http://www.sugarzone.in.th


ข่าวเศรษฐกิจเกี่ยวกับอ้อยและน้ำตาล(เดือนมีนาคม 2563)

ภัยแล้งพ่นพิษยอดผลิตน้ำตาลร่วง

นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ไทยชูการ์มิลเลอร์ (TSMC) เปิดเผยว่า หลังจากที่โรงงานน้ำตาลทั้ง 57 แห่ง ได้เปิดรับผลผลิตอ้อยเข้าหีบประจำฤดูการผลิตปี 2562/63 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2562 จนถึงปัจจุบันรวมระยะเวลาเปิดหีบ 116 วัน โดยโรงงานทุกแห่งได้ประกาศปิดหีบอ้อยแล้ว ซึ่งมีปริมาณผลผลิตอ้อยเข้าหีบทั้งสิ้น 74.89 ล้านตัน ลดลงจากฤดูการผลิตปีก่อนที่มีอ้อยเข้าหีบ 130.97 ล้านตันอ้อย คิดเป็น 43% ส่งผลให้ปริมาณผลิตน้ำตาลลดลงเหลือ 8.27ล้านตัน จากเดิมที่ผลิตน้ำตาลได้ 14.58ล้านตัน

ทั้งนี้ด้วยความร่วมมือของทุกฝ่ายจากหน่วยงานภาครัฐ ชาวไร่อ้อย และโรงงานน้ำตาลที่รณรงค์ให้ตัดอ้อยสดส่งมอบแก่โรงงาน เพื่อลดปัญหาการเผาอ้อย ส่งผลให้ปริมาณอ้อยสดเข้าหีบปีนี้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 37.70 ล้านตัน คิดเป็น 50.34% ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมด ขณะที่มีอ้อยไฟไหม้เข้าหีบ 37.18 ล้านตัน หรือคิดเป็น 49.65% อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาพปัญหาภัยแล้งส่งผลให้อ้อยมีคุณภาพไม่ดีนัก ทำให้ได้ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อย (ยิลด์) อยู่ที่ 110.47 กิโลกรัมต่อตันอ้อย ลดลงจากปีก่อนที่มียิลด์น้ำตาลอยู่ที่ 111.33 กิโลกรัมต่อตันอ้อย

อย่างไรก็ตามการเตรียมความพร้อมฤดูการเพาะปลูกอ้อยปีต่อไป ถือเป็นความท้าทายของโรงงานน้ำตาลทุกโรง ในการเร่งส่งเสริมการเพาะปลูกอ้อยให้แก่ชาวไร่อ้อยคู่สัญญาอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านผลผลิตให้แก่อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทย และจากปัจจัยลบด้านสภาพอากาศที่แล้งต่อเนื่องจากปีก่อน พื้นที่เพาะปลูกเริ่มได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวแล้ว จึงมีความกังวลว่า ปริมาณผลผลิตอ้อยในฤดูการผลิตปี’63/64 จะลดลงต่อเนื่อง

จาก https://www.naewna.com วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563

ชาวไร่ผวาผลผลิตอ้อยปีหน้าดิ่ง เจอทั้งแล้ง-ราคาตกต่ำจากผลกระทบโควิด-19

นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด เปิดเผยว่า หลังจากที่โรงงานน้ำตาลทั้ง 57 แห่งได้เปิดรับผลผลิตอ้อยเข้าหีบประจำฤดูการผลิตปี 2562/63 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2562 จนถึงปัจจุบันรวมระยะเวลาเปิดหีบ 116 วัน โดยโรงงานทุกแห่งได้ประกาศปิดหีบอ้อยแล้ว ซึ่งมีปริมาณผลผลิตอ้อยเข้าหีบรวมทั้งสิ้น 74.89 ล้านตัน ลดลงจากฤดูการผลิตปีก่อนที่มีอ้อยเข้าหีบ 130.97 ล้านตันอ้อย คิดเป็น 43% ส่งผลให้ปริมาณผลิตน้ำตาลลดลงเหลือ 8.27 ล้านตัน จากเดิมที่ผลิตน้ำตาลได้ 14.58 ล้านตัน

ทั้งนี้พบว่าปริมาณอ้อยสดเข้าหีบปีนี้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 37.70 ล้านตัน คิดเป็น 50.34% ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมด ขณะที่มีอ้อยไฟไหม้เข้าหีบ 37.18 ล้านตัน หรือคิดเป็น 49.65% อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาพปัญหาภัยแล้งในช่วงเวลาเพาะปลูก ส่งผลให้อ้อยมีคุณภาพไม่ดีนัก ทำให้ได้ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อย (ยิลด์) อยู่ที่ 110.47 กิโลกรัมต่อตันอ้อย ลดลงจากปีก่อนที่มียิลด์น้ำตาลอยู่ที่ 111.33 กิโลกรัมต่อตันอ้อย

“การเตรียมความพร้อมฤดูการเพาะปลูกอ้อยปีต่อไป ถือเป็นความท้าทายของโรงงานน้ำตาลทุกโรง ในการเร่งส่งเสริมการเพาะปลูกอ้อยให้แก่ชาวไร่อ้อยคู่สัญญาเพราะสภาพที่แห้งแล้งต่อเนื่องพื้นที่เพาะปลูกเริ่มได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวแล้ว จึงมีความกังวลว่า ปริมาณผลผลิตอ้อยในฤดูการผลิตปี 63/64 จะลดลงต่อเนื่อง”นายสิริวุทธ์กล่าว

นายนราธิป อนันตสุข หัวหน้าสำนักงานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทยและหัวหน้าสำนักงานสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 7 กล่าวว่า ผลผลิตอ้อยในฤดูหีบปี 63/64 ขณะนี้ยอมรับว่ามีแนวโน้มจะลดลงต่อเนื่องจากผลกระทบภัยแล้งและชาวไร่ยังขาดแรงจูงใจในการปลูกใหม่เหตุจากที่แนวโน้มราคาอ้อยที่เดิมคาดการณ์ว่าจะสูงขึ้นแต่ผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 ที่ระบาดทำให้ตลาดน้ำตาลทรายโลกลดลงจากที่ประเมินไว้

“อีสานไม่ปลูกอ้อยข้ามแล้งปริมาณอ้อยก็ลดลงระดับหนึ่งแล้ว ในแง่ปริมาณขณะนี้ลดลงแน่นอน ประกอบกับ ราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดโลกขณะนี้อยู่ทีเพียง11- 12 เซนต์ต่อปอนด์จากช่วงต้นปีที่ขยับสูงกว่า 15 เซนต์ต่อปอนด์เพราะทั่วโลกได้รับผลกระทบโควิด-19 ก็จะมีผลให้ราคาอ้อยลดต่ำอีกก็คงต้องรอลุ้นให้จบเร็ว และฝนมาต่อเนื่องก็อาจจะทำให้สถานการณ์คลี่คลายอย่างน้อยก็จะใกล้เคียงกับปีนี้”นายนราธิปกล่าว

จาก https://www.matichon.co.th วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563

'โรงงานน้ำตาลไทยอุดรฯ'มอบแอลกอฮอล์13,000ลิตรแก่จนท.สู้ภัยโควิด-19

31 มีนาคม 2563 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่โรงงานน้ำตาลไทยอุดรธานี ต.คำบง อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี นายทรงพล ประดิษฐ์ด้วง ปลัดอาวุโส อ.บ้านผือ นำตัวแทนสถานพยาบาล , องค์กรปกครองท้องถิ่น , และราษฎร 21 หมู่บ้าน ใน ต.คำบง ต.หนองหัวคู อ.บ้านผือ รับมอบแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ 75 เปอร์เซ็นต์ จากนายไกรสร สามเสน ผอ.ฝ่ายผลผลิต , นายผดุงศักดิ์ ชัยรุ่งเรืองศิลป์ รอง ผอ.ฝ่ายสายงานผลิต และนายพินิจ ภัคพล นายกสมาคมชาวไร่อ้อยอีสานเหนือ เพื่อนำไปใช้ต่อสู้เชื้อไวรัสโคโรนา 2019 “โควิด-19”

นายผดุงศักดิ์ ชัยรุ่งเรืองศิลป์ รอง ผอ.ฝ่ายสายงานผลิต กล่าวว่า สถานการณ์การระบาดของ “โควิด-19” ถือว่ามีความรุนแรง ซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย ทางกลุ่มน้ำตาลไทย มีความห่วงใยต่อสุขภาพ จึงจัดโครงการ “มอบแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ ให้กับสถานพยาบาล ชุมชน และหน่วยราชการ” เป็นแอลกอฮอล์ผลิตจากกากน้ำตาล ที่ได้จากโรงงานน้ำตาลแห่งนี้ นำไปผลิตที่โรงงานใน จ.กาญจนบุรี ส่งมาเป็นแอลกอฮอล์ 95 เปอร์เซ็นต์ แล้วนำมาเจือบางลงเหลือ 75 เปอร์เซนต์

“ กลุ่มน้ำตาลไทยนอกจากกิจการโรงงานน้ำตาล ยังมีโรงงานผลิตเอทิลแอลกอฮอล์ รวมทั้งมีผลิตภัณฑ์เจล แอลกอฮอล์ แต่เนื่องจากวัตถุดิบผลิตเจนฯขาดแคลน จึงมอบแอลกอฮอล์ให้ในครั้งแรก หากผลิตเจลฯได้จะมอบให้ในโอกาสต่อไป วันนี้เป็นการส่งมอบให้ อำเภอ , สาธารณสุขอำเภอ , รพ.สต. ส่วนชุมชนมอบผ่านท้องถิ่น สามารถแจกจ่ายได้หลังคาเรือนละ 300 ซีซี. โดยประชาขนจะต้องหาภาชนะมาใส่ ”

นายทรงพล ประดิษฐ์ด้วง ปลัดอาวุโส อ.บ้านผือ กล่าวว่า หน่วยงานต่างๆในพื้นที่ อ.บ้านผือ ได้ร่วมบูรณาการนำมาตรการ ของรัฐบาลและผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี มาบังคับใช้อย่างเข้มงวด มีการตั้งจุดคัดกรองคนเดินทาง 24 ชม. ไปจนกว่าสถานการณ์จะคลีคลาย และการขึ้นทะเบียนกลุ่มเสี่ยง ที่เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง เพื่อแนะนำและติดตามให้มีการกักตัว 14 วัน จนถึงขณะนี้ยังไม่มีผู้ติดเชื้อในพื้นที่ ขอขอบคุณโรงงานน้ำตาลไทยอุดรธานี ที่ให้การสนับสนุนแอลกอฮอล์ ให้กับหน่วยงาราชการ และประชาชาชนได้ใช้

นายไกรสร สามเสน ผอ.ฝ่ายผลผลิต เปิดเผยว่า เป็นดำริของผู้บริหาร “กลุ่มน้ำตาลไทย” จัดสรรแอลกอฮอล์มาให้โรงงานฯ และเราก็มีแผนจะมอบแอลกอฮอล์ ให้ชาวอุดรธานีในช่วงนี้รวม 13,000 ลิตร ในส่วนชองชุมชนรอบโรงงาน ต.คำบง และ ต.หนองหัวคู โรงงานได้ทำการแจกจ่ายไปก่อน 2,000 ลิตร จากนั้นจะทะยอมมอบให้หน่วยงานราชการในพื้นที่ อ.บ้านผือ 1,000 ลิตร ส่วนอีก 10,000 ลิตร ที่กำลังเดินทางมาจะมอบให้ผู้ว่าราชการ จ.อุดรธานี นำไปใช้ประโยชน์ในภาพรวมของจังหวัดต่อไป

จาก https://www.naewna.com วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563

WTO ทำแบนเนอร์ รวบรวมข้อมูลการออกกฎ ระเบีบบ มาตรการการค้า รับมือโควิด-19

องค์การการค้าโลก (WTO) ทำแบนเนอร์รวบรวมข้อมูลการออกกฎระเบียบและมาตรการทางการค้าของประเทศสมาชิกที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 เผยมีทั้งห้ามส่งออก ห้ามนำเข้า ลดภาษี ยกเว้นภาษี ส่วนไทยมีการลดภาษีหน้ากากอนามัยและวัตถุดิบ ห้ามส่งออกหน้ากากอนามัย และห้ามส่งออกไข่ไก่ เผยได้ตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจประเมินผลกระทบเศรษฐกิจและการค้าโลกด้วย

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า องค์การการค้าโลก (WTO) ได้จัดทำแบนเนอร์ COVID-19 and world trade ซึ่งเป็นรูปแบบเฉพาะกิจบนเว็บไซต์ www.wto.org ที่รวบรวมข้อมูลการออกกฎระเบียบ และมาตรการทางการค้า ที่ประเทศสมาชิกนำมาใช้เพื่อบรรเทาผลกระทบทางเศรษฐกิจ การค้า และสาธารณสุข จากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ซึ่งมีข้อมูล ณ วันที่ 29 มี.ค. 2563 ระบุว่า บราซิล แอเบเนีย คีร์กีซสถาน มอริเชียส อินโดนีเซีย คาซัคสถาน รัสเซีย และไทย รวม 8 ประเทศ ยื่นเอกสารแจ้งการใช้มาตรการทางการค้าต่อ WTO แล้ว

มาตรการที่นำมาใช้ เช่น คีร์กีซสถานห้ามส่งออกอาหารบางประเภท เช่น ข้าวสาลี น้ำมันพืช น้ำตาล ข้าว และไข่ไก่ เป็นเวลา 6 เดือน มอริเชียสห้ามนำเข้าสัตว์มีชีวิต รวมถึงปลาจากจีน อิตาลี อิหร่าน เกาหลีใต้ สวิตเซอร์แลนด์ และประเทศในสหภาพยุโรป และอินโดนีเซียห้ามนำเข้าหรือเคลื่อนย้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและสัตว์เลี้ยงจากฮ่องกง เป็นต้น

ขณะที่อาร์เจนตินา บราซิล จีน โคลอมเบีย สหภาพยุโรป อินเดีย ปารากวัย สหรัฐฯ อุรุกวัย เอกวาดอร์ คีร์กีซสถาน โมร็อกโก สวิตเซอร์แลนด์ คอสตาริกา และแอลเบเนีย รวม 15 ประเทศ ได้ออกมาตรการหรือกฎระเบียบทางการค้า เช่น จีนได้ลดภาษีนำเข้าสินค้าบางรายการจากสหรัฐฯ เป็นการชั่วคราว เช่น เวชภัณฑ์ เนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร สหรัฐฯ ยกเว้นการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน 19 รายการเป็นการชั่วคราว เช่น เครื่องกรองน้ำและไส้กรอง อินเดียลดภาษีนำเข้าเวชภัณฑ์และเครื่องมือสำหรับผ่าตัด จาก 10% เหลือ 5% และสหภาพยุโรปกำหนดให้การส่งออกอุปกรณ์ส่วนตัวสำหรับการป้องกันตัว ต้องขออนุญาตเป็นการชั่วคราว และอาร์เจนตินากำหนดให้การส่งออกเครื่องช่วยหายใจ ต้องขออนุญาตเป็นการชั่วคราว เป็นต้น

ในส่วนของไทย ได้ออกมาตรการที่เกี่ยวกับการค้า เพื่อบรรเทาผลกระทบจากไวรัสโควิด-19 เช่น ยกเว้นการเก็บภาษีศุลกากรสำหรับหน้ากากอนามัยและวัตถุดิบที่นำเข้ามาเพื่อผลิตหน้ากากอนามัย เป็นระยะเวลา 6 เดือน ควบคุมการส่งออกหน้ากากอนามัย เว้นแต่จะได้หนังสือใบอนุญาตจากเลขาธิการคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ และห้ามส่งออกไข่ไก่สดเป็นเวลา 30 วัน เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมด้านราคา และมีปริมาณเพียงพอต่อความต้องการผู้บริโภคในประเทศ เป็นต้น

ทั้งนี้ ล่าสุด WTO ได้จัดตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจ (task force) ซึ่งประกอบด้วย ฝ่ายเลขาธิการ WTO ผู้แทนของประเทศสมาชิก WTO และเจ้าหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศ เพื่อประเมินผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ต่อเศรษฐกิจโลกและการค้าระหว่างประเทศ และจะรายงานผลการศึกษาวิเคราะห์ในรายงานการคาดการณ์สภาวะการค้า ประจำปี 2563 (WTO's annual trade projections) ที่เตรียมจะเผยแพร่ในเดือน เม.ย. 2563 รวมถึงบนเว็บไซต์เฉพาะกิจของ WTO ด้วย ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าการแพร่ระบาดครั้งนี้จะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโลกและการจ้างงานทั่วโลกอย่างมีนัยสำคัญ

จาก https://mgronline.com  วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563

ภัยแล้ง-หมอกควัน ฝนหลวงยืนยันยังคงปฏิบัติการ

ฝนหลวงยืนยันยังคงปฏิบัติการฝนหลวง อย่างเต็มที่ระดมเติมน้ำในเขื่อนและแก้ปัญหาภัยแล้งรวมทั้งดับไฟป่าที่เกิดขึ้นต่อเนื่อง

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้มีภารกิจในการปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อช่วยเหลือสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่การเกษตร การเติมน้ำในเขื่อน การดับไฟป่าลดปัญหาหมอกควัน และการติดตามพายุลูกเห็บ 

 กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง 11 หน่วยฯ ทั่วประเทศ ได้แก่ ภาคเหนือ จ.เชียงใหม่ และพิษณุโลก ภาคกลาง จ.นครสวรรค์ และราชบุรี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.ขอนแก่น อุดรธานี บุรีรัมย์ และอุบลราชธานี ภาคตะวันออก จ.ระยอง ภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี และหัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

ทำงานโดยไม่มีวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ โดยทั้ง 11 หน่วยฯ มีการติดตาม สภาพอากาศเป็นประจำทุกวัน หากเข้าเงื่อนไขในการปฏิบัติการฝนหลวงแล้ว จะวางแผนขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบทันที โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคเหนือ

อย่างไรก็ตามขณะนี้กำลังประสบปัญหาไฟป่าและหมอกควันค่อนข้างรุนแรงเป็นอย่างมาก โดยในส่วนของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร การดับไฟป่าสามารถทำได้ 2 กรณี คือ ถ้าเงื่อนไขของสภาพอากาศเหมาะสมต่อการปฏิบัติการฝนหลวงแล้ว จึงจะขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงทันที ในขณะเดียวกันกรมฝนหลวงและการบินเกษตร มีเฮลิคอปเตอร์ที่จะสนับสนุนการดับไฟป่า อยู่จำนวน 1 ลำ ซึ่งประจำการอยู่ที่จ.เชียงใหม่

จึงได้มีการแจ้งข้อมูลให้ทางจังหวัดได้ทราบ หากมีความจำเป็นที่จะใช้เฮลิคอปเตอร์ของกรมฝนหลวงและการบินเกษตรที่จะไปร่วมดับไฟป่า สามารถขอสนับสนุนเข้ามาได้เลย สำหรับการปฏิบัติการ ฝนหลวงเมื่อวานนี้ได้ขึ้นบินปฏิบัติการ จำนวน 3 หน่วยปฏิบัติการทำให้มีฝนตกบริเวณพื้นที่การเกษตรบางส่วนของ จังหวัดพังงา ตราด พื้นที่ลุ่มรับน้ำอ่างเก็บน้ำห้วงตากาด จังหวัดตราดและอ่างเก็บน้ำยางชุม จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

​ขณะที่แผนปฏิบัติการฝนหลวงประจำวันที่ 30 มีนาคม 2563 ตามที่กรมป้องกันและบรรเทา สาธารณภัยออกประกาศเขตพื้นที่ภัยแล้ง มีจำนวน 23 จังหวัด 139 อำเภอ 714 ตำบล 3 เทศบาล 6,065 หมู่บ้าน/ชุมชน บริเวณพื้นที่ภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ และศรีสะเกษ 

ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา

และปราจีนบุรี ขณะที่ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่า 30% ของปริมาณน้ำใช้การ เป็นอ่างเก็บน้ำ ขนาดใหญ่ จำนวน 22 แห่ง และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 182 แห่ง สำหรับจุดความร้อนหรือจุดที่มีการเผาไหม้ (Hotspot) จากดาวเทียม ระบบ MODIS วันที่ 29 มีนาคม 2563 ในประเทศไทย พบว่ามีจำนวน 301 จุด กระจายอยู่บริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จึงส่งผลให้ค่าคุณภาพอากาศบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเกณฑ์ค่าคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ และเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน สำหรับพื้นที่ภาคกลางมีเกณฑ์คุณภาพอากาศปานกลาง และบางพื้นที่เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพส่วนพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีเกณฑ์คุณภาพอากาศดีถึงดีมาก ด้านแผนที่ปริมาณน้ำฝนสะสม 1 สัปดาห์ (23-29 มี.ค. 63) พบว่า บริเวณพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้บางส่วน มีปริมาณน้ำฝนสะสมอยู่ในระดับ 10 - 50 มิลลิเมตร

สำหรับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการตรวจอากาศของสถานีเรดาร์ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ สถานีเรดาร์พิมาย จ.นครราชสีมา และสถานีเรดาร์บ้านผือ จ.อุดรธานี พบว่า มีความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับการเกิดเมฆ 90% (ราษีไศล) 68% (พิมาย) 48% (บ้านผือ) ความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับการพัฒนาตัวของเมฆ 32% (ราษีไศล) 26% (พิมาย) 22% (บ้านผือ) ค่าดัชนีการยกตัวของอากาศ -3.1 (ราษีไศล) -0.6 (พิมาย) 1.0 (บ้านผือ) และความเร็วลมที่ระดับการเกิดเมฆ 3 กม./ชม. (ราษีไศล) 7 กม./ชม. (พิมาย) 13 กม./ชม. (บ้านผือ) หน่วยปฏิบัติการฯ จ.บุรีรัมย์

 จึงวางแผนขึ้นบินปฏิบัติการช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรและพื้นที่ลุ่มรับน้ำอ่างเก็บน้ำ จ.นครราชสีมา และจ.บุรีรัมย์ ด้านหน่วยปฏิบัติการฯ จ.อุบลราชธานี วางแผนขึ้นบินปฏิบัติการช่วยเหลือพื้นที่เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค จ.อุบลราชธานี และจ.ศรีสะเกษ

​​ส่วนพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ พบว่า สภาพอากาศยังไม่เข้าเงื่อนไขการปฏิบัติการฝนหลวง หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่ดังกล่าว จึงขอติดตามสภาพอากาศระหว่างวัน หากมีการเปลี่ยนแปลงและเข้าเงื่อนไขในการปฏิบัติการฝนหลวง จะวางแผนขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบต่อไปทันที ทั้งนี้ เกษตรกร และพี่น้องประชาชน สามารถขอรับบริการฝนหลวงและติดตามข้อมูลข่าวสารกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ทางเพจ Facebook, Line, Instagram, Twitter และเว็บไซต์กรมฝนหลวงและการบินเกษตร

จาก https://www.komchadluek.net   วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2563

ปิดหีบปี 62/63 อ้อยเข้าหีบลดเหลือ 74.89 ล้านตัน

โรงงานน้ำตาล ปิดหีบอ้อยประจำฤดูการผลิตปี 2562/63 ได้ผลผลิตอ้อยเข้าหีบรวมทั้งสิ้น 74.89 ล้านตัน ชี้ลดลงจากปีก่อน 43%

นายสิริวุทธิ์  เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) เปิดเผยว่า หลังจากที่โรงงานน้ำตาลทั้ง 57 แห่งได้เปิดรับผลผลิตอ้อยเข้าหีบประจำฤดูการผลิตปี 2562/63 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2562 จนถึงปัจจุบันรวมระยะเวลาเปิดหีบ 116 วัน โดยโรงงานทุกแห่งได้ประกาศปิดหีบอ้อยแล้ว ซึ่งมีปริมาณผลผลิตอ้อยเข้าหีบรวมทั้งสิ้น 74.89 ล้านตัน ลดลงจากฤดูการผลิตปีก่อนที่มีอ้อยเข้าหีบ 130.97 ล้านตันอ้อย คิดเป็น 43% ส่งผลให้ปริมาณผลิตน้ำตาลลดลงเหลือ 8.27 ล้านตัน จากเดิมที่ผลิตน้ำตาลได้ 14.58 ล้านตัน

ทั้งนี้ ด้วยความร่วมมือของทุกฝ่ายจากหน่วยงานภาครัฐ ชาวไร่อ้อย และโรงงานน้ำตาลที่รณรงค์ให้ตัดอ้อยสดส่งมอบแก่โรงงาน เพื่อลดปัญหาการเผาอ้อย ส่งผลให้ปริมาณอ้อยสดเข้าหีบปีนี้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 37.70 ล้านตัน คิดเป็น 50.34% ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมด ขณะที่มีอ้อยไฟไหม้เข้าหีบ 37.18 ล้านตัน หรือคิดเป็น 49.65% อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาพปัญหาภัยแล้งในช่วงเวลาเพาะปลูก ส่งผลให้อ้อยมีคุณภาพไม่ดีนัก ทำให้ได้ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อย (ยิลด์) อยู่ที่ 110.47 กิโลกรัมต่อตันอ้อย ลดลงจากปีก่อนที่มียิลด์น้ำตาลอยู่ที่ 111.33 กิโลกรัมต่อตันอ้อย

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563

57 โรงงานน้ำตาลปิดหีบแล้ว! ผลผลิตอ้อยได้แค่ 74.89 ล้านตัน ลด 43%

โรงงานน้ำตาล ปิดหีบอ้อยประจำฤดูกาลผลิตปี 2562/63 แล้วพบมีปริมาณอ้อยเข้าหีบเพียง 74.89 ล้านตันลดลงจากฤดูหีบที่แล้ว 43% จากภัยแล้งส่งผลให้มีปริมาณน้ำตาล 8.27 ล้านตัน เร่งเดินหน้าส่งเสริมการเพาะปลูกอ้อยเต็มที่ เพื่อสร้างความมั่นคงของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทย

นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) เปิดเผยว่า หลังจากที่โรงงานน้ำตาลทั้ง 57 แห่งได้เปิดรับผลผลิตอ้อยเข้าหีบประจำฤดูกาลผลิตปี 2562/63 ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2562 จนถึงปัจจุบันรวมระยะเวลาเปิดหีบ 116 วัน โดยโรงงานทุกแห่งได้ประกาศปิดหีบอ้อยแล้ว มีปริมาณผลผลิตอ้อยเข้าหีบรวมทั้งสิ้น 74.89 ล้านตัน ลดลงจากฤดูการผลิตปีก่อนที่มีอ้อยเข้าหีบ 130.97 ล้านตันอ้อย คิดเป็น 43% ส่งผลให้ปริมาณผลิตน้ำตาลลดลงเหลือ 8.27 ล้านตัน จากเดิมที่ผลิตน้ำตาลได้ 14.58 ล้านตัน

ทั้งนี้ ด้วยความร่วมมือของทุกฝ่ายจากหน่วยงานภาครัฐ ชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลที่รณรงค์ให้ตัดอ้อยสดส่งมอบแก่โรงงานเพื่อลดปัญหาการเผาอ้อย ส่งผลให้ปริมาณอ้อยสดเข้าหีบปีนี้เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 37.70 ล้านตัน คิดเป็น 50.34% ของปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งหมด ขณะที่มีอ้อยไฟไหม้เข้าหีบ 37.18 ล้านตัน หรือคิดเป็น 49.65% อย่างไรก็ตาม ด้วยสภาพปัญหาภัยแล้งในช่วงเวลาเพาะปลูก ส่งผลให้อ้อยมีคุณภาพไม่ดีนัก ทำให้ได้ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อย (ยิลด์) อยู่ที่ 110.47 กิโลกรัมต่อตันอ้อย ลดลงจากปีก่อนที่มียิลด์น้ำตาลอยู่ที่ 111.33 กิโลกรัมต่อตันอ้อย

“แม้ปีนี้ปริมาณและคุณภาพอ้อยเข้าหีบจะลดลงเมื่อเทียบกับปีก่อน แต่เราเห็นสัญญาณความร่วมมือของทุกฝ่ายที่ร่วมกันแก้ปัญหาอ้อยไฟไหม้ด้วยการจัดส่งอ้อยสดให้แก่โรงงานเพื่อนำไปหีบสกัดเป็นน้ำตาล ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ต่อไป” นายสิริวุทธิ์กล่าว

รองประธานคณะกรรมการบริหาร TSMC กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมฤดูการเพาะปลูกอ้อยปีต่อไป ถือเป็นความท้าทายของโรงงานน้ำตาลทุกโรงในการเร่งส่งเสริมการเพาะปลูกอ้อยให้แก่ชาวไร่อ้อยคู่สัญญาอย่างเต็มที่ เพื่อสร้างความมั่นคงด้านผลผลิตให้แก่อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทย และจากปัจจัยลบด้านสภาพอากาศที่แล้งต่อเนื่องจากปีก่อน พื้นที่เพาะปลูกเริ่มได้รับผลกระทบจากปัญหาดังกล่าวแล้ว จึงมีความกังวลว่าปริมาณผลผลิตอ้อยในฤดูการผลิตปี 63/64 จะลดลงต่อเนื่อง

จาก https://mgronline.com   วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563

นับถอยหลัง 3 เดือนลุ้นไทยรอดวิกฤติแล้ง

กอนช.เตรียมจัดประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์อเรนซ์ ประเมินน้ำต้นทุนหลังสิ้นแล้ง 2 เม.ย.นี้ เล็งคลอดแผนการเพาะปลูกหลังฝนมา

วันที่ 30 เมษายน 2563 ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เผยว่า ในวันที่ 2 เมษายนนี้  ได้กำหนดให้มีการประชุมคณะทำงานภายใต้กองอำนวยการน้ำแห่งชาติ (กอนช.) ซึ่งจะมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผ่านวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์ เพื่อติดตามประเมินสภาพอากาศและการคาดการณ์  สถานการณ์น้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ กลาง และแหล่งน้ำธรรมชาติ ผลการเพาะปลูกพืช พื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งและการให้ความช่วยเหลือ

ขณะเดียวกัน กอนช.จะพิจารณาผลการประเมินปริมาณน้ำใช้การในแหล่งน้ำที่มีปริมาณน้ำไม่เพียงพอถึง 30 มิถุนายนนี้ ซึ่งเบื้องต้นพบว่าในแหล่งน้ำหลายพื้นที่ปริมาณน้ำใช้การไม่เพียงพอใช้ตลอดฤดูแล้ง อาจส่งผลกระทบต่อการใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภคหากไม่มีมาตรการรองรับ ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องหารือร่วมกันเพื่อติดตามเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำ ร่วมขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำเพื่อแก้ไขปัญหา และกำหนดแนวทางแก้ไขในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงเพื่อเตรียมแผนปฏิบัติการรองรับสถานการณ์โดยเร่งด่วนให้ผ่านพ้นช่วงแล้งจนถึงสิ้นมิถุนายนนี้ให้ได้ รวมระยะเวลา 3 เดือนที่ไทยจะพ้นวิกฤติแล้ง  ขณะเดียวกัน ยังต้องเตรียมความพร้อมสำหรับต้นฤดูฝนที่จะถึงพร้อมกันด้วย โดยเฉพาะพื้นที่ลุ่มต่ำบางระกำที่เริ่มมีการจัดสรรน้ำเพื่อเริ่มการเพาะปลูกในวันที่ 1 เมษายนนี้ด้วย

นอกจากนี้จะมีการติดตามเร่งรัดความก้าวหน้าโครงการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ ปี 2562/63 ให้เสร็จตามแผน ซึ่งปัจจุบันพบว่า จากแผนงานโครงการการจัดหาแหล่งน้ำสนับสนุนน้ำอุปโภค-บริโภคในพื้นที่เฝ้าระวังขาดแคลนน้ำ 43 จังหวัด รวมทั้งสิ้น 2,041 แห่ง ขณะนี้ กรมทรัพยากรน้ำบาดาล เริ่มดำเนินการแล้ว 174 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 24.71 จากแผนงาน 704 แห่ง กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น เตรียมดำเนินการ 550 แห่ง จากแผน 888 แห่ง กองทัพบก เริ่มดำเนินการแล้ว 134 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 64.11 จากแผน 209 แห่ง หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา อยู่ระหว่างรอรับการจัดสรรงบประมาณ  110 แห่ง จากแผน 190 แห่ง การประปาส่วนภูมิภาค เริ่มดำเนินการแล้ว 40 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 80 จากแผน 50 แห่ง

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2563

เงินหมื่นล้านไม่ถึงมือ”ไร่อ้อย” ลุ้นกอน.ปรับเกณฑ์จ่ายเยียวยาทันปิดหีบ

ลุ้น กอน. นัดหน้า 26 มี.ค.นี้ ปลดล็อกเงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อยหมื่นล้านสะดุด จะปิดหีบแล้วเงินยังไม่ถึงมือชาวไร่ หวั่นเงินชอร์ต ด้านผู้ผลิตผลไม้กระป๋องรับไม่ไหวขยับราคา 20% ออร์เดอร์ไม่เข้าเป้าเหลือแค่ 8.5 แสนตัน

นางวรวรรณ ชิตอรุณ รองปลัดกระทรวงอุตสากรรม ในฐานะคณะกรรมการบริหาร (กบ.) เปิดเผยกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในการประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) วันที่ 26 มี.ค. 2563 ซึ่งมีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน จะมีการหารือถึงความกังวลต่อปัญหาเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การจัดสรรเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย เพื่อซื้อปัจจัยการผลิต ฤดูการผลิต 2562/2563 วงเงิน 10,000 ล้านบาท

“ในการประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาได้มีวาระแต่งตั้งให้ตนรับตำแหน่งประธาน กบ. ซึ่งในการประชุมดังกล่าวได้หารือถึงโครงการเงินช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อย เพื่อซื้อปัจจัยการผลิตบรรเทาความเดือดร้อนให้กับชาวไร่ โดยเฉพาะชาวไร่อ้อยรายเล็กให้มีเงินทุนหมุนเวียนในการประกอบอาชีพและบรรเทาภาระค่าครองชีพ แต่ขณะนี้ชาวไร่ยังกังวลเพราะเงินดังกล่าวยังไม่อนุมัติออกมา เนื่องจากอยู่ระหว่างการเวียนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความเห็น เพื่อประกอบการพิจารณาของ ครม.”

อีกทั้งที่ประชุมได้รับทราบรายงานการหีบอ้อยปี 2562/2563 ซึ่งขณะนี้ยังเหลืออีกเพียง 2 โรงงาน คาดว่าจะมีการปิดหีบภายในเดือนนี้ โดยมีปริมาณอ้อยเข้าหีบ 74.8 ล้านตัน ลดลงจากปีก่อน ที่มี 135 ล้านตัน จึงทำให้เกิดความกังวลว่าปริมาณเพียงเท่านี้ จะมีผลให้เงินช่วยเหลือต่อรายต่อตันจะน้อยเกินไป นี่จึงเป็นอีกเรื่องที่ชาวไร่กังวล

ด้าน นายนราธิป อนันตสุข หัวหน้าสำนักงานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย และหัวหน้าสำนักงานสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 7 กล่าวว่า ชาวไร่อ้อยยังรอเงินช่วยเหลือจากทางภาครัฐ เพื่อจะนำมาใช้เป็นทุนในการเพาะปลูกอ้อยในปีนี้ โดยคาดว่าหลังการปิดหีบอ้อยปีนี้แล้วจะต้องได้รับเงินดังกล่าวอย่างช้าที่สุดในช่วงปลายเดือน พ.ค. ผ่านช่องทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ตามปกติ

“ปีนี้ต้นทุนชาวไร่สูงถึง 1,200-1,300 จากฤดูปกติ 1,110 บาท/ไร่ ขณะที่ค่าอ้อยขั้นต้นอยู่ที่ 750 บาท/ไร่ ไม่เพียงพอจึงต้องรอเงินช่วยเหลือปัจจัยการผลิตมาช่วย หากล่าช้าแน่นอนว่าชาวไร่ต้องพึ่งพาการกู้จากโรงงานน้ำตาลคู่สัญญาซึ่งแต่ละโรงงานก็มีรูปแบบที่แตกต่างกันส่งผลให้ชาวไร่เป็นหนี้ผูกพันระยะยาว”

สำหรับเงื่อนไขในการขอรับเงินวงเงิน 10,000 ล้านบาทนั้น ชาวไร่เสนอหลักการคำนวณใหม่ เนื่องจากปริมาณอ้อยปีนี้ลดน้อยลงมาก เหลือเพียง 74.8 ล้านตัน ไม่ถึงที่คาดการณ์ 75 ล้านตัน การจัดสรรเงินจะแบ่งเป็น 2 ก้อน คือ 1.ช่วยอ้อยทุกประเภท 6,500 ล้านบาท เฉลี่ยจากปริมาณปีนี้ประมาน 75 ล้านตัน

ชาวไร่จะได้มากกว่า 100 บาท (จากเดิม 65 บาท คำนวณจากปริมาณอ้อยที่คาดการณ์ 110 ล้านตัน) 2.ช่วยอ้อยสด 3,500 ล้านบาท ซึ่งปัจจุบันมีสัดส่วนประมาณ 50% ชาวไร่จะได้ประมาณ 100 บาท (จากเดิม 70 บาท คำนวณจากปริมาณอ้อยที่คาดการณ์ 110 ล้านตัน)

ขณะที่ นางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒน์พงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย และประธานกรรมการ บริษัท สยามอุตสาหกรรมอาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ SAICO เปิดเผยว่า ภัยแล้งปีนี้ส่งผลให้ผลผลิตอ้อย ปี 2562/2563 มีปริมาณลดลงเหลือ 75 ล้านตันจากปีก่อนที่ได้ 135 ล้านตัน โดยคิดเป็นปริมาณน้ำตาลประมาณ 7.51 ล้านตัน แบ่งเป็นส่วนใช้สำหรับบริโภคในประเทศ 2.0-2.51 ล้านตัน ทั้งในครัวเรือน ร้านอาหาร และอุตสาหกรรม ขณะที่การส่งออกน้ำตาลมีปริมาณ 4-5 ล้านตัน ซึ่งในด้านปริมาณน่าจะมีปริมาณเพียงพอ

ส่วนราคาน้ำตาลส่งออกปรับราคาสูงขึ้น ราคาส่งให้บริษัทนำมาใช้แปรรูปเป็นผลไม้บรรจุกระป๋อง กก.ละ 15-16 บาท จากปีก่อน กก.ละ 12-13 บาท หรือสูงขึ้น 3-4 บาท ส่วนราคาที่บริโภคในประเทศจะอยู่ที่ราคา 19-20 บาท ในส่วนของการผลิตและส่งออกสับปะรดกระป๋อง ผู้ส่งออกได้ต่อรองลูกค้า เพื่อขอปรับขึ้นราคาเพิ่มขึ้น 20% เพราะนอกจากราคาน้ำตาลสูงแล้ว ยังได้รับผลกระทบจากต้นทุนสับปะรดซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักขยับสูงขึ้นไปหลายรอบ

เมื่อต้นปีราคา กก.ละ 7-8 บาท เป็น กก.ละ 13-14 บาท จากภัยแล้ง และน่าจะมีแนวโน้มยาวไปถึงไตรมาสที่ 2 การต่อรองลูกค้าขยับขึ้นอีกรอบ บางคนก็เข้าใจในเรื่องปริมาณปีนี้ผลผลิตจะมีผลผลิตออกน้อย เดือน มี.ค. อากาศร้อนไม่มีฝนเลย ซึ่งเราประเมินว่าภาพรวมการส่งออกอาจเหลือเพียง 8.5 แสนตัน จากเดิมคาดการณ์ไว้ 9.6-9.7 แสนตัน ขยายตัว 10% โดยตลาดหลักยังเป็นสหรัฐที่มีสัดส่วนสูงสุดมากกว่า 50% รองลงมา คือ ตลาดสหภาพยุโรป

“แม้ว่าต้นปีบาทอ่อนค่า แต่หากเทียบค่าบาทเฉลี่ยทั้งปี 2562 ยังอยู่ที่ 32 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ส่วนเฉลี่ยทั้งปีนี้ยังอยู่ที่ 31.2 ก็ยังถือว่าแข็งค่ากว่า ถ้าค่าบาทอ่อนกว่านี้น่าจะทำให้การส่งออกได้ดีกว่านี้ โดยบาทแข็งค่า 1 บาทจะทำให้เราสูญเสีย 1,000 ล้านบาท”

รายงานข่าวระบุว่า ช่วง 2 เดือนแรก ไทยส่งออกน้ำตาล ปริมาณ 1.226 ล้านตัน ลดลง 9.8% มูลค่า 390 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 5.8% จากปีก่อน

จาก https://www.prachachat.net วันที่ 26 มีนาคม 2563

ก.อุต ฯ ชูนวัตกรรมแก้ปัญหาภัยแล้ง

กระทรวงอุตสาหกรรมเดินหน้าโครงการจิตอาสาต่อเนื่อง มุ่งพัฒนาคุณภาพชีวิต ของประชาชน พร้อมเตรียมรับมือภัยแล้ง ควบคู่การแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยี ที่ทันสมัย

นางวรวรรณ  ชิตอรุณ  รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการจิตอาสา กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ให้ความสำคัญกับการดำเนินโครงการจิตอาสาอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดได้ดำเนินโครงการเพื่อบำบัดน้ำเสียในคลอง ซึ่งเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมเพื่อประชาชน ด้วยการนำถังดักไขมันจำนวน 100 ถัง มอบให้แก่กรมกิจการพลเรือนทหาร กองบัญชาการกองทัพไทย เพื่อใช้ในการบำบัดน้ำเสีย ในคลองตาอูฐ เขตหลักสี่ กรุงเทพฯ ซึ่งได้รับมอบหมายจากศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน ให้รับผิดชอบในการปรับปรุงภูมิทัศน์ และสภาพแวดล้อมให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น 

อย่างไรก็ดี ก่อนหน้านี้กระทรวงอุตสาหกรรม ได้มีการดำเนินงานโครงการจิตอาสาเช่นเดียวกันนี้ ให้แก่สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ด้วยการมอบถังดักไขมันจำนวน 100 ถัง เพื่อมอบให้แก่ชุมชนโดยรอบคลองหลอดบริเวณกระทรวงกลาโหม เขตพระนคร กรุงเทพฯ  ได้รักษาความสะอาด เพื่อผลลัพธ์ที่ดีกับสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตประชาชน

ทั้งนี้  กระทรวงฯ ให้ความสำคัญกับการดำเนินโครงการจิตอาสาอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้มีโครงการ  ที่กระทรวงฯ ได้ดำเนินงานแล้วเสร็จและอยู่ระหว่างดำเนินงาน จำนวน 4 โครงการ ได้แก่ 1.โครงการ“จิตอาสาจัดทำเครื่องต้นแบบขจัดมลพิษทางอากาศเพื่อประชาชนเฉลิมพระเกียรติเนื่องในวโรกาสพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เป็นโครงการเพื่อบำบัดอากาศเสียและกำจัดมลพิษทางอากาศให้กับประชาชน ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยได้รับคำชมเชยและกระแสตอบรับที่ดี ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมจะสำรวจเครื่องที่ใช้งานอยู่ตามจุดต่างๆว่ามีปัญหาในการใช้งานหรือไม่

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 26 มีนาคม 2563

เงินบาทปิด 32.66 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าตามสกุลเงินภูมิภาค

เงินบาทมีกรอบการเคลื่อนไหวระหว่างวันที่ 32.65-32.85 บาทต่อดอลลาร์ฯ และปิดตลาดในประเทศที่ระดับ 32.66 บาทต่อดอลลาร์(วันนี้ที่ 26มีนาคม2563) เทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 32.81 บาทต่อดอลลาร์ฯ 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า เงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นตามทิศทางของสกุลเงินในภูมิภาค ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ เผชิญแรงกดดันจากความกังวลต่อการแพร่กระจายของ COVID-19 ในสหรัฐฯ

สรุปสถานะการลงทุนของต่างชาติ โดย นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 1,949.13 ล้านบาท แต่ซื้อสุทธิพันธบัตรไทย 410 ล้านบาท

ค่าเฉลี่ย forward points ของธุรกรรมระยะ 3 เดือนจากข้อมูลของธนาคาร 10 แห่งสำหรับผู้ประกอบการที่มีรายได้ 50-200 ล้านบาทต่อปี รายงานข้อมูล ณ 10.00 น. วันที่ 26 มี.ค. 2563 โดยธปท. อยู่ที่ -7.83 สำหรับผู้ส่งออก (ขายเงินดอลลาร์ฯ ล่วงหน้า) และที่ -1.00 สำหรับผู้นำเข้า (ซื้อเงินดอลลาร์ฯ ล่วงหน้า)

สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ คาดไว้ที่ 32.50-32.80 บาทต่อดอลลาร์ฯ

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 26 มีนาคม 2563

วอนประหยัดน้ำ!! กรมชลฯ ย้ำน้ำยังมีน้อย แม้มีฝนตกบางพื้นที่

แม้ในระยะนี้ประเทศไทยทางตอนบน โดยเฉพาะภาคอีสานจะมีฝนตกลงมาบ้างในบางพื้นที่ แต่สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำโดยรวมของทั้งประเทศยังอยู่ในเกณฑ์น้ำน้อย จึงต้องบริหารจัดการตามแผนการใช้น้ำที่วางไว้อย่างเคร่งครัด พร้อมประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำประชาชนในพื้นที่ต่างๆ รับทราบอย่างทั่วถึง

เมื่อวันที่ 26 มี.ค. ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะโฆษกกรมชลประทาน กล่าวว่า กรมชลประทาน ยังดำเนินการบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำต่างๆ ให้ประชาชนได้มีน้ำอุปโภคบริโภคอย่างเพียงพอ พร้อมเร่งสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำ ให้ประชาชนทุกภาคส่วนได้รับทราบอย่างทั่วถึง

สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ ปัจจุบัน(26 มี.ค. 63) มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกัน 38,765 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 51 ของความจุเก็บกักรวมกัน มีปริมาณน้ำใช้การได้ 15,050 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มน้ำเจ้าพระยา (เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 9,388 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 38 ของความจุอ่างฯรวมกัน มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน 2,692 ล้าน ลบ.ม. ด้านผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งทั้งประเทศ ปัจจุบัน (26 มี.ค. 63) มีการใช้น้ำตามแผนฯไปแล้ว 13,707 ล้าน ลบ.ม.(แผนฯ 17,699 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 77 ของแผนฯ เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการใช้น้ำตามแผนฯไปแล้วประมาณ 3,691 ล้าน ลบ.ม.(แผนฯ 4,500 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 82 ของแผนฯ

สำหรับแผนการเพาะปลูกพืชฤดูแล้ง ปี 2562/63 (ข้อมูล ณ วันที่ 25 มี.ค. 63) มีการเพาะปลูกทั้งประเทศรวม 4.73 ล้านไร่ เกินแผนไปแล้วร้อยละ 66 เก็บเกี่ยวแล้ว 1.91 ล้านไร่ แยกเป็นพื้นที่ปลูกข้าวนาปรัง 4.20 ล้านไร่(แผน 2.31 ล้านไร่) เกินแผนไปร้อยละ 81 เก็บเกี่ยวแล้ว 1.81 ล้านไร่ เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยาไม่มีแผนการเพาะปลูกพืชเนื่องจากปริมาณน้ำต้นทุนมีไม่เพียงพอที่จะสนับสนุน แต่จากการสำรวจพบว่ามีการเพาะปลูกพืชนอกแผนฯ ไปแล้วประมาณ 1.98 ล้านไร่ เก็บเกี่ยวแล้ว 1.37 ล้านไร่ ส่วนใหญ่ใช้น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่ของตนเองในการเพาะปลูก

ทั้งนี้ ได้สั่งการโครงการชลประทานทุกแห่ง ลงพื้นที่ช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง พร้อมกำชับเจ้าหน้าที่ให้บริหารจัดการน้ำตามแผนที่วางไว้อย่างไรเคร่งครัด รวมไปถึงบูรณาการทำงานร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ในจังหวัด เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสถานการณ์น้ำให้ประชาชนทราบอย่างต่อเนื่องและทั่วถึง รวมทั้งการจัดเตรียมเครื่องจักร เครื่องมือต่างๆ ประจำไว้ตามโครงการชลประทานทั่วประเทศ ที่พร้อมจะเข้าไปสนับสนุนและให้การช่วยเหลือประชาชนได้ตลอดเวลา จึงขอให้ทุกภาคส่วนร่วมแรงร่วมใจกันใช้น้ำอย่างประหยัดที่สุด เพื่อให้ปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัด เพียงพอใช้ไปจนถึงต้นฤดูฝนนี้

จาก https://siamrath.co.th วันที่ 26 มีนาคม 2563

ฝนหลวง เร่งช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรและพื้นที่เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ

    ​               นายภักดี จันทร์เกษ ผู้อำนวยการกองปฏิบัติการฝนหลวงเปิดเผยว่า ผลการปฏิบัติการฝนหลวงเมื่อวานนี้ (25 มี.ค.63) กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 4 หน่วยปฏิบัติการ ทำให้มีฝนตกบริเวณพื้นที่การเกษตรบางส่วนของจังหวัดกาฬสินธุ์ อุดรธานี บุรีรัมย์ สตูล ตรัง รวมถึงบริเวณพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์

                ​ด้านแผนการปฏิบัติการฝนหลวงประจำวันที่ 26 มีนาคม 2563 ตามที่กรมป้องกันและบรรเทา         สาธารณภัยออกประกาศเขตพื้นที่ภัยแล้ง มีจำนวน 23 จังหวัด 139 อำเภอ 714 ตำบล 3 เทศบาล 6,065 หมู่บ้าน/ชุมชน บริเวณพื้นที่ภาคเหนือ จังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย และเพชรบูรณ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดหนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ และศรีสะเกษ ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกจังหวัดนครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา

และปราจีนบุรี ขณะที่ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่า 30% ของปริมาณน้ำใช้การ เป็นอ่างเก็บน้ำ ขนาดใหญ่ จำนวน 22 แห่ง และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 178 แห่ง

                 สำหรับจุดความร้อนหรือจุดที่มีการเผาไหม้ (Hotspot) จากดาวเทียม ระบบ MODIS วันที่ 25 มีนาคม 2563 ในประเทศไทย พบว่ามีจำนวน 70 จุด กระจายอยู่บริเวณพื้นที่ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงส่งผลให้ค่าคุณภาพอากาศบริเวณพื้นที่ภาคเหนือ  มีค่าคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์มีผลกระทบต่อสุขภาพ และเริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน รวมถึงมีเกณฑ์คุณภาพอากาศปานกลางบางพื้นที่ สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเกณฑ์คุณภาพอากาศดีถึงปานกลาง และพื้นที่ภาคกลางมีเกณฑ์คุณภาพอากาศดีถึงปานกลาง ส่วนพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล มีเกณฑ์คุณภาพอากาศดีมากถึงดี ด้านแผนที่ปริมาณน้ำฝนสะสม 1 สัปดาห์ (19 - 25 มี.ค. 63) พบว่า บริเวณพื้นที่ภาคกลาง  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้บางส่วน มีปริมาณน้ำฝนสะสมอยู่ในระดับ 10 - 50 มิลลิเมตร

​          สำหรับพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ผลการตรวจอากาศของสถานีเรดาร์ราษีไศล จ.ศรีสะเกษ

สถานีเรดาร์พิมาย จ.นครราชสีมา และสถานีเรดาร์บ้านผือ จ.อุดรธานี พบว่า มีความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับการเกิดเมฆ 89% (ราษีไศล) 88% (พิมาย) 78% (บ้านผือ) ความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับการพัฒนาตัวของเมฆ 90% (ราษีไศล) 63% (พิมาย) 63% (บ้านผือ) ค่าดัชนีการยกตัวของอากาศ -0.2 (ราษีไศล) -1.8 (พิมาย) -1.0 (บ้านผือ) และความเร็วลม  ที่ระดับการเกิดเมฆ 9 กม./ชม. (ราษีไศล) 11 กม./ชม. (พิมาย) 24 กม./ชม. (บ้านผือ) หน่วยปฏิบัติการฯ จ.อุดรธานี จึงวางแผนขึ้นบินปฏิบัติการช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร จ.อุดรธานี กาฬสินธุ์ สกลนคร และพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ เขื่อนน้ำอูน เขื่อนน้ำพุง จ.สกลนคร ด้านหน่วยปฏิบัติการฯ จ.บุรีรัมย์ วางแผนขึ้นบินปฏิบัติการช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรและพื้นที่ลุ่มรับน้ำอ่างเก็บน้ำ จ.นครราชสีมา และบุรีรัมย์ ด้านหน่วยปฏิบัติการฯ จ.อุบลราชธานี วางแผนขึ้นบินปฏิบัติการช่วยเหลือพื้นที่เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค จ.อุบลราชธานี และศรีสะเกษ

                ​และพื้นที่ภาคใต้ ผลการตรวจวัดอากาศของสถานีเรดาร์พนม จ.สุราษฏร์ธานี สถานีเรดาร์ปะทิว จ.ชุมพร และสถานีเรดาร์หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ พบว่ามีความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับการเกิดเมฆ 64% (พนม) 46% (ปะทิว) 31% (หัวหิน) ความชื้นสัมพัทธ์ที่ระดับการพัฒนาตัวของเมฆ 65% (พนม) 36% (ปะทิว)         22% (หัวหิน) ค่าดัชนีการยกตัวของอากาศ 0.4 (พนม) -1.8 (ปะทิว) 3.3 (หัวหิน) และความเร็วลมที่ระดับ     การเกิดเมฆ 4 กม./ชม. (พนม) 10 กม./ชม. (ปะทิว) 11 กม./ชม. (หัวหิน) หน่วยปฏิบัติการฯ จ.สุราษฏร์ธานี            จึงวางแผนขึ้นบินปฏิบัติการช่วยเหลือพื้นที่การเกษตร จ.พัทลุง ตรัง นครศรีธรรมราช พื้นที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาความเค็มทะเลสาบสงขลา จ.สงขลา และเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าพรุควนเคร็ง จ.นครศรีธรรมราช

      ส่วนพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก พบว่า สภาพอากาศยังไม่เข้าเงื่อนไขการปฏิบัติการฝนหลวง หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงในพื้นที่ดังกล่าว จึงขอติดตามสภาพอากาศระหว่างวัน หากมีการเปลี่ยนแปลงและเข้าเงื่อนไขในการปฏิบัติการฝนหลวง จะวางแผนขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบต่อไปทันที ทั้งนี้ เกษตรกร และพี่น้องประชาชน สามารถขอรับบริการฝนหลวงและติดตามข้อมูลข่าวสารกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ทางเพจ Facebook, Line, Instagram, Twitter และเว็บไซต์กรมฝนหลวงและการบินเกษตร

จาก https://www.komchadluek.net  วันที่ 26 มีนาคม 2563

กรมชลฯ สั่งเฝ้าระวัง 9 อ่างฯมีน้ำน้อย เร่งบริหารน้ำตามแผนฯที่วางไว้

กรมชลประทาน ยังคงเดินหน้าบริหารจัดการน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เป็นไปตามแผนฯที่วางไว้ พร้อมเฝ้าระวังอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีน้ำน้อยอย่างใกล้ชิด วอนขอความร่วมมือจากทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัดที่สุด

เมื่อวันที่ 25 มี.ค. ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศว่า ปัจจุบัน(25 มี.ค. 63) มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกัน 38,866 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 51 ของความจุเก็บกักรวมกัน โดยมีปริมาณน้ำใช้การได้ 15,150 ล้าน ลบ.ม. เฉพาะ 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกัน 9,408 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 38 ของความจุเก็บกักรวมกัน โดยมีปริมาณน้ำใช้การได้ประมาณ 2,712 ล้าน ลบ.ม. ผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งทั้งประเทศ ปัจจุบัน (25 มี.ค. 63) มีการใช้น้ำตามแผนฯไปแล้ว 13,608 ล้าน ลบ.ม.(แผนฯ 17,699 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 77 ของแผนฯ เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการใช้น้ำตามแผนฯไปแล้วประมาณ 3,666 ล้าน ลบ.ม.(แผนฯ 4,500 ล้าน ลบ.ม.) คิดเป็นร้อยละ 81 ของแผนฯ ส่งน้ำให้พื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่างเฉพาะการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศเท่านั้น

สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีแนวโน้มปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อยต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด จำนวน 9 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำกิ่วลม จังหวัดลำปาง อ่างเก็บน้ำกระเสียว จังหวัดสุพรรณบุรี อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง จังหวัดนครราชสีมา อ่างเก็บน้ำขุนด่านปราการชล จังหวัดนครนายก อ่างเก็บน้ำคลองสียัด จังหวัดฉะเชิงเทรา อ่างเก็บน้ำบางพระ จังหวัดชลบุรี อ่างเก็บน้ำหนองปลาไหล และอ่างเก็บน้ำประแสร์ จังหวัดระยอง และอ่างเก็บน้ำแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี

ทั้งนี้ กรมชลประทาน จะดำเนินการบริหารจัดการน้ำตามมาตรการบริหารจัดการน้ำที่วางไว้อย่างเคร่งครัด เพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอใช้ไปจนถึงต้นฤดูฝนนี้ ซึ่งจะใช้มาตรการควบคุมการใช้น้ำ อาทิ การปรับลดการระบายน้ำให้สอดคล้องกับการใช้น้ำในพื้นที่ การปรับลดแรงดันน้ำประปาในช่วงกลางคืน การนำน้ำจากแหล่งน้ำข้างเคียงที่มีการสำรองปริมาณน้ำไว้ เช่น แก้มลิง หนองน้ำ สระน้ำ และการขุดเจาะบ่อบาดาล รวมทั้ง ขอสนับสนุนการทำฝนเทียมจากกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เป็นต้น

“แม้ว่าประเทศไทยกำลังประสบกับภัยพิบัติโรคไวรัสโควิด 19 ที่กำลังแพร่ระบาดอยู่ในขณะนี้ แต่ภารกิจในการบริหารจัดการน้ำ ยังคงเดินหน้าตามแผนจัดสรรน้ำที่ได้กำหนดไว้อย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พี่น้องชาวไทยมีน้ำอุปโภคบริโภคอย่างไม่ขาดแคลน จึงขอให้ทุกฝ่ายร่วมใจกันประหยัดน้ำ รู้คุณค่าของน้ำ รวมทั้งร่วมแรงร่วมใจกันฝ่าวิกฤตทั้ง ภัยแล้งและไวรัสโควิด 19 ให้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี”อธิบดีกรมชลประทาน กล่าว

จาก https://siamrath.co.th วันที่ 25 มีนาคม 2563

น้ำตาลทรายไม่ขาดแคลน สอน.ย้ำมีในประเทศกว่า25ล้านกระสอบ

นายเอกภัทร วังสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.) มั่นใจว่าปริมาณน้ำตาลทรายที่จัดสรรไว้บริโภคในประเทศปี 62/63 จำนวน 2.5 ล้านตัน หรือ 25 ล้านกระสอบ จะเพียงพอกับความต้องการการบริโภคของคนไทยโดยไม่ขาดแคลนเนื่องจากคาดว่าปีนี้จากผลกระทบการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ที่กระทบต่อการชะลอตัวทางเศรษฐกิจจึงคาดว่าจะทำให้การบริโภคน้ำตาลทรายของไทยน่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 2.4 ล้านตัน

“สอน.ยืนยันว่าปริมาณน้ำตาลทรายปีนี้จะเพียงพอต่อการบริโภคอย่างแน่นอน โดยในส่วนของห้างค้าปลีกขนาดใหญ่หรือร้านค้าสะดวกซื้อเองก็ได้เตรียมพร้อมในการวางจำหน่ายให้เพียงพออยู่แล้ว และหากที่สุดมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นสอน.ก็สามารถบริหารจัดการที่จะนำปริมาณสำรองหรือการจัดสรรน้ำตาลสำหรับการส่งออกมาดูแลได้” นายเอกภัทร กล่าว

ทั้งนี้การเปิดหีบปี 2562/63 ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2562 มาจนถึงขณะนี้คาดว่าจะมีปริมาณอ้อยเข้าหีบอยู่ราว 74.9 ล้านตันลดลงจากฤดูหีบที่แล้วประมาณ 56 ล้านตันหรือคิดเป็นการลดลง 42-43% ขณะที่ผลผลิตน้ำตาลทรายน่าจะอยู่ที่ประมาณ 8.2-8.4 ล้านตันซึ่งโรงงานน้ำตาลจำนวน 56 โรงงานปิดหีบแล้วเหลือเพียงโรงงานน้ำตาลไทยเอกลักษณ์แห่งเดียวเท่านั้น คาดว่าจะปิดหีบอ้อยวันที่ 25 มีนาคมนี้โดยการเปิดหีบอ้อยที่ผ่านมาพบว่าปีนี้มีอ้อยสดส่งเข้าโรงงานคิดเป็น 50.3% เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา ที่มีสัดส่วนอ้อยสดส่งเข้าหีบโรงงานน้ำตาล เพียง 38-39% ของผลผลิตอ้อยที่ส่งเข้าหีบทั้งหมด ซึ่งช่วยลดปริมาณอ้อยไฟไหม้ที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM2.5 เป็นปัญหามลภาวะในอากาศให้ลดน้อยลงได้อีกทางหนึ่ง

นายวีระศักดิ์ ขวัญเมือง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย กล่าวว่า รัฐได้มีการจัดสรรปริมาณน้ำตาลทรายบริโภคในประเทศไว้ 25 ล้านกระสอบ (2.5 ล้านตัน) และยังสำรองไว้อีก 2 ล้านตันจึงมั่นใจว่าจะไม่ขาดแคลนแต่อย่างใดเพราะการใช้น้ำตาลปีนี้จะชะลอตัวจากปีก่อนตามทิศทางเศรษฐกิจ ขณะที่สถานการณ์น้ำตาลทรายตลาดโลกนั้นบราซิลเริ่มนำน้ำตาลทรายออกมาจำหน่ายในปริมาณที่มากขึ้นเนื่องจากระดับราคาน้ำมันที่ตกต่ำทำให้บราซิลลดการนำน้ำตาลทรายไปผลิตเอทานอล

“น้ำตาลทรายดิบราคาโลกเฉลี่ยมาอยู่ที่ 11 เซนต์ต่อปอนด์ จากต้นปีเฉลี่ย 15 เซนต์ต่อปอนด์ เหตุที่โควิด-19 ระบาดไปทั่วโลกซึ่งมีผลให้ราคาน้ำมันลดต่ำ บราซิลที่เป็นผู้ส่งออกอันดับหนึ่งของโลกลดการนำน้ำตาลไปผลิตเอทานอลมาผลิตน้ำตาลแล้วส่งออกเพิ่มขึ้นในระดับราคาต่ำเพราะบราซิลได้เปรียบค่าเงินที่อ่อนค่าลงอย่างหนักจากเดิม 3.8 เหรียญต่อดอลลาร์สหรัฐ ขณะนี้มาอยู่ที่ 5.11 เหรียญต่อดอลลาร์สหรัฐ หากยังคงระดับนี้ไปนานๆ อาจมีผลต่อทิศทางราคาอ้อยในฤดูถัดไปให้ตกต่ำได้อีกครั้ง”นายวีระศักดิ์ กล่าว

จาก https://www.naewna.com วันที่ 25 มีนาคม 2563

ชลประทานจัดงบเร่งด่วน2,705.7ล้าน พัฒนาเพิ่มแหล่งกักเก็บน้ำ266โครงการกระจายทั่วปท.

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงแผนงานโครงการของกรมชลประทานในงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ว่า ในปี 2563 กรมชลฯมีโครงการที่จะดำเนินการ877 โครงการเมื่อแล้วเสร็จจะเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ 176,968 ไร่ พื้นที่รับประโยชน์939,595 ไร่ เก็บน้ำได้ 210.45 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ครัวเรือนได้ประโยชน์ 380,020 ครัวเรือนแบ่งเป็น 1.การพัฒนาแหล่งน้ำใหม่จำนวน 421  แห่งเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 1.77 แสนไร่ พื้นที่รับประโยชน์ 2.58 แสนไร่ ปริมาณน้ำกักเก็บได้ 199.54 ล้านลูกบาศก์เมตร 2.การปรับปรุงแหล่งน้ำเดิม 456 แห่ง พื้นที่รับประโยชน์ 6.82 แสนไร่  

“แต่จากความแห้งแล้งรุนแรงต้นปี 2563 และกรมอุตุนิยมวิทยาว่าปริมาณฝนจะต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 3-5% อีกทั้ง พิจารณาจากปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศจะมีปริมาณน้อยหรือเท่าต้นฤดูแล้งปี 62/63 ที่ผ่านมา กรมจึงวางโครงการเร่งด่วนในงบปี 2563 ตามข้อห่วงใยของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายน้ำแห่งชาติ (กนช.) และนโยบายของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ ที่ต้องหาแหล่งน้ำสำรองและเพิ่มปริมาณน้ำกักเก็บน้ำต้นฤดูฝน 2563 เพื่อเป็นแหล่งน้ำเสริมอ่างเก็บน้ำหลักในช่วงแล้งปีต่อไป”

โครงการเร่งด่วนวางไว้เพื่อกักเก็บน้ำต้นทุนในฤดูฝน 266 โครงการ งบประมาณรวม 2,705.7 ล้านบาทเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 1,300 ไร่ พื้นที่รับประโยชน์ 3.74 แสนไร่ เก็บน้ำได้ 64.84 ล้านลบ.ม. ครัวเรือนได้ประโยชน์ 79,624 ครัวเรือน กระจายทั่วประเทศ แบ่งเป็น 1.แก้มลิง วงเงิน 975.4 ล้านบาท 2.โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักวงเงิน 608.6 ล้านบาท ส่วนมากเป็นโครงการขุดลอกอ่างเก็บน้ำ 3.โครงการบรรเทา วิกฤติภัยแล้งและเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกัก 859.6 ล้านบาท 4.ขุดลอกคลองวงเงิน 261.9 ล้านบาท

ในภาพรวมแบ่งเป็นในภาคเหนือรวม 52 โครงการ งบประมาณ 839.9 ล้านบาท ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 108โครงการงบ 1,000 ล้านบาท ภาคกลาง58 โครงการงบ 387.5 ล้านบาทภาคตะวันออก 25 โครงการงบ 288.5 ล้านบาท ภาคใต้ 22 โครงการ งบ 185.9ล้านบาทและ ในชายแดนใต้ 1 โครงการวงเงิน 9 ล้านบาท และหากมองภาพรวมของกรมได้มีการวางแผนงานโครงการในช่วงปี 63-65 ทั้งการสร้างอ่างเก็บน้ำขุดลอกคลอง จำนวน 4,415 รายการเพิ่มพื้นที่ชลประทาน 1,259,655 ไร่พื้นที่รับประโยชน์  7,704,157 ไร่ปริมาณน้ำเก็บกักได้ 1,415 ล้านลบ.ม. ครัวเรือนได้ประโยชน์ 1,788,326ครัวเรือน

สำหรับโครงการขนาดใหญ่ของกรมที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง อาทิ 1. โครงการคลองระบายน้ำหลากบางบาล-บางไทรจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เมื่อเสร็จจะช่วยลดอุทกภัยในพื้นที่และสามารถเก็บน้ำในลำน้ำได้จำนวนหนึ่ง 2.โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองนครศรีธรรมราชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดนครศรีธรรมราช 3.โครงการบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรีตอนล่างอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เพชรบุรี4.โครงการปรับปรุงคลองยม-น่านเพื่อบรรเทาปัญหาน้ำท่วมและการขาดแคลนน้ำ และ 5.โครงการอ่างเก็บน้ำคลองวังโตนด จังหวัดจันทบุรี ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาแหล่งน้ำภาคตะวันออก แต่ละโครงการที่ได้มีการวางในงบประมาณรายจ่ายแต่ละปีล้วนมาจากแผนแม่บทบริหารจัดการน้ำ 20 ปีของประเทศที่นำมาจัดในงบรายปีเพื่อให้ส่งประโยชน์ต่อภาคการเกษตรและคนไทยทั้งประเทศ

จาก https://www.naewna.com วันที่ 25 มีนาคม 2563

ก.อุตฯ จ่อชง ครม.ยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปี อุ้มโรงงาน 5.6 หมื่นแห่งฝ่าโควิด-19

กระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมเสนอมาตรการงดเว้นค่าธรรมเนียมรายปีโรงงานเข้าที่ประชุม ครม. ช่วยผู้ประกอบการกว่า 56,000 ราย ได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปีกว่า 231 ล้านบาท เป็นอีกหนึ่งมาตรการที่ช่วยผู้ประกอบกิจการโรงงานเพื่อประโยชน์ต่อการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ โฆษกประจำกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ได้เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้พิจารณางดเว้นค่าธรรมเนียมรายปีแก่ผู้ประกอบการโรงงานทั่วประเทศที่มีอยู่ราว 56,000 แห่ง เพื่อเป็นการช่วยเหลือและบรรเทาผลกระทบให้ผู้ประกอบการจากสภาวะเศรษฐกิจ และสถานการณ์การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างมีสภาพคล่องเพิ่มมากขึ้น ทั้งยังเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการเดินทางมาติดต่อราชการ ซึ่งเป็นไปตามแนวทางการลดความเสี่ยงการแพร่กระจายของ Covid-19 ของรัฐบาลอีกด้วย

ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมประเมินว่า หาก ครม.เห็นชอบการงดเว้นค่าธรรมเนียมรายปีโรงงาน จะมีโรงงานอุตสาหกรรมกว่า 56,000 โรงงานได้รับยกเว้นค่าธรรมเนียมรายปี โดยแบ่งเป็นค่าธรรมเนียมจากโรงงานจำพวก 2 (โรงงานที่ใช้เครื่องจักรเกิน 20 แรงม้า แต่ไม่เกิน 50 แรงม้า และคนงานไม่เกิน 50 คน ซึ่งเป็นโรงงานที่อาจก่อปัญหามลภาวะหรือเหตุเดือดร้อนรำคาญเล็กน้อย แก้ไขปรับปรุงได้ไม่ยาก เช่น การขุดลอก กรวด ทราย ดิน การลำเลียงหิน กรวด/ทราย/ดิน ด้วยสายพานลำเลียงโรงงานผลิตน้ำดื่ม ไอศกรีม โรงผลิตน้ำแข็งใช้เครื่องจักร เมื่อจะประกอบกิจการโรงงานต้องแจ้งให้ผู้อนุญาตทราบก่อน) จำนวน 434 โรงงาน มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรวม 390,750 บาท

ค่าธรรมเนียมจากโรงงานจำพวก 3 (โรงงานที่ใช้เครื่องจักรเกิน 50 แรงม้า และคนงานเกิน 50 คน ซึ่งเป็นโรงงานที่อาจก่อให้เกิดปัญหามลพิษหรือเหตุเดือดร้อน รำคาญ หรือเหตุอันตรายต้องควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด เช่น โรงงานน้ำตาล โรงงานผลิตกระดาษ โรงงานผลิตสุรา โรงกลั่นน้ำมัน เป็นต้น มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมรวม 230,729,850 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้นกว่า 231 ล้านบาท ทั้งนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งมาตรการที่จะช่วยรักษาระดับการประกอบกิจการโรงงานไว้ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศต่อไป

จาก https://mgronline.com   วันที่ 24 มีนาคม 2563

นักวิเคราะห์ชี้ส่งออกไทยก.พ.ดีกว่าคาด พยุงค่าเงินบาทนิ่ง

ดร.จิติพล พฤกษาเมธานันท์ หัวหน้านักกลยุทธ์ตลาดเงินทุน บล.ไทยพาณิชย์ (SCBS) กล่าวว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้าวันนี้ 24 มีนาคม ที่ระดับ 32.80 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าจากช่วงปิดสิ้นวันทำการก่อนที่ระดับ 32.97 บาทต่อดอลลาร์ กรอบเงินบาทวันนี้ 32.75-33.15 บาทต่อดอลลาร์

โดยในช่วงคืนที่ผ่านมา ตลาดการเงินกลับมาได้รับแรงหนุนจากที่เฟดปรับนโยบายซื้อสินทรัพย์เป็น “ไม่จำกัด” ส่งผลให้บอนด์ยีลด์สหรัฐยังคงปรับตัวลงได้ต่อและปิดที่ระดับ 0.8% อย่างไรก็ดีหุ้นสหรัฐ ถือว่ายังไม่ตอบรับในเชิงบวกเนื่องจากยังคงมีข้อติดขัดในการออกนโยบายการคลังบางส่วน ส่งผลให้ S&P500 ปรับตัวลงต่อ 2.9%

ในฝั่งของตลาดเงินดอลลาร์ยังคงเคลื่อนไหวผันผวน แม้จะแข็งค่าในช่วงค่ำ แต่ล่าสุดตอนเช้านี้กลับอ่อนค่าลงราว 0.7% จากภาพนโยบายการเงินที่ผ่อนคลาย ซึ่งกำลังเป็นปัจจัยที่กดดันค่าเงินบาทในขณะนี้

อย่างไรก็ดีเราเชื่อว่าเงินบาทมีโอกาสจะประคองตัวได้ดีขึ้นถ้าตัวเลขเศรษฐกิจฝั่งเอเชียไม่ได้แย่ลงไปกว่านี้มาก

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดที่สุดก็คือการประกาศตัวเลขนำเข้าส่งออกเดือนล่าสุด ที่การส่งออกติดลบเพียง 4.4% จากที่ตลาดมองไว้ถึง -9.1% ส่งผลให้มีการเกินดุลบัญชีการค้าถึง 3.8 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งถ้าตัวเลขเศรษฐกิจเริ่มเข้าสู่ภาวะ “ดีกว่าคาด” ต่อเนื่องทั่วทั้งเอเชีย ก็น่าจะทำให้แรงขายสกุลเงินในภูมิภาคนี้ลดลงไปด้วย

จาก https://www.matichon.co.th  วันที่ 24 มีนาคม 2563 .

รีวิวแผนน้ำ 6 พันโครงการ “ประวิตร” สั่งผันน้ำแม่กลองเติมเจ้าพระยา 500 ล้าน ลบ.ม.

“ประวิตร” สั่งผันน้ำแม่กลองเติมเจ้าพระยา 500 ล้าน ลบ.ม. กู้แล้งพื้นที่เกษตร พร้อมเช็กการบ้าน 6 พันโครงการ จากงบฯกลาง 2,500 ล้านบาท ด้านกรมชลฯยันแล้งนี้รอดแน่ ไม่หนักเท่าปี’62 แม้ฝนมาล่าช้า

พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ว่า ที่ประชุมสั่งการให้เพิ่มปริมาณการผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลองมายังลุ่มน้ำเจ้าพระยา 500 ล้าน ลบ.ม. เพื่อป้องกันน้ำเค็มรุกส่งผลกระทบต่อการใช้น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคและการเกษตรต่อเนื่องถึงปลายเดือน มิ.ย. โดยจะต้องไม่ส่งผลกระทบต่อการใช้น้ำของลุ่มน้ำแม่กลองตาม พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำ ปี 2561

นอกจากนี้ยังได้อนุมัติแผนหลักการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน 549 ชุมชน ตามที่กรมโยธาธิการและผังเมืองจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันน้ำท่วมพื้นที่ชุมชน การดำเนินการ 3 ระยะ ตั้งแต่ปี 2564-2565 ใน 52 ชุมชนพื้นที่ 260,000 ไร่ ระยะกลาง ปี 2566-2570 อีก 157 ชุมชน พื้นที่ 360,000 ไร่ และระยะยาว ปี 2571 เป็นต้นไป อีก 340 ชุมชน พื้นที่ 9.13 ล้านไร่

พร้อมทั้งโครงการอ่างเก็บน้ำห้วยกรอกเคียน จ.ฉะเชิงเทรา โดยกรมชลประทาน เพื่อแก้ปัญหาพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ระหว่างปี 2564-2566 เมื่อโครงการแล้วเสร็จจะทำให้มีน้ำต้นทุนปริมาณ 19.20 ล้าน ลบ.ม. สำหรับอุปโภค-บริโภค และอุตสาหกรรมปีละ 3 ล้าน ลบ.ม. จากก่อนหน้านี้ที่ได้แก้ปัญหาภัยแล้งภาคตะวันออก โดยการสูบผันน้ำจากคลองวังโตนด มายังอ่างเก็บน้ำประแสร์ และจากอ่างคลองใหญ่มายังอ่างหนองปลาไหล รวมถึงการดึงน้ำจากเอกชนทั้งบริษัท อีสท์วอเตอร์ จำกัด (มหาชน) การประปาส่วนภูมิภาค สาขาพัทยา มาเสริมอีก 18 ล้าน ลบ.ม. เพื่อให้มีน้ำพอถึงสิ้นเดือน มิ.ย.

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า กนช.ได้เร่งรัดการดำเนินโครงการสร้างแหล่งน้ำ 6,000 โครงการ ภายใต้งบฯกลางสำหรับสร้างแหล่งเก็บน้ำ 2,500 ล้านบาท ให้รายงานความก้าวหน้าภายในเดือน มิ.ย. พร้อมทั้งมอบให้ สทนช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำแผนระยะยาว และแต่งตั้งคณะกรรมการน้ำ 76 จังหวัด เพื่อติดตามโครงการ และขับเคลื่อนแผนบริหารจัดการทรัพยากรน้ำระดับจังหวัดตามภาวะวิกฤต

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า การบริหารจัดการน้ำและแผนเพาะปลูกพืชฤดูฝน ปี 2563 ยังมีน้ำเพียงพอจนสิ้นสุดฤดูแล้ง แต่ในส่วนท้ายเขื่อนเจ้าพระยามีน้ำไม่เพียงพอใช้ต่อเนื่องวันที่ 30 เม.ย.นี้ จึงเสนอขอแบ่งปันน้ำแม่กลองมาใช้ ปริมาณ 1,656 ล้าน ลบ.ม. ส่วนพื้นที่ปลูกข้าว เพียง 421 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งจะได้เฉพาะทุ่งบางระกำ จ.พิษณุโลกเท่านั้น ส่วนอีก 11 ทุ่งลุ่มเจ้าพระยาต้องรอประกาศ

นาวาอากาศเอกสมศักดิ์ ขาวสุวรรณ์ อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา กล่าวว่า แม้ว่าปีนี้ฝนอาจมาล่าช้า แต่ระหว่างนี้จะมีฝนเพิ่มช่วงวันที่ 20-24 มี.ค.นี้ หรือบางพื้นที่อาจมีลมมรสุมเช่นที่ผ่านมา รับน้ำฝนไหลเข้าเขื่อนได้ 123 ล้าน ลบ.ม.

จาก https://www.prachachat.net   วันที่ 23 มีนาคม 2563

“กรมชลฯ” เดินหน้าลุยแผนแม่บทน้ำ 20 ปีหวัง “บรรเทาแล้ง-ท่วม” ทั่วประเทศ

กรมชลประทาน เร่งขับเคลื่อนโครงการเพิ่มพื้นที่ชลประทาน ตามแผนแม่บทบริหารจัดการน้ำ 20 ปี (2561-2580) ทั่วประเทศ แก้ปัญหาภัยแล้ง-น้ำท่วม เพื่อบรรเทาทุกข์ประชาชน

นายประพิศ จันทร์มา รองอธิบดีกรมชลประทาน ฝ่ายก่อสร้าง เปิดเผยว่า ตามนโยบายของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายน้ำแห่งชาติ (กนช.) ให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนโครงการเพิ่มพื้นที่ชลประทานตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ.2561 – 2580) ซึ่งหลายโครงการอยู่ระหว่างการขับเคลื่อนของรัฐบาล และกรมชลประทานที่กำลังดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมาย ทั้งโครงการผันน้ำเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุน การจัดหาแก้มลิงรับน้ำหลาก หรืออุโมงค์ผันน้ำ ทั้งหมดกรมชลประทานได้มีการดำเนินการตามแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำต่อเนื่องมาตลอด 3 ปี เพื่อจัดหาน้ำต้นทุนเพิ่ม ให้เป็นไปตามแผนกว่า 13,000 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ในระยะแผน 20 ปี

โดยโครงการเพิ่มปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำ กรมชลฯ ได้วางโครงการไว้หลายโครงการทั้งที่กำลังก่อสร้างและอยู่ระหว่างการศึกษา เช่น โครงการผันน้ำแม่ยวม เติมเขื่อนภูมิพล ปีละ 1,800 ล้านลบ.ม. อยู่ระหว่างการศึกษาของฝ่ายวิชาการ โครงการอุโมงค์ผันน้ำแม่แตง-แม่งัด -แม่กวง จ.เชียงใหม่ (2559-64) อยู่ระหว่างก่อสร้าง ภาพรวมปัจจุบันมีความก้าวหน้า 42% จะเพิ่มน้ำต้นทุนในเขื่อนแม่กวงอุดมธาราได้ปีละประมาณ 160 ล้านลบ.ม. รองรับการใช้น้ำในอนาคตที่เพิ่มขึ้น 173ล้านลบ.ม.ต่อปี ในอีก 20 ปีข้างหน้า สำหรับการขยายตัวของเขตเมือง ทั้งด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ในเชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียง รวมถึงบรรเทาอุทกภัยเมืองเชียงใหม่

 โครงการประตูระบายน้ำ (ปตร.) ศรีสองรักอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.เลย อยู่ระหว่างก่อสร้าง ระหว่างนี้กรมชลฯ ได้เร่งสร้างประตูกั้นลำน้ำเดิมให้เสร็จก่อน เพื่อช่วยกักน้ำในแม่น้ำเลยก่อนที่จะลงแม่น้ำโขงเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ในฤดูแล้ง ซึ่งปตร.ศรีสองรัก จะแล้วเสร็จในปี 65 โครงการประกอบด้วยการก่อสร้างปตร.ปิดกั้นระหว่างลำน้ำเลยกับแม่น้ำโขง 5 ช่องประตู กว้าง 15 เมตร สูง 13.2 เมตร สามารถระบายน้ำได้สูงสุด 2,500 ลบ.ม.ต่อวินาที จะช่วยบริหารน้ำในลำน้ำให้สอดคล้องกับฤดูกาลและกักน้ำไว้ในหน้าแล้งไม่ปล่อยทิ้งแม่น้ำโขง

รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวด้วยว่า สำหรับในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีโครงการก่อสร้างและปรับปรุงปตร.ในบริเวณปากแม่น้ำ ที่บรรจบแม่น้ำโขง ปัจจุบันมีการดำเนินการแล้วตั้งแต่ปากแม่น้ำเลย แม่น้ำมูล และบางจุดจะมีขุดลอกแก้มลิงธรรมชาติสองฝั่งแม่น้ำเพื่อกักน้ำในฤดูแล้ง

สำหรับการจัดหาพื้นที่แก้มลิงขนาดใหญ่รองรับน้ำหลาก เช่น บางระกำโมเดล จ.พิษณุโลก กรมชลฯ ได้มีการวางโครงการเพื่อเป็นแก้มลิงเก็บน้ำ เช่น การเตรียมทุ่งเจ้าพระยา 22 จังหวัดภาคกลางเป็นแก้มลิงธรรมชาติเพื่อบริหารน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา การขุดลอกบึงบอระเพ็ด บึงสีไฟ รวมถึงการทำแก้มลิงขนาดเล็กกระจายในพื้นที่สองฝั่งแม่น้ำลุ่มน้ำชี ลุ่มน้ำมูล เป็นต้น

“ส่วนในภาคใต้มีโครงการระบายน้ำเพื่อบรรเทาอุทกภัยในหลายจังหวัด มีการก่อสร้างปตร.ในปลายคลองของแต่ละโครงการเพื่อกักน้ำไว้ในฤดูแล้ง เช่น โครงการบริหารจัดการน้ำคาบสมุทรสทิงพระ จ.สงขลา และรอบทะเลสาบสงขลามีการจัดหาพื้นที่ทำแก้มลิงขนาดเล็กเพื่อกักเก็บน้ำจืด โครงการระบบระบายน้ำแม่น้ำตรัง โครงการบรรเทาอุทกภัยนครศรีธรรมราชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำตาปี-พุ่มดวง จ.สุราษฎร์ธานี โครงการบรรเทาอุทกภัยเมืองชุมพร โครงการบรรเทาอุทกภัยพื้นที่ลุ่มน้ำเพชรบุรีตอนล่าง เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำคลองส่งน้ำสายใหญ่ฝั่งขวา 3 และคลองระบาย D9 เพื่อตัดยอดน้ำไม่ให้ผ่านเข้าเมืองเกิน 150 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งเป็นศักยภาพของแม่น้ำในช่วงผ่านตัวเมืองเพชร ล่าสุดคืบหน้ากว่า 90 %” นายประพิศ กล่าว

อย่างไรก็ตาม โครงการที่ยกตัวอย่างมานั้น กรมชลฯ ได้มีการเดินหน้าต่อยอดและพัฒนาให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ซึ่งแต่ละโครงการได้เปิดโอกาสให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมทุกกระบวนการและมุ่งหวังให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนเป็นสำคัญ.

จาก www.thairath.co.th วันที่ 23 มีนาคม 2563

พาณิชย์ ชี้ กนง.ลดดอกเบี้ย ส่งผลดีต่อสินค้าเกษตร

พาณิชย์ชี้กนง.ลดดอกเบี้ย ส่งผลดีต่อสินค้าเกษตรทำให้กระตุ้นเศรษฐกิจภายใน แต่กระทบต่อการนำเข้าของเอกชนโดยเฉพาะธุรกิจที่พึ่งพาชิ้นส่วนและวัตถุดิบนำเข้าสูง จากต้นทุนการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นตามเงินบาทที่อ่อนค่าลง 

นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวว่า การลดดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เพื่อรองรับการระบาดของไวรัสโคโรนาหริ COVID-19 ที่อาจจะรุนแรงกว่าที่คาดไว้เดิม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยว่า วัตถุประสงค์หลักในการลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้น่าจะเน้นผลเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก ซึ่งหากได้ความร่วมมือจากธนาคารพาณิชย์ในการช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่องของลูกหนี้ ไม่ว่าจะเป็นการยืดระยะเวลาชำระหนี้ของกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs และประชาชน เป็นต้น ก็จะบรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้น

 “ การลดดอกเบี้ยครั้งนี้ จะส่งผลต่อการค้าในด้านต่าง ๆ เช่น ค่าเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลง ตามการไหลออกของเงินทุนต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกโดยเฉพาะสินค้าเกษตร โดยหากสินค้าเกษตรขายแล้วรับเป็นเงินบาทมากขึ้นก็จะเป็นผลดีต่อรายได้ของเกษตรกร”

       แต่สำหรับภาคการนำเข้า โดยเฉพาะธุรกิจที่พึ่งพาชิ้นส่วนและวัตถุดิบนำเข้า (Import Content) สูง อาจได้รับผลกระทบจากต้นทุนการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นตามเงินบาทที่อ่อนค่าลง จึงควรเตรียมพร้อมรับมือด้วยการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Hedge) ซึ่งหากเงินบาทอ่อนไปอีกระยะหนึ่ง ก็จะช่วยประคองการส่งออกไปได้บ้าง ท่ามกลางปัจจัยกดดันอื่น ๆ โดย สนค. คาดการณ์ว่าการลดลงของอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 จะส่งผลให้มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นประมาณ 385 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

       นอกจากนี้แล้ว การลดอัตราดอกเบี้ยรวมกับราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างมาก จะส่งผลให้ต้นทุนในการบริโภคและการลงทุนลดลง สำหรับอัตราเงินเฟ้อ คงจะได้รับผลจากการลดดอกเบี้ยไม่มากนัก แต่ปัจจัยราคาน้ำมันจะเป็นปัจจัยกดดันลง (downward factor) ที่มีน้ำหนักมากกว่า และอีกปัจจัยที่น่าจะมีผลต่อเงินเฟ้อ จะเป็นราคาสินค้าอาหารที่มีอุปสงค์ในประเทศมากขึ้น แต่อุปทานอาจจะได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ดังนั้น เมื่อหักกลบลบกัน คิดว่าปัจจัยสำคัญต่อเงินเฟ้อน่าจะเป็นเรื่องอื่นมากกว่าการลดดอกเบี้ย

       สำหรับมาตรการปิดสถานที่บางแห่งในกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่มีผลใช้บังคับในวันนี้ (22 มีค. 63) นั้น ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์จะมีบทบาทสนับสนุนในด้านการดูแลราคาสินค้าและบริการไม่ให้มีการฉวยโอกาสขึ้นราคา การรับรองให้ประชาชนมีช่องทางเข้าถึงสินค้าและบริการที่จำเป็น และการติดตามดูแลไม่ให้มีการกักตุนสินค้าอาหารและอุปโภคบริโภคเป็นหลัก ซึ่งที่ผ่านมา สนค. ได้ส่งพนักงานเก็บราคาไปสำรวจตลาดทุกจังหวัดเพิ่มเติมพร้อมกับหารือกับภาคเอกชนแล้ว

 “จากรายงานที่ได้รับจนถึงวันศุกร์ที่ 20 มีค. 63 ด้านราคาในประเทศส่วนใหญ่ยังปกติ ในทุกภูมิภาค ยังไม่พบเจอการฉวยโอกาสขึ้นราคา สำหรับสถานการณ์การผลิตสินค้าส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับปกติและเพียงพอต่อความต้องการ โดยเจลและแอลกอฮอล์น่าจะผลิตได้พอใช้ในไม่ช้า แต่หลังจากที่ประกาศมาตรการออกมาเมื่อวันที่ 21 มีค. อาจจะทำให้ประชาชนออกไปซื้อสินค้ามาเก็บมากขึ้น ตรงนี้ยังยืนยันว่า สินค้าอาหารและของใช้อุปโภคบริโภคยังมีปริมาณเพียงพอให้คนไทยกินใช้ในประเทศ ผู้ผลิตและร้านค้าพร้อมจะผลิตเพิ่มขึ้นหรือจัดชั้นวางให้เร็วขึ้นเพื่อให้ประชาชนซื้อหาได้ตลอดเวลา และร้านอาหารร้านค้าไม่ได้ปิดหมด ยังคงออกไปหาซื้อของได้  สำหรับการส่งออก สนค. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ กรอ. พณ. และ War Room ได้ประสานกับภาคเอกชนและสอบถามโดยตรงกับผู้ผลิตที่เป็นเครือข่ายในการทำดัชนีราคานำเข้าส่งออกของเรา ได้รับข้อมูลตรงกันว่า หลายสินค้ามี order ลดลงหรือทรงตัว แต่มีข้าว ไก่ กุ้ง ที่มียอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้นมาก แต่น่าจะยังไม่กระทบต่อความต้องการในประเทศ อย่างข้าว ขอยืนยันว่ายังมีขายในประเทศเพียงพอแน่นอนในชั้นนี้ โดยกระทรวงพาณิชย์จะติดตามดูแลปริมาณการผลิตและการนำสินค้าจำเป็นเข้าสู่ตลาดอย่างใกล้ชิดต่อไป” นางสาวพิมพ์ชนก กล่าว

        ทั้งนี้ มาตรการอื่น ๆ โดยเฉพาะการกระตุ้นเพื่อป้องกันไม่ให้การจับจ่ายใช้สอยของประชาชนลดลงมากเกินไป เพราะอาจจะส่งผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวมนั้น สนค. มองว่า งบประมาณของรัฐบาลที่กำลังจะมีเม็ดเงินออกมาในระบบเร็ว ๆ นี้ จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งในการดูแลเศรษฐกิจ ซึ่งหากหน่วยงานมีความยืดหยุ่นในการปรับแผนการใช้จ่าย ให้สามารถเน้นกิจกรรมที่ช่วยสนับสนุนเกษตรกร SME และประชาชนที่ต้องการงานและรายได้ในห้วงเวลานี้ได้ ก็จะช่วยประคองเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไปได้ในระยะนี้ ส่วนมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการภาคบริการ เช่น ท่องเที่ยว ช่วยเหลือแรงงาน และ SME หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 22 มีนาคม 2563

‘พาณิชย์’ ชี้ลดดอกเบี้ยช่วยสินค้าเกษตร กระตุ้นเศรษฐกิจภายในงบประมาณช่วยเดินหน้า

นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวถึงการลดดอกเบี้ยของคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เพื่อรองรับการระบาดของ COVID-19 ที่อาจจะรุนแรงกว่าที่คาดไว้เดิม ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยว่า วัตถุประสงค์หลักในการลดอัตราดอกเบี้ยครั้งนี้น่าจะเน้นผลเศรษฐกิจในประเทศเป็นหลัก ซึ่งหากได้ความร่วมมือจากธนาคารพาณิชย์ในการช่วยแก้ปัญหาสภาพคล่องของลูกหนี้ อาทิ การยืดระยะเวลาชำระหนี้ของกลุ่มที่ได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะธุรกิจ SMEs และประชาชน เป็นต้น ก็จะบรรลุเป้าหมายได้เร็วขึ้น

ผอ.สนค. กล่าวว่า การลดดอกเบี้ยครั้งนี้ จะส่งผลต่อการค้าในด้านต่างๆ เช่น ค่าเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่าลง ตามการไหลออกของเงินทุนต่างประเทศ ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาคการส่งออกโดยเฉพาะสินค้าเกษตร โดยหากสินค้าเกษตรขายแล้วรับเป็นเงินบาทมากขึ้นก็จะเป็นผลดีต่อรายได้ของเกษตรกร แต่สำหรับภาคการนำเข้า โดยเฉพาะธุรกิจที่พึ่งพาชิ้นส่วนและวัตถุดิบนำเข้า (Import Content) สูง อาจได้รับผลกระทบจากต้นทุนการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นตามเงินบาทที่อ่อนค่าลง จึงควรเตรียมพร้อมรับมือด้วยการบริหารจัดการความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน (Foreign Exchange Hedge) ซึ่งหากเงินบาทอ่อนไปอีกระยะหนึ่ง ก็จะช่วยประคองการส่งออกไปได้บ้าง ท่ามกลางปัจจัยกดดันอื่นๆ โดย สนค. คาดการณ์ว่าการลดลงของอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.25 จะส่งผลให้มูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นประมาณ 385 ล้านดอลลาร์ สรอ.

นอกจากนี้แล้ว การลดอัตราดอกเบี้ยรวมกับราคาน้ำมันที่ลดลงอย่างมาก จะส่งผลให้ต้นทุนในการบริโภคและการลงทุนลดลง สำหรับอัตราเงินเฟ้อ คงจะได้รับผลจากการลดดอกเบี้ยไม่มากนัก แต่ปัจจัยราคาน้ำมันจะเป็นปัจจัยกดดันลง (downward factor) ที่มีน้ำหนักมากกว่า และอีกปัจจัยที่น่าจะมีผลต่อเงินเฟ้อ จะเป็นราคาสินค้าอาหารที่มีอุปสงค์ในประเทศมากขึ้น แต่อุปทานอาจจะได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง ดังนั้น เมื่อหักกลบลบกัน คิดว่าปัจจัยสำคัญต่อเงินเฟ้อน่าจะเป็นเรื่องอื่นมากกว่าการลดดอกเบี้ย

สำหรับมาตรการปิดสถานที่บางแห่งในกรุงเทพฯ และปริมณฑลที่มีผลใช้บังคับในวันนี้ (22 มีค. 63) ว่า นางสาวพิมพ์ชนก กล่าวว่า ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์น่าจะมีบทบาทสนับสนุนในด้านการดูแลราคาสินค้าและบริการไม่ให้มีการฉวยโอกาสขึ้นราคา การรับรองให้ประชาชนมีช่องทางเข้าถึงสินค้าและบริการที่จำเป็น และการติดตามดูแลไม่ให้มีการกักตุนสินค้าอาหารและอุปโภคบริโภคเป็นหลัก ซึ่งที่ผ่านมา สนค. ได้ส่งพนักงานเก็บราคาไปสำรวจตลาดทุกจังหวัดเพิ่มเติมพร้อมกับหารือกับภาคเอกชนแล้ว

“จากรายงานที่ได้รับจนถึงวันศุกร์ที่ 20 มีค. 63 ด้านราคาในประเทศส่วนใหญ่ยังปกติ ในทุกภูมิภาค ยังไม่พบเจอการฉวยโอกาสขึ้นราคา สำหรับสถานการณ์การผลิตสินค้าส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับปกติและเพียงพอต่อความต้องการ โดยเจลและแอลกอฮอล์น่าจะผลิตได้พอใช้ในไม่ช้า แต่หลังจากที่ประกาศมาตรการออกมาเมื่อวันที่ 21 มีค. อาจจะทำให้ประชาชนออกไปซื้อสินค้ามาเก็บมากขึ้น ตรงนี้ยังยืนยันว่า สินค้าอาหารและของใช้อุปโภคบริโภคยังมีปริมาณเพียงพอให้คนไทยกินใช้ในประเทศ ผู้ผลิตและร้านค้าพร้อมจะผลิตเพิ่มขึ้นหรือจัดชั้นวางให้เร็วขึ้นเพื่อให้ประชาชนซื้อหาได้ตลอดเวลา และร้านอาหารร้านค้าไม่ได้ปิดหมด ยังคงออกไปหาซื้อของได้

สำหรับการส่งออก สนค. ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการ กรอ. พณ. และ War Room ได้ประสานกับภาคเอกชนและสอบถามโดยตรงกับผู้ผลิตที่เป็นเครือข่ายในการทำดัชนีราคานำเข้าส่งออกของเรา ได้รับข้อมูลตรงกันว่า หลายสินค้ามี order ลดลงหรือทรงตัว แต่มีข้าว ไก่ กุ้ง ที่มียอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้นมาก แต่น่าจะยังไม่กระทบต่อความต้องการในประเทศ อย่างข้าว ขอยืนยันว่ายังมีขายในประเทศเพียงพอแน่นอนในชั้นนี้ โดยกระทรวงพาณิชย์จะติดตามดูแลปริมาณการผลิตและการนำสินค้าจำเป็นเข้าสู่ตลาดอย่างใกล้ชิดต่อไป” นางสาวพิมพ์ชนกกล่าว

ทั้งนี้ มาตรการอื่น ๆ โดยเฉพาะการกระตุ้นเพื่อป้องกันไม่ให้การจับจ่ายใช้สอยของประชาชนลดลงมากเกินไป เพราะอาจจะส่งผลต่อเศรษฐกิจในภาพรวมนั้น สนค. มองว่า งบประมาณของรัฐบาลที่กำลังจะมีเม็ดเงินออกมาในระบบเร็วๆ นี้ จะเป็นเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งในการดูแลเศรษฐกิจ ซึ่งหากหน่วยงานมีความยืดหยุ่นในการปรับแผนการใช้จ่าย ให้สามารถเน้นกิจกรรมที่ช่วยสนับสนุนเกษตรกร SME และประชาชนที่ต้องการงานและรายได้ในห้วงเวลานี้ได้ ก็จะช่วยประคองเศรษฐกิจให้เดินหน้าต่อไปได้ในระยะนี้ ส่วนมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการภาคบริการ เช่น ท่องเที่ยว ช่วยเหลือแรงงาน และ SME หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะมีการนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบต่อไป

จาก https://www.matichon.co.th   วันที่ 22 มีนาคม 2563

แจ้งแผนการส่งน้ำเพื่อปลูกพืชในฤดูฝน ปี 2563

กรมชลประทานจัดแถลงข่าวเตรียมพร้อมส่งน้ำให้พื้นที่ลุ่มต่ำประเดิมทุ่งบางระกำ ส่วนชาวนาพื้นที่อื่นอย่าเพิ่งใจร้อนปลูกข้าวรอประกาศฤดูฝนก่อน

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำปัจจุบัน (20 มี.ค. 63) ว่า อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศว่า มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 39,898 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 52 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ประมาณ 16,173 ล้าน ลบ.ม. สำหรับสถานการณ์น้ำใน 4 เขื่อนหลักลุ่มเจ้าพระยา(เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์) มีปริมาณน้ำในอ่างฯรวมกัน 9,612 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็นร้อยละ 39 ของความจุอ่างฯ มีปริมาณน้ำใช้การได้ประมาณ 2,916 ล้าน ลบ.ม. ผลการจัดสรรน้ำฤดูแล้งปี 2562 ทั้งประเทศล่าสุด(16มี.ค.63) มีการใช้น้ำไปแล้วประมาณ 12,567 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 71 ของแผนฯ เฉพาะลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีการใช้น้ำไปแล้วประมาณ 3,405 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็นร้อยละ 76 ของแผนฯ 

เนื่องจากในปีที่ผ่านมา ประสบปัญหาภัยแล้ง ทำให้ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ และอ่างเก็บน้ำต่างๆ อยู่ในเกณฑ์น้อย ส่งผลกระทบต่อการจัดสรรน้ำเพื่อปลูกข้าวนาปี รวมถึงในพื้นที่ลุ่มต่ำบางแห่ง สำหรับพื้นที่ทุ่งบางระกำ จ.พิษณุโลก คณะอนุกรรมการอำนวยการด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ได้มีมติเห็นชอบในหลักการ แผนการบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาช่วงต้นฤดูฝนปี 2563 (ระหว่าง 1 พ.ค. - 31 ก.ค. 2563)

โดยเน้นจัดสรรน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศและพืชต่อเนื่อง รวมจำนวน 1,656 ล้านลูกบาศก์เมตร ในส่วนของพื้นที่การเพาะปลูกข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำนั้น จากการคาดการณ์จะมีปริมาณน้ำคงเหลือในช่วงฝนทิ้งช่วงเพียง 436 ล้านลูกบาศก์เมตร ทำให้สามารถส่งน้ำเพื่อการเพาะปลูกได้เฉพาะพื้นที่ลุ่มต่ำทุ่งบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก ในพื้นที่เป้าหมาย 265,000 ไร่ เช่นเดียวกับเมื่อปี 2560 ปริมาณน้ำที่จัดสรร 310 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งในรอบแรกจะเริ่มทำการส่งน้ำเข้าทุ่งตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2563 และจะทยอยส่งน้ำตามแผนเข้าพื้นที่ไปจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2563

 จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 20 มีนาคม 2563

คลอดแล้ว 4 แผนพลังงาน หั่นเป้าโซลาร์เซลล์ หนุนโรงไฟฟ้าชุมชน 1,933 เมกะวัตต์

กพช. อนุมัติร่างแผนด้านพลังงานไฟฟ้า พลังงานทดแทน อนุรักษ์พลังงาน ก๊าซฯ เดินหน้าโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก ผุดสถานีชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถ EV ปักธง20ปีข้างหน้าประหยัดพลังงานได้ 8.15 แสนล้านบาท

นายสนธิรัตน์  สนธิจิรวงศ์   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน  ว่า ที่ประชุม เห็นชอบร่างแผนด้านพลังงานสำคัญ 4 แผนที่ได้ปรับปรุงใหม่ ได้แก่ แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ.2561 - 2580 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 (PDP 2018 Rev.1)  หรือพีดีพี 2018 แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2561 – 2580 (AEDP 2018) แผนอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2561 -2580 (EEP 2018) และแผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ พ.ศ. 2561  - 2580 (Gas Plan 2018) ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลและสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป

สำหรับแผน PDP 2018 ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 1 มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวมปี 2580 คงเดิมที่ 77,211 เมกะวัตต์ และยังคงเป้าหมายกำลังผลิตไฟฟ้าใหม่ไว้ตลอดแผน ที่ 56,431 เมกะวัตต์ โดยมีสัดส่วนเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า คือ ก๊าซธรรมชาติ 53% พลังงานหมุนเวียน 21%(เดิม 20%) ถ่านหินและลิกไนต์ 11%(เดิม12%) พลังน้ำต่างประเทศ 9% และจากการอนุรักษ์พลังงาน 6%

นอกจากนี้จะปรับแผนการจ่ายไฟฟ้าของโรงฟ้าพลังงานหมุนเวียน และแผนการปลดโรงไฟฟ้าเชื้อเพลิงฟอสซิลบางโรงให้มีความเหมาะสม เช่น ลดเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ลง และเพิ่มเป้าหมายโรงไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็กของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 69 เมกะวัตต์ การเพิ่มนโยบายโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก กำลังผลิตรวม 1,933 เมกะวัตต์ การปรับแผนโรงไฟฟ้าชีวมวลประชารัฐภาคใต้ เริ่มจ่ายไฟเข้าระบบออกไปเป็นปี 2565–2566 ปีละ 60 เมกะวัตต์ รวมถึงเร่งรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานลม จากเดิมปี 2577 มาเป็นปี 2565

ด้านแผน AEDP 2018 ปรับเพิ่มเป้าหมายการผลิตความร้อนจากเชื้อเพลิงชีวมวล ปรับเพิ่มเป้าหมายการผลิตความร้อนจากไบโอมีเทน (Bio-methane Gas) แต่ยังคงเป้าหมายผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนที่ 18,696 เมกะวัตต์ แต่มีการปรับเพิ่มโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานรากเข้ามาในระบบ ในปี 2563 – 2567 รวม 1,933 เมกกะวัตต์ จากเชื้อเพลิงชีวมวล, ก๊าซชีวภาพจากน้ำเสีย, ก๊าซชีวภาพจากพืชพลังงาน และ Solar Hybrid โดยคงเป้าหมายสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนต่อการใช้พลังงานขั้นสุดท้ายไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ในปี 2580 และยังคงเป้าหมายรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนเท่าเดิมที่ 18,696 เมกะวัตต์

3. แผน EEP 2018 โดยมี 3 กลยุทธ์ คือ ภาคบังคับ ภาคส่งเสริมและภาคสนับสนุน โดยการดำเนินงานจะมุ่งเน้นไปที่เป้าหมาย 5 สาขาเศรษฐกิจหลัก ได้แก่  อุตสาหกรรม ธุรกิจการค้า บ้านอยู่อาศัย   เกษตรกรรม และ  ขนส่ง ยังคงรักษาระดับเป้าหมายการลดความเข้มการใช้พลังงาน (Energy Intensity: EI)   ลงร้อยละ 30 ภายในปี 2580 เมื่อเทียบกับปี 2553 สามารถลดการใช้พลังงาน 49,064 พันตันเทียบเท่าน้ำมันดิบ (ktoe) โดยใช้กลยุทธ์และมาตรการต่างๆ ที่มีอยู่เดิม และเพิ่มเติมมาตรการด้านวัตกรรมเพื่อต่อยอดและรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยี และรูปแบบการใช้พลังงาน รวมถึงส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานในภาคเกษตรกรรมเพื่อให้สอดคล้องนโยบาย Energy For All ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสู่ฐานรากอย่างยั่งยืน คาดว่าจะก่อให้เกิดผลประหยัดพลังงานของประเทศตลอดแผนรวม 54,371 ktoe ประหยัดเงินตรา 815,571 ล้านบาท ช่วยลดการจัดหาโรงไฟฟ้าได้ประมาณ 4,000 เมกะวัตต์ และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 170 ล้านตันคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (Mt-CO2)

4. Gas Plan 2018 ความต้องการใช้ก๊าซในภาพรวมในปี 2580 เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.7% ต่อปี หรืออยู่ที่ 5,348 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 0.1% แนวโน้มจะใช้เพิ่มขึ้นในภาคการผลิตไฟฟ้าและภาคอุตสาหกรรม ขณะที่การใช้ในโรงแยกก๊าซและภาคขนส่งลดลง

ทั้งนี้ สถานการณ์ก๊าซธรรมชาติได้เปลี่ยนแปลงไปจาก Gas Plan เดิมโดยก๊าซธรรมชาติในประเทศสามารถผลิตได้ต่อเนื่องหลังจากการประมูลแหล่งก๊าซบงกชและเอราวัณเป็นผลสำเร็จ ทำให้ความต้องการก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) ที่ต้องจัดหาเพิ่มเติมตามร่างแผนใหม่ในช่วงปลายแผนอยู่ที่ระดับ 26 ล้านตันต่อปี น้อยกว่าเดิมที่คาดไว้ที่ 34 ล้านตันต่อปี ในปี 2580 เป็นโครงข่ายท่อบนบก 22 ล้านตันต่อปี และความต้องการภาคใต้ 4 ล้านตันต่อปี

ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงาน ที่ประชุม กพช. เห็นชอบตามแนวทางด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีพลังงาน คือ 1.แนวทางการส่งเสริมพื้นที่ติดตั้งสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้า (EV Charging Station Mapping) โดยกรอบนโยบายครอบคลุมพื้นที่ชุมชน สถานีบริการน้ำมัน ห้างสรรพสินค้า อาคารพาณิชย์ อาคารสำนักงาน ถนนสายหลักระหว่างเมือง สำหรับผู้ใช้ยานยนต์ไฟฟ้าที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น หรือรองรับที่เดินทางมาจากเมืองอื่น โดยให้ภาครัฐและเอกชนสามารถยื่นขอรับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานได้ เพื่อให้มีจำนวนสถานีที่เพียงพอต่อความต้องการ กระจายตัวอย่างทั่วถึง สร้างความเชื่อมั่นผู้ใช้รถ EV และกระตุ้นตลาด EV ในภาพรวม

2. ผลการศึกษาอัตราค่าไฟฟ้าและการจัดการระบบจำหน่ายไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับสถานีอัดประจุไฟฟ้าของยานยนต์ไฟฟ้า และความเป็นไปได้ในการกำหนดอัตราค่าไฟฟ้าสำหรับระบบขนส่งสาธารณะ (Mass Transit) โดยเป็นอัตราค่าไฟฟ้าแบบคงที่ตลอดทั้งวัน มีค่าเท่ากับอัตราค่าพลังงานไฟฟ้า ช่วงเวลา Off Peak ของผู้ใช้ไฟฟ้าตามโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าปัจจุบันประเภท 2.2 กิจการขนาดเล็ก อัตราตามช่วงเวลา (Time Of Use (TOU) หรือเท่ากับ 2.6369 บาทต่อหน่วย (สำหรับแรงดันไฟฟ้าน้อยกว่า 22 kV)   

ด้านการบริหารกองทุนพลังงาน ที่ประชุม กพช. เห็นชอบ ดังนี้ 1. แผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงและแผนยุทธศาสตร์กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง โดยมุ่งไปที่ 3 ยุทธศาสตร์สำคัญคือยุทธศาสตร์การรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันฯ ในกรณีเกิดวิกฤตด้านราคาน้ำมันเชื้อเพลิง โดยมีแผนรองรับวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2563-2567 มีแนวทาง อาทิ การแยกบัญชีตามกลุ่มน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นกลุ่มดีเซล เบนซิน และก๊าซปิโตรเลียมเหลวเพื่อหลีกเลี่ยงอุดหนุนราคาข้ามกลุ่มเชื้อเพลิง มีกรอบความต่างของราคาเชื้อเพลิงหลักของกลุ่มดีเซลและเบนซิน การชดเชยราคาน้ำมันฯ เมื่อเกิดวิกฤตเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ทบทวนหลักเกณฑ์บริหารอย่างน้อย ปีละครั้ง โดยมีแบบจำลองสถานการณ์วิกฤตในระดับต่างๆ เพื่อเป็นแนวทางในการดำเนินการ

ยุทธศาสตร์การลดการจ่ายเงินชดเชยน้ำมันฯ ที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพ ในช่วงปี 2563 - 2565 ซึ่งตามพ.ร.บ.กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงพ.ศ. 2562 กำหนดให้จ่ายเงินชดเชยได้ต่อไปเป็นเวลา 3 ปีนับจากวันกฎหมายบังคับใช้ และต่อได้อีกไม่เกิน 2 ครั้งๆ ละไม่เกิน 2 ปี   ขณะที่การกำหนดอัตราการส่งเงินเข้ากองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน โดยให้อัตราคงเดิมที่ 0.1000 บาทต่อลิตร ต่อไปอีกเป็นระยะเวลา 2 ปี (22 เมษายน 2563 – 21 เมษายน 2565) เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระประชาชน เกษตรกร ผู้ประกอบการต่างๆ ในเรื่องต้นทุนรายจ่ายด้านพลังงาน จากการพิจารณาระดับฐานะการเงินที่ไม่กระทบภารกิจของกองทุนฯ ในการสนับสนุนการดำเนินโครงการเพื่อขับเคลื่อนนโยบายพลังงาน ซึ่งสถานะการเงินของกองทุนฯ มีสภาพคล่องเพียงพอสำหรับประมาณการรายจ่ายตามกรอบบวงเงินที่อนุมัติให้จัดสรรปี 2563 – 2566 ปีละ 10,000 ล้านบาท ภายในวงเงินรวม 50,000 ล้านบาท

จาก https://www.mcot.net วันที่ 19 มีนาคม 2563

กรมชลฯเดินหน้าหาแหล่งเก็บน้ำ การันตี20ปีกักได้กว่า95,000ล้านลบ.ม.

กรมชลประทานเร่งขับเคลื่อนงานตามยุทธศาสตร์ มุ่งเน้นจัดหาแหล่งเก็บกักน้ำทุกรูปแบบ ทั้งโครงการขนาดใหญ่ กลาง และขนาดเล็กมั่นใจอีก 20 ปี ประเทศไทยจะมีพื้นที่ชลประทาน 50.24 ล้านไร่ และมีปริมาณน้ำต้นทุนในระบบรวมกว่า 95,000 ล้านลบ.ม.

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานได้ขับเคลื่อนภารกิจเร่งรัดพัฒนาแหล่งน้ำตามยุทธศาสตร์กรมชลประทาน 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ด้วยมุ่งหาแหล่งเก็บกักน้ำในทุกรูปแบบให้ได้มากที่สุดและยังคงทรงประสิทธิภาพ ทั้งที่เป็นโครงการขนาดใหญ่ขนาดกลาง และขนาดเล็ก โดยได้นำเทคโนโลยีวิศวกรรมชลประทานมาใช้เพื่อมาลดขั้นตอนการทำงานตลอดจนลดระยะเวลาดำเนินการให้เกิดผลกระทบและเกิดการสูญเสียน้ำน้อยที่สุด ในขณะที่ผลประโยชน์ยังคงได้รับเช่นเดิมหรือมากกว่าเดิม

นอกจากนี้ยังได้เร่งรัดการพัฒนาโครงการขนาดเล็ก เพราะเป็นโครงการที่สามารถดำเนินการได้ทันที และสามารถแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างแก้มลิง ฝาย และประตูระบายน้ำต่างๆ ซึ่งล่าสุดกรมชลประทานได้ดำเนินโครงการขุดลอกแก้มลิงบึงละหานนาตามพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในพื้นที่ลุ่มน้ำชี สามารถเก็กกักน้ำได้ 16.8 ล้านลูกบาศก์เมตร(ลบ.ม.) ทำให้ราษฎรในพื้นที่มีแหล่งน้ำสำหรับการอุปโภคบริโภค การเกษตร และเลี้ยงสัตว์ สามารถเพิ่มพื้นทีชลประทานได้ 7,120 ไร่

อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวต่อว่า กรมชลประทานยังให้ความสำคัญในการพัฒนาคันคูน้ำ จัดรูปที่ดินเพื่อกระจายน้ำลงสู่แปลงนาให้ได้ทั่วถึงมากที่สุด ซึ่งจะช่วยประหยัดน้ำมากกว่าในอดีตที่ปล่อยน้ำไหลลงแปลงตามแรงโน้มถ่วง พร้อมพัฒนาโปรแกรมเพื่อให้เกษตรกรเข้าถึงข้อมูลการใช้น้ำ ข้อมูลเพาะปลูก ระยะเวลา เพื่อการใช้น้ำอย่างประหยัด โดยที่ผ่านมากรมชลประทานได้พัฒนาคันคูน้ำเพื่อกระจายน้ำเข้าถึงพื้นที่แปลงนามาแล้วมากกว่า 10 ล้านไร่ และยังคงดำเนินการต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ในปี 2563 กรมชลประทานมีเป้าหมายที่จะเพิ่มปริมาณการกักเก็บน้ำในโครงการชลประทานต่างๆให้ได้อีก 199.54 ล้านลบ.ม. เพิ่มพื้นที่ชลประทานอีก 180,000 ล้านไร่ และภายในปี 2579 ตั้งเป้าที่จะเพิ่มปริมาณเก็บกักน้ำในประเทศอีก 13,243 ล้านลบ.ม.ขยายพื้นที่ชลประทานเพิ่มขึ้น17.95 ล้านไร่ รวมใน 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีพื้นที่ชลประทานรวมทั้งหมด 50.24 ล้านไร่ และมีน้ำในระบบชลประทานความจุรวม 95,007 ล้านลบ.ม.

“การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลกในปัจจุบัน ทำให้ปริมาณฝนตกที่ไม่สม่ำเสมอทั่วทั้งประเทศ ดังนั้นเกษตรกรจะต้องมีการปรับตัวในการทำการเกษตรด้วยเพื่อลดความเสี่ยงไม่ให้วิกฤติด้านน้ำ เช่น การมีแหล่งน้ำเป็นของตัวเองไว้ใช้ในครัวเรือน ใช้น้ำอย่างประหยัดและรู้คุณค่า การปรับวิธีการใช้น้ำ ใช้แผนที่เกษตร (Agri Map) ในการเพาะปลูก การเลื่อนการเพาะปลูก การพัฒนาพันธุ์พืช เป็นต้น ทั้งนี้ต้องยอมรับว่า ภาคเกษตร เป็นภาคที่ใช้น้ำในปริมาณมาก หากประหยัดน้ำได้ร้อยละ 5-10ก็จะเป็นการประหยัดการใช้น้ำได้จำนวนมหาศาลและยังช่วยลดความเสี่ยงผลผลิตเสียหายได้อีกด้วย” อธิบดีกรมชลประทานกล่าว

จาก https://www.naewna.com  วันที่ 19 มีนาคม 2563

โควิด-19 ฉุดราคาน้ำตาลโลกวูบจ่อซ้ำเติมภัยแล้ง คาดปิดหีบอ้อยปีนี้สูญแสนล้าน

วงการอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายเกาะติดโควิด-19 ปัจจัยใหม่ใกล้ชิดหวั่นฉุด ศก.โลกชะลอกดดันราคาน้ำตาลตกต่ำหลังสัญญาณเริ่มมาซึ่งจะกระทบการผลิตปี 63/64 ขณะที่ภัยแล้งกระหน่ำแล้วทำผลผลิตอ้อยฤดูหีบที่คาดว่าจะปิดเร็วๆ นี้หายวับ 55 ล้านตันเหลือผลผลิตไม่ถึง 75 ล้านตันอ้อย น้ำตาลวูบตามทำรายได้ทั้งระบบสูญแสนล้านบาท ด้านชาวไร่รอลุ้นเงินช่วยปัจจัยผลิตหมื่นล้านต่อลมหายใจ

นายวีระศักดิ์ ขวัญเมือง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า ขณะนี้หลายฝ่ายกำลังติดตามปัจจัยเสี่ยงที่จะมีผลกระทบต่อการผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายฤดูผลิตปี 2563/64 โดยเฉพาะ 2 ปัจจัย ได้แก่ ราคาน้ำตาลตลาดโลกที่เริ่มได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกชะลอตัวเพราะการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 ซึ่งราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดโลกต้นปีเฉลี่ย 15 เซ็นต์ต่อปอนด์เริ่มอ่อนค่ามาสู่ระดับ 11-12 เซ็นต์ต่อปอนด์ และปัจจัยจากภาวะภัยแล้งว่าจะรุนแรงมากน้อยเพียงใดเพราะจะกระทบให้ผลผลิตอ้อยอาจลดต่ำลงต่อเนื่องจากฤดูหีบปี 63/64 ได้

“คงจะต้องเกาะติดโควิด-19 ใกล้ชิดเพราะถือเป็นปัจจัยใหม่ว่าจะยืดเยื้อมากน้อยเพียงใดเพราะเป็นกันทั่วโลก ซึ่งหากกระทบมากราคาน้ำตาลก็อาจจะไม่ได้สูงจากที่เคยคาดการณ์ไว้ หากเป็นเช่นนี้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายก็จะเหนื่อยต่อเนื่องอีกปีหนึ่ง” นายวีระศักดิ์กล่าว

สำหรับฤดูผลิตอ้อยปี 2562/63 ที่ทยอยเปิดหีบนับตั้งแต่ 1 ธ.ค. 62 ขณะนี้โรงงานส่วนใหญ่ทยอยปิดหีบแล้วเหลือเพียง 2-3 แห่งที่ยังคงผลิตอยู่เฉลี่ยเพียงวันละกว่า 2 หมื่นตันอ้อย คาดว่าจะปิดหีบไม่เกิน 26 มี.ค.นี้ เบื้องต้นคาดว่าผลผลิตอ้อยโดยรวมจะอยู่ที่ประมาณ 74.9 ล้านตันเมื่อเทียบกับผลผลิตอ้อยในฤดูหีบที่ผ่านมาที่มีปริมาณอ้อยสูงถึง 130 ล้านตันหรือปริมาณอ้อยหายไปถึง 55 ล้านตันเนื่องจากปัญหาภัยแล้ง โดยคิดเป็นมูลค่าที่หายไปจากระบบราว 5 หมื่นล้านบาท และเมื่อรวมกับอุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เป็นห่วงโซ่อุปทานทั้งโมลาส (กากน้ำตาล) การผลิตไฟฟ้าจากใบอ้อย เป็นต้น คาดว่าไทยจะสูญเสียรายได้รวมประมาณ 1 แสนล้านบาท

“ผลผลิตน้ำตาลทรายล่าสุดอยู่กว่า 82 ล้านกระสอบ หรือ 8.3 ล้านตัน คาดว่าปิดหีบแล้วปริมาณจะเพิ่มขึ้นจากนี้เล็กน้อย ขณะที่ฤดูที่ผ่านมาน้ำตาลทรายผลิตถึง 14.5 ล้านตันก็หายไปพอสมควร ซึ่งปกติอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายจะมีรายได้ต่อปีเฉลี่ยรวม 2.2 แสนล้านบาท ก็จะเห็นว่าระบบจะสูญไปนับแสนล้านบาทจากผลผลิตที่ลดต่ำเพราะปัญหาภัยแล้ง” นายวีระศักดิ์กล่าว

นายนราธิป อนันตสุข หัวหน้าสำนักงานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ผลผลิตอ้อยปี 62/63 ที่คาดว่าจะปิดหีบเร็วๆ นี้น่าจะไม่ถึง 65 ล้านตันอ้อย ปัจจัยสำคัญเพราะภัยแล้งและฤดูใหม่ แม้ล่าสุดจะเริ่มมีปริมาณฝนมาบ้างก็ถือเป็นการดีต่ออ้อยตอ และอ้อยปลูกใหม่ แต่ก็ยังคงชี้วัดไม่ได้เพราะหากแล้งต่อเนื่องอีกก็ย่อมส่งผลกระทบ ซึ่งหลายฝ่ายมองว่าในฤดูหีบปี 63/64 แนวโน้มผลผลิตอ้อยจะลดลงจากฤดูนี้อีก เพราะในแง่พื้นที่บางส่วนลดลงเนื่องจากเกษตรกรหันไปปลูกมันสำปะหลังที่ราคาดีกว่า

“คงต้องติดตามใกล้ชิดทั้งโควิด-19 ที่จะมีผลต่อราคาน้ำตาลตลาดโลกและราคาอ้อยขั้นต้นในฤดูถัดไป ซึ่งฤดูปี 62/63 ถือว่าตกต่ำอยู่ที่เพียง 750 บาทต่อตัน (10 CCS) ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมเตรียมเสนอ ครม.ที่จะของบหมื่นล้านบาทมาช่วยเหลือปัจจัยการผลิต ก็ต้องการให้เร่งส่วนนี้ให้เร็วหากเป็นไปได้ควรได้รับเงินเม.ย.นี้เพื่อไปเร่งบำรุงตอ” นายนราธิปกล่าว

จาก https://mgronline.com วันที่ 17 มีนาคม 2563

สอน.ดันไบโอฮับ 'อีอีซี' ผุดศูนย์อุตสาหกรรมชีวภาพ

อุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ เป็น 1 ในอุตสาหกรรมเป้าหมายในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ซึ่งอ้อยเป็นพืชที่ต่อยอดอุตสาหกรรมนี้ได้ แต่ต้องมีการสนับสนุนเพื่อให้เกิดการลงทุนเชิงพาณิชย์

วิฤทธิ์ วิเศษสินธุ์ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ สอน.อยู่ระหว่างการจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมชีวภาพ และสร้างห้องปฏิบัติการที่ได้มาตรฐานสากล รองรับการตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐาน ISO 17025

ตลอดจนการพัฒนาฐานข้อมูลและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านงานวิจัย โดยการสร้างศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมชีวภาพ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปอุตสาหกรรม เพื่อรองรับการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรม โดยการปรับเปลี่ยนคุณสมบัติ การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากอ้อย น้ำตาลทราย และพืชเศรษฐกิจอื่นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

นอกจากนี้ ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมชีวภาพ ยังทดสอบคุณสมบัติมาตรฐานของผลิตภัณฑ์ การส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิต และเป็นศูนย์กลางในการค้นคว้า ทดลอง ทดสอบ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบมุ่งสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ให้กับผู้ประกอบการ ซึ่งตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561-2580) ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน

รวมถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจตามนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจ New S-curve ของรัฐบาลด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ ภายในอีอีซี โดยเป็นการดำเนินการขั้นกลางเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการไทย และสร้างแพลตฟอร์มให้เกิดการสร้างและพัฒนาผู้ประกอบการให้ผลิตและจำหน่ายอุตสาหกรรมชีวภาพอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมชีวภาพแห่งนี้ ตั้งอยู่ภายในศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาคที่ 3 ต.ท่าพระ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ซึ่งอยู่ในเขตอีอีซี ที่เป็นแหล่งอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และการผลิตพลาสติกเป็นจำนวนมาก ทำให้มีความพร้อมในการพัฒนาไปสู่การผลิตด้านอุตสาหกรรมชีวภาพ

การตั้งศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมชีวภาพดังกล่าวจึงมีส่วนช่วยในการส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมชีวภาพจากอ้อย น้ำตาลทราย และพืชเศรษฐกิจอื่น เพื่อมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมชีวภาพ ด้านพลังงานชีวภาพ เคมีชีวภาพ และพลาสติกชีวภาพต่อไป

สำหรับการดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมชีวภาพแห่งนี้ ใช้งบ 80 ล้านบาท และจะใช้เงินในการซื้อเครื่องจักรและอุปกรณ์ 40-50 ล้านบาท รวมใช้งบประมาณ 130 ล้านบาท ซึ่งได้เริ่มสร้างไปแล้วในปีนี้ และจะก่อสร้างเสร็จภายในปี 2564 และจะเปิดดำเนินงานได้ในปี 2565 โดยศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมชีวภาพเป็นอาคาร 2 ชั้น มีพื้นที่ใช้สอย 4,000 ตารางเมตร ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่

1.พื้นที่ห้องปฏิบัติการรองรับกระบวนการผลิตต้นแบบ ด้วยระบบการกลั่น ด้านระบบการทำผงแห้ง ด้านการเกิดปฏิกิริยาทางเคมี ด้านการผสม ด้านการหมัก กระบวนการขึ้นรูปผลิตภัณฑ์ชีวภาพ กระบวนการบรรจุ และฆ่าเชื้อ หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้อง

2.พื้นที่ห้องปฏิบัติการด้านกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพ

3.พื้นที่ด้านการวิเคราะห์และทดสอบผลิตภัณฑ์ชีวภาพ

4.พื้นที่ห้องประชุม เพื่อรองรับการอบรมสัมมนาแก่นักวิจัย ผู้ประกอบการ และผู้สนใจ

การดำเนินงานของศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมชีวภาพจะเหมือนกับศูนย์ ITC (Industry transformation center) หรือศูนย์ปฏิรูปอุตสาหกรรมสู่อนาคต ที่กระทรวงอุตสาหกรรมกระจายอยู่ในภูมิภาค ซึ่งจะเน้นปฏิรูปอุตสาหกรรมชีวภาพ ยกระดับผลผลิตการเกษตรไปสู่สินค้าทางชีวภาพที่มีมูลค่าสูง จะเป็นศูนย์กลางในการส่งเสริม พัฒนาเทคโนโลยี และนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าชีวภาพจากอ้อย น้ำตาลทราย และพืชเศรษฐกิจอื่น

ตลอดจนการเผยแพร่เทคโนโลยีการผลิต การจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ และพัฒนาทักษะให้ผู้ประกอบการ เจ้าหน้าที่ของรัฐ และผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเป็นศูนย์กลางในการทดสอบคุณสมบัติ และมาตรฐานผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมชีวภาพ และเป็นศูนย์กลางในการค้นความทดลอง ทดสอบ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ต้นแบบมุ่งสู่เชิงพาณิชย์ให้กับผู้ประกอบการ และหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งศูนย์ฯนี้จะเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันให้อีอีซีเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมชีวภาพของไทย

“ศูนย์ฯแห่งนี้จะเป็นเหมือนโรงงานต้นแบบ เครื่องจักรที่ติดตั้งในศูนย์ฯนี้ ปรับแต่งการทำงานที่รองรับอุตสาหกรรมชีวภาพได้หลากหลายชนิด"

ทั้งนี้ ซึ่งผู้ประกอบการจะนำผลการวิจัยจากการผลิตในระดับห้องปฏิบัติการ มาขยายต่อยอดการผลิตเป็นสินค้าต้นแบบที่มีจำนวนมาก โดยทั้งนี้ เมื่อผ่านการผลิตในโรงงานต้นแบบจนสูตรการผลิตมีความนิ่ง และคุ้มค่าในการผลิตเชิงอุตสาหกรรม ผู้ประกอบการจะลงทุนตั้งโรงงานเพื่อผลิตสินค้าชีวภาพในเชิงพาณิชย์ที่มีนวัตกรรมใหม่ ซึ่งจะยกระดับอุตสาหกรรมชีวภาพของไทยได้รวดเร็ว

รวมทั้งเป็นการยกระดับสินค้าเกษตรให้มีมูลค่าสูงขึ้น โดยในอนาคตหลังเปิดดำเนินงานได้ 1-2 ปี จะดึงเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน เพื่อขยายศักยภาพของให้รองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังเป็นส่วนหนึ่งในการผลักดันนโยบาย BCG Model (Bio-Circular-Green Economy)หรือระบบเศรษฐกิจชีวภาพ-หมุนเวียน-สีเขียว ของรัฐบาล ที่ได้ตั้งเป้าหมายให้อีอีซี มีจุดเด่นเรื่องความหลากหลายของผลผลิตด้านการเกษตร โดยเฉพาะผลไม้ที่มีชื่อเสียงระดับโลกหลายชนิด

รวมถึงการเป็นพื้นที่อุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศภายใต้ BCG จะส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจตลอดห่วงโซ่คุณค่าของผลไม้สำคัญ เช่น ทุเรียน ตั้งแต่การส่งเสริมเกษตรกรในการเพาะปลูกแบบเกษตรอัจฉริยะ การแปรรูปเพื่อเป็นอาหาร อาหารสัตว์ การสกัดสารมูลค่าสูงในทุเรียนเพื่อใช้เป็นเวชสำอาง

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 16 มีนาคม 2563

ก.อุตแก้ฝุ่นพิษวาระชาติ ‘สุริยะ’ เข้มโรงงานปริมณฑล-เหมือง ชูลดเผาอ้อย-น้ำมันยูโร5 ใช้ปี64

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมมีนโยบายแก้ปัญหามลพิษฝุ่นพีเอ็ม2.5 ด้วยการขับเคลื่อนเป็นวาระแห่งชาติ เน้น 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มโรงงานอุตสาหกรรม กลุ่มยานยนต์ และกลุ่มเกษตรอุตสาหกรรม ออก 3 มาตรการแก้ปัญหา ประกอบด้วย มาตรการ 1 ระยะเร่งด่วน ตรวจสอบและบังคับใช้กฎหมายกับโรงงาน ขอความร่วมมือโรงงานลดกำลังการผลิต ลดมลพิษอากาศ โดยเฉพาะจังหวัดปริมณฑลที่โรงงานมาก และจ.สระบุรี มีกิจการเหมืองแร่เสี่ยงปล่อยฝุ่นละออง

นายสุริยะ กล่าวว่า มาตรการ 2 ป้องกันและลดการเกิดมลพิษต้นทาง วางแผนแก้ปัญหาระยะสั้น ปี 2562 – 64 และระยะยาว ปี 2565-67 ผลักดันมาตรการในกลุ่มยานยนต์ อาทิ มาตรการจูงใจสนับสนุนส่งเสริมการใช้รถยนต์ไฟฟ้า บังคับใช้มาตรฐานระบายมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ใหม่ ยูโร 5 ภายในปี 2564 และ ยูโร 6 ภายในปี 2565 จัดทำมาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศรถบรรทุก เสนอคณะกรรมการมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม(กมอ.) เห็นชอบร่างมาตรฐานยูโร 4 ยูโร 5 และยูโร 6 เดือนพฤษภาคม 2563 ส่วนกลุ่มรถเก่า มอบให้สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) หารือกับกรมการขนส่งทางบก จัดทำมาตรฐานระดับการปล่อยพีเอ็ม 2.5 ส่วนรถใหม่มอบให้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) หารือกับค่ายรถยนต์ ในการใช้น้ำมันมาตรฐานยูโร 4-6

นายสุริยะ กล่าวว่า ขณะที่กลุ่มเกษตรอุตสาหกรรม จะเข้มงวดกับการควบคุมและลดมลพิษจากการเผาในที่โล่ง อาทิ กำหนดมาตรการทางกฎหมายโดยออกระเบียบกำหนดให้โรงงานน้ำตาลรับอ้อยไฟไหม้เข้าหีบได้ไม่เกิน 50% ในฤดูการผลิตปี 2563 , 20% ในปี 2564 และ 5% ในปี 2565 โดยฤดูกาลผลิตปี 2562/2563 ได้หักค่าอ้อยไฟไหม้จากชาวไร่อ้อย 30 บาทต่อตัน และหักโรงงานที่รับซื้ออ้อยไฟไหม้เกิน50% อยู่ที่ 12 บาทต่อตัน และกำหนดพื้นที่ปลอดการเผาอ้อย และจัดหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำซื้อรถตัดอ้อยสด ส่วนระยะยาวกำหนดโรงงานอุตสาหกรรมมีกำหนดมาตรฐานการระบายมลพิษทางการอากาศ รายงานผลผ่านระบบออนไลน์ไปยังกระทรวงอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่อง มาตรฐานสากล และมาตรการที่ 3 จะเน้นการส่งเสริมการวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีที่สามารถนำมาใช้ควบคุม ลดมลพิษทางอากาศยั่งยืนต่อไป

จาก https://www.matichon.co.th   วันที่ 16 มีนาคม 2563

เลิกขายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 “พลังงาน” ย้ำลั่นดีเดย์ 1 ก.ย.นี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่ากรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) ได้เตรียมความพร้อมที่จะประกาศกำหนดให้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ อี 20 (เบนซินผสมเอทานอล 20%) เป็นน้ำมันเบนซินพื้นฐานของประเทศ ซึ่งคาดว่าจะประกาศได้ภายในเดือน มิ.ย.นี้ เพื่อยกระดับราคามันสำปะหลังและอ้อยที่เป็นวัตถุดิบหลักในการนำมา ผลิตเอทานอลหลังจากที่ก่อนหน้ากระทรวงพลังงาน ประกาศให้น้ำมันดีเซลบี 10 (ดีเซลผสมบี 100 จำนวน 10%) เป็นน้ำมันดีเซลพื้นฐานเมื่อวันที่ 1 ม.ค.ที่ผ่านมา

น.ส.นันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) กล่าวว่า ธพ.ได้หารือกับกลุ่มโรงกลั่นน้ำมันและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อสรุปแนวทางการกำหนดแก๊สโซฮอล์ อี 20 ให้เป็นน้ำมันเบนซินพื้นฐาน และการลดประเภทชนิดน้ำมันกลุ่มเบนซินลง หลังจากที่ประชุมได้ข้อยุติแล้วว่า จะยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ส่วนระยะเวลาการประกาศนั้น จะต้องเสนอให้กระทรวงพลังงานเป็นผู้พิจารณากำหนดเงื่อนไขเวลาเป็นสำคัญ

คนใช้รถน้ำตาตก ราคาน้ำมันกลุ่มแก๊สโซฮอล์ ปรับขึ้น 50 สต.ต่อลิตร

ดันอี 20 เป็นน้ำมันพื้นฐาน

พท.แนะ แก้กฎกระทรวง ใช้เอทานอล เร่งผลิตแอลกอฮอล์ฆ่าเชื้อ สู้โควิด-19

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุมได้ข้อสรุปที่จะกำหนดให้โรงกลั่นน้ำมัน ยกเลิกการผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.นี้ เพื่อกำหนดให้ อี 20 เป็นน้ำมันพื้นฐาน และจากนั้นให้ผู้ค้าน้ำมัน ได้ทำการปรับตัวในการยกเลิกการจำหน่ายในสถานีบริการน้ำมัน (ปั๊ม) มีผลในวันที่ 1 ก.ย.เป็นต้นไป

โดยนายพิพัฒน์ สุทธิวิเศษศักดิ์ นายกสมาคมการค้าและผู้ผลิตเอทานอลไทย กล่าวว่า โรงงานเอทานอล 26 แห่งทั่วประเทศ มีการผลิตเอทานอลรวม 1,600 ล้านลิตรต่อปี ขณะที่กำลังการผลิตจริงมีสูงถึง 2,200 ล้านลิตรต่อปี แต่ยอมรับว่าปีนี้ปริมาณอ้อยของไทยมีผลผลิตลดต่ำทำให้กากน้ำตาล (โมลาส) ที่จะมาผลิตเอทานอลลดตามไปด้วย แต่จากการหารือร่วมกับภาครัฐแล้ว การยกเลิกจำหน่ายแก๊สโซฮอล์ 91 ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ย.นี้ จะไม่มีปัญหาขาดแคลน.

จาก https://www.thairath.co.th    วันที่ 16 มีนาคม 2563

เอกชน100 รายแห่ชิง ‘โรงไฟฟ้าชุมชน’เปิดรับซื้อเม.ย.

คาดเอกชนกว่า 100 ราย แห่ชิงตั้งโรงไฟฟ้าชุมชน 100 เมกะวัตต์ หลังกระทรวงพลังงาน เปิดยื่นรับซื้อไฟฟ้าสิ้นมีนาคมนี้ เผยเกณฑ์ให้คะแนนสุดหิน 60% ต้องเสนอผลประโยชน์ให้ชุมชนสูงสุดใน 7 ข้อ พร้อมขยายจ่ายไฟฟ้าบางรายเข้าระบบเป็นปี 2564 ติดโควิด-19 ส่งเครื่องจักรไม่ได้

เป็นรูปเป็นร่างแล้วสำหรับการเปิดรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าชุมชนเพื่อเศรษฐกิจฐานราก หลังจากที่กระทรวงพลังงาน ได้เปิดรับฟังความคิดเห็นร่างหลักเกณฑ์ เงื่อนไขการพิจารณาคัดเลือกผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก ในส่วนของ Quick win ที่จะเปิดรับซื้อและจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ 100 เมกะวัตต์ ในปี 2563 เมื่อวันที่ 13 มีนาคม ที่ผ่านมา มีบริษัทเอกชนเข้าร่วมรับฟังกว่า 100 ราย ซึ่งเงื่อนไขการพิจารณาการคัดเลือกผู้ผลิตไฟฟ้าถือว่าค่อนข้างหินพอสมควร ทั้งด้านคุณสมบัติ 10 ข้อ และด้านเทคนิค 19 ข้อ หากตกข้อใดข้อหนึ่งจะไม่ได้รับการพิจารณา โดยเฉพาะการประเมินข้อเสนอขอขายไฟฟ้าด้านผลประโยชน์คืนสู่ชุมชน ที่นำมาพิจารณาการให้คะแนนไว้สูงถึง 60% และด้านเทคนิคเพียง 40%

ทั้งนี้ หลักเกณฑ์การพิจารณาให้คะแนนด้านผลประโยชน์คืนสู่ชุมชน จะประกอบไปด้วย 7 ส่วนสำคัญ ได้แก่ 1.อัตราส่วนแบ่งรายได้จากการจำหน่ายไฟฟ้าที่ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายใดๆ ประกอบด้วย อัตราส่วนแบ่งรายได้ ไม่ต่ำกว่า 0.25 บาทต่อหน่วย สำหรับโรงไฟฟ้าประเภทเชื้อเพลิง ชีวมวล ก๊าซชีวภาพ (นํ้าเสีย/ของเสีย) และก๊าซชีวภาพ (พืชพลังงาน) และอัตราส่วนแบ่งรายได้ไม่ต่ำกว่า 0.50 บาทต่อหน่วย สำหรับโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ที่เป็น Hybrid เข้ามา

การเสนอเงินพิเศษค่าเชื้อเพลิง ไว้ในสัญญารับซื้อเชื้อเพลิงในราคาประกันในรูปแบบเกษตรพันธสัญญา (Contract farming) การให้สัดส่วนหุ้นบุริมสิทธิแก่วิสาหกิจชุมชน ไม่น้อยกว่า 10% การรับประกันอัตราเงินปันผลประจำปีให้แก่วิสาหกิจชุมชน จะต้องเสนอรายละเอียดการจ้างแรงงานภายในพื้นที่จังหวัดที่ตั้งโรงไฟฟ้า โดยจะต้องระบุจำนวนและอัตราเงินเดือนที่แน่นอนไว้ด้วย รวมถึงผลประโยชน์ หรือโครงการพัฒนาชุมชนด้านอื่นๆ ที่จะเข้าไปมีส่วนยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนให้ดีขึ้นจากเดิม และต่อยอดให้เกิดความยั่งยืนในด้านต่างๆ ได้อย่างไร

โดยเฉพาะโครงการโรงไฟฟ้าชุมชนประเภทชีวมวล ที่ใช้เศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ซังข้าวโพด ใบอ้อยสด ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้า จะต้องบรรยายให้เห็นภาพว่า การตั้งโรงไฟฟ้าชุมชนจะช่วยลดการเผากลางแจ้ง ที่ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ได้อย่างไร สร้างรายได้จากการขายวัตถุดิบให้กับโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้นอย่างไร เป็นต้น

ทั้งนี้ เกณฑ์การพิจารณานั้น หากพื้นที่ใดเสนอเข้ามาหลายราย จะพิจารณาให้เอกชนที่ได้คะแนนสูงสุดก่อน

นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) เปิดเผยว่า หลังเปิดรับฟังความเห็นโรงไฟฟ้าชุมชน ประเภท Quick Win เรียบร้อยแล้ว ทาง กกพ. จะเร่งจัดทำหลักเกณฑ์สัญญารับซื้อไฟฟ้าดังกล่าว ให้เสร็จใน 2 สัปดาห์ จากนั้นจะเสนอต่อบอร์ด กกพ.พิจารณา และจะเปิดรับข้อเสนอซื้อไฟฟ้าชุมชนในโครงการ Quick Win ราวต้นเดือนเมษายนนี้

นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 จากการรับฟังความเห็นโรงไฟฟ้าชุมชน ประเภท Quick Win จากเอกชนแล้ว อาจจะต้องเลื่อนการจ่ายไฟฟ้าบางโครงการออกไปจากเดิมปี 2563 เป็นปี 2564 แทน เนื่องจากไม่สามารถนำเข้าอุปกรณ์ผลิตไฟฟ้าได้

ขณะที่โรงไฟฟ้าชุมชนทั่วไป จำนวน 600 เมกะวัตต์ ยังไม่สามารถเปิดทำประชาพิจารณ์ ที่จะต้องเชิญชวนประชาชน

มาร่วมประชุมจำนวนมากได้ อาจจะต้องเลื่อนการเปิดรับซื้อไฟฟ้าออกไปเป็นปี 2564 แทน

ส่วนโรงไฟฟ้านำร่องทั้ง 4 แห่ง ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) จะยังกำหนดจ่ายไฟฟ้าในปี 2563 เพื่อเป็นต้นแบบให้โรงไฟฟ้า Quick Win และโรงไฟฟ้าชุมชนทั่วไป

นายผจญ ศรีบุญเรือง รองประธานด้านพลังงานก๊าซชีวภาพ กลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หลักเกณฑ์การตั้งโรงไฟฟ้าชุมชนที่ออกมา ยังติดปัญหาหลายอย่าง ทั้งการกำหนดใบอนุญาตตั้งโรงงาน ผังเมือง ซึ่งจะทำให้หลายโครงการไม่สามารถยื่นข้อเสนอได้ตามเป้าหมายที่ 100 ได้ ซึ่งภาครัฐควรมีความยืดหยุ่นในเรื่อง

ดังกล่าว เพื่อให้โครงการสามารถเดินหน้าไปได้ ซึ่งเชื่อว่าคณะทำงานคงรู้แล้วว่า ปัญหาที่แท้จริงคืออะไร ที่จะนำไปปรับปรุงแล้ว

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 15 มีนาคม 2563

อาฟต้าดันการค้าไทยพุ่ง

พาณิชย์ชูความสำเร็จอาฟต้า ทำการค้าไทยพุ่ง 976% ดันอาเซียนสู่คู่ค้าเบอร์ 1 ของไทย

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า จากการติดตามสถิติการค้าระหว่างประเทศของไทย พบว่า อาเซียนเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทยมาอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่ความตกลงการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) มีผลบังคับใช้จนถึงปี 2562 การค้าไทยกับอาเซียนขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 976% การส่งออกขยายตัวกว่า 1,301% ส่วนการนำเข้าขยายตัว 713% ทั้งนี้ ปี 2535 ก่อนที่ AFTA จะมีผลใช้บังคับการค้าของไทยกับอาเซียนมีมูลค่าเพียง 10,031 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการส่งออก 4,490 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้า 5,541 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ปี 2562 มูลค่าการค้าไทยกับอาเซียนกลับเพิ่มขึ้นเป็น 107,928 ล้านเหรียญสหรัฐ เป็นการส่งออก 62,904 ล้านเหรียญสหรัฐ และนำเข้า 45,024 ล้านเหรียญสหรัฐ ได้ดุลการค้ากว่า 17,880 ล้านเหรียญสหรัฐ

นางอรมน กล่าวว่า เมื่อเปรียบเทียบสินค้าสำคัญที่ไทยขอใช้สิทธิ์ส่งออกไปอาเซียนก่อนมี FTA กับปี 2562 พบว่ารถยนต์และส่วนประกอบ ขยายตัวสูงสุดถึง 36,860% รองลงมา คือ เม็ดพลาสติก ขยายตัว 7,246% น้ำมันสำเร็จรูป ขยายตัว 6,575% ผลไม้สดแช่เย็นแช่แข็ง ขยายตัว 5,594% และเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ขยายตัว 4,854% สำหรับในปี 2562 ประเทศอาเซียนที่มีมูลค่าการค้ากับไทยสูงสุด ได้แก่ มาเลเซีย สัดส่วน 21.6% รองลงมาเวียดนาม สัดส่วน 16.3%  สิงคโปร์ สัดส่วน 15.3% และ อินโดนีเซีย สัดส่วน 15.1%

นางอรมน เสริมว่า ความตกลงการค้าเสรีอาเซียนยังช่วยส่งเสริมบรรยากาศการลงทุน ทำให้ไทยซึ่งตั้งอยู่ใจกลางของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้รับความสนใจจากนักลงทุนนานาประเทศเพิ่มขึ้น โดยในปี 2535 สถิติการลงทุนโดยตรงสะสมจากต่างประเทศของไทยอยู่ที่ 2,151 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเป็น 9,010 ล้านเหรียญสหรัฐ ในปี 2562 ขยายตัวกว่าร้อยละ 319 นอกจากนี้ ไทยยังได้ร่วมกับอาเซียนพัฒนากลไกการอำนวยความสะดวกทางการค้า อาทิ ระบบคลังข้อมูลการค้าของอาเซียน หรือ NTR ซึ่งรวบรวมข้อมูลอัตราภาษีศุลกากร กฎหมาย กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการค้าสินค้า การค้าบริการ พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ มาตรการทางการค้าของสมาชิกอาเซียน

ทั้งนี้ สามารถสืบค้นข้อมูลได้ผ่านทางเว็บไซต์คลังข้อมูลการค้าไทย www.thailandntr.com ระบบ ASSIST หรือ ASEAN Solutions for Investments, Services and Trade (website : assist.asean.org) ซึ่งเป็นช่องทางออนไลน์ให้นักธุรกิจอาเซียน สามารถยื่นข้อร้องเรียนและรับการตอบกลับเกี่ยวกับประเด็นอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนภายใต้กรอบอาเซียน รวมถึงระบบแลกเปลี่ยนหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า หรือ ATIGA Form D ผ่านระบบการเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ ณ จุดเดียวของอาเซียน ครบทั้ง 10 ประเทศ เป็นต้น

สำหรับความตกลง AFTA ประกอบด้วย สมาชิก 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ เวียดนาม กัมพูชา สปป.ลาว และเมียนมา ได้ตกลงเปิดตลาดการค้าสินค้าระหว่างกัน ตั้งแต่ปี 2536 โดยสมาชิกยกเลิกการเก็บภาษีศุลกากรระหว่างกันเกือบทุกรายการสินค้า ยกเว้นบางรายการเท่านั้น โดยในส่วนของไทยยังคงเก็บภาษีศุลกากรกับเนื้อมะพร้าวแห้ง เมล็ดกาแฟ ไม้ตัดดอก และมันฝรั่ง  5%

จาก https://www.mcot.net  วันที่ 15 มีนาคม 2563

กระทรวงพลังงานร่วมกู้วิกฤตโควิด-19 ปลดล็อคนำเอทานอลส่วนเกินผลิตเจลล้างมือ

กระทรวงพลังงานเดินหน้าร่วมต่อสู้ป้องกันไวรัสโคโรน่า โควิด-19 แพร่กระจาย โดยปลดล็อคให้กรมสรรพาสามิตสามารถนำเอทานอลส่วนเกินจากภาคพลังงานมาผลิตเจลล้างมือ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่าจะมีเจลล้างมือเพียงพอต่อความต้องการ

นายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากสถานการณ์ที่มีความต้องการใช้เอทานอลเพื่อนำมาผลิตเป็นเจลล้างมือที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงเกิดวิกฤตการระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 กระทรวงพลังงานได้ส่งหนังสือลงวันที่ 13 มีนาคม 2563 ไปยังกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลังเพื่อแจ้งให้พิจารณาอนุญาตนำเอทานอลไปผลิตเจลล้างมือได้ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากกระทรวงพลังงาน เนื่องจากกระทรวงพลังงานได้พิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นสถานการณ์เร่งด่วน และมีปริมาณเอทานอลสำรองเพียงพอในการใช้ในภาคพลังงานและเพียงพอสำหรับผลิตเจลล้างมือได้ โดยขอให้กรมสรรพสามิตมีการรายงานสรุปปริมาณที่อนุญาต เพื่อ กระทรวงพลังงาน จะได้ติดตามสถานการณ์การผลิตเอทานอลให้สมดุลต่อไป

​สำหรับกำลังการผลิตปัจจุบันของโรงงานเอทานอลที่นำมาใช้กับภาคพลังงาน มีกำลังการผลิตประมาณ 6.3 ล้านลิตรต่อวัน โดยมีจำนวนโรงงานเอทานอลทั้งสิ้น 26 โรงงาน ในขณะที่การใช้เพื่อนำไปผสมกับน้ำมันเบนซินอยู่ที่ 4.4 ล้านลิตรต่อวัน

​“ขอให้ประชาชนมั่นใจว่า กระทรวงพลังงานสามารถบริหารจัดการ นำกำลังการผลิตเอทานอลส่วนเกินมาใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อประชาชนต่อไป โดยไม่กระทบกับภาคพลังงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการกำกับดูแลให้มีการใช้เอทานอลเป็นไปตามวัตถุประสงค์เท่านั้น” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานกล่าว

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 13 มีนาคม 2563

เงินบาทเปิด 31.85 ลุ้นนโยบายฝั่งเอเชียเรียกเชื่อมั่นนักลงทุน

ค่าเงินบาทเปิดเช้าวันนี้ที่ระดับ 31.85 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าจากช่วงปิดสิ้นวันทำการก่อนที่ระดับ 31.57 บาทต่อดอลลาร์ กรอบเงินบาทวันนี้ 31.80-32.00 บาทต่อดอลลาร์   

ดร.จิติพล  พฤกษาเมธานันท์  นักวิเคราะห์ตลาดการเงินและการลงทุนบริษัทหลักทรัพย์ไทยพาณิชย์ระบุว่าสำหรับค่าเงินบาท วันนี้เชื่อว่าจะอ่อนค่าจากทิศทางของเงินดอลลาร์เช่นกัน จุดที่น่าสนใจต่อไปคือความคาดหวังของนโยบายการเงินสหรัฐในอนาคต ซึ่งในปัจจุบันตลาดคาดว่าเฟดจะต้องอัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบอย่างแน่นอน แต่ขณะเดียวกันก็ต้องจับตาทิศทางของนโยบายการเงินและการคลังของฝั่งเอเชียด้วย ว่าจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นของนักลงทุนให้กลับมาในตลาดทุนได้เร็วแค่ไหน

สำหรับในช่วงคืนที่ผ่านมาตลาดการเงินสหรัฐเข้าสู่ภาวะวิกฤตไปกับทั่วโลก โดยดัชนีหุ้น S&P500 ของสหรัฐปรับตัวลงถึง 9.5% ขณะที่บอนด์ยีลด์สหรัฐอายุ 10 ปี ก็ปรับตัวลงมาที่ระดับ 0.8% พร้อมกับราคาน้ำมันดิบ WTI ที่ร่วงลงแตะระดับ 30.90 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ไม่เว้นแม้แต่ราคาทองคำที่ทยอยปรับตัวลงมาที่ระดับ 1575 ดอลลาร์ต่อออนซ์

ซึ่งตลาดการเงินหลักที่พบกับผลกระทบแรงที่สุดคือบราซิล IBOVESPA ปรับตัวลงถึง 20% โดยติด Curcuit breaker เป็นวันที่สี่ของสัปดาห์ ขณะที่ค่าเงินเรอัลบราซิลปรับตัวลงถึง 5% ในวันเดียวด้วยเนื่องจากประธานาธิบดีบริซิลเป็นหนึ่งในผู้ติดไวรัสโคโรนาในรอบนี้

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 13 มีนาคม 2563

กลุ่ม KTIS ขายแอลกอฮอล์ราคาถูกสู้โคโรนา

กลุ่ม KTIS นครสวรรค์ สู้ศึกโคโรนา ส่งเอทานอลที่ผลิตจากโรงงานเข้าสู่ตลาด ราคาหน้าโรงงานลิตรละ 35 บาท หวังลดต้นทุนให้ราคาแอลกอฮอล์และเจลล้างมือปรับตัวลงสู่ระดับที่เหมาะสม มั่นใจแอลกอฮอล์ไม่ขาดแคลน

นายประพันธ์  ศิริวิริยะกุล  ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท  เกษตรไทย  อินเตอร์เนชั่นแนล  ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด(มหาชน)หรือกลุ่ม KTIS เปิดเผยว่า กลุ่ม KTIS พร้อมที่จะจำหน่ายแอลกอฮอล์ที่ผลิตโดยโรงงานเอทานอลของกลุ่มที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดนครสวรรค์  มีกำลังการผลิต 230,000 ลิตรต่อวันเข้าสู่ตลาด เพื่อบรรเทาผลกระทบจากความต้องการใช้แอลกอฮอล์ที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในช่วงที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา(โควิด-19) แม้ว่าความต้องการใช้จะสูงขึ้นจากช่วงเวลาปกติมาก แต่ก็มั่นใจว่า แอลกอฮอล์จะไม่ขาดแคลนอย่างแน่นอน

“กลุ่ม KTIS มีเจตนารมณ์ชัดเจนที่ต้องการจะช่วยเหลือสังคม โดยเราจะจำหน่ายแอลกอฮอล์ที่ผลิตจากโรงงานของ บริษัท เคทิส ไบโอเอทานอล จำกัด (KTBE)ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม ในราคาหน้าโรงงานลิตรละ 35 บาท ภายใต้แอลกอฮอล์ที่มีคุณภาพมาตรฐานสากล สามารถนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ฆ่าเชื้อโรค รวมถึงผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด และผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ ซึ่งเราเชื่อว่า จะช่วยลดปัญหาการขาดแคลนหรือความต้องการแอลกอฮอล์ในช่วงที่มีการระบาดของไวรัสโควิด-19 ได้อย่างแน่นอน”

ทั้งนี้ยอมรับว่า การใช้แอลกอฮอล์มีความต้องการเพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเกิดจากการที่ผู้ประกอบการเชิงพาณิชย์นำแอลกอฮอล์ไปผลิตเจลล้างมือจำนวนมาก ทำให้ราคาแอลกอฮอล์ปรับตัวสูงขึ้น เพราะเมื่อความต้องการสูงขึ้น ราคาก็ปรับเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ส่งผลกระทบไปถึงผู้บริโภคที่ต้องซื้อเจลล้างมือในราคาแพง ดังนั้น จึงเชื่อว่า การป้อนแอลกอฮอล์ในราคาหน้าโรงงานเข้าสู่ระบบของกลุ่ม KTIS จะช่วยทำให้ปัญหานี้คลายตัวลงได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนั้นกลุ่ม KTIS ยังเตรียมแอลกอฮอล์และเจลล้างมือ เพื่อบริจาคให้กับโรงพยาบาล และสถาบันการศึกษา จำนวน 30-40 แห่ง โดยกระจายทั้งในกรุงเทพฯและจังหวัดนครสวรรค์ ด้วยความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเจ้าพระยา

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 12 มีนาคม 2563

เกษตรฯ สั่งเข้ม 8 มาตรการรับภัยแล้ง

รมว.เกษตรฯ กำชับกรมส่งเสริมการเกษตรติดตามแก้ไขปัญหาภัยแล้งเร่งด่วน พร้อมตั้ง WARROOM ดำเนิน 8 มาตรการสำคัญ โดยเฉพาะเดือนมีนาคมถึงพฤษภาคม 2563 หลายพื้นที่อาจมีผลกระทบรุนแรงขึ้น

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ศูนย์ภัยพิบัติและแก้ปัญหาด้านการเกษตรประเมินว่าช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคมนั้น สถานการณ์ภัยแล้งอาจทวีความรุนแรงขึ้นเนื่องจากฤดูฝนปี 2562 มีฝนตกน้อยกว่าค่าเฉลี่ยร้อยละ 12 ทำให้ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติมีน้อย ประกอบกับปัจจุบันปริมาณน้ำใช้การในอ่างเก็บน้ำมีเพียงร้อยละ 22 ของความจุรวมทั้งหมด ทำให้พื้นที่ปลูกพืชเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ พื้นที่ปลูกไม้ผลนอกเขตชลประทานมีพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ 30 จังหวัด ประมาณ 370,000 ไร่ รวมถึงพื้นที่การเกษตรอื่น ๆ อาจได้รับผลกระทบให้เกิดความเสียหายเช่นกัน นอกจากนี้ กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าอาจเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม 2563 จึงกำชับทุกหน่วยงานติดตามเฝ้าระวังการใช้น้ำอย่างใกล้ชิด รวมทั้งป้องกันแก้ไขปัญหาผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น

ทั้งนี้ สั่งการให้กรมส่งเสริมการเกษตรดำเนินมาตรการเตรียมพร้อมรับมือภัยแล้ง โดยมี 8 มาตรการหลักได้แก่ เฝ้าระวังน้ำเค็มรุกพื้นที่สวน ประชาสัมพันธ์ “เกษตรร่วมใจรับมือภัยแล้ง ปี 2563”, ส่งเสริมการปลูกพืชใช้น้ำน้อย ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา ส่งเสริมปลูกพืชหลากหลายฤดูนาปรัง บูรณาการโครงการส่งเสริมการสร้างรายได้แก่เกษตรกร จัดกิจกรรมงานวันสาธิตและถ่ายทอดเทคโนโลยี และการให้บริการคลินิกเกษตรเคลื่อนที่ พร้อมกันนี้ให้จัดตั้งศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยแล้งด้านการเกษตรทั้งในระดับกรม เขต และจังหวัดเพื่อติดตามสถานการณ์ใกล้ชิดและเร่งให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติดูแลรักษาพืช โดยเฉพาะช่วงปลายฤดูแล้งนี้

นายอาชว์ชัยชาญ เลี้ยงประยูร รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า กำชับสำนักงานเกษตรกรุงเทพมหานคร สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรทั้ง 6 เขต และสำนักงานเกษตรจังหวัดทั่วประเทศให้ดำเนินการตามแผนปฏิบัติการอย่างเคร่งครัดแล้วรายงานต่อศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยแล้งด้านการเกษตร เพื่อกำหนดแก้ไขปัญหาและเตรียมพร้อมช่วยเหลือเกษตรกรอย่างเร่งด่วน

สิ่งสำคัญที่ รมว. เกษตรฯ กำชับ คือ ให้ข้อมูล/ความรู้/ข้อปฏิบัติ/คำแนะนำในการดูแลรักษาผลผลิตและชนิดพืชที่เกษตรกรเพาะปลูกตลอดช่วงฤดูแล้ง การให้น้ำพืชที่เหมาะสม พร้อมขอความร่วมมือใช้น้ำอย่างประหยัดและรู้คุณค่าผ่านสื่อ/ช่องทางต่าง ๆ เป็นต้น สำหรับการดำเนินงานในพื้นที่ได้มีการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการแก้ไขปัญหาน้ำ เพื่อการเกษตรผ่านกลไกคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญและแก้ไขปัญหาภาคการเกษตรระดับจังหวัด (CoO) และระดับอำเภอ (OT) รวมทั้งให้คำแนะนำเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การช่วยเหลือเกษตรกรกรณีประสบภัยพิบัติด้วย.

จาก https://tna.mcot.net  วันที่ 12 มีนาคม 2563

ซีพีเอฟ "ปันน้ำปุ๋ย" ช่วยเกษตรกรบรรเทาภัยแล้ง

ซีพีเอฟ เดินหน้าช่วยเหลือเกษตรกรรอบฟาร์มและโรงงาน ร่วมบรรเทาผลกระทบจากภัยแล้ง สานต่อ”โครงการปันน้ำปุ๋ยให้ชุมชน" อย่างต่อเนื่อง ช่วยลดต้นทุนค่าน้ำและค่าปุ๋ย เพิ่มประสิทธิภาพผลผลิตและรายได้ของเกษตรกร พร้อมเดินหน้าโครงการระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน

นายสมพร เจิมพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า สถานการณ์ภัยแล้งปีนี้ ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเกษตรกร ทำให้ขาดแคลนน้ำใช้ในการอุปโภคบริโภค ซีพีเอฟจึงเดินหน้าให้ความช่วยเหลือเกษตรกร ผ่านโครงการ “ปันน้ำปุ๋ยให้ชุมชน” ที่ทำมาตั้งแต่ปี 2547 โดยปันน้ำที่ผ่านการบำบัดจากระบบผลิตก๊าซชีวภาพ ซึ่งมีมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนดให้กับชุมชนภายนอก เพื่อใช้ในการเพาะปลูกปัจจุบันให้ความช่วยเหลือเกษตรกรจากทุกภาคทั่วประเทศรวม 180 ราย ครอบคลุมพื้นที่เพาะปลูกประมาณ 3,170 ไร่ โดยเกษตรกรสามารถนำน้ำปุ๋ยไปใช้ในไร่อ้อย ไร่ข้าวโพด มันสำปะหลัง ยูคาลิปตัส สวนผลไม้ และแปลงผักสวนครัว ฯลฯ ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากภาวะฝนทิ้งช่วงและภัยแล้ง

โครงการ“ปันน้ำปุ๋ยให้ชุมชน” ช่วยเกษตรกรบริหารจัดการผลผลิตและรายได้อย่างมีประสิทธิภาพ เนื่องจากน้ำปุ๋ยมีธาตุอาหารที่เหมาะสมต่อการเติบโตของพืช ทำให้ผลผลิตมีคุณภาพที่ดีและมีผลผลิตเพิ่มขึ้น และยังช่วยประหยัดต้นทุนค่าน้ำ ลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้ถึง 40-50 % โดยในปี 2561 ซีพีเอฟปันน้ำปุ๋ยช่วยเหลือเกษตรกรไปรวม 380,000 ลูกบาศก์เมตร และในปี 2562 ปันน้ำปุ๋ยให้เกษตรกรรวม 465,000 ลูกบาศก์เมตร นอกจากนี้ เน้นให้ความสำคัญกับการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy)

นอกจากนี้ ซีพีเอฟยังส่งเสริมและให้ความสำคัญกับการใช้พลังงานทดแทน ในปี 2563 บริษัทฯเดินหน้าโครงการระบบผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดิน (โซล่าร์ฟาร์ม) โดยขณะนี้ฟาร์มสุกรของซีพีเอฟอยู่ระหว่างการติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์บนพื้นดินนำร่องใน 16 ฟาร์ม ขนาดกำลังการผลิตติดตั้งรวม 3.3 เมกะวัตต์ และมีแผนขยายการดำเนินการติดตั้งไปยังฟาร์มสุกรส่วนที่เหลือของซีพีเอฟต่อไป สอดรับกับนโยบายการดำเนินธุรกิจและส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน ซึ่งปัจจุบันสัดส่วนการใช้พลังงานทดแทนของบริษัทอยู่ที่ 26 %

จาก  https://www.thansettakij.com วันที่ 11 มีนาคม 2563

ชาวบ้าน 21 ชุมชนแม่สอด สุดทนเผาไร่อ้อยส่งผลกระทบสุขภาพ จี้จัดการเด็ดขาด

เมื่อเวลา 14.00 น.   วันที่  10 มีนาคม  2563  ที่ศูนย์แสดงสินค้า และศูนย์ประชุมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว  อ.แม่สอด จ.ตาก ชาวบ้าน  21 ชุมชนในเขตเทศบาลนครแม่สอด โดยส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุประมาณ 80 คน ร่วมกันจัดทำเวทีประชาคม แสดงถึงปัญหาความเดือดร้อนต่างๆ มีการถือป้ายที่มีข้อความต่อต้านการเผาไร่ ต่างยกมือ แสดงถึงความเดือดร้อนของชาวชุมชน ในการร่วมเวทีเรื่องผลกระทบจากหมอกควัน PM.2.5 ในกรณี การเผาไร่อ้อย และเผาพื้นที่การเกษตร เผาป่า นอกจากนี้ยังมีผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาลนครแม่สอด และเจ้าหน้าที่จากกองสาธารณสุข ,กองอานามัย และสิ่งแวดล้อมไปทำความเข้าใจกับประชาชน

ดต.ประทีป สีลา ชาวบ้านในเขตเทศบาลนครแม่สอดที่ได้รับผลกระทบจากการเผ่าไร่อ้อย กล่าวว่า การเผ่าไร่อ้อยและเผ่าพื้นที่การเกษตร ส่งผลกระทบกับชาวชุมชนในเขตเทศบาลโดยเฉพาะผู้สูงอายุ ที่มีปัญหาระบบทางเดินหายใจ จึงอยากให้ทางเทศบาลนครแม่สอด ช่วยแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการกับผู้ยังฝ่าฝืน ที่ท้าทายมาตรการห้ามเผาของจังหวัดจังหวัดตากระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 63 จนถึงวันที่ 30 เมษายน 2563

จาก  https://www.banmuang.co.th วันที่ 10 มีนาคม 2563

เงินบาทปิด31.48 บาทต่อดอลลาร์ฯ รับอานิสงส์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ

เงินบาทปิดตลาดในประเทศที่ระดับ 31.48 บาทต่อดอลลาร์ฯ ใกล้เคียงกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 31.51 บาทต่อดอลลาร์ฯ ทั้งนี้ แม้เงินบาทและสกุลเงินอื่นๆในเอเชียจะฟื้นตัวกลับมาได้ในวันนี้

 ศูนย์วิจัยกสกรไทยระบุว่ามีอานิสงส์จากการเตรียมใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจขนานใหญ่ของสหรัฐฯ (ซึ่งอาจจะมีการลดภาษีเงินเดือน และมาตรการลดผลกระทบจาก COVID-19 ในด้านอื่นๆ) อย่างไรก็ดี กรอบการฟื้นตัวของเงินบาทยังเป็นไปอย่างจำกัด เนื่องจากยังคงมีแรงกดดันต่อเนื่องจากสัญญาณเงินทุนไหลออก โดยในวันนี้นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทย 7,237.94 ล้านบาท และลดการถือครองพันธบัตรไทย 2,397 ล้านบาท

ค่าเฉลี่ย forward points ของธุรกรรมระยะ 3 เดือนจากข้อมูลของธนาคาร 10 แห่งสำหรับผู้ประกอบการที่มีรายได้ 50-200 ล้านบาทต่อปี รายงานข้อมูล ณ 10.00 น. วันที่ 10 มี.ค. 2563 โดยธปท. อยู่ที่ -4.41 สำหรับผู้ส่งออก (ขายเงินดอลลาร์ฯ ล่วงหน้า) และที่ 2.07 สำหรับผู้นำเข้า (ซื้อเงินดอลลาร์ฯ ล่วงหน้า)

สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันพรุ่งนี้ คาดไว้ที่ 31.30-31.60 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยนอกจากจะต้องติดตามสถานการณ์การระบาดของไวรัสโควิด-19 แล้ว ข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ประกอบด้วย ข้อมูลเงินเฟ้อที่วัดจากดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนก.พ.

 จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 10 มีนาคม 2563

ก.พลังงานเล็งนำเอทานอลส่วนเกินใช้ทางการแพทย์รับมือโคโรนา

กระทรวงพลังงานเตรียมนำเอทานอลส่วนเกิน 1 ล้านลิตรต่อวันจาก 26 โรงงานมาใช้ทางการแพทย์ หลังสรรพสามิตปลดล็อกเงื่อนไข ยันไม่กระทบแผนส่งเสริม E20

นายสนธิรัตน์  สนธิจิรวงศ์  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงกำลังดำเนินการเรื่องการนำเอทานอลส่วนเกินประมาณ 1 ล้านลิตรต่อวันจาก 26  โรงงานผู้ผลิตเอทานอล  มาใช้ทางการแพทย์เพื่อนำไปผลิตเป็นเจลล้างมือสำหรับป้องกัน และควบคุมไวรัสโคโรนา  หรือโควิด19 หลังจากที่กรมสรรพสามิตได้มีการปลดล็อกเงื่อนไขผ่อนผันให้สามารถนำเอทานอลไปบริจาคได้  เพื่อใช้ในการผลิตเจลล้างมือ และมีการผ่อนผันให้นำเอทานอลไปขายให้กับผู้ผลิตเป็นแอลกอออลล์ทางการแพทย์

ทั้งนี้  การดำเนินการดังกล่าวกระทรวงพลังงานจะเป็นผู้ควบคุมปริมาณเอทานอลส่วนเกินจากทั้ง 26 โรงงานผู้ผลิตว่าแต่ละโรงงานจะสามารถขายได้ในปริมาณเท่าใด  เพราะจะต้องบริหารจัดการให้สมดุลกับการนำมาใช้ทางด้านพลังงานด้วย  โดยจะเป็นอีกหนึ่งบทบาทของกระทรวงพลังงานในการเข้ามาดูแลเอทานอลที่จะใช้ในการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเอทานอล  การนำเข้าช่วงนี้ก็ลำบาก  เนื่องจากทุกประเทศต่างก็ต้องการแอลกอฮอล์แทบทั้งหมด  โดยไทยจะมีแอลกอฮอล์ที่เป็นเอทอนอลจากภาคพลังงานเข้าไปเสริมในทางการแพทย์

“เดิมทีเอทานอลที่ผลิตได้จะมีข้อกำหนดให้ส่งขายให้กับโรงกลั่นเท่านั้น  แต่เมื่อกรมสรรพาสามิตปลดล็อก  และให้กระทรวงพลังงานเป็นผู้ดูแลเราก็จะเริ่มขายได้ทันที  เพื่อเป็นวัตถุดิบในการผลิตแอลกออฮอล์  และเจลล้างมือที่ใช้ในวงการแพทย์”

อย่างไรก็ดี  เชื่อว่าปัญหาเรื่องภัยแล้งจะไม่ส่งผลกระทบต่อการผลิตเอทานอลอย่างแน่นอน  เพราะเอทานอลส่วนใหญ่ได้มาจากไซรับ  โมลาส มันเส้นซึ่งมีอยู่แล้ว  รวมถึงจะไม่กระทบต่อแผนการส่งเสริมการใช้งาน E20 โดยที่กระทรวงพลังงานจะดูจังหวะของความเหมาะสมของการประกาศนโยบาย E20  ด้วย  โดยแนวโน้มคาดว่าอาจจะเร็วกว่าไตรมาสที่ 3 เนื่องจากขณะนี้ต้องบริหารควบคู่หลายเรื่อง  แต่เป้าหมายที่สำคัญก็คือ  มันสำปะหลังจะต้องราคาดี 

จาก  https://www.thansettakij.com  วันที่ 10 มีนาคม 2563

ถกเคาะดีเดย์เลิกขายโซฮอล์91 เตรียมรับมือภัยแล้งกระทบเอทานอลตึงตัว

กรมธุรกิจพลังงาน เดินหน้าตามแผนน้ำมัน ผลักดันแก๊สโซฮอล์ออี20 เป็นน้ำมันพื้นฐาน ยกเลิกแก๊สโซฮอล์ 91ขณะที่โรงงานเอทานอลห่วงภัยแล้งฉุดปริมาณอ้อยฯ- มันฯวูบ เร่งปรับแผนรับมือหวั่นเอทานอลตึงตัว

น.ส.นันธิกา ทังสุพานิช อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน(ธพ.) เปิดเผยว่า  เตรียมหารือร่วมกับผู้ค้าน้ำมัน โรงกลั่น ผู้ผลิตและผู้ค้าเอทานอล รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง  ถึงแนวทางการกำหนดให้น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี20  เป็นน้ำมันเบนซินพื้นฐานของประเทศ ตามนโยบายของนายสนธิรัตน์ สนธิจรวงศ์ รมว.พลังงานและแผนน้ำมัน ซึ่งวางเป้าหมายจะประกาศใช้ในช่วงไตรมาส 3 ของปีนี้เพื่อยกระดับราคาอ้อยและมันสำปะหลังที่เป็นพืชหลักในการนำมาผลิตเอทานอล

ทั้งนี้การกำหนดให้แก๊สโซฮอล์อี20  เป็นน้ำมันพื้นฐาน จะต้องมากำหนดวันให้ชัดเจน  เพราะลดการจำหน่ายน้ำมัน1 ชนิดของกลุ่มเบนซินลง   ซึ่งทางสมาคมผู้ค้าปลีกน้ำมันรายย่อยได้ส่งหนังสือมาที่กรมฯ ขอให้ลดประเภทน้ำมันลงเพื่อความสะดวกในการจำหน่ายน้ำมันในปั๊ม เพราะปัจจุบันไทยมีหัวจ่ายค่อนข้างมาก โดยความเห็นของผู้ค้าก็มีทั้งให้เลิกขายแก๊สโซฮอล์ 91 บางส่วนก็ให้เลิกแก๊สโซฮอล์ 95  แต่ทั้งหมดก็จะต้องมาหารือร่วมกัน

สำหรับปัญหาภัยแล้ง ที่อาจส่งผลกระทบต่อปริมาณเอทานอลลดลงเนื่องจากผลผลิตอ้อยและมันสำปะหลังที่จะนำมาเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตเอทานอลมีผลผลิตลดลง  ต้องพิจารณาร่วมกันถึงปริมาณที่ชัดเจนก่อนที่จะประกาศเดินหน้า รวมถึงการพิจารณาในส่วนของโรงกลั่นน้ำมันที่ต้องบริหารจัดการน้ำมันเบนซินพื้นฐาน(Gasoline Base หรือ G-Base)  ที่ต้องให้สมดุลเพราะโรงกลั่นน้ำมันผลิต G-base 1 หรือน้ำมันพื้นฐานสำหรับผลิตแก๊สโซฮอล์ 91 เป็นส่วนใหญ่ หากยกเลิกขายแก๊สโซออล์ 91 โรงกลั่นต้องปรับกระบวนการผลิตให้สอดรับ เป็นต้น

ด้านนายพิพัฒน์   สุทธิวิเศษศักดิ์ นายกสมาคมการค้าและผู้ผลิตเอทานอลไทย กล่าวว่า  ผลผลิตอ้อยฤดูหีบปี 62/63 ที่กำลังทยอยปิดหีบมีแนวโน้มว่าปริมาณอ้อยของไทยจะลดลงจากฤดูหีบปีก่อนหน้าประมาณ 55 ล้านตันหรือผลผลิตอ้อยจะอยู่ที่ประมาณ 74-75 ล้านตันซึ่งจะส่งผลกระทบต่อปริมาณกากน้ำตาล(โมลาส) ที่จะนำมาผลิตเอทานอลลดตามไปด้วยคาดว่าจะมีโมลาสประมาณ 3 ล้านตันจากปีก่อนที่ผลิตรวมได้ 4.6 ล้านตัน ซึ่งหากมีการบริการจัดการยังเชื่อมั่นว่าจะยังสามารถเดินหน้านโยบายรัฐตามแผนได้

“ไทยมีการผลิตเอทานอลได้ 1,650 ล้านลิตรต่อปี มาจากโมลาส 70% และมันสำปะหลัง 30% ขณะที่การใช้ก็จะอยู่ที่ราว 1,000-1,500 ล้านลิตรต่อปีขึ้นอยู่กับภาวะเศรษฐกิจแต่ปริมาณอ้อยและมันสำปะหลังที่ลดลงเพราะภัยแล้งก็อาจจะดูเหมือนจะตึงๆ แต่โรงงานน้ำตาลบางส่วนสามารถดึงน้ำตาลทรายดิบมาผลิตได้ ประกอบกับปีนี้มองว่าเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากเชื้อไวรัสโคโรนา(โควิด-19) ผู้ค้าน้ำมันเองก็มองว่ายอดใช้น้ำมันน่าจะลดต่ำลงเช่นกันก็จะทำให้เกิดความสมดุลระหว่างซัพพลายกับดีมานด์ได้”นายพิพัฒน์กล่าว

นอกจากนี้กระทรวงพลังงานจะมีการยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันกลุ่มเบนซินลง 1 ชนิดซึ่งจากการหารือส่วนใหญ่ สนับสนุนให้ยกเลิกแก๊สโซฮอล์ 91 เพราะปัจจุบันรถ 30% สามารถใช้แก๊สโซฮออล์อี 20 ได้หมด  และมีจำหน่ายทั่วประเทศแล้ว ดังนั้นรัฐสามารถใช้กลไกกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงมาบริหารส่วนต่างราคาจำหน่ายได้ว่าจะให้ไปเร็วมากน้อยเพียงใดหากพบว่าปริมาณเอทานอลอาจตึงตัวระยะแรกก็ไม่ต้องทำราคาแก๊สโซฮอล์อี20 จูงใจการใช้ที่มากเกินไป เป็นต้น  อย่างไรก็ตามสมาคมฯได้มอบหมายให้โรงงานเอทานอลได้ทบทวนแผนการผลิตเพื่อที่จะทำให้เอทานอลไม่ขาดแคลนในการขับเคลื่อนนโยบายรัฐให้เป็นไปตามเป้าหมาย

จาก  https://www.posttoday.com วันที่ 1 มีนาคม 2563