http://www.sugarzone.in.th


ข่าวเศรษฐกิจเกี่ยวกับอ้อยและน้ำตาล(เดือนพฤษภาคม 2554)

เรือน้ำตาลชนตอม่อสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยากรุงเก่าอับปางสูญกว่า 200 ล้าน

เรือบรรทุกน้ำตาลบริษัท ไทยมารีนซับพลายฯ ชนตอม่อสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาอับปางสูญกว่า 200 ล้านบาท

เมื่อเวลา 17.30 น.วันนี้ (31 พ.ค.) พ.ต.ต.จักรพันธ์ ธูปเตมีย์ สารวัตรเวร สภ.พระนครศรีอยุธยา ได้รับแจ้งว่ามีเหตุเรือบรรทุกน้ำตาลพุ่งชนตอม่อสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณหมู่ 2 ต.ภูเขาทอง อ.พระนครศรีอยุธยา จึงรุดไปตรวจสอบ

ที่เกิดเหตุเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาพบเรือบริษัท ไทยมารีนซับพลาย จำกัด บรรทุกน้ำตาลทรายแดงมา 3 ลำเกิดอุบัติเหตุกระแสน้ำพัดแรงขณะวิ่งลอดใต้สะพานท้ายเรือลำที่ 1 ฟาดกับตอม่อเรือเสียหลักลำที่ 2 จึงพุ่งชนตอม่อจนเรือแตก ลูกเรือจึงตัดเชือกออกเรือลำที่ 3 จึงลอยกลางแม่น้ำ ส่วนเรือลำที่ 2 บรรทุกน้ำตาลทรายแดง 2,400 ตันมีมูลค่า 200 กว่าล้านบาทสภาพเรือด้านหน้าและด้านข้างแตกหัวเรือพุ่งเข้าฝั่งตรงหน้าบ้านของนายฮาโลน มาทอง อายุ 56 ปีเลขที่ 2/3 หมู่ 2 ต.ภูเขาทอง อ.พระนครศรีอยุธยา ทำให้ตลิ่งพัง บ้านเรือนเสียหายต้องขนของอพยพหนีหวั่นบ้านพังส่วนท้ายเรือน้ำเข้าเริ่มจมลงครึ่งลำเรือแล้ว

จากการตรวจสอบเรือดังกล่าวรับจ้างขนน้ำตาลทรายแดงจากบริษัทไทยรวมทุนคลังสินค้า อ.ป่าโมก จ.อ่างทอง เพื่อขนส่งไปยังประเทศอินโดนีเซียพอถึงที่เกิดเหตุกระแสน้ำแรงพัดเรือลำที่ 2 ฟาดกับตอม้อจมอับปางเรือลำที่1 ลอยไปจอดที่หน้าวัดท่าการ้อง และเรือลำที่ 3 ลอยไปจอดอยู่หน้าวัดพระงาม

นาวาโท รชต ผกาฟุ้ง หัวหน้าจ้าท่า จ.พระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า บรรทุกน้ำตาลหนัก2400 ตัน จมเพียงลำเดียวส่วนเรืออีก 2 ลำไม่ได้รับความเสียหายจึงได้สั่งการให้วางทุ่นและออกประกาศให้หยุดเดินเรือไปก่อนจนกว่าจะกู้เรือได้สำเร็จ

ต่อมานายวิทยา ผิวผ่อง ผู้ว่าราชการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ไปตรวจสอบและให้เร่งประสานงานเจ้าของเรือเพื่อหาทางที่จะกู้น้ำตาลในท้องเรือขึ้นจากแม่น้ำเจ้าพระยาให้เร็วที่สุด เพราะว่าถ้าช้าเกรงว่าจะทำให้น้ำเสียและส่งกลิ่นเหม็น

จาก http://www.manager.co.th  วันที่ 31 พฤษภาคม 2554

คนไทยลดหวานน้ำตาลขายไม่ออก ‘ค้างกระดานสะสม 2 ล้านกระสอบ’

น้ำตาลทรายเหลือค้างกระดานสะสมแล้ว 2 ล้านกระสอบเหตุการบริโภคคนไทยชะลอตัวจากภาวะอากาศที่เย็นลง รวมถึงการกักตุนก่อนหน้าทำให้นำของเก่ามาใช้ คาดทั้งปีที่กำหนดโควตาก.ไว้ 25 ล้านกระสอบเหลืออื้อแน่ “กอน.”ถก 14 มิ.ย.โรงงานเตรียมกดดันขอคืนสำรอง 3 ล้านกระสอบทั้งหมดจวกทำสูญรายได้พันล้านบาทใครรับผิดชอบ

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(กอน.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีปริมาณน้ำตาลทรายค้างกระดานสะสมแล้วประมาณ 2 ล้านกระสอบซึ่งถือเป็นอัตราที่สูงผิดปกติจากการขึ้นงวดน้ำตาลทรายสัปดาห์ละ 4.8 แสนกระสอบจากโควตาก.(บริโภคในประเทศ)ที่กำหนดไว้ 25 ล้านกระสอบของฤดูการผลิตปี 2553/54 ส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลทรายบริโภคในประเทศฤดูการผลิตปีนี้จะเฉลี่ยไม่เกิน 23 ล้านกระสอบจึงมั่นใจได้ว่าน้ำตาลจะมากเกินความต้องการ

ทั้งนี้ สาเหตุมาจากการบริโภคในประเทศไม่ได้ขยายตัวมากนักหากเทียบกับปี 2553 เพราะอากาศเฉลี่ยค่อนข้างเย็นทำให้อุตสาหกรรมเครื่องดื่มภาพรวมจำหน่ายในอัตราทรงตัว ขณะเดียวกันประชาชนส่วนหนึ่งที่เคยตุนน้ำตาลจากกระแสขาดแคลนได้นำน้ำตาลส่วนดังกล่าวออกมาใช้ ประกอบกับราคาน้ำตาลทรายขาวตลาดโลกเฉลี่ย 600 กว่าเหรียญสหรัฐต่อตันทำให้ส่วนต่างไม่จูงใจในการลักลอบส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้านและปีนี้มีการเปิดหีบเร็วหากเทียบกับปี 2552/53 ที่เปิดหีบปลายธ.ค.

“เฉลี่ยย้อนหลังถ้าเราดูข้อมูลคนไทยบริโภคน้ำตาลประมาณปีละ 20 ล้านกระสอบมีปีก่อนหน้าที่ 22 ล้านกระสอบเรากลัวมีปัญหาเลยตั้งเอาไว้ 25 ล้านกระสอบแล้วเผื่อสำรองอีก 3 ล้านกระสอบที่โอเว่อร์ วันนี้น้ำตาลเหลือเฟือจะเหลือมากด้วยซ้ำไป ประกอบกับฤดูการผลิตปี 2554/55 จะต้องกำหนดเปิดหีบให้เร็วกว่าปีนี้ 2-3 สัปดาห์เพราะปีนี้อ้อยที่มากทำให้เกิดปัญหาฝนตกคุณภาพเลยต่ำช่วงปลายหีบและปีหน้าหากอากาศไม่แปรปรวนไปจากนี้ก็เชื่อว่าปริมาณอ้อยจะยังคงสูงระดับปัจจุบันคือ 90-94 ล้านตันเพราะขณะนี้อ้อยโตเร็วมากก็จะยิ่งทำให้โควตาก.ของปีใหม่จะซ้อนกับของเก่าก็จะยิ่งเหลือไปใหญ่”แหล่งข่าวกล่าว

นายชลัช ชินธรรมมิตร์ ประธานคณะทำงานด้านตลาดในประเทศ บริษัทไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด กล่าวว่า โรงงานพยายามชี้แจงกับฝ่ายราชการไปก่อนหน้าแล้วว่า 25 ล้านกระสอบมากเกินพอแต่ก็เกรงปัญหาจะขาดแคลนวันนี้น้ำตาลเหลือมากผิดปกติดังนั้นการประชุมกอน.ที่เบื้องต้นกำหนดไว้จะประชุม 14 มิ.ย.นี้จะเสนอขอให้ยกเลิกสำรอง 3 ล้านกระสอบโดยขอคืนทั้งหมดทันทีเพราะมติคณะกรรมการน้ำตาลทราย(กน.)เสนอให้เหลือสำรองไว้ 1 ล้านกระสอบ

“น้ำตาลทรายตลาดโลกวันนี้ 600 กว่าเหรียญสหรัฐต่อตันก่อนหน้านั้นราคาขึ้นไปสูงกว่า 800 เหรียญฯต่อตันมันทำให้เราเสียโอกาสในการทำรายได้ส่วนนี้คำนวณที่หายไปวันนี้ก็ราว 1,000 ล้านบาทใครรับผิดชอบ ดังนั้นเวลาแก้ไขปัญหาเราควรจะคำนึงถึงข้อเท็จจริงไม่ใช่ความรู้สึกแบบนี้”

อย่างไรก็ตามไม่ปฏิเสธว่าน้ำตาลทรายบรรจุถุง 1 กิโลกรัม(กก.)ที่จำหน่ายในโมเดิร์นเทรดบางพื้นที่อาจไม่พอกับความต้องการอยู่บ้างแต่นั่นก็เพราะเป็นปัญหาที่เกิดจากความไม่ชัดเจนของนโยบายรัฐบาลที่ปัจจุบันไม่ยอมพิจารณาปรับค่าบรรจุภัณฑ์ให้กับโรงงานน้ำตาลเพิ่มขึ้นเพราะบรรจุแล้วขาดทุนขณะที่โมเดิร์นเทรดขายราคาเดียวทั่วประเทศทั้งที่ค่าขนส่งต่างกันทำให้โชว์ห่วยมาซื้อที่ห้างแทนจึงไม่แปลกที่จะไม่ พอขายเป็นการบิดเบือนกลไกตลาดแต่รัฐกลับแก้ไขปัญหาที่ปลายเหตุ

จาก http://www.manager.co.th  วันที่ 31 พฤษภาคม 2554

พาณิชย์จังหวัดอุทัยธานีกำหนดราคาและหลักเกณฑ์เงื่อนไขการจำหน่ายปลีกน้ำตาลทราย ปี 2554

นายประดิษฐ ภู่พัด พาณิชย์จังหวัดอุทัยธานี กรรมการและเลขานุการคณะกรรมการส่วนจังหวัดว่าด้วยราคาสินค้าและบริการจังหวัดอุทัยธานี เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการออกประกาศเรื่อง กำหนดราคาสินค้าและบริการควบคุม ปี 2554 ลงวันที่ 27 มกราคม 2554 ทำให้ประกาศคณะกรรมการส่วนจังหวัดว่าด้วยราคาสินค้าและบริการจังหวัดอุทัยธานี เรื่องการกำหนดราคาและเงื่อนไขในการจำหน่ายน้ำตาลทราย ปี 2553 สิ้นผลบังคับไปด้วย ประกอบกับคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ มีมติให้คณะกรรมการส่วนจังหวัดว่าด้วยราคาสินค้าและบริการกำหนดราคาจำหน่ายปลีกน้ำตาลทรายโดยใช้ราคาจำหน่ายปลีกแนะนำน้ำตาลทราบทั่วประเทศบรรจุถุง 1 กิโลกรัม จากโรงงานเป็นแนวทางในการกำหนดราคาจำหน่ายปลีกของจังหวัด

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 13 (1) และมาตรา 25 (1) (3) (4) แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 32 33 มาตรา 34 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย คณะกรรมการส่วนจังหวัดว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ จังหวัดอุทัยธานี จึงออกประกาศดังต่อไปนี้ ข้อ 1. ประกาศฉบับนี้ให้ใช้บังคับเป็นระยะเวลาหนึ่งปี ตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศเป็นต้นไป ข้อ 2. ให้ผู้จำหน่ายน้ำตาลทราบขาวบริสุทธิ์ น้ำตาลทรายขาวในท้องที่จังหวัดอุทัยธานี จำหน่ายปลีกไม่สูงกว่าราคา (ราคารวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ที่กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้ (1) น้ำตาลทราบขาวบริสุทธิ์ บรรจุถุงแล้ว กิโลกรัมละ 25.00 บาท (2) น้ำตาลทราย เกรด 1 และเกรด 2 บรรจุถุงแล้ว กิโลกรัมละ 24.00 บาท (3) น้ำตาลทรายขาวเกรด 3 (สีรำ) บรรจุถุงแล้ว กิโลกรัมละ 23.50 บาท ข้อ 3. ความในข้อ 2. มิให้ใช้บังคับกับน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ชนิดก้อนสี่เหลี่ยมบรรจุกล่องและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ชนิดที่บรรจุในซอง ซึ่งมีน้ำหนักสุทธิไม่เกินซองละสิบกรัม และบรรจุในกล่องหรือภาชนะอื่นใด และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์บรรจุขวด กล่อง หรือภาชนะที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะ ข้อ 4. การจำหน่ายน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ น้ำตาลทรายขาวเกรด 1 และเกรด 2 หรือ เกรด 3 ที่มีปริมาณต่ำหรือสูงกว่าหน่วยที่กำหนดในข้อ 2. ให้คิดเทียบราคาตามอัตราส่วน

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักงานพาณิชย์จังหวัดอุทัยธานี ถนนอุทัยธานี-หนองฉาง อุทัยธานี 61000 โทรศัพท์ 0 5697 0144-5 โทรสาร 0 5697 0145 ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ un_ops@moc.go.th


จาก http://thainews.prd.go.th  วันที่ 31 พฤษภาคม 2554

พาณิชย์ส่งซิกปล่อย"ปุ๋ย-เหล็ก"ขึ้นราคา อ้างหวั่นปัญหาสินค้าขาดตลาด "น้ำมันปาล์ม"ยังยื้อไม่ลดราคา

กระทรวงพาณิชย์รายงาน ครม.แจงสถานการณ์ราคาสินค้า ของบฯ 50 ล้าน อุ้มร้านธงฟ้า ขายข้าวราดแกง 20-25 บาท เตรียมเรียกผู้ประกอบการน้ำมันปาล์มถกลดราคาขายปลีก

นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 31 พฤษภาคม กระทรวงพาณิชย์จะรายงานสถานการณ์ราคาสินค้าและแนวทางดูแลปัญหาค่าครองชีพในแต่ละกลุ่มสินค้า ตามที่นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี แสดงความเป็นห่วงและสั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ดูอย่างใกล้ชิด จะเสนอราคาสินค้าในแต่ละกลุ่มสินค้า แยกเป็น 3 ส่วนใหญ่ คือ กลุ่มสินค้าที่ต้องพึ่งพาวัตถุดิบนำเข้า เช่น ปุ๋ยเคมี เหล็ก ก็จะพิจารณาปรับราคาให้สอดคล้องกับต้นทุนจริง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาสินค้าขาดตลาด กลุ่มสินค้าใช้วัตถุดิบในประเทศ เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ไก่ สินค้าเกษตร ราคาจะปล่อยไปตามกลไกตลาด จะปรับขึ้นหรือลงตามฤดูกาล และกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม เช่น สบู่ ยาสีฟัน ผงซักฟอก ยังมีสินค้าทดแทนกันสูง จึงยังไม่มีการอนุมัติให้ปรับขึ้นราคา

นายยรรยงกล่าวว่า ขณะนี้พบว่าราคาสินค้าส่วนใหญ่เคลื่อนไหวในภาวะปกติ อาจมีสินค้าบางส่วน เช่น อาหารสำเร็จรูปยังร้องเรียนว่าราคายังแพงอยู่ ก็สั่งการให้กรมการค้าภายในปรับแผนลดปัญหาค่าครองชีพโดยการจัดสรรงบประมาณ 50 ล้านบาท จากงบประมาณ 169 ล้านบาท สำหรับการจัดงานมหกรรมธงฟ้าลดค่าครองชีพให้ประชาชนมาอุดหนุนผู้ประกอบการโครงการร้านมิตรธงฟ้าและรถเข็นธงฟ้ากว่า 5 พันราย ในการจัดซื้อวัตถุดิบอาหารสำเร็จรูป เพื่อให้ผู้ประกอบการกำหนดราคาขายเมนูละ 20-25 บาท เช่น ข้าวไข่เจียว ข้าวกะเพรา ข้าวผัด ข้าวราดแกง เป็นต้น คาดว่าจะเร่งดำเนินการภายในเดือนมิถุนายนนี้ เพราะอาหารสำเร็จรูปจะบังคับเหมือนสินค้าโรงงานไม่ได้ ส่วนใหญ่เป็นผู้ประกอบการรายเล็กที่ไม่อาจแบกรับภาระได้ เมื่อวัตถุดิบขึ้นก็ต้องใช้การปรับขึ้นราคา จะเรียกประชุมผู้ประกอบการร้านอาหารมิตรธงฟ้าในเร็วๆ นี้

เศรษฐกิจฟื้นตัวและเงินสะพัดในช่วงหาเสียงเลือกตั้ง อาจทำให้เงินเฟ้อเติบโตอย่างร้อนแรง เพื่อไม่ให้เงินเฟ้อทั้งปีเกินกว่ากระทรวงพาณิชย์คาด 3.2-3.7% ก็ต้องแทรกแซงด้วยการจัดมหกรรมลดราคาสินค้า ชะลอการปรับราคาสินค้า และลดราคาสินค้าเมื่อต้นทุนลด เช่น น้ำมันปาล์ม หลังวันที่ 3 มิถุนายน ที่จะประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มแห่งชาติ กระทรวงพาณิชย์จะเรียกผู้ประกอบการหารือปรับลดราคาขายปลีก เนื่องจากวิตกว่าปาล์มดิบอาจไม่เพียงพอเพราะต้องนำไปผลิตพลังงานทดแทนมากขึ้น เป็นเรื่องของการบริหารจัดงานจะไม่ให้กระทบเหมือนในอดีตอีกŽ นายยรรยงกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการสำรวจร้านค้าและห้างสรรพสินค้า ภายหลังกระแสข่าวกระทรวงพาณิชย์เตรียมหารือผู้ประกอบการบรรจุน้ำมันปาล์มขวด เพื่อขอให้ลดราคาอีกลิตรละ 5 บาท และเอกชนบางส่วนก็ออกมาคัดค้านการลดราคาเพราะวิตกว่าความต้องการใช้และผลิตน้ำมันพลังงานทดแทนจะตึงตัวอีกนั้น พบว่าน้ำมันปาล์มขวดบางห้างและร้านค้าเริ่มขาดแคลน โดยอ้างได้รับการจัดส่งน้อยลง ทำให้วิตกว่าจะเกิดปัญหาน้ำมันปาล์มตึงตัวอีกครั้ง สมาคมโรงกลั่นน้ำมันปาล์มก็กำลังจัดเก็บข้อมูลและข้อเท็จจริงถึงปริมาณและราคาที่เหมาะสม


จาก http://www.matichon.co.th  วันที่ 31 พฤษภาคม 2554

น้ำตาลเหลืออื้อ บี้รัฐคืนโควตาก. แจงขาดทุนพันล.

คนไทยกินน้ำตาลน้อยลง ล่าสุดเหลือค้างกระดานสะสม 2 ล้านกระสอบ คาดโควตา ก.ปีนี้เหลือแน่ ด้านโรงงานเตรียมกดดันขอคืนสำรอง 3 ล้านกระสอบ ชี้ทำเสียโอกาส

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีปริมาณน้ำตาลทรายค้างกระดานสะสมแล้วประมาณ 2 ล้านกระสอบ ซึ่งถือเป็นอัตราที่สูงผิดปกติจากการขึ้นงวดน้ำตาลทรายสัปดาห์ละ 4.8 แสนกระสอบจากโควตา ก.(บริโภคในประเทศ) ที่กำหนดไว้ 25 ล้านกระสอบของฤดูการผลิตปี 2553/54 ส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลทรายบริโภคในประเทศฤดูการผลิตปีนี้จะเฉลี่ยไม่เกิน 23 ล้านกระสอบ จึงมั่นใจได้ว่าน้ำตาลจะมากเกินความต้องการ เนื่องจากสภาพอากาศเฉลี่ยที่ค่อนข้างเย็นกว่าปีก่อน จึงทำให้ภาพรวมการขยายตัวของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มทรงตัว และราคาน้ำตาลทรายขาวในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลง ทำให้ส่วนต่างไม่จูงใจในการลักลอบส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้าน

นายชลัช ชินธรรมมิตร์ ประธานคณะทำงานด้านตลาดในประเทศ บริษัทไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด กล่าวว่า โรงงานพยายามชี้แจงกับฝ่ายราชการไปก่อนหน้าแล้วว่า 25 ล้านกระสอบมากเกินพอ แต่ก็เกรงปัญหาจะขาดแคลน วันนี้น้ำตาลเหลือมากผิดปกติ ดังนั้น การประชุม กอน.ที่เบื้องต้นกำหนดไว้จะประชุม 14 มิ.ย.นี้ จะเสนอขอให้ยกเลิกสำรอง 3 ล้านกระสอบ โดยขอคืนทั้งหมดทันทีเพราะมติคณะกรรมการน้ำตาลทราย (กน.) เสนอให้เหลือสำรองไว้ 1 ล้านกระสอบ

“น้ำตาลทรายตลาดโลกวันนี้ 600 กว่าเหรียญสหรัฐต่อตันก่อนหน้านั้นราคาขึ้นไปสูงกว่า 800 เหรียญฯ ต่อตัน มันทำให้เราเสียโอกาสในการทำรายได้ส่วนนี้หายไปวันนี้ก็ราว 1,000 ล้านบาท" นายชลัชกล่าว


จาก http://www.thaipost.net  วันที่ 31 พฤษภาคม 2554

ถึงคิวน้ำตาลทรายขมล้นตลาด

เอกชนโวย เตรียมเสนอยกเลิกสำรองน้ำตาลบริโภคในประเทศ หลังล้นตลาด ชี้เสียโอกาสการทำรายได้ส่งออก...
ผู้สื่อข่าวรายงานจากคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ว่า ขณะนี้มีปริมาณน้ำตาลทรายค้างกระดานสะสมแล้วประมาณ 2 ล้านกระสอบ ซึ่งถือเป็นอัตราที่สูงผิดปกติ จากการขึ้นงวดน้ำตาลทรายโควตา ก.
(บริโภคในประเทศ) สัปดาห์ละ 4.8 แสนกระสอบ ที่กำหนดไว้ 25 ล้านกระสอบ

ในฤดูการผลิตปี 2553/54 ส่งผลให้ปริมาณน้ำตาลทรายบริโภคในประเทศปีนี้จะเฉลี่ยไม่เกิน 23 ล้านกระสอบเท่านั้นทั้งนี้ สาเหตุมาจากการบริโภคในประเทศไม่ได้ขยายตัวมากนักเมื่อเทียบกับปี 2553 เพราะอากาศเฉลี่ยค่อนข้างเย็นทำให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมเครื่องดื่มจำหน่ายในอัตราทรงตัว

ขณะเดียวกัน ประชาชนส่วนหนึ่งที่เคยตุนน้ำตาลไว้ในช่วงขาดแคลนได้นำน้ำตาลออกมาใช้ ประกอบกับราคาน้ำตาลทรายขาวตลาดโลกเฉลี่ย 600 กว่าเหรียญสหรัฐฯต่อตัน ทำให้ส่วนต่างไม่จูงใจในการลักลอบส่งออกไปประเทศเพื่อนบ้าน

นายชลัช ชินธรรมมิตร์ ประธานคณะทำงานด้านตลาดในประเทศ บริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด กล่าวว่า
โรงงานพยายามชี้แจงกับฝ่ายราชการไปก่อนหน้าแล้วว่าโควตาน้ำตาลบริโภคในประเทศที่กำหนดไว้ 25 ล้านกระสอบนั้นมากเกินพอ แต่รัฐยังเกรงปัญหาจะขาดแคลน วันนี้จึงเห็นน้ำตาลเหลือมากผิดปกติดังนั้น
ในการประชุม กอน.ที่เบื้องต้นกำหนดไว้ในวันที่ 14 มิ.ย.นี้ จะเสนอให้ยกเลิกสำรอง 3 ล้านกระสอบ
โดยขอคืนทั้งหมดทันที เพราะมติคณะกรรมการน้ำตาลทราย (กน.) เสนอให้เหลือสำรองไว้ 1 ล้านกระสอบ “น้ำตาลทรายตลาดโลกวันนี้ 600 กว่าเหรียญสหรัฐฯต่อตัน จากที่ก่อนหน้าราคาขึ้นไปสูงกว่า 800 เหรียญฯต่อตัน ทำให้เราเสียโอกาสในการทำรายได้ส่วนนี้

ซึ่งหากคำนวณรายได้ที่หายไปวันนี้ก็ราว 1,000 ล้านบาท ใครรับผิดชอบ ดังนั้น เวลาแก้ไขปัญหาเราควรจะคำนึงถึงข้อเท็จจริงไม่ใช่ความรู้สึกแบบนี้”.

จาก http://www.thairath.co.th  วันที่ 31 พฤษภาคม 2554

พด.รื้อระบบฐานข้อมูลดิน รองรับโปรแกรมแนะนำใช้ปุ๋ย เจาะรายแปลงคลุม7หมื่นหมู่บ้าน

นายธวัชชัย สำโรงวัฒนา อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า ทรัพยากรดินเป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตทางการเกษตรและเป็นรากฐานการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทย ซึ่งกรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินการสำรวจ จำแนก และทำแผนที่ดิน มานานกว่า 45 ปี ข้อมูลดินและแผนที่ได้ถูกนำไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ทั้งการวางแผนการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสมสำหรับการทำการเกษตรระดับประเทศ ระดับภาค ระดับจังหวัด และระดับอำเภอ รวมทั้งเป็นฐานข้อมูลสำหรับดำเนินกิจกรรมอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นแนวทางในการวางผังเมือง หรือการพัฒนาระบบชลประทาน และเนื่องจากในปี 2554 เป็นปีเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กรมพัฒนาที่ดินจึงได้จัดทำโครงการปรับปรุงระบบฐานข้อมูลดินสำหรับการแนะนำการใช้ปุ๋ย ด้วยโปรแกรมปุ๋ยรายแปลง ในพื้นที่ 77 จังหวัด ครอบคลุม 72,484 หมู่บ้าน เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และปรับปรุงระบบข้อมูลพื้นฐานในการจัดการทรัพยากรดินต่อการปลูกพืชในระดับรายแปลง ให้ครอบคลุมระดับหมู่บ้าน เพื่อให้เกษตรกรสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการจัดการทรัพยากรดินในพื้นที่ทำการเกษตรได้อย่างเหมาะสมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

อย่างไรก็ตาม ในระบบฐานข้อมูลดินฯ จะแสดงแผนที่คำแนะนำการจัดการดินต่อการปลูกพืชในระดับรายแปลง ในพื้นที่แต่ละหมู่บ้าน แสดงปริมาณระดับธาตุอาหารหลักในดิน แนวทางในการจัดการดินเบื้องต้น พร้อมคำแนะนำอัตราการใช้ปุ๋ยสำหรับพืชแต่ละชนิด ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรสามารถลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี ลดต้นทุนการผลิต และทำให้เกิดการใช้ประโยชน์ที่ดินในการปลูกพืชได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้แล้ว กรมพัฒนาที่ดินยังได้มีการเชื่อมโยงข้อมูลกับหน่วยงานอื่นๆ ให้สามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ อาทิ การจัดทำแนวทางการจัดการดินเพื่อลดปัญหาโลกร้อน การประเมินสถานภาพทรัพยากรดินของประเทศไทย ทั้งในระดับภาพรวมของประเทศ ไปจนถึงระดับตำบล และหมู่บ้าน และที่สำคัญยังสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลหลักในโครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรอีกด้วย สำหรับเกษตรกรหรือผู้ที่สนใจสามารถ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สำนักสำรวจและวิจัยทรัพยากรดิน โทร.0-2941-2054 หรือ Call Center 1760


จาก http://www.naewna.co  วันที่ 30 พฤษภาคม 2554

เพิ่มโควตาส่งออกน้ำตาล

นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการน้ำตาลทราย (กน.) มีมติให้ลดปริมาณกันสำรองน้ำตาลทรายไว้เหลือจำนวน 1 ล้านกระสอบ จากเดิมที่กันไว้ 3 ล้านกระสอบ โดยให้นำส่วนที่เหลือ 2 ล้านกระสอบไป ส่งออก เนื่องจากขณะนี้มีปริมาณน้ำตาลค้างกระดานเหลืออยู่ 15 ล้านกระสอบ เป็นน้ำตาลทรายโควตา ก (น้ำตาลเพื่อการบริโภคในประเทศ) ที่ขึ้นงวดขายไปแล้ว 11.8 ล้านกระสอบ จาก 25 ล้านกระสอบ ขายออกไปแล้ว 9.98 ล้านกระสอบ เหลือค้างกระดาน 1.8 ล้านกระสอบ และเหลือยอดน้ำตาลโควตา ก ที่รอการขึ้นงวดอีก 13 ล้านกระสอบ เมื่อรวมปริมาณที่เหลือทั้งหมดเท่ากับมีน้ำตาลค้างกระดาน 15 ล้านกระสอบ เชื่อว่าเพียงพอต่อการบริโภค


จาก http://www.khaosod.co.th  วันที่ 27 พฤษภาคม 2554

ราคาน้ำตาลทรายสูงต่อเนื่องหลังขาดแคลนผลผลิต

นายอิสสระ ถวิลเติมทรัพย์ กรรมการ บริษัท น้ำตาลครบุรี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ขณะนี้ราคาน้ำตาลทรายยังสูงอย่างต่อเนื่อง เพราะปัญหาขาดแคลนผลผลิตอ้อยจากหลายประเทศ แม้ราคาในปัจจุบันปรับลดลงเล็กน้อย อยู่ที่ 22 เซนต์สหรัฐฯต่อปอนด์ แต่ยังสูงกว่าปีก่อนราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 18 เซนต์ต่อปอนด์ ซึ่งถือเป็นราคาที่เหมาะสมและให้ผลตอบแทนที่ดีแก่ชาวไร่อ้อย เพราะหากราคาน้ำตาลในตลาดโลกสูงเกินกว่าราคาในประเทศมาก ที่เป็นราคาควบคุมจะเกิดภาวะการณ์ไม่สมดุล อาจจะเกิดการนำน้ำตาลในประเทศออกไปจำหน่ายในต่างประเทศได้

นายอิสสระ กล่าวต่อไปว่า ยังต้องติดตามสภาวะธรรมชาติและดินฟ้าอากาศ ซึ่งเป็นปัจจัยที่กดดันผลผลิตอ้อย เพราะหากเกิดปัญหาภัยธรรมชาติจนผลผลิตอ้อยขาดแคลนอีก ราคาน้ำตาลส่งออกจะแพงขึ้นอีก และชาวไร่อ้อยรวมทั้งผู้ส่งออกจะได้ผลดี โดยประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ส่วนผลผลิตอ้อยในอุตสาหกรรมทั้งระบบปีนี้คาดว่าอยู่ที่ 95 ล้านตันเพิ่มขึ้นร้อยละ 30 จากปีก่อน ส่วนนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ภายหลังการเลือกตั้ง คงไม่มีผลต่ออุตสาหกรรมน้ำตาล เนื่องจากราคาน้ำตาลในประเทศ เป็นราคาควบคุม


จาก http://www.manager.co.th  วันที่ 27 พฤษภาคม 2554

ปลูกอ้อยใช้ระบบ"น้ำหยด" เทคนิคง่ายๆเพิ่มผลผลิตได้

พิมล สุภาพเพชร (ที่ 2 จากขวา) พาไมชมระบบการปล่อยน้ำหยด วิชัย ฤาชา ชี้สระน้ำที่เขาร่วมกับโครงการพัฒนาแหล่งน้ำมิตรบ้านลาด
ระบบน้ำฝอยภาพประกอบข่าว คมชัดลึก : ปัจจุบันวงการเกษตรมีการพัฒนาการมากขึ้น โดยเฉพาะภาคการเพาะปลูกที่จะทำให้ได้ผลผลิตสูงขึ้น อย่างอ้อยซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยมายาวนาน และปัจจุบันเป็นพืชพลังงานด้วย เดิมทีเกษตรกรปลูกอาศัยเทวดาช่วยดูแล อาศัยน้ำจากน้ำฝน จึงได้ผลผลิตไร่ละเพียง 7-8 ตัน ปัจจุบันมีการประยุกต์ปลูกระบบน้ำหยดทำให้ผลผลิตสูงขึ้นเท่าตัว บางพื้นที่เคยปรากฏมาแล้วได้สูงสุดถึงไร่ละ 28 ตัน

อภิวัฒน์ บุญทวี ผู้อำนวยการด้านอ้อย บริษัท สวนเกษตรอุตสาหกรรม จำกัด (มิตรผล) บอกว่า ตลอดระยะที่ผ่านมาการดำเนินธุรกิจของกลุ่มมิตรผล มุ่งเน้นการดำเนินธุรกิจที่มุ่งสู่มาตรฐานสากล เพื่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน มีการเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาประยุกต์ใช้ในระบบการจัดการของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาวิจัยสายพันธุ์อ้อยใหม่ๆ ที่คุณสมบัติเหมาะกับแต่ละพื้นที่ พร้อมกับมีการลงทุน 90 ล้านบาท พัฒนาระบบน้ำ ด้วยการวางระบบชลประทานให้ครอบคลุมพื้นที่ 3.2 หมื่นไร่ ในพื้นที่ของเครือข่ายใน จ.ชัยภูมิและใกล้เคียง ดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนเมษายน 2554

ในปี 2554-2556 อภิวัฒน์ บอกว่า มีแผนจะลงทุนอีก 300 ล้านบาท เพื่อขยายระบบชลประทานในพื้นที่ปลูกอ้อยเป็น 60-65% จากพื้นที่ปลูกอ้อยทั้งหมด 1.2 ล้านไร่ที่เป็นเครือข่ายในรูปแบบของคอนแทร็กฟาร์มมิ่งกับกลุ่มมิตร เพื่อให้เกษตรกรปลูกอ้อยระบบน้ำหยด โดยโรงงานน้ำตาลจะลงทุนสร้างแหล่งน้ำ และชาวไร่เป็นผู้ลงทุนเชื่อมต่อแหล่งน้ำเข้าไปยังไร่ด้วยระบบท่อ ทั้งนี้ นอกจากจะเป็นการส่งเสริมและช่วยเหลือเกษตรกรแล้ว ทางกลุ่มมิตรผลเองก็ต้องการเพิ่มผลผลิตต่อไร่มากขึ้น เพื่อจัดหาวัตถุดิบให้เพียงพอกับความต้องการของโรงงานน้ำตาล โดยมีเป้าหมายเพิ่มผลผลิตต่อไร่ จากปัจจุบัน 7-8 ตันต่อไร่ เป็น 17 ตันต่อไร่ บางพื้นที่ว่าการปลูกด้วยระบบน้ำหยด เคยให้ผลผลิตสูงสุดถึงไร่ละ 28 ตัน

ไฉน ศรีเชียงษา เกษตรกรบ้านหนองหิน ต.หนองหิน อ.หนองหิน จ.เลย อีกคนหนึ่งที่หันมาปลูกอ้อยระบบน้ำหยด บอกว่า เขามีไร่อ้อย 1,000 ไร่ ทุกวันนี้ให้ผลผลิตไร่ละราว 12 ตัน บางพื้นที่กว่า 15 ตัน ส่วนพันธุ์อ้อยใช้พันธุ์แอลเค 92-11 (LK 92-11) แอลเค 84-200 และขอนแก่น 3 ทำให้เขามีรายได้ต่อ 1 ฤดูกาลปลูก (11 เดือน) ไร่ละ 1.3 หมื่นบาท รวมแล้วมีรายได้ฤดูกาลปลูกละหลายล้านบาท จากเดิมปลูกพันธุ์เค 200 ใช้วิธีสูบน้ำปล่อยตามร่องในไร่ได้ผลผลิตราวไร่ละ 6-8 ตันเท่านั้น

เช่นเดียวกับ พิมล สุภาพเพชร เกษตรกรบ้านหนองแซง ต.บ้านแก้ง อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ อายุ 41 ปี บอกว่า ปกติที่ไร่ของเขาดินค่อนข้างดีปลูกอ้อยแบบดูดน้ำเข้าในร่องที่ขุดในไร่อ้อยจะได้ผลผลิตไร่ละราว 12-13 ตัน พอทราบว่าการปลูกด้วยวิธีน้ำหยดจะได้ผลผลิตสูง จึงตัดสินใจลงทุนซื้อท่อพลาสติก เจาะรูรอบข้างไปฝังระหว่างแถวของอ้อยใช้เงินไร่ละครั้งแรก 7,500 บาท ใช้ได้ 7-8 ปี ปรากฏว่า หลังจากปลูกอ้อยระบบน้ำหยดแล้วทำให้มีผลผลิตตกไร่ละ 20 ตัน แต่บางครั้งใช้ระบบน้ำฝอย คือวางท่อบนดินเสี่ยงที่หนูจะกัดได้

ขณะที่ วิชัย ฤาชา รองประธานกลุ่มผู้ใช้น้ำมิตรบ้านลาด ต.บ้านแก้ง อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ บอกว่า เดิมทีในหมู่บ้านของเขาระบบน้ำไม่ดี เวลาปลูกอ้อยให้ผลผลิตไร่ละ 8-9 ตัน พอมีโครงการพัฒนาแหล่งน้ำมิตรบ้านลาด จึงตัดสินใจลงทุนร่วมโครงการด้วย โดยการขุดสระในพื้นที่ 1 ไร่ สูบน้ำจากโครงการทำให้ตอนนี้มีน้ำเพียงพอจึงได้ผลผลิตไร่ละเฉลี่ยแล้วกว่า 15-20 ตัน ปัจจุบันราคาอ้อยอยู่ที่ตันละ 1,050 บาท เขามีที่ไร่ 46 ไร่ สามารถเลี้ยงครอบครัวได้เป็นอย่างดี

"กลุ่มผู้ใช้น้ำมิตรบ้านลาดมีราว 90 คน ร่วมกันลงทุนพัฒนาแหล่งน้ำและวางท่อส่งน้ำเข้าไร่ รวมแล้วเป็นเงิน 2.4 ล้านบาท ครอบคลุมพื้นที่ 1,360 ไร่ โดยทางโรงงานน้ำตาลมิตรภูเขียวเป็นผู้ปล่อยเงินทุนให้ก่อน และมาผ่อนชำระภายในเวลา 4 ปี รวมแล้วถ้าเฉลี่ยผลผลิตทั้งกลุ่มตกไร่ละ 17 ตัน" วิชัยกล่าว

การปลูกอ้อยระบบน้ำหยด นับเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย เนื่องจากให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ต้องอาศัยน้ำจากธรรมชาติบางพื้นที่กว่า 1 เท่าตัว


จาก http://www.komchadluek.net  วันที่ 27 พฤษภาคม 2554

ลุย"ปุ๋ยลดต้นทุนฯ"ประหยัดหมื่นล."ไตรรงค์"หวังขยายคลุมทุกพืช-จ่ายใบสั่ง30พ.ค.นี้

"ไตรรงค์" ระบุโครงการปุ๋ยสั่งตัดลดรายจ่ายได้ถึง 1 หมื่นล้านบาท เล็งขยายให้ครอบคลุมพืชทุกชนิด เชื่อลดนำเข้าได้ 50% เป็นเงินถึง 2.5 หมื่นล้าน ธ.ก.ส.เปิดขอรับใบสั่ง 30 พ.ค.นี้ รับมีช่องทุจริตตรวจเข้มเรื่องการส่งมอบ "พรทิวา" ยันลดราคาน้ำมันปาล์มขวดต้องรอบอร์ด กนป. เลิกมติเดิม

นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ "โครงการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยลดต้นทุนการผลิตของเกษตร" ว่า มีความตั้งใจจะขยายโครงการปุ๋ยลดต้นทุนฯ หรือปุ๋ยสั่งตัดให้ครอบคลุมพืชทุกชนิด เพราะเชื่อว่าหากดำเนินโครงการต่อเนื่อง จะลดการนำเข้าปุ๋ยของประเทศได้ 50% คิดเป็นเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท ในโครงการแรกที่ดำเนินการมีเกษตรกรในโครงการจำนวน 4 ล้านครัวเรือน จะทำให้การใช้ปุ๋ยของเกษตรกรลดลงได้ 20% หรือเป็นเงินประมาณ 1 หมื่นล้านบาท จากวงเงินนำเข้า 5 หมื่นล้านบาท

นายประกิต เชวงนิรันดร์ ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ในวันที่ 30 พฤษภาคมนี้ จะเปิดให้เกษตรกรมาขอรับใบสั่งซื้อปุ๋ย จากนั้นนำใบสั่งซื้อปุ๋ยไปขอรับปุ๋ยจากร้านค้าหรือสหกรณ์ที่ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการได้ทันที โดยจ่ายเงินให้ไม่เกิน 1 สัปดาห์ โดย ธ.ก.ส. เตรียมวงเงินสินเชื่อซื้อปุ๋ยโครงการปุ๋ยสั่งต้ดไว้ 3 หมื่นล้านบาท รองรับการซื้อปุ๋ย 2.35 ล้านตัน

"ยอมรับว่าโครงการนี้อาจมีช่องทางทุจริตได้ เช่น เมื่อเกษตรกรรับใบสั่งซื้อปุ๋ยไปแล้ว และนำไปให้ร้านค้าปุ๋ย แต่แทนที่จะรับปุ๋ยก็รับเป็นเงินสดแทน ซึ่งกรมการค้าภายในและเจ้าหน้าที่ ธ.ก.ส. ไปตรวจสอบสต็อกปุ๋ยและปริมาณปุ๋ยของร้านค้า ว่ามีการส่งมอบปุ๋ยจริงหรือไม่ ส่วนร้านปุ๋ยที่เข้าโครงการจะต้องขายปุ๋ยในราคาที่เหมาะสม โดยคำนวณจากต้นทุนบวกด้วยค่าขนส่งและต้องแจ้งราคาให้ ธ.ก.ส. ทราบ กรณีเปลี่ยนแปลงราคาด้วย" นายประกิตกล่าว

นางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงการลดราคาน้ำมันปาล์มขวดจากขวดละ 47 บาท เหลือ 42 บาท ว่า กระทรวงพาณิชย์ไม่มีอำนาจพิจารณาให้ปรับลดราคาน้ำมันปาล์มลง เพราะต้องผ่านขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ก่อน แม้การปรับลดราคาจะเป็นอำนาจของคณะอนุกรรมการพิจารณาราคาน้ำมันพืชเพื่อบริโภค ที่กรมการค้าภายในดูแลอยู่ แต่โดยหลักการในการปรับลดราคา จะต้องมีการแก้ไขหรือยกเลิกมติที่ กนป. ให้คงราคาเพดานน้ำมันปาล์มไว้ที่ขวดละ 47 บาท ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนมิถุนายนนี้ และยังมีเรื่องของเงินชดเชยราคาน้ำมันปาล์มตามมติของ กนป.อีกด้วย

"หากยังไม่มีการยกเลิกมติดังกล่าว กระทรวงพาณิชย์คงไม่สามารถที่จะเสนอขอปรับลดราคา ดังนั้น จึงได้มอบหมายให้กรมการค้าภายใน สรุปสถานการณ์ราคาผลปาล์ม และน้ำมันปาล์มที่จำหน่ายในท้องตลาด เพื่อให้คณะกรรมการชุดใหญ่เรียกประชุมและทบทวน" นางพรทิวากล่าว

จาก http://www.komchadluek.net  วันที่ 27 พฤษภาคม 2554

กน. ลดกันสำรองน้ำตาลทรายเหลือล้านกระสอบ

กน. มีมติลดปริมาณกันสำรองน้ำตาลทรายเหลือ 1 ล้านกระสอบ ที่เหลือให้ส่งออกได้ ระบุสถานการณ์น้ำตาลในประเทศปกติแล้ว

นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการน้ำตาลทราย (กน.) ในวันที่ 24 พ.ค. 2554 ที่มีนายมนัส สร้อยพลอย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นประธาน มีมติให้ลดปริมาณกันสำรองน้ำตาลทรายไว้เหลือจำนวน 1 ล้านกระสอบ จากเดิมที่กันไว้ 3 ล้านกระสอบ โดยให้นำส่วนที่เหลือ 2 ล้านกระสอบไปส่งออก โดยจะนำเสนอรายงานการประชุมให้ที่ประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) รับทราบ ซึ่งการที่กันสำรองไว้จำนวน 1 ล้านกระสอบ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนว่าจะมีน้ำตาลบริโภคในประเทศเพียงพออย่างแน่นอน

ทั้งนี้ สาเหตุที่ลดปริมาณกันสำรอง เนื่องจากขณะนี้มีปริมาณน้ำตาลค้างกระดานเหลืออยู่ 15 ล้านกระสอบ เป็นน้ำตาลทรายโควตา ก (น้ำตาลเพื่อการบริโภคในประเทศ) ที่ขึ้นงวดขายไปแล้ว 11.8 ล้านกระสอบ จาก 25 ล้านกระสอบ ขายออกไปแล้ว 9.98 ล้านกระสอบ เหลือค้างกระดาน 1.8 ล้านกระสอบ และเหลือยอดน้ำตาลโควตา ก ที่รอการขึ้นงวดอีก 13 ล้านกระสอบ เมื่อรวมปริมาณที่เหลือทั้งหมดแล้ว เท่ากับมีน้ำตาลค้างกระดาน 15 ล้านกระสอบ

สำหรับปริมาณน้ำตาลที่เหลือค้างจากการจำหน่าย 1.8 ล้านกระสอบ ถือว่าเป็นปริมาณที่มากพอสมควร เมื่อเปรียบเทียบกับปีก่อน ที่มีปริมาณน้ำตาลเหลือจำหน่าย 1.1 ล้านกระสอบ

“ยืนยันว่าน้ำตาลไม่ขาดอย่างแน่นอน และราคาขายในประเทศเฉลี่ยก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นสูงมาก สถานการณ์น้ำตาลในตอนนี้จึงเข้าสู่ภาวะปกติ ทำให้ไม่จำเป็นต้องกันสำรองน้ำตาลตาลไว้มากถึง 3 ล้านกระสอบ และสถานการณ์การขายน้ำตาลในโมเดิร์นเทรดก็ปกติแล้ว มีน้ำตาลวางขายครบทุกแห่ง ไม่ขาดแคลน” นายวิฑูรย์ กล่าว

ขณะที่ปัญหาการลักลอบส่งออกน้ำตาลก็มีน้อยลง เพราะราคาน้ำตาลในตลาดโลกขยับลงเล็กน้อย มีราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 650 เหรียญสหรัฐต่อตัน จากเดิมที่มีราคาเฉลี่ยสูงถึง 700-800 เหรียญสหรัฐต่อตัน

สรุปสถานการณ์การผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย ณ วันที่ 24 พ.ค. 2554 มีปริมาณอ้อนเข้าหีบทั้งหมด 95 ล้านตัน ผลิตน้ำตาลทรายได้ 96 ล้านกระสอบ เฉลี่ยค่าความหวานที่ระดับ 11.8 ซี.ซี.เอส. มีโรงงานปิดหีบอ้อยไปแล้ว 37 โรง เหลืออีก 9 โรง ที่ยังเปิดหีบอยู่ โดยคาดว่าจะสิ้นสุดการหีบอ้อยในช่วงวันที่ 15 มิ.ย.

น้ำตาลทรายโควตา ข (น้ำตาลเพื่อการส่งออก) กำหนดไว้ที่ 8 ล้านกระสอบ ส่งออกไปแล้ว 6.14 ล้านกระสอบ คงเหลือ 1.85 ล้านกระสอบ น้ำตาลทรายโควตา ค (น้ำตาลทรายเพื่อการส่งออก) กำหนดไว้ที่ 36.1 ล้านกระสอบ ส่งออกแล้ว 34.5 ล้านกระสอบ คงเหลือ 1.55 ล้านกระสอบ และน้ำตาลทรายโควตา ค พิเศษ (น้ำตาลที่จำหน่ายให้ผู้ผลิตสินค้าส่งออก) มีจำนวนน้ำตาลทรายที่ถูกขอใช้ทั้งสิ้น 3.47 ล้านกระสอบ ขนย้ายแล้ว 9.6 แสนกระสอบ ยังไม่ขนย้ายอีก 2.5 ล้านกระสอบ

จาก http://www.posttoday.com  วันที่ 26 พฤษภาคม 2554

น้ำตาลครบุรีเข้าเทรด 27 พ.ค. นี้

นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ ผู้ช่วยผู้จัดการ กลุ่มงานผู้ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า บมจ.น้ำตาลครบุรี หรือ KBS จะเข้าเป็นบริษัทจดทะเบียนในกลุ่มเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร หมวดอาหารและเครื่องดื่ม ตั้งแต่ 27 พ.ค. 54 โดยมีมูลค่าระดมทุน 1,365 ล้านบาท

สำหรับ KBS ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย และธุรกิจที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์พลอยได้ที่ได้จากการผลิตน้ำตาลทราย มีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 500 ล้านบาท มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท ประกอบด้วยหุ้นสามัญเดิม 350 ล้านหุ้น และหุ้นสามัญเพิ่มทุน 150 ล้านหุ้น เสนอขายในราคาหุ้นละ 9.10 บาท เมื่อวันที่ 19-20 และ 23 พ.ค. 54 พร้อมนี้ผู้ถือหุ้นเดิมได้นำหุ้นมาร่วมเสนอขายอีก 26 ล้านหุ้น โดยมีบริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้จัดการการจัดจำหน่าย และรับประกันการจัดจำหน่าย

" การเข้าจดทะเบียนของ KBS จะเป็นการเพิ่มโอกาสการลงทุนให้ผู้ลงทุน ได้ลงทุนในธุรกิจเกษตรและอุตสาหกรรมอาหาร ซึ่งถือเป็นอุตสาหกรรมพื้นฐานของประเทศไทย และประเทศไทยยังเป็นผู้นำในการผลิตน้ำตาลทรายเพื่อการส่งออกและการบริโภค ซึ่งปัจจุบันมีแนวโน้มการบริโภคในอัตราที่สูงขึ้น แสดงถึงโอกาสในการเติบโตของบริษัทฯ และช่วยสนับสนุนฐานเงินทุนให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น " นายชนิตรกล่าว

นายถกล ถวิลเติมทรัพย์ กรรมการผู้จัดการ KBS เปิดเผยว่า บริษัทฯ รู้สึกยินดีที่ได้เข้ามาเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะช่วยให้บริษัทฯ มีความแข็งแกร่งมากขึ้น และ บริษัทฯ จะนำเงินไปใช้ในการขยายธุรกิจและเป็นทุนหมุนเวียน เชื่อได้รับการตอบรับดีจากนักลงทุน ซึ่งผลงาน 3ปีที่ผ่านมาจากปี 51-53 พบว่ามีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 26.9% คือ 2,976 , 3,309 ล้านบาท และ 4,774 ล้านบาท ตามลำดับ

สำหรับ การกำหนดระดับราคา IPO ที่ 9.10 บาทต่อหุ้น มาจากการสำรวจปริมาณความต้องการซื้อหุ้น (Book Building) ของผู้ลงทุนสถาบัน โดยคิดอัตราส่วนราคาต่อกำไรสุทธิ (P/E) ประมาณ 8.58 เท่า


จาก http://www.manager.co.th   วันที่ 25 พฤษภาคม 2554

การเงินโลกวิปริตธปท.รับขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนจากแทรกแซงบาท

ผู้ว่า ธปท.รับ ระบบการเงินโลกวิปริต แนวโน้มดอลลาร์ฯ อ่อนไม่หยุด ดอกเบี้ยเอเชียขึ้น ส่งผลปีที่ผ่านมาธปท. ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนจากการแทรกแซงบาท และแม้ปีนี้ไตรมาสแรกจะพลิกกำไร แต่ทั้งปีคาดยังขาดทุนเบิ้ลอีกปี เล็งตั้งนิติบุคคล นำทุนสำรองลงทุนเพิ่ม หารายได้เพิ่มลดขาดทุน...

เมื่อวันที่ 24 พ.ค. นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ค่าเงินบาทที่มีความผันผวนมากขึ้นในช่วงนี้ เกิดจากปัจจัยเศรษฐกิจต่างประเทศ ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

โดยเฉพาะในสหภาพยุโรปที่มีปัญหาเรื่องหนี้สินของรัฐบาล รวมทั้งเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่มีปัญหาความเปราะบางในเรื่องการฟื้นตัว แต่ในช่วงที่ค่าเงินบาทอ่อนค่า ธปท.จะไม่ค่อยได้เข้าแทรกแซงมากนัก เพราะประเทศไทยเป็นประเทศส่งออก แต่ที่จะต้องดูแล คือ ลดความผันผวนให้ค่าเงินบาทค่อย ๆ เคลื่อนไหวแบบนิ่ง ไม่อ่อนค่าหรือแข็งค่าเร็วเกินไป เพราะจะเป็นปัญหาต่อผู้ประกอบการได้

นายประสาร กล่าวต่อว่า ขณะนี้ระบบการเงินโลกไม่สมดุลสูง เพราะในช่วงที่เศรษฐกิจสหรัฐถดถอยลง มีสัดส่วนในผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ของโลกประมาณ 20% แต่สัดส่วนที่ทั่วโลกใช้เงินดอลลาร์สหรัฐ ในการค้าขายยังอยู่ที่
80% แต่ประเทศเศรษฐกิจใหม่อย่างจีน ซึ่งขนาดเศรษฐกิจใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วกลับมีปริมาณเงินในตลาดเงินน้อยมาก ทำให้ทุกประเทศทั่วโลกยังต้องรับมือกับความผันผวนของเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งยังมีแนวโน้มอ่อนค่าลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีเงินสกุลอื่นมาใช้แทนดอลลาร์ได้ในขณะนี้ โดยคาดว่า ในกรณีของเงินหยวนคงใช้เวลาอีกประมาณ 10 ปีถึงจะสามารถขึ้นมาเป็นเงินสำรองระหว่างประเทศได้

“ตอนนี้ทุกประเทศได้รับผลกระทบทางลบจากปัญหาของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และค่าเงินที่ผันผวน ประเทศไทยก็ได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก ในปีที่ผ่านมา การแข็งค่าของเงินบาททำให้ธปท.ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท
จากการเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทไม่ให้แข็งเร็วเกินไป ขณะที่ในปีนี้ แม้ว่า ไตรมาสแรกค่าเงินบาทจะมีช่วงที่อ่อนค่าลง ทำให้งบดุลของธปท.มีกำไรจากการตีราคาอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท แต่ทั้งปีผมว่า ยังน่าจะเป็นผลขาดทุนมากกว่า เพราะหากดออลาร์สหรัฐฯ อ่อนค่าเร็ว ธปท.ก็ต้องดูแลค่าเงินบาท”ผู้ว่าการ ธปท. กล่าว

นายประสาร กล่าวอีกว่า เหตุผลที่ ธปท.มีปัญหาในเรื่องงบดุล มาจากผลตอบแทนในการลงทุนตามกฎหมายธปท.ในขณะนี้ ซึ่งส่วนใหญ่ธปท.ลงทุนในพันธบัตรของประเทศใหญ่และมีความมั่นคง คือ พันธบัตรสหรัฐฯ
ญี่ปุ่น สหภาพยุโรป และปอนด์ อังกฤษ ซึ่งในขณะนี้อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 0-0.25% ต่อปี ขณะที่การออกพันธบัตร ธปท.เพื่อสภาพคล่องในระบบการเงินไทย ไม่ให้มากเกินไปจากการไหลเข้าของเงินทุนต่างประเทศ มีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ ธปท.ต้องจ่ายอยู่ที่ 2.75% ต่อปี ทำให้อย่างไรก็หากำไรได้ยาก“ทำให้ในขณะนี้ ธปท.กำลังมีแนวคิดที่จะตั้งนิติบุคคลใหม่ขึ้นมา โดยมีการแก้กฎหมายธปท. อาจจะมีเป็นลักษณะกองทุนความมั่งคั่ง หรือบริษัทจำกัดเพื่อลงทุนเพิ่มเต้มในหุ้น และตราสารหนี้ประเภทใหม่ๆ ที่ได้ผลตอบแทนมากขึ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษา และหาข้อสรุป ซึ่งหากมีการแก้ไขจะต้องเสนอให้รมว.คลังคนใหม่รับทราบ และอนุมัติ” ผู้ว่าการธปท. กล่าว


จาก http://www.thairath.co.th วันที่ 25 พฤษภาคม 2554

ยัน1มิ.ย.นี้ธ.ก.ส.พร้อมเดินหน้าปุ๋ยราคาถูก

นายนิพนธ์ วงษ์ตระหง่าน ประธานคณะกรรมการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร เปิดเผยว่า วันที่ 26 พ.ค.นี้ จะร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อซักซ้อมความเข้าใจ ในการปฏิบัติตามโครงการการส่งเสริมการใช้ปุ๋ยเพื่อลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร โดยในวันที่ 1 มิ.ย. เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการสามารถติดต่อธ.ก.ส.ตามต่างจังหวัด และธ.ก.ส.จะให้สูตรปุ๋ย รวมทั้งรายละเอียดในการใช้ปุ๋ยต่อไร่ โดยราคาปุ๋ยจะใช้ตามราคาท้องถิ่น ซึ่งจะถูกกว่าราคาแนะนำของกระทรวงพาณิชย์ โดยเกษตรกรสามารถไปซื้อปุ๋ยจากร้านค้าที่ได้รับอนุญาตขายปุ๋ยโครงการประมาณ 1 หมื่นรายทั่วประเทศ

นอกจากนี้ ธ.ก.ส. ยังมีโครงการปล่อยสินเชื่อสำหรับซื้อปุ๋ย 3 หมื่นล้านบาท และพร้อมขยายวงเงินหากมีความต้องการเพิ่ม โดยคิด อัตราดอกเบี้ย MRR หรือ 7% ต่อปี ซึ่งเกษตรกรทุกคนจะได้รับสิทธิในโครงการสินเชื่อเพื่อซื้อปุ๋ย สำหรับขั้นตอนการปฏิบัติ เมื่อเกษตรกรขึ้นทะเบียนที่ธ.ก.ส.แล้ว ธ.ก.ส.จะออกใบจัดหาปุ๋ยให้เกษตรกรไปรับปุ๋ย ที่ร้านที่ขึ้นทะเบียน จากนั้นธ.ก.ส.จะโอนเงินค่าปุ๋ยให้ร้านค้า ตามใบจัดหาปุ๋ย ซึ่งจะมีการชดเชยส่วนต่างราคาปุ๋ยให้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการนี้ ในอัตรากิโลกรัม(ก.ก.)ละ 1.50 บาท หรือตันละ 1,500 บาท

อย่างไรก็ตาม ในภาคกลางจะใช้ปุ๋ยประมาณ 66 ก.ก.ต่อไร่ แต่เชื่อว่าในโครงการนี้จะช่วยลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเหลือประมาณ 40 ก.ก.ต่อไร่ และทางฝ่ายวิชาการคาดว่าจะใช้ปุ๋ยเฉพาะข้าวนาปีจากเดิม 1.8 ล้านตัน ลดลงเหลือ 1.5 ล้านตันต่อ 57 ล้านไร่ หรือประมาณ 20% ซึ่งโครงการนี้ยังมีมันสำปะหลัง, ข้าวโพด จะได้รับสิทธิในการซื้อปุ๋ยเช่นกัน ซึ่งจะใช้ปุ๋ยประมาณ 2.3 ล้านตัน และคาดว่าจะลดการใช้ปุ๋ยประมาณ 15-20%


จาก http://www.khaosod.co.th  วันที่ 25 พฤษภาคม 2554

วิจัยเชื้อราบิวเวอร์เรีย ผลิตง่ายปราบแมลงได้ดี

เชื้อราบิวเวอร์เรียช่วงฤดูกาลเพาะปลูก 2-3 ปีที่ผ่านมา ปัญหาการระบาดของโรคพืชและแมลง
ได้ทวีความรุนแรงมากขึ้นกว่าเดิม ทั้ง เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล หนอนกระทู้หอม หนอนห่อใบข้าว ฯลฯ

เกษตรกรต้องใช้สารเคมีจำนวนมากในการปราบแมลงศัตรูพืช ส่งผลถึงต้นทุนการผลิตสูงขึ้น แต่ผลผลิตกลับขายไม่ค่อยได้ราคา ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จึงจำเป็นต้องหาทางแก้ไขอย่างเร่งด่วน ซึ่งก็มี การนำสารชีวภาพ หรือเชื้อราชนิดหนึ่ง คือ เชื้อราบิวเวอร์เรีย เข้ามาร่วมปราบแมลงศัตรูพืชเหล่านี้

เนื่องจากมีราคาถูกและสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีได้ง่ายยิ่งขึ้น...นายยันต์ยงศ์ กุลสัมพันธ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืชและแมลง ซึ่งได้เข้ามาทำการวิจัยร่วมกับ กรมส่งเสริมการเกษตร บอกว่า เชื้อราบิวเวอร์เรีย (Beauveria bassiasna) ถูกค้นพบ เมื่อราวปี ค.ศ.1835 โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาลีที่ชื่อว่า Agostino Bassi delodi
มีลักษณะสปอร์รูปทรงกลม ก้านชูสปอร์ตั้งขึ้นเป็นเส้นยาว เรียงเป็นสายเดียวหรืออาจจะแยกเป็นกิ่งก้าน
กลุ่มของสปอร์เมื่อรวมกันจะเป็นรูปคล้ายจาน

สำหรับเส้นใยเป็นทรงกระบอก เส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5–2.0 ไมครอน มีสีใส โคโลนีเรียบเป็นฝุ่นคล้ายแป้ง หรือ ชอล์ก เป็นจุลินทรีย์ที่ค้นพบในดิน อาศัยกินซากสัตว์ที่เน่าเปื่อยผุพัง จัดเป็นเชื้อราทำลายแมลงแต่ไม่ทำลายพืช ซึ่ง
สามารถทำลายแมลงได้หลายชนิด ในอันดับ Homoptera Lepidoptera Coleoptera และ Diptera ซึ่งได้แก่ แมลงจำพวกเพลี้ยต่างๆ หนอนผีเสื้อ ด้วง และ แมลงวัน หรือแม้กระทั่ง ยุง...

“ในการทดลองกับแมลงในห้องแล็บ พบว่า กลไกการเข้าทำลายแมลงของเชื้อราบิวเวอร์เรีย คือ เมื่อสปอร์ของเชื้อราสัมผัสกับผิวของแมลง ในสภาพความชื้นที่เหมาะสม (ความชื้นสัมพัทธ์ 50% ขึ้นไป) จะงอกเส้นใยแทงผ่านผิวหนังเข้าไปในลำตัวแมลง แล้วขยายจำนวนเจริญอยู่ภายในโดยใช้เนื้อเยื่อของแมลงเป็นอาหาร แมลงจะตายในที่สุด ภายในระยะเวลาต่างๆ ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาด และวัยของแมลง โดยทั่วไปประมาณ 3–14 วัน

เชื้อราบิวเวอร์เรียสามารถนำมาใช้ในการกำจัดแมลงศัตรูพืชเศรษฐกิจที่สำคัญหลายชนิด เช่น แมลงศัตรูข้าว ได้แก่ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ บั่ว หนอนห่อใบ ใน มะม่วง ได้แก่ เพลี้ยจักจั่นที่ทำลายช่อมะม่วง
แมลงค่อมทอง ในพืชตระกูลส้ม ได้แก่ เพลี้ยอ่อนส้ม เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยไฟ ไรแดง สำหรับพืชผัก ได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ ไรขาว แมลงหวี่ขาว หนอนผีเสื้อต่างๆ ส่วนพืชเศรษฐกิจอีกตัวหนึ่งคือ อ้อย ได้แก่ แมลงค่อมทอง” นายยันต์ยงศ์กล่าว

จาก http://www.thairath.co.th วันที่ 23 พฤษภาคม 2554

โรงงานน้ำตาลพิมายโคราชหอบเงินที่คิดเกินคืนเกษตรกรชาวไร่อ้อยบุรีรัมย์กว่า 2 ล้าน

ตัวแทนโรงงานน้ำตาลพิมาย โคราช นำเงินสดมาคืนให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย อ.หนองหงส์ จ.บุรีรัมย์กว่า 2 ล้านบาท หลังเกษตรกรร้องเรียนว่าถูกเจ้าหน้าที่ของโรงงานฯ โกงเงินค่าปุ๋ยและค่าไถไร่อ้อยไป 70 รายกว่า 10 ล้านบาท

จากกรณีที่เกษตรกรชาวไร่อ้อย อ.หนองหงส์ จ.บุรีรัมย์ ออกมาร้องเรียนโรงงานน้ำตาลพิมาย จ.นครราชสีมา ให้แสดงความรับผิดชอบ หลังพนักงานโรงงานฯ “ทำบัญชีปลอม” ใช้ชื่อเกษตรกรทำเรื่องเบิกเงินค่าปุ๋ย ค่าไถจากโรงงาน มีเกษตรกร 2 ตำบล กว่า 70 คนถูกโกงเงินไปนับ 10 ล้านบาท

ล่าสุดนายสมบูรณ์ จาตุรชาต ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาอ้อย โรงงานน้ำตาลพิมาย ซึ่งเป็นตัวแทนของโรงงานน้ำตาล ได้นำเงินสดมาจ่ายคืนให้กับเกษตรกร ที่มีบัญชีถูกโกงเงินค่าปุ๋ย และค่าไถไร่อ้อย ที่ศูนย์ส่งเสริมการปลูกอ้อยบ้านโนนศรีคูณ โรงงานน้ำตาลพิมาย ต.เสาเดียว อ.หนองหงส์ จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเบื้องต้นมีเกษตรกรมาแจ้งรายละเอียด พร้อมนำหลักฐานมาขอรับเงินคืนกว่า 2 ล้านบาท ที่เหลือคาดว่าจะทยอยนำหลักฐานมาขอรับเงินคืนเพิ่มเติมอีก ทั้งนี้ผู้จัดการฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาอ้อย โรงงานน้ำตาลพิมาย ได้ชี้แจงว่าการนำเงินมาคืนในครั้งนี้ ทางโรงงานได้บวกดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรด้วย ส่วนที่เจ้าหน้าที่ของโรงงานน้ำตาลพิมาย คือนายมงคล ศิลปานนท์ อายุ25 ปี ตำแหน่งหัวหน้าศูนย์ส่งเสริมการปลูกอ้อย และนายมานพ พิพัธน์ อายุ 28 ปี ตำแหน่งเจ้าหน้าที่ส่งเสริม ซึ่งได้ทำการปลอมแปลงเอกสารของเกษตรกร ที่ปลูกอ้อยในเขตตำบลห้วยหินและตำบลเสาเดียว อ.หนองหงส์ ซึ่งขณะนี้ทางโรงงานได้ทำการแจ้งความเพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจ ติดตามตัวทั้ง 2 มาสอบสวนและดำเนินตามกฎหมายแล้ว


จาก http://thainews.prd.go.th  วันที่ 22 พฤษภาคม 2554

ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชรเร่งให้ความช่วยเหลือเกษตรกรที่มีอ้อยคงเหลือ

สืบเนื่องจาก จังหวัดกำแพงเพชรได้รับการร้องเรียนจากเกษตรกรชาวไร่อ้อยจังหวัดกำแพงเพชร ซึ่งเป็นคู่สัญญากับโรงงานน้ำตาลทรายนครเพชร และโรงงานน้ำตาลกำแพงเพชรว่า ได้รับความเดือดร้อนเนื่องจากประสบภาวะวิกฤตทางธรรมชาติโดยฝนตกเร็วกว่าปกติ ทำให้การเก็บเกี่ยวอ้อยต้องล่าช้าออกไปและมีอ้อยคงเหลือในไร่ประมาณ 150,000 ตัน (หนึ่งแสนห้าหมื่นตัน) ประกอบกับโรงงานน้ำตาลทั้งสองแห่งมีกำหนดวันปิดหีบ วันที่ 13 พฤษภาคม 2554

นายวันชัย สุทิน ผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชร จึงได้สั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมพิจารณาหาทางช่วยเหลือ หรือบรรเทาความเดือดร้อนเกษตรกรชาวไร่อ้อย โดยขอขยายระยะเวลาการปิดหีบของโรงงานน้ำตาลทั้งสองโรง ซึ่งขณะนี้โรงงานยังคงเปิดหีบอย่างต่อเนื่อง การขอให้โรงงานน้ำตาล สมาคมไร่อ้อยเขต 6 กำแพงเพชร ให้ความช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อน โดยรับซื้อพันธ์อ้อยคงเหลือจากเกษตรกรใช้ทำพันธ์ในปีต่อไปอยู่ในระหว่างดำเนินการ การขอยืมเงินจากค่าอ้อยไฟไหม้ จากบัญชีคณะทำงานควบคุมการผลิตโรงงานน้ำตาล การขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายอยู่ในระหว่างดำเนินการ และในส่วนของการจัดตั้งคณะทำงานสำรวจ พื้นที่ ปริมาณอ้อย และจำนวนเกษตรกรที่ได้รับความเสียหาย เพื่อให้ความช่วยเหลือเกษตรกรขณะนี้จังหวัดกำแพงเพชรได้แต่งตั้งคณะทำงานชุดนี้จำนวน 14 ท่าน โดยมีรองผู้ว่าราชการจังหวัดกำแพงเพชรเป็นประธานคณะทำงาน เกษตรและสหกรณ์จังหวัด เกษตรจังหวัด พาณิชย์จังหวัด ปลัดอำเภอในพื้นที่ที่นายอำเภอมอบหมาย นายไพบูลย์ พรมวงค์ นายจงกล ใยยวง ผู้แทนโรงงานน้ำตาลนครเพชร นายนิทันธ์ เหลืองกอบกิจ นายไชยวัฒน์ ก้อนจันทร์เทศ ผู้แทนโรงงานน้ำตาลทรายนครเพชร นายวิทูรล์ ศักดี นายมงคล พัฒนศักดิ์ภิญโญ ผู้แทนสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 6 กำแพงเพชร ผู้อำนวยการ สำนักงาน ธกส. กำแพงเพชร เป็นคณะทำงาน และแต่งตั้งอุตสาหกรรมจังหวัดกำแพงเพชรเป็นคณะทำงานและเลขานุการ หัวหน้าเขตประสานงานอ้อยและน้ำตาลทรายเขต 2 เป็นคณะทำงานและผู้ช่วยเลขานุการ

จาก http://thainews.prd.go.th  วันที่ 19 พฤษภาคม 2554

แหย่โรงงานอย่ามั่วนิ่ม

กระทรวงอุตสาหกรรม สั่งการให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมและสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศ
เข้มงวดการกำกับดูแลโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ โดยเฉพาะโรงงานที่ถูกร้องเรียน และตรวจสอบพบการไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย จะถูกสั่งหยุดดำเนินการ...

นายวิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้สั่งการให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทั่วประเทศ ให้ความเข้มงวดการกำกับดูแลโรงงานอุตสาหกรรมทั่วประเทศ โดยเฉพาะโรงงานที่ถูกร้องเรียนและตรวจสอบพบการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะถูกสั่งหยุดดำเนินการในส่วนที่มีปัญหาไว้ก่อนจนกว่าจะปรับปรุงแก้ไข เพราะเป็นเรื่องที่ส่งผลกระทบให้ประชาชนเดือดร้อนและไม่สามารถผ่อนผันได้

ซึ่งกรมโรงงานอุตสาหกรรมจะเป็นผู้ติดตาม ร่วมกับชุมชนว่าโรงงานได้ปรับปรุงแก้ไขตามคำสั่งหรือไม่
“กระทรวงอุตสาหกรรมกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบโรงงานที่มีประวัติถูกร้องเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างเข้มงวด โดยกำหนดให้มีการขึ้นบัญชีดำโรงงานที่มีประวัติถูกร้องเรียนซ้ำซาก ซึ่งโรงงานที่ถูกร้องเรียนในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง 3 ครั้งใน 1 ปี และไม่มีการปรับปรุงแก้ไขจะถูกจัดอยู่ในบัญชีดำ ซึ่งจะมีผลต่อการพิจารณาต่อใบอนุญาตโรงงาน ซึ่งหากกระทรวงอุตสาหกรรมยืนยันไม่ต่อใบอนุญาตให้ จะไม่สามารถประกอบการต่อได้”

นายวิฑูรย์ กล่าวว่า ในอนาคตมีแนวโน้มที่โรงงานจะถูกร้องเรียนมากขึ้น เพราะประชาชนรู้ข้อมูลข่าวสารและให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โรงงานใดที่ไม่มีข้อร้องเรียนและทำถูกต้องตามกฎหมาย จะต่ออายุใบอนุญาตโรงงานเสร็จภายใน 30 นาที.


จาก http://www.thairath.co.th  วันที่ 19 พฤษภาคม 2554

ผลผลิตอ้อยสูงเกินคาด สร้างมูลค่าเพิ่มขึ้นกว่า 50,000 ล้านบาท

นายประเสริฐ ตปนียางกูร เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กล่าวว่า ผลผลิตอ้อยปีนี้ดีกว่าที่คาดไว้มาก เดิมคาดจะผลิตได้ 66 ล้านตันอ้อย แต่ข้อมูลล่าสุดคาดว่าจะเพิ่มเป็น 94-94.5 ล้านตันอ้อย ซึ่งจะทำให้สามารถผลิตน้ำตาลทรายได้ถึง 9.57 ล้านตัน หรือคิดเป็น 95.4 ล้านกระสอบ ด้วยอัตราผลผลิตน้ำตาลเฉลี่ยที่ 101.8 กิโลกรัมต่อตันอ้อย จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้อุตสาหกรรมอ้อยสร้างมูลค่าเพิ่มปีนี้สูงจากปีก่อน 50,000 ล้านบาท คือ จาก 1.3 แสนล้านบาท เป็น 1.8 แสนล้านบาท

สำหรับการช่วยเหลือเงินค่าอ้อยให้เกษตรกรตันละ 105 บาทต่อตันอ้อยนั้น เดิมคาดว่าจะมีผลผลิตอ้อยรวม 66 ล้านตัน แต่ผลพวงจากปริมาณน้ำที่เพิ่มขึ้น การปลูกอ้อยที่มากขึ้น ทำให้ผลผลิตเพิ่มเป็น 94 ล้านตันอ้อย กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจึงต้องกู้เงินเพื่อใช้ จากเดิมคาดว่าจะกู้จาก ธ.ก.ส. 6,930 ล้านบาท เพิ่มเป็น 9,922.5 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 40

สำหรับสถานการณ์การหีบอ้อยของโรงงานผลิตน้ำตาล ขณะนี้เข้าสู่ช่วงปลายแล้ว มีการปิดหีบแล้ว 27 โรง แต่ผลจากการที่มีผลผลิตเพิ่มขึ้นดังกล่าว จึงยังคงมีอ้อยที่เข้าสู่โรงงานอย่างต่อเนื่อง จึงยังมีอีก 19 โรงหีบอ้อยที่ยังเดินเครื่องอยู่ แต่จากฝนที่ตกมากในช่วงนี้ ทำให้การนำอ้อยเข้าสู่กระบวนการหีบเป็นไปอย่างลำบาก คาดว่าจะปิดหีบได้ช้ากว่าปีที่ผ่านมา โดยคาดจะปิดหีบในปลายเดือนนี้หรือสัปดาห์แรกของเดือนมิถุนายน. – สำนักข่าวไทย

จาก http://www.mcot.net  วันที่ 18 พฤษภาคม 2554

KSLจ่อขยายรง.น้ำตาล-ไฟฟ้าเฟส2

“น้ำตาลขอนแก่น”จ่อขยายโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าที่เลยเฟส 2 ในปี 58 คาดว่าใช้เงินลงทุน 3 พันล้านบาท หลังจากโครงการลงทุนโรงงานน้ำตาล1.6 หมื่นตันอ้อย/วันและโรงไฟฟ้า 40เมกะวัตต์เฟสแรกเดินเครื่องเชิงพาณิชย์ในปี56 เตรียมออกหุ้นเพิ่มทุน 155 ล้านหุ้นเสนอขาย ส.ค.-ก.ย.นี้ เพื่อใช้ลงทุนโครงการเฟสแรกนี้

นายจำรุญ ชินธรรมมิตร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด(มหาชน) (KSL) เปิดเผยแผนการลงทุนว่า ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯได้อนุมัติแผนการลงทุนโครงการโรงงานน้ำตาลขนาด 16,000 ตันอ้อย/วัน และโรงไฟฟ้าขนาด 40 เมกะวัตต์ ที่จังหวัดเลย เงินลงทุนในการก่อสร้างโรงงานประมาณ 3,800 ล้านบาทนั้น ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างการทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(EHIA) คาดว่จะแล้วเสร็จใน6-12 เดือนนี้ หลังจากนั้นจะดำเนินการก่อสร้าง และผลิตเชิงพาณิชย์ได้ภายในปี 2556 คาดว่าจะดำเนินการตั้งแต่ปีนี้ และแล้วเสร็จดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ในปี 2556

ทั้งนี้ หากมีปริมาณอ้อยมากเพียงพอ บริษัทฯก็มีแผนจะลงทุนสร้างโรงงานน้ำตาลเฟสที่ 2 ขนาดกำลังการผลิต 16,000ตันอ้อย/วัน และสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มอีก 40 เมกะวัตต์ จะใช้เงินลงทุนไม่เกิน 3 พันล้านบาท เนื่องจากไม่ต้องลงทุนที่ดินเพิ่มเติม คาดว่าจะเริ่มได้หลังจากการลงทุนเฟสแรกดำเนินการไม่เกิน 2 ปี การตัดสินใจลงทุนครั้งนี้ เนื่องจากอ้อยเป็นพืชพลังงาน และไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ที่ผ่านมาเกษตรกรหันมาปลูกอ้อยเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากราคาตลาดโลกดี เพราะเป็นพืชอาหารและพืชพลังงาน โครงการลงทุนทั้ง 2เฟสดังกล่าวข้างต้น เชื่อว่าจะไม่มีปัญหาปริมาณอ้อยเข้าหีบแต่อย่างใด ภายหลังจากการลงทุนโครงการโรงงานน้ำตาลเฟสแรกเสร็จแล้ว บริษัทฯจะมีกำลังการผลิตรวม 8 ล้านตันอ้อย/ปี หรือคิดเป็นน้ำตาลทราย 8 แสนตัน/ปี แต่เมื่อโครงการโรงงานน้ำตาลเฟส 2 สร้างเสร็จแล้ว จะมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 9 ล้านตันอ้อย/ปี หรือคิดเป็นน้ำตาลทราย 9 แสนตัน/ปี

ส่วนโรงไฟฟ้าทั้ง 2 เฟสจะขายเข้าระบบการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)เฟสละ 14 เมกะวัตต์ คิดเป็นการขายไฟฟ้าให้กฟผ.28 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันที่โรงงานน้ำตาลในเครือฯขายไฟให้กับกฟผ.อยู่แล้ว อาทิ โรงงานน้ำตาล อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่นขายไฟให้กฟผ. 20 เมกะวัตต์ โรงงานน้ำตาลที่บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี ขายไฟให้กฟผ. 22 เมกะวัตต์ โดยธุรกิจไฟฟ้าปีที่ผ่านมา ทำรายได้ให้บริษัทฯประมาณ 400 ล้านบาท

นายจำรูญ กล่าวถึงแหล่งเงินที่ใช้ในการลงทุนเฟสแรกว่า แหล่งเงินทุนจะมาจากการออกหุ้นเพิ่มทุน (PO) จำนวน 155 ล้านหุ้น ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการขออนุมัติจากกลต. คาดว่าจะนำเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนได้ในเดือนส.ค.-ก.ย.นี้ คาดว่าจะได้เงินจากการขายหุ้นเพิ่มทุนประมาณ 2 พันล้านบาท ส่วนวงเงินที่เหลืออีก 1.8-2 พันล้านก็จะกู้ยืมจากสถาบันการเงินในประเทศขณะนี้บริษัทฯได้เจรจากับ 4 ธนาคารพาณิชย์แล้ว

สำหรับฤดูกาลที่เพิ่งปิดไปปี 2553/2554 พบว่าราคาขายน้ำตาลส่งออกอยู่ที่ 26 -27 เซ็นต์/ปอนด์ เฉลี่ยแล้วสูงกว่าราคาตลาดที่ 22 เซ็นต์/ปอนด์ ปีหน้าคาดว่าราคาน้ำตาลโลกไม่น่าสูงมากอยู่ที่ปอนด์ละ 20-21 เซ็นต์ เนื่องจากปริมาณอ้อยของไทยปีนี้ผลิตได้มาก 95 ล้านตันอ้อย และราคาอ้อยที่เกษตรกรได้รับตันอ้อยละ 1 พันบาท เป็นราคาที่เกษตรกรพอใจทำให้ปีหน้าคาดว่าปริมาณการผลิตอ้อยของไทยจะเพิ่มขึ้นเป็น 100 ล้านตันอ้อย


จาก http://www.manager.co.th  วันที่ 17 พฤษภาคม 2554

ชาวไร่อ้อยหนองหงโวยโรงงานน้ำตาลพิมายยัดหนี้ 10 ล้าน

ชาวไร่อ้อยจำนวนมากได้รับความเดือดร้อนจากโรงงานน้ำตาล

บุรีรัมย์ - ชาวไร่อ้อยหนองหงส์โวยโรงงานน้ำตาลพิมาย โคราช ไม่รับผิดชอบ หลังลูกน้องโรงงานฯ "ทำบัญชีผี" ใช้ชื่อเกษตรกรทำเรื่องเบิกเงินค่าปุ๋ย ค่าไถจากโรงงาน เกษตรกร 2 ตำบลกว่า 70 คนถูกโกงเงินไปนับ 10 ล้านบาท โรงงานปัดความรับผิดชอบ วอนปลดล๊อกสัญญาทาส คำตา ขู่บุกโรงงานน้ำตาล หากไม่ได้รับความเป็นธรรม

วันนี้ (15 พ.ค.54) เกษตรกรชาวไร่อ้อย ต.ห้วยหิน และ ต.เสาเดียว อ.หนองหงส์ จ.บุรีรัมย์ ได้รวมตัวลงลายชื่อเพื่อร้องขอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย หลังจากโรงงานน้ำตาลพิมาย จ.นครราชสีมา หักเงินจากการขายอ้อยให้กับโรงงานเกินจริง โดยอ้างว่าเกษตรกรเบิกปุ๋ยเคมี และค่าไถไร่อ้อย เกษตรกรเชื่อว่ามีการทำ "บัญชีผีลายเซ็นต์ปลอม" เกิดขึ้นเพื่อนำมาหักเงินของเกษตรกรที่ขายอ้อยให้โรงงาน ทั้งที่เกษตรกรไม่ได้เบิก หรือเบิกปุ๋ยไม่ถึงจำนวนที่บัญชีแจ้งสร้างความเดือดร้อนให้กับเกษตรกร ไม่มีกำไร กลับมีหนี้สินเพิ่ม ทั้งที่จะต้องมีกำไรจากการทำไร่อ้อย หลายรายไม่ได้ทำไร่อ้อยมาหลายปี กลับมีชื่อเบิกปุ๋ย เชื่อว่าตัวแทนของโรงงานและคนในโรงงานร่วมกันโกงเกษตรกรพยายามติดต่อโรงงานกลับบ่ายเบี่ยงอ้างว่าคนดำเนินการเรื่องนี้หนีไปแล้วยิ่งสร้างความกังวนใจให้กับเกษตรกรเป็นอย่างมาก

นางสมร ตาชูชาติ อายุ 53 ปี อยู่เลขที่ 42 หมู่ 10 ต.เสาเดียวอ.หนองหงส์ เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย บอกว่าในปีการปลูกอ้อย 2553/2554 เบิกปุ๋ยจากโรงงานน้ำตาลมา 800 ถุง หลังจากตัดอ้อยส่งโรงงานปีนี้ ปรากฏว่า มียอดหักหนี้เป็นปุ๋ยเคมี ถึง 1,070 ถุง ครอบครัวตกใจเป็นอย่างมาก จึงตรวจสอบไปยังโรงาน พบว่า นอกจากปีที่ผ่านมาเบิก 1,070 ถุงแล้ว ปีนี้ยังพบมีการเบิกปุ๋ยอีก 140 ถุงทั้งที่ปีนี้เบิกปุ๋ยเพียงกำลังเบิก 40 ถุง รวมแล้วมีปุ๋ยเกินจากที่เบิกจริงจำนวน 400 ถุง คิดเป็นเงินไม่ต่ำกว่า 400,000 บาท เป็นหนี้ที่ตนเองไม่ได้ก่อขึ้น

ด้านนางดวงพร คงบรรจง ผู้ใหญ่บ้านหมู่ 2 ต.ห้วยหิน อ.หนองหงส์ บอกว่า เกษตรกรชาวไร่อ้อยขณะนี้ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เพราะนอกจากจะบัญชีปุ๋ยเกิดขึ้นเกินจริงแล้ว ยังมีเงินหักจากโรงงานเป็นค่ารถไถส่วนหนึ่ง ทั้งที่เกษตรกรไถกันเอง เกษตรกรบางรายปลูกอ้อยครั้งแรก หวังจะได้กำไรจากการขายอ้อย เนื่องจากปีทีผ่านมาอ้อยมีราคา แต่ต้องมีหนี้เพิ่มขึ้นอีก ขณะนี้มีประมาณ 70 คน ใน 2 ตำบล มูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 10 ล้านบาท ยังไม่นับที่ยังไม่กล้ามาร้องทุกข์ เพราะเกรงว่าโรงงานน้ำตาลจะไม่ปล่อยเงินส่งเสริมให้อีก

ผู้ใหญ่บ้าน ยังเล่าด้วยว่า หลังจากนั้นเกษตรกรได้เดินทางไปพบกับผู้จัดการโรงงานน้ำตาล แต่กลับปฏิเสธอ้างว่าไม่ทราบเรื่อง ขณะที่ตัวแทนบริษัทโรงงานน้ำตาลหนีลอยนวล จึงอยากจะให้โรงงานน้ำตาลพิมายออกมาแสดงความรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เพราะเรื่องนี้เคยเกิดมานาน แต่ครั้งนี้หนักที่สุด

พร้อมกับเรียกร้องให้สมาคมชาวไร่อ้อย ปลดล๊อกโควตาส่งอ้อย เพราะเท่ากับเป็นสัญญาทาส เกษตรกรไม่มีทางเลือกสถานทีจำหน่าย

ขณะนายคำตา แคนบุญจันทร์ เลขาธิการชมัชชาเกษตรกรรายย่อยภาคอีสาน บอกว่า เกษตรกรได้รับความเดือดร้อนในลักษณะดังกล่าวมานาน แม้ไม่มีสิทธิ์เรียกร้องอะไรมาก เมื่อเกษตรกรกล้าออกมาโต้ โรงงานน้ำตาล จะต้องรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมด เพราะโรงงานน้ำตาลส่งตัวแทนไปพบเกษตรกร หากยังไม่มีความคืบหน้ากลุ่มเกษตรกรชาวไร่อ้อยจังหวัดบุรีรัมย์อาจจะมีการเคลื่อนไหวไปที่หน้าโรงงานน้ำตาลพิมายจนกว่าได้รับความยุติธรรม

จาก http://www.manager.co.th  วันที่ 15 พฤษภาคม 2554

โรงงานน้ำตาลแนะเร่งลดสิ่งปนเปื้อนในอ้อย

นางวัลยารีย์ ไพสุขศานติวัฒนา เลขานุการคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ของ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า ในปีนี้การปิดหีบอ้อยของโรงงานต่างๆ จะปิดช้ากว่าปีก่อนๆ เนื่องจากปริมาณอ้อยในปีนี้มีมากเป็นประวัติการณ์ โดยขณะนี้โรงงานที่ปิดหีบแล้วมีเพียง 20 แห่ง จาก 46 แห่ง ซึ่งประมาณอ้อยที่มีมากนี้ นอกจากมีการเพิ่มพื้นที่ปลูกอ้อยแล้ว ผลผลิตต่อไร่ก็เพิ่มขึ้นด้วย จากปีก่อนมีผลผลิตอ้อยเฉลี่ย 9.9 ตันต่อไร่ ปีนี้ขยับขึ้นมาเป็นเฉลี่ย 13 ตันต่อไร่ ซึ่งถือเป็นความสำเร็จร่วมกันของชาวไร่อ้อย โรงงานน้ำตาล และภาครัฐที่ช่วยกันสนับสนุนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย แต่อ้อยที่เข้าหีบปีนี้ มีอ้อยไฟไหม้และสิ่งปนเปื้อนในสัดส่วนที่ค่อนข้างสูง ทำให้ปริมาณน้ำตาลต่อตันอ้อย (ยิลด์) ต่ำกว่าที่ควร

ทั้งนี้ ในฤดูการผลิตปี 2553/2554 มีปริมาณอ้อยเข้าหีบแล้ว 92.8 ล้านตัน ผลิตน้ำตาลได้ 94.8 ล้านกระสอบ คิดเป็นปริมาณน้ำตาลต่อตันอ้อย (ยิลด์) ประมาณ 102 กิโลกรัมต่อตันอ้อย โดยมีสัดส่วนของอ้อยไฟไหม้สูงถึงประมาณร้อยละ 66 จากปีก่อนมีสัดส่วนของอ้อยไฟไหม้หลังปิดหีบแล้วประมาณร้อยละ 64 เท่านั้น ซึ่งแนวโน้มของยิลด์อาจจะต่ำกว่า 100 กิโลกรัมต่อตันอ้อย ทำให้ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายต้องเร่งทำความเข้าใจเรื่องของการลดสิ่งปนเปื้อนเพื่อเพิ่มคุณภาพอ้อย เพราะสิ่งปนเปื้อนมากับอ้อยนอกจากจะมีผลทำให้ยิลด์ลดลงแล้ว ยังส่งผลเสียต่อเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตน้ำตาลทรายด้วย ทำให้อุปกรณ์สับ หั่น ชำรุดเสียหาย ต้องเปลี่ยนบ่อยขึ้น เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลทรายจะร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ เร่งสร้างความเข้าใจกับชาวไร่อ้อยถึงผลเสียของอ้อยไฟไหม้และสิ่งปนเปื้อน หรือเสนอให้ภาครัฐมีสิทธิพิเศษจูงใจให้ชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อส่งผลผลิตให้ทางโรงงาน เช่น การลดดอกเบี้ยเงินกู้ หรือได้สิทธิพิเศษกรณีซื้อปุ๋ยในราคาพิเศษ เพื่อแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ที่ตั้งเป้าจะลดปัญหาอ้อยไฟไหม้ และลดสิ่งปนเปื้อน ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นคงให้กับอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของไทยในระยะยาว.-สำนักข่าวไทย


จาก http://www.mcot.net  วันที่ 15 พฤษภาคม 2554

น้ำตาลครบุรีกำหนดราคาเสนอขาย

สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า บมจ.น้ำตาลครบุรี ได้กำหนดราคาเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก(IPO)ไว้ที่ 9.10 บาท/หุ้น โดยบริษัทฯจะเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน 150 ล้านหุ้น และนายโกศล นันทิลีพงศ์, นางธาริณี เสริมลีลาธรรม, นายกันย์ ถวิลเติมทรัพย์ และนายธีรวัฒน์ ถวิลเติมทรัพย์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นเดิม จะเสนอขายรายละ 6.50 ล้านหุ้น รวมจำนวนเสนอขาย IPO ทั้งสิ้น 176 ล้านหุ้น ทั้งนี้ ได้กำหนดระยะเวลาจองซื้อไว้ในวันที่ 19-20 และ 23 พ.ค. 2554

ก่อนหน้านี้ นายวรวัจน์ สุวคนธ์ กรรมการผู้จัดการฝ่ายวาณิชธนกิจ บล.กสิกรไทย ในฐานะที่ปรึกษาทางการเงิน บมจ.น้ำตาลครบุรี คาดว่าจะสามารถนำหุ้น บมจ.น้ำตาลครบุรี เข้าซื้อขายในตลาดหุ้นได้ในวันที่ 27 พ.ค.54

ทั้งนี้ บมจ.น้ำตาลครบุรี ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย และธุรกิจที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์พลอยได้ที่ได้จากการผลิตน้ำตาลทราย โดยบริษัทมีรายได้จากการขายน้ำตาลเป็นรายได้หลักคิดเป็น 80% ของรายได้รวม


จาก http://www.thanonline.com  วันที่ 13 พฤษภคม 2554

น้ำตาลโลกล้น2เดือนราคาร่วงฮวบ

วงการน้ำตาลจับตา 2 เดือน ราคาน้ำตาลดิบโลกร่วงกราวรูดจาก 36.08 เซ็นต์/ปอนด์ลงมาอยู่ที่ 20.47 เซ็นต์/ปอนด์ หวั่นราคาในประเทศสูงกว่าตลาดโลก เปิดช่องให้พ่อค้าหัวใสแอบส่งออกเป็นโควตา ค. แล้วตีกลับมาขายเป็นโควตา ก.ในประเทศ

ด้านอนท.ชี้ 4 เหตุหลักทำน้ำตาลโลกกลับหัวกลับหาง เลขาฯสอน.ชี้น้ำตาลส่งออกปีนี้ขายเกือบหมดแล้วส่วนใหญ่ไม่กระทบ ยังมั่นใจราคาตลาดโลกขาขึ้น ล่าสุดขายตลาดล่วงหน้าฤดูผลิตใหม่ไปแล้ว23%ได้ราคา 25.48 เซ็นต์/ปอนด์

แหล่งข่าวจากวงการน้ำตาล เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ"ว่าขณะนี้ราคาน้ำตาลดิบ และน้ำตาลทรายขาวในตลาดโลก กลับมาผันผวนหนักขึ้นโดยทิ้งห่าง 2 เดือน ราคาร่วงลงมาฮวบฮาบ จากที่ราคาน้ำตาลดิบเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2554 มีราคาสูงสุดอยู่ที่ 36.08 เซ็นต์/ปอนด์ ล่าสุดราคาปิดตลาดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2554 ลงมาอยู่ที่ 20.47 เซ็นต์/ปอนด์ ขณะที่ราคาน้ำตาลทรายขาวในช่วงที่ราคาสูงสุดในเดือนกุมภาพันธ์ อยู่ที่ 857 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน แต่ขณะนี้ราคาปิดตลาดลงมาอยู่ที่ 582 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน(ไม่รวมพรีเมียม) ซึ่งการผันผวนของราคาในครั้งนี้ส่วนหนึ่งเกิดจากสาเหตุที่ขณะนี้ปริมาณน้ำตาลโลกเปรียบเทียบกับการบริโภคอยู่ในระดับใกล้เคียงกันจึงทำให้ราคาน้ำตาลดิบและน้ำตาลทรายขาวอ่อนตัวลงมา

"หากราคาน้ำตาลในประเทศยืนอยู่ในระดับสูงกว่าราคาน้ำตาลในตลาดโลก ก็จะทำให้ผู้ค้าน้ำตาลบางรายส่งออกน้ำตาลโควตา ค. แล้วตีกลับมาขายเป็นน้ำตาลโควตา ก.ได้เพื่อจะได้ราคาที่สูงกว่าราคาส่งออกแบบที่เคยเกิดขึ้นมาในช่วงที่ราคาน้ำตาลในตลาดโลกอ่อนตัวลงมาในระดับต่ำกว่าราคาในประเทศ"

ต่อเรื่องนี้นายสุรัตน์ ธาดาชวสกุล ผู้จัดการบริษัท อ้อยและน้ำตาลไทยฯ (อนท.) กล่าวว่าจากการผันผวนของราคาน้ำตาลในตลาดโลกทำให้มีความเป็นไปได้ว่าราคาน้ำตาลทรายขาวต่อกิโลกรัมในตลาดโลกจะลงมาอยู่ในฐานราคาที่ต่ำกว่าราคาน้ำตาลทรายขาวในประเทศไทยในอนาคต แต่ทั้งนี้ต้องดูองค์ประกอบจาก 4 เหตุผลหลักด้วยที่ทำให้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกอ่อนตัวลงมามากน้อยแค่ไหน โดยเหตุผลประการแรกเกิดจากที่ฤดูการผลิตอ้อยและน้ำตาลปี 2553/2554 ของไทย มีปริมาณอ้อยเข้าสู่ระบบ 92 ล้านตันอ้อยจากที่คาดการณ์ว่าปีนี้จะมีปริมาณอ้อยประมาณ 70 ล้านตันอ้อยเท่านั้น จึงทำให้มีปริมาณน้ำตาลในประเทศรวมทั้งสิ้นประมาณ 9 ล้านตันน้ำตาลหรือ 90 ล้านกระสอบ ในจำนวนนี้จะจัดสรรเป็นน้ำตาลสำหรับบริโภคในประเทศ(โควตา ก.) จำนวน 25 ล้านกระสอบ และมีน้ำตาลสำรองไว้กรณีน้ำตาลขาดตลาดอีก 3 ล้านกระสอบ ที่เหลือจะเป็นปริมาณน้ำตาลสำหรับส่งออก(โควตา ค.)ทำให้ตลาดโลกมีน้ำตาลเพิ่มขึ้นสูงเกินความต้องการใช้แล้วในขณะนี้

ประการที่สอง ประเทศบราซิลเริ่มฤดูการผลิตใหม่ปี2554/2555 โดยเริ่มต้นฤดูผลิตตั้งแต่เดือนเมษายนของทุกปี ก็จะทำให้มีน้ำตาลจากบราซิลเข้าสู่ตลาดโลกมากขึ้น โดยคาดว่าจะมีผลผลิตอ้อยเกิน 600 ล้านตันอ้อย และจะมีน้ำตาลประมาณ 40 ล้านตันน้ำตาลออกมา ประการที่สาม ประเทศอินเดียขณะนี้ยังไม่ได้ปิดหีบอ้อยโดย 7 เดือนแรกเริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2553 ถึงเดือนเมษายนปี 2554 สามารถผลิตน้ำตาลได้แล้ว 22.6 ล้านตัน ซึ่งมีปริมาณเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วในช่วงเดียวกันที่ผลิตน้ำตาลได้ 18.2 ล้านตัน หรือประมาณ 24% และทั้งปีผลิตได้ 18.8 ล้านตัน ปีนี้ทั้งปีคาดการณ์ว่าอินเดียจะผลิตน้ำตาลได้มากถึง 24-25 ล้านตัน ขณะที่ปริมาณการบริโภคในอินเดียจะมีประมาณ 22-23 ล้านตัน ทำให้มีน้ำตาลส่งออกประมาณ 2 ล้านตัน โดยล่าสุดอินเดียอนุญาตให้มีการส่งออกมายังตลาดโลกแล้วประมาณ 500,000 ตัน แสดงว่านับจากนี้ไปซัพพลายในตลาดจะค่อยๆเพิ่มขึ้นอีก

ประการที่สี่เกิดจากปัจจัยภายนอกที่ล่าสุดเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯแข็งค่าขึ้นมา ขณะที่มีการตรึงอัตราดอกเบี้ยในยุโรป ทำให้ค่าเงินยูโรอ่อนลง จากเหตุผลดังกล่าวส่งผลให้นักเก็งกำไรหนีจากตลาดสินค้าโภคภัณฑ์ น้ำมัน ทองคำ ออกไปสู่ตลาดพันธบัตร ทำให้ราคาน้ำตาลและสินค้าตัวอื่นร่วงลงมา จากตรงนี้ทำให้บรรดาเทรดเดอร์น้ำตาลลังเลไม่ซื้อน้ำตาลในช่วงนี้ เพราะราคาน้ำตาลกำลังอยู่ในช่วงขาลง

นายภิรมย์ศักดิ์ สาสุนีย์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ค้าผลผลิตน้ำตาล จำกัด กล่าวว่าจากที่ประเทศไทยมีปริมาณอ้อยทะลุ 90 ล้านตันอ้อย ทำให้มีปริมาณน้ำตาลเพิ่มเข้ามาใหม่ 2.5 ล้านตันอ้อย จึงทำให้มีปริมาณน้ำตาลในตลาดโลกที่เดิมขาดตลาดอยู่ประมาณ 1 ล้านตัน ตอนนี้กลายเป็นว่ามีน้ำตาลส่วนเกินอยู่ในตลาดโลกประมาณ 1.5 ล้านตัน

อย่างไรก็ตามคาดการณ์กันว่าแนวโน้มราคาน้ำตาลในตลาดโลกจะกดต่ำลงมาอีกและเป็นที่คาดการณ์ว่าปี 2554/2555 ผลผลิตน้ำตาลในประเทศไทยจะเพิ่มขึ้น ทำให้ปริมาณการผลิตสูงกว่าความต้องการใช้ กดให้ราคาน้ำตาลอ่อนตัวลงต่อเนื่องอีก

ด้านนายประเสริฐ ตปนียางกูร เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.) กล่าวว่าขณะนี้น้ำตาลทรายที่ไทยส่งออกปี2553/2554 ได้ขายไปล่วงหน้าเกือบหมดแล้ว ดังนั้นราคาที่ผันผวนในช่วงนี้ไม่ทำให้เกิดผลกระทบมาก ยกเว้นว่ามีโรงงานน้ำตาลบางรายไม่ยอมขายน้ำตาลโควตาส่งออกบางส่วนออกมาในช่วงที่ราคาดี แต่พอราคาอ่อนตัวลงทำให้เสียโอกาสด้านราคาไป

"ขณะนี้ได้ส่งออกน้ำตาลทรายดิบโควตา ข. ซึ่งเป็นโควตาที่ส่งออกโดยอนท.ไปแล้ว100% ในราคาเฉลี่ยทั้งปี 22.51 เซ็นต์/ปอนด์ รวมพรีเมียมแล้ว ดังนั้นถ้าโรงงานน้ำตาลไม่นำน้ำตาลโควตา ค. ออกมาขายตาม อนท. เมื่อราคาร่วงลงมาโรงงานน้ำตาลก็เจ็บตัวได้ ส่วนปี 2554/2555 ได้มีการขายน้ำตาลในตลาดล่วงหน้าไปแล้ว 23% ที่ราคา 25.48 เซ็นต์/ปอนด์ รวมพรีเมียมแล้ว"


จาก http://www.thannews.th.com  วันที่ 11 พฤษภาคม 2554

ธปท.ยอมรับค่าเงินบาทค่อนข้างผันผวนในระยะนี้

นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้ช่วยผู้ว่าการสายตลาดการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า อิทธิพลของปัจจัยภายนอกประเทศมีผลกระทบต่อการเคลื่อนไหวค่าเงินบาทมากกว่าปัจจัยภายในประเทศ และยอมรับว่าเงินบาทมีความผันผวนสูงขึ้น และค่อนข้างรวดเร็ว เมื่อเทียบกับ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา เนื่องจากสภาพคล่องในตลาดการเงินโลกค่อนข้างมาก ประกอบกับความไม่แน่นอนของโลกมีหลายจุด ฉะนั้นความเร็วในการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเป็นเรื่องปกติที่ทุกประเทศก็ต้องเผชิญในขณะนี้

ทั้งนี้ เงินบาทในช่วงที่มีการแข็งค่าหรืออ่อนค่า มีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างเร็ว โดยเงินบาทเมื่อวันที่ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา อยู่ที่ระดับ 30.20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แต่ในวันถัดมาคือ วันนี้ (11พ.ค.) กลับแข็งค่าขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 30.06 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งเมื่อเงินบาทอ่อนค่าลงก็เป็นจังหวะที่ผู้ส่งออกไทยนำเงินดอลลาร์สหรัฐออกมาขาย เพื่อแลกกลับเป็นเงินบาท อย่างไรก็ตาม นางผ่องเพ็ญมองว่า ผู้ส่งออกและผู้นำเข้าไม่ควรเล่นกับค่าเงินบาท เพราะอาจจะมีความเสี่ยงได้

สำหรับความคืบหน้าแผนแม่บทเงินทุนเคลื่อนย้าย ขณะนี้เจ้าหน้าที่ภายในของ ธปท.ได้มีแนวทางและกรอบเวลาไว้อยู่แล้ว โดยส่วนใหญ่จะเป็นมาตรการส่งเสริมให้คนไทยลงทุนในต่างประเทศมากขึ้น และคาดว่ามาตรการจะได้ข้อสรุปภายในสายตลาดการเงินของ ธปท. ในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า ขณะเดียวกัน แม้เงินทุนเคลื่อนย้ายไหลเข้าหรือออก ธปท.ยังจำเป็นต้องศึกษามาตรการควบคุมเงินทุนไหลเข้าอยู่ เพื่อเป็นการเตรียมเครื่องมือต่าง ๆ ไว้ให้พร้อมล่วงหน้า ซึ่งเรื่องนี้ในหลายประเทศดำเนินการเช่นเดียวกันโดยกระบวนการทุกอย่างต้องใช้เวลา และมองว่าเป็นเรื่องที่ดีในยามสงบควรดำเนินการเรื่องนี้ เพราะในยามรบอาจไม่มีเวลาคิดมากนัก. - สำนักข่าวไทย


จาก http://www.mcot.net  วันที่ 11 พฤษภาคม 2554

ครม.สั่งจับตาสินค้า11รายการแนวโน้มราคาสูงขึ้นทั้งน้ำตาล-น้ำมัน-ปุ๋ย-อาหารสัตว์

นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าที่ประชุม ครม. วันนี้ มีมติรับทราบข้อมูลมาตรการกำกับดูแลสินค้าสำคัญ 204 รายการ และบริการ 20 รายการ ประจำเดือนพ.ค.2554 ของกระทรวงพาณิชย์

พร้อมทั้งประเมินและคาดการณ์แนวโน้มของสถานการณ์ ด้านราคาและปริมาณของสินค้าและบริการ เห็นควรคงระดับความสำคัญของสินค้าทั้ง 3 กลุ่มไว้คงเดิมต่อเนื่องจากเดือนเม.ย.2554

ประกอบด้วย กลุ่มสินค้าที่มีความอ่อนไหวเป็นพิเศษ หรือ Sensitive List (SL) 11 รายการ ได้แก่ 1 . น้ำตาลทรายแม้ราคาอ้อยจะทรงตัว ซึ่งเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายแต่ราคาน้ำตาลทรายในประเทศยังคงอยู่ในระดับสูง

2.น้ำมันพืช ผลผลิตปาล์ม มีมากขึ้นทำให้ภาวะความตึงตัวในน้ำมันบริโภคคลี่คลายลงระดับหนึ่งแต่ราคาน้ำมันปาล์มดิบยังคงอยู่ในระดับ 3 .น้ำมันเบนซิน 4 . น้ำมันดีเซล 5 . เหล็กเส้น 6 . เหล็กแผ่นรีดร้อนรีดเย็นและสแตนเลส 7 . เหล็กโครงสร้างรูปพรรณ 8 . ปูนซีเมนต์ 9.สายไฟฟ้า 10.ปุ๋ยเคมี11 . อาหารสัตว์

กลุ่มสินค้าที่ต้องติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด หรือ Priority Watch List (PWL) 5 รายการ ได้แก่ 1 . อาหารปรุงสำเร็จ 2 . ก๊าซ LPG หุงต้ม 3.ยางรถยนต์ 4 . ยาป้องกันหรือกำจัดศัตรูพืช 5.เครื่องแบบนักเรียน และบริการ 1 รายการ ได้แก่ บริการซ่อมรถ

กลุ่มสินค้าที่มีต้องมีการติดตามสถานการณ์ หรือ Watch List (WL) ซึ่งเป็นกลุ่มสินค้าที่ราคาเคลื่อนไหวเป็นปกติยังไม่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าจะมีปัญหาทั้งด้านราคาและปริมาณสินค้าที่จำหน่าย ซึ่งจะทำการติดตามตามปกติจำนวน 188 รายการ และบริการ 18 รายการ

จาก http://www.thanonline.com  วันที่ 10 พฤษภาคม 2554

KSLลงทุนโรงงานน้ำตาล-โรงไฟฟ้า

น้ำตาลขอนแก่น (KSL) มีมติให้บริษัทและบริษัทย่อย ลงทุนในโครงการโรงงานน้ำตาล

ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท น้ำตาลขอนแก่น (KSL) มีมติให้บริษัทและบริษัทย่อย ลงทุนในโครงการโรงงานน้ำตาลขนาด 16,000 ตันอ้อย/วัน และโรงไฟฟ้าขนาด 40 เมกะวัตต์ โดยให้พัฒนาโครงการโรงไฟฟ้า ภายใต้กลไกการพัฒนาที่สะอาด (Clean Development Mechanism:CDM)

นายจำรุญ ชินธรรมมิตร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทฯกล่าวว่า การก่อสร้างโรงงานน้ำตาลข และโรงไฟฟ้า 1 โรง ที่ จ.เลย ใช้เงินลงทุนในการก่อสร้างโรงงานประมาณ 3,800 ล้านบาท ครอบคลุมถึงมูลค่าเครื่องจักร งานโยธา งานโครงสร้าง งานติดตั้ง งานขนย้าย และสิ่งก่อสร้างอื่นๆที่จำเป็นต่อการเดินเครื่องจักร ซึ่งจะดำเนินการตั้งแต่ปี 2554-2556

สำหรับโครงการลงทุนครั้งนี้เกิดขึ้นมา เนื่องจากมติครม.เมื่อวันที่ 11 พ.ค.2553 ให้ย้ายกำลังการผลิตบางส่วนจากใบอนุญาตเดิมที่ยังไม่ได้ติดตั้งไปยังสถานที่ใหม่และขยายกำลังการิต ดังนั้นภายหลังที่มีการศึกษาความเป็นไปได้โครงการและความเสี่ยงต่างๆ


จาก http://www.posttoday.com  วันที่ 10 พฤษภาคม 2554

ราคาน้ำตาลโลก ต่ำสุดรอบ8เดือน อนท.เร่งประมูล จำหน่ายล่วงหน้า

แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สถานการณ์ราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกล่าสุดอยู่ที่ 22.51 เซ็นต่อปอนด์ (รวมค่าพรีเมียม) เป็นราคาต่ำสุดในรอบ 8 เดือน โดยทิศทางราคาเริ่มปรับตัวลดลงต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน-5 พฤษภาคม 2554 รวมลดลงประมาณ 3 เซนต์ต่อปอนด์ เนื่องจากปริมาณผลผลิตอ้อยที่เพิ่มสูงขึ้นมากจนทำให้มีปริมาณส่วนเกินในตลาดโลกเพิ่มขึ้น ซึ่งภาวะดังกล่าวคาดว่าจะส่งผลให้ราคาอ้อยขั้นต้นฤดูกาลผลิต 2554/2555 ต่ำกว่า 1,000 บาทต่อตัน

นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการขายน้ำตาลทรายดิบโควตา ข.(ผลิตเพื่อส่งออก) กล่าวว่า หลังจากแนวโน้มราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกเริ่มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง และล่าสุดราคาน้ำตาลที่ส่งมอบล่วงหน้าเดือนมีนาคม 2555 ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 21.4 เซ็นต่อปอนด์ ทำให้ภายในสัปดาห์หน้าบริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด(อนท.) จะเริ่มเปิดประมูลขายน้ำตาลทรายล่วงหน้าฤดูกาลผลิต 2554/2555 ที่ยังเหลืออยู่ 75% หลังจากเปิดขายล่วงหน้าไปแล้ว 25% ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 25.48 เซ็นต่อปอนด์ (รวมค่าพรีเมียม) คิดอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย 29.90 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ โดยจำนวนที่ได้รับจัดสรร 800,000 กระสอบ

ส่วนปริมาณผลผลิตอ้อยของไทยในฤดูกาลผลิต 2553/2554 ทำสถิติสูงสุดอยู่ที่ระดับ 92 ล้านตัน และมีการคาดการณ์ว่าฤดูกาลผลิตปี 2554/2555 จะมีปริมาณผลผลิตอ้อยสูงถึงระดับ 100 ล้านตัน ซึ่งก็จะยิ่งทำให้ปริมาณอ้อยและน้ำตาลทรายที่เข้าสู่ตลาดโลกมีส่วนเกินมากขึ้นด้วย


จาก http://www.naewna.com  วันที่ 9 พฤษภาคม 2554

บางจากฯ เดินหน้าลงทุนผลิตเอทานอลต่อเนื่อง

- นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2554 ได้มีมติให้เข้าลงทุนซื้อหุ้นสามัญของบริษัท ไทย อะโกร เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) ที่อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี จากบริษัท ลานนารีซอร์สเซส จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัท ไทยอะโกรฯ และจากผู้ถือหุ้นรายย่อย มูลค่ารวม 438 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 40 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการโอนหุ้นให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายน 2554

นายอนุสรณ์ กล่าวว่า บริษัท ไทย อะโกรฯ ได้เริ่มดำเนินการผลิตเชื้อเพลิงเอทานอลจากกากน้ำตาล กำลังการผลิต 165,000 ลิตรต่อวันมาตั้งแต่ปี 2548 และขณะนี้อยู่ระหว่างการลงทุนก่อสร้างขยายกำลังการผลิตเอทานอลที่ใช้มันเส้นเป็นวัตถุดิบ อีก 200,000 ลิตรต่อวัน คาดว่าจะแล้วเสร็จในกลางปีนี้ โดยเป็นโรงงานที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยและได้มาตรฐานสูงจากประเทศฝรั่งเศส ซึ่งจากความยืดหยุ่นของกระบวนการผลิตเอทานอลที่สามารถใช้กากน้ำตาลและมันเส้นเป็นวัตถุดิบในการผลิต ประกอบกับโรงงานมีที่ตั้งอยู่ใกล้กับแหล่งความต้องการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ของประเทศ จะช่วยเพิ่มความมั่นคงในการจัดหาเอทานอลรองรับแผนการขยายการจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 และ E85 ของตลาดบางจากฯได้ รวมทั้งมีแผนจะใช้กำลังการผลิตส่วนหนึ่งของบริษัท ไทย อะโกรฯ เป็นฐานในการผลิตเพื่อส่งออก ขยายตลาดไปยังประเทศต่างๆ ในเอเชียซึ่งมีความต้องการใช้เอทานอลเป็นเชื้อเพลิงและใช้ในอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากด้วย

“การเข้าลงทุนถือหุ้นใน ไทย อะโกรฯ ครั้งนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในแผนการขยายเข้าสู่ธุรกิจพลังงานทดแทนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งมีแนวโน้มขยายตัวดี เพื่อเพิ่มมูลค่าของกิจการและกระจายความเสี่ยงของรายได้ และยังเป็นธุรกิจที่สนับสนุนธุรกิจหลักน้ำมันเชื้อเพลิงของบริษัท บางจากฯ ด้วย อีกทั้งสามารถใช้เป็นฐานในการขยายเข้าสู่ธุรกิจใหม่ๆที่น่าสนใจในอนาคต เช่น อุตสาหกรรมไบโอเคมีคอล หรือไบโอพลาสติก เป็นต้น นอกจากนั้น ยังเป็นการสนองนโยบายรัฐในการส่งเสริมให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและส่งออกเชื้อเพลิง เอทานอลของภูมิภาคนี้” นายอนุสรณ์ กล่าว
ทั้งนี้ ภายหลังการเข้าลงทุนของบริษัท บางจากฯ (มหาชน) จะทำให้สัดส่วนผู้ถือหุ้นของบริษัท ไทย อะโกรฯ ประกอบด้วย บริษัท ลานนาฯ (มหาชน) ร้อยละ 45 บริษัท บางจากฯ (มหาชน) ร้อยละ 40 และผู้ถือหุ้นรายย่อย ร้อยละ 15 โดยก่อนหน้านี้ บริษัท บางจากฯ (มหาชน) ได้เข้าซื้อหุ้นสามัญในบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด คิดเป็นร้อยละ 21.28 ของจำนวนหุ้นทั้งหมด.- สำนักข่าวไทย


จาก http://www.mcot.net  วันที่ 9 พฤษภาคม 2554

รัฐตั้งวงเงิน3.5พันล.แก้ปุ๋ยแพง

รัฐโยนธ.ก.ส.ตั้งงบ 3,500 ล้านบาท ไม่เกิน 5,000 ล้านบาท "โครงการลดต้นทุนปุ๋ย"ช่วยเกษตรกรในโครงการประกันรายได้และที่ขึ้นทะเบียนแจกลดต้นทุน 1.50 บาทต่อกิโลกรัม หรือ 1,500บาทต่อตัน ชงปุ๋ย 6 สูตรให้กระทรวงพาณิชย์กำหนดราคา ด้านค่ายประกันภัยลุ้น เกษตรกรเข้าร่วมเกิน 60%ของพื้นที่ 57 ล้านไร่

นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชุดเล็กกรณีปัญหาราคาปุ๋ย ว่า ที่ประชุมครม.กับรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการช่วยเหลือเกษตรกรเรื่องราคาปุ๋ยที่กำลังจะปรับขึ้นราคาโดยแนะนำให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยแต่ละสูตรตามความเหมาะสมของพื้นที่จากผลศึกษาออกมาทั้งหมด 6 สูตร หากเกษตรกรใช้ตามคำแนะนำจะช่วยลดปริมาณปุ๋ยซึ่งทางธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)จะเป็นผู้กำหนดให้เกษตรกรที่อยู่ในโครงการใช้ปุ๋ยในปริมาณเท่าไร เดิมทีนั้นจะใช้วิธีลดดอกเบี้ยแต่เกรงว่าเกษตรกรบางรายไม่ได้กู้เงินจากธ.ก.ส.จึงเลือกการลดต้นทุนราคาปุ๋ย 1.50 บาทต่อกิโลกรัม หรือ 1,500 บาทต่อตัน วงเงินรวมจำนวน 3,500 ล้านบาท คาดว่าจะมีการใช้ปุ๋ยในช่วง 3 - 4 เดือนข้างหน้าไม่เกินประมาณ 2.3 ล้านตัน

ส่วนวิธีการและรายละเอียดนั้นทางกระทรวงการคลังและธ.ก.ส.เป็นผู้ชี้แจง พร้อมกับให้กระทรวงพาณิชย์ไปกำหนดราคาขายปุ๋ยสูตรดังกล่าว โดยราคาแนะนำปุ๋ยจะยืนในราคาประกาศ 3 เดือน หากระหว่างนี้ ต้นทุนมีการปรับขึ้นลงเกิน 1,000 บาทต่อตัน ก็จะมีการทบทวนมติดังกล่าวอีกครั้ง สำหรับรายละเอียดของปุ๋ย 6 สูตร มีดังนี้ 1.สูตร 46-0-0 ราคา เพดานตันละ 14,210 บาท ,2.สูตร 16-20-0 ราคาเพดานตันละ 13,836 บาท ,3.สูตร 16-8-8 ราคาเพดานตันละ 11,685 บาท ,4.สูตร 16-16-8 ราคาเพดานตันละ 14,335 บาท ,5.สูตร 18-12-6 ราคาเพดานตันละ 13,171 บาท และ 6.สูตร 15-15-15 ราคาเพดานตันละ 16,342 บาท ส่วนความต้องการใช้ปุ๋ยของเกษตรกรทั่วประเทศมีประมาณ 1.5 ล้านตัน แต่ในช่วง 3 เดือน (มิถุนายน-สิงหาคม) คาดว่ามีความต้องการใช้ประมาณ 300,000 ตัน โดยขณะนี้สต๊อกที่ได้รับแจ้งจากภาคเอกชนมีประมาณ 400,000 ตัน จึงคาดว่าจะมีความเพียงพอต่อความต้องการใช้ในช่วงต้นฤดูการเพาะปลูก

ด้านนายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้หามาตรการช่วยเหลือเกษตรกรทุกรายที่ขึ้นทะเบียนในโครงการประกันรายได้เกษตรกร ซึ่งจะรวมถึงเรื่องต้นทุนข้าวเปลือกและข้าวนาปี ที่จะเริ่มเพาะปลูกในเดือนพฤษภาคมนี้ รวมไปถึงเกษตรกรผู้เพาะปลูกมันสำปะหลังและข้าวโพดด้วย

อย่างไรก็ดี รัฐบาลมีงบประมาณในกรอบช่วยอุดหนุนไม่เกิน 5,000 ล้านบาท ซึ่งเกษตรกรจะได้รับใบซื้อปุ๋ยจาก ธ.ก.ส. และนำมาซื้อปุ๋ยในรูปของเงินชดเชย ซึ่งขั้นตอนต้องรอให้คณะกรรมการพิจารณาเรื่องปุ๋ยชุดที่มี นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ เป็นประธาน สรุปกระบวนการและวิธีดำเนินการให้ชัดเจนและเริ่มได้ทันการปลูกข้าวนาปีในปีนี้

ขณะเดียวกันทางด้านยุทธศาสตร์ชาติ ในการพัฒนาการประกันภัยพืชผลและโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2554 ซึ่งครม.มีมติอนุมัติด้วยนั้น นายถนัด จีรชัยไพศาล ผู้อำนวยการ สมาคมประกันวินาศภัย เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าภายในสัปดาห์หน้า ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ต้องประชาสัมพันธ์เชิญชวนเกษตรกรให้เข้าร่วมโครงการดังกล่าวให้ได้ไม่ต่ำกว่า 60% ของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด 57 ล้านไร่ ตามเงื่อนไขของบริษัทประกันภัยต่อต่างประเทศ หรือรีอินชัวเรอร์ ไม่เช่นนั้นโครงการนี้คงเดินต่อไปไม่ได้ เพราะต้องปรับอัตราเบี้ยประกันขึ้น อีกทั้งโครงการนี้เป็นแบบภาคสมัครใจคงไม่มีใครสามารถบังคับใครให้เข้าร่วมได้

เบื้องต้นขณะนี้ บริษัทประกันวินาศภัยที่สมัครใจเข้าร่วมรับประกันภัยในโครงการนี้ 8-9 แห่ง มีความพร้อมฐานะการเงินที่จะกระจายความเสี่ยงร่วมกันได้และ รีอินชัวเรอร์ไม่น่าจะมีปัญหารับประกันต่อแต่อย่างใด อีกทั้งได้จัดทำร่างกรมธรรม์ใหม่ ยื่นเสนอให้สำนักงานคณะกรรมกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ยังอยู่ระหว่างการอนุมัติ

"ตามนโยบายของธ.ก.ส. ที่พยายามเชื่อมโยงทั้ง 3 โครงการได้แก่ สินเชื่อปุ๋ย ประกันรายได้และประกันพืชผล ถือเป็นผลดีที่เกษตรกรได้รับผลประโยชน์โดยตรง ทั้งได้ลดต้นทุนราคาปุ๋ยแล้ว และได้รับการชดเชยความเสียหายจากภัยธรรมชาติและประกันรายได้ โดยถือว่า วงเงินชดเชยสินไหม 2,006 บาทต่อไร่ แบ่งเป็นประกันจ่าย 1,400 บาทต่อไร่ และรัฐบาลจ่าย 606 บาทต่อไร่ ถือว่าสูงมาก เพราะได้ปรับลดเบี้ยต่อปีจาก 140 บาทเป็น 130 บาท เพื่อเป็นแรงจูงใจเกษตรกรได้ แต่ยังต้องรอดูผลปลายทาง"


จาก http://www.thanonline.com  วันที่ 9 พฤษภาคม 2554

โอดน้ำตาลขาลง ระบายโควตา ข. หวั่นตลาดโลกดิ่ง

 แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกเริ่มปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่วันที่ 27 เม.ย.-5 พ.ค.2554 ราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกลดลงรวมประมาณ 3 เซนต์ต่อปอนด์แล้ว ทำให้ราคาน้ำตาลล่าสุดลงมาอยู่ที่ระดับ 22.51 เซนต์ต่อปอนด์ (รวมค่าพรีเมียมแล้ว) ซึ่งถือเป็นระดับราคาที่ต่ำที่สุดในรอบ 8 เดือน เนื่องจากปริมาณผลผลิตอ้อยที่เพิ่มสูงขึ้น จนทำให้มีปริมาณส่วนเกินในตลาดโลกมากขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้ราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิต 2554/2555 ไม่ถึงระดับ 1,000 บาทต่อตัน ตามที่คาดการณ์

นายณัฐพล ณัฏฐสมบูรณ์ รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในฐานะประธานคณะกรรมการขายน้ำตาลทรายดิบโควตา ข.(ผลิตเพื่อส่งออก) ว่า สัปดาห์นี้ บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด (อนท.) จะเริ่มเปิดประมูลขายน้ำตาลทรายล่วงหน้าฤดูการผลิต 2554/2554 ที่ยังเหลืออยู่อีก 75% จากจำนวนที่ได้รับการจัดสรร 800,000 กระสอบ หลังเห็นแนวโน้มว่าราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกเริ่มปรับตัวลดลง ล่าสุด ราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกส่งมอบล่วงหน้างวดเดือน มี.ค.2555 ลงมาอยู่ที่ระดับ 21.4 เซนต์ต่อปอนด์ “อนท.ได้เปิดขายน้ำตาลทรายล่วงหน้าฤดูการผลิตปี 2554/2555 ไปแล้ว 25% ในระดับราคาเฉลี่ย 25.48 เซนต์ต่อปอนด์ (รวมค่าพรีเมียมแล้ว) ส่วนที่เหลืออีก 75% นั้น สัปดาห์นี้จะเริ่มเปิดประมูลขายเพื่อทำราคาไม่ให้ต่ำไปกว่านี้” นายณัฐพลกล่าว.

จาก http://www.thaipost.net  9 พฤษภาคม 2554

เพิ่มผลผลิตเห็ดนางฟ้า ด้วยกากอ้อยผสมขี้เลื่อย

 สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) โดยสถานีวิจัยลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา ประสบความสำเร็จในการเพิ่มผลผลิตเห็ดนางฟ้าภูฏานโดยใช้กากอ้อยโรงงานน้ำตาล โดยนางเกษมศรี หอมชื่น ผู้ว่าการ วว. กล่าวว่า เห็ดนางฟ้าภูฏานเป็นเห็ดกลุ่มเดียวกับเห็ดนางรมแต่มีลักษณะที่แตกต่างกับเห็ดนางรมที่ชัดเจน คือ มีสีดอกเทาเข้มกว่า เนื้อแน่นกว่า ดอกไม่เหี่ยวง่ายเหมือนกับเห็ดนางรมและมีรสชาติดีกว่า จึงได้รับความนิยมนำมาใช้ปรุงอาหารจากผู้บริโภค รวมทั้งยังเป็นเห็ดที่มีการขยายพันธุ์ง่ายและผลผลิตสูง ทำให้ได้รับความนิยมเพาะเลี้ยงอย่างแพร่หลายจากเกษตรกร การทำก้อนเชื้อเห็ดนางฟ้าภูฏาน ส่วนใหญ่ใช้ขี้เลื่อยจากไม้ยางพาราเป็นวัสดุเพาะเห็ด เนื่องจากมีปริมาณคาร์บอนซึ่งเป็นอาหารของเส้นใยสูง ก้อนเชื้อมีความทนทานสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้หลายรุ่น

 อย่างไรก็ตาม ในบางพื้นที่พบว่า การใช้ขี้เลื่อยจากไม้ยางพารามีราคาแพงเนื่องจากค่าขนส่งจากแหล่งแปรรูปไม้ยางพารา ทำให้ต้นทุนในการผลิตเห็ดเพิ่มสูงขึ้น ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตน้ำตาลจากอ้อยที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก กล่าวคือมีโรงงานผลิตน้ำตาลจากอ้อยจำนวน 46 โรง กระจายตัวในภาคต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคกลาง 18 โรง ภาคเหนือ 10 โรง ภาคตะวันออก 5 โรง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 13 โรง ในกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายมีวัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการคือกากอ้อย (filter cake) ซึ่งเป็นวัสดุมีปริมาณธาตุอาหารและมีค่าคาร์บอนต่อไนโตรเจนที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อเห็ด

ดังนั้นการนำกากอ้อยโรงงานน้ำตาลมาใช้ทดแทนขี้เลื่อยไม้ยางพารา จึงเป็นการช่วยเพิ่มผลผลิตเห็ดและลดต้นทุนในการขนส่ง การเพิ่มผลผลิตเห็ดนางฟ้าภูฏานโดยใช้กากอ้อยโรงงานน้ำตาล เป็นการนำกากอ้อยโรงงานน้ำตาลทรายมาเป็นส่วนผสมของวัสดุเพาะเห็ด ซึ่งจากเดิมที่ใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา 100 เปอร์เซ็นต์ เปลี่ยนเป็นส่วนผสมของกากอ้อยโรงงานน้ำตาลทรายแทนขี้เลื่อยตั้งแต่ 25-75 เปอร์เซ็นต์ แล้วจึงนำไปผสมกับขี้เลื่อย ดีเกลือ (แมกนีเซียมซัลเฟต, MgSO4) 0.2 กิโลกรัม และรำละเอียด 7 กิโลกรัม จนเป็นวัสดุเพาะเห็ดปริมาณ 100 กิโลกรัม ปรับความชื้นให้ได้ 60-65 เปอร์เซ็นต์ นำส่วนผสมทั้งหมดใส่ลงถุงสำหรับทำก้อนเห็ด น้ำหนักถุงละ 1 กิโลกรัม แล้วนำไปนึ่งฆ่าเชื้อ 8 ชั่วโมง หยอดเชื้อเห็ดนางฟ้าภูฏาน นำก้อนเข้าโรงบ่มก้อนเชื้อจนกระทั่งเส้นใยเห็ดเจริญเต็มก้อน

จากนั้นนำก้อนเชื้อเห็ดเข้าโรงเรือนเปิดดอก จากงานวิจัยพบว่า วัสดุเพาะเห็ดนี้สามารถเพิ่มผลผลิตเห็ดนางฟ้าภูฏาน 1.2-1.7 เท่าของการใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพาราเพียงอย่างเดียวเป็นวัสดุเพาะเห็ด และการใช้กากอ้อยโรงงานน้ำตาลทราย 25 เปอร์เซ็นต์ผสมกับขี้เลื่อย 75 เปอร์เซ็นต์จะให้ผลผลิตของเห็ดนางฟ้าภูฏานมากที่สุด อย่างไรก็ตาม ไม่แนะนำให้ใช้กากอ้อยเพียงอย่างเดียวเป็นวัสดุเพาะเห็ด เนื่องจากให้ผลผลิตต่ำ

ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือขอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีผลงานวิจัยเพิ่มผลผลิตการเกษตรโดยใช้เทคโนโลยี วว.ได้ที่ Call Center วว. โทร. 0-2577-9300 หรือโทร. 0-2577-9000 ในวันและเวลาราชการ หรือที่สถานีวิจัยลำตะคอง โทร. 0-4439-0107.

จาก http://www.thaipost.net  9 พฤษภาคม 2554

ชัยวุฒิปิดประตูย้าย-ขยายรง.น้ำตาล รับมีเวลาน้อยปรับโครงสร้างฯไม่ทัน

“ชัยวุฒิ” เผยการย้ายและขยายโรงงานน้ำตาลจะไม่มีการอนุมัติเพิ่มเติมในการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันนี้(3พ.ค.) ยอมรับการทำงานที่ผ่านมาผิดหวังเล็กน้อยที่ไม่สามารถปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายได้ทัน ขณะที่ไทยเอกลักษณ์มึนยื่นขอย้าย3ปียังไม่คืบ

นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า การประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)วันนี้( 3 พ.ค.) จะไม่มีการนำเสนอการย้าย-และขยายโรงงาน้ำตาลทรายเพิ่มเติมอีกเนื่องจากคงไม่ทันเพราะถือเป็นครม.นัดสุดท้ายแล้ว ส่วนกรณีครม.สัปดาห์ที่ผ่านมาได้พิจารณาย้ายและขยายโรงงานน้ำตาลเพิ่มเติม 4 รายนั้นเนื่องจากมีการพิจารณาของคณะทำงานที่มีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรมดำเนินการมาตั้งแต่เดือนมี.ค.แล้ว

“ครม.ที่จะเสนอคือแผน 5 ปีของสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและย่อม(สสว.) และมีวาระเพื่อทราบแต่ตั้งราชการระดับล่าง และคลังมีเรื่องปรับโครงสร้างภาษีฯรถยนต์ ส่วนน้ำตาลไม่มีผมยอมรับว่ายังมีเสนอเข้ามาอีกกว่า 10 รายแต่มีมากกว่าครึ่งที่ไม่ได้ผ่านเกณฑ์ที่กำหนด แต่อังคารที่แล้วน่าจะเป็นล็อตสุดท้ายคิดว่าคงจะต้องรอ”นายชัยวุฒิกล่าว

ทั้งนี้ผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของตนยอมรับว่า ผิดหวังเล็กน้อยกับการที่ไม่สามารถปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบได้เนื่องจากมีเวลาในการทำงานค่อนข้างน้อยประกอบกับระยะแรกต้องเข้ามาแก้ไขปัญหาน้ำตาลตึงตัวเป็นหลัก ซึ่งก่อนหน้าได้ให้ศึกษาแผนการปรับโครงสร้างฯแล้วแต่ต้องให้ไปปรับปรุงเนื่องจากผลการศึกษาเน้นการลอยตัวราคาน้ำตาลทรายอย่างเดียว

นายณัฎฐปัญญ์ ศิริวิริยะกุล กรรมการบริหารบริษัทเกษตรไทยอุตสาหกรรมน้ำตาล กลุ่มน้ำตาลไทยเอกลักษณ์ กล่าวว่า บริษัทฯได้ยื่นขอย้ายโรงงานน้ำตาลทรายจากจ.อุตรดิตถ์ ไปยังจ.สุโขทัยมา 2-3 ปีแล้วแต่ยังไม่ได้รับการพิจารณาเนื่องจากอ้อยที่รับเข้าหีบส่วนใหญ่มาจากสุโขทัยอยู่แล้วและชาวไร่ก่อนหน้านี้เสนอให้ย้ายโรงานเพื่อลดค่าขนส่งปีละ 100 ล้านบาทลง

“เราเองส่งเสริมการปลูกอ้อยมาเป็น 20 ปีแล้วและการขอย้ายมีเหตุผลแต่กลับไม่ได้รับการพิจารณาแต่รายอื่นๆ ไม่มีอ้อยกลับได้รับการอนุมัติการขยายมันดูไม่มีเหตุผล”นายณัฎฐปัญญ์กล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าวานนี้(2พ.ค.) ตัวแทนจากสหสมาคมชาวไร่อ้อยได้ยื่นหนังสือที่กระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อสอบถามถึงเหตุผลของการพิจารณาจากกระทรวงฯกรณีการขอย้ายโรงงานไทยเอกลักษณ์เนื่องจากชาวไร่ฯสนับสนุนการให้ย้ายเพื่อลดค่าขนส่ง


จาก http://www.manager.co.th วันที่ 3 พฤษภาคม 2554

ลุ้นภาษีรถเข้าครม. ย้ายโรงน้ำตาลแห้ว

ก.อุตสาหกรรม แย้มคลังเสนอปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ มีผลบังคับใช้ 1 ม.ค.2557

นายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจะเสนอการปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงอุตสาหกรรม ในการประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 3 พ.ค.นี้ โดยกระทรวงการคลังจะเสนอพิกัดภาษีจากการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ การใช้พลังงานและมาตรฐานความปลอดภัย และจะมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ม.ค.2557 ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมเชื่อว่าบริษัทรถยนต์จะปรับตัวได้ เพราะเหลือเวลาอีก 2 ปี 8 เดือน โดยบริษัทรถยนต์พัฒนาเทคโนโลยีอีกเพียงเล็กน้อยก็จะได้อัตราภาษีที่ลดลง

ทั้งนี้ การปรับโครงสร้างภาษีรถยนต์ครั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ให้ผลิตรถที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยภาครัฐไม่มีเจตนาให้ผู้ผลิตรถยนต์รายใดได้เปรียบหรือเสียเปรียบกัน และถ้าบริษัทรถยนต์ได้เห็นพิกัดภาษีที่กระทรวงการคลังจะเสนอ จะเห็นด้วยกับนโยบายของรัฐบาล ซึ่งในระยะยาว หากบริษัทรถยนต์ผลิตรถยนต์ที่มีคุณภาพตามโครงสร้างภาษีใหม่จะทำให้รายได้ของรัฐบาลลดลง แต่อุตสาหกรรมยานยนต์จะพัฒนาขึ้นและผู้บริโภคได้รถยนต์ที่มีประสิทธิภาพ

นายชัยวุฒิกล่าวว่า การประชุม ครม.ครั้งนี้ จะไม่มีการเสนอพิจารณาอนุญาตย้ายหรือขยายกำลังการผลิตโรงงานน้ำตาล ซึ่งขณะนี้มีโรงงานน้ำตาลที่เสนอมาแต่พิจารณาเสนอ ครม.ไม่ทัน 10 โรงงาน เพราะส่วนใหญ่ไม่ผ่านเกณฑ์การย้ายหรือขยายโรงงานน้ำตาล โดยการเสนอ ครม.พิจารณาเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว 3 โรงงาน จะเป็นกลุ่มสุดท้ายที่รัฐบาลนี้อนุมัติ ส่วนโรงงานที่เหลือคงต้องให้รัฐบาลชุดใหม่มาพิจารณา.


จาก http://www.thaipost.net  วันที่ 3 พฤษภาคม 2554

เอกชนฮึ่มร้องศาลปกครอง จี้ยืดเวลาบังคับใช้กม.วัตถุอันตราย ชาวไร่คาดเฉพาะอ้อยสูญ2.4หมื่นล.

ในการสัมมนาเรื่อง "22 สิงหา หมดเวลาพ.ร.บ.วัตถุอันตรายเกษตร" นายสุชัย ลิ้มสมมุติ ประธานสหสมาคมชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย กล่าวถึงผลกระทบจากการที่ไม่มีสารกำจัดศัตรูพืชจำหน่ายหลังพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ.2551 มีผลบังคับใช้นับแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2554 ว่า อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่ต้องใช้สารกำจัดศัตรูพืชไร่ละ 500 บาท รวมพื้นที่ปลูกทั้งหมด 7 ล้านไร่ ตกเป็นเงิน 3,500 ล้านบาท แต่ผลผลิตอ้อยจะลดลงอย่างน้อย 30% คิดเป็นมูลค่ามากถึง 24,000 ล้านบาท จากมูลค่ารวม 80,000 ล้านบาท

"ต้นทุนจากการใช้สารกำจัดศัตรูพืชในอ้อย 3,500 ล้านบาท แต่เราได้กลับมาอย่างน้อย 24,000 ล้านบาท มันคุ้มค่า ที่สำคัญผมเองหรือบรรดารากหญ้าทั้งหลายยังไม่รู้เลยว่า ผลกระทบจากกฎหมายฉบับนี้ จะทำให้เราไม่มีสารกำจัดศัตรูพืชใช้ เกษตรกรจะลุกฮือทั่วประเทศ"

นายชูศักดิ์ ชื่นประโยชน์ รองประธานคณะกรรมการอาหารและเกษตร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ประเทศไทยประสบปัญหาแมลงศัตรูพืชติดไปในพืชผัก 16 ชนิด จนสหภาพยุโรป(อียู) จะประกาศห้ามนำเข้า ซึ่งปัจจุบันไทยก็ไม่สามารถส่งออกพืชผัก 16 ชนิดได้เลย ทำให้สูญเสียตลาดให้แก่เวียดนามตั้งแต่เดือนมีนาคม 2554 เป็นต้นมา โดยมูลค่าความเสียหายไม่น้อยกว่า 3,000-4,000 ล้านบาท/ปี เพราะจะพ่วงสินค้าเกษตรตัวอื่นไปด้วย

"ยิ่งถ้าไม่มีสารกำจัดศัตรูพืชใช้หลัง 22 สิงหา 54 แล้ว เรื่องแมลงติดไปกับสินค้าเกษตรสำหรับการส่งออก เราจะทำกันยังไง?"

ในขณะ นายอนันต์ ดาโลดม นายกสมาคมพืชสวน อดีตสมาชิกวุฒิสภาและอดีตอธิบดี กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า สิ่งที่น่าห่วงของพ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2551 คือการไม่มีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง เป็นการกำหนดเพียงฝ่ายเดียวจากภาครัฐ สมัยที่ตนเป็นอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เมื่อจะห้ามใช้สารกำจัดศัตรูพืชตัวใด ยังต้องหารือกับผู้เกี่ยวข้อง แล้วหาทางออกร่วมกันเพื่อประโยชน์ของทุกฝ่าย

พร้อมยกตัวอย่างว่า ขนาดสหรัฐอเมริกาเมื่อจะทำการเปลี่ยนแปลงกฎเกณฑ์ด้านสารกำจัดศัตรูพืช สำนักงานคณะกรรมการป้องกันสิ่งแวดล้อม (Environmental Protection Agency) กำหนดกรอบเวลาดำเนินการตั้งแต่ปี 2522-2557 ใช้เวลารวม 25 ปี สหภาพยุโรปใช้เวลา 4 ปี ขณะที่ไทยใช้เวลาเพียง 3 ปี

นอกจากนั้น ยังตั้งข้อสงสัยการใช้อำนาจไปในทางมิชอบด้วย เช่นการมอบหมายให้ สมาคมนักโรคพืชแห่งประเทศไทย สมาคมกีฏะและสัตววิทยาแห่งประเทศไทย และสมาคมวิทยบริการวัชพืชแห่งประเทศไทย ทำการทดสอบประสิทธิภาพสารกำจัดศัตรูพืช

อย่างไรก็ตาม นายอนันต์กล่าวว่า สถานการณ์ที่เหลือไม่ถึง 4 เดือนข้างหน้า ยังพอมีทางออก โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกประกาศกระทรวงฉบับใหม่แก้ไขโดยการขยายเวลาบังคับใช้ออกไป 2-3 ปี หากไม่สำเร็จต้องฟ้องศาลปกครองเป็นผู้ชี้ขาด


จาก http://www.naewna.com  วันที่ 3 พฤษภาคม 2554

3พ.ค.นี้คลังชงให้ครม.อนุมัติ ดอกเบี้ยสินเชื่อซื้อปุ๋ยราคาถูก

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง กล่าวว่า โครงการสินเชื่อปุ๋ยราคาถูก วงเงิน 5-6 หมื่นล้านบาท ที่จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติในวันที่ 3 พฤษภาคมนี้ มีข้อเสนอว่า อาจจะให้ปลอดดอกเบี้ยนาน 6 เดือน หรืออาจจะคิดดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราปกติ ซึ่งต้องให้ ครม. ตัดสินใจอีกที เพราะหากปลอดดอกเบี้ยรัฐบาลก็ต้องชดเชยงบประมาณให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)จำนวนมาก โดยอัตราดอกเบี้ย MRR ของ ธ.ก.ส.ปัจจุบันอยู่ที่ 7% ต่อปี หากลดดอกเบี้ย 1% ในเวลา 6 เดือน จะต้องชดเชยประมาณ 300-500 ล้านบาท

ส่วนโครงการประกันภัยพืชผลที่จะเสนอ ครม. พิจารณาอนุมัติด้วยนั้น เกษตรกรที่จะเข้าร่วมโครงการ จะต้องรับผิดชอบค่าเบี้ยประกัน 60 บาทต่อไร่ ขณะที่รัฐบาลจะรับภาระ 70 ต่อไร่ รวมเป็น 130 บาทต่อไร่ (คิดรวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) ส่วน ธ.ก.ส. จะช่วยสนับสนุนในรูปของการลดดอกเบี้ยให้แก่เกษตรกรผู้เอาประกันที่มาขอสินเชื่อไปใช้ในการผลิต ทั้งนี้ จะเริ่มโครงการในฤดูการปลูกข้าวนาปีที่ใกล้จะถึงนี้

โดยเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่ทำประกันจะได้รับความคุ้มครองกรณีนาข้าวเสียหายจากภัยธรรมชาติ ทั้งภัยแล้งและน้ำท่วม แต่จะไม่ครอบคลุมถึงกรณีเกิดโรคระบาด แมลงศัตรูพืช ซึ่งพื้นที่ที่มีการประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัย จะได้รับเงินชดเชย 2,000 บาทต่อไร่


จาก http://www.naewna.com  วันที่ 3 พฤษภาคม 2554

สอน.จับมือเนโดะวิจัย ชานอ้อยผลิตเอทานอล

นายประเสริฐ ตปนียางกูร เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(กอน.) เปิดเผยว่า สำนักงานอ้อยน้ำตาลทราย(สอน.) อยู่ระหว่างการศึกษาการนำน้ำอ้อยและกากอ้อย(ชานอ้อย) มาผลิตเอทานอลอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างรายได้แก่ชาวไร่อ้อย รับความต้องการพลังงานทดแทนในอนาคตที่จะมีเพิ่มสูงเช่นกัน หากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงกรณีที่ทั่วโลกเตรียมเพิ่มพื้นที่ในการปลูกอ้อย ที่ส่งผลให้ราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกตกต่ำลงได้

ทั้งนี้กระทรวงอุตสาหกรรม ได้ร่วมกับองค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยี อุตสาหกรรม ประเทศญี่ปุ่น (เนโดะ) วิจัยการนำกากอ้อยมาผลิตเอทานอล เพื่อส่งเสริมพลังงานทางเลือกเพิ่มเติม นอกเหนือการใช้กากน้ำตาล (โมลาส) และมันสำปะหลัง ซึ่งญี่ปุ่นประเมินว่าแต่ละปีไทยมีอ้อยมาก โดยเฉพาะฤดูกาลผลิต 2553/2554 มีมากถึง 92 ล้านตัน เบื้องต้นคาดว่าจะนำกากอ้อยมาผลิตเอทานอลได้ปีละ 2,300 ล้านลิตร

"การใช้น้ำอ้อยมาผลิตเอทานอลในไทยก็เริ่มมีแล้วในแม่สอด จังหวัดตาก และโรงงานเอทานอลในภาคอีสานบางแห่ง ขณะที่นโยบายการส่งเสริมเอทานอลจากน้ำอ้อย ทำให้ไทยจำเป็นต้องเพิ่มปริมาณอ้อยให้ได้อย่างน้อย 200 ล้านตัน จากปัจจุบันที่ผลิตได้ 92 ล้านตัน เพราะจำเป็นต้องรักษาสัดส่วนไม่ให้ปริมาณน้ำตาลทรายในประเทศและตลาดโลกขาดแคลนเช่นเดียวกัน ขณะที่บราซิลที่มีปริมาณอ้อย 600 ล้านบาท แบ่งผลิตน้ำตาลทรายและเอทานอลในสัดส่วน 50% เท่ากัน"นายประเสริฐ กล่าว

นอกจากนี้การเพิ่มปริมาณอ้อยให้ได้อย่างน้อย 200 ล้านตัน ไทยต้องเพิ่มผลผลิตต่อไร่จาก 12 ตันต่อไร่ เป็น 15 ตันต่อไร่ รวมถึงการส่งเสริมพื้นที่ที่ปลูกมันสำปะหลัง, ข้าวโพด และนาดอนที่ปลูกข้าวที่ห่างไกลจากชลประทานและไม่คุ้มค่า เนื่องจากมีน้ำน้อย หันมาปลูกอ้อยในบางช่วงเวลา ซึ่งพื้นที่หมุนเวียนในลักษณะนี้มีรวมกันกว่า 22 ล้านไร่ เป็นพื้นที่ปลูกอ้อย 7-8 ล้านไร่

นายทวารัฐ สูตะบุตร รองอธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) กล่าวว่า พพ.ได้เร่งศึกษาความเป็นได้ในการพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพจากแหล่งอื่นๆ เพื่อรองรับความต้องการพลังงานที่เพิ่มสูงขึ้น โดยเน้นไปที่เทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพรุ่นที่ 2 และการผลิตเชื้อเพลิงเหลวจากชีวมวลในเชิงพาณิชย์


จาก http://www.naewna.com  วันที่ 2 พฤษภาคม 2554

น้ำตาลเล่นกลราคาร่วง

อุตสาหกรรมน้ำตาลเล่นกลราคาตลาดโลกอ่อนตัวลงเหลือ23-24 เซ็นต์/ปอนด์ ทำโรงงานน้ำตาล-ชาวไร่อ้อย-ผู้ค้าเต้น ชงกอน. ดึงน้ำตาลที่สำรอง 3 ล้านกระสอบออกมาส่งออกในโควตาค.ตามเดิม ก่อนอ่อนตัวมากกว่านี้ ยันการใช้น้ำตาลโควตา ก.กลับสู่ภาวะปกติแล้ว ชี้เหตุราคาน้ำตาลโลกพลิกผัน เพราะไทยในฐานะผู้ส่งออกเบอร์ 2 โลก มีปริมาณอ้อยปีนี้ทะลุ 90 ล้านตัน

แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมเปิดเผยกับ"ฐานเศรษฐกิจ"ว่าขณะนี้หลายฝ่ายทั้งแกนนำชาวไร่อ้อย โรงงานน้ำตาล และผู้ค้าน้ำตาล ต่างมีความเห็นว่าน้ำตาลสำหรับบริโภคในประเทศ(โควตาก.)กลับสู่ภาวะปกติแล้วไม่มีปัญหาน้ำตาลขาดแคลน เหมือนที่เกิดขึ้นในโมเดิร์นเทรดขาดหายเป็นช่วงๆ ดังนั้นคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(กอน.)ที่มีดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดี ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน ควรพิจารณาดึงน้ำตาลสำรอง 3 ล้านกระสอบออกมาส่งออก ก่อนที่ราคาน้ำตาลในตลาดโลกจะอ่อนตัวลงไปอีก

เนื่องจากขณะนี้ราคาน้ำตาลดิบในตลาดโลกได้ลดระดับลงจาก 29-30 เซ็นต์/ปอนด์ ปีที่แล้วในช่วงเดียวกันลงมาอยู่ที่ 23-24 เซ็นต์/ปอนด์แล้วโดยราคาน้ำตาลทรายขาวก็อ่อนตัวลงมาจาก 800-850 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตันลงมาอยู่ที่ 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน(ยังไม่รวมไทยพรีเมียม)

ทั้งนี้ปริมาณน้ำตาลสำรอง 3 ล้านกระสอบดังกล่าวจะเป็นโควตาของกลุ่มน้ำตาลมิตรผลมากที่สุดหรือเป็นสัดส่วนประมาณ 18% รองลงมาเป็นสัดส่วนของกลุ่มน้ำตาลไทยรุ่งเรืองอีกกว่า10% ที่เหลือเป็นสัดส่วนของน้ำตาลค่ายอื่นๆ

สอดคล้องกับนายชัยวัฒน์ คำแก่นคูณ ประธานสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสานและนายกสมาคมชาวไร่อ้อยน้ำพอง จ.ขอนแก่น ที่กล่าวว่า อยากให้กระทรวงอุตสาหกรรมลงมาพิจารณาปริมาณน้ำตาลสำรอง 3 ล้านกระสอบที่เก็บไว้นำออกมาส่งออก ก่อนที่ราคาน้ำตาลในตลาดโลกจะอ่อนตัวลงอีก จากที่ก่อนหน้านั้นน้ำตาล 3 ล้านกระสอบรัฐบาลสำรองไว้เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่า ยังมีน้ำตาลรองรับอยู่ แต่ขณะนี้สถานการณ์กลับมาสู่ภาวะปกติแล้ว และมั่นใจว่าน้ำตาลโควตาก. ไม่ขาดตลาดแล้ว ดูได้จากที่ไม่มีการกักตุนเกิดขึ้นแบบช่วงก่อนหน้านี้ ก็ควรจะดึงน้ำตาลส่วนนี้ออกมาขายเพื่อจะได้ไม่เสียโอกาสทางการค้าในแง่ราคาขาย

ทั้งนี้ล่าสุดราคาน้ำตาลในตลาดโลกเริ่มอ่อนตัวลงต่อเนื่องโดยมีสาเหตุมาจากที่ขณะนี้มีปริมาณอ้อยทั่วโลกมากขึ้นทั้งบราซิล อินเดียและโดยเฉพาะประเทศไทยที่ ปริมาณอ้อยปี2553/2554 สูงมากทำให้มีปริมาณน้ำตาลสูงตาม โดยล่าสุดปริมาณอ้อยทะลุ 90 ล้านตันอ้อยแล้วเป็นปริมาณที่สูงกว่าเป้าที่ตั้งไว้มาก จากเดิมที่คาดการณ์ว่าจะมีไม่ถึง70 ล้านตันอ้อย เนื่องจาก 2 ปีที่ผ่านมาผลผลิตอ้อยขายได้ราคาดี(ราคาทะลุ1,000 บาท/ตัน) ทำให้มีการปลูกอ้อยนอกระบบมากขึ้น

ด้านนางอัจฉรา งานทวี รองผู้อำนวยการฝ่ายขาย กลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง กล่าวว่า เห็นด้วยหากรัฐบาลปล่อยน้ำตาล 3 ล้านกระสอบที่สำรองไว้ออกมาขายในราคาน้ำตาลโควตาส่งออก(โควตาค.) หลังจากที่มีน้ำตาลโควตาก.ยังค้างกระดานอยู่ 1.5 ล้านกระสอบ และขณะนี้โรงงานอุตสาหกรรมที่ผลิตเพื่อการส่งออกก็หันมาทำสัญญาใช้น้ำตาโควตาค.มากขึ้นแล้ว จึงไม่ต้องกังวลว่าน้ำตาลโควตาก.จะขาดตลาดอีก ประกอบกับขณะนี้ราคาน้ำตาลดิบในตลาดโลกเริ่มอ่อนตัวลง โดยเดือนเมษายนยังไม่รวมไทยพรีเมียมราคาอยู่ที่ 23.92 เซ็นต์/ปอนด์ น้ำตาลทรายขาวรวมไทยพรีเมียมอยู่ที่ 700 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน(ค่าไทยพรีเมียมน้ำตาลทรายขาว 85 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน)

แหล่งข่าวจากผู้ค้าน้ำตาลรายหนึ่งกล่าวว่า ขณะนี้มั่นใจว่าน้ำตาลในประเทศได้ล้นตลาดแล้ว มีการลักลอบส่งออกน้อยลง ทำให้แนวโน้มราคาส่งออกอาจจะถูกกว่าราคาขายในประเทศ จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีน้ำตาลจากแนวตะเข็บชายแดนที่มาจากต่างประเทศทะลักเข้ามาขายในไทย ทำให้สถานการณ์กลายเป็นกลับข้างกันเมื่อเทียบกับในช่วงที่ผ่านมาที่ราคาน้ำตาลในตลาดโลกสูงขึ้นทำให้มีน้ำตาลในประเทศมีการลักลอบส่งออก

"ที่ราคาน้ำตาลในตลาดโลกจะอ่อนตัวลง อีกส่วนหนึ่งจะเกิดจากที่ราคาไทยพรีเมียมลดลงต่ำกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน หลังจากที่มีปริมาณน้ำตาลในตลาดโลกเหลืออยู่มาก การขายน้ำตาลของไทยจึงบวกไทยพรีเมียมได้มาก เพราะถ้าบวกมากผู้ค้าในตลาดโลกก็จะหันไปซื้อน้ำตาลจากประเทศอินเดีย บราซิล ออสเตรเลียแทน "

นายชลัช ชินธรรมมิตร์ กรรมการและกรรมการบริหาร บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน)กล่าวถึง การประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(กอน.) เมื่อวันที่ 29 เมษายน ที่ผ่านมาว่ามีการหารือถึงการนำน้ำตาลสำรอง 3 ล้านกระสอบออกมาส่งออกในช่วงนี้ และเป็นวาระการประชุมที่ถกเถียงกันนานว่าจะดำเนินการอย่างไรกับเรื่องนี้ เพราะเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในลักษณะต่างกรรมต่างวาระกันเพราะตอนที่นำน้ำตาล 3 ล้านกระสอบไปสำรองไว้นั้น เป็นช่วงที่น้ำตาลในร้านโมเดิร์นเทรดขาด แต่สถานการณ์ในขณะนี้น้ำตาลเริ่มกลับมาสู่ภาวะปกติแล้วจนถึงขั้นล้นตลาดก็ควรจะดึงน้ำตาลสำรองดังกล่าวกลับมาสู่การส่งออกได้แล้ว แต่สุดท้ายกอน.ก็ส่งเรื่องให้คณะกรรมการน้ำตาลทราย(กน.) ที่มีนายมนัส สร้อยพลอย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน นำไปพิจารณา หลังจากนั้นจึงนำเรื่องมาหารือกันต่อในที่ประชุมบอร์ดกอน.เพื่อดูความเหมาะสมต่อไป
"ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมถึงตัดสินใจเรื่องนี้นานเพราะตอนที่จัดสรรไปเป็นน้ำตาลสำรองก็ยอมเสียรายได้จากการส่งออกเพราะขณะนั้นราคาน้ำตาลทรายขาวในตลาดโลกอยู่ที่ 800ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน มาตอนนี้ราคาน้ำตาลอ่อนตัวลงมาอยู่ที่ 600 ดอลลาร์สหรัฐฯ/ตัน กว่าจะตัดสินใจดึงน้ำตาลสำรองออกมาส่งออกได้ถึงตอนนั้นราคาน้ำตาลทรายขาวในตลาดโลกคงหล่นมาอยู่ที่ 400 ดอลลาร์สหรัฐฯก็ทำให้สูญเสียรายได้จากการส่งออกไปเป็นเงินจำนวนมาก" นายชลัช กล่าวและว่า

เวลานี้การมีน้ำตาลที่ค้างกระดานอยู่ 1.5 ล้านกระสอบ ถือว่าเป็นปริมาณน้ำตาลสำรองที่มากแล้วหรือเกือบ 4 งวดที่ขึ้นกระดานต่อสัปดาห์ จึงแสดงให้เห็นว่าน้ำตาลไม่ได้ขาดอีกแล้ว


จาก http://www.thanonline.com  วันที่ 2 พฤษภาคม 2554

จีนระบุการปรับขึ้นราคาน้ำตาลมีแนวโน้มผันผวน

กระทรวงพาณิชย์ของจีนเปิดเผยว่า ในสัปดาห์ที่ผ่านมา (18-24 เมษายน) ราคาน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.7% เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้านี้ เนื่องจากการคาดการณ์ที่ว่าผลผลิตน้ำตาลอาจลดลงในปีนี้เป็นปัจจัยหนุนราคา น้ำตาล อย่างไรก็ตาม เนื่องจากน้ำตาลนำเข้ากำลังจะมาถึงตลาด ช่องว่างสำหรับการปรับขึ้นราคาน้ำตาลจึงอาจอยู่ในวงจำกัดและมีแนวโน้มที่จะ ผันผวนในระดับที่สูงท่ามกลางปัจจัยที่แตกต่างกัน

จาก  http://www.thanonline.com   วันที่ 1 พฤษภาคม 2554