้เกษตรกรมาเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยแก้ไขปัญหาก็ยังเป็นปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้ มีเกษตรกร 1.7 แสนราย จำนวนกว่า 2.16 แสนสัญญา มูลหนี้กว่า 1.6 หมื่นล้านบาท”

จาก https://www.thansettakij.com   วันที่ 28 มกราคม 2563

เสียงจาก ‘ไร่อ้อย’ อีกจำเลย ฝุ่น PM 2.5

ย้อนไปเมื่อ 20 มกราคมที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ล่องใต้ไปประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ ครั้งที่ 1/2563

ระหว่างพบปะนักเรียนที่โรงเรียนนราธิวาส ต.โคกเคียน อ.เมืองนราธิวาส พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวตอนหนึ่งเรื่องของฝุ่น PM 2.5 ที่กำลังเป็นปัญหาในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะการเผาพืชอ้อยว่า

“อย่างเรื่องอ้อยก็ชอบไปซื้ออ้อยที่ถูกเผามาเพราะสะดวกที่จะเข้าโรงงานได้เร็ว อนาคตข้างหน้าคงทำไม่ได้ จะต้องมีการออกกฎหมาย ก็อยู่ที่ว่าจะปฏิบัติตามกฎหมายกันหรือไม่”

คำพูดนี้ที่ตอกย้ำให้แต่ละจังหวัด ที่มีพื้นที่ปลูกอ้อยต้องเข้มงวด เพื่อลดมลภาวะเรื่องอากาศที่ปกคลุมด้วยฝุ่นพิษ ที่ฟุ้งกระจายจากการเผาพืชไร่ นาข้าว และเผาป่าเพื่อหาของป่า มีโทษทั้งจำคุกและปรับ นับแสนบาท ความผิด คือโทษจำคุก 2-15 ปี หรือปรับตั้งแต่ 20,000-150,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ

ทางด้านผู้ประกอบการ อย่าง สิริวุทธิ์ เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (ทีเอสเอ็มซี) กล่าวเมื่อเร็วๆ นี้ว่า แนวทางแก้ปัญหาไร่อ้อยอย่างยั่งยืนต้องบูรณาการทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง ทั้งภาครัฐ โรงงานน้ำตาลและชาวไร่ ต้องวางแผนบริหารจัดการด้าน ซัพพลายเชนทั้งอุตสาหกรรม ตั้งแต่กระบวนการบริหารจัดการแปลงเพาะปลูกอ้อย จูงใจชาวไร่รวมแปลงเล็กเป็นแปลงใหญ่เพาะปลูก ช่วยลดต้นทุนและนำรถตัดอ้อยเข้าไปจัดเก็บผลผลิตได้

“โรงงานได้รณรงค์และสนับสนุนการตัดอ้อยสดอย่างต่อเนื่อง เสนอให้ภาครัฐสนับสนุนสินเชื่อซื้อรถตัดอ้อยในอัตราดอกเบี้ยพิเศษแก่โรงงานและชาวไร่ เนื่องจากรถตัดอ้อยปัจจุบันมีราคาค่อนข้างสูงและไม่เพียงพอ การแก้ไขปัญหาเผาอ้อยเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกัน เชื่อว่าชาวไร่ก็ไม่อยากเผา แต่ด้วยแรงงานตัดอ้อยขาดแคลน ต้นทุนสูง ขณะที่โรงงานได้ส่งรถตัดอ้อยเข้าช่วยชาวไร่ที่เป็นคู่สัญญาจัดเก็บผลผลิตอย่างเต็มที่ เพื่อให้ได้อ้อยสดเข้าหีบ ให้ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยสูงกว่าอ้อยไฟไหม้ นอกจากนี้โรงงานบางแห่งยังรับซื้อใบอ้อยใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า แม้ต้นทุนผลิตไฟฟ้าจะสูงขึ้นก็ตาม” สิริวุทธิ์กล่าว

 ขณะที่ สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้สัมภาษณ์ว่าได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เร่งรัดโครงการเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยวงเงินประมาณ 10,000 ล้านบาท แบ่งเป็นเพื่อซื้อปัจจัยการผลิต ฤดูการผลิตปี 2562/2563 วงเงิน 6,500 ล้านบาท และส่งเสริมให้ชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดวงเงิน 3,500 ล้านบาท เพื่อนำเสนอ ครม.เห็นชอบต่อไป

หาก ครม.อนุมัติเงินช่วยเหลือ 10,000 ล้านบาท จะทำให้ชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดส่งเข้าโรงงานได้รับราคาอ้อยมากกว่า 1,000 บาทต่อตันอ้อย เป็นค่าอ้อยมากกว่าอ้อยไฟไหม้ประมาณ 130 บาทต่อตันอ้อย เพื่อจูงใจให้ชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดแทนการเผ้าอ้อยไฟไหม้ เพื่อตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหามลพิษ ปัญหา PM 2.5 โดยปี 2563 มีเป้าหมายอ้อยสดเข้าหีบโรงงานน้ำตาล 50% ของผลผลิตรวมปีนี้

แต่เมื่อมองไปที่มุมคนงานไร่อ้อยบ้าง การตัดอ้อยสดจะยุ่งยาก เนื่องจากต้องตัดสางใบอ่อนออกก่อนถึงจะตัดลำตัวอ้อยได้ จึงต้องจุดไฟเผาอ้อยก่อนแล้วทำการตัดเพื่อความง่าย

อย่างที่บ้านหนองบัวโคก ต.เทพาลัย อ.คง จ.นครราชสีมา แรงงานตัดอ้อยเผยว่า ค่าแรงตัดอ้อยสด นายจ้างจะจ่ายให้กองละ 20 บาท ถ้าเป็นอ้อยไฟไหม้จะตัดง่ายและเร็วกว่าจะได้ราคาน้อยกว่า 1 เท่า หรือแค่กองละ 10 บาท ก็ตาม แต่เมื่อคิดเฉลี่ยรายได้ในแต่ละวันแล้ว จะได้ค่าจะอยู่ระหว่าง 200-300 บาท ใกล้เคียงกัน

ความตื่นตัว ต่อมาตรการป้องกันควบคุมฝุ่นพิษนั้น วิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าฯนครราชสีมา ได้เดินหน้าควบคุมป้องกันมิให้เกษตรกรไร่อ้อยจุดไฟเผาครอบคลุมทั้ง 32 อำเภอ สั่งการให้ฝ่ายปกครองประสานงานเจ้าหน้าที่ตำรวจติดตามเมื่อเกิดเหตุเผาไร่อ้อย ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของไร่อ้อยเป็นผู้ต้องสงสัยคนแรก

ส่วน ชำนาญวิทย์ เตรัตน์ ผู้ว่าฯ สิงห์บุรี กล่าวว่า จังหวัดได้ขอความร่วมมือ กำชับกำนันผู้ใหญ่บ้านให้ช่วยประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนไปแล้ว แต่ก็ยังมีการเผากันอยู่ จึงขอความร่วมมือหากพบเผาซังข้าว เผาไร่อ้อยที่ไหน ให้ถ่ายรูปส่งพิกัดมาให้ที่ผู้ว่าฯ เพื่อจะได้ดำเนินการต่อไป หากเอาผิดไม่ได้ก็จะประจานให้รู้ว่าใครที่ทำที่สร้างความเดือดร้อนให้กับคนอื่น

ทางด้าน มนตรี คำพล นายกสมาคมชาวไร่อ้อย จังหวัดสระแก้ว แสดงความเห็นว่า ขณะนี้ชาวไร่นอกจากจะเผชิญภัยแล้ง ผลผลิตอ้อยลดลงแล้ว ในพื้นที่สระแก้วยังมีการเผาอ้อยก่อนตัดเพราะขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากประเทศกัมพูชาเศรษฐกิจดีขึ้น แรงงานเหล่านี้จึงเดินทางเข้ามาน้อย

แต่ในภาพรวมปริมาณอ้อยสดในสระแก้วได้เพิ่มมากขึ้นจากปีที่แล้วพอสมควร ปริมาณอ้อยไฟไหม้มี 50 % เท่านั้น และตามมติคณะรัฐมนตรี ที่กระทรวงนำเสนอให้ใช้เครื่องจักรตัดอ้อยนั้น ก็ต้องใช้เวลาถึง 3 ปี เพราะชาวไร่อ้อยต้องปรับปรุงพื้นที่ให้เหมาะที่จะใช้เครื่องจักรได้

ปัญหาอีกอย่าง คือโรงงานไม่กล้าค้ำประกันในการซื้อเครื่องจักรให้ เพราะว่าหนี้สินชาวไร่และราคาอ้อยตกต่ำมา 3 ปีแล้ว มีหนี้สินผูกพันกับโรงงานน้ำตาลอยู่ โรงงานก็ไม่ค้ำประกันให้ก็เป็นสิ่งที่ยากลำบากกับชาวไร่อ้อย

บำเพ็ญ นะภา เกษตรกรชาวไร่อ้อยในพื้นที่ จ.สระแก้ว สะท้อนปัญหาด้วยว่า สาเหตุที่เผาอ้อยก่อนตัด ส่วนใหญ่มาจากการขาดแรงงาน แรงงานส่วนนี้มาจากกัมพูชา ตอนนี้รัฐบาลมีนโยบายห้ามเผา แต่แรงงานไม่ยอมตัด

เนื่องจากอ้อย ตอ 2 ตอ 3 หรือตอ 4 ต้นอ้อยจะไม่ตรง เหมือนอ้อยปีแรก ทำให้การสางใบลำบากและเสียเวลานาน เมื่อแรงงานไม่ยอมตัดก็จำเป็นต้องเผา ถ้าไปบังคับให้แรงงานตัดอ้อยสดก็จะหนีกลับหมด

จึงพยายามให้คนงานตัดสะดวกขึ้นโดยซื้อเครื่องสางใบแล้วให้แรงงานเข้าไปตัด ก็ตัดได้เยอะขึ้น แต่มีปัญหาว่า อ้อยที่อายุ 2-3 ปีแล้ว จะใช้เครื่องจักรตัดไม่ได้ เนื่องจากต้นล้มไปแล้ว ต้นอ้อยจะต้องตั้งยืนจึงจะใช้เครื่องจักรเข้าไปสางใบได้ แต่การสางใบก็เพิ่มต้นทุน

เพราะว่า ตัวเครื่องจักรและตัวรถด้วย ราคาประมาณ 3-4 แสนบาท และใช้เอ็นเป็นตัวปั่น วันหนึ่งก็ใช้หมด 1 กิโลกรัม ตก 500 บาท ยังไม่รวมค่าแรงคนขับยังไม่รวมค่าน้ำมัน ต้นทุนสูงขึ้น

และที่มีข่าวว่า ทางจังหวัดสระแก้ว มีมาตรการห้ามเผาอ้อย มีโทษจำคุก 7 ปี ปรับ 1 แสนบาท ก็มองว่า เราตกเป็นจำเลยสังคม ตกเป็นคดีอาญาต่อแผ่นดิน เราก็คิดอยู่เสมอว่า ถ้าเป็นอย่างนี้ต่อไปเกษตรกรอยู่ไม่ได้ ต้องเลิกอาชีพนี้พูดตามตรงเลยว่า ต้องยุติการปลูกอ้อยหันไปปลูกพืชอย่างอื่น เพราะเราไม่มีทางเลือก เดี๋ยวนี้โทษหนักกว่าลักทรัพย์ปล้นทรัพย์เสียอีก

ขณะที่ จิรวุฒิ สิงห์โตทอง หรืออดีต ส.ส.เป้า นายกสมาคมกลุ่มอาชีพการเกษตรชลบุรี อ.บ้านบึง จ.ชลบุรี มีมุมมองว่า ชาวไร่อ้อยจะมีช่วงเก็บเกี่ยวในเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์เท่านั้น

ในอดีตราคาดี แต่ปัจจุบันราคาอ้อยตกต่ำเหลือเพียงตันละ 750 บาท หากเป็นอ้อยเผาไฟจะถูกหักอีกตันละ 30 บาท เหลือตันละ 720 บาท ทั้งที่ต้นทุนเพาะปลูกตันละกว่า 1,000 บาท

เกษตรกรพยายามช่วยตัวเอง เมื่อไม่มีแรงงานตัดอ้อยก็ต้องใช้วิธีเผา เพื่อตัดอ้อยเข้าสู่โรงหีบ หาเงินมาเลี้ยงครอบครัว แต่เมื่อรัฐบาลใช้มาตรการดังกล่าว ไม่รู้ว่าชาวไร่อ้อยจะไปทำอะไรกินกัน

“หากราคาอ้อยยังตกต่ำและยังใช้มาตรการห้ามเผาอ้อยเพื่อตัดเข้าสู่โรงหีบ ต่อไปไม่มีใครปลูกอ้อย ชาวบ้านก็ต้องกินน้ำตาลแพงกัน รัฐบาลควรจะแก้ไขปัญหาให้ถูกจุด โดยเฉพาะรถที่วิ่งกันทุกวันนี้ สร้างฝุ่นละอองขึ้นสู่อากาศจำนวนมาก แต่ไม่มีมาตรการชัดเจน รวมทั้งโรงงานที่สร้างฝุ่นละอองขึ้นในอากาศ แก้ไขปัญหาไม่ได้ก็หันมาเอาเรื่องกับชาวไร่อ้อย ทั้งที่มีห้วงเวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้นในการตัดอ้อยเข้าโรงหีบ และชาวไร่อ้อยประสบกับปัญหาภัยแล้ง ฝนฟ้าลงโทษไม่ตกต้องตามฤดูกาล หากรัฐบาลไม่อยากให้มีการเผาอ้อยเข้าสู่โรงหีบ ก็ควรสนับสนุนซื้อรถตัดอ้อยคันละประมาณ 12 ล้านบาท แจกจ่ายให้กับสมาคมเกี่ยวกับอ้อยทั่วประเทศเพื่อนำไปตัดอ้อย” จิรวุฒิกล่าว

เป็นอีกด้านของปัญหาฝุ่นละออง ที่การแก้ไขปัญหาไม่ง่าย โดยเฉพาะหากจะแก้ไขอย่างยั่งยืน ต้องมีความรอบด้าน และคำนึงถึงผลกระทบที่ทุกฝ่ายได้รับไปพร้อมกันด้วย

จาก https://www.matichon.co.th วันที่ 28 มกราคม 2563

บาทอ่อนค่ารอบ 4 เดือน

นางสาวรุ่ง สงวนเรือง ฝ่ายส่งเสริมธุรกิจโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตลาดเงินมีความกังวลต่อไวรัสโคโรนามาก ส่งผลให้ค่าเงินบาทวันที่ 27 ม.ค.63 เปิดตลาดที่ 30.64 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าสุดในรอบ 4 เดือน จากปิดตลาดวันศุกร์ที่ 30.53 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยอ่อนค่ามากสุดที่ 30.69 บาทต่อดอลลาร์ฯ หากจีนไม่สามารถหยุดยั้งการระบาดได้ ค่าเงินบาทมีโอกาสอ่อนค่าไปที่ 30.75-30.80 บาทต่อดอลลาร์ฯ แต่หากควบคุมได้ จะกลับมาเคลื่อนไหวที่ 30.40 บาทต่อดอลลาร์ฯ

“เมื่อท่องเที่ยวมีปัญหารัฐบาลไม่สามารถใช้นโยบายการคลังมาพยุงเศรษฐกิจได้ เพราะงบประมาณยังล่าช้า และหากสถานการณ์เลวร้ายขึ้น เชื่อว่าคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะตัดสินใจลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงสู่จุดต่ำสุดครั้งใหม่ในช่วงต้นปีนี้”

ส่วนนายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า เบื้องต้นประเมินว่า ถ้าการระบาดของไวรัสโคโรนายืดเยื้อ 2 เดือน หรือจนถึงปลายเดือน มี.ค.63 จะกระทบต่อธุรกิจสายการบิน ท่องเที่ยว และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ทำให้รายได้หายไปราว 100,000 ล้านบาท และทำให้เศรษฐกิจไทยในปี 63 ลดลง 0.7% แต่ถ้ารวมกับผลกระทบจากปัจจัยเสี่ยงอื่น ทั้งงบประมาณปี 63 ล่าช้า, ความขัดแย้งทางการเมือง, เศรษฐกิจโลกชะลอตัว, การแข็งค่าของเงินบาท, ภัยแล้ง, ฝุ่นพีเอ็ม 2.5 เป็นต้น อาจทำให้เศรษฐกิจไทยปี 63 โตต่ำกว่า 2% ได้จากเดิมคาดโต 2.8%

ด้านนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ กล่าวว่า ตนจะเดินทางไปส่งเสริมการขายผลไม้ไทยที่เมืองหนานหนิง วันที่ 22-23 เม.ย.นี้ แต่กำลังประเมินการระบาดของโคโรนาว่าจะต้องเลื่อนหรือไม่ ส่วนผลกระทบด้านการค้า รอให้ทูตพาณิชย์ประเมินสถานการณ์อยู่ ขณะที่ น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวว่า คาดว่าโคโรนาจะคลี่คลายในระยะสั้น และไม่กระทบต่อการส่งออกของไทยไปจีนอย่างมีนัยสำคัญ.

จาก https://www.thairath.co.th  วันที่ 28 มกราคม 2563

เกษตรฯตั้งคณะทำงานหยุดเผามุ่งลดฝุ่นหมอกควัน

นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า จากปัญหาฝุ่น PM2.5 ทั้งเกิดจากธรรมชาติ ไอเสียรถยนต์ การประกอบโรงงานอุตสาหกรรม และหมอกควันที่เกิดจากการเผาเศษซากพืช/วัชพืช และเศษวัสดุทางการเกษตรในพื้นที่การเกษตร พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งหาแนวทางป้องกันแก้ปัญหา นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯมอบให้ตั้งคณะทำงานป้องกันและเฝ้าระวังการเผาเศษซากพืช วัชพืช และเศษวัสดุทางการเกษตรในพื้นที่เกษตร โดยมีหัวหน้าส่วนราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรฯเป็นคณะทำงาน ทำแผนป้องกันเฝ้าระวัง เสนอมาตรการแนวทางป้องกันการเผา เพื่อลดปัญหาฝุ่นหมอกควัน และรายงานความก้าวหน้าให้รมว.เกษตรฯทราบ

สำหรับแผนงาน/โครงการสนับสนุนป้องกันแก้ปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรกรรม ปี 2563 ที่เสนอเข้ามามี 4 โครงการ/แผนงานดังนี้  1.โครงการส่งเสริมการหยุดเผาในพื้นที่การเกษตร โดยกรมส่งเสริมการเกษตร 2 กิจกรรมคือ ถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกร เป้าหมาย 16,800 ราย สร้างเครือข่ายเกษตรกรปลอดการเผาเพื่อสร้างกลไกขับเคลื่อนการแก้ปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร 210 แห่ง พื้นที่ 42 จังหวัด 2.โครงการส่งเสริมการไถกลบและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เพื่อป้องกันหมอกควันในพื้นที่เกษตรภาคเหนือ โดยกรมพัฒนาที่ดิน 2 กิจกรรม คือ การไถกลบตอซัง พื้นที่เป้าหมาย 70,000 ไร่ การผลิตปุ๋ยหมักสูตรพระราชทาน 3,650 ตัน  3.โครงการส่งเสริมระบบวนเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดิน 45,000 ไร่ ส่งเสริมปลูกไม้ยืนต้น ไม้ป่า ไม้หายากหรือไม้ประจำถิ่น โดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม หรือ ส.ป.ก. และ4.แผนบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่า ด้วยปฏิบัติการฝนหลวง ซึ่งมีจังหวัดรายงานสถานการณ์พื้นที่การเผา รวม 23 จังหวัด ไม่มีสถานการณ์ 43 จังหวัด

ด้านนายอาชว์ชัยชาญ เลี้ยงประยูร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของโครงการส่งเสริมหยุดเผาในพื้นที่เกษตร ต้องส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนเกษตรเพื่อป้องกันแก้ปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร ด้วยการถ่ายทอดความรู้ เสนอทางเลือกให้ปรับเปลี่ยนวิธีเพื่อลดเผา ได้แก่  ทางเลือกที่ 1 ไถกลบตอซังฟางข้าว ใบอ้อย หรือเศษซากพืช เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน ทางเลือกที่ 2 นำเศษตอซังฟางข้าว หรือเศษวัสดุการเกษตรอื่นที่เหลือทิ้งในแปลงเพาะปลูก มาทำปุ๋ยอินทรีย์ปุ๋ยหมัก ใช้แทนปุ๋ยเคมี ทางเลือกที่ 3 นำเศษวัสดุการเกษตรมาใช้เลี้ยงสัตว์ ทางเลือกที่ 4 นำมาใช้ประโยชน์ด้านพลังงาน เป็นพลังงานทดแทน ทางเลือกที่ 5 นำมาเพาะเห็ด หรือนำมาผลิตกระดาษ ทางเลือกที่ 6 คือ นำเศษใบไม้ เศษฟาง เศษหญ้าคลุมโคนต้นพืช และทางเลือกที่ 7 นำเปลือกซังข้าวโพดหรือฟางมาทำวัสดุเพาะปลูก ขณะนี้อยู่ระหว่างถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกร 10,617 ราย คิดเป็นร้อยละ 63 ของเป้าหมาย

จาก https://www.naewna.com วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563

“สนธิรัตน์” ขีดเส้น Q3 ใช้ E20 ผลิตเอทานอลเพิ่มเท่าตัวดันราคาหัวมัน

“สนธิรัตน์” ลั่นไตรมาส 3 ประกาศ E20 น้ำมันเบนซินพื้นฐาน พร้อมยกเลิกแก๊สโซฮอล์ 91 ช่วยเพิ่มยอดใช้พุ่งเท่าตัวจาก 6.5 เป็น 12 ล้านลิตรต่อวัน มั่นใจดันราคามันสำปะหลัง-อ้อยขยับสูงกว่าตลาด พืชเกษตรมีเสถียรภาพ

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ภายในไตรมาส 2-3 ปีนี้ กระทรวงพลังงานจะกำหนดให้น้ำมันเบนซิน แก๊สโซฮอล์ E20 เป็นน้ำมันเบนซินพื้นฐานของประเทศ โดยจะยกเลิกน้ำมันเบนซินแก๊สโซฮอล์ 91 ทั้งหมด ซึ่งจะช่วยลดความสับสนประชาชนลง เพราะมีชนิดน้ำมันเบนซินในสถานีบริการน้ำมันลดลง จากปัจจุบันที่มีรวม 5 เกรด เหลือเพียง 4 เกรดเท่านั้น ได้แก่ น้ำมันเบนซินธรรมดา น้ำมันเบนซินแก๊สโซฮอล์ 95 น้ำมันเบนซินแก๊สโซฮอล์ E20 น้ำมันเบนซินแก๊สโซฮอล์ E85

“การประกาศนโยบายชัดเจนจะส่งผลต่อตลาดตั้งแต่วันนี้ เราได้เตรียมความพร้อมสำหรับการส่งเสริมน้ำมันบนดินในกลุ่มเบนซินเพื่อช่วยเกษตรกร และผลักดันให้เกิดการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 หรือน้ำมันเบนซินที่มีสัดส่วนเอทานอลผสมอยู่ประมาณ 20% ให้เป็นน้ำมันเบนซินพื้นฐานของประเทศ”

ทั้งนี้ การยกเลิกน้ำมันเบนซินแก๊สโซฮอล์ 91 จะช่วยให้มีการใช้น้ำมันเบนซินแก๊สโซฮอล์ E20 มากขึ้น ส่งผลให้มีการเพิ่มกำลังผลิตเอทานอลเพิ่มขึ้นตาม ซึ่งจะช่วยยกระดับราคามันสำปะหลังและอ้อยให้มีเสถียรภาพมากขึ้น ตามนโยบายที่ต้องการส่งเสริมพลังงานบนดินช่วยเหลือเกษตรกร ให้สามารถขายผลผลิตมันสำปะหลังได้ราคาดีขึ้น จากปัจจุบัน กก.ละ 2.067 บาท ทั้งยังเป็นมาตรการหนึ่งที่จะช่วยลดฝุ่นละอองขนาดจิ๋ว PM.2.5

อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้รัฐบาลต้องไปหารือค่ายรถเพื่อให้ผลักดันการใช้ E20 มากขึ้น โดยอาจสนับสนุนราคาเพื่อการเปลี่ยนผ่านนโยบายและวางมาตรการต่อไป ซึ่งขณะนี้ภาพรวมรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินแก๊สโซฮอล์ E20 ในปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 3.3 ล้านคัน อีกส่วนเป็นจักรยานยนต์ใช้ได้ 14.71 ล้านคัน แต่การใช้จริงมีเพียงร้อยละ 22 เท่านั้น

นายสนธิรัตน์กล่าวต่อว่า หากสามารถผลักดันการใช้เอทานอลเพิ่มขึ้นได้ จะช่วยให้มีการใช้มันสำปะหลังในการผลิตเอทานอลมากขึ้น จากปัจจุบันมีการใช้มันสำปะหลังผลิตเอทานอล คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 27 ของการผลิตทั้งหมด ซึ่งหากมีการยกเลิกน้ำมันเบนซินแก๊สโซฮอล์ 91 จะทำให้ยอดการใช้น้ำมันเบนซินแก๊สโซฮอล์ E20 เพิ่มจากปัจจุบันวันละ 6.5 เป็น 12 ล้านลิตรต่อวัน

นอกจากนี้ โรงงานผลิตเอทานอลจะเพิ่มยอดผลิตจาก 4.3 ล้านลิตรต่อวัน เป็น 7 ล้านลิตรต่อวัน โดยปัจจุบันโรงงานเอทานอลมีกำลังผลิตในภาพรวมอยู่ที่ 6.275 ล้านลิตรต่อวัน มีการผลิตจริง 5.915 ล้านลิตรต่อวัน ขณะเดียวกัน กระทรวงพลังงานจะส่งเสริมให้มีการยกระดับเทคโนโลยีการผลิตเอทานอลและลดต้นทุนการผลิตลง ในขณะที่มีการผลิตปริมาณมากขึ้น เพื่อช่วยให้คุณภาพน้ำมันดียิ่งขึ้นด้วย

จาก https://www.prachachat.net  วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563

จ่อพักหนี้เกษตรกร 2 ปี 20 จังหวัดภัยแล้ง

ธ.ก.ส.เตรียมเสนอบอร์ดสัปดาห์นี้อนุมัติมาตรการแก้ภัยแล้ง เน้นปล่อยสินเชื่อ 5,000 ล้านบาท พักหนี้นาน 2 ปี ใน 20 จังหวัดภัยแล้ง ก่อนเสนอครม.เร็วๆ นี้

 จากสถานการณ์ภัยแล้งที่เริ่มทวีความรุนแรงมาตั้งแต่ปลายปี 2562 และมีแนวโน้มจะขยายวงกว้างต่อเนื่อง หลายสำนักระบุว่า สถานการณ์ภัยแล้งปี 2563 จะรุนแรงและยาวนานไปถึงเดือนพฤษภาคม โดยศูนย์พยากรณ์ธุรกิจและเศรษฐกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินความเสียหายจากภัยแล้งว่า จะรุนแรง เท่ากับปี 2558-2559 และทำให้สูญเสียเม็ดเงินกว่า 8,000-10,000 ล้านบาท จากความกังวลของประชาชนจนไม่กล้าจับจ่ายใช้สอย

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด)ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) วันที่ 29 มกราคม 2563 ที่มีนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธาน จะมีการเสนอมาตรการเพิ่มเติมในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง 20 จังหวัดให้พิจารณา โดยมาตรการประกอบด้วย มาตร การขยายเวลาพักชำระหนี้ ทั้งเงินต้นและดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรที่ประสบภัยแล้งเป็นเวลา 2 ปี จนถึง 31 ธันวาคม 2564 และมาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษวงเงิน 5,000 ล้านบาท สำหรับให้เกษตรกรและภาคธุรกิจไปลงทุนพัฒนาแหล่งนํ้า รับมือภัยแล้ง โดยให้ดอกเบี้ยเริ่มต้น 3% ต่อปี

ทั้งนี้ถือเป็นมาตรการที่ออกมาเสริมจากมาตรการปกติที่ธ.ก.ส.ใช้ช่วยเหลือเกษตรกรไปแล้ว เนื่องจากคาดว่า ปีนี้พื้นที่ประสบภัยแล้งมีแนวโน้มจะขยายความรุนแรงมากขึ้น เพราะก่อนหน้านี้ แม้ธนาคารจะช่วยพักหนี้ไปบ้าง แต่ก็ยังอยู่ในพื้นที่ที่จำกัดเพียงบางจังหวัดแต่ปีนี้จะขยายวงกว้างไปยังพื้นที่อื่นมากขึ้น จึงต้องขยายความช่วยเหลือเพิ่มเติมไปให้เกษตรกร

ส่วนมาตรการสินเชื่อจะเน้นปล่อยกู้ เพื่อให้ไปใช้ในการวางระบบนํ้า เช่น การขุดเจาะบ่อบาดาล การขุดบ่อเก็บกักนํ้า หรือลงทุนวางท่อทำระบบนํ้าต่างๆ ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาภัยแล้งไปได้ระดับหนึ่ง

“หากที่ประชุมบอร์ดธ.ก.ส.เห็นชอบ จะมีการเสนอมาตร การแก้ภัยแล้งให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาโดยเร็วที่สุด และคาดว่าจะเริ่มใช้ได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ นี้ทันที ส่วนการประเมินผลกระทบจากภัยแล้งปีนี้ อยู่ระหว่างรอการประสาน ข้อมูลจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยด้วย”

ทั้งนี้ที่ผ่านมาธ.ก.ส.มีมาตรการดูแลเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง 4 มาตรการด้วยกัน ได้แก่ มาตรการสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษ 55,000 ล้านบาท แบ่งเป็นสินเชื่อเพื่อการใช้จ่ายฉุกเฉิน ครัวเรือนละ 50,000 บาท ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจำเป็นในครัวเรือน และป้องกันการก่อหนี้นอกระบบ และสินเชื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิต สำหรับเกษตรกรลูกค้าผู้ประสบภัยธรรมชาติ หรือภัยพิบัติตามความจำเป็นแต่ไม่เกินรายละ 500,000 บาท คิดดอกเบี้ย MLR -2% ต่อปี และกำหนดระยะเวลาชำระคืนไม่เกิน 15 ปี เพื่อให้เกษตรกรนำไปใช้สร้างหรือซ่อมแซมที่อยู่อาศัยที่ได้รับความเสียหาย หรือลงทุนซ่อมแซมโรงเรือนการเกษตร เครื่องมือ ปรับปรุงระบบนํ้า ขุดเจาะนํ้าบาดาล รวมถึงเครื่องจักรกลการเกษตร

นอกจากนั้นยังมีโครงการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรให้กับชาวนาผู้ปลูกข้าว และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่งจะได้รับเงินชดเชยกรณีประสบภัยแล้งไร่ละ 1,200-1,500 บาท  ขณะเดียวกันธนาคารยังขยายเวลาชำระหนี้ให้กับเกษตรกรผู้ประสบภัยไปถึงปี 2564 โดยจะยกเว้นเงินต้น ชำระเพียงอัตราดอกเบี้ยซึ่งเป็นมาตรการต่อเนื่องจากปีก่อน หากลูกค้ารายใดได้รับการช่วยเหลือขยายเวลาชำระหนี้อยู่แล้วก็จะได้การช่วยเหลือไปต่อเนื่อง แต่หากรายใดที่ประสบภัยและยังไม่เคยติดต่อขอยกเว้นผ่อนชำระเงินต้น ก็สามารถติดต่อได้ที่ธ.ก.ส.ทุกสาขา

ส่วนมาตรการสุดท้าย ธนาคารจะใช้เงินกองทุนบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบภัยธรรม ชาติและภัยพิบัติ มาช่วยดูแลเกษตรกร จัดหาแหล่งนํ้ากินนํ้าใช้ เพื่อช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลน นํ้าในระยะสั้นได้อีกด้วย

จาก https://www.thansettakij.com   วันที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2563

รง.น้ำตาลชงโมเดลแก้เผาอ้อย หนุนสินเชื่อรถตัด-รวมแปลงปลูก-รับซื้อใบ

นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท ไทยชูการ์มิลเลอร์ (TSMC) เปิดเผยว่า โรงงานน้ำตาลตระหนักถึงปัญหาอ้อยไฟไหม้และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

ซึ่งแนวทางแก้ปัญหาทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องต้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง ทั้งภาครัฐ โรงงานน้ำตาลและชาวไร่ โดยวางแผนบริหารจัดการด้าน ซัพพลายเชนทั้งอุตสาหกรรมตั้งแต่กระบวนการบริหารจัดการแปลงเพาะปลูกอ้อย โดยจูงใจชาวไร่รวมแปลงเล็กเป็นแปลงใหญ่เพื่อเพาะปลูก ช่วยลดต้นทุนและสามารถนำรถตัดอ้อยเข้าไปจัดเก็บผลผลิตได้

ขณะที่โรงงานเร่งรณรงค์และสนับสนุนการตัดอ้อยสดอย่างต่อเนื่อง และเสนอให้ภาครัฐสนับสนุนสินเชื่อซื้อรถตัดอ้อยในอัตราดอกเบี้ยพิเศษแก่โรงงานและชาวไร่ เนื่องจากรถตัดอ้อยในปัจจุบันมีราคาค่อนข้างสูงและไม่เพียงพอ รวมถึงสนับสนุนการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวลเพิ่มขึ้น เนื่องจากยังมีโรงไฟฟ้าชีวมวลในบางพื้นที่ไม่สามารถขายไฟฟ้าแก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้

“การแก้ไขปัญหาเผาอ้อยทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน เชื่อว่าชาวไร่ก็ไม่อยากเผาแต่ด้วยแรงงานตัดอ้อยขาดแคลน ต้นทุนก็สูง โรงงานจึงได้เร่งส่งรถตัดอ้อยเข้าช่วยชาวไร่ที่เป็นคู่สัญญาจัดเก็บผลผลิตอย่างเต็มที่ เพื่อให้ได้อ้อยสดเข้าหีบซึ่งให้ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยสูงกว่าอ้อยไฟไหม้อย่างไรก็ดี โรงงานบางแห่งยังรับซื้อใบอ้อยใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า แม้ต้นทุนผลิตไฟฟ้าจะสูงขึ้นก็ตาม” นายสิริวุทธิ์ กล่าว

ส่วนสถานการณ์หีบอ้อยฤดูกาลผลิตปี 2562/63 หลังเปิดรับผลผลิตมาแล้ว50 วัน เริ่มตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2562 มีปริมาณผลผลิตอ้อยเข้าหีบแล้ว 42.62 ล้านตันอ้อยแบ่งเป็น อ้อยสด 21.69 ล้านตันอ้อยอ้อยไฟไหม้อยู่ที่ 20.93 ล้านตันอ้อย ผลิตน้ำตาลได้ 43.73 ล้านกระสอบ คิดเป็นอัตราผลผลิตน้ำตาล 102.61 กิโลกรัมต่อตันและมีค่าความหวานเฉลี่ย 12.20 ซี.ซี.เอส. เทียบกับระยะเวลาหีบอ้อยช่วงเดียวกันปี 2561/62 มีปริมาณอ้อยเข้าหีบ 36.41ล้านตันอ้อย เป็นอ้อยสด 15.83 ล้านตันอ้อยและอ้อยไฟไหม้ 20.58 ล้านตันอ้อย ผลิตน้ำตาลได้ 34.80 ล้านกระสอบ คิดเป็น95.59 กิโลกรัมต่อตันอ้อย และมีค่าความหวานเฉลี่ย 11.46 ซี.ซี.เอส.

ปัจจัยที่ทำให้รับผลผลิตอ้อยเข้าหีบได้มากกว่าปีก่อน เนื่องจากมีโรงงานใหม่เพิ่มขึ้น 3 แห่ง รวมทั้งโรงงานได้เพิ่มประสิทธิภาพการหีบสกัดน้ำตาลที่ดีขึ้น เป็นผลให้ปัจจุบันโรงงานมีกำลังการผลิตหีบอ้อยเฉลี่ยอยู่ที่ 1.0-1.1 ล้านตันต่อวัน อย่างไรก็ตาม จากผลกระทบภัยแล้งที่รุนแรง คาดว่า ปริมาณอ้อยเข้าหีบปีนี้จะลดลงกว่า 30-40% ของปีก่อน หรืออยู่ที่ 90 ล้านตันอ้อยเท่านั้น ส่งผลให้ผลผลิตน้ำตาลจะลดลงจากปีก่อนประมาณ 3-4 ล้านตัน

จาก https://www.naewna.com วันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2563

เสนอโมเดลแก้ปัญหาอ้อยไฟไหม้แบบบูรณาการ

โรงงานน้ำตาล เสนอโมเดลแก้ปัญหาอ้อยไฟไหม้แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ชี้ภาครัฐ เอกชนและชาวไร่ต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย พร้อมเสนอภาครัฐให้การสนับสนุนสินเชื่อรถตัดอ้อยและรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวลมากขึ้น

​นายสิริวุทธิ์  เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) เปิดเผยว่า โรงงานน้ำตาลตระหนักถึงปัญหาอ้อยไฟไหม้และผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งแนวทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนต้องบูรณาการทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง ทั้งภาครัฐ โรงงานน้ำตาลและชาวไร่ โดยต้องวางแผนบริหารจัดการด้าน ซัพพลายเชนทั้งอุตสาหกรรม ตั้งแต่กระบวนการบริหารจัดการแปลงเพาะปลูกอ้อย โดยจูงใจชาวไร่รวมแปลงเล็กเป็นแปลงใหญ่เพื่อเพาะปลูก ช่วยลดต้นทุนและสามารถนำรถตัดอ้อยเข้าไปจัดเก็บผลผลิตได้

ขณะที่โรงงานเร่งรณรงค์และสนับสนุนการตัดอ้อยสดอย่างต่อเนื่อง และเสนอให้ภาครัฐสนับสนุนสินเชื่อซื้อรถตัดอ้อยในอัตราดอกเบี้ยพิเศษแก่โรงงานและชาวไร่ เนื่องจากรถตัดอ้อยในปัจจุบันมีราคาค่อนข้างสูงและไม่เพียงพอ รวมถึงสนับสนุนการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวลเพิ่มขึ้น เนื่องจากยังมีโรงไฟฟ้าชีวมวลในบางพื้นที่ไม่สามารถขายไฟฟ้าแก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ได้

​“การแก้ไขปัญหาเผาอ้อยเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกัน เชื่อว่าชาวไร่ก็ไม่อยากเผาแต่ด้วยแรงงานตัดอ้อยขาดแคลน ต้นทุนก็สูง โรงงานจึงได้เร่งส่งรถตัดอ้อยเข้าช่วยชาวไร่ที่เป็นคู่สัญญาจัดเก็บผลผลิตอย่างเต็มที่ เพื่อให้ได้อ้อยสดเข้าหีบซึ่งให้ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยสูงกว่าอ้อยไฟไหม้ อย่างไรก็ดี โรงงานบางแห่งยังรับซื้อใบอ้อยใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า แม้ต้นทุนผลิตไฟฟ้าจะสูงขึ้นก็ตาม”

ส่วนสถานการณ์หีบอ้อยฤดูการผลิตปี 2562/63 หลังเปิดรับผลผลิตมาแล้ว 50 วัน เริ่มตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2562 มีปริมาณผลผลิตอ้อยเข้าหีบแล้ว 42.62 ล้านตันอ้อย แบ่งเป็น อ้อยสด 21.69 ล้านตันอ้อย อ้อยไฟไหม้อยู่ที่ 20.93 ล้านตันอ้อย ผลิตน้ำตาลได้ 43.73 ล้านกระสอบ คิดเป็นอัตราผลผลิตน้ำตาล102.61 กิโลกรัมต่อตัน และมีค่าความหวานเฉลี่ย 12.20 ซี.ซี.เอส. เทียบกับระยะเวลาหีบอ้อยช่วงเดียวกันปี 2561/62 มีปริมาณอ้อยเข้าหีบ 36.41 ล้านตันอ้อย เป็นอ้อยสด 15.83 ล้านตันอ้อย และอ้อยไฟไหม้ 20.58 ล้านตันอ้อย ผลิตน้ำตาลได้ 34.80 ล้านกระสอบ คิดเป็น 95.59 กิโลกรัมต่อตันอ้อย และมีค่าความหวานเฉลี่ย 11.46 ซี.ซี.เอส.

“ปัจจัยที่ทำให้รับผลผลิตอ้อยเข้าหีบได้มากกว่าปีก่อน เนื่องจากมีโรงงานใหม่เพิ่มขึ้น 3 แห่ง รวมทั้งโรงงานได้เพิ่มประสิทธิภาพการหีบสกัดน้ำตาลที่ดีขึ้น เป็นผลให้ปัจจุบันโรงงานมีกำลังการผลิตหีบอ้อยเฉลี่ยอยู่ที่ 1.0 - 1.1 ล้านตันต่อวัน อย่างไรก็ตามจากผลกระทบภัยแล้งที่รุนแรง คาดว่าปริมาณอ้อยเข้าหีบปีนี้จะลดลงกว่า 30-40% ของปีก่อน หรืออยู่ที่ 90 ล้านตันอ้อยเท่านั้น ส่งผลให้ผลผลิตน้ำตาลจะลดลงจากปีก่อนประมาณ 3-4 ล้านตัน”

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2563

เร่งเพิ่มเก็บเกี่ยวอ้อยสดช่วยลด PM2.5

โรงงานน้ำตาลและชาวไร่อ้อยจับมือช่วยลดการเผาไร่อ้อย เพื่อลดปริมาณอ้อยไฟไหม้เข้าหีบ ล่าสุดอ้อยเข้าหีบ 50 วันแรก อ้อยไฟไหม้ลดลงมาก

นายสิริวุทธิ์  เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) เปิดเผยว่า โรงงานน้ำตาลเสนอโมเดลแก้ปัญหาอ้อยไฟไหม้แบบบูรณาการอย่างยั่งยืน ภาครัฐ เอกชนและชาวไร่ต้องร่วมมือกันทุกฝ่าย ตั้งแต่การบริหารจัดการแปลงปลูก รณรงค์และออกมาตรการจูงใจชาวไร่ตัดอ้อยสดแทนการเผาอ้อย โดยขอให้ภาครัฐสนับสนุนสินเชื่อรถตัดอ้อยและรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวลมากขึ้น โดยเฉพาะโรงงานรับซื้อใบอ้อยไปใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า แม้ไม่คุ้มต้นทุนแต่หวังช่วยลดปัญหาฝุ่นละออง ขณะที่อ้อยส่งเข้าโรงงาน 50 วันแรกของฤดูการผลิตปี 2562/2563  พบว่า ชาวไร่อ้อยส่งอ้อยสดเข้าหีบที่โรงงานปริมาณมากแซงหน้าอ้อยไฟไหม้แล้ว

ด้านภาครัฐขอให้ช่วยสนับสนุนสินเชื่อซื้อรถตัดอ้อยในอัตราดอกเบี้ยพิเศษแก่โรงงานและชาวไร่ เนื่องจากรถตัดอ้อยปัจจุบันมีราคาค่อนข้างสูงและไม่เพียงพอ รวมถึงสนับสนุนการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวลเพิ่มขึ้น เนื่องจากยังมีโรงไฟฟ้าชีวมวลบางพื้นที่ไม่สามารถขายไฟฟ้าแก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ได้

“การแก้ปัญหาเผาอ้อยเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกัน เชื่อว่าชาวไร่ไม่อยากเผา แต่ด้วยแรงงานตัดอ้อยขาดแคลน ต้นทุนก็สูง โรงงานจึงเร่งส่งรถตัดอ้อยเข้าช่วยชาวไร่ที่เป็นคู่สัญญาจัดเก็บผลผลิตอย่างเต็มที่ เพื่อให้ได้อ้อยสดเข้าหีบ ซึ่งให้ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยสูงกว่าอ้อยไฟไหม้ อย่างไรก็ตาม โรงงานบางแห่งยังรับซื้อใบอ้อยใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า แม้ต้นทุนผลิตไฟฟ้าจะสูงขึ้นก็ตาม” นายสิริวุทธิ์ กล่าว

ส่วนสถานการณ์หีบอ้อยฤดูการผลิตปี 2562/2563 หลังเปิดรับผลผลิตมาแล้ว 50 วัน เริ่มตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2562 มีปริมาณผลผลิตอ้อยเข้าหีบแล้ว 42.62 ล้านตันอ้อย แบ่งเป็น อ้อยสด 21.69 ล้านตันอ้อย อ้อยไฟไหม้อยู่ที่ 20.93 ล้านตันอ้อย ผลิตน้ำตาลได้ 43.73 ล้านกระสอบ คิดเป็นอัตราผลผลิตน้ำตาล 102.61 กิโลกรัมต่อตัน และมีค่าความหวานเฉลี่ย 12.20 ซี.ซี.เอส. เทียบกับระยะเวลาหีบอ้อยช่วงเดียวกันปี 2561/62 มีปริมาณอ้อยเข้าหีบ 36.41 ล้านตันอ้อย เป็นอ้อยสด 15.83 ล้านตันอ้อย และอ้อยไฟไหม้ 20.58 ล้านตันอ้อย ผลิตน้ำตาลได้ 34.80 ล้านกระสอบ คิดเป็น 95.59 กิโลกรัมต่อตันอ้อย และมีค่าความหวานเฉลี่ย 11.46 ซี.ซี.เอส.

ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้รับผลผลิตอ้อยเข้าหีบมากกว่าปีก่อน เนื่องจากมีโรงงานใหม่เพิ่มขึ้น 3 แห่ง รวมทั้งโรงงานได้เพิ่มประสิทธิภาพการหีบสกัดน้ำตาลที่ดีขึ้น เป็นผลให้ปัจจุบันโรงงานมีกำลังการผลิตหีบอ้อยเฉลี่ยอยู่ที่ 1.0 - 1.1 ล้านตันต่อวัน อย่างไรก็ตาม จากผลกระทบภัยแล้งที่รุนแรง คาดว่าปริมาณอ้อยเข้าหีบปีนี้จะลดลงกว่า 30-40% ของปีก่อน หรืออยู่ที่ 90 ล้านตันอ้อยเท่านั้น ส่งผลให้ผลผลิตน้ำตาลจะลดลงจากปีก่อนประมาณ 3-4 ล้านตัน

จาก https://www.mcot.net   วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2563

อ้อนรัฐแจกสินเชื่อรถตัดอ้อย จูงใจชาวไร่ลดการเผา-ลดปัญหาฝุ่นระยะยาว

รง.น้ำตาล ชงโมเดลแก้ปัญหาอ้อยไฟไหม้ แนะบูรณาการออกมาตรการจูงใจชาวไร่ตัดอ้อยสดแทนการเผา เสนอภาครัฐให้สินเชื่อรถตัดอ้อยและรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวลมากขึ้น

นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) เปิดเผยว่า การแก้ปัญหาอ้อยไฟไหม้ ซึ่งมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ต้องบูรณาการทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมมือกันอย่างจริงจัง ทั้งภาครัฐ โรงงานน้ำตาลและชาวไร่ โดยต้องวางแผนบริหารจัดการด้าน ซัพพลายเชนทั้งอุตสาหกรรม เริ่มจากการบริหารจัดการแปลงเพาะปลูกอ้อย ต้องจูงใจชาวไร่รวมแปลงเล็กเป็นแปลงใหญ่เพื่อเพาะปลูก ช่วยลดต้นทุนและสามารถนำรถตัดอ้อยเข้าไปจัดเก็บผลผลิตได้

ขณะที่โรงงานเร่งรณรงค์และสนับสนุนการตัดอ้อยสดอย่างต่อเนื่อง และเสนอให้ภาครัฐสนับสนุนสินเชื่อซื้อรถตัดอ้อยในอัตราดอกเบี้ยพิเศษแก่โรงงานและชาวไร่ เนื่องจากรถตัดอ้อยในปัจจุบันมีราคาค่อนข้างสูงและไม่เพียงพอ รวมถึงสนับสนุนการรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชีวมวลเพิ่มขึ้น เนื่องจากยังมีโรงไฟฟ้าชีวมวลในบางพื้นที่ไม่สามารถขายไฟฟ้าแก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ได้

"การแก้ไขปัญหาเผาอ้อยเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมมือกัน เชื่อว่าชาวไร่ก็ไม่อยากเผาแต่ด้วยแรงงานตัดอ้อยขาดแคลน ต้นทุนก็สูง โรงงานจึงได้เร่งส่งรถตัดอ้อยเข้าช่วยชาวไร่ที่เป็นคู่สัญญาจัดเก็บผลผลิตอย่างเต็มที่ เพื่อให้ได้อ้อยสดเข้าหีบซึ่งให้ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยสูงกว่าอ้อยไฟไหม้ อย่างไรก็ดี โรงงานบางแห่งยังรับซื้อใบอ้อยใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า แม้ต้นทุนผลิตไฟฟ้าจะสูงขึ้นก็ตาม" นายสิริวุทธิ์ กล่าว

สำหรับสถานการณ์หีบอ้อยฤดูการผลิตปี 2562/2563 หลังเปิดรับผลผลิตมาแล้ว 50 วัน เริ่มตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2562 มีปริมาณผลผลิตอ้อยเข้าหีบแล้ว 42.62 ล้านตันอ้อย แบ่งเป็น อ้อยสด 21.69 ล้านตันอ้อย อ้อยไฟไหม้อยู่ที่ 20.93 ล้านตันอ้อย ผลิตน้ำตาลได้ 43.73 ล้านกระสอบ คิดเป็นอัตราผลผลิตน้ำตาล 102.61 กิโลกรัมต่อตัน และมีค่าความหวานเฉลี่ย 12.20 ซี.ซี.เอส. เทียบกับระยะเวลาหีบอ้อยช่วงเดียวกันปี 2561/62 มีปริมาณอ้อยเข้าหีบ 36.41 ล้านตันอ้อย เป็นอ้อยสด 15.83 ล้านตันอ้อย และอ้อยไฟไหม้ 20.58 ล้านตันอ้อย ผลิตน้ำตาลได้ 34.80 ล้านกระสอบ คิดเป็น 95.59 กิโลกรัมต่อตันอ้อย และมีค่าความหวานเฉลี่ย 11.46 ซี.ซี.เอส.

ทั้งนี้ ปัจจัยที่ทำให้รับผลผลิตอ้อยเข้าหีบได้มากกว่าปีก่อน เนื่องจากมีโรงงานใหม่เพิ่มขึ้น 3 แห่ง รวมทั้งโรงงานได้เพิ่มประสิทธิภาพการหีบสกัดน้ำตาลที่ดีขึ้น เป็นผลให้ปัจจุบันโรงงานมีกำลังการผลิตหีบอ้อยเฉลี่ยอยู่ที่ 1.0 - 1.1 ล้านตันต่อวัน

อย่างไรก็ตามจากผลกระทบภัยแล้งที่รุนแรง คาดว่า ปริมาณอ้อยเข้าหีบปีนี้จะลดลงกว่า 30-40% ของปีก่อน หรืออยู่ที่ 90 ล้านตันอ้อยเท่านั้น ส่งผลให้ผลผลิตน้ำตาลจะลดลงจากปีก่อนประมาณ 3-4 ล้านตัน

จาก https://www.posttoday.com วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2563

‘สนธิรัตน์’ ดันใช้เบนซินอี 20 เสกราคามันสำปะหลัง-อ้อยทะยาน

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานเตรียมผลักดันน้ำมันเบนซินอี 20 เป็นน้ำมันพื้นฐานภายในไตรมาสแรกของปีนี้ (ม.ค.-มี.ค.2563) โดยใช้เอทานอลจากมันสำปะหลังและน้ำตาลทรายจากอ้อย เป็นส่วนผสม 20% ซึ่งมั่นใจว่าเมื่ออี 20 มีปริมาณการใช้สูงขึ้น จะส่งผลต่อราคาเอทานอลขยับตาม ช่วยยกระดับราคามันสำปะหลังและอ้อยแน่นอน ต่อเนื่องหลังจากน้ำมันดีเซลบี 10 ที่ประกาศเป็นน้ำมันพื้นฐานแล้วมีผลเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2563 ที่ผ่านมา ส่งผลให้ปัจจุบันราคาปาล์มดิบปรับตัวขึ้นสูงถึง 8 บาทต่อกิโลกรัม (ก.ก.)

“คอยดูนะภายในปีนี้ผมจะเสกราคามันสำปะหลังให้ดู เพราะถ้าเอทานอลราคาสูงจะดันราคามันสำปะหลังให้สูงขึ้น ตั้งเป้าหมายจะเลิกใช้งบประมาณรัฐเข้าสนับสนุน ส่วนราคาอ้อยแม้มีกลไกกำหนดราคาอยู่แล้ว แต่ผมจะสนับสนุนให้เกิดโรงไฟฟ้าชุมชนในพื้นที่ปลูกอ้อย และให้โรงไฟฟ้ารับซื้อใบอ้อยหรือชานอ้อยในการผลิตไฟฟ้า ทำให้ชาวไร่อ้อยมีรายได้เพิ่มขึ้น และยังลดการเผาอ้อยที่เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)”นายสนธิรัตน์กล่าว

น.ส.นวลจันทร์ เตชะเสริมสุขกูล รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวว่า เมื่อวันที่ 23 ม.ค. ได้นำคณะเจ้าหน้าที่ พพ. ลงพื้นที่เยี่ยมชมและศึกษาเทคโนโลยีด้านพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงานที่โรงไฟฟ้าชีวมวลทุ่งสังกรีน (ทีเอสจี) ของ บริษัท ทีพีซี เพาเวอร์ โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ต.ทุ่งสัง อ.ทุ่งใหญ่ จ.นครศรีธรรมราช กำลังผลิต 9.5 เมกะวัตต์ ได้รับรางวัลด้านพลังงาน อาทิ รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ของเวทีอาเซียน เอ็นเนอร์ยี่ อวอร์ด 2019 เป็นโรงไฟฟ้าชีวมวลต้นแบบที่ใช้วัสดุทางการเกษตรแบบผสมหลายชนิดเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า อาทิ ไม้ยางพารา ทะลายปาล์ม แก้ปัญหาเชื้อเพลิงขาดแคลน เงินลงทุน 800 ล้านบาท การออกแบบโรงไฟฟ้าแห่งนี้ได้ติดตั้งระบบเครื่องดักจับไฟฟ้าสถิติเพื่อดักจับฝุ่นจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในระบบการผลิต ไม่ให้ส่งผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมกับชุมชนโดยรอบ ทำให้โรงไฟฟ้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

“โรงไฟฟ้าแห่งนี้สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าป้อนเข้าสู่ระบบของการไฟฟ้าส่วรภูมิภาค (กฟภ.) 9.2 เมกะวัตต์ คิดเป็น 77 ล้านหน่วยต่อปี สามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ปีละ 50,000 ตันคาร์บอนไดออกไซต์ ทำให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์จากการขายวัสดุทางการเกษตร สร้างรายได้หมุนเวียนในชุมชนปีละ 100 ล้านบาท สร้างงานในพื้นที่ 93% ทำให้เศรษฐกิจชุมชนมีความเข้มแข็งและเพิ่มความมั่นคงของระบบไฟฟ้า แก้ปัญหาไฟตก ไฟดับ สอดรับกับนโยบายกระทรวงพลังงาน”น.ส.นวลจันทร์กล่าว

นอกจากนี้ พพ. พร้อมส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาโรงไฟฟ้าชีวมวลที่สร้างรายได้ให้กับชุมชนและท้องถิ่น โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคใต้ที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มสูง และโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ในพื้นมีกำลังการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการได้ ต้องพึ่งพาการจัดส่งไฟฟ้าจากส่วนกลางผ่านระบบสายส่ง

จาก https://www.khaosod.co.th  วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2563

ดัชนีความเชื่อมั่นอุตฯร่วง กังวลปัญหาเศรษฐกิจ-ภัยแล้ง

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) เปิดเผยว่าผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนธันวาคม 2562 อยู่ที่ระดับ 91.7 ลดลงจากเดือนก่อนหน้าอยู่ที่ระดับ 92.3 เนื่องจากมีปัจจัยเสี่ยงจากความกังวลต่อกำลังซื้อภายในประเทศ ปัญหาภัยแล้งที่มีความรุนแรงทำให้กระทบต่อผลผลิตและรายได้ของภาคเกษตรสะท้อนจากคำสั่งซื้อและยอดขายของสินค้าที่ลดลงทั้งจากสินค้าคงทนและไม่คงทน ขณะเดียวกันผู้ประกอบการส่งออกก็ยังคงได้รับผลกระทบจากการค่าของเงินบาทที่ยังแข็งค่าต่อเนื่องรวมถึงความผันผวนของเศรษฐกิจโลกซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทยอีกเช่นกัน

“ผู้ประกอบการจากกลุ่มตัวอย่าง 1,207 รายครอบคลุม 45 กลุ่มอุตสาหกรรมทั่วประเทศพบว่า 70.1% ยังกังวลปัญหาสภาวะเศรษฐกิจโลกอีก 61.2% กังวลอัตราแลกเปลี่ยนที่เงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐในมุมมองผู้ส่งออกและ 43.2% กังวลการเมืองภายในประเทศ” นายสุพันธุ์กล่าว

ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 100.1 ลดลงจากระดับ 101.3 เพราะยังมีความกังวลเกี่ยวกับเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่แน่นอน รวมทั้งการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนประกอบการโดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี)รวมถึงปัญหาความขัดแย้งและความตึงเครียดในตะวันออกกลางก็เป็นปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันสูงขึ้นกระทบต่อต้นทุนการผลิตและการส่งสินค้าไปยังตะวันออกกลาง ซึ่งผู้ประกอบการต้องวางแผนเพื่อรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าว

ทั้งนี้ ภาคเอกชนมีข้อเสนอแนะต่อภาครัฐ ให้ปรับปรุงระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างให้คล่องตัวมากยิ่งขึ้นและขอให้ภาครัฐหามาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างเร่งด่วน

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สอท. กล่าวว่า ในเดือนธันวาคม 2562 มียอดการผลิตรถยนต์ 134,208 คัน ลดลงจากเดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ 20.75% เพราะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงจากสงครามการค้า ส่งผลให้รถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม - ธันวาคม 2562

มีทั้งสิ้น 2,013,710 คัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 7.1% แต่มากกว่าเป้าที่ตั้งไว้ 2,000,000 คัน จำนวน 13,710 คัน

ทั้งนี้ ในเดือนธันวาคม 2562 เป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 66,620 คัน เท่ากับ 49.64% ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ 22.18% ส่วนเดือนมกราคม - ธันวาคม 2562 ผลิตเพื่อส่งออกได้ 1,037,164 คันเท่ากับ 51.51% ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากปี 2561 ระยะเวลาเดียวกันที่ 9.24%ขณะที่การผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ เดือนธันวาคม 2562 ผลิตได้ 67,588 คัน เท่ากับ 50.36% ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากปีก่อน 19.29% และเดือนมกราคม - ธันวาคม 2562 ผลิตได้ 976,546 คันเท่ากับ 48.49% ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม - ธันวาคม 2561 อยู่ที่4.72% ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศเดือนธันวาคม 2562 มีทั้งสิ้น 89,285 คัน ลดลงจากปีก่อน 21.4% เนื่องจากการเข้มงวดของสถาบันการเงินในการอนุมัติสินเชื่อรถยนต์ ประกอบกับเป็นช่วงเปลี่ยนรุ่นรถยนต์นั่งอีโคคาร์หลายบริษัทและเปลี่ยนรุ่นรถกระบะในบางบริษัท แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤศจิกายน 2562 อยูที่ 12.6%

กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ได้ประมาณการการผลิตรถยนต์ในปี 2563 อยู่ที่ประมาณ 2,000,000 คัน น้อยกว่าปี 2562 ซึ่งมี 2,013,710 คัน หรือ ลดลง 13,710 คัน คิดเป็น 0.68% แบ่งเป็นการผลิตเพื่อการส่งออก 1,000,000 คันเท่ากับ 50% ของยอดการผลิตทั้งหมด และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 1,000,000 คัน เท่ากับ 50% ของยอดการผลิตทั้งหมด

“การผลิตเพื่อการส่งออก 1,000,000 คันลดลงจากปีที่แล้วที่ผลิตได้ 1,037,164 คัน เป็นลดลง 37,164 คัน หรือลดลง 3.58% เพราะกังวลสงครามการค้า ค่าเงินบาทแข็ง รวมถึงความขัดแย้งระหว่างประเทศในบางภูมิภาค ส่วนผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 1,000,000 คัน เพิ่มจากปีที่แล้วที่ผลิตได้ 976,546 คัน เป็น 23,454 คัน หรือเพิ่มขึ้น 2.4% เพราะการผลิตรถอีโคคาร์รุ่นใหม่ของหลายบริษัท” นายสุรพงษ์กล่าว

จาก https://www.naewna.com วันที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2563

ผ่ามลพิษภาคเหนือต้นปี จากเผาอ้อยสู่ไฟป่า PM 2.5 มาเร็วกว่าที่คิด

ปัญหาฝุ่นควันและไฟป่า หรือมลพิษ PM 2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือ ณ ปัจจุบัน ไม่ได้จำกัดพื้นที่และมีต้นเหตุไม่แตกต่างจากประเทศออสเตรเลีย สาเหตุจากฝีมือมนุษย์เอง หรือภาวะโลกร้อน แต่สิ่งที่น่าสนใจ คือ การบริหารจัดการแก้ไขปัญหา ยังไม่สามารถแก้ไขได้อย่างเบ็ดเสร็จ

ขณะที่สถานการณ์ PM 2.5 ในปี 2563 มาเร็วกว่าทุกปีแบบไม่ทันตั้งตัว โดยเฉพาะพื้นที่ จ.เชียงใหม่เกิดฝุ่นควันคลุมทึบตั้งแต่ต้นเดือนมกราคม แต่อีกด้านหนึ่งหากดูจุดความร้อน (hotspot) ในพื้นที่ภาคเหนือโดยรวมทั้งหมด กลับพบว่ามีจุดความร้อนสูงมากในภาคเหนือตอนล่าง ได้แก่ นครสวรรค์ และกำแพงเพชร รวมถึงประเทศเมียนมา ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่ากระแสลมใต้ได้พัดพาฝุ่นควันขึ้นมาภาคเหนือตอนบน อาจเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ฝุ่นควันพิษกระจายตัวปกคลุมพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดใกล้เคียงในช่วงเวลานี้

นครสวรรค์เผาอ้อย 14 อำเภอ

ข้อมูลเชิงสถิติที่สำคัญเชิงพื้นที่ของจังหวัดนครสวรรค์ นอกจากพืชเศรษฐกิจสำคัญ คือ ข้าวนาปีและข้าวนาปรังแล้ว “อ้อยโรงงาน” นับเป็นอีกหนึ่งพืชเศรษฐกิจสำคัญ มีพื้นที่เพาะปลูกอ้อยโรงงานอยู่ในลำดับต้น ๆ ของประเทศ ทั้งนี้ เนื่องจากมีโรงงานแปรรูป (โรงงานน้ำตาล) ที่ใหญ่ที่สุดในระดับประเทศตั้งอยู่ในเขตจังหวัด โดยพื้นที่ปลูกอ้อยครอบคลุมถึง 14 อำเภอ จากทั้งหมด 15 อำเภอของจังหวัดนครสวรรค์

นางสาวอัจฉรา ม่วงสุข นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรปฏิบัติการ สำนักงานเกษตรจังหวัดนครสวรรค์ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า พื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานของ จ.นครสวรรค์ ปี 2562/2563 มีพื้นที่ปลูกทั้งสิ้น 567,091 ไร่ ครอบคลุม 14 อำเภอ ได้แก่ อ.โกรกพระ อ.หนองบัว อ.บรรพตพิสัย อ.เก้าเลี้ยว อ.ตาคลี อ.ท่าตะโก อ.ไพศาลี อ.พยุหะคีรี อ.ลาดยาว อ.ตากฟ้า อ.แม่วงก์ อ.แม่เปิน และ อ.ชุมตาบง ซึ่งขณะนี้เป็นช่วงของฤดูเก็บเกี่ยวเริ่มตั้งแต่ราวปลายเดือนธันวาคม ซึ่งเกษตรกรเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิตให้ทันภายในฤดูปิดหีบอ้อยราวเดือนเมษายน แม้ที่ผ่านมาสำนักงานเกษตรจังหวัดนครสวรรค์ได้รณรงค์ลดการเผาในหลายพื้นที่นำร่อง แต่ยังคงมีการเผาอ้อยในพื้นที่ส่วนใหญ่

ขณะที่เดือนตุลาคม 2560 ถึงเดือนกันยายน 2561 มีพื้นที่ปลูก 14 อำเภอ รวม 745,066 ไร่ โดยพื้นที่ปลูกมากสุด 5 อันดับแรก คือ อ.ตาคลี จำนวน 196,018 ไร่ อันดับ 2 อ.พยุหะคีรี 115,275 ไร่ อันดับ 3 อ.ตากฟ้า 102,645 ไร่ อันดับ 4 อ.แม่วงก์ 54,184 ไร่ อันดับ 5 อ.ไพศาลี 49,187 ไร่

ทั้งนี้ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครสวรรค์ระบุว่า ฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกินมาตรฐานในพื้นที่จังหวัดนครสวรรค์ มีปัจจัยสำคัญคือ ความกดอากาศตามฤดูกาล และการเผาอ้อย โดย สนง.ปภ.จังหวัดนครสวรรค์ รายงานสภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) เมื่อวันที่ 17 มกราคม 2563 ค่า PM 2.5 อยู่ที่ 63 ไมโครกรัม/ลบ.ม. อยู่ในเกณฑ์คุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ รวมถึงเมื่อย้อนหลังไปตั้งแต่วันที่10-16 มกราคม 2563 ค่า PM 2.5 ในพื้นที่จ.นครสวรรค์เกินค่ามาตรฐานทุกวันและมีผลกระทบต่อสุขภาพ

กำแพงเพชรมีอ้อยไฟไหม้ 60%

นายสมศักดิ์ เจียมสงวนวงค์ ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดกำแพงเพชร กล่าวว่า ขณะนี้ปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในจังหวัดกำแพงเพชรมีค่าเกินมาตรฐานเกือบทุกพื้นที่ ซึ่งสาเหตุหลักมาจากการเผาอ้อยที่มีการเพาะปลูกในทุกอำเภอ รวม 11 อำเภอของจังหวัดกำแพงเพชร ล่าสุดทางจังหวัดได้ออกมาตรการเร่งรัดแก้ปัญหาหลายด้าน โดยเฉพาะการประกาศแจ้งเตือนห้ามเผา และการแจ้งเตือนประชาชนให้ป้องกันสุขภาพจากปัญหาฝุ่นควัน

นางสาวภัสร์วรา วิโสภา นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเกษตรจังหวัดกำแพงเพชร กล่าวว่า พื้นที่ปลูกอ้อยของจังหวัดกำแพงเพชรมีการเพาะปลูกครอบคลุมทั้ง 11 อำเภอ โดยฤดูการผลิตปี 2562/2563 มีพื้นที่ปลูกรวมทั้งสิ้น 657,450 ไร่ ซึ่งเริ่มมีการเก็บเกี่ยวผลผลิตตั้งแต่ปลายเดือนธันวาคม-เมษายน

นางสาวภัทรียา นวลใย ฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุในบทความ “ทำไมต้องเผาอ้อย” ของ ธปท.ว่า ในช่วงเดือนธันวาคม-เมษายนเป็นช่วงเก็บเกี่ยวอ้อย โดยปัญหานี้จะยิ่งรุนแรงขึ้นในช่วงที่อากาศแล้ง และมีปริมาณฝนน้อย เนื่องจากการชะล้างฝุ่นละอองเป็นไปอย่างจำกัด การเผาอ้อยจึงอาจเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาดังกล่าว ซึ่ง PM 2.5 มาจาก 2 สาเหตุหลักด้วยกัน คือ 1.การเผาไหม้ของเครื่องยนต์ดีเซล และ 2.การเผาพืชตามไร่นา สำหรับการเก็บเกี่ยวอ้อยสามารถทำได้ 2 วิธี วิธีแรก คือ การตัดอ้อยสด และวิธีที่สอง คือ การเผาอ้อยก่อนเก็บเกี่ยว หรือที่เรียกกันว่า “อ้อยไฟไหม้” ซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 60 ของปริมาณอ้อยทั้งหมด ซึ่งอ้อยไฟไหม้ตัดง่ายกว่า และรายได้ดีกว่า การที่แรงงานเผาอ้อยก่อนตัดทำให้สามารถตัดอ้อยได้ง่าย ไม่ต้องเสียเวลาลอกกาบใบ จึงตัดได้ในปริมาณที่มากกว่าอ้อยสดประมาณ 2 เท่า

เชียงใหม่งัดกฎหมายห้ามเผา

นายเจริญฤทธิ์ สงวนสัตย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จังหวัดเชียงใหม่ออกประกาศกำหนดเขตควบคุมการเผาในที่โล่งทุกชนิดและมาตรการทางกฎหมายในการควบคุม มีผลเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม-30 เมษายน 2563 รวมระยะเวลา 112 วัน โดยประกาศครั้งนี้ถือว่าเป็นการประกาศเร่งด่วน เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นต่อเนื่อง เป็นส่วนหนึ่งทำให้ความกดอากาศไม่สามารถช่วยระบายฝุ่นควันที่จะลอยเข้ามาสะสมในเขตเมือง เพื่อลดปัญหาจากการเผาในที่โล่งที่มีเพิ่มมากขึ้น

โดยประกาศดังกล่าวอาศัยอำนาจตามความในมาตรา 15, 21, 22 และ 29 แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย พ.ศ. 2550 กำหนดให้พื้นที่จังหวัดทั้งหมดเป็นเขตควบคุมการเผาในที่โล่งทุกชนิด ในเขตพื้นที่การเกษตร หรือการเผาในเขตทาง รวมทั้งการจุดไฟเพื่อหาของป่า ล่าสัตว์ในเขตพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติโดยเด็ดขาด ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่น จะมีโทษความผิดตามมาตรา ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 25,000 บาท หรือทั้งจำและปรับ ในกรณีที่เผาพื้นที่ป่าและเขตอุทยาน จะถูกจับกุมและดำเนินคดีตามกฎหมาย โดยมีโทษปรับตั้งแต่ 10,000-2,000,000 บาท ระวางโทษจำคุก 3 เดือน-20 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ(ขึ้นอยู่กับฐานความผิดที่กำหนดไว้ในกฎหมาย)

นายนรินทร์ ประทวนชัย ผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า จุดความร้อนสะสมตั้งแต่วันที่ 1-13 มกราคม 2563 พบจุดความร้อนสะสมทั้งหมด 429 จุด จากดาวเทียม VIIRS พบมากในพื้นที่อำเภอฮอด 188 จุด ดอยเต่า 92 จุด แม่แจ่ม 60 จุด ซึ่งพบมากในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ 256 จุด ป่าสงวนแห่งชาติ 142 จุด พื้นที่เกษตร 10 จุด และเขต ส.ป.ก.11 จุด ทำให้จังหวัดเชียงใหม่ประสบปัญหาฝุ่นควันปกคลุมจากสาเหตุการเผา ประกอบกับทิศทางลมและสภาพอากาศที่นิ่งในความเป็นแอ่งกระทะของเมืองเชียงใหม่ ทำให้เกิดฝุ่นละอองที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง โดยปัญหาฝุ่นควันของเชียงใหม่เป็นวาระแห่งชาติและวาระสำคัญของจังหวัดที่ต้องเร่งแก้ไขด้วยการกำหนดมาตรการทางกฎหมายในการควบคุมการเผาในที่โล่งทุกชนิด ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม-30 เมษายน 2563

อย่างไรก็ตาม แม้การเคลื่อนไหวของภาคเอกชนที่จะผลักดันกฎหมายอากาศสะอาดต่อรัฐบาล รวมถึงผู้ว่าฯเชียงใหม่ได้ประกาศเขตพื้นที่ห้ามเผาที่โล่งระยะ 112 วัน ตั้งแต่วันที่ 10 มกราคม-30 เมษายน 2563 ไม่ได้รับรองได้ว่าปัญหา PM 2.5 จะไม่เกิดขึ้น เพราะปัญหามลพิษทางอากาศไม่ได้แก้ไขจากภาพรวมทั้งหมด คือ ทั้งส่วนกลาง ประเทศเพื่อนบ้าน และทุกจังหวัดของภาคเหนือ ที่จะร่วมมือกันไม่สร้างจุดความร้อนโดยเฉพาะการเผา ที่วงจรจะหมุนสู่ผลกระทบทุกปีต่อสุขภาพประชาชนและเศรษฐกิจการท่องเที่ยวที่จะเกิดการสูญเสียมหาศาล จึงต้องจับตาว่าในอีกราว 3 เดือนกว่า ๆ นับจากนี้ การใช้มาตรการกฎหมายห้ามเผาจะแก้ปัญหาฝุ่นควันพิษ PM 2.5 ของจังหวัดเชียงใหม่ ที่ทวีความรุนแรงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกปีได้มากน้อยเพียงใด

จาก https://www.prachachat.net  วันที่ 23 มกราคม 2563

เงินเฟ้อปี 63 หลุดเป้าหมาย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้ออกจดหมายเปิดผนึกชี้แจงการดำเนินนโยบายการเงินในช่วงต่อไป หลังอัตราเงินเฟ้อทั่วไปปีที่ผ่านมาหลุดกรอบเป้าหมาย ต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 และคาดว่าปีนี้จะยังหลุดกรอบต่อไปอีกปี ว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) และ รมว.คลัง มีข้อตกลงร่วมกันที่ได้กำหนดเป้าหมายนโยบายการเงินปีที่ผ่านมา

โดยใช้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีที่ 2.5% บวกหรือลบ 1.5 % และให้ กนง. มีจดหมายเปิดผนึกถึง รมว.คลัง หากเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยปีที่ผ่านมาเคลื่อนไหวออกนอกกรอบเป้าหมาย

ธปท.ไม่นิ่งนอนใจ “เงินบาท” ยืนกรานปี 62 แข็งค่าแค่ 7-8%

5 สาเหตุกดดัน เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องในปีหนู เสี่ยงหลุด 30 บาทต่อดอลลาร์

พม.มอบของขวัญปีใหม่ทุกกลุ่มเป้าหมาย ปล่อยเช่าบ้าน 999 บ.ต่อเดือน

โดยเมื่อเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 0.71% ต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายนโยบายการเงินของปีที่ผ่านมา ประกอบกับประมาณการเงินเฟ้อทั่วไป เฉลี่ย 12 เดือนข้างหน้า (ม.ค.-ธ.ค. 2563) อยู่ที่ 0.8% ต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมาย นโยบายการเงินในปีนี้

กนง. จึงออกจดหมายเปิดผนึกชี้แจงสาเหตุที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปต่ำกว่าขอบล่างของกรอบเป้าหมายระยะเวลาที่คาดว่าเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมาย และการดำเนินนโยบายการเงินเพื่อดูแลให้เงินเฟ้อทั่วไปกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายในระยะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำกว่ากรอบเป้าหมายมีสาเหตุสำคัญมาจากเงินเฟ้อหมวดพลังงานที่กลับมาติดลบ ทั้งราคาน้ำมันและก๊าซหุงต้ม ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานชะลอลงจากแรงกดดันด้านของความต้องการใช้จ่ายที่มีจำกัดจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจ และการส่งออก รวมทั้งผลของการปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตยาสูบเมื่อปี 2560 ที่ทำให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นชั่วคราวหมดไป

ขณะที่ในระยะข้างหน้า กนง.คาดว่าเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยทั้งปีนี้จะอยู่ที่ 0.8% ต่ำกว่ากรอบเป้าหมายนโยบายการเงิน เป็นผลจากแรงกดดันด้านการผลิตที่ยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำ เนื่องจากราคาพลังงานโลกยังถูกกดดันจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวค่อยเป็นค่อยไป ส่วนราคาอาหารสดแม้ว่าชะลอลงบ้าง แต่ยังมีแนวโน้มอยู่ในระดับสูงต่อเนื่อง เพราะปัจจัยด้านสภาพอากาศที่อาจกระทบต่อปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรบางชนิด โดยระยะเวลาที่คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับเข้าสู่กรอบเป้าหมายได้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2564 จากการใช้จ่ายที่ทยอยปรับสูงขึ้น จากนโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อเนื่อง.

จาก https://www.thairath.co.th วันที่ 23 มกราคม 2563

ก.อุตฯเร่งแก้ปัญหา PM 2.5 ขอโรงงานลดกำลังการผลิต

กระทรวงอุตสาหกรรมสั่งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควบคุมการระบายมลพิษอากาศจากการประกอบกิจการ พร้อมกำหนดมาตรการและปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อป้องกันปัญหาฝุ่นละออง

นางสาวสุชาดา  แทนทรัพย์  โฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้สั่งการให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม เร่งหามาตรการในการควบคุม และป้องกันการเกิดปัญหาคุณภาพอากาศมีฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) และให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำชับให้ผู้ประกอบกิจการอุตสาหกรรมที่อยู่ในความรับผิดชอบ กำหนดมาตรการ และปรับปรุงกระบวนการทำงานเพื่อป้องกันมิให้เกิดหรือลดปัญหาฝุ่นละออง ที่มีสาเหตุจากกระบวนการอุตสาหกรรม และขอความร่วมมือจากผู้ประกอบการ โรงงานอุตสาหกรรมในการลดกำลังการผลิตลงด้วย โดยเบื้องต้นได้สั่งการไปยังหน่วยงานในสังกัดให้ออกมาตรการบรรเทาปัญหา

สำหรับการกำกับดูแลสถานประกอบการอุตสาหกรรม ได้มีมาตรการดังนี้  1.ขอความร่วมมือผู้ประกอบการ โรงงานอุตสาหกรรมในการลดกำลังการผลิต ควบคุมการระบายมลพิษอากาศจากการประกอบกิจการ และขอความร่วมมือโรงงานที่ติดตั้งเครื่องมือหรืออุปกรณ์พิเศษ (CEMS) ที่อยู่นอกพื้นที่บังคับใช้ตามกฎหมายให้เชื่อมต่อข้อมูลรายงานคุณภาพอากาศมายังกรมโรงงานอุตสาหกรรม

,2.ตรวจสอบและเฝ้าระวังโรงงานเพื่อป้องกันการเกิดฝุ่นและมลพิษทางอากาศ โดยแผนการตรวจโรงงานประจำปี 2563 เน้นโรงงานที่เคยมีปัญหาข้อร้องเรียนด้านฝุ่นละอองในปีที่ผ่านมา  ,3.กำกับดูแลให้โรงงานตรวจสอบระบบบำบัดอากาศให้มีประสิทธิภาพ  ,4.ส่งเสริมให้โรงงานใช้เทคโนโลยีสะอาดให้ความช่วยเหลือด้านเทคนิคในการปรับปรุงกระบวนการเพื่อการลดมลพิษที่ต้นทาง (แหล่งกำเนิด) และ5.ประสานขอความร่วมมือกับกองทัพอากาศสำรวจสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5) โดยใช้เครื่องมือตรวจวัดร่วมกับโดรน   

ขณะที่มาตรการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ได้ออกประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการเกี่ยวกับเงินที่หักจากค่าอ้อยไฟไหม้ อ้อยยอดยาว และอ้อยที่มีกาบใบ พ.ศ. 2561 โดยกำหนดให้หักเงินชาวไร่อ้อยที่ส่งอ้อยไฟไหม้ในอัตราตันละ 30 บาท จ่ายคืนให้กับชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดคุณภาพดีเต็มจำนวนโดยคิดแยกเป็นรายโรง  และมาตรการปรับเงินสำหรับโรงงานน้ำตาลที่มีอ้อยไฟไหม้เข้าหีบเกินจำนวนที่กำหนด ในอัตราตันละ 12 บาท โดยให้นำเงินส่วนนี้เป็นรายได้ของกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายเพื่อนำไปใช้ในโครงการลดปัญหาอ้อยไฟไหม้ต่อไป

นอกจากนี้ได้ประสานความร่วมมือกับผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานภาครัฐ สมาคมชาวไร่อ้อย โรงงานน้ำตาล และเกษตรกรชาวไร่อ้อยในพื้นที่  รณรงค์ไม่ให้เก็บเกี่ยวอ้อยด้วยวิธีการเผาไร่อ้อยก่อนตัดส่งเข้าโรงงานน้ำตาล และประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกรชาวไร่อ้อย เรื่อง มาตรการแนวทางแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ และปัญหาของฝุ่น PM 2.5 ที่มาสาเหตุมาจากการเผา

ทั้งนี้  จากรายงานการสำรวจปริมาณอ้อยไฟไหม้ ฤดูการผลิตปี 2562/2563 เมื่อเปรียบเทียบกับฤดูการผลิตปี 2561/2562 ณ วันหีบที่ 50 ของฤดูการผลิต พบว่ามีปริมาณอ้อยไฟไหม้ลดลงถึง 7.43 % โดยอ้อยไฟไหม้ในฤดูการผลิตปี 2562/2563 มีปริมาณ 20,927,473 ตัน จากปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมด 42,621,206 ตัน คิดเป็น 49.10% ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมด

ด้านมาตรการเกี่ยวกับผู้ประกอบการด้านเหมืองแร่ ขอความร่วมมือสถานประกอบการ  1.ให้ควบคุมการระเบิดให้เป็นไปตามหลักวิชาการเพื่อควบคุมฝุ่นจากการระเบิด  ,2.ตรวจสอบระบบกำจัดฝุ่นของสถานประกอบการให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและเปิดใช้งานอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาประกอบการ  ,3.ฉีดพรมน้ำและปรับปรุงเส้นทางขนส่งในเขตเหมืองแร่เป็นประจำเพื่อลดการสะสมฝุ่น 

,4.ทำความสะอาดบริเวณพื้นที่สถานประกอบการ ลานเก็บกองแร่และมูลดินทราย เพื่อลดการสะสมของฝุ่นอย่างสม่ำเสมอ  ,5.ตรวจสอบระบบล้างล้อรถบรรทุกให้ใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและให้มีการล้างล้อรถบรรทุก ก่อนออกจากสถานประกอบการทุกครั้ง  และ6.จัดทำแนวกันชนปลูกต้นไม้โดยรอบสถานประกอบการเพื่อป้องกันฝุ่นจากสถานประกอบการออกไปสู่ภายนอก

“กระทรวงอุตสาหกรรมไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหาฝุ่นละอองที่เกิดขึ้น และได้เร่งกำชับไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมให้แก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างจริงจัง และต้องขอความร่วมมือจากผู้ประกอบกิจการต่างๆ ให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและมาตรการอย่างเคร่งครัด และการจัดการปัญหานี้ได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งหากพบว่ามีการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือกฎระเบียบ กระทรวงฯจะดำเนินการขั้นเด็ดขาดทันที เพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม”

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 22 มกราคม 2563

เตือนเผาอ้อยโทษหนักกว่าปล้นทรัพย์ ปรับ 1 แสน คุก 7 ปี

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 22 มกราคม 2563 นายมนตรี คำพล นายกสมาคมชาวไร่อ้อย จังหวัดสระแก้ว เผยว่า จังหวัดสระแก้วมีอ้อยอยู่ประมาณ 3 ล้านตัน ปริมาณลดลงจากปีที่แล้วประมาณ 1.5  ล้านตัน  เพราะประสบปัญหาภัยแล้ง ขณะนี้เราก็ได้รับนโยบายจากรัฐบาลเรื่องปัญหามลพิษ PM 2.5 การเผาอ้อยก่อนตัด กระทบถึงกรุงเทพมหานคร เราเองก็พยายามจะแก้ไขปัญหา มีการรณรงค์กับสมาชิกชาวไร่อ้อยโดยพยายามให้ตัดอ้อยสด แต่ติดปัญหาแรงงานลดลง เนื่องจากกัมพูชาเศรษฐกิจดีขึ้น แรงงานเข้ามาน้อย และอีกประเด็น คือปัญหาภัยแล้ง ปริมาณอ้อยลดลง อ้อยก็ไม่สมบูรณ์เท่าที่ควร ก็เป็นประเด็นหนึ่งที่ทำให้ มีการเผาอ้อยแต่ก็เป็นบางส่วน แต่ปริมาณอ้อยสดเพิ่มมากขึ้นจากปีที่แล้วพอสมควร ปริมาณอ้อยไฟไหม้ประมาณ 50 % เท่านั้นและตามมติคณะรัฐมนตรี ที่กระทรวงนำเสนอให้ใช้เครื่องจักรตัดอ้อยนั้น ต้องใช้เวลาถึง 3 ปี เพราะชาวไร่อ้อยต้องมีการปรับปรุงพื้นที่ ให้เหมาะที่จะใช้เครื่องจักรได้ ต้องเป็นพื้นที่ราบ ปัญหาอีกอย่าง คือโรงงงานไม่กล้าค้ำประกัน ในการซื้อเครื่องจักรให้ เพราะว่าหนี้สินชาวไร่ และราคาอ้อยตกต่ำมา 3 ปีแล้ว ก็มีหนี้สินผูกพันกับโรงงานน้ำตาลอยู่ โรงงานก็ไม่ค้ำประกันให้ก็เป็นสิ่งที่ยากลำบากกับชาวไร่อ้อย สำหรับ การเผาไร่อ้อย ทางสมาคมฯ ได้ขอความร่วมมือ กับเกษตรกรให้ลดการเผาอ้อย เพราะก่อให้เกิดปัญหามลพิษ ในขณะที่พื้นที่ปลูกของชาวไร่อ้อย เป็นพื้นที่เล็ก ๆ จะมีปัญหาการใช้เครื่องจักร ขณะนี้ได้ให้นักวิชาการมาวิจัยอยู่ว่า ใช้เครื่องจักรใดเหมาะสมกับพื้นที่จังหวัดสระแก้ว ทางสมาคมฯ พยายามแก้ไข พยายามประสานกับสมาชิกเพื่อลดการเผาอ้อย โดยผู้ที่ตัดอ้อยสด หลังปิดหีบอ้อยแล้ว จะมีรายได้เพิ่ม ประมาณตันละ 160 บาท อ้อยไฟไหม้ก็จะได้ไม่เกินตันละ 70 บาท เพื่อเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกร ตัดอ้อยสด และในปีต่อไปนั้น  ทางรัฐบาล อาจจะช่วยเฉพาะอ้อยสดเท่านั้น เพื่อให้ชาวไร่ลดพื้นที่เผาอ้อย

สำหรับ นายบำเพ็ญ นะภา เกษตรกรชาวไร่อ้อย กล่าวว่า สาเหตุที่เผาอ้อยก่อนตัด ส่วนใหญ่มาจากการขาดแรงงาน แรงงานส่วนนี้มาจากกัมพูชา ตอนนี้ทางรัฐบาลมีนโยบายห้ามเผา แต่แรงงานไม่ยอมตัด เนื่องจากอ้อย ต่อ 2 ตอ 3 หรือตอ 4 ต้นอ้อยจะไม่ตรง เหมือนอ้อยปีแรก ทำให้การสางใบลำบากและเสียเวลานาน เมื่อแรงงานไม่ยอมตัดก็จำเป็นต้องเผา ถ้าไปบังคับให้แรงงานตัดอ้อยสด แรงงานก็หนีกลับหมด

 ที่มีกฎหมายออกมาห้ามเผาอ้อย จะมีโทษหนักนั้น  เกษตรกร ก็ตอบสนองนโยบายเช่นเดียวกัน ได้พยายามให้คนงานตัดสะดวกขึ้นมีการซื้อเครื่องสางใบ แล้วให้แรงงานเข้าไปตัด ก็ตัดได้เยอะขึ้น สำหรับอ้อยสด แต่ปัญหาว่า อ้อยอายุ 2-3 ปีแล้ว ใช้เครื่องจักรไม่ได้ เนื่องจาก ต้นมันล้ม อ้อยจะต้องตั้งต้องยืน จึงจะใช้เครื่องจักรเข้าไปสางใบได้ แต่การสางใบก็เพิ่มต้นทุน เพราะว่า ตัวเครื่องจักรและตัวรถด้วย ราคาประมาณ 3-4 แสนบาท และใช้เอ็นเป็นตัวปั่น วันหนึ่งก็ใช้หมด 1 กิโลกรัม ตก 500 บาท ยังไม่รวมค่าแรงคนขับยังไม่รวมค่าน้ำมัน ต้นทุนสูงขึ้น และที่มีข่าวว่า ทางจังหวัดสระแก้ว มีมาตรการห้ามเผาอ้อย มีโทษจำคุก 7 ปี ปรับ 1 แสนบาท เรามองว่าตอนนี้ เรื่องการลงโทษ ติดคุก 7 ปี ปรับ 1แสนบาท เราก็มองว่า เราตกเป็นจำเลยสังคม ตกเป็นคดีอาญาต่อแผ่นดิน เราก็คิดอยู่เสมอว่า ถ้าเป็นอย่างนี้ต่อไปเกษตรกรอยู่ไม่ได้ ต้องเลิกอาชีพนี้ ผมพูดตามตรงเลยว่า ต้องยุติการปลูกอ้อยหันไปปลูกพืชอย่างอื่น เพราะเราไม่มีทางเลือก เดี๋ยวนี้โทษหนักกว่าลักทรัพย์ปล้นทรัพย์  สำหรับชาวไร่อ้อย ถ้าห้ามเผาทุกลำอ้อย ชาวไร่ขาดทุนยับเยิน  ถ้ามีการจับจริงก็จับทั้งจังหวัด จับทั้งประเทศด้วย

จาก https://www.banmuang.co.th  วันที่ 22 มกราคม 2563

สั่งเยียวยาภัยแล้งสูงสุด ‘แทงหนี้เป็นสูญ’

สมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ กว่า 3 หมื่นรายเตรียมเฮ 23 ม.ค.นี้ บอร์ดเตรียมเคาะรองรับมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบภัยแล้งตั้งแต่ขยายเวลาชำระหนี้ จนถึงสูงสุดแทงหนี้เป็นสูญ ยันสามารถทำได้มีกฎหมายรองรับ

จากปัญหาภัยแล้งกำลังคุกคามอย่างหนัก กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) รายงานสถานการณ์ภัยแล้งตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2562 ถึง 22 มกราคม 2563 มีจังหวัดที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินพ.ศ 2562 มีสถานการณ์ทั้งหมด 20 จังหวัด 106 อำเภอ 592 ตำบล 2 เทศบาล 5,065 หมู่บ้าน/ชุมชน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย น่าน นครพนม มหาสารคาม บึงกาฬ หนองคาย บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา เพชรบูรณ์ อุทัยธานี นครราชสีมา อุตรดิตถ์ ชัยนาท นครสวรรค์ สุโขทัย สุพรรณบุรี พะเยา และจังหวัดสกลนคร จากกรณีดังกล่าว

นายยศวัจน์ ชัยวัฒนสิริกุล กรรมการผู้แทนเกษตรกร ในฐานะรองประธานคณะกรรมการบริหารและประธานคณะทำงานกลั่นกรองวาระการประชุมคณะกรรมการบริหารกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”  เรื่องมาตรการภัยแล้งสำนักงานกองทุนฟื้นฟูฯ ไม่มีเงินที่จะไปจ่ายเยียวยาได้เลย เพราะกฎหมายไม่ให้แต่มีระเบียบของคณะกรรมการฟื้นฟูฯ สามารถยกหนี้ได้ในกรณีที่ประสบภัยพิบัติ ตามที่ราชการได้ประกาศตามพื้นที่ประสบภัยพิบัติ

ปัจจุบันกองทุนฟื้นฟูได้ซื้อหนี้ให้สมาชิกมีอยู่กว่า 3 หมื่นราย หากรายไหนอยู่ในพื้นที่ภัยพิบัติตามที่ราชการประกาศให้สำนักงานหรือเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ดังกล่าวนั้นสำรวจพื้นที่เสียหาย ให้เร่งมาแจ้งเพื่อที่จะเข้าสู่กระบวนการขยายเวลาการชำระหนี้ตามสัญญา เรื่องนี้อยู่ในอำนาจของคณะกรรมการเพื่อจะพิจารณาอาจจะยกเลิกไม่คิดดอกเบี้ย จะได้ไม่มีเบี้ยปรับเพื่อเป็นการช่วยแก้ปัญหา

หรือส่วนเรื่องเงินกู้ยืม จำนวน 10,801 องค์กร มีเกษตรกรกว่า 3 แสนราย เฉพาะถ้าอยู่ในพื้นที่ภัยพิบัติเมื่อสำรวจแล้วเกิดความเสียหายจะไม่คิดดอกเบี้ย หรือขยายเวลาการชำระหนี้โครงการออกไปอีก หรือกรณีที่เป็นภัยพิบัติแล้วเสียหายทั้งหมดก็จะได้รับการพิจารณาเพื่อยกเลิกหนี้ หรือจำหน่ายหนี้สูญที่เกิดจากการกู้ยืม เป็นต้น

อย่างไรก็ดีในส่วนนี้กำลังพิจารณาเพิ่มเติมในเรื่องระเบียบบางอย่างไม่ชัดเจนให้ครอบคลุมกับการแก้ปัญหาเรื่องของการฟื้นฟูให้ครบถ้วนที่จะมีการประชุมในวันที่ 23 มกราคมนี้   นี่เป็นเรื่องเร่งด่วนที่ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้ง จึงได้มีนโยบายสั่งการให้สำนักงานในพื้นที่ที่ประสบภัยพิบัติได้เร่งสำรวจ

สอดคล้องกับนายวิเชียร บุตรศรี กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมาจากผู้เชี่ยวชาญ เขต 8  (ลำปาง) กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.)  มีความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า นอกจากทางรัฐบาลยังมีการดูแลผ่าน ปภ. โดยกรมส่งเสริมการเกษตร ที่จะไปช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน แบ่งเป็น 2 หมวดได้แก่ เงินทดรองจ่าย ที่จ่ายชดเชยเยียวยา โดยให้ตามหลักเกณฑ์ หากเงินในจังหวัดไม่เพียงพอภัยแล้งขยายวงกว้าง ผู้ว่าราชการจังหวัดนั้นๆ ก็สามารถขอใช้งบกลางได้ ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้ตั้งงบประมาณไว้ที่ 6 แสนล้านบาท

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 22 มกราคม 2563

เกษตรฯ เข้มเผาตอซัง-กรมชลฯวอนประหยัดน้ำชี้อ่างใหญ่เหลือแค่ 1.8พัน ล้านลบ.ม.

นายชาตรี บุญนาค รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า การรณรงค์หยุดเผาตอซัง กรมส่งเสริมการเกษตร พบว่าเกษตรกรให้ความร่วมมือเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยกว่า 80% และหันมาวิธีการไถกลบแทน แต่ในปีนี้เนื่องจากภัยแล้งมีความรุนแรง พื้นที่นาแห้งและแข็งอย่างรวดเร็ว การไถกลบไม่สามารถทำได้ เกษตรกรจึงใช้วิธีการเผาทำลาย ทำให้ผลการรณรงค์การลดเผาตอซัง ขณะนี้ทำได้ประมาณ 70-75% สำหรับ มลพิษที่เกิดการเผาทำลายตอซังดังกล่าว เป็นฝุ่นควันขนาดใหญ่ หรือพีเอ็ม 10 และภาคการเกษตรมีส่วนสร้างมลพิษที่เกิดขึ้นในเขตกรุงเทพฯเพียง 5% เท่านั้น

จากพื้นที่ทำการเกษตรในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล โดยการเผาในพื้นที่เกษตรจะทำให้ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กสะสมเพิ่มขึ้น รวมถึงการเผาในพื้นที่การเกษตรยังเป็นการทำลายโครงสร้างและความอุดมสมบูรณ์ของดินและส่งผลต่อการเจริญเติบโตของพืชด้วยเช่นกัน

นายชาตรี กล่าวต่อว่า สำหรับ ผลการดำเนินงานในปี 2562 ที่ผ่านได้เพิ่มพื้นที่ดำเนินการอีกกว่า 26 จังหวัด โดยมอบให้กรมส่งเสริมการเกษตรเป็นหน่วยงานหลักร่วมกับหน่วยงานในสังกัดระดับพื้นที่ ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนเกษตรเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร สร้างความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรจำนวน 15,720 ราย เพื่อสร้างเป็นวิทยากรด้านการทำการเกษตรปลอดการเผารวมทั้งสร้างชุมชนเกษตรปลอดการเผาต้นแบบ จำนวน 166 แห่ง ดำเนินการในพื้นที่ 26 จังหวัด ซึ่งพบว่ามี 16 จังหวัดที่มีการเผาในพื้นที่การเกษตรที่สูง อาทิ กาญจนบุรี ลพบุรี สกลนคร และอุดรธานี เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันกรมส่งเสริมการเกษตรได้สั่งการไปยังจังหวัดแล้ว ให้เร่งดําเนินการควบคุม กํากับดูแล และเข้มงวดไม่ให้เกิดการเผาในพื้นที่การเกษตรในความรับผิดชอบอย่างเคร่งครัด และเร่งสร้างการรับรู้ให้เกษตรกรตระหนักถึงผลกระทบจากการเผาในเวทีถ่ายทอดความรู้ต่างๆ รวมทั้งให้ความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่ในการแก้ไขและป้องกันปัญหาหมอกควันที่เกิดจากการเผา และฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกิดจากสาเหตุอื่นๆ ตลอดจนให้การสนับสนุนมาตรการ ที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตร

ขณะที่ นายสัญญา แสงพุ่มพงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมชลประทาน (ด้านบำรุงรักษา) เปิดเผยว่า ในโค้งสุดท้าย 100 วันของฤดูแล้งที่จะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 เมษายนนี้ มีปริมาณน้ำที่ใช้การได้ในเขตลุ่มเจ้าพระยา ที่มาจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 เขื่อน คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เพียง 3,931 ล้านลูกบากศ์เมตร (ลบ.ม.) หรือคิดเป็น 22% ของปริมาณน้ำใช้การได้

ดังนั้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกันไว้เพื่อการบริโภคอุปโภค และรักษาระบบนิเวศเท่านั้น ซึ่งตามแผนของกรมฯ จะระบายน้ำใน 100 วัน ก่อนสิ้นสุดฤดูแล้งรวมประมาณ 1,800 ล้าน ลบ.ม. หรือวันละ 18 ล้าน ลบ.ม. โดยจะระบายเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพื่อไล่น้ำเค็มในวันที่ 24-26 มกราคม 2563 แต่จะอยู่ในปริมาณที่ไม่เกินจากแผน กรณีที่การไล่น้ำเค็มต้องการใช้น้ำมากกว่านี้ กรมฯจะผันน้ำจากแม่กลอง ที่ขอไว้ในปีนี้รวม 850 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งปัจจุบันมีการใช้ไปแล้ว 350 ล้านลบ.ม. ทั้งนี้ ต้องขอความร่วมมือจากประชาชนที่อาศัย อยู่ตามแนวคลองส่งน้ำต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ให้งดการใช้น้ำในระยะนี้ ยกเว้นการใช้น้ำเพื่อผลิตประปาตามรอบเวรที่กำหนดไว้ อย่างไรก็ตาม กรมฯ จะดำเนินการบริหารจัดการน้ำตามแผนการจัดสรรน้ำที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด เพียงพอใช้ต่อการอุปโภคบริโภค การผลิตประปา และรักษาระบบนิเวศ ไปจนถึงต้นฤดูฝนปีหน้า

จาก https://www.prachachat.net  วันที่ 22 มกราคม 2563

กรมชลฯ ลั่น 100 วันแล้งอันตราย เขตลุ่มเจ้าพระยาจะใช้น้ำได้ไม่เกิน 1,800 ล้านลบ.ม.เท่านั้น

กรมชลประทาน ลั่น 100 วันแล้งอันตราย เขตลุ่มเจ้าพระยาจะใช้น้ำได้ไม่เกิน 1,800 ล้านลบ.ม. เท่านั้น แบ่งรอบสูบน้ำประปา ส่วนนาปรังเกินแผน 1.75 ล้านหมดสิทธิ์ ใช้ ด้านน้ำเค็มรุกอีก 24-26 ม.ค.นี้

กรมชลฯ ลั่น 100 วันแล้ง – นายสัญญา แสงพุ่มพงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมชลประทาน (ด้านบำรุงรักษา) เปิดเผยว่า ในโค้งสุดท้าย 100 วันของฤดูแล้งที่จะสิ้นสุดลงในวันที่ 30 เม.ย. นี้ มีปริมาณน้ำที่ใช้การได้ในเขตลุ่มเจ้าพระยา ที่มาจากอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 เขื่อน คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เพียง 3,931 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็น 22% ของปริมาณน้ำใช้การได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องกันไว้เพื่อการบริโภคอุปโภค และรักษาระบบนิเวศ เท่านั้น

ซึ่งตามแผนของกรมชลประทานจะระบายน้ำใน 100 วันนี้รวมประมาณ 1,800 ล้านลบ.ม. หรือวันละ 18 ล้านลบ.ม. โดยจะระบายเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพื่อไล่น้ำเค็มในวันที่ 24-26 ม.ค. แต่จะอยู่ในปริมาณที่ไม่เกินจากแผน กรณีที่การไล่น้ำเค็มต้องการใช้น้ำมากกว่านี้ กรมชลประทานจะผันน้ำจากแม่กลอง ที่ขอไว้ในปีนี้รวม 850 ล้านลบ.ม. ปัจจุบันใช้ไปเพียง 350 ล้านลบ.ม.

ดังนั้นการทำนาปรังในเขตชลประทาน ลุ่มเจ้าพระยา ที่มีอยู่ 1.75 ล้านไร่ จึงจะไม่ได้รับการสนับสนุนจากปริมาณน้ำดังกล่าว และเพื่อป้องกันไม่ให้เกษตรกรนำน้ำไปใช้ กรมชลประทานจะงดนำน้ำเข้าระบบ ส่วนผู้ใช้น้ำเพื่อการประปา จะกำหนดให้สูบเป็นบางช่วงเวลา เท่านั้น รวมทั้งได้ขอความร่วมมือกับส่วนปกครองท้องถิ่นให้เพิ่มความเข้มงวดของการขโมยสูบน้ำด้วย แผนดำเนินการดังกล่าวจะส่งผลให้ยังมีปริมาณน้ำเหลือเพื่อสำรองไว้ใช้ช่วงต้นฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพ.ค.-ก.ค. ที่กรมอุตุนิยมวิทยา ระบุแล้วว่าฝนจะมีน้อยและตกล่าช้า หากทุกอย่างเป็นไปตามแผนดังกล่าว เขตลุ่มเจ้าพระยาจะมีน้ำอุปโภคบริโภคและระบบนิเวศ ยาวไปจนถึงเดือนก.ค.

สำหรับแผนการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2562/2563 (ระหว่าง 1 พ.ย. 2562-30 เม.ย. 2563) เพื่อสนับสนุนการใช้น้ำในเขตชลประทาน มีปริมาณน้ำจัดสรรจากอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 17,699 ล้านลบ.ม. น้อยกว่าปีที่แล้วประมาณ 7,000 ล้านลบ.ม. เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา 4 เขื่อนหลัก มีปริมาณน้ำจัดสรรรวมทั้งสิ้น 4,000 ล้านลบ.ม. น้อยกว่าปีที่แล้ว 3,700 ล้านลบ.ม. ด้านผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งทั้งประเทศ ปัจจุบัน (21 ม.ค. 2563) มีการระบายน้ำตามแผนฯ ไปแล้วจำนวน 7,234 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 41% ของแผนจัดสรรน้ำฯ เฉพาะในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการระบายน้ำตามแผนฯไปแล้วจำนวน 2,134 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 53% ของแผนจัดสรรน้ำฯ

ด้านการบริหารจัดการน้ำเพื่อควบคุมค่าความเค็มในลุ่มน้ำปราจีน-บางปะกง นั้น กรมชลประทาน ได้วางแผนควบคุมค่าความเค็มในแม่น้ำบางปะกง โดยการระบายน้ำจากเขื่อนขุนด่านปราการชล ในช่วงเดือนธ.ค. 2562 รวม 4.5 ล้านลบ.ม. และระบายน้ำจากเขื่อนนฤบดินทรจินดา รวม 7.7 ล้านลบ.ม. เพื่อชะลอความเค็มในแม่น้ำบางปะกง ทั้งนี้ ยังได้ให้โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระองค์ไชยานุชิต รับน้ำผ่านประตูระบายน้ำ (ปตร.) บางขนาก เข้าคลองบางขนากและคลองข้างคันกั้นน้ำ ในช่วงที่ค่าความเค็มในแม่น้ำบางปะกงบริเวณปากคลองบางขนากไม่เกิน 1 กรัมต่อลิตร รวมไปถึงการติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำบริเวณปากคลองบางขนาก เพื่อเร่งระบายน้ำเข้าคลองบางขนากและคลองข้างคันกั้นน้ำ ในช่วงที่ค่าความเค็มในแม่น้ำบางปะกงต่ำกว่า 1 กรัมต่อลิตร สำหรับสำรองน้ำไว้ใช้ในคลองบางขนากให้ได้มากที่สุด เพื่อให้การผลักดันความเค็มในแม่น้ำบางปะกงให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

“แนวทางในการแก้ไขปัญหาน้ำดิบในการผลิตประปาในพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา นั้น กรมชลประทาน ได้ร่วมหารือกับการประปาส่วนภูมิภาคจ.ฉะเชิงเทรา เพื่อวางมาตรการในการแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำดิบผลิตประปา โดยเบื้องต้นจะเพิ่มการระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ และเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน ลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา จากนั้นจะเพิ่มการรับน้ำเข้าสู่คลองชัยนาท-ป่าสัก ผ่านประตูระบายน้ำมโนรมย์ พร้อมกับเพิ่มปริมาณน้ำ ผ่านประตูระบายน้ำพระนารายณ์ เพื่อลำเลียงน้ำลงสู่ทุ่งเจ้าพระยาตอนล่าง”

นอกจากนี้ ยังจะพิจารณาเพิ่มการระบายน้ำ ผ่านคลอง 29 ไปลงคลองระบายน้ำที่ 15 คลองระบายน้ำที่ 13 คลองบึงฝรั่ง และคลองพระองค์ไชยานุชิต ตามลำดับ คาดว่าจะมีปริมาณน้ำเพียงพอสำหรับผลิตประปาในเขตพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งต้องขอความร่วมมือจากประชาชนที่อาศัย อยู่ตามแนวคลองส่งน้ำต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้น ให้งดการใช้น้ำในระยะนี้ ยกเว้นการใช้น้ำเพื่อผลิตประปาตามรอบเวรที่กำหนดไว้

อย่างไรก็ตาม กรมชลประทาน จะดำเนินการบริหารจัดการน้ำตามแผนการจัดสรรน้ำที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด เพียงพอใช้ต่อการอุปโภคบริโภค การผลิตประปา และรักษาระบบนิเวศ ไปจนถึงต้นฤดูฝนปีหน้า จึงขอให้ทุกฝ่ายร่วมแรงร่วมใจกันใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุดด้วย

จาก https://www.khaosod.co.th  วันที่ 22 มกราคม 2563

3 M กระทรวงทรัพยากรน้ำเปลี่ยนโฉมจัดการน้ำจากรับเป็นรุก

แม้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) จะออกแบบให้เป็นหน่วยงานกำกับนโยบาย (Regulator) ด้านน้ำของประเทศ โดยบูรณาการการทำงานเข้ากับหน่วยงานด้านน้ำกว่า 40 หน่วยแล้วก็ตามแต่ก็ขับเคลื่อนได้ไม่เต็มสูบ ด้วยข้อจำกัดอย่างน้อย 2 ประการ

หนึ่ง แม้ สทนช. มี พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 ในมือเป็นตัวช่วย แต่ในทางปฏิบัติก็มิอาจก้าวข้ามเส้นแบ่งพรมแดนระหว่างกระทรวงได้ง่ายดาย เพราะแต่ละกระทรวงต่างมีกฎหมายของตัวเองกำกับอยู่แล้วเช่นกัน

สทนช. มีสถานะเทียบเท่าสำนักงานปลัดกระทรวง ในที่นี้คือสำนักนายกรัฐมนตรี

สอง กำลังคนและงบประมาณ สทนช. ไม่อาจเพิ่มกำลังคนได้มากและเร็วเท่ากับปริมาณงานที่ต้องทำ ไม่ต้องพูดถึงงบประมาณที่ส่วนใหญ่ยังอยู่ในหน่วยงานนั้นๆ ที่ถือเป็นหน่วยปฏิบัติ (Operation) อยู่แล้ว

เท่าที่ผ่านมา สทนช. ทำงานเกินกำลังก็ว่าได้ เพราะต้องเร่งขับเคลื่อนด้วยความเร็วทุกประเด็น ในฐานะแกนนำกำกับด้านน้ำให้หน่วยงานปฏิบัติเดินตาม

ถึงกระนั้น ยังเห็นภาพความสำเร็จในการจัดตั้ง สทนช. เป็นหน่วยงานกำกับ แม้จะเป็นองค์กรใหม่อายุกำเนิดเพียงกว่า 2 ปีเท่านั้น แต่ก็สามารถขับเคลื่อนภาพใหญ่ได้มากมาย ตั้งแต่ยุทธศาสตร์น้ำของประเทศ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) โครงการขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และแนวทางการศึกษาพัฒนารูปแบบใหม่ที่สร้างความสมดุลให้ทุกภาคส่วนในพื้นที่ และ ฯลฯ รวมทั้งความพยายามแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างเช่นภัยแล้ง และอุทกภัยที่เกิดขึ้นทุกปี

ส่วนหนึ่ง สทนช. ออกแบบให้เป็นองค์กรกลางเชื่อมโยงระหว่างกระทรวง เพื่อแก้ปัญหาติดขัดได้ โดยเฉพาะ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ที่มักติดปัญหาระหว่างกระทรวง ซึ่งโครงการขนาดใหญ่ 59 โครงการได้รับการอนุมัติดำเนินการไปแล้ว 19 โครงการ ที่เหลืออยู่ระหว่างการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง

เช่นเดียวกับแผนงานโครงการและงบประมาณเกี่ยวกับน้ำ จากเดิมที่หน่วยปฏิบัติต่างคนต่างทำ ได้บูรณาการแผนงานโครงการเข้าด้วยกันเป็นหนึ่งเดียว เพื่อลดความซ้ำซ้อนและลดความสิ้นเปลืองงบประมาณ รวมทั้งยังกระจายงานให้หน่วยงานในพื้นที่ได้มีบทบาทและศักยภาพเพิ่มขึ้นด้วย

“บางอย่างเราทำได้ แต่บางอย่างเขาก็มีกฎหมายในกำกับของเขา มีเจ้ากระทรวงที่จะพิจารณา ดังนั้นการขอความร่วมมือจึงไม่อาจคาดหวังผลได้เต็มที่” ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการ สทนช. ยอมรับกลายๆ ว่า สทนช. เองมีข้อจำกัด ไม่อาจทำทุกอย่างได้

จึงเป็นที่มาของการพูดถึงกระทรวงใหม่ “กระทรวงทรัพยากรน้ำ” หนาหูขึ้น ทั้งจากความเป็นจริงที่ปรากฏอยู่ และทั้งจากจุดเริ่มต้นการจัดตั้ง สทนช. ที่มองทะลุจุดสุดท้าย คือกระทรวงทรัพยากรน้ำอยู่แล้ว

พูดง่ายๆ ถ้าจัดตั้ง สทนช. ขึ้นมาขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำของประเทศอย่างเป็นรูปธรรมไม่ได้ก็ป่วยการพูดถึงการกำเนิดกระทรวงทรัพยากรน้ำ

แม้วันนี้ สทนช. ตั้งไข่ได้เร็วในชั่วระยะเวลาเพียง 2 ปีท่ามกลางของปัญหาที่เผชิญอยู่ โดยเฉพาะการบูรณาการการทำงานเพื่อให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันในลักษณะรุกมากกว่าตั้งรับสถานการณ์เพียงอย่างเดียว

อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่า การบริหารจัดการน้ำของประเทศ ณ ขณะนี้ยังมีช่องโหว่ในประเด็น 3 M ประกอบด้วย เงิน (Money) การบริหารจัดการ (Management) และ กำลังคน (Manpower)

เรื่องเงิน เอาเข้าจริงมีงบประมาณเพียง 1 ใน 3 ของความต้องการเท่านั้น ยังต้องมองถึงการจัดหางบประมาณจำนวนมากในอนาคตด้วย ซ้ำร้ายการบูรณาการแผนงานตอนตั้งงบประมาณได้เพียง 50-60% แทนทั้ง 100%

เรื่องการบริหารจัดการน้ำ โดยกลไกของ สทนช. ถือว่ายังไม่เบ็ดเสร็จ ยังอยู่ระหว่างการดำเนินการปฏิรูปกรรมการลุ่มน้ำ และรอแต่งตั้งอนุกรรมการน้ำระดับจังหวัด ประกอบกับ สทนช. ขาดกำลังบุคลากรมากมาย มีแต่คณะทำงานที่ต้องยืมตัวจากหน่วยงานอื่นมาทำงานด้วยหลายคณะ

บางเรื่องที่สำคัญยิ่งยวดต่อการบริหารจัดการน้ำ อาทิ คลังข้อมูลน้ำ กระจายตัวอยู่คนละที่กับ สทนช. ไม่อาจปรับเปลี่ยนวิธีบริหารจัดการน้ำ จากรับเป็นรุก เพื่อให้ทันสถานการณ์ปัญหาและการแก้ไข

เรื่องคนซึ่งเป็นเรื่องสุดท้าย ยังคงกระจายอยู่ที่กระทรวงเดิม แทนการรวมศูนย์เข้าด้วยกัน ทำให้การควบคุมสั่งการไม่อาจตอบสนองปัญหาได้เร็วพอ

การยกระดับการบริหารจัดการน้ำภายใต้ สทนช. ในปัจจุบัน เป็นกระทรวงทรัพยากรน้ำในอนาคต จึงต้องรับรู้และแก้ไขช่องโหว่ประเด็นปัญหา 3 M ดังกล่าวก่อน ทำได้สำเร็จเมื่อไรก็จัดตั้งกระทรวงทรัพยากรน้ำได้ทันที เมื่อนั้น

เป็นกระทรวงทรัพยากรน้ำที่มีเอกภาพสมบูรณ์ในตัวเอง บรรลุเป้าหมายการบริหารจัดการน้ำของประเทศอย่างมีทิศทางในลักษณะการทำงานแบบรุกมากกว่ารับ

จาก https://siamrath.co.th  วันที่ 22 มกราคม 2563

ผู้การตำรวจสั่งทุก สภ.ตรวจจับ มือเผาป่าเผาอ้อย-รถขนอ้อยเผาก็จับด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่สำนักงานตำรวจภูธรจังหวัดเลย พล.ต.ต.วิบูลย์ วงค์ก้อม ผบก.ภ.จว.เลย มีคำสั่งให้ สถานีตำรวจภูธรทุกแห่งในจังหวัดเลย เข้มงวดการจับกุมมือเผาป่า และเผาอ้อย รวมทั้งการขนส่งขนอ้อยที่เผา ซึ่งทำให้มีเศษฝุ่นปลิวว่อนสร้างความรำคาญกับผู้สัญจร ให้จับและดำเนินคดี ทั้งจำทั้งปรับ จนถึงที่สุดแห่งคดี หลังจากที่ชาวบ้านได้ลักลอบเผาอ้อย เร่งส่งเข้าโรงงานน้ำตาล ก่อนที่โรงงานจะปิดหีบอ้อยในกุมภาพันธ์ และบางจุดได้ลุกลามไหม้เข้าไปในป่า ทำให้เกิดหมอกควันปกคลุมทั้งเมือง ชาวบ้านต่างผจญกับทั้งเศษฝุ่นจิ๋ว PM2 และขี้เถ้าของใบอ้อยหรือหิมะดำ ลอยปลิวว่อนในอากาศ สร้างความเดือนร้อนให้กับประชาชนทั้งจังหวัด

ด้าน พล.ต.ต.วิบูลย์ วงค์ก้อม เผยว่า ในขณะที่ตำรวจได้วางมาตรการการเผาอ้อยของชาวบ้าน ไว้ 2 แนวทาง แนวทางแรกเรื่องของการป้องกันและการประชาสัมพันธ์ โดยผ่านผู้นำชุมชน และแนวทางที่ 2 การดำเนินคดี เนื่องจากสภาพของจังหวัดเลยแทบจะ 80 % ของพื้นที่เป็นภูเขา เป็นสภาพเป็นป่า ฉะนั้นเมื่อมีการเผาอ้อย จึงมีโอกาสที่จะรุกลามเข้าไปในเขตป่า เขตอุทยานแห่งชาติ และถ้าหากรุกลามไปแล้วยากที่จะดำเนินแก้ไข ในเรื่องนี้ได้รับคำสั่งจากท่านผู้ว่าราชการจังหวัดเลย นายชัยวัฒน์ ชื่นโกสุม ให้ตำรวจทุกสถานีให้จัดชุดเคลื่อนที่เร็วออกร่วมกับฝ่ายปกครอง หลังจากได้รับการแจ้งเหตุเรื่องของการเผาป่า เผาอ้อย ซึ่งชุดนี้ต้องเร่งไปสถานที่เกิดเหตุ ถ้าพบผู้กระทำความผิดต้องทำการจับกุมและให้ดำเนินคดีถึงที่สุด แต่ถ้าหากไม่พบให้เจ้าหน้าที่ทำการสืบสวนสอบสวนหาผู้กระทำผิดมาลงโทษ และทางตำรวจเองได้กำชับให้ตำรวจในพื้นที่หาข่าวและป้องปราม สืบว่าพื้นไหนที่คาดว่าจะเผาอ้อย ให้ซุ่มกำลังติดตามหากพบกำลังจะเผาให้รีบจับมาดำเนินคดีทันที 

พล.ต.ต.วิบูลย์ กล่าวต่ออีกว่า ในเรื่องความผิดต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงเป็นเรื่องๆไป หากที่ชัดเจนในเรื่องของกฎหมายอาญาที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้อันเป็นอันตรายต่อทรัพย์สินอื่น และอีกส่วนตาม พรบ.สาธารณสุข การเกิดฝุ่นละออง หากไหม้ใกล้ทางหลวงก็ใช้ พรบ.ทางหลวง ส่วนในเรื่องการขนอ้อยที่เผา ที่บรรทุกมาที่มีลักษณะตกหล่น มีฝุ่นละอองต่างๆ ได้กำชับให้ตำรวจที่พบเห็นดำเนินคดีตามกฎหมายการจราจรทางบกทันที

จาก https://www.banmuang.co.th  วันที่ 21 มกราคม 2563

นักวิชาการสิ่งแวดล้อมโพสต์ ปัญหาเผาไร่อ้อยสร้างปรากฎการณ์หิมะดำ ต้นเหตุ PM2.5 ฟุ้งกระจาย 57 จังหวัด

เมื่อวันที่ 20 มกราคม นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Sonthi Kotchawat ระบุว่า สาเหตุหนึ่งของการเผาไร่อ้อยทำให้ฝุ่นPM2.5ฟุ้งกระจายในพื้นที่57จังหวัดและ กทม.ในปีนี้

1.คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลได้มีมติเห็นชอบในหลักการและมาตรการในการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ในการประชุมครั้งที่ 9/2562วันที่ 3พฤศจิกายน 2562 สรุปดังนี้

1.1.กำหนดให้โรงงานน้ำตาลรับอ้อยไฟไหม้ในฤดูกาลผลิตปี2562/2563ได้ไม่เกินร้อยละ50และให้มีการทบทวนมาตรการและแนวทางการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้เมื่อสิ้นสุดฤดูกาลผลิตทุกปี

1.2.กำหนดให้มีการหักเงินชาวไร่อ้อยที่ส่งอ้อยไฟไหม้ให้แก่โรงงานในอัตราตันละ 30บาทและให้จ่ายให้ชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดคุณภาพดีเต็มจำนวนโดยคิดแยกเป็นรายโรงและพิจารณาเบี้ยปรับสำหรับโรงงานน้ำตาลที่มีอ้อยไฟไหม้เข้าหีบเกินกว่ากำหนด(ร้อยละ50)ในอัตราตันละ12 บาทโดยให้นำเงินส่วนนี้เป็นรายได้ของ กองทุนอ้อยและน้ำตาลเพื่อนำไปใช้ในโครงการลดปัญหาอ้อยไฟไหม้ต่อไป

2.มติของราชการให้มีการเผาไร่อ้อยได้ทำให้เกิดการเผาไร่อ้อยอย่างน้อย6ล้านไร่จากที่มีการปลูกอ้อย12ล้านไร่ใน57 จังหวัดที่มีโรงงานน้ำตาลตั้งอยู่เป็นอย่างน้อยซึ่งค่อนจะข้างขัดแย้งกับแผนปฎิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นPM2.5ที่ครม.มีมติเมื่อวันที่1ตุลาคม 2562ที่สั่ง”ห้ามเผา”จนก่อให้เกิดปรากฎการณ์หิมะดำและฝุ่นPM2.5ฟุ้งกระจายเต็มเมืองทุกวันนี้

จาก https://www.matichon.co.th  วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563

สั่งจนท.คุมเข้มห้ามเผาลดฝุ่นควันพิษ

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า ได้สั่งการไปยังจังหวัดให้เร่งดำเนินการควบคุมไม่ให้มีการเผาในพื้นที่การเกษตรในความรับผิดชอบอย่างเคร่งครัด และเร่งสร้างการรับรู้ให้เกษตรกรตระหนักถึงผลกระทบจากการเผา รวมทั้งให้ความร่วมมือกับหน่วยงานในพื้นที่แก้ไขป้องกันปัญหาหมอกควันที่เกิดจากการเผาและฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกิดจากสาเหตุอื่น ตลอดจนสนับสนุนมาตรการ ที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตร ได้แก่ ส่งเสริมให้เกษตรกรเตรียมพื้นที่เพาะปลูก โดยไถกลบตอชังทดแทนการเผา ส่งเสริมการนำเศษวัสดุทางการเกษตรมาแปรสภาพให้เกิดประโยชน์ เช่น ทำปุ๋ยหมัก ปลูกเห็ดฟาง ผลิตอาหารสัตว์ ทำถ่านอัดแท่งหรือของประดับ โดยเกษตรกรสามารถดาวน์โหลดคู่มือและคำแนะนำการทำเกษตรปลอดการเผาได้ที่ http://www.royalagro.doae.go.th/?page_id=3794 กรมยังนำมาตรการที่เกี่ยวข้องกับภาคการเกษตรเข้าที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด (อ.พ.ก.) และคณะกรรมการอำนวยการขับเคลื่อนงานโยบายสำคัญและการแก้ปัญหาภาคเกษตรระดับจังหวัด (Chief of Operation : CoO) เพื่อยกระดับความร่วมมือและความสำคัญ ทั้งนี้ ขอความร่วมมือประชาชนหากพบการเผาเศษวัสดุในพื้นที่การเกษตรให้แจ้งสายด่วนฉุกเฉิน 1784 สำหรับทุกพื้นที่ หรือ 1362 ตลอด 24 ชั่วโมงสำหรับพื้นที่ป่า

ล่าสุดในปี 2562 กรมส่งเสริมการเกษตรตลอดจนหน่วยงานในสังกัดระดับพื้นที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนเกษตรเพื่อป้องกันแก้ปัญหาการเผาในพื้นที่การเกษตร สร้างความรู้ความเข้าใจให้เกษตรกรแล้ว 15,720 ราย สร้างเป็นวิทยากรด้านทำการเกษตรปลอดการเผา รวมทั้งสร้างชุมชนเกษตรปลอดการเผาต้นแบบ 166 แห่ง ในพื้นที่ 26 จังหวัด ประกอบด้วย 10 จังหวัดภาคเหนือตอนบน ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน น่าน แพร่ พะเยา ตาก และอุตรดิตถ์ และ 16 จังหวัดที่มีการเผาในพื้นที่การเกษตรสูง ได้แก่ กาญจนบุรี กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครนายก นครพนม นครราชสีมา นครสวรรค์ บุรีรัมย์ ปราจีนบุรี พิจิตร เพชรบูรณ์ ร้อยเอ็ด ลพบุรี สกลนคร และอุดรธานี ตลอดจนร่วมมือกับหน่วยงานภาคีในพื้นที่ทั้งภาครัฐและเอกชนรณรงค์ในท้องถิ่นร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ช่วงวิกฤติหมอกควันภาคเหนือ จัดทำแปลงนำร่องสาธิตเทคโนโลยีการจัดการเศษวัสดุทดแทนการเผา ได้แก่ ไถกลบตอซัง 135 แห่ง 4,110 ไร่ ลดต้นทุนใช้ปุ๋ยเคมี คิดเป็นมูลค่า 1,407,144 บาท ผลิตปุ๋ยอินทรีย์/ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยพืชสด/วัสดุเพาะปลูก 307 แห่ง 71,872 กิโลกรัม สร้างรายได้ 287,488 บาท การเพาะเห็ด 10,100 กิโลกรัม สร้างรายได้ 1,515,000 บาท ผลิตถ่านอัดแท่งจากซังข้าวโพด 1,150 กิโลกรัม สร้างรายได้ 23,000 บาท และปลูกพืชทางเลือก 14 แห่ง 35 ไร่ สำหรับปี 2563 เริ่มอบรมเกษตรกรแล้ว วางแผนสร้างชุมชนเกษตรปลอดการเผาต้นแบบรวม 210 แห่ง และสร้างเกษตรกรเป็นวิทยากรทำการเกษตรปลอดการเผารวม 16,800 ราย ซึ่งจะต่อยอดขยายผลการดำเนินงานดังกล่าวต่อไป

จาก https://www.naewna.com วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563

‘เงินบาท’ เปิดตลาดเช้านี้ ‘แข็งค่า’ ที่ 30.36 บาทต่อดอลลาร์

ตลาดการเงินไม่เปลี่ยนแปลงมาก ฝั่งเงินบาทและเยนยังอ่อนค่าลงได้เพราะเป็นสกุลเงินความเสี่ยงต่ำ

นายจิติพล พฤกษาเมธานันท์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดเช้านี้แข็งค่าที่ระดับ 30.36 บาทต่อดอลลาร์จากช่วงปิดสิ้นวันทำการก่อนที่ 30.38 บาทต่อดอลลาร์

ในฝั่งตลาดเงินคาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงไม่มากแม้การปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันและทองคำจากความเสี่ยงในตะวันออกกลางจะกดดันเงินดอลลาร์ให้อ่อนค่าแต่ระหว่างสัปดาห์ก็มีการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่นและยุโรปคั่นอยู่พร้อมกับหุ้นสหรัฐก็ปรับตัวขึ้นได้ดีกว่าทั่วโลกจึงมีความเป็นไปได้สูงที่ดอลลาร์จะยังน่าสนใจกว่าสกุลเงินอื่น

ฝั่งเงินบาทเชื่อว่ายังเป็นสกุลเงินที่เป็นตัวของตัวเองสูงทั้งจากการเข้าดูแลสภาพคล่องของธนาคารแห่งประเทศไทยและทิศทางของดอลลาร์และสกุลเงินเอเชียที่แข็งค่าพร้อมกันปัจจัยดังกล่าวจะทำให้สกุลเงินความเสี่ยงต่ำอย่างเงินบาทหรือเงินเยนอ่อนลง

มองกรอบเงินบาทวันนี้30.30-30.45 บาทต่อดอลลาร์และคาดว่าจะเคลื่อนไหวในกรอบ30.25-30.75 บาทต่อดอลลารในสัปดาห์นี้

สำหรับปัจจัยที่ต้องติดตามทั้งสัปดาห์นี้มีมากมายไม่ว่าจะเป็นการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันจากความไม่แน่นอนในตะวันออกกลางWorld Economic Forum ที่กรุงดาวอซช่วงวันที่20 ถึงวันที่24  การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางญี่ปุ่น(BOJ) ในวันที่21 และธนาคารกลางยุโรป(ECB) ในวันที่23 ขณะเดียวกันนายกรัฐมนตรีอังกฤษก็จะนำข้อตกลงการออกจากสหภาพยุโรป(Brexit) ขึ้นโหวตในสภาช่วงวันจันทร์ด้วยจึงมีความเป็นไปได้ที่ตลาดจะซื้อขายอย่างระมัดระวัง

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2563

‘สุริยะ’มั่นใจ‘อ้อย’ทะลุตันละพัน ชงครม.เคาะหมื่นล้านช่วยชาวไร่ซื้อปัจจัยผลิต

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังจากให้ผู้บริหาร 4 องค์กรชาวไร่อ้อย ประกอบด้วย สหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน สหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย และสมาพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย เข้าพบเพื่อหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย เนื่องจากราคาอ้อยตกต่ำ และมาตรการสนับสนุนจากภาครัฐในการช่วยเหลือแก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดก่อนส่งโรงงาน ว่า จากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 เห็นชอบการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้น และผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2562/2563 ในอัตราอ้อยตันละ 750 บาท ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. และกำหนดอัตราขึ้นลงของราคาอ้อยเท่ากับ 45 บาทต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส. และผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2562/2563 เท่ากับ 321.43 บาทต่อตันอ้อย ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ

นายสุริยะ ระบุว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการกำกับดูแลอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไม่ได้นิ่งนอนใจ ได้ทราบถึงความเดือดร้อนของพี่น้องชาวไร่อ้อย โดยได้สั่งการให้สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เร่งรัดเสนอโครงการเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยเพื่อซื้อปัจจัยการผลิต ฤดูการผลิตปี 2562/2563 ภายใต้กรอบวงเงิน 10,000 ล้านบาท เสนอ ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบ โดยมีนโยบายในการให้ความช่วยเหลือเป็น 2 ส่วน คือ วงเงิน 6,500 ล้านบาท ช่วยเหลือปัจจัยการผลิต และวงเงิน 3,500 ล้านบาท ช่วยเหลือเฉพาะชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสด

“มั่นใจว่าการช่วยเหลือภายใต้โครงการดังกล่าว ชาวไร่อ้อยที่ตัดอ้อยสดส่งเข้าโรงงานจะได้รับราคาอ้อยมากกว่า 1,000 บาทต่อตันอ้อย ซึ่งจะได้รับเงินค่าอ้อยมากกว่าอ้อยไฟไหม้อยู่ประมาณ 130 บาทต่อตันอ้อย เพื่อสนับสนุนและจูงใจให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดก่อนส่งโรงงาน ยังเป็นการตอบสนองนโยบายของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง จากสถานการณ์ปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 และเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย โดยเฉพาะชาวไร่อ้อยรายเล็ก ให้สามารถเข้าถึงปัจจัยการผลิตที่จำเป็น และสามารถนำไปเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพต่อไป โดยเกษตรกรชาวไร่อ้อย เป็นเกษตรกรกลุ่มแรกที่ให้ความร่วมมือสนับสนุนมาตรการแก้ไขปัญหาการเผาอ้อย ซึ่งในปี 2563 มีเป้าหมายอ้อยสดเข้าหีบโรงงานน้ำตาลร้อยละ 50 ของผลผลิตรวมปีนี้” นายสุริยะ กล่าว

จาก https://www.naewna.com วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563

ผงะ 29 รง.น้ำตาลซื้ออ้อยไหม้ เกินลิมิตเพิ่มฝุ่นมลพิษ PM2.5

“สอน.” ส่งเจ้าหน้าที่ตรวจทุกพื้นที่ชาวไร่-โรงงาน หลังครม.ออกมาตรการคุมเผาอ้อยลดฝุ่น PM 2.5 ใน 6 เดือน พบอ้อยไฟไหม้ลดเหลือ 48% จาก 60% พบ 29 โรงงานน้ำตาลอ้อยไฟไหม้เกินลิมิต เอกชนพร้อมร่วมมือลดอ้อยไฟไหม้หมดในปี 2565

นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบมาตรการลดปัญหาอ้อยไฟไหม้ เพื่อลดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เกินมาตรฐาน โดยตั้งเป้าหมายให้หมดไปในปี 2565 ทาง สอน.ได้เร่งดำเนินการเฝ้าระวัง พร้อมทั้งให้เจ้าหน้าที่เขตออกตรวจสอบพื้นที่ตามมติคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ที่จะคุมให้อ้อยไฟไหม้ในปี 2563 ไม่เกิน 50%

โดย ณ ปัจจุบันวันที่ 13 ม.ค. 2563 ฤดูการผลิต 2562/2563 มีอ้อยเข้าหีบ 35.65 ล้านตัน เป็นปริมาณอ้อยสดประมาณ 52% และอ้อยไฟไหม้ 48% ขณที่ภาคตะวันออกยังคงมีสัดส่วนอ้อยไฟไหม้สูงสุด คือ 53% แต่ทั้งนี้ยังคงมีโรงงาน 29 โรง จากทั้งหมด 57 โรงงาน ที่มีอ้อยไฟไหม้เกินกว่าที่กำหนด

“มาตรการมีความเข้มข้น โดยถ้าพบว่าหากในรถบรรทุกอ้อย 1 คัน มีอ้อยไฟไหม้ติดมาแค่เล็กน้อย เราก็ถือว่าเป็นอ้อยไฟไหม้ทั้งหมด ดังนั้นจริง ๆ แล้วอ้อยไฟไหม้จำนวน 17.219 ล้านตัน (48% ของ 35.65 ล้านตัน) อาจไม่ได้เป็นอ้อยไฟไหม้ทั้งหมด การควบคุมดังกล่าวจึงทำให้สัดส่วนอ้อยไฟไหม้ลดลง เกษตรกรเขาก็จะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการเก็บอ้อยใหม่ให้เป็นอ้อยสด”

ในส่วนของโรงงานน้ำตาลทรายให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการแก้ปัญหาอ้อยไฟไหม้ แม้ยากในทางปฏิบัติที่กำหนดให้โรงงานน้ำตาลรับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบได้ไม่เกิน 50% เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้โรงงานห้ามปฏิเสธรับผลผลิตอ้อยจากชาวไร่ และหากปฏิเสธต้องเสียค่าปรับ 500,000 บาท หรือรับอ้อยไฟไหม้เกินกว่าที่กำหนดก็ต้องเสียค่าปรับ ดังนั้น ทางออกที่ทุกฝ่ายจะต้องร่วมกันแก้ปัญหาอ้อยไฟไหม้แบบยั่งยืน เช่น การรับซื้อใบอ้อยเพื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า การส่งเสริมการปล่อยสินเชื่อเพื่อรถตัดอ้อยในอัตราดอกเบี้ยต่ำ การช่วยเหลือด้านปัจจัยการผลิต

ล่าสุด 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลเปิดเผยข้อมูลว่า 45 วันที่ผ่านมาหลังเปิดหีบอ้อย ฤดูการผลิต 2562/2563 มีปริมาณอ้อยเข้าหีบแล้ว 36.85 ล้านตัน เป็นอ้อยสด 18.99 ล้านตัน และอ้อยไฟไหม้ 17.85 ล้านตัน นับว่าเป็นสัดส่วนอ้อยสดที่ดีขึ้น อ้อยไฟไหม้ลดลงเพราะต่ำกว่า 50% ในปริมาณอ้อยดังกล่าวสามารถผลิตน้ำตาลได้ 37.13 ล้านกระสอบ หรือน้ำตาล/ตันอ้อย 100.76 กก.

ทั้งนี้ ปริมาณอ้อยภาคเหนืออยู่ที่ 9.24 ล้านตัน มีอ้อยไฟไหม้ 4.26 ล้านตัน อ้อยสด 4.97 ล้านตัน, อ้อยภาคกลางอยู่ที่ 9.02 ล้านตัน เป็นอ้อยไฟไหม้ 4.74 ล้านตัน อ้อยสด 4.27 ล้านตัน อ้อยภาคตะวันออกอยู่ที่ 1.43 ล้านตัน อ้อยไฟไหม้ 0.18 ล้านตัน อ้อยสด 0.61 ล้านตัน, อ้อยภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ที่ 17.14 ล้านตัน อ้อยไฟไหม้ 8.02 ล้านตัน อ้อยสด 9.12 ล้านตัน

รายงานข่าวระบุว่า มาตรการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ที่ ครม.เห็นชอบเมื่อเดือน มิ.ย. 2562 ประกอบด้วย 1.มาตรการทางกฎหมาย กำหนดให้โรงงานน้ำตาลลดสัดส่วนการรับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบลง ในฤดูการผลิตปี 2562/2563 กำหนดให้โรงงานน้ำตาลจะรับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบได้ไม่เกิน 30% ต่อวัน และทยอยลดลงในฤดูถัดไปต้องไม่เกิน 20% ต่อวัน และฤดู 2564/2565 อ้อยไฟไหม้เข้าหีบเพียง 0-5% ต่อวัน 2.มาตรการสนับสนุนเครื่องจักรกลการเกษตร ผ่านโครงการส่งเสริมสินเชื่อเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยอย่างครบวงจรปี 2562-2564 3.มาตรการขอความร่วมมือด้านการบริหารจัดการ เพื่อเป็นต้นแบบการเก็บเกี่ยวและการขนส่งอ้อยให้โรงงาน โดยกำหนดพื้นที่ปลอดการเผาอ้อยเป็นจังหวัดต้นแบบปลอดการเผาอ้อย ตัดอ้อยสด 100% ในแต่ละภาครวม 5 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ราชบุรี ชัยภูมิ เลย อุตรดิตถ์ การจัดการพื้นที่ลดการเผาอ้อยรอบชุมชนในรัศมี 5 กิโลเมตร และรอบโรงงานน้ำตาลในรัศมี 10 กิโลเมตร และกำหนดคิวรับอ้อยสดและอ้อยไฟไหม้

จาก https://www.prachachat.net  วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563

โวยแหลก!โลกโซเชียลเมืองมะขามหวานเดือดปุดๆจี้จัดการหิมะดำ

ชาวเน็ตโวยแหลกเผาอ้อยกันรายวันจนเถ้าฝุ่นฟุ้งหรือหิมะดำฟุ้งกระจายเดือดร้อนหนัก อัดยับหน่วยงานรัฐไม่แก้ปัญหา จี้ใช้ยาแรงจัดการ

เมื่อวันที่ 19 ม.ค.สังคมโซเชียลมีเดียในจ.เพชรบูรณ์ ยังคงร้อนฉ่ากับประเด็นการเผาไร่อ้อย จนทำให้เกิดควันฟุ้งกระจายเป็นวงกว้าง และปัญหาเถ้าฝุ่นหรือหิมะดำ จากการเผาไร่อ้อยปลิวลอยไปตกใส่บ้านพักและทรัพย์สินของประชาชน จนทำให้เลอะเปอะเปื้อน ทำให้ประชาชนได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก กระทั่งมีผู้ที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวออกมาโพสต์บ้านพักและรถยนต์ที่เลอะเปอะเปื้อนไปด้วยหิดำ พร้อมทั้งมีเสียงต่อว่าทางจังหวัดและส่วนราชการที่เพิกเฉยต่อผลกระทบที่ประชาชนได้รับผลกระทบ พร้อมทั้งมีเสียงเรียกร้องให้ใช้ยาแรง

นายวิศัลย์ โฆษิตานนท์ แกนนำกลุ่มคนเพชรบูรณ์ไม่เอาเหมืองแร่ เปิดเผยว่า ขณะนี้การเผามีความรุนแรงมากขึ้น เหมือนกับการเร่งเผาและเร่งทำกันมากขึ้น ในขณะที่สิ่งที่ประชาชนเรียกร้องไม่ได้รับการตอบสนองจากชาวไร่หรือโรงงานใดๆทั้งสิ้น และในส่วนภาคราชการที่อ้างแต่ PM 2.5 อย่ามองประเด็นผิด ตอนนี้ต้องคิดถึงปัญหาเรื่องควัน,หิมะดำ,รถอ้อยและเรื่องการเผาอ้อยหรือเผาอะไรต่างๆ โดยไม่ต้องเถียงกันเรื่องเครื่องวัดได้มาตรฐานหรือไม่ได้มาตรฐาน แค่เชิงประจักษ์ที่ปรากฎอยู่ในขณะนี้ยังไม่มีมาตรการอะไรออกมาแก้ไขปัญหาหรือบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนได้เลย

"ตอนนี้ผมอึดอัดใจที่เสียงร้องของประชาชนผู้ทุกข์ร้อนไม่ได้รับการตอบสนองใดๆเลย เวลานี้ควรต้องมีมาตรการอะไรออกมา ทั้งระยะสั้น ระยะกลางและระยะยาว ระยะยาวได้เสนอไปแล้วโดยให้ทางโรงงานน้ำตาลต้องหารถตัด หรือรถคีบอ้อยให้เพียงพอ แต่มาตรการระยะสั้นหากทุกส่วนราชการเข้มงวดจริงๆในแต่ละอำเภอก็เชื่อว่าปัญหานี้หิมะดำจะลดลงหรือเบาบางลงได้"นายวิศัลย์กล่าว

นายวิศัลย์ กล่าวว่า เข้าใจถึงอารมณ์ของชาวโซเซียลมีเดีย ทุกคนไม่อยากทนอีกต่อไปแล้ว จึงเสนอให้ใช้ยาแรงและยิ่งมีข่าวจนเกิดกระแสบนสื่อโซเชียลกรณีนักท่องเที่ยวหลบปัญหา PM2.5 ที่กทม.มาต่างจังหวัด แต่ต้องมาเผชิญกับควันและไฟป่าบนเขาค้อ ประเด็นนี้จะกระทบต่อการท่องเที่ยวของจังหวัด รวมทั้งกระทบภาพลักษณ์ทำให้เกิดความเสียหาย ถึงเวลาแล้วที่จะต้องแก้ไขกันอย่างจริงจัง"นายวิศัลย์กล่าว

จาก https://www.posttoday.com   วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563

ระดมกู้วิกฤติภัยแล้ง

กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ระดมทุกหน่วยช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยแล้ง “เฉลิมชัย” ระบุลุ่มน้ำเจ้าพระยาวิกฤติจ่ายน้ำเกินแผน ชิ่งกระทบน้ำบริโภคเค็ม

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ เปิดเผยถึงความก้าวหน้าการให้ความช่วยเหลือประชาชนประสบปัญหาภัยแล้งภายใต้การทำงานของกองอำนวยการน้ำแห่งชาติขณะนี้ว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ระดมสรรพกำลังให้ความช่วยเหลือพื้นที่เสี่ยงได้รับผลกระทบ โดยกระจายความช่วยเหลือในทุกพื้นที่ที่ประสบปัญหาความแห้งแล้ง มีปริมาณน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ น้อย

โดยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ล่าสุดกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งสว่าง และประชาชนในพื้นที่ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพื่อสูบน้ำจากลำสะแทด เติมแหล่งน้ำระบบประปาหมู่บ้าน แก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค ตำบลทุ่งสว่าง อำเภอประทาย จังหวัดนครราชสีมา ประชาชนได้รับประโยชน์ 320 คน จำนวน 117 หลังคาเรือน

ขณะเดียวกัน กรมชลประทาน ได้ระดมเครื่องสูบน้ำกว่า 40 เครื่อง เพื่อสนับสนุนน้ำอุปโภค - บริโภคในพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำทั้งในและนอกเขตชลประทานใน 4 จังหวัด แบ่งเป็น อ.เมือง จ.เลย จำนวน 11 เครื่อง อ.เซกา จ.บึงกาฬ จำนวน 10 เครื่อง อ.อากาศอำนวย จ.สกลนคร จำนวน 7 เครื่อง และ จ.หนองคาย อ.เมืองหนองคาย จำนวน 12 เครื่อง เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

ด้านศูนย์บรรเทาสาธารณภัย กองบัญชาการกองทัพไทย โดยหน่วยทหารพัฒนาได้จัดกำลังพลพร้อมรถบรรทุกน้ำ แจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคให้แก่ประชาชน กระจายให้ความช่วยเหลือประชาชนพร้อมกันหลายจุด ในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ อาทิ รถบรรทุกน้ำขนาด 9,000 ลิตร รถราดน้ำเอนกประสงค์ขนาด 6,000 ลิตร เข้าดำเนินการเติมน้ำให้กับถังพักน้ำของระบบประปาหมู่บ้าน เพื่อแจกจ่ายน้ำต่อไปยังพี่น้องประชาชน บ้านสวนขวัญ ต.ตลุกดู่ อ.ทัพทัน จ.อุทัยธานี จัดชุดบรรเทาสาธารณภัยเคลื่อนที่เร็ว

พร้อมรถยนต์บรรทุกน้ำ ขนาด 9,000 ลิตร แจกจ่ายน้ำ อุปโภค-บริโภค ให้กับประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนการขาดแคลนน้ำจากภัยแล้ง จำนวน 120 ครัวเรือน ประชาชน จำนวน 380 คน ในพื้นที่บ้านหลุมเงิน ต.ภูหลวง  อ.ปักธงชัย จ.นครราชสีมา การขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล ความลึก 126 เมตร ปริมาณน้ำ 9 ลบ.ม./ชม.

เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภค - บริโภค ให้กับชาวบ้านโนนสมบูรณ์ ต.มะเกลือเก่า อ.สูงเนิน จ.นครราชสีมา ผู้รับประโยชน์ จำนวน  90 ครัวเรือน ประชาชน 350 คน รวมถึงดำเนินการขุดบ่อกักเก็บน้ำในพื้นที่ อ.ศรีบรรพต จ.พัทลุง และ อ.จะนะ จ.สงขลา เป็นต้น เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้งอย่างเร่งด่วนด้วยซึ่งเป็นไปตามนโยบายรัฐบาล

ด้านนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า สั่งกรมชลประทานให้เร่งก่อสร้างแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็ก และแก้มลิงที่อยู่ระหว่างดำเนินการให้แล้วเสร็จรวม 421 โครงการ จะเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 1,232,121 ไร่และปริมาตรเก็บกัก 942 ล้าน ลบ.ม.

สำหรับงบประมาณปี 2563 จะดำเนินโครงการเพิ่มพื้นที่ชลประทานอีก 176,968 ไร่ และปริมาตรน้ำเก็บกัก 199.54 ล้าน ลบ.ม. จากสภาพฝนมีความผันแปรสูงมากในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำท่าและน้ำในแหล่งเก็บกักน้ำ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2562  ลุ่มน้ำเจ้าพระยามีน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการ ใช้น้ำเกินแผนที่ได้จัดสรรไว้ทำให้เกิดปัญหาการรุกล้ำของน้ำเค็ม ส่งผลต่อระบบนิเวศและคุณภาพน้ำด้านอุปโภค-บริโภคและเกษตรกรรม ซึ่งต้องผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลองมาลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างในฤดูแล้ง ปี 2562/2563 ปริมาตร 850 ล้าน ลบ.ม.

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563

ยันไม่เก็บค่าน้ำเกษตรกรรายย่อย

สทนช.เร่งศึกษาหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการคิดค่าน้ำตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 ย้ำชัดเจนเกษตรกรรายย่อยจะไม่ได้รับผลกระทบ คาดได้ข้อสรุปผลการศึกษากลางปีนี้

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า แนวโน้มปัญหาขาดแคลนน้ำของประเทศไทยเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ด้วยปัจจัยทั้งจากการเพิ่มขึ้นของประชากร การทำเกษตรกรรมอย่างต่อเนื่อง และการส่งเสริมพัฒนาอุตสาหกรรมในด้านต่าง ๆ ซึ่งล้วนแล้วแต่ส่งผลให้มีความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มมากขึ้น ประกอบกับสภาพภูมิอากาศที่แปรปรวนสูง ที่นับเป็นอุปสรรคใหญ่ต่อการบริหารจัดการน้ำ ทั้งนี้ ปัจจุบันการแก้ไขบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำทางด้านอุปทาน (Supply) ผ่านโครงการพัฒนาแหล่งน้ำต่างๆ อาจยังไม่เพียงพอ

จึงจำเป็นต้องมีมาตรการในการลดอุปสงค์ (Demand) ให้ผู้ใช้น้ำรู้จักคุณค่าของน้ำเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดการใช้น้ำอย่างประหยัด ควบคู่กันไปด้วย ดังนั้น สทนช. จึงได้ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินโครงการจัดทำหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคิดค่าน้ำ และจัดทำกฎหมายลำดับรองตามกฎหมายว่าด้วยทรัพยากรน้ำ (หมวด 4 การจัดสรรน้ำและการใช้น้ำ) ตามที่กำหนดในพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ. 2561 เพื่อให้มีการจัดลำดับความสำคัญของการจัดสรรน้ำสำหรับกิจกรรมการใช้น้ำ การกำหนดนิยาม ลักษณะและรายละเอียดการใช้น้ำแต่ละประเภท และเสนอแนะกรอบอัตราค่าน้ำ

ทั้งนี้ โครงการฯ จะดำเนินการภายใต้การวิเคราะห์ในหลากหลายมิติ ทั้งด้านวิศวกรรม เศรษฐศาสตร์และการเงิน การบริหารจัดการ นโยบายสาธารณะ กฎหมาย ไปจนถึงการมีส่วนร่วม บนพื้นฐานการบูรณาการจากทุกภาคส่วน ทั้งแนวคิด ข้อเสนอแนะ เสียงสะท้อนของปัญหา แนวทางแก้ปัญหา ความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อย่างครบถ้วนและทั่วถึง ซึ่งในการกำหนดอัตราค่าใช้น้ำ จะมีการพิจารณา 2 ด้าน ประกอบกัน คือ 1) ด้านอุปทาน จะพิจารณาปริมาณน้ำต้นทุนด้านต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในกระบวนการจัดการน้ำอันประกอบด้วยต้นทุนในการผลิต จัดหา ขนส่ง และบริหารจัดการแหล่งน้ำ ตลอดจนต้นทุนทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการใช้น้ำ เป็นต้น และ 2) ด้านอุปสงค์ จะพิจารณาปริมาณความต้องการใช้น้ำเทียบกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ในแหล่งน้ำธรรมชาติ ว่าเพียงพอหรือมากน้อยอย่างไร

“ขณะนี้ สทนช. และจุฬาลงกรณ์ กำลังร่วมกันศึกษาและรับฟังความเห็นเรื่องการเก็บค่าน้ำ อย่างครอบคลุมในทุกมิติ โดยการศึกษาจะช่วยให้ทราบได้ว่าการใช้น้ำประเภทใดบ้าง ที่ภาครัฐควรต้องเก็บค่าน้ำ และจะเรียกเก็บอัตราในเท่าไหร่ถึงจะเหมาะสม ในกรอบการใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะ 3 ประเภท คือ การใช้น้ำประเภทที่ 1 ได้แก่ การใช้น้ำเพื่อดำรงชีพทั้งอุปโภคบริโภคในครัวเรือน การเกษตรหรือการเลี้ยงสัตว์เพื่อยังชีพ การอุตสาหกรรมในครัวเรือนและการใช้น้ำในปริมาณเล็กน้อย การใช้น้ำประเภทที่ 2 ได้แก่ การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อการเกษตรหรือการเลี้ยงสัตว์เพื่อการพาณิชย์ การอุตสาหกรรม การท่องเที่ยว การผลิตพลังงานไฟฟ้า การประปาและกิจการอื่น และการใช้น้ำประเภทที่ 3 ได้แก่ การใช้ทรัพยากรน้ำสาธารณะเพื่อกิจการขนาดใหญ่ที่ใช้น้ำปริมาณมาก หรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบข้ามลุ่มน้ำหรือครอบคลุมพื้นที่อย่างกว้างขวาง” ดร.สมเกียรติ กล่าว

เลขาธิการ สทนช. กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า ในส่วนของความกังวลว่าการเก็บค่าน้ำจะกระทบต่อเกษตรกรหรือไม่นั้น ถ้าเป็นเกษตรกรรายย่อยยืนยันว่าจะไม่ได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ สทนช. ในฐานะหน่วยนโยบายด้านน้ำจะทำหน้าที่ในการออกมาตรการ และส่งต่อให้หน่วยงานปฏิบัติ อาทิ กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ ฯลฯ นำหลักการดังกล่าวไปคำนวณและประเมินเพื่อเรียกเก็บค่าน้ำจากผู้ใช้น้ำในอัตราที่เหมาะสม ซึ่งตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2562

ที่ผ่านมาได้มีการเดินหน้าจัดประชุมเผยแพร่ประชาสัมพันธ์และรับฟังความเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง รวมไปถึงการสัมภาษณ์เชิงลึก ทั้งกับหน่วยงานระดับนโยบาย หน่วยงานผู้ปฏิบัติ กลุ่มนักวิชาการ และผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเราจะนำข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่าง ๆ จากกลุ่มเป้าหมายมาปรับปรุงการดำเนินโครงการฯ ให้ได้มาซึ่งเกณฑ์การจัดสรรน้ำที่เหมาะสมและเป็นที่ยอมรับผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมต่อไป คาดว่าจะดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคมนี้ การบริหารจัดการน้ำที่ยั่งยืน

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563

อาเซียนเปิดฉากถกประเด็นเศรษฐกิจนัดแรก

นายดวงอาทิตย์ นิธิอุทัย รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ได้เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการรายสาขาด้านเศรษฐกิจของอาเซียน หรือ Committee of the Whole (CoW) ครั้งที่ 10 และการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจอาเซียน หรือ SEOM ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 11-14 มกราคม 2563 ณ กรุงฮานอย สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ซึ่งเป็นการประชุมด้านเศรษฐกิจของอาเซียนครั้งแรกในปี 2563 ภายหลังเวียดนามรับไม้การเป็นประธานอาเซียนต่อจากไทย เพื่อร่วมกันกำหนดประเด็นสำคัญและแผนการทำงานด้านเศรษฐกิจอาเซียนที่ต้องดำเนินการให้บรรลุผลปีนี้

สำหรับการประชุม SEOM ได้หารือแผนการทำงานด้านเศรษฐกิจที่จะร่วมกันผลักดันปีนี้ ภายใต้แนวคิดของเวียดนามในฐานะประธานอาเซียน คือ “อาเซียนที่เป็นหนึ่งเดียวและพร้อมปรับตัว” รวม 14 ประเด็น โดยเป็นประเด็นที่สานต่อจากที่ไทยริเริ่มไว้ เช่น การจัดทำกลไกเพื่อติดตามและประเมินการบูรณาการด้านดิจิทัล การจัดทำแผนงานด้านต่อต้านการทำประมงที่ผิดกฎหมายและไร้การควบคุม (IUU) และการลงนามความตกลง RCEP หลังจากปิดดีลที่ไทยปีที่ผ่านมา เป็นต้น และประเด็นใหม่ เช่น การพัฒนาอุตสาหกรรมอัจฉริยะ การเชื่อมโยงการชำระเงิน การเชื่อมโยงศูนย์นวัตกรรม การทำแผนงานความมั่นคงทางอาหารระหว่างกัน เป็นต้น

นอกจากนี้ ได้ติดตามการดำเนินการสำคัญของ 23 องค์กรรายสาขา การทำแนวทางการทบทวนความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน (ATIGA) เพื่อรองรับรูปแบบการค้าปัจจุบันและลดอุปสรรคทางการค้าระหว่างกันมากขึ้น การผลักดันให้ใช้ระบบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตัวเองโดยเร็ว เพื่อลดขั้นตอนและค่าใช้จ่ายในการค้าระหว่างกัน การเร่งรัดการเจรจาข้อตกลงยอมรับร่วมในสาขาก่อสร้างและวัสดุก่อสร้าง รวมทั้งเร่งรัดข้อตกลงยอมรับร่วมในสาขาอุตสาหกรรมรถยนต์ของอาเซียนที่เจรจาเสร็จนานแล้วให้มีการลงนามและมีผลบังคับใช้โดยเร็ว เพื่อลดขั้นตอนการตรวจสอบมาตรฐานซ้ำซ้อน การขอเข้าเป็นสมาชิกอาเซียนของประเทศติมอร์-เลสเต

นายดวงอาทิตย์ กล่าวว่า นอกจากประเด็นการค้าระหว่างกันแล้ว ที่ประชุมฯ ยังหารือถึงแผนการทำงานระหว่างอาเซียนกับคู่เจรจา รวม 11 ประเทศ เช่น การยกระดับความตกลง FTA กับประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น จีน เกาหลี ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ให้ครอบคลุมและเปิดตลาดระหว่างกันมากขึ้น การเร่งรัดให้ประเทศสมาชิกให้สัตยาบันความตกลง FTA กับญี่ปุ่นฉบับปรับปรุงโดยเร็ว ที่ขณะนี้มีไทยและสิงคโปร์ดำเนินการแล้ว การทำแนวทางหรือขั้นตอนสำหรับการเจรจา FTA ใหม่ ๆ หรือที่จะกลับมาเจรจาในอนาคต เช่น แคนาดา และอียู เป็นต้น การวางแนวทางความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับกลุ่มประเทศ EAEU ที่มีรัสเซียเป็นสมาชิก เป็นต้น

สำหรับการประชุม CoW เป็นการประชุมคณะกรรมการสาขาต่าง ๆ ทางด้านเศรษฐกิจของอาเซียน ที่มี 23 ด้าน ได้แก่ การค้าสินค้า การค้าบริการ การลงทุน ทรัพย์สินทางปัญญา พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พิธีการศุลกากรและการอำนวยความสะดวกทางการค้า ผู้แทนทางด้านสังคมและวัฒนธรรม และผู้แทนทางด้านการเมืองและความมั่นคง เพื่อรับทราบผลการทำงานในปีที่ผ่านมาและแผนการทำงานปี 2563 รวมถึงหารือประเด็นที่คาบเกี่ยวด้านต่าง ๆ อาทิ การรับมือการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 (4IR) การทบทวนแผนงานอาเซียนระยะกลางและการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน

ทั้งนี้ อาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทย การค้าระหว่างไทยกับอาเซียนปี 2561 มีมูลค่าการค้ารวม 113,792 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ร้อยละ 13 โดยไทยส่งออกไปอาเซียน 68,545 ล้านเหรียญสหรัฐและนำเข้าจากอาเซียน 45,247 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2562 การค้าระหว่างไทยกับอาเซียนมีมูลค่า 99,518 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการส่งออกจากไทยไปอาเซียน 57,859 ล้านเหรียญสหรัฐ และการนำเข้าจากอาเซียน 41,659 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งการส่งออกของไทยไปอาเซียนในปัจจุบัน คิดเป็นร้อยละ 27 ของการส่งออกรวมของไทย

จาก https://www.mcot.net   วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2563

อุตฯอ้อยน้ำตาลเจอศึกหนัก ต้นทุนพุ่ง-ค่าบาทแข็งกดดันรายได้

นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ (TSMC)เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทยกำลังเผชิญความท้าทายครั้งสำคัญต่อการบริหารจัดการด้านต้นทุนการเพาะปลูกอ้อยและต้นทุนการผลิตน้ำตาลทรายที่เพิ่มขึ้นสวนทางปริมาณอ้อยเข้าหีบในฤดูการผลิตปี 2562/63 ซึ่งคาดว่าจะลดลงเมื่อเทียบกับฤดูการผลิตปีก่อน จากสภาพปัญหาภัยแล้งในพื้นที่เพาะปลูกและในบางพื้นที่เจอสภาพอากาศแปรปรวน ส่งผลภาพรวมอุตสาหกรรมมีความเสี่ยงสูงขึ้น นอกจากนี้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทย ยังได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทส่งผลให้ปริมาณการส่งออกลดลง 3-4 ล้านตัน

ทั้งนี้ ในฐานะประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ต้องเร่งวางแผนบริหารจัดการด้านต้นทุนการผลิตให้มีประสิทธิภาพตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูกอ้อยในไร่ การจัดหาแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อการเพาะปลูก เพื่อรับมือกับปัญหาภัยแล้งที่คุกคามอุตสาหกรรม ส่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณผลผลิตต่อไร่และคุณภาพอ้อยเข้าหีบทำให้ผลผลิตน้ำตาลทรายต่อตันอ้อยไม่ดีเท่าที่ควร และต้นทุนการผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้น

ดังนั้นโรงงานจะเร่งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหีบสกัดน้ำตาลให้สูงที่สุด เพื่อให้ชาวไร่รับผลประโยชน์สูงสุดจากการเพาะปลูก โดยปีการผลิต 2562/63 ชาวไร่และโรงงานต้องร่วมมือบริหารจัดการต้นทุนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากคาดว่าจะมีอ้อยเข้าหีบไม่เกิน 100 ล้านตันเท่านั้น ต่ำกว่าปีก่อนหน้าที่มีปริมาณอ้อยเข้าหีบถึง 130 ล้านตันอ้อย

ขณะเดียวกันคุณภาพผลผลิตอ้อยยังเสี่ยงสูงจากปัญหาอ้อยไฟไหม้ เนื่องจากชาวไร่มีต้นทุนสูงในการจัดเก็บผลผลิตอ้อยสดส่งโรงงานแม้ที่ผ่านมาโรงงานน้ำตาลพยายามจัดส่งรถตัดอ้อยเข้าไปช่วยเหลือชาวไร่คู่สัญญาแล้ว แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้นภาครัฐควรให้ความช่วยเหลือเช่น การสนับสนุนรถตัดอ้อยดอกเบี้ยต่ำให้แก่โรงงาน เพื่อนำไปสนับสนุนชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสด เป็นต้น

“อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทยปีนี้ต้องบริหารความเสี่ยงด้านต้นทุนการผลิตที่ดี ในยามที่อ้อยเข้าหีบลดลงและยังมีปัญหาอ้อยไฟไหม้ที่ส่งผลต่อการหีบสกัดทำให้ได้น้ำตาลต่อตันอ้อยลดลง แถมยังได้รับแรงกดดันจากค่าเงินบาทแข็งที่กระทบต่อรายได้ของอุตสาหกรรม เพราะรายได้กว่า 75% ของอุตสาหกรรมมาจากส่งออก หากเงินบาทแข็งมาก รายได้เป็นเงินบาทก็จะลดลง จะส่งผลทำให้มีรายได้ที่จะนำไปแบ่งปันระหว่างชาวไร่และโรงงานลดลง”นายสิริวุทธิ์กล่าว

ทั้งนี้ โรงงานน้ำตาลอยู่ระหว่างการติดตามสถานการณ์ราคาน้ำตาลในตลาดโลกว่า หลังเกิดความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่านนั้นจะส่งผลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกเพียงใด โดยหากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ อย่างประเทศบราซิลจะนำอ้อยไปผลิตเป็นเอทานอลมากขึ้น ทำให้ซัพพลายน้ำตาลเข้าสู่ตลาดลดลง อีกทั้งหลายประเทศประสบปัญหาสภาพอากาศ โดยเฉพาะไทย มีผลผลิตน้ำตาลลดลงอย่างมาก จึงมีโอกาสที่ราคาน้ำตาลในตลาดโลกจะปรับเพิ่มขึ้นได้

จาก https://www.naewna.com วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2563

ภัยแล้งฉุดหีบอ้อย62/63ไม่สดใส

นายสิริวุทธิ์  เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทย กำลังเผชิญความท้าทายครั้งสำคัญต่อการบริหารจัดการด้านต้นทุนการเพาะปลูกอ้อยและต้นทุนการผลิตน้ำตาลทรายที่เพิ่มขึ้น สวนทางปริมาณอ้อยเข้าหีบในฤดูการผลิตปี 62/63 ซึ่งคาดว่า จะลดลงเมื่อเทียบกับฤดูการผลิตปีก่อน จากสภาพปัญหาภัยแล้งในพื้นที่เพาะปลูกและในบางพื้นที่เจอสภาพอากาศแปรปรวน ส่งผลภาพรวมอุตสาหกรรมมีความเสี่ยงสูงขึ้น นอกจากนี้ อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทย ยังได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทส่งผลให้ปริมาณการส่งออกลดลง 3-4 ล้านตัน

ทั้งนี้ ในฐานะประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ต้องเร่งวางแผนบริหารจัดการด้านต้นทุนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูกอ้อยในไร่ การจัดหาแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อการเพาะปลูก เพื่อรับมือกับปัญหาภัยแล้งที่คุกคามอุตสาหกรรม ส่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณผลผลิตต่อไร่และคุณภาพอ้อยเข้าหีบ ทำให้ผลผลิตน้ำตาลทรายต่อตันอ้อยไม่ดีเท่าที่ควร และต้นทุนการผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้น

ดังนั้น โรงงานจะเร่งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหีบสกัดน้ำตาลให้สูงที่สุด เพื่อให้ชาวไร่รับผลประโยชน์สูงสุดจากการเพาะปลูก โดยปีการผลิต 2562/63 ชาวไร่และโรงงานต้องร่วมมือบริหารจัดการต้นทุนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากคาดว่าจะมีอ้อยเข้าหีบไม่เกิน 100 ล้านตันเท่านั้น ต่ำกว่าปีก่อนหน้าที่มีปริมาณอ้อยเข้าหีบถึง 130 ล้านตันอ้อย

ขณะเดียวกัน คุณภาพผลผลิตอ้อยยังเสี่ยงสูงจากปัญหาอ้อยไฟไหม้ เนื่องจากชาวไร่มีต้นทุนสูงในการจัดเก็บผลผลิตอ้อยสดส่งโรงงาน แม้ที่ผ่านมา โรงงานน้ำตาลพยายามจัดส่งรถตัดอ้อยเข้าไปช่วยเหลือชาวไร่คู่สัญญาแล้ว แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้น ภาครัฐควรให้ความช่วยเหลือ เช่น การสนับสนุนรถตัดอ้อยดอกเบี้ยต่ำให้แก่โรงงาน เพื่อนำไปสนับสนุนชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสด เป็นต้น

“อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทยปีนี้ ต้องบริหารความเสี่ยงด้านต้นทุนการผลิตที่ดี ในยามที่อ้อยเข้าหีบลดลงและยังมีปัญหาอ้อยไฟไหม้ที่ส่งผลต่อการหีบสกัด ทำให้ได้น้ำตาลต่อตันอ้อยลดลง แถมยังได้รับแรงกดดันจากค่าเงินบาทแข็งที่กระทบต่อรายได้ของอุตสาหกรรม เพราะรายได้กว่า 75% ของอุตสาหกรรมมาจากส่งออก หากเงินบาทแข็งมาก รายได้เป็นเงินบาทก็จะลดลง จะส่งผลทำให้มีรายได้ที่จะนำไปแบ่งปันระหว่างชาวไร่และโรงงานลดลง” นายสิริวุทธิ์ กล่าว

ทั้งนี้ โรงงานน้ำตาลอยู่ระหว่างการติดตามสถานการณ์ราคาน้ำตาลในตลาดโลกว่า หลังเกิดความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่านนั้น จะส่งผลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกเพียงใด โดยหากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ อย่างประเทศบราซิล จะนำอ้อยไปผลิตเป็นเอทานอลมากขึ้น ทำให้ซัพพลายน้ำตาลเข้าสู่ตลาดลดลง อีกทั้งหลายประเทศประสบปัญหาสภาพอากาศ โดยเฉพาะ ไทย มีผลผลิตน้ำตาลลดลงอย่างมาก จึงมีโอกาสที่ราคาน้ำตาลในตลาดโลกจะปรับเพิ่มขึ้นได้

จาก https://www.thaipost.net วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2563

ภัยแล้งส่อฉุดอ้อยเข้าหีบไม่เกิน 100 ตัน

โรงงานน้ำตาลทราย เผยภาพรวมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทยรอบปี 62/63 ไม่สดใส หลังประเมินอ้อยเข้าหีบปีนี้หดเหลือต่ำกว่า 100 ล้านตันอ้อย จากสภาพปัญหาภัยแล้งรุนแรง

​นายสิริวุทธิ์  เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) เปิดเผยว่า ปริมาณอ้อยเข้าหีบในฤดูการผลิตปี 62/63 คาดว่า จะลดลงเมื่อเทียบกับฤดูการผลิตปีก่อน จากสภาพปัญหาภัยแล้งในพื้นที่เพาะปลูกและในบางพื้นที่เจอสภาพอากาศแปรปรวน ส่งผลภาพรวมอุตสาหกรรมมีความเสี่ยงสูงขึ้น นอกจากนี้ อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทยยังได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทส่งผลให้ปริมาณการส่งออกลดลง 3-4 ล้านตัน

“อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทยกำลังเผชิญความท้าทายครั้งสำคัญต่อการบริหารจัดการด้านต้นทุนการเพาะปลูกอ้อยและต้นทุนการผลิตน้ำตาลทรายที่เพิ่มขึ้น สวนทางปริมาณอ้อยเข้าหีบในฤดูการผลิตปี 62/63”

​ทั้งนี้ ในฐานะประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ต้องเร่งวางแผนบริหารจัดการด้านต้นทุนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูกอ้อยในไร่ การจัดหาแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อการเพาะปลูก เพื่อรับมือกับปัญหาภัยแล้งที่คุกคามอุตสาหกรรม ส่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณผลผลิตต่อไร่และคุณภาพอ้อยเข้าหีบ ทำให้ผลผลิตน้ำตาลทรายต่อตันอ้อยไม่ดีเท่าที่ควร และต้นทุนการผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้น

“โรงงานจะเร่งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหีบสกัดน้ำตาลให้สูงที่สุด เพื่อให้ชาวไร่รับผลประโยชน์สูงสุดจากการเพาะปลูก โดยปีการผลิต 2562/63 ชาวไร่และโรงงานต้องร่วมมือบริหารจัดการต้นทุนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากคาดว่าจะมีอ้อยเข้าหีบไม่เกิน 100 ล้านตันเท่านั้น ต่ำกว่าปีก่อนหน้าที่มีปริมาณอ้อยเข้าหีบถึง 130 ล้านตันอ้อย”

​ขณะเดียวกัน คุณภาพผลผลิตอ้อยยังเสี่ยงสูงจากปัญหาอ้อยไฟไหม้  เนื่องจากชาวไร่มีต้นทุนสูงในการจัดเก็บผลผลิตอ้อยสดส่งโรงงาน  แม้ที่ผ่านมาโรงงานน้ำตาลพยายามจัดส่งรถตัดอ้อยเข้าไปช่วยเหลือชาวไร่คู่สัญญาแล้ว  แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้น  ภาครัฐควรให้ความช่วยเหลือ เช่น การสนับสนุนรถตัดอ้อยดอกเบี้ยต่ำให้แก่โรงงาน เพื่อนำไปสนับสนุนชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสด เป็นต้น

​“อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทยปีนี้ ต้องบริหารความเสี่ยงด้านต้นทุนการผลิตที่ดี ในยามที่อ้อยเข้าหีบลดลงและยังมีปัญหาอ้อยไฟไหม้ที่ส่งผลต่อการหีบสกัด ทำให้ได้น้ำตาลต่อตันอ้อยลดลง แถมยังได้รับแรงกดดันจากค่าเงินบาทแข็งที่กระทบต่อรายได้ของอุตสาหกรรม เพราะรายได้กว่า 75% ของอุตสาหกรรมมาจากส่งออก หากเงินบาทแข็งมาก รายได้เป็นเงินบาทก็จะลดลง จะส่งผลทำให้มีรายได้ที่จะนำไปแบ่งปันระหว่างชาวไร่และโรงงานลดลง”

อย่างไรก็ดี  โรงงานน้ำตาลอยู่ระหว่างการติดตามสถานการณ์ราคาน้ำตาลในตลาดโลกว่า หลังเกิดความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่านนั้น จะส่งผลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกเพียงใด โดยหากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ อย่างประเทศบราซิล จะนำอ้อยไปผลิตเป็นเอทานอลมากขึ้น ทำให้ซัพพลายน้ำตาลเข้าสู่ตลาดลดลง อีกทั้งหลายประเทศประสบปัญหาสภาพอากาศ โดยเฉพาะ ไทย มีผลผลิตน้ำตาลลดลงอย่างมาก จึงมีโอกาสที่ราคาน้ำตาลในตลาดโลกจะปรับเพิ่มขึ้นได้

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2563

กาญจน์วิกฤต PM2.5ค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน ผู้ว่าฯสั่งห้ามจุดไฟเผาไร่อ้อย

กาญจน์วิกฤต PM2.5ค่าฝุ่นเกินมาตรฐานสูงถึง 163ไมโครกรัม/ลบ.ม. ผู้ว่าฯสั่งห้ามจุดไฟเผาไร่อ้อย เศษขี้เถ้าลอยตกเกลื่อนหลายพื้นที่

ที่หมู่ 4 ตำบลอุโลกสี่หมื่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี ขณะนี้ได้รับผลกระทบมาจากการจุดไฟเผาไร่อ้อย เศษขี้เถ้าสีดำปกคลุมไปทั่วพื้นที่ สร้างความสกปรกให้กับบ้านเรือน และยังสร้างมลภาวะให้กับชาวบ้านที่ต้องทนเดือดร้อนกับอาการแสบตา แสบจมูกส่งผลกระทบต่อใช้ชีวิตประจำวันของชาวบ้านอย่างหนัก

ขณะที่โลกโซเชียลได้แพร่ภาพ ผู้ได้รับผลกระทบจากการเผาอ้อยที่จ.กาญจนบุรี ในเพจเฟซบุ๊กกลุ่ม "คนเมืองกาญจน์ 2" ได้แสดงภาพของเศษขี้เถ้าที่ลอยตกตามบ้านเรือน และรถที่จอดอยู่ ในพื้นที่อำเภอบ่อพลอย โดยมีผู้เข้ามาแสดงความคิดเห็นและแชร์ต่อๆ ไปเป็นจำนวนมาก ขณะที่อีกหลายพื้นที่ก็ได้รับผลกระทบไม่ต่างกัน และมีการเชิญชวนให้ประชาชนที่ได้รับผลกระทบและความเดือดร้อนจากการเผาอ้อยมารวมตัวกันไปยืนหนังสือต่อจังหวัดเพื่อให้แก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง เพราะได้รับความเดือดร้อนหนักมากขึ้นทุกวัน

สำหรับคุณภาพอากาศในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา จากเครื่องตรวจวัดที่ ต.ปากแพรก อ.เมืองกาญจนบุรี พบว่า ค่า PM 2.5 สูงถึง 163 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ล่าสุดนายจีระเกียรติ ภูมิสวัสดิ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี ได้ออกประกาศกำหนดพื้นที่และมาตรการควบคุมผลกระทบจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพและขอให้เกษตรกรชาวไร่อ้อย งดการเผาอ้อยอย่างเด็ดขาด และเตรียมความพร้อมในการเตรียมแปลงปลูกอ้อยเพื่อรองรับเครื่องจักรสำหรับเก็บเกี่ยวอ้อย

นอกจากนี้ มอบหมายให้ส่วนราชการทุกแห่ง อำเภอทุกอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทุกแห่งบังคับใช้กฎหมาย เพื่อควบคุมเฝ้าระวัง และป้องกันเหตุ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบ และดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ตามอำนาจหน้าที่อย่างเคร่งครัด และขอให้หน่วยงานภาคเอกชน ภาคประชาสังคม และประชาชน ร่วมสนับสนุนและมีส่วนร่วมในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาผลกระทบจากฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 โดยสามารถแจ้งเหตุและร้องทุกข์ ได้ที่ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดกาญจนบุรี โทรศัพท์สายด่วน 1567 หรือ 034-533778 สำหรับในระดับอำเภอแจ้งได้ที่ศูนย์ดำรงธรรมอำเภอทุกอำเภอ

จาก https://www.posttoday.com   วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2563

ภัยแล้งปี63นี้ ทำอุตฯหีบอ้อยเฉา-ลุ้นราคาน้ำตาลโลกฟื้นตามราคาน้ำมันแพง

โรงงานน้ำตาลทราย คาดภัยแล้งฉุดหีบอ้อยปี 62/63 ไม่สดใส หลังประเมินอ้อยเข้าหีบปีนี้หดเหลือต่ำกว่า 100 ล้านตันอ้อย ดันต้นทุนการผลิตเฉลี่ยต่อหน่วยพุ่ง ลุ้นราคาน้ำตาลในตลาดโลกฟื้นตัวหากราคาน้ำมันแพง

สิริวุทธิ์ เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC)

นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทย กำลังเผชิญความท้าทายครั้งสำคัญต่อการบริหารจัดการด้านต้นทุนการเพาะปลูกอ้อยและต้นทุนการผลิตน้ำตาลทรายที่เพิ่มขึ้น สวนทางปริมาณอ้อยเข้าหีบในฤดูการผลิตปี 62/63 ซึ่งคาดว่า จะลดลงเมื่อเทียบกับฤดูการผลิตปีก่อน

จากสภาพปัญหาภัยแล้งในพื้นที่เพาะปลูกและในบางพื้นที่เจอสภาพอากาศแปรปรวน ส่งผลภาพรวมอุตสาหกรรมมีความเสี่ยงสูงขึ้น นอกจากนี้ อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทย ยังได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของเงินบาทส่งผลให้ปริมาณการส่งออกลดลง 3-4 ล้านตัน

ทั้งนี้ ในฐานะประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่อันดับ 2 ของโลก ต้องเร่งวางแผนบริหารจัดการด้านต้นทุนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ ตั้งแต่กระบวนการเพาะปลูกอ้อยในไร่ การจัดหาแหล่งน้ำให้เพียงพอต่อการเพาะปลูก เพื่อรับมือกับปัญหาภัยแล้งที่คุกคามอุตสาหกรรม ส่งผลกระทบโดยตรงต่อปริมาณผลผลิตต่อไร่และคุณภาพอ้อยเข้าหีบ ทำให้ผลผลิตน้ำตาลทรายต่อตันอ้อยไม่ดีเท่าที่ควร และต้นทุนการผลิตโดยรวมเพิ่มขึ้น

ดังนั้น โรงงานจะเร่งเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตหีบสกัดน้ำตาลให้สูงที่สุด เพื่อให้ชาวไร่รับผลประโยชน์สูงสุดจากการเพาะปลูก โดยปีการผลิต 2562/63 ชาวไร่และโรงงานต้องร่วมมือบริหารจัดการต้นทุนการผลิตให้มีประสิทธิภาพ เนื่องจากคาดว่าจะมีอ้อยเข้าหีบไม่เกิน 100 ล้านตันเท่านั้น ต่ำกว่าปีก่อนหน้าที่มีปริมาณอ้อยเข้าหีบถึง 130 ล้านตันอ้อย

ขณะเดียวกัน คุณภาพผลผลิตอ้อยยังเสี่ยงสูงจากปัญหาอ้อยไฟไหม้ เนื่องจากชาวไร่มีต้นทุนสูงในการจัดเก็บผลผลิตอ้อยสดส่งโรงงาน แม้ที่ผ่านมา โรงงานน้ำตาลพยายามจัดส่งรถตัดอ้อยเข้าไปช่วยเหลือชาวไร่คู่สัญญาแล้ว แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้น ภาครัฐควรให้ความช่วยเหลือ เช่น การสนับสนุนรถตัดอ้อยดอกเบี้ยต่ำให้แก่โรงงาน เพื่อนำไปสนับสนุนชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสด เป็นต้น

"อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทยปีนี้ ต้องบริหารความเสี่ยงด้านต้นทุนการผลิตที่ดี ในยามที่อ้อยเข้าหีบลดลงและยังมีปัญหาอ้อยไฟไหม้ที่ส่งผลต่อการหีบสกัด ทำให้ได้น้ำตาลต่อตันอ้อยลดลง แถมยังได้รับแรงกดดันจากค่าเงินบาทแข็งที่กระทบต่อรายได้ของอุตสาหกรรม เพราะรายได้กว่า 75% ของอุตสาหกรรมมาจากส่งออก หากเงินบาทแข็งมาก รายได้เป็นเงินบาทก็จะลดลง จะส่งผลทำให้มีรายได้ที่จะนำไปแบ่งปันระหว่างชาวไร่และโรงงานลดลง" นายสิริวุทธิ์ กล่าว

ทั้งนี้ โรงงานน้ำตาลอยู่ระหว่างการติดตามสถานการณ์ราคาน้ำตาลในตลาดโลกว่า หลังเกิดความขัดแย้งระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่านนั้น จะส่งผลต่อราคาน้ำมันในตลาดโลกเพียงใด โดยหากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น มีความเป็นไปได้ที่ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ อย่างประเทศบราซิล จะนำอ้อยไปผลิตเป็นเอทานอลมากขึ้น ทำให้ซัพพลายน้ำตาลเข้าสู่ตลาดลดลง

อีกทั้งหลายประเทศประสบปัญหาสภาพอากาศ โดยเฉพาะ ไทย มีผลผลิตน้ำตาลลดลงอย่างมาก จึงมีโอกาสที่ราคาน้ำตาลในตลาดโลกจะปรับเพิ่มขึ้นได้

จาก https://www.posttoday.com   วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2563

แล้งหนัก!4เขื่อนใหญ่โคราชเหลือน้ำใช้30%

4เขื่อนใหญ่โคราชน้ำลดต่อเนื่อง เหลือน้ำใช้การ 30% เท่านั้น ชลประทานต้องประกาศห้ามทำนาปรังเด็ดขาด

นายเกียรติศักดิ์ หนูแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 8 นครราชสีมา เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ 4 แห่งของจังหวัดนครราชสีมา ภาพรวมขณะนี้มีปริมาณน้ำกักเก็บเหลืออยู่เพียง 293 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 33.11 ของความจุเขื่อนทั้งหมด แต่เป็นน้ำใช้การได้เพียง  255 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 30.15 เท่านั้น ซึ่งถือว่าปีนี้เหลือปริมาณน้ำต่ำกว่าเกณฑ์ที่คาดการณ์ไว้ โดยเขื่อนลำตะคอง อ.สีคิ้ว มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่ 123 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 42.17 ของความจุเขื่อน, เขื่อนลำพระเพลิง อ.ปักธงชัย มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่ 20 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 13.45 ของความจุเขื่อน, เขื่อนมูลบน อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่ 40 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 30.28 ของความจุเขื่อน และเขื่อนลำแชะ อ.ครบุรี มีปริมาณน้ำใช้การเหลืออยู่ 71 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 26.63 ของความจุเขื่อน

 ซึ่งปริมาณน้ำในเขื่อนที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ต้องมีมาตรการบริการจัดการน้ำควบคุมการใช้น้ำอย่างเข้มงวด โดยเฉพาะน้ำเพื่อการเกษตรหรือทำนาปรัง โดยปีนี้ทุกเขื่อนจะไม่มีการส่งน้ำให้เกษตรกรในพื้นที่ชลประทานที่มีพื้นที่อยู่ประมาณ 700,000 ไร่ทำนาปรังโดยเด็ดขาด ทั้งนี้เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศน์เป็นหลัก ซึ่งขณะนี้ได้แจ้งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรในพื้นที่ชลประทานรับทราบแล้ว แต่ก็ยังพบว่า มีชาวนาหลายพื้นที่มีการแอบลักลอบปลูกข้าวนาปรังกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งผู้ที่ฝ่าฝืนคำเตือน มีโอกาสเสี่ยงขาดแคลนน้ำทำการเกษตรซึ่งจะทำให้ผลผลิตได้รับความเสียหายสูงมากอย่างไรก็ตาม ชลประทานยืนยันว่า การบริหารจัดการน้ำยังเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้  พี่น้องประชาชนในพื้นที่ชลประทานจะมีน้ำอุปโภคบริโภคไปตลอดฤดูแล้งนี้อย่างแน่นอน

จาก https://www.innnews.co.th วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2563

ภัยแล้งลามไร่อ้อย ชาวไร่ทุกข์หนักปัจจัยลบรุมกระหน่ำ

ทันทีที่คณะรัฐมนตรี(ครม.)กดปุ่ม เห็นชอบกำหนดราคาอ้อยขั้นต้น ฤดูการผลิต 2562/2563 ในอัตรา 750 บาทต่อตันอ้อยไปเมื่อเร็วๆนี้   ก็มีเสียงบ่นหลังบ้านในกลุ่มชาวไร่อ้อยทำนอง ภาครัฐ กดปุ่มล่าช้า เสนอไปตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว ซึ่งในความเป็นจริงราคาอ้อยขั้นต้นจะต้องพิจารณาก่อนเปิดหีบ (เริ่มเปิดหีบในช่วงเดือนพ.ย.2562ถึงพ.ค.2563) 

ปัญหาราคาอ้อยเป็นประเด็นที่น่าเป็นห่วง เพราะราคาร่วงต่อเนื่อง  อีกทั้งฤดูการผลิตอ้อยปี 2562/2563  ปัจจัยลบรุมกระหน่ำพร้อมกัน 4 ด้านหลัก

 ไล่เรียงตั้งแต่  1.ราคาอ้อยร่วง 3 ปีต่อเนื่อง จากที่ก่อนหน้านั้นราคาอ้อยต่อตันไต่ระดับตั้งแต่ 1,000 บาทต่อตันอ้อยขึ้นไป  ล่าสุดเห็นชัดเจนครม.กำหนดราคาอ้อยขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2562/2563 ในอัตรา 750 บาท/ตันอ้อย ที่ค่าความหวาน 10  ซี.ซี.เอส. หรือเท่ากับ 97.91 % ของประมาณการราคาอ้อยเฉลี่ยทั่วประเทศ (ที่ 66.01 บาท/ตันอ้อย) และกำหนดอัตราขึ้น/ลงของราคาอ้อยเท่ากับ 45 บาท ต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส. ผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2562/2563 เท่ากับ 321.43 บาท/ตันอ้อย   ราคาอ้อยขั้นต้นที่ประกาศครั้งนี้มองในแง่ระบบอ้อยและน้ำตาลก็น่าจะรับกันได้   แต่ถ้ามองในแง่ต้นทุน  บรรดาชาวไร่อ้อย กล่าวเป็นเสียงเดียวกันว่าขาดทุนยับเยิน เพราะราคาอ้อยขั้นต้นที่ 750 บาทต่อตันอ้อยนั้น ต่ำกว่าต้นทุนการผลิตที่ชาวไร่อ้อยจะได้รับ เพราะปี2562/2563 ต้นทุนชาวไร่อ้อยยืนอยู่ที่ 1,111 บาทต่อตันอ้อย 

 2.ปัญหาภัยแล้งหนักที่สุดในรอบ 40 ปี  ทำให้ผลผลิตอ้อยร่วง ปี2560/2561 มีผลผลิตอ้อยอยู่ที่ 134 ล้านตันอ้อย ปี2561/2562 ผลผลิตอ้อยลงมาที่ 130.9 ล้านตันอ้อย  และปี2562/2563 คาดการณ์ว่าผลผลิตอ้อยจะลงมาอยู่ที่ 90-93 ล้านตันอ้อย   ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงตัดอ้อยเพื่อนำส่งโรงงานน้ำตาลหรืออยู่ในช่วงเปิดหีบ ซึ่งปีนี้อาจจะปิดหีบเร็วกว่าปกติเนื่องจากมีผลผลิตอ้อยลดลง (เดิมระหว่างเดือนพ.ย.ไปถึงเดือนพ.ค.ของอีกปีจะเป็นช่วงเปิดหีบ  แต่ปีนี้ระยะเวลาจะสั้นลงหรือเปิดหีบตั้งแต่ พ.ย.2562ถึงกลางเดือนมี.ค.2563

3.ราคาน้ำตาลโลกร่วงต่อเนื่อง โดยราคาน้ำตาลดิบในช่วง 2 ปีที่ผ่านมายืนอยู่ที่ระดับ 11-13 เซ็นต์ต่อปอนด์ เปรียบเทียบกับก่อนหน้านั้น ราคาน้ำตาลดิบในตลาดโลกเคยสูงถึง 20 เซ็นต์ต่อปอนด์ การที่ราคาน้ำตาลดิบร่วงก็มีผลต่อการคำนวนรายได้เข้าระบบแบ่งปันผลประโยชน์อ้อยและน้ำตาล

4.เกษตรกรยังไม่สามารถลดปริมาณอ้อยไฟไหม้ได้  ซึ่งเรื่องนี้ การประชุมคณะรัฐมนตรี(11 มิ.ย.62) ครม.มีมติเห็นชอบแก้ปัญหาอ้อยไฟไหม้ กำหนดให้โรงงานน้ำตาลรับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบได้ไม่เกิน 30 % ต่อวัน  สำหรับในฤดูการผลิต ปี 2563 /2564 โรงงานน้ำตาลจะรับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบได้ไม่เกิน 20 % ต่อวัน  และในฤดูการผลิตปี 2564/2565 จะลดปริมาณอ้อยไฟไหม้เข้าหีบเพียง 0-5 % ต่อวัน  ซึ่งจะทำให้อ้อยไฟไหม้หมดไปภายใน 3 ปี  ซึ่งมาตรการดังกล่าวเป็นภาระต้นทุนที่สูง เนื่องจากการตัดอ้อยโดยเครื่องจักร หรือใช้แรงงานล้วนมีต้นทุนที่สูง ในขณะที่ราคาอ้อยยังร่วงต่อเนื่อง และยังมีเกษตรกรชาวไร่อ้อยจำนวนมากแบกหนี้

 -รอครม.เคาะช่วยปัจจัยการผลิต

นายนราธิป อนันตสุข หัวหน้าสำนักงานสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยเขต 7 และหัวหน้าสำนักงานชาวไร่อ้อยทั่วประเทศ  กล่าวกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ก่อนหน้านี้รับรู้อยู่แล้วว่าราคาอ้อยขั้นต้นอยู่ที่  750 บาทต่อตันอ้อย เห็นว่าไม่เพียงพอจึงเสนอให้ภาครัฐพิจารณาช่วยค่าปัจจัยการผลิตเหมือนปีก่อนๆ เมื่อปลายปีที่ผ่านมา ซึ่งในเบื้องต้นผ่านการเห็นชอบแนวทางการพิจารณาช่วยเหลือชาวไร่อ้อยในแง่ปัจจัยการผลิตที่ 10,000 ล้านบาท ซึ่งในส่วนนี้ภาครัฐอาจจะจัดสรรเงินมาจากงบกลาง และชาวไร่อ้อยที่จะได้รับความช่วยเหลือก็จะมาจากชาวไร่อ้อยที่ขึ้นทะเบียนอ้อยไว้ มีอยู่ทั่วประเทศราว 340,000 ราย

 “ความคืบหน้าเรื่องนี้ ตามขั้นตอนสำนักงานอ้อยจะชงเรื่องถึงรัฐมนตรี 3 กระทรวง คือกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสกรณ์ฯ ในฐานะรักษาการตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย จากนั้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมนำชงพิจารณาในครม.เป็นลำดับต่อไป”

ชาวไร่อ้อยอีกราย  กล่าวด้วยความกังวลว่า  ขณะนี้สิ่งที่เป็นกังวลมากที่สุดคือ ปัญหาภัยแล้ง  เพราะมีไร่อ้อยอยู่ในพื้นที่จังหวัดขอนแก่น  เป็นห่วงว่า เวลาตัดอ้อยแล้ว  ถ้าฝนไม่ตก อ้อยตอจะเสียหายมาก ทำให้ปีต่อไปปริมาณอ้อยยิ่งลดลงอีก  ซึ่งถึงเวลานั้นก็จะสวนทางกันคือผลผลิตอ้อยน้อย  ในขณะที่ราคาอ้อยอาจจะดีขึ้น  เหมือนราคาน้ำตาลดิบ  ถ้าปริมาณน้ำตาลดิบในตลาดโลกลดลง เพราะภัยแล้งจากที่มีปริมาณอ้อยน้อย  ราคาน้ำตาลดิบก็จะกลับมาดีดตัวดีขึ้นในปี2563/2564  ยอมรับว่าภัยธรรมชาติเป็นอุปสรรคมากในการปลูกอ้อย ทำให้ชาวไร่อ้อยไม่สามารถวางแผนล่วงหน้าได้

จาก https://www.thansettakij.com   วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2563

ดึงน้ำในขุมเมืองเก่า สู้วิกฤตภัยแล้ง

ก.อุตฯ ดึงน้ำทิ้งโรงงานที่ผ่านเกณฑ์เตรียมพร้อมผันเข้าระบบ 169 ล้าน ลบ.ม.

    นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้สำรวจปริมาณน้ำทิ้งโรงงาน และแหล่งน้ำในขุมเหมืองที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในภาคเกษตรกรรมในช่วงวิกฤติภัยแล้งปี 2563 เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมได้มีส่วนช่วยเหลือเกษตรกร และภาคส่วนอื่นๆ ในการช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำในหลายพื้นที่ จากการสำรวจล่าสุดมีปริมาณน้ำรวม 169 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ที่พร้อมผันน้ำให้ภาคส่วนต่างๆ ได้ใช้ประโยชน์ และกระทรวงฯ จะจัดส่งข้อมูลไปยัง ศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บัญชาการศูนย์ฯ เพื่อบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการ ดึงน้ำข้างต้นเพื่อใช้แก้วิกฤติภัยแล้งให้ผ่านพ้นไป

    “น้ำในขุมเหมืองเก่าทั่วประเทศ เบื้องต้นพบว่า ในอดีตได้มีการนำไปใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค และเป็นน้ำต้นทุนในการผลิตน้ำประปา เช่น จังหวัดภูเก็ต ระนอง และพังงา ฯลฯ ซึ่งใน               ปีนี้มีแหล่งน้ำในกลุ่มเหมืองแร่ จำนวน 36 แห่ง รวม 105 บ่อเหมือง มีปริมาณน้ำทั้งสิ้น 166,019,100 ลบ.ม. ที่สามารถนำน้ำไปใช้ประโยชน์ได้ และปัจจุบันได้นำน้ำไปใช้ประโยชน์แล้ว ถึง 50 บ่อเหมือง             คิดเป็นปริมาณน้ำรวมกว่า 65,392,000 ลบ.ม. กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.)              ได้ตรวจสอบวิเคราะห์คุณภาพน้ำในแหล่งน้ำขุมเหมือง และได้ประสานจัดส่งข้อมูลปริมาณน้ำขุมเหมืองในเขตพื้นที่ต่างๆ ให้กับ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด (สอจ.) และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.)              ที่เกี่ยวข้อง เพื่อประกอบการพิจารณานำน้ำไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งจัดสรรให้ทั่วถึงซึ่งจะเน้นในพื้นที่ประสบภัยแล้งอย่างหนักก่อน

    สำหรับการนำน้ำทิ้งจากโรงงานไปใช้ประโยชน์จะดำเนินการได้ ภายหลังจากที่กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) จัดทำประกาศฯ เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการพิจารณาอนุญาตโรงงานอุตสาหกรรม นำน้ำทิ้งของโรงงานไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เกษตรกรรมในช่วงภัยแล้ง ซึ่งคาดว่าประกาศฯ ได้ภายในเดือนมกราคมนี้ โดยผมได้รับรายงานการสำรวจของ สอจ. 76 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่ามีโรงงานประเภทแปรรูปการเกษตรที่มีน้ำทิ้ง จำนวนทั้งสิ้น 3,103 โรง มีปริมาณน้ำทิ้งที่ผ่านการบำบัดให้มีค่ามาตรฐานตามกฎหมายและพร้อมจะช่วยเหลือภาคเกษตรกรรม จำนวนรวม 3,772,417 ลบ.ม. ซึ่งกระทรวงฯ คาดการณ์ในเบื้องต้นว่า น้ำทิ้งที่ระบายออกจากโรงงานจะสามารถช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่โดยรอบโรงงานได้จำนวนกว่า 1,500 ราย ซึ่งถ้ารวมกับปริมาณน้ำในกลุ่มเหมืองแร่ ที่มีปริมาณน้ำ 166,019,100 ลบ.ม. จะมีปริมาณน้ำรวมกว่า 169 ล้าน ลบ.ม.” นายกอบชัย กล่าว

    ขณะนี้ภาคอุตสาหกรรมยังไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งอย่างชัดเจน เนื่องจากโรงงานที่ใช้น้ำในการผลิตในปริมาณมาก ส่วนใหญ่จะมีบ่อกักเก็บน้ำทิ้งไว้ใช้ประโยชน์ และมีการนำน้ำกลับมาใช้ในการผลิตอีกครั้ง ส่วนโรงงานที่อยู่ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม ทางการนิคมอุตสาหกรรม           แห่งประเทศไทย (กนอ.) ได้เตรียมแหล่งน้ำสำรองเพียงพอที่จะรับมือกับภัยแล้ง จึงมั่นใจว่าโรงงานจะไม่ได้รับผลกระทบและเกิดปัญหาการแย่งน้ำกับภาคส่วนอื่น แต่หากพบผู้ประกอบการรายใดที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบ หรือน้ำต้นทุนไม่เพียงพอ กระทรวงฯ จะออกมาตรการช่วยเหลือให้ต่อไป

     ข้อมูลแหล่งน้ำขุมเหมืองของ กพร. ในพื้นที่ภาคเหนือ มี 13 บ่อเหมืองในจังหวัดเชียงใหม่ พะเยา ลำปาง ลำพูน ปริมาณน้ำรวม 129 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มี 17 บ่อเหมืองในจังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ เลย ศรีสะเกษ สุรินทร์ หนองบัวลำภู อุบลราชธานึ ปริมาณน้ำรวม 11 ล้าน ลบ.ม. ภาคกลาง  มี 4 บ่อเหมืองในจังหวัดนครสวรรค์ เพชรบูรณ์ ปริมาณน้ำรวม 1.7 ล้าน ลบ.ม. ภาคตะวันออก มี 4 บ่อเหมืองในจังหวัดจันทบุรี ชลบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ปริมาณน้ำรวม 8 แสน ลบ.ม. ภาคตะวันตก มี 5 บ่อเหมืองในจังหวัดกาญจนบุรี ตาก ประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี ราชบุรี ปริมาณน้ำรวม 8.7 ล้าน ลบ.ม. และภาคใต้ มี 6 บ่อเหมืองในจังหวัด ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส พังงา และภูเก็ต ปริมาณน้ำรวม 14 ล้าน ลบ.ม

จาก https://www.thansettakij.com   วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2563

ปภ.ประกาศพื้นที่ประสบภัยแล้ง20จังหวัด

ปภ.รายงานมีจังหวัดประกาศเขตฯ ภัยแล้ง 20 จังหวัด ประสานจังหวัดแจกจ่ายน้ำบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน

นายมณฑล สุดประเสริฐ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน (16 ม.ค. 63) มีจังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) 20 จังหวัด รวม 98 อำเภอ 541 ตำบล 4,600 หมู่บ้าน/ชุมชน แยกเป็น ภาคเหนือ 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ สุโขทัย และพะเยา รวม 35 อำเภอ 166 ตำบล 1,200 หมู่บ้าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 8 จังหวัด ได้แก่ นครพนม มหาสารคาม บึงกาฬ หนองคาย บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ นครราชสีมา และสกลนคร รวม 33 อำเภอ 231 ตำบล 2,241 หมู่บ้าน ภาคกลาง 6 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา อุทัยธานี ชัยนาท นครสวรรค์ และสุพรรณบุรี รวม 30 อำเภอ 144 ตำบล 1,136 หมู่บ้าน ซึ่ง ปภ. ได้ร่วมกับหน่วยทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้ง โดยสนับสนุนการแจกจ่ายน้ำบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชนอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งประสานจังหวัดเตรียมพร้อมแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ด้วยการจัดชุดปฏิบัติการสำรวจข้อมูลสถานการณ์น้ำ ข้อมูลแหล่งน้ำและประมาณการใช้น้ำในพื้นที่หมู่บ้าน ตำบล และอำเภอ โดยแยกเป็น น้ำสำหรับอุปโภคบริโภค และน้ำเพื่อการเกษตร รวมถึงสำรวจและจัดทำบัญชีแหล่งน้ำ ควบคู่กับการปรับปรุงบัญชีพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งให้เป็นปัจจุบัน นอกจากนี้ ยังได้ตรวจสอบภาชนะกักเก็บน้ำให้ใช้การได้เพียงพอ พร้อมกำหนดจุดแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคที่เข้าถึงประชาชนทุกพื้นที่ ตลอดจนรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด ส่วนเกษตรกรให้ปรับวิถีทำการเกษตรให้สอดคล้องกับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ ท้ายนี้ ประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยแล้ง สามารถติดต่อขอความช่วยเหลือได้ทางสายด่วนนิรภัย 1784 ตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อประสานให้การช่วยเหลือโดยด่วนต่อไป

จาก https://www.innnews.co.th  วันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2563

เร่งมือจัดการวิกฤติภัยแล้ง ปัญหาเร่งด่วนรัฐบาลประยุทธ์

          ผู้เชี่ยวชาญเรื่องนํ้า ภูมิอากาศออกมาพยากรณ์เตือนภัย เราจะเผชิญภัยแล้งหนักสุดในรอบ 20-40 ปี และเป็นการออกมาพยากรณ์ล่วงหน้าตั้งแต่ปี 2562 โดยจะเป็นสถานการณ์ที่ร้อนแล้งรุนแรง อย่างไม่เคยปรากฏมาหลายปี เป็นฤดูกาลแล้งร้อนที่ยาวนานไปจนกระทั่งเดือนพ.ค.-มิ.ย.ยังไม่เข้าฤดูฝนตามปกติของประเทศไทย

          การออกมาพยากรณ์ล่วงหน้าเป็นการส่งสัญญาณให้ทราบและเตรียมการรับมือในระดับหนึ่ง แต่ที่ผ่านมาหน่วยงานของรัฐผู้รับผิดชอบ ดูจะขาดประสิทธิภาพ ขาดการวางแผน วางระบบในการรับมือที่ดี จึงซํ้าเติมให้สถานการณ์หนักหน่วงรุนแรงขึ้น กลายเป็นขาดนํ้าตั้งแต่ต้นปี และมีสถานการณ์นํ้าทะเลหนุนสูงและเริ่มมีปัญหานํ้าในการอุปโภค-บริโภค โดยเฉพาะนํ้าประปาที่เริ่มมีปัญหานํ้าเค็มตามมา

          สถานการณ์ภัยแล้งคุกคามหนักขึ้นโดยขณะนี้นํ้าในเขื่อนพร่องลงมากกว่าปกติในหลายเขื่อนหลักไปแล้ว แน่นอนว่าผลกระทบเกิดขึ้นแน่กับผู้ที่ฝืนปลูกข้าวนาปรัง ทั้งที่รับสัญญาณเตือนไปแล้วว่าไม่มีนํ้า ต้องได้รับผลกระทบและเกิดความเสียหาย โดยเฉพาะนาข้าวอย่างน้อย 3 ล้านไร่ ในพื้นที่ภาคกลางปลายแม่นํ้าเจ้าพระยา

          สถานการณ์ภัยแล้งกำลังคุกคามไปสู่ภาคธุรกิจ โดยเฉพาะพื้นที่อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกและเป้าหมายพัฒนาอุตสาหกรรมใหม่ในเขตอีอีซี ทั้งที่ก่อนหน้านี้ในคราววิกฤติแล้งเมื่อปี 2548 ได้มีความพยายามบริหารจัดการนํ้าในพื้นที่ภาคตะวันออก ประกอบกับสภาวะอากาศได้ทำให้ปัญหาหดหายไปหลายปี แต่รอบนี้ความรุนแรงของภัยแล้ง หวั่นเกรงว่าจะส่งผลกระทบกับภาคธุรกิจอีกครั้ง แน่นอนว่าจะมีผลซํ้าเติมภาวะเศรษฐกิจให้อ่อนแอลง จากสารพัดปัญหาทั้งสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน ค่าเงินบาทแข็ง ปัญหาสหรัฐฯ-อิหร่าน ที่ถาโถมเข้ามา เป็นปัจจัยกระทบภาวะเศรษฐกิจอยู่แล้วให้เลวร้ายกว่าเดิม

          เราเห็นว่ารัฐบาลต้องหันกลับมาตั้งหลัก แก้ปัญหาในเชิงรุกในการจัดการภัยแล้ง โดยครม.ต้องมีหน่วยเฉพาะกิจที่มีอำนาจเต็มในการบริหารจัดการ คอยติดตามสถานการณ์ทุกพื้นที่โดยอาศัยเครื่องมือ เทคโนโลยีที่ทันสมัย ลดขั้นตอนราชการที่ยืดเยื้อ เพื่อจัดการปัญหาที่จำเป็นเร่งด่วนทันที เช่น หากมีความจำเป็นต้องขุดเจาะบ่อบาดาลในพื้นที่แห้งแล้งรุนแรง หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องออกปฏิบัติการได้ทันทีโดยไม่ต้องรอแผนหรือสั่งการจากส่วนกลาง หรือหากจำเป็นต้องขออนุมัติงบประมาณก็ต้องดำเนินการทันที โดยไม่ติดขัด แต่ต้องเป็นไปด้วยความโปร่งใส ครม.ทุกคนต้องตระหนักว่าภัยแล้งเป็นปัญหาระดับชาติและเป็นปัญหาเร่งด่วนของทุกกระทรวง ทบวง กรม โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องบัญชาการเรื่องนี้ด้วยตัวเองและมีรายงานติดตามตรวจสอบสถานการณ์ทุกพื้นที่ทุกๆ วัน

จาก https://www.thansettakij.com   วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563

ก.อุตฯแก้แล้งมอบระบบกักเก็บน้ำช่วยเอสเอ็มอี นำร่อง 10 หมู่บ้าน จ.ชัยภูมิ

ก.อุตฯเดินหน้าแก้แล้ง มอบระบบกักเก็บน้ำช่วยเอสเอ็มอี นำร่อง 10 หมู่บ้าน ใน จ.ชัยภูมิ ลดการซื้อน้ำกว่า 5 ล้านลิตรต่อปี คิดเป็นมูลค่าเกือบ 3 แสนบาท คาดเพิ่มยอดขายกว่า 22 ล้านบาทต่อปี

น.ส.สุชาดา แทนทรัพย์ โฆษกกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากสถานการณ์วิกฤตภัยแล้งที่คาดว่าจะรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา เรื่องนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความเป็นห่วง และมีข้อสั่งการให้ทุกภาคส่วนเร่งแก้ไขปัญหา เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชน กระทรวงอุตสาหกรรม ภายใต้การนำของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม จึงได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (กสอ.) ดำเนินกิจกรรมผ่านการสนับสนุนอุปกรณ์ภาชนะในการกักเก็บน้ำและถ่ายทอดองค์ความรู้การสร้างภาชนะกักเก็บน้ำ การบริหารจัดการน้ำเพื่อใช้ผลิตและอุปโภคบริโภคในระดับครัวเรือนและระดับชุมชนในท้องถิ่น ล่าสุด กสอ.ได้กำหนดมาตรการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ ผ่านกิจกรรมนำร่องระบบกักเก็บน้ำเพื่อวิสาหกิจชุมชนและราษฎร มีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างความรับรู้การจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับกักเก็บน้ำเพื่อสำรองน้ำไว้ใช้เพื่อผลิต ประกอบการ และอุปโภคบริโภค และพัฒนาทักษะฝึกวิธีคิดการพัฒนาตนเองให้สามารถเข้าใจและตระหนักถึงการบริหารจัดการน้ำ และการใช้น้ำเพื่อประโยชน์สูงสุด

นายณัฐพล รังสิตพล อธิบดี กสอ. กล่าวว่า ได้กำหนดมาตรการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ โดยการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ภายใต้กิจกรรมนำร่องระบบกักเก็บน้ำเพื่อวิสาหกิจชุมชนและราษฎร และได้คัดเลือกพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งเป็นหนึ่งในจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตภัยแล้ง โดยมีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบกว่า 16 อำเภอ 120 ตำบล 1,542 หมู่บ้าน คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 1,100 ล้านบาท ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่สำหรับเกษตรกรรม ขณะเดียวกันประชาชนในพื้นที่ยังประสบกับปัญหาขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภคด้วย

“ภายใต้การดำเนินกิจกรรมนำร่องระบบกักเก็บน้ำเพื่อวิสาหกิจชุมชนและราษฎรดังกล่าว ได้มีการนำร่องระบบกักเก็บน้ำที่เหมาะสม สำหรับสำรองน้ำให้ครอบคลุมความต้องการใช้น้ำในการผลิตสินค้าเกษตรกรรม การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร และการอุปโภคบริโภคของกลุ่มวิสาหกิจและประชาชนในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 10 หมู่บ้านนำร่อง ทั้งในพื้นที่ อ.เมือง อ.บำเหน็จณรงค์ อ.หนองบัวระเหว และ อ.จัตุรัส โดยสามารถลดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำกว่า 5,037,000 ลิตรต่อปี คิดเป็นมูลค่ากว่า 270,660 บาทต่อปี และเพิ่มโอกาสสร้างยอดขาย 22,000,000 บาทต่อปี โดย กสอ.จะยังดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ทั้งการสร้างระบบกักเก็บน้ำ และการฝึกอาชีพ โดยมีเป้าหมายทั้งสิ้น 10,000 ครัวเรือน” นายณัฐพลกล่าว

จาก https://www.matichon.co.th วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563

หลังค่าฝุ่นพิษพุ่ง ! กลุ่มสำนึกรักษ์บ้านเกิดจุดกระแสต้านเผาอ้อยทำจม.เปิดผนึกจี้จังหวัด-รง.น้ำตาลเร่งแก้ไข

แกนนำกลุ่มสำนึกรักษ์บ้านเกิด ทำจดหมายเปิดผนึกเสนอ 4 ข้อ ซัดการทำมาหากินบนความเดือดร้อนของคนอื่นคือการละเมิดสิทธิกัน จุดกระแสต้านเผาอ้อย จี้จังหวัด-รง.น้ำตาลเร่งแก้ไข

ผู้สื่อข่าวรายงานถึงความคืบหน้ากรณีค่าฝุ่น PM2.5 ที่อ.เมืองและอ.วิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ พุ่งเกินมาตรฐานจนมีผลต่อสุขภาพประชาชน โดยปัจจัยหลักมาจากการเผาไร่อ้อยของเกษตรกร ล่าสุดเริ่มมีองค์กรภาคเอกชนในจังหวัดและองค์กรสื่อมวลชน เคลื่อนไหวจี้ให้ทางจังหวัดเพชรบูรณ์และโรงงานน้ำตาลรวมทั้งสมาคมชาวไร่อ้อยเร่งหามาตรการแก้ไขในเรื่องนี้

นายปัณณทัต ปานเงิน ตัวแทนภาคประชาชน กลุ่มคนรักบ้านเกิดจังหวัดเพชรบูรณ์และสำนึกรักษ์ห้วยใหญ่ ได้ทำหนังสือเปิดผนึกถึงผู้ว่าราชการจ.เพชรบูรณ์ เรื่องวิกฤตมลภาวะทางอากาศ PM 2.5 ที่สูงเพิ่มขึ้น จนมีผลต่อสุขภาพประชาชน นอกจากนี้ยังสะท้อนการทำงานของทางจังหวัดฯพร้อมตั้งคำถามว่า สิ่งเกิดขึ้นเป็นความผิดพลาดหรือล้มเหลวไร้ประสิทธิภาพในเรื่องควบคุมดูแลการเผาอ้อยหรือไม่?

นายปัณณทัตได้ยื่นเสนอข้อเรียกร้องรวม 4 ข้อ ได้แก่ ให้มีคำสั่งห้ามบริษัทเอกชนเข้าส่งเสริมการปลูกอ้อยในพื้นที่จ.เพชรบูรณ์, ห้ามเพิ่มพื้นที่การปลูกอ้อยและต้องลดพื้นที่เสี่ยงเผาให้น้อยลง, ลดพื้นที่การเพาะปลูกอ้อยลง, เพิ่มจุดตรวจสอบสภาพอากาศ PM2.5 ทุกอำเภอส่วนเครือข่ายองค์กรโลกสีเขียวจังหวัดเพชรบูรณ์ โดยนายสมศักดิ์ คงวิเศษ แกนนำฯ เชิญสมาชิกประชุมหารือเรื่องปัญหาค่าฝุ่น PM2.5 เพื่อกำหนดท่าทีต่อปัญหา PM2.5 ที่เพิ่มสูงขึ้นสูงใน 2 อำเภอ ได้แก่ อ.วิเชียรบุรีและอ.เมืองเพชรบูรณ์แบบพรวดพราดน่าตกใจ

ด้านนายวิศัลย์ โฆษิตานนท์ ประธานสภาวัฒนธรรมจ.เพชรบูรณ์ และแกนนำกลุ่มคนเพชรบูรณ์ไม่เอาเหมืองแร่ ได้โพสต์เฟสบุ๊คส่วนตัวโดยระบุว่า “การทำมาหากินโดยสุจริตไม่มีใครว่าอะไร แต่การทำมาหากินที่ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญหรือสร้างความเสียหายให้กับผู้อื่น มันคือการเบียดเบียนกันและละเมิดสิทธิกัน จึงเป็นที่น่ารังเกียจต้องถูกต่อต้านไม่ให้เกิดขึ้นในเมืองเพชรบูรณ์”

ความยากจนหรือความจำเป็นต้องทำมาหากินเพื่อความอยู่รอด ไม่สามารถใช้เป็นข้ออ้างที่จะทำอะไรก็ได้ แม้จะทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน เพราะทุกคนก็ต้องทำมาหากินเพื่อความอยู่รอดเช่นเดียวกัน แต่ต้องเป็นอาชีพหรืองานที่ไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร!! ถึงจะอยู่ด้วยกันได้อย่างปกติสุขในสังคมและตัดไฟแต่ต้นลม เพื่อไม่ให้มีปัญหาเพิ่มขึ้น ไม่เอาโรงงานน้ำตาลแห่งที่ 3 ที่ห้วยใหญ่ครับ เพราะมันอยู่ในเขตอนุรักษ์เพื่อ เกษตรปลอดภัยและท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ และมันใกล้เมืองเกินไป !! คัดค้านโรงงานน้ำตาลแห่งที่ 3 ในจังหวัดเพชรบูรณ์ ที่ห้วยใหญ่“

จาก https://mgronline.com  วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563

นครสวรรค์ค่าฝุ่นพุ่งเกินมาตรฐาน ผู้ว่าฯสั่งเฝ้าระวังการเผาไร่อ้อย

นครสวรรค์ค่าฝุ่นพุ่งเกินมาตรฐานต่อเนื่อง ผู้ว่าฯกำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเฝ้าระวังการเผาไร่อ้อยของกับเกษตรกร

เมื่อวันที่ 15ม.ค.2563 บรรยากาศทั่วไปในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ยังคงมีฟ้าหลัวจากอากาศปิด และมีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กมีค่าสูงเกินมาตรฐานอย่างต่อเนื่องมานานนับสัปดาห์ โดยในช่วงเวลาประมาณ 07.00น. จังหวัดนครสวรรค์มีค่าฝุ่นละอองในอากาศ PM2.5 ในอากาศสูง 55 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ในขณะที่ค่าAQI สุง 111 หมายถึงคุณภาพอากาศเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนโดยทั่วไปแล้ว

จากข้อมูลของป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัยจังหวัดนครสวรรค์ เปิดเผยว่า สาเหตุของการที่มีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกินมาตรฐานในพื้นที่นั้นมาจากสาเหตุของความกดอากาศตามฤดูกาล ประกอบกับการเผาอ้อยเพื่อตัดส่งเข้าโรงงานน้ำตาลในพื้นที่ ที่ผ่านมานายอรรถพร สิงหวิชัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ ได้กำชับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในแต่ละอำเภอเร่งประชาสัมพันธ์ เฝ้าระวังการเผาไร่อ้อยกับเกษตรกร เพื่อควบคุมการเกิดค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กเที่เกินค่ามาตรฐานในพื้นที่อย่างเร่งด่วน.

จาก https://www.posttoday.com  วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563

มท.สั่งด่วนทุกจว. เดินหน้า‘ขุดดินแลกน้ำ’ สนองนายกฯแก้ภัยแล้ง

มท.1สนองนโยบายนายกฯ สั่งผู้ว่าฯเร่งหาช่องขุดดินแลกน้ำ โดยยึดระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องเคร่งครัด พร้อมหาแนวทางขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติ เป็นที่กักน้ำแก้แล้ง-ท่วม และบริหารจัดการวัสดุมูลดินให้เกิดประโยชน์ ด้านก.เกษตรฯทุ่มงบ 3.1 พันล้านให้กรมชลฯวางแผนจ้างงานเกษตรกรสร้างรายได้ทดแทนหลังเพาะปลูกไม่ได้ ขณะที่ครม.รับทราบสถานการณ์น้ำแล้ง18จว.ประกาศเขตภัยพิบัติ วางแผนเฉพาะหน้า 2 ระยะ นายกฯห่วงสั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด

เมื่อวันที่ 14 มกราคม นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย (มท.) กล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นขณะนี้ว่า รัฐบาลให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาสถานการณ์ภัยแล้งต่อเนื่องและติดตามข้อมูลสถานการณ์น้ำใกล้ชิด รวมทั้งสำรวจข้อมูลแหล่งน้ำและประมาณการใช้น้ำของแต่ละพื้นที่ ทั้งน้ำอุปโภคบริโภค การเกษตร การอุตสาหกรรมและรักษาระบบนิเวศ เพื่อเป็นข้อมูลพิจารณาแก้ปัญหาและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งต้องใช้เวลาและงบประมาณจำนวนมากเพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอกับความต้องการของทุกภาคส่วน

ดังนั้น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ให้แนวทางแก้ปัญหาภัยแล้งระยะเร่งด่วน ด้วยการขุดดินแลกน้ำ โดยใช้วัสดุมูลดินที่ได้จากการขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติหรือแหล่งอื่น ที่เหมาะสม เพื่อเป็นการบริหารจัดการวัสดุมูลดินให้เกิดประโยชน์ และเป็นการขุดบ่อสร้างแหล่งกักเก็บน้ำขนาดเล็กในพื้นที่นั้น พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย จึงสั่งการผู้ว่าราชการจังหวัดบูรณาการหน่วยงานในพื้นที่พิจารณาดำเนินการขุดดินแลกน้ำ ตามความเหมาะสมของสภาพพื้นที่และสอดคล้องสถานการณ์ ทั้งนี้ ให้ปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัด รวมทั้งให้ศึกษาแนวทางดำเนินการตามนโยบายขุดลอกแหล่งน้ำสาธารณประโยชน์ที่ตื้นเขิน ป้องกันแก้ปัญหาอุทกภัยหรือภัยแล้งของกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย และแนวทางบริหารจัดการวัสดุที่ได้จากการขุดลอก ของกรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบการดำเนินการดังกล่าวด้วย

ด้านนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้สัมภาษณ์หลังประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) กรณีปลูกพืชช่วงภัยแล้งว่า ในส่วนพืชที่ใช้น้ำน้อยยังปลูกได้ และหลายพื้นที่ยังไม่มีปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำ เช่น ในลุ่มน้ำภาคตะวันตก ลุ่มน้ำแม่กลอง หรือภาคใต้ พืชที่ไม่สามารถปลูกได้คือพืชที่ใช้น้ำมาก เช่น ข้าว ในส่วนนี้เราจะขอความร่วมมือ ส่วนเกษตรกรที่ไม่สามารถปลูกพืชใดๆได้เลย รัฐบาลมีมาตรการคือ ส่งเสริมให้ปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อย และอายุสั้น การจ้างงาน โดยกรมชลประทานวางแผนจ้างงานเกษตรกรที่ไม่สามารถทำเกษตรได้ ซึ่งใช้งบประมาณ 3,100 ล้านบาท โดยบูรณาการกับหลายภาคส่วน เพื่อแก้ปัญหา ตนคิดว่าตอนนี้เป็นวิกฤตของประเทศ จึงไม่ใช่ความรับผิดชอบของกระทรวงเกษตรฯ หรือหน่วยงานใด ภาคส่วนใดเท่านั้น ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกัน อย่าคิดว่าเป็นปัญหาของคนใดคนหนึ่ง วันนี้ต้องช่วยกันคิดว่าจะผ่านปัญหาไปได้อย่างไร ทั้งนี้ ในที่ประชุม ครม.นายกฯกำชับให้ทุกคนดำเนินงานเต็มที่ เร่งงใช้งบประมาณนำไปดำเนินการให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

ขณะที่น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลประชุม ครม.ว่า ที่ประชุมรับทราบสถานการณ์น้ำแล้งระหว่างวันที่ 7 - 13 มกราคม ครอบคลุมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีจังหวัดที่ประกาศเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติฉุกเฉินภัยแล้ง ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่าด้วยเงินทดรองราชการ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2562ว่า มี 18 จังหวัด 89 อำเภอ 507 ตำบล ได้แก่ จ. เชียงราย น่าน เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ สุโขทัย นครพนม มหาสารคาม บึงกาฬ หนองคาย บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ นครราชสีมา กาญจนบุรี ฉะเชิงเทรา อุทัยธานี ชัยนาท นครสวรรค์ และสุพรรณบุรี

รองโฆษกรัฐบาลกล่าวต่อว่า ทั้งนี้ รัฐบาลมีแผนเฉพาะหน้าแบ่งเป็น 2 ระยะคือ ช่วงเร่งด่วน เดือนมกราคม- เมษายน เป็นช่วงแล้งมา และช่วงเดือนพฤษภาคม- กรกฎาคม ฝนจะตกน้อย ที่ผ่านมามีข้อสั่งการของกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ตั้งแต่วันที่29 พฤศจิกายน 2562 แบ่งความรับผิดชอบเป็น 3 กลุ่มภารกิจ ทั้งพยากรณ์ บริหารจัดการ แก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ เพื่อทำแผนหาแหล่งน้ำ ขุดบ่อบาดาล ควบคุมการใช้น้ำเพื่อการเกษตร เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สทนช.ขออนุมัติงบประมาณ 3 พันล้านบาท รวมกับงบกระทรวงที่ใช้ดูแลช่วงน้ำแล้ง รวมแล้ว 6 พันล้านบาท

“นายกฯ เป็นห่วงปัญหาภัยแล้ง ซึ่งรัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง และเพื่อเป็นการดูแลประชาชนในช่วงภัยแล้ง รัฐบาลมีแผนเฉพาะหน้าแบ่งเป็น 2 ระยะคือ ช่วงภัยแล้งเร่งด่วนเดือนมกราคม-เมษายน เป็นช่วงที่แล้งมาก จากนั้นเข้าสู่ช่วงฤดูฝนเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม.ฉะนั้นรูปแบบการทำงานจะต้องตอบสนองการทำงาน 2 ช่วงเวลาดังกล่าว”รองโฆษกรัฐบาลกล่าว

และว่า รัฐบาลยังให้ความสำคัญกับการควบคุมการใช้น้ำเพื่อการเกษตร โดยขอความร่วมมือเกษตรกรไม่ให้ปิดกั้นลำน้ำหรือสูบน้ำเข้าพื้นที่เพาะปลูก เพื่อลดผลกระทบการขาดแคลนน้ำ พร้อมประสานกรมฝนหลวงทำฝนหลวงตามสภาพภูมิอากาศที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม การรับมือภัยแล้งปี2563 แบ่งเป็นการดำเนินการบูรณาการหลายกระทรวงและในส่วนที่แต่ละกระทรวงรับผิดชอบ ซึ่งประกอบด้วย 3,378โครงการ มีการขุดเจาะย่อบาดาล 1,053 แห่ง จัดหาแหล่งน้ำผิวดิน ซ่อมแซมระบบประปา ส่วนกระทรวงเกษตรฯเร่งฟื้นฟูแหล่งน้ำครอบคลุมพื้นที่ 1.2 ล้านไร่ 421 โครงการ เพิ่มปริมาณน้ำได้ 942 ล้านลูกบาศก์เมตร รวมถึงการเตรียมพร้อมปฏิบัติการฝนหลวง 25 ลุ่มน้ำ

จาก https://www.naewna.com วันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2563

กำหนดราคาอ้อยขั้นต้น 750 บาท/ตัน

ครม.เห็นชอบกำหนดราคาอ้อยขั้นต้น ฤดูการผลิต 2562/2563 ในอัตรา 750 บาทต่อตันอ้อย

 ดร.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2562/2563 ในอัตรา 750 บาท/ตันอ้อย ณ ระดับความหวานที่ 10  ซี.ซี.เอส. หรือเท่ากับร้อยละ 97.91 ของประมาณการราคาอ้อยเฉลี่ยทั่วประเทศ (ที่ 66.01 บาท/ตันอ้อย) และกำหนดอัตราขึ้น/ลงของราคาอ้อยเท่ากับ 45 บาท ต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส. ผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2562/2563 เท่ากับ 321.43 บาท/ตันอ้อย

 สำหรับเรื่องนี้เป็นเรื่องที่กระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยเป็นการประมาณการราคาอ้อยขั้นต้น ให้โรงงานน้ำตาลชำระเงินค่าอ้อยให้กับชาวไร่อ้อยไปก่อน เพื่อให้ชาวไร่อ้อยนำไปใช้หมุนเวียนในการประกอบธุรกิจและสร้างรายได้ ซึ่งยังไม่ใช่ราคาอ้อยและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย ฤดูการผลิตปี 2562/2563 ที่ชาวไร่อ้อยและโรงงานจะได้รับจริง  โดยที่ผ่านมา ครม. ได้เคยมีมติกำหนดราคาและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้นตั้งแต่ฤดูการผลิตปี 2554/2555

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2563

ก.อุตฯ ชงราคาอ้อยขั้นต้นตันละ 750 บาท

กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ครม.อนุมัติราคาอ้อยขั้นต้นฤดูกาลผลิตปี 2562/2563 ตันละ 750 บาท คาดผลผลิตปีนี้ 110 ล้านต้นอ้อย

นายวิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผยว่า วันนี้ (14 ม.ค.) กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2562/2563 ตันละ 750 บาท ระดับความหวาน 10 ซี.ซี.เอส  มีอัตราขึ้นลงค่าความหวานอยู่ที่ 45 บาทต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส คาดการณ์ระดับความหวานเฉลี่ยทั่วประเทศอยู่ที่ 12.51 ซี.ซี.เอส ทำให้ชาวไร่จะได้รับราคาอ้อยตันละ 862.91 บาท  โดยสอน.ประเมินว่าฤดูกาลผลิตปี 2562/2563 จะมีผลผลิตอ้อยรวมประมาณ 110 ล้านตัน

สำหรับการเสนอราคาอ้อยขั้นต้นวันนี้เป็นไปตามผลการเห็นชอบของที่ประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ครั้งที่ 11/2562 เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2562 ซึ่งผ่านกระบวนการประชุมรับฟังความคิดเห็น หรือการทำประชาพิจารณ์ต่อเกษตรกรชาวไร่อ้อย โรงงานน้ำตาล และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตามมาตรา 50 แห่งพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 มาแล้ว  สำหรับอ้อยเข้าหีบโรงงานน้ำตาลที่เริ่มเปิดหีบตั้งแต่ว้นที่ 1 ธันวาคม 2562 จนถึงวันที่ 12 มกราคม 2563 รวม 34.4 ล้านตัน แบ่งเป็นอ้อยสดร้อยละ 52 ส่วนที่เหลืออีกร้อยละ 48 เป็นอ้อยไฟไหม้

ส่วนโครงการเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยเพื่อซื้อปัจจัยการผลิต ฤดูการผลิตปี 2562/2563 กระทรวงอุตสาหกรรมนำเสนอเป็นวาระ เพื่อให้ ครม.พิจารณาแล้ว อยู่ระหว่างรอการพิจารณาในการประชุมโอกาสต่อไป ก่อนหน้านี้เคยกำหนดกรอบวงเงินช่วยเหลือไว้ไม่เกิน 10,000 ล้านบาท เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยโดยเฉพาะชาวไร่อ้อยรายเล็กให้สามารถเข้าถึงปัจจัยการผลิตที่จำเป็น และมีผลตอบแทนเพียงพอ สำหรับนำไปเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพและการดำรงชีพของตนเองและครอบครัว.

จาก https://www.mcot.net  วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2563

ผู้ว่าฯเรียกผู้ประกอบการเร่งแก้ปัญหา ฝุ่นละอองพีเอ็ม2.5จากการเผาไร่อ้อย

ที่ จ.สุพรรณบุรี นายภูสิต สมจิตต์ รอง ผวจ.สุพรรณบุรี เป็นประธานในการประชุมหารือกำหนดแนวทางการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เกิดจากการเผาอ้อย ณ ห้องประชุมสำนักงานสรรพากรพื้นที่สุพรรณบุรี ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดสุพรรณบุรี โดยมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดสุพรรณบุรี นายอำเภอที่มีพื้นที่ปลูกอ้อย อุตสาหกรรมจังหวัด ทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ตัวแทนโรงงานน้ำตาล ตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย เจ้าของโควต้าอ้อย เจ้าหน้าที่ทหาร เจ้าหน้าที่ตำรวจหัวหน้าโรงพัก และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม

 นายภูสิต เปิดเผยว่าวันนี้จังหวัดสุพรรณบุรีปัญหาเรื่องของค่า พีเอ็ม 2.5 เราได้ขอความอนุเคราะห์จากกรมควบคุมมลพิษมาตรวจวัดค่าอากาศปรากฎว่าของเราอยู่ในระดับปานกลางยังไม่ถึงอันตรายในภาพรวมส่วนที่เป็นปัญหาอยู่ปัจจุบันนี้คือกรณีการเผาไร่อ้อยเพื่อตัดผลผลิต สุพรรณบุรี มีพื้นที่การปลูกอ้อยเป็นอันดับสองรองจาก เพราะฉะนั้นทำให้ปัญหาของการเผาอ้อยมีเกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีในช่วงของฤดูหีบอ้อยเราพยายามหาสาเหตุสำคัญเพื่อแก้ไขปัญหา ว่าจะทำให้เกษตรกรตัดอ้อยส่งโรงงานได้โดยอ้อยสดไม่ต้องเผาจะมีวิธีการอย่างไรบ้าง วันนี้ได้เชิญทั้งตัวแทนของโรงงาน ในพื้นที่ของจังหวัดสุพรรณบุรี ตัวแทนเกษตรกรของสมาคมชาวไร่อ้อย กลุ่มเกษตรกร ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเกี่ยวข้องกับเรื่องมาตรการอ้อยทั้งหมดเพื่อระดมความคิดเห็นทั้งในเชิงของมาตรการเชิงรณรงค์และมาตรการบังคับ ในส่วนของการดำเนินการตรงนี้เนื่องจากว่าพยายามที่จะทำความเข้าใจปัญหาการที่ต้องเผาอ้อยก่อน ซึ่งเราก็ทราบว่ามีข้อจำกัดเรื่องต้นทุนค่าใช้จ่ายในการตัดอ้อยค่าแรงงานที่จะเอามาใช้ตัดอ้อย ณ ปัจจุบันแนวทางในการแก้ปัญหาจะได้ผลอย่างยั่งยืนต้องอาศัยมาตรการทั้งระยะปานกลางและระยาวด้วยต้องอาศัยมาตรการของพื้นที่และมาตรการของรัฐบาลที่มาสนับสนุนด้วย

 นายภูสิต กล่าวอีกว่ายกตัวอย่างง่ายๆเรื่องของแรงงานตัดอ้อยระหว่างตัดอ้อยเผากับตัดอ้อยสด ต้นทุนจะต่างกันค่อนข้างเยอะค่อนข้างจะเท่าตัวเพราะฉะนั้นก็จะเพิ่มต้นทุนให้กับชาวไร่อ้อย อันที่สองแรงงานตัดอ้อยหายากเราจะหาแรงงานที่รับตัดอ้อยสดเอามาแก้ไขปัญหาเรื่องนี้ได้หรือไม่อันนี้เป็นการวางแนวทางระยะปานกลาง ปัญหาเฉพาะหน้าที่เราจะต้องแก้คือปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการเผาไร่อ้อยเราต้องทำมาตรการเชิงป้องกัน โดยการกำหนดโซนนิ่งของพื้นที่ที่จะต้องควบคุมในเขตชุมชนในพื้นที่ห้ามเผาจะต้องมีรัศมีที่กำหนดไว้ในเขตชุมชนห้ากิโลเมตรอันที่สองในพื้นที่ที่อยู่ในเขตควบคุมหากเกษตรกรที่เป็นเจ้าของมีการเผาซึ่งตัวเองไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเผาแต่ได้รับความเสียหายจากการเผาอ้อยต้องไปแจ้งความดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อเอาผิดกับคนเผาแต่ถ้าตัวเองเผาเองก็ต้องถูกดำเนินคดี นี่เป็นมาตรการของเชิงป้องกันนอกจากเรื่องนี้แล้วยังดำเนินการโดยให้ผู้ที่ถูกเผาไร่นอกจากไปแจ้งความดำเนินคดีแล้วต้องมาเข้าบัญชีทะเบียนเกษตรกรว่ากรณีนี้มีไร่อ้อยของตัวเองถูกเผาไปพื้นที่เท่าไหร่เพื่อเก็บไว้เป็นข้อมูลเกษตรกรรายนี้ว่ามีการเผาไร่อ้อยเกิดขึ้นในพื้นที่ของตนเอง

 นอกจากนี้อ้อยที่ตัดออกมาถ้าเป็นอ้อยเผาก็ต้องมีขบวนการขนส่งเข้าโรงงาน ซึ่งขอความร่วมมือโรงงานแล้วว่าเรื่องของปริมาณอ้อยเผากับอ้อยสด ณ ขณะนี้เรามีปัญหาเรื่องของผลผลิตทางการเกษตรในช่วงฤดูอ้อยฤดูนี้เนื่องความเสียหายช่วงฝนแล้งกับภัยแล้งที่ผ่านมาทำให้ผลผลิตไม่เป็นๆไปตามเป้า เพราะฉะนั้นเรื่องผลผลิตเรื่องของอ้อยที่ส่งเข้าโรงงานพูดได้ว่าทุกโรงงานแย่งกันทั้งอ้อยเผาและอ้อยสดเนื่องจากผลผลิตน้อย  การขอความร่วมมือโรงงานทั้งสามโรงในเขต จังหวัดสุพรรณบุรี เราก็ขอความร่วมมือไปแล้วว่าให้พิจารณาเลือกรับเฉพาะอ้อยสดเป็นหลักแต่ตอนนี้สัดส่วนอ้อยเผาจะมีสัดส่วนเยอะกว่า ในส่วนนี้ถึงแม้ว่าทางคณะกรรมการอ้อยน้ำตาลจะมีมาตรการเรื่องของการควบคุมปริมาณสัดส่วนอ้อยเผากับอ้อยไม่เผาไว้ก็ตามแต่ว่าความแตกต่างระหว่างการรับราคาของอ้อยเผากับอ้อยสดนั้นไม่มีผลกระทบต่อตัวเกษตรกรมากนักเพราะฉะนั้นเรื่องนี้ต้องแก้ไขในเชิงนโยบายด้วย แต่ในระดับพื้นที่เราใช้มาตรการของการตรวจสอบรถบรรทุกอ้อยที่นำส่งอ้อยที่เผาด้วยว่าเข้าไปสู่โรงงานไหนเป้าหมายที่รถบรรทุกจะไปส่ง ตรงนี้เราจะต้องมีมาตรการตั้งด่านตรวจกันว่าอ้อยที่เผาในรถบรรทุกจะไปส่งที่ไหนคิดว่ามาตรการส่วนนี้คงจะบรรเทาความเดือดร้อนได้ในเรื่องของการเผาอ้อย ดูแล้วการแก้ไขปัญหานี้น่าจะต้องทั้งนโยบายและเชิงปฏิบัติด้วยแต่ละพื้นที่ก็อาจจะมีรายละเอียดที่แตกต่างกัน

ส่วนสาเหตุของการเผาน่าจะมาจากหนึ่งคือไม่มีแรงงานที่จะมาตัดอ้อยสด แรงงานที่เอาเข้ามาสู่ระบบอาจจะมาจากเจ้าของโควตา ก็มักจะยื่นเงื่อนไขให้เผาก่อนถึงจะตัดอันที่สองต้นทุนค่าแรงตัดอ้อยเผากับตัดอ้อยสดนั้นต่างกันมากครึ่งต่อครึ่งเรื่องของปริมาณความเร่งด่วนของจำนวนอ้อยในไร่ที่จะต้องเอาเข้าโรงงาน ตรงนี้ก็มีส่วนทำให้ตัวเกษตรกรหรือเจ้าของโควต้าตัดสินใจเผาอ้อยแล้วก็ตัดอ้อยเข้าโรงงานอย่างที่บอกว่าความแตกต่างของอ้อยเผากับอ้อยสดราคายังไม่มีผลต่อการตัดสินใจเผาหรือไม่เผา

ในที่ประชุมวันนี้นายสมศักดิ์ รอดหลง ผู้อำนวยการด้านอ้อยโรงงานน้ำตาลมิตรผลได้มอบเงินรางวัลจำนวน 100,000 บาทให้กับผู้นำหมู่บ้าน ตำบลหนองขาม อำเภอหนองหญ้าไซ ซึ่งเป็นผู้ที่แจ้งเบาะแสและจับกุมผู้ที่ก่อเหตุเผาไร่อ้อยเอาไว้ได้ นอกจากนี้ทางโรงงานน้ำตาลมิตรผลก็จะมีรางนำจับให้กับผู้ที่แจ้งเบาะแสการเผาไร่อ้อยอีกรายละ 100,000 บาท สำหรับจังหวัดสุพรรณบุรี มีพื้นที่ปลูกอ้อยจำนวน590,225 ไร่พื้นที่เสียหาย 38,736 ไร่พื้นที่ปลูกไม่สามารถส่งโรงงานได้ 23,573 ไร่พื้นที่คงเหลือ จำนวน296,227 ไร่

จาก https://www.banmuang.co.th  วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2563

ส.ป.ก.กางแผนแก้แล้ง ลุยผุดแหล่งน้ำใหม่ ปรับปรุงของเดิม 33 แห่ง 22 จว.

ร.อ.ธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ตนได้ตรวจเยี่ยมความเป็นอยู่ของเกษตรกรในพื้นที่ ส.ป.ก. ทุกภาค ซึ่งหลายแห่งประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ จึงสั่งการให้เลขาธิการสำนักงานปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม(ส.ป.ก.) ทำแผนปฏิบัติการแก้ไขในระยะเร่งด่วน โดยมอบนโยบายว่าพื้นที่ที่มอบหนังสืออนุญาตเข้าทำประโยชน์ ส.ป.ก. 4-01 แก่เกษตรกรแล้ว ต้องจัดหาระบบสาธารณูปโภคให้พร้อมอยู่อาศัยและทำกินได้ ขณะนี้ได้นำเงินจากกองทุนปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมให้เป็นสินเชื่อแก่เกษตรกร มอบเมล็ดพันธุ์ปุ๋ยพืชสดสำหรับปลูกในฤดูแล้ง แล้วไถกลบเป็นธาตุอาหารพืชในฤดูกาลเพาะปลูกใหม่ สร้างแหล่งน้ำประจำไร่นา และปล่อยพันธุ์ปลาเพื่อให้จับบริโภคและจำหน่ายได้

“เกษตรกรที่ได้รับการอนุญาตให้เข้าทำประโยชน์ในเขตปฏิรูปที่ดินแล้ว ต้องมีโอกาสเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพื่อพัฒนาอาชีพและสร้างรายได้ ซึ่งจะทำให้ทำเกษตรกรรมในที่ดินของรัฐได้อย่างยั่งยืน” ร.อ.ธรรมนัส กล่าว

ด้านนายวิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข เลขาธิการสำนักงาน ส.ป.ก. กล่าวว่า ส.ป.ก.เร่งขับเคลื่อนแผนงานบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในเขตปฏิรูปที่ดินและโครงการพัฒนาแหล่งน้ำและระบบกระจายน้ำในเขตปฏิรูปที่ดิน 22 จังหวัด ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรในพื้นที่เขตปฏิรูปที่ดินมีแหล่งน้ำสำหรับใช้ทำการเกษตรและอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ ประกอบกับภัยแล้งที่กำลังทยอยเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ขณะนี้ ทำให้ปฏิรูปที่ดินทุกจังหวัดต้องขับเคลื่อนโครงการอย่างเร่งด่วนเพื่อให้เกษตรกรมีน้ำกินน้ำใช้และผ่านพ้นภัยแล้งในปีนี้ให้ได้ ทั้งนี้ ส.ป.ก. จึงขอรับการสนับสนุนงบประมาณ 82 ล้านบาทจากกองทุนการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมมาขับเคลื่อนโครงการ

สำหรับโครงการบูรณาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในเขตปฏิรูปที่ดินประกอบด้วย 2 แผนงาน คือ แผนงานเพิ่มพื้นที่ชลประทาน โดยก่อสร้างแหล่งน้ำใหม่และปรับปรุงแหล่งน้ำเดิม 33 แห่งใน 22 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ เพชรบูรณ์ กระบี่ กาฬสินธุ์ ฉะเชิงเทรา ชัยนาท ชุมพร นครราชสีมา นครสวรรค์ บึงกาฬ บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา พะเยา พิษณุโลก สกลนคร สุโขทัย สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี วงเงิน 38 ล้านบาท

แผนงานจัดระดับพื้นที่ตามศักยภาพในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการพัฒนาใน 11 จังหวัด ซึ่งจะมีการจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการน้ำ 4 จังหวัด และสำรวจออกแบบแหล่งน้ำและการกระจายน้ำ 7 จังหวัด วงเงิน 44 ล้านบาท

ส่วนโครงการพัฒนาแหล่งน้ำและระบบกระจายน้ำในเขตปฏิรูปที่ดินจังหวัด มีแผนงานขุดลอกและขยายสระเก็บน้ำ 7 แห่ง ใน 4 จังหวัดได้แก่ พะเยา กำแพงเพชร พิจิตร และบุรีรัมย์ วงเงินรวม 5.8 ล้านบาท ขณะนี้งบประมาณรายจ่ายปี 2563 ผ่านการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎร์แล้ว ซึ่ง ส.ป.ก. จะเร่งดำเนินการโครงการดังกล่าวในเขตปฏิรูปที่ดินทั่วประเทศเพื่อให้เกษตรกรสามารถใช้ประโยชน์ในพื้นที่ได้อย่างสูงสุดและตรงกับวัตถุประสงค์ในการจัดสรรที่ดินให้เกษตรกรได้มีที่ทำกิน และสามารถอยู่ได้ อยู่ดี และอยู่อย่างยั่งยืนต่อไป

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2563

กษ.เร่งทำแผนปฏิบัติการ ขับเคลื่อนภาคเกษตร-แก้ภัยแล้ง

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จากกรณีนายเฉลิมชัย ศรีอ่อนรมว.เกษตรและสหกรณ์ แถลงข่าว “มอบของขวัญปีใหม่ การขับเคลื่อนภาคการเกษตร ปี 2563” เมื่อวันที่ 3 มกราคมที่ผ่านมา โดยเน้นทุกหน่วยงานทำงานเชิงรุก แก้ปัญหาปากท้องเกษตรกรครบทุกมิติ ซึ่งประกอบด้วยประเด็นสำคัญ อาทิ การบริหารจัดการแหล่งน้ำทั้งระบบ การส่งเสริมการเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ การใช้ระบบตลาดนำการผลิต เพื่อแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ/ล้นตลาด ลดต้นทุนการผลิต บริหารจัดการประมงอย่างยั่งยืน แก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้เกษตรกร จัดทำข้อมูลสารสนเทศด้านการเกษตรแห่งชาติ (National AgricultureBigData) และศูนย์เทคโนโลยีทางการเกษตร (Agri-technology and innovation center : AIC) พัฒนาศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) รวมไปถึงจัดทำงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2564 ของกระทรวงเกษตรฯ ล่าสุด รมว.เกษตรฯสั่งการให้สศก.แจ้งทุกหน่วยงาน เพื่อเร่งจัดทำรายละเอียดแผนปฏิบัติการ (Action plan)ขับเคลื่อนงานสำคัญปี 2563 ให้เร็วที่สุด พร้อมประชาสัมพันธ์ แผนปฏิบัติการให้เกษตรกรและประชาชนทราบทุกช่องทางสื่อสาร แบบเชิงรุก

อย่างไรก็ตาม ส่วนการรับมือสถานการณ์ภัยแล้งปีนี้ ทุกหน่วยงานของกระทรวงเกษตรฯ ต้องติดตามสถานการณ์ และสรุปความเสียหายจากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น และผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในปี 2563 อย่างรวดเร็วและทันสถานการณ์ โดยรวบรวมมาตรการช่วยเหลือภัยแล้งที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงาน อาทิ การบริหารจัดการแหล่งน้ำ พัฒนาฟื้นฟูแหล่งน้ำ ปลูกพืชใช้น้ำน้อย ทำปศุสัตว์ หรือปล่อยปลาในแหล่งน้ำเพื่อเป็นอาหาร ทั้งนี้ สศก. จะเร่งรวบรวมแผนปฏิบัติการของทุกหน่วยงานให้เสร็จภายในมกราคม และรายงานรมว.เกษตรฯ ซึ่งสศก.จะเร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะการวิเคราะห์สถานการณ์และผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ภัยแล้ง ที่มีผลต่อภาคเกษตร เพื่อเสนอแนะนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร รวมทั้งเร่งตั้งศูนย์ Big Data ด้านการเกษตร (National Agricultural Big Data Center : NABC) นอกจากนี้ สศก. พร้อมเดินหน้าบูรณาการขับเคลื่อนงานตามแผนปฏิบัติการกับทุกหน่วยงานให้เป็นรูปธรรม และติดตามผลดำเนินงานต่อเนื่อง เชื่อมั่นว่าปี 2563 ภาคเกษตรของไทยจะยังเติบโตได้อย่างมีศักยภาพแม้ต้องเผชิญสถานการณ์ภัยแล้ง และความผันผวนของเศรษฐกิจโลก

จาก https://www.naewna.com วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2563

มองต่างมุม 'บาทแข็ง' โอกาสไทยก้าวสู่เศรษฐกิจขั้นสูง

 เมื่อค่าเงินบาทต้องรับบท “ผู้ร้ายจำเป็น” เมื่อเศรษฐกิจของประเทศสะดุดลง คนมักเชื่อในสูตรสำเร็จที่ว่า “ค่าเงินต้องอ่อนตัว” เพื่อช่วยเรื่องการส่งออก แต่ในความเป็นจริง ความสามารถในการแข่งขันในด้านการส่งออกยังขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจนานับประการ

มาจากปัญหาของการพิพาททางการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน (มักจะใช้คำพูดกันว่าเป็น “สงครามการค้า” ซึ่งค่อนข้างจะเกินเลยความเป็นจริง ที่ข้อพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของนโยบายกีดกันการค้าที่สหรัฐฯ เคยนำมาใช้แล้วในรัฐบาลก่อนๆ และแท้ที่จริงเป็นการดิ้นรนต่อสู้ทางเทคโนโลยีเพื่อการครองอำนาจเหนือเศรษฐกิจโลก ถ้าจะเรียกให้ถูกก็ควรจะเรียกเป็นสงครามทางเทคโนโลยีมากกว่า) และอีกปัจจัยที่กล่าวอ้างกันโดยทั่วไปว่าสำคัญมาก คือ ค่าของเงินบาท ที่ทุกฝ่ายพยายามยกให้เป็นผู้ร้ายทางเศรษฐกิจทั้งปี โดยกล่าวอ้างว่าเป็นตัวการที่ทำให้การส่งออกไม่ขยายตัว การท่องเที่ยวขยายตัวในอัตราที่ต่ำลง ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ คนไทยเดินทางไปใช้เงินในต่างประเทศมากขึ้น ข้อกล่าวหาที่รุนแรงที่สุดดูจะเป็นการโจมตีการทำงานของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ดูเหมือนจะไม่เข้ามาช่วยแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทสูงเท่าที่ควรจะทำ

ความเชื่อในเรื่องของสูตรสำเร็จที่ว่าค่าเงินต้องอ่อนตัวเพื่อช่วยทำให้การส่งออกขยายตัวดีขึ้นดูจะยังมีอยู่ทั่วไป แม้ว่าในความเป็นจริง ความสามารถในการแข่งขันในด้านการส่งออกขึ้นอยู่กับปัจจัยทางเศรษฐกิจนานับประการ นอกเหนือไปจากค่าของเงิน ประการสำคัญ คือ การที่ประเทศต้องมีการเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าประเทศคู่แข่ง มีระดับผลิตภาพแรงงานที่สูงกว่า มีมาตรฐานของสินค้าและบริการที่น่าเชื่อถือ มีสินค้าส่งออกที่ตรงกับความต้องการของตลาดโลก มีระบบการขนส่งคมนาคมที่มีประสิทธิภาพ เป็นส่วนสำคัญของห่วงโซ่การผลิตหรืออุปทานของภูมิภาคและของโลก มีปัจจัยของเทคโนโลยีในผลผลิตที่สูงขึ้น มีความสามารถในการดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศที่สูง มีกระบวนการแปรรูปสินค้าโภคภัณฑ์ที่สมบูรณ์แบบ มีข้อตกลงการค้าเสรีกับประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ฯลฯ

ประเทศที่กำลังพัฒนาอาจจะมีการพึ่งพาปัจจัยราคาและต้นทุนการผลิตเป็นเรื่องสำคัญจากในอดีต ที่ทำให้มีนโยบายการส่งเสริมการส่งออกที่วางอยู่บนรากฐานของค่าจ้างแรงงานที่ต่ำ และการกดอัตราแลกเปลี่ยนเงินสกุลของประเทศให้มีระดับที่ต่ำกว่าค่าความเป็นจริง (undervaluation) ซึ่งผลของนโยบายดังกล่าวทำให้ประเทศกำลังพัฒนาจมปลักอยู่กับการผลิตสินค้าราคาถูก ไม่สามารถปรับตัวเองให้อยู่ในระดับห่วงโซ่การผลิตที่สูงขึ้น และทำให้เกิดปัญหาความเหลื่อมล้ำของรายได้ที่พอกพูนขึ้นเมื่อสัดส่วนของรายได้ที่มาจากค่าจ้างแรงงานถูกกดให้ต่ำลงเมื่อเทียบกับรายได้จากการถือครองสินทรัพย์

ประเทศญี่ปุ่นเป็นตัวอย่างสมัยใหม่ของการมีการปรับค่าเงินเย็นสูงขึ้นอย่างรุนแรงนับตั้งแต่มีข้อตกลงพลาซ่า (Plaza Accord จากปี 1985) ค่าเงินเยนวิ่งสูงขึ้นจากระดับที่เคยต่ำเกิน 300 เยนต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ขึ้นมาสูงจนบางเวลาอยู่ในระดับต่ำกว่า 100 เยนต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่ญี่ปุ่นก็ยังเป็นประเทศที่มีการส่งออกที่มีพลังสูงอยู่มาก เพียงแต่เปลี่ยนจากการส่งออกสินค้า เช่น เสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่ม มาเป็นเครื่องใช้ไฟฟ้า มาเป็นรถยนต์ เปลี่ยนจากผลิตภัณฑ์ทางการสื่อสารคมนาคม มาเป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีประหยัดพลังงานที่มีคุณภาพสูง การที่ธนาคารกลางญี่ปุ่นทำนโยบายการซื้อพันธบัตรจำนวนสูง (quantitative easing หรือ QE) เพื่อดึงค่าเงินเยนให้ต่ำลงและดันเงินเฟ้อให้สูงขึ้น ดูจะมีผลต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่น้อยมาก ปัญหาหลักของญี่ปุ่นยังคงเป็นเรื่องของโครงสร้างทางสังคมสูงวัย ที่ยังให้ความสำคัญของการออมที่สูงสุด การมีระดับบริโภคต่ำลง และการลดลงของแรงงานในวัยทำงาน ที่จะมีผลทำให้เศรษฐกิจขยายตัวได้ยากยิ่งขึ้นในอนาคต

สหรัฐอเมริกาเป็นอีกตัวอย่างของประเทศที่มีความพยายามจะใช้นโยบายการลดอัตราแลกเปลี่ยนให้ต่ำลง เพื่อแก้ไขปัญหาของการขาดดุลการค้าที่ขึ้นไปเกินกว่า 5 แสนล้านดอลล่าร์ ตามสถิติที่ผ่านมาการปรับตัวของค่าเงินดอลล่าร์ที่มีแนวโน้มลดต่ำลงเมื่อสหรัฐใช้นโยบาย QE ที่หนักหน่วงหลังวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจปี 2008 เห็นได้ชัดว่ามีผลในการกระตุ้นการส่งออก และลดการขาดดุลบัญชีการค้าน้อยมาก สาเหตุเนื่องมาจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ เป็นเศรษฐกิจที่พึ่งพาการบริโภคภายในประเทศมากกว่าการค้าระหว่างประเทศ และการบริโภคที่ถูกกระตุ้นโดยการลดภาษีอากรและการก่อหนี้สินที่คล่องตัวทำให้เศรษฐกิจมีลักษณะของการใช้เงินเกินตัวค่อนข้างมาก โดยมีการออมเงินในอัตราที่ต่ำเมื่อเทียบกับการใช้จ่าย

ปัญหาทางโครงสร้างของเศรษฐกิจเช่นนี้ไม่ว่าจะทำให้ค่าเงินอ่อนตัวลงแค่ไหนก็จะไม่สามารถทำให้ลดการขาดดุลการค้าได้เลย หากนโยบายการขึ้นภาษีสินค้านำเข้ารายจากประเทศจีนจะมีผลบ้างก็จะทำให้มีการลดลงของการนำเข้าจากประเทศจีนได้บ้าง แต่เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศสหรัฐฯไม่ลดลง ก็จะมีการนำเข้าสินค้าแบบเดียวกันจากประเทศอื่นมาแทน ผลก็คือจะมีการเปลี่ยนแปลงของสัดส่วนการค้ากับประเทศต่างๆ และทำให้ผู้บริโภคมีภาระค่าครองชีพสูงขึ้น แต่จะมีผลต่อดุลการค้าค่อนข้างน้อย

ในกรณีของไทย หากจะพิจารณาผลของการแข็งขึ้นของค่าเงินบาทกว่าร้อยละ 7 ในปี 2562 ก็ควรจะพิจารณาจากทั้งสองด้านคือด้านการส่งออกและด้านการนำเข้า หากการค้าระหว่างประเทศจะถูกกระทบโดยค่าเงินที่แข็งขึ้น การนำเข้าของไทยในปี 2562 ก็ควรจะเพิ่มสูงมากขึ้นเพราะสินค้านำเข้าจะมีราคาถูกลงแต่ข้อเท็จจริงคือการนำเข้าของไทยก็มีมูลค่าลดลงมากกว่าร้อยละ 5 ด้วย ซึ่งน่าจะเป็นการชะลอตัวของการลงทุนในประเทศมากกว่าจะเป็นผลของค่าเงิน

ในด้านการส่งออกปัจจัยที่สำคัญในการเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันได้กล่าวไว้แล้วในข้างต้น ส่วนสำคัญจะเป็นเรื่องโครงสร้างการผลิต การลงทุนในประเทศ การพัฒนาทักษะของแรงงาน การขยายประเภทสินค้าที่ครอบคลุมสินค้าที่มีปัจจัยของเทคโนโลยีมากขึ้น และโดยที่ประเทศจีนเป็นคู่ค้าที่สำคัญที่สุดของไทย เมื่อประสบกับปัญหาการผลิตเพื่อการส่งออกเป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่การผลิต ผลกระทบต่อไทยจึงมีน้ำหนักมากขึ้น

หากสมมติได้ว่าค่าเงินบาทไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่าเลยในปีที่แล้ว ก็ใช่ว่าจะทำให้สินค้าส่งออกของไทยสูงขึ้น สิ่งที่อาจจะเห็นได้คือมูลค่าการส่งออกที่คิดเป็นเงินบาทอาจจะดูดีขึ้น แต่มูลค่าที่แท้จริงหรือปริมาณการส่งออกอาจจะไม่ได้ดีขึ้นเลย เพราะขีดความสามารถในการแข่งขันยังต้องใช้เวลาในการปรับตัวให้สูงขึ้นตามนโยบายการเร่งรัดอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสูง ที่กำลังมีการดำเนินการอยู่ ซึ่งอาจจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งกว่าจะส่งผลบวกได้

อนึ่ง ในบางปีในอดีตที่ค่าเงินบาทเคยปรับตัวสูงขึ้นแต่การส่งออกก็ยังขยายตัวเป็นปกติได้ (เช่นในปี 2560 เมื่อบาทปรับตัวสูงขึ้นจากประมาณร้อยละเก้าแต่การส่งออกก็มีมูลค่าสูงขึ้นร้อยละหก) ธนาคารแห่งประเทศไทยเคยมีข้อสังเกตจากการวิเคราะห์ค่าเงินว่า สำหรับไทยภาวะเศรษฐกิจโลกอาจจะมีผลต่อการส่งออกมากกว่าค่าเงินถึง 10 เท่าตัว สำหรับปี 2562 ผลกระทบต่อภาวะของการค้าที่มาจากการผลิตแบบห่วงโซ่มีผลต่อเศรษฐกิจอย่างเห็นได้ชัด แต่จะมีผลต่อเศรษฐกิจ เช่น เวียดนาม น้อยกว่า เนื่องจากการปรับตัวของเศรษฐกิจเวียดนามในการเพิ่มระดับความสามารถในการแข่งขันโดยการขยายประเภทสินค้าสู่ด้านเทคโนโลยีมากขึ้นอย่างรวดเร็ว สามารถมีแรงดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศได้มาก และได้ประโยชน์จากการย้ายฐานการผลิตจากประเทศจีนมากกว่าทุกประเทศในอาเซียน ส่วนในกรณีของเศรษฐกิจอินโดนีเซียที่ค่าเงินแข็งค่าน้อยกว่าเงินบาท แต่ก็ปรากฏว่าผลการส่งออกกลับไม่ได้ดีกว่าไทยแต่อย่างใด

หลายฝ่ายมองว่าการแข็งขึ้นของค่าเงินบาททำให้อัตราการขยายตัวของจำนวนนักท่องเที่ยวในไทยต่ำลงในปี 2562 เนื่องจากนักท่องเที่ยวจะมองว่าไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีราคาแพงขึ้น ข้อเท็จจริงมีอยู่ว่า ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่องในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา แต่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เข้ามาในไทยก็เพิ่มขึ้นเช่นกันแต่อัตราการเพิ่มที่มากขึ้นบ้างน้อยบ้างส่วนสำคัญขึ้นอยู่กับเศรษฐกิจของประเทศนั้น (เช่นนักท่องเที่ยวจีนวิตกกังวลต่อแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจและการอ่อนค่าของเงินหยวน) และเศรษฐกิจโลก ส่วนแรงดึงดูดของไทยในแง่ราคาค่าครองชีพที่เกี่ยวกับการท่องเที่ยว เช่น เมื่อเทียบราคาอาหารไทยที่เป็นปัจจัยดึงดูดความสนใจของต่างชาติอย่างมีนัยสำคัญ และอัตราค่าที่พักในโรงแรมเมื่อเทียบกับประเทศอื่นยังมีส่วนต่างที่สูงอยู่ แม้กระทั่งค่าเงินบาทจะได้ปรับตัวสูงขึ้นก็ตาม

ยังมีข้อสังเกตอยู่บ้างว่าการเดินทางไปท่องเที่ยวในต่างประเทศของคนไทยเพิ่มสูงมากขึ้น (เกิน 10 ล้านคนต่อปีในปัจจุบัน) คงจะสืบเนื่องมาจากค่าเงินที่แข็งขึ้น ข้อเท็จจริงคือการเดินทางออกเที่ยวต่างประเทศของคนไทยเริ่มขยายตัวอย่างก้าวกระโดดเมื่อค่าเงินบาทต่ำกว่าระดับปัจจุบันอยู่แล้ว (เมื่อบาทอยู่ที่ 34 บาทต่อดอลล่าร์) ทั้งนี้เนื่องจากความสะดวกในการเดินทางเข้าประเทศ (เช่น โดยไม่มีวีซ่าของประเทศญี่ปุ่น) ค่าใช้จ่ายในการเดินทางที่ราคาถูกลง (ผลจากการแข่งขันของการเปิดน่านฟ้าเสรีและการเกิดขึ้นของสายการบินเอกชนจำนวนมากในเอเชีย) และที่มีส่วนสำคัญยิ่ง คือการใช้จ่ายเงินของคนไทยในต่างประเทศในการซื้อสินค้าราคาสูงในราคาที่ต่ำกว่าในประเทศเนื่องจากนโยบายภาษีศุลกากรของไทยที่มีระดับเฉลี่ยที่สูงที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคนี้

ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินบาทที่อาจต้องยอมรับว่ารุนแรงที่สุด น่าจะเป็นในภาคการเกษตร และอุตสาหกรรมขนาดย่อม สำหรับภาคการเกษตร การอ่อนตัวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลกจากภาวะการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกน่าจะเป็นตัวแปรที่สำคัญที่สุดในขณะนี้ การที่รัฐบาลมีนโยบายประคองรายได้ขั้นต่ำของเกษตรกรน่าจะมีผลลดแรงกระทบอยู่บ้าง โดยไม่เป็นการละเมิดกฎขององค์การการค้าโลก

ส่วนผลกระทบจากระดับหนี้ที่สูงของเกษตรกรและจากภัยแล้งยังต้องมีการแก้ไขทางโครงสร้างอยู่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็ถือเป็นนโยบายสำคัญของแทบทุกรัฐบาลที่ผ่านมา ผลดีที่มีอยู่บ้างต่อภาคการเกษตรก็คือ การเพิ่มค่าเงินบาทจะทำให้การพัฒนาไปสู่เกษตรกรรมอัจฉริยะ (smart farming) เป็นไปได้อย่างดีขึ้น เนื่องจากต้นทุนของอุปกรณ์ทางเทคโนโลยีเช่น drone และ sensor จะมีระดับราคาที่ลดลง นอกจากนั้นจะมีแรงกดดันเพิ่มเติมให้ภาคการเกษตรหันมาให้ความสนใจต่อเกษตรอินทรีย์อย่างกว้างขวางมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อผลผลิตของเกษตรอินทรีย์จะมีราคาเพิ่มสูงขึ้นทุกปี ที่จะชดเชยการเพิ่มของค่าเงินได้

ในด้านของอุตสาหกรรมขนาดย่อม ปัจจัยความเสี่ยงทางการเงินยังคงมีอยู่มากไม่ว่าค่าเงินจะเป็นอย่างไร โดยในด้านแหล่งเงินกู้ที่ไม่แน่นอนและในกรรมวิธีทางการเงินที่เกี่ยวโยงกับการค้าระหว่างประเทศที่อุตสาหกรรมขนาดย่อมยังไม่สันทัดนัก การเข้ามาให้ความช่วยเหลือด้านการบัญชีและการบริหารการเงินระหว่างประเทศอาจจะมีผลในการช่วยลดแรงปะทะจากการเปลี่ยนแปลงค่าเงินได้บ้าง และหากจำเป็นอาจจะต้องมีมาตรการชดเชยการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน หากจะมีการใช้ระบบบัญชีที่ชี้ชัดผลทางด้านนี้ได้

ข้อห่วงใยของหลายฝ่ายต่อภาวะเงินบาทที่โยงไปถึงบทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นเรื่องที่ต้องพิจารณาด้วยความระมัดระวัง การที่บทบาทของธนาคารแห่งประเทศไทยถูกกำหนดให้มีความเป็นอิสระจากการเมืองไม่ใช่เรื่องที่จะถูกนำมาเปลี่ยนแปลงเพียงแค่เพื่อจะกดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเข้ามาทำให้เงินบาทอ่อนตัวลง

เราคงต้องไม่ลืมว่าองคาพยพของเศรษฐกิจไทยที่มีพื้นฐานแข็งแกร่งทางด้านมหภาค เป็นผลส่วนสำคัญมาจากบทบาทที่เป็นอิสระของธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างแท้จริง การเข้ามาแทรกแซงในตลาดเงินตราต่างประเทศของธนาคารแห่งประเทศไทยในช่วงซึ่งตลาดทำงานตามปกติจะส่งให้เกิดผลเสียยิ่งกว่าผลดี

โดยเฉพาะจะนำไปสู่การตอบโต้โดยเศรษฐกิจสำคัญ เช่น สหรัฐฯ ที่จะมองว่าไทยมีการค้าเกินดุลในระดับที่สูงกับสหรัฐฯ ที่เป็นผลมาจากการแทรกแซงตลาดเงินตราที่ไม่เป็นที่พึงประสงค์ บทบาทที่จำเป็นของธนาคารแห่งประเทศไทยในด้านตลาดเงินตราต่างประเทศควรจะมีขึ้นต่อเมื่อตลาดเงินตราต่างประเทศมีความผันผวนเกินปกติ โดยเฉพาะเกิดจากการเก็งกำไรค่าเงินอย่างรุนแรง เกิดการเปลี่ยนแปลงของค่าเงินอย่างหวือหวา หรือการเคลื่อนไหวของเงินทุนจากต่างประเทศในปริมาณที่ผิดปกติ

แต่หากว่าค่าเงินเปลี่ยนแปลงตามภาวะแท้จริงของเศรษฐกิจ เช่น จากการเกินดุลการค้าและบัญชีเดินสะพัดของไทย การสะสมเงินสำรองระหว่างประเทศที่สูง อัตราเงินเฟ้อที่ต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยของคู่แข่งขัน ความเชื่อมั่นในทิศทางของเศรษฐกิจ (ตามที่สถาบันวัดระดับเครดิตได้ยกระดับการค้าของไทยให้สูงขึ้นในปี 2562) ความคาดหวังจากการปรับตัวเข้าสู่เศรษฐกิจเทคโนโลยีสูงขึ้นภายในระยะ 5-10 ปีข้างหน้า นับเป็นภาวะที่เป็นไปตามข้อเท็จจริงที่ทำให้มีแรงฉุดให้ค่าเงินแข็งขึ้น

ตรงกันข้ามกับเศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาส่วนใหญ่ของโลกในปัจจุบันที่ต้องต่อสู้กับภาวะค่าเงินอ่อนตัวอย่างรุนแรง (โดยเฉพาะในอเมริกาใต้) จากภาวะการของการเป็นหนี้สินต่างประเทศในระดับที่สูงเกินปกติ การขาดดุลบัญชีเดินสะพัดสูงอย่างต่อเนื่อง การเพิ่มขึ้นของอัตราเงินเฟ้อที่รุนแรง ผลเสียของสภาพที่ค่าเงินอ่อนตัวมีอยู่ในระดับที่สูงต่อเศรษฐกิจมากกว่าการเพิ่มค่าเงินเป็นหลายเท่าทวีคูณ

ผลจากการโจมตีทางการทหารระหว่างสหรัฐฯ และอิหร่านต้นปี 2563 นี้อาจจะนำไปสู่การผันแปรของค่าเงินทั่วโลกรวมทั้งค่าเงินบาทด้วย ตรงนี้จะเป็นหน้าที่ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ต้องดูแลไม่ให้เกิดการผันแปรจนกระทบความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ดี การที่เงินบาทมีค่าที่แข็งและมั่นคงเช่นนี้จะมีส่วนช่วยให้ไทยได้รับผลกระทบจากภาวะความตึงเครียดในตะวันออกกลางได้ดีกว่าประเทศที่มีค่าเงินอ่อนตัวและขาดเสถียรภาพ

ในแง่นโยบายเศรษฐกิจ มีข้อสังเกตที่ควรคำนึงถึงอยู่เสมอ คือ ความเป็นไปได้หรือความเป็นไปไม่ได้ของการวางนโยบายหลัก 3 ประการ (impossibility of the holy trinity) คือ การมีนโยบายการเงินที่เป็นอิสระ การมีนโยบายการค้าและการเคลื่อนไหวของเงินทุนที่เปิดและเสรี และการมีนโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่คงที่

การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะมีนโยบายทั้งสามประการพร้อมกันมักจะเป็นเรื่องยากและมักจะนำไปสู่แรงกดดันของเศรษฐกิจที่ทำให้เกิดความผันผวนที่ไม่จำเป็น เช่น หากต้องการมีนโยบายการเงินที่อิสระ (ธนาคารกลางกำหนดอัตราดอกเบี้ยพื้นฐานโดยตนเอง) และการเปิดตลาดเงินทุนและการค้าเสรี การจะกำหนดให้มีอัตราแลกเปลี่ยนที่ตายตัวและคงที่ตลอดเวลาจะเป็นไปได้ยาก เนื่องจากการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่อาจจะมีความจำเป็นด้านภาวะเศรษฐกิจในประเทศหรือการเคลื่อนไหวของเงินทุนโดยเสรีจะมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงค่าเงินโดยอัตโนมัติเช่นที่เกิดขึ้นในไทยในขณะนี้ (หากไทยต้องการรักษาค่าเงินบาทที่ 31 บาทต่อดอลลาร์ในระยะยาว ไทยอาจจะต้องปล่อยให้เงินทุนสำรองลดลงจำนวนมาก (อาจจะโดยการยอมให้มีการใช้เงินตราต่างประเทศโดยเสรีที่สุด) หรือปล่อยให้อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้น (ซึ่งจะทำให้ค่าครองชีพสูงขึ้น ในขณะที่ค่าเงินบาทที่แข็งทำให้การเพิ่มราคาน้ำมันในประเทศอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าการเพิ่มของราคาโลก) หรือให้รัฐบาลกู้หนี้ยืมสินในตลาดต่างประเทศจำนวนมากโดยจำเป็นหรือไม่จำเป็นที่จะทำให้ไทยมีระดับความเชื่อมั่นที่ต่ำลงในสายตาตลาดเงินตราระหว่างประเทศ ทั้งหมดนี้เป็นสภาพที่ไม่น่าจะพึงประสงค์ทั้งสิ้น

ปัญหาของวิกฤตทางการเงินของไทยและเอเชียจากปี 2540 เป็นคนละสาเหตุกับเรื่องของค่าเงินบาทในปัจจุบัน แต่อาจจะโยงกับเรื่องของ holy trinity ของนโยบายเศรษฐกิจการเงินได้มากกว่า ในช่วงก่อนปี 2540 ไทยเดินตามรอยข้อเสนอแนะที่ผิดกาละเทศะของ IMF ในการเปิดตลาดเงินทุนระหว่างประเทศโดยเสรีอย่างสุดกู่ ในขณะเดียวกันไม่ยอมปล่อยให้ค่าเงินบาทลอยตัวแต่กลับกำหนดไว้ในอัตราตายตัวที่สูงเกินเหตุ เพราะไทยในช่วงนั้นมีภาระหนี้สินต่างประเทศที่สูงและการขาดดุลการค้าต่อเนื่อง ความพยายามรักษา holy trinity ไว้พร้อมกันในช่วงนั้นทำให้เกิดการเก็งกำไรในค่าเงินบาทอย่างรุนแรง จนทำให้ในที่สุดต้องปล่อยให้เงินบาทลอยตัวลดค่าต่ำลงมาก ปัจจุบันสภาพทางความมั่นคงทางเศรษฐกิจการเงินของไทยแตกต่างจากภาวะในปี 2540 อย่างสิ้นเชิง

สิ่งที่ควรพิจารณามากที่สุดคือ การเตรียมการนำเศรษฐกิจเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจเทคโนโลยีสูงโดยเร็วที่สุด ที่จะทำให้แรงงานมีทักษะทางไอทีที่จะทำให้ได้รับค่าจ้างสูงขึ้น ทำให้ภาคเกษตรมีการผลิตโดยนำระบบเอไอมาใช้มากขึ้น ซึ่งหากเราผลักดันภาวะเศรษฐกิจไทยให้เข้าสู่การแข่งขันที่มีค่าเงินถูกเหมือนในอดีตกาล การนำเข้าเทคโนโลยีและการใช้การลงทุนในเทคโนโลยีใหม่จะเกิดขึ้นได้ยาก

การที่ภาวะที่ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งตัวขึ้นในระยะปานกลางที่ผ่านมาเป็นที่ประจักษ์ชัด และเนื่องจากความเชื่อมั่นในความมั่นคงของพื้นฐานเศรษฐกิจไทย (ที่แม้ยังมีความอ่อนแอหลายประการที่ต้องการการแก้ไขโดยด่วน แต่จะได้รับความยอมรับเมื่อปรากฎชัดว่าทางการมีความเข้าใจที่กำลังให้การดูแลแก้ไขอยู่แล้ว) ยังคงอยู่ในลักษณะที่สูงมากขึ้นจนนักลงทุนถือตลาดเงินบาทเป็นเขตปลอดภัย (safe haven) ซึ่งหาได้ยากในสภาพตลาดโลกปัจจุบัน ทำให้จะต้องยอมรับว่าการที่ค่าเงินมีแนวโน้มเพิ่มค่าขึ้นอีกมีความเป็นไปได้อย่างยิ่ง

ในระยะปานกลางเราอาจจะต้องคาดการณ์พร้อมกับเตรียมการว่าค่าเงินบาทอาจจะเพิ่มขึ้นมาอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 30 บาทต่อดอลลาร์ ซึ่งทำให้เราต้องกำหนดยุทธศาสตร์อย่างชัดเจนที่จะใช้ประโยชน์จากสภาพการเช่นนี้ให้ได้อย่างเต็มที่ เพื่อผลักดันให้ไทยก้าวเข้าสู่แดนเทคโนโลยีสูงขึ้น โดยแรงงานได้ประโยชน์มากกว่าทุน และโดยที่มีมาตรการบรรเทาผลกระทบต่อภาคที่อ่อนแอที่สุดของประเทศไปในขณะเดียวกันด้วย

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2563

"ณรงค์ชัย" ห่วงบาทแข็ง-ดอกเบี้ยตํ่า-ภัยแล้ง ทุบเศรษฐกิจไทย

เงินบาทที่แข็งค่าอย่างต่อเนื่องถึง 8% ในปีที่ผ่านมา กดดันต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ จากการส่งออกที่คาดว่าจะติดลบถึง 2.5% ทำให้ทั้งปี 2562 เศรษฐกิจไทยคาดว่าจะขยายตัวเพียง 2.5% จากประมาณการเดิมที่มองว่าจะโตได้ถึง 3%

นายณรงค์ชัย อัครเศรณี ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) เอ็มเอฟซี จำกัด (มหาชน) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า นอกจากบาทแข็งจะเป็นทุกข์ต่อเศรษฐกิจแล้ว ปีนี้ยังมีเรื่องดอกเบี้ยตํ่าและภัยแล้งด้วย ซึ่งทั้ง 3 เรื่องมีทั้งคนได้และคนเสีย แต่คนเสียจะมีมากกว่าได้ อย่างบาทแข็ง คนที่มีรายได้ที่เป็นเงินตราต่างประเทศเดือดร้อนหมด ไม่ใช่แค่ผู้ส่งออกเท่านั้น และดอกเบี้ยตํ่า คนได้ประโยชน์ก็คือบริษัทใหญ่ๆ ที่จะกู้ดอกเบี้ยตํ่า แต่คนอื่นๆ เป็นไปไม่ได้ที่จะกู้ดอกเบี้ยตํ่าได้แบบนั้น เพราะเรตติ้งสู้เขาไม่ได้ ส่วนนํ้าแล้งคนในเมืองอาจจะเดือดร้อนน้อยกว่านอกเมือง

เรื่องบาทแข็ง ปีหนึ่งๆ เราส่งออก 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แค่บาทแข็งขึ้น 1 บาท หายไปทันที 2 หมื่นล้านบาท ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ขายให้กับต่างประเทศ ซึ่งจีนเป็นตลาดใหญ่ มีการทิ้งจองไปมาก เพราะโอนต้องใช้เงินมากกว่าและการจองปีนี้ก็ตก ส่วนข้อดีก็มีบ้าง อย่างราคานํ้ามันไม่ได้ขึ้นเร็ว เพราะเราซื้อนํ้ามันเป็นดอลลาร์ นํ้ามัน ค่าไฟ จึงไม่เพิ่มมากและไปเที่ยวต่างประเทศจะเห็นว่า คนไทยไปเที่ยวต่างประเทศเยอะมาก

“ค่าของเงินอยู่ที่ดอลลาร์เริ่มต้น ดอลลาร์อ่อน เราก็แข็งขึ้น ปีที่ผ่านมาดอลลาร์อ่อนลงเล็กน้อย แต่เรากลับแข็งค่าขึ้นมากกว่า ซึ่งประเทศในเอเชียแข็งเกือบทั้งหมด ที่อ่อนลงก็มีจีน อินเดียและเกาหลีใต้ ซึ่งถ้ามองแค่เรากับจีน เราแข็ง 8% ขณะที่จีนอ่อนลง 2% เกาหลี 4% คิดกลับมา คนเกาหลีมาไทยแพงขึ้น 12% และคนจีนแข็งขึ้น 10% เพราะ ฉะนั้นจะบอกว่า แข็งค่าปกติไม่ได้ ต้องบอกว่า แข็งผิดปกติ”

สาเหตุที่บาทแข็ง เพราะหลังวิกฤติต้มยำกุ้ง เราเกินดุลเกือบทุกปี ทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศมีมาก ขณะที่การลงทุนน้อย ทั้งที่เรายังเป็นประเทศโลกที่ 3 ยังต้องลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอีกมาก แต่เราลงทุนตํ่าทั้งรัฐและเอกชน การลงทุนภาครัฐที่ช้า เพราะระเบียบจัดซื้อจัดจ้างที่ออกมา เปิดโอกาสให้ฟ้องและอุทธรณ์ได้ ดังนั้นจะเห็นว่า ใครแพ้ก็ฟ้องตลอด ทำให้กระบวนการหยุดชะงักไป ขณะที่เอกชนมองว่า การเมืองไม่นิ่ง ทำให้ลงทุนไม่เต็มที่

อีกเหตุผลที่สำคัญมากและยังไม่พูดถึงคือ เรามีความเชื่อว่า เงินตราต่างประเทศต้องเข้าง่ายออกยาก อาจเพราะในอดีตเราเป็นประเทศจน ไม่มีเงินตราต่างประเทศ ทำให้ความคิดนี้ฝังหัวมา แม้ธปท.จะผ่อนปรน แต่หน่วยงานอื่นยังผ่อนไม่มากอย่าง ธุรกิจประกันชีวิต ที่มีเงินเยอะ เป็นมีเงินยาวและเย็น จึงต้องนำเงินไปลงทุน ซึ่งขณะนี้มีเงินลงทุนในตราสารต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ 4 ล้านล้านบาท แต่มีระเบียบว่า ให้ออกไปลงทุนต่างประเทศได้ไม่เกิน 15% หรือ 6 แสนล้านบาทและต้องป้องกันความเสี่ยง 100%

“ถ้าเปิดประตูนี้มากขึ้น จะทำให้เงินออกไปนอกประเทศมากขึ้น ซึ่งหน่วยงานกำกับ มีสูตรในการคำนวณความเสี่ยงจากการลงทุนอยู่แล้วว่า ลงทุนอะไรจะคิดนํ้าหนักความเสี่ยงเท่าไหร่และต้องดำรงเงินกองทุน (CAR ratio) ขณะที่การป้องกันความเสี่ยง เชื่อว่า แต่ละแห่งสามารถที่จะบริหารจัดการได้ ไม่ต้องสำรอง 100% เพราะเช่นนั้นจะไม่เหลือกำไรเลย”

นอกจากนั้น การที่ธปท.ใช้นโยบาย Inflation Targeting  แต่ 10 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่า ไม่มี Inflation ให้ Target เพราะเงินเฟ้อเราตํ่ามาก ดังนั้นควรปรับให้เหมาะสม ซึ่งบางประเทศใช้ Fx Targeting คือ บริหารค่าเงินให้สมดุลกับเศรษฐกิจ จะได้ดูในหลายมิติไม่ใช่แค่เงินเข้าเงินออกอย่างเดียว ซึ่งถ้าเป็นแบบนี้ หน่วยงานอื่นจะได้ดูในแนวนี้ด้วย ถ้าเห็นความสำคัญของ Fx mutual แต่การจะทำแบบนั้นได้ต้องเป็นนโยบายจากรัฐบาลกลาง เพื่อให้ทุกหน่วยงานแก้ไขกฎเกณฑ์ไปในทางเดียวกัน

ส่วนการลงทุน รัฐบาลน่า จะอาศัยจังหวะที่ดอกเบี้ยตํ่ากู้เงิน ในประเทศมาลงทุนโครงสร้างพื้นฐานที่ยังไม่ได้พัฒนาอย่างระบบนํ้าให้กระจายไปทั่วประเทศ ซึ่งไม่ต้องกังวลหนี้สาธารณะ เพราะ ยังตํ่าเพียง 40% ของจีดีพี และหากออกพันธบัตรระยะยาว 20-30 ปี ซึ่งดอกเบี้ยไม่ถึง 3% ก็จะมีต้นทุนที่ตํ่าในระยะยาวได้

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 13 มกราคม 2563

แก้ปัญหา 'บาทแข็ง' ถึงเวลาคิดนอกกรอบ

 ไข้ค่าเงินบาทแข็ง แม้จะสามารถใช้ยาพาราเพื่อลดไข้ได้ แต่เป็นเพียงแค่ชั่วคราวเท่านั้น รวมถึงช่วงนี้อาจมีปัจจัยบวกจากอัตราดอกเบี้ยต่ำ ผู้ประกอบการสามารถช่วงชิงโอกาสนี้ แต่ก็ยังเป็นแต่ช่วงสั้นๆ ทำให้หลายฝ่ายเสนอว่าวิกฤติครั้งนี้ไทยต้องคิดให้นอกกรอบ

โจทย์ใหญ่ประเทศไทยเวลานี้ นอกจาก "วิกฤตความเชื่อมั่น" แล้ว เรายังเผชิญกับ "วิกฤตค่าเงิน" ด้วย โดยในปีที่ผ่านมา "เงินบาท" แข็งค่าขึ้นราว 8.61% เป็น "อันดับหนึ่ง" ในภูมิภาค และยังเป็นการแข็งค่าที่นำโด่งอันดับสองอย่าง "เงินเปโซ" ของฟิลิปปินส์ แบบชนิดไม่เห็นฝุ่น โดยเงินเปโซปีที่ผ่านมาแข็งค่าเพียง 3.81% ส่วนปีนี้เปิดทำการมาแล้ว 2 สัปดาห์ เงินบาทอ่อนลงเล็กน้อยราว 1% แต่สาเหตุการอ่อนค่า น่าจะมาจากการเข้า "ดูแล" โดยธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สะท้อนผ่านเงินทุนสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นจนทุบสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์

เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ธปท. รายงานตัวเลขเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ซึ่งเป็นตัวเลข ณ วันที่ 3 ม.ค.2563 ที่ระดับ 2.27 แสนล้านดอลลาร์ เทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้าอยู่ที่ 2.23 แสนล้านดอลลาร์ หรือเพิ่มขึ้นราว 4.5 พันล้านดอลลาร์ คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 2.02% ภายในสัปดาห์เดียว และยังเป็นสัปดาห์ที่มีวันทำการเพียงแค่ไม่กี่วัน ในขณะที่ฐานะเงินตราต่างประเทศล่วงหน้าสุทธิ หรือ Forward ก็เพิ่มขึ้นราว 1.43 พันล้านดอลลาร์ มาอยู่ที่ระดับ 3.58 หมื่นล้านดอลลาร์ คิดเป็นการเพิ่มขึ้น 4.17% ..สะท้อนภาพว่า ธปท. เข้าดูแลค่าเงินอย่างหนักหน่วงในช่วงเวลาดังกล่าว

การแก้ปัญหาเงินบาทแข็งตลอดช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา เข้าใจได้ว่า ธปท. พยายามทำอย่างเต็มที่ เพียงแต่ไม่ได้สื่อสารกับตลาดมากนัก ทำให้การรับรู้และความเข้าใจของผู้ร่วมตลาดมีน้อย อีกทั้งปัญหาดังกล่าวใช่ว่า ธปท. จะสามารถแก้ไขได้เพียงลำพังหน่วยงานเดียว โดยใน "งานประชุมนักวิเคราะห์" ช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ดร.วิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า ปัญหาที่เกิดขึ้น สาเหตุหลัก มาจากการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่อยู่ระดับสูง สะท้อนถึงช่องว่างระหว่าง "การออม" กับ "การลงทุน" ที่ถ่างกันมาก และไส้ในของปัญหาดังกล่าว เกิดจากภาคธุรกิจไม่ได้ลงทุนเท่าที่ควร

ผู้ว่าการ ธปท. ยังเปรียบเทียบปัญหาดังกล่าวด้วยว่า เหมือนกับ "คนเป็นไข้" ที่มีอาการให้เห็น แต่ไม่รู้ว่าข้างในมีการอักเสบอะไรตรงไหนหรือไม่ การแก้ไขด้านการเงินอย่างเดียวก็เหมือนกับการกินยาพาราเพื่อลดไข้ ซึ่งอาจแก้ปัญหาได้ชั่วคราว แต่ไม่ใช่การแก้ไขปัญหาระยะยาว ดร.วิรไท ยังบอกด้วยว่า การแก้อาการอักเสบที่อยู่ภายใน จำเป็นต้องใช้นโยบายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องเชิงโครงสร้าง ซึ่งเขาบอกว่าตอนนี้ถือเป็นโอกาสดีของประเทศที่จะทำ เพราะดอกเบี้ยปัจจุบันอยู่ระดับต่ำ เอื้อต่อการลงทุน อีกทั้งฐานะทางด้านต่างประเทศของไทยก็อยู่ระดับที่เข้มแข็ง

ทั้งหมดที่ ดร.วิรไท กล่าวมา พอจะสรุปใจความได้ว่า ถึงเวลาแล้วที่ภาคธุรกิจต้องรีบช่วงชิงจังหวะที่เงินบาทแข็ง ดอกเบี้ยต่ำ เร่งการลงทุน ซึ่งจะทำให้เกิดการนำเข้า ช่วยลดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด บรรเทาการแข็งค่าของเงินบาท และยังช่วยเพิ่มศักยภาพให้กับบริษัทที่ลงทุนด้วย ...แต่ในมุมของ "นักค้าเงิน" กลับมองว่า แม้ธุรกิจจะเร่งการลงทุน หรือออกไปทุ่มซื้อกิจการในต่างประเทศ แต่ทั้งหมดนี้มักเป็นเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวหรือชั่วคราวเท่านั้น ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างของค่าเงินในระยะยาว หลายฝ่ายเสนอว่า ถึงเวลาแล้วที่ผู้เกี่ยวข้องจะยกปัญหานี้ขึ้นเป็น "วาระแห่งชาติ" และช่วยกัน "คิดนอกกรอบ" หาแนวทางแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่น ซึ่งนักเศรษฐศาสตร์หลายคนมองว่า การตั้ง "กองทุนความมั่งคั่ง" นับเป็นหนึ่งตัวเลือกที่ควรหยิบมาศึกษาดู

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 13 มกราคม 2563

เจาะลึกกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ ปรับทัพหน่วยงานร่วม"สู้ภัยแล้ง"

         ในที่สุดรัฐบาลก็ประกาศให้ “ภัยแล้ง” เป็นวาระแห่งชาติในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 มกราคม ที่ผ่านมา  หลังสถานการณ์เริ่มลุกลามในหลายพื้นที่   การประชุมครั้งนี้ที่ประชุมได้รับทราบแผนปฏิบัติงานการแก้ไขภัยแล้งจาก “สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ” (สทนช.) 2562/2563 พร้อมอนุมัติงบกลางจำนวน 3,079,472,482 บาท ดำเนินการภายใน 120 วัน โดยได้สรุปแผนช่วยเหลือ 2 ด้าน ประกอบด้วย ด้านอุปโภคและบริโภคและด้านการเกษตร พร้อมให้จัดตั้ง “กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ” ขึ้นเพื่อให้มีการจัดการบริหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและทันท่วงที 

         สำหรับกรอบโครงสร้าง “กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ” ภายใต้ศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจ ตามพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 เพื่ออำนวยการ บูรณาการ และประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงภาคเอกชนในการควบคุมวิกฤติน้ำในภาวะรุนแรงหรือคาดการณ์ว่าจะรุนแรง (ระดับ 2) โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยงภัยแล้งให้อยู่ในวงจำกัด ให้หน่วยงานด้านปฏิบัติในพื้นที่สามารถช่วยเหลือได้อย่างตรงจุด

       โดยได้แบ่งการทำงานออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มอำนวยการ กลุ่มคาดการณ์ กลุ่มบริหารจัดการน้ำ กลุ่มแจ้งเตือนและประชาสัมพันธ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ข้อมูลต่างๆ รวมถึงการเข้าให้ความช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบมีความเป็นเอกภาพ ช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบได้อย่างทันต่อสถานการณ์  โดยสรุปรายงานต่อรองนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ในฐานะผู้บัญชาการกองอำนวยการน้ำแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีรับทราบเป็นระยะๆ

       ขณะเดียวกันกองอำนวยการน้ำแห่งชาติยังทำหน้าที่ในการวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้หากมีเกณฑ์เสี่ยงที่คาดว่าจะเข้าขั้นวิกฤติก็จะต้องพิจารณาเสนอการกำหนดเขตภาวะน้ำแล้งอย่างรุนแรง หรือระดับความรุนแรง สถานการณ์ภาวะวิกฤติน้ำ (ระดับ 3) ให้นายกรัฐมนตรีออกประกาศตามมาตรา 58 หรือคำสั่งจัดตั้งศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจ ตามมาตร 24 แห่งพระราชบัญญัติทรัพยากรน้ำ พ.ศ.2561 หากเกิดกรณีวิกฤติตามลำดับต่อไป

       ที่สำคัญหากกรณีมีพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวนาปรังมากกว่าแผน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงมหาดไทย ต้องหามาตรการลดผลกระทบ ชดเชยหรือเยียวยา โดยให้เป็นไปตามกฎหมายระเบียบที่เกี่ยวข้อง

        อย่างไรก็ตาม “กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ จะมีการติดตาม ประเมินผล ผลการดำเนินงานของทุกหน่วยงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย แต่ทั้งนี้รัฐบาลต้องขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้ช่วยกันประหยัดน้ำ และใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อจะได้มีน้ำใช้อย่างเพียงพอในทุกกิจกรรมไปตลอดแล้งนี้ และในช่วงฤดูฝนถัดไปด้วย

  บูรณาการหน่วยงานน้ำแบบไร้รอยต่อ    

           ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เผยกับ “คมชัดลึก” ถึงการจัดตั้ง “กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ” ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 7 มกราคม ที่ผ่านมา ว่าจะแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ประกอบด้วย ระดับปกติ ระดับรุนแรง หรือคาดว่ารุ่นและระดับวิกฤติ โดยระดับปกติจะมีเลขาธิการ สทนช. ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายน้ำแห่งชาติ (กนช.) มีอำนาจหน้าที่ในการสั่งการ

           ส่วนระดับรุนแรงหรือคาดว่ารุนแรงมีรองนายรัฐมนตรีในฐานะรองประธาน กนช. มีอำนาจหน้าที่ในการสั่งและระดับวิกฤติจะมีนายกรัฐมนตรีในฐานะประธาน กนช. โดยตำแหน่งมีอำนาจหน้าที่สั่งการแบบเบ็ดเสร็จ ส่วนการทำงานจะมีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่างให้ดำเนินการไปแนวทางเดียวกัน โดยจะมีเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมานั่งทำงานอยู่ที่สทนช.

           “กองอำนวยการน้ำแห่งชาตินั้น ตามกฎกระทรวงเราสามารถเชิญหน่วยงานต่างๆ เข้ามาร่วมแก้ปัญหาได้ การทำงานจะเข้มข้น มีเจ้าหน้าที่ประจำการเชื่อมโยงกับผู้บริหารจากส่วนต่างๆ เพื่อทำให้การทำงานมีการเชื่อมต่อลงมาที่รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน  ส่วนรองประธานจะประกอบปลัดกระทรวง 5 หน่วยงานหลักก็คือ สทนช. กลาโหม มหาดไทย เกษตรและทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยมีรองเลขาธิการ สทนช. และอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาธารณภัยเป็นเลขานุการร่วมเพื่อให้การทำงานครั้งนี้มีการเชื่อมต่อและมีประสิทธิภาพมากขึ้น” เลขาธิการ สทนช.กล่าว

จาก https://www.komchadluek.net   วันที่ 13 มกราคม 2563

เร่งหามาตรการช่วยเหลือภัยแล้ง

"ประภัตร "ลุยพื้นที่เชียงใหม่ ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งเร่งหามาตรการช่วยเหลือ หวังบรรเทาความเดือนร้อนเกษตรกร

นายประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรฯเปิดเผยภายหลังตรวจสถานการณ์ภัยแล้ง พร้อมทั้งเตรียมวิธีป้องกันและบรรเทาผลกระทบภัยแล้ง ณ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล ต.อินทขิล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ว่า จากการรับฟังรายงานสถานการณ์น้ำในเขตความรับผิดชอบของสำนักงานชลประทานที่ 1 (ข้อมูล ณ วันที่ 11 ม.ค. 63) ได้มีการรายงานปริมาณน้ำของเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล มีปริมาณน้ำ 149.196 ล้าน ลบ.ม. (56.30%) เขื่อนแม่กวงอุดมธารา มีปริมาณน้ำ 75.300 ล้าน ลบ.ม. (28.63%) อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง จำนวน 12 แห่ง มีปริมาณน้ำรวม 29 ล้าน ลบ.ม. (34%) อ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก จำนวน 117 แห่ง มีปริมาณน้ำรวม 39 ล้าน ลบ.ม. (59%) และฝายแม่แตง มีปริมาณน้ำไหลเข้าฝาย 4.687 ลบ.ม./วินาที

ซึ่งจากสถานการณ์ปัจจุบัน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยกรมชลประทาน ได้มีแผนการบริหารจัดการน้ำ คือ 1) การบริหารจัดการน้ำของเขื่อนแม่กวงอุดมธารา จะมีการส่งน้ำให้สำหรับกิจกรรมการอุปโภคบริโภค (ผลิตประปา) และการเกษตร (เฉพาะพื้นที่ปลูกไม้ผล-ไม้ยืนต้น) ในปริมาณรวม 19 ล้าน ลบ.ม. เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนมีน้อย 2) การบริหารจัดการน้ำของเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล มีแผนส่งน้ำปริมาณ 115 ล้าน ลบ.ม. ให้พื้นที่ 2 ส่วน ประกอบด้วย พื้นที่โครงการฯ 45 ล้าน ลบ.ม. และพื้นที่การเกษตรลุ่มน้ำปิงตอนบนในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน 70 ล้าน ลบ.ม. โดยส่งน้ำตามแผน 25 รอบเวร เริ่มรอบเวรแรก 11 ม.ค. 63 จนถึง 1 ก.ค. 63 และ 3) การบริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ได้วางแผนการจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนของแต่ละโครงการ (บริหารจัดการน้ำของอ่างเก็บน้ำเชิงเดี่ยว)

ทั้งนี้ในส่วนสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานชลประทานที่ 1 ปัจจุบันยังไม่มีรายงานพื้นที่ประสบภัยแล้งในเขตชลประทาน แต่อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรฯ ได้เตรียมเครื่องจักรเครื่องมือในการให้ความช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัย ได้แก่ เครื่องสูบน้ำ 79 เครื่อง รถสูบน้ำ 2 คัน รถบรรทุกน้ำ 16 คัน รถขุด 5 คัน รถบรรทุก 25 คัน รถแทรกเตอร์ 1 คัน และเครื่องจักรกลสนับสนุนอื่น ๆ 11 หน่วย ปัจจุบันได้มีการขอติดตั้งเครื่องสูบน้ำแล้ว 4 เครื่อง

นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมและมาตรการอื่น ๆ เพื่อรับสถานการณ์ภัยแล้ง คือ 1) การประชาสัมพันธ์และชี้แจงข้อมูลสถานการณ์น้ำ/แผนบริหารจัดการน้ำฤดูแล้ง ปี 2562/63 ผ่านช่องทางต่าง ๆ อาทิ การประชุมร่วมกับกลุ่มผู้ใช้น้ำ/หน่วยราชการ/องค์กรต่าง ๆ ในพื้นที่ การแจ้งข้อมูลผ่านเว็บไซต์หน่วยงาน/ไลน์กลุ่ม และการให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชน เป็นต้น 2) มีการเตรียมแหล่งน้ำสำรองเพื่อช่วยเหลือในกรณีที่ประสบภาวะวิกฤติภัยแล้ง ซึ่งสำนักงานชลประทานที่ 1 ได้ดำเนินการโครงการแก้มลิงที่อยู่ในเขตพื้นที่โครงการฯ แม่แตง เพื่อเป็นแหล่งเก็บกักน้ำสำรอง จำนวน 10 แห่ง ความจุเก็บกักรวม 5.296 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันได้ผันน้ำไปเก็บไว้แล้วปริมาณ 2.646 ล้าน ลบ.ม. (ประมาณร้อยละ 50 ของความจุเก็บกัก) และ 3) การจัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจ แก้ไขและบรรเทาวิกฤตภัยแล้ง ปี 2562/63 ที่สำนักงานชลประทานที่ 1 และจัดตั้งศูนย์รับเรื่องร้องเรียนปัญหาเรื่องน้ำ บริเวณฝาย/ประตูระบายน้ำ ตลอดลำน้ำปิงในเขต จ.เชียงใหม่และลำพูน จำนวน 6 แห่ง เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้แก่ผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วนที่ใช้น้ำจากแม่น้ำปิงได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ โดยจะบริหารจัดการน้ำช่วงเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2563

นอกจากนี้ ยังได้มอบหมายทุกหน่วยงานในสังกัด เตรียมมาตรการเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในช่วงฤดูแล้ง อาทิ การสนับสนุนการปลูกพืชใช้น้ำน้อย การปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำลงแหล่งน้ำ การเตรียมเสบียงสำหรับเลี้ยงสัตว์ การเตรียมเงินกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำ และการให้ความรู้แก่เกษตรผู้เลี้ยงปลาในกระชัง ด้วย

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 12 มกราคม 2563

รัฐเดินหน้าแก้หนี้เกษตรกร สมาชิกกองทุนฟื้นฟูฯ

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ร่วมประชุมหารือสามฝ่าย ประกอบด้วย กองทุนฟื้นฟูพัฒนาเกษตรกรสมาคมธนาคาร และตัวแทนลูกหนี้เกษตรกร จากเครือข่าย อาทิ เครือข่ายหนี้สินชาวนาแห่งประเทศไทย สหพันธ์เกษตรกรแห่งประเทศไทย เครือข่ายสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ณ ปัจจุบัน มีจำนวนเกษตรกรที่กองทุนฟื้นฟูฯ ต้องเข้าไปช่วยแก้ปัญหาหนี้สิน 1.5 แสนราย คิดเป็นมูลหนี้ 5.4 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ นายจุรินทร์ ลักษณะวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ทั้งสามฝ่ายเจราจาร่วมกันหาทางออก ในเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้ เมื่อได้ข้อสรุป จะนำเข้าสู่การประชุมกรรมการกองทุนฟื้นฟูฯ ในวันที่ 23 มกราคม 2563 และนำเสนอคณะรัฐฒนตรีเพื่อพิจารณาต่อไป

นอกจากนี้ให้กองทุนฟื้นฟูฯ ยกร่างการปรับปรุงระเบียบในเรื่องการซื้อทรัพย์หลุดจำนอง และ ให้กองทุนฟื้นฟูฯ ทำข้อมูลลูกหนี้ แยกประเภทหนี้และจัดทำแผนฟื้นฟูรายบุคคล และหารือกับสมาคมธนาคาร เพื่อให้ธนาคารดำเนินการชะลอการดำเนินคดีกับเกษตรกรจำนวน 1,340 ราย

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 11 มกราคม 2563

ภัยแล้งกระทบหนัก ดันราคาสินค้าเกษตรพุ่ง

 กรมการค้าภายในได้ออกมาประเมินสถานการณ์ภัยแล้งในปี 2563 ที่อาจส่งผลกระทบต่อผลผลิตการเกษตรที่ลดลง ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องถึงราคาที่ปรับตัวสูงขึ้นด้วย

นายวิชัย โภชนกิจ อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมการค้าภายในได้ประเมินสถานการณ์ภัยแล้งในปีนี้ คาดว่าจะส่งผลให้ราคาสินค้าเกษตรหลายรายการปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกเหนียว และข้าวเปลือกเจ้า ซึ่งคาดว่าราคาข้าวเปลือกหอมมะลิ น่าจะทรงตัวในระดับสูงกว่า 14,000-15,000 บาทต่อตัน

ส่วนข้าวเปลือกเหนียว ราคา 14,000 บาทต่อตัน ขณะที่ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 9,000-10,000 บาทต่อตัน จากปัจจุบันตันละประมาณ 8,000 บาท เพราะคาดว่าผลผลิตข้าวเปลือกนาปรังจะเสียหายเกือบครึ่งหนึ่ง หรือจะมีผลผลิตเพียง 3.5-4 ล้านตันข้าวเปลือก จากปกติที่ประมาณ 8 ล้านตันข้าวเปลือก หรือหายไป 50%

นอกจากนี้ ราคาผักสดปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน เนื่องจากปริมาณผลผลิตจะได้รับความเสียหายมาก โดยเฉพาะผักที่ต้องใช้น้ำมาก เช่น ผักชีคะน้า โดยจะมีการนำผักอื่นที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกันแต่ใช้น้ำน้อยมาปลูกทดแทน

มะนาว คาดว่า ปีนี้ราคาน่าจะสูงกว่าที่ผ่านมามาก จึงแนะนำให้ผู้ที่ใช้มะนาวจำนวนมาก เช่น ร้านอาหาร ภัตตาคาร เร่งซื้อมะนาวในช่วงนี้ที่ยังราคาต่ำมาแช่แข็งไว้ใช้ในช่วงหน้าแล้งนี้ สำหรับผลไม้สดอาจมีบางชนิดที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง แต่กรมการค้าภายในได้หาแนวทางบรรเทาผลกระทบให้กับเกษตรกร และหามาตรการเชื่อมโยงจากแหล่งผลิตตรงสู่ผู้บริโภคไว้แล้ว

ในขณะที่เนื้อหมู คาดว่า ราคาจะสูงขึ้นเช่นกัน จากสภาพอากาศร้อน ทำให้หมูโตช้า และการเกิดโรคอหิวาต์แอฟริการะบาดในหมูในประเทศจีน เวียดนาม และลาว จึงทำให้ราคาหมูมีชีวิตในจีนปรับตัวขึ้นมาอยู่ที่กิโลกรัมละ 200 บาท เวียดนามกิโลกรัม 120 บาท ขณะที่ไทยขณะนี้ยังอยู่ที่ไม่เกินกิโลกรัมละ 75 บาท แต่กรมการค้าภายในได้หารือกับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ เพื่อพิจารณาว่า หากราคาเกินกว่ากิโลกรัมละ 80 บาท อาจมีมาตรการจำกัดการส่งออก เพื่อให้มีเนื้อหมูบริโภคในประเทศอย่างเพียงพอ และราคาไม่สูงมากจนเกินไป

"หากมองในแง่ดี ราคาเกษตรที่สูงขึ้นส่งผลดีกับเกษตรกรที่ได้ราคาดีขึ้น แต่ผู้บริโภคอาจได้รับผลกระทบในช่วงสั้นๆ เมื่อสถานการณ์ภัยแล้งผ่านไปราคาสินค้าเกษตรจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ อย่างไรก็ตามราคาสินค้าที่ปรับตัวสูงขึ้นกรมจะใช้กลที่มีอยู่ในการแก้ปัญหา เช่น ร้านธงฟ้า ที่มีอยู่กว่า 102,000 ร้านทั่วประเทศ โดยจะเชื่อมโยงนำผลผลิต จากแหล่งผลิตที่ไม่ได้รับความเสียหาย กระจายไปยังร้านธงฟ้าต่างๆ เพื่อให้ไปถึงผู้บริโภคได้อย่างทั่วถึงในราคาที่เป็นธรรม"

ปาล์มน้ำมัน ที่ขณะนี้ปรับตัวสูงขึ้นมาก โดยผลปาล์มสดกิโลกรัมละ 6-7 บาท จากปี 2562 ที่กิโลกรัมละ 2.50-3 บาท และน้ำมันปาล์มดิบ (ซีพีโอ) กิโลกรัมละ 35 บาท จากที่เคยกิโลกรัมละ 16-18 บาท ซึ่งได้ขอความร่วมมือผู้ค้าให้ปรับราคาขายให้สอดคล้องกับต้นทุนที่สูงขึ้น

โดยราคาน้ำมันปาล์มขวดเพื่อการบริโภคขณะนี้ควรจะอยู่ที่ขวดละ 42-43 บาท เพื่อให้อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันของไทยทั้งระบบอยู่ได้ โดยเฉพาะชาวสวนปาล์ม ที่เดือดร้อนจากการขายผลผลิตราคาต่ำมาหลายปีแล้ว

ดังนั้น ปีนี้เมื่อราคาผลปาล์มสูงขึ้นควรให้โอกาสให้เกษตรกรบ้าง ซึ่งเชื่อว่าผู้บริโภคจะเข้าใจและจะเป็นเพียงสถานการณ์ระยะสั้นเท่านั้น เมื่อราคาผลปาล์มสดลดลง ราคาน้ำมันขวดก็จะลดลงตาม อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคอาจหันมาบริโภคน้ำมันพืชอื่นทดแทนได้ เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันรำข้าว น้ำมันหมู ที่ราคายังไม่ปรับขึ้น

สำหรับความกังวลของสถานการณ์ภัยแล้งที่อาจกระทบต่อน้ำดื่ม จนอาจทำให้น้ำดื่มบรรจุขวดปรับขึ้นราคาขายว่า ขณะนี้สถานการณ์ราคาน้ำดื่มบรรจุขวดยังอยู่ในภาวะปกติ โดยยังขายอยู่ที่ขวดละ 5-10 บาท และเชื่อว่าภัยแล้งจะไม่รุนแรงจนทำให้ขาดแคลนน้ำมาผลิตน้ำดื่มและดันให้ราคาต้องขยับขึ้น

รวมทั้งขณะนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างพยายามเร่งแก้ปัญหา โดยเฉพาะการขุดบ่อน้ำบาดาลและหาแหล่งน้ำใหม่ ซึ่งน่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนได้ และไม่ทำให้ราคาน้ำดื่มต้องปรับขึ้นแน่นอน รวมไปถึงราคาสินค้าอื่นที่ยังไม่มีการขอปรับราคาขึ้น

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 11 มกราคม 2563

คลอดแล้ว...ประกาศควบคุมผลิตเคมีผู้บริโภคได้ประโยชน์สุด ๆ

ร่างประกาศกระทรวงเกษตรฯควบคุมผลิต บรรจุสารเคมีจัดทำเรียบร้อย เสนอกก.วัตถุอันตราย ก่อนเฉลิมชัยลงนามย้ำเป็นกม.ให้ความปลอดภัยผู้ใช้ ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม

มนัญญาเผยร่างประกาศกระทรวงเกษตรฯควบคุมผลิต บรรจุสารเคมีทางการเกษตรจัดทำเรียบร้อย สั่งกรมวิชาการเกษตรเสนอที่ประชุมกก.วัตถุอันตรายเห็นชอบก่อนเสนอ เฉลิมชัย ลงนาม ย้ำเป็นกฎหมายให้ความปลอดภัยต่อผู้ทำงานในโรงผลิต ผู้ใช้ และผู้บริโภค ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม

 นางสาวมนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า อธิบดีกรมวิชาการเกษตรได้ส่ง (ร่าง) ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการผลิต การนำเข้า การส่งออก และการมีไว้ในครอบครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. ....มาให้แล้ว

สาระสำคัญคือ กำหนดให้สถานที่ผลิตวัตถุอันตรายต้องได้การรับรองระบบมาตรฐานบริหารคุณภาพ ISO 9001 ระบบมาตรฐานการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 และมีห้องปฏิบัติการซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC17025 ด้านการวิเคราะห์วัตถุอันตราย ที่ได้รับการรับรองจากสถาบันการตรวจรับรองมาตรฐาน โดยหน่วยงานมาตรฐานในประเทศไทย

 ยกเว้นสถานที่ผลิตสารชีวภัณฑ์ และสารสกัดจากพืช สถานที่ผลิตวัตถุอันตรายที่ผู้ประกอบการได้รับอนุญาตให้ผลิตวัตถุอันตรายอยู่ก่อนแล้ว จะให้เวลาปรับปรุงแก้ไข 2 ปี อาคารผลิตและเก็บรักษาวัตถุอันตรายที่มากกว่าสองชั้นขึ้นไปต้องมีบันไดหนีไฟ ผนังต้องใช้วัสดุที่ไม่ก่อให้เกิดการลุกลามของ พื้นอาคารต้องไม่มีคุณสมบัติดูดซับวัตถุอันตราย สามารถป้องกันการรั่วไหลของวัตถุอันตรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีการระบายอากาศที่เหมาะสม

ต้องแบ่งแยกพื้นที่ผลิตและเก็บวัตถุอันตรายแต่ละประเภทเป็นสัดส่วนเพื่อป้องกันการปะปนกัน มีการระบายน้ำทิ้งลงสู่บ่อพักเพื่อนำไปบำบัด สำหรับการป้องกันอันตรายสำหรับผู้ปฏิบัติงานนั้น กำหนดให้ต้องมีเสื้อผ้าชุดปฏิบัติงาน ถุงมือ รองเท้า หมวก หน้ากากป้องกันพิษ 

 ตรวจสุขภาพผู้ปฏิบัติงานอย่างน้อยปีละ 1 ครั้งเพื่อป้องกันอันตรายจากการมีวัตถุอันตรายสะสมอยู่ในร่างกาย ถ้าผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับวัตถุอันตรายที่มีสารประกอบในกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟสหรือคาร์บาเมตต้องตรวจหาระดับซีรัมโคลีนเอสเตอเรสด้วย พร้อมจัดทำทะเบียนประวัติสุขภาพของผู้ปฏิบัติงานและหากตรวจพบวัตถุอันตรายสะสมในร่างกายจนถึงระดับอันตราย ต้องจัดให้ผู้นั้นได้รับการรักษาหรือไปปฏิบัติงานอื่นตามความเหมาะสม

 น.ส. มนัญญากล่าวต่อว่า กฎหมายใหม่นี้ยังกำหนดให้ตรวจสอบคุณภาพของผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย โดยการตรวจสอบวิเคราะห์คุณภาพ อัตราส่วนความเข้มข้นของสารสำคัญให้ถูกต้องก่อนบรรจุภาชนะ ตรวจสอบฉลากที่จะปิดบนภาชนะบรรจุวัตถุอันตรายให้ถูกต้อง

 นอกจากนี้ผู้ผลิตวัตถุอันตรายจำกัดการใช้ต้องแจ้งข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการผลิตให้พนักงาน เจ้าหน้าที่ทราบภายในวันถัดจากวันที่มีการผลิตประกอบด้วย กระบวนการการตั้งแต่เริ่มนำสารชนิดเข้มข้นมาแปรรูปโดยใช้ส่วนผสมต่าง ๆ เพื่อเปลี่ยนสภาพเป็นสารพร้อมใช้ แจ้งชนิดของส่วนผสม รายงานเกี่ยวกับภาชนะบรรจุที่ใช้แล้วซึ่งมีอยู่ในความครอบครอง การส่งไปทำลาย สถานที่ทำลายและวิธีการทำลาย

 โดยจะต้องส่งรายงานดังกล่าวต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ภายในเดือนมกราคมทุกปี ในกรณีที่หากสอบสวนพบว่า เกิดข้อบกพร่องที่มีผลต่อคุณภาพผลิตภัณฑ์หรือเกิดอันตรายต่อ ผู้บริโภคต้องเก็บผลิตภัณฑ์ดังกล่าวคืนอย่างรวดเร็ว มีบันทึกการเรียกเก็บผลิตภัณฑ์คืนจากลูกค้าแต่ละราย ตลอดจนให้แยกเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ที่เรียกคืนไว้ในบริเวณเฉพาะที่ปลอดภัย

 “สั่งการให้กรมวิชาการเกษตรนำเสนอ (ร่าง) ประกาศกระทรวงฯ นี้เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายครั้งต่อไปเพื่อให้ความเห็นชอบ จากนั้นจะนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงนาม หรือลงนามเอง หากได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ในฐานะที่กำกับดูแลกรมวิชาการเกษตร ซึ่งมั่นใจว่า เป็นกฎหมายที่จะทำให้เกิดความปลอดภัยต่อผู้ปฏิบัติงานในสถานที่ผลิต ผู้ใช้ และผู้บริโภค รวมถึงไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม” น.ส. มนัญญากล่าว

จาก https://www.komchadluek.net   วันที่ 11 มกราคม 2563

ธ.ก.ส.อัดงบ 1.5 หมื่นล.หนุนสินเชื่อเครื่องจักรการเกษตร

ธ.ก.ส จับมือคูโบต้าและยันม่าร์ สร้างโอกาสให้เกษตรกรเข้าถึงเครื่องจักรสำหรับการทำการเกษตรที่ใช้เทคโนโลยีทันสมัย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พร้อมสนับสนุนสินเชื่อนวัตกรรมเครื่องจักรเครื่องยนต์ วงเงิน 15,000 ล้านบาท

นายอภิรมย์  สุขประเสริฐ ผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. มีนโยบายส่งเสริมการปฏิรูปภาคเกษตรไทยสู่ความยั่งยืนภายใต้หลัก ปรับ เปลี่ยน พัฒนา โดยเฉพาะการปรับการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยยกระดับการทำเกษตรกรรมในทุกรูปแบบที่สามารถลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

ทั้งนี้  ธ.ก.ส. จึงได้ทำโครงการสินเชื่อนวัตกรรมเครื่องจักรเครื่องยนต์ โดยร่วมกับเครือบริษัทคูโบต้าและยันม่าร์ ในการสนับสนุนเกษตรกรให้มาเลือกใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตรเพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต (Agri-Tech) แก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตร และการทำการผลิตให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ หรือการปลูกพืชตามแผนที่เกษตร (Agri-Map)  เพื่อการบริหารจัดการเชิงรุกในพื้นที่ที่เหมาะสม รวมทั้งเปลี่ยนการผลิตการเกษตรให้ตรงกับความต้องการของตลาด สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร (Value Added) ช่วยยกระดับความสามารถในการแข่งขันให้กับภาคการเกษตรให้มีความยั่งยืน โดยมีเป้าหมายเป็นเกษตรกรลูกค้า หรือผู้ที่มีความสนใจ โดยสามารถขอรับการสนับสนุนสินเชื่อตามโครงการดังกล่าว นำไปเป็นเงินทุนจัดซื้อเครื่องจักรเครื่องยนต์ในภาคเกษตรกรรม  ตลอดจนเป็นค่าอุปกรณ์ ค่าบำรุงซ่อมแซม และการจัดหาอุปกรณ์พ่วงหรือเสริมให้เครื่องจักรนั้นสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  วงเงินสินเชื่อรวม 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ย MRR-1 (ปัจจุบัน MRR เท่ากับร้อยละ 6.875 ต่อปี) ระยะเวลาโครงการตั้งแต่บัดนี้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2566

นอกจากนี้ ธ.ก.ส.ได้สนับสนุนการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจของคนในชุมชนภายใต้โครงการ

สินเชื่อธุรกิจชุมชนสร้างไทย  วงเงินรวม 50,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยเพียง 0.01% ต่อปี สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์การเกษตรที่สนใจการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยเครื่องจักรกลการเกษตรทั้งนี้หลักเกณฑ์และเงื่อนไขต้องเป็นไปตามที่ธนาคารกำหนด

                นายสมศักดิ์ มาอุทธรณ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่อาวุโส บริษัทสยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จำกัด กล่าวว่า โครงการนี้เกิดจากเจตนารมย์ร่วมกันของ ธ.ก.ส. และสยามคูโบต้า ที่เล็งเห็นความสำคัญในการสนับสนุนให้เกษตรกรสามารถเป็นเจ้าของนวัตกรรมเครื่องจักรกลการเกษตรได้ง่ายขึ้น  ด้วยเงื่อนไขการให้สินเชื่อที่เหมาะสมกับรายได้ของเกษตรกร เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต บริษัทฯ มุ่งมั่นพัฒนาสินค้าที่ตอบสนองต่อยุคนวัตกรรมการเกษตรมากขึ้น ด้วยระบบนวัตกรรมอัจฉริยะ KUBOTA Intelligence System (KIS) ที่ช่วยให้บริหารจัดการเครื่องจักรกลได้ง่ายและสะดวกสบายยิ่งขึ้น รวมถึงจัดตั้ง คูโบต้า ฟาร์ม เพื่อเป็นฟาร์มสร้างประสบการณ์เกษตรสมัยใหม่ของอาเซียน มุ่งหวังให้เกษตรกรได้เข้าถึงทุกนวัตกรรมเกษตรที่ใช้ได้จริง ทั้งนี้เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิต ความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดียิ่งขึ้น

                นายชินจิ สุเอนางะ ประธานบริหารบริษัท ยันม่าร์ เอส พี จำกัด กล่าวว่า ด้วยการสนับสนุนด้านสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. ยันม่าร์เชื่อว่าโครงการนี้จะช่วยพี่น้องเกษตรกรได้มีโอกาสเข้าถึงเครื่องจักรกลการเกษตรมากขึ้น  และมั่นใจว่าการนำเครื่องจักรกลการเกษตรมาใช้ จะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต ประกอบกับความล้ำสมัยด้านเทคโนโลยีของแทรกเตอร์ยันม่าร์ในปัจจุบันที่พัฒนามากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นระบบติดตามการทำงานผ่านดาวเทียมหรือ SA-R (Smart Assist) ที่จะช่วยจัดการ การทำการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยันม่าร์มีความยินดีที่และพร้อมที่จะให้ความร่วมมือด้านอื่น ๆ กับทาง ธ.ก.ส. เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนให้เกษตรกรไทยมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืน อันเป็นวิสัยทัศน์ความมุ่งมั่นของยันม่าร์ทั่วโลกเช่นกัน

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 9 มกราคม 2563

เงินบาทเปิดตลาด"ทรงตัว"

เงินบาทเปิดเช้านี้ที่ระดับ 30.34 บาทต่อดอลลาร์ไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงปิดสิ้นวันทำการก่อน กรอบเงินบาทวันนี้ 30.27-30.37 บาทต่อดอลลาร์

 นายจิติพล พฤกษาเมธานันท์ นักกลยุทธตลาดเงินและตลาดทุนธนาคารกรุงไทยระบุว่า ในช่วงคืนที่ผ่านมา ความตึงเครียดในตลาดการเงินจางหายไปแทบทั้งหมด

ดัชนี S&P500 ปรับตัวขึ้น 0.5% ขณะที่บอนด์ยีลด์สหรัฐอายุ 10ปีปรับตัวลง 5bps มาที่ระดับ 1.87% สวนทางกับเงินดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับเงินเยน 0.6% และสกุลเงินหลักอื่นๆราว 0.2% ซึ่งเป็นผลมาจากราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ปรับตัวลงถึง 4% พร้อมกับราคาทองที่ย่อตัว 1.1% ตามภาพความเสี่ยงสงครามที่ผ่อนคลายลง

 ฝั่งตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐ มีการรายงานการจ้างงานภาคเอกชน (ADP) ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 2.0 2 แสนตำแหน่งในเดือนธันวาคมที่ผ่านมาจากการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นในแทบทุกภาคธุรกิจ  ชี้ว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังขยายตัวแข็งแกร่งและไม่ได้รับแรงกดดันจากปัญหาการเมืองมากอย่างที่ตลาดการเงินเข้าใจ

ส่วนของตลาดเงิน ในวันที่ผ่านมาอ่อนค่าอย่างรวดเร็วจากความเห็นของผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย เรื่องที่จะมีมาตรการผ่อนคลายให้เงินทุนไหลออกเพิ่มเติมในช่วงหนึ่งถึงสองเดือนข้างหน้า

แต่วันนี้ เชื่อว่าจะแกว่งตัวในกรอบแคบลงจากตลาดที่เปิดรับความเสี่ยงแนะนำจับตาทิศทางของตลาดการเงินเอเชียไปพร้อมพร้อมกันเพราะเป็นช่วงใกล้การลงนามสัญญาการค้าระหว่างสหรัฐและจีนขึ้นเรื่อยๆ เชื่อว่าน่าจะเป็นปัจจัยหนุนให้มีกระแสเงินทุนไหลเข้าเอเชีย ซึ่งสามารถหนุนเงินเอเชียและเงินบาทให้แข็งค่าได้

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 9 มกราคม 2563

ธ.ก.ส.ยัน มีวงเงินช่วยเกษตรกรประสบภัยแล้งแน่

ธ.ก.ส.ใช้มาตรการเดิม สินเชื่อฉุกเฉิน-ฟื้นฟู วงเงินเหลือ 40,000 ล้านบาท จากกรอบ 55,000 ล้านบาท ช่วยเหลือเกษตรกรประสบปัญหาภัยแล้ง มั่นใจเพียงพอ พร้อมเร่งสำรวจให้ได้ข้อสรุปในม.ค.นี้ ก่อนส่งเงินช่วยเหลือได้ทันก.พ.

นายสมเกียรติ กิมาวหา ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส.มีมาตรการในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นแล้ว ประกอบด้วยสินเชื่อเพื่อการใช้จ่ายฉุกเฉิน และสินเชื่อเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งเป็นมาตรการที่ดำเนินการต่อเนื่องจากภัยแล้งปีก่อน ที่ขณะนี้ยังมีวงเงินเหลือจากปีก่อนอีกประมาณ 40,000 ล้านบาท จากกรอบที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติการช่วยเหลือในรอบปีบัญชี 2562-2564 ไว้เดิม 55,000 ล้านบาท ฉะนั้นจึงมั่นใจว่าวงเงินดังกล่าวจะเพียงพอต่อการช่วยเหลือเกษตรกรอย่างแน่นอน

ทั้งนี้ในเบื้องต้น ธ.ก.ส.ได้สั่งการให้ธ.ก.ส.พื้นที่ลงสำรวจความเสียหายของเกษตรกรทั้งหมดแล้ว คาดว่าจะสรุปตัวเลขความเสียหายดังกล่าวได้ภายในเดือน ม.ค.นี้ และจ่ายเงินเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรได้ภายในเดือนก.พ.หรือแล้วแต่รอบการผลิตของเกษตรกรได้แน่นอน

“ธ.ก.ส.พื้นที่จะสำรวจผู้ที่เสียหายใหม่ว่ามีมากน้อยเพียงใด แต่เท่าที่คาดการณ์ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ประสบภัยเดิม และได้รับความช่วยเหลือในรอบปีบัญชีก่อนแล้ว แต่หากสำรวจพบผู้เสียหายรายใหม่ ธ.ก.ส.ก็จะขยายเวลาการให้ความช่วยเหลือเพิ่มเพื่อให้ครบรอบเวลาในการให้ความช่วยเหลือ 3 รอบปีบัญชี”นายสมเกียรติ กล่าว

สำหรับในปัจจุบันลูกค้าเกษตรกรของธ.ก.ส.ที่อยู่ในภาคเหนือตอนล่างมีกว่า 3 แสนราย และในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 1 ล้านราย ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีความเสี่ยงประสบปัญหาภัยแล้งในทุกๆปี

นายสมเกียรติกล่าวว่า แม้ปัจจุบันเกษตรกรไทยจะได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งจำนวนมากและเป็นภัยแล้งที่เกิดขึ้นเร็วกว่าปกติ แต่ก็ไม่ได้ส่งผลให้เกษตรกรผิดนัดชำระหนี้ให้กับธ.ก.ส.ซึ่งอัตราการชำระหนี้ของเกษตรกรยังสูงถึง 90% ของจำนวนเกษตรกรที่มีหนี้กับธ.ก.ส.ทั้งหมด สะท้อนให้เห็นว่าเกษตรกรรายย่อยยังคงมีวินัยในการชำระหนี้ ประกอบกับที่ผ่านมา ธ.ก.ส.มีการพักชำระหนี้เงินต้นให้จากผลกระทบจากปัญหาภัยพิบัติต่างๆ ทำให้สัดส่วนการชำระหนี้โดยรวมยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ขณะนี้ที่หนี้เสียก็อยู่ที่ 4.55% ใกล้เคียงกับรอบปีบัญชีก่อนหน้า  ซึ่งถือว่า เป็นอัตราปกติ ไม่น่าเป็นห่วงแต่อย่างใด

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 8 มกราคม 2563

กปภ. ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งทั้ง 234 สาขาทั่วประเทศอย่างใกล้ชิด

การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งทั้ง 234 สาขา ในพื้นที่รับผิดชอบ 74 จังหวัดทั่วประเทศ ยกเว้น กรุงเทพฯ นนทบุรี และสมุทรปราการ เตรียมพร้อมแก้ไขปัญหาและบริหารจัดการน้ำให้มีใช้ตลอดช่วงแล้งนี้ โดยประชาชนเดือดร้อนน้อยที่สุดและให้การช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง

ดร.นพรัตน์ เมธาวีกุลชัย ผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) เปิดเผยว่า แหล่งน้ำดิบของ กปภ. ส่วนใหญ่อาศัยแหล่งน้ำดิบบนพื้นผิวดินตามธรรมชาติ ซึ่งมีจำนวนมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน กปภ. จึงได้วางแผนเตรียมความพร้อมโดยจัดหาแหล่งน้ำดิบสำรองนอกจากแหล่งน้ำดิบหลักไว้ให้ได้มากที่สุด เพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำสำหรับใช้อุปโภคบริโภคในช่วงฤดูแล้งและภาวะฝนทิ้งช่วงทำให้ไม่มีน้ำฝนเข้ามาเติมในแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ทั้งนี้ จากการติดตามสถานการณ์ภัยแล้งอย่างใกล้ชิด กปภ.สาขาที่ต้องเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ ได้แก่ กปภ.สาขาชลบุรี แหลมฉบัง ศรีราชา พัทยา จังหวัดชลบุรี สาขาพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี สาขาด่านขุนทด พิมาย จังหวัดนครราชสีมา สาขาภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต สาขาชุมแพ จังหวัดขอนแก่น สาขาบุรีรัมย์ นางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ และ กปภ.สาขาที่ต้องเฝ้าระวังความเค็ม ได้แก่ กปภ.สาขาฉะเชิงเทรา บางปะกง บางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา และ กปภ.สาขาปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี ซึ่งขณะนี้ กปภ.สาขาข้างต้นได้เตรียมความพร้อมรับมือทั้งด้านบุคลากร เครื่องมืออุปกรณ์ บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งไว้แล้ว

ดร.นพรัตน์ เมธาวีกุลชัย กล่าวเพิ่มเติมว่า กปภ. ต้องขอความร่วมมือประหยัดน้ำให้ประชาชนใช้น้ำประปาอย่างประหยัด รวมทั้งตรวจสอบระบบท่อประปาภายในบ้านมิให้มีการรั่วไหล หากประชาชนประสบปัญหาขาดแคลนน้ำสะอาด หรือพบเห็นท่อประปาแตกรั่ว กรุณาแจ้งที่ กปภ.สาขาที่ใช้บริการ หรือ PWA Contact Center 1662

จาก https://www.prachachat.net   วันที่ 8 มกราคม 2563

แหล่งน้ำกำลังกลายเป็น เหตุของความขัดแย้งในอนาคต

 อีก 50 ปีข้างหน้า เราจึงพากันหวาดวิตกกันว่าการขาดแคลนทรัพยากรที่สำคัญอย่างน้ำ กำลังจะกลายเป็นหัวใจของความ

ลองจินตนาการดูว่าในอีก 50 ปีข้างหน้า จะเกิดอะไรขึ้นบ้าง? ข้างต้นคือข้อความซึ่งถูกนำไปถามคนดังในแวดวงต่างๆ ตั้งแต่นักวิทยาศาสตร์ นักวิชาการ และศิลปิน หลายคน รวมถึง Richard Branson, Temple Grandin, Ian Bremmer, Ann Kim และ Bright Simons และจากกว่า 500 คำตอบ เรื่องหนึ่งที่ค่อนข้างชัดเจนที่สุดก็คือ "น้ำ" ซึ่งเหล่าคนมีชื่อเสียงต่างมองว่า มันจะเป็นของที่หายากในอนาคต

แม่น้ำที่เต็มไปด้วยมลภาวะ ความแห้งแล้ง และอุทกภัยที่ก่อความเสียหาย ทั้งหมดได้ก่อให้เกิดวิกฤตการณ์น้ำทั่วโลก

การขาดแคลนน้ำสะอาดที่สะอาด เป็นสิ่งที่กำลังท้าทายผู้คนอย่างมาก โดยเฉพาะในอเมริกาใต้ ตะวันออกกลาง และบางส่วนของแอฟริกา ระบบการผลิตหลายแห่งต้องการน้ำเพื่อทำเสื้อผ้า หรือแปรรูปอาหาร ซึ่งต้องปันส่วนจากน้ำที่ผู้คนใช้ดื่มกินด้วย

กองทุนสัตว์ป่าโลก ซึ่งเป็นหนึ่งในองค์กรพัฒนาเอกชนที่ใหญ่ที่สุดของโลก มีทีมงาน 500 คนเคยทำการศึกษาผลกระทบของธุรกิจกับการจัดการน้ำ หลายๆ องค์กรต่างยอมรับว่า เริ่มเจอกับปัญหา ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญหลายคนต่างมองว่า ปัญหาเรื่องแหล่งน้ำจะยิ่งทวีความรุนแรงขึ้นอย่างชัดเจนในรอบ 50 ปีนับจากนี้

สำหรับคำตอบของคำถาม มีบางความเห็นต่อสถานการณ์โลกในอีก 50 ปีที่น่าสนใจ อาทิ Njoki Ngumi ผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์และแพทย์ ซึ่งมองว่า "ผู้ให้บริการอาหาร และน้ำจะเป็นกุญแจสำคัญ หลายคนจะพยายามคิดหาวิธีการใช้ชีวิต และหาทางผลิตน้ำด้วยกรรมวิธีต่างๆ ขณะเดียวกันพลังงานสีเขียว โดยเฉพาะแสงอาทิตย์ และลม ก็สำคัญเช่นกัน แน่นอนขอบเขตของเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น เรามีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และพัฒนาเทคโนโลยี แต่อย่างไรก็ตาม ความต้องการของทรัพยากรที่เพิ่มขึ้น นี่อาจจะเป็นวิธีควบคุมประชากรในรูปแบบที่น่ากลัวกว่า เรื่องนิยายวิทยาศาสตร์ใดๆ ก็เป็นได้"

Noam Bardin CEO Waze บอกว่า "เมื่อน้ำกลายเป็นทรัพยากรที่ขาดแคลน ทุกบริษัทก็จะต้องหาทางผลิต และมันจะกลายเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของมนุษย์ต่อความอยู่รอด"

เช่นเดียวกับความเห็นส่วนใหญ่ ซึ่งมองว่า ในอนาคตทรัพยากรน้ำ อาหาร ที่ดิน จะทำให้เกิดความขัดแย้งที่ใหญ่ที่สุด และเป็นไปได้ว่าจะเกิดการเรียกร้องจากประเทศและชุมชนที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมในเรื่องน้ำ

แม้จะไม่ใช่ในวันนี้ แต่ในอีก 50 ปีข้างหน้า เราจึงพากันหวาดวิตกกันว่าการขาดแคลนทรัพยากรที่สำคัญ อย่างน้ำ กำลังจะกลายเป็นหัวใจของความขัดแย้งที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของมนุษยชาติหรือไม่

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 8 มกราคม 2563

กรอ.เล็งออกประกาศฯปันน้ำทิ้งโรงงานช่วยพื้นที่เกษตรภาคอีสานบรรเทาแล้ง

“สุริยะ”สั่งรับมือแล้ง กรอ.เล็งออกประกาศฯปันน้ำทิ้งโรงงานช่วยพื้นที่เกษตรกรรมบรรเทาแล้งเดือนนี้

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในภาคอุตสาหกรรม ว่า ได้สั่งการให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.) ติดตามสถานการณ์น้ำในช่วงนี้ว่าได้รับผลกระทบจากภัยแล้งหรือไม่ และจะทำอย่างไรเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่จะอาจได้รับผลกระทบโดยตรง โดยได้รับการรายงานจากกรอ.ว่าเตรียมนำในภาคอุตสาหกรรมที่ผ่านมาบำบัดแล้วมาช่วยเหลือเกษตรกรในเดือนมกราคมนี้

นายประกอบ วิวิธจินดา อธิบดีกรอ. กล่าวว่า ในภาคอุตสาหกรรมยังไม่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งของปีนี้ที่หลายฝ่ายกังวล เนื่องจากมีกระบวนการนำน้ำเสียกลับมาใช้ในการผลิตอีกครั้ง ขณะนี้จึงไม่มีมาตรการลดการใช้น้ำภาคอุตสาหกรรมแต่อย่างใด แต่หากมีผู้ประกอบการรายใดที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบ น้ำไม่เพียงพอ กรอ.จะออกมาตรการช่วยเหลือทันที

นายประกอบ กล่าวว่า อย่างไรก็ตามเพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมมีส่วนช่วยเหลือเกษตรกรรอบพื้นที่ เดือนมกราคมนี้ กรอ.เตรียมออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่องหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการพิจารณาอนุญาตโรงงานอุตสาหกรรมนำน้ำทิ้งของโรงงานไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่เกษตรกรรมในช่วงภัยแล้ง พ.ศ…. โดยกำหนดให้โรงงานที่ประกอบกิจการเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหาร อาทิ โรงงานน้ำตาล และอยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปล่อยน้ำที่ผ่านการบำบัดและได้คุณภาพมาตรฐานน้ำทิ้งไปให้กับภาคเกษตรกรรม โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรวบรวมตัวเลขโรงงาน

“กระแสข่าวเกี่ยวกับปัญหาภัยแล้งรุนแรงในพื้นที่เกษตรกรรม โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้กรอ.เตรียมประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมดังกล่าว หลังจากเคยออกประกาศล่าสุดในปี 2559 ซึ่งน้ำที่ปล่อยจากโรงงานนั้นมีความสะอาดในระดับที่เพาะปลูกพืชเกษตรได้ โดยจะให้โรงงานนำส่วนเหลือใช้จากกระบวนการผลิต ออกมาช่วยเหลือประชาชน”นายประกอบกล่าว

จาก https://www.matichon.co.th  วันที่ 8 มกราคม 2563

ไทยเป็นเจ้าภาพถกJTCไทย-บังกลาเทศ

ไทยเป็นเจ้าภาพจัดประชุม JTC ไทย-บังกลาเทศ ปูทางขยายการค้าตามเป้าหมาย 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี64

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ในวันนี้ ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า หรือ JTC ไทย – บังกลาเทศ ครั้งที่ 5 ที่ โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ จะเป็นประธานการประชุม ร่วมกับรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์บังกลาเทศ โดยจะมีการหารือในประเด็นสำคัญ เช่น การขยายการค้าและการลงทุน การส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ อาทิ อุตสาหกรรม เกษตร ประมงและปศุสัตว์ การบริการสุขภาพและสาธารณสุข และโครงสร้างพื้นฐาน และความเป็นไปได้ในการจัดทำ FTA ไทย – บังกลาเทศ ทั้งนี้เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการค้าและการลงทุนสองฝ่ายให้ขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพในอนาคต เพื่อให้บรรลุเป้าหมายขยายการค้าเป็น 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2564

ทั้งนี้ บังกลาเทศเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพสูงในภูมิภาคเอเชียใต้ มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดดที่ร้อยละ 6–8 ต่อปี มีประชากรกว่า160 ล้านคน มีทรัพยากรทางธรรมชาติเป็นจำนวนมาก เช่น ก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้ และถ่านหิน มีกฎระเบียบที่เอื้อต่อการค้าและการลงทุน โดยบังกลาเทศได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร หรือ GSP จาก 47 ประเทศทั่วโลก

โดยในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2562 การค้าระหว่างไทย-บังคลาเทศ มีมูลค่า รวมกว่า 980 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญ เช่น ปูนซิเมนต์ เม็ดพลาสติก ผ้าผืน เคมีภัณฑ์ เหล็ก รถยนต์และส่วนประกอบ

จาก https://www.innnews.co.th  วันที่ 8 มกราคม 2563

ปากเปียกปากแฉะค่าบาทแข็ง

นางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยว่า ปี 2563 หากค่าเงินบาทเคลื่อนไหวอยู่ที่ 30.5 บาท/เหรียญสหรัฐฯ มูลค่าการส่งออกไทยจะขยายตัว 0-1% จากปี 2562 หรือมีมูลค่า 251,250 ล้านเหรียญ แต่หากค่าเงินบาท

อยู่ที่ 29 บาท/เหรียญฯ การส่งออกจะติดลบ 2.8% ด้วยมูลค่า 242,995 ล้านเหรียญ และหากค่าเงินแข็งขึ้นมาอยู่ที่ 28.50 บาท/เหรียญฯ

การส่งออกจะติดลบหนักถึง 5% ด้วยมูลค่า 237,493 ล้านเหรียญ ซึ่งนักวิเคราะห์จากหลายสถาบันได้วิเคราะห์ตรงกันว่า ค่าเงินบาทอาจจะ

แข็งค่าถึง 28 บาท/เหรียญฯ หรือแข็งค่ากว่านี้ และ สรท.มองว่ามีโอกาสเป็นไปได้สูง เพราะช่วงปลายปี 62 ค่าเงินบาทแข็งค่าสู่ระดับ 29 บาท/ เหรียญฯแล้ว เพียงแค่นี้ก็ทำให้ผู้ส่งออกเกิดความกังวลมากพอแล้ว

“การรักษาเสถียรภาพเงินบาทไม่ให้แข็งค่ามากไปกว่านี้ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จะต้องเร่งแก้ไข การที่ธปท.บอกว่าควรใช้โอกาสนี้นำเข้าวัตถุดิบมาผลิตสินค้าเพื่อบริโภคภายในประเทศ ไม่ใช่ทางออก เพราะการบริโภคภายในประเทศยังไม่ขยายตัว ส่วนเศรษฐกิจโลกก็ยังชะลอตัว อย่างไรก็ตาม วันที่ 16 ม.ค.นี้ สรท.จะเข้าพบหารือกับ ธปท.เพื่อหารือถึงทางออกร่วมกันหลังจากที่เดิมกำหนดไว้วันที่ 10 ม.ค.”

5 สาเหตุกดดัน เงินบาทแข็งค่าต่อเนื่องในปีหนู เสี่ยงหลุด 30 บาทต่อดอลลาร์

แบงก์ชาติจับตา "ค่าเงินบาท" ใกล้ชิด หลังผันผวนก่อนวันหยุดสิ้นปี

สัญญาณระส่ำ พิษบาทแข็งค่า เจ็บตัวกันระนาว เจอเศรษฐกิจเผาจริง รับปีหนู

ด้านนายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธาน สรท. กล่าวว่า นับตั้งแต่ปี 2561-2562 ผู้ส่งออกไทยได้สูญเสียรายได้จากการส่งออกกรณีที่แลกเงินสกุลดอลลาร์มาเป็นเงินบาทแล้ว 576,176 ล้านบาท.

จาก https://www.thairath.co.th   วันที่ 8 มกราคม 2563

ก.เกษตรฯเร่งทำแผนปฏิบัติการรับมือภัยแล้งทั่วประเทศ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯสั่งการด่วนให้ทุกหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ทำแผนปฏิบัติการรับมือภัยแล้งทั่วประเทศ รายงานสถานการณ์ต่อศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตรทุกวัน พร้อมจัดทำมาตรการบรรเทาผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำ การประกอบอาชีพ และเสริมรายได้

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ได้สั่งการด่วนที่สุดให้ทุกหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรฯ จัดทำแผนปฎิบัติการ (Action plan) ช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้งตามที่คาดการณ์ว่า ในฤดูแล้งปี 2562/2563 ซึ่งมีปริมาณฝนตกต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 30 ปี ส่งผลให้มีน้ำต้นทุนในเขื่อนต่างๆ และแหล่งน้ำธรรมชาติน้อย โดยให้ทุกหน่วยงานต้องทำแผนปฏิบัติการดังกล่าวและมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) รวบรวมนำเสนอตามลำดับ ขณะนี้ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรฯ สรุปผลกระทบจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในปี 2562 และการเร่งรัดจ่ายเงินช่วยเหลือ อีกทั้งสถานการณ์น้ำและผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อภาคการเกษตรอย่างต่อเนื่องทุกวันเพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้บริหารตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

สำหรับฤดูแล้งยังไม่มีรายงานความเสียหายภาคการเกษตรจากภาวะขาดแคลนน้ำ แต่ทุกหน่วยงานต้องประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรและประชาชนทราบสถานการณ์อย่างทั่วถึงในทุกช่องทางสื่อสาร โดยเป็นการทำงานเชิงรุกเพื่อให้เป็นไปตามแนวปฏิบัติของศูนย์บัญชาการน้ำเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำแห่งชาติซึ่งพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบในการจัดตั้งศูนย์ดังล่าว กำหนดกรอบการทำงาน และเสนอขออนุมัติงบประมาณสนับสนุนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติแล้ง โดยกระทรวงเกษตรฯ เป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีหน้าที่รับผิดชอบตามแผนปฏิบัติการของศูนย์นี้

“นายกรัฐมนตรีห่วงใยปัญหาภัยแล้งที่อาจรุนแรงในปีนี้จึงเป็นประธานศูนย์บัญชาการน้ำเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำด้วยตนเอง ซึ่งหลังจากประชุมคณะรัฐมนตรีเสร็จทุกหน่วยงานต้องเดินหน้าปฏิบัติการช่วยเหลือประชาชนทันที” นายเฉลิมชัยกล่าว

จาก https://www.mcot.net   วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2563

กรอ.กางแผนงานปี 63 คุมเข้ม รง.ปล่อยมลพิษ-เร่งพัฒนาอุตสาหกรรม

กรมโรงงานอุตสาหกรรมเผยแผนบริหารงาน 4 ด้านในปี 63 หวังเดินหน้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเข้าสู่ 4.0 และตรวจเข้มโรงงาน 5,000-6,000 แห่ง ป้องกันความเสี่ยงด้านน้ำเสีย อากาศเสีย กากอุตสาหกรรมและความปลอดภัย สนองนโยบาย สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ

นายประกอบ วิวิธจินดา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยแผนดำเนินงานในปี 2563 ว่า ในปี 63 กรอ.ให้ความสำคัญในแผนงาน 4 ด้านหลัก ประกอบด้วย 1. การดำเนินนโยบายการปกป้องสิ่งแวดล้อม และปราบปรามผู้ประกอบการที่กระทำผิด จนเกิดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมแบบเข้มงวดมากขึ้น 2. การพัฒนากฎหมาย และระบบดิจิทัล เพื่อผลักดันอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 3. การส่งเสริมภาคอุตสาหกรรมให้มีการพัฒนาศักยภาพการแข่งขันให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน และ 4. การพัฒนาบุคลากรตามนโยบายของนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ที่ต้องการให้มีการพัฒนาเศรษฐกิจไทยควบคู่กับการดูแลชุมชนและสิ่งแวดล้อม

สำหรับด้านสิ่งแวดล้อมซึ่งถือเป็นประเด็นที่สังคมให้ความสนใจอย่างมาก ทาง กรอ.เน้นบริหารจัดการ กำกับ ดูแล และเฝ้าระวังผู้ประกอบการอุตสาหกรรมให้มีความปลอดภัย และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่ง กรอ.มีแผนในการตรวจกำกับโรงงาน 5,000-6,000 โรงงาน เพื่อเฝ้าระวังเรื่องของความเสี่ยงด้านต่างๆ นอกจากนี้ก็จะพัฒนาระบบดิจิทัลเพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการและพัฒนาระบบอนุญาตและการกำกับดูแล ทั้งข้อมูลเพื่อการบริหารจัดการวัตถุอันตราย เชื่อมโยงเอกสารและข้อมูลประชาชนและบริการภาครัฐ การนำระบบบริหารจัดการกากอุตสาหกรรม (E Fully Manifest) และทำเนียบสารเคมีและวัตถุอันตราย รวมถึงการผลักดันโครงการต่างๆ ที่จะช่วยลดมลพิษ เป็นต้น

นอกจากนี้ ในปี 2563 กรอ.จะผลักดันโครงการต่างๆ ตามนโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมได้มอบหมายตั้งแต่ปี 62 อย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว โครงการอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ โครงการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำสายหลัก ฯลฯ

สำหรับข้อมูลโรงงานที่เปิดใหม่และขยายกิจการในปี 62 มีจำนวน 4,379 โรงงาน ลดลงจากปีก่อน 15.80% เกิดการจ้างงาน 207,602 คน เพิ่มขึ้น 1.52% มีเงินลงทุน 483,672.29 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 31.86% ส่วนโรงงานที่ขอเลิกกิจการมี 1,743 โรงงาน ลดลง 12.89% จำนวนคนงาน 43,987 คน เพิ่มขึ้น 5.68% และจำนวนเงินทุน 56,562.52 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 57.10% ส่วนการคาดการณ์การเติบโตของภาคอุตสาหกรรมในปี 63 นั้นน่าจะมีการตั้งและขยายโรงงานที่ดีกว่าปี 62 เห็นได้จากสถิติย้อนหลังประกอบกับนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลด้านต่างๆ ที่ทำให้โรงงานเข้ามาลงทุนมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม ประเมินว่าในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาภาคอุตสาหกรรมของไทยมีการปรับตัวตามแนวทางการพัฒนาของประเทศ หรือการปรับตัวสู่อุตสาหกรรม 4.0 สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นเรื่องที่ดี เพราะภาคอุตสาหกรรมของไทยจะมีความพร้อมที่จะไปแข่งขันในตลาดโลกได้อย่างมีศักยภาพ และเป็นมิตรต่อชุมชน ซึ่งถือเป็นหัวใจของการส่งเสริมทิศทางภาคอุตสาหกรรมในยุคปัจจุบัน ตามวิสัยทัศน์กรมโรงงานอุตสาหกรรมที่ว่า “ขับเคลื่อนธุรกิจอุตสาหกรรม ให้ทันสมัย ก้าวไกล และยั่งยืน” นายประกอบกล่าว

จาก https://mgronline.com  วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2563

ฤดูแล้ง’63ทุกภาคส่วนต้องตรียมการ “รับมือ”

หากกล่าวถึงสถานการณ์น้ำในปีนี้เมื่อก้าวเข้าสู่ฤดูแล้งปี 2562/2563 (1 พฤศจิกายน 2562 - 30 เมษายน 2563) มีความคล้ายคลึงกับฤดูแล้ง 2561/2562 คือ ปริมาณน้ำน้อย และฤดูฝน ก็เช่นเดียวกันที่ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ย และอาจมีฝนทิ้งช่วงยาว  ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นสถานการณ์ที่น่ากังวลไม่น้อยทีเดียว ที่ต้องมีการบริหารจัดการน้ำต้นทุนที่มีอยู่เหล่านี้อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคที่ต้องมาก่อนกิจกรรมอื่น เนืองจากกระทบกับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศและเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญ ต่อด้วยน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศ แล้วค่อยมาเป็นน้ำเพื่อเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมจากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ปริมาณน้ำต้นทุนที่น้อยเป็นทุนเดิม แถมฝนยังทิ้งช่วงอีก

 สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช. ) โดย ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการ สทนช. ติดตามสถานการณ์น้ำตลอด ได้ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องครั้งสุดท้ายของปี 2562 เมื่อ 27 ธันวาคม 2562 เพื่อประเมินสถานการณ์น้ำตลอดทั้งปี 2562 และพยากรณ์สถานการณ์น้ำในปี 2563 เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากสถานการณ์แล้งในปีนี้

 “ข้อมูลจากหน่วยงานเกี่ยวข้องสอดคล้องกันหมดว่า ฤดูแล้งจะเผชิญปัญหาขาดแคลนน้ำในวงกว้าง ในขณะเดียวกัน การพยากรณ์ฤดูฝนในปี 2563 ก็พบว่า ปริมาณฝนน้อยเหมือนปีก่อน และมีฝนทิ้งช่วงนานเช่นเดียวกัน หรืออาจถึงขั้นต้องประกาศเลื่อนเวลาทำนาปี” ดร.สมเกียรติกล่าวช่วงฤดูแล้งฝนตกน้อยตามชื่ออยู่แล้ว มีเฉพาะเขตภาคใต้ที่ฝนเข้ามาปลายปี โดยช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมที่ผ่านมา แม้ฝนจะตกมากจนเกิดน้ำท่วมก็เป็นพื้นที่ติดชายแดนมาเลเซีย ภาคใต้ปีนี้จึงประสบปัญหาภัยแล้งด้วยเช่นกันที่มีปริมาณน้ำเป็นน้ำเป็นเนื้อ เป็นภาคตะวันตกแห่งเดียว ทั้งเขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณเป็นที่พึ่งให้กับพื้นที่ฝั่งขวาแม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับการผลิตน้ำประปาคลองมหาสวัสดิ์และใช้สะกัดกั้นผลักดันน้ำเค็มบริเวณคลองบางกอกน้อยไม่ให้กระทบแหล่งน้ำดิบของการประปานครหลวง ที่ ต.สำแล อ.เมือง จ.ปทุมธานี

 “ปีนี้ภัยแล้งรุนแรงพอๆ กับปี 2558 ทั้งเรื่องปริมาณน้ำและการรุกล้ำของน้ำเค็มมาเร็วและรุนแรงมากกว่าปี 2558 การประปานครหลวงกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ ต้องทำแผนร่วมกันให้ชัดเจนเพื่อลดความเสี่ยงให้ได้ ซึ่ง สทนช. จะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดและเป็นรูปธรรม”

ข้อมูลสถานการณ์น้ำของ สทนช. บ่งชี้ภัยแล้งได้ดีทีเดียว โดยพบว่า แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 14 แห่ง จาก 38 แห่ง และขนาดกลาง 91 แห่ง จาก 354 แห่ง มีปริมาณน้ำน้อยกว่า 30% ของความจุ

แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 11 แห่ง ได้แก่ เขื่อนแม่กวง เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแม่มอก เขื่อนทับเสลา เขื่อนกระเสียว  เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนลำแซะ เขื่อนลำนางรอง เขื่อนป่าสักฯ เขื่อนคลองสียัด และเขื่อนหนองปลาไหล

แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 27 แห่ง และขนาดกลาง 213 แห่ง มีปริมาณน้ำ 30-80% อันนี้ก็ยังแค่ประคับประคองตัวเองได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละแห่งมีปริมาณน้ำมากน้อยระดับใดในช่วงระหว่าง 30 - 80%ที่มีความมั่นคงสูงต้องมีปริมาณน้ำ 80 - 100% ซึ่งมีแหล่งน้ำขนาดกลาง 68 แห่ง แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 3 แห่ง และมีน้ำมากกว่า 100% เป็นแหล่งน้ำขนาดกลาง 5 แห่ง ไม่มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่เลย

แหล่งน้ำขนาดกลางแม้จะมีจำนวนมากถึง 354 แห่ง แต่นิยามความจุของแหล่งน้ำขนาดกลางมีตั้งแต่ 2 -100 ล้านลูกบาศก์เมตร ฉะนั้นความจุรวมจึงไม่ได้มาก พื้นที่ส่งน้ำก็มีจำกัด ผิดกับแหล่งน้ำขนาดใหญ่ความจุเกินกว่า 100 ล้าน ลบ.ม. ขึ้นไปทำหน้าที่เป็นตัวหลักในพื้นที่ชลประทานในทุกวันนี้

ปัญหาภัยแล้งเริ่มชัดเจนตามลำดับ พื้นที่การเกษตรหลายจังหวัด เริ่มมีภาพการขาดแคลนน้ำ ต้นข้าวเริ่มยืนต้นตาย บางแห่งผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศงดทำนาปรัง เพื่อรักษาน้ำไว้สำหรับอุปโภคบริโภค เฉพาะในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยามีการทำนาปรังมากร่วม 3 ล้านไร่ ซึ่งเชื่อว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2563 มีโอกาสขาดแคลนน้ำค่อนข้างแน่นอน ยิ่งเป็นการซ้ำเติมความแห้งแล้งหนักมือยิ่งขึ้น

ลมหนาวปลายปีและอาจขยายถึงต้นปี มีส่วนทำให้น้ำในแหล่งน้ำระเหยได้เร็วขึ้นและมากขึ้นสทนช. ยังมองข้ามถึงฤดูฝน 2563 ข้อมูลจากหน่วยงานเกี่ยวข้องไม่ว่า กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ ล้วนให้คำยืนยันเหมือนกันว่า ปริมาณฝนน้อยไม่ต่างจากปีกลาย และฝนจะทิ้งช่วงยาวไม่น้อยกว่า 2 เดือน เช่นกัน ทำให้ต้องเลื่อนการปลูกข้าวนาปีที่อาศัยน้ำฝนเป็นหลักไปเป็นเดือนกรกฎาคม จากปกติจะเริ่มทำนาปีตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นข้อมูลและภาพรวมสถานการณ์น้ำของประเทศที่ทุกภาคส่วนต้องตรียมการรับมือ ไม่ตระหนัก แต่ควรตระหนัก โดยเฉพาะประชาชนคนไทยทุกคนในการ “ประหยัดน้ำ” เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ยากที่จะลงมือทำ

จาก https://www.banmuang.co.th   วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2563

สนพ . คาดการใช้พลังงานปี 2563 จะเพิ่มขึ้น 1.8%   

สนพ . ชี้แนวโน้มการใช้พลังงานขั้นต้นปี 2563 จะเพิ่มขึ้น 1.8% อย่างต่อเนื่องทุกประเภท ตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศและเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มปรับตัวไปในทิศทางที่ดีขึ้น

7 ม.ค. 63 - นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.)    เปิดเผยถึงแนวโน้มการใช้พลังงานปี 2563  ว่า  สนพ. ได้มีการพยากรณ์โดยอ้างอิงสมมุติฐานด้านเศรษฐกิจ อัตราแลกเปลี่ยน ราคาน้ำมันดิบ และนโยบายที่เกี่ยวข้อง มาเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการใช้พลังงาน โดยสภาพัฒน์ฯ มองว่าในปี 2563 จะมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจร้อยละ 2.7 - 3.7 โดยมีปัจจัยสนับสนุนดังนี้

 (1) แรงส่งจากแนวโน้มการขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจของอุปสงค์ภายในประเทศ ทั้งในแง่ของการใช้จ่ายภาคครัวเรือน และการลงทุนของภาครัฐและภาคเอกชน

 (2) การปรับตัวที่ดีขึ้นอย่างช้าๆ ของการส่งออก ภายใต้การปรับตัวที่ดีขึ้นอย่างช้าๆ ของเศรษฐกิจโลก

 (3) การดำเนินมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาครัฐ และการปรับตัวดีขึ้นของภาคการท่องเที่ยว

สำหรับอัตราการแลกเปลี่ยนในปี 2563 จะมีค่าใกล้เคียงกับปีก่อน มีค่าอยู่ในช่วง 30.5 - 31.5 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ส่วนสถานการณ์ราคาน้ำมันดิบก่อนเกิดเหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิหร่าน สภาพัฒน์ฯ และหลายๆ สำนัก มองว่าจะไม่แตกต่างจากราคาน้ำมันดิบในปีนี้มากนัก เนื่องจากแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจประเทศผู้บริโภค เช่น  สหรัฐ จีน และญี่ปุ่น

จากสมมุติฐานดังกล่าว จะส่งผลให้การใช้พลังงานขั้นต้นในปี 2563 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.8 จากการเพิ่มขึ้นของน้ำมัน ถ่านหิน/ลิกไนต์ พลังงานทดแทน ไฟฟ้านำเข้า และก๊าซธรรมชาติ ขณะที่การใช้พลังงานไฟฟ้าของ ปี 2563 เพิ่มขึ้น 2.6% จากปีก่อน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศปรับตัวดีขึ้นอย่างช้า ๆ การส่งออกที่คาดว่าจะปรับตัวดีขึ้นตามการดำเนินมาตรการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของภาครัฐ มาตรการการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และการลงทุนภายใต้โครงการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน (PPP) 

 อย่างไรก็ตามในช่วงนี้คงต้องจับตาสถานการณ์เหตุการณ์ความขัดแย้งระหว่างสหรัฐอเมริกากับอิหร่าน ซึ่งทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น โดยราคาน้ำมันดิบดูไบปรับเพิ่มขึ้นถึง 6% จากเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2563 ซึ่งอยู่ที่ 65.6 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล เป็น 69.6 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ในวันที่ 6 มกราคม 2563 ซึ่ง สนพ. จะคอยติดตามและประเมินสถานการณ์ผลกระทบจากเหตุการณ์นี้อย่างใกล้ชิด

จาก https://www.thaipost.net   วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2563

"อุตตม"สั่งธกส.ออกมาตรการรับมือภัยแล้ง

คลัง ห่วงปีนี้แล้งเร็ว แล้งหนัก สั่ง ธกส.กระจายสาขาทั่วประเทศ ออกมาตรการรับมือช่วยเหลือเกษตรกร ทั้งสินเชื่อดอกเบี้ย               

นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)เร่งติดตามสถานการณ์ภัยแล้งอย่างใกล้ชิด เพราะในปีนี้ภัยแล้งมาค่อนข้างเร็ว จึงให้เตรียมความพร้อมในการออกมาตรการรับมืออย่างเต็มที่ เพราะเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ที่จะกระทบกับหลายภาคส่วน จึงต้องให้ติดตามดูแลเป็นพิเศษ ซึ่งเชื่อว่าธ.ก.ส.มีแผนการรับมือดังกล่าวไว้แล้ว รวมถึงจะต้องพิจารณามาตรการผ่อนคลายทางการเงินช่วยเหลือเกษตรกรด้วย

นายสมเกียรติ กิมาวหา ผู้ช่วยผู้จัดการ และโฆษกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ กรรมการผู้จัดการ ธ.ก.ส.ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ประจำภาค และสาขาของธ.ก.ส.ทั่วประเทศ เร่งติดตามประเมินความเสียหายพื้นที่เพาะปลูก รวมถึงจำนวนครัวเรือนเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งอย่างเร่งด่วน เพื่อนำมาจัดทำมาตรการช่วยเหลือแก่เกษตรกรลูกค้าของธนาคาร ตามนโยบายของ รมว.คลัง

“ปีนี้ยอมรับว่าสถานการณ์ภัยแล้งในไทยมาค่อนข้างแรงและเร็วๆ กว่าช่วงปกติ ซึ่งธนาคารไม่ได้นิ่งนอนใจได้เร่งหาติดตามให้ความช่วยเหลือลูกค้าและดูมาตรการไว้บ้างแล้ว ไม่ว่าจะเป็นมาตรการสินเชื่อดูแลผู้ได้รับผลกระทบ รวมถึงมาตรการช่วยเหลือเฉพาะหน้า ซึ่งธนาคารมีกองทุนบรรเทาความเดือดร้อนผู้ประสบภัยธรรมชาติและภัยพิบัติ ซึ่งสามารถนำเงินมาช่วยดูแลเกษตรกร  จัดหาแหล่งน้ำสำหรับบริโภค เพื่อช่วยแก้ขาดแคลนน้ำในระยะสั้นได้”

จาก https://www.dailynews.co.th วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2563

แล้งพ่นพิษทำลายเศรษฐกิจภาคเกษตรเสียหายแล้วกว่า 800 ล้าน

ภัยแล้งทำลายเศรษฐกิจภาคเกษตรกว่า 800 ล้านบาท เสียหาย 15 จว. กรมชลฯระบุเขื่อนใหญ่ 14 แห่งน้ำใช้การวิกฤติต่ำกว่าร้อยละ 30

ศูนย์ภัยพิบัติกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานสถานการณ์ภัยแล้งปี 62/63 รายงานสภาพอ่างน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำใช้การอยู่ในเกณฑ์ น้อยกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ จำนวน 14 อ่างฯ

ทั้งนี้ได้แก่ อ่างฯภูมิพล (18%) อ่างฯสิริกิติ์(29%) อ่างฯแม่กวงอุดมธารา (24%) อ่างฯแม่มอก (19%) อ่างฯจุฬาภรณ์ (6%) อ่างฯอุบลรัตน์ (-5%) อ่างฯลำพระเพลิง (14%) อ่างฯลำแซะ (29%) อ่างฯลำนางรอง (16%) อ่างฯป่าสักชลสิทธิ์ (23%) อ่างฯทับเสลา (14%) อ่างฯกระเสียว (8%) อ่างฯคลองสียัด (20%) และอ่างฯหนองปลาไหล (28%) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาตรน้ำอยู่ในเกณฑ์ มากกว่าร้อยละ 80 ขึ้นไป ของความจุอ่างฯ จ่านวน 2 อ่าง ได้แก่ อ่างฯสิรินธร (87%) และ อ่างฯศรีนครินทร์ (84%)

 สภาพน้ำแม่น้ำปิง แม่น้ำน่าน แม่น้ำวัง แม่น้ำยม มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑน้ำน้อย แม่น้ำมูล แม่น้ำบางประกง แมน้ำท่าตะเภา แม่น้ำตาปี ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อยแม่น้ำโก-ลก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ

แม่น้ำเจ้าพระยา สถานี C.2 ปริมาณน้ำไหลผ่าน 228 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำ+17.38 ม.รทก.ต่ำกว่าตลิ่ง 8.82 เมตร

เขื่อนเจ้าพระยา สถานี C.13 ปริมาณน้ำไหลผ่าน 85 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำเหนือเขื่อน +14.16 ม.รทก.  ระดับน้ำท้ายเขื่อน +5.71 ม.รทก. รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันออก รวม 67 ลบ.ม./วินาที โดยผ่านคลองชัยนาท-ป่าสัก (ปตร.มโนรมย์) 65 ลบ.ม./วินาที คลองชัยนาท-อยุธยา (ปตร.มหาราช) 2 ลบ.ม./วินาที

แม่น้ำป่าสัก เขื่อนพระรามหก 5 ลบ.ม./วินาที  ) รับน้ำเข้าคลองระพีพัฒน์ 17 ลบ.ม./วินาที ผ่านคลองระพีพัฒน์แยกตก (ปตร.พระศรีศิลป์) 2 ลบ.ม./วินาที และผ่านคลองระพีพัฒน์แยกใต้ (ปตร.พระศรีเสาวภาค) 2 ลบ.ม./วินาที รับน้ำเข้าระบบส่งน้ำทุ่งฝั่งตะวันตก รวม 36 ลบ.ม./วินาที โดยผ่านคลองมะขามเฒ่าอู่ทอง (ปตร.มะขามเฒ่า-อู่ทอง) ปิด ลบ.ม./วินาที แม่น้ำสุพรรณ (ปตร.พลเทพ) 20 ลบ.ม./วินาที แม่น้ำน้อย (ปตร.บรมธาตุ) 16 ลบ.ม./วินาทีอ.บางไทร สถานี C.29A ปริมาณน้ำไหลผ่านเฉลีย 92 ลบ.ม./วินาที (เมือวาน 91 ลบ.ม./วินาที)

กรมชลประทาน ติดตามตรวจสอบและเฝ้าระวังคุณภาพน้ำ(ค่าความเค็ม) ในแม่น้ำเจ้าพระยา พบว่า ท่าน้ำนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี และ ท่าน้ำกรมชลประทานสามเสน (สูงกว่าเกณฑ์เฝ้าระวัง) ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้บริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหาความเค็ม โดยท่าการผันน้ำบางส่วนจากแม่น้ำแม่กลองมายังแม่น้ำเจ้าพระยา

สภาพอ่างน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั้งประเทศในช่วงฤดูแล้ง ปี 2562/63 (วันที 1 พ.ย.62 ถึง 30 เม.ย. 63) ณ วันที 1 พฤศจิกายน 2562 ปริมาตรน้ำต้นทนุ สามารถใช้การได้ จำนวน 26,666 ล้าน ลบ.ม. โดยการวางแผนจัดสรรน้ำ ทั้งประเทศ จ่านวน 17,699 ล้าน ลบ.ม.

 ผลการจัดสรรน้ำทั้งประเทศ ตั้งแต่วันที 1 พฤศจิกายน 2562 – ปัจจุบัน ใช้น้ำไปแล้ว 5,635 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 32 ของแผนจัดสรรน้ำ ส่วนในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา วันนี้ใช้น้ำไป 17.82 ล้าน ลบ.ม. ตั้งแต่วันที 1 พฤศจิกายน 2562 ถึงปัจจุบัน ใช้น้ำไปแล้ว 1,733 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 43 ของแผนจัดสรรน้ำ

 พื้นที่ประสบภัยแล้ง ช่วงภัยเดือน ก.ย. 62 – ปัจจุบัน (ข้อมูล ณ วันที่ 27 ธ.ค.62)

 จังหวัดประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว 13 จังหวัด จำนวน 68 อ่าเภอ 423 ตำบล 3,769 หมู่บ้าน 20 ชุมชน ได้แก่ จังหวัดเชียงราย(14) น่าน(2) เพชรบูรณ์(6) อุทัยธานี(8) นครพนม(1) มหาสารคาม(6) บึงกาฬ(4) หนองคาย(8) บุรีรัมย์(6) กาฬสินธุ์(1) นครราชสีมา(5) กาญจนบุรี(6) และจังหวัดฉะเชิงเทรา(2) และอยู่ระหว่างผู้ว่าราชการจังหวัดลงนาม ในประกาศเขตฯ 3 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสุโขทัย(4) ชัยนาท(4) สุพรรณบุรี(5)ผลกระทบด้านการเกษตรในเบืองต้น

ด้านพืช ประสบภัย 15 จังหวัด เกษตรกร 164,391 ราย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย 1,635,676 ไร่ สำรวจพบความเสียหายแล้ว 15 จังหวัด เกษตรกร 76,923 ราย พื้นที่เสียหาย 736,182 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 650,266 ไร่ พืชไร่ 85,446 ไร่ พืชสวนและอืนๆ 448 ไร่ คิดเป็นวงเงิน 822.62 ล้านบาท จ่ายเงินช่วยเหลือแล้ว เกษตรกร 339 ราย พื้นที 3,150 ไร่ เป็นเงิน 3.51 ล้านบาทด้านปศุสัตว์ และด้านประมง ยังไม่มีรายงานได้รับผลกระทบ

 นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยหลังได้รับการรายงานจาก นายจรินทร์ คงศรีเจริญ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานเชียงใหม่ ถึงสถานการณ์น้ำในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 2 แห่ง ได้แก่ เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อำเภอแม่แตง และเขื่อนแม่กวงอุดมธารา อำเภอดอยสะเก็ด อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 12 แห่ง และอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กอีก 117 แห่ง มีปริมาณน้ำรวมกันเพียงร้อยละ 43 ของความจุอ่างฯ

 ซึ่งไม่ถึงครึ่งของความจุรวมกันทั้งหมด สถานการณ์ดังกล่าว จะส่งผลกระทบต่อการใช้น้ำโดยเฉพาะภาคการเกษตรของจังหวัดเชียงใหม่ เนื่องจากปริมาณฝนที่ตกต่ำกว่าค่าปกติ ตลอดจนน้ำท่าก็ต่ำกว่าเกณฑ์เช่นกัน ทั้งนี้ ยังมีแนวโน้มอีกว่า ในปี 2563 ตั้งแต่เดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคม 2563 ปริมาณน้ำฝนจะต่ำกว่าค่าปกติร้อยละ 5-10 ซึ่งปัจจุบันปริมาณน้ำเก็บกักในอ่างเก็บน้ำต่างๆของจังหวัดเชียงใหม่ภาพรวมในปี 2563 จะต่ำกว่าปี 2562 กว่าครึ่งหนึ่ง

 ส่วนจ.พิษณุโลก เริ่มลดลง บางพื้นที่เริ่มแห้งขอดไม่มีน้ำเป็นช่วง ๆ โดยเฉพาะในพื้นที่แม่น้ำยมที่อยู่นอกเขตชลประทาน ขณะนี้พบพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำด้านการเกษตร และอาจส่งผลกระทบกับการอุปโภคบริโภค ในพื้นที่ 5 อำเภอ ได้แก่ พรหมพิราม บางระกำ วังทอง บางกระทุ่ม และวัดโบสถ์ เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาในช่วงฤดูฝนปี 2562 อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยประมาณร้อยละ 30-35 ทำให้คาดว่าปีนี้จะแล้งยาวนานกว่า 6 เดือน และคาดว่าจะรุนแรงกว่าเทียบเท่าปี 2558 

 เบื้องต้นโครงการชลประทานพิษณุโลก ได้ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่ลดการทำนาปรังต่อเนื่อง โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทาน ส่วนในพื้นที่โครงการบางระกำโมเดล ได้มีการประกาศงดส่งน้ำทำนาปรังเช่นกัน เนื่องจากปริมาณน้ำในเขื่อนมีไม่เพียงพอที่จะสนับสนุน พร้อมกับจัดรถกระจายเสียงแจ้งเตือนเกษตรกรให้ทราบถึงสถานการณ์น้ำที่มีน้อยไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยได้ขอให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทน สำหรับแนวทางการช่วยเหลือนั้น ทางจังหวัดพิษณุโลกได้ร่วมกับโครงการชลประทานต่างๆในพื้นที่ และสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด เตรียมรถบรรทุกน้ำอุปโภคบริโภคเข้าไปช่วยเหลือประชาชนในทุกพื้นที่แล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนแก่ประชาชน

 สำหรับสถานการณ์น้ำในพื้นที่ภาคอีสานกลางหลังได้รับรายงานจากนายศักดิ์ศิริ  อยู่สุข ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 ว่า ปัจจุบัน สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดขอนแก่น และ เขื่อนจุฬาภรณ์ จังหวัดชัยภูมิ มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย สามารถสนับสนุนน้ำได้เฉพาะการอุปโภค-บริโภค และรักษาระบบนิเวศเท่านั้น

 "ปัจจุบันที่เขื่อนอุบลรัตน์ได้นำน้ำก้นอ่างมาใช้แล้วประมาณ 95 ล้านลูกบาศก์เมตร ยืนยันไม่กระทบต่อความมั่นคงแข็งแรงของตัวเขื่อน ส่วนที่เขื่อนลำปาว จังหวัดกาฬสินธุ์ มีปริมาณน้ำเก็บกักอยู่ในเกณฑ์ปกติ สามารถสนับสนุนน้ำสำหรับทุกกิจกรรมได้ไปจนถึงต้นฤดูฝนปีหน้า"   

อย่างไรก็ตามได้สั่งการให้ทุกโครงการชลประทานในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น ,ชัยภูมิ ,มหาสารคาม ,กาฬสินธุ์ และร้อยเอ็ด ประชาสัมพันธ์ ชี้แจงสถานการณ์น้ำให้ประชาชน และเกษตรกรในพื้นที่ได้รับทราบอย่างทั่วถึง พร้อมกับรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัดที่สุด อาทิเช่น ในพื้นที่ อำเภอโกสุมพิสัย อำเภอกันทรวิชัย และอำเภอเมืองมหาสารคาม โครงการชลประทานมหาสารคามและโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาติดป้ายประชาสัมพันธ์และเครื่องกระจายเสียง ออกวิ่งประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ ขอความร่วมมือให้ประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัด

สำหรับจังหวัดร้อยเอ็ด โครงการชลประทานร้อยเอ็ด และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเสียวใหญ่ ประชุมร่วมกับอาสาสมัครชลประทาน เพื่อชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงานของอาสาสมัครชลประทาน และแนวทางการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2562/2563 พร้อมส่งรถติดเครื่องขยายเสียงลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำในทุกพื้นที่

ด้านจังหวัดขอนแก่นและจังหวัดชัยภูมิ เจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำพรม-เชิญ เพื่อวางแผนแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำดิบสำหรับผลิตประปาอำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ และอำเภอชุมแพจังหวัดขอนแก่น พร้อมประชาสัมพันธ์สถานการณ์น้ำ ขอความร่วมมือใช้น้ำอย่างประหยัด และคุ้มค่าเพื่อให้มีน้ำเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภค

 นอกจากนี้ในพื้นที่จังหวัดกาฬสินธุ์ โครงการชลประทานกาฬสินธุ์และโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำปาว ได้ลงพื้นที่ประชุมคณะกรรมการจัดการชลประทาน JMC ของอ่างเก็บน้ำที่อยู่ในพื้นที่ทุกอ่างฯ เพื่อชี้แจงแผนการบริการจัดการน้ำ พร้อมชี้แจงสถานการณ์น้ำ

ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้สั่งการให้โครงการชลประทานทั่วประเทศเฝ้าระวัง และติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด รวมถึงเร่งประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบถึงสถานการณ์น้ำในทุกพื้นที่ พร้อมทั้งขอความร่วมมือทุกภาคตระหนักถึงคุณค่าของทรัพยากรน้ำ ใช้น้ำอย่างประหยัด ปฏิบัติตามแผนการจัดสรรน้ำที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตร และเพื่อให้มีน้ำเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภคตลอดฤดูแล้งนี้ไปจนถึงต้นฤดูฝนปีหน้าอย่างไม่ขาดแคลน

จาก https://www.komchadluek.net   วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2563

ฤดูแล้ง’63ทุกภาคส่วนต้องตรียมการ “รับมือ”

 หากกล่าวถึงสถานการณ์น้ำในปีนี้เมื่อก้าวเข้าสู่ฤดูแล้งปี 2562/2563 (1 พฤศจิกายน 2562 - 30 เมษายน 2563) มีความคล้ายคลึงกับฤดูแล้ง 2561/2562 คือ ปริมาณน้ำน้อย และฤดูฝน ก็เช่นเดียวกันที่ปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ย และอาจมีฝนทิ้งช่วงยาว  ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นสถานการณ์ที่น่ากังวลไม่น้อยทีเดียว ที่ต้องมีการบริหารจัดการน้ำต้นทุนที่มีอยู่เหล่านี้อย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะน้ำเพื่ออุปโภคบริโภคที่ต้องมาก่อนกิจกรรมอื่น เนืองจากกระทบกับประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศและเป็นปัจจัยพื้นฐานสำคัญ ต่อด้วยน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศ แล้วค่อยมาเป็นน้ำเพื่อเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมจากสภาพอากาศที่แห้งแล้ง ปริมาณน้ำต้นทุนที่น้อยเป็นทุนเดิม แถมฝนยังทิ้งช่วงอีก

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช. ) โดย ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการ สทนช. ติดตามสถานการณ์น้ำตลอด ได้ประชุมหน่วยงานเกี่ยวข้องครั้งสุดท้ายของปี 2562 เมื่อ 27 ธันวาคม 2562 เพื่อประเมินสถานการณ์น้ำตลอดทั้งปี 2562 และพยากรณ์สถานการณ์น้ำในปี 2563 เพื่อกำหนดมาตรการป้องกันและบรรเทาผลกระทบที่เกิดจากสถานการณ์แล้งในปีนี้

“ข้อมูลจากหน่วยงานเกี่ยวข้องสอดคล้องกันหมดว่า ฤดูแล้งจะเผชิญปัญหาขาดแคลนน้ำในวงกว้าง ในขณะเดียวกัน การพยากรณ์ฤดูฝนในปี 2563 ก็พบว่า ปริมาณฝนน้อยเหมือนปีก่อน และมีฝนทิ้งช่วงนานเช่นเดียวกัน หรืออาจถึงขั้นต้องประกาศเลื่อนเวลาทำนาปี” ดร.สมเกียรติกล่าวช่วงฤดูแล้งฝนตกน้อยตามชื่ออยู่แล้ว มีเฉพาะเขตภาคใต้ที่ฝนเข้ามาปลายปี โดยช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคมที่ผ่านมา แม้ฝนจะตกมากจนเกิดน้ำท่วมก็เป็นพื้นที่ติดชายแดนมาเลเซีย ภาคใต้ปีนี้จึงประสบปัญหาภัยแล้งด้วยเช่นกันที่มีปริมาณน้ำเป็นน้ำเป็นเนื้อ เป็นภาคตะวันตกแห่งเดียว ทั้งเขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณเป็นที่พึ่งให้กับพื้นที่ฝั่งขวาแม่น้ำท่าจีนและแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับการผลิตน้ำประปาคลองมหาสวัสดิ์และใช้สะกัดกั้นผลักดันน้ำเค็มบริเวณคลองบางกอกน้อยไม่ให้กระทบแหล่งน้ำดิบของการประปานครหลวง ที่ ต.สำแล อ.เมือง จ.ปทุมธานี

“ปีนี้ภัยแล้งรุนแรงพอๆ กับปี 2558 ทั้งเรื่องปริมาณน้ำและการรุกล้ำของน้ำเค็มมาเร็วและรุนแรงมากกว่าปี 2558 การประปานครหลวงกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ ต้องทำแผนร่วมกันให้ชัดเจนเพื่อลดความเสี่ยงให้ได้ ซึ่ง สทนช. จะติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิดและเป็นรูปธรรม”

ข้อมูลสถานการณ์น้ำของ สทนช. บ่งชี้ภัยแล้งได้ดีทีเดียว โดยพบว่า แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 14 แห่ง จาก 38 แห่ง และขนาดกลาง 91 แห่ง จาก 354 แห่ง มีปริมาณน้ำน้อยกว่า 30% ของความจุ

แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 11 แห่ง ได้แก่ เขื่อนแม่กวง เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแม่มอก เขื่อนทับเสลา เขื่อนกระเสียว  เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนลำแซะ เขื่อนลำนางรอง เขื่อนป่าสักฯ เขื่อนคลองสียัด และเขื่อนหนองปลาไหล

แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 27 แห่ง และขนาดกลาง 213 แห่ง มีปริมาณน้ำ 30-80% อันนี้ก็ยังแค่ประคับประคองตัวเองได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น ขึ้นอยู่กับว่าแต่ละแห่งมีปริมาณน้ำมากน้อยระดับใดในช่วงระหว่าง 30 - 80%ที่มีความมั่นคงสูงต้องมีปริมาณน้ำ 80 - 100% ซึ่งมีแหล่งน้ำขนาดกลาง 68 แห่ง แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 3 แห่ง และมีน้ำมากกว่า 100% เป็นแหล่งน้ำขนาดกลาง 5 แห่ง ไม่มีแหล่งน้ำขนาดใหญ่เลย

แหล่งน้ำขนาดกลางแม้จะมีจำนวนมากถึง 354 แห่ง แต่นิยามความจุของแหล่งน้ำขนาดกลางมีตั้งแต่ 2 -100 ล้านลูกบาศก์เมตร ฉะนั้นความจุรวมจึงไม่ได้มาก พื้นที่ส่งน้ำก็มีจำกัด ผิดกับแหล่งน้ำขนาดใหญ่ความจุเกินกว่า 100 ล้าน ลบ.ม. ขึ้นไปทำหน้าที่เป็นตัวหลักในพื้นที่ชลประทานในทุกวันนี้

ปัญหาภัยแล้งเริ่มชัดเจนตามลำดับ พื้นที่การเกษตรหลายจังหวัด เริ่มมีภาพการขาดแคลนน้ำ ต้นข้าวเริ่มยืนต้นตาย บางแห่งผู้ว่าราชการจังหวัดประกาศงดทำนาปรัง เพื่อรักษาน้ำไว้สำหรับอุปโภคบริโภค เฉพาะในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยามีการทำนาปรังมากร่วม 3 ล้านไร่ ซึ่งเชื่อว่าในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2563 มีโอกาสขาดแคลนน้ำค่อนข้างแน่นอน ยิ่งเป็นการซ้ำเติมความแห้งแล้งหนักมือยิ่งขึ้น

ลมหนาวปลายปีและอาจขยายถึงต้นปี มีส่วนทำให้น้ำในแหล่งน้ำระเหยได้เร็วขึ้นและมากขึ้นสทนช. ยังมองข้ามถึงฤดูฝน 2563 ข้อมูลจากหน่วยงานเกี่ยวข้องไม่ว่า กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ ล้วนให้คำยืนยันเหมือนกันว่า ปริมาณฝนน้อยไม่ต่างจากปีกลาย และฝนจะทิ้งช่วงยาวไม่น้อยกว่า 2 เดือน เช่นกัน ทำให้ต้องเลื่อนการปลูกข้าวนาปีที่อาศัยน้ำฝนเป็นหลักไปเป็นเดือนกรกฎาคม จากปกติจะเริ่มทำนาปีตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเป็นข้อมูลและภาพรวมสถานการณ์น้ำของประเทศที่ทุกภาคส่วนต้องตรียมการรับมือ ไม่ตระหนัก แต่ควรตระหนัก โดยเฉพาะประชาชนคนไทยทุกคนในการ “ประหยัดน้ำ” เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ยากที่จะลงมือทำ

จาก https://www.banmuang.co.th    วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2563

"สมคิด" เร่งอีอีซีสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุน

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยภายหลังเข้าตรวจเยี่ยมสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.) พร้อมด้วยนายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)  สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มาหารือ เพื่อเร่งรัดการลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ให้คืบหน้าในปี 2563 โดยจะต้องเน้นสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนต่างชาติ ท่ามกลางสถานการณ์การเมืองเป็นแบบปัจจุบัน โดต้องอาศัยปัญหาเชิงลบภายนอกประเทศ ที่จะทำให้นักลงทุนไหลเข้ามายังไทย

ทั้งนี้จึงต้องการเร่งรัด  4 โครงการหลัก ทั้งท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบัง มาบตาพุด อาคารผู้โดยสารสนามบินอู่ตะเภา  และศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน ต้องชัดเจนภายในครึ่งปีแรก เพราะขณะนี้แอร์บัสและรายอื่นสนใจเข้ามาร่วม จึงต้องการให้การบินไทยเร่งรัดข้อสรุป ไม่เช่นนั้นจะเปิดให้รายอื่นเข้ามาร่วมแทน หรืออาจจะทำให้ประเทศเวียดนามนั้นดึงผู้เล่นในตลาดไปลงทุนภายในแทนประเทศไทย ขณะเดียวกันก็ต้องการเร่งรัดโครงการขนาดใหญ่ โดยเฉพาะโครงการสมาร์ทซิตี้ ที่ต้องการให้ตั้งคณะทำงานบริการและเร่งให้สามารถลงทุนได้ภายในปีนี้ โดยจะต้องตั้งคณะทำงาร่วมกันเพื่อผลักดันแผนการทำงานไม่ใช่ใมันอยู่แค่ในกระดาษ

"การทำงานของราชการไทยนั้นมีเวลายาวนานเกินไป อยากให้ตัด ๆ ขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออกไปหน่อย เพราะเราไม่ได้ต้องการให้ลูกหลายมาสานต่องาน ต้องมีคนทำงานที่มีความรู้และความคิดจริง ๆ ถ้าทุกฮย่างสามารถสรุปได้ภายในไตรมาสแรกของปีนี้ ก็จะสามารถดำเนินการก่อสร้างลงทุนได้ภายในไตรมาสที่ 3-4 ของปีนี้ โครงการที่เป็นแฟล็คชิปจะต้องเกิดในปีนี้ การพัฒนาเมืองใหม่หรือสมาร์ทซิตี้ต้องจริงจัง และการพัฒนาที่อยู่อาศัยจะต้องตามมา ถึงจะทำให้สร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนได้"นายสมคิด กล่าว

อย่างไรก็ตามแผนที่ต้องทำต่อไป เช่น  โครงการตลาดไทยเด็ด ขายสินค้าชุมชน ของ บมจ.ปตท. ไม่ใช่เรื่องเพื่อสังคม(ซีเอสอาร์) แต่กลายเป็นยุทธศาสตร์หลักธุรกิจไปแล้ว โดยต้องส่งเสริมการท่องเที่ยว พัฒนานโยบายเมืองรอง ต้องโฟกัสเชื่อมโยงภาคท่องเที่ยว มอบหมายให้คลังดูแลความยากจน กระทรวงอุตสาหรกรรม นำภาคเกษตรแปรรูปมาร่วม  เพื่อร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ขอให้ทุกหน่วยงานสื่อสารกับชาวบ้าน ชุมชนในพื้นที่มีความเข้าใจ เพื่อให้มีส่วนร่วม

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ กพอ. กล่าวว่า การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในอีอีซีจำนวนเงิน 650,000 ล้านบาท จะเห็นภายในปลายปีนี้ หลังจากศาลปกครองพิจารณาให้เดินหน้าเปิดประมูลพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังได้ คาดว่าไตรมาส 1 จะสรุปแนวทางและเปิดประมูลจากภาคเอกชน  ประชากรในอีอีซี 3.4 ล้านคน วัยเรียน 1.2 ล้านคน ต้องพัฒนาให้เป็นคนรุ่นใหม่ 340,000 ราย ร่วมกับสถาบันการศึกษาพัฒนาบุคลากร โดยขอบัณฑิตอาสาเพื่อร่วมสร้างบุคคลากรรองรับผู้ประกอบการ สิทธิประโยชน์มีทั้งบีโอไอและของอีอีซี  สำหรับการสร้างเมืองใหญ่ให้เร่งวางแนวคิด เพื่อสร้างแหล่งอยู่ศัย  ตั้งคณะทำงานขึ้นมาเร่งรัดวางแผน โดยมีนายคณิศ เป็นประธาน เบี้องต้นการพัฒนาที่อยู่อาศัยไม่ต้องทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) สร้างชุมชนในเมืองใหม่

"การลงทุนของอีอีซีจะแบ่งเป็น 2 ส่วนคือการลงทุนจริงอุตสาหกรรมทั่วไป ที่เราจะพยายามดึงดูดมาให้ได้ปีละแสนกว่าล้านบาท และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 6.5 แสนล้านบาท หากหาร 5 ปีก็จะตกปีละแสนกว่าล้าน เมื่อรวมกันก็จะอยู่ที่ประมาณปีละ 300,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเป้าหมายที่เราวางไว้ โดยจำนวนเงินดังกล่าวจะสามารถกระตุ้นการเติบโต หรือจีดีพีของประเทศได้ 1.5-2% ขณะที่การลงทุนในปี 2562 ที่ผ่านมา เป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น  404,982 ล้านบาท เกิดการจ้างงานทั้งสิ้น 44,571 ตำแหน่ง และเกิดโรงงานใหม่ 450 โรงงาน"นายคณิศ กล่าว

จาก https://www.thaipost.net   วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2563

จับตา ‘บาทแข็ง’กดดันส่งออกไทยปี 63

เปิดศักราชปี 2563 ก็เจอกับพิษบาทแข็งส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ โดยค่าเงินบาทหลุด 30 บาทต่อดอลลาร์ มาเคลื่อนไหวสู่ระดับ 29.50 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้เอาผู้ส่งออกสะดุ้งกับเป็นแถวๆ เพราะพิษบาทแข็งส่งผลต่อการส่งออกของไทยโดยตรง

นักวิเคราะห์หลายคนเห็นว่า ค่าเงินบาทในปี 2563 มีโอกาสที่จะแข็งค่าขึ้นไปอยู่ที่ระดับถึง 28.70 บาทต่อดอลลาร์

ในปีที่ผ่านมาการส่งออกของไทยโดนพิษเงินบาทซ้ำเติมนอกเหนือจากผลกระทบสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน นักวิชาการและภาคเอกชนต่างออกมาเป็นเสียงเดียวว่า การส่งออกไทยปี 2562 จะติดลบอย่างแน่นอน ซึ่งถือว่าเป็นการติดลบครั้งแรกในรอบ 4 ปี

ขณะที่ปี 2563 ภาคเอกชนคาดการณ์ว่า การส่งออกน่าจะขยายตัว 0-1 % โดยยังมีปัจจัยสำคัญมาจากปัญหาสงครามการค้า แม้ว่าการเจรจาระหว่างสหรัฐและจีนในเดือนธ.ค.ที่ผ่านมาจะบรรลุข้อตกลงจะทำให้เพิ่มโอกาสการส่งออกสินค้าได้มากก็ตาม ขณะที่ปัญหาค่าเงินบาทยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ภาคเอกชนมีความกังวล เพราะทำให้ความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกลดลงไม่สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้

ล่าสุดสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย(สรท.)ต้องนัดถกธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ในวันที่ 10 ม.ค.ให้เร่งแก้ปัญหาก่อนที่ค่าเงินบาทจะแข็งค่ามากไปกว่านี้ ซึงต้องจับตาว่า จะมีแนวทางอย่างไรออกมาบ้างเพื่อทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น   นอกจากปัญหาค่าเงินบาทแล้วยังมีความไม่แน่นอนของการถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป(อียู)ของอังกฤษหรือเบรทซิท เพราะตลาดอียูและตลาดอังกฤษถือเป็นตลาดหลักในการส่งออกของไทยตลาดหนึ่ง รวมทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

ด้านกระทรวงพาณิชย์ จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่วางเป้าหมายการส่งออกในปี 2563 แต่ก็ยอมรับว่า 3 % ที่รัฐบาลต้องการผลักดันเพื่อให้เศรษฐกิจไทยปี 63 ขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ไม่ต่ำกว่า 2.8% เป็นไปได้ยากท่ามกลางปัญหาที่รุมเร้าการส่งออกของไทย แต่ก็ยังมีความหวังว่า เศรษฐกิจโลกในปีนี้จะฟื้นตัว

เบื้องต้นจะมีการประชุมร่วมคณะกรรมการภาครัฐและเอกชน หรือกรอ.พาณิชย์  เพื่ออหาแนวทางที่จะส่งเสริมและผลักดันการส่งออกกลางเดือนนี้  พร้อมกับสั่งการให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ หรือทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ ทำการสำรวจโอกาสทางการตลาดให้กับสินค้าไทยและนำผลมาวิเคราะห์ในการประชุมเดือน ก.พ.เพื่อวางเป้าหมายการส่งออกปี 2563 อย่างเป็นทางการ

ส่วนแผนผลักดันการส่งออกสินค้าและบริการไทยนั้นได้วางแผนเจาะตลาดเชิงลึกตามนโยบายของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ทั้งตลาดเก่าเดิม เช่น จีน ญี่ปุ่น เยอรมนี อังกฤษ สหภาพยุโรป ตลาดใหม่ เช่น อินเดีย ตุรกี ศรีลังกา บังคลาเทศ แอฟริกาใต้ ตลาดฟื้นฟู เช่น ตะวันออกกลาง และตลาดCLMVเช่น กัมพูชา ซึ่งประเทศใหญ่อย่างจีนและอินเดียจะเจาะตลาดลึกเป็นรายมณฑล และรายรัฐ

การส่งอออกไทยปี 2563 ต้องกับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2562 และยังไม่นับรวมกับปัญหาใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างปี จึงถือเป็นโจทย์หินที่ทำให้รัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ต้องเหนื่อยต่อไปในการฟันฝ่าปัญหานี้ไปให้ได้เพื่อประคองการส่งออกของไทยให้อยู่ได้ท่ามกลางวิกฤตที่รุมเร้า

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2563

เพลิงไหม้โรงงานผลิตน้ำตาล คาดอาจเกิดจากการทำงานหนัก

เมื่อเวลา 14.00 น.วันนี้ (6 มกราคม 2563) ร.ต.อ.ชัยวัฒน์ เศรษฐสุข ร้อยเวร สภ.บางม่วง จ.นครสวรรค์ ได้รับแจ้งว่ามีเหตุเพลิงไหม้ภายในงานผลิตน้ำตาล ของโรงงานเกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น (รวมผล) พื้นที่หมู่ 7 ต.บ้านมะเกลือ อ.เมืองนครสวรรค์ จึงรีบเดินทางไปตรวจสอบที่เกิดเหตุ พบว่า มีรถดับเพลิง 5 คัน จากองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครสวรรค์ เทศบาลนครนครสวรรค์ เทศบาลตำบลเก้าเลี้ยว และอบต.บ้านมะเกลือ พร้อมนักพจญเพลิงอีกจำนวนหนึ่ง กำลังช่วยกันระดมฉีดน้ำสกัดไฟจากต้นเพลิงที่โหมลุกไหม้อยู่ภายในห้องสายพานลำเลียงกากอ้อย โดยมีเจ้าหน้าที่ของโรงงานดังกล่าว ต้องทำการปิดกั้นโซนของโรงงานที่กำลังเกิดไฟไหม้ เพื่อกันไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปใกล้จุดอันตราย จนกระทั่ง เวลาผ่านเลยไปราว 20 กว่านาที ทางเจ้าหน้าที่จึงสามารถความคุมเพลิงเอาไว้ได้สำเร็จ

จากการสอบถามพนักงานของโรงงานรายหนึ่ง เปิดเผยว่า โซนที่เกิดเพลิงไหม้ เป็นห้องสายพานลำเลียงแท่งกากอ้อย เพื่อนำไปผลิตไฟฟ้าส่งขาย แต่ในระหว่างที่เจ้าหน้าที่คุมเครื่องและเครื่องจักรกำลังทำงานอยู่นั้น จู่ๆ ก็เกิดไฟลุกไหม้ที่สายพาน ซึ่งก็ได้มีการนำถังดับเพลิงมาระดมฉีดเพื่อดับไฟแล้วแต่เอาไม่อยู่ จนต้องรีบแจ้งตำรวจให้ช่วยประสานรถดับเพลิงมาช่วยดับไฟดังกล่าว

เบื้องต้น จากการตรวจสอบพบว่า เครื่องลำสายพานถูกไฟไหม้ได้รับความเสียหายหนัก คาดว่า มูลค่าความเสียหายที่จะต้องซ่อมแซมน่าจะไม่ต่ำกว่า 1 ล้านบาท ส่วนสาเหตุของการเกิดไฟไหม้ครั้งนี้ อาจเกิดจากการที่เครื่องทำงานอย่างหนัก จนทำให้เกิดความร้อนจัด และเกิดไฟลุกไหม้ ซึ่งจะมีการตรวจสอบหาสาเหตุอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง

จาก https://www.komchadluek.net   วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2563

ทนช.แจ้ง8จว.ริมโขง n เขื่อนจิ่งหงปรับลดระบายน้ำ

สทนช. แจ้งผู้ว่าฯ 8 จังหวัดริมโขง พร้อมหน่วยเกี่ยวข้อง เตือนระดับน้ำโขงลดอีก หลังจีนมีหนังสือแจ้งเขื่อนจิ่งหงปรับลดการระบายน้ำช่วงปีใหม่

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า กระทรวงทรัพยากรน้ำสาธารณรัฐประชาชนจีน มีหนังสือถึงสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติในฐานะสำนักเลขาธิการคณะกรรมาธิการแม่น้ำโขงฝ่ายไทย ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2562 เรื่อง แจ้งข้อมูลการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าพลังน้ำจิ่งหงที่จะเริ่มปรับลดการระบายน้ำจากเขื่อนจิ่งหง ซึ่งตั้งอยู่ชายแดนสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อดำเนินการทดสอบอุปกรณ์ของโรงผลิตไฟฟ้าพลังน้ำ จากวันที่ 27-31 ธ.ค 2562 อัตราการระบายน้ำอยู่ที่ 1,200-1,400 ลูกบาศก์เมตร/วินาที จะเริ่มลดระบายน้ำลงช่วงวันที่ 1-3 ม.ค.2563 จะค่อยๆ ลดลงเป็น 800-1,000 ลูกบาศก์เมตร/วินาที และลดลงต่ำสุดวันที่ 4 ม.ค.2562 ระบายน้ำอยู่ที่ 504-800 ลูกบาศก์เมตร/วินาที หลังจากนั้นจะปรับเพิ่มการระบายน้ำจนกลับเข้าสู่สถานะการทำงานปกติ

ทั้งนี้ สทนช.ออกหนังสือแจ้งเป็นทางการไปยังกระทรวงมหาดไทย และผู้ว่าราชการ 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขง ได้แก่ จ.เชียงราย เลย นครพนม หนองคาย มุกดาหาร บึงกาฬ อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี รวมถึงแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมเจ้าท่า รับทราบสถานการณ์ เพื่อเฝ้าระวังและช่วยเหลือประชาชนในพื้นที่ รวมถึงกรมประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลข่าวสารประชาชน 8 จังหวัดริมแม่น้ำโขงรับทราบสถานการณ์ คาดว่าระดับน้ำโขงจะลดลงอีกในช่วงเวลาดังกล่าว แบ่งเป็น อ.เชียงแสน จ เชียงราย เริ่มมีผลช่วงวันที่ 2-4 ม.ค 2563 ลดลงประมาณ 40-60 ซม. และในวันที่ 5 ม.ค.2563 จะลดเพิ่มอีก 30-50 ซม. ขณะที่ อ.เชียงคาน จังหวัดเลย ระดับน้ำเริ่มลดลงช่วงวันที่ 8-11 ม.ค.2563 อ.เมือง จ.หนองคาย ช่วงวันที่ 10-13 ม.ค.2563 อ.เมือง จ.บึงกาฬ ช่วงวันที่ 11 –14 ม.ค.2563 อ.เมือง จ.นครพนม ช่วงวันที่ 12-15 ม.ค.2563 อ.เมือง จ.มุกดาหาร ช่วงวันที่ 13-16 ม.ค.2563 อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ วันที่ 13-16 ม.ค. 2563 และ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ช่วงวันที่ 16-19 ม.ค. 2563 ตามลำดับ โดยจะมีระดับน้ำลดลง เฉลี่ย 40-60 ซม. เมื่อเขื่อนจิ่งหงลดการระบายน้ำ 1,000-800 ลบ.ม./วินาที และจะลดเพิ่มอีก 30-50 ซม.เมื่อลดการระบายน้ำที่ 504-800 ลบม./วินาที

จาก https://www.naewna.com วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2563

จับตา ‘บาทแข็ง’กดดันส่งออกไทยปี 63

เปิดศักราชปี 2563 ก็เจอกับพิษบาทแข็งส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ โดยค่าเงินบาทหลุด 30 บาทต่อดอลลาร์ มาเคลื่อนไหวสู่ระดับ 29.50 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้เอาผู้ส่งออกสะดุ้งกับเป็นแถวๆ เพราะพิษบาทแข็งส่งผลต่อการส่งออกของไทยโดยตรง

นักวิเคราะห์หลายคนเห็นว่า ค่าเงินบาทในปี 2563 มีโอกาสที่จะแข็งค่าขึ้นไปอยู่ที่ระดับถึง 28.70 บาทต่อดอลลาร์

ในปีที่ผ่านมาการส่งออกของไทยโดนพิษเงินบาทซ้ำเติมนอกเหนือจากผลกระทบสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน นักวิชาการและภาคเอกชนต่างออกมาเป็นเสียงเดียวว่า การส่งออกไทยปี 2562 จะติดลบอย่างแน่นอน ซึ่งถือว่าเป็นการติดลบครั้งแรกในรอบ 4 ปี

ขณะที่ปี 2563 ภาคเอกชนคาดการณ์ว่า การส่งออกน่าจะขยายตัว 0-1 % โดยยังมีปัจจัยสำคัญมาจากปัญหาสงครามการค้า แม้ว่าการเจรจาระหว่างสหรัฐและจีนในเดือนธ.ค.ที่ผ่านมาจะบรรลุข้อตกลงจะทำให้เพิ่มโอกาสการส่งออกสินค้าได้มากก็ตาม ขณะที่ปัญหาค่าเงินบาทยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ภาคเอกชนมีความกังวล เพราะทำให้ความสามารถในการแข่งขันของผู้ส่งออกลดลงไม่สามารถแข่งขันกับประเทศคู่แข่งได้

ล่าสุดสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย(สรท.)ต้องนัดถกธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ในวันที่ 10 ม.ค.ให้เร่งแก้ปัญหาก่อนที่ค่าเงินบาทจะแข็งค่ามากไปกว่านี้ ซีงต้องจับตาว่า จะมีแนวทางอย่างไรออกมาบ้างเพื่อทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น   นอกจากปัญหาค่าเงินบาทแล้วยังมีความไม่แน่นอนของการถอนตัวออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป(อียู)ของอังกฤษหรือเบรทซิท เพราะตลาดอียูและตลาดอังกฤษถือเป็นตลาดหลักในการส่งออกของไทยตลาดหนึ่ง รวมทั้งการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก

ด้านกระทรวงพาณิชย์ จนถึงขณะนี้ก็ยังไม่วางเป้าหมายการส่งออกในปี 2563 แต่ก็ยอมรับว่า 3 % ที่รัฐบาลต้องการผลักดันเพื่อให้เศรษฐกิจไทยปี 63 ขยายตัวได้ตามเป้าหมายที่ไม่ต่ำกว่า 2.8% เป็นไปได้ยากท่ามกลางปัญหาที่รุมเร้าการส่งออกของไทย แต่ก็ยังมีความหวังว่า เศรษฐกิจโลกในปีนี้จะฟื้นตัว

เบื้องต้นจะมีการประชุมร่วมคณะกรรมการภาครัฐและเอกชน หรือกรอ.พาณิชย์  เพื่ออหาแนวทางที่จะส่งเสริมและผลักดันการส่งออกกลางเดือนนี้  พร้อมกับสั่งการให้ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ หรือทูตพาณิชย์ที่ประจำอยู่ในประเทศต่างๆ ทำการสำรวจโอกาสทางการตลาดให้กับสินค้าไทยและนำผลมาวิเคราะห์ในการประชุมเดือน ก.พ.เพื่อวางเป้าหมายการส่งออกปี 2563 อย่างเป็นทางการ

ส่วนแผนผลักดันการส่งออกสินค้าและบริการไทยนั้นได้วางแผนเจาะตลาดเชิงลึกตามนโยบายของนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ทั้งตลาดเก่าเดิม เช่น จีน ญี่ปุ่น เยอรมนี อังกฤษ สหภาพยุโรป ตลาดใหม่ เช่น อินเดีย ตุรกี ศรีลังกา บังคลาเทศ แอฟริกาใต้ ตลาดฟื้นฟู เช่น ตะวันออกกลาง และตลาดCLMVเช่น กัมพูชา ซึ่งประเทศใหญ่อย่างจีนและอินเดียจะเจาะตลาดลึกเป็นรายมณฑล และรายรัฐ

การส่งอออกไทยปี 2563 ต้องกับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2562 และยังไม่นับรวมกับปัญหาใหม่ที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างปี จึงถือเป็นโจทย์หินที่ทำให้รัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ต้องเหนื่อยต่อไปในการฟันฝ่าปัญหานี้ไปให้ได้เพื่อประคองการส่งออกของไทยให้อยู่ได้ท่ามกลางวิกฤตที่รุมเร้า

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2563

กรมชลสั่งแผนรับมือน้ำทะเลหนุน 8-9 ม.ค.นี้

อธิบดีกรมชลประทานรับสถานการณ์น้ำทะเลหนุนสูงอีกระลอก 8-9 มกราคมนี้ ด้านกรมอุตุฯคาดสิ้นเดือนกรกฎาคมไทยพ้นแล้ง

นายทองเปลว  กองจันทร์  อธิบดีกรมชลประทาน  เปิดเผยว่า  ได้ดำเนินการสั่งการให้สำนักงานโครงการชลประทานที่ 11 เตรียมแผนบริหารจัดการประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ ตำบลทรงคะนอง อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการเป็นเครื่องมือเสริมในการควบคุมค่าความเค็มของแม่น้ำเจ้าพระยาไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการผลิตน้ำประปาและภาคการเกษตร เสริมจากการระบายน้ำจากท้ายเขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาทและผันน้ำแม่น้ำแม่กลองมาผลักดันความเค็มในช่วงน้ำทะเลหนุนสูงอีกครั้งวันที่ 8-9 มกราคมนี้  โดยในช่วงน้ำทะเลลงจะเปิดประตูระบายน้ำเพื่อผลักดันน้ำแม่น้ำเจ้าพระยาออก ส่วนช่วงน้ำทะเลขึ้นจะปิดประตูระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำทะเลไหลเข้ามาสู่แม่น้ำเจ้าพระยา

ทั้งนี้  ปัจจุบันระบายน้ำท้ายเขื่อนเจ้าพระยามาในอัตรา 85 ลูกบาศก์เมตร (ลบ. ม.) ต่อวินาที โดยยังคงรักษาระดับน้ำหน้าเขื่อนเจ้าพระยาไม่ให้ต่ำกว่าเกณฑ์ควบคุมไว้ได้เนื่องจากก่อนหน้านี้ได้เพิ่มการระบายน้ำจาก 4 เขื่อนหลักได้แก่ ภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยบำรุงแดน และป่าสักชลสิทธิ์มาสำรองไว้ที่หน้าเขื่อนเจ้าพระยาไว้แล้ว ซึ่งจะระบายมาเจือจางค่าความเค็มด้านท้ายลุ่มน้ำเจ้าพระยา นอกจากนี้ยังผันน้ำจากแม่น้ำแม่กลองทางคลองจรเข้สามพันและคลองท่าสาร-บางปลามายังแม่น้ำท่าจีนในอัตรา 25 ลบ.ม.ต่อวินาที  แล้วระบายผ่านคลองพระยาบันลือลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งมั่นใจว่า จะควบคุมค่าความเค็มไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการผลิตน้ำประปา การเพาะเลี้ยงกล้วยไม้ และการทำการเกษตรพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาด้านท้ายได้

นายทองเปลว กล่าวต่อไปว่า ค่าความเค็มอาจสูงกว่าเกณฑ์เฝ้าระวังในช่วงที่น้ำทะเลขึ้นได้ซึ่งประสานกับการประปานครหลวงแล้วเพื่อให้งดสูบน้ำที่ที่สถานีสูบน้ำดิบสำแล จ. ปทุมธานีในช่วงน้ำทะเลขึ้น เมื่อน้ำทะเลลงและตรวจวัดค่าความเค็มไม่เกิน 0.5 กรัมต่อลิตรจึงสูบส่งมาต่อมายังโรงกรองน้ำบางเขนเพื่อผลิตน้ำประปาตามปกติ

สำหรับการระบายน้ำจาก 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา ระบายวันละ 18 ล้านลบ.ม. ปรับลดจากช่วงก่อนปีใหม่ที่ระบายวันละ 28 ล้านลบ.ม. เพื่อมาสำรองไว้สำหรับควบคุมค่าความเค็ม จากนี้ไปจะคงการระบายที่ 18 ล้านลบ.ม. ต่อวันจนสิ้นสุดฤดูแล้งและต่อเนื่องถึงต้นฤดูฝน

จาก www.thansettakij.com  วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2563

พาณิชย์ประเดิมเป็นเจ้าภาพประชุม JTC ไทย-บังกลาเทศ

พาณิชย์ประเดิมเจรจาการค้าปี 63 เป็นเจ้าภาพประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า (JTC) ไทย-บังกลาเทศ ปูทางสู่เป้าหมายการค้า 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ภายในปี 2564

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย – บังกลาเทศ ครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 7 - 8 มกราคม 2563 โรงแรมอนันตรา สยาม กรุงเทพฯ โดยมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์และนาย Tipu Munshi รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์บังกลาเทศ เป็นประธานร่วม ซึ่งจะมีการหารือประเด็นสำคัญ เช่น การขยายการค้าและการลงทุน การส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในด้านต่าง ๆ อาทิ อุตสาหกรรม เกษตร ประมงและปศุสัตว์ บริการสุขภาพและสาธารณสุข และโครงสร้างพื้นฐาน และความเป็นไปได้ในการจัดทำ FTA ไทย – บังกลาเทศ เป็นต้น เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนการค้าและการลงทุน 2 ฝ่ายให้ขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพในอนาคต

สำหรับช่วงบ่ายวันที่ 8 มกราคม 2563 จะมีการสัมมนาหัวข้อ “แบ่งปันกลยุทธ์ บุกเจาะตลาดบังกลาเทศ” โดยมีนักธุรกิจไทยที่ประสบความสำเร็จในตลาดบังกลาเทศมาร่วมแบ่งปันความรู้และประสบการณ์ และมีวิทยากรจากหน่วยงานภาครัฐของบังกลาเทศร่วมให้ข้อมูลกฎระเบียบทางการค้าและประกอบธุรกิจในบังกลาเทศ ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนได้ที่ URL : regis.dtn.go.th (รหัสการลงทะเบียน : 8000) ภายในวันจันทร์ที่ 6 มกราคม 2563 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0 2507 7513

นางอรมน กล่าวเพิ่มเติมว่า บังกลาเทศเป็นตลาดใหม่ที่มีศักยภาพสูงในภูมิภาคเอเชียใต้ มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างก้าวกระโดดร้อยละ 6 – 8 ต่อปี มีประชากรกว่า 160 ล้านคน มีทรัพยากรทางธรรมชาติจำนวนมาก เช่น ก๊าซธรรมชาติ ป่าไม้ และถ่านหิน มีกฎระเบียบที่เอื้อต่อการค้าและการลงทุน โดยบังกลาเทศได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีฝ่ายเดียว หรือจีเอสพี จาก 47 ประเทศทั่วโลก รวมถึงมีศักยภาพในการเป็นประตูการค้าสู่ประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้ และประเทศสมาชิกองค์การความร่วมมืออิสลาม ( OIC) กว่า 57 ประเทศ ดังนั้น การประชุมครั้งนี้จึงเป็นโอกาสดีที่ทั้ง 2 ประเทศจะกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

ทั้งนี้ ในปี 2561 บังกลาเทศเป็นคู่ค้าอันดับที่ 39 ของไทยในตลาดโลก และเป็นอันดับ 3 ในภูมิภาคเอเชียใต้ รองจากอินเดียและปากีสถาน มีมูลค่าการค้ารวม 1,259.45 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการส่งออกไปบังกลาเทศ 1,200.21  ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้าจากบังกลาเทศ 59.24 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับในช่วง 11 เดือนแรกของปี 2562 (ม.ค.-พ.ย.) การค้ารวมมีมูลค่า 980.4 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการส่งออกจากไทยไปบังกลาเทศ 905.10 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีสินค้าส่งออกสำคัญ เช่น ปูนซิเมนต์ เม็ดพลาสติก ผ้าผืน เคมีภัณฑ์ เหล็ก และรถยนต์และส่วนประกอบ เป็นต้น และเป็นการนำเข้าจากบังกลาเทศ 75.30 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีสินค้านำเข้าสำคัญ เช่น เสื้อผ้าสำเร็จรูป น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องมือเครื่องใช้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์และการแพทย์ เครื่องใช้เบ็ดเตล็ด และผลิตภัณฑ์สิ่งทอ เป็นต้น

จาก https://www.mcot.net วันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2563

ชาวไร่อ้อยระทม ราคาตกฮวบเหลือแค่ตันละ 720 บาท ขายไม่คุ้มทุน วอนรัฐบาลเหลียวแล

ผู้สื่อข่าว จ.ปราจีนบุรี ได้รับการเปิดเผยจาก เกษตรกรชาวไร่อ้อยในพื้นที่ อ.กบินทร์บุรี 2 ตำบล ต.วังท่าช้าง และ ต.เขาไม้แก้ว เปิดเผยว่า   ปีนี้ราคาผลิตของชาวไร่อ้อยตกต่ำกว่าปีที่ผ่านมาเฉลี่ยขายได้ราคาตันละเพียง720 บาท    เกษตรกรชาวไร่อ้อยบอกเป็นเสียงเดียวกันว่าปีนี้ราคาอ้อยตกต่ำมากจนน่าใจหาย ก่อนหน้ามีปัญหาแรงงานยังหายาก ที่ต้องพึ่งพาจากแรงงานต่างด้าวเป็นหลัก การปลูกอ้อยของเกษตรกรเป็นการผูกขาดกับโรงงานน้ำตาลโดยปริยายหากว่าลงมือปลูกอ้อยหลายปีติดต่อกัน

นายทองคำ ฉิมหัตถ์เกษตรกรชาวไร่อ้อยเป็นอีกคนหนึ่งที่ปลูกอ้อยมากว่า 10 ปีในแต่ละปีราคาอ้อยจะแตกต่างกันทุกปีส่วนใหญ่ราคาจะไม่คงที่หรือเพิ่มขึ้น ปีที่แล้วราคาอ้อยตกตันละ 800 กว่าบาท แต่ปีนี้ราคาตกลงไปอยู่ที่ตันละ 720 บาท เกษตรกรยังจะต้องจ่ายแรงงานตัดตันละ200 บาท   ค่ารถบรรทุกตันละ 170 บาท ค่ารถคีบใส่รถบรรทุกตันละ 70 บาท ทั้งนี้ยังไม่รวมการลงทุนการผลิต  อาทิ  ค่าต้นพันธ์ ค่ารถไถปลูกค่าปุ๋ยอีกต่างหาก

ก่อนหน้านี้ราคาอ้อยเฉลี่ยตันละ 900- 1,00กว่าบาทก็ยังพอเหลือบ้าง ระยะหลังทุกคนต่างรับภาระขาดทุนทุกปียากที่จะแก้ไขหรือปลดหนี้ได้   หากว่าราคาอ้อยยังตกต่ำอยู่อย่างนี้ ที่ผ่านมายังมองไม่เห็นว่าภาครัฐบาลจะช่วยเหลือได้ เมื่อลงทุนทำแล้วต้องสู้ทนรับสภาวะกันต่อไป  วอนให้ทางรัฐบาลได้เห็นใจและลงมาเหลียวแลบ้าง

จาก https://www.banmuang.co.th   วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2563

ฝ่าวิกฤติแล้งคลอดมาตรการอุ้มเกษตรกร 30 ล้านคน

“เฉลิมชัย” กางแผนรับมือภัยแล้งปี 63 เข้มข้น เล็งเพิ่มพื้นที่แหล่งน้ำ 421 โครงการ พร้อมสร้างงาน เพิ่มรายได้ ให้เกษตรกรด้วยสารพัดเมนู “ประภัตร” ประเมินผลกระทบเกษตรกร 30 ล้านคน               

วันที่ 3 มกราคม 2563 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยว่าในปี2563 จะมีการก่อสร้างแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ขนาดเล็กและแก้มลิง โดยจะดำเนินการในปี 2563  รวมทั้งสิ้น 421  โครงการ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จทั้งโครงการจะเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 1,232,121 ไร่ และปริมาตรเก็บกัก 942.00 ล้าน ลบ.ม. สำหรับในปี 2563 โครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จจะได้พื้นที่ชลประทาน 176,968 ไร่ และปริมาตรน้ำเก็บกัก 199.54 ล้าน ลบ.ม.

“ปัจจุบันสภาพฝนมีความผันแปรสูงมาก ส่งผลกระทบต่อปริมาณน้ำท่าและน้ำในแหล่งเก็บกักน้ำโดยเฉพาะอย่างยิ่งในปี 2562 ในลุ่มน้ำเจ้าพระยามีปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการ  มีการใช้น้ำเกินแผนที่ได้จัดสรรไว้ ทำให้เกิดปัญหาการรุกล้ำของน้ำเค็ม ส่งผลต่อระบบนิเวศและคุณภาพน้ำด้าน การเกษตรกรรม – อุปโภคบริโภค จึงมีแผนการผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลองมาลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างในฤดูแล้ง ปี 2562/2563 จำนวน 850 ล้าน ลบ.ม. สำหรับในอนาคตจะพิจารณาผันน้ำมาสนับสนุนลุ่มน้ำเจ้าพระยา”

ควบคู่กับปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกพืช ป่าไม้ และเพิ่มน้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ โดยมีศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงประจำภาคทั้ง 5 ศูนย์ และได้ดำเนินการจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็ว เพื่อติดตาม เฝ้าระวังสภาพอากาศ และสามารถปฏิบัติการฝนหลวงได้เมื่อสภาพอากาศเอื้ออำนวยในการช่วยเหลือพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เกษตรกรรม การเติมน้ำต้นทุนให้กับเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ รวมทั้งการบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่า  และจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 11 - 13 หน่วยปฏิบัติการ เพื่อปฏิบัติการฝนหลวงให้ครอบคลุม 25 ลุ่มน้ำหลักในพื้นที่ 77 จังหวัด ซึ่งจะมีพื้นที่ได้รับประโยชน์ 230 ล้านไร่

นายเฉลิมชัย กล่าวว่า การบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูแล้ง โดยกรมชลประทาน ได้วางแผนการจัดสรรน้ำทั้งประเทศในช่วงฤดูแล้งปี 2562/63 ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562 - 30 เมษายน 2563 จำนวน 17,699 ล้าน ลบ.ม. แบ่งเป็น อุปโภค-บริโภค 2,300 ล้าน ลบ.ม. รักษาระบบนิเวศและอื่น ๆ 7,006 ล้าน ลบ.ม. สำรองน้ำต้นฤดูฝนปี 2563 (พ.ค.-ก.ค. 63) รวม 10,540 ล้านลูกบาศก์เมตร เกษตรฤดูแล้งปี 2562/63 7,874 ล้าน ลบ.ม. อุตสาหกรรม 519 ล้าน ลบ.ม. รวมถึงได้ทำการประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและเกษตรกรรับทราบ สถานการณ์น้ำต้นทุน แนวทางการบริหารจัดการน้ำ

ตลอดจนส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเพาะปลูก มาเป็นการปลูกพืชใช้น้ำน้อยให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 22 จังหวัด ในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา ขุดสระน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ขนาด 1,260 ลบ.ม.ให้เกษตรกรที่ขอรับการสนับสนุนทั่วประเทศ จำนวน 40,000 บ่อ เพื่อกักเก็บน้ำ บรรเทาและชะลอความแห้งแล้ง เพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ดินในฤดูฝนทิ้งช่วงหรือฤดูแล้งในระดับไร่นา ให้เกษตรกรสามารถมีน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง สำหรับปลูกพืชผักแบบผสมผสานเลี้ยงปลา ตกกล้า ซึ่งเป็นการทำการเกษตรแบบใช้น้ำน้อย

ในหน้าแล้งทางกรมชลประทานประเมินการจ้างแรงงานในปีงบประมาณ  พ.ศ. 2563 (งบลงทุน) สำหรับงานซ่อมแซม บำรุงรักษา ขุดลอก ปรับปรุงงานชลประทาน  ก่อสร้างแหล่งน้ำระบบส่งน้ำเพื่อชุมชน แก้มลิง การจัดการคุณภาพน้ำและโครงการป้องกันและบรรเทาภัยจากน้ำ ซึ่งดำเนินการจ้างแรงงานทั่วทุกภาค      ของประเทศ วงเงินประมาณ 3,100 ล้านบาท สามารถจ้างแรงงานได้ไม่น้อยกว่า 41,000 คน ระยะเวลาระหว่าง 3-7 เดือน เกษตรกรจะได้ค่าจ้างแรงงานอยู่ระหว่าง 24,000-58,000 บาท /คน ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่ดำเนินการ ซึ่งเป็นมาตรการสนับสนุนช่วยเหลือการแก้ไขปัญหาระยะสั้นในฤดูแล้งนี้

พร้อมจะสนับสนุนสินเชื่อเพื่อการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์และกิจการที่เกี่ยวเนื่อง ภายใต้บันทึกความเข้าใจ (MOU) ระหว่าง กรมปศุสัตว์ และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ โคเนื้อ กระบือ (ควาย) แพะเนื้อ และไก่พื้นเมือง รวมถึงเพิ่มขีดความสามารถอาชีพที่เกี่ยวเนื่อง  ในภาคปศุสัตว์ ฟื้นฟูอาชีพแก่เกษตรกร บรรเทาความเดือดร้อนเสียหายอันเนื่องมาจากภัยพิบัติ ภัยธรรมชาติ และผลกระทบจากราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำ และเพื่อเป็นการสร้างอาชีพทางเลือกใหม่ด้วยการปรับเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมมาเลี้ยงสัตว์จำหน่ายทั้งภายในและต่างประเทศ

ประกอบด้วย 1)โครงการส่งเสริมการผลิตโคเนื้อ กิจกรรมการเลี้ยงโคขุน 2) โครงการส่งเสริมการผลิตกระบือ 3) โครงการส่งเสริมการผลิตแพะเนื้อ 4) โครงการการส่งเสริมการผลิตไก่พื้นเมือง 5) กิจการที่เกี่ยวเนื่อง ซึ่งสามารถดำเนินการได้ทั่วประเทศตามศักยภาพและแผนธุรกิจที่มีความชัดเจน ได้แก่ ธุรกิจศูนย์ผลิตอาหารสัตว์ (Feed Center) การผลิตพืชอาหารสัตว์ การผลิตวัตถุดิบอาหารสัตว์ ธุรกิจการส่งขนและการกระจายสินค้า (Logistics) เป็นต้น  โดย ธ.ก.ส. สนับสนุนสินเชื่อให้รายละ   ไม่เกิน 1 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยล้านละ 100 บาท/ปี กลุ่มละไม่เกิน 10 ล้านบาท

ด้านนายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยว่า ประเมินว่าจะมีเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งประมาณ 30 ล้านคน ที่จะให้กลุ่มคนเหล่านี้มีอาชีพและรายได้ในช่วงฝนทิ้งในระยะเวลา 6 เดือนจึงได้เกิดโครงการต่างๆ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้กล่าวข้างต้น

จาก www.thansettakij.com  วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2563

เตือนเขื่อนใหญ่-กลางน้ำน้อยวิกฤติ 105 แห่ง

สทนช.ชี้เขื่อนใหญ่ – กลาง 105 แห่งอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย วอนทุกหน่วยงานเร่งเดินหน้ามาตรการลดผลกระทบประชาชน พร้อมย้ำ 3 หน่วยหลักคุมแผนจัดสรรน้ำลุ่มเจ้าพระยา–โขง ชี มูล หวั่นปริมาณน้ำลากยาวไม่ถึงสิ้นแล้ง

นายสำเริง แสงภู่วงค์ รองเลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำภาพรวมทั้งประเทศขณะนี้ว่า ปัจจุบันแหล่งน้ำต่างๆ ทั่วประเทศมีปริมาณน้ำรวมทั้งสิ้น 49,789 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 61% เป็นปริมาณน้ำใช้การ 25,714 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 44% แบ่งเป็น แหล่งน้ำขนาดใหญ่ 38 แห่ง ปริมาณน้ำใช้การ 20,738 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 44 โดยล่าสุดมีเขื่อนขนาดใหญ่และขนาดกลางที่มีปริมาณน้ำใช้การได้น้อยกว่า 30% รวมทั้งสิ้น 105 แห่ง แบ่งเป็นขนาดใหญ่ 14 แห่งที่มีปริมาณน้ำใช้การได้น้อยกว่า 30%  ได้แก่ เขื่อนแม่กวง เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแม่มอก เขื่อนทับเสลา

เขื่อนกระเสียว เขื่อนจุฬาภรณ์ เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนลำแซะ เขื่อนลำนางรอง เขื่อนป่าสักฯ เขื่อนคลองสียัด และเขื่อนหนองปลาไหล ขณะที่แหล่งน้ำขนาดกลางอยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง354 แห่ง จากทั้งหมด 660 แห่งที่มีระบบติดตามได้ พบว่า อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังน้ำน้อยจำนวน 91 แห่ง แบ่งเป็น ภาคเหนือ 29 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 46 แห่ง ภาคกลาง 2 แห่ง ภาคตะวันออก 10 แห่ง ภาคตะวันตก 2 แห่ง และภาคใต้ 2 แห่ง ซึ่งขณะนี้หน่วยงานต่างๆ ได้มีการปรับแผนการดำเนินงาน โดยใช้งบประมาณปกติของหน่วยงานในการจัดหาแหล่งน้ำสนับสนุนพื้นที่เสี่ยงได้รับผลกระทบขาดแคลนน้ำทั้งในเขตและนอกเขตชลประทานที่สามารถเร่งรัดดำเนินการได้ทันทีภายในระยะ 1 – 2 เดือนนี้

ขณะเดียวกัน เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำต่าง ๆ เป็นไปตามแผน และไม่ส่งผลกระทบกับแผนการจัดสรรน้ำตลอดฤดูแล้ง สทนช.ได้มีการกำกับ ติดตาม ตรวจสอบแผนและผลการจัดสรรน้ำในแหล่งน้ำต่าง ๆ ในพื้นที่เขตชลประทาน มีมาตรการในการควบคุมจัดสรรน้ำให้เป็นไปตามแผนจัดสรรน้ำและสอดคล้องต่อปริมาณน้ำต้นทุน โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มีการปรับแผนจัดสรรน้ำอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่-กลางแล้ว 25 แห่ง แบ่งเป็น อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 14 แห่ง แบ่งเป็นภาคเหนือ 5 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 แห่ง ภาคตะวันออก 5 แห่ง ภาคกลาง 1 แห่ง และภาคตะวันตก 2 แห่ง อ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 11 แห่ง แบ่งเป็นภาคเหนือ 3 แห่ง และภาคตะวันออก 8 แห่ง พร้อมประชาสัมพันธ์รณรงค์ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องประหยัดน้ำอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอตลอดฤดูแล้งนี้

“จากการติดตามแผน-ผลการจัดสรรน้ำสะสมรายวัน (1 พ.ย.62 – 2 ม.ค.63 ) ในลุ่มน้ำสำคัญ 4 ลุ่มน้ำ พบว่า มี 2 ลุ่มน้ำที่มีการจัดสรรน้ำเกินแผน ได้แก่ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา (4 เขื่อนหลัก) จัดสรรน้ำแล้ว 1,398 ล้าน ลบ.ม. จากแผนจัดสรรน้ำ 1,268 ล้าน ลบ.ม. เกินแผน 130 ล้าน ลบ.ม. และลุ่มน้ำ โขง ชี มูล จัดสรรน้ำแล้ว 385 ล้าน ลบ.ม. จากแผน 379 ล้าน ลบ.ม.  เกินแผน 6 ล้าน ลบ.ม. ขณะที่ลุ่มน้ำแม่กลอง และลุ่มน้ำภาคตะวันออก (EEC) แม้ยังมีการจัดสรรน้ำน้อยกว่าแผน แต่คาดว่ามีแนวโน้มจะจัดสรรน้ำเกินแผน

ดังนั้น สทนช.ได้เน้นย้ำทุกหน่วยงานคำนึงถึงลำดับความสำคัญในการจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค และรักษาระบบนิเวศ เป็นหลัก โดยเฉพาะการรักษาคุณภาพน้ำ ซึ่งจากการติดตามสถานการณ์ค่าความเค็มน้ำด้านอุปโภค บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณตั้งแต่ปากแม่น้ำจนถึงสถานีสำแล อ.เมือง จ.ปทุมธานี อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวังที่ต้องมีการติดตามอย่างใกล้ชิด  ขณะที่คุณภาพน้ำด้านการเกษตร แม่น้ำแม่กลอง และเพชรบุรี อยู่ในเกณฑ์ปกติ แม่น้ำท่าจีน บางปะกง อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง เพื่อป้องกันผลกระทบพื้นที่เกษตรในพื้นที่ด้วย” นายสำเริง กล่าว

อย่างไรก็ตาม สทนช.จะบูรณาการการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหาแล้งของหน่วยงานต่าง ๆ ภายใต้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ) เป็นผู้บัญชาการ เพื่อติดตามผลการแก้ไขปัญหาภัยแล้งของทุกหน่วยงานแบบเบ็ดเสร็จ  เพื่อติดตามประเมินสถานการณ์ ผลกระทบรายพื้นที่ รวมถึงมาตรการให้ความช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด.

จาก www.thansettakij.com  วันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2563

ปี 2563 ยังหนักเกษตรกรไทยฝ่าวิกฤตภัยแล้ง-เงินบาทแข็งค่า

ปี 2563 ยังหนักเกษตรกรไทยฝ่าวิกฤตภัยแล้ง-เงินบาทแข็งค่า

ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (จีดีพี) ภาคเกษตร ปี 2562 ขยายตัว 0.5% เมื่อเทียบกับปี 2561 ถือว่าเป็นการเติบโตที่พลาดจากเป้าหมายที่วางไว้เมื่อต้นปี 3-4%

จากเดิมคาดหวังว่าผลผลิตจะดี ราคาสินค้าจะพุ่ง เมื่อมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งน่าจะสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ให้เกิดนวัตกรรมเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงในโลกมีนโยบายที่สามารถพัฒนาการเติบโตให้เกิดการบริโภค เพิ่มเงินในกระเป๋าเกษตรกรแบบยั่งยืน

แต่ตลอดปีรัฐบาลไม่ได้มีนโยบายที่ขับเคลื่อนภาคเกษตรที่ชัดเจน มีเพียงการประกาศรับประกันราคาตามที่พรรคร่วมรัฐบาลได้หาเสียงไว้

ส่งผลให้สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ประกาศปรับลดจีดีพีภาคเกษตรลง 2 ครั้ง ครั้งแรกเกิดจากภัยแล้งเมื่อครึ่งปีแรก และน้ำต้นทุนในเขื่อนมีไม่มากนัก ส่งให้ผลผลิตเสียหาย ครึ่งแรกของปี 2562 สศก.จึงปรับลดประมาณการทั้งปีลงเหลือ 2-2.1%

อย่างไรก็ตามแล้งยังคงปกคลุมพื้นที่เกษตรของไทยต่อเนื่องลากยาวถึงฤดูฝน จนเกิดปรากฏการณ์แล้งในฤดูฝนซึ่งถือว่าไทยแล้งสุดในรอบกว่า 40 ปี

ล่วงเข้าเดือนส.ค.-ก.ย. ภัยธรรมชาติยังคงกระหน่ำภาคอีสานและภาคเหนือ เพราะได้รับผลกระทบจากอิทธิพลพายุโซนร้อนโพดุล และคาจิกิ

ส่งผลให้ตลอดปี 2562 ภาคเกษตรไทย โดยเฉพาะ ในภาคอีสาน และพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่นอกเขตชลประทาน ไม่สามารถเพาะปลูกได้ จึงทำให้ สศก.ต้องจำนนด้วย หลักฐาน ปรับเป้าจีพีพีภาคเกษตรลงเหลือ 0.5% หรือ ไม่สามารถทำได้ตามเป้าที่วางไว้

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ เลขาธิการ สศก. กล่าวว่า สศก.ประเมินจีดีพีภาคการเกษตรปี 2563 คาดว่าจะขยายตัวประมาณ 2-3% จากปีก่อน โดยผลผลิตพืชที่มีสัดส่วนประมาณ 70% ของจีดีพีภาคเกษตรคาดว่าจะมีผลผลิตเพิ่มขึ้น

กระนั้นยังมีความเสี่ยงในเรื่องสถานการณ์ภัยแล้ง, เงินบาทแข็งค่า หากบาทแข็งกว่า 30 บาทต่อดอลลาร์ น่าจะเกิดผล กระทบการส่งออกเพราะสินค้าเกษตรหลักๆ อาทิ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน เป็นต้น เพราะส่วนใหญ่เป็นสินค้าส่งออกของไทย

ด้านสงครามการค้าระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีนยังไม่ชัดเจนว่าจะจบลง ส่วนโรคและแมลงระบาดและโรคอุบัติใหม่ในพืชเกษตร ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อภาคเกษตรอยู่มาก

ทั้งหมดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่กดดันการเติบโตของจีดีพี ภาคเกษตร

นอกจากนี้ภาคเกษตรก็ต้องรอความหวังจากนโยบาย ของรัฐบาลที่จะกระตุ้นการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยและ เศรษฐกิจโลก ขณะที่แนวโน้มการส่งเสริมการบริโภคและการใช้สินค้าเกษตรในประเทศอย่างต่อเนื่องที่สนับสนุนให้ภาคเกษตรขยายตัวได้ดี

ส่วนผลผลิตที่คาดว่าจะลดลง คือ ข้าวนาปี และข้าวนาปรัง โดยปีนี้คาดว่าผลผลิตจะลดลงเหลือประมาณ 25-26 ล้านตัน จากปีก่อนมีผลผลิตรวมประมาณ 31 ล้านตัน เนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนที่มีน้อย โดยข้าวนาปรังที่กำลังเพาะปลูกขณะนี้คาดว่าจะเสียหายประมาณ 5 ล้านไร่ หรือประมาณ 3 ล้านตัน

ผลผลิตด้านการเกษตรประมาณ 30-40% บริโภคภายในประเทศ ส่วนที่เหลือประมาณ 60-70% เป็นการส่งออก ดังนั้น เงินบาทที่แข็งค่าขึ้นจนมีหลายฝ่ายมองว่าหากหลุด 30 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ นั้นคือวิกฤตสินค้าเกษตรไทย

ขณะที่ นายศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษาสถาบันวิจัย กลุ่มธนาคารเกียรตินาคิน-ภัทร กล่าวว่า ปี 2563 คือวิกฤตคนจน วิกฤตเกษตรกร แม้รัฐบาลจะพยายามระบุว่า เศรษฐกิจไทยปี 2562 ถึงจุดต่ำสุดแล้ว แต่ก็ยังมองไม่เห็นปัจจัยสนับสนุน ไม่เห็นกลไกหรือมาตรการที่รัฐบาลใช้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

สิ่งที่น่ากังวลอีกอย่างคือเรื่องของค่าเงินบาท ที่สินค้าเกษตรตัวหลักๆ ของไทย อาทิ ข้าว มันสำปะหลัง ไก่ กุ้ง ยางพารา เป็นต้น ถูกกำหนดด้วยอัตราแลกเปลี่ยน และ 3 ปีที่ผ่านมาค่าเงินบาทไทย แข็งมากกว่า 10%

นายสมพร อิศวิลานนท์ นักวิชาการอาวุโส สถาบันคลังสมองของชาติ กล่าวว่า อุตสาหกรรมข้าวเตรียมล้มละลาย โรงสี ทยอยปิดกิจการจำนวนมาก นโยบายแจกเงิน เอาเร็ว แบบที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี พรรคประชาธิปัตย์ ไม่มีการพัฒนาในเรื่องวิชาการ ไม่ลดต้นทุน ไม่พัฒนาพันธุ์ แบบนี้ตายกันทั้งหมด ต้นทุนสู้คู่แข่งไม่ได้ พันธุ์ข้าวหอมมะลิไม่หอมอีกต่อไป

“ท่ามกลางที่ตลาดมีการเปลี่ยนแปลง คนลดการกินข้าวลง หันไปกินโปรตีนมากขึ้น เศรษฐกิจโลก เศรษฐกิจคู่ค้ามีปัญหา เงินบาทแข็งค่า คนขาย คนปลูก ไม่ปรับตัว เป็นปัญหาใหญ่ของอนาคตข้าวไทย บอกไม่ได้ว่าใช้เวลานานไหมความสามารถในการแข่งขันของข้าวไทยจะหายไปจากตลาดโลก แต่คิดว่าไม่นาน” นายสมพรกล่าว

ส่วน นายสมศักดิ์ ปณีตัธยาศัย นายกสมาคมกุ้งไทย กล่าวว่า ปี 2563 คาดว่าผลผลิตกุ้งจะเพิ่มขึ้นประมาณ 20% หรือประมาณ 3.5-4 แสนตัน และตั้งเป้าส่งออกเพิ่มขึ้นประมาณ 20% จากปี 2562 หรือส่งออกรวมประมาณ 6 หมื่นล้านบาท

แต่ปัจจัยลบในอุตสาหกรรมกุ้งยังมีมาก อาทิ เงินบาทหากยัง 30 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ราคาไม่น่าจะเพิ่มขึ้น ราคาที่เกษตรกรขายได้น่าจะทรงตัว เพราะราคากุ้งขึ้นอยู่กับราคาในตลาดโลก

หากเงินบาทแข็งขึ้น 1 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จะทำให้ไทยสูญเสียรายได้จากการขายกุ้งประมาณ 5-7 บาทต่อก.ก.

นอกจากนี้ สศก.ยังระบุว่าขณะที่ราคาสินค้าเกษตรภาพรวมในปี 2563 คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้น จากนโยบายประกันราคาของรัฐบาล ความต้องการของตลาดโลกที่ยังมีอยู่ อาทิ ปาล์มน้ำมัน ผลผลิตคาดว่าจะเพิ่มขึ้น จากพื้นที่ที่พร้อมเก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น รวมถึงราคาและความต้องการของตลาดโลก เพิ่มขึ้น

โดยราคาขณะนี้อยู่ที่เกือบ 6 บาทต่อกิโลกรัม (ก.ก.) จากในอดีตก่อนหน้านี้ต่ำกว่าต้นทุนการผลิต 2.9 บาทต่อก.ก.จากนโยบายการใช้ในประเทศ นำผลผลิตมาใช้ในการผลิตพลังงานทดแทน

ยางพาราคาดผลผลิตจะเพิ่มขึ้นจากพื้นที่เปิดกรีดมากขึ้น คาดว่าราคาจะปรับตัวสูงขึ้นเท่ากับราคาที่รัฐบาลประกันที่ 60 บาท/ก.ก., มันสำปะหลังยังมีผลผลิตที่ดีขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นในที่สุด

ปี 2563 เกษตรกรไทยคงต้องฝ่าฟันวิบากกรรมต่อไปอีกปี หากรัฐบาลยังไร้แนวทางเดินหน้า ฝ่าวิกฤตบาทแข็ง เศรษฐกิจโลกป่วน และน้ำแล้งน้ำท่วม

จาก https://www.khaosod.co.th วันที่ 3 มกราคม 2563

เตือนน้ำในเขื่อนวิกฤติ

กรมชลฯ เข้มสั่ง 22 จังหวัดงดทำนาปรัง แต่มีคนฝืน 1.54 ล้านไร่ คิกออฟ 3 ม.ค.ปรับแผนระบายน้ำ 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยาวันละ 18 ล้านลบ.ม. อีกด้านป้องน้ำเค็มรุกล้ำสวนกล้วยไม้

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เผยว่า สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง ปริมาตรน้ำในอ่างฯ 46,906 ล้าน ลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 62 (ปริมาตรน้ำใช้การได้ 23,070 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 44) ปริมาตรน้ำในอ่างฯ เทียบกับปี 2561 (57,622 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 76) น้อยกว่าปี 2561 จำนวน 10,716 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ 16.06 ล้าน ลบ.ม.ปริมาณน้ำ ระบายจำนวน 85.78 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 29,161 ล้าน ลบ.ม. สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ปริมาตรน้ำในอ่างฯ 44,074 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 62 (ปริมาตรน้ำ ใช้การได้ 20,622 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 44) ปริมาตรน้ำในอ่างฯ เทียบกับปี 2561 (54,184 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น ร้อยละ 76) น้อยกว่าปี 2561 จำนวน 10,110 ล้าน ลบ.ม.ปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ จำนวน 12.90 ลบ.ม. ปริมาณน้ำ ระบายจำนวน 71.73 ล้าน ลบ.ม. สามารถรับน้ำได้อีก 26,853 ล้าน ลบ.ม.

"ในวันพรุ่งนี้ (3 ม.ค.62) จะปรับลดการระบายน้ำท้ายเขื่อนหลัก 4 เขื่อนให้เหลือ 18 ล้านลบ.ม. และคงการระบายเท่านี้ไว้ตามแผนตลอดฤดูแล้ง สิ่งสำคัญคือ ได้ขอความร่วมมือจากฝ่ายปกครองและทางท้องถิ่นให้ควบคุมการสูบน้ำจากแม่น้ำปิง วัง ยม และน่าน โดยขอให้งดการสูบไปใช้เพื่อการเกษตร อีกทั้งขอให้เกษตรกรงดทำนาปรังเนื่องจากขณะนี้พื้นที่นาปรังใน 22 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยาถึง 1.54 ล้านไร่ (ข้อมูล ณ วันที่ 25 ธันวาคม 2562)จากที่กระทรวงเกษตรฯ แจ้งเตือนล่วงหน้าแล้วว่า ไม่มีแผนส่งเสริมการปลูกข้าวนาปรังเนื่องจากกรมชลประทานไม่มีน้ำเพียงพอสนับสนุน โดยก่อนหน้านี้พื้นที่ปลูกข้าวเพิ่มประมาณ 2 แสนไร่ต่อสัปดาห์ ส่วนแผน-ผลการเพาะปลูกพืชนาปรังปี 2562/63 ในเขตชลประทานทั้งประเทศ แผนเพาะปลูกข้าวนาปรัง 2.31 ล้านไร่ ปัจจุบันเพาะปลูกแล้ว 2.21 ล้านไร่ คิดเป็นร้อยละ 95.55 ของแผนฯ

แต่จากการทำความเข้าใจกับชาวนาทำให้อัตราการเพิ่มของพื้นที่นาปรังลดลงแล้ว อีกทั้งนี้ยังผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลองมาเสริมท้ายลุ่มเจ้าพระยา ผ่านคลองพระยาบันลือที่เชื่อมระหว่างแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำท่าจีนซึ่งสามารถผลักดันน้ำเค็ม ไม่ให้เกิดผลกระทบต่อพื้นที่ปลูกกล้วยไม้แหล่งใหญ่ในจังหวัดนครปฐมได้ ขณะนี้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำที่คลองจระเข้สามพันและคลองท่าสารบางปลาเพิ่มเพื่อควบคุมค่าความเค็มน้ำดิบสำหรับผลิตประปาเลี้ยงพื้นที่กรุงเทพฝั่งตะวันตกและปริมณฑล

“จะต้องรักษาระดับน้ำที่หน้าเขื่อนเจ้าพระยา จ. ชัยนาท ไม่ให้ต่ำกว่า 13.20 เมตร ซึ่งจะเป็นผลให้น้ำไหลเข้าระบบชลประทานทั้งฝั่งซ้ายและขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาเหนือเขื่อนไม่ได้ อีกทั้งท้ายเขื่อนจะทำให้ตลิ่งทรุดพัง ระบบนิเวศเสียหาย และน้ำเค็มรุกจนไม่สามารถผลิตประปาทั้งของการประปานครหลวงและภูมิภาคได้”

นายทองเปล่า กล่าวว่า หากได้รับความร่วมมืออย่างต่อเนื่อง จะทำให้การบริหารจัดการน้ำฤดูแล้งนี้จะเป็นไปตามแผน โดยในเขตชลประทานไม่มีปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภค ทั้งยังมีน้ำสำรองถึงช่วงต้นฤดูฝนด้วย

จาก www.thansettakij.com วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2563

“เฉลิมชัย”ชู 9 เรื่องเร่งด่วน  ปฏิวัติภาคเกษตร

ทิศทางเศรษฐกิจไทยปี 2563 นอกจากปัจจัยภายนอกยังอยู่ในอาการน่าเป็นห่วง จากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว สงครามการค้ายังไม่สงบ กระทบส่งออกไทย ขณะที่เศรษฐกิจในประเทศ ยังเผชิญปัจจัยลบรุมเร้า ไม่ว่าเงินบาทแข็งค่า การขึ้นค่าแรง หนี้ครัวเรือน ภัยแล้ง ถือเป็นโจทย์ท้าทาย หนึ่งในนโยบายสำคัญของรัฐบาลจึงเร่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้เข้มแข็ง ผ่านการผลักดันของ 5 กระทรวงเศรษฐกิจหลักหนึ่งในนั้นคือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงนโยบายขับเคลื่อนภาคการเกษตร ปี 2563-2564 ว่า ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาล ทั้งนโยบายเร่งด่วนและนโยบายหลักใน 9 เรื่องสำคัญ ตามแผนแม่บทที่เกี่ยวข้องกับภาคเกษตร ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ดังนี้

1. จัดตั้งศูนย์ข้อมูลสารสนเทศการเกษตรแห่งชาติ โดยมีสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเป็นหน่วยงานหลัก ในการบริหารจัดการข้อมูล เชื่อมโยงฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน ทั้งจากหน่วยงานภายในและนอกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้บริการแก่ภาครัฐ ภาคเอกชน เกษตรกร และประชาชนทั่วไปในการตัดสินใจ

2. จัดทำผังเมืองเกษตร โดยทำแผนการบริหารจัดการสินค้าเกษตรครบวงจร เน้นสินค้าสำคัญ 7 ชนิด (ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มนํ้ามัน สับปะรด และมะพร้าว) กำหนดเขตการผลิต สินค้าเกษตรตามความเหมาะสมของพื้นที่ทั้งทางด้านกายภาพ (ดิน นํ้า) และด้านเศรษฐกิจ

3. ส่งเสริมพืช/อาหารอนาคต ที่มีศักยภาพ ตลาดมีความต้องการ มีอุตสาหกรรมต่อเนื่อง และให้ผลตอบแทนสูง

4. ส่งเสริมการบริโภค/ผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์ เน้นขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ

5. สร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร โดยขับเคลื่อนแผนแม่บทเกษตรภายใต้ยุทธศาสต์ชาติ ซึ่งมีการส่งเสริมการผลิต เน้นตามศักยภาพของพื้นที่

6. บริหารจัดการพื้นที่เสี่ยงจากภัยพิบัติทางธรรมชาติ ทั้งภัยแล้ง นํ้าท่วม

7. บริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการเกษตรทั้งระบบอย่างยั่งยืน ได้แก่ ทรัพยากรนํ้า ทรัพยากรดิน การจัดที่ดินทำกินให้แก่เกษตรกร รวมทั้งผลักดันร่าง พ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน

8. จัดตั้งศูนย์เทคโนโลยีทางการเกษตร ในพื้นที่ 77 จังหวัด และหน่วยให้บริการทางการเกษตร เพื่อให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงบริการทางการเกษตรได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น และ

9. พัฒนาระบบโลจิสติกส์ด้านการเกษตร โดยพัฒนาระบบการจัดการผลผลิตทั้งก่อนและหลัง การเก็บเกี่ยว จัดหาและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สิ่งอำนวยความสะดวกด้านโลจิสติกส์สินค้าเกษตรเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และระหว่างประเทศ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน

จาก www.thansettakij.com วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2563

เงินบาทเปิด30.12

เงินบาทเปิดเช้านี้อ่อนค่ามาที่ระดับ 30.12 บาทต่อดอลลาร์ จากช่วงปิดสิ้นวันทำการก่อน 29.96 บาทต่อดอลลาร์

 นายจิติพล พฤกษาเมธานันท์ นักกลยุทธตลาดเงินและตลาดทุน ธนาคารกรุงไทยระบุว่าเงินบาท ช่วงท้ายวันผันผวนหนัก และปรับตัวลงไปปิดสิ้นปีที่ต่ำกว่าระดับ 30 บาทต่อดอลลาร์ อย่างไรก็ดี ปัจจุบันค่าเงินกลับมาซื้อขายที่ 30.12 บาทต่อดอลลาร์แล้ว เชื่อว่าวันนี้ผู้กำหนดนโยบายอย่างธปท.จะออกมาให้ความเห็นเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของเงินบาทและเข้าดูแลมากขึ้น จึงไม่น่าปรับตัวลงเร็วเหมือนช่วงท้ายปี

สำหรับปี 2020 เชื่อว่าเงินบาทจะมีทิศทางแข็งค่าต่อจากสามปัจจัยหลักคือ (1) การอ่อนค่าของค่าเงินดอลลาร์จากความผันผวนทางการเมือง (2) การฟื้นตัวของการค้าทั่วเอเชียและ (3) ภาพรวมการนำเข้าไทยที่ชะลอตัวตามทิศทางเศรษฐกิจ ซึ่งทั้งสามปัจจัยนี้จะกดดันให้เงินบาทแข็งค่าไปที่ 28.7 บาทต่อดอลลาร์ในช่วงท้ายปี ขณะที่ความเสี่ยงหลักคือนโยบายการเงินของไทยที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงเพื่อตอบรับกับทิศทางของอัตราแลกเปลี่ยนมากขึ้น

กรอบเงินบาทวันนี้ 30.05-30.15 บาทต่อดอลลาร์

กรอบเงินบาทรายสัปดาห์ 29.85-30.35 บาทต่อดอลลาร์

โดยในช่วงวันทำการก่อนหน้า ตลาดหุ้นแกว่งตัวบวกสลับลบช่วงท้ายปี อย่างไรก็ตามผลตอบแทนของหุ้นสหรัฐอย่าง S&P500 ในปี 2019 ถือว่าดีที่สุดในนับตั้งแต่ปี 2013 ที่ 29% ขณะที่ฝั่งยุโรปดัชนี STOXX 600 ที่ปรับตัวบวกขึ้นถึง 23% ก็ถือเป็นปีที่ดีที่สุดนับตั้งแต่ปี 2009

ด้านบอนด์ยีลด์สหรัฐระยะยาว (10ปี) ก็ปรับตัวขึ้นมาแตะระดับ 1.92% ส่งท้ายปี จากที่เคยลงไปแตะระดับต่ำสุดที่ 1.42% ในปีที่ผ่านมาเนื่องจากนักลงทุนกลับมามีความมั่นใจว่าเศรษฐกิจจะฟื้นตัวปีหน้า เฟดไม่จำเป็นต้องลดดอกเบี้ยต่อ ด้านโดนัลด์ ทรัมป์ก็ส่งสัญญาณว่าจะมีการเซ็นสัญญาการค้ากับจีนในวันที่ 15 มกราคมนี้

ขณะที่ในฝั่งนโยบายการเงิน ธนาคารกลางจีน (PBOC) ประกาศลดอัตราการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ลง 50bps โดยจะมีผลในวันที่ 6 มกราคม ส่งผลให้ธนาคารใหญ่จะต้องกันสำรองเพียง 12.5% ขณะที่ธนาคารเล็กจะต้องการสำรองที่ 10.5% ของเงินฝาก ปัจจัยดังกล่าว จะส่งผลให้สภาพคล่องในระบบปรับตัวสูงขึ้น ขณะเดียวกันก็จะทำให้ทิศทางของสกุลเงินเอเชียในวันนี้ไม่แข็งค่ามากด้วย

จาก www.thansettakij.com วันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2563

แก้เกมพิษค่าบาท! เกษตรฯวาง 5 มาตรการเพิ่มขีดความสามารถสินค้าเกษตร 10%

1 มกราคม 2563 นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ปี 2563 จากการประเมินสถานการณ์ค่าเงินบาท พบว่า น่าเป็นห่วงมากที่สุดในขณะนี้และยังมีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่องจากปี 2562 ส่งผลกระทบต่อความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารที่มีมาร์จิ้นต่ำ การแก้ปัญหาค่าเงินบาทไม่ง่ายและไม่เร็ว จึงต้องใช้กลยุทธ์อื่นคู่ขนานกันไป เพื่อรักษามูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารปีละกว่า 1 ล้านล้านบาท

ทั้งนี้ จากปัญหาที่เกิดขึ้นในส่วนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทางนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำหนดนโยบายเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันสินค้าเกษตรและอาหาร10% เพื่อแก้เกมพิษค่าเงินบาทชดเชยค่าเงินที่แข็งค่าโดยมี 5 มาตรการหลักได้แก่ 1. มาตรการพัฒนาโลจิสติกส์เกษตร 2. มาตรการพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่าเพิ่ม 3. มาตรการส่งเสริมเกษตรอัจฉริยะ 4. มาตรการพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตร และ 5. มาตรการค้าออนไลน์เพิ่มช่องทางตลาด

“ทั้ง 5 มาตรการกังกล่าวจะมุ่งบริหารลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ด้วยเทคโนโลยีพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างมูลค่าเพิ่มช่องทางตลาดใหม่ โดยมีคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร4.0และคณะกรรมการพัฒนาโลจิสติกส์เกษตรเป็นกลไกสำคัญทำหน้าที่ขับเคลื่อน ผ่านความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐภาคเอกชนภาควิชาการและภาคเกษตรกร โดยมีศูนย์ข้อมูลเกษตรแห่งชาติ(National Agriculture Big Data Center : NABC) เป็นฐานข้อมูลกลางของข่าวสารและองค์ความรู้ซึ่งเกษตรกรและภาคเอกขนสามารถใช้ประโยชน์ผ่านแอปพลิเคชั่น “เกษตรดิจิทัล” บนแพลตฟอร์มมือถือและคอมพิวเตอร์รวมทั้งการบริการออนไลน์ของ 22 หน่วยงานของกระทรวงเกษตรฯ ซึ่งเริ่มบริการครบทุกหน่วยงานต้อนรับปีใหม่ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563” นายอลงกรณ์ กล่าว

นายอลงกรณ์ กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้จะจัดตั้ง “ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม(Agritech and Innovation Center: AIC)” ตั้งแต่เดือนมกราคมให้ครบ 77 จังหวัดในปี 2563 ถือเป็นการปฏิรูปภาคเกษตรในระดับเชิงโครงสร้างและระบบเพื่อรองรับปัญหาค่าเงินบาทและความผันผวนของเศรษฐกิจโลกด้วย

จาก https://www.naewna.com วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563

3 วิกฤติ  3 โอกาส ภาคเกษตร-การค้าไทย

ในปี 2562 ที่กำลังจะผ่านพ้นไปมีวิกฤติ และโอกาสเกิดขึ้นกับประเทศไทยมากมายหลายเหตุการณ์ ในส่วนของภาคเกษตร-การค้า ซึ่งเกี่ยวข้องกับคนส่วนใหญ่ของประเทศ “ฐานเศรษฐกิจ” ขอหยิบยก 3 ไฮไลต์เด่นมานำเสนอดังนี้

  “ประกันรายได้”

เพิ่มโอกาสเกษตรกร

ปี 2562 ราคาสินค้าเกษตรของไทยและของโลกในภาพรวมมีราคาค่อนข้างต่ำตามทิศทางเศรษฐกิจและการค้าโลกที่ชะลอตัว หากรัฐบาลไม่ช่วยเติมเงินในกระเป๋าของเกษตรกรแล้ว คงยากที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจและกำลังซื้อของประชาชนให้กลับฟื้นคืนมาได้

โครงการประกันรายได้สินค้าเกษตร 5 รายการ ได้แก่ ปาล์มนํ้ามัน ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ครอบคลุมเกษตรกรที่มีสิทธิเข้าร่วมโครงการกว่า 2.05 ล้านครัวเรือน จึงเป็นนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลที่แถลงต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2562 ที่ต้องเร่งลงมือทำทันที

โดยปาล์มนํ้ามันเป็นสินค้าชนิดแรกที่กระทรวงพาณิชย์ได้เร่งขับเคลื่อน ประกันรายได้ที่ 4 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) เริ่มคิกออฟโครงการ และโอนเงินชดเชยส่วนต่างราคาตลาดกับราคาประกันเข้าบัญชีของเกษตรกรผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)งวดแรกเมื่อวันที่ 1  ตุลาคม 2562 ตามด้วยข้าว ประกันรายได้ข้าวเปลือกหอมมะลิที่ 1.5 หมื่นบาทต่อตัน ข้าวหอมมะลินอกพื้นที่ 1.4 หมื่นบาทต่อตัน ข้าวเปลือกเจ้า 1 หมื่นบาทต่อตัน ข้าวหอมปทุมธานี 1.1 หมื่นบาทต่อตัน และข้าวเปลือกเหนียว  1.2 หมื่นบาทต่อตัน โอนเงินงวดแรกเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2562

ยางพารา ประกันรายได้ยางแผ่นดิบคุณภาพดี 60 บาทต่อกก. นํ้ายางสด 57 บาทต่อกก. และยางก้อนถ้วย 23 บาทต่อกก. โอนเงินงวดแรก เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2562,  มันสำปะหลัง ประกันรายได้ 2.50 บาทต่อกก. โอนงวดแรกวันที่ 1 ธันวาคม 2562 และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ตัวล่าสุด ประกันรายได้ที่ 8.50 บาทต่อกก. โอนงวดแรกเมื่อวันที่ 20 ธันวาคมที่ผ่านมา

 สรุปเวลานี้ (ณ วันที่ 23 ธ.ค. 62)รัฐบาลจ่ายเงินชดเชยประกันรายได้เกษตรกรไปแล้ว 24,604.73 ล้านบาท คิดเป็น 36.3% ของวงเงินประกันรายได้รวม 67,778 ล้านบาท และจะมีการทยอยจ่ายให้เกษตรกรตามรอบที่ขอใช้สิทธิ และตามระยะเวลาโครงการของแต่ละพืชต่อไป

การเติมเงินให้กับเกษตรกรผ่านโครงการประกันรายได้ในครั้งนี้ แม้จะถูกมองว่าเป็นนโยบายหาเสียงเป็นการแจกเงิน ไม่ช่วยสร้างงานสร้างอาชีพให้เศรษฐกิจหมุนเวียน แต่อีกด้านหนึ่งถือว่าเป็นการช่วยเกษตรกรคนส่วนใหญ่ของประเทศให้มีโอกาส มีรายได้ และมีกำลังจับจ่ายเพิ่มขึ้น ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมไม่ให้ตกต่ำไปมากกว่าที่เป็นอยู่ เพื่อรอหวังเศรษฐกิจไทยและเศรษฐกิจโลกกลับมาขยายตัวดีขึ้น ราคาสินค้าเกษตรปรับตัวสูงขึ้น และทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ไม่ต้องพึ่งพาโครงการประกันรายได้อีกต่อไป

 “เทรดวอร์” โอกาสไทย ท่ามกลางวิกฤติ

สงครามการค้า บวกเงินบาทแข็งค่าฉุดภาคการส่งออกซึ่งเป็นรายได้หลักของประเทศคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 70% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ช่วง 11 เดือนแรก ปี 2562 มูลค่าการส่งออกของไทยทำได้ที่  227,090 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ลดลงหรือติดลบ 2.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ยอมรับว่าสิ้นปี 2562 การส่งออกของไทยคงไม่มีปาฏิหาริย์พลิกกลับมาเป็นบวกได้ แต่โอกาสการติดลบคงไม่เกิน 2%

ต้องยอมรับว่าสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนที่เริ่มเปิดฉากขึ้นตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2561 ถึง ณ ปัจจุบันได้ขึ้นภาษีสินค้าตอบโต้กันไปมาหลายระลอก แม้ล่าสุดสถานการณ์มีท่าทีจะคลี่คลาย หลังทั้ง 2 ฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงการค้าระยะแรก(เฟส 1) เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2562 สาระสำคัญ สหรัฐฯเสนอจะยกเลิกการขึ้นภาษีสินค้าจีนมูลค่า 1.6 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯอีก 15% (กำหนดเดิมจะขึ้นภาษีในวันที่ 15 ธ.ค. 62) พร้อมทั้งจะปรับลดภาษีสินค้า 1.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เหลืออัตรา 7.5%(จากอัตราเดิมบังคับใช้แล้วเมื่อ 1 ก.ย. 62) แต่ จะยังคงภาษี 25% สำหรับสินค้ามูลค่า 2.5 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

 ส่วนจีนตกลงจะซื้อสินค้าและบริการจากสหรัฐฯมูลค่าไม่ตํ่ากว่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯในเวลา 2 ปี รวมถึงการลดอุปสรรคทางการค้า การลงทุนที่สหรัฐฯมองว่าไม่เป็นธรรมอีกหลายประการ ข้อตกลงดังกล่าวทั้ง 2 ฝ่ายจะมีการลงนามในสัปดาห์แรกของเดือนมกราคม 2563  แต่ในอนาคตยังไม่มีหลักประกันว่าสงครามการค้าครั้งนี้จะยังยืดเยื้อยาวนานแค่ไหน เพราะผลประโยชน์ไม่เข้าใครออกใคร

อย่างไรก็ตามท่ามกลางวิกฤติสงครามการค้าในช่วงที่ผ่านมา ด้านหนึ่งถือเป็นโอกาสของสินค้าไทยรวมถึงสินค้าของประเทศอื่น ที่จะส่งไปทดแทนสินค้าจีนในตลาดสหรัฐฯ และส่งไปทดแทนสินค้าสหรัฐฯในตลาดจีนที่ทั้ง 2 ฝ่ายขึ้นภาษีตอบโต้กัน และเป็นโอกาสของประเทศในการดึงการลงทุนจากจีน และจากสหรัฐฯ เพื่อใช้เป็นฐานการผลิตส่งออกไปจีน และสหรัฐฯ รวมถึงส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ เพื่อลดผลกระทบจากสงครามการค้า และเป็นโอกาสของไทยในการหาตลาดใหม่ ๆ เพื่อลดการพึ่งพาตลาดสหรัฐฯและจีน ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนรวมกันกว่า 25% ของการส่งออกไทยในภาพรวม ซึ่งยังต้องลุ้นว่าตัวเลขการส่งออกของไทยในปี 2563 จะพลิกกลับมาเป็นบวกได้หรือไม่

 “อาร์เซ็ป”ความหวังใหม่

ขยายค้า-ลงทุนไทย

ถือเป็นความสำเร็จของประเทศไทยในฐานะประธานอาเซียนในปี 2562 ที่สามารถขับเคลื่อนความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP หรือ อาร์เซ็ป) จนบรรลุผลการเจรจาครบทั้ง 20 บท ซึ่งที่ประชุมผู้นำอาร์เซ็ป(16 ประเทศ) ครั้งที่ 3 ณ กรุงเทพฯ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2562 ได้ออกแถลงการณ์ร่วมประกาศความสำเร็จของการบรรลุผลการเจรจา ยกเว้น 1 ประเทศคืออินเดียที่ยังไม่บรรลุความตกลง เนื่องจากยังมีข้อกังวลหลายประการ เช่น การเปิดตลาดสินค้าที่เกรงสินค้าจีนจะทะลักเข้าไปบุกตลาดมากขึ้น ทำให้อุตสาหกรรมในอินเดียเสียหาย รวมทั้งต้องการให้ประเทศสมาชิกเปิดตลาดสินค้าและบริการที่อินเดียมีศักยภาพในการส่งออก เป็นต้น

แม้จะยังมีปัญหาที่ถือเป็นวิกฤติในส่วนของอินเดีย แต่ความตกลงอาร์เซ็ปยังคงเดินหน้าต่อ โดยผู้นำมอบให้คณะเจรจาไปเริ่มขัดเกลาถ้อยคำทางกฎหมาย เพื่อลงนามความตกลงอาร์เซ็ปในปี 2563 โดยในส่วนของอินเดียที่ยังมีประเด็นคงค้างที่จะต้องเจรจาต่อ สมาชิกจะทำงานร่วมกัน เพื่อหาข้อยุติในประเด็นคงค้างของอินเดียเพื่อให้เป็นที่พอใจร่วมกันต่อไป ทั้งนี้ประเทศสมาชิกมุ่งหวังว่าอินเดียจะยังคงเป็นส่วนหนึ่งของการลงนามความตกลงอาร์เซ็ปในปี 2563 โดยอาร์เซ็ปจะมีการประชุมระดับคณะกรรมการเจรจาในช่วงเดือนมกราคม - เมษายน 2563 เพื่อสรุปประเด็นที่เหลืออยู่ทั้งหมดตามที่ผู้นำได้มอบแนวทางไว้

 จากผลการศึกษาของสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ความตกลงอาร์เซ็ป (16 ประเทศ รวมอินเดียแล้ว) หากมีผลบังคับใช้จะช่วยให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี) ของไทยและประเทศคู่เจรจาขยายตัว โดยจีดีพีของไทยจะขยายตัวเพิ่มขึ้นจากเดิม 3.995% ปริมาณการบริโภคครัวเรือนขยายตัวเพิ่มขึ้น 4.746% ปริมาณการลงทุนภาคเอกชนขยายตัวเพิ่มขึ้น 2.934% ปริมาณการบริโภคภาครัฐขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.368% ปริมาณการส่งออกขยายตัวเพิ่มขึ้น 3.355% และปริมาณการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศขยายตัวเพิ่มขึ้น 2.932%

นอกจากนี้จะมีความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันมากขึ้น ช่วยลดผลกระทบจากสงครามการค้า และความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ เห็นได้จากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ โดยความร่วมมือของกรมศุลกากร ช่วง 11 เดือนแรกปี 2562 ไทยมีมูลค่าการค้า(ส่งออก+นำเข้า)กับกลุ่มอาร์เซ็ป(อาเซียน 10 ประเทศ บวก จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์) กว่า 264,489 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนถึง 60% ที่ไทยค้ากับโลก

ท่ามกลางวิกฤติที่อินเดียยังมีความไม่แน่นอนว่าจะยังคงอยู่ หรือจะถอนตัวจากอาร์เซ็ปหรือไม่ แต่หากความตกลงอาร์เซ็ปมีการลงนาม และมีผลบังคับใช้ในปี 2563 (หวังอินเดียเข้าความตกลงในภายหลัง) อาร์เซ็ปจะเป็นเกราะคุ้มภัย ที่ช่วยขยายการค้า การลงทุนของไทยให้ขยายตัวต่อไปได้ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังมีปัจจัยเสี่ยงอยู่มาก

จาก www.thansettakij.com วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2563