|
ข่าวเศรษฐกิจเกี่ยวกับอ้อยและน้ำตาล (เดือนมีนาคม 2566] |
รองปลัดฯร่วมถก คกก.น้ำตาลทราย พิจารณา4ประเด็น แก้ไขปัญหาการค้า
นายสุรเดช สมิเปรม รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการน้ำตาลทราย ครั้งที่ 3/2566 ในฐานะกรรมการ (ผู้แทนกระทรวงเกษตรฯ) ที่ห้องประชุม 1601 ชั้น 16 กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ สนามบินน้ำ โดยมี นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นประธานการประชุมฯ
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันหารือและพิจารณาในประเด็น 1.บริษัท แปซิฟิก ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด ขอนำเข้าน้ำตาลทรายตามความตกลงกันค้าสินค้าของอาเซียน (ATIGA) 2.ขอเพิ่มชนิดสินค้าผลิตเพื่อการส่งออกปี 2566 3.การปรับปรุงบัญชีน้ำตาลทรายและประเด็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และ 4.ประมาณการรายจ่ายโครงการติดตามสถานการณ์อ้อย น้ำตาลทราย อุตสาหกรรมต่อเนื่องการจำหน่ายน้ำตาลทรายภายในประเทศ และการส่งออกน้ำตาลทรายให้กับประเทศคู่ค้า ประจำปี 2567
จาก https://www.naewna.com วันที่ 30 มีนาคม 2566
เกษตรฯร่วมประชุมคกก. ถก2ประเด็นอ้อย-น้ำตาล
นายสุรเดช สมิเปรม รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการบริษัท บริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด ครั้งที่ 2/2566ในฐานะกรรมการ (ผู้แทนกระทรวงเกษตรฯ) ที่ห้องประชุม บริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด อาคารพญาไทพลาซ่า ชั้น 32 เขตราชเทวี กทม.โดยมี นางวรวรรณชิตอรุณ ผอ.สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมฯ
ทั้งนี้ ที่ประชุมได้ร่วมกันพิจารณาใน 2 ประเด็น ประกอบด้วย 1.ขออนุมัติจ่ายเงินค่าสมาชิกรับข่าวและข้อมูลน้ำตาลทรายกับบริษัท Czarnikow Group Limited และ 2.ขอความเห็นชอบกำหนดวันประชุม วันปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้นและระเบียบวาระประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2565 ครั้งที่ 40
จาก https://www.naewna.com วันที่ 29 มีนาคม 2566
ชาวไร่อ้อย เฮ! ครม. ไฟเขียวจ่ายราคาอ้อยขั้นต้น ปี 65/66 ที่ 1,080 บาท/ตัน
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนดราคาอ้อยขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2565/66 ทั้ง 9 เขตคำนวณราคาอ้อยราคาเดียวกันในอัตรา 1,080 บาทต่อตันอ้อย ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. และกำหนดอัตราขึ้น/ลงของราคาอ้อย เท่ากับ 64.80 บาทต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส. และผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น 462.86 บาทต่อตันอ้อย ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ เพื่อที่ชาวไร่อ้อยจะได้นำเงินไปเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการเพาะปลูก การบำรุงรักษาอ้อย และการดำรงชีพต่อไป
นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) กล่าวว่า หลังจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนดราคาอ้อยขั้นต้น ปี 2565/66 แล้ว สอน. จะดำเนินการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับใช้และโรงงานน้ำตาลจะได้จ่ายค่าอ้อยให้แก่ชาวไร่อ้อยต่อไป ทั้งนี้ การกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2565/66 เป็นไปตามมติคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านการรับฟังความคิดเห็นจากชาวไร่อ้อย โรงงานน้ำตาล และผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ทั้งนี้ ในส่วนประเด็นข้อพิพาทกรณีน้ำตาลภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) ระหว่างประเทศไทยกับบราซิลนั้นไม่ได้มีประเด็นเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการในการคำนวณราคาอ้อยขั้นต้น ดังนั้น การกำหนดราคาอ้อยขั้นต้นและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2565/66 จึงไม่ขัดกับข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศแต่อย่างใด แต่เป็นการรักษาประโยชน์ให้กับชาวไร่อ้อย รวมทั้งเป็นการสร้างหลักประกันอย่างพอเพียงและเหมาะสมให้กับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทย
จาก https://www.industry.go.th วันที่ 17 มีนาคม 2566
ครม.เคาะ! ราคาอ้อยขั้นต้น ปี 65/66 ราคาตันละ 1,080 บาท
ครม.เคาะ! ราคาอ้อยขั้นต้น และผลตอบแทนการผลิต และจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 65/66 ราคา 1,080 บ./ตันอ้อย
นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 ว่า ครม. เห็นชอบกำหนด "ราคาอ้อย" ขั้นต้น และผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2565/2566 ทั้ง 9 เขต
ครม.ไฟเขียว! 716 ล้านบาท ประกันรายได้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปี 65/66
ชาวไร่อ้อยเฮ! เคาะจ่ายราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ปี 64/65 ตันละ 1,106.40 บาท
1.ราคาอ้อยขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2565/2566
ในอัตรา 1,080 บาทต่อตันอ้อย ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. (หรือเท่ากับร้อยละ 91.79 ของประมาณการราคาอ้อยเฉลี่ยทั่วประเทศ 1,110.66 บาทต่อตันอ้อย) และกำหนดอัตราขึ้นลง ของราคาอ้อยเท่ากับ 64.80 บาทต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส.
2.ผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2565/2566 เท่ากับ 462.86 บาทต่อตันอ้อย
จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 14 มีนาคม 2566
สศก.จัดการชีวมวลอ้อย ชวนลดเผาแก้ปัญหาฝุ่นPM2.5
นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กล่าวว่า ได้มีการศึกษาวิจัยการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทดแทนการเผา เพื่อช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมตามแนวทางขับเคลื่อนภาคเกษตรด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG Model หรือการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว โดยสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตรได้ทำการศึกษาเรื่อง การบริหารจัดการชีวมวลอ้อยที่เหมาะสมของเกษตรกร เนื่องจากอ้อย มีปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการเผาใบอ้อยและยอดอ้อยที่เป็นวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ก่อให้เกิดปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM2.5)
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการชีวมวลจากใบและยอดอ้อย หลังการเก็บเกี่ยวของเกษตรกร จัดเก็บข้อมูลสอบถามเกษตรกรที่ตัดอ้อยสดทั่วประเทศ ปี 2564/65 กลุ่มตัวอย่าง 1,080 ราย จากภาคเหนือ 3 จังหวัด (เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร และนครสวรรค์) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 จังหวัด (สุรินทร์ นครราชสีมา ขอนแก่น กาฬสินธุ์ และชัยภูมิ) ภาคกลาง 4 จังหวัด (อุทัยธานี กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และสิงห์บุรี) และภาคตะวันออก 1 จังหวัด (สระแก้ว) พร้อมทั้งเก็บข้อมูลการสนทนากลุ่มเกษตรกรเกี่ยวกับการจัดการใบและยอดอ้อย ในพื้นที่ 8 จังหวัด กลุ่มตัวอย่างรวม 80 ราย ผลการศึกษาพบว่า เกษตรกรชาวไร่อ้อย ร้อยละ 64.17 ใช้แรงงานคนตัดอ้อยสด ส่วนที่เหลือร้อยละ 35.83 เกษตรกรใช้รถตัดอ้อยสด โดยหลังจากตัดอ้อยสดเรียบร้อยแล้ว มีการจัดการชีวมวลอ้อยหลังจากการเก็บเกี่ยวด้วยวิธีนำใบและยอดอ้อยไปคลุมดินหรือไถกลบในช่วงเตรียมดินเพื่อปลูกอ้อยในปีถัดไป คิดเป็นร้อยละ 50.83 วิธีเผาใบและยอดอ้อยทิ้ง คิดเป็นร้อยละ 32.87 วิธีขายใบและยอดอ้อยส่งขายโรงไฟฟ้าชีวมวล คิดเป็นร้อยละ 13.43 ส่วนที่เหลือร้อยละ 2.87 เกษตรกรใช้วิธีขายเพื่อนำไปแปรรูปเป็นปุ๋ย
สำหรับข้อเสนอแนะแนวทางในการส่งเสริมการบริหารจัดการชีวมวลอ้อยที่เหมาะสมของเกษตรกรควรดำเนินการ 1.ผลักดันการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงเครือข่ายวิสาหกิจชุมชน/กลุ่มเกษตรกร/สหกรณ์/สมาคม เพื่อบริหารจัดการชีวมวลอ้อยที่เหมาะสมกับพื้นที่ และบริบทชุมชน 2.กำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ สำหรับการบริหารจัดการชีวมวลอ้อย จากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน โรงงานน้ำตาล โรงไฟฟ้าชีวมวล สมาคมชาวไร่อ้อย เกษตรกรชาวไร่อ้อย และชุมชน 3.สนับสนุนและส่งเสริมการบริหารจัดการชีวมวลอ้อยที่ยั่งยืน และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และ 4.บูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน กำหนดบทบาทให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ เพื่อให้เกิดการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
จาก https://www.naewna.com วันที่ 13 มีนาคม 2566
เคาะแล้ว!! ครม. เห็นชอบราคาขั้นสุดท้ายปี 64/65 ที่ 1,106.40 บาท/ตัน คาดราคาอ้อยขั้นต้น ปี 65/66 เข้าที่ประชุม ครม. สัปดาห์หน้า
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 เห็นชอบกำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ปี 2564/65 ราคาเฉลี่ยทั่วประเทศในอัตราที่ 1,106.40 บาทต่อตันอ้อย ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. และกำหนดอัตราขึ้น/ลงของราคาอ้อย เท่ากับ 66.38 บาท ต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส. และผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย 474.17 บาทต่อตันอ้อย ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากราคาอ้อยขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2564/65 ที่ราคา 1,070 บาท ซึ่งการที่ชาวไร่อ้อยมีรายได้เพิ่มขึ้น 36.40 บาท/ตันอ้อย จะสามารถเพิ่มกำลังซื้อและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้อีกทางหนึ่ง
นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) กล่าวว่า จากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ปี 2564/65 แล้ว หลังจากนี้ สอน. จะดำเนินการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป อย่างไรก็ตาม จากที่ประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ได้มีมติรับรองและเห็นชอบราคาอ้อยขั้นต้นปีการผลิต 2565/66 ที่ราคา 1,080 บาทต่อตัน ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. อัตราขึ้นลง อยู่ที่ 64.80 บาทต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส และผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย ที่ราคา 462.86 บาทต่อตัน ซึ่งคาดว่าจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ในสัปดาห์หน้า ก่อนที่จะประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับใช้ และโรงงานน้ำตาลจะได้จ่ายค่าอ้อยให้แก่ชาวไร่อ้อย เพื่อที่ชาวไร่อ้อยจะได้นำเงินไปเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการเพาะปลูก การบำรุงรักษาอ้อย และการดำรงชีพต่อไป
จาก https://www.industry.go.th วันที่ 9 มีนาคม 2566
ชาวไร่อ้อยเฮ! เคาะจ่ายราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ปี 64/65 ตันละ 1,106.40 บาท
ชาวไร่อ้อยเฮ! ครม. เห็นชอบราคาอ้อยขั้นสุดท้ายปี 64/65 ตันละ 1,106.40 บาท คาดราคาอ้อยขั้นต้น ปี 65/66 เข้าที่ประชุม ครม. สัปดาห์หน้า
นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เปิดเผยว่า มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2566 เห็นชอบกำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ปี 2564/65 ราคาเฉลี่ยทั่วประเทศในอัตราที่ 1,106.40 บาทต่อตันอ้อย ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. และกำหนดอัตราขึ้น/ลงของราคาอ้อย เท่ากับ 66.38 บาท ต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส. และผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย 474.17 บาทต่อตันอ้อย ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ซึ่งเพิ่มขึ้นจากราคาอ้อยขั้นต้น ฤดูการผลิตปี 2564/65 ที่ราคา 1,070 บาท ซึ่งการที่ชาวไร่อ้อยมีรายได้เพิ่มขึ้น 36.40 บาท/ตันอ้อย จะสามารถเพิ่มกำลังซื้อและกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศได้อีกทางหนึ่ง
นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม รักษาราชการแทนเลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) กล่าวว่า จากที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนด ราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ปี 2564/65 แล้วหลังจากนี้ สอน. จะดำเนินการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับใช้ต่อไป
อย่างไรก็ตาม จากที่ประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2566 ได้มีมติรับรองและเห็นชอบ ราคาอ้อยขั้นต้น ปีการผลิต 2565/66 ที่ราคา 1,080 บาทต่อตัน ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส. อัตราขึ้นลง อยู่ที่ 64.80 บาทต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส และผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย ที่ราคา 462.86 บาทต่อตัน
คาดว่าจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบ ในสัปดาห์หน้า ก่อนที่จะประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับใช้ และโรงงานน้ำตาลจะได้จ่ายค่าอ้อยให้แก่ชาวไร่อ้อย เพื่อที่ชาวไร่อ้อยจะได้นำเงินไปเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการเพาะปลูก การบำรุงรักษาอ้อย และการดำรงชีพต่อไป
จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 9 มีนาคม 2566
ผู้ตรวจสมพลฯ ลงพื้นที่สุรินทร์ ตรวจเยี่ยมโรงงานน้ำตาลในพื้นที่ พร้อมแจ้งนโยบาย MIND ของกระทรวงอุตสาหกรรม
ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่สุรินทร์ ตรวจเยี่ยมโรงงานน้ำตาลในพื้นที่ พร้อมแจ้งนโยบาย MIND ของกระทรวงอุตสาหกรรม มุ่งยกระดับ อุตสาหกรรมดีอยู่คู่ชุมชนอย่างยั่งยืน
เมื่อวันที่ 3 มีนาคม 2566 นายสมพล โนดไธสง ผู้ตรวจราชการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ พร้อมด้วยนางอิฐสราชัย ลำพา อุตสาหกรรมจังหวัดสุรินทร์ และคณะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยม บริษัท น้ำตาลสุรินทร์ จำกัด ประกอบกิจการ ผลิตน้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายขาว หรือน้ำตาลทรายขาวให้บริสุทธิ์ กำลังการผลิต 36,000 ตันอ้อย/วัน
ผู้ตรวจสมพลฯ ได้แจ้งนโยบาย MIND ของกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งมุ่งยกระดับ อุตสาหกรรมดีอยู่คู่กับชุมชนอย่างยั่งยืน ทั้ง 4 มิติ ซึ่งสถานประกอบการดังกล่าวได้มีการดำเนินงานครอบคลุมทั้ง 4 มิติ คือ มิติที่ 1 ความสำเร็จทางธุรกิจ มีการปรับปรุงกระบวนการผลิตโดยใช้หุ่นยนต์ (Robot) ช่วยในกระบวนการผลิต โดยเริ่มใช้ในส่วนของคลังสินค้า มิติที่ 2 การดูแลสังคมโดยรอบโรงงานมีการส่งเสริมการทำงานร่วมกันระหว่างสถานประกอบการ ชุมชน และสังคม ให้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นมิตร เพื่อกระตุ้นให้เกิดการประกอบกิจการที่ดี มีโครงการดูแลสังคมและชุมชน (CSR) โดยมีกระบวนการที่ยั่งยืน อาทิ โครงการส่งเสริมอาชีพปลูกไผ่กิมซุง ซึ่งเป็นปีที่ 3 ระยะโครงการต่อเนื่อง 17 ปี จนได้รับ CSR-DIW Continuous 3 ปีซ้อน ปัจจุบันพื้นที่รอบโรงงานมีเรื่องร้องเรียนเท่ากับศูนย์
มิติที่ 3 การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมสู่อุตสาหกรรมสีเขียว เพิ่มโอกาสทางธุรกิจ มุ่งสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน ตอบโจทย์ไทยและประชาคมโลก ดำเนินการตามกรอบ EIA ไม่มีเรื่องร้องเรียนจากชุมชน ด้วยการใช้รถตัดอ้อย เพื่อช่วยลดการเผาไร่อ้อย และลดมลพิษ
และมิติที่ 4 การกระจายรายได้ให้กับประชาชน มีการรักษาวิถีชีวิต สร้างประโยชน์ พัฒนาชุมชนรอบโรงงานอุตสาหกรรม โดยมุ่งเน้นการสร้างงานสร้างอาชีพ ส่งเสริมธุรกิจเพื่อสังคม ซึ่งมากกว่าร้อยละ 81 ของพนักงานทั้งหมดเป็นคนในชุมชนรอบโรงงานและในจังหวัดสุรินทร์
นอกจากนี้ ผู้ตรวจฯ ได้เน้นย้ำให้นำนโยบายดังกล่าวไปสู่การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง สถานประกอบการมีการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมและชุมชนมีความเข้มแข็ง เพื่อให้สถานประกอบการอยู่ร่วมกันกับชุมชนได้อย่างยั่งยืน
กรณีอ้อยเผาไฟเป็นการดำเนินการตามนโยบายพร้อมทั้งได้กำชับให้ปฏิบัติตามนโยบายการควบคุมอ้อยเผาไฟ ซึ่งจะต้องร่วมมือกันทุกภาคส่วน เพื่อให้ปริมาณอ้อยเผาไฟลดลงเป็นไปตามนโยบายและที่กฎหมายกำหนด
จาก https://www.industry.go.th วันที่ 8 มีนาคม 2566
ครม.เคาะราคาอ้อยขั้นสุดท้ายฤดูการผลิตปี 2564/65
น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบการกำหนดราคาอ้อยขั้นสุดท้ายและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2564/2565 เป็นรายเขต 9 เขต โดยมีอัตราเฉลี่ยทั่วประเทศ ดังนี้ 1. ราคาอ้อยขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิตปี 2564/2565 เฉลี่ยทั่วประเทศในอัตรา ตันอ้อยละ 1,106.40 บาท ณ ระดับความหวานที่ 10 ซี.ซี.เอส.
2. อัตราขึ้น/ลงของราคาอ้อย เฉลี่ยทั่วประเทศ เท่ากับ 66.38 บาท ต่อ 1 หน่วย ซี.ซี.เอส. 3. ผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้าย ฤดูการผลิต ปี 2564/2565 เฉลี่ยทั่วประเทศ เท่ากับ 474.17 บาทต่อตันอ้อย
ทั้งนี้ ราคาอ้อยขั้นสุดท้ายฤดูการผลิตปี 2564/2564 อยู่ในระดับสูงกว่าราคาอ้อยขั้นต้น ดังนั้น กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจึงไม่มีภาระที่จะต้องจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างให้แก่โรงงาน
ส่วนโรงงานน้ำตาลนำส่งเงินส่วนต่างรายได้สุทธิที่ได้จากการจำหน่ายน้ำตาลทรายสูงกว่าราคาอ้อยขั้นสุดท้ายและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายขั้นสุดท้ายในอัตราตันร้อยละ 10 บาท ให้แก่กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย ตามมาตรา 57 พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527
https://www.khaosod.co.th วันที่ 7 มีนาคม 2566
โขลงช้างป่าภูหลวง ลงมาหากินเขตภูกระดึง พืชผลเกษตรเสียหายกว่า 2,000 ไร่
เมื่อช่วงเช้าวันนี้ ที่บ้านท่ายาง หมู่ 10 ต.ภูกระดึง อ.ภูกระดึง จ.เลย มีช้างป่ากว่า 40 ตัว ออกจากเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง เข้ามาหากินในเขต อ.ภูกระดึง ซึ่งเป็นรอยต่อกับ อ.ภูหลวง ลงมาที่บ้านห้วยยางใหญ่ เป็นโขลงใหญ่ลงมากินพืชผลการเกษตรของชาวบ้านที่ปลูกไว้ ทั้งอ้อย ยางพารา ต้นไผ่เลี้ยง กล้วย มันสำปะหลัง เสียหายรวมกว่า 2,000 ไร่
นายภูริวัจน์ โชตินพรัตน์ นายอำเภอภูกระดึง เผยว่า ปัญหาช้างในพื้นที่ภูกระดึง ทางอำเภอและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องได้ประชุมมาหลายครั้งแล้ว ตั้งอาสาสมัครเครือข่ายป้องกันช้างป่าในพื้นที่ ต.ห้วยส้ม โดย ก.ทรัพยากรธรรมชาติฯ ใช้งบกลางเข้ามาให้ทีมเครือข่ายการเฝ้าระวัง เพื่อไล่ช้างหรือผลักดันช้าง ซึ่งช้างป่าเขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าภูหลวงอพยพเข้ามาอยู่เขตอำเภอภูกระดึงไม่น้อยกว่า 40 ตัว โดยมีเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ติดตามช้างโขลงนี้
ส่วนชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบ ได้พยายามทำความเข้าใจ และขอความร่วมมือให้ชาวบ้านเร่งเก็บเกี่ยวอ้อย เพื่อป้องกันความเสียหายอย่างอื่นตามมา
นอกจากนี้ยังมีช้างอีกโขลงที่อพยพลงมาจากภูกระดึง โขลงนี้มีประมาณ 70 ตัว ขณะที่เข้ามาหากินหมู่บ้านพองหนีบ ซึ่งมีพื้นที่ติดกับเขตน้ำหนาว ประมาณ 6-7 ตัว
ทั้งนี้ เนื่องจากพื้นราบมีการปลูกอ้อยแปลงใหญ่ พอช้างออกมาหากิน ติดใจรสชาติ จึงเข้ามาอยู่ถาวร ดังนั้นชาวบ้านอาจต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการปลูกพืชใหม่ อย่างบ้านพองหนีบวันนี้ช้างลงมา 6-7 ตัว แต่หากมีการปลูกอ้อยในพื้นที่ อีก 70 ตัวที่อยู่ป่าภูกระดึง ต้องลงมาแน่ จึงรณรงค์ไม่ปลูกอ้อยในพื้นที่ เขตปลอดการปลูกอ้อย ส่วนขั้นตอนต่อไป คงต้องปลูกอาหารช้างในป่า ทำโป่งเทียมมาขึ้น และให้ชาวบ้านเลี้ยงผึ้งตามหัวไร่ปลายนา เพื่อป้องกันช้างป่าอีกทางหนึ่ง
https://tna.mcot.net วันที่ 1 มีนาคม 2566