http://www.sugarzone.in.th


ข่าวเศรษฐกิจเกี่ยวกับอ้อยและน้ำตาล(เดือนกรกฎาคม 2558)

 "จักรมณฑ์"รับศก.โลกยังซึม ทำใจฉุดส่งออก-จ่อปรับเป้า

"จักรมณฑ์" เตือนภาวะเศรษฐกิจโลกยังชะลอตัวจากข้อจำกัดหนี้สาธารณะบาน กระทบส่งออกไทยต่อเนื่อง ทุกฝ่ายต้องปรับตัว ขณะที่เอกชนเตรียม ทยอยปรับคาดการณ์ภาวะส่งออกปี 2558 ใหม่ ส่อแววติดลบขั้นต่ำ 4% สรท. เตรียมเคาะตัวเลขวันที่ 3 ส.ค.

          นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ภาวะการส่งออกของไทยที่ลดลงต่อเนื่องเกิดจากผล กระทบจากยอดนำเข้าของประเทศต่างๆ ทั่วโลกหดตัวลงตามทิศทางกำลังซื้อที่ลดต่ำเนื่องจากที่ผ่านมาประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ทั่วโลกล้วนมีปัญหาหนี้สาธารณะสะสม และที่ผ่านมาเศรษฐกิจอยู่ได้ด้วยมาตรการกระตุ้นที่ใช้เงินในอนาคตมาดำเนินการซึ่งในที่สุดเมื่อหนี้มากขึ้นก็จะกระทบให้เศรษฐกิจหดตัวลงและการจะกลับมาฟื้นจึงต้องอาศัยเวลาภาพรวมเศรษฐกิจโลกจึงยังคงเป็นปัจจัยที่ทุกภาคส่วนต้องติดตามใกล้ชิดในการปรับตัวให้ทันกับสถานการณ์ต่อไป

          "เศรษฐกิจแต่ละแห่งเติบโตได้ด้วยหนี้เงินกู้ ไม่ว่าจะเป็นสหรัฐฯ ยุโรป ญี่ปุ่นหรือจีนก็มีมาตรการผ่อนคลายทางเศรษฐกิจหรือคิวอีออกมาทำให้บางประเทศมีหนี้ใหญ่กว่าจีดีพีถึง 3 เท่า ซึ่งถึงจุดหนึ่งการเติบโตจากหนี้ก็จะเป็นไปอย่างจำกัด ซึ่งการนำเข้าหรือซื้อของที่ลดลง ตอนนี้ก็เป็นผลจากข้อจำกัดของหนี้ดังกล่าว ส่วนของไทยเองโชคดีที่หนี้ สาธารณะยังไม่สูงมาก อยู่ที่ 43% ของจีดีพีและเมื่อรวมกับการต้องกู้มาเพื่อลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเช่นรถไฟสายต่างๆ แล้วก็อยู่ที่ 50% ยังสามารถกู้ได้อีกพอสมควร" รมว.อุตสาหกรรมกล่าว

          นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาองค์การนายจ้างผู้ประกอบการค้าและอุตสาหกรรมไทย กล่าวว่า การส่งออกครึ่งปีหลังยังมีทิศทางติดลบตามทิศทางเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะจีนล่าสุดที่เศรษฐกิจเริ่มมีการชะลอตัวทำให้ตลาดหลักของทุกภูมิภาคมีกำลังซื้อที่อ่อนตัวลงอย่างมีนัยสำคัญภาพรวมการส่งออกปี 2558 จึงมีแนวโน้มจะติดลบอย่างน้อย 4% จากที่ครึ่งปีแรกปีนี้ติดลบไปแล้วถึง 7.78%  โดยปีนี้นับเป็นการส่งออกที่ติดลบต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 นับตั้งแต่ปี 2556

          "โลกเราเหมือนติดหวัดกันมาเริ่มแต่สหรัฐฯ ยุโรป และล่าสุดก็เป็นจีนที่เศรษฐกิจเริ่มชะลอตัว ในที่สุดก็ลามมายังอาเซียน ผมมองว่าเศรษฐกิจโลกเช่นนี้จะทำให้ภาวการณ์ส่งออกซึมยาวไปจนถึงครึ่งปีหน้าแล้ว หลังจากนั้นค่อยมาว่ากันอีกครั้งโดยยอมรับว่าปัญหานี้ไม่ว่ารัฐบาลใดเข้ามาก็ย่อมลำบากเพราะมันอยู่เหนือการควบคุมของเราซึ่งถือเป็นโจทย์ที่ยากสำหรับรัฐบาลปัจจุบัน" นายธนิตกล่าว

          นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)  กล่าวว่า ภาวะส่งออกครึ่งปีหลังยอมรับว่าแต่ละเดือนยังมีทิศทางติดลบอยู่แต่เฉลี่ยมากน้อยจะไม่เท่ากันเนื่องจากทิศทางคำสั่งซื้อ (ออเดอร์) ล่วงหน้าไตรมาส 3 ยังคงไม่ดีนักตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวทำให้ตลาดหลักๆ ทั้งสหรัฐฯ อเมริกา สหภาพยุโรปรวมถึงจีน  ดังนั้น ภาวะการส่งออกทั้งปีโดยความเห็นส่วนตัวปีนี้จึงมีโอกาสที่จะติดลบ 4%

          "หลายๆ สำนักคงจะต้องมีการปรับตัวเลขใหม่โดยในส่วนของสภาผู้ส่งออก สินค้าทางเรือหรือ สรท. ซึ่งผมเองก็เป็นรองประธานอยู่ที่นี่ทางประธาน สรท.เองก็จะมีการพิจารณาปรับคาดการณ์ตัวเลขการ ส่งออกปีนี้ใหม่อีกครั้งในวันที่ 3 ส.ค.นี้ อีกครั้งจากก่อนหน้านี้ประเมินทั้งปีจะติดลบ 3.5% แต่หากเราดูประเทศเพื่อนบ้านการ ส่งออกก็ติดลบกันหมดเพราะเผชิญปัญหาเศรษฐกิจโลกไม่ต่างจากไทย" นายวัลลภกล่าว

          ทั้งนี้ แม้ว่าล่าสุดค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่าลงในช่วงนี้ถึง 4.4% ซึ่งจะทำให้ไทยมีศักยภาพในการแข่งขันในตลาดโลกได้มากขึ้นซึ่งอาจผลักดันให้การส่งออกของไทย เพิ่มได้ แต่กระนั้นก็จะไปเป็นคำสั่งซื้อใหม่ในช่วงอีก 2-3 เดือนข้างหน้าซึ่งใกล้สิ้นปีที่ผู้ซื้อมักจะชะลอดูทิศทางตลาดแรงซื้อก็จะแผ่วเป็นปกติประกอบกับหากพิจารณาค่าเงินบาทที่อ่อนค่าก็พบว่าประเทศคู่แข่งทางการค้าก็อ่อนค่าเช่นกัน

จาก http://www.manager.co.th    วันที่ 31 กรกฎาคม 2558

นายกฯสั่งทุกกระทรวงเร่งรัดการวิจัย กำหนดหัวข้อ-แนวทางประยุกต์พัฒนา ปท.

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ทุกกระทรวงเร่งรัดพัฒนาการวิจัย โดยกำหนดหัวข้องานวิจัย และแนวทางประยุกต์ใช้ในการพัฒนาประเทศ โดยในส่วนของกระทรวงด้านเศรษฐกิจได้รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงาน ดังนี้ 1.            กระทรวงการคลังได้เสนอหัวข้อวิจัยให้สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติทราบแล้วถึงหัวข้อวิจัยที่กระทรวงการคลังจะดำเนินการในปี 2559ดังนี้

1.1  เงินโอนเพื่อผู้มีรายได้น้อยและบทบาทในการขับเคลื่อนเพื่อการเจริญเติบโตแบบมีส่วนร่วมของเศรษฐกิจไทย

1.2  การศึกษาแนวทางเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมเข้าสู่ระบบภาษีเงินได้และภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันผู้ประกอบการไทย

1.3  การศึกษาแนวทางการประเมินมูลค่าที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เพื่อเตรียมความพร้อมในการนำพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างมาปรับใช้ในประเทศไทย

1.4  การศึกษาแนวทางนำระบบภาษีเงินได้แบบแยกที่มาของเงินได้ (Dual Income Tax) มาใช้ในประเทศไทย

1.5  การศึกษาเพื่อพัฒนากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำกับธุรกิจธนาคารเงา

1.6  การศึกษาเพื่อพัฒนากฎหมายไทยเพื่อรองรับการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางภาษีอากรระหว่างประเทศ

2.     กระทรวงพลังงานได้เสนอสนับสนุนการวิจัยโดยใช้เงินงบประมาณกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน

3.     กระทรวงพาณิชย์ได้เสนอหัวข้อวิจัยที่จะดำเนินการภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2558-2559จำนวน 2หัวข้อ ดังนี้

3.1  การวิจัยเกี่ยวกับการสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการและวิสาหกิจ โดยทำการวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อสร้างความเข้มแข็งของผู้ประกอบการใน 6ประเด็น ประกอบด้วย (1) การบ่มเพาะผู้ประกอบการและการเริ่มต้นธุรกิจ (2) การยกระดับระบบสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อย (3) การสร้างสังคมผู้ประกอบการผ่านเครือข่ายพันธมิตรห่วงโซ่มูลค่า (4) การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์จากนวัตกรรม (5) การเข้าถึงแหล่งทุนของ SMEs และวิสาหกิจรายย่อย

3.2  การศึกษาสินค้า/ตลาดส่งออกศักยภาพ สำหรับสินค้าส่งออกสำคัญของไทย เพื่อวิเคราะห์ความสามารถในการแข่งขันของไทย ในการกำหนดแนวทางและยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมและผลักดันการส่งออกของไทยไปตลาดโลก

4.   กระทรวงคมนาคมได้เสนอหัวข้อวิจัยที่จะดำเนินการภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2559จำนวน 9โครงการ ดังนี้

4.1 โครงการการพัฒนาตัวแบบขนส่งโลจิสติกส์เพื่อลดการปล่อยแก๊ส CO2โดยการขนส่งทางหลวงกับระบบรางของไทย (กรณีศึกษา : กรุงเทพฯ – จุดเชื่อมชายแดนบนทางหลวง R1 & R10)

4.2 โครงการศึกษา วิจัย และวิเคราะห์ความเสียดทานของผิวทางเพื่อพัฒนาดัชนีชี้วัดและยกระดับด้านความปลอดภัยงานทางของกรมทางหลวง

4.3 โครงการการประเมินความน่าเชื่อถือและความยืดหยุ่นความจุของโครงข่ายทางหลวงเพื่อรองรับการขนส่งสินค้าของพื้นที่ภาคตะวันออก

4.4 โครงการทดสอบคานสะพานรูปตัวไอช่วงยาวพิเศษประเภทคอนกรีตกำลังสูงอัดแรงชนิดให้แรงดึงทีหลังเพื่อปรับปรุงการออกแบบ

4.5 โครงการศึกษาเพื่อพัฒนาการออกแบบส่วนผสมแอสฟัลต์คอนกรีตด้วยวิธีมาร์แชล เพื่อให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมและการจราจรของประเทศไทยในปัจจุบัน

5.  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ดำเนินการวิจัยเชิงรุกเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม เศรษฐกิจและสังคม สร้างศักยภาพและพัฒนาเศรษฐกิจด้านการผลิต การตลาดและการสร้างมูลค่าเพิ่ม การวิจัยระบบการผลิตพืชที่ยั่งยืน และความมั่นคงด้านอาหารและพลังงาน รวมถึงการพัฒนาบุคลากรและการจัดการองค์ความรู้งานวิจัย โดยแบ่งเป็น 1.งานวิจัยพืชเศรษฐกิจหลัก เช่น มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทุเรียน มังคุด พืชชุ่มน้ำ 2. พืชเศรษฐกิจเฉพาะพื้นที่ เน้นพืชที่สร้างรายได้ในชุมชน เช่น สะตอ ห้อม 3.วิจัยสาขาเฉพาะด้าน เช่น อารักขาพืช เทคโนโลยีชีวภาพ และได้มีการนำงานวิจัยมาใช้ในส่วนของการขับเคลื่อนผลงานวิจัยสู่การใช้ประโยชน์ เช่น โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง การจัดการโรคใบขาวของอ้อยโดยการใช้ท่อนพันธุ์สะอาดและการจัดการธาตุอาหาร การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชโดยการใช้สารชีอินทรีย์กำจัดแมลงเพื่อลดการใช้สารเคมี การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและป้องกันกำจัดแมลงศัตรูมะพร้าว การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทุเรียน มังคุด และมะม่วงคุณภาพ การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตปาล์มน้ำมันโดยการจัดการสวนอย่างถูกต้องเหมาะสม การปลูกมันฝรั่งพันธุ์โรงงาน นอกจากนี้ยังมีการศึกษาวิจัยในเรื่องอื่น ๆ อาทิ การศึกษาผลกระทบของราคาที่มีต่ออุปสงค์การส่งออกข้าวไทย การผลิตและการตลาดหน่อไม้ฝรั่ง การศึกษาเศรษฐกิจการผลิตการตลาดเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี : พันธุ์ข้าว กข 31เป็นต้น

จาก http://www.thanonline.com วันที่ 30 กรกฎาคม 2558

'นายกฯ'จี้ราชการเดินตามยุทธศาสตร์รบ. มอบ'ก.อุตฯ'หัวเรือใหญ่สร้างอาชีพ-รายได้/แนะให้ฟังกันอย่าไป

          "ประยุทธ์" ถกหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวง ย้ำทุกส่วนดำเนินงานตามยุทธศาสตร์ วอนร่วมมือแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เตรียมหาแนวทางแก้ "หนี้ครัวเรือน" ยันเยียวยาผู้ประสบภัยแล้งต้องทำทั่วถึง เร่งส่งเสริมอัตราจ้างงานในพื้นที่ให้เท่าเทียมกันขอทุกฝ่ายทำงานฟังกัน อย่าคิดไปเองแนะกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นหัวเรือใหญ่สร้างอาชีพ

          กทม. - เมื่อวันที่ 29 ก.ค. เวลา09.00 น.ที่ห้องประชุมกระทรวงอุตสาหกรรม ชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พล.อ.ประยุทธ์จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)เป็นประธานการประชุมคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับกระทรวงหรือเทียบเท่า ครั้งที่ 4 โดยมี นายจักรมณฑ์ผาสุกวนิช รมว.อุตสาหกรรม และนางอรรชกา สีบุญเรือง ปลัดกระทรวงเข้าร่วม

          จากนั้น พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่าวันนี้ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ได้สรุปแนวทางในการปฏิบัติงานกระทรวงอุตสาหกรรม ตามนโยบายรัฐบาล ที่รัฐมนตรีรับไปดำเนินการตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ ตนได้มาย้ำให้ทุกหน่วยให้ชัดเจนขึ้น อะไรที่เร่งด่วนจะเป็นการดำเนินงาน ปี 57-59 ระยะปานกลาง 5 ปี จะเป็นไปตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและสิ่งที่ต้องทำระยะยาว 20 ปี เป็นไปตามยุทธศาสตร์ของชาติ ซึ่งรัฐบาลเดินหน้าแบบนี้ วันนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม กฎหมาย การอำนวยความสะดวกมาตรการสิทธิประโยชน์ จะทำอย่างไรให้เกิดเมืองอุตสาหกรรมขึ้นในประเทศไทย เขตอุตสาหกรรมพิเศษก็ว่ากันไป เพราะเป็นเรื่องอนาคต ทุกอย่างต้องเดินแบบนี้ไป

          พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า เรื่องของผังเมืองกระทรวงมหาดไทยกำลังดูอยู่เพื่อความชัดเจนขึ้น ซึ่งเรื่องของผังเมืองอย่าไปกังวล ผังเมืองเขาเพียงแต่เขียนมาว่าพื้นที่ควรจะทำอะไรอย่างไร ถ้ามีความจำเป็นก็จะไปดูกันมันก็ปรับได้ทั้งหมด ถ้ามันจะต้องเกิดตรงนี้แล้วไปเขียนคุมไว้ทั้งหมด มันล็อกไว้มากๆก็ทำไม่ได้ ก็เกิดอะไรไม่ได้ทั้งสิ้น ต้องหาทางออก ทั้งนี้สำคัญต้องดูแลประชาชนที่จะได้รับผลกระทบว่า จะเดือดร้อนหรือไม่

          พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวต่อว่า จะเห็นได้ว่าวันนี้ด้านเศรษฐกิจเรามีปัญหาจากปัจจัยภายในและภายนอก อะไรก็แล้วแต่ สิ่งสำคัญที่เราเน้น วันนี้คือการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันประเทศ การสร้างความเข้มแข็งให้กับประเทศ ว่าประเทศจะสามารถเดินหน้าไปได้อย่างไร จะมีรายได้จากอะไรบ้าง การลงทุนจากตรงไหน กิจการใดวันนี้พูดกันชัดเจน ข้อสำคัญทุกกระทรวง ทบวง กรม ต้องร่วมมือซึ่งกันและกัน ปัญหาหนี้สินครัวเรือนก็ 3 แสนกว่าล้านบาท หนี้สินชาวไร่ชาวนาก็กำลังดูว่าจะทำอย่างไรให้เขาหลุดจากตรงนี้ เพราะระยะสั้นมันคงไม่ได้ ก็แค่บรรเทา ตามความเร่งด่วน สำหรับเรื่องภัยแล้ง วันนี้อยู่ในขั้นตอนการสำรวจความเสีย หายในส่วนที่ต้องดูแล

จาก http://www.siamrath.co.th  วันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

นายกฯ สั่งการปลัดกระทรวงอุตฯสานต่อ 3 นโยบายเร่งด่วน

พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวหลังการประชุมคณะหัวหน้าส่วนราชการระดับปลัดกระทรวงหรือเทียบเท่า ครั้งที่ 4/2558 ว่า รัฐบาลยังคงยืนยันถึงการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ของไทย แม้ทางสหรัฐจะจัดอันดับไทยให้คงที่ เทียร์ 3 เท่าเดิม และยืนยันว่าไม่มีรัฐบาลชุดใดที่มาจากการเลือกตั้งสามารถแก้ปัญหาได้เร็ว

ส่วนกรณีปัญหา NGO ต้าน โรงไฟฟ้าถ่านหินที่กะบี่ ยังคงย้ำว่าภาคใต้ของไทยจำเป็นต้องมีไฟ อย่างไรก็ตาม การพัฒนาแก้ปัญหาทุกอย่างต้องค่อยๆทำ ทั้งการอนุมัติ ใบอนุญาตการประกอบ/ขยายการประกอบ กิจการโรงงาน(ร.ง.4) ทุกอย่างมันเป็นไปตามขั้นตอน การวางระบบพัฒนาต้องค่อยเป็นค่อยไปดังนั้นอย่ารีบอย่าเร่งเกินไป

นางอรรชกา สีบุญเรือง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึง ผ่านมา กระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินภารกิจสำคัญตามนโยบายรัฐบาล ได้แก่ การลดอุปสรรคในการประกอบกิจการ โดยการลดขั้นตอนและระยะเวลาการพิจารณาออกใบอนุญาตการประกอบ/ขยายการประกอบ กิจการโรงงาน(ร.ง.4) ประทานบัตรและอาชญาบัตรเหมืองแร่ ใบอนุญาตแสดงเครื่องหมายมาตรฐาน (มอก.) โดยเป็นหน่วยงานนำร่องในการจัดทำคู่มือประชาชนจำนวน 269 คู่มือ สอดคล้องตาม พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาขออนุญาตจากทางราชการ พ.ศ.2558 โดยมีผลบังคับใช้มาตั้งแต่วันที่ 21 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา

"นายกฯ อยากให้เราเดินหน้าทำตามนโยบายที่วางไว้เสร็จให้ทันปีนี้หรือช้าสุดคือปี 2559 เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตที่เป็นวาระแห่งชาติ การผลิตและใช้พลาสติกชีวภาพ และเรื่องโรงถลุงเหล็ก ซึ่งนายกฯ ก็รับทราบ ส่วนเรื่องบูรณาการร่วมกันก็สั่งให้ทุกกรมทุกสำนักต้องช่วยกัน อย่างเรื่องผังเมือง การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศและการเพิ่มผลิตภาพภาคอุตสาหกรรม"

นอกจากนี้ กระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ เช่น อุตสาหกรรมอาหารและเกษตรแปรรูป มียุทธศาสตร์ผลักดันครัวไทยสู่โลก สินค้าฮาลาล การเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิต และการสร้างมูลค่าเพิ่ม/นวัตกรรม เช่น ข้าว ได้มีการพัฒนาคุณภาพข้าวหอมมะลิอินทรีย์และปุ๋ยชีวภาพ ยางพารา มีโครงการสนับสนุนสินเชื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนต่อผู้ประกอบการยาง วงเงิน 10,000 ล้านบาท การพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางเน้นการเพิ่มสัดส่วนแปรรูปภายในประเทศ และพัฒนานิคมอุตสาหกรรมยางพารา (Rubber City) อุตสาหกรรม อ้อยและน้ำตาลทราย ได้ให้ความช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของชาวไร่อ้อยฤดูกาลผลิตปี 2557/2558 รวม 16,952 ล้านบาท นอกจากนี้ยังได้ปรับปรุงหลักเกณฑ์การอนุญาตตั้งโรงงานน้ำตาล และอยู่ระหว่างการปรับยุทธศาสตร์และโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ทั้งระบบให้มีความเหมาะสม

อุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่น มีแผนผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางของอาเซียนโดยการพัฒนาทั้งระบบ ไม่ว่าจะเป็น โรงงาน บุคลากร ผลิตภัณฑ์ รวมทั้งยกระดับย่านการค้าสำคัญๆ เช่น จตุจักร สยาม สำเพ็ง เทอร์มินอล 21 ผ้าไหมโคราช และแฟชั่นมุสลิม โดยมี Product Champion คือ สิ่งทอเทคนิคเส้นใยพิเศษจากธรรมชาติ สนับสนุนอุตสาหกรรมแห่งอนาคตให้เกิดขึ้น เช่น อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ โดยเฉพาะ ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้สูงอายุ อุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ รวมทั้งแผนพัฒนาแร่เศรษฐกิจที่สำคัญ 5 ชนิด ได้แก่ ทองคำ โพแทช ควอตซ์ เหล็ก และถ่านหิน

อีกทั้งได้มีการเตรียมความพร้อมในการเปิด AEC ซึ่ง ปัจจุบันกระทรวงอุตสาหกรรมได้ปรับมาตรฐานและการรับรองตามมาตรฐานอาเซียน และคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้จัดตั้งศูนย์ทดสอบและสนามทดสอบยางล้อ UN R117 วงเงิน 602 ล้านบาท เพื่อเป็นศูนย์กลางการทดสอบในภูมิภาค รวมถึงการจัดตั้งนิคมในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เบื้องต้นได้มีการศึกษาความเป็นไปได้ในระยะแรก 3 พื้นที่ คือ ที่จังหวัดตาก สระแก้ว และสงขลา ส่วน เรื่องการกำกับดูแลภาคอุตสาหกรรมที่รัฐบาลเน้นย้ำ มีความคืบหน้าไปมาก โดยปัจจุบันมีแผนงานเร่งรัดการนำกากอุตสาหกรรมเข้าระบบภายใน 5  ปี (พ.ศ.2562) ในระดับโรงงานได้ยกระดับมุ่งสู่อุตสาหกรรมสีเขียว (Green Industry) ในระดับพื้นที่พัฒนานิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศปี 2557–2558 รวม 15 จังหวัด ประกอบด้วย สมุทรปราการ สมุทรสาคร ระยอง ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี นครปฐม ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี ขอนแก่น นครราชสีมา สระบุรี ราชบุรี สุราษฎร์ธานี และสงขลา

"ประเด็น ที่กระทรวงอุตสาหกรรม จะขอรับการสนับสนุนจาก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในการผลักดันในระดับชาติ มี 3 เรื่อง คือ 1.กำหนดให้ปี 2559 เป็นปีแห่งการเพิ่มผลิตภาพของประเทศโดยกำหนดให้เป็นวาระแห่งชาติ 2.ขอให้สนับสนุนการผลิตและการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมใหม่ที่นำผลผลิตทางการเกษตรมาแปรรูป และให้ภาครัฐรณรงค์กำหนดมาตรการจูงใจ เพื่อให้มีการใช้พลาสติกชีวภาพ และ 3.ขอให้สนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กครบวงจร เพราะเป็นวัตถุดิบตั้งต้นของอุตสาหกรรมต่างๆ สำหรับ ภาพรวมเศรษฐกิจอุตสาหกรรมในปี 2558 คาดว่า GDP ภาคอุตสาหกรรมจะขยายตัว 2-3%"

นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า โครงการก่อสร้างโรงถลุงเหล็ก ทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้นำเสนอต่อสภาพัตฯ แล้ว แต่เรื่องค้างอยู่ 4-5 เดือน ขณะนี้อยู่ระหว่างรอเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) แม้จะช้ายังคงเชื่อว่านักลงทุนญี่ปุ่นที่ยังสนใจลงทุนจะไม่ยกเลิกการ ตัดสินใจลงทุนแน่นอน ส่วนกรณีที่มีการต่อต้านของกลุ่ม NGO เรื่อง โรงไฟฟ้าถ่านหินของเหมืองแร่โปแตสที่ จ.ชัยภูมิ จำเป็นที่ต้องสร้างความเข้าใจให้ตรงกันทั้งชาวบ้านและนักลงทุนและจะไม่มีผล กระทบต่อการชะลอลงทุนของนักลงทุนเช่นกัน เนื่องจากเป็นโรงไฟฟ้าขนาดเพียง 50 เมกะวัตต์เท่านั้น ดังนั้นการจะมีปุ๋ยราคาถูกต้องมีต้นทุนที่ถูกด้วยนั่นหมายถึงการผลิตไฟฟ้า ใช้ได้เอง

"แม้เรื่องโรงไฟฟ้าจะไม่เกี่ยวกับเรา แต่ล่าสุดทางเหมืองโปรแตสก็แจ้งให้เราทราบว่านำชาวบ้านไปดูโรงไฟฟ้าที่ จ.ระยอง เป็นการสร้างความเข้าใจที่ดีขึ้น อย่างก็ตามก็ยังคงห่วงการบริโภคของประชาชนเพราะมันดึงเศรษฐกิจทั้งหมด เราคิดว่าการกระตุ้นในแบบเก่าๆ คือ sale หรือจัดโปรโมชั่นสินค้า มันโบราณแต่ได้ผลก็นับว่าจะช่วยให้การใช้จ่ายประชาชนดีขึ้น"

จาก http://www.prachachat.net   วันที่ 29 กรกฎาคม 2558

กาง6ยุทธศาสตร์ความมั่นคงน้ำ วางแผน12ปีดูแลต้นทุนสกัดท่วม-ภัยแล้ง

นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานได้จัดประชุมชี้แจงการเสนอแผนงานตามยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการบริหารจัดการภัยแล้ง ให้กับผู้บริหารระดับผู้อำนวยการสำนัก ผู้เชี่ยวชาญผู้อำนวยการโครงการชลประทาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศ หลังยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2558 ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ด้วยกัน และกำหนดระยะเวลาดำเนินการภายใน 12 ปี ตั้งแต่ปี 2558-2569 ได้แก่ 1.ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค 2.ยุทธศาสตร์การสร้างความมั่นคงเรื่องน้ำภาคการผลิต (เกษตรและอุตสาหกรรม) 3.ยุทธศาสตร์การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย 4.ยุทธศาสตร์การจัดการคุณภาพน้ำ5.ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดิน และ 6.ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำ

ทั้งนี้ กรมชลประทาน จะเป็นหน่วยงานหลักต้องรับผิดชอบ ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความมั่นคงเรื่องน้ำภาคการผลิต (การเกษตรและอุตสาหกรรม) และยุทธศาสตร์การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย โดยกำหนดเป้าหมายจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน ตลอดจนจัดหาน้ำต้นทุนเพื่อการอุตสาหกรรม รองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม และจัดหาน้ำต้นทุนเพื่อรักษาระบบนิเวศน์ รวมทั้งบริหารจัดการความต้องการใช้น้ำในด้านการเกษตร อุปโภคบริโภค อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวให้สมดุลกับปริมาณน้ำต้นทุน

“ปัจจุบันพื้นที่การเกษตรของไทยมีทั้งหมดประมาณ 149 ล้านไร่ ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่การเกษตรในเขตชลประทานประมาณ 30 ล้านไร่ ซึ่งการที่จะสร้างความมั่นคงเรื่องน้ำภาคการผลิตนั้น จำเป็นจะต้องมีการเพิ่มพื้นที่ชลประทาน ทั้งนี้จากสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับพื้นที่เกษตรน้ำฝนที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่เกษตรในเขตชลประทานพบว่า ในทางเทคนิคสามารถพัฒนาได้อีกประมาณ 18.8 ล้านไร่ จากพื้นที่เกษตรน้ำฝนทั้งประเทศที่มีอยู่ประมาณ 119 ล้านไร่ ที่เหลือจะต้องเป็นพื้นที่เกษตรน้ำฝน แต่ถ้าหากจะพัฒนาพื้นที่ชลประทานให้ได้มากกว่านี้จำเป็นจะต้องใช้เทคนิคอื่นๆ ในการจัดหาน้ำ เช่น น้ำบาดาล การผันน้ำ เป็นต้น โดยภายในปี 2569 จะต้องเพิ่มพื้นที่ชลประทานให้ได้อย่างน้อย 8.7 ล้านไร่หรือปีละ 870,000 ไร่ เป็นเรื่องที่ท้าท้ายความสามารถของกรมชลประทาน เพราะตามงบประมาณปกติจะสามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ปีละ 200,000 ไร่เท่านั้น” นายเลิศวิโรจน์กล่าว

จาก http://www.naewna.com วันที่ 29 กรกฎาคม 2558

'จักรมณฑ์'งัดขุมเหมืองแหล่งเก็บน้ำ เล็งภาคเหนือ68แปลงยกให้มหาดไทย-เกษตรดูแล   

          "จักรมณฑ์" เตรียมลงขุมเหมือง SCG หวังพัฒนาเป็นพื้นที่เก็บน้ำสู้ภัยแล้งตามนโยบาย "นายกฯตู่" เร่งกรมอุตสาหกรรมฯ เหมืองแร่รายงานพบมีขุมเหมืองร้าง ทั่วประเทศที่หมดอายุสัมปทานสามารถใช้เป็นแหล่งน้ำ 238 ประทานบัตร รวมปริมาณเก็บกักน้ำ 166 ล้าน ลบ.ม. เบื้องต้น เล็งขุมเหมืองภาคเหนือให้กระทรวงมหาดไทย-เกษตรฯพัฒนา

          นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงการใช้พื้นที่ขุมเหมือง ทั่วประเทศฟื้นฟูเป็นแหล่งเก็บน้ำใช้ทั้ง ในภาคอุตสาหกรรมและชุมชนว่า เร็ว ๆ นี้ ตนพร้อมคณะจะเดินทางลงพื้นที่ไปยังเหมืองแร่หินปูนของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) หรือ SCG ที่จังหวัดลำพูน เพื่อหารือแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ขุมเหมืองในส่วนที่หมดอายุสัมปทานไปแล้วพัฒนาให้เป็นแหล่งเก็บน้ำ

          ทั้งนี้ การออกใบอนุญาตทำเหมืองแร่จะมีข้อบังคับไว้ว่า เมื่อทำเหมืองเสร็จเรียบร้อยแล้วจะต้องมีการฟื้นฟูพื้นที่เหมืองทั้งหมดให้เป็นไปตามข้อบังคับ อาทิ ปลูกป่า เป็นแหล่งเก็บน้ำเพื่อใช้ในยามหน้าแล้ง และรองรับปริมาณน้ำฝน

          โดยพื้นที่ขุมเหมืองในภาคเหนือจะมีปริมาตรรับน้ำได้ถึง 150 ล้านลูกบาศก์เมตร เหมาะสมที่จะนำร่องเป็นพื้นที่แรก "เดิมทีเมื่อเหมืองหมดอายุสัมปทานแล้วก็จะ ปล่อยร้าง อย่างเหมืองดีบุกที่ จ.ระนอง ก็ร้างมาก่อน ต่อมาก็มีเอกชนเข้ามาซื้อเหมืองร้างพัฒนาเป็นสนามกอล์ฟ ทางกระทรวงอุตสาหกรรมเองก็ไม่ต้องการให้เป็นพื้นที่รกร้าง ก็เลยออกกฎบังคับผู้รับสัมปทานต้องเข้ามาฟื้นฟูพื้นที่ภายหลังหยุดกิจการเหมืองแล้ว"

          อย่างไรก็ตาม การบริหารจัดการเหมืองร้าง จะต้องดูขนาด-ลักษณะของเหมืองว่า มีการขุดลึกขนาดไหน คันดินกั้นโดยรอบหนาแน่นหรือไม่ เพราะหากคันดินไม่แน่นแล้วเกิดน้ำล้นจะส่งผลกระทบอื่นตามมา เช่น คันดินทลาย ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่สำรวจการทำเหมืองแร่ ทั่วประเทศ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการเพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำสำรองไว้ใช้ในช่วงแล้ง เบื้องต้น นายกรัฐมนตรีรับทราบการดำเนินการของกระทรวงอุตสาหกรรมแล้ว

          ด้าน นายสุรพงษ์ เชียงทอง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กล่าวว่า กรมได้ส่งข้อมูลเหมืองที่หมดอายุสัมปทาน ขนาดพื้นที่ และความสามารถในการรับน้ำ ให้กับนายจักรมณฑ์แล้ว โดยได้รวบรวมตำแหน่งที่ตั้ง "ขุมเหมืองเก่า" ในต่างจังหวัด จากนั้นจะทำแผนที่ขุมเหมืองแบบละเอียด ประเมินความเป็นไปได้จากเอกชนเพื่อเสนอต่อ ครม.ภายในเดือนนี้ เบื้องต้นนายจักรมณฑ์ต้องการให้พัฒนาฟื้นฟูขุมเหมืองร้างในภาคเหนือก่อน โดยจะสามารถกักเก็บน้ำได้มากถึง 150 ล้านลูกบาศก์เมตร

          ในทางปฏิบัติจะมีการแบ่งขุมเหมืองออกเป็น 2 ลักษณะ คือ หากเป็นขุมเหมือง ที่ไม่มีสารปนเปื้อนจะเก็บกักน้ำเพื่อใช้อุปโภค-บริโภค โดยให้การประปาส่วนภูมิภาคเป็นหน่วยเข้างานดูแล ภายใต้การกำกับของกระทรวงมหาดไทย ซึ่งจะเป็น ผู้ตัดสินใจว่าน้ำนั้นสามารถใช้ดื่มได้หรือไม่ กับอีกส่วนคือการนำน้ำในขุมเหมืองไปใช้ในการเกษตร โดยจะให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้ามาดูแล

          "การลงทุนเพื่อพัฒนาขุมเหมืองจะใช้งบประมาณของหน่วยงานที่เข้ามาดูแลคือ กระทรวงมหาดไทย กับกระทรวงเกษตรฯ เรื่องการฟื้นฟูเหมืองเป็นเรื่องที่กรมปฏิบัติตามแผนงานที่วางเอาไว้แล้ว ตามเงื่อนไขหมดประทานบัตรต้องฝังกลบแล้วปลูกต้นไม้ทดแทน แต่บางจังหวัดก็ขอให้ทำเป็นที่เก็บน้ำ บางจังหวัดขอให้ทำเป็นพื้นที่สาธารณะ" นายสุรพงษ์กล่าว

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

กาง6ยุทธศาสตร์ความมั่นคงน้ำ วางแผน12ปีดูแลต้นทุนสกัดท่วม-ภัยแล้ง

นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานได้จัดประชุมชี้แจงการเสนอแผนงานตามยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรน้ำและการบริหารจัดการภัยแล้ง ให้กับผู้บริหารระดับผู้อำนวยการสำนัก ผู้เชี่ยวชาญผู้อำนวยการโครงการชลประทาน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศ หลังยุทธศาสตร์ดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2558 ประกอบด้วย 6 ยุทธศาสตร์ด้วยกัน และกำหนดระยะเวลาดำเนินการภายใน 12 ปี ตั้งแต่ปี 2558-2569 ได้แก่ 1.ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค 2.ยุทธศาสตร์การสร้างความมั่นคงเรื่องน้ำภาคการผลิต (เกษตรและอุตสาหกรรม) 3.ยุทธศาสตร์การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย 4.ยุทธศาสตร์การจัดการคุณภาพน้ำ5.ยุทธศาสตร์การฟื้นฟูสภาพป่าต้นน้ำที่เสื่อมโทรมและป้องกันการพังทลายของดิน และ 6.ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการน้ำ

ทั้งนี้ กรมชลประทาน จะเป็นหน่วยงานหลักต้องรับผิดชอบ ยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความมั่นคงเรื่องน้ำภาคการผลิต (การเกษตรและอุตสาหกรรม) และยุทธศาสตร์การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย โดยกำหนดเป้าหมายจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรและเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน ตลอดจนจัดหาน้ำต้นทุนเพื่อการอุตสาหกรรม รองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม และจัดหาน้ำต้นทุนเพื่อรักษาระบบนิเวศน์ รวมทั้งบริหารจัดการความต้องการใช้น้ำในด้านการเกษตร อุปโภคบริโภค อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวให้สมดุลกับปริมาณน้ำต้นทุน

“ปัจจุบันพื้นที่การเกษตรของไทยมีทั้งหมดประมาณ 149 ล้านไร่ ในจำนวนนี้เป็นพื้นที่การเกษตรในเขตชลประทานประมาณ 30 ล้านไร่ ซึ่งการที่จะสร้างความมั่นคงเรื่องน้ำภาคการผลิตนั้น จำเป็นจะต้องมีการเพิ่มพื้นที่ชลประทาน ทั้งนี้จากสำรวจเบื้องต้นเกี่ยวกับพื้นที่เกษตรน้ำฝนที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นพื้นที่เกษตรในเขตชลประทานพบว่า ในทางเทคนิคสามารถพัฒนาได้อีกประมาณ 18.8 ล้านไร่ จากพื้นที่เกษตรน้ำฝนทั้งประเทศที่มีอยู่ประมาณ 119 ล้านไร่ ที่เหลือจะต้องเป็นพื้นที่เกษตรน้ำฝน แต่ถ้าหากจะพัฒนาพื้นที่ชลประทานให้ได้มากกว่านี้จำเป็นจะต้องใช้เทคนิคอื่นๆ ในการจัดหาน้ำ เช่น น้ำบาดาล การผันน้ำ เป็นต้น โดยภายในปี 2569 จะต้องเพิ่มพื้นที่ชลประทานให้ได้อย่างน้อย 8.7 ล้านไร่หรือปีละ 870,000 ไร่ เป็นเรื่องที่ท้าท้ายความสามารถของกรมชลประทาน เพราะตามงบประมาณปกติจะสามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ปีละ 200,000 ไร่เท่านั้น” นายเลิศวิโรจน์กล่าว

จาก http://www.naewna.com วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ส่องเกษตร : แล้ง-น้ำท่วมต้องแก้แบบบูรณาการ

กระแสปรับครม.ยังคงร้อนแรงต่อเนื่อง ยิ่งเมื่อผลสำรวจโพลล์ต่างๆล้วนออกมาในแนวทางสนับสนุนให้ นายกรัฐมนตรีปรับเปลี่ยนรัฐมนตรีใหม่ ก็ยิ่งทำให้นายกฯบิ๊กตู่ต้องตัดสินใจโดยเร็ว ซึ่งทุกโพลล์สำรวจต่างพุ่งเป้าต้องการให้เปลี่ยนทีมงานเศรษฐกิจและรัฐมนตรีในส่วนกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็เป็นหนึ่งในกระทรวงที่ติดโผสำรวจทุกโพลล์ที่ประชาชนเห็นว่า ควรจะต้องปรับเปลี่ยนใหม่ด้วย

ล่าสุด นายกฯบิ๊กตู่ออกมาส่งสัญญาณเป็นเชิงยอมรับที่จะปรับครม.แล้ว โดยระบุจะปรับครม.เมื่อถึงระยะเวลาที่เหมาะสม ซึ่งพูดเป็นนัยว่า น่าจะเป็นหลังจากที่รัฐบาลคสช.ชุดนี้มีอายุครบ 1 ปีในเดือนสิงหาคมนี้ พร้อมกับย้ำเพื่อรักษาน้ำใจคนที่กำลังจะถูกปรับออกว่า“ไม่ใช่เป็นเพราะทำอะไรผิด”

เมื่อนายกฯประยุทธ์มีท่าทียอมรับเรื่องการปรับครม.เช่นนี้แล้ว เชื่อได้ว่า การคาดเดาเรื่องโผครม.ใหม่ จะยิ่งเข้มข้นขึ้น จนกว่าโผจริงจะมีการทูลเกล้าฯและมีพระบรมราชโองการออกมา ในช่วงนี้โผเดา โผปล่อยโดยเฉพาะในส่วนกระทรวงเกษตรฯ คงว่ากันอุตลุต น่าห่วงเหมือนกันว่า จะยิ่งทำให้ข้าราชการปล่อย”เกียร์ว่าง”หรือไม่ เพื่อรอดู ใครจะไป ใครจะมา

ก็ต้องทำใจรอให้ของจริงออกมา แล้วค่อยมาว่ากันอีกที สำหรับผมเองช่วงสัปดาห์นี้ มีภารกิจยุ่งสักหน่อย ก็ขอทุ่นแรงด้วยจดหมายผู้อ่านที่ใช้นามว่า”น้ำตาเทียม” เขียนมาให้ความเห็นเรื่องน้ำท่วม-น้ำแล้งได้น่าสนใจพอสมควร โยงใยไปถึงเรื่องการเมือง ก็ลองไปดูกันเลยครับ.....

“น้ำท่วม – น้ำแล้ง ต้องแก้ไขปัญหาแบบบูรณากร – ต่อเนื่อง –ไร้สองมาตรฐาน”

ถึงปัญหาฝนแล้งจะคลี่คลายไปบ้างแล้วก็ตาม เพราะมีฝนหลวงและฝนธรรมชาติมาช่วย แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ปัญาน้ำแล้งและน้ำท่วมจะหมดไป เพราะตราบใดที่การแก้ไขปัญหายังเป็นการแก้ไขแบบ“เฉพาะหน้า” กลัวน้ำท่วมก็“บนบานศาลกล่าวขออย่าให้ฝนตก” ฝนแล้งก็แห่นางแมว เดือดร้อนทั้งตะไคร้และแมว วิชาการชลประทานก็ส่งคืนอาจารย์หมด เพราะมีแต่คำสั่งรัฐมนตรีที่ให้กักเก็บน้ำเท่าใดหรือจะปล่อยน้ำเท่าใดตามนโยบายของพรรคการเมือง

โดยเฉพาะเมื่อ “คน” ทั้งโลกรังแกธรรมชาติมากขึ้น ทำให้โลกร้อนมากขึ้น มีการตัดไม้ทำลายป่า มีการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่กักเก็บน้ำไว้เฉพาะที่ ซึ่งส่งผลให้ปัญหาน้ำท่วมและน้ำแล้งมากขึ้น การแก้ไขปัญหาของทุกประเทศก็จะต้องทำการศึกษาวิจัยผลกระทบต่างๆที่เกิดขึ้นจากมนุษย์ทั้งระบบ แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว ปัญหาเรื่องนี้เป็นปัญหาจิ๊บจ๊อยที่ผู้มีอำนาจรัฏฐาธิปัตย์ให้ความสำคัญน้อยที่สุด เพราะคิดแต่ว่า เป็นเรื่องธรมชาติ น้ำท่วมเดี๋ยวก็ลด น้ำแล้งเดี๋ยวฝนก็มา ดังนั้นการปัญหาจึงเป็แบบ “แก้ผ้าเอาหน้ารอด”ทุกครั้งไป แถมยังมีการทุจริตคอร์รัปชั่นในการแก้ปัญหาเป็นกำไร ทำให้การแก้ไขปัญาหาเรื่องนี้กลายเป็นส่วนหนึ่งของความร่ำรวยของนักการเมือง

ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งนี้จำเป็นจะต้องแก้ไขแบบบูรณาการ แต่ทุกครั้งที่การเมืองบอกว่าจะแก้ไขแบบบูรณาการก็กลายเป็น “บูรณากิน”ไปทุกที ดังนั้นการที่จะสามารถแก้ปัญห้ำท่วมน้ำแล้งหรือปัญหาใดๆได้นั้นจะต้องแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นให้สำเร็จเสียก่อน

“สองมาตรฐาน” ก็เป็นตัวการสำคัญที่ขัตขวางการแก้ไขปัญหาต่างๆ เช่นวิกฤติน้ำแล้งครั้งนี้หนักมาก จนถึงอาจจะต้อง“ห้ามประชาชนล้างรถ”และ “ขอความร่วมมือ”สนามกอล์ฟให้ใช้น้ำสำรอง ภาษาไทยคำว่า “ห้าม” กับ“ขอความร่วมมือ” นั้นมีน้ำหนักแตกต่างกันชัดเจน แสดงว่ามาตรฐานที่ใช้กับประชาชนและสนามกอล์ฟนั้นแตกต่างกันเป็นสองมาตรฐาน ทำให้แก้ปัญหาไม่สำเร็จเท่าที่ควร

อำนาจก็เหมือนเสรีภาพที่ต้องมี“ขอบเขต” รัฐธรรมนูญจะเป็นขอบเขตของทั้งอำนาจและเสรีภาพ โดยมีศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้คุ้มกฏ บ้านเมืองจะสงบสุขได้เพราะรัฐธรรมนูญและศาลรัฐธรรมนูญศักดิ์สิทธิ์ ถ้ารัฐธรรมนูญเป็นเพียง“พระไตรปิฎกในตู้” และศาลรัฐธรรมนูญเป็นเพียง

“ศาลพระภูมิ” เหมือนเช่นที่ระบอบทักษิณต้องการ บ้านเมืองก็วุ่นวายไม่รู้จบเช่นทุกวันนี้

 “อำนาจคู่ขนาน”เป็นสิ่งที่ สปช.ควรหาวิธีทำให้เกิดขึ้นให้ได้ เพราะการให้การเมืองเป็น“นาย”และราชการเป็น “บ่าว”นั้นสร้างความเสียหายแก่ชาติมามากแล้ว ปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้ง พิสูจน์ให้เห็นชัดเจน นอกจากนั้นการเมืองยังไม่ยอมรับความผิดตัวเอง เมื่อเกิดปัญหาประจานก็ป้ายสีข้าราชการว่าไม่สนองนโยบายหรือบกพร่องต่อหน้าที่ แล้วก็โยกย้ายกลบเกลื่อนความผิดทุกครั้ง

สมควรที่จะต้องนำไปทบทวน  และกรุณานำเรื่อง“อำนาจคู่ขนาน”ไปวิเคราะห์ด้วย เพราะน่าจะมีประโยชน์มากกว่าระบบ “นาย – บ่าว”

จาก http://www.naewna.com วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ภัยแล้งฉุดเศรษฐกิจการเกษตรติดลบ

จากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นและมีแนวโน้มรุนแรงต่อเนื่องยาวนานตั้งแต่ปลายปี 2557 ถึงปัจจุบัน ภาครัฐจึงต้องขอความร่วมมือจากชาวนางดการทำนาปรังและเลื่อนการทำนาปีออกไปในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา จากเหตุการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจในภาพรวม โดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในช่วงครึ่งแรกของปี 2558 พบสัญญาณติดลบสูงสุดในรอบ 36 ปี

ทั้งนี้ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) ประเมินปัจจัยในครึ่งปี 2558 พบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ชะลอตัวลงถึง ร้อยละ 9.4 เนื่องมาจากประเทศคู่ค้าภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่ลดลงทำให้ชะลอการนำเข้าสินค้าเกษตรจากไทย ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในช่วงครึ่งแรกของปี 2558 หดตัวหรือติดลบร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2557 โดยครึ่งปีแรกของปี 2557 มูลค่าจีดีพีภาคเกษตรอยู่ที่ 212,374 ล้านบาท ส่วนครึ่งปีแรกของปี 2558 อยู่ที่ 203,454 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าที่ลดลงร้อยละ 4.2

และคาดว่าแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจการ เกษตรทั้งปี 2558 จะติดลบอยู่ในช่วงร้อยละ -4.3--3.3 จากปี 2557 ที่มีมูลค่า 422,453 ล้านบาท คาดว่าจะลดลงเหลือ 406,400 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นภาวะเศรษฐกิจการเกษตรที่ติดลบหนักสุดในรอบ 36 ปี เช่นเดียวกับ สาขาบริการทางการเกษตร ที่ในช่วงครึ่งแรกของปี หดตัวร้อยละ 6.6 เนื่องจากผลกระทบจากการจ้างบริการเตรียมดิน ไถพรวนดิน และการให้บริการเกี่ยวนวดข้าวลดลง

ตามพื้นที่เพาะปลูกและเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังที่ลดลง รวมทั้งการงดทำนาปีในพื้นที่เขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัดในช่วงเดือน พ.ค.–มิ.ย. ขณะที่สาขาอื่นมีการขยายตัว ประกอบด้วย สาขาปศุสัตว์ ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากสินค้าปศุสัตว์สำคัญทั้งไก่เนื้อ สุกร ไข่ไก่ และน้ำนมดิบที่ขยายการเลี้ยง สาขาประมง ขยายตัวร้อยละ 2.2 จากผลผลิตกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงที่เพิ่มขึ้นหลังการฟื้นตัวจากปัญหาโรค EMS และ สาขาป่าไม้ ขยายตัวร้อยละ 3.5 จากผลผลิตป่าไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้ยางพาราที่เพิ่มขึ้นตามพื้นที่ตัดโค่นสวนยางพาราเก่าของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.)

ขณะที่ไม้ยูคาลิปตัสเพิ่มขึ้นตามความต้องการใช้กระดาษทั้งในและต่างประเทศ ส่วนน้ำผึ้งขยายตัวเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่ค่อนข้างเอื้ออำนวยและการเร่งผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศส่วนสาขาพืช ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ หดตัวร้อยละ 7.3 จากการลดลงของผลผลิตพืชสำคัญ ได้แก่ ข้าวนาปรัง ในเขตพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาและแม่กลองที่มีเนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตที่ลดลงจากปัญหาภัยแล้ง

ส่วนสับปะรดโรงงานลดลงจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งทำให้ต้นไม่สมบูรณ์จึงไม่ให้ผลผลิต ยาง พาราลดลงจากน้ำยางในภาคอีสานที่ลดลงจากภัยแล้งและการตัดโค่นพื้นที่สวนยางพาราเก่า ปาล์มน้ำมันลดลงจากจำนวนทะลายที่ลดลงเพราะอากาศร้อนและขนาดทะลายเล็ก

นอกจากนี้อากาศร้อนยังส่งผลให้ผลไม้ลดลง ได้แก่ ทุเรียน มังคุด และเงาะ ส่วนพืชที่ผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปีภาคใต้ มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากพื้นที่เพาะปลูกที่เพิ่มขึ้น ลำไยนอกฤดูเพิ่มขึ้นจากผลผลิตในภาคกลางทยอยออกสู่ตลาดในช่วงครึ่งปีหลังยังคงต้องเฝ้าติดตามและประเมินสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงอย่างใกล้ชิด เพื่อหามาตรการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าบรรเทาความเดือดร้อนแก่เกษตรกร

ที่สำคัญยังต้องติดตามภาวะเสี่ยงฟองสบู่แตกของเศรษฐกิจจีน หลังดัชนีตลาดหลักทรัพย์จีนหดตัวลงกะทันหันรวมถึงสัญญาณความซบเซาของตลาดอสังหาริมทรัพย์จากการหดตัวของการบริโภคภายในประเทศจีน ซึ่งอาจส่งผลกระทบ ประเทศไทย ดังนั้น เกษตรกรควรปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่มีแนวโน้มว่าจะรุนแรงมากขึ้น.

จาก http://www.dailynews.co.th  วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กรมชลฯ เร่งขุดลอกแหล่งน้ำเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง

อธิบดีกรมชล เผย เร่งขัดลอกแหล่งน้ำและแก้มลิง แก้ภัยแล้ง ดำเนินการไปแล้ว 21% เน้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา

นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ขณะนี้ กรมชลประทาน ได้ดำเนินการโครงการสนับสนุนแก้ภัยแล้งเร่งด่วน ตามนโยบายของนายกรัฐมนตรี ในการขุดลอกแหล่งน้ำและแก้มลิง เตรียมไว้สำหรับรองรับน้ำฝนที่จะตกลงมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2558 เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง กว่า 900 แห่งทั่วประเทศ คาดว่าจะสำรองน้ำไว้มากกว่า 350 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งปัจจุบันดำเนินการไปแล้วกว่าร้อยละ 21

สำหรับในลุ่มน้ำเจ้าพระยา กรมชลประทาน มีแผนดำเนินการทั้งหมด 27 แห่ง ในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง อุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา และ นนทบุรี เพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักได้ประมาณ 1.88 ล้านลูกบาศก์เมตร โดย กรมชลประทาน ได้จัดส่งรถขุดจำนวน 40 คัน เข้าไปเร่งดำเนินการขุดลอกให้แล้วเสร็จ

ภายในเดือนกรกฎาคม 2558 นี้ จำนวน 8 แห่ง ได้แก่ หนองตาเมฆ หนองบอน หนองสาหร่าย บึงกระจับใหญ่ บึงละหาน สระเขากา สระหนองจอก และ สระสาธารณะคลองส่งน้ำ 9 ขวา สามารถเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักไว้ใช้ในฤดูแล้งที่จะถึงนี้ ได้ประมาณ 193,400 ลูกบาศก์เมตร โดยหนึ่งในนั้นเป็นการขุดร่องชักน้ำจากบึงไปช่วยเหลือพื้นที่ปลูกข้าวที่กำลังตั้งท้อง ประมาณ 3,000 ไร่

จาก http://www.innnews.co.th   วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการคาดทำฝนหลวงถึง ต.ค.

ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ เผยทำหลวงถึงเดือน ต.ค. จนว่าภัยแล้งจะคลี่คลาย ยันไม่ขาดแคลนสารตั้งต้นแน่นอน

น.ส.หนึ่งฤทัย ตันติพลับทอง ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงความคืบหน้าการปฏิบัติการทำฝนหลวง ว่า ขณะนี้ยังดำเนินการต่อเนื่อง ส่วนใหญ่จะเน้นทางตอนบนของเขื่อนภูมิพล ส่วนพื้นที่ลุ่มแม่น้ำปิงช่วงนี้เริ่มมีฝนตก และท้องฟ้าปิด ทำให้ไม่สามารถปฏิบัติการได้ชั่วคราว โดยการบินแต่ละครั้งจะมีการเช็กสภาพอากาศ โดยใช้เรดาร์ตรวจและดาวเทียมตรวจสอบ เพื่อความปลอดภัยของการบิน นอกจากนี้ ยังได้เปิดหน่วยปฏิบัติการที่จังหวัดแพร่เพิ่มเติม พร้อมกับเตรียมตั้งฐานเติมสารที่จังหวัดตาก ในวันที่ 3 ส.ค. เพื่อเติมน้ำในเขื่อนภูมิพลอีกด้วย ทั้งนี้ คาดว่าจะปฏิบัติการถึงเดือนตุลาคม หรือจนกว่าสถานการณ์ภัยแล้งจะคลี่คลาย ซึ่งก็ยังถือว่าน้ำในเขื่อนภูมิพลขณะนี้ยังวิกฤตอยู่ แต่เนื่องจากช่วงนี้มีปริมาณฝนเพิ่ม ทำให้มีน้ำไหลเข้าในเขื่อนมากขึ้นแล้ว

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า สารตั้งต้นในการปฏิบัติการทำฝนหลวง มีเพียงพอและไม่ขาดแคลนแน่นอน

จาก http://www.innnews.co.th   วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เกษตรชงมาตรการช่วยเกษตรกรเจอภัยแล้งสัปดาห์หน้า

รมว.เกษตรฯ เผย ชงมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรประสบภัยแล้งเข้าครม. สัปดาห์หน้า นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ยังไม่ได้พิจารณามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง เนื่องจากสำนักงบประมาณยังตรวจตัวเลขไม่เสร็จอย่างไรก็ตามคาดว่าอังคารที่ 4 ส.ค. คงได้เข้าพิจารณาแน่

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าครม. ยังไม่มีวาระการช่วยเหลือเกษตรกรเข้าพิจารณามีแต่การอนุมัติเพื่อขยายระยะเวลาการดำเนินโครงการสร้างรายได้และพัฒนาการเกษตรและชุมชนเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งตามที่กระทรวงเกษตรเสนอโดยโครงการนี้ได้รับอนุมัติจากครม.ในช่วงเดือนม.ค. 2558เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ 3,052 ตำบลของ 58 จังหวัด โดยเป็นโครงการจ้างงานทั้งในโครงการสร้างถนน ขุดลอกคูคลองโดยเป็นโครงการที่แต่ละตำบลคิดและเสนอภายใต้การแนะนำของกระทรวงเกษตรกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงกลาโหมโดยจะให้เงินสนับสนุนตำบลละ 1 ล้านบาททั้งนี้กรอบเวลาโครงการเริ่ม ก.พ.-มิ.ย. 2558

ทั้งนี้พบ วันที่ ที่ 25 มิ.ย. ปรากฏว่ามีการเสนอโครงการเข้ามา 6,598โครงการ มูลค่าประมาณ 3,000 ล้านบาท ซึ่งได้มีโครงการที่ดำเนินการแล้ว 5,425 โครงการ แต่มีโครงการที่เริ่มดำเนินการแล้วแต่ยังไม่แล้วเสร็จ1,713 โครงการ มีความล่าช้าเนื่องจากอาจเกิดฝนตกหนักในพื้นที่มีการปรับรูปแบบการก่อสร้างในบางโครงการทำให้ไม่สามารถดำเนินการแล้วเสร็จได้ในเดือนก.ค กระทรวงเกษตรฯ จึงต้องเสนอให้ขยายระยะเวลาดำเนินการออกไป

ในมูลค่าการลงทุนทั้ง 3,000 กว่าล้านบาทปัจจุบันมีการเบิกจ่ายไปแล้ว 2,700 ล้านบาท หรือประมาณ 72% กว่าจึงเหลืออยู่ประมาณ 7% กว่าที่ยังไม่ได้เบิกจ่ายครม.ก็ได้อนุมัติตามที่กระทรวงเกษตรฯเสนอให้ขยายระยะเวลาโครงการออกไปสิ้นสุดสิ้นเดือน ส.ค.

ซึ่งเรื่องนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้ถามว่าทั้งหมดนี้มีประชาชนได้ประโยชน์มากน้อยแค่ไหนกระทรวงเกษตรฯ ระบุว่าจะมีประชาชนทั้งแบบจ้างเหมาและจ้างงานรายบุคคลได้ประโยชน์ประมาณ9 แสนราย พล.ต.สรรเสริญ กล่าว

นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงกรณีที่เจ้าหน้าที่กรมชลประทานคนหนึ่งได้พูดในลักษณะเสนอแนะให้รัฐบาลนำมาตรา44 มาใช้ในการผลักดันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่กรมชลประทานได้ศึกษาไว้แล้วในการประชุมชี้แจงยุทธศาสตร์จัดการทรัพยากรน้ำและบริหารภัยแล้งแก่เจ้าหน้าที่กรมชลประทาน เมื่อวันที่24 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ว่าแนวคิดดังกล่าวเป็นเพียงความคิดเห็นส่วนบุคคลเท่านั้นซึ่งเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินการโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดใหญ่นั้น

กรมชลประทานมีแนวทางที่ชัดเจนและเป็นขั้นตอนอยู่แล้วคือมุ่งเน้นการปฏิบัติตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่งครัดครบถ้วนในทุกขั้นตอน ตั้งแต่ขั้นตอนการศึกษาความเหมาะสมการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมการนำเสนอคณะกรรมการด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องพิจารณาตามหลักเกณฑ์จนถึงขั้นตอนสุดท้ายที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการ

" สำหรับการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ต่างๆ อาทิ เขื่อนแม่วงก์โครงการโขง-เลย-ชี-มูล โครงการพิษณุโลกฝั่งซ้าย เป็นต้นหากได้รับอนุมัติโครงการกรมชลประทานมีความพร้อมที่จะดำเนินการได้ในทันที" อธิบดีกล่าว

สำหรับการขุดลอกแหล่งน้ำตามนโยบายรัฐบาลในยุทธศาสตร์น้ำระยะเร่งด่วนขณะนี้กรมชลประทานได้ดำเนินการโครงการสนับสนุนแก้ภัยแล้งเร่งด่วนตามนโยบายของนายกรัฐมนตรีในการขุดลอกแหล่งน้ำและแก้มลิงเตรียมไว้สำหรับรองรับน้ำฝนที่จะตกลงมาตั้งแต่เดือนส.ค. 2558เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง กว่า 900 แห่งทั่วประเทศคาดว่าจะสำรองน้ำไว้มากกว่า 350 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) ซึ่งปัจจุบันดำเนินการไปแล้วกว่า21 %สำหรับในลุ่มน้ำเจ้าพระยา กรมชลประทาน มีแผนดำเนินการทั้งหมด 27 แห่งในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทองอุทัยธานี ลพบุรี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา และนนทบุรีเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักได้ประมาณ1.88 ล้านลบ.ม. โดยกรมชลประทานได้จัดส่งรถขุดจำนวน 40 คันเข้าไปเร่งดำเนินการขุดลอกให้แล้วเสร็จภายในเดือนก.ค. นี้ 2558 นี้จำนวน 8 แห่ง ได้แก่ หนองตาเมฆ หนองบอน หนองสาหร่าย บึงกระจับใหญ่บึงละหาน สระเขากาสระหนองจอก และ สระสาธารณะคลองส่งน้ำ 9 ขวาสามารถเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักไว้ใช้ในฤดูแล้งที่จะถึงนี้ ได้ประมาณ193,400 ลบ.ม

จาก http://www.posttoday.com   วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

จัดโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ เน้นแก้ปัญหาทุกด้าน-ให้ความรู้ชาวนา

นายอำนวย ปะติเส รมช.เกษตรฯ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานพิธีเปิดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ณ องค์การบริหารส่วนจังหวัดลำพูน จังหวัดลำพูน ว่า โครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ เป็นโครงการสำคัญตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นอีกรูปแบบหนึ่งของการให้บริการแก่เกษตรกร โดยการถ่ายทอดความรู้และแก้ไขปัญหาให้เกษตรกรในพื้นที่ในคราวเดียวกัน เกษตรกรจะได้รับทั้งความรู้ด้านวิชาการ และบริการแก้ไขปัญหาแบบครบวงจรในทุก ๆ ด้าน ทั้งด้านดิน น้ำ พืช ปศุสัตว์ ประมง สหกรณ์ บัญชี กฎหมาย และอื่น ๆ โดยจะนำบุคลากร อุปกรณ์ เครื่องมือ และองค์ความรู้ด้านเกษตรกรมาให้บริการแก่เกษตรกรถึงในพื้นที่ นอกจากนี้ ยังได้บูรณาการกับหน่วยงานต่าง ๆ มาให้บริการแก่ผู้เข้าร่วมชมงานอีกด้วย

ทั้งนี้กระทรวงเกษตรฯได้จัดทำโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ ซึ่งเป็นโครงการที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม รับไว้เป็นโครงการในพระราชานุเคราะห์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บริการแก้ไขปัญหาและให้ความรู้ด้านการเกษตรได้อย่างรวดเร็ว ครบถ้วนทุกด้าน ในคราวเดียวกันตามความต้องการของเกษตรกร ซึ่งเป็นการบูรณาการความร่วมมือกันระหว่างหน่วยงานวิชาการ หน่วยงานส่งเสริม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนา ฟื้นฟูเกษตรกรให้สามารถทำการผลิตทางการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยเปิดให้บริการมาตั้งแต่ ปี 2545 จนถึงปัจจุบันมีเกษตรกรมาเข้ารับบริการแล้วจำนวนทั้งสิ้น  2,919,978 ราย จึงขอให้เกษตรกรที่มาร่วมงานใช้โอกาสนี้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยเข้ารับบริการหรือขอรับคำปรึกษากับเจ้าหน้าที่ตามคลินิกต่าง ๆ ให้มากที่สุด เพื่อจะได้นำความรู้ที่ได้รับไปแก้ปัญหา และพัฒนาอาชีพให้มีความเจริญก้าวหน้าและยั่งยืน ส่วนเจ้าหน้าที่ที่มาให้บริการ  ขอให้ตั้งใจปฏิบัติงานอย่างเต็มกำลังความสามารถ และเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจ ให้สรุปประเด็นปัญหาของเกษตรกรเป็นรายบุคคล และภาพรวมของพื้นที่ เพื่อจะได้ใช้เป็นข้อมูลประกอบการวางแผนพัฒนา พร้อมทั้งให้ติดตามผลการให้บริการอย่างใกล้ชิด และออกให้บริการเกษตรกรในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง

สำหรับการจัดงานที่เกิดขึ้นนั้นทาง กระทรวงเกษตรฯได้จัดทำโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ ทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 28 กรกฎาคม - 31 สิงหาคม 2558 โดยกำหนดให้จังหวัดลำพูน นครศรีธรรมราช นครพนม และประจวบคีรีขันธ์ เป็นจังหวัดตัวแทนของภูมิภาคต่าง ๆ เปิดงานเทิดพระเกียรติระดับประเทศพร้อมกันในวันที่ 28 กรกฎาคม 2558 และให้จังหวัดลำพูนเป็นจุดเปิดงานโครงการ พร้อมทั้งจัดให้มีการลงนามถวายพระพร การฝึกอาชีพ นิทรรศการส่งเสริมการเกษตร การประกวดผลผลิตทางการเกษตร การจำหน่ายสินค้าคุณภาพจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มเกษตรกร และการให้บริการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยคาดว่าจะมีเกษตรกรมาร่วมงานและเข้ารับบริการความรู้ทางการเกษตร ในจังหวัดตัวแทนของทั้ง 4 ภูมิภาคดังกล่าว ไม่น้อยกว่า 6,000 คน

จาก http://www.naewna.com วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พิจารณาแผนดำเนินงานปี58-59 ชี้เพื่อปรับโครงสร้างผลิตสินค้าเกษตร

นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนระบบการส่งเสริมการเกษตรให้เป็นแปลงใหญ่และการปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร ณ ห้องประชุมAEOC ชั้น 2 อาคารศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ว่า จากการรายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปี 2558ได้พิจารณาคัดเลือกพื้นที่ สินค้า และชื่อผู้จัดการแปลง โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัด เพื่อดำเนินการระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ รวมทั้งสิ้น 263 แปลง 28 ชนิดสินค้า ได้แก่ ด้านพืช 21 ชนิด จำนวน 241 แปลง ด้านปศุสัตว์ 3 ชนิด ด้านประมง 3 ชนิด และเกษตรผสมผสาน1 ชนิด จำนวน 2 แปลง ซึ่งได้มีการจัดทำข้อมูลรายแปลง และการพัฒนาทักษะผู้จัดการแปลง

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตร ได้พิจารณาแผนการดำเนินงานในปี 2558 ในช่วงระหว่างเดือนสิงหาคม – กันยายน และแนวทางการดำเนินการปี 2559 เพื่อทบทวนและเตรียมการในปีถัดไป ซึ่งเน้นให้มีการจัดอบรมผู้จัดการแปลง จำนวน 252 ราย ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงให้จัดทำแผนพัฒนาพื้นที่แปลงใหญ่แบบมีส่วนร่วม โดยการทำประชาคมร่วมกับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกันยายนนี้ โดยจะต้องมีความชัดเจนและสามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

 จาก http://www.naewna.com วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สุพรรณฯลงปฏิบัติการเคลื่อนที่เร่งสร้างการรับรู้ภาคการเกษตร   

          นายมนูญ อยู่ดี สหกรณ์จังหวัดสุพรรณบุรี ในฐานะหัวหน้าชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เพื่อสร้างการรับรู้ภาคการเกษตร ประจำอำเภอสามชุก เป็นประธานการประชุมชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เพื่อสร้างการรับรู้ภาคการเกษตรประจำอำเภอสามชุก โดยมีคณะทำงานจากเจ้าหน้าที่ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมประชุม ณ สำนักงานสหกรณ์จังหวัดสุพรรณบุรี

          นายมนูญ กล่าวว่า สืบเนื่องจาก นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยารมว.เกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายให้มีการจัดตั้งชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่สร้างการรับรู้ภาคเกษตร เพื่อให้ทุกภาคส่วนในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีการบูรณาการการทำงานในภูมิภาคร่วมกันแบบไม่เป็นทางการ เช่น การลงพื้นที่พบปะเกษตรกรการพูดคุยกับเกษตรกรเพื่อให้คำแนะนำการรับฟังปัญหาความเดือดร้อนรวมถึงการหามาตรการช่วยเหลือต่างๆ อาทิ การสร้างอาชีพ ทั้งด้านพืช ประมงปศุสัตว์ และส่งเสริมการร่วมกลุ่มเพื่อสร้างขวัญกำลังใจและรับข้อคิดเห็นของเกษตรกร ซึ่งจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นที่ดีต่อภาครัฐและร่วมพัฒนาประเทศไปในทิศทางที่เหมาะสมถูกต้อง

          นายมนูญ กล่าวเพิ่มเติมว่า การประชุมครั้งนี้ เพื่อหารือร่วมกับคณะทำงานชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่เพื่อสร้างการรับรู้ภาคการเกษตรประจำอำเภอสามชุก ในการออกปฏิบัติการเยี่ยมเยียน รับฟังปัญหาความเดือดร้อน สร้างขวัญกำลังใจและรับข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากเกษตรกร เพื่อนำไปสู่แนวทางการพัฒนาภาคการเกษตรในแต่ละพื้นที่ตามความเหมาะสม พร้อมปรับตัวและสร้างภูมิคุ้มกันต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

จาก http://www.siamrath.co.th  วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

‘BEDO’เดินหน้า ขยายองค์ความรู้ เศรษฐกิจชีวภาพ

ผศ.ดร.วีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ เปิดเผยว่า สำนักงานพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ (องค์การมหาชน) หรือ BEDO ต้องขยายการสร้างความเข้าใจและการรับรู้เรื่อง Biodiversity หรือความหลากหลายทางชีวภาพ และ Bio-economy เศรษฐกิจชีวภาพ พร้อมไปกับการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานชีวภาพ ตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คือ เน้นแนวทางที่เห็นเป็นรูปธรรม สัมผัสได้ ทำให้สังคมรับรู้ เข้าใจ บทบาทหน้าที่ของ BEDO ซึ่งต้องอาศัยกลไกความร่วมมือกับทุกภาคส่วน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน วิสาหกิจชุมชน เพื่อให้เกิดความสมบูรณ์ตั้งแต่ภาคการผลิตถึงภาคการตลาด และมุ่งเป้าหมายไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ให้ได้ จึงจะนับเป็นการพัฒนาที่สำเร็จสมบูรณ์และยั่งยืน สำหรับในปี 2558 ได้ดำเนินงานในการการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน และ การเสริมสร้างธุรกิจจากฐานชีวภาพ ซึ่งถือว่าตรงตามเป้าหมายของการส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มมูลค่าการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่น

“ในปี 2559 BEDO มีแผนการรักษาความมั่นคงของฐานทรัพยากรธรรมชาติและแก้ปัญหาที่ดินทำกิน โดยเน้นกิจกรรมหลักในการสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ในการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพ และจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ด้านความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นสำหรับคนเมือง” ผศ.ดร.วีระพงศ์ มาลัย กล่าวทิ้งท้าย

จาก http://www.naewna.com วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ปัญหาเกษตร ที่นี่มีคำตอบ : ‘ขาดน้ำ’ ผลกระทบต่อผลผลิตพืช

คำถาม ขอทราบว่าในช่วงขาดน้ำนี้ จะมีผลกระทบต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตพืชแค่ไหน อย่างไร

สิทธิ พงษ์ชม อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์

คำตอบ การเจริญเติบโตและผลผลิตของพืชที่ปลูกในดิน ซึ่งมีความอุดมสมบูรณ์สูง อาจลดลงอย่างมากเพียงพืชขาดน้ำเล็กน้อย หรือขาดน้ำระยะใดระยะหนึ่งของการเจริญเติบโตเท่านั้น ตรงกันข้ามพืชที่ปลูกในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำกว่า การขาดน้ำเพียงเล็กน้อย อาจไม่กระทบกระเทือนต่อผลผลิตเลย

นักวิชาการในต่างประเทศได้ทำการศึกษาและวิจัย พบว่า ช่วงระยะการเจริญเติบโตของพืช ซึ่งขาดน้ำมีความสำคัญอย่างมากต่อผลผลิตพืช ได้แก่ ช่วงต่อระหว่างระยะการเจริญเติบโตทางต้นและใบ และระยะที่พืชออกดอก หรือช่วงที่พืชกำลังเริ่มสร้างช่อดอก หรือผสมเกสร หากพืชขาดน้ำช่วงนี้ ผลผลิตจะลดลงมาก ทั้งนี้ สาเหตุใหญ่มาจากเมล็ดลีบ หรือไม่ติดเมล็ดนักวิชาการเกษตร จากกรมวิชาการเกษตรได้เคยรายงานว่า ข้าวโพดที่ได้รับน้ำเต็มที่จะให้ผลผลิต 1,392 กก./ไร่ แต่ถ้าปล่อยให้ข้าวโพดขาดน้ำเพียงแค่เหี่ยวระยะสั้นๆ ในช่วงที่ข้าวโพดกำลังออกใหม่ผลผลิตลดลงเหลือ 1,376 กก./ไร่และเมื่อปล่อยให้ข้าวโพดเหี่ยวในช่วงนี้ต่อไปอีก 6-8 วัน ผลผลิตลดลงเหลือเพียง 800 กก./ไร่ เท่านั้น การทดลองเดียวกันนี้ ยังพบว่า ถ้ามีการให้น้ำเฉพาะช่วงข้าวโพดออกดอกตัวผู้ แต่ระยะอื่นๆ ขาดน้ำ จะได้ผลผลิตถึง 960 กก./ไร่ การทดลองนี้ แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของระยะการเจริญเติบโตของพืช และระยะเวลาในการขาดน้ำต่อความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผลผลิต

นอกจากนี้ การตอบสนองของพืชแต่ละชนิดต่อการขาดน้ำนั้น พบว่า ไม่เหมือนกัน บางพืชเมื่อกระทบแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงแล้ว ผลผลิตจะลดลงอย่างมาก ขณะที่บางพืชลดลงเล็กน้อย การที่มีน้ำชลประทานเสริมในขณะฝนทิ้งช่วง บางครั้งทำให้ผลผลิตพืชเพิ่มขึ้นอย่างมากตัวอย่าง เคยมีการทดลองในประเทศอินเดีย พบว่า การให้น้ำเสริมเพียง 5 เซนติเมตร ในช่วงฝนแล้งสามารถเพิ่มผลผลิตของพืชต่างๆ ได้ เช่น ทานตะวัน เพิ่ม 32% ข้าวโพด เพิ่ม 95% ข้าวฟ่างเพิ่ม 106% เป็นต้นสำหรับความเสียหายต่อผลผลิต เมื่อพืชขาดน้ำ ในช่วงระยะการเจริญเติบโตต่างๆ

ตัวอย่างเช่น

-ข้าวโพด หากมีการขาดน้ำช่วงของการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ ผลผลิตจะลดลง 25% หากขาดน้ำช่วงข้าวโพดออกดอกตัวผู้ ออกไหม หรือเริ่มสร้างเมล็ด ผลผลิตจะลดลง 50%

-ข้าวฟ่าง หากมีการขาดน้ำช่วงของการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ ผลผลิตจะลดลง 25% หากขาดน้ำช่วงตั้งท้อง ผลผลิตจะลดลง 36% ช่วงออกช่อ-เริ่มสร้างเมล็ด ผลผลิตจะลดลง 45% ช่วงหลังสร้างเมล็ด ผลผลิตจะลดลง 25%

-ข้าว หากมีการขาดน้ำช่วงของการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ ผลผลิตจะลดลง 17% หากขาดน้ำช่วงสร้างรวงอ่อน-รวงแก่เต็มที่ ผลผลิตจะลดลง 30%

-ฝ้าย หากมีการขาดน้ำช่วงเริ่มออกดอก ผลผลิตจะลดลง 21% ออกดอกเต็มที่ ผลผลิตจะลดลง 32% ช่วงหลังๆ ของการออกดอก ผลผลิตจะลดลง 20%

-ถั่วเหลือง หากมีการขาดน้ำช่วงของการเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ ผลผลิตจะลดลง 12%

เริ่มออกดอก-ออกดอกเต็มที่ ผลผลิตจะลดลง 24% ช่วงหลังๆ ของการออกดอก-เริ่มติดฝัก ผลผลิตจะลดลง 35% ช่วงหลังๆ ของการติดฝัก-ฝักแก่เต็มที่ ผลผลิตจะลดลง 13%

การปลูกพืช จึงต้องให้ได้รับน้ำอย่างเพียงพอและเหมาะสมตามระยะเวลาที่ต้องการ สภาพการปลูกพืชที่อาศัยน้ำฝนตามดูกาลเพียงอย่างเดียว อาจมีโอกาสที่พืชจะขาดน้ำในระยะใดระยะหนึ่งได้มาก เช่นเมื่อประสบกับปัญหาฝนทิ้งช่วงจนพืชขาดน้ำนแรงจนกระทั่งตายได้ หรือหากฝนตกมากเกินไปจนทำให้เกิดน้ำท่วมขังจนต้นพืชเหี่ยวเฉา เนื่องจากรากขาดอากาศจนกระทั่งตายได้เช่นกัน ดังนั้น น้ำ จึงมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตต่อพืชและผลผลิตอย่างมาก

จาก http://www.naewna.com วันที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สัญญาณบาทอ่อนแตะ 35

คอลัมน์ ภาวะหุ้นเงินบาท

ภาวะตลาดหุ้นไทยสัปดาห์ก่อน (20-23 ก.ค.) ปรับฐานลงรุนแรง เริ่มต้นสัปดาห์ (20 ก.ค.) มีแรงเทขายหุ้นเพื่อปิดความเสี่ยงโดยเฉพาะกลุ่มธนาคาร, น้ำมัน และปิโตรเคมี หลังค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่า กดดันต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และนักลงทุนบางส่วนยังเลี่ยงลงทุนเพื่อรอดูความชัดเจนของตลาด ดัชนีปิดที่ 1,466.71 จุด ลดลง 12.60 จุด หรือ 0.85% มูลค่าการซื้อขาย 25,246.56 ล้านบาท

กลางสัปดาห์ (22 ก.ค.) ดัชนีกลับมารีบาวนด์ได้อีกครั้ง จากแรงช้อนซื้อในกลุ่มหุ้นที่ลดลงแรง ๆ ของนักลงทุนบางส่วน อาทิ กลุ่มแบงก์, ปิโตรเคมี และวัสดุก่อสร้าง เป็นต้น ดันดัชนีปิดที่ 1,447.84 จุด บวก 0.40 จุด หรือ 0.03% มูลค่าการซื้อขาย 39,970.26 ล้านบาท

ท้ายสัปดาห์ (23 ก.ค.) นักลงทุนยังวิตกทิศทางเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว รวมถึงเงินบาทที่อ่อนค่าแตะ 34.70 บาท และมีโอกาสอ่อนลงได้อีก แต่ก็ไม่ช่วยหนุนภาคการส่งออกขยายตัวได้มากขึ้นในช่วงสั้น ทำให้ดัชนีปิดที่ 1,444.66 จุด ลดลง 3.18 จุด หรือ 0.22% มูลค่าการซื้อขาย 29,169.88 ล้านบาท

ทั้งนี้ช่วง 4 วันทำการ นักลงทุนต่างประเทศขายสุทธิ 5,412.20 ล้านบาท บัญชีบริษัทหลักทรัพย์ขายสุทธิ 1,481.42 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันขายสุทธิ 600.34 ล้านบาท และนักลงทุนรายย่อยซื้อสุทธิ 7,493.96 ล้านบาท

สำหรับสัปดาห์นี้ (27-31 ก.ค.) บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) โนมูระ พัฒนสิน ประเมินกรอบดัชนีที่ 1,420-1,480 จุด โดยตลาดยังคงผันผวนจากการรอผลประชุมเฟดเรื่องทิศทางดอกเบี้ยสหรัฐและการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจและการส่งออกของไทยในช่วงปลายเดือนนี้

ด้านความเคลื่อนไหวค่าเงินบาทสัปดาห์ที่ผ่านมา (20-24 ก.ค.) เมื่อต้นสัปดาห์ (20 ก.ค.) เปิดตลาดที่ 34.23/26 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าจากปิดตลาดสัปดาห์ก่อนหน้า เนื่องจากการแข็งค่าขึ้นของดอลลาร์สหรัฐ โดยขึ้นไปแข็งค่าสุดในรอบ 3 เดือน หลังจากตัวเลขเศรษฐกิจของสหรัฐออกมาดี ทำให้คาดความเป็นไปได้ที่ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยภายในปีนี้ ขณะที่ราคาทองในตลาดโลกร่วงต่ำสุดกว่า 5 ปี สู่ระดับ 1,086 ดอลลาร์/ออนซ์ ส่งผลให้ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.24-34.42 บาท/ดอลลาร์ ก่อนปิดตลาดที่ 34.41/42 บาท/ดอลลาร์

กลางสัปดาห์ (22 ก.ค.) ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ 34.43/45 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากวันก่อนหน้า ก่อนที่จะอ่อนค่าต่อเนื่องตลอดทั้งวัน เนื่องจากมีแรงซื้อดอลลาร์ของผู้นำเข้า โดยระหว่างวันค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.45-34.64 บาท/ดอลลาร์ ก่อนปิดตลาดที่ 34.62/64 บาท/ดอลลาร์

ปลายสัปดาห์ (24 ก.ค.) ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 34.82/83 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ ยังคงอ่อนค่าต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลจากการประกาศตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐที่ออกมาดีอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจในสหรัฐก็ปรับตัวเพิ่มขึ้น อีกทั้งผู้นำเข้าไทยเร่งซื้อดอลลาร์เนื่องจากกลัวว่าจะปรับตัวอ่อนค่าไปมากกว่านี้

ความเคลื่อนไหวสัปดาห์นี้ (27-31 ก.ค.) นักบริหารเงินธนาคารกรุงเทพคาดการณ์ว่า ค่าเงินบาทเคลื่อนไหวในกรอบ 34.70-35.00 บาท/ดอลลาร์สหรัฐ โดยต้องติดตามการประกาศดัชนี PMI ในยุโรปและสหรัฐ และตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญของไทย เช่น ส่งออก

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 28 กรกฎาคม 2558

นํ้าตาลเถื่อนล่องหนอีกกว่า 3 แสนกระสอบ

    จากที่"ฐานเศรษฐกิจ"ได้นำเสนอข่าว"น้ำตาลทรายเถื่อนระบาด" ฉบับที่ 3,072 วันที่ 23-25 กรกฎาคม 2558 เป็นการตีแผ่ขบวนการค้าของพ่อค้าหัวใสที่ส่งออกน้ำตาลทรายโควตา ค.ออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ แต่ไปไม่ถึงประเทศเป้าหมาย ได้เวียนกลับเข้ามาจำหน่ายในประเทศ เพราะได้กำไรดีกว่า 6-7 บาทต่อกิโลกรัม โดยทางคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้า-ส่งออก และการป้องกันอุบัติเหตุจากการขายส่งทางน้ำ สามารถจับกุมผู้กระทำผิดในช่วงเดือนมกราคม-มิถุนายนได้กว่า 16 ราย มีปริมาณน้ำตาลทรายที่ยึดได้ 6.489 พันกระสอบ(กระสอบละ 50 กิโลกรัม)หรือหากเทียบเป็นกระสอบ 100 กิโลกรัมจะได้ประมาณ 3.244 พันกระสอบ

    ล่าสุดนายบุญถิ่น โคตรศิริ ผู้อำนวยการสำนักบริหารอ้อยและน้ำตาลทราย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า สำหรับปริมาณน้ำตาลทรายเถื่อนที่จับกุมได้ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาถือว่ายังอยู่ในปริมาณที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับสถานการณ์ที่มีการลักลอบนำเข้าน้ำตาลทรายเข้ามาจริง โดยจะเห็นได้จากการเปรียบเทียบการจำหน่ายน้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ภายในประเทศของปี 2557 ตั้งแต่เดือนมกราคมจนถึงวันที่ 23 กรกฎาคม 2557 มีการจำหน่ายอยู่ที่ประมาณ 14.003 ล้านกระสอบ(กระสอบ 100 กิโลกรัม) ขณะที่ในปี 2558 ช่วงเดียวกัน จำหน่ายได้ 13.681 ล้านกระสอบ จากปริมาณจำหน่ายทั้งปีที่ 25 ล้านกระสอบ เท่ากับว่าปริมาณการจำหน่ายน้ำตาลทรายในประเทศลดลงไป 3.215 แสนกระสอบ หรือติดลบจากปีก่อน 2.3%

    พบว่าเดือนมกราคมปีนี้ การจำหน่ายในประเทศลดลงถึง 2.795 แสนกระสอบ เดือนกุมภาพันธ์ ลดลง 1.069 แสนกระสอบ ขณะที่เดือนมีนาคมและเมษายนมีการจำหน่ายน้ำตาลทรายในปริมาณที่มากขึ้น 1.33 แสนกระสอบ และ 1.265 แสนกระสอบ ตามลำดับ และมาติดลบอีกในเดือนพฤษภาคม ที่ 1.538 แสนกระสอบ ในเดือนมิถุนายน เป็นบวกเพิ่มขึ้น 2.815 หมื่นกระสอบ ขณะที่วันที่ 1-23 กรกฎาคม ติดลบลงไปอีกที่ 6.923 หมื่นกระสอบ   ซึ่งปริมาณน้ำตาลทรายที่จำหน่ายลดลงนี้ จึงเป็นข้อมูลอย่างหนึ่งทำให้ทราบว่ามีการนำน้ำตาลที่อยู่นอกระบบเข้ามาจำหน่ายภายในประเทศ  ที่ยังไม่สามารถจับกุมได้ทั้งหมด

    นายสมนึก มั่นในบุญธรรม หัวหน้าปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.) กล่าวว่า การลักลอบนำน้ำตาลทรายเถื่อนเข้ามาจำหน่ายในประเทศ  ที่ยังไม่สามารถทำการจับกุมได้ทั้งหมดนี้ เพราะมีการลักลอบนำเข้ามาตามตะเข็บชายแดนที่ติดกับเพื่อนบ้าน ในลักษณะกองทัพมด และนำมารวบรวมไว้ ก่อนจะขนโดยทางรถยนต์และนำมากระจายสู่ตลาดต่อไป

    ทั้งนี้ พื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษคือด่านอรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว และด่านซับตารี ด่านช่องผักกาด จังหวัดจันทบุรี เนื่องจากเป็นด่านที่ยังมีการผ่อนปรนอยู่ โดยไม่มีเจ้าหน้าที่กรมศุลกากรประจำ จึงทำให้น้ำตาลทรายที่ขนออกจากท่าเรือพระประแดงหรือแหลมฉบัง ส่งไปกัมพูชา มีการขนกลับมาโดยทางรถยนต์เข้ามาตามด่านผ่อนปรนในช่วงกลางคืน ซึ่งยากแก่การตรวจสอบ

    นอกจากนี้ ยังเฝ้าจับตาในส่วนของด่านปาดังเบซาร์ และด่านสตูล  เนื่องจากที่ผ่านมามีการสอบสวนผู้กระทำผิด น้ำตาลทรายที่ส่งออกจากท่าเรือกรุงเทพมหานครหรือแหลมฉบัง ไปประเทศอินโดนีเซีย โดยแวะพักที่ท่าเรือปีนังของมาเลเซีย และมีขบวนการขนถ่ายน้ำตาลทรายลงรถยนต์เข้ามาตามด่านดังกล่าว อีกทั้งการมีเหตุความรุนแรงในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ผู้กระทำผิดใช้สถานการณ์ดังกล่าวลักลอบนำน้ำตาลทรายส่งออกเข้ามามากขึ้น  เพราะการที่เจ้าหน้าที่จะลงไปตรวจสอบมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตราย จะต้องอาศัยการข่าวที่ดีและแน่นอนถึงจะลงไปจับกุมได้

    อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ทางกรมศุลกากรได้สั่งเจ้าหน้าที่ทั้ง 17 ด่านที่ติดกับเพื่อนบ้าน ให้เข้มงวดเป็นพิเศษ จนถึงขั้นสั่งว่า  หากด่านไหนตรวจสอบพบว่ามีการลักลอบนำน้ำตาลทรายผิดกฎหมายเข้ามาภายในประเทศ อาจจะโยกย้ายนายด่านนั้นออกจากพื้นที่ โดยมองว่าการลักลอบนำน้ำตาลทรายเถื่อนเข้ามาในประเทศจะหมดไปได้  ต้องขึ้นกับราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกจะปรับราคาสูงขึ้นได้เมื่อใด จากปัจจุบันราคาอยู่ที่ 12 บาทต่อกิโลกรัม เมื่อเทียบกับราคาขายในประเทศราคา 23.50 บาทต่อกิโลกรัม

จาก http://www.thanonline.com วันที่ 27 กรกฎาคม 2558

BRRเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกอ้อยเป็น2แสนไร่รับแผนขยายธุรกิจพลังงานทดแทน

BRR เร่งเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกสร้างความมั่นคงด้านวัตถุดิบอ้อยรับแผนขยายธุรกิจพลังงานทดแทนหนุนการเติบโต หลังผ่านประชาพิจารณ์แล้ว

‘บมจ.น้ำตาลบุรีรัมย์’ หรือ BRR เร่งสร้างความมั่นคงด้านปริมาณผลผลิตอ้อย เดินหน้าขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มเป็น 200,000 ไร่ พร้อมชูการวิจัยและพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกดันปริมาณและคุณภาพอ้อย หนุนผลผลิตน้ำตาลทรายต่อตันอ้อยพุ่ง แถมมีปริมาณกากอ้อยเตรียมพร้อมรับเดินเครื่องโรงไฟฟ้าชีวมวลแห่งที่ 3 เตรียมขายไฟและไอน้ำให้กับโรงงานน้ำตาลตามระบบ Co-generation

นายอนันต์ ตั้งตรงเวชกิจ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท น้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด (มหาชน) หรือ BRR ผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายขาวสีรำส่งจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ และนำผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายไปต่อยอดสู่ธุรกิจพลังงานทดแทน เปิดเผยว่า แผนดำเนินงานของกลุ่มบริษัทน้ำตาลบุรีรัมย์ต่อจากนี้จะให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการด้านการเพาะปลูกให้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายที่ต้องการเพิ่มผลผลิตอ้อยให้มากขึ้น โดยในช่วงฤดูการผลิตปี 2558/2559 นั้น บริษัทฯ ได้ขยายพื้นที่เพาะปลูกอ้อยเพิ่มเป็น 200,000 ไร่ จากปีที่ผ่านมาที่มีพื้นที่เพาะปลูก 190,000 ไร่ โดยจำนวนพื้นที่เพาะปลูกที่เพิ่มขึ้นนั้นอยู่ในรัศมี 40 กิโลเมตรรอบโรงงาน

 นอกจากนี้ บริษัทฯ จะใช้องค์ความรู้ด้านงานวิจัยที่ดำเนินการผ่านบริษัทบุรีรัมย์วิจัยและพัฒนาอ้อย จำกัด เข้ามาพัฒนาส่งเสริมเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกเพื่อเพิ่มปริมาณอ้อยต่อไร่เพิ่มขึ้นเป็น 12.61 ตันต่อไร่ จากปีก่อนที่ทำได้ 12.22 ตันอ้อยต่อไร่ และคุณภาพความหวานของอ้อย (CCS) คาดว่าจะเพิ่มเป็น 13.60 จากเดิมที่มี 13.48 ซึ่งจะส่งผลต่อการกระบวนการผลิตที่คาดว่าจะมีอ้อยเข้าหีบและผลิตเป็นน้ำตาลทรายเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับฤดูการผลิตปี 57/58 ที่มีอ้อยเข้าหีบ 1.95 ล้านตัน ผลิตน้ำตาลทรายได้ 231,408 ตัน หรือคิดเป็นผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยเกือบ 119 กิโลกรัม

ขณะเดียวกัน บริษัทฯ ยังได้เร่งเพิ่มประสิทธิภาพด้านบริการจัดการด้านการผลิตของโรงงาน โดยขยายกำลังเพิ่มเป็น 2.3 หมื่นตันอ้อยต่อวัน ซึ่งจะสามารถรองรับปริมาณอ้อยเข้าหีบเพิ่มเป็น 2.5 ล้านตันอ้อย ก่อนเพิ่มเป็น 3 ล้านตันในฤดูการผลิตปี 2559/2560

ประธานกรรมการบริหาร BRR กล่าวว่า การเตรียมความมั่นคงด้านผลผลิตอ้อยในครั้งนี้ นอกจากช่วยสร้างความแข็งแกร่งให้ธุรกิจน้ำตาลทรายและ BRR ยังสามารถนำผลพลอยได้มาเป็นวัตถุดิบในการสนับสนุนกลุ่มธุรกิจพลังงานทดแทน ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้างโรงไฟฟ้าชีวมวลแห่งที่ 3 กำลังการผลิต 9.9 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพตามแนวคิด Co-generation เพื่อต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มทั้งในแง่ของรายได้และกำไรสุทธิให้เติบโตได้อย่างโดดเด่นต่อไป นอกจากนี้ ยังได้จัดทำประชาพิจารณ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม 2558 ที่ผ่านมา

“เรามีเป้าหมายที่ต้องการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกและคุณภาพผลผลิตอ้อยจากไร่ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านวัตถุดิบผลิตน้ำตาลทรายให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงสามารถนำผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตไปต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานชีวมวล เพื่อผลักดันผลการดำเนินงานของ BRR ให้เติบโตได้อย่างต่อเนื่องต่อไป” นายอนันต์ กล่าว

จาก http://www.thanonline.com วันที่ 27 กรกฎาคม 2558

พาณิชย์เผยส่งออกมิ.ย.หดตัว7.87% ,นำเข้าหดตัว 0.21%

นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์  เปิดเผยถึงภาวะการส่งออกเดือนมิถุนายน 2558 มีมูลค่า 18,162 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -7.87 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) และระยะ 6 เดือน (ม.ค. - มิ.ย. 58) มีมูลค่า 106,856 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -4.84 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน (AoA) ในขณะที่การนำเข้าเดือนมิถุนายน 2558 มีมูลค่า 18,012 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -0.21 (YoY) และระยะ 6 เดือน (ม.ค. - มิ.ย. 58) มีมูลค่า 103,383 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ -7.91 (AoA) ส่งผลให้ดุลการค้าระหว่างประเทศเดือนมิถุนายน 2558 เกินดุล 150 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่ระยะ 6 เดือน (ม.ค. - มิ.ย. 58) เกินดุล 3,473 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

 ปัจจัยที่มีผลกระทบให้การส่งออกของไทยหดตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2558 เป็นปัจจัยภายนอกที่สำคัญ ดังนี้

1)   ภาพรวมเศรษฐกิจโลกและตลาดคู่ค้าหลักในปัจจุบันที่ชะลอตัว โดยเฉพาะสหรัฐฯ สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น และจีน ส่งผลให้การนำเข้าของเกือบทุกประเทศทั่วโลกยังคงหดตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำเข้าของประเทศคู่ค้าสำคัญ อาทิ ญี่ปุ่น (-21.2%)  จีน (-21.0%) ฝรั่งเศส (-19.2%) เกาหลีใต้ (-16.0%) สหราชอาณาจักร

(-8.6%) สหรัฐฯ (-3.9%)

2)        ราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังคงชะลอตัวลง โดยในเดือนมิถุนายน 2558 ลดลงถึงร้อยละ -42.8 (YoY) ส่งผลกระทบต่อมูลค่าส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ และเม็ดพลาสติก แต่อย่างไรก็ดี ปริมาณการส่งออกน้ำมันยังคงขยายตัวสูงถึงร้อยละ 28.5 (YoY)

3)   ราคาสินค้าเกษตรโลกปรับตัวลดลงมาก ทำให้มูลค่าส่งออกสินค้าเกษตรลดลง โดยเฉพาะยางพาราและน้ำตาลทราย ในขณะที่ปริมาณการส่งออกยังคงขยายตัวร้อยละ 22.3 และ 6.4 (YoY) ตามลำดับ

4)   การแข็งค่าของเงินบาทและการลดลงของค่าเงินของประเทศผู้ผลิตสำคัญ ส่งผลต่อราคาส่งออกสินค้าไทยและราคาสินค้าสำคัญในตลาดโลก โดยค่าเงินบาทนับตั้งแต่ต้นปี 2558 มีมีทิศทางแข็งค่าเมื่อเทียบกับคู่ค้าคู่แข่งเนื่องจากหลายประเทศมีการใช้นโยบายการเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทแนวโน้มอ่อนค่าลงซึ่งคาดว่าจะช่วยส่งเสริมภาคการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลัง โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าเกษตรพื้นฐานจะมีความสามารถในการแข่งขันด้านราคามากขึ้น

5)   การหดตัวของการส่งออกสินค้ากลุ่มรถยนต์อุปกรณ์และส่วนประกอบ ซึ่งเป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว เนื่องจากอยู่ในช่วงการเปลี่ยนรุ่นรถกระบะ ขณะที่การส่งออกรถยนต์นั่ง และส่วนประกอบรถยนต์ยังคงขยายตัว คาดว่าการส่งออกสินค้ากลุ่มรถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ จะกลับมาขยายตัวได้ดีในช่วงไตรมาสที่ 3 – 4ของปี 2558 โดยอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ เริ่มมีสัญญาณการขยายตัวที่ดีขึ้นจากการที่มูลค่านำเข้าสินค้าส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์ที่กลับมาขยายตัวในเดือนมิถุนายน 2558 ที่ร้อยละ 6.6 (YoY)

อัตราหดตัวของมูลค่าส่งออกของไทยยังจัดว่าอยู่ในระดับต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ โดยสถิติส่งออกล่าสุดถึงเดือนพฤษภาคม 2558 เกือบทุกประเทศทั่วโลกมีอัตราการขยายตัวของการส่งออกติดลบมากกว่าไทย อาทิ ออสเตรเลีย (-21.9%) ฝรั่งเศส (-16.8%)  สิงคโปร์ (-13.3%) มาเลเซีย (-13.1%) ญี่ปุ่น (-7.8%)  เกาหลีใต้ (-5.7%) สหรัฐฯ (-5.2%)

จาก http://www.thanonline.com วันที่ 27 กรกฎาคม 2558

สปช.เดือดถอนพ.ร.บ.จีเอ็มโอ สมาชิกค้านหวั่นไม่ปลอดภัย/กษ.ยันไม่เอาข้าวดัดแปลง

    "เกริกไกร" สั่งถอนวาระร้อน "ร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ" ออกจากที่ประชุมสภาปฏิรูปฯ หลังถูกค้าน ไม่เห็นด้วย ย้ำต้องมีงานวิจัยรับรอง ใช้จีเอ็มโอ แล้วปลอดภัย ด้าน "อุทัย"ยัน ไม่ซีเรียส ชี้เป็นแค่ทางเลือกแนวปฏิรูปเกษตร เล็งอนาคตหากไทยกลับลำ หวั่นเสียโอกาส   ด้านอธิบดีกรมการข้าว เสียงแข็งไม่มีนโยบายสนับสนุนปลูกข้าวจีเอ็ม  พร้อมออกโรงสกัดห้ามนำพันธุ์เข้าประเทศ

    ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุมสภาปฏิรูป (สปช.) รัฐสภา (เมื่อ 23 ก.ค. 58) นายเกริกไกร จีระแพทย์ ประธานกรรมาธิการ คณะกรรมาธิการปฏิรูปการเกษตร อุตสาหกรรม พาณิชย์ การท่องเที่ยวและบริการ ได้มีการนำเสนอรายงานการศึกษาเชิงลึกการปฏิรูปสินค้าเกษตร 11 รายการ ได้แก่  ยางพารา ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด ปาล์ม โคเนื้อ สหกรณ์การเกษตร การเพิ่มผลผลิตเพื่อความยั่งยืน (ปุ๋ยสั่งตัด)  เกษตรอินทรีย์ และพืชเทคโนชีวภาพ (พืชจีเอ็ม) และร่าง พ.ร.บ. จำนวน 4 ฉบับ ได้แก่ 1.ร่าง พ.ร.บ. ปาล์มและน้ำมันปาล์ม พ.ศ. ... 2.ร่าง พ.ร.บ.มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ มันสำปะหลัง พ.ศ. ... 3. ร่าง พ.ร.บ.การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อโค กระบือ พ.ศ. ... และ 4. ร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ. ...  

    ทั้งนี้ระหว่างการพิจารณานั้น ได้มีสมาชิกสภาปฏิรูปอภิปรายไม่เห็นด้วยกับ ร่าง พ.ร.บ.ความปลอดภัยทางชีวภาพ พ.ศ. ...   ที่มีสาระสำคัญคือ คือให้มีการนำเทคโนโลยีชีวภาพไปใช้ประโยชน์ต่อการดัดแปลงพันธุกรรมเพื่อการบริโภค จนในที่สุด นายเกริกไกร ต้องประกาศต่อที่ประชุมว่า ขอถอนร่าง พ.ร.บ.นี้ออกจาก สปช. และให้ไปพิจารณาใหม่

    ต่อกรณีดังกล่าว นายอุทัย สอนหลักทรัพย์  ประธานคณะอนุกรรมาธิการปฏิรูปการเกษตร  สภาปฏิรูปแห่งชาติ    เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ไม่ซีเรียส เพราะแนวทางปฏิรูป ชื่อก็บ่งบอกแล้วว่าทำเป็นสิ่งใหม่ สาเหตุที่ศึกษาเรื่องพืชจีเอ็มโอ นั้นตนอยากให้พิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์ให้เห็นผลประจักษ์เลยว่าดีหรือไม่ดี กลุ่มผู้ค้าน หรือเกษตรกร ใครได้ประโยชน์กันแน่ ตนไม่มีผลประโยชน์กับใคร หรือบริษัทใดในเรื่องนี้ คิดเพียงว่าอยากให้เป็นพืชทางเลือกของเกษตรกร ว่าดีหรือไม่ดี มิฉะนั้นการปฏิรูปการเกษตรจะไม่เกิดขึ้น

    "ประเทศเพื่อนบ้านรอบ ๆ ประเทศไทยได้มีการพัฒนาใช้เทคโนโลยีจีเอ็มโอแล้วอาทิ  ฟิลิปปินส์   ซึ่งจากการศึกษาดูงานมีโอกาสได้พูดคุยกับเกษตรกรตัวจริงเสียงจริงที่ปลูกข้าวโพดจีเอ็มโอ  พบว่าไม่ใช่บริษัทจะมาได้ประโยชน์หรือสามารถผูกขาด ขายเมล็ดพันธุ์กันได้  แต่เกษตรกรเองเองก็ได้ประโยชน์ในแง่ผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ทนทานโรคแมลง ลดการใช้สารเคมี ทำให้ไม่เกิดการทำลายสิ่งแวดล้อมมี วันนี้คงต้องถามกลับไปถึงกลุ่มค้านที่ไม่เข้าใจ หรือเข้าใจผิด ชี้นำแต่ข้อเสีย กลับไปว่าหากวันหน้าประเทศไทยสูญเสียโอกาสแล้วจะออกมารับผิดชอบกันได้หรือไม่  ทั้งนี้ในที่ประชุม  สปช.ได้พิจารณาเห็นชอบ รายงานผลการศึกษาพืช 10 ชนิด รวมทั้ง ร่าง พ.ร.บ. 3 ฉบับ ให้นายเกริกไกร ในฐานะประธานคณะ จัดส่งให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

    ด้านนายประเสริฐ ชิตพงศ์ สมาชิก สปช. กล่าวว่า ปัญหาของร่าง พ.ร.บ. ควรต้องมีเนื้อหาที่คุ้มครองผู้เสียหาย ไม่ใช่ไปคุ้มครองผู้ที่สร้างความเสียหาย จึงเห็นว่า คณะ กมธ. ควรนำไปร่าง พ.ร.บ. นี้ไปปรับปรุงมาใหม่ และที่สำคัญต้องมีงานวิจัยที่พิสูจน์ได้ว่าการนำเทคโนโลยีตัดแต่งพันธุกรรมมาใช้แล้วมนุษย์จะมีความปลอดภัย      

    เช่นเดียวกับนายวินัย ดะห์ลัน สมาชิก สปช. กล่าวว่า การตัดแต่งพันธุกรรมยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ว่ามีความปลอดภัยกับมนุษย์หรือไม่ แม้จะมีการทดลองในหนูที่มียีนใกล้เคียงกับมนุษย์แล้วก็ตาม เนื่องจากยังพบความผิดปกติบางประการอยู่

    ต่อเรื่องนี้นายชาญพิทยา ฉิมพาลี อธิบดีกรมการค้า เผยถึงการปลูกพันธุ์ข้าวจีเอ็มนั้น ทางกรมไม่มีนโยบายและสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกข้าวจีเอ็ม และไม่มีการรับรองพันธุ์ ตลอดจนห้ามนำเข้าพันธุ์ข้าวจีเอ็มเข้ามาในประเทศด้วย

    อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้ (16 ก.ย.57)  พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานจัดทำยุทธศาสตร์เกษตรเป็นรายพืชเศรษฐกิจ 4 สินค้า คือ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และ อ้อย   ได้ลงนามในคำสั่งแต่งตั้ง คณะทำงานศึกษาแนวทางการนำสิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมและผลิตภัณฑ์มาใช้ใน ประเทศไทย เพื่อให้มีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องจีเอ็มโอ

    อนึ่ง ปี 2550 คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติห้ามปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรม (จีเอ็ม)ในแปลงเปิด ซึ่งยังคงเปิดช่องให้สามารถปลูกเป็นเฉพาะรายได้ แต่ต้องปลูกเฉพาะในพื้นที่ของราชการเท่านั้น รวมถึงต้องมีการจัดทำรายงานวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ หรืออีเอชไอเอ (EHIA) ให้สาธารณชนรับทราบ

จาก http://www.thanonline.com วันที่ 27 กรกฎาคม 2558

รัฐพลิกวิกฤต 'ลุ่มเจ้าพระยา'ทุ่ม 1,300 ล้านปรับโครงสร้างการผลิต 

          ในสัปดาห์นี้ นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตรที่ส่วนใหญ่ปลูกข้าวในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัดใหม่หลังจากภัยแล้งลุกลาม น้ำในเขื่อนใหญ่แห้งขอด ต้องงดปลูกข้าวนาปรังและเลื่อนการปลูกข้าวนาปีจากเดือน พ.ค.ที่ผ่านมาเป็นต้นเดือน ส.ค.นี้แทน และค่อนข้างแน่นอนแล้วว่า นาปรังลุ่มน้ำเจ้าพระยาช่วงฤดูแล้งที่จะถึงคือวันที่ 1 พ.ย. 2558-30 เม.ย. 2559 ต้องงดปลูกอีกเป็นปีที่สอง รวมทั้งจะต้องเลื่อนการปลูกข้าวนาปีปี 2559/2560 จากเดือน พ.ค. 2559 เป็นปลายเดือน ก.ค. 2559 อีกครั้ง

          โดยโครงสร้างการผลิตใหม่ที่มุ่งการใช้น้ำน้อยกว่าการปลูกข้าวที่เสนอ ครม.จะตั้งโครงการ 4 ประสาน ประกอบด้วย หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ภาคเอกชน เกษตรกร และธนาคารเข้ามาร่วมกันในโครงการปลูกพืชแปลงใหญ่พื้นที่ 6.5 แสนไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่เหมาะสมจากพื้นที่ตามโซนนิ่งจำนวน 1.8 ล้านไร่ มาปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และมีบริษัทเอกชนเข้าร่วมหลายราย อาทิ บริษัท กรุงเทพ โปรดิ๊วส จำกัด ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) บริษัท แปซิฟิคซีด จำกัด จัดหาเมล็ดพันธุ์ป้อนและรับซื้อผลผลิตคืนในราคา กก.ละ 8-11 บาท นายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรกล่าว

          ทั้งนี้ ภาครัฐจะตั้งงบประมาณมาชดเชยดอกเบี้ยต่ำให้เหลือ 2% ต่อปีแก่เกษตรกรที่กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ประมาณ 400 ล้านบาท ระยะเวลาคืนเงินกู้ 1 ปี และไม่เฉพาะข้าวโพดเท่านั้นที่จะช่วยเหลือด้านดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำ เกษตรกรที่ต้องการปลูกถั่วหรืออื่น ๆ ก็มีสิทธิ์มากู้ได้เช่นกัน เพียงแต่เมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว ถั่วเหลืองมีปริมาณจำกัดประมาณ 3,000 ตัน เพราะศูนย์ขยายพันธุ์ 20 กว่าศูนย์ถูกยุบไปเป็นศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวหมด

          โครงการที่สองที่จะเสนอ ครม.คือ โครงการเกษตรทางเลือก มุ่งให้เกษตรกร 22 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่จะต้องงดปลูกข้าวนาปรังและมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินไม่เกิน 25 ไร่ มากู้รายละไม่เกิน 1 แสนบาท อัตราดอกเบี้ย 2% ต่อปี ระยะเวลาโครงการ 5 ปี มาปรับพื้นที่การผลิตใหม่ เช่น ขุดบ่อเลี้ยงปลา เสริมรายได้ช่วงงดทำนา

          "เท่าที่เซอร์เวย์ตรวจสอบก่อนดันโครงการนี้ มีเกษตรกรที่ต้องการทำเกษตรทางเลือกประมาณ 6,000 ราย พื้นที่ประมาณ 2 หมื่นไร่ ซึ่งเกษตรกรที่จะทำโครงการนี้ ต้องมีความขยันขันแข็งเป็นพิเศษ เพราะต้องทำงานทุกวันในฟาร์ม"

          โครงการที่สาม คือ โครงการฟาร์มชุมชน 887 แห่ง (อำเภอ) อำเภอละ 1 ตำบล ใช้งบประมาณ 887 ล้านบาท เริ่มใช้งบฯกลางปี 2559 วัตถุประสงค์โครงการนี้

          เมื่อมีภัยแล้งมา ชุมชนต้องอยู่ได้ ต้องการให้อาหารในแต่ละตำบลมีพอกิน ไม่ขาดแคลน มีรายได้ มีองค์ความรู้ มีสระน้ำของชุมชน มีการจัดหาแหล่งน้ำ เรื่องนี้จะมีการให้เกษตรอำเภอจัดเวทีสร้างความรู้ความเข้าใจให้แต่ละชุมชนเกษตรกรต่อไป อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรกล่าวในตอนท้าย

          จะเห็นได้ว่า พืชเกษตรแต่ละชนิด (ตามตาราง) ล้วนแต่ใช้น้ำน้อยกว่าการปลูกข้าวที่ใช้น้ำสูงถึง 1,500 ลบ.ม./ไร่ค่อนข้างมาก แม้แต่การเลี้ยงปลาก็ใช้น้ำน้อยกว่าการปลูกข้าวมาก เท่าที่เห็นมา บางรายปลูกข้าวด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์ เลี้ยงโคใช้มูลโคมาปลูกข้าว มีต้นทุนการปลูกเพียงไร่ละ 2,000 บาท ทำให้มีกำไร ค่อนข้างมาก บางรายใช้พื้นที่ 180 ไร่ในลุ่มน้ำ เจ้าพระยาปลูกกล้วยหอม มะพร้าวน้ำหอม ใช้ท้องร่องเลี้ยงปลา 5 ชนิด ระยะเวลา 17 ปี ยังมีเงินฝากในธนาคารสูงถึง 700 ล้านบาท จนต้องขยายกิจการ หรือบางรายเลี้ยงสุกรเอาน้ำล้างคอกสุกรไปใส่ สวนกล้วยน้ำว้า 200 ไร่ก็ยังมีรายได้ถึงปีละ 9 ล้านบาท ดังนั้น หากเกษตรกรคิดและทำนอกกรอบ ไม่ปลูกข้าวที่ล้นตลาดชั่วนา ตาปี ย่อส่วนในการดำเนินงานเบื้องต้น ย่อมมี ความมั่นคงในชีวิต อีกทั้งเกิดประโยชน์ ต่อส่วนรวมในการประหยัดการใช้น้ำที่นับวัน จะเพิ่มสูงอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 27 กรกฎาคม 2558

บอร์ด ธ.ก.ส.เร่งแก้ไขหนี้นอกระบบของเกษตรกรและอนุมัติโครงการธนาคารต้นไม้

บอร์ด ธ.ก.ส.มีมติอนุมัติปรับปรุงหลักเกณฑ์โครงการแก้ไขหนี้นอกระบบของเกษตรกร ซึ่งจะเกิดประโยชน์แก่เกษตรกรที่เป็นหนี้นอกระบบ และเห็นชอบโครงการธนาคารต้นไม้เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนร่วมกับกรมป่าไม้และสถาบันพัฒนาวิจัยพื้นที่สูง ปลูกไม้ยืนต้นเพิ่ม 2 ล้านต้นต่อปี

วันนี้ (27 ก.ค. 58) ที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สำนักงานใหญ่ บางเขน นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการ ธ.ก.ส. เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ธ.ก.ส.มีมติเห็นชอบตามที่ฝ่ายจัดการเสนอขยายระยะเวลาและปรับปรุงหลักเกณฑ์โครงการแก้ไขหนี้นอกระบบให้กับเกษตรกรและบุคคลในครัวเรือน วงเงินกู้ 10,000 ล้านบาท ซึ่งโครงการเดิมเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2557 และจะสิ้นสุดโครงการวันที่ 30 กันยายน 2558  ปัจจุบัน ธ.ก.ส.ได้จ่ายสินเชื่อไปแล้ว 33,405 ราย ต้นเงินกู้ 3,007 ล้านบาท ทั้งนี้คณะกรรมการธนาคารเห็นว่า โครงการนี้เป็นประโยชน์ต่อเกษตรกร โดยเฉพาะจากการสำรวจข้อมูลจากกระทรวงมหาดไทย พบว่า มีเกษตรกรที่เป็นหนี้นอกระบบที่นำเอกสารสิทธิ์ไปจำนองกับเจ้าหนี้นอกระบบ อยู่ในกลุ่มที่มีโอกาสสูญเสียที่ดินทำกิน จำนวน 92,945 ราย มูลหนี้รวม 13,429 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงการคลังและกระทรวงมหาดไทยร่วมดำเนินการแก้ไขหนี้นอกระบบอย่างเร่งด่วน

"การพิจารณาขยายกรอบเวลาโครงการจากเดิมไปอีก 3 ปี โดยเริ่มตั้งแต่ 1 ต.ค. 2558 ถึง 30 กันยายน 2560 และเห็นชอบขยายวงเงินให้ความช่วยเหลือจากเดิม 100,000 บาทต่อราย เป็น 150,000 บาทต่อราย กรณีจำนองที่ดินเป็นหลักประกัน จะทำให้สงวนที่ดินทางการเกษตรไว้ให้กับเกษตรกรได้จำนวนมาก" นายสมหมายกล่าว

นอกจากนี้ยังเห็นชอบให้ดำเนินโครงการธนาคารต้นไม้ โดยมีวัตถุประสงค์ให้ประชาชนปลูกต้นไม้ตามแนวพระราชดำริ ปลูกป่า 3 อย่างได้ประโยชน์ 4 อย่าง ในที่ดินของตนเอง ที่ดินสาธารณประโยชน์ ส่งเสริมการอนุรักษ์และรักษาทรัพยากรธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สร้างมูลค่าของทรัพย์สินบนแผ่นดินจากมูลค่าของต้นไม้ พัฒนาประชาชนในชุมชนให้พออยู่ พอกิน พอใช้ ตามแนวทางปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยส่งเสริมไปที่ ชุมชน ศูนย์เรียนรู้เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ ธ.ก.ส. 6,800 ชุมชน ปลูกไม้ยืนต้นเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 2 ล้านต้นต่อปี เริ่มโครงการตั้งแต่ 1 สิงหาคม 2558 ถึง 31 มีนาคม 2561 ทั้งนี้ ธ.ก.ส.จะออกผลิตภัณฑ์เงินฝาก ระยะเวลาฝากไม่น้อยกว่า 1 ปี โดยขอรับการสนับสนุนจากส่วนงานภาครัฐ ภาคเอกชนและประชาชนทั่วไปที่มีส่วนรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ฝากเงินในโครงการ ซึ่งผู้ฝากเงินจะได้รับผลตอบแทนเป็นอัตราดอกเบี้ยในอัตราปกติ และ ธ.ก.ส.จะจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติมในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 ของยอดเงินฝากที่รับฝากได้เพื่อสนับสนุนให้ชุมชนดำเนินการปลูกต้นไม้ตามโครงการดังกล่าวต่อไป

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 27 กรกฎาคม 2558

เศรษฐศาสตร์ว่าด้วยภัยพิบัติธรรมชาติ โดย ดร.วีรพงษ์ รามางกูร

โครงการป้องกันภัยพิบัติก็ดี โครงการเยียวยาความเสียหายจากภัยพิบัติก็ดี หรือโครงการพัฒนาที่เป็นโครงการใหญ่ เช่น โครงการจัดการบริหารน้ำ โครงการขนส่งทางรางหรือโครงการอื่น ย่อมมีผู้ได้ประโยชน์และมีผู้เสียประโยชน์เสมอ การบริหารจัดการน้ำก็ย่อมมีผู้เสียประโยชน์จากโครงการป้องกันน้ำท่วมที่เป็นเส้นทางผ่านของน้ำลงทะเล เพื่อป้องกันน้ำท่วมบางพื้นที่ โครงการเยียวยาภาวการณ์ขาดแคลนน้ำ เพราะฝนแล้งก็ดี การผันน้ำจากที่หนึ่งไปช่วยเหลืออีกที่หนึ่ง

โครงการพัฒนาทางหลวงแผ่นดิน โครงการพัฒนาการขนส่งระบบราง โครงการสร้างเขื่อน ผู้เสียประโยชน์คือผู้ที่ถูกเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างอ่างเก็บน้ำ ทางหลวง ระบบราง รวมทั้งการสร้างสนามบิน ท่าเรือเดินทะเล และอื่น ๆ แม้ว่าสังคมโดยส่วนรวมจะได้ประโยชน์ แต่ก็มีประชาชนส่วนหนึ่งเสียประโยชน์ ซึ่งอาจจะรวมทั้งมลภาวะทางเสียง การสั่นสะเทือน ทัศนียภาพ การรบกวนต่าง ๆ

ประโยชน์ที่สังคมส่วนรวมหรือบางส่วนได้ จะนำมาเทียบกับความเสียหายที่สังคมอีกส่วนหนึ่งเสีย เพื่อเอามากลบลบกันไม่ได้ เพราะสังคมแต่ละสังคม ครอบครัวแต่ละครอบครัว บุคคลแต่ละบุคคล ให้คุณค่าสิ่งที่เป็นวัตถุจับต้องได้ และสิ่งที่ไม่ใช่วัตถุจับต้องไม่ได้ แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับฐานะทางเศรษฐกิจ วัฒนธรรม ความเชื่อ ประสบการณ์ความเป็นมาที่ต่างกัน

ผลประโยชน์ที่เท่า ๆ กันของสังคมหนึ่ง มีคุณค่าไม่เท่ากันกับคุณค่าของอีกสังคมหนึ่ง เงินจำนวนเดียวกัน เช่น 1 แสนบาท ย่อมมีคุณค่าไม่เท่ากันสำหรับบุคคลคนหนึ่งกับอีกบุคคลหนึ่ง ความเสียหาย 1 แสนบาทที่ทำให้คนอีกคนหนึ่งร่ำรวยขึ้น 1 แสนบาทจะเหมาเอาว่าความทุกข์กับความสุขของ 2 คนนี้รวมกันเท่าเดิมไม่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ จะเหมาว่าสังคมที่มีเพียง 2 คนนี้มีความสุขเท่าเดิมไม่ได้ ความสุขหรือความทุกข์ของแต่ละสังคมหรือแต่ละคนนำมารวมกันหรือหักจากกันไม่ได้ เศรษฐศาสตร์ที่ว่าด้วยเรื่องเหล่านี้จัดอยู่ในวิชา "การคลังสาธารณะ" (Public Finance) และวิชา "เศรษฐศาสตร์สวัสดิการ" (Welfare Economics) ที่ว่าด้วยเรื่องความสุขและความทุกข์จะเอามารวมกันหรือหักกลบลบกันระหว่างบุคคลไม่ได้ หรือ "Interpersonal Comparison"

เมื่อเรื่องความสุขกับความทุกข์ที่เกิดขึ้นเพราะรัฐบาลมีโครงการป้องกันหรือเยียวยาภัยพิบัติหรือโครงการพัฒนาของรัฐบาลเพียงแต่จะออกมาพูดว่า"ไม่รู้จะทำอย่างไรเพราะฝนมันแล้ง" ก็เป็นการพูดที่ไม่รับผิดชอบ ไม่เป็นธรรม ไม่ยุติธรรมกับผู้ที่เสียหายที่เป็นสมาชิกของสังคม หรือพูดแต่เพียงว่าขอให้ผู้ที่ถูกเวนคืนที่ดินควรเสียสละเพื่อประโยชน์ของสังคมส่วนรวม ก็ไม่ยุติธรรมกับเจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืน

ในสายตาของนักเศรษฐศาสตร์สวัสดิการ เมื่อจะมีโครงการอะไรของรัฐบาลเพื่อความสุขของผู้คนส่วนหนึ่ง โดยไม่มีประชาชนส่วนใดมีความทุกข์มีความเสียหาย เป็นโครงการที่ดีที่สุดหรือวิธีการที่ดีที่สุด หรือ "The best solution" แต่ก็เป็นไปไม่ได้ด้วยการชดเชยด้วยเงินหรือวัตถุ เพราะความสุขความทุกข์ทางจิตใจชดเชยกันไม่ได้ด้วยเงินหรือวัตถุ เพราะไม่รู้ว่าจะชดเชยอย่างไรมากน้อยอย่างไรหรือด้วยวิธีการอะไร

ในระบอบสังคมนิยมที่ถือว่าสังคมสำคัญกว่าปัจเจกชนพรรคสังคมนิยมหรือพรรคคอมมิวนิสต์ที่เป็นรัฐบาลถือว่าพรรคของตนเป็นตัวแทนของประชาชนดังนั้นตนจึงตัดสินใจแทนประชาชนได้ในระบอบเผด็จการโดยคนคนเดียวคนคนเดียวก็ตัดสินใจแทนประชาชนที่ตนเป็นตัวแทนได้ และสังคมที่ผู้ปกครองเผด็จการเป็นตัวแทนของคนชั้นสูงจำนวนน้อยที่อยู่ในเมือง เสถียรภาพของรัฐบาลเผด็จการนั้นขึ้นอยู่กับนายทุน นักวิชาการและคนชั้นสูงในเมืองที่มีจำนวนน้อย คนส่วนใหญ่ที่เป็นคนชั้นล่างในเมืองและคนในชนบทภาคเกษตรไม่มีความหมาย ไม่มีส่วนในการเลือกรัฐบาล จึงไม่เป็นอันตรายต่อเสถียรภาพของรัฐบาล การสะท้อนความต้องการของคนชั้นล่างในภาคเกษตรซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศที่ผู้ปกครองคิดว่าเป็นคนโง่ไร้การศึกษายากจนจึงไม่จำเป็นต้องสนใจ

การที่เราไม่สามารถหามาตรการหรือนโยบายที่ดีที่สุดที่ทำให้ทุกคนมีความสุขได้ประโยชน์โดยไม่มีใครเสียประโยชน์ไม่เป็นทุกข์ ก็ไม่ได้หมายความว่าสังคมหรือรัฐบาลไม่ต้องทำอะไร มนุษย์ยังต้องการ "รัฐ" ซึ่ง "รัฐบาล" ก็เป็นองค์ประกอบสำคัญของ "รัฐ" ที่สังคมจะขาดเสียไม่ได้

นักเศรษฐศาสตร์จึงเสนอทางเลือกที่ดีที่สุดอันดับสอง หรือ "Second Best Alternative" กล่าวคือ ถ้านโยบายใดหรือโครงการพัฒนาใด โครงการลงทุนหรือมาตรการเยียวยาใด แก้ไขหรือป้องกันได้ดีกับสังคมโดยส่วนรวม แต่มีสมาชิกบางส่วนเสียหายเป็นทุกข์ ก็ชดเชยให้คุ้มกับความเสียหายหรือความเป็นทุกข์

ส่วนสิ่งที่จะสะท้อนความต้องการหรือไม่ต้องการ ก็จะสะท้อนจากกระบวนการประชาธิปไตย หรือการดำเนินการตามระบอบประชาธิปไตย เช่น การเลือกตั้งรัฐสภา การเลือกตั้งหัวหน้ารัฐบาล การทำประชามติ การทำประชาพิจารณ์ เพื่อสะท้อนความเห็นของคนส่วนใหญ่ที่ได้รับประโยชน์หรือเสียประโยชน์ ขณะเดียวกันคนที่เสียประโยชน์ได้รับการชดเชยเป็นทรัพย์สินเงินทองสิ่งของ และได้รับการชดเชยทางด้านจิตใจด้วย ถ้าทำได้ ทฤษฎีทางเลือกที่ดีที่สุดอันดับสองจะเกิดขึ้นไม่ได้ในสังคมที่ไม่เป็นประชาธิปไตย หรือผู้คนในสังคมที่อำนาจรัฐตกอยู่ในมือของคนชั้นสูงกลุ่มน้อย

นอกจากจิตสำนึกของคนชั้นสูงที่กุมอำนาจจะต้องเป็นจิตสำนึกที่เป็นประชาธิปไตยแล้วคนชั้นล่างระดับรากหญ้าต้องหวงแหนทะนุบำรุงรักษาสิทธิ์ของการเป็นสมาชิกส่วนหนึ่งของสังคมด้วยต้องเข้าใจว่าประชาธิปไตยเป็น"สิ่งที่กินได้"เป็นขบวนการแบ่งปันผลประโยชน์ที่คนส่วนใหญ่มีส่วนร่วม

ความคิดของนักเศรษฐศาสตร์ ประชาธิปไตยเป็นตลาดของการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์และทรัพยากรของสังคมที่ยุติธรรม เป็นการกำหนดราคาและคุณค่าของมาตรการจากการดำเนินการของรัฐบาล ด้วยกลไกทางการเมือง กลวิธีของตลาด การแลกเปลี่ยนผลประโยชน์และทรัพยากรของสังคมเกิดขึ้นอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นธรรม เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของตลาด ไม่เหมือนกับระบอบเผด็จการที่ขบวนการการเมืองไม่ได้เป็นตลาดของการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์ การจัดสรรทรัพยากรที่ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีส่วนร่วม เป็นการจัดการของคนคนเดียวหรือกลุ่มเดียว

ประโยชน์ของตลาดที่เกิดขึ้นจากขบวนการประชาธิปไตยก็คือ "ประสิทธิภาพ" และความพอใจของคนส่วนใหญ่ที่สามารถเรียกร้องและสามารถได้รับการตอบสนองในระยะยาว ส่วนต้นทุนหรือ Cost ของประชาธิปไตยก็คือความล่าช้าแต่สุขุมรอบคอบ "การทุจริต" หรือ Corruption หากขบวนการตรวจสอบของประชาชนไม่เข้มแข็งพอ ทุกสังคมที่เป็นประชาธิปไตยต้องผ่านกระบวนการที่ต้องเสียต้นทุนให้ เพื่อแลกกับประชาธิปไตย อันจะนำมาซึ่งประสิทธิภาพในการสนองตอบความต้องการของสมาชิกในสังคมในระยะยาว เพราะจะเกิดตลาดในการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์จากทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดของสังคม ถ้าทรัพยากรของสังคมมีอยู่อย่างไม่จำกัด ตลาดก็ไม่จำเป็น เมื่อตลาดไม่มีระบบ ขบวนการประชาธิปไตยก็ไม่มีความจำเป็นต้องเกิดขึ้น รัฐบาลอยากทำอะไรอย่างไรและเพื่อใครเท่าไหร่ก็ได้ ไม่มีประโยชน์ ไม่มีใครเสียโอกาส ค่าเสียโอกาสก็ไม่มี ซึ่งไม่มีสังคมใดในโลกมีลักษณะเช่นนั้น

เมื่อเกิดภัยพิบัติฝนแล้งรุนแรงที่สุดตั้งแต่ตั้งกรุงเทพฯเป็นเมืองหลวงไม่มีหลักฐานที่จดไว้ทั้งโดยคนไทยคนจีนหรือฝรั่ง ว่าเกิดเหตุเภทภัยแล้งขนาดนี้ การบำบัดเยียวยา การสนใจ เอาใจใส่หรือมีการต่อรองแลกเปลี่ยนทรัพยากรน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดระหว่างชาวนาชาวไร่ ชาวสวนที่มีจำนวนมาก กับคนในกรุง ระหว่างความทุกข์ของชาวนาชาวไร่ กับความไม่สะดวกสบายของคนในกรุง หญ้าในสนามกอล์ฟจะเสียหายกับน้ำจะมีรสกร่อย อุตสาหกรรมผลิตน้ำขวดจะต้องลดการผลิตลง จะไม่เห็นผู้นำของเราออกไปดูแลกำกับการบำบัดทุกข์ในพื้นที่ แม้ในวันสุดสัปดาห์ แต่อาจจะเห็นตีกอล์ฟอยู่ที่สนามราชพฤกษ์ก็ได้ ไม่สมกับที่เคยทวงบุญคุณกับประชาชน

ไม่มีประชาธิปไตย ก็ไม่มีตลาดต่อรองสำหรับคนรากหญ้า ประชาธิปไตยกินไม่ได้สำหรับคนชั้นสูงในเมือง แต่เป็นสิ่งที่กินได้สำหรับคนชั้นล่างที่ไม่มีปากเสียง

ผู้ที่ได้รับรางวัลโนเบลในเรื่องนี้คือ Dr.Jame M. Buchanan เคยเป็นอาจารย์สอนเศรษฐศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยจอร์จ เมสัน รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา

วิชาเศรษฐศาสตร์บางทีก็ล้ำเข้าไปในวิชารัฐศาสตร์

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 27 กรกฎาคม 2558

วิกฤตแล้งฉุด 4 พืชเกษตรหลักข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันฯ อ้อยปริมาณส่อวูบ 

 สมาคมพืชสวนฯ เผยวิกฤตแล้งปีนี้กระทบพืชผลทางการเกษตรหลัก ได้แก่ ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง และอ้อย โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ต้องจับตาส่อขาดแคลนและอาจกระทบต่อราคาอาหารสัตว์ให้เพิ่มได้ ขณะที่โรงงานน้ำตาลวิตกผลผลิตอ้อยปีนี้ลดทั้งปริมาณ และคุณภาพ หวั่นฉุดน้ำตาลลดต่ำไม่ถึง 11 ล้านตัน

               นายอนันต์ ดาโลดม นายกสมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า พืชผลทางการเกษตรที่มีแนวโน้มจะได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้งนอกเหนืออจากข้าวแล้ว ยังมีข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง และอ้อย ที่มีแนวโน้มปริมาณการผลิตของปีนี้จะลดต่ำลง ส่วนจะมีปริมาณมากน้อยเพียงใดยังคงต้องติดตามภาวะปริมาณฝนที่จะตกมาในช่วง ก.ค.นี้ โดยเฉพาะข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ช่วงต้นปีได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก

               “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วงต้นปีมีความเสียหายค่อนข้างพอสมควร มีการแห้งตายไปจำนวนมากซึ่งคงจะต้องติดตามช่วงฤดูฝนว่าจะฟื้นตัวได้มากน้อยเพียงใด แต่โดยรวมปริมาณจะลดลงค่อนข้างมาก ดังนั้น จะกระทบต่อเนื่องไปยังราคาอาหารสัตว์ที่อาจปรับตัวสูงขึ้น และบางส่วนต้องนำเข้าเพราะปัจจุบันการผลิตอาหารสัตว์ของไทยอยู่ที่ปีละ 4ล้านตัน ซึ่งใกล้เคียงกับการบริโภค” นายอนันต์ กล่าว

               นอกจากนี้ มันสำปะหลัง ก็เป็นพืชอีกชนิดหนึ่งที่ประสบภัยแล้งเช่นกันในช่วงแรกๆ ที่ปริมาณฝนทิ้งช่วง ทำให้ปริมาณการผลิตภาพรวมมีแนวโน้มลดลง แต่ปริมาณยังไม่ชัดเจนเพราะบางส่วนมีการไถแล้วปลูกใหม่หากฝนมาช่วงหลังนี้ก็จะทำให้ผลผลิตชดเชยส่วนที่เสียหายได้บางส่วน เช่นเดียวกับปริมาณอ้อย ที่เจอสภาพฝนทิ้งช่วงซึ่งปกติควรจะมาช่วง พ.ค.เพื่อทำให้อ้อยยืนต้นได้แต่กลับทิ้งระยะไปพอสมควร ทำให้อ้อยบางส่วนได้รับความเสียหาย ดังนั้น แนวโน้มปริมาณอ้อยปีนี้จะลดลงเช่นกัน

               “ข้าวนาปรังคงจะเก็บเกี่ยวได้ในช่วง 1-2 เดือนนี้ ส่วนข้าวนาปีจะปลูกกันในเดือน ส.ค.โดยเฉพาะภาคอีสานที่ส่วนใหญ่จะปลูกข้าวหอมมะลิจากปริมาณฝนที่เริ่มตกลงมาขณะนี้คาดว่าคงจะไม่กระทบนัก และผลผลิตส่วนนี้ก็น่าจะเข้ามาช่วยเพิ่มปริมาณข้าวภาพรวมได้ระดับหนึ่ง แต่ภาพรวมปริมาณก็จะลดลงไป ดังนั้น ปีนี้ภาพรวมแล้วชาวสวนที่ปลูกผลไม้โดยเฉพาะเงาะ ทุเรียนที่เก็บเกี่ยวไปแล้วนอกจากไม่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งยังมีราคาดีอีกด้วย” นายอนันต์ กล่าว

               นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี ประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย กล่าวว่า ภาพรวมปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นในปีนี้ถือว่ามีความรุนแรงกว่าทุกปีที่ผ่านมา เนื่องจากฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน โดยเฉพาะช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคม เป็นช่วงเวลาที่ตออ้อยต้องการน้ำเพื่อเจริญเติบโต แต่ในปีนี้กลับพบว่า ไม่มีฝนตกในช่วงเวลาดังกล่าว ทำให้กังวลว่าจะกระทบต่อปริมาณผลผลิต และคุณภาพอ้อยที่เข้าหีบ และปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายต่อตันอ้อย (ยิลด์) ในฤดูกาลผลิต 2558/2559 ที่คาดว่าจะลดลงลดลงกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ 105.97 กิโลกรัมต่อตันอ้อย จึงมีความเสี่ยงที่ผลผลิตน้ำตาลทรายโดยรวมอาจจะต่ำกว่า 11 ล้านตัน

 จาก http://www.manager.co.th   วันที่ 27 กรกฎาคม 2558

เบรกแผนสูบแม่น้ำโขงมาใช้ "รอยล" แนะพัฒนาแหล่งน้ำชุมชนแก้ภัยแล้ง   

          "รอยล" หารือ "ปีติพงศ์" เสนอแนวคิด พัฒนาแหล่งน้ำระดับชุมชนแก้ปัญหาภัยแล้ง ชี้ประเทศไทยลงทุนสร้างแหล่งน้ำมากมายตั้งแต่ 30 ปีก่อน แต่ถูกทิ้งร้าง บางจังหวัดมีแหล่งเก็บน้ำใหญ่ขนาด 40,000 ไร่ แต่รัฐส่วนกลางไม่มีข้อมูล แนะดูความคุ้มค่าต้นทุนพลังงาน โครงการสูบน้ำโขงมาใช้ในประเทศ

          นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยหลังหารือร่วมกับนายรอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สสนก.ว่า ได้แลกเปลี่ยนความเห็นกันเรื่องการจัดหาแหล่งน้ำ หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานมีมติให้ไปจัดตั้งคณะอนุกรรมการ 4 ชุด ดูแล 4 เรื่อง คือ ด้านการจัดหาแหล่งน้ำ ด้านการใช้น้ำ ด้านการบริหารจัดการ และด้านการประชาสัมพันธ์ ความเข้าใจเรื่องน้ำกับประชาชน

          ทั้งนี้ตนได้เสนอความเห็นไปว่า ปัจจุบันสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงไปมาก ทำให้เกิดภาวะอากาศแปรปรวน เช่น มีฤดูแล้งที่รุนแรงสลับกับฝนตกหนัก ดังนั้น งานชลประทานขนาดเล็กที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว จำเป็นต้องนำเข้ามาช่วยประชาชนมากขึ้นแต่สภาพปัจจุบันถูกทิ้งร้างไปมาก จึงต้องมีการนำมาปรับปรุง นอกจากนี้ จะต้องเน้นให้เกษตรกรสร้างแหล่งน้ำในฟาร์มของตัวเองเป็นการชลประทานขนาดย่อม โดยต้องให้แหล่งน้ำในแปลงของเกษตรกร เชื่อมต่อกันได้กับแหล่งน้ำในแปลงติดกัน ทำให้มีการถ่ายเทหมุนเวียนใช้น้ำระหว่างกันได้ตลอด หลายประเทศทำเรื่องนี้แล้วประสบความสำเร็จ แก้ปัญหาภัยแล้งได้ระดับหนึ่ง

          ขณะที่นายรอยลกล่าวว่า ได้รายงานนายปีติพงศ์ ให้รับทราบถึงชุมชนในประเทศไทย ที่ประสบความสำเร็จในการจัดการน้ำท่วมน้ำแล้งในพื้นที่ของตัวเองได้สำเร็จ ซึ่งมีทั่วประเทศประมาณ 341 ชุมชน ในจำนวนนี้มี 55 ชุมชน เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ป๊อกแป๊ก จังหวัดสระบุรี หรือเกษตรกรใน อ.หนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ซึ่งสามารถนำมาเป็นต้นแบบการแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง ในแต่ละพื้นที่ของประเทศ โดยประชาชนในพื้นที่เป็นเจ้าของและบริหารโครงการ โดยรัฐทำหน้าที่สนับสนุนเพราะประชาชนย่อมมีความรู้เข้าใจในพื้นที่ตัวเองดีกว่ารัฐส่วนกลางอยู่แล้ว หากกระทรวงเกษตรฯ ได้คัดเลือกพื้นที่ที่ต้องการแก้ปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้งในพื้นที่ ก็สามารถใช้ตัวอย่างจากชุมชนที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้ได้

          ทั้งนี้ ตนมองว่าประเทศไทยจำเป็นต้องไปตรวจสอบแหล่งน้ำในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศเสียใหม่ เพราะรัฐเริ่มเข้าไปก่อสร้างแหล่งน้ำให้ชุมชนต่างๆ มาตั้งแต่ 30 ปีที่แล้ว แต่จากการลงพื้นที่ของ สสนก.พบว่า ปัจจุบันแห่งน้ำที่รัฐสร้าง รวมทั้งแหล่งน้ำธรรมชาติที่กระจัดกระจายหลายแห่งถูกทิ้งร้าง เช่น ในภาคอีสาน มีอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กนับพันแห่งกระจายตัวอยู่ แต่หลายแห่งตื้นเขิน ไม่ได้ใช้งาน หลายแห่งตะกอนไหลลงไปจนเก็บน้ำไม่ได้มาก และบางจังหวัดมีแหล่งน้ำใหญ่ขนาดพื้นที่ 40,000 ไร่ แต่รัฐส่วนกลางยังไม่มีข้อมูลในระบบเลย ซึ่งแหล่งน้ำเหล่านี้มีอยู่และสามารถนำกลับมาใช้งานได้

          "แนวคิดการสูบน้ำในแม่น้ำโขงเข้ามาใช้ในภาคอีสานของไทย ผมอยากให้พิจารณาความคุ้มค่าด้านพลังงานด้วย เพราะความสามารถ การใช้พลังงานของประเทศไทยยังไม่คุ้มค่า โดยปัจจุบันเศรษฐกิจไทยที่ขยายตัวขึ้น 1% แลกมากับการใช้พลังงานที่โตขึ้น 1.5% หากใช้พลังงานสูบน้ำโขงเข้ามาในประเทศ อาจทำให้อัตราการใช้พลังงานโตขึ้นเป็น 1.8-2.0% จึงต้องพิจารณาความเหมาะสมในเรื่องนี้ด้วยเช่นกัน"

จาก http://www.thairath.co.th  วันที่ 27 กรกฎาคม 2558

รง.น้ำตาลทรายโอด ปีนี้แล้งสาหัส ฉุดปริมาณผลผลิต

นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี ประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า ภาพรวมปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นในปีนี้ถือว่า มีความรุนแรงกว่าทุกปีที่ผ่านมา เนื่องจากฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน โดยเฉพาะช่วงเดือนเมษายน-พฤษภาคมเป็นช่วงเวลาที่อ้อยต้องการน้ำเพื่อเจริญเติบโต แต่ในปีนี้กลับพบว่า ไม่มีฝนตกในช่วงเวลาดังกล่าว ประกอบกับในพื้นที่เพาะปลูกหลายแห่งประสบปัญหาแหล่งน้ำไม่เพียงพอต่อการนำไปหล่อเลี้ยงให้ตออ้อยสามารถเติบโตได้ ส่งผลต่อขนาดความสูงและคุณภาพของอ้อย

ทั้งนี้ แม้ปัจจุบันเริ่มมีฝนตกเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ แต่ไม่กระจายทั่วถึงและไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของตออ้อย หลายพื้นที่ยังประสบภัยแล้ง อีกทั้ง หากชาวไร่อ้อยเริ่มลงมือเพาะปลูกในช่วงนี้ก็จะมีความเสี่ยงที่จะจัดเก็บผลผลิตไม่ทันฤดูการหีบอ้อยของโรงงานน้ำตาลที่จะเปิดหีบในช่วงเดือนธันวาคม เนื่องจากกว่าที่ต้นอ้อยจะเจริญเติบโตได้เต็มที่พร้อมจัดเก็บผลผลิตได้ต้องใช้เวลาเพาะปลูกอย่างน้อยไม่ต่ำกว่า 10 เดือน ทำให้ชาวไร่บางรายจำเป็นต้องจัดเก็บผลผลิตเร็วกว่าที่ควร ก็ย่อมส่งผลต่อคุณภาพผลผลิตอ้อยเข้าหีบในที่สุด

ทั้งนี้ ทางสมาคมประเมินว่า วิกฤติปัญหาภัยแล้งครั้งนี้ จะส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตและคุณภาพอ้อยที่เข้าหีบ และปริมาณผลผลิตน้ำตาลทรายต่อตันอ้อย (ยิลด์) ในฤดูการผลิต 2558/2559 ที่คาดว่าจะลดลงลดลงกว่าปีที่ผ่านมา ซึ่งอยู่ที่ 105.97 กิโลกรัมต่อตันอ้อย

“ปีนี้ชาวไร่อ้อยประสบปัญหาภัยแล้งรุนแรงกว่าทุกปี ทำให้มีความกังวลต่ออ้อยเข้าหีบของฤดูการผลิตในปีนี้ คาดว่าจะมีปริมาณลดลงและคุณภาพผลผลิตอ้อยที่มีความเสี่ยงจะด้อยกว่าปีที่ผ่านมาด้วย ซึ่งส่งผลกระทบต่อผลผลิตน้ำตาลทรายโดยรวม ซึ่งอาจจะต่ำกว่า 11 ล้านตัน” นายสิริวุทธิ์ กล่าว

จาก http://www.naewna.com วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

รมว.เกษตรฯเร่งแก้ปัญหาวิกฤติ

 นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและ สหกรณ์ พร้อมด้วยนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน นำคณะผู้เกี่ยวข้องลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท พร้อมฟังการบรรยายสรุปมีนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ผวจ.ชัยนาท นายฎรงค์กร สมตน ผอ.สำนักงานชลประทานที่ 12 พล.ต.ดำริห์ สุขพันธ์ ผบ.ม.ทบ.ที่ 13 และส่วนราชการให้การต้อนรับ จากนั้นได้ลงพื้นที่พบปะเกษตรกรที่ศูนย์เกษตรกรหมู่ 12 บ้านร่องแห้ว ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี มีนางละมูล จันทวงศ์ เกษตรอำเภอสรรคบุรีและ เจ้าหน้าที่ในสังกัดรวมทั้งเกษตรกรในพื้นที่และจาก จ.สิงห์บุรี รอต้อนรับจำนวนมาก ทั้งนี้ระหว่างการลงพื้นที่ใน จ.สิงห์บุรี มีนายโสภณ งามขำ เกษตรกรจาก จ.สิงห์บุรี เข้ายื่นหนังสือขอน้ำจากระบบชลประทานส่งเข้ามาเพื่อทำนากับ รมว.ด้วย

          นายปีติพงศ์ กล่าวว่า ได้ติดตามเรื่องการปล่อยน้ำให้แก่เกษตรกรของชลประทาน รวมทั้งการจ้างงานเกี่ยวกับการดูแลรักษาคลองให้สะอาดเพราะเป็นปัญหากับระบบชลประทานมากที่กีดขวางทางน้ำไหลรวมทั้งเรื่องค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำซึ่งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)ได้อนุมัติเงินจำนวนหนึ่งให้กู้ยืมในอัตราดอกเบี้ยไม่สูงนัก โดยจะติดตามและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นโดยเร็ว

          ทางด้าน นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ภัยแล้งขณะนี้น่าจะส่งผลกระทบต่อเนื่องไปจนถึงกลางปี 2559 คาดการณ์ว่าน่าจะมีการประกาศขอความร่วมมือเกษตรกรงดปลูกข้าวนาปรังฤดูกาลผลิต 2558/59 โดยให้ไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนเพื่อรักษาระดับปริมาณน้ำในเขื่อนหลักทั้งเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งขณะนี้มีการปลูกข้าวแล้วรวม 32.17 ล้านไร่ทั่วประเทศ แบ่งเป็นในเขตพื้นที่ชลประทาน 8.05 ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 24.12 ล้านไร่ แต่ถ้าแบ่งเป็นลุ่มน้ำ ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด พื้นที่ปลูกข้าวไปแล้วประมาณ 6.84 ล้านไร่ แยกเป็นการปลูกในเขตชลประทาน 4.60 ล้านไร่ นอกเขตชลประทาน 2.24 ล้านไร่ ส่วนพื้นที่ปลูกข้าวนอกลุ่มน้ำเจ้าพระยาประมาณ 25.3 ล้านไร่ ซึ่งกระจายอยู่ในเขตชลประทาน 3.45 ล้านไร่ และนอกเขตชลประทาน 21.88 ล้านไร่

          นายเลอศักดิ์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้รัฐบาลก็ได้สรรหามาตรการแก้ปัญหาภัยแล้งโดยมีการ บูรณาการความร่วมมือกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงกลาโหม และนายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานในสังกัดเร่งให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาอย่างใกล้ชิด

          รวมทั้งเข้าไปชี้แจงทำความเข้าใจโดยเฉพาะให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนวิธีจากปลูกข้าวมาปลูกพืชใช้น้ำน้อยแทนเพื่อจะได้สอดคล้องกับสถานการณ์ หรือจะเป็นการสร้างงานสร้างอาชีพให้เกษตรกรเพื่อให้มีรายได้มาใช้จ่ายและจุนเจือครอบครัว นอกเหนือภาคเกษตรเป็นการชดเชยรายได้ที่หายไปจากการทำนา.

จาก http://www.dailynews.co.th  วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

คอลัมน์ เกษตรบูรณาการ: ไม่ปรับแต่ต้อง

          ตลอดสัปดาห์ที่ผ่านมา ต้องบอกว่าข่าว ของท่าน รมต. "ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา" แทบครอง หน้า 1 ต่อกันหลายวัน แต่นั่นไม่ใช่ผลงานแก้ปัญหาด้านการเกษตรตาม ที่เป็นไปตาม นายกรัฐมนตรี "ประยุทธ์ จันทร์โอชา" สั่งการให้แก้ปัญหาการเกษตร ให้เกษตรกรไทยลืมตาอ้าปากให้ได้แต่มันคือ ข่าวการปรับครม. ที่มีรายชื่อของท่านรัฐมนตรี กระทรวงเกษตรฯคนนี้อยู่ด้วย

          แม้ท่านรัฐมนตรีและทีมงาน จะบอกว่า ทำงานเต็มที่มาต่อเนื่อง และพร้อมที่จะลุกจากเก้าอี้ทันที หากนายกฯ สั่งแต่นั้นคือ คำพูด เพราะดูจากหลายอย่างต้องบอกว่า ท่านรัฐมนตรี ออกอาการ เครียดไม่น้อยกับข่าวการปรับครม. ที่เกิดขึ้น และปรับการทำงานแบบหามรุ่งหามค่ำลงลุยพื้นที่ ตรวจสอบภัยแล้ง เข้าถึงประชาชน แบบจับต้องได้ ชนิดที่ว่า ไม่เคยปรากฏมาก่อนในรอบ 9 เดือนที่ผ่านมา เพราะหากท่านทำอย่างนี้ ท่านคงมีคน "สรรเสริญเต็มบ้านเต็มเมือง"ต้องบอกว่า ถึงเพลานี้ข่าวการปรับ ครม.ที่มีรายชื่อ "ปีติพงศ์" จะหลุดจากโผไป เหลือเพียง "อำนวย ปะติเส"รัฐมนตรีช่วย ที่มีนโยบานเร่ขายยางเน่าก่อน ก็ยังคงมีข่าวอยู่ ว่ากันว่าจะมีนายทหาร ที่ทาง คสช. ส่งมาทำงานในกระทรวงเกษตรหลายเดือนก่อนหน้านี้ อาจโผล่ขึ้นมานั่งในตำแหน่ง รมช. แทน "อำนวย" เพราะถูกมองว่าเป็นสายตรง "หม่อมอุ๋ย" ที่ทางทหารตั้งคำถามกันหนาหูว่า เข้ามาช่วยแก้ปัญหาหรือ สร้างปัญหากันแน่ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เพราะหลายอย่างงานเริ่มไม่เข้าตา "ลุงตู่"ในขณะที่ "ปีติพงศ์" มาสายตรง "คุณลุง"จึงเห็นทำงาน แทบไม่เข้าขากันในหลายเรื่องจน รมว. "ปีติพงศ์" แอบบ่นอยู่เนืองๆแม้ข่าวปรับ ครม. จะเงียบลง แต่นั่นไม่ใช่ว่า จะไม่เกิดขึ้นเพราะ "ลุงตู่" ยังแทงกั๊ก ว่า ทุกอย่างอยู่ในใจ ใครไม่ทำงานก็พร้อมปรับ นั้นหมายถึงจากนี้ไป ทุกคนต้องทำงานให้สมกับที่ไว้ใจ และปัญหาใหญ่ ของ รมว.เกษตรฯต้องคิดหนักจากนี้ไป ก็คงหนีไม่พ้นเรื่องการวางคนให้ถูกกับงาน ให้กระทรวงเกษตรฯก้าวไปให้ได้ และ ตุลาคมนี้ มีข้าราชการ ระดับ10 คือว่างลงกว่า 7 ตำแหน่งจากการเกษียณอายุราชการ ซึ่งมี กรมการข้าว กรมพัฒนาที่ดิน กรมฝนหลวงฯ กรมประมง กรมหม่อนไหม และ ผู้ตรวจราชการอีก 2 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นโจทย์ใหญ่ ที่ท่าน รัฐมนตรี "ปีติพงศ์" ต้องใช้ แว่นขยายส่องหาคนดีมีฝีมือไปทำงานแทน ตำแหน่งที่ว่างลงทั้งหมด และ ว่ากันว่า อาจเลยลามไปอีกอย่างน้อย 3-4 ตำแหน่ง ยังไม่เกษียณที่ทำงานไม่เข้าตาด้วย ส่วนจะเป็นใครอธิบดีคนไหน ท่านๆ ทั้งหลายต้องไปพิจารณาตนเองว่าเข้าข่าย นี้หรือไม่

          ถึงวันนี้ ต้องบอกว่า น่าหนักใจแทน รมว.เกษตรฯ ไม่น้อย เพราะตะกร้าซี 10 มีอยู่ 2 ตะกร้า ทั้งตะกร้า ผู้ตรวจราชการ ที่ท่านเองตั้งมา 9 ตำแหน่ง สมัยที่ท่านเข้ามา นั่งเป็น รมว.เกษตรฯช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา และตะกร้าจาก ตำแหน่งรองอธิบดี แต่ละกรม ที่สามารถขึ้นมาแทนตำแหน่งที่ว่างลง หากต้องการหาคนทำงานจริงๆ เท่าที่เห็น ก็น่าจะมีไม่เกิน 3 คน ที่คนกระทรวงเกษตรฯยอมรับว่าเป็นคนเก่ง นอกนั้น ท่านต้องใช้สติปัญญา ท่านดูกันเองล้วนๆ เพราะจากนี้ไป กระทรวงเกษตรฯจะเป็นอย่างไร ดีขึ้น หรือเลวลง ขึ้นอยู่กับการใช้สมองการตัดสินใจของท่านเองทั้งหมด ที่สำคัญแว่วว่า มีขบวนการบางกลุ่มพยายาม ดันคนของตนเองไปสืบทอดอำนาจ หากินในกรมใหญ่ อย่างน้อย 2 กรม

          สุดท้ายต้องบอกกันชัดๆว่า การตัดสินใจครั้งนี้จะผิดพลาดไม่ได้เด็ดขาดเพราะ "เมื่อไม่ปรับ ท่านก็ต้องกล้าที่จะเปลี่ยน" ให้กระทรวงเกษตรฯดูดีขึ้นในสายตาของคนทั้งปะเทศให้ได้ ที่สำคัญอย่าลืมว่าท่านตัดสินใจพลาดมาแล้วอย่างน้อย 2 เรื่องในการเลือกคน ทั้งการเลือกอธิบดีบางคน และที่ปรึกษา โดยเฉพาะ ที่ปรึกษาข้างกาย "ย้ำว่าบางคน" ที่คน กระทรวงเกษตรฯเขาเอือมละอาในพฤติกรรมหลายอย่าง จนถึงทุกวันนี้ แม้ท่านจะบอกว่าไม่ทราบ ไม่มีหลักฐานเอาผิดเอาออกในพฤติกรรม ที่พวกเขาสร้าง แต่ที่แน่ๆ คนกระทรวงเกษตรฯตั้งคำถามว่า "ท่านไม่รู้ได้อย่างไรว่าใครดีใครไม่ดี" ตัวโตๆกับท่าน พวกนี้คือตัวถ่วง และทำให้ท่านมัวหมอง ไปด้วยจากนี้ไป คงหวังจากสติปัญหาของท่านรัฐมนตรี "ปีติพงศ์" ในการเลือกคน ทำงาน ให้สมกับ คนในประเทศและข้าราชการกระทรวงเกษตรฯหวัง.. สาธุ

จาก http://www.naewna.com วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พึ่งแก้มลิงชุมชนทั่วประเทศ แก้ท่วม/แล้งเร่งด่วนภายใน1-2ปีตะลึง!อีสานมีแหล่งน้ำ4หมื่นไร่ 

 เกษตรฯ เตรียมปัดฝุ่นแหล่งน้ำขนาดเล็กทั่วประเทศ แก้ภัยแล้งระยะเร่งด่วน 1-2 ปีนี้

          นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า การหารือร่วมกับนายรอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สสนก. เห็นตรงกันว่าไทยควรจะนำแหล่งน้ำขนาดเล็ก แก้มลิงที่ตื้นเขิน หรืออยู่ในการดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) มาเป็นแหล่งน้ำใหม่ของทั้งประเทศ ในระยะเร่งด่วน 1-2 ปีนี้ แทนการสร้างแหล่งน้ำขนาดใหญ่ที่ไม่สามารถดำเนินการได้ในเวลาอันใกล้ ในเบื้องต้นพบว่ามีประมาณ 3,000 แห่ง

          "ทั้งนี้ เห็นว่าการจัดการน้ำในอนาคตจะต้องเน้นให้ชุมชนเป็น ผู้บริหารจัดการและดูแลกันเอง ร่วมถึงการเพิ่มแหล่งน้ำในไร่นา ซึ่งในเรื่องนี้ผมและอาจารย์รอยลเห็นตรงกัน" นายปีติพงศ์ กล่าว

          อย่างไรก็ตาม แม้จะมีระบบน้ำขนาดเล็กเพื่อชุมชน แต่ในส่วนของอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่จะมารองรับการพัฒนาประเทศยังจำเป็นต่อไป ซึ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความจำเป็น เพราะหากมีแหล่งน้ำเพิ่มจะช่วยทำให้เศรษฐกิจในภูมิภาคดีขึ้น และในอนาคตความต้องการสินค้าเกษตรจะเป็นตัวกำหนดการใช้น้ำ ไม่ใช่ผู้ปลูกที่จะกำหนดการใช้น้ำ จึงต้องมีการตลาดและการวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับตลาดที่เพิ่มขึ้น

          นายรอยล กล่าวว่า จากการสำรวจแหล่งน้ำของ สสนก.พบว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแหล่งน้ำขนาดเล็กและใหญ่จำนวนมากนับพันแห่งกระจายตัวอยู่ แต่หลายแห่งตื้นเขิน ไม่ได้ใช้งาน หลายแห่งตะกอนไหลลงไปจนเก็บน้ำไม่ได้มาก และบางจังหวัดมีแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ครอบคลุมพื้นที่ 4 หมื่นไร่ แม้แต่ท้องถิ่นก็ไม่ทราบ ส่วนกลางไม่มีข้อมูลชุดนี้ ทั้งหมดสามารถนำกลับมาใช้ได้

          ทั้งนี้ ไม่เห็นด้วยกับการทำโครงการโขง-ชี-มูล เพราะลงทุนมากแต่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้เล็กน้อยเท่านั้นเนื่องจากเป็นระบบสูบน้ำ ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตสูงไปด้วย

          "จากการลงพื้นที่ของ สสนก. พบว่าปัจจุบันแหล่งน้ำที่รัฐสร้าง รวมทั้งแหล่งน้ำธรรมชาติที่กระจัดกระจายหลายแห่งถูกทิ้งร้าง เช่น ในภาคอีสาน มีอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กจำนวนมาก แต่ใช้ไม่ได้ แต่ละปีผลผลิตทางการเกษตรภาคอีสานเสียหายปีละ 40% จากการขาดน้ำ หากทำให้มีน้ำเพิ่มได้ ผลผลิตเหล่านี้จะกลับมาและเกษตรกรจะมีรายได้เพิ่ม" นายรอยล กล่าว

          ที่ผ่านมา สสนก.ได้ทำโครงการร่วมกับเกษตรกรเพื่อให้มีแหล่งน้ำของตนเอง พบว่ามีชุมชนที่ประสบความสำเร็จในการจัดการน้ำท่วมน้ำแล้งในพื้นที่ของตัวเองได้สำเร็จทั่วประเทศ 341 ชุมชน

จาก http://www.posttoday.com วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ร่างแผนแม่บทเพิ่มผลิตภาพ

          โครงสร้างอุตสาหกรรมไทยเปลี่ยนไปสู่สินค้าที่ใช้ความรู้และเทคโนโลยีมากขึ้น

          ขณะที่ยังขาดแคลนแรงงานฝีมือ โดยเฉพาะวิศวกรและนักวิทยาศาสตร์ส่งผลให้ขีดความสามารถของภาคอุตสาหกรรมไทยลดลง ล่าสุด จากการศึกษาของ IMD ปี 2558 อันดับผลิตภาพของประเทศไทยยังอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ดีนัก อยู่ในอันดับที่ 55 จาก 61 ประเทศ และผลิตภาพอุตสาหกรรมอยู่ในอันดับที่ 51

          นายอุดม วงศ์วิวัฒน์ไชย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมมีแนวคิดจัดทำแผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม พ.ศ. 2559-2564 มีเป้าหมาย 4 ประการ 1.ผลิตภาพรวม (TPE) เติบโต 3% ต่อปี 2.ผลิตภาพแรงงานเติบโต 5% ต่อปี 3.มีระดับความสำเร็จของกลุ่มเครือข่าย 4.อัตราความพึงพอใจเฉลี่ยต่อบริการภาครัฐมากกว่า 80%

          ทั้งนี้ ร่างแผนแม่บทได้ผ่านการเห็นชอบในหลักการจากคณะกรรมการพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ (กอช.) แล้ว

จาก http://www.posttoday.com  วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

รมว.เกษตรฯสำรวจแล้งภาค

          เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม ที่สำนักงานชลประทานที่ 12 เขื่อนเจ้าพระยา อ.สรรพยา จ.ชัยนาท นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับฟังสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ โดยมีนายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน เข้าร่วม โดยมีนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท ให้การต้อนรับ และรายงานว่าพื้นที่รับผิดชอบของสำนักชลประทานที่ 12 จำนวน 6 จังหวัดภาคกลางฝั่งตะวันตก มีพื้นที่ทำนาไปแล้ว 1.3 ล้านไร่ มีนาข้าวกำลังตั้งท้องอายุ 8 สัปดาห์ 8 แสนไร่ ที่กำลังต้องการน้ำ ส่วนที่เหลืออาจเสียหาย นายปีติพงศ์จึงสั่งการให้เร่งส่งน้ำให้ชาวนาทันทีเพื่อไม่ให้นาข้าวที่กำลังตั้งท้องเสียหาย

          จากนั้นนายปีติพงศ์เดินทางไปฟังปัญหาจากชาวบ้าน บ้านหนองแห้ว หมู่ 12 ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี โดยมีนายโสภณ งามขำ อายุ 67 ปี ชาวนา ต.โรงช้าง อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ร้องขอให้ส่งน้ำเข้าคลองขวา 1 บรมธาตุ เพื่อมีน้ำเลี้ยงต้นข้าวที่กำลังออกรวงรวมกว่า 50,000 ไร่ ซึ่งนายปีติพงศ์รับปากจะนำเครื่องสูบน้ำไปสูบน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยาเข้าคลองในวันที่ 27 กรกฎาคม พร้อมเตรียมโครงการจ้างงาน จะเริ่ม วันที่ 1 สิงหาคมนี้ และเตรียมส่งเสริม การปลูกข้าวโพดและถั่วเขียว โดยจะหาตลาดรองรับผลผลิต

          นายทวี กาญจนา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า ปัญหาความแห้งแล้งในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือโดยรวมเริ่มคลี่คลาย หลังมีร่องมรสุมพาดผ่านและเกิดฝนตกลงมาในพื้นที่ สำหรับภารกิจการปฏิบัติการฝนหลวงจะยังคงมีอยู่ โดยมุ่งเน้นการเติมน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ อาทิ เขื่อนอุบลรัตน์ และเขื่อนลำปาว เพื่อให้มีปริมาณเก็บกักน้ำที่เหมาะสม

          นายวีระศักดิ์ วิเชียรแสน ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.นครพนม กล่าวว่า จ.นครพนม ยังมีฝนตกต่อเนื่องมาตลอดช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ส่งผลให้น้ำจากลำน้ำสาขาสายหลักไหลระบายลงสู่แม่น้ำโขงในปริมาณมาก ทำให้ระดับน้ำโขงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เตือนให้ประชาชนในพื้นที่เฝ้าระวังปัญหาน้ำท่วมฉับพลัน รวมถึงน้ำป่าไหลหลาก

จาก http://www.matichon.co.th  วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สกู๊ปพิเศษ : ‘วิบูลย์ เข็มเฉลิม’ครูธรรมชาติผู้ปลูกต้นไม้ในใจคน นำเกษตรกรไทยหลุดพ้นความยากจนด้วย‘วนเกษตร’

นวัตกรรมท่องเที่ยว : ศ.ดร.อภินันท์ โปษยานนท์  ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานในการแถลงข่าว “นวัตกรรมของที่ระลึกสำหรับการท่องเที่ยว” และนิทรรศการ “ฝากไทย : ถอดรหัสเสน่ห์ของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว” โดยมี ไพโรจน์ ธีระประภา ศิลปินศิลปาธร, ไพเวช วังบอน Best Designer of the Year 2005 และ ศีลวัตร วีรกุล Creative Director ร่วมงาน

ความสำเร็จของคนคนหนึ่ง อาจวัดด้วยตัวเลขในบัญชีที่ขยับตัวสูงขึ้น หรือวัดจากสมบัติสะสมมูลค่ามากมายมหาศาล แต่ความสำเร็จของ “ผู้ใหญ่บุ๊น” วิบูลย์  เข็มเฉลิม อดีตผู้ใหญ่บ้านห้วยหิน ต.ลาดกระทิง อ.สนามชัยเขต จ.ฉะเชิงเทรา ผู้เป็นต้นแบบความคิดด้านการพึ่งพาตนเองนั้นอยู่ที่การได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ในการพึ่งพาตัวเองโดยใช้วิถีเกษตรอันเป็นรากเหง้าของคนไทยมาเป็นหนทางนำพาชีวิตเกษตรกรไทยนับหมื่นนับแสนคนให้หลุดพ้นความยากจนสู่การมีอยู่มีกินแบบยั่งยืน   

ย้อนกลับไปเมื่อ 30 ปีก่อน ผู้ใหญ่วิบูลย์ต้องมีหนี้ล้นพ้นตัว เพราะมุ่งมั่นทำเกษตรเชิงธุรกิจที่ใช้การลงทุน การจ้างงาน และใช้ปุ๋ยเคมีเร่งผลผลิต ปลูกพืชเชิงเดี่ยวอย่างมันสำปะหลังเพื่อหวังร่ำรวย แต่ผลที่ได้กลับตรงกันข้าม คิดว่าจะรวยกลับล้มละลาย ที่ดินทำกินที่เคยมีกว่า 300 ไร่ ต้องขายใช้หนี้จนเหลือแค่ 10 ไร่เท่านั้น

เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้ผู้ใหญ่วิบูลย์เปลี่ยนแนวคิด หันมายึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้ชีวิตแบบเกษตรพึ่งพาตัวเองบนพื้นฐานของความรู้ความเข้าใจทรัพยากรรอบตัว ใช้สิ่งรอบข้างเป็นครูและนำความรู้จากพ่อที่เคยเป็นหมอพื้นบ้านมาปรับใช้ นำเรื่องการทำบัญชีครัวเรือนมาใช้ จนทำให้มีชีวิตความเป็นอยู่ดีขึ้น

“ปัญหาที่เกิดนั้นทำให้เราได้กลับคิดวิเคราะห์ทบทวนตัวเอง ทำให้เห็นว่า เกษตรกรทุกวันนี้เมื่อมีผลผลิตเท่าไรก็จะเอาไปขายทั้งหมด แล้วค่อยเอาเงินไปซื้อกิน ชีวิตเกษตรกรถึงอยู่ไม่ได้ แต่ถ้าเราจะทำแค่อยู่ ไม่เอาเรื่องเงินเลย เราก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน ชีวิตมันจึงเหมือนกับถูกแขวนไว้บนสายพานเครื่องจักรโรงงานอุตสาหกรรม จนเราไม่สามารถเลือกเส้นทางชีวิตของเราได้”

“จากสิ่งที่ได้เจอมา ทำให้ผมได้ข้อสรุปว่า ถ้าผมยังไม่ออกนอกสายพาน ผมก็จะไม่สามารถปลดเปลื้องหนี้สินหรือมีชีวิตที่ดีได้

ผมจึงต้องเปลี่ยนจากเกษตรธุรกิจมาเป็นแบบการพึ่งตนเองทำเพื่อกินอยู่ในครอบครัวก่อน หากมีเหลือแล้วค่อยขาย ชีวิตเราจะเป็นอิสระจากระบบการตลาดและอิทธิพลของเงิน วิธีการนี้ทำให้ชีวิตดีขึ้น ร่างกายแข็งแรงมากขึ้น มีกิน มีใช้มากขึ้น ทำให้เห็นว่า ถ้าคนเราเปลี่ยนวิธีคิดได้ ชีวิตของเราก็จะเปลี่ยน”

แม้เกษตรแบบพึ่งพาตัวเองจะเป็นทิศทางในการดำเนินชีวิตที่ดี แต่จะดีไปกว่า ถ้าจะทำให้วิถีเหล่านี้จะสามารถอยู่ในชีวิตได้แม้อายุอานามจะมากขึ้น ผู้ใหญ่จึงคิดหาที่วิธีทำงานให้น้อยลงขณะเดียวกับที่ยังมีกินมีใช้ได้เหมือนเดิม และจึงพบว่า “วนเกษตร”  คือ วิถีที่ยั่งยืน

“วนเกษตร” เป็นการนำระบบการอาศัยหลักการเกื้อกูลกันของป่าธรรมชาติที่มีพืชต่างกัน 7 ระดับมาใช้เป็นแนวทางการปลูกพืช โดยให้ความสำคัญกับการปลูกไม้ยืนต้น ไม้ผล และไม้ใช้สอยเป็นองค์ประกอบหลัก ผสมผสานกับพืชขนาดเล็กที่ลดหลั่นกันลงมา รวมถึงพืชคุลมดิน พืชใต้ดิน และในน้ำด้วย ซึ่งสามารถใช้ดินน้ำอากาศและปุ๋ยร่วมกัน หลายองค์ประกอบที่สมบูรณ์ สร้างวงจรชีวิตทางธรรมชาติแบบพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

“วิธีนี้ทำให้เรามีกิน จากต้นไม้ที่ปลูกเพียงครั้งเดียวแต่มีกินตลอดเช่น ไม้ผลหรือผักพื้นบ้านที่แตกยอดใหม่ให้กินได้เรื่อยๆ ปลูกที่ชอบกินเป็นหลัก มีพืชผักสวนครัวอยู่รอบบ้าน มีนาปลูกข้าวไว้สำหรับกินมีสมุนไพรเพื่อเป็นอาหารเป็นยา  เรามีใช้จากไม้ที่เราปลูกเพื่อการใช้สอยทำประโยชน์โดยไม่ต้องไปตัดไม้ในป่า และเรายังมีหลักประกัน จากไม้ใหญ่ที่เราปลูกไว้เป็นทุนสะสมไว้ใช้ยามฉุกเฉินหรือเมื่ออายุมากขึ้นจนทำงานไม่ไหว”

ผลจากการสรุปบทเรียนของชีวิต ทำให้ผู้ใหญ่วิบูลย์ตั้งใจจะส่งผ่านความรู้ในการดำรงชีวิตให้อยู่ได้อย่างมีความสุขอย่างพอเพียงให้กับผู้คนที่สนใจ โดยไม่ยึดรูปแบบหรือกรอบการเรียนรู้เน้นในเรื่องการจัดสมดุลของชีวิตตามรูปแบบที่เหมาะสมกับตนเอง รู้จักการวางแผนแก้ปัญหา สร้างแนวทางชีวิต จัดการทรัพยากรที่มีอยู่ และควรทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย เพื่อตัดรายจ่ายในสิ่งที่ไม่จำเป็น

ในบริเวณบ้านของผู้ใหญ่ นอกจากจะมีพันธุ์ไม้ต่างๆ แล้ว ยังมีบ้านไทย 100 ปี ที่ใช้เก็บและแสดงเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน วัตถุโบราณ และยังปรับเป็นพื้นที่ค่ายเยาวชนเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้ถึงภูมิปัญญาและเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ

นอกจากนั้น ยังสร้าง “เครือข่ายวนเกษตร” โดยการเปิดพื้นที่ให้สมาชิกได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องการทำวนเกษตร การคัดลอกตำรายาและทดลองทำ รวมทั้งการสนับสนุนให้สมาชิกได้รู้จักแปรรูปผลผลิตของตัวเองเป็นอาหาร ยาสมุนไพร และของใช้ที่จำเป็นในชีวิตประจำวัน  เช่น สบู่ แชมพู เมื่อเหลือใช้ก็สามารถนำไปจำหน่ายได้ ทั้งร้านค้าทั่วไป ตามงานแสดงสินค้าต่างๆ หรือหน้าบ้านผู้ใหญ่ที่เปิดพื้นที่ทุกวันเสาร์-อาทิตย์เพื่อเป็นร้านค้าและเป็นที่พบปะพูดคุย โดยผู้ใหญ่วิบูลย์จะคอยให้

 คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด

 “ผมพบว่าสิ่งที่ชาวบ้านขาดคือ การเรียนรู้ ดังนั้นผมจึงหาวิธีที่จะทำอย่างไรให้คนรู้จักพึ่งตัวเอง จึงนำประสบการณ์ที่ทำมาถ่ายทอดให้พวกเขา ผมไม่มีหลักสูตรแต่จะต่อยอดจากความรู้เดิมกระตุ้นให้เกิดความคิดที่สามารถนำไปวางแผนชีวิตในรูปแบบใหม่ๆ มันจึงเป็นการศึกษาตลอดชีวิต เป็นการเรียนรู้ที่ไม่มีวันสิ้นสุด”

ผู้ใหญ่วิบูลย์ยังขวนขวายหาความรู้อย่างไม่หยุดนิ่ง มีการศึกษา ดูงาน แลกเปลี่ยนความรู้กับบุคลากร หน่วยงานต่างๆ อยู่เสมอ และนำความรู้ที่ได้รับไปเผยแพร่ผ่านการบรรยาย สัมมนา ในเวทีต่างๆ ทั้งชุมชน ท้องถิ่น ระดับประเทศและนานาชาติ จนได้รับการยกย่องให้เป็น “ครูธรรมชาติ” เป็น “ปราชญ์ชาวบ้าน” ที่สามารถสร้างให้คนคิดเป็น  ทำดี พูดดี มีหลักประกันที่มั่นคงยั่งยืนบนวิถีแห่งการเกษตร

นายสมชาย จันทราภิรมย์ อดีตผู้อำนวยการศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอสนามชัยเขต กล่าวถึงว่า ผู้ใหญ่วิบูลย์ว่า “ทำเล่นๆ แต่เอาจริงๆ”  “ผลในการลงมือทำนั้นแสดงให้เห็นว่า ผู้ใหญ่เป็นเกษตรกรนักคิด เป็นผู้เปลี่ยนวิธีคิด เปลี่ยนวิถีชีวิต และสามารถพลิกวิกฤติให้เป็นโอกาสได้จริง”

นายโชคดี ปรโลกานนท์ เจ้าของ “สวนลุงโชค” แห่ง อ.วังน้ำเขียว และเป็นแกนนำในการฟื้นฟูป่าเขาแผงม้า กล่าวว่า “ผมเคยเป็นเกษตรกรธุรกิจที่มุ่งหวังกำไร ใช้แต่การลงทุนเครื่องทุ่นแรง เครื่องจักรในการทำงาน จนทำให้ขาดทุน จนเมื่อมีโอกาสได้เข้ามาอบรมดูงานด้านวนเกษตรกับผู้ใหญ่ทำให้ผมสามารถพลิกฟื้นชีวิตขึ้นมาได้  ผมจึงนำแนวคิดของผู้ใหญ่มาเผยแพร่ต่อโดยการจัดตั้งเป็นเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ชาวบ้านและเยาวชนด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติอีกด้วย”

น.ส.ฉวีวรรณ พิมพัฒน์  สมาชิกชมรมเด็กรักป่าตะวันออก ปัจจุบันรับหน้าที่เลขานุการมูลนิธิวนเกษตรเพื่อสังคม กล่าวว่า

“ลุงผู้ใหญ่เป็นแรงบันดาลใจในการทำงานเพื่อชุมชนและสังคม เป็นแบบอย่างในการใช้ชีวิตที่เรียบง่ายบนพื้นฐานของความพอเพียง ที่พวกเราสามารถนำความรู้และแนวคิดที่ได้จากลุงผู้ใหญ่ไปปรับสมดุลของชีวิตได้อย่างมีความสุข และนำมาจัดเป็นกิจกรรมร่วมให้กับทั้งคนไทยและชาวต่างชาติได้”

จากความมุ่งมั่นทำงานหน้าที่ครูผู้สอนชีวิตด้วยหลักธรรมชาติมาตลอดทั้งชีวิต ทำให้ผู้ใหญ่วิบูลย์ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากทั้งในและต่างประเทศ ทำให้เป็นหนึ่งในผู้ได้รับการเสนอชื่อครูผู้สมควรได้รับพระราชทาน “รางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี” และผ่านการพิจารณาให้ได้รับรางวัลในระดับ “ครูยิ่งคุณ” ประจำปี 2558 ของ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี ร่วมกับ สำนักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้และคุณภาพเยาวชน (สสค.) สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา และ กระทรวงศึกษาธิการ

 และผู้ใหญ่วิบูลย์ยังได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ว่า ตนเองเชื่อมั่นและให้ความสำคัญกับแนวทางการศึกษาที่มีกระบวนการเรียนรู้สอดคล้องกับวิถีชีวิต วัฒนธรรมและความเป็นอยู่ของคนในชาติ โดยมีหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแนวทาง ซึ่งเป็นหนทางที่จะทำให้สังคมและเกษตรกรไทยเกิดความสุขอย่างยั่งยืน

“การได้รับเสนอชื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลนี้ นับเป็นรางวัลอันทรงคุณค่า ที่ส่งเสริมขวัญและกำลังใจที่จะทำให้ผมและครอบครัวปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี และจะมุ่งมั่นถ่ายทอดความรู้ให้คนสามารถนำไปเป็นแนวทางจัดการตัวเองได้อย่างเหมาะสม สามารถพึ่งพาตัวเองและพัฒนาชุมชนรอบข้างได้อย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรมต่อไป”

จาก http://www.naewna.com วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

‘รอยล’แนะแผนสู้แล้ง ปัดฝุ่น‘แหล่งน้ำชุมชน’

เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งที่จ.ชัยนาท เพื่อรับทราบปัญหาและแนวทางช่วยเหลือเกษตรกร โดยนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท ได้สรุปสถานการณ์ภัยแล้งของจ.ชัยนาทว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำของจ.ชัยนาทดีขึ้นตามลำดับ เนื่องจากมีฝนตกลงมาบ้าง และจากการบริหารจัดการน้ำที่ดีของกรมชลประทาน ทำให้ระดับน้ำในเขื่อนเจ้าพระยาสูงขึ้นเป็น 14.19เมตร ช่วยบรรเทาปัญหาได้ดีขึ้น ทั้งนี้ นายปิติพงศ์ได้สั่งการให้กรมชลประทานแจ้งตารางการส่งน้ำให้ชาวนาแต่ละพื้นที่ทราบทุก 15 วัน พร้อมกันนี้ ยังรับปัญหาที่ผู้ว่าฯชัยนาทเสนอให้จัดสรรงบแก่กรมชลประทานไปดำเนินการปรับปรุงประตูน้ำ ให้มีระดับที่เหมาะสมและการปรับปรุงระบบสูบน้ำให้มีคุณภาพเนื่องจากที่มีอยู่เก่าและชำรุดอยู่มาก รวมถึงการพิจารณาให้เจ้าของที่ดินมีแหล่งน้ำเป็นของตนเองตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ชาวนาสิงห์บุรีบุกขอเครื่องสูบน้ำ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ระหว่างการประชุม ได้มีตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำทำการเกษตร หมู่ 5 ต.โรงช้าง อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี เดินทางมาเพื่อยื่นหนังสือขอเครื่องสูบน้ำและน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อช่วยเหลือภัยแล้ง ซึ่งเจ้าหน้าที่ทหารได้มาขอร้องและพาตัวแทนกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำทำการเกษตรไปรอที่ศูนย์ช่วยหนังสือเกษตรหมู่ที่ 10 ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี เพราะมีเกษตรกรในพื้นที่รออยู่ จะได้รับทราบปัญหาความเดือดร้อนและแนวทางแก้ไขไปพร้อมกันในครั้งเดียว

ทั้งนี้ หลังรับฟังบรรยายสรุปปัญหาและแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรของจ.ชัยนาทแล้วนายปิติพงศ์ได้เดินทางไปตรวจปริมาณน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา และเดินทางต่อไปยังศูนย์ช่วยหนังสือ เกษตรหมู่ที่ 10 ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี ซึ่งเป็นสถานที่ที่ถ่ายทอดความรู้เรื่องการแก้ปัญหาภัยแล้งให้เกษตรกร และจุดลงทะเบียนเกษตรกร

สั่งกรมชลฯปล่อยน้ำ-ธกส.ปล่อยกู้

นายปีติพงศ์กล่าวว่า หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ กระทรวงมหาดไทย และฝ่ายทหารพยายามแก้ปัญหาและช่วยเหลือเกษตรกรเต็มที่ ซึ่งเรื่องน้ำใช้อุปโภคบริโภคนั้น ได้ประสานกรมชลประทานแล้ว ซึ่งจะเริ่มปล่อยน้ำได้วันที่ 27 กรกฎาคม ตามแผนจัดสรรน้ำ ส่วนเรื่องการจ้างงานก็ขอให้ผู้ที่ต้องการติดต่อชลประทานในพื้นที่ เพราะมีโครงการจ้างงานเร่งด่วนเข้ามาช่วยเกษตรกร และเรื่องค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำ ทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้อนุมัติงบประมาณให้เกษตรกรกู้ยืมเป็นค่าใช้จ่ายในอัตราดอกเบี้ยต่ำ นอกจากนี้ จะส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ให้ความช่วยเหลือประชาชน ถ้าแก้ไขระดับพื้นที่ไม่ได้ ให้ส่งเรื่องถึงตนโดยตรง ขอให้ทุกคนสบายใจได้

ถก“รอยล”ปัดฝุ่นแหล่งน้ำชุมชน

นายปีติพงศ์ยังเปิดเผยถึงการหารือร่วมกับนายรอยล จิตรดอน ผู้อำนวยการสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) หรือสสนก.ว่า ได้แลกเปลี่ยนความเห็นกันเรื่องการจัดหาแหล่งน้ำ หลังที่ประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีมติให้ไปจัดตั้งคณะอนุกรรมการ 4 ชุด ดูแล 4 เรื่องคือ การจัดหาแหล่งน้ำ การใช้น้ำ การบริหารจัดการ และการประชาสัมพันธ์ความเข้าใจเรื่องน้ำกับประชาชน ซึ่งตนเสนอว่าสภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงไปมาก ทำให้เกิดภาวะอากาศสุดขั้ว เช่น แล้งรุนแรงสลับกับฝนตกหนัก ดังนั้น งานชลประทานขนาดเล็กที่ประเทศไทยมีอยู่แล้ว จำเป็นต้องนำเข้ามาช่วยประชาชนมากขึ้น แต่สภาพปัจจุบันถูกทิ้งร้างไปมาก จึงต้องนำมาปรับปรุง

นอกจากนี้ ต้องเน้นให้เกษตรกรสร้างแหล่งน้ำในฟาร์มของตัวเอง เป็นการชลประทานขนาดย่อม โดยต้องให้แหล่งน้ำในแปลงของเกษตรกรเชื่อมต่อกันได้กับแหล่งน้ำในแปลงติดกัน ทำให้มีการถ่ายเท หมุนเวียนใช้น้ำระหว่างกันได้ตลอด หลายประเทศทำเรื่องนี้ได้แล้ว

แนะเลือก55ชุมชนต้นแบบแก้ท่วม-แล้ง

ด้านนายรอยลกล่าวว่า ได้รายงานรมว.เกษตรฯให้ทราบถึงชุมชนในประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จในการจัดการน้ำท่วมน้ำแล้งได้สำเร็จ ทั่วประเทศมีประมาณ 341 ชุมชน ในจำนวนนี้มีประมาณ 55 ชุมชน เช่น องค์การบริหารส่วนตำบล(อบต.)ป๊อกแป๊ก จ.สระบุรี หรือเกษตรกรในอ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี สามารถนำมาเป็นต้นแบบแก้ปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง ในแต่ละพื้นที่ของประเทศ โดยประชาชนเป็นเจ้าของและบริหารโครงการ รัฐทำหน้าที่สนับสนุน เพราะประชาชนย่อมมีความรู้ความเข้าใจพื้นที่ตัวเอง ดีกว่าส่วนกลางอยู่แล้ว หากกระทรวงเกษตรฯคัดเลือกพื้นที่แก้ปัญหาน้ำท่วม-น้ำแล้งในพื้นที่ สามารถใช้ตัวอย่างจากชุมชนที่ประสบความสำเร็จเหล่านี้ได้

นายรอยลกล่าวต่อว่า ประเทศไทยจำเป็นต้องไปตรวจสอบแหล่งน้ำในพื้นที่ทั่วประเทศเสียใหม่ เพราะรัฐเริ่มเข้าไปก่อสร้างแหล่งน้ำให้ชุมชนมาตั้งแต่ 30 ปีที่แล้ว แต่จากการลงพื้นที่ของ สสนก. พบว่าปัจจุบันแหล่งน้ำที่รัฐสร้าง รวมทั้งแหล่งน้ำธรรมชาติที่กระจัดกระจายหลายแห่งถูกทิ้งร้าง เช่น ภาคอีสานมีอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กนับพันแห่งกระจายอยู่ แต่หลายแห่งตื้นเขิน ไม่ได้ใช้งาน และบางจังหวัดมีแหล่งน้ำใหญ่ขนาดพื้นที่ 40,000 ไร่ แต่รัฐส่วนกลางยังไม่มีข้อมูลในระบบ ซึ่งแหล่งน้ำเหล่านี้มีอยู่และสามารถนำกลับมาใช้งานได้

กษ.ผลักดัน5โครงการช่วยเกษตรกร

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันเดียวกันนี้ นายปีติพงศ์ยังได้ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่จ.อ่างทอง และจ.สิงห์บุรี โดยรับฟังสถานการณ์ภัยแล้งแต่ละจังหวัดจากผู้ว่าราชการจังหวัด การบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ รวมถึงแนวทางช่วยเหลือเกษตรกร ทั้งนี้ รมว.เกษตรฯกล่าวกับเกษตรกรที่มารอต้อนรับว่า รัฐบาลเตรียมโครงการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยแล้งประมาณ 5 โครงการ อาทิ โครงการจ้างแรงงาน ซึ่งเริ่มโครงการวันที่ 1 สิงหาคม และเมื่อมีฝนตกกระทรวงเกษตรฯเตรียมส่งเสริมปลูกข้าวโพดและถั่วเขียว พร้อมหาตลาดรองรับผลผลิต รวมถึงการส่งเสริมการสร้างแหล่งน้ำในไร่นา และการทำฟาร์มผสมผสานรวม นอกจากนี้ ยังขอร้องให้เกษตรกรร่วมกันจัดกรอบการใช้น้ำ เพื่อเฉลี่ยให้คนอยู่ปลายน้ำได้รับน้ำด้วย ในอนาคตอยากให้เจ้าของที่นาได้ร่วมกันรวมพื้นที่ขุดสระเก็บกักน้ำใช้ในฤดูแล้ง ส่วนในเรื่องเงินกู้ ได้พูดคุยกับ ธกส.ขอเงินกู้ระยะสั้นมาช่วยเหลือเป็นค่าเชื้อเพลิงสูบน้ำเข้านามาบรรเทาความเดือนร้อนในช่วงนี้

วิษณุกั๊กข้อเสนอม.44สร้างแม่วงก์

ขณะที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงข้อเสนอของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรฯ ที่ขอให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ใช้อำนาจตามมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว 2557 ให้ก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งว่า ได้รับทราบข้อเสนอดังกล่าวแล้ว แต่การใช้อำนาจต้องไม่สร้างความยุ่งยาก และต้องเข้าหลักเกณฑ์เหมือนที่เคยใช้มากว่า 20 ครั้ง โดยต้องดูด้วยว่าการใช้มาตรา 44 จะสามารถแก้ไขปัญหาได้จบหรือไม่ เพราะมาตราดังกล่าวไม่ใช่แก้วสารพัดนึก มิฉะนั้นคนจะสงสัยถึงความศักดิ์สิทธิ์ของมาตรานี้ ซึ่งอาจมีคนมาต่อต้าน ถ้ามีการต่อต้าน ก็แสดงว่าการใช้อำนาจตามมาตรา 44 ไม่ได้ผล อย่างไรก็ตาม ตนเชื่อว่าขณะนี้ผู้เกี่ยวข้องกำลังศึกษาเรื่องดังกล่าวอยู่ว่าถ้าใช้มาตรา 44 ปัญหาทุกอย่างจะจบหรือไม่ ส่วนตัวเห็นว่าหากมองถึงความปรองดอง ควรใช้วิธีการพูดคุยสร้างการรับรู้และความเข้าใจเพื่อแก้ปัญหามากกว่า

กาญจน์แล้งจัดวอนรบ.ช่วยด่วน

สำหรับสถานการณ์ภัยแล้งหลายจังหวัดยังคงน่าเป็นห่วง โดยนายอนุชา สุขเชิงชาย นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลสระลงเรือ อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรีเปิดเผยว่า อ.ห้วยกระเจา ถือเป็นอำเภอที่ประสบกับปัญหาภัยแล้งทุกปี แต่ปีนี้สถานการณ์ภัยแล้งในต.สระลงเรือเข้าสู่สภาวะวิกฤติในรอบ 5 ปี ไม่มีฝนตกลงมามาตั้งแต่เดือนตุลาคม 2557 จนถึงปัจจุบันเป็นเวลา 10 เดือนแล้ว ทำให้พืชผลการเกษตรแห้งเหี่ยวตาย สระน้ำที่ขุดไว้เก็บน้ำฝนแห้งขอด กระทั่งไผ่ป่าที่ทนความแห้งแล้งยังยืนต้นตาย เกษตรกรหมดหวังท้อแท้ เพราะต้องกู้เงินมาลงทุน เมื่อไม่มีผลผลิตก็ไม่มีรายได้มาใช้หนี้ บางรายไปกู้เงินนอกระบบมา ดอกเบี้ยสูงร้อยละ 3-5 บาทต่อเดือน ทุกคนวิตกว่าต้องถูกยึดที่ดินแทนใช้หนี้ ตนในฐานะผู้นำท้องถิ่น ขอเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ด้วย

จาก http://www.naewna.com วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ส่งเสริมพลังงานทดแทนระดับชุมชน

นายสราวุธ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ปัจจุบันกระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างที่จะใช้งบประมาณ 67 ล้านบาท เพื่อเร่งส่งเสริมการผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชน ใน 2 รูปแบบ ได้แก่ 1.โครงการส่งเสริมการลงทุนด้านพลังงานทดแทนในระดับชุมชน (Community ESCO Fund) โดยใช้งบสนับสนุนด้านการเงินลงทุนร่วมกับชุมชนในรูปแบบสนับสนุนบางส่วน วงเงิน 47 ล้านบาท ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญในการผลักดันต้นแบบชุมชนพลังงานทดแทนรูปแบบใหม่ เพื่อให้เกิดการใช้พลังงานทดแทนระดับชุมชนเพิ่มขึ้น อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ ก๊าซชีวภาพ ขยะ กำหนดเป้าเบื้องต้นให้ได้ 25 โครงการ เพื่อผลิตพลังงานทดแทนได้ 300 กิโลวัตต์

2.โครงการสนับสนุนการผลิตพลังงานทดแทนในระดับชุมชน สนับสนุนเงินแบบให้เปล่า วงเงิน 20 ล้านบาท เพื่อเป็นกลยุทธ์สำคัญในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาพลังงานทดแทนครอบคลุมทั่วประเทศ และเป็นการบูรณาการนโยบายด้านพลังงานทดแทนคู่ไปกับการวิเคราะห์ศักยภาพในแต่ละพื้นที่ โดยมีเป้าหมายสนับสนุนเครื่องทำน้ำร้อนแสงอาทิตย์ 4 จังหวัด กังหันลมผลิตกระแสผลิตไฟฟ้า 8 จังหวัด ก๊าซชีวภาพ 4 จังหวัด และเครื่องผลิตไบโอดีเซลใน 4 จังหวัด ซึ่งโครงการไบโอดีเซลนี้ได้ก่อสร้างเรียบร้อยแล้วทั้ง 4 แห่ง โครงการอื่นๆ ก็มีความคืบหน้าตามลำดับ

จาก http://www.naewna.com วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

วิกฤติน้ำ58! 'เขื่อนภูมิพล' ยังไม่พ้นแล้ง หลายแห่งก็แห้งขอด

รมว.เกษตรและสหกรณ์ เดินสายลงพื้นที่ชัยนาท สิงห์บุรี และอ่างทอง ติดตามปัญหาภัยแล้งและการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัย ขณะที่ “วิษณุ” แจงถึงข้อเสนอของกรมชลประทานให้ “บิ๊กตู่” ใช้อำนาจตาม ม.44 ก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ว่า ต้องดูว่าจะแก้ปัญหาได้จบหรือไม่ เพราะ ม.44 ไม่ใช่แก้วสารพัดนึก ขณะที่เขื่อนภูมิพลยังวิกฤติ ปริมาณน้ำเก็บกักยังไม่ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของความจุเขื่อน

แม้จะมีฝนตกลงมาในหลายพื้นที่ช่วยให้ความเดือดร้อนของเกษตรกรจากปัญหาพืชผลการเกษตร โดยเฉพาะนาข้าวขาดน้ำคลี่คลายลงไปบ้าง แต่สถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ยังไม่พ้นวิกฤติเนื่องจากน้ำยังไหลเข้าน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ โดยเมื่อวันที่ 26 ก.ค. นายณัฐวุฒิ แจ่มแจ้ง ผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพล จ.ตาก เปิดเผยว่า ขณะนี้เขื่อนภูมิพลยังไม่พ้นวิกฤติมีน้ำไม่ถึง 30 เปอร์เซ็นต์ของความจุอ่างเก็บน้ำ มีปริมาณน้ำกักเก็บทั้งสิ้น 3,926 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) หรือคิดเป็น 29.16 เปอร์เซ็นต์ แต่มีน้ำใช้การได้เพียง 126 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 1.31 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนที่เหลือต้องคงไว้เหนือเขื่อนเพื่อรักษาระบบนิเวศ เมื่อวานมีน้ำไหลเข้ามากถึง 9.01 ล้าน ลบ.ม. แต่ยังคงระบายน้ำที่ 5 ล้าน ลบ.ม. ก็พอเพียงเพราะขณะนี้มีฝนตกทั่วทุกพื้นที่ เกษตรกรสามารถใช้น้ำฝนทำการเกษตรได้

 ส่วนปริมาณน้ำในเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ อยู่ที่ 3,148.62 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 33.11 เปอร์เซ็นต์ มีนํ้าใช้การได้ 298.62 ลบ.ม.หรือที่ 4.48 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำไหลเข้า 12.81 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำอยู่ที่ 131 ล้าน ลบ.ม. มีน้ำใช้การได้ 88 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำไหลเข้า 3.93 ล้าน ลบ.ม. ส่วนเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณ 36 ล้าน ลบ.ม. มีน้ำใช้การได้ 33 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 3 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำไหลเข้า 0.65 ล้าน ลบ.ม. ทั้ง 4 เขื่อนดังกล่าว มีปริมาณน้ำรวม 7,236 ล้าน ลบ.ม. มีน้ำใช้การได้ 540 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 3 เปอร์เซ็นต์ของความจุ มีน้ำไหลลงอ่างรวม 26.40 ล้าน ลบ.ม. และระบายน้ำรวม 19.01 ล้าน ลบ.ม.

ขณะที่บริเวณแก่งก้อ อ.ลี้ จ.ลำพูน อยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแม่ปิง ที่เคยเป็นทะเลสาบเหนือเขื่อนภูมิพลแต่ปัญหาภัยแล้งทำให้น้ำแห้งขอดนั้น ปัจจุบันน้ำยังแห้งขอดเหมือนเดิม นายโกสิทธิ์ นิลรัตน์ หัวหน้าอุทยานแห่งชาติแม่ปิง กล่าวว่า ช่วงนี้แม้ว่าจะมีฝนตกลงมาบ้างแต่ยังไม่เพียงพอ ที่แก่งก้อน้ำลดลงไปมาก แม่น้ำปิงที่ไหลผ่านบริเวณดังกล่าวแห้งขอดอย่างเห็นได้ชัด ตนสั่งปิดบริการด้านการท่องเที่ยวโซนแก่งก้อทั้งที่พักแรม ตั้งแต่เดือนนี้เป็นต้นไปจนถึงวันที่ 31 ต.ค. จนกว่าจะมีน้ำขึ้นมา ส่วนน้ำตกก้อหลวงไม่มีน้ำเช่นกัน ได้สั่งให้ปิดจนถึงวันที่ 30 ก.ย. และหากมีน้ำจากฝนตกลงมาเร็ววันก็จะเปิดให้บริการ

ที่ จ.สุโขทัย ระดับน้ำในแม่น้ำยมที่ประตูระบายน้ำบ้านหาดสะพานจันทร์ หมู่ 9 ต.ในเมือง อ.สวรรคโลก ปริมาณน้ำด้านเหนือประตูระบายน้ำวัดได้เพียง 55.75 ลบ.ม. ระดับน้ำอยู่ที่ 2.50 เมตร เพิ่มขึ้นจากเดิมแค่ 30 ซม. ส่วนด้านใต้ประตูน้ำเหลือเพียง 51.99 ลบ.ม. ทำให้บริเวณหน้าประตูระบายน้ำแม่น้ำยม ฝั่งขวา ต.ในเมือง และหน้าประตูระบายน้ำแม่น้ำยมฝั่งซ้าย ต.ป่ากุมเกาะ ซึ่งเตรียมไว้สำหรับผันน้ำจากแม่น้ำยมลงพื้นที่การเกษตร ยังแห้งขอดเห็นสันดอนดินก้นแม่น้ำเป็นบริเวณกว้าง พล.ต.ผดุง ยิ่งไพบูลย์สุข ผบ.กกล.รส.จทบ.พิษณุโลก ประสานกับชลประทาน จ.สุโขทัย ให้ปิดประตูระบายน้ำหาดสะพานจันทร์ทั้ง 5 บานแล้ว เพื่อกักเก็บน้ำให้มีระดับเพิ่มสูงขึ้นถึงประมาณ 6 เมตร จึงจะสามารถผันน้ำลงสู่ประตู ระบายน้ำแม่น้ำยมทั้งสองฝั่ง

เช้าวันเดียวกัน นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ พร้อมคณะ เดินทางไปที่ จ.ชัยนาท เพื่อตรวจติดตามสถานการณ์ภัยแล้ง พร้อมรับทราบปัญหาและแนวทางช่วยเหลือเกษตรกร โดยรับฟังบรรยายสรุปจากนายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ ผวจ.ชัยนาท และหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ก่อนจะเดินทางไปตรวจปริมาณน้ำที่เขื่อนเจ้าพระยา แล้วเดินทางเยี่ยมเกษตรกรที่ศูนย์ช่วยเหลือเกษตรกรหมู่ 10 ต.ดงคอน อ.สรรคบุรี รวมทั้งรับเรื่องร้องเรียนจากตัวแทนเกษตรกรหมู่ 5 ต.โรงช้าง อ.พรหมบุรี จ.สิงห์บุรี ที่มาขอสนับสนุนเครื่องสูบน้ำและน้ำมันเชื้อเพลิงแก้ปัญหาภัยแล้ง นายปีติพงศ์กล่าวว่าเรื่องของน้ำที่ใช้ในการอุปโภค บริโภค ได้มีการประสานกับกรมชลประทานแล้วจะเริ่มปล่อยให้ในวันพรุ่งนี้ตามระบบการบริหารจัดการน้ำ และได้จัดโครงการจ้างงานเร่งด่วนเข้ามาช่วยเกษตรกรที่ประสบ ภัยแล้ง ในเรื่องของค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำ ทาง ธ.ก.ส. ได้มีการอนุมัติงบประมาณเพื่อให้เกษตรกรได้กู้ยืมเป็นค่าใช้จ่ายในอัตราดอกเบี้ยต่ำ

จากนั้นนายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา และคณะ เดินทางไปที่ หมู่ 5 ต.โพชนไก่ อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี เพื่อติดตามการแก้ปัญหาภัยแล้งและตรวจเยี่ยมให้กำลังใจเกษตรกรในพื้นที่ ขอร้องให้เกษตรกรร่วมกันจัดรอบการใช้น้ำเพื่อที่จะเฉลี่ยให้คนที่อยู่ปลายคลองได้รับน้ำด้วย คณะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ยังไปดูโครงการพระราชดำริฯ สีบัวทอง อ.แสวงหา จ.อ่างทอง ติดตามสถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ติดตามระบบการบริหารจัดการไร่นาสวนผสมในโครงการฟาร์มตัวอย่าง และการผลักดันการจ้างแรงงานเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง ซึ่งจะเริ่มโครงการในวันที่ 1 ส.ค.นี้ หลังจากมีฝนตกลงมาทางกระทรวงเกษตรฯ เตรียมส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกข้าวโพด และถั่วเขียว โดยจะหาตลาดให้ รวมถึงการส่งเสริมการสร้างแหล่งน้ำในไร่นาและการทำฟาร์มผสมผสานด้วย

ที่ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติเยาวราช นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงข้อเสนอของกรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวมาตรา 44 ก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งว่า รับทราบข้อเสนอแล้ว แต่การใช้อำนาจต้องไม่สร้างความยุ่งยาก และต้องเข้าหลักเกณฑ์เหมือนที่เคยใช้มากว่า 20 ครั้ง ต้องดูด้วยว่าการใช้มาตรา 44 จะแก้ไขปัญหาได้จบหรือไม่ เพราะมาตรา 44 ไม่ใช่แก้วสารพัดนึก ไม่เช่นนั้นคนจะสงสัยถึงความศักดิ์สิทธิ์ของมาตรานี้ อาจมีคนต่อต้าน ถ้ามีการต่อต้านก็แสดงว่าการใช้อำนาจตามมาตรา 44 ไม่ได้ผล ส่วนตัวเห็นว่าควรพูดคุยและทำความเข้าใจมากกว่า

กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์สภาพอากาศว่า วันที่ 26-30 ก.ค.ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือตอนบน ประเทศลาวตอนบน เข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำบริเวณประเทศเวียดนามตอนบน ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย มีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สำหรับบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ขอให้ประชาชนบริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ระวังอันตรายจากฝนตกหนักและน้ำป่าไหลหลากไว้ด้วย ส่วนชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบน ขอให้เดินเรือด้วยความระมัดระวังไว้ด้วย

จาก http://www.thairath.co.th วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สศค.ปรับลดจีดีพีเหลือ 3% ลุ้นค่าเงินบาทอ่อนตัวดันส่งออกขยายตัว

สศค.คาดจีดีพีปีนี้ขยายตัวได้ราว 3% จากคาดการณ์เดิมที่ 3.7% ประเมินตัวเลขส่งออกขยายตัวติดลบ แต่อาจได้รับผลดีจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัว ลุ้นรัฐบาลออกมาตรการช่วยปัญหาภัยแล้งและเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนช่วยกระตุ้นบริโภคในประเทศ เผยยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเริ่มมีสัญญาณดีขึ้นทั้งจากภายในประเทศและการนำเข้า

นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยว่า จากการติดตามเครื่องชี้เศรษฐกิจในการคำนวณผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในปีนี้ ซึ่งพบว่า มีทั้งปัจจัยบวกและเสี่ยง ทำให้ สศค.ประเมินว่า จีดีพีปีนี้จะปรับตัวเลขการเติบโตลดลงเหลือประมาณ 3% จากที่คาดการณ์ไว้เมื่อเดือน เม.ย.ว่า จะขยายตัวได้ที่ 3.7% โดยจีดีพีที่ขยายตัวดังกล่าวนับเป็นตัวเลขที่อยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ เนื่องจากภาคการส่งออกที่ถือเป็นสัดส่วนใหญ่ต่อการคำนวณจีดีพีนั้น ขยายตัวติดลบมาต่อเนื่องและยังไม่มีแนวโน้มที่จะดีขึ้น

ทั้งนี้ สศค.จะแถลงตัวเลขดังกล่าวในวันที่ 28 ก.ค.นี้ โดยประมาณการครั้งแรกเมื่อเดือน ม.ค.58 จีดีพีอยู่ที่ 3.9% ลดลงจากประมาณการเมื่อช่วงปลายปี 57 ที่คาดการณ์จีดีพีที่ 4.1% จากนั้นในเดือน เม.ย.ได้ปรับลดจีดีพีลงมาอยู่ที่ 3.7% โดยคาดการณ์ตัวเลขการส่งออกขยายตัวได้ที่ 0.2% ลดลงจากคาดการณ์เดือน ม.ค.ที่ 1.4%

“ต้องยอมรับว่า ปัจจัยเสี่ยงหลักของจีดีพีปีนี้คือภาคการส่งออก เพราะมีสัดส่วนกว่า 70% ของจีดีพี แต่ถือว่าเป็นปัจจัยเสี่ยงภายนอกที่เราควบคุมไม่ได้ เพราะเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว แต่การส่งออกที่ลดลงนั้น ไม่ได้ถือว่าเป็นเฉพาะประเทศไทยเท่านั้น ในหลายประเทศทั่วโลกก็ได้รับผลกระทบเหมือนกัน แต่เราจะดีกว่าตรงที่ว่า เราติดลบน้อยกว่าประเทศอื่นๆ และเรายังประเมินว่า การส่งออกเราจะดีขึ้นจากค่าเงินบาทที่อ่อนตัวลงด้วย”

ทั้งนี้ จากข้อมูลการส่งออกตั้งแต่เดือน ม.ค.ถึงเดือน พ.ค.58 พบว่า ไทยส่งออกขยายตัวติดลบ 4.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ต่ำกว่าหลายประเทศ อาทิ อินเดียติดลบ 15.9%, อินโดนีเซีย ติดลบ 11.8% , ออสเตรเลีย ติดลบ 9.2%, สิงคโปร์ ติดลบ 7.2%, ไต้หวัน ติดลบ 5.7%, ฟิลิปปินส์ ติดลบ 5.0%, เกาหลีใต้ ติดลบ 5.0%, มาเลเซีย ติดลบ 4.7% ส่วนจีน และ ฮ่องกง การส่งออกยังขยายตัวเป็นบวกได้เล็กน้อยที่ 0.6% และ 0.7% ตามลำดับ

นายกฤษฎากล่าวว่า อีกปัจจัยเสี่ยงระยะสั้นที่มีผลต่อเศรษฐกิจไทย คือ ปัญหาภัยแล้ง ซึ่งแน่นอนว่า จะกระทบต่อภาพรวมการบริโภค แต่รัฐบาลกำลังหาแนวทางในการช่วยเหลือ ฉะนั้น เมื่อมีแนวทางช่วยเหลือ ผลกระทบต่อปัญหาดังกล่าวก็จะลดลง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การบริโภคในประเทศเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในประเทศที่เริ่มขยายตัว โดยล่าสุดในเดือน มิ.ย.

ที่ผ่านมา ยอดการจัดเก็บขยายตัวได้ 4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน นอกจากนี้ ภาษีมูลค่าเพิ่มที่เก็บจากการนำเข้าก็มีสัญญาณดีขึ้นจากการนำเข้าสินค้าที่เป็นวัตถุดิบเพื่อการผลิต โดยเมื่อการนำเข้าเพื่อการผลิตดีขึ้น เราก็คาดหวังว่า การผลิตเพื่อการส่งออกจะดีขึ้นตามไปด้วย

“สศค.ประเมินว่า หลากหลายมาตรการของรัฐบาลที่อยู่ระหว่างดำเนินการกำลังจะมีผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในแง่เม็ดเงินลงทุนจากโครงการต่างๆ ในส่วนของการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน และการลงทุนระยะสั้นในระบบน้ำและถนน รวมถึงการอัดฉีดเม็ดเงินผ่านกองทุนหมู่บ้าน นอกจากนี้ การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐบาลในงบ ประมาณปกติก็จะเร่งตัวขึ้น โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสสี่ของปีนี้ ซึ่งก็จะสอดคล้องกับการเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนในช่วงไตรมาสแรกปีงบประมาณ 2559 ซึ่งโดยปกติจะมียอดเบิกจ่ายราว 40,000-50,000 ล้านบาท หรือ 10-15% ของงบลงทุนรวมในแต่ละปี”.

จาก http://www.thairath.co.th วันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

รัฐบาลยังไม่เคาะช่วยภัยแล้ง ต้องรอสรุปตัวเลขเสียหาย บุรีรัมย์อ่างเก็บน้ำแห้งสนิท

ที่อ่างเก็บน้ำหนองทะลอก ต.นางรอง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ เนื้อที่กว่า 400 ไร่ซึ่งเป็นแหล่งน้ำดิบสำหรับใช้ผลิตประปาหล่อเลี้ยงประชาชนและใช้ในการทำการเกษตรในเขตเทศบาลเมืองนางรอง ปัจจุบันมีสภาพแห้งขอดจนมองเห็นดินแตกระแหง สัตว์น้ำและวัชพืชต่างๆขาดน้ำแห้งตาย จากสภาพหนองทะลอกที่แห้งขอดดังกล่าวทำให้ไม่สามารถสูบน้ำขึ้นไปผลิตประปา และหล่อเลี้ยงนาข้าวได้ นับเป็นวิกฤติครั้งประวัติการณ์ในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา

อีกทั้งยังส่งผลกระทบกับวิถีชีวิตชาวบ้านหลายหมู่บ้านริมอ่าง ที่เคยอาศัยหนองทะลอกแห่งนี้ เป็นแหล่งหากินทั้งเก็บดอกบัว และจับกุ้ง หอย ปูปลาไปขายตามตลาดเพื่อหารายได้เลี้ยงครอบครัว แต่หลังจากน้ำแห้งขอดก็ไม่มีกุ้ง หอย ปู ปลาให้จับ ส่วนดอกบัวก็เหี่ยวแห้งตาย ทำให้ชาวบ้านต้องขาดรายได้หันไปทำอาชีพอื่นแทน

นางสำลี ปารารัมย์ อายุ 55 ปี ชาวบ้านบ้านหนองงูเหลือม ต.นางรอง อ.นางรอง กล่าวว่า ที่ผ่านมาชาวบ้านมีรายได้จากการเก็บดอกบัวและจับปลาไปขายถึงวันละ 600 – 700 บาท และหาได้ตลอดทั้งปีเพราะน้ำไม่เคยแห้ง แต่ปีนี้แล้งหนักจนทำให้น้ำแห้งขอด นอกจากนี้ยังส่งผลกระทบกับนกนานาชนิดที่อาศัยหนองทะลอกแห่งนี้เป็นแหล่งอาหาร ต้องอพยพไปหากินยังถิ่นอื่นที่มีน้ำอุดมสมบูรณ์กว่า

“ปกติทุกปีชาวบ้านหลายหมู่บ้าน จะมาเก็บดอกบัวและจับปลาในอ่างเก็บน้ำหนองทะลอกแห่งนี้ไปขายที่ตลาด เพราะสามารถหาได้ตลอดทั้งปีซึ่งสามารถเลี้ยงครอบครัวได้ แต่ปีนี้น้ำมีสภาพแห้งขอดอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ทำให้ชาวบ้านหลายรายต้องไปทำหารับจ้างและทำอาชีพอื่นแทน จึงอยากให้ภาครัฐเข้ามาสำรวจและขุดลอกอ่างเก็บน้ำหนองทะลอก ให้สามารถกักเก็บน้ำไว้ผลิตประปา ทำการเกษตรและหาปลาได้ตลอดทั้งปี” นางสำลี กล่าว

ด้าน พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงสถานการณ์ภัยแล้ง ว่า สถานการณ์ขณะนี้เริ่มคลี่คลายแล้วโดยเฉพาะพื้นที่ภาคอีสานไม่มีปัญหาวิกฤติด้านน้ำแล้ว ที่ยังมีปัญหาอยู่บ้างคือภาคเหนือตอนล่างและลุ่มน้ำเจ้าพระยา แต่หากมีฝนตกมาประมาณต้นหรือกลางเดือน ส.ค. นี้ น่าจะแก้ปัญหาตรงนี้ไปได้ ซึ่งรัฐบาลต้องคิดถึงต้นทุนน้ำที่จะต้องมีอย่างน้อย 3,500 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อรองรับฤดูแล้งปีหน้าด้วย

“เพราะฉะนั้นการปล่อยน้ำหรือดึงน้ำฝั่งลุ่มน้ำแม่กลองไปยังฝั่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา ก็ต้องบริหารให้ดี อย่างไรก็ตามในเบื้องต้น ทุกคนต้องช่วยกันประหยัดการใช้น้ำ ทั้งคนกรุงเทพหรือในภาคต่างๆ เพราะเกษตรกรได้ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือแล้ว รัฐบาลไม่ได้ทิ้งเกษตรกร แต่ต้องจัดลำดับความเร่งด่วนว่าน้ำที่ปล่อยลงมานั้นจะต้องช่วยใครเป็นลำดับความเร่งด่วน ส่วนการให้ความช่วยเหลือในวันข้างหน้า รัฐบาลจะมีการออกมาตรการดูแลในทุกภาคส่วนแน่นอน” พล.ต.สรรเสริญ ระบุ

ผู้สื่อข่าวยังถามด้วยว่ามีตัวเลขความเสียหายของชาวนาที่เกิดขึ้นจากวิกฤตภัยแล้งหรือไม่ พล.ต.สรรเสริญ กล่าวว่า ยังสรุปไม่ได้ เนื่องจากถึงวันนี้สถานการณ์ฝนยังมีความเปลี่ยนแปลงอยู่ หากสรุปแล้วสถานการณ์ฝนตกเปลี่ยนแปลงไป ตัวเลขก็ต้องสรุปใหม่ ซึ่งถ้าสรุปแล้วมาเคาะใหม่บ่อยๆ อยู่อย่างนี้ ก็จะขาดความน่าเชื่อถือ ดังนั้นจึงยังไม่สามารถสรุปตัวเลขได้ แต่ยืนยันว่ารัฐบาลได้ติดตามประเมินทุกระยะ ส่วนประเด็นที่มีเกษตรกรเรียกร้องให้รัฐบาลเยียวยาพื้นที่ประสบภัยแล้งนั้น พล.ต.สรรเสริญ ตอบแต่เพียงว่าได้รับข้อมูลมาตลอด

จาก http://www.naewna.com วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กรมชลสร้างความมั่นคง"น้ำ" เพิ่มพื้นที่ปลูกพืช8แสนไร่/ปี

กรมชลประทานจัดประชุมผู้บริหารทั่วประเทศ รับมือยุทธศาสตร์น้ำฉบับใหม่ที่ต้องเสนอโครงการให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ รับผิดชอบ เผยต้องปั้นพื้นที่ชลประทานใหม่ 18.8 ล้านไร่ หรือปีละ 8 แสนไร่ จากปกติ 2 แสนไร่

ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานว่า นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน ได้เรียกประชุมผู้บริหารระดับสูงของกรมชลฯทั่วประเทศมารับฟังการชี้แจงการ เสนอแผนงานตามยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรน้ำปี 2558-2569 และการบริหารจัดการภัยแล้ง เพื่อให้การทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน และสอดคล้องกับเป้าหมายและวิสัยทัศน์ที่รัฐบาลกำหนดไว้ โดยยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2558 ได้กำหนดยุทธศาสตร์รองรับไว้ 6 ยุทธศาสตร์ด้วยกัน ซึ่งกรมชลฯต้องรับผิดชอบโดยตรงในยุทธศาสตร์ด้านการสร้างความมั่นคงเรื่องน้ำ ภาคการผลิต (การเกษตรและอุตสาหกรรม) และยุทธศาสตร์การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย

ยุทธศาสตร์ด้านการสร้าง ความมั่นคงเรื่องน้ำภาคการผลิต ได้กำหนดเป้าหมายที่จะจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรโดยขยายพื้นที่ชลประทานอีก 18.8 ล้านไร่ และเพิ่มแหล่งเก็บกักน้ำให้ได้อีก 2,700 ล้าน ลบ.ม.ภายในปี 2569 รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพระบบชลประทาน เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร ตลอดจนจัดหาน้ำต้นทุนเพื่อการอุตสาหกรรม รองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม และจัดหาน้ำต้นทุนเพื่อรักษาระบบนิเวศ การบริหารจัดการความต้องการใช้น้ำภาคเกษตร อุปโภคบริโภค อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ให้สมดุลกับปริมาณน้ำต้นทุน

"ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 กรมชลฯต้องเพิ่มพื้นที่ชลประทานปีละ 2 แสนไร่ ที่ผ่านมาทำกันได้และทำได้ดีด้วย แต่ยุทธศาสตร์น้ำฉบับใหม่ต้องเพิ่มพื้นที่ชลประทานเป็นปีละ 8 แสนไร่ ต้องกระตือรือร้นกันมากขึ้น จึงต้องชี้แจงว่าโครงการที่จะเสนอเข้ามาต้องสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ การเสนอโครงการประเภทใดที่จะใช้เงินจากงบฯกลางเพิ่มเติมและงบฯเงินกู้ได้ บ้าง งบฯปกติด้านการลงทุนจะได้ประมาณปีละ 2 หมื่นล้านบาท แต่ปี 2558 ได้เพิ่มเป็น 2.8 หมื่นล้านบาท ส่วนงบฯปี 2559 ทั้งงบฯลงทุนและอำนวยการ 4.7 หมื่นล้านบาท ถือว่ามากแต่คงต้องขอเพิ่มเติมอีก เพื่อให้ได้งานตามเป้าหมายใหม่ และต้องมีการทำรายงานเสนอคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ทราบทุกระยะด้วย" อธิบดีกรมชลประทานกล่าว

ในระยะสั้นที่ผ่านมาปี 2557-2558 จะเป็นการสร้างสถานีสูบน้ำไฟฟ้า การลอกแก้มลิง การขุดบ่อขุดสระแล้วมอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรับไปดูแลต่อ ปีที่ผ่านมาส่งมอบไปแล้ว 200 แห่ง แต่ยุทธศาสตร์ระยะยาวที่จะหาแหล่งเก็บกักน้ำได้มากขึ้น เร็วขึ้นรับการเพิ่มพื้นที่ชลประทานจำนวนมาก ต้องเพิ่มความจุอ่างเก็บน้ำ และการสร้างอ่างพวงตามแนวพระราชดำริ

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

รมว.เกษตรฯวาง4มาตราการหลักช่วยแล้ง

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร เผย วาง4มาตราการหลัก ช่วยเกษตรกรช่วงที่ฝนยังไม่ตก ขณะระยะยาวปรับปรุงแหล่งน้ำขนาดเล็กในพื้นที่ลุ่ม ยันสถานการณ์น้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาขณะนี้เริ่มดีขึ้น

นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร เปิดเผยว่า จากการตรวจเยี่ยมศูนย์ช่วยเหลือเกษตรกรประจำตำบลพบว่า การส่งทีมเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรฯ ลงไปพบปะเกษตรกรได้ผลเป็นอย่างดี หลายๆปัญหาในแต่ละพื้นที่ได้ถูกแก้ไขจากทั้งระดับเจ้าหน้าที่ ระดับจังหวัด และรายงานมายังกระทรวงเกษตรฯ  สำหรับแผนการให้ช่วยเหลือเกษตรกรทั้งในระยะเฉพาะหน้าช่วงที่ฝนยังไม่ตก และหลังจากเก็บเกี่ยวแล้ว กระทรวงเกษตรฯ ได้วางมาตรการให้ความช่วยเหลือใน 1.การส่งเสริมเกษตรกรปลูกพืชน้ำน้อยที่ภาครัฐจะเข้ามาดูแลเรื่องการตลาดให้ 2.การสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่ำเพื่อให้เกษตรกรลงทุนสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กประจำไร่นา โดยไม่เพิ่มความเสี่ยงด้านการลงทุนให้แก่เกษตรกร 3. การจ้างงานปรับปรุงระบบชลประทาน ในช่วงที่ไม่สามารถทำการเกษตรกรได้ ซึ่งจะเริ่มจ้างงานได้ตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค.นี้ 4.การส่งเสริมการทำฟาร์มตัวอย่างในชุมชนตามแนวทางพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าฯสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ  ส่วนแผนในระยะต่อไปที่ต้องเร่งนำเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณา การปรับปรุงแหล่งน้ำขนาดเล็กในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาที่ได้มอบองค์การปกครองส่วนท้องถิ่นไปดูแล จะนำมาพิจารณาแนวทางดำเนินการโดยเร่งด่วน ควบคู่กับการปรังปรุงประตูน้ำต่างๆ บริหารจัดการน้ำ

 รมว.เกษตรฯยันน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาดีขึ้น

นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์น้ำ จ.ชัยนาท และ จ.สิงห์บุรี ว่า สถานการณ์น้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาขณะนี้เริ่มดีขึ้น โดยปริมาณน้าไหลผ่าน 95 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำเหนือเขื่อน +14.19 ม.รทก. ซึ่งสามารถส่งน้ำเข้าระบบทั้งทุ่งฝั่งตะวันออก และทุ่งฝั่งตะวันตก โดยกรมชลประทานได้วางแผนจัดสรรน้ำเพื่อการเกษตรวันละ 6 ล้าน ลบ.ม. จากแผนการระบายน้ำจาก 4 เขื่อนหลัก  เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและสามารถจัดลำดับความสำคัญในพื้นที่เสี่ยงที่ได้ทำการสำรวจไว้แล้ว ก็ได้สั่งการให้กรมชลประทานจัดรอบเวรน้ำให้ยาวขึ้นจากเดิมที่ทำแผนเป็นช่วงระยะเวลา 7 วัน และประสานกับทีมเจ้าหน้าที่เกษตรกรที่ลงไปเยี่ยมเยียนเกษตรกรเพื่อรับฟังปัญหาความเดือดร้อนต่างๆ รวมถึงผู้ว่าราชการจังหวัดและฝ่ายความมั่นคงในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา 22 จังหวัด เพื่อบูรณาการในการสร้างความเข้าใจกับเกษตรกรอย่างใกล้ชิด เพื่อรักษาระเบียบการส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตรผ่านพ้นวิกฤตได้ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีปัญหาเฉพาะจุด เช่น พื้นที่ปลายน้ำ  พื้นที่ดอน ซึ่งมีปัญหาการส่งน้ำ พื้นที่ข้าวตั้งท้องออกรวง และพืชสวนต่างๆ ซึ่งพบว่ายังมีหลายจุดที่น้ำยังเข้าไม่ถึง

จาก http://www.innnews.co.th  วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ก.พลังงานเห็นชอบซื้อไฟฟ้าแบบ Adder

ก.พลังงาน มีมติเห็นชอบการตอบรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Adder จำนวน 8 โครงการ รวม 163 เมกะวัตต์

นายคุรุจิต นาครทรรพ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารมาตรการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน (RE) มีมติเห็นชอบให้มีการตอบรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนประเภทผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก SPP ในระบบขายไฟฟ้ารูปแบบคิดตามส่วนเพิ่ม หรือ  Adder จำนวน 8 โครงการ รวมทั้งสิ้น 163 เมกะวัตต์ โดยเป็นเชื้อเพลิงชีวมวลทั้งหมด และมีการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เป็นผู้รับซื้อทั้งหมด ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลและเป็นไปตามหลักเกณฑ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว ซึ่งการรับซื้อไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงชีวมวลดังกล่าว จะเป็นการส่งเสริม การนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์เพิ่มรายได้แก่เกษตรกรในพื้นที่ ช่วยสร้างเสถียรภาพทางการตลาดของพืชผลทางการเกษตร โดยจะมีการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาแปรรูปเป็นพลังงานได้มากกว่า 10,500 ตันต่อวัน เกิดการซื้อขายเชื้อเพลิงชีวมวลในพื้นที่ไม่ต่ำกว่า 1,800 ล้านบาทต่อปี

นอกจากนี้ ได้เห็นชอบแนวทางการส่งเสริมโรงไฟฟ้าชีวมวลและก๊าซชีวภาพ ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอในจังหวัดสงขลา ซึ่งจะเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เพื่อพิจารณาอีกครั้งและได้มีการพิจารณาอนุญาตให้มีการนำวัตถุดิบประเภทมูลสัตว์หรือสารอินทรีย์อื่น ๆ มาผสมกับการผลิตไฟฟ้าก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงานได้เพื่อช่วยลดความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของเทคโนโลยี รวมทั้งได้มีการพิจารณาร่างหลักเกณฑ์การเข้าร่วมโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินสำหรับหน่วยงานราชการและสหกรณ์ภาคการเกษตร

จาก www.innnews.co.th   วันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ต้นสิงหาฝนทิ้งช่วงกรมชลคุมเข้มใช้น้ำไม่ปล่อยเพิ่มชาวนาหวั่นกระทบกิน-ใช้

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานน้ำดื่มให้แก่ราษฎรผู้ประสบภัยแล้งทั่วประเทศ จำนวน 100,000 ขวดซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ปันน้ำดื่มเพื่อพี่น้องไทยประสบภัยแล้ง โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)เป็นผู้รับมอบต่อเบื้องหน้าพระบรมฉายาลักษณ์ที่ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับประชาชนที่ประสบภัยแล้งทั่วประเทศ

กนช.เดินหน้าจัดโรดโชว์แจงปชช.

วันเดียวกัน นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน ได้กล่าวเปิดการประชุมชี้แจงตามแผนยุทธศาสตร์น้ำปี2558-2569ให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั่วประเทศ หลังคณะรัฐมนตรี(ครม.)ผ่านความเห็นชอบ แผนยุทธศาสตร์ฯว่าคณะกรรมทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(กนช.) จะจัดโรดโชว์ทั่วประเทศให้ประชาชนเข้าใจโดยรัฐบาลกำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า”ทุกหมู่บ้านมีน้ำสะอาดอุปโภคบริโภคน้ำเพื่อการผลิตมั่นคง ความเสียหายจากอุทกภัยลดลง คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน บริหารน้ำอย่างยั่งยืน ภายใต้การพัฒนาอย่างสมดุลโดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน” ซึ่งมีเป้าหมายขยายพื้นที่ชลประทานเพิ่มอีก18. 8 ล้านไร่ จะเริ่มเห็นเป็นรูปธรรมโครงการต่างๆในปี 2559 ตามแผนฯจะทำให้ มีน้ำต้นทุนเพิ่มขึ้น2,700ล้านลูกบาศ์กเมตร(ลบ.ม.)

ลั่นไม่ปล่อยน้ำเพิ่ม กระทบดื่ม-ใช้

อธิบดีกรมชลประทาน ยังกล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้งว่ากำลังเริ่มคลี่คลาย เพราะมีฝนตกหลายพื้นที่แต่ยืนยันว่าในลุ่มเจ้าพระยา ยังต้องติดตามใกล้ชิด แม้น้ำไหลลง เริ่มจะมีกำไรเข้ามา34 กว่าล้าน ลบ.ม.ขณะที่ระบายน้ำวันละ19 ล้านลบ.ม.โดยเขื่อนภูมิพล ยังไม่ดี มีน้ำเข้า 5-6 ล้านลบ.ม.ต่อวันเท่านั้น ส่วนปริมาณน้ำที่ระบายให้พื้นที่การเกษตรวันละ 6 ล้านลูกบาศ์กเมตร(ลบ.ม.)ตามแผนที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้ โดยไม่สามารถเพิ่มได้อีก เพราะถ้าปล่อยน้ำเพิ่มจะกระทบ ไม่มีน้ำกินน้ำใช้แน่ ช่วงนี้ปล่อยน้ำให้นาข้าวตั้งท้อง1.3ล้านไร่ก่อนที่จำเป็นใช้น้ำ

อย่างไรก็ดีจากการคาดการณ์ฝนอาจขาดช่วงต้นเดือนสิงหาคม ไป4-5วัน จะกลับมาช่วงกลางเดือนสิงหาคมและเริ่มฝนชุกเดือนกันยายน-ตุลาคม คาดจะได้น้ำ 3 ,200-3,900ล้านลบ.ม.พร้อมยืนยันว่ามีน้ำกินใช้ถึงกรกฎาคมปีหน้าต้นฤดูฝน

 กษ.อัดงบ 2,020ล้าน ช่วยภัยแล้ง

นายเลิศวิโรจน์ กล่าวอีกว่า ส่วนการปรับเปลี่ยนงบประมาณไปช่วยเหลือเกษตรกรประสบภัยแล้ง ได้รับจากงบปกติมาก้อนแรก120 ล้านบาท เพื่อจ้างแรงงานเกษตรกรในลุ่มเจ้าพระยา และเกลี่ยงบเงินกู้อีก1,600 ล้านบาท จ้างแรงงานทั่วประเทศ พร้อมกับได้ขอ ครม.เป็นเงินทุนสำรองหมุมเวียนอีก300 ล้านบาท รวมทั้งหมด 2,020 ล้านบาท สามารถจ้างได้ทันทีในส่วนแรงงานก่อสร้าง อาคาร และสถานีสูบน้ำ ในช่วง 3-4 เดือนนี้ เพราะขุดลอกทำความสะอาดคูคลองใช้เครื่องจักรกลไปแล้ว นอกจากนี้ ต่อไปคนกรมชลฯต้องเลิกทำงานแบบปิดทองหลังพระ ทำงานมาตั้งนานทองไม่ล้นมาข้างหน้า เพราะขาดการประชาสัมพันธ์ แต่เวลาเกิดปัญหา ก็โทษกรมชลฯทั้งที่บางเรื่องเราทำอะไรก็ไม่สามารถที่จะพูดข้อเท็จริงได้ทั้งหมด

ยันแผนน้ำ10ปีไร้ เขื่อนแก่งเสือเต้น

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการชลประทาน กรมชลประทาน กล่าวถึงแผนยุทธศาสตร์น้ำปี 2558-2569ว่า ยืนยันว่า ไม่มีโครงการขนาดใหญ่ เช่น เขื่อนแก่งเสือเต้น หรือ เขื่อนยมบน-ยมล่าง แต่จะเริ่มโครงการแก้ปัญหาภัยแล้งและน้ำท่วมในลุ่มน้ำยมทั้งระบบ โดยจะสร้างโครงการขนาดกลาง และขนาดเล็ก ระบบอ่างพวง ฝาย แก้มลิงจะเป็นโครงข่ายแหล่งกักเก็บน้ำตลอดแนวในลุ่มน้ำสาขาต่างๆจากแม่น้ำยม เช่นแม่น้ำปี๋ จ.พะเยาจะสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง ความจุ 90 ล้าน ลบ.ม.เป็นพื้นที่เหนือแก่งเสือแก่งเต้น น้ำแม่น้ำยม ลงมือก่อสร้างได้ปี2559 เพราะโครงการผ่านการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม และด้านสุขภาพคนในลุ่มน้ำมาแล้ว

รวมทั้งจะสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลางในลุ่มน้ำยวน สาขาแม่ยม พร้อมทำประตูระบายน้ำ4 แห่งในลุ่มน้ำยมช่วง จ.แพร่และ จ.สุโขทัย ซึ่งโครงการทั้งหมด ทยอยดำเนินการปถึงปี 2559-2560 จะเห็นเป็นรูปธรรมที่สามารถบรรเทาอุทกภัยและแก้ปัญหาน้ำขาดแคลนในหน้าแล้งได้ ซึ่งพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้รับอานิจสงฆ์ไปด้วย

วิษณุแนะขุดลอกบึงบอระเพ็ดแก้แล้ง

ขณะที่ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เดินทางไปร่วมประชุมเพื่อติดตามการปฏิบัติราชการพื้นที่ 4 จังหวัด ประกอบด้วย จ.นครสวรรค์ กำแพงเพชร พิจิตร และอุทัยธานี ที่ศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ เพื่อติดตามสถานการณ์และการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง โดยกล่าวหลังประชุมว่าผลการประชุมเป็นที่พอใจ ทั้ง4จังหวัด จัดการกับปัญหาภัยแล้งได้เป็นอย่างดีและได้มอบนโยบายการแก้ปัญหาเรื่องน้ำดื่มนำอุปโภค บริโภครวมถึงปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำการเกษตรและการช่วยเหลือเยียวยาผู้ประสบภัยด้วย

ในส่วนการแก้ปัญหาบึงบอระเพ็ด เป็นบึงน้ำจืดกว้างใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ถือเป็นปัญหาระดับชาติ จำเป็นต้องหาทางขุดลอกบึงบอระเพ็ด เพื่อเพิ่มพื้นที่รับน้ำให้มากกว่าปัจจุบันแต่พบมีปัญหาซับซ้อน ลึกซึ้งเกินกว่า ทางจ.นครสวรรค์ และส่วนราชการต่างๆจะแก้ตามลำพังจึงต้องยกขึ้นเป็นปัญหาระดับชาติและต้องตั้งคณะกรรมการระดับชาติเข้ามาช่วยแก้ปัญหาทั้งบึงบอระเพ็ด และ บึงสีไฟ จ.พิจิตร มีพื้นที่ 5,000 ไร่ โดยจะมีการดำเนินการในขั้นตอนต่อไป

ชาวนาชัยนาทร้องปล่อยน้ำลงคลอง

ที่จ.ชัยนาท ผู้สื่อข่าวรายงานว่าแม้มีฝนตกลงมาในพื้นที่ จ.ชัยนาท แต่ปริมาณน้ำน้อยไม่เพียงพอหล่อเลี้ยงนาข้าวโดยเฉพาะคลองชลประทาน 2 ซ้ายบรมธาตุ ยังมีสภาพแห้งขอด โดยนายสมใจ บุญเพ็ง อายุ 57 ปี ชาวนาชัยนาท อ.เมือง จ.ชัยนาท ขอให้ชลประทานปล่อยน้ำเข้าคลองชลฯ2 ซ้ายบรมธาตุเพื่อจะได้มีน้ำหล่อเลี้ยงนาข้าวกว่า30ไร่ที่ขาดน้ำหล่อเลี้ยงมานานกว่าครึ่งเดือนแล้ว หากภายใน2 สัปดาห์ หากฝนยังตกไม่มากพอ หรือชลประทานยังไม่ส่งน้ำมาช่วย จะทำให้นาข้าวอายุ 6 สัปดาห์ และมะพร้าวน้ำหอม ที่ปลูกไว้ริมคันนากว่า 40ต้น ต้องยืนต้นตาย จะต้องสูญเงินลงทุนกว่า1 แสนบาท

ลำปางเปิด2ศูนย์ฯน้ำพระราชทาน

ที่ จ.ลำปาง นายมงคล สุกใส รองผู้ว่าราชการจังหวัดลำปาง เป็นประธานเปิดศูนย์บริการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคพระราชทานที่โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จิตต์อารีย์ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทร์ทราบรมราชชนนี ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงห่วงใยพสกนิกรที่ประสบปัญหาฝนแล้งฝนทิ้งช่วงและภัยแล้งในพื้นที่ทรงพระราชทานน้ำเพื่ออุปโภคแก่ราษฎรผู้ประสบภัยในพื้นที่ต่างๆในจ.ลำปางที่ ศูนย์บริการน้ำ 2 จุด คือโรงเรียนศึกษาสงเคราะห์จิตต์อารีในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครรินทร์ฯและศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดลำปาง โดยได้รับการสนับสนุนน้ำดื่มจากการประปาส่วนภูมิภาค สาขาลำปาง สำนักงานทรัพยากรน้ำบาดาลเขต 1 ลำปาง รถน้ำจากมณฑลทหารบกที่32 ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 10 ลำปาง เทศบาลนครลำปาง และเทศบาลเมืองเขลางค์นคร ซึ่งประชาชนสามารถมารับน้ำได้จนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายจึงขอให้ประชาชนใช้น้ำอย่างประหยัด คุ้มค่า

จาก http://www.naewna.com วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แนะวางแผนระยะยาวแก้ภัยแล้ง

รายงานข่าวจากศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจธนาคารทหารไทยหรือทีเอ็มบีแจ้งว่า ภัยแล้งปีนี้กระทบต่อภาคเกษตรไทยตั้งแต่ต้นปี เพราะปริมาณน้ำไม่เพียงพอสำหรับปลูกข้าวนาปรังฤดูกาลผลิต 57/58 ในเขตลุ่มเจ้าพระยาและลุ่มน้ำแม่กลองจำนวน 26 จังหวัด ทำให้ผลผลิตข้าวนาปรังลดลงกว่า 1 ล้านตันข้าวเปลือก

โดยกรมอุตุนิยมวิทยาพยากรณ์ว่าไทยได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนิโญ่ที่มีแนวโน้มกำลังแรงขึ้นจากต้นปีที่ผ่านมาและมีความเป็นไปได้สูงที่จะกระทบต่อเนื่องจนถึงต้นปีหน้า ทำให้อากาศร้อนขึ้นและฝนตกน้อยกว่าปกติ ปริมาณกักเก็บน้ำในเขื่อนมีแนวโน้มลดลง

สำหรับเขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งเป็นเขื่อนขนาดใหญ่ที่สนับสนุนน้ำ เพื่อการเกษตรในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาครอบคลุมพื้นที่ 22 จังหวัดภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง ล่าสุดมีปริมาณน้ำกักเก็บรวม 7,048 ลบ.ม. คิดเป็นเพียง 30.1% ของปริมาณกักเก็บสูงสุด โดยเขื่อนทั้งสองจะปล่อยน้ำเพื่อการเพาะปลูกได้ควรมีปริมาณน้ำกักเก็บมากกว่า

“ปริมาณน้ำขั้นต่ำเพื่อป้องกันการขาดน้ำในอนาคต เดือนก.ค. เขื่อนทั้งสองควรมีน้ำกักเก็บรวมกันมากกว่า 10,072 ลบ.ม. หรือ 43.8% ของปริมาณกักเก็บสูงสุด จึงสามารถปล่อยน้ำเพื่อการเกษตรได้ ภาวะฝนทิ้งช่วงและฝนตกน้อยจากผลของเอลนิโญ่ทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนลดลงจนภาครัฐประกาศให้เกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา เลื่อนการเริ่มปลูกข้าวนาปีออกไปเป็นเดือนส.ค."

อย่างไรก็ตาม เกษตรกรอาจเริ่มการเพาะปลูกข้าวนาปีได้ในเดือนก.ย. เนื่องจากปริมาณน้ำของเขื่อนทั้งสองเพิ่มขึ้นเพราะเป็นช่วงที่มีฝนตกมากขึ้น ทำให้มีน้ำไหลเข้าสะสมในเขื่อนมากขึ้น อีกด้านหนึ่งเขื่อนสามารถปล่อยน้ำลดลงเพราะพื้นที่หน้าเขื่อนได้รับน้ำฝนเพิ่มขึ้นเช่นกัน

อย่างไรก็ตาม การเริ่มปลูกข้าวช้าออกไปจากฤดูปกติจะส่งผลต่อปริมาณผลผลิตข้าวนาปีในพื้นที่ 22 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยาลดลง คาดว่าหากเริ่มปลูกในเดือนก.ย. จะเก็บเกี่ยวข้าวนาปีได้ประมาณ 6.5 ล้านตัน ลดลงจากปี 57 ประมาณ 35%

นอกจากนี้หากหากฝนยังทิ้งช่วงจนต้องเลื่อนปลูกข้าวเป็นเดือนต.ค. ผลผลิตข้าวนาปีจะอยู่ที่ 5.10 ล้านตัน หรือลดลง 49 % ซึ่งกระทบกับรายได้เกษตรกรและธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตข้าวเช่น ธุรกิจขายเคมีเกษตร ขายเมล็ดพันธุ์ โรงสี เป็นต้น ส่งผลต่อเศรษฐกิจของ 22 จังหวัด

เนื่องจากเม็ดเงินหายไปจากพื้นที่ นอกจากนี้เกษตรกรยังเสี่ยงที่จะขาดน้ำในช่วงข้าวตั้งท้องและออกรวงในช่วงปลายปี ซึ่งเข้าสู่ช่วงที่ฝนตกลดลงอีกด้วย ส่วนผลกระทบจากภัยแล้งลุ่มน้ำเจ้าพระยาไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะปีนี้เท่านั้น

ในอดีตเกษตรกรไทยเผชิญปัญหาภัยแล้งต่อเนื่องและเกิดซ้ำเป็นรอบวัฏจักร ซึ่งสอดคล้องกับปรากฏการณ์เอลนิโญ่ สถาบันมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติสหรัฐ บันทึกการเกิดเอลนิโญ่เกิดขึ้นเฉลี่ย 3 ปีต่อครั้ง และจะเกิดในระดับค่อนข้างแรงและรุนแรง 13 ปีต่อครั้ง โดยครั้งหลังสุดเกิดขึ้นในปี 40 ทำให้เกิดภัยแล้งรุนแรงและยาวนานในประเทศไทย

ทั้งนี้เห็นว่าการรับมือกับภาวะภัยแล้งนอกเหนือจากมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบแล้ว ควรใช้ช่วงเวลานี้วางแผนรับมือระยะยาวที่จะเกิดขึ้นซ้ำและมีแนวโน้มรุนแรงขึ้น เช่น ผลักดันการปรับเปลี่ยนโครงสร้างภาคการเกษตรเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดอื่นๆ ที่ให้ผลตอบแทนดีกว่า เช่น ลดพื้นที่ปลูกข้าวใช้น้ำสูงถึง 1,154 ลบ.ม.ต่อไร่ เป็นการปลูกพืชตระกูลถั่วหรือข้าวโพดหวานที่ใช้น้ำน้อยกว่าประมาณ 50%

ซึ่งช่วยลดการใช้น้ำภาคการเกษตรและยกระดับรายได้เกษตรกรอีกด้วย ด้านการบริหารจัดการและลงทุนโครงการน้ำควรให้ความสำคัญทั้งกรณีน้ำท่วมและน้ำแล้งเท่าๆ กัน เนื่องจากในอดีตเกษตรกรต้องเผชิญภาวะน้ำท่วมและน้ำแล้งสลับกันเป็นรอบๆ และยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป

จาก http://www.dailynews.co.th  วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กรมชลฯ เผยใช้งบประมาณปี 58 แล้ว 75%

รองอธิบดีกรมชลประทาน เผยเบิกจ่ายปี 58 แล้วร้อยละ 75 ขณะงบปี 59 เตรียมใช้ระบบการจัดซื้อจัดจ้างรูปแบบใหม่ในเดือน ก.ย. 58

นายณรงค์ ลีนานนท์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงการใช้งบประมาณปี 58 ว่า กรมชลประทานได้รับงบประมาณในส่วนของปี 58 ทั้งสิ้น 43,000 ล้านบาท ซึ่งแยกเป็นรายจ่ายประจำเป็น 7,500 ล้านบาท แยกเป็นงบลงทุนอีก 35,000 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบัน (วันที่ 22 ก.ค.) ได้เบิกไปแล้วร้อยละ 75 ถือว่าเป็นไปตามเป้าหมายของไตรมาส 3 โดยนโยบายที่ทางรัฐบาลให้เบิกอยู่ที่ร้อยละ 74 ซึ่งในแนวทางการปฏิบัติของกรมฯ ได้ให้นโยบายตั้งแต่แรกแล้วว่า จะมีการเตรียมการประกวดราคาตั้งแต่งบประมาณผ่านวาระที่ 3 ก็ต้องประกาศประกวดราคาให้ได้ และส่วนใหญ่ได้ประกาศตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคม 2557 นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) มองกระบวนการเบิกจ่ายงบประมาณรูปแบบเดิมพบว่ามีปัญหาอุปสรรคส่วนไหนที่ล่าช้าก็จะทำการปรับแก้ไข โดยให้ทางหน่วยงานท้องถิ่นตรวจสอบทางเว็บไซต์เพื่อให้ทำข้อผูกพันธ์ได้เร็วขึ้น และกรมยังได้ทำการกระจายอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักกองท้องถิ่นทำการเบิกจ่ายเงินล่วงหน้าร้อยละ 15 ของส่วนกลาง ในส่วนของค่าแรงที่ให้เบิกเดือนละ 2 ครั้งนั้น เพื่อจะทำการกระจายเม็ดเงินให้เร็วขึ้น ทางกรมก็จะสามารถเบิกจ่ายได้ตามเป้าหมาย ด้านอุปสรรคที่ต้องการแก้ไขปัญหา คือ ด้านกระบวนการเบิกจ่ายงบประมาณ โดยต้องมีการเตรียมกระบวนการความพร้อมให้มากที่สุด ต้องสื่อสารให้ผู้ปฏิบัติงานทุกระดับรวมทั้งผู้บริหารเข้าใจตรงกันว่าแต่ละกระบวนการจะช่วยกันเร่งรัดอย่างไร และต้องแก้ระเบียบกฎหมายคำสั่งที่เกี่ยวข้องเพื่อให้เอื้ออำนวยลดระยะเวลาลงไป ซึ่งจะทำให้ขั้นตอนการเบิกจ่ายเร็วขึ้น เบื้องต้นในส่วนของงบประมาณปี 59 ปัจจุบันกรมชลประทานได้ดำเนินการเตรียมการคณะกรรมการที่เตรียมเอกสารประกวดราคาซึ่งได้เตรียมเอกสารได้พร้อมหมดแล้ว และทางกรมบัญชีกลางก็จะใช้ระบบการจัดซื้อจัดจ้างแบบใหม่ในเดือน ก.ย. 58 นี้

ทั้งนี้ มีหน่วยงานที่ได้รับงบประมาณเกินหมื่นล้านบาท ทั้งสิ้น 4 หน่วยงาน อาทิ กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมชลประทาน และกรมโยธาธิการ ส่วนเรื่องการบริหารจัดการน้ำปัจจุบันกรมต้องดำเนินการตามนโยบายของทางคณะกรรมการที่กำกับดูแลเรื่องการจัดการน้ำต่อไป

จาก www.innnews.co.th  วันที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สุดยอดนวัตกรรม ฮ.ไร้คนขับ ความสำเร็จ มก.ใช้วิจัยพืช 5 ชนิด

                      จากการที่ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้ดำเนินการด้านวิศวกรรมต่างๆ ทั้งการออกแบบ ดัดแปลง และปรับปรุงอุปกรณ์ของอากาศยานไร้คนขับ รุ่นยามาฮ่า อาร์แม็กซ์ (YAMAHA RMAX) เพื่อใช้ในงานด้านการเกษตรให้เกิดประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการเกษตรในประเทศไทย ปรากฏว่าสามารถใช้งานด้านศึกษาวิจัยและพัฒนาพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศไทย 5 ชนิด คือ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย และสับปะรด ได้เป็นอย่างดี

                      ดร.ไชยวัฒน์ กล่ำพล หัวหน้าภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดเผยว่า ตามที่ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศได้ดำเนินการด้านวิศวกรรมต่างๆ ทั้งการออกแบบ ดัดแปลง และปรับปรุงอุปกรณ์ของอากาศยานไร้คนขับ รุ่นยามาฮ่า อาร์แม็กซ์ เพื่อใช้ในงานด้านการเกษตรให้เกิดประสิทธิภาพและเหมาะสมกับการเกษตรในประเทศไทย โดยคณะเกษตรเป็นหน่วยงานสนับสนุนองค์ความรู้ด้านการเกษตร ความสัมพันธ์ของปริมาณการใช้ ปุ๋ย ยาฆ่าแมลง ตลอดจนเมล็ดพืชพันธุ์สำหรับพื้นที่เพาะปลูกต่างๆ ซึ่งจะนำมาประยุกต์ใช้งานกับเครื่องต่อไป

                      จากการทดสอบที่ผ่านมาจะเห็นถึงจุดเด่นของยามาฮ่า อาร์แม็กซ์ ว่า มีความสามารถในการควบคุมตำแหน่งความสูงที่ถูกต้องแม่นยำและความมีเสถียรภาพของอากาศยาน นอกจากนี้ยังมีความแม่นยำสูงในการหว่านเมล็ดพืช การให้ปุ๋ย และการพ่นยาฆ่าแมลง ซึ่งจะลดการฟุ้งกระจายทำให้เกษตรกรหรือผู้ใช้งานลดปริมาณการใช้ปุ๋ย ช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย ลดต้นทุนการผลิต ลดความเสี่ยงในการใช้ยาฆ่าแมลง การพ่นของเหลวในบางพื้นที่สามารถพ่นได้รวดเร็ว แต่จะมีข้อเสียในเรื่องการปฏิบัติ โดยผู้ควบคุมต้องเชี่ยวชาญและฝึกฝนมาอย่างดี และยังต้องศึกษาถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ การโปรยปุ๋ยและเมล็ดยังไม่ดีเท่าที่ควร จึงต้องร่วมกันศึกษาและพัฒนาต่อไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการเพาะปลูกและพัฒนางานด้านการเกษตรให้มีความก้าวหน้าอย่างยั่งยืนตลอดไป

                      สำหรับ RMAX Type ll G เป็นนวัตกรรมชั้นเลิศที่ออกแบบมาเพื่อตอบรับความต้องการทางธุรกิจและการวิจัยและพัฒนาทางการเกษตรในวงกว้างเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำ ประสิทธิภาพการทำงานขึ้นสูงและความปลอดภัยที่ได้รับการพิสูจน์แล้ว จะเป็นทางออกที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สำหรับอุตสาหกรรมหลายประเภท วัตถุประสงค์เพื่อใช้งานด้านการเกษตร คือ การพ่นสเปรย์สารเคมี ปุ๋ย ยากำจัดศัตรูพืช และการหว่านเมล็ดพืชในพื้นที่ห่างไกล ด้วยความแม่นยำและสามารถปรับอัตราการหว่านหรือโปรยได้หลากหลายตามสภาวะของภูมิประเทศ

                      ด้าน ผศ.ดร.สุตเขตต์ นาคะเสถียร คณบดีคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บอกว่า การใช้เทคโนโลยีเฮลิคอปเตอร์แบบไร้นักบินเพื่อการเกษตร ยามาฮ่า อาร์แม็กซ์ กับการเกษตรในประเทศไทย เป็นเทคโนโลยีใหม่ ที่ทางคณะเกษตรจะศึกษาวิจัยและพัฒนาร่วมกับบริษัทเอกชน ในพืชเศรษฐกิจหลักของประเทศไทย 5 ชนิด คือ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย และสับปะรด ที่จะไปช่วยเหลือและร่วมวางแผนและขับเคลื่อนภาคการเกษตรของประเทศต่อไป

จาก http://www.komchadluek.net  วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กรมชลฯเร่งขุดลอกแหล่งน้ำ ตุนฝนก่อนฤดูแล้งหน้า

กรมชลประทานเร่งขุดลอกแหล่งน้ำ-แก้มลิงทั่วประเทศกว่า 900 โครงการ เก็บน้ำช่วงฤดูฝนนี้สำหรับฤดูแล้งหน้า คาดสำรองน้ำได้มากกว่า 295 ล้านลูกบาศก์เมตร

ส่วนประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำภัยแล้งมีแนวโน้มจะดีขึ้นโดยลำดับ หลังจากมีฝนตกเพิ่มมากขึ้น แต่ยังอยู่ในเกณฑ์น้อยกว่าค่าเฉลี่ยปกติ ส่งผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนต่าง ๆ รวมถึงปริมาณน้ำในลำห้วย ลำคลอง หนองน้ำธรรมชาติ ยังคงอยู่ในเกณฑ์น้อย กรมชลประทานจึงใช้โอกาสนี้เร่งขุดลอกแหล่งน้ำและแก้มลิงทั่วประเทศสำหรับเก็บสำรองน้ำฝนไว้ใช้ในฤดูแล้งหน้า โดยจะเร่งดำเนินการให้แล้วเสร็จก่อนเข้าสู่ช่วงฤดูน้ำหลาก ปัจจุบันดำเนินการไปแล้วกว่าร้อยละ 85 และคาดว่าจะสามารถสำรองน้ำได้กว่า 295 ลูกบาศก์เมตร

ขณะที่พื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา มีแผนดำเนินการขุดลอกแหล่งน้ำธรรมชาติและก่อสร้างแก้มลิงจำนวน 27 โครงการ กระจายอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ อาทิ สระเก็บน้ำหนองจอก สระเก็บน้ำบ้านเขากา จ.นครสวรรค์, แก้มลิงขุดลอกสำรางขุนศรี คลองระบายน้ำใหญ่เริงราง จ.พระนครศรีอยุธยา, หนองโสน หนองบอน หนองสาหร่าย จ.สิงห์บุรี, หนองสลัดเนื้อ หนองเสือปลา บึงกระจับใหญ่ บึงระหาร จ.ชัยนาท และสระน้ำดอนใหญ่ สระน้ำดอนกกเหม็น จ.อุทัยธานี เป็นต้น หากดำเนินการแล้วเสร็จ จะช่วยเพิ่มเสถียรภาพและความมั่นคงด้านน้ำอุปโภคบริโภคในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ในช่วงฤดูแล้งหน้าได้พอสมควร

อย่างไรก็ตาม ยังขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้ใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งขอให้ติดตามสถานการณ์น้ำในพื้นที่ของตนอย่างใกล้ชิดต่อไป

จาก http://www.prachachat.net วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

หนุนเกษตรอินทรีย์เป็นวาระแห่งชาติ

พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ กล่าวปาฐกถาพิเศษเรื่อง แผนและแนวทางยุทธศาสตร์การพัฒนาตลาดสินค้าอินทรีย์” ว่า ขณะนี้รัฐบาลมีนโยบายในการส่งเสริมเกษตรอินทรีย์ให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยตั้งเป้าเพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรอินทรีย์ไทยขยายตัว 10% ขึ้นไป

ตามการเติบโตของตลาดสินค้าอินทรีย์ทั่วโลกที่ปัจจุบันมีมูลค่า 72,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี หรือ 2.3 ล้านล้านบาท และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากกระแสของเกษตรอินทรีย์กำลังได้รับความนิยมทั่วโลก เพราะผู้บริโภคให้ความสำคัญอาหารเพื่อสุขภาพมากขึ้น “เป็นโอกาสของผู้ผลิตสินค้าเกษตรอินทรีย์ของไทยที่จะปรับเปลี่ยนการปลูกสินค้าดังกล่าวมากขึ้น

จากปัจจุบันที่ไทยมีพื้นที่เกษตรอินทรีย์ 213,000 ไร่ มีเกษตรกรที่ทำเกษตรอินทรีย์ 9,200 ฟาร์ม โดยมีปริมาณผลผลิต 80,000 ตันต่อปีและมีมูลค่าส่งออก 4,000 ล้านบาท โดยตลาดส่งออกเกษตรอินทรีย์ไทยที่สำคัญ เช่น สหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และสิงคโปร์” “

จาก http://www.dailynews.co.th  วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สกู๊ปพิเศษ : คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ เข้าถึง เข้าใจเกษตรกร

การจัดตั้งคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถทำให้การถ่ายทอดเทคโนโลยี การเกษตรแก่เกษตรกรระดับรากหญ้าและให้คำแนะนำช่วยเหลือแก้ไขปัญหาการเกษตรของเกษตรกรในพื้นที่บรรลุผลสำเร็จ เนื่องจากเป็นช่องทางที่สามารถให้บริการตรงตามความต้องการ และทันต่อเหตุการณ์ การดำเนินงานคลินิกเกษตรเป็นการบูรณาการวิชาการแต่ละสาขา ทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง พัฒนา ที่ดิน ฯลฯ โดยใช้การเคลื่อนที่เข้าไปหาเกษตรกร สร้างแรงดึงดูดใจและกระตุ้นให้เกษตรกรตื่นตัว ยอมรับเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของเกษตรกร

นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯได้ดำเนินการโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ ตั้งแต่ปี 2545 เพื่อให้งานวิจัยพัฒนาและงานบริการจัดการไร่นา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และช่วยแก้ไขปัญหาอุปสรรคให้เกษตรกร ได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ ตลอดจนเพื่อสร้างและพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยงานวิชาการ หน่วยงานส่งเสริมและศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล โดยดำเนินงานในรูปแบบการบูรณาการนักวิชาการแต่ละสาขา ทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง ดิน ชลประทาน กฎหมาย และบัญชีฯลฯโดยอาศัยเครื่องมืออุปกรณ์เข้าช่วยในการปฏิบัติงานและจากผลการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว ทำให้การบริการทางวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีบรรลุผลสำเร็จ สามารถกระตุ้นให้เกษตรกรเกิดการตื่นตัวและยอมรับนวัตกรรมใหม่ๆ ได้กว้างขวางมากขึ้น

การดำเนินการให้บริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ ได้ดำเนินการในจังหวัดต่างๆ ทั่วประเทศอย่างต่อเนื่อง จังหวัดละอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง โดยให้บริการหมุนเวียนไปตามตำบล และอำเภอต่างๆ โดยมีเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมรับบริการเกือบ 3 ล้านราย ตั้งแต่ปี 2546 ถึงปัจจุบัน ในปีงบประมาณ 2558 มีเกษตรกรมาลงทะเบียนร่วมงานจำนวน 82,283 ราย โดยมีเกษตรกรเข้ารับบริการคลินิกเกษตรต่างๆ จำนวน 54,172 ราย (เกษตรกร 1 ราย เข้ารับบริการมากกว่า1 คลินิก) สามารถแก้ปัญหาเสร็จสิ้น 51,374 ราย เจ้าหน้าที่ต้องเข้าไปติดตามแก้ไขปัญหาต่อเนื่อง จำนวน 2,798 ราย โดยเน้นให้บริการทางคลินิกพืช ข้าว ดิน ปศุสัตว์ ประมง ชลประทาน บัญชี สหกรณ์ กฎหมาย ยางพารา และคลินิกตรวจสารพิษในร่างกาย

เกษตรกรพึงพอใจโครงการแก้ปัญหาการเกษตรได้

จากการติดตามประเมินผลโครงการพบว่า เกษตรที่เข้ารับบริการร้อยละ 98.30อยากให้มีการจัดคลินิกในพื้นที่อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ร้อยละ68.86 พึ่งพอใจต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ แต่ยังมีเกษตรกรอีกร้อยละ28.45 ยังมีปัญหาด้านเกษตรที่ต้องการให้มีการแก้ไขอยู่ เช่นปัญหาเรื่องดิน โรคพืชแมลงศัตรูพืช เอกสารสิทธินอกจากนี้ยังพบปัญหาใหม่อีกร้อยละ48.25 เช่น โรคพืช โรคสัตว์ ตามฤดูกาล

คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ ระดับประเทศ 28 ก.ค. นี้

นอกจากการจัดงานคลินิกเกษตรเคลื่อนฯระดับจังหวัดแล้ว ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2558 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีมติให้จัดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ เพื่อเทิดพระเกียรติ ระดับประเทศ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โดยจังหวัดที่ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนในภูมิภาคต่างๆ ในการจัดงานครั้งนี้ ประกอบด้วย จังหวัดลำพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดนครพนม และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งคาดว่าจะมีเกษตรกรและผู้สนใจจากอำเภอต่างๆ ภายในจังหวัดเป้าหมายและจังหวัดใกล้เคียงเข้ารับการบริการ ไม่น้อยกว่า 5,000 คน

 โดยในงานจะมีพิธีกล่าวถวายพระพร ลงนามถวายพระพร นิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เปิดบริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ นิทรรศการทางวิชาการ การประกวดผลผลิตทางการเกษตร การฝึกอาชีพ เป็นต้น

แนะเกษตรกรใช้น้ำอย่างประหยัด

สำหรับกิจกรรมการให้บริการคลินิกเกษตร ในปี 2558 จะเน้นแก้ปัญหาในพื้นที่ ซึ่งขณะนี้เกษตรกรในหลายพื้นที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำสำหรับทำการเกษตร ทำนา จึงกำหนดให้ทุกหน่วยงานเน้นการให้บริการคลินิกเกษตรเกี่ยวกับ การใช้น้ำอย่างประหยัดคุ้มค่า และให้เหมาะสมกับพืชชนิดนั้นๆ เช่น แนะนำให้เกษตรกรมีการวางแผนการผลิต การปลูกพืชใช้น้ำน้อย เพื่อให้เกิดรายได้และปรับปรุงบำรุงดิน ผ่านคลินิกต่างๆ อาทิ คลินิกพืช คลินิกข้าว โดยให้คำแนะนำเกษตรกรในเรื่องการลดต้นทุนการผลิตข้าว คลินิกดิน บริการให้คำปรึกษาตรวจวิเคราะห์ดิน โดยมีเครื่องมือทดสอบธาตุอาหารพืชประจุบวก-ลบ เครื่องมือวัดความเป็นกรด-ด่าง (pH meter) การทำปุ๋ยหมัก คลินิกปศุสัตว์ ได้จัดกิจกรรมบริการผ่าตัดทำหมันสุนัข-แมว การประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์หันมาให้การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ด้วยวิธีผสมเทียม การให้บริการให้คำปรึกษาด้านการเลี้ยงและดูแลสัตว์เลี้ยง และแจกจ่ายเวชภัณฑ์สัตว์ คลินิกประมง บริการให้คำปรึกษา ตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำในการเพาะเลี้ยง และคลินิกอื่นๆ เช่น คลินิกจักรกลการเกษตร ให้คำแนะนำปรึกษาด้านเครื่องจักรกลการเกษตร การซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ขนาดเล็ก การให้น้ำกับพืช คลินิกบริหารศัตรูพืช ให้บริการเกี่ยวกับการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธี เป็นต้น

นอกจากนี้ ในแต่ละจังหวัดมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยกลุ่มวิสาหกิจกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จำหน่ายแก่เกษตรกรและผู้เข้าร่วมงาน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน รวมถึงจัดการประกวดผลผลิตทางการเกษตรในแต่ละภูมิภาค อาทิ ประกวดลำไยพันธุ์ดอ กล้วยน้ำว้าแก่จัด มะพร้าวน้ำหอม สับปะรดปัตตาเวียผลสด ฟักทองจัมโบ้ ปาล์มน้ำมัน การปลูกผักสวนครัวในภาชนะ สะตอข้าว มังคุด และการแข่งขันประเภทต่าง เช่น แข่งขันการกรีดยาง การคัดมังคุด ส้มตำลีลา ขันโตก (อาหารพื้นเมือง) พาเว็น (สำรับอาหารกลางวันของภาคอีสาน) เป็นต้น

จะเห็นว่าในแต่ละปีมีเกษตรกรสนใจเข้ารับบริการอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นช่องทางที่สามารถให้บริการตรงตามความต้องการ และทันต่อเหตุการณ์

จาก http://www.naewna.com วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ศูนย์ฝนหลวงภาคอีสานบินสำรวจ ทำฝนหลวงเติมน้ำเขื่อนบุรีรัมย์ ช่วยประชาชนพื้นที่ประสบภัยแล้ง

นายทวี กาญจนา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ซึ่งรับผิดชอบในพื้นที่ภาคอีสานทั้ง 20 จังหวัด พร้อมด้วยนายวิทยา จันทร์ฉลอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์นายอาคม พิญญศักดิ์ เกษตรและสหกรณ์ จ.บุรีรัมย์ และนายพรเชษฐ์ แสงทอง ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย จ.บุรีรัมย์ได้ขึ้นเฮลิคอปเตอร์ ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ไปบินสำรวจพื้นที่จุดอับฝน หลังจากขึ้นบินทำฝนหลวงแล้วแต่มีปริมาณน้ำฝนตกไม่ครอบคลุมทั้งจังหวัด ทำให้มีน้ำฝนตกลงมาในเขื่อน แหล่งน้ำและพื้นที่การเกษตรของ จ.บุรีรัมย์ ในปริมาณที่น้อยมาก

นายทวีกล่าวว่า สำหรับสภาพน้ำในพื้นที่ภาคอีสาน พบว่าจังหวัดทางตอนบนของภาคอีสาน มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างสูง ซึ่งมีหลายพื้นที่ประสบปัญหาน้ำไหลหลาก ส่วนพื้นที่การเกษตรทางด้านตอนกลางของภาคอีสานมีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ดี แต่ทางภาคอีสานตอนล่าง พบว่ามีปริมาณน้ำจะน้อยกว่าที่อื่น

สำหรับในครั้งนี้ได้มาขึ้นบินสำรวจพื้นที่การเกษตร และอ่างเก็บน้ำในพื้นที่ของ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งในภาพรวมจะทำการเกษตรเกือบเต็มพื้นที่ ส่วนใหญ่จะเป็นนาข้าว ลักษณะความชุ่มชื้นของนาข้าวใน 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีฝนตกลงมาทำให้นาข้าวชุ่มชื้น แต่ว่าปริมาณน้ำที่ขังในกระทงนายังมีน้อยอยู่ ซึ่งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงที่ จ.นครราชสีมา คงจะต้องปฏิบัติการทำฝนหลวงช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 4 หน่วย ประกอบด้วย จ.นครราชสีมา, จ.ขอนแก่น จ.อุบลราชธานี และจ.สกลนคร

จาก http://www.naewna.com วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

น้ำตาลทรายเถื่อนระบาด

นํ้าตาลทรายเถื่อนระบาดหนัก จับแล้ว 6.48 พันกระสอบ หลังราคาตลาดโลกดิ่ง พ่อค้าหัวใสส่งออกนํ้าตาลไปไม่ถึงประเทศเป้าหมาย เวียนกลับเข้ามาจำหน่ายในประเทศแทน ได้ราคาดีกว่า 6-7 บาทต่อกิโลกรัม พบมากสุดในปัตตานี แจ้งส่งออกทางเรือไปอินโดนีเซีย ใช้จุดพักที่ปีนัง ขนกลับมาทางรถ สอน.คุมเข้มต้นทาง กำชับกว่า 50 โรงงาน อย่าขายนํ้าตาลกับบุคคลที่มีพฤติกรรมต้องสงสัย

สืบเนื่องจากสถานการณ์ราคานํ้าตาลทรายดิบในตลาดโลกอยู่ในภาวะผันผวนต่อเนื่องมาตั้งแต่ต้นปี2558โดยราคานํ้าตาลทรายดิบอยู่ในระดับเฉลี่ย 11 เซ็นต์ต่อปอนด์  ก่อนที่จะขยับขึ้นมาที่ 13 เซ็นต์ต่อปอนด์ เมื่อ วันที่ 20 กรกฎาคม 2558  ขณะที่ราคาซื้อขายนํ้าตาลทรายดิบล่วงหน้าปี 2559 ในช่วง 7 เดือนแรก(ม.ค.-ก.ค.)ปี 2559 ราคาขายล่วงหน้ายังเฉลี่ยอยู่ที่ 12.92-13.14 เซ็นต์ต่อปอนด์ ถือว่ายังอยู่ในสถานการณ์ราคาตกต่ำ บางช่วงเป็นราคาที่ตกต่ำที่สุดในรอบ 5-6 ปี  เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับราคานํ้าตาลทรายดิบเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ราคาเคยทะยานสูงสุดที่ 36.08 เซ็นต์ต่อปอนด์

จากกรณีดังกล่าวทำให้ราคานํ้าตาลทรายขาวไต่ระดับต่ำลงตามไปด้วย โดยราคาส่งมอบเมื่อเดือนตุลาคม 2558 อยู่ที่ 347.90 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน หรือกิโลกรัมละ12 บาท (คำนวณตามอัตราแลกเปลี่ยนที่34.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ณ 21ก.ค.58) ทำให้ราคาส่งออกนํ้าตาลทรายขาวไปยังตลาดโลกไม่เป็นที่จูงใจเมื่อเทียบกับราคาขายภายในประเทศ

พ่อค้าหัวใสค้านํ้าตาลผิดก.ม.

นายพิชัย ตั้งชนะชัยอนันต์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและนํ้าตาลทราย(สอน.) เปิดเผยกับ”ฐานเศรษฐกิจ”ว่า เมื่อราคาส่งออกไม่เป็นที่จูงใจ ทำให้ผู้ส่งออกนํ้าตาลทรายขาวหัวใส หันมาทำการค้านํ้าตาลผิดกฎหมายโดยมีการแจ้งส่งออกนํ้าตาลทรายขาวไปยังประเทศต่างๆแต่นํ้าตาลทรายดังกล่าวกลับไม่ได้ถูกส่งไปยังประเทศเป้าหมายจริง และถูกเวียนกลับมาจำหน่ายภายในประเทศแทน หรือตามความหมายเท่ากับเป็น”นํ้าตาลเถื่อน”เพราะตามเอกสารส่งออกไปต่างประเทศจริง  แต่นํ้าตาลล็อตเดียวกันเมื่อส่งกลับมาขายในไทยโดยไม่ได้สำแดงข้อเท็จจริงเข้ามา และมีการหลีกเลี่ยงภาษี เพื่อเข้ามากินส่วนต่างราคา

ยกตัวอย่างราคานํ้าตาลทรายขาวที่ซื้อขายเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2558 ในส่วนที่ส่งมอบเดือนตุลาคม 2558 ราคาอยู่ที่ 347.90 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อตันหรือราว 12 บาทต่อกิโลกรัม ถือว่าราคาต่ำมากเมื่อเทียบกับราคาขายนํ้าตาลทรายขาวภายในประเทศที่มีราคาขายหน้าโรงงานอยู่ที่18-19 บาทต่อกิโลกรัม  ดังนั้นถ้านำกลับมาขายในประเทศผู้ค้านํ้าตาลที่ทำผิดกฎหมายจะได้ส่วนต่างราคาตั้งแต่ 6-7 บาทต่อกิโลกรัม บวก–ลบขึ้นอยู่ที่ราคานํ้าตาลในตลาดโลกในขณะนั้น ก่อนที่นํ้าตาลทรายขาวจะไปสู่การขายปลีกที่ราคา 22.50-23.50 บาทต่อกิโลกรัม

มาเป็นกองทัพมดตะเข็บชายแดน

ล่าสุดสถิติการจับกุมผู้กระทำความผิดของคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้า–ส่งออก และการป้องกันอุบัติเหตุจากการขายส่งทางนํ้า ที่มีตนเป็นประธาน พบว่าในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงมิถุนายน 2558 สามารถจับผู้กระทำผิดได้กว่า 16 ราย และยึดของกลางเป็นนํ้าตาลทรายขาวกระสอบละ 50 กิโลกรัมได้ 6.489 พันกระสอบ หรือหากเทียบเป็นกระสอบ 100 กิโลกรัมจะประมาณ 3.244 พันกระสอบ จากการส่งออกนํ้าตาลทรายโควตา ค.ทั้งหมดปีนี้อยู่ที่ 80 ล้านกระสอบ ซึ่งจับกุมได้ในพื้นที่ต่างๆ เช่น จังหวัดปัตตานี สระแก้ว ตาก นครสวรรค์ นครราชสีมา สมุทรปราการ หรือแม้แต่คลองเตย ในกทม. เป็นต้น ส่วนใหญ่จะขนเข้ามาในลักษณะกองทัพมด และมาพักไว้ตามตะเข็บชายแดน สะสมไว้จนได้ปริมาณมากพอ และขนส่งโดยทางรถยนต์เก็บไว้ในโกดังเพื่อส่งจำหน่ายต่อไป

โดยพื้นที่ที่จับกุมได้มากที่สุดจะอยู่ในจังหวัดปัตตานี จำนวน 6 ราย ปริมาณ 4.03 พันกระสอบ(50 กิโลกรัม) ซึ่งจากการตรวจสอบรหัสของกระสอบสินค้า พบว่านํ้าตาลทรายจะถูกส่งไปที่ประเทศอินโดนีเซีย โดยผ่านท่าเรือที่ปีนัง ของมาเลเซีย แต่นํ้าตาลทรายบางส่วนได้ถูกขนถ่ายลงรถบรรทุก และวิ่งเข้ามายังบริเวณด่านสตูล และนำมาเก็บไว้ที่จังหวัดปัตตานี เพื่อที่จะรอกระจายนํ้าตาลส่งจำหน่ายให้กับผู้ค้ายี่ปั๊วซาปั๊ว ทางภาคใต้ตอนล่างต่อไป

ขณะที่ในจังหวัดสระแก้ว จับกุมผู้กระทำผิดได้ 2 ราย ในประมาณ 1.35 พันกระสอบโดยมีการแจ้งส่งออกผ่านด่านช่องผักกาดในจังหวัดจันทบุรีโดยมีผู้รับสินค้าปลายทางที่ประเทศกัมพูชาแต่จากการตรวจสอบพบว่านํ้าตาลทรายที่จับกุมได้นั้นได้มีการขนกลับมาโดยรถบรรทุกหรือรถกระบะและนำมาสะสมไว้ตามโกดังชายแดนเพื่อส่งจำหน่ายให้พ่อค้าต่อไปเป็นต้น

นายพิชัยกล่าวอีกว่า การที่คณะกรรมการสามารถตรวจสอบและยึดของกลางจำนวนดังกล่าวได้นั้น เพราะมีการแจ้งเบาะแสที่มาจากพ่อค้านํ้าตาลในแต่ละพื้นที่ เนื่องจากปริมาณการจำหน่ายนํ้าตาลทรายที่เคยจำหน่ายได้ปรับตัวลดลงเป็นอย่างมากจนผิดสังเกต เมื่อเทียบกับยอดจำหน่ายในแต่ละสัปดาห์หรือแต่ละเดือนโดยผู้ค้านํ้าตาลทรายเถื่อนจะเสนอราคาขายให้กับพ่อค้าในราคาถูกกว่าราคาตลาดทั่วไปในระดับ 18 บาทต่อกิโลกรัม เป็นการจูงใจให้พ่อค้ารับซื้อเพื่อไปจำหน่ายไปยังผู้บริโภคในราคา 23.50 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งผู้ค้านํ้าตาลทรายเถื่อนจะได้กำไรในระดับ 4-5 บาทต่อกิโลกรัม ถือเป็นส่วนต่างจูงใจที่ทำให้เกิดแรงจูงใจในการกระทำผิด

โทษปรับเงิน 4 เท่า–จำคุกไม่เกิน 10 ปี

จากการกระทำดังกล่าว  ถือว่าผิดตามพ.ร.บ.ศุลกากร มาตรา 27 มีโทษปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาสินค้า หรือจำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ  ยอมรับว่าการลักลอบค้านํ้าตาลทรายเถื่อนนี้ เกิดขึ้นในปีนี้ค่อนข้างมาก และคาดว่าจะมีแนวโน้มพุ่งขึ้นต่อไป ตราบใดที่ราคานํ้าตาลทรายโลกยังตกต่ำอยู่ในระดับนี้ต่อไป หลังจากที่เหตุการณ์ดังกล่าวนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาในช่วง 4-5 ปีนี้ นับจากสถานการณ์ราคานํ้าตาลโลกปรับตัวสูงขึ้น ราคานํ้าตาลทรายในต่างประเทศมีราคาสูงกว่าราคาจำหน่ายภายในประเทศ ซึ่งเป็นราคาควบคุมที่ 23.50 บาทต่อกิโลกรัม ทำให้มีการนำนํ้าตาลทรายโควตา ก.ที่จำหน่ายในประเทศ ลักลอบส่งออกไปจำหน่ายยังประเทศเพื่อนบ้านจนส่งผลให้ช่วงนั้นนํ้าตาลในประเทศเกิดการขาดแคลน

สำหรับความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้น ขณะนี้ยังไม่สามารถระบุได้ว่ายังมีผู้กระทำผิดในลักษณะนี้อีกมากน้อยเพียงใด แม้ว่าปริมาณนํ้าตาลทรายที่ยึดของกลางมาได้ในขณะนี้จะมีไม่มากเมื่อเทียบกับโควตาของนํ้าตาลในการส่งออกที่ 80 ล้านกระสอบ แต่หากไม่มีการจับกุมหรือเฝ้าระวังจะทำให้มีนํ้าตาลทรายเถื่อนระบาดมากขึ้น จนส่งผลกระทบต่อโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและนํ้าตาลทราย เพราะเมื่อมีการนำตลาดทรายส่งออกกลับเข้ามาขายในประเทศเพิ่มมากขึ้น จะส่งผลให้นํ้าตาลโควตา ก.ที่จำหน่ายในประเทศที่ 25 ล้านกระสอบลดลง หรือทำให้นํ้าตาลโควตาก. เหลือ  ซึ่งจะไปกระทบต่อการจัดเก็บเงินส่งเข้ากองทุนอ้อยและนํ้าตาลทราย ในกิโลกรัมละ 5 บาท ที่เก็บไว้ในการรักษาเสถียรราคาอ้อยและนํ้าตาลทรายของประเทศ รวมถึงการนำไปใช้หนี้ให้กับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ที่เป็นหนี้อยู่กว่า 2.2 หมื่นล้านบาท ก็จะไม่เพียงพอหรือต้องยืดการชำระหนี้ออกไป ที่สำคัญจะมีผลต่อการคำนวณราคาอ้อยขั้นสุดท้ายที่ชาวไร่อ้อยจะได้รับลดลงด้วย

นายพิชัยกล่าวเสริมอีกว่า อย่างไรก็ตาม ในมาตรการป้องกันนั้น ทางสอน.ได้ทำหนังสือและได้ร่วมหารือกับบรรดาโรงงานนํ้าตาลทั่วเทศกว่า 50 โรงงานเมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาคม โดยกำชับให้แต่ละโรงงานดำเนินการเฝ้าระวัง และมีความระมัดระวังในการตรวจสอบลูกค้าที่มาติดต่อขอซื้อนํ้าตาลทรายว่ามีประวัติ และความเป็นมาอย่างไร ไม่ใช่เป็นบุคคลที่ไม่รู้จักหรือมีพฤติกรรมที่น่าสงสัย ก็ขอให้ปฏิเสธในการจำหน่ายนํ้าตาลทรายไว้ก่อน พร้อมกันนี้ ยังส่งรายชื่อผู้ที่ถูกดำเนินคดีให้ทางโรงงานรับทราบ เพื่อให้ขึ้นบัญชีดำไว้ไม่ให้มีการค้าขายนํ้าตาลทรายด้วย

ขอความร่วมมือด่านชายแดนตรวจเข้ม

นอกจากนี้ ยังขอความร่วมมือไปยังกรมศุลกากรที่ประจำด่านการค้าชายแดน 17 แห่ง ที่มีการส่งออกนํ้าตาลไปจำหน่าย ให้มีการตรวจสอบสินค้าที่นำเข้ามาอย่างเข้มงวด พร้อมส่งเจ้าหน้าที่ร่วมประจำด่านในการตรวจสอบการนำเข้าสินค้าด้วย โดยเฉพาะด่านที่มีการส่งออกนํ้าตาลทรายเป็นจำนวนมาก เช่น ด่านเชียงแสน จังหวัดชียงราย ด่านคลองใหญ่ จังหวัดตราด และด่านคลองลึก จังหวัดสระแก้ว จะมีการเฝ้าระวังและจับเป็นพิเศษ ที่จะป้องกันไม่ให้มีการลักลอบนำนํ้าตาลทรายเข้ามาโดยการหลีกเลี่ยงพิกัดศุลกากร และเมื่อมีการส่งออกนํ้าตาลจะมีเจ้าหน้าที่ของสอน.ร่วมในการตรวจปล่อยสินค้าด้วย

ส่วนการเฝ้าระวังในพ้นที่ภาคใต้นั้น ต้องยอมรับว่าเหตุความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดภาคใต้ ส่งผลให้การเข้าตรวจสอบในพื้นที่มีความอยากลำบาก เนื่องจากห่วงความปลอดภัยของเจ้าหน้าและบุคลากร ซึ่งต้องอาศัยสายสืบ หรือผู้ค้าในพื้นที่แจ้งเบาะแส เมื่อมีข้อมูลที่ชัดเจนแล้วจะสามารถลงพื้นที่เข้าจับกุมได้ทันที

สำหรับปัญหานํ้าตาลทรายเถื่อนจะหมดไปเมื่อใดนั้น คาดว่าในช่วงปีหน้า หากราคานํ้าตาลทรายในตลาดโลกปรับตัวดีขึ้น ทำให้ราคาส่งออก ขึ้นไประดับใกล้เคียงราคาที่จำหน่ายภายในประเทศ หรือมีส่วนต่างเพียง 1-2 บาทต่อกิโลกรัม จะทำให้ไม่เกิดแรงจูงใจที่จะเสี่ยงในการกระทำผิด และเมื่อประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีมีผลบังคับใช้ในปีหน้า จะทำให้นํ้าตาลทรายในภูมิภาคมีราคาไม่แตกต่างกันมากนัก ก็จะทำให้ปัญหาลักลอบหมดลงไป

มั่นใจมีอีกมากลักลอบนำเข้า

สอดคล้องกับที่นายสมนึก มั่นในบุญธรรม หัวหน้าปฏิบัติการพิเศษ  สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและนํ้าตาลทราย(สอน.) กล่าวว่าจากการติดตามจับกุมนํ้าตาลเถื่อนที่นำเข้ามาโดยไม่สำแดงเอกสารของเจ้าหน้าที่และสายข่าวพบว่า บางรายเป็นนํ้าตาลที่ไทยส่งออกไปกัมพูชาแล้วส่งกลับมาขายในไทย ซึ่งจากการตรวจสอบจากคนขับรถระบุว่านํ้าตาลในรถมาจากชายแดนกัมพูชา แต่ไปจับกุมได้ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 900 กระสอบ(กระสอบละ 50 กิโลกรัม เพื่อเวียนกลับมากินส่วนต่างราคาในไทย บางรายมีการส่งออกโดยโควตาค.จากประเทศไทย ออกไปอย่างถูกต้อง แต่ตอนนำนํ้าตาลทรายขาวกลับมาไทยนำเข้ามาผิดกฎหมาย หลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งการจับกุมได้นั้นเป็นเพียงตัวเลขส่วนหนึ่งเท่านั้น เพราะมั่นใจว่ายังมีนํ้าตาลเถื่อนอีกจำนวนมากทะลักเข้ามาแบบผิดกฎหมาย  แต่บางพื้นที่ยากในการตรวจสอบเพราะเป็นพื้นที่เสี่ยงต่ออันตรายโดยเฉพาะตามแนวตะเข็บชายแดนภาคใต้

กำแพงภาษีสูงลิบ 65-94%

นายสุรัตน์ ธาดาชวสกุล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อ้อยและนํ้าตาลไทย จำกัด (อนท.) กล่าวว่า   การนำเข้านํ้าตาลของไทยจะมีอยู่ 3 ส่วนคือ 1.มีการนำเข้านํ้าตาลตามพันธะองค์การการค้าโลก(WTO).โดยมีโควตานำเข้าประมาณ 1.3-1.4 หมื่นตันต่อปี โดยเสียภาษีอากรขาเข้า 65%  2.นำเข้านอกโควตา WTO เสียภาษี 94% 3.อยู่ในกรอบประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซีเสียภาษีนำเข้า 0% ซึ่งการนำเข้าทุกทางจะต้องมีการระบุชัดเจนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย  แต่ที่ผ่านมามีบางส่วนเป็นนํ้าตาลที่ลักลอบนำเข้ามาในสถานการณ์ที่ราคาในประเทศไทยสูงกว่าราคานํ้าตาลในตลาดโลก

ปัจจุบันผลผลิตนํ้าตาลทั่วประเทศมีรวมกันประมาณ 11.3 ล้านตัน ตามระบบแบ่งปันผลประโยชน์อ้อยและนํ้าตาลจะมีการจัดสรรนํ้าตาลไว้ 3 ทางคือ 1.นํ้าตาลสำหรับบริโภคภายในประเทศหรือโควตา ก. จำนวน 25 ล้านกระสอบ หรือ 2.5  ล้านตัน 2.นํ้าตาลส่งออกโดยผ่านบริษัทอ้อยและนํ้าตาลไทยหรือโควตา ข. จำนวน 8 แสนตัน ที่เหลือเป็นนํ้าตาลส่งออกโดยโรงงานนํ้าตาล หรือโควตา ค.

จาก http://www.thansettakij.com  วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ทริสฯคงอันดับเครดิตองค์กร & หุ้นกู้“บ. น้ำตาลขอนแก่น” ที่ “A/Stable”

ทริสเรทติ้งคงอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันของ บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ “A” ด้วยแนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” โดยอันดับเครดิตสะท้อนถึงประสบการณ์ที่ยาวนานในฐานะที่บริษัทเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ของประเทศไทย ตลอดจนการขยายกิจการไปสู่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจน้ำตาล การพิจารณาอันดับเครดิตดังกล่าวยังคำนึงถึงความเสี่ยงจากสถานการณ์ราคาน้ำตาลที่อยู่ในระดับต่ำ รวมถึงความเสี่ยงจากการดำเนินธุรกิจอ้อยและน้ำตาลในประเทศลาวและกัมพูชา ตลอดจนความผันผวนของปริมาณผลผลิตอ้อยด้วย     

แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนถึงการคาดการณ์ของทริสเรทติ้งว่ากลุ่มน้ำตาลขอนแก่นจะยังคงดำรงสถานะการเป็นผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ของไทยเอาไว้ได้ โดยระบบแบ่งปันผลประโยชน์ในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ตลอดจนความต้องการที่แข็งแกร่งในธุรกิจเอทานอล และรายได้ที่มั่นคงจากธุรกิจไฟฟ้าจะช่วยรองรับการดำเนินงานในช่วงวงจรขาลงของธุรกิจน้ำตาลบางส่วน              

ปัจจัยบวกต่ออันดับเครดิตของบริษัทมีค่อนข้างจำกัดในภาวะที่ราคาน้ำตาลยังอยู่ในระดับต่ำ ในขณะที่การปรับลดอันดับเครดิตสามารถเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ราคาน้ำตาลตกต่ำลงอย่างต่อเนื่องจนส่งผลให้อัตรากำไรจากการดำเนินงานของบริษัทลดลงเป็นระยะเวลานาน นอกจากนี้ การลงทุนที่ใช้เงินกู้จำนวนมากและกระแสเงินสดที่รองรับการชำระหนี้ที่อ่อนแอต่อเนื่องก็เป็นปัจจัยลบต่ออันดับเครดิตของบริษัทด้วยเช่นกัน

               บริษัทน้ำตาลขอนแก่นเป็นหนึ่งในผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่ในประเทศไทยซึ่งก่อตั้งในปี 2488 โดยตระกูลชินธรรมมิตร์และคณะ ณ เดือนเมษายน 2558 ตระกูลชินธรรมมิตร์ถือหุ้นในบริษัทในสัดส่วนรวม 70.3% ของหุ้นทั้งหมด บริษัทเป็นเจ้าของและบริหารโรงงานน้ำตาล 5 แห่งในประเทศไทยโดยมีกำลังการหีบอ้อยรวม ณ เดือนพฤษภาคม 2558 เท่ากับ 110,000 ตันอ้อยต่อวัน ทั้งนี้ กลุ่มน้ำตาลขอนแก่นสามารถหีบอ้อยได้ 8.8 ล้านตันอ้อยในปีการผลิต 2557/2558 และผลิตน้ำตาลได้ 914,458 ตัน ซึ่งจัดเป็นกลุ่มผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่อันดับ 4 ของประเทศไทย มีส่วนแบ่งทางการตลาด 8.3% ในปีการผลิต 2557/2558 รองจากกลุ่มมิตรผลซึ่งมีส่วนแบ่งทางการตลาด 19.5% กลุ่มไทยรุ่งเรือง 14.3% และกลุ่มไทยเอกลักษณ์ 9.2%

               ตั้งแต่ปีการเงิน 2549 บริษัทได้ขยายการลงทุนไปยังธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจน้ำตาลเพื่อใช้ประโยชน์สูงสุดจากอ้อย ได้แก่ ธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้าและเอทานอล ในช่วงปีการเงิน 2556-2557 รายได้จากธุรกิจพลังงาน (ไฟฟ้าและเอทานอล) คิดเป็นสัดส่วน 18% ของรายได้รวมของบริษัท

               นอกเหนือจากธุรกิจผลิตน้ำตาลในประเทศไทยแล้ว กลุ่มน้ำตาลขอนแก่นยังดำเนินธุรกิจโรงงานน้ำตาลในประเทศลาวและกัมพูชาด้วย โดยโรงงานน้ำตาลในประเทศดังกล่าวได้เริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ในปีการเงิน 2553 เงินลงทุนในประเทศลาวและกัมพูชาโดยประมาณเท่ากับ 5,200 ล้านบาท ปัจจุบันผลผลิตน้ำตาลในประเทศลาวและกัมพูชามีสัดส่วนไม่มากเมื่อเทียบกับธุรกิจน้ำตาลในประเทศไทย โดยตั้งแต่เริ่มดำเนินธุรกิจ ผลผลิตอ้อยในประเทศลาวดีขึ้นตามลำดับ ในขณะที่ผลผลิตอ้อยในประเทศกัมพูชายังคงต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้ ดังนั้น ผลผลิตน้ำตาลในทั้ง 2 ประเทศในปีการผลิต 2557/2558 จึงมีเพียง 35,000 ตัน คิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่า 5% ของผลผลิตน้ำตาลในประเทศไทย นอกจากนี้ การดำเนินงานของบริษัทในประเทศลาวและกัมพูชายังลดลงในปีการเงิน 2558 จากการปรับลดลงอย่างรุนแรงของราคาน้ำตาล  บริษัทในประเทศลาวและกัมพูชาจึงยังคงมีผลการดำเนินงานขาดทุนโดยขาดทุนจำนวน 175 ล้านบาทในช่วงครึ่งแรกของปีการเงิน 2558

               จากสถานการณ์ราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่ยังคงปรับตัวลดลงทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทในช่วงปีการเงิน 2557 อยู่ในระดับปานกลาง บริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้น 1% เป็น 19,185 ล้านบาทในปีการเงิน 2557 จาก 18,941 ล้านบาทในปีการเงิน 2556 อัตรากำไรขั้นต้นของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก 21% ในปีการเงิน 2556 มาอยู่ที่ระดับ 24.7% ในปีการเงิน 2557 แม้ว่าราคาขายเฉลี่ยของน้ำตาลทรายดิบจะลดลง 6% ในปีการเงิน 2557 แต่ต้นทุนการผลิตที่ลดลงจากผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยที่เพิ่มขึ้นและการอ่อนค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐทำให้อัตรากำไรขั้นต้นของบริษัทเพิ่มขึ้น อัตรากำไรขั้นต้นของบริษัทที่ดียังมาจากอัตรากำไรขั้นต้นของกลุ่มธุรกิจพลังงานที่แข็งแกร่ง โดยในปีการเงิน 2557 การเติบโตของความต้องการใช้เอทานอลในประเทศส่งผลทำให้ราคาขายอ้างอิงของเอทานอลเพิ่มขึ้น 7.1% มาอยู่ที่ระดับ 27.22 บาทต่อลิตรในปีการเงิน 2557 ทำให้อัตรากำไรขั้นต้นของธุรกิจเอทานอลและไฟฟ้ายังคงแข็งแกร่งที่ระดับ 26% และ 48% ตามลำดับ ในปี 2557 กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายของบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 3,816 ล้านบาท จาก 3,382 ล้านบาทในปี 2556 ตามอัตรากำไรที่ดีขึ้น สำหรับช่วง 6 เดือนแรกของปีการเงิน 2558 นั้น รายได้ของบริษัทเติบโต 6% เป็น 7,906 ล้านบาทเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีการเงิน 2557 สาเหตุหลักมาจากปริมาณขายน้ำตาลเพิ่มขึ้น13% กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายของบริษัทในช่วง 6 เดือนแรกของปีการเงิน 2558 ลดลงเพียงเล็กน้อยเป็น 2,204 ล้านบาท จาก 2,243 ล้านบาทในช่วงเวลาเดียวกันของปีการเงิน 2557 แม้ว่าราคาขายเฉลี่ยของน้ำตาลที่ส่งออกของบริษัทจะลดลง 16% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากยอดขายน้ำตาลในประเทศที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นและกำไรที่แข็งแกร่งของธุรกิจพลังงานช่วยรักษากำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายของบริษัทให้อยู่ในระดับใกล้เคียงเดิมในช่วง 6 เดือนแรกของปีการเงิน 2558

               อัตราการก่อหนี้ของบริษัทอยู่ในระดับค่อนข้างสูงโดยบริษัทมีอัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนอยู่ที่ระดับ 59.8% ณ สิ้นปีการเงิน 2557  อัตราส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่ายของบริษัทยังคงอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ที่ 4.7 เท่าในปีการเงิน 2557 ลดลงจาก 5.4-8.4 เท่าในปีการเงิน 2554-2556 อัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อเงินกู้รวมของบริษัทเท่ากับ 13.4% ในปีการเงิน 2557 เมื่อเทียบกับระดับ 13.6%-25%ในปีการเงิน 2554-2557 ในอนาคต เงินลงทุนของบริษัทในช่วงปีการเงิน 2558-2559 จะลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 1,000 ล้านบาทต่อปี จาก 3,000-6,000 ล้านบาทต่อปีในปีการเงิน 2556-2557 เนื่องจากบริษัทไม่มีการลงทุนขนาดใหญ่ เมื่อพิจารณาจากการคาดการณ์กำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายรวมของบริษัทที่ประมาณ 3,000 ล้านบาทต่อปีและแผนการลงทุนของบริษัทแล้ว คาดว่าอัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทจะปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ กระแสเงินสดส่วนเกินที่รองรับการชำระหนี้ของบริษัทจะอยู่ในระดับต่ำในปีการเงิน 2558 ตามวัฏจักรราคาน้ำตาลตกต่ำ อย่างไรก็ตาม คาดว่ากระแสเงินสดส่วนเกินที่รองรับการชำระหนี้ของบริษัทจะปรับตัวดีขึ้นในระยะ 2-3 ปีข้างหน้าตามการฟื้นตัวของราคาน้ำตาลและการลดลงของระดับหนี้

จาก http://www.thanonline.com  วันที่ 23 กรกฎาคม 2558

ถ้าฝนไม่ตก กปภ. มีมาตรการสำรอง 3 ด้าน

กลายเป็นประเด็นร้อนตลอด 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เมื่อหลายพื้นที่เริ่มเห็นปรากฏการณ์นํ้าเพื่อการอุปโภค-บริโภคขาดแคลน  ไม่เฉพาะแต่พื้นที่ภาคการเกษตรหลายแห่งที่ต้องหยุดทำนา ลามถึงพืชผลทางการเกษตรอีกหลายรายการเสียหายหนักนำร่องไปก่อนแล้วตลอด 2 เดือนเศษ ปัญหาภัยแล้งประชิดภาคประชาชนมากขึ้นทุกขณะเพราะหลายพื้นที่ขาดนํ้าดิบเพื่อนำมาผลิตนํ้าประปา จนบางแห่งต้องออกมาประกาศหยุดผลิตนํ้าประปาไปแล้ว ขณะที่บางพื้นที่กำหนดเวลาปล่อยนํ้าเพื่ออุปโภคบริโภค ทำให้สัปดาห์ก่อน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ต้องออกมาหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งการประปาส่วนภูมิภาค(กปภ.), การประปานครหลวง(กปน.) และกรมชลประทาน ถึงการบริหารจัดการนํ้าเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง พร้อมประเมินสถานการณ์แบบรายวัน

 รัตนา กิจวรรณ ผู้ว่าการการประปาส่วนภูมิภาค(กปภ.) กล่าวผ่าน “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงสถานะกปภ.สาขาต่างๆที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง และแผนรับมือสู้ภัยแล้งหากฝนไม่ตก  หรือตกแต่เก็บนํ้าในแหล่งรับนํ้าต่างๆได้น้อยเพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุดจากการบริโภคนํ้าประปาในพื้นที่ที่ประสบปัญหาอยู่ในขณะนี้

ผู้ว่าการกปภ.เริ่มต้นฉายภาพให้เห็นบทบาทของกปภ.ว่าดูแลพื้นที่การใช้นํ้าประปาทั้งหมด 74 จังหวัดทั่วประเทศยกเว้น กทม.นนทบุรี สมุทรปราการ ที่อยู่ในความรับผิดชอบของการประปานครหลวง(กปน.) พื้นที่ที่รับผิดชอบส่วนใหญ่เป็นหัวเมืองหลัก และอำเภอ ส่วนรอบนอกจะเป็นการดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยกปภ.มีระบบผลิตนํ้าประปาทั่วประเทศจำนวน 234 สาขา และมีหน่วยบริการ เช่นบริการวางท่อ และบางแห่งจะเป็นระบบผลิตนํ้าประปาด้วย อีกจำนวนรวม 358 หน่วย

วิกฤติหนักประกาศพื้นที่สีแดง

ปัญหาภัยแล้งปี 2558 ยอมรับว่าเข้าข่ายวิกฤติภัยแล้งที่รุนแรงที่สุดในรอบ 36 ปีหรือนับแต่ที่ตั้งกปภ.มา และที่ว่าเข้าขั้นวิกฤตินั้น สืบเนื่องจากมีพื้นที่บางแห่งที่กปภ.ไม่สามารถจ่ายนํ้าประปาให้กับประชาชนได้ เช่นที่ กปภ.สาขาพระพุทธบาท ซึ่งเป็นแม่ข่าย จ.สระบุรี ถูกระบุเป็นพื้นที่สีแดงหยุดจ่ายนํ้าชั่วคราว  แม้ว่าล่าสุดจะกลับมาจ่ายนํ้าได้เป็นปกติแล้วแต่บางพื้นที่อาจมีปริมาณนํ้าไหลอ่อนมาก เช่นเดียวกับที่ธัญบุรี จ.ปทุมธานี ที่หยุดปล่อยนํ้าประปาทั้งวันระหว่างวันที่ 11-12 กรกฎาคมที่ผ่านมา ทำให้ประชาชนในพื้นที่ธัญบุรีกว่า 6 หมื่นครัวเรือนได้รับผลกระทบ ทั้งที่ก่อนหน้านั้นกปภ.แจ้งเตือนผู้ใช้นํ้าให้สำรองนํ้าไว้แต่สุดท้ายถึงขั้นวิกฤติหนักนํ้าประปาหยุดปล่อย จากที่เปิดให้บริการประชาชนตลอด 24 ชั่วโมง

รวมถึงล่าสุดหลังจากที่รัฐบาลมีคำสั่งให้กรมชลประทานปล่อยนํ้าจาก 4 เขื่อนหลัก (ภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยบำรุงแดน ป่าสักชลสิทธิ์) ลดลงจาก 28 ล้านลบ.ม. เหลือ 18 ล้านลบ.ม. ทำให้กปภ.สาขาบ้านหมี่ และสาขาอำเภอเมือง จ.ลพบุรี และสาขาพระพุทธบาท จ.สระบุรี กระทบไปด้วยเนื่องจากปริมาณนํ้าลดลง ทำให้ระหว่างวันที่ 13, 14, 15 กรกฎาคม ต้องหยุดจ่ายนํ้าประปา  และวันที่ 16 กรกฎาคมก็กลับมาจ่ายนํ้าได้ ที่จ.ปทุมธานี ยังต้องเฝ้าระวังเพราะมีปัญหาเรื่องนํ้าเค็ม

8 สาขายังต้องจ่ายนํ้าเป็นเวลา

ข้อมูลเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม รายงานสถานการณ์ภัยแล้งของกปภ.   แจ้งว่าล่าสุดมี 8 สาขา(เดิมมี14-15สาขา)จากระบบผลิตนํ้าประปาทั่วประเทศจำนวน 234 สาขาที่ระบุว่า เป็นพื้นที่สีส้มเพราะอยู่ในพื้นที่ที่ต้องจ่ายนํ้าเป็นเวลาและแบ่งโซนจ่ายนํ้าโดยบางพื้นที่มีกำหนดจ่ายช่วงเช้า  บางพื้นที่กำหนดจ่ายช่วงเย็น จากปกติจะต้องจ่ายนํ้าตลอด 24 ชั่วโมงประกอบด้วย กปภ.สาขาท่าตะโก จ.นครสวรรค์, สาขาวิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์, สาขาแก้งคร้อ จ.ชัยภูมิ,สาขาหนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ, สาขาอำนาจเจริญ จ.อำนาจเจริญ, สาขาปักธงชัย จ.นครราชสีมา, สาขาพิมาย จ.นครราชสีมา, สาขาเกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี นอกจากนี้ยังมีราว 10 สาขาที่เป็นกปภ.สาขาที่ลดแรงดันและลดอัตราการจ่ายนํ้า หรืออยู่ในพื้นที่สีเหลือง และอีก 26 สาขา เป็นกปภ.ที่จะต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากมีปัญหานํ้าดิบลดลง หรือเป็นพื้นที่สีฟ้า รวมไปถึงกปภ.สาขาที่มีนํ้าเค็มรุกลํ้า อีกจำนวน 5 สาขา (ที่สาขาฉะเชิงเทรา บางปะกง บางคล้า ปราจีนบุรีและสาขาปทุมธานี)

แม้ล่าสุดกปภ.ออกมาประกาศยกเลิกพื้นที่สีแดงคือหยุดจ่ายนํ้าชั่วคราวแล้ว และลดจำนวนพื้นที่จ่ายนํ้าเป็นเวลา และพื้นที่ที่ลดแรงดันและลดอัตราการจ่ายนํ้าลง หลังจากบางพื้นที่มีฝนตก ถือว่าเป็นสัญญาณดี แต่ปริมาณนํ้าดิบสำหรับนำมาผลิตนํ้าประปาโดยรวมยังต้องเฝ้าระวัง เพราะปริมาณนํ้าดิบที่กปภ.สูบขึ้นมาใช้จากทุกแหล่งนํ้าดิบยังน่าเป็นห่วง  เช่น นํ้าจากแหล่งนํ้าธรรมชาติส่วนใหญ่ยังแห้งขอด ขณะที่แหล่งนํ้าของกรมชลประทานก็ยังไม่กลับสู่ภาวะปกติ

เปิดแผนรับมือหากฝนไม่ตก

สถานการณ์ภัยแล้งจะกลับสู่ภาวะปกติได้เมื่อใดนั้นผู้ว่าการกปภ.บอกว่าฝนฟ้าที่ประทานมาจะเป็นตัวชี้ชะตาการใช้นํ้า จากที่ผ่านมาบางพื้นที่ ทางกปภ.แก้ปัญหาเฉพาะหน้า โดยใช้นํ้าจากแหล่งนํ้าที่หามาทดแทนได้ ในพื้นที่ใกล้เคียง  แต่วิธีดังกล่าวจะทำได้ถึงกลางเดือนสิงหาคมนี้เท่านั้น หลังจากนั้นก็ต้องรอความหวังจากฝนฟ้า แต่ถ้าฝนไม่ตก กปภ.ก็วางแผนรับมือไว้เป็นมาตรการสำรอง 3 ด้านหลักแล้ว ไล่ตั้งแต่ 1.การบรรทุกนํ้าจากแหล่งอื่นมาแจกจ่าย โดยนำนํ้าประปามาจากพื้นที่กปภ.สาขาใกล้เคียงที่ไม่ได้ประสบปัญหาภัยแล้ง  เป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าเนื่องจากไม่สามารถวางท่อส่งนํ้าได้ทันที 2.มาตรการเจาะบ่อบาดาลโดยการประปาส่วนภูมิภาค แต่ในส่วนนี้ก็หวังไม่ได้กับทุกพื้นที่เพราะเจาะแล้วอาจไม่มีนํ้าบาดาล หรือเป็นนํ้าเค็ม 3.หาแหล่งนํ้าจากภาคเอกชน หรือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่สามารถขอ หรือซื้อมาใช้ได้

สำหรับแหล่งนํ้าดิบที่กปภ.ใช้ผลิตนํ้าประปาส่วนใหญ่จะมาจาก 3 แหล่งหลัก คือ 1.แหล่งนํ้าดิบจากนํ้าผิวดิน แหล่งนํ้าจะมาจากอ่างเก็บนํ้า และทางนํ้าของกรมชลประทาน ในปริมาณนํ้าผลิต 627 ล้านลบ.ม. นํ้าจากผิวดินจากแหล่งนํ้าธรรมชาติ เช่นแม่นํ้า ลำคลอง ในปริมาณนํ้าผลิต 449 ล้านลบ.ม. และนํ้าผิวดินจากสระกักเก็บนํ้าของกปภ. ในปริมาณนํ้าผลิต 107 ล้านลบ.ม. และนํ้าผิวดินที่ซื้อจากเอกชนเป็นนํ้าดิบและนํ้าประปา ปริมาณนํ้าผลิต 391 ล้านลบ.ม.

 ทั้งนี้แหล่งกักเก็บนํ้าดิบที่กปภ.มีอยู่ในขณะนี้ยังมีข้อจำกัด เพราะเป็นลักษณะสระเก็บนํ้าดิบและอ่างเก็บนํ้าขนาดเล็ก  ใช้พื้นที่ราว 100-300 ไร่ ไว้สำหรับเป็นแหล่งนํ้าสำรองในฤดูแล้งปกติ ที่จะมาระยะสั้น 3-4 เดือน แต่ปีนี้ฤดูแล้งมีมากกว่าปกติ  และฝนมาช้า ปกติปลายเดือนพฤษภาคมฝนเริ่มตกแล้ว ขณะนี้รอลุ้นว่า เดือนสิงหาคมนี้ฝนจะตกหรือไม่  เมื่อตกแล้วจะมีปริมาณกักเก็บได้มากน้อยแค่ไหน ส่วนการใช้นํ้าจากแม่นํ้าสายสำคัญ หรือจากคลองชลประทาน บางแหล่งนํ้าดิบก็มีข้อจำกัด เนื่องจากมีการกำหนดโควตาว่าใช้สำหรับการประปา เกษตรกรรม และนํ้าเพื่ออุตสาหกรรม กลุ่มละกี่เปอร์เซ็นต์  มีการกำหนดสัดส่วนการใช้นํ้าจากแหล่งนํ้าดิบดังกล่าวไว้  ซึ่งปีนี้แหล่งนํ้าที่กปภ.สำรองไว้ก็ยังมีไม่เพียงพอ

2.แหล่งนํ้าบาดาล ปริมาณนํ้าผลิต 28 ล้านลบ.ม. 3.แหล่งนํ้าจากระบบRO หรือนํ้าทะเลผลิตเป็นนํ้าจืด(รวมซื้อนํ้า RO จากเอกชน) ปริมาณนํ้าผลิต 4 ล้านลบ.ม. รวมปริมาณนํ้าผลิตทั้งสิ้น 1.605 ล้านลบ.ม.

กระทบนํ้าดิบในรอบ 36 ปี

ผู้ว่าการกปภ.ยอมรับว่าวิกฤติภัยแล้งปีนี้รุนแรงและกระทบหลายพื้นที่ และรุนแรงที่สุด ถือว่าหนักใจ! เพราะกระทบประชาชน เป็นปัญหาระดับชาติ เป็นภาวะเอลนิโญ ที่ฝนตกล่าช้ากว่ากำหนด ขณะที่แหล่งนํ้าธรรมชาติที่เห็นนั้น เป็นการรองรับนํ้าฝนทั้งสิ้น แม้แต่แหล่งนํ้าของกรมชลประทานเองก็รองรับจากนํ้าฝนเหมือนกัน เราไม่มีนํ้าสำรองที่มาจากหิมะละลาย หรือจากป่าไม้ ที่เวลานี้ป่าไม้ของเราก็ถูกทำลายไปมาก จึงต้องพึ่งพานํ้าจากนํ้าฝนเป็นหลัก ถ้าเรากักเก็บนํ้าไม่เพียงพอก็ลำบากมาก

สุดท้ายผู้ว่าการกปภ.กล่าวสรุปถึงแผนการลงทุนของกปภ.ว่า แต่ละปีจะใช้งบลงทุนราว 1 หมื่นล้านบาท โดยงบลงทุนดังกล่าวมาจากรายได้ของกปภ., เงินกู้ และมาจากเงินอุดหนุนจากรัฐบาลประมาณ 10%  โดยงบลงทุนส่วนใหญ่ใช้สำหรับการปรับปรุงขยายกำลังผลิตนํ้าประปาให้ทันต่อความต้องการใช้ของประชาชน ที่มีสัดส่วนสูงถึง 80% ที่เป็นผู้ใช้นํ้าประปาเพื่ออยู่อาศัย  จากที่ปัจจุบันกปภ.มีกำลังผลิตนํ้าประปาราว 4.7-5 ล้านลบ.ม.ต่อวัน และใช้ลงทุนสำหรับปรับปรุงแหล่งนํ้าในพื้นที่เก่าและในพื้นที่ใหม่ตามโครงการพัฒนาแหล่งนํ้าของกปภ. รวมถึงการลงทุนวางท่อขยายเขตจากเส้นท่อในจังหวัดไปสู่อำเภอไปสู่หมู่บ้าน ซึ่งในส่วนนี้ในแต่ละปีต้องใช้เงินลงทุนเป็นพันล้านบาทขึ้นไป โดยยอมรับว่าเวลานี้งบประมาณที่ได้รับจากรัฐบาลยังมีน้อยมาก หากภาครัฐจัดสรรให้มากกว่า 10%  ก็จะเป็นเรื่องที่ดีเพราะเป็นงานบริการภาคประชาชนครอบคลุมหลายพื้นที่ และเป็นงานระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน แต่ที่ผ่านมาภาครัฐกลับมองว่ากปภ.เป็นรัฐวิสาหกิจที่ต้องช่วยเหลือตัวเองก่อน

จาก http://www.thanonline.com  วันที่ 23 กรกฎาคม 2558

ธปท.จับตาค่าบาท

ธปท.จับตาเงินบาทอ่อนค่าเร็วใกล้ชิด ชี้อาจสร้างความผันผวน และเป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวของภาคเศรษฐกิจ

นางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ช่วงสัปดาห์นี้เงินบาทอ่อนค่าไปค่อนข้างเร็ว หรือ 2% เมื่อเทียบกับอัตราปิดสัปดาห์ก่อน จากปัจจัยทั้งภายในและนอกประเทศ

ทั้งนี้ธปท.จะจับตาภาวะตลาดอย่างใกล้ชิด เพราะแม้ว่าเงินบาทอ่อนค่า ยังมีความจำเป็นที่จะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจฟื้นตัวขึ้นได้ แต่หากอ่อนค่ารวดเร็วเกินไป อาจสร้างความผันผวน และเป็นอุปสรรคต่อการปรับตัวของภาคเศรษฐกิจจริงในระยะนี้ได้

ทั้งนี้ปัจจัยในประเทศ ที่ทำให้บาทอ่อนค่า คาดว่ามาจากความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจไทย ทั้งจากผลกระทบของภัยแล้ง และข่าวงแผนการลงทุนภาครัฐที่ล่าช้า ซึ่งนักวิเคราะห์หลายสำนัก ได้ปรับลดการคาดการณ์เศรษฐกิจไทยปีนี้ลง ทำให้ผู้ร่วมตลาดคาดการณ์ว่าเศรษฐกิจทายจะอ่อนแอลงกว่าที่คาดไว้ในช่วงครึ่งปีหลังนี้

ขณะที่นักลงทุนต่างประเทศปรับฐานะการถือครองสินทรัพย์ในประเทศไทยออกไปบ้าง รวมทั้งมีแรงซื้อจากกลุ่มผู้นำเข้า ที่เร่งตัวขึ้นบ้าง จากช่วงก่อนหน้านี้

แต่อย่างไรก็ดี ธปท. ยังไม่พบความผิดปกติของการเก็งกำไรค่าเงินส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ การคาดการณ์ว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) น่าจะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายได้ภายในปีนี้ จากความเห็นของกรรมการของเฟดบางคน และตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่ประกาศออกมาดี

นอกจากนี้ ยังมีผลของราคาทองคำในตลาดโลกที่ปรับลดลงมาต่ำกว่าออนซ์ละ 1,100 ดอลลาร์สหรัฐฯ ทำให้มีความต้องการซื้อทองคำเพิ่มขึ้น ส่งผลต่อความต้องการซื้อดอลลาร์เช่นกันอย่างไรก็ดี นับแต่ต้นปี เงินบาทยังอ่อนค่าลงสอดคล้องกับเงินสกุลภูมิภาคที่อ่อนค่าลงเช่นกัน แต่ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เงินบาทอาจจะอ่อนค่ามากกว่าเงินสกุลอื่น ๆ ไปบ้าง ซึ่งส่วนใหญ่อ่อนค่าสัปดาห์นี้ช่วง 0.3-1.5%

จาก http://www.dailynews.co.th   วันที่ 23 กรกฎาคม 2558

หอการค้าจี้รัฐกระตุ้น ศก.

ายสมเกียรติ อนุราษฎร์ รองประธานกรรมการหอการค้าไทย เปิดเผยว่า รัฐบาลต้องออกมาตรการเร่งด่วนในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยเน้นการแก้ปัญหารายได้ของเกษตรกร เช่น ให้เงินชาวนาไร่ละ 1,000 บาทตามที่เกษตรกรเสนอ เพื่อชดเชยผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งจนไม่สามารถทำนาได้

เนื่องจากการช่วยเหลือชาวนาซึ่งเป็นกลุ่มระดับรากหญ้าก็จะช่วยกระตุ้นภาคการบริโภคภายในประเทศเป็นอย่างดี เพราะเงินที่ได้มาส่วนใหญ่ก็จะนำไปใช้จ่ายในด้านต่างๆ อย่างรวดเร็ว และทำให้เกิดเม็ดเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ 2-3 รอบ

“มาตรการที่เห็นผลเร็วที่สุดคือการช่วยเหลือชาวนาซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลก็ได้ช่วยในลักษณะนี้คือจ่ายเงินไม่เกินไร่ละ 1,000 บาทแต่ไม่เกินครอบครัวละ 15,000 บาท เป็นเงินรวม 40,000 ล้านบาท ซึ่งหากเม็ดเงินหมุนเวียน 2-3 รอบก็จะคิดเป็นเงิน 80,000 – 120,000 ล้านบาทที่จะเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจ ดังนั้นหากฟื้นกำลังซื้อในภูมิภาคได้ก็จะทำให้ภาคอื่นๆมีความมั่นใจตามมาด้วย”

นายนพพร เทพสิทธา ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย กล่าวว่า มาตรการเร่งด่วนที่รัฐบาลต้องเข้ามาแก้ปัญหาตอนนี้คือการเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าเกษตรตกต่ำและผลกระทบจากภัยแล้ง

เนื่องจากกลุ่มคนนี้มีความเดือดร้อนมากจากปัญหาการขาดสภาพคล่องทางการเงิน ดังนั้นแนวทางดำเนินการต้องเพิ่มโครงการการจ้างงานในท้องถิ่นตามหมู่บ้านต่างๆ ซึ่งจะช่วยให้ชาวบ้านมีรายได้เป็นการชดเชยรายได้จากการทำเกษตรกรรมที่หดหายไป

“รัฐบาลต้องเร่งดำเนินการอะไรสักอย่างไม่เช่นนั้นคนเหล่านี้ก็ไม่มีกินเพราะเขาเดือดร้อนจริงๆ ซึ่งหากรัฐไม่มีเงินในโครงการจ้างงานก็จำเป็นต้องกู้ เพื่อให้เกษตรกรมีงานทำและมีรายได้ในการจับจ่ายใช้สอยต่อไป

จาก http://www.dailynews.co.th   วันที่ 23 กรกฎาคม 2558

กษ. เตรียมตั้งจุดตรวจสินค้าเกษตรส่งออก

"ปีติพงศ์" เผยกระทรวงเกษตรฯ จัดตั้งจุดให้บริการตรวจสอบรับรองสินค้าเกษตรส่งออกพร้อมเปิดให้บริการเดือนตุลาคมนี้

นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในระหว่างพิธีร่วมลงนาม MOU ระหว่าง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับ บริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด ว่า รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับสายการบินไทยแอร์เอเชีย ได้จัดตั้งศูนย์บริการส่งออกสินค้าเกษตรแบบเบ็ดเสร็จ เพื่อพัฒนาระบบบริการขนส่งสินค้าทางอากาศที่รวดเร็วเพื่อสนับสนุนการส่งออกสินค้าภาคการเกษตรไปสู่ตลาดอาเซียนและตลาดโลก ซึ่งจะเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันของผู้ประกอบการ

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรจะจัดตั้งจุดให้บริการตรวจสอบรับรองสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก จาก 3 หน่วยงาน ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร กรมประมง และกรมปศุสัตว์ ให้การรับรองสินค้าเกษตรด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ รวมที่ศูนย์บริการส่งออกสินค้าเกษตรแบบเบ็ดเสร็จที่จุดเดียว ขณะเดียวกันกระทรวงเกษตรฯ จะทำการเชื่อมต่อระบบผลการตรวจสอบรับรองจากห้องปฏิบัติการของแต่ละหน่วยงานให้สามารถออกใบรับรองส่งออกได้ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง ซึ่งสามารถออกใบรับรองได้ประมาณ 2-3 วัน ตามชนิดสินค้า สำหรับบริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด จะสนับสนุนการปรับปรุงอาคารคลังสินค้าให้รองรับการจัดตั้งศูนย์บริการฯ และระบบสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งบุคลากรสนับสนุนการทำงาน โดยหลังจากการลงนามคาดว่าการจัดตั้งศูนย์บริการฯ จะเสร็จและพร้อมเปิดให้บริการประมาณเดือนตุลาคมนี้

จาก http://www.innnews.co.th   วันที่ 23 กรกฎาคม 2558

ภัยแล้งทุบธุรกิจการเกษตรอ่วม!‘บิ๊กตู่’สั่งมหาดไทยฉีดงบจ้างงาน

ภัยแล้งทุบธุรกิจปุ๋ยคาดปีนี้ยอดหดกว่า 1.6 หมื่นล้าน กระทบหนักรอบกว่า 10 ปี ร้านขายปุ๋ยภาคอีสานระบุแม้ลดราคาปุ๋ย 11 สูตรแล้วก็ไม่ช่วย ด้านตลาดเมล็ดพันธุ์โดนด้วย ด้าน200 รง.ฟอกย้อมขอใช้น้ำบาดาลแก้วิกฤติ  สั่งมหาดไทยดึงงบปภ.จังหวัดจ้างงาน กรมชลฯไฟเขียวส่งน้ำช่วยนาข้าวตั้งท้อง1.36ล้านไร่

    นายเปล่งศักดิ์  ประกาศเภสัช นายกสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจเกษตรไทย เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า จากวิกฤติภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วงนานผิดปกติที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ได้ส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการธุรกิจปุ๋ยเคมีอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ โดยจากในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ไทยมีการนำเข้าแม่ปุ๋ยเคมีทั้งไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม รวมถึงธาตุอาหารอื่น ๆ เฉลี่ย 5.4-5.7 ล้านตันต่อปี คาดปีนี้จะลดลงเหลือไม่เกิน 4.8 ล้านตัน หรือลดลงต่ำสุดในรอบกว่า 10 ปี

    "ไทยเคยนำเข้าปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศในบางปีสูงสุดกว่า 7 หมื่นล้านบาท ในปีนี้คาดจะลดลงเหลือราว 5.4 หมื่นล้านบาท หรือลดลงกว่า 1.6 หมื่นล้านบาท เนื่องจากเกษตรกรขาดแคลนน้ำในการทำการเกษตร ทำให้ปุ๋ยได้รับผลกระทบด้วย ซึ่งแม้เวลานี้ราคาปุ๋ยในตลาดโลกจะลดลงมาตามราคาน้ำมัน แต่ทั้งปีนี้ก็ยังไม่น่าฟื้น เพราะจากฝนที่มาช้า ทำให้ระยะเวลาการทำนาของเกษตรกรจะสั้นลง และการใช้ปุ๋ยก็จะลดลง ซึ่งจากจำนวนสมาชิกของสมาคม 44 ราย มีส่วนแบ่งตลาดกว่า 70% คาดปีนี้ยอดขายในภาพรวมจะลดลง บางรายอาจมีโปรโมชัน ลดแลกแจกแถมขึ้นกับนโยบายแต่ละบริษัท"

    แหล่งข่าวจากร้านค้าส่งปุ๋ยเคมีรายใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่าถึงสถานการณ์การขายปัจจัยการผลิตเกษตรปีนี้ย่ำแย่กว่าปีที่แล้ว เพราะได้รับผลกระทบจากชาวนาโดยตรง แม้ว่าราคาปุ๋ยจะปรับลดลงตามที่รัฐบาลขอความร่วมมือตั้งแต่วันที่ 16 เมษายน-30 พฤศจิกายน 2558 ได้แก่ ปุ๋ยเคมีที่ใช้ในนาข้าว จำนวน 4 สูตร เช่น1. ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ,สูตร 16-20-0 (50 กก.)จะปรับลดลดลง 40-50 บาท/กระสอบ และปุ๋ยเคมีที่ใช้กับพืชชนิดอื่นอีก 7 สูตร อาทิ  ยางพารา ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย และผลไม้ อาทิ สูตร 18-4-5 ,สูตร 14-4-9 จะปรับลดลง 25-50 บาท/กระสอบก็ตาม

    "แม้ทางร้านพยายามหาของแจกฟรีจากบริษัทผู้ผลิตเพื่อดึงลูกค้า แต่คาดการณ์ว่าคงไม่มีผล เนื่องจากชาวนาไม่มีเงิน ไม่มีน้ำทำนา จากปกติทุกปีที่ผ่ามาเปิดฤดูกาลทำนา สารกำจัดวัชพืชจะขายดีมาก แต่ปีนี้ตรงกันข้าม  กำลังซื้อในจังหวัดลดลงมาก"

    ด้านนายพาโชค  พงษ์พานิช กรรมการบริหาร สมาคมการค้าเมล็ดพันธุ์ไทย กล่าวเช่นกันว่าตลาดเมล็ดพันธุ์ของไทย ทั้งเมล็ดพันธุ์พืชไร่ พืชสวน พืชผัก  และอื่นๆ (ไม่รวมเมล็ดพันธุ์ข้าว)ในภาพรวมการซื้อขาย และการใช้เมล็ดพันธุ์ปีนี้จะปรับตัวลดลง จากในแต่ละปีตลาดเมล็ดพันธุ์ในประเทศ รวมถึงการส่งออกเมล็ดพันธุ์ของไทยจะมีมูลค่ารวมเกือบ 1 หมื่นล้านบาท  (แยกเป็นตลาดในประเทศ 4-5 พันล้านบาท และส่งออกประมาณ 5 พันล้านบาท)

    ทั้งนี้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดอาหารสัตว์ถือเป็นตลาดเมล็ดพันธุ์ที่มีมูลค่ามากที่สุด โดยในแต่ละปีตลาดในประเทศตกประมาณ 3 พันล้านบาท 

    คาดปีนี้การใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดของเกษตรกร และยอดขายของผู้ประกอบการจะลดลงประมาณ 20-30%  หรือเหลือมูลค่า 2.1-2.4 พันล้านบาท

    สอดรับกับนายปิลันธน์  ธรรมมงคล ที่ปรึกษา และอดีตนายกสมาคมอุตสาหกรรมฟอกย้อม พิมพ์ และตกแต่งสิ่งทอไทย ที่กล่าวว่า อุตสาหกรรมฟอกย้อมได้รับผลกระทบจากภัยแล้งเช่นกัน โดยในรายที่น้ำประปาไม่เพียงพอใช้ในกระบวนการผลิตต้องใช้น้ำบาลดาลช่วย ทั้งนี้ที่ผ่านมาโรงงานฟอกย้อมส่วนใหญ่มีการเจาะบ่อน้ำบาดาลเพื่อใช้เป็นน้ำสำรอง ก่อนที่รัฐบาลในอดีตจะมีนโยบายอนุรักษ์น้ำในดินก็ได้ทยอยปิดเหลือสำรองไว้ใช้กรณีฉุกเฉินน้ำประปาไม่เพียงพอ 1-2 บ่อต่อโรงงาน ซึ่งเวลานี้ก็มีความจำเป็นต้องนำน้ำบาดาลมาใช้แล้ว

    ล่าสุดพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)กล่าวว่ารัฐบาลได้กำหนดให้การบริหารจัดการน้ำเป็นวาระแห่งชาติ เป็นการวางแผนให้ประเทศไทยไม่ขาดน้ำจนถึงปี 2569 การดำเนินการต่างๆ กำหนดไว้เป็นขั้นตอนตามช่วงระยะเวลา โดยช่วงแรกระหว่างปี 2557-2559 ตั้งเป้าหมายดำเนินการ 12 กิจกรรม ทั้งการหาแหล่งน้ำเพิ่ม การทำระบบส่งน้ำ การขุดลอกคูคลอง การทำแก้มลิง ทำบ่อขนมครก การขุดบ่อน้ำในไร่นา การขยายอ่างเก็บน้ำให้เพิ่มความจุ โดยใช้งบประจำปี และอาจมีงบเงินกู้เล็กน้อย ที่เตรียมไว้ราวกว่า 3 หมื่นล้านบาท 

    ทั้งนี้หากสามารถดำเนินการได้ครบก็จะทำให้ไทยมีพื้นที่การเกษตรเพิ่มขึ้น ระบบชลประทานเพิ่มขึ้น และระยะยาวต้องมาหารือว่าจะใช้น้ำระหว่างประเทศได้อย่างไร ซึ่งคงต้องใช้งบประมาณที่สูงมาก โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษา ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่าย วันนี้มีการขุดบ่อไป 5-6 พันบ่อ แต่ฝนไม่ตก

    สำหรับมาตรการความช่วยเหลือเกษตรกรในระยะที่ 1 ซึ่งจะทำให้แล้วเสร็จโดยเร็วสิ่งแรกคือการจ้างงานเร่งด่วน ซึ่งกระทรวงมหาดไทยจะรับไปดำเนินการในทุกจังหวัด โดยใช้งบประมาณของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) ซึ่งแต่ละจังหวัดมีงบส่วนนี้อยู่ 10 ล้านบาท ทั้งในภาคเหนือ ภาคอีสานและภาคกลางเพื่อการจ้างงาน หากไม่พอรัฐบาลก็จะหาเงินอุดหนุนให้ ซึ่งจะรีบดำเนินการให้เร็วที่สุดเพื่อให้ทุกคนมีเงินใช้

    ส่วนมาตรการที่ 2 ได้มอบหมายให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีงบอยู่แล้วไปดูแลการปลูกพืชทางการเกษตรหรือพืชหมุนเวียนการเกษตร เพื่อทดแทนกรณีที่ปลูกข้าวไม่ได้ รวมกับงบจ้างงานของกรมชลประทาน โดยจะเดินไปควบคู่กัน ซึ่งการแก้ปัญหาในจุดนี้อาจจะมีปัญหาเรื่องข้าว และพืช ผัก ผลไม้ จึงจำเป็นที่จะต้องดูแลการใช้จ่ายน้ำให้ทั่วถึง โดยคสช.จะลงไปดูแล และชี้แจงรายละเอียดให้ทราบอีกครั้ง ทั้งนี้ ขอร้องว่าให้เห็นใจทหารที่ลงพื้นที่ไปดูแล ระยะต่อไปคือเตรียมดูแลความเสียหายที่เกิดขึ้น ขอร้องประชาชนอย่าตื่นตระหนกมากนักพร้อมยืนยันว่ารัฐบาลดูแลทุกส่วน

    นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ได้รายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงสถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลักในลุ่มเจ้าพระยาที่เริ่มมีปริมาณน้ำเพิ่มมากขึ้น และสามารถนำน้ำมาช่วยเหลือภาคเกษตรได้แล้ว ดังนั้นจะได้จัดลำดับความสำคัญของพื้นที่ให้การช่วยเหลือตามความจำเป็นเร่งด่วนลำดับแรก คือ พื้นที่นาที่ข้าวในลุ่มเจ้าพระยาที่กำลังตั้งท้องหรือมีอายุมากกว่า 8 สัปดาห์ ประมาณ 1.36 ล้านไร่ ถัดมาพื้นที่นาที่ข้าวมีอายุมากกว่า 6 สัปดาห์ แต่ไม่ถึง 8 สัปดาห์จำนวน 1.25 ล้านไร่ โดยพื้นที่นี้มีโอกาสที่ข้าวจะรอดถ้าฝนมาตามฤดูกาล และสุดท้ายคือ พื้นที่นาข้าวที่มีอายุไม่ถึง 6 สัปดาห์ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 1.7 แสนไร่ โดยการจัดสรรน้ำดังกล่าวเพื่อลงไปช่วยเหลือพื้นที่นาข้าวในลุ่มเจ้าพระยานั้นจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่วันที่ 22 กรกฎาคมเป็นต้นไป

จาก http://www.thanonline.com  วันที่ 23 กรกฎาคม 2558

รายงานพิเศษ : ภัยแล้งฉุดภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไทย ติดลบสูงสุดในรอบ36ปี

จากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นและมีแนวโน้มรุนแรงต่อเนื่องยาวนาน ได้ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจการเกษตรไทยในภาพรวม โดยเฉพาะภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในช่วงครึ่งแรกของปี 2558 พบสัญญาณติดลบสูงสุดในรอบ 36 ปี

นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า จากปัจจัยภายในประเทศเรื่องสภาพดินฟ้าอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่งผลให้ไทยเผชิญกับปัญหาภัยแล้งมาตั้งแต่ปลายปี 2557 ต่อเนื่องถึงปัจจุบัน ทำให้ภาครัฐต้องขอความร่วมมือให้ชาวนางดการทำนาปรังและให้เลื่อนการทำนาปีของเกษตรกรในลุ่มน้ำเจ้าพระยาออกไปประกอบกับปัจจัยภายนอกในช่วง 5 เดือนแรกที่ผ่านมาของปี 2558 พบว่า มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์ชะลอตัวลงถึง ร้อยละ9.4 เนื่องมาจากประเทศคู่ค้าภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกา ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่ลดลงทำให้ชะลอการนำเข้าสินค้าเกษตรจากไทย ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจการเกษตรในช่วงครึ่งแรกของปี 2558 หดตัวหรือติดลบร้อยละ 4.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2557 โดยครึ่งปีแรกของปี 2557 มูลค่าจีดีพีภาคเกษตรอยู่ที่ 212,374 ล้านบาท ส่วนครึ่งปีแรกของปี 2558 อยู่ที่ 203,454 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่าที่ลดลงร้อยละ 4.2 และคาดว่าแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจการเกษตรทั้งปี 2558 จะติดลบอยู่ในช่วงร้อยละ (-4.3) – (-3.3) จากปี 2557 ที่มีมูลค่า 422,453 ล้านบาท คาดว่าจะลดลงเหลือ 406,400 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นภาวะเศรษฐกิจการเกษตรที่ติดลบหนักสุดในรอบ 36 ปี ทั้งนี้ คิดจากราคาปีฐาน 2531

ทั้งนี้ เนื่องจากสาขาพืช ในช่วงครึ่งแรกของปีนี้หดตัวร้อยละ 7.3 จากการลดลงของผลผลิตพืชสำคัญ ได้แก่ ข้าวนาปรัง ในเขตพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาและแม่กลองที่มีเนื้อที่เพาะปลูกและผลผลิตที่ลดลงจากปัญหาภัยแล้ง ส่วนสับปะรดโรงงานลดลงจากสภาพอากาศที่แห้งแล้งทำให้ต้นไม่สมบูรณ์จึงไม่ให้ผลผลิต ยางพาราลดลงจากน้ำยางในภาคอีสานที่ลดลงจากภัยแล้งและการตัดโค่นพื้นที่สวนยางพาราเก่า ปาล์มน้ำมันลดลงจากจำนวนทะลายที่ลดลงเพราะอากาศร้อนและขนาดทะลายเล็กเพราะจั่นมีเกสรตัวผู้มากกว่าตัวเมีย และผลไม้ที่ลดลง ได้แก่ ทุเรียน มังคุด และเงาะ เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนจึงไม่ติดดอกออกผลเท่าที่ควร พืชที่ผลผลิตเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวนาปีภาคใต้ มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากพื้นที่เพาะปลูกที่เพิ่มขึ้น ลำไยนอกฤดูเพิ่มขึ้นจากผลผลิตในภาคกลางทยอยออกสู่ตลาด

พืชที่ราคาเพิ่มขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง สับปะรดโรงงาน ปาล์มน้ำมัน ทุเรียน มังคุด และเงาะ ส่วนพืชที่มีราคาลดลง ได้แก่ ยางพารา อ้อยโรงงาน และลำไย ทั้งนี้ การส่งออกในช่วง 5 เดือนที่ผ่านมา พบว่า มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์ ลำไยและผลิตภัณฑ์ มีปริมาณและมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้น ขณะที่การส่งออกข้าวรวม ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยางพารา น้ำมันปาล์ม ทุเรียนและผลิตภัณฑ์ มีปริมาณและมูลค่าส่งออกลดลง ส่วนการส่งออกน้ำตาลและผลิตภัณฑ์มีปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นแต่มีมูลค่าส่งออกลดลง และการส่งออกสับปะรดและผลิตภัณฑ์มีปริมาณส่งออกลดลงแต่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น

สาขาบริการทางการเกษตรเป็นอีกสาขาที่ในช่วงครึ่งแรกของปี หดตัวร้อยละ 6.6 เนื่องจากผลกระทบจากการจ้างบริการเตรียมดิน ไถพรวนดิน และการให้บริการเกี่ยวนวดข้าวลดลงตามพื้นที่เพาะปลูกและเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังที่ลดลง รวมทั้งการงดทำนาปีในพื้นที่เขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา22 จังหวัดในช่วงเดือนพฤษภาคม– มิถุนายน 2558

ขณะที่สาขาอื่นมีการขยายตัว ประกอบด้วย สาขาปศุสัตว์ขยายตัวร้อยละ 2.1 จากสินค้าปศุสัตว์สำคัญทั้งไก่เนื้อ สุกร ไข่ไก่ และน้ำนมดิบที่ขยายการเลี้ยง โดยราคาในปีที่ผ่านมาอยู่ในเกณฑ์ดีจากความต้องการของตลาดต่างประเทศ และมีความเชื่อมั่นในระบบการจัดการฟาร์มที่ได้มาตรฐานและมีการเฝ้าระวังและควบคุมโรคได้ดี ส่งผลให้ราคาไก่เนื้อ สุกร และไข่ไก่ ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาลดลงเล็กน้อยตามผลผลิตที่ออกสู่ตลาดมากขึ้น สำหรับการส่งออกเนื้อไก่ และผลิตภัณฑ์มีปริมาณและมูลค่าเพิ่มขึ้นทั้งไก่สดแช่เย็นแช่แข็งและเนื้อไก่ปรุงแต่ง ขณะที่ปริมาณและมูลค่าการส่งออกเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ลดลง

สาขาประมงขยายตัวร้อยละ 2.2 จากผลผลิตกุ้งทะเลเพาะเลี้ยงที่เพิ่มขึ้นหลังการฟื้นตัวจากปัญหาโรค EMS ส่วนสัตว์ทะเลขึ้นท่าเทียบเรือ

 ในภาคใต้ลดลงจากการยกเลิกสัมปทานประมงในน่านน้ำประเทศอินโดนีเซีย และผลผลิตประมงน้ำจืด เช่น ปลานิล และปลาดุกเพิ่มขึ้นจากการเร่งจับปลาเพื่อเลี่ยงปัญหาภัยแล้ง สำหรับราคากุ้งขาว แวนนาไมขนาด 70 ตัวต่อกิโลกรัม ลดลงร้อยละ 20.9 จากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น ขณะที่การส่งออกปลาและผลิตภัณฑ์ ปลาหมึกและผลิตภัณฑ์มีปริมาณและมูลค่าส่งออกลดลง ส่วนกุ้งและผลิตภัณฑ์มีปริมาณส่งออกเพิ่มขึ้นแต่มีมูลค่าลดลง

สาขาป่าไม้ขยายตัวร้อยละ 3.5 จากผลผลิตป่าไม้ที่สำคัญ ได้แก่ ไม้ยางพาราที่เพิ่มขึ้นตามพื้นที่ตัดโค่นสวนยางพาราเก่าของสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง (สกย.) ขณะที่ไม้ยูคาลิปตัสเพิ่มขึ้นตามความต้องการใช้กระดาษทั้งในและต่างประเทศส่วนน้ำผึ้งขยายตัวเพิ่มขึ้นจากสภาพอากาศที่ค่อนข้างเอื้ออำนวยและการเร่งผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดต่างประเทศ และถ่านไม้มีขยายตัวเล็กน้อยตามธุรกิจภัตตาคารและร้านอาหารจากการขยายตัวของการท่องเที่ยวและวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้นจากกิ่งก้านของไม้ยางพาราและไม้ยูคาลิปตัสที่ตัดโค่น

นายเลอศักดิ์กล่าวเพิ่มเติมว่า อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีหลัง ยังคงต้องเฝ้าติดตามและประเมินสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงอย่างใกล้ชิด

 เพื่อหามาตรการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าบรรเทาความเดือดร้อนแก่เกษตรกร ที่สำคัญยังต้องติดตามภาวะเสี่ยงฟองสบู่แตกของเศรษฐกิจจีน หลังดัชนีตลาดหลักทรัพย์จีนหดตัวลงกะทันหัน รวมถึงสัญญาณความซบเซาของตลาดอสังหาริมทรัพย์จากการหดตัวของการบริโภคภายในประเทศจีน ซึ่งอาจส่งผลกระทบประเทศไทย

นี่คือปรากฏการณ์ผลกระทบจากภัยธรรมชาติ ที่ส่งผลต่อภาวะเศรษฐกิจการเกษตรของไทยอย่างชัดเจน ดังนั้น เกษตรกรควรปรับตัวเพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่มีแนวโน้มว่าจะรุนแรงมากขึ้น

จาก http://www.naewna.com วันที่ 23 กรกฎาคม 2558

รายงานพิเศษ: คลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ เข้าถึง เข้าใจเกษตรกร   

          การจัดตั้งคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามกุฎราชกุมาร เป็นวิธีการหนึ่งที่สามารถทำให้การถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรแก่เกษตรกรระดับรากหญ้าและให้คำแนะนำช่วยเหลือแก้ไขปัญหาการเกษตรของเกษตรกรในพื้นที่บรรลุผลสำเร็จ เนื่องจากเป็นช่องทางที่สามารถให้บริการตรงตามความต้องการและ ทันต่อเหตุการณ์ การดำเนินงานคลินิกเกษตรเป็นการบูรณาการวิชาการแต่ละสาขา ทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง พัฒนา ที่ดิน ฯลฯ โดยใช้การเคลื่อนที่เข้าไปหาเกษตรกร สร้างแรงดึงดูดใจและการกระตุ้นให้เกษตรกรตื่นตัว ยอมรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาของเกษตรกร

          นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า กระทรวงเกษตรฯ ได้ดำเนินการโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ ตั้งแต่ปี 2545 เพื่อให้งานวิจัยพัฒนาและงานบริการจัดการไร่นา สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และช่วยแก้ไขปัญหาอุปสรรคให้เกษตรกร ได้อย่างรวดเร็วทันเหตุการณ์ ตลอดจนเพื่อสร้างและพัฒนาความร่วมมือระหว่างหน่วยงานวิชาการหน่วยงานส่งเสริมและศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล โดยดำเนินงานในรูปแบบการบูรณาการนักวิชาการแต่ละสาขา ทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ประมง ดิน ชลประทาน กฎหมาย และบัญชีฯลฯ โดยอาศัยเครื่องมืออุปกรณ์เข้าช่วยในการปฏิบัติงานและจากผลการดำเนินงานตามโครงการดังกล่าว ทำให้การบริการทางวิชาการและถ่ายทอดเทคโนโลยีบรรลุผลสำเร็จ สามารถกระตุ้นให้เกษตรกรเกิดการตื่นตัวและยอมรับนวัตกรรมใหม่ ๆ ได้ กว้างขวางมากขึ้น

          การดำเนินการให้บริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ฯ ได้ดำเนินการในจังหวัดต่าง ๆ ทั่วประเทศอย่างต่อเนื่องจังหวัดละอย่างน้อยปีละ 4 ครั้ง โดยให้บริการหมุนเวียนไปตามตำบล และอำเภอต่าง ๆ โดยมีเกษตรกรที่สนใจเข้าร่วมรับบริการเกือบ 3 ล้านราย ตั้งแต่ปี 2546 ถึงปัจจุบัน ในปีงบประมาณ 2558 มีเกษตรกรมาลงทะเบียนร่วมงานจำนวน 82,283 ราย โดยมีเกษตรกรเข้ารับบริการคลินิกเกษตรต่าง ๆ จำนวน 54,172 ราย (เกษตรกร 1 ราย เข้ารับบริการมากกว่า 1 คลินิก) สามารถแก้ปัญหาเสร็จสิ้น 51,374 ราย เจ้าหน้าที่ต้องเข้าไปติดตามแก้ไขปัญหาต่อเนื่อง จำนวน 2,798 ราย โดยเน้นให้บริการทางคลินิกพืช ข้าว ดิน ปศุสัตว์ ประมง ชลประทาน บัญชี สหกรณ์ กฎหมาย ยางพารา และคลินิกตรวจสารพิษในร่างกาย

          เกษตรกรพึงพอใจโครงการแก้ปัญหาการเกษตรได้จากการติดตามประเมินผลโครงการ พบว่า เกษตรกรเข้ารับบริการร้อยละ 98.30 อยากให้มีการจัดคลินิกในพื้นที่อย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี ร้อยละ 68.86 พึงพอใจต่อการให้บริการของเจ้าหน้าที่ แต่ยังมีเกษตรกรอีกร้อยละ 28.45 ยังมีปัญหาด้านเกษตรกรที่ต้องการให้มีการแก้ไขอยู่ เช่น ปัญหาเรื่องดิน โรคพืช แมลงศัตรูพืชเอกสารสิทธิ์ นอกจากนี้ยังพบปัญหาใหม่อีกร้อยละ 48.25 เช่นโรคพืช โรคสัตว์ ตามฤดูกาล

          คลินิกเกษตรกรเคลื่อนที่ฯ ระดับประเทศ 28 ก.ค. นี้

          นอกจากการจัดงานคลินิกเกษตรเคลื่อนฯ ระดับจังหวัดแล้ว ในวันที่ 28 กรกฎาคม 2558 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีมติให้จัดงานโครงการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ในพระราชานุเคราะห์ฯ เพื่อเทิดพระเกียรติระดับประเทศ เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โดยจังหวัดที่ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนในภูมิภาคต่าง ๆ ในการจัดงานครั้งนี้ ประกอบด้วย จังหวัดลำพูน จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดนครพนม และจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งคาดว่าจะมีเกษตรกรและผู้สนใจจากอำเภอต่าง ๆ ภายในจังหวัดเป้าหมายและจังหวัดใกล้เคียงเข้ารับการบริการไม่น้อยกว่า 5,000 คน โดยในงานจะมีพิธีกล่าวถวายพระพรลงนามถวายพระพร นิทรรศการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร เปิดบริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ นิทรรศการทางวิชาการ การประกวดผลผลิตทางการเกษตร การฝึกอาชีพ เป็นต้น

          แนะเกษตรกรใช้น้ำอย่างประหยัด

          สำหรับกิจกรรมการให้บริการคลินิกเกษตรกร ในปี 2558 จะเน้นปัญหาในพื้นที่ ซึ่งขณะนี้เกษตรกรในหลายพื้นที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำสำหรับการทำเกษตร ทำนา จึงกำหนดให้ทุกหน่วยงานเน้นการให้บริการคลินิกเกษตรเกี่ยวกับ การใช้น้ำอย่างประหยัดคุ้มค่าและให้เหมาะสมกับพืชชนิดนั้น ๆ เช่น แนะนำให้เกษตรกรมีการวางแผนการผลิต การปลูกพืชใช้น้ำน้อย เพื่อให้เกิดรายได้และปรบปรุงบำรุงดิน ผ่านคลินิกต่าง ๆ อาทิคลินิกพืช คลินิกข้าว คลินิกดิน บริการให้คำปรึกษาตรวจวิเคราะห์ดิน โดยมีเครื่องมือทดสอบธาตุอาหารพืชประจุบวก-ลบ เครื่องมือวัดความเป็นกรด-ด่าง (pH meter) การทำปุ๋ยหมัก คลินิกปศุสัตว์ ได้จัดกิจกรรมการบริการผ่าตัดทำหมันสุนัข-แมว การประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์หันมาให้การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ด้วยวิธีผสมเทียม การให้บริการให้คำปรึกษาด้านการเลี้ยงและดูแลสัตว์เลี้ยง และแจกจ่ายเวชภัณฑ์สัตว์ คลินิกประมง บริการให้คำปรึกษา ตรวจวิเคราะห์คุณภาพน้ำในการเพาะเลี้ยง และคลินิกอื่น ๆ เช่น คลินิกจักรกลการเกษตร ให้คำแนะนำปรึกษาด้านเครื่องกลการเกษตร การซ่อมบำรุงเครื่องยนต์ขนาดเล็ก การให้กับน้ำกับพืช คลินิกบริหารศัตรูพืช ให้บริการเกี่ยวกับการป้องกันกำจัดศัตรูพืชโดยชีววิธี เป็นต้น

          นอกจากนี้ ในแต่ละจังหวัดมีการจำหน่ายผลิตภัณฑ์โดยกลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จำหน่ายแก่เกษตรกรและผู้เข้าร่วมงาน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน รวมถึงจัดการประกวดผลผลิตทางการเกษตรในแต่ละภูมิภาค อาทิ ประกวดลำไยพันธุ์ดอ กล้วยน้ำว้าแก่จัด  มะพร้าวน้ำหอม สับปะรดปัตตาเวียผลสด ฟักทองจัมโบ้ ปาล์มน้ำมัน การปลูกผักสวนครัวในภาชนะ สะตอข้าว มังคุด และการแข่งขันประเภทต่าง ๆ เช่น แข่งขันการกรีดยาง การคัดมังคุด ส้มตำลีลา ขันโตก (อาหารพื้นเมือง) พาเว็น (สำรับอาหารกลางวันของภาคอีสาน) เป็นต้น

          จะเห็นว่าในแต่ละปีมีเกษตรกรสนใจเข้ารับบริการอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากโครงการดังกล่าวเป็นช่องทางที่สามารถให้บริการตรงตามความต้องการและทันต่อเหตุการณ์.

จาก http://www.prachachat.net วันที่ 23 กรกฎาคม 2558

'บิ๊กตู่'อนุมัติมท.ใช้งบพิเศษแก้แล้ง เกษตรเตรียมจ่ายน้ำช่วยนาข้าวตั้งท้อง1.36ล้านไร่ 

          พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงปัญหาภัยแล้งว่า รัฐบาลเตรียมการไว้แล้วว่าจะดูแลความเสียหายของเกษตรกรอย่างไร ขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนก พื้นที่ไหนที่เพาะปลูกไปแล้วมีความเสียหายรัฐบาลจะดูแลอย่างเต็มที่ พื้นที่ไหนยังไม่ได้เพาะปลูก เราก็ต้องดูว่าเกษตรกรเสียโอกาสหรือไม่ แต่เหมาทีเดียวไม่ได้ เพราะรัฐบาลไม่มีเงินให้

          "ผมเห็นร้องห่มร้องไห้ ผมก็บีบคั้น พอสมควร แต่ยืนยันว่าไม่ได้มีเจตนาทำให้เสียน้ำตา เก็บน้ำตาไว้ดีใจตอนฝนมา ตอนรัฐบาลมีมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ ดีกว่า" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

          นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ แถลงว่า หลังขอความร่วมมืองดการสูบน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดีจากการงด สูบน้ำ ปรากฏว่าน้ำเหนือเขื่อนเพิ่มขึ้นเป็นที่ น่าพอใจ ครม.จึงอนุมัติให้ปล่อยน้ำช่วยเกษตรกรบนเงื่อนไขที่กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรฯ และจิสดา ประเมินร่วมกัน ว่าเป็นพื้นที่วิกฤตใน 3 กลุ่ม คือ 1.พื้นที่ปลูกข้าวในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่กำลังตั้งท้อง กำลังออกรวงและสามารถเก็บเกี่ยวได้ ในฤดูกาลต่อไป จำนวน 1.36 ล้านไร่ 2.พื้นที่ที่ข้าวมีการปลูกข้าวยังไม่ตั้งท้องซึ่งมีอายุมากกว่า 6 สัปดาห์ แต่น้อยกว่า 8 สัปดาห์ จำนวน 1.25 ล้านไร่ เพราะข้าวมีโอกาสรอด 3.พื้นที่ที่มีการปลูกข้าวที่อายุน้อยกว่า 6 สัปดาห์ จำนวน 1.7 แสนไร่ โดยจะเริ่มระบายน้ำเพื่อช่วยเหลือทั้ง 3 กลุ่มตั้งแต่วันที่ 22 ก.ค.เป็นต้นไป

          "แต่การส่งน้ำมีความจำเป็นต้องส่งพื้นที่ไปยังจุดเป้าหมาย จึงขอร้องประชาชนที่ไม่มีกิจกรรมด้านการเกษตรสูบไปใช้เพื่อประโยชน์อย่างอื่น ต้องขอความร่วมมือให้ฝ่ายบ้านเมืองต้องเข้าไปดู แต่การส่งน้ำ จะกำหนดรอบเวรว่าจะส่งที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร การดูแลระหว่างทางขอให้เกษตรกรเชื่อฟังเจ้าหน้าที่ ข้อกำหนดสามารถยืดหยุ่นได้ แต่วัตถุประสงค์หลักประชาชนต้องเข้าใจว่าน้ำจะถูกลำเลียงไปในพื้นที่ที่ถูกกำหนดไว้อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด"

          นายปีติพงศ์กล่าวว่า ส่วนการเยียวยาเกษตรกรที่ยังไม่สามารถเพาะปลูกได้และเกิดความเสียหายเนื่องจากฝนแล้ง รัฐบาลมอบให้กระทรวงเกษตรฯดูแนวทางการฟื้นฟู และเมื่อภัยผ่านไปแล้วประเมินความเสียหายที่เกิดขึ้น

          ด้าน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย แถลงว่า พล.อ.ประยุทธ์ได้ให้ส่วนเกี่ยวข้องพิจารณาช่วยเหลือเกษตรกรจากฝนแล้งโดยให้เกิดการสร้างงานในพื้นที่ โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกบางส่วนสำรวจสภาพปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ ร่วมกับปกครอง เกษตรจังหวัด และทหาร เพื่อลงไปดูว่าเกิดปัญหาจริงหรือไม่ และอนุมัติใช้งบฯทดรองจ่าย ในส่วนของงบป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดละ 10 ล้านบาท มาสร้างกิจกรรมเพื่อให้เกิดการสร้างงานในพื้นที่ โดยให้กระทรวงมหาดไทยทำ ข้อตกลงกับกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ว่าจะทำกิจกรรมอะไรในพื้นที่ได้บ้าง ซึ่งจะเร่งประสานกระทรวงการคลังโดยเร็ว

          พล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก แถลงว่า ทหารมีความจำเป็นร่วมกันกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ผู้ว่าฯ นายอำเภอ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เกษตรจังหวัด เนื่องจากในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมามีความจำเป็นต้องดำเนินการมาตรการดูแลและดำเนินการจัดสรรน้ำอุปโภคบริโภคเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ 22 ก.ค. เป็นต้นไปก็สามารถดูแลพื้นที่ทางการเกษตรได้ แต่ทั้งนี้ยังหนักใจเรื่องความเข้าใจของประชาชนและของสื่อฉบับหนึ่งพาดหัวข่าวว่าทหารเอาปืนจ่อหัวประชาชนที่สูบน้ำ แต่ความจริงไม่มี เราดำเนินการตามขั้นตอนที่วันนี้ซึ่งปัญหาภัยแล้งจะเริ่มคลี่คลายได้ในเร็ววันนี้

          "การขาดแคลนน้ำบริโภค นายกฯสั่งการแล้ว หน่วยใดที่มีขีดความสามารถ หรือภาคเอกชนใดที่สามารถช่วยเหลือได้ จุดใด ขาดแคลนน้ำดื่มก็ช่วย ในวันที่ 22 ก.ค. กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ จะนำน้ำ ของกองทัพและน้ำที่ได้รับบริจาคแจกจ่ายไปยังกองทัพภาค มณฑลทหารบกที่มีการขาดแคลนน้ำ" พล.อ.อุดมเดชกล่าว

จาก http://www.prachachat.net   วันที่ 23 กรกฎาคม 2558

ชงมาตรการอุ้มเกษตรกร3พันล. 

          ลุ้น ครม.ออกมาตรการช่วยเกษตรกร 3,000 ล้าน 28 ก.ค.นี้ นาข้าวสูญ 7.8 แสนไร่

          แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จะเสนอมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 28 ก.ค.นี้ เพื่อพิจารณามาตรการช่วยเหลือในวงเงิน  1,300 ล้านบาท ส่วนใหญ่จะเป็นมาตรการปรับระบบการผลิตและโครงการฟาร์มชุมชน งบก้อนนี้จะไปรวมกับงบของกรมชลประทานที่ ครม.มีมติให้ใช้งบประมาณปี 2558 วงเงิน 160 ล้านบาท เพื่อจ้างเกษตรกรเป็นแรงงานขุดลอกคูคลอง และงบในโครงการยุทธศาสตร์น้ำปี  2558/2559 วงเงิน 1,600 ล้านบาท ไปสร้างการจ้างงานในช่วงฤดูแล้งตั้งแต่เดือน พ.ย. 2558-30 เม.ย. 2559

          นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ ยอมรับว่า จะเสนอมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยแล้งที่ผ่านการพิจารณาจากสำนักงบประมาณแล้วให้ ครม.พิจารณาในสัปดาห์หน้า

          นายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่าหนึ่ง ในมาตรการที่จะเสนอให้ ครม.พิจารณา จะเป็นการของบประมาณเพื่อชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรและในโครงการ 1 ฟาร์ม 1 อำเภอ 877 แห่ง

          ขณะเดียวกัน จากการตรวจสอบพื้นที่ปลูกข้าวนาปีในลุ่มเจ้าพระยา พบว่าเป็นข้าวที่ตั้งท้องแล้ว 1.36 ล้านไร่ ในจำนวนนี้จะเสียหาย 7.8 แสนไร่ จ.ชัยนาท มีพื้นที่นาข้าวเสี่ยงเสียหาย 1.06 แสนไร่ นครสวรรค์ 1.4 แสนไร่ พระนครศรีอยุธยา 2.1 หมื่นไร่ ลพบุรี 1.05 แสนไร่ และสุพรรณบุรี 1.2 แสนไร่

          นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) มีเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์บริหารจัดการน้ำของประเทศ ระยะเวลา 10 ปี (2558-2569) ครอบคลุม 6 ด้าน คือ น้ำอุปโภคบริโภค น้ำเพื่อการเกษตร น้ำเพื่อการอุตสาหกรรม การบำบัดน้ำเสีย การเพิ่มพื้นที่ป่าต้นน้ำ และการบริหารจัดการทั้งระบบ

          สำหรับยุทธศาสตร์เร่งด่วนที่จะต้องทำให้เสร็จสิ้นในปี 2559 คือ จะต้องเร่งสร้างประปาหมู่บ้านทั้งหมด 7,000 แห่งทั่วประเทศ ขยายพื้นที่ชลประทานให้ได้อีก 6.5 แสนไร่

จาก โพสทุ  วันที่ 23 กรกฎาคม 2558

ความร่วมมือการเกษตรระหว่างไทย-ญี่ปุ่น 

          นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับนายฮิซาโอะ ฮาริฮารา จากกระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ว่า ญี่ปุ่นให้ความสำคัญภาคการเกษตรกับประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการจัดตั้งกรอบความร่วมมือด้านการ เกษตร ผ่านความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งควรจะต้องมีความเชื่อมโยงกับกรอบความร่วมมือ JTEPA ที่เกี่ยวข้อง กับด้านการเกษตร เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่น รวมทั้งตลาดอาเซียนและเอเชียตะวันออก

          และจะมีการสนับสนุนใน  4 เรื่องหลัก ได้แก่ 1) การพัฒนาบุคลากรภาคการเกษตร  ซึ่ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีแผนงานที่จะส่งเกษตรกรไปศึกษาดูงานและฝึกอบรม ณ ประเทศญี่ปุ่น ในประเด็นการทำธุรกิจภาคเกษตรขององค์กรเกษตรกร ด้านความปลอดภัยอาหาร และเทคโนโลยีด้านการเกษตร  2) ความร่วมมือด้านสหกรณ์และเครือข่ายเกษตรกรไทย-ญี่ปุ่น และเชื่อมโยงการพัฒนาองค์กรท้องถิ่นระหว่างกันเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้าน การขยายตลาดสินค้าเกษตรระหว่างกัน เช่น พัฒนาการผลิตผลไม้เพื่อการส่งออกไปญี่ปุ่น และการกระจายสินค้า 3) การส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการระหว่างหน่วยงานของไทยกับหน่วยงานญี่ปุ่น และ 4) การแลกเปลี่ยนข้อมูลและเทคโนโลยีด้านการเกษตรระหว่างกัน.

จาก http://www.dailynews.co.th   วันที่ 23 กรกฎาคม 2558

ชลประทาน-ส่งเสริมการเกษตร ต้องจับมือร่วมฝ่าวิกฤติภัย

วิกฤติภัยแล้งที่ขยายวงไปทั่ว 62 จังหวัดทั่วประเทศในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา ได้สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกรเป็นจำนวนมาก ส่งผลระบบเศรษฐกิจเสียหายกว่า 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งส่วนที่เกี่ยวข้อง จะต้องเข้ามาร่วมกันแก้ปัญหา

ล่าสุดนายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ ได้เรียกสำนักชลประทานเขตลุ่มเจ้าพระยา และเกษตรจังหวัดลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง 15 จังหวัดมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการจัดการน้ำ และการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรเป็นการเร่งด่วน เพื่อสรุปมาตรการแนวทางแก้ไขปัญหาสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา พร้อมทั้งสั่งการให้กรมชลประทานและกรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมหารือร่วมกันเพื่อจัดทำแผนบริหารจัดการเพาะปลูกและสำรวจพื้นที่เพาะปลูกให้ชัดเจนและสอดคล้องกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวแล้วแต่มีความเสี่ยง และพื้นที่ที่ชะลอการปลูก เพื่อจะได้นำข้อมูลไปพิจารณาแนวทางให้การช่วยเหลือเป็นรายพื้นที่อย่างเร่งด่วนต่อไป

ขณะเดียวกัน แนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรเบื้องต้นนั้น กระทรวงฯ ได้กำหนดไว้ 2 แนวทางคือ 1. การจ้างแรงงานและสร้างรายได้ให้ประชาชน โดยการปรับปรุงอาคารชลประทาน ทั้งช่วงก่อนฝนจะมาในช่วงเดือนสิงหาคมนี้ และช่วงฝนสิ้นสุดในช่วงหลังเดือนพฤศจิกายน โดยกรมชลประทานจะรับผิดชอบดำเนินการ 2. กิจกรรมด้านการเกษตร เพื่อสร้างรายได้ทดแทนในช่วงที่ต้องชะลอการทำนา แม้ว่าผลสำรวจในเบื้องต้นเกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาจะรอฝนเพื่อการทำนาปี โดยมีประมาณ 3 แสนไร่ที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่น ๆ

พร้อมกันนี้ได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการเกษตร เร่งไปสำรวจความต้องการของเกษตรกรจากนั้นให้นำข้อมูลมาหารือร่วมกับกรมชลประทานว่าสามารถจัดสรรน้ำให้เพียงพอได้หรือไม่อย่างไรก่อนที่ฝนจะมาถึง และหลังจากฝนตกมาแล้ว นั่นเป็นเพียงการแก้ปัญหาระยะสั้นหรือเฉพาะหน้าเท่านั้น

ในระยะยาวกระทรวงเกษตรฯ ได้วางแนวทางไว้ว่า การเปลี่ยนอุปสงค์ด้านการใช้น้ำทางการเกษตร โดยการหันมาเน้นการสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็ก หรือแหล่งน้ำในฟาร์ม หรือการกำหนดเขตกรรมใช้น้ำน้อย การประกอบอาชีพอื่น ปศุสัตว์ และประมง เป็นต้นนอกจากนี้ยังเห็นว่า ควรนำอาคารชลประทานบางประเภทที่ถ่ายโอนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ท้องถิ่นไม่สามารถดำเนินการได้ ซึ่งอยู่ประมาณ 3,000 โครงการ กระทรวงฯ จะขอเข้าไปช่วยดูแล โดยเฉพาะการเพิ่มระบบส่งน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

พร้อมกันนี้ยังเห็นว่าควรให้ดึงน้ำจากแม่น้ำสาละวิน และแม่น้ำโขง ในช่วงที่มีระดับน้ำเกินเก็บกัก ก็จะให้กรมชลประทานเข้าไปศึกษาแนวทางว่าจะสามารถดึงน้ำส่วนเกินมาเป็นประโยชน์ได้หรือไม่ และสุดท้ายคือการเพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำใน 4 เขื่อนหลักของลุ่มเจ้าพระยาเอง ที่ยังขาดในเรื่องงบประมาณดำเนินการก็จะเร่งเสนอรัฐบาลพิจารณาโดยเร็วต่อไปและนอกจากมาตรการดังกล่าวแล้ว ยังได้มอบหมายให้กรมชล ประทานและกรมส่งเสริมการเกษตรร่วมกันจัดทำแผนที่การเพาะปลูกให้สอดคล้องกัน รวมทั้งได้สั่งการให้มีการตั้งศูนย์ช่วยเหลือระดับตำบล อำเภอ ในพื้นที่เสี่ยง เพื่อเอกซเรย์ความต้องการของประชาชนทั้งระยะก่อนฝนตก กับหลังฝนตกเพื่อจะได้นำข้อมูลมาวางแผนในการเลือกทำกิจกรรมการเกษตรให้กับเกษตรกรให้ชัดเจนขึ้น

โดยจะมีการเสนอแนวทางมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่ต้องชะลอการปลูกข้าวนาปีในลุ่มเจ้าพระยาให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามลำดับ.

จาก http://www.dailynews.co.th   วันที่ 23 กรกฎาคม 2558

‘ก.อุตสาหกรรม’ไอเดียเด็ด นำข้าวเน่ามาผสมพลาสติก ผลิตถุง-ตะกร้า-กรวยจราจร

นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการหารือกับกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมพลาสติก ว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้เชิญกลุ่มผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมพลาสติกเข้ามาหารือในการนำข้าวที่ค้างในโกดังของรัฐบาลที่เน่าเสีย ไม่สามารถรับประทานได้ มาเป็นส่วนผสมในพลาสติกชีวภาพในสัดส่วนข้าว 20% กับพลาสติกที่ได้จากปิโตรเลียมอีก 80% ซึ่งน่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่าการนำข้าวไปเผาผลิตเป็นไฟฟ้า

โดยพลาสติกที่ผลิตจากข้าวเสื่อมคุณภาพนี้จะไม่นำมาผลิตเป็นภาชนะบรรจุอาหาร เพื่อให้ผู้บริโภคคลายความกังวลใจในเรื่องบของการปนเปื้อนเชื้อราแต่ในกระบวนการผลิตพลาสติกที่ผสมข้าวนี้ จะต้องผ่านการหลอมเหลวที่อุณหภูมิสูงกว่า 200 องศาเซลเซียสอยู่แล้ว จึงมั่นใจว่าสามารถฆ่าเชื้อราต่างๆ ได้ แต่เพื่อความสบายใจของผู้บริโภค จึงกำหนดให้นำไปผลิตเป็นเครื่องใช้ต่างๆ เช่น ถุงพลาสติก ถุงดำใส่ขยะ ตะกร้าของขวัญ กล่องพลาสติก กรวยจราจร และแท่งแบลิเออร์พลาสติกที่ใช้กั้นถนน เป็นต้น ซึ่งพลาสติกที่ผสมข้าวนี้จะมีความคงทนแข็งแรงไม่ต่ำจากพลาสติกทั่วไป เพราะใช้ข้าวผสมเพียง 20%

สำหรับข้าวที่จะนำมาผสมพลาสติก เบื้องต้น จะใช้ประมาณ 1-2 หมื่นตัน ถือว่าเป็นปริมาณที่ไม่มากเมื่อเทียบกับข้าวเสื่อมสภาพที่ค้างในโกดังรัฐบาลที่มีอยู่หลายล้านตัน เนื่องจากเป็นการนำร่องในโครงการพัฒนาพลาสติกชีวภาพของกระทรวง เพื่อให้ประชาชนได้คุ้นเคยและเชื่อมั่นในคุณภาพพลาสติกที่มีส่วนผสมของพืชการเกษตรในอนาคตจะวิจัยนำวัสดุเหลือใช้การเกษตรมาผสมผลิตพลาสติกมากขึ้น เช่น ฟางข้าว และชานอ้อย

“หลังจากนี้จะหารือกับภาคเอกชนว่าจะนำไปผลิตเป็นพลาสติกชนิดใดบ้าง เพื่อกำหนดปริมาณข้าวอย่างชัดเจนว่าต้องใช้เท่าไร ก่อนนำเรื่องเข้าหารือประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และเจรจาซื้อข้าวจากกระทรวงพาณิชย์ จากนั้นจะกำหนดนโยบายส่งเสริมให้ผู้ใช้รายใหญ่เช่น ห้างสรรพสินค้า ร้านสะดวกซื้อ ซื้อถุงพลาสติกในส่วนนี้ไปใช้” นายจักรมณฑ์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม กระทรวงจะนำผลความคืบหน้าของโครงการนี้ รายงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบในวันที่ 29 กรกฎาคม 2558 ในที่ประชุมปลัดกระทรวง ที่กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นเจ้าภาพ หากนายกรัฐมนตรีเห็นด้วยกับโครงการนี้ ก็จะผลักดันให้ก้าวหน้าได้โดยง่าย

โดยกระทรวงมุ่งเน้นในการพัฒนาพลาสติกชีวภาพ ให้เป็นโปรดักส์แชมเปี้ยนตัวใหม่ของอุตสาหกรรมไทย เนื่องจากปัจจุบันประเทศพัฒนาแล้วต่างเพิ่มความเข้มงวดในเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

จาก http://www.naewna.com    วันที่ 23 กรกฎาคม 2558

ไอเดียล้ำ!ข้าวเน่าทำถุงดำ

 “จักรมณฑ์”หนุนเต็มที่พลาสติกชีวภาพ

“จักรมณฑ์” ปิ๊ง! ไอเดีย นำข้าวเสื่อมสภาพในโกดังรัฐมา ผสมผลิตพลาสติกชีวภาพ นำร่อง 20,000 ตัน ทำถุงดำใส่ขยะ-กรวยจราจร–ที่กั้นถนน ชงนายกฯ “ตู่” ผลักดัน 29 ก.ค.นี้

นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รมว. อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้หารือกับกลุ่มผู้ประกอบการอุตสาหกรรมพลาสติก เรื่องการนำข้าวที่ค้างในโกดังของรัฐบาลที่เน่าเสีย ไม่สามารถรับประทานได้มาเป็นส่วนผสมในพลาสติกชีวภาพ ในสัดส่วนข้าว 20% กับพลาสติกที่ได้จากปิโตรเลียมอีก 80% ซึ่งน่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มได้มากกว่าการนำไปเผาผลิตเป็นไฟฟ้า โดยพลาสติกที่ผลิตจากข้าวเสื่อมคุณภาพนี้ จะไม่นำมาผลิตเป็นภาชนะบรรจุอาหาร เพื่อให้ผู้บริโภคคลายความกังวลใจในเรื่องของการปนเปื้อนเชื้อรา

อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการผลิตพลาสติกที่ผสมข้าว จะต้องผ่านการหลอมเหลวที่อุณหภูมิสูงกว่า 200 องศาเซลเซียส จึงมั่นใจว่าสามารถฆ่าเชื้อราต่างๆได้ แต่ทั้งนี้เพื่อความสบายใจของผู้บริโภค จึงกำหนดให้นำไปผลิตเป็นเครื่องใช้ต่างๆ เช่น ถุงพลาสติก ถุงดำใส่ขยะ ตะกร้าของขวัญ กล่องพลาสติกต่างๆ กรวยจราจร และแท่งแบริเออร์พลาสติกที่ใช้กั้นถนน เป็นต้น ซึ่งพลาสติกที่ผสมข้าวนี้จะมีความคงทนแข็งแรงไม่แตกต่างจากพลาสติกทั่วไป

สำหรับข้าวที่จะนำมาผสมพลาสติกนี้ ในเบื้องต้นจะใช้ 20,000 ตัน ถือว่าเป็นปริมาณที่ไม่มากเมื่อเทียบกับข้าวเสื่อมสภาพที่ค้างในโกดังรัฐบาลที่มีอยู่หลายล้านตัน เนื่องจากเป็นการนำร่องในโครงการพัฒนาพลาสติกชีวภาพของกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อให้ประชาชนได้คุ้นเคย และเชื่อมั่นในคุณภาพพลาสติกที่มีส่วนผสมของพืชการเกษตร ซึ่งในอนาคตจะวิจัยนำวัสดุเหลือใช้ภาคเกษตรมาผสมพลาสติกมากขึ้น เช่น ฟางข้าว และชานอ้อย เป็นต้น

“หลังจากนี้ ผมจะไปหารือกับภาคเอกชนว่าจะนำไปผลิตเป็นพลาสติกชนิดใดบ้าง เพื่อกำหนดปริมาณข้าวอย่างชัดเจนว่าต้องใช้เท่าไร จากนั้นก็จะนำเรื่องเข้าหารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) และเจรจาซื้อข้าวกับกระทรวงพาณิชย์ จากนั้นก็จะกำหนดนโยบายส่งเสริมให้ผู้ใช้รายใหญ่ เช่น ให้ห้างสรรพสินค้า หรือร้านสะดวกซื้อ ซื้อถุงพลาสติกในส่วนนี้ไปใช้ ซึ่งพลาสติกที่ผสมข้าว ต้องมีคุณสมบัติเทียบเท่ากับพลาสติกแบบเดิมที่ใช้อยู่”

นายจักรมณฑ์ กล่าวว่า จะนำผลความคืบหน้าของโครงการนี้รายงานให้นายกรัฐมนตรีรับทราบในวันที่ 29 ก.ค.นี้ ในที่ประชุมปลัดกระทรวงฯ ที่กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นเจ้าภาพ ซึ่งหากนายกรัฐมนตรีเห็นด้วย ก็จะผลักดันให้ก้าวหน้าได้โดยง่าย ทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้มุ่งเน้นพัฒนาพลาสติกชีวภาพให้เป็นโปรดักต์แชมเปียนตัวใหม่ของอุตสาหกรรมไทย เนื่องจากปัจจุบันประเทศพัฒนาแล้วต่างเพิ่มความเข้มงวดเรื่องสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งจะทำให้พลาสติกชีวภาพ เป็นที่ต้องการของตลาดโลกมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งประเทศไทยมีความได้เปรียบในการเป็นแหล่งผลิตอ้อยและมันสำปะหลังที่เป็นวัตถุดิบหลักในการนำมาผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพเป็นอันดับต้นๆของโลก

นายสมศักดิ์ สิทธิชาญคุณะ ผู้จัดการฝ่ายบริหารสำนักงานขาย บริษัท ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าว ในกลุ่มแรก จะเป็นสมาชิกสมาคมอุตสาหกรรมพลาสติก โดยราคาสินค้าที่ผลิตได้จะมีราคาใกล้เคียงกับพลาสติกทั่วไป ส่วนราคาซื้อข้าวเสื่อมสภาพคาดว่าจะอยู่ในระดับ 6 บาทต่อกิโลกรัม (กก.)

ด้านนางจินตนา ชัยยวรรณการ ประธานกรรมการองค์การคลังสินค้า หรือบอร์ด อคส. กล่าวภายหลังลงพื้นที่ตรวจสอบโกดังข้าว คลังสินค้าสมศักดิ์ เขตคลองสามวาว่า เป็นการเก็บหลักฐานและตรวจสอบคุณภาพโดยข้าวที่อยู่ในคลังสินค้าสมศักดิ์ กองที่ 1 เป็นข้าวขาว 5% ปริมาณ 1,430 ตัน จากทั้งหมด 8,911 ตัน มีความเสียหายจากการซึมของน้ำและข้าวเสื่อมสภาพเกิดขึ้น มูลค่าความเสียหาย 40 ล้านบาท และได้แจ้งความดำเนินคดี เพื่อเก็บหลักฐานความเสียหายไว้แล้ว สำหรับกรณีที่มีข่าวว่ากระทรวงพาณิชย์เตรียมระบายข้าวเสื่อมสภาพเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมในราคา 1-2 บาท/กก. ไม่เป็นความจริง เพราะข้าวส่วนนี้ยังสามารถนำไปปรับปรุงได้ ซึ่งการประมูลข้าวเสื่อมที่จะเข้าสู่อุตสาหกรรมน่าจะเปิดได้ในช่วงปลายเดือน ก.ค.นี้ โดยน่าจะมีปริมาณแค่ไม่กี่หมื่นตัน

จาก http://www.thairath.co.th   วันที่ 23 กรกฎาคม 2558

เกษตรจังหวัดกำแพงเพชร มอบนโยบายการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง

ที่ห้องประชุมลิไท โรงแรมเพชร จังหวัดกำแพงเพชร นายธานี ธัญญาโภชน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร เป็นประธานเปิดการสัมมนามอบนโยบายการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง จากสถานการณ์ฝนทิ้งช่วง ปี 2558 จังหวัดกำแพงเพชร มีพื้นที่ปลูกข้าวแล้ว 726,516 ไร่ ซึ่งอยู่ในเขตชลประทาน 499,499 ไร่ อยู่นอกเขตชลประทาน 227,017 ไร่ และพื้นที่อาจได้รับผลกระทบจากฝน ทิ้งช่วง ในพื้นที่ 11 อำเภอ 37 ตำบล โดยแบ่งเป็น ข้าว 63,132 ไร่ มันสำปะหลัง 151,721 ไร่ อ้อยโรงงาน 11,365 ไร่ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 764 ไร่ ซึ่งนโยบายแนวทางการช่วยเหลือของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ให้ดูแลเกษตรกรที่ปลูกข้าวไปแล้วมิให้ข้าวได้รับความเสียหาย หรือบริหารจัดการน้ำให้กับเกษตรกรในเขตชลประทานอย่างทั่วถึง และให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าไปช่วยเหลือในช่วงเร่งด่วน ประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรที่ยังไม่ปลูกข้าวชะลอหรือเลื่อนช่วงปลูกข้าวไปช่วงปลายเดือนกรกฎาคม หรือช่วงที่มีปริมาณน้ำเพียงพอกับการปลูกข้าวนาปี ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่กิจกรรม การสร้างความเข้าใจผ่านสื่อมวลชนทุกช่องทาง เพื่อให้ข่าวสารไปถึงเกษตรกรรวดเร็วขึ้น และเยี่ยมเยียน ปลอบขวัญให้กำลังใจตลอดจนสนับสนุนตามมาตรการของแต่ละหน่วยงาน

ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร กล่าวว่า ในส่วนของจังหวัดกำแพงเพชร เป็นหนึ่งในยี่สิบสอง กลุ่มจังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่กำลังประสบปัญหาฝนทิ้งช่วง และน้ำต้นทุนในเขื่อนมีปริมาณน้อยกว่าปกติส่งผลให้เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดประสบกับภาวะขาดแคลนน้ำ ทั้งเพื่อการอุปโภคบริโภค และด้านการเกษตร โดยในการสัมมนาครั้งนี้เป็นส่วนสำคัญที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะได้ออกเยี่ยมเยียน สร้างความเข้าใจ และช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้กับเกษตรกรให้สามารถดำรงชีพได้ในช่วงวิกฤตินี้ 

จาก http://thainews.prd.go.th  วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

1.36ล้านไร่เฮ!รอดตาย ปล่อยน้ำช่วยชาวนา ชูแล้งวาระแห่งชาติ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)กล่าวภายหลังประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ถึงมาตรการดูแลช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้งว่า รัฐบาลได้กำหนดให้การบริหารจัดการน้ำทั้งหมด เป็นวาระแห่งชาติ เป็นการวางแผนให้ประเทศไทย ไม่ขาดน้ำจนถึงปี2569 การดำเนินการต่างๆ กำหนดไว้ เป็นขั้นตอนตามช่วงระยะเวลา

เตรียมกู้เงิน3หมื่นล.แก้น้ำแล้ง

โดยช่วงแรกระหว่างปี2557-2559 ตั้งเป้าหมายดำเนินการ12 กิจกรรม ทั้งการหาแหล่งน้ำเพิ่ม การทำระบบส่งน้ำ การขุดลอกคูคลอง การทำแก้มลิง ทำบ่อขนมครก การขุดบ่อน้ำในไร่นา การขยายอ่างเก็บน้ำให้เพิ่มความจุ ทั้งหมดอยู่ในแผนการบริหารจัดการน้ำจนถึงปี2569 ทั้งสิ้นตามการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี อาจมีงบเงินกู้เล็กน้อย ที่เตรียมไว้ประมาณ 3 หมื่นกว่าล้านบาท จากนั้นจะส่งต่อหลังปี2560 ต่อไป

“หากสามารถดำเนินการได้ครบ จะทำให้มีพื้นที่การเกษตรเพิ่มขึ้น ระบบชลประทานเพิ่มขึ้น ส่วนระยะยาว จะต้องมาหารือว่าจะใช้น้ำระหว่างประเทศได้อย่างไร คงต้องใช้งบประมาณที่สูงมากขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษา ไม่ใช่เรื่องง่าย”พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

มท.ช่วยภัยแล้งให้จว.10ล้าน

และว่าส่วนมาตรการช่วยเหลือเบื้องต้นว่า มาตรการที่ 1 กระทรวงมหาดไทย จะรับไปดำเนินการในทุกจังหวัดโดยใช้งบประมาณของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) จะอนุมัติให้กับจังหวัดละ10ล้านบาท เพื่อให้เกิดการจ้างงาน หากไม่พอรัฐบาลจะหาเงินอุดหนุนให้ จะรีบทำให้เร็วที่สุด เพื่อให้ทุกคนมีเงินใช้ มาตรการที่2 ได้มอบหมายให้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีงบประมาณอยู่ ไปดูแลการปลูกพืชทางการเกษตรหรือพืชหมุนเวียนเพื่อทดแทนกรณีที่ปลูกข้าวไม่ได้รวมกับงบจ้างงานของกรมชลประทาน จะเดินไปควบคู่กัน

วอนปชช.อย่าตื่นตระหนก

พล.อ.ประยุทธ์ ยังกล่าวอีกว่า ส่วนระยะต่อไป คือ เตรียมดูแลความเสียหายที่เกิดขึ้น ขอร้องประชาชนอย่าตื่นตระหนกมากนักเพราะรัฐบาล จะดูแลทั้งในส่วนที่ปลูกไปแล้วและเกิดความเสียหาย หรือ พื้นที่ที่ยังไม่ได้ปลูกว่าเสียโอกาสหรือไม่ และพื้นที่ปลูกนาปรัง ต้องดูเป็นระยะๆเพราะจะให้เหมาทีเดียวทั้งหมด ไม่รู้จะเอาเงินมาจากไหน พร้อมยืนยันว่า รัฐบาลดูแลทุกส่วน แต่ต้องจัดลำดับความเร่งด่วน

ไม่อยากเห็นน้ำตาของชาวนา

“ ขอให้รู้ไว้ว่ารัฐบาลไม่มีเจตนาที่จะทำให้ทุกคนต้องเสียน้ำตา เพราะน้ำ มีน้อยอยู่แล้ว ขอให้เก็บน้ำตาไว้เพื่อแสดงความดีใจดีกว่าเมื่อฝนมา โดยปัญหาทั้งหมดจะนำรายละเอียด เข้าสู่ที่ประชุมแผนบริหารจัดการน้ำ ในเช้าวันพุธที่ 22 กรกาคมนี้ ขอให้ทุกคนสบายใจว่าจะมีเงินใช้จ่าย ถึงจะไม่มากมาย แต่ก็จะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนได้ในระยะหนึ่ง ทั้งนี้ตนยังขอให้ทุกคนช่วยกันประหยัดน้ำต่อไปแม้ว่าฝนจะเริ่มตกมากขึ้นเรื่อยๆก็ตาม”นายกฯระบุ

ไฟเขียวปล่อยน้ำเข้านา22ก.ค.

ด้านนายปีติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตร และสหกรณ์ แถลงหลังประชุมครม.ว่าในการบริหารจัดการน้ำประเมินแล้ว เห็นช่องทางในการส่งน้ำให้ภาคการเกษตรภายใต้เงื่อนไข 2 ประการคือ1.สามารถให้น้ำได้เพียงพื้นที่วิกฤติ ได้แก่ พื้นที่ที่ข้าวตั้งท้องแล้วจำนวน1.36 ล้านไร่ พื้นที่ที่ข้าว มีอายุมากกว่า 6 สัปดาห์ แต่น้อยกว่า 8 สัปดาห์และพื้นที่ ที่มีข้าวอายุน้อยกว่า 6 สัปดาห์ ตามลำดับและ2.ขอความร่วมมือกับประชาชนที่อยู่สองฝั่งแม่น้ำที่กำลังจะทำการเพาะปลูกรอบ2 รวมถึงจะสูบน้ำเพื่อใช้ในกิจกรรมอื่น โดยจะดำเนินการปล่อยน้ำตามแผน ตั้งแต่วันที่22 กรกฎาคมนี้โดยกระทรวงเกษตรฯได้จัดส่งข้อมูลให้ผู้ว่าราชจังหวัดแต่ละจังหวัดแล้ว

กรุงเก่าเฮ!ได้น้ำเข้านาแห่งแรก

ขณะที่ นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่ากรมชลฯได้พิจารณาการส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตรในลุ่มเจ้าพระยา 22 จังหวัด ตามแผนที่กำหนดไว้ว่านาข้าวที่กำลังตั้งท้องปลูกในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ได้เริ่มปล่อยน้ำแล้วในช่วงเย็นวันที่ 21กรกฎาคมนี้ จากแม่น้ำเจ้าพระยา เข้าสู่แม่น้ำน้อย ในอัตรา 5 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ให้จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นแห่งแรก เนื่องจากกรมชลฯได้รับหนังสือจากผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเป็นจังหวัดแรกที่ยืนยันพื้นที่ปลูกข้าวตนเองชัดเจนว่า มีนาข้าวตั้งท้องรอความช่วยเหลือซึ่งหากจังหวัดใดยืนยันข้อมูลนาข้าวของตัวเองจะได้รับน้ำทันที

ไฟเขียวเจาะบาดาลอีกกว่าพันบ่อ

 พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่าครม.มีมติเห็นชอบ ตามที่กระทรวงมหาดไทย เสนอให้ดำเนินการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล จำนวน 1,173 บ่อ แยกเป็นพื้นที่ที่มีไฟฟ้า จำนวน 928 บ่อ และไม่มีไฟฟ้า จำนวน 245 บ่อ งบประมาณ 372,880,620 บาท ใช้งบประมาณของสำนักงานปลัดกระทรวงมหาดไทย เพื่อพัฒนาศักยภาพความเข้มแข็งของชุมชน และเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในโครงการฟื้นฟูบูรณะแหล่งน้ำเดิมเพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหาภัยแล้งและอุทกภัย โดยให้จัดทำทะเบียนคุมและระบุพิกัดที่ตั้งให้ชัดเจน

เขื่อนเจ้าพระยาพ้นจุดวิกฤติ

ด้านนายเอกศิษฐ์ ศักดีธนาภรณ์ ผู้อำนวยการ(ผอ.)เขื่อนเจ้าพระยาเปิดเผยว่าระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่จุดวัดน้ำC13เหนือเขื่อนเจ้าพระยา ต.บางหลวง อ.สรรพยา จ.ชัยนาทในรอบ24ชั่วโมง ที่ผ่านมาระดับน้ำเพิ่มขึ้น25 เซ็นติเมตรไปอยู่ที่14.07เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง พ้นจุดวิกฤตเป็นครั้งแรกในรอบ5 สัปดาห์ ซึ่งเป็นผลมาจากได้รับปริมาณน้ำฝนที่ตกเหนือเขื่อน ในพื้นที่ จ.นครสวรรค์ กำแพงเพชรและอุทัยธานีประกอบกับเขื่อนเจ้าพระยา ได้ปรับลดการส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกลงร้อยละ50

“ แต่ก็ยังต้องขอความร่วมมือจากเกษตรกรให้งดสูบน้ำไปก่อนจนกว่าจะมีประกาศเปลี่ยนแปลง เพื่อให้น้ำต้นทุนมีเพียงพอในการจัดสรรโดยไม่กระทบกับน้ำอุปโภค บริโภค ตามนโยบายของรัฐบาลคาดว่าจะสามารถส่งน้ำเฉพาะพื้นที่จำเป็นเร่งด่วนได้ภายใน 2-3วันนี้” นายเอกศิษฐ์ กล่าว

น้ำไหลเข้าเขื่อนแควน้อยฯเพิ่ม

ที่ จ.พิษณุโลก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากมีฝนตกหนักในพื้นที่ต้นน้ำในเขตอุทยานแห่งชาติน้ำตกชาติตระการ อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก ช่วงวันที่ 20-21 กรกฎาคมส่งผลให้ปริมาณน้ำที่ไหลลงมาสู่น้ำตก ชั้นที่1น้ำตกมะลิวัลย์ เพิ่มระดับไหลแรงอย่างมาก จนท่วมสะพานไม้ข้ามลำธาร ถือเป็นปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้นมาก หลังจากแห้งเหือดนานหลายเดือน

หลายจว.ยิ้มออกน้ำมากขึ้น

ที่จ.ลพบุรี ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์น้ำในคลองชัยนาท-ป่าสัก หลังจากที่กรมชลประทานประกาศให้ชาวนาสูบน้ำเข้านามาระยะหนึ่งทำให้ปริมาณน้ำในคลองมีเพิ่มขึ้นเพียงพอในการผลิตประปาในระดับหนึ่ง

เช่นเดียวกับที่ จ.กาฬสินธุ์ สถานการณ์น้ำในเขื่อนลำปาว เริ่มดีขึ้น หลังจากตลอด 1 สัปดาห์า มีฝนตกลงมาอย่างต่อเนื่องทั่วทั้ง 18อำเภอในจ.กาฬสินธุ์ทำให้เขื่อนลำปาวเริ่มมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันที่จ.มหาสารคาม ฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีปริมาณฝนสะสมที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเกือบทุกอ่าง ภาพรวมอ่างเก็บน้ำ 17 แห่งทั้งจังหวัด มีปริมาณน้ำเพิ่มสูงขึ้น แต่ยังอยู่ในเกณฑ์น้อย ทางชลประทาน ต้องเฝ้าระวังและบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป

จาก http://www.naewna.com วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ผุดศูนย์ปฏิบัติการช่วยเกษตรกร เกษตรระดมจนท.ลงพื้นที่22จังหวัดฝ่าวิกฤติแล้ง

นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงการขับเคลื่อนกลยุทธ์การบูรณาการช่วยเหลือเกษตรกรวิกฤติภัยแล้งว่า ในพื้นที่เกษตรกรรมที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง โดยเฉพาะ 22 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา จำเป็นต้องดูแลเกษตรกรอย่างใกล้ชิด จึงได้สั่งให้ระดมทีมเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวง ออกเยี่ยมเกษตรกรอย่างครอบคลุมและทั่วถึง ตามระบบช่วยเหลือและเยี่ยมเยียนเกษตรกร และรายงานผลการแก้ไขปัญหามาให้รับทราบทุกวัน เริ่มดำเนินการวันที่ 20 กรกฎาคมเป็นต้นไป จนถึง 20 สิงหาคม โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ 1.วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยง เพื่อจัดลำดับความสำคัญในการเข้าไปแก้ไขปัญหา แบ่งเป็น พื้นที่ข้าวตั้งท้องปลูกตั้งแต่เดือนเมษายน-พฤษภาคม พื้นที่ที่มีปัญหาเฉพาะจุด เช่น สวนกล้วยไม้ สวนผลไม้ และพื้นที่ที่ยังไม่เริ่มทำการเพาะปลูก อยู่จุดใดบ้างต้องมีข้อมูลทั้งหมดให้ชัดเจน 2.การนำเทคโนโลยีการเกษตรเข้าไปแนะนำและส่งเสริมเกษตรกรทั้งเรื่องน้ำ ดิน การส่งเสริมอาชีพด้านประมง ปศุสัตว์ 3.การสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนในจังหวัด เพื่อแก้ไขปัญหา

ทั้งนี้ได้มอบหมาย ให้กรมส่งเสริมการเกษตร ออกแบบระบบศูนย์ช่วยเกษตรกร เพื่อสามารถบริหารจัดการข้อมูลช่วยเหลือ รวมถึงการปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร การสร้างเกษตรกรรมทางเลือกให้กับเกษตรกรเพื่อเตรียมฤดูการผลิตต่อไปด้วย ซึ่งกลไกการขับเคลื่อนทั้งหมด ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันนโยบายเพื่อให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมนำไปสู่การยกระดับศักยภาพการแข่งขันในการผลิตภาคเกษตรของประเทศ

“ระบบช่วยเหลือและเยี่ยมเยียนเกษตรกร จะดำเนินการภายใต้ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ศชก.) โดยเกษตรอำเภอทั้ง 273 อำเภอ ใน 22 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา จะมีการรายงานผ่าน Social Media ซึ่งทั้งเกษตรกรและเจ้าหน้าที่สามารถส่งข้อมูลที่พบปัญหาผ่านทาง Application Website หรือ Facebook เพื่อขอความช่วยเหลือ สนับสนุน ซึ่งเกษตรกรสามารถแจ้งเรื่องราวปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง หรือผ่านเจ้าหน้าที่เกษตร ซึ่งเมื่อได้รับแจ้งแล้ว เจ้าหน้าที่จะเข้าไปช่วยเหลือทันที หากยังไม่สามารถแก้ไขได้ทันทีจะส่งเรื่องผ่านระบบรายงาน จากนั้น ส่วนราชการกระทรวงเกษตรฯ ทั้งระดับกรม ระดับจังหวัด ไปจนถึงระดับพื้นที่ จะเร่งดำเนินการให้การช่วยเหลือและแก้ปัญหาต่อไป” นายปีติพงศ์ กล่าว

จาก http://www.naewna.com วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ระดมพลขุดบ่อบาดาลพันแห่ง ดับวิกฤติแล้ง‘ลุ่มน้ำเจ้าพระยา

นาทีนี้คงไม่มีใครปฏิเสธได้ว่าสถาน การณ์ภัยแล้งที่เราทุกคนกำลังเผชิญอยู่นับว่าหนักหน่วงรุนแรงจนถึงระดับวิกฤติ โดยเฉพาะบริเวณพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ต้องเผชิญกับวิกฤติแล้งระดับรุนแรงที่สุดในรอบ 30 ปี อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากแหล่งน้ำต้นทุนใน 4 เขื่อนใหญ่ ประกอบด้วย เขื่อนภูมิพล จ.ตาก เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี ต่างเหลือปริมาณน้ำในระดับที่ต่ำมาก ไม่เพียงพอต่อการระบายออกมาเพื่อสนับสนุนการปลูกข้าวนาปีของเกษตรกรได้

พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เปิดเผยว่า ประเทศไทยพบว่า มีปริมาณฝนตกต่ำกว่าค่าปกติถึงร้อยละ 25 ทำให้ไม่มีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำในเขื่อนต่าง ๆ ทำให้ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีพื้นที่เพื่อการเพาะปลูก 7.45 ล้านไร่ ต้องประกาศขอให้ชะลอการเพาะปลูก ปรากฏว่า มีเกษตรกรได้เริ่มเพาะปลูกไปแล้วถึง 3.44 ล้านไร่ ซึ่งในจำนวนนี้มีพื้นที่เสี่ยงประมาณ 8.5 แสนไร่ เพราะมีปริมาณน้ำไม่เพียงพอ จึงต้องหามาตรการมาช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรอย่างเร่งด่วนแนวทางสำคัญที่รัฐบาลวางไว้ คือ การหาแหล่งน้ำบาดาล ในพื้นที่เสี่ยงทั้ง 8.5 แสนไร่

โดยกระทรวงทรัพยากรฯ สามารถสนับสนุนได้จำนวน 880 บ่อ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ บ่อน้ำสังเกตการณ์จำนวน 380 บ่อที่มีอยู่แล้วและมีน้ำพร้อมใช้ไม่ต้องไปเจาะใหม่ เพียงแต่ยังไม่มีเครื่องปั๊มน้ำ จึงได้มอบหมายให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลส่งปั๊มน้ำที่มีอยู่จำนวน 300 เครื่องลงไปสนับสนุนทันทีส่วนที่เหลืออีก 500 บ่อ เป็นบ่อที่ต้องมีการขุดเจาะใหม่และต้องหาปั๊มน้ำเพิ่มอีก 80 เครื่อง

ซึ่งเบื้องต้นในการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2558 ที่ผ่านมา ได้ให้ความเห็นชอบงบประมาณจำนวน 85 ล้านบาท เพื่อนำไปดำเนินการเรื่องดังกล่าว

อย่างไรก็ตามเมื่อมีการนำเรื่องเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2558 ที่ จ.เชียงใหม่ นายกรัฐมนตรีเห็นว่าสถานการณ์น้ำในช่วงเวลานี้ยังไม่น่าไว้วางใจ เพราะแม้จะมีฝนตกลงมาบางพื้นที่ แต่ก็ไม่มากพอที่จะทำการเพาะปลูกได้ จึงขอให้มีการขยายเพิ่มจาก 500 บ่อ เป็น 1,000 บ่อ

ด้าน นางสาวภาวิณี ปุณณกันต์ อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า “การแก้ปัญหาระยะยาว ต้องกลับไปแก้ที่จุดเริ่มต้น คือ การฟื้นฟูป่าไม้และทรัพยากรธรรมชาติที่ถูกคุกคามทำลายอย่างหนักในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา”แนวทางสำคัญแนวทางหนึ่งที่กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมยึดถือมาโดยตลอด คือ การดำเนินการตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เรื่อง “คนอยู่ร่วมกับป่า”โดยพยายามเปลี่ยนราษฎรจากผู้บุกรุกทำลายป่ามาเป็นผู้อนุรักษ์ทรัพยากรป่า รวมทั้งการส่งเสริมให้ราษฎรในพื้นที่มีส่วนร่วมในการดูแลป่าและจัดการทรัพยากรป่าไม้ด้วยตนเองดังที่ปรากฏเป็นผลให้เป็นที่ประจักษ์ในหลายพื้นที่

ณ ปัจจุบันที่พื้นที่ในโครงการเหล่านี้แม้จะเป็นช่วงแล้งจัดเช่นขณะนี้ในพื้นที่ก็ยังคงมีความชุ่มชื้นปรากฏอย่างเห็นได้ชัด เช่น พื้นที่ โครงการบ้านเล็กในป่าใหญ่ ในพื้นที่ทางภาคเหนือ หลายต่อหลายจังหวัด นับตั้งแต่เชียงราย เชียงใหม่ พะเยา ถึงจังหวัดตาก

ซึ่งหากวันนี้ไม่มีโครงการเหล่านี้ความแห้งแล้งก็น่าจะทับทวีมากกว่าที่เกิดขึ้นในขณะนี้อย่างแน่นอน ฉะนั้นหากไม่ร่วมมือกันแล้วก็ยากที่จะทำให้เกิดความสำเร็จ และท้ายที่สุดอาจจะต้องกลับมาพบกับวิกฤติจากภัยแล้งและภัยธรรมชาติต่าง ๆ ที่รุนแรงหนักหน่วงมากกว่าเดิม.

จาก http://www.dailynews.co.th วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เขื่อนภูมิพลน้ำเพิ่มภัยแล้งคลี่คลายฝนถล่มที่อีสานท่วมร.ร.-บ้านพังบิ๊กตู่สั่งรื้อแผน"บริหารน้ำ"

          นายกฯซัดรัฐบาลประชาธิปไตยทำป่าต้นน้ำหายเป็นต้นเหตุภัยแล้ง สั่งรื้อนโยบายบริหารจัดการน้ำใหม่ เล็งใช้งบ 3.5 แสนล้านบาท กรมชลฯเผยน้ำไหลเข้าเขื่อนตามแผน เร่งส่งน้ำช่วยนาข้าวตั้งท้อง เลยน้ำป่าทะลักท่วมโรงเรียนเลยตาดโนนพัฒนา บึงกาฬฝนถล่มน้ำท่วมสูง 1 เมตร หนุ่มใหญ่ออกหาปลาถูกน้ำซัดจมหาย ส่วนชาวนาเมืองกรุงเก่า 300คน ประท้วงให้เปิดประตูระบายน้ำพระยาบันลือ โวยน้ำในคลองแห้งขอด ขู่ไม่มีคำตอบใช้รถแบ็กโฮเปิดประตูระบายน้ำเอง สตูลสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลาย

          วิกฤติภัยแล้งยังเป็นปัญหาสร้างความเดือดร้อนแก่ประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลางอย่างต่อเนื่อง ขณะที่รัฐบาลสั่งห้ามสูบน้ำเพื่อการเกษตร เนื่องจากน้ำในเขื่อนหลักลดต่ำลงมากเป็นประวัติการณ์ เกรงจะไม่พอสำหรับการอุปโภคและบริโภค นอกจากนี้ระดับน้ำในแม่น้ำลำคลองลดระดับลงต่ำทำให้ถนนเสียหายหลายจุด ขณะเดียวกันเริ่มมีฝนตกลงมาในหลายพื้นที่แล้ว

          รื้อแผนบริหารจัดการน้ำ

          เมื่อเวลา 09.45 น. วันที่ 20 ก.ค. ที่อาคารศูนย์กลางเกษตร จ.ระยอง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. กล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้งว่า สิ่งที่กังวลคือแผนบริหารจัดการน้ำที่รัฐบาลได้วางแผนตั้งแต่ปี 2557 รื้อมาทำใหม่กำหนดเป็นแผนระยะยาวถึงปี 2569 ใช้งบประมาณ 3.5 แสนล้านบาท วันนี้บังเอิญฝนไม่ตก ไปตกใต้เขื่อนไม่สามารถเก็บน้ำได้ และที่มาของต้นทุนน้ำน้อยลงเพราะที่ผ่านมารัฐบาลประชาธิปไตย ทำพื้นที่ป่าต้นน้ำหายไปถึง 8.6 ล้านไร่ โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคอีสาน ส่งผลทำฝนหลวงไม่ได้ผล การขาด แคลนน้ำรัฐบาลมีแผนตั้งแต่ปี 2557 ใน 7,400 หมู่บ้านทั่วประเทศ ปี 2560 ต้องมีน้ำประปา มีแหล่งน้ำการเกษตรชลประทาน 732 แห่ง และปี 2558 แก้แหล่งน้ำนอกเขตชลประทานให้ได้ 2,157 แห่งและต้องขุดน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรให้ได้กว่า 1,000 แห่ง ใช้สำหรับพื้นที่เกษตร 1 ล้านไร่ ขณะที่การขุดลอกแม่น้ำสายหลักต้องขุดให้ลึกกว่าเดิม แต่ต้องดูว่าไม่ไปทำลายระบบนิเวศ ขอให้ทุกคนช่วยกันประหยัดน้ำ

          คสช.หนุนสร้างแหล่งเก็บน้ำ

          พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก เปิดเผยว่า การประชุมประจำสัปดาห์ของสำนักงานเลขาธิการ คสช. ที่ประชุมได้กำชับให้ทุกส่วนของ คสช.ประสานงานกับส่วนราชการ สนับสนุนการบริหารราชการแผ่นดินให้มีความต่อเนื่อง โดยเฉพาะงานเร่งด่วนเรื่องความเดือดร้อนของประชาชน และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ปัญหาหนี้สิน ปัญหาคนว่างงาน คสช.ได้สนับสนุนรัฐบาลและคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำอย่างเต็มที่ ควบคู่กับการชี้แจงทำความเข้าใจประชาชนถึงสถานการณ์น้ำ และมาตรการการใช้น้ำอุปโภคบริโภคและการเกษตรอย่างเหมาะสม คสช.เตรียมสนับสนุนการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำเพิ่มเติมในลักษณะการขุดบ่อใหม่ ขุดท้องน้ำ และขยายแหล่งน้ำธรรมชาติ

          เขื่อนภูมิพลน้ำเข้าตามแผน

          ที่กรมชลประทาน ถนนสามเสน นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีฝ่ายบำรุงรักษา กรมชลประทาน เปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวม 10 หน่วยงาน ว่าสถานการณ์ฝนและปริมาณน้ำท่าในขณะนี้เพิ่มขึ้น ทำให้สบายใจระดับหนึ่ง ปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนภูมิพลตลอดเดือน ก.ค.นี้ มีน้ำฝนไหลเข้ามาเติมแล้วตามที่คาดการณ์ในแบบจำลอง 19 ล้าน ลบ.ม. หากมีน้ำไหลเข้าตั้งแต่วันที่ 21 ก.ค.นี้ เป็นต้นไปถือว่าเป็นกำไรทั้งสิ้น คาดการณ์ว่าสิ้นฤดูฝนจะมีปริมาณน้ำในเขื่อนใหญ่ 3,500 ล้าน ลบ.ม. ส่วนพายุยังไม่มีวี่แววในปีนี้อาจไม่มีเข้าแม้แต่ลูกเดียว

          ฝนตกเติมเจ้าพระยามากขึ้น

          นายสุเทพกล่าวต่อว่า ส่วนที่เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำไหลเข้าในเดือน ก.ค. รวมทั้งสิ้น 142 ล้าน ลบ.ม. ยังขาดอยู่อีกประมาณ 33 ล้าน ลบ.ม. จะได้น้ำตามที่คาดการณ์ไว้ในแบบจำลอง แต่ประเมินแล้วว่าเดือน ก.ค.ที่ยังเหลืออีก 10 วัน จะได้น้ำมาเติมเขื่อนสิริกิติ์ได้ตามที่คาดแน่นอน ส่วนระดับน้ำในแม่น้ำลำคลอง ที่มีฝนมาเติมเพิ่มขึ้นในระยะนี้ ทำให้หน้าเขื่อนเจ้าพระยาระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้น เมื่อวันที่ 20 ก.ค. มีระดับน้ำที่ 13.82 เมตร ที่ระดับน้ำทะเลปานกลาง เพิ่มขึ้นประมาณ 70 เซนติเมตร จากช่วงวันที่ 15-16 ก.ค. ที่วิกฤติระดับน้ำสูงประมาณ 13.12 เมตร ต่ำกว่าระดับความมั่นคง 13.50 เมตร น้ำที่เติมเข้ามาทำให้น้ำในลำน้ำเจ้าพระยาไหลเข้าไปยังคลองชัยนาท-ป่าสัก ตามธรรมชาติโดยไม่ต้องสูบ

          เริ่มส่งน้ำช่วยนาข้าวตั้งท้อง

          นายสุเทพกล่าวอีกว่า ระดับน้ำท่าที่เพิ่มขึ้นทำให้ที่ประชุมเห็นชอบแนวทางจัดส่งน้ำให้แก่นาข้าว ในลุ่มเจ้าพระยาที่ปลูกแล้ว แบ่งเป็น 5 กลุ่มเรียงลำดับตามความสำคัญ โดยเน้นช่วยกลุ่มนาข้าวที่ปฏิบัติตามคำแนะนำของทางราชการก่อน ได้แก่ 1.พื้นที่จำเป็นเร่งด่วน เพราะปลูกข้าวตามที่กรมชลฯประกาศต้นฤดูกาล ต้นข้าวกำลังตั้งท้องต้องใช้น้ำมาก 2.ไม้ผลที่จะเสียหายและพืชที่ต้องใช้น้ำคุณภาพดี เช่น กล้วยไม้ 3.นาข้าวที่อายุ 6 สัปดาห์ขึ้นไป 4.นาข้าวอายุ 4 สัปดาห์ขึ้นไป และ 5.นาข้าวอายุน้อยกว่า 5 สัปดาห์ ทั้งนี้ จะมีการรวบรวมพื้นที่นาข้าว ทั้ง 5 ประเภท และให้หน่วยงานในพื้นที่รับรองสภาพพื้นที่ให้แล้วเสร็จ เพื่อรายงานนายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ และ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย รับทราบ ให้แล้วเสร็จภายในช่วงบ่ายวันที่ 21 ก.ค.นี้ หรืออย่างช้าไม่เกินเช้าวันที่ 22 ก.ค.นี้ เกษตรกรสามารถสูบน้ำเข้าพื้นที่นาได้ เช่น จ.พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี และสิงห์บุรี ส่วนสถานีสูบน้ำกรมชลฯ 355 แห่ง ยังคงคำสั่งเดิมคือให้ปิดสูบน้ำต่อไป ยกเว้นบางสถานีที่มีนาข้าวที่กำลังตั้งท้องให้เปิดสูบได้เป็นบางช่วง

          พศ.ประสานวัดขุดสระน้ำ

          นายบุญเลิศ โสภา ผอ.กองพุทธศาสนสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) เปิดเผยว่า จากปัญหาภัยแล้ง เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาปัญหา พศ.ประสานกับวัดและที่พักสงฆ์ทั่วประเทศ เพื่อขอให้ขุดสระน้ำที่มีขนาดอย่างต่ำกว้าง 20 เมตร คูณ 30 เมตร ลึก 2.1 เมตร ให้ได้ตำบลละ 1 แห่งทั่วประเทศ โดยขอการสนับสนุนด้านอุปกรณ์และงบประมาณในการขุดจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) หน่วยงานด้านความมั่นคง และหน่วยงานราชการ การดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปตามมติมหาเถรสมาคม (มส.) ปี 2555 ที่ให้วัดทั่วประเทศและที่พักสงฆ์ขุดสระน้ำเก็บน้ำขนาดใหญ่ในพื้นที่น้ำท่วม และมีปัญหาภัยแล้ง เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จ พระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ตั้งเป้าให้ครบทุกตำบลทั่วประเทศในปี 2560 ขณะนี้มีวัดขุดสระเก็บน้ำได้แล้ว 261 แห่งใน 63 จังหวัด ประชาชนที่ประสบภัยแล้งสามารถเข้าไปใช้น้ำเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งได้ทันที

          สันกำแพงสวดมนต์ปลาช่อน

          ที่เจดีย์ลัวะ บ้านม่วงเขียว หมู่ 4 ต.ร้องวัวแดง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ประชาชนในพื้นที่กว่า 500 คน พร้อมใจกันสวมชุดขาว และนิมนต์พระสงฆ์ 9 รูป มาสวดมนต์คาถาปลาช่อน และทำพิธีแห่ปลาช่อน เพื่อขอให้ฝนตกลงมาในพื้นที่ตามประเพณีล้านนา นายสวัสดิ์ ขัติกุล นายก อบต.ร้องวัวแดง เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาชาวบ้านประสบภัยแล้ง เนื่องจากฝนไม่ตกตามฤดูกาล ทำให้พืชผลทางการเกษตรได้รับความเสียหาย ชาวบ้านรวมตัวกันทำพิธีขอฝนโดยเทศธรรมปลาช่อน และแห่ปลาช่อน เพื่อให้ฝนตกลงมาในพื้นที่

          ตากฝนตกปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น

          จ.ตาก ฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้มีน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำห้วยแม่สอด และอ่างเก็บน้ำห้วยลึก ต.แม่ปะ อ.แม่สอด มีปริมาณน้ำสะสม 53 เปอร์เซ็นต์ สามารถระบายช่วยพื้นที่การเกษตรท้ายเขื่อนได้แล้ว ส่วนพืชผลทางการเกษตรที่ประสบภัยแล้งจนเหี่ยวเฉาเพราะขาดน้ำ หลังมีฝนตกในพื้นที่ทำให้พืชผลเริ่มฟื้นตัวและกลับมาเขียวชอุ่มอีกครั้ง ส่วนสถานการณ์เขื่อนภูมิพล อ.สามเงา มีปริมาณน้ำ 3,919 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 29.12 เปอร์เซ็นต์ มีน้ำใช้การได้ 119 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น 1.24 เปอร์เซ็นต์

          น้ำป่าถล่มโรงเรียนปิด 1 แห่ง

          นายบรรพต จุลพล กำนันตำบลเลยวังไสย์ อ.ภูหลวง จ.เลย เปิดเผยว่า เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ส่งผลให้เกิดน้ำป่าจากเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง ไหลทะลักท่วมโรงเรียนเลยตาดโนนพัฒนา หมู่ 2 ต.เลยวังไสย์ ทำให้น้ำท่วมสนามกีฬา และอาคารเรียน 2 ชั้น เบื้องต้นชาวบ้านและเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง ช่วยกันขนย้ายอุปกรณ์การเรียนการสอบมาบนอาคารสูงแล้ว นายอุทัย ปลีกล่ำ ผอ.โรงเรียนเลยตาดโนนพัฒนา เปิดเผยว่า ระดับน้ำในแม่น้ำเลย มีระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง มีแนวโน้มจะท่วมหมู่บ้าน สั่งปิดการเรียนการสอน และแจ้งให้ผู้ปกครองมารับบุตรหลานกลับบ้านเพื่อความปลอดภัย

          น้ำป่าทะลักบ้านซัดพัง 3 หลัง

          จ.เพชรบูรณ์ ฝนที่ตกลงมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดน้ำป่าจากเทือกเขาภูเปลือยไหลท่วมพื้นที่บ้านหินโง่น หมู่ 5 ต.ศิลา อ.หล่มเก่า ทำให้บ้านเรือนประชาชนได้รับความเสียหาย 3 หลัง ขณะเดียวกัน เกิดลมพายุพัดเสาไฟฟ้าหักโค่น 10 ต้น บริเวณถนนเทศบาลพัฒนา เขตเทศบาลเมืองเพชรบูรณ์ เจ้าหน้าที่ได้เข้าตรวจสอบและเร่งซ่อมแซมแล้ว นอกจากนี้ พบว่าเสาไฟฟ้าหักโค่นทับรถเก๋งยี่ห้อโตโยต้า ทะเบียน กง 2854 เพชรบูรณ์ จอดอยู่ริมถนนจนได้รับความเสียหาย 1 คัน

          ชาวนานครสวรรค์เลิกสูบน้ำ

          ด้านชาวนาในพื้นที่ ต.ท่างิ้ว ต.หูกวาง และ ต.อ่างทอง อ.บรรพตพิสัย จ.นครสวรรค์ ทยอยขนเครื่องมือและอุปกรณ์การสูบน้ำขึ้นจากปากคลองตั้วเกา ริมแม่น้ำปิง ภายหลังผู้นำชุมชนมีมติให้หยุดสูบน้ำเข้าพื้นที่ตามคำสั่งของรัฐบาล นายนิเวศน์ เอี่ยมสะอาด กำนันตำบลท่างิ้ว เปิดเผยว่า ผู้นำชุมชนมีมติให้หยุดสูบน้ำเพื่อปล่อยน้ำให้ไหลสู่พื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง หลังจากหลายจังหวัดขาดแคลนน้ำสำหรับอุปโภคบริโภค หลังจากนี้ อีก 15 วัน หากไม่มีฝนตกลงมาคลี่คลายสถานการณ์ภัยแล้ง ชาวนา 3 ตำบล จะกลับมาสูบน้ำเยียวยาต้นข้าวอีกครั้ง

          ฝนถล่มบึงกาฬน้ำท่วม 1 เมตร

          จ.บึงกาฬ เกิดฝนตกหนักในพื้นที่ ต.บึงกาฬ และเทศบาลตำบลวิศิษฐ์ อ.เมืองบึงกาฬ ถนนหลายสายเกิดน้ำท่วมขัง โดยเฉพาะถนนรักสงบ มีน้ำท่วมสูง 1 เมตร รถยนต์ไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้ ขณะเดียวกัน น้ำท่วมบ้านพักเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบึงกาฬ ระดับน้ำท่วมสูง 1 เมตร ส่วนโรงเรียนบึงกาฬ น้ำท่วมอาคารเรียนสูงกว่า 80 เซนติเมตร ทำให้อุปกรณ์การเรียนและคอมพิวเตอร์เสียหาย เบื้องต้นเจ้าหน้าที่เข้าให้ความช่วยเหลือแล้ว

          หาปลาถูกน้ำพัดจมหาย

          น.อ.ณัฐเกียรติ มนขุนทด ผบ.นรข.เขตนครพนม ระดมเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษจู่โจมใต้น้ำ ค้นหานายบวร พุทธวัน อายุ 53 ปี หลังจมน้ำหายไปบริเวณฝายน้ำล้นห้วยบังฮวก บ้านหนองเบ็ญ ต.ดอนนางหงส์ อ.ธาตุพนม จ.นครพนม จากการสอบถามทราบว่า นายบวรออกไปหาปลากับหลาน อายุ 9 ขวบ ตั้งแต่ช่วงบ่ายวันที่ 19 ก.ค.ที่ผ่านมา แต่นายบวรถูกกระแสน้ำพัดหายไป โดยเจ้าหน้าที่พยายามค้นหาแต่ไม่พบร่าง เนื่องจากมีฝนตกหนัก ประกอบกับกระแสน้ำไหลอย่างรุนแรง

          ประท้วงเปิดประตูระบายน้ำ

          วันเดียวกัน ชาวนาในพื้นที่ ต.หลักชัย อ.ลาดบัวหลวง ต.เทพมงคล อ.บางซ้าย และ ต.ดอนทอง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา จำนวนกว่า 300 คน รวมตัวประท้วงบริเวณหน้า อบต.หลักชัย เพื่อเรียกร้องให้ นายพีระพงศ์ ลิมปนาธร ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาพระยาบันลือ เปิดประตูระบายน้ำพระยาบันลือ บริเวณวัดไผ่โรงวัว อ.สองพี่น้อง จ.สุพรรณบุรี หลังจากน้ำในคลองแห้งขอด ไม่สามารถสูบน้ำมาเลี้ยงต้นข้าวได้ ทำให้ต้นข้าวยืนต้นตาย ต่อมา นายพีระพงศ์เข้าเจรจากับตัวแทนชาวบ้าน พร้อมชี้แจงว่า เข้าใจความเดือดร้อนของชาวนา แต่รัฐบาลประกาศหยุดจ่ายน้ำเข้าคลอง เพื่อรักษาน้ำจืดในคลองท่าจีนไปผลักดันน้ำเค็ม และรักษาน้ำไว้อุปโภคบริโภค ทั้งนี้ตนจะเสนอไปยังกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้นำเรื่องดังกล่าวเข้าที่ประชุม ครม. ในวันที่ 21 ก.ค. เพื่อจะได้มีคำสั่งเปลี่ยนแปลง ทำให้ชาวบ้านพอใจและแยกย้ายกันกลับ อย่างไรก็ตามชาวบ้านระบุว่า หากรัฐบาลไม่มีคำสั่งให้เปิดประตูระบายน้ำ จะรวมตัวอีกครั้งและจะนำรถแบ็กโฮไปเปิดประตูระบายน้ำเอง

          ถนนเลียบคลอง 13 ทรุดเพิ่ม

          นายกฤชเทพ สิมลี รองอธิบดีกรมทางหลวงชนบท และคณะตรวจสอบชั้นดินถนนบริเวณถนนเลียบคลอง 13 ฝั่งตะวันออก หมู่ 5 ต.บึงน้ำรักษ์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี ทรุดตัวเป็นระยะทาง 50 เมตร มีความลึก 3 เมตร และถนนเลียบคลอง 13 ฝั่งตะวันออก หมู่ 4 ต.บึงคอไห อ.ลำลูกกา ทรุดตัวเป็นระยะทาง 100 เมตร มีความลึก 2 เมตร นายกฤชเทพ เปิดเผยว่า จากการตรวจสอบถนนทั้ง 2 จุด พบรอยทรุดตัวเพิ่ม และเร่งดำเนินการซ่อมแซมแต่ยังไม่สามารถเปิดใช้ถนนได้ เนื่องจากเกรงว่าจะเกิดอันตราย ส่วนสาเหตุมาจากน้ำในคลองลดระดับทำให้ถนนเกิดการทรุดตัว

          น้ำท่วมสตูลเริ่มคลี่คลาย

          นายบุญช่วย หอมยามเย็น นายอำเภอทุ่งหว้า จ.สตูล เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่ หมู่ 2, 4, และ 5 ต.ทุ่งบุหลัง และพื้นที่ หมู่ 1 และ 2 ต.นาทอน อ.ทุ่งหว้า ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ได้รับผลกระทบ 30 ครัวเรือน ขณะนี้ระดับน้ำเริ่มลดลงจนเกือบเข้าสู่ภาวะปกติ เนื่องจากฝนหยุดตก ประกอบกับน้ำทะเลหนุนน้อย ทำให้น้ำระบายลงทะเลอย่างรวดเร็ว แต่ทางอำเภอยังเตือนประชาชนให้เฝ้าระวังอย่างต่อเนื่อง

          อุตุเตือนอีสานฝนตกหนัก

          กรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า ร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเข้าสู่หย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงบริเวณอ่าวตังเกี๋ย ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ประเทศไทย และอ่าวไทย ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งในระยะ 1-2 วันนี้ ขอให้ประชาชนบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระมัดระวังอันตรายจากน้ำท่วมไว้ด้วย อนึ่ง คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันตอนบนตั้งแต่จังหวัดภูเก็ตขึ้นมายังคงมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร ขอให้ชาวเรือเดินเรือด้วย ความระมัดระวังและเรือเล็กบริเวณทะเลอันดามันควรงดออกจากฝั่งไว้ด้วย ในช่วงวันที่ 23-26 ก.ค. มรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามันประเทศไทย และอ่าวไทย จะมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับร่องมรสุมจะเลื่อนไปพาดผ่านประเทศพม่า และประเทศลาวตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยมีฝนลดลง

          พายุซัดเรือประมงล่ม 24 ลำ

          เมื่อเวลา 17.00 น. นายเศวตฉัตร สุวรรณรัตน์ ปลัดอาวุโสอำเภอเหนือคลอง จ.กระบี่ รับแจ้งเหตุเรือหางยาวชาวประมงล่ม บริเวณท่าเรือขึ้นแมงกะพรุน หมู่ 8 ต.ตลิ่งชัน ไปตรวจสอบพร้อมด้วยหน่วยกู้ภัยมูลนิธิประชาสันติสุขเหนือคลอง จากการตรวจสอบพบเรือประมงหางยาวล่มอยู่ห่างจากฝั่งประมาณ 30 เมตร 24 ลำ ส่วนลูกเรือว่ายน้ำเข้าฝั่งอย่างปลอดภัย นายเศวตฉัตรเปิดเผยว่า จากการสอบถามทราบว่า ขณะเกิดเหตุเรือประมงกำลังกลับเข้าฝั่งบริเวณอ่าวแหลมกรวด เพื่อนำแมงกะพรุนที่จับได้มาส่งที่ท่าเรือ แต่เกิดฝนตกหนักและมีคลื่นลมแรงทำให้เรือถูกคลื่นซัดจนล่ม แต่โชคดีไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ นอกจากนี้ มีเรือที่ยังไม่กลับเข้าฝั่ง และไม่สามารถติดต่อได้ 2 ลำ ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตาม

จาก http://www.thairath.co.th วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

คอลัมน์ หลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน: ฝนหลวงฯ....เร่งเติมน้ำในเขื่อน  

           ผ่านไปทางภาคเหนือ....ยามนี้ได้เห็นรอยยิ้มที่มุมปากเกษตรกรกันบ้างแล้ว เมื่อความชุ่มฉ่ำค่อยๆย่างก้าวฝ่าวิกฤติความแห้งแล้งจากฝนทิ้งช่วงมา 3-4 เดือน แม้ว่าจะยังไม่พอเพียงกับความต้องการ มันก็พอบรรเทาไปได้ระดับหนึ่ง...

          .....ถ้าว่าไปแล้วการเตรียมรับมือกับภัยแล้งนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มิได้เอื่อยเฉื่อยอย่างที่โจษขานกัน คุณ ชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงฯ ได้ตั้งการ์ดรับพอสมควรโดยกำชับ กรมชลประทาน ดำเนินการ บริหารจัดสรรน้ำต้นทุนซึ่งมีจำกัดอย่างรัดกุม...

          พร้อมกันนี้ก็ให้.....กรมฝนหลวงและการบินเกษตรเน้นปฏิบัติการมุ่งเพิ่มน้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศให้ได้มากที่สุดเพื่อให้น้ำต้นทุนเพียงพอหล่อเลี้ยงพื้นที่การเกษตร คุณวราวุธ ขันติยานันท์ อธิบดีกรมฝนหลวงฯ ก็ขานรับทันที....

          โดย สั่งการให้หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงทุกหน่วยเร่งทำฝนหลวงเพื่อหล่อเลี้ยงพื้นที่การเกษตรที่ประสบภัยฯอย่างเร่งด่วน...!!

          อธิบดีกรมฝนหลวงฯ เผยเรื่องนี้ว่า...ตั้งแต่ 1 มีนาคมเป็นต้นมา มีผู้ร้องขอฝนหลวงผ่านศูนย์ปฏิบัติการฯแล้วกว่า 320 ราย ใน 235 อำเภอ 58 จังหวัด ซึ่ง ฝูงบินฝนหลวงได้มีการขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง 104 วัน 2,728 เที่ยวบิน มีฝนตกใน 70 จังหวัด ช่วงระยะเวลาติดต่อกันถึง 103 วัน

          “.......ผลปฏิบัติการฝนหลวงช่วงที่ผ่านมาพบว่า พื้นที่ลุ่มน้ำในเขตภาคเหนือตอนบนมีฝนตกค่อนข้างดี อาทิ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน แพร่ และน่าน แต่ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำยังมีน้อยเนื่องจากดินยังไม่อิ่มตัว ทำให้มีน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำไม่มากนัก

          .....จึงต้องเร่งสร้างความชุ่มชื้นให้พื้นดินอิ่มตัวก่อน เมื่อฝนตกลงมาปริมาณน้ำจะได้สะสมเป็นน้ำต้นทุนในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำจะได้เพิ่มขึ้น....”

          อย่างไรก็ตาม....กรมฝนหลวงฯได้สั่งการให้นำเทคนิคการทำฝนด้วยพลุสารดูดความชื้นที่วิจัยและพัฒนาร่วมกับกองทัพอากาศมาปฏิบัติการเสริม ที่จังหวัดเชียงใหม่อีก 1 หน่วย

          ....พร้อมทั้งเตรียมเคลื่อนย้ายหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่ภาคใต้ ที่ช่วยเหลือพื้นที่จังหวัดภูเก็ตและจังหวัดใกล้เคียงขึ้นไปตั้งที่จังหวัดแพร่ เพื่อช่วยเสริมการเติมน้ำในเขื่อนสิริกิติ์ และ เตรียมจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดตากเสริมปฏิบัติการเติมน้ำในเขื่อนภูมิพล โดยดำเนินการทันทีหลังสนามบินจังหวัดตากซ่อมแซมแล้วเสร็จ...

          และ....อธิบดีกรมฝนหลวงฯ บอกเป็นการทิ้งท้ายว่า...ทุกขั้นตอนเป็นแผนงานได้ปฏิบัติการแบบยิ่งยวดเพื่อให้ทันต่อการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์ แม้ว่าจะมีอุปสรรค.....

          ส่งผลให้ถึงเป้าหมายช้า...ก็ต้องทำใจและให้โอกาส...!!!

จาก http://www.thairath.co.th  วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

มูลนิธิสายใจไทยฯ มอบ KTIS สานต่อศูนย์เรียนรู้การปลูกอ้อยตั้งเป้าผลผลิต 20 ตันอ้อยต่อไร่ เป็นแบบอย่างให้เกษตรกร

          มูลนิธิสายใจไทยฯ ลงนามในบันทึกข้อตกลงกับกลุ่ม KTIS มอบหมายโรงงานน้ำตาลไทยเอกลักษณ์ ดูแลศูนย์เรียนรู้การเพาะปลูกอ้อย และจัดทำแปลงสาธิตบนพื้นที่ 50 ไร่ ในนิคมสหกรณ์สวรรคโลก จ.สุโขทัย เป็นแหล่งเรียนรู้ในการเพาะปลูกอ้อยที่ทันสมัยให้แก่สมาชิกหมู่บ้านสายใจไทย เกษตรกร เยาวชนและผู้สนใจ โดยเฉพาะมุ่งหวังให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยใช้เป็นต้นแบบในการทำไร่อ้อยให้เป็นอาชีพที่ยั่งยืน โดยกลุ่ม KTIS ตั้งเป้าสร้างผลผลิตให้ได้ไม่ต่ำกว่า 20 ตันอ้อยต่อไร่

          มูลนิธิสายใจไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลง กับ บริษัท น้ำตาลไทยเอกลักษณ์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทน้ำตาลในกลุ่มบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KTIS เพื่อมอบให้โรงงานน้ำตาลไทยเอกลักษณ์ดำเนินโครงการแปลงสาธิตและศูนย์เรียนรู้การเพาะปลูกอ้อยที่จังหวัดสุโขทัย

          นายปรีชา อรรถวิภัชน์ ประธานกรรมการ KTIS เปิดเผยว่า โครงการแปลงสาธิตและศูนย์เรียนรู้การเพาะปลูกอ้อยนี้อยู่บนพื้นที่ 50 ไร่ ของมูลนิธิสายใจไทยฯ ที่ต้องการจัดทำแปลงสาธิตและศูนย์เรียนรู้การทำไร่อ้อยสำหรับสมาชิกหมู่บ้านสายใจไทย เกษตรกรชาวไร่อ้อยบริเวณใกล้เคียง นักเรียนนักศึกษา ตลอดจนผู้สนใจทั่วไป ได้เข้ามาฝึกอบรมและดูงาน เพื่อให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยได้เรียนรู้ว่า การทำไร่อ้อยอย่างถูกวิธีและได้ผลผลิตต่อไร่สูงจะต้องทำอย่างไร และสามารถนำไปพัฒนาการทำไร่อ้อยของตนเองให้ประสบความสำเร็จและเป็นอาชีพที่ยั่งยืน

          "โครงการนี้ มูลนิธิสายใจไทยฯ ซึ่งเชื่อมั่นในศักยภาพกระบวนการปลูกอ้อย บำรุงรักษาอ้อยและเก็บเกี่ยวอ้อยด้วยหลักวิชาการที่ทันสมัยของกลุ่ม KTIS ได้มอบหมายให้ฝ่ายไร่โรงงานน้ำตาลไทยเอกลักษณ์ของเราทำต่อเนื่องมากว่า 4 ปีแล้ว และได้รับผลที่ดียิ่งตามความประสงค์ มีเกษตรกร นักเรียนนักศึกษาและผู้สนใจทั่วไปมาเยี่ยมชมอยู่เสมอ โดยเมื่อ 5 ปีที่ผ่านมา ผลผลิตอ้อยต่อไร่ทั่วๆ ไป อยู่ที่ประมาณ 9 ตันต่อไร่ เราตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะทำให้ได้ 13 ตันต่อไร่ ซึ่งผลที่ได้จริงเฉลี่ย 14.73 ตันต่อไร่ ถือว่าบรรลุเป้าหมาย จึงได้มีการทำข้อตกลงต่อเนื่องอีก 5 ปี โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะต้องได้ผลผลิตไม่ต่ำกว่า 20 ตันอ้อยต่อไร่" นายปรีชากล่าว

          นายประพันธ์ ศิริวิริยะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม KTIS กล่าวเสริมว่า ที่ผ่านมาแหล่งเรียนรู้ที่เป็นต้นแบบในการทำไร่อ้อยที่ถูกวิธียังมีน้อย ทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยไม่สามารถพัฒนาผลผลิตอ้อยได้ดีเท่าที่ควร ซึ่งมูลนิธิสายใจไทยฯ เล็งเห็นว่า กลุ่ม KTIS ซึ่งประกอบธุรกิจโรงงานน้ำตาลหลายโรง รวมทั้งโรงงงานน้ำตาลไทยเอกลักษณ์มีระบบการดูแลชาวไร่อ้อยที่มีความพร้อมทั้งด้วยเทคโนโลยีวิชาการอ้อยที่ทันสมัยและมีความผูกพันเอาใจใส่ในการส่งเสริมให้ความรู้แก่ชาวไร่อ้อยคู่สัญญาอย่างเป็นรูปธรรมตลอดมา เช่น การจัดทำโครงการโรงเรียนเกษตรกรอ้อย โครงการสร้างทายาทชาวไร่อ้อย โครงการหมู่บ้านอ้อยสด โครงการหมู่บ้านดินดีมากมีอินทรียวัตถุ โครงการ บ-ว-ร (บ้าน-วัด-โรงเรียน) + โรงงานน้ำตาลไทยเอกลักษณ์ การคิดค้นต้นแบบระบบน้ำหยดสำหรับแปลงอ้อยในประเทศไทย การจัดหารถตัดอ้อยให้ชาวไร่อ้อย เป็นต้น ทางมูลนิธิฯ จึงให้เกียรติและให้ความไว้วางใจในการดำเนินโครงการนี้

          ทั้งนี้ ในการดำเนินโครงการดังกล่าว KTIS จะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดในการสร้างองค์ความรู้ให้กับสมาชิกหมู่บ้านสายใจไทย เกษตรกรชาวไร่อ้อย นักเรียนนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป เพื่อให้ทราบถึงวิธีการเพาะปลูกอ้อยอย่างถูกวิธี การใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเข้ามาใช้ในการเพาะปลูกบำรุงรักษาและเก็บเกี่ยว เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มผลผลิตอ้อยต่อไร่ เพื่อรักษาความยั่งยืนในการทำเกษตรให้แก่ชาวไร่อ้อยผ่านการจัดทำแปลงสาธิตการเพาะปลูกอ้อยและศูนย์การเรียนรู้การเพาะปลูกอ้อย           สำหรับแปลงสาธิตและศูนย์เรียนรู้การเพาะปลูกอ้อยนี้ ตั้งอยู่ที่หมู่ 3 บ้านทุ่งมหาชัย ตำบลคลองมะพลับ อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย ซึ่งมูลนิธิสายใจไทยฯ ได้ให้ความสำคัญกับการส่งเสริมภาคการเกษตร อันเป็นอาชีพที่สำคัญและเป็นความสามารถในการแข่งขันหลักของประเทศไทย จึงได้ให้ใช้ที่ดิน 50 ไร่ เพื่อดำเนินโครงการนี้

          นายประพันธ์ กล่าวด้วยว่า บริษัทฯ จะจัดอบรมให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยใน 5 อำเภอของจังหวัดสุโขทัย ได้แก่ อำเภอสวรรคโลก อำเภอศรีสัชนาลัย อำเภอศรีนคร อำเภอศรีสำโรง และอำภอทุ่งเสลี่ยม และจัดทัศนศึกษาดูการทำไร่อ้อยในขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่การเตรียมการก่อนการเพาะปลูก การปรับปรุงบำรุงดิน การปลูกอ้อย การบำรุงรักษาอ้อย การสร้างอินทรียวัตถุในดินโดยการปลูกพืชตระกูลถั่ว ซึ่งเป็นผลดีต่อสิ่งแวดล้อม การเก็บเกี่ยวอ้อยโดยใช้รถตัดอ้อยเพื่อให้ได้อ้อยสด และการบำรุงตออ้อย          

          "ต้องขอขอบคุณมูลนิธิสายใจไทยฯ ที่เห็นความสำคัญของการพัฒนาภาคการเกษตร โดยเฉพาะในเรื่องอ้อยซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญสำหรับการทำน้ำตาล เอทานอล และผลิตไฟฟ้า และเชื่อว่าโครงการแปลงสาธิตและศูนย์เรียนรู้การเพาะปลูกอ้อยที่ใช้เป็นเหล่งเรียนรู้การเพาะปลูกอ้อยที่ถูกวิธีให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อยเยาวชนและผู้สนใจนี้ จะเป็นประโยชน์ในการเพิ่มผลผลิตอ้อยและสร้างความมั่นคงให้กับอาชีพเกษตรกรได้ในระยะยาว คณะผู้บริหาร และพนักงานฝ่ายไร่กลุ่ม KTIS โดยเฉพาะของโรงงานน้ำตาลไทยเอกลักษณ์ที่เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบเรื่องนี้จะตั้งใจทุ่มเทกำลังความสามารถอย่างที่สุด เพราะเหนืออื่นใดเราถือว่าการดำเนินงานเรื่องนี้เป็นการตอบแทนบุญคุณแผ่นดินของเราด้วย" นายประพันธ์กล่าว

          นายณัฎฐปัญญ์ ศิริวิริยะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายธุรกิจชีวพลังงานและผลิตภัณฑ์ บริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KTIS ผู้นำในอุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ซื้อรถตัดอ้อยเพิ่มเติมในปีนี้อีก 13 คัน พร้อมทั้งได้ซื้อรถเก็บใบอ้อยเพิ่มอีก 3 คัน ซึ่งจะทำให้สามารถเพิ่มปริมาณอ้อยสด ลดอ้อยไฟไหม้ และได้ใบอ้อยมาใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวมวลในการผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากขึ้น

          "กลุ่ม KTIS ได้รณรงค์และผลักดันให้ชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดส่งเข้าโรงงานซึ่งก็ได้รับความร่วมมือจากพี่น้องชาวไร่อ้อยเป็นอย่างดี แต่ที่ผ่านมายังติดปัญหาเรื่องแรงงานตัดอ้อยที่นับวันจะขาดแคลน กลุ่มเราได้เล็งเห็นความสำคัญในเรื่องดังกล่าวจึงได้ลงทุนซื้อรถตัดอ้อยเข้ามาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาความขาดแคลนทางด้านแรงงานตัดอ้อย โดยในปัจจุบันกลุ่มเรามีรถตัดอ้อยมากถึง 78 คัน และในปีนี้ได้ซื้อเพิ่มอีก 13 คัน ดังนั้นในฤดูการผลิต 58/59 ที่จะมาถึงกลุ่มเราจะมีรถตัดอ้อยจำนวน 91 คัน ซึ่งยังไม่นับรวมในส่วนของพี่น้องชาวไร่อ้อยที่มีอีกเป็นจำนวนมาก" นายณัฎฐปัญญ์กล่าว

          นอกจากนี้ ทางกลุ่มบริษัทฯ ยังมีการรณรงค์ให้ความรู้กับพี่น้องชาวไร่อ้อยเพื่อให้เห็นคุณค่าและความสำคัญของอ้อยสด ไม่ว่าจะเป็นโครงการหมู่บ้านอ้อยสด โครงการสร้างแรงจูงใจด้วยการมอบรางวัลอ้อยสดประจำปี และโครงการอื่นๆ อีกหลายโครงการ และที่สำคัญในปีนี้กลุ่ม KTIS ก้าวต่อไปในระดับที่คิดค้นรณรงค์การนำใบอ้อย มาใช้ประโยชน์ในการเป็นเชื้อเพลิง จึงได้มีโครงการรับซื้อใบอ้อยเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับพี่น้องชาวไร่อ้อยอีกด้วย และเชื่อว่าโครงการนี้จะได้ผลในการเพิ่มสัดส่วนอ้อยสดและลดสัดส่วนอ้อยไฟไหม้ลงได้เป็นอย่างมาก เพราะใช้เหตุผลจูงใจง่ายๆ เพิ่มเติมว่าหากอ้อยถูกไฟไหม้ชาวไร่อ้อยก็จะขาดรายได้จากการขายใบอ้อย

ประธานเจ้าหน้าที่บริหารสายธุรกิจชีวพลังงานและผลิตภัณฑ์ KTIS กล่าวด้วยว่า ตลอดเวลาที่ผ่านมา ในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย จะเห็นได้ว่า อ้อยที่ชาวไร่ได้ตัดส่งมาขายให้กับทางโรงงาน มีใบอ้อยจำนวนมากที่สูญเสียไปกับการถูกไฟไหม้ และอีกจำนวนมากที่ไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่ ทาง KTIS จึงได้เริ่มโครงการรับซื้อใบอ้อยจากพี่น้องชาวไร่อ้อยอย่างเอาจริงเอาจัง ซึ่งในปีการผลิตที่จะถึงนี้กลุ่ม KTIS มีรถเก็บใบอ้อยรวมถึง 6 คัน ที่ได้สั่งซื้อจากต่างประเทศ นอกจากนั้นยังได้สั่งซื้อภายในประเทศอีกหลายคันรวมแล้วเป็นเงินลงทุนหลายสิบล้านบาท โดยคาดว่าในฤดูการผลิต 58/59 ทางกลุ่มน่าจะจัดเก็บใบอ้อยได้ประมาณ 2 แสนกว่าตัน โดยกลุ่ม KTIS ก็ได้ประโยชน์ในการนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงผลิตกระแสไฟฟ้าได้ประมาณ 145 ล้านกิโลวัตต์ ซึ่งจะก่อให้เกิดรายได้ของกลุ่มเพิ่มขึ้น รวมทั้งการลดความสูญเสียและเพิ่มรายได้ให้พี่น้องชาวไร่อ้อย อีกทั้งก่อให้เกิดประโยชน์ต่อระบบและต่อส่วนรวมเป็นอย่างมากโดยเฉพาะในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 21 กรกฎาคม 2558

กรมวิชาการเกษตร ประสบความสำเร็จสร้างต้นแบบการผลิตอ้อยปลอดโรคใบขาว

นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่ปลูกอ้อยและส่งออกน้ำตาลเป็นอันดับ 2 ของโลก จากอดีตที่ผ่านมา การระบาดของโรคใบขาวอ้อยได้สร้างความเสียหายให้แก่เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะจังหวัดนครราชสีมา ทำให้ผลผลิตอ้อยลดลงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ยังทำให้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรเพิ่มขึ้นด้วย เนื่องจากแปลงอ้อยที่มีโรคใบขาวระบาดเกษตรกรไม่สามารถไว้ตอได้ต้องซื้อท่อนพันธุ์ใหม่สำหรับฤดูปลูกถัดไป ดังนั้น กรมวิชาการเกษตรจึงให้ความสำคัญกับการระบาดของโรคใบขาวอ้อยเป็นอย่างมาก ได้มีการค้นคว้าวิจัยการควบคุมการระบาดของโรค ซึ่งจากผลงานวิจัยพบว่าเทคโนโลยีการผลิตที่ดีที่สุด คือ การนำระบบการจัดการศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสาน (Integrated Pest Management: IPM) เข้ามาใช้ รวมทั้งการจัดการดิน น้ำ ปุ๋ย อย่างเหมาะสม พร้อมทั้งกำจัดต้นที่แสดงอาการโรค และกำจัดเพลี้ยจักจั่นที่เป็นแมลงพาหะของโรคใบขาวอ้อย ร่วมกับการใช้ท่อนพันธุ์อ้อยสะอาดจากโรคใบขาว

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวต่อไปว่า จากการดำเนินงานที่ผ่านมาเกษตรกรเครือข่ายสมาคมชาวไร่อ้อยสุรนารี และบริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลโคราช จำกัด ได้ร่วมกันจัดทำแปลงอ้อยพันธุ์สะอาดปราศจากโรคใบขาว โดยนำเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตรดังกล่าวมาใช้ จากที่เคยมีพื้นที่การระบาดของโรคใบขาวอ้อยในปี 54 กว่า 40,000 ไร่ ลดการระบาดลงเหลือเพียง 4,000 ไร่ในปีเพาะปลูก 57/58

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวสรุปว่า โครงการการจัดการโรคใบขาวอ้อยในพื้นที่ระบาดโดยใช้ท่อนพันธุ์สะอาดจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและการจัดการธาตุอาหารพืช เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกรมวิชาการเกษตร และบริษัทอุตสาหกรรมน้ำตาลโคราช จำกัด เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2556 โดยศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรโนนสูง ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา ซึ่งการดำเนินงานประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก จึงได้กำหนดจัดงานวันชาวไร่อ้อย (Field Day) ขึ้น ภายใต้แนวคิด “ร่วมแรง ร่วมใจ ขจัดภัยโรคใบขาว” ณ สมาคมชาวไร่อ้อยสุนารี อ.พิมาย จ.นครราชสีมา เพื่อนำเสนอเทคโนโลยีการผลิตอ้อยสู่เกษตรกร ผู้ประกอบการและผู้ที่สนใจ โดยกรมวิชาการเกษตรมุ่งหวังว่าโครงการฯ นี้ จะเป็นต้นแบบสำหรับการป้องกันกำจัดโรคใบขาวอ้อยสู่โรงงานน้ำตาลอื่น ๆ ต่อไป

จาก http://www.thanonline.com วันที่ 21 กรกฎาคม 2558

ปัญหาภัยแล้งลุกลามหลายพื้นที่ ผนวกกับความกังวลต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ ส่งผลให้ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม มิ.ย. ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง ขณะที่การค้าชายแดนยังขยายตัวได้ดี

          นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมไทย (Thai Industries Sentiment Index: TISI) ในเดือนมิถุนายน 2558 จำนวน 1,203 ราย ครอบคลุม 43 กลุ่มอุตสาหกรรมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แยกเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมขนาดย่อม อุตสาหกรรมขนาดกลาง และอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ร้อยละ 30.7, 37.9 และ 31.4 ของกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด ตามลำดับ นอกจากนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ ร้อยละ 46.1,14.3,11.7,11.2 และ 16.7 ตามลำดับ และแบ่งตามกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดในประเทศ และกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นตลาดต่างประเทศ ร้อยละ 81.7 และ 18.3 ตามลำดับ โดยผลการสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2558 อยู่ที่ระดับ 84.0 ปรับตัวลดลงจากระดับ 85.4 ในเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้ค่าดัชนีฯ ที่ลดลงเกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

          ทั้งนี้ ความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ในเดือนมิถุนายน 2558 ยังคงปรับตัวลดลง เป็นเดือนที่ 6 ติดต่อกัน จากความกังวลต่อเศรษฐกิจภายในประเทศ ที่ได้รับผลกระทบจากการชะลอการใช้จ่ายของผู้บริโภค ปัญหาภัยแล้งที่รุกลามในหลายพื้นที่ ที่กระทบต่อรายได้ของเกษตรกรที่เป็นกำลังซื้อสำคัญของภาคอุตสาหกรรม รวมทั้งความกังวลต่อปัญหาเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญของไทย ทำให้ผู้ประกอบการต่างระมัดระวังในการประกอบการและการขยายการลงทุน อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการเห็นว่าการค้าชายแดนยังขยายตัวได้ดี และมีส่วนช่วยพยุงภาคการส่งออกของไทย ขณะเดียวกันในช่วงเวลาที่เหลือของปีงบประมาณ 2558 หากภาครัฐสามารถเร่งรัด การใช้จ่ายให้เป็นไปตามแผนการใช้งบประมาณก็จะมีส่วนสำคัญต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย

          ทั้งนี้ ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 99.0 ลดลงจากระดับ 100.9 ในเดือนพฤษภาคม โดยค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ที่ลดลง เกิดจากองค์ประกอบ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

          ส่วน ดัชนีความเชื่อมั่นจำแนกตามขนาดของของกิจการ ในเดือนมิถุนายน 2558 จากการสำรวจพบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯของอุตสาหกรรมทุกขนาด ปรับตัวลดลงจากเดือนพฤษภาคม

          โดย อุตสาหกรรมขนาดย่อม ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายน 2558 อยู่ที่ระดับ 74.4 ลดลงเล็กน้อยจากระดับ 74.7 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม, ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดย่อมที่ ค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลง ได้แก่ หัตถอุตสาหกรรม, อุตสาหกรรมไม้อัด ไม้บางและวัสดุแผ่น และอุตสาหกรรมเฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 94.6 ลดลงจาก 99.6 ใน เดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม, ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

          อุตสาหกรรมขนาดกลาง มีค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายน 2558 อยู่ที่ระดับ 80.9 ลดลงเล็กน้อยจาก 81.0 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีฯ ที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม, ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดกลางที่ค่าดัชนีฯปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมการพิมพ์และบรรจุภัณฑ์, อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์, อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ์ เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 98.6 เพิ่มขึ้นจาก 96.8 ในเดือนพฤษภาคมโดยองค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

          ด้าน อุตสาหกรรมขนาดใหญ่ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายน 2558 อยู่ที่ระดับ 97.2 ลดลงเล็กน้อยจากระดับ 97.9 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่ค่าดัชนีฯปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเหล็ก, อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็คทรอนิกส์และโทรคมนาคม และอุตสาหกรรมก๊าซ เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ อยู่ที่ระดับ 103.7 ลดลงจากระดับ 105.6 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

          ผลสำรวจ ดัชนีความเชื่อมั่นฯ รายภูมิภาค ประจำเดือนมิถุนายน 2558 จากการสำรวจพบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯของทุกภูมิภาค ปรับตัวลดลงจากเดือนพฤษภาคม

          ภาคกลาง พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายน 2558 อยู่ที่ระดับ 85.9 ลดลงจากระดับ 86.3 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ลดลงในเดือนนี้ ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมในภาคกลางที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมอาหาร (เนื่องจากสินค้าเกษตรแปรรูป เช่น ผักผลไม้ มันสำปะหลัง ข้าวโพด มีคำสั่งซื้อลดลงจากประเทศสหรัฐอเมริกา จีน และญี่ปุ่น จากปัญหาเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ขณะที่วิกฤติภัยแล้งและปริมาณน้ำฝนที่มีน้อย ทำให้เกษตรกรเพาะปลูกล่าช้า ส่งผลต่อการขาดแคลนวัตถุดิบในอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตร) อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็คทรอนิกส์และโทรคมนาคม (สินค้าประเภทอุปกรณ์ไฟฟ้า พีซี และสินค้าสำเร็จรูปบางประเภท มียอดขายในประเทศลดลง ขณะที่สินค้าประเภทหัวอ่าน DVD Hard disk มียอดการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป ลดลง เนื่องจากลูกค้ามีสต๊อกสินค้าในปริมาณสูง) อุตสาหกรรมเหล็ก (ผลิตภัณฑ์เหล็กแปรรูปโลหะ มียอดการส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรปลดลง ผลิตภัณฑ์เหล็กแผ่นรีดเย็น มียอดขายในประเทศลดลงเนื่องจากลูกค้ามีการชะลอการสั่งซื้อ) ขณะที่อุตสาหกรรมในภาคกลางที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมพลาสติก (ผลิตภัณฑ์ประเภทถุงพลาสติก ขวดพลาสติก และหลอดพลาสติก มียอดคำสั่งซื้อในประเทศเพิ่มขึ้น ขณะที่ชิ้นส่วนพลาสติก มียอดการส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศในเอเชียเพิ่มขึ้น เนื่องจากคุณภาพและราคาเป็นที่ต้องการของตลาดโลก) ทั้งนี้ ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 99.9 ลดลงจากระดับ 102.5 ในเดือนพฤษภาคม จากองค์ประกอบดัชนีฯ ที่คาดการณ์ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

ภาคเหนือ พบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายน 2558 อยู่ที่ระดับ 77.6 ลดลงเล็กน้อยจากระดับ 78.0 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมในภาคเหนือที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมสิ่งทอ (ผลิตภัณฑ์ประเภทไหมพรม เส้นไหมดิบ มียอดคำสั่งซื้อในประเทศลดลง ผลิตภัณฑ์ผ้าขนสัตว์เทียม เส้นไหมดิบ ผ้าไหม มียอดการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น, ตุรกี และเกาหลีใต้ ลดลง) หัตถอุตสาหกรรม (สินค้าประเภทหัตถกรรมฝีมือต่างๆ มียอดขายในประเทศลดลง เนื่องจากเป็นช่วง low season ทำให้นักท่องเที่ยวลดลง ผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา ดอกไม้ประดิษฐ์ และของที่ระลึก มียอดคำสั่งซื้อจากประเทศสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และตะวันออกกลาง ลดลง) อุตสาหกรรมหลังคาและอุปกรณ์ (ผลิตภัณฑ์แผ่นกระเบื้องหลังคา มียอดขายในประเทศลดลง เนื่องจากความต้องการใช้ในการก่อสร้างลดลง ขณะที่ผลิตภัณฑ์กระเบื้องไฟเบอร์ กระเบื้องลอนคู่ มียอดการส่งออกไปประเทศพม่า กัมพูชา และลาว ลดลงเช่นกัน) ทั้งนี้ อุตสาหกรรมในภาคเหนือ ที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมสมุนไพร (ผลิตภัณฑ์ยาสมุนไพรแปรรูปต่างๆ มียอดการส่งออกไปประเทศสหรัฐอเมริกา และสหภาพยุโรป เพิ่มขึ้น เนื่องจากกระแสสมุนไพรไทยเป็นที่นิยมในต่างประเทศ ขณะที่สมุนไพรประเภทสปา, สบู่สมุนไพร และสินค้า OTOP มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้น จากการจัดโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย) ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 97.4 เพิ่มขึ้นจากระดับ 96.8 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

          ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายน 2558 อยู่ที่ระดับ 80.6 ลดลงจากระดับ 81.5 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ทั้งนี้ อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่ม (ผลิตภัณฑ์ประเภทเสื้อไหมพรม เสื้อผ้าไหม มียอดการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น และจีน ลดลง เนื่องจากประเทศคู่ค้าชะลอการสั่งซื้อ ผลิตภัณฑ์ประเภทเสื้อยืด เสื้อผ้าสำเร็จรูป มียอดขายในประเทศลดลง) อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร (สินค้าประเภทอะไหล่รถขุด รถ ไถนา มียอดขายในประเทศลดลง เนื่องจากเกษตรกรมีรายได้ลดลง จากปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำและปัญหาภัยแล้ง) อุตสาหกรรมน้ำตาล (ยอดคำสั่งซื้อน้ำตาลทรายจากประเทศอินเดีย และแถบตะวันออกกลาง ลดลง) สำหรับอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมเซรามิก (สินค้าประเภทเครื่องเคลือบดินเผา และชุดอาหาร มียอดการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่นและไต้หวัน เพิ่มขึ้น) ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 94.8 เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับ 94.4 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์ที่เพิ่มขึ้น ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

          ภาคตะวันออก มีดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายน 2558 อยู่ที่ 85.2 ลดลงจากระดับ 88.9 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ โดยอุตสาหกรรมในภาคตะวันออกที่ส่งผลด้านลบต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ อุตสาหกรรมแก้วและกระจก (ผลิตภัณฑ์ประเภทขวดแก้ว คริสตัล มียอดขายในประเทศลดลง กระจกเงาและกระจกเคลือบผิว มียอดขายในต่างประเทศลดลง เช่น จีน และญี่ปุ่น) อุตสาหกรรมหล่อโลหะ(ผลิตภัณฑ์ขึ้นรูปต่างๆ โลหะตัวพิมพ์ มียอดขายในประเทศลดลง ประกอบกับต้นทุนที่สูงขึ้น) อุตสาหกรรมพลังงานทดแทน (ผลิตภัณฑ์ไบโอดีเซล เอทานอล มียอดขายในประเทศลดลง ประกอบกับปัญหาภัยแล้งทำให้ขาดแคลนวัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์แผงโซลาร์เซลล์ เครื่องทำความร้อนพลังงานแสงอาทิตย์ มียอดขายในประเทศลดลง เนื่องจากสต๊อกสินค้าของลูกค้าในประเทศมีจำนวนมาก) ทั้งนี้อุตสาหกรรมในภาคตะวันออกค่าดัชนีฯ ปรับตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ อุตสาหกรรมปิโตรเคมี (ผลิตภัณฑ์พื้นฐาน ได้แก่ เม็ดพลาสติก เม็ดไนลอน เบนซีน และพาราไซลีน มียอดคำสั่งซื้อเพิ่มขึ้นจากกลุ่มประเทศอาเซียน) ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 97.8 ลดลงจาก 103.5 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการและผลประกอบการ

          ส่วน ภาคใต้ พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ เดือนมิถุนายน 2558 อยู่ที่ระดับ 85.6 ลดลงจากระดับ 89.6 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ ทั้งนี้ อุตสาหกรรมในภาคใต้ที่ส่งผลด้านลบ ต่อค่าดัชนีฯ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ยาง (ยอดคำสั่งซื้อน้ำยางข้น และยางแผ่นรมควัน จากประเทศจีนลดลง เพราะยังมีสต็อกเหลืออยู่มาก ส่วนยอดคำสั่งซื้อภายในประเทศยังชะลอตัว) อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม (น้ำมันปาล์มมียอดคำสั่งซื้อลดลง เนื่องจากตลาดหลัก เช่น เอเชียใต้ จีน และอาเซียนมีการชะลอการสั่งซื้อ) อุตสาหกรรมโรงเลื่อยและโรงอบไม้ (สินค้าประเภทไม้แปรรูปมียอดคำสั่งซื้อลดลงจากโรงงานผลิตเฟอร์นิเจอร์ เนื่องจากมีสต๊อกสินค้าจำนวนมากประกอบกับเศรษฐกิจในประเทศชะลอตัว) ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 101.7 ลดลงจากระดับ 103.2 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีฯที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ยอดคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

          สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมจำแนกตามการส่งออก (ดัชนีความเชื่อมั่นฯ จำแนกตามร้อยละของการส่งออกต่อยอดขาย แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศกับกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ) โดยจากการสำรวจ พบว่า ในเดือนมิถุนายน 2558 จากการสำรวจพบว่า ค่าดัชนีความเชื่อมั่นฯ กลุ่มที่เน้นตลาดในประเทศ และกลุ่มที่เน้นตลาดต่างประเทศ ปรับตัวลดลงจากในเดือนพฤษภาคม

          กลุ่มที่มีการส่งออกน้อยกว่าร้อยละ 50 ของยอดขาย (เน้นตลาดในประเทศ) พบว่า ดัชนีความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 82.3 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจาก 82.6 ในเดือนพฤษภาคม โดยองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการ สำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯ ปรับตัวลดลง ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องจักรกลการเกษตร, อุตสาหกรรมแกรนิตและหินอ่อน, อุตสาหกรรมแก้วและกระจก เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯ คาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้า อยู่ที่ระดับ 98.8 ลดลงจากระดับ 100.3 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีฯ คาดการณ์ที่ลดลงได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

          กลุ่มที่มีการส่งออกตั้งแต่ร้อยละ 50 ของยอดขายขึ้นไป (เน้นตลาดในต่างประเทศ) พบว่า ดัชนี ความเชื่อมั่นฯ ในเดือนมิถุนายน อยู่ที่ระดับ 92.2 ลดลงจากระดับ 100.1 ในเดือนพฤษภาคม จากองค์ประกอบดัชนีฯ ที่ลดลงได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต ต้นทุนประกอบการ และผลประกอบการสำหรับอุตสาหกรรมในกลุ่มนี้ที่ค่าดัชนีฯ ลดลงได้แก่ อุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยาง, อุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็คทรอนิกส์และโทรคมนาคม และอุตสาหกรรมหนังและผลิตภัณฑ์หนัง เป็นต้น ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นฯคาดการณ์ 3 เดือนข้างหน้าอยู่ที่ระดับ 100.7 ลดลงจากระดับ 104.2 ในเดือนพฤษภาคม องค์ประกอบดัชนีฯคาดการณ์ที่ลดลง ได้แก่ ยอดรับคำสั่งซื้อโดยรวม ยอดขายโดยรวม ปริมาณการผลิต และผลประกอบการ

          สำหรับด้านสภาวะแวดล้อมในการดำเนินกิจการ เมื่อพิจารณาปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการประกอบการอุตสาหกรรมในเดือนมิถุนายน 2558 พบว่า ปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลเพิ่มขึ้น ได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจโลก และสถานการณ์การเมืองในประเทศ ส่วนปัจจัยที่ผู้ประกอบการมีความกังวลลดลง ได้แก่ อัตราแลกเปลี่ยน และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ สำหรับราคาน้ำมัน อยู่ในระดับทรงตัวจากเดือนก่อนหน้า

          อย่างไรก็ตาม ข้อเสนอแนะของผู้ประกอบการที่มีต่อภาครัฐในเดือนมิถุนายนนี้ คือ เร่งรัดการใช้จ่ายของภาครัฐให้เป็นไปตามแผนการใช้งบประมาณ เพื่อช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย เพิ่มการใช้จ่ายและบริโภคภายในประเทศ ด้วยมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ พร้อมหามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง และช่วยเสริมสภาพคล่องของผู้ประกอบการ SMEs โดยสนับสนุนให้สถาบันการเงินพิจารณาปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 21 กรกฎาคม 2558

กรมชลฯเชื่อ ส.ค.นี้ฝนมาเริ่มทำนาปีได้

กรมชลฯเชื่อ ส.ค.นี้ฝนมาเริ่มทำนาปีได้สำหรับปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำของทั้ง 4 เขื่อนในปัจจุบันนั้น ยังน้อยกว่าปริมาณน้ำที่ต้องระบายน้ำออก และน้อยกว่าค่าเฉลี่ย

นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ได้ชี้แจงการบริหารจัดการน้ำและแนวทางแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำที่เกิดขึ้นในขณะนี้ให้ตัวแทนสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้รับทราบแล้ว ซึ่งการจัดสรรน้ำให้แต่ละภาคส่วนนั้น จะให้ความสำคัญสำหรับน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค เป็นอันดับแรก รองลงมาจะเป็นน้ำเพื่อการรักษาระบบนิเวศ และน้ำเพื่อสนับสนุนการทำนาปี หากมีน้ำเหลือถึงจะจัดสรรน้ำสนับสนุนการทำนาปรัง โดยเฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่มีแหล่งน้ำต้นทุนมาจาก 4 เขื่อนใหญ่ คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ โดยมีพื้นที่ครอบคลุมถึง 22 จังหวัด ซึ่งจะต้องให้ความเป็นธรรมกับทุกพื้นที่ และทุกภาคส่วน

ขณะเดียวกันปลายเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2558 ปรากฏการณ์เอลนินโญ่กลับเด่นชัดขึ้น ทำให้ทุกภูมิภาคฝนตกน้อยกว่าเกณฑ์เฉลี่ยค่อนข้างมาก และคาดการณ์ว่าจะเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงยาวนานจนถึงปลายเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2558 จึงได้มีการปรับแผนการจัดสรรน้ำใหม่ โดยลดปริมาณการระบายน้ำออกจากเขื่อนทั้ง 4 แห่ง จนเหลือวันละ 28 ล้านลูกบาศก์เมตรในปัจจุบัน เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการในด้านอุปโภคบริโภค การรักษาระบบนิเวศ และช่วยเหลือนาปีที่ทำไปแล้วประมาณ 3.44 ล้านไร่ ส่วนนาปีที่ยังไม่ทำนั้นได้ขอให้ชะลอไปทำประมาณเดือนสิงหาคมซึ่งหลายสถาบันรวมถึงกรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์ตรงกันว่าจะมีฝนตกอย่างแน่นอน

สำหรับปริมาณน้ำที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำของทั้ง 4 เขื่อนในปัจจุบันนั้น ยังน้อยกว่าปริมาณน้ำที่ต้องระบายน้ำออก และน้อยกว่าค่าเฉลี่ย ในช่วงเดียวกันที่จะต้องมีน้ำไหลเข้าประมาณวันละ 25 ล้านลูกบาศก์เมตร สำหรับความต้องการใช้น้ำขั้นต่ำเมื่อสิ้นฤดูฝน กรณีไม่ปลูกข้าวนาปรัง หากระบายน้ำเฉลี่ยวันละประมาณ 28 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำที่เหลืออยู่ รวมกับปริมาณน้ำฝนที่จะตก

ตั้งแต่ขณะนี้เป็นต้นไปคาดการณ์ว่า หลังสิ้นฤดูฝนจะมีน้ำที่ใช้การได้ในเขื่อนทั้ง 4 แห่งรวมกันไม่น้อยกว่า 3,500 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเพียงพอสำหรับการอุปโภคบริโภค การรักษาระบบนิเวศ และการใช้น้ำช่วงต้นฤดูฝนเพื่อเตรียมการทำนาปีในปี 2559 ได้อย่างแน่นอน ดังนั้น ประชาชนที่กังวลเรื่องน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคจะขาดแคลนนั้น สบายใจได้ว่าไม่เกิดขึ้นในช่วงนี้.

จาก http://www.dailynews.co.th วันที่ 21 กรกฎาคม 2558

อำนวยยันถกช่วยภัยแล้งเสร็จอาทิตย์นี้-กรมชลฯเร่งระบายน้ำ

อำนวย เผย มาตรการช่วยเกษตรกรประสบภัยแล้ง เข้า ครม.เศรษฐกิจสัปดาห์นี้ ทำข้อมูลเกือบครบถ้วนแล้ว มองฝนเริ่มตกสถานการณ์กำลังดีขึ้น ด้าน อธิบดีกรมชลฯยันเร่งระบายน้ำช่วยเกษตรวันนี้

นายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ถึงมาตรการในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ว่า ได้มีการพูดคุยถึงหลักการมาแล้วตั้งแต่ต้น คาดจะมีการนำเข้า ครม.เศรษฐกิจ ได้ภายในสัปดาห์นี้ ซึ่งกำลังรอการรวบรวมและสรุปตัวเลขทั้งหมดอีกครั้ง โดยกรณีที่เกษตรกรมีการชะลอการเพาะปลูกตามคำสั่งของรัฐบาลแต่หากฝนไม่ตก เกษตรกรกลุ่มนี้จะมีการแยกการดูแลออกไปต่างหาก ส่วนผู้ที่มีการเพาะปลูกไปแล้ว เกิดความเสียหายจะต้องดูอัตราการชดเชยอีกระดับ ส่วนในพื้นที่ประกาศเป็นเขตภัยพิบัตินั้น ทางกระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรฯ กระทรวงการคลัง และ ธ.ก.ส. จะร่วมกันทำตัวเลขให้สอดคล้องและโปร่งใสกับความเป็นจริงของผู้ที่ได้รับผลกระทบอีกครั้ง

ทั้งนี้ ภาพรวมสถานการณ์ขณะนี้จากการติดตามเริ่มมีฝนตกลงมาแล้วนั้นมองว่าดีขึ้นกว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา เชื่อหากฝนตกตามกรมอุตุฯ ประกาศสถานการณ์จะคลี่คลายมากยิ่งขึ้น

จาก http://www.innnews.co.th วันที่ 21 กรกฎาคม 2558

สั่งเกาะติดย้ายฐานการผลิต อุตฯให้ทุกจังหวัดสำรวจข้อมูล บีโอไอมั่นใจไม่กระทบจ้างงาน 

          อุตฯ ตื่นสั่งจับตาโรงงานทั่วประเทศ ย้ายฐานผลิต บีโอไอ ไม่หวั่นมีความต้องการกว่าแสนราย

          แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาห กรรม เปิดเผยว่า หลังจากบริษัท ซัมซุง อิเล็คโทร-แม็คคานิคส์ นครราชสีมา มีคำสั่งปลดพนักงานกว่า 1,400 คน เพราะต้องการย้ายฐานการผลิตไปยังประเทศเพื่อนบ้าน รมว.อุตสาหกรรม จึงมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่อุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศตรวจสอบโรงงานขนาดใหญ่ทั่วประเทศ ว่ามีโรงงานกลุ่มใดบ้างที่มีแนวโน้มย้ายฐานการผลิตออกไป จนกระทบกับการลงทุนและการจ้างงาน

          ทั้งนี้ ได้รับรายงานจากอุตสาห กรรมจังหวัดนครราชสีมา ว่า การย้ายโรงงานไปเวียดนามพร้อมปลดแรงงานของบริษัท ซัมซุงฯ เป็นแผนที่มีอยู่แล้ว เนื่องจากตลาดต่างประเทศชะลอตัว เพียงแต่การปลดคนงานมีจำนวนมากกว่าที่คาดการณ์ไว้

          นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า แม้บริษัท ซัมซุงฯ จะย้ายฐานการผลิต แต่เชื่อว่าจะไม่กระทบแรงงานที่ถูกเลิกจ้าง เพราะซัมซุงไม่ใช่ผู้ผลิตอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์รายใหญ่ในไทย ขณะที่บริษัทผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ที่ใหญ่จริงและเป็นอันดับต้นของโลกอย่าง บริษัท เวสเทิร์น ดิจิตอล คอร์เปอเรชั่น (WD) อันดับหนึ่งของโลก และบริษัท ซีเกท เทคโนโลยี ประกาศว่าจะยังคงลงทุนและประกาศขยายการลงทุนในไทยต่อ

          ดังนั้น จึงมั่นใจว่า อุตสาหกรรมในไทยจะคงขยายตัว ส่วนโรงงานที่ปิดกิจการสาเหตุหลักน่าจะมาจากต้องการแรงงานราคาถูก และไม่ใช่แรงงานที่มีทักษะมาก ซึ่งนอกจากกรณีซัมซุง ที่ผ่านมากลุ่มเครื่อง นุ่งห่มที่ตัดเย็บไม่ซับซ้อนหลายรายในไทยก็ย้ายไปอยู่ประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนามและกัมพูชา เพื่อใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีในการส่งออก

          "ธุรกิจเอสเอ็มอีในพื้นที่อาจได้รับผลกระทบจากการปลดคนงานของซัมซุง ซึ่งเป็นหน้าที่ของภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือ โดยรัฐบาลได้จัดงบประมาณเพื่อดูแลอยู่แล้ว ดังนั้นเอสเอ็มอีสามารถขอความช่วยเหลือโดยตรงจากรัฐได้" นายจักรมณฑ์ กล่าว

          แหล่งข่าวจากสำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ยอดส่งเสริมการลงทุนในช่วง 6 เดือนแรกของปี มีทั้งสิ้น 1,254 โครงการ มูลค่าลงทุน 4.12 แสนล้านบาท ในจำนวนนี้มี 523 โครงการ ที่เป็นกิจการผลิตเพื่อส่งออก คาดว่าจะสร้างรายได้ปีละ 5.88 แสนล้านบาท แต่คาดว่าจะส่งออกจริงใน 1-3 ปีนับจากนี้ โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เกษตรกรรม เคมีภัณฑ์ พลาสติก และกระดาษ

          ทั้งนี้ หากโครงการที่ได้รับอนุมัติเปิดดำเนินการ จะมีการจ้างงานกว่า 1.04 แสนตำแหน่ง โดยกลุ่มอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ จะมีการจ้างงานเป็นอันดับหนึ่ง ตามมาด้วยกลุ่มโลหะ เครื่องจักร ยานยนต์และชิ้นส่วน กลุ่มเคมีภัณฑ์ พลาสติก และกระดาษ

          ขณะที่มีรายงานผู้บริหารบริษัท ซัมซุงฯ มีแผนจะเข้าพบผู้บริหาร บีโอไอในเร็วๆ นี้

จาก http://www.posttoday.com วันที่ 21 กรกฎาคม 2558

'อุ้มแล้ง'เฉพาะกิจผันเงินลงนา-ดึงน้ำเหมืองทำเกษตร 

          สถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นขณะนี้ เรียกได้ว่ามีความรุนแรงมากที่สุดในรอบกึ่งศตวรรษ และไม่ใช่เกิดขึ้นแบบทันทีทันใด แต่มีเค้าลางตั้งแต่ปลายปี 2557 แล้ว

          แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมารัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ จะตอบสนองต่อการแก้ปัญหาสถานการณ์ได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ยังไม่มากพอ เพราะผล กระทบภัยแล้งรุนแรงกว่าที่คาด

          เพราะเมื่อพิจารณามติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เกี่ยวกับมาตรการแก้ปัญหาผลกระทบภัยแล้ง พบว่า ครม.มีมติอนุมัติเพียง 2 มาตรการ วงเงิน 5,550 ล้านบาท

          คือ 1.มติ ครม.วันที่ 14 ต.ค. 2557 ที่อนุมัติงบ 2,377 ล้านบาท สำหรับแก้ปัญหาผลกระทบภัยแล้ง ปี 2557/2558 ซึ่งมีมาตรการ หลัก เช่น การจ้างงาน 300 บาท/วัน เพื่อซ่อมคูคลองในฤดูแล้ง อบรม และสนับสนุนปัจจัยการผลิต อาทิ พืชตระกูลถั่วและพืชปุ๋ยสด และ 2.มติ ครม.วันที่ 27 ม.ค. 2558 ที่อนุมัติงบ 3,173 ล้านบาท สำหรับในการดำเนินการโครงการสร้าง รายได้และพัฒนาการเกษตรแก่ชุมชนเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งในจังหวัดที่มีปัญหาภัยแล้งใน 53 จังหวัด หรือโครงการ 1 ตำบล 1 ล้านบาท

          แต่ปรากฏว่าเงินกว่า 7.82 หมื่นล้านบาท จมไปกับโครงการกู้เงินเพื่อลงทุนพัฒนาระบบบริหารจัดการน้ำ และระบบการขนส่งระยะเร่งด่วน ตามมติ ครม.เมื่อ วันที่ 17 มี.ค. 2558 โดยเฉพาะการกู้เงินลงทุนระบบน้ำกว่า 4 หมื่นล้านบาท ซึ่งขณะนี้มีการกู้เงินลงทุนไปแล้วเกือบ 50%

          นอกจากนี้ เมื่อพิจารณาจากงบลงทุนปี 2558 ที่คาดว่าจะมีโครงการที่ทำสัญญาก่อหนี้ผูกพันไม่ทันวันที่ 31 ก.ค. 2558 อย่างน้อยกว่า 6,000 ล้านบาท ที่จะถูกยึดคืนมาเพื่อจัดสรรในโครงการช่วยเหลือผลกระทบภัยแล้ง และงบปี 2558 ในหมวดงบกลางรายการสำรองจ่ายฉุกเฉินและจำเป็นที่ยังไม่มีการผูกพันอีกกว่า 4-5 หมื่นล้านบาท

          จึงเท่ากับว่ารัฐบาลมีงบเพียงพอสำหรับแก้ปัญหาภัยแล้งเฉพาะหน้าไม่ต่ำกว่า 6 หมื่นล้านบาท

          ล่าสุดหน่วยงานต่างๆ อยู่ระหว่างจัดเตรียมมาตรการบรรเทาผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งระยะเร่งด่วน ก่อนเสนอให้ที่ประชุม ครม.อนุมัติภายใน 1-2 สัปดาห์นี้

          ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า ในส่วนมาตรการเฉพาะหน้าเพื่อช่วยเหลือชาวนาที่มีปัญหาหนี้สิน ได้สั่งการให้กรมส่งเสริมสหกรณ์ไปหารือกับสหกรณ์ที่เป็นนิติบุคคล เพื่อผ่อนผันระยะเวลาการชำระหนี้สินให้กับเกษตรกรที่เดือดร้อนให้มากที่สุด และหารือร่วมกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ให้ช่วยดูแลภาระหนี้สินให้เกษตรกรลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งในขณะนี้

          กระทรวงเกษตรฯ เตรียมขอรับจัดสรรงบ 1,427 ล้านบาท เพื่อช่วยดูแลผลกระทบภัยแล้ง เช่น โครงการปรับโครงสร้างการผลิตในพื้นที่เขตชลประทานลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา 493 ล้านบาท โดยให้สถาบันการเงินรัฐปล่อยสินเชื่อให้เกษตรกรครัวเรือนละไม่เกิน 1 แสนบาท เพื่อปลูกพืชอื่นๆ อาทิ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ถั่วเขียว และพืชผัก โดยรัฐชดเชยดอกเบี้ย 3% พื้นที่เป้าหมาย 1.45 ล้านไร่ 1.24 แสนครัวเรือน

          และการจัดสรรเงินให้อำเภอทั่วประเทศ 877 อำเภอ อำเภอละ 1 ล้านบาท เป็นเงินรวม 877 ล้านบาท เพื่อใช้ในการจัดทำโครงการพัฒนาแหล่งอาหารชุมชน สร้างรายได้ และพัฒนาแหล่งน้ำในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบภัยแล้ง เป็นต้น

          ขณะที่ สุรพงษ์ เชียงทอง อธิบดีกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ (กพร.) กล่าวว่า จะเสนอเรื่องให้ รมว.อุตสาหกรรม และ ครม.อนุมัติให้สูบน้ำจากขุมเหมืองเก่ามาใช้ทำการเกษตรในช่วงภัยแล้ง ล่าสุดได้ประสานงานไปยังผู้ประกอบการเหมืองต่างๆ พบว่ามีน้ำที่จะสูบมาใช้ได้ 160 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) โดยแหล่งน้ำทั้งหมดมาจากเหมืองหิน เหมืองยิปซัม และเหมืองแบไรต์ ซึ่งไม่มีสารโลหะหนักที่เป็นอันตรายกับ ผู้บริโภค

          "น้ำในขุมเหมืองอยู่ในภาคเหนือมากที่สุด 150 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งกรมได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบคุณภาพน้ำเบื้องต้นว่าคุณภาพน้ำเหมาะแก่การอุปโภคบริโภคในลักษณะไหน โดยส่วนมากเหมาะที่จะนำไปใช้ในภาคการเกษตรมากที่สุด" สุรพงษ์ กล่าว

          สอดคล้องกับ ชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรฯ ให้ข้อมูลว่า เจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรฯ ได้รับการติดต่อจากเจ้าของเหมืองและบ่อทรายในพื้นที่ภาคกลางว่ายินดีจะให้ราชการสูบน้ำที่ขังในเหมืองไปใช้ในภาคเกษตรได้ แต่รัฐต้องนำเครื่องสูบน้ำมาเอง โดยเบื้องต้นพบว่าปริมาณน้ำรวมกันเกือบ 1,000 ล้าน ลบ.ม. หรือเท่ากับเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 1 อ่างเลยทีเดียว แต่ก่อนจะนำน้ำไปใช้จะต้องตรวจคุณภาพน้ำก่อนว่าเหมาะสมหรือไม่

          ปัญหาขณะนี้จึงไม่ได้อยู่ที่ว่ารัฐบาลไม่มีเงิน ไม่มีเครื่องมือ แต่อยู่ที่ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จะกล้าเติมเงินเพื่อใช้ในมาตรการบรรเทาปัญหาภัยแล้งเฉพาะหน้าหรือไม่

 จาก http://www.posttoday.com วันที่ 21 กรกฎาคม 2558

เตือนชาวไร่รับมือราคานํ้าตาลโลกดิ่งซํ้ากองทุนฯหนี้บาน

    ก.อุตสาหกรรม เตือนชาวไร่อ้อยรับวิกฤติราคาน้ำตาลโลกดิ่ง ฉุดราคาอ้อยฤดู 58/59 ร่วงที่ 700-800 บาทต่อตัน  ทั้งห่วงกรณีบราซิลและออสเตรเลีย ฟ้องผิดกติกาดับบลิวทีโอ เหตุอุดหนุนราคาส่งออกน้ำตาล จากการเก็บเงินขายน้ำตาลทรายกิโลกรัมละ 5 บาทเข้ากองทุนช่วยชาวไร่  จี้สมาคมชาวไร่อ้อยเร่งทำความเข้าใจ ก่อนเรียกร้องเงินชดเชย เหตุกองทุนรับภาระไม่ไหวเป็นหนี้ธ.ก.ส.แล้วกว่า 2.2 หมื่นล้านบาท

    นายพิชัย ตั้งชนะชัยอนันต์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.) เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ขณะนี้ทางกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสมาคมชาวไร่อ้อยต่างๆ ไปทำความเข้าใจกับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ให้รับทราบถึงสถานการณ์แนวโน้มของราคาอ้อยในฤดูหีบ 2558-2559 ที่จะมาถึง ว่าจะอยู่ในระดับ 700-800 บาทต่อตันเท่านั้น ต่ำกว่าฤดู 2557/2558 ที่เคยได้รับราคาขั้นอ้อยต้นไปที่ 900 บาทต่อตัน ที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงอยู่ในระดับ 13-14 เซ็นต์ต่อปอนด์ เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยของฤดู 2557/2558 ที่ 15 เซ็นต์ต่อปอนด์

    โดยเฉพาะข้อมูลของนายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้คาดการณ์ว่าราคาอ้อยขั้นต้นที่จะนำมาใช้ในฤดูที่จะถึงนี้ หากราคาน้ำตาลทรายโลกอยู่ในระดับ 13.58 เซ็นต์ต่อปอนด์ อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ในระดับ 33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ค่าความหวานอยู่ที่ 12.25 ซีซีเอส จะส่งผลให้ราคาอ้อยอยู่ที่ระดับ 763.58 บาทต่อตัน และหากราคาน้ำตาลทรายอยู่ที่ 14.50 บาทต่อตัน ราคาอ้อยจะอยู่ที่ 824.05 บาทต่อตัน 

    ในขณะที่ฤดูการผลิตที่ผ่านมาชาวไร่อ้อยได้รับราคาอ้อยขั้นต้นที่ 900 บาทต่อตัน และได้รับการช่วยเหลือต้นทุนการผลิตจากกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย จากการกู้เงินธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)อีก 160 บาทต่อตัน รวมเป็นเงิน 1.69 หมื่นล้านบาท

    ดังนั้น เมื่อราคาอ้อยในฤดูที่จะมาถึงตกต่ำ การที่จะให้ภาครัฐเข้าไปช่วยเหลือให้ราคาอ้อยเท่ากับระดับฤดูที่ผ่านมาจึงมีความยากลำบาก เพราะเวลานี้เองกองทุนอ้อยและน้ำตายทรายก็เป็นหนี้ธ.ก.ส.แล้วกว่า 2.2 หมื่นล้านบาท อีกทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อยากเห็นการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ให้ทันก่อนที่จะเปิดหีบในช่วงเดือนธันวาคมนี้ ระหว่างนี้ก่อนที่คณะกรรมการอ้อยและตาลทราย ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทน 3 ฝ่าย ประกอบด้วย ชาวไร่ โรงงานน้ำตาล และภาครัฐ จะหารือในการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นฤดู 2558/2559  อยากให้ชาวไร่และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าใจกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ที่จะมาเรียกร้องกำหนดราคาอ้อยให้สูงขึ้นไปหรือเรียกร้องเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิตที่มีมาอย่างต่อเนื่องทุกปี

    นายพิชัย กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ อยากให้ชาวไร่อ้อยเข้าใจกับสถานการณ์ของประเทศไทย ที่กำลังถูกจับตามองของประเทศผู้ส่งออกน้ำตาลของโลกอย่างบราซิลและออสเตรเลีย ที่ขณะนี้ได้ส่งทนายเข้ามาหาข้อมูลว่ารัฐบาลไทยมีการอุดหนุนราคาส่งออกน้ำตาล เพื่อเตรียมที่จะส่งฟ้ององค์การการค้าโลกหรือดับบลิวทีโอ ที่ถูกมองว่า การเก็บเงินจากการจำหน่ายน้ำตาลทรายในประเทศในกิโลกรัมละ 5 บาท ส่งเข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อนำเงินไปใช้หนี้ธ.ก.ส.ที่กู้เงินมา เป็นการช่วยเหลือชาวไร่อ้อย ให้สามารถปลูกอ้อยในปริมาณที่เพิ่มขึ้น และส่งผลให้มีการส่งออกน้ำตาลในประมาณที่เพิ่มขึ้นด้วยนั้น เป็นการผิดกติกาของการค้าโลก  ซึ่งในช่วงเดือนพฤศจิกายนทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคงจะได้ไปชี้แจ้งให้ทางบราซิลเข้าใจ ซึ่งหากไม่มีการปรับโครงสร้างตรงจุดนี้หรือลดเงินช่วยเหลือ อาจจะเป็นช่องให้คู่แข่งโจมตีประเทศไทยได้ ซึ่งต้องอธิบายให้ชาวไร่เข้าใจในจุดนี้ถึงความจำเป็นด้วย

    ทั้งนี้ ในการปรับโครงสร้างของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ในส่วนของชาวไร่เอง ทำอย่างไรจะลดต้นทุนการผลิตให้ได้ โดยการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ซึ่งขณะนี้ทางกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย ได้อนุมัติเงิน 2 พันล้านบาท สำหรับปล่อยให้เกษตรกรนำไปซื้อรถตัดอ้อยวงเงิน 1.5 พันล้านบาท อีก 500 ล้านบาท สำหรับการทำระบบชลประทานขนาดเล็กในไร่

    นอกจากนี้ ทางคณะรัฐมนตรีก็ได้อนุมัติให้ธ.ก.ส.ปล่อยเงินกู้อีกปีละ 3 พันล้านบาท เป็นเวลา 3 ปี เพื่อให้เกษตรกรไปจัดซื้ออุปกรณ์ทางการเกษตรและทำระบบชลประทาน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงบประมาณ คาดว่าจะมีการนำมาใช้ได้ในเร็วๆ นี้ หากเกษตรกรเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้ ก็จะเป็นการช่วยลดต้นทุนการปลูกอ้อยได้ทางหนึ่ง

    นายธีระชัย แสนแก้ว ประธานชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน กล่าวว่า  ในส่วนของชาวไร่เองคงต้องมีการสำรวจต้นทุนของตัวเองก่อนว่าเป็นอย่างไร เพราะต้นทุนการปลูกอ้อยไม่ได้เท่ากันทุกปี และหลังจากนั้นถึงจะไปกำหนดได้ว่าต้นทุนที่แท้จริงควรเป็นเท่าใด เพื่อนำเสนอในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ซึ่งในปีนี้ยอมรับว่าเป็นวิกฤติของโลกที่เกิดขึ้น การที่จะได้ราคาอ้อยเต็มเม็ดเต็มหน่วยคงจะไม่เกิดขึ้น และคงต้องมองถึงการช่วยเหลือต้นทุนหากครม.จะอนุมัติ 300 บาทต่อตัน เพื่อให้เท่ากับฤดูที่ผ่านมา จะมีปัญหาตามมาว่าทางธ.ก.ส.ยอมที่จะปล่อยกู้หรือไม่ เพราะหนี้เก่ายังมีค้างอยู่จำนวนมาก แต่หากมองว่าระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันดีอยู่แล้ว ดังนั้น การจะเป็นหนี้เพิ่มจึงไม่น่าแปลกอะไร

    ดังนั้น การแก้ปัญหาจะต้องหารือกันให้ได้ข้อสรุป ข้อมูลของต้นทุนจะต้องมีที่มาที่ไปให้ได้ และจะต้องเร่งชี้แจงทำความเข้าใจกับทางบราซิลว่า การดำเนินงานช่วยเหลือที่เป็นอยู่ ไม่ได้ขัดกับดับบลิวทีโอแต่อย่างใด

    นายปารเมศ โพธารากุล ประธานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หากราคาอ้อยขั้นต้นฤดู 2558/2559 อยู่ในระดับ 700-800 บาทต่อตัน เมื่อเทียบกับฤดู 2557/2558 ที่ 900 บาทต่อตัน หากไม่ช่วยชาวไร่อ้อย ปริมาณอ้อยที่เข้าโรงงานก็จะลดลง และจะกระทบกับโรงงานน้ำตาลที่ก่อสร้างขึ้นใหม่จะไม่มีอ้อยป้อนโรงงาน การส่งออกน้ำตาลก็จะลดลง จะแก้ปัญหานี้อย่างไร ซึ่งการกู้เงินจากธ.ก.ส.มาเพิ่มเพื่อช่วยเหลือชาวไร่อ้อย มีระยะเวลาในการใช้หนี้ 18 เดือน หากราคาน้ำตาลในตลาดโลกในปีต่อๆไป ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ก็สามารถลดเงินช่วยเหลือได้ ดังนั้น ภาครัฐควรจะช่วยเหลือชาวไร่อ้อยซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศก่อน 

เตือนชาวไร่รับมือราคานํ้าตาลโลกดิ่งซํ้ากองทุนฯหนี้บาน

    ก.อุตสาหกรรม เตือนชาวไร่อ้อยรับวิกฤติราคาน้ำตาลโลกดิ่ง ฉุดราคาอ้อยฤดู 58/59 ร่วงที่ 700-800 บาทต่อตัน  ทั้งห่วงกรณีบราซิลและออสเตรเลีย ฟ้องผิดกติกาดับบลิวทีโอ เหตุอุดหนุนราคาส่งออกน้ำตาล จากการเก็บเงินขายน้ำตาลทรายกิโลกรัมละ 5 บาทเข้ากองทุนช่วยชาวไร่  จี้สมาคมชาวไร่อ้อยเร่งทำความเข้าใจ ก่อนเรียกร้องเงินชดเชย เหตุกองทุนรับภาระไม่ไหวเป็นหนี้ธ.ก.ส.แล้วกว่า 2.2 หมื่นล้านบาท

    นายพิชัย ตั้งชนะชัยอนันต์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.) เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ขณะนี้ทางกระทรวงอุตสาหกรรม ได้มอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงสมาคมชาวไร่อ้อยต่างๆ ไปทำความเข้าใจกับกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ให้รับทราบถึงสถานการณ์แนวโน้มของราคาอ้อยในฤดูหีบ 2558-2559 ที่จะมาถึง ว่าจะอยู่ในระดับ 700-800 บาทต่อตันเท่านั้น ต่ำกว่าฤดู 2557/2558 ที่เคยได้รับราคาขั้นอ้อยต้นไปที่ 900 บาทต่อตัน ที่ได้รับผลกระทบจากราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงอยู่ในระดับ 13-14 เซ็นต์ต่อปอนด์ เมื่อเทียบกับราคาเฉลี่ยของฤดู 2557/2558 ที่ 15 เซ็นต์ต่อปอนด์

    โดยเฉพาะข้อมูลของนายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้คาดการณ์ว่าราคาอ้อยขั้นต้นที่จะนำมาใช้ในฤดูที่จะถึงนี้ หากราคาน้ำตาลทรายโลกอยู่ในระดับ 13.58 เซ็นต์ต่อปอนด์ อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ในระดับ 33.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ค่าความหวานอยู่ที่ 12.25 ซีซีเอส จะส่งผลให้ราคาอ้อยอยู่ที่ระดับ 763.58 บาทต่อตัน และหากราคาน้ำตาลทรายอยู่ที่ 14.50 บาทต่อตัน ราคาอ้อยจะอยู่ที่ 824.05 บาทต่อตัน 

    ในขณะที่ฤดูการผลิตที่ผ่านมาชาวไร่อ้อยได้รับราคาอ้อยขั้นต้นที่ 900 บาทต่อตัน และได้รับการช่วยเหลือต้นทุนการผลิตจากกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย จากการกู้เงินธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)อีก 160 บาทต่อตัน รวมเป็นเงิน 1.69 หมื่นล้านบาท

    ดังนั้น เมื่อราคาอ้อยในฤดูที่จะมาถึงตกต่ำ การที่จะให้ภาครัฐเข้าไปช่วยเหลือให้ราคาอ้อยเท่ากับระดับฤดูที่ผ่านมาจึงมีความยากลำบาก เพราะเวลานี้เองกองทุนอ้อยและน้ำตายทรายก็เป็นหนี้ธ.ก.ส.แล้วกว่า 2.2 หมื่นล้านบาท อีกทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี อยากเห็นการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ให้ทันก่อนที่จะเปิดหีบในช่วงเดือนธันวาคมนี้ ระหว่างนี้ก่อนที่คณะกรรมการอ้อยและตาลทราย ซึ่งประกอบไปด้วยตัวแทน 3 ฝ่าย ประกอบด้วย ชาวไร่ โรงงานน้ำตาล และภาครัฐ จะหารือในการกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นฤดู 2558/2559  อยากให้ชาวไร่และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าใจกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ที่จะมาเรียกร้องกำหนดราคาอ้อยให้สูงขึ้นไปหรือเรียกร้องเงินช่วยเหลือต้นทุนการผลิตที่มีมาอย่างต่อเนื่องทุกปี

    นายพิชัย กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ อยากให้ชาวไร่อ้อยเข้าใจกับสถานการณ์ของประเทศไทย ที่กำลังถูกจับตามองของประเทศผู้ส่งออกน้ำตาลของโลกอย่างบราซิลและออสเตรเลีย ที่ขณะนี้ได้ส่งทนายเข้ามาหาข้อมูลว่ารัฐบาลไทยมีการอุดหนุนราคาส่งออกน้ำตาล เพื่อเตรียมที่จะส่งฟ้ององค์การการค้าโลกหรือดับบลิวทีโอ ที่ถูกมองว่า การเก็บเงินจากการจำหน่ายน้ำตาลทรายในประเทศในกิโลกรัมละ 5 บาท ส่งเข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อนำเงินไปใช้หนี้ธ.ก.ส.ที่กู้เงินมา เป็นการช่วยเหลือชาวไร่อ้อย ให้สามารถปลูกอ้อยในปริมาณที่เพิ่มขึ้น และส่งผลให้มีการส่งออกน้ำตาลในประมาณที่เพิ่มขึ้นด้วยนั้น เป็นการผิดกติกาของการค้าโลก  ซึ่งในช่วงเดือนพฤศจิกายนทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องคงจะได้ไปชี้แจ้งให้ทางบราซิลเข้าใจ ซึ่งหากไม่มีการปรับโครงสร้างตรงจุดนี้หรือลดเงินช่วยเหลือ อาจจะเป็นช่องให้คู่แข่งโจมตีประเทศไทยได้ ซึ่งต้องอธิบายให้ชาวไร่เข้าใจในจุดนี้ถึงความจำเป็นด้วย

    ทั้งนี้ ในการปรับโครงสร้างของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ในส่วนของชาวไร่เอง ทำอย่างไรจะลดต้นทุนการผลิตให้ได้ โดยการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ซึ่งขณะนี้ทางกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย ได้อนุมัติเงิน 2 พันล้านบาท สำหรับปล่อยให้เกษตรกรนำไปซื้อรถตัดอ้อยวงเงิน 1.5 พันล้านบาท อีก 500 ล้านบาท สำหรับการทำระบบชลประทานขนาดเล็กในไร่

    นอกจากนี้ ทางคณะรัฐมนตรีก็ได้อนุมัติให้ธ.ก.ส.ปล่อยเงินกู้อีกปีละ 3 พันล้านบาท เป็นเวลา 3 ปี เพื่อให้เกษตรกรไปจัดซื้ออุปกรณ์ทางการเกษตรและทำระบบชลประทาน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงบประมาณ คาดว่าจะมีการนำมาใช้ได้ในเร็วๆ นี้ หากเกษตรกรเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้ ก็จะเป็นการช่วยลดต้นทุนการปลูกอ้อยได้ทางหนึ่ง

    นายธีระชัย แสนแก้ว ประธานชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน กล่าวว่า  ในส่วนของชาวไร่เองคงต้องมีการสำรวจต้นทุนของตัวเองก่อนว่าเป็นอย่างไร เพราะต้นทุนการปลูกอ้อยไม่ได้เท่ากันทุกปี และหลังจากนั้นถึงจะไปกำหนดได้ว่าต้นทุนที่แท้จริงควรเป็นเท่าใด เพื่อนำเสนอในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ซึ่งในปีนี้ยอมรับว่าเป็นวิกฤติของโลกที่เกิดขึ้น การที่จะได้ราคาอ้อยเต็มเม็ดเต็มหน่วยคงจะไม่เกิดขึ้น และคงต้องมองถึงการช่วยเหลือต้นทุนหากครม.จะอนุมัติ 300 บาทต่อตัน เพื่อให้เท่ากับฤดูที่ผ่านมา จะมีปัญหาตามมาว่าทางธ.ก.ส.ยอมที่จะปล่อยกู้หรือไม่ เพราะหนี้เก่ายังมีค้างอยู่จำนวนมาก แต่หากมองว่าระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันดีอยู่แล้ว ดังนั้น การจะเป็นหนี้เพิ่มจึงไม่น่าแปลกอะไร

    ดังนั้น การแก้ปัญหาจะต้องหารือกันให้ได้ข้อสรุป ข้อมูลของต้นทุนจะต้องมีที่มาที่ไปให้ได้ และจะต้องเร่งชี้แจงทำความเข้าใจกับทางบราซิลว่า การดำเนินงานช่วยเหลือที่เป็นอยู่ ไม่ได้ขัดกับดับบลิวทีโอแต่อย่างใด

    นายปารเมศ โพธารากุล ประธานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หากราคาอ้อยขั้นต้นฤดู 2558/2559 อยู่ในระดับ 700-800 บาทต่อตัน เมื่อเทียบกับฤดู 2557/2558 ที่ 900 บาทต่อตัน หากไม่ช่วยชาวไร่อ้อย ปริมาณอ้อยที่เข้าโรงงานก็จะลดลง และจะกระทบกับโรงงานน้ำตาลที่ก่อสร้างขึ้นใหม่จะไม่มีอ้อยป้อนโรงงาน การส่งออกน้ำตาลก็จะลดลง จะแก้ปัญหานี้อย่างไร ซึ่งการกู้เงินจากธ.ก.ส.มาเพิ่มเพื่อช่วยเหลือชาวไร่อ้อย มีระยะเวลาในการใช้หนี้ 18 เดือน หากราคาน้ำตาลในตลาดโลกในปีต่อๆไป ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ก็สามารถลดเงินช่วยเหลือได้ ดังนั้น ภาครัฐควรจะช่วยเหลือชาวไร่อ้อยซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศก่อน 

จาก http://www.thanonline.com  วันที่ 20 กรกฎาคม 2558 

ส่งออกน้ำตาลไปจีนไม่กระทบ 5 เดือนแรกยอดพุ่ง 3.3 แสนตัน

    เจาะรายอุตสาหกรรมกระทบ-ไม่กระทบส่งออกไปจีน ล่าสุดยางพารากระทบแล้ว ขณะที่อุตสาหกรรมน้ำตาลมั่นใจไม่กระทบ ชี้ปีนี้จีนนำเข้าน้ำตาลจากไทยพุ่งกระฉูด จีนบริโภคในประเทศสูงถึง 15 ล้านตัน/ปี "พีทีทีจีซี"ลั่น เม็ดพลาสติกคำสั่งซื้อยังไม่ลดลง

    นายหลักชัย  กิตติพล นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมยางพาราไทย กล่าวว่า ที่ผ่านมาการส่งออกของไทยในภาพรวมทุกสินค้า รวมถึงยางพาราไปจีนอยู่ในภาวะชะลอตัว(5 เดือนแรกการส่งออกไทยไปจีนภาพรวมทุกสินค้าในรูปดอลลาร์สหรัฐฯติดลบ 8.20%  ส่วนยางพาราติดลบถึง 37.85%)เป็นผลจากเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัว ส่วนวิกฤติฟองสบู่ตลาดหุ้นจีนเชื่อรัฐบาลจีนจะเอาอยู่ โดยจีนเป็นระบบคอมมิวนิสต์ มีมาตรการแก้ไขปัญหาไม่เหมือนชาติตะวันตก

    "จีนมีทุนสำรองเงินตราระหว่างประเทศมากที่สุดในโลกกว่า 4 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คาดจะใช้ในการแก้ไขปัญหาได้ ซึ่งวิกฤติฟองสบู่ตลาดหุ้นจีนถือว่าน่าห่วงมากกว่าวิกฤตการณ์ทางการเงินในกรีซ เพราะกระทบต่อไทยโดยตรง และจีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญ ขณะที่ที่จีนมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่อันดับ 2 ของโลกรองจากสหรัฐฯ"

ภิรมย์ศักดิ์ สาสุนีย์ภิรมย์ศักดิ์ สาสุนีย์    ด้านนายภิรมย์ศักดิ์ สาสุนีย์ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัทค้าผลผลิตน้ำตาล จำกัด กล่าวถึงการส่งออกน้ำตาลว่า  ปัจจุบันจีนเป็นตลาดส่งออกที่สำคัญของไทย โดยการส่งออกของไทยในช่วง 5 เดือนแรกปี 2558 มีการส่งออกรวมทั้งสิ้น 2.84 ล้านตัน เทียบกับปีก่อนช่วงเดียวกันอยู่ที่ 2.94 ล้านตัน ลดลง 3.26% โดยประเทศที่มีการนำเข้าน้ำตาลจากไทยในช่วง 5 เดือนแรกปีนี้เปรียบเทียบช่วงเดียวกันปีก่อน ประกอบด้วยอินโดนีเซีย นำเข้าลดลงจาก 1.027 ล้านตันปีที่แล้ว ลดเหลือ 4.680 แสนตัน จีนนำเข้าเพิ่มขึ้นจาก 8.153 หมื่นตัน เป็น 3.389 แสนตัน ญี่ปุ่นปีที่แล้วนำเข้า 2.898 แสนตัน เพิ่มเป็น 3.220 แสนตัน

    "ยังมั่นใจว่าจะไม่กระทบการส่งออกน้ำตาลไปจีนในปีนี้ หากดูจาก 5 เดือนแรกส่งออกน้ำตาลไปจีนเพิ่มขึ้นมาก ประกอบกับช่วงนี้ราคาน้ำตาลทรายดิบโลกตกต่ำลงอยู่ที่ 11-12 เซ็นต์ต่อปอนด์ ยิ่งน่าจูงใจในการซื้อ ซึ่งปัจจุบันจีนมีกำลังผลิตน้ำตาลภายในประเทศเพียง 10 ล้านตันต่อปียังไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ  เนื่องจากมีการบริโภคน้ำตาลสูงถึง 15 ล้านตันต่อปี จึงยังต้องพึ่งพาการนำเข้า"

    นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอลเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือพีทีทีจีซี กล่าวว่า ขณะนี้ปัญหาวิกฤติตลาดหุ้นของจีน เริ่มปรับตัวดีขึ้น จากมาตรการของรัฐบาลจีนที่เร่งออกมา จึงคาดว่าวิกฤติที่เกิดขึ้นจะเป็นเพียงระยะสั้นเท่านั้น ซึ่งการส่งออกเม็ดพลาสติกของบริษัทไปยังประเทศจีนยังไม่ได้รับผลกระทบแต่อย่างใด โดยคำสั่งซื้อไม่ได้ลดลง ปัจจุบันยอดส่งออกเม็ดพลาสติกไปจีนอยู่ที่ประมาณ 10% ของยอดขายเม็ดพลาสติกทั้งหมด

    โดยบริษัทได้มีการตั้งทีมงานเพื่อติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดตั้งแต่ปี 2557 ที่ผ่านมา เพื่อพิจารณาความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งมีการบริหารความเสี่ยงด้านส่วนต่างราคาด้วย ดังนั้นจากวิกฤติในครั้งนี้จึงยังไม่ส่งผลกระทบต่อยอดส่งออกของบริษัทมากนัก

    อนึ่งสินค้าส่งออกของไทยไปจีนมากที่สุด 5 อันดับช่วง 5 เดือนแรกปี 2558 ประกอบด้วย เม็ดพลาสติก, ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง, ยางพารา, เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ และเคมีภัณฑ์

จาก http://www.thanonline.com  วันที่ 20 กรกฎาคม 2558

ปลัดเกษตรฯ หารือแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างไทย-ญี่ปุ่น

          นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับนายฮิซาโอะ ฮาริฮารา Vice-Minister for International Affairs กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ว่า ญี่ปุ่นให้ความสำคัญภาคการเกษตรกับประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการจัดตั้งกรอบความร่วมมือด้านการเกษตร ผ่านความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งควรจะต้องมีความเชื่อมโยงกับกรอบความร่วมมือ JTEPA ที่เกี่ยวข้องกับด้านการเกษตร เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่น รวมทั้งตลาดอาเซียนและเอเชียตะวันออก

          นายชวลิต กล่าวต่อไปว่า การผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ ถือเป็นสิ่งที่ประเทศไทยให้ความสำคัญ จึงต้องการให้มีการสนับสนุนด้วยกัน 4 เรื่องหลัก ได้แก่ 1) การพัฒนาบุคลากรภาคการเกษตร ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีแผนงานที่จะส่งเกษตรกรไปศึกษาดูงานและฝึกอบรม ณ ประเทศญี่ปุ่น ในประเด็นการทำธุรกิจภาคเกษตรขององค์กรเกษตรกร ด้านความปลอดภัยอาหาร และเทคโนโลยีด้านการเกษตร 2) ความร่วมมือด้านสหกรณ์และเครือข่ายเกษตรกรไทย-ญี่ปุ่น และเชื่อมโยงการพัฒนาองค์กรท้องถิ่นระหว่างกันเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการขยายตลาดสินค้าเกษตรระหว่างกัน เช่น พัฒนาการผลิตผลไม้เพื่อการส่งออกไปญี่ปุ่น และการกระจายสินค้า 3) การส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการระหว่างหน่วยงานของไทยกับหน่วยงานญี่ปุ่น รวมทั้งสถาบันการศึกษาของญี่ปุ่น เช่น ด้านการจัดการชลประทาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประโยชน์ทางการเกษตร และการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร และ 4) การแลกเปลี่ยนข้อมูลและเทคโนโลยีด้านการเกษตรระหว่างกัน รวมทั้งนโยบาย Food Value chain ของญี่ปุ่น ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่าในการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารของประเทศญี่ปุ่น ผ่านการเพิ่มมูลค่าในระบบห่วงโซ่อาหาร ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้แปรรูป ผู้ส่งออก และผู้บริโภค ถือเป็นนโยบายที่น่าสนใจ ซึ่งน่าจะมีการดำเนินการร่วมกันในอนาคตต่อไป

          ทั้งนี้ ญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรอันดับ 3 ของไทย รองจากจีน และสหรัฐอเมริกา มีมูลค่าการค้าสินค้าเกษตรระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ในปี 2557 จำนวน 169,392 ล้านบาท แบ่งเป็น มูลค่าการส่งออกไปญี่ปุ่น 158,868 ล้านบาท การนำเข้า 10,524 ล้านบาท ซึ่งไทยเป็นฝ่ายได้เปรียบดุลการค้า จำนวน 148,343 ล้านบาท โดยมีสินค้าเกษตรส่งออกไปญี่ปุ่นที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ไก่แปรรูป น้ำตาลทรายดิบ กุ้งขาวแวนนาไม ยางธรรมชาติ ยางแผ่นรมควัน ชั้น 3

จาก http://www.bangkokbiznews.com   วันที่ 20 กรกฎาคม 2558

บทความพิเศษ เรื่อง ทิศทางสินค้าเกษตร ที่กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น

          ถือเป็นคำถามยอดนิยมที่มีผู้สนใจสอบถามเข้ามาเป็นจำนวนมาก ถึงเรื่องของทิศทางเกษตรในช่วงนี้ ว่าสินค้าเกษตรตัวไหนดี ที่กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น ก็ต้องขออนุญาตรายงานให้ทราบถึงภาพรวมโดยทั่วไปถึงทิศทางเกษตรในขณะนี้ ที่กำลังมาแรงก็น่าจะเป็นกลุ่มของข้าวหอมที่ตอนนี้สามารถกลับมาครองตลาดในเกาะฮ่องกงได้อีกครั้งหนึ่ง จากที่เคยต้องสูญเสียตลาดให้แก่ประเทศเวียดนามไป สำหรับตัวเลขการส่งออก ณ ปัจจุบัน ไทยครองตลาดอยู่ที่ประมาณ 62.2 % หรือปริมาณ 49,900 ตัน เพิ่มจากเดิมที่เคยส่งออกได้เพียง 33,500 ตัน เหตุผลสนับสนุน เนื่องจากชาวฮ่องกงเกิดความมั่นใจในคุณภาพของข้าวไทย หลังจากที่ได้พูดคุยและทำการตกลงภายใต้ราคาข้าวที่ไม่ผ่านระบบการจำนำ อีกทั้งความชอบในคุณภาพของข้าวหอมไทยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นพี่น้องเกษตรทางภาคอีสานก็น่าจะยังมีโอกาสที่ดีอยู่ไม่น้อย

          ส่วนสถานการณ์ของตลาดไก่สด ไก่แปรรูปก็มีทิศทางที่ดีขึ้นเช่นเดียวกัน สามารถทำรายได้เพิ่มขึ้นมาถึง 20 % เนื่องจากประเทศญี่ปุ่นได้เปิดนำเข้าไก่สดแช่แข็งจากไทยเราตั้งแต่ต้นปี 2557 หลังจากที่หยุดสั่งซื้อไปตั้งแต่ยุคที่มีไข้หวัดนกระบาดในช่วงปี 2542 หลังจากนั้นก็เกิดพัฒนาการที่ดีขึ้นเรื่อย สำหรับการส่งออกการส่งออกไก่สดแช่เย็น แช่แข็ง และ แปรรูปในไตรมาสแรกของปี 2558 มีปริมาณประมาณทั้งหมด 140,000 ตัน (เพิ่มขึ้นร้อยละ 20% เมื่อเทียบกับปีที่แล้ว) คิดเป็นมูลค่า 567 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีตลาดหลัก คือ ญี่ปุ่น อังกฤษ เนเธอร์แลนด์ ลาว และสิงคโปร์ เนื่องจากผู้ซื้อมั่นใจในศักยภาพของกระบวนการผลิตที่มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล มีแรงงานฝีมือที่มีความชำนาญ ความประณีตในการตัดแต่งเนื้อไก่ เป็นที่ยอมรับของนานาชาติ ทั้งจีน เกาหลี ไต้หวัน และรวมถึงรัสเซีย ก็สนใจนำเข้าจากไทยเราเพิ่มขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะรัสเซีย ได้มีการส่งเจ้าหน้าที่มาสำรวจตรวจสอบมาตรฐานของไทยแล้ว เหลือแต่อนุมัติระดับทางการเท่านั้น ซึ่งก็ถือเป็นอีกอาชีพหนึ่งด้านการเกษตรที่น่าสนใจในขณะนี้

          ส่วนในเรื่องของ ยางพารา ปาล์ม กุ้ง อ้อย ข้าวโพดนั้น ยังถือว่าไม่รุ่งโรจน์สักเท่าไร ปาล์มที่กำลังถกเถียงกับรัฐบาลในเรื่องการขอความช่วยเหลือในการรับซื้อ แต่ติดขัดที่การตรวจสอบคุณภาพของผลปาล์มที่ไม่มีเครื่องไม้เครื่องมือ ทำให้ยังไม่เกิดการซื้อขายจริงที่หน้างาน ยางพารานั้นก็คิดว่าคงจะซบเซาอีกนาน เนื่องด้วยเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว ราคาน้ำมันที่ตกต่ำลง ทำให้ยางสังเคราะห์มีราคาถูก และปริมาณของยางพาราที่ปลูกจากประเทศจีน รวมถึงจากกลุ่ม CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม) ที่มีการปลูกกันอยู่เกือบเต็มพื้นที่ โดยการสนับสนุนจากพี่ใหญ่อาเซียนอย่างประเทศจีน ส่วนเรื่อง "กุ้ง" นั้น ถือว่าประสบปัญหาจากหลายๆ ด้าน ทั้งภัยแล้ง ทั้งโรคตายด่วน อีเอ็มเอส มาตรการกีดกันทางภาษี (จีเอสพี, แรงงานทาส แรงงานเถื่อน แรงงานเด็ก ฯลฯ) จึงทำให้สถานการณ์ตกต่ำเป็นอย่างมาก ราคากุ้งขาวในปัจจุบัน ถือว่าต่ำที่สุดในรอบ 3 ปี อีกทั้งบริษัทยักษ์ใหญ่ในบ้านเรามีการย้ายฐาน ยกโรงงานไปยังเวียดนาม อินเดีย ที่มีสภาพแวดล้อมและแรงงานที่ได้เปรียบกว่าบ้านเรา จึงทำให้อาชีพเกี่ยวกับสัตว์น้ำในช่วงนี้น่าจะยังคงเงียบเหงาไปอีกสักพักครับ โอกาสหน้าจะหาข้อมูลดีๆ มาฝากกันอีกนะครับ

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 20 กรกฎาคม 2558

3กูรูนํ้าโชว์กึ๋นฝ่าวิกฤติภัยแล้งชูปฏิรูปชลประทานจัดการข้ามปี

    จากวิกฤติภัยแล้งที่รุนแรงอีกครั้งในประวัติศาสตร์ที่กำลังเกิดขึ้นในเวลานี้ ได้ส่งผลกระทบไม่จำกัดแค่ภาคการเกษตร และอุตสาหกรรมเท่านั้น ล่าสุดยังลุกลามถึงน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค มีผลให้รัฐบาลโดยกรมชลประทานประกาศลดการจ่ายน้ำจาก 4 เขื่อนใหญ่ที่หล่อเลี้ยงลุ่มน้ำเจ้าพระยา(ภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยบำรุงแดน ป่าสักชลสิทธิ์)จาก 28 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวันเหลือเพียง 18 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ทั้งนี้เพื่อสงวนไว้ใช้สำหรับการอุปโภคบริโภค และการรักษาระบบนิเวศน์เท่านั้น ส่วนภาคเกษตรได้ห้ามสูบน้ำใช้ มีผลตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นไป ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบจากภัยแล้งในอนาคต กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้จัดเสวนา"ทางออกเกษตรกรไทย ฝ่าวิกฤติภัยแล้ง" โดยมีกูรูหลายท่านเข้าร่วมระดมสมองและได้ชี้แนะแนวทางในการรับมือทั้งในระยะสั้น และระยะยาว เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา

++จำลองเหตุการณ์แก้ภัยแล้ง

    ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน กล่าวว่า  ทางกรมชลฯได้จำลองสถานการณ์การบริหารจัดการน้ำในระยะต่อไป โดยวิเคราะห์แยกออกเป็น 2 สถานการณ์ คือ สถานการณ์ที่ 1 ปริมาณฝนต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 10% โดยสมมติฐานหากปริมาณน้ำ ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2558  ใน 4 เขื่อนหลักข้างต้น มีปริมาณน้ำรวมกัน 3.96 พันล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจากสถิติข้อมูลพบว่ามีความคล้ายคลึงกับปริมาณฝนเมื่อปี 2540

    สถานการณ์ที่ 2 ฝนตกน้อยสุด คาดปริมาณน้ำฝน จะเหลือ 3.25 พันล้านลูกบาศก์เมตร(ใช้ค่าฝนน้อยสุดปี 2547 และปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนภูมิพลต่ำสุดในปี 2541 ปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนสิริกิติ์ต่ำสุดปี 2530 เขื่อนแควน้อยบำรุงแดนต่ำสุดปี 2553  และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ต่ำสุดปี 2557)โดยการจำลองเพื่อลดพื้นที่เสี่ยงถึงต้นฤดูฝนปี 2559 จึงเสนอทางแก้ไขรณรงค์ให้เกษตรกรปลูกพืชให้สอดคล้องกับสภาพดินและน้ำ เพื่อลดความเสี่ยงจากการเกิดการขาดแคลนน้ำ อุทกภัยและตัดวงจรศัตรูพืช เนื่องจากจะมีปริมาณฝนตามการคาดการณ์ประมาณ 100 วันนับตั้งแต่กลางเดือนกรกฎาคมถึงกลางเดือนตุลาคม 2558 สมควรที่จะให้เกษตรกรปลูกพืชทางเลือก นอกจากการปลูกข้าว(อายุข้าวประมาณ 120 - 150 วัน) และเพิ่มการขุดบ่อบาดาล

    นอกจากนี้การประปานครหลวงควรจะต้องขยายแหล่งเก็บน้ำดิบสำรองที่มหาสวัสดิ์ เพื่อเสริมความมั่นคงของปริมาณน้ำประปาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ห้ามระบายน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม ปศุสัตว์ และชุมชนลงในแม่น้ำเจ้าพระยา ท่าจีนและแม่น้ำอื่นๆโดยตรงโดยไม่ผ่านการบำบัดให้ได้ตามมาตรฐานคุณภาพน้ำเสีย    เพื่อประหยัดน้ำต้นทุนที่ใช้ในการรักษาระบบนิเวศน์และควบคุมความเค็ม

++เสนอปฏิรูปน้ำชลประทาน

    ด้านดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า สถานการณ์ฝนแล้ง เป็นสัญญาณเตือนภัยว่ารัฐบาลต้องเริ่มต้นทำนโยบายการจัดการน้ำใหม่ จะมาจัดการแบบปีต่อปีไม่ได้ ต้องใช้ความรู้จัดการข้ามปี เพราะนอกจากเราต้องใช้น้ำเพื่อวัตถุประสงค์หลายอย่างแล้ว ยังมีความเสี่ยงด้านภูมิอากาศในแต่ละปี เพราะฝนแล้งในปีนี้และสถานการณ์อุทกภัยในปี 2554 มิได้เกิดจากธรรมชาติอย่างเดียวแต่เกิดจากปัญหาด้านนโยบายและการจัดการน้ำ ยิ่งกว่านั้นยังมีจุดอ่อนหลายประการในเรื่องธรรมาภิบาลและความไม่เป็นธรรมในการจัดสรรน้ำยามขาดแคลน อุปสงค์มากกว่าอุปทานทำให้เกิดความขัดแย้งในการใช้น้ำรุนแรงขึ้นจากเกษตรกรต้นน้ำได้เปรียบปลายน้ำ ด้านกรมชลประทานเองไม่สามารถห้ามมิให้เกษตรกรปลูกข้าวในยามที่ขาดแคลนน้ำ และไม่มีกำลังตรวจจับการลักน้ำได้

    สำหรับกระบวนการการปฏิรูป 1. ต้องมีกฎหมายทรัพยากรน้ำแห่งชาติ 2.จัดลำดับความสำคัญของการใช้น้ำ 3.ต้องมีคณะกรรมการลุ่มน้ำที่เสียงส่วนใหญ่เป็นผู้ใช้น้ำ 4.คณะกรรมการลุ่มน้ำต้องมีอำนาจหน้าที่ เช่นการเก็บค่าบำรุงรักษาคลอง และการตัดสินใจลงทุนพัฒนาแหล่งน้ำ 5.คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติต้องเป็นหน่วยงานกลางทำหน้าที่กำหนดนโยบาย ทั้งนี้ปัจจัยความสำเร็จจะเกิดขึ้นได้ต้องร่วมมือกันระหว่างข้าราชการ นักการเมือง และเกษตรกร รวมถึงผู้ใช้น้ำที่เกี่ยวข้องทั้งระบบ

++แนะจ่ายชดเชยเท่ากันทั้งตำบล

    ดร.นิพนธ์กล่าวว่า รัฐบาลควรสนับสนุนให้นักวิจัยด้านการประกันภัยศึกษาแนวทางการประกันผลผลิตข้าวที่เกิดจากภัยแล้ง ซึ่งกรณีข้าวการประกันภัยแล้งสำคัญกว่าอุทกภัย โดยแนวทางการศึกษาดัชนีหลายตัวพร้อมกัน เช่น ฝนในช่วงต่างๆ ปริมาณน้ำในเขื่อน ภาพถ่ายดาวเทียม เพื่อวัดความเสียหายของพื้นที่ปลูกข้าว หลังจากนั้นคำนวณความสูญเสียที่จะเกิดเป็นรายตำบลจ่ายชดเชยแก่เกษตรกรทุกคนที่อยู่ในตำบลเดียวกันให้ได้รับค่าชดเชยเท่ากัน วิธีนี้จะประหยัดต้นทุนการบริหาร เพราะหน่วยงานรัฐไม่ต้องติดตามการประเมินมูลค่าความเสียหายเป็นรายบุคคล แต่ปัญหาคือ ประสบการณ์ด้านการประกันภัยพืชผล ที่ปรากฏว่ามีเกษตรกรผู้เอาประกันจำนวนน้อยมาก ดังนั้นรัฐอาจอุดหนุนค่าเบี้ยประกันบางส่วน โดยเฉพาะค่าบริหารจัดการของรัฐ 

++ หยุดจ่ายน้ำข้าว 3.4 ล้านไร่เสี่ยง

    ด้าน รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ คณะกรรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ และผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวถึงผลกระทบหลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 14 กรกฎาคมที่ผ่านมานั้น มีมติตามที่กรมชลประทานเสนอโดยการลดปริมาณการปล่อยน้ำใน 4 เขื่อนหลักในลุ่มน้ำเจ้าพระยาเหลือ 18 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน ตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคมเป็นต้นไป โดยงดจ่ายน้ำเพื่อการเกษตรเด็ดขาด คาดจะส่งผลกระทบข้าวนาปีในลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ปลูกไปแล้วกว่า 3.4 ล้านไร่ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พยายามปกป้องเสี่ยงจะเสียหายเกือบทั้งหมด

    "เชื่อว่าก่อนที่รัฐบาลจะมีมาตรเข้มข้น ป่านนี้เกษตรกรคงจะรีบวิดน้ำเข้านาให้มากที่สุด ถึงที่สุดต้องมีแอบลักลอบนำน้ำเข้านากัน มองว่าเป็นเรื่องธรรมดา แต่รัฐบาลจำเป็นต้องออกมาตรการสกัดเพื่อลดผลกระทบ  ซึ่งในช่วงแรกของมาตรการเชื่อว่าจะมีแรงต่อต้าน แต่ยังเชื่อว่าในบางพื้นอาจจะมีอะลุ้มอล่วยบ้าง แต่หากมีปริมาณน้ำฝนที่คาดการณ์จะเริ่มตกลงมาปลายเดือนกรกฎาคมนั้น สถานการณ์จะเริ่มคลี่คลายลง ช่วงนี้รณรงค์ให้เกษตรกรหันไปใช้บ่อบาดาลทำการเกษตรแทน หรือขุดบ่อบาดาลใช้น้ำในการทำนาโดยให้เจ้าหน้าที่มาช่วยชี้จุดที่เหมาะสมในการเจาะบ่อบาดาล"

++นาปรัง-นาปี 59 อาจต้องหยุด

    รศ.ดร.เสรีได้มีการประเมินสถานการณ์ปริมาณน้ำต้นทุนปี 2559 (ณ วันที่ 1 พฤศจิกายน 2558) หากปริมาณน้ำไหลลงเขื่อน ต่ำกว่า 3.74 พันล้านลูกบาศก์เมตร จะทำให้ข้าวนาปีเสียหาย 3.7 ล้านไร่ ส่งผลกระทบทำให้ไม่มีน้ำต้นทุนในปี 2559 ได้เสนอทางออกจากปริมาณน้ำจัดสรรในฤดูฝนปี 2558 คาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อน  3.8 พันล้านลูกบาศก์เมตร จะต้องควบคุมนาปีไม่ให้ปลูกเกิน 2 ล้านไร่ คาดว่าจะใช้น้ำ 2 พันล้านลูกบาศก์เมตร แต่ถ้าโชคร้ายปริมาณน้ำในเขื่อนต่ำกว่าที่ประเมินไว้จะต้องหยุดการทำนาปรัง และนาปี ตลอดทั้งปี 2559

จาก http://www.thanonline.com  วันที่ 20 กรกฎาคม 2558

GDP เกษตรวูบหนักรอบ 36 ปี มูลค่าหดเหลือแค่ 1.38 ล้านล.

    ส่งออกทรุด-ภัยแล้งทุบซ้ำ  สศก. คาดจีดีพีเกษตรทั้งปีติดลบในกรอบ -4.3 ถึง -3.3% สูงสุดในรอบ 36 ปี ขณะมูลค่าหดเหลือ 1.38 ล้านล้านบาท สาขาพืชโดยเฉพาะข้าวฉุดตัวเลขมากสุด คาดปีนี้ผลผลิตทั้งปีวูบเหลือแค่ 22-23 ล้านตัน

    เลอศักดิ์  ริ้วตระกูลไพบูลย์เลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์นายเลอศักดิ์  ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จากช่วง 5 เดือนแรกของปี 2558 การส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์มีมูลค่า 4.88 แสนล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการส่งออก 5.38 แสนล้านบาท หรือขยายตัวลดลง 9.4% สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากประเทศคู่ค้าในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาหลายประเทศที่พึ่งพาการส่งออกน้ำมันเป็นรายได้หลักได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลง มีผลต่อกำลังซื้อและการนำเข้าสินค้าเกษตรจากไทยลดลง นอกจากนี้จากที่ประเทศไทยได้เผชิญปัญหาภัยแล้งมาตั้งแต่ปลายปี 2557 ต่อเนื่องถึงปัจจุบันส่งผลกระทบต่อการทำนาปรังและนาปีของเกษตรกรที่ต้องงดหรือชะลอออก

    จากทั้ง 2 ปัจจัยมีผลให้มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมหรือจีดีพีภาคเกษตรของไทยในครึ่งแรกของปี 2558 (คิดจากราคาประจำปี) มีมูลค่ารวม 7.41 แสนล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า  7.65 แสนล้านบาท หรือติดลบ -4.2% ในจำนวนนี้ภาคเกษตรสาขาพืชหดตัวมากสุด -7.3% สาขาบริการทางการเกษตร -6.6% ขณะที่สาขาปศุสัตว์ สาขาประมง และสาขาป่าไม้ยังขยายตัวเป็นบวก

    ทั้งนี้เมื่อแยกเป็นรายผลิตภัณฑ์ สินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกลดลงหรือติดลบในช่วง 5 เดือนแรกของผี 2558 อาทิ ข้าว(-2.7%), น้ำตาลและผลิตภัณฑ์(-2.6%), น้ำตาลดิบ(-14.3%), ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (-84.7%),ยางพารา (-30.1%), น้ำมันปาล์ม (-79.3%), มังคุด (-12.9%), เนื้อสุกร และผลิตภัณฑ์(-10.9%), เนื้อสุกรสดแช่เย็นแช่แข็ง(-19.9%), ปลาหมึกและผลิตภัณฑ์ (-20.6%), กุ้งสดแช่เย็นแช่แข็ง(-18.4%) เป็นต้น

    ส่วนสินค้าที่มีมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น อาทิ มันสำปะหลังและผลิตภัณฑ์(+21.2%), น้ำตาลทราย (+10.9%), สับปะรดและผลิตภัณฑ์ (+7.2%), ลำไยและผลิตภัณฑ์ (+10.7%), เนื้อไก่และผลิตภัณฑ์(+6.7%) นมและผลิตภัณฑ์(+14.7%) เป็นต้น

    อย่างไรก็ดี สศก.ได้คาดการณ์แนวโน้มจีดีพีภาคเกษตรทั้งปี 2558 จะหดตัวอยู่ในช่วง -4.3% ถึง -3.3% โดยสาขาพืชและสาขาบริการทางการเกษตรจะยังคงหดตัวต่อเนื่อง ขณะที่สาขาปศุสัตว์ สาขาประมง และสาขาป่าไม้ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี ทั้งนี้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2558 ยังคงต้องเฝ้าติดตามและประเมินสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงอย่างใกล้ชิด รวมถึงผลกระทบจาการบังคับใช้กฎหมายการทำประมงอย่างเคร่งครัดของไทยที่อาจส่งผลให้มีปริมาณสัตว์ทะเลลดลง รวมถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนที่เป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญของไทยที่กำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย และมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะฟองสบู่แตก

    "ในสาขาพืชคาดทั้งปีจะหดตัวช่วง -7.0% ถึง -6.0% จากสถานการณ์ภัยแล้ง รวมถึงปรากฏการณ์เอลนิโญ ที่รุนแรงขึ้นจะมีผลทำให้ผลผลิตพืชสำคัญอาทิ ข้าวนาปี และข้าวนาปรังทั้งปี 2558 จะลดจากปีที่แล้วมีผลผลิต 27 ล้านตัน ลงเหลือ 22-23 ล้านตัน จากพื้นที่ปลูกปกติ 60  ล้านไร่ จะลดลงเหลือไม่เกิน 54 ล้านไร่"

    ทั้งนี้ทั้งปี 2558 คาดมูลค่าจีดีพีภาคเกษตรจะมีมูลค่า 1.389 ล้านล้านบาท ลดลงจากปี 2557 ที่มีมูลค่า 1.412 ล้านล้านบาท หรือหายไปประมาณ 2.36 หมื่นล้านบาท ขณะที่จีดีพีภาคเกษตรทั้งปีนี้ที่คาดจะติดลบอยู่ในช่วง -4.3 ถึง -3.3% ถือเป็นการติดมากที่สุดในรอบ 36 ปีนับแต่มีการก่อตั้งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรมา

จาก http://www.thanonline.com  วันที่ 20 กรกฎาคม 2558

ข้าวเน่าทำเอทานอลไร้ข้อสรุปกำหนดราคารับซื้อยังไม่ลงตัว

    พพ.เร่งกำหนดราคาเอทานอลจากข้าวเน่า ขณะที่คุณภาพต้องเป็นตามกฎหมายกำหนด คาดล็อตแรก 1 ล้านตัน ผลิตเอทานอลได้ 300 ลิตร หนุนเพิ่มส่วนต่างราคาแก๊สโซฮอล์อี85 หวังดันยอดใช้เอทานอลเพิ่มจากปัจจุบันอยู่ที่ 3.5 ล้านลิตรต่อวัน ฟากเอกชนเผยไม่หวั่นเกิดโอเวอร์ซัพพลาย แต่กังวลเรื่องดัมพ์ราคาขาย

    นายธรรมยศ ศรีช่วย อธิบดีกรมพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้ พพ. อยู่ระหว่างศึกษาเพื่อกำหนดราคาเอทานอลจากข้าวคุณภาพต่ำ หรือข้าวเกรดซีของกระทรวงพาณิชย์ที่เตรียมระบายออกมาทำเอทานอล ซึ่งราคาต้องแข่งขันกับเอทานอลจากมันสำปะหลังได้ ขณะที่คุณภาพเอทานอลจากข้าวเกรดซีจะต้องเป็นไปตามกฎหมายกำหนด

    ดังนั้นหากเอทานอลดังกล่าวเข้าไปปะปนในระบบจะไม่มีปัญหา แต่สิ่งที่ยังกังวลคือความต้องการใช้เอทานอลซึ่งปัจจุบันอยู่ที่กว่า 3 ล้านลิตร ยังไม่เติบโตมากนัก หากมีเอทานอลจากข้าวเกรดซีเข้ามาเสริมในระบบจำเป็นต้องมีมาตรการส่งเสริมการใช้น้ำมันในกลุ่มแก๊สโซฮอล์เพิ่ม โดยเฉพาะแก๊สโซฮอล์อี85 ซึ่งควรเพิ่มส่วนต่างราคาเพิ่มขึ้นเพื่อจูงใจผู้บริโภค จากปัจจุบันห่างจากแก๊สโซฮอล์อี20 ประมาณ 3 บาทเท่านั้น

    โดยขั้นตอนการประมูลข้าวเกรดซี ทางกระทรวงพาณิชย์จะเป็นผู้ดำเนินการ จากตัวเลขคาดว่ามีข้าวเกรดซีทั้งสิ้น 4 ล้านตัน แต่ล็อตแรกที่จะให้โรงงานเอทานอลจากมันสำปะหลังประมูลข้าวมาทำเอทานอลประมาณ 1 ล้านตัน ดังนั้นจะต้องพิจารณาคุณภาพข้าว ปริมาณแป้ง เพื่อนำมากำหนดราคาเอทานอลต่อไป คาดว่าจะมีข้อสรุปเร็วๆนี้

    "ตอนนี้สิ่งที่ภาครัฐกังวลไม่ใช่เรื่องเอทานอลจากข้าวเน่าจะเข้ามาปะปนในระบบ เพราะได้มีการกำหนดคุณภาพเอทานอลทุกชนิดจะต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด โดยเอามาผสมเป็นแก๊สโซฮอล์ได้ แต่กระทรวงพาณิชย์กังวลว่าข้าวที่ถูกประมูลออกมานั้น ทางโรงงานอาจไม่นำมาผลิตเป็นเอทานอลทั้งหมด แต่อาจนำบางส่วนไปขายได้ ดังนั้นจะต้องมีขั้นตอนบริหารจัดการต่อไป"นายธรรมยศ กล่าว

    สำหรับเป้ายอดใช้เอทานอลที่ 9 ล้านลิตรต่อวันภายในปี 2564 คงต้องใช้ความพยายามอย่างมาก แต่คาดว่าจะสามารถทำได้ โดยจะต้องเร่งส่งเสริมการใช้แก๊สโซฮอล์อี 20 และอี85 เพิ่มขึ้น พร้อมทั้งมีการกำหนดส่วนต่างราคาให้มีความน่าสนใจมากขึ้น

    นายคุรุจิต นาครทรรพ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงานได้หารือร่วมกับผู้ประกอบการโรงงานเอทานอลเพื่อนำข้าวเกรดซีจากโครงการรับจำนำข้าวตั้งแต่ฤดูการผลิตปี 2554 มาผลิตเป็นเอทานอล เบื้องต้นหากนำเอทานอลจากข้าวเกรดซีเข้ามาเสริมในระบบผสมเป็นแก๊สโซฮอล์ คงรับได้เพียง 1 ล้านตันข้าว เพราะความต้องการใช้เอทานอลในปัจจุบันยังคงเท่าเดิม หรือกว่า 3 ล้านลิตรต่อวัน หากต้องการให้นำข้าวเสื่อมคุณภาพมาผลิตเป็นเอทานอลทั้งหมด รัฐบาลจะต้องดันยอดใช้เอทานอลให้เพิ่มขึ้นโดยเร็ว ซึ่งเป็นเรื่องยาก เนื่องจากราคาเอทานอลสูงกว่าเนื้อน้ำมัน

    นายชลัช ชินธรรมมิตร์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานจัดหาวัตถุดิบ บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) หรือเคเอสแอล กล่าวว่า เอทานอลที่ผลิตจากข้าวเกรดซี หากเข้ามาปะปนในระบบคงไม่เกิดปัญหาเอทานอลล้นตลาด เนื่องจากคาดว่าข้าวเกรดซี 1 ล้านตันจะผลิตเอทานอลได้ประมาณ 300 ลิตร เทียบกับเอทานอลจากโมลาส 1 ล้านตัน จะผลิตเอทานอลได้ 250 ลิตร และเอทานอลจากแป้งมัน 1 ตันจะผลิตเอทานอลได้ 500 ลิตร โดยมองว่าเอทานอลจากข้าวเกรดซียังมีปริมาณน้อยและเข้ามาทดแทนวัตถุดิบจากมันสำปะหลัง ขณะเดียวกันคุณภาพก็มีมาตรฐานกำหนดชัดเจน

    อย่างไรตามสิ่งที่ยังกังวลคือราคาต้นทุนเอทานอลที่มาจากข้าวเกรดซี หากเป็นไปตามกระแสข่าวที่โรงงานสามารถประมูลซื้อได้ในราคา 1 บาทต่อกิโลกรัม คาดว่าต้นทุนเอทานอลจากข้าวเกรดซีจะถูกมาก ซึ่งอาจเกิดการกดราคาเอทานอลในตลาดได้ โดยราคาเฉลี่ยเอทานอลในปัจจุบันอยู่ที่ 24-25 บาทต่อลิตร

จาก http://www.thanonline.com  วันที่ 20 กรกฎาคม 2558

เดินหน้าแก้ปัญหาค้ามนุษย์ จากบทเรียน "ถ่าน-บราซิล" สู่ อ้อย-ไทย

ในการบรรยายพิเศษหัวข้อ "การถอดถอนสินค้าอ้อยจากรายชื่อสินค้าที่มีเหตุผลให้เชื่อว่าใช้แรงงานเด็กของสหรัฐ" ซึ่งจัดขึ้นภายในการประชุมสัมมนาแนวทางการแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายในปัจจุบันและอนาคต ซึ่งจัดขึ้นโดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ได้เชิญ "นายทรงศักดิ์ สายเชื้อ" อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ และ นายสุเทพ สาสังข์ ผู้อำนวยการด้านทรัพยากรบุคคลกลุ่มงานอ้อยและโรงงาน จากบริษัท น้ำตาลมิตรผลมาร่วมเป็นวิทยากรการใช้มาตรการด้านแรงงานของสหรัฐ ที่มีต่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล

มาตรการด้านแรงงานสหรัฐ

นายทรงศักดิ์กล่าวว่า ที่ผ่านมา 2 ด้านหลัก คือ ด้านการค้ามนุษย์ (TIP Report) ที่ออกโดยสำนักงาน TIP Office กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ จัดทำรายงาน 188 ประเทศคู่ค้า ประกาศทุกปี ซึ่งในปีที่ผ่านมาไทยติดอยู่ในบัญชี Tier 3

และ ด้านแรงงาน ออกโดยกระทรวงแรงงานสหรัฐมี 3 บัญชี ได้แก่ 2.1) รายงานประจำปีเกี่ยวกับสถานการณ์และการขจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด เพื่อแจ้งให้ผู้บริโภครับทราบเท่านั้น แม้ว่าจะไม่มีผลต่อการส่งออก แต่อาจจะมีผลทางด้านจิตวิทยา

อย่างไรก็ตามที่ผ่านมา กระทรวงแรงงานไทยสามารถแก้ไขปัญหาได้ดี ทำให้ไทยถูกจัดอยู่ในระดับที่มีความคืบหน้าในการแก้ไขปัญหาที่มีความก้าวหน้าในระดับที่มีนัยสำคัญ ระดับปานกลาง หรือ Moderate Advance คิดเป็นระดับ 2 จากทั้งหมดที่มี 5 อันดับ ทั้งนี้ เพราะไทยแสดงให้เห็นว่าสามารถแก้ปัญหาแรงงานเด็กได้อย่างเด็ดขาด หรือมีจำนวนการใช้แรงงานเด็กที่ปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และแรงงานเด็กที่เข้ามาทำงานเป็นไปตามฤดูกาล ซึ่งการเข้ามาจะผ่านชายแดน แต่ไทยก็มีกลไกการตรวจสอบที่เข้มงวด เป็นต้น

2.2) บัญชีรายชื่อสินค้าที่มีเหตุให้เชื่อว่าผลิตโดยการใช้แรงงานเด็กหรือแรงงานบังคับ (List of Goods Produced by Child Labor or Forced Labor : TVPRA List) ซึ่งปัจจุบันมีสินค้าทั้งหมด 134 รายการ จาก 73 ประเทศ โดยมีสินค้าไทย 5 รายการ คือ เสื้อผ้า อ้อย กุ้ง ปลา และสื่อลามก จัดอยู่ในกลุ่มนี้ สำหรับการยื่นขอถอดลิสต์สินค้าสามารถดำเนินการได้ตลอดเวลา และมีการประกาศผลการพิจารณาทุก 2 ปี แต่ก็ไม่มีมาตรการแซงก์ชั่นใด ๆ จึงไม่กระทบต่อการส่งออกมากนัก

และ 2.3) บัญชีรายชื่อสินค้าที่มีการใช้แรงงานเด็กบังคับหรือแรงงานเด็กขัดหนี้ ตามคำสั่งของฝ่ายบริหาร 13126 (List of Products Requiring Federal Contractor Certification as to Forced or Indentured Child Labor Pursuant to Executive Order 13126) ซึ่งกลุ่มนี้มีเพียงเครื่องนุ่งห่ม และกุ้ง จากลิสต์ที่มีทั้งหมด 35 รายการ จาก 26 ประเทศ ทั้งนี้ สินค้าที่จัดอยู่ในกลุ่มนี้จะถูกมาตรการห้ามเข้าร่วมกระบวนการจัดซื้อจ้างหน่วยงานราชการของสหรัฐ แต่หากจะเข้าร่วมโครงการจัดซื้อ บริษัทต่างชาตินั้นจะต้องมีหนังสือรับรองว่าไม่มีการใช้แรงงานเด็ก จากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือหรืออาจจะเป็นหน่วยงานที่เป็น Third Party ก็ได้

ลุ้นถอดสินค้าแรงงานทาส

การถอดสินค้าอ้อยออกจากลิสต์ TVPRA List ที่ผ่านมาไทยมีกลไกในการแก้ไขปัญหาระดับชาติ โดยมีคณะกรรมการนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์และประมงผิดกฎหมาย ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

พร้อมทั้งตั้งคณะอนุกรรมการดำเนินงานแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็ก แรงงานบังคับ และแรงงานต่างด้าว โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานเป็นประธาน และคณะทำงานอีก 5 คณะ

ในส่วนของสินค้าอ้อยมีคณะทำงานแก้ไขปัญหาการใช้แรงงานเด็กในไร่อ้อย ของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายเป็นประธาน ในส่วนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้จัดทำแผนปฏิบัติการ ปี 2558-2559 เป็นแผนให้ความรู้และแนวทางเพื่อขจัดการใช้แรงงานเด็ก ขณะที่ภาคเอกชนอย่างบริษัท มิตรผล สามารถแก้ไขปัญหาได้ครบตามหลักเกณฑ์สหรัฐ และยังมีการดำเนินการด้านอื่น ๆ เช่น การจัดตั้งศูนย์เด็กเล็ก การให้การศึกษาอื่น ๆ แก่เด็ก การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น

ถอดบทเรียนบราซิล

 ยกกรณีที่บราซิลที่ดำเนินการขอถอดสินค้า "ถ่าน" ออกจากบัญชีค้ามนุษย์ได้สำเร็จในปี 2013 โดยการเพิ่มความเข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมาย มีหน่วยงานตรวจสอบเคลื่อนที่ จัดทำและเผยแพร่ข้อมูลอย่างเป็นระบบ

ที่สำคัญมีมาตรการ "ขึ้นบัญชีดำโรงงาน" ที่ไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์จะไม่สามารถขอสินเชื่อจากธนาคารได้ และการตั้ง "บริษัทแห่งชาติ" ร่วมระหว่างรัฐบาลและเอกชน เพื่อจ่ายเงินชดเชยให้แรงงานและครอบครัว

TIP Report ก.ค.ไม่จบ

รายงานสถานการณ์การค้ามนุษย์ (Trafficking on Persons Report : TIP Report) ประจำปี 2557 ปรับลดระดับ "ไทย" ให้มาอยู่ในประเทศกลุ่มที่มีปัญหาการค้ามนุษย์ในระดับที่เลวร้ายที่สุด (Tier 3) จากเดิมที่ไทยเคยอยู่ในบัญชี Tier 2 Watch List ต่อเนื่อง 4 ปี นับจากปี 2553-2556 จนถึงขณะนี้ครบกำหนดทบทวนรายงาน TIP Report ประจำปี 2558 วันที่ 20 มิถุนายน 2558 แล้วแต่กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐยังไม่มีประกาศ

นายทรงศักดิ์ สายเชื้อ อธิบดีกรมอเมริกาและแปซิฟิกใต้ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สาเหตุที่ล่าช้าเนื่องจากเกิดปัญหาจากกระบวนการและขั้นตอนภายใน คาดว่าการประกาศผลไม่ทันในเดือนกรกฎาคมนี้

"ล่าช้าทั้งหมด 188 ประเทศ จึงไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทยมากนัก ที่ผ่านมาหน่วยงานของรัฐบาลและเอกชนได้ดำเนินการตามมาตรฐานขั้นต่ำของสหรัฐ ไทยจึงมีความคาดหวังว่าสหรัฐจะพิจารณาตามหลักเกณฑ์ที่เป็นปัจจัยที่แท้จริง โดยไม่มีปัจจัยอื่นนอกเหนือไปจากนี้"

สำหรับมาตรฐานขั้นต่ำ 4 ด้าน ได้แก่ 1) รัฐบาลห้ามไม่ให้มีการค้ามนุษย์ในรูปแบบรุนแรง 2) การค้ามนุษย์ในรูปแบบการค้าประเวณี หากมีเจตนาในการบังคับขู่เข็ญ หลอกลวง ผู้เสียหาย เป็นเด็กไม่สามารถให้ความยินยอมที่แท้จริงได้ หรือกรณีที่มีการข่มขืน ลักพาตัว หรือทำให้เกิดการเสียชีวิต 3) รัฐบาลมีบทลงโทษที่เหมาะสม และ 4) รัฐบาลมีความพยายามจริงจังและต่อเนื่องในการขจัดปัญหาการค้ามนุษย์ในรูปแบบที่รุนแรง

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 20 กรกฎาคม 2558

รายงานพิเศษ: วิกฤติภัยแล้ง วิกฤติรัฐบาลเกษตรกร-ส่งออก ไร้อนาคต 

           ก่อนหน้านี้ ไม่เคยมีใครคิดมาก่อนว่าประเทศไทย ที่ได้ชื่อว่า "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว"  จะประสบกับวิกฤติความแห้งแล้งมากมายขนาดนี้ วิกฤติถึงขั้นที่ว่า ต้องประกาศ "ห้ามชาวนาสูบน้ำ" เข้านา เพราะกลัวว่า "คนกทม.จะไม่มีน้ำประปาใช้" เนื่องจากถ้าปล่อยให้ชาวนาสูบน้ำ จะไม่มีน้ำจืดไหลลงไปดันน้ำเค็ม ถ้าน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเค็ม ก็จะทำให้ไม่สามารถทำน้ำประปาส่งจ่ายให้ชาวกทม.ได้

          นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้สั่งลดการระบายน้ำตั้งแต่วันที่ 16 ก.ค.นี้ จาก 28 ล้าน ลบ.ม. เหลือ18 ล้าน ลบ.ม.  พบว่าน้ำบางส่วนมีการสูญหายอย่างไม่ทราบสาเหตุ มีความเป็นไปได้ที่จะถูกดึงไปใช้เพื่อการเกษตร ดังนั้น การระบายน้ำกรมชลประทาน จะปิดสถานีสูบน้ำไฟฟ้าทั้งหมด 333 สถานี เป็นการชัตดาวน์ ประมาณ 1-2 วัน เพื่อให้น้ำเดินทางไปสู่เป้าหมายอย่างแท้จริง แต่การปิดสถานีสูบน้ำดังกล่าว จะกระทบกับพื้นที่นาข้าวของเกษตรกร ซึ่งคาดว่าเสี่ยงเสียหาย 1.48 ล้านไร่ จากพื้นที่ทั้งหมด 4.9 ล้านไร่

          พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า แม้สถานการณ์น้ำไหลเติมเขื่อนจะดีขึ้น แต่รายงานล่าสุดพบว่า  ในช่วงระหว่าง วันที่ 18-20 กรกฎาคม ขอเกษตรกรงดการสูบน้ำเข้าพื้นที่การเกษตรโดยเด็ดขาด เพราะต้องใช้น้ำปริมาณมากพอในการผลักดันน้ำทะเล ไม่ให้ทะลักเข้าสู่ระบบประปาได้ถือเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ต้องการวินัย และการปฏิบัติตามคำประกาศอย่างเคร่งครัด

          ทางด้าน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย เปิดเผยว่า ได้ กำชับให้ผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ เร่งทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ รวมถึงเกษตรกร หลังรัฐบาลมีมติให้ลดการจ่ายน้ำสำหรับทำการเกษตร ตั้งแต่วันที่ 16 ก.ค.เป็นต้นไป เพื่อให้มีน้ำใช้สำหรับการอุปโภคบริโภคไปจนถึงกลางเดือน ส.ค.นี้ นอกจากนี้ ให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำรวจน้ำประปาหมู่บ้านทั่วประเทศ 61,601 หมู่บ้าน ในจำนวนนี้จะใช้สำหรับอุปโภคบริโภคไปถึงกลาง ส.ค.นี้55,000 หมู่บ้าน ส่วนอีก 5,000 หมู่บ้านจะมีน้ำ

          พอใช้ถึงปลายเดือน ก.ค.นี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ผู้ว่าฯ ต้องหาวิธีรับมือ เบื้องต้น สามารถประสานหน่วยทหารขอขุดเจาะบ่อบาดาลแก้ปัญหาแล้ว

          พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีคาดว่าสัปดาห์นี้ จะมีความชัดเจนเกี่ยวกับแนวทางการช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเสียหายจากสถานการณ์ภัยแล้ง พร้อมวอนทุกฝ่ายช่วยกันประหยัดน้ำ เพื่อรักษาน้ำให้ได้ถึงเดือนส.ค. ที่คาดว่าจะมีฝนตกลงมา ด้านรองโฆษกรัฐบาลย้ำขอความร่วมมือเกษตรกร หยุดสูบน้ำเด็ดขาดช่วงวันที่ 18-20 ก.ค. เหตุน้ำทะเลหนุนสูงหวั่นกระทบการผลิตน้ำประปาทั้งระบบ

          นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า ขณะนี้ต้นทุนน้ำมีน้อยมาก ฝนก็ไม่ตกน้ำ ในเขื่อนก็มีน้อยมากเพราะฉะนั้นก็จำเป็นต้องมีการประหยัดน้ำทุกฝ่ายทั้งคนในชุมชนเมือง และเกษตรกรที่รัฐบาลไม่สามารถสูบน้ำให้เข้าพื้นที่ทางการเกษตรได้ เพราะต้องเก็บน้ำไว้อุปโภคบริโภค ซึ่งทำให้เกษตรกรได้รับผลกระทบโดยรัฐบาลกำลังหาแนวทางช่วยเหลืออยู่

          ผลกระทบจากภัยแล้ง ไม่เพียงกระทบแค่เรื่องการแย่งน้ำกินน้ำใช้เท่านั้น แต่ยังทำลายระบบเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย ตัวเลขจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ระบุชัดเจนเลยว่า"จีดีพีภาคเกษตร" ทั้งปีติดลบในกรอบ -4.3 ถึง -3.3% "สูงสุดในรอบ 36 ปี"

          นายเลอศักดิ์  ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จากช่วง 5 เดือนแรกของปี 2558 การส่งออกสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์มีมูลค่า 4.88 แสนล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนมีการส่งออก 5.38 แสนล้านบาท หรือขยายตัวลดลง 9.4% สาเหตุส่วนหนึ่งมาจากประเทศคู่ค้าในภูมิภาคตะวันออกกลางและแอฟริกาหลายประเทศที่พึ่งพาการส่งออกน้ำมันเป็นรายได้หลักได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลดลงมีผลต่อกำลังซื้อและการนำเข้าสินค้าเกษตรจากไทยลดลง นอกจากนี้จากที่ประเทศไทยได้เผชิญปัญหาภัยแล้งมาตั้งแต่ปลายปี2557ต่อเนื่องถึงปัจจุบันส่งผลกระทบต่อการทำนาปรังและนาปีของเกษตรกรที่ต้องงดหรือชะลอออกไป

          จากทั้ง 2 ปัจจัยมีผลให้มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศหรือจีดีพีภาคเกษตรของไทยในครึ่งแรกของปี 2558 (คิดจากราคาประจำปี)มีมูลค่ารวม 7.41 แสนล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีมูลค่า 7.65 แสนล้านบาทหรือ ติดลบ -4.2% ในจำนวนนี้ภาคเกษตรสาขาพืชหดตัวมากสุด-7.3% สาขาบริการทางการเกษตร-6.6% ขณะที่สาขาปศุสัตว์ สาขาประมง และสาขาป่าไม้ยังขยายตัวเป็นบวก

          อย่างไรก็ดี สศก.ได้คาดการณ์แนวโน้มจีดีพีภาคเกษตรทั้งปี 2558 จะหดตัวอยู่ในช่วง -4.3% ถึง -3.3% โดยสาขาพืชและสาขาบริการทางการเกษตรจะยังคงหดตัวต่อเนื่อง ขณะที่สาขาปศุสัตว์ สาขาประมง และสาขาป่าไม้ยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี ทั้งนี้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2558 ยังคงต้องเฝ้าติดตามและประเมินสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วงอย่างใกล้ชิด รวมถึงผลกระทบจากการบังคับใช้กฎหมายการทำประมงอย่างเคร่งครัดของไทยที่อาจส่งผลให้มีปริมาณสัตว์ทะเลลดลง รวมถึงสถานการณ์ทางเศรษฐกิจของจีนที่เป็นตลาดส่งออกสินค้าเกษตรสำคัญของไทยที่กำลังเข้าสู่ภาวะถดถอย และมีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะฟองสบู่แตก

          "ในสาขาพืชคาดทั้งปีจะหดตัวช่วง -7.0%ถึง -6.0% จากสถานการณ์ภัยแล้ง รวมถึงปรากฏการณ์เอลนิโญที่รุนแรงขึ้นจะมีผลทำให้ผลผลิตพืชสำคัญ อาทิ ข้าวนาปี และข้าวนาปรังทั้งปี 2558 จะลดจากปีที่แล้วมีผลผลิต 27 ล้านตัน ลงเหลือ 22-23 ล้านตัน จากพื้นที่ปลูกปกติ60  ล้านไร่ จะลดลงเหลือไม่เกิน 54 ล้านไร่"

          ทั้งนี้ทั้งปี 2558 คาดว่าจีดีพีภาคเกษตรจะมีมูลค่า 1.389 ล้านล้านบาท ลดลงจากปี 2557 ที่มีมูลค่า 1.412 ล้านล้านบาท หรือหายไปประมาณ2.36 หมื่นล้านบาท ขณะที่จีดีพีภาคเกษตรทั้งปีนี้ที่คาดจะติดลบอยู่ในช่วง -4.3 ถึง -3.3% ถือเป็นการติดลบมากที่สุดในรอบ 36 ปีนับแต่มีการก่อตั้งสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรมา

          แน่นอนเรื่องใหญ่โตขนาดนี้ สำนักโพล ก็ต้องออกมาทำงาน "กรุงเทพโพล" โดยศูนย์ วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้สำรวจความคิดเห็นประชาชน เรื่อง "ประชาชนคิดอย่างไรกับสถานการณ์ภัยแล้งในประเทศไทย" โดยเก็บข้อมูลกับประชาชนจากทุกภูมิภาคทั่วประเทศจำนวน 1,133 คน พบว่า ประชาชนร้อยละ 67.4 เห็นว่าสถานการณ์ภัยแล้งในปัจจุบันรุนแรงที่สุดเท่าที่เคยเจอมา ขณะที่ร้อยละ 27.7 เห็นว่าไม่ค่อยรุนแรงมากนัก และร้อยละ 3.0 เห็นว่าไม่รุนแรงเลย

          สำหรับสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดปัญหาภัยแล้งในปีนี้ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 68.4 เห็นว่ามาจากปัญหาจากภัยธรรมชาติ รองลงมาร้อยละ68.0 มาจากการตัดไม้ทำลายป่า และร้อยละ 28.3 มาจากการบริหารจัดการน้ำไม่ดี

          เมื่อถามว่าสถานการณ์ภัยแล้งในปัจจุบันมีผลกระทบทำให้กังวลในเรื่องใดมากที่สุด ส่วนใหญ่ร้อยละ 72.5 กังวลว่าจะกระทบรายได้/การทำเกษตร/พืชผลเสียหาย รองลงมาร้อยละ 49.5 กังวลว่าข้าวของจะราคาแพงขึ้น/ราคาสินค้าเกษตรแพงขึ้น และร้อยละ 49.0 กังวลว่าจะไม่มีน้ำใช้อุปโภคบริโภค

          ส่วนการเตรียมป้องกันและรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้งพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 88.2 มีการเตรียมป้องกันและรับมือไว้แล้ว โดยจะใช้น้ำอย่างประหยัด (ร้อยละ 78.2) รองลงมาคือซื้อถังไว้กักเก็บน้ำ (ร้อยละ 20.1) และกักตุนน้ำไว้อุปโภคบริโภค (ร้อยละ 16.4) ขณะที่ร้อยละ11.8 ไม่มีการเตรียมป้องกันรับมือเพราะคิดว่าไม่น่าจะขาดน้ำ

          เมื่อถามว่า "คิดว่ากรุงเทพฯ มีโอกาสจะเจอปัญหาน้ำประปาไม่ไหลจากสถานการณ์ภัยแล้งครั้งนี้หรือไม่" ร้อยละ 58.1 คิดว่าน่าจะมีโอกาส ขณะที่ร้อยละ 34.0 คิดว่าไม่น่าจะมีโอกาสทั้งนี้เมื่อพิจารณาเฉพาะผู้ตอบที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพฯ พบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.4 คิดว่าไม่น่าจะมีโอกาส ขณะที่ร้อยละ 45.0 คิดว่าน่าจะมีโอกาส

          นอกจากนี้เมื่อถามต่อว่า "จากข่าวที่นักวิชาการเตือนภัยแล้ง จะทำให้คนไทยขาดน้ำกินถึงสิ้นปี" ประชาชนร้อยละ 49.0 คิดว่าไม่น่ากังวลเลย เพราะเป็นไปไม่ได้ ขณะที่ร้อยละ 46.1 คิดว่าน่ากังวลเพราะอาจจะเกิดขึ้นจริง

          สำหรับความเห็นต่อการแก้ปัญหาภัยแล้งของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา พบว่าส่วนใหญ่ร้อยละ 49.5 เห็นว่ารัฐบาลควรจริงจังในการแก้ปัญหามากกว่านี้ ขณะที่ร้อยละ 43.2 เห็นว่ารัฐบาลจริงจังและพยายามแก้ปัญหาอย่างเต็มความสามารถแล้วสุดท้ายเมื่อถามว่า เชื่อมั่นมากน้อยเพียงใดว่ารัฐบาลจะสามารถจัดการกับสถานการณ์ภัยแล้งรวมถึงปัญหาน้ำท่วมในอนาคตได้ ส่วนใหญ่ร้อยละ 56.9 เชื่อมั่นค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ 30.4 เชื่อมั่นค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ที่เหลือร้อยละ 12.7 ยังไม่แน่ใจ

          ช่วงนี้แม้ฝนจะเริ่มตกลงมาบ้าง แต่ปริมาณน้ำที่เข้าในเขื่อนต่างๆ ทั่วประเทศยังมีปริมาณน้อยยังต้องเก็บสะสมอีกมากเพื่อเก็บไว้ใช้ในระยะยาว แต่ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมด ก็คือ วิกฤติแล้งที่น่ากลัวแบบนี้ น่าจะเกิดขึ้นได้ในทุกๆ ปีเพราะสภาวะแวดล้อมโลกเปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะ "ภาวะโลกร้อน" ที่ไม่มีทางแก้ไขได้ อันมีสาเหตุมาจากก๊าซเรือนกระจก และการตัดไม้ทำลายป่าในทั่วทุกภูมิภาคของโลก

          "ผลกระทบจากภัยแล้ง ไม่เพียงกระทบแค่เรื่องการแย่งน้ำกินน้ำใช้เท่านั้น แต่ยังทำลายระบบเศรษฐกิจของประเทศอีกด้วย ตัวเลขจาก สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ระบุชัดเจนเลยว่า "จีดีพีภาคเกษตร"ทั้งปีติดลบในกรอบ-4.3 ถึง-3.3%"สูงสุดในรอบ 36 ปี""

จาก http://www.siamrath.co.th   วันที่ 20 กรกฎาคม 2558

คอลัมน์ อีโคโฟกัส: ถอดบทเรียนพลังงานทดแทน'ขั้นตอนภาครัฐ' จุดบอดต้องเร่งแก้ 

           ปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน กำลังเป็นธุรกิจที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนจำนวนมาก แต่นโยบายภาครัฐ โดยเฉพาะกระทรวงพลังงาน เหมือนการลองผิดลองถูกอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่ากระทรวงพลังงานมีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนต่างๆ มากมาย โดยกำหนดเป็นแผนผลิตไฟฟ้าที่ชัดเจนของประเทศ เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ชีวภาพ ชีวมวล และขยะ เป็นต้น แต่ขณะเดียวกันก็เกิดปัญหาและอุปสรรคตามมาให้แก้ไขอย่างต่อเนื่องไปพร้อมกับการส่งเสริม

          โดยปัจจุบันภาคเอกชนต่างให้ความสนใจ มุ่งสู่ธุรกิจดังกล่าว และพร้อมลองผิดลองถูกเพื่อพัฒนาและทำให้ไฟฟ้าไทยพึ่งพาตัวเองให้ได้มากขึ้น

          บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ หรือ EA เป็นหนึ่งในกลุ่มนักลงทุนระดับแนวหน้าของไทยที่ให้ความสำคัญกับการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทน และพร้อมลงทุนอย่างเต็มตัว เพื่อหวังให้ไทยมีพลังงานที่พึ่งพาตัวเองได้ โดย นายอมร ทรัพย์ทวีกุล กรรมการและรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ ให้ความเห็นถึงทิศทางพลังงานทดแทนในประเทศไทยเอาไว้น่าสนใจ

          * ภาพรวมการใช้พลังงานของประเทศเป็นอย่างไร

          ประเทศไทยมีการใช้ไฟฟ้าเติบโตทุกปี ปีละ 5% ซึ่งการเติบโตดังกล่าวไม่ใช่จากความต้องการใช้ทั้งหมด แต่ส่วนหนึ่งเกิดจากการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เข้าระบบทดแทนโรงไฟฟ้าเก่าที่เสื่อมสภาพ ซึ่งเกิดได้ทั้งกับโรงไฟฟ้าเขื่อนพลังน้ำ ถ่านหิน และโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น

          พร้อมกันนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศก็เป็นปัจจัยสำคัญต่อการใช้ไฟฟ้า เพราะเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้น ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชนต่อการใช้ไฟฟ้า เช่น เกิดการใช้เครื่องปรับอากาศมากขึ้น และทำให้กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน ซึ่งผลักดันให้เกิดการใช้ไฟฟ้าเติบโตขึ้นทุกปีด้วย

          * ด้านการผลิตไฟฟ้า ไทยเป็นอย่างไร

          ตอนนี้ประเทศไทยพึ่งพาการใช้ไฟฟ้าจากต่างประเทศส่วนหนึ่ง เช่น ไฟฟ้าจากประเทศเมียนมา สปป.ลาว และมาเลเซีย เป็นต้น ซึ่งหมายความว่าหากประเทศดังกล่าวเจริญเติบโตขึ้น ความอยากขายไฟฟ้าให้ไทยก็จะน้อยลง แต่โชคดีที่ในอดีตจนถึงปัจจุบันไทยมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าผูกพันกับประเทศต่างๆ ไว้แล้ว ประเทศดังกล่าวจึงยังต้องจ่ายไฟฟ้าขายให้ไทยอยู่

          แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ถ้าสัญญาซื้อขายไฟฟ้าหมดลง โอกาสที่ต่างประเทศจะขายไฟฟ้าให้ไทยก็จะน้อยกว่าเดิม ดังนั้น ปัจจุบันสัญญาเก่ายังเหลืออยู่ ภาครัฐต้องรีบหารือกันว่าจะทำอย่างไรก่อนที่สัญญาจะหมดลงในอนาคต ต้องทำอย่างไรที่ไทยจะพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น เช่น การมองหาพลังงานทดแทนอย่างโซลาร์เซลล์ การผลิตไฟฟ้าชีวมวลและชีวภาพ เป็นต้น

          * การเติบโตของพลังงานทดแทนไทยเป็นไปในทิศทางใด

          แต่เดิมต้นทุนการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนสูงมาก แต่ผลตอบแทนกลับไม่ได้สูงมากนัก แต่ต่อมาผลตอบแทนดีขึ้น ทำให้เกิดความสนใจในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม พลังงานทดแทนก็สามารถช่วยผลิตไฟฟ้าได้ส่วนหนึ่ง แต่ไม่สามารถเป็นพลังงานหลักของประเทศไทยได้ เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 100% เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานลม ส่วนใหญ่จะมีลมพัดช่วงกลางคืน บางทีก็พัดบ้างไม่พัดบ้าง โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ก็ผลิตได้แต่ตอนกลางวัน เป็นต้น

          แต่พลังงานทดแทนยังเป็นสิ่งจำเป็น เพราะปัจจุบันโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงหลักๆ ก็ถูกต่อต้านกันมากมาย เช่น การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินก็ถูกต่อต้าน การใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้ามากเกินไปถึง 70% ของเชื้อ

          เพลิงทั้งหมด    ก็เป็นความเสี่ยงระบบความมั่นคงด้านพลังงานไทย หรือการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าในไทยก็ทำได้ยากแล้ว ดังนั้นการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนจึงต้องทำควบคู่กับโรงไฟฟ้าพลังงานหลักต่อไปก่อน

          * อุปสรรคพลังงานทดแทน

          ทิศทางพลังงานทดแทนในเมืองไทยยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง หากนโยบายรัฐบาลยังสนับสนุนให้เติบโตต่อ แต่หากรัฐบาลไม่ทำอะไรเลยการเติบโตจะอยู่ในวงจำกัด และมีความผันผวนสูง โดยเฉพาะเรื่องสายส่งไฟฟ้าที่ควรรับไฟฟ้าได้ 20% ของพลังงานทดแทน แต่ปัจจุบันยังรองรับได้แค่ 11% ซึ่งรัฐบาลจะต้องพัฒนาระบบสายส่งต่อไป โดยจุดสายส่งไฟฟ้าขณะนี้ยังไม่แข็งแรงนัก เช่น ภาคอีสาน ยังมีสายส่งไม่เพียงพอ ต้องสร้างให้มากขึ้นเพื่อรองรับการกระจายการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทน และต้องทำโครงข่ายสายส่งให้มากขึ้นด้วย

          อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่านโยบายภาพรวมของการส่งเสริมผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนของรัฐบาลเป็นนโยบายที่ดี แต่การปฏิบัติไม่สอดคล้องกับการเดินตามนโยบายรัฐ เพราะการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน ซึ่งแต่ละส่วนยังไม่ได้มองภาพรวมของประเทศ ยังมองเฉพาะจุดของตัวเองเท่านั้น แต่สุดท้ายเชื่อว่าพลังงานทดแทนของไทยยังต้องก้าวต่อไป แต่ปัญหาดังกล่าวอาจทำให้ต้องใช้เวลายาวนานขึ้นกว่าที่รัฐบาลคาดหวังไว้

          ตัวอย่างเช่น การขอใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าระหว่างหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (พีอีเอ) ก็มีมาตรฐานที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะวิธีการของ กฟผ.นั้น ก่อนที่ผู้ประกอบการจะขอขายไฟฟ้า จะต้องแจ้งรายละเอียดว่าจะเข้าระบบสายส่งตรงจุดไหน ต้องมีการทดสอบการเข้าระบบสายส่งไฟฟ้า ถ้าทดลองผ่าน กฟผ.จึงจะอนุญาตและล็อกสายส่งให้

          ในขณะที่พีอีเอจะไม่มีการทดสอบดังกล่าวให้ไปแย่งช่องทางสายส่งกันเอาเอง แต่ก็เป็นที่ชอบใจของผู้ผลิตไฟฟ้า เพราะขอใบอนุญาตง่าย คนไทยชอบการได้ใบสัญญาอย่างง่ายๆ นอนกอดสัญญาไว้ก่อนแล้วอุ่นใจ แต่ไม่เป็นผลดีและเป็นอุปสรรคหากการผลิตไฟฟ้า เพราะแม้ต้องการผลิตจริง

          แต่ไม่มีสายส่งรองรับ ก็จะทำให้การผลิตไฟฟ้าสะดุดได้ เป็นต้น

          * รัฐควรปรับปรุง

          อันดับแรกที่จะทำให้อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนเดินต่อไปได้ ภาพระดับนโยบายจะต้องชัดเจนออกมาก่อน อย่าหลอกตัวเอง เช่น จำนวนโควตาสำหรับการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนมีเท่าไหร่ ความเข้าใจของภาครัฐที่มีต่อการลงทุน มีความเสี่ยงอะไรบ้าง และผู้ประกอบการจะต้องเผชิญกับปัญหาอะไรบ้าง เป็นต้น

          นอกจากนี้ ยังมีปัญหาด้านการปฏิบัติหน้าที่ของภาครัฐ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่ผ่านมา คือ ปัญหาการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4) ซึ่งแม้รัฐบาลอยากจะส่งเสริมพลังงานทดแทน แต่หากติดปัญหา รง.4 ก็เท่ากับติดปัญหาคอขวดอยู่อย่างนั้น  แถมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนยังมีจำนวนมากซึ่งต้องประสานขออนุญาตจากหลายหน่วยงาน อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กรมป่าไม้ เป็นต้น ดังนั้น หากสามารถทำเป็นการบริการแบบเบ็ดเสร็จ หรือวันสต็อปเซอร์วิส ได้แท้จริงจะเกิดความสะดวกได้มากขึ้น

          * บริษัทมีแผนลงทุนพลังงานทดแทนอย่างไร

          บริษัทมีแผนลงทุนผลิตไฟฟ้าพลังงานลม 386 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุนรวมกว่า 3 หมื่นล้านบาท โดยแบ่งเป็นการลงทุนในปี 2558 เตรียมติดตั้งกังหันลม 70 ต้น กำลังผลิตต้นละ 1.8 เมกะวัตต์ รวมผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้น 126 เมกะวัตต์ ที่ภาคใต้บริเวณ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ใช้เงินลงทุนประมาณ 9,500-10,500 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มผลิตไฟฟ้าเข้าระบบได้ประมาณไตรมาส 2 ของปี 2559

          นอกจากนี้ จะลงทุนผลิตไฟฟ้าพลังงานลมที่ อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ ในปี 2560 ใช้เงินลงทุนประมาณ 2 หมื่นล้านบาท กำลังผลิต 260 เมกะวัตต์ ซึ่งจะเริ่มติดตั้งกังหันลมได้ในปี 2559 และขายเข้าระบบได้ประมาณเดือน ธ.ค.2560

          ส่วนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ที่ จ.นครสวรรค์ กำลังผลิต 90 เมกะวัตต์ รวมทั้งที่จังหวัดลพบุรีอีก 8 เมกะวัตต์ และที่ลำปางอีก 90 เมกะวัตต์ ซึ่งจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบแล้ว ส่วนที่ จ.พิษณุโลก กำลังผลิต 90 เมกะวัตต์ เตรียมจะเข้าระบบประมาณไตรมาส 1 ของปี 2559

          พร้อมกันนี้มีแผนเตรียมเข้าประมูลโรงไฟฟ้าพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เตรียมเปิดประมูลผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนในรูปแบบฟีทอินทารีฟ หรือการให้เงินสนับสนุนตามต้นทุนที่แท้จริง เนื่องจากบริษัทมีประสบการณ์และสามารถบริหารการลงทุนให้มีต้นทุนต่ำได้ เบื้องต้นคาดว่าจะประมูลผลิตไฟฟ้าพลังงานลมบริเวณภาคอีสานที่มีศักยภาพลม อาทิ มุกดาหาร นครราชสีมา และชัยภูมิ เป็นต้น ส่วนพลังงานแสงอาทิตย์คาดว่าจะเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพทางภาคอีสานและภาคเหนือ เป็นต้น

          อย่างไรก็ตาม บริษัทคาดว่าในปี 2558 จะมีรายได้เติบโตประมาณ 40% จากปี 2557 ที่มีรายได้ 7,000 ล้านบาท โดยปี 2558 คาดว่าจะมีรายได้ถึง 1 หมื่นล้านบาท จากฐานของรายได้ธุรกิจไบโอดีเซล 5,000-6,000 ล้านบาท และมาจากรายได้ธุรกิจไฟฟ้า 3,000-4,000 ล้านบาท

          ทั้งนี้ บริษัทยังมีแผนจะลงทุนด้านพลังงานทดแทนในต่างประเทศด้วย โดยกำลังพิจารณาในหลายประเทศ อาทิ เมียนมา สปป.ลาว อินเดีย และศรีลังกา เป็นต้น เพราะเป็นประเทศที่กำลังเติบโตและมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเร่งด่วนสูง ซึ่งโอกาสในการลงทุนนั้นมองว่าจะต้องเข้าไปร่วมทุนกับนักลงทุนในท้องถิ่นด้วย.

จาก http://www.thaipost.net    วันที่ 20 กรกฎาคม 2558

ถอดบทเรียนพลังงานทดแทน'ขั้นตอนภาครัฐ' จุดบอดต้องเร่งแก้ 

          ปัจจุบันการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน กำลังเป็นธุรกิจที่ได้รับความสนใจจากนักลงทุนจำนวนมาก แต่นโยบายภาครัฐ โดยเฉพาะกระทรวงพลังงาน เหมือนการลองผิดลองถูกอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่ากระทรวงพลังงานมีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนต่างๆ มากมาย โดยกำหนดเป็นแผนผลิตไฟฟ้าที่ชัดเจนของประเทศ เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม ชีวภาพ ชีวมวล และขยะ เป็นต้น แต่ขณะเดียวกันก็เกิดปัญหาและอุปสรรคตามมาให้แก้ไขอย่างต่อเนื่องไปพร้อมกับการส่งเสริม

          โดยปัจจุบันภาคเอกชนต่างให้ความสนใจ มุ่งสู่ธุรกิจดังกล่าว และพร้อมลองผิดลองถูกเพื่อพัฒนาและทำให้ไฟฟ้าไทยพึ่งพาตัวเองให้ได้มากขึ้น

          บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ หรือ EA เป็นหนึ่งในกลุ่มนักลงทุนระดับแนวหน้าของไทยที่ให้ความสำคัญกับการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทน และพร้อมลงทุนอย่างเต็มตัว เพื่อหวังให้ไทยมีพลังงานที่พึ่งพาตัวเองได้ โดย นายอมร ทรัพย์ทวีกุล กรรมการและรองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ ให้ความเห็นถึงทิศทางพลังงานทดแทนในประเทศไทยเอาไว้น่าสนใจ

          * ภาพรวมการใช้พลังงานของประเทศเป็นอย่างไร

          ประเทศไทยมีการใช้ไฟฟ้าเติบโตทุกปี ปีละ 5% ซึ่งการเติบโตดังกล่าวไม่ใช่จากความต้องการใช้ทั้งหมด แต่ส่วนหนึ่งเกิดจากการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่เข้าระบบทดแทนโรงไฟฟ้าเก่าที่เสื่อมสภาพ ซึ่งเกิดได้ทั้งกับโรงไฟฟ้าเขื่อนพลังน้ำ ถ่านหิน และโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ เป็นต้น

          พร้อมกันนี้ การเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศก็เป็นปัจจัยสำคัญต่อการใช้ไฟฟ้า เพราะเศรษฐกิจที่เติบโตขึ้น ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของประชาชนต่อการใช้ไฟฟ้า เช่น เกิดการใช้เครื่องปรับอากาศมากขึ้น และทำให้กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวัน ซึ่งผลักดันให้เกิดการใช้ไฟฟ้าเติบโตขึ้นทุกปีด้วย

          * ด้านการผลิตไฟฟ้า ไทยเป็นอย่างไร

          ตอนนี้ประเทศไทยพึ่งพาการใช้ไฟฟ้าจากต่างประเทศส่วนหนึ่ง เช่น ไฟฟ้าจากประเทศเมียนมา สปป.ลาว และมาเลเซีย เป็นต้น ซึ่งหมายความว่าหากประเทศดังกล่าวเจริญเติบโตขึ้น ความอยากขายไฟฟ้าให้ไทยก็จะน้อยลง แต่โชคดีที่ในอดีตจนถึงปัจจุบันไทยมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าผูกพันกับประเทศต่างๆ ไว้แล้ว ประเทศดังกล่าวจึงยังต้องจ่ายไฟฟ้าขายให้ไทยอยู่

          แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ ถ้าสัญญาซื้อขายไฟฟ้าหมดลง โอกาสที่ต่างประเทศจะขายไฟฟ้าให้ไทยก็จะน้อยกว่าเดิม ดังนั้น ปัจจุบันสัญญาเก่ายังเหลืออยู่ ภาครัฐต้องรีบหารือกันว่าจะทำอย่างไรก่อนที่สัญญาจะหมดลงในอนาคต ต้องทำอย่างไรที่ไทยจะพึ่งพาตัวเองได้มากขึ้น เช่น การมองหาพลังงานทดแทนอย่างโซลาร์เซลล์ การผลิตไฟฟ้าชีวมวลและชีวภาพ เป็นต้น

          * การเติบโตของพลังงานทดแทนไทยเป็นไปในทิศทางใด

          แต่เดิมต้นทุนการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนสูงมาก แต่ผลตอบแทนกลับไม่ได้สูงมากนัก แต่ต่อมาผลตอบแทนดีขึ้น ทำให้เกิดความสนใจในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนมากขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม พลังงานทดแทนก็สามารถช่วยผลิตไฟฟ้าได้ส่วนหนึ่ง แต่ไม่สามารถเป็นพลังงานหลักของประเทศไทยได้ เนื่องจากการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนไม่สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 100% เช่น โรงไฟฟ้าพลังงานลม ส่วนใหญ่จะมีลมพัดช่วงกลางคืน บางทีก็พัดบ้างไม่พัดบ้าง โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ก็ผลิตได้แต่ตอนกลางวัน เป็นต้น

          แต่พลังงานทดแทนยังเป็นสิ่งจำเป็น เพราะปัจจุบันโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงหลักๆ ก็ถูกต่อต้านกันมากมาย เช่น การสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินก็ถูกต่อต้าน การใช้ก๊าซธรรมชาติผลิตไฟฟ้ามากเกินไปถึง 70% ของเชื้อ

          เพลิงทั้งหมด    ก็เป็นความเสี่ยงระบบความมั่นคงด้านพลังงานไทย หรือการสร้างเขื่อนผลิตไฟฟ้าในไทยก็ทำได้ยากแล้ว ดังนั้นการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนจึงต้องทำควบคู่กับโรงไฟฟ้าพลังงานหลักต่อไปก่อน

          * อุปสรรคพลังงานทดแทน

          ทิศทางพลังงานทดแทนในเมืองไทยยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง หากนโยบายรัฐบาลยังสนับสนุนให้เติบโตต่อ แต่หากรัฐบาลไม่ทำอะไรเลยการเติบโตจะอยู่ในวงจำกัด และมีความผันผวนสูง โดยเฉพาะเรื่องสายส่งไฟฟ้าที่ควรรับไฟฟ้าได้ 20% ของพลังงานทดแทน แต่ปัจจุบันยังรองรับได้แค่ 11% ซึ่งรัฐบาลจะต้องพัฒนาระบบสายส่งต่อไป โดยจุดสายส่งไฟฟ้าขณะนี้ยังไม่แข็งแรงนัก เช่น ภาคอีสาน ยังมีสายส่งไม่เพียงพอ ต้องสร้างให้มากขึ้นเพื่อรองรับการกระจายการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทน และต้องทำโครงข่ายสายส่งให้มากขึ้นด้วย

          อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่านโยบายภาพรวมของการส่งเสริมผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนของรัฐบาลเป็นนโยบายที่ดี แต่การปฏิบัติไม่สอดคล้องกับการเดินตามนโยบายรัฐ เพราะการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนเกี่ยวข้องกับหลายภาคส่วน ซึ่งแต่ละส่วนยังไม่ได้มองภาพรวมของประเทศ ยังมองเฉพาะจุดของตัวเองเท่านั้น แต่สุดท้ายเชื่อว่าพลังงานทดแทนของไทยยังต้องก้าวต่อไป แต่ปัญหาดังกล่าวอาจทำให้ต้องใช้เวลายาวนานขึ้นกว่าที่รัฐบาลคาดหวังไว้

          ตัวอย่างเช่น การขอใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าระหว่างหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (พีอีเอ) ก็มีมาตรฐานที่แตกต่างกัน โดยเฉพาะวิธีการของ กฟผ.นั้น ก่อนที่ผู้ประกอบการจะขอขายไฟฟ้า จะต้องแจ้งรายละเอียดว่าจะเข้าระบบสายส่งตรงจุดไหน ต้องมีการทดสอบการเข้าระบบสายส่งไฟฟ้า ถ้าทดลองผ่าน กฟผ.จึงจะอนุญาตและล็อกสายส่งให้

          ในขณะที่พีอีเอจะไม่มีการทดสอบดังกล่าวให้ไปแย่งช่องทางสายส่งกันเอาเอง แต่ก็เป็นที่ชอบใจของผู้ผลิตไฟฟ้า เพราะขอใบอนุญาตง่าย คนไทยชอบการได้ใบสัญญาอย่างง่ายๆ นอนกอดสัญญาไว้ก่อนแล้วอุ่นใจ แต่ไม่เป็นผลดีและเป็นอุปสรรคหากการผลิตไฟฟ้า เพราะแม้ต้องการผลิตจริง

          แต่ไม่มีสายส่งรองรับ ก็จะทำให้การผลิตไฟฟ้าสะดุดได้ เป็นต้น

          * รัฐควรปรับปรุง

          อันดับแรกที่จะทำให้อุตสาหกรรมการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนเดินต่อไปได้ ภาพระดับนโยบายจะต้องชัดเจนออกมาก่อน อย่าหลอกตัวเอง เช่น จำนวนโควตาสำหรับการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนมีเท่าไหร่ ความเข้าใจของภาครัฐที่มีต่อการลงทุน มีความเสี่ยงอะไรบ้าง และผู้ประกอบการจะต้องเผชิญกับปัญหาอะไรบ้าง เป็นต้น

          นอกจากนี้ ยังมีปัญหาด้านการปฏิบัติหน้าที่ของภาครัฐ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่ผ่านมา คือ ปัญหาการออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4) ซึ่งแม้รัฐบาลอยากจะส่งเสริมพลังงานทดแทน แต่หากติดปัญหา รง.4 ก็เท่ากับติดปัญหาคอขวดอยู่อย่างนั้น  แถมกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนยังมีจำนวนมากซึ่งต้องประสานขออนุญาตจากหลายหน่วยงาน อาทิ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม กรมป่าไม้ เป็นต้น ดังนั้น หากสามารถทำเป็นการบริการแบบเบ็ดเสร็จ หรือวันสต็อปเซอร์วิส ได้แท้จริงจะเกิดความสะดวกได้มากขึ้น

          * บริษัทมีแผนลงทุนพลังงานทดแทนอย่างไร

          บริษัทมีแผนลงทุนผลิตไฟฟ้าพลังงานลม 386 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุนรวมกว่า 3 หมื่นล้านบาท โดยแบ่งเป็นการลงทุนในปี 2558 เตรียมติดตั้งกังหันลม 70 ต้น กำลังผลิตต้นละ 1.8 เมกะวัตต์ รวมผลิตไฟฟ้าทั้งสิ้น 126 เมกะวัตต์ ที่ภาคใต้บริเวณ อ.หัวไทร จ.นครศรีธรรมราช ใช้เงินลงทุนประมาณ 9,500-10,500 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มผลิตไฟฟ้าเข้าระบบได้ประมาณไตรมาส 2 ของปี 2559

          นอกจากนี้ จะลงทุนผลิตไฟฟ้าพลังงานลมที่ อ.เทพสถิต จ.ชัยภูมิ ในปี 2560 ใช้เงินลงทุนประมาณ 2 หมื่นล้านบาท กำลังผลิต 260 เมกะวัตต์ ซึ่งจะเริ่มติดตั้งกังหันลมได้ในปี 2559 และขายเข้าระบบได้ประมาณเดือน ธ.ค.2560

          ส่วนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ที่ จ.นครสวรรค์ กำลังผลิต 90 เมกะวัตต์ รวมทั้งที่จังหวัดลพบุรีอีก 8 เมกะวัตต์ และที่ลำปางอีก 90 เมกะวัตต์ ซึ่งจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบแล้ว ส่วนที่ จ.พิษณุโลก กำลังผลิต 90 เมกะวัตต์ เตรียมจะเข้าระบบประมาณไตรมาส 1 ของปี 2559

          พร้อมกันนี้มีแผนเตรียมเข้าประมูลโรงไฟฟ้าพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ ที่คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เตรียมเปิดประมูลผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนในรูปแบบฟีทอินทารีฟ หรือการให้เงินสนับสนุนตามต้นทุนที่แท้จริง เนื่องจากบริษัทมีประสบการณ์และสามารถบริหารการลงทุนให้มีต้นทุนต่ำได้ เบื้องต้นคาดว่าจะประมูลผลิตไฟฟ้าพลังงานลมบริเวณภาคอีสานที่มีศักยภาพลม อาทิ มุกดาหาร นครราชสีมา และชัยภูมิ เป็นต้น ส่วนพลังงานแสงอาทิตย์คาดว่าจะเลือกพื้นที่ที่มีศักยภาพทางภาคอีสานและภาคเหนือ เป็นต้น

          อย่างไรก็ตาม บริษัทคาดว่าในปี 2558 จะมีรายได้เติบโตประมาณ 40% จากปี 2557 ที่มีรายได้ 7,000 ล้านบาท โดยปี 2558 คาดว่าจะมีรายได้ถึง 1 หมื่นล้านบาท จากฐานของรายได้ธุรกิจไบโอดีเซล 5,000-6,000 ล้านบาท และมาจากรายได้ธุรกิจไฟฟ้า 3,000-4,000 ล้านบาท

          ทั้งนี้ บริษัทยังมีแผนจะลงทุนด้านพลังงานทดแทนในต่างประเทศด้วย โดยกำลังพิจารณาในหลายประเทศ อาทิ เมียนมา สปป.ลาว อินเดีย และศรีลังกา เป็นต้น เพราะเป็นประเทศที่กำลังเติบโตและมีความต้องการใช้ไฟฟ้าเร่งด่วนสูง ซึ่งโอกาสในการลงทุนนั้นมองว่าจะต้องเข้าไปร่วมทุนกับนักลงทุนในท้องถิ่นด้วย.

จาก http://www.thaipost.net  วันที่ 20 กรกฎาคม 2558

พืชพลังงานสู่พัฒนาชุมชนสร้างเศรษฐกิจไทยแข็งแกร่ง

ปัจจุบันอุตสาหกรรมด้านการเกษตร มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจและพัฒนาประเทศ เพราะรายได้ส่วนใหญ่ของประเทศมาจากสินค้าการเกษตรเป็นหลัก และคงปฏิเสธไม่ได้ว่าอุตสาหกรรมด้านการเกษตรคืออนาคตของโลก เพราะเกษตรเป็นทั้งอาหาร พลังงาน สิ่งแวดล้อม แหล่งท่องเที่ยว ฯลฯ

“หญ้าเนเปียร์” หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “หญ้าเลี้ยงช้าง” เป็นอีกอุตสาหกรรมการเกษตรที่มีความน่าสนใจ เพราะสามารถสร้างอาชีพ สร้างรายได้ ให้แก่กลุ่มเกษตรกรในพื้นที่โดยแบ่งเป็นพืชสำหรับอาหารสัตว์ และพืชสำหรับใช้ในด้านการผลิตพลังงาน ซึ่งในปัจจุบัน บริษัทยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) หรือ UAC คือผู้ประกอบการเอกชนที่ให้การสนับสนุนและรับซื้อหญ้าเนเปียร์ สำหรับนำไปผลิตเป็นพลังงาน และยังคงเดินหน้ารับซื้อหญ้าเนเปียร์อย่างต่อเนื่อง แม้ว่ารัฐบาลจะชะลอนโยบายการส่งเสริมพืชพลังงานจากหญ้าเนเปียร์ออกไปก็ตาม

นายกิตติ ชีวะเกตุ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทยูเอซี โกลบอล จำกัด (มหาชน) หรือ UAC ในฐานะผู้ประกอบการเอกชนที่มุ่งหวังพัฒนาพืชพลังงานสีเขียวจาก “หญ้าเนเปียร์” เล่าว่า การส่งเสริมปลูกพืชพลังงาน “หญ้าเนเปียร์” คืออีกหนึ่งอาชีพช่วยสร้างรายได้ นอกเหนือจากข้าว อ้อย มันสำปะหลัง และยางพารา ซึ่งมีปัญหาในเรื่องราคาไม่แน่นอนตามสถานการณ์เศรษฐกิจโลกแต่สำหรับหญ้าเนเปียร์แล้ว เป็นพืชพลังงานที่มีต้นทุนต่ำ อีกทั้งยังไม่ต้องการการดูแลมาก

ซึ่งตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการดูแลสังคมและชุมชน ยึดหลักพอเพียง เพื่อความยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจดังนั้น ในการปลูกหญ้าเนเปียร์ให้มีคุณภาพที่ดี ต้องมีการแนะนำและให้ข้อมูลที่ถูกต้องแก่กลุ่มเกษตรกร ทางบริษัทฯ จึงส่งทีมงานเข้าไปให้ความรู้ วิธีการปลูก พร้อมให้คำแนะนำในการปลูก และวิธีการเก็บเกี่ยวเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงโรงงานหรือผู้ที่สนใจได้เปิดมุมมองใหม่ๆ เกี่ยวกับพืชพลังงาน “หญ้าเนเปียร์” ซึ่งการปลูกหญ้าเนเปียร์ 1 ไร่ จะได้ผลผลิตครั้งละ 8-15 ตัน หรือไม่น้อยกว่า 40 ตัน/ไร่/ปี ซึ่งในระยะเวลา 1 ปี สามารถเก็บเกี่ยวได้ไม่น้อยกว่า 4 ครั้ง โดยหญ้าเนเปียร์มีอายุ 7-8 ปี โดยไม่ต้องปลูกใหม่หลังจากตัดแล้วจะโตขึ้นมาเอง

“หญ้าเนเปียร์” คือหญ้ามหัศจรรย์ ที่สามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานไบโอมีเทนอัด (Compressed Bio-Methane Gas หรือ CBG) หรือใช้ผลิตไบโอก๊าซ เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าได้อีกด้วย เนื่องจากเป็นหญ้าที่มีสารอาหารสูงและจากผลการศึกษาเพิ่มเติมก็พบว่า สามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานได้ทั้งการนำไปเผาโดยตรงหลังจากผ่านกระบวนการลดความชื้นแล้ว เพื่อนำความร้อนมาผลิตไฟฟ้าได้ ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ ได้ดำเนินโครงการผลิต CBG ที่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ โดยมีกำลังการผลิต CBG ได้ 6 ตัน/วัน เทียบเท่ากับเติมรถเก๋งและกระบะได้ 300 คัน/วัน เติมรถขนส่งขนาดใหญ่ได้ 40 คัน/วัน สามารถทดแทนการนำเข้าน้ำมันดีเซลได้ประมาณปีละ 2.2 ล้านลิตร หรือก๊าซ LPG ประมาณปีละ 1.6 ล้านกิโลกรัมโดยใช้หญ้าเนเปียร์ส่วนหนึ่งมาผสมกับมูลสุกรจากฟาร์มและบริษัทฯ ยังได้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 1.5 เมกะวัตต์อีกโรงหนึ่งโดยใช้หญ้าเนเปียร์สดอย่างเดียวเป็นวัตถุดิบในการผลิต Biogas เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว และพร้อมที่จะเดินเครื่องจักรจ่ายกระแสไฟฟ้าในทันที หลังจากได้รับใบอนุญาตต่างๆ รวมทั้งสัญญาขายกระแสไฟฟ้า (PPA) จากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแล้ว โรงงานใหม่นี้จะใช้หญ้าเนเปียร์สดประมาณวันละ 150 ตันหรือประมาณ 54,000 ตันต่อปี ซึ่งจะใช้พื้นที่เพาะปลูกประมาณ 1,000 ไร่

“ประเทศไทยยังคงมีที่ดินรกร้างว่างเปล่าอีกมาก ที่มีความเหมาะสมสำหรับปลูกหญ้าเนเปียร์ซึ่งภาครัฐบาลควรมีนโยบายส่งเสริมพืชพลังงานที่ชัดเจน และควรกำหนดพื้นที่ในการปลูกหญ้าเนเปียร์เพื่อบริโภคสำหรับอาหารสัตว์ และเพื่อผลิตพลังงาน จะได้ไม่เป็นปัญหาในอนาคต”

บริษัทฯ มองว่าแนวโน้มด้านธุรกิจพลังงานทดแทนในปีนี้และอีก 2-3 ปีข้างหน้าจะยังมีโอกาสเติบโตอีกมาก เนื่องจากจะเห็นได้ว่า รัฐบาลมีนโยบายที่ค่อนข้างชัดเจนที่จะส่งเสริมให้เกิดการใช้พลังงานทดแทนในประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยแผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 20 ปี (ปี 2558-2579) ได้เพิ่มสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนเป็น 22-25% จากปัจจุบันอยู่ที่ 11% รองรับปริมาณการใช้ไฟฟ้าที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตตามคาดการณ์ ซึ่งให้ความสำคัญกับการใช้เชื้อเพลิงทางเลือกในการผลิตไฟฟ้า 3 ประเภทคือ พลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาเซลล์) ขยะ และชีวมวล ชีวภาพ

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่ายินดีว่าประเทศไทยของเรามีศักยภาพสูงในด้านพื้นที่การปลูกหญ้าเนเปียร์ จึงทำให้การพัฒนาพลังงานทดแทนเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว ช่วยให้เราสามารถพึ่งพาตนเองด้านพลังงานได้เพิ่มมากขึ้น และช่วยลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ซึ่งจะนำไปสู่ความแข็งแกร่งด้านเศรษฐกิจและความมั่นคงของประเทศอย่างแท้จริงได้ในที่สุด อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมอาชีพให้กับเกษตรกรในพื้นที่อีกด้วย

จาก http://www.banmuang.co.th วันที่ 20 กรกฎาคม 2558

ธ.ก.ส.ชงบอร์ดเพิ่มวงเงินช่วยเกษตรแก้หนี้ หลังพบปัญหาหนักกว่าคาด-ใกล้ถูกยึดที่ดิน

นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส. เตรียมนำเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการธนาคาร ที่มีนายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง เป็นประธานในวันที่ 27 ก.ค. นี้ เพื่อขยายเวลาโครงการแก้หนี้นอกระบบที่จะปิดโครงการในเดือน ก.ย. 2558 นี้ ขยายเวลาดำเนินการไปอีก 1 ปี สิ้นสุดเดือน ก.ย. 2559 และขอขยายวงเงินช่วยเหลือเกษตรกร จากที่ปล่อยกู้ไม่เกิน 1 แสนบาทต่อราย จะให้เพิ่มเป็น 1.5 แสนบาทต่อราย (กรณีที่มีหลักประกัน) เพื่อรองรับกลุ่มลูกหนี้เกษตรกรตามนโยบายของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้ช่วยเหลือเกษตรกรกลุ่มที่มีปัญหาเอาที่ดินไปจำนองนายทุนนอกระบบ

ทั้งนี้จากการสำรวจข้อมูลล่าสุดพบว่า จากจำนวนเกษตรกร 1.6 ล้านราย มีเกษตรกรเป็นหนี้นอกระบบ 1.49 แสนราย คิดเป็นมูลหนี้ 2.1 หมื่นล้านบาท หรือเฉลี่ยเป็นหนี้ 1.4 แสนบาทต่อราย นอกจากนี้ยังพบว่าในจำนวนดังกล่าวมีเกษตรกรกว่า 9 หมื่นราย ที่มีปัญหาหนี้สินจนต้องเอาที่ดินไปจำนอง ขายฝาก และกำลังจะถูกยึดที่ดินทำกิน คิดเป็นมูลหนี้รวมกันกว่า 1.3 หมื่นล้านบาท

เบื้องต้นจากการหารือระหว่างกระทรวงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย เห็นชอบให้ใช้แนวทางที่มีอยู่คือ คณะอนุกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจน (อชก.) ส่วนอำเภอและจังหวัด เข้าทำการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ในแต่ละพื้นที่ หากสามารถตกลงในชั้นนี้ได้ ก็จะดึงเข้าโครงการกองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน ซึ่งปัจจุบันมีเงินที่เหลือสำหรับปล่อยกู้อยู่อีก 642 ล้านบาท สามารถกู้ได้สูงสุด 2.5 ล้านบาทต่อราย ดอกเบี้ย 5%

สำหรับกรณีที่ อชก. คัดกรองหนี้ลูกหนี้ แล้วส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อ เช่น ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ในฐานะเลขาฯ อชก. ก็จะใช้โครงการแก้หนี้นอกระบบไปปล่อยกู้เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรได้ โดยล่าสุดได้ปล่อยกู้ไปแล้ว 3.34 หมื่นราย คิดเป็นวงเงินกว่า 3,000 ล้านบาท จากเป้าหมายทั้งโครงการที่จะปล่อยกู้ 1 หมื่นล้านบาท โดยจะเสนอคณะกรรมการขยายวงเงินปล่อยกู้ให้ลูกหนี้ที่มีหลักประกันจาก 1 แสนบาท เพิ่มเป็น 1.5 แสนบาทต่อราย

คิดดอกเบี้ย 12% กำหนดระยะเวลาชำระหนี้คืนไม่เกิน 10 ปี กรณีพิเศษไม่เกิน 12 ปี

นอกจากนี้ ธ.ก.ส. ยังออกมาตรการบรรเทาปัญหาภัยแล้ง วงเงิน 6 หมื่นล้านบาท โดยมี 3 มาตรการ คือ 1.มาตรการขยายเวลาชำระหนี้เดิมไปอีก 9-12 เดือน, 2.สินเชื่อระยะสั้นบรรเทาความเดือดร้อนวงเงิน 3 หมื่นล้านบาท ปล่อยกู้ในช่วง 15 ก.ค.-15 ต.ค. 2558 และ 3.การให้สินเชื่อระยะยาวเพื่อปรับปรุงระบบผลิต วงเงิน 3 หมื่นล้านบาท มีเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อ 3 ปีตั้งแต่ 15 ก.ค. 2558-31 ก.ค. 2561 วงเงินปล่อยกู้ปีละ 1 หมื่นล้านบาท

จาก http://www.naewna.com  วันที่ 20 กรกฎาคม 2558

เล็งเสนอรัฐตั้งกองทุนช่วยเกษตรกร

นายสมพร สืบถวิลกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทิพยประกันภัย ในฐานะอุปนายกสมาคมประกันวินาศภัยไทย เปิดเผยถึงการรับประกันภัยนาข้าวว่า ประสบปัญหาขาดทุน โดยเฉพาะหลังน้ำท่วมปี 54 เพราะชาวนาซื้อกรมธรรม์น้อย เฉพาะชาวนาที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงสูงเท่านั้นที่จะซื้อ ส่วนรายที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยต่ำ หรือไม่เสี่ยงภัยจะซื้อน้อย ขณะเดียวกันรัฐบาลต้องการให้ค่าเบี้ยประกันภัยถูก แต่ที่ผ่านมาบริษัทจ่ายค่าเสียหายหรือค่าสินไหมสูงต่อเนื่อง ทำให้เบี้ยประกันในโครงการต่ำกว่าค่าความเสี่ยงที่แท้จริง และอาจทำให้บริษัทประกันภัยเลิกรับประกันภัยประเภทนี้ เพราะขาดทุน ส่วนการรับประกันภัยข้าวนาปีปี 58 ปีนี้อาจโชคดี ไม่ขาดทุน เพราะพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งน่าจะเสียหายน้อยกว่าภัยน้ำท่วม และคิดเบี้ยตามความเสี่ยงของพื้นที่มากขึ้น แต่เบี้ยยังต่ำกว่าความเสี่ยง

“ต้องการให้รัฐบาลตั้งกองทุนช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบ ไม่ว่าจากภัยแล้ง หรือภัยอื่นที่มีความเสี่ยงสูง แต่รัฐบาลต้องการค่าเบี้ยต่ำ โดยลักษณะกองทุนจะคล้ายกองทุนภัยพิบัติมีรัฐบาลถือหุ้นใหญ่ และต้องทำเป็นประกันภัยภาคบังคับ ให้ทำทุกคนเพื่อเบี้ยจะได้ถูกลง และอาจทำให้บริษัทประกันไม่ต้องขาดทุนมาก ส่วนรูปแบบกองทุนจะเป็นอย่างไร สมาคมฯต้องหารือกับบริษัทประกันวินาศภัยอีกครั้ง รวมถึงต้องประเมินผลการรับประกันภัยปีนี้เพื่อปรับปรุงการรับประกันในปีหน้า ก่อนเสนอภาครัฐที่เกี่ยวข้องผลักดันให้เป็นรูปธรรมต่อไป”.

จาก http://www.thairath.co.th   วันที่ 20 กรกฎาคม 2558

ศูนย์เตือนภัยพิบัติเผยสถานการณ์น้ำในเขื่อนยังน่าห่วง

ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร รายงานสถานการณ์ ประจำวันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคมนี้ ว่า สภาพน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง ภาพรวมยังอยู่ในเกณฑ์น้อย โดยมีปริมาตรน้ำกักเก็บ 33,824 ล้านลูกบาทเมตร คิดเป็นร้อยละ 45 สำหรับปริมาณน้ำในเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำเฉลี่ยอยู่ในเกณฑ์พอใช้เว้นเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ อยู่ในเกณฑ์น้อย จำนวน 19 แห่ง ได้แก่ เขื่อนแม่กวงอุดมธารา เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล จ.เชียงใหม่ เขื่อนกิ่วคอหมา จ.ลำปาง เขื่อนภูมิพล จ.ตาก เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ เขื่อนน้ำพุง จ.สกลนคร เขื่อนจุฬาภรณ์ จ.ชัยภูมิ เขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนลำแซะ เขื่อนลำตะคอง จ.นครราชสีมา เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เขื่อนคลองสียัด จ.ฉะเชิงเทรา เขื่อนขุนด่านปราการชล จ.นครนายก เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี เขื่อนทับเสลา จ.อุทัยธานี เขื่อนบางพระ จ.ชลบุรี และเขื่อนปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ โดยส่วนใหญ่เขื่อนและแม่น้ำสายหลักหลายแห่งมีปริมาณน้ำใช้เพื่อการเกษตรอยู่ในเกณฑ์น้อย

สำหรับสถานการณ์ภัยแล้ง ปัจจุบันยังคงมีพื้นที่ได้รับผลกระทบรวม 2 จังหวัด 15 อำเภอ 98 ตำบล 896 หมู่บ้าน โดยภาคเหนือที่ จ.น่าน และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จ.นครราชสีมา โดยในระยะนี้มีฝนตกต่อเนื่องในหลายพื้นที่ ประกอบกับกรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้ปฏิบัติการทำฝนเทียมในทุกภาค จึงทำให้ภาวะความแห้งแล้งมีแนวโน้มคลี่คลายในหลายพื้นที่ อย่างไรก็ตาม ในบางพื้นที่ยังอยู่ในภาวะเสี่ยง จึงขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนให้ใช้น้ำอย่างประหยัด

จาก http://www.thanonline.com  วันที่ 20 กรกฎาคม 2558

พลังงานจับมือธกส. ยกบุรีรัมย์พื้นที่ต้นแบบพลังงานทดแทน

กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ ธกส. จัดมหกรรมพลังงานบ้านทุ่งสัญจรนำร่องแห่งแรก ที่จ.บุรีรัมย์ ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้พลังงานทดแทนเหมาะสมกับพื้นที่

ดร.ทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การจัดมหกรรมพลังงานบ้านทุ่งสัญจรนำร่องที่จ.บุรีรัมย์ โรงเรียนพุทไธสง อ.พุทไธสง จ.บุรีรัมย์ เป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงพลังงาน ธกส. และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อต้องการยกระดับให้บุรีรัมย์เป็นจังหวัดต้นแบบในการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มาประยุกต์กับการทำเกษตรกรรมรุ่นใหม่โดยการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งจะสามารถลดต้นทุนช่วยเหลือเกษตรกรได้ เชื่อว่าการจัดกิจกรรมในครั้งนี้จะเป็นประโยชน์กับเกษตรกร ได้มีองค์ความรู้ในการบริหารจัดการน้ำและการนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ในการลดต้นทุนที่จะนำน้ำมาใช้ในการทำการเกษตร โดยการใช้พลังงานทดแทน

"มหกรรมพลังงานบ้านทุ่งสัญจรเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรหันมาใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนที่เหมาะสมกับท้องถิ่นทั้ง พลังงานแสงอาทิตย์ ไบโอแก๊ส และชีวมวลในครัวเรือน โดยเฉพาะการสาธิตการใช้งานระบบสูบน้ำด้วยพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อการเกษตรที่เหมาะสมในระดับการทำการเกษตรและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับความสนใจจากเกษตรกรที่ต้องการทดลองนำไปใช้ในพื้นที่ของตัวเอง"ดร.ทวารัฐ กล่าว

สำหรับกิจกรรมในครั้งนี้มีการเสวนาให้ความรู้เรื่องเทคโนโลยีพลังงานทดแทน การแสดงสินค้านวัตกรรมพลังงานทดแทนที่สามารถใช้ได้ในกลุ่มวิสาหกิจชุมชนและกลุ่มเกษตรกรการแสดงนิทรรศการเทคโนโลยีพลังงานในรูปแบบต่างๆ เช่น กังหันลมสูบน้ำ โซล่าเซลล์สูบน้ำ เป็นต้น มีเกษตรกรและประชาชนที่ให้ความสนใจเดินทางมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก

จาก http://www.bangkokbiznews.com วันที่ 20 กรกฎาคม 2558

ธปท.จับตาเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังใกล้ชิด

ธปท. สั่งจับตาเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลังอย่างใกล้ชิด พร้อมคงจีดีพีไว้ที่ระดับ 3% แม้มีปัญหาภัยแล้งเข้ามากระทบ เชื่อรัฐบาลบริหารจัดการได้ดี

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.ได้ติดตามภาวะเศรษฐกิจไทยอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในครึ่งปีหลังว่า แม้แนวโน้มเศรษฐกิจไทยยังไม่ดีขึ้นมากนักแต่น่าจะไม่มีปัญหาอะไรมาก ซึ่งธปท.ยังคงคาดการณ์เติบโตทางเศรษฐกิจไว้ที่ 3% เช่นเดิม แม้มีปัญหาภัยแล้งเข้ามา แต่รัฐบาลได้เข้ามาแก้ไขและบริหารจัดการปัญหาอย่างทันท่วงทีและทำได้ดี รวมทั้งเรื่องของธรรมชาติไม่สามารถคาดการณ์ได้อย่างแม่นยำ จึงต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป

ส่วนปัญหาเรื่องจีนนั้นจากนี้ไปคงไม่สามารถคาดหวังให้เป็นตลาดส่งออกที่มีสัดส่วนจำนวนมากเหมือนที่ผ่านมาได้อีก แม้หลายฝ่ายเชื่อมั่นในการบริหารจัดการของรัฐบาลจีน แต่ยังมีปัญหาเรื่องโครงสร้างที่กำลังเปลี่ยนแปลงไป ทั้งการเพิ่มของประชากรที่มีน้อย ค่าแรงแพง การลงทุนที่มากเกินไป และอื่น ๆ อีก ขณะที่ปัญหาเรื่องวัฐจักรของราคาสินค้าเกษตรที่อยู่ในช่วงขาลง ยิ่งทำให้เป็นอุปสรรคสำคัญกับการส่งออกของไทย ขณะที่ปัญหาประเทศกรีซ นั้น แม้มีผลกระทบโดยตรงต่อไทยค่อนข้างน้อย แต่ถือเป็นปัญหาใหญ่ของสหภาพยุโรปที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดเช่นกัน

สำหรับกรณีที่ธนาคารพาณิชย์ได้ปรับระบบไอทีใหม่ นั้น ธปท.ได้รับรายงานล่าสุดว่าไม่มีปัญหาอะไร เพราะธนาคารพาณิชย์ได้เตรียมการและสำรองเงินไว้รองรับเรียบร้อยแล้ว มั่นใจว่าไม่น่าจะมีปัญหาใด ๆ ขณะเดียวกันธปท.ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปดูแลและประสานงานเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด มั่นใจว่าธนาคารพาณิชย์ได้เตรียมตัวมาดีและพร้อมจึงไม่น่ามีปัญหาใดๆ

จาก http://www.bangkokbiznews.com วันที่ 20 กรกฎาคม 2558

รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เปิดเผยเร่งขุดเจาะน้ำบาดาลไปแล้วกว่า 450 แห่ง ตั้งเป้าครบ 511 บ่อ ภายในสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้

นางอรัญญา เฟื่องสวัสดิ์ รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กล่าวว่า กรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้ดำเนินการขุดเจาะและพัฒนาน้ำบาดาลเพื่อการเกษตรตามแผนการช่วยเหลือผู้ประสบภัยแล้งเร่งด่วน ในพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งตั้งเป้าในการขุดเจาะไว้ 511 บ่อ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและภาคเหนือตอนล่าง โดยจากรายงานล่าสุดดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้ว 450 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 88.06 จากแผนทั้งหมด คาดว่าในวันนี้ ( 19 ก.ค.) จะสามารถขุดเจาะเพิ่มเติมได้มากกว่า 460 บ่อ เพื่อนำน้ำมาช่วยเหลือเกษตรกรที่อยู่ในพื้นที่ของกรมชลประทาน และพื้นที่ดอนที่น้ำจากคลองชลประทานไม่สามารถผันเข้าไปถึง คาดว่าภายในสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้จะสามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จทั้ง 511 บ่อ ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กล่าวย้ำว่า เกษตรกรในแต่ละพื้นที่จะเป็นผู้ชี้จุดและให้ข้อมูล รวมทั้งจะประสานกับกรมชลประทาน ผู้ว่าราชการจังหวัด และส่วนงานที่เกี่ยวข้องในการกำหนดจุดที่จะขุด ทำให้หากมีการขุดเจาะบ่อบาดาลแล้ว จะสามารถสูบน้ำไปใช้ในคลองไส้ไก่ และคูนา เป็นระยะทางหลายกิโลเมตร ภายในช่วง 1 คืน เพื่อให้เกษตรกรสามารถวิดน้ำไปใช้หล่อเลี้ยงต้นข้าวในที่นาของตนเองได้

จาก http://thainews.prd.go.th   วันที่ 19 กรกฎาคม 2558 

พาณิชย์ดันโลจิสติกส์ เข้ามาตรฐานสากล

นางสาวรัตนา เธียรวิศิษฎ์สกุล รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2559 กรมจะผลักดันธุรกิจให้บริการโลจิสติกส์สู่มาตรฐานไอเอสโอ 9001 ซึ่งเป็นเกณฑ์มาตรฐานระดับสากลให้เพิ่มขึ้น โดยวางเป้าหมายผลักดัน 100 ราย จากที่ได้รับส่งเสริมแล้ว 260 ราย ทั้งนี้ กรมได้ส่งเสริมผ่านการอบรมหลักสูตรบริหารจัดการให้เป็นมาตรฐานระดับสากลแล้ว 6,700 ราย แต่เมื่อเทียบกับผู้ประกอบการโลจิสติกส์ที่จดทะเบียนไว้จำนวน 1.9 หมื่นราย ถือว่ายังน้อย โดยเห็นว่าในภาวะเศรษฐกิจโลกซบเซาและการแข่งขันสูงขึ้น การได้รับมาตรฐานจะเป็นแต้มต่อทางธุรกิจและพร้อมรับเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ปลายปี 2558 ด้วย

นายวิสาร ฉันท์เศรษฐ์ ประธานสมาพันธ์ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ไทย กล่าวว่า ตลาดรวมการให้บริการโลจิสติกส์ไทยครึ่งปีแรก 2558 หดตัวประมาณ 2% และมีมูลค่าเกินแสนล้านบาท เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกซบเซา การส่งออกหดตัว และกำลังซื้อลดลงต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจที่เข้ามาใช้บริการขนส่งชะลอตัว คาดว่าสถานการณ์หดตัวจะต่อเนื่องครึ่งปีหลัง ทำให้ทั้งปีตลาดยังติดลบ 2% โดยการฟื้นตัวของธุรกิจขนส่งและโลจิสติกส์จะไปในทิศทางเดียวกับการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว และการบริโภค ตอนนี้ธุรกิจอยู่ได้เพราะได้การขนส่งจากการค้าชายแดนที่โตหลายเท่าตัว

  จาก http://www.prachachat.net   วันที่ 19 กรกฎาคม 2558 

รมว.มหาดไทยระบุเตรียมปล่อยน้ำสลับพื้นที่ เพื่อช่วยเกษตรกร

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เชื่อ สถานการณ์ภัยแล้งจะดีขึ้น ระบุ เตรียมปล่อยน้ำสลับพื้นที่ช่วยเกษตรกร เร่งเจ้าหน้าที่ทำความเข้าใจ ย้ำ รัฐบาลพร้อมเยียวยาช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหาย

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้งว่า สถานการณ์น่าจะดีขึ้น ขณะนี้คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ และกรมชลประทานกำลังหารือร่วมกันถึงแนวทางการปล่อยน้ำ ซึ่งแนวทางที่มีในขณะนี้ ยังให้ความสำคัญกับการรักษาระบบนิเวศน์และการประปาเป็นหลัก ในขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ก็ให้ความสำคัญกับที่นาที่เสียหายเป็นหลัก จึงจะพิจารณาการปล่อยน้ำให้กับพื้นที่แต่ละแห่ง แต่จะปล่อยให้สูบน้ำพร้อมกันทั้งหมดเป็นไปไม่ได้ โดยจะปล่อยน้ำเพื่อช่วยเกษตรกรเป็นส่วน ๆ ไป และจะเปลี่ยนพื้นที่สลับกันจ่ายน้ำให้พออยู่ได้ 7-10 วัน

“ยืนยันว่า ต้องช่วยเหลือเยียวยาผู้เสียหายอยู่แล้ว แต่ต้องให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ประชุมในเรื่องดังกล่าวเพื่อให้แนวทางที่ชัดเจน ขณะเดียวกัน การทำงานต้องร่วมมือกันหลายฝ่าย ที่สำคัญต้องทำความเข้าใจด้วยว่า ทำไมพื้นที่หนึ่งให้น้ำได้ แต่อีกพื้นที่หนึ่งให้น้ำไม่ได้” พล.อ.อนุพงษ์ กล่าว

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวอีกว่า จะต้องทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กับกรมชลประทาน เพื่อทำความเข้าใจกับประชาชนในการสลับพื้นที่ปล่อยน้ำ ซึ่งจะต้องช่วยเหลือและดูแล เชื่อว่า คงไม่มีปัญหา โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการให้เจ้าหน้าที่ลงไปสำรวจในพื้นที่ที่ได้รับความเสียหาย คาดว่าพรุ่งนี้ (20 ก.ค.) น่าจะได้รับคำตอบ เนื่องจากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา

เมื่อถามว่ามีความคิดเห็นอย่างไรเกี่ยวกับความขัดแย้งระหว่างทหารและประชาชนในพื้นที่ภัยแล้ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ระบุว่า เป็นเรื่องธรรมดา ซึ่งจะต้องพูดคุยกันและสร้างความเข้าใจ  มั่นใจว่าหากมีความเสียหายเกิดขึ้นก็ต้องช่วยเหลือเยียวยา เข้าใจว่าชาวบ้านร้อนใจเพราะลงทุนไว้

  จาก http://www.prachachat.net   วันที่ 19 กรกฎาคม 2558 

เขื่อนเจ้าพระยาระดับน้ำเพิ่ม 26 เซนติเมตร หลังชาวนางดสูบน้ำ

นายเอกศิษฐ์ ศักดีธนาภรณ์ ผอ.เขื่อนเจ้าพระยา เปิดเผยว่า ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จุดวัดน้ำ C13 เหนือเขื่อนเจ้าพระยา ต.บางหลวง อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ในรอบ 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา ระดับน้ำเพิ่มขึ้น 26 ซม. ไปอยู่ที่ 13.50 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง( ม.รทก.) แต่ยังต่ำกว่าจุดวิกฤต 14.00 ม.รทก. อยู่อีก 50 ซม. ต่อเนื่องมาเป็นสัปดาห์ที่ 4 ขณะที่ขณะที่ระดับน้ำท้ายเขื่อน อยู่ที่ 6.15 ม.รทก.โดยเขื่อนเจ้าพระยาคงอัตราการระบายน้ำไว้ที่ 90 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที(ลบ.ม./วิ) เพื่อช่วยผลักดันน้ำเค็มที่รุกเข้ามาถึงพื้นที่ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี และบรรเทาความเดือดร้อนจากสถานการณ์ขาดน้ำดิบผลิตน้ำประปาในจังหวัดลพบุรี ปทุมธานี และกรุงเทพมหานคร โดยระดับน้ำเหนือเขื่อนที่เพิ่มขึ้นมา 26 ซม.ภายใน 1 วันนั้น เป็นผลมาจาก ได้รับปริมาณน้ำฝนที่ตกเหนือเขื่อนในพื้นที่ จ.นครสวรรค์ จ.กำแพงเพชร และ จ.อุทัยธานี ประกอบกับการปรับลดการส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกลงร้อยละ 50 รวมทั้งชาวนาให้ความร่วมมือกับนโยบายงดการสูบน้ำ ทำให้ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา เพิ่มขึ้นตามแผน ของกรมชลประทานที่ต้องการสงวนน้ำไว้เพื่อการอุปโภค-บริโภคของประชาชน

ด้านนายสุชาติ เจริญศรี ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา(คบ.) มโนรมย์ เปิดเผยว่า หลังจากที่เครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้าที่หยุดเดินเครื่องจากปัญหาตลิ่งทรุดกลับมาเดินเครื่องได้แล้วทั้ง 4 เครื่องทำให้สามารถสูบน้ำเข้าคลองชัยนาท-ป่าสัก ได้ตามแผนของกรมชลประทานคือ 9 ลบ./วิ ประกอบกับระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยายกตัวขึ้นจากที่มีฝนตกลงมาเติมปริมาณน้ำเหนือเขื่อนมาอยู่ที่ 13.50 ม.รทก. ทำให้มีน้ำที่ไหลเข้าคลองชัยนาท-ป่าสัก ผ่านประตูระบายน้ำมโนรมย์ มากขึ้นเป็น 12 ลบ.ม./วิ ทำให้มวลน้ำรวมที่ส่งเข้าพื้นที่ทุ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออกรวม 21 ลบ.ม./วิ ซึ่งจะช่วยทำให้สถานการณ์วิกฤตน้ำประปาในพื้นที่ จ.ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา และ จ.ปทุมธานี คลี่คลายลงและกลับสู่สภาวะปกติ แต่ก็ยังต้องขอความร่วมมือจากพี่น้องเกษตรกรในการงดสูบน้ำไปจนถึงสิ้นเดือนกรกฎาคม เพื่อให้มีน้ำเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภคของประชาชนจังหวัดท้ายเขื่อนและกรุงเทพมหานคร

  จาก http://www.prachachat.net   วันที่ 19 กรกฎาคม 2558 

สำนักงบฯชงครม.ช่วยเงินภัยแล้งเกษตรกร21ก.ค.

ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เผย เตรียมรายงาน ครม. ผลเบิกจ่ายงบช่วยภัยแล้งวันอังคารนี้ ยัน รัฐมีเงินเพียงพอ ด้าน ประธานเครือข่ายชาวนาไทย ชี้ มาตรการจ่ายเงินพันบาท ช่วยเกษตรกรบรรเทาภัยแล้งดีสุด

นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เปิดเผยสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่าในขณะนี้สำนักงานงบประมาณ อยู่ในระหว่างการรวบรวมตัวเลขข้อมูลการเบิกจ่ายและใช้งบในการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ โดยจะมีการรายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีในวันอังคารนี้ ซึ่งทางกระทรวงมหาดไทย จะเป็นคนรวบรวมข้อมูลก่อนส่งให้สำนักงบประมาณดูรายละเอียดอีกครั้ง อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่างบประมาณของทางรัฐบาลมีเพียงพอในการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น ซึ่งจะมีการใช้งบประมาณในปี 2558 จากการแบ่งส่วนของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

ในการดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ส.ชาวนาจี้รัฐช่วย1000บ./ไร่บรรเทาภัยแล้ง

นายระวี รุ่งเรือง ประธานเครือข่ายชาวนาไทย เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า สำหรับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ เริ่มผ่อนคลายลง โดยจากนี้ไปจะต้องจับตาว่า หลังจากวันที่ 10 สิงหาคม นี้ ปริมาณน้ำจะเป็นอย่างไร จึงจะประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นได้ ซึ่งล่าสุดทางสมาคมชาวนา ได้ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ให้ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวนา อาทิ การขุดเจาะบ่อบาดาล การให้เงินช่วยเหลือเกษตรกรไร่ละ 1,000 บาท นอกจากนี้ กรณีที่รัฐบาลขอความร่วมมือเกษตรกรงดสูบน้ำ 3 วัน เพื่อปล่อยน้ำลงคลองทำประปาและดันน้ำทะเล ป้องกันน้ำเค็มนั้น เป็นการเพิ่มผลกระทบให้กับชาวนา

อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าก่อนหน้านี้ ภาครัฐได้ประกาศแล้วว่าจะไม่ให้เงินความช่วยเหลือนั้น ส่วนตัวมองว่า ไม่มีแนวทางไหนที่ดีกว่าการช่วยจ่ายเงินเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับชาวนา

'ปีติพงศ์' เตรียมประชุมแก้ภัยแล้ง

วันนี้ที่โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ อ.พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จัดการประชุมขับเคลื่อนกลยุทธ์การบูรณาการช่วยเหลือเกษตรกรวิกฤตภัยแล้ง ตั้งแต่เวลา 09.00 น. -12.00 น. โดยมี นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานพิธีเปิดการประชุมและมอบแนวปฏิบัติการบูรณาการช่วยเหลือเกษตรกรวิกฤตภัยแล้งซึ่งมีผู้แทนจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จาก 22 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยาเข้าร่วมประชุม ทั้งนี้นายสมชาย ชาญณรงค์กุล รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะนำเสนอการทำงานภายใต้ความร่วมมือของหน่วยราชการ รองรับการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และนายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร จะนำเสนอมาตรการและระบบช่วยเหลือเกษตรกรวิกฤตภัยแล้ง รวมถึงการรายงานบทบาทการทำงานของหน่วยงานสนับสนุนการช่วยเหลือ ประกอบด้วย อธิบดีกรมวิชาการเกษตร อธิบดีกรมการข้าว อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน อธิบดีกรมประมง อธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร และอธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์ ขณะที่ช่วงบ่าย เวลา 13.00 น.อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร จะลงพื้นที่ติดตามเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบภัยแล้ง ใน จ.พระนครศรีอยุธยา

  จาก http://www.innnews.co.th วันที่ 19 กรกฎาคม 2558 

เปิดแผน"เกษตร-คลัง-พาณิชย์" ปฏิบัติการรับมือ"แล้งบ้าเลือด"

 รายงานพิเศษ

ปี 2558 คงต้องจารึกไว้ ในประวัติศาตร์เคล้าน้ำตาของกลุ่มเกษตรกร โดยเฉพาะ "ชาวนา" ที่ได้รับการยกให้เป็น "กระดูกสันหลังของชาติ"

เพราะเป็นปีที่แสนสาหัสยิ่งจากปัญหาภัยแล้ง โดยต้องยกเลิกการปลูกนาปรังไปแล้ว แถมฤดูปลูกนาปี ก็ทำได้ไม่กี่พื้นที่ แถมประเมินกันว่านาปรังหนหน้าก็อาจจะไม่ได้ปลูกอีก

ส่วนพื้นที่ชลประทานที่ลงทุนไปแล้วยิ่งแย่เพราะรัฐประกาศห้ามสูบน้ำเพื่อใช้การเกษตรเด็ดขาด ถึงขั้นส่งทหารออกมาดูแลความเรียบร้อย

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ระบุว่า ช่วงครึ่งแรกของปีนี้ผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ภาคเกษตรขยายตัวติดลบ 4.2% คิดเป็นมูลค่า 7.41 แสนล้านบาท เทียบช่วงเดียวกันของ ปีก่อนมีการขยายตัวเพิ่มขึ้น 2.67%

แนวโน้มจีดีพีภาคเกษตรทั้งปี คาดว่าจะหดตัวติดลบ 3.3%-4.3% คิดเป็นมูลค่า 1.39 ล้านล้านบาท ส่งผลมูลค่า จีดีพีภาคเกษตรหายไป 2.4 หมื่นล้านบาท จากปี 2557 ขยายตัว 1.1%

ก่อนสรุปว่าการเติบโตของภาคเกษตรที่เติบโตติดลบครั้งนี้ถือว่าแย่ที่สุดในรอบ 36 ปี!!!

จึงกลายเป็นภาระหนัก ของภาครัฐ ที่ต้องมาช่วยเหลือเกษตรกร

หน่วยงานหลักไม่พ้นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรฯ ระบุว่า 3 กระทรวงคือกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม บูรณาการร่วมกัน

กำหนดความช่วยเหลือเบื้องต้นดังนี้ คือ

1.การส่งเสริมให้มีการปรับโครงสร้างการผลิตในเขตลุ่มเจ้าพระยา โดย การสนับสนุนให้ปลูกพืชใช้น้ำน้อย อาทิ ถั่วเหลือง ข้าวโพด เป็นต้น

2.การสร้างรายได้และพัฒนาการเกษตรแก่ชุมชน เพื่อบรรเทาภัยแล้วตำบลละ 1 ล้านบาทในพื้นที่ประสบภัยแล้งทั่วประเทศ

3.ใช้งบประมาณปกติของกรมชลประทานจ้างแรงงานเกษตรกรเพื่อดูแลเครื่องมือชลประทาน เบื้องต้นมีประมาณ 74 ล้านบาทในส่วนนี้จ้างไปแล้ว ส่วนอีก 1,600 ล้านบาทเตรียมนำออกมาใช้จ้างงานในเดือนส.ค.นี้

และ 4.จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลือเกษตรกรระดับตำบล จัดหน่วยเยี่ยมเยียนเกษตรกรในพื้นที่ เพื่อติดตามสถานการณ์และให้คำแนะนำ และให้การช่วยเหลือเมื่อเกษตรกรประสบปัญหาภายใน 24 ชั่วโมง

ขณะที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติ โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้เร่งส่งเสริมให้มีการขุดเจาะบ่อบาดาลเพื่อการเกษตร เป้าหมาย 500 บ่อให้เสร็จภายใน 20 ก.ค.นี้ ซึ่งขณะนี้ดำเนินการไปแล้ว 207 บ่อ

ในส่วนของการขุดบ่อบาดาล กรมชลประทานได้ดำเนินการขุดบ่อเพิ่มเติมอีกประมาณ 200-500 บ่อ กำหนด ส่งมอบให้กระทรวงทรัพย์ประมาณ 20 ส.ค.ที่จะถึงนี้

ส่วนกระทรวงการคลัง นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง โยนการบ้านให้ทุกแบงก์รัฐ ไปหานโยบายเร่งด่วนช่วยเหลือ ผู้ได้รับผลกระทบ

ที่พอจะเห็นเป็นเนื้อหนัง ภาระหนักสุดคงหนีไม่พ้นธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในฐานะที่รมว.คลัง นั่งเป็นประธานกรรมการ กุมบังเหียนเอง และในฐานะที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการดูแลเกษตรกรอยู่แล้ว

เม็ดเงินอัดฉีดที่ออกมาในปีนี้ จึงดูหวือหวาที่สุดกว่า 6 หมื่นล้านบาท ครอบคลุมเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบกว่า 1 ล้านราย

มาตรการธ.ก.ส.แบ่งออกเป็น 3 ระยะ ที่ดำเนินการไปแล้วคือ มาตรการระยะที่ 1 ขยายเวลาชำระหนี้เดิม เพื่อให้เกษตรกรคลายกังวลปัญหาหนี้ที่มีอยู่กับธ.ก.ส. โดยขยายเวลาชำระหนี้ออกไปไม่เกิน 9 เดือน กรณีพิเศษ 12 เดือน

ส่วนกลุ่มสหกรณ์ที่ได้รับผลกระทบจะพิจารณาขยายเวลาชำระหนี้ออกไปไม่เกิน 12 เดือน

มาตรการระยะที่ 2 และ 3 ผูกกับเงินก้อน 6 หมื่นล้านบาท ที่ผ่านความเห็นคณะกรรมการธ.ก.ส.ไปเมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา ช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ผลผลิต ต้องเสียหายไม่น้อยกว่า 50% ของผลผลิตทั้งหมด

หรือเกษตรกรที่ชะลอทำการเกษตรตามนโยบายของรัฐบาล หรือเกษตรกรที่ยังทำกิจกรรมการเกษตรไม่ได้เนื่องจากภัยแล้ง รวมถึงสหกรณ์การเกษตรพื้นที่ประสบ ภัยแล้ง

แบ่งออกเป็น 3 มาตรการหลัก ได้แก่ มาตรการสินเชื่อระยะสั้นวงเงิน 30,000 ล้านบาท

แบ่งเป็น 3 มาตรการย่อย คือ 1.มาตรการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรลูกค้าธนาคาร (สินเชื่อฉุกเฉิน) วงเงิน 10,000 ล้านบาท กู้ไม่เกิน 10,000 บาทต่อราย กำหนดกู้ไม่เกิน 3 เดือนตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.-15 ต.ค. ชำระคืนไม่เกิน 12 เดือน ปลอดดอกเบี้ย 0% ระยะเวลา 3 เดือน โดยเดือนที่ 4-12 จะคิดอัตราเอ็มอาร์อาร์ หรือเท่ากับ 7% ต่อปี

2.มาตรการสินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อฟื้นฟูการผลิตหลังประสบภัย (สินเชื่อฟื้นฟู) วงเงิน 10,000 ล้านบาท กู้รายละ ไม่เกิน 20,000 บาท ระยะเวลาให้เงินกู้เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.-15 ต.ค.2558 ชำระคืนเสร็จไม่เกิน 12 เดือน กรณีพิเศษไม่เกิน 18 เดือน อัตราดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์เท่ากับ 7% ต่อปี

และ 3.มาตรการสินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อฟื้นฟูการผลิตของ สมาชิกสหกรณ์การเกษตร (สินเชื่อฟื้นฟูสมาชิกสหกรณ์) วงเงินอีก 10,000 ล้านบาท กู้เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.-15 ต.ค.58 กำหนดชำระคืนเสร็จไม่เกิน 12 เดือนกรณีพิเศษไม่เกิน 18 เดือนอัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ -1.25 หรือเท่ากับ 5% ต่อปี

ส่วนมาตรการระยะที่ 3 เป็นมาตรการระยะยาว อีก 30,000 ล้านบาท เพื่อปรับปรุงระบบการผลิต ด้านการเกษตรเป็นการพิจารณาให้สินเชื่อเพื่อการ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตร หรือเพื่อ ปรับเปลี่ยนการผลิตเป็นรูปแบบอื่นที่มีความเหมาะสมมากขึ้น

ระยะเวลาโครงการ 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.2558-31 ก.ค.2561 วงเงินกู้รายละไม่เกิน 100,000 บาทต่อราย ชำระคืนไม่เกิน 10 ปี และผ่อนปรนไม่ต้องคืนเงิน 3 ปีแรกหากมีกรณีจำเป็น อัตราดอกเบี้ยปีแรก 0% จากนั้นคิดอัตราเอ็มอาร์อาร์ -2% หรือเท่ากับ 5% ต่อปี

ขณะที่แบงก์รัฐอื่นๆ ก็ช่วยสนับสนุนในด้านต่างๆ กันไป

กระทรวงพาณิชย์เป็นหนึ่งในหน่วยงานที่มีมาตรการออกมา เพื่อช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชนอย่างต่อเนื่อง

1.การจัดทำโครงการธงฟ้าเคลื่อนที่สู่ชุมชนจังหวัดที่ประสบภัยแล้ง (Mobile Unit) เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความ เดือดร้อนที่ประสบภัยแล้ง จังหวัดที่ประกาศภัยแล้ง 19 จังหวัด จำนวน 755 ตำบล พิษณุโลก ตาก นครสวรรค์ น่าน อุตรดิตถ์ นครราชสีมา ชัยภูมิ ขอนแก่น สกลนคร อำนาจเจริญ สุรินทร์ ชัยนาท ลพบุรี ราชบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สระบุรี สระแก้ว ตราด และปราจีนบุรี ระยะเวลาการดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 3-31 ก.ค.

จัดรถบรรทุกนำสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการครองชีพเข้าไปจำหน่ายยังพื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ ข้าวสาร ไข่ไก่ น้ำมันพืช น้ำตาลทราย ในราคาต่ำกว่าราคาท้องตลาดประมาณ 50%

สินค้าอุปโภคบริโภค ได้แก่ ผงซักฟอง สบู่ ยาสีฟัน ยาสระผม น้ำปลา ฯลฯ ลดราคาจำหน่ายประมาณ 30% กำหนด จุดจำหน่ายและกำกับดูแลการจำหน่ายในพื้นที่เป้าหมาย และกระทรวงพาณิชย์ดูแลการจัดหาสินค้าและงบประมาณ ดำเนินการ

2.โครงการลดค่าครองชีพให้กับกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับผล กระทบจากภาวะภัยแล้งทั่วประเทศ ผ่านร้านค้าของสหกรณ์การตลาดเพื่อลูกค้าธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (สกต.) เพื่อกำหนดแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรที่เป็นลูกค้าธ.ก.ส.

พื้นที่เป้าหมายจำนวน 34 จังหวัด ตามข้อมูลของกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ระยะ เวลาดำเนินการประมาณ 6 เดือน จะเริ่มดำเนินการ ในต้นเดือนส.ค.2558 ผู้ผลิต สินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ประมาณ 10 ราย ลดราคาจำหน่ายสินค้าที่จำเป็น ต่อการครองชีพ ซึ่งเป็นเดือนมหามงคลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ 10-40% จำนวน 20 รายการ ผ่านร้านค้าของสกต. ใน 34 จังหวัด ประมาณ 250 แห่ง ในอำเภอต่างๆ

3.กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ได้ขอความร่วมมือสมาชิก เครือข่าย Biz Club ซึ่งเป็นสมาชิกผู้ประกอบธุรกิจ ในจังหวัดต่างๆ (37 จังหวัด) ที่มีความต้องการแรงงาน เพิ่มเติม ให้พิจารณาจ้างงานจากผู้ประสบภัยแล้ง และสร้างรายได้เพิ่มเติมอีกทางหนึ่ง

พร้อมกันนี้กรมพัฒนาธุรกิจการค้าเปิดตัวสัญลักษณ์ รูปช้าง ชื่อ "น้องพัฒน์" เชิญชวนให้ผู้บริโภคมาจับจ่ายในร้านค้าในท้องถิ่นที่จำหน่ายสินค้าราคาประหยัด ที่ได้พัฒนาตัวเองภายใต้การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของ ผู้ประกอบธุรกิจเอสเอ็มอีไทยที่มีอยู่ถึง 2.6 ล้านราย

รวมไปถึงธุรกิจค้าปลีกที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 1.5 ล้านล้านบาท เครือข่ายธุรกิจ Biz Club รวมทั้งสิ้น 37 แห่ง จำนวนสมาชิกกว่า 7,000 ราย ร่วมกันสร้างงาน

นอกจากนี้ยังได้ดำเนินโครงการ "Social Business" นำข้าวสารจากโกดังกลางไปทำข้าวสารบรรจุถุง ถุงละ 2 กิโลกรัม ปริมาณ 5,000 ตัน ส่งมอบให้สหกรณ์ชุมชน/วิสาหกิจชุมชน ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์คัดเลือกมา จำหน่ายในราคาต่ำกว่าตลาด 20% โดยมีชุมชนที่เข้าร่วมใน 58 จังหวัด จำนวน 149 สหกรณ์ โดยประมาณข้าวสารเบื้องต้น 600 ตัน โดยคาดว่าจะเริ่มดำเนินการกลางเดือนส.ค.

รวมทั้งหารือกับผู้ประกอบการเพื่อลดราคาจำหน่ายปัจจัยการผลิต ได้แก่ ปุ๋ยเคมี ยาป้องกันกำจัดศัตรูพืช และค่าบริการรถเกี่ยวข้าว

ทั้งหมดนั้นคือมาตรการของภาครัฐที่ "เยียวยา" เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบหนักหน่วงเหลือเกิน

ในภาวะ "แล้งบ้าเลือด" เช่นนี้

  จาก http://www.khaosod.co.th วันที่ 19 กรกฎาคม 2558 

เกษตรฯสั่งระดมจนท.ในสังกัดดูแลเกษตรกรพื้นที่แล้งโดยเฉพาะ22จ.ลุ่มเจ้าพระยา

กระทรวงเกษตรฯ ระดมทุกหน่วยในสังกัดลงพื้นที่ช่วยเหลือเกษตรกรพ้นวิกฤติภัยแล้ง “ปีติพงศ์” ย้ำเกษตรอำเภอพื้นที่ 22 จังหวัดลุ่มน้ำเจ้าพระยานำทีมลงพื้นที่เยี่ยมเยียนดูแลเกษตรกรต่อเนื่อง 1 เดือน และรายงานผลถึงกระทรวงเป็นรายวัน 

นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังประชุมการขับเคลื่อนกลยุทธ์การบูรณาการช่วยเหลือเกษตรกรวิกฤติภัยแล้ง ณ โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ จ.พระนครศรีอยุธยา ว่า ในพื้นที่เกษตรกรรมที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง โดยเฉพาะในเขต 22 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา จำเป็นต้องดูแลเกษตรกรอย่างใกล้ชิด จึงได้สั่งให้ระดมทีมเจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวง ออกเยี่ยมเกษตรกรอย่างครอบคลุมและทั่วถึง ตามระบบช่วยเหลือและเยี่ยมเยียนเกษตรกร และรายงานผลการแก้ไขปัญหามายังกระทรวงเกษตรฯให้รับทราบทุกวัน โดยต้องบูรณาการทำงานร่วมกับฝ่ายปกครองและฝ่ายมั่นคงให้ได้ผล ซึ่งจะเริ่มดำเนินการวันพรุ่งนี้ (20 ก.ค.) เป็นต้นไป จนถึงวันที่  20 สิงหาคม 2558 ตามที่ได้มีการคาดการณ์ว่าสถานการณ์ฝนจะตกมากขึ้นไปจนถึงเดือนตุลาคม โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ 1.วิเคราะห์พื้นที่เสี่ยง เพื่อจัดลำดับความสำคัญในการเข้าไปแก้ไขปัญหา แบ่งเป็น พื้นที่ข้าวตั้งท้องปลูกตั้งแต่เดือน เม.ย.-พ.ค. พื้นที่ที่มีปัญหาเฉพาะจุด เช่น สวนกล้วยไม้ สวนผลไม้ และพื้นที่ที่ยังไม่เริ่มทำการเพาะปลูก อยู่จุดใดบ้างต้องมีข้อมูลทั้งหมดให้ชัดเจน 2 การนำเทคโนโลยีการเกษตรเข้าไปแนะนำและส่งเสริมเกษตรกรทั้งเรื่องน้ำ ดิน การส่งเสริมอาชีพด้านประมง ปศุสัตว์ 3.การสร้างความร่วมมือกับภาคเอกชนในจังหวัด เพื่อแก้ไขปัญหา เช่น หารือร่วมกับสหกรณ์ต่างๆ ในการขยายระยะเวลาการชำระหนี้ให้แก้สมาชิกสหกรณ์ เป็นต้น

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบหมายให้ กรมส่งเสริมการเกษตร  ออกแบบระบบศูนย์ช่วยเกษตรกร เพื่อสามารถบริหารจัดการข้อมูลช่วยเหลือ รวมถึงการปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตร การสร้างเกษตรกรรมทางเลือกให้กับเกษตรกรเพื่อเตรียมฤดูกาลผลิตต่อไปด้วย ซึ่งกลไกการขับเคลื่อนทั้งหมด ถือเป็นปัจจัยสำคัญในการผลักดันนโยบายเพื่อให้เกิดผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมนำไปสู่การยกระดับศักยภาพการแข่งขันในการผลิตภาคเกษตรของประเทศ

“ ระบบช่วยเหลือและเยี่ยมเยียนเกษตรกร จะดำเนินการภายใต้ศูนย์ปฏิบัติการช่วยเกษตรกร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ศชก.) โดยเกษตรอำเภอทั้ง 273 อำเภอใน 22 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา จะมีการรายงานผ่าน Social Media ซึ่งทั้งเกษตรกรและเจ้าหน้าที่สามารถส่งข้อมูลที่พบปัญหาผ่านทาง Application Website หรือ Facebook เพื่อขอความช่วยเหลือ สนับสนุน ซึ่งเกษตรกรสามารถแจ้งเรื่องราวปัญหาต่างๆ ได้ด้วยตนเอง หรือผ่านเจ้าหน้าที่เกษตร ซึ่งเมื่อได้รับแจ้งแล้ว เจ้าหน้าที่จะเข้าไปช่วยเหลือทันที หากยังไม่สามารถแก้ไขได้ทันทีจะส่งเรื่องผ่านระบบรายงาน จากนั้น ส่วนราชการกระทรวงเกษตรฯ ทั้งระดับกรม ระดับจังหวัด ไปจนถึงระดับพื้นที่ จะเร่งดำเนินการให้การช่วยเหลือและแก้ปัญหาต่อไป” นายปีติพงศ์ กล่าว

สำหรับมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ต้องเลื่อนการปลูกข้าวนาปี ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการของกรมส่งเสริมการเกษตร ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมด้านการเกษตรเพื่อสร้างรายได้ทดแทนระหว่างชะลอการเพาะปลูกข้าวนาปี โดยการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกของเกษตรกรทดแทนการปลูกข้าวนาปี การส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย การทำไร่นาสวนผสม โดยให้เป็นไปตามความต้องการของเกษตรกร และสนับสนุนการสร้างแหล่งน้ำในไร่นาของเกษตรกร ซึ่งเมื่อช่วงต้นเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา กรมส่งเสริมการเกษตรก็ได้ระดมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ เอกชน สินเชื่อ และเกษตรกร ร่วมบูรณาการจัดเสวนาปรับโครงสร้างการผลิต สู่การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า หาแนวทางบรรเทาปัญหาช่วยเหลือเกษตรกรไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อยหมุนเวียนในระบบการปลูกข้าว เช่น ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ และการทำเกษตรกรรมทางเลือก โดยได้แผนและแนวทางระยะยาวการปรับโครงสร้างการผลิตในเขตลุ่มเจ้าพระยาอย่างยั่งยืน มีประสิทธิภาพ สอดคล้องตามความต้องการของเกษตรกรในพื้นที่และตามศักยภาพของตลาดรับซื้อต่อไป

  จาก http://www.thanonline.com  วันที่ 19 กรกฎาคม 2558 

ประชันสูตรกู้เศรษฐกิจ

    หน่วยงานวิจัยทางเศรษฐกิจทางการเพิ่งปรับลดเป้าจีดีพีไทยปีนี้ลงอยู่ที่ระดับ 3% หลังตัวเลขเศรษฐกิจครึ่งปีเริ่มแน่ชัด

    แต่ผ่านครึ่งหลังของปีมาแค่ครึ่งเดือนกว่า ทั้งแรงกระเพื่อมจากวิกฤติกรีซ ฟองสบู่ตลาดหุ้นจีน ทำให้ต้องปรับลดเป้าส่งออกของปีนี้ลงอีก ที่มองหนักสุดคืออัทธ์ พิศาลวานิช ผอ.ศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ ม.หอการค้าไทยคาดหดตัวถึง 3.8% คิดเป็นมูลค่าเกือบ 2.2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

    สมทบด้วยวิกฤติภัยแล้ง ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) ประเมินเลวร้ายสุดฉุดจีดีพีเกษตรปี 2558 ติดลบ 3.4% มากสุดในรอบ 36 ปี และฉุดจีดีพีรวมลง 0.5%

    สำนักวิจัยเศรษฐกิจต้องปรับลดจีดีพีไทยกันอีกรอบ ลงมาอยู่ที่ระดับ2.5-2.7%

    ในภาวะเศรษฐกิจยอบแยบนี้ “หม่อมอุ๋ย”ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯฝ่ายเศรษฐกิจ ชี้เป็นภาพรวมของเศรษฐกิจโลกช่วงขาลง ประจวบกับราคานํ้ามันลดลง ฉุดราคาโลหะและสินแร่ลงหมด ตามด้วยสินค้าเกษตร ทำให้ปริมาณการค้าลดลงทั่วโลก

    “เศรษฐกิจโลกจะชะลออย่างนี้ไปอีก 2-3 ปี การใส่เงินกระตุ้นลงไปไม่เกิดประโยชน์ ใส่ไปก็หายหมด แต่จะดูแลเป็นจุดๆ ไม่ทำพรํ่าเพรื่อ เพราะเงินมีต้นทุนต้องใช้ให้คุ้มค่า”

    ขณะที่เศรษฐกิจไทยวันนี้ยังแข็งแรงกว่ายุค “ป๋าเปรม” พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ก่อนลดค่าเงินบาทในอดีต    สูตรเศรษฐกิจแนว “หม่อมอุ๋ย” คือ ไม่ฝืนตลาด ประคับประคองรักษา“ทรง” ของกลไกเศรษฐกิจให้ขยับไปได้ และรักษาตามอาการในจุดหนัก เช่นดูแลเยียวยาหรือเสริมรายได้ชาวนาที่ประสบภัยแล้ง

    แต่ไม่ใช่มาตรการกระตุ้นแบบหว่านทั่วหน้าอีกแล้ว

    ด้านผู้ว่าการ ประสาร ไตรรัตน์วรกุล จากแบงก์ชาติ ก็เสนอ ระยะต่อไปหากต้องการดันเศรษฐกิจไทยให้โตตามศักยภาพที่ 4-5% ควรเพิ่มการลงทุนภาครัฐจากระดับ 20% ขึ้นเป็น 26% ของงบประมาณรายจ่าย หรือจากระดับประมาณ 4.5 แสนล้านบาท เป็นประมาณ 7 แสนล้านบาทขึ้นไป

    เป็นเรื่องเป้าหมายระยะยาว เพราะการใช้จ่ายผ่านแผนงานลงทุนต่างๆมีระเบียบขั้นตอนปฏิบัติทางราชการที่ต้องใช้เวลา ดังปรากฏในการเร่งรัดเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐบาลนี้ ที่เร่งเต็มที่ก็ยังไม่ถึงเป้าที่วางไว้

    ขณะที่ “ธนวรรธน์ พลวิชัย” ผอ.ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจม.หอการค้าไทย แสดงความกังวล ที่ตัวเลขดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคหดตัว 6เดือนต่อเนื่อง และตัวเลขเดือนมิถุนายนล่าสุดตํ่าสุดในรอบปี เป็นสัญญาณอันตรายของภาวะเศรษฐกิจ

    เสนอรัฐบาลต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเป็นแพ็กเกจ เร่งเบิกจ่ายงบให้ลงถึงพื้นที่ สร้างรายได้เพื่อฟื้นความเชื่อมั่นคืนมา

    ล่าสุดจากภาวะจีดีพีภาคเกษตรหดตัวสูงสุดในรอบ 36 ปีจากภัยแล้งผศ.ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ ม.รังสิต ชี้มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรต้องดำเนินการทุกมิติ โดยรัฐบาลต้องเข้ามาแทรกแซงสถานการณ์อย่างเต็มที่

    มาตรการหนึ่งที่ “ผศ.ดร.อนุสรณ์” เสนอปัดฝุ่นคือ การแทรกแซงราคาสินค้าเกษตรและการรับจำนำข้าว เพราะเป็นเครื่องมือหนึ่งในการลดความไม่เป็นธรรมทางเศรษฐกิจ แก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกตํ่าได้เร็วที่สุด ยํ้า “รับจำนำข้าวดีกว่าและมีประสิทธิภาพสูงกว่าการแจกเงินต่อไร่ให้เกษตรกร”

    เพียงแต่ต้องปรับปรุงการดำเนินงานปิดจุดอ่อนในอดีต

  จาก http://www.thanonline.com  วันที่ 19 กรกฎาคม 2558 

กรมชลฯเผยปริมาณน้ำในเขื่อนดีขึ้นหลังฝนตกหลายพื้นที่

รองอธิบดีกรมชลประทาน เผยสถานการณ์น้ำในเขื่อนเริ่มดีขึ้น หลังฝนตกหลายพื้นที่ ย้ำจะเร่งกระจายน้ำไปยังพื้นที่เกษตร

เมื่อวันที่ 19 ก.ค. นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำในเขื่อนต่างๆ หลังจากที่มีฝนตกลงมาหลายพื้นที่อยู่ในระดับที่น่าพอใจ โดยฝนที่ตกลงมาในพื้นที่ภาคเหลือตอนล่าง และภาคกลางตอนบนทำให้พื้นที่นามีความชุ่มชื้นขึ้น สถานการณ์ขาดแคลนน้ำเริ่มผ่อนคลายลงตามลำดับ โดยฝนที่ตกในพื้นที่เพาะปลูกเบื้องต้นคาดว่าคงอยู่ได้ประมาณ 7 วัน ขณะที่ในพื้นที่ภาคกลางยังมีปริมาณฝนตกน้อย แต่เริ่มมากขึ้นในบางพื้นที่

ด้าน สถานการณ์ปริมาณน้ำภายหลังจากที่มีการขอความร่วมมือจากเกษตรกร งดส่งน้ำไปในพื้นที่เพาะปลูก โดยเฉพาะในระบบชลประทาน และการหยุดสถานีสูบน้ำต่างๆ ทำให้น้ำที่ไหลมาสู่เขื่อนเจ้าพระยามีปริมาณมากขึ้น หลังจากที่ระดับน้ำลดลงมาก ซึ่งขณะนี้น้ำมีปริมาณมากพอที่จะสามารถไหลลงคลองชัยนาท-ป่าสักได้ โดยไม่ต้องใช้เครื่องสูบน้ำทำให้กรมชลประทานระบายน้ำมาหล่อเลี้ยงพื้นที่ตอนล่างได้มากขึ้น และผลักดันน้ำเค็มได้ดีขึ้น

ทั้งนี้ขอฝากไปยังเกษตรกรที่ยังรอน้ำว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำที่หน้าเขื่อนเจ้าพระยาสูงขึ้นพอสมควรแล้ว ซึ่งในช่วงต่อไป กรมชลประทานจะพยายามผ่อนคลายและกระจายน้ำไปยังพื้นที่การเกษตร แปลงเพาะปลูกต่างๆ โดยเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาเน้นนาข้าวที่กำลังตั้งท้อง เพื่อป้องกันความเสียหายก่อน ซึ่งเกษตรกรจะต้องร้องขอมายังกรมชลประทาน หรือผู้ว่าราชการจังหวัด เพื่อสร้างมาตรการในการนำน้ำเข้าไปยังพื้นที่นั้นๆ โดยไม่ถูกเจ้าของพื้นที่นำน้ำไปใช้ก่อน

จาก http://www.posttoday.com   วันที่ 19 กรกฎาคม 2558 

จนท.เตรียมผันน้ำใกล้เคียงลงเขื่อนภูมิพล

เขื่อนภูมิพล ประสบวิกฤติแล้งหนัก วางแผนผันน้ำ ทุกสายในพื้นที่ใก้ลเคียงลงเขื่อน

นายณัฐวุฒิ แจ่มแจ้ง ผู้อำนวยการการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) แห่งประเทศไทย เขื่อนภูมิพล อ.สามเงา จังหวัดตาก กล่าวถึงสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล ว่า วันนี้มีปริมาณน้ำกักเก็บ จำนวน 214.07 ลบ.ม. จากระดับน้ำทะเลปานกลาง ต่ำกว่าวันเดียวกัน เมื่อปีที่แล้ว 0.74 ม. หรือคิดเป็น 91.34 ลบ.ม. เท่านั้น โดยมีน้ำกักเก็บ คงเหลือ 3,929 ล.ลบ.ม. คิดเป็นปริมาณ 29.19% มีพื้นที่ว่างรองรับน้ำใหม่ จำนวน 9,532 ล.ลบ.ม. มีปริมาณน้ำที่ จะสามารถระบายได้เพียง 129 ล.ลบ.ม. 1.34% เมื่อ 17 ก.ค. มีน้ำไหลเข้าสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล 0.89 ล.ลบ.ม. และตั้งแต่วันที่ 1-16 ก.ค. เขื่อนภูมิพล สามารถกักเก็บน้ำ ได้เพียง 9 ล.ลบ.ม. เท่านั้น ถือว่าเก็บได้น้อยมาก ขณะนี้เขื่อนภูมิพล ลดการระบายน้ำลงสู่พื้นที่ท้ายเขื่อน ตามมติคณะรัฐมนตรี เหลือ 6 ล.ลบ.ม. หากไม่มีฝนตกเหนือเขื่อน จะลดการระบายน้ำลงอีกเรื่อย ๆ จนเหลือ 3 ล.ลบ.ม. ต่อวัน อาจจะต้องมีผลกระทบกับการใช้น้ำอุปโภค บริโภค และไล่น้ำเค็ม ซึ่งทุกคนจะต้องช่วยกันประหยัดใช้น้ำให้คุ้มค่า ถือว่า เป็นวิกฤติร่วมกัน

พร้อมกันนี้ ทางเขื่อนได้วางแผนงาน สร้างโครงการผันน้ำห้วยปูแป้ ห้วยขะแนง จาก อ.แม่สอด อ.แม่ระมาด จ.ตาก ที่ไหลลงลำห้วยแม่ตื่น มาลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล ก็จะสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ เพราะในพื้นที่ ชายแดนไทย-พม่า ได้รับอิทธิพลฝนตกจากฝั่งอันดามัน พม่า และมีปริมาณน้ำฝน จำนวนมาก

จาก http://www.innnews.co.th วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2558

วิกฤติน้ำ58! เขื่อนภูมิพลแห้ง จ่อผันน้ำมาเติม-สิริกิติ์ เหลือแค่ 4.21%

เขื่อนภูมิพลยังแห้งต่อเนื่อง เล็งดึงน้ำจากหลายพื้นที่เข้าเติม เช่นเดียวกับเขื่อนสิริกิติ์ น้ำเหลือใช้เพียง 4.21% วิกฤติมากในรอบหลายสิบปีจำเป็นต้องปรับลดการระบายน้ำลง วันละ 1 ล้านลบ.ม. เตือนประชาชน ใช้น้ำอย่างประหยัด...

เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2558 ผู้สื่อข่าวรายงาน ถึงสถานการณ์น้ำเขื่อนภูมิพลที่ยังคงแห้งอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาจนำแนวคิดของอดีตหลายผู้ว่าราชการจังหวัดตาก นำน้ำจากหลายพื้นที่ เพื่อเติมน้ำเขื่อนภูมิพล อาทิ จากแม่น้ำแม่ละเมาซึ่งแต่ละปีจะมีน้ำจำนวนมากที่ไหลลงแม่น้ำเมย โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ นอกจากนี้ยังมีการหยิบยกโครงการผันน้ำยวม จากพื้นที่รอยต่อ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก กับแม่ฮ่องสอน ที่ปกติแม่น้ำยวม จะไหลลงสู่แม่น้ำสาละวิน ออกทะเลอันดามันประเทศเมียนมา ไปแบบไร้ประโยชน์

รวมถึงโครงการผันน้ำห้วยปูแป้ ห้วยขะแนง จาก อ.แม่สอด และอ.แม่ระมาด ที่ไหลลงลำห้วยแม่ตื่นลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล ซึ่งจะสามารถแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ เพราะในพื้นที่ชายแดนไทย-เมียนมา ได้รับอิทธิพลฝนตกจากฝั่งอันดามัน และมีปริมาณน้ำฝนเต็มที่ ซึ่งขณะนี้น้ำในแม่น้ำเมย ก็มีจำนวนมากเพราะรองรับน้ำป่าจากฝั่งไทยและเมียนมา

ขณะที่ นายณัฐวุฒิ แจ่มแจ้ง ผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพล จ.ตาก เปิดเผยว่า เขื่อนภูมิพลมีปริมาณน้ำกักเก็บจนถึงวันที่ 18 ก.ค. จำนวน 3,923 ล้านลบ.ม. คิดเป็นปริมาณ 29.15% มีพื้นที่ว่างรองรับน้ำใหม่จำนวน 9,538 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำที่จะสามารถระบายได้เพียง 123 ล้านลบ.ม. หรือ 1.28% มีน้ำไหลเข้าสู่อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล 0.28 ล้านลบ.ม. หรือ 2.8 แสนลบ.ม.

อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่วันที่ 1-16 ก.ค. เขื่อนภูมิพล สามารถกักเก็บน้ำ ได้เพียง 9 ล้านลบ.ม.เท่านั้น ซึ่งถือว่าเก็บได้น้อยมาก โดยเขื่อนภูมิพลลดการระบายน้ำลงสู่พื้นที่ท้ายเขื่อน ตามมติคณะรัฐมนตรี เหลือ 5 ล้านลบ.ม. หากไม่มีฝนตกเหนือเขื่อน จะลดการระบายน้ำลงอีกเรื่อยๆ จนเหลือ 3 ล้านลบ.ม. ต่อวัน อาจจะส่งผลกระทบกับการใช้น้ำอุปโภคบริโภคจากการไล่น้ำเค็ม ซึ่งทุกคนจะต้องช่วยกันประหยัดใช้น้ำให้คุ้มค่า ถือว่าเป็นวิกฤติร่วมกัน

"ปกติช่วงเดือนนี้ จะมีพายุเข้าและมีฝนตกในปลายเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม ของทุกปี และปีนี้ ก็เช่นกัน เราหวังว่าจะมีพายุ มีฝนตก หากตกในพื้นที่ท้ายเขื่อน ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เกษตรกรก็สามารถใช้น้ำฝนใช้เพื่อการเกษตร หากตกในพื้นที่เหนือเขื่อนเราก็สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้"

ด้านนายสุเทพ เลิศศรีมงคล ผู้อำนวยการเขื่อนสิริกิติ์  อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า สถานการณ์ภัยแล้งได้ก่อผลกระทบต่อเกษตรกร ชาวนาผู้ใช้น้ำในลำน้ำน่านในขณะนี้ เพราะฝนยังไม่ตกต้องตามฤดูกาลและในปีนี้ฝนทิ้งช่วง ทำให้เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำอยู่ที่ 3,130.60 ล้านลบ.ม. หรืออยู่ที่ 32.92% และปริมาณน้ำพร้อมใช้งานเพียงแค่ 280.60 ล้านลบ.ม. หรืออีกแค่ 4.21% ปริมาณน้ำไหลเข้า 6.55 ล้านลบ.ม.ถือว่ายังวิกฤติมาก ในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ทางเขื่อนสิริกิติ์ จำเป็นต้องปรับลดการระบายน้ำลงเหลือแค่ 14.0 ล้านลบ.ม. โดยจะระบายน้ำแบบขั้นบันได คือลดการระบายวันละ 1 ล้านลบ.ม. พร้อมกันนี้ ในวันที่ 21 ก.ค. ปริมาณน้ำที่ทำการระบายออกจะอยู่ที่ 11.0 ล้านลบ.ม.ในเบื้องต้น คณะกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้ม สถานการณ์น้ำ มีแผนจะระบายน้ำวันละ 11.0 ล้านลบ.ม ไปจนถึง 15 ส.ค. และจะระบายอยู่ในระดับนี้ไปอีก ไม่เกิน 30 วัน

"การระบายน้ำครั้งนี้ ก็เพื่อการอุปโภคและบริโภค โดยการระบายน้ำแต่ละครั้ง จะเป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลและขอเตือนประชาชนควรใช้น้ำอย่างประหยัด"

จาก http://www.thairath.co.th  วันที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ.2558

ธ.ก.ส.ปล่อยกู้1.6หมื่นล้านช่วยชาวไร่อ้อย

ภัยแล้งกระทบลูกค้า-ทยอยขอยืดหนี้คาดสิ้นเดือนกรกฎาคมอยู่ที่ 3 แสนราย

นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ธนาคารได้ลงนามข้อตกลงกู้เงินระหว่างกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อช่วยเหลือเพิ่มค่าอ้อยแก่ชาวไร่อ้อยฤดูการผลิต ปี 2557/2558 วงเงิน 16,953 ล้านบาท เพื่อให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายนำไปจ่ายเงินเพิ่มค่าอ้อยให้กับเกษตรกร อัตราตันละ 160 บาทต่อตันจำนวน 105.95 ล้านตัน ซึ่งปีนี้ราคาอ้อยและน้ำตาลตกต่ำที่สุดในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา จากราคาน้ำมันและเศรษฐกิจโลกที่ผันผวน ส่งผลกระทบกับเกษตรกรกว่า 500,000 ราย เนื่องจากการมีส่งออกน้ำตาลเฉลี่ยปีละ 8 ล้านตัน มูลค่ากว่า 100,000 ล้านบาท

สำหรับวงเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อย วงเงิน 16,953 ล้านบาท มีกำหนดชำระเสร็จสิ้นภายในวันที่ 18 เมษายน 2560 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ร้อยละ 4.25 ต่อปี ซึ่งกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจะใช้รายได้จากการเรียกเก็บจากการจำหน่ายน้ำตาลทรายเพื่อการบริโภคภายในประเทศ 5 บาทต่อกิโลกรัม เป็นรายได้ในการชำระหนี้เงินกู้และ ธ.ก.ส. ยกเว้นค่าธรรมเนียมการวิเคราะห์เงินกู้ยกเว้นค่าบริการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของเกษตรกรชาวไร่อ้อยรายคน และมีเกษตรกรชาวไร่อ้อยคู่สัญญาให้กับโรงงาน ที่จะได้รับเงินช่วยเหลือค่าอ้อยเพิ่มอัตราตันละ 160 บาท จำนวน 153,676 ราย และจากนั้นชาวไร่อ้อยที่ได้รับเงินก็จะนำเงินจ่ายให้แก่ชาวไร่อ้อยกลุ่มที่มีอยู่ในกลุ่มตนต่อไป

“ชาวไร่อ้อยที่ส่งเอกสารครบถ้วนและได้รับการตรวจสอบแล้วจะได้รับเงินโอนเข้าบัญชีตั้งแต่วันที่ 21 ก.ค. 2558 เป็นต้นไป โดยงวดแรกคาดว่าจะสามารถดำเนินการจ่ายได้ประมาณ 14,000 ล้านบาทหรือประมาณร้อยละ 82.58 พร้อมคาดว่าภายใน 2 สัปดาห์จะจ่ายเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อยครบเต็มวงเงิน”

นายลักษณ์ ยังได้กล่าวอีกว่า หลังออกมาตรการแก้ปัญหาแล้ง ว่า ขณะนี้มีลูกค้าขอความช่วยเหลือขยายเวลาการชำระหนี้และสินเชื่อระยะสั้น รวมประมาณ 60,000 ราย ส่วนใหญ่เป็นชาวนาที่อยู่ในพื้นที่ภาคกลางและภาคเหนือตอนล่าง คาดว่าภายในสิ้นเดือนกรกฎาคม น่าจะมีผู้มาขอความช่วยเหลือประมาณ 300,000 ราย เฉพาะสินเชื่อระยะสั้นและฟื้นฟูผลผลิตเกษตรกรประมาณ 9,000 ล้านบาท หากรวมทั้ง 3 มาตรการเป็นวงเงิน 30,000 ล้านบาท

จาก http://www.naewna.com วันที่ 17 กรกฎาคม 2558

ตั้งศูนย์บริการน้ำ53จังหวัด ในหลวงรับสั่ง ช่วยราษฎรบรรเทาภัยแล้ง

กรมชลปิด355สถานีสูบน้ำคาดนาข้าวเสียหาย1.4ล.ไร่รบ.เล็งหว่านตำบลละล้าน

มูลนิธิราชประชานุเคราะห์ ในพระบรมราชูปถัมภ์แจ้งว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยราษฎรที่ได้รับความเดือดร้อนจากสถานการณ์ภัยแล้งขณะนี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้มูลนิธิราชประชานเคราะห์ฯ จัดศูนย์บริการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคพระราชทาน บรรเทาทุกข์แก่ราษฎรที่ประสบภาวะภัยแล้ง โดยร่วมกับสำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ให้ความช่วยเหลือราษฎร ที่ขาดแคลนน้ำ โดยจัดศูนย์บริการน้ำอุปโภคบริโภคพระราชทาน ณ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ และสถานศึกษาในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 122 แห่ง ในพื้นที่ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก รวม 53 จังหวัด เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเป็นการเร่งด่วน โดยให้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 17 กรกฎาคมเป็นต้นไป ทั้งนี้ ราษฎรสามารถเตรียมภาชนะไปรับน้ำได้ที่โรงเรียนที่จัดตั้งศูนย์บริการน้ำใกล้บ้านในท้องที่ภาคต่างๆ ตามวันเวลาราชการ จนกว่าสถานการณ์ภัยแล้งจะยุติ

สำหรับรายชื่อโรงเรียนที่จัดตั้งศูนย์บริการน้ำ แบ่งเป็น 4 ภาค 53 จังหวัด สถานศึกษา 122 แห่ง ดังนี้ ภาคกลาง 1.รร.ราชประชานุเคราะห์ 45 จ.กาญจนบุรี 2. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.กาญจนบุรี 3.รร.สมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต จ.กาญจนบุรี 4.รร.โสตศึกษาจ.กาญจนบุรี 5. รร.ราชประชานุเคราะห์ 46 จ.ชัยนาท 6.รร.ศึกษาพิเศษชัยนาท จ.ชัยนาท7. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.ชัยนาท 8. ศูนย์การศึกษาพิเศษมหาจักรีสิรินธร ประจำจ.นครนายก 9.รร.นครสวรรค์ปัญญานุกูล จ.นครนายก 10. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.นครสวรรค์ 11.ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.ปราจีนบุรี 12.รร.โสตศึกษาจ.ปราจีนบุรี 13.ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.พระนครศรีอยุธยา 14.รร.พิจิตรปัญญานุกูล จ.พิจิตร 15. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.พิจิตร

16.รร.ราชประชานุเคราะห์ 57 จ.เพชรบูรณ์ 17. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.เพชรบูรณ์ 8.รร.โสตศึกษาจ.เพชรบูรณ์ 19. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.ราชบุรี 20.รร.ราชประชานุเคราะห์ 33 จ.ลพบุรี 21.รร.ลพบุรีปัญญานุกูล จ.ลพบุรี 22.ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 6 จ.ลพบุรี 23.รร.โสตศึกษาปานเลิศจ.ลพบุรี 24.ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.สระแก้ว 25. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.สระบุรี 26.ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.สิงห์บุรี 27.รร.สุพรรณบุรีปัญญานุกูล จ.สุพรรณบุรี 28. ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 5 จ.สุพรรณบุรี 29. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.อ่างทอง 30. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.อุทัยธานี

ภาคเหนือ 31. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.กำแพงเพชร 32.รร.เชียงรายปัญญานุกูลจ.เชียงราย 33.รร.ราชประชานุเคราะห์ 15 จ.เชียงราย 34.รร.ศึกษาสงเคราะห์แม่จัน จ.เชียงราย 35. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.เชียงราย 36.รร.กาวิละอนุกูล จ.เชียงใหม่ 37.รร.ราชประชานุเคราะห์ 30 จ.เชียงใหม่ 38.รร.ราชประชานุเคราะห์ 31 จ.เชียงใหม่ 39.รร.ศรีสังวาลย์เชียงใหม่ 40.รร.ศึกษาสงเคราะห์เชียงดาว จ.เชียงใหม่

41.รร.ศึกษาสงเคราะห์เชียงใหม่ 42. ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 8 จ.เชียงใหม่3 43. รร.สอนคนตาบอดภาคเหนือ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จ.เชียงใหม่ 44.รร.โสตศึกษาอนุสารสุนทรจ.เชียงใหม่ 45.รร.ราชประชานุเคราะห์ 55 จ.ตาก 46.ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจ.ตาก 47.รร.โสตศึกษาจ.ตาก 48.รร.น่านปัญญานุกูล จ.น่าน 49.รร.ราชประชานุเคราะห์ 56 จ.น่าน 50.ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.น่าน

51.รร.ราชประชานุเคราะห์ 24 จ.พะเยา 52. ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจ.พะเยา 53. รร.พิษณุโลกปัญญานุกูล จ.พิษณุโลก 54.รร.ราชประชานุเคราะห์ 23 จ.พิษณุโลก 55.ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 7 จ.พิษณุโลก 56.รร.แพร่ปัญญานุกูล จ.แพร่ 57.รร.ราชประชานุเคราะห์ 25 จ.แพร่ 58.ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.แพร่ 59.รร.ราชประชานุเคราะห์ 21 จ.แม่ฮ่องสอน 60. รร.ราชประชานุเคราะห์ 22 จ.แม่ฮ่องสอน

61.รร.ราชประชานุเคราะห์ 34 จ.แม่ฮ่องสอน 62.รร.ศึกษาสงเคราะห์แม่ฮ่องสอน 63. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.แม่ฮ่องสอน 64.รร.ศึกษาสงเคราะห์จิตต์อารีฯ จ.ลำปาง 65. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.ลำปาง 66.รร.ราชประชานุเคราะห์ 26 จ.ลำพูน 67. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.ลำพูน 68.ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.สุโขทัย 69.รร.ราชประชานุเคราะห์ 13 จ.อุตรดิตถ์ 70. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.อุตรดิตถ์

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 71.รร.กาฬสินธุ์ปัญญานุกูล จ.กาฬสินธุ์ 72. ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจ.กาฬสินธุ์ 73.รร.ราชประชานุเคราะห์ 50 จ.ขอนแก่น 74.รร.ศรีสังวาลย์ขอนแก่น 75. ศูนย์การศึกษาพิเศษเขตการศึกษา 9 จ.ขอนแก่น 76.รร.โสตศึกษาจ.ขอนแก่น 77. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.ชัยภูมิ 78.รร.โสตศึกษาจ.ชัยภูมิ 79. ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจ.นครพนม 80.รร.นครราชสีมาปัญญานุกูลจ.นครราชสีมา

81. ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 11 จ.นครราชสีมา 82. ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจ.บึงกาฬ 83.รร.ราชประชานุเคราะห์ 51 จ.บุรีรัมย์ 84. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.บุรีรัมย์ 85. รร.ราชประชานุเคราะห์ 16 จ.มหาสารคาม 86.รร.ราชประชานุเคราะห์ 17 จ.มหาสารคาม 87. รร.ราชประชานุเคราะห์ 18 จ.มหาสารคาม 88. ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจ.มหาสารคาม 89. ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจ.มุกดาหาร 90.รร.โสตศึกษาจ.มุกดาหาร 91.รร.ราชประชานุเคราะห์ 28 จ.ยโสธร 92. ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจ.ยโสธร 93.รร.ศึกษาสงเคราะห์ธวัชบุรี จ.ร้อยเอ็ด 94. ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจ.ร้อยเอ็ด 95.รร.โสตศึกษาจ.ร้อยเอ็ด 96.รร.ราชประชานุเคราะห์ 52 จ.เลย 97. ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจ.เลย 98.รร.ราชประชานุเคราะห์ 29 จ.ศรีสะเกษ 99. ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจ.ศรีสะเกษ 100.รร.ราชประชานุเคราะห์ 53 จ.สกลนคร

101.ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจ.สกลนคร 102. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.สุรินทร์ 103.รร.โสตศึกษาจ.สุรินทร์ 104.รร.ราชประชานุเคราะห์ 14 จ.หนองคาย 105.รร.ราชประชานุเคราะห์ 27 จ.หนองคาย 106. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.หนองคาย 107. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.หนองบัวลำภู 108.รร.ราชประชานุเคราะห์ 54 จ.อำนาจเจริญ 109. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.อำนาจเจริญ 110. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.อุดรธานี 111.รร.โสตศึกษาจ.อุดรธานี 112.รร.ราชประชานุเคราะห์ 32 จ.อุบลราชธานี 113. ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 10 จ.อุบลราชธานี 114.รร.อุบลปัญญานุกูล จ.อุบลราชธานี

ภาคตะวันออก 115.รร.ราชประชานุเคราะห์ 48 จ.จันทบุรี 116. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.จันทบุรี 117.รร.ฉะเชิงเทราปัญญานุกูล จ.ฉะเชิงเทรา 118. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.ฉะเชิงเทรา 119.รร.ราชประชานุเคราะห์ 49 จ.ตราด 120. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.ตราด 121. โรงเรียนระยองปัญญานุกูล จ.ระยอง 122. ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจ.ระยอง

กษ.เร่งสำรวจพื้นที่ผลกระทบ

หลังคณะรัฐมนตรี (ครม.)มีมติให้ลดปริมาณการปล่อยน้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา จากเดิม 4 เขื่อนปล่อยน้ำรวมกัน 28 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)ต่อวัน ต้องลดลงเหลือ 18 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคมเป็นต้นไป นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรฯกล่าวว่า หลังกรมชลประทานดำเนินการตามมติครม.แล้ว ให้เร่งหามาตรการแก้ปัญหา 4 เรื่องหลัก ได้แก่ 1.สำรวจพื้นที่เสี่ยงได้รับผลกระทบจริงๆ เพื่อให้ความช่วยเหลือ 2.การบริหารจัดการหมุนเวียนน้ำกลับมาใช้ใหม่หรือย้ายน้ำจากโครงการชลประทานอื่นมาช่วยโครงการชลประทานที่มีปัญหา 3.ใช้น้ำบาดาลมาช่วยบางจุดที่สามารถใช้ปลูกพืชชนิดอื่น นอกเหนือจากข้าวได้ 4.ประสานความร่วมมือ 4 กรมหลัก ได้แก่ กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมข้าว และกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อให้แก้ปัญหาได้ทันท่วงที ทั้งนี้ เมื่อกรมชลประทานไปสำรวจพบพื้นที่เสี่ยงชัดเจน ต้องให้ความช่วยเหลือแล้ว ปี 2559 ต้องพิจารณาปรับโครงการเพาะปลูกข้าวในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหม่ ให้เกิดความสมดุลกับปริมาณน้ำมากขึ้น

คาดนาข้าว1.4ล้านไร่เสียหาย

ด้านนายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการประเมินผลกระทบต่อพื้นที่ปลูกข้าวหลังลดปริมาณปล่อยน้ำใน 4 เขื่อนจะมีประมาณ 1.4 ล้านไร่ แต่ถ้ามีฝนตกจะมีพื้นที่เสี่ยงลดลง จากพื้นที่ปลูกข้าวปัจจุบัน 4.9 ล้านไร่ จากนี้ไปกรมชลประทานและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่จะต้องเร่งลงทำความเข้าใจกับเกษตรกร

ปิด355สถานีสูบน้ำเจ้าพระยา

นายสุเทพกล่าวอีกว่า อีกหนึ่งมาตรการสำคัญคือ ปิดสถานีสูบน้ำเฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา 355 แห่ง เพื่อควบคุมไม่ให้สูบน้ำเพิ่มเติมสำหรับภาคเกษตรในระยะ 1-2 วันนี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนว่าปริมาณน้ำที่เหลืออยู่จริงมีเท่าไหร่ และลำดับความสำคัญในการส่งน้ำ ซึ่งจะเน้นเพื่ออุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศน์และผลักดันน้ำเค็มเป็นอันดับแรก โดยแผนการระบายน้ำจาก 4 เขื่อนหลัก จะเป็นน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค 8 ล้าน ลบ.ม./วัน การจัดสรรน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศน์ 5 ล้าน ลบ.ม./วัน ส่วนปัญหาน้ำเค็มรุกเข้าระบบประปามาต่อเนื่อง ได้แก้ไขให้ดีขึ้นแล้วโดยปล่อยน้ำมาที่สถานีบางไทร มีน้ำผ่านในอัตรา 82 ลบ ม.ต่อวินาที ทำให้ค่าความเค็มเจือจางลง สามารถสูบน้ำไปทำประปาได้แล้วไม่เป็นน้ำกร่อย

รบ.ยันภัยแล้งกระทบศก.ไม่มาก

ขณะที่ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจกล่าวถึงปัญหาภัยแล้งฯที่เข้าขั้นวิกฤติขณะนี้ว่า ภาพรวมไม่กระทบเศรษฐกิจมากนัก เพราะที่นาส่วนที่เป็นปัญหาจริงๆ มีอยู่ประมาณ 4.5 ล้านไร่ อยู่ในเขตชลประทาน แต่คงไม่เป็นปัญหาเพราะมีน้ำจากชลประทานช่วยอยู่ตลอด แต่เมื่อฝนไม่ตกจึงเป็นปัญหา พร้อมยืนยันว่า รัฐบาลนี้รู้สถานการณ์น้ำมาตั้งแต่ต้นว่ามีน้ำน้อยช่วงเดือนพฤศจิกายน 2557 จึงมีมาตรการงดปลูกข้านาปรัง ให้ลุ่มแม่น้ำแม่กลองงดปลูก ส่วนลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาปลูกได้ และมีมาตรการช่วยชาวนาโดยการจ้างทำงาน 40,000 คน จากการงดทำนาปรังปี 2557 ทำให้ปริมาณข้าวนาปรังลดไป40% ซึ่งการแก้ปัญหาภัยแล้งที่ผ่านมาทำมาตลอด โดยส่งเจ้าหน้าที่ไปพูดคุยกับเกษตรกร แต่ไม่ได้สื่อสารผ่านสื่อมวลชน เพราะเกรงทำให้เกิดปัญหามากขึ้น การดำเนินการจึงเข้าไปพูดคุยกับเกษตรกรโดยตรง

จ่อช่วยแล้งซ้ำซากตำบลละล้าน

ผู้สื่อข่าวถามว่า หากไม่มีฝนเพียงพอต่อการเกษตรตามที่สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (จิสด้า)คาดการณ์ไว้ จะแก้ไขอย่างไร ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าวว่า เอาตอนนี้ให้อยู่ก่อน รัฐบาลไม่นิ่งนอนใจ เราดูไปถึงพฤศจิกายนปีนี้ว่าจะเป็นเหมือนปีที่แล้วหรือไม่

สำหรับมาตรการช่วยเหลือชาวนาที่ทำนารอบนี้ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าวว่า จะไม่เหมือนเดิมเพราะไม่ได้ขอให้งด แต่ขอให้เลื่อนทำนาออกไป รอดูสถานการณ์ฝน คิดว่าพื้นที่ประสบปัญหาและต้องชดเชยจริงๆประมาณ 1 ล้านไร่ มาตรการหนึ่งที่สำคัญคือ ทำบ่อกลางนา เก็บน้ำผิวดินรับน้ำจากฝนที่ตกลงมารวมถึงรองรับการส่งน้ำของชลประทานอีกส่วนหนึ่ง โดยรัฐบาลจะสนับสนุนเงินให้กระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) รับผิดชอบ ซึ่งจะพิจารณาพื้นที่แล้งซ้ำซาก 3,511 ตำบลเป็นสำคัญ ให้งบประมาณตำบลละ 1 ล้านบาท และกำหนดว่า 50% ของการใช้เงินต้องเป็นส่วนค่าจ้างแรงงาน สิ่งสำคัญคือ ต้องมีการเก็บกักน้ำผิวดินให้มากขึ้น

เขื่อนภูมิพลลดระบายน้ำวันแรก

ส่วนสถานการณ์น้ำเขื่อนภูมิพล วันเดียวกันนี้ ซึ่งลดการระบายน้ำเป็นวันแรก นายณัฐวุฒิ แจ่งแจ้ง ผู้อำนวยการเขื่อนภูมิพลเปิดเผยว่า เขื่อนภูมิพลเริ่มลดระบายน้ำจาก 8 ล้าน ลบ.ม. เป็น 7 ล้านลบ.ม. และจะลดต่อเนื่องจนถึงวันเสาร์จะเหลือ 5 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งหากถึงวันนั้น ฝนยังไม่เพิ่ม อาจลดการระบายน้ำลงอีก โดยปัจจุบันอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพลเหลือน้ำใช้การได้ 135 ล้านลบ.ม. หรือคิดเป็น 1.41%ของความจุ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคมมีน้ำไหลเข้า 8.9 แสน ลบ.ม. และแม้ว่าน้ำในอ่างเก็บน้ำจะเหลือน้ำน้อยในรอบ 51 ปี แต่โครงสร้างของเขื่อนไม่มีผลกระทบ

วอนเกษตรกรเห็นแก่ส่วนรวม

เช่นเดียวกับ นายเอกสิทธิ์ ศักดีธนาภรณ์ ผู้อำนวยการเขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาทกล่าวว่า การจัดสรรน้ำตามแผนในอีก 2-3 วัน ต่อจากนี้เขื่อนเจ้าพระยาจำเป็นต้องปรับลดการจ่ายน้ำ ในพื้นที่ทำการเกษตรลงจากเดิม จึงอยากวอนให้เกษตรกรชาวนาในพื้นที่ที่ต้องรับการจัดสรรน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยา คอยติดตามสถานการณ์น้ำใกล้ชิด และเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน ซึ่งการบริหารจัดการน้ำหลังจานี้เน้นไปที่การอุปโภคบริโภค การประปาเป็นหลัก

ชาวนาไม่สนเร่งสูบน้ำตุน

ด้านนายพรชัย อ่ำตุ้ย อายุ 50 ปี ชาวนาต.บางหลวง อ.สรรพยากล่าวว่า หลังเขื่อนเจ้าพระยาลดการระบายน้ำลง เพื่อลดใช้น้ำเพื่อการเกษตร ทำให้ตนและชาวนาบริเวณข้างเคียง เร่งสูบน้ำเข้าที่นาของตนกักตุนไว้ก่อนที่น้ำจะแล้ง เนื่องจากข้าวในนาของแต่ละคน อยู่ในช่วงตั้งท้องขอให้มีน้ำหล่อเลี้ยง ไปจนถึงสิ้นเดือนเท่านั้น หากขาดน้ำช่วงนี้อาจทำให้ข้าวตาย ขาดทุนกันไปตามๆ กัน

ตั้งแต่ทำนามากว่า 35 กว่าปี ไม่เคยเจอภาวะน้ำแล้งขนาดนี้ ตอนนี้ได้แต่ภาวนาขอให้ฝนตก

นาลพบุรียืนต้นตาย1.2หมื่นไร่

ขณะที่สถานการณ์ภัยแล้งที่จ.ลพบุรี ต้นข้าวในนากว่า 12,000 ไร่ กำลังยืนต้นตาย เพราะไม่มีน้ำมาหล่อเลี้ยง นายไพฑูรย์ ม่วงจัน ชาวนาต.หนองทรายขาว อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรีเผยว่า ตนมีที่นากว่า20ไร่ ปลูกข้าวอายุได้70-80วัน กำลังจะตั้งท้องเตรียมออกรวง แต่สภาพปัญหาภัยแล้งที่รุนแรง ทำให้นาข้าวขาดน้ำ ดินแตกระแหง ต้นข้าวมีใบเหลือง และแห้งเหี่ยว บางส่วนเริ่มยืนต้นตายแล้วถ้าไม่ได้น้ำมาหล่อเลี้ยงต้นข้าวในช่วงนี้ สำหรับต.หนองทรายขาว อ.บ้านหมี่ มีนาข้าวที่ปลูกและอยู่ในช่วงแต่งตัวตั้งท้อง12,000ไร่และได้รับผลกระทบยืนต้นตายเพราะขาดน้ำสูบเข้านา ชาวนาจึงขอเรียกร้องรัฐบาลอนุญาตให้สูบน้ำเข้านาช่วง 2-3 วันนี้ เพื่อให้ข้าวที่ปลูกไว้อยู่รอดเก็บผลผลิตได้ในอีก 1 เดือนข้างหน้า

กาฬสินธิ์แล้งจัดปลูกถั่วยังล้ม

เช่นเดียวกับที่จ.กาฬสินธุ์ โดยเฉพาะอ.ห้วยเม็ก พื้นที่นอกเขตชลประทานพืชไร่และนาข้าวแห้งเหี่ยวตาย แม้กระทั่งพืชฤดูแล้ง ต้องการน้ำน้อยอย่างถั่วลิสงยังแห้งเฉาตาย นางหนูเตียง สัสดี อายุ 59 ปี ชาวบ้านกุดโดน หมู่ 1 ต.กุดโดน อ.ห้วยเม็กเผยว่า ตนอยู่นอกเขตชลประทาน จึงไม่เสี่ยงทำนา หันมาใช้ที่นา 2 ไร่ ปลูกถั่วลิสง ซึ่งเป็นพืชทนแล้ง ต้องการน้ำน้อย อายุสั้น มีตลาดรับซื้อแน่นอน แต่ต้องรู้สึกสิ้นหวัง เพราะถั่วลิสงอายุ 2 เดือน กำลังแห้งเฉาตาย เพราะฝนแล้งไม่มีน้ำหล่อเลี้ยง จากที่เคยตั้งความหวังจะได้กำไร 2-3 หมื่นบาท กลับต้องมาขาดทุนยับเยิน น้ำกินน้ำใช้ตอนนี้รอรับจากเจ้านายเอามาแจกจ่ายในหมู่บ้านยังพอได้ใช้

ลำตะคองวิกฤติฝนตกท้ายเขื่อน

นายสุทธิโรจน์ กองแก้ว ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมากล่าวว่า ปริมาณน้ำภายในเขื่อนยังคงอยู่ในเกณฑ์น่าห่วง ฝนตกหนักช่วงวันที่ 13-15 กรกฎาคมที่ผ่านมา มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนอยู่ที่ 1.7 ล้าน ลบ.ม. ถือว่าน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ เพราะฝนส่วนใหญ่ตกท้ายเขื่อน ปริมาณน้ำใช้การได้ภายในเขื่อนอยู่ที่ 51 ล้านลบ.ม. คิดเป็น 16%ของความจุกักเก็บ 314.49 ล้านลบ.ม. แต่ทางเขื่อนยังส่งน้ำออกไปรักษาระบบนิเวศน์และการอุปโภคบริโภค เฉลี่ยยวันละ 430,000 ลบ.ม.

น้ำลดถนนราชบุรี-นนท์ทรุด

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากภาวะภัยแล้ง ยังส่งผลให้เส้นทางคมนาคมเสียหาย โดยนายนพพร สายพันธ์ หัวหน้าฝ่ายบริหารงานทั่วไป อบต.วัดยางงาม อ.ปากท่อ จ.ดราชบุรีเปิดเผยว่า ถนนในท้องที่หมู่ 1 ต.วัดยางงามได้รับผลกระทบจากภัยแล้งและน้ำในลำคลองแห้ง ทำให้ถนนทรุดพื้นถนนแตกร้าวกว่า 5 กิโลเมตร จึงสั่งเจ้าหน้าที่เร่งแก้ไขโดยเร็ว เกรงเป็นอันตรายต่อผู้ใช้รถใช้ถนน

เช่นเดียวกับ บริเวณถนนเลียบ คลองขุนศรีบนทางหลวงชนบทหมายเลข นบ.5036 เชื่อมต่อ อ.ลาดบัวหลวง อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา และอ.ไทรน้อย หมู่4 รวมถึงต.ไทรใหญ่ จ.นนทบุรี เกิดถนนทรุดเป็นระยะทาง 150 เมตร ลึกกว่า 2 เมตร นายชลาธร แก้วสำเร็จ วิศวกรโยธาชำนาญการ แขวงทางหลวงชนบท นนทบุรีเผยสาเหตุมาจากน้ำในคลองลดระดับทำให้ดินสไลด์

จาก http://www.naewna.com วันที่ 17 กรกฎาคม 2558

ไทย-ญี่ปุ่นหารือความร่วมมือด้านการเกษตร

นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังหารือร่วมกับนายฮิซาโอะ ฮาริฮารา Vice-Minister for International Affairs กระทรวงเกษตร ป่าไม้ และประมงญี่ปุ่น เพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเกี่ยวกับความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ว่า ญี่ปุ่นให้ความสำคัญภาคการเกษตรกับประเทศไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการจัดตั้งกรอบความร่วมมือด้านการเกษตร ผ่านความเป็นหุ้นส่วนระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ซึ่งควรจะต้องมีความเชื่อมโยงกับกรอบความร่วมมือ JTEPA ที่เกี่ยวข้องกับด้านการเกษตร เพื่อส่งเสริมการค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่น รวมทั้งตลาดอาเซียนและเอเชียตะวันออก

นายชวลิต กล่าวต่อไปว่า การผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ ถือเป็นสิ่งที่ประเทศไทยให้ความสำคัญ จึงต้องการให้มีการสนับสนุนด้วยกัน 4 เรื่องหลัก ได้แก่ 1) การพัฒนาบุคลากรภาคการเกษตร ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีแผนงานที่จะส่งเกษตรกรไปศึกษาดูงานและฝึกอบรม ณ ประเทศญี่ปุ่น ในประเด็นการทำธุรกิจภาคเกษตรขององค์กรเกษตรกร ด้านความปลอดภัยอาหาร และเทคโนโลยีด้านการเกษตร 2) ความร่วมมือด้านสหกรณ์และเครือข่ายเกษตรกรไทย-ญี่ปุ่น และเชื่อมโยงการพัฒนาองค์กรท้องถิ่นระหว่างกันเพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านการขยายตลาดสินค้าเกษตรระหว่างกัน เช่น พัฒนาการผลิตผลไม้เพื่อการส่งออกไปญี่ปุ่น และการกระจายสินค้า 3) การส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการระหว่างหน่วยงานของไทยกับหน่วยงานญี่ปุ่น รวมทั้งสถาบันการศึกษาของญี่ปุ่น เช่น ด้านการจัดการชลประทาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อประโยชน์ทางการเกษตร และการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร และ 4) การแลกเปลี่ยนข้อมูลและเทคโนโลยีด้านการเกษตรระหว่างกัน รวมทั้งนโยบาย Food Value chain ของญี่ปุ่น ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่าในการส่งออกอุตสาหกรรมอาหารของประเทศญี่ปุ่น ผ่านการเพิ่มมูลค่าในระบบห่วงโซ่อาหาร ได้แก่ ผู้ผลิต ผู้แปรรูป ผู้ส่งออก และผู้บริโภค ถือเป็นนโยบายที่น่าสนใจ ซึ่งน่าจะมีการดำเนินการร่วมกันในอนาคตต่อไป

จาก http://www.thanonline.com  วันที่ 17 กรกฎาคม 2558

คอลัมน์ ทันสถานการณ์: หาทางแก้ปมเงินอุดหนุนอ้อย 

          นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กำลังเร่งพิจารณาปรับแก้มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ระบุว่า ให้มีการเก็บเงินเพิ่ม 5 บาทจากราคาขายน้ำตาลทรายในประเทศ สำหรับชำระหนี้เงินกู้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย (กท.) โดยจะขอให้ยกเลิกหรือเลี่ยงใช้คำดังกล่าว เพื่อลดข้อกล่าวหาที่ผู้ผลิตน้ำตาลทรายรายใหญ่ของโลก เช่น บราซิล และออสเตรเลีย ที่กล่าวหาและโจมตีไทยว่า สนับสนุนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย และขัดต่อหลักการค้าขององค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) แต่เม้จะแก้มติดังกล่าวก็ยังมีการเก็บเงิน 5 บาท เพื่อชำระหนี้เช่นเดิม

จาก http://www.posttoday.com วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

ชงครม.แก้มติเลี่ยงคำ'เงินเพิ่มค่าอ้อย' ปิดช่อง'บราซิล-ออสซี่'กล่าวหาไทยรมว.ชี้ไม่ส่งผลโครงสร้างอุตฯน้ำตาล 

          ก.อุตฯเตรียมชง ครม.ขอแก้มติ เลี่ยงหรือเลิกคำว่า'เงินเพิ่มค่าอ้อย' เหตุบราซิล-ออสซี่ยกเป็นข้อกล่าวหาไทยอุดหนุนอุตสาหกรรมน้ำตาล 23 ก.ย.นี้ หนีบทนายบินไปแก้ต่างไม่ขัดระเบียบดับเบิลยูทีโอ

          นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงเตรียมขอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปรับแก้มติเดิมที่ระบุว่าให้มีการเก็บเงินเพิ่ม 5 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) จากราคาขายน้ำตาลทรายในประเทศ สำหรับชำระหนี้เงินกู้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย (กท.) โดยจะขอปรับแก้ให้มีการยกเลิกหรือเลี่ยงใช้คำดังกล่าว เพื่อลดข้อกล่าวหาที่ผู้ผลิตน้ำตาลทรายรายใหญ่ของโลก อาทิ บราซิลและออสเตรเลีย กล่าวหาไทยว่าสนับสนุนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย และขัดต่อหลักการค้าขององค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ)

          นายจักรมณฑ์กล่าวว่า การแก้มติ ครม.ดังกล่าวจะแก้เพียงการอธิบายความ แต่ในทางปฏิบัติยังเก็บเงิน 5 บาทต่อ กก. เพื่อชำระหนี้เช่นเดิม และจะไม่มีผลต่อการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ราคาขายปลีกในประเทศจะยังคงราคาเดิมที่ กก.ละ 23.50 บาท "กระทรวงเตรียมชี้แจงโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทยต่อที่ประชุมประจำปีอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายที่ประเทศบราซิล ในวันที่ 23-24 กันยายนนี้ และต้องเตรียมทีมทนายความเพื่อชี้แจงว่าไทยไม่ได้ทำผิดกฎระเบียบ แต่ไม่ถึงกับต้องต่อสู้ทางคดี เพราะต้องขึ้นอยู่กับฝ่ายร้องเรียนจะดำเนินการทางคดี" นายจักรมณฑ์กล่าว

          นายพิชัย ตั้งชนะชัยอนันต์ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) กล่าวว่า กระทรวงอยู่ระหว่างพิจารณาว่าจะใช้แนวทางใดรองรับหากยกเลิกมติ ครม.ดังกล่าว เพื่อให้ระบบยังคงเดินหน้าต่อ นอกจากนี้ สอน.ยังอยู่ระหว่างปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย โดยนำผลการศึกษาของทีดีอาร์ไอมาปรับให้สอดคล้องกับโครงสร้างอุตสาหกรรมขณะนี้มากขึ้น และต้องเป็นธรรมกับทั้งโรงงานอุตสาหกรรม ชาวไร่ และผู้บริโภค น่าจะศึกษาแล้วเสร็จทันก่อนเสนอของบประมาณ 2559 สำหรับความคืบหน้าการอนุญาตตั้งโรงงานน้ำตาลทรายจำเป็นต้องเลื่อนออกไปก่อน จากเดิมคาดว่าจะอนุญาตตั้งโรงงานใหม่ได้ปลายเดือนกรกฎาคมนี้ เนื่องจากขั้นตอนการตรวจสอบรายละเอียดของมติ ครม.ที่กำหนดให้ตั้งโรงงานได้ในระยะ 50 กิโลเมตร ยังไม่เสร็จสิ้น และคาดว่าการอนุญาตโรงงานทั้งหมดไม่น่าทันปีงบประมาณ 2558 ซึ่งตนเกษียณอายุราชการพอดี

จาก http://www.matichon.co.th  วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

พาณิชย์ได้ฤกษ์โละข้าวเสียล้านตันคลอด‘ทีโออาร์’สัปดาห์หน้าเปิดประมูลปลายเดือน กค.

พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงเตรียมเปิดประมูลข้าวเสีย ที่เป็นข้าวเกรดซี ในโกดังรัฐบาลที่มีจำนวน 1.29 ล้านตัน ในปลายเดือนก.ค. 2558 โดยได้เตรียมกำหนดรายละเอียดหลักเกณฑ์การเปิดประมูลข้าวเสีย(TOR) น่าจะเริ่มดำเนินการได้ในสัปดาห์หน้า

ในเบื้องต้นจะใช้วิธีการเปิดประมูลเป็นการทั่วไป เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรม และเอกชนที่สนใจเข้าร่วมการเสนอราคาประมูล และทางรัฐจะตั้งคณะทำงานติดตาม ผู้ที่ประมูลได้ ว่าได้ดำเนินการกับข้าวที่ประมูลได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์หรือไม่อย่างเข้มงวด เพื่อไม่ให้ถูกลักลอบนำไปใช้ผิดวัตถุประสงค์

“การระบายจะเป็นวิธีที่โปร่งใสส่วนการกำหนดราคาขายจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของข้าวที่จะต้องมีการคัดแยกโดยบริษัทตรวจสอบคุณภาพข้าว(เซอร์เวเยอร์) ที่ได้รับมาตรฐาน ซึ่งหากข้าวมีเชื้อรา จะถูกระบายเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมเพื่อใช้ผลิตเอทานอล หรือ ชีวมวล ส่วนข้าวที่ไม่มีเชื้อราจะระบายสำหรับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์”

พร้อมยืนยันว่า กระทรวงพาณิชย์ ได้ประกาศนโยบาย zero corruption และในช่วงที่ตนเป็นรัฐมนตรีอยู่ จะมีการใช้นโยบายนี้อย่างเข้มข้น ไม่ให้มีการแสวงหาผลประโยชน์จากการระบายข้าวโดยเด็ดขาด

สำหรับปริมาณข้าวในสต๊อกรัฐบาล ข้อมูล ณ วันที่ 30 มิ.ย. 2558 มีปริมาณทั้งสิ้น 15.11 ล้านตัน ประกอบด้วย ข้าวที่

 บริโภคได้ 9.15 ล้านตัน แบ่งเป็นข้าวคุณภาพดีเกรด เอและบี ปริมาณ 1.82 ล้านตัน และข้าวเกรดเอ, บี ผสมเกรดซี มีปริมาณ 7.33 ล้านตัน ส่วนข้าวที่จะระบายเข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมปริมาณ 5.89 ล้านตัน แบ่งเป็นข้าวเกรดซี 4.6 ล้านตัน และข้าวเสีย 1.29 ล้านตัน และข้าวที่ระหว่างดำเนินคดีอีก 7 หมื่นตัน

“แม้รัฐบาลจะมีการเปิดข้าวไปบางส่วนแล้ว แต่ก็ยอมรับว่าเป็นตัวเลขขาดทุนสะสมนับแสนล้านบาท ซึ่งขณะนี้ยังไม่สามารถระบุความเสียหายที่ชัดเจนได้เนื่องจากต้องระบายให้หมดสต๊อกก่อน ส่วนข้าวอีกปริมาณ 7 หมื่นตัน ยังอยู่ระหว่างการดำเนินคดี คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้”

ส่วนมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรยังคงยืนยันว่าจะไม่ใช้มาตรการแทรกแซงราคา โดยจะปล่อยให้ราคาเป็นไปตามกลไกตลาด ส่วนเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบภัยแล้ง รัฐบาลมีแนวทางช่วยเหลืออยู่แล้ว เช่น การจำนำยุ้งฉางสำหรับการปลูกข้าวในฤดูถัดไปและการช่วยลดต้นทุนการผลิตจากการลดราคาปัจจัยการผลิต

สำหรับความคืบหน้า ในการผลิตข้าวถุงเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เบื้องต้นจะผลิตเป็นข้าวถุง ถุงละ 2 กก. โดยจะให้ทางสมาคมผู้ผลิตข้าวถุง รับจ้างรัฐบาลในการผลิตให้ โดยรัฐจะจ่ายค่าจ้างเป็นข้าว และจากนั้นนำไปให้กลุ่มเกษตรกรและสหกรณ์ การเกษตรไปจำหน่าย

จาก http://www.naewna.com  วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

นวัตกรรมเกษตรแห่งอนาคต

ทำกินถิ่นอาเซียน (นับถอยหลัง 167 วัน สู่เออีซี) : นวัตกรรมเกษตรแห่งอนาคต : โดย...อาหมัด เบ็ญอาหวัง

                      นายสมบูรณ์ จินตนาผล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และผู้จัดการทั่วไป สายงานขายและบริการ บริษัท สยามคูโบต้าคอร์ปอเรชั่น จํากัด (ขวา) นำทีมอิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น ออกาไนเซอร์ เข้าพบนายบูรณ์ อินธิรัตน์ ผอ.สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ เมืองย่างกุ้ง ประเทศพม่า เพื่อประชาสัมพันธ์การจัดงาน

                     นับเป็นครั้งแรกของอาเซียนเรา ที่จะได้มีโอกาสจะได้ชมงานแสดงด้านเทคโนโลยี และนวัตกรรมการเกษตรยุคใหม่ ระดับนานาชาติ ภายใต้ชื่อ “งานแสดงสินค้าและเจรจาธุรกิจด้านอุตสาหกรรมการเกษตรระดับโลก รวบรวมนวัตกรรมเครื่องจักรและอุปกรณ์รวมถึงการบริการด้านการเกษตรครบวงจร” หรือ “ซีมา อาเซียน ไทยแลนด์ 2015” และเรียกง่ายๆ ว่า “ซีมา อาเซียน” ที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-19 กันยายน 2558 ที่ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุมอิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี

                     พูดถึงงาน “ซีมา” ที่ผ่านมาจะจัดเฉพาะที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เพียงแห่งเดียว จะจัด 2 ปี ต่อ 1 ครั้ง ภายใต้ชื่องานว่า “ซีมา ปารีส” จัดมาแล้ว 76 ครั้ง ถือเป็นงานที่เกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านการเกษตรที่เก่าที่สุดของโลก และยิ่งใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากงาน “อะกรีเทคนิก้า” ของเยอรมนี จัดโดยบริษัท คมเอ็กซ์โปเซียม จำกัด แห่งฝรั่งเศส ร่วมกับสมาคมผู้ผลิตเครื่องจักรกลการเกษตรฝรั่งเศส โดยมีหน่วยงานภาครัฐสนับสนุน

                     ปีนี้ บริษัท คมเอ็กซ์โปเซียม จำกัด แห่งฝรั่งเศส ตัดสินใจจัดงานซีมา ปารีส ออกสู่ภูมิภาคอื่นเป็นครั้งแรก โดยร่วมกับ บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด เลือกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน โดยเลือกที่เมืองไทยเป็นที่จัดงาน เนื่องจากเขามองว่าภูมิภาคอาเซียน มีศักยภาพในด้านการเกษตร โดยเฉพาะประเทศไทยซึ่งเป็นประเทศกสิกรรมมายาวนาน ถือเป็นศูนย์ด้านเกษตรในภูมิภาคนี้

                     งานนี้ คุณศิริพัฒน์ เกตุธาร ผู้จัดการกลุ่มโครงการ บริษัท อิมแพ็ค เอ็กซิบิชั่น แมเนจเม้นท์ จำกัด บอกว่า ได้เตรียมพื้นที่จัดงาน 1 หมื่นตารางเมตร จะมีผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีการเกษตรจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก มาร่วมแสดงสินค้ากว่า 300 บริษัท

                     หลังจากที่คณะผู้จัดได้เดินสายโรดโชว์ลักษณะของงาน ไปหลายประเทศมาแล้ว ไม่ว่าจะเป็นจีน เกาหลี ไต้หวัน และอีกหลายประเทศในอาเซียน อาทิ มาเลเซีย กัมพูชา เวียดนาม ฟิลิปปินส์ พม่า และกำลังจะไปที่ ส.ป.ป.ลาว ในเร็วๆ นี้ ปรากฏว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี ล่าสุด มีผู้ประกอบจากจีน ไต้หวัน อินเดีย เกาหลี ญี่ปุ่น รวมถึงจากยุโรป เช่น ฝรั่งเศส บัลกาเรีย ตุรกี และสหรัฐอเมริกา รวมกว่า 80% แล้ว

                      ภายในงานนี้นอกจากจะมีการแสดงสุดยอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตรแล้ว ยังมีการร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ และสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย จะมีการจัดกิจกรรมอื่นๆ ที่น่าสนใจ อาทิการสัมมนาเชิงวิชาการที่เน้นด้านการเกษตรยุคใหม่ การประกวดงานประดิษฐ์ต้นแบบนวัตกรรม และเรียงความที่เน้นการเกษตรแห่งอนาคต เพื่อชิงรางวัลมากมาย

จาก http://www.komchadluek.net   วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

‘ก.พาณิชย์’กำหนด5ยุทธศาสตร์หลัก ส่งเสริมทำตลาดสินค้าอินทรีย์หลังความต้องการทั่วโลกเพิ่ม

น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดยุทธศาสตร์ในการส่งเสริมการตลาดสินค้าอินทรีย์ของไทยทั้งในและต่างประเทศ สำหรับปี 2557-2559 รวม 5 ยุทธศาสตร์หลัก ประกอบด้วย 1.การสร้างความรู้ ความเข้าใจ ด้านการตลาดสินค้าอินทรีย์ตลอดห่วงโซ่อุปทาน, 2.การพัฒนาฐานข้อมูลที่ทันสมัย เพื่อใช้ในการวางแผนการตลาดเชิงรุก

3.การขยายตลาดสินค้าอินทรีย์ทั้งในและต่างประเทศ, 4.การสร้างความหลากหลายของสินค้าอินทรีย์ให้ตรงตามความต้องการตลาด และ5.การสนับสนุนเชิงนโยบาย โดยการบูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณามาตรการสนับสนุนสินค้าอินทรีย์เชิงนโยบาย เพื่อผลักดันสินค้าอินทรีย์ให้ก้าวหน้าและเกิดการยอมรับอย่างกว้างขวาง และผลักดันให้ไทยในฐานะหนึ่งในผู้ส่งออกสินค้าเกษตรที่สำคัญของโลก ได้ก้าวขึ้นเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าอินทรีย์ที่สำคัญของโลก

ทั้งนี้ได้รับรายงานว่ามูลค่าสินค้าอินทรีย์ในตลาดโลก ปัจจุบันมีมูลค่ารวมสูงถึง 2.3 ล้านล้านบาท แม้ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกาจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ แต่ก็ยังสามารถขยายตลาดได้กว่า 2.5 เท่า สำหรับตลาดเกษตรอินทรีย์ ในไทยเป็นแหล่งผลิตสินค้าอินทรีย์ที่มีคุณภาพ ได้รับการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานทั้งไทยและต่างประเทศ โดยพืชที่นิยมปลูกแบบอินทรีย์มากที่สุดในไทย คือ ข้าว ซึ่งถือว่าไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวอินทรีย์มากที่สุดในโลก โดยเฉพาะข้าวหอมมะลิอินทรีย์ เป็นสินค้าที่ตลาดในสหภาพยุโรปต้องการสูงมาก และมีแนวโน้มในการขยายตลาดมากขึ้นในอนาคต

โดยข้าวหอมมะลิอินทรีย์ มีสัดส่วนส่งออก 67% ของสินค้าอินทรีย์ทั้งหมดของไทย มีมูลค่าตันละ 1,400 เหรียญสหรัฐ สูงกว่าข้าวหอมมะลิธรรมดาที่มีมูลค่า 900 กว่าเหรียญสหรัฐต่อตัน จึงเป็นการช่วยเพิ่มมูลค่าส่งออกสินค้าไทยได้ทางหนึ่ง

“ปัจจุบันกลุ่มผู้บริโภคสินค้าอินทรีย์ส่วนใหญ่ 45% อยู่ในสหรัฐ อีก 40% คือกลุ่มยุโรป ส่วน 15% ที่เหลือกระจายกันไปที่ต่างๆทั่วโลก และมีแนวโน้มความต้องการเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ มีความกังวลเกี่ยวกับความเสี่ยงในการบริโภคอาหารแบบเดิมที่พึ่งพิงการใช้สารเคมีค่อนข้างมาก ทำให้ผู้บริโภคมีความใส่ใจในการเลือกซื้อสินค้าโดยคำนึงถึงสุขภาพอนามัยและสิ่งแวดล้อมเป็นสำคัญ ทำให้เกิดกระแสรักษ์สุขภาพ รวมทั้งมาตรการด้านสุขอนามัยที่เข้มงวดของประเทศผู้นำเข้าอาหาร ส่งผลให้ความต้องการบริโภคอาหารอินทรีย์ขยายตัวมากขึ้นทั้งภายในและต่างประเทศ” น.ส.ชุติมา กล่าว

อย่างไรก็ตาม กระทรวงพาณิชย์ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ และพร้อมสนับสนุนสินค้าอินทรีย์ของไทยอย่างเต็มที่ โดยระหว่างวันที่ 23-26 กรกฎาคม 2558 จะจัดงาน “Organic & Natural Expo 2015” ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งเป็นครั้งที่ 5 ของไทย โดยจะเป็นงานแสดงสินค้าอินทรีย์และธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในไทย คาดว่าจะมีผู้เข้าชมงานไม่น้อยกว่า 40,000 คน และจะมีมูลค่าการจำหน่ายและการเจรจาทางธุรกิจภายในงานสูงกว่างานในครั้งที่ผ่านมา หรือประมาณ 30 ล้านบาท

จาก http://www.naewna.com วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ธุรกิจตื่นรับวิกฤตประปา ดึงน้ำเขื่อนศรีฯอุ้มคนกรุงเทพ-ปริมณฑล 

          ครม.สั่งการลดระบายน้ำลงเหลือวันละ 18 ล้าน ลบ.ม. หวังยืดเวลาน้ำหมดเขื่อนไปจนถึง 15 ส.ค.  กรมชลฯหวั่นน้ำเค็มหนุนกระทบน้ำประปากรุงเทพฯแน่ เร่งผันน้ำจากเขื่อนศรีนครินทร์วชิราลงกรณช่วย  โรงงานอุตฯตั้งรับใช้น้ำสำรอง ธุรกิจปรับแผนรับแล้งยาว

          การบริหารจัดการน้ำใน 4 เขื่อนหลัก (ภูมิพล-สิริกิติ์-แควน้อยบำรุงแดน-ป่าสัก ชลสิทธิ์) ที่มีผลต่อที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้ที่จะเดินทางมาถึงจุดสุดท้ายเข้าไปทุกที เมื่อปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนหลักยังคงลดลงอย่างต่อเนื่อง ณ ปัจจุบัน(14 กรกฎาคม 2558) เหลือน้ำใช้การได้จริงเพียงแค่ 566 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 3% ของน้ำใช้การ ทั้งหมด มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างจากกรณีฝนตกเหนือเขื่อนแค่ 8.05 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่เขื่อนต้องระบายน้ำออกถึงวันละ 28.04 ล้าน ลบ.ม. เพื่อใช้ในการผลักดันน้ำเค็มและน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค

          เตรียมแผนผันน้ำฝั่งตะวันตก

          ล่าสุด ครม.มีมติตามข้อเสนอของคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้ม สถานการณ์น้ำ สั่งให้ลดการระบายน้ำจาก 4 เขื่อนหลักลงเหลือแค่วันละ 18 ล้าน ลบ.ม. เพื่อ "ยืด" ปริมาณน้ำในเขื่อนให้เหลือเพียงพอ ไปจนกระทั่งถึงวันที่ 15 สิงหาคม จากเดิมหากระบายน้ำออกวันละ 28 ล้าน ลบ.ม. น้ำก็จะหมดเขื่อนไม่เกินวันที่ 31 กรกฎาคมนี้ โดยการลดการระบายน้ำลงในครั้งนี้เป็นวิธีการสุดท้ายแล้วที่กรมชลประทานจะบริหารจัดการได้ โดยมีความหวังเหลืออยู่เพียงแค่ฝนจะต้องตกลงมาเหนือเขื่อนให้ได้มากที่สุดก่อนที่น้ำจะหมดลง

          แหล่งข่าวจากกรมชลประทานเปิดเผยว่า การลดการระบายน้ำลงเหลือวันละ 18 ล้าน ลบ.ม. เพื่อยืดเวลาการใช้น้ำในเขื่อนไปจนถึงกลางเดือนสิงหาคม จะส่งผลกระทบ กับปริมาณน้ำที่จะผลักดันน้ำเค็มบริเวณปากคลองสำแล แหล่งน้ำดิบของการประปานครหลวง จากปัจจุบันที่มีค่าความเค็มสูงเกินกว่ามาตรฐานไปแล้ว คือ 0.83 กรัม/ลิตร (ค่ามาตรฐานไม่เกิน 0.25 กรัม/ลิตร) ดังนั้นกรมชลประทานจึงวางแผนที่จะผันน้ำ ฝั่งตะวันตก ซึ่งมีปริมาณ 2 เขื่อนรวมกัน (เขื่อนศรีนครินทร์-วชิราลงกรณ) ถึง 16,014 ล้าน ลบ.ม. มาใช้โดยระบายผ่านคลองจรเข้สามพัน ลงแม่น้ำท่าจีนแล้วผันเข้าคลองผ่านประตูน้ำผักไห่-เจ้าเจ็ด ลงแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณบางไทร เพื่อผลักดันน้ำเค็ม รวมทั้งแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค ภาคเกษตรและอุตสาหกรรม

          ธปท.ชี้ภัยแล้งฉุด GDP ลง 0.5%

          นายเมธี สุภาพงษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ยังอยู่ระหว่างติดตามสถานการณ์ภัยแล้งเพื่อประเมินผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปีนี้ โดยจะต้องติดตามว่าจะมีน้ำฝนตกลงมาภายในสิ้นเดือนนี้ หรือต้นเดือนสิงหาคมหรือไม่ หากยังไม่มีน้ำฝนตกลงมา สถานการณ์ภัยแล้งก็คงส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจมากกว่าที่คาดการณ์เอาไว้ได้ โดยคาดว่าจะมีผลกระทบต่อการขยายตัว ของเศรษฐกิจไทย ประมาณ 0.1-0.5% เนื่องจากประมาณการเศรษฐกิจปีนี้โตที่ 3% ยังไม่ได้รวมปัจจัยดังกล่าว "หากฝนยังไม่ตกลงมา เราก็คงต้องมาประเมินผลกระทบกันใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการเกษตร" นายเมธีกล่าว

          ขณะที่ นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การประชุม ครม.วันนี้ได้หารือเกี่ยวกับภัยแล้งกันมาก ซึ่งทาง GISDA รายงานว่า จะมีฝนตกเพิ่มขึ้นตั้งแต่ปลายกรกฏาคมถึงกลางเดือนสิงหาคม แต่ไม่ได้ทำให้น้ำในเขื่อนเพิ่มมากนัก แต่จะต้องรอไปจนถึงเดือนกันยายนที่ "อาจจะ" มีพายุเข้ามาถึงจะทำให้น้ำในเขื่อนหลักเพิ่มขึ้นได้ "ฝนช่วงนี้จะบรรเทาแล้งได้นิดหน่อย ส่วนมาตรการช่วยเหลือที่จะทำก็ว่ากันไป แต่ยังไม่มีเรื่องการแจกเงิน"

          ทั้งนี้เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา คณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ได้มีมติอนุมัติมาตรการด้านสินเชื่อแก้ปัญหาภัยแล้งให้แก่เกษตรกร ทั้งขยายเวลาชำระหนี้ออกไป สูงสุด 12 เดือน เพิ่มสินเชื่อเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในระยะสั้น และสินเชื่อเพื่อปรับปรุงระบบการผลิตในระยะยาว วงเงินรวม 60,000 ล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน คาดว่าจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรกว่า 1 ล้านราย

          โคลา-ไทยน้ำทิพย์ ปันน้ำช่วย

          นายพสุ โลหารชุน อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กล่าวว่า ขณะนี้ทางอุตสาหกรรมจังหวัดแต่ละแห่งจะทำหน้าที่เป็นศูนย์รับเรื่องร้องเรียนกรณีโรงงานได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง และรายงานมายัง นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีกระทรวงอุตสาหกรรม "โรงงานทั่วประเทศกว่า 80,000 แห่ง ที่เข้าข่ายว่าจะได้รับผลกระทบ ขณะนี้ยังไม่มีรายงานเข้ามา แต่กระทรวงได้เตรียมแผนไว้แล้ว หากได้รับผลกระทบเหลือน้ำน้อยจนถึงขั้น วิกฤตก็ต้องสั่งให้โรงงานประหยัดน้ำ ขั้นที่ 2 ลดเวลาการทำงานลงเหลือ 5 วันจาก 7 วัน และแผนขั้น 3 ให้นำน้ำที่โรงงานสำรองเอาไว้ออกมาใช้

          นางกรกฎ รัศมี ผู้อำนวยการสำนักงานนิคมอุตสาหกรรมหนองแค การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า ในส่วนของนิคมอุตสาหกรรมหนองแค ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมภาคกลางที่ถูกเฝ้าติดตาม ปัจจุบันนิคมมีการสูบน้ำจากคลองระพีพัฒน์ในปริมาณ 13,000 คิว/วัน กระจายให้โรงงานอุตสาหกรรมภายในนิคมใช้ 11,000 คิว/วัน ที่เหลือ 2,000 คิว จะเก็บกักไว้ในบ่อสำรอง โดยบ่อเก็บน้ำสามารถรองรับความจุได้ 264,000 คิว ในกรณีที่มีการประกาศให้หยุดสูบน้ำจากคลองระพีพัฒน์ น้ำที่สำรองในนิคมจะรองรับได้อีก 22 วัน

          นายเจน นำชัยศิริ รองประธานงานส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า อุตสาหกรรมที่น่าเป็นห่วงคือ ภาคการเกษตรอุตสาหกรรม เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ส่วนแนวทางรับมือส่วนใหญ่ โรงงานจะมีแผนสำรองไว้แล้ว ล่าสุด ผู้ประกอบการโรงงานผลิตโคคา-โคลาและไทยน้ำทิพย์ ยินดีที่จะปฏิบัติตาม ส.อ.ท.แล้ว

          น้ำดื่มย้ายโรงงานหนีแล้ง

          นายธงชัย ศิริธร ผู้อำนวยการกิจกรรมสังคมและสื่อสารองค์กร บริษัท ไทยน้ำทิพย์ แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำดื่มตรา "น้ำทิพย์" กล่าวว่า โรงงานของบริษัทที่คลอง 13 ได้รับผล กระทบจากการที่ประปาธัญบุรีไม่สามารถจ่ายน้ำได้อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นบริษัทจะปรับแผนการผลิตน้ำดื่มไปยังโรงงานแห่งอื่น ๆ ของบริษัทในจังหวัดปทุมธานีนครราชสีมา-ขอนแก่น และลำปางแทน

          นายมารุต บูรณะเศรษฐกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำดื่มตรา "คริสตัล" และ "ช้าง" กล่าวว่า กำลังการผลิตของโรงงานน้ำดื่มทั้งหมด 9 แห่ง ภายใต้ เครือไทยเบฟฯยังไม่ได้รับผลกระทบใด ๆ โดยปัจจุบันยังมีจำนวนน้ำที่นำไปผลิตเพียงพอ และทางนิคมที่ตั้งโรงงานเองก็มีมาตรการสำรองน้ำไว้แล้ว

          สอดคล้องกับ นายรติ พันธุ์ทวี ผู้อำนวยการ บริหาร ประจำสำนักงานกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำดื่มสิงห์ กล่าวว่า โรงงานผลิตน้ำดื่มของบริษัททั้ง 7 แห่ง ทั่วประเทศยังสามารถผลิตได้ปกติ "ในแง่ของซัพพลายน้ำไม่ต้องเป็นห่วง ทั้งเราและโรงผลิตน้ำแต่ละที่ก็มีแหล่งน้ำและมีการประมาณการเพื่อรับกับสถานการณ์ ถ้าเกิดมีปัญหาจริง ๆ เราก็ยังมีเน็ตเวิร์กที่กระจายอยู่ทั่วทุกภาคเข้ามาช่วยเหลือได้"

          ผศ.น.พ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ อธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว.) โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ฯองครักษ์ ภายใต้ คณะแพทยศาสตร์ มศว. กล่าวว่า โรงพยาบาล มีระบบการบริหารจัดการน้ำดื่มน้ำใช้ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1)จากการประปาส่วนภูมิภาค 2)การผลิตน้ำเอง โดยมีโรงผลิต น้ำประปาได้จากบึงขนาดใหญ่ด้านหลังมหาวิทยาลัย ซึ่งใช้ได้อีก 2 เดือน

          เกษตรธัญบุรีพินาศ

          ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" สำรวจผล กระทบกรณีการประปาธัญบุรีขาดแคลนน้ำดิบที่จะนำมาผลิตเป็นน้ำประปาตลอดแนว คลองระพีพัฒน์ โดยนายสิทธิ เกียรติเจนวนิช นายกองค์การบริหารส่วนตำบลบึงคำพร้อย อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี กล่าวว่า ในพื้นที่มีบ้านจัดสรรมากกว่า 30 หมู่บ้าน หมู่บ้านละ 200-300 หลัง วิกฤตน้ำประปาหยุดไหล ที่ผ่านมา ท้องถิ่นได้เร่งแจกจ่ายน้ำเป็นการทุเลา ซึ่ง อบต.มีบ่อบาดาลไว้เพื่อกรณีฉุกเฉินอยู่แล้วถึง 3 บ่อ ทำให้พอแก้ปัญหาเฉพาะหน้าไปได้ โดยบางหมู่บ้านจะใช้ประปาหมู่บ้านจะมีบ่อบาดาลของตัวเอง บางหมู่บ้านจะใช้ประปาร้อยละ 50 น้ำบาดาล ร้อยละ 50 ดังนั้นหมู่บ้านจัดสรรรุ่นใหม่ที่ใช้น้ำประปา 100% จะได้รับผลกระทบ มากที่สุด ส่วนภาคธุรกิจในพื้นที่ก็ต้องขุดเจาะ น้ำบาดาลหรือซื้อน้ำจากเอกชน

          นางฐิตินันท์ เจริญอาจ ปลัดเทศบาลเมืองสนั่นรักษ์ อำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า พื้นที่อำเภอธัญบุรีกำลังเผชิญ กับการขาดแคลนน้ำใช้และน้ำในการเกษตร อย่างหนัก ส่งผลกระทบต่อสวนไม้ดอกไม้ประดับหลายพันไร่ที่เป็นแหล่งผลิต รายใหญ่ของประเทศ มีมูลค่าตลาดกว่า 1,000 ล้านบาท กำลังเริ่มขาดน้ำแล้ว และหากฝนไม่ตกใน 1 สัปดาห์นี้จะทำให้ดอกไม้ประดับเริ่มเหี่ยวตาย ขณะที่ผู้ประกอบการบางรายต้องลงทุนซื้อน้ำในราคาที่สูงมาใช้

          นายดาริส พูลเต่า เกษตรกรผู้ปลูกหญ้าญี่ปุ่น หญ้ามาเลเซีย หญ้านวลน้อย หญ้าเบอร์มิวด้า รายใหญ่ในตำบลหนองสามวัง อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี กล่าวว่า จังหวัดปทุมธานีมีพื้นที่ปลูกหญ้า 6,000 ไร่ สร้างรายได้ปีละ 100 ล้านบาท ถ้าน้ำประปาหยุดไหลก็ไม่มีน้ำรดหญ้า ซึ่งหญ้าเริ่มใบเหลืองแล้ว อาจตายได้หากฝนไม่ ตกลงมาในเร็ว ๆ นี้ ขณะที่นางสายสุนีย์ วงษ์ขำ เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันรายใหญ่ ในอำเภอหนองเสือ กล่าวว่า อำเภอหนองเสือ-คลองหลวง-ธัญบุรี เป็นพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันรายใหญ่ในภาคกลาง มีพื้นที่ประมาณ 20,000 ไร่ สามารถเก็บเกี่ยว ได้แล้ว 50% อีก 50% กำลังเจริญเติบโตซึ่งต้องการน้ำ จึงต้องการความช่วยเหลือจากรัฐบาลอย่างเร่งด่วน นอกจากนั้นยังมีกล้วยหอมปทุมธานี ผักสวนครัว ที่เกษตรกรปลูกเพื่อส่งไปจำหน่ายยังตลาดไท เริ่มได้รับผลกระทบแล้ว

          นายมานพ พรรณพลีวรรณ อายุ 57 ปี ปราชญ์ปลานิล ผู้เลี้ยงปลากระชัง 85 กระชัง ในคลอง 13 อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี กล่าวว่า ไม่คิดว่าคลองระพีพัฒน์น้ำจะแห้งขอดชาวนาชาวสวนแห่มาตั้งท่อสูบน้ำเต็มไปหมด ทำให้น้ำในคลองยุบเร็ว ปลาน็อกตาย ทำให้ได้รับความเสียหายอย่างหนัก เฉพาะของตนเองเลี้ยงปลาไว้ 85 กระชัง มีมูลค่าเสียหายรวมเกือบ 1 ล้านบาท

          นายรุ่งโรจน์ บุญฤทธิ์ลักขณา กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยริชฟูดส์ กรุ๊ป จำกัด ผู้ดำเนินธุรกิจแปรรูปผลไม้ส่งออก อำเภอธัญบุรี กล่าวว่า บริษัทได้ปรับเปลี่ยนมาใช้น้ำบาดาลเพื่อการผลิตในโรงงาน 100% แล้วเพื่อต้นลดความเสี่ยงขาดน้ำประปาหยุดไหลนาน

          นายสมพงษ์ เที่ยงธรรม วิศวกร บริษัท โพส แอนด์ พรีคาส อ.หนองเสือ กล่าวว่า ต้องเปลี่ยนมาใช้น้ำในสระเพื่อล้างหินทรายในโรงงาน เพราะ กปภ.ขอความร่วมมือไม่ให้ สูบน้ำจากคลอง 13 ขึ้นมาใช้ 3 วัน โดยน้ำ ในสระจะพอใช้ไปได้แค่ครึ่งเดือนเท่านั้น

จาก http://www.prachachat.net วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

เล็งดึงน้ำโขง-สาละวิน สู้วิกฤติแล้ง เติมเขื่อนภูมิพล-สิริกิติ์

เจาะภูเขาวางท่อจากเมียนมาแผนช่วง10ปี-วงเงิน8หมื่นล.มท.-ทหารเร่งขุดบาดาลเพิ่มช่วยหมู่บ้าน5พันแห่งขาดน้ำ

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ความคืบหน้าการแก้ปัญหาภัยแล้ง หลังจากคืนวันที่ 14 กรกฎาคม ที่ผ่านมา มีฝนตกหลายพื้นที่ โดยยอมรับว่า ดีใจ เมื่อคืนก็สวดมนต์ขอพระพิรุณ ขอให้ทุกคน ขอให้ประเทศชาติปลอดภัยสงบสุข ขอให้สื่อน่ารัก ขอทุกวัน ไม่ได้พูดเล่น

ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้ส่งกำลังทหารไปช่วยพื้นที่แล้งในการขุดลอกคูคลอง

 เจาะบ่อบาดาลหรือไม่ นายกฯกล่าวว่า เจ้าหน้าที่ทหารลงไปนานแล้ว มีแผนงานอยู่แล้ว ส่วนบางพื้นที่ที่ไม่ได้ลงไปทำ เพราะบางพื้นที่ขุดได้ บางที่เก็บน้ำไม่ได้และงบประมาณมีหรือไม่ เครื่องมือมีพอหรือไม่ แต่ตั้งเป้าหมาย 500 บ่อ แบ่งกันรับผิดชอบ

“เราต้องทำให้คนอยู่ได้ก่อน เมื่อประทังการเกษตรไม่ไหว ก็ต้องยอมรับ เพราะคนเดือดร้อนสำคัญกว่า ก็ต้องเลือกหรือแบ่งขั้นตอนช่วงที่แล้วทำมาได้ก็ทำมา รักษาทั้งสองส่วน พอวันนี้เริ่มเดือดร้อนการประปาก็ต้องดูการเกษตรว่าจะเอาอย่างไร ต้องชั่งน้ำหนัก ยืนยันว่าผมไม่ได้รังเกียจภาคเกษตร ผมสงสารมากกว่า แต่จนใจจริงๆ ถ้าจะทำก็ต้องรอน้ำฝน ไม่เช่นนั้นลงทุนไปแล้ว ก็เสียหาย ถ้าเดือดร้อนก็ต้องรวมกลุ่มไปแจ้งกำนันผู้ใหญ่บ้าน คือการโซนนิ่ง เราก็จะรู้แล้วว่าตรงไหนควรปลูกพืชน้ำมากน้ำน้อย สร้างการรับรู้ให้เขาว่าต่อไปทำนาไม่ได้แล้ว ทุกคนจะได้ปรับเปลี่ยน ไม่เช่นนั้นทุกคนก็บอกว่าไปห้ามเขาทำนา เสียหายหมด สรุปชาวนายังทำงานต่อไป ถึงจะทำปีละสามครั้ง ได้ผลประโยชน์ครั้งเดียว ท่านก็เชียร์เขาทำต่อไปก็แล้วกัน ผมรับผิดชอบให้ไม่ได้”นายกฯกล่าว

เผยแผนสร้างภาคปชช.เข้มแข็ง

และว่า วันนี้รัฐบาลเตรียมแผนงานเรื่องการลดต้นทุนการผลิต เตรียมข้อมูลว่าพื้นที่ไหนควรปลูกพืชอะไร ทำให้ชาวไร่ชาวนามีเงิน สหกรณ์มีเงินไปซื้อของมาเก็บ มาแปรรูป ประชาชนจะได้เข้มแข็ง เรียกว่าให้เบ็ดแล้วให้วิธีการตกปลาด้วย แต่วันนี้ปลาไม่มีตก เพราะฝนแล้ง ก็ต้องหาปลามาแจกคือ ช่วยคนเดือดร้อน คิดแบบนี้จะได้ไปด้วยกัน

กนช.ถกแผนน้ำครั้งแรกสัปดาห์หน้า

ด้านพล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ ในฐานะอดีตประธานคณะกรรมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่คสช.ตั้งขึ้น และผู้ทรงคุณวุฒิคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.)ที่มีนายกฯเป็นประธาน เปิดเผยว่า ขณะนี้แผนบริหารจัดการน้ำผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมาแล้ว และจะประชุมนัดแรกสัปดาห์หน้า ซึ่งจะเป็นการพิจารณาแนวทางปฏิบัติตามยุทธศาสตร์บริหารจัดการน้ำของประเทศ ระยะเวลา 10 ปี ( 2558-2569 ) ในรายละเอียดอีกครั้ง ซึ่งแผนยุทธศาสตร์บริหารน้ำระยะเวลา 10 ปี คลอบคลุมการจัดการน้ำ เตรียมการระบายน้ำจากตอนเหนือสู่อ่าวไทย การจัดการน้ำในเขื่อน และการจัดการน้ำประปาเพื่อการอุปโภคบริโภค ยตั้งเป้าประชาชน 7,000 หมู่บ้านต้องมีน้ำประปาใช้ทุกครัวเรือนภายในปี 2560 เป็นต้น ซึ่งถ้าจัดการตามแผนได้ เชื่อว่าจะทำให้ประเทศไทยมีน้ำพอใช้และไม่เกิดน้ำท่วมแน่นอน

สำหรับแผนระยะสั้นที่เริ่มทำมาตั้งแต่ปี 2557-2559 จะเน้นแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคให้ทั่วถึงทั้งประเทศ เพิ่มพื้นที่กักเก็บน้ำ เช่น ขุดบ่อน้ำในไร่นาจากเดิม 50,000 แห่งเป็น 200,000 แห่ง ทำพื้นที่แก้มลิงเพิ่มปริมาณน้ำอีก 1,000 ล้าน ลบ.ม. รวมถึงจัดเตรียมระบายน้ำจากตอนเหนือสู่อ่าวไทยโดยปี 2557 -2558 จะใช้งบประมาณปกติ 50,000-60,000 ล้านบาท ในปี 2559 จะใช้งบเพิ่มอีก 30,000 ล้านบาท รวมงบประมาณทั้งหมด 80,000 ล้านบาท

ลุยดึงน้ำโขง-สาละวินเติมเขื่อนหลัก

ขณะที่แผนระยะกลางและระยะยาว เน้นจัดหาต้นทุนน้ำเพิ่มจากน้ำฝน โดย หนึ่งในแผนสำคัญคือ ดึงน้ำจากแม่น้ำนานาชาติ 2 แห่งคือ แม่น้ำโขง และแม่น้ำสาละวิน ประเทศเมียนมาร์มาใช้ในไทย โดยเบื้องต้นได้หารือร่วมกับผู้นำของเมียนมาร์ถึงความเป็นไปได้ในการดึงน้ำจากแม่น้ำสาละวินมาเป็นต้นทุนน้ำในไทย แต่ก็อาจต้องเจาะภูเขาของไทย เพื่อทำอุโมงค์ส่งน้ำเข้ามาเติมในเขื่อนภูมิพล ส่วนน้ำจากแม่น้ำโขง เข้ามาเติมน้ำในเขื่อนสิริกิติ์ ซึ่งการดึงน้ำจากแม่น้ำมาใช้อาจต้องใช้เวลาดำเนินการ 4-5 ปี และยืนยันว่ารัฐบาลชุดนี้ยังไม่มีนโยบายสร้างเขื่อนเก็บน้ำใหม่ เพราะจะเป็นการกระทบในหลายๆด้าน

สั่งผู้ว่าฯแจงปชช.ลดปล่อยน้ำ

วันเดียวกัน พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทยประชุมข้อราชการผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ โดยสั่งการให้ผู้ว่ฯเร่งทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ หลังคณะรัฐมนตรี (ครม.)มีมติให้ลดการระบายน้ำจากเขื่อนหลักตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคมเป็นต้นไป เพื่อให้มีปริมาณน้ำเหลือใช้ถึงกลางเดือนสิงหาคม โดยจะลดการระบายน้ำจากเดิมวันละ 28 ล้าน ลบ.ม.เหลือวันละ 18 ล้าน ลบ.ม. และขอร้องเกษตรกรอย่าสูบน้ำไปทำการเกษตร เพราะจะส่งผลวิกฤติต่อน้ำดื่มน้ำใช้ นอกจากนี้ ยังกำชับผู้ว่าฯสำรวจพื้นที่การทำเกษตรเพื่อบริหารจัดการน้ำ และบูรณาการร่วมกับทหาร ตำรวจและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์หาน้ำช่วยเหลือเกษตรกร

ประสานทหารเจาะบาดาลเพิ่ม

พล.อ.อนุพงษ์กล่าวอีกว่า ขอให้กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นสำรวจน้ำประปาหมู่บ้านทั่วประเทศ 61,601 หมู่บ้าน จำนวนนี้จะใช้อุปโภคบริโภคไปถึงกลางเดือนสิงหาคมจำนวน 55,000 หมู่บ้าน ส่วนอีก 5,000 หมู่บ้าน จะมีน้ำพอใช้ถึงปลายเดือนกรกฎาคม จึงจำเป็นที่ผู้ว่าฯต้องหาวิธีรับมือ เพราะประปาหมู่บ้านกินพื้นที่ร้อยละ 58 ของประเทศ ทั้งนี้ เบื้องต้นสามารถประสานหน่วยทหารขอขุดเจาะบ่อบาดาลแก้ปัญหาแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับความคืบหน้าการขุดบ่อบาดาลที่ครม.มีมติให้ขุดเพิ่ม 500 บ่อ ขณะนี้ดำเนินการเสร็จแล้ว 300 บ่อ นอกจากนี้ ได้วางแผนขุดเพิ่มอีก 2,000 บ่อรองรับภัยแล้งปีหน้า

3จังหวัดยังเผชิญวิกฤตภัยแล้ง

ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ(ศภช.) รายงานสถานการณ์ภัยพิบัติที่เกิดจากภัยแล้ง มีพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ 40 จังหวัด ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม 2557 ซึ่งปัจจุบันยังคงมีพื้นที่ได้รับผลกระทบรวม 3 จังหวัด 18 อําเภอ 126 ตําบล 1,189 หมู่บ้าน โดยมีภาคเหนือ จ.น่าน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.นครราชสีมา และภาคตะวันออก จ.สระแก้ว โดยภาวะภัยแล้งมีแนวโน้มลดลง แต่ยังมีบางพื้นที่ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงต่อไป ขณะที่ภาวะฝนแล้งพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายนที่ผ่านมาถึงปัจจุบัน มีพื้นที่ที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน 6 จังหวัดคือแพร่ พิจิตร พิษณุโลก ชลบุรี สุโขทัย ปทุมธานี ทั้งหมด 18 อําเภอ 99 ตําบล 771 หมู่บ้าน

ไร่มันสุโขทัยเสียหาย400ล้าน

สถานการณ์ภัยแล้งที่ต.ตลิ่งชัน อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย นอกจากมีชาวบ้าน 8 หมู่บ้านเดือดร้อนจากปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคนาน 3 เดือน ต้องซื้อน้ำบรรจุขวดไว้บริโภคแล้ว ยังมีพื้นที่การเกษตรเสียหายอีกหลายหมื่นไร่ โดยเฉพาะไร่มันสำปะหลังที่เป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของตำบล โดยนายประเทือง นาราสิริวิมล นายกเทศมนตรีตำบลตลิ่งชันเผยว่า ปัญหาภัยแล้งปีนี้ถือว่าหนักที่สุด กระทบไร่มันสำปะหลังที่มีการเพาะปลูกเกือบ 20,000 ไร่ เกษตรกรต้องไถทิ้งแล้วปลูกใหม่ 2-3 รอบจนขาดทุนซ้ำซาก สูญเสียรายได้จากผลผลิตมันสำปะหลัง 300-400 ล้านบาท จึงอยากวิงวอนรัฐบาลหรือหน่วยงานเกี่ยวข้องข้ามาช่วยเหลือ

แม่กลองลดกระทบประปาราชบุรี

ขณะที่ระดับน้ำในแม่น้ำแม่กลองลดลง ส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำประปาในจ.ราชบุรี โดยนางศมานันท์ เหล่าวณิชวิศิษฎ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองราชบุรีประกาศเตือนประชาชนผู้ใช้น้ำประปา ในเขตเทศบาลเมืองราชบุรี และต.เจดีย์หัก ต.ดอนตะโกให้เก็บสำรองน้ำช่วงนี้ หลังได้รับผลกระทบจากภัยแล้งที่ระดับน้ำในแม่น้ำแม่กลอง ที่เขื่อนรัฐประชาพัฒนาเขตเทศบาลเมืองราชบุรีลดระดับลงต่อเนื่อง และเขื่อนศรีนครินทร์ จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นต้นน้ำชะลอการส่งน้ำ ทำให้แม่น้ำแม่กลองลดลงมากกว่าปกติ ส่งผลให้การผลิตน้ำประปาได้รับผลกระทบตามไปด้วย

ประกอบกับช่วงที่ฝนตกหนักในอ.เมืองราชบุรี ทำให้น้ำเน่าเสียไหลลงแม่น้ำแม่กลองและติดกับบริเวณหัวสูบน้ำส่งผลให้น้ำเน่าเสียไหลเข้าระบบทำน้ำประปา จนไม่สามารถผลิตน้ำประปาได้ ต้องหยุดจ่ายน้ำให้ประชาชนเขตต.ดอนตะโกและเจดีย์หักบางส่วน รวมถึงหมู่บ้านเอื้ออาทรราชบุรี ไม่มีน้ำประปาใช้เดือดร้อนอย่างหนัก

นอกจากนี้ โรงผลิตน้ำประปาของเทศบาลเมืองราชบุรี โรงที่ 2 ซึ่งอยู่ที่วัดเทพอาวาส ปริมาณน้ำลดลงจนถึงหัวกะโหลกสูบน้ำ ไม่สามารถสูบน้ำขึ้นมาผลิตได้ การประปาเทศบาลเมืองราชบุรีจึงต้องลดอัตราส่งน้ำไปนอกเขตเทศบาล เพื่อส่งน้ำเข้าระบบที่โรงผลิตน้ำประปาโรงที่ 2 เพื่อให้ประชาชนในเขตโรงผลิตน้ำมีน้ำใช้

โคราชเหลือน้ำดิบผลิตแค่2เดือน

เช่นเดียวกับ นายนพดล พุ่มกันภัย ผู้จัดการการประปาส่วนภูมิภาค สาขานครราชสีมาเปิดเผยว่า ปัจจุบันอ่างเก็บน้ำดิบท่าช้างของสำนักงานประปาส่วนภูมิภาค สาขานครราชสีมา ภายในอ.เฉลิมพระเกียรติ ซึ่งสูบน้ำดิบจากลำน้ำมูลมาใช้ผลิตน้ำประปาให้ประชาชนกว่า 25,000 ครัวเรือน ใน 2 อำเภอคือ อ.เมืองและอ.เฉลิมพระเกียรติ มีน้ำดิบเหลืออยู่ในอ่างกักเก็บเพียง 1.2 ล้านลบ.ม. และขณะนี้ปริมาณน้ำในลำน้ำมูลเหลืออยู่น้อยมาก ทำให้การประปาส่วนภูมิภาคสาขานครราชสีมาต้องลดอัตราปล่อยน้ำประปาจากปกติวันละ 27,000 ลบ.ม.เหลือเพียงวันละ 20,000 ลบ.ม.เพื่อยืดระยะเวลาใช้น้ำดิบออกไป ส่งผลให้น้ำประปาช่วงนี้ไหลอ่อนบางพื้นที่ที่อยู่ปลายท่อ และปริมาณน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปาเหลืออีกเพียง 2 เดือนเท่านั้น ถ้าภายในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคมยังไม่มีฝนตกลงมาก็ต้องเผชิญวิกฤตขาดแคลนน้ำประปาอย่างแน่นอน

สตูลน้ำท่วมหนักปิดรร.4แห่ง

ส่วนที่จ.สตูลประสบปัญหาน้ำท่วมจากน้ำป่า โดยนายจักรพงษ์ ทองเพ็ชร รอง ผอ.สพป.สตูลลงตรวจสอบโรงเรียนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำป่าทะลักเข้าท่วมขังที่โรงเรียนอนุบาลเมืองสตูล ต.ฉลุง อ.เมืองสตูล หลังระดับน้ำยังคงเพิ่มสูงขึ้น ต้องหยุดการเรียนการสอนจนกว่าสถานการณ์น้ำจะเข้าสู่ภาวะปกติ พร้อมกันนี้ ยังพบว่ามีโรงเรียนบ้านปันจอร์ โรงเรียนย่านซื่อ และโรงเรียนบ้านโคกประดู่ อ.เมือง และอ.ควนโดนต้องปิดเรียนเช่นกัน ขณะที่มีโรงเรียนที่ต้องเฝ้าระวังน้ำท่วมอีก 3 แห่งใน อ.ละงู คือโรงเรียนบ้านโกตา โรงเรียนบ้านดาหลำ และโรงเรียนอนุบาลละงู

ดินไหวสังขละบุรีชาวบ้านหนีตาย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 21.55 น.วันที่ 14 กรกฎาคม เกิดแผ่นดินไหวขนาด 4.8 ริคเตอร์ จุดศูนย์กลางอยู่ที่บ้านจงอั่ว ต.ปรังเผล อ.สังขละบุรี จ.กาญจนบุรี ความลึก 4 กิโลเมตร และเกิดอาฟเตอร์ช็อกขนาด 2 ริกเตอร์ตามมา ทั้งนี้ เหตุแผ่นดินไหวดังกล่าว ไม่ส่งผลกระทบต่อเขื่อนศรีนครินทร์และเขื่อนวชิราลงกรณ แต่สร้างความแตกตื่นให้ประชาชนในอ.สังขละบุรี ต่างวิ่งออกมานอกบ้าน โดยนายชาธิป รุจนเสรี นายอำเภอสังขละบุรีเผยว่า เหตุแผ่นดินไหวครั้งนี้ทำให้บ้านเรือนเสียหายบางส่วน จึงสั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าไปสำรวจให้ความช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ ส่วนใหญ่บ้านมีรอยร้าวหลายหลัง รวมถึงรพ.สังขละบุรีที่มีรอยร้าวในอาคาร ส่วนสะพานอุตตมานุสรณ์หรือสะพานมอญไม่ได้รับผลกระทบ

สธ.สั่ง4รพ.เสี่ยงเตรียมพร้อมรับมือ

ขณะที่นพ.สุรเชษฐ์ สถิตย์นิรามัย รองปลัดกระทรวงสาธารณสุขสั่งให้วิศวกรเร่งสำรวจความเสียหายของรพ.สังขละบุรีที่มีรอยร้าวในอาคารผู้ป่วยนอกเล็กน้อย พร้อมสั่งย้ายผู้ป่วยบางส่วนไปรักษาที่รพ.พหลพลพยุหเสนา ส่วนรพ.ที่สุ่มเสี่ยงได้รับผลกระทบเหตุแผ่นดินไหว สอบถามสาธารณสุขจังหวัดพบมี 4 รพ.ที่อยู่ในแนวรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ได้แก่ รพ.สังขละบุรี รพ.ทองผาภูมิ รพ.ท่ากระดาน และ รพ.ศุกร์ศิริศรีสวัสดิ์ จึงสั่งให้เตรียมความพร้อมรับมือ

จาก http://www.naewna.com วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

'ประสาร'เผย'ภัยแล้ง'ฉุดจีดีพี แบงก์ชาติชี้ศก.โตต่ำกว่า3%

นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ธปท.ยอมรับว่า จากสถานการณ์ภัยแล้งรุนแรงขึ้น อาจส่งผลกระทบให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ(จีดีพี) ปีนี้เสี่ยงต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ที่ 3% ซึ่งธปท.ยอมรับว่า ปัญหาภัยแล้งมีความเสี่ยงมากขึ้นต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจ ซึ่งธปท.จะจับตาอย่างใกล้ชิด

สำหรับค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลงอย่างต่อเนื่อง และต่ำสุดในรอบ 6 ปีที่ 34.18 บาทต่อดอลลาร์ นั้น มองว่าส่งผลดีต่อภาคการส่งออกในระยะสั้น โดยมองว่าจะช่วยให้ภาคการส่งออกมีรายได้ในรูปเงินบาทเพิ่มสูงขึ้น และยังไม่น่ากังวลเนื่องจากเทียบกับประเทศคู่ค้าคู่แข่งยังอยู่ในทิศทางเดียวกับภูมิภาค ส่วนธปท.จะปรับประมาณการขยายตัวของการส่งออกใหม่หรือไม่นั้น ขณะนี้ยังคงประมาณการไว้ที่ -1.5%

เศรษฐกิจไทยในระยะต่อไปยังมีเสถียภาพและมั่นคงดี ยังมีความสมดุล แต่ยอมรับว่า การส่งออกของไทยเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากในหลายประเทศมีการผลิตสินค้าต่อเนื่องด้วยตัวเอง จึงลดการนำเข้าลง ดังนั้น หากในอนาคตเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวขึ้น การส่งออกของไทยจะไม่ขยายตัวดีเหมือนที่ผ่านมา ดังนั้นไทยจะต้องให้ความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตสินค้าที่รัฐบาลต้องเดินลงทุนจำนวนมาก

ทั้งนี้ยอมรับว่า หากพิจารณาจากดุลบัญชีเดินสะพัดที่เกินดุล ค่าเงินบาทควรแข็งค่าขึ้น แต่ภาวะเกินดุลนั้นเกิดจากภาคเอกชนไม่ลงทุน และราคาน้ำมันปรับตังลดลงมาก จึงทำให้ทุนสำรองระหว่างประเทศสูงและเกิดการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดเป็นจำนวนมาก

นายประสาร กล่าวว่า ทั้งนี้หากจะเร่งผลักดันให้จีดีพีเติบโตได้เต็มศักยภาพ 4-5% ได้ภาครัฐจะต้องเร่งเพิ่มสัดส่วนงบประมาณในการลงทุนโดยรวมให้ได้อยู่ที่ 26% ของงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด จากปัจจุบันอยู่ที่ 20% ทั้งนี้ คาดว่า จะเสนอแผนพัฒนาระบบสถาบันการเงินให้คลังได้ในส.ค.

ส่วนกรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐ หรือ เฟด จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนั้น ตลาดมีการรับรู้ข่าวสารล่วงหน้าไว้เรียบร้อยแล้ว และเชื่อมั่นว่า ไทยมีมาตรการและเครื่องมือในการรองรับ ทั้งการดูแลในเรื่องของอัตราแลกเปลี่ยนให้มีความยืดหยุ่น และเงินสำรองระหว่างประเทศ

ยังยืนยันว่า เศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงนั้น ไม่มีปัญหากับการปล่อยสินเชื่อจนทำให้การขยายตัวของสินเชื่อติดลบ เนื่องจากการปล่อยสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ยังขยายตัวได้ 5-6% ซึ่งสอดคล้องกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ 3% " ผู้ว่า ธปท. กล่าว

จาก http://www.naewna.com วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

จัดระเบียบใช้น้ำ-ฝ่าวิกฤตแล้ง ทางเลือก-ทางรอด "ประเทศไทย"

เข้ากับสถานการณ์สุดฮอตพอดี เมื่อกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จัดงานเสวนา "ทางออกเกษตรกรไทย ฝ่าวิกฤตภัยแล้ง" ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยวิทยากรประกอบด้วยตัวแทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ และผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับเรื่องน้ำ ถกระดมสมองฝ่าวิกฤตแล้ง ทั้งยังบังเอิญอยู่ในช่วงที่คณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำที่มีนายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานคณะอนุกรรมการ กำลังพิจารณาปรับลดการระบายน้ำจาก 4 เขื่อนใหญ่ คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ สู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด จาก 28 ล้าน ลบ.ม.ต่อวันให้ลดน้อยลงอีก

โดยกรมชลฯได้เสนอแผนลดระบายน้ำให้นาย ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรฯ นำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) 14 ก.ค.ที่ผ่านมา เพื่อยืดเวลาให้น้ำ 4 เขื่อนสามารถระบายเพื่อการเกษตร รักษาระบบนิเวศ ผลักดันน้ำเค็ม และการอุปโภคบริโภค ถึง 15 ส.ค.นี้ ที่คาดการณ์ว่าจะเข้าฤดูฝนเต็มตัว

ลดระบายน้ำ 4 เขื่อนเหลือ 18 ล้าน ลบ.ม.

หากปรับลดการระบายน้ำเหลือวันละ 13 ล้าน ลบ.ม. เท่ากับปริมาณที่จะทำน้ำประปาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ซึ่งต้องใช้น้ำดิบวันละ 5-6 ล้าน ลบ.ม. การใช้น้ำดิบทำน้ำประปาของจังหวัดต่าง ๆ ที่อยู่ใต้ 4 เขื่อนข้างต้น รวมทั้งน้ำดิบที่จะต้องระบายลงมาเพื่อผลักดันน้ำเค็ม และบวกเผื่อเหลือเผื่อขาดเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่ง รวมทั้งหมดคาดว่าจะระบายลงมาไม่ต่ำกว่าวันละ 18 ล้าน ลบ.ม. จากช่วงต้นเดือน มิ.ย.ระบายวันละ 60-62 ล้าน ลบ.ม. และปรับลดลงเหลือวันละ 33 ล้าน ลบ.ม. 12 มิ.ย. จากนั้นลดเหลือวันละ 28 ล้าน ลบ.ม.เมื่อ 29 มิ.ย.ที่ผ่านมา

น้ำต้นทุนต่ำกว่าหมื่นล้าน ลบ.ม.เสี่ยง

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำ กรมชลฯ กล่าวว่า ก่อนเกิดวิกฤตภัยแล้งหนักในลุ่มน้ำเจ้าพระยาปีนี้ น้ำต้นทุนใน 4 เขื่อนหลักน้อยกว่าปกติมาก ลุ่มน้ำเจ้าพระยาทั้งหมด 36 จังหวัด นับแต่แม่น้ำปิง วัง ยม น่าน มีพื้นที่รับน้ำใต้เขื่อน 4 แห่ง 22 จังหวัด 157,925 ตร.กม. ฝนตกเฉลี่ยรายปี 1,140.8 มม. คิดเป็นปริมาตรน้ำ 33,130 ล้าน ลบ.ม./ปี เฉพาะลุ่มเจ้าพระยาตอนบนมีปริมาตรน้ำ 2.6 หมื่นล้าน ลบ.ม. พื้นที่ทั้งหมด 4.59 ล้านไร่ ตอนล่าง 7.5 ล้านไร่ รวม 12 ล้านไร่ แต่รับน้ำจริง 9.5 ล้านไร่

สถิติน้ำต้นทุนและความต้องการใช้ปี 2551-2552 เฉลี่ยที่ 1.2 หมื่นล้าน ลบ.ม./ปี ถ้าลุ่มน้ำเจ้าพระยาอยู่ที่ 9,700-10,000 ล้าน ลบ.ม./ปี จะบริหารจัดการน้ำได้ง่าย ถ้าต่ำกว่านี้จะบริหารยาก

ใช้น้ำทำเกษตร-ผลิตประปาเกินพิกัด

ที่ผ่านมาช่วงปี 2536-2537 สองเขื่อนใหญ่คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำ 2,000 ล้าน ลบ.ม. สามารถปลูกข้าวได้ 1.78 ล้านไร่ ปี 2555 มีการพร่องน้ำหลังน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 ทั้งหมด 1.47 หมื่นล้าน ลบ.ม. เป็นการปล่อยน้ำทำนาปรัง 10 ล้านไร่ 1 หมื่นล้าน ลบ.ม. ปล่อยทิ้งจริง ๆ 4,700 ล้าน ลบ.ม. อย่างไรก็ตาม ในปี 2556/57 มีการใช้น้ำเกินแผน 2,000 ล้าน ลบ.ม. และน้ำไหลเข้าเขื่อนทั้ง 4 แห่งลดลงตลอดในช่วง 3 ปีหลังด้วย

นอกจากการใช้น้ำเพื่อการเกษตรเพิ่มขึ้นแล้ว ลุ่มเจ้าพระยายังมีการใช้น้ำดิบทำประปาเพิ่มด้วย ปี 2536-2545 จะใช้น้ำดิบประมาณ 1,500 ล้าน ลบ.ม./ปี เฉลี่ยปีละ 1,300 ล้าน ลบ.ม. แต่หลังปี 2546-ปัจจุบัน การใช้น้ำดิบทำน้ำประปาฝั่งคลองมหาสวัสดิ์ ได้เพิ่มจาก 8 แสน ลบ.ม.ต่อวัน เป็น 1.1 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน ขณะที่ปากคลองสำแล ที่จะสูบน้ำดิบมาทำน้ำประปาฝั่งกรุงเทพฯ เพิ่มจาก 3 ล้าน ลบ.ม. เป็น 4.1 ล้าน ลบ.ม.แล้ว

แนะใช้ระบบปันส่วนใช้น้ำ

ขณะที่ ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า อิทธิพลของเอลนิโญในปีนีทำให้ฝนตกไม่เข้าค่าเฉลี่ย กรมอุตุนิยมวิทยาบอกว่าฝนจะมา ส.ค. แล้งสุดเดือน พ.ย. ขณะที่ญี่ปุ่นชี้ว่ากลางปีหน้าจะเข้าภาวะฝนเปียกหรือลานิญา สำหรับน้ำต้นทุนของไทย 3 ปีที่ผ่านมาลดลงตลอด เขื่อนภูมิพลฝนตกต่ำกว่าค่าเฉลี่ยถึง 60-70%

แนวทางแก้ไข อาจต้องมีการปันส่วนน้ำ (Water Rationing) เหมือนไต้หวัน ที่ทำจากเบาไปหาหนัก เช่น ลดแรงดันน้ำหรือลดผลิต 10% จำกัดการใช้น้ำรายใหญ่ เช่น ห้ามเกิน 1,000 ลบ.ม.ต่อเดือน ที่ใช้มากในไทย คือ สนามบินสุวรรณภูมิ ใช้น้ำประปาสูงถึง 5 แสน ลบ.ม.ต่อเดือน และสุดท้าย คือ หยุดและหมุนเวียนการจ่ายน้ำ

ผศ.ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ กล่าวว่า เครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบสภาพภูมิอากาศช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาคือดาวเทียม ที่ราคาถูกและฟรี อย่างไรก็ตาม การดูว่ามีเมฆมากใช่ว่าจะมีฝนตก ต้องใช้ดาวเทียมตรวจสอบยอดเมฆ หากอุณหภูมิสูง แสดงว่าเมฆคลายความร้อนสูง ฝนจะตก การติดตามดูพื้นที่เพาะปลูกใช้ดาวเทียมได้ แต่อาจคลาดเคลื่อนได้

จากการดูพื้นที่ปลูกข้าวในภาคอีสาน เริ่มปลูกกันมากขึ้นในเขตอีสานใต้ บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีสะเกษ อีสานตอนบนยังไม่มาก ภาคอีสานปลูกข้าวแล้ว 16.6 ล้านไร่ ปลูกเพิ่มวันละล้านไร่ ขณะที่ลุ่มเจ้าพระยาปลูกทั้งในเขต-นอกเขตชลประทาน 8 ล้านไร่ รวมแล้วปลูก 32 ล้านไร่ เกินแผนปลูกทั้งประเทศ 56 ล้านไร่ 50%

ชี้โจทย์ใหญ่ "บริหารจัดการน้ำ"

ด้าน ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) หัวหน้าโครงการวิจัยการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจาก International Development Research Centre (IDRC) กล่าวว่า ที่มาของปัญหาภัยแล้งหลัก ๆ เกิดจากปัญหาการจัดการน้ำ ตั้งแต่ปลายปี 2554 ยิ่งช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย.ที่ผ่านมา ถือว่าแล้งสุดในรอบ 44 ปี ภัยแล้งปีนี้ เป็นผีซ้ำด้ำพลอย มีการระบายน้ำปี 2555 มากกว่าปกติ หลังจากนั้น มีการรับจำนำข้าวราคาสูง ทำให้ชาวนาแห่ปลูกกันมาก เกิดต่อเนื่องกันมา ขณะที่มีฝนน้อยมา 3 ปี ชาวนาภาคเหนือตอนล่างและภาคกลาง ณ 30 มิ.ย. 2558 ปลูกข้าวถึง 55.5% แล้วกดดันกรมชลประทานปล่อยน้ำลงมา

เวลาฝนแล้งชาวบ้านแทบไม่มีหนทางใดในการปรับตัว ยกเว้นหางานทำนอกหมู่บ้าน รัฐจึงควรเร่งชดเชยความเสียหายที่ปลูกข้าวแล้วขาดน้ำ และในระหว่างรอฝน ขณะเดียวกันรัฐควรสร้างงานมากกว่าให้เงินกู้ เพราะเป็นการก่อหนี้มากขึ้น ซึ่งการสร้างงานควรทำผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พัฒนาแหล่งน้ำสำรอง นำพื้นที่สาธารณะมาทำแก้มลิง นอกจากขุดเจาะบ่อบาดาล เพราะแก้มลิงจะแก้ได้ทั้งน้ำท่วมน้ำแล้ง

ทั้งนี้ การแก้ปัญหาน้ำควรมีการกระจายอำนาจการจัดสรรน้ำในยามปกติ การจัดสรรน้ำอย่างเป็นธรรมจะช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำ ควรมี JMC (Joint Management Committee for Irrigation-คณะกรรมการจัดการชลประทาน) ระดับจังหวัดเชื่อมโยงกัน เพราะการร่วมมือของกลุ่ม JMC ระหว่างจังหวัดจะเป็นก้าวสำคัญสู่คณะกรรมการลุ่มน้ำ และมีโจทย์ว่าอีก 10 ปีคณะกรรมการลุ่มน้ำ 25 ชุด จะเข้มแข็งได้แค่ไหน ขอเอาแค่ 2 ชุดที่สร้างจาก JMC ระดับจังหวัดก็พอ เพราะดีมานด์ที่มากกว่าซัพพลายในลุ่มน้ำเจ้าพระยานับวันจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

การบริหารจัดการน้ำจึงสำคัญที่สุด มากกว่าการหาน้ำเพิ่มหรือสร้างเขื่อนเพิ่ม และไม่ควรรวมศูนย์ รวมศูนย์ได้ก็ช่วงวิกฤต นอกจากนี้ ใครใช้น้ำก็ต้องจ่าย และต้องมีส่วนร่วมกันให้มากขึ้น

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

ให้พักหนี้เกษตรกร! รมช.เกษตร เผยมาตรการเร่งด่วน แก้วิกฤตภัยแล้ง

ที่รัฐสภา รัฐสภา นายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงความคืบหน้าในการแก้ปัญหาภัยแล้ง ว่าหลังจากที่นายกรัฐมนตรีขอความร่วมมือ เกษตรกรงดสูบน้ำ ก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี การแจกจ่ายน้ำเป็นไปตามปกติ  ส่วนการเยียวยาเกษตรกรในพื้นที่ที่ประสบภัยแล้ง ในขณะนี้อาจยังไม่มีความชัดเจนในจำนวนผู้ได้รับผลกระทบ แต่ชัดเจนในเรื่องมาตรการ เช่นการพักหนี้เกษตรกร โดยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ช่วยดำเนินการเรื่องเงินหมุนเวียนลงทุน ระหว่างที่กำลังสำรวจชาวนาที่ได้รับผลกระทบ

“ยืนยันว่า สถานการณ์ในภาพรวมไม่น่าเป็นห่วงในทุกจังหวัด แต่จะประเมินสถานการณ์เป็นรายวัน และการประกาศพื้นที่ภัยพิบัติ ให้ผู้ว่าราชจังหวัดแต่ละจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนการลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งนั้น เป็นคำสั่งของนายกรัฐมนตรีที่ให้กระทรวง กรม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกับเจ้าหน้าที่ทหารและส่วนต่างๆ ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด” นายอำนวยกล่าว

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

พณ.จัดเสวนาข้อห้ามกม.การค้าอาเซียน

กระทรวงพาณิชย์ จัดเสวนาให้ความรู้ข้อห้ามตามกฎหมายแข่งขันทางการค้าของประเทศอาเซียน

นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ ได้จัดการประชุมเสวนาให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมที่เป็นข้อห้ามตามกฎหมายแข่งขันทางการค้าของประเทศอินโดนีเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ และมาเลเซีย ซึ่งพบว่าประเทศไทยกำลังก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จะมีการเปิดเสรีทางการค้า การลงทุน เงินทุนและแรงงาน ทำให้ตลาดกว้างขึ้นเป็นตลาดทั้งภูมิภาคอาเซียน ไม่ได้ถูกจำกัดเฉพาะอาณาเขตของประเทศอีกต่อไป การขยายตลาดนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผู้ประกอบธุรกิจที่มีศักยภาพทางด้านเงินทุน เทคโนโลยี การบริหารจัดการ ที่มีความพร้อมที่จะไปลงทุนในประเทศต่างๆ ในอาเซียน นอกจากนี้ ผู้บริโภคยังได้รับประโยชน์จากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นในตลาดอีกด้วย

ดังนั้น การเตรียมความพร้อมให้แก่ภาคธุรกิจเพื่อรองรับการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยให้ผู้ประกอบธุรกิจรับทราบและเข้าใจกฎหมายการแข่งขันทางการค้าของประเทศสมาชิกประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนที่มีการบังคับใช้กฎหมายแล้ว ได้แก่ ประเทศอินโดนีเซีย เวียดนาม สิงคโปร์ และมาเลเซีย ได้เข้าใจว่าพฤติกรรมทางการค้าแบบใดที่เข้าข่ายเป็นพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดการผูกขาด กีดกัน การแข่งขัน และเข้าข่ายผิดตามกฎหมายเป็นเรื่องที่สำคัญและมีความจำเป็นต่อการประกอบธุรกิจ กรมการค้าภายใน จึงให้ความสำคัญในการเสริมสร้างความรู้และการตระหนักถึงการปฏิบัติตามกฎหมายของประเทศสมาชิกอาเซียนให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจอย่างต่อเนื่อง

จาก http://www.innnews.co.th   วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

'จักรมณฑ์' ชี้ราคาอ้อยต่ำสุดรอบ 6 ปี

รมว.อุตสาหกรรม ชี้ ราคาอ้อย ต่ำสุดรอบ 6 ปี รัฐบาลเตรียมจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกร ผ่านกองทุนอ้อย และน้ำตาลทราย

นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า สถานการณ์ราคาน้ำตาลในตลาดโลก ในขณะนี้ ถือว่าต่ำสุดในรอบ 5-6 ปี ซึ่ง ประเทศไทยมีกำลังการผลิต ประมาณ 11.3 ล้านตัน ต่อปี และเป็นผู้ส่งออกอันดับ 2 ของโลก ประมาณ 8 ล้านตัน ซึ่งได้รับผลกระทบ หลังจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัว และราคาน้ำมันในตลาดโลกตกต่ำ ซึ่งเป็นผลทำให้ต้นทุนของราคาสินค้าทั่วโลก และทำให้ราคาอ้อยตกต่ำตามไปด้วย ทำให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติในการให้ความช่วยเหลือเพิ่มค่าอ้อยแก่ชาวไร่อ้อย ที่จะส่งเข้าหีบในโรงงานน้ำตาล ฤดูกาลผลิต 2557/2558 ในอัตรา 160 บาท ต่อตัน ด้วยการให้กองทุนอ้อย และน้ำตาลทราย ลงนามในสัญญาเงินกู้กับทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) วงเงิน 16,953 ล้านบาท กำหนดชำระภายในวันที่ 18 เมษายน ปี 2560 คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 4.25 ต่อปี เพื่อนำไปกระจายรายได้ให้ชาวไร่อ้อยกว่า 153,676 ราย ซึ่งทางกองทุนอ้อย และน้ำตาล จะใช้รายได้จากการเรียกเก็บการจำหน่ายบริโภคในประเทศ 5 บาท ต่อกิโลกรัม เพื่อทยอยชำระเงินกู้ ซึ่งคาดว่า ในวันที่ 21 กรกฎาคม นี้ จะสามารถโอนเงินจ่ายให้เกษตรกรได้ทันที

จาก http://www.innnews.co.th   วันที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

ฝนตกโคราชไม่ทั่วฟ้า อ.ครบุรี ยังแล้งจัด อ้อยยืนต้นตายกว่า 100 ไร่

จ.นครราชสีมา ในพื้นที่ ต.โคกกระชาย ยังประสบปัญหาภัยแล้ง เนื่องจากฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ส่งผลให้ต้นอ้อยยืนต้นตายกว่า 100 ไร่ เพราะขาดน้ำ เกษตรกร เผย ถ้ายังแล้งแบบนี้ต่อไป พื้นที่ความเสียหายอาจเพิ่มมากขึ้น

เมื่อวันที่ 15 ก.ค. 58 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากสถานการณ์ฝนที่ตกลงมาในหลายพื้นที่ของ จ.นครราชสีมา อย่างต่อเนื่องนั้น ทำให้เกษตรกรบางพื้นที่ยิ้มได้ เพราะพืชผลทางการเกษตรได้รับน้ำ ฟื้นตัวหลังจากที่เหี่ยวเฉารอวันตาย แต่ที่ ต.โคกกระชาย อ.ครบุรี ยังประสบกับปัญหาภัยแล้ง ฝนทิ้งช่วงนาน ส่งผลทำให้ต้นอ้อยของเกษตรกรกว่าร้อยไร่ กำลังยืนต้นตายจากการขาดแคลนน้ำอย่างหนัก สภาพของต้นอ้อยนั้น ใบกลายเป็นสีน้ำตาลเข้ม และแห้งกรอบ

ด้าน น.ส.ณันธญา เพียงกระโทก อายุ 39 ปี เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย บ้านโคกใบบัว หมู่ที่ 7 ต.โคกกระชาย กล่าวว่า ในปีนี้สภาพอากาศในพื้นที่แห้งแล้งอย่างหนัก ฝนทิ้งช่วงยาวนานกว่าทุกๆ ปี ที่ผ่านมา ทำให้ต้นอ้อยที่เพิ่งทำการเพาะปลูกใหม่ รวมไปถึงอ้อยที่เพิ่งตัดตอไป เติบโตขึ้นมาได้เพียงเล็กน้อย ก็ต้องกลับมาตายลงจากปัญหาการขาดแคลนน้ำอย่างหนัก เกษตรกรหลายสิบรายก็กำลังต้องเผชิญกับปัญหาเดียวกัน บางแปลงอ้อยก็ยังพอที่จะทนไหวไปได้อีกสักระยะ บางรายก็แห้งเหี่ยวตายทั้งแปลง จนบางรายต้องตัดสินใจไถปลูกใหม่ทั้งหมด ประเมินในเบื้องต้นคาดว่า น่าจะมีต้นอ้อยที่แห้งเหี่ยวตายจากปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ ต.โคกกระชาย ไปแล้วไม่ต่ำกว่า 100 ไร่ และหากสถานการณ์ภัยแล้งยังเป็นอย่างนี้ต่อไป ฝนไม่ตกลงมาพอให้ต้นอ้อยฟื้นได้ พื้นที่ความเสียหายก็จะเพิ่มมากขึ้น และจะลุกลามไปยังพืช ชนิดอื่นๆ ที่เริ่มประสบปัญหาเช่นเดียวกัน.

จาก http://www.thairath.co.th  วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ส่งออกอาการหนักคาดติดลบ3.8%ต่ำสุดรอบ6ปี

นายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยการวิเคราะห์ทิศทางการส่งออกของไทยในครึ่งหลังปี 2558 ว่าการส่งออกในไทยในครึ่งปีหลังจะยังซบเซา และหดตัวต่อเนื่อง โดยคาดว่าจะอยู่ที่กรอบ -7.5% ถึง 0.4% หรือประมาณ -3.6% มีมูลค่าประมาณ 111,098 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดว่าส่งออกทั้งปี 2558 จะอยู่ที่กรอบ -1.8% ถึง -5.8% หรือประมาณ -3.8% โดยจะเป็นการติดลบ ต่อเนื่องกันเป็นปีที่ 3 และหดตัวมากที่สุดในรอบ 6 ปี มีมูลค่าประมาณ 218,896 ล้านเหรียญสหรัฐ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังมีทิศทางชะลอตัว เศรษฐกิจของจีนยังชะลอตัว ปัญหาเศรษฐกิจของกรีซ ขณะที่ส่วนแบ่งตลาดของไทยก็ลดลงจากเดิม รวมถึงราคาสินค้าเกษตรก็มีแนวโน้มลดลงด้วย

นายอัทธ์กล่าวอีกว่า การส่งออกทั้งปีของไทย การที่จะขยายตัวได้ 1% หรือแม้แต่ -1% ต้องยอมรับว่ายากที่จะเกิดขึ้น มีโอกาสเพียง 30% เท่านั้น เนื่องจากใน 5 เดือนแรกส่งออกไทยอยู่ที่ -4.2% ดังนั้นหากจะให้ส่งออกขยายตัวเป็นบวก 1% ไทยต้องมีอัตราขยายตัวการส่งออกใน 7 เดือนที่เหลือเป็นบวก 4.6% หรือมีมูลค่าการส่งออกเดือนละ20,158 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ทั้งนี้มีความเป็นไปได้ถึง 70% ที่ส่งออกไทยจะขยายตัวได้ -2% หรือต่ำกว่านั้น เพราะต้องยอมรับว่าเศรษฐกิจโลกมีผลต่อการส่งออกของไทยมาก การที่เศรษฐกิจโลกแย่ ส่งออกก็ได้รับผลกระทบโดยตรง รวมถึงปัญหาการให้ใบเหลือ IUU ของอียูก็มีผลเช่นกัน

“การชะลอตัวทางเศรษฐกิจจีนกระทบการส่งออกไทย เพราะไทยส่งออกไปจีนอันดับต้นที่มีสัดส่วนสูงถึง 11.0% หรือประมาณ 25,084 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2557 คาดว่า การชะลอตัวทางเศรษฐกิจของจีนจะส่งผลให้ไทยส่งออกไปจีนได้ลดลง เหลือ 23,222 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2558 ขณะที่ปัญหาเศรษฐกิจกรีซกระทบการส่งออกไทยไม่มาก เพราะไทยส่งออกไปกรีซเพียง 0.06% หรือประมาณ 130 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 4,222 ล้านบาท” นายอัทธ์ กล่าว

อย่างไรก็ตามการส่งออกของไทยในช่วงที่เหลือของปียังมีปัจจัยบวก ทั้ง เรื่องค่าเงินบาทอ่อนค่าลงจากต้นปี 3.02% หรือตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 34 บาทต่อเหรียญสหรัฐ แต่อาจมีผลดีต่อการส่งออกไม่มากนัก เพราะเงินบาทของไทยอ่อนค่าเป็นอันดับที่ 3 ของอาเซียน รองจากอินโดนีเซีย และมาเลเซีย รวมถึงการที่สหรัฐขยายเวลาให้สิทธิ์จีเอสพีแก่ประเทศไทย ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันส่งออกไปยังสหรัฐ ในสินค้า เช่น ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ อาหารปรุงแต่ง ถุงมือยาง เครื่องดื่ม ผลไม้ปรุงแต่ง เลนส์แว่นตา และชุดสายไฟ เป็นต้น ด้านราคามันที่ยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้ต้นทุนการผลิตของผู้ส่งออกลดลง แม้ว่าจะมีปัจจัยบวก แต่ก็ยังน้อยกว่าปัจจัยลบ ที่จะส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทย

ทั้งนี้คาดว่าส่งออกไทยจะเริ่มฟื้นตัวได้ตั้งแต่ต้นปีหน้าเป็นต้นไป เพราะในช่วงนั้นเศรษฐกิจโลกน่าจะมีทิศทางที่ดีขึ้น ขณะเดียวกันไทยก็ควรมีการรักษาระดับมูลค่าการส่งออกให้ขยายตัวได้ที่ระดับมูลค่า 210,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพราะจากนี้ในช่วง 5-10 ปี อัตราการขยายตัวของการส่งออกตัวเลขคงไม่ขยายตัวมาก เพราะการแข่งขันทางการค้าจะมีมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันไทยก็โดยแย่งส่วนแบ่งตลาดไปมาก โดยเฉพาะกลุ่ม CLMV ที่ได้ส่วนแบ่งตลาดมากขึ้น ซึ่งในปี 2557 ไทยมีส่วนแบ่งตลาดโลก 1.33% ลดลงจากปี 2556 ที่มีส่วนแบ่งตลาดในโลก1.36% ขณะที่กลุ่ม CLMV หรืออาเซียน(ใหม่) มีส่วนแบ่งตลาดโลกปี 2557 อยู่ที่ 1.12% เพิ่มขึ้นจาก 0.97 ในปี 2556 ดังนั้นไทยต้องมีการแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อส่งออก ทดแทนการส่งออกในรูปแบบเดิม และสินค้าอุตสาหกรรม ก็ต้องมีการใช้นวัตกรรม เพิ่มเทคโนโลยีลงไปด้วย

จาก http://www.naewna.com วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กรอ.แก้แอบทิ้งกากอันตรายขู่เข้มไม่ส่งข้อมูลงดต่อรง.

          กรมโรงงานฯออกกฎเข้มคุม 6.8 หมื่นโรงงาน ไม่ส่งข้อมูลกำจัดกากฯอันตราย ไม่ต่อใบรง.4 ให้ คาดเริ่มใช้สิ้นปีนี้ หวังแก้ปัญหาลักลอบทิ้งกากฯ 2 ล้านตันต่อปี พร้อมผุดนิคมฯกำจัดกากฯ ครบวงจร 6 แห่งรองรับ เล็งพื้นที่เป้าหมายในจังหวัดลำพูน นครราชสีมา ปราจีนบุรี ปทุมธานี อยุธยา และอ่างทอง ขณะที่เอกชนอย่างไออาร์พีซีและผาแดง สนใจลงทุนจัดตั้งนิคมแล้ว

          ดร.จุลพงษ์ ทวีศรี ผู้อำนวยการสำนักบริการจัดการกากอุตสาหกรรม กรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้กรอ.ได้จัดทำร่างประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการไม่ต่อใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานหรือรง.4 เพื่อส่งให้ ดร.อรรชกา สีบุญเรือง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมลงนาม ภายในเดือนกรกฎาคมนี้ และคาดว่าจะมีผลใช้บังคับกับโรงงานที่จะมาต่อใบอนุญาตรง.4 ตั้งแต่วันที่ 31 ธันวาคม 2558 เป็นต้นไปโดยประกาศดังกล่าวจะเป็นการคุมเข้มให้โรงงานที่มีอยู่ประมาณ 6.8 หมื่นแห่งทั่วประเทศ จะต้องแจ้งข้อมูลในการนำกากอุตสาหกรรมอันตรายไปกำจัดเพื่อใช้ประกอบการต่อใบอนุญาตทุกๆ 5 ปี หากรายใดไม่มีการแจ้งข้อมูลดังกล่าว ทางกรอ.จะไม่ต่อใบอนุญาตให้ โดยปีนี้คาดว่าจะมีโรงงานที่เข้ามาขอต่อใบอนุญาตประมาณ 1.2 หมื่นราย ซึ่งกรอ.จะพิจารณาข้อมูลของแต่ละโรงงานตั้งแต่ต้นปีนี้เป็นต้นมาว่ามีการส่งกากไปกำจัดตั้งแต่ต้นทางยันปลายทางถูกต้องหรือไม่ หากไม่มีการแจ้งมา ก็ถือว่าเข้าข่ายที่กรอ.จะไม่ต่อใบรง.4 ให้ หรือเท่ากับต้องปิดโรงงาน

          สำหรับการออกกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากขณะนี้พบว่ามีโรงงานที่แจ้งนำกากอุตสาหกรรมอันตรายไปกำจัดมีประมาณ 5.3 พันราย หรือคิดเป็นเพียง 7% ของโรงงานที่มีอยู่ โดยสามารถกำจัดกากได้ถูกวิธีมีเพียง 1 ล้านตันต่อปีเท่านั้น จากปริมาณกากอันตรายที่คาดว่ามีอยู่ประมาณ 3 ล้านตันต่อปี โดยในส่วน 2 ล้านตันที่เหลือนั้น คาดว่ามีการลักลอบนำไปทิ้งในที่สาธารณะหรือตามบ่อขยะชุมชน โดยกรอ.ตั้งเป้าหมายไว้ว่า ภายในระยะเวลา 5 ปี (2558-2562) จะสามารถให้โรงงานที่มีอยู่นำกากอุตสาหกรรมอันตรายเข้าระบบได้ทั้ง 100%

          ทั้งนี้ เมื่อกรอ.ผลักดันให้กากอุตสาหกรรมเข้าระบบได้ทั้งหมดแล้ว จำเป็นต้องหาสถานที่รองรับการกำจัดกากฯ ซึ่งทางกรอ.ก็ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่นหรือมิติ ส่งผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์หาพื้นที่ที่เหมาะสม ในการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตประกอบการจำนวน 6 แห่ง ทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้ผลการศึกษาได้ดำเนินการมาถึงครึ่งทางแล้ว และจะแล้วเสร็จในช่วงเดือนกันยายนปีนี้

          โดยผลการศึกษาเบื้องต้น พบว่าจังหวัดที่มีความเหมาะสมในการตั้งนิคมอุตสาหกรรมหรือเขตประกอบการกำจัดกากฯครบวงจรจะอยู่ใน 3 พื้นที่ ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในจังหวัดนครราชสีมา ภาคเหนือ จังหวัดลำพูน ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง ปราจีนบุรี  และภาคกลาง ในจังหวัดปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา และอ่างทอง ขณะที่กากอุตสาหกรรมไม่อันตราย พื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการตั้งนิคม จะอยู่ในจังหวัดลำปางและระยอง

          ทั้งนี้ พื้นที่ที่มีความเหมาะสมดังกล่าว ได้พิจารณาจากความสามารถในการกำจัดกากฯอันตรายของแต่ละจังหวัดอยู่ในขั้นต่ำ ต้องไปพึ่งที่อื่นๆแทน เช่น จังหวัดนครราชสีมามีกากฯ อันตรายประมาณ 1.26 หมื่นตัน แต่กำจัดได้เองเพียง 1 พันตันเท่านั้น ขณะที่จังหวัดลำพูนมีกากฯ 1.14 หมื่นตัน แต่กำจัดได้เอง 253 ตัน จังหวัดระยองมีกากฯ 3.03 แสนตัน แต่กำจัดได้เอง 4.2 หมื่นตัน จังหวัดปราจีนบุรี มีกากฯ 1.87 หมื่นตัน แต่กำจัดได้เอง 2.9 พันตัน ปทุมธานีมีกากฯ 4.6 หมื่นตัน แต่กำจัดได้ 1.6 หมื่นตัน พระนครศรีอยุธยา มีกากฯ 5.2 หมื่นตัน แต่กำจัดได้เอง 2 หมื่นตัน และอ่างทองมีกากฯ 2.39 หมื่นตัน แต่ไม่สามารถกำจัดกากฯ เองได้ ต้องส่งไปยังพื้นที่อื่นกำจัดให้แทน

          นายจุลพงษ์กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาที่ออกมาเป็นเพียงเบื้องต้นนั้น ซึ่งจะต้องรอผลการศึกษาที่สมบูรณ์อีกครั้งในเดือนกันยายนนี้ พื้นที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมกำจัดกากฯอาจจะมีการเปลี่ยนแปลงไปบ้าง เนื่องจากผลการศึกษาที่ออกมา ยังไม่ได้วิเคราะห์ถึงปริมาณกากอุตสาหกรรมที่เข้าระบบทั้ง 100% ซึ่งเมื่อผลการศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางกรอ.จะนำแผนดังกล่าวนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในช่วงปลายปีนี้ เพื่อสั่งการให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.) ไปพัฒนานิคมจัดการกากอุตสาหกรรมอย่างครบวงจรต่อไป โดยจะมีการพัฒนาใน 3 รูปแบบ ได้แก่ กนอ.เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด หรือกนอ.ร่วมลงทุนกับภาคเอกชน หรือให้เอกชนเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด โดยทั้ง 6 พื้นที่นี้ คาดว่าการลงทุนน่าจะดำเนินการได้ทั้ง 3 รูปแบบ

          สำหรับพื้นที่ที่จะใช้ตั้งนิคมอุตสาหกรรมกำจัดกากฯ นั้น คาดว่าจะมีตั้งแต่ 1 พันไร่ขึ้นไป ภายในแต่ละนิคม จะมีโรงงานเข้ามาตั้งในลักษณะที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดหรือประเภทของกากอุตสาหกรรม แต่หลักๆ จะมีโรงงานคัดแยกขยะ โรงงานรีไซเคิล เตาเผาขยะและผลิตไฟฟ้า ตลอดจนหลุมฝังกลบขยะ เป็นต้น ซึ่งขณะนี้มีเอกชนประมาณ 3-4 ราย แสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนจัดตั้งนิคม แล้ว เช่น บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด(มหาชน) จะจัดตั้งนิคมในจังหวัดระยอง เนื่องจากมีพื้นที่รองรับอยู่แล้ว และเป็นพื้นที่เป้าหมาย รวมถึงบริษัท ผาแดง อินดัสทรี จำกัด(มหาชน) แสดงความสนใจตั้งนิคมกำจัดกากฯในจังหวัดตาก เนื่องจากมีพื้นที่ที่ยังว่างอยู่ในบริเวณโรงงานผลิตสังกะสี นอกจากนี้ นักลงทุนจากญี่ปุ่นและจีน ก็แสดงความสนใจที่จะเข้ามาลงทุนเช่นกัน โดยมองว่าในช่วงต้นปีหน้า น่าจะเห็นการจัดตั้งนิคมเป็นรูปธรรมมากขึ้น

          ด้านนายพสุ โลหารชุน อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า ส่วนการจัดตั้งนิคมบริหารกำจัดกากอุตสาหกรรมครบวงจร ที่แต่เดิมมีแผนจะขอใช้พื้นที่ทหารประมาณ 1 หมื่นไร่นั้น ทางกระทรวงกลาโหมได้ดึงเรื่องออกไป เพื่อขอทบทวนโครงการไว้ก่อน ซึ่งมองว่า หากผลการศึกษาพื้นที่ที่มีความเหมาะสมในการตั้งนิคมทั้ง 6 แห่งออกมาแล้ว และมีพื้นที่ที่คาดว่าจะคาบเกี่ยวหรือต้องใช้พื้นที่ทหาร ก็คงจะต้องไปหารือกันอีกครั้ง และเป็นเรื่องที่รัฐบาลจะต้องตัดสินใจ

          ทั้งนี้ ในการจัดหาพื้นที่รองรับการกำจัดกากฯถือว่ามีความสำคัญ ในขณะที่นักลงทุนมีความพร้อมที่จะเข้ามาลงทุน โดยเฉพาะนักลงทุนจากญี่ปุ่นที่เป็นผู้นำและมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีในการกำจัดกากอุตสาหกรรมอยู่แล้ว เนื่องจากปัจจุบันญี่ปุ่นมีการนำขยะและกากอุตสาหกรรมมาเข้าเตาเผาและผลิตไฟฟ้ามีอยู่ 318 แห่ง ผลิตไฟฟ้าได้ถึง 1.75 พันเมกะวัตต์

          โดยทางมิติเอง ก็ให้ความช่วยเหลือกระทรวงอุตสาหกรรมในการพัฒนาระบบเตาเผาของเสียชุมชนและกากอุตสาหกรรมไม่อันตราย ขนาด 500 ตันต่อวัน ผลิตไฟฟ้าได้ 10 เมกะวัตต์ เงินลงทุนประมาณ 1.8 พันล้านบาท เป็นโครงการนำร่อง ซึ่งขณะนี้อยู่

จาก http://www.thanonline.com  วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เร่งเคาะที่ตั้งนิคมกากอุตสาหกรรมคาดสรุปได้ก.ย.นี้ 

          กระทรวงอุตฯ เร่งศึกษาพื้นที่กำจัดกากอุตสาหกรรมเพิ่มในภาคเหนือ-อีสาน-ตะวันออก คาดสรุปภายในเดือนกันยายนนี้ เผยผลศึกษาพบ 7 จังหวัดเป็นเป้าหมายตั้งนิคม

          นายปราโมทย์ วิทยาสุข ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในงานสัมมนา "แผนแม่บทสำหรับการจัดการกากอุตสาหกรรมในประเทศไทยช่วงปี 2558-2562" ว่าไทยมีความจำเป็นต้องเร่งศึกษาหาพื้นที่เหมาะสมรองรับกากอุตสาหกรรมที่จะเกิดขึ้นใน 20-30 ปีข้างหน้า โดยจากการศึกษาของกรมโรงงานอุตสาหกรรม และกระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมแห่งประเทศญี่ปุ่น หรือ METI ที่เริ่มตั้งแต่เดือนเมษายน 2558 จะสิ้นสุดเดือนกันยายน เบื้องต้นพบว่าไทยควรมีพื้นที่รองรับกากอุตสาหกรรมเพิ่ม 3 พื้นที่ ได้แก่ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก

          "แต่ละปีไทยมีกากอุตสาหกรรมอันตรายเพิ่มขึ้นปีละ 470,000 ตัน และกากอุตสาหกรรมไม่อันตรายเพิ่มขึ้นปีละ 8 ล้านตัน" นายปราโมทย์กล่าวและว่ามี 7 จังหวัดที่เหมาะสม ได้แก่ นครราชสีมา ลำพูน ระยอง ปราจีนบุรี ปทุมธานี อยุธยา และอ่างทอง ส่วนกากไม่อันตรายพื้นที่ที่เหมาะสม คือ ลำปางและระยอง

          ด้านนายพสุ โลหารชุน อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า รัฐบาลได้เน้นการแก้ปัญหาการลักลอบทิ้งกากอุตสาหกรรมเป็นวาระแห่งชาติ โดยคาดว่าปริมาณกากอุตสาหกรรมอันตรายจะอยู่ที่ 3 ล้านตันต่อปี และกากอุตสาหกรรมไม่อันตรายอยู่ที่ 50 ล้านตันต่อปี  โดยรายชื่อ 7 จังหวัดที่มีผลศึกษาออกมายังไม่ใช่ข้อสรุป คาดว่าจะสรุปได้ภายในเดือนกันยายนนี้

          นอกจากนี้ได้เตรียมออกประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมเกี่ยวกับการไม่ต่อใบอนุญาตให้โรงงานที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อดึงให้โรงงานทยอยเข้าสู่ระบบไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 ภายใน 5 ปี จากปัจจุบันไทยมีโรงงานนำกากอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบอย่างถูกต้อง 1 ล้านตัน จากปริมาณปีละ 3 ล้านตัน ส่วนกากไม่อันตรายเข้าระบบถูกต้องปีละ 13 ล้านตัน จากปริมาณกากไม่อันตรายทั้งหมด 50 ล้านตัน

          ทั้งนี้ ได้กำหนดแผนการทำงานเป็น 3 ระยะ ในการประเมินสถานภาพและประสิทธิภาพของโรงงานรับบำบัด/ กำจัด/ รีไซเคิลกาก ในอีก 5 ปี และ 10 ปีข้างหน้าเพื่อตอบโจทย์พื้นที่รองรับกากอุตสาหกรรมที่เหมาะสม

จาก http://www.komchadluek.net  วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

ระดมสมอง‘กูรู’ฝ่าวิกฤติแล้ง เดินหน้าแก้ปัญหาเกษตรกรแบบเจาะลึกทุกมิติ 

นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์เปิดเผยว่า สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ได้จัดการเสวนา “ทางออกเกษตรกรไทย ฝ่าวิกฤติภัยแล้ง” เพื่อระดมความคิดเห็นและรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ที่เกี่ยวข้องด้านการผลิต นโยบาย การวางแผนการบริหารจัดการน้ำ ในการหาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบกับภาวะภัยแล้งของการเพาะปลูกข้าวนาปี ปี 2558/59 ซึ่งที่ผ่านมารัฐบาลตระหนักถึงปัญหาและความเดือดร้อนของเกษตรกรโดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยกระทรวงเกษตรฯ ได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ที่ประสบภัยแล้ง เช่น งดเพาะปลูกข้าวนาปี และการปรับเปลี่ยนพืชที่จะทำการเพาะปลูกเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย อายุสั้น และเป็นพืชที่มีตลาดรองรับ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และพืชตระกูลถั่ว รวมทั้งปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกข้าวไปทำการเกษตรผสมผสาน เพื่อลดความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับผลผลิตข้าวนาปี และ ได้นำเสนอมาตรการดังกล่าวต่อที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจแล้ว เมื่อวันที่ 24 มิถุนายนที่ผ่านมา

นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการ สศก. กล่าวเสริมว่า วิกฤติภัยแล้งซึ่งเป็นผลจากอิทธิพลของปรากฏการณ์เอลนีโญ่ ส่งผลให้ฝนทิ้งช่วงหรือฝนตกน้อยในเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม 2558เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตร รัฐบาลโดยกระทรวงเกษตรฯ ได้จัดทำมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ดังกล่าว เช่น รณรงค์งดการเพาะปลูกข้าวนาปี ปรับเปลี่ยนพืชที่จะทำการเพาะปลูกเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย อายุสั้น และเป็นพืชที่มีตลาดรองรับ รวมทั้งปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกไปเป็นเกษตรผสมผสาน เพื่อลดความเสียหายที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับผลผลิตข้าวนาปี ซึ่งการจัดเสวนาครั้งนี้ สศก. ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีชื่อเสียงมาร่วมให้ข้อคิดเห็น และข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น คือ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ ที่จะมากล่าวถึงผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำต่อเศรษฐกิจและสังคมการเกษตร ผศ.ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ กับเรื่องของเทคโนโลยีในการติดตามและประเมินผลสภาวะภัยแล้ง ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต ที่จะมาให้ข้อเสนอแนะที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่องภัยพิบัติจากภัยแล้ง ภายใต้อิทธิพลของ เอลนีโญ่ และลานีญา ในระยะยาว รวมถึง ดร.ทองเปลว กองจันทร์ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำ กรมชลประทาน กับเรื่องของข้อจำกัดของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ส่งผลกระทบต่อการบริหารจัดการน้ำในมิติต่างๆ และอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กับมาตรการแก้ไขปัญหาการทำการเกษตรในภาวะภัยแล้งเพื่อบรรเทาผลกระทบ

นอกจากนี้ ยังมีผู้แทนเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร ที่จะมาร่วมกันระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับการรับรู้ภัยแล้งที่เกิดขึ้น ความต้องการความจำเป็นขั้นพื้นฐานจากภาครัฐของเกษตรกร/สถาบันเกษตรกร การสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อรับรู้ภัย และกิจกรรมการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์เพื่อช่วยเหลือสมาชิกเมื่อประสบภัย ซึ่งคาดว่าการเสวนาครั้งนี้ จะเป็นกุญแจสำคัญเพื่อหาทางออกร่วมกันในการแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าวนาปีที่ประสบกับภัยแล้ง โดย สศก. จะมีการนำเสนอผลการเสวนาให้ทราบในระยะต่อไป

จาก http://www.naewna.com วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

กรมชลย้ำ4เขื่อนหลักเหลือน้ำน้อย

ส่วนประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ว่า จากข้อมูลเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม เขื่อนภูมิพล จ.ตาก มีปริมาณน้ำ 3,959 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) หรือคิดเป็นร้อยละ 29 ของความจุ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 159 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ มีปริมาณน้ำ 3,180 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 33 ของความจุ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 330 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน จ.พิษณุโลก มีปริมาณน้ำ 100 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 11 ของความจุ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 57 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี มีปริมาณน้ำ 44 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 5 ของความจุ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 41 ล้าน ลบ.ม. รวมทั้ง 4 เขื่อนหลักของลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกันประมาณ 587 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่น้อยมาก คงเหลือน้ำไว้ใช้สำหรับการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศน์เท่านั้น

สำหรับในพื้นที่ที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำในการผลิตน้ำประปา โดยเฉพาะในพื้นที่จ.ลพบุรี นั้น เนื่องจากระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่ต่ำกว่าระดับปากคลองส่งน้ำชัยนาท–ป่าสัก ทำให้น้ำไม่สามารถไหลเข้าคลองได้ สำนักชลประทานที่ 10 จึงได้ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำ เพื่อสูบน้ำจากแม่น้ำเจ้าพระยา ลงสู่คลองชัยนาท-ป่าสัก พร้อมระดมเครื่องจักรเครื่องมือ เข้าไปเปิดทางน้ำให้น้ำไหลเข้าคลองส่งน้ำสะดวกมากขึ้น พร้อมขอความร่วมมือจากพื้นที่ต้นคลองให้งดสูบน้ำ เพื่อให้ปริมาณน้ำไหลลงสู่พื้นที่ตอนล่าง ให้สามารถสูบน้ำผลิตน้ำประปาได้ตามปกติ

จาก http://www.naewna.com วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

รมว.เกษตรฯย้ำฝนน้อยจัด เร่งช่วยเหลือพื้นที่เกษตรลุ่มน้ำเจ้าพระยา 7 ล้านไร่

ณ ตึกนารีสโมสร ทำเนียบรัฐบาล นายปิติพงษ์ พึ่งบุญ รมว.กระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ ได้แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี กรณีการบริหารจัดการน้ำซึ่งกำลังประสบปัญหาวิกฤตขณะนี้ว่า จากปริมาณฝนตกในปีนี้ต่ำกว่าปกติถึง 50% ไม่เคยเป็นแบบนี้มานานหลายปี แม่ว่าเดือน มิ.ย. จะมีฝนตกบ้างแต่ก็น้อยมาก ทางกรมชลประทานจึงต้องปรับปริมาณการจัดส่งน้ำ เพราะนอกจากจะต้องจัดสรรให้มีน้ำอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอแล้ว ยังต้องคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้วย เนื่องจากต้องรักษาสมดุลน้ำทะเล จำเป็นต้องปล่อยน้ำออกปากอ่าวบ้าง มิเช่นนั้นระบบนิเวศและการประมงจะเสียหาย ส่วนน้ำที่ใช้ในกรุงเทพมหานครส่วนใหญ่มาจากแม่น้ำเจ้าพระยาและปริมาณน้ำฝนในปีนี้ก็น้อยมาก ทำให้เกิดปัญหาน้ำอุปโภคบริโภคที่แม้จะเกิดขึ้นบ้างก็เกิดเป็นบางพื้นที่ ทางการประปาก็เร่งแก้ไขปัญหานี้อยู่

นายปิติพงษ์กล่าวอีกว่า จากการประเมินหลังจากที่รัฐบาลที่นโยบายปลูกข้าว ไปตั้งแต่ 1 เม.ย. พบว่าตอนนี้ใกล้สู่ฤดูเก็บเกี่ยวแล้ว ในส่วนพื้นที่ที่ไม่ได้ทำนาปรัง แต่เป็นการทำนาประจำปี โอกาสเสียหายมีน้อยมาก ส่วนปัญหาในบริเวณทุ่งนาลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ประมาณ 3.4 ล้านไร่นั้น ทางการได้ส่งเจ้าหน้าที่ไปทำการสำรวจแล้ว พบว่าผู้ที่เพาะปลูกข้าวในเดือน เม.ย.จะไม่ได้รับความเสียหายมากนัก แต่ถ้าเลยช่วงนั้นไปแล้ว โอกาสเสี่ยงจะไม่มีน้ำเพื่อการเกษตรก็มีมาก

รมว.กระทรวงการเกษตรฯ กล่าวว่า ในการบริหารจัดการน้ำในช่วงเวลาวิกฤต การจะวางการบริหารจัดการน้ำต้องคิดถึงสภาพน้ำและเวลาที่ฝนจะตก ซึ่งตอนนี้ทางรัฐบาลสามารถคาดการณ์ได้ถึง ส.ค.เท่านั้น เราไม่สามารถไปกำหนดฟ้าฝนได้ ซึ่งพื้นที่ 7 ล้านไร่ ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะจังหวัดสุโขทัย และพิษณุโลก เราก็จะเร่งช่วยเหลืออย่างเต็มที่

จาก http://www.prachachat.net    วันที่ 14 กรกฎาคม 2558

ครม.ปรับลดปริมาณการปล่อยน้ำ สั่งผู้ว่าฯ-ทหารสำรวจช่วยเหลือ

พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย เปิดเผยถึงสถานการณ์ภัยแล้งในขณะนี้ว่า ภสยหลังจากที่รัฐบาลพิจารณาปริมาณน้ำที่เหลืออยู่ทั้งด้านการอุปโภคบริโภคและภาคการเกษตรพบว่า ปริมาณขณะนี้มีไม่เพียงพอ จึงต้องมีการบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค และการใช้น้ำเพื่อผลักดันน้ำเค็ม โดยคาดว่าฝนจะตกอีกครั้งในช่วงเดือนสิงหาคม จึงต้องมีการลดการปล่อยน้ำ จาก 28 ล้านลูกบาศก์เมตร เหลือ 18 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคมนี้ เป็นต้นไป  โดยขอความร่วมมือเกษตรกรงดการทำเกษตรกรรมโดยเฉพาะในลุ่มน้ำเจ้าพระยา เนื่องจากรัฐบาลไม่สามารถส่งน้ำให้ได้ โดยมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และทหารตำรวจชี้แจงทำความเข้าใจกับเกษตรกร

“ในปลายเดือนนี้ฝนจะทิ้งช่วง ซึ่งเป็นช่วงวิกฤตของชาวนา รัฐบาลจึงสั่งการให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และทหารสำรวจพื้นที่ เพื่อประเมินและติดตามผลจากการบริหารจัดการน้ำในนา ไร่ สวน และภาคการประมง ว่ามีสภาพเป็นอย่างไร เพื่อเตรียมการช่วยเหลือ”

พล.อ.อนุพงษ์ กล่าวด้วยว่า การประปานครหลวงยืนยันว่าการจ่ายน้ำประปาจะไม่มีปัญหา แต่สำหรับประปาภูมิภาคอาจมีปัญหาในบางจุดซึ่งต้องมีแหล่งน้ำเสริม ส่วนประปาหมู่บ้านมีกระทรวงมหาดไทยดูแลอยู่แล้ว ขณะที่พื้นที่แล้งซ้ำซากและมีปัญหาขาดแคลนน้ำจะให้มีหน่วยงานนำน้ำไปส่งในพื้นที่

จาก http://www.naewna.com   วันที่ 14 กรกฎาคม 2558

วิกฤติภัยแล้ง ปัจจัยเสี่ยงและโอกาสสำหรับธุรกิจเกษตรไทย:EIC

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ    บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์หรืออีไอซีออกบทวิเคราะห์"วิกฤติภัยแล้ง ปัจจัยเสี่ยงและโอกาสที่ควรจับตามองสำหรับธุรกิจเกษตรไทย"

Highlight

สถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันถือเป็นภัยแล้งนอกฤดูกาล (ภัยแล้งช่วงหน้าฝน) เป็นผลมาจากปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนต่ำประกอบกับภาวะฝนทิ้งช่วง เนื่องจากอิทธิพลของเอลนีโญ (El Nino) ที่กำลังเกิดขึ้น ทำให้ข้าวนาปีซึ่งมีฤดูกาลเพาะปลูกในช่วงนี้ได้รับผลกระทบมากที่สุด ปัจจัยเสี่ยงที่ควรจับตามอง คือ ถ้าหากฝนไม่ตกตามที่คาดการณ์ไว้ในช่วงสิงหาคมถึงกันยายน จะส่งผลให้ภาคการเกษตรได้รับผลกระทบอย่างหนัก มีความเสี่ยงที่การขยายตัวของเศรษฐกิจจะปรับลดลงราว 0.4% ทั้งนี้ทั่วโลกก็ได้รับผลกระทบจาก El Nino เช่นกัน ซึ่งจะส่งผลดีต่อราคาข้าวที่จะมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย

 สถานการณ์ภัยแล้งในปัจจุบันเป็นผลมาจากปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนหลายแห่งต่ำ ประกอบกับภาวะฝนทิ้งช่วงเนื่องจากอิทธิพลของ El Nino ที่กำลังเกิดขึ้น จากข้อมูลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2015 ล่าสุดมีพื้นที่ประสบภัยแล้วกว่า 20 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งอยู่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ เช่น จังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ตาก น่าน ลพบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น ชัยภูมิ สกลนคร อำนาจเจริญ สุรินทร์ เป็นต้น เนื่องจากภัยแล้งนี้เกิดขึ้นช่วงกลางฤดูฝน คือ ตั้งแต่กลางเดือน มิ.ย. – ก.ค. โดยรับอิทธิพลจากความแปรปรวนสภาพภูมิอากาศโลก จึงเรียกอีกนัยหนึ่งว่าเป็น “ภัยแล้งนอกฤดูกาล” ซึ่งภัยแล้งในลักษณะปัจจุบัน ทำให้ปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศต่ำกว่าค่าปกติราว 46%[1] และปริมาณน้ำต้นทุนทั้งประเทศค่อนข้างต่ำอยู่ที่ราว 45% ของปริมาณความจุเขื่อนทั้งประเทศ[2]

 จังหวัดในแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน เป็นพื้นที่ต้องเผชิญกับภาวะภัยแล้งในระดับที่รุนแรงมากกว่าพื้นที่ในแถบลุ่มน้ำอื่นๆ ถึงแม้ว่าปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนหลักแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา – ท่าจีน (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) จะเหลืออยู่ราว 7.7 พันล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งปรับตัวลดลงจากปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกันเพียงแค่ 2% แต่ปริมาณน้ำที่ใช้การได้จริงเหลืออยู่เพียงแค่ 4% ของปริมาณความจุเขื่อน โดยหากใช้แผนการจัดสรรน้ำรายวันแบบเดิมที่ระบายน้ำอยู่ที่ 31-33 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน จะสามารถระบายน้ำได้อีกแค่เพียงราว 32 วัน (รูปที่1) เป็นผลให้กรมชลประทานปรับลดแผนการจัดสรรน้ำรายวันลง 25% จากแผนเดิม โดยปรับลดปริมาณการระบายน้ำเพื่อใช้ในภาคการเกษตรไปราว 5 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน เพื่อยืดระยะเวลาการระบายน้ำให้สามารถระบายน้ำได้ถึงช่วงต้นเดือนสิงหาคม

ข้าวนาปีเป็นพืชที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งมากที่สุดเนื่องจากตรงกับฤดูกาลเพาะปลูก (รูปที่2) จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรฯและข้อมูลพื้นที่ประสบภัยแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน พบว่ามีเนื้อที่เพาะปลูกข้าวนาปีราว 7 ล้านไร่ โดยปัจจุบันมีการเพาะปลูกไปแล้วราว 50% และยังไม่ได้เพาะปลูกอีกราว 50% เป็นผลให้รัฐบาลประกาศให้เกษตรกรข้าวนาปีในกลุ่มที่ยังไม่ได้ทำการเพาะปลูกชะลอการปลูกข้าวนาปีออกไปจนถึงช่วงต้นเดือนสิงหาคมแทน เนื่องจากรัฐบาลคาดว่าปริมาณฝนจะเริ่มตกมากขึ้นในช่วงเดือน ส.ค. – ก.ย. เพื่อเป็นการลดมูลค่าความเสียหายจากการเพาะปลูกข้าวนาปีในช่วงนี้ อย่างไรก็ดี จากการปรับลดแผนการจัดสรรน้ำรายวันลง ส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีที่ทำการเพาะปลูกไปแล้วมีความเสี่ยงที่จะเสียหายราว 8.6 แสนไร่ คิดเป็น 1.5% ของผลผลิตข้าวทั้งประเทศ มีมูลค่าความเสี่ยงผลผลิตที่จะเกิดความเสียหายราว 3,800 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวนาปีแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา สำหรับด้านการส่งออกข้าว อีไอซีมองว่าจะไม่รับผลกระทบจากมูลค่าความเสี่ยงที่จะเสียหายดังกล่าว เนื่องจากสต็อกข้าวของรัฐบาลยังอยู่ในระดับสูง

 รัฐบาลมีมาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง 3 มาตรการ ได้แก่ 1) ให้ชะลอการเพาะปลูกข้าวนาปีออกไปเป็นช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย. 2) สนับสนุนให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยแทนการปลูกข้าวนาปี 3) ร่วมมือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในการจัดหาทุนให้กับเกษตรกรที่ต้องการเปลี่ยนไปปลูกพืชผลเกษตรอื่น นอกจากนี้รัฐบาลยังได้อนุมัติฯ งบประมาณ 84 ล้านบาทสำหรับการขุดเจาะน้ำบาดาลเพิ่มในแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน จำนวน 500 บ่อ คาดว่าจะสามารถช่วยพื้นที่เพาะปลูกที่ทำการเพาะปลูกไปแล้วได้ราว 1-1.3 แสนไร่ ซึ่งมีโอกาสให้มูลค่าความเสี่ยงผลผลิตที่จะเสียหายลดลงเหลือราว 3,400 ล้านบาท มาตรการที่ใช้ในปัจจุบันจะสามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้ในระยะสั้น สำหรับในระยะยาวรัฐบาลควรมีมาตรการที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถปรับตัวเพื่อรับมือกับสภาวะภัยแล้งได้อย่างยั่งยืน เนื่องจากประเทศไทยประสบปัญหากับการเกิดภัยแล้งเป็นประจำทุกปี เช่น ผลักดันให้เกิดโครงสร้างการเพาะปลูกที่เหมาะสมโดยให้เกิดเป็นรูปธรรมในแต่ละพื้นที่ สนับสนุนให้เกษตรกรเรียนรู้ถึงวิธีการเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ ที่เหมาะกับสภาพภูมิอากาศในแต่ละช่วงจังหวะ รวมถึงมีการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบและยั่งยืน เป็นต้น

 สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ควรจับตามอง คือ หากชะลอการปลูกข้าวนาปีแล้วแต่ฝนกลับไม่ตกตามที่คาดการณ์ไว้ ในกรณีดังกล่าวนอกจากข้าวนาปีแล้ว พืชชนิดอื่นก็จะได้รับผลกระทบที่ตามมาเช่นกัน เช่น ข้าวนาปรัง อ้อย และมันสำปะหลัง จากข้อมูลกรมอุตุฯ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2015 มีความน่าจะเป็นมากกว่า 90% ที่จะเกิดปรากฏการณ์ El Nino ตลอดทั้งปี 2015 และมากกว่า 85% ที่จะเกิดต่อเนื่องถึงฤดูหนาวปี 2016 ซึ่งสถานการณ์ที่ปริมาณฝนจะไม่เพิ่มขึ้นตามช่วงเวลาที่คาดการณ์ไว้นั้น มีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงที่จะเกิดขึ้นได้ ส่งผลให้ผลผลิตพืชชนิดอื่นๆ นอกเหนือจากข้าวนาปี มีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลดลงตามไปด้วย เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกพืชต่างๆ จะได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้น เช่น ข้าวนาปรัง อ้อยและมันสำปะหลัง เป็นต้น เนื่องจากในช่วงสิ้นปีข้าวนาปรังจะถึงฤดูกาลเพาะปลูก มีความเสี่ยงที่พื้นที่เพาะปลูกจะเสียหาย ส่วนอ้อยและมันสำปะหลังที่มีการเพาะปลูกไปแล้ว มีความเสี่ยงที่ผลผลิตต่อไร่ (Yield) จะปรับลดลง เนื่องจากปริมาณฝนไม่เพียงพอ โดยสถานการณ์นี้จะคล้ายคลึงกับวิกฤตภัยแล้งที่เคยเกิดขึ้นในช่วงปี 2005 ที่ปริมาณฝนตกน้อยกว่าค่าปกตินานจนถึงสิ้นปี ซึ่งเป็นปีที่ปัญหาภัยแล้งมีความรุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปี (รูปที่3) จากการประเมินผลผลิตสินค้าเกษตรที่เสียหายของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรในช่วงเวลาดังกล่าว คิดมูลค่าความเสียหายผลผลิตสินค้าเกษตรที่ได้รับผลกระทบอยู่ที่ราว 16,000 ล้านบาท อีไอซีมองว่าหากสถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริงในปี 2015 ผลกระทบที่ตามมาจะรุนแรงยิ่งกว่าสถานการณ์ที่เกิดในช่วงปี 2005

หากเกิดฝนตกทิ้งช่วงต่อเนื่อง พื้นที่ที่ชะลอการปลูกข้าวนาปีในแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน และพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ควรจับตามองเป็นพิเศษ เนื่องจากพื้นที่ที่ชะลอการปลูกข้าวนาปีมีความเสี่ยงจะเสียหายอีกราว 3.45 ล้านไร่ หากฝนไม่ตกตามช่วงที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการสูญเสียรายได้ของเกษตรกรที่ชะลอการปลูกข้าวนาปีคิดมูลค่าความเสี่ยงที่จะเสียหายราว 16,500 ล้านบาท อีกทั้งพื้นเพาะปลูกข้าวนาปีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่นอกเขตชลประทานมากถึงราว 75% ของพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีและส่วนใหญ่ทำการเพาะปลูกไปแล้ว ประเมินผลผลิตข้าวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ทำการเพาะปลูกนอกเขตชลประทานอยู่ที่ราว 90,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นผลผลิตข้าวราว 8.6 ล้านตัน (ราว 1 ใน 3 ของผลผลิตข้าวทั้งประเทศ) ซึ่งหากพื้นที่ประสบภัยขยายวงกว้างกระทบพื้นที่เพาะปลูกภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยให้มีการปรับตัวลดลงด้วย

 อีไอซี มองว่าอิทธิพลของ El Nino ก็ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศของประเทศคู่แข่งหลักด้านธุรกิจเกษตร ซึ่งส่งผลบวกต่อราคาสินค้าเกษตรไทย ผลมาจากอิทธิพล El Ninoที่กำลังเกิดขึ้นไม่ได้ส่งผลกระทบเพียงแค่ประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบกระจายตัวไปทั่วโลก(รูปที่4)ซึ่งครอบคลุมประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรหลักอื่นๆ ด้วย เช่น อินเดีย (ข้าว) ฟิลิปปินส์(ข้าว) ออสเตรเลีย(น้ำตาล) และบราซิล(น้ำตาล) เป็นต้น ดังนั้น ทำให้ปริมาณผลผลิตข้าวของประเทศผู้ผลิตหลักอื่นๆ คาดว่าจะปรับตัวลดลง ส่งผลให้เกิดแรงกดดันต่อปริมาณอุปทานข้าวให้ออกสู่ตลาดโลกน้อยลง และเป็นปัจจัยหนุนให้ราคาของข้าวในตลาดโลกมีโอกาสที่จะปรับตัวดีขึ้นจากช่วงที่ผ่านมา แต่เนื่องจากปริมาณสต็อกข้าวในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูง อาจจะส่งผลให้ราคาข้าวปรับตัวขึ้นเพียงเล็กน้อย

Implication

ผลผลิตทางการเกษตรที่น้อยลง จะกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้ปรับตัวลดลงเช่นกัน ผลผลิตข้าวนาปีที่ลดลง จะส่งผลให้เกษตรกรข้าวนาปีและผู้ประกอบสินค้าเกษตรที่เกี่ยวข้อง เช่น ปุ๋ย ยากำจัดศัตรูพืช และอุปกรณ์ทางการเกษตรต่างๆ มีรายได้ลดลงตาม อย่างไรก็ดี ผลกระทบดังกล่าวน่าจะมีไม่มากนัก หากฝนตกตามช่วงเวลาที่คาดการณ์ไว้ ผลผลิตข้าวนาปีอาจเสียหายเล็กน้อยเพียง 1-2% ของผลผลิตข้าวทั้งประเทศ แต่ถ้าฝนไม่ตกตามที่คาดการณ์ไว้ จะส่งผลกระทบค่อนข้างรุนแรงต่อภาคการเกษตร เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรจะลดน้อยลงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวนาปีที่มีความเสี่ยงจะเสียหายมากกว่า 30% ของผลผลิตข้าวทั้งประเทศ ส่งแรงกดดันให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลดลงราว 0.4%

 ผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ควรเตรียมพร้อมและวางแผนรับมือกับสถานการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ไว้ล่วงหน้าอยู่เสมอ พืชบางชนิด เช่น ข้าว ราคาอาจปรับตัวสูงขึ้นจากผลผลิตในประเทศที่ลดลง ซึ่งจะกระทบต่อธุรกิจที่ต้องใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบ เนื่องจากต้นทุนจะเพิ่มขึ้นตาม หากผู้ประกอบการที่ไม่สามารถปรับราคาสินค้าให้สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของต้นทุน จะส่งผลให้อัตราการทำกำไรของผู้ประกอบการลดลงได้ ดังนั้น แผนการลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การลดความสูญเสียวัตถุดิบในระหว่างการผลิต รวมถึงการมองหาแหล่งนำเข้าวัตถุดิบใหม่จากต่างประเทศเป็นแผนการที่ควรจัดเตรียมให้พร้อมอยู่เสมอ อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้าเกษตรควรมีกลยุทธ์ที่ดีในการบริหารสินค้าคงเหลือ เนื่องจากอาจมีสัญญาณบวกเกิดขึ้นกับประเทศไทยได้เสมอ และเมื่อจังหวะที่เหมาะสมมาถึงจะช่วยสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถทำกำไรเพิ่มขึ้นได้จากช่วงที่ผ่านมา

จาก http://www.thanonline.com  วันที่ 14 กรกฎาคม 2558

ก.พลังงาน-ธ.ก.ส.หนุนเกษตรกรใช้เทคโนโลยีพลังงานลดต้นทุน   

กระทรวงพลังงานจับมือ ธ.ก.ส.จัดงานบ้านทุ่งสัญจร เดินสายสนับสนุนการเงิน และเทคโนโลยีพลังงานช่วยเกษตรกรสู้ภาวะภัยแล้ง ลดภาระค่าใช้จ่ายโดยเฉพาะการติดตั้งแสงอาทิตย์เพื่อใช้ในกระบวนการสูบน้ำ นำร่อง 19-21 ก.ค. ที่ จ.บุรีรัมย์ 

                นายทวารัฐ สูตะบุตร รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงได้ร่วมมือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดงานพลังงานบ้านทุ่งสัญจรเพื่อสนับสนุนความรู้ เทคโนโลยีพลังงานชุมชน โดยเฉพาะการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ในกระบวนการสูบน้ำเพื่อใช้ในการเกษตรซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในการใช้น้ำมันได้ค่อนข้างมากโดยเฉพาะในช่วงราคาน้ำมันแพง ซึ่งกระทรวงฯ ได้วางงบประมาณปี 2558 เพื่อจัดนิทรรศการและเดินสายให้ความรู้แก่เกษตรกรถึงแนวทางดังกล่าว 20 ล้านบาท      

        “แต่ก่อน ธ.ก.ส.เกรงว่าจะมีความเสี่ยงในการปล่อยกู้ แต่ตอนนี้เราได้ร่วมมือกันในการดำเนินงานแล้วก็จะทำให้ช่องทางการกู้เงินให้แก่เกษตรกรง่ายขึ้น โดยหากติดตั้งก็จะใช้เงินลงทุนต่อราย 1 แสนบาท ระยะคืนทุนประมาณ 1 ปีเท่านั้น โดยปี 2558 จะจัดจำนวน 2 ครั้ง ระหว่าง 19-21 ก.ค. ที่ จ.บุรีรัมย์ ครั้งที่ 2 ช่วงเดือน ส.ค. ที่ จ.นครราชสีมา และจะสานต่อในปีงบประมาณ 2559       

        นายสุรพงศ์ นิลพันธุ์ ผู้ช่วยผู้จัดการ ธ.ก.ส. กล่าวว่า วันที่ 14 ก.ค. ธ.ก.ส.ได้อนุมัติแผนช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยแล้งระยะสั้นและยาว รวมวงเงิน 6 หมื่นล้านบาท ในส่วนของสินเชื่อเพื่อจัดซื้อแผงพลังงานแสงอาทิตย์ สินเชื่อระยะยาวเพื่อปรับปรุงระบบการผลิต เช่น เพื่อประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาแหล่งน้ำ ปรับเปลี่ยนไปสู่การผลิตใหม่ที่เหมาะสม วงเงิน 3 หมื่นล้านบาท ระยะเวลาโครงการ 3 ปี (15 ก.ค. 58-31 ก.ค. 61) หรือปีละ 1 หมื่นล้านบาท วางเป้าหมายเกษตรกร 3 แสนราย วงเงินกู้รายละไม่เกิน 1 แสนบาท ระยะเวลาชำระคืน 10 ปี ดอกเบี้ย 5% (MRR-2%)

จาก http://www.manager.co.th   วันที่ 14 กรกฎาคม 2558

กรมชลประทาน วางแผนบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อการอุปโภค-บริโภค หลังพบน้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ยังมีน้อย

รองอธิบดีกรมชลประทาน วางแผนบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอต่อการอุปโภค-บริโภค หลังพบน้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ มีปริมาณน้อย

นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงปริมาณน้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่งทั่วประเทศไทย ว่า ปัจจุบันเหลือน้ำใช้เพียง 8,500 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 18 แม้ช่วงนี้จะมีฝนตกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนบน แต่พบว่าปริมาณน้ำยังน้อย เช่น เขื่อนภูมิพลและสิริกิติ์ เพราะปริมาณน้ำไม่ไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ รวมถึงไหลเข้าอ่างเก็บน้ำน้อยกว่าที่ใช้ทุกวัน โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยายังน่าเป็นห่วง ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้วางแผนบริหารจัดการน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคในพื้นที่ 22 จังหวัด รวมทั้งวางแผนยืดเวลาการใช้น้ำไม่ให้ขาดแคลน และวันนี้ (14 ก.ค.) จะเสนอปรับลดการระบายน้ำใน 4 เขื่อนหลัก ได้แก่ ภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยบำรุงแดน และป่าสักชลสิทธิ์ ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณา ส่วนที่นักวิชาการบางส่วนเสนอแนวคิดปันส่วนน้ำ เพื่อให้เพียงพอกับการใช้อุปโภคบริโภค รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวอีกว่า เป็นอีกวิธีที่สามารถประหยัดน้ำได้ แต่วิธีที่ดีที่สุดคือประชาชนและเกษตรกร ต้องช่วยกันประหยัดน้ำ เพื่อให้มีเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค

จาก http://thainews.prd.go.th  วันที่ 14 กรกฎาคม 2558

ธนาคารปุ๋ยแห่งแรกในภาคเหนือ เน้นลดปัญหาการเผาในไร่นา

เชียงใหม่ - เปิดธนาคารปุ๋ยอินทรีย์แห่งแรกในภาคเหนือ เพื่อให้เกษตรกรนำเศษวัชพืช มาแลกปุ๋ยอินทรีย์ นำไปบำรุงดิน ปรับโครงสร้างดิน และเพิ่มธาตุอาหารแก่พืช

               นายอภิชาต จงสกุล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดโครงการธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ ขึ้นที่บ้านแม่ฮักพัฒนาเฉลิมพระเกียรติ หมู่ 11 ตำบลหนองแหย่ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นแห่งแรกในภาคเหนือมุ่งเน้นให้เกษตรกรนำเอาเศษวัสดุเหลือใช้ในไร่นาในครัวเรือน และจากโรงงานอุตสาหกรรม มาฝากไว้ที่ธนาคาร จากนั้นธนาคารจะทำการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ให้เกษตรกรมาเบิก-ถอนเอาไปใช้ประโยชน์ เมื่อวัสดุนั้นย่อยสลายเป็นปุ๋ยแล้ว หรือให้เกษตรกรกู้ยืมปุ๋ย จากธนาคารไปใช้แล้ว ให้ใช้หนี้ด้วยการนำวัสดุเหลือใช้จากไร่นา ขยะมูลฝอย เศษซากพืชจากโรงงานอุตสาหกรรม หรือปุ๋ยคอกมาชำระหนี้

               อย่างไรก็ตามการทำปุ๋ยหมักกรมพัฒนาที่ดินได้น้อมนำปุ๋ยหมักสูตรพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มาเผยแพร่ให้เกษตรกรนำไปผลิตปุ๋ยหมัก เพื่อให้มีคุณภาพ นำไปใช้ประโยชน์บำรุงดิน ลดการใช้สารเคมีที่มีต้นทุนสูง และแก้ปัญหาความเสื่อมโทรมให้แก่ดินในระยะยาว   

        ซึ่งการจัดตั้งธนาคารปุ๋ยอินทรีย์ยังช่วยส่งเสริมลดมลภาวะ ขยะ สิ่งปฏิกูลต่างๆได้ดี และยังช่วยลดปัญหาการเผาเศษซากวัชพืชในไร่นา ที่ก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศด้วย

 จาก http://manager.co.th วันที่ 14 กรกฎาคม 2558

 เอสซีจีใช้นวัตกรรมฟื้นฟู 'ดินเค็ม'

ทำมาหากิน : เอสซีจีใช้นวัตกรรมฟื้นฟู 'ดินเค็ม' หวังพัฒนาเกษตรกรสู่ความยั่งยืน

                       เอสซีจี ส่งเสริมเกษตรกรภาคอีสานฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็ม โดยใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีควบคู่กับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้แก้ปัญหาความเค็มของดิน และใช้พื้นที่ทางการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การสร้างชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน โดยความร่วมมือจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และกรมพัฒนาที่ดิน

                       พรพิมล มฤคทัต ผู้ช่วยผู้อำนวยการอาวุโส สำนักงานสื่อสารองค์กร เอสซีจี (SCG) เปิดเผยว่า เอสซีจีร่วมกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และกรมพัฒนาที่ดิน ดำเนินโครงการ “นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็ม” มาตั้งแต่ปี 2551 เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนกระบวนการคิดการทำเกษตรกรรม โดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีควบคู่กับภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็ม ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 1 ใน 3 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้มีความอุดมสมบูรณ์มากขึ้น สามารถเพาะปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตที่ดีขึ้น พร้อมสนับสนุนให้ทำอาชีพเสริม เช่น ปลูกพืชหรือผลไม้พันธุ์ทนดินเค็ม เพาะเห็ด ทำปุ๋ยจากมูลสัตว์ ชุมชนจึงมีรายได้เพิ่มขึ้น ช่วยให้ไม่ต้องย้ายถิ่นฐานไปทำงานในเมืองและครอบครัวได้ใช้เวลาอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข

                       “ความสำเร็จของโครงการที่เป็นรูปธรรมคือ เกษตรกรได้ปรับเปลี่ยนกระบวนการคิด สามารถแก้ปัญหาและพึ่งพาตัวเองได้ ผลผลิตการเกษตรเพิ่มสูงขึ้น เกษตรมีรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น เช่น ชุมชนบ้านโพนสูง อ.บ้านดุง จ.อุดรธานี ชุมชนได้ร่วมกันเปลี่ยนแปลงพื้นที่ดินเค็มให้อุดมสมบูรณ์ พร้อมทั้งยังได้แบ่งปันถ่ายทอดความรู้ให้แก่ชุมชนอื่นๆ เพื่อช่วยกันพลิกฟื้นผืนดินเค็มให้เป็นท้องทุ่งเขียวขจีต่อไป” พรพิมล กล่าว

                       ดร.เฉลิมพล เกิดมณี นักวิจัยอาวุโส สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า พื้นที่ดินเค็มในภาคอีสานเกิดจากชั้นเกลือขนาดใหญ่ที่อยู่ใต้ดินและน้ำจากชั้นเกลือดังกล่าวแพร่กระจายขึ้นมาบนผืนดิน ส่งผลให้ดินมีความเค็ม โดยเฉพาะ จ.ขอนแก่น ชัยภูมิ นครราชสีมา มหาสารคาม ร้อยเอ็ด สกลนคร และอุดรธานี สำหรับนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูพื้นที่ดินเค็มให้เพาะปลูกพืชได้มี 3 ขั้นตอน คือ กินอิ่ม ห่มผ้า และนอนใต้ต้นไม้

                       "ดินก็เปรียบเหมือนกับคน จึงต้องดูแลเหมือนเป็นเพื่อนของเราด้วยเทคนิคง่ายๆ และใช้วัสดุในท้องถิ่น คือ กินอิ่ม ก่อนจะเพาะปลูกพืช ต้องให้อาหารดินด้วยการเติมอินทรียวัตถุลงไป ห่มผ้า หรือการห่มดินด้วยเศษฟาง เศษหญ้า เศษใบไม้ หรือเศษพืชอื่นๆ เพื่อลดการระเหยของน้ำออกจากผิวดิน ช่วยให้ดินมีความชุ่มชื้น สุดท้าย คือ นอนใต้ต้นไม้ ปลูกไม้ใหญ่หรือไม้ผลทนดินเค็มที่มีรากยาวกว่าต้นข้าว เพื่อให้รากไม้ช่วยดูดน้ำใต้ดินจากชั้นเกลือไม่ให้แพร่กระจายบนดิน เช่น ต้นยูคาลิปตัส และสามารถตัดขายเมื่อโตเต็มวัย เพื่อเป็นรายเสริมได้ด้วย” ดร.เฉลิมพล กล่าว

                       สุพจน์ ระยับศรี เกษตรกรที่ประสบความสำเร็จจากโครงการนวัตกรรมทางเทคโนโลยีเพื่อการฟื้นฟูดินเค็ม จ.อุดรธานี บอกว่าหลังจากได้รับองค์ความรู้ใหม่ๆ จากการเข้าร่วมโครงการแล้ว ก็ได้ปรับเปลี่ยนวิธีการทำนาแบบเดิม นอกจากจะได้ปริมาณข้าวที่สูงขึ้นจากเดิมประมาณ 300 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มเป็น 350-400 กิโลกรัมต่อไร่แล้ว ยังมีความสุขจากการทำนาบนพื้นที่ของตัวเอง มีรายได้เพิ่ม และที่สำคัญคือ ได้มีโอกาสกลับมาอยู่ร่วมกับครอบครัว และยังมีกำลังใจที่จะพัฒนา ที่นาของตัวเองให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้นด้วยการปลูกพืชไม้ผลสายพันธุ์ทนเค็มด้วย

                       นับเป็นอีกก้าวของเอสซีจีในการขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาพื้นที่ดินเค็มในจังหวัดภาคอีสานพร้อมกับการสร้างรายได้สู่ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่น โรงสีข้าว การผลิตปุ๋ย และแปรรูปผลผลิต จนเกิดเป็นวิสาหกิจชุมชน ที่มีการพึ่งพากันอย่างสร้างสรรค์ นำไปสู่หนทางแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างถาวรของเกษตรกรบนพื้นที่ดินเค็ม

จาก http://www.komchadluek.net  วันที่ 14 กรกฎาคม 2558

วิกฤติภัยแล้ง58!  2เขื่อนใหญ่ลดการระบาย คาดน้ำอาจหมด 'ส.ค.'

 “บิ๊กตู่” ครวญแก้ภัยแล้งไม่ได้หลับได้นอน “ปีติพงศ์” ลั่นกรุงเทพฯไม่ขาดแคลนน้ำ พาณิชย์วอนอย่ากักตุนน้ำดื่มยันมีเพียงพอ “กรมชล” การันตีปทุมฯไม่ขาดน้ำประปาอีก คาดน้ำหมดเขื่อนภูมิพล-เขื่อนสิริกิติ์ ต้นเดือน ส.ค.นี้ เตรียมลดการระบายน้ำ ชาวเชียงรายปิดสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา แห่งที่ 1 ประท้วงพม่าพังฝายกั้นน้ำ โคราชอ่วมพื้นที่ท้ายเขื่อนลำตะคองขาดแคลนน้ำดิบผลิตประปา กัมพูชาแล้งจัด พ่อค้าหัวใสซื้อน้ำฝั่งไทยกักตุนราคาพุ่งเท่าตัว ชาวปทุมฯเฮ เปิดร่องน้ำคลอง 13 สูบน้ำผลิตประปาได้แล้ว

สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง ยังไม่มีทีท่าจะคลี่คลาย แม้มีการระดมทำฝนหลวงอย่างต่อเนื่อง แต่ยังไม่มีน้ำมาเติมในเขื่อนหลัก อาทิ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนลำตะคอง และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ทำให้สถานการณ์น้ำในเขื่อนหลายแห่งเข้าขั้นวิกฤติ พื้นที่การเกษตรทั้งนาข้าว ไร่อ้อยจำนวนมากใกล้ยืนต้นตาย และหลายพื้นที่แหล่งผลิตน้ำประปาเริ่มแห้งขอด

ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันที่ 13 ก.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. กล่าวถึงการแก้ปัญหาภัยแล้งที่อาจจะงดจ่ายน้ำประปาว่า เราแก้ปัญหาทุกวันเมื่อคืนที่ผ่านมา ก็ไม่ได้หลับได้นอน เนื่องจากไม่มีน้ำต้นทุนในการผลิตน้ำประปา และถูกกักโดยประชาชนที่ทำการเกษตรได้สร้างทำนบกั้นน้ำไว้ แล้วสูบน้ำเข้านา ทำให้น้ำประปาไม่มีจะให้ตนทำอย่างไร วันนี้ได้เจรจาพูดคุยใน จ.ลพบุรี และพื้นที่ที่มีปัญหา โดยให้ผู้ว่าฯไปเจรจา ตอนนี้มีการทลายที่กั้นน้ำแล้วต้องให้เวลาน้ำวิ่งลงมา แต่ไม่ใช่ว่าน้ำมาถึงแล้วไขก๊อกกินได้เลย ต้องเข้าแท็งก์เก็บให้มันตกตะกอนก่อนเข้าสู่กระบวนการทำน้ำประปา ส่วนจะกี่วันถึงจะผลิตได้ยังไม่รู้เลย

พล.อ.ประยุทธ์กล่าวต่อว่า ได้บอกว่าทุกคนต้องประหยัดน้ำ โดยเฉพาะชาว กทม.ให้นึกถึงคนอื่นบ้าง วันนี้เป็นกังวลในเรื่องการเกษตรเพราะน้ำไม่พอแน่นอน ถ้าฝนไม่ตกหรือตกไม่เต็มที่จะมีพื้นที่ที่มีปัญหาเดือดร้อน จะทำอย่างไรให้เขาอยู่ได้ จะประกอบอาชีพมีรายได้อะไร เพราะเศรษฐกิจแย่ลง รัฐบาลกำลังดูทุกอย่างและวันที่ 14 ก.ค.นี้ จะมีการหารือในที่ประชุม ครม. ว่าจะดูแลช่วยเหลือได้แค่ไหน เพราะถ้าใช้งบประมาณมากก็ไม่ไหว ปัญหาวันนี้มันซับซ้อน ต้องไปดูและวิเคราะห์ว่าสาเหตุของปัญหานั้นเกิดจากตรงไหน ฉะนั้นเราต้องทำไม่ให้มันเกิดขึ้นมาอีก

ด้านนายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการเสวนาหัวข้อ “เกษตรกรไทย ฝ่าวิกฤติภัยแล้ง” จัดโดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) นายปีติพงศ์เปิดเผยว่า สิ่งสำคัญสุดในการบริหารน้ำขณะนี้คือต้องไม่ให้น้ำดื่มกินขาดแคลน โดยปริมาณน้ำที่มีในเขื่อนขณะนี้พบว่ากรุงเทพฯ ยังไม่มีความเสี่ยงขาดแคลนน้ำที่ชัดเจน แต่จะมีความเสี่ยงเรื่องของปัญหาน้ำเค็มที่จะเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ส่วนเขตปริมณฑล มีความเสี่ยงตรงที่ปีนี้ระบายน้ำเขื่อนออกมาน้อยอยู่แล้ว ระหว่างทางน้ำก็ถูกดักเข้านาอีก จึงเหลือน้ำไปถึงจุดสูบน้ำประปาน้อย

ผู้สื่อข่าวถามว่า จะต้องออกประกาศจำกัดการใช้น้ำของคนกรุงเทพฯ และปริมณฑล ในกิจกรรมที่สิ้นเปลือง เช่น การล้างรถ สนามกอล์ฟ และอาบอบนวด หรือไม่ นายปีติพงศ์กล่าวว่า สนามกอล์ฟ กับกิจการล้างรถอาจจำเป็นต้องห้ามในวันข้างหน้า แต่เรื่องอาบอบนวดตนไม่มีความรู้เลย อย่างไรก็ตาม คนในเมืองส่วนใหญ่ไม่มีกิจกรรมที่ต้องใช้น้ำมากเหมือนคนในต่างจังหวัดที่ต้องทำการเกษตร โดยหลักการก็คงต้องรายงาน ครม. ในวันที่ 14 ก.ค.นี้ แต่ต้องดูว่า ครม.จะตัดสินใจอย่างไร

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า จากการติดตามสถานการณ์น้ำ กรมชลประทานยืนยันว่าน้ำในการอุปโภค บริโภค จะไม่ขาดแคลน พล.อ.ประยุทธ์ มีความเป็นห่วงมาก สั่งการให้คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำดูแลภาพรวมทั้งประเทศไม่ให้เกิดผลกระทบจากภัยแล้ง แนวทางในการแก้ไขปัญหาคือ พื้นที่ใดขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค จะส่งน้ำบาดาลเข้าไปช่วยเหลือ จะมีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ทำงานด้วย

นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยถึงกระแสข่าวภัยแล้งทำให้ประชาชนเริ่มกักตุนน้ำดื่มเพื่อการบริโภคว่า ได้สั่งการให้สำนักงานการค้าภายในจังหวัด ติดตามสถานการณ์น้ำดื่มเพื่อการบริโภคอย่างใกล้ชิด แต่เท่าที่ได้รับรายงานยังไม่พบการขาดแคลน และขอให้ประชาชนอย่าตื่นตระหนกกักตุนน้ำดื่มไว้ โดยยืนยันว่าน้ำดื่มบรรจุขวดยังมีอยู่อย่างเพียงพอ หากประชาชนวิตกซื้อเก็บไว้อาจทำให้เกิดการขาดแคลนได้

นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า สำหรับน้ำประปาสาขาธัญบุรี คลอง 13 อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี ที่มีปัญหาสูบน้ำไม่ได้ ขณะนี้ แก้ไขโดยการขุดสันดอนทราย คลอง 13 ออกไป ทำให้เริ่มกลับมาสูบน้ำได้แล้ว สาเหตุที่มีปัญหาเพราะบ่อเก็บน้ำของประปา ธัญบุรี เก็บน้ำได้มากสุด 300,000 ลบ.ม. ตอนนี้มีน้ำอยู่ 1 ใน 4 ของบ่อ แต่กรมชลฯการันตีว่า จะระบายน้ำจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์อย่างต่อเนื่อง ไม่ให้ขาดแคลนน้ำอีก ขณะนี้หากเกิดกรณีเลวร้ายที่สุด ฝนไม่ตกเลย เขื่อนป่าสักจะมีน้ำใช้ไปได้อีกประมาณ 30 วัน

ที่กรมชลประทานสามเสน นายทองเปลว กองจันทร์ ผอ.สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ ครั้งที่ 13/2558 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวม 10 หน่วยงาน นายทองเปลวเปิดเผยว่า ที่ประชุมได้สรุปภาพรวมสถานการณ์ฝนและสถานการณ์น้ำไหลลงเขื่อนพบสถานการณ์ยังทรงตัว ไม่มีสัญญาณดีขึ้น จากการทำแบบจำลองปริมาณน้ำและแนวทางปรับเปลี่ยนการระบายน้ำของเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ แต่แบบจำลองส่วนใหญ่ชี้ว่า น้ำในเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์จะหมดลงภายในช่วงสัปดาห์แรกของเดือน ส.ค.นี้

นายทองเปลวกล่าวต่อว่า ทางเลือกที่น่าจะเหมาะสมที่สุด คือ เขื่อนภูมิพลให้คงการระบายน้ำในปัจจุบันวันละ 8 ล้าน ลบ.ม. ไปจนถึงวันที่ 15 ก.ค.นี้ จากนั้นทยอยลดการระบายน้ำลงวันละ 1 ล้าน ลบ.ม. จนเหลืออัตราการระบายวันละ 5 ล้าน ลบ.ม.วิธีนี้จะทำให้เหลือน้ำใช้การต่ำสุดประมาณวันที่ 9 ส.ค.นี้ โดยไม่ต้องสูบน้ำก้นเขื่อน ควบคู่กับเขื่อนสิริกิติ์ คงการระบายน้ำปัจจุบันวันละ 17 ล้าน ลบ.ม. ไปจนถึงวันที่ 15 ก.ค.นี้ และทยอยลดการระบายจนเหลือวันละ 11 ล้าน ลบ.ม. และจะเหลือน้ำใช้การต่ำสุดวันที่ 5

ส.ค.นี้ แต่วิธีนี้จะทำให้เหลือน้ำใช้การใน 4 เขื่อนหลัก ช่วงเริ่มต้นฤดูแล้ง วันที่ 1 พ.ย. ประมาณ 3,677 ล้าน ลบ.ม. เพียงพอกับระดับปลอดภัย 3,500 ล้าน ลบ.ม.

นายณัฐวุฒิ แจ่มแจ้ง ผอ.เขื่อนภูมิพล อ.สามเงา จ.ตาก เปิดเผยว่า ขณะนี้แม้จะมีฝนตกจากการขึ้นปฏิบัติการทำฝนหลวง แต่ปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนน้อยมาก เมื่อเทียบกับการระบายน้ำลงท้ายเขื่อนวันละ 8 ล้าน ลบ.ม. ขณะนี้มีปริมาณน้ำที่ใช้การได้เพียง 159 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 1.65 เปอร์เซ็นต์ สามารถระบายน้ำต่อเนื่องได้อีก 20 วัน คณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ต้องปรับลดการระบายน้ำลงท้ายเขื่อนเหลือวันละ 5 ล้าน ลบ.ม. เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 ก.ค.นี้ จนกว่าสถานการณ์จะดีขึ้น

นายสุเทพ เลิศศรีมงคล ผอ.เขื่อนสิริกิติ์ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์ เปิดเผยว่า ปรากฏการณ์เอลนีโญทำให้ฝนทิ้งช่วง น้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์มีปริมาณน้อยมาก ประกอบกับได้เร่งระบายน้ำให้เกษตรกรที่เริ่มฤดูกาลการเพาะปลูกข้าวนาปี ทำให้ปริมาณน้ำในเขื่อนลดลงอย่างรวดเร็ว ล่าสุด มีปริมาณน้ำ 3,179 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 33.44 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณน้ำพร้อมใช้งาน 329 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 4.95 เปอร์เซ็นต์ ระบายน้ำลงท้ายเขื่อนวันละ 17.10 ล้าน ลบ.ม. ทำให้ปริมาณน้ำลดลงทุกวัน ต้องลดการระบายน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้ระดับน้ำเข้าสู่ขั้นวิกฤติ

นายสมชัย รุ่งสาคร นอภ.แม่สาย จ.เชียงราย เปิดเผยว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่ประเทศเมียนมาเข้ารื้อถอนฝายชะลอน้ำในแม่น้ำสาย 3 แห่ง ได้แก่ ฝายหินทิ้ง บ้านหัวฝาย ต.เวียงพางคำ ห่างจากสะพานพรมแดน 500 เมตร ฝายกั้นน้ำบางเวียงหอม ต.แม่สาย และฝายหินทิ้งเหมืองงาม ต.เกาะช้าง อ.แม่สาย ส่งผลให้แม่น้ำสายลดอย่างรวดเร็ว เกษตรกรขาดน้ำทำการเกษตรกว่า 5 หมื่นไร่ เขตเทศบาลแม่สายขาดน้ำผลิตประปา ทำให้ชาวบ้านในพื้นที่ 3 ตำบล กว่า 500 คน รวมตัวปิดสะพานมิตรภาพไทย-เมียนมา แห่งที่ 1 เพื่อประท้วงเจ้าหน้าที่เมียนมา ตนและ พ.อ.ประพัฒน์ พบสุวรรณ ผบ.ฉก.ม.2 เข้าไปเจรจากับเจ้าหน้าที่เมียนมา จ.ท่าขี้เหล็ก ทางเจ้าหน้าที่เมียนมาตกลงจะก่อสร้างฝายทั้ง 3 แห่ง ให้กลับมาเหมือนเดิม ทำให้ ชาวบ้านพอใจและสลายการชุมนุม ก่อนหน้านี้ทางเมียนมาเคยเสนอในที่ประชุม RBC ขอรื้อฝายทั้ง 3 แห่ง เพราะเกรงว่าจะเกิดน้ำท่วมในช่วงหน้าฝน ทางไทยขอให้รื้อเพียง 1 แห่ง กระทั่งเจ้าหน้าที่เมียนมาเข้ามารื้อฝายทั้ง 3 แห่ง อย่างไรก็ตามจะมีการพูดคุยร่วมกันเพื่อหาทางออกต่อไป

พ.ต.ท.เบญจพล รอดสวาสดิ์ รอง ผกก.ตม.จ.สระแก้ว สั่งการให้ พ.ต.ท.เรืองเดช ธรรมนันท์ สว.ตม.จ.สระแก้ว จัดหาซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดมาไว้สำรองไว้บริการนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่เดินทางผ่านเข้า-ออก ด่าน ตม.อรัญประเทศ จุดผ่านแดนถาวร บ้านคลองลึก อ.อรัญประเทศ เพื่อป้องกันการขาดแคลนน้ำดื่ม หลังพบว่าร้านขายน้ำดื่มในตลาดโรงเกลือเริ่มขาดแคลนน้ำดื่มจากสภาพภัยแล้ง

ส่วนบรรยากาศบริเวณหน้าด่านพรมแดนอรัญประเทศ จ.สระแก้ว มีพ่อค้าและแม่ค้าชาวกัมพูชาเดินทางเข้ามาหาซื้อน้ำดื่มบรรจุขวดและบรรจุถังในตลาดโรงเกลือ เพื่อนำกลับไปขายและกักตุน หลังเกิดภัยแล้งน้ำตามบ่อ ลำคลอง แห้งขอด เกิดการขาดแคลนน้ำดื่มอย่างหนัก ราคาน้ำดื่มในตลาดปอยเปตมีราคาสูงขึ้นเกือบเท่าตัว ทำให้บริเวณหน้าด่านพรมแดนอรัญประเทศคึกคักไปด้วยรถเข็นสองล้อของชาวกัมพูชาบรรทุกน้ำดื่มนับร้อยคัน

นายสุทธิโรจน์ กองแก้ว ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง จ.นครราชสีมา เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในเขื่อนลำตะคอง อ.สีคิ้ว ปริมาณน้ำในเขื่อนลดลงอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีฝนตกลงมาในพื้นที่แต่มีปริมาณน้อย ล่าสุดเขื่อนลำตะคองเหลือปริมาณน้ำใช้การได้เพียง 51.659 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 16.43 เปอร์เซ็นต์ มีการระบายน้ำลงท้ายเขื่อนวันละ 430,000 ลบ.ม. ทำให้พื้นที่ท้ายเขื่อนหลายแห่งเริ่มขาดแคลนน้ำดิบใช้ในการผลิตน้ำประปา เนื่องจากน้ำไหลไปไม่ถึง เช่น พื้นที่ อ.สูงเนิน และ อ.เมืองนครราชสีมา

นายฤทธิ์สรรค์ เทพพิทักษ์ นายอำเภอลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ตรวจสอบถนนเลียบคลองสาน หมู่ 7 ต.ลาดบัวหลวง ทรุดตัวยาว 180 เมตร ลึก 3 เมตร รถใหญ่ไม่สามารถสัญจรผ่านไปมาได้ นายฤทธิ์สรรค์เปิดเผยว่า ถนนสายดังกล่าวอยู่ในการดูแลของ อบต.ลาดบัวหลวง ส่วนสาเหตุมาจากน้ำในคลองสานลดลงทำให้ถนนเกิดการทรุดตัว และจะเร่งทำการซ่อมแซมต่อไป

นายจิรชัย มูลทองโร่ย ประธานบอร์ดการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) ลงพื้นที่หน้าสถานีผลิตน้ำประปา สาขาธัญบุรี อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี เพื่อตรวจสอบการเดินเครื่องสูบน้ำดิบ ภายหลังน้ำในคลอง 13 แห้งขอดทำให้สูบน้ำผลิตประปาไม่ได้ ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่ไม่มีน้ำประปาใช้ นายจิรชัยเปิดเผยว่า หลังกรมชลฯใช้เรือโป๊ะแบ็กโฮเปิดร่องน้ำทำให้น้ำไหลมาถึงหน้าสถานีสูบน้ำ มีการเดินเครื่องใส่บ่อพักเพื่อเตรียมผลิตน้ำประปาแจกจ่ายให้ประชาชน แต่อาจมีบางจุดที่น้ำประปาไหลช้า ส่วนปริมาณน้ำดิบในคลอง 13 อาจนำมาใช้ผลิตน้ำประปาได้สักระยะหนึ่ง แต่ได้มีการวางแผนสำหรับการเตรียมน้ำสำรองจากบ่อพระรามเก้า คลองหก ธัญบุรี ในการประสานขอน้ำดิบมาใช้ในการผลิตน้ำประปาหากน้ำในคลอง 13 หมดอีกครั้ง

นายรอยล จิตรดอน ผอ.สถาบันสารสนเทศน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) (สสนก.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) และคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) เปิดเผยว่า ได้เข้าหารือกับนางรัตนา กิจวรรณ ผู้ว่าการ กปภ. เพื่อหาแหล่งน้ำสำรองน้ำดิบมาป้อนเพื่อผลิตน้ำประปาให้กับประชาชนในพื้นที่ จ.ปทุมธานี โดยมีความเห็นว่าบริเวณที่ใกล้ที่สุดคือสระพระราม 9 ตั้งอยู่บริเวณคลอง 5 อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี สระดังกล่าว จุน้ำประมาณ 50 ล้าน ลบ.ม. เป็นพื้นที่ที่อยู่ในการดูแลของมูลนิธิชัยพัฒนา กปภ. จึงได้ทำหนังสือถึงมูลนิธิชัยพัฒนา ขอใช้น้ำจากสระพระราม 9 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรม ราชกุมารี ทรงมีพระราชานุญาตให้สูบน้ำวันละ 7,200 คิว เป็นเวลา 1 เดือน เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง

ด้านนายพงศธร สัจจชลพันธ์ ผวจ.ปทุมธานี เปิดเผยว่า ได้รับพระราชทานน้ำจากสมเด็จพระเทพ รัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระมหา กรุณาธิคุณที่จะทรงมอบน้ำดื่มในบ้านสวนปทุมให้กับประชาชน ที่ได้รับความเดือดร้อน โดยให้ไปสำรวจพื้นที่ว่าชาวบ้าน จ.ปทุมธานี ในเขต อ.หนองเสือ อ.ธัญบุรี และ อ.ลำลูกกา ที่ได้รับความเดือดร้อนเรื่องน้ำดื่ม เพื่อจะได้เตรียมการพระราชทานน้ำดื่มให้กับประชาชน และประชาชนที่มีรถก็สามารถมารับน้ำได้ที่บ้านสวนปทุม แต่ตอนนี้ทราบว่าการประปา

ส่วน ภูมิภาคสาขาธัญบุรี ได้เริ่มทำการผลิตน้ำดื่มและเริ่มจ่ายน้ำให้กับประชาชนในพื้นที่บางส่วนได้ใช้แล้วบ้างบางส่วน แต่ก็ต้องยังคงติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดต่อไป

จาก http://www.thairath.co.th วันที่ 14 กรกฎาคม 2558

ทุ่มเงินช่วยเกษตรกรพ้นแล้ง ธ.ก.ส.ยืดจ่ายหนี้เดิมเพิ่มปล่อยกู้ใหม่ 6 หมื่นล.

“สมหมาย” เผยบอร์ด ธ.ก.ส.อนุมัติสินเชื่อ 6 หมื่นล้านบาท ช่วยเกษตรกรหลุดพ้นวิกฤติภัยแล้ง คาดภัยแล้งกระทบจีดีพีปีนี้แค่ 0.5% พร้อมชง ครม. วันนี้ ไฟเขียวแนวทางแก้หนี้นอกระบบเกษตรกร–ประชาชน ด้าน คปภ.ระบุ ชาวนาแห่ซื้อประกันภัยข้าวนาปีปี 58 ล้นทะลัก 1.33 ล้านไร่

 นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ว่า ที่ประชุมได้อนุมัติโครงการสินเชื่อเพื่อแก้ไขปัญหาให้เกษตรกร และสมาชิกสหกรณ์การเกษตรที่ประสบปัญหาภัยแล้งในปี 58 วงเงินรวม 60,000 ล้านบาท ซึ่งประเมินว่ามีเกษตรกรได้รับผลกระทบ 1 ล้านราย ประกอบด้วย 1.มาตรการขยายเวลาชำระหนี้เดิมให้เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส.ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ สูงสุดไม่เกิน 9 เดือน หรือกรณีพิเศษไม่เกิน 12 เดือน กำหนดระยะเวลาให้สอดคล้องกับรอบการผลิตและที่มาของรายได้ ส่วนสหกรณ์ที่ได้รับผลกระทบจากการชำระหนี้ของสมาชิก จะขยายตารางกำหนดชำระหนี้ที่มีอยู่กับ ธ.ก.ส.ออกไปไม่เกิน 12 เดือน

2.มาตรการสนับสนุนสินเชื่อระยะสั้นเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน วงเงินรวม 30,000 ล้านบาท ระยะเวลาคืนหนี้ไม่เกิน 12 เดือน ขอกู้ได้ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.-15 ต.ค.58 แบ่งเป็น 3 มาตรการย่อย คือ ส่วนที่ 1 เงินกู้ฉุกเฉิน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในระหว่างที่ประสบปัญหาภัยแล้ง เป็นสินเชื่ออุปโภค บริโภค วงเงินกู้ 10,000 ล้านบาทเป้าหมายเกษตรกร 1 ล้านราย วงเงินกู้ต่อรายไม่เกิน 10,000 บาท อัตรา ดอกเบี้ย 0% ในช่วง 3 เดือนแรก หลังจากนั้นคิดอัตราเอ็มอาร์อาร์ (MRR) ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 7%

ส่วนที่ 2 สินเชื่อเพื่อการฟื้นฟูอาชีพหลังประสบภัย เป็นสินเชื่อเพื่อการผลิต วงเงิน 10,000 ล้านบาท เกษตรกรเป้าหมาย 500,000 ราย วงเงินกู้ ต่อรายไม่เกิน 20,000 บาท อัตราดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ ปัจจุบันอยู่ที่ 7% ชำระไม่เกิน 12 เดือน กรณีพิเศษไม่เกิน 18 เดือน ส่วนที่ 3 สินเชื่อเพื่อช่วยเหลือสมาชิกสหกรณ์การเกษตรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง เป็นสินเชื่อเพื่อการผลิต วงเงินกู้รวม 10,000 ล้านบาท กลุ่มเป้าหมายคือสหกรณ์ในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ชำระไม่เกิน 12 เดือน กรณีพิเศษไม่เกิน 18 เดือน อัตราดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ (MRR) ลบ 1.25% ซึ่งปัจจุบัน เอ็มอาร์อาร์อยู่ที่ 5%

และมาตรการที่ 3 สินเชื่อระยะยาวเพื่อปรับปรุงระบบการผลิต เช่น เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาแหล่งน้ำ ปรับเปลี่ยนไปสู่การผลิตใหม่ที่เหมาะสม วงเงิน 30,000 ล้านบาท ระยะเวลาโครงการ 3 ปี (15 ก.ค.58-31 ก.ค.61) หรือปีละ 10,000 ล้านบาท เกษตรกรเป้าหมาย 300,000 ราย วงเงินกู้ต่อรายไม่เกิน 100,000 บาท ระยะเวลาชำระคืน 10 ปี อัตราดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ลบ 2 โดยเกษตรกรต้องเสนอแผนการปรับปรุงการผลิตให้คณะกรรมการระดับตำบลพิจารณาก่อนยื่นขอสินเชื่อ

นอกจากนี้ บอร์ดได้เห็นชอบการสนับสนุนการออกสลากเพื่อสังคมและการสนับสนุนสินเชื่อให้กับกิจการเพื่อสังคมในวงเงิน 1,000 ล้านบาท รวมทั้งเห็นชอบสนับสนุนสินเชื่อให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายกู้เงินฤดูการผลิตปี 57/58 วงเงิน 16,953 ล้านบาทเพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของชาวไร่อ้อย โดยมีชาวไร่อ้อยได้ประโยชน์มากกว่า 150,000 ราย “มั่นใจว่าภัยแล้งจะมีผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ประมาณ 0.5% และต้องติดตามราคาสินค้าเกษตร ทั้งข้าว ยางพารา และสินค้าอุตสาหกรรม ถ้าออกมาดีช่วงครึ่งหลังของปีนี้จะมีเม็ดเงินมาสู่มือผู้ผลิต และเกษตรกรมากขึ้น ส่งผลให้จีดีพีลดน้อยลงกว่าที่คาด แต่ถ้าราคาสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมต่ำกว่าปีที่แล้ว จีดีพีจะต่ำกว่าที่ประเมินไว้ แต่ถ้าเทียบกับประเทศอื่น อย่างจีน ญี่ปุ่น เกาหลี ยุโรป ไทยไม่ได้แย่กว่า ถ้าปีนี้จีดีพีไทยโตได้ 3% ถือว่าไม่เลวนัก”

อย่างไรก็ตาม ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันนี้ (14 ก.ค.) กระทรวงฯจะรายงานแนวทางการแก้ปัญหาหนี้นอกระบบของเกษตรกร และประชาชนระดับรากหญ้า ซึ่งกระทรวงฯได้ให้แบงก์รัฐ 3 แห่ง คือ ธนาคารออมสิน ธ.ก.ส. และธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ดูแลอย่างใกล้ชิด แต่สำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและเล็ก (เอสเอ็มอี) ครม.จะพิจารณาอนุมัติวงเงินค้ำประกันสินเชื่อ โดยบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) ไม่เกิน 100,000 ล้านบาท

ด้านนายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวว่า ยอดการจำหน่ายกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปีปีการผลิต 58/59 เติบโตอย่างรวดเร็ว โดย ณ วันที่ 8 ก.ค.58 มียอดจำหน่ายแล้ว 1.33 ล้านไร่ คิดเป็น 89.1% ของพื้นที่เป้าหมายที่ 1.5 ล้านไร่ คาดว่า ยอดขายจะเกินเป้าหมายแน่นอน อย่างไรก็ตาม ในการประชุมร่วมกับสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กรมส่งเสริมการเกษตร ธ.ก.ส. และสมาคมประกันวินาศภัยไทย ที่ประชุมเห็นชอบให้ขยายพื้นที่การรับประกันภัยข้าวนาปีเพิ่มอีก 500,000 ไร่ รวมเป็น 2 ล้านไร่ โดยจะเสนอขอความเห็นชอบจาก ครม.วันนี้ (14 ก.ค.) สำหรับกรมธรรม์ดังกล่าวจะคุ้มครองความเสียหายจากภัยธรรมชาติ 6 ประเภท และจากศัตรูพืชและโรคระบาด

“ไทยกำลังประสบปัญหาภัยแล้ง ผู้ปลูกข้าว จึงกังวลว่าข้าวที่ปลูกไว้จะได้ผลผลิตต่ำกว่าปกติ จึงต้องหาเครื่องมือรองรับความเสี่ยง โดยหันมาซื้อกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปีมากขึ้น โดยในยอดจำหน่ายกรมธรรม์ 1.33 ล้านไร่นั้น พื้นที่ที่มียอดการจำหน่ายสูงสุด 3 อันดับแรก ได้แก่ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และภาคเหนือตอนล่าง โดยจะเปิดขายกรมธรรม์ตั้งแต่วันที่ 5 พ.ค.-14 ส.ค.58 สำหรับทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ ที่จะเปิดขายจนถึงวันที่ 11 ธ.ค. 58”.

จาก http://www.thairath.co.th วันที่ 14 กรกฎาคม 2558

ปี 58 สร้างฝายชะลอน้ำ960ฝาย เหนือเขื่อนภูมิพล

ในการปล่อยน้ำจากเขื่อนภูมิพลนั้น จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการ หรืออนุกรรมการฯ ที่มีผู้แทนจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมวิเคราะห์รอบด้านก่อนตัดสินใจ

จากสถานการณ์ภัยแล้งมาตั้งแต่ต้นปี เป็นผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนอยู่ในเกณฑ์น้อย ประกอบกับสภาพอากาศในปี 2558 ที่เป็นภาวะเอลนินโญ มีแนวโน้มที่จะเป็นปีน้ำแล้งอีกด้วย ทางการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศ ไทย (กฟผ.) ในฐานะผู้ดูแลเขื่อนขนาดใหญ่ จึงเตรียมความพร้อมรองรับสถานการณ์ภัยแล้ง ทั้งในเรื่องการป้องกันและแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และการรักษาความมั่นคงของระบบไฟฟ้าอีกด้วย โดยในเดือนกรกฎาคม 2558 นี้

หากยังไม่มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อน และปริมาณน้ำที่สำรองไว้เหลือน้อย คณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ซึ่งมีรองอธิบดีกรมชลประทานเป็นประธานจะระบายน้ำให้กับการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศเท่านั้น

โดยทาง กฟผ. ได้มีมาตรการเพื่อช่วยเหลือภัยแล้งแก่ประชาชน เช่นที่ เขื่อนภูมิพล จังหวัดตาก ได้มีการสนับสนุนน้ำอุปโภค บริโภค ให้กับชุมชนในอำเภอสามเงา อำเภอบ้านตาก และอำเภอเมือง จังหวัดตาก

นอกจากนี้ยังได้ร่วมกับส่วนราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชนชาวจังหวัดตาก โดยเฉพาะชุมชนรอบอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล และเครือข่ายคนรักษ์ป่า ร่วมกันแก้ปัญหาภัยแล้งในระยะยาวอีกด้วย โดยการร่วมกันอนุรักษ์พื้นที่ป่าเหนืออ่างเก็บน้ำ ตั้งเป้าสร้างฝายชะลอน้ำ ภายในปี 2558 นี้ให้ครบ 960 ฝาย ภายใต้โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กฟผ. เพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ด้วยการฟื้นฟูป่าต้นน้ำ ป่าชุมชน ที่ อำเภออมก๋อย อำเภอดอยเต่า อำเภอจอมทอง และดอยอินทนนท์ ที่เป็นแหล่งต้นน้ำสำคัญที่ไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล เพื่อคืนความอุดมสมบูรณ์ให้กับแหล่งต้นน้ำลำธาร ทรัพยากรป่าไม้และแหล่งน้ำตามธรรมชาติ

นอกจากนี้ ทางเขื่อนฯ ยังมีการจัดตั้งคณะกรรมการคนรักษ์ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ ขึ้นเพื่อให้เกิดการบูรณาการในการร่วมมือกันบริหารจัดการน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดจากทุกภาคส่วนทั้งนี้ ในการปล่อยน้ำจากเขื่อนภูมิพลนั้น จะอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการ หรืออนุกรรมการฯ ที่มีผู้แทนจากหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมวิเคราะห์รอบด้านก่อนตัดสินใจ

กรณีการบริหารจัดการน้ำในเขื่อนภูมิพล มีคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ซึ่งมีรองอธิบดีกรม ชลประทานเป็นประธาน และมีคณะอนุกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 10 หน่วยงาน ได้แก่ กรมชลประทาน กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) กรมทรัพยากรน้ำ กรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมโยธาธิการและผังเมือง สำนักการระบายน้ำ กทม. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) และ กฟผ. ร่วมกันติดตามและประเมินแนวโน้มสถานการณ์น้ำและวางแผนเก็บกักหรือระบายน้ำ และปล่อยน้ำให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสถานการณ์ในแต่ละช่วงเวลาสำหรับเขื่อนขนาดใหญ่ที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของ กฟผ. ทุกแห่งนั้นเป็นเขื่อนอเนกประสงค์ มีหน้าที่กักเก็บน้ำไว้เพื่อใช้ประโยชน์ด้านการเกษตรกรรม และการอุปโภคบริโภคเป็นหลัก

ส่วนการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นเพียงผลพลอยได้ในระหว่างการปล่อยน้ำเท่านั้น โดยเน้นทั้งเก็บกักน้ำและระบายน้ำภายใต้แนวทางการบริหารจัดการน้ำในช่วงน้ำหลาก และปล่อยน้ำให้กับพื้นที่ชลประทานในช่วงฤดูแล้ง การผลักดันน้ำเค็มและการรักษาสภาพแวดล้อมพื้นที่ทางตอนล่างของเขื่อน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อภาคการผลิตทั้งการเกษตรและอุตสาหกรรม และสังคมโดยส่วนรวม.

จาก http://www.dailynews.co.th วันที่ 14 กรกฎาคม 2558

เกษตรจัดชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่ทำความเข้าใจ-แก้ปัญหาเดือดร้อนเกษตรกร 

          นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้ประชุมร่วมกับเกษตรและสหกรณ์จังหวัดทั้ง 76 จังหวัด เพื่อซักซ้อมแนวทางการปฏิบัติงาน ชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่สร้างการรับรู้ภาคเกษตร ทั้งนี้สืบเนื่องจากการสร้างความเข้าใจและการให้ข้อมูลแก่เกษตรกรมีความจำเป็นอย่างมาก ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายให้ทุกภาคส่วนในกระทรวงเกษตรฯ มีการบูรณาการการทำงานในภูมิภาคร่วมกันแบบไม่เป็นทางการ เช่น การลงพื้นที่พบปะเกษตรกร การพูดคุยกับเกษตรกรเพื่อให้คำแนะนำ การรับฟังปัญหาความเดือดร้อน รวมถึงการหามาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ อาทิ การสร้างอาชีพ ทั้งด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและรับข้อคิดเห็นของเกษตรกร ซึ่งจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นที่ดีต่อภาครัฐและร่วมพัฒนาประเทศไปในทิศทางที่เหมาะสมถูกต้อง

          การจัดตั้งชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่สร้างการรับรู้ภาคเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าถึงและรับรู้ปัญหาความเดือดร้อน ทัศนคติ วิธีคิด ข้อเสนอแนะของเกษตรกร เพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้ข้อมูล ข้อเท็จจริง สำหรับการปรับตัวและสร้างภูมิคุมกันต่อการเปลี่ยนแปลง และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นที่ดีต่อภาครัฐและร่วมเป็นเพื่อน คู่คิดพัฒนาประเทศ โดยให้ทุกจังหวัดจัดตั้งชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่สร้างการรับรู้ภาคเกษตร ภายใต้อนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด โดยจะต้องมีการเตรียมข้อมูลระดับตำบล กำหนดแผนงานในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อที่จะสามารถรับฟังและแก้ไขปัญหาให้แก่เกษตรกรได้ โดยอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัดจะต้องวิเคราะห์การแก้ไขพัฒนาภาคเกษตรของจังหวัด และรายงานผลการปฏิบัติงานมายังสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อวางแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรในภาพรวมต่อไป

          ทั้งนี้ กลไกการทำงานของศูนย์ปฏิบัติการระดับกระทรวง จะรับข้อมูลจากทั้ง 76 จังหวัด โดยให้ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล (ศบกต.)รับข้อมูลมาจากเกษตรกร ที่ต้องการความช่วยเหลือ แล้วรายงานมาที่กระทรวงโดยตรง ซึ่งจะมีการสั่งการไปยังอธิบดีที่เกี่ยวข้อง พิจารณาในประเด็นนั้นๆ และตอบกลับภายใน 48 ชั่วโมง ซึ่งถือเป็นนโยบายที่สำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

จาก http://www.naewna.com วันที่ 14 กรกฎาคม 2558

พระเทพฯทรงห่วงชาวบ้านขาดแคลนน้ำเปิดสระพระราม9 ช่วยปทุมฯ กปภ.ระดมน้ำดิบทำประปา ครม.ถกแผนน้ำกรมชลฯ สั่ง3พื้นที่กทม.สำรองน้ำ 

          พระเทพฯ พระราชทานน้ำจากสระเก็บน้ำพระราม 9 ช่วยชาวปทุมฯ มท.เร่งหาแหล่งสำรองน้ำผลิตประปา เตรียมเสนอ ครม.ลดปล่อยน้ำ-เกษตรกรห้ามสูบน้ำ หวังมีน้ำใช้ถึง ส.ค. กรมชลฯ ถกแผนจัดการน้ำ 4 เขื่อนลุ่มเจ้าพระยา กทม.สั่งรับมือ

          หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่คุกคามประเทศไทยในหลายพื้นที่ หลังปริมาณน้ำในเขื่อน แม่น้ำ และคลอง ลดน้อยลงจนทำให้เกษตรกรบางพื้นที่ถึงกับลักสูบน้ำเข้านาเพื่อไม่ให้ต้นกล้าข้าวเฉาตาย ยิ่งไปกว่านั้นความแห้งแล้งยังส่งผลให้ถนนหนทางแตกร้าวและทรุดตัวเป็นอันตรายต่อผู้ขับขี่ และหลายจังหวัดต้องพบวิกฤติขาดแคลนน้ำดิบทำประปา โดยการประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) สาขาธัญบุรี จ.ปทุมธานี ได้ออกประกาศไม่สามารถผลิตและจ่ายน้ำประปาให้แก่ประชาชนในพื้นที่ได้ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เนื่องจากน้ำในคลองระพีพัฒน์แห้งขอด ทำให้เกิดความตื่นตระหนกกันไปทั่ว

          พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย กล่าวภายหลังการหารือเกี่ยวกับการบริหารจัดการน้ำ และการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง กับเจ้าหน้าที่ กปภ. การประปานครหลวง (กปน.) และกรมชลประทาน ว่า ในส่วนของ จ.ปทุมธานี ทางกรมชลประทานปล่อยให้น้ำดิบไปยังการประปาส่วนภูมิภาค โดยเริ่มผลิตเป็นน้ำประปาที่เรียกว่า ถังน้ำใส ความจุ 1 หมื่นลิตร ขณะนี้บรรจุเข้าไปแล้ว 4,000 ลิตร ซึ่งเต็มความจุเมื่อไหร่ก็จะปล่อยน้ำออกมาได้

          "กรมชลประทานยืนยันว่า ถ้าไม่มีการสูบน้ำออกจากระบบสามารถส่งน้ำได้จนถึงเดือนสิงหาคม คาดว่าสถานการณ์นี้คงไม่มีปัญหา อย่างไรก็ตามมีการเตรียมหาแหล่งน้ำสำรองเพิ่มในพื้นที่ดังกล่าว อาทิ สระน้ำในมูลนิธิชัยพัฒนา สระพระราม 9 และบ่อบาดาลอื่นๆ ในกรณีที่ไม่สามารถส่งน้ำได้ตามเกณฑ์โดยเร็วก็จะใช้ระบบการส่งน้ำโดยความช่วยเหลือจากทุกส่วน ไม่ว่าจะเป็น มท. ท้องถิ่น ทหาร รวมไปถึงหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องที่จะส่งน้ำให้ได้ คาดว่าภายในคืนวันที่ 13 กรกฎาคม จะส่งน้ำได้ตามปกติทั้งระบบ" พล.อ.อนุพงษ์ กล่าว

          กรมชลฯเตรียมเสนอแผนการส่ง

          รมว.มหาดไทย กล่าวอีกว่า ในส่วนของการขอความร่วมมือจากเกษตรกรไม่ให้สูบน้ำนั้น กรมชลประทานเตรียมเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 14 กรกฎาคมนี้ จะมีการเสนอแผนการส่งน้ำตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม เป็นต้นไป จากเดิมที่วางไว้ 28 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ลดลงเหลือ 18 ล้าน ลบ.ม. โดยเกษตรกรจะต้องไม่สูบน้ำไปใช้ในภาคการเกษตร เพราะเป็นส่วนที่จะสำรองใช้ในการอุปโภคบริโภค ทั้งนี้มีการปรับลดปริมาณการส่งน้ำ เนื่องจากต้องการจะสำรองน้ำให้ใช้ได้จนถึงต้นเดือนสิงหาคม เพื่อรองรับสถานการณ์ หากฝนไม่ตกตามที่คาดการณ์ไว้ และการผลักดันน้ำเค็มไม่ให้มีผลต่อการผลิตน้ำประปา

          ขณะที่ นายจิรชัย มูลทองโร่ย กรรมการ กปภ. ลงพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจกับชาวบ้านในพื้นที่คลอง 13 ถึงผลกระทบจากการนำน้ำไปใช้ในการเกษตร พร้อมกับขอความร่วมมือจากมูลนิธิชัยพัฒนา เพื่อนำน้ำสระหลวง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี ที่มีน้ำอยู่ 21 ล้าน ลบ.ม. มาใช้ผลิตน้ำป้อนแนวท่อประปาคลอง 13 เป็นหลัก

          ผู้ว่าฯปทุมเร่งแก้น้ำประปาขาดแคลน

          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายพงศธร สัจจชลพันธ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี โพสต์ข้อความลงเฟซบุ๊ก พงศธร สัจจชลพันธ์ ถึงการแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ ล่าสุดระบุว่า เมื่อคืนเจ้าหน้าที่ของกรมชลประทานขุดร่องน้ำเพื่อนำน้ำดิบที่ใช้ผลิตน้ำประปาเข้ามาบริเวณสถานีสูบน้ำคลอง 13 อ.หนองเสือ อย่างไม่เห็นแก่เหน็ดแก่เหนื่อย เสร็จตอนใกล้ตี 3 ขณะนี้การประปาภูมิภาค สาขาธัญบุรี เริ่มสูบน้ำไปผลิตประปาแล้ว แต่จะส่งเข้าสู่ระบบ และไปถึงปลายทางทุกจุดได้ในเวลาเท่าไร ต้องให้การประปาภูมิภาคแถลง

          ก่อนหน้านี้ นายพงศธรเปิดเผยว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีรับสั่งผ่านข้าราชบริพารในพระองค์ฯ ที่ปฏิบัติงานในพระตำหนักส่วนพระองค์ ที่ จ.ปทุมธานี มายังผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานีว่า ประชาชนที่เดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคสามารถเข้าไปขอใช้บริการน้ำประปาในพระตำหนักบ้านสวนปทุมของพระองค์ท่านได้ โดยจะมีเจ้าหน้าที่อำนวยความสะดวก

          นายรอยล จิตรดอน ผอ.สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สสนก. เปิดเผยเมื่อเวลา 19.00 น. ว่า สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานให้นำน้ำจากสระเก็บน้ำพระราม 9 ไปบรรเทาความเดือดร้อนให้ชาวปทุมธานี วันละ 7,200 ลบ.ม.เป็นเวลา 30 วันเป็นเบื้องต้น หากสถานการณ์ไม่ดีขึ้นก็จะพระราชทานเพิ่มเติม สำหรับสระเก็บน้ำพระราม 9 อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ระหว่างคลองระบายน้ำรังสิต 5 และ 6 ต.คลองหลวง อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี

          คนปทุมฯ วางแผนสำรองน้ำ

          น.ส.จันทร์เพ็ญ มากัง ผู้พักอาศัยในหมู่บ้านกรีนการ์เด้นโฮม ต.บึงน้ำรักษ์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี เปิดเผยว่า การที่การประปาส่วนภูมิภาคไม่สามารถแจกจ่ายน้ำประปาให้ผู้ใช้น้ำถือเป็นฝันร้ายที่เกิดขึ้นกับคนเมือง เพราะที่ผ่านมาการรับรู้ถึงปัญหาภัยแล้งก็ทราบอยู่บ้างว่า ก่อให้เกิดผลกระทบต่อภาคการเกษตร แต่จากเหตุการณ์วันที่ 12 กรกฎาคม ที่น้ำประปาหยุดไหล ได้สร้างความเดือดร้อนเฉพาะหน้าอย่างแท้จริง ถ้าไฟฟ้าดับยังทนได้ แต่การที่น้ำประปาไม่มีใช้เดือดร้อนมาก ที่บ้านประกอบอาชีพขายอาหาร เมื่อน้ำประปาไม่ไหลก็ทำอะไรไม่ได้เลย

          "ก่อนที่จะเกิดปัญหา น้ำประปาที่จ่ายมาในระบบก็ไหลไม่แรง กว่าจะรองน้ำได้เต็มต้องใช้เวลานาน ตั้งแต่คืนวันอาทิตย์ต่อเนื่องถึงบ่ายวันจันทร์ ต้องใช้น้ำที่ทางเทศบาลนำมาแจก แต่ภาชนะสำรองน้ำมีจำกัด จึงต้องใช้อย่างประหยัด จากนี้ไปคงต้องหันมาให้ความสำคัญกับการสำรองน้ำไว้ใช้ เพราะไม่รู้จะเกิดปัญหาขึ้นอีกเมื่อใด" น.ส.จันทร์เพ็ญ กล่าว

          เช่นเดียวกับ นายชลนที เครือโชติ ภูมิลำเนาหมู่ 3 ต.บึงสนั่น อ.ธัญบุรี กล่าวว่า ครอบครัวอาศัยอยู่ด้วยกัน 10 คน ทันทีที่น้ำประปาไม่ไหลเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ก็นำรถกระบะพร้อมถังน้ำไปรับน้ำยังจุดแจกน้ำของท้องถิ่น ที่ผ่านมาน้ำประปาไม่ไหลจะไม่นานเกินครึ่งวัน ต่างจากครั้งนี้เป็นปัญหาข้ามวัน

          กรมชลฯนำถกแผนบริหารน้ำ

          ล่าสุด เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม ที่กรมชลประทาน นายทองเปลว กองจันทร์ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ ครั้งที่ 13/2558 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวม 10 หน่วยงาน โดยกล่าวว่า สถานการณ์น้ำไหลเข้าเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ขณะนี้ไปตรงกับสมมุติฐานในปีที่ปริมาณน้ำมีต่ำที่สุดของประเทศไทย กรมชลฯ จึงจำลองสถานการณ์น้ำใหม่อีกครั้ง เพื่อขอความเห็นที่ประชุมและนำเสนอให้รัฐบาลได้ตัดสินใจด้านนโยบาย

          "ปริมาณน้ำฝนที่ลงเขื่อนที่ยังไม่ดีขึ้น โดยจัดทำแบบจำลองปริมาณน้ำและแนวทางปรับเปลี่ยนการระบายน้ำของเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ออกมาแล้วเขื่อนละ 4 แนวทาง โดยมุ่งเป้าต้องมีน้ำกินน้ำใช้ไปตลอดหน้าฝนนี้ และเริ่มต้นฤดูแล้งต้องมีน้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา รวมกัน 3,500 ล้าน ลบ.ม. เพื่อให้ปลอดภัยไปตลอดฤดูแล้งอีก 6 เดือน หรือสิ้นเดือนเมษายน 2559 แต่แบบจำลองส่วนใหญ่ชี้ว่า น้ำในเขื่อน

          ภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ จะหมดลงภายในช่วงสัปดาห์แรกของเดือนสิงหาคมนี้ และจะต้องใช้วิธีนำเครื่องสูบน้ำมาสูบน้ำจากก้นเขื่อนออกไปใช้ ซึ่งไม่ใช่แนวทางที่ดี เพราะต้องใช้เวลาสูบน้ำ และสิ้นเปลืองพลังงาน หากสูบน้ำก้นเขื่อนตอนนี้ก็จะต้องสูบกันอีกในหน้าแล้งต่อๆ ไป" นายทองเปลว กล่าว

          นายทองเปลว กล่าวว่า ทางเลือกที่น่าจะเหมาะสมที่สุด คือ เขื่อนภูมิพลให้คงการระบายน้ำในปัจจุบันวันละ 8 ล้าน ลบ.ม.ไปจนถึงวันที่

          15 กรกฎาคมนี้ จากนั้นทยอยลดการระบายน้ำลงวันละ 1 ล้าน ลบ.ม.จนเหลืออัตราการระบายวันละ 5 ล้าน ลบ.ม. วิธีนี้จะทำให้เหลือน้ำใช้การต่ำสุดประมาณวันที่ 9 สิงหาคมนี้ แต่ไม่ต้องสูบน้ำก้นเขื่อน ควบคู่กับเขื่อนสิริกิติ์ คงการระบายน้ำปัจจุบันวันละ 17 ล้าน ลบ.ม.ไปจนถึงวันที่ 15

          กรกฎาคมนี้ และทยอยลดการระบายจนเหลือวันละ 11 ล้าน ลบ.ม.และจะเหลือน้ำใช้การต่ำสุดวันที่ 15 สิงหาคมนี้ แต่วิธีนี้จะทำให้เหลือน้ำใช้การใน 4 เขื่อนหลัก ช่วงเริ่มต้นฤดูแล้ว วันที่ 1 พฤศจิกายน ประมาณ 3,677 ล้าน ลบ.ม. เพียงพอกับระดับปลอดภัย 3,500 ล้าน ลบ.ม. โดยตั้งแต่วันที่ 16 กรกฎาคม สองเขื่อนลดการระบายเหลือ 16 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน

          นายทองเปลว กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม การลดการระบายน้ำจากเขื่อนจะทำให้มีพื้นที่นาข้าวในเขตชลประทานลุ่มเจ้าพระยา โดยเฉพาะนาที่ดอน และนาปลายคลอง มีพื้นที่เสี่ยงเพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่เคยประกาศว่า มีพื้นที่เสี่ยง 8.5แสนไร่ คงไม่ใช่ เพราะขณะนี้นาข้าวภาคกลางตอนบนยังขยายเพิ่มขึ้นวันละประมาณ 1 หมื่นไร่นาข้าวภาคกลางตอนล่าง ขยายถึงวันละ 3 หมื่นไร่

          กฟผ.ยันน้ำใช้ผลิตไฟฟ้าไร้ปัญหา

          นายชัยยุทธ จารุพัฒนานนท์ หัวหน้ากองจัดการทรัพยากรน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า ถ้าใช้วิธีสูบน้ำก้นเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ในระหว่างการสูบจะมีฟองอากาศ เป็นช่องว่างไหลเข้าสู่ระบบ

          ใบพัดปั่นกระแสไฟฟ้าของเขื่อน ซึ่งอาจทำให้ระบบมีปัญหา จึงไม่ควรใช้วิธีนี้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพล และเขื่อน สิริกิติ์ ต่ำมาก เขื่อนภูมิพลมีน้ำไหลเข้าแทบเป็นศูนย์ กฟผ.ได้เตรียมการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งอื่นไว้แล้ว ยืนยันว่าไฟฟ้าจะไม่ได้รับผลกระทบ

          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างการประชุม ผู้แทนสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ปัญหาสถานีผลิตน้ำประปา สาขาธัญบุรี คลอง 13 อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี หยุดสูบน้ำจากคลอง 13 เพราะระดับน้ำในคลองต่ำมากจนสูบน้ำดิบเข้าระบบไม่ได้ และต้อง หยุดจ่ายน้ำในบางพื้นที่ เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ปัญหาเกิดจากชาวนาดักน้ำเข้า นาเป็นจำนวนมาก ซึ่งนายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ลงพื้นที่แก้ไขสถานการณ์ด้วยตัวเอง โดยสั่งการให้นำเครื่องจักรของกรมชลประทานไปขุดลอกสันดอนทรายในลำคลองแล้ว ทำให้น้ำไหลมาถึงจุดสูบน้ำประปาได้แล้ว โดยเริ่มเดินเครื่องสูบน้ำเวลา 03.00 น. วันที่ 13 กรกฎาคม

          รมว.เกษตรฯยันต้องเอาคนให้รอด

          นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในโอกาสเป็นประธานพิธีเปิดการเสวนา "ทางออกเกษตรกรไทย ฝ่าวิกฤติภัยแล้ง" ว่า การจัดงานเสวนาครั้งนี้เพื่อระดมความคิดเห็น และรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ที่เกี่ยวข้องด้านการผลิต ด้านนโยบาย ด้านการวางแผนการบริหารจัดการน้ำ เพื่อร่วมกันหาแนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบกับภาวะภัยแล้งของการเพาะปลูกข้าวนาปี ปี 2558-2559 ซึ่งที่ผ่านมามีการปลูกข้าวไปแล้วในลุ่มน้ำเจ้าพระยา 3.4 ล้านไร่ และจากการคาดการณ์ว่าจะมีฝนตกในช่วงเดือนกรกฎาคม แต่จากการคาดการณ์ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

          รมว.เกษตรฯ กล่าวอีกว่า จากนี้ไปจะต้องมีการวางมาตรการใหม่ ซึ่งขณะนี้ต้องเน้นบริหารจัดการน้ำให้คนสามารถมีน้ำกินน้ำใช้ให้ได้ ขณะเดียวกันจะต้องมีการวางระบบการป้องกันน้ำเค็ม เพราะหากปล่อยให้เกิดปัญหาน้ำเค็มเกิดขึ้น ไม่ใช่เฉพาะเรื่องข้าวที่จะเสียหาย แต่พืชอย่างอื่นที่เป็นพืชเศรษฐกิจทั้งระบบจะเสียหายไปด้วย ทั้งนี้ ยอมรับว่า ที่ผ่านมาการห้ามเกษตรกรปลูกข้าวเป็นเรื่องยาก เพราะถือเป็นวัฒนธรรมของ เขา อย่างไรก็ห้ามไม่ได้ จึงทำให้เกิดปัญหาต่อเนื่อง โดยก่อนหน้านี้มีการห้ามชัดเจน แต่ก็ ยังเสี่ยงปลูก

          "ตอนนี้ต้องเน้นการใช้น้ำเลี้ยงคนไม่ให้ตายเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เวลานี้ทุกคนต้องร่วมกัน ประหยัดน้ำเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ต้องรับผิดชอบร่วมกัน เมื่อฟ้าไม่รับผิดชอบ เราต้องช่วยกัน เพราะเราอยู่ใต้ฟ้า" นายปีติพงศ์ กล่าว

          ชาวนาช่วยกันลอกคลองให้น้ำไหล

          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายในคลองรังสิตประยูรศักดิ์ น้ำในคลอง 12-14 อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี แห้งขอดจนเหลือแต่ดิน โดยเรือขายก๋วยเตี๋ยวอยู่ภายในคลองก็ไม่มีน้ำทำให้เรือจมติดกับพื้นคลอง เนื่องจากคลองดังกล่าวต้องรับน้ำมาจากคลองระพีพัฒน์ และคลองระบายน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งขณะนี้ในคลองดังกล่าวไม่มีน้ำจะส่งลงมา ทำให้คลองรังสิตแห้งไปด้วย ซึ่งพบว่ากลุ่มชาวบ้านกำลังลอกเลนที่อยู่ก้นคลอง เพื่อให้น้ำที่ในคลอง 11 ไหลลงไปยังคลอง 12 บ้าง

          นายมูหะหมัด มาลี อายุ 56 ปี อาชีพทำนาหญ้า กล่าวว่า ชาวบ้านหมู่ 10 ต.หนองสามวัง อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี ส่วนใหญ่มีอาชีพปลูกนาหญ้า ในพื้นที่ต้องใช้น้ำในการทำการเกษตร โดยใช้น้ำในคลอง 12 แต่พบว่าน้ำในคลอง 12 แห้งขอด ก้นคลองก็ไม่มีน้ำใช้สำหรับรดน้ำนาหญ้า นาหญ้าเริ่มแห้ง กอหญ้าที่ดำไว้ไม่แตกยอด หลายคนต้องรื้อนาหญ้าทิ้ง เพราะยอดหญ้าแห้งตาย และเมื่ออกสำรวจพบว่าภายในคลองรังสิตประยูรศักดิ์ยังคงมีน้ำอยู่แต่ติดดินกลางคลอง ซึ่งน้ำไม่สามารถผ่านนาได้ จึงมาลอกคลองเพื่อให้น้ำไหลไป

          ลาดหลุมแก้วถนนทรุดเพิ่ม

          เมื่อเวลา 08.00 น. วันเดียวกัน เกิดเหตุถนนเลียบคลองลากค้อน ใน ต.ระแหง อ.ลาดหลุมแก้ว จ.ปทุมธานี ทรุดตัว 4 จุด จุดแรกบริเวณใกล้คอสะพานข้ามคลองลากค้อน หมู่ 3 ถนนมีรอยแตกร้าวและทรุดเล็กน้อย จุดที่ 2 ฝั่งตรงข้ามซอยแคนนอนบอล หมู่ 3 ขอบถนนทรุดตัวเป็นทางยาว 50 เมตร ลึก 1.6 เมตร จุดที่ 3 ในพื้นที่หมู่ 2 ถนนทรุดเป็นทางยาว 50 เมตร ลึก 1.2 เมตร และจุดที่ 4 ที่บริเวณหมู่ 2 ถนนมีรอยร้าวและทรุดตัวเล็กน้อย ขณะที่ถนนเลียบคลอง ระพีพัฒน์ (คลอง 13) ทรุดตัวเพิ่มอีก 3 จุด เป็นระยะทางยาวกว่า 250 เมตร

          นางจันทนา เล็กน้อย อายุ 48 ปี อยู่บ้านเลขที่ 59 หมู่ 2 กล่าวว่า หลังจากระดับน้ำในคลองลดลงอย่างต่อเนื่องจนดินริมตลิ่งสไลด์ตัวหลายแห่ง ทำให้ถนนเลียบคลองเกิดทรุดตัว

          พณ.ลั่นอย่าตื่น-ยันน้ำไม่ขาดแคลน

          พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้น้ำในการใช้สำหรับอุปโภคบริโภคยังมีเพียงพอต่อความต้องการ ไม่มีการขาดแคลนเหมือนที่เกิดขึ้นตามกระแสข่าว โดยในส่วนของรัฐบาลก็มีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และทางกรมชลประทานยืนยันว่า น้ำในการอุปโภคบริโภคจะไม่ขาดแคลนอย่างแน่นอน ขณะเดียวกัน รัฐบาลได้หารือเตรียมแผนการดูแลความเหมาะสม กรณีที่น้ำขาดแคลนเอาไว้ล่วงหน้าแล้ว และในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ก็มอบหมายให้กรมการค้าภายในเข้าไปดูแล ลงพื้นที่ติดตามการจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่อาจได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งเช่นกัน ทั้งน้ำเพื่อบริโภค พืชผัก และผลไม้ โดยจะดูแลสถานการณ์ราคาไม่ให้สูงจนเกินไป ซึ่งหากพบมีการเอารัดเอาเปรียบประชาชนจะดำเนินการตามกฎหมายทันที

          "ตอนนี้ยังไม่ได้รับรายงานว่ามีการขาดแคลนน้ำดื่มเพื่อใช้ในการบริโภค และเชื่อว่ากระแสข่าวอาจเป็นผลทางจิตวิทยาในช่วงหน้าแล้ง แต่ตามรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยาก็ระบุว่า ในช่วงหลังวันที่ 20 กันยายน 2558 นี้ จะเริ่มมีฝนมากขึ้น และในช่วงสิงหาคมก็จะเริ่มเข้าสู่หน้าฝนแล้ว จึงเชื่อว่าการขาดแคลนน้ำจะไม่เกิดขึ้น เพราะจะอยู่ในภาวะแล้งอีกไม่นาน" รมว.พาณิชย์ กล่าว

          นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า การหยุดจ่ายน้ำประปาในบางพื้นที่ของปทุมธานีนั้น ไม่กระทบต่อปริมาณน้ำดื่มบรรจุขวดในตลาดแน่นอน และหากพบการฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าในสถานการณ์นี้ ให้แจ้งที่สายด่วน 1569 ซึ่งผู้กระทำผิดมีโทษจำคุก 7 ปี ปรับไม่เกิน 140,000 บาท

          ทบ.สั่งทุกหน่วยเร่งหาน้ำแก้ภัยแล้ง

          พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ งาทอง รองโฆษกกองทัพบก เปิดเผยว่า กองทัพบกยังคงระดมสรรพกำลังเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืนในทุกมิติ โดยพล.อ.อุดมเดช สีตบุตร รมช.กลาโหมและผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) สั่งการให้ทุกหน่วยดำรงความต่อเนื่องสนับสนุนแนวทางการแก้ปัญหาภัยแล้งตามนโยบายของรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้เกิดผลสัมฤทธิ์และเป็นประโยชน์ต่อประชาชนให้มากที่สุด โดยสนับสนุนการจัดหาน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการเกษตรอย่างเร่งด่วน ให้หน่วยทหารในพื้นที่นำน้ำสะอาดไปแจกจ่ายให้ประชาชน สนับสนุนการขุดเจาะบาดาลในพื้นที่ อ.แสวงหา จ.อ่างทอง อีกทั้งให้ทุกหน่วยสนับสนุนการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งน้ำ พร้อมฟื้นฟูสภาพดินในการทำเกษตรให้ประชาชนใน 53 หมู่บ้าน และสนับสนุนการบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งเรื่องค่าครองชีพใน "โครงการธงฟ้าเคลื่อนที่สู่ชุมชน" นำสินค้าราคาถูกไปจำหน่ายใน 19 จังหวัดที่ประสบภัยแล้ง ระหว่างวันที่ 3-31 กรกฎาคม นอกจากนี้ยังมอบหมายให้กองกำลังรักษาความสงบเรียบร้อย (กกล.รส.) สำรวจความเดือดร้อนของชาวนาจากปัญหาภัยแล้ง เพื่อเป็นข้อมูลให้รัฐบาลนำไปกำหนดมาตรการช่วยเหลือในระยะต่อไป

          "ผบ.ทบ.ได้กำชับให้หน่วยทหารช่วยกันสร้างการรับรู้ให้แก่ประชาชนถึงสถานการณ์น้ำและการให้ความรู้เกษตรกร เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเพาะปลูกให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ และปริมาณน้ำที่มีอยู่ รวมทั้งการปลูกจิตสำนึกในการใช้น้ำอย่างมีคุณค่า ส่วนพื้นที่ใดที่อาจมีปัญหาการแย่งชิงน้ำ ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งของประชาชนและชุมชนนั้น หน่วยทหารของกองทัพบกจะเร่งเข้าดำเนินการชี้แจง ประสานกับส่วนราชการและชุมชน เพื่อร่วมในการจัดสรรน้ำให้อย่างเหมาะสม ภายใต้แนวทางที่ว่าประชาชนทุกคนในพื้นที่มีสิทธิ์ใช้น้ำอย่างเท่าเทียมกัน" พ.อ.หญิง ศิริจันทร์ กล่าว

          ศภช.คาดตลอดเดือนก.ค.ฝนไม่มาก

          ด้านศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) รายงานสถานการณ์ภาวะภัยพิบัติประจำวันที่ 13 กรกฎาคม ว่า สภาพแม่น้ำสายหลักทุกภาคอยู่ในเกณฑ์น้อย สำหรับปริมาณน้ำในเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ ภาพรวมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย สถานการณ์ภัยแล้ง ซึ่งเป็นภาวะของความแห้งแล้งยังคงส่งผลกระทบต่อพื้นที่เกษตรกรรมใน 6 จังหวัด แม้จะมีฝนตกกระจายในหลายพื้นที่และความแห้งแล้งบรรเทาลงก็ตาม แต่ภาพรวมยังอยู่ในภาวะเสี่ยง

          ศภช.รายงานอีกว่า ส่วนสถานการณ์ภัยแล้ง ปัจจุบันยังคงมีพื้นที่ได้รับผลกระทบ รวม 6 จังหวัด 24 อำเภอ 156 ตำบล 1,401 หมู่บ้าน คือ จ.นครสวรรค์ จ.ตาก จ.น่าน จ.นครราชสีมา จ.ขอนแก่น และ จ.สระแก้ว โดยภาวะภัยแล้งมี

          แนวโน้มลดลง แต่ยังมีบางพื้นที่ที่ยังอยู่ในภาวะเสี่ยงต่อไป ขณะที่ภาวะฝนแล้ง พื้นที่ที่ได้รับผล กระทบ ตั้งแต่วันที่ 4 มิถุนายน-13 กรกฎาคม

          ที่ผ่านมา มีพื้นที่ที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินภาวะฝนแล้ง 4 จังหวัด ได้แก่ จ.แพร่ จ.ชลบุรี จ.สุโขทัย และ จ.ปทุมธานี รวม 15 อำเภอ 79 ตำบล 601 หมู่บ้าน

          ศภช.รายงานด้วยว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จากปริมาณฝนที่ตกและปริมาณน้ำที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำยังคงอยู่ในเกณฑ์น้อยมาก ซึ่งจากการคาดการณ์ปริมาณฝนในเดือนกรกฎาคมจะมีไม่มากและไม่สม่ำเสมอ โดยฝนจะเริ่มตกชุกในเดือนสิงหาคม และกันยายน ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำทั้งระบบ กรมชลประทานจึงมีการปรับลดแผนการระบายน้ำจากเดิมวันละ 33 ล้าน ลบ.ม. ลงเหลือวันละ 28 ล้าน ลบ.ม. เพื่อการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่ปลูกข้าวนาปีที่ปลูกไปแล้วก่อนวันประกาศ ขอให้ชะลอการเพาะปลูก

          เร่งส่งน้ำเข้าคลองชัยนาท-ป่าสัก

          นายกริช พูลสวัสดิ์ หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามโนรมย์ สชป.10 จ.ชัยนาท กล่าวว่า ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำไฟฟ้า 3 เครื่อง ที่บริเวณปากคลองประตูน้ำ (ช่องเรือผ่าน) มโนรมย์ และ เดินเครื่องสูบแล้วตั้งแต่เมื่อค่ำวันที่ 12 กรกฎาคม ที่ผ่านมา ประกอบกับเครื่องสูบน้ำด้วยน้ำมัน ขนาดท่อ 12 นิ้ว อีก 15 เครื่อง ทำให้มีปริมาณ น้ำส่งเข้าคลองชัยนาท-ป่าสัก รวม 17 ลบ.ม.ต่อวินาที

          นายกริช กล่าวอีกว่า คลองชัยนาท-ป่าสัก มีระยะทาง 150 กิโลเมตร ต้องใช้เวลาในการ เดินทางไปถึง จ.ลพบุรี ประมาณ 3 วัน โดยขอความร่วมมือพี่น้องเกษตรกรที่อยู่ใน พื้นที่ จ.ชัยนาท หยุดสูบน้ำจากคลองชัยนาท- ป่าสัก ตั้งแต่วันนี้จนถึงวันที่ 16 กรกฎาคม เพื่อเร่งผลักดันน้ำให้ถึง จ.ลพบุรีก่อน จากนั้นจะแบ่งปันน้ำเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่เกษตรกรที่ปลูกข้าว

          ที่ จ.อ่างทอง นายวรดี ชินคชบาล ผู้จัดการ กปภ.อ่างทอง เปิดเผยว่า ขณะนี้ทางสำนักงาน กปภ.อ่างทอง ยังสามารถผลิตน้ำประปาได้ตามปกติ อย่างไรก็ตาม หลังระดับน้ำเจ้าพระยาลดลงมีระดับน้อยที่สุดในรอบ 10 ปี ทำให้ กปภ.อ่างทองต้องเพิ่มรอบการสูบน้ำและเพิ่มเครื่องสูบน้ำอีก 2 เครื่อง เพื่อดึงน้ำมาผลิตน้ำประปาให้เพียงพอกับความต้องการในพื้นที่

          ชลประทานโคราชเร่งผันน้ำผลิตประปา

          นายสุทธิโรจน์ กองแก้ว ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง เปิดเผยว่า ขณะนี้น้ำภายในเขื่อนลำตะคองมีน้ำใช้การอยู่ 52 ล้านลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 16 ของความจุกักเก็บทั้งสิ้น 314.49 ล้าน ลบ.ม. โดยทุกวันนี้ทางเขื่อนลำตะคองได้จัดส่งน้ำออกมาเพื่อการรักษาระบบนิเวศและเพื่อการผลิตประปา เฉลี่ยที่วันละ 4.3 แสน ลบ.ม. แต่จากการตรวจ เช็กพบว่า ที่บริเวณอาคารแบ่งน้ำละลมหม้อ ต.โคกกรวด อ.เมือง จ.นครราชสีมา มีน้ำไหลผ่าน วันละ 1.2 แสน ลบ.ม.

          นายสุทธิโรจน์ กล่าวว่า สาเหตุที่ทำให้ปริมาณน้ำไหลลงสู่ที่ต่ำช้า เนื่องจากตั้งแต่พื้นที่ท้ายเขื่อนลำตะคอง มีทำนบ หรือสิ่งกีดกั้น ทางน้ำไหลของชาวบ้านอยู่จำนวนมาก โดยเฉพาะที่บริเวณบ้านละลมหม้อ ก็มีโขดหินที่สูงกว่า ระดับน้ำ ทางชลประทานจึงนำเครื่องสูบน้ำขนาด 12 นิ้ว จำนวน 2 เครื่อง ไปติดตั้งเพื่อใช้เร่งระบายน้ำจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำ ให้ไหลไปยัง โรงผลิตน้ำประปา เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค

          14 ก.ค.ประปาเมืองกรุงไหลอ่อน

          วันเดียวกัน กปน.ได้แจ้งเตือนประชาชนชาวกรุงเทพฯ ในหลายพื้นที่ให้เตรียมสำรองน้ำประปาไว้ใช้ เพราะน้ำประปาจะไหลอ่อนในวันที่ 14 กรกฎาคม นี้ โดย กปน.จะดำเนินการบำรุงรักษาอุปกรณ์ไฟฟ้าของโรงงานผลิตน้ำสามเสน เพื่อให้การสูบจ่ายน้ำของ กปน. เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีเสถียรภาพสูงสุด ดังนั้นในคืนวันที่ 14 กรกฎาคม ตั้งแต่เวลา 23.00-05.00 น. ของวันรุ่งขึ้น ส่งผลให้น้ำประปาไหลอ่อน ในพื้นที่สำนักงานประปา สาขาแม้นศรี ทั้งหมด สำนักงานประปา สาขาทุ่งมหาเมฆ ในถนนพระราม 4  สำนักงานประปา สาขาพญาไท ในถนนประดิพัทธ์ ตั้งแต่แยกประดิพัทธ์ ถึงแยกสะพานควาย ถนนพหลโยธิน ตั้งแต่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ถึงแยกสะพานควาย ถนนดินแดง จึงขอให้ประชาชนในพื้นที่ดังกล่าว โปรดสำรองน้ำประปาไว้ใช้ในช่วงเวลาดังกล่าว ทั้งนี้หากประสบข้อขัดข้องกรุณาแจ้ง ศูนย์บริการประชาชน โทร.1125 ตลอด 24 ชั่วโมง

          "ประยุทธ์"ห่วงแก้ภัยแล้ง

          พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ที่ทำเนียบรัฐบาล ยอมรับว่าเป็นห่วงสถานการณ์ภัยแล้งที่กำลังลุกลามและเป็นปัญหาใหญ่ จนบางจังหวัดไม่มีน้ำต้นทุนมาผลิตน้ำ ประปาใช้

          "เราแก้ปัญหาทุกวัน เมื่อคืนที่ผ่านมาก็ไม่ได้หลับได้นอน เนื่องจากไม่มีน้ำต้นทุนทำประปา และถูกประชาชนกักไว้ทำการเกษตร วันนี้ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี และพื้นที่ที่มีปัญหา เข้าไปเจรจา ซึ่งชาวบ้านก็ให้ความร่วมมือดี ตอนนี้ก็มีการทลายที่กั้นน้ำหมดแล้ว เดี๋ยวต้องให้เวลาน้ำวิ่งมาอีกจะกี่วันถึงจะผลิตน้ำประปาได้ยังไม่รู้เลย" นายกฯ ระบุ

          พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวเรียกร้องให้ประชาชน โดยเฉพาะชาว กทม.ให้ประหยัดน้ำและ นึกถึงผู้ประสบปัญหาบ้าง เพราะถ้าฝนไม่ตก เกษตรกรไม่มีน้ำใช้อย่างแน่นอน และวันที่ 14 กรกฎาคม จะหารือในที่ประชุมครม.ว่าจะช่วยเหลือได้แค่ไหน

          "ฉะนั้นการแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนและเสียหายร้ายแรงแบบนี้ มันแก้วันเดียวไม่สำเร็จ ต้องแก้ไปแต่จะทำอย่างไรถึงจะบรรเทาความเดือดร้อน วันนี้เราให้เบ็ดตกปลาอย่างเดียวไม่ได้ หรือสอนอย่างเดียวไม่ได้ มันต้องให้ปลาไปกินบ้างเพื่อให้เขาประทังชีวิต" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

   จาก http://www.komchadluek.net  วันที่ 14 กรกฎาคม 2558

บิ๊กตู่สั่งอุ้มหนี้เกษตรกรเน้นแก้นอกระบบ'2.1หมื่นล้าน

          นายกฯเร่งก.เกษตรฯ-มหาดไทย แก้ปัญหาหนี้นอกระบบกลุ่มเกษตรกรกว่า 2.1 หมื่นล้านบาท เจอขูดดอกโหด 36%-60% เผยเกินครึ่งกำลังโดนฟ้องร้องยึดที่ดินทำกิน แนะรัฐจัดสรรเงินกองทุนซื้อหนี้แล้วให้ผ่อนคิดดอกแค่ 1%

          นายอำนวย ปะติเส รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งแก้ปัญหาหนี้สินเกษตรกร ที่ประสบปัญหาความเดือดร้อนและไม่ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับหนี้สิน จนไม่สามารถชำระหนี้ได้และในที่สุดต้องสูญเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน

          กระทรวงมหาดไทยได้สำรวจหนี้สินเกษตรกรทั่วประเทศเบื้องต้นพบเป็นหนี้จำนวน 388,361.91 ล้านบาท แบ่งเป็น 1.หนี้นอกระบบที่ไม่อยู่ในระบบสถาบันการเงิน 21,590.92 ล้านบาท จำนวนเกษตรกรที่เป็นหนี้ 149,437 ราย เฉลี่ยเป็นหนี้รายละ 140,000 บาท ในจำนวนนี้เป็นเกษตรกรที่มีความเดือดร้อนอยู่ในชั้นบังคับคดีถูกฟ้องร้อง และมีหนี้ค้างชำระ 13,428.86 ล้านบาท จำนวนเกษตรกร 92,945 รายเป็นหนี้เฉลี่ยรายละ 144,000 บาท

          และ2.หนี้ในระบบ ได้แก่หนี้ในระบบสถาบันการเงินมูลหนี้ 366,771 ล้านบาท จำนวนเกษตรกร 1,488,125 ราย เป็นหนี้เฉลี่ยรายละ 240,000 บาท

          "หนี้นอกระบบที่อยู่ระหว่างการดำเนินการฟ้องร้อง เพื่อยึดหลักประกันที่ส่วนใหญ่เป็นที่ดินทำกิน ในส่วนนี้นายกรัฐมนตรี ให้เร่งแก้ปัญหาเร่งด่วน เพื่อไม่ให้เกษตรกรเดือดร้อน กระทรวงเกษตรฯจะใช้กลไกกองทุนของกระทรวงผ่านศูนย์ประสานการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร กองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและผู้ยากจน กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และกองทุนสงเคราะห์เกษตรกรเข้ารับซื้อหนี้โดยคิดดอกเบี้ยต่ำ"

          นายอำนวยกล่าวอีกว่า กองทุนในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ จะเร่งดำเนินการซื้อหนี้สินของเกษตรกร เพื่อเปลี่ยนมือจากเจ้าหนี้นอกระบบที่คิดดอกเบี้ยสูงอยู่ที่อัตราดอกเบี้ย 36-60% จนเป็นภาระให้เกษตรกรไม่สามารถดำเนินการใช้หนี้ได้ต้องถูกยึดที่ดินทำกินตามสัญญากู้ยืม โดยกองทุนที่ภาครัฐใช้เป็นกลไกในการเปลี่ยนมือเป็น เจ้าหนี้ใหม่ของเกษตรกรจะคิดดอกเบี้ยในอัตรา 1%

          กระทรวงฯ จะเร่งดำเนินการเปลี่ยนเจ้าหนี้ให้กับเกษตรกร ลดดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบให้เสร็จภายใน 3 เดือนเศษ หรือเริ่มดำเนินโครงการภายในเดือนก.ค.สิ้นสุดเดือนต.ค.2558 เพื่อให้เป็นไป ตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการว่าหลังจากนี้จะต้องไม่มีการร้องเรียนจากเกษตรกรว่าถูกยึดที่ทำกินเด็ดขาด

          เป้าหมายการชำระหนี้ของเกษตรกรที่กระทรวงมหาดไทยสำรวจตรวจสอบ กลั่นกรองและจัดส่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขณะนี้มีจำนวน 1,637,562 ราย ซึ่งมีการดำเนินการสำรวจเพิ่มเติมต่อเนื่อง โดยแนวทางการดำเนินการหนี้สินเกษตรกรนอกระบบ กระทรวงมหาดไทย จะส่งข้อมูลให้กระทรวงยุติธรรมเพื่อช่วยเหลือตาม ข้อกฎหมาย จากนั้นให้กระทรวงเกษตรฯ ปลดเปลื้องหนี้สินตามภาระเจตนารมณ์ของกองทุนต่างๆ

   จาก http://www.khaosod.co.th วันที่ 14 กรกฎาคม 2558

เกษตรฯเปิดเวทีถกแก้ปัญหา'น้ำ' 'ปีติพงศ์'ย้ำชัด!ต้องเอาคนให้รอด

นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในโอกาสเป็นประธานพิธีเปิดการเสวนา "ทางออกเกษตรกรไทย ฝ่าวิกฤตภัยแล้ง" ว่า การจัดงานเสวนาครั้งนี้เพื่อระดมความคิดเห็น และรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้ที่เกี่ยวข้องด้านการผลิต ด้านนโยบาย ด้านการวางแผนการบริหารจัดการน้ำ เพื่อร่วมกันหาแนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกร ที่ประสบกับภาวะภัยแล้งของการเพาะปลูกข้าวนาปี ปี 2558 - 2559 ซึ่งที่ผ่านมามีการปลูกข้าวไปแล้วในลุ่มน้ำเจ้าพระยา 3.4 ล้านไร่ และจากการคาดการว่าจะมีฝนตกในช่วงเดือน ก.ค.แต่จากการคาดการไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

โดยจากนี้ไปจะต้องมีการวางมาตรการใหม่ ซึ่งขณะนี้ต้องเน้นบริหารจัดการน้ำให้คนสามารถมีน้ำกินน้ำใช้ให้ได้ ขณะเดียวกันจะต้องมีการวางระบบการป้องกันน้ำเค็ม เพราะหากปล่อยให้เกิดปัญหาน้ำเค็มเกิดขึ้น ไม่ใช่เฉพาะเรื่องข้าวที่จะเสียหาย แต่พืชอย่างอื่นที่เป็นพืชเศรษฐกิจทั้งระบบจะเสียหายไปด้วย ทั้งนี้ ยอมรับว่าที่ผ่านมาการห้ามไม่ให้เกษตรกรปลูกข้าวเป็นเรื่องยาก เพราะถือเป็นวัฒนธรรมของเขา ซึ่งอย่างไรก็ห้ามไม่ได้ จึงทำให้เกิดปัญหาต่อเนื่อง โดยก่อนหน้านี้มีการห้ามชัดเจนแต่ก็ยังเสี่ยงปลูก

"ตอนนี้ต้องเน้นการใช้น้ำเลี้ยงคนไม่ให้ตายเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เวลานี้ทุกคนต้องร่วมกัน ประหยัดน้ำเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ต้องรับผิดชอบร่วมกัน เมื่อฟ้าไม่รับผิดชอบ เราต้องช่วยกัน เพราะเราอยู่ใต้ฟ้า" นายปีติพงศ์ กล่าว

จาก http://www.naewna.com วันที่ 13 กรกฎาคม 2558

'กรมชลฯ'เคาะแนวทาง'ระบายน้ำ' เลี่ยงสูบก้นเขื่อนชี้กระทบผลิตไฟ

ที่กรมชลประทาน สามเสน นายทองเปลว กองจันทร์ ผู้อำนวยการ สำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลฯ เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ ครั้งที่ 13/2558 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรวม 10 หน่วยงาน โดยที่ประชุมได้สรุปภาพรวมสถานการณ์ฝนและสถานการณ์น้ำไหลลงเขื่อน ว่า สถานการณ์ยังทรงตัว ไม่มีสัญญาณดีขึ้น

โดย นายทองเปลว กล่าวว่า สถานการณ์น้ำไหลเข้าเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ขณะนี้ไปตรงกับสมมติฐานในปีที่ปริมาณน้ำมีต่ำที่สุดของประเทศไทย กรมชลฯ จึงได้จำลองสถานการณ์น้ำใหม่อีกครั้ง เพื่อขอความเห็นที่ประชุมและนำเสนอให้รัฐบาลจะได้ตัดสินใจด้านนโยบาย

"ปริมาณน้ำฝนที่ยังลงเขื่อนที่ยังไม่ดีขึ้น โดยจัดทำแบบจำลองปริมาณน้ำและแนวทางปรับเปลี่ยนการระบายน้ำของเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ออกมาแล้วเขื่อนละ 4 แนวทาง โดยมุ่งเป้าต้องมีน้ำกินน้ำใช้ไปตลอดหน้าฝนนี้ และเริ่มต้นฤดูแล้งต้องมีน้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา รวมกัน 3,500 ล้าน ลบ.ม.เพื่อให้ปลอดภัยไปตลอดฤดูแล้งอีก 6 เดือน หรือสิ้นเดือน เม.ย.59 แต่แบบจำลองส่วนใหญ่ชี้ว่า น้ำในเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ จะหมดลงภายในช่วงสัปดาห์แรกของเดือน ส.ค.นี้ และจะต้องใช้วิธีนำเครื่องสูบน้ำ มาสูบน้ำจากก้นเขื่อนออกไปใช้ ซึ่งไม่ใช่แนวทางที่ดี เพราะต้องใช้เวลาสูบน้ำ และสิ้นเปลืองพลังงาน นอกจากนี้ หากสูบน้ำก้นเขื่อนตอนนี้ ก็จะต้องสูบกันอีกในหน้าแล้งต่อๆ ไป

นายทองเปลว กล่าวว่า ทางเลือกที่น่าจะเหมาะสมที่สุด คือ เขื่อนภูมิพล ให้คงการระบายน้ำในปัจจุบันวันละ 8 ล้าน ลบ.ม.ไปจนถึงวันที่ 15 ก.ค.นี้ จากนั้นทยอยลดการระบายน้ำลงวันละ 1 ล้าน ลบ.ม.จนเหลืออัตราการระบายวันละ 5 ล้าน ลบ.ม.วิธีนี้จะทำให้เหลือน้ำใช้การต่ำสุดประมาณวันที่ 9 ส.ค.นี้ แต่ไม่ต้องสูบน้ำก้นเขื่อน ควบคู่กับเขื่อนสิริกิติ์ คงการระบายน้ำปัจจุบันวันละ 17 ล้าน ลบ.ม.ไปจนถึงวันที่ 15 ก.ค.นี้ และทยอยลดการระบายจนเหลือวันละ 11 ล้าน ลบ.ม.และจะหลือน้ำใช้การต่ำสุดวันที่ 15 ส.ค.นี้ แต่วิธีนี้จะทำให้เหลือน้ำใช้การใน 4 เขื่อนหลัก ช่วงเริ่มต้นฤดูแล้ว วันที่ 1 พ.ย.ประมาณ 3,677 ล้าน ลบ.ม.เพียงพอกับระดับปลอดภัย 3,500 ล้าน ลบ.ม.โดยตั้งแต่วันที่ 16 ก.ค.สองเขื่อนลดการระบายเหลือ 16 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน

อย่างไรก็ตาม การลดการระบายน้ำจากเขื่อนจะทำให้มีพื้นที่นาข้าวในเขตชลประทานลุ่มเจ้าพระยา โดยเฉพาะนาที่ดอน และนาปลายคลอง มีพื้นที่เสี่ยงเพิ่มมากขึ้น จากเดิมที่เคยประกาศว่ามีพื้นที่เสี่ยง 850,000 ไร่ คงไม่ใช่เพราะขณะนี้นาข้าวภาคกลางตอนบนยังขยายเพิ่มขึ้นวันละประมาณ 10,000 ไร่ นาข้าวภาคกลางตอนล่างขยายถึงวันละ 30,000 ไร่

ด้าน นายชัยยุทธ จารุพัฒนานนท์ หัวหน้ากองจัดการทรัพยากรน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า ถ้าใช้วิธีสูบน้ำก้นเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ในระหว่างการสูบจะมีฟองอากาศ เป็นช่องว่างไหลเข้าสู่ระบบใบพัดปั่นกระแสไฟฟ้าของเขื่อน ซึ่งอาจทำให้ระบบมีปัญหา จึงไม่ควรใช้วิธีนี้ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ ต่ำมาก เขื่อนภูมิพลมีน้ำไหลเข้าแทบเป็นศูนย์ กฟผ.ได้เตรียมการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งอื่นไว้แล้ว ยืนยันว่าไฟฟ้าจะไม่ได้รับผลกระทบ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในระหว่างการประชุม ผู้แทนสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ปัญหาสถานีผลิตน้ำประปา สาขาธัญบุรี คลอง 13 อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี หยุดสูบน้ำจากคลอง 13 เพราะระดับน้ำในคลองต่ำมากจนสูบน้ำดิบเข้าระบบไม่ได้ และต้องหยุดจ่ายน้ำในบางพื้นที่ เมื่อวันที่ 12ก.ค.ที่ผ่านมา ปัญหาเกิดจากชาวนาดักน้ำเข้านาเป็นจำนวนมาก ซึ่ง นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีกรมชลฯ ลงพื้นที่แก้ไขสถานการณ์ด้วยตัวเอง โดยสั่งการให้นำเครื่องจักรของกรมชลฯ ไปขุดลอกสันดอนทรายในลำคลองแล้ว ทำให้น้ำไหลมาถึงจุดสูบน้ำประปาได้แล้ว โดยเริ่มเดินเครื่องสูบน้ำเวลา 03.00 น.วันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา

จาก http://www.naewna.com วันที่ 13 กรกฎาคม 2558

กระทรวงเกษตรฯ จัดเสวนา "เกษตรกรไทย ฝ่าวิกฤติภัยแล้ง" ระดมผู้ทรงคุณวุฒิ หาทางออกภาค

กระทรวงเกษตรฯ จัดเสวนา "เกษตรกรไทย ฝ่าวิกฤติภัยแล้ง" ระดมผู้ทรงคุณวุฒิ หาทางออกภาคการเกษตร ช่วยเหลือเกษตรกรไทย

นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวในการเป็นประธานเปิดงานเสวนา "เกษตรกรไทย ฝ่าวิกฤตภัยแล้ง" ที่ห้องประชุม 115 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่ารัฐบาลและกระทรวงเกษตรฯ ได้ตระหนักถึงปัญหาและความเดือดร้อนของเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ซึ่งการเสวนาครั้งนี้เพื่อระดมความคิด ร่วมหาทางออกในการบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร แบบครอบคลุม ทั้งเรื่องมาตรการแก้ไขปัญหาการทำการเกษตร การบริหารจัดการน้ำ รวมถึงแนวทางการรับมือภัยพิบัติภายใต้อิทธิพลของเอลนีโญ่และลานีญ่าในระยะยาว

สำหรับการเสวนา "เกษตรกรไทย ฝ่าวิกฤตภัยแลัง" มีผู้ทรงคุณวุฒิเข้าร่วมการเสวนาหลายคน อาทิ ดร.นิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย , ผศ.ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ , รศ.ดร.เสรี ศุภราทิตย์ ผู้อำนวยการศูนย์การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศและภัยพิบัติ มหาวิทยาลัยรังสิต และ ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำ กรมชลประทาน , นายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร พร้อมด้วยผู้แทนเกษตรกร ผู้แทนสถาบันเกษตรกร โดยมี นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เป็นผู้ดำเนินการเสวนา ทั้งนี้ สศก. จะสรุปรายงานผลการเสวนาเพื่อนำไปสู่มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยแล้งต่อไป

จาก http://thainews.prd.go.th  วันที่ 13 กรกฎาคม 2558

กรมชลประทาน เร่งหาแนวทางรับสถานการณ์ภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปริมาณน้ำใช้การได้ในเขื่อนหลักมีเพียง ร้อยละ 3

กรมชลประทาน เร่งหาแนวทางรับสถานการณ์ภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ปริมาณน้ำใช้การได้ในเขื่อนหลักมีเพียง ร้อยละ 3

นายทองเปลว กองจันทร์ ผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา กรมชลประทาน ในฐานะเลขานุการคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ เป็นประธานพร้อมแถลงผลการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ว่าที่ประชุมยังไม่มีการปรับลดการระบายน้ำในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยยังคงระบายน้ำในอัตรา 28 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน แต่หากฝนตกไม่ต่อเนื่อง(สภาพฝนยังน้อยอยู่ต่อไป) จะทำให้การระบายน้ำในอัตราเท่าเดิมกระทบต่อปริมาณน้ำต้นทุน ซึ่งจะทำให้มีน้ำใช้การได้ถึงสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้เท่านั้น โดยอยู่ในระหว่างหารือถึงแนวทางการขยายระยะเวลาให้มีน้ำใช้การได้ยาวนานขึ้น พร้อมเตรียมเสนอกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่ออนุมัติใช้มาตรการที่เหมาะสมเพื่อคงสภาพน้ำโดยเน้นน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคให้มีปริมาณน้ำคงเหลือ ณ วันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ ไม่น้อยกว่า 3,500 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อใช้การในช่วงหน้าแล้ง

สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง รวมทั้งประเทศ 33 แห่ง ณ วันที่ 13 กรกฎาคม 2558 มีปริมาณน้ำใช้การได้ 10,026 ล้าน ลูกบาศก์เมตร ส่วนที่อ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ ล่าสุดมีปริมาณน้ำในอ่างฯ รวมกัน 7,283 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 29 โดยมีน้ำใช้การได้ จำนวน 588 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 3

จาก http://thainews.prd.go.th  วันที่ 13 กรกฎาคม 2558

เอกซเรย์ราคานํ้าตาลทรายดิบเริ่มมองเห็นสัญญาณบวกแล้ว!!

    ราคาน้ำตาลทรายดิบในตลาดโลก ณ วันที่ 19มิ.ย.58ไต่ระดับลงมาอยู่ที่ 11.10 เซ็นต์ต่อปอนด์เศษ  ถือว่าเป็นราคาที่ตกต่ำที่สุดในรอบ 5-6ปี  เพราะเมื่อเปรียบเทียบกับราคาน้ำตาลทรายดิบเมื่อ 2 ก.พ. 2554 ที่ราคาทะยานเคยทะยานสูงสุดในรอบหลายปีโดยแตะอยู่ที่ 36.08 เซ็นต์ต่อปอนด์

 สิริวุทธิ์ เสียมภักดีสิริวุทธิ์ เสียมภักดี   ทำไม....ราคาน้ำตาลถึงเกิดการเปลี่ยนแปลงได้มากขนาดนี้  และมีองค์ประกอบหรือสาเหตุมาจากอะไรบ้างและแนวโน้มนับจากนี้ไปอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลในประเทศไทยจะเป็นอย่างไร มาฟังคำตอบจาก นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี  ซีเอฟโอ กลุ่มน้ำตาลเกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น  หรือ KTIS โรงงานน้ำตาลที่มีกำลังการหีบอ้อยมากที่สุดในเวลานี้ถึง 5.50 หมื่นตันต่อวัน และในฐานะรองประธานคณะกรรมการบริหารบริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC)ให้สัมภาษณ์ผ่าน"ฐานเศรษฐกิจ"อย่างน่าสนใจ

-ผลผลิตอ้อยและน้ำตาลดีขึ้น

    ซีเอฟโอ KTIS ย้อนภาพให้เห็นว่า ในช่วง4-5ปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทย มีการพัฒนามากขึ้น ตั้งแต่การหีบอ้อยที่เพิ่มขึ้นจาก 95-96 ล้านตันอ้อยต่อปี ขณะนี้(ฤดูการผลิตอ้อยปี2557/2558)เพิ่มขึ้นมาเป็น 106 ล้านตันอ้อยต่อปี ทำให้ผลผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวไปด้วย จากเลขหลักเดียวขยับขึ้นมาเป็นตัวเลข 2 หลัก โดยล่าสุดผลิตน้ำตาลภายในประเทศได้รวมทั้งสิ้น 11 ล้านตันน้ำตาลต่อปี  โดยมีค่าความหวานที่สูงขึ้นจาก 10-11 ซีซีเอส มาเป็น12ซีซีเอส ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ผู้ผลิตน้ำตาลในประเทศไทยยังคงรักษาความเป็นที่2ของผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ในตลาดโลกไว้ได้อย่างเหนียวแน่นและในปริมาณส่งออกที่มากขึ้นจากเมื่อ4 ปีก่อนอยู่ที่ 6 ล้านตันต่อปี ล่าสุดเพิ่มเป็น7.5-8 ล้านตันต่อปี ที่เหลือบริโภคภายในประเทศราว 2.4-2.5 ล้านตันต่อปี

-ราคาน้ำตาลร่วงไทยสะอื้น

    ด้วยเหตุที่ไทยมีสัดส่วนการพึ่งพาตลาดส่งออกน้ำตาลมากถึง 70% ของกำลังผลิตน้ำตาลรวมภายในประเทศ  ดังนั้นเมื่อเวลาที่ราคาน้ำตาลทรายดิบในตลาดโลกร่วงก็ต้องสะเทือนถึงไทยก่อนเป็นลำดับต้นๆ ในฐานะผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่เบอร์2 รองจากบราซิล และพากระทบไปถึงรายได้ทั้งระบบของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้  เพราะกฎหมายอ้อยและน้ำตาลกำหนดให้รายได้จากระบบอ้อยและน้ำตาล  โดยสัดส่วน 70% จะเป็นของชาวไร่ และ30%เป็นของโรงงานน้ำตาล

    ทั้งนี้ตามกฎหมายกำหนดให้มีราคาอ้อยเบื้องต้นที่คำนวณจากราคาน้ำตาลทรายขาว และน้ำตาลทรายดิบในตลาดโลก ซึ่งก่อนหน้านี้ฤดูการผลิตปี2557/2558ประกาศราคาอ้อยเบื้องต้นออกมาที่940 บาทต่อตันอ้อย และชงครม.ประกาศราคา  จากนั้นชาวไร่ก็ตัดอ้อยมาส่งโรงงานน้ำตาล โดยโรงงานจ่ายค่าอ้อยไปตามราคาเบื้องต้นที่ประกาศ  พอสิ้นปีก็จะมีการคำนวณราคาอ้อยเบื้องสุดท้าย  ถ้าปีไหนราคาน้ำตาลในตลาดโลกดี ราคาอ้อยก็ต้องสูงขึ้น  ถ้าสูงขึ้นโรงงานน้ำตาลก็ต้องไปจ่ายค่าอ้อยให้กับชาวไร่เพิ่มขึ้น ซึ่งในปี2557/2558คาดว่าราคาอ้อยเบื้องสุดท้ายจะต่ำกว่าราคาอ้อยเบื้องต้น  ซึ่งตามกฎหมายกองทุนอ้อยและน้ำตาล(กท.)จะต้องหาเงินมาคืนเงินส่วนเกินให้กับโรงงานน้ำตาล  ที่ระหว่างนี้ต้องรอคำนวณราคาอ้อยเบื้องสุดท้ายออกมาก่อน จึงจะรู้ว่าส่วนเกินที่โรงงานจ่ายค่าอ้อยไปแล้วนั้นเป็นจำนวนรวมทั้งสิ้นเท่าไหร่

    "ซึ่งในส่วนนี้จะไม่เกี่ยวกับเงิน160บาทต่อตัน ที่ครม.เพิ่งอนุมัติไปก่อนหน้านี้ เพราะเป็นส่วนเพิ่มค่าอ้อยที่ให้ชาวไร่อ้อย โดยกท. จะเป็นเงินช่วยเหลือชาวไร่ให้ครอบคลุมต้นทุนในการปลูกอ้อยตามพ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาล ซึ่งกท.เป็นนิติบุคคลในแต่ละปี จะมีรายได้หลักจากเงินรักษาเสถียรภาพอ้อย และจากเงินค่าบำรุงกองทุน ซึ่งในฤดูการผลิตอ้อยและน้ำตาลปี 2557/2558 คาดว่ากท.มีรายได้จากส่วนนี้ราว 1.40 หมื่นล้านบาท"

-เหตุผลหลักทุบน้ำตาลโลกร่วง

    จากสาเหตุราคาน้ำตาลทรายดิบร่วงเมื่อวิเคราะห์อย่างรอบด้านแล้วจะพบว่ามี 4 เหตุผลหลักที่เชื่อมโยงกันและมีส่วนที่ทำให้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกอยู่ในช่วงขาลงต่อเนื่องมา คือ 1.  นโยบายการปรับเปลี่ยนน้ำตาลไปผลิตเอทานอลของบราซิล หากปีไหนที่ราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้นบราซิลก็จะหันไปผลิตเอทานอลมากขึ้น และลดการผลิตน้ำตาลลง   และถ้าปีไหนราคาน้ำมันไม่ดีก็จะลดการผลิตเอทานอลลงและหันไปโฟกัสน้ำตาลแทน      2. นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินเรียล เทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ ที่เมื่อใดก็ตามที่ค่าเงินเรียลอ่อนค่า  การซื้อขายน้ำตาลที่ชำระด้วยเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จะทำให้ราคาน้ำตาลที่บราซิลส่งออกมีราคาต่ำกว่าคู่แข่ง  ทำให้บราซิลส่งออกได้มากกว่า เพราะราคาถูก โดยในช่วง2ไตรมาสที่ผ่านมา จะเห็นว่าตัวแปรสำคัญมาจากค่าเงินเรียลที่อ่อนค่าลงมา จนทำให้ราคาน้ำตาลทรายดิบในตลาดโลกร่วงต่อเนื่อง แม้ว่าบราซิลจะส่งออกน้ำตาลได้น้อยลงก็ตาม

    3. ปริมาณน้ำตาลที่คงเหลือในตลาดโลกหรือน้ำตาลในสต๊อกโลกที่ยกมามีจำนวนมากขึ้นโดยข้อมูลจากองค์การน้ำตาลระหว่างประเทศ(ISO)ประเมินครั้งล่าสุดวันที่ 22 พฤษภาคม 2558พบว่า สต๊อกน้ำตาลมีจำนวน81.844 ล้านตันหรือคิดเป็น47.74%ของปริมาณการบริโภคน้ำตาลโลก และเป็นปริมาณสต๊อกที่เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี2556/2557 ที่สต๊อกโลกช่วงปลายปีอยู่ที่ 80.558 ล้านตัน คิดเป็นสัดส่วน48.00%ของการบริโภคทั้งโลก

    นอกจากนี้ในช่วงที่ผ่านมาผลผลิตน้ำตาลโลกมีมากขึ้นเมื่อเทียบกับปริมาณการบริโภคของโลก โดยข้อมูลฤดูการผลิตปี2557/2558 มีผลผลิตน้ำตาลโลกอยู่ที่ 173.63 ล้านตัน มีการบริโภค 171.419 ล้านตัน ขณะที่ฤดูการผลิตปี2556/2557มีผลผลิตน้ำตาลโลกอยู่ที่ 170.988 ล้านตัน มีการบริโภค167.824 ล้านตัน จะเห็นว่าผลผลิตน้ำตาลของโลกยังล้นตลาดอยู่

    ดังนั้นถ้ามีการบริหารสต๊อกจนไม่เหลือหรือมีน้อยลง ราคาน้ำตาลในตลาดโลกอาจจะดีดตัวสูงขึ้นได้  ซึ่งในส่วนนี้จะต้องดูควบคู่ไปกับปริมาณผลผลิตอ้อยและน้ำตาลในปีต่อไปเป็นองค์ประกอบด้วย เพราะจะมีทั้งของเก่าที่ค้างอยู่และมีของใหม่ที่ถมเข้าไปอีก และจะต้องดูการบริโภคของโลกเป็นองค์ประกอบด้วย 

    4. สภาพดินฟ้าอากาศ ที่จะส่งผลมาถึงผลผลิตอ้อยในแต่ละปี  เพราะหากประเทศผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่เช่น บราซิล ไทยและออสเตรเลีย เผชิญปัญหาภัยแล้งอย่างหนักผลผลิตที่ออกมาก็จะตกต่ำถ้าเผชิญวิกฤติจากภัยธรรมชาติพร้อมกันจะน้ำท่วมหรือภัยแล้ง ก็จะทำให้ราคาน้ำตาลไต่ระดับสูงขึ้นได้ด้วย หากกำลังผลิตโลกลดลง ซึ่งก็น่าแปลกใจที่ปีนี้บราซิลมีสัดส่วนการผลิตน้ำตาลเพียง41.90% แต่ผลิตเอทานอล58.10% ปริมาณน้ำตาลในโลกก็น่าจะลดลงเพื่อดึงให้ราคาน้ำตาลสูงขึ้นเหมือนที่ผ่านมา 

-เชื่อราคาผ่านจุดต่ำสุดมาแล้ว

    นายสิริวุทธิ์ วิเคราะห์แนวโน้มของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลต่อไปว่า  นับจากนี้ กลุ่มอ้อยและน้ำตาลมีความหวังว่าอุตสาหกรรมน้ำตาลได้ผ่านจุดที่ราคาต่ำสุดมาแล้ว โดยราคาน่าจะค่อยๆขยับตัวได้  จากที่ล่าสุดเมื่อวันที่ 8 กรกฎคม2558 ราคาซื้อขายน้ำตาลทรายดิบล่วงหน้าที่จะส่งมอบวันที่ 1 ตุลาคม-15 ธันวาคม 2558 ปิดตลาดอยู่ที่ 12.31 เซ็นต์ต่อปอนด์  จึงเป็นการส่งสัญญาณบวกได้ในช่วงปลายปีนี้หลังจากที่หลายพื้นที่ปลูกอ้อยเผชิญกับภาวะภัยแล้งมาแล้ว ทำให้มีปริมาณอ้อยและน้ำตาลในตลาดโลกลดลง ในขณะที่การบริโภคน้ำตาลในตลาดโลกไม่ได้ลดลงด้วย

    นอกจากนี้ยังมั่นใจว่าที่ผ่านมารัฐบาลบราซิลได้ลดค่าเงินเรียลไปมากแล้ว  และจากนี้ไปถ้าบราซิลยังคงนโยบายเรียลอ่อนค่าลงต่อไปอีก จะกระทบต่ออุตสาหกรรมที่บราซิลนำเข้าได้  รวมไปถึงราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ไม่สูงมาก จะทำให้บราซิลปรับสัดส่วนอ้อยไปทำเอทานอลน้อยลง

    สำหรับประเทศไทยยังมีข้อดี เนื่องจากอยู่ใกล้ผู้บริโภคหลักที่มีจำนวนประชากรมากทั้งจีน เวียดนาม อินโดนีเซีย ในขณะที่ภาพรวมของตลาดอาเซียนยังมีแนวโน้มว่าความต้องการใช้น้ำตาลสูงขึ้นต่อเนื่อง เฉพาะปริมาณการส่งออกที่ไทยทำได้ 7.5-8 ล้านตันก็ยังไม่พอเพราะอาเซียนมีความต้องการใช้มากถึง10ล้านตันต่อปี  ดังนั้นการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสของอุตสาหกรรมน้ำตาลไทยให้มีการเติบโตสูงขึ้น

จาก http://www.thanonline.com   วันที่ 13 กรกฎาคม 2558

บอร์ด ธ.ก.ส.อนุมัติมาตรการด้านสินเชื่อช่วยเกษตรกรถูกกระทบจากภัยแล้ง

วันนี้ (13 ก.ค. 58) นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะประธานกรรมการ ธ.ก.ส. เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ธ.ก.ส.มีมติเห็นชอบตามที่ฝ่ายจัดการเสนอมาตรการเพื่อเป็นการบรรเทาความเดือดร้อนให้พี่น้องเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส.และสมาชิกสหกรณ์การเกษตรที่ประสบภัยแล้ง ประกอบด้วย 3 มาตรการ

1.มาตรการขยายเวลาชำระหนี้เดิม เป็นการพิจารณาขยายระยะเวลาชำระหนี้สินเดิมให้แก่เกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส.ที่ประสบปัญหาไม่สามารถชำระหนี้ได้ โดยขยายออกไปไม่เกิน 9 เดือน กรณีพิเศษไม่เกิน 12 เดือน ให้สอดคล้องกับแหล่งที่มาของรายได้

และช่วยเหลือสหกรณ์การเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากการชำระหนี้ของสมาชิก โดยพิจารณาปรับตารางกำหนดชำระหนี้ที่มีอยู่กับ ธ.ก.ส.         

2.มาตรการสนับสนุนสินเชื่อระยะสั้นวงเงิน 30,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 3 มาตรการย่อย คือ มาตรการเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรลูกค้าธนาคาร (สินเชื่อฉุกเฉิน) วงเงิน 10,000 ล้านบาท ปล่อยกู้ไม่เกิน 10,000 บาทต่อราย กำหนดกู้ไม่เกิน 3 เดือนตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.-15 ต.ค. 58 ชำระคืนไม่เกิน 12 เดือน ปลอดดอกเบี้ย 0% ระยะเวลา 3 เดือน โดยเดือนที่ 4-12 จะคิด อัตราเอ็มอาร์อาร์ หรือเท่ากับ 7%         

นอกจากนี้ยังมีมาตรการสินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อฟื้นฟูการผลิตหลังประสบภัย (สินเชื่อฟื้นฟู) วงเงิน 10,000 ล้านบาท กู้รายละไม่เกิน 20,000 บาท ระยะเวลาให้เงินกู้เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.-15 ต.ค. 58 ชำระคืนเสร็จไม่เกิน 12 เดือน กรณีพิเศษไม่เกิน 18 เดือน อัตราดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ เท่ากับ 7% ต่อปี และ มาตรการสินเชื่อเพิ่มเติมเพื่อฟื้นฟูการผลิตของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร (สินเชื่อฟื้นฟูสมาชิกสหกรณ์) วงเงินอีก 10,000 ล้านบาท กู้เป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค.-15 ต.ค. 58 กำหนดชำระคืนเสร็จไม่เกิน 12 เดือน อัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ -1.25 หรือเท่ากับ 3.75% ต่อปี         

3.มาตรการสินเชื่อระยะยาวเพื่อปรับปรุงระบบการผลิตด้านการเกษตร เป็นการพิจารณาให้สินเชื่อเพื่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตทางการเกษตรหรือเพื่อปรับเปลี่ยนการผลิตเป็นรูปแบบอื่นที่มีความเหมาะสมมากขึ้น โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมายเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส.เข้าร่วมโครงการปีละ 100,000 ราย เป็นระยะเวลา 3 ปี รวม 300,000 ราย วงเงินกู้รายละไม่เกิน 100,000 บาท วงเงินสินเชื่อปีละ 10,000 ล้านบาท เป็นระยะเวลา 3 ปี รวม 30,000 ล้านบาท กำหนดระยะเวลาให้เงินกู้ 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 15 ก.ค. 58 – 31 ก.ค. 61 ชำระคืนเงินกู้ภายใน 10 ปี กรณีจำเป็นยังไม่ต้องชำระเงินต้น 3 ปีแรก อัตราดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ - 2% หรือเท่ากับ 5% ต่อปี

 “ คาดว่าเกษตรกรลูกค้าของ ธ.ก.ส.จำนวนประมาณ 1ล้านรายและเกษตรกรสมาชิกสหกรณ์การเกษตรที่ประสบภัยแล้งจะได้รับการบรรเทาความเดือดร้อนด้าน ภาระหนี้สินและมีเงินทุนไว้ใช้จ่ายในครัวเรือนกรณีเร่งด่วน รวมทั้งมีเงินทุนเพื่อการฟื้นฟูและการประกอบอาชีพการเกษตรหรือปรับปรุงระบบการผลิตการเกษตรอย่างเพียงพอ"นายสมหมาย กล่าว         

นอกจากนั้น การประชุมในวันนี้คณะกรรมการเห็นชอบการสนับสนุนการออกสลากเพื่อสังคมและการสนับสนุนสินเชื่อให้กับกิจการเพื่อสังคมในวงเงิน 1,000 ล้านบาท รวมทั้งเห็นชอบสนับสนุนสินเชื่อให้กับกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายกู้เงินฤดูการผลิตปี 2557/2558 วงเงิน 16,953 ล้านบาทเพื่อช่วยเหลือและแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวไร่อ้อยตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2558 โดยมีเกษตรกรชาวไร่อ้อยได้รับประโยชน์มากกว่า 150,000 ราย

จาก http://www.thanonline.com   วันที่ 13 กรกฎาคม 2558

โบรกชี้ภัยแล้งฉุดกำไรกลุ่มเกษตรอาหารหดเหลือ 1.7 หมื่น ล.

นักวิเคราะห์ส่องกำไรกลุ่มเกษตร-อาหารปีนี้ลงกว่า 12.3% อ่วมวิกฤตภัยแล้ง ฉุดต้นทุนราคาอาหารสัตว์แพงขึ้น ซ้ำเติมราคาเนื้อสัตว์และน้ำตาลโลกถูก เหตุซัพพลายล้น ลุ้นครึ่งปีหลังสถานการณ์ดีขึ้นจากฤดูการส่งออกและบาทอ่อนค่า

นายเอนกพงศ์ พุทธาภิบาล ฝ่ายวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเซีย พลัส เปิดเผยว่า แนวโน้มผลดำเนินงานของอุตสาหกรรมกลุ่มเกษตรและอาหารปีนี้ไม่สดใส โดยเฉพาะ 5 บริษัทจดทะเบียน (บจ.) ได้แก่ บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร (CPF), บมจ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ (TUF), บมจ.น้ำตาลขอนแก่น (KSL), บมจ.จีเอฟพีที (GFPT) และ บมจ.ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี (STA) ซึ่งฝ่ายวิจัยคาดการณ์ว่า กำไรสุทธิรวมทั้งปีจะอยู่ที่ 17,600 ล้านบาท หรือลดลงประมาณ 12.3% จากปีก่อนที่ทำได้ประมาณ 20,000 ล้านบาท โดยมีสาเหตุหลักมาจากปีนี้ไม่มีกำไรพิเศษเข้ามาบันทึกเช่นปีก่อน พร้อมกับมีปัจจัยกดดันจำนวนมาก โดยเฉพาะปัญหาภัยแล้งที่ส่งผลกระทบต่อพืชผลการเกษตร เช่น อ้อย ข้าวโพด ถั่วเหลือง รวมถึงมีผลให้ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ปรับตัวเพิ่มขึ้น

"ภัยแล้งน่าจะส่งผลกระทบชัดเจนต่อต้นทุนราคาอาหารสัตว์ในช่วง 6 เดือนข้างหน้ามากกว่า เพราะตอนนี้หลายบริษัทยังมีสต๊อกเหลืออยู่ ด้านอุตสาหกรรมอาหารก็ยังมีปัจจัยลบเดิมกดทับอยู่แล้ว ทั้งกรณีไทยถูกสหรัฐลดอันดับเป็นกลุ่มประเทศลำดับที่ 3 (Tier 3) ด้านการแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ กรณีใบเหลืองจากกลุ่มสหภาพยุโรปเรื่องกระบวนการผลิตสินค้าประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU) และราคาเนื้อไก่ในประเทศตกต่ำจากผลผลิตล้นตลาด เป็นแรงกดดันผลดำเนินงานธุรกิจกลุ่มนี้อยู่"

นายเอนกพงศ์กล่าวอีกว่า ด้านกลุ่มธุรกิจการเกษตรจำพวกธุรกิจน้ำตาล ปัญหาภัยแล้ง ส่งผลให้อ้อยซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักเติบโตลดลง และทำให้ความหวานของอ้อยมีระดับน้อยลง ขณะที่บราซิลซึ่งเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ของโลกมีผลผลิตล้นตลาด กดดันราคาน้ำตาลในตลาดโลกให้อยู่ในระดับต่ำ

เขาประเมินว่า ทิศทางกลุ่มเกษตรและอาหารน่าจะฟื้นตัวดีขึ้นในไตรมาส 3/58 ซึ่งเป็นช่วงที่ผลดำเนินงานจะเติบโตสูงสุดของปีตามฤดูกาลส่งออก และฝ่ายวิจัยเลือก CPF และ TUF เป็นหุ้นโดดเด่นของกลุ่มนี้ เพราะจะได้อานิสงส์จากราคาอาหารสัตว์บางชนิดที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น รวมทั้งผลบวกจากทิศทางค่าเงินบาทที่อ่อนค่าเมื่อเทียบดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากธุรกิจมีสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศมากกว่า 50%

นายชลัช ชินธรรมมิตร์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายงานจัดหาวัตถุดิบ บมจ.น้ำตาลขอนแก่น กล่าวว่า ปัญหาภัยแล้งได้ส่งผลกระทบกับการปลูกอ้อยในหลายพื้นที่ ซึ่งบริษัทกำลังประเมินผลกระทบหากฝนไม่ตกตามฤดูกาล ลามถึงช่วงที่บริษัทต้องการนำอ้อยเข้าหีบรอบใหม่ในเดือน พ.ย.นี้ อาจทำให้เป้าหมายปริมาณหีบอ้อยปี 2558/2559 ที่คาดว่าจะอยู่ที่ 9.5 ล้านตัน ไม่เป็นไปตามเป้าหมาย

อย่างไรก็ตามบริษัทคาดว่า รายได้งวดปี 2557/2558 (สิ้นสุด ต.ค. 58) น่าจะใกล้เคียงปีก่อนที่ทำได้ 19,631.42 ล้านบาท เนื่องจากปริมาณขายน้ำตาลเพิ่มขึ้นประมาณ 5% ส่วนกำไรสุทธิคาดว่าจะต่ำกว่าปีก่อนที่ทำได้ 1,626.22 ล้านบาท เนื่องจากราคาน้ำตาลในตลาดโลกยังอยู่ในระดับต่ำ ทำให้มีมาร์จิ้น (ส่วนต่างกำไร) อ่อนลง ภายใต้การประเมินว่า ราคาน้ำตาลปีนี้จะเฉลี่ยอยู่ที่ 15 เซนต์ต่อปอนด์ ต่ำกว่าปีก่อนที่เฉลี่ย 18 เซนต์ต่อปอนด์ เนื่องจากภาวะผลผลิตล้นตลาด ซึ่งจะต้องรอระบายสต๊อก และราคาน้ำตาลตลาดโลกกลับมาขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายปีหน้า

จาก http://www.prachachat.net   วันที่ 13 กรกฎาคม 2558

นายกฯสั่งแก้หนี้นอกระบบเกษตรกรจบสิ้นต.ค.  

          นายกฯขีดเส้น ซื้อหนี้นอกระบบ 2.1 หมื่นล้านบาท ให้จบสิ้น ต. ค.นี้ หวังลดภาระดอกเบี้ยโหดกว่า 60% เหลือ 1% ลั่นต่อไปอย่าให้มีข้อร้องเรียนเรื่องหนี้เกิดขึ้นซ้ำ

          นายอำนวย ปะติเส รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้กระทรวงมหาดไทยร่วมกับกระทรวง เกษตรและสหกรณ์ เร่งแก้ปัญหาหนี้สิน เกษตรกร ที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน และไม่ได้รับความเป็นธรรมเรื่องเกี่ยวกับหนี้สิน จนไม่สามารถชำระหนี้คืนได้และในที่สุดต้องสูญเสียกรรมสิทธิ์ในที่ดินทำกิน

          ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทยได้สำรวจหนี้สินเกษตรกรทั่วประเทศเบื้องต้นพบว่า เกษตรเป็นหนี้มูลค่ารวม 388,361.91 ล้านบาท และ แบ่งประเภทหนี้สินออกเป็น 2 ประเภท คือ หนี้ในระบบ และหนี้นอกระบบ ประกอบด้วย

          หนี้นอกระบบ คือหนี้ที่ไม่อยู่ในระบบสถาบัน การเงินมูลหนี้ รวม 21,590.92 ล้านบาท จำนวนเกษตรกรที่เป็นหนี้รวม 149,437 ราย โดยเกษตรกรเป็นหนี้เฉลี่ยรายละ 140,000 บาท ในจำนวนดังกล่าว เป็นเกษตรกรที่มีความเดือดร้อนอยู่ในชั้น บังคับคดี ซึ่งถูกฟ้องร้อง และมีหนี้ค้างชำระอยู่ 13,428.86 ล้านบาท จำนวนเกษตรกรที่เป็นหนี้รวม 92,945 รายเป็นหนี้เฉลี่ยรายละ 144,000 บาท

          หนี้ในระบบ ได้แก่ หนี้ในระบบสถาบันการเงินมูลหนี้ มูลค่ารวม 366,771 ล้านบาท จำนวนเกษตรกรที่เป็นหนี้รวม 1,488,125 ราย เกษตรกรเป็นหนี้เฉลี่ยรายละ 240,000 บาท

          ทั้งนี้โดยรวมแล้ว ขณะนี้เกษตรกรมีหนี้ นอกระบบ ค้างชำระ13,428.86 ล้านบาท อยู่ระหว่าง การดำเนินการฟ้องร้อง เพื่อยึดหลักประกัน อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่เป็นทรัพย์สินประเภทที่ดินทำกิน และในส่วนนี้นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการ ให้เร่งแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วน เพื่อไม่ให้เกษตรกรเดือดร้อน ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ จะดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยใช้กลไกกองทุนต่างๆ ของกระทรวงฯ ผ่านศูนย์ประสานการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกร กองทุนหมุนเวียน เพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกร และผู้ยากจน กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร และกองทุนสงเคราะห์เกษตรกร เข้ารับซื้อหนี้ โดยจะใช้วิธีคิดอัตราดอกเบี้ยระดับต่ำกว่า

          "กองทุนในสังกัดกระทรวงเกษตรจะเร่งดำเนินการซื้อหนี้สินของเกษตรกร เพื่อเปลี่ยนมือ จากเจ้าหนี้นอกระบบที่คิดดอกเบี้ยสูงอยู่ที่อัตราดอกเบี้ย 36-60% จนเป็นภาระให้เกษตรกร ไม่สามารถดำเนินการใช้หนี้ได้ต้องถูกยึดที่ดินทำกินตามสัญญากู้ยืม โดยกองทุนที่ภาครัฐใช้เป็นกลไกในการเปลี่ยนมือเป็นเจ้าหนี้ใหม่ของเกษตรกรจะคิดดอกเบี้ยในอัตรา 1% โดยกระทรวงจะเร่งดำเนินการเปลี่ยนเจ้าหนี้ให้กับเกษตรกร ลดดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบให้เสร็จภายใน 3 เดือนเศษ หรือเริ่มดำเนินโครงการภายในเดือนก.ค.2558 สิ้นสุดเดือนต.ค.2558 เพื่อ ให้เป็นไปตามที่นายกรัฐมนตรีสั่งการว่า หลังจากนี้ ต้องจะต้องไม่มีการร้องเรียนจากเกษตรกรว่า ถูกยึดที่ทำกินเด็ดขาด "นายอำนวยกล่าว

          นายอำนวย กล่าวว่า เป้าหมายการชำระหนี้ ของเกษตรกรที่กระทรวงมหาดไทยมีการสำรวจตรวจสอบ กลั่นกรองและจัดส่งให้หน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องขณะนี้ จำนวน 1,637,562 ราย ซึ่งจะมี การดำเนินการสำรวจเพิ่มเติมต่อเนื่อง โดยแนวทางการดำเนินการหนี้สินเกษตรกร นอกระบบกระทรวงมหาดไทย จะส่งข้อมูลให้กระทรวงยุติธรรมเพื่อช่วยเหลือตามข้อกฎหมายหลังจากนั้นให้กระทรวงเกษตรปลดเปลื้องหนี้สิน ตามภาระเจตนารมณ์ของกองทุนต่างๆ โดยการดำเนินการเรื่องดังกล่าว กระทรวงมหาดไทยจะสนับสนุนการดำเนินการในระดับพื้นที่ เช่น การไกล่เกลี่ย ระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้ต่อไป

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 13 กรกฎาคม 2558

ผันแม่กลองสำรองน้ำดิบทำประปาให้คนเมืองกรุง 

          ชง ครม.ชี้ขาดลดระบายน้ำ 4 เขื่อนใหญ่ ผวาส่งผลแล้งลามนาข้าว 3.4 ล้านไร่ส่อแห้งตายกรมชลเล็งผันน้ำแม่กลอง สำรองน้ำดิบผลิตประปาเมืองกรุง ด้านโคราชระทมทุกข์บ่อร้อยปีเสี่ยงน้ำหมด ขณะที่ลำปางเดือดนายอำเภอโร่หย่าศึกแย่งน้ำ สั่งห้ามดักสูบดูดน้ำวัง ส่วนโรงงานปลาร้าทุกข์หนัก เจ้าของครวญขาดวัตถุดิบ  พ้อต้องสั่งข้ามจังหวัดทำต้นทุนพุ่ง

          ความแห้งแล้งของสภาพอากาศยังคงแผดเผาพื้นที่ภาคเหนือ อีสาน และภาคกลาง จนสร้างความเสียหายต่อพืชผลและถนนหนทางอย่างต่อเนื่อง แม้ทางภาครัฐจะพยายามทำฝนหลวงเพื่อบรรเทาทุกข์และเติมความชุ่มชื่น แต่ยังไม่ได้ผลมากนัก จนอาจส่งผลต่อการผลิตน้ำประปา ซึ่งจะทำให้เดือดร้อนในวงกว้าง ตามข่าวที่นำเสนอมาอย่างต่อเนื่อง

          ความคืบหน้าเมื่อวันที่ 11 ก.ค. นายอรรถวุฒิ พึ่งเนียม นายอำเภอแม่พริก นายวินัย วงค์ษา ปลัดอำเภอแม่พริก จ.ลำปาง นำคณะลงพื้นที่ตรวจสอบสถานการณ์ภัยแล้งของแม่น้ำวังบริเวณเขตบ้านท่าด่าน หมู่ 2 อ.แม่ พริก ซึ่งวิกฤติหนักถึงขั้นแห้งขอดเห็นพื้นทรายและสันดอนเป็นระยะทางยาว นอกจากนี้ยังเดินทางไปยังหมู่บ้านพระบาทวังตวง อ.แม่พริก เพื่อทำความเข้าใจกับชาวบ้าน หลังเกิดกรณีชาวบ้านทะเลาะวิวาทแย่งสูบน้ำจากแม่น้ำวัง เมื่อวันที่ 9 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยสั่งให้ติดป้าย "งดสูบน้ำชั่วคราว" เพื่อเก็บไว้ใช้ผลิตน้ำประปา

          ด้านนายสมเกียรติ พยัคฆกุล นายกเทศมนตรีตำบลหมูสี จ.นครราชสีมา กล่าวหลังติดตามและตรวจสอบสถานการณ์ของบ่อน้ำผุดธรรมชาติขนาดใหญ่ที่อยู่คู่ป่าดงพญาเย็นหรือดงพญาไฟริมถนนธนะรัชต์ หลักกิโลเมตรที่ 15-16 บ้านท่าช้าง หมู่ 16 ต.หมูสี อ.ปาก ช่อง จ.นครราชสีมา ว่า จากสภาพอากาศที่แห้งแล้งมานานกว่า 4 เดือน ส่งผลให้บ่อน้ำผุดหรือตาน้ำจุดนี้เริ่มไหลน้อยลง จนอาจส่งผลต่อชาวบ้านนับหมื่นในพื้นที่ ต.หมูสี  ต.ขนงพระ และ อ.ปากช่อง สำหรับบ่อน้ำนี้คาดว่าเกิดมานานไม่ต่ำกว่า 500 ปีแล้ว โดยถือเป็นแหล่งต้นน้ำของลำธารที่ไหลลงสู่คลองและเขื่อนลำตะคอง ซึ่งหล่อเลี้ยงผู้คนในพื้นที่มานาน ดังนั้นหากภายในเดือนนี้ฝนไม่ตกลงมามากพอตาน้ำแห่งนี้อาจเหือดแห้งไปในที่สุด

          ขณะที่นางรัญจวน ขีดขินไพฑูรย์ อายุ 44 ปี เจ้าของโรงงานผลิตปลาร้าแห่งหนึ่งใน ต.ท่าฉนวน อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย กล่าวถึงความยากลำบากในการประกอบอาชีพช่วงประสบปัญหาภัยแล้ง ว่า เดือดร้อนมากเพราะระดับน้ำในแม่น้ำยมลดลงอย่างมากจนไม่สามารถจับปลาซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิต จนต้องดิ้นรนทุกวิถีทางเพื่อปกป้องและรักษาอาชีพที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ โดยสั่งปลาทะเลขนาดเล็กจาก อ.มหาชัย จ.สมุทรสาคร มาป้อนเป็นวัตถุดิบในโรงงานแทน แม้จะทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้นก็ตาม ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ผู้ผลิตรายเล็กจะอยู่ไม่ได้ ทั้งนี้อยากให้ผู้เกี่ยวข้องเร่งหาทางเยียวยาแก้ไขเพื่อบรรเทาสภาพปัญหาดังกล่าว

          อย่างไรก็ตามขณะที่ผู้คนส่วนใหญ่ในประเทศต่างประสบปัญหาภัยแล้ง แต่ชาวบ้านในภาคใต้กลับต้องต่อสู้กับสภาพอากาศที่แปรปรวนเนื่องจากมีฝนตกหนักและคลื่นลมแรงอย่างต่อเนื่องจนทำให้หลายพื้นที่เสียหาย  อาทิ ถนนริมคลองข้างวัดหงาวในพื้นที่ อ.เมือง  จ.ระนอง ซึ่งเพิ่งสร้างได้เพียง 3 ปี แต่ปรากฏว่ากลับถูกน้ำฝนที่ตกลงมาอย่างรุนแรงกัดเซาะจนพังเป็นทางยาวกว่า 50 เมตร จึงเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอย่างมาก โดยเฉพาะในเวลากลางคืนเพราะบริเวณดังกล่าวไม่มีแสงไฟส่องสว่างเพียงพอ ชาวบ้านจึงอยากให้ผู้เกี่ยวข้องเร่งแก้ไขอย่างเร็วที่สุด

          ในส่วนของนายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงแนวโน้มในการลดการระบายน้ำจากเขื่อนใหญ่ 4 แห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา ว่า  ขณะนี้กรมชลประทานได้ขอเวลาทำข้อมูลเพื่อวิเคราะห์และประมวลสถานการณ์น้ำอีก 1-2 วัน เพื่อเสนอให้ที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจ และ ครม.ใหญ่ พิจารณาตัดสินใจในสัปดาห์หน้า ส่วนจะต้องลดการระบายน้ำลงเท่าไหร่อย่างไร และเมื่อไหร่นั้นคงต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของผู้เชี่ยวชาญพิจารณาและเสนอทางเลือกให้ฝ่ายนโยบายตัดสินใจอีกที  ซึ่งหากลดการระบายลงก็จะส่ง

          ผลให้พื้นที่ประสบภัยแล้งเพิ่มขึ้น  โดยเฉพาะพื้นที่นาข้าวที่ปลูกไปแล้ว  3.4 ล้านไร่จะเสี่ยงเสียหายเพิ่มขึ้นด้วย

          ทางด้านนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ขณะนี้ทางกรมกำลังทำรายละเอียดเพื่อเสนอฝ่ายนโยบายตัดสินใจ โดยปัจจุบันมีการระบายน้ำเพื่อใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของลุ่มน้ำเจ้าพระยารวมกันวันละ 28 ล้านลูกบาศก์เมตร ดังนั้นเพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านปริมาณน้ำให้ใช้การได้จนถึง วันที่ 15 ส.ค.นี้ ทางกรมอาจจะต้องลดการระบายลงไปอีกในสัปดาห์หน้า ซึ่งคงต้อง หารือกันกับอีก 10 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้วย โดยการระบายน้ำจากนี้ไปคงต้องคำนวณจากปริมาณน้ำคงเหลือในปัจจุบันบวกลบ กับปริมาณน้ำที่จะไหลลงอ่างสิริกิติ์วันละ 10 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งผลกระทบที่จะเกิด ขึ้นคือระดับที่ลดต่ำลงของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก จ.ลพบุรี-ปทุมธานี และมีความเป็นไปได้ว่าจะขาดน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค เพราะไม่มีน้ำไหลลงเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

          ทั้งนี้แหล่งข่าวจากกรมชลประทาน เปิดเผยว่า อนุกรรมการวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์น้ำที่มี 10 หน่วยงานร่วมเป็นกรรมการได้เตรียมลดการระบายน้ำเพื่อการ เกษตรลง 8-10  ล้านลูกบาศก์เมตร ในวันที่  16 ก.ค.นี้หลังจากนำเข้า ครม.รับทราบแล้ว เพราะสภาพฝนยังล่าช้าไปจากที่กรมอุตุนิยม วิทยาคาดการณ์ไว้จะเข้าสู่ฤดูฝนถึงหนึ่งสัปดาห์ โดยก่อนหน้านี้การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ได้เสนอให้ลดระบายน้ำจากเขื่อนภูมิพลลง 3 ล้านลูกบาศก์เมตรและเขื่อนสิริกิติ์ 7 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านการ ผลิตไฟฟ้าและการอุปโภคบริโภคเป็นหลัก พร้อมกับผันน้ำลุ่มแม่กลองจากเขื่อนวชิราลงกรณ และเขื่อนศรีนครินทร์ มาสำรองน้ำดิบไว้ผลิตประปาสำหรับกรุงเทพฯ และปริมณฑล.

จากhttp://www.dailynews.co.th  วันที่ 13 กรกฎาคม 2558

คลังเสนอใช้เงิน642ล้านให้เกษตรกรกู้แก้ปัญหาที่ดินติดจำนอง

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า จากการหารือเรื่องการแก้ไขหนี้ในและนอกระบบได้ข้อสรุปว่า สำหรับหนี้นอกระบบ และหนี้กับธนาคารพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องกับที่ดินจำนองนั้น เสนอให้นำ กองทุนหมุนเวียนเพื่อการกู้ยืมแก่เกษตรกรและ

 ผู้ยากจน ซึ่งปัจจุบันมีเงินที่เหลือสำหรับปล่อยกู้อยู่อีก 642 ล้านบาท มีวัตถุประสงค์ปล่อยกู้เพื่อรักษาที่ดินของเกษตรกร และผู้ยากจนไว้ทำกิน และอยู่อาศัยเพิ่มขึ้น เป็นการช่วยไม่ให้เกษตรกรถูกยึดที่ดินทำกิน

นอกจากนี้ยังให้รวมถึงหนี้ที่มีกับธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ 4 แห่ง ได้แก่ ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือ เอสเอ็มอีแบงก์ แต่ต้องเป็นกรณีที่ลูกหนี้ถูกธนาคารฟ้องร้องและถึงขั้นจะถูกยึดหลักประกัน ถึงจะสามารถกู้เงินจากกองทุนนี้ได้

ทั้งนี้ หลักการเบื้องต้นให้กู้เฉลี่ย 3 แสนบาทต่อราย คิดดอกเบี้ย 5% และจะมีการปรับลดลงหากลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้ตามเงื่อนไข โดยลูกหนี้สามารถติดต่อขอรับความช่วยเหลือได้ที่ ธ.ก.ส. ทุกสาขา และที่ทำการอำเภอ เพื่อให้คณะอนุกรรมการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้ยากจนระดับจังหวัด หรืออำเภอ เป็นผู้พิจารณาคุณสมบัติลูกหนี้

“จากการหารือแบงก์รัฐ 4 แห่งบอกว่าสามารถช่วยลูกหนี้ได้ เช่น ธ.ก.ส. รายละไม่เกิน 1 แสนบาท ออมสินอาจได้ถึง 5 แสน แต่ต้องดูที่หลักประกันเช่นเดียวกับ ธอส. ดังนั้นพวกลูกหนี้ที่มีปัญหาที่ดินทำกินจะโดนแบงก์ เจ้าหนี้นอกระบบยึดให้

 มาติดต่อขอกู้เงินจากกองทุนนี้จะดีกว่า” รายงานข่าวระบุ

สำหรับกองทุนดังกล่าวมีเงินสนับสนุนจากรัฐบาลคงเหลือกว่า 586 ล้านบาท และในปีงบประมาณได้รับเงินสนับสนุนอีก 56 ล้านบาท รวมเป็นเงินกองทุนหมุนเวียนทั้งสิ้น 642 ล้านบาท โดยตั้งแต่เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2534 ถึงสิ้นปีงบ 2557 อนุมัติเงินกู้กว่า 2.63 หมื่นราย เป็นเงิน 4,446 ล้านบาท ช่วยไถ่ถอนหรือซื้อคืนที่ดินได้กว่า 2.64 แสนไร่ และในปี 2557 ที่ผ่านมาได้รับเงินชำระหนี้คืน 290 ล้านบาท และ ณ วันที่ 30 ก.ย. 2557 มีลูกหนี้คงเหลือ 8,329 ราย คิดเป็นยอดเงินกู้คงเหลือ 1,762 ล้านบาท

จาก http://www.naewna.com วันที่ 13 กรกฎาคม 2558

สศท.1ปูพรมลงพื้นที่4จังหวัด เก็บข้อมูลภาวะศก.เกษตรกร

นายอนุสรณ์ พรชัย ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 1 เชียงใหม่ (สศท.1) เปิดเผยว่า สศท.1 เตรียมออกจัดเก็บข้อมูลการสำรวจภาวะเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนและแรงงานเกษตร ปีเพาะปลูก 2557/58 ภายในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ได้แก่ พะเยา ลำพูน ลำปาง และแม่ฮ่องสอน เพื่อสํารวจภาวะเศรษฐกิจสังคมครัวเรือนและแรงงานเกษตร โดยเฉพาะข้อมูลเรื่องรายได้-รายจ่ายเงินสดของครัวเรือนเกษตร ทั้งที่เกี่ยวของกับการเกษตร และกิจกรรมนอกการเกษตร

สำหรับการลงพื้นที่เก็บรวบรวมข้อมูล สศท.1 จะดำเนินการตลอดเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งเป็นการสำรวจทุกอำเภอ ทุกจังหวัด โดยสุ่มเลือกหมู่บ้านตัวอย่างแต่ละอำเภอตามชนิดพืชที่ปลูก การเลี้ยงสัตว์ หรือการทำประมง ในอาณาเขตหมู่บ้านนั้นๆ จำนวน 146 หมู่บ้าน รวม 584 ครัวเรือนเกษตร แบ่งเป็น จังหวัดเชียงใหม่ 58 หมู่บ้าน 232 ครัวเรือน จังหวัดลำพูน 16 หมู่บ้าน 64 ครัวเรือน จังหวัดลำปาง 33 หมู่บ้าน 132 ครัวเรือน จังหวัดแม่ฮ่องสอน 8 หมู่บ้าน 32 ครัวเรือน และจังหวัดพะเยา 31 หมู่บ้าน 124 ครัวเรือน ดังนั้นจึงขอความร่วมมือให้ข้อมูลที่ถูกต้องในการสำรวจในครั้งนี้

จาก http://www.naewna.com วันที่ 13 กรกฎาคม 2558

แล้งวิกฤตสิ้นกรกฎาน้ำหมดเขื่อน เจ้าพระยาฝั่งตอ.-ลพบุรี-ปทุมระทึก   

          ภัยแล้งยังวิกฤต หลังไม่มีฝนตกเหนือเขื่อน ลุ่มเจ้าพระยาเหลือน้ำใช้ ไม่เกินสัปดาห์แรกเดือน ส.ค. กรมชลฯ ยื้อบริหารน้ำที่เหลือให้ถึง 15 ส.ค. รอฝน สัปดาห์หน้าต้องลดระบายน้ำลงอีก กระทบน้ำกินน้ำใช้ภาคกลาง ด้านการประปานครหลวงยันน้ำไม่ขาด-ไม่กร่อย มั่นใจส่งน้ำดิบให้เพียงพอใช้อุปโภคบริโภค

          ผู้สื่อข่าว "ประชาชาติธุรกิจ" รายงานสถานการณ์ภัยแล้งที่ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและภาคตะวันออก เฉียงเหนือตอนกลางและตอนบนว่า ณ วันที่ 10 กรกฎาคม 2558 ปริมาณน้ำที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ของประเทศก็ยังมีปริมาณน้อยมาก โดยเขื่อนเก็บน้ำหลัก 4 เขื่อนในลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ เขื่อนภูมิพล-เขื่อนสิริกิติ์-เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำคงเหลือ รวมกัน 633 ล้าน ลบ.ม. หรือ 3% มีปริมาณน้ำไหลลงอ่างรวมกันแค่ 10.23 ล้าน ลบ.ม./วัน ในจำนวนนี้เป็นน้ำที่ไหลลงอ่างของเขื่อนสิริกิติ์มากที่สุด คือ 9.29 ล้าน ลบ.ม./วัน ขณะที่มีการระบายน้ำอยู่ที่ วันละ 28.12 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งน้ำจำนวนนี้จะพอใช้อีกไม่เกิน 22-31 วัน (รายละเอียดตารางประกอบ)

          ลดระบายน้ำหลังวันที่ 20 ก.ค.

          ในขณะที่กรมอุตุนิยมวิทยา คาดการณ์พยากรณ์อากาศในช่วงนี้ว่า จะมีร่องมรสุมพาดผ่านภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้มีฝนตกและตกหนักบางแห่ง แต่ต้องติดตามต่อไปว่าฝนที่ตกลงมาจะตกใต้เขื่อนหรือเหนือเขื่อน ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ว่าหากสถานการณ์น้ำยังวิกฤตอยู่เช่นนี้ (จนถึงวันที่ 20 กรกฎาคมยังมีฝนตกเหนือเขื่อนน้อย) กรมชลประทานจะไม่มีทางเลือกที่จะต้องสั่งลดการระบายน้ำในเขื่อนหลักทั้ง 4 แห่งลงอีก

          นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า จากปัจจุบันมีการระบายน้ำเพื่อใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของลุ่มน้ำเจ้าพระยารวมกันวันละ 28 ล้าน ลบ.ม. แต่มีปริมาณน้ำไหลลงอ่าง "น้อยมาก" ดังนั้นเพื่อให้เกิดความมั่นคงด้านปริมาณน้ำใช้การได้จนถึงวันที่ 15 สิงหาคมนี้ กรมชลประทาน "อาจจะ" ต้องลดการระบายลงจากปกติที่ระบายในขณะนี้วันละ 28 ล้าน ลบ.ม.ลงไปอีกในสัปดาห์หน้า ซึ่งต้องหารือกันกับ 10 หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป แม้ว่าเกษตรกรจะปลูกข้าวเพิ่มทุกวัน วันละ 50,000 ไร่ก็ตาม (จากที่ปลูกข้าวนาปี 2558/2559 ไปแล้วมากกว่า 4 ล้านไร่)

          รายงานข่าวจากคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ เปิดเผยว่า หากกรมชลประทานจะต้องบริหารจัดการน้ำใน 4 เขื่อนหลักให้มีน้ำใช้จนถึงวันที่ 15 สิงหาคม โดยที่ปริมาณน้ำไหลลงอ่างเก็บน้ำยังมีน้อยมากแบบนี้ กรมชลประทานก็จะต้องลดการระบายน้ำจากวันละ 28 ล้าน ลบ.ม. ให้เหลือวันละ 15-20 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งการระบายน้ำที่ระดับนี้คำนวณจากปริมาณน้ำคงเหลือปัจจุบัน บวกลบ น้ำไหลลงอ่างสิริกิติ์วันละ 10 ล้าน ลบ.ม.แล้ว โดยผลกระทบที่จะเกิดขึ้นก็คือ ระดับที่ลดต่ำลงของแม่น้ำเจ้าพระยา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันออก จังหวัดลพบุรี-ปทุมธานี มีความเป็นไปได้ว่าจะขาดน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคเพราะไม่มีน้ำไหลลงอ่างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

          กปน.จับมือกรมชลฯแน่น

          นายธนศักดิ์ วัฒนฐานะ ผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) กล่าวว่า กปน.ประสานกับกรมชลประทานได้รับคำยืนยันว่า จะส่งน้ำป้อนภาคอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ จึงมั่นใจว่าจะไม่มีปัญหาขาดแคลนน้ำประปาในเขตบริการ 3 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ นนทบุรี สมุทรปราการ โดยกรมชลฯจะระบายน้ำจาก 2 เขื่อนหลัก (ภูมิพล, สิริกิติ์) วันละ 25 ล้าน ลบ.ม. แบ่งมาใช้ในกิจการประปาแค่ 3.7 ล้าน ลบ.ม. รักษาระบบนิเวศหรือผลักดันน้ำเค็ม 2 ล้าน ลบ.ม. ส่วนความเค็มของน้ำดิบปัจจุบันอยู่ที่ 0.2 มก./ลิตร "จึงไม่มีปัญหานี้ แต่อย่างใด"

          ด้านนายธงชัย ระยะกุญชร ผู้อำนวยการ กองสื่อสารองค์กร สำนักสื่อสารองค์กรและลูกค้าสัมพันธ์ การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) กล่าวว่า ปัจจุบันสถานการณ์น้ำดิบใน กปภ.สาขา ประมาณ 50 สาขา อยู่ในสถานการณ์ที่ต้องเฝ้าระวัง ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือตอนล่าง โดยมี 11 สาขาที่สถานการณ์รุนแรงที่สุด คือ สาขาปักธงชัย สาขาพิมาย จ.นครราชสีมา, สาขาเกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี, สาขากระนวน จ.ขอนแก่น, สาขาแก้งคร้อ สาขาหนองบัวแดง จ.ชัยภูมิ, สาขาเดชอุดม จ.อุบลราชธานี, สาขาอำนาจเจริญ จ.อำนาจเจริญ, สาขาจุน จ.พะเยา, สาขาท่าตะโก จ.นครสวรรค์ และสาขาวิเชียรบุรี จ.เพชรบูรณ์ ต้องจ่ายน้ำเป็นเวลา โดยหลายสาขาไม่สามารถกำหนดเวลาจ่ายน้ำที่แน่นอนได้ ขึ้นอยู่กับสถานการณ์น้ำดิบ

          น้ำใช้อุตสาหกรรมยังเพียงพอ

          นายพสุ โลหารชุน อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า ล่าสุดได้รวบรวมข้อมูลปัญหาของโรงงานทั่วประเทศที่คาดว่าอาจจะประสบปัญหาขาดแคลนน้ำเพื่อใช้สำหรับกระบวนการผลิตภายในโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อเสนอ นางอรรชกา สีบุญเรือง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พิจารณาหาแนวทางแก้ไขแล้ว เบื้องต้นข้อมูลที่รวบรวมได้คือ จำนวนโรงงานในพื้นที่ทั้งหมด ปริมาณการใช้น้ำและความต้องการใช้น้ำเพิ่ม พบว่าปริมาณน้ำใช้ของแต่ละโรงงานยังมีเพียงพอ ส่วนใหญ่มี อ่างเก็บน้ำสำรองของตนเอง ส่วนแผนระยะยาวของ กรอ.ได้วางยุทธศาสตร์การดูแลโรงงานทั่วประเทศที่มีอยู่ 80,000 โรง เพื่อรับมือปัญหาภัยแล้งในอนาคต

          นายวีรพงษ์ ไชยเพิ่ม ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า นิคมในภาคตะวันออกที่อยู่ภายใต้การดูแลของ กนอ. อาทิ นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (แหลมฉบัง) นิคมอุตสาหกรรมปิ่นทอง (โครงการ 3) นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร นิคมอุตสาหกรรมเหมราชชลบุรี ซึ่งมีปริมาณการใช้น้ำกว่า 500,000 คิว/วันนั้น ยังคงมีน้ำสำรองเพียงพอจนกว่าจะเข้า ฤดูฝนที่คาดว่าฝนจะเริ่มตกในปลายเดือนกรกฎาคมนี้

          นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่การตลาด บริษัท อมตะ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AMATA กล่าวว่า สถานการณ์ภัยแล้งยังไม่ส่งผลกระทบ ต่อภาคการผลิตภายในนิคมอุตสาหกรรมอมตะทั้ง 2 แห่ง (อมตะนครชลบุรี-อมตะซิตี้ระยอง) และยังได้เตรียมแผนรับมือและการบริหารจัดการน้ำแบบครบวงจรได้อย่างต่อเนื่อง ทั้งการทำแก้มลิงกว่า 500 ไร่ ให้เป็นพื้นที่อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั้งในและนอกพื้นที่นิคม จึงทำให้มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อความต้องการใช้

          หัวหิน-ชะอำ-พัทยา น้ำยังพอใช้

          นายนุกูล พรสมบูรณ์ศิริ นายกเทศมนตรีเทศบาลเมืองชะอำ จังหวัดเพชรบุรี กล่าวว่า ปัญหาภัยแล้งยังไม่กระทบต่อการผลิตน้ำประปาในพื้นที่ชะอำ ขณะนี้โรงแรม รีสอร์ตยังสามารถใช้น้ำได้ตามปกติ สอดคล้องกับนายนพพร วุฒิกุล นายกเทศมนตรีเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ว่าน้ำประปาในเขตชุมชนหนาแน่น ที่มีการลงทุนโรงแรม รีสสอร์ตยังไหลปกติ แต่ได้เตรียมศึกษาการขุดอ่างสำรองน้ำดิบรองรับการเติบโตของเมืองหัวหินในอนาคต

          ด้าน ดร.รุ่งโรจน์ สีเหลืองสวัสดิ์ ที่ปรึกษา นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวหัวหิน-ชะอำ กล่าวว่า ผู้ประกอบการส่วนใหญ่จะตุนน้ำประปาไว้ใช้ เพื่อลดความเสี่ยงหาก น้ำประปาไหลช้าหรือหยุดไหล โดยการซื้อถังเก็บน้ำสำรองไว้ใช้ในช่วงวันหยุดเสาร์อาทิตย์ ขณะที่นายเอกชัย อัตถการณ์นา ผู้อำนวยการการประปาส่วนภูมิภาค เขต 1 กล่าวถึงน้ำประปาในจังหวัดชลบุรี "ยังจ่ายน้ำปกติ" แม้ว่าปีนี้จะแล้งหนัก เนื่องจากน้ำต้นทุนที่มีอยู่คาดว่าจะสามารถจ่ายน้ำประปาได้ตามปกติประมาณ 3-4 เดือน

จาก http://www.prachachat.net วันที่ 13 กรกฎาคม 2558

กรมชลฯสรุปมาตรการ'ระบายน้ำ' จ่อเสนอ'ปีติพงศ์'ตัดสินใจพรุ่งนี้!

นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ (13 ก.ค.) คณะอนุกรรมการวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์น้ำ ที่มี 10 หน่วยงานด้านน้ำ ร่วมประชุมเพื่อประเมินสภาพอากาศและติดตามปริมาณฝน พร้อมวิเคราะห์สถานการณ์ทุกด้านไว้แล้วเพื่อเสนอฝ่ายนโยบายตัดสินใจ ในกรณีการลดการระบายน้ำลงใน 4 เขื่อนใหญ่ ที่มีหลายระดับ

ทั้งนี้ ทุกมาตรการต้องให้เกิดความสมดุล และเกิดความมั่นคงสำหรับน้ำอุปโภคบริโภค รักษาคุณภาพน้ำและผลักดันน้ำเค็มเป็นหลัก และมีมาตรการลดผลกระทบกับทุกภาคส่วนให้มากที่สุด ซึ่งจะเสนอมาตรการทั้งหมดต่อ นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ ภายในวันเดียวกัน เพื่อให้ฝ่ายนโยบายพิจารณาตัดสินใจ

โดยในขณะนี้ปล่อยระบายวันละ 28 ล้านลูกบาศก์เมตร ถ้ายังคงอัตรานี้จะมีน้ำใช้ได้อีกประมาณสิ้นเดือนนี้ โดยปริมาณน้ำล่าสุดในเขื่อนใหญ่รวมกันมีน้ำใช้การได้ 606 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 3 ซึ่งเขื่อนทั้ง 4 แห่ง ยังรับปริมาณน้ำได้อีก 17,569 ล้านลูกบาศก์เมตร

อย่างไรก็ตาม ได้ทราบข่าวดีจาก นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิศาสตร์สารสนเทศ ได้ระบุว่า วันที่ 20 ก.ค.นี้ ประเทศไทยจะมีฝนตกเพิ่มมากขึ้นทุกภาค

สำหรับกรณีที่ชาวนา จ.อ่างทอง ได้ร่วมกลุ่มทำหนังสือร้องขอให้กรมชลประทาน ปล่อยน้ำเพิ่มให้กับนาข้าวกว่า 3 หมื่นไร่ ช่วยไม่ให้แห้งตายนั้น นายสุเทพ กล่าวว่า รับทราบว่าเกษตรกรเดือดร้อนกันมากจากปริมาณน้ำที่มีจำกัด ซึ่งได้เน้นย้ำชลประทานในพื้นที่จัดรอบเวรการส่งน้ำให้ทั่วถึงขึ้นบัญชีผู้ใช้น้ำอย่างละเอีดย เพราะต้องบริหารตามปริมาณน้ำที่มีอยู่จริงให้ได้ และสั่งการให้ชลประทานช่วยหาแหล่งน้ำในพื้นที่ให้กับเกษตรกร เช่น น้ำจากบ่อทรายขนาดใหญ่ในบริเวณใกล้เคียงไปช่วยเสริมได้

จาก http://www.naewna.com วันที่ 12 กรกฎาคม 2558

กรมชลฯติดตามสถานการณ์น้ำวันต่อวันเพื่อปรับแผนระบายน้ำ

นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศ ล่าสุดมีปริมาณน้ำใช้การได้ ประมาณ 1 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 20 ส่วนปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ มีปริมาณน้ำใช้การได้ประมาณ 8,558 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 18 สำหรับปริมาณน้ำในเขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสัก) มีปริมาณน้ำใช้การได้ค่อนข้างน้อย เพียง 606 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 3 เท่านั้น ขณะที่ปริมาณฝนที่ตกในช่วงนี้ยังมีปริมาณน้อย เช่น ในพื้นที่ภาคเหนือ ปริมาณฝนที่ตกลงมาล่าสุดเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา (12 ก.ค. 58) ยังไม่สามารถทำให้น้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำภูมิพลได้ เช่นเดียวกับกับเขื่อนสิริกิติ์ จังหวัดอุตรดิถต์ ที่ปริมาณน้ำฝนที่ตกในพื้นที่จังหวัดน่าน ถึงแม้จะมีฝนตกลงมามากพอสมควร แต่ยังทำให้มีปริมาณน้ำฝนไหลเข้าอ่างเก็บน้ำเขื่อนสิริกิติ์น้อยเช่นกัน

ทั้งนี้ กรมชลประทานยังมีการระบายน้ำในเขื่อนหลัก 4 แห่ง ให้แก่พื้นที่ในเขตชลประทานลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด เพื่อใช้ในการทำเกษตรกรรมและอุปโภคบริโภค ในอัตราวันละ 28 ล้านลูกบาศก์เมตร เช่นเดิม ซึ่งหากสภาพอากาศและปริมาณน้ำฝนยังไม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น อาจต้องมีการเตรียมการลดการระบายน้ำลง เพื่อให้สามารถยืดเวลาการมีน้ำในเชื่อนหลักออกไปให้มากกว่าสิ้นเดือนกรกฏาคมนี้

 สำหรับแนวทางเตรียมการรองรับสถานการณ์ที่ปริมาณน้ำฝนมีน้อยนั้น อาจเป็นการปรับลดอัตราการระบายน้ำ หรือการชะลอการระบายน้ำลงบ้าง ขึ้นอยู่กับสถานการณ์และปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่จริง โดยจะนำเสนอผู้บังคับบัญชาที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาและตัดสินใจต่อไป ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์นี้

จาก http://www.thanonline.com  วันที่ 12 กรกฎาคม 2558

'สมิทธ'เตือนวิกฤติภัยแล้ง คนไทยขาดน้ำกิน/ถึงสิ้นปี

„'สมิทธ'ชี้ภัยแล้งวิกฤติหนักถึงปลายปี ส.ค.-ก.ย.เป็นอันตรายสุดไร้ปัจจัยเพิ่มน้ำไม่มีพายุเข้าแม้แต่ลูกเดียวเตือนรัฐบอกความจริง ปชช. อย่าโยนผิดกันไปมา แนะปชช.ใช้น้ำอย่างประหยัดกันอดตาย“

เมื่อวันที่ 12 ก.ค นายสมิทธ ธรรมสโรช ประธานมูลนิธิศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ เปิดเผยถึงสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ว่า มาจากอิทธิพลเอลนินโญ และผลกระทบจากภาวะโลกร้อน ทำให้ภัยแล้งจากคลื่นความร้อนรุนแรงที่เกิดขึ้นทั่วโลก ทั้งอินเดีย ปากีสถาน ผู้คนตายไปหลายร้อยคน รวมทั้งสหรัฐอเมริกา

ซึ่งตามการพยากรณ์อากาศของทั่วโลกประเมินว่าถ้าโลกเผชิญภาวะโลกร้อนไปอีก 8 ปี จะทำให้คาร์บอนไดออกไซด์ เพิ่มขึ้น 400-500 เท่า จะเกิดน้ำท่วมโลก จากน้ำแข็งขั้วโลกเหนือและใต้ละลาย ทำให้น้ำทะเลสูงขึ้นจนท่วมเมืองที่ต่ำกว่าระดับน้ำทะเล เช่น กรุงเทพฯ น้ำจะท่วมสูง 4-5 เมตร เวียดนาม เซียงไฮ้ ท่วมหนักสุดจะมีคนตายเป็นพัน ๆ คน

สำหรับประเทศไทยปีนี้ภัยแล้งอยู่นานไปถึงปลายปี ตอนนี้ธรรมชาติส่อเค้าให้เห็นแล้วจากการมีพายุคลื่นลมแรงในทะเลจีนใต้ พัดร่องฝนขึ้นไปประเทศจีนหมด ไม่กลับลงมาภาคเหนือและภาคกลางของไทย ฝนเทียมก็ทำได้น้อย เพราะสภาพอากาศแห้งแล้งมาก อย่าไปเชื่อนักวิชาการบางคนที่ไม่รู้จริง ออกมาบอกว่าฝนจะตก เพราะมีกลุ่มเมฆ มีฝนตกจุดนั้นจุดนี้ โดยไม่รู้ว่าเป็นเมฆบางอยู่ระดับสูง ไม่ใช่เมฆที่ตกมาเป็นฝนได้

“ประเทศไทยมีฝนจะตกได้จากอิทธิพลร่องฝน และพายุ หากเดือนนี้ และเดือนหน้า ไม่มีสองปัจจัยนี้ ประเทศไทยจบแน่ เกิดวิกฤติเลวร้ายที่สุด ไม่มีน้ำกิน คนไทยต้องช่วยตัวเองโดยการประหยัดน้ำ และคนในเมือง เตรียมหาที่เก็บตุนน้ำ ซื้อหาถังพาสติกสำรองน้ำไว้ก่อน ส่วนเกษตรกรให้ขุดบ่อ หรือสระเล็กเก็บน้ำไว้เพื่อให้มีกินและสัตว์เลี้ยงไม่อดน้ำตาย ช่วงอันตรายสุดในเดือน ส.ค.-ก.ย. ไม่มีพายุจรเข้าเลยสักลูก

ทุกอย่างวิกฤติของจริง ไม่อยากนึกภาพจะขาดน้ำไปถึงปีหน้า เพราะถ้าเข้าเดือน ต.ค.-พ.ย. ร่องฝนลงใต้ไปแล้ว ไม่ตกภาคเหนือภาคกลาง อย่าไปเชื่อว่าจะใช้น้ำก้นเขื่อนได้อีก เพราะกรมชลประทาน มองเห็นระดับน้ำข้างบนว่ามีน้ำเหลือ แต่ไม่เคยลงไปดูก้นเขื่อน มีแต่กรวด ทราย ตะกอนดิน ที่สะสมมาเป็น 10 ปี จริง ๆ มีน้ำข้างบนนิดเดียว ได้แต่นั่งภาวนารอให้ฝนตก

รัฐบาลและหน่วยงานราชการ อย่ามัวแต่โยนความผิดกัน ควรบอกความจริงประชาชน ชาวนาจะได้ไม่รอปลูกข้าว ถ้าหว่านไปเสียหายขาดทุนยิ่งแย่จะอดตายไปใหญ่ แค่น้ำจะกินยังไม่มีกันแล้ว ต่อไปมีเงินซึ้อน้ำมันใส่รถ แต่ไม่มีเงินซื้อน้ำกิน จะมีราคาแพงมาก" นายสมิทธ กล่าวนายสมิทธ กล่าวอีกว่า อยากให้รัฐบาลไปดูประเทศเวียดนาม

ตอนนี้เตรียมรับปัญหาขาดแคลนน้ำดิบไว้ล่วงหน้าอย่างดี ซื้อเรือรบปรมาณู 5 ลำ ทำน้ำทะเลเป็นน้ำจืดได้ ส่วนประเทศสิงค์โปร์ ไม่ต้องพูดถึงมีความมั่นคงเรื่องน้ำกินที่สุด สร้างเครื่องทำน้ำทะเลเป็นน้ำจืดไว้พร้อม แต่ของไทยซื้อเรือดำน้ำไว้ดำในอ่าวไทยลึกเพียง 60 เมตร ดำก็ไม่มิด เครื่องบินข้างเห็นหมด พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เคยมีรับสั่งไว้ว่าจะซื้อทำไม ซื้อมาก็ดำน้ำไม่ได้ สู้ไปซื้อเรือตรวจการณ์ชายฝั่งช่วยชาวบ้านได้ประโยชน์กว่า อยากให้รัฐบาลตั้งหลักหาทางผันน้ำโขง มาก่อนช่วงฤดูฝนนี้ เพราะเรื่องน้ำเป็นชีวิตของคนไทยทั้งประเทศ.

จาก http://www.dailynews.co.th  วันที่ 12 กรกฎาคม 2558

เอกชนไทยได้เฮ อียูใจดีเว้นภาษี เพิ่ม111รายการ 

นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า คณะกรรมาธิการยุโรป (อียู) ได้ออกประกาศระเบียบปรับปรุงรายการสินค้าที่ได้รับการยกเว้นภาษีและโควต้าภาษี Council Regulation (EU) 2015/982 เพิ่มเติมจำนวน 111 รายการ เป็นการชั่วคราว โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยสินค้าที่ได้รับการยกเว้นส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มผลิตภัณฑ์ทางเคมีและอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โลหะและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ และอุปกรณ์ที่ใช้ในทางทัศนศาสตร์

นอกจากนี้ อียูยังได้ออกระเบียบ Council Regulation (EU) 2015/981 เพื่อปรับปรุงการบริหารโควต้าภาษี (Autonomous Tariff Quota) สำหรับรายการสินค้าที่มีการผลิตในสหภาพยุโรป แต่ไม่เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมภายใน เช่น สินค้าบางรายการในกลุ่มผลิตภัณฑ์เคมีและพลาสติก โลหะและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากโลหะ (เครื่องจักรและอุปกรณ์ไฟฟ้า) เป็นต้น

"การดำเนินการดังกล่าวดำเนินการภายใต้ระเบียบ Autonomous Tariff Suspension/Tariff Quota เป็นการยกเว้นภาษีสำหรับสินค้าวัตถุดิบที่ขาดแคลนในอียู โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี) ให้มีศักยภาพในการแข่งขัน มีการจ้างงาน และปรับโครงสร้างการผลิตให้ทันสมัย ซึ่งคณะกรรมาธิการยุโรปจะมีการพิจารณาให้สิทธิสำหรับสินค้าวัตถุดิบ ที่ผู้นำเข้ายื่นคำร้อง ปีละ 2 รอบ คือรอบวันที่ 1 มกราคม และวันที่ 1 กรกฎาคม ของทุกปี" นางดวงพรกล่าว

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 12 กรกฎาคม 2558

'อารีพงศ์'แจงความคืบหน้า ก.ม.การอำนวยความสะดวกฯ  

          นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ หรือ ก.พ.ร. เปิดเผยถึงความคืบหน้าของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 ซึ่งได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2558 ซึ่งพ.ร.บ.ดังกล่าวได้กำหนดให้ผู้อนุญาตตามกฎหมายจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนเพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทราบและเข้าใจถึงรายละเอียดเกี่ยวกับช่องทางการให้บริการ หลักเกณฑ์เงื่อนไขในการยื่นคำขอและการพิจารณาอนุญาต ขั้นตอน ระยะเวลา เอกสารที่ต้องใช้ ค่าธรรมเนียม และช่องทางร้องเรียน เพื่อให้ประชาชนสามารถศึกษาข้อมูลก่อนมารับบริการได้

          ขณะนี้หลายหน่วยงานที่จัดทำคู่มือสำหรับประชาชน ส่งให้ ก.พ.ร. เพื่อเสนอให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการพิจารณา และคาดว่าหน่วยงานภาครัฐที่ต้องจัดทำคู่มือทุกหน่วยงาน พร้อมที่จะประกาศใช้และเผยแพร่คู่มือได้ทันวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.บ. มีผลบังคับใช้ โดยคู่มือที่จะประกาศใช้และเป็นประโยชน์ต่อภาคเอกชน อาทิ คู่มือการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง. 4)/ขยายโรงงาน ของสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมและกรมโรงงานอุตสาหกรรมและคู่มืองานขอรับการส่งเสริมการลงทุน ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เป็นต้น

          "เป็นที่น่ายินดีว่า คู่มือการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง. 4)/ขยายโรงงาน ได้ลดระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาตให้แล้วเสร็จได้ภายใน 30 วัน ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจได้รวดเร็วขึ้น" เลขาฯก.พ.ร. กล่าว

          นอกจากนี้ ก.พ.ร. ได้ร่วมมือกับสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) จัดทำเว็บไซต์ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อการติดต่อราชการ หรือ www.info.go.th ซึ่งเป็นที่รวบรวมคู่มือสำหรับประชาชนใช้ศึกษารายละเอียดก่อนไปติดต่อราชการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ภาคเอกชนและประชาชน

          สำหรับสาระสำคัญของ พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558 อาทิ กำหนดให้ผู้อนุญาตต้องจัดทำคู่มือการขออนุญาตสำหรับประชาชน และเพิ่มช่องทางการยื่นคำขอผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ กำหนดระยะเวลาในการทบทวนความจำเป็นในการใช้กฎหมาย กำหนดหน้าที่ของพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการรับคำขอ กำหนดผลกรณีที่ผู้ยื่นคำขอไม่แก้ไขเพิ่มเติมคำขอ หรือไม่ส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่แจ้งให้ทราบหรือตามที่ปรากฏในบันทึกแล้ว ทั้งยังกำหนดให้ผู้อนุญาตต้องพิจารณาให้แล้วเสร็จภายในกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในคู่มือสำหรับประชาชน และแจ้งผลการพิจารณาต่อผู้ยื่นคำขออนุญาต รวมถึงผลกรณีที่ผู้อนุญาตไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ที่กฎหมายกำหนด

          ทั้งยังกำหนดให้เป็นอำนาจของคณะรัฐมนตรีที่จะกำหนดให้การชำระค่าธรรมเนียมต่ออายุใบอนุญาตแทนการยื่นคำขอต่ออายุใบอนุญาตได้ ให้กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางการตรวจสอบการประกอบกิจการหรือการดำเนินกิจการของผู้รับอนุญาต และกำหนดให้ส่วนราชการจัดให้มีศูนย์บริการร่วมจัดตั้งศูนย์รับคำขอ และกำหนดอำนาจหน้าที่ของศูนย์รับคำขอ เป็นต้น

จาก http://www.thanonline.com  วันที่ 12 กรกฎาคม 2558

ลุ้น'จีดีพี'โต3%'อุ๋ย'จับตาดูจีนปัดประชานิยม 

          กรุงเทพฯ * "หม่อมอุ๋ย" ยังลุ้นจีดีพีปีนี้โต 3% ปัดใช้ประชานิยมอุ้มเศรษฐกิจ เน้นช่วยเหลือจุดอ่อน ประคองประชาชนไม่ก่อหนี้เพิ่ม "ธนวรรธน์" เชื่อเศรษฐกิจกรีซ-จีนไม่กระเทือนโลก

          เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ที่มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ถนนวิภาวดีรังสิต ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง "ภาพรวมการฟื้นตัว และแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจไทย" ใน การอบรมให้ความรู้ผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจประ จำปี 2558 ตอนหนึ่งว่า ประเมินว่าตัวเลขเศรษฐกิจ (จีดีพี) ของไทยปีนี้ยังเป็นไปได้ที่จะเติบโตได้ 3% เพราะที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการเพิ่มรายได้ให้กับประชาชน โดยเฉพาะภาคการเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งที่ขณะนี้ยังไม่มีผลกระทบมากนัก ผ่านการจ้างงานต่างๆ ซึ่งทำให้เกิดการใช้จ่ายมากขึ้น สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) จากการบริโภคที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น

          ทั้งนี้ ยอมรับว่าปัจจุบันเศรษฐกิจไทย ยังมีจุดอ่อนที่รายได้ต่อหัวน้อยอยู่ แต่รัฐ บาลจะไม่ใช้นโยบายประชานิยม เพราะจะไม่ได้ผลและเป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณ เนื่องจากเศรษฐกิจโลกยังมีแนวโน้มปรับตัวลงอีก

          "แนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจไทยภายใต้ภาวะที่เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวในขณะนี้ รัฐบาลจะช่วยเหลือเฉพาะจุดที่อ่อน แอเพื่อประคองไม่ให้ประชาชนมีการก่อหนี้เพิ่มเติม เช่น มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรทั้งชาวนาและยางพารา"

          ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าวอีกว่า ระหว่างนี้ต้องจับตาทิศทางเศรษฐกิจของจีนที่มีอัตราการเติบโตต่ำลง ซึ่งเชื่อว่าจะมีผลกระทบต่อการลงทุนในตลาดหุ้น แต่ไม่น่ากังวลมากนัก ส่วนปัญหากรีซเชื่อว่าจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยน้อยมาก เนื่องจากไทยส่งออกไปกรีซเพียง 0.6% ขณะที่สถาบันการเงินของไทยไม่มีการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลของกรีซ จึงไม่น่าห่วง ส่วนการลงทุนในตลาดหุ้นอาจได้รับผลกระทบบ้างจากดัชนีตลาดหุ้นที่ปรับลดลงในช่วง 3-4 ที่ผ่านมา เนื่องจากนักลงทุนมีความวิตกกังวลจึงทยอยขายหุ้นออกและมาลงทุนในพันธบัตร ซึ่งมีความเสี่ยงน้อยกว่า แต่ขณะนี้สถานการณ์ต่างๆ ดีขึ้น นักลงทุนเริ่มกลับมาลงทุนในตลาดหุ้นเกือบเป็นปกติแล้ว

          ด้านสถานการณ์ค่าเงินบาทมองว่าอยู่ในระดับที่เหมาะสม ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยดูแลได้ดี โดยมองว่าอัตราแลกเปลี่ยนควรมีความเคลื่อนไหวสอดคล้องกับสถานการณ์ในขณะนั้น

          โดยยืนยันว่า ภาวะเศรษฐกิจไทยในขณะนี้มีความแข็งแรงมากกว่าปี 2540 ที่มีการลดค่าเงินบาท และรายได้ของประชาชนก็สูงกว่าปีก่อน แต่สาเหตุที่ประชาชนรู้สึกว่าเศรษฐกิจไม่ดี เพราะมาจากการขาดความมั่นใจหลังจากที่ข่าวสารในแต่ละวันมุ่งนำเสนอว่าเศรษฐกิจไม่ดี ดังนั้นรัฐบาลต้องเร่งสร้างความเชื่อมั่นที่ยังขาดอยู่ รวมทั้งดำเนินการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมโดยเน้นการผลิตที่เพิ่มมูลค่ามากขึ้น ซึ่งทางคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้เน้นสนับสนุนอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีสูงเป็นหลัก เช่น อุตสาหกรรมอาหาร การแพทย์ รถยนต์ไฮบริด วัสดุนาโน และซ่อมอากาศยาน ซึ่งการปรับโครงสร้างครั้งนี้ จะมีส่วนช่วยให้ภาคการส่งออกไทยกลับมาเป็นบวกได้ในอีก 2 ปีข้างหน้า (2560) จากที่ติดลบต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2556

          ขณะที่กระทรวงอุตสาหกรรมจะมีการส่งเสริมให้ไทยเป็นประเทศศูนย์กลางด้านอุตสาหกรรมเหล็ก โดยเตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้มีการพิจารณาสร้างนิคมอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีสะอาดเพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งจะผลักดันให้มีการส่งเสริมให้มีการนำแร่โปแตชที่อยู่ใต้ดิน 4 แสนล้านตันขึ้นมาใช้ประโยชน์ หลังจากรัฐบาลได้อนุมัติประทานบัตรโครงการทำเหมืองแร่ของบริษัทเหมืองแร่โปแตชอาเซียนจำกัดไปแล้ว และจะออกประทานบัตรกับเหมืองแร่โปแตชที่จังหวัดอุดรธานีและนคร ราชสีมาต่อไป

          นอกจากนี้ ยืนยันว่าจะเดินหน้าเรื่องเศรษฐกิจดิจิตอล โดยภายในปี 2560 จะมีอินเทอร์เน็ตเข้าถึงทุกบ้าน สร้างดิจิตอลเกตเวย์และดาต้าเซ็นเตอร์ภายในปี 2559 ซึ่งขณะนี้มีความคืบหน้าไปมาก แม้ว่ากฎหมายเศรษฐกิจดิจิตอลยังไม่แล้วเสร็จ พร้อมกันนี้ได้เตรียมบุคลากรจากภาคเอกชนเอามาช่วยงานไว้พร้อมแล้ว

          ด้านนายธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า รัฐบาลจะไม่ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ได้ แต่ต้องเยียว ยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง เช่น เร่งการจ้างงาน การขุดบ่อขุดสระ เพื่อไม่ให้กำลังซื้อลดลงมา และส่งผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจ โดยคาดการณ์ความเสียหายจากภัยแล้งจะอยู่ที่ 3-7 หมื่นล้านบาท หากสามารถกลับมาเพาะปลูกได้ในช่วงปลายเดือนสิงหาคมหรือต้นเดือนกันยายน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อจีดีพี 0.5%

          ส่วนสถานการณ์เศรษฐกิจจีนและปัญหาหนี้กรีซเชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลก เนื่องจากเศรษฐกิจจีนจะฟื้นตัวตามเศรษฐกิจโลก ขณะที่ปัญหากรีซจะคลี่คลายลง เพราะลูกหนี้และเจ้าหนี้มีท่าทีประนีประนอมกันมากขึ้น รวมทั้งมีการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและส่งเสริมการเก็บภาษี ซึ่งจะไม่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก จึงคาดว่าการส่งออกไทยจะฟื้นตัวในไตรมาส 4 ของปีนี้ ซึ่งจะทำให้การส่งออกทั้งปีจะติดลบ 1-2% ส่งผลให้จีดีพีจะขยายตัวได้ 2.7-2.9%

          วันเดียวกันนี้ นายสมภพ มานะรังสรรค์ กรรมการสภาสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เปิดเผยถึงสถานการณ์ตลาดหุ้นจีนว่า เป็นลักษณะลูกโป่งรั่ว ยังไม่ใช่ฟองสบู่แตก เป็นเพียงการถอนเงินลงทุนของต่างชาติออก ขณะที่ผลกระทบต่อไทย เป็นเรื่องของการส่งออกไทย ที่ทรุดตัวลงเพราะช่วง 5 เดือนแรก ติดลบถึงร้อยละ 4.2 และจีนเป็นตลาดส่งออกสำคัญของไทย คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 13 โอกาสฟื้นตัวส่งออกให้เป็นบวกก็ยิ่งยากขึ้น และสิ่งที่สำคัญคือภาคการท่องเที่ยวปีนี้ที่คาดจำนวนนักท่องเที่ยวจีนเข้ามาในไทยราว 6-7 ล้านคน อาจไม่เป็นตามเป้า โดยสิ่งที่ผู้ประกอบการไทยพอรับมือได้คือ บริหารความเสี่ยง ติดตามข้อมูลข่าวสาร ส่วนครึ่งปีหลังที่เศรษฐกิจยังไม่กระเตื้อง ไม่ได้มีปัจจัยเดียวจากจีน ไทยเองก็มีปัญหาภัยแล้ง คาดว่าการขยายตัวจีดีพีปีนี้ของไทยจะอยู่ที่ร้อยละ 3 และการลงทุนภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศคือตัวหลักที่จะช่วยดึงจีดีพี.

จาก http://www.thaipost.net    วันที่ 12 กรกฎาคม 2558

อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ยืนยัน ได้ปฏิบัติการทำฝนหลวงอย่างเต็มที่ ขอให้เกษตรกรเชื่อมั่นการเร่งแก้ปัญหา

อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เผย ฝนที่ตกช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ยังแก้ปัญหาได้ไม่ทั้งหมด ขอให้เกษตรกรเชื่อมั่นการเร่งแก้ปัญหา

นายวราวุธ ขันติยานันท์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา มีฝนตกหลายพื้นที่ มีเสียงตอบรับที่ดีจากเกษตรกร โดยเฉพาะภาคกลาง เชื่อว่าพืชไร่ที่เพาะปลูกสามารถผ่านพ้นช่วง 1-2 สัปดาห์นี้ได้ ส่วนอ่างเก็บน้ำต่างๆ มีแนวโน้มน้ำเริ่มไหลเข้าเขื่อนมากขึ้น แม้ช่วงที่ผ่านมาจะมีปริมาณฝนมากตามที่ได้ตั้งเป้าหมาย แต่ยังไม่เพียงพอ ส่วนปัญหาต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคในการทำฝนหลวง ยังอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถควบคุมได้ อาทิ กระแสลม, ความชื้น อย่างไรก็ตาม การแก้ปัญหาภัยแล้งยังต้องการตัวช่วยทางธรรมชาติอื่นๆ รวมทั้งความช่วยเหลือจากหลาๆหน่วยงาน เพราะการทำฝนหลวงไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด แต่เชื่อว่าจะผ่านพ้นวิกฤติไปได้

อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ยังกล่าวว่า ขอให้เกษตรกรมั่นใจเจ้าหน้าที่กรมฝนหลวงฯ ได้ปฏิบัติงานอย่างเต็มที่ โดยมีแผนและนโยบายที่ชัดเจน ทำงานอย่างไม่มีวันหยุดจนกว่าจะผ่านพ้นช่วงฤดูฝน

จาก http://thainews.prd.go.th วันที่ 11 กรกฎาคม 2558

กองทุนอ้อยและน้ำตาล เดินหน้ากู้เงิน 1.69 หมื่นล้านบาท ช่วยเหลือชาวไร่อ้อย คาดพร้อมจ่าย 21 ก.ค.

          คณะกรรมการกองทุนอ้อยและน้ำตาล เผยที่ประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้กองทุนฯ กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 1.69 หมื่นล้านบาท (ตามปริมาณอ้อยจริง) เมื่อฤดูการผลิตปี 2557/2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 1.05 แสนล้านตัน โดยให้ชาวไร่อ้อยทุกรายมาลงนามเอกสารและตรวจสอบข้อมูลปริมาณอ้อยกับจำนวนเงินให้ถูกต้อง ก่อนเสนอขอรับเงินจากกองทุนฯ ซึ่งจะมีเกษตรกรชาวไร่อ้อยได้รับการช่วยเหลือประมาณ 150,000 คน ตามที่ได้จดทะเบียนไว้ คาดว่าจะสามารถจ่ายเงินเข้าบัญชีเงินฝากของชาวไร่อ้อย ที่ส่งเอกสารครบถ้วนแล้ว ภายในวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นไป สำหรับการชำระหนี้เงินกู้นั้น มีกำหนดชำระเป็นเวลา 18 เดือน นับจากเดือนพฤศจิกายน 2558 และจะแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2560 โดยใช้รายได้จากการขายน้ำตาลทรายภายในประเทศ กิโลกรัมละ 5 บาท มาทยอยชำระหนี้ประมาณเดือนละ 1,000 ล้านบาท พร้อมทั้งจัดตั้งคณะทำงานตรวจสอบกำกับดูแลการจ่ายเงิน สร้างความเชื่อมั่นว่าเงินทุกบาทจะถูกจ่ายด้วยความโปร่งใส กำหนดประชุมนัดแรกในวันที่ 13-14 กรกฎาคม นี้

          นายอาทิตย์ วุฒิคะโร อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะประธานกรรมการกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้เห็นชอบให้ช่วยเหลือชาวไร่อ้อย ที่ส่งอ้อยในฤดูการผลิตปี 2557/2558 อัตราตันละ 160 บาท และอนุมัติให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 1.69 หมื่นล้านบาท (ตามปริมาณอ้อยจริง) เมื่อฤดูการผลิตปี 2557/2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 1.05 แสนล้านตันนั้น ขณะนี้กองทุนฯ ได้ส่งคำขอกู้ไปยัง ธ.ก.ส. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะสามารถจ่ายเงินเข้าบัญชีเงินฝากของชาวไร่อ้อย ที่ส่งเอกสารครบถ้วนแล้ว ภายในวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นไป และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการจ่ายเงินให้กับเกษตรกรโดยเร็ว จึงมอบหมายให้โรงงานน้ำตาลและเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายแต่ละแห่ง จัดทำเอกสารเพื่อขอรับเงินจากกองทุนฯ โดยให้ชาวไร่อ้อยมาลงนามเอกสารและตรวจสอบข้อมูลปริมาณอ้อยกับจำนวนเงิน ให้ถูกต้องก่อนเสนอขอรับเงิน ซึ่งจะมีเกษตรกรชาวไร่อ้อยได้รับการช่วยเหลือประมาณ 150,000 คน ตามที่ได้จดทะเบียนไว้

          ทั้งนี้ สำหรับวงเงินที่ใช้ในการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยครั้งนี้นั้น ทางกองทุนฯ ได้รับการประสานงานจาก ธ.ก.ส. เสนออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน การยกเว้นค่าธรรมเนียมการวิเคราะห์เงินกู้ การยกเว้นค่าบริการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของเกษตรกร โดยการชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว มีกำหนดชำระเป็นเวลา 18 เดือน นับจากเดือนพฤศจิกายน 2558 และจะแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2560 โดยใช้รายได้จากการขายน้ำตาลทรายภายในประเทศ กิโลกรัมละ 5 บาท มาทยอยจ่ายชำระหนี้ ประมาณเดือนละ 1,000 ล้านบาท

          นายอาทิตย์ กล่าวเสริมว่า อย่างไรก็ดี เพื่อให้การดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยโดยเร็ว ขณะนี้กองทุนฯ ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานตรวจสอบกำกับการจ่ายเงินช่วยเหลือเพิ่มค่าอ้อยในฤดูการผลิตปี 2557/2558 มาตรวจสอบอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งสามารถให้ความเชื่อมั่นได้ว่าเงินทุกบาทจะถูกจ่ายด้วยความโปร่งใส โดยจะมีการประชุมคณะกรรมการในวันที่ 13-14 กรกฎาคมนี้ หลังจากนั้นวันที่ 16 กรกฎาคม จะมีพิธีลงนามในสัญญากู้เงินและสัมมนาในหัวข้อ "การแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายในอนาคต" เพื่อหาทางช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยอย่างยั่งยืน

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ยืนยันไม่ลดระบายน้ำ4เขื่อนหลัก 'ฉัตรชัย'ย้ำ!!มีใช้ตลอด'หน้าแล้ง'

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.พาณิชย์ และประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ กล่าวหลังการสัมนาแผนยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศว่า สำหรับสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ กรมอุตุนิยมวิทยายืนยันว่า ปลายเดือนก.ค.นี้จะเข้าสู่ช่วงหน้าฝนแน่นอน โดยตนได้กำชับให้คณะอนุกรรมการติดตามสถานการณ์น้ำให้ประชุมติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดสัปดาห์ละ 3 วัน

ส่วนข้อเสนอให้ลดการระบายน้ำจาก 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยาจากปัจจุบันระบายวันละ 28 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) ลงไปอีก และคณะอนุกรรมการฯ ยืนยันกับตนว่า การระบายน้ำวันละ 28 ล้านลบ.ม.จะสามารถประคองให้มีน้ำใช้การไปได้ตลอดจนถึงเดือนส.ค.

ผู้สื่อข่าวถามว่า ได้ประเมินเผื่อกรณีที่ฝนไม่ตกต้องตามที่กรมอุตุฯ พยากรณ์ไว้หรือไม่ เพราะก่อนหน้านี้คาดการณ์ผิดพลาดมา 2 ครั้งติดกันแล้ว พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า ขอว่าอย่าไปกล่าวโทษกันอย่างนั้น ให้เจ้าหน้าที่ได้ทำงานติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ตนก็ติดตามการทำงานเต็มที่ เชื่อว่าการทำงานร่วมกันอย่างนี้ จะทำให้การบริหารจัดการน้ำของประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้น อย่าไปกังวลหรือว่าแตกตื่น รัฐบาลเข้ามาจัดการใกล้ชิดขณะนี้ ไม่ใช่ปัญหาที่ใหญ่โตมากมาย เนื่องจากมีปัญหาการระบายน้ำเฉพาะในเขตพื้นที่ชลประทาน ส่วนนอกเขตชลประทาน ชาวบ้านก็รอฝนตามฤดูกาล ฝนไม่มาก็ยังไม่ลงมือเพาะปลูก

“สำหรับปริมาณน้ำ เพื่อการอุปโภค-บริโภค และน้ำเพื่อการรักษาระบบนิเวศน์ ตนได้กำชับหน่วยงานฝ่ายปฏิบัติว่า การใช้น้ำสำหรับ 2 สิ่งนี้จะต้องไม่ให้ขาดแคลน ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ยืนยันว่าดูแลได้”พล.อ.ฉัตรชัย กล่าว

 พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า ส่วนโครงการจัดการน้ำของรัฐที่กำลังเดินหน้าอยู่ขณะนี้ หลักการ คือ ในทุกๆปี หน่วยงานด้านจัดการน้ำของประเทศทุกหน่วยงาน มีงบประมาณประจำปีปกติรวมกันประมาณ 50,000 - 60,000 ล้านบาท แต่สำหรับปี 2558 รัฐบาลได้เติมงบประมาณลงไปอีกประมาณ 30,000 ล้านบาท ตามยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ระยะเร่งด่วน โดยลงมือจัดทำแหล่งกักเก็บน้ำ เช่นแก้มลิง ส่วนในปี 2559 ก็จะใช้ระบบนี้เช่นกัน คือ ให้ทุกหน่วยงานใช้งบประมาณปกติไปก่อน แต่หากมีโครงการที่จะต้องดำเนินการแก้ปัญหาเร่งด่วน เพื่อแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้ประชาชน ก็ให้เสนิอโครงการมาให้พิจารณาอีกครั้ง หากมีความเหมาะสมรัฐบาลก็จะเติมเงินให้

ผู้สื่อข่าวถามว่า นักวิชาการเสนอให้รัฐปรับเกณฑ์ขั้นต่ำ (โลเวอร์ รูล เคิร์ฟ) ในการเก็บน้ำในเขื่อน หลังจากที่ปรับลดเก็บน้ำน้อยลงร้อยละ45หลังจากน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 เพราะเป็นข้อกังวลจากฝ่ายการเมืองในขณะนั้น จะมีการพิจารณาเรื่องนี้หรือไม่ พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวว่า วันนี้เจ้าหน้าที่ที่ทำงานในเรื่องนี้ยังไม่ได้เสนอเข้ามา ก็ให้เจ้าหน้าที่เป็นผู้พิจารณาตามหลักความเหมาะสม ไม่ต้องห่วงเรื่องการเมือง ยืนยัน วันนี้ไม่มีการเมือง

 ด้านนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า การระบายน้ำปัจจุบัน ในอัตราวันละ 28 ล้านลบ.ม. สามารถส่งน้ำให้การประปาได้เต็มที่อยู่แล้ว ยืนยันว่าเรื่องการประปาจะไม่ให้ขาดแคลน โดยสามารถส่งน้ำเพื่อการประปาให้ได้นานไปตลอดฤดูแล้ง อย่างไรก็ตาม ผลจากการระบายน้ำในอัตราปัจจุบัน อาจกระทบค่าความเค็มแม่น้ำเจ้าพระยา สูงขึ้นเดือนละ 2-3 วัน วันละประมาณ 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น ซึ่งการประปานครหลวง(กปน.) สามารถบริหารจัดการหยุดสูบน้ำเข้าระบบ ในช่วงที่ค่าความเค็มขึ้นสูงได้

ส่วนพื้นที่การเกษตร ที่ต้องบริหารจัดการมาก ปัจจุบันชาวนาลงมือปลูกข้าวในเขตชลประทานลุ่มเจ้าพระยารวมประมาณ 4.6 ล้านไร่ แบ่งเป็นกลุ่มที่ปลูกตามคำแนะนำของกรมฯ ในเดือนพ.ค.ประมาณ 3.4 ล้านไร่ และกลุ่มที่ฝืนปลูกใหม่ในภายหลังประมาณ 1.2 ล้านไร่ คาดว่ามีนาที่เสี่ยงจะเสียหายประมาณ 850,000 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นนาในที่ดอน ซึ่งในภาวะน้ำปกติก็มีปัญหากันอยู่แล้ว อย่างไรก็ตามจะเห็นว่าปัญาการแย่งน้ำของเกษตรกรเกิดขึ้นในพื้นที่เจ้าพระยาตอนล่างไม่กี่จุด ในพื้นที่ตอนเหนือลุ่มน้ำปิง และวัง มีข้อพิพาทมากกว่า เพราะมีการปลูกข้าวมากกว่า

จาก http://www.naewna.com วันที่ 10 กรกฎาคม 2558

ทีดีอาร์ไอ : เตือนรับมือเศรษฐกิจซบยาว

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ)

ทีดีอาร์ไอวิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปีนี้ยังอยู่ในช่วงอ่อนแรง สิ้นปีอาจโตเพียง 2.75-3.25 และจะค่อย ๆ ฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ในปีหน้า  เหตุจากปัจจัยขับเคลื่อนเศรษฐกิจเกือบทุกตัวมีปัญหา ทั้งปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ  แนะเพิ่มประสิทธิภาพการลงทุนภาครัฐช่วยค้ำยันเศรษฐกิจ สร้างความชัดเจน เร่งการเบิกจ่าย เยียวยารากหญ้า และเรียกความเชื่อมั่นให้นักลงทุน

ดร.นณริฏ พิศลยบุตร นักวิชาการ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ วิเคราะห์ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในปี 2558 โดยระบุว่า  ปีนี้น่าจะเป็นปีที่เศรษฐกิจไทยอยู่ในจุดต่ำสุดของวัฏจักรเศรษฐกิจน็น

เนื่องจากมีปัญหาทั้งภายในและภายนอกที่เข้ามากระทบเครื่องจักรทางเศรษฐกิจแทบจะทุกตัว ทั้งปัจจัย การบริโภคภายในประเทศ  การลงทุนของภาคเอกชน ข้อจำกัดด้านรายจ่ายภาครัฐ และ ภาคการส่งออก ภาคการบริโภคมีปัญหาหนี้ครัวเรือนปรับตัวอยู่ในระดับสูงมากถึงร้อยละ 85-90 (ตามนิยามเดิม) และสูงสุดติดหนึ่งใน 15 ของโลก จนก่อให้เกิดความกังวลว่า หนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว อาจจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของประเทศในช่วงเศรษฐกิจชะลอตัวได้

ปัญหาดังกล่าว ส่วนหนึ่งเกิดจากราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำและมีความเป็นไปได้ว่าจะตกต่ำยาวอย่างต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นจากราคาน้ำมันที่ตกลงและความต้องการสินค้าเกษตรที่ลดลงอันเนื่องมาจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง

เช่นเดียวกันนี้เอง ภาคการส่งออกของไทยก็อยู่ในสถานการณ์ที่ลำบากและมีแนวโน้มที่จะชะลอตัวต่อไป เนื่องจากปัญหาเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ประกอบกันปัญหาเชิงโครงสร้างภายในที่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนหนีจากกิจกรรมการผลิตมูลค่าเพิ่มต่ำไปยังกิจกรรมการผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มได้ดีเพียงพอ นอกจากนี้ ประเทศไทยยังตกขบวนในการเจรจาการค้าต่างๆ เช่น FTA ไทย-ยุโรปที่ล่าช้า  และการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (Trans-Pacific Strategic Economic Partnership Agreement : TPP) ที่ไทยไม่ได้เข้าร่วมเจรจาด้วย ทำให้กรอบการใช้สิทธิ์ในระดับพหุภาคีของไทยยังมีไม่เต็มที่มากนัก โดยกรอบการเจรจาดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อการเปิดตลาดการค้าสินค้า บริการและการลงทุน ทำให้การสร้างความสอดคล้องในกฎระเบียบทางเศรษฐกิจลดลงไปด้วย

ขณะที่ในส่วนของสินค้าประเภทชิ้นส่วนยานยนต์ แม้ยังมีการเติบโตได้ดี แต่ต้องระวังเทคโนโลยีการผลิตหรือการออกแบบที่ค่อนข้างเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว ผู้ผลิตไทยจึงต้องมองเกมให้กว้างด้วยการวางแผนการผลิตที่มีประสิทธิภาพเพื่อตอบโจทย์ตลาดให้มากยิ่งขึ้น

ทางด้านการลงทุนอสังหาริมทรัพย์ เอกชนบางส่วนยังคงรอสัญญาณการผลักดันนโยบายที่แน่ชัดและมีผลประโยชน์ที่ดีจริงๆ  โดยเฉพาะการลงทุนในโครงการเมกะโปรเจคต่าง ๆ ที่ภาคเอกชนหรือนักลงทุนยังคงมีความไม่แน่ชัดในหลายๆด้าน ขึ้นกับว่าภาครัฐจะสามารถดำเนินโครงการได้ตามเป้าหมาย และโครงการดังกล่าวสามารถตอบโจทย์การพัฒนาเศรษฐกิจได้มากน้อยเพียงใด ในส่วนรายจ่ายภาครัฐในส่วนของรายจ่ายประจำ ยังมีข้อจำกัดทางด้านงบประมาณค่อนข้างมาก และไม่น่าจะสามารถเป็นกลจักรใหญ่ในการผลักดันเศรษฐกิจได้

ปัจจัยบวกด้านการท่องเที่ยว แม้ว่าจะส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน แต่ขนาดของผลกระทบยังหวังพึ่งให้เป็นกลจักรใหญ่ไม่ได้มากนัก

อย่างไรก็ตาม นักวิชาการทีดีอาร์ไอได้ให้ข้อเสนอแนะว่า จากสถานการณ์ที่เครื่องจักรเกือบทุกตัวอยู่ในสภาวะที่ทำงานได้อย่างไม่เต็มที่ สิ่งที่ภาครัฐต้องคำนึงและดำเนินการคือควรใช้มาตรการช่วยเหลือเยียวยาภาคเกษตรอย่างเร่งด่วน  แต่ต้องเล็งให้ตรงเป้าไม่ใช่การเยียวยาแบบหว่านอย่างที่ผ่านๆมา  เพราะสถานการณ์ตอนนี้ภาคเกษตรกำลังน่าเป็นห่วงที่สุด

กล่าวโดยสรุป เศรษฐกิจไทยในปีนี้จะเป็นอีกปีที่เศรษฐกิจโตต่ำกว่าศักยภาพ โดยตัวเลขอัตราเจริญเติบโตที่เป็นบวก มาจากความโชคดีที่ปีที่แล้วอัตราเจริญเติบโตอยู่ในระดับต่ำมาก คือแค่ร้อยละ 0.7 เรียกได้ว่าเป็นความโตทางการคำนวณทางคณิตศาสตร์จากฐานที่ต่ำ มากกว่าจะเป็นการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอย่างแท้จริง

กลจักรสำคัญในปีนี้ จะขึ้นอยู่กับการเบิกจ่ายงบลงทุนภาครัฐ ว่าสามารถทำได้ตามเป้าหมายมากน้อยเพียงใด และภาครัฐจะมีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรอย่างเร่งด่วนเพิ่มเติมหรือไม่ ซึ่งจากข้อมูลล่าสุดคาดว่าอัตราเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปีนี้น่าจะอยู่ในช่วง 2.75-3.25 เปอร์เซ็นต์

สำหรับเศรษฐกิจไทยในปีหน้าคาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวอย่างช้าๆ จากหนี้ครัวเรือนซึ่งเกิดขึ้นจากนโยบายรถคันแรกน่าจะเริ่มครบกำหนด และการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ที่จะเข้ามาในขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ ปัจจัยสำคัญที่ชี้บ่งอนาคตของเศรษฐกิจในปีหน้าต้องจับตาดูว่าการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์จะสามารถดึงดูดทำให้เกิดการลงทุนภาคเอกชนได้มากน้อยเพียงใด

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 10 กรกฎาคม 2558

กรอ. เผยยังไม่มีอุตฯ กระทบจากภัยแล้ง

กรอ. เผยเขตประกอบการอุตสาหกรรมยังไม่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง พร้อมแบ่งความรุนแรงไว้ 3 ระดับ

นายพสุ โลหารชุน อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กล่าวว่า จากการสำรวจเขตประกอบการอุตสาหกรรมที่อยู่ภายใต้การดูแลของ กรอ. ทั้งหมด 25 แห่ง พบว่า ล่าสุดยังไม่มีเขตฯ ใดที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง โดยในแต่ละเขตฯ ได้แบ่งระดับความรุนแรงไว้ 3 ระดับ ได้แก่ 1. ยังสามารถใช้แหล่งน้ำธรรมชาติได้ 2. มีการออกประกาศเตือนให้โรงงานประหยัดการใช้น้ำ และ 3. ใช้น้ำสำรองในเขตฯ หรือบ่อน้ำบาดาล ซึ่งในเต่ละแห่งมีแหล่งน้ำสำรองสามารถใช้ได้ 30-60 วัน ซึ่งขณะนี้ทุกเขตฯ ยังอยู่ในระดับที่ 1 และมั่นใจว่าทุกเขตฯ จะสามารถผ่านวิกฤตภัยแล้งในครั้งนี้ได้

จาก http://www.innnews.co.th  วันที่ 10 กรกฎาคม 2558

ภัยแล้งทำศก.สูญ6หมื่นล้าน เกษตรกรอ่วมรายได้หดแต่หนี้เพิ่ม-แนะรัฐเร่งเงินแสนล้าน

ภัยแล้ง 21 รอบ ทำเศรษฐกิจไทยสูญกว่า 6 หมื่นล้านบาท ผลผลิตข้าวหายจากระบบ 4 ล้านตัน ฉุดกำลังซื้อของเกษตรกรวูบ ซ้ำเป็นเหตุให้ต้องก่อหนี้เพิ่มขึ้นเพื่อใช้จ่าย ด้านศูนย์วิจัยกสิกรไทย ชี้ศก.ไทยครึ่งปีหลังต้องลุ้นการลงทุนภาครัฐ ส่วนการส่งออกหมดหวัง คาดทั้งปีจะติดลบ 1.7%

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยสถานการณ์ภัยแล้งปี 2558 ซึ่งสำรวจระหว่างวันที่ 1-4 ก.ค. จากเกษตรกร 1,200 ตัวอย่างทั่วประเทศว่า ภัยแล้งในปีนี้ถือว่ารุนแรงมากที่สุดในรอบ 50 ปี และทำให้มีน้ำใช้น้อยสุดในรอบหลายสิบปี โดยจากภาวะภัยแล้ง ที่เริ่มตั้งแต่ช่วง พ.ค. เป็นต้นมา ที่เป็นช่วงฝนทิ้งช่วง และคาดการณ์ว่าน้ำจะกลับมาเพียงพอต่อการใช้งานในช่วง ส.ค.-ก.ย. (นาปี)ประเมินว่าได้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่เพาะปลูกใน 25 จังหวัด จาก 62 จังหวัด ประมาณ 12 ล้านไร่ จากพื้นที่เพาะปลูกทั่วประเทศ 60 ล้านไร่ หรือคิดเป็น 15% ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด โดยผลผลิตข้าวจะหายไปประมาณ 4 ล้านตัน ซึ่งมูลค่าความเสียหาย

 จากภัยแล้งรอบนี้ประมาณ 35,632.53 ล้านบาท หรือในกรอบ 31,000-37,000 ล้านบาท และกระทบต่อจีดีพี 0.27% ส่วนภัยแล้งช่วงที่ 1 ตั้งแต่เดือน ต.ค.-ธ.ค. 2557(นาปรัง) เสียหาย 32,512.44 ล้านบาท กระทบต่อจีดีพี 0.25% และหากประเมินภัยแล้ง 2 รอบ ทั้งนาปีและนาปรังจะกระทบต่อเศรษฐกิจไทยโดยรวม 68,144.97 ล้านบาท กระทบจีดีพี 0.52%

“จากภาวะภัยแล้งทำให้เศรษฐกิจย่อตัว เพราะรายได้เกษตรกรหายไป ซึ่งตามต่างจังหวัดเกษตรกรเป็นผู้บริโภคหลัก กำลังซื้อหลักจึงหายไป ดังนั้นจะส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีความสุ่มเสี่ยงที่จะโตได้ต่ำกว่า 3% จากเดิมที่หอฯเคยประเมินว่า จีดีพี จะขยายตัวได้ 3.2% ก็อาจต้องมองใหม่ เพราะในการประเมินครั้งนั้นไม่ได้รวมปัญหาภัยแล้ง และยังไม่ได้รวมสถานการณ์เศรษฐกิจต่างๆ เข้าไว้ด้วย”

ทั้งนี้เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวได้มากกว่า 3% ภาครัฐอาจจำเป็นต้องมีการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบ ทดแทนเม็ดเงินที่หายไปของเกษตรกร ประมาณ 35,000-50,000 ล้านบาท ในช่วงภัยแล้งขณะนี้ หรือต้องการชดเชยตั้งแต่ภัยแล้งทั้งจากการปลูกข้าวนาปีและนาปรังทั้ง 2 ครั้ง ก็อาจต้องอัดฉีดเม็ดเงินประมาณ 70,000-100,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเยียวยาจากปัญหาภัยแล้งทั้งปี และต้องให้ถึงมือเกษตรกร เนื่องจากตอนนี้สถานการณ์เศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 2 ฟื้นตัวได้ไม่เต็มที่ และหากในไตรมาสที่ 3 กำลังซื้อยังไม่ฟื้น ก็จะส่งผลให้ในไตรมาสที่ 4 เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้น้อย และทำให้ทั้งปี จีดีพี อาจขยายตัวได้น้อยกว่าคาดการณ์ หรือต่ำกว่า 3%

“สถานการณ์ราคาข้าวในปีถือว่าค่อนข้างต่ำ โดยราคาข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% เฉลี่ยอยู่ที่ 7,697 บาทต่อตัน ซึ่งน้อยกว่าราคาปีก่อนที่เฉลี่ยอยู่ตันละ 7,753 บาท และจากภัยแล้ง และราคาที่ลดลงทำให้ในปีนี้เกษตรกรรายได้ลดลงประมาณ 15% โดยเฉพาะเกษตรกรปลูกข้าวน้อยกว่า 20 ไร่”

ด้านนายเชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวถึงแนวโน้มเศรษฐกิจไทยในครึ่งปีหลังว่า ยังต้องจับตาอย่างใกล้ชิดเกี่ยวกับความคืบหน้าของโครงการลงทุนภาครัฐ สถานการณ์ภัยแล้ง มาตรการของประเทศคู่ค้าต่อไทยในหลายประเด็น รวมถึงปัจจัยที่จะมีผลต่อเศรษฐกิจและตลาดการเงินโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวะเวลาในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐ วิกฤติหนี้กรีซ และทิศทางเศรษฐกิจจีน

นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยยังรอดูความชัดเจนของกรีซ ซึ่งหากกรีซไม่ชำระคืนหนี้ในวันที่ 12 ก.ค. 2558 ตามกำหนด อาจส่งผลให้กรีซหลุดออกจากกลุ่มประเทศยูโรโซน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยอย่างมาก โดยคาดว่าจะมีการทบทวนการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทย (GDP) ใหม่อีกครั้งหนึ่ง ในช่วงเดือนก.ย.นี้ สำหรับการปรับตัวลงของตลาดหุ้นจีน มองว่าเป็นช่วงของการปรับฐาน ซึ่งไม่ได้มีผลกระทบต่อเศรษฐกิจของจีน และเศรษฐกิจไทยโดยตรง เชื่อมั่นว่าจีนจะมีมาตรการทั้งการเงิน การคลัง ออกมาควบคุมและจะประคองเศรษฐกิจจีนไปได้อีกระยะหนึ่ง ส่วนค่าเงินบาทปีนี้ประเมินไว้ที่ 34.50 บาท/ดอลลาร์ ปรับตัวอ่อนค่าอย่างค่อยเป็นค่อยไป เป็นไปตามภูมิภาค ซึ่งมองว่าค่าเงินบาทไม่ได้ปรับตัวอ่อนค่ามาก เมื่อเทียบกับประเทศอินโดนีเซีย และอินเดีย โดยไทยยังมีฐานเงินทุนสำรองที่ดีอยู่ ประกอบกับบัญชีเดินสะพัดยังอยู่ในระดับที่แข็งแกร่ง

ด้านนางพิมลวรรณ มหัจฉริยวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวว่า ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบลบต่อจีดีพีประมาณ 0.3-0.4% ประกอบกับหลายธุรกิจในไทยยังต้องเผชิญกับปัญหาในมาตรฐานจากต่างประเทศ เช่น ธุรกิจประมงยังมีปัญหากรณีที่ไทยในการทำประมงผิดกฎหมาย ขาดการรายงาน และไร้การควบคุม หรือ ไอยูยู กรณีสหภาพยุโรปให้ใบเหลือง และธุรกิจการบินที่ไม่ผ่านมาตรการจากองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ปัญหาดังกล่าวจะส่งผลให้การบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวเพียง 1.7% จากเดิม 2% ส่งผลต่อเศรษฐกิจไทยลดลง 0.2% ส่วนปัจจัยเสี่ยงจากเศรษฐกิจโลกที่ยังไม่ฟื้นตัว กดดันการส่งออกของไทยในปีนี้จะหดตัว 1.7% จากเดิมที่ไม่เติบโต ทำให้เศรษฐกิจไทยในปีนี้ยังขยายตัวได้เพียง 2.8% อย่างไรก็ตาม หากสถานการณ์ภัยแล้งรุนแรงมากขึ้นกว่าที่คาดการณ์อาจส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวต่ำกว่าที่คาดการณ์ได้

จาก http://www.naewna.com วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เร่งพัฒนาสหกรณ์เขตศก.พิเศษ สร้างต้นแบบนำเข้า-ส่งออกสินค้ารับเออีซี

นายโอภาส กลั่นบุศย์ อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ เปิดเผยว่า รัฐบาลมีนโยบายการพัฒนาด่านการค้าชายแดน เพื่อรองรับการเชื่อมโยงกระบวนการผลิตและการลงทุนข้ามแดน เพิ่มความสามารถในการแข่งขัน เพิ่มการจ้างงาน สร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้ประชาชน รวมทั้งควบคุมปริมาณผลิตผลการเกษตรที่มีการลักลอบนำเข้า เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบผลิตผลภายในประเทศ ซึ่งในเบื้องต้นรัฐบาลได้ประกาศพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษ 36 ตำบล 10 อำเภอ ใน 5 จังหวัด คือ

ตราด มุกดาหาร สระแก้ว สงขลา และตากทั้งนี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้ผลักดันและพัฒนาการทำงานของสหกรณ์ในพื้นที่ของเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อให้พร้อมเป็นผู้นำเข้าและส่งออกสินค้าไปยังประเทศต่างๆ ในกลุ่ม AEC โดยในระยะแรก กรมส่งเสริมสหกรณ์ ได้ส่งเสริมให้มีการนำเข้าสินค้าจากประเทศเพื่อนบ้าน จากด่านชายแดน 2 ด่าน คือ ด่าน อ.แม่สอด จ.ตาก เป็นการการนำเข้าข้าวโพด โดยสหกรณ์นิคมแม่สอด และสหกรณ์นิคมแม่ระมาด ได้นำเข้าข้าวโพดมาประมาณ 1,600 ตัน มูลค่าประมาณ 13 ล้านบาท และในพื้นที่ด่าน อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว นำเข้ามันสำปะหลังประมาณ 750 ตัน มูลค่าประมาณ 3 ล้านบาท และในช่วงเดือนมิถุนายน 2558 นำเข้ามาอีกประมาณ 250-300 ตัน โดยสหกรณ์โคนมวังน้ำเย็น เพื่อมาใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารสัตว์จำหน่ายให้สมาชิก โดยการนำเข้าของสหกรณ์ทั้ง 2 พื้นที่ ถือเป็นการนำร่องในการดำเนินการเบื้องต้น และสินค้าทั้งหมดนั้นมีการตรวจสอบสินค้าชัดเจนและดำเนินการถูกต้องตามกฎหมายทุกขั้นตอน

นายโอภาสกล่าวอีกว่า ในระยะที่สอง ตั้งแต่ปี 2559 เป็นต้นไป จะมีการเปิดเป็นพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มขึ้นอีก 5 จังหวัด คือ กาญจนบุรี เชียงราย นราธิวาส นครพนม และหนองคาย มีทั้งหมด 7 ด่าน โดยการดำเนินงานในระยะที่ 2 นี้ กรมส่งเสริมสหกรณ์ จะหารือกับทางสหกรณ์ในพื้นที่ว่า จะสามารถนำเข้าหรือส่งออกสินค้าอะไรได้บ้าง ซึ่งกรมส่งเสริมสหกรณ์ พร้อมที่จะสนับสนุนในเรื่องต่างๆ อาจใช้เงินกองทุนพัฒนาสหกรณ์ในลักษณะเป็นเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำให้สหกรณ์นำไปเป็นทุนในการรวบรวมสินเพื่อการค้าส่งออกและนำเข้า

จาก http://www.naewna.com วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เลาะรั้วเกษตร : หนี้สินเกษตรกร

ภัยแล้ง เป็นสาเหตุที่ทำให้เกษตรกร ไม่มีน้ำในการเพาะปลูกพืช และทำการเกษตรอื่นๆ รายได้ของเกษตรกรที่จะได้มาจากการขายผลผลิตพืชเหล่านั้นจึงไม่ต้องพูดถึง เพราะเมื่อไม่มีผลผลิต รายได้จึงเป็น “ศูนย์” เงินที่ลงทุนไปในไร่นาไม่ได้กลับคืน เงินทุนไม่ได้คืนยังไม่เดือดร้อนเท่าไรถ้าเงินนั้นเป็นเงินเก็บของครอบครัว แต่ถ้าเงินนั้นเป็นเงินที่ไปกู้ยืมมานี่สิ....คงไม่ใช่เดือดร้อนธรรมดา แต่เป็นเดือดร้อนแสนสาหัส เพราะไม่มีปัญญาใช้หนี้ ยิ่งเป็นหนี้นอกระบบยิ่งไม่ต้องพูดถึง

ในการประชุมครม. ครั้งที่ผ่านมาเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2558 นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้สั่งการให้กระทรวงการคลังและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปหาช่องทางดูแลผู้ที่มีรายได้น้อยที่กำลังประสบปัญหาหนี้สินครัวเรือนสะสมในจำนวนสูง โดยให้ดูความเป็นไปได้ในการจัดหาวงเงินกู้ปลอดดอกเบี้ย เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อรัฐบาล ทั้งนี้มีข้อมูลระบุว่ามูลค่าหนี้ในภาพรวมสูงถึง 1 ล้านล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นหนี้ของเกษตรกรราว 3-4 แสนล้านบาท โดยเฉพาะเกษตรกรที่นำที่ดินไปจำนองกับนายทุน และไม่มีเงินไปไถ่ถอน ที่ดินนั้นต้องตกเป็นของนายทุนไปนั้นมีเป็นจำนวนมาก เรื่องนี้เป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรีเป็นห่วง เพราะเมื่อไม่มีที่ดินทำกิน เกษตรกรต้องไปเช่าที่ดินเพาะปลูก ต้นทุนในการผลิตก็จะเพิ่มขึ้น รายได้ก็จะน้อยลง

กระทรวงมหาดไทยทำการสำรวจพบว่า มีเกษตรกรที่เป็นหนี้ในระบบสถาบันการเงิน เกือบ 140,000 ราย มูลค่าหนี้ประมาณ 3.6 แสนล้านบาท เป็นหนี้นอกระบบเกือบ 150,000 ราย มูลค่าหนี้ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท ในจำนวนนี้มีหนี้นอกระบบที่อยู่ระหว่างการฟ้องร้องประมาณ 90,000 ราย มูลค่าหนี้ประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท เป็นกลุ่มลูกหนี้ที่นายกรัฐมนตรีสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดูแล

งานเข้ากระทรวงเกษตรฯ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะเป็นหนี้ของเกษตรกรมีการกล่าวถึง “กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร” ให้หาทางซื้อหนี้จากเกษตรกรได้หรือไม่...งานเข้ากองทุน ในคราวเดียวกัน แต่ทั้งกระทรวงเกษตรฯ และกองทุนฟื้นฟูฯ จะมีศักยภาพเพียงพอที่จะทำงานใหญ่ยักษ์นี้ได้หรือไม่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รองนายกรัฐมนตรี พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง ในฐานะประธานบอร์ดกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร นคร ศรีวิพัฒน์ ประธานคณะกรรมการบริหารกองทุน และ วัชระพันธุ์ จันทรขจร เลขาธิการกองทุน คงต้องหาคำตอบให้นายกรัฐมนตรี โดยเฉพาะรายหลังนี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯอำนวย ปะติเส สั่งตรวจสอบตั้งแต่เดือนมกราคม 2558 เนื่องจากมีเกษตรกรร้องเรียนว่า บริหารงานผิดวินัยการเงินตามที่สำนักงานคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดิน หรือ สตง. ได้ติดตามการใช้จ่ายเงินของกองทุนฟื้นฟูเกษตรกรฯ อยู่ ไม่ทราบว่าผลการตรวจสอบเป็นเช่นไร....

เรื่องหนี้สินเกษตรกร เป็นเรื่องที่นายกรัฐมนตรีให้ความสนใจ และเร่งรัดให้ดำเนินการแก้ไขมาตั้งแต่เข้ามารับตำแหน่งใหม่ๆ แต่หนี้สินเกษตรกรมากเสียจนไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นอย่างไรดี เมื่อมีเหตุการณ์ใดเกิดขึ้นและส่งผลกระทบกับรายได้ของเกษตรกร เช่น ภัยพิบัติต่างๆ หรือ ราคาผลผลิตตกต่ำ ก็มีการหยิบยกปัญหาหนี้สินของเกษตรกรขึ้นมาพูดกันที มีการยกหนี้ให้บ้าง ให้กู้ปลอดดอกเบี้ยบ้าง เรื่องนี้ผู้จัดการ ธ.ก.ส. ลักษณ์ วัจนานวัช รู้ดีเพราะเวลาเกษตรกรมากู้ทำอย่างไรก็ได้ เงื่อนไขอย่างไรก็ได้ ขอให้ได้เงินกู้ แต่พอถึงเวลาใช้หนี้ ไม่มีเงินใช้หนี้ ก็มีสารพัดเหตุผลนำมาอ้างที่จะไม่ต้องใช้หนี้

หนี้สินเกษตรกร จึงเป็นปัญหาคลาสสิกอีกปัญหาหนึ่งของประเทศไทย ที่สะสมมานานหลายปีหากจะย้อนไปในอดีตก็อาจจะนับได้ว่าตั้งแต่สมัยรัฐบาลที่ใช้นโยบายประชานิยมเป็นต้นมา และยิ่งเพิ่มมากขึ้นในรัฐบาลนโยบายประชานิยมอีกสมัยหนึ่งที่ระดมโครงการ สิ่ง “แรก” ทั้งหลาย ซึ่งมีตัวเลขยืนยันจากสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเมื่อ ปี 2557 ว่าครัวเรือนภาคเกษตรมีหนี้สินเพิ่มขึ้นจาก2 แสนล้านบาท ในปี 2542 เป็น 3.5 แสนล้านบาทในปี 2554 และเพิ่มเป็น 4.5 แสนล้านบาท ในปี 2555

เอวังก็มีด้วยประการฉะนี้....คงอีกนานกว่าจะปลดหนี้เกษตรกรได้ ทั้งในระบบและนอกระบบ

จาก http://www.naewna.com วันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เตือนเกษตรกรรับมือเอลนิโญเวียนมาอีกแล้วในรอบ 5 ปีกระทบผลผลิต-ราคา

    การกลับมาของปรากฏการณ์โลกร้อน หรือเอลนิโญ ทำให้หลายภาคส่วนที่อยู่ในแวดวงสินค้าโภคภัณฑ์การเกษตรไม่ว่าจะเป็นเกษตรกรผู้ปลูกหรือบริษัทผู้ค้า ในหลายประเทศชายขอบมหาสมุทรแปซิฟิกตั้งแต่สหรัฐอเมริกา ไล่มายังออสเตรเลีย ญี่ปุ่น และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ต้องเตรียมตัวเตรียมใจพบกับภาวะผลผลิตการเกษตรที่ลดลงและความผันผวนแรงขึ้นของราคาสินค้า 

    เอลนิโญ เป็นรูปแบบสภาพอากาศที่เกิดขึ้นตลอดมหาสมุทรแปซิฟิกเขตร้อน โดยเกิดขึ้นเฉลี่ยทุกห้าปี ลักษณะคือเกิดการเปลี่ยนแปลงในอุณหภูมิผิวน้ำทะเลของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกโดยอุ่นขึ้นผิดปกติ สามารถก่อให้เกิดสภาพอากาศเลวร้ายตามมา ไม่ว่าจะเป็น อุทกภัย ภัยแล้ง หรือการรบกวนสภาพอากาศในหลายภูมิภาคของโลก เช่น ฝนตกหนักในภาคเหนือของอเมริกาใต้ ภาวะภัยแล้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียตอนเหนือ รวมถึงการเกิดไฟไหม้ป่าในอินโดนีเซีย ในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา กรมอุตุนิยมวิทยาของสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ได้ออกมายืนยันแล้วว่า ปรากฏการณ์เอลนิโญได้กลับมาแล้ว โดยนับเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี หลังจากที่เคยปรากฏในช่วงฤดูกาลเพาะปลูกของปี 2552-2553 โดยการตรวจสอบพบว่า อุณหภูมิใต้พื้นผิวมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกได้ขยับสูงขึ้นแล้ว 4%  

    ความวิตกว่าปรากฏการณ์เอลนิโญจะทำให้เกิดภาวะภัยแล้งรุนแรงในพื้นที่เพาะปลูกที่สำคัญ ส่งผลให้ราคาข้าวสาลี ข้าวโพด และถั่วเหลือง พุ่งสูงขึ้นในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมาทั้งที่ทรงตัวอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพมาค่อนข้างยาวนานในช่วงก่อนหน้านี้ บทวิเคราะห์จากธนาคารแห่งชาติออสเตรเลีย (เอ็นเอบี) ระบุว่า ผลผลิตข้าวสาลีของออสเตรเลียซึ่งเป็นประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ โดยมีสัดส่วนการส่งออกถึง 14% ของการส่งออกข้าวสาลีทั่วโลก คาดว่าจะลดลงได้มากถึง 50% ของปริมาณที่เคยผลิตได้ ความแปรปรวนของสภาพอากาศที่เกิดจากปรากฏการณ์เอลนิโญทำให้ฝนตกในออสเตรเลียปริมาณน้อยลง รวมทั้งบางพื้นที่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้

    สถิติจากรายงานของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ ไอเอ็มเอฟ ชี้ว่าในอดีต ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ไม่ใช่เชื้อเพลิงจะปรับราคาสูงขึ้นเฉลี่ย 5.3% ในระยะ 12 เดือนให้หลังของการประกาศพบปรากฏการณ์เอลนิโญ และในบางปีผลกระทบด้านราคาก็รุนแรงมากกว่านั้น ยกตัวอย่างข้อมูลจากบริษัทวิจัย ซีเอ็มซี แคปปิตอล มาร์เก็ตส์ ที่ระบุว่า ในช่วงปี 2539-2540 เอลนิโญทำให้ราคาน้ำมันปาล์มพุ่งขึ้นถึง 150% ภายในระยะเวลาเพียง 9 เดือน

    นักวิเคราะห์จากกรมธรณีวิทยาของออสเตรเลียยอมรับว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะประเมินล่วงหน้าว่าผลกระทบจะรุนแรงมากน้อยเพียงใด เพราะนับตั้งแต่มีการเก็บข้อมูลสำรวจผลกระทบเอลนิโญตั้งแต่ปี 2443 เป็นต้นมาพบว่า ในการเกิดเอลนิโญ 26 ครั้ง มีเพียง 17 ครั้งที่ก่อให้เกิดภาวะภัยแล้งเป็นวงกว้างในประเทศออสเตรเลีย "การเกิดเอลนิโญแต่ละครั้งมีรูปแบบแตกต่างกันไป ทั้งในแง่ความยาวนานและความรุนแรง รวมทั้งผลกระทบที่จะเกิดขึ้นกับพืชผลการเกษตร" นักวิเคราะห์จากราโบแบงก์กล่าว พร้อมทั้งระบุว่า สินค้าเกษตรที่ราคาอาจได้รับผลกระทบรุนแรงที่สุดจากปรากฏการณ์เอลนิโญ น่าจะเป็นกาแฟโรบัสต้า อ้อย ข้าวสาลี หรือพืชอื่นๆที่ปลูกกันมากในประเทศเวียดนาม อินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และบราซิล ซึ่งเป็นประเทศที่มักได้รับผลกระทบเต็มที่จากปรากฏการณ์เอลนิโญ

    เกษตรกรรายหนึ่งจากพื้นที่ทางตอนใต้ของออสเตรเลียซึ่งปลูกข้าวสาลีและเลี้ยงแกะ เปิดเผยว่า ปริมาณน้ำฝนในเดือนมิถุนายนปีนี้ มีเพียง 20% ของระดับปกติ จึงจำเป็นต้องบริหารจัดการให้ดีทั้งเรื่องของการใช้น้ำให้เต็มประสิทธิภาพและการกำจัดวัชพืชในนาข้าวสาลีเพื่อไม่ให้วัชพืชแย่งน้ำจากต้นข้าว อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์เชื่อว่ายังอาจต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนจึงจะเห็นผลกระทบที่ชัดเจนของเอลนิโญที่มีต่อผลผลิตการเกษตรอื่นๆ เช่น น้ำมันปาล์มต้องรออีก 6 เดือนหลังเกิดเอลนิโญจึงจะเห็นผลกระทบจากความแห้งแล้ง "เนื่องจากเอลนิโญเพิ่งเกิดขึ้น จึงยังเร็วเกินไปที่จะประเมินปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรของปีหน้า" รายงานของบริษัทโกลเด้น อะกริ-รีซอร์สเซสฯ ซึ่งตั้งอยู่ที่สิงคโปรระบุ พร้อมแนะนำว่า เกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันอาจใส่ปุ๋ยบำรุงดินก่อนเวลาปกติเพื่อเตรียมตัวรับมือกับสภาพอากาศที่อาจจะเลวร้ายลงไปกว่านี้

    อย่างไรก็ตาม เอลนิโญอาจส่งผลดีต่อบริษัทผู้ค้าที่เป็นคนกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายสินค้าประเภทอาหาร เพราะโดยส่วนใหญ่แล้วผู้ค้าคนกลางที่มีข้อมูลพยากรณ์อากาศที่ดีประกอบกับข้อมูลตลาด จะได้ประโยชน์จากสภาวะราคาสินค้าเกษตรที่ผันผวน นายซันนี เวอร์กีส ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท โอแลมฯ ซึ่งเป็นผู้ค้าสินค้าโภคภัณฑ์การเกษตรเปิดเผยว่า ปรากฏการณ์เอลนิโญอาจทำให้เกิดการขาดแคลนข้าวสาลี ข้าวโพด และอ้อย ในประเทศซีกโลกใต้

จาก http://www.thanonline.com   วันที่ 9 กรกฎาคม 2558

วิกฤติภัยแล้ง58! เศรษฐกิจไทยจ่อปากเหว ฉุดจีดีพีลด 0.52%

ม.หอการค้าฯ ประเมินภาวะภัยแล้งปีนี้จุดเสี่ยง ศก.ไทย ฉุดจีดีพีลดลง 0.52% อาจโตต่ำกว่า 3% ส่งผลกระทบปลูกข้าวเสียหาย 6.8 หมื่นล้าน แนะรัฐเยียวยาภาคเกษตร อัดฉีดเงินในระบบกว่าหมื่นล้าน ขณะที่ชาวนา 62 จว. มองภัยแล้งปีนี้รุนแรงมากสุด... 

เมื่อวันที่ 9 ก.ค. 58 นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คาดการณ์ความเสียหายจากภาวะภัยแล้งจะส่งผลกระทบต่อ GDP ในปีนี้ ลดลง 0.52% จากเดิมที่ศูนย์พยากรณ์ฯ คาดการณ์ว่า ปีนี้เศรษฐกิจไทยจะโตได้ 3.2% นั้นก็ทำให้มีความเป็นไปได้มากขึ้นที่จะโตได้ต่ำกว่า 3%

ส่วนการปลูกข้าวนาปรัง และนาปี ในปีนี้ที่ลดลงจากภัยแล้ง คิดเป็นผลกระทบในภาพรวม 68,000 ล้านบาท โดยปัญหาภัยแล้งถือเป็นจุดเสี่ยงต่อเศรษฐกิจไทย ดังนั้น หากรัฐบาลจะเยียวยาให้เศรษฐกิจโดยรวมโตได้ในกรอบ 3.5% ก็จะต้องอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบถึง 70,000-100,000 ล้านบาท พร้อมกับการหามาตรการเยียวยาภาคเกษตรกรรมในชนบท ทั้งในกรณีเฉพาะหน้า และการแก้ปัญหาที่ยั่งยืนด้วย

ทั้งนี้ จากการสำรวจความคิดเห็นของเกษตรกร 1,200 คน ตลอดจนเกษตรจังหวัด 62 จังหวัดทั่วประเทศ พบว่า ชาวนาส่วนใหญ่กว่า 90% มองว่าสถานการณ์ภัยแล้งในปี 58 มีความรุนแรงมากกว่าปีที่ผ่านมา โดยผลผลิต และพื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหายค่อนข้างมาก ซึ่งผลกระทบส่วนใหญ่จะเกิดกับเกษตรกรรายย่อยที่มีการทำนาน้อยกว่า 20 ไร่ และส่วนใหญ่เป็นการเช่าที่นามากกว่าเป็นเจ้าของนาเอง

สำหรับผลกระทบจากภาวะภัยแล้งมากที่สุด 5 เรื่อง คือ ต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น, ต้นทุนการหาแหล่งน้ำเพิ่มขึ้น, ปริมาณผลผลิตลดลง, รายได้จากการทำการเกษตรลดลง และหนี้สินครัวเรือนเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ แนวทางการปรับตัวจากผลกระทบภัยแล้งที่เกษตรกรเลือกใช้ ส่วนใหญ่ คือ การขอความช่วยเหลือจากรัฐ หาอาชีพอื่นทดแทน หาแหล่งน้ำอื่นทดแทน และย้ายถิ่นฐานเข้ามาทำงานในเมือง โดยสิ่งที่เกษตรกรต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเร่งด่วนในขณะนี้ คือ การประกันราคาข้าว การจ่ายเงินชดเชย และการลดต้นทุนการเกษตร ขณะที่รัฐบาลควรแก้ไขเพื่อให้เกิดความยั่งยืนต่อเกษตรกรไทย คือ หามาตรการแก้ปัญหาราคาสินค้าเกษตร การบริหารจัดการน้ำ จัดอบรมเทคนิคทางการเกษตร จัดหาเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เป็นต้น

ส่วนผลสำรวจความเห็นจากเกษตรจังหวัด 62 จังหวัด พบว่า ปัญหาภัยแล้งในรอบล่าสุดนี้ ได้สร้างความเสียหายต่อพื้นที่ทางการเกษตร 25 จังหวัด โดยความเสียหายเฉลี่ยที่ 35% หรือราว 1 ใน 3 ของพื้นที่โดยรวม และเป็นความเสียหายจากฝนทิ้งช่วงที่เกิดขึ้นในระหว่างการหว่าน และปักดำ ซึ่งหากสถานการณ์เริ่มคลี่คลายได้ในเดือน ก.ย. ก็คาดว่าจะมีพื้นที่ทางการเกษตรเสียหายราว 10-12 ล้านไร่ คิดเป็น 12-15% จากพื้นที่โดยรวมทั้งหมดราว 60 ล้านไร่ หรือคิดเป็นจำนวนผลผลิตข้าวที่หายไป 4 ล้านตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 35,000 ล้านบาท

จาก http://www.thairath.co.th    วันที่ 9 กรกฎาคม 2558

เกษตรฯจัดชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่ เพื่อสร้างการรับรู้-ความเดือดร้อนปชช.

นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุม  VDO Conference กับเกษตรและสหกรณ์ทั้ง 76 จังหวัด เพื่อซักซ้อมแนวทางการปฏิบัติงาน ชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่สร้างการรับรู้ภาคเกษตร ว่า การสร้างความเข้าใจและการให้ข้อมูลแก่เกษตรกรมีความจำเป็นอย่างมาก ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีนโยบายให้ทุกภาคส่วนในกระทรวงเกษตรฯ มีการบูรณาการการทำงานในภูมิภาคร่วมกันแบบไม่เป็นทางการ เช่น การลงพื้นที่พบปะเกษตรกร การพูดคุยกับเกษตรกรเพื่อให้คำแนะนำ การรับฟังปัญหาความเดือดร้อน รวมถึงการหามาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ อาทิ การสร้างอาชีพ ทั้งด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ เพื่อสร้างขวัญกำลังใจและรับข้อคิดเห็นของเกษตรกร ซึ่งจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นที่ดีต่อภาครัฐและร่วมพัฒนาประเทศไปในทิศทางที่เหมาะสมถูกต้อง

ทั้งนี้การจัดตั้งชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่สร้างการรับรู้ภาคเกษตร มีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าถึงและรับรู้ปัญหาความเดือดร้อน ทัศนคติ วิธีคิด ข้อเสนอแนะของเกษตรกร เพื่อสื่อสารสร้างการรับรู้ข้อมูล ข้อเท็จจริง สำหรับการปรับตัวและสร้างภูมิคุมกันต่อการเปลี่ยนแปลง และเพื่อสร้างความเชื่อมั่นที่ดีต่อภาครัฐและร่วมเป็นเพื่อคู่คิดพัฒนาประเทศ โดยให้ทุกจังหวัดจัดตั้งชุดปฏิบัติการเคลื่อนที่สร้างการรับรู้ภาคเกษตร ภายใต้อนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัด โดยจะต้องมีการเตรียมข้อมูลระดับตำบล กำหนดแผนงานในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อที่จะสามารถรับฟังและแก้ไขปัญหาให้แก่เกษตรกรได้ โดยอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ระดับจังหวัดจะต้องวิเคราะห์การแก้ไขพัฒนาภาคเกษตรของจังหวัด และรายงานผลการปฏิบัติงานมายังสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อวางแนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรในภาพรวมต่อไป

อย่างไรก็ตาม กลไกการทำงานของศูนย์ปฏิบัติการระดับกระทรวง จะรับข้อมูลจากทั้ง 76 จังหวัด โดยให้ ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล (ศบกต.) รับข้อมูลมาจากเกษตรกร ที่ต้องการความช่วยเหลือ แล้วรายงานมาที่กระทรวงโดยตรง ซึ่งจะมีการสั่งการไปยังอธิบดีที่เกี่ยวข้อง พิจารณาในประเด็นนั้น ๆ และตอบกลับภายใน 48 ชั่วโมง ซึ่งถือเป็นนโยบายที่สำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

จาก http://www.naewna.com   วันที่ 9 กรกฎาคม 2558

วิกฤติภัยแล้งปัจจัยเสี่ยงและโอกาสสำหรับธุรกิจเกษตรไทย:EIC

ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ    บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์หรืออีไอซี    ออกบทวิเคราะห์"วิกฤติภัยแล้ง ปัจจัยเสี่ยงและโอกาสที่ควรจับตามองสำหรับธุรกิจเกษตรไทย"

Highlight

สถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในปัจจุบันถือเป็นภัยแล้งนอกฤดูกาล (ภัยแล้งช่วงหน้าฝน) เป็นผลมาจากปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนต่ำประกอบกับภาวะฝนทิ้งช่วง เนื่องจากอิทธิพลของเอลนีโญ (El Nino) ที่กำลังเกิดขึ้น ทำให้ข้าวนาปีซึ่งมีฤดูกาลเพาะปลูกในช่วงนี้ได้รับผลกระทบมากที่สุด ปัจจัยเสี่ยงที่ควรจับตามอง คือ ถ้าหากฝนไม่ตกตามที่คาดการณ์ไว้ในช่วงสิงหาคมถึงกันยายน จะส่งผลให้ภาคการเกษตรได้รับผลกระทบอย่างหนัก มีความเสี่ยงที่การขยายตัวของเศรษฐกิจจะปรับลดลงราว 0.4% ทั้งนี้ทั่วโลกก็ได้รับผลกระทบจาก El Nino เช่นกัน ซึ่งจะส่งผลดีต่อราคาข้าวที่จะมีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อย

สถานการณ์ภัยแล้งในปัจจุบันเป็นผลมาจากปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนหลายแห่งต่ำ ประกอบกับภาวะฝนทิ้งช่วงเนื่องจากอิทธิพลของ El Nino ที่กำลังเกิดขึ้น จากข้อมูลของกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2015 ล่าสุดมีพื้นที่ประสบภัยแล้วกว่า 20 จังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งอยู่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นส่วนใหญ่ เช่น จังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลก อุตรดิตถ์ ตาก น่าน ลพบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น ชัยภูมิ สกลนคร อำนาจเจริญ สุรินทร์ เป็นต้น เนื่องจากภัยแล้งนี้เกิดขึ้นช่วงกลางฤดูฝน คือ ตั้งแต่กลางเดือน มิ.ย. – ก.ค. โดยรับอิทธิพลจากความแปรปรวนสภาพภูมิอากาศโลก จึงเรียกอีกนัยหนึ่งว่าเป็น “ภัยแล้งนอกฤดูกาล” ซึ่งภัยแล้งในลักษณะปัจจุบัน ทำให้ปริมาณฝนเฉลี่ยทั้งประเทศต่ำกว่าค่าปกติราว 46%และปริมาณน้ำต้นทุนทั้งประเทศค่อนข้างต่ำอยู่ที่ราว 45% ของปริมาณความจุเขื่อนทั้งประเทศ

จังหวัดในแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน เป็นพื้นที่ต้องเผชิญกับภาวะภัยแล้งในระดับที่รุนแรงมากกว่าพื้นที่ในแถบลุ่มน้ำอื่นๆ ถึงแม้ว่าปริมาณน้ำต้นทุนในเขื่อนหลักแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา – ท่าจีน (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) จะเหลืออยู่ราว 7.7 พันล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งปรับตัวลดลงจากปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกันเพียงแค่ 2% แต่ปริมาณน้ำที่ใช้การได้จริงเหลืออยู่เพียงแค่ 4% ของปริมาณความจุเขื่อน โดยหากใช้แผนการจัดสรรน้ำรายวันแบบเดิมที่ระบายน้ำอยู่ที่ 31-33 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน จะสามารถระบายน้ำได้อีกแค่เพียงราว 32 วัน) เป็นผลให้กรมชลประทานปรับลดแผนการจัดสรรน้ำรายวันลง 25% จากแผนเดิม โดยปรับลดปริมาณการระบายน้ำเพื่อใช้ในภาคการเกษตรไปราว 5 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน เพื่อยืดระยะเวลาการระบายน้ำให้สามารถระบายน้ำได้ถึงช่วงต้นเดือนสิงหาคม

ข้าวนาปีเป็นพืชที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งมากที่สุดเนื่องจากตรงกับฤดูกาลเพาะปลูก จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรฯและข้อมูลพื้นที่ประสบภัยแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน พบว่ามีเนื้อที่เพาะปลูกข้าวนาปีราว 7 ล้านไร่ โดยปัจจุบันมีการเพาะปลูกไปแล้วราว 50% และยังไม่ได้เพาะปลูกอีกราว 50% เป็นผลให้รัฐบาลประกาศให้เกษตรกรข้าวนาปีในกลุ่มที่ยังไม่ได้ทำการเพาะปลูกชะลอการปลูกข้าวนาปีออกไปจนถึงช่วงต้นเดือนสิงหาคมแทน เนื่องจากรัฐบาลคาดว่าปริมาณฝนจะเริ่มตกมากขึ้นในช่วงเดือน ส.ค. – ก.ย. เพื่อเป็นการลดมูลค่าความเสียหายจากการเพาะปลูกข้าวนาปีในช่วงนี้ อย่างไรก็ดี จากการปรับลดแผนการจัดสรรน้ำรายวันลง ส่งผลให้พื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีที่ทำการเพาะปลูกไปแล้วมีความเสี่ยงที่จะเสียหายราว 8.6 แสนไร่ คิดเป็น 1.5% ของผลผลิตข้าวทั้งประเทศ มีมูลค่าความเสี่ยงผลผลิตที่จะเกิดความเสียหายราว 3,800 ล้านบาท ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของเกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าวนาปีแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา สำหรับด้านการส่งออกข้าว อีไอซีมองว่าจะไม่รับผลกระทบจากมูลค่าความเสี่ยงที่จะเสียหายดังกล่าว เนื่องจากสต็อกข้าวของรัฐบาลยังอยู่ในระดับสูง

รัฐบาลมีมาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง 3 มาตรการ ได้แก่ 1) ให้ชะลอการเพาะปลูกข้าวนาปีออกไปเป็นช่วงเดือน ส.ค.-ก.ย. 2) สนับสนุนให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชที่ใช้น้ำน้อยแทนการปลูกข้าวนาปี 3) ร่วมมือกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในการจัดหาทุนให้กับเกษตรกรที่ต้องการเปลี่ยนไปปลูกพืชผลเกษตรอื่น นอกจากนี้รัฐบาลยังได้อนุมัติฯ งบประมาณ 84 ล้านบาทสำหรับการขุดเจาะน้ำบาดาลเพิ่มในแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน จำนวน 500 บ่อ คาดว่าจะสามารถช่วยพื้นที่เพาะปลูกที่ทำการเพาะปลูกไปแล้วได้ราว 1-1.3 แสนไร่ ซึ่งมีโอกาสให้มูลค่าความเสี่ยงผลผลิตที่จะเสียหายลดลงเหลือราว 3,400 ล้านบาท มาตรการที่ใช้ในปัจจุบันจะสามารถช่วยเหลือเกษตรกรได้ในระยะสั้น สำหรับในระยะยาวรัฐบาลควรมีมาตรการที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถปรับตัวเพื่อรับมือกับสภาวะภัยแล้งได้อย่างยั่งยืน เนื่องจากประเทศไทยประสบปัญหากับการเกิดภัยแล้งเป็นประจำทุกปี เช่น ผลักดันให้เกิดโครงสร้างการเพาะปลูกที่เหมาะสมโดยให้เกิดเป็นรูปธรรมในแต่ละพื้นที่ สนับสนุนให้เกษตรกรเรียนรู้ถึงวิธีการเพาะปลูกพืชชนิดต่างๆ ที่เหมาะกับสภาพภูมิอากาศในแต่ละช่วงจังหวะ รวมถึงมีการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างเป็นระบบและยั่งยืน เป็นต้น

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ควรจับตามอง คือ หากชะลอการปลูกข้าวนาปีแล้วแต่ฝนกลับไม่ตกตามที่คาดการณ์ไว้ ในกรณีดังกล่าวนอกจากข้าวนาปีแล้ว พืชชนิดอื่นก็จะได้รับผลกระทบที่ตามมาเช่นกัน เช่น ข้าวนาปรัง อ้อย และมันสำปะหลัง จากข้อมูลกรมอุตุฯ เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2015 มีความน่าจะเป็นมากกว่า 90% ที่จะเกิดปรากฏการณ์ El Nino ตลอดทั้งปี 2015 และมากกว่า 85% ที่จะเกิดต่อเนื่องถึงฤดูหนาวปี 2016 ซึ่งสถานการณ์ที่ปริมาณฝนจะไม่เพิ่มขึ้นตามช่วงเวลาที่คาดการณ์ไว้นั้น มีความเป็นไปได้ค่อนข้างสูงที่จะเกิดขึ้นได้ ส่งผลให้ผลผลิตพืชชนิดอื่นๆ นอกเหนือจากข้าวนาปี มีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลดลงตามไปด้วย เนื่องจากพื้นที่เพาะปลูกพืชต่างๆ จะได้รับผลกระทบเพิ่มขึ้น เช่น ข้าวนาปรัง อ้อยและมันสำปะหลัง เป็นต้น เนื่องจากในช่วงสิ้นปีข้าวนาปรังจะถึงฤดูกาลเพาะปลูก มีความเสี่ยงที่พื้นที่เพาะปลูกจะเสียหาย ส่วนอ้อยและมันสำปะหลังที่มีการเพาะปลูกไปแล้ว มีความเสี่ยงที่ผลผลิตต่อไร่ (Yield) จะปรับลดลง เนื่องจากปริมาณฝนไม่เพียงพอ โดยสถานการณ์นี้จะคล้ายคลึงกับวิกฤตภัยแล้งที่เคยเกิดขึ้นในช่วงปี 2005 ที่ปริมาณฝนตกน้อยกว่าค่าปกตินานจนถึงสิ้นปี ซึ่งเป็นปีที่ปัญหาภัยแล้งมีความรุนแรงที่สุดในรอบ 10 ปี  จากการประเมินผลผลิตสินค้าเกษตรที่เสียหายของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรในช่วงเวลาดังกล่าว คิดมูลค่าความเสียหายผลผลิตสินค้าเกษตรที่ได้รับผลกระทบอยู่ที่ราว 16,000 ล้านบาท อีไอซีมองว่าหากสถานการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริงในปี 2015 ผลกระทบที่ตามมาจะรุนแรงยิ่งกว่าสถานการณ์ที่เกิดในช่วงปี 2005

หากเกิดฝนตกทิ้งช่วงต่อเนื่อง พื้นที่ที่ชะลอการปลูกข้าวนาปีในแถบลุ่มน้ำเจ้าพระยา-ท่าจีน และพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ที่ควรจับตามองเป็นพิเศษ เนื่องจากพื้นที่ที่ชะลอการปลูกข้าวนาปีมีความเสี่ยงจะเสียหายอีกราว 3.45 ล้านไร่ หากฝนไม่ตกตามช่วงที่คาดการณ์ไว้ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการสูญเสียรายได้ของเกษตรกรที่ชะลอการปลูกข้าวนาปีคิดมูลค่าความเสี่ยงที่จะเสียหายราว 16,500 ล้านบาท อีกทั้งพื้นเพาะปลูกข้าวนาปีในภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่นอกเขตชลประทานมากถึงราว 75% ของพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปีและส่วนใหญ่ทำการเพาะปลูกไปแล้ว ประเมินผลผลิตข้าวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ทำการเพาะปลูกนอกเขตชลประทานอยู่ที่ราว 90,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นผลผลิตข้าวราว 8.6 ล้านตัน (ราว 1 ใน 3 ของผลผลิตข้าวทั้งประเทศ) ซึ่งหากพื้นที่ประสบภัยขยายวงกว้างกระทบพื้นที่เพาะปลูกภาคตะวันออกเฉียงเหนือทั้งหมด จะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยให้มีการปรับตัวลดลงด้วย

อีไอซี มองว่าอิทธิพลของ El Nino ก็ส่งผลกระทบต่อสภาพภูมิอากาศของประเทศคู่แข่งหลักด้านธุรกิจเกษตร ซึ่งส่งผลบวกต่อราคาสินค้าเกษตรไทย ผลมาจากอิทธิพล El Ninoที่กำลังเกิดขึ้นไม่ได้ส่งผลกระทบเพียงแค่ประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบกระจายตัวไปทั่วโลกซึ่งครอบคลุมประเทศผู้ผลิตสินค้าเกษตรหลักอื่นๆ ด้วย เช่น อินเดีย (ข้าว) ฟิลิปปินส์(ข้าว) ออสเตรเลีย(น้ำตาล) และบราซิล(น้ำตาล) เป็นต้น ดังนั้น ทำให้ปริมาณผลผลิตข้าวของประเทศผู้ผลิตหลักอื่นๆ คาดว่าจะปรับตัวลดลง ส่งผลให้เกิดแรงกดดันต่อปริมาณอุปทานข้าวให้ออกสู่ตลาดโลกน้อยลง และเป็นปัจจัยหนุนให้ราคาของข้าวในตลาดโลกมีโอกาสที่จะปรับตัวดีขึ้นจากช่วงที่ผ่านมา แต่เนื่องจากปริมาณสต็อกข้าวในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูง อาจจะส่งผลให้ราคาข้าวปรับตัวขึ้นเพียงเล็กน้อย

Implication   

ผลผลิตทางการเกษตรที่น้อยลง จะกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้ปรับตัวลดลงเช่นกัน ผลผลิตข้าวนาปีที่ลดลง จะส่งผลให้เกษตรกรข้าวนาปีและผู้ประกอบสินค้าเกษตรที่เกี่ยวข้อง เช่น ปุ๋ย ยากำจัดศัตรูพืช และอุปกรณ์ทางการเกษตรต่างๆ มีรายได้ลดลงตาม อย่างไรก็ดี ผลกระทบดังกล่าวน่าจะมีไม่มากนัก หากฝนตกตามช่วงเวลาที่คาดการณ์ไว้ ผลผลิตข้าวนาปีอาจเสียหายเล็กน้อยเพียง 1-2% ของผลผลิตข้าวทั้งประเทศ แต่ถ้าฝนไม่ตกตามที่คาดการณ์ไว้ จะส่งผลกระทบค่อนข้างรุนแรงต่อภาคการเกษตร เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรจะลดน้อยลงมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวนาปีที่มีความเสี่ยงจะเสียหายมากกว่า 30% ของผลผลิตข้าวทั้งประเทศ ส่งแรงกดดันให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยมีความเสี่ยงที่จะปรับตัวลดลงราว 0.4%

ผู้ประกอบการธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร ควรเตรียมพร้อมและวางแผนรับมือกับสถานการณ์ที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้ไว้ล่วงหน้าอยู่เสมอ พืชบางชนิด เช่น ข้าว ราคาอาจปรับตัวสูงขึ้นจากผลผลิตในประเทศที่ลดลง ซึ่งจะกระทบต่อธุรกิจที่ต้องใช้ข้าวเป็นวัตถุดิบ เนื่องจากต้นทุนจะเพิ่มขึ้นตาม หากผู้ประกอบการที่ไม่สามารถปรับราคาสินค้าให้สอดคล้องกับการเพิ่มขึ้นของต้นทุน จะส่งผลให้อัตราการทำกำไรของผู้ประกอบการลดลงได้ ดังนั้น แผนการลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การลดความสูญเสียวัตถุดิบในระหว่างการผลิต รวมถึงการมองหาแหล่งนำเข้าวัตถุดิบใหม่จากต่างประเทศเป็นแผนการที่ควรจัดเตรียมให้พร้อมอยู่เสมอ อย่างไรก็ดี ผู้ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกสินค้าเกษตรควรมีกลยุทธ์ที่ดีในการบริหารสินค้าคงเหลือ เนื่องจากอาจมีสัญญาณบวกเกิดขึ้นกับประเทศไทยได้เสมอ และเมื่อจังหวะที่เหมาะสมมาถึงจะช่วยสร้างโอกาสให้ผู้ประกอบการสามารถทำกำไรเพิ่มขึ้นได้จากช่วงที่ผ่านมา

จาก http://www.thanonline.com  วันที่ 9 กรกฎาคม 2558

ขุมทรัพย์ "ข้าวเน่า" โลละบาท ไฟฟ้าชีวมวล-เอทานอลแย่งซื้อ

กลายเป็นประเด็นวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักในวงการค้าข้าว หลังจากคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) มีมติเห็นชอบกรอบการระบายข้าวสารในสต๊อกรัฐบาล 15.46 ล้านตัน โดยจัดสรรให้ระบายข้าวเสื่อมที่เป็นฝุ่นผง 1.29 ล้านตัน มาผลิตเป็นไฟฟ้าชีวมวล ส่วนข้าวเกรด C อีก 4.6 ล้านตันนั้นให้ระบายเป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตเอทานอล

ทว่าในข้าวเกรด C จำนวน 4.6 ล้านตันนั้น ยังสามารถแบ่งออกเป็นข้าวเกรด C ล้วน ๆ ประมาณ 1.33 ล้านตัน ส่วนข้าวเกรด C ส่วนใหญ่ที่เหลืออีก 3.3 ล้านตันนั้น เชื่อว่ามีข้าวเกรด A และ B ผสมอยู่ในโกดังเดียวกันกับข้าวเกรด A และ B (ข้าวที่ยังสามารถบริโภคได้) อีก 7.6 ล้านตัน หรือเท่ากับเป็นข้าวคละปริมาณ 10.9 ล้านตัน โดยประเด็นที่ผู้คนในวงการค้าข้าวตั้งข้อสงสัยกันอย่างมากก็คือ เหตุใด นบข.จึงแสดงเจตจำนงที่จะขายข้าวเหล่านี้ใน กก.ละ 1 บาท เนื่องจากในข้าวเลวนั้นยังมีข้าวดีผสมอยู่

ข้าวเสียมีดี-ข้าวดีมีเสีย

ในประเด็นแรก กลุ่มผู้ส่งออกที่เป็นผู้ประมูลข้าวสารสต๊อกรัฐบาล (ประมูลแบบยกคลัง) ไปก่อนหน้านี้ 3 ล้านตัน ต่างพูดตรงกันว่าผลจากการประมูลข้าวช่วงแรก พบ "ข้าวเสียในกองข้าวดี" ทั้งที่เป็นข้าวที่รัฐบาลการันตีว่าเป็นข้าวคุณภาพ เช่น ประมูลข้าวขาว 5% ราคาตันละ 11,000 บาท แต่กลับมีข้าวเสื่อมคนละชนิด อาทิ ข้าวขาว 15% และข้าวขาว 25% ซึ่งมีราคาต่ำกว่า หรือตกประมาณตันละ 9,000 บาท ไปผสมอยู่สัดส่วน 20-70% ของคลังนั้น ๆ ส่งผลให้ผู้ที่ประมูลได้ต้องวิ่งมาขอ "เคลม" ความเสียหายจากข้าวผิดชนิดกับกระทรวงพาณิชย์

ดังนั้นจึงมีความเป็น ไปได้ว่า ข้าวเสื่อมคุณภาพของรัฐบาลจำนวน 5.8 ล้านตันนั้น "อาจจะ" มีข้าวดีผสมอยู่มากถึง 60% หรือในข้าวเสียมีข้าวดี เสร็จแล้วรัฐบาลรีบ "รวบรัด" ออกมาขายให้กับกลุ่มโรงไฟฟ้าชีวมวล/โรงงานเอทานอล ในราคา กก.ละ 1 บาท (ตันละ 1,000 บาท) หรืออย่างดีที่สุด กก.ละ 3-5 บาท (หากรัฐเลือกที่จะใช้วิธีประมูล) หรือตันละ 3,000-5,000 บาท ความเสียหายที่จะเกิดขึ้นอาจมองออกเป็น 2 มิติ คือ

1) ผลเสียจากการขาดทุน หากคำนวณต้นทุนรับจำนำข้าวเปลือกที่ตันละ 15,000 บาท หรือคิดเป็นข้าวสารตันละ 24,000 บาท ถ้าขายเป็นวัตถุดิบให้กับโรงไฟฟ้าชีวมวลตันละ 1,000 บาท รัฐบาลจะขาดทุนตันละ 23,000 บาท รวมปริมาณ 1.29 ล้านตัน เท่ากับขาดทุน 29,670 ล้านบาท ถ้าหากขายเป็นวัตถุดิบให้กับโรงงานเอทานอล ตันละ 5,000 บาท รัฐบาลก็จะขาดทุนตันละ 19,000 บาท รวมปริมาณที่ขาย 4.6 ล้านตัน ก็จะขาดทุนจากราคาจำนำ 87,400 ล้านบาท หรือขาดทุนจากการขายข้าวให้โรงไฟฟ้าชีวมวล-เอทานอล ประมาณ 117,070 ล้านบาท ซึ่งยังไม่นับค่าเก็บรักษา

2) ผู้ประกอบการที่ประมูลข้าวเสื่อมคุณภาพไปแล้ว ทำการคัดแยกข้าวดีออกจากกองข้าวเสีย (กำไรเห็น ๆ จากราคาประมูล กก.ละ 1 บาท ในขณะที่ราคาตลาดเฉลี่ย 10 บาท/กก.) แล้วนำข้าวที่คัดแยกออกมานั้นขายกลับเข้ามาในตลาด ความเสียหายยิ่งจะเกิดขึ้นกับระบบการค้าข้าวในประเทศ ยกตัวอย่าง หากมีข้าวดีผสมอยู่ 60% จะคิดเป็น 3.48 ล้านตัน หรือคิดง่าย ๆ เท่ากับ 7 ล้านตันข้าวเปลือกจะถูกนำกลับมาวนซ้ำ ย่อมส่งผลกระทบต่อราคาข้าวในตลาดแน่นอน

"วันนี้ไม่มีเหตุผลที่ราคา ข้าวภายในประเทศจะลดลงมากไปกว่านี้อีกแล้ว เพราะทุกประเทศราคาข้าวต่างก็ปรับขึ้น อย่างอินเดีย ราคาข้าว 5% ตันละ 380 เหรียญสหรัฐ โดยราคาข้าวไทยต่ำกว่าข้าวอินเดียไปมากแล้ว มันเป็นราคาที่ต่ำลงมาอย่างไม่มีเหตุผล ตอนนี้ราคาข้าวไทยเหมือนยุคปลาย ๆ รัฐบาลเพื่อไทย ที่ซี้ซั้วขายข้าวกันมั่ว ๆเพื่อเร่งจะเอาเงินไปคืนชาวนา"

ใครอยู่เบื้องหลังโรงไฟฟ้าชีวมวล

ในวงการค้าข้าวมีการตั้งข้อสังเกตว่า ข้าวเสื่อมลอตนี้จะกลายเป็น "ขุมทรัพย์" แห่งใหม่ให้กับผู้ประกอบการค้าข้าวบางกลุ่มเท่านั้น จากการสอบถามไปยังวงการค้าข้าวพบว่า ขณะนี้มีกลุ่มโรงสีประมาณ 10-20 โรง ในพื้นที่ภาคกลาง เช่น จ.พิจิตร และภาคตะวันออกเฉียงเหนือใน จ.ร้อยเอ็ด ที่มีการประกอบธุรกิจโรงไฟฟ้าชีวมวลโดยใช้ "แกลบ" เป็นวัตถุดิบ "สนใจ" อย่างมากที่จะเข้ามาซื้อข้าวเสื่อมคุณภาพจากสต๊อกรัฐบาล ด้านหนึ่งคัดแยกข้าวดีกลับมาขายในตลาด อีกด้านหนึ่งแกลบที่ได้จากการสีข้าวเปลือกเสื่อมคุณภาพยังใช้เป็นวัตถุให้ กับโรงไฟฟ้าชีวมวล ท่ามกลางราคาแกลบในท้องตลาดปัจจุบันที่ปรับราคาสูงขึ้นจากภาวะภัยแล้ง ผลผลิตข้าวในประเทศลดลง

ประกอบกับเหตุผลสำคัญที่ว่าข้าวจะไม่ถูกนำไป เผาทิ้งเปล่า ๆ เพราะเทคโนโลยีโรงไฟฟ้าชีวมวลปัจจุบันสามารถประยุกต์ใช้วัตถุดิบหลาย ๆ ชนิดมาผลิตไฟฟ้าชีวมวลได้ เช่น แกลบ เปลือกไม้ หรือซังข้าวโพด แต่ไม่เคยมีโรงไฟฟ้าชีวมวลโรงใดที่เคยใช้ "ข้าวสาร" มาเป็นวัตถุดิบเผาใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้า

ในวงการค้าข้าวมองว่า ต้นตอปัญหาการระบายข้าวเสื่อมครั้งนี้ เกิดจากการตรวจสอบและจัดประเภทข้าวของรัฐบาลที่พยายามจัดกลุ่มข้าวเสียให้มี ปริมาณมาก ๆ

สมาคมโรงสีข้าวไทยระบุว่า ในคลังมีข้าวเสีย คิดเป็นสัดส่วนเพียง 10-20% ของคลัง แต่รัฐบาลกลับจัดเกรดคลังให้เป็นข้าวเสื่อมทั้งหมด ทั้งยังประโคมข่าวว่า

"ข้าวเสื่อมคุณภาพ" คือ "ข้าวเสีย" เพียงเพื่อที่จะมีเหตุผลในการบอกขายแค่ กก.ละ 1 บาท สุดท้ายจะกลับกลายเป็น "ประโยชน์" ตกกับผู้รับซื้อข้าวเสื่อมคุณภาพจากรัฐบาลไปตรง ๆ

จาก http://www.prachachat.net   วันที่ 9 กรกฎาคม 2558

กรมเจ้าท่า เตรียมขออนุมัติงบประมาณปี 2559 กว่า 5,000 ล้านบาท เพื่อนำมาพัฒนาท่าเรือและขุดลอกร่องน้ำ

นายจุฬา สุขมานพ อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวว่า ในปีหน้า(2559) กรมเจ้าท่าได้เสนองบประมาณกว่า 5,598 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าปี 2558 ที่ได้รับงบประมาณกว่า 4,742 ล้านบาท โดยอยู่ระหว่างการพิจารณา ซึ่งแผนงานในปี 2559 ประกอบด้วย แผนงานฟื้นฟูป้องกันและจัดการภัยพิบัติ วงเงินกว่า 163 ล้านบาท จะเป็นงานขุดลอกและป้องกันตลิ่ง แผนงานส่งเสริมเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ วงเงินกว่า 174 ล้านบาท จะเป็นการก่อสร้างท่าเรือคลองใหญ่ จังหวัดตราด การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EHIA ท่าเรือสงขลา แผนงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ วงเงินกว่า 105 ล้านบาท เป็นงานขุดลอกเพื่อการอุปโภคบริโภคในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือประมาณ 20 แห่ง แผนงานจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าวและการค้ามนุษย์ วงเงินกว่า 11 ล้านบาท แผนงานพัฒนาระบบบริหารจัดการขนส่งสินค้าและบริการของประเทศ วงเงินกว่า 1,054 ล้านบาท งบศึกษา EHIA ท่าเรือปากบารา งบศึกษาเขื่อนยกระดับ เป็นต้น และแผนงานพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ วงเงินกว่า 4,089 ล้านบาท จะเป็นการบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การก่อสร้างท่าเรือโดยสารร่องน้ำทำเขื่อนต่างๆ

จาก http://thainews.prd.go.th  วันที่ 9 กรกฎาคม 2558

เตือนน้ำเขื่อนภูมิพลน้ำยังน่าห่วง

นายสุนชัย คำนูณเศรษฐ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ปริมาณน้ำในเขื่อนภูมิพล จ.ตาก ยังมีความเป็นห่วง เนื่องจากมีปริมาณน้ำไหลเข้าไม่ถึง 1 ล้านลูกบาศก์เมต(ลบ.เมตร)ต่อวัน จากการระบายน้ำออก 6-7 ล้านลบ.เมตรต่อวัน ดังนั้นก็ยังต้องระวังอย่างใกล้ชิดสำหรับเขื่อนภูมิพล

ขณะที่เขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ สถานการณ์เริ่มดีขึ้น หลังมีปริมาณฝนตก และไหลเข้าเขื่อนแล้วโดยมีน้ำไหลเข้า 7 ล้านลบ.เมตรต่อวัน แต่ระบายน้ำออกจากเขื่อน 17 ล้านลบ.เมตรต่อวัน ส่วนเขื่อนในภาคตะวันตก คือ เขื่อนวชิราลงกรณ์ และเขื่อนศรีนครินทร์ มีน้ำไหลเข้าวันละ 30-40 ล้านลบ.ม. แล้ว

"สถานการณ์น้ำในเขื่อนตอนนี้เขื่อนสิริกิตติ์เริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น แต่เขื่อนภูมิพลยังน่าห่วง เพราะน้ำยังไหลเข้าน้อยกว่า แต่ทั้ง 2 เขื่อนเองก็ยังมีน้ำเหลือไม่มากนักโดยสิริกิติ์เหลือน้ำใช้ 500 ล้านลบ.เมตร เขื่อนสิริกิติ์เหลือน้ำใช้ 200 ล้านลบ.เมตร

ดังนั้นกรมชลประทาน ก็จะดูแลการปล่อยน้ำโดยจะต้องเน้นการรักษาระดับน้ำเพื่อดูแลระบบนิเวศน์ การอุปโภคและบริโภค จนกว่าปริมาณน้ำจะมาซึ่งปกติทุกปีจะเริ่มมีน้ำมากในเดือนส.ค.นี้ เราก็หวังว่าจะเป็นเช่นนั้น

 นายธรรมยศ ศรีช่วย อธิบดีกรมพัฒนพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) กล่าวว่า ปลายเดือนก.ค.นี้เตรียมประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) พพ.จะเสนอวาระเข้าสู่การพิจารณาใหลายประเด็น เช่น ความชัดเจนในการสนับสนุนให้เอกชนลงทุนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนรูปแบบประมูล (อีบิดดิ้ง) ได้ค่าไฟฟ้าจากต้นทุนการผลิตที่แท้จริง(ฟีดอินทารีฟ) ตามพื้นที่เหมาะสมและสายส่งไฟฟ้าสามารถรับได้

ซึ่งการลงทุนรูปแบบนี้หากเอกชนรายใดเสนอราคาผลิตไฟฟ้าถูกสุด ไม่เป็นภาระรัฐบาลก็จะได้รับการพิจารณาให้ลงทุน โดยการเสนอกพช.ครั้งนี้เป็นล็อตแรกจำนวน 800 เมกะวัตต์ ไฟฟ้าเข้าระบบปี 59- 60 โดยพื้นที่ที่มีความเหมาะสมด้านสายส่ง คือภาคตะวันออก ภาคกลาง ส่วนภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือน่าจะเต็มแล้ว

จาก http://www.dailynews.co.th   วันที่ 9 กรกฎาคม 2558

อุ้ม8หมื่นโรงงานฝ่าวิกฤติภัย

          นางอรรชกา สีบุญเรือง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ตนได้มีคำสั่งให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศตรวจสอบสถานการณ์ภัยแล้ง ในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ 80,000 แห่ง ที่กระจายอยู่ในพื้นที่ทั่วไปและอยู่ในความดูแลของ กนอ. เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันทำให้กระทรวงอุตสาหกรรมกังวลว่าโรงงานบางพื้นที่จะได้รับผลกระทบหรือไม่ โดยเฉพาะภาคกลางและภาคตะวันออก ซึ่งจากข้อมูลพบว่าปริมาณน้ำในของแต่ละโรงงานยังเพียงพอ เนื่องจากส่วนใหญ่มีอ่างเก็บน้ำสำรอง แต่หากปริมาณน้ำในอ่างลดลงมากจริงๆ ก็ยังมีบ่อบาดาลเป็นตัวช่วยอีกทางหนึ่ง

          "กระทรวงฯมีนโยบายดูแลโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ เพื่อรับมือปัญหาภัยแล้งที่กำลังกระทบชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน โดยเฉพาะภาคเกษตร ส่วนโรงงานยังไม่มีผลกระทบใดๆ แต่ก็วางใจไม่ได้ โดยเฉพาะโรงงานในพื้นที่ภาคกกลาง"

          นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ผลกระทบจากภัยแล้วในขณะนี้ ผลกระทบโดยตรงต่อกระบวนการผลิตยังไม่มี มีเพียงผลกระทบในอุตสาหกรรมแปรรูปสินค้าเกษตรบางชนิด เช่น โรงงานน้ำตาล ที่อาจจะมีปริมาณอ้อยเข้าหีบน้อยลง โรงงานแปรรูปผักผลไม้ โรงงานน้ำมันปาล์ม เป็นต้น อาจทำให้ปริมาณการผลิตลดลง ซึ่งขณะนี้ผู้ประกอบการต่างระมัดระวังในการรับคำสั่งซื้อสินค้า เพื่อให้มีผลผลิตส่งให้กับลูกค้าอย่างเพียงพอ ส่วนโรงสีข้าวนั้น แม้ว่าผลผลิตข้าวจะลดลง แต่ก็ยังไม่ได้รับผลกระทบ เรื่องจากมีข้าวในสต๊อกของรัฐจำนวนมากที่สามารถเข้ามาป้อนให้กับโรงสีอย่างพอเพียง

          "ส.อ.ท.มีความเป็นห่วงในอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปบางชนิดที่มีผลผลิตลดลงจากภัยแล้งจะทำให้สินค้าจากประเทศคู่แข่งที่ไม่ประสบภัยแล้งเข้ามาแย่งตลาด และจะทำให้การแย่งชิงตลาดกลับคืนจะทำได้ลำบาก ดังนั้นผู้ประกอบการจะต้องวางแผนการผลิตให้ดี เพื่อให้มีสินค้าที่เพียงพอ เพื่อปิดโอกาสให้คู่แข่งเข้ามาแย่งตลาด".

จาก http://www.thairath.co.th วันที่ 9 กรกฎาคม 2558

รัฐเร่งจัดที่ทำกิน-พัฒนาอาชีพเกษตรกร 

ทำมาหากิน : รัฐเร่งจัดที่ทำกิน-พัฒนาอาชีพเกษตรกร ยกชุมชนบ้านแม่ทาพื้นที่นำร่องต้นแบบ : โดย...สุรัตน์ อัตตะ

                     ภายหลังที่นายกรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2557 ถึงแนวทางในการสร้างสมดุลระหว่างการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน โดยการพัฒนาระบบการบริหารจัดการที่ดินและการแก้ไขปัญหาการใช้ที่ดินของรัฐ และน้อมนำพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่ให้ประชาชนอยู่ร่วมกับป่าได้ โดยพิจารณาว่าพื้นที่ใดสมควรให้ประชาชนใช้ประโยชน์และเร่งรัดการจัดสรรที่ดินให้แก่ผู้ยากไร้ และดำเนินการใช้ที่ดินร่วมกันในรูปแบบชุมชนหรือสหกรณ์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชน และเพื่อให้การบริหารจัดการที่ดินของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

                     พื้นที่ชุมชนบ้านแม่ทา อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ ถือเป็นพื้นที่นำร่องต้นแบบ ซึ่งได้เริ่มโครงการมาตั้งแต่วันที่ 5 เมษายน 2558 โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ร่วมเป็นสักขีพยาน ในการมอบหนังสืออนุญาตให้แก่ราษฎรในพื้นที่ได้เข้าทำประโยชน์หรืออยู่อาศัยภายในเขตป่าสงวนแห่งชาติ และมอบหนังสืออนุญาตให้ใช้พื้นที่ในการปลูกป่าเศรษฐกิจชุมชนและหนังสือโครงการป่าชุมชน นับเป็นโครงการแห่งแรกที่สามารถดำเนินนโยบายช่วยเหลือราษฎรจนเห็นผลเป็นรูปธรรม

                     ปริญญา เพ็งสมบัติ รองอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ กล่าวถึงการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รับผิดชอบเรื่องการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพให้แก่ราษฎรที่ได้รับการจัดสรรที่ดินทำกิน โดยมุ่งเน้นให้ราษฎรได้รวมกลุ่มกันในรูปสหกรณ์ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนโดยวิธีการสหกรณ์ ซึ่งอยู่ในความรับผิดชอบและภารกิจของกรมส่งเสริมสหกรณ์ และมีหน่วยงานภายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เข้ามาสนับสนุนในด้านต่างๆ โดยการปรับปรุงปัจจัยพื้นฐานเรื่องสภาพพื้นดินและแหล่งน้ำ

                     จากนั้นจะส่งเสริมอาชีพให้เหมาะสมและสอดคล้องสภาพพื้นที่ รวมทั้งการจัดทำเมนูอาชีพเพื่อเป็นทางเลือกให้แก่เกษตรกร เริ่มจากการสำรวจความต้องการของราษฎรและวางแผนการส่งเสริมและพัฒนาอาชีพที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ตลอดจนการแปรรูปและพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ที่มีบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามและทันสมัย

                     “ในส่วนกิจกรรมการรวมกลุ่ม เพื่อบริหารจัดการพื้นที่และส่งเสริมอาชีพในรูปแบบสหกรณ์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ได้ดำเนินการส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มตามความต้องการของราษฎรในพื้นที่บ้านเด่นสารภี อ.ฮอด จำนวน 8 กลุ่ม จำนวนราษฎร 461 คน และยังสนับสนุนการดำเนินธุรกิจของสหกรณ์ในพื้นที่เพื่อให้เกษตรกรได้เข้าใจถึงต้นทุนและค่าใช้จ่ายในการประกอบอาชีพแต่ละอาชีพที่ทำ พร้อมทั้งหาแนวทางในการปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มรายได้ในอนาคต” ปริญญา กล่าวและว่า

                     นอกจากนี้ ยังสนับสนุนแหล่งทุนของสหกรณ์เพื่อใช้สนับสนุนการประกอบอาชีพให้แก่เกษตรกรที่เป็นสมาชิก โดยจะมีแนวทางดำเนินการ 2 แนวทาง สำหรับพื้นที่ที่ได้รับการจัดสรรที่ดินและมีสหกรณ์จัดตั้งอยู่แล้วแต่ยังไม่มีเงินทุนเพียงพอ จะมีกองทุนพัฒนาสหกรณ์ในอัตราดอกเบี้ยต่ำให้สหกรณ์กู้ยืมเพื่อให้สมาชิกนำไปลงทุนด้านอาชีพ ส่วนพื้นที่ที่ยังไม่มีการจัดตั้งสหกรณ์ เกษตรกรสามารถกู้ได้ด้วยเช่นกัน โดยใช้หลักประกันเป็นบุคคลและเป็นกลุ่ม และอาจจะมีธนาคารอื่นๆ ในพื้นที่ให้การสนับสนุนเรื่องแหล่งเงินกู้ด้วย เช่น ธนาคารออมสินเพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงแหล่งทุนได้มากยิ่งขึ้น

                     ระบบสหกรณ์จึงมีความสำคัญที่จะนำเข้ามาใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้แก่ประชาชน ส่งเสริมอาชีพสร้างรายได้และสร้างสังคมส่วนรวมให้อยู่ร่วมกันด้วยการพึ่งพาอาศัย ช่วยคิดช่วยทำช่วยกันแก้ไขปัญหา แบ่งปันช่วยเหลือเกื้อกูล นำไปสู่การพัฒนาให้เป็นชุมชนที่เข้มแข็งในที่สุด

จาก http://www.komchadluek.net  วันที่ 9 กรกฎาคม 2558

งัด2มาตรการสู้แล้งลุ่มเจ้าพระยา บริหารน้ำควบคู่ฝนหลวง-เร่งสร้างรายได้เกษตรกร

นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า คณะอนุกรรมการวางแผนและติดตามการป้องกันแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร ได้ประชุมหารือเพื่อพิจารณามาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด โดยกระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายกรมชลประทาน กรมฝนหลวงและการบินเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร จัดเตรียมมาตรการ

ช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่

โดย กรมชลประทาน ได้จัดทำแผนที่แสดงที่ตั้งแหล่งน้ำในและนอกเขตชลประทาน เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการแก้ไขภัยแล้ง

 ได้อย่างเหมาะสมและเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งวางแผนจัดสรรน้ำรายวันของลุ่มน้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน ได้แก่ เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยบำรุงแดน และป่าสักชลสิทธิ์ รวมกันปริมาณวันละ 28 ล้านลูกบาศก์เมตร แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 1.การอุปโภค-บริโภคปริมาณ 8 ล้าน ลบ.ม. 2.รักษาระบบนิเวศน์ปริมาณ 5 ล้าน ลบ.ม. และ 3.ด้านการเกษตรปริมาณ 15 ล้าน ลบ.ม. แบ่งเป็น พื้นที่ลูกข้าวนาปี 3.44 ล้านไร่ และพืชไร่ พืชผัก 0.03 ล้านไร่

อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะมีพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายประมาณ 0.85 ล้านไร่ จึงได้เร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหา ได้แก่ 1.บริหารจัดการน้ำที่จัดสรรอย่างเข้มงวด โดยได้รับความร่วมมือจากฝ่ายปกครอง และฝ่ายความมั่นคง กำหนดแผนการจัดสรรน้ำรายสำนักชลประทาน จัดทำแผนการดูแลรอบเวรการส่งน้ำ โดยฝ่ายปกครอง ฝ่ายความมั่นคง และเกษตรและสหกรณ์จังหวัดจะลงพื้นที่ชี้แจง และบริหารจัดการน้ำร่วมกับเกษตรกร 2.พิจารณาเสริมแหล่งน้ำด้วยการขุดเจาะบ่อบาดาล ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล และ 3.พิจารณาเสริมแหล่งน้ำด้วยการก่อสร้างบ่อตอก เนื่องจากความต้องการแหล่งน้ำบาดาลของเกษตรกรมีมากกว่าแผนการขุดเจาะบ่อบาดาลของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลมาก ซึ่งความต้องการที่เกินมานี้ กระทรวงเกษตรฯ จะเร่งหาแนวทางในการสนับสนุนต่อไป

ส่วนผลปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ระหว่างวันที่ 1-30 มิถุนายน 2558 กรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้ปฏิบัติการฝนหลวงจำนวน 30 วัน มีฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวง คิดเป็นร้อยละ 88.7 ซึ่งจังหวัดที่มีรายงานฝนตกรวมทั้งสิ้น 59 จังหวัด มีพื้นที่รับประโยชน์จากการปฏิบัติการ 165.19 ล้านไร่ โดยกำหนดเป้าหมายการปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่ป่าไม้และการเกษตรบริเวณภาคเหนือตอนล่าง และพื้นที่ภาคกลาง ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด เพื่อเพิ่มและรักษาความชุ่มชื่นให้ป่าไม้และพื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อน/อ่างเก็บน้ำเพื่อเพิ่มเติมน้ำต้นทุนให้กับเขื่อน/อ่างเก็บน้ำให้มีปริมาณมากยิ่งขึ้น ตลอดทั้งมุ่งเน้นเพิ่มปริมาณน้ำให้เขื่อน/อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในระดับวิกฤติ

สำหรับมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ต้องเลื่อนการปลูกข้าวนาปี ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการของกรมส่งเสริมการเกษตร ประกอบด้วย 1.การจ้างแรงงานและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร โดยการขุดลอกคูคลองส่งน้ำ และปรับปรุงอาคารชลประทาน เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกรทั้งในช่วงที่เลื่อนการปลูกข้าวนาปี และภายหลังสิ้นสุดฤดูฝนโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้สั่งการให้กรมชลประทานดำเนินการขุดลอกและทำความสะอาดคลองส่งน้ำทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดการจ้างงาน 2.กิจกรรมด้านการเกษตรเพื่อสร้างรายได้ทดแทนระหว่างชะลอการเพาะปลูกข้าวนาปี โดยการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกของเกษตรกรทดแทนการปลูกข้าวนาปี อีกทั้งส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย การทำไร่นาสวนผสม ให้เป็นไปตามความต้องการของเกษตรกร และสนับสนุนการสร้างแหล่งน้ำในไร่นาของเกษตร

จาก http://www.naewna.com วันที่ 9 กรกฎาคม 2558

วิกฤติกรีซซัดค่าเงินบาท วูบ 34 บาทอ่อนค่ารอบ 6 ปี

นายตรรก บุนนาค ประธานคณะเจ้าหน้าที่ด้านบริหารการเงิน ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ระดับ 34.05 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และอ่อนค่าลงไปแตะ 34.10 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ จากปิดตลาดวันก่อนที่ระดับ 33.99 บาท อ่อนค่าในรอบเกือบ 6 ปี นับจากเดือน ก.ย. 2552 โดยระยะเวลาสั้นๆ ค่าเงินจะไม่อ่อนค่าลงไปที่ 34.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ที่เป็นตัวเลขประมาณการของค่าเงินบาทช่วงสิ้นปีนี้

“ค่าเงินบาทที่ระดับ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ได้มีผู้ส่งออกขายปิดความเสี่ยง ขายดอลลาร์สหรัฐฯออกมา แต่ค่าเงินในสัปดาห์นี้มีความไม่แน่นอนสูง ปัจจัยในเรื่องของกรีซและยุโรปต้องติดตาม เพราะมีผลกระทบต่อค่าเงินในระยะสั้น ทั้งนี้การอ่อนค่าของเงินบาท เป็นไปทิศทางเดียวกับค่าเงินในเอเชียที่อ่อนค่า ตลอดจนตลาดหุ้นในเอเชีย และตลาดหุ้นไทย ดัชนีได้ปรับตัวลดลง ตลอดสัปดาห์นี้มีความไม่แน่นอนสูง มาจากปัญหาวิกฤติการเงินของกรีซและยุโรปว่าผลการเจรจาจะเป็นอย่างไร มีผลต่อการลงทุนระยะสั้น โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์”.

จาก http://www.thairath.co.th วันที่ 9 กรกฎาคม 2558

ก.เกษตรชงครม.ช่วยภัยแล้ง เน้นรายได้เสริม-พืชทดแทน 

           ก.เกษตรฯ จ่อเสนอมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบวิกฤติภัยแล้งใน 1-2 สัปดาห์ รอมาตรการจากกรมชลฯ และกรมส่งเสริมการเกษตรสรุปผลขั้นสุดท้าย เบื้องต้นมีทั้งมาตรการจ้างปรับปรุงอาคารและระบบชลประทานสร้างรายได้เสริม บริหารจัดการน้ำควบคู่ปฏิบัติการฝนหลวง พร้อมเร่งรัดช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่เสี่ยง "ประยุทธ์" ขอบคุณชะลอทำนา พร้อมจัดงบช่วยเหลือ

          นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤติภัยแล้งของกระทรวงเกษตรฯว่า ขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกรมชลประทาน และกรมส่งเสริมการเกษตรอยู่ระหว่างเร่งสรุปมาตรการเพื่อนำเสนอรัฐมนตรีว่าการคาดจะนำเสนอเรื่องต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.)เพื่อพิจารณาอนุมัติได้ใน 1-2 สัปดาห์นับจากนี้

          ทั้งนี้มาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้งของกระทรวงเกษตรฯล่าสุด ในส่วนของกรมชลประทาน ได้จัดทำแผนที่แสดงที่ตั้งแหล่งน้ำในพื้นที่ชลประทานและนอกเขตชลประทานในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการแก้ไขภัยแล้งได้อย่างเหมาะสมและเป็นรูปธรรม ส่วนพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ปลูกข้าวไปแล้วและมีความเสี่ยงจะเกิดความเสียหายประมาณ 8.5 แสนไร่ ได้กำชับให้กรมชลประทาน บริหารจัดการน้ำที่จัดสรรอย่างเข้มงวด ขณะที่ได้ออกปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง บริเวณภาคเหนือตอนล่าง และพื้นที่ภาคกลาง ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำให้เขื่อน/อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในระดับวิกฤติ

          ส่วนมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ต้องเลื่อนการปลูกข้าวนาปี ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการของกรมส่งเสริมการเกษตร ประกอบด้วย 1.การจ้างแรงงานและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร โดยการขุดลอกคูคลองส่งน้ำ และปรับปรุงอาคารชลประทาน เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกรทั้งในช่วงที่เลื่อนการปลูกข้าวนาปี และภายหลังสิ้นสุดฤดูฝนโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้สั่งการให้กรมชลประทานดำเนินการขุดลอกและทำความสะอาดคลองส่งน้ำทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดการจ้างงาน 2.กิจกรรมด้านการเกษตรเพื่อสร้างรายได้ทดแทนระหว่างชะลอการเพาะปลูกข้าวนาปี โดยการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกของเกษตรกรทดแทนการปลูกข้าวนาปี อีกทั้งส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย การทำไร่นาสวนผสม ให้เป็นไปตามความต้องการของเกษตรกร โดยกรมส่งเสริมการเกษตรได้สำรวจความต้องการของเกษตรกรไว้เรียบร้อยแล้วแต่ต้องไปหารือกับกรมชลประทานว่าจะสามารถจัดสรรน้ำให้เพียงพอได้หรือไม่ ก่อนที่จะมีฝนตกลงมามากขึ้น

          "มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรของกระทรวงเกษตรฯหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหลักเช่น กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตรได้นำเสนอมาตรการในเบื้องต้นแล้ว และอยู่ระหว่างจัดทำแผน/มาตรการที่ชัดเจน ซึ่งบางเรื่องต้องรอเวลา เช่น ถ้าเสียหายแล้วจะช่วยอย่างไร ถ้าปลูกพืชไม่ได้เลยจะทำอย่างไร คงต้องดูสถานการณ์ตามกรอบเวลา"พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวหลังการประชุม ครม.(7 ก.ค.) โดยขอบคุณเกษตรกรที่ชะลอการทำนาออกไป เนื่องจากมีปัญหาขาดแคลนน้ำ ทั้งนี้รัฐบาลจะมีการจัดสรรงบประมาณเพื่อช่วยเหลือ โดยจะให้มีการเจาะบ่อบาดาล ทำแก้มลิง และอ่างเก็บน้ำให้มากขึ้น

จาก http://www.thanonline.com วันที่ 9 กรกฎาคม 2558

'เกษตรฯ-จิสด้า'สำรวจพื้นที่แล้งเตรียมแผนช่วยเหลือเข้าครม. 

          กระทรวงเกษตรฯ จับมือสำนักเทคโนโลยี อวกาศฯ เร่งสำรวจพื้นที่ภัยแล้งทั่วประเทศ จัดทำเป็นมาตรการช่วยเหลือนำเข้าที่ประชุม ครม.สัปดาห์หน้า "ปีติพงศ์" ระบุภัยแล้งเข้าขั้นวิกฤติหลังไม่มีน้ำไหลลง 4 เขื่อนหลัก ขณะที่นักวิจัย สกว. แนะแนวทางแก้ปัญหาถนนทรุด ระบุหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องรักษาระดับน้ำนอนคลองและตรวจสอบความลาดชันของคันดิน รวมทั้งตรวจระดับความปลอดภัยเป็นประจำทุกปี  พร้อมแสดงความเป็นห่วงดินทรุดลามถึงบ้านเรือนประชาชนริมน้ำ

          นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยวานนี้ (8 ก.ค.) ว่าในปีนี้ตั้งแต่เดือนม.ค.ถึงปัจจุบัน ปริมาณฝนตกน้อยมาก ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยในปีปกติถึงประมาณ 30% ส่งผลต่อปริมาณน้ำต้นทุนที่กรมชลประทานจะใช้บริหารจัดการ ทั้งเพื่ออุปโภค บริโภค และรักษาระบบนิเวศน์ ถือว่าช่วงนี้ไทยประสบวิกฤตแล้งแล้ว ดังนั้นรัฐบาลต้องเร่งดำเนินการสำรวจพื้นที่ประสบภัยแล้งทั่วประเทศ โดยให้สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ จิสด้า ร่วมกับกระทรวงเกษตรฯ ลงพื้นที่สำรวจให้รู้ว่าพื้นที่ไหนประสบภัยแล้ง เพื่อผลักดัน มาตรการช่วยเหลือ นำเข้าเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่ออนุมัติในสัปดาห์หน้า

          นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการบริหารจัดการน้ำลุ่มเจ้าพระยา กล่าวว่าจะทบทวนแผนการระบายและบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา หลังจากสถานการณ์ฝนตกตั้งแต่ต้นเดือนม.ค.เป็นต้นมามีปริมาณฝนที่ต่ำมากที่สุดในรอบ 30 ปี และส่งผลให้น้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยาเหลือเพียง 660 ล้านลบ.ม. มีน้ำไหลลงเขื่อนเพียงเขื่อนเดียวคือ เขื่อนสิริกิติ์ เพียงวันละ3.4ล้านลบ.ม. เหลือน้ำที่ใช้ได้17ล้านลบ.ม. ส่วนอีก 3 เขื่อนไม่มีน้ำไหลเข้าเลย

          "สถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาถือได้ว่าเข้าขั้นวิกฤตแล้ว  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำเป็นต้องทบทวนแผนการระบายน้ำที่ปัจจุบัน ระบายวันละ 28 ล้านลบ.ม. ซึ่งยังสามารถลดการระบายน้ำได้อีก โดยกรมชลประทานยืนยันการระบายน้ำจะต้องเพียงพอสำหรับ การบริโภค อุปโภค และรักษาระบบนิเวศน์ แต่ทั้งนี้ไม่ควรต่ำกว่าวันละ 15 ล้านลบ.ม." นายสุเทพ กล่าว

          สกว.ชี้4ปัจจัยถนนเลียบคลองทรุดตัว

          นายอมร พิมานมาศ นักวิจัย สกว. และรองเลขาสภาวิศวกร เปิดเผยวานนี้ หลังลงพื้นที่ตรวจสอบความเสียหายถนนเลียบคลองพระยาบันลือ  อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา และถนนเลียบคลองระพีพัฒน์ หนองแค จ.สระบุรี ทรุดตัว โดยระบุถึงสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดเหตุการณ์ดังกล่าวว่ามี 4 ปัจจัย คือ คันคลองที่ถล่มมักจะก่อสร้างบนชั้นดินอ่อนจากการขุดดินในลำน้ำขึ้นมาสร้างคันคลองและสภาวะน้ำลดอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในหน้าแล้ง การใช้ถนนในการสัญจรเพิ่มขึ้นจากปกติทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รวมถึงการกัดเซาะของน้ำที่ทำให้ลาดดินคันคลองมีความชันเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมีการขุดลอกคูคลองในช่วงน้ำท่วมเพื่อใช้เป็นทางระบายน้ำ ทำให้ความชันของลาดดินคันคลองเพิ่มขึ้นกว่าที่เคยออกแบบไว้ในตอนแรก

          นอกจากนี้สาเหตุหลักที่เกิดขึ้นเป็นเพราะระดับน้ำลดลงอย่างรวดเร็วทำให้แรงดันน้ำในดินเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ดินสูญเสียเสถียรภาพและเลื่อนไถลลงมา ซึ่งปกติการออกแบบลาดคันคลองจะต้องปล่อยน้ำเพื่อให้มีระดับน้ำอย่างน้อยที่เรียกว่า ระดับน้ำนอนคลอง เพื่อรักษาเสถียรภาพของลาดดิน เพราะเมื่อมีน้ำไม่เพียงพอทำให้เกิดการวิบัติของลาดดินและเกิดการวิบัติของถนนตามมา

          "การวิบัติลักษณะนี้จะทวีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ และเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะในปีที่มีน้ำท่วมหนักและปีถัดมาน้ำแล้ง รวมทั้งการถมถนนให้สูงขึ้นเพื่อสร้างเป็นเขื่อนกันน้ำท่วม แต่ไม่ได้รักษาความชัน เป็นการเพิ่มน้ำหนักมหาศาลให้กับถนน และยิ่งทำให้ดินสไลด์ตัวง่ายขึ้นกว่าเดิม

          ห่วงดินทรุดลามบ้านเรือนริมคลอง

          นายอมร กล่าวว่า แนวทางแก้ไขที่ถูกต้องในระยะยาว จะต้องมีการตรวจสอบถนนตามแนวลำน้ำหรือลำคลองว่ามีเสถียรภาพของเชิงลาดมากน้อยเพียงไร โดยต้องเก็บข้อมูลความแข็งแรงของชั้นดินและทำการสำรวจหาหน้าตัดของคันคลองที่เปลี่ยนไป จากนั้นจึงวิเคราะห์หาอัตราส่วนความปลอดภัยซึ่งจะต้องมีค่าอย่างน้อย1.25 จึงจะถือว่าคันคลองดังกล่าวมีความปลอดภัย

          การแก้ไขปัญหานี้จะต้องมีการบริหารจัดการน้ำที่ดี ปล่อยน้ำเพื่อรักษาระดับน้ำขั้นต่ำ หรือทำการเสริมความแข็งแรงให้แก่คันคลอง ซึ่งสามารถทำได้หลายวิธี เช่น การสร้างกำแพงกันดิน ก่อสร้างเสาเข็มเป็นเดือยยึดดินเพื่อไม่ให้ดินทรุดตัว หรือปรับปรุงดินให้แข็งแรงขึ้นโดยใช้หลักการของซีเมนต์คอลัมน์ ใช้ปูนปั่นผสมกับดินเพื่อให้แข็งแรงขึ้นแต่ต้องใช้งบประมาณมหาศาล

          ทั้งนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็นกรมทางหลวงชนบท หรือกรมชลประทาน  ควรจัดทำฐานข้อมูลเรื่องดังกล่าวและปรับปรุงทุกปี เพราะสภาพลำน้ำอาจเปลี่ยนแปลง ทำให้ความชันของลาดดินคันคลองเปลี่ยนแปลงได้ทุกปี และต้องหาจุดเสี่ยงเพื่อแก้ไขอย่างเร่งด่วน ซึ่งจะเห็นได้ว่าดินมีความสัมพันธ์กับน้ำ และมีปัจจัยเสี่ยงด้านการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเพิ่มขึ้น

          นอกจากนี้จะต้องดูแลพื้นที่เสี่ยงอื่นๆ นอกจากถนน โดยเฉพาะบ้านเรือนริมตลิ่งและสิ่งปลูกสร้างริมน้ำ เพราะมีโอกาสเสี่ยงที่จะทรุดตัวลงมาเช่นกัน อยากฝากประชาชนถึงข้อสังเกตการทรุดตัวของถนนอย่างง่ายที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า คือให้สังเกตรอยแตกร้าวบนผิวดิน และที่สำคัญคือประชาชนต้องตระหนักถึงปัญหาและช่วยกันประหยัดน้ำให้มากขึ้น

          ถนนเลียบคลองระพีพัฒน์ทรุดซ้ำอีก

          วันเดียวกันมีรายงานว่าถนนเลียบคลองระพีพัฒน์ สายหนองแค-หนองเสือ กม.ที่ 8 ต.หนองโรง อ.หนองแค จ.สระบุรี ได้เกิดทรุดตัวอีกครั้งมีความยาวกว่า 100 เมตร  ลึก 2 เมตร โดยห่างจากจุดที่มีการทรุดตัวไปเมื่อ 2 วันก่อน800 เมตร ขณะนี้ต้องปิดการจราจรและให้ประชาชนเลี่ยงไปใช้ถนนอีกฝั่งที่อยู่ระหว่างการซ่อมชั่วคราว

          นายสุรเดช เบ็ญจศิริวรรณ ผู้อำนวยการสำนักทางหลวงชนบทที่ 2 สระบุรี เปิดเผยหลังตรวจสอบที่เกิดเหตุว่าได้สั่งปิดเส้นทางสายนี้แล้ว เพื่อทำการซ่อมแซมถนนให้ประชาชนใช้ได้ชั่วคราวก่อน ส่วนการแก้ไขอย่างถาวรอาจจะใช้วิธีการเดียวกับอีกฝั่ง ที่ต้องลงเข็มปูพรมแล้วเทปูนคอนกรีต นอกจากนี้จากการสำรวจถนนสายเดียวกันบริเวณ ก.ม.ที่ 7 พบถนนมีรอยแตกร้าว เป็นทางยาวกว่า 500 เมตร แต่พิจารณาดูแล้ว ยังไม่น่าจะมีปัญหาแต่อย่างใด

          เขื่อนป่าสักฯเหลือน้ำ5%ใช้ได้30วัน

          ด้านสถานการณ์น้ำในเขื่อนหลักอย่างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ นายอรรถพร ปัญญาโฉม ผู้อำนวยการจัดสรรน้ำสำนักงานชลประทานที่ 10 จังหวัดลพบุรี เปิดเผยว่าขณะนี้ยังน่าเป็นห่วงมาก หลังจากที่ไม่มีน้ำไหลลงเขื่อนกว่า  2 เดือนแล้ว ทำให้ปริมาณน้ำสะสมในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนป่าสักฯลดลงอย่างต่อเนื่อง จนเหลือน้ำแค่ 48 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 5% ของปริมาณความจุน้ำของเขื่อน

          นายอรรถพร กล่าวอีกว่าขณะนี้ยังมีความจำเป็นต้องระบายน้ำลงสู่ท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เพื่อรักษาระบบนิเวศและช่วยเหลือด้านน้ำอุปโภค บริโภค  15 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือประมาณวันละ 1.3 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งหากสถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้ น้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์จะเหลือใช้ได้เพียง 30 วันเท่านั้น

          ขุดบ่อบาดาลช่วยเพาะปลูก6แสนไร่

          ด้านสถานการณ์ภัยแล้ง ที่จ.พิจิตรนายสุรชัย ขันอาสา ผู้ว่าราชการจังหวัดพิจิตร ได้เรียกประชุมนายอำเภอ ทั้ง 12 อำเภอ หน่วยงานป้องกันบรรเทาสาธารณภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเร่งให้การช่วยเหลือประชาชน ในสถานการณ์ภัยแล้งและฝนทิ้งช่วง โดยได้กำชับให้หน่วยงานในพื้นที่ประสบภัยแล้ง เพิ่มการแจกจ่ายน้ำอุปโภคบริโภคให้กับประชาชน พร้อมให้สำรวจ พื้นที่ประสบภัยแล้งเพิ่มจากเดิม 7 อำเภอ 28 ตำบล 221 หมู่บ้าน เพื่อนำงบประมาณเร่งให้การช่วยเหลือประชาชน

          นอกจากนี้ ยังได้ประสานไปยังกรมทรัพยากรน้ำบาดาล เพื่อเร่งดำเนินการขุดเจาะบ่อบาดาล นำน้ำใต้ดินขึ้นมาช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกพืชกว่า 6 แสนไร่ ที่มีความเสี่ยงจะได้รับความเสียหายจากภัยแล้งประมาณ 1 แสนไร่ ในพื้นที่นอกเขตชลประทาน

          ทหารระดมรถแจกน้ำบรรเทาภัยแล้ง

          ขณะเดียวกันที่ จ.บุรีรัมย์ พ.อ.นิเวศน์ฉายากุล รองผู้บังคับการจังหวัดทหารบกบุรีรัมย์ ได้นำกำลังพลและรถบรรทุกน้ำดื่มสะอาด ไปแจกจ่ายช่วยเหลือชาวบ้านบ้านหนองปุ่น ใน อ.กระสัง ที่กำลังประสบภัยแล้งอย่างหนัก เพราะนอกจากจะไม่มีฝนให้กักเก็บน้ำแล้ว หมู่บ้านแห่งนี้ยังไม่มีระบบประปา ต้องอาศัยน้ำใต้ดินจากการขุดเจาะบ่อบาดาล แต่ช่วงนี้น้ำใต้ดินก็แห้งเช่นกัน พ.อ.นิเวศน์ กล่าวว่าหากหมู่บ้านใด ตำบลใดได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง ราษฎรประสบปัญหาขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค สามารถร้องขอความช่วยเหลือมายังทางจังหวัดทหารบก ค่ายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้ เพื่อจะได้นำรถบรรทุกน้ำออกไปแจกจ่ายช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน

จาก http://www.bangkokbiznews.com วันที่ 9 กรกฎาคม 2558

ยันไม่ลดระบายน้ำคอยฝนมา 

           ปีติพงศ์ยังไม่ลดการระบายน้ำเหตุกรมชลฯ ยังบริหารได้หวังปลายเดือน ก.ค.น้ำเติมเขื่อน

          นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 7 ก.ค. ยังไม่มีการพูดถึงเรื่องการลดการระบายน้ำตามที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เสนอให้ระบายน้ำลดลงอีก 8 ล้านลูกบาศก์เมตร จากเดิมระบายที่ 28 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวัน เนื่องจากคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำที่มีอยู่ขณะนี้จะสามารถบริหารจัดการให้ทุกภาคส่วนได้ แต่ขอให้ทุกฝ่ายประหยัดเพื่อสงวนน้ำไว้ให้ได้มากที่สุด

          "ขณะนี้ในพื้นที่ปลูกข้าวแล้ว 3.4 ล้านไร่ กว่า 1 ล้านไร่ได้ผลดี ส่วนที่เหลือกรมได้ระดมช่วยเหลือทุกด้านเพื่อให้ได้ผลผลิต สำหรับพื้นที่ยังไม่ได้ปลูก 3.45 ล้านไร่ ก็ควรไปปลูกประมาณเดือน ส.ค. เพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก" รมว.เกษตรฯ กล่าว

          ทั้งนี้ มาตรการช่วยเหลือของกระทรวงเกษตรฯ ได้เตรียมไว้หลายมาตรการทั้งการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อปรับระบบการผลิตพืชสวน พืชไร่ การส่งเสริมการปลูกพืชหลังฤดูฝน รวมถึงการส่งเสริมการ ผลิตอาหารเพื่อความมั่นคง ด้านอาหารในพื้นที่ เป็นต้น ซึ่ง คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัปดาห์หน้า

          พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า นายกฯ ขอให้ประชาชนทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดร่วมกันประหยัดน้ำ ทั้งนายกฯ และ ครม.ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำและติดตามต่อเนื่อง ซึ่งนักวิชาการทั้ง นายรอยล จิตรดอน นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ให้ความมั่นใจว่าประมาณเดือน ส.ค. จะมีฝนตกเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

          นายวราวุธ ขันติยานันท์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวว่า ขณะนี้วิกฤตแล้งที่สุด ได้ผ่านไปแล้ว ในช่วงเดือนนี้เริ่มมีฝนตกกระจายทั่วประเทศ เมื่อร่องฝนกลับลงมาปลายเดือนนี้ ความชื้นมาแค่ไหนทำเป็นฝนตกได้หมด เพราะตั้งศูนย์ฝนหลวงดักไว้ทุกจุด มีเมฆฝนทำให้เกิดฝนตกได้เลย สำหรับความคืบหน้าผลปฏิบัติการฝนหลวงได้ทำให้มีฝนตกเกือบ ทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ จากนี้ไปปลายเดือน ก.ค.-ต.ค. น้ำจะเข้าเขื่อนเต็มที่

จาก http://www.posttoday.com   วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

"มิตรผล" ยกระดับชาวไร่อ้อย พัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีสู่ชุมชน

เป็นระยะเวลายาวนานกว่า 10 ปีที่กลุ่มมิตรผลดำเนินงานโครงการหมู่บ้านเพิ่มผลผลิต ซึ่งบริษัทเข้าไปส่งเสริมให้ชาวไร่อ้อยเรียนรู้เกี่ยวกับการจัดการไร่อ้อยอย่างถูกวิธี จนนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น

อย่างไรก็ดี การมี "เงิน" มากขึ้นอาจไม่ได้ตอบโจทย์ทุกอย่างของชีวิต ทำให้กลุ่มมิตรผลยกระดับการดูแลชาวไร่อ้อยให้มีคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ยั่งยืนภายใต้ "โครงการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน"

โครงการนี้เป็นระยะที่ 4 ของโครงการหมู่บ้านเพิ่มผลผลิต เริ่มต้นจากการส่งเสริมเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตเฉพาะด้าน มาสู่การบริหารจัดการระบบชลประทานและการใช้น้ำในไร่อ้อยอย่างมีประสิทธิภาพ ถัดมาเป็นการบริหารจัดการแบบองค์รวม ด้วยเทคโนโลยีแบบผสมผสาน และก้าวสู่การพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตเพื่อความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

"คมกริช นาคะลักษณ์" กรรมการโครงการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน กลุ่มมิตรผลบอกว่า จากเดิมบริษัทเข้าไปส่งเสริมความรู้และงบประมาณให้ชาวไร่อ้อยในพื้นที่โรงงานของมิตรผล เพื่อช่วยแก้ปัญหาและผลักดันให้ชุมชนเกิดเป็นหมู่บ้านเพิ่มผลผลิต ก่อนที่จะเกิดเป็นแนวคิดสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนเกิดความยั่งยืน

ยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนของกลุ่มมิตรผลประกอบด้วย 4 ด้าน คือ การสร้างครัวเรือนต้นแบบ แล้วพัฒนาให้เกิดองค์ความรู้ชุมชน รวมถึงสร้างศักยภาพแกนนำให้เกิดเป็นองค์กรชุมชน และสร้างเครือข่ายร่วมพัฒนา

"แรกเริ่มเราเข้าไปคุยกับชุมชนก่อน โดยเลือก 5 หมู่บ้านนำร่อง หมู่บ้านหนึ่งมี 100-200 ครัวเรือน วิเคราะห์ SWOT Analysis พร้อมให้ชุมชนคิดว่าอีก 3 ปีอยากพัฒนาด้านใด เมื่อทำมาถึงจุดหนึ่ง เรามองว่าการขับเคลื่อนระดับหมู่บ้านเล็กไป จึงยกระดับมาสู่ตำบลเป็น 9 ตำบล 136 หมู่บ้าน เพื่อนำไปสู่การสร้างชุมชนต้นแบบในอนาคต"

ปัจจุบันโครงการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนดำเนินงานในพื้นที่โรงงานมิตรผลซึ่งอยู่ใน ต.บ้างแก้ง และ ต.โคกสะอาด อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ, ต.บ้านเม็ง และ ต.กุดกว้าง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น, ต.หนองใหญ่ อ.โพนทอง จ.ร้อยเอ็ด, ต.สมสะอาด อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์, ต.โคกขมิ้น อ.วังสะพุง จ.เลย, ต.แจงงาม อ.หนองหญ้าไซ จ.สุพรรณบุรี และ ต.ไม้ดัด อ.บางระจัน จ.สิงห์บุรี รวมถึงอีก 1 ชุมชนที่บ้านโนนเที่ยง อ.นามน จ.กาฬสินธุ์

 ทั้งนั้น จะพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ชาวไร่อ้อยที่อยู่พื้นที่ข้างต้นใน 5 ด้าน ได้แก่ เศรษฐกิจ, สังคม, สุขภาวะ, ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและจิตใจ

"เราอยากให้เขามีรายได้มากกว่ารายจ่าย คือ มีผลผลิตดี ต้นทุนต่ำ มีรายได้เสริม เชื่อมโยงไปถึงการมีสุขภาวะที่ดี มีความสุข นอกจากนั้น เราจะสนับสนุนให้พวกเขาลดการใช้สารเคมีในการทำเกษตร ตลอดจนการสร้างผู้นำเชิงพัฒนาขึ้นมา เพราะท้ายที่สุดแล้ว มิตรผลจะถอยออกมา แล้วขยายไปที่อื่นต่อ จึงต้องทำให้เขาเข้มแข็งและอยู่ให้ได้"

อย่างไรก็ดี เมื่อเร็ว ๆ นี้กลุ่มมิตรผลร่วมมือกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ในการขยายการพัฒนาชุมชน โดยเรื่องนี้ "คมกริช" กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้มาจากบริษัทเห็นความสำเร็จของโมเดลตำบลส่งเสริมสุขภาวะจาก สสส.ที่ทำกับ 2,000 ตำบล

"เพราะสิ่งที่เรายังขาดคือองค์ความรู้ในการสร้างสุขภาวะ สสส.จะเข้ามาเติมเต็มด้านนี้ ทั้งการจัดกระบวนการเรียนรู้และการสื่อการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่ชุมชนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการบริหารจัดการตนเอง รวมถึงยังมีเรื่องการร่วมพัฒนาศักยภาพผู้นำ และสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชน และเครือข่ายตำบลสุขภาวะในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เวทีระดมความคิดเห็น เวทีวิชาการ"

สำหรับเป้าหมายที่วางไว้สำหรับโครงการนี้ "คมกริช" บอกว่าต้องการสร้างครัวเรือนต้นแบบกับองค์ความรู้ชุมชน โดยเริ่มจากการมีครัวเรือนอาสา ซึ่งตั้งเป้าว่าแต่ละหมู่บ้านควรมี 10 ครัวเรือนอาสาภายใน 1 ปี สิ่งที่ตามมาคือการเกิดองค์กรชุมชนที่จะเข้ามาทำหน้าที่ในการขับเคลื่อนการพัฒนาชุมชน

"ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับชาวไร่อ้อยไม่ใช่แค่ไปส่งเสริมให้เขาปลูกอ้อยอย่างเดียวอีกแล้วแต่ได้ขยายให้ลึกลงไปว่าทำอย่างไรจึงทำให้ชาวไร่อ้อยมีคุณภาพชีวิตดีขึ้นและอยู่ได้อย่างยั่งยืน"

อันสอดคล้องกับแนวคิด "ร่วมอยู่ ร่วมเจริญ" ของกลุ่มมิตรผลที่ยึดมั่นมาตั้งแต่ก่อตั้งบริษัทจวบจนปัจจุบัน

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

'ปนัดดา'ลงพื้นที่ตรวจเขื่อนแม่งัด พบน้ำเหลือ21%-คาดสค.ฝนเพิ่ม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ม.ล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เดินทางตรวจเยี่ยมและรับฟังการบรรยายสรุปสถานการณ์ปริมาณน้ำในเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาแม่แฝก - แม่งัดสมบูรณ์ชล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ซึ่งมีปริมาณบรรจุทั้งสิ้น 265 ล้านลูกบาศก์เมตร

อย่างไรก็ตาม ในวันนี้มีปริมาณน้ำในเขื่อน 56.18 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 21 ของปริมาณบรรจุของเขื่อน ซึ่งยังเพียงพอสำหรับการใช้สอยในช่วงนี้ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความเชื่อมั่นว่าในช่วงเดือน ส.ค.จะมีปริมาณฝนเพิ่มขึ้น โดยจะส่งผลให้ปริมาณน้ำเพิ่มขี้น เป็นประโยชน์ด้านการเกษตร

ทั้งนี้ ม.ล.ปนัดดา ได้ให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะเพิ่มเติมว่า ทุกฝ่ายจะต้องช่วยกันดูแลรักษาป่าต้นน้ำลำธาร ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบนิเวศทางธรรมชาติ และเป็นแหล่งต้นน้ำที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง พร้อมทั้งขอให้ร่วมกันบริหารจัดการการใช้น้ำอย่างประหยัดและคุ้มค่า เกิดประโยชน์สูงสุดและมีความยั่งยืนสืบไป

จาก http://www.naewna.com วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แล้งหนัก!เขื่อนป่าสักวิกฤตเหลือน้ำ5% ใช้ได้อีก30วัน

นายอรรถพร ปัญญาโฉม ผู้อำนวยการจัดสรรน้ำสำนักงานชลประทานที่ 10 จังหวัดลพบุรี เปิดเผยว่า สำหรับสถานการณ์ของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ต.หนองบัว อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ขณะนี้ยังของน่าเป็นห่วงหลังจากที่ยังคงไม่มีน้ำไหลลงเขื่อนป่าสักเป็นเดือนที่2เข้าสู่เดือนที่3แล้วนั้น ทำให้ปริมาณน้ำสะสมในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ลดลงอย่างต่อเนื่องจนเหลือน้ำแค่48ล้านลุกบาศก์เมตรเท่านั้นหรือคิดเป็น%อยู่ที่ 5% ของความจุเต็ม100%ที่960ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ทางเขื่อนยังจำเป็นต้องระบายน้ำลงสู่ท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เพื่อรักษาระบบนิเวศและช่วยเหลือด้านน้ำอุปโภค บริโภค ท้ายเขื่อนอยู่ที่15ลุกบาศก์เมตรต่อวินาที หรือวันละ1.3ล้านลุกบาศก์

ซึ่งหากสถานการณ์ยังคงเป็นแบบน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์จะเหลือน้ำใช้ได้แค่30วันเท่านั้นน้ำจะแห้งเขื่อนทันที่ หากยังไม่มีฝนตกลงมาหรือมีน้ำไหลเข้าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ต่อจากนี้ได้จึงถือว่าเป็นช่วงวิกฤตมากของเขื่อนป่าสักและเป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงมากในขณะนี้ เพราะท้ายเขื่อนจะได้รับผลกระทบจากน้ำอุปโภค บริโภคอย่างแน่นอน

จาก http://www.naewna.com วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ตีตราสัญลักษณ์ TTM ตอกย้ำมาตรฐานสินค้า-บริการไทยในตลาดโลก   

          กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เชิญชวนผู้ประกอบการส่งออกไทย 6 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ 1) กลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร 2) กลุ่มอุตสาหกรรมหนัก อาทิ เครื่องใช้ไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์ 3) กลุ่มอุตสาหกรรมไลฟ์สไตล์ อาทิ เฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งบ้าน 4) กลุ่มอุตสาหกรรมแฟชั่นและอัญมณี 5) กลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ อาทิ สินค้าเครื่องมือแพทย์ ผลิตภัณฑ์เภสัชกรรม เครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สปา 6) กลุ่มอุตสาหกรรมด้านการบริการ ได้แก่ ธุรกิจบริการรักษาพยาบาล ธุรกิจบริการส่งเสริม สุขภาพ (สปา) และธุรกิจบริการการศึกษานานาชาติ ร่วมสมัครขอรับตราสัญลักษณ์ Thailand Trust Mark (TTM) เครื่องหมายบ่งชี้สำคัญในด้านคุณภาพและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับสินค้าและบริการของไทยในตลาดโลก เพื่อเปิดโอกาสทางการตลาดที่แข็งแกร่งให้แก่ผู้ผลิต สร้างค่านิยมและเพิ่มความเชื่อมั่นในการใช้สินค้าไทยให้กับผู้บริโภคทั่วโลก โดยกำหนดคุณสมบัติหลักๆ ของผู้ประกอบการ ส่งออกที่มีสิทธิ์ได้รับตราสัญลักษณ์ Thailand Trust Mark (TTM) คือ 1) เป็นสินค้าและบริการไทยที่ผลิตในประเทศไทย 2) ได้รับการรับรองมาตรฐานในประเทศ และ/หรือมาตรฐานสากลต่างประเทศ 3) มีคุณสมบัติด้านภาพลักษณ์ของกิจการ/องค์กรที่ดี โดยจะต้องมีการดำเนินกิจกรรมที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยได้รับการรับรอง ISO 14001 หรืออุตสาหกรรมสีเขียวของกระทรวงอุตสาหกรรม และมีการใช้แรงงานที่เป็นธรรม โดยได้รับการรับรองมาตรฐานแรงงานไทย ของกระทรวงแรงงาน และสุดท้าย จะต้องมีการดำเนินงานที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมในกระบวนการผลิต (CSR in Process) โดยผู้ได้รับตราสัญลักษณ์ Thailand Trust Mark (TTM) จะได้รับสิทธิประโยชน์มากมาย อาทิ การเข้าร่วมงานแสดงสินค้าและกิจกรรมที่กรมฯ จัดขึ้นทั้งในและต่างประเทศ การประชาสัมพันธ์ในสื่อต่างๆ ของ กรมฯ ทั้งในและต่างประเทศ และการได้รับข้อมูลข่าวสารจาก DITP Connect

          ผู้ประกอบการส่งออกไทยที่ต้องการร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างความภาคภูมิใจ และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่สินค้าและบริการไทย สามารถสมัครขอรับตราสัญลักษณ์ Thailand Trust Mark (TTM) ครั้งที่ 3 ประจำปี 2558 ได้ตั้งแต่บัดนี้ถึง 15 กันยายน 2558 โดยสามารถสมัครผ่านเว็บไซต์ www.thailandtrustmark.com หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทร. 1169 หรือ 0-2507-8273

จาก http://www.khaosod.co.th  วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ธ.ก.ส.จับมือบางจากช่วยเกษตรกร ใช้บัตรสินเชื่อฯซื้อน้ำมันได้ส่วนลด30สต.

นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส.ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมมือกับบริษัท บางจากปิโตรเลียม จัดทำ “โครงการส่วนลดพิเศษเพื่อซื้อน้ำมันบางจาก ด้วยบัตรสินเชื่อเกษตรกร” ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนการผลิตให้แก่เกษตรกรในภาวะที่ประสบปัญหาภัยแล้งตามนโยบายของรัฐบาล

สำหรับบัตรสินเชื่อดังกล่าว เกษตรกรสามารถรูดซื้อสินค้าประเภท น้ำมันเชื้อเพลิงกับบางจากโดยจะได้รับอัตราส่วนลดน้ำมัน 30 สตางค์ต่อลิตร ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม-31 ธันวาคม 2558 คาดว่าจะสามารถช่วยเกษตรกรที่ถือบัตรสินเชื่อเกษตรกรให้เข้าถึงบริการและการช่วยเหลือในการลดต้นทุนได้ จากผู้ถือบัตรทั้งสิ้น 2 ล้านราย ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการหมุนเวียนทางระบบเศรษฐกิจช่วยสร้างกำลังซื้อได้อย่างดี

นอกจากนี้จะยังมีโครงการเพิ่มเติมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้ที่ถือบัตรสินเชื่อนี้ โดยกระทรวงพาณิชย์อยู่ระหว่างเจรจากับผู้ประกอบการผลิตสินค้าอุปโภค บริโภค 6 ราย ให้รับบัตรสินเชื่อจากเกษตรกรในการรูดซื้อสินค้าประเภท ข้าวสาร หรือสินค้าที่มีความจำเป็นในชีวิตประจำวัน

นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม กล่าวว่า การมอบส่วนลดน้ำมันทุกชนิดลิตรละ 30 สตางค์ เพื่อช่วยลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรและแก้ไขปัญหาภัยแล้งหนี้สินต่างๆ ที่สถานีบริการน้ำมันบางจากที่รับบัตรสินเชื่อมากถึง 540 แห่งทั่วประเทศโดยให้วงเงินเติมน้ำมันเพื่อรับส่วนลดต่อบัตรสูงสุด 100,000 บาท ระยะเวลา6 เดือน คาดว่าใน 1 เดือนจะมีเกษตรกรมาใช้บริการระดับหมื่นราย และจะมีการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นจากปกติ 5 ล้านลิตร เป็น 6-7 ล้านลิตร

นอกจากนี้บางจากยังมีโครงการสนับสนุนนำผลผลิตทางการเกษตรที่ถึงช่วงฤดูกาลผลิตที่ออกมามาก เช่น ไข่ไก่มะนาว หอม กระเทียม หรือข้าว มาเป็นของสมนาคุณลูกค้า ช่วยรองรับผลผลผลิตทางการเกษตรในภาวะราคาตกต่ำและสร้างรายได้ให้ชุมชนพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

จาก http://www.naewna.com วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สหรัฐฯ เพิ่มสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP

กระทรวงพาณิชย์ เผย สหรัฐฯ เพิ่มรายการสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP ในโครงการ GSP ใหม่

กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า โครงการ GSP ที่ต่ออายุใหม่ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2556 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2560 สหรัฐฯ ได้เพิ่มเติมรายการสินค้าที่ได้รับสิทธิพิเศษฯ แก่ทุกประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP คือ สินค้าประเภทกระเป๋าถือและกระเป๋าเดินทาง ที่ทำจากหนัง จำนวน 27 รายการ โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องยื่นคำร้องขอรับสิทธิ GSP สำหรับรายการสินค้าเพิ่มเติมภายในเดือนสิงหาคม 2558

การเพิ่มรายการสินค้าใหม่ดังกล่าวจะเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการของไทยได้รับการยกเว้นภาษีอากรขาเข้าสหรัฐฯ จากอัตราปกติที่อยู่ระหว่างร้อยละ 4.5-20 โดยในปี 2557 ไทยมีการส่งออกสินค้าทั้ง 27 รายการ มีมูลค่ากว่า 48 ล้านเหรียญสหรัฐ หากได้รับสิทธิ GSP จะได้รับยกเว้นภาษีนำเข้ามูลค่ากว่า 6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 180 ล้านบาท

ดังนั้น จึงขอเชิญชวนผู้ประกอบการของไทยที่ต้องการขอใช้สิทธิพิเศษฯ ในรายการสินค้าที่เพิ่มเติมดังกล่าว จัดเตรียมข้อมูลประกอบการยื่นคำร้อง ทั้งนี้ กรมการค้าต่างประเทศจะได้ติดตามประกาศกำหนดการยื่นคำร้องของสหรัฐฯ อย่างใกล้ชิด เพื่อจะได้แจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป

จาก http://www.innnews.co.th วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

รบ.รับมือแล้งลากยาว2ปีขุดบาดาลกันกทม.ขาดน้ำ 

          นายกฯสั่งรับมือเปิดบ่อบาดาล หาก กทม.ขาดน้ำ กปน.ยันมีน้ำเพียงพอผลิตประปาแจกจ่ายเมืองกรุง

          สั่งเจาะบาดาลรับกทม.น้ำขาด

          เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เกี่ยวกับการแก้ไขผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งว่า ได้เน้นย้ำเรื่องของการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นต้นเหตุของภัยแล้ง และทำอย่างไรจะสามารถขุดลอกแหล่งน้ำในทุกภาค โดยเฉพาะพื้นที่ใต้อ่างเก็บน้ำ เพราะเมื่อฝนตกลงมาในเขื่อนจะถูกกักน้ำไว้ แต่ยังมีน้ำในส่วนใต้อ่างเก็บน้ำที่จะต้องมีที่กักเก็บด้วย

          เมื่อถามว่ามีการประเมินว่าปริมาณพื้นที่ กทม.จะมีน้ำเหลือใช้เพียง 30 วันเท่านั้น พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า ไม่ต้องประเมิน แผนรับมือคือต้องเปิดน้ำบ่อบาดาลใช้ในเขต กทม. ใช้ในเขตเมือง ส่วนต่างจังหวัดเป็นความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้สั่งการให้เจาะบ่อบาดาลอีก 500 บ่อแล้ว วันนี้ในเมื่อนำน้ำไปปลูกพืชหมด หากไม่มีน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภคจะทำอย่างไร เพราะฝนไม่ตก น้ำในเขื่อนมีน้อย แต่ชาวนาบอกว่าจะต้องทำนา รัฐบาลจะต้องแก้ไขปัญหา แล้วจะให้แก้อย่างไร

          "ประเมิน โธ่ ไม่ต้องประเมินก็เห็นอยู่ ตาไม่ได้บอด จะให้รอน้ำค้างแบบเดินป่าหรืออย่างไร ผมอ่านหนังสือพิมพ์ก็เห็นว่าชาวสหรัฐเขาเดือดร้อนเหมือนกัน เขาอาบน้ำในขวด เพราะแห้งแล้งเหมือนกัน เขาไม่เห็นจะถามรัฐบาลเลยว่า รัฐบาลประเมินอย่างไร น้ำไม่มี ฝนไม่ตก จะประเมินอะไรกันนักหนา ไม่ต้องประเมิน ฝนก็ตกเปียก แต่ยังไม่ตก" พล.อ.ประยุทธ์กล่าว

          'บิ๊กป๊อก'ขอปชช.ประหยัดน้ำ

          ที่ทำเนียบรัฐบาล พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย กล่าวถึงกระแสข่าวจะมีการจ่ายน้ำเป็นเวลาในพื้นที่กรุงเทพมหานคร หากฝนไม่ตกภายในวันที่ 30 กรกฎาคมนี้ ว่า ต้องยอมรับว่าปีนี้น้ำน้อย ช่วงวิกฤตที่สุดคือช่วงเดือนกรกฎาคม โดยประเมินว่าเดือน สิงหาคมฝนจะมา ดังนั้นน้ำจะวิกฤตทั้งเพื่อการอุปโภคบริโภคและการเกษตร ดังนั้นหากประหยัดอะไรได้ก็ให้ประหยัด ทราบว่าการประปาฯพยายามทำงานและบริหารจัดการน้ำเพื่อให้บริการประชาชน ส่วนต่างจังหวัดมีการปล่อยน้ำเป็นเวลาบ้างแล้ว แต่ในพื้นที่ กทม.ยังไม่ได้รับรายงาน

          กปน.ยันกทม.ประปาเพียงพอ

          ด้านนายธนศักดิ์ วัฒนฐานะ ผู้ว่าการการประปานครหลวง (กปน.) กล่าวถึงกระแสข่าวพื้นที่กรุงเทพฯจะไม่มีน้ำใช้ หากฝนไม่ตกภายในวันที่ 30 กรกฎาคม ว่า คงมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน ยืนยันว่ายังมีน้ำเพียงพอในการผลิตน้ำประปา โดยบางช่วงที่น้ำเค็มขึ้นก็อาจจะทำการผลิตน้ำกร่อย มั่นใจว่าพื้นที่ กทม.จะไม่ได้รับผลกระทบทั้งน้ำอุปโภคและบริโภค

          นายเชาวรินทร์ กิ่งแก้ว รองผู้ว่าการ (ผลิตและส่งน้ำ) กปน. กล่าวเสริมว่า ยังมีน้ำเพียงพอต่อการผลิตประปาแม้ฝนจะไม่ตก เพราะแม่น้ำเจ้าพระยายังไม่แห้งก็สามารถผลิตน้ำประปาได้อย่างต่อเนื่อง แต่อาจจะมีความกร่อย ซึ่งจะประกาศให้ผู้บริโภคได้รับทราบ เมื่อช่วงเช้าวันนี้ได้มีการประชุมเรื่องการบริหารความเสี่ยง ประเมินว่าในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมนี้จะมีฝน โดยเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคมที่ผ่านมาก็มีฝนตกลงมา เชื่อว่าสถานการณ์จะดีขึ้น โดยเฉพาะ กทม.ไม่น่าจะได้รับผลกระทบในเรื่องของน้ำประปา

          นายกฯสั่งแก้ถนนทรุดด่วน

          พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) กรณีถนนเลียบคลองเกิดการทรุดตัวหลายจุดในพื้นที่จังหวัดภาคกลางว่า กระทรวงคมนาคมได้รายงานปัญหาดังกล่าวต่อ ครม. ซึ่ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้แสดงความเป็นห่วง พร้อมสั่งการให้กรมทางหลวงชนบท (ทช.) สำรวจถนนทุกเส้นทางและทุกพื้นที่ หากพบปัญหาให้เร่งแก้ไขปรับปรุง หากมีงบประมาณอยู่แล้วให้ใช้ได้เลย หากไม่มีก็เสนอขออนุมัติงบประมาณกลางจากรัฐบาลได้ สำหรับถนนที่ทรุดตัวเบื้องต้นสั่งการให้เร่งซ่อมแซมเพื่อใช้งานได้ชั่วคราวก่อน จากนั้นต้องปรับปรุงให้ใช้งานถาวรต่อไป

          นายดรุณ แสงฉาย อธิบดี ทช. กล่าวว่า เมื่อประมาณ 5 ปีที่ผ่านมา ทช.ได้รับโอนถนนมาจากกรมชลประทาน รวมประมาณ 3,000 กิโลเมตร (กม.) กระจายอยู่ทั่วประเทศ เป็นถนนคันดินที่ก่อสร้างจากดินที่ขุดเพื่อทำคลอง เดิมมีวัตถุประสงค์เพื่อการบำรุงรักษาคลอง ไม่ใช่ถนนเพื่อการสัญจรหรือรองรับรถบรรทุกขนาดหนัก โดยถนนที่มีปัญหาหรือมีความเสี่ยงคิดเป็นสัดส่วนไม่ถึง 1% หรือประมาณ 20 กม. จะอยู่ในพื้นที่ดินอ่อนบริเวณภาคกลางตอนล่าง ได้แก่ พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี สิงห์บุรี เป็นต้น

          ทช.ตั้งงบ'59เร่งซ่อม-ปรับปรุง

          นายดรุณกล่าวว่า ที่ผ่านมา ทช.ได้ดูแลการทรุดตัวของถนนเหล่านี้บ้างแล้ว แต่การซ่อมบำรุงถนนทุกสายเพื่อไม่ให้ทรุดตัวต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก ทช.ได้พยายามดำเนินการให้ดีที่สุดตามกรอบของงบประมาณที่ได้รับในแต่ละปี สำหรับสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดการทรุดตัวในปีนี้เนื่องจากน้ำแล้งมาก ส่งผลให้ถนนจากที่มีน้ำคอยช่วยค้ำยันโครงสร้างของคันทางหายไป ทำให้บริเวณดินอ่อนเกิดการยุบตัวได้ โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการขุดลอกคูคลองจะยิ่งเร่งการทรุดตัวให้เร็วขึ้น

          "ตอนนี้ ทช.ได้เร่งสำรวจและออกแบบเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวแล้ว ตั้งงบประมาณปี 2559 เพื่อใช้ในการสำรวจดิน และมีเจ้าหน้าที่ประเมินความเสี่ยงเบื้องต้นด้วย ถนนที่มีความเสี่ยงมากๆ จะมีการติดป้ายเตือน และนำมาสู่การออกแบบเพื่อหามาตรการป้องกันการทรุดตัวต่อไป" นายดรุณกล่าว

          ห้ามรถบรรทุกหนักวิ่งจุดเสี่ยง

          นายดรุณกล่าวว่า เบื้องต้นจะประกาศห้ามรถบรรทุกขนาดใหญ่ผ่านในจุดที่มีการติดป้ายว่าเป็นพื้นที่เสี่ยงหรือจุดที่ได้รับความเสียหาย และมีการซ่อมเพื่อให้สัญจรได้เป็นการชั่วคราว ส่วนแผนระยะยาวจะต้องมีการสำรวจและเจาะดินเพื่อนำมาวิเคราะห์เพื่อการออกแบบในการปรับปรุง และเสริมโครงสร้างเพื่อให้เกิดความแข็งแรงมากขึ้น ซึ่งแต่ละจุดจะใช้งบประมาณไม่ต่ำกว่า 15-20 ล้านบาท พร้อมกับเตรียมออกกฎหมายจำกัดจำนวนน้ำหนักของรถบรรทุกจาก 25 ตัน เหลือ 18 ตัน ห้ามผ่านในเส้นทางถนนที่มีการติดป้ายเตือนด้วย

          รบ.รับมือแล้งลากยาว2ปี

          ที่ทำเนียบรัฐบาล นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า จากการติดตามสถานการณ์น้ำฝนทั้งฝนธรรมชาติและฝนเทียม พบว่ามีฝนน้อยมาก และมีน้ำไหลลงเขื่อนเพื่อเก็บเป็นน้ำต้นทุนน้อยเช่นกัน ซึ่งในที่ประชุม ครม.ได้แจ้งต่อนายกฯและกระทรวงมหาดไทยให้เตรียมรับมือสถานการณ์ความแห้งแล้ง หากยาวนานออกไปอีก 1-2 ปี "รัฐบาลจะเร่งสร้างแหล่งอาหารให้ชุมชน ให้เกษตรกร รับมือสถานการณ์แล้งที่อาจยาวนานออกไปอีก 1-2 ปี โดยมาตรการนี้เป็นมาตรการช่วยเหลือภาคเกษตรให้ยั่งยืน ลดการตกงาน เพิ่มรายได้ ซึ่งทั้งหมดนี้จะนำเสนอ ครม.ในวันที่ 14 กรกฎาคมนี้" นายปีติพงศ์กล่าว

          ถนนคลองพระยาบันลือทรุดอีก

          ที่ จ.พระนครศรีอยุธยา นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สั่งการเจ้าหน้าที่ลงสำรวจถนนเลียบคลองพระยาบันลือ อ.ลาดบัวหลวง เนื่องจากพบว่ามีการทรุดตัวเพิ่มขึ้นเป็นจุดที่ 3 ในช่วงคืนที่ผ่านมา ในพื้นที่หมู่ 2 ต.สิงหนาท มีถนนทรุดตัวลง 50 เซนติเมตร ยาว 50 เมตร และเขื่อนคอนกรีตป้องกันตลิ่งพังเริ่มเอียงเป็นมุมกว่า 30 องศา โดยบริเวณดังกล่าวมีเสาไฟฟ้าขนาดใหญ่ตั้งอยู่ เจ้าหน้าที่ได้กันพื้นที่เป็นเขตอันตราย พร้อมเร่งนำเครื่องจักรมาเปิดหน้าดินเพื่อปรับพื้นที่ ส่วนพื้นที่ถนนทรุด 2 จุดก่อนหน้านี้ คือพื้นที่หมู่ 2 ต.สามเมือง ถนนทรุดยาว 500 เมตร และหมู่ 1 ต.คลองพระยาบันลือ ทรุดยาว 100 เมตร กำลังเร่งปรับหน้าดิน รวมทั้งเฝ้าระวังถนนสายเลียบคลองตลอดสาย เนื่องจากมีความยาว 18 กิโลเมตร

          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากนี้พบถนนรอบบึงน้ำบ้านชุ้ง อ.นครหลวง ของสำนักงานทางหลวงชนบทพระนครศรีอยุธยา เกิดรอยแยกเป็นร่องกลางถนนลึก 2 เมตร ยาวเกือบ 1 กิโลเมตร และส่วนถนนที่ติดบึงเริ่มทรุดตัวลงกว่า 10 เซนติเมตร ตามระดับน้ำที่แห้งขอด ล่าสุด อบต.บ้านชุ้งและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งนำเครื่องจักรเข้าไปแก้ไขอย่างเร่งด่วนแล้ว

          ธ.ก.ส.แจงเงินกู้ภัยแล้ง6หมื่นล.

          นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวถึงการช่วยเหลือเกษตรกรลูกค้า ธ.ก.ส.และสมาชิกสหกรณ์การเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งว่า เตรียมเสนอคณะกรรมการ ธ.ก.ส.ในวันที่ 13 กรกฎาคม เพื่อพิจารณามาตรการสินเชื่อเพิ่มเติมอีก 3 มาตรการ วงเงินสินเชื่อรวม 6 หมื่นล้านบาท ช่วยเหลือลูกค้า ธ.ก.ส. 1 ล้านรายทั่วประเทศ

          ประกอบด้วย 1.ขยายเวลาชำระหนี้เดิม โดยจะขยายระยะเวลาการชำระหนี้ที่มีอยู่ไม่เกิน 9 เดือน กรณีพิเศษไม่เกิน 12 เดือน พร้อมขยายเวลาชำระหนี้ 12 เดือนให้สหกรณ์ กรณีสมาชิกสหกรณ์ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง 2.จะให้สินเชื่อระยะสั้นบรรเทาความเดือดร้อน วงเงิน 3 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นเงินกู้ฉุกเฉินรายละ 1 หมื่นบาท ผ่อนชำระ 12 เดือน ปลอดดอกเบี้ย 3 เดือน หลังจากนั้นคิดอัตราดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ (ปัจจุบันเอ็มอาร์อาร์อยู่ที่ 7%) สินเชื่อฟื้นฟูอาชีพหลังประสบภัย รายละไม่เกิน 2 หมื่นบาท ผ่อนชำระ 12 เดือน กรณีพิเศษไม่เกิน 18 เดือน ดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์และเงินกู้ให้สหกรณ์ เพื่อนำไปปล่อยให้สมาชิกเกี่ยวกับการผลิต วงเงินรวม 1 หมื่นล้านบาท ชำระไม่เกิน 12 เดือน กรณีพิเศษไม่เกิน 18 เดือน อัตราดอกเบี้ยเอ็มแอลอาร์ -1.25% (ปัจจุบันเอ็มแอลอาร์อยู่ที่ 5%) โดยทั้ง 3 มาตรการกู้จะมีระยะเวลากู้เงินตั้งแต่ 15 กรกฎาคม-15 ตุลาคมนี้

          นายลักษณ์กล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีสินเชื่อระยะยาวเพื่อปรับปรุงระบบผลิต วงเงิน 3 หมื่นล้านบาท มีเป้าหมายการปล่อยสินเชื่อ 3 ปี ตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม 2558-31 กรกฎาคม 2561 วงเงินปล่อยกู้ปีละ 1 หมื่นล้านบาท โดยเกษตรกรที่กู้เงินต้องเสนอแผนการปรับปรุงการผลิตผ่านคณะกรรมการตำบล มีวงเงินรายละไม่เกิน 1 แสนบาท ชำระคืน 10 ปี กรณีจำเป็นปลอดชำระเงินต้นไม่เกิน 3 ปีแรก คิดดอกเบี้ยเอ็มอาร์อาร์ -2%

          บัตรธ.ก.ส.ซื้อน้ำมันมีส่วนลด

          นายลักษณ์กล่าวด้วยว่า ธ.ก.ส.ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงกับบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ในความร่วมมือโครงการส่วนลดพิเศษเพื่อซื้อน้ำมันบางจาก ด้วยบัตรสินเชื่อเกษตรกร ธ.ก.ส. เพื่อดูแลเกษตรกรในด้านการจัดหาปัจจัยการผลิตที่ส่งผลต่อต้นทุนของเกษตรกร โดยเกษตรกรผู้ถือบัตรสินเชื่อ ธ.ก.ส.สามารถซื้อน้ำมันเชื้อเพลิงทุกประเภทจากปั๊มบางจาก ในราคาส่วนลดน้ำมัน 30 สตางค์ต่อลิตร ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมที่ผ่านมา จนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2558 นอกจากนั้นยังมีบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ดำเนินโครงการในลักษณะนี้ด้วย ซึ่งเป็นประโยชต่อเกษตรกรที่ถือบัตรสินเชื่อ ธ.ก.ส.กว่า 2 ล้านราย

          นายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทบางจากฯ กล่าวว่า เกษตรกรผู้ถือบัตรเครดิต ธ.ก.ส.จะได้รับส่วนลดน้ำมัน 30 สตางค์ต่อลิตร โดยเกษตรกร 1 รายสามารถซื้อน้ำมันในอัตราส่วนลดได้ตลอดระยะเวลา 6 เดือน โดยจำกัดวงเงินไว้ที่ 1 แสนบาท

          ผู้สื่อข่าวรายงาน ก่อนหน้านี้หนึ่งวัน ปตท.ได้แถลงช่วยเหลือเกษตรกรที่กำลังเดือดร้อนจากปัญหาภัยแล้ง ด้วยการลดราคาน้ำมันลงลิตรละ 50 สตางค์ สำหรับเกษตรกรที่ถือบัตรสินเชื่อเกษตรกรของ ธ.ก.ส. เริ่มตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม-30 พฤศจิกายนนี้

          ลิงอุทยานหิวโซขาดแหล่งน้ำ

          ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่อุทยานดงลิงดอนเจ้าปู่ อ.พนา จ.อำนาจเจริญ มีพื้นที่กว่า 260 ไร่ หลังจากทราบจากชาวบ้านว่าสถานการณ์ภัยแล้งทำให้ฝูงลิงแสมกว่า 3,000 ตัว แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ที่อุทยานหิวโซ ขาดแหล่งน้ำและอาหาร ต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงอาหารกัน และจากภัยแล้งครั้งนี้มีลิงอดตายไปแล้ว 2 ตัว

          นายกนก สอนศิลป์ นายก อบต.พนา อ.พนา กล่าวว่า ฝูงลิงแสมกำลังประสบกับปัญหาภัยแล้งอย่างหนัก แหล่งน้ำภายในพื้นที่ อ.พนาแห้งขอด น้ำจากทางเทศบาลตำบลพนาที่มาช่วยเหลือก็ไม่เพียงพอต่อจำนวนฝูงลิงที่มีมาก และกำลังขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาช่วยควบคุมดูแลการขยายพันธุ์ของลิงด้วย

          กรมน้ำเร่งแก้มลิง'ชัยนาท'

          วันเดียวกัน นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ เดินทางไปยังพื้นที่โครงการอนุรักษ์ปรับปรุงและฟื้นฟูบึงละหานใหญ่ หมู่ 2 ต.วังไก่เถื่อน อ.หันคา จ.ชัยนาท เพื่อติดตามเร่งรัดโครงการขุดลอกบึงเป็นพื้นที่กักเก็บน้ำหรือแก้มลิง ในพื้นที่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีพื้นที่ 700 ไร่ ครอบคลุม อ.หันคาและ อ.สรรคบุรี โดยปีงบประมาณ 2558 เป็นโครงการระยะที่ 4 มีกำหนดแล้วเสร็จวันที่ 10 กรกฎาคม เมื่อแล้วเสร็จทั้งโครงการจะรองรับน้ำได้กว่า 1,000,000 ลบ.ม. ในฤดูฝน สามารถจัดสรรน้ำให้พื้นที่การเกษตรได้ 1,200-1,500 ไร่ในหน้าแล้ง รวมทั้งเป็นแหล่งน้ำดิบสำรองผลิตน้ำประปาให้ชุมชนที่อยู่รอบบึงด้วย

          นายจตุพรกล่าวว่า นายกฯให้เร่งรัดติดตามโครงการแหล่งน้ำต่างๆ ในพื้นที่ที่ประสบภัยให้ดำเนินการแล้วเสร็จตามกรอบเวลาสัญญา

          'บิ๊กจิน'ชี้มีถนนเสี่ยงทรุด50กม.

          เมื่อเวลา 17.00 น. วันเดียวกัน ที่ จ.สระบุรี พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม พร้อมคณะเดินทางตรวจจุดเกิดเหตุถนนทรุด บริเวณถนนสายหนองแค-หนองเสือ ฝั่งซ้าย กม.ที่ 16-17 เลียบคลองระพีพัฒน์ พื้นที่หมู่ 8 ต.หนองโรง อ.หนองแค จ.สระบุรี ระยะทางกว่า 200 เมตร

          พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า คลองระพีพัฒน์สร้างมาสมัยโบราณ โดยนำโคลนตมในคลองสมัยก่อนมาถมทำคันคลองกันน้ำ ต่อมาเมื่อมีความเจริญจึงพัฒนาคันคลองเป็นถนน เมื่อรถบรรทุกหนักวิ่งบนถนน ทำให้ใต้ถนนซึ่งเป็นดินเก่าสมัยก่อนสไลด์ไหลลงคลองระพีพัฒน์ ประกอบกับคลองระพีพัฒน์ขาดน้ำ ไม่มีน้ำประคองยันแผ่นดินใต้ถนนให้เสมอกัน จึงทำให้ใต้ดินสไลด์ออกไปฝั่งคลอง พื้นผิวถนนด้านบนจึงทรุดตัวลง

          "หลังเกิดเหตุถนนทางหลวงชนบททรุด ได้สำรวจถนนทางหลวงชนบท 2,600 กม. พบว่ามีถนนพื้นที่เสี่ยงประมาณ 50 กม. และพื้นที่ที่จะทรุดได้มีประมาณ 5 กม. จะเสริมส่วนที่ไม่แข็งแรงให้มีสภาพดี ส่วนจุดนี้จะต้องออกแบบ อาจลงเข็มปูพรมให้ทั่วแล้วสร้างถนนบนเสาเข็ม คาดว่าต้องใช้เวลา 3-4 เดือน" พล.อ.อ.ประจินกล่าว

          ต่อมาเวลา 17.30 น. พล.อ.อ.ประจินพร้อมคณะลงพื้นที่หมู่ 13 ต.หนองสามวัง อ.หนองเสือ จ.ปทุมธานี เพื่อตรวจสอบถนนทรุดจากการสไลด์ตัวของดินระยะทางกว่า 400 เมตร รวมทั้งถนนทรุดอีกหลายจุดในพื้นที่ อ.หนองเสือ

          พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า ถนนจุดที่มีการสไลด์จะหาทางแก้ไขไม่เกิน 10 วันเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ชั่วคราวไปก่อน หลังจากนั้นจะออกแบบคืนผิวจราจรให้อยู่ในสภาพเดิมโดยเร็วที่สุด โดยจะแปลงงบฉุกเฉินปี 2558

จาก http://www.matichon.co.th วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ยันไม่ลดระบายน้ำคอยฝนมา 

ปีติพงศ์ยังไม่ลดการระบายน้ำเหตุกรมชลฯ ยังบริหารได้หวังปลายเดือน ก.ค.น้ำเติมเขื่อน

          นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันที่ 7 ก.ค. ยังไม่มีการพูดถึงเรื่องการลดการระบายน้ำตามที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เสนอให้ระบายน้ำลดลงอีก 8 ล้านลูกบาศก์เมตร จากเดิมระบายที่ 28 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวัน เนื่องจากคาดการณ์ว่าปริมาณน้ำที่มีอยู่ขณะนี้จะสามารถบริหารจัดการให้ทุกภาคส่วนได้ แต่ขอให้ทุกฝ่ายประหยัดเพื่อสงวนน้ำไว้ให้ได้มากที่สุด

          "ขณะนี้ในพื้นที่ปลูกข้าวแล้ว 3.4 ล้านไร่ กว่า 1 ล้านไร่ได้ผลดี ส่วนที่เหลือกรมได้ระดมช่วยเหลือทุกด้านเพื่อให้ได้ผลผลิต สำหรับพื้นที่ยังไม่ได้ปลูก 3.45 ล้านไร่ ก็ควรไปปลูกประมาณเดือน ส.ค. เพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูก" รมว.เกษตรฯ กล่าว

          ทั้งนี้ มาตรการช่วยเหลือของกระทรวงเกษตรฯ ได้เตรียมไว้หลายมาตรการทั้งการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อปรับระบบการผลิตพืชสวน พืชไร่ การส่งเสริมการปลูกพืชหลังฤดูฝน รวมถึงการส่งเสริมการ ผลิตอาหารเพื่อความมั่นคง ด้านอาหารในพื้นที่ เป็นต้น ซึ่ง คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในสัปดาห์หน้า

          พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า นายกฯ ขอให้ประชาชนทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดร่วมกันประหยัดน้ำ ทั้งนายกฯ และ ครม.ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการน้ำและติดตามต่อเนื่อง ซึ่งนักวิชาการทั้ง นายรอยล จิตรดอน นายอานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ให้ความมั่นใจว่าประมาณเดือน ส.ค. จะมีฝนตกเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

          นายวราวุธ ขันติยานันท์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวว่า ขณะนี้วิกฤตแล้งที่สุด ได้ผ่านไปแล้ว ในช่วงเดือนนี้เริ่มมีฝนตกกระจายทั่วประเทศ เมื่อร่องฝนกลับลงมาปลายเดือนนี้ ความชื้นมาแค่ไหนทำเป็นฝนตกได้หมด เพราะตั้งศูนย์ฝนหลวงดักไว้ทุกจุด มีเมฆฝนทำให้เกิดฝนตกได้เลย สำหรับความคืบหน้าผลปฏิบัติการฝนหลวงได้ทำให้มีฝนตกเกือบ ทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ จากนี้ไปปลายเดือน ก.ค.-ต.ค. น้ำจะเข้าเขื่อนเต็มที่

จาก http://www.posttoday.com  วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

PTTGCจับมือทุกภาคส่วน พร้อมรับมือวิกฤตภัยแล้ง

นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC กล่าวว่า บริษัทฯ มีความห่วงใยต่อภาวะภัยแล้งในขณะนี้ ได้เตรียมความพร้อมในกระบวนการดำเนินงานภายในรับมือสถานการณ์ภัยแล้ง เพื่อไม่ให้กระทบต่อการดำเนินการผลิตของโรงงาน โดยแนวทางหลักจะเป็นการลดปริมาณการใช้น้ำของโรงงาน และการใช้ระบบ RO Recovery บำบัดน้ำทิ้งในโรงงานกลับมาเป็นน้ำสะอาดหมุนเวียนใช้ใหม่

บริษัทฯ มีนโยบายเน้นการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการนำระบบ 3R (reduce-reuse-recycle) มาใช้ในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้ะบบ RO Recovery เพื่อบำบัดน้ำทิ้งในโรงงานกลับมาเป็นน้ำสะอาดหมุนเวียนใช้ใหม่ ในปี 2557 บริษัทฯ ได้ลดการปล่อยน้ำทิ้งออกจากโรงงาน และนำน้ำทิ้งกลับมาใช้ใหม่คิดเป็นปริมาณน้ำมากกว่า 730,000 ลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้นจากปี 2556 จำนวน 140,000 ลูกบาศก์เมตร และในอนาคต บริษัทฯ มีแผนจะนำน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิตกลับมาใช้ใหม่ เป็นสัดส่วนมากกว่า 45% ของปริมาณน้ำทิ้งจากกระบวนการผลิต

นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังคำนึงถึงการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ระหว่างโรงงานอุตสาหกรรมและชุมชน ได้ร่วมมือกับ กรมชลประทาน การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) การประปาส่วนภูมิภาค (กปภ.) บริษัท อีสท์วอเตอร์ และกลุ่มผู้ประกอบการ จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการน้ำภาคตะวันออก จ.ระยอง เพื่อจัดทำแผนบริหารจัดการน้ำในระยะสั้นและระยะยาว ลดปัญหาการใช้น้ำระหว่างภาคอุตสาหกรรมและชุมชน โดยมีแผนงานระยะสั้น เป็นการปรับปรุงและเพิ่มประสิทธิภาพแหล่งกักเก็บน้ำ ได้แก่ ขุดลอกอ่างเก็บน้ำ การพัฒนาบ่อน้ำในพื้นที่ภาคตะวันออก การเสริมความสูงแก่ทางระบายน้ำล้น (Spillway) ของอ่างเก็บน้ำในภาคตะวันออก โดยการดำเนินงานตามแผนนี้ จะทำให้มีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นในภาคตะวันออกอีก 224 ล้านลูกบาศก์เมตร ในปี 2560

ด้านแผนบริหารจัดการน้ำระยะยาว เป็นการเพิ่มแหล่งน้ำใหม่ในพื้นที่ที่มีศักยภาพ การจัดทำเครือข่าย อ่างเก็บน้ำพื้นที่ จ.ระยอง จ.ชลบุรี และ จ.ฉะเชิงเทรา ได้แก่ โครงการเครือข่ายอ่างเก็บน้ำ (อ่างพวง) อันเนื่องมาจากพระราชดำริเพื่อการบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน และรองรับการใช้น้ำในภาพรวมอีก 20 ปีข้างหน้า

ทั้งนี้ การบริหารจัดการน้ำที่ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนได้ร่วมมือกัน จะช่วยแก้ปัญหาวิกฤติน้ำแล้งในภาคตะวันออกในอนาคตได้อย่างบูรณาการ และมั่นใจได้ว่าภาคตะวันออกจะไม่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำทั้งภาคอุตสาหกรรม ครัวเรือน และภาคเกษตรกรรม

จาก http://www.naewna.com วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ 54 ตัน แก้ดินเสื่อม-ลดทุนทำนา

ทำมาหากิน : ใช้งบช่วยแล้งผลิตปุ๋ยอินทรีย์ 54 ตัน แก้ดินเสื่อม-ลดทุนทำนาที่เมืองช้าง : โดย...ดลมนัส กาเจ

                     ตามที่รัฐบาลมีนโยบายช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง ภายใต้ "โครงการสร้างรายได้และพัฒนาการเกษตรแก่ชุมชนเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง" ด้วยการสนับสนุนงบประมาณตำบลละไม่เกิน 1 ล้านบาท โดยมีกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นแม่งานหลักในการดำเนินการนั้น ที่ชุมชนบ้านตระแบก หมู่ 4 ต.สลักได อ.เมือง จ.สุรินทร์ เลือก “โครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชุมชนและต่อเติมอาคารเก็บปุ๋ย” ปรากฏว่าสามารถผลิตได้ลอตแรก 54 ตัน ขายกันเองในชุมชน กิโลกรัมละ 4 บาท โดยเงินที่ขายได้จะนำไปต่อยอดในฤดูกาลหน้า

                     โอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ปัจจุบันกรมส่งเสริมการเกษตร ได้จัดตั้งศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชน (ศดปช.) จำนวน 882 ศูนย์ ใน 882 อำเภอ เพื่อขับเคลื่อนขยายผลการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิต โดยศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนจะทำหน้าที่ให้บริการตรวจวิเคราะห์ดิน แปลผล ให้คำแนะนำการจัดการดินและปุ๋ยเบื้องต้น พร้อมถ่ายทอดความรู้เรื่องดินและปุ๋ยให้เกษตรกรในพื้นที่ด้วย อย่างโครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชุมชนและต่อเติมอาคารเก็บปุ๋ย ที่บ้านตระแบก ต.สลักได ถือเป็นหนึ่งในหลายพื้นที่เป้าหมาย ที่เกษตรกรในพื้นที่มีความจำนงจะดำเนินการผลิตปุ๋ยอินทรีย์มาใช้เอง เพราะชาวบ้านกว่า 1,050 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ในพื้นที่ครอบครอง 20,547 ไร่

                     "ที่ผ่านมาการทำนาที่ อ.สลักได อาศัยน้ำฝนเป็นหลัก ทำให้ผลผลิตไม่แน่นอนเฉลี่ยที่ไร่ละ 400 กิโลกรัม เกษตรกรมีปัญหาด้านต้นทุนการผลิตสูง แต่ให้ผลผลิตต่อไรต่ำเนื่องจากปริมาณน้ำฝนไม่แน่นอน สภาพดินเสื่อมโทรม ขาดความอุดมสมบูรณ์ เพราะเกษตรกรใช้ปุ๋ยเคมีในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น เกษตรกรจึงรวมตัวกันจัดตั้งกลุ่มเกษตรอินทรีย์ขึ้น มีสมาชิก 85 คน ครอบคลุมทุกหมู่บ้าน พร้อมใจจัดทำโครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์และต่อเติมอาคารเก็บปุ๋ยขึ้นมา" นายโอฬาร กล่าว

                     ด้าน นายมานพ จันทร์ฝอย ประธานกลุ่มผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชุมชน ต.สลักได บอกว่า เริ่มตั้งกลุ่มเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2557 มีสมาชิกครั้งแรก จำนวน 84 คน ปัจจุบันมีสมาชิก 124 คน มีเงินทุนหมุนเวียน จำนวน 4 หมื่นบาท เน้นการผลิตปุ๋ยอินทรีย์เพื่อใช้กันเอง ส่งผลให้กลุ่มมีความเข้มแข็ง อันเกิดจากความสามัคคี จากการมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่างๆ ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนพฤติกรรมเดิมที่เกษตรกรทำการเกษตรด้วยเคมีเป็นหลัก ทำให้มีต้นทุนในการผลิตที่สูง ประกอบกับสุขภาพที่ย่ำแย่

                     หลังจากได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากโครงการสร้างรายได้ฯ จำนวน 1 ล้านบาท จึงได้ดำเนินโครงการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชุมชนและต่อเติมอาคารเก็บปุ๋ย ปีแรกสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้ 54 ตัน คิดเป็นเงิน 2 แสนบาท ส่วนงบอีกจำนวนหนึ่งได้ว่าจ้างทำปุ๋ย และอีกส่วนหนึ่งนำไปสร้างอาคารเพื่อเป็นที่เก็บปุ๋ย หลังจากที่จะนำปุ๋ยไปขายให้สมาชิกในราคากิโลกรัมละ 4 บาท เงินที่ได้มาจะนำไปต่อยอดการผลิตในปีถัดไป

                     ขณะที่ นางจันทรา สำเร็จดี หนึ่งในสมาชิกผู้ผลิตปุ๋ยอินทรีย์ เล่าว่า สูตรหลักของปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตใช้กัน ได้แก่ ปุ๋ยหมัก มีส่วนประกอบคือ 1.มูลสัตว์ 100 กก. 2.แกลบดิบ 100 กก. 3.แกลบดำ 100 กก. 4.รำอ่อน 10 กก. 5.กากน้ำตาล 20 ซีซี (ช้อนโต๊ะ) 6.น้ำหมักชีวภาพ 20 ซีซี(ช้อนโต๊ะ) 7.น้ำสะอาด 100 ลิตร

                     วิธีทำ เริ่มจาก 1.นำแกลบดิบ แกลบดำ มูลสัตว์ รำละเอียด ผสมให้เข้ากัน 2.ผสมน้ำหมักชีวภาพกับกากน้ำตาล น้ำ 10 ลิตร ที่เตรียมไว้ ใส่บัวรดน้ำราดบนกองมูลสัตว์กับแกลบให้ชุ่ม คลุกเคล้าให้เข้ากัน มีความชื้นพอดี ประมาณ 50% 3.หมักไว้ประมาณ 5-7 วัน คลุมด้วยกระสอบป่าน หรือผ้าใบ เมื่อปุ๋ยเกิดความร้อนให้กลับกองปุ๋ย 1-2 ครั้ง ต่อวัน 4.สังเกตจะมีราสีขาวขึ้นแสดงว่าจุลินทรีย์กำลังทำการย่อยสลาย 5.ครบ 7 วันกรอกปุ๋ยใส่กระสอบที่เตรียมไว้ ประมาณกระสอบละ 25 กก. แล้วนำไปเก็บที่โรงเก็บปุ๋ยรอการจำหน่ายต่อไป

                     นับเป็นกลุ่มเกษตรกรที่ประสบผลสำเร็จอีกกลุ่มหนึ่งที่นำเงินงบประมาณช่วยบรรเทาผู้ประภัยแล้งภัย มาผลิตปุ๋ยมาใช้เอง และจะมีการต่อยอดเพื่อนำไปใช้ในชุมชนต่อไป

จาก http://www.komchadluek.net  วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

รับภัยแล้ง ขุดลอกคลองรอคอยฝน

   บิ๊กตู่สั่งเองให้ทำทันทีธกส.เปิดกู้6หมื่นล้าน

“บิ๊กตู่” สั่งขุดลอกคลอง ใต้อ่างเก็บน้ำสู้ภัยแล้ง ลั่นไม่ต้องประเมินสถานการณ์ เหน็บนักข่าวฝนตกก็เปียก จี้ทางหลวงชนบทซ่อมถนนทรุด ธ.ก.ส. ผุด 3 มาตรการช่วยเกษตรกรกว่า 1 ล้านราย วงเงิน 6 หมื่นล้านบาท กรมฝนหลวงชี้ผ่านวิกฤติแล้งสุดแล้ว ตั้งเป้าเติมน้ำเขื่อนได้ไม่ต่ำกว่า 100 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน เผยกองงานส่วนพระองค์ฯ ร่วมติดตามปฏิบัติการฝนหลวงใกล้ชิด ชาวไร่อ้อยนครสวรรค์สู้ภัยแล้งไม่ไหว ปล่อยยืนต้นตาย เพชรบูรณ์ปั้นหุ่นชาย-หญิง ร่วมเพศแก้เคล็ดภัยแล้ง ชาวนาแห่นางแมว-ปลัดขิก ขอฝนหลังต้นข้าวเริ่มเหี่ยวเฉา วอนนายกฯหาเงินมาช่วยชดเชย ส่วนสุราษฎร์ฯ-กระบี่ ฝนตกหนักน้ำทะลักท่วมพื้นที่

สถานการณ์ภัยแล้งที่แผ่ขยาย สร้างความเดือดร้อน กับประชนในพื้นที่ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคกลาง พื้นที่การเกษตรโดยเฉพาะนาข้าวใกล้แห้งตายเพราะขาดน้ำ ยังไม่มีท่าทีจะคลี่คลายแม้จะมีการระดมทำฝนหลวงเพื่อเติมน้ำในเขื่อนและพื้นที่การเกษตรแต่ยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร ขณะที่นักวิชาการระบุว่ากรม ชลประทานบริหารน้ำผิดพลาดต้นเหตุทำให้เกิดภัยแล้ง

ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 7 ก.ค. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการแก้ไขปัญหาภัยแล้งว่า ตนได้เน้นย้ำในที่ประชุมเรื่องการดูแลทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งเป็นต้นเหตุของปัญหาภัยแล้ง ที่ผ่านมาเราสูญเสียเนื้อที่เป็นล้านไร่ล้วนเป็นป่าต้นน้ำทั้งสิ้น สิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ฝนไม่ตก น้ำใต้ดินแห้ง ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและประชาชน ดังนั้นรัฐบาลจึงทำทุกอย่างเพื่อดูแล คาดว่าเมื่อฝนมาทุกอย่างจะดีขึ้นแต่ต้องใช้เวลา

จาก http://www.thairath.co.th  วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เปิดผลวิเคราะห์ภาวะโลกร้อน ชี้อีก60ปีผลผลิตเกษตรวูบ25%

นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จากสถานการณ์อุณหภูมิน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตร ของสำนักพัฒนาอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา ตั้งแต่ต้นปี 2558 ประกอบกับการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติและแบบจำลองเชิงพลวัต จะพบว่าเอลนิโญมีกำลังอ่อนถึงปานกลาง เนื่องจากอุณหภูมิผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตศูนย์สูตรส่วนใหญ่สูงกว่าค่าปกติและขยายพื้นที่ไปทางตะวันออกมากขึ้นกว่าช่วงที่ผ่านมา โดยคาดหมายว่าความผิดปกติของอุณหภูมิน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกและระบบบรรยากาศในเขตศูนย์สูตร มีแนวโน้มสูงกว่าค่าปกติอย่างต่อเนื่อง และจะคงเป็นปรากฏการณ์เอลนิโญตลอดปี 2558 จากปรากฏการณ์ดังกล่าว รวมถึงปัญหาโลกร้อนที่เกิดขึ้น จะส่งผลให้ประเทศไทยมีผลผลิตทางการเกษตรทิศทางที่ลดลง

พร้อมกันนี้ ในรายงานของ Cline (2007) ได้กล่าวถึงผลกระทบของภาวะโลกร้อนต่อผลิตภาพการผลิตในภาคการเกษตรในช่วง 60 ปีข้างหน้าว่าจะส่งผลให้ผลิตภาพของภาคเกษตรในประเทศต่างๆ ทั่วโลก เปลี่ยนแปลงไป โดยประเทศไทย ลาว อินเดีย ออสเตรเลียตะวันตกและเหนือ อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านผลิตภาพการผลิตที่ลดลงมากกว่า 25%

จากสถานการณ์ภัยแล้งที่ประเทศไทยกำลังประสบอยู่ในขณะนี้ กอปรกับข้อมูลรายงานของ Cline กับการผลิตภาคเกษตรในอนาคตที่คาดการณ์ว่า ประเทศไทยอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านผลิตภาพการผลิตที่ลดลงมากกว่า 25% ทำให้ต้องมีการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์การผลิตของภาคเกษตรต่อการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น เพื่อลดผลกระทบทั้งต่อตัวเกษตรกรและภาพรวมของภาคการเกษตรของประเทศ

จาก http://www.naewna.com วันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ส.จี้กรมทรัพยากรน้ำบาดาลขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลให้ครบ 500 แห่ง

พล.อ. ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวว่า กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ได้ดำเนินการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ประสบภัยแล้งเร่งด่วน ในพื้นที่ภาคกลางลุ่มน้ำเจ้าพระยาและภาคเหนือตอนล่าง 500แห่ง เนื่องจากกรมชลประทานไม่สามารถจัดส่งน้ำเข้าถึงพื้นที่เกษตรกรรมกว่า 850,000ไร่ ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ปลูกข้าว  ซึ่งในส่วนของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สามารถช่วยเหลือเกษตรกรในรูปแบบกระจายจัดสรรน้ำอย่างทั่วถึงและเท่าเทียม โดยยอมรับว่า ช่วยเหลือได้ไม่มากนัก เพราะน้ำบาดาลที่ขุดเจาะขึ้นมามีปริมาณน้ำค่อนข้างน้อย จึงไม่เพียงพอกับความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา ขณะนี้ดำเนินการขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลได้แล้วร้อยละ 50จึงได้กำชับให้กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เร่งรัดการขุดเจาะบ่อน้ำบาลให้แล้วเสร็จโดยด่วน เพราะกังวลการตกของฝนที่ไม่แน่นอนและมาช้าว่ากำหนด ทำให้เกรงว่าประชาชนจะประสบภัยแล้งหนักขึ้น

“การขุดเจาะบ่อบาดาลดึงน้ำใต้ดินมาใช้ประโยชน์ไม่ส่งผลกระทบให้เกิดดิน หรือถนนทรุดตัว เนื่องจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาลมีเจ้าหน้าที่และผู้ชำนาญงานขุดเจาะตามหลักวิชาการ และมีข้อมูลทางธรณีวิทยาที่ถูกต้อง จึงขอให้ประชาชนคลายความกังวลได้ ยกเว้นประชาชนที่ขุดเจาะบ่อบาดาลเอง อาจเกิดกรณีดินทรุดตัวได้”

จาก http://www.thanonline.com  วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

กกร.ระบุศก.ยังฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป

คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.)ซึ่งประกอบด้วยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย  กกร. ประชุมสรุปภาวะเศรษฐกิจไทยเดือนพฤษภาคม  พบว่าภาวะเศรษฐกิจยังคงฟื้นตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเครื่องยนต์ด้านการบริโภคยังพบสัญญาณการฟื้นตัวในหมวดสินค้าไม่คงทนและหมวดบริการ สอดคล้องกับภาคการท่องเที่ยวยังคงรักษาโมเมนตัมเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้ง การลงทุนภาครัฐเบิกจ่ายได้มากขึ้นและมีแนวโน้มเร่งขึ้น  โดยคาดว่าจะมีเงินสะพัดเข้าสู่ภูมิภาคมากขึ้นในไตรมาส 3 เป็นต้นไป

 อย่างไรก็ดี การลงทุนภาคเอกชนยังคงอ่อนแรงตามความเชื่อมั่นของทั้งผู้บริโภคและภาคอุตสาหกรรมที่ลดลงต่อเนื่อง  กอปรกับการส่งออกสินค้าหดตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ห้า แม้จะยังคงรักษาขยายตัวในเกณฑ์ดีในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลียได้ต่อเนื่อง ทำให้แนวโน้มการลงทุนภาคเอกชนยังคงเปราะบางในช่วงครึ่งปีหลัง

กกร. ได้แสดงความกังวลถึงสถานการณ์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ที่อาจได้รับผลกระทบจากวิกฤติหนี้สาธารณะในประเทศกรีซ รวมทั้งการชะลอลงของเศรษฐกิจจีน ที่อาจเป็นแรงกดดันเพิ่มขึ้นต่อการฟื้นตัวของภาคส่งออกในระยะถัดไป ซึ่งในเบื้องต้นประเมินว่าผลการตัดสินใจผ่านการทำประชามติของกรีซจะส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินและภาคส่งออกไทยเพียงแค่ในระยะสั้น ดังนี้

1.ค่าเงินบาท – ผลกระทบในช่วงสั้นจะเป็นการแข็งค่าของดอลลาร์สหรัฐเมื่อเทียบกับเงินตราของประเทศต่างๆ เนื่องจากถือเป็นค่าเงินที่มีความปลอดภัยสูง (safe haven) จากภาพเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวและความคาดหวังว่าธนาคารกลางสหรัฐอาจปรับขึ้นดอกเบี้ยได้ในปีนี้ ในส่วนขณะที่ค่าเงินยูโรเองในช่วงที่ผ่านมาถือว่ารับข่าวร้ายเรื่องกรีซไปแล้วส่วนหนึ่ง ดังนั้นค่าเงินบาทซึ่งถือว่าเป็นสกุลเงินที่ยังมีความเสี่ยงอยู่ อาจถูกแรงขายและทำให้อ่อนค่าลงได้ในระยะสั้นเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐหรือยูโร อย่างไรก็ตาม ผลกระทบน่าจะเกิดขึ้นเพียงระยะสั้นและไม่ทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าไปได้มากในระยะยาวจากเหตุการณ์ดังกล่าว

2.ตลาดหุ้นและพันธบัตรรัฐบาลไทย อาจประสบแรงขายอีกครั้งเพื่อปรับลดความเสี่ยงการลงทุนในตลาดเกิดใหม่จากสถานการณ์ความไม่แน่นอนของกรีซ ทำให้ราคาสินทรัพย์ปรับลดลงทั่วทั้งภูมิภาคในช่วงที่ยังไม่มีความชัดเจนในสถานการณ์วิกฤติกรีซ อย่างไรก็ตาม นักลงทุนต่างประเทศได้ลดการถือครองพันธบัตรรัฐบาลและหุ้นไทยไปแล้วจากช่วงต้นปีกว่า 7 หมื่นล้านและ 2 หมื่นล้าน ตามลำดับ ทำให้ความเสี่ยงที่จะเกิดจากเงินทุนไหลออกฉับพลันจากตลาดไทยนั้นคงมีแค่ในวงจำกัด

3. ด้านภาคการค้า  คาดว่าจะได้รับผลกระทบโดยตรงไม่มาก เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าและส่งออกของไทยกับกรีซในปี 2558 มีเพียง 45 และ 131 ล้านเหรียญสหรัฐตามลำดับ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนน้อยกว่าร้อยละ 0.1 ของมูลค่าการนำเข้าและส่งออกทั้งหมดของไทย  สินค้าส่งออกหลักไปกรีซ ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและรถยนต์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนเพียงเพียงร้อยละ 0.43 และ 0.06 ของการส่งออกสินค้าดังกล่าวของไทย จึงคาดว่าจะไม่มีผลกระทบต่อการส่งออกโดยตรง อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามความคืบหน้าในการเจรจาระหว่างกรีซและกลุ่มเจ้าหนี้อย่างต่อเนื่อง ว่าจะส่งผลในวงกว้างต่อการฟื้นตัวของคู่ค้าอื่นๆของไทยในกลุ่มยูโรโซน (สัดส่วนส่งออกร้อยละ 6) มากน้อยขนาดไหน

4. ด้านการท่องเที่ยว คาดว่าจะได้รับผลกระทบโดยตรงไม่มากเช่นกัน  โดยนักท่องเที่ยวจากกรีซที่มาไทยในปีที่ผ่านมามีเพียงร้อยลง 0.08 ของนักท่องเที่ยวทั้งหมดหรือราว 20,000 คนต่อปี เท่านั้น อีกทั้ง ไทยยังได้ห้นมาพึ่งพิงนักท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเซียมากขึ้น โดยเฉพาะจากจีนและอาเซียน จึงทำให้ความเสี่ยงในด้านการท่องเที่ยวอยู่ในระดับต่ำ

ทั้งนี้ กกร. คาดการณ์ว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะอยู่ที่ร้อยละ 3 ลดลงจากการคาดการณ์ในไตรมาสที่แล้วที่ร้อยละ 3.5 โดยปัจจัยหลักที่ส่งผลให้ปรับลดมุมมองเศรษฐกิจลงมาจากตัวเลขส่งออกที่ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาด ทำให้ส่งออกมีแนวโน้มหดตัวร้อยละ 2 ลดลงจากเดิมที่เคยคาดไว้ว่าจะขยายตัวไม่ถึงร้อยละ 1

พร้อมกันนี้  กกร.   สนับสนุนให้รัฐบาลเร่งพิจารณาร่างพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. ...เพื่อให้มีผลบังคับใช้โดยเร็วตามที่กระทรวงการคลังโดยกรมศุลกากรได้ดำเนินการพิจารณาปรับปรุงร่างพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. .... เพื่อแก้ไขในประเด็นต่างๆ ที่ล้าสมัย เป็นอุปสรรคต่อการประกอบธุรกิจ และขัดกับการปฏิบัติงานที่เป็นมาตรฐานสากล

กกร. มีความเห็นว่า ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้มีการปรับปรุงให้มีความทันสมัย และเป็นมาตรฐานสากลมากขึ้น และมีการแก้ไขในหลายประการที่สร้างความเป็นธรรมให้กับผู้นำเข้า-ส่งออก เช่น การแยกฐานการกระทำความผิดตามมาตรา 27 เดิม ออกเป็น 3 ฐาน  ได้แก่ การลักลอบหนีศุลกากร (ขนของเถื่อน)  การหลีกเลี่ยงอากร (แจ้งพิกัดศุลกากรผิด)  และการหลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อจำกัด (ผิดพลาดทางเทคนิค)  รวมทั้งปรับปรุงอัตราโทษให้สอดคล้องกับฐานความผิดนั้นๆ  ซึ่งสอดคล้องกับข้อเสนอจุดยืนของ กกร.

ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว เป็นธรรมต่อผู้ประกอบการมากขึ้น รวมทั้งยังขจัดอุปสรรคหลายประการที่มีความล้าสมัย และเพิ่มศักยภาพในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศด้าน Ease of Doing Business อันเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศโดยรวมในระยะยาว และส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าของอาเซียน 

ร่างพระราชกฤษฎีกาทบทวนความเหมาะสมของกฎหมาย  ครม.ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2558 กำหนดให้มีการทบทวนความเหมาะสมของกฎหมายทุก 5 ปี  หรือมีข้อเสนอแนะจากผู้ที่เกี่ยวข้อง

กกร.สนับสนุนร่างพระราชกฤษฎีกา และเห็นว่าควรมีผลบังคับใช้ให้เต็มที่เพื่อให้มีการทบทวนแก้ไขกฎหมายให้สอดรับกับสภาพเศรษฐกิจสังคมกกร. จะจัดสัมมนาเรื่องพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ทราบถึงหลักการโดยรวมของพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. ....ซึ่งคาดว่าจะประกาศใช้เป็นกฎหมายไม่นานต่อจากนี้   และ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในหลักเกณฑ์ วิธีการ และขั้นตอนของการดำเนินการตาม พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. ....ด้วยกฎหมายฉบับนี้ เป็นกฎหมายที่สร้างระบบหลักประกันขึ้นเพิ่มเติมจากหลักประกันประเภทการจำนองและการจำนำ โดยเป็นกฎหมายที่รองรับการนำทรัพย์สินอื่นๆ มาเป็นหลักประกัน ซึ่งเจ้าของทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันสามารถใช้สอยทรัพย์สินต่อไปได้ โดยไม่ต้องส่งมอบทรัพย์สินให้ไว้ต่อผู้รับหลักประกัน ทรัพย์สินอื่นๆ ที่ใช้เป็นหลักประกันตามกฎหมาย เช่น วัตถุดิบ สินค้าในคลังสินค้า สิทธิเรียกร้อง รวมไปถึงทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น โดยมีหลักเกณฑ์และวิธีการในการบังคับหลักประกันที่กำหนดขึ้นโดยเฉพาะ ซึ่งต่างจากการบังคับหลักประกันโดยทั่วไปและจะเป็นช่องทางใหม่ให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะ SMEs สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากขึ้น            

นอกจากนี้ กกร. หารือผลการสำรวจทัศนะจากหอการค้าจังหวัดและสภาอุตสาหกรรมจังหวัด เกี่ยวกับการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ประจำปี 2559และเห็นว่าไม่ควรกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำอัตราเดียวทั่วประเทศ  และควรให้ “คณะอนุกรรมการค่าจ้างจังหวัด”พิจารณากำหนดการเพิ่มอัตราค่าจ้างตามสภาพข้อเท็จจริงของเศรษฐกิจและสังคมและความจำเป็นของแต่ละจังหวัด โดยไม่ต่ำกว่าง 300 บาท/วัน         

กกร.ให้ความสำคัญเรื่องการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ  เพื่อนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) ครั้งที่ 2/2558 ในวันที่ 24 กรกฎาคม 2558 โดยเน้นใน 2 ประเด็น คือ (1) “Ease of Doing Business” โดยจัดลำดับความเร่งด่วนของ 5กระบวนงานหลัก ได้แก่ การจัดตั้งธุรกิจ การขออนุญาตก่อสร้าง การชำระภาษี กระบวนการนำเข้า-ส่งออก และ การทำ Visa & Work Permit//  และ (2) การพัฒนา

คลัสเตอร์ (ตาม value chain)โดยได้คัดเลือก 7 คลัสเตอร์ เพื่อดำเนินการในระยะแรก ได้แก่ ข้าว   อ้อย  กุ้ง  ยางพาราและไม้ยางพารา  ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์   เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิสก์  และ ภาคการเงิน โดยผลรวมของมูลค่าทั้ง7 คลัสเตอร์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 21.8 ต่อ GDPและมีอัตราการขยายตัวเฉลี่ย 5 ปีที่ร้อยละ 9.7 อย่างไรก็ตาม กกร.อยู่ระหว่างการพิจารณาหารือกับผู้ที่เกี่ยวข้องในรายคลัสเตอร์  เพื่อจัดแผนงานที่เป็น quick-win ในระยะ 1 ปี         

กกร.  นำคณะผู้แทนเข้าร่วมประชุมสุดยอดผู้นำภาคธุรกิจแห่งเอเชีย หรือ Asian Business Summit (ABS)  ครั้งที่ 6ในวันที่ 12-13 กรกฎาคม 2558 ที่กรุงโตเกียว  ซึ่งจะมีผู้นำภาคธุรกิจเข้าร่วมประชุมกว่า 100 คน จากประเทศแถบภูมิภาคเอเชีย จำนวน12 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น  จีน  อินเดีย  อินโดนีเซีย  เกาหลีใต้ มาเลเซีย  เมียนมา  ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์  จีนไทเป  ไทย และเวียดนาม ซึ่งมีประชากรรวมประมาณ 3,425.60 ล้านคน

โดยในการประชุม ABS ครั้งที่ 6 นี้ ภาคเอกชนจะให้ลำดับความเร่งด่วนเรื่องการร่วมกลุ่มทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค  โดยเฉพาะการเจรจา FTA ต่างๆ ซึ่งต้องการให้ลดภาษีนำเข้าของสินค้า และส่วนประกอบ  เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิตของสิ้นค้า และเพื่อสนับสนุนขีดความสามารถในการแข่งขันตลอดvalue chain  รวมทั้งผลักดันให้การการเปิดเสรีด้านการค้าบริการและการลงทุน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาด้านอุตสาหกรรมและการจ้างงาน   การปรับปรุงด้านสภาพแวดล้อมทางธุรกิจ เช่น ความโปร่งใสด้านกฎระเบียบภายในประเทศ และกระบวนงานต่างๆ จึงมีความสำคัญ ซึ่งสอดคล้อง  กับ  แนวทางการดำเนินงานของ กกร. ด้าน Ease of Doing Business และให้ความสำคัญเรื่องการพัฒนาทรัพยากรบุคคลและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน           

หลังการประชุม ABS ครั้งที่ 6 เสร็จสิ้นแล้ว  นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น (H.E. Mr. Shinzo Abe) จะให้เกียรติเข้ารับฟังรายงานผลการประชุม เพื่อรับข้อเสนอของภาคเอกชนเพื่อนำไปผลักดันในเวทีต่างๆ เช่น APEC, East Asia Summit เป็นต้น ซึ่งเป็นการตอกย้ำความสำคัญในบทบาทของภาคเอกชนต่อการพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคเอเชีย โดยรวม           

กกร. จะเข้าร่วมประชุมกรอบความร่วมมือแม่โขง-ญี่ปุ่น (Mekong-Japan Industryand Government Dialogue : MJ-CI) ครั้งที่ 8ซึ่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดขึ้นในวันที่ 23 กรกฎาคม 2558 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นการรับลูกจากการประชุมผู้นำลุ่มแม่น้ำโขง-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 7 ที่กรุงโตเกียว เมื่อเร็วๆนี้ โดยการนำวิสัยทัศน์การพัฒนาลุ่มแม่น้ำโขง ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2561 ตามที่ได้บรรจุอยู่ในยุทธศาสตร์โตเกียว ค.ศ. 2015  ไปสู่การปฏิบัติ  โดยเฉพาะเสาหลักด้านความเชื่อมโยงด้านโครงสร้างพื้นฐาน และ ด้านความเชื่อมโยงด้านกฎระเบียบและการพัฒนาทรัพยากรบุคคล  เพื่อส่งเสริมด้าน Ease of Doing Business ในภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง  ซึ่งจะผลักดันให้ประเทศไทยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการฝึกอบรม ร่วมกับญี่ปุ่น โดยเฉพาะทางด้านอาชีวะศึกษา และแรงงานฝีมือ เพื่อสนองตอบความต้องการแรงงานในลุ่มแม่น้ำโขง

กกร.  หารือข้อร้องเรียนจากจังหวัดชายทะเล 22 จังหวัด เรื่องผลกระทบตามประกาศกำหนดข้อปฏิบัติ 15 ข้อ และหารือ แนวทางการผ่อนคลายตามข้อปฏิบัติดังกล่าว เพื่อลดผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม  โดย กกร. จะนำเสนอเป็นเรื่องเร่งด่วน ต่อที่ประชุม กรอ. ในวันที่ 8 กรกฎาคม 2558

จาก http://www.thanonline.com  วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

คลังเร่งเบิกจ่ายงบน้ำ-จ้างงาน เรียกประชุมเข้ม 14 หน่วยงานรัฐ

นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้เรียกประชุมหน่วยราชการ 14 แห่ง ประกอบด้วยสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกรมประปาส่วนภูมิภาค เพื่อหารือถึงการเบิกจ่ายงบประมาณ โดยเน้นหน่วยงานที่มีงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับน้ำและการจ้างงาน

“ได้ให้แต่ละกรมรายงานถึงภาพรวมการเบิกจ่ายล่าสุด และความคืบหน้าของการดำเนินโครงการเป็นรายกรม ทั้ง 14 หน่วยงานมีวงเงินงบประมาณรวม 479,000 ล้านบาท สามารถเบิกจ่าย 352,000 ล้านบาท คิดเป็น 73% ถ้าดูเฉพาะงบลงทุนรวม 199,000 ล้านบาท สามารถเบิกจ่ายไป 126,000 ล้านบาท คิดเป็น 63.25% และมีงบประจำอยู่ที่ 279,000 ล้านบาท เบิกจ่ายไปได้ 225,000 ล้านบาท คิดเป็น 80% คาดว่าจนถึงสิ้นปีงบประมาณจะสามารถเบิกจ่ายงบภาพรวมได้กว่า 90% และเบิกจ่ายงบลงทุนได้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ 86%”.

จาก http://www.thairath.co.th   วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

ตั้งโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์

โรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ สหกรณณ์เกษตร กำลังการผลิต อุตสาหกรรม โซลาร์ฟาร์ม ลงทุน ไทยโก้ นายพลศักดิ์ เลิศพุฒิภิญโญ กรรมการผู้จัดการบริษัท ไทย แอพพลายแอนซ์อินดัสตรี้ (ไทยโก้) ว่า บริษัทฯ ได้ลงนามร่วมมือกับบริษัทแปซิฟิค สตาร์ (ไชน่า โฮลดิ้ง) รวมถึงเอเชียติค กรุ๊ป (โฮลดิ้ง) จัดตั้งบริษัท ไทยโก้ เอนเนอร์จี เพื่อดำเนินโครงการลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ โดย ไทยโก้ จะถือหุ้นในสัดส่วน 60%

ซึ่งจะให้หน่วยราชการ และสหกรณ์ภาคการเกษตรร่วมถือหุ้นด้วย และบริษัทร่วมทุนจากจีนจะถือหุ้นในสัดส่วน 40% มีเป้าหมายสร้างโรงผลิตไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์ 10 แห่ง มีขนาดกำลังผลิตติดตั้งไม่เกิน 5 เมกะวัตต์ ต้องใช้เงินลงทุนแห่งละ 300 ล้านบา ท รวมเป็นกำลังการผลิตไฟฟ้าฯทั้งโครงการขนาด 50 เมกกะวัตต์ใช้เงินลงทุนตลอดโครงการ 3,000 ล้านบาท“บริษัทไทยโก้ เกิดจากการรวมตัวของสมาชิกในกลุ่มอุตสาหกรรมไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ และโทรคมนาคมของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) คาดว่า ใช้เงินลงทุนตลอดโครงการ 3,000 ล้านบาท ซึ่งใช้เวลาในการก่อสร้างแต่ละแห่ง 3-4 เดือนคาดว่า จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ได้ทั้งหมดภายใน8-10เดือน

หลังที่ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ซึ่งโรงไฟฟ้าในแต่ละแห่ง จะแบ่งรายได้จากกำไรสุทธิให้สหกรณ์การเกษตร ที่เข้าไปร่วมลงทุนในสัดส่วน 8-10% ตลอดอายุโครงการ 25 ปี และคาดว่าจะคืนทุนได้ภายใน 7 ปี

ซึ่งจะช่วยพัฒนาธุรกิจด้านพลังงานทดแทนให้เติบโต และเป็นการสร้างงา นและรายได้ให้แก่ชุมชน และท้องถิ่น ในระยะยาว สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล”ทั้งนี้ บริษัทฯมีความพร้อมในเรื่องของที่ดินในการก่อสร้าง และเป็นพื้นที่ที่มีสายส่งไฟฟ้าเข้าถึง สามารถผลิตไฟฟ้าส่งขายให้กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิต (กฟผ.) ได้ทันที มีความพร้อมด้านการเงิน และเทคโนโลยีจากผู้ร่วมทุนชาวจีน ซึ่งหากได้รับการอนุมัติ และได้รับใบอนุญาตต่าง ๆ แล้วก็ลงทุนก่อสร้างได้ทันที หากโครงการเดินหน้าได้ตามเป้าหมาย ก็จะขอขยายโครงการสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มภายใน 1 ปี

จาก http://www.dailynews.co.th   วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

เขื่อนเจ้าพระยาชี้ วิกฤตน้ำลดต่ำสุดในรอบ 40 ปี ชลประทานวอนร่วมมือประหยัดน้ำ

นายเอกสิทธิ์ ศักดีธนาภรณ์ ผอ.เขื่อนเจ้าพระยา เปิดเผยว่า เขื่อนภูมิพลและเขื่อนสิริกิติ์ซึ่งอยู่ตอนบนของเขื่อนเจ้าพระยา ได้ปรับอัตราการปล่อยน้ำลงจากเดิมรวม 28 ล้าน ลบ.เมตร/วัน ลงเหลือรวม 25 ล้าน ลบ.เมตร/วัน เพื่อสงวนปริมาณน้ำต้นทุนไว้เพื่อการอุปโภคบริโภค ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ที่จุดวัดน้ำ C13 เหนือเขื่อนเจ้าพระยา ต.บางหลวง อ.สรรพยา จ.ชัยนาท ในรอบ 24 ชั่วโมง ระดับน้ำลดลงอีก 7 ซ.ม.ไปอยู่ที่ 13.27 เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง (ม.รทก.) ต่ำกว่าจุดวิกฤต 14.00 ม.รทก. อยู่ถึง 73 ซ.ม. ซึ่งถือว่าต่ำที่สุดในรอบ 40 ปี ขณะที่เขื่อนเจ้าพระยายังคงอัตราการปล่อยน้ำอยู่ที่ 70 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที (ลบ.ม./วิ) เพื่อรักษาระบบนิเวศน์และผลักดันน้ำทะเลบริเวณปากอ่าวไทย ส่วนการจัดสรรน้ำเพื่อการเพาะปลูกล่าสุดใน ทุ่งฝั่งตะวันออกจัดสรรน้ำผ่านคลองชัยนาท-ป่าสัก โดยโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษา (คบ.) มโนรมย์ ในอัตรา 15 ลบ.ม./วิ และทุ่งฝั่งตะวันตก ผ่านคลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง อัตรา 4 ลบ.ม./วิ ทั้งนี้ในฝั่งตะวันตกมีเป้าหมายจะต้องส่งน้ำในอัตรา 12 ลบ.ม./วิแต่ยังติดปัญหาเครื่องสูบน้ำด้วยไฟฟ้าอีก3 เครื่องยังชำรุดอยู่ระหว่างการซ่อมบำรุง

จากปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด แม้ว่าในระยะนี้จะยังไม่กระทบกับน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค แต่กรมชลประทานได้ให้ความสำคัญกับเรื่องน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคมาอันดับแรก เพราะหากสถานการณ์ภัยแล้งยังยืดเยื้อออกไป ในอนาคตอาจจะส่งผลถึงคุณภาพน้ำดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำประปาได้ จึงจำเป็นต้องมีการปรับลดการจัดสรรน้ำเพื่อการเพาะปลูกในอัตราที่จำกัด และต้องขอความร่วมมือจากพี่น้องเกษตรกรและประชาชนที่อยู่เหนือเขื่อนเจ้าพระยา พื้นที่ จ.ชัยนาท อุทัยธานี นครสวรรค์ และ จ.กำแพงเพชร ขอให้ช่วยกันประหยัดน้ำ สูบน้ำเฉพาะเท่าที่จำเป็น เพื่อให้เหลือน้ำต้นทุนไว้ใช้ จนกว่าจะมีฝนตกลงมาเติมน้ำต้นทุนเหนือเขื่อน ซึ่งคาดว่าช่วงปลายเดือนกรกฎาคมนี้ จะเริ่มมีปริมาณน้ำฝนมากขึ้น

ด้านนายเจียร โพธิ์โต อายุ 51 ปี ชาวนาในพื้นที่ ม.2 ต.บ้านเชี่ยน เปิดเผยตนทำนาไปแล้ว 15 ไร่ ตอนนี้ข้าวอายุ 2 เดือน ซึ่งเป็นช่วงที่ต้นข้าวต้องการน้ำ เพราะข้าวกำลังจะตั้งท้อง แต่น้ำในคลองชัยนาท-ป่าสักซึ่งเป็นแหล่งน้ำเดียวที่มีอยู่กำลังแห้งเหือด ชาวนาที่ลงทุนทำนาไปแล้วทุกคนต่างก็เครียด โดยที่ผ่านมาตนเองลงทุนทำนาไปแล้ว 70,000 บาทเศษ หากภายใน 10 วันนี้ไม่มีน้ำเข้ามาเลี้ยงต้นข้าว นาทั้ง 15 ไร่คงจะเสียหายขาดทุนทั้งหมด จึงวอนขอให้ทางราชการหามาตรการช่วยเหลือเร่งด่วนด้วย เพราะในแถบ อ.หันคามีบ่อน้ำดาบาลน้อยมาก ที่มีอยู่ก็เป็นบาดาลน้ำตื้น ที่เริ่มแห้งสูบไม่ขึ้นแล้ว แต่ถ้าหากข้าวในนาได้รับความเสียหาย ก้อยากให้รัฐบาลช่วยเหลือเยียวยาไร่ละ 3,000 บาท เพื่อให้ชาวนาได้มีเงินเลี้ยงชีพต่อชีวิตครอบครัวและมีทุนลงมือเพาะปลูกในฤดูต่อไปได้

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

ก.เกษตรฯเดินหน้าแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา รุกมาตรการจัดการน้ำควบคู่ปฏิบัติการฝนหลวง

กระทรวงเกษตรฯเดินหน้าแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา รุกมาตรการบริหารจัดการน้ำควบคู่ปฏิบัติการฝนหลวง พร้อมเร่งรัดช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่เสี่ยง

นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะ  อนุกรรมการวางแผน และติดตามการป้องกันแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร ว่า ตามที่กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมชลประทาน ได้ประกาศเรื่องขอให้เกษตรกรชะลอการเพาะปลูกข้าวนาปีในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาและผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วนอย่างประหยัด เนื่องจากปัญหาการขาดแคลนปริมาณน้ำเพื่อการเพาะปลูกข้าวในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด โดยขอความร่วมมือให้เกษตรกรในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาที่ยังไม่ได้เพาะปลูกข้าวนาปีชะลอการเพาะปลูกออกไปก่อนจนกว่าจะเริ่มมีฝนตกชุก หรือมีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูกประมาณปลายเดือนกรกฎาคม 2558 นั้น ที่ประชุมได้พิจารณามาตรการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยกระทรวงเกษตรฯ ได้มอบหมายกรมชลประทาน กรมฝนหลวงและการบินเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร จัดเตรียมมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรผู้ประสบปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด

โดยมาตรการแก้ไขปัญหาเรื่องการบริหารจัดการน้ำ โดยกรมชลประทาน ได้จัดทำแผนที่แสดงที่ตั้งแหล่งน้ำในพื้นที่ชลประทานและนอกเขตชลประทาน เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการแก้ไขภัยแล้งได้อย่างเหมาะสมและเป็นรูปธรรม พร้อมทั้งวางแผนจัดสรรน้ำรายวันของลุ่มน้ำเจ้าพระยาในปัจจุบัน ได้แก่ เขื่อนภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยบำรุงแดน และป่าสักชลสิทธิ์ รวมกันปริมาณวันละ 28 ล้านลูกบาศก์เมตร แบ่งเป็น 3 ด้าน คือ 1. การอุปโภค-บริโภคปริมาณ  8 ล้าน ลบ.ม. 2.รักษาระบบนิเวศน์ปริมาณ 5 ล้าน ลบ.ม. และ 3.ด้านการเกษตรปริมาณ 15 ล้าน ลบ.ม. แบ่งเป็น พื้นที่ลูกข้าวนาปี 3.44 ล้านไร่ และพืชไร่ พืชผัก 0.03 ล้านไร่  อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะมีพื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดความเสียหายประมาณ 0.85 ล้านไร่  จึงได้เร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาในพื้นที่เสี่ยง ได้แก่ 1.บริหารจัดการน้ำที่จัดสรรอย่างเข้มงวด โดยได้รับความร่วมมือจากฝ่ายปกครอง และฝ่ายความมั่นคง มีการกำหนดแผนการจัดสรรน้ำรายสำนักชลประทาน จัดทำแผนการดูแลรอบเวรการส่งน้ำ โดยฝ่ายปกครอง ฝ่ายความมั่นคง และเกษตรและสหกรณ์จังหวัดจะลงพื้นที่ชี้แจง และบริหารจัดการน้ำร่วมกับเกษตรกร 2.พิจารณาเสริมแหล่งน้ำด้วยการขุดเจาะบ่อบาดาล ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมทรัพยากรน้ำบาดาล กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ที่เป็นที่ดอน และ 3.พิจารณาเสริมแหล่งน้ำด้วยการก่อสร้างบ่อตอก เนื่องจากความต้องการแหล่งน้ำบาดาลของเกษตรกรมีจำนวนมากกว่าแผนการขุดเจาะบ่อบาดาลของกรมทรัพยากรน้ำบาดาลมาก ซึ่งความต้องการที่เกินมานี้ กระทรวงเกษตรฯ จะเร่งหาแนวทางในการสนับสนุนต่อไป

ส่วนผลปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ระหว่างวันที่ 1 – 30 มิถุนายน 2558  กรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้ปฏิบัติการฝนหลวงจำนวน 30 วัน มีฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวง คิดเป็นร้อยละ 88.7  ซึ่งจังหวัดที่มีรายงานฝนตกรวมทั้งสิ้น 59 จังหวัด มีพื้นที่รับประโยชน์จากการปฏิบัติการ 165.19 ล้านไร่ โดยกำหนดเป้าหมายการปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่ป่าไม้และการเกษตรบริเวณภาคเหนือตอนล่าง และพื้นที่ภาคกลาง  ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด เพื่อเพิ่มและรักษาความชุ่มชื่นให้บริเวณป่าไม้และพื้นที่เกษตรกรรม  และพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อน/อ่างเก็บน้ำเพื่อเพิ่มเติมน้ำต้นทุนให้กับเขื่อน/อ่างเก็บน้ำให้มีปริมาณมากยิ่งขึ้น ตลอดทั้งมุ่งเน้นเพิ่มปริมาณน้ำให้เขื่อน/อ่างเก็บน้ำที่อยู่ในระดับวิกฤติ ทั้งนี้ กรมฝนหลวงฯ จะยังคงเน้นปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำฝนให้พื้นที่เกษตรกรรมในช่วงเริ่มฤดูเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจประจำปี และเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักให้กับเขื่อนต่างๆ ทั่วประเทศ

สำหรับมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรที่ต้องเลื่อนการปลูกข้าวนาปี ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการของกรมส่งเสริมการเกษตร ประกอบด้วย 1.การจ้างแรงงานและสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร โดยการขุดลอกคูคลองส่งน้ำ และปรับปรุงอาคารชลประทาน เพื่อสร้างรายได้ให้เกษตรกรทั้งในช่วงที่เลื่อนการปลูกข้าวนาปี และภายหลังสิ้นสุดฤดูฝนโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้สั่งการให้กรมชลประทานดำเนินการขุดลอกและทำความสะอาดคลองส่งน้ำทั่วประเทศ เพื่อให้เกิดการจ้างงาน 2.กิจกรรมด้านการเกษตรเพื่อสร้างรายได้ทดแทนระหว่างชะลอการเพาะปลูกข้าวนาปี โดยการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกของเกษตรกรทดแทนการปลูกข้าวนาปี อีกทั้งส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย การทำไร่นาสวนผสม ให้เป็นไปตามความต้องการของเกษตรกร และสนับสนุนการสร้างแหล่งน้ำในไร่นาของเกษตร

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ราคาน้ำตาลโลกต่ำเพิ่มหนี้กองทุนอ้อยฯ 

          อุตฯ ห่วงราคาน้ำตาลทรายโลกตกต่ำ กดราคาอ้อยขั้นปลายถูกกว่าขั้นต้น เพิ่มหนี้กองทุนอ้อยอีก 1.3 หมื่นล้านบาท ชง 3 แนวทางแก้ปัญหาหนี้ระยะยาว พร้อมตั้งทีมแก้ข้อกล่าวหาอุดหนุนดราคาน้ำตาลต่อดับเบิลยูทีโอ

          แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากสถานการณ์ราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกที่ตกต่ำจนส่งผลกระทบต่อการส่งออกน้ำตาลของไทย ทำให้ขณะนี้ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 13 เซนต์ต่อปอนด์จากราคาประเมินขั้นต้นที่ 15 เซนต์ต่อปอนด์จากราคาประเมินขั้นต้นที่ 15 เซนต์ต่อปอนด์ ทำให้รายได้จากากรส่งออกน้ำตาลของไทยลดลง เมื่อคำนวณในอุตสาหกรรมทั้งระบบ ราคาน้ำตาลขั้นปลายจะต่ำกว่าขั้นต้น คิดเป็นวงเงินติดลบกว่า 1.3 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นเงินที่กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย (กท.) จะต้องจ่ายเพิ่มให้ชาวไร่ผ่านโรงงานน้ำตาลทรายที่สำรองจ่ายให้แก่ชาวไร่อ้อยไปก่อน เพื่อให้ทันการผลิตฤดูการผลิต 2558/2559 โดยยอมรับว่าขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่าจะใช้วิธีใดในการจัการดังกล่าว

          อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นได้มีข้อเสนอหลายแนวทาง เช่น การให้ กท. กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพิ่มเติมจากปัจจุบันที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้ กท. กู้จาก ธ.ก.ส. เพื่อเพิ่มค่าอ้อย ในอัตรา 160 บาทต่อตันอ้อย คิดเป็นวงเงินกว่า 1.6 หมื่นล้านบาทเนื่องจากราคาต้นทุนสูงกว่าราคาขั้นต้นที่ชาวไร่อ้อยได้รับ และจะคืนหนี้ด้วยการหักเงินราคาน้ำตาล 5บาทต่อกิโลกรัม แต่แนวทางนี้จะทำให้เกิดหนี้สะสมและเป็นภาระแก่กท.ในระยะยาว อีกแนวทางที่มองว่าเป็นไปได้ยาก คือเสนอให้รัฐจัดสรรงบประมาณสนับสนุน เนื่องจากปัจจุบันไทยกำลังถูกบราซิลจับตาและเตรียมข้อมูลฟ้องร้องต่อองค์กรการการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ในข้อกล่าวหาที่ว่าไทยอุดหนุนอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายจนกระทบตลาดส่งออกล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายอยู่ระหว่างเตรียมข้อมูลเพื่อแก่ข้อกล่าวหาดังกล่าว

          ส่วนอีกแนวทางที่มองว่าสามารถทำได้ คือ ให้ กท.หักเงินค่าอ้อยขั้นสุดท้ายในฤดูการผลิตหน้า เช่น กู้ ธ.ก.ส.วงเงิน 5 พันล้านบาท ก็ให้ กท.หักเงินค่าอ้อยขั้นปลายปีละ 1 พันล้านบาทใช้หนี้ แต่วิธีนี้ค่าอ้อยขั้นปลายต้องสูงกว่าขั้นต้น ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถหักเงินส่วนนี้ได้

          "แนวโน้มราคาอ้อยขั้นปลายปีนี้ต่ำกว่าราคาขั้นต้น เนื่องจากราคาตลาดโลกตกต่ำ และในตลาดโลกมีสต็อกน้ำตาลเหลือจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ดังนั้นต้องลุ้นให้ฤดูการผลิตถัดไปราคาน้ำตาลปรับตัวสูงขึ้น เพื่อให้ราคาขั้นปลายสูงกว่าขั้นต้น และสามารถนำมาจ่ายหนี้ที่กำลังจะเกิดขึ้นได้" รายงานข่าวระบุ

จาก http://www.komchadluek.net วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

เดินหน้าสกัดดินเค็มภาคอีสาน พด.เปิดเวทีวิชาการแลกเปลี่ยนงานวิจัย

นายอภิชาต จงสกุล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีพื้นที่การเกษตรสูงสุดในประเทศ โดยมีเนื้อที่เพาะปลูกของภาคถึง 60 ล้านไร่ แต่เป็นภูมิภาคที่มีอัตราการขยายตัวของผลผลิตด้านการเกษตรต่ำสุด เพราะมีปัญหาคุณภาพดินไม่ดี โครงสร้างของดินเสีย เนื้อดินแน่นทึบ และเป็นพื้นที่ปัญหาดินเค็มกว่า 17.8 ล้านไร่ หรือร้อยละ 29 ของพื้นที่เพาะปลูก ซึ่งความเค็มของดินและน้ำ เป็นอันตรายต่อพืชที่ปลูกโดยทำให้ตายหรือทำให้เจริญเติบโตช้าผลผลิตที่ได้ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน เป็นอันตรายต่อสัตว์และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ในระบบนิเวศ ทำให้ส่งผลกระทบต่อผลผลิตและรายได้ของเกษตรกร ประกอบกับในปัจจุบันโลกกำลังเผชิญปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวมีผลต่อการแพร่กระจายดินเค็มเป็นอย่างยิ่ง

ด้าน นายภิญโญ สุวรรณชนะ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 กล่าวเพิ่มเติมว่า จากสาเหตุดังกล่าว สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5 กรมพัฒนาที่ดิน จึงได้จัด “การประชุมวิชาการดินเค็ม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ครั้งที่ ระหว่างวันที่ 20-21 กรกฎาคม 2558 ณ โรงแรมพูลแมนขอนแก่น ราชาออร์คิด จังหวัดขอนแก่น โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นเวทีแสดงผลงานวิจัยของนักวิชาการจากหน่วยงานต่างๆ ให้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ด้านการวิจัยและการพัฒนาพื้นที่ดินเค็ม ร่วมกันเสวนาทิศทางการวิจัยการพัฒนาพื้นที่ดินเค็มในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์พื้นที่ดินเค็มอย่างมีประสิทธิภาพและทำการเพาะปลูกพืชเพิ่มผลผลิตได้ในอนาคตอย่างยั่งยืน และเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างนักวิชาการจากหน่วยงานต่างๆ ในการขยายผลการปฏิบัติจากงานวิจัยสู่การการพัฒนาพื้นที่ดินเค็มแบบบูรณาการอย่างมีส่วนร่วม เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป

ทั้งนี้ นักวิชาการ นิสิต นักศึกษา ผู้ที่สนใจและประชาชนทั่วไป สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ อาคารที่ทำการผู้เชี่ยวชาญด้านวางระบบการพัฒนาที่ดิน สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 5อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40000 โทรศัพท์ 0-4324-1458 และทางเว็บไซต์http://www.expert-r05-ldd.com

จาก http://www.naewna.com  วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

พัฒนาที่ดินลุ่มน้ำแม่งอน สร้างความยั่งยืนเกษตรกร

พัฒนาที่ดินลุ่มน้ำแม่งอน สร้างความยั่งยืนเกษตรกร ประเทศไทยมีพื้นที่ทำการเกษตรประมาณ 130 ล้านไร่ ดินคือปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญของการเกษตร และในแต่ละพื้นที่ดินจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างกัน เช่น ดินเปรี้ยว ดินกรด ดินเค็ม ดินอินทรีย์ ดินทราย ดินตื้นดินลูกรัง และดินบนพื้นที่สูง

กรมพัฒนาที่ดินจึงมีนโยบายให้ดำเนินการจัดทำเขตพัฒนา ที่ดินในกรอบของพื้นที่ลุ่มน้ำตั้งแต่ปี 2550 ที่ผ่านมาซึ่งปัจจุบันได้วางเขตพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำในพื้นที่ 77 จังหวัด ทั้งหมด 526 แห่ง

นายอภิชาต จงสกุล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดินกล่าวว่า กรมพัฒนาที่ดินได้คัดเลือกพื้นที่ลุ่มน้ำห้วยแม่งอน เป็นพื้นที่ดำเนินการจัดทำเขตพัฒนาที่ดิน มีพื้นที่ทั้งหมด 68,534 ไร่ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มคือ 1. พื้นที่เกษตรกรรม 38,816 ไร่ หรือ ร้อยละ 56.63 พื้นที่เกษตรกรรมส่วนใหญ่ที่เกษตรกรเลือกปลูกพืช เช่น นาข้าว ข้าวโพด ยางพารา ไร่ส้ม พืชผัก ข้าวโพด 2. พื้นที่ป่า มีเนื้อที่ 24,918 ไร่ หรือ ร้อยละ 36.36 แบ่งเป็น ป่าผลัดใบรอสภาพฟื้นฟู และป่าผลัดใบสมบูรณ์ และ3. พื้นที่อื่น ๆ มีเนื้อที่ 4,800 ไร่ หรือ ร้อยละ 7.01

จากการสำรวจพื้นที่ทั้งหมด พบว่า ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงซึ่งมีผลต่อการเกิดการชะล้างพังทลายของหน้าดินในระดับรุนแรงถึงรุนแรงมาก ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ เกษตรกรส่วนใหญ่ใช้ปุ๋ยเคมีหรือสารเคมีเพื่อการบำรุงดิน และในบางพื้นที่การระบายน้ำไม่ดีจึงทำให้เกิดการท่วมขังทำลายผลผลิตทางการเกษตร

นอกจากนี้ ฤดูการเพาะปลูกพืชส่วนใหญ่ยังอาศัยน้ำฝน ซึ่งจะเริ่มตั้งแต่กลางเดือนเมษายนไปจนถึงประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน จากช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนไปจนถึงกลางเดือนเมษายนจะเป็นช่วงการขาดน้ำของพืช หากทำการเพาะปลูกในช่วงเวลาดังกล่าว จะต้องมีระบบการชลประทานหรือแหล่งน้ำเข้ามาช่วยสนับสนุนในการดำเนินกิจกรรมเท่านั้นจึงจะให้ผลตอบแทนคุ้มค่า

กรมพัฒนาที่ดินได้กำหนดเขตการใช้ที่ดินออกเป็น 4 เขตหลัก คือ 1. เขตป่าไม้ มีเนื้อที่ 39,613 ไร่ หรือร้อยละ 57.81 แบ่งออกเป็น 2 เขตย่อย คือ เขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ มีเนื้อที่ 37,400 ไร่ หรือร้อยละ 54.58 เขต และเขตพื้นที่ป่าเศรษฐกิจ มีเนื้อที่ 2,213 ไร่ หรือร้อยละ 3.23 / 2.เขตเกษตรกรรม มีเนื้อที่ 24,121 ไร่ หรือร้อยละ 35.18/3. เขตปศุสัตว์ มีเนื้อที่ 8 ไร่ หรือร้อยละ 0.01/4. เขตเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ มีเนื้อที่ 64 ไร่ หรือร้อยละ 0.09

โดยในแต่ละเขตได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปดำเนินการสำรวจความเหมาะสมของดิน วิเคราะห์ วางแผนการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบซึ่งผลของการดำเนินการพัฒนาที่ดินลุ่มน้ำแม่งอน พบว่าปัญหาการชะล้างพังทลายของดินลดลงและไม่เกิดดินถล่มซ้ำอีก คุณภาพน้ำในลำห้วยต่าง ๆ ดีขึ้น ดินที่เสื่อมโทรมและความอุดมสมบูรณ์ต่ำได้รับการปรับปรุงฟื้นฟูทำให้ดินมีอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น ปัญหาดินกรดได้รับการแก้ไขทำให้ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) สูงขึ้น หมอดินอาสามีความรู้เพิ่มขึ้น สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี

ด้านการพัฒนาที่ดินให้แก่เกษตรกรอย่างมีประสิทธิภาพเกษตรกรสามารถเข้าถึงการบริการเพิ่มขึ้นจากศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาที่ดิน มีแหล่งที่เก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฝนทิ้งช่วงหรือฤดูแล้งเพิ่มขึ้น ทำให้เกษตรกรมีการใช้ประโยชน์ที่ดินตามศักยภาพของดินเพิ่มขึ้น

ชุมชนในพื้นที่เห็นประโยชน์จากระบบอนุรักษ์ดินและน้ำและสามารถใช้ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ลิ้นจี่ ส้ม กาแฟ ทำให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

อย่างไรก็ตามยังคงมีพื้นที่ยังไม่ได้ดำเนินการอีก 5,612 ไร่ ซึ่งได้จัดเตรียมแผนแม่บทรองรับไว้แล้วในปีงบ ประมาณ 2558-2662 ต่อไป

ผลของการจัดทำโครงการเขตพัฒนา ที่ดิน ลุ่มน้ำห้วยแม่งอนสามารถทำให้ผลผลิตของเกษตรกรเพิ่มจากเดิม เกษตรกรมีความสุขและใช้ชีวิตตามแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง จึงเป็นอีกหนึ่งพื้นที่ต้นแบบในการอนุรักษ์ปรับปรุงดินที่สามารถถ่ายทอดความรู้ไปสู่ชุมชน หรือ ตามพื้นแนวลุ่มแม่น้ำต่าง ๆ ได้อย่างยั่งยืน.

จาก http://www.dailynews.co.th   วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

ภัยแล้งรุกหนัก! ไร่อ้อยเริ่มเหี่ยวเฉา ยืนต้นตายนับหมื่นไร่

นครสรรค์แล้งหนัก ชาวไร่พากันเดือดร้อน อ้อยที่ปลูกไว้หยุดการเจริญเติบโต เริ่มทยอยยืนต้นตายนับหมื่นไร่ ขณะที่เกษตรกรบางส่วนไถอ้อยทิ้ง กลัวไม่คุ้มเงินทุน หันไปปลูกข้าวโพดและข้าวฟ่างแทน

เมื่อช่วงเช้าวันที่ 7 ก.ค.58 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ชาวไร่อ้อยหลายพื้นที่ของจังหวัดนครสวรรค์ต้องเดือดร้อนอย่างหนัก หลังต้นอ้อยที่ปลูกไว้นับหมื่นไร่ต้องยืนต้นตายเนื่องจากขาดน้ำ

นายทองหล่อ ธูปบูชา ชาวบ้านหมู่ที่ 2 ต.เขาทอง อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ เผยว่า ในขณะนี้สถานการณ์ภัยแล้งยังคงคุกคามในพื้นที่อย่างหนัก ฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน ประกอบกับไม่มีแหล่งน้ำในพื้นที่ ทำให้ต้นอ้อยที่ปลูกไว้จำนวนมากเริ่มทยอยยืนต้นแห้งตาย

ส่วนที่เหลือลำต้นโตไม่ได้ขนาด แคระแกร็น จากที่เคยสูงกว่า 2 เมตร ในขณะนี้มีความสูงเพียง 30 เซนติเมตร ถึง 1 เมตรเท่านั้น ซึ่งจะทำให้ขาดน้ำหนักขายไม่ได้ราคา และขาดทุนในที่สุด ในขณะที่มีเกษตรกรบางส่วนในพื้นที่เริ่มไถไร่อ้อยทิ้ง และหันไปปลูกข้าวโพดและข้าวฟ่างแทน เนื่องจากเห็นว่าหากปล่อยไว้ก็คงไม่คุ้มกับเงินที่ลงทุนไปอย่างแน่นอน

จาก http://www.thairath.co.th    วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

ธ.ก.ส.เตรียม6หมื่นล้าน ปล่อยกู้เกษตรกรได้รับผลกระทบภัยแล้ง

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 6 กรกฎาคม ที่กระทรวงการคลัง นายสมหมาย นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เรียกประชุมหน่วยราชการ 14 แห่ง ประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน กรมทรัพยากรน้ำ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท กรมการปกครอง กรมการพัฒนาชุมชน กรมโยธิการและผังเมือง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และการประปาส่วนภูมิภาค เพื่อหารือถึงการเบิกจ่ายงบประมาณ โดยเน้นหน่วยงานที่มีงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับน้ำและการจ้างงาน

นายสมหมาย กล่าวภายหลังการประชุมว่า ในอีก 2 สัปดาห์จะประชุมเร่งรัดงบลงทุนในส่วนของรัฐวิสาหกิจเช่นเดียวกับหน่วยงานราชการ นอกจากนี้จะหารือกับแบงก์รัฐ ทั้งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และธนาคารออมสิน เพื่อให้ช่วยเหลือผู้ประกอบการระดับรากหญ้าที่ได้รับผลกระทบ เพราะในช่วงนี้ธนาคารพาณิชย์ คงไม่อยากปล่อยสินเชื่อให้กับรายย่อย แม้ว่าจะมีสภาพคล่องเหลือ แต่แบงก์รัฐต้องทำหน้าที่ดูแลรายย่อย

ทั้งนี้ ในส่วนของธ.ก.ส.นั้น ได้เตรียมสินเชื่อพิเศษไว้วงเงินรวม 6 หมื่นล้านบาท เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ให้มีเงินทุนใช้จ่ายในการเพาะปลูกเมื่อมีน้ำฝนมา โดยจะเสนอขออนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด)ในวันที่ 13 กรกฎาคมนี้

ซึ่งจะแยกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกวงเงิน 3 หมื่นล้านบาท  ผ่อนชำระภายใน 1 ปี หรือเมื่อได้ผลผลิตออกมาก็ชำระหนี้ได้เลย อัตราดอกเบี้ย 0% ในช่วง 3เดือนแรก อีก 9 เดือนที่เหลือคิดดอกเบี้ย 7% หรือเฉลี่ยแล้ว 1 ปีดอกเบี้ย 4% ส่วนที่ 2 วงเงิน 3 หมื่นล้านบาท ให้กู้เป็นเวลา 3 ปี สำหรับเกษตรกรที่เพาะปลูกพืชที่ไม่ได้ให้ผลผลิตภายใน 1 ปี อัตราดอกเบี้ย 7% ต่อปี

“นอกจากเร่งรัดงบประมาณเบิกจ่าย เพื่อให้มีการจ้างงาน มีเม็ดเงินลงสู่ระดับรากหญ้า รวมถึงการให้แบงก์รัฐปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแล้ว รัฐบาลยังจะมีมาตรการช่วยเหลืออื่นๆตามมาอีกแน่นอน แต่อยู่ระหว่างการคิดกันอยู่ว่าจะใช้มาตรการใดเพื่อให้มีความเหมาะสมมากที่สุด” นายสมหมาย กล่าว

จาก http://www.matichon.co.th     วันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

รัฐควัก1.3หมื่นล.จ่ายค่าอ้อยราคาน้ำตาลโลกร่วงตํ่ากว่าประเมินขั้นต้น80บาทต่อตัน

    กองทุนอ้อยและน้ำตาลบักโกรก วิ่งหาเงินชดเชยราคาอ้อยขั้นสุดท้าย 1.3 หมื่นล้านบาท ให้กับโรงงานน้ำตาล หลังราคาน้ำตาลโลกร่วง ยันมีเงินใช้หมุนเวียนแค่ 4-5 พันล้านบาท หวังพึ่ง ธ.ก.ส.อีกรอบ จากล่าสุดกู้ช่วยเหลือต้นทุนชาวไร่ 1.69 หมื่นล้านบาท ขณะที่ภัยแล้งรุกหนัก กองทุนฯอนุมัติ 500 ล้านบาท ให้เกษตรกรกู้ไปทำระบบชลประทาน และอีก 1.5 พันล้านซื้อรถตัดอ้อย

    นายวีระศักดิ์ ขวัญเมือง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่า ขณะนี้ทางสำนักงานกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายอยู่ระหว่างหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายไม่ว่าจะเป็นชาวไร่อ้อย โรงงานน้ำตาล และหน่วยงานราชการ ที่จะมากำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้ายหลังจากการปิดฤดูหีบอ้อยเมื่อช่วงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา มีอ้อยเข้าหีบจำนวน 105.95 ล้านตัน

    โดยเบื้องต้นได้มีการประมาณการราคาอ้อยขั้นสุดท้ายอยู่ที่ประมาณ 820 บาทต่อตัน ที่ค่าความหวานที่ 10 ซีซีเอส หรือเฉลี่ยที่ 15 เซ็นต่อปอนด์ ซึ่งต่ำกว่าราคาอ้อยขั้นต้นที่ประกาศไว้ที่ 900 บาทต่อตัน หรือ 18 เซ็นต่อปอนด์  ซึ่งทำให้ราคาอ้อยขั้นสุดท้ายต่ำกว่าราคาขั้นต้นอยู่ที่ประมาณ 80 บาทต่อตัน ทำให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย จะต้องหาเงินมาจ่ายชดเชยให้กับโรงงานน้ำตาลทราย ที่ได้จ่ายค่าอ้อยให้กับชาวไร่ไปแล้วในส่วนต่างที่เกิดขึ้นประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท

    ทั้งนี้ ทางกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย กำลังพิจารณาดูว่า จะหาเงินมาจ่ายชดเชยให้ได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งคงต้องหารือร่วมกับทุกฝ่ายร่วมกัน เนื่องจากปัจจุบันสถานะกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย แม้จะมีรายได้จากการเก็บเงินจากการจำหน่ายน้ำตาลในประเทศกิโลกรัมละ 5 บาท ทำให้มีรายได้ประมาณปีละ 1.2 หมื่นล้านบาท แต่ต้องนำไปชำระคืนหนี้ที่กู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) ที่ยังค้างอยู่ประมาณ 5-6 พันล้านบาท และหนี้ที่จะกู้มาใหม่อีก 1.6953 หมื่นล้านบาท ตามที่คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยในอัตราตันละ 160 บาท ซึ่งจะทำให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายเหลือเงินหมุนเวียนใช้ไม่มากหรือมีประมาณ 4-5 พันล้านบาทเท่านั้น

    ดังนั้นในการพิจารณาคงต้องไปดูว่าจะใช้วิธีการกู้เงินจากธ.ก.ส.มาได้หรือไม่ ซึ่งจะต้องให้ได้ข้อสรุปภายในเดือนตุลาคมนี้ และให้การดำเนินงานจ่ายเงินชดเชยให้เสร็จสิ้นภายในปีนี้

    นายวีระศักดิ์กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตามทางคณะรัฐมนตรีมีความเป็นห่วงโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายที่เป็นอยู่ จึงมอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมไปเร่งดำเนินการปรับโครงสร้างใหม่ ให้แล้วเสร็จก่อนฤดูหีบอ้อย 2558/2559 ที่จะมาถึงในเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปว่าจะปรับปรุงโครงสร้างออกมาเป็นอย่างไร ซึ่งในวันที่ 16 กรกฎาคมนี้ จะมีการสัมมนาระดมความคิดเห็นจากผู้ที่เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เพราะหากปล่อยให้เป็นอยู่ในสภาพปัจจุบันจะทำให้รัฐบาลต้องเข้ามาแบกรับภาระค่อนข้างมากในการช่วยเหลือชาวไร่อ้อย

    โดยเฉพาะฤดูหีบอ้อยที่จะมาถึงนี้ ได้มีการประมาณการณ์เบื้องต้นว่าราคาอ้อยขั้นต้นจะต่ำลงมาที่ 700 บาทต่อตัน เนื่องจากปริมาณอ้อยที่ล้นตลาด และประเทศบราซิลผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ของโลกค่าเงินอ่อนมาก ทำให้ส่งออกได้ในราคาถูก กระทบกับราคาน้ำตาลทรายโลกตกต่ำตามไปด้วย ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 12-13 เซ็นต่อปอนด์ เท่านั้นซึ่งการจะหาเงินมาจ่ายชดเชยให้กับชาวไร่อ้อยหรือโรงงานน้ำตาลทรายเพื่อให้เท่ากับราคาอ้อยปีนี้จึงทำได้ลำบาก ดังนั้น จึงมีความจำเป็นต้องหารือทุกฝ่ายที่จะต้องปรับปรุงโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายให้ได้ข้อยุติขึ้นมา

    นายอาทิตย์ วุฒิคะโร อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม(สสอ.) ในฐานะประธานกรรมการบริหารกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย กล่าวว่า สำหรับเงินกู้ธ.ก.ส.เพื่อช่วยเหลือต้นทุนของชาวไร่ 160 บาทต่อตัน หรือ 1.6953 หมื่นล้านบาท  คาดว่าจะจะจ่ายให้กับชาวไร่อ้อยจำนวน 1.5 แสนราย แล้วเสร็จในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า ขณะเดียวกันกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายได้อนุมัติกรอบการกู้เงินดอกเบี้ยต่ำ 2% วงเงิน 500 ล้านบาท ไว้สำหรับช่วยเหลือชาวไร่อ้อยที่ประสบภัยแล้ง กู้เงินนำไปใช้ในการสร้างระบบชลประทานใช้ในไร่อ้อยรายละไม่เกิน 5 แสนบาท  และอนุมัติวงเงินกู้อีก 1.5 พันล้านบาท ไว้สำหรับกู้เงินไปซื้อรถตัดอ้อยรายละไม่เกิน 10 ล้านบาท 

    ส่วนปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นนั้น คงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดว่าจะกระทบต่อการปลูกอ้อยมากน้อยเพียงใด ซึ่งที่ผ่านมาหากฝนตกตามปกติมีการประเมินว่าอ้อยเข้าหีบฤดู 2558/2559 จะอยู่ที่ 111 ล้านตันต่อปี สูงกว่าฤดูที่ผ่านมา 105.95 ล้านตันต่อปี เนื่องจากมีพื้นที่ปลูกอ้อยเพิ่มขึ้น จากการเปลี่ยนนาข้าวมาปลูกอ้อยเพิ่มขึ้น

จาก http://www.thanonline.com วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

จ.ชัยภูมิ พื้นที่การเกษตรเสียหายจากฝนทิ้งช่วงแล้วกว่า 3 แสนไร่

 พื้นที่เพาะปลูกข้าวในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ เสียหายจากภาวะฝนทิ้งช่วงแล้วกว่า 3 แสน 6 หมื่นกว่าไร่ ผู้ได้รับความเสียหายจากการหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวรอบแรก อย่ารีบหว่านในครั้งที่ 2 ควรรอให้มีฝนตกในช่วงต้นเดือนสิงหาคม

นายวีรศักดิ์ วงษ์บุตร นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการพิเศษ รักษาราชการแทน เกษตรจังหวัดชัยภูมิ กล่าวว่า พื้นที่ปลูกข้าวในพื้นที่จังหวัดชัยภูมิ มีอยู่ประมาณ 9 แสนกว่าไร่ จากการที่ได้เกิดฝนทิ้งช่วงมาตั้งแต่พฤษภาคมจนถึงปัจจุบัน ส่งผลกระทบสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่เพาะปลูกเป็นวงกว้าง การเพาะปลูกข้าว สร้างความเสียหายแล้วในพื้นที่ 3 แสน 6 หมื่น 6 พันไร่ มันสำปะหลัง เพาะปลูกแล้ว 8 แสน 6 หมื่นกว่าไร่ เสียหายแล้ว 1 แสน 4 หมื่นกว่าไร่ อ้อยปลูกแล้ว 1 ล้าน 1 แสน 4 หมื่นกว่าไร่ เสียหายแล้ว 1 แสน 2 หมื่นกว่าไร่ ข้าวโพด เพาะปลูกแล้ว 5 แสน 6 หมื่นกว่าไร่ เสียหายแล้ว 7 พัน 472 ไร่ พริก พื้นที่เพาะปลูก 1 หมื่น 8 พันกว่าไร่ เสียหายแล้ว 4 พันกว่า นอกนั้นเป็นพืชผักอื่นๆ พื้นที่เพาะปลูก 1 หมื่น 9 พันไร่ เสียหายแล้วกว่า 1 พัน 363 ไร่ ที่น่าเป็นห่วง มีพื้นที่ปลูกข้าวที่เกษตรกรได้หว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวไปแล้ว เสียหายจำนวนมาก บางคนเตรียมพื้นที่หว่านเมล็ดพันธ์ข้าวรอบ 2 ให้ชะลอไว้ก่อน ควรรอฝนซึ่งคาดว่าจะมีมาในช่วงต้นเดือนสิงหาคมค่อยหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวรอบที่ 2 ติดต่อขอความช่วยเกษตรอำเภอใกล้บ้านทุกอำเภอ 

จาก http://thainews.prd.go.th  วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

'ประยุทธ์'ห่วงภัยแล้งอีสาน จี้รายงานข้อมูลปริมาณน้ำ

พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด  รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) สั่งการทุกหน่วยงานเกาะติดสถานการณ์ภัยแล้งแย่างใกล้ชิด พร้อมให้กรมชลประทานรายงานข้อมูลน้ำไหลเข้าเขื่อน และระบายออกเพื่อการอุปโภคบริโภค และดูแลเกษตรกรเป็นรายวัน เพื่อให้การประเมินสถานการณ์มีความถูกต้องและชัดเจนที่สุด ซึ่งการทำฝนเทียมในพื้นที่ภาคเหนือและภาคกลาง ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ มีฝนตกมากกว่า 90  % ของเที่ยวบินที่ขึ้นปฏิบัติการ  แต่ปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนยังไม่ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ  ต้องติดตามสถานการณ์ต่อไป

 "ขณะนี้ท่านนายกฯเป็นห่วงพี่น้องเกษตรกรภาคอีสานเป็นพิเศษ เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นพื้นที่นอกเขตชลประทาน ต้องอาศัยแหล่งน้ำธรรมชาติ  หากฝนทิ้งช่วงนาน จะเป็นอุปสรรคต่อการทำการเกษตรได้  ที่ผ่านมาท่านนายกสั่งการให้หน่วยฝนหลวงออกปฏิบัติการทำฝนเทียมในพื้นที่ภาคอีสานแล้ว มากกว่า 200 เที่ยวบิน แต่ด้วยเหตุลมค่อนข้างแรงทำให้สารเคมีที่โปรยออกไปไม่จับกลุ่ม รวมมั้งปริมาณเมฆยังมีไม่มาก ทำให้ปริมาณน้ำฝนไม่มากอย่างที่คาดหวัง"พล.ต.สรรเสริญ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ขอให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เมื่อสภาพอากาศเป็นใจ ขอให้ออกปฏิบัติการฝนเทียมทันที เพื่อช่วยเหลือทุเลาความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกร  รวมทั้งกำชับให้หน่วยทหารเตรียมพร้อมเพื่อเคลื่อนที่เร็วในกรณีต้องนำรถบรรทุกน้ำเข้าไปแจกจ่ายให้กับประชาชนในพื้นที่แล้งขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค

จาก http://www.naewna.com  วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

แนวโน้มลดระบายน้ำเพื่อการเกษตร เสนอครม.ถึงสถานการณ์น้ำเขื่อนภูมิพล

หลังจากที่ นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้หารือกับ นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน ถึงสถานการณ์น้ำล่าสุด เพื่อรายงานให้ที่ประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบ นั้น มีรายงานข่าวว่า ขณะนี้ มีแนวโน้มลดการระบายน้ำเพื่อการเกษตรลง เนื่องจากมีผลกระทบจากสถานการณ์ปริมาณน้ำที่ไหลลงเขื่อนภูมิพล ไม่เป็นตามคาดการณ์ ซึ่งทางกรมชลประทาน พร้อมจัดงบไว้แล้วเพื่อจ้างแรงงานเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบภัยแล้งทั่วประเทศ ส่วนจะปรับลดลงเท่าไหร่นั้น คาดว่า จะต้องนำผลการประชุมของคณะอนุกรรมการวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์ ที่มีตัวแทน 10 หน่วยงานร่วมประเมินสถานการณ์ นำมาพิจารณากันในวันพรุ่งนี้(7 ก.ค.58) อีกครั้ง

หลังจากที่ นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้หารือกับ นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน ถึงสถานการณ์น้ำล่าสุด เพื่อรายงานให้ที่ประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบ นั้น มีรายงานข่าวว่า ขณะนี้ มีแนวโน้มลดการระบายน้ำเพื่อการเกษตรลง เนื่องจากมีผลกระทบจากสถานการณ์ปริมาณน้ำที่ไหลลงเขื่อนภูมิพล ไม่เป็นตามคาดการณ์ ซึ่งทางกรมชลประทาน พร้อมจัดงบไว้แล้วเพื่อจ้างแรงงานเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบภัยแล้งทั่วประเทศ ส่วนจะปรับลดลงเท่าไหร่นั้น คาดว่า จะต้องนำผลการประชุมของคณะอนุกรรมการวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์ ที่มีตัวแทน 10 หน่วยงานร่วมประเมินสถานการณ์ นำมาพิจารณากันในวันพรุ่งนี้(7 ก.ค.58) อีกครั้ง

จาก http://www.naewna.com  วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

'ปีติพงศ์'ถกแผนระบายน้ำเพื่อการเกษตร ชี้วิฤกตน้ำฝนในเขื่อนใหญ่รับแรงสุด

 นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าได้ประชุมทางไกลผ่านระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนท์กับศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจแก้ปัญหาภัยแล้ง ทั้ง 22 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยา ซึ่งมีเกษตรและสหกรณ์จังหวัด ชลประทานจังหวัด เป็นหัวหน้าศูนย์ร่วมกับเจ้าหน้าที่กระทรวงหมาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่ได้รับผลกระทบจากภาวะฝนทิ้งช่วง โดยทุกหน่วยต้องรายงานสภาพปัญหามายังกระทรวงเกษตรฯทุกวัน เพื่อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ได้รับทราบข้อมูลและมีมาตรการแก้ไขทันท่วงที

"ได้ให้สรุปภาพรวมความเสียหายพื้นที่เพาะปลูกแล้วและยังไม่เพาะปลูก ร่วมกับผู้ว่า 22 จังหวัด เพื่อสรุปสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น เข้าครม.อนุมัติมาตรการช่วยเหลือ ด้านปัจจัยการผลิตเช่นปลูกพืชใช้น้ำน้อย เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ รวมทั้งเข้าไปดูแลการจัดรอบเวรส่งน้ำให้พื้นที่เกษตรไม่ให้เกิดปัญหาแย่งน้ำ ในส่วนปัญหาปริมาณน้ำฝนไหลเข้าเขื่อนใหญ่ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนลุ่มเจ้าพระยา ยังอยู่ในภาวะวิฤกติ ซึ่งนายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรฯได้เรียกอธิบดีกรมชลประทาน อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องเข้าประชุมด่วนเพื่อหาข้อสรุปมาตรการระบายน้ำเพื่อการเกษตร เสนอต่อครม. ตัดสินใจ โดยในขณะนี้ยังระบายวันละ 28 ล้านลบ.ม.เป็นน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค 5 ล้านลบ.ม.รักษาระบบนิเวศน์ 8 ล้านลบ.ม. และน้ำเพื่อการเกษตร 15 ล้านลบ.ม."นายชวลิต กล่าว

ด้านนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่าเตรียมเสนองบจ้างแรงงานเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง ช่วงชะลอปลูกข้าว ในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา 3.4 ล้านไร่ เพื่อให้เกษตรกรมีรายได้ช่วงพักนา ใช้งบจ้างงาน 70 ล้านบาท โดยงบจากเงินกู้ทำโครงการชลประทาน ตามแผนน้ำปี 58 วงเงิน 1 หมื่นกว่าล้านบาท มาใช้งบจ้างแรงงานเกษตรกรในพื้นที่ประสบภัยแล้งทั่วประเทศ รวมวงเงินทั้งหมด 1,623 ล้านบาททั้งหมด 67 จังหวัด ใช้จ้างแรงงานได้ 5.4 ล้านคน/วัน/แรง ซึ่งสำนักงานชลประทานในพื้นที่สามารถจ้างแรงงานได้ตั้งแต่เดือนก.ค.นี้เป็นต้นไป โดยไม่จำกัดระยะเวลา เพราะบางโครงการระยะยาว 1 ปี ลักษณะงานไม่เน้นจ้างแรงงานขุดลอกคูคลองเพราะงานเหล่านี้ใช้เครื่องจักรกลขนาดใหญ่ แต่จะจ้างมาสร้างอ่าง สร้างฝาย แก้มลิง พื้นที่กักเก็บน้ำและชะลอน้ำเตรียมไว้เพื่อเข้าสู่ฤดูฝน

จาก http://www.naewna.com  วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

โรงงานเด้งรับซื้อข้าวเน่ารัฐบาลทำเอทานอล

กลุ่มเอทานอลจากมันสำปะหลังหนุน "นบข" ระบายข้าวนำมาผลิตเอทานอล 1.3 ล้านตัน คาดได้เอทานอลรวม 400 ล้านลิตร ชงพาณิชย์ประมูลรายโกดังราคาตามสภาพ เชื่อโปร่งใสตรวจสอบได้

ตามที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว (นบข.) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2558 ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน มีมติเห็นชอบกรอบการระบายข้าวสารในสต๊อกรัฐบาล 15.46 ล้านตัน โดยแบ่งเป็น 1. ข้าวสารเกรดเอและบี ที่สามารถนำมาบริโภคได้ 9.57 ล้านตัน ให้ประมูลขายให้กับเอกชน ทำข้าวถุงจำหน่ายหรือส่งออก 2. ข้าวเสื่อมคุณภาพเกรดซี ที่ต้องการนำมาประมูลเพื่อใช้ผลิตเอทานอล4.6 ล้านตัน และ 3. ข้าวคุณภาพต่ำมากจนไม่สามารถนมาผลิตเอทานอลได้ 1.2 ล้านตัน ซึ่งจะเปิดประมูลเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับผลิตในโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยหลังจากนี้จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์การประมูล

นายเดชพนต์ เลิศสุวรรณโรจน์ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท อุบล ไบโอเอทานอล จำกัด และในฐานะนายกสมาคมผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ในการหารือร่วมกับกรมการค้าต่างประเทศ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้ข้อสรุปว่าในกลุ่มผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังเสนอรับข้าวปริมาณ 1.3 ล้านตัน เพื่อนำมาผลิตเป็นเอทานอล คาดว่าจะสามารถผลิตได้ปริมาณ 400 ล้านลิตร (ข้าวเสื่อม 3.4 กิโลกรัมได้เอทานอล 1 ลิตร) โดยรวมโรงงานเอทานอลจากมันสำปะหลังที่เข้าร่วม 12-13 ราย และอีก 6-7 ราย เป็นโรงงานเอทานอลที่ใช้ทั้งกากน้ำตาล (โมลาส) และมันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบ

ทั้งนี้กลุ่มผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังได้ยื่นเสนอว่า 1) ต้องมีการเปิดประมูลข้าวเป็นรายโกดัง 2) ต้องการให้ราคาข้าวเป็นไปตามข้อเท็จจริง ไม่ต้องการให้มีการจำหน่ายข้าวราคาที่ถูกจนเกินไป เพื่อป้องกันกระแสสังคมมองว่ากลุ่มผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลังเข้ามาหาประโยชน์จากข้าวดังกล่าว และ 3) ต้องการให้ระบบการจ่ายเงิน-รับเงินเพื่อซื้อขายข้าวเสื่อมคุณภาพดังกล่าวโปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ อย่างไรก็ตามขั้นตอนต่อจากนี้คือ การกำหนดหลักเกณฑ์ในการเปิดประมูลข้าวเสื่อมคุณภาพดังกล่าวจากกระทรวงพาณิชย์เท่านั้น สำหรับกระบวนการผลิตไม่มีปัญหา เพียงแค่เพิ่มอุปกรณ์ในการบดข้าวเข้าไปเท่านั้น รวมถึงในข้าวและมันสำปะหลังต่างมีเปอร์เซ็นต์แป้งที่สามารถนำมาผลิตเอทานอลได้

 "เป็นการเข้ามาช่วยเหลือภาครัฐอย่างแท้จริง เพราะเดิม ก.พาณิชย์จะใช้วิธีเผาทิ้งเท่านั้น ซึ่งภายหลังจากที่หารือในระดับกระทรวงรวม 3 ครั้งที่ผ่านมาน่าจะทำประโยชน์จากข้าวเสื่อมได้ด้วยการนำมาผลิตเป็นเอทานอลแทน ครั้งนี้ต้องการช่วยภาครัฐจริง ๆ เพราะที่ผ่านมาภาครัฐก็ให้การส่งเสริมพลังงานทดแทนให้มีการใช้เอทานอลเพิ่มมากขึ้นด้วย"

นายเดชพนต์กล่าวเพิ่มเติมว่า การนำข้าวเสื่อมคุณภาพมาผลิตเป็นเอทานอลนั้นจะไม่กระทบต่อราคามันสำปะหลังแน่นอน เนื่องจากปัจจุบันไทยผลิตมันสำปะหลังประมาณ 30 ล้านตัน/ปี แต่ความต้องการส่งออกมากถึง 40 ล้านตัน/ปี เท่ากับว่าต้องนำเข้ามันสำปะหลังเพื่อมารองรับการใช้ด้วยซ้ำ สำหรับมันสำปะหลังที่นำมาป้อนให้อุตสาหกรรมเอทานอลเพียง 2 ล้านตัน/ปีเท่านั้น

รายงานข่าวเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันมีโรงงานผลิตเอทานอลในประเทศรวมประมาณ 24 โรงงาน แบ่งเป็นโรงงานเอทานอลที่ใช้มันสำปะหลัง 7 โรง คือ 1) บริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด กำลังผลิต 400,000 ลิตร/วัน 2) บริษัท ไทยเอทานอล พาวเวอร์จำกัด (มหาชน) กำลังผลิต 130,000 ลิตร/วัน 3) บริษัท อี 85 จำกัด (เดิมคือบริษัท ดับเบิลเอ เอทานอล จำกัด) กำลังผลิต 250,000 ลิตร/วัน 4) บริษัท ทรัพย์ทิพย์ จำกัด กำลังผลิต 200,000 ลิตร/วัน 5) บริษัท ไท่ผิงเอทานอล จำกัด กำลังผลิต300,000 ลิตร/วัน 6) บริษัท พี.เอส.ซี.สตาร์ช โปรดักส์ จำกัด (มหาชน) กำลังผลิต150,000 ลิตร/วัน 7) บริษัท สีมาอินเตอร์โปรดักส์ จำกัด กำลังผลิต 150,000 ลิตร/วัน

ส่วนที่อยู่ในระหว่างดำเนินการก่อสร้าง คือ 1) บริษัท ที พี เค เอทานอล จำกัด แบ่งเป็นเฟส 1-3 รวมกำลังผลิตประมาณ 1 ล้านลิตร/วัน และ 2) บริษัท อิมเพรสเทคโนโลยี จำกัด กำลังผลิต 200,000 ลิตร/วัน

จาก http://www.prachachat.net   วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

'ปีติพงศ์' วาง 3 ขั้นตอนแก้ปัญหาเกษตร

รมต.กระทรวงเกษตรฯ ย้ำดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนภาคเกษตรของไทย พร้อมแก้แนวทางปัญหา 3 ขั้นตอน

นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เน้นย้ำนโยบายการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนภาคการเกษตรของประเทศในการบรรยายหลักสูตรนักบริหารระดับสูง ว่า ปัญหาตามโรดแมปมี 4 เรื่องที่ต้องช่วยกันดูแล คือ 1.เรื่องทรัพยากรโดยเฉพาะทรัพยากรธรามชาติที่กำลังขาดแคลน อาทิ การปฏิรูปที่ดิน ทรัพยากรดิน 2.เรื่องการผลิต ประกอบด้วย การปศุสัตว์ที่มีความก้าวหน้าแต่อยู่บนความเสี่ยง การประมง ที่มีปัญหาเรื่องของโครงสร้าง และพืชที่ข้าวยังพอส่งออกได้ แต่ไม่มีการพัฒนามากนัก 3.เรื่ององค์กรเกษตรกร โดยเฉพาะกรมส่งเสริมการเกษตรและกรมส่งเสริมสหกรณ์ 4.เรื่องการบริหารจัดการ ที่เห็นชัดเจน คือ ปัญหาไอยูยู และปัญหาราคาสินค้า ทั้งนี้ คาดว่าปัญหาที่ประสบจะต้องแก้ไขที่กระบวนการผลิต 3 ขั้นตอน คือ ขั้นการนำเข้ากระบวนการผลิต ขั้นกระบวนการ และขั้นการสร้างรายได้กับการผลิต

จาก  http://www.innnews.co.th    วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

ห่วงน้ำตาลโลกร่วงเพิ่มหนี้กองทุนอ้อย    

          สอน.ตั้งทีมเตรียมข้อมูลแก้ข้อกล่าวหาไทยอุดหนุนราคาต่อดับเบิลยูทีโอ  ห่วงราคาน้ำตาลโลกตกต่ำ กดราคาอ้อยขั้นปลาย ต่ำกว่าขั้นต้น เพิ่มภาระหนี้กองทุนอ้อยฯกว่า 1.3 หมื่นล้านบาท เสนอ 3 แนวทางแก้ปัญหาหนี้ ระยะยาว

          แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากสถานการณ์ราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่ตกต่ำ จนส่งผลกระทบต่อการส่งออกน้ำตาลของไทย ทำให้ขณะนี้ราคาเฉลี่ยอยู่ที่13 เซนต์ต่อปอนด์ จากราคาประเมินขั้นต้นที่15 เซนต์ต่อปอนด์ ทำให้รายได้จากการส่งออกน้ำตาลของไทยลดลง เมื่อคำนวณในอุตสาหกรรมทั้งระบบ ราคาน้ำตาลขั้นปลายจะต่ำกว่าขั้นต้น คิดเป็นวงเงินติดลบกว่า1.3 หมื่นล้านบาท เป็นเงินที่กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย(กท.) ต้องจ่ายเพิ่มให้ชาวไร่ผ่านโรงงานน้ำตาลทรายที่สำรองจ่ายให้กับชาวไร่อ้อยไปก่อน เพื่อให้ทันการผลิตฤดูการผลิต 2558/2559 ยอมรับว่าขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนว่า จะใช้วิธีใดในการจัดการดังกล่าว

          อย่างไรก็ตาม ในเบื้องต้นได้มีการเสนอหลายแนวทางหลายในการแก้ปัญหา เช่น การให้กองทุนอ้อยฯ กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.) เพิ่มเติมจากปัจจุบันที่ครม.อนุมัติให้กองทุนอ้อยฯกู้จากธกส.เพื่อเพิ่มค่าอ้อย ในอัตรา 160 บาทต่อตันอ้อย คิดเป็นวงเงินกว่า1.6 หมื่นล้านบาท เนื่องจากราคาต้นทุนสูงกว่าราคาขั้นต้นที่ชาวไร่อ้อยได้รับ จะคืนหนี้ด้วยการหักเงินราคาน้ำตาล 5 บาทต่อกิโลกรัม แต่แนวทางนี้จะทำให้เกิดหนี้สะสมและเป็นภาระแก่กองทุนอ้อยฯ ในระยะยาว

          ส่วนแนวทางต่อมาคือการเสนอให้ภาครัฐ จัดสรรงบประมาณสนับสนุน วิธีนี้อาจเป็นได้ยาก เนื่องจากปัจจุบันไทยกำลังถูกบราซิลจับตาและ เตรียมข้อมูลฟ้องร้องต่อองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ข้อกล่าวหาที่ว่า ไทยอุดหนุนอุตสาหกรรมน้ำตาล จนกระทบตลาดส่งออก ที่บราซิลเป็นผู้ส่งออกอันดับหนึ่งของโลก

          ล่าสุดสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.) อยู่ระหว่างเตรียมข้อมูลเพื่อแก้ข้อกล่าวหาดังกล่าว ดังนั้นการจัดสรรงบโดยตรงจากภาครัฐจึงอาจเป็นไปได้ยาก

          นอกจากนี้ ยังมีอีกแนวทางที่จะสามารถดำเนินการได้คือให้กองทุนอ้อยฯหักเงินค่าอ้อยขั้นสุดท้ายในฤดูการผลิตหน้าเช่นกู้ธกส.วงเงิน 5 พันล้านบาท  ให้กองทุนอ้อยฯหักเงินค่าอ้อยขั้นปลายปีละ 1 พันล้านบาท เพื่อใช้หนี้ แต่วิธีนี้ ค่าอ้อยขั้นปลายต้องสูงกว่าขั้นต้น ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถหักเงินส่วนนี้ได้

          "แนวโน้มราคาอ้อยขั้นปลายปีนี้ต่ำกว่าราคาขั้นต้น เนื่องจากราคาตลาดโลกตกต่ำ มีสต็อกน้ำตาลเหลือจากเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ดังนั้นต้องให้ฤดูการผลิตถัดไปราคาน้ำตาลปรับตัวสูงขึ้น เพื่อให้ราคาขั้นปลายสูงกว่าขั้นต้นและสามารถนำมาจ่ายหนี้ที่กำลังจะเกิดขึ้นได้"

          นายวีระศักดิ์ ขวัญเมือง ผู้อำนวยการ กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย(กท.) กล่าวว่า ขณะนี้กองทุนฯ มีฐานะทางการเงินเป็นบวกประมาณ 1.2 หมื่นล้านบาท แต่ต้องนำมาชำระหนี้เดือนละ 1 พันล้านบาท ทำให้ในแต่ละปีจะมีเงินเหลือประมาณ5-6พันล้านบาท อย่างไรก็ตามฤดูการผลิตหน้ามีแนวโน้มที่เงินขั้นต้นจะตกต่ำถึง 700 บาทต่อตันอ้อย จากปัจจุบัน 900 บาทต่อตันอ้อย ซึ่งกองทุนอ้อยฯต้องหาเงินจ่ายหนี้ที่จะเพิ่มขึ้นในอนาคตนี้ด้วย

          นายวีระศักดิ์ กล่าวว่า จากราคาอ้อยที่ตกต่ำ ตามตลาดโลก ขณะที่ต้นทุนผลิตมีแนวโน้ม เพิ่มสูงขึ้น ทำให้รัฐบาลมีนโยบายให้กระทรวงที่เกี่ยวข้องเร่งดำเนินการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรม อ้อยและน้ำตาลทราย โดยเฉพาะการลดต้นทุน การผลิตที่ค่อนข้างสูง รวมทั้งการปรับแก้ กฎหมายพ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ให้สอดคล้องกับปัจจุบัน โดยจะนำรายได้ต่างๆ ที่โรงน้ำตาลได้จากการนำอ้อยมาผลิตน้ำตาล มาเข้าสูตรแบ่งปันผลประโยชน์ 70:30 ให้ เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น รวมทั้งต้องเพิ่ม สัดส่วนการผลิตเอทานอล เพื่อลดปริมาณ น้ำตาลทรายที่เข้าสู่ตลาดโลก จะสามารถฉุด ราคาน้ำตาลทรายได้ส่วนหนึ่ง และต้องให้เสร็จก่อนเปิดหีบอ้อยฤดูใหม่ 2558/2559

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

'อุ๋ย'ชูแผนกู้เศรษฐกิจเร่งด่วน ใช้ดอกเบี้ย-ค่าเงินช่วยเอกชนสุดตัว 

          ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกางแผนฟื้นเศรษฐกิจเร่งด่วน ช่วยชาวนา สวนยาง ล้างท่อลงทุนรัฐ บริหารค่าเงินดอกเบี้ยเอื้อส่งออก ใช้ดิจิทัลอีโคโนมี สร้าง Plat form เศรษฐกิจใหม่ ผ่านสินค้านวัตกรรม โรดโชว์ International Head Quarters ตั้งบรอดแบนด์แห่งชาติ ขยายเกตเวย์ประมูล 4G

          ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลัง และมาตรการเศรษฐกิจระยะยาว ว่า เวลานี้นโยบายใหญ่และสำคัญที่สุด คือ ต้องไม่ให้เศรษฐกิจซวดเซไปมากกว่านี้ โดยจะเร่งดูแลภาคการเกษตรที่ได้รับผล กระทบมาก เช่น ราคายางพารา ราคาข้าวที่มีผลจากสต๊อกจำนำ ราคาจึงขึ้นไม่ได้

          ขณะนี้ราคาข้าวเหนียวราคาดีอยู่แล้ว ข้าวหอมมะลิราคา 12,000-14,000 บาทต่อตัน เหลือข้าวขาวราคา 7,500-8,200 บาทต่อตัน ซึ่งไม่มีกำไรเลย จึงเสนอให้เอาเงินให้ชาวนาไร่ละ 1,000 บาท ไม่เกิน 15 ไร่ ช่วยเขาไม่ให้เป็นหนี้ ส่วนยางพาราก็มีผลพลอยได้ไปด้วย เพราะในการขอเงินรัฐบาลไปดึงราคายางช้ากว่า จึงต้องมีมาตรการช่วยเหลือลักษณะเดียวกันกับข้าวไปด้วย ส่วนชาวสวนยางเริ่มเข้ารูป เข้ารอย หลังจากให้เงินกู้ไม่เกินครอบครัวละ 100,000 บาท เพื่อไปปรับเปลี่ยนยางเก่าเป็นพืชชนิดใหม่ ขณะนี้มีประมาณ 5-6 หมื่นครอบครัว ตั้งเป้าไว้ 1 แสนครอบครัว

          มาตรการด่วนล้างท่อลงทุนรัฐ

          "ผมจะลงไปช่วยจุดที่อ่อนที่สุดในเศรษฐกิจ ให้มีเงินมีใช้ ไม่เป็นหนี้ และมีผลพลอยได้ในการใช้จ่าย ทำให้เศรษฐกิจ เดินด้วย ส่วนตัวเลขการส่งออก ภาครัฐไม่เคย มีความหมาย อยู่ที่ภาคเอกชนอยู่แล้ว ภาคเอกชนเขาสู้เต็มที่ แต่เผอิญส่งออกลง ทั้งโลก จึงพูดไม่ออก แต่จ่ายเงินไปให้ฉีกกันทิ้ง ไม่ควรทำ เพราะเป็นเงินภาษี เพราะฉะนั้นต้องทำที่เป็นจุดอ่อน"

          สำหรับปัจจัยในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ดัชนีที่ 1 คือ การท่องเที่ยวถือว่าดีมาก ในช่วงที่ผ่านมา เดือน พ.ค.นักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้น 50% ดัชนีตัวที่ 2 เรื่องการลงทุนภาคเอกชน ถือว่ายังอาการหนัก ในช่วงการส่งออกลดลง สต๊อกลดลง ที่ผ่านมากระทรวงอุตสาหกรรมช่วยอนุมัติการเปิดโรงงานให้เร็วขึ้น การขยายโรงงานเปิดใหม่มากกว่า 4% จึงพยายามเน้นให้เอกชนลงทุนเพิ่มช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ

          ตัวที่ 3 คือ การลงทุนภาครัฐ กำลังเร่งเต็มที่ นายกรัฐมนตรีสั่งการว่า โครงการลงทุนของรัฐบาลจะต้องเร่งทำสัญญาผูกพันภายในเดือน ก.ค. จ่ายหมดในเดือนกันยายน ถ้าไม่มีเหตุผลดีพอจะเอางบฯคืน ซึ่งตัวเลขพิสูจน์แล้วว่าทำได้ดีกว่าทุกปี

          ใช้ดอกเบี้ย-ค่าเงินช่วยส่งออก

          นโยบายการเงินชัดเจน คือ จะต้องสนับสนุนการลงทุนภาคเอกชนอย่างดี จะมาคิดอย่างอื่นไม่ได้ เพราะประเทศอยู่ในสถานะอย่างนี้แล้ว การลงทุนทางตรงและการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เหลือประตูเดียวแล้วชัดเจน นโยบายการเงินจะเป็นอย่างอื่นไปไม่ได้ ต้องสนับสนุนการลงทุน เพื่อให้เกิดการเจริญเติบโตอย่างเต็มที่

          ม.ร.ว.ปรีดิยาธรตอบคำถามเรื่องอัตราดอกเบี้ยยังมีโอกาสต่ำลงได้อีกหรือไม่ว่า "ยังลงได้ ไม่ต้องห่วงเรื่องเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เพราะตอนนี้อัตราเงินเฟ้อต่ำมาก จวนจะติดลบอยู่แล้ว การลงทุนต้องขยาย การทำให้ค่าเงินอ่อนก็ทำมาแล้ว ในเดือนเมษายนทั้งเดือนค่าเงินอ่อนลงมา จาก 33.20 บาท กลายเป็น 33.70 บาท จะอ่อนไปอีกกว่านี้ได้อีกไหมก็ต้องดู เราไปเสกไม่ได้เท่านั้นเอง แต่ก็พยายาม แบงก์ชาติ ดูแลอยู่แล้ว"

          "มาตรการกู้เศรษฐกิจรัฐบาลทำมาเป็นซีรีส์ ผมไม่ได้เป็นคนคาดการณ์เศรษฐกิจ ไม่เครซี่เรื่องตัวเลขคาดการณ์จีดีพี ผมพูดตัวเลขจริง ผมนั่งทำงานให้มากที่สุดเท่าที่ จะมากได้ การท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 38% ก็ช่วย ส่งออกลดลง 5% ก็ไม่ช่วย เปิดโรงงานอุตสาหกรรมได้ตลอดเวลา บีโอไอ ก็อนุมัติไปเยอะ 5 เดือนแรกอนุมัติไป พันกว่าโครงการ"

          ช่วยเกษตกรประสบภัยแล้ง

          ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าวเรื่องปัญหาภัยแล้งเป็นตัวฉุดเศรษฐกิจว่า "เป็นผีซ้ำด้ำพลอย มาโดนภัยแล้ง ไม่นึกว่าจะมีฝนแล้ง 2 เดือน อันนี้หนัก น้ำที่มีอยู่ใช้ได้อีก 3.7 ล้านไร่ แต่ปลูกไป 4 ล้านไร่แล้ว ก็บอกเขาว่าอย่าปลูกอีก ให้เก็บเงินไว้ อย่าเพิ่งไปซื้อพันธุ์ไปปลูก รอไป 2 เดือนก่อน พอฝนมาค่อยปลูกก็ยังทัน นี่คือสิ่งที่ขอกันดื้อ ๆ แต่ที่ลงทุนไปแล้วพยายามจะให้นำน้ำไปเลี้ยงให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ ถ้าฝนไม่ตกจริง ๆ จะช่วยอย่างแน่นอน แต่วันนี้อย่าเพิ่งตีตนไปก่อนไข้"

          "พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรง พระกรุณาฝนหลวงไปให้แล้ว ต้องหวังหมด หวังว่าจะเกิดพายุดีเปรสชั่นมาสัก 2-3 ลูก เพื่อให้นาในส่วนที่ชลประทานมาถึงช่วงที่ ปลูกนาแล้งนี้ไปแล้ว 4 ล้านไร่ แต่ชลประทานเข้าถึงเพียง 3 ล้านกว่าไร่ ซึ่งอีกสัก 6-7 แสนไร่ ถ้าฝนลงมาวันนี้ก็ยังไม่ตาย"

          สร้างแพลตฟอร์มเศรษฐกิจใหม่

          รองนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจระยะยาวว่า จะสร้างแพลตฟอร์มเศรษฐกิจตัวใหม่ให้โตไปได้ มาตรการแรกจะทำให้เทคโนโลยีสูงขึ้น หาสินค้าซึ่งมีสัดส่วนของค่าแรงในต้นทุนน้อย โดยใช้เทคโนโลยีช่วย สามารถทำให้แข่งขันด้วยเทคโนโลยีสูงขึ้น เช่น อาหารทางการแพทย์, รถยนต์ไฮบริด, ชิ้นส่วนอากาศยาน, พลาสติกจากพืช ซึ่งประเทศเราผลิตได้แต่เศรษฐกิจเกิดใหม่ผลิตไม่ได้ เรียกว่าโมเดิร์นอินดัสทรี บีโอไออนุมัติไปแล้ว 216 ราย จากภาพรวม ในช่วง 5 เดือนแรกมีนักลงทุนขออนุมัติ บีโอไอไปแล้ว 1,094 ราย

          มาตรการที่สอง คือ การดึงดูดให้ นักลงทุนบริษัทข้ามชาติ และบริษัทไทย ที่ไปลงทุนในต่างประเทศ มาตั้งสำนักงานใหญ่ในประเทศไทย (International Head Quarters) เป็นฐานการผลิตสินค้าส่งออกไปยังประเทศกลุ่ม CLMV หรือตลาดจีน-แอฟริกา โดยจะมีมาตรการด้านภาษีสนับสนุน อัตราใกล้เคียงกับฮ่องกง สิงคโปร์ ขณะนี้อนุมัติไปแล้ว 33 บริษัท

          มาตรการที่สาม คือ ใช้ระบบดิจิทัลมาเสริมเศรษฐกิจ ทั้งดิจิทัลคอนเทนต์และอีคอมเมิร์ซ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่เสริมธุรกิจบริการ-การเงิน โดยจะมีการรวมธุรกิจของบริษัททีโอทีกับบริษัทแคทเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างเกตเวย์ให้ใหญ่ขึ้น ราคาถูกลง มีระบบดาต้าเซ็นเตอร์ระดับชาติ

          บรอดแบนด์แห่งชาติ-เร่ง 4G

          ม.ร.ว.ปรีดิยาธรกล่าวถึงการทำบรอดแบนด์แห่งชาติว่า ขณะนี้กำลังเร่งและรวบรวมเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งรวบรวมได้หมดแล้ว เช่นกรณีบริษัททรูคอร์ปอเรชั่น คุณศุภชัย เจียรวนนท์ มาหารือด้วยตัวเอง เครือข่ายที่เอกชนให้รัฐใช้ก็จะถูกนำมารวมกัน แล้วแจกหุ้นกลับไป รวมกันเป็นบริษัทกลาง ทุกคนเป็นเจ้าของหุ้น รวมกันแล้วให้เช่าถูกกว่า ถ้าลงทุนใหม่ต้องใช้เงินทุนเยอะเลย เป็นหมื่นเป็นแสนล้าน

          "ขั้นต่อไปเริ่มแล้ว ผมไม่ได้โม้นะ ผมทำงานตลอด กำลังทำทีโออาร์จ้างบริษัทเชี่ยวชาญระดับโลกมาวางระบบ ต้องการให้ปี'59 บรอดแบนด์ถึงทุกหมู่บ้าน และปี'60 ถึงทุกบ้านในที่สุด ต้องตั้งไว้อย่างนี้ก่อน ทีโออาร์เพิ่งเขียนเสร็จและจะเรียกทุกบริษัทมาแล้วเลือกประมาณเดือนสิงหาคม เสร็จแล้วว่าจ้างทันที ถามว่าบ้าไหม บ้า บ้า ที่ตะโกนออกมา แต่ถ้าไม่ตะโกนออกไป มันไม่มีใครผูกพัน ยอมบ้า ยอมเจ็บ"

          ม.ร.ว.ปรีดิยาธรยืนยันว่า เรื่องในกลุ่มดิจิทัลทั้งหมด "สิ้นปีนี้เสร็จทั้งหมดแน่นอน และจะประมูลให้เสร็จก่อนสิ้นปีนี้เลย ใช้เวลาสร้าง 10 เดือน เพราะฉะนั้นภายในปี'59 เห็นผล ซึ่งรวมถึงการประมูลคลื่น 4G ด้วย"

          เพราะฉะนั้นดิจิทัลอีโคโนมีจะมาเสริม 2 เรื่องการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะต่อไป รัฐบาลหน้าเข้ามา สิ่งเหล่านี้พร้อมแล้ว สามารถเดินนโยบายต่าง ๆ ที่ทันสมัย ต่อไปได้เลย ด้วยแฟลตฟอร์มทางเศรษฐกิจใหม่ จะทำให้เกิดอุตสาหกรรมสมัยใหม่ขึ้น สิ่งเหล่านี้จะทำให้ประเทศไทยพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางได้จริง โดยการเปลี่ยนเนื้อหาอุตสาหกรรม สร้างแพลตฟอร์มใหม่ 2 แพลตฟอร์มเพื่อเติมเต็ม

          "นี่คือภาพของระยะกลางย่อ ๆ เป็นแผนที่เริ่มปฏิบัติแล้ว ไม่ได้ฝัน ไม่ได้โม้ และผมไม่ได้เก่งคนเดียว ผมเอามาจากคนอื่นหมด ผมคิดจริง แต่มีคนช่วยคิด ช่วยทำต่อ เสนอต่อท่านนายกฯ มันถึงออกมาได้ ผมคิดว่า 3 แผนนี้เป็นแผนใหญ่"

          เดินหน้าสำรวจปิโตรเลียม

          รองนายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการปรับโครงสร้างราคาน้ำมัน เพราะว่าเกิดการบิดเบือนและมีการช่วยเหลือมากเกินไป ทำให้คนใช้น้ำมันเกินความจำเป็น ฉะนั้นถึงเวลาแล้วต้องกล้า แม้จะโดนคนด่าไหม ทั้งรัฐมนตรีพลังงาน ทีมเศรษฐกิจ ก็ด่าไป เพราะไม่เช่นนั้นก็ยิ่งสิ้นเปลือง

          การปรับโครงสร้างราคาน้ำมัน โครงสร้างภาษีสรรพสามิตด้วย ทำให้ราคาน้ำมันสอดคล้องกับต้นทุน ทำให้สรรพสามิตสอดคล้องกับค่าความร้อนที่ได้ จะทำให้เกิดการใช้อย่างประหยัดในที่สุด แต่ว่ายังทำไม่สุด แค่ 3 ใน 4 ต้องทำอีก แต่ต้องโดนคนว่า กระแนะกระแหน ก็ไม่เป็นไร ต้องสู้ต่อไป

          "สิ่งที่ต้องทำอีก คือ เราเป็นประเทศที่โตเร็วมากในอาเซียน ทำให้ใช้พลังงานเยอะ ก๊าซในอ่าวก็เริ่มจะหมด ลดน้อยถอยลง 

จาก http://www.prachachat.net วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

กระทรวงเกษตรฯเชื่อมั่นตัวแทน20เกษตรนั่งกฟก.นำองค์กรได้ดี 

           และแล้วการเลือกตั้งคณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) เมื่อวันที่ 28 มิ.ย.58 ก็ผ่านไปด้วยดี ได้คณะกรรมการมา 20 คน เพื่อปฏิบัติภารกิจของกองทุนทั้งด้านการช่วยเหลือปัญหาหนี้สินของเกษตรกรและการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเป็นไปอย่างราบรื่นและรวดเร็วที่สุด

          นายอำนวย ปะติเส รมช.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในการเลือกตั้งดังกล่าวในวันที่ 28 มิ.ย.58 เพื่อให้ได้ผู้แทนเกษตรกรเข้าไปทำหน้าที่เป็นกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยการเลือกตั้งครั้งนี้มีความสำคัญกับพี่น้องเกษตรกรทุกคนเป็นอย่างมากเพราะทางรัฐบาลได้อนุญาตให้กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจัดการเลือกตั้งเพราะเล็งเห็นว่าปัญหาของเกษตรกรเป็นปัญหาใหญ่ที่จะต้องเร่งแก้ไขโดยด่วนเป็นลำดับแรกๆเพื่อคัดเลือกตัวแทนเกษตรกรเข้ามาทำหน้าที่ให้กับพี่น้องเกษตรกร

          หลังจากผู้ได้รับเลือกตั้งได้เป็นตัวแทนเกษตรกรอย่างเป็นทางการแล้วจะได้

          เข้ามาทำหน้าที่เป็นกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยจะทำหน้าที่กำหนดนโยบาย กฎหมาย ระเบียบหลักเกณฑ์ในการแก้ไขปัญหาหนี้สิน การฟื้นฟูพัฒนาอาชีพให้กับเกษตรกรต่อไป

          โดยจากผลการเลือกตั้งผู้แทนเกษตรกร (อย่างไม่เป็นทางการ) ภูมิภาคที่ 1 ภาคเหนือ ได้แก่ 1. นายสำคัญ วรรณบวร 2. นายโกวิท เทพไพฑูรย์ 3. ร.ต.อ.หญิง สมหวัง หมีเทศ 4.นายประมวล หาญชัยภูมิ 5. นายนิเทศน์ คำเป็ก ภูมิภาคที่ 2 ภาคกลาง ได้แก่ 1. นายประยงค์ ปั้นแหน่งเพ็ชร 2. นายจรุณ คุณฑี 3. นายพรม บุญมาช่วย 4. นายอำนาจ มอญพันธุ์

          ภูมิภาคที่ 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ 1. นายยิ่งยศ อุดรพิมพ์ 2. นายทักษิณ สารมณี 3. นายวรเชษฐ เชิดชู 4. นายบดินทร์ เดชา ชูคล้าย 5. นายนิยม มุลเมืองแสน 6. นายสำเริง ปานชาติ 7.นางสาวรัตนา ปานชาติ และภูมิภาคที่ 4 ภาคใต้ ได้แก่ 1. นายรุสดี บินหะยีสะมะแอ 2. นายภูมิพัฒน์ เหมือนจันทร์ 3. นายละม้าย เสนขวัญแก้ว 4. นางพจมาน สุขอำไพจิตร

          นายอำนวย กล่าวอีกว่า คณะกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร ทั้งหมด 41 คน ประกอบด้วยนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ รมว.กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นรองประธานกรรมการ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวง การคลัง ปลัดกระทรวงมหาดไทย ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เลขาธิการ

          คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งคณะรัฐมนตรีแต่งตั้ง 11 คน ผู้แทนเกษตรกร  20 คน เป็นกรรมการ และเลขาธิการ กฟก. เป็นกรรมการและเลขานุการ

          สำหรับการแต่งตั้งกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิให้พิจารณาแต่งตั้งจากบุคคล ซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญมีผลงานและประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารการเงินหรือการธนาคาร การฟื้นฟูและพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น อุตสาหกรรม ชุมชน เทคโนโลยีการเกษตรการพัฒนาแหล่งน้ำ และการอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยให้แต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิภาคราชการ 5 คน และผู้ทรงคุณวุฒิภาคเอกชน 6 คน ส่วนผู้แทนเกษตรกร 20 คนให้ รมว. กระทรวงเกษตรฯลงนามแต่งตั้ง มีวาระการ ดำรงตำแหน่งคราวละ 2 ปี และกรรมการซึ่งพ้นจากตำแหน่งอาจได้รับแต่งตั้งอีกได้แต่จะ ดำรงตำแหน่งเกิน 2 วาระติดต่อกันไม่ได้

          จากองค์ประกอบของคณะกรรมการกองทุนจะมีกรรมการที่มาจาก 3 ภาคส่วน ได้แก่ 1. จากองค์กรภาครัฐ จำนวน 10 คน 2. การสรรหาจากองค์กรภาครัฐและเอกชน 11คน และ 3. การเลือกตั้งจากภาคประชาชน 20 คน กองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรจึงเป็นองค์กรภาครัฐที่ใช้ระบบการบริหารจัดการภาครัฐแนว

          ใหม่โดยการบูรณาการร่วมด้านการบริหารจากตัวแทน 3 ภาคส่วน ได้แก่ ภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน

          และจากการที่มีตัวแทนภาคประชาชน 20 คน ครึ่งหนึ่งของคณะกรรมการเข้ามาร่วมบริหารกำหนดนโยบายการพัฒนาการเกษตรทำให้นโยบายที่ถูกผลักดันออกมาทั้งด้านการจัดการหนี้สินและการฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพ พี่น้องเกษตรกรได้รับประโยชน์สูงสุด การจัดการหนี้สินของเกษตรกรเจตนารมณ์เพื่อรักษาที่ดินทำกินของพี่น้องเกษตรกรไม่ให้ ถูกขายทอดตลาด กองทุนฟื้นฟูฯช่วยเหลือ โดยการชำระหนี้แทนเกษตรกรให้กับสถาบันเจ้าหนี้

          การฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพการเกษตร เจตนารมณ์เพื่อสร้างความมั่นคงในอาชีพโดยการหนุนเสริมการรวมกลุ่มและการสร้างเครือข่ายการผลิต การรวบรวมผลผลิต การแปรรูปเพิ่มมูลค่าผลผลิตและการตลาด.

จาก http://www.dailynews.co.th  วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

ชง3ทางแก้ส่งออกน้ำตาลทราย 

           รายงานข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สถานการณ์ราคาน้ำตาลในตลาดโลกที่ตกต่ำเวลานี้ กำลังส่งผลกระทบต่อการส่งออกน้ำตาลของไทย โดยราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 13 เซนต์ต่อปอนด์  จากราคาประเมิน 15 เซนต์ต่อปอนด์ ทำให้รายได้จากการส่งออกน้ำตาลของไทยลดลง และเมื่อคำนวณในอุตสาหกรรมทั้งระบบของราคาน้ำตาลขั้นปลายจะต่ำกว่าราคาขั้นต้น 13,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเงินที่กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรา ย (กท.) ต้องจ่ายเพิ่มให้ชาวไร่ผ่านโรงงานน้ำตาลทรายที่สำรองจ่ายไปก่อนเพื่อให้ทันการผลิตฤดูการผลิต 58/59

          ทั้งนี้ได้เสนอแนวทางแก้ปัญหา 3 แนวทาง คือ ให้ กท.กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพิ่มจากที่ครม.อนุมัติให้กู้จาก ธ.ก.ส. เพื่อเพิ่มค่าอ้อย ในอัตรา 160 บาทต่อตันอ้อย วงเงิน 16,000 ล้านบาท เนื่องจากราคาต้นทุนสูงกว่าราคาขั้นต้นที่ชาวไร่อ้อยได้รับ แต่แนวทางนี้จะทำให้เกิดหนี้สะสมและเป็นภาระแก่ กท.ระยะยาวเพราะใช้วิธีคืนหนี้ด้วยการหักเงินราคาน้ำตาล 5 บาทต่อกก. หรือเสนอให้รัฐจัดสรรงบประมาณสนับสนุนแทน

          ส่วนแนวทางสุดท้ายคือให้ กท.หักเงินค่าอ้อยขั้นสุดท้ายในฤดูการผลิตหน้า เช่น กู้เงินจาก ธ.ก.ส. วงเงิน 5,000 ล้านบาท ก็ให้ กท.หักเงินค่าอ้อยขั้นปลายปีละ 1,000 ล้านบาท เพื่อใช้หนี้.

จาก http://www.dailynews.co.th   วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

ผู้ส่งออกไทยสร้างความแข็งแกร่งให้สินค้าด้วยตราสัญลักษณ์ TTM

          กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ผนึกกำลังกับสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม และกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน ลงนาม MOU บูรณาการรับรองคุณภาพด้านสิ่งแวดล้อม "อุตสาหกรรมสีเขียว" (Green Industry) และมาตรฐานแรงงานไทย มรท.8001-2553 (Thailand Labour Standard : TLS 8001-2010) ให้แก่ผู้ประกอบการที่ได้รับตราสัญลักษณ์ THAILAND TRUST MARK (TTM) เพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการส่งออกของไทยให้สามารถแข่งขันในเวทีการค้าโลกได้อย่างเต็มศักยภาพและสร้างความแข็งแกร่งให้แก่สินค้าและบริการไทยได้อย่างยั่งยืน

          นายสุรศักดิ์ เอี่ยมสำอางค์ รองกรรมการ ผู้จัดการ บริษัท รอแยลฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าตราสามแม่ครัว เผยว่า หลังจากที่สินค้าได้รับตราสัญลักษณ์ TTM พบว่าสินค้าได้รับความไว้วางใจจากผู้บริโภคทั้งในและ ต่างประเทศ จนมียอดส่งออกเพิ่มสูงขึ้นเป็นที่น่าพอใจ เนื่องจากในปัจจุบันผู้บริโภคหันมาให้ความสนใจกับคุณภาพมาตรฐานของสินค้าที่ ได้รับการการันตีจากองค์กรหรือหน่วยงานที่มีความน่าเชื่อถือ ตราสัญลักษณ์ TTM จึงตอบโจทย์ให้แก่ธุรกิจของเรา

          ด้าน ดร.ธีรพงศ์ สุขเมือง ผู้อำนวยการฝ่ายบริหาร บริษัท บิ๊กสตาร์ จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้ารองเท้าแกมโบล (Gambol) ยังกล่าวด้วยว่า บริษัทฯ ภูมิใจมากที่ได้รับตราสัญลักษณ์ TTM เพราะทำให้สินค้าของเรามีภาพลักษณ์และได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าทั้งในและต่างประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และบริษัทฯ จะยังคงให้ความร่วมมือกับทางภาครัฐต่อไป

          ผู้ประกอบการที่จะขอรับการรับรองมาตรฐานอุตสาหกรรมสีเขียว สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.industry.go.th หรือ www.greenindustrythailand.com และสำหรับการสมัครเพื่อขอรับรองมาตรฐานแรงงานไทยสามารถติดต่อขอรายละเอียดได้ที่สำนักพัฒนามาตรฐานแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือที่  http://tls.labour.go.th ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ยังขอเชิญชวน ผู้ประกอบกิจการเข้าร่วมรับตราสัญลักษณ์ TTM ตั้งแต่วันนี้ถึง 15 ก.ย. 58 ผ่านเว็บไซต์ www.thailandtrustmark.com หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทร. 1169 หรือ 0-2507-8273

จาก http://www.matichon.co.th วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

ตั้งกลุ่มผู้ใช้น้ำนอกภาคเกษตร 7ฝ่ายร่วมมือบริหารจัดการอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่

นายเกรียงศักดิ์ พุ่มนาค หัวหน้าฝ่ายบริหารจัดการน้ำ สำนักชลประทานที่ 9 เปิดเผยว่า ผู้ใช้น้ำในลุ่มน้ำคลองใหญ่ 7 ราย ประกอบด้วย บริษัทจัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ East Water, บริษัทไทยแทฟฟิตา จำกัด, องค์การบริหารส่วนตำบลแม่น้ำคู้, การประปาส่วนภูมิภาค สาขาระยอง, การประปาส่วนภูมิภาค สาขาบ้านฉาง, บริษัทไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) และ บริษัทสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จำกัด (มหาชน) ได้รวมกันจัดตั้ง “กลุ่มบริหารการใช้น้ำนอกภาคเกษตรกรรม โครงการท่อผันน้ำเชื่อมโยงอ่างเก็บน้ำประแสร์-อ่างเก็บน้ำคลองใหญ่”จ.ระยอง ขึ้นตามที่กรมชลประทานเสนอ เพื่อร่วมกันบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด

ทั้งนี้สืบเนื่องจากกรมชลประทานได้ทำการผันน้ำจากอ่างฯประแสร์ มายังอ่างฯคลองใหญ่ จ.ระยอง เพื่อผันน้ำส่วนเกินความต้องการของภาคการเกษตร ซึ่งปกติแต่ละปี จะมีน้ำไหลเข้าอ่างฯประแสร์ประมาณ 300 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) กันไว้เพื่อภาคการเกษตร 100 ล้านลบ.ม. อุปโภค-บริโภค และรักษาระบบนิเวศอีก 20 ล้าน ลบ.ม. ทำให้ยังมีน้ำเหลืออีกกว่า 150 ล้าน ลบ.ม. ที่จะสามารถผันไปยังกิจกรรมภาคส่วนอื่นๆ ได้ กรมชลประทานจึงได้ดำเนินการผันน้ำมายังอ่างฯคลองใหญ่ แก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ สร้างเสถียรภาพความมั่นคงในเรื่องน้ำในพื้นที่จังหวัดระยองและชลบุรี

“การผันน้ำจากอ่างฯประแสร์ มายังอ่างฯคลองใหญ่ ดังกล่าว จะไม่กระทบต่อเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทานจากอ่างฯประแสร์ เนื่องจากเป็นการผันน้ำส่วนเกินความต้องการ ซึ่งปกติในแต่ละปีภาคการเกษตร อุปโภค-บริโภค และรักษาระบบนิเวศ จะใช้น้ำเพียงประมาณ 70-80 ล้านลูกบาศก์เมตร ในขณะที่อ่างฯประแสร์ สามารถเก็บกักน้ำได้ถึง 248 ล้าน

ลบ.ม. และกำลังจะเพิ่มความจุเป็น 295 ล้าน ลบ.ม. อีกด้วย” นายเกรียงศักดิ์กล่าว

หัวหน้าฝ่ายบริหารจัดการน้ำ สำนักชลประทานที่ 9 กล่าวต่อว่า คณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ (JMC) จังหวัดระยอง รับทราบ

 การผันน้ำดังกล่าว ซึ่งกลุ่มได้จัดส่งผู้แทนร่วมลงนามในข้อตกลงกับกรมชลประทาน เพื่อชำระค่ากระแสไฟฟ้าสูบน้ำ ค่าดำเนินการสูบน้ำ ค่าบำรุงรักษา ค่าเสียหายที่เกิดจากการสูบผันน้ำ รวมทั้งยังจะต้องจ่ายค่าน้ำ ตาม

 พระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พ.ศ. 2485 ลูกบาศก์เมตรละ 50 สตางค์ อีกด้วย

นอกจากนี้ทางกลุ่มผู้ใช้น้ำนอกภาคเกษตรฯ ยังจะต้องจัดกิจกรรมหรืองบประมาณด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมมาดูแลท้องถิ่นในอัตรา 10 สตางค์/ปริมาณน้ำผัน 1 ลบ.ม./ปี ซึ่งหากผันน้ำเต็มจำนวนที่ได้รับการจัดสรรคือ 80 ล้าน ลบ.ม. ก็จะมีเงินมาใช้ในด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมประมาณ 8 ล้านบาทต่อปี นำมาจ่ายค่าน้ำของระบบประปาหมู่บ้านตามแนวท่อผันน้ำ 10 หมู่บ้าน และค่าดูแลสังคมด้านต่างๆ เช่น ขุดลอกคลอง ขุดสระเก็บน้ำ ก่อสร้างระบบประปาหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นการใช้ประโยชน์จากน้ำอย่างคุ้มค่า เพราะนอกจากจะมีน้ำใช้ในภาคการเกษตรกรอย่างพอเพียงแล้ว ยังแบ่งปันน้ำให้กับภาคอุตสาหกรรม เพื่อสร้างความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจให้กับประเทศชาติ และสุดท้ายยังนำเงินส่วนหนึ่งคืนกลับสู่ชุมนุมท้องถิ่นอีกด้วย

จาก http://www.naewna.com   วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

รายงานพิเศษ : พด.แนะเกษตรกรปรับปรุงบำรุงดินด้วยปุ๋ยพืชสด

จากปัญหาการนำพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมไปใช้ประโยชน์ในการทำการเกษตร รวมถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินที่ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ทำการเกษตรอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน โดยขาดการจัดการที่ถูกวิธีและขาดการดูแลรักษาที่เหมาะสม

จนทำให้ดินเกิดความเสื่อมโทรม ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ ส่งผลให้พืชที่ปลูกให้ผลผลิตลดลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำเกษตรสมัยใหม่ที่เน้นใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีทางการเกษตร ทำให้สารเคมีตกค้างในดิน น้ำ พืช สิ่งมีชีวิตและมนุษย์ นับว่าเป็นอันตรายต่อผู้ผลิตผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมเป็นอย่างมาก

ดร.อภิชาต จงสกุล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า จากภารกิจหลักของกรมพัฒนาที่ดินที่ดูแลในเรื่องของการสำรวจดิน วิเคราะห์และวิจัยดิน สิ่งที่เกี่ยวข้องกับดิน การติดตามสถานการณ์การใช้ที่ดิน การวิจัยเพื่อการพัฒนาที่ดิน ทั้งในด้านการอนุรักษ์ดินและน้ำ การปรับปรุงบำรุงดิน และการแก้ไขปัญหาดินที่มีปัญหาในการทำการเกษตร โดยได้มอบนโยบายให้สำนักงานพัฒนาที่ดินเขตทั้ง 12 แห่ง สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด ตลอดจนหมอดินอาสาซึ่งเป็นผู้ช่วยเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินในชุมชนที่มีอยู่ทั่วประเทศ ให้รณรงค์ส่งเสริมการปรับปรุงบำรุงดินให้กับเกษตรกรในพื้นที่ โดยวิธีการปรับปรุงบำรุงดินที่ทำได้ง่ายและมีต้นทุนต่ำ คือ การใช้ปุ๋ยพืชสด ซึ่งเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ได้จากการปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น พืชตระกูลถั่วต่างๆ ปลูกแล้วให้ทำการไถกลบหรือตัด สับ ต้น ใบ ส่วนต่างๆ ลงดินในขณะที่พืชยังเขียวสดอยู่ มีธาตุอาหารและน้ำหนักสูงสุด และควรไถกลบขณะที่ต้นถั่วเริ่มออกดอกไปจนถึงระยะที่ดอกบานเต็มที่ เนื่องจากในระยะนี้ต้นถั่วเจริญงอกงามสูงสุด เมื่อไถกลบจะทำให้ปริมาณอินทรียวัตถุ ธาตุไนโตรเจนสะสม และธาตุอื่นๆ อยู่ในดินสูงด้วย ทิ้งไว้ให้ย่อยสลายผุพัง จึงปลูกพืชหลักตามหลังได้หลังไถกลบประมาณ 7-15 วัน ซึ่งปัจจุบันนี้เกษตรกรอาจเลือกปลูกพืชบางชนิดที่สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ก่อน แล้วจึงไถกลบเศษซากพืชลงไปในดิน ก็พอจะอนุโลมเป็นปุ๋ยพืชสดได้เช่นกัน นอกจากนี้ พืชที่ปลูกเพื่อใช้เป็นปุ๋ยพืชสดยังช่วยคลุมดิน รักษาความชื้นในดิน ลดการชะล้างพังทลายของดินและควบคุมวัชพืช

สำหรับพืชที่จะนำมาปลูกเพื่อไถกลบเป็นพืชปุ๋ยสดควรเป็นพืชตระกูลถั่ว เช่น ปอเทือง ถั่วลาย ถั่วพร้า ถั่วพุ่ม

ถั่วมะแฮะ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วกระด้าง โสน เนื่องจากพืชประเภทนี้เจริญเติบโตได้เร็ว และเป็นพืชตระกูลถั่วซึ่งมีแบคทีเรียกลุ่มไรโซเบียมอาศัยอยู่ในปมรากถั่ว ทำให้สามารถตรึงแก๊สไนโตรเจนที่มีอยู่ในอากาศและนำมาใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้น เมื่อไถกลบพืชเหล่านี้ลงดินและเกิดการเน่าเปื่อยผุพังสลายตัว ไนโตรเจนที่สะสมอยู่ในพืชก็จะถูกปลดปล่อยออกมาสู่ดิน และอยู่ในรูปที่พืชปลูกติดตามมาสามารถดูดซึมไปใช้ประโยชน์ได้

อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน กล่าวอีกว่า การปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อไถกลบบำรุงดิน อาจปลูกทั้งพื้นที่ในแปลงใหญ่แล้วไถกลบก่อนปลูกพืชหลัก หรือปลูกแซมระหว่างร่องของพืชหลัก โดยปลูกหลังจากพืชหลักเจริญเติบโตเต็มที่แล้ว เพื่อป้องกันการแย่งธาตุอาหาร จากนั้นไถกลบลงในร่องระหว่างแถวพืชหลัก หรือปลูกในพื้นที่อื่นแล้วตัดสับมาใส่ในแปลงพืชที่ปลูกไว้ การตัดหรือสับและไถกลบพืชปุ๋ยสดควรทำในขณะที่พืชนั้นกำลังเติบโตเต็มที่ คือต้นพืชอยู่ในระยะออกดอกจนถึงดอกบานเต็มที่ ซึ่งเป็นช่วงที่พืชมีปริมาณไนโตรเจนและน้ำหนักสูงสุด

อย่างไรก็ตาม ในช่วงฤดูแล้งนี้ เกษตรกรควรปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน โดยไถกลบให้เป็นปุ๋ยเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน ตลอดจนเก็บเมล็ดพืชปุ๋ยสดบางส่วนไว้จำหน่ายให้กับกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อสร้างรายได้ และบางส่วนก็เก็บไว้ใช้ในปีต่อไป

จาก http://www.naewna.com   วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 

พาณิชย์พร้อมชงครม.อนุมัติFTA กรอบเจรจาการค้ารอบใหม่ระหว่างไทย-ตุรกี/ปากีสถาน

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะทำงานยุทธศาสตร์การเจรจาการค้าของประเทศ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ และองค์กรภาคเอกชน ที่ได้ประชุมไปเมื่อเร็วๆนี้มีการพิจารณาร่างกรอบการเจรจาการค้าในข้อตกลง FTA ไทย-ตุรกี และ ไทย-ปากีสถาน

โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้ปรับปรุงร่างกรอบการเจรจาฯ พร้อมที่จะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนที่จะเปิดเจรจา FTA ทั้งสองฉบับ โดยจะเริ่มเจรจาในส่วนของสินค้ากันก่อน

สำหรับกรอบการเจรจาฯ นี้จะเป็นแนวทางในการกำหนดขอบเขตการเจรจาจัดทำ FTA ของไทยกับทั้งสองประเทศ ซึ่งครอบคลุมในเรื่องการค้าลด/ยกเลิกภาษีศุลกากร การลดอุปสรรคทางการค้าและประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการค้าสินค้า ซึ่ง

 คณะทำงานฯ ได้พิจารณาร่างกรอบฯ และได้ปรับเพิ่มเล็กน้อย อาทิ เรื่องถิ่นกำเนิดสินค้า เปิดให้สามารถเปลี่ยนแปลงกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าได้อันเนื่องมาจากการปรับแก้ไขพิกัดศุลกากรตามมาตรฐานระหว่างประเทศได้ ในเรื่องมาตรการปกป้อง ให้พิจารณาเริ่มจากการหารือสองฝ่ายก่อนนำมาตรการมาใช้ เป็นต้น

ทั้งนี้ การเปิดเจรจา FTA กับทั้งสองประเทศดังกล่าว ถือว่าเป็นประเทศที่สามารถเป็นประตูการค้า เพื่อกระจายสินค้าของไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพในอนาคต โดยตุรกีเป็นตลาดที่มีศักยภาพและมีกำลังซื้อสูง มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับที่ 19 ของโลก มีประชากรราว 80 ล้านคน และมีนักท่องเที่ยวปีละกว่า 30 ล้านคน ในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา (2553-2557) มูลค่าการค้าที่ไทยส่งออกไปตุรกี เฉลี่ยปีละ 1,109 ล้านเหรียญสหรัฐ นำเข้าจากตุรกีมูลค่าเฉลี่ยปีละ 257 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เม็ดพลาสติก ด้ายและเส้นใยประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์ยาง ยางพารา สินค้าสำคัญที่ไทยนำเข้าจากตุรกี ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เสื้อผ้าสำเร็จรูป เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เคมีภัณฑ์

ขณะที่ปากีสถานเป็นตลาดขนาดใหญ่ ประชากร 194 ล้านคน มากเป็นอันดับ 6 ของโลก และประชากรประมาณ 30 ล้านคนมีกำลังการซื้อสูง มีทรัพยากรที่สามารถเป็นวัตถุดิบต่อการผลิตของไทย และจะเป็น Gate Way สินค้าไทยสู่ อัฟกานิสถาน อิหร่าน เอเชียกลาง เช่น ทาจิกิสถาน คีร์กีซสถาน อุซเบกิซสถาน เติร์กเมนีซสถาน โดยในระยะเวลา 5 ปีที่ผ่านมา(2553-2557) มูลค่าการค้าที่ไทยส่งออกไปปากีสถาน เฉลี่ยปีละ 886 ล้านเหรียญสหรัฐ นำเข้ามูลค่าเฉลี่ยปีละ 108 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วน 4 เดือนแรกของปีนี้ไทยส่งออกมูลค่า 395 ล้านเหรียญสหรัฐ ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 339 ล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญไปปากีสถาน ได้แก่ รถยนต์/อุปกรณ์/และส่วนประกอบ เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก เส้นใยประดิษฐ์ ผลิตภัณฑ์ยาง ฯลฯ สินค้านำเข้าสำคัญ ได้แก่ สัตว์น้ำแช่เย็น/แช่แข็ง/และแปรรูป น้ำมันดิบ ฯลฯ

จาก http://www.naewna.com   วันที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

เผยเริ่มมีน้ำไหลเข้าเขื่อนหลัก จ่อถก10หน่วยทวนแผนภัยแล้ง

นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า ขณะนี้เริ่มมีน้ำไหลเข้าเขื่อนหลักในลุ่มเจ้าพระยาบ้างแล้ว ทั้งกรณีของเขื่อนภูมิพลซึ่งมีน้ำไหลเข้าเขื่อนประมาณ 2.1 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนสิริกิติ์ มีน้ำไหลเข้าเขื่อนประมาณ 39 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนแควน้อยบำรุงแดนมีน้ำไหลเข้าเขื่อน 1.9 ล้านลูกบาศก์เมตร ยกเว้นเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ที่ยังไม่มีน้ำไหลเข้าเขื่อนเลย

อย่างไรก็ตาม แม้น้ำในเขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยาจะมีน้ำไหลเข้ามา แต่ยังถือว่าสถานการณ์อยู่ในช่วงวิกฤต เพราะปริมาณน้ำยังต่ำกว่าเกณฑ์ค่าเฉลี่ยมาก

ด้านศูนย์ประมวลวิเคราะห์สถานการณ์น้ำ กรมชลประทาน รายงานปริมาณน้ำ 4 เขื่อนหลักที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ล่าสุดมีปริมาณน้ำใช้การได้ 757 ล้านลบ.ม.คิดเป็นร้อยละ 4 เท่านั้น โดยมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างรวมกันวันละ 7 ล้านลบ.ม. ในส่วนบริหารจัดการน้ำจะเน้นส่งน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดเพื่ออุปโภคบริโภคและการรักษาระบบนิเวศน์ผลักดันน้ำเค็มเป็นหลัก ซึ่งปริมาณน้ำที่มีอยู่เพียงพอใช้ไปจนถึงเดือนส.ค.ซึ่งจะตรงกับช่วงที่เกิดฝนตกชุกตามฤดูกาล ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ไว้ สำหรับการช่วยเหลือพื้นที่เกษตรกรที่ทำนาปีไปแล้ว 4.3 ล้านไร่ หลังจากที่มีการประกาศชะลอปลูก จำนวน 3.44 ล้านไร่ กรมชลประทาน พยายามดูแลการส่งน้ำจัดรอบเวรให้อย่างทั่วถึงในพื้นที่ปลายคลองส่งน้ำที่เป็นที่ดอน กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ดำเนินการขุดบ่อบาดาลและบ่อตอกน้ำตื้นเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรอย่างเร่งด่วน

ทั้งนี้กรมชลประทานได้วางแผนการใช้น้ำไปจนถึงฤดูแล้งปี58-59 ต่อเนื่องจนฤดูฝนปี59 โดยสำรองไว้เพื่อการอุปโภคบริโภค จำนวน 1,100 ล้านลบ.ม. และรักษาระบบนิเวศน์ จำนวน 1,000 ล้านลบ.ม. คำนวณเป็นปริมาณน้ำที่จะต้องสำรองไว้ใช้ทั้งในฤดูแล้งและฤดูฝนปีหน้า เป็นจำนวนทั้งสิ้น 3,500 ล้านลบ.ม. ซึ่งขอให้ทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัดเพื่อลดผลกระทบจากสภาวะการขาดแคลนน้ำรุนแรงที่อาจเกิดในอนาคต

โดยในสัปดาห์นี้คณะอนุกรรมการวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์ ประกอบด้วย 10 หน่วยงานเกี่ยวข้องเรื่องน้ำ จะประชุมเพื่อประเมินสภาพอากาศ แนวโน้มฝน และปริมาณน้ำไหลลงเขื่อน เพื่อสรุปให้ครม.ตัดสินใจในกรณีทบทวนแผนการจัดสรรน้ำได้ทันสถานการณ์ในช่วงเดือนก.ค.และส.ค.นี้อย่างใกล้ชิด

จาก http://www.naewna.com วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สถานการณ์ส่งออก ผลกระทบจากกรีซถูกตัด GSP และการเข้าร่วมTPP

     Trade Watch kแถลงการณ์ของกระทรวงพาณิชย์ระบุการส่งออกไทยเดือนพฤษภาคม2558 มีมูลค่า 1.84 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯลดลง -5.01% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่งผลทำให้มูลค่าการส่งออกระยะ 5 เดือนแรก (ม.ค.-พ.ค.)  มีมูลค่า 8.86 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯลดลง -4.20% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทยหรือสภาผู้ส่งออกประเมินสถานการณ์ส่งออกของไทยปีนี้น่าจะติดลบที่ -2% เนื่องจากมีปัจจัยลบ และปัจจัยเสี่ยงหลายประการ โดยปัจจัยลบประกอบด้วยสถานการณ์ของกรีซและผลกระทบต่อยูโรโซน,ความผันผวของเศรษฐกิจและการเมืองของโลก,ดัชนีราคาส่งออกสินค้าเกษตร และสินค้าอุตสาหกรรมการเกษตรลดลงต่อเนื่อง,ขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง,ปัญหาด้านโลจิสติกส์ อาทิ ค่า Terminal Handling Charge (THC) และใบแดงของ ICAO เป็นต้น ตลอดจนประเด็น Illegal, Unreported and Unregulated (IUU) Fishing ที่นำมาถึงการจอดเรือประมงและทำให้เกิดปัญหาต่อปริมาณวัตถุดิบในอุตสาหกรรมอาหารทะเล

    ส่วนปัจจัยเสี่ยง ประกอบด้วยสถานการณ์ภัยแล้งซึ่งจะส่งผลกระทบต่อปริมาณผลผลิตทางการเกษตร ทั้งการส่งออกโดยตรง และการนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการเกษตร,สถานการณ์ส่งออกและการค้าชายแดนผ่านแดนที่ติดลบต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี ขณะที่ภาครัฐมีนโยบายและออกกฎหมายในการควบคุมการค้าชายแดนอย่างใกล้ชิดเพื่อป้องกันสินค้าผิดกฎหมาย ซึ่งจะยิ่งกลายเป็นอุปสรรคสำคัญของการค้าชายแดนในอนาคต,ประเทศไทยสูญเสียสิทธิประโยชน์ทางภาษี อาทิ GSPสหภาพยุโรป และอาจรวมถึง GSP ของสหรัฐอเมริกาในอนาคตอันใกล้ ขณะที่ไม่สามารถเร่งรัดการเจรจาการค้าเสรีได้ในช่วงนี้ รวมถึงการย้ายฐานการผลิตของกลุ่มอุตสาหกรรมสำคัญเพื่อไปใช้แรงงาน วัตถุดิบ และสิทธิประโยชน์ในประเทศเพื่อนบ้าน ขณะที่สถานการณ์ตลาดเงินก็ส่งผลให้เงินทุนไหลออก และทำให้ค่าเงินบาทผันผวนในช่วงครึ่งปีหลัง

    แม้ว่าสถานการณ์ส่งออกจะต้องเผชิญกับปัจจัยลบนานัปการ แต่ประเด็นสำคัญที่น่าจับตามองคือผลกระทบจากกรีซต่อระบบเศรษฐกิจโลกและการส่งออกของไทย ซึ่งแม้ว่ากรีซจะไม่ใช่ตลาดหลักของไทย มีมูลค่าการส่งออกจากไทยไปยังกรีซในปี 2014 เพียง 131.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็น 0.06% ของมูลค่าการส่งออกไทยไปยังตลาดโลกทั้งหมด แต่การผิดนัดชำระหนี้จนอาจกลายเป็นการล้มละลายของประเทศ จะสั่นคลอนความมั่นคงทางเศรษฐกิจของยูโรโซน และทำให้ความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทั่วโลกลดน้อยลง จนส่งผลต่อตัวเลขการส่งออกของไทยทั้งหมด แม้จะยังไม่สามารถประเมินได้อย่างแน่ชัดว่าเป็นเท่าไร แต่เชื่อว่าจะทำให้กำลังซื้อของตลาดโลกโดยรวมหดตัวอย่างแน่นอน ซึ่งเมื่อรวมกับความผันผวนของค่าเงินในตลาดโลกที่อาจเกิดขึ้นจะกลายเป็นอุปสรรคชิ้นสำคัญสำหรับการส่งออกไทยในครึ่งปีหลังนี้

    ทั้งนี้การแก้ไขปัญหากรณีของสหภาพยุโรป ดูเหมือนจะฝากความหวังไว้กับการเจรจาการค้าเสรี ไทย-สหภาพยุโรป ซึ่งเสียงคัดค้านจากบางกลุ่มทำให้การเจรจาล่าช้า และยังไม่สามารถดำเนินการได้ต่อเนื่องในขณะนี้ และหากเริ่มดำเนินการเจรจาได้อีกครั้งคงต้องใช้เวลาอีกไม่น้อยกว่า 3 ปี กว่าจะมีผลบังคับใช้ ก็เกรงว่าไทยเราอาจจะเสียตลาดให้กับคู่แข่งไปอย่างถาวรในหลายกลุ่มสินค้า ขณะที่การแก้ไขปัญหาฝั่งสหรัฐอเมริกาคงไม่สามารถย้อนกลับไปเจรจาการค้าเสรีไทย-สหรัฐอเมริกา ได้อย่างในอดีต เพราะสหรัฐอเมริกาให้น้ำหนักและความสำคัญกับการเจรจา TPP หรือ Trans-Pacific Partnership ซึ่งเป็น FTA มาตรฐานสูง และเป็นหนึ่งในความพยายามสร้าง Global FTA เพื่อทำให้สหรัฐอเมริกายังคงบทบาทสำคัญในการค้าโลกยุคต่อไป ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่าทางเลือกหนึ่งเดียวของไทยในการรักษาตลาดสหรัฐอเมริกาและตลาดอื่นๆ ในภูมิภาคอเมริกาคือการเข้าร่วม TPP  เพื่อให้ยังสามารถแข่งขันทางด้านต้นทุนกับคู่แข่งอื่นๆ ที่เข้าร่วมการเจรจา อาทิ เวียดนาม มาเลเซีย เป็นต้น

    อย่างไรก็ตาม มีข้อกังวลเกี่ยวกับการปฏิรูปประเทศให้สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขในการเข้าร่วม TPP ว่าประเทศไทยจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ และจะเสียประโยชน์ในภาพรวมของประเทศหรือไม่ เพราะการเจรจาระหว่างสมาชิก TPP ในปัจจุบันยังไม่ได้ข้อยุติว่ามีเงื่อนไขและรายละเอียดความตกลงเป็นอย่างไร จึงยังคงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด แต่ทั้งนี้ คนไทยทุกคนต้องเข้าใจเป้าหมายในการพัฒนาประเทศไทยว่าท้ายที่สุดแล้ว ประเทศไทยของเราต้องพยายามก้าวข้าม Upper Middle Income Trap ให้ได้ และยกระดับตัวเองให้เป็น "ประเทศที่พัฒนาแล้ว" เพื่อให้เราสามารถอยู่รอดได้และก้าวไปข้างหน้า โดยมีคุณลักษณะสำคัญหลายอย่างที่เราต้องเป็นเพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศให้สูงขึ้น อาทิ การกำหนดนโยบายของประเทศโดยให้ความสำคัญกับการเชื่อมต่อ Global และ Regional Value Chain, ลดระดับภาษีศุลกากรทั้งขาออก-ขาเข้าให้ใกล้เคียง “0%”, เร่งรัดและกำหนดยุทธศาสตร์ในการเจรจาเพื่อแก้ไขปัญหา NTBs, NTMs ในประเทศคู่ค้า,ยกระดับไปสู่การผลิตสินค้ามีมาตรฐานสูง ทั้งด้านคุณภาพ ความปลอดภัย และสอดคล้องกับมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมในตลาดโลกและเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นใหม่สร้างและประยุกต์ใช้ระบบ Market Intelligent ที่มีประสิทธิภาพ ศึกษาตลาดและพัฒนาสินค้าใหม่ที่ตรงต่อความต้องการของตลาดโลกอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

    การปรับตัวเกือบทั้งหมดเป็นสิ่งที่เรา เมื่อมองภาพดังนี้จึงกล่าวได้ว่า "ไม่ว่าเราจะเข้าร่วม TPP หรือไม่ เราก็ยังต้องปฏิรูปประเทศไทยตามแนวทางของ TPP แต่หากเราไม่เข้าร่วมใน TPP เราอาจจะไม่สามารถแข่งขันในตลาดสำคัญ" ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น จะทำให้เศรษฐกิจในภาพรวมของประเทศเสียหายมากเกินกว่าจะคาดคิด

จาก http://www.thanonline.com  วันที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กพร.ลั่น พ.ร.บ.อำนวยความสะดวกฯดีเดย์ 21 ก.ค.แจกคู่มือเลิกจ่ายใต้โต๊ะ 

          นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม เลขาธิการ ก.พ.ร. กล่าวว่า ตามที่ พ.ร.บ. การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ.2558 ได้ประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2558 ซึ่ง พระราชบัญญัติดังกล่าวได้กำหนดให้ผู้อนุญาตตามกฎหมายจัดทำคู่มือสำหรับประชาชนเพื่อเผยแพร่ให้ประชาชนทราบและเข้าใจถึงรายละเอียดเกี่ยวกับช่องทางการให้บริการ หลักเกณฑ์เงื่อนไขในการยื่นคำขอและการพิจารณาอนุญาต ขั้นตอน ระยะเวลา เอกสารที่ต้องใช้ ค่าธรรมเนียม และช่องทางร้องเรียน เพื่อให้ประชาชนสามารถศึกษาข้อมูลก่อนมารับบริการได้

          นายอารีพงศ์ กล่าวอีกว่า ขณะนี้หลายหน่วยงานที่จัดทำคู่มือสำหรับประชาชน ส่งให้สำนักงาน ก.พ.ร. เพื่อเสนอให้คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการพิจารณา และคาดว่าหน่วยงานภาครัฐที่ต้องจัดทำคู่มือ ทุกหน่วยงาน พร้อมที่จะประกาศใช้และเผยแพร่คู่มือได้ทันวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.บ.มีผลบังคับใช้ โดยคู่มือที่จะประกาศใช้และเป็นประโยชน์ต่อภาคเอกชน อาทิ คู่มือการขอรับ ใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง. 4)/ขยายโรงงาน ของสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมและกรมโรงงานอุตสาหกรรม และคู่มือการขอรับการส่งเสริมการลงทุน ของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เป็นต้น และเป็นที่น่ายินดีว่า คู่มือการขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง. 4)/ขยายโรงงาน ได้ลดระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาตให้แล้วเสร็จได้ภายใน 30 วัน ซึ่งจะอำนวยความสะดวกให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจได้รวดเร็วขึ้น

          อีกทั้งสำนักงาน ก.พ.ร. ได้ร่วมมือกับสำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ (องค์การมหาชน) จัดทำเว็บไซต์ศูนย์รวมข้อมูลเพื่อการติดต่อราชการ หรือ www.info.go.th ซึ่งเป็นที่รวบรวมคู่มือสำหรับประชาชนใช้ศึกษารายละเอียดก่อนไปติดต่อราชการ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ภาคเอกชนและประชาชน

จาก http://www.banmuang.co.th  วันที่ 5 กรกฎาคม 2558

‘กอน.’อนุมัติ2พันล้าน ผุดแหล่งน้ำ/ให้ชาวไร่อ้อยกู้ช่วงแล้ง

นายอาทิตย์ วุฒิคะโร อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะประธานกรรมการกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย(กอน.) เปิดเผยว่า กองทุนฯได้อนุมัติเงินเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจำนวน 2,000 ล้านบาท แบ่งเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรรับมือภัยแล้ง 500 ล้านบาท เพื่อนำไปสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็ก การขุดเจาะน้ำบาดาล รวมทั้งการวารระบบน้ำหยด เป็นต้นรวมทั้งปล่อยกู้ไม่เกินรายละ 5 แสนบาท

ในวงเงินกู้ดังกล่าวยังสนับสนุนการซื้อรถตัดอ้อย จำนวน 1,500 ล้านบาท จำกัด เฉลี่ยรายละไม่เกิน 10 ล้านบาท เพื่อลดต้นทุนในการตัดอ้อย และแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน โดยหากเป็นรถตัดอ้อยที่ผลิตภายในประเทศจะมีราคาประมาณคันละ 5 ล้านบาท แต่ถ้าเป็นรถตัดอ้อยจากต่างประเทศจะมีราคาประมาณคันละ 10 ล้านบาท คาดว่าจะช่วยเหลือเกษตรกรได้ไม่ต่ำกว่า 150 ราย

“หากชาวไร่อ้อยสนใจเงินกู้รับมือภัยแล้งเกินเป้าหมาย 500 ล้านบาท ก็จะขยายเพิ่มได้อีกประมาณ 500 ล้านบาท ซึ่งวงเงินกู้นี้จะมีอัตราดอกเบี้ยเพียง 2% ระยะเวลาผ่อนชำระ 6 ปี โดยจะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาปล่อยสินเชื่อ ที่ประกอบด้วยตัวแทนจากกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย ผู้แทนชาวไร่อ้อย ผู้แทนโรงงานน้ำตาลทราย และผู้แทนสำนักงบประมาณ เป็นต้น” นายอาทิตย์ กล่าว

ส่วนกรณีที่ คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้กองทุนฯ กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 1.69 หมื่นล้านบาท คาดว่าจะสามารถจ่ายเงินเข้าบัญชีเงินฝากของชาวไร่อ้อย ที่ส่งเอกสารครบถ้วนแล้ว ภายในวันที่ 21 ก.ค. 2558 เป็นต้นไป

นายพิชัย ตั้งชนะชัยอนันต์ เลขาธิการกอน. กล่าวว่าราคาน้ำตาลในตลาดโลก คาดว่าราคาอ้อยจะยังคงตกต่ำต่อเนื่องไปอีก 1-2 ปี เพราะสต๊อกน้ำตาลในตลาดโลกยังมีปริมาณมาก และตลาดโลมีความต้องการน้ำตาล 168 ล้านตัน/ปี แต่ผลิตได้ 176 ล้านตัน/ปี เกินความต้องการเล็กน้อย

จาก http://www.naewna.com วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

อธิบดีกรมชลฯห่วงฝนตกน้อย เร่งช่วยชาวนาลุ่มเจ้าพระยามีน้ำใช้ช่วงแล้ง

นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่าคณะอนุกรรมการวิเคราะห์และติดตามสถานการณ์น้ำ ที่มี10 หน่วยงานเรื่องน้ำ จะประชุมร่วมกับกรมชลประทานในวันจันทร์ที่ 6 ก.ค. โดยมีอุตุนิยมวิทยา การไฟฟ้าฝ่ายผลิต สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิศาสตร์สนเทศ เป็นต้น เพื่อประเมินสถานการณ์น้ำเขื่อน ปริมาณฝนตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาฯคาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศในช่วงกลางเดือนก.ค.อย่างใกล้ชิด และวางมาตรการรับมือหากสภาพฝนไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์เนื่องจากประเทศไทยได้รับอธิพลเอลนินโญยังน่ากังวลมีผลต่อปริมาณฝนทำให้ต่ำกว่าเฉลี่ย10%ในช่วงฤดูฝนนี้ ในขณะนี้ได้ประเมินร่วมกันว่าช่วงฤดูฝนจะมีฝนตกประมาณ 80 วันจากที่เคยคาดไว้ว่าจะมีฝนตก100 วัน อย่างไรก็ตามคาดการณ์ว่าจะมีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อน4แห่งในเกณฑ์3,290-3,900 ล้านลบ.ม.ซึ่งเพียงพอสำหรับอุปโภคบริโภค 1 พันล้านลบ.ม.รักษาระบบนิเวศน์ 1.4 พันล้านลบ.ม.และสำรองไว้1พันล้านลบ.ม.จนถึงต้นฝนปี59

"อนุกรรมการวิเคราะห์และคิดตามสถานการณ์น้ำ ได้ประชุมและตัดสินใจร่วมกันมาโดยตลอดในการบริหารจัดการน้ำของประเทศ ซึ่งภาวะวิฤกติน้ำน้อยครั้งนี้ที่ผ่นมามีการติดตามประชุมร่วมกันสัปดาห์ละ3ครั้งเพื่อประเมินสถานการณ์น้ำส่งให้รัฐบาลตัดสินใจในภาพรวมต่อไป"นายเลิศวิโรจน์ กล่าว

นายเลิศวิโรจน์ กล่าวอีกว่าได้เตรียมแผนสำรองไว้ด้วยหากเกิดกรณีเลวร้ายที่สุดฝนไม่มาช่วงสัปดาห์ที่สองและสามของเดือน ก.ค. ถึงเดือนส.ค.หรือมีฝนแต่น้ำเข้าเขื่อนน้อย ได้เตรียมผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลองมาช่วยเสริมลุ่มน้ำเจ้าพระยาได้ช่วงแล้งนี้เพราะมีปริมาณฝนไหลเขื่อนวิราลงกรณ์ และเขื่อนศรีนครรินทร์ ดีกว่าเขื่อนในภาคอื่น ซึ่งมีน้ำใช้การได้ถึง 2.6 พันล้านลบ.ม. เนื่องจากมีร่องฝนเข้าทางตะวันตกมากกว่าด้านบนของประเทศ รวมทั้งยังมีปริมาณน้ำในเขื่อนใหญ่4แห่งมีปริมาณน้ำกักเก็บ 4พันกว่าล้านลบ.ม.ที่สามารถสูบออกมาใช้สำหรับอุปโภคบริโภค ในภาวะวิฤกติได้

จาก http://www.naewna.com วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ศูนย์ฝนหลวงอีสานลุยช่วยภัยแล้ง นายกเล็กโคราชวอนใช้น้ำประหยัด

นครราชสีมา เมื่อช่วงสายที่ผ่านมา นายสินชัย พึ่งตำบล นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า วันนี้ เครื่องบินทำฝนหลวงได้วางแผนขึ้นบินปล่อยสารฝนหลวง 2 เที่ยว ในช่วงสาย และช่วงบ่าย โดยใช้สารฝนหลวงน้ำหนักประมาณ 10 ตัน โปรยเหนือท้องฟ้าบริเวณแนวป่าอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งอยู่บริเวณเหนือเขื่อนลำตะคอง เพื่อให้มีปริมาณน้ำฝนไหลเข้าเพิ่มเติมน้ำในเขื่อนที่เหลือน้อย ซึ่งปัจจุบันเขื่อนลำตะคองเหลือน้ำใช้การเพียง 57 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือประมาณ 18% ของความจุเขื่อนเท่านั้น ทั้งนี้ ข้อมูลตั้งแต่เดือนเมษายน 2558 จนถึงเดือนมิถุนายน 2558 ในระยะเวลา 3 เดือน ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดนครราชสีมา ได้ขึ้นบินทำฝนหลวงรวมแล้วมากกว่า 200 เที่ยว ใช้สารฝนหลวงน้ำหนักรวม 270 ตัน ซึ่งผลการขึ้นบินทำฝนหลวงมีฝนตกลงมาร้อยละ 90 ของพื้นที่ที่ขึ้นบินทำฝนหลวง แต่ปริมาณฝนที่ตกลงมายังถือว่าน้อย โดยการขึ้นบินทำฝนหลวงทุกครั้ง จะเน้นทำให้เกิดฝนตกเหนือบริเวณเขื่อนต่างๆ และช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่ประสบภัยแล้งขาดแคลนน้ำเป็นหลัก โดยหากพื้นที่ไหนมีสภาพอากาศเหมาะสมศูนย์ฝนหลวงฯ ก็พร้อมขึ้นบินออกปฏิบัติการทำฝนหลวงทันที นายสินชัยฯ กล่าว

ขณะที่เทศบาลนครนครราชสีมา ซึ่งดูแลน้ำประปาใจพื้นที่ทั้ง 88 ชุมชน และชุมชนท้องถิ่นที่อยู่ติดเขตเทศบาลนครฯโดยรอบ รวมทั้งโครงการบ้านจัดสรรจำนวนมากที่ต้องใช้น้ำจากแหล่งอ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ.สีคิ้ว ทั้งน้ำที่ไหลมาจากลำน้ำลำตะคอง และท่อส่งน้ำโดยตรง โดยน้ำที่ใช้ในเขตเทศบาลนครฯซึ่งเป็นชุมชนใหญ่มีประชากรหนาแน่นกว่าล้านมีความต้องการใช้น้ำประมาณ 100,000 – 120,000 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน ทั้งที่น้ำในอ่างเก็บน้ำลำตะคอง อ.สีคิ้ว จากความจุ 314.49 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำใช้การปัจจุบันเหลืออยู่ 56 ล้าน ลบ.ม. หรือที่เหลืออยู่เพียง 17-18%  และยังต้องแบ่งน้ำส่วนหนึ่งให้ประปา อ.สีคิ้ว , อ.สูงเนิน , อ.ขามทะเลสอ และประปาท้องถิ่นต่างๆ ทำให้นายสุรวุฒิ เชิดชัย นายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา ต้องหันดึงน้ำจากอ่างเก็บน้ำลำแชะ อ.ครบุรีฯ มาผลิตประปาแทน ซึ่งล่าสุดปัญหาในเขตเทศบาลนครนครราชสีมาถือว่าผ่านพ้นวิกฤติไปได้ระดับหนึ่ง

นายสุรวุฒิ เชิดชัย กล่าวว่า ขณะนี้เราสามารถบริหารการจัดการน้ำทั้ง 88 ชุมชนได้เรียบร้อยแล้ว และต้องขอขอบคุณทุกคนที่ให้ความร่วมมือในการประหยัดน้ำ และจากที่มีปัญหาตอนนี้ไม่มีปัญหาแล้วและถือว่ารอด เราสามารถมีน้ำใช้ได้อย่างทั่วถึง ส่วนน้ำจากอ่างเก็บน้ำลำตะคองเราก็ยังสามารถดึงมาใช้ได้ แต่ปริมาณไม่มากนัก และอาจจะไม่ต้องดึงมาใช้ในช่วงนี้ เพราะเราได้จากลำแชะเรียบร้อยแล้ว ตอนนี้เราใช้น้ำจากสองแหล่งในการบริหารจัดการ โดยเราต้องเผื่อแผ่น้ำลำตะคองสามารถให้เทศบาลอื่นๆและประปาส่วนภูมิภาคสามารถมีน้ำใช้ด้วย เนื่องจากขณะนี้ปริมาณจากอ่างเก็บน้ำลำแชะมีปริมาณน้ำมากกว่าอ่างลำตะคอง แต่ถึงอย่างไร ตนอยากฝากไปยังพี่น้องประชาชนด้วยว่า ขอให้เราช่วยกันประหยัดน้ำ อย่าใช้น้ำฟุ่มเฟือย สุรุ่ยร่าย อย่าปล่อยน้ำทิ้ง พยายามช่วยกันเป็นหูเป็นตาช่วยกันตรวจสอบที่ไหนน้ำไหลทิ้งโดยเปล่าประโยชน์ก็ให้แจ้งเจ้าหน้าที่หรือแจ้งเจ้าของบ้าน หรือช่วยกันปิดน้ำให้ นายสุรวุฒิ กล่าว

จาก http://www.naewna.com วันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กอน.คาดอ้อยเข้าหีบกว่า111ล.ตัน เผยราคาน้ำตาลยังต่ำต่อเนื่องอีก1-2ปี

นายอาทิตย์ วุฒิคะโร อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะประธานกรรมการกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า กองทุนฯ ได้อนุมัติเงินเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจำนวน 2 พันล้านบาท แบ่งเป็นการช่วยเหลือเกษตรกรรับมือภัยแล้ง 500 ล้านบาท เพื่อนำไปสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็ก การขุดเจาะน้ำบาดาล รวมทั้งการวางระบบน้ำหยด เป็นต้น โดยจะปล่อยกู้ไม่เกินรายละ 5 แสนบาท แต่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้รายละประมาณ 2-3 แสนล้านบาท คาดว่าจะสามารถช่วยเกษตรกรได้มากกว่า 1 พันราย

นอกจากนี้ ยังได้อนุมัติวงเงินกู้ เพื่อนำไปซื้อรถตัดอ้อย จำนวน 1.5 พันล้านบาท จำกัดรายละไม่เกิน 10 ล้านบาท เพื่อลดต้นทุนในการตัดอ้อย และแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน โดยหากเป็นรถตัดอ้อยที่ผลิตภายในประเทศจะมีราคาประมาณคันละ 5 ล้านบาท แต่ถ้าเป็นรถตัดอ้อยจากต่างประเทศจะมีราคาประมาณคันละ 10 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะช่วยเหลือเกษตรกรได้ไม่ต่ำกว่า 150 ราย

"หากชาวไร่อ้อยสนใจเงินกู้รับมือภัยแล้งเกิดเป้าหมาย 500 ล้านบาท ก็จะขยายเพิ่มได้อีกประมาณ 500 ล้านบาท ซึ่งวงเงินกู้นี้จะมีอัตราดอกเบี้ยเพียง 2% ระยะเวลาผ่อนชำระ 6 ปี โดยจะมีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาพิจารณาปล่อยสินเชื่อ ที่ประกอบด้วยตัวแทนจากกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย ผู้แทนชาวไร่อ้อย ผู้แทนโรงงานน้ำตาลทราย และผู้แทนสำนักงบประมาณ เป็นต้น" นายอาทิตย์ กล่าว

ส่วนภาระหนี้สินของกองทุนฯ แบ่งเป็นหนี้เก่าตั้งแต่ปี 2549-2550 กองทุนฯมีภาระจ่ายคืนธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ปีละ 450 ล้านบาท และจะหมดในปี 2563 ส่วนหนี้สินในปี 2557 จำนวน 4.7 พันล้านบาท และหนี้ในปีนี้ล่าสุด 1.6 หมื่นล้านบาท จะชำระคืนทั้งหมดภายใน 18 เดือน หรือเดือนละประมาณ 1 พันล้านบาท โดยกองทุนฯ มีเงินไหลเข้าที่หักมาจากราคาขายน้ำตาลกิโลกรัมละ 5 บาท จะมีเงินเข้ากองทุนฯประมาณ 1 พันล้านบาท/เดือน ซึ่งแม้ว่าจะนำเงินจากกองทุนฯไปช่วยเหลือเกษตรกร 2 พันล้านบาท แต่จะรักษาระดับเงินทุนหมุนเวียนให้ได้ 4-5 พันล้านบาท

ขณะเดียวกันวันนี้คณะกรรมการบริหารกองทุนอ้อยและน้ำตาลยังได้เตรียมเบิกจ่ายเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อย ตันละ 160 บาท ตามมติครม.เมื่อวันที่2มิถุนายน2558 จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธกส. ในวงเงิน 16,953 ล้านบาท โดยมีชาวไร่อ้อยที่จะได้รับความช่วยเหลือประมาณ 150,000 ราย โดยจะมีการลงนามในสัญญาเงินกู้ในวันที่ 16 กรกฎาคมนี้ และคาดว่าจะสามารถจ่ายเงินให้ชาวไร่อ้อยได้ประมาณวันที่ 21 กรกฎาคมนี้

นายพิชัย ตั้งชนะชัยอนันต์ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) กล่าวว่า แม้ในปีนี้จะเกิดภัยแล้งอย่างรุนแรง แต่จากการประเมินปริมาณอ้อยขั้นต้นคาดว่าจะมีอ้อยเข้าหีบประมาณ 111 ล้านตันอ้อย สูงกว่าปีที่ผ่านมาที่มีจำนวน 105 ล้านตันอ้อย เนื่องจากมาตรการส่งเสริมของรัฐบาลในการเปลี่ยนพื้นที่ไม่เหมาะสมต่อการปลูกข้าวมาปลูกอ้อย รวมทั้งการที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้อนุมัติให้ตั้งโรงงานน้ำตาลเพิ่มอีกหลายราย ทำให้โรงงานน้ำตาลลงไปสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกอ้อยเพิ่มขึ้น ทำให้มีพื้นที่ปลูกอ้อยสูงกว่าในขณะนี้ที่มีอยู่ 10.53 ล้านไร่  นอกจากนี้ แม้ภัยแล้งจะกระทบต่อการเพาะปลูก แต่ก็มีปริมาณไม่มาก เพราะเป็นพืชที่ต้องการน้ำน้อย

ในส่วนของราคาน้ำตาลในตลาดโลกนั้นขณะนี้มีราคาประมาณ 11-12 เซ็นต์/ปอนด์ ต่ำกว่าปีที่ผ่านมาที่มีราคา 15 เซ็นต์/ปอนด์ และคาดว่าราคาอ้อยจะยังคงต่ำต่ำต่อเนื่องไปอีก 1-2 ปี เพราะสต็อกน้ำตาลในตลาดโลกยังมีปริมาณมาก และตลาดโลมีความต้องการน้ำตาล 168 ล้านตัน/ปี แต่ผลิตได้ 176 ล้านตัน/ปี เกินความต้องการเล็กน้อย  แต่ทั้งนี้ในอีก 2 ปี ข้างหน้าความต้องการน้ำตาลจะเพิ่มขึ้นจนสูงกว่ากำลังการผลิตอ้อยทั้งโลก เนื่องจากประเทศจีนจะนำอ้อยและน้ำตาลไปผลิตเป็นเอทานอลเพิ่มขึ้น

ลุ้นประกาศจ่ายเงินเพิ่มอ้อยตันละ 160 บาท | เดลินิวส์

ลุ้นประกาศจ่ายเงินเพิ่มอ้อยตันละ 160 บาทชาวไร่อ้อยเตรียมเฮประกาศจ่ายเงินเพิ่มอ้อยตันละ 160 บาท 21 ก.ค. นี้ พร้อมอนุมัติ 2,000 ล้านบาท ช่วยชาวไร่สู้ภัยแล้งวันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม 2558 เวลา 15:20 น. หมวด: เศรษฐกิจ คำสำคัญ: ชาวไร่อ้อย ประกาศ จ่ายเงิน นายอาทิตย์วุฒิคะโร อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในฐานะประธานกรรมการกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย(กท.)เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจ่ายเงินเพิ่มค่าอ้อย 160 บาทต่อตันอ้อย ตามมติที่ประชุมครม. ให้กท.กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) วงเงิน16,000 ล้านบาท เพื่อจ่ายเงินดังกล่าวแก่ชาวไร่อ้อย 150,000 ราย ว่าขณะนี้ชัดเจนแล้วว่า จะเริ่มอนุมัติเงินได้ตั้งแต่วันที่ 21 ก.ค.นี้ เนื่องจาก ธ.ก.ส.จะประชุมคณะกรรมการเห็นชอบระหว่างวันที่ 13-14 ก.ค.นี้ คาดว่า ใช้เวลาประมาณ 1เดือนในการจ่ายเงินให้กับชาวไร่ 80% ส่วนที่เหลืออีก 20%ต้องรอให้ชาวไร่อ้อยนอกระบบเข้าลงทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายเพราะปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกอ้อยเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 10 ล้านไร่จากนโยบายเปลี่ยนนาข้าวเป็นไร่อ้อย "การจ่ายเงินดังกล่าวมีความจำเป็นต่อชาวไร่อ้อยประมาณ150,000 รายทั่วประเทศ ซึ่งที่ผ่านมาได้สอบถามกรอบเวลาในการจ่ายเงินเข้ามาแล้วเข้าใจว่าอาจเพราะต้องการนำเงินดังกล่าวไปใช้ในการเพาะปลูกอ้อยฤดูการผลิตใหม่ คือ58/59 ที่ล่าสุดกำลังกำลังประสบภัยแล้งบ้างแล้วแต่ไม่รุนแรงมากเพราะอ้อยต้องการน้ำน้อยกว่าข้าว" นอกจากนี้ได้อนุมัติเงิน2,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจากสถานการณ์ภัยแล้ง เช่นการช่วยเหลือเกษตรกรรับมือภัยแล้ง 500 ล้านบาท เพื่อนำไปสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กการขุดเจาะน้ำบาดาล รวมทั้งการวารระบบน้ำหยด โดยจะปล่อยกู้ไม่เกินรายละ 500,000บาท โดยส่วนใหญ่จะใช้รายละประมาณ 200,000 -300,000 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถช่วยเกษตรกรได้มากกว่า 1,000 ราย ซึ่งหากสถานการณ์ภัยแล้งรุนแรง กรรมการฯพร้อมเพิ่มวงเงินช่วยเหลือเกษตรกรได้อีก นอกจากนี้ยังได้อนุมัติวงเงินกู้เพื่อนำไปซื้อรถตัดอ้อย จำนวน 1,500 ล้านบาทจำกัดรายละไม่เกิน 10 ล้านบาท เพื่อลดต้นทุนในการตัดอ้อย และแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานโดยหากเป็นรถตัดอ้อยที่ผลิตภายในประเทศจะมีราคาประมาณคันละ 5 ล้านบาทแต่ถ้าเป็นรถตัดอ้อยจากต่างประเทศจะมีราคาประมาณคันละ 10 ล้านบาทซึ่งคาดว่าจะช่วยเหลือเกษตรกรได้ไม่ต่ำกว่า 150 ราย“

จาก http://www.naewna.com วันที่ 3 กรกฎาคม 2558

กอน.กู้เงิน 1.69 หมื่นลบ.ช่วยชาวไร่อ้อยคาดพร้อมจ่าย 21 ก.ค.

คณะกรรมการกองทุนอ้อยและน้ำตาล เผยที่ประชุม คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติให้กองทุนฯ กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 1.69 หมื่นล้านบาท (ตามปริมาณอ้อยจริง) เมื่อฤดูการผลิตปี 2557/2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 1.05 แสนล้านตัน โดยให้ชาวไร่อ้อยทุกรายมาลงนามเอกสารและตรวจสอบข้อมูลปริมาณอ้อยกับจำนวนเงินให้ถูกต้อง ก่อนเสนอขอรับเงินจากกองทุนฯ ซึ่งจะมีเกษตรกรชาวไร่อ้อยได้รับการช่วยเหลือประมาณ 150,000 คน ตามที่ได้จดทะเบียนไว้ คาดว่าจะสามารถจ่ายเงินเข้าบัญชีเงินฝากของชาวไร่อ้อย ที่ส่งเอกสารครบถ้วนแล้ว ภายในวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นไป สำหรับการชำระหนี้เงินกู้นั้น มีกำหนดชำระเป็นเวลา 18 เดือน นับจากเดือนพฤศจิกายน 2558 และจะแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2560 โดยใช้รายได้จากการขายน้ำตาลทรายภายในประเทศ กิโลกรัมละ 5 บาท มาทยอยชำระหนี้ประมาณเดือนละ 1,000 ล้านบาท พร้อมทั้งจัดตั้งคณะทำงานตรวจสอบกำกับดูแลการจ่ายเงิน สร้างความเชื่อมั่นว่าเงินทุกบาทจะถูกจ่ายด้วยความโปร่งใส กำหนดประชุมนัดแรกในวันที่ 13-14 กรกฎาคม นี้

             นายอาทิตย์ วุฒิคะโร อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ในฐานะประธานกรรมการกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลได้เห็นชอบให้ช่วยเหลือชาวไร่อ้อย ที่ส่งอ้อยในฤดูการผลิตปี 2557/2558 อัตราตันละ 160 บาท และอนุมัติให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำนวน 1.69 หมื่นล้านบาท (ตามปริมาณอ้อยจริง) เมื่อฤดูการผลิตปี 2557/2558 มีจำนวนทั้งสิ้น 1.05 แสนล้านตันนั้น ขณะนี้กองทุนฯ ได้ส่งคำขอกู้ไปยัง ธ.ก.ส. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว คาดว่าจะสามารถจ่ายเงินเข้าบัญชีเงินฝากของชาวไร่อ้อย ที่ส่งเอกสารครบถ้วนแล้ว ภายในวันที่ 21 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นไป และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการจ่ายเงินให้กับเกษตรกรโดยเร็ว จึงมอบหมายให้โรงงานน้ำตาลและเจ้าหน้าที่สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายแต่ละแห่ง จัดทำเอกสารเพื่อขอรับเงินจากกองทุนฯ โดยให้ชาวไร่อ้อยมาลงนามเอกสารและตรวจสอบข้อมูลปริมาณอ้อยกับจำนวนเงิน ให้ถูกต้องก่อนเสนอขอรับเงิน ซึ่งจะมีเกษตรกรชาวไร่อ้อยได้รับการช่วยเหลือประมาณ 150,000 คน ตามที่ได้จดทะเบียนไว้

ทั้งนี้ สำหรับวงเงินที่ใช้ในการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยครั้งนี้นั้น ทางกองทุนฯ ได้รับการประสานงานจาก ธ.ก.ส. เสนออัตราดอกเบี้ยผ่อนปรน การยกเว้นค่าธรรมเนียมการวิเคราะห์เงินกู้ การยกเว้นค่าบริการโอนเงินเข้าบัญชีเงินฝากของเกษตรกร โดยการชำระหนี้เงินกู้ดังกล่าว มีกำหนดชำระเป็นเวลา 18 เดือน นับจากเดือนพฤศจิกายน 2558 และจะแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2560 โดยใช้รายได้จากการขายน้ำตาลทรายภายในประเทศ กิโลกรัมละ 5 บาท มาทยอยจ่ายชำระหนี้ ประมาณเดือนละ 1,000 ล้านบาท

นายอาทิตย์ กล่าวเสริมว่า อย่างไรก็ดี เพื่อให้การดำเนินการจ่ายเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยโดยเร็ว ขณะนี้กองทุนฯ ได้มีการจัดตั้งคณะทำงานตรวจสอบกำกับการจ่ายเงินช่วยเหลือเพิ่มค่าอ้อยในฤดูการผลิตปี 2557/2558 มาตรวจสอบอีกขั้นหนึ่ง ซึ่งสามารถให้ความเชื่อมั่นได้ว่าเงินทุกบาทจะถูกจ่ายด้วยความโปร่งใส โดยจะมีการประชุมคณะกรรมการในวันที่ 13-14 กรกฎาคมนี้ หลังจากนั้นวันที่ 16 กรกฎาคม จะมีพิธีลงนามในสัญญากู้เงินและสัมมนาในหัวข้อ “การแก้ไขปัญหาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายในอนาคต” เพื่อหาทางช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยอย่างยั่งยืน

จาก http://www.thanonline.com  วันที่ 3 กรกฎาคม 2558

ลุ้นประกาศจ่ายเงินเพิ่มอ้อยตันละ 160 บาท

นายอาทิตย์วุฒิคะโร อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมในฐานะประธานกรรมการกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย(กท.)เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจ่ายเงินเพิ่มค่าอ้อย 160 บาทต่อตันอ้อย ตามมติที่ประชุมครม. ให้กท.กู้เงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) วงเงิน16,000 ล้านบาท เพื่อจ่ายเงินดังกล่าวแก่ชาวไร่อ้อย 150,000 ราย ว่าขณะนี้ชัดเจนแล้วว่า จะเริ่มอนุมัติเงินได้ตั้งแต่วันที่ 21 ก.ค.นี้

เนื่องจาก ธ.ก.ส.จะประชุมคณะกรรมการเห็นชอบระหว่างวันที่ 13-14 ก.ค.นี้ คาดว่า ใช้เวลาประมาณ 1เดือนในการจ่ายเงินให้กับชาวไร่ 80% ส่วนที่เหลืออีก 20%ต้องรอให้ชาวไร่อ้อยนอกระบบเข้าลงทะเบียนให้ถูกต้องตามกฎหมายเพราะปัจจุบันมีพื้นที่ปลูกอ้อยเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 10 ล้านไร่จากนโยบายเปลี่ยนนาข้าวเป็นไร่อ้อย "การจ่ายเงินดังกล่าวมีความจำเป็นต่อชาวไร่อ้อยประมาณ150,000 รายทั่วประเทศ

ซึ่งที่ผ่านมาได้สอบถามกรอบเวลาในการจ่ายเงินเข้ามาแล้วเข้าใจว่าอาจเพราะต้องการนำเงินดังกล่าวไปใช้ในการเพาะปลูกอ้อยฤดูการผลิตใหม่ คือ58/59 ที่ล่าสุดกำลังกำลังประสบภัยแล้งบ้างแล้วแต่ไม่รุนแรงมากเพราะอ้อยต้องการน้ำน้อยกว่าข้าว" นอกจากนี้ได้อนุมัติเงิน2,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจากสถานการณ์ภัยแล้ง เช่นการช่วยเหลือเกษตรกรรับมือภัยแล้ง 500 ล้านบาท เพื่อนำไปสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กการขุดเจาะน้ำบาดาล รวมทั้งการวารระบบน้ำหยด โดยจะปล่อยกู้ไม่เกินรายละ 500,000บาท โดยส่วนใหญ่จะใช้รายละประมาณ 200,000 -300,000 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถช่วยเกษตรกรได้มากกว่า 1,000 ราย

 ซึ่งหากสถานการณ์ภัยแล้งรุนแรง กรรมการฯพร้อมเพิ่มวงเงินช่วยเหลือเกษตรกรได้อีก นอกจากนี้ยังได้อนุมัติวงเงินกู้เพื่อนำไปซื้อรถตัดอ้อย จำนวน 1,500 ล้านบาทจำกัดรายละไม่เกิน 10 ล้านบาท เพื่อลดต้นทุนในการตัดอ้อย และแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานโดยหากเป็นรถตัดอ้อยที่ผลิตภายในประเทศจะมีราคาประมาณคันละ 5 ล้านบาทแต่ถ้าเป็นรถตัดอ้อยจากต่างประเทศจะมีราคาประมาณคันละ 10 ล้านบาทซึ่งคาดว่าจะช่วยเหลือเกษตรกรได้ไม่ต่ำกว่า 150 ราย“

จาก http://www.dailynews.co.th  วันที่ 3 กรกฎาคม 2558

น้ำคือชีวิตสร้างได้ด้วยมือเรา

 นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการค่ายเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ รุ่นที่ 5 ครั้งที่ 1 และปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “คลองหลวงในเมืองหลวง” ณ ห้องประชุม 101 อาคารสำนักงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร เมื่อวันก่อน

ทั้งนี้การจัดโครงการค่ายเยาวชนรู้งานสืบสานพระราชดำริ ในครั้งนี้อยู่ภายใต้หัวข้อ “น้ำคือชีวิตสร้างได้ด้วยมือเรา” เปิดโอกาสให้เยาวชนได้รับทราบพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้ทุ่มเทพระวรกาย และพระราชทานแนวทางในการแก้ไขปัญหาน้ำให้ประชาชนมาอย่างต่อเนื่องดังจะเห็นได้จากโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ ที่ปัจจุบันมีจำนวนมากถึง 3,102 โครงการทั่วประเทศโดยเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการฯ จะได้เรียนรู้ในภาคทฤษฎีจากการบรรยายพิเศษเกี่ยวเนื่องกับการทรงงาน พระราชดำริด้านการพัฒนา และการบรรยายพิเศษโดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ อาทิ “สำนักงาน กปร.กับการสนองพระราช ดำริ” โดยหม่อมหลวงจิรพันธุ์ ทวีวงศ์ เลขาธิการ กปร. “ระเบิดจากข้างใน หัวใจบริหารจัดการน้ำ” โดยนายชัชชัย ภูวิชยสัมฤทธิ์ ที่ปรึกษาด้านการประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำนักงาน กปร. “ระบบการบริหารจัดการและควบคุมน้ำทางไกล” โดย ดร. สุรเจตส์ บุญญาอรุณเนตร หัวหน้ากลุ่มงานแบบจำลอง

สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร“เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์กับการบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ” โดยนายชูพงศ์ อิศรัตน์ หัวหน้าฝ่ายจัดสรรน้ำและปรับปรุงระบบชลประทาน “ความรู้เรื่องน้ำบาดาล การใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์” โดย ดร.ทัศนีย์ เนตรทัศน์ ผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานด้านน้ำบาดาลเพื่อสนับสนุนโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ “การทำการเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ” โดยนางสาวศรีนิตย์ บุญทอง ที่ปรึกษาสำนักงาน กปร. และนายอำนาจ ขำมาลัย เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร “อ่างเก็บน้ำห้วยหินขาวกับการบริหารจัดการน้ำตามแนวพระราชดำริ” โดยนายมาโนช วัฒนะโชติ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานสระบุรี

และประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำอ่างเก็บน้ำห้วยหินขาวฝั่งซ้าย“การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาทรัพยากรน้ำอย่างบูรณาการ” โดยนายสุรชัย จิวะสุรัตน์ ผู้อำนวยการสำนักงานก่อสร้างชลประทานขนาดใหญ่ที่ 7 กรมชล ประทาน “ป่าหาย น้ำแห้ง ดินเลว พัฒนาได้” โดยนายอนุวัชร โพธินาม ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ “หญ้าแฝกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ” โดยวิทยากรจากทีมส่วนพัฒนาสิ่งแวดล้อมฝ่ายกิจการเพื่อสังคม บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นต้น

นอกจากนี้ เยาวชนยังได้ศึกษาดูงานจากแนวพระราชดำริด้านน้ำที่สำคัญ อาทิ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี เขื่อนดินกักเก็บน้ำที่ยาวที่สุดในประเทศไทย เรียนรู้ทฤษฎีอ่างใหญ่เติมอ่างเล็ก อ่างเล็กเติมสระน้ำ เพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยและการขาดแคลนน้ำพื้นที่ภาคกลาง

โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณวัดมงคลชัยพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสระบุรี จุดกำเนิดของเกษตรทฤษฎีใหม่ของประเทศไทยและรู้จักเกษตรกรกลุ่มแรกที่ได้น้อมนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ เรียนรู้แนวพระราชดำริที่พลิกฟื้นวิถีเกษตรไทย

ยังโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยหินขาวอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เรียนรู้การสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันสามารถทำได้ยาก ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มีพระราชดำริ ว่าควรให้เยาวชนได้มาเรียนรู้การสร้างเขื่อนด้วย นั่นคือ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยโสมงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดปราจีนบุรีและที่สำคัญ ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาแห่งแรกของประเทศไทยเป็นพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติที่มีชีวิต

ตามแนวพระราชดำริ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ได้พระราชทานพระราชดำริ ให้ทำการศึกษา ทดลอง วิจัย จนเกิดเป็นองค์ความรู้ที่สมบูรณ์ สามารถนำไปต่อยอดและขยายผลได้อย่างชัดเจนและเหมาะสมยิ่งขึ้น ซึ่งเยาวชนเหล่านี้ก็จะได้เข้าศึกษาเรียนรู้อย่างเต็มที่กับโครงการค่ายเยาวชน น้ำคือชีวิตสร้างได้ด้วยมือเรา ในครั้งนี้.

จาก http://www.dailynews.co.th  วันที่ 3 กรกฎาคม 2558

ฝนหลวงบินช่วยเกษตรกร ก่อนอ้อยยืนต้นตาย

ฝนหลวงบินช่วยเกษตรกร ก่อนอ้อยยืนต้นตาย ชลประทานสระแก้วเผยปริมาณน้ำในอ่างเก็บยังไม่เพิ่ม

ตามที่ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกที่มาตั้งฐานปฏิบัติการที่ฝูงบินวัฒนา 206 อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว ได้ปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อช่วยเหลือพื้นที่ทำการเกษตร สวนผลไม้ ที่ประสบภาวะฝนทิ้งช่วงพื้นที่มีปริมาณน้ำใช้ไม่เพียงพอต่อการทำการเกษตรกรรมและเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ ในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว ปราจีนบุรี นครนายก พื้นที่อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี ซึ่งออกการปฏิบัติฝนหลวงวันละ 2 เที่ยวต่อวัน มีกำหนดระยะเวลาตั้งแต่เดือนมิถุนายน – ตุลาคม

นายทินกร สุทิน ผู้อำนวยการโครงการชลประทานสระแก้ว กล่าวว่า สำหรับพื้นที่จังหวัดสระแก้วทั้ง 9 อำเภอต้องการน้ำฝนให้พืชการเกษตร เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าว และพืชอื่น ส่วนพื้นที่ปลูกอ้อย จำนวน 5 อำเภอ จำนวน 24 ล้านไร่ ต้องการให้มีฝนตกลงสู่ไร่อ้อย ไม่เช่นนั้นต้นอ้อยที่กำลังงอกจะต้องยืนต้นตายอย่างแน่นอน

ส่วนอ่างเก็บน้ำในความรับผิดชอบของชลประทาน ในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว จำนวน 15 อ่าง ปริมาณน้ำภาพรวมบรรจุน้ำได้ จำนวน 200.936,000 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันเหลือปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ จำนวน 58.734,770 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 29.25 ประชาชนส่วนใหญ่อาศัยน้ำทำเกษตรกรรรม ได้แก่ ปลูกข้าว ปลูกมันสำปะหลัง ปัจจุบันยังเหลือปริมาณน้ำในอ่างเก็บกักน้ำพอเพียงที่จะแจกจ่ายให้เกษตรกรได้ใช้สอยในช่วงนี้ได้ไม่มากนัก สำหรับการทำฝนหลวงมาถึงวันนี้พบว่ามีปริมาณน้ำในอ่างยังไม่เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามมีเกษตรกรที่อาศัยอยู่นอกพื้นที่เขตชลประทาน ที่ประสบปัญหาแห้งแล้ง ได้แก่ พื้นที่อำเภอตาพระยา และอำเภอโคกสูง มีความลำบากที่ต้องนำสัตว์เลี้ยงไปเลี้ยงตามแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งอยู่ห่างไกลจากหมู่บ้านที่อาศัยมากนั้น ในขณะนี้มีรายงานว่าจากที่มีฝนตกในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาทำให้ในพื้นที่แหล่งน้ำธรรมชาติเริ่มมีน้ำกักเก็บบ้างแล้ว

 นายภัครธรณ์ เทียนไชย ผู้ว่าราชการจังหวัดสระแก้ว กล่าวว่า สำหรับภัยแล้งจังหวัดสระแก้วยังไม่เข้าข่ายวิกฤต ส่วนน้ำอุปโภค บริโภค ก็ได้สั่งให้ทางเทศบาล อบต. ช่วยนำรถไปแจกจ่ายตามปกติ ส่วนที่อ่างเก็บน้ำพระปรง ตำบลช่องกุ่ม อำเภอวัฒนานคร มีปริมาณน้ำ 24,700,000 ลบ.ม. หรือประมาณร้อยละ 25 ของความจุ แต่ต้องส่งน้ำไปที่จุดกักน้ำบ้านวังรี เพื่อส่งให้กับประปา 2 แห่งที่อำเภอวัฒนานครและอำเภออรัญประเทศ วันละ 86,400 ลบ.ม. ในอนาคตอ่างเก็บน้ำพระปรงมีโครงการที่จะเสริมคันสูงให้สูงขึ้นอีกประมาณ 1.50 เมตร จะทำให้สามารถเก็บน้ำได้มากขึ้น

จาก http://www.bangkokbiznews.com วันที่ 3 กรกฎาคม 2558

ธปท.-หอการค้าผิดหวังศก.ฟื้นช้ากว่าคาด-บาทอ่อน-ดบ.ต่ำไม่ช่วยส่งออก

ภัยแล้งฉุดกำลังซื้อฝืดหนัก

กำลังซื้อในประเทศยังโงหัวไม่ขึ้น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคมิ.ย.ร่วงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ต่ำสุดรอบ 1 ปี ภัยเล้งเข้าซ้ำเติม รายได้ชาวนา 1.5 หมื่นล้าน หายจากระบบ ประชาชนเลิกคิดเรื่องซื้อ รถยนต์-บ้านใหม่ ชะลอท่องเที่ยว นักธุรกิจไม่กล้าลงทุนเพิ่ม แบงก์ชาติเผยกังวลเศรษฐกิจจีน-เอเชีย มีปัญหา ชี้ดอกเบี้ยที่ 1.5% ต่ำมากแล้ว การบริโภคติดกับดักหนี้ครัวเรือน แบงก์เข้มปล่อยกู้

นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน มิ.ย. 2558 ว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภค เดือนมิ.ย. อยู่ที่ 74.4 ซึ่งเป็นการปรับตัวลดลงต่อเนื่องกันเป็นเดือนที่ 6 และยังเป็นตัวเลขต่ำสุดในรอบ 1 ปี เนื่องจากประชาชนกังวลเรื่องของภัยแล้ง ราคาสินคาเกษตรที่ตกต่ำ ทำให้รายได้เกษตรกรลดลง การส่งออกที่ยังไม่ฟื้นตัว ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในปัจจุบัน ปรับลดลงมาอยู่ที่ 55.9 จากเดือนก่อนหน้า และดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในอนาคต ก็มีการปรับตัวลดลง มาอยู่ที่ 81.5 เช่นกัน อีกทั้งดัชนีความเชื่อมั่นของผู้บริโภคก็ยังไม่มีแนวโน้มหรือทิศทางที่ดีขึ้น ซึ่งศูนย์พยากรณ์ฯ มองว่าการที่ดัชนีความเชื่อมั่นลดลงต่อเนื่องกันเป็นเรื่องที่น่ากังวล สะท้อนถึงเศรษฐกิจว่ายังไม่ฟื้นตัวไม่เต็มที่

“ปัจจัยเรื่องภัยแล้ง ที่ทำให้ชาวนาต้องต้องเลื่อนทำนาปีออกไป 2 เดือน ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อความเชื่อมั่น ซึ่งจะทำให้ข้าวประมาณ 1.7 ล้านตัน ในพื้นที่ 3.4 ล้านไร่ ออกช้า ชาวนาได้รายได้ช้าลง ประมาณ 15,000 ล้านบาท ซึ่งเงินส่วนนี้ก็จะเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจช้าลงด้วย และจะส่งผลกระทบให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือทำให้จีดีพีลดลง 0.1%”

ดัชนีความเหมาะสมในการซื้อรถยนต์คันใหม่ ดัชนีความเหมาะสมในการซื้อบ้านหลังใหม่ ดัชนีความเหมาะสมในการใช้จ่ายเพื่อการท่องเที่ยว ดัชนีความเหมาะสมในการลงทุนทำธุรกิจ ดัชนีความสุขในการดำรงชีวิต และดัชนีความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ทางการเมือง ก็มีการปรับลดลง

 ทุกตัว มีเพียงดัชนีภาวะค่าครองชีพ แลดัชนีความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหายาเสพติด เท่านั้นที่ปรับตัวดีขึ้น เพราะประชาชนมองว่าราคาสินค้ามีการลดลง จากการที่หลายฝ่ายต้องการช่วยกันกระตุ้นเศรษฐกิจ กระตุ้นการใช้จ่าย

ทั้งนี้ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจฯ มองถึงภาวะเศรษฐกิจไทยว่า อาจจะฟื้นตัวได้ไม่เป็นไปตามคาดการณ์เดิม ที่เดิมมองว่าเศรษฐกิจจะเริ่มฟื้นตัวได้ในไตรมาสที่ 2 แต่ขณะนี้มองว่าในไตรมาสที่ 2 เศรษฐกิจจะขยายตัวได้ต่ำกว่าไตรมาสที่ 1 หรือไตรมาสที่ 2 จะติดลบที่ 2.5 ถึงลบ 3% ซึ่งดูได้จากความเชื่อมั่นที่ยังปรับตัวลดลง และในไตรมาสที่ 3 จะปรับตัวดีขึ้นแต่ไม่มาก แต่ทั้งปีก็มองว่าเศรษฐกิจไทยจะยังขยายตัวได้ที่ประมาณ 3.2% หรืออยู่ในกรอบ 3-3.5% ดังนั้นเพื่อให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวภาครัฐจำเป็นต้องเข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจในทุกทาง ต้องเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ โดยเฉพาะโครงการที่ลงสู่ชนบท เพื่อสร้างรายได้และสร้างความมั่นใจผู้บริโภคมากขึ้น กระตุ้นการใช้จ่าย ให้ได้ในช่วงไตรมาสที่ 3

สำหรับเงินเฟ้อที่ติดลบต่อเนื่องกัน 6 เดือนติดต่อกัน ถือเป็นภาวะเงินฝืดในทางเทคนิค แต่สถานการณ์ความเป็นจริงไทยยังไม่เข้าสู่ภาวะเงินฝืด เพราะประชาชนยังมีกำลังซื้อ และราคาสินค้าบางประเภทก็ได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นจากความต้องการของประชาชน แต่ทั้งนี้ เป็นสถานการณ์ที่น่าเป็นห่วงจึงต้องให้รัฐบาลเร่งหามาตรการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยการเร่งรัดเลิกจ่ายงบประมาณในพื้นที่ต่างๆรวมถึงการปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงเพื่อให้ความมั่นใจในการใช้จ่าย

นอกจากนี้ในเรื่องของ กรีซ นั้นยืดเยื้อและลุกลามไปยังกลุ่มประเทศยูโรโซน ก็จะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกไทยไปยังยุโรปที่มีสัดส่วน 10% ของการส่งออกทั้งหมด และจะทำให้ภาคการส่งออกไทยติดลบมากกว่า 2%

ด้านนายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจมหภาค ฝ่ายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า จากปัญหาเศรษฐกิจโลกที่เกิดขึ้นขณะนี้ ธปท.มีความเป็นห่วงต่อสถานการณ์เศรษฐกิจจีนและเอเชียมากกว่าปัญหาวิกฤติทางการเงินของประเทศกรีซ ส่วนอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยปีนี้ ธปท.ประเมินล่าสุดว่าจะขยายตัว 3% และยอมรับว่าหากเกิดกรณีเลวร้ายสุดมีโอกาสที่จะขยายตัวได้ต่ำกว่า 3% ซึ่งไม่ได้เป็นเรื่องใหม่ และธปท.ยังรู้สึกผิดหวังกับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจที่ค่อนข้างช้ากว่าที่คาดการณ์ไว้ เนื่องจากภาวะหนี้ครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ขณะที่ราคาพืชผลทางการเกษตรยังอยู่ระดับต่ำ

ส่วนอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) มีมติคงไว้ที่ 1.50% ต่อปีเป็นอัตราที่ต่ำอยู่แล้ว และยอมรับว่าการลดดอกเบี้ยมีผลต่อการกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศได้ค่อนข้างน้อย เพราะธนาคารพาณิชย์ระมัดระวังและเข้มงวดการอนุมัติสินเชื่อ ส่วนผลของการลดอัตราดอกเบี้ยต่อการอ่อนค่าของเงินบาทพบว่า มีผลทำให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงบ้างเพียงเล็กน้อย เป็นปฏิกิริยาจากตลาดการเงิน ขณะที่ไทยยังมีดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลระดับสูง ซึ่งยังเป็นปัจจัยกดดันที่ทำให้เงินบาทอ่อนค่าลงได้ไม่มาก

ด้านนายพชรพจน์ นันทรามาศ ผู้อำนวยการเศรษฐกิจมหภาค ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงอีกหลายด้าน โดยเฉพาะมาจากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่ยังไม่ฟื้นตัว ประกอบกับ ปัญหาภัยแล้งและผลกระทบจากการหยุดเดินเรือของเรือประมง หากสถานการณ์ยืดเยื้อจะกระทบการส่งออกสินค้าเกษตรและประมงของไทย ทำให้เศรษฐกิจมีโอกาสเติบโตต่ำกว่า 3% และยิ่งซ้ำเติมภาคการส่งออกที่ปีนี้ที่คาดว่าจะหดตัวถึง 1.5%

จากเดิมที่คาดว่าจะหดตัว 1.3% หลังจากที่ 5 เดือนแรก การส่งออกหดตัวแล้วถึง 4.2% แม้ว่าค่าเงินบาทจะอ่อนค่าลง

อยู่ที่ 34 -35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ในช่วงครึ่งปีหลัง ก็ไม่สามารถจะช่วยให้การส่งออกกลับมาขยายตัวเป็นบวกได้

ทั้งนี้ เชื่อว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.25 % เหลือ 1.25% ในช่วงปลายปี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปีนี้ เพราะอัตราเงินเฟ้อยังต่ำสามารถที่จะใช้นโยบายอัตราดอกเบี้ยในการกระตุ้นได้อีก อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยมีโอกาสโตมากกว่า 3% ได้ หากการเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ 2558 เบิกจ่ายได้มากกว่า 70% และเร่งลงทุนในโครงการก่อสร้างขนาดเล็ก จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วงปลายปีนี้

ส่วนเศรษฐกิจไทยในปี 2559 น่าจะขยายตัวได้ดีกว่าปีนี้เล็กน้อย เติบโต 3.3% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนที่คาดว่าจะฟื้นตัว และมีเม็ดเงินลงทุนจากภาครัฐเพิ่มขึ้น และการส่งออกจะกลับมาขยายตัวได้ 3.6% และมีแนวโน้มที่อัตราดอกเบี้ยจะขยับขึ้น 0.25-0.50% ตามแนวโน้มดอกเบี้ยสหรัฐที่ปรับขึ้น

จาก http://www.naewna.com วันที่ 3 กรกฎาคม 2558

รายงานพิเศษ : โครงการพัฒนาแหล่งน้ำ ของกรมหมอดิน ช่วยบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำของเกษตรกร ของกรมหมอดิน ช่วยบรรเทาปัญหาขาดแคลนน้ำของเกษตรกร

สถานการณ์ภัยแล้งได้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ทางการเกษตรทั่วประเทศไทยแล้ว ไม่เว้นแม้แต่ภาคตะวันออก ซึ่งเป็นแหล่งปลูกพืชผลทางการเกษตรโดยเฉพาะผลไม้หลากหลายชนิดที่จำเป็นต้องใช้น้ำในปริมาณมากพอสมควรจึงจะทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดีเป็นที่ต้องการของตลาด

นายก่อเกียรติ จันทร์พึ่งสุข

นายก่อเกียรติ จันทร์พึ่งสุข ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 2 กรมพัฒนาที่ดิน กล่าวว่า พื้นที่ภาคตะวันออกที่สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต 2 ดูแลรับผิดชอบมีอยู่ด้วยกัน 7 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด ฉะเชิงเทรา สระแก้วและปราจีนบุรี ซึ่งขณะนี้ทุกจังหวัดที่รับผิดชอบมีปัญหาขาดแคลนน้ำทั้งสิ้น เนื่องจากพื้นที่ทำการเกษตรส่วนใหญ่ในภาคตะวันออกจะเน้นหนักไปทางสวนไม้ผลและไม้ยืนต้น ที่จำเป็นต้องใช้น้ำในปริมาณมากและเพียงพอ จึงจะทำให้ผลผลิตมีคุณภาพดี สำหรับข้อจำกัดของพื้นที่ภาคตะวันออกคือ แม้ว่าปริมาณฝนจะตกมากในแต่ละปี แต่ปริมาณการกักเก็บน้ำได้มีเพียงแค่ 20% ของพื้นที่ ซึ่งถือว่าน้อยมาก ส่งผลกระทบต่อเกษตรกรโดยเฉพาะในช่วงฝนทิ้งช่วงทำให้ขาดแคลนน้ำไม่ต่างจากเกษตรกรในภาคอื่น

กรมพัฒนาที่ดิน มีโครงการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้เกษตรกรในเรื่องดังกล่าว โดยจัดทำโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ

แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ แหล่งน้ำชุมชน แหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ และแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน โดยแหล่งน้ำทั้ง 3 ประเภทมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะการใช้งาน คือ ถ้าเป็นแหล่งน้ำชุมชน จะดำเนินการในพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้เกษตรกรและประชาชนในพื้นที่โดยรอบได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ขั้นตอนการเลือกพื้นที่ดำเนินการ เน้นไปที่ทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้แจ้งเรื่องความเดือดร้อนเข้ามายังสถานีพัฒนาที่ดินในจังหวัดนั้นๆ ทางสถานีพัฒนาที่ดินก็จะเข้าไปตรวจสอบว่ามีความเดือดร้อนจริง จึงส่งเรื่องต่อมายังสำนักงานพัฒนาที่ดินเขต และส่งไปยังกรมพัฒนาที่ดิน จากนั้นก็ส่งวิศวกรมาสำรวจออกแบบ และจัดสรรงบประมาณมาดำเนินการ

 จัดสร้างแหล่งน้ำชุมชน พร้อมทั้งวางระบบน้ำ ระบบไฟ และพิจารณาคัดเลือกเกษตรกรเข้ามาใช้ประโยชน์พื้นที่ จัดตั้งเป็นกลุ่มผู้ใช้น้ำ บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำชุมชนต่อไป

ส่วนแหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ ก็จะเข้าไปดำเนินการในพื้นที่สาธารณประโยชน์เช่นกัน โดยทางองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นก็จะเป็นผู้ส่งเรื่องความเดือดร้อนเข้ามายังสถานีพัฒนาที่ดินในพื้นที่ ว่ามีความจำเป็นในการใช้น้ำ เมื่อกรมพัฒนาที่ดินพิจารณาเรื่องแล้วก็จัดสรรงบประมาณมาดำเนินการขุดลอกคลอง ทำฝายน้ำล้น เป็นต้น ซึ่งทั้งแหล่งน้ำชุมชนและแหล่งน้ำขนาดเล็กเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ ที่ดำเนินการในพื้นที่สาธารณประโยชน์ เมื่อก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยกรมพัฒนาที่ดินก็จะส่งมอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นผู้ดูแลบริหารจัดการการใช้ประโยชน์เอง โดยยังมีเจ้าหน้าที่พัฒนาที่ดินคอยเป็นพี่เลี้ยงหรือให้คำแนะนำด้านต่างๆ อยู่

สำหรับแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ขนาด 1,260 ลูกบาศก์เมตร หรือเรียกว่า บ่อจิ๋ว จะแตกต่างกับแหล่งน้ำ

2 ประเภทแรก คือ ดำเนินการในพื้นที่ของเกษตรกรเป็นรายบุคคล โดยพื้นที่ที่จะขุดบ่อจิ๋วได้เกษตรกรต้องมีเอกสารสิทธิที่ทางราชการเป็นผู้ออกให้เท่านั้น และจะต้องออกเงินสมทบจำนวน 2,500 บาทต่อบ่อ

หากเกษตรกรรายใด หรือชุมชนไหนประสบปัญหาขาดแคลนแหล่งน้ำ สามารถยื่นเรื่องมายังสถานีพัฒนาที่ดินจังหวัดในพื้นที่ของท่านได้ ซึ่งทุกสถานีพัฒนาที่ดินพร้อมจะพิจารณาคำร้อง และเสนอต่อกรมพัฒนาที่ดิน ในการจัดสรรงบประมาณลงมาดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนต่อไป

จาก http://www.naewna.com วันที่ 3 กรกฎาคม 2558

ฝนหลวงได้ผล เติมน้ำ4เขื่อนหลัก เข้า7ล้านลบ.ม.ต่อวัน

ฝนหลวงได้ผลเติมน้ำ4เขื่อนหลักเข้า7ล้านลบ.ม.ต่อวันเฒ่านครพนมฆ่าตัวเครียดข้าวแห้งตาย‘บางระกำ’แห่จำนำ

เมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน และนายพรชัย ทองยิ่งสกุล รองอธิบดีกรมฝนหลวง ร่วมแถลงข่าวถึงมาตรการแก้ภัยแล้ง โดย นายชวลิต กล่าวว่า ปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นเบื้องต้น เร่งให้หน่วยงานเกี่ยวข้องสำรวจพื้นที่เสียหายเพื่อวางแผนช่วยเหลืออย่างเป็นระบบในพื้นที่ยังไม่ปลูกข้าว โดยใช้งบของกรมชลฯเพื่อจ้างแรงงาน ช่วงชะลอปลูกเดือนกรกฎาคมก่อนถึงเดือนสิงหาคม ส่วนการบริหารจัดการน้ำ ขณะนี้ยังปล่อยวันละ 28ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.)สำหรับอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศน์และการเกษตร ยืนยันว่าในส่วนพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวแล้ว 4 ล้านกว่าไร่ เป็นพื้นที่ให้น้ำได้ แต่ยอมรับว่ามีพื้นที่เสี่ยงในที่ดอน 8.5แสนไร่แต่จะพยายามส่งน้ำไปให้ได้จนมีผลผลิต โดยกรมทรัพยากรน้ำบาดาลได้เดินหน้า เร่งขุดเจาะ880บ่อและระดมขุดให้ได้20บ่อต่อวัน ได้ใช้น้ำแล้ว200บ่อ ช่วยแก้ภัยแล้งได้ระดับหนึ่ง อาจไม่เสียหายมาก

เฮ!ฝนหลวงเติมน้ำ4เขื่อนเพิ่ม

“ภัยแล้งปีนี้เท่าที่ประเมินสถานการณ์ จากที่ทำฝนหลวงช่วยเติมน้ำในเขื่อน มีน้ำเข้า 7ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน ทั้ง 4 เขื่อนใหญ่ เข้าใจว่ามีการปฎิบัติการฝนหลวงอย่างเต็มที่ จากคาดการณ์เลวร้ายที่สุดน้ำเขื่อนในฤดูสิ้นปีนี้จะมีน้ำ3,251 ล้านลบ.ม. ถ้าได้ฝนดีสุด อยู่3,961ล้านลบ.ม.น่าเพียงพอมีน้ำใช้ถึงปีหน้า ขอให้ทุกคนใช้น้ำอย่างประหยัดมีประสิทธิภาพมากที่สุด” อธิบดีกรมชลประทาน ย้ำ

ขณะที่ นายพรชัย กล่าวว่าสรุปแผนปฏิบัติการฝนหลวงปี2558 เริ่มวันที่ 1 มีนาคมจนถึงปัจจุบันขึ้นปฏิบัติการฝนหลวงไปแล้ว 3,100เที่ยวบินพบว่าฝนหลวงประสบสำเร็จ ทำให้ฝนตกในหลายพื้นที่ จากวันที่ขึ้นบินทำฝนหลวง119 วัน มีฝนตกร้อยละ 95 มีการดำเนินการปรับแผนทำฝนหลวงในพื้นที่เป้าหมาย เพิ่มอีก 2 ศูนย์ตามพระราชดำริในหลวง จ.เชียงใหม่ จ.นครสวรรค์ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้บรรเทาความแห้งแล้งเกิดขึ้นจนมีน้ำเข้าเขื่อนเพิ่มมากขึ้น

สุโขทัยข้าวท้องยืนตาย500 ไร่

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ จ.สุโขทัย ยังคงส่งผลกระทบเป็นบริเวณกว้าง และเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น โดยเฉพาะที่หมู่ 10 ต.บ้านกล้วย อ.เมือง เกษตรกรที่ปลูกข้าวนาปีกำลังได้รับความเดือดร้อนหนัก ภายหลังคลองลาวต้นเกลือ และคลองนาทุ่ง รวมทั้งสระน้ำที่ชาวนาขุดเอาไว้ มีสภาพแห้งขอด ไม่เหลือน้ำกักเก็บ ทำให้นาข้าวที่มีอายุตั้งแต่ 3 เดือน ไปจนถึงข้าวที่กำลังตั้งท้อง และ ออกรวงรวมกว่า 500 ไร่ กำลังยืนต้นเหี่ยวแห้งตาย เพราะขาดน้ำไปหล่อเลี้ยงต้นข้าว เนื่องจากแหล่งน้ำในพื้นที่แห้งขอด จนเห็นดินแตกระแหง โดยชาวนาในพื้นที่ ระบุว่า ตั้งแต่ทำนามานานหลายสิบปี ไม่เคยเจอสภาพแห้งแล้งแบบนี้มาก่อน

บางระกำสุดช้ำภัยแล้งแห่จำนำ

ที่ จ.พิษณุโลก สถานการณ์ปัญหาภัยแล้ง ได้ส่งผลกระทบในหลายพื้นที่เช่นเดียวกับพื้นที่อื่นๆ โดยชาวบ้าน ต.บางระกำ จ.พิษณุโลก ประสบปัญหาภัยแล้งแล้วยังเจอปัญหาสภาพเศรษฐกิจฝืดเคืองด้วย นายสุนทร เพิ่มพูล ผู้จัดการสถานธนานุบาลเทศบาลตำบลบางระกำ เผยว่าบางระกำมีเกษตรกรจำนวนมากส่วนใหญ่ทำการเกษตร ช่วงที่ขัดสนในช่วง 2 เดือนมีการนำทรัพย์มาจำนำเพิ่มมากขึ้นทั้งทองคำ ขนเครื่องมือการเกษตร เครื่องใช้ไฟฟ้าและอื่นๆจนวงเงินเตรียมไว้95ล้านบาทยังไม่พอ ต้องเตรียมสำรองเงินเพิ่มเพื่อรองรับเกษตรกรที่จะเข้ามาใช้บริการ จากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ภัยแล้งที่รุนแรง ยางนาน ทำให้ขาดรายได้ จนต้องจำนำไม่เว้นกระทั่งพระพุทธรูปและครกหิน

บ่อบาดาลบุรีรัมย์ชำรุด646บ่อ

ด้านสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย(ปภ.) จ.บุรีรัมย์ ได้รวบรวมข้อมูลการสำรวจบ่อบาดาลตามหมู่บ้าน ตำบลต่างๆจากผู้นำชุมชนเพื่อเสนอไปยังกระทรวงมหาดไทยพิจารณาจัดสรรงบประมาณเพื่อมาขุดเจาะบ่อบาดาล บรรเทาความเดือดร้อนให้ประชาชนที่ประสบปัญหาภัยแล้ง หลังสระน้ำดิบหลายหมู่บ้านตื้นเขินแห้งขอดไม่สามารถสูบขึ้นไปผลิตประปาได้ จากข้อมูลพบว่า ในพื้นที่ 23 อำเภอ 208 ตำบล มีบ่อบาดดาลอยู่จำนวนทั้งสิ้น 5,810บ่อ ปัจจุบัน ใช้การได้ 3,713 บ่อ มีสภาพชำรุด ใช้การ ไม่ได้ 646บ่อ ที่เหลืออีก 1,451 บ่ออยู่ระหว่างสำรวจ นายพรเชษฐ์ แสงทอง ปภ.จว.บุรีรัมย์ เผยว่าเบื้องต้นได้เสนอของบประมาณในการขุดเจาะบ่อบาดาลไปยังกระทรวงมหาดไทยแล้ว211 บ่อ

พิษภัยแล้งเลยกระทบ14อำเภอ

ที่ จ.เลย สถานการณ์ภัยแล้ง จากสภาวะฝนแล้งและฝนทิ้งช่วงพบว่าพื้นที่ทั้ง 14 อำเภอในจังหวัดเลย ได้รับผลกระทบในระดับปานกลางถึงหนัก นาข้าวได้รับผลกระทบรวมทั้ง 35,000 ไร่ ต้องเปลี่ยนจากแปลงนาข้าว หันไปปลูกอ้อยแทน เพราะใช้น้ำน้อยกว่า ทนต่อแดดทนต่อภัยธรรมชาติ หากภายใน 15 วัน ยังมีฝนตกในเกณฑ์ปานกลางถึงหนัก ปัญหาใหญ่คือน้ำลำห้วยแห้งขอดและต้นข้าวจะแห้งตาย

เพชรบูรณ์จ่ายประปากลางวัน

ที่จ.เพชรบูรณ์ นายธีระวัฒน์ ด้วงทอง ผู้จัดการการประปาส่วนภูมิภาค สาขาเพชรบูรณ์ ได้มีประกาศแจ้งต่อชาวเพชรบูรณ์ กรณีมีความจำเป็นต้องประหยัดการใช้น้ำประปาและลดแรงดันการจ่ายน้ำในช่วงกลางวัน ตั้งแต่เวลา 10.00น.ถึง 15.00 น ตั้งแต่วันที่ 8 กรกฎาคมเป็นต้นไปจนกว่าสถานการณ์จะเป็นปกติ สาเหตุเนื่องจากแหล่งน้ำดิบที่ใช้ในการผลิตน้ำประปาที่อ่างเก็บน้ำป่าแดง ปริมาณ คงเหลือเพียง 2.3ล้าน ล.บ.เมตรซึ่งต้องเหลือน้ำไว้รักษาระบบนิเวศน์ จึงต้องควบคุมการผลิตจ่ายน้ำ เพื่อเป็นการยืดระยะเวลาการจ่ายน้ำให้มากที่สุด

พ่อเฒ่าเครียดดับเซ่นนาแล้ง

วันเดียวกัน ร.ต.ท.ทรงกลด อุปฮาด พนักงานสอบสวน สภ.เมืองนครพนม จ.นครพนม เปิดเผยว่ารับแจ้งเหตุ มีคนยิงตัวตายที่บ้านผึ้ง หมู่ 2 ต.บ้านผึ้ง อ.เมืองคืนวันที่1 กรกฎาคมจึงรุดตรวจสอบที่เกิดเหตุบนถนนลูกรัง ทางลงนา ใกล้กระท่อมเถียงนาพบศพ นายจันทา นรินทร์ วัย71ปี นอนเสียชีวิตจมกองเลือด สภาพศพนอนหงาย ไม่สวมรองเท้าจากช่วงเท้าถึงหน้าอก พบอาวุธปืนแก๊ปยาว1.20เมตร มือซ้ายกำปลายกระบอกปืนแน่น สอบสวนนายชาญ นรินทร์ อายุ40 ปี ลูกชายผู้ตาย ให้การว่าพ่อมักนอนเฝ้าบ่อปลาในเถียงนา เมื่อ 2วัน พ่อได้บ่นให้ฟังว่าเครียดเรื่องนา เพราะต้นข้าว เป็นนาหว่านอายุ1 เดือน ขาดน้ำกำลังจะแห้งยืนต้นตายทั้ง 18ไร่ ในช่วงเช้า ตนกับหลานนำรถไถนา เดินตามไปสูบน้ำจากสระสาธารณะเพื่อผันน้ำเข้าสระเลี้ยงปลา ยังไม่ทันปล่อยน้ำลงนาข้าว ชาวบ้านวิ่งไปบอกว่าพ่อฆ่าตัวตายแล้ว

ด้าน ร.ต.ท.ทรงกลด กล่าวว่า จากการสอบถามญาติ เพื่อนบ้านทราบผู้ตายไม่เคยมีศัตรูหรือเรื่องบาดหมางกับใครดูจากลักษณะน่าจะฆ่าตัวตายเนื่องจากพบมือซ้ายกำปลายกระบอกปืนไว้และพบรอยส้นเท้าขวาครูดกับดินลูกรัง สันนิษฐาน อาจใช้นิ้วโป้งหรือนิ้วชี้เท้าขวากดลั่นไกเพราะลำกล้องกับไกปืนห่างกัน1เมตร ญาติไม่ติดใจสาเหตุการตายจึงมอบศพไปบำเพ็ญกุศลตามประเพณี

จาก http://www.naewna.com วันที่ 3 กรกฎาคม 2558

น้ำปุ๋ย..ฟาร์มสีเขียว ดันน้ำหนักอ้อยเพิ่มเท่าตัว

แม้ปีนี้เกษตรกรต้องเผชิญกับปัญหาภัยแล้งยาวนานกว่าปีก่อนๆ แต่ชาวไร่อ้อยรอบฟาร์มสุกรกาญจนบุรี ต.สระลงเรือ อ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี ยังคงยิ้มได้ ไม่ต้องกังวลว่าอ้อยจะเสียหายจากการขาดน้ำ... เพราะต่างได้รับการแบ่งปัน “น้ำปุ๋ย” จากฟาร์มสุกรสีเขียวของซีพีเอฟมาราดรด ไม่เพียงช่วยบรรเทาปัญหาแล้งจัด ยังช่วยเพิ่มผลผลิตได้อีกด้วย

“เราเดือดร้อนเรื่องน้ำมาก เพราะอยู่นอกเขตชลประทาน ทำให้บางปีต้นอ้อยต้องตาย แต่หลังจากได้น้ำปุ๋ยจากฟาร์มหมูของซีพีเอฟติดต่อกันมา 5 ปี นอกจากต้นอ้อยจะไม่เคยขาดน้ำแล้ว จากเดิมที่เคยได้อ้อยไร่ละ 6-7 ตัน กลับได้เพิ่มมาเป็น 15 ตันต่อไร่ ทั้งที่ใช้ปุ๋ยน้อยกว่าเมื่อก่อนครึ่งหนึ่ง รายได้เพิ่ม รายจ่ายลง เพราะช่วยประหยัดเงินค่าปุ๋ยได้มาก นี่ขนาดไม่ได้ปรับพื้นที่อะไรมาก ปีหน้าจะไถปรับที่ให้ดีกว่านี้ ให้พื้นที่สม่ำเสมอ เพื่อน้ำปุ๋ยจะได้ไหลเข้าทั่วแปลง น่าจะ ช่วยให้ผลผลิตเพิ่มเป็น 20 ตันต่อไร่ เหมือนเพื่อนแปลงใกล้กันเขาทำได้” 

ชำนาญ เพ็ชรปานกัน หนึ่งในชาวไร่อ้อยที่ได้น้ำปุ๋ยแบ่งปันน้ำจากฟาร์มมาใช้ในไร่ของตนเองกว่า 60 ไร่ วาดฝันถึงผลผลิตที่จะได้ในอนาคตอันใกล้

เช่นเดียวกับ กำนันระเบียบ ปทุมสูตร ปลูกอ้อย 100 กว่าไร่ ใช้น้ำปุ๋ยจากฟาร์มตั้งแต่ปีแรกๆ เล่าให้ฟังว่า ตั้งแต่ใช้น้ำปุ๋ย ต้นอ้อยแตกกอดี แข็งแรง และจากการปรับพื้นที่ให้สม่ำเสมอ ต้นอ้อยได้รับน้ำปุ๋ยอย่างทั่วถึง ส่งผลให้ ตนสามารถเก็บเกี่ยวอ้อยได้สูงถึง 20 ตันต่อไร่ และเมื่อส่งไปโรงหีบอ้อย ความหวานที่วัดได้ก็อยู่ในระดับ 10 กว่า และที่สำคัญช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมี

“เพราะการรดต้นอ้อยด้วยน้ำปุ๋ย ได้ทั้งน้ำทั้งปุ๋ยบำรุงต้นอ้อยไปพร้อมกัน และเพื่อความมั่นใจว่าใช้แล้วดีจริง ชาวบ้านยังได้ให้หมอดินประจำอำเภอ มาตรวจสภาพดินด้วยว่าเป็นอย่างไร พบว่าดินที่ใช้น้ำปุ๋ยมีสภาพเป็นกลาง เหมาะกับการปลูกพืชทุกชนิด ยิ่งช่วยให้เกษตรกรมั่นใจที่จะใช้น้ำปุ๋ยต่อไป”

นายวิโรจน์ ใจบุญมา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการกิจการผลิตสุกรภาคตะวันตก ฟาร์มสุกรกาญจนบุรี บอกว่า “น้ำปุ๋ย” ที่เกษตรกรเรียกกันติดปาก คือน้ำปนมูลสุกรผ่านการบำบัดด้วยระบบไบโอแก๊ส และถูกนำมาพักในบ่อตกตะกอน บ่อสุดท้าย มีคุณภาพตามมาตรฐานที่ผ่านกระบวนการบำบัดของกรมควบคุมมลพิษ

และจากการศึกษาธาตุอาหารที่อยู่ในน้ำปุ๋ย ทางซีพีเอฟพบว่า มีสารอาหารสำหรับพืชผล 2 ตัวหลัก คือ มีโปแตสเซียม 297 มก.ต่อน้ำ 1 กก. และมีไนโตรเจน 154 มก.ต่อน้ำ 1 กก.

โปแตสเซียมเป็นแร่ธาตุที่เหมาะกับพืชตระกูลอ้อย ช่วยให้อ้อยเติบโตดีและช่วยเพิ่มความหวานของอ้อย ส่วนไนโตรเจนเป็นธาตุอาหารที่ช่วยบำรุงต้นใบอ้อยให้เขียว แตกกอได้ดี นอกจากนั้น น้ำปุ๋ยยังมีโซเดียม, แมกนีเซียม, แคลเซียม, ฟอสฟอรัส ซึ่งมีประโยชน์ต่อพืชอีกด้วย

และจากการที่ซีพีเอฟได้จ่ายน้ำปุ๋ยจากฟาร์มปราจีนบุรี 1 ให้เกษตรกรไปใช้รดไผ่ตงและมันสำปะหลัง มา 4-5 ปี เกษตรกรให้ข้อมูลว่า ช่วยให้ไผ่ตงมีผลผลิต ดีขึ้น สามารถลดการใช้ปุ๋ยได้ถึงครึ่งหนึ่ง ส่วนมันสำปะหลัง เห็นผลชัดเจนหัวมันมีขนาดใหญ่ขึ้น น้ำปุ๋ยยังช่วยให้ดินร่วนซุย ทำให้ขุดหัวมันง่าย และช่วยลดระยะเวลาในการเก็บเกี่ยวให้สั้นลงได้อีกด้วย.

จาก http://www.thairath.co.th วันที่ 3 กรกฎาคม 2558

EASTW ประกาศแผน 5 ปี แก้ภัยแล้งภาคตะวันออก เร่งวางระบบจัดการน้ำแบบถาวร

อีสท์วอเตอร์ ยืนยันสถานการณ์น้ำภาคตะวันออกไม่น่าเป็นห่วงทุกภาคส่วนมีน้ำใช้อย่างเพียงพอ ประกาศเดินหน้าวางระบบน้ำภาคตะวันออก เพิ่มน้ำต้นทุนได้อีก 457 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร มั่นใจ อีก 5 ปี ไร้ปัญหาเรื่องน้ำอย่างแน่นอน พร้อมเตรียมแผนขยายระบบสู่เมืองเศรษฐกิจพิเศษในอนาคต

               นายวิทยา ฉายสุวรรณ ประธานคณะกรรมการกลุ่มบริษัท อีสท์วอเตอร์ หรือ EASTW เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำภาคตะวันออกทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำหนองค้อ อ่างเก็บน้ำบางพระ อ่างเก็บน้ำดอกกราย อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล อ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ และอ่างเก็บน้ำประแสร์ ว่า “ปัจจุบันทั้ง 6 อ่างฯ มีปริมาณน้ำกักเก็บเฉลี่ยร้อยละ 44 ของความจุรวมทั้งหมด โดยแต่ละอ่างฯ จะเชื่อมโยงกันด้วยโครงข่ายท่อส่งน้ำของบริษัท ทำให้สามารถผันน้ำไปช่วยพื้นที่ที่มีน้ำต้นทุนเหลือน้อยได้ ล่าสุด ได้ผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำประแสร์มายังอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหลเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคและภาคส่วนอื่นๆ แล้วกว่า 24 ล้านลูกบาศก์เมตร จึงมั่นใจได้ว่าแล้งนี้ภาคตะวันออกจะไม่ขาดแคลนน้ำอย่างแน่นอน”

               “นอกจากจะมองเรื่องการพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุนให้เพียงพอกับความความต้องการแล้ว อีสท์ วอเตอร์ ยังให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำสะอาดของชุมชนตามนโยบายของกระทรวงมหาดไทยอีกด้วย โดยมีแผนเร่งพัฒนาระบบประปาชุมชนตามแนวท่อควบคู่กันไป เราตั้งเป้าหมายไว้ว่า ภายในปี 2560 ชุมชนกว่า 25 แห่ง จะมีน้ำสะอาดใช้ ที่ผ่านมา อีสท์วอเตอร์เดินหน้าตามยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำเพื่อสร้างความมั่นใจกับทุกภาคส่วน และเตรียมแผนขยายระบบจากภาคตะวันออกสู่พื้นที่อื่นๆ โดยเฉพาะเขตเศรษฐกิจพิเศษที่จะเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อสร้างเสถียรภาพให้กับน้ำของประเทศ”

               ส่วนแผนการรับมือปัญหาน้ำในอนาคต นายวิทยา ฉายสุวรรณ ประกาศชัดอีก 5 ปี ข้างหน้าภาคตะวันออกไร้ปัญหาเรื่องน้ำ ตอบรับนโยบายตามยุทธศาสตร์การบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของประเทศ โดยอีสท์วอเตอร์ ได้วางแผนการพัฒนาแหล่งน้ำระยะยาวสามารถรองรับความต้องการใช้น้ำของทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมและอุปโภคบริโภคได้ในอีก 10 ปีข้างหน้า ซึ่งโครงการที่กำลังอยู่ระหว่างดำเนินการมีด้วยกัน 2 โครงการ ได้แก่ โครงการวางท่อเชื่อมโยงอ่างเก็บน้ำประแสร์-หนองปลาไหล จ.ระยอง และโครงการพัฒนาสระเก็บน้ำดิบทับมา จ.ระยอง ทั้ง 2 โครงการจะเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้กับบริษัทได้อีก 117 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี และเมื่อรวมกับน้ำต้นทุนเดิมที่มีอยู่ประมาณ 340 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี จะทำให้อีสท์ วอเตอร์ มีปริมาณน้ำต้นทุนเพิ่มขึ้นเป็น 457 ล้าน ลบ.ม.ต่อปี

               สำหรับภาคตะวันออกทั้งจังหวัดชลบุรีและระยอง ถือเป็นจังหวัดยุทธศาสตร์ที่มีบทบาทสำคัญต่อเศรษฐกิจประเทศ ซึ่งมีปริมาณการใช้น้ำค่อนข้างสูง ดังนั้น จึงต้องมีการวางแผนในการบริหารจัดการน้ำเพื่อรับมือปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งในอนาคตอย่างบูรณาการ โดยในภาคตะวันออกเป็นภูมิภาคเดียวที่มีโครงข่ายท่อส่งน้ำที่เชื่อมโยงแหล่งน้ำหลักเข้าด้วยกันเกือบทั้งหมด ความยาวกว่า 394.5 กม. ซึ่งบริหารจัดการโดย บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์วอเตอร์ โดยเมื่อเร็วๆ นี้ นายกรัฐมนตรียังได้ยกให้ อีสท์วอเตอร์ โมเดล เป็นแบบอย่างเพื่อแก้ปัญหาน้ำอย่างเป็นระบบในทุกภาคของประเทศ  

จาก http://manager.co.th   วันที่ 2 กรกฎาคม 2558

จัดงานถ่ายทอดความรู้เกษตรทั่วประเทศ รับต้นฤดูกาลผลิตใหม่

นายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า จากการที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรขึ้นในทุกอำเภอทั่วประเทศ รวม 882 ศูนย์ ตามนโยบายคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และการมอบหมายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เป็นศูนย์ที่สอดคล้องกับสินค้าหลักในพื้นที่และเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่

ซึ่งมีองค์ประกอบของศูนย์ ได้แก่ เกษตรกรต้นแบบ แปลงเรียนรู้ หลักสูตรการเรียนรู้ และฐานการเรียนรู้ ที่มีองค์ความรู้ที่เป็นการผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่หน่วยงานราชการส่งเสริมกับภูมิปัญญาของเกษตรกร และได้มีการประยุกต์ใช้ให้มีความเหมาะสมอย่างเฉพาะเจาะจงกับสภาพแวดล้อมของพื้นที่นั้น ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงนี้ภาคการเกษตรของไทยกำลังจะเข้าสู่ฤดูกาลผลิตใหม่ ซึ่งในการผลิตที่มีประสิทธิภาพนั้นจำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

กรมส่งเสริมการเกษตรจึงจัดงานวันถ่ายทอดความรู้เพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ในทุกศูนย์เรียนรู้ที่มีอยู่ทุกอำเภอทั่วประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรเริ่มต้นการผลิตในปีการเพาะปลูกใหม่โดยใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ มีการให้บริการและช่วยแก้ไขปัญหาการผลิตของเกษตรกร และเผยแพร่ให้เกษตรกรรู้จักและใช้ประโยชน์จากศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรที่มีอยู่ในพื้นที่

ที่สำคัญเพื่อให้เกิดการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และองค์ความรู้จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาและโครงการพระราชดำริต่าง ๆ รวมทั้งมีการใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ให้เข้าถึงเกษตรกรและนำไปประยุกต์ใช้ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น

ซึ่งการจัดงานนี้ นอกจากจะดำเนินการถ่ายทอดเทคโนโลยีสำคัญตามความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ โดยมีองค์ความรู้และของจริง มีฐานเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงจัดให้มีบริการในรูปแบบของคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ร่วมด้วยแล้ว ยังจัดให้มีการแสดงนิทรรศการ “การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า ปวงประชาถวายพ่อของแผ่นดิน” อีกด้วย

ทั้งนี้เพื่อแสดงถึงพระอัจฉริยภาพด้านน้ำของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในศูนย์เรียนรู้ฯ ทั้ง 882 ศูนย์ ควบคู่กันไปด้วย โดยจะใช้ระยะเวลาในจัดงานแห่งละ 1-2 วัน มีการบูรณาการร่วมกันกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องและเริ่มทยอยจัดมาตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2558 และจัดเรื่อยไปจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2558

โดยจะเชิญเกษตรกรในพื้นที่ เน้นเกษตรกรที่เป็นแกนนำหรือเป็นเครือข่ายการทำงานส่งเสริมการเกษตรจากทุกตำบล อำเภอละ 300 ราย เข้ามาร่วมกิจกรรม รวมทั้งประเทศจะไม่ต่ำกว่า 264,600 รายซึ่งการจัดงานครั้งนี้คาดว่าศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรจะเป็นที่รู้จักของเกษตรกรทั่วไปเพิ่มมากขึ้น อันจะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของเกษตรกรในพื้นที่เพิ่ม

ที่สำคัญจะทำให้เกษตรกรมีการใช้เทคโนโลยีและข้อมูลในการผลิตทางการเกษตร นำไปสู่การลดต้นทุนการผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาคุณภาพผลผลิต เชื่อมโยงตลาด และนำไปเผยแพร่แก่เกษตรกรรายอื่น ๆ สนองตอบต่อเจตนารมณ์ของรัฐบาลและความคาดหวังของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการส่งเสริมเกษตรกรและพัฒนาภาคการเกษตรที่ต้องการให้ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรเป็นจุดให้บริการและดูแลช่วยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ของเกษตรกรในพื้นที่ต่อไป.

จาก http://www.dailynews.co.th   วันที่ 2 กรกฎาคม 2558

สศก. แจงคืบหน้าแนวทางพัฒนาใช้ระบบน้ำหยด

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร แจงผลคืบหน้าการดำเนินงานความร่วมมือเกษตรไทย-อิสราเอล ชูการพัฒนาร่วมระบบน้ำหยด  เตรียมผลักดันสู่ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือ PPP ระบุ ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสม มั่นใจ เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ทางเทคโนโลยี และขยายการค้าร่วมกันต่อไป

 นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า สศก. ได้เข้าร่วมประชุมเพื่อติดตามผลการดำเนินงานความร่วมมือเกษตรไทย-อิสราเอล ช่วงกลางเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ตามผลการเยือนอิสราเอลของผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (นายอภิชาติ พงษ์ศรีหดุลชัย) ที่ได้เดินทางไปร่วมงานนิทรรศการเทคโนโลยีเกษตรนานาชาติและหารือความร่วมมือด้านการเกษตร ณ ประเทศอิสราเอล

 ในการนี้ ที่ประชุมได้มีการหารือกันระหว่างหน่วยงานภายในของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่องความคืบหน้าโครงการความร่วมมือกับประเทศอิสราเอลในเรื่องพัฒนาการใช้น้ำ โดยเฉพาะเรื่องระบบน้ำหยด ซึ่งประเทศอิสราเอลนับได้ว่ามีการพัฒนาและเชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดหาพื้นที่ที่เหมาะสมในการพัฒนาการใช้น้ำระบบน้ำหยดในพื้นที่ 3 ขนาด ได้แก่ พื้นที่โครงการชลประทานขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก โดยจะนำเทคโนโลยีน้ำหยดจากประเทศอิสราเอลซึ่งมีทั้งระบบน้ำหยดบนดินและใต้ดินมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์กับการเพาะปลูกพืชของไทย เช่น มันสำปะหลัง อ้อย และยางพารา

 อย่างไรก็ตาม ในระยะต่อไป จะผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public-Private Partnership: PPP)  ซึ่งคาดว่าความร่วมมือในลักษณะ PPP ในเรื่องระบบน้ำหยดจะเป็นการลงทุนในสินค้าและบริการเพื่อลดความเสี่ยงของเกษตรกรในการบำรุงรักษาหรือการแก้ปัญหาต่างๆ โดยที่สัดส่วนการร่วมทุนสามารถทำได้หลายรูปแบบ คือ (1) รัฐลงทุนให้เกษตรกรทั้งหมด ผ่านช่องทางสหกรณ์หรือสถาบันเกษตรกร (2) รัฐและเอกชนลงทุนร่วมกัน และ (3) รัฐ เอกชน และสหกรณ์หรือเกษตรกรร่วมลงทุน เป็นต้น ซึ่งการจัดทำโครงการความร่วมมือ PPP นั้น สศก. จะได้จัดประชุมหารือเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงานต่อไป

ทั้งนี้ ในส่วนความร่วมมือภาคเกษตรในเรื่องการตรวจวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช ไทยและอิสราเอลอยู่ระหว่างดำเนินการกระบวนการดังกล่าว โดยอิสราเอลได้แสดงความประสงค์ที่จะนำเข้าผลไม้ 7 ชนิด ได้แก่ ทับทิม อินทผาลัมสด อะโวคาโด ลูกท้อ เนคทารีน พลัม และพลับ ในขณะที่ไทยขอให้อิสราเอลเร่งตรวจสอบสินค้า ลำไย กล้วยไม้ และสับปะรด เช่นกัน ทั้งนี้ คาดว่าความร่วมมือระหว่างไทยและอิสราเอลจะก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ทางเทคโนโลยี การจัดการด้านการเกษตร และจะส่งผลให้เกิดการขยายการค้าระหว่างกันต่อไป

จาก http://www.thanonline.com  วันที่ 2 กรกฎาคม 2558

พพ.รุกหนุนโรงงานอุตสาหกรรม ใช้เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดแทนน้ำมันเตา

นายธรรมยศ ศรีช่วย อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน(พพ.) ได้เป็นประธานในการพาสื่อมวลชนเยี่ยมชม โครงการสาธิตการใช้เชื้อเพลิงอัดเม็ดในหม้อน้ำขนาดเล็กเพื่อทดแทนการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในภาคอุตสาหกรรม ณ บริษัท แอล.วาย.อินดัสตรีส์ จำกัด ซึ่งถือเป็นโรงงานอุตสาหกรรมต้นแบบที่ พพ. ได้ทำการศึกษา การเปลี่ยนหัวเผาหม้อไอน้ำจากเดิมใช้น้ำมันเตา ให้ปรับมาใช้หัวเผาที่สามารถใช้เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (Wood pellets) แทน เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงที่มีต้นทุนสูง และส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนในประเทศมากยิ่งขึ้น

นายธรรมยศ กล่าวว่า การพาสื่อมวลชนมาเยี่ยมชมโครงการฯ ครั้งนี้ เพื่อให้เห็นถึงผลสัมฤทธิ์จากการส่งเสริมให้โรงงานต้นแบบแห่งนี้ ได้ปรับเปลี่ยนมาใช้เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (Woodpellets) โดยเบื้องต้นงบประมาณสำหรับการปรับปรุงหม้อไอน้ำไปใช้หัวเผาชีวมวลอัดเม็ด 8.2 ล้านบาท และพพ. ได้ร่วมสนับสนุน 47% ซึ่งจากการศึกษาที่ได้ทดลองใช้เชื้อเพลิงอัดเม็ดจากชีวมวลใน 3 รูปแบบ เพื่อวิเคราะห์ถึงความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม  ผลที่ได้รับคือ หากเปลี่ยนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงขี้เลื่อยอัดเม็ด จะมีความคุ้มค่าสูงสุด คิดเป็นค่าใช้จ่ายเชื้อเพลิงที่ลดลง 60% หรือเฉลี่ย 2.5 ล้านบาทต่อปี รองลงมาได้แก่ เชื้อเพลิงจากหญ้าเนเปียร์อัดเม็ด คิดเป็นค่าใช้จ่ายที่ลดลง 51%  หรือเฉลี่ย 2.2 ล้านบาทต่อปี และเชื้อเพลิงจากแกลบอัดเม็ด คิดเป็นค่าใช้จ่ายที่ลดลง 49% หรือเฉลี่ย 2.1 ล้านบาทต่อปี

ทั้งนี้ ในส่วนของการขยายผลโครงการศึกษาการเปลี่ยนหัวเผาหม้อไอน้ำเพื่อใช้เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด (Wood pellets) ดังกล่าว พพ. พบว่ามีความคุ้มค่าในการสนับสนุนให้เกิดการลงทุนเพื่อลดการใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล โดยเฉพาะการใช้ขี้เลื่อยอัดเม็ด ซึ่งพบว่ามีความคุ้มค่าต่อการลงทุน เพราะมีระยะเวลาคืนทุนเพียง 2.7 ปี ซึ่งในปีงบประมาณ 2559 นี้ พพ. มีแผนการขยายผลสนับสนุนการปลี่ยนหัวเผารูปแบบ Wood pellets นี้ ประมาณ 100 แห่ง และคาดว่าจะมีแพ็คเกจสนับสนุนโครงการ รูปแบบ 30-70 (พพ.ร่วม 30% และผู้ประกอบการ 70%) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมต่อไป

"พพ.เชื่อว่า เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด หรือ Woodpellets นี้ จะเป็นเชื้อเพลิงซึ่งจะเป็นที่นิยมเพิ่มขึ้นในกลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม เพราะจะช่วยให้ลดต้นทุนด้านพลังงาน แม้ในช่วงแรกอาจต้องมีการลงทุนปรับเปลี่ยนอุปกรณ์บ้าง แต่จะเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า เพราะจะทำให้เกิดการใช้เชื้อเพลิงจากพลังงานทดแทนที่ได้จากในประเทศเอง ลดการเพิ่มมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการเผาเศษวัสดุเหลือใช้จากภาคเกษตร และที่สำคัญสามารถลดความเสี่ยงจากการที่ต้องพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ ซึ่งในอนาคตคาดว่ายังมีโอกาสที่ราคาจะผันผวนรุนแรงได้ทุกเมื่อ" นายธรรมยศกล่าว

​สำหรับ เชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดหรือ Wood pellets ปัจจุบันประเทศไทยเริ่มมีการผลิตอยู่แล้วผู้ผลิตส่วนใหญ่หันไปทำตลาดส่งออกเกือบทั้งหมด เนื่องจากปริมาณการใช้ในประเทศยังไม่นิยม แต่ปัจจุบันตลาดการส่งออกเริ่มตรึงตัว และคาดว่าจะมีการใช้เพิ่มในประเทศเพิ่มขึ้น โดย Wood pellets ผลิตจากวัตถุดิบที่หาได้ในประเทศไทย เช่น เปลือกไม้ยูคา ขี้เลื่อย ซังข้าวโพด และหญ้าเนเปียร์ เป็นต้น คุณสมบัติเบื้องต้นจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 8-10 มิลลิเมตร และยาว 20-50 มิลลิเมตร  มีค่าความร้อน (Heat value) สูงประมาณ 4,000-4,500 kcal/kg (กิโลแคลรอรี่) มีค่าความชื้นต่ำ (Moister content) 8-15%  มีขี้เถ้าน้อยเพียง 3-5% ที่สำคัญจะมีการเผาไหม้ที่สมบูรณ์จึงทำให้การเผาเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ดนี้ สามารถช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ได้อย่างดี นอกจากนี้ยังพบว่ามีราคาน้อยกว่าเชื้อเพลิงฟอสซิลอื่นๆ เช่น ก๊าซ LPG หรือ น้ำมันเตา โดยเชื้อเพลิงชีวมวลอัดเม็ด 2-3 กิโลกรัม ให้ค่าความร้อนเท่ากับน้ำมันเตาปริมาณ 1 ลิตร เป็นต้น

จาก http://www.naewna.com วันที่ 2 กรกฎาคม 2558

ก.พลังงานเผย7รง.ผลิตเอทานอล เล็งข้าวเกรดซีกว่าล.ตันทำเอทานอล

นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า หลังจากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการข้าว หรือ นบข. ที่มี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานวานนี้ (1ก.ค.) มีมติให้นำข้าวในสต็อกของรัฐบาล จำนวน 5.89 ล้านตัน แบ่งเป็นข้าวเกรดซี 4.6 ล้านตัน และเป็นข้าวเสียจำนวน 1.29 ล้านตัน โดยในส่วนของข้าวเกรดซี ให้นำมาผลิตเป็นเอทานอล ซึ่งในเบื้องต้นคาดว่า จะใช้ข้าวในส่วนนี้ประมาณ 1-1.3 ล้านตัน โดยขณะนี้กระทรวงพลังงานอยู่ระหว่างรอการตรวจสอบข้าวที่เป็นของกลางในคดีทุจริตโครงการรับจำนำข้าวจากคณะกรรมการตรวจสอบการทุจริตข้าวแล้วเสร็จ เพื่อให้สามารถนำข้าวออกมาดำเนินการตามมติที่ประชุม นบข.ได้ และถ้าหากสามารถปลดล็อคกฎหมายได้เร็ว กระทรวงพลังงานก็พร้อมที่จะดำเนินการได้ทันทีภายใน 4 เดือนนี้ ก่อนที่ผลผลิตมันสำปะหลังจะออกสู่ตลาดในช่วงเดือนพฤศจิกายน ซึ่งจะช่วยให้ราคาข้าวปรับตัวสูงได้ โดยล่าสุด มีโรงงานเอทานอลจำนวน 7 แห่ง ได้แสดงความสนใจเข้าร่วมประมูลข้าวกับกระทรวงพาณิชย์แล้ว

ส่วนข้าวเสียที่มีจำนวน 1.29 ล้านตันนั้น มีแนวคิดจะนำไปเป็นเชื้อเพลิงในภาคอุตสาหกรรม อาทิ การผลิตเป็นถ่านสมัยใหม่ หรือ ไบโอชาร์ เพื่อนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทนถ่านหิน ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆนี้

 นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานเมื่อวานนี้ ยังมีมติอนุมัติงบรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2558 เพิ่มเติม 4,932 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนให้หน่วยงานราชการนำไปดำเนินโครงการด้านการอนุรักษ์พลังงานและพลังงานทดแทนโดยการเปลี่ยนมาใช้หลอดไฟแอลอีดี 1 ล้านหลอด และยังได้จัดสรรเงินกองทุนฯอีก 2,500 ล้านบาทเพื่อส่งเสริมการใช้เครื่องปรับอากาศเป็นระบบอินเวอร์เตอร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการประหยัดพลังงานให้มากขึ้น

จาก http://www.naewna.com วันที่ 2 กรกฎาคม 2558

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับ 10 หน่วยงานแก้ไขปัญหาภัยแล้ง

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับ 10 หน่วยงานแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ขณะที่ปฏิบัติการฝนหลวงประสบผลสำเร็จพอสมควร แต่ยังพบปริมาณน้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก

นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงแผนแก้ไขสถานการณ์ภัยแล้ง ว่า หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องถึง 10 หน่วยงาน เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง โดยในส่วนของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 119 วัน มีวันฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวง คิดเป็นร้อยละ 92.0 ขึ้นปฏิบัติงานจำนวน 3,101 เที่ยวบิน จังหวัดที่มีรายงานฝนตกรวม 70 จังหวัด ที่ร้องขอฝนมายังหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่ต่าง ๆ ซึ่งพบว่าการปฏิบัติการฝนหลวงที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จพอสมควร โดยทำให้มีฝนตกในหลายพื้นที่ โดยมีวันฝนตกเฉลี่ยร้อยละ 95 ของวันที่ขึ้นบินปฏิบัติการ แต่ยังมีปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอที่จะเริ่มต้นการเพาะปลูกพืชนาปีในระยะนี้ ประกอบกับสภาวะอากาศในระยะต่อไปนี้ ยังอยู่ภายใต้อิทธิพลของเอลนิโญ่ ที่ไม่เอื้ออำนวยให้เกิดฝนธรรมชาติตกต้องตามฤดูกาล และจากการติดตามสภาพอากาศในช่วงนี้ก็ยังน่าเป็นห่วง ซึ่งกรมฝนหลวงและการบินเกษตรยังคงเร่งปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยแล้งและเร่งเติมน้ำในเขื่อน

ด้านนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน สรุปสถานการณ์น้ำในปัจจุบัน ว่า การกักเก็บน้ำในอ่างกักเก็บน้ำทั่วประเทศมีปริมาณ 32,189 ล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็นร้อยละ 46 ของความจุ มีปริมาณน้ำน้อยกว่าปี 2557 ประมาณร้อยละ 1 ขณะปริมาณน้ำในอ่างขนาดใหญ่ทั้ง 33 แห่ง มีปริมาณน้ำน้อยไม่ถึงร้อยละ 30 ถึง 18 แห่ง ส่วนปริมาณน้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ ที่เป็นแหล่งน้ำต้นทุนของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ทั้งเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยฯ และเขื่อนป่าสักฯ มีปริมาณน้ำรวมกัน 7,512 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน 866 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือประมาณร้อยละ 5 มีการระบายน้ำเพื่อใช้ในกิจกรรมต่าง ๆ ของลุ่มน้ำเจ้าพระยารวมกันวันละ 28 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างฯ รวมกัน ประมาณ 7 ล้านลูกบาศก์เมตร โดยกรมชลประทาน จะบริหารจัดการเน้นส่งน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด เพื่อใช้สำหรับการอุปโภคบริโภค และการรักษาระบบนิเวศน์ในการผลักดันน้ำเค็มเป็นหลัก โดยปริมาณน้ำที่มีอยู่จะเพียงพอใช้ไปจนถึงเดือนสิงหาคม 2558 ซึ่งจะตรงกับช่วงที่เกิดฝนตกชุกตามฤดูกาล ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ไว้ ขณะที่ความคืบหน้าการขุดบ่อบาดาลร่วมกับกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ล่าสุดคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ขุดบ่อน้ำบาดาลเพิ่ม เป็น 1,034 บ่อ จาก 880 บ่อ ล่าสุดำเนินการขุดแล้วทั้งสิ้น 200 บ่อ 

จาก http://thainews.prd.go.th วันที่ 2 กรกฎาคม 2558

ดีเดย์ทำฝนหลวง เติมลุ่มเจ้าพระยา   

          เริ่มดีเดย์บินปฐมฤกษ์ "ศูนย์ฝนหลวงพิเศษ" วิกฤติภัยแล้ง-ช่วยเติมน้ำในลุ่มน้ำเจ้าพระยา "ดิสธร" เผย "ในหลวง" ห่วงใยประชาชน ทอดพระเนตรจากศิริราชเห็นน้ำเจ้า พระยาลดลง ย้ำให้ปฏิบัติตามตำราฝนหลวงพระราชทาน-อย่าทำตามใจ "อธิบดีกรมฝน หลวงฯ" ระบุประสบความสำเร็จฝนตก 95% ของวันปฏิบัติการ แต่ยังไม่พอทำนาปี นายกฯ สั่งการ กระทรวงเกษตรฯ ติดตามสถานการณ์เมฆภาคอีสาน ชี้หากเหมาะสมปฏิบัติการทำฝน เทียมทันที พม.ทุ่ม 20 ล้านช่วยแล้ง สั่งสำรวจตัวเลขนิคมเดือดร้อน ด้าน "ทีดีอาร์ไอ" ชี้ภัยแล้งเกิดจากการเมืองแทรก ปรับแผนปล่อยน้ำปี 54 หนุนนโยบายจำนำข้าว แนะภาครัฐคุมผัง เมือง-ให้ประชาชนร่วมจัดการน้ำ เชื่อแก้ปัญหาได้ ขณะที่ขอนแก่นแล้งจัด เขื่อนอุบลรัตน์เหลือน้ำใช้งานเพียง 7% เท่านั้น แต่ยืนยันไม่กระทบการผลิตกระแสไฟฟ้า

          เมื่อวันที่ 1 ก.ค. ที่สนามบินนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์ นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายดิสธร วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวัง และนายวราวุธ ขันติยานันท์ อธิบดีกรมฝนหลวงพิเศษ ในฐานะผอ.ศูนย์ฝนหลวงพิเศษ ร่วมในพิธีเปิดศูนย์ฝนหลวงพิเศษ พร้อมประชุมร่วมกับผู้บริหารทีมงานศูนย์ฝนหลวงพิเศษ เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาภัยแล้ง โดยในช่วงบ่ายวันเดียวกันนี้ เครื่องบินศูนย์ฝนหลวงพิเศษนครสวรรค์จะขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงเป็นปฐมฤกษ์ด้วย

          นายชวลิต กล่าวว่า จากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น การทำฝนหลวงถือเป็นอีกมาตรการ หนึ่งในการแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาภัยแล้ง โดยเป็นการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าสำหรับเกษตรกร ได้ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งศูนย์ฝนหลวงพิเศษขึ้นในครั้งนี้ ดังนั้นพวกท่านทั้งหลายจึงต้องยึดมั่นและศรัทธาในการน้อมนำเทคโนโลยีตามตำราฝนหลวงพระราชทานไปปฏิบัติอย่างถูกต้องและเหมาะสม ตนขอให้เจ้าหน้าที่ทุกคนมีความมานะ อดทน และเพียรพยายามในการปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อแก้วิกฤติภัยแล้งในครั้งนี้ให้สำเร็จสมตามพระราชประสงค์

          ด้านนายดิสธร กล่าวว่า พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ทรงรับทราบและห่วงใยประชาชน ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น ในปี 2558 และมีแนวโน้มที่จะต่อเนื่องยาวนาน โดยปัญหาภัยแล้งอยู่ในสายพระเนตรมาโดยตลอดทอดพระเนตรจากโรงพยาบาลศิริราช เห็นแม่น้ำเจ้าพระยาที่ลดลงอย่างมาก รวมทั้งทรงติดตามข่าวสาร ได้รับทราบถึงความเดือดร้อนของประชาชน จึงทรงมีพระกระแสรับสั่งให้จัดตั้งศูนย์ฝนหลวงพิเศษขึ้น

          ทั้งนี้การปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษเป็นสิ่งท้าทาย และสิ่งสำคัญคือนำตำราฝนหลวงพระราชทานของพระองค์มายึดถือปฏิบัติ มีความเชื่อมั่นและมีกำลังใจ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแนวคิดต้องเริ่มทำเช้ามืด ในขณะที่ความชื้นในอากาศสูงก่อนมีแดดออก และคอยตามกลุ่มเมฆตลอดเวลา รวมทั้งพระราชทานแนวคิดให้สร้างเมฆแต่เช้า ที่สำคัญป่าไม้ต้องสมบูรณ์เพราะความชื้นมาจากป่า ด้านนายวราวุธ กล่าวว่า กรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้จัดตั้งศูนย์ฝนหลวงพิเศษทั้ง 2 แห่งแล้ว และพร้อมเข้าแผนปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์ภัยแล้งจะคลี่คลายกลับสู่ภาวะปกติ โดยมีเครื่องบินและพื้นที่ความรับผิดชอบ คือ 1. ศูนย์การบินฝนหลวงพิเศษนครสวรรค์ รับผิดชอบพื้นที่เกษตรกรรมและแหล่งน้ำในภาคกลางและลุ่มน้ำเจ้าพระยา 2. ศูนย์ฝนหลวงพิเศษเชียงใหม่ รับผิดชอบพื้นที่เกษตรกรรมและแหล่งน้ำในภาคเหนือ

          นายวราวุธ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้การปฏิบัติการฝนหลวงที่ผ่านมาประสบความสำเร็จพอสมควร โดยทำให้มีฝนตกในหลายพื้นที่ มีฝนตกเฉลี่ย 95% ของวันที่ขึ้นปฏิบัติการ แต่ก็ยังมีปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอที่จะเริ่มต้นการเพาะปลูกพืชนาปีในระยะนี้

          พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้สั่งการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เฝ้าติดตามสภาพอากาศและกลุ่มเมฆ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หากมีความเหมาะสมต่อการลงมือปฏิบัติการฝนเทียมก็ให้ดำเนินการได้ทันที เพื่อช่วยเหลือดูแลพี่น้องเกษตรกรที่กำลังจะเริ่มการเพาะปลูกฤดูกาลใหม่

          ส่วน พล.ต.อ.อดุลย์ แสงสิงแก้ว รมว.การพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์(พม.) กล่าวว่า ตนได้กำชับให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งหาแนวทางช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งตามภารกิจของ พม. และให้พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัด (พมจ.) ทุกจังหวัด ลงพื้นที่สำรวจ ข้อมูลในพื้นที่และช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบอย่างเร่งด่วน รวมถึงให้กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เร่งสำรวจและให้ความช่วยเหลือสมาชิกนิคมสร้างตนเอง และศูนย์พัฒนาชาวเขาที่ได้รับผลกระทบ

          ที่โรงแรมดิเอมเมอรัลด์ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้ จัดสัมมนาเรื่อง "การบริหารจัดการน้ำของประเทศ ไทย : ข้อเสนอเชิงนโยบาย" โดยนายนิพนธ์ พัวพงศกร นักวิชาการเกียรติคุณ ทีดีอาร์ไอ นำเสนอผลการศึกษาและข้อเสนอแนะว่า วิกฤติภัยแล้งและน้ำท่วมที่ผ่านมาไม่ได้เกิดจากธรรมชาติอย่างเดียว แต่เกิดจากความผิดพลาดของนโยบายและการจัดการน้ำ รวมทั้งปัญหาการใช้ที่ดินที่ขาดการควบคุม แต่แนว ทางการแก้ปัญหาของภาครัฐยังคงเน้นสิ่งก่อ สร้างเป็นหลัก

          โดยจากการศึกษาของทีดีอาร์ไอพบว่า ปัญหาของการบริหารจัดการน้ำที่ผ่านมาคือ ปัญหาการจัดการด้านการลงทุนโครงการก่อ สร้างขนาดใหญ่ที่ขาดการศึกษาความเป็นไปได้ เพื่อคัดเลือกโครงการลงทุนที่เหมาะสมที่สุด การตัดสินใจลงทุนที่ไม่โปร่งใสและไม่เป็นธรรม เมื่อเปลี่ยนรัฐบาลก็มีการเปลี่ยนโครงการ นอกจากนั้นกฎหมายในการจัดการน้ำของไทย เป็นการมุ่งแก้ปัญหาเพียงการป้องกันและระวังภัย แต่ไม่ได้คำนึงถึงการบริหารจัดการน้ำในระยะยาว และยังขาดการจัดการและควบคุมการใช้ที่ดิน และการวางแผนบริหารจัดการน้ำไม่มีกระบวนการมีส่วนร่วมของตัวแทนที่แท้จริงในระดับภาค รวมทั้งปัญหานักการเมืองหรือผู้มีอำนาจเข้ามาแทรกแซง กดดันการทำงานของเจ้าหน้าที่

          นายวนิช แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า ปัจจุบันน้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น มีปริมาณเก็บกักขณะนี้ 717 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 30% ของความจุอ่าง โดยมีน้ำใช้การได้เพียง 136 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 7% ของความจุอ่างเท่านั้น ซึ่งถือได้ว่ามีน้ำต้นทุนที่น้อยมาก เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ซึ่งปริมาณน้ำที่สามารถใช้งานขณะนี้ ยืนยันว่าไม่กระทบต่อการผลิตกระแสไฟฟ้า

          ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสถานการณ์ภัยแล้งจากฝนทิ้งช่วงในพื้นที่ จ.สกลนคร ได้ทวีความรุนแรงตามลำดับ แม้จะมีฝนตกลงมาบ้างแต่ก็ไม่ครอบคลุมพื้นที่ ไม่ส่งผลดีต่อเกษตรกร โดยเฉพาะนาข้าวที่เกษตรกรได้ลงมือทำแล้วมา กว่า 60 เปอร์เซ็นต์ จากพื้นที่ปลูกข้าวทั้งจังหวัด จำนวน 2 ล้านไร่ โดยเกษตรกรที่ได้ลงมือปักดำประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ และทำนาหว่านแห้งรอฝนประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งขณะนี้พบว่าหลายพื้นที่ต้นข้าวเริ่มแห้งตาย.

จาก http://www.dailynews.co.th  วันที่ 2 กรกฎาคม 2558

ภัยแล้งลามหนักเหนือขาดน้ำระดมเพิ่มเที่ยวบินภารกิจทำฝนหลวงเติมน้ำเจ้าพระยา   

          ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงลุยปฏิบัติภารกิจ เพิ่มเที่ยวบินสร้างฝนหลวงเพิ่มปริมาณน้ำพื้นที่ลุ่มน้ำเหนือเขื่อน แก้ปัญหาวิกฤติภัยแล้ง ขณะที่สถานการณ์ภัยแล้งยังรุนแรง น้ำปิงที่ "เก้าเลี้ยว"

          เขตต้นน้ำเจ้าพระยาแห้งขอด เหลือน้ำไหลรินจนคนเดินข้ามได้ ส่วนน้ำในแม่น้ำยวม เมืองสามหมอก แห้งตลอดจนกระทบการผลิตน้ำประปา เทศบาลขุนยวมต้องประกาศสลับเวลาจ่ายน้ำให้ชาวบ้านทั้งใน-นอกเขตเทศบาล ศภช.เผยทุกภาคฝนลด สถานการณ์ภัยแล้งกระทบ ปชช.16 จังหวัด

          เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 1 ก.ค.58 นายดิศธร วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวัง นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายวราวุธ ขันติยานนท์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ฝนหลวงพิเศษ เดินทางมาตรวจเยี่ยมในการเตรียมความพร้อม ศูนย์ฝนหลวงพิเศษนครสวรรค์ ณ สนามบินเกษตรนครสวรรค์ ตามพระประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ตั้งศูนย์ฝนหลวงพิเศษ เพื่อช่วยบรรเทาภัยแล้งให้แก่ราษฎร โดยที่ศูนย์ฝนหลวงพิเศษนครสวรรค์นั้น ประกอบไปด้วยเครื่องบิน 4 ลำ เป็นเครื่องบินกาซ่า 2 ลำ และเครื่องบินคาราแวน 2 ลำ ซึ่งมีพื้นที่รับผิดชอบพื้นที่เกษตรกรรมและแหล่งน้ำในภาคกลางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง 14 จังหวัด โดยมีกำหนดที่จะดำเนินการทำฝนหลวงตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2558 เป็นต้นไป จนกว่าสถานการณ์ภัยแล้ง จะคลี่คลายกลับคืนสู่ภาวะปกติ

          นายดิสธร วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวัง เผยว่า ตามพระประสงค์ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้จัดตั้งศูนย์ฝนหลวงพิเศษขึ้น ณ ฐานปฏิบัติการสนามบินจังหวัดนครสวรรค์นั้น โดยจะรับผิดชอบเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา ในการเติมน้ำในเขื่อน และช่วยเหลือพื้นที่เกษตรกรรมในพื้นที่ เพื่อให้สำเร็จตามพระประสงค์ทุกประการ โดยในการบินปฏิบัติการทำฝนหลวงในภารกิจแรกนี้ จะบินทำฝนหลวงในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา

          น.ส.หนึ่งหทัย ตันติพลับทอง ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคเหนือ เปิดเผยว่า จากการที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงห่วงใยความทุกข์ยากเดือดร้อนของราษฎรที่ขาดแคลนน้ำในการอุปโภคบริโภค และทำการเพาะปลูกในเวลานี้ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งศูนย์ฝนหลวงพิเศษขึ้นในพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ ฐานปฏิบัติการสนามบินจังหวัดนครสวรรค์ รับผิดชอบปฏิบัติการฝนหลวงในเขตลุ่มน้ำเจ้าพระยา และฐานปฏิบัติการสนามบินจังหวัดเชียงใหม่ รับผิดชอบปฏิบัติการฝนหลวงในเขตภาคเหนือ

          ทั้งนี้ ศูนย์ฝนหลวงพิเศษแตกต่างจากปฏิบัติการฝนหลวงปกติ ตรงที่สามารถข้ามขั้นตอนทางราชการ เพื่อเข้าปฏิบัติการในพื้นที่ที่ถูกร้องขอได้อย่างเร่งด่วนจากเดิม โดยที่นครสวรรค์จะมีเครื่องบินคาซาขนาดกลาง 2 ลำ และเครื่องบินคาราแวนขนาดเล็ก 2 ลำ ส่วนที่เชียงใหม่จะมีการแบ่งหน่วยปฏิบัติการย่อยเป็น 2 หน่วย เป็นหน่วยเชียงใหม่ กับหน่วยพิษณุโลก ซึ่งหน่วยเชียงใหม่ จะมีเครื่องบินขนาดใหญ่ คือ เครื่องซีเอ็น 235 ที่สามารถบรรทุกสารทำฝนหลวงได้ครั้งละ 2,000 กิโลกรัม 1 ลำ และคาซา 2 ลำ

          โดยหน่วยเชียงใหม่ และพิษณุโลก จะสลับสับเปลี่ยนกันปฏิบัติการ 8-10 เที่ยว ต่อวัน เน้นไปยังพื้นที่ลุ่มลำน้ำเขื่อนต่างๆ นอกจากนี้ที่จังหวัดเชียงใหม่จะเน้นไปในพื้นที่ป่าด้านทิศตะวันตกของจังหวัด ซึ่งการปฏิบัติการการทำฝนหลวง ณ จุดดังกล่าว เพื่อให้เมฆก่อตัวก่อนตกเป็นฝนในลุ่มน้ำปิง เติมน้ำในพื้นที่ และอีกส่วนหนึ่งหากปฏิบัติการในช่วงที่มีพายุก็จะเกิดความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศเพิ่มขึ้นส่งผลดีกับพื้นที่ดังกล่าว ส่วนกรณีที่มีผู้สงสัยว่าฝนที่มาจากการทำฝนหลวงนั้นอาจมีสารตกค้าง และเป็นน้ำที่มีสิ่งเจือปน อาจเป็นอันตรายต่อการนำไปใช้ รวมทั้งในพื้นที่การเกษตร และการใช้ในรูปแบบต่างๆ นั้น จากการตรวจวิเคราะห์ วิจัยแล้วพบว่าฝนหลวงกับฝนธรรมชาติ นั้นมีคุณภาพไม่ต่างกัน จึงขอให้ประชาชนมั่นใจได้

          พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เฝ้าติดตามสถานการณ์สภาพอากาศและกลุ่มเมฆในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หากมีความเหมาะสมต่อการลงมือปฏิบัติการฝนเทียม ก็ให้ดำเนินการได้ทันที เพื่อช่วยเหลือดูแลพี่น้องเกษตรกรที่กำลังจะเริ่มการเพาะปลูกฤดูกาลใหม่ ขณะที่สถานการณ์น้ำไหลเข้าเขื่อนในหลายพื้นที่ขณะนี้มีทิศทางที่ดีขึ้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ฝากขอบคุณเจ้าหน้าที่หน่วยฝนหลวงทุกคนที่ทำงานกันอย่างหนักในช่วงนี้ และขอให้การกระจายฝูงบินไปตามพื้นที่ต่างๆ ดูความเหมาะสมและประโยชน์ที่จะเกิดกับพี่น้องเกษตรมากที่สุด ทุกหน่วยต้องร่วมมือกันเป็นหนึ่ง และให้รวมหน่วยฝนหลวงในส่วนของกองทัพเข้าสู่ปฏิบัติการด้วยตามความเหมาะสม

          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า แม่น้ำปิงที่สะพานหลวงพ่อเฮงประชานุสรณ์ ต.เขาดิน อ.เก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์ ที่จะไหลไปบรรจบกับแม่น้ำน่านที่ต้นน้ำเจ้าพระยาในเขตตลาดปากน้ำโพ ซึ่งอยู่ห่างออกไปประมาณ 10 กม. ขณะนี้มีสภาพแห้งขอด สันดอนทรายโผล่เหนือน้ำหลายจุด ระดับน้ำที่ไหลผ่านใต้สะพานตื้นจนคนสามารถเดินข้ามได้

          ด้านนายจิตตเกษมณ์ นิโรจน์ธนรัฐ นายกเทศมนตรีเมืองนครสวรรค์ ได้ลงพื้นที่ตรวจโรงผลิตน้ำประปาและจุดสูบน้ำดิบจากแม่น้ำปิง พบว่าระดับน้ำลดต่ำเกือบจะพ้นหัวสูบน้ำอยู่แล้ว แต่ยังไม่กระทบต่อระบบผลิตน้ำประปา อย่างไรก็ตาม ทางเทศบาลฯ ได้ประชาสัมพันธ์ผ่านรถขยายเสียง สถานีวิทยุชุมชน และเคเบิลท้องถิ่น ให้ชาวปากน้ำโพใช้น้ำอย่างประหยัด เพราะหลังจากนี้หากระดับน้ำปิงยังลดลงต่อเนื่องเทศบาลฯ อาจต้องแบ่งจ่ายน้ำให้ประชาชนเป็นเวลา

          ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้สายน้ำในลำน้ำยวม สายน้ำหลักที่ไหลมาจาก อ.ขุนยวม ผ่าน อ.แม่ลาน้อยอ.แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน ซึ่งเคยหล่อเลี้ยงผู้คนตลอดสองฝั่งน้ำมาหลายชั่วอายุคนแบบไม่เคยแห้งเหือดมาก่อน แต่ปีนี้ระดับน้ำในแม่น้ำสายนี้ลดลง และตื้นเขิน ฝายน้ำล้นของกรมชลประทานที่เป็นจุดผันน้ำดิบไปผลิตเป็นน้ำประปาแจกจ่ายให้ชาวบ้านเขตเทศบาลตำบลขุนยวมแห้งขอดอย่างเห็นได้ชัด สถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้น นอกจากจะทำให้เกษตรกรชาวนาไม่สามารถลงมือไถหว่านดำนาได้แล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการผลิตน้ำประปาของเทศบาลตำบลขุนยวมที่จะนำมาบริการแจกจ่ายแก่ประชาชน ตลอดจนส่วนราชการทั้งใน-นอกเขตเทศบาลฯ จนเทศบาลฯ ต้องประกาศแบ่งเวลาจ่ายน้ำในแต่ละเขตพื้นที่ชุมชน/ป๊อก หรือแบ่งจ่ายเป็นเขต 1 เขต 2 เพื่อเฉลี่ยน้ำตามจำนวนผู้ใช้น้ำ 1,626 ครัวเรือน

          ศูนย์เตือนภัยพิบัติแห่งชาติ (ศภช.) รายงานว่า ทั่วทุกภาคมีฝนลดลง โดยมีฝนเล็กน้อยบริเวณภาคกลาง และภาคใต้เป็นบางแห่ง สภาพน้ำท่าแม่น้ำสายหลักทุกภาคอยู่ในเกณฑ์น้อย สำหรับปริมาณน้ำในเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำ ภาพรวมภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ น้ำน้อย ส่วนภาคใต้ปริมาณน้ำในเขื่อนยังอยู่ในเกณฑ์ดี โดยรวมส่วนใหญ่เขื่อนและแม่น้ำสายหลักหลายแห่งมีปริมาณน้ำใช้เพื่อการเกษตรอยู่ในเกณฑ์น้อย ส่วนสถานการณ์ภัยแล้งซึ่งเป็นภาวะของความแห้งแล้งยังคงส่งผลกระทบต่อเนื่องต่อประชาชน รวมพื้นที่ 16 จังหวัด แต่ภาพรวมยังอยู่ในภาวะเสี่ยงอยู่ต่อไป

จาก http://www.banmuang.co.th วันที่ 2 กรกฎาคม 2558

ราชบุรีแล้งอ่างเก็บน้ำขอดเข้าสู่วิกฤติ   

          เจ้าพระยาวิกฤติระดับน้ำลดฮวบ ที่ จ.ชัยนาท ต่ำกว่าตลิ่งเกือบ 3 เมตร กระทบแพขนานยนต์ข้ามฟากต้องปิดให้บริการ ที่ จ.ราชบุรีอ่างเก็บน้ำห้วยสำนักไม้เต็งแห้งสุดในรอบ 15 ปี เหลือใช้อุปโภคบริโภคเพียงอย่างเดียว ทำให้นาข้าวและพืชผลการเกษตรเกือบ 1.5 หมื่นไร่ ไม่มีน้ำหล่อเลี้ยง ส่วนเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เหลือน้ำใช้แค่ 7 เปอร์เซ็นต์ ด้านกระทรวงเกษตรฯ ผันงบฯ 160 ล้านบาท จ้างงานชาวนาหวังชดเชยรายได้ช่วงชะลอปลูกข้าวเขตชลประทานลุ่มน้ำเจ้าพระยา

          วิกฤติภัยแล้งขยายวงกว้างหลายจังหวัด โดยเมื่อวันที่ 1 ก.ค.สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา จ.ชัยนาท ลดลงอย่างต่อเนื่อง ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาต่ำกว่าตลิ่งถึง 2.93 เมตร ส่งผลกระทบต่อแพขนานยนต์ขนาดใหญ่ใช้สำหรับรับส่งรถยนต์ รถจักรยานยนต์ และคนข้ามฟากระหว่างฝั่ง อ.มโนรมย์ จ.ชัยนาท กับ ต.ท่าซุง อ.เมืองอุทัยธานี ต้องหยุดให้บริการ โดยคนขับแพขนานยนต์กล่าวว่า ปีนี้แล้งจัดในรอบ 10 กว่าปีที่ผ่านมา น้ำลดลงเรื่อยๆจนแพขนานยนต์ช่วงสันทราย ต.ท่าซุง ติดเกาะคุ้งสำเภา และเกาะเทโพ มีแม่น้ำสะแกกรังและแม่น้ำเจ้าพระยามาบรรจบกันพอดีเกิดตื้นเขิน เรือไม่สามารถไปจอดฝั่งได้เพราะน้ำช่วงสันทรายสูงเพียง60 ซม. แต่แพขนานยนต์จอดเทียบท่าได้ต้องมีระดับน้ำอย่างน้อย 1.60 เมตร

          ที่ จ.สิงห์บุรี เจ้าหน้าที่กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เขต 4 จากจังหวัดขอนแก่น ร่วมกันขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล 4 บ่อในพื้นที่ ต.ทับยา อ.อินทร์บุรี เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาภัยแล้งขาดน้ำทำนา โดยนายธนิสร โนนวิเศษ นายกเทศมนตรีตำบลทับยา กล่าวว่า ตำบลทับยามี 12 หมู่บ้าน ได้รับการจัดสรรให้ขุดเจาะบ่อน้ำบาดาลเพียง4 บ่อ ไม่เพียงพอกับความ ต้องการของเกษตรที่มีพื้นที่นาถึง 1 หมื่นไร่ ที่ได้มาเพียงแก้ปัญหาเบื้องต้น มีความต้องการที่จะขอให้จัดสรรเพิ่มเติมเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในช่วงนี้ โดยเฉพาะหมู่ 8 หมู่ 4 และหมู่ 2 ไม่มีน้ำเลย

          ที่ จ.ราชบุรี นายจิตศักดิ์ อนุศาสนนันท์ หัวหน้าฝ่ายส่งน้ำและบำรุงรักษาที่ 1 โครงการชลประทานราชบุรี สำนักโครงการชลประทานที่ 13 ต.น้ำพุ อ.เมืองราชบุรี สั่งเจ้าหน้าที่นำป้ายแจ้งเตือนปริมาณน้ำไปติดบริเวณหน้าโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยสำนักไม้เต็ง เพื่อประชาสัมพันธ์ให้ประชาชาชนและเกษตรกรในพื้นที่ อ.เมือง และ อ.ปากท่อ ทราบถึงสถานการณ์น้ำ โดยนายจิตศักดิ์ เผยว่า อ่างเก็บน้ำห้วยสำนักไม้เต็งเป็นอ่างเก็บน้ำที่ใหญ่ที่สุดใน จ.ราชบุรี มีความจุ 36 ล้าน ลบ.ม. ขณะนี้เหลือน้ำเพียง 3.27 ล้าน ลบ.ม.หรือ 9.08เปอร์เซ็นต์ สถานการณ์วิกฤติสุดในรอบ 15 ปี สามารถใช้อุปโภคได้เพียงอย่างเดียว คาดว่าจะส่งผลกระทบพื้นที่นา 4,500 ไร่ และพื้นที่เกษตรกรรมอื่นกว่า 10,000 ไร่

          นายวนิช แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการโรงไฟฟ้าพลังน้ำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขื่อนอุบลรัตน์  จ.ขอนแก่น กล่าวว่า สถานการณ์น้ำในเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ลดลงอย่างมากหลังฝนทิ้งช่วงนานกว่า 1 เดือน ปัจจุบันมีน้ำกักเก็บ 717 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 30% ของความจุอ่าง โดยมีน้ำใช้การได้เพียง 136 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 7% ของความจุอ่างเท่านั้น ถือว่ามีน้ำต้นทุนน้อยมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา แต่ปริมาณน้ำที่สามารถใช้งานในขณะนี้ไม่กระทบต่อการผลิตกระแสไฟฟ้า

          ขณะที่สถานการณ์น้ำในเขื่อนภูมิพล จ.ตาก เช้าวันที่ 1 ก.ค.มีน้ำไหลเข้าอ่าง 2.14 ล้านลูกบาศก์เมตร ระบายออกเพื่อการอุปโภคบริโภคและช่วยระบบนิเวศท้ายเขื่อน 8 ล้าน ลบ.ม.ต่อวัน เหลือน้ำใช้เพียง 259 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 2.69 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ส่วนแม่น้ำเมยด้านชายแดนอำเภอแม่สอด ขณะนี้ระดับน้ำลดระดับลงแล้วหลังเพิ่มขึ้นมาหลายวัน เนื่องจากฝนหยุดตกทำให้การใช้แม่น้ำเมยในการขนส่งสินค้าข้ามแดนไปยังจังหวัดเมียวดี ประเทศเมียนมาเริ่มกลับสู่ภาวะปกติ สะพานมิตรภาพไทย-เมียนมาด้านบ้านริมเมยเริ่มคล่องตัว หลังจากช่วงก่อนรถสินค้าแห่ขึ้นสะพานจนติดขัดเพราะขนส่งทางเรือไม่ได้

          สายวันเดียวกัน นายดิศธร วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวัง พร้อมด้วยนายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายวราวุธ ขันติยานนท์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ในฐานะผู้อำนวยการ ศูนย์ฝนหลวงพิเศษ เดินทางตรวจเยี่ยมศูนย์ฝนหลวงพิเศษนครสวรรค์ ณ สนามบินเกษตรนครสวรรค์ ตาม พระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ตั้งศูนย์ฝนหลวงพิเศษ เพื่อช่วยบรรเทาภัยแล้งแก่ราษฎร โดยมีเครื่องบิน 4 ลำ รับผิดชอบพื้นที่เกษตรกรรมและแหล่งน้ำในภาคกลางลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาทั้ง 14 จังหวัด และมีกำหนดทำฝนหลวงตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค.เป็นต้นไปจนกว่าสถานการณ์ภัยแล้งจะคลี่คลาย

          พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เฝ้าติดตามสภาพอากาศและกลุ่มเมฆในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หากมีความเหมาะสมต่อการลงมือปฏิบัติการฝนเทียมให้ดำเนินการได้ทันทีเพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรที่จะเริ่มเพาะปลูกฤดูกาลใหม่ สำหรับโครงการชลประทานที่กระทรวงเกษตรฯส่งมอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไปดูแล 3,000 โครงการ เป็นโครงการสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็กกระจายในพื้นที่ทั่วประเทศ ขณะนี้พบว่าโครงการทั้งหมดไม่ได้มีการพัฒนาระบบส่งน้ำต่อยอด หลายแห่งมีสภาพแห้งขอดตื้นเขิน ดังนั้น แนวคิดที่กระทรวงเกษตรฯต้องการโอนโครงการทั้งหมดกลับมาดูแลเอง น่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดและดีต่อสถานการณ์ของประเทศ ทราบว่ามีการพูดคุยกับหลาย อปท.และมีความเห็นตรงกันให้กระทรวงเกษตรฯรับกลับมาดูแล

          นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า การดูแลเกษตรกรที่ประสบภัยแล้งมีแนวทาง 3 ด้าน คือ 1. อนุมัติงบประมาณเหลือจ่ายจากโครงการจ้างงานปรับปรุงระบบชลประทานและอาคารชลประทาน ในฤดูแล้งที่สิ้นสุดไปเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา จำนวน 160 ล้านบาท นำมาจ้างแรงงานเกษตรกรในช่วงนี้ที่ยังชะลอปลูกข้าวในเขตชลประทานลุ่มน้ำเจ้าพระยาเพื่อช่วยให้เกษตรกรมีรายได้ช่วงพักทำนาในเดือน ก.ค.-ส.ค. 2.มาตรการปลูกพืชทดแทน และการปรับโครงสร้างการผลิตสินค้าเกษตรจะนำมาใช้หลังจากฤดูฝนนี้ และ 3. กรณีที่นาข้าวที่เพาะปลูกแล้วเสียหายจากการขาดน้ำ กระทรวงมหาดไทยมีระเบียบการประกาศภัยพิบัติและช่วยเหลือประชาชนอยู่แล้ว

จาก http://www.thairath.co.th วันที่ 2 กรกฎาคม 2558

สร้างเมฆแต่เช้าในหลวงรับสั่งแนวทางพิเศษขึ้นบินทำฝนหลวงสู้แล้งเกษตรฯอัด160ล.จ้างงานรบ.จ่อยึดคืน‘ชลประทาน’3พันโครงการอปท.ไม่ดูแล

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ที่สนามบินนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ นายชวลิต ชูขจร ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายดิสธร วัชโรทัย รองเลขาธิการพระราชวัง นายวราวุธ ขันติยานันท์ อธิบดีกรมฝนหลวงพิเศษ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ฝนหลวงพิเศษ ร่วมพิธีเปิดศูนย์ฝนหลวงพิเศษและร่วมประชุมกับผู้บริหาร ทีมงานศูนย์ฝนหลวงพิเศษเพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาภัยแล้ง ในช่วงบ่าย เครื่องบินศูนย์ฝนหลวงพิเศษนครสวรรค์ ขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงเป็นปฐมฤกษ์ด้วย

โดยนายชวลิตกล่าวว่า จากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นนับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้จัดตั้งศูนย์ฝนหลวงพิเศษขึ้นในครั้งนี้ ทุกคนต้องยึดมั่นและศรัทธาในการน้อมนำเทคโนโลยีตามตำราฝนหลวงพระราชทานไปปฏิบัติอย่างถูกต้องและเหมาะสมเพื่อแก้วิกฤตภัยแล้งครั้งนี้ให้สำเร็จสมตามพระราชประสงค์

ด้าน นายดิสธร กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับทราบและห่วงใยประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ภัยแล้งที่เกิดขึ้นในปี 2558 และมีแนวโน้มจะต่อเนื่องยาวนานโดยปัญหาภัยแล้งอยู่ในสายพระเนตรมาตลอด ทรงทอดพระเนตรจากโรงพยาบาลศิริราชเห็นแม่น้ำเจ้าพระยาลดลงอย่างมาก รวมทั้งทรงติดตามข่าวสาร รับทราบถึงความเดือดร้อนของประชาชนจึงทรงมีพระกระแสรับสั่งให้จัดตั้งศูนย์ฝนหลวงพิเศษ ซึ่งเป็นปฏิบัติการที่ท้าทาย สิ่งสำคัญ คือกรุณานำตำราฝนหลวงพระราชทานของพระองค์มา ยึดถือปฏิบัติ มีความเชื่อมั่นและมีกำลังใจ

การปฏิบัติการพิเศษ มีสิ่งพิเศษซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระราชทานแนวคิดต้องเริ่มทำเช้ามืด ในขณะที่ความชื้นในอากาศสูงก่อนมีแดดออก และคอยตามกลุ่มเมฆตลอดเวลา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ พระราชทานแนวคิดให้สร้างเมฆแต่เช้า ที่สำคัญป่าไม้ต้องสมบูรณ์เพราะความชื้นมาจากป่า” รองเลขาธิการพระราชวัง ย้ำ

ขณะที่ นายวราวุธ กล่าวว่าการปฏิบัติการฝนหลวงที่ผ่านมา ประสบความสำเร็จพอสมควร ทำให้มีฝนตกในหลายพื้นที่ มีฝนตกเฉลี่ย 95% ของวันที่ขึ้นปฏิบัติการ แต่มีปริมาณน้ำฝนไม่เพียงพอที่จะเริ่มต้นการเพาะปลูกพืชนาปี จากสภาวะอากาศระยะนี้ยังอยู่ภายใต้อิทธิพลของเอลนิโญ่ที่ไม่เอื้ออำนวยให้เกิดฝนธรรมชาติตกต้องตามฤดูกาล การที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯจัดตั้งศูนย์ฝนหลวงฯครั้งนี้ จึงเป็นอีกความหวังหนึ่งที่จะช่วยให้การปฏิบัติการฝนหลวงมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จากการติดตามสภาพอากาศช่วงนี้ ยังน่าห่วงว่าศูนย์ฝนหลวงพิเศษจะต้องทำงานกันอย่างหนัก เหมือนเมื่อปี 2542 ต้องมีความทุ่มเทเสียสละมานะอดทน ในการต่อสู้กับความผันแปรของสภาพอากาศเพื่อกู้วิกฤตภัยแล้งของประเทศให้สำเร็จ

ด้าน นายปีติพงษ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์กล่าวถึงมาตรากรช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้งว่าได้อนุมัติเงินงบประมาณกว่า160ล้านบาทในส่วนที่ยังเหลือจ่ายจากโครงการปรับปรุงระบบชลประทานและอาคารชลประทาน ที่เหลือจากการช่วยเหลือในฤดูแล้งที่ผ่านมา เพื่อจ้างแรงงานเกษตรกรในช่วงที่ยังไม่สามารถปลูกข้าวได้ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา จำเป็นต้องช่วยให้เกิดรายได้ในระยะสั้นๆ พร้อมยังสั่งการให้กรมส่งเสริมการเกษตร ลงสำรวจความต้องการของเกษตรกร จะปรับเปลี่ยน พืชใช้น้ำน้อยหรือไม่ รวมทั้งอาจปรับการปลูกพชืชชนิดอื่นแทนข้าว

ทาง พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าแนวคิดที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ต้องการโอนโครงการชลประทานที่มอบให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) กลับมาดูแลทั้ง 3,000 โครงการ เนื่องจากพบว่าไม่ได้พัฒนาระบบส่งน้ำต่อยอด น่าจะเป็นแนวทางที่เหมาะสมที่สุดและดีต่อสถานการณ์ในประเทศ จากข้อมูลเบื้องต้นทราบว่ากระทรวงเกษตรฯได้พูดคุยกับหลาย อปท.มีความเห็นตรงกันว่าอยากให้กระทรวงเกษตรฯรับกลับมาดูแลซึ่งการโอนคืนกลับมาให้ผู้ชำนาญการจริงๆ จึงไม่มีเหตุผลที่รู้สึกเสียหน้า และเชื่อว่าแนวทางนี้จะเป็นส่วนหนึ่งของการช่วยแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำของประเทศได้โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคตะวันออกและลุ่มน้ำเจ้าพระยา ที่ยังอยู่ในช่วงเฝ้าระวังวิกฤตน้ำแล้ง

ขณะที่ นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน ยังกล่าวถึงที่มีข่าวนายกรัฐมนตรี หงุดหงิดจนดึงมือออกในการบรรยายแผนการจัดน้ำในพื้นที่จ.เชียงใหม่ โดยยืนยันว่านายกฯไม่ได้อารมณ์เสียหรือหงุดหงิด แต่มีสไตล์ พูดเสียงดัง และทำงานที่รวดเร็วจึงอยากรู้ต้นตอปัญหาน้ำแล้งที่แท้จริงและมีวิธีแก้ไขหรือยัง เพื่อเตรียมรอฝนที่จะตกปลายเดือนกรกฎาคม ต้องขุดขยายคลองรับน้ำจาก ต้นน้ำ ทำแก้มลิง กักเก็บน้ำไว้ให้มากที่สุด เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งอาจยาวไปถึงปลายปี สอดคล้องทำระบบเชื่อมโยงให้ทั่วถึงใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพซึ่ง ครม.ให้เพิ่มพื้นที่ชลประทาน 10ไร่ ในแผนยุทธศาสตร์น้ำปี 2558-2569 เพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนได้อีก 4 พันล้าน ลบ.ม.

อีกทั้ง ครม.ได้ให้กรมชลประทาน ตั้งงบประเมินโครงการแต่ละโครงการตามแผนระยะยาวเริ่มปี2560 พร้อมศึกษาโครงการผันน้ำจาก แม่น้ำโขง เพิ่มน้ำในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและผันน้ำจากแม่น้ำสาละวิน เติมน้ำในระบบลุ่มเจ้าพระยาและ ภาคเหนือตอนบนและล่าง โดยไทยต้องสร้างความมั่นคงทางด้านน้ำโดยศักยภาพพื้นที่ใช้น้ำในประเทศ 42 ล้านไร่ ถ้ามีน้ำจากต่างประเทศ มาจะเพิ่มพื้นที่ใช้น้ำได้ 62 ล้านไร่

ที่ จ.บุรีรัมย์ สถานการณ์ภัยแล้งขยายวงกว้างในหลายพื้นที่ทั้งอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำตามธรรมชาติแห้งขอดซึ่งจากสภาพอากาศที่ร้อนจัด บางพื้นที่ไม่สามารถเพาะปลูกพืชผลการเกษตรได้ ส่งผลให้ราคาพืชผักหลายชนิดทั้งในตลาดสดเทศบาลเมืองบุรีรัมย์ ตลาดสดไนท์บาร์ซ่ามีราคาแพงขึ้นเกือบทุกชนิด เช่น ผักชี ปกติราคากิโลกรัมละ170บาท ปรับขึ้นเป็น200บาท แตงกวา ราคากิโลกรัมละ 10บาท ขึ้นเป็น 30 บาท โดยเฉพาะ พริกขี้หนู ขึ้นราคาแพงมากที่สุด จากปกติราคากิโลกรัมละ 50 บาท ราคาพุ่งสูงกิโลกรัมละ140 บาท ส่งผลกระทบ ทั้งพ่อค้าแม่ค้าและผู้บริโภค คาดว่าผักจะมีราคาแพงไปอีกระยะหนึ่ง

ที่ จ.กาฬสินธุ์ สถานการณ์ปัญหาภัยแล้ง ส่งผลกระทบของโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยจาน อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ความจุอ่าง 2.5 แสน ลบ.ม ปัจจุบันสภาพอ่างเก็บน้ำแห้ง ขอดจนกลายเป็นปัญหาใหญ่จนชาวบ้านทั้งตำบลบ่อแก้ว 1,250 ครัวเรือน ขาดแคลนน้ำ ต้องซื้อน้ำใช้ถังละ20-30 บาท บางส่วนที่ไม่มีรายได้ ต้องไปเข้าคิวรอน้ำภูเขา ในเขต จ.สกลนคร ซ้ำร้ายยังเกิดปัญหาน้ำไม่ไหล หลายครอบครัวเข้าคิวรอตลอดทั้งวัน ล่าสุด บ่อแก้วแจ้งว่ายังไม่มีหน่วยงานใดเข้าช่วยเหลือ โดยเฉพาะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แจ้งว่าไม่มีงบประมาณ จึงต้องการให้ รัฐบาล ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าแก้ไขปัญหานี้ด้วย

จาก http://www.naewna.com วันที่ 2 กรกฎาคม 2558

ประสิทธิภาพระบายลุ่มเจ้าพระยากรมชลกางแผนปรับปรุงเขื่อนพระราม6-ขยายคลอง

นายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทาน มีแผนที่จะเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างทั้งฝั่งตะวันตกและตะวันออก เพื่อแก้ปัญหาน้ำท่วมในช่วงฤดูน้ำหลาก โดยพื้นที่ฝั่งตะวันออก

 จะมีการปรับปรุงเขื่อนพระราม 6 จ.พระนครศรีอยุธยา ให้สามารถระบายน้ำได้มากขึ้นจากเดิมที่สามารถระบายได้ประมาณ 400-500 ลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) ต่อวินาที

อย่างไรก็ตาม การปรับปรุงเขื่อนพระราม 6 จำเป็นจะต้องดำเนินการไปพร้อมๆ กับการศึกษาแนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของคลองชลประทาน และคลองธรรมชาติต่างๆ ที่มีอยู่ในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างฝั่งตะวันออก จากเดิมเคยศึกษาไว้ว่า สามารถระบายน้ำได้ประมาณ 300 ลบ.ม.ต่อวินาที โดยจะต้องหาแนวทางในการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำให้ได้ประมาณ 400-500 ลบ.ม.ต่อวินาที เพื่อให้เหมาะสมกับการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของเขื่อนพระราม 6 หลังจากการปรับปรุงแล้ว รวมทั้งรองรับการระบายน้ำของคลองส่งน้ำชัยนาท-ป่าสัก ที่จะปรับปรุงให้ระบายน้ำได้มากกว่า 210 ลบ.ม.ต่อวินาที หรือในอนาคตอาจจะขยายให้เต็มศักยภาพถึง 1,000 ลบ.ม.ต่อวินาที ตามความเหมาะสมกับสถานการณ์ในช่วงนั้นๆ

“หากเราเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของเขื่อนพระราม 6 และคลองชัยนาท-ป่าสัก ก็จะไม่มีประโยชน์อะไร ถ้าไม่เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำของลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างฝั่งตะวันออกด้วย เพราะปริมาณน้ำที่สามารถระบายได้เพิ่มขึ้นจากการปรับปรุงเขื่อนพระราม 6 และคลองชัยนาท-ป่าสัก ก็ไม่สามารถระบายออกสู่ทะเลได้ และอาจจะทำให้เกิดภาวะน้ำท่วมขังอีกด้วย” นายเลิศวิโรจน์กล่าว

สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำดังกล่าว จะเน้นการปรับปรุงคลองชลประทาน และคลองธรรมชาติที่มีอยู่เป็นหลัก โดยอาจจะขุดลอกขยายคลองให้เต็มศักยภาพ และจัดระเบียบผู้ที่บุกรุกคลองใหม่ จำเป็นจะต้องขอความร่วมมือให้ย้ายออกทั้งหมด ไม่ให้กีดขวางทางระบายน้ำ ส่วนการที่จะขุดคลองระบายน้ำสายใหม่นั้น จะทำก็ต่อเมื่อเป็นทางออกสุดท้ายแล้ว ซึ่งจะต้องมีการศึกษาผลกระทบต่างๆ มากยิ่งขึ้นด้วย

อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวด้วยว่า ทางด้านลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างฝั่งตะวันตกก็เช่นเดียวกัน คงจะไม่สามารถขุดคลองระบายน้ำสายใหม่ได้ เพราะผลกระทบที่เกิดขึ้นทั้งต่อสิ่งแวดล้อม และชุมชนมีมาก ทำได้เพียงการปรับปรุง ขุดลอก ขยายแม่น้ำ ลำคลองต่างๆ ที่มีอยู่ในปัจจุบันทั้งหมดให้ใช้งานได้เต็มศักยภาพ โดยเฉพาะในแม่น้ำ ท่าจีน รวมทั้งเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งหากสามารถทำเช่นนี้ได้ก็น่าจะเพียงพอสำหรับการระบายน้ำช่วงน้ำหลากของฝั่งตะวันตกได้

จาก http://www.naewna.com วันที่ 2 กรกฎาคม 2558

แจงสี่เบี้ย : กรมพัฒนาที่ดินกับการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ(9)

กลุ่มผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์ด้านรักษาสิ่งแวดล้อม ได้แก่ สารเร่งซุปเปอร์ พด.6 ใช้ผลิตสารบำบัดน้ำเสีย ขจัดกลิ่นเหม็น และกำจัดลูกน้ำยุงรำคาญ

สารเร่งซุปเปอร์ พด.6 เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่เพิ่มประสิทธิภาพการหมักเศษอาหารในสภาพที่มีอากาศและมีอากาศน้อย สามารถย่อยสลายสารอินทรีย์ เพื่อผลิตสารบำบัดน้ำเสีย ขจัดกลิ่นเหม็นตามท่อระบายน้ำ ทำความสะอาดคอกสัตว์ และกำจัดลูกน้ำยุงรำคาญ ประกอบด้วยจุลินทรีย์ 5 สายพันธุ์ ได้แก่ ยีสต์ Saccharomyces ceareviceae แบคทีเรียผลิตกรดแลคติก Lactobcillus fermentum แบคทีเรียย่อยสลายโปรตีน Bacillus cereus แบคทีเรียย่อยสลายไขมัน Bacillus subtilis และแบคทีเรียกำจัดลูกน้ำยุงรำคาญ : Bacillus sphaericus

วิธีการผลิตสารบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็น โดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.6

วิธีที่ 1 ผลิตจากการหมักขยะสด คือ ผสมกากน้ำตาล 10-20 กิโลกรัม ในน้ำ ลงในถังหมัก นำสารเร่งซุปเปอร์ พด.6 จำนวน 1 ซอง ผสมในสารละลายกากน้ำตาลคนให้เข้ากันนาน 5 นาที จากนั้นนำเศษอาหาร 40 กิโลกรัม เทลงไปในถังหมักแล้วคนส่วนผสมให้เข้ากัน ปิดฝาถังหมักเก็บไว้ในที่ร่ม ในระหว่างการหมักคน 2-3 วัน/ครั้ง ใช้ระยะเวลาหมักประมาณ 20-30 วัน จึงกรองน้ำไปใช้ได้

วิธีที่ 2 การผลิตโดยการขยายเชื้อสารเร่งซุปเปอร์ พด.6 ด้วยการผสมน้ำ 50 ลิตร กับกากน้ำตาล 5 กิโลกรัม ในถังหมัก คนให้เข้ากัน นำสารเร่งซุปเปอร์ พด.6 จำนวน 1 ซอง ผสมในสารละลายกากน้ำตาล คนให้เข้ากันนาน 5 นาที ปิดฝาหมักไว้ในที่ร่มเป็นเวลา 4 วัน ควรนำไปใช้ทันที ไม่ควรเก็บไว้

อัตราและวิธีการใช้สารบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็น

1.บำบัดน้ำเสียและใช้ในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ใช้สารบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็น 1 ลิตรต่อน้ำ 10 ลูกบาศก์เมตร ทุกๆ 10 วัน

2.ทำความสะอาดคอกสัตว์โดยเจือจาง สารบำบัดน้ำเสียและขจัดกลิ่นเหม็นในน้ำอัตรา 1:10 ฉีดพ่นหรือราดให้ทั่วบริเวณคอกสัตว์ทุกวัน หรือทุกๆ 3 วัน

อัตราและวิธีการใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.6 กำจัดลูกน้ำยุงรำคาญ ใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.6 จำนวน 1 ซอง (แบบ

 ผงแห้ง 25 กรัม) ในพื้นที่ 100 ตารางเมตร โรยกระจายให้ทั่วบริเวณที่พบลูกน้ำยุงรำคาญ เพื่อให้ลูกน้ำมีโอกาสกินจุลินทรีย์ได้มากที่สุด

จาก http://www.naewna.com วันที่ 2 กรกฎาคม 2558

"น้ำตาลมิตรผล" จับมือ "ไทยสมายล์" เติมความหวานให้กับผู้โดยสารในทุกเที่ยวบิน

          น้ำตาลมิตรผล ร่วมกับ สายการบินไทยสมายล์ ให้บริการน้ำตาลอ้อยธรรมชาติชนิดซอง และน้ำตาลมิตรผลแคลอรี เพื่อเติมรอยยิ้มและความประทับใจให้กับผู้โดยสารในทุกเที่ยวบินของสายการบินไทยสมายล์ ซึ่งครอบคลุม 10 เส้นทางบินทั้งภายในและต่างประเทศ

          ความร่วมมือระหว่าง น้ำตาลมิตรผล ผู้ผลิตน้ำตาลอันดับ 1 ของไทย และอันดับ 4 ของโลก และไทยสมายล์ สายการบินไลท์พรีเมียมชั้นนำของไทย เกิดจากความใส่ใจในทุกรายละเอียด เพื่อนำเสนอสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า ด้วยผลิตภัณฑ์น้ำตาลมิตรผลที่พร้อมเสิร์ฟเติมความหวานให้กับผู้โดยสารของสายการบินไทยสมายล์ในทุกเที่ยวบิน ได้แก่ น้ำตาลอ้อยธรรมชาติชนิดซอง ที่ผลิตจากอ้อย 100% ให้ความหอมหวานจากธรรมชาติ และน้ำตาลมิตรผลแคลอรี ที่หวานเทียบเท่าน้ำตาลทรายแต่ให้แคลอรีเพียง 20% เหมาะสำหรับผู้ใส่ใจในสุขภาพ

          บรรยายภาพ: นางสาวสิรินิจ โชคชัยฤทธิกุล (ที่ 2 จากขวา) ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการสายงานกลยุทธ์การตลาดและขายในประเทศ กลุ่มธุรกิจน้ำตาล กลุ่มมิตรผล และนางเนตรนภางค์ ธีระวาส (ที่ 2 จากซ้าย) รองประธานเจ้าหน้าที่สายการพาณิชย์และบริการลูกค้า บริษัท ไทยสมายล์แอร์เวย์ จำกัด ให้เกียรติร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึกในโอกาสสานต่อความร่วมมือเพื่อนำเสนอน้ำตาลคุณภาพสูงจากมิตรผลในทุกเที่ยวบินของไทยสมายล์ 

จาก http://www.bangkokbiznews.com วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ธปท.จับตาตลาดเงินโลกผันผวนจากปัญหากรีซ เผยนักลงทุนกังวลเรื่องเฟดขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า

ปลัดพาณิชย์ห่วงปัญหากรีซกระทบส่งออกไทย ผลจาก "จีน" เป็นคู่ค้าสำคัญ เตรียมประชุมร่วมซีอีโอบริษัทข้ามชาติในไทย ช่วยดันแผนส่งออก ฟาก ธปท.จับตาตลาดเงินโลกผันผวน เผยนักลงทุนกังวลเรื่องเฟดขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า

จาก ที่กรีซผิดนัดชำระหนี้ 1,600 ล้านยูโรกับไอเอ็มเอฟเมื่อ 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา หลังจากไม่สามารถตกลงถึงแผนการปฏิรูปเศรษฐกิจระยะต่อไปได้ ขณะที่นายอเล็กซิส ซีปราส นายกรัฐมนตรีกรีซ เสนอให้ทำประชามติในวันที่ 5 ก.ค.นี้ว่า ชาวกรีกจะยอมรับมาตรการรัดเข็มขัดตามที่เจ้าหนี้เรียกร้องหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) 30 มิ.ย.ที่ผ่านมา กระทรวงการคลังรายงานว่า ปัญหาหนี้กรีซที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ส่งผลกระทบกับไทยไม่มากนัก เนื่องจากกรีซไม่ได้เป็นคู่ค้าโดยตรงของไทย

แต่ปัญหานี้ประเทศใน ยุโรปซึ่งเป็นคู่ค้าโดยตรง จะมีปัญหามากกว่า อย่างไรก็ตาม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะคอยติดตามความคืบหน้าของสถานการณ์ดังกล่าวต่อไป

นาง สาวชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่า ในระยะแรกอาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกไม่มากนักเพราะการค้าระหว่างไทย-กรีซ มีปริมาณไม่มาก แต่ต้องระวังผลกระทบระยะสั้นที่มีต่ออัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกได้ ส่วนในระยะกลาง-ระยะยาวปัญหานี้อาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทยทางอ้อม เพราะกรีซเป็นคู่ค้าสำคัญของจีน และจีนเป็นคู่ค้าตลาดศักยภาพสูงของไทย จึงต้องดูว่าจะกระทบต่อเศรษฐกิจจีนหรือไม่ และจะส่งผลกระทบเชื่อมโยงมายังไทยอย่างไร ซึ่งปลายปีอาจจะเห็นผล แต่หากผลโหวตออกมายอมรับความช่วยเหลือ และยอมแก้ไข อาจจะมีการเปลี่ยนแปลง

"กระทรวง พาณิชย์ยังคงเป้าหมายการส่งออกปี 2558 ไว้ที่ 1.2% แม้ว่าสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทยจะปรับลดประมาณการตัวเลขส่งออก ติดลบ 2% โดยหลังจากนี้กระทรวงจะมุ่งขับเคลื่อนการผลักดันการส่งออกสินค้า 12 กลุ่มเป้าหมายเช่น กลุ่มแฟชั่น อาหาร ชิ้นส่วนยานยนต์ ไลฟ์สไตล์ โดยมีกรมการค้าระหว่างประเทศเป็นเจ้าภาพ

นางสาวชุติมากล่าวว่า การดำเนินการขณะนี้เตรียมเรียกประชุมคณะกรรมการพัฒนาการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ร่วมกับกระทรวงเศรษฐกิจทั้งหมดเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องส่งออก และทางคณะทำงาน เพื่อผลักดันเร่งรัดการส่งออกให้ได้ตามเป้าหมายโดยจะมีการประชุมร่วมกับซีอี โอบริษัทต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนผลิตสินค้าในประเทศไทย และได้รับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)เพื่อประเมินสถานการณ์ และกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหาและผลักดันการส่งออกแบบบูรณาการ คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 2 สัปดาห์หรือประมาณกลางเดือนกรกฎาคมนี้

ธปท.จับตาสัปดาห์ความผันผวน

นาง รุ่ง มัลลิกะมาส ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายนโยบายเศรษฐกิจการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ปัญหากรีซยังคงเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่ง ที่จะมีผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจไทย ที่เพิ่มขึ้นมาจากความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลก จึงเป็นสิ่งที่ธปท.ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เพื่อดูพัฒนาการของปัญหาการแก้หนี้ของกรีซอย่างใกล้ชิด

ด้านนางจันทวรรณ สุจริตกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายตลาดการเงิน ธปท. กล่าวว่าปัญหาหนี้กรีซที่เร่งตัวขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นและมีความต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่ ปลอดภัย กดดันให้ราคาพันธบัตรสหรัฐและเยอรมันปรับเพิ่มขึ้น และเงินเยนแข็งค่าขึ้น ขณะที่เงินยูโรอ่อนค่าลง

ด้านตลาดการเงินภูมิภาคก็สะท้อนความเชื่อมั่นที่ปรับลดลง ผ่านทั้งค่าเงินภูมิภาคและตลาดหลักทรัพย์ที่ปรับลดลง

"ใน ช่วงสัปดาห์นี้ ตลาดการเงินโลกน่าจะมีความผันผวนเป็นระยะ ๆ จากความไม่แน่นอนในสถานการณ์หนี้กรีซ ซึ่งจะส่งผลทางอ้อมต่อค่าเงินยูโร ซึ่ง ธปท.จะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิดและเตรียมความพร้อมเพื่อดูแลรักษา เสถียรภาพของระบบการเงินไทย" นางจันทวรรณกล่าว

ผลกระทบไทยในวงจำกัด

ขณะ ที่นางสาวปารีณา พ่วงศิริ ผู้ชำนาญการงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุนอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ปัญหากรีซส่งผลกระทบในวงจำกัด ต่อการเคลื่อนย้ายเงินทุนของประเทศไทย เนื่องจากเป็นเรื่องที่นักลงทุนคาดการณ์อยู่ก่อนแล้ว แม้นักลงทุนขาดความเชื่อมั่นทำให้เทขายสินทรัพย์ออกมา แต่ยังจำกัดอยู่ในกลุ่มยูโรโซน ขณะที่ประเทศไทยยังมีฐานะดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลต่อเนื่อง จากมูลค่าการส่งออกที่สูงกว่ามูลค่าการนำเข้า จึงยังสะท้อนความต้องการเงินบาทยังมีสูง ทำให้เชื่อว่า สถานการณ์ดังกล่าวน่าจะพยุงค่าเงินบาทไม่ให้อ่อนค่าไปกว่าระยะปัจจุบันได้

โดยกรอบ การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้อยู่ที่ระดับ 33.70-34.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยวันที่ 30 มิ.ย. ค่าเงินเปิดตลาดที่ 33.86 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ระหว่างวันไหลลงอ่อนค่าสุดที่ 33.88 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สลับแข็งค่าขึ้นไปที่ 33.73 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

นายธีรนันท์ ศรีหงส์ กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ผลกระทบของปัญหากรีซ มีความเกี่ยวข้องกับตลาดหุ้นไทยและตลาดหุ้นเอเชียโดยตรงไม่มากนัก เห็นได้จากการเคลื่อนไหวของตลาดหุ้นไทยและค่าเงินบาทปรับตัวลดลงน้อยกว่าที่ คาดการณ์ สะท้อนว่าไม่ได้เกิดผลกระทบจนทำให้มีกระแสเงินทุนไหลออกมากนัก หรืออีกด้านอาจเกิดจากการที่นักลงทุนต่างชาติขายออกไปมากก่อนหน้าแล้ว

 "อย่างไรก็ดี ผลกระทบที่เกิดขึ้นอาจกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในทางอ้อมที่จะทำให้เกิดความ ผันผวนของค่าเงินขึ้น และอาจนำไปสู่การเก็งกำไรที่เลี่ยงไม่ได้" นายธีรนันท์กล่าว

กังวล "เฟด" ขึ้น ดบ.มากกว่า

นางเกศรา มัญชุศรี กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวว่า สถานการณ์ของกรีซจะกระทบกับตลาดหุ้นไทยไม่มากนัก เนื่องจากประเทศไทยกับกรีซไม่มีธุรกรรมโดยตรงร่วมกัน แม้แต่ภาคส่งออกก็ไม่มีสัดส่วนอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งนักลงทุนรับรู้ข่าวที่กรีซจะถูกเพิกถอนจากสหภาพยุโรปมาก่อนหน้านี้พอ สมควรแล้ว ส่วนผลกระทบต่อภาพรวมเศรษฐกิจโลก คงต้องรอดูเศรษฐกิจของยุโรปจะเป็นอย่างไร

สำหรับกระแสเงินทุนของ นักลงทุนต่างประเทศ ทาง ตลท.ประเมินทุกวัน ช่วงนี้ยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนักเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นในอาเซียนที่ติดลบ มากกว่า โดยตลาดหุ้นไทยในช่วงวันที่ 29-30 มิ.ย. 58 เคลื่อนไหวในแดนลบต่อเนื่อง แต่ยังประคองตัวยืนอยู่เหนือระดับ 1,500 จุดได้

ขณะ ที่นายธาดา พฤฒิธาดา กรรมการผู้จัดการ สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย (ThaiBMA) กล่าวว่า หากเกิดกรณีเลวร้ายถึงขั้นกรีซต้องออกจากกลุ่มประเทศยูโรโซนตนก็มั่นใจว่าจะ ไม่ส่งผลให้ตลาดตราสารหนี้ผันผวนรุนแรง จึงคาดว่าช่วงนี้จะยังไม่เห็นเงินไหลออกจากตลาดนี้อีก เนื่องจากตลาดตราสารหนี้มีแรงหนุนจากดอกเบี้ยของตราสารหนี้ระยะยาวที่ปรับ ตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตามทิศทางดอกเบี้ยขาขึ้นของสหรัฐ และนักลงทุนในตลาดส่วนใหญ่จะวิตกกังวลผลกระทบจากการปรับขึ้นดอกเบี้ยของ สหรัฐมากกว่าปัจจัยอื่น

"กรีซ" วัดดวงประชามติ 5 ก.ค.

สำหรับ สถานการณ์ของกรีซ หลังจากนายอเล็กซิส ซีปราส นายกรัฐมนตรีกรีซเสนอให้ทำประชามติในวันที่ 5 ก.ค.นี้ว่า ชาวกรีกจะยอมรับมาตรการรัดเข็มขัดตามที่เจ้าหนี้เรียกร้องหรือไม่ ทำให้เจ้าหนี้ตอบโต้ด้วยการไม่อนุมัติเงินกู้งวดสุดท้าย 7,200 ล้านยูโร พร้อมกับปฏิเสธที่จะต่ออายุแพ็กเกจเงินกู้ช่วยเหลือ หลังจากหมดอายุลงในวันที่30 มิถุนายนที่ผ่านมา

โดยฝ่ายเจ้าหนี้ออก โรงเตือนว่า การโหวต"No" ของชาวกรีก เท่ากับเป็นการลงมติว่าต้องการออกจากยูโรโซนด้วย แต่ถ้าผลออกมาเป็น "Yes" จะเป็นการเปิดประตูให้มีการรื้อฟื้นการเจรจาอีกครั้ง

 ขณะที่รัฐบาล พยายามโน้มน้าวให้ชาวกรีกเชื่อว่า การลงมติไม่เห็นด้วยกับแผนปรับโครงสร้างของเจ้าหนี้ จะช่วยให้รัฐบาลมีอำนาจต่อรองมากขึ้น และนำไปสู่การผ่อนคลายมาตรการรัดเข็มขัดรวมไปถึงการลดยอดหนี้ โดยนายซีปราสวางเดิมพันด้วยการส่งสัญญาณว่า ถ้าผลประชามติเห็นด้วยกับเจ้าหนี้ ตนจะตัดสินใจลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งอาจส่งผลให้มีการเลือกตั้งก่อนกำหนด

อย่างไรก็ตาม นายเบิร์กฮาร์ด วาร์นฮอล์ทประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการลงทุนจากกลุ่มธนาคารจูเลียส แบร์ ให้มุมมองว่า การผิดนัดชำระหนี้ของกรีซจะไม่นำไปสู่การล่มสลายของตลาดพันธบัตรหรือตลาด หุ้น เนื่องจาก 1) เหตุการณ์นี้เป็นสิ่งที่ตลาดคาดไว้อยู่ก่อนแล้ว 2) พันธบัตรกรีซเกือบทั้งหมดถือโดยสถาบันหรือหน่วยงานระดับรัฐ ไม่ใช่ภาคเอกชนอย่างในปี 2554 และ 3) ขนาดเศรษฐกิจของกรีซมีสัดส่วนไม่ถึง 2% ของสหภาพยุโรป ดังนั้น กรีซจึงไม่ใช่ตัวจุดชนวนวิกฤตรอบใหม่ เหมือนครั้งที่เลห์แมน บราเธอร์สล้มละลายจนนำไปสู่วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์

จาก http://www.prachachat.net   วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สหรัฐฯ ต่อจีเอสพีให้ไทย 4 ปี 5 เดือน ส่งออกเฮ! ได้ลดภาษีต่อ แถมได้คืนภาษี 6.2 พันล้าน 

           “ฉัตรชัย” แจ้งข่าวดี สหรัฐฯ ต่ออายุโครงการจีเอสพีให้ไทยอีก 4 ปี 5 เดือน สิ้นสุด 31 ธ.ค. 60 เผยผู้ส่งออกที่เสียภาษีอัตราปกติไปแล้ว สามารถยื่นขอคืนภาษีได้กว่า 6.2 พันล้านบาท ยันปีนี้ยังคงเป้าส่งออก 1.2% เตรียมลุยเจาะตลาดขายสินค้าเพิ่มมากขึ้น ส่วนเรือประมงหยุดหาปลายังไม่กระทบส่งออก สั่งจับตาราคาในประเทศ หวั่นปรับเพิ่ม

               พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2558 ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ได้ลงนามผ่านร่างกฎหมายการต่ออายุโครงการสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (จีเอสพี) ที่ให้สิทธิสินค้าเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมประมาณ 3,400 รายการให้แก่ประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงไทยออกไปอีก 4 ปี 5 เดือน โดยจะมีผลบังคับใช้ย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 31 ก.ค. 2556-31 ธ.ค. 2560 โดยผู้ส่งออกไทยที่ส่งออกสินค้าภายใต้จีเอสพีสหรัฐฯ สามารถขอใช้สิทธิส่งออกได้ตั้งแต่วันที่ 28 ก.ค. 2558 หรือในอีก 30 วันนับจากประธานาธิบดีสหรัฐฯ ลงนามผ่านร่างกฎหมายนี้

               ทั้งนี้ ผู้ส่งออกไทยยังสามารถขอคืนภาษีนำเข้าจากศุลกากรสหรัฐฯ กรณีที่ได้เสียภาษีนำเข้าในอัตราปกติไปตั้งแต่วันที่ 1 ส.ค. 2556 (ช่วงที่โครงการจีเอสพีสิ้นสุดลง) จนถึงปัจจุบัน โดยสามารถขอคืนภาษีนำเข้าจากสหรัฐฯ ได้กว่า 200 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 6,200 ล้านบาท

               สำหรับสินค้าที่ได้รับการคืนภาษี เช่น อาหารปรุงแต่ง ได้รับการคืนภาษีกว่า 390 ล้านบาท ส่วนประกอบเครื่องปรับอากาศ 200 ล้านบาท ถุงมือยาง 160 ล้านบาท ชุดสายไฟใช้กับรถยนต์ 130 ล้านบาท เครื่องสุขภัณฑ์เซรามิก 110 ล้านบาท กุญแจใช้กับรถยนต์ 100 ล้านบาท เป็นต้น

               “นับเป็นข่าวดีที่สหรัฐฯ ต่ออายุโครงการจีเอสพีให้แก่สินค้าไทย เพราะโครงการหมดอายุมาตั้งแต่วันที่ 31 ก.ค. 2556 ซึ่งจะทำให้ไทยส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ ได้มากขึ้น โดยได้มอบหมายให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศไปเชิญผู้ส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐฯ มาหารือถึงการผลักดันการส่งออกให้มากขึ้นหลังจากสหรัฐฯ ต่ออายุจีเอสพีแล้ว ส่วนเป้าหมายการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยไปสหรัฐฯ จะยังคงไว้ที่ 3% เท่าเดิม” พล.อ.ฉัตรชัยกล่าว

               ในปี 2557 ที่ผ่านมาไทยมีการใช้สิทธิจีเอสพีมากเป็นอันดับ 2 รองจากอินเดีย โดยใช้สิทธิมูลค่า 3,488.47 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นสัดส่วน 18.67% ของมูลค่าการใช้สิทธิจีเอสพีทั้งหมดของสหรัฐฯ ซึ่งมีมูลค่า 18,681 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งนับจากนี้ไปกระทรวงฯ ขอให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกไทยเร่งใช้สิทธิให้มากขึ้นเพื่อเป็นแต้มต่อให้สินค้าไทยแข่งขันได้มากขึ้น และช่วยเพิ่มมูลค่าส่งออกไปตลาดสหรัฐฯ และส่งผลดีต่อเศรษฐกิจไทยในอนาคต

               พล.อ.ฉัตรชัยกล่าวว่า การส่งออกสินค้าไทยในภาพรวม แม้หลายฝ่ายคาดการณ์ว่าการขยายตัวของมูลค่าการส่งออกในปีนี้จะติดลบ แต่กระทรวงฯ ยังคงยืนยันเป้าหมายเดิมที่ 1.2% โดยจะทำทุกทางเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดเดิม และขยายตลาดใหม่ที่มีศักยภาพให้ได้ อย่างเช่น ตลาดจีน จะเน้นเจาะตลาดเมืองรอง และเมืองที่อยู่ส่วนกลางของประเทศให้มากขึ้น ส่วนยุทธศาสตร์การส่งออกสินค้า 12 กลุ่มที่สั่งการให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างไปดำเนินการนั้น จนถึงขณะนี้ยังไม่แล้วเสร็จ แต่มอบหมายให้ปลัดกระทรวงพาณิชย์ช่วยดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 1 สัปดาห์แล้ว

               ส่วนกรณีที่เรือประมงไทยจะหยุดทำการประมงเพราะไม่สามารถแก้ปัญหาการทำประมงผิดกฎหมายได้นั้น น่าจะยังไม่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าประมงของไทยในทันที แต่ได้สั่งการให้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเชิญผู้ผลิต และผู้ส่งออกอาหารประมงไทยมาหารือภายในสัปดาห์นี้ เพื่อสอบถามถึงผลกระทบ และแนวทางการแก้ปัญหา เพื่อที่จะได้เตรียมการรับมือได้ทัน

               สำหรับผลกระทบในประเทศอาจทำให้ราคาอาหารทะเลสูงขึ้นบ้างเพราะผลผลิตมีน้อย ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ไม่ต้องการทำให้กลไกตลาดบิดเบือน หรือกดราคาไม่ให้ปรับสูงขึ้น แต่ได้สั่งการให้กรมการค้าภายในตรวจสอบสถานการณ์การค้าอาหารทะเล และอาหารปรุงสำเร็จอย่างใกล้ชิด อย่าให้ผู้ค้าฉวยโอกาสเอาเปรียบผู้บริโภค

 จาก http://www.manager.co.th  วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ชาวนาอ่างทองดิ้นสู้ภัยแล้งหันปลูกอ้อย ถั่วฝักยาว จับนกหนูไปขายหารายได้เลี้ยงปากท้อง

อ่างทอง - ชาวนาอ่างทอง สู้ชีวิตดิ้นหนีภัยแล้งที่คุกคามอย่างหนักจนไม่มีน้ำทำนา บางรายหันไปปลูกอ้อย และถั่วฝักยาว พืชที่ใช้น้ำน้อยในแปลงนานำไปขายหายรายได้แทน ขณะที่บางรายฉวยโอกาสช่วงภัยแล้ง ทั้งนก และหนูขาดแคลนอาหารเข้ามากัดกินข้าวในแปลงนา ใช้ตาข่ายดักจับไปขายสร้างรายได้

               วันนี้ (1 ก.ค.) นางประกอบ ดิษฐ์สุวรรณ อายุ 48 ปี อาชีพชาวนา อยู่บ้านเลขที่ 46/2 หมู่ 4 ตำบลบ้านพราน อำเภอแสวงหา จังหวัดอ่างทอง เปิดเผยว่า ครอบคัวตนทำนากว่า 10 ไร่ เมื่อประสบปัญหาภัยแล้งช้ำซาก และลุกลามฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ชลประทานชะลอการจ่ายน้ำ ปลูกข้าวไม่ได้เนื่องจากไม่มีน้ำต้องยึดระยะเวลาในการทำนาออกไป ตนจึงหยุดการทำนาหันหันมาปลูกอ้อย และถั่วฝักยาว ซึ่งเป็นพืชใช้น้ำน้อยเพื่อสร้างรายได้แทน

               “โดยได้ใช้พื้นที่ส่วนหนึ่งปลูกอ้อย และปลูกถั่วฝักยาวประมาณ 2 ไร่ เนื่องจากถั่วฝักยาวนั้นโตไวใช้น้ำน้อย และการเก็บเกี่ยวผลผลิตใช้เวลาเพียง 55 วัน ก็มีรายได้เลี้ยงครอบครัวแล้ว ชาวนาไม่มีเงินเดือนประจำ ต้องดินรนต่อสู้หารายได้เนื่องจากจะรอการทำนาเพียงอย่างเดียวนั้นในช่วงนี้ก็ขาดรายได้ แต่รายจ่ายมีทุกวัน และต้องรออีกหลายเดือนกว่าจะได้ลงมือปลูกข้าวทำนา และเก็บเกี่ยวผลผลิตไปขาย และขาดรายได้จึงได้ปรึกษากับครอบครัวหยุดการทำนา แล้วหันมาลงทุนในการปลูกอ้อย และถั่วฝักยาวเพื่อสร้างราย และความอยู่รอดของชาวนาในช่วงหน้าแล้ง ได้หาเงินเลี้ยงครอบครัวต่อไป” นางประกอบ กล่าว

               ด้าน นายพินิจ ศรีโสภา อายุ 42 ปี ชาวนาหมู่ 2 ตำบลบางจักร อำเภอวิเศษชัยชาญ จังหวัดอ่างทอง เปิดเผยว่า ตนทำนา จำนวน 17 ไร่ ช่วงนี้ข้าวกำลังตั้งท้องออกรวง นอกจากจะประสบปัญหาภัยแล้งขาดน้ำแล้ว ยังประสบปัญหาหนู และนกชุกชุมบุกกัดกินต้นข้าวเสียหายเป็นจำนวนมาก จึงได้ทำการดักหนู และนกไปขายสร้างรายได้ นำเงินมาใช้จ่ายในครอบครัวชดเชยนาข้าวที่เสียหายได้เป็นบางส่วน

               นายพินิจ กล่าวว่า หลังประสบภัยแล้งขาดแคลนน้ำ มีชาวนาจำนวนมากหยุดการทำนา ปล่อยนาร้าง ทำให้นก หนูชุกชุม จึงใช้ไม้ไผ่ทำบ่วงจับหนู และย่างขายได้วันละ 1-2 กิโลกรัม ราคาขายอยู่ที่ 80-120 บาทต่อกิโลกรัม ส่วนนกนานาชนิดที่ยกฝูงลงจิกกินข้าวในแปลงนานั้นตอนแรกได้ใช้ประทัดลูกกล้องจุดไล่นกที่เข้ามาจิกกินข้าวในแปลงนา เสียค่าพลุ และประทัดวันละกว่า 100 บาท ภายหลังใช้ตาข่ายดักปลามาดักจับนก ขายได้คู่ละ 30-40 บาทเป็นการลดต้นทุนในการใช้ประทัด และยังมีรายได้เล็กน้อย แต่ถึงอย่างไรก็ไม่คุ้มต่อต้นทุนที่ข้าวต้องเสียไปกว่าครึ่ง

จาก http://www.manager.co.th  วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

พาณิชย์ เผย CPIมิ.ย.58ลดลง 1.07% ติดลบเป็นเดือนที่ 6-ย้ำไม่ใช่เงินฝืด

นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์แถลงดัชนีราคาผู้บริโภคทั่วไปของประเทศ เดือนมิถุนายน 2558 เท่ากับ 106.64 เทียบกับเดือนพฤษภาคม 2558 สูงขึ้นร้อยละ 0.10 (MoM) ( เดือนก่อนหน้าที่สูงขึ้นร้อยละ 0.17 ) เป็นการปรับตัวสูงขึ้นตามราคา เนื้อสุกร ไข่ไก่ ผักสด อาหารสำเร็จรูป ปลาและสัตว์น้ำบางชนิด เครื่องประกอบอาหาร ค่าเช่าบ้าน ยาสูบ เครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ และราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศ ขณะที่ ไก่สด น้ำมันพืช และน้ำตาลทราย มีราคาลดลง เมื่อเทียบกับเดือนมิถุนายน 2557 อัตราเงินเฟ้อลดลงร้อยละ 1.07 (YoY) ( เดือนพฤษภาคม 2558 ลดลงร้อยละ 1.27 ) เป็นการติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 นับตั้งแต่เดือน ม.ค.58 เป็นต้นมา

อย่างไรก็ตามเทียบเฉลี่ย 6 เดือน ( มกราคม – มิถุนายน ) 2558  กับช่วงเดียวกันของปีก่อนลดลงร้อยละ 0.81 (AoA) 

ทั้งนี้  เงินเฟ้อที่ปรับลดลงร้อยละ 1.07 (YoY)  ยังไม่เป็นสัญญาณสะท้อนภาวะเงินฝืด เป็นผลจากราคาพลังงานที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่อยู่ในระดับต่ำ รวมทั้งนโยบายการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ส่งผลทำให้ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศลดลง ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ฟื้นตัวช้า ทำให้แรงกดดันเงินเฟ้อลดลง ขณะที่ค่าใช้จ่ายในกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภคประเภท อาหารสด อาหารสำเร็จรูป ค่าทัศนาจร และค่ารักษาพยาบาล ยังคงมีทิศทางที่สูงขึ้น สอดคล้องกับอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ( ไม่รวมกลุ่มราคาอาหารสดและพลังงาน ) ที่มีอัตราการขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 0.94 โดยกระทรวงพาณิชย์คาดว่าอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะกลับมาขยายตัวในระดับปกติช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2558

พิจารณาดัชนีราคาเฉลี่ย 6 เดือนของปี 2558 เทียบกับระยะเดียวกันของปี 2557 ลดลงร้อยละ 0.81 จากการลดลงของดัชนีหมวดอื่นๆ ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ร้อยละ 1.82ตามการลดลงของหมวดพาหนะ การขนส่ง และการสื่อสาร ร้อยละ 6.46 ขณะที่หมวดเครื่องนุ่งห่มและรองเท้า สูงขึ้นร้อยละ 0.70 หมวดเคหสถาน สูงขึ้นร้อยละ 1.07 หมวดการตรวจรักษาและบริการส่วนบุคคล สูงขึ้นร้อยละ  1.09 หมวดการบันเทิงการอ่าน การศึกษาและการศาสนา สูงขึ้นร้อยละ  0.67 และหมวดยาสูบและเครื่องดื่มมีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ  2.18  สำหรับ ดัชนีหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ  1.08  ตามการสูงขึ้นของหมวดข้าว แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง ร้อยละ 0.39 หมวดเนื้อสัตว์ เป็ดไก่ และสัตว์น้ำ สูงขึ้นร้อยละ 0.14 หมวดผักและผลไม้ สูงขึ้นร้อยละ 0.40 หมวดเครื่องประกอบอาหาร สูงขึ้นร้อยละ 1.91 หมวดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้นร้อยละ 0.90 และหมวดอาหารสำเร็จรูป สูงขึ้นร้อยละ 2.21 ( อาหารบริโภค-ในบ้าน สูงขึ้นร้อยละ 1.85 อาหารบริโภค-นอกบ้าน สูงขึ้นร้อยละ  2.79 ) ขณะที่หมวดไข่และผลิตภัณฑ์นม ลดลงร้อยละ 2.72

ผอ.สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า    กล่าวว่าการที่เงินเฟ้อปรับลดลงต่อเนื่อง 6 เดือนยังไม่ถือว่าเกิดเงินฝืดเนื่องจากเป็นผลมาจากราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่ำ เป็นผลจากการจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศปรับตัวลดลง อีกทั้งกำลังซื้อของประชาชนยังคงมีอยู่

ส่วนแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในไตรมาส 3 ปีนี้มองว่ายังอยู่ในระดับต่ำ โดยคาดว่าจะอยู่ที่ -0.3% ถึง -0.5% และคาดว่าอัตราเงินเฟ้อจะเริ่มปรับเป็นบวกตั้งแต่ไตรมาส 4 หรือเดือนกันยายน แต่ก็มีโอกาสที่เงินเฟ้อจะปรับตัวเป็นบวกได้เร็วกว่าเดือนกันยายน ซึ่งต้องขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันในตลาดโลกเป็นสำคัญทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ ยังคงเป้าหมายอัตราเงินเฟ้อทั้งปี 58 ไว้ตามเดิมที่ขยายตัว 0.6-1.3%

จาก http://www.thanonline.com วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ก.เกษตรฯทุ่มงบอีก160ล้าน จ้างแรงงานซ่อมระบบชลประทาน

1 ก.ค.58 นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงการวางมาตรากรช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ว่า เบื้องต้นตนได้อนุมัติเงินงบประมารกว่า 160 ล้านบาท ในส่วนที่ยังเหลือจ่าย จากโครงการปรับปรุงระบบชลประทาน และอาคารชลประทาน ทีเหลือจากการช่วยเหลือในฤดูแล้งที่ผ่านมา เพื่อจ้างแรงงานเกษตรกรในช่วงที่ยังไม่สามารถปลูกข้าว ได้ ในลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยงบประมาณดังกล่าวจะช่วยในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในการซ่อมแซมอาคารชลประทาน และระบบชลประทาน ในช่วงทียังไม่สามารถปลูกข้าวได้ในเดือน ก.ค.เนื่องจากกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการว่า จะมีฝนตกอีกครั้งในช่วงกลางเดือน ก.ค.นี้ และจะเข้าสู่ภาวะปกติ ซึ่งสามารถปลูกข้าวได้ต่อไป จึงจำเป็นต้องช่วยให้เกิดรายได้ในระยะสั้นๆ

ทั้งนี้ หากไม่สามารถปลูกข้าวตามที่ทางกรมอุตินิยมวิทยาประเมิณไว้ จะมีการประเมินสถานการณ์อีกครั้ง โดยอาจจะมีการของบประมาณเพิ่มเพื่อช่วยเหลือเกษรกรต่อไป ขณะเดียวกันในส่วนพื้นที่อื่นอาจจะต้องของบประมาณในการช่วยเหลือเช่นเดียวกัน อาจจะต้องมีการประเมิณสถานการณ์อีกครั้งหลังว่า เป็นไปตามที่ทางกรมอุตินิยมวิทยาประเมินไว้หรือไม่ ซึ่งหากเกิดภาวะภัยแล้งต่อเนื่องคงจะต้องมาทบทวนอีกครั้ง โดยขณะนี้ตนได้มอบหมายให้ทุกหน่วยงานของกระทรวงเกษตรลงสำรวจพื้นที่ทั้งหมด เพื่อเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือ และหากเกิดภัยแล้งที่เสียหายจริง เบื้องต้นทางจังหวัดก็สามารถนำเงินมามาช่วยเหลือได้ทันที

นอกจากนั้น ยังสั่งการให้กรมส่งเสริมการเกษตรลงสำรวจความต้องการของเกษตรกร หากเกิดภัยแล้งขึ้นในรยะยาวมีความต้องการจะปรับเปลี่ยนพืชใช้น้ำน้อยหรือไม่ รวมทั้งอาจปรับเปลี่ยนการปลูกพชืชชนิดอื่นแทนข้าว เพื่อให้เข้าแผนปรับโครงการการผลิตสินค้าเกษตร และอาจปรับเป็นทำการเกษตรตามหลักเศรษกิจพอเพียง โดยจะต้องวางกรอบให้ชัดเจนต่อไป

"ตอนนี้ยังตอบอะไรไม่ได้มากกว่านี้ เพราะผมกำลังสั่งให้ทุกหน่วยงานทั้งฝนหลวง และกรมส่งเสริมการเกษตรเขาดูโดยกรมฝนหลวง ขณะนี้ก็เร่งทำฝนหลวง และให้สำรวจว่าเกษตรกรเขาต้องการให้ส่งเสริมมอะไร และต้องการปรับปลี่ยนอะไร โดยจะสรุปภายเดือน ก.ค.นี้ จากนั้นค่อยมาว่ากันอักทีว่าจะช่วยเหลืออย่างไร ทุกอย่างต้องยึดหลักวิทยาศาตร์ เพื่อวางแผนการช่วยหรือ ไม่ใช่ความรู้สึก" นายปีติพงษ์​ กล่าว

 จาก http://www.naewna.com  วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สั่งกษ.ติดตามสภาพอากาศอีสาน หากเมฆเหมาะเริ่มฝนเทียมทันที!

1 ก.ค.58 พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้สั่งการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เฝ้าติดตามสถานการณ์สภาพอากาศ และกลุ่มเมฆในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หากมีความเหมาะสมต่อการลงมือปฏิบัติการฝนเทียม ก็ให้ดำเนินการได้ทันที เพื่อช่วยเหลือดูแลเกษตรกรที่กำลังจะเริ่มการเพาะปลูกฤดูกาลใหม่ โดยขณะนี้สถานการณ์น้ำไหลเข้าเขื่อนในหลายพื้นที่มีทิศทางที่ดีขึ้น

ทั้งนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ฝากขอบคุณเจ้าหน้าที่หน่วยฝนหลวงทุกท่าน ที่ทำงานกันอย่างหนักในช่วงนี้ และขอให้การกระจายฝูงบินไปตามพื้นที่ต่างๆ ดูความเหมาะสมและประโยชน์ที่จะเกิดกับพี่น้องเกษตรมากที่สุด ทุกหน่วยต้องร่วมมือกันเป็นหนึ่ง และให้รวมหน่วยฝนหลวงในส่วนของกองทัพเข้าสู่ปฏิบัติการด้วยตามความเหมาะสม

จาก http://www.naewna.com  วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

กฟผ. พร้อมรับ JDA-A18 หยุดผลิตก๊าซ

กฟผ. พร้อมรับมือ JDA-A18 หยุดผลิตก๊าซธรรมชาติ ช่วง 19-23 ก.ค. 2558 เชื่อมั่นไม่ส่งผลกระทบต่อผู้ใช้ไฟฟ้า พร้อมรณรงค์คนไทยร่วมลดการใช้ไฟฟ้า

นายสุธน บุญประสงค์ รองผู้ว่าการระบบส่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวถึง มาตรการรองรับกรณีการหยุดซ่อมแหล่งก๊าซพัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย (JDA-A18) ระหว่างวันที่ 19-23 กรกฎาคม 2558 รวม 5 วัน เพื่อทำการติดตั้งทางเชื่อมระหว่างแท่นผลิตก๊าซธรรมชาตินั้น กฟผ. ได้เตรียมรองรับด้านระบบผลิตไฟฟ้า โดยโรงไฟฟ้าจะนะ ชุดที่ 1 พร้อมเดินเครื่องด้วยน้ำมันดีเซล ตรวจสอบโรงไฟฟ้าภาคใต้ทั้งหมดให้พร้อมใช้งาน งดการหยุดเครื่องบำรุงรักษาโรงไฟฟ้าภาคใต้ในช่วงหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติ และประสานงานกับการไฟฟ้ามาเลเซียขอซื้อไฟฟ้าในกรณีฉุกเฉิน ด้านระบบส่ง ทำการตรวจสอบสายส่งและอุปกรณ์สำคัญในภาคใต้ให้พร้อมใช้งาน

ก่อนเริ่มหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติ และหยุดการบำรุงรักษาระบบส่งภาคใต้ช่วงหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติ และด้านเชื้อเพลิง ได้สำรองน้ำมันให้เพียงพอเต็มความสามารถจัดเก็บก่อนเริ่มหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติ โดยโรงไฟฟ้ากระบี่ ได้จัดเก็บน้ำมันเตา 25.4 ล้านลิตร และโรงไฟฟ้าจะนะ ได้จัดเก็บน้ำมันดีเซล 20 ล้านลิตร พร้อมกันนี้ได้เตรียมทีมงานติดตามสถานการณ์ ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด ตลอดจนมีแผนสำรองพร้อมเข้าแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินได้ทันที ดังนั้น ทำให้มั่นใจการหยุดซ่อมแหล่งก๊าซในช่วงเวลาดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าในภาคใต้อย่างแน่นอน

นอกจากนี้ กระทรวงพลังงาน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน กฟผ. การไฟฟ้านครหลวง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้รณรงค์ให้ทุกภาคส่วนช่วยกันประหยัดพลังงาน พร้อมใช้มาตรการลดการใช้ไฟฟ้า (Demand Response : DR) จากภาคเอกชน ในช่วงเวลาที่มีความต้องการใช้ไฟฟ้าสูง (18.00-22.00น.) เพื่อความมั่นคงเชื่อถือได้ของระบบผลิตไฟฟ้าโดยรวมของประเทศ

จาก http://www.innnews.co.th  วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สั่งเดินหน้าแก้มลิง 4,983 ล้านบาท

นาย เลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ ได้มอบหมายให้กรมชลประทานเร่งดำเนินโครงการแก้มลิง

ทั่วทั้งประเทศใน พื้นที่ 50 จังหวัด เพื่อให้มีพื้นที่รองรับน้ำเพิ่มขึ้น ซึ่งอยู่ในแผนงานโครงการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระยะเร่งด่วน ประจำปีงบประมาณ 2558 รวมทั้งสิ้น 219 โครงการ วงเงินโครงการจำนวน 4,983.64 ล้านบาท ทั้งนี้แบ่งเป็นโครงการแก้มลิงในภาคเหนือพื้นที่ 8 จังหวัด วงเงิน 517.29 ล้านบาท, ภาคกลาง4 จังหวัด รวม 6 โครงการ วงเงิน 262 ล้านบาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 19 จังหวัด จำนวน 144 โครงการ วงเงิน 3,296.18 ล้านบาท

สำหรับภาคตะวันออกมีโครงการแก้มลิง 6 จังหวัด รวม 15 โครงการ วงเงิน 139.73 ล้านบาท และภาคใต้ 13 จังหวัด รวม 35 โครงการ วงเงิน 768.43 ล้านบาท

จาก http://www.prachachat.net   วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

สศก.ประเมินหนึ่งตำบลหนึ่งล้านตอบสนองชุมชนแก้ภัยแล้ง

สศก.ประเมินหนึ่งตำบลหนึ่งล้านตอบสนองชุมชนแก้ภัยแล้ง“โอฬาร”ชี้โครงการเข้าถึง-บริหารโดยชุมชนตอบโจทย์รัฐบาลที่ต้องการช่วยเกษตรกร

              นายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการสร้างรายได้และพัฒนาการเกษตรแก่ชุมชนเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งตามมติครม.วันที่ 27 มิถุนาย 2558 ว่า ตามที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้รับมอบหมายจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้เป็นหน่วยงานหลักในการดำเนินโครงการตั้งแต่เดือนกุมภาาพันธ์-มิถุนายน ซึ่งมีชุมชนเกษตรกรยื่นขอรับโครงการมากถึง 3,044 ตำบล รวม 6,598 โครงการ ของบประมาณสนับสนุน 3,004.51 ล้านบาท โดยแต่ละตำบลได้รับเงินตำบลละ 1 ล้านบาท กิจกรรมที่ชุมชนเสนอที่น่าสนใจมี 4 ประเภทคือการจัดการแหล่งน้ำชุมชน มากถึง 3,331 โครงการ การผลิตทางการเกษตรและแปรรูปผลิตผลเกษตรเพื่อสร้างรายได้ในฤดูแล้งของชุมชน 636 โครงการ การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต 2,370 โครงการ และ การจัดการเพื่อลดความสูญเสียผลผลิตเกษตร 261 โครงการ มีเกษตรกรและผู้ใช้แรงงานเข้าร่วมโครงการ 360,659 คน งานแรงงาน 5,409,880 แรงมีครัวเรือนได้รับประโยชน์กว่า 2.66 ล้านครัวเรือน

              “สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.)ได้ประเมินโครงการในเบื้องต้นซึ่งพบว่าเป็นโครงการที่ดีเกษตรรกพอใจสูงมากเนื่องจากให้ชุมชนดำเนินการเองเป็นกระบวนการของชาวบ้านทุกอย่างและเข้าสู่ชุมชนไม่ได้เป็นการว่าจ้างเอกชนมาดำเนินการ ไม่ได้เอาโครงการของรัฐบาลมาให้่ เป็นโครงการและมีเงินหมุนเวียนระยะสั้นคือ 5 เดือนซึ่งรู้สึกดีใจกับชาวบ้านที่จะมีรายได้ในช่วงหน้าแล้งถือเป็นความมุ่งมั่นตั้งใจของรัฐบาล”

              อย่างไรก็ตามโครงการดำเนินการแล้วเสร็จไปกว่า 98 เปอร์เซ็นต์และถือว่ามีประโยชน์มากเพราะช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางการเกษตรเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของชุมชน บรรเทาความเดือดร้อนจากภัยแล้งในระยะยาวส่งผลให้ชุมชนได้รับประโยชน์เพราะบริหารจัดการกันเองและถือเป็นโครงการที่ตอบโจทย์ของรัฐบาลที่ต้องการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร ทั้งเป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรและเป็นการท้าทายความคิดของเกษตรกรเช่นกัน เพราะเราใช้งบประมาณไปกับภูมิปัญญาชาวบ้าน ชุมชนได้รับประโยชน์โดยตรงจากการจ้างงานและเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นด้วย

              ทั้งนี้ขั้นตอนในการดำเนินงานกรมส่งเสริมได้มอบหมายให้ศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีประจำตำบล(ศบกต.)เป็นตัวแทนชุมชนขอรับการสนับสนุนงบประมาณและค่าจ้างแรงงาน โดยขั้นตอนการเบิกจ่ายเงินในโครงการฯได้ทำอย่างรัดกุม โปร่งใส และตรวจสอบได้การจ่ายเงินถึงชุมชนจะจ่ายผ่านระบบบัญชีเงินฝากของธนาคาร ค่าใช้จ่ายวัสดุมีการจัดทำบัญชีเบิกจ่ายวัสดุของชุมชน ซึ่งได้รับคำแนะนำจากกรมตรวจบัญชีสหกรณ์เพื่อให้ถูกต้องตามระเบียบ ส่วนงบประมาณการจ้างงานจะโอนเข้าบัญชีเงินฝากเกษตรกรตามข้อตกตลงการจ้างแรงงานซึ่งได้รับความร่วมมือจากธกส.ลดหย่อนค่าธรรมเนียม

              ในเดือนกรกฎาคม คณะกรรมการบริหารโครงการสร้างรายได้และพัฒนาการเกษตรแก่ชุมชนเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งระดับกระทรวงจะสรุปผลโครงการซึ่งจะพิจารณาถึงโครงการที่มีต่อเนื่อง เร่งด่วน หรือเป็นโครงการที่จะเกิดประโยชน์ต่องเกษตรกรชุมชนเพื่อเสนอครม.ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการเกี่ยวกับแหล่งน้ำ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เนื่องจากเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ

  จาก http://www.komchadluek.net    วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

จัดงาน‘ภูมิปัญญาไทยเกษตร’

นางจารุรัฐ จงพุฒิศิริ ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปิดเผยว่า พิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จัดงาน “ภูมิปัญญาเก่าใหม่ ไทยเกษตร” เพื่อมุ่งเพิ่มทักษะ เทคนิควิธีทำเกษตร เน้นการเรียนรู้ภูมิปัญญาทั้งเก่าและใหม่ เพื่อพัฒนาต่อยอดจนสามารถพึ่งตนเองได้ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง โดยนำเสนอจากประสบการณ์ตรงของผู้ที่ประสบความสำเร็จจากการประยุกต์ใช้ภูมิปัญญา อาทิ ฟังและแลกเปลี่ยนประสบการณ์กว่า 10 ปี จาก แชมเปญ เอ็กซ์ อดีตนางแบบและนักแสดงชื่อดังของเมืองไทยที่ผันตัวเองเป็นเกษตรกร ทำเกษตรพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากไร่วันจันทร์เพ็ญ (ยิ้ม) จ.สระแก้ว, พบปราชญ์เกษตรของแผ่นดินคนล่าสุด ปี 2558 ผู้ใหญ่สมศักดิ์ เครือวัลย์ ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติสองสลึง จ.ระยอง นำเสนอ “ทำเกษตรอย่างไรให้พอเพียง” จากวิถีการผลิตที่ลงทุนสูง ขาดทุนล่มจม ปรับตัวปรับใจใช้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงจนประสบความสำเร็จ, การถ่ายทอดประสบการณ์ของ นายสถาพร ฉายะโอภาส แห่งฟาร์มไส้เดือนมิตรใหม่ฟาร์ม สายไหม กรุงเทพฯ จากที่เลี้ยงไส้เดือนเป็นงานอดิเรกจนปัจจุบันกลายเป็นธุรกิจที่สร้างรายได้อย่างมั่นคง

นอกจากนี้ ยังนำเสนอเทคนิคการปลูกและดูแลรักษาไผ่สร้างรายได้ เทคนิคการแปรรูปและการตลาด โซลาร์เซลล์สำหรับสูบน้ำและผลิตไฟฟ้า เตรียมรับปัญหาสภาวะฝนแล้ง โดย อ.ธนภพ เกียรติฉวีพรรณ “ปราชญ์ชาวบ้าน” นักประดิษฐ์และพัฒนาประยุกต์ใช้พลังงานไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) เป็นพลังงานทดแทนอย่างหลากหลาย ชมนิทรรศการภูมิปัญญาเกษตรของคนรุ่นใหม่ ช็อป ของกิน ของใช้ อาหารพื้นบ้าน จากเกษตรอินทรีย์แท้ๆ

จาก http://www.naewna.com วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

4 หน่วยเชื่อมข้อมูลแผ่นดินไหว กรมชลย้ำเขื่อนทุกแห่งแข็งแรง-ปลอดภัย

ว่าที่ร้อยตรีไพเจน มากสุวรรณ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า กรมชลประทาน ได้ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือการดำเนินงานด้านแผ่นดินไหวกับกรมอุตุนิยมวิทยา กรมทรัพยากรธรณี และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยในการที่จะเชื่อมโยงข้อมูลแผ่นดินไหวระหว่างกัน ทั้งข้อมูลทางด้านวิชาการ ปฏิบัติการ เพื่อจะนำข้อมูลหรือเทคนิคต่างๆ ไปประมวลผล และนำมาใช้ติดตามเฝ้าระวังการเกิดแผ่นดินไหวและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในประเทศไทย และในอนาคตจะได้มีการกำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน รวมไปถึงการให้บริการข้อมูลสารสนเทศด้านแผ่นดินไหวที่ถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุดสู่สาธารณชนเป็นลำดับต่อไป

“กรมชลประทานเป็นหน่วยงานที่ต้องดูแลความแข็งแรงและความมั่นคงของอ่างเก็บน้ำ จึงคิดว่าข้อมูลหรือสถิติเกี่ยวกับลักษณะการเกิดแผ่นดินไหวที่เราได้ทำการศึกษามาโดยตลอด รวมทั้งเทคนิคต่างๆ ที่ได้นำไปใช้งานจริงจะสามารถนำไปเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานรัฐด้วยกัน ทำให้ได้ข้อมูลอย่างรอบด้าน อย่างละเอียดมากขึ้นโดยที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่ม เป็นการเฝ้าระวังภัยแผ่นดินไหวและผลกระทบให้กับประเทศไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด นอกจากนี้เมื่อมีการเผยแพร่ข้อมูลที่ถูกต้องให้ประชาชนได้ทราบก็จะเป็นการสร้างความพร้อมให้เกิดความเข้าใจปรากฏการณ์แผ่นดินไหวมากขึ้นไม่เกิดความตื่นตระหนก” ว่าที่ร้อยตรี ไพเจนกล่าว

รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวต่อไปว่า เขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำทุกแห่งต้องมีการตรวจสอบความมั่นคงให้ได้ตามค่ามาตรฐานความปลอดภัยโดยวิศวกรและเจ้าหน้าที่ผู้ชำนาญงานอย่างสม่ำเสมอ เนื่องจากความแข็งแรงและมั่นคงของเขื่อนไม่ได้ถูกกำหนดจากการไหวตัวของแผ่นดินเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ตามสถิติที่ผ่านมาประเทศไทยเคยเกิดแผ่นดินไหวที่สามารถวัดค่าแรงสั่นสะเทือนได้ขนาด 6.3 ตามมาตราริกเตอร์ ในขณะที่โครงสร้างของเขื่อนเก็บกักน้ำทั้งขนาดเล็ก กลาง ใหญ่ จะถูกออกแบบมาให้สามารถรับแรงสั่นสะเทือนได้ขนาด 7 ตามมาตราริกเตอร์

“ถึงกระนั้นกรมชลประทานไม่ได้นิ่งนอนใจ เรามีการกำหนดมาตรการเตรียมความพร้อมในกรณีเกิดความเสียหายที่อาจมีผลกระทบกับความมั่นคงแข็งแรงของเขื่อน เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่กรมชลประทาน หน่วยงานปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในพื้นที่ท้ายเขื่อน ซึ่งหวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์หรือนำไปต่อยอดในการป้องกันภัยแผ่นดินไหวได้”

ว่าที่ร้อยตรีไพเจน ได้กล่าวในตอนท้ายว่า ในอนาคตการออกแบบและก่อสร้างเขื่อนเก็บกักน้ำอาจจะต้องเพิ่มความแข็งแรงให้มากขึ้นด้วยการพิจารณาใช้วิธีการคำนวณออกแบบที่มีความแม่นยำมากขึ้นกว่าเดิม และปรับเปลี่ยนค่าสัมประสิทธิ์แผ่นดินไหวในการคำนวณออกแบบเพิ่มขึ้นกว่าเดิม ซึ่งปัจจุบันได้เริ่มดำเนินการแล้ว รวมทั้งมีระบบเตือนภัยที่ไวต่อความสั่นสะเทือนมากขึ้นด้วยเช่นกัน

จาก http://www.naewna.com วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ก.เกษตรฯ แจงโครงการช่วยภัยแล้ง แก้ปัญหาตรงจุด

ก.เกษตรฯ แจงคืบหน้าโครงการสร้างรายได้ฯ บรรเทาภัยแล้ง แก้ปัญหาตรงจุด เกิดการมีส่วนร่วมในชุมชน สร้างรายได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

นายสมปอง อินทร์ทอง รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารโครงการสร้างรายได้และพัฒนาการเกษตรแก่ชุมชนเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง ว่า มีการรายงานความคืบหน้าของโครงการฯ ด้านการเบิกจ่ายงบประมาณ โดยศบกต. ได้เบิกจ่ายงบประมาณให้กับกลุ่มเกษตรกรแล้ว 3,002 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 99.92 และในขั้นตอนการเบิกจ่ายของกลุ่มเกษตรกรเพื่อนำไปใช้ดำเนินการโครงการฯ มีการเบิกจ่ายแล้ว จำนวน 2,783 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 92.64 ส่วนโครงการของชุมชนที่เบิกจ่ายงบประมาณเสร็จสิ้นแล้ว จำนวน 5,425 โครงการ (จาก 6,598 โครงการ) คิดเป็นร้อยละ 82.22 และอยู่ระหว่างดำเนินการ 1,173 โครงการ คิดเป็นร้อยละ 17.78 ซึ่งจะเห็นได้ว่าโครงการฯ นี้ สามารถช่วยเหลือเกษตรกรผู้ใช้แรงงานไปแล้วจำนวน 917,566 ราย และครัวเรือนเกษตรกรได้รับประโยชน์ 2,435,030 ครัวเรือน

นายสมปอง กล่าวเพิ่มเติมว่า “มีบางโครงการที่ต้องมีการเสนอเข้า ครม.เพื่อขอขยายระยะเวลา เนื่องจากเดิมมีกำหนดระยะเวลาในการสิ้นสุดโครงการคือ 30 มิ.ย. 58 แต่มีปัจจัยด้านสภาพอากาศทำให้บางโครงการไม่สามารถดำเนินการได้แล้วเสร็จทันเวลา จึงจะขอยืดเวลาการดำเนินโครงการออกไปจนถึงสิ้นเดือนส.ค.นี้ ด้านการประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการฯ คาดว่าจะแล้วเสร็จสิ้นเดือน ก.ย. 58 เบื้องต้นได้มีการเก็บข้อมูลในการประเมินผล โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ถือว่าเป็นไปตามวัตถุประสงค์คือ ชุมชนมีส่วนร่วมในการคิดโครงการจากความต้องการของตนเอง ได้รับผลประโยชน์ในรูปแบบจากสิ่งก่อสร้างหรืออื่นๆ โดยตรง และเป็นสร้างรายได้แก่ชุมชน ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้ง

นอกจากนี้คณะกรรมการได้มีการลงพื้นที่ไปตรวจโครงการที่แล้วเสร็จใน จ.น่าน ซึ่งมีการเสนอโครงการสร้างฝายชะลอน้ำ พบว่าประสบผลสำเร็จและสร้างประโยชน์แก่คนในชุมชนได้จริง และบางโครงการที่เกี่ยวกับการโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โครงการผลิตปุ๋ย มี 1,305 โครงการ เมื่อดำเนินการแล้วเสร็จสามารถผลิตปุ๋ยได้ถึง 70,000 ตัน ซึ่งสามารถช่วยลดต้นทุนการผลิต และนำไปขายสร้างรายได้แก่ชุมชนได้อีกทางหนึ่งด้วย”

อย่างไรก็ตาม มีจังหวัดที่ดำเนินกิจกรรมโครงการฯ และเบิกจ่ายงบประมาณเสร็จสิ้นแล้ว 17 จังหวัด (จาก 58 จังหวัด) ได้แก่ จังหวัดกระบี่ พระนครศรีอยุธยา จันทบุรี อุตรดิตถ์ กำแพงเพชร สตูล นครสวรรค์ ตาก พิจิตร มหาสารคาม หนองบัวลำภู สุโขทัย บึงกาฬ พะเยา อุทัยธานี ร้อยเอ็ด และอำนาจเจริญ

จาก http://www.thanonline.com วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

แจงสี่เบี้ย : กรมพัฒนาที่ดินกับการพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ(8)

 การผลิตสารควบคุมแมลงศัตรูพืช โดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.7 เป็นจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติเพิ่มประสิทธิภาพการสกัดสารออกฤทธิ์โดยกระบวนการหมักพืชสมุนไพรชนิดต่างๆ เพื่อผลิตสารควบคุมแมลงศัตรูพืช สารเร่งซุปเปอร์ พด.7 ประกอบด้วย ยีสต์ Saccharomyces sp. แบคทีเรียผลิตกรดอะซิติก Gluconobacter oxydans และ แบคทีเรียผลิตกรดแลคติก Lactobcillus fermentum

สารสกัดที่ได้จากการหมักพืชสมุนไพร โดยกิจกรรมจุลินทรีย์ ประกอบด้วย สารออกฤทธิ์ และสารไล่แมลงที่อยู่ในพืชสมุนไพร รวมทั้งกรดอินทรีย์หลายชนิด เพื่อใช้ในการป้องกันและกำจัดแมลงศัตรูพืช

การผลิตสารควบคุมแมลงศัตรูพืชจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.7 ชนิดพืชสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมแมลง โดยสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพควบคุมเพลี้ยแป้ง และเพลี้ยอ่อน ได้แก่ ยาสูบ(ยาเส้น) ดีปลี รากหางไหล หัวกลอย และพริก ส่วนสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพควบคุมหนอนกระทู้ผัก และหนอนใยผัก ได้แก่ เหง้าว่านน้ำ เหง้าขมิ้น เมล็ดมันแกว และเหง้าหนอนตายหยาก ส่วนวิธีการทำนั้น คือ สับพืชสมุนไพรให้เป็นชิ้นเล็ก ทุบหรือตำให้แตก จากนั้นนำพืชสมุนไพรและรำข้าวละเอียดใส่ลงในถังหมัก ละลายกากน้ำตาลในน้ำ แล้วใส่สารเร่งซุปเปอร์ พด.7 ผสมให้เข้ากันนาน 5 นาที เทสารละลายใส่ลงในถังหมักคลุกเคล้าและคนให้เข้ากัน ปิดฝาถังไม่ต้องแน่น ตั้งทิ้งไว้ในที่ร่ม และคนทุกวันใช้ระยะเวลาในการหมัก 21 วัน เมื่อทำการหมักได้ที่แล้ว จะสังเกตได้ว่าฝ้าจุลินทรีย์ลดลง ไม่มีฟองก๊าซคาร์บอนได้ออกไซด์หรือมีน้อยลง กลิ่นแอลกอฮอล์ลดลงสารละลายมีสภาพเป็นกรด pH ระหว่าง 3-4 และได้กลิ่นเปรี้ยว

สำหรับอัตราและวิธีการใช้นั้น ต้องเจือจางสารควบคุมแมลงศัตรูพืช : น้ำ เท่ากับ 1:100 ฉีดพ่นทุกๆ 3-5 วัน และฉีดต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับการระบาดของหนอนและเพลี้ย ควรฉีดพ่นช่วงตัวอ่อน หรือช่วงที่เพลี้ยยังไม่เกิดแป้ง ใส่สารจับใบ เช่น น้ำยาล้างจาน 10 มิลลิลิตร ลงในสารควบคุมแมลงศัตรูพืช 10 ลิตร พืชผัก พืชไร่ และไม้ดอก ฉีดพ่นสารควบคุมแมลงศัตรูพืชที่เจือจางแล้ว อัตรา 50 ลิตรต่อไร่ ส่วนไม้ผล ฉีดพ่นสารควบคุมแมลงศัตรูพืชที่เจือจางแล้วอัตรา 100 ลิตรต่อไร่ ฉีดพ่นที่ใบ ลำต้น หรือบริเวณที่มีหนอนหรือเพลี้ยอาศัยอยู่

จาก http://www.naewna.com วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ส่องเกษตร : ถึงเวลาต้องปฏิรูประบบน้ำ

 สัปดาห์ที่ผ่านมา นายกฯประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะหัวหน้าคสช.-คณะรักษาความสงบแห่งชาติ ได้ใช้อำนาจพิเศษ ตามมาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราวอีกครั้ง ออกคำสั่ง“เด้ง” 71 ข้าราชการระดับสูงลงมาถึงระดับกลาง และผู้บริหารราชการปกครองส่วนท้องถิ่นที่พัวพันคดีทุจริตคอร์รัปชั่นต่างๆ เพื่อเปิดทางสะดวกให้กับการสอบสวนของหน่วยงานที่ทำหน้าที่ตรวจสอบความผิดอยู่

นับเป็น “ลอตที่ หรือ“รุ่นที่ ที่ข้าราชการโดนคำสั่งเชือดมาตรา 44 ตามนโยบายจัดการปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างเด็ดขาดของรัฐบาล คสช. โดยลอตแรกหรือรุ่น 1 โดนไปก่อนหน้านี้มี 45 คน รวม 2 รุ่นก็เป็น 115 คน ทั้งที่บวกตัวเลขได้ 116 แต่เพราะรุ่น 2 มีซ้ำกับรุ่นแรก 1 คนคือ นายสุวัตร สิทธิหล่อ ปลัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่คำสั่งแรก โดนแค่ให้ไปช่วยราชการประจำกระทรวง แต่คำสั่งหน 2 นี้ ให้ไปเป็นที่ปรึกษาพิเศษสำนักนายกรัฐมนตรี จึงหลุดจากตำแหน่งเดิมโดยเด็ดขาด

ในรุ่น 2 นี้มี 2 ข้าราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์โดน“เด้ง”เข้ากรุประจำสำนักงานปลัดกระทรวงฯด้วยคือ นายสมพร

ดำนุ้ย ผอ.โครงการชลประทานอุดรธานีและนายยุทธนา นวมะชิติ ผอ.โครงการชลประทานสตูล เมื่อรวมกับรุ่น 1 ที่โดน

 คำสั่งแบบเดียวกันไปก่อนหน้านี้ 2 คนคือ นายปัญญา ศิลปะ เกษตรจังหวัดนครราชสีมา และนายอุดร ชมาฤกษ์ เกษตรจังหวัดอุบลราชธานี ก็เป็น 4 คนแล้ว

ข่าวว่าลอตที่ 3 หรือรุ่นที่ 3 ที่กำลังอยู่ระหว่างกลั่นกรอง เตรียมออกคำสั่งหัวหน้าคสช.อีกในเร็วๆนี้ ยังไม่รู้จะมีข้าราชการกระทรวงเกษตรฯโดนอีกกี่คน แต่ใครที่รู้ตัวเองดีว่า เข้าไปพัวพันเกี่ยวข้องคดีทุจริตคอร์รัปชั่น จน ถูกหน่วยงานไม่ว่าจะเป็นป.ป.ช.,ป.ป.ท.,DSI และ สตง.ทำการสอบสวนความผิดอยู่ ก็คงใจตุ๊มๆต้อมๆกันเป็นแถว....ซึ่งแบบนี้น่าที่จะสมน้ำหน้า มากกว่าที่จะเห็นใจ และหวังว่า การเอาจริงของรัฐบาลครั้งนี้ จะสร้างความเข็ดขยาด ไม่ใช่คิดจะ“โกง”กันง่ายๆเหมือนในอดีตอีก

พักเรื่องฟันข้าราชการพัวพันทุจริตแค่นี้ก่อน ขอไปว่าเรื่องมหากาพย์ “วิกฤติภัยแล้ง” อีกครั้ง ซึ่งต้องยอมรับว่า ตอนนี้ได้กลายเป็น “วิกฤติแห่งชาติ” ที่มีผลกระทบไปถึงทุกองคาพยพของสังคมไทยทุกภาคส่วนไปแล้ว

แน่นอนด้านการเกษตรชัดเจนว่า จีดีพีภาคเกษตร ผลผลิตพืชผลหลักๆจะลดต่ำลงมาก กระทบต่อเนื่องไปถึงเรื่องการค้าการส่งออกสินค้าเกษตร ยาวไปถึงอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่ใช้พืชผลเกษตรเป็นวัตถุดิบ แล้วเมื่อภาคเกษตรรายได้หดหาย ก็ส่งผลหนักให้ขาด“กำลังซื้อ” กระทบไปถึงธุรกิจทุกตัวขณะที่โรงงานอุตสาหกรรมอื่นๆ ก็ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ต้องเร่งตุนน้ำไว้รองรับ ธุรกิจท่องเที่ยวก็พลอยมีผลกระทบขาดน้ำ การประปาฯเองก็เป็นห่วงน้ำดิบจะไม่พอใช้ทำน้ำประปา เพื่อการอุปโภคบริโภค กระทั่งกระแสในโลกโซเชียลเตือนให้แต่ละบ้าน “ตุน”หรือสำรองน้ำกินน้ำใช้กันให้ดี เป็นต้น เรียกได้ว่าเดือดร้อนทุกหย่อมหญ้า ทุกภาคส่วน

ก่อนหน้านี้ กรมชลประทานต้องตกเป็น“จำเลย”สำคัญที่ถูกด่าหนักว่า บริหารจัดการในเขื่อนแบบไร้สติ นับตั้งแต่เกิดน้ำท่วมใหญ่ปี 2554 โดยระบายน้ำในเขื่อนออกไปมากเกินไป ทำให้ต้องเจอภัยแล้งที่รุนแรงขนาดหนักในปีนี้ จนอธิบดีกรมชลประทาน-เลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ ต้องออกมาแฉว่า การพร่องน้ำ 4 เขื่อนใหญ่ไปมาก เพราะถูกบังคับสั่งการจากอำนาจการเมืองรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ให้เร่งระบายน้ำเขื่อนออก ด้วยหวั่นจะเจอน้ำท่วมใหญ่ซ้ำรอยปี 2554 แม้กรมชล

 จะทัดทานเพื่อต้องการรักษาน้ำต้นทุนไว้

ก็ทานไม่อยู่

ดังนั้น ผมอยากสรุปว่า การบริหารจัดการน้ำแบบ“ขาดสติ”จนเกิดภัยแล้งหนักเวลานี้ หรือ แม้กระทั่งน้ำท่วมใหญ่เมื่อปี 2554 ก็เป็นเพราะการปล่อยให้อำนาจการเมืองที่ยึดเอาแต่ประโยชน์ตัวเอง โดยไม่คำนึงถึงหลักวิชาการที่ถูกต้อง เข้ามาแทรกแซง สั่งการบริหารจัดการน้ำได้นั่นเอง

ปัญหาน้ำ ไม่ว่า“น้ำแล้ง”หรือ“น้ำท่วม” จะยิ่งกลายเป็นปัญหาร้ายแรงขึ้นเรื่อยๆ จำเป็นต้องมีการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพเต็มที่ แม้แต่ฝืมือกรมชลประทานเอง ก็ยังใช่ว่า จะไว้วางใจได้ ทั้งหมด ยิ่งปล่อยให้มีอำนาจการเมืองเข้ามาแทรกแซงได้ ก็มีแต่จะนำพาวิกฤติให้สาหัสขึ้นทุกที

คงถึงเวลาที่ต้องพูดเรื่อง “ปฏิรูประบบน้ำ” ให้จริงจังเสียที ให้มีหน่วยงานหรือองค์กรอิสระที่ประกอบด้วยคนเก่ง มีความรู้

ความสามารถบริหารจัดการน้ำแท้จริง มาทำงานนี้อย่างอิสระ ไม่ปล่อยให้อำนาจการเมืองใดๆมาแทรกแซงได้ เหมือนประเทศที่ประสบความสำเร็จเรื่องนี้เช่น เนเธอร์แลนด์ เป็นต้น

ก็ต้องฝากรัฐบาล คสช.พิจารณาด้วย ถ้าไม่ริ่เริ่มปฏิรูปตอนนี้ อนาคตยิ่งมืดมนแน่

จาก http://www.naewna.com วันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558

ทวงคืนชลประทาน 3 พันแห่ง เกษตรเหลืออดท้องถิ่นปล่อยร้างคามือ   

          เกษตรเล็งทวงคืนโครงการชลประทานกว่า 3,000 แห่ง จากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หลังรับมอบไปแล้วไม่สามารถดูแล-ส่งน้ำได้ตามเป้าหมาย จ่อดึงคืนมาบริหารจัดการเอง ห่วงฝั่งตะวันออกกลุ่มเจ้าพระยามีแนวโน้มเผชิญปัญหามากขึ้น ชี้กรมอุตุฯรายงานจะมีฝนตก 100 วันซึ่งคำนวรปริมาณน้ำในเขื่อนแล้วจะเพียงพอไปตลอดฤดูกาลแล้งหน้า

          นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมแนวทางการจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง ร่วมกับนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลฯและนายสุเทพ น้อยไพโรจน์ รองอธิบดี ฝ่ายบำรุงรักษาที่สำนักชลประทานที่ 11 อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี โดยนายปีติพงศ์ กล่าวว่าได้สั่งการแก้ไขปัยหาภัยแล้งใน 4 เรื่อง ได้แก่ 1.ระบบการใช้น้ำ 10 ปีที่ผ่านมาคิดแต่เรื่องการจัดหาน้ำไม่ได้จัดการปริมาณการใช้น้ำ โดยเฉพาะการเพาะปลูกต้องสอดคล้องกับสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง

          2.อาคารชลประทานที่โอนให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่าไม่สามารถดูแลได้ไม่มีระบบการส่งน้ำ ซึ่งมีมากกว่า 3,000 โครงการปัจจุบันมีความตื้นเขินและมีความเสี่ยง จึงต้องการให้กรมชลฯ กลับเข้าไปดูแล เพื่อให้เกิดการกระจายน้ำได้มากขึ้น 3.แหล่งน้ำนอกประเทศทั้งแม่โขงและสาละวิน ให้กรมชลฯไปดูว่าในระยะสั้นจะสามารถนำน้ำเข้ามาได้หรือไม่ เช่นการชักรอกน้ำเข้ามาในประเทศช่วงฤดูฝน และให้ดูในระยะยาวด้วยว่าจะดำเนินการอย่างไรในการใช้น้ำดังกล่าวให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยมากขึ้น

          4.ให้ดูระบบการจัดน้ำของแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งมีความแตกต่างกับลุ่มน้ำอื่น เพราะมีความซับซ้อนใช้น้ำจากเขื่อนขนาดใหญ่ 4 แห่ง จึงต้องวางระบบบำรุงรักษาให้มากขึ้นแต่วงเงินงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรน้อย จึงต้องพิจารณาเรื่องนี้ใหม่เพื่อปรับปรุงและสร้างระบบส่งน้ำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เน้นการปรับการใช้นำให้มีประโยชน์มากที่สุด เช่น การประหยัดน้ำ

          สำรหับการดูแลประชาชนหลังจากลดการจัดสรรน้ำในเขื่อนได้ให้เจ้าหน้าที่ลงไปดูพื้นที่จริงทั้งที่ปลูกข้าวแล้วและยังไม่ได้ปลูก จะต้องระบุสภาพพื้นที่ให้ชัดเจนเพราะกระทรวงกเกษตรฯมี 2 มาตรการช่วยเหลือ คือ 1.การปรับปรุงอาคารชลประทานทั้งหลาย ที่สามารถทำได้ในขณะนี้ก่อนฝนมาในเดือน ส.ค. ซึ่งจะจ้างงานเกษตรกรโดยกรมชลฯอยู่ระหว่างรวบรวมตัวเลขการจ้างตั้งเป้าจะใช้งบประมาณของกรมชลฯเองไม่ได้ขอเงินเพิ่มจากรัฐบาล 2.กรมส่งเสริมการเกษตรจะดูแลการปลูกพืชเสริม ทั้งหมดนี้จะต้องรวบรวมให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 30 มิ.ย.นี้ เพื่อรายงานให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบ และเสนอที่ประชุม ครม.เศรษฐกิจวันที่ 1 ก.ค.พิจารณาต่อไป

          "กรมอุตุนิยมวิทยารายงานว่า หลังจากนี้จะมีฝนตกในประเทศมากกว่า 100 วัน ปริมาณฝนต่ำกว่าค่าปกติ 7-10% ซิ่งสิ้นฤดูฝนนี้คาดว่าจะมีน้ำใช้การใน 4 เขื่อนหลักกลุ่มเจ้าพระยา คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิต์ ฟ่าสักชลสิทธิ์ และแควน้อยบำรุงแดน รวมประมาณ 3,200-3,900 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งเป็นคาดการณ์ที่ใช้รายปี 2530 ซึ่งเป็นกรณีเลวร้ายสุด ฝนน้อยที่สุดนับตั้งแต่มีประเทศไทยมา ทั้งนี้ปริมาณน้ำที่คำนวรไว้นี้ได้มองไปถึงหน้าแล้งระยะ 6 เดือนข้างหน้าด้วย ไม่ใช่เฉพาะฤดูฝนนี้เท่านั้น"

          นายปีติพงศ์ยังได้กล่าวหลังขึ้นเฮลิคอปเตอร์สำรวจปัญหาภัยแล้งในลุ่มเจ้าพระยาตอนล่างด้วยว่า จากการสำรวจสภาพพื้นที่ด้วยตาของตัวเองพบว่า ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ไป จนถึงฝั่งลุ่มแม่น้ำป่าสักน่าจะมีปัญหาหนัก เนื่องจากมีปริมาณน้ำเข้าถึงน้อย และมีพื้นที่สูงที่การส่งน้ำไปไม่ถึง เกษตรกรบางส่วนได้ปรับตัวโดยยังไม่ลงมือเพาะปลูก ต้องรอดูไปอีก 10 วันว่าจะมีฝนตกลงมาเพิ่มเติมตามที่กรมอุตฯคาดการร์หรือไม่สำหรับฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาไปจนถึงลุ่มแม่น้ำน้อย มีปัญหาน้อยกว่า เพราะพื้นที่ที่ยังไม่ได้เพาะปลูกกระจายเป็นจุดๆไปเท่านั้น

          "ตอนนี้ขอมุ่งแก้ปัญหาพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาก่อน ส่วนนอกเขตชลประทานลุ่มเจ้าพระยาทั้งในภารเหนือ และอีสาน ให้เจ้าหน้าที่สำรวจทั่วประเทศ หากแล้งมาก ผ่านฤดูฝนไปแล้ว ไม่ได้น้ำเพาะปลูกไม่ได้ก็จะจัดทำมาตรการเยียวยาต่อไป"

          นายเลิศวิโรจน์ กล่าวว่า สถานการณ์ฝนเมื่อวันที่ 28 มิ.ย. มีน้ำไหลเข้า 4 เขื่อนหลัก 10 ล้านลูกบาศก็เมตร (ลบ.ม.) วันที่ 27 มิ.ย.น้ำไหลเข้า 9 ล้าน ลบ.ม.สูงกว่าค่าเฉลี่ยตลอดเดือนมิ.ย.ที่น้ำไหลเข้าเฉลี่ยวันละ 7 ล้าน ลบ.ม.เท่านั้นสำหรับคาดการณ์ฝนในช่วงหน้าฝนที่เหลือกรมอุตุฯ คาดว่าจะมีฝนตกลงมากว่า 100 วัน ค่าเฉลี่ยฝนจะต่ำกว่า ปกติ 7-10% แต่ประเมินว่าหลังฤดูฝน ณ วันที่ 31 ต.ค.นี้ จะมีน้ำใช้การใน 4 เขื่อนหลัก ประมาณ 3,200-3,900 ล้าน ลบ.ม.ช่วงนี้จึงต้องเก็บน้ำไว้ในเขื่อน และชะลอการเพาะปลูกในพื้นที่เขตชลประทานลุ่มเจ้าพระยาที่ยังไม่ลงมือปลูก.

จาก http://www.thairath.co.th   วันที่ 1 กรกฎาคม 2558

แก้แล้ง-ดึงน้ำโขง-สาละวินสั่งหางานเสริมชาวนาซ่อมตึก 

          ดึงน้ำโขง-สาละวินช่วยแก้แล้ง รมต.เกษตรฯ สั่งเอง เร่งเกลี่ยงบประมาณสร้างอาชีพ -เสริมรายได้จ้างชาวนาซ่อมอาคาร-สถานีสูบน้ำ-ลอกคลอง เพื่อรอรับฝนเดือนส.ค.-ก.ย.นี้ ย้ำชัดยังไม่มีแผนแจกเงิน ขณะที่ 'บิ๊กตู่' สั่งหาอาชีพเสริมช่วงแล้ง-หวังช่วยเหลือชาวนา พร้อมถกครม. สัญจรเร่งบริหารจัดการน้ำ ลุยปฏิบัติ 'ยกเมฆ' ทำฝนหลวงช่วยโคราช โดยดึงเมฆข้ามภูเขาที่ขวางอยู่ออกมา เพื่อทำฝนสู้ภัยแล้ง เผยบินทำฝนไปแล้ว 270 เที่ยว มีฝนตก 68 วัน บุรีรัมย์สั่งชะลอส่งน้ำจาก 4 อ่างยักษ์ ส่วน นาข้าวพิจิตรยืนต้นตายนับหมื่นไร่ ลพบุรีเร่งแก้วิกฤตน้ำประปา ถนนกรุงเก่าทรุดทางยาว เหตุน้ำในคลองแห้งขอด

          บิ๊กตู่สั่งหาอาชีพเสริมช่วงแล้ง

          เมื่อวันที่ 29 มิ.ย. ที่ขส.ทบ. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคสช. กล่าวถึงสถานการณ์ภัยแล้งและแนวทางแก้ปัญหาว่า การประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่ จ.เชียงใหม่ ในวันที่ 30 มิ.ย. จะเน้นดูแลเรื่องแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่ตอนบนลงสู่ตอนล่าง ซึ่งขณะนี้การแก้ปัญหาภัยแล้งได้ดำเนินการไปจำนวนมาก โดยเฉพาะการขุดบ่อบาดาล จุดประสงค์หลักคือการใช้สำหรับอุปโภคบริโภค ไม่ใช่ใช้สำหรับการเกษตรเพียงอย่างเดียว จึงขอความร่วมมือประชาชนว่าอย่ายึดติดกับการใช้น้ำบาดาล เพราะหากหลังจากนี้มีฝนตกลงมา รัฐบาลก็จะยุติการช่วยเหลือด้วยการขุดเจาะบ่อบาดาล เพราะน้ำใต้ดินเป็นน้ำที่หายาก ในส่วนของความคืบหน้าแก้ปัญหาภัยแล้งของแต่ละหน่วยงานได้รายงานให้รับทราบแล้ว แต่ละพื้นที่ต้องใช้วิธีแก้ปัญหาที่แตกต่างกัน หากพื้นที่ไหนไม่สามารถช่วยเหลือได้ทัน ต้องหางานหรืออาชีพเสริม เพื่อสร้างรายได้ให้แก่คนเหล่านั้นเป็นการทดแทน โดยยืนยันว่ารัฐบาลพยายามเร่งรัดและช่วยเหลือประชาชนอย่างเต็มที่

          จ้างซ่อมอาคาร-ลอกคลอง

          ที่สำนักชลประทานที่ 11 กรมชลประทาน ปากเกร็ด นายปีติพงศ์ พึ่งบุญ ณ อยุธยา รมว.เกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานประชุมมาตรการแนวทางแก้ไขปัญหาสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา โดยมีนายเลิศวิโรจน์ โกวัฒนะ อธิบดีกรมชลประทาน นายไพรัช หวังดี รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร สำนักชลประทานเขตลุ่มเจ้าพระยา และเกษตรจังหวัดลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง 15 จังหวัด อาทิ ชัยนาท อ่างทอง สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น เข้าร่วมหารือ

          โดยนายปีติพงศ์กล่าวภายหลังการประชุมว่า กระทรวงเกษตรฯ เตรียมนำเสนอสถานการณ์น้ำแล้งต่อที่ประชุมครม. เพื่อรับทราบถึงสถานการณ์น้ำและมาตรการที่กำลังดำเนินการ ในส่วนการรับมือของภาครัฐได้จำลองสถานการณ์น้ำแล้งไว้เลวร้ายที่สุด หมายถึงจากวันนี้ไม่มีฝนตกลงเขื่อนเลย คือ แล้งสุดในรอบเกือบ 30 ปี นับจากปี 2530 โดยให้กรมชลประทานสำรองน้ำไว้ใช้นานที่สุดถึงเม.ย.2559

          นายปีติพงศ์กล่าวอีกว่า ส่วนมาตรการช่วยเหลือโดยการให้เงินกับเกษตรกร ยืนยันยังไม่เกิดขึ้น เพราะขณะนี้ความเสียหายที่เกิดจากภัยแล้งยังไม่เกิดขึ้น เป็นคนละกรณีกับปี 2557 ที่รัฐบาลแจกเงินให้ชาวนาไร่ละ 1,000 บาทต่อครัวเรือน ครัวเรือนละไม่เกิน 15 ไร่ เนื่องจากรัฐบาลต้องการใส่เงินเข้าในระบบเศรษฐกิจและต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจ อีกทั้งเศรษฐกิจไทยช่วงนั้นต้องการกระตุ้นอย่างเร่งด่วน แต่ขณะนี้สถานการณ์ต่างกัน ชาวนากำลังถูกวิกฤตแล้งเล่นงานและต้องหาวิธีดูแลให้ถูกกับอาการที่เป็น จึงสั่งการให้กรมส่งเสริมการเกษตรร่วมกับกรมชลประทานร่วมสรุปความเสียหายในแต่ละพื้นที่ เพื่อหาวิธีเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร เบื้องต้นสั่งให้กรมชลประทานสำรวจอาคารชลประทานทั่วประเทศว่าจะซ่อมแซมหรือขุดลอกคูคลอง เพื่อให้เกิดการจ้างงานและสร้างรายได้ให้ชาวบ้าน พร้อมรับมือฝนใหม่ที่จะเข้ามา รวมทั้งให้ประเมินสถานการณ์ฝนในช่วง 100 วัน ที่คาดว่าจะมีมา ในช่วงเดือนส.ค.-ก.ย. นี้ แต่ผลการสำรวจพบชาวนาส่วนใหญ่ยังต้องการรอฝน แต่มีชาวนาอีก 3 แสนราย ต้องการปรับอาชีพไปปลูกอย่างอื่น

          ดึงน้ำโขง-สาละวินช่วย

          นายปีติพงศ์กล่าวต่อว่า กระทรวงเกษตรฯ จะนำเสนอวิธีเยียวยาเกษตรกรให้เร็วที่สุด เพื่อจัดกิจกรรมเสนออาชีพใน 4 เรื่องคือ 1.ปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืชให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำ เพราะที่ผ่านมากว่า 20 ปี ไทยไม่เคยดูแลความสมดุลของปริมาณน้ำและการเพาะปลูก มีเพียงการจัดสรรน้ำให้เพียงพอสำหรับปริมาณเนื้อที่เพาะปลูกของเกษตรกร 2.จะขอเข้าดูแลอาคารชลประทานกว่า 3 พันแห่ง หลังจากโอนให้องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนท้องถิ่นไม่มีเครื่องมือสำหรับดูแลก็ตื้นเขิน ใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ

          นายปีติพงศ์กล่าวด้วยว่า 3.ให้กรมชลประ ทานจัดหาแหล่งน้ำนอกประเทศ ทั้งจากน้ำโขงและสาละวิน เพราะปัญหาน้ำจะเป็นปัญหาที่ทวีความรุนแรง โดยจากนี้ทุกภาคส่วนต้องดูและปรับตัว เพื่อรองรับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ในลุ่มน้ำสาละวินและน้ำโขงเป็นแม่น้ำนานาชาติ หากจะใช้น้ำนานาชาติต้องขออนุญาตผู้เกี่ยวข้อง แต่เรื่องนี้ให้กรมชลประทานไปคิดว่าจะมีเทคนิคอะไรที่จะใช้น้ำโขงและสาละวิน โดยไม่ต้องขอนานาชาติ เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำใช้ในประเทศให้มากขึ้น 4.การเพิ่มประสิทธิภาพการส่งน้ำใน 4 เขื่อนหลักของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาที่ยังขาดเรื่องงบประมาณดำเนินการ โดยจะเร่งเสนอรัฐบาลพิจารณาโดยเร็ว

          เร่งอุ้มชาวนาเหนือ-อีสาน

          ต่อมานายปีติพงศ์ขึ้นเฮลิคอปเตอร์สำรวจพื้นที่ทำการเกษตรลุ่มน้ำเจ้าพระยา โดยกล่าวภายหลังสำรวจว่า ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่างมีปัญหา เพราะลุ่มน้ำป่าสักมีปริมาณน้ำน้อย จากการดูภูมิประเทศและพื้นที่ไม่น่าจะส่งน้ำได้ถึง ซึ่งเกษตรกรในพื้นที่เหล่านั้นต้องปรับตัว และในฝั่งขวาของแม่น้ำเจ้าพระยาก็มีบางส่วน ซึ่งดูแล้วอาจเสียหายเป็นจุดๆ ขณะที่ฝั่งตะวันตกมีปัญหา หลังจากขึ้นตรวจพื้นที่จึงให้เจ้าหน้าที่ออกสำรวจพื้นที่และจัดทำแผนที่ภัยพิบัติ เบื้องต้นยังสั่งการให้เจ้าหน้าที่ระดับจังหวัด อำเภอและตำบล ร่วมกับเจ้าหน้าที่ กระทรวงเกษตรฯ ทั่วประเทศ ลงพื้นที่เอกซเรย์ปัญหาและความต้องการของเกษตรกร ทั้งก่อนและหลังฝนตก เพื่อนำเสนอมาตรการแก้ภัยแล้งเข้าที่ประชุมครม.ในวันที่ 7 ก.ค.นี้ โดยจะเน้นช่วยเหลือลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่จ.พิจิตร จ.พิษณุโลก และจ.สุโขทัย ลงมาเรื่อยๆ

          "มาตรการเร่งด่วนที่ต้องทำใน 10 วันก่อนฝนมา คือ การเกลี่ยงบประมาณของกรมชล ประทานเพื่อจ้างงาน ซ่อมแซม อาคารและสถานีสูบน้ำ เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร เรื่องนี้ทำได้เร็วเท่าไหร่ยิ่งดี จึงสั่งให้กรมชลประทานไปตรวจสอบว่ามีเงินพอมาใช้ได้มากน้อยเพียงใด จะได้เร่งดำเนิการและลงมือจ้างเลย" นายปีติพงศ์กล่าว

          นายปีติพงศ์กล่าวต่อว่า ที่น่าเป็นห่วงอีกอย่างคือเกษตรกรในภาคอีสานและภาคเหนือ หากน้ำแล้งหรือฝนน้อยในกลุ่มนี้จะทำอะไร จะมีรายได้จากไหน เจ้าหน้าที่ต้องลงพื้นที่สำรวจว่าหากเกษตรกรภาคเหนือและภาคอีสานทำนาไม่ได้จะทำมาหากินอะไร จึงต้องเตรียมการไว้ล่วงหน้าแต่ยังไม่ได้กำหนดมาตรการช่วยเหลือใน 2 ภาคดังกล่าว

          กรมชลฯ รับน้ำเข้าอ่างน้อย

          นายเลิศวิโรจน์กล่าวว่า ขณะนี้ติดตามสถานการณ์น้ำอย่างเข้มงวด หลังประเมินสถานการณ์น้ำร่วมกับหน่วยงานทั่วประเทศ โดยลดปริมาณการระบายน้ำเหลือวันละ 28 ล้านลบ.ม. และช่วงนี้มีฝนตกมีน้ำไหลเข้าเติมเขื่อนประมาณวันละ 9-10 ล้านลบ.ม. ซึ่งการบริหารจัดการน้ำถือว่าขาดทุน เพราะน้ำเข้าน้อยกว่าน้ำออก แต่หากฝนตกในช่วงเดือนส.ค.-ก.ย. นี้ มีการคาดการณ์ว่าจะมีฝนตกประมาณ 100 วัน และจะสามารถเก็บน้ำได้ประมาณ 3,200-3,900 ล้านลบ.ม. ซึ่งทำให้การบริหารน้ำไม่ตึงตัวมากนัก แต่หากใช้น้ำไม่ประหยัดหรือปลูกพืชเพิ่ม น่าจะมีปัญหาและลดการระบายน้ำลงจาก 28 ล้านลบ.ม. ในปัจจุบันลงอีก

          ขณะที่นางศรีวณิก หัสดิน รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ไม่พบสัญญาณความกังวลจากนักลงทุนที่มีต่อปัญหาสถานการณ์ภัยแล้ง แต่ยอมรับว่าปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้นในปีนี้รุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการในนิคมต้องวางแผนการใช้ปริมาณน้ำสำรองด้วยตัวเอง จากอ่างเก็บน้ำที่อยู่ในพื้นที่นิคมจนกว่าจะมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มมากขึ้นอีกครั้งในช่วงปลายเดือนก.ค.นี้ นอกจากนี้กนอ.ยังทำหนังสือประชาสัมพันธ์ไปยังบริษัทต่างๆ ในพื้นที่นิคมให้ใช้น้ำอย่างประหยัด รวมทั้งอยู่ระหว่างเตรียมแผนรองรับภัยแล้งที่อาจเกิดขึ้นในปีหน้า อาทิ การจัดหาแหล่งน้ำสำรองเพิ่มเติม และการแปรสภาพน้ำเค็มให้กลายเป็นน้ำจืดในพื้นที่ภาคตะวันออก แต่โครงการ ดังกล่าวต้องใช้เม็ดเงินลงทุนสูง ซึ่งอาจกระทบต่อสถานะทางการเงินของผู้ประกอบการ จึงจำเป็นต้องศึกษารายละเอียดอย่างรอบคอบ

          ยกเมฆทำฝน-ช่วยโคราช

          สำหรับสถานการณ์ภัยแล้งในต่างจังหวัด ที่จ.นครราชสีมา นายสมปอง อินทร์ทอง รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมนาย วราวุธ ขันติยานันท์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร มอบนโยบายทำฝนหลวง ที่หอบังคับการกองบิน 1 ค่ายสุรนารี อ.เมือง เพื่อแก้ไขปัญหาภัยแล้งในภาคอีสาน จากนั้นได้บินสำรวจสภาพอากาศเหนืออ่างเก็บน้ำต่างๆ ในพื้นที่ เพื่อประเมินสถานการณ์และวางแผนปฏิบัติการฝนหลวง

          นายสมปองกล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.ถึงปัจจุบัน บินทำฝนหลวงในจ.นครราชสีมาไปแล้ว 270 เที่ยวบิน มีฝนตก 68 วัน และทำฝนหลวงในจ.อุบลราชธานี 14 วัน รวม 19 เที่ยวบิน

          ด้านนายวราวุธเปิดเผยว่า ระยะนี้กำชับให้ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงทั่วประเทศเร่งบินขึ้นปฏิบัติการทำฝนหลวง เพื่อช่วยเติมน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ และแก้ปัญหาน้ำอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง จ.นครราช สีมา ซึ่งขณะนี้ขึ้นบินทำฝนหลวงวันละ 3-5 เที่ยว ก็ได้ผล ทำให้เกิดฝนตกลงเหนืออ่างเก็บน้ำในระดับที่น่าพอใจ ส่วนสถิติน้ำที่ไหลลงอ่างเก็บน้ำต่างๆ นั้น ขณะนี้ยังถือว่าน้อยมาก เนื่องจากที่ผ่านมามีฝนตกลงมาน้อย ทำให้พื้นดินยังไม่อิ่มตัว ขณะเดียวกันบริเวณอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ซึ่งถือเป็นต้นน้ำที่จะไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ของจังหวัด โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำลำตะคองและอ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง ขณะนี้มีเมฆมาก แต่ส่วนใหญ่จะอยู่หลังเขา เพราะมีป่าอุดมสมบูรณ์และมีความชื้นมาก ซึ่งเมฆเหล่านั้นลอยต่ำจึงข้ามภูเขามาไม่ได้ หรือบางส่วนข้ามภูเขามาได้ แต่เมฆจะแตกไม่กลายเป็นฝน ดังนั้นจึงมีแผนปฏิบัติการยกเมฆข้ามเขาขึ้น

          นายวราวุธกล่าวอีกว่า สำหรับปฏิบัติการยกเมฆข้ามเขา เป็นเทคนิคพิเศษเพื่อปรับอุณหภูมิด้านหลังภูเขาฝั่งอ่างเก็บน้ำให้มีอุณหภูมิเย็นลง เพื่อยกเมฆจากอีกฝั่งให้ลอยข้ามเขาลงมาและกลายเป็นฝนตกในที่สุด แต่วิธีนี้ต้องใช้ระยะเวลานานพอสมควร นอกจากนี้ยังมีพื้นที่อับฝนลักษณะนี้อยู่อีกมากในประเทศไทย โดยเฉพาะเขตตะเข็บภูเขาตะนาวศรี ซึ่งขวางทิศทางลมอยู่เป็นบริเวณกว้าง ทำให้ต้องใช้เทคนิคนี้เข้าไปช่วย

          บุรีรัมย์ชะลอส่งน้ำ 4 อ่างยักษ์

          ที่จ.กาฬสินธุ์ นางสมพงษ์ วรรณทอง อายุ 70 ปี เจ้าของรางวัลชนะเลิศการประกวดข้าวหอมมะลิระดับประเทศ ประจำฤดูกาลผลิต 2557/2558 พร้อมเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ ร่วมรับฟังปัญหาและพูดคุยกับเพื่อนสมาชิกในกลุ่มข้าวหอมมะลิ 105 เพื่อวางแผนการทำนาในฤดูกาลผลิต 2558/2559 หลังได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้งในพื้นที่

          นางสมพงษ์กล่าวว่า ภัยแล้งปีนี้เป็นอุปสรรคการทำนาอย่างมาก แต่นาข้าวของสมาชิกได้หว่านกล้ากันแล้ว พื้นที่ไหนไม่มีน้ำ ต้นกล้าข้าวก็ตายแล้งเป็นบริเวณกว้าง ส่วนที่มีบ่อน้ำก็อาศัยเครื่องสูบน้ำเข้านา แต่ต้องสิ้นเปลืองต้นทุนการทำนาปีนี้ไปอีก

          ที่จ.บุรีรัมย์ ภัยแล้งยังคงขยายวงกว้าง ล่าสุดปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยสวาย ต.สองชั้น อ.กระสัง มีปริมาณลดต่ำเหลือเพียง 5.4 ล้านลบ.ม.เท่านั้น หรือเฉลี่ย 39.96 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถือเป็นปริมาณที่ต่ำ แต่ยังไม่ถึงขั้นวิกฤต เบื้องต้นมีมติให้ชะลอการส่งน้ำเพื่อการเกษตรไปก่อนและต้องรอประเมินสถานการณ์น้ำอีกครั้ง

          นายกิติกุล เสภาศีราภรณ์ ผอ.โครงการชลประทาน จ.บุรีรัมย์ กล่าวว่า ขณะนี้มีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง ประกอบด้วย เขื่อนลำนางรอง อ่างเก็บน้ำคลองมะนาว อ่างเก็บน้ำลำปะเทียและอ่างเก็บน้ำลำจังหัน ที่ต้องชะลอส่งน้ำเพื่อการเกษตร เนื่องจากปริมาณน้ำต่ำ ส่วนอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 16 แห่ง ให้ขึ้นอยู่กับมติของคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำแต่ละอ่างจะเป็นผู้พิจารณาประเมินสถานการณ์น้ำ

          ที่จ.มหาสารคาม นายชยาวุธ จันทร ผวจ.มหาสารคาม เปิดเผยว่า ปริมาณฝนในปีนี้ลดลงมาก ทำให้ปริมาณน้ำใช้การในเขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น ปริมาณกักเก็บมีน้อยเช่นกัน ขณะเดียวกันจากการสำรวจปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั้ง 17 แห่งในจังหวัด พบมีปริมาณน้ำ 28.99 ล้านลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 35.61 ของความจุ แต่มีแนวโน้มลดลง เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบในวงกว้างภาวะฝนทิ้งช่วง จึงวางแผนรับมือภัยแล้ง โดยขอความร่วมมือเกษตรกรให้เลื่อนการทำนาปีออกไปก่อน หันไปปลูกพืชใช้น้ำน้อยหรืออาชีพอื่นทดแทน อีกทั้งขอให้ทุกภาคส่วนรณรงค์การใช้น้ำประปาอย่างประหยัดและคุ้มค่า

          นาพิจิตรยืนต้นตายหมื่นไร่

          ที่จ.พิจิตร ชาวบ้านจำนวนมากต่างได้รับผลกระทบจากการขาดแคลนน้ำและวอนขอให้ทำฝนหลวงช่วยเหลือเป็นการด่วน โดยนายมานะ วุฒิยากร นายกอบต. วังกรด อ.บางมูลนาก กล่าวว่า ในต.วังกรด มีทั้งหมด 16 หมู่บ้าน หากฝนยังไม่ตกลงมาอีก 15-20 วันจะขาดน้ำใช้ ส่วนนาข้าวตอนนี้ยืนต้นตายไปแล้วนับหมื่นไร่ จึงวอนขอให้หน่วยงานรัฐช่วยเหลือชาวนาด้วย

          ที่จ.ประจวบคีรีขันธ์ นายสงวน พิชัยชน นายกอบต.ไร่ใหม่ นายคมสันต์ สำราญราษฎร์ กำนันตำบลไร่ใหม่ พร้อมเจ้าหน้าที่และชาวบ้าน ทำการขุดเจาะบ่อบาดาล เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง โดยเจ้าหน้าที่ขุดลงไปลึกประมาณ 62 เมตรก็พบน้ำสามารถช่วยเหลือชาวบ้านและเกษตรกร

          ที่จ.ชัยนาท นายสุวัฒน์ เปี่ยมปัจจัย รองอธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาล นำเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่บ้านหลังดอน หมู่ 7 ต.ท่าชัย อ.เมืองชัยนาท เพื่อเจาะน้ำบาดาลช่วยเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง โดยนายสุวัฒน์กล่าวว่า ข้าวในต.ท่าชัยมีโอกาสเสียหายกว่า 1,000 ไร่ และที่เสียหายไปแล้วประมาณ 100 ไร่ ถ้าปล่อยต่อไปคงจะเสียหายทั้งหมด เนื่องจากการขาดแคลนน้ำ จึงนำรถเจาะหาน้ำบาดาลช่วยเหลือ สำหรับจ.ชัยนาท มีแผนขุดเจาะ 93 บ่อ ขณะนี้เจาะเสร็จไปแล้ว 18 บ่อ

          ที่จ.พระนครศรีอยุธยา จากสถานการณ์น้ำแล้งหนัก ยังส่งผลให้ถนนเลียบคันคลองขวด ด้านหลังวัดป้อมรามัญ ต.สวนพริก อ.พระนครศรีอยุธยา เกิดการทรุดตัวหายไป 2 เมตร เป็นระยะทางยาวกว่า 200 เมตร โดยดินสไลด์ลงไปในคลองที่น้ำแห้งขอด

          จ.ส.อ.ประดิษฐ์ ขันธมาลา รองนายกอบต.สวนพริก กล่าวว่า เข้าตรวจสอบแล้ว โดยจะเร่งแก้ปัญหาการทรุดตัวเพิ่มด้วยการตอกเข็มตลอดแนวถนนที่ทรุดตัว จากนั้นเทดินบดอัดถนน โดยจะปิดป้ายประกาศรถยนต์ห้ามผ่าน ส่วนสาเหตุน่ามาจากการขุดลอกคลองและเกิดภัยแล้ง ทำให้ถนนทรุดตัว

          ลพบุรีแก้วิกฤตน้ำประปา

          ที่จ.ลพบุรี ระดับน้ำในคลองชัยนาท-ป่าสัก แหล่งน้ำสำคัญของจังหวัดลดระดับลงอย่างมาก ทำให้ประชาชนเดือดร้อนอย่างมาก เพราะนอกจากจะไม่สามารถทำการเกษตรได้แล้ว ชาวบ้านในอ.เมือง ยังได้รับความเดือดร้อนจากการขาดน้ำประปาสำหรับอุปโภคบริโภคด้วย ทำให้ประชาชนบางส่วนพลิกวิกฤตด้วยการทอดแหและวางตาข่ายดักปลา สร้างรายได้วันละ 5,000-6,000 บาท ขณะที่ชาวบ้านในต.โพธิ์เก้าต้น อ.เมืองลพบุรี นำโดยนายวีรศักดิ์ จันทร กำนันต.โพธิ์เก้าต้น พร้อมชาวนา ทำพิธีขอฝนตามความเชื่อ

          ด้านนายวินัย สุขสุมิตร ผจก.การประปาส่วนภูมิภาค จ.ลพบุรี กล่าวว่า สำหรับปัญหาน้ำประปาไหลอ่อนหรือบางพื้นที่ไม่ไหล ตรวจสอบพบว่าปริมาณน้ำในคลองชลประ ทานเหลือน้อย และชลประทานอาจปล่อยน้ำดิบมาให้การประปาทำน้ำประปาน้อยลง จึงเร่งดำเนินการแก้ไขด้วยการใช้รถแบ๊กโฮขุดลอกร่องน้ำและทำคันกั้นบริเวณปากท่อรับน้ำ เพื่อป้องกันน้ำไหลออกและติดตั้งเครื่องสูบน้ำดิบจากคลองชลประทานเข้ามายังท่อรับน้ำดิบที่ใช้ผลิตเป็นน้ำประปา

          นายวินัยกล่าวอีกว่า น้ำไหลอ่อนหรือไม่ไหลในบางพื้นที่ เพราะต้องแบ่งน้ำใช้เป็นโซนๆ เพื่อให้ประชาชนใช้น้ำอย่างทั่วถึง ไม่ปล่อยน้ำกระจายเหมือนทั่วไป เนื่องจากบ้านที่อยู่ต้นน้ำสามารถใช้น้ำได้สบาย ส่วนบ้านปลายน้ำกว่าน้ำจะไหลไปถึงน้ำก็ไหลอ่อนหรือน้ำหมดท่อไปแล้ว จึงต้องแบ่งส่งเป็นโซนๆไป ส่วนการแก้ปัญหาได้ยืมเครื่องสูบน้ำจากการประปาพระนครศรีอยุธยามาติดตั้งสูบน้ำจากคลองชลประทานเข้าโรงกลั่น

จาก http://www.khaosod.co.th    วันที่ 1 กรกฎาคม 2558

นายกฯว้ากกรมชลตอบไม่ชัดเจนหาแหล่งกักน้ำสั่งเข้มทำให้

          “บิ๊กตู่” ถก ครม.สัญจรสั่งแก้ ปัญหาภัยแล้งอย่างเป็นระบบ ฉุนกรมชลแจงไม่เข้าใจ เร่งเดินหน้าโครงการแก้มลิงทั่วประเทศ เพิ่มพื้นที่รองรับน้ำ 219 โครงการ ก.อุตสาหกรรมเล็งใช้เหมืองแร่ร้างกักเก็บน้ำ กรมฝนหลวงเตรียมปฏิบัติการฝนหลวงพิเศษ 1 ก.ค.นี้ ขณะที่ พม.เปิดทางเกษตรกรนำเครื่องมือหากินมาจำนำไม่คิดดอกสู้ภัยแล้ง สุโขทัยอ่วมน้ำยมแห้งเหลือไม่ถึงเมตร ข้าวเริ่มยืนต้นตาย เมืองลับแลประกาศภัยแล้ง 8 อำเภอ ประชาชนขาดแคลนน้ำ 6.2 หมื่นครัวเรือน บึงบอระเพ็ดเริ่มแห้งขอดชาวประมงออกหาปลาไม่ได้ ประมงอ่างทองหวั่นเจ้าพระยาน้ำน้อยกระทบปลาวางไข่

          สถานการณ์ภัยแล้งยังคงวิกฤติแม้มีการระดมทำฝนหลวงเพื่อเติมน้ำในเขื่อนอย่างต่อเนื่อง แต่ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนยังน้อยกว่าปริมาณน้ำที่ระบายออกเพื่อรักษาระบบนิเวศและเพื่อการอุปโภคบริโภค ส่งผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตร ล่าสุดเมื่อวันที่ 30 มิ.ย. ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา ต.ช้างเผือก อ.เมืองเชียงใหม่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีอย่างเป็นทางการนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) ครั้งที่ 2 จ.เชียงใหม่ เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง

          สั่งแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ

          พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้า คสช. กล่าวภายหลังการประชุม ครม.ว่า การประชุมวันนี้เน้นเรื่องการบริหารจัดการน้ำทั้งระบบ ดูตั้งแต่พื้นที่ต้นน้ำพบว่าแห้งแล้ง ปริมาณป่ามีน้อย มีการทำฝนเทียมมากว่า 2,000 ครั้ง ได้ฝนไม่มากอาจทำ

จาก http://www.thairath.co.th   วันที่ 1 กรกฎาคม 2558