http://www.sugarzone.in.th


ข่าวเศรษฐกิจเกี่ยวกับอ้อยและน้ำตาล(เดือนพฤษภาคม 2562)

ส.อ.ท.โล่ง! ไทยพ้นข้อกล่าวหา กดค่าเงินบาทเอาเปรียบมะกัน

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า จากกรณีที่สหรัฐฯ ยังไม่ขึ้นบัญชีดำประเทศจีน ในข้อหาจีนมีการแทรกแซงค่าเงินหยวน แต่ก็ยังจัดให้จีนอยู่ในกลุ่มประเทศเฝ้าติดตามในเรื่องดังกล่าว พร้อมๆกับประเทศอื่นๆอีก 8 ประเทศเพื่อป้องกันการได้เปรียบดุลการค้ากับสหรัฐฯ โดยไม่มีรายชื่อประเทศไทยติดรายชื่ออยู่ในบัญชีเฝ้าระวัง ถือเป็นข่าวดีในภาพรวมที่จะไม่กดดันตลาดการค้าและการส่งออกของไทยเพิ่มขึ้นอีก แต่ก็จำเป็นต้องติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด และภาคเอกชนคาดหวังว่าธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดูแลค่าเงินบาทให้มีเสถียรภาพไม่แข็งค่าหรืออ่อนตัวจนเกินไป โดยหากอยู่ระดับ 31.50-32 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ ก็จะไม่กระทบส่งออกมากนัก แต่หากแข็งค่าเกินจากนี้มีโอกาสที่การส่งออกของไทยปีนี้จะโตต่ำกว่า 0-1%

“ส.อ.ท. ประเมินสงครามการค้าที่สหรัฐฯขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจีนมูลค่า 200,000 ล้านเหรียญฯ ทำให้คาดว่าการส่งออกของไทยปีนี้จะปรับตัวลดลงเหลือโต 0-1% จากเดิมคาดไว้ว่าจะเติบโต 3-5%ส่งผลให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) ปีนี้คาดการณ์เติบโตลดลงอยู่ที่ 3.4-3.5% จากเดิมคาดไว้ที่ 3.7-4% ซึ่งการคิดตัวเลขดังกล่าวอยู่บนสมมติฐานค่าเงินบาทเคลื่อนไหวระดับ 31.50-32 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ แต่ถ้าแข็งค่าลงจากนี้ไปอีกจะกระทบส่งออกมากขึ้น”

นายเกรียงไกรกล่าวต่อว่า ภาคเอกชนต้องการให้มีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่โดยเร็วที่สุด เพราะขณะนี้นักลงทุนไทยและต่างชาติรวมถึงประชาชนเฝ้ารอคอยอยู่ เพื่อที่รัฐบาลใหม่จะได้เข้ามาแก้ปัญหาในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการ เตรียมพร้อมรับมือสงครามการค้า ที่จะต้องมีการหาตลาดใหม่ๆในการส่งออก และผลักดันการลงทุนทั้งเอกชนและโครงการต่างของรัฐ เช่น โครงสร้างพื้นฐานในเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ให้ต่อเนื่อง เพราะขณะนี้หลายกระทรวงไม่มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงฯ ทำให้ข้าราชการทำงานได้ตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่เท่านั้น “สิ่งที่ ส.อ.ท.ประกาศไว้ก่อนจะมีการเลือกตั้งคือ ต้องการเห็นการจัดตั้งรัฐบาลโดยเร็ว พร้อมกันนี้ต้องการเห็นรัฐบาลที่มีเสถียรภาพ เพราะจะสร้างความมั่นใจให้นักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติมากขึ้น แต่ยอมรับว่าจนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ซึ่งหวังว่าน่าจะจบได้ในเร็วๆนี้”.

จาก https://www.thairath.co.th วันที่ 31 พฤษภาคม 2562

เตือนเกษตรกรขึ้นทะเบียนทุกรอบผลิต ไม่อัพเดตข้อมูลเกิน3ปีสิ้นสถานภาพ

นางดาเรศร์ กิตติโยภาส รองอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรเปิดเผยว่า ทะเบียนเกษตรกรคือ ข้อมูลของครัวเรือนผู้ประกอบการเกษตรที่แสดงถึงสถานภาพ และการประกอบอาชีพทางการเกษตรของครัวเรือน เกษตรกรที่มีทะเบียนเกษตรกรจะสามารถเข้าร่วมโครงการช่วยเหลือของรัฐบาล ได้รับความช่วยเหลือกรณีแปลงปลูกพืชเสียหายจากการประสบภัยพิบัติด้านพืช ตามระเบียบกระทรวงการคลัง และได้รับสิทธิซื้อและใช้สารพาราควอต ไกลโฟเซสและคลอร์ไพรีฟอส ตามประกาศกระทรวงเกษตรฯ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนแล้วต้องปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรทุกครั้ง เมื่อเริ่มต้นฤดูการผลิตใหม่ หลังเพาะปลูก 15-60 วัน สามารถปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรได้ตลอดปี ขึ้นอยู่กับช่วงเวลาของแต่ละชนิดพืช หากเป็นเกษตรกรรายเดิมที่ต้องการเพิ่มแปลงใหม่ต้องติดต่อขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่สำนักงานเกษตรอำเภอ แต่ถ้าเป็นเกษตรกรรายเดิมที่ใช้แปลงเดิม ติดต่อปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ อาสาสมัครเกษตรหมู่บ้าน หรือบนแอพพลิเคชั่น DOAE Farmbook ที่กรมส่งเสริมการเกษตรพัฒนา ขึ้นในระบบปฏิบัติการIOS และ Android เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกให้เกษตรกรแจ้งปรับปรุงข้อมูลในทะเบียนได้ด้วยตนเองผ่านโทรศัพท์มือถือสมาร์ทโฟน ทั้งยังเป็นช่องทางรับรู้ข้อมูลข่าวสารจากภาครัฐ รวมถึงใช้ตรวจสอบสิทธิ์เกษตรกรที่จะได้รับความช่วยเหลือกรณีประสบภัยพิบัติ หรือตามมาตรการแก้ปัญหาอื่นๆ ของภาครัฐได้อีกด้วย หากเกษตรกรท่านใดไม่ปรับปรุงสถานภาพติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี ตามที่นายทะเบียนประกาศให้ปรับปรุงข้อมูลเกษตรกร โดยเริ่มนับระยะเวลา 3 ปี คือ ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน 2560 เป็นต้นมา ถึงวันที่ 22 มิถุนายน 2563 ซึ่งปัจจุบันมีจำนวนถึง 896,871 ครัวเรือน ที่ยังไม่ได้มาปรับปรุงข้อมูลเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตร หากครบระยะเวลาดังกล่าวแล้ว เกษตรกรที่ยังไม่ได้ปรับปรุงข้อมูลเกษตรกร 896,871 ครัวเรือน จะสิ้นสถานภาพเป็นเกษตรกรทันที ทำให้ไม่ได้รับสิทธิ์จากโครงการของรัฐบาล

จาก https://www.naewna.com วันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ส.ป.ก.ระดมสมองเพิ่มพื้นที่สีเขียว อนุรักษ์ดินหนุนเกษตรกรรมยั่งยืน

นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวมอบนโยบายขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนของกระทรวงเกษตรฯ ในโอกาสเป็นประธานเปิดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่ ส.ป.ก. “ดิน น้ำ ป่า ต้องมาพร้อม แต่บูรณาการต้องมาก่อน” ณ ศูนย์ภูมิรักษ์ธรรมชาติ บ้านท่าด่าน จ.นครนายกว่า ขณะนี้ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยประสบปัญหาสภาพอากาศแปรปรวนปัญหาหมอกควันซึ่งเกิดจากการก่อมลพิษทางอากาศจากการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรปัญหาสำคัญอีกประการคือ การสูญเสียดินจากการตัดไม้ทำลายป่า เผาป่าถางป่า ทำให้หน้าดินเปิด และถูกชะล้างง่าย ดินคุณภาพเสื่อม เมื่อดินถูกทำลายจะส่งผลกระทบทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น ประชากรไทยจึงควรหันมาอนุรักษ์ฟื้นฟูดิน และเพิ่มทรัพยากรให้คงอยู่และมีมากขึ้น โดยน้อมนำหลักการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ที่พระราชทานไว้เพื่อให้เกิดการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ พร้อมกับอยู่บนพื้นฐานของความต้องการด้านเศรษฐกิจและสังคมของประชาชนมาปรับใช้ หากประชากรช่วยปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ ส.ป.ก.ซึ่งมีประมาณ 40 ล้านไร่ จะเพิ่มพื้นที่ผืนป่าสีเขียวไว้สร้างความร่มเย็นให้ประเทศได้

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) จึงจัดประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนเกษตรกรรมยั่งยืนในพื้นที่ ส.ป.ก.  เพื่อนำเสนอกรอบแนวทางขับเคลื่อนแผนบริหารจัดการเกษตรกรรมยั่งยืนของกระทรวงเกษตรฯและงานวนเกษตรในพื้นที่ ส.ป.ก. ตลอดทั้งแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเสนอแนวทางการทำงานให้บรรลุเจตนารมณ์ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและพื้นที่ป่าของประเทศ

 “การน้อมนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และรัชกาลที่ 10 มาขับเคลื่อนและต่อยอดพัฒนาพื้นที่ป่า เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวของ ส.ป.ก. จะทำให้เกิดความมั่นคงยั่งยืน และขยายผลไปยังพื้นที่อื่นของประเทศ โดยการจัดงานครั้งนี้ จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายของรากฐานสำคัญในการสร้างสมดุลทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เอกชนวิสาหกิจในการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและพื้นที่ป่าไม้ของประเทศ เกิดความมั่นคงทางอาหาร เกิดสมดุลของระบบนิเวศ ประชากรมีทรัพยากรใช้อย่างยั่งยืน สิ่งสำคัญคือ ประชาชนต้องช่วยกันหยุดการชะล้างหน้าดิน สร้างความอุดมสมบูรณ์ให้ดินมากขึ้น” นายวิวัฒน์ กล่าว

จาก https://www.naewna.com   วันที่ 29 พฤษภาคม 2562

เงินบาทอ่อนค่าตามดอลลาร์แข็ง

ธนาคารกรุงไทยระบุเงินบาทเปิดเช้าวันนี้ที่ระดับ 31.87 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าจากช่วงปิดสิ้นวันทำการก่อนที่ระดับ 31.85 บาทต่อดอลลาร์

วันนี้ ค่าเงินบาท มีโอกาสอ่อนค่าได้ ตามทิศทางดอลลาร์ที่แข็งค่าขึ้น 0.2%พร้อมกับแรงซื้อดอลลาร์จากบริษัทต่างชาติในช่วงสิ้นเดือน อย่างไรก็ดี เราเชื่อว่าการเข้าซื้อหุ้นของต่างชาติถึง 1.2 หมื่นล้านบาทในช่วงวันที่ผ่านมา จะเป็นสัญญาณที่ทำให้นักค้าเงิน ระวังกับเงินบาทมากขึ้นและไม่รีบร้อนที่จะขายเงินบาทต่อเนื่องในช่วงนี้

โดยมองกรอบค่าเงินบาทวันนี้ 31.80 - 31.90 บาทต่อดอลลาร์

จาก www.thansettakij.com วันที่ 29 พฤษภาคม 2562

สอท.ถกพณ.รับมือสงครามการค้า-กระทบส่งออกไทยหนัก

สอท. เตรียมหารือร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ รับมือสงครามการค้า คาดแนวโน้มส่งออกรถยนต์เดือนพ.ค.นี้ ยังติดลบต่อ

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธาน และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ว่า ในวันนี้ (29 พ.ค.) สอท.จะเข้าร่วมการประชุมกับกระทรวงพาณิชย์ เพื่อเตรียมพร้อมรับมือสงครามการค้า ซึ่งขณะนี้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกไทยอย่างหนัก โดยทางออกของปัญหาที่ดีที่สุดส่วนตัวมองว่ามีอยู่ทางเดียว คือ 2 ประเทศที่เกี่ยวข้องต้องยอมยุติทุกอย่างโดยเร็ว เนื่องจากเรื่องนี้ไม่ได้ส่งผลแค่ใน 2 ประเทศเท่านั้น แต่ได้ลุกลามไปยังทั่วโลกแล้ว ทำให้เศรษฐกิจโลกชะลอ นักลงทุนไม่เชื่อมั่นในการประกอบธุรกิจ คนไม่กล้าใช้จ่าย ท่องเที่ยวสะดุดจากเศรษฐกิจในประเทศไม่ขยายตัว

ทั้งนี้การส่งออกรถยนต์ของไทยในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และกำลังเป็นไปได้ด้วยดี แต่ต้องมาสะดุดกับประเด็นดังกล่าว ส่วนแนวโน้มของเดือนพฤษภาคม 2562 คาดว่าจะยังติดลบต่อ แต่จะไม่รุนแรงเท่ากับเดือนที่ผ่านมา

จาก https://www.innnews.co.th  วันที่ 29 พฤษภาคม 2562

พิษศก.โลกฉุดGDPอุต สศอ.-พาณิชย์ถก29พค.รับมือศึกการค้า

นายอดิทัต วะสีนนท์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า สศอ.ได้ปรับคาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี)ภาคอุตสาหกรรมปีนี้เหลือ 1.5-2.5% จากเดิม 2.0-2.5%พร้อมปรับลดคาดการณ์ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (เอ็มพีไอ) เหลือ 1.5-2.5% จากเดิม 2.0-2.5% เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มชะลอตัวจากการลดการอัดฉีดเงินเข้าระบบของประเทศสำคัญๆ อาทิ สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป จีน และญี่ปุ่น บวกกับการต้องเผชิญกับผลกระทบสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนจนกระทบต่อการส่งออกของไทยให้ชะลอตัวลง ซึ่งสินค้าหลักอยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรม ทำให้เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงไปด้วย

สำหรับเอ็มพีไอเดือนเมษายน 2562 พบว่าอยู่ระดับ 95.91 ต่ำสุดในรอบ 11 เดือน ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 63.89% ต่ำสุดในรอบ 11 เดือน ขณะที่ช่วง 4 เดือน (มกราคม-เมษายน 2562)เอ็มพีไอขยายตัวติดลบ 0.47% และจีดีพีภาคอุตสาหกรรมเก็บข้อมูลช่วงไตรมาสแรก (มกราคม-มีนาคม 2562) ขยายตัว 0.6%

อย่างไรก็ดี สถานการณ์สงครามการค้าจีน-สหรัฐ หน่วยงานภาครัฐอยู่ระหว่างเร่งหารือเพื่อแก้ปัญหาโดยเฉพาะการหาตลาดส่งออกใหม่ โดยวันที่ 29 พฤษภาคมนี้ กระทรวงพาณิชย์จะหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมจะเข้าร่วมด้วย เพราะประสานข้อมูลการผลิตของภาคอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม ในมุมของกระทรวงอุตสาหกรรม แนวทางรับมือสงครามการค้าที่ดีที่สุด คือ การกระตุ้นให้ผู้ประกอบการปรับตัว ผลิตสินค้าที่เป็นที่ต้องการของประเทศต่างๆ ทั่วโลก อาทิ ยานยนต์ไฟฟ้า อาหารทางเลือก นอกจากนี้ ต้องดันตนเองเข้าไปอยู่ในซัพพลายเชนของโลก ซึ่งกระทรวงฯกำลังร่วมมือกับประเทศต่างๆ อาทิ ญี่ปุ่น จีน รัสเซีย ในการดันผู้ผลิตไทยเข้าไปอยู่ในซัพพลายเชนของประเทศนั้นๆ

ขณะที่บล.ไทยพาณิชย์ จัดทำบทวิเคราะห์ เรื่อง “Tech war คือสงครามที่แท้จริง” โดย ดร.ปิยศักดิ์ มานะสันต์ ผู้อำนวยการอาวุโส โดยเชื่อว่า กรณีที่สหรัฐฯ เริ่มทำสงครามการค้าระลอกถัดไปกับจีนโดยสั่งคว่ำบาตร “หัวเว่ย” ซึ่งเป็นบริษัทเทคโนโลยีรายใหญ่สุดของจีน นั้นเชื่อว่าสหรัฐฯ ต้องการใช้การคว่ำบาตรครั้งนี้มางัดข้อกับจีนเพื่อให้สงครามการค้ายุติอย่างรวดเร็ว ในขณะเดียวกันก็มีความต้องการที่จะควบคุมหัวเว่ยในระยะยาวด้วย

“เรายังคงเชื่อว่าในที่สุดแล้วทั้งสองฝ่ายจะยอมลดภาษีนำเข้าลง ในขณะที่สหรัฐฯ อาจจะระงับการคว่ำบาตรหัวเว่ยเป็นการชั่วคราวเหมือนกับที่เคยทำกับกรณี ZTE ในปีที่ผ่านมา กระนั้นก็ตาม เราเชื่อว่าสหรัฐฯ จะใช้การขู่คว่ำบาตรบริษัทเทคโนโลยีของจีนในเวลาใดก็ได้เพื่องัดข้อกับจีน ซึ่งจะส่งผลกระทบด้านลบต่อแนวโน้มของกลุ่มเทคโนโลยีทั่วโลกในระยะต่อไป” บล.ไทยพาณิชย์ ระบุ

จาก https://www.naewna.com   วันที่ 29 พฤษภาคม 2562

ประกาศใช้พ.ร.บ.น้ำมันเชื้อเพลิง ในราชกิจจานุเบกษาแล้ว

ประกาศใช้ พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในราชกิจจานุเบกษา แล้ว  มีผลให้รัฐต้องเลิกการอุดหนุนราคาแก๊สโซฮอล์ อี 20  อี 85 ไบโอดีเซลบี 10 และ บี 20 ภายใน3ปี โดยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ยังคงหลักการรักษาเสถียรภาพน้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงก๊าซแอลพีจี และเอ็นจีวี ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ในกรณีที่เกิดวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิงประกาศใช้ พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในราชกิจจานุเบกษา แล้ว  มีผลให้รัฐต้องเลิกการอุดหนุนราคาแก๊สโซฮอล์ อี 20  อี 85 ไบโอดีเซลบี 10 และ บี 20 ภายใน3ปี โดยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ยังคงหลักการรักษาเสถียรภาพน้ำมันเชื้อเพลิง รวมถึงก๊าซแอลพีจี และเอ็นจีวี ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม ในกรณีที่เกิดวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง

จาก www.thansettakij.com วันที่ 28 พฤษภาคม 2562

กรมชลฯ ปรับเทคโนโลยีบริหารจัดการน้ำใหม่

กรมชลประทานปรับเทคโนโลยีบริหารจัดการน้ำใหม่ ทำเส้นโค้งปฏิบัติการน้ำของอ่างเก็บน้ำทั่วประเทศให้สอดคล้องกับการคาดการณ์สภาพภูมิอากาศประจำปี

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ปีนี้เป็นปีแรกที่กรมชลประทานจัดทำเส้นเกณฑ์ปฏิบัติการน้ำแบบพลวัต (Dynamic Rule Curve) ของอ่างเก็บน้ำทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลางที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน 437 แห่งทั่วประเทศให้สอดคล้องกับการคาดการณ์สภาพอากาศประจำปีร่วมกับสถิติการใช้น้ำ ตลอดจนขีดความสามารถรับน้ำของลำน้ำด้านท้าย จึงได้เป็นเส้นโค้งปฏิบัติการน้ำแบบระยะสั้น เพื่อกำหนดเกณฑ์การเก็บกักน้ำแต่ละห้วงเวลาปริมาณการระบายน้ำที่เหมาะสมควบคู่ไปกับเส้นโค้งปฏิบัติการน้ำที่อ้างอิงจากการเก็บข้อมูลแบบระยะยาว มั่นใจว่าจะทำให้การบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

นายทองเปลว กล่าวว่า การนำนวัตกรรมดังกล่าวมาใช้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศส่งผลกระทบทั่วโลกรวมทั้งไทย ทำให้สภาพอากาศมีความผันผวนมากขึ้น ดังนั้น การใช้ Rule Curve จากสถิติน้ำไหลเข้าอ่างปริมาณการใช้น้ำที่เก็บสถิติหลายปีต่อเนื่องที่นำมาใช้เป็นเกณฑ์เก็บกักน้ำสูงสุด (Upper Rule Curve) และต่ำสุด (Lower Rule Curve) จึงไม่เพียงพอที่จะกำหนดแนวทางบริหารจัดการน้ำได้อย่างแม่นยำ กรมชลประทานจึงนำการคาดการณ์สภาพอากาศ ปริมาณฝนของกรมอุตุนิยมวิทยามาจำลองปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างมาจัดทำ Rule Curve แต่ละห้วงเวลาของปี เพื่อใช้ควบคู่กันกำหนดเกณฑ์เก็บกักน้ำและการระบายน้ำได้อย่างเหมาะสม เช่น ระยะนี้เป็นต้นฤดูฝนมีฝนตกหลายพื้นที่ ขณะที่ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำสามารถรองรับได้ จึงได้เก็บกักน้ำสำรองไว้สำหรับช่วงกลางฤดูเดือนกรกฎาคมถึงสิงหาคมที่อาจเกิดภาวะฝนทิ้งช่วง รวมทั้งเมื่อเข้าสู่ฤดูแล้งในเดือนพฤศจิกายน 2562 ต่อเนื่องถึงต้นปี 2563 สามารถลดความเสี่ยงต่อภาวะน้ำหลากและน้ำแล้งได้มากขึ้น

ด้านผู้ช่วยศาสตราจารย์ณัฐ มาแจ้ง ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรน้ำ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวว่า การทำเส้นเกณฑ์ปฏิบัติการน้ำแบบพลวัตระยะสั้นเป็นสิ่งใหม่ที่หลายประเทศเริ่มนำมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำ จากเดิมใช้ Upper Rule Curve เป็นเกณฑ์บ่งชี้ว่า ระดับเก็บกักน้ำสูงสุดในอ่างเก็บน้ำไม่ควรสูงกว่าเส้นที่กำหนดและใช้ Lower Rule Curve เป็นเกณฑ์บ่งชี้ว่า ระดับเก็บกักน้ำต่ำสุดไม่ควรต่ำกว่าเส้นที่กำหนด แต่ความแม่นยำจะน้อยกว่าการใช้ Rule Curve ระยะสั้นกำหนดจากข้อมูลการพยากรณ์อากาศประจำปีร่วมด้วย สำหรับปี 2562 กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์ว่าสภาพอากาศจะคล้ายปี 2550 สามารถนำสถานการณ์น้ำปี 2550 มาเป็นฐานข้อมูลได้ โดยจะช่วยให้ทราบว่าช่วงที่ฝนชุกนั้นเก็บกักน้ำในอ่างเก็บน้ำไว้ได้มากที่สุดเพียงใด สำหรับช่วงปลายฤดูฝนปีนี้คาดว่าจะมีพายุเข้าอย่างน้อย 1 ลูก กรมชลประทานสามารถตัดสินใจได้ว่าจำเป็นต้องพร่องน้ำออกจากอ่างเก็บน้ำเท่าไรเพื่อให้มีพื้นที่รองรับน้ำที่จะไหลลงอ่างฯ เพิ่ม อีกทั้งสามารถวางแผนแบ่งจัดสรรสำหรับการอุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศน์ เกษตรกรรม และอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องไปจนถึงฤดูแล้งหน้าเพื่อไม่ให้เกิดภาวะขาดแคลนน้ำ ดังนั้น จึงมั่นใจว่าการบริหารจัดการน้ำของกรมชลประทานปีนี้จะมีประสิทธิภาพและความแม่นยำมากขึ้น

จาก https://tna.mcot.net  วันที่ 28 พฤษภาคม 2562

รอวัดใจรัฐบาลใหม่หนุนเชื้อเพลิงชีวภาพรูปแบบใด

กลุ่มเชื้อเพลิงชีวภาพเป็นงงกฎหมายกองทุนน้ำมันฯ แยกเชื้อเพลิงชีวภาพออกจากการเป็นน้ำมัน ไม่อุดหนุนเชื้อเพลิงชีวภาพใน 7 ปีข้างหน้า รอวัดใจรัฐบาลใหม่จะร่างกฎหมายพลังงานทดแทนอย่างไร หากไม่อุดหนุนต่ออาจจะกระทบต่อเกษตรกร

นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี นายกกิตติมศักดิ์สมาคมการค้าผู้ผลิตเอทานอลไทย กล่าวถึงพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562  ที่ระบุจะไม่มีการชดเชยเชื้อเพลิงชีวภาพหรือพลังงานทดแทนในอนาคต ว่าเป็นเพราะผู้ร่างกฎหมายเห็นว่าเชื้อเพลิงชีวภาพทั้งไบโอดีเซลและเอทานอลไม่เป็นน้ำมันเชื้อเพลิง จึงให้แยกออกมา โดยกระทรวงพลังงานระบุว่าจะมีการร่างกฎหมายใหม่เป็นร่าง พ.ร.บ.พลังงานทดแทนโดยเฉพาะ ซึ่งก็ต้องตามดูว่าจะดำเนินการอย่างไร เงินกองทุนฯ จะมาจากไหน เพราะปัจจุบันนี้เงินกองทุนอุดหนุนเชื้อเพลิงชีวภาพ เช่น อี 20 (อุดหนุน 0.78บาท/ลิตร )  อี 85 (อุดหนุน 6.38 บาท/ลิตร ) ไบโอดีเซลบี10 (อุดหนุน0.65 บาท/ลิตร ) และบี 20 (อุดหนุน 4.50บาท/ลิตร ) ก็นำมาจากเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง อย่างไรก็ตาม ในส่วนของ อี 10 มีการจัดเก็บเงินเข้ากองทุน 2.12 บาทต่อลิตร บี 7 จัดเก็บเข้ากองทุน 0.20 บาท/ลิตร แล้วในส่วนนี้จะถูกตีความว่าเป็นเงินอะไร เพราะมีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพอยู่ด้วย

"ในเรื่องส่งเสริมเชื้อเพลิงชีวภาพควรจะดูกันทั้งระบบต้องบูรณการตั้งแต่การเป็นเชื้อเพลิง จนไปถึงเกษตรกร เพราะหากไม่สนับสนุนแล้วยอดใช้ไบโอดีเซล-เอทานอลลดลง ในที่สุดก็กระทบเกษตรกรโดยตรง ซึ่งคงเป็นเรื่องที่รัฐบาลใหม่คงต้องเข้ามาดู" นายสิริวุธ กล่าว

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศพระราชบัญญัติกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2562  เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 โดยนายวีระพล จิรประดิษฐกุล ผู้อำนวยการสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) หรือ สบพน. เปิดเผยว่า ตาม พ.ร.บ.กองทุนน้ำมันฯ จะมีผลบังคับใช้จริงในอีก 120 วัน ซึ่งในช่วงนี้ จะหารือกับสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) เพื่อกำหนดขอบข่ายการทำงาน รวมถึงการจัดตั้ง “สำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง” ขึ้นมาปฏิบัติหน้าที่แทน สบพน.

ทั้งนี้ สาระสำคัญของกฎหมายฉบับดังกล่าวในมาตรา 26 ระบุว่ากองทุนต้องมีจำนวนเงินเพียงพอเพื่อใช้ในการบริหารจัดการกองทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเมื่อรวมกับเงินกู้ตามวรรคสองแล้วต้องไม่เกินจำนวน 40,000 ล้านบาท เมื่อกองทุนมีจำนวนเงินไม่เพียงพอ เพื่อดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ ที่จัดตั้งขึ้นเพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในกรณีที่เกิดวิกฤตการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง ให้สำนักงานโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการและโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจกู้ยืมเงินจำนวนไม่เกิน 20,000 ล้านบาท ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่คณะรัฐมนตรีกำหนดการเปลี่ยนแปลงกรอบวงเงินตามวรรคหนึ่งและกรอบวงเงินกู้ตามวรรคสองให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจให้กระทำได้โดยการตราพระราชกฤษฎีกา

นอกจากนี้ ในมาตรา 55 ในกรณีที่มีการจ่ายเงินชดเชยให้แก่น้ำมันเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของเชื้อเพลิงชีวภาพอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับให้ใช้จ่ายเงินกองทุนเพื่อการดำเนินการดังกล่าวต่อไปได้ เป็นระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ ทั้งนี้ ให้นำความในหมวด 4 การดำเนินงานของกองทุน และหมวด 7 บทกำหนดโทษ ที่เกี่ยวข้อง มาใช้บังคับกับการด้าเนินการนี้ด้วย ในการดำเนินการตามวรรคหนึ่ง ให้คณะกรรมการดำเนินการออกประกาศกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และมาตรการ เพื่อลดการจ่ายเงินชดเชยทุกรอบระยะเวลาหนึ่งปี ทั้งนี้ ประกาศดังกล่าวให้นำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบในกรณีที่มีความจำเป็นต้องดำเนินการตามวรรคหนึ่งต่อไป

นายวีระพล กล่าวว่า กองทุนน้ำมันฯ จะถูกใช้เพื่อรักษาเสถียรภาพระดับราคาน้ำมันในประเทศให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมในกรณีที่เกิดวิกฤติการณ์ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนั้น จะไม่สามารถนำเงินมาใช้ชดเชยราคาพลังงานทดแทนได้ แต่กฎหมายกำหนดให้ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงต้องทำแผนลดการชดเชยเงินให้กับพลังงานทดแทนลงใน 3 ปี และถ้าจำเป็นสามารถขอต่ออายุการชดเชยได้อีก 2 ครั้ง (ครั้งละ 2 ปี ) จากนั้นจะไม่มีการชดเชยให้กับพลังงานทดแทนอีก ซึ่งตามแผนกระทรวงพลังงานจะมีการเสนอกฎหมาย พ.ร.บ.พลังงานทดแทน ขึ้นมาใหม่ หลังจากเคยทำเรื่องเสนอ ครม. แต่ไม่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมาธิการฯ  ซึ่งจะมีการเสนอให้จัดตั้งขึ้นใหม่หรือไม่ ขึ้นกับความเห็นชอบของรัฐบาลชุดใหม่

จาก https://tna.mcot.net  วันที่ 28 พฤษภาคม 2562

ขานรับอบรม3สาร ภาคเอกชนตื่นตัว แห่ติวรุ่น1กว่า200 อีก300ต่อคิวรอบ2

นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรเปิดเผยว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ของกรมได้จัดอบรมสร้างวิทยากรไปอบรมเกษตรกรในหลักสูตร “การใช้วัตถุอันตราย พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส ให้ถูกต้องและปลอดภัย” ให้เจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย การยางแห่งประเทศไทย สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืชไทย และสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย รวมจำนวนผู้รับการอบรมรุ่นที่ 1 ทั้งหมด 1,700 คน ที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรและศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร หน่วยงานในส่วนภูมิภาคของกรมวิชาการเกษตร ส่วนสมาคมภาคเอกชนทั้ง 3 สมาคม จัดอบรมที่ กรมวิชาการเกษตร ทั้งนี้ ในส่วนสมาคมภาคเอกชนทั้ง 3 สมาคม จากเดิมกำหนดจำนวนผู้เข้าอบรมไว้ 300 คน แต่มีการแจ้งความประสงค์จากสมาคมขอเข้ารับการอบรมมาเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้รวมมากกว่า 500 คน ซึ่งกรมวิชาการเกษตรจัดอบรมรุ่นที่ 1 วันที่ 23 พฤษภาคม 200 คน และจะอบรมวิทยากรจากทั้ง 3 สมาคมที่เหลืออีก 300 คน ในรุ่นที่ 2 วันที่ 6 มิถุนายนนี้

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ช่วงเดือนพฤษภาคม กรมวิชาการเกษตรอยู่ระหว่างสร้างวิทยากรร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อไปทำหน้าที่วิทยากรนำความรู้ที่ได้รับทั้งภาคทฤษฎีและปฎิบัติไปอบรมเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย 1.5 ล้านคน ที่ยังจำเป็นต้องใช้สารทั้ง 3 ชนิดนี้ ทั้งนี้ เกษตรกรที่จะเข้ารับการอบรมต้องมีทะเบียนเกษตรกรหรือหลักฐานแสดงพื้นที่ปลูกพืชที่จำเป็นต้องใช้สารพาราควอตและไกลโฟเซต สำหรับกำจัดวัชพืชใน อ้อย ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ข้าวโพด มันสำปะหลังและไม้ผล และใช้คลอร์ไพริฟอสเพื่อกำจัดแมลงในไม้ดอก พืชไร่ และกำจัดหนอนเจาะ ลำต้นในไม้ผล ซึ่งต่อไปการซื้อสารทั้ง 3 ชนิดไปใช้เกษตรกรต้องซื้อจากร้านที่ได้รับอนุญาต แสดงหลักฐานผ่านการอบรม พร้อมแสดงชนิดพืชที่ปลูก พื้นที่ปลูก เพื่อกำหนดปริมาณวัตถุอันตรายที่จะซื้อได้

จาก  https://www.naewna.com วันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

กรมชลฯยันเขื่อนทั่วประเทศ รับน้ำฝนได้อีก3.5หมื่นล้านลบ.ม

 “กรมชลฯยันเขื่อนทั่วประเทศรับน้ำฝนได้อีก3.5หมื่นล้านลบ.ม.พร้อมปรับเกณฑ์กักเก็บน้ำใหม่ทุกเขื่อน437แห่ง เน้นบริหารอ่างน้ำมีประสิทธิภาพสูงสุด ลดผลกระทบพื้นที่ท้ายน้ำ”

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงนายกฤษฏา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ สั่งการเตรียมความพร้อมรับมือฤดูฝนปีนี้ว่า กรมปรับเกณฑ์ปฏิบัติการ- อ่างเก็บน้ำ (Rule Curve) ของอ่างเก็บน้ำทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลางที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน 437 แห่งทั่วประเทศแล้ว ซึ่งจะปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ข้อมูลสถิติ เงื่อนไขการใช้น้ำและขีดความสามารถรับน้ำของลำน้ำด้านท้าย พร้อมกำหนดให้มีเส้นเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำอ้างอิงแบบระยะยาว และเส้นเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำแบบระยะสั้นของแต่ละปี ตามการคาดการณ์สภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งหมดเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

“อ่างเก็บน้ำทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ สามารถรับน้ำช่วงฤดูฝนรวมกันได้มากกว่า 3.5หมื่นล้าน ลบ.ม. จึงรองรับปริมาณน้ำหลากช่วงฤดูฝนได้เต็มที่ แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีอ่างเก็บน้ำหลายแห่งที่มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างน้อยหรือต่ำกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ ซึ่งต้องวางแผนบริหารจัดการน้ำอย่างรอบคอบ เพื่อให้เพียงพอจนกว่าจะเข้าฤดูฝนปกติ เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 12 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำขุนด่านปราการชล อ่างเก็บน้ำกระเสียว อ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ อ่างเก็บน้ำลำพระ อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง อ่างเก็บน้ำลำปาว อ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ อ่างเก็บน้ำทับเสลา อ่างเก็บน้ำคลองสียัด อ่างเก็บน้ำแควน้อยบำรุงแดน อ่างเก็บน้ำแม่กวงอุดมธารา และอ่างเก็บน้ำลำนางรอง นอกจากนี้ยังมีอ่างเก็บน้ำขนาดกลางอีก 149 แห่งทั่วประเทศ ที่มีปริมาณน้ำเหลืออยู่ไม่ถึงร้อยละ 30 หากมีฝนตกลงมาอ่างเก็บน้ำเหล่านี้จะรองรับปริมาณน้ำรวมกันได้มากพอควรเช่นกัน”อธิบดีกรมชลประทาน กล่าว

นอกจากนี้ กรมยังวางแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำ เพื่อใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นแก้มลิงธรรม ชาติตามศาสตร์พระราชา โดยดำเนินโครงการบางระกำโมเดลปีนี้เป็นปีที่ 3 ด้วยการปรับเปลี่ยนปฏิทินปลูกข้าวใหม่ ให้เก็บเกี่ยวได้ก่อนน้ำหลาก จากนั้นจะใช้เป็นพื้นที่รองรับน้ำ พร้อมขยายผลมาดำเนินการในลักษณะเดียวกันในพื้นที่ 12 ทุ่งลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง เมื่อรวมปริมาณน้ำที่ทุ่งบางระกำ และ 12 ทุ่งเจ้าพระยาตอนล่างแล้ว จะทำให้รองรับน้ำหลากได้มากกว่า 2,000 ล้าน ลบ.ม. หรือเท่ากับปริมาณความจุของเขื่อนแควน้อยบำรุงแดนและเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์รวมกัน ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาได้มีประสิทธิภาพ

อธิบดีกรมชลประทานกล่าวต่อว่า ก่อนเข้าสู่ฤดูฝนปีนี้ กรมยังได้จัดทำฐานข้อมูลและมาตรการบริหารจัดการน้ำของแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก พร้อมกำหนดสถานีหลัก Key Station) เพื่อบริหารจัดการน้ำและเฝ้าระวัง รวมทั้งได้ขุดลอกคูคลอง กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ โดยเฉพาะผักตบชวาและวัชพืช ตลอดจนตรวจสอบอาคารชลประทานให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ และเตรียมพร้อมเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกลต่างๆ ที่ออกปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชนทุกพื้นที่ได้ตลอดเวลา

ส่วนผลการจัดสรรน้ำหลังสิ้นสุดฤดูแล้ง(ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2561-30 เมษายน 2562) พบว่าการใช้น้ำเป็นไปตามแผนที่วางไว้ แม้ใช้น้ำเกินแผนไปบ้างแต่ไม่มาก ซึ่งจะอยู่ในส่วนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นส่วนใหญ่ เดิมกรมชลประทานจัดสรรน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งประมาณ 8พันล้าน ลบ.ม. เมื่อสิ้นสุดฤดูแล้งเดือนเมษายน ปรากฏว่าลุ่มน้ำเจ้าพระยามีการใช้น้ำไปทั้งสิ้น 9พันล้าน ลบ.ม. อย่างไรก็ตาม ยังมีน้ำคงเหลือที่จะใช้ได้ต่อเนื่องช่วงต้นฤดูฝนอีกกว่า 5พันล้าน ลบ.ม. รวมไปถึงการใช้น้ำในช่วงที่เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมด้วย

จาก https://www.naewna.com วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ปรับเกณฑ์กักเก็บน้ำ 437 เขื่อน รับน้ำฝน!!

กรมชลประทาน ยันเขื่อนทั่วประเทศรับน้ำฝนได้อีก 3.5 หมื่นล้านลบ.ม. พร้อมปรับเกณฑ์กักเก็บน้ำใหม่ทุกเขื่อน 437 แห่ง เน้นบริหารอ่างน้ำมีประสิทธิภาพสูงสุด ลดผลกระทบพื้นที่ท้ายน้ำ

เมื่อวันที่ 27 พ.ค.62 ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงกรณีนายกฤษฏา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สั่งการเตรียมความพร้อมรับมือฤดูฝนปีนี้ว่า กรมฯ ได้ปรับเกณฑ์ปฏิบัติการ- อ่างเก็บน้ำ (Rule Curve) ของอ่างเก็บน้ำทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลางที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน 437 แห่งทั่วประเทศแล้ว ซึ่งจะปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ข้อมูลสถิติ เงื่อนไขการใช้น้ำและขีดความสามารถรับน้ำของลำน้ำด้านท้าย พร้อมกำหนดให้มีเส้นเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำอ้างอิงแบบระยะยาว และเส้นเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำแบบระยะสั้นของแต่ละปี ตามการคาดการณ์สภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งหมดเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

“อ่างเก็บน้ำทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ สามารถรับน้ำช่วงฤดูฝนรวมกันได้มากกว่า 3.5 หมื่นล้าน ลบ.ม. จึงรองรับปริมาณน้ำหลากช่วงฤดูฝนได้เต็มที่ แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีอ่างเก็บน้ำหลายแห่งที่มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างน้อยหรือต่ำกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ ซึ่งต้องวางแผนบริหารจัดการน้ำอย่างรอบคอบ เพื่อให้เพียงพอจนกว่าจะเข้าฤดูฝนปกติ เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 12 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำขุนด่านปราการชล อ่างเก็บน้ำกระเสียว อ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ อ่างเก็บน้ำลำพระ อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง อ่างเก็บน้ำลำปาว อ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ อ่างเก็บน้ำทับเสลา อ่างเก็บน้ำคลองสียัด อ่างเก็บน้ำแควน้อยบำรุงแดน อ่างเก็บน้ำแม่กวงอุดมธารา และอ่างเก็บน้ำลำนางรอง รวมทั้งยังมีอ่างเก็บน้ำขนาดกลางอีก 149 แห่งทั่วประเทศ ที่มีปริมาณน้ำเหลืออยู่ไม่ถึงร้อยละ 30 หากมีฝนตกลงมาอ่างเก็บน้ำเหล่านี้จะรองรับปริมาณน้ำรวมกันได้มากพอควรเช่นกัน”อธิบดีกรมชลประทาน กล่าว

นอกจากนี้ กรมฯ ยังวางแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำ เพื่อใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นแก้มลิงธรรม ชาติตามศาสตร์พระราชา โดยดำเนินโครงการบางระกำโมเดลปีนี้เป็นปีที่ 3 ด้วยการปรับเปลี่ยนปฏิทินปลูกข้าวใหม่ ให้เก็บเกี่ยวได้ก่อนน้ำหลาก จากนั้นจะใช้เป็นพื้นที่รองรับน้ำ พร้อมขยายผลมาดำเนินการในลักษณะเดียวกันในพื้นที่ 12 ทุ่งลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง เมื่อรวมปริมาณน้ำที่ทุ่งบางระกำ และ 12 ทุ่งเจ้าพระยาตอนล่างแล้ว จะทำให้รองรับน้ำหลากได้มากกว่า 2,000 ล้าน ลบ.ม. หรือเท่ากับปริมาณความจุของเขื่อนแควน้อยบำรุงแดนและเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์รวมกัน ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาได้มีประสิทธิภาพ

ทั้งนี้ ก่อนเข้าสู่ฤดูฝนปีนี้ กรมฯ ยังได้จัดทำฐานข้อมูลและมาตรการบริหารจัดการน้ำของแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก พร้อมกำหนดสถานีหลัก Key Station) เพื่อบริหารจัดการน้ำและเฝ้าระวัง รวมทั้งได้ขุดลอกคูคลอง กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ โดยเฉพาะผักตบชวาและวัชพืช ตลอดจนตรวจสอบอาคารชลประทานให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ และเตรียมพร้อมเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกลต่างๆ ที่ออกปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชนทุกพื้นที่ได้ตลอดเวลา

ส่วนผลการจัดสรรน้ำหลังสิ้นสุดฤดูแล้ง (ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2561-30 เมษายน 2562) พบว่า การใช้น้ำเป็นไปตามแผนที่วางไว้ แม้ใช้น้ำเกินแผนไปบ้างแต่ไม่มาก ซึ่งจะอยู่ในส่วนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นส่วนใหญ่ เดิมกรมชลประทานจัดสรรน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งประมาณ 8พันล้าน ลบ.ม. เมื่อสิ้นสุดฤดูแล้งเดือนเมษายน ปรากฏว่าลุ่มน้ำเจ้าพระยามีการใช้น้ำไปทั้งสิ้น 9พันล้าน ลบ.ม. อย่างไรก็ตาม ยังมีน้ำคงเหลือที่จะใช้ได้ต่อเนื่องช่วงต้นฤดูฝนอีกกว่า 5พันล้าน ลบ.ม. รวมไปถึงการใช้น้ำในช่วงที่เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมด้วย

จาก https://siamrath.co.th  วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ก.เกษตรฯถกศพก.-แปลงใหญ่  บูรณาการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญ

กรมส่งเสริมการเกษตร ประชุมเชื่อมโยงการดำเนินงาน ศพก. และแปลงใหญ่ระดับประเทศ ครั้งที่ 3 เพื่อปูทางขับเคลื่อนนโยบายสำคัญต่างๆ ของกระทรวงเกษตรฯ ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมขยายผลต่อยอดการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จในทุกมิติ

นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวว่า ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และเกษตรแปลงใหญ่ ถือเป็นกลไกสำคัญในการดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งตลอดระยะเวลา 3 ปี ที่มีการดำเนินงานมาได้เกิดผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจในทุกมิติและมีแนวโน้มการพัฒนาของเกษตรกรที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยการดำเนินงานทั้ง ศพก. และแปลงใหญ่ถือเป็นกลไกสำคัญของภาครัฐในการขับเคลื่อนด้านการเกษตร เนื่องจากเป็นแหล่งเรียนรู้การผลิตสินค้าเกษตรที่ถูกต้องและเหมาะสมและเป็นศูนย์กลางการบริการแลกเปลี่ยนความรู้ข้อมูลข่าวสารของหน่วยงานต่างๆ จากภาครัฐให้กับเกษตรกร ปัจจุบันมีเครือข่ายสนับสนุนด้านวิชาการและการบริการเฉพาะด้านตั้งแต่ระดับอำเภอ จังหวัด เขต ทำให้เป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิต การบริหารจัดการ และการตลาดแก่เกษตรกร รวมทั้งการให้บริการทางการเกษตร รวมถึงเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นหนึ่งในกลไกในการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาด้านการเกษตรได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยในแต่ละปีจะมีการประชุมระดับประเทศทุกๆ 3 เดือน เพื่อรับทราบปัญหา แก้ไขปัญหา พร้อมวางแนวทางการขับเคลื่อนดำเนินงานตามนโยบายจากกระทรวงเกษตรฯ อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ก็เพื่อให้การดำเนินงานเกิดการรับรู้ความเข้าใจและสามารถสื่อสารให้กับเกษตรกรในพื้นที่ได้อย่างถูกต้อง ในขณะเดียวกันในระดับพื้นที่ที่ทำงานไปแล้วหากพบเจอกับปัญหาอะไรก็สามารถนำมาสะท้อนในเวทีนี้เพื่อวางแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน วันนี้จะเห็นว่ามีหน่วยงานของกระทรวงเกษตรฯ จากหลายๆ กรม เข้าร่วมประชุมด้วย ฉะนั้นถ้ามีปัญหาตรงส่วนไหน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้ก็พร้อมที่จะดำเนินการแก้ไขปัญหาร่วมกับเกษตรกรไปพร้อมกัน ทั้ง ศพก.และแปลงใหญ่ นับเป็นการดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาคประชาชนและภาครัฐแบบบูรณาการ

“ตลอดระยะเวลาการดำเนินงานของ ศพก.และแปลงใหญ่ ที่ผ่านมา กรม ได้พยายามให้เกษตรกรมีบทบาทและมีส่วนร่วมในการพัฒนาภาคการเกษตรมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งผลสำเร็จในวันนี้ถือเป็นบททดสอบแล้วว่า ภาครัฐไม่ได้ใช้ความต้องการของตนเองเป็นที่ตั้ง แต่ความต้องการแก้ไขปัญหาจะต้องมาจากภาคประชาชน โดยมีภาครัฐเข้าไปสนับสนุนวางแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมมากกว่า” อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าว

จาก https://www.naewna.com วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

กรมชลฯวางแผนรับมือน้ำหลาก l ปรับเกณฑ์Rule Curveให้ทันสถานการณ์

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงการเตรียมความพร้อมรับมือฤดูฝนปี 2562 ว่า กรมปรับเกณฑ์ปฏิบัติการ- อ่างเก็บน้ำ (Rule Curve) ของอ่างเก็บน้ำทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลางที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมชลประทาน 437 แห่งทั่วประเทศแล้ว ซึ่งจะปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน ข้อมูลสถิติ เงื่อนไขการใช้น้ำและขีดความสามารถรับน้ำของลำน้ำด้านท้าย พร้อมกำหนดให้มีเส้นเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำอ้างอิงแบบระยะยาว และเส้นเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำแบบระยะสั้นของแต่ละปี ตามการคาดการณ์สภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะทำให้การบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งหมดเกิดประสิทธิภาพสูงสุด

“อ่างเก็บน้ำทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศ สามารถรับน้ำช่วงฤดูฝนรวมกันได้มากกว่า 35,000 ล้าน ลบ.ม. จึงรองรับปริมาณน้ำหลากช่วงฤดูฝนได้เต็มที่ แต่ขณะเดียวกันก็ยังมีอ่างเก็บน้ำหลายแห่งที่มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างน้อยหรือต่ำกว่าร้อยละ 30 ของความจุอ่างฯ ซึ่งต้องวางแผนบริหารจัดการน้ำอย่างรอบคอบ เพื่อให้เพียงพอจนกว่าจะเข้าฤดูฝนปกติ เป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 12 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำขุนด่านปราการชล อ่างเก็บน้ำกระเสียว อ่างเก็บน้ำป่าสักชลสิทธิ์ อ่างเก็บน้ำลำพระ อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง อ่างเก็บน้ำลำปาว อ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ อ่างเก็บน้ำทับเสลา อ่างเก็บน้ำคลองสียัด อ่างเก็บน้ำแควน้อยบำรุงแดน อ่างเก็บน้ำแม่กวงอุดมธารา และอ่างเก็บน้ำลำนางรอง นอกจากนี้ยังมีอ่างเก็บน้ำขนาดกลางอีก 149 แห่งทั่วประเทศ ที่มีปริมาณน้ำเหลืออยู่ไม่ถึงร้อยละ 30 หากมีฝนตกลงมาอ่างเก็บน้ำเหล่านี้จะรองรับปริมาณน้ำรวมกันได้มากพอควรเช่นกัน”อธิบดีกรมชลประทาน กล่าว

นอกจากนี้ กรมยังวางแผนบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ลุ่มต่ำ เพื่อใช้พื้นที่ดังกล่าวเป็นแก้มลิงธรรม ชาติตามศาสตร์พระราชา โดยดำเนินโครงการบางระกำโมเดลปีนี้เป็นปีที่ 3 ด้วยการปรับเปลี่ยนปฏิทินปลูกข้าวใหม่ ให้เก็บเกี่ยวได้ก่อนน้ำหลาก จากนั้นจะใช้เป็นพื้นที่รองรับน้ำ พร้อมขยายผลมาดำเนินการในลักษณะเดียวกันในพื้นที่ 12 ทุ่งลุ่มเจ้าพระยาตอนล่าง เมื่อรวมปริมาณน้ำที่ทุ่งบางระกำ และ 12 ทุ่งเจ้าพระยาตอนล่างแล้ว จะทำให้รองรับน้ำหลากได้มากกว่า 2,000 ล้าน ลบ.ม. หรือเท่ากับปริมาณความจุของเขื่อนแควน้อยบำรุงแดนและเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์รวมกัน ช่วยแก้ปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยาได้มีประสิทธิภาพ

อธิบดีกรมชลประทานกล่าวต่อว่า ก่อนเข้าสู่ฤดูฝนปีนี้ กรมยังได้จัดทำฐานข้อมูลและมาตรการบริหารจัดการน้ำของแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก พร้อมกำหนดสถานีหลัก Key Station) เพื่อบริหารจัดการน้ำและเฝ้าระวัง รวมทั้งได้ขุดลอกคูคลอง กำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ โดยเฉพาะผักตบชวาและวัชพืช ตลอดจนตรวจสอบอาคารชลประทานให้ใช้งานได้เต็มประสิทธิภาพ และเตรียมพร้อมเครื่องสูบน้ำ เครื่องจักรกลต่างๆ ที่ออกปฏิบัติงานช่วยเหลือประชาชนทุกพื้นที่ได้ตลอดเวลา

ส่วนผลการจัดสรรน้ำหลังสิ้นสุดฤดูแล้ง(ตั้งแต่ 1 พฤศจิกายน 2561-30 เมษายน 2562) พบว่าการใช้น้ำเป็นไปตามแผนที่วางไว้ แม้ใช้น้ำเกินแผนไปบ้างแต่ไม่มาก ซึ่งจะอยู่ในส่วนของลุ่มน้ำเจ้าพระยาเป็นส่วนใหญ่ เดิมกรมชลประทานจัดสรรน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้งประมาณ 8,000 ล้าน ลบ.ม. เมื่อสิ้นสุดฤดูแล้งเดือนเมษายน ปรากฏว่าลุ่มน้ำเจ้าพระยามีการใช้น้ำไปทั้งสิ้น 9,000 ล้าน ลบ.ม. อย่างไรก็ตาม ยังมีน้ำคงเหลือที่จะใช้ได้ต่อเนื่องช่วงต้นฤดูฝนอีกกว่า 5,000 ล้าน ลบ.ม. รวมไปถึงการใช้น้ำในช่วงที่เกิดภาวะฝนทิ้งช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมด้วย

จาก https://www.naewna.com วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

สมาชิกเดินหน้าปฏิรูป WTO เจอสหรัฐฯ ขอปรับปรุงการให้แต้มต่อประเทศกำลังพัฒนา

“พาณิชย์” เผยสมาชิกเดินหน้าปฏิรูป WTO วางกรอบ 4 ประเด็นที่ต้องทำให้สำเร็จ ทั้งการปรับปรุงความโปร่งใสการแจ้งข้อมูลกฎระเบียบการค้า การปรับปรุงกลไกระงับข้อพิพาท การผลักดันการเจรจารอบโดฮา และการปรับปรุงการปฏิบัติเป็นพิเศษแก่ประเทศกำลังพัฒนา เผยมะกันขอให้ปรับปรุงการให้สิทธิ์ประเทศกำลังพัฒนา อ้างบางประเทศไม่ควรได้รับสิทธิ์ ไทย จีน อินเดีย แอฟริกา ไม่เห็นด้วย

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการปฏิรูปองค์การการค้าโลก (WTO) ว่า สมาชิก WTO ได้มีการหารือกันอย่างเข้มข้นในเรื่องนี้ โดยมีกรอบการปฏิรูป WTO ใน 4 เรื่องหลัก คือ 1. การปรับปรุงความโปร่งใส และการแจ้งข้อมูลกฎระเบียบมาตรการทางการค้าของสมาชิก 2. การปรับปรุงกลไกระงับข้อพิพาทของ WTO 3. การผลักดันการเจรจารอบโดฮาให้คืบหน้า เช่น เรื่อง e-Commerce การอุดหนุนประมง การปรับปรุงกฎเกณฑ์ทางการค้าต่างๆ และ 4. การปรับปรุงหลักการให้การปฏิบัติที่เป็นพิเศษและแตกต่าง หรือ special and differential treatment (S&D) แก่ประเทศกำลังพัฒนาว่ามีความจำเป็นหรือไม่ อย่างไร

ทั้งนี้ การปรับปรุงหลักการ S&D กำลังเป็นเรื่องที่เข้มข้น เพราะสหรัฐฯ ได้เสนอเอกสารให้ความเห็นว่าหลักการของ WTO ที่ผ่านมา ที่ให้ประเทศกำลังพัฒนาได้รับความยืดหยุ่นในการปฏิบัติตามพันธกรณี WTO เช่น มีระยะเวลาปรับตัวที่นานกว่า มีข้อผูกพันน้อยกว่า แต่ที่ผ่านมาประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นสมาชิก WTO มีการพัฒนาอย่างก้าวกระโดด เช่น จีน อินเดีย เป็นต้น

ทั้งนี้ สหรัฐฯ ให้ความเห็นว่า ควรมีการปรับหลักเกณฑ์การให้ S&D แก่สมาชิก WTO ใหม่ มีการจำแนกประเทศกำลังพัฒนา โดยประเทศที่ควรเข้าข่ายได้รับ S&D ไม่ใช่แค่เพียงแจ้ง WTO ว่าตัวเองเป็นประเทศกำลังพัฒนาเท่านั้น แต่หากเข้าข่ายเงื่อนไขเหล่านี้จะไม่มีสิทธิ์ได้รับ S&D ได้แก่ 1. เป็นสมาชิก OECD หรืออยู่ระหว่างกระบวนการเข้าเป็นสมาชิก OECD ปัจจุบัน มี 36 ประเทศ เช่น ชิลี เม็กซิโก 2. เป็นสมาชิกกลุ่ม G20 เช่น บราซิล จีน อินเดีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ 3. เป็นประเทศที่ธนาคารโลกจัดอันดับว่าเป็นประเทศที่มีรายได้สูง (รายได้ประชาชาติต่อประชากรอยู่ที่ 12,055 เหรียญสหรัฐขึ้นไป) เช่น สิงคโปร์ จีนไทเป และ 4. มีสัดส่วนการค้าระหว่างประเทศไม่น้อยกว่าร้อยละ 0.5 ของมูลค่าการค้าโลก (สัดส่วนของไทยอยู่ประมาณร้อยละ 1.28)

นางอรมนกล่าวว่า สมาชิกกำลังพัฒนาหลายประเทศ รวมทั้งไทย เห็นว่าหลักการ S&D เป็นหลักการสำคัญ และเป็นหลักการพื้นฐานที่ช่วยเสริมสร้างศักยภาพประเทศกำลังพัฒนาให้เป็นส่วนหนึ่งในระบบการค้าโลก ทำให้เกิดความยืดหยุ่นและมีผลสำคัญต่อการหาข้อสรุปการเจรจาเรื่องต่างๆ จึงต้องพิจารณาเรื่องนี้อย่างรอบคอบ ขณะที่จีน อินเดีย กลุ่มแอฟริกา เห็นว่าไม่ควรมีการจำแนกประเทศกำลังพัฒนา และเห็นว่าประเทศพัฒนาแล้ว และประเทศกำลังพัฒนายังมีความแตกต่างของระดับการพัฒนาประเทศสูง เช่น การเข้าถึงแหล่งเงินทุน การเข้าถึงอินเทอร์เน็ต เป็นต้น

“ล่าสุดสมาชิก WTO ยังคงหารือกันใน 4 ประเด็นใหญ่ข้างต้นเพื่อพยายามหาข้อสรุป โดยไทยในฐานะประธานอาเซียนปีนี้ได้มีการหยิบยกประเด็นเหล่านี้หารือในอาเซียนด้วย เพื่อให้อาเซียนร่วมกันแสดงบทบาทในเรื่องการปฏิรูป WTO เพื่อปรับปรุงการทำงานขององค์กร WTO ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมทั้งให้มีการปรับปรุงกลไกการระงับข้อพิพาทของ WTO เพื่อให้สามารถหาข้อสรุปการเลือกสมาชิกองค์กรอุทธรณ์ (Appellate Body) 6 ใน 7 ตำแหน่ง ที่จะว่างลงในเดือน ธ.ค. 2562 นี้ด้วย” นางอรมนกล่าว

จาก https://mgronline.com  วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

อยากปลดล็อกม.44 !!! เสียงตะโกนจากชาวไร่อ้อย สูญแล้ว 6 พันล้าน

         อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลกำลังถูกจับตามองอีกครั้ง เพราะเป็นประเด็นที่ทั้งชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลต่างเป็นห่วง  เพราะเป็นเรื่องของรายได้ที่เข้าระบบอ้อยและน้ำตาลที่ลดลง เมื่อจัดสรรปันส่วนรายได้ในระบบอ้อยและน้ำตาลจะนำไปแบ่งให้ชาวไร่อ้อยสัดส่วน 70% เป็นค่าตัดอ้อย ปลูกอ้อย และสัดส่วน 30% เป็นค่าตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลของโรงงานน้ำตาล

       วันนี้รายได้เข้าระบบลดลงมีสาเหตุหลักมาจาก สถานการณ์ราคาน้ำตาลในตลาดโลกตกต่ำ รวมถึงภาครัฐไม่อยากขัดกับข้อตกลงทางการค้าภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO) จึงตัดสินใจเปลี่ยนแปลงระบบการจำหน่ายน้ำตาลภายในประเทศ โดยการยกเลิกโควตา ใช้มาตรา 44 เรื่องยกเลิกการกำหนดราคาน้ำตาลภายในประเทศเป็นกลไกขับเคลื่อน    

       จากมติครม.เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2560 ที่เห็นชอบแนวทางการบริหารจัดการอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ร่างประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย จำนวน 1 ฉบับ และร่างระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย จำนวน 3 ฉบับ รวม 4 ฉบับ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรม (อก.) เสนอ ประกอบด้วย   1.แนวทางการบริหารจัดการอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย  2.ยกเลิกการกำหนดโควตา โดยให้โรงงานต้องมีการสำรองน้ำตาลทรายตามปริมาณ Buffer Stock ที่กำหนดปริมาณน้ำตาลทรายส่วนที่จะใช้เพื่อจำหน่ายส่งออก โดยให้คงจำนวน 400,000 ตันเท่าเดิม 3.แนวทางการคำนวณราคาอ้อยและผลตอบแทนการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย  4.ปรับปรุงร่างประกาศและร่างระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดให้คณะกรรมการกำหนดราคาขายเปลี่ยนวิธีการในการคำนวณรายได้ขั้นต้นและรายได้ขั้นสุดท้าย

    การดำเนินการดังกล่าว  หวังว่าจะทำให้ระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของประเทศเป็นไปอย่างสอดรับกับข้อตกลงทางการค้าภายใต้องค์การการค้าโลก (WTO)  เขตการค้าเสรีอาเซียน  (AFTA)  และเป็นที่ยอมรับของสากลมากยิ่งขึ้น และมองว่าจะส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของประเทศ

  ล่าสุดเมื่อมองถึงระบบอ้อยและน้ำตาล กลับกลายเป็นปัญหา เนื่องจากขณะนี้เงินสูญไปจากระบบมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เกิดความเสียหายทั้งโรงงานน้ำตาล และชาวไร่อ้อย เพราะเวลานี้ราคาขายน้ำตาลหน้าโรงงานก่อนที่จะมีมาตรา 44 ราคาเคยยืนอยู่ที่ 19-20 บาทต่อกิโลกรัม  พอมีมาตรา 44  เรื่องยกเลิกการกำหนดราคาน้ำตาลในประเทศ  ทำให้ราคาน้ำตาลหน้าโรงงานลงมาอยู่ที่ 17-18 บาทต่อกิโลกรัม  จนปัจจุบันราคาน้ำตาลทรายขาวหน้าโรงงานลงไปอยู่ที่ 14-15 บาทต่อกิโลกรัมแล้ว  และผลดังกล่าวทำให้ระบบอ้อยและน้ำตาล ต้องสูญเงินไปจากระบบแล้วราว 6,000 ล้านบาทหรือมากกว่านี้  ซึ่งรายได้ในระบบอ้อยและน้ำตาลจะนำไปแบ่งให้ชาวไร่อ้อยสัดส่วน 70% และ 30%ให้โรงงานน้ำตาล

  “วงการอ้อยและน้ำตาลเองก็ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่า หากยกเลิกการกำหนดราคาในประเทศ ยกเลิกโควตา ต่อไปแบบนี้เรื่อยๆ จะกดให้ราคาต่ำเตี้ยเรี่ยดินอีกแค่ไหน ยังไม่มีใครตอบได้ เพราะราคาน้ำตาลขึ้นอยู่ที่ราคาตลาดโลกด้วย  เช่นเดียวกัน เมื่อยกเลิกระบบโควตา ปริมาณน้ำตาลในประเทศก็ไม่ใช่ที่ตัวเลข 25 ล้านกระสอบแบบที่ผ่านมา  แต่ปริมาณน้ำตาลในประเทศทั้งหมดที่ผลิตได้มีมากถึง 140 ล้านกระสอบ ทำให้โรงงานน้ำตาลแข่งกันขายในราคาตัดหน้ากันเอง” ผู้ประกอบการในวงการอ้อยและน้ำตาลสะท้อนปัญหาให้เห็นภาพที่เกิดขึ้นในขณะนี้และกำลังจะกลายเป็นปัญหา

-3 สมาคมโรงงานน้ำตาลร้อง 3 ข้อ

   จากปัญหาที่เกิดขึ้นทำให้ทั้งโรงงานน้ำตาลและชาวไร่อ้อยเกิดความกังวล  และเริ่มมีเสียงฮึ่ม ๆ  มาเป็นระยะ  จนล่าสุด 3  สมาคมโรงงานน้ำตาล ซึ่งประกอบด้วย สมาคมโรงงานน้ำตาลไทย สมาคมผู้ผลิตน้ำตาลและชีวพลังงานไทย และสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาล ยื่นหนังสือถึงนายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม นั่งเป็นประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย  ให้พิจารณาเรื่องการบริหารจัดการน้ำตาลทรายเพื่อบริโภคภายในประเทศ  ที่ทั้ง 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย มีความเห็นต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงที่ผ่านมาจากการปรับเปลี่ยนระบบบริหารจัดการน้ำตาลทรายภายในประเทศใหม่  โดยรายละเอียด สามารถสรุปปัญหาได้ 3 ส่วนหลักคือ

 1.การบริหารจัดการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายภายในประเทศระบบใหม่ ทำให้เกิดการแข่งขันระหว่างโรงงาน ทั้งด้านปริมาณและราคา ทำให้ราคาลดต่ำลงอย่างต่อเนื่อง จนต่ำกว่าต้นทุนการผลิต และยังส่งผลให้จำนวนเงินส่วนต่างระหว่างราคาสำรวจกับราคาน้ำตาลทรายตลาดลอนดอน บวกพรีเมียมน้ำตาลไทย ที่โรงงานต้องนำส่งเข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายลดลงต่ำกว่าระดับเป้าหมายที่คาดไว้ จนทำให้รายได้ของระบบลดลง เป็นเหตุให้ราคาอ้อยที่คำนวณได้อยู่ในระดับต่ำ ส่งผลกระทบต่อชาวไร่อ้อย ที่มีราคาไม่คุ้มต่อต้นทุนการผลิตและไม่เพียงพอต่อการยังชีพ

 2.การกำหนดปริมาณน้ำตาลทรายสำรอง(Buffer stock) ให้แต่ละโรงงานจัดเก็บตามสัดส่วนการผลิต เป็นการสร้างภาระให้แก่โรงงานที่ต้องเก็บรักษาไว้ตลอดเวลา  โดยไม่ได้มีการเคลื่อนไหวแต่ประการใด

3.การบริหารจัดการน้ำตาลทรายตามระบบใหม่ ยังไม่ได้เป็นไปอย่างเสรี เนื่องจาก 1)โรงงานจะต้องรับซื้ออ้อยตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย 2)โรงงานจะต้องส่งมอบน้ำตาลทรายดิบ ให้บริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด (อนท.) ตามสัดส่วนการผลิตในแต่ละฤดูการผลิต เพื่อกำหนดราคามาตรฐานในการคำนวณรายได้ของระบบฯ 3)โรงงานและชาวไร่อ้อย จะต้องนำส่งเงินเข้ากองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อใช้ในการบริหารจัดการระบบตามสัดส่วนการผลิต

  จากข้อเท็จจริงและประเด็นปัญหาข้างต้นนี้ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทรายได้มีการพิจารณาและเห็นว่า ระบบการบริหารจัดการน้ำตาลทรายภายในประเทศปัจจุบัน เป็นเพียงการยกเลิกโควตา และลอยตัวราคาน้ำตาลภายในประเทศ  แต่ยังคงมาตรการควบคุมกำกับดูแลตั้งแต่การผลิต การจำหน่าย การขนย้ายและการส่งออกทุกขั้นตอนภายใต้พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ. 2527 จึงสร้างความไม่เป็นธรรม และก่อให้เกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างโรงงานน้ำตาลอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

 นอกจากนี้ยังเกิดผลกระทบต่อรายได้ของระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายโดยรวม อาจทำให้อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายล่มสลายได้ในที่สุด

-ชงปรับปรุงระบบบริหาร 2 ส่วนหลัก

   3 สมาคมจึงเสนอให้ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการน้ำตาลทรายภายในประเทศ 2 ส่วนหลักคือ 1. ยกเลิกการสำรองน้ำตาลทรายภายในประเทศ (Buffer Stock) แล้วนำวิธีการกำหนดปริมาณน้ำตาลทรายเพื่อบริโภคให้สมดุลและสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบันมาใช้แทน ซึ่ง 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ได้มีการหารืออย่างไม่เป็นทางการกับผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์ ที่รับผิดชอบโดยตรงต่อเรื่องนี้แล้วและเห็นว่า สามารถกระทำได้และไม่ขัดกับพันธกรณีภายใต้องค์การการค้าโลก(WTO) หากมิได้มีการประกาศควบคุมราคาโดยปล่อยให้ลอยตัวตามกลไกการตลาด

2.ปรับปรุงแก้ไขระเบียบและประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2561 ที่เกี่ยวข้อง จากที่ครม.เมื่อ วันที่ 4 ธันวาคม 2560 มีมติตามร่างประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย จำนวน 1ฉบับ และร่างระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย จำนวน 3 ฉบับ  รวม 4 ฉบับ ให้กลับมาใช้เหมือนเดิมก่อนที่มีมติครม.ดังกล่าวออกมา เช่น ให้กลับไปใช้ระบบโควตาน้ำตาลเหมือนเดิม ส่วนราคาก็ปล่อยให้ลอยตัวได้ เป็นต้น

   ข้อมูลทั้งหมดที่ 3 สมาคมเสนอขอให้ปรับปรุงระบบการบริหารจัดการน้ำตาลทรายภายในประเทศนั้น ตามรายละเอียดในหนังสือที่ยื่นถึงประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย  ระบุไว้ว่ามีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมระหว่างโรงงานในการจำหน่ายน้ำตาลทรายภายในประเทศ และมีปริมาณน้ำตาลทรายสำหรับการบริโภคอย่างเพียงพอ และสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภคในแต่ละช่วงเวลา  และทำให้ราคาน้ำตาลทรายภายในประเทศปรับตัวอยู่ในระดับเป้าหมายที่คาดไว้  ซึ่งจะช่วยให้รายได้ของระบบ ที่จะมาคำนวณราคาอ้อยเพิ่มขึ้นได้

      ดูจากเงื่อนเวลาเรื่องการยกเลิกการกำหนดราคาน้ำตาลภายในประเทศ ดูตามประกาศม.44 เมื่อ 15 มกราคม 2561 ก็จะครบกำหนด 2 ฤดูการผลิตในวันที่ 30 กันยายน 2562 ยังต้องจับตาว่า สุดท้ายจะคงอยู่ต่อไปหรือประกาศยกเลิกในรัฐบาลใหม่และกลับไปใช้ระบบโควตาเหมือนเดิม หลังจากที่รายได้เข้าระบบอ้อยและน้ำตาลหายวับไปกับตา และกำลังไต่ระดับสูงขึ้นไปเรื่อยๆแบบที่เป็นอยู่!

จาก www.thansettakij.com วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

สู้สงครามการค้า ไทยปรับกลยุทธ์ระยะยาวรับมือ

นางสาวพิมพ์ชนก วอนขอพร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงเตรียมกำหนดแนวทางการรับมือในเรื่องสงครามการค้าระหว่างจีน-สหรัฐฯ พร้อมกำหนดทิศทางยุทธศาสตร์การค้าระยะยาวที่จะต้องพิจารณาระบบการค้าและการลงทุน (Trade & Investment Ecosystem) ทั้งระบบให้สอดคล้องกับบริบทใหม่ของการค้าโดยเน้นผลักดันและกระตุ้นการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ เอกชน และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ต่อไป

“ขณะนี้การค้าไม่แน่นอนและมีความท้าทายสูง ปัจจัยสำคัญของการการกระตุ้นส่งออก คือ การช่วงชิงโอกาส (Speed) และกลยุทธ์ (Strategy) ให้ตอบโจทย์อย่างตรงจุด เพื่อเร่งผลักดันการขายตามความต้องการของตลาด” นางสาวพิมพ์ชนก กล่าว

โดยในวันที่ 29 พฤษภาคมนี้ จะมีการประชุมเพื่อหารือกับตัวแทนอุตสาหกรรมกว่า 20 สมาคมกลุ่ม เพื่อหารือถึงความเป็นไปได้ และการปรับกลยุทธ์ผลักดันการส่งออกสินค้าศักยภาพข้างต้นอย่างรวดเร็ว พร้อมกันนี้จะนำผลหารือจากการประชุมเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ในวันที่ 11 มิถุนายน 2562เพื่อกำหนดแนวทางการรับมือในเรื่องสงครามการค้า และกำหนดทิศทางยุทธศาสตร์การค้าระยะยาวที่จะต้องพิจารณาระบบการค้าและการลงทุน (Trade & Investment Ecosystem) ทั้งระบบให้สอดคล้องกับบริบทใหม่ของการค้าโดยเน้นผลักดันและกระตุ้นการมีส่วนร่วมระหว่างภาครัฐ เอกชน และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ ต่อไป

พร้อมชี้แจงว่า มาตรการสินค้าของสหรัฐฯตอบโต้จีนใน กลุ่มสินค้า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่การตอบโต้ของจีน ในกลุ่มสินค้าสหรัฐฯ 60,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ นั้น เป็นสินค้ากลุ่มเดิมที่มีผลบังคับใช้ไปแล้วเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2561 แต่สหรัฐฯ มีการปรับอัตราภาษีจากร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 25 สำหรับมาตรการสหรัฐฯ และจีนปรับอัตราภาษีเป็นร้อยละ 5-25 และตัดสินค้าจำนวน 67 รายการ ส่วนใหญ่คืออุปกรณ์รถยนต์ เช่น เบรก ล้อรถ คลัช เพลา/แกนรถ ถุงลมนิรภัย

สำหรับมาตรการของจีน ซึ่งจากการติดตามสถานการณ์ตั้งแต่ไตรมาส 4 ปี 2561-ไตรมาส 1 ปี 2562 จนถึงปัจจุบัน พบว่าสินค้ากลุ่มนี้มีนัยสำคัญและส่งผลกระทบทางอ้อมต่อการส่งออกไทย เนื่องจากเป็นกลุ่มสินค้าที่เชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานหลายประเทศที่เป็นคู่ค้าสำคัญของไทย อย่างไรก็ตาม ประเมินว่ามาตรการระหว่างกันล่าสุดในสินค้ากลุ่มนี้ จะไม่ส่งผลกระทบสร้างความรุนแรงเพิ่มขึ้นมากนักไปกว่าระยะที่ผ่านมาเนื่องจากเป็นสินค้ากลุ่มเดิมที่ตลาดรับรู้ไปแล้ว และผู้ประกอบการเริ่มมีการปรับตัว โดยเราเริ่มเห็นสัญญาณเชิงบวกโดยเฉพาะกลุ่มสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ที่ตัวเลขการส่งออก เดือนเมษายน 2562 มีแนวโน้มหดตัวในอัตราที่ลดลง โดยคาดว่าผู้ประกอบการเริ่มมีการปรับกลยุทธ์ในห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) และมาผลิตในตลาดที่สามนอกประเทศจีนในประเทศที่สาม มากขึ้น เช่น ฮ่องกง ไต้หวัน

จาก https://www.naewna.com วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

เตรียมหนุนอบรม เสริมแกร่งชาวไร่อ้อย หวังดันสู่ยุค ไทยแลนด์ 4.0

สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เร่งหนุนจัดฝึกอบรมหลักสูตร "การผลิตอ้อยอย่างชาญฉลาด" (Smart Sugarcane Farming) แก่ชาวไร่อ้อย หวังเพิ่มทักษะรับยุคไทยแลนด์ 4.0

เมื่อวันที่ 24 พ.ค.62 รศ.บพิตร ตั้งวงศ์กิจ นักวิจัยด้านอ้อย เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยแม้ว่าจะส่งออกน้ำตาลมากเป็นอันดับที่ 2 ของโลกรองจากประเทศบราซิล สามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศไม่น้อยกว่า 200,000 ล้านบาท แต่พบว่าชาวไร่อ้อยส่วนใหญ่ยังขาดองค์ความรู้ที่ถูกต้องในการปลูกและบริหารจัดการไร่อ้อยที่ดี ดังนั้นชาวไร่อ้อย จะต้องเร่งปรับตัวให้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลงเพื่อก้าวเข้าสู่ยุค "Industry 4.0" พัฒนาและเพิ่มทักษะเกี่ยวกับการปลูกอ้อย และสามารถนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้ในไร่อ้อยของตนเองได้ จึงกำหนดจัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตร "การผลิตอ้อยอย่างชาญฉลาด (Smart Sugarcane Farming)" โดยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ฝึกอบรมให้กับชาวไร่อ้อยได้รับความรู้ความเข้าใจและวิธีการที่ถูกต้องในการปลูกอ้อย ตั้งแต่การเตรียมดิน การคัดเลือกพันธุ์ การปลูกอ้อย ไปจนถึงการเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งทราบถึงกระบวนการผลิตน้ำตาลทราย ระบบการรับซื้ออ้อย และระบบการซื้อขายน้ำตาลของประเทศไทย เพื่อยกระดับการทำไร่อ้อยแบบ Thailand 4.0

 โดยการฝึกอบรมจะดำเนินการผ่านศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ภาคที่ 1 - 4 ซึ่งเป็นศูนย์อ้อยภูมิภาคครอบคลุมพื้นที่ปลูกอ้อยทั่วประเทศ ประกอบด้วย ภาคกลาง จ.กาญจนบุรี, ภาคเหนือ จ.กำแพงเพชร, ภาคตะวันออก จ.ชลบุรี และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.อุดรธานี โดยจัดอบรมให้ชาวไร่อ้อยจำนวนกว่า 120 คน ในระหว่างวันที่ 16 พ.ค. - 27 ก.ค.62 รวมระยะเวลา 54 ชั่วโมง จำนวน 10 บทเรียน โดยเนื้อหาหลักสูตรเน้นความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอ้อย การบริหารจัดการไร่อ้อย พันธุ์อ้อยและนวัตกรรมการปรับปรุงพันธุ์อ้อย ดินและนวัตกรรมการจัดการดินเพื่อการปลูกอ้อย การปลูกอ้อยอย่างชาญฉลาด การดูแลรักษาอ้อยโดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม โรค แมลงศัตรูในอ้อย การเก็บเกี่ยวและการขนส่งอ้อยอย่างมีประสิทธิภาพ คุณภาพและความหวาน และระบบอุตสาหกรรมอ้อย น้ำตาลทรายและผลิตภัณฑ์จากอ้อยของประเทศไทย

โครงการดังกล่าว ได้รับความสนใจจากชาวไร่อ้อยเป็นจำนวนมาก โดยได้จัดอบรมครั้งแรกไปแล้วเมื่อวันที่ 16 พ.ค.62 ที่ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ภาคที่ 1 จ.กาญจนบุรี มีชาวไร่อ้อยในเขตพื้นที่ภาคกลาง จำนวนกว่า 50 คน เข้าร่วมอบรมการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ในการจัดการไร่อ้อยทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเพาะปลูกอ้อย จนกระทั่งการเก็บเกี่ยวขนส่งเข้าสู่โรงงานน้ำตาล เพื่อสนับสนุนการทำเกษตรยุค Thailand 4.0

"โครงการฝึกอบรมหลักสูตรการผลิตอ้อยอย่างชาญฉลาด (Smart Sugarcane Farming) เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายที่สนับสนุนงบการจัดอบรม และภาควิชาเกษตรกลวิธาน คณะเกษตร กำแพงแสน โดยตั้งเป้าหมายเมื่อจบหลักสูตรชาวไร่อ้อยจะสามารถนำทฤษฎีความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติจริง สามารถพัฒนาประสิทธิภาพในการทำอ้อยให้ดียิ่งขึ้น เพิ่มผลผลิตและคุณภาพอ้อยได้สูงสุด รวมถึงเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันและเชื่อมโยงเป็นเครือข่ายศูนย์การเรียนรู้ และหวังว่าชาวไร่อ้อยที่มาอบรมจะเป็นต้นแบบและสามารถถ่ายทอดความสำเร็จไปยังพี่น้องชาวไร่อ้อยด้วยกันต่อไปในอนาคต" รศ.บพิตรกล่าว.

จาก https://www.thairath.co.th  วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ค้านหัวชนฝาโรงไฟฟ้าชีวภาพชานอ้อย

การจัดเวทีรับฟังความคิดเห็น ของประชาชนพื้นที่อำเภอปทุมรัตต์ ครั้งที่ 2 หรือ ค 2 ของโรงงานน้ำตาล หรือโรงไฟฟ้าชีวภาพชานอ้อย ซึ่งจัดขึ้นที่หอประชุม อำเภอปทุมรัตต์จังหวัดร้อยเอ็ดท่ามกลาง การเฝ้า อารักขารักษาความปลอดภัย อย่างเข้มงวด ของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ฝ่ายปกครอง และอส. ในวันนี้ โดย มี เจ้าหน้าที่หลายภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วม รับฟัง ปัญหาความต้องการ เพื่อการแก้ปัญหา ซึ่ง ฝ่ายปกครอง ของจังหวัดร้อยเอ็ด มีนายเลิศบุศย์กองทอง รองผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เดินทางไปเป็นประธาน ร่วมเป็นสักขีพยาน ในการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ด้านการ สร้างโรงไฟฟ้า ชีวมวลจากชานอ้อย อันเกิดจาก โรงน้ำตาล

 ซึ่งการจัดกิจกรรมวันนี้ ทางผู้จัด ได้วางเป้าหมายผู้เข้าร่วมประชุมรับฟังความคิดเห็น และเสนอทางออก ไว้จำนวน 2,000 คน แต่ปรากฏว่า มีประชาชน มาร่วมงาน เกินกว่าที่กำหนด กว่า 2,400 คน จนต้องขยาย ปริมาณ ยอดผู้เข้าร่วมกิจกรรม ภายในห้องประชุม และต้องเสริมเก้าอี้ออกมาข้างนอกห้องประชุม แต่ก็ยังเกิดปัญหาความวุ่นวายเกิดขึ้น เมื่อชาวบ้านส่วนหนึ่ง ออกมาโวยวาย ว่าได้รับแจ้งจากแกนนำชุมชน ให้พาประชาชนเดินทางมา ร่วมรับฟังความคิดเห็น โดยได้รับแจ้งเป็นข้อความที่ไม่ชัดเจน เกิดความสับสนว่า ให้ชาวบ้านมารับฟัง ความคิดเห็น หมู่บ้านละ 500 คน แต่ปรากฏว่า เมื่อมาร่วมกิจกรรม ทางฝ่ายผู้จัดงาน กลับไม่ยอมให้ลงทะเบียน อ้างว่าปริมาณเกินกว่าที่กำหนดไว้

เมื่อไม่สามารถลงทะเบียนได้ ก็จะไม่ได้รับ เบี้ยเลี้ยงการประชุม ที่จะจ่ายรายหัวหัวละ 300 บาทให้ด้วย และเมื่อไม่ได้เข้าร่วมประชุม การเดินทางกลับก็จะมีปัญหา เนื่องจากรถที่นำมา ไม่ยอมพากลับ เพราะต้องรอการประชุมเสร็จสิ้น แล้ว รอค่ารถ ที่พาเข้าบ้านมาก่อน จึงจะยอมเดินทางกลับ สร้างความไม่พอใจให้กับชาวบ้านจำนวนมาก ที่เดินทางมาแล้วผิดหวัง พร้อมกับกล่าวว่า การจัดกิจกรรมเชิญชวนชาวบ้านมาร่วมรับฟังความคิดเห็น น่าจะมีการระบุ เงื่อนไข ของการเชิญชวนประชาชนมาร่วมกิจกรรม ให้ชัดเจน กว่านี้ โดยไม่สร้างความสับสนให้กับชาวบ้าน ที่เดินทางมาแล้ว เสียความรู้สึก กับความไม่ชัดเจนของโรงงานน้ำตาล ซึ่งจัดงาน

จาก www.komchadluek.net  วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

รายงานพิเศษ : ถกเครือข่ายศพก.-แปลงใหญ่ทั่วปท. ย้ำขึ้นทะเบียนรักษาสิทธิ์อบรม-ซื้อ3สาร

กรมส่งเสริมการเกษตรจัดประชุมเชื่อมโยงการดำเนินงานของคณะกรรมการเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) และแปลงใหญ่ระดับประเทศครั้งที่ 3/2562 ณ ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพการเกษตร อำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง เพื่อหารือแนวทางการดำเนินงาน การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และการแก้ปัญหาการดำเนินงานร่วมกันในรอบ 3 เดือน รวมทั้งให้ศพก. และแปลงใหญ่ ช่วยประชาสัมพันธ์เกษตรกรในพื้นที่ ขึ้นทะเบียนเกษตรกร เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ต่างๆให้เกษตรกร โดยเฉพาะ มีสิทธิเข้ารับการอบรม ซื้อ 3 สาร การช่วยเหลือกรณีประสบภัยพิบัติ หรือสิทธิได้รับการรับรอง GAP นอกจากนี้ ยังมีการพิจารณาเกี่ยวกับตราสัญลักษณ์ (Logo) สินค้าแปลงใหญ่ และ ศพก. พร้อมหลักเกณฑ์การใช้ตราสัญลักษณ์เพื่อสร้าง Brand สินค้า เป็นการสร้างความมั่นใจให้ผู้บริโภคว่าสินค้าจากแปลงใหญ่และศพก. เป็นสินค้าที่ได้คุณภาพและการรับรองมาตรฐาน

นายสำราญ สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตรเปิดเผยว่า การพัฒนาแนวทางเชื่อมโยงเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.)และแปลงใหญ่ รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งของเกษตรกร เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องดำเนินการต่อเนื่อง เพราะเป็นนโยบายสำคัญที่ขับเคลื่อนภาคการเกษตร โดยให้ภาครัฐและเกษตรกรได้มาหารือร่วมกัน เพื่อแก้ไขและขับเคลื่อนภาคเกษตรให้เข้มแข็งอย่างแท้จริง การประชุมเครือข่ายจึงเป็นการหารือร่วมกันของกลุ่มเกษตรกรเน้นไปที่สร้างความเข้มแข็งในทุกมิติ ทั้งด้านการบริหารจัดการ และการใช้แนวทางตลาดนำการผลิต การสร้างความเข้มแข็งของตลาดภายใน รวมทั้งจัดชั้นคุณภาพแปลงใหญ่ เพื่อถอดบทเรียนความสำเร็จ นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพแปลงใหญ่ต่อเนื่องซึ่งเกษตรกรร่วมกันวิเคราะห์ ปัญหาและหาบทสรุป เพื่อขับเคลื่อนร่วมกัน เนื่องจากกรมส่งเสริมการเกษตรต้องขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ผ่านเครือข่ายเหล่านี้ เพื่อไปถ่ายทอดและสร้างความเข้าใจในกลุ่มของตัวเองตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปตลอดเวลา อย่างเช่น ในปัจจุบัน กระทรวงเกษตรฯกำลังขับเคลื่อนนโยบายบริหารจัดการวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ (Mega Farm Enterprise) ที่มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มพูนรายได้เกษตรกร ตั้งแต่ผลิตจนกระทั่งมีผลผลิตจำหน่ายออกสู่ตลาดให้มีศักยภาพก้าวทันต่อความเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบันและแข่งขันในตลาดโลกได้ ดังนั้น ประธานเครือข่ายก็ต้องทำความเข้าใจว่านโยบายเป็นอย่างไร มีและแนวทางขับเคลื่อนในทิศทางไหน เป็นสิ่งที่เราต้องมาสื่อสารกันตลอดเวลา เพื่อความเข้าใจและปฏิบัติได้ถูกต้องระดับพื้นที่ ขณะเดียวกัน หากการขับเคลื่อนระดับพื้นที่มีปัญหาอะไรจะได้นำมาสะท้อนในเวทีนี้ เพื่อร่วมแก้ปัญหาอย่างบูรณาการร่วมกับหน่วยงานอื่นๆ ในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ

สำหรับการประชุมครั้งนี้ ยังมีการถ่ายทอดประสบการณ์และสิ่งที่ได้รับจากการศึกษาดูงานในต่างประเทศของคณะกรรมการเครือข่าย ศพก. และแปลงใหญ่ระดับประเทศ รวมทั้งการดำเนินงานโครงการรวมพลังสร้างมูลค่าจากไร่นาสู่สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ที่กรมส่งเสริมการเกษตรจัดขึ้น เพื่อเกิดประโยชน์กับเกษตรกรโดยตรง โครงการดังกล่าวฯเป็นการให้ความรู้ในจัดการเศษวัสดุทางการเกษตรให้เกิดประโยชน์ในพื้นที่และชุมชน ลดการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร ลดปัญหาหมอกควัน สร้างสมดุลระบบนิเวศในชุมชน รวมทั้งส่งเสริมการเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้เป็นปัจจัยการผลิต และพลังงานชีวมวล โดยมีเป้าหมายถ่ายทอดความรู้แก่เกษตรกร 26,460 ราย ในพื้นที่ศพก. 882 ศูนย์และศดปช. 882 ศูนย์ นอกจากนี้ ยังฝากถึงความสำคัญในการขึ้นทะเบียนเกษตรกร เพราะในอนาคตหลังประกาศกระทรวงเกษตรฯมีผลบังคับใช้ จะทำให้เริ่มจำกัดและควบคุมการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3 ชนิด ได้แก่ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต อีกด้วย ซึ่งเกษตรกรที่ต้องการใช้ยังใช้ได้โดยปฏิบัติตามเงื่อนไข คือ ต้องมาขึ้นทะเบียนเกษตรกร เข้าอบรม ผ่านการทดสอบ และนำสิทธิ์ที่ได้ไปซื้อสารเคมี 3 ชนิด ตามเงื่อนไข”อธิบดีกล่าว

จาก https://www.naewna.com วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

เขื่อนป่าสักเหลือน้ำ13เปอเซนต้องใช้ให้ได้อีก3เดือน

เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์เหลือน้ำน้อยที่สุดในรอบหลายปี และต้องบริหารจัดการน้ำให้ได้ในอีก3เดือนข้างหน้า ขอให้ประชาชนวางแผนเพาะปลูกใช้น้ำให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อลดความเสียหาย

นายศุภชัย มโนการ ผอ.โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ กล่าวถึงสถานการณ์น้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ขณะนี้อยู่ที่ 126.98 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 13.23 % จากปริมาณเก็บกักสูงสุด 960 ล้านลูกบาศก์เมตรโดยหลายเดือนที่ผ่านมายังไม่มีปริมาณน้ำไหลลงสู่อ่างเก็บน้ำของเขื่อนป่าสักเลย จำเป็นต้องมีการปรับลดการระบายน้ำลงสู่ท้ายเขื่อนป่าสักอยู่ที่20ลบ.ม./วินาที หรือวันละ1.77ล้านลบ.ม/วัน เพื่อการอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศท้ายเขื่อน จึงขอให้ประชาชนและเกษตรกรพื้นที่ท้ายเขื่อนได้แก่ อ.พัฒนานิคม จังหวัดลพบุรี รวมถึงจังหวัดสระบุรี จ.พระนครศรีอยุธยาใช้น้ำอย่างประหยัดได้ประโยชน์ที่สุด เพราะต้องบริหารจัดการปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำให้พอใช้ไปตลอดเดือนนี้ถึงปลายเดือนกรกฎาคมหรือต้นเดือนสิงหาคมก่อนเข้าฤดูฝน สำหรับปีนี้ถือว่าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์มีน้ำน้อย จึงขอให้ประชาชนวางแผนเพาะปลูกใช้น้ำให้เหมาะสมกับสถานการณ์ เพื่อลดความเสียหาย

จาก www.banmuang.co.th  วันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

กลุ่ม KTIS เปิดกำไรไตรมาส 2 กำไรโต 272%

นายประพันธ์ ศิริวิริยะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงินนายณัฎฐปัญญ์ ศิริวิริยะกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร  และนายคุนิฮิโกะ ทาฮะระ ผู้ช่วยประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือกลุ่ม KTIS ผู้นำในอุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมต่อเนื่องครบวงจร ร่วมให้ข้อมูลในงาน Opportunity Day โดยผลการดำเนินงานไตรมาสที่ 2 ของปีนี้ (มกราคม-มีนาคม 2562) กลุ่ม KTIS มีกำไรสุทธิ  322.7 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 272% จากงวดเดียวกันของปีก่อน

จาก www.banmuang.co.th วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

กรมชลฯ ชี้ฝนน้อยกว่าค่าเฉลี่ย5-10%

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานการประชุมรับทราบแนวทางปฏิบัติการบริหารจัดการน้าฤดูฝนเตรียมการรับมือฤดูน้ำหลากปี 2562 โดยมี นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน ร่วมการประชุม พร้อมด้วยผู้อำนวยการสำนักบริหารจัดการน้ำและอุทกวิทยา ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 1-17 ผู้อำนวยการโครงการชลประทานจังหวัด ตัวแทนเครือข่ายจากพื้นที่ เข้าร่วมการประชุมพร้อมกัน ณ ห้องประชุมธารทิพย์ และ ห้องดงตาล อาคาร 99 ปี มล. ชูชาติ กำภู กรมชลประทาน ถนนสามเสน

นายทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า หลังกรมอุตุนิยมวิทยาประกาศประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมา โดยรวมปริมาณฝนในปีนี้ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย 5 – 10 % โดยจะมีฝน 40 – 60 % ของพื้นที่กับมีฝนหนักในบางแห่งโดยภาคใต้และภาคตะวันออกจะมีฝนตก 60 – 80 % ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางพื้นที่ และในช่วงปลายเดือนมิถุนายน ถึงกลางเดือนกรกฎาคม ปริมาณฝนจะลดลงอาจก่อให้เกิดฝนทิ้งช่วงจนเกิดการขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรโดยเฉพาะในนอกเขตชลประทาน และฝนจะตก 60 – 80 % ของพื้นที่ส่วนใหญ่ และตกหนักในบางพื้นที่โดยเฉพาะเดือนสิงหาคมและกันยายน และคาดว่าจะสิ้นสุดฤดูฝนประมาณกลางเดือนตุลาคม

 ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทา กล่าวว่า การเตรียมความพร้อมและการคาดการณ์ถือเป็นหลักการสำคัญในการรับมือน้ำหลาก โดยเฉพาะการตรวจสอบสภาพความมั่นคงของเขื่อน ความพร้อมใช้งานอาคารชลประทาน หากพื้นที่ใดเกิดการชำรุด หรือเสียหายให้เร่งซ่อมแซม และเตรียมเครื่องจักร-เครื่องมือให้พร้อมปฏิบัติการ ตลอดจนกำจัดวัชพืช สิ่งกีดขวางทางน้ำอย่างสม่ำเสมอ และที่สำคัญคือการคาดการณ์ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำในความรับผิดชอบ และวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัย โดยจะต้องรายงานข้อมูลเพื่อให้สอดคล้องกับส่วนกลาง รวมทั้งบูรณาการการทำงานจังหวัดและหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

สำหรับสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 35 อ่าง ปริมาณน้ำใช้การได้ปี 2562 มี 14,769 ล้าน ลบ.ม. น้อยกว่าปี 2561 ที่มีปริมาณ 19,660 ล้าน ลบ.ม. อ่างเก็บน้ำขาดกลางและขนาดเล็กมีปริมาณน้ำใช้การได้ปี 2562 เป็น 1,595 ล้าน ลบ.ม. และอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก 129 ล้าน ลบ.ม. ทั้งนี้ อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางสามารถรับน้ำได้อีก 35,785 ล้าน ลบ.ม. หรือเป็น 47 %

กรมชลประทานได้ดำเนินตามแผนการบริหารจัดการน้ำฤดูน้ำหลากปี 2562 โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลาง และภาคเหนือ โดยได้เลื่อนเวลาการปลูกข้าวในพื้นที่ลุ่มต่ำเจ้าพระยา 13 ทุ่ง 1.5 ล้านไร่ เพื่อใช้เป็นพื้นที่รับน้ำหลาก เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2562 พร้อมทั้งได้บริหารจัดการน้ำตามพื้นที่ที่มีการเพาะปลูกข้าวนาปี ในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา โดยเน้นย้ำให้ทุกพื้นที่ตรวจสอบข้อมูลแต่ละพื้นที่ เพื่อการจัดสรรน้ำให้เพียงพอตามแผน

“ขอให้ทุกพื้นที่ดูแลประชาชนอย่างทั่วถึงทั้งในและนอกเขตชลประทาน เนื่องจากในปีนี้อาจมีฝนทิ้งช่วง การบริหารจัดการน้ำทั้งการส่งน้ำเพื่อเสริมน้ำฝนในช่วงฝนทิ้งช่วง ตรวจสอบเขื่อนและอาคารให้พร้อมรับทุกวิกฤติเพื่อการบรรเทาอุทกภัย และการจัดการวัชพืชทางน้ำ เพื่อรับมือช่วงฤดูน้ำหลากไปด้วยกันหลักจากผ่านพ้นหน้าแล้งมาแล้ว ขอให้ทุกส่วนร่วมมือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เพื่อก้าวไปสู่ปีที่ 117 ไปพร้อมกัน เพื่อความสุขของประชาชน” ดร.ทองเปลว กล่าวย้ำในที่ประชุม

จาก https://www.naewna.com วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

กระทรวงเกษตรเดินหน้าแผนจำกัดการใช้สารเคมีอันตราย 3 ชนิด

กรมวิชาการเกษตรเร่งขับเคลื่อนแผนจำกัดการใช้สารเคมี 3 ชนิด เปิดอบรมวิทยากรรุ่นแรก 2 พันคนทั่วประเทศ ระบุ สมาคมเอกชนทำธุรกิจเกษตรแห่ร่วมรับความรู้ด้วย

นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า ขณะนี้เจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตรได้จัดอบรมเพื่อสร้างวิทยากรไปอบรมเกษตรกรในหลักสูตร การใช้วัตถุอันตราย พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส ให้ถูกต้องและปลอดภัยให้แก่เจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย การยางแห่งประเทศไทย และสมาคมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืชไทย และสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย รวมจำนวนผู้รับการอบรมในรุ่นที่ 1 ทั้งสิ้น 1,700 คน โดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรและศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร ซึ่งเป็นหน่วยงานในส่วนภูมิภาคของกรมวิชาการเกษตร ส่วนสมาคมภาคเอกชนทั้ง 3 สมาคมจัดอบรมที่กรมวิชาการเกษตร

ทั้งนี้ สำหรับภาคเอกชนทั้ง 3 สมาคม จากเดิมที่กำหนดจำนวนผู้เข้ารับการอบรมไว้ทั้งหมด 300 คน แต่มีการแจ้งความประสงค์จากสมาคมขอเข้ารับการอบรมมาเกินเป้าหมายที่ตั้งไว้รวมเป็นกว่า 500 คน ซึ่งกรมวิชาการเกษตรได้จัดอบรมในรุ่นที่ 1 ในวันนี้จำนวน 200 คน และจะอบรมวิทยากรจากทั้ง 3 สมาคมที่เหลืออีกจำนวน 300 คนในรุ่นที่ 2 วันที่ 6 มิ.ย.นี้

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ขณะนี้กรมวิชาการเกษตรอยู่ในระหว่างการสร้างวิทยากรร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อไปทำหน้าที่วิทยากรนำความรู้ที่ได้รับทั้งภาคทฤษฎีและปฎิบัติไปอบรมเกษตรกรกลุ่มเป้าหมายจำนวน 1.5 ล้านคนที่ยังมีความจำเป็นต้องใช้สารทั้ง 3 ชนิดนี้ ซึ่งเกษตรกรที่จะเข้ารับการอบรมต้องมีทะเบียนเกษตรกร หรือหลักฐานแสดงพื้นที่ปลูกพืชที่มีความจำเป็นต้องใช้สารพาราควอตและไกลโฟเซต สำหรับกำจัดวัชพืชใน อ้อย ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ข้าวโพด มันสำปะหลัง และไม้ผล และใช้คลอร์ไพริฟอสเพื่อกำจัดแมลงในไม้ดอก พืชไร่ และกำจัดหนอนเจาะลำต้นในไม้ผล ซึ่งต่อไปการซื้อสารทั้ง 3 ชนิดไปใช้เกษตรกรจะต้องซื้อจากร้านที่ได้รับอนุญาต แสดงหลักฐานใบผ่านการอบรม และแจ้งชนิดพืชที่ปลูก พื้นที่ปลูก เพราะห้ามใช้สารพื้นที่ต้นน้ำ เพื่อกำหนดปริมาณวัตถุอันตรายที่จะซื้อนำมาใช้ได้ในสัดส่วนที่เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด จะสามารถจำกัดการใช้ได้

มีรายงานข่าวเกี่ยวกับการอนุญาตให้ภาคเอกชนนำเข้าสารเคมีทั้ง 3 ชนิดซึ่งกรมวิชาการเกษตรเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมาย โดยจากนโยบายของนายกฤษฏา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์เร่งรัดแผนจำกัดการใช้ 3 สารและลดการนำเข้า ทั้งยังมีเป้าหมายให้เลิกใช้ภายในสองปีนี้ โดยพาราควอต ปี 62 มีโควตาให้นำเข้าได้ 21,709 ตัน ขณะที่ปี 61 นำเข้า 21,412 ตัน เพิ่มขึ้น 297 ตัน ไกลโฟเซต ปี 62 มีโควต้านำเข้า 48,501 ตัน ลดลงจากปี 61 ซึ่งนำเข้า 48,822ตัน และคลอร์ไพริฟอส ปี 62 มีโควต้านำเข้า 932 ตันลดลงจากปี 61 ซึ่งนำเข้า1,928 ตัน.

จาก https://tna.mcot.net  วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

“กรมฝนหลวงฯ” เฝ้าระวังอีสานยังแล้ง พบ 19 เขื่อนน้ำน้อยต่ำกว่า 30% รอเมฆเป็นใจพร้อมปฏิบัติการ

นายปนิธิ เสมอวงษ์ รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ด้านปฏิบัติการ กล่าวว่า ปัจจุบันยังมีพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้งตามที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยได้ออกประกาศ จำนวน 7 จังหวัด รวม 17 อำเภอ 60 ตำบล 442 หมู่บ้าน แม้ขณะนี้จะเริ่มเข้าสู่ฤดูฝนแต่ยังมีเขื่อนและอ่างเก็บน้ำที่มีปริมาณน้อยกว่า 30% ประกอบด้วย เขื่อนและอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จำนวน 19 แห่ง, เขื่อนและอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง จำนวน 198 แห่ง ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ภาคอีสาน) ซึ่งกรมฝนหลวงฯ จะเฝ้าระวังติดตามและเร่งปฏิบัติการทันทีที่สภาพอากาศเอื้ออำนวย และขอความร่วมมือประชาชนช่วยกันรณรงค์ใช้น้ำอย่างประหยัด

ทั้งนี้ จากผลตรวจคุณภาพอากาศจากกรมควบคุมมลพิษ เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2562 พบว่าบริเวณพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลอยู่ในเกณฑ์ดีถึงดีมาก และจากผลการตรวจสภาพอากาศของสถานีเรดาร์สัตหีบ จ.ชลบุรี มีความชื้นที่ระดับการเกิดเมฆ 76% ความชื้นที่ระดับการพัฒนาตัวของเมฆ 78% และค่าดัชนีการยกตัวของอากาศ -1.3 หน่วยปฏิบัติการฯ จ.จันทบุรี จึงขอติดตามสภาพอากาศระหว่างวัน หากสภาพอากาศเหมาะสมจะขึ้นบินปฏิบัติการช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรภาคตะวันออกที่รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้งทันที

นายปนิธิ กล่าวว่า หลังจากการตรวจสภาพอากาศในอ.ร้องกวาง และอ.อมก๋อย จึงตัดสินใจปฏิบัติการภารกิจที่ 1 ขั้นตอนที่ 1 บริเวณบริเวณทิศตะวันตก อ.เมืองตาก จ.ตาก เพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรและและพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคบางส่วน จ.ตาก และภารกิจที่ 2 ขั้นตอนที่ 1 บริเวณทิศตะวันตก อ.เมืองเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์ เป้าหมายเป็นพื้นที่ลุ่มรับน้ำอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง อ.เมืองเพชรบูรณ์ จ.เพชรบูรณ์ หน่วยปฏิบัติการฯ จ.เชียงใหม่ ขอติดตามสภาพอากาศระหว่างวัน หากสภาพอากาศเหมาะสมจะขึ้นบินปฏิบัติการช่วยเหลือพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบต่อไป

นอกจากนี้ การปฏิบัติงานในพื้นที่ภาคใต้ ผลตรวจสภาพอากาศจากสถานีเรดาร์พนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี และสถานีเรดาร์ปะทิว จังหวัดชุมพร พบว่ามีความชื้นที่ระดับการพัฒนาตัวของเมฆ อ.พนม 67% อ.ปะทิว 62% เนื่องจากสภาพอากาศมีลักษณะปิด หน่วยปฏิบัติการฯ หัวหิน หน่วยปฏิบัติการฯ จ.สงขลา และหน่วยปฏิบัติการฯ จ.สุราษฎร์ธานี จึงขอติดตามสภาพอากาศระหว่างวัน หากสภาพอากาศเหมาะสมจะขึ้นบินปฏิบัติการเพิ่มความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าพรุที่ได้รับผลกระทบ ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรบางส่วนของ จ.ประจวบคีรีขันธ์ จ.สุราษฎร์ธานี จ.นราธิวาส และพื้นที่เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคในพื้นที่ จ.ภูเก็ต

จาก https://www.prachachat.net  วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

มิ.ย.นี้กดปุ่มขึ้นทะเบียนผวาเกษตรกรไม่มีสิทธิ์ซื้อ 3 สารเคมี

เกษตรฯ  ใส่เกียร์เดินหน้าประชาสัมพันธ์ต้อนเกษตรกร 1.2 ล้านรายขึ้นทะเบียนมิ.ย.นิ้ เร่งจัดตารางเปิดอบรมใช้ 3 สารเคมี เข้มต้องมีใบประกาศรับรองเท่านั้น ชี้มีเงินก็ซื้อไม่ได้ หากร้านขายก็ผิดโดนเล่นหนักร้ายแรงทั้งปรับ ถึงขั้นเพิกถอนใบอนุญาต

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกประกาศกระทรวง 5 ฉบับเกี่ยวกับการจำกัดการใช้สารเคมี 3 ชนิดได้แก่ พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอสประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วตั้งแต่วันที่ 23 เมษายน 62 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในอีก 180 วันหลังวันประกาศ ซึ่งในวันที่ 21 ตุลาคมกฎหมายจะบังคับใช้

นายสำราญ  สาราบรรณ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร  เปิดเผยว่ามิถุนายนจะเปิดให้เกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมัน, มันสำปะหลัง, ข้าวโพด, ไม้ผล, อ้อย และไม้ดอกไม้ประดับ มาขึ้นทะเบียนเกษตรที่สำนักงานเกษตรอำเภอ ส่วนยางพาราขึ้นทะเบียนได้ที่การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ทุกจังหวัด ซึ่งจะต้องผ่านการอบรมและทดสอบหลักสูตรการใช้ 3 สารเคมี คือ สารพาราควอต ไกลโฟเสตและคลอร์ไพริฟอส  ที่ถูกต้องและปลอดภัย

 “เกษตรกรจะต้องผ่านการอบรม ผ่านการทดสอบ ถึงจะมีสิทธิในการซื้อตามปริมาณที่ได้รับการควบคุม ดังนั้นเกษตรกรที่จำเป็นในการใช้ 3 สาร ลำดับแรกต้องขึ้นทะเบียนเกษตรกร เพื่อแสดงสิทธิ์ในการเข้ารับการอบรม การทดสอบและการซื้อ สารดังกล่าว”

 นายสำราญ กล่าวว่า หลังจากที่กฎหมายมีผลบังคับใช้เกษตรกรที่ต้องแสดงหลักฐานว่าได้ผ่านการอบรม ชนิดพืชที่ปลูก พร้อมจำนวนพื้นที่ปลูกเพื่อกำหนดปริมาณสารเคมีที่จะซื้อไปให้มีความเหมาะสมกับความต้องการใช้ เพื่อนำไปแสดงเป็นหลักฐานในการซื้อสารเคมีเท่านั้น หากไม่มีก็ไม่สามารถที่จะซื้อสารเคมีได้ เพราะร้านจะไม่สามารถขายให้ได้

ปัจจุบันกรมส่งเสริมการเกษตรได้จัดเตรียมเจ้าหน้าที่ทุกสำนักงานเกษตรจังหวัด สำนักงานเกษตรอำเภอและศูนย์ปฏิบัติการของกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 1,625 คน เพื่อเป็นวิทยากรอบรมและให้ความรู้กับเกษตรกร ให้รีบขึ้นทะเบียนเกษตรกรเพื่อรองรับประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการควบคุมการขายวัตถุอันตราย 3 ชนิด คือ พาราควอต, ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส

จาก www.thansettakij.com วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

สมาคมเอกชนแห่อบรมวิทยากรการใช้สารพาราควอต กรมวิชาการเกษตรขยายเป็น 2 รุ่น

น.ส.เสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า เจ้าหน้าที่ของกรมวิชาการเกษตรได้จัดอบรมเพื่อสร้างวิทยากรไปอบรมเกษตรกรในหลักสูตร “การใช้วัตถุอันตราย พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส ให้ถูกต้องและปลอดภัย” ให้แก่เจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย การยางแห่งประเทศไทย และสมาคมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืชไทย และสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย รวมจำนวนผู้รับการอบรมในรุ่นที่ 1 ทั้งสิ้น 1,700 คน โดยในส่วนของสมาคมเอกชน 3 สมาคม ได้แก่ สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืชไทย และสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย เดิมกำหนดจำนวนผู้เข้ารับการอบรมไว้ 300 คน แต่มีการแจ้งความประสงค์ขอรับการอบรมจำนวน 500 คน กรมวิชาการเกษตรจึงจัดอบรมรุ่นที่ 1 ในวันที่ 23 พฤษภาคมนี้ จำนวน 200 คน และจะอบรมที่เหลือ 300 คน เป็นรุ่นที่ 2 ในวันที่ 6 มิถุนายนนี้

จาก https://www.matichon.co.th วันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ม.ก.วิจัยสำเร็จอ้อยปลอดโรค"ใบขาว"

 ม.ก.วิจัยสำเร็จอ้อยปลอดโรค"ใบขาว" ส่งมอบท่อนพันธุ์ขยายผลสู่เกษตรกร         

             หลังประสบความสำเร็จการศึกษาวิจัยโรคใบขาวในอ้อยจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อด้วยเทคโนโลยีการผลิตท่อนพันธุ์แบบปราณีตแนวใหม่ของทีมนักวิจัยคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จากนั้นจึงได้มอบกล้าท่อนพันธุ์จำนวน 100,000 ต้นเพื่อขยายผลสู่เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยต่อไป  

            รศ.สุภาพร กลิ่นคง ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  หัวหน้าทีมนักวิจัยได้กล่าวถึงการใช้ต้นพันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาวจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและผ่านกระบวนการอนุบาลต้นกล้าจนถึงการผลิตต้นอ้อยเพื่อใช้เป็นท่อนพันธุ์ปลอดโรคใบขาวในแปลงว่าเป็นวิธีการในการดำเนินการป้องกันกำจัดโรคใบขาวอ้อยที่ได้ผลแบบยั่งยืนในระยะยาวอย่างต่อเนื่อง ภายใต้โครงการการขยายผลเทคโนโลยีการผลิตต้นพันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาว โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) มาตั้งแต่ปี 2559

              จากนั้นในปี 2560 ได้มีการจัดทำแปลงพันธุ์ขยายอ้อยปลอดโรคใบขาว”และในปี 2562 มีการส่งเสริมและติดตามเทคโนโลยีการผลิตท่อนพันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาวแบบประณีตแนวใหม่สำหรับเกษตรกร ซึ่งได้ดำเนินการผลิตต้นพันธุ์อ้อยปลอดโรคโดยใช้เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับระบบการผลิตพันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาวได้มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และปัจจุบันได้มีการนำมาใช้อย่างเป็นรูปธรรมได้แก่ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออ้อยปลอดโรคใบขาว การขยายพันธุ์อ้อยในเชิงอุตสาหกรรมด้วยระบบไบโอรีแอคเตอร์ การอนุบาลต้นกล้าในระบบโรงเรือนกันแมลงการพัฒนาเทคนิคที่มีความไวสูงมาใช้ตรวจเชื้อไฟโตพลาสมาปริมาณน้อย ๆ ในทุกส่วนของต้นอ้อย เช่น เทคนิคพีซีอาร์ (PCR : Polymerase chain reaction) และเทคนิคแลมป์(LAMP: Loop mediated isothermal amplification) เป็นต้น

               หัวหน้าทีมนักวิจัยเผยต่อว่าสำหรับโครงการนำร่องผลิตต้นพันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาวนี้ ได้ผลิตอ้อยปลอดโรคใบขาวพันธุ์ขอนแก่น 3 และ LK92-11 รวมจำนวน 100,000 ต้น เพื่อนำไปแจกจ่ายสู่เกษตรกรใช้ปลูกทดแทนอ้อยเป็นโรคและลดพื้นที่การระบาดของโรคใบขาว และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอ้อยปลอดโรคใบขาวให้กับเจ้าหน้าที่โรงงานน้ำตาลและผู้สนใจต่าง ๆ ได้นำไปใช้ปลูกขยายพันธุ์ทดแทนอ้อยเป็นโรคใบขาว และได้รับความรู้เรื่องเทคโนโลยีการผลิตต้นพันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาว และการจัดทำแปลงพันธุ์ขยายอ้อยปลอดโรคใบขาวด้วย

          ผศ.ดร.สุตเขตต์ นาคะเสถียร คณบดีคณะเกษตร มหาวิทาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวระหว่างเป็นประธานในพิธีมอบกล้าพันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาว ภายใต้โครงการการส่งเสริมและติดตามเทคโนโลยีการผลิตท่อนพันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาวแบบประณีตแนวใหม่สำหรับเกษตรกร โดยมี ผศ.ดร.อุดมศักดิ์ เลิศสุชาตวนิช ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ รายงานความเป็นมาโครงการฯ จากนั้น ผศ.สุภาวดี โพธิยะราช ผู้อำนวยการฝ่ายการวิจัยมุ่งเป้า สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวถึงโครงการวิจัยมุ่งเป้า และมอบต้นกล้าพันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาวร่วมกับคณบดีคณะเกษตรด้วย

       อย่างไรก็ตามที่ผ่านมามีการระบาดของโรคใบขาวในอ้อยได้สร้างความเสียหายคิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท โดยสาเหตุโรคเกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา ซึ่งมีการแพร่กระจายของเชื้อโดยการถ่ายทอดติดไปกับท่อนพันธุ์จากต้นหรือตอที่เป็นโรคใบขาวและยังสามารถถ่ายทอดเชื้อได้ โดยมีแมลงปากดูดพวกเพลี้ยจักจั่นเป็นแมลงพาหะ จากการขยายกำลังการผลิตอ้อยโดยการเพิ่มพื้นที่ปลูกทำให้เกิดการขาดแคลนท่อนพันธุ์ จึงทำให้เกิดการขนย้ายท่อนพันธุ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นท่อนพันธุ์ที่มีเชื้อไฟโตพลาสมาแฝงอยู่ข้ามไปยังพื้นที่ต่าง ๆ ทำให้เกิดการกระจายของโรคไปยังทุกแหล่งเพาะปลูก ส่งผลให้การแพร่ระบาดของโรคใบขาวเป็นไปอย่างรวดเร็ว และชาวไร่อ้อยส่วนใหญ่มักเก็บอ้อยที่ปลูกส่งโรงงานไว้ใช้ทำพันธุ์ต่อ ทำให้พื้นที่ปลูกอ้อยมีการระบาดโรคเพิ่มขึ้นและขยายวงกว้างขึ้นในทุกปี เกิดการสะสมโรคใบขาวก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรงในระยะยาว

        นับเป็นอีกก้าวของความสำเร็จในการแก้ปัญหาโรคใบขาวในอ้อยที่เป็นปัญหาหนักอกของเกษตรกรชาวไร่อ้อยมาอย่างยาวนานผ่านโครงการวิจัยโรคใบขาวในอ้อยจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อด้วยเทคโนโลยีการผลิตท่อนพันธุ์แบบปราณีตแนวใหม่ของทีมนักวิจัยคณะเกษตร ม.เกษตรฯกำแพงแสนในวันนี้

จาก www.komchadluek.net วันที่ 23 พฤษภาคม 2562

ถ่ายทอดเทคโนโลยีผลิตอ้อยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

                ที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อ.ยางตลาด บ้านหนองกาว ม.5 ต.นาเชือก อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ นายวิบูลย์   ไชยวรรณ เกษตร จ.กาฬสินธุ์ นายผดุงศักดิ์  อิ่มเอิบ นายอำเภอยางตลาด  นายอิสระ ทินภัทรภิญโญกุล  ปลัด อบต.นาเชือก  น.ส.อรนุช  เกษสัญชัย  หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์ สำนักงานเกษตร จ.กาฬสินธุ์ นางละม่อม   สุนทรชัย  เกษตรอำเภอยางตลาด นายวิรัตน์   แสงแก้ว ผอ.สถานีพัฒนาที่ดินกาฬสินธุ์ นายบุญช่วย   สงฆนาม ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์(สวพ.) พร้อมด้วยหน่วยงานราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ผู้นำชุมชน และประชาชนร่วมกันจัดกิจกรรมงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ Field  Day (อ้อย) ปี 2562 และประกาศยุทธศาสตร์การผลิตอ้อยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จังหวัดกาฬสินธุ์

                 นายวิบูลย์   ไชยวรรณ เกษตร จ.กาฬสินธุ์  กล่าวว่า สำนักงานเกษตร จ.กาฬสินธุ์ร่วมกับหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในเขตพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ และภาคเอกชน ร่วมทั้งฝ่ายปกครอง และผู้นำชุมชนจัดวันถ่ายทอดความรู้(Field  Day)ตามนโยบายของจังหวัดกาฬสินธุ์ และรัฐบาล เพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่  เนื่องจากภาคเกษตรของไทยกำลังจะเข้าสู่ฤดูกาลผลิตใหม่ จึงจำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

                นายวิบูลย์ กล่าวว่า สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดงาน เพื่อต้องการเผยแพร่เทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ำและสร้างความตระหนักของเกษตรกร  ให้เห็นแนวทางการใช้ประโยชน์จากน้ำอย่างรู้คุณค่าและประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกษตรกรเริ่มต้นการผลิตในปีการเพาะปลูกใหม่โดยใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ให้เกิดการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและองค์ความรู้จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาและโครงการพระราชดำริต่างๆ ให้เข้าถึงเกษตรกรพร้อมนำไปประยุกต์ใช้ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น พร้อมบริการและช่วยแก้ไขปัญหาการผลิตของเกษตรกร  ตลอดจนเป็นการเผยแพร่ให้เกษตรกรรู้จักและใช้ประโยชน์จากศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรที่มีอยู่ในพื้นที่อีกด้วย

                ด้านน.ส.อรนุช  เกษสัญชัย  หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์ สำนักงานเกษตร จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า สำหรับกิจกรรมในงานมีการแบ่งฐานเรียนรู้ออกเป็น 6 ฐาน ประกอบด้วย ฐานที่ 1 การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตอ้อย  ฐานที่ 2 การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า  ฐานที่ 3 การลดการเผา ฐานที่ 4 องค์ความรู้เครื่องจักรกลการเกษตร  ฐานที่ 5 เศรษฐกิจพอเพียง และ ฐานเรียนรู้ที่ 6 บัญชีครัวเรือน โดยมีเกษตรกรร่วมกว่า 500 กว่าคน นอกจากนี้ยังมีการจำหน่ายสินค้าวิสาหกิจชุมชน  สินค้าจากกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ของเครือข่ายศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงจาก อ.ยางตลาด  มีการประกาศยุทธศาสตร์การผลิตอ้อยที่เป็นมิตรต่อส่งแวดล้อม  จัดทำบันทึกข้อตกลงกับตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย  ร่วมปลูกอ้อยชำถุง  สาธิตการการใช้เครื่องสางใบอ้อยติดรถไถและการรณรงค์ไม่เผ้าอ้อย

 จาก www.komchadluek.net วันที่ 23 พฤษภาคม 2562

บาทเปิด 31.94 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าเล็กน้อย

เงินบาทเปิดตลาด 31.94 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าเล็กน้อย คาดระหว่างผันผวน ตลาดกลับมากังวลเบร็กซิตมากขึ้น

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 31.94 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเล็กน้อยจากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ 31.92 บาท/ดอลลาร์ โดยตลาดกลับมากังวลเรื่อง Brexit มาก นอกเหนือจากปัญหาความขัดแย้งทางการค้าระหว่างสหรัฐกับจีน

"บาทอ่อนค่าจากเย็นวานนี้เล็กน้อยหลังตลาดกลับมากังวลเรื่องเบร็กซิตมากขึ้น ระหว่างวันคาดว่าบาทจะมีความผันผวน" นักบริหารเงิน กล่าวนักบริหารเงินประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ไว้ที่ 31.85 - 32.00 บาท/ดอลลาร์

จาก www.komchadluek.net  วันที่ 23 พฤษภาคม 2562

ไม่หวั่นน้ำตาลตลาดโลกขาลง “มิตรผล-ไทยรุ่งเรือง” ผุด 2 โรงงานใหม่

สอน.ไฟเขียว มิตรผล-ไทยรุ่งเรืองผุด 2 โรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ เตรียมออกใบรับรองตั้งโรงงานให้ GGC-KTIS ตั้งนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ ไม่หวั่นตลาดโลกซบหลังผลิตอ้อยทะลัก ดัน “สต๊อกค้าง”  178 ล้านตัน ทุบราคาโลกดิ่งเหลือ 11 เซนต์/ปอนด์

นางวรวรรณ  ชิตอรุณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผยว่า ขณะนี้มีเอกชน 2 รายยื่นขออนุญาตเปิดโรงงานน้ำตาลใหม่ 2 แห่งคือ บริษัท มิตรผล จำกัด ผู้ผลิตน้ำตาลมิตรผล เปิดที่ จ.อำนาจเจริญ  และบริษัท ไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด ผู้ผลิตน้ำตาลลิน ตั้งที่ จ.สกลนคร ภายในปี 2562 ส่งผลให้ไทยมีโรงงานน้ำตาลเพิ่มขึ้นจาด 54 เป็น 56 โรง

นอกจากนี้ยังเตรียมออกใบรับรองตั้งโรงงานให้กับโครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ ของบริษัท โกลบอลกรีนเคมีคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ในเครือปตท.และบริษัท เกษตรไทยอินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KTIS  ที่พร้อมลงทุน 7,500 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างโรงหีบอ้อย กำลังการผลิต 24,000 ตัน/วัน และสร้างโรงผลิตเอทานอล กำลังการผลิต 600,000 ลิตร/วัน หรือประมาณ 186 ล้านลิตร/ปี และโรงผลิตไฟฟ้าและไอน้ำ กำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้า 85 เมกะวัตต์

อย่างไรก็ตาม มีโรงงานที่ใบอนุญาตก่อสร้างโรงงงาน(รง.4) กำลังจะหมดอายุและไม่สามารถตั้งโรงงานน้ำตาลได้ทันตามกำหนดเงื่อนไขประกอบกิจการภายในปี 2563 จำนวน 2 โรง ที่นครสวรรค์และพะเยาหรือเชียงราย เนื่องจากพิจารณาสถานการณ์ตลาดแล้วยังไม่คุ้มค่าการลงทุน ซึ่งหากจะตั้งโรงงานใหม่หลังจากนี้ต้องขออนุญาตใหม่อีกครั้ง

ส่วนกรณีการแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย... (ฉบับใหม่) ล่าช้า ไม่ส่งผลกระทบต่อการตั้งโรงงานเอทานอลและสินค้าอื่นๆ ที่ได้จากอ้อย เนื่องจากกระทรวงอุตสาหกรรมออกประกาศภายใต้กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เรื่องการให้ตั้งโรงงานที่ใช้อ้อยเป็นวัตถุดิบ (ที่ไม่ใช่โรงงานน้ำตาล) ในทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร (ฉบับที่...) พ.ศ.... ระยะห่างภายใน 50 กม. ของโรงงานเดิมได้ มีเพียงเงื่อนไขเดียว คือ ต้องได้รับอนุมัติจากโรงงานน้ำตาลเดิมเท่านั้น ซึ่งการยินยอมนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในการอนุญาตตั้งโรงงาน ภายใต้แผนส่งเสริมอุตสาหกรรมเศรษฐกิจชีวภาพ(Bioeconomy)

นางวรวรรณ กล่าวถึงสถานการณ์ของอุตสาหกรรมน้ำตาลว่า ขณะนี้น่ากังวล เนื่องจากราคาอยู่จุดต่ำสุดร่วงมาอยู่ที่ 11 เซนต์/ปอนด์ และมีแนวโน้มอาจลดลงอีก เนื่องจากปีที่แล้วอากาศไม่ได้แล้งทำให้ปริมาณผลผลิตที่แท้จริงของอินเดียและไทยสูงเกินกว่าคาดการณ์ โดยไทยหีบอ้อย 130 ล้านตัน บวกค่าความหวานที่สูง และโรงงานพัฒนาประสิทธิภาพทำให้ได้น้ำตาลกว่า 14 ล้านตัน ส่งออก 12 ล้านตัน บริโภค 2.6 ล้านตัน เหลือสต็อก

“ด้วยราคาน้ำตาลที่ลดต่ำทำให้ไม่มีใครอยากขายน้ำตาลขาดทุน ส่งผลให้เหลือสต็อกคงค้างในโกดังล้น ขณะนี้มีการเซ็นเพิ่มจำนวนโกดังเช่ามากขึ้น จึงต้องมาขายด้วยราคาพรีเมี่ยม เช่นเดียวกับอินเดียที่น้ำตาลค้างสต็อกเมื่อปีที่แล้วถึง 3 ล้านตันยังไม่มีการขาย และปีนี้ผลิตเพิ่มอีก คาดว่าจะเกินอีก 3 ล้านตัน ทั่วโลกจึงโทษว่าเป็นเพราะไทยและอินเดียกดราคาตลาดตก”

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าฤดูการผลิต 2562/2563 จะมีการลดกำลังการผลิต เพื่อระบายสต็อกที่ค้างอยู่ออกให้หมด ด้วยภาวะภัยแล้งของปีนี้ บวกกับราคาพืชชนิดอื่นที่สูงกว่าอ้อยราคาตกต่ำมา 3-4 ปี นับจากตั้งแต่ไร่ละ 1,000 บาท เหลือ 800 จนในปีนี้อาจไม่ถึง 700 บาท ส่งผลให้เกษตรกรอาจปรับไปปลูกมันสำปะหลังแทน

“โดยในวันที่ 16 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้ประชุมกับคณะกรรมการนโยบายขายเพื่อประมูลน้ำตาลพรีเมื่ยมไว้ก่อนรอบของเดือน พ.ค.และ ก.ค.ที่เหลืออยู่ โดยมีเป้าจะต้องทำราคาได้เท่ากับราคาคำนวณขั้นต้น แต่อย่างไรก็ตามด้วยจีน และอินโดนีเซียยังขาดน้ำตาลบวกกับไทยลดการผลิตจะทำให้ตลาดกลับมาสมดุลปี 2563 นอกจากนี้ ยังมีตัวแปรเรื่องราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่กำลังปรับสูงขึ้น  ทางบราซิลยังต้องการนำอ้อยไปทำเอทานอลสูงถึง 55% แทนน้ำตาล ณ เวลานั้นจะกลับไปอยู่ที่ 15 เซนต์/ปอนด์ เป็นราคาที่อยู่ได้ของผู้ผลิตทั่วโลก”

จาก https://www.prachachat.net  วันที่ 23 พฤษภาคม 2562

มาตรา 44 หมดอายุลุ้น “ลอยตัวน้ำตาล” ต่อ

ตามที่ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ 1/2561 เรื่องการแก้ไขกฎหมายเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบ(ประกาศยกเลิกระบบโควตาให้ลอยตังราคาน้ำตาลทราย) ซี่งออกมาตั้งแต่วันที่ 15 มกราคม 2561 กำลังจะหมดอายุลงในเดือนกันยายน 2562 นี้

ล่าสุด นายวิริวุทธิ์ เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ไทยซูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) ประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ของ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทรายเปิดเผยว่า 3 สมาคมน้ำตาลทรายได้มีหนังสือถึงคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) เมื่อกลางเดือนที่ผ่านมา เพื่อขอทราบความชัดเจนเกี่ยวกับนโยบายด้านอ้อยและน้ำตาล ภายหลังประกาศ คสช.หมดอายุ ซึ่งอาจจะมีผลต่อการผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายในฤดูกาลต่อไป ซึ่งจะเริ่มออกสู่ตลาดตั้งแต่เดือนตุลาคมนี้

“เอกชนยังไม่แน่ใจว่าหลังจากประกาศ คสช.หมดอายุลงจะต้องกลับไปใช้กฎหมายเดิม กลังไปมีโควตาหรือไม่ ผู้ผลิตจะต้องวางแผนการผลิตอย่างไร ประกอบกับไทยต้องเตรียมตอบคำถามบราซิลต่อเรื่องระบบนี้ หากจำเป็นต้องรอรัฐบาลใหม่และต้องรอแต่งตั้งกรรมการ กอน.คนใหม่แทนรองปลัดกระทรวงพาณิชย์ที่ลาออก หากไม่สามารถแก้ไขกฏหมายทันเวลา ทาง คสช.จะต่ออายุประกาศต่อไปอีก 2 ปี หรือไม่อย่างไร”

ต่อประเด็นนี้ นางวรวรรณ  ชิตอรุณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) กล่าวว่า จะต้องเร่งหารือรัฐบาลเพื่อเสนอให้พิจารณาต่อคำสั่ง ม. 44 ที่ได้ประกาศลอยตัวราคาน้ำตาลเพื่อให้ไทยยังคงใช้การลอยตัวราคาน้ำตาลต่อไป ไม่ให้เกิดผลกระทบกรณีทางบราซิลพยายามฟ้องไทยกับองค์การการค้าโลก (WTO) ด้วยเหตุผลการอุดหนุนทำให้กลไกราคาตลาดโลกไม่สะท้อนความจริง โดยคาดว่าแนวทางการขอต่ออายุ ม.44 จะเปลี่ยนเป็นการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาออกโดยรัฐบาล

ส่วนความคืบหน้าการปรับปรุงแก้ไข ร่าง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย.... (ฉบับใหม่) ที่ได้ผ่านการเห็บชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปแล้วนั้น ได้นำเข้ากฤษฎีกาพิจารณา แต่มีการแก้ไขในหลายมาตรา จึงให้สอน.นำกลับมายกร่างใหม่ทั้งฉบับ และยกเลิก พ.ร.บ.อ้อยฯฉบับเก่า พ.ศ. 2527 โดยขณะนี้จำเป็นต้องรอให้มีการจัดตั้งและประชุมรัฐสภาใหม่จึงจะสามารถดำเนินการต่อเนื่องอีกครั้ง

ทั้งนี้ ภายหลังจากประชาพิจารณ์ยังมีชาวไร่อ้อยไม่เห็นด้วยเรื่องสหกรณ์และการให้สิทธิพิเศษกับชาวไร่อ้อยบางกลุ่ม

“เราต้องคุยกับ รมว.คนใหม่ ว่าเรามีสัญญากับทางบราซิลว่าต้องแก้กฎหมายให้เสร็จตั้งแต่ปีที่แล้วหากเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมคนใหม่แล้ว พิจารณาเห็นชอบตามมติ ครม.เดิม ก็สามารถเสนอกฤษฎีกาพิจารณาที่เหลืออีกบางส่วนและเข้าสู่ระบบกระบวนการรัฐสภาต่อทันทีซึ่งคงใช้เวลาไม่นาน แต่หากมีการแก้ไขร่าง ก็ต้องทำประชาพิจารณ์ใหม่ถึงจะช้าแต่ต้องพยายามเร่งให้เร็วที่สุด เพื่อให้เสร็จทันปี  2562 นี้”

จาก https://www.prachachat.net   วันที่ 23 พฤษภาคม 2562

ผลผลิตอ้อย-น้ำตาลส่อเค้าลด เหตุภัยแล้ง-เกษตรกรหนีปลูกพืชอื่นทำเงิน

นางวรวรรณ ชิตอรุณ เลขาธิการสำนักงาน คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผยว่า สอน.ยังคงติดตามสถานการณ์ภัยแล้งและราคาน้ำมันตลาดโลกใกล้ชิดเนื่องจากนักวิเคราะห์ต่างคาดการณ์ว่าภาวะภัยแล้งจะรุนแรงขึ้นประกอบกับราคาอ้อยที่ตกต่ำต่อเนื่องมา 3-4 ปี ส่งผลให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่นที่มีราคาดีกว่าจึงคาดว่าผลผลิตน้ำตาลทรายของโลกฤดูหีบปี 62/63 จะต่ำกว่าฤดูหีบที่ผ่านมาจากนั้นจะทำให้โลกเข้าสู่จุดสมดุลของการผลิตและการบริโภคน้ำตาลและจะทำให้ระดับราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดโลกกลับมาสู่ระดับราคา 15 เซนต์ต่อปอนด์ ซึ่งเป็นต้นทุนที่ทำให้ประเทศผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายอยู่ได้

“นักวิเคราะห์ต่างก็มองในแง่ของปัจจัยพื้นฐานโดยเฉพาะภัยแล้งที่จะมีผลกระทบต่อผลผลิตไทยและอินเดียเป็นสำคัญ ขณะที่จีน อินโดนีเซีย ยังคงมีอัตราการบริโภคที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องทำให้ถึงจุดสมดุลได้ แต่อย่าลืมว่าราคาน้ำตาลทรายนั้นยังมีตัวแปรอื่นคือราคาน้ำมันหากราคาน้ำมันขึ้นสูงจะส่งผลให้บราซิลนำอ้อยไปผลิตเอทานอลแทนการส่งออกน้ำตาลซึ่งขณะนี้น้ำมันเริ่มสูงขึ้น และยังมีเรื่องของการเก็งกำไรจากการซื้อขายล่วงหน้าด้วย” นางวรวรรณ กล่าว

 ทั้งนี้ในฤดูหีบปี 61/62 ที่ปิดหีบไปล่าสุดของไทยมีปริมาณอ้อยเข้าหีบ 130 ล้านตันมีปริมาณน้ำตาลทรายที่ผลิตได้ 14.5 ล้านตันซึ่งแม้ว่าปริมาณอ้อยจะลดลงกว่าฤดูหีบที่ผ่านมา 4 ล้านตัน แต่ปริมาณน้ำตาลใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาด้วย เพราะค่าความหวานที่สูงจากประสิทธิภาพโรงงานที่เพิ่ม แต่ภาพรวมตัวเลขผลผลิตดังกล่าวก็สูงกว่าประเมินไว้ทำให้ไทยต้องส่งออกราว 12 ล้านตัน เช่นเดียวกับอินเดียที่ผลผลิตก็เหลือบริโภคในประเทศอีกทำให้เป็นปัจจัยผลผลิตน้ำตาลโลกยังคงมีสต๊อกที่ล้นเกินความต้องการอยู่ในฤดูนี้

สำหรับราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์กส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2563 อยู่ที่ราว 13.06 เซนต์ต่อปอนด์ ปรับขึ้นเล็กน้อยซึ่งทางบริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย (อนท.) พยายามทำราคาขายน้ำตาลล่วงหน้าในระดับราคาที่ไม่ให้ต่ำกว่า 13 เซนต์ต่อปอนด์ เพื่อไม่ให้ราคาอ้อยที่จะคำนวณขั้นต้นฤดูปี 62/63 ตกต่ำ อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าราคาน้ำตาลทรายที่ยังไม่ดีนักช่วงที่ผ่านมาประกอบกับผลผลิตสูงกว่าประเมินไว้ขณะนี้

สต๊อกน้ำตาลหลายโรงงานเกิดภาวะล้นโกดังทำให้ต้องจัดหาที่จัดเก็บเพิ่มเติมมากขึ้น

ส่วนกรณีที่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้ ม.44 ประกาศลอยตัวราคาขายปลีกน้ำตาลทรายในประเทศซึ่งมีกำหนดไว้ 2 ฤดูผลิต ซึ่งจะครบในสิ้นเดือนกันยายนนี้แล้วนั้นอาจจะออกเป็นพระราชกฤษฎีกาที่เน้นแก้ไขเฉพาะบางมาตราเพื่อให้ทุกอย่างดำเนินไปปกติคงต้องหารือกับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลกฎหมายอีกครั้ง ส่วนร่างพ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายที่สอน.มายกร่างใหม่โดยปรับปรุงบางมาตราคงจะต้องนำเสนอรมว.อุตสาหกรรมคนใหม่เห็นชอบอีกครั้งหากไม่แก้ไขก็คงไม่ต้องทำประชาพิจารณ์จากนั้นก็เข้าสู่วาระการพิจารณาในขั้นกรรมาธิการได้ทันที

ขณะที่แผนการลงทุนใหม่ของโรงงานน้ำตาลในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 54 โรงนั้น ล่าสุดมีเอกชน 2 รายใหญ่ เตรียมเปิดโรงงานน้ำตาลขึ้นอีก 2 แห่ง เป็นของ บริษัท มิตรผล จำกัด น้ำตาลยี่ห้อมิตรผล ที่ จ.อำนาจเจริญ 1 แห่ง และบริษัท ไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด น้ำตาลยี่ห้อลิน ที่ จ.สกลนคร 1 แห่ง ภายในปี 2562 จะส่งผลให้ไทยมีโรงงานน้ำตาลทั้งหมด 56 โรง

จาก https://www.naewna.com วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ปตท.โผล่ขอตั้งโรงงานน้ำตาล

นางวรวรรณ ชิตอรุณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผยว่า ตามแผนการลงทุนใหม่ของโรงงานน้ำตาล ในประเทศไทย ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 54 โรง ล่าสุด ในปีนี้มีเอกชน 2 รายใหญ่เตรียมเปิดโรงงานน้ำตาลขึ้นอีก 2 แห่ง โดยเป็นของบริษัท มิตรผล จำกัด ผู้ผลิตน้ำตาลยี่ห้อมิตรผลที่จังหวัดอำนาจเจริญ 1 แห่ง และบริษัท ไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด ผู้ผลิตน้ำตาลยี่ห้อลิน ที่จังหวัดสกลนคร 1 แห่ง ส่งผลให้จำนวนโรงงานน้ำตาลในประเทศไทยขยับขึ้นเป็น 56 โรง

นอกจากนั้น สอน.ยังเตรียมออกใบรับรองการตั้งโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่ ให้กับโครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ของบริษัท โกลบอล กรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ในกลุ่ม ปตท. ซึ่งเป็นการนำเอาผลผลิตอ้อยและน้ำตาลไปผลิตเป็นพลาสติกชีวภาพ และบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KTIS โดยเกษตรไทยจะใช้เงินลงทุนรวม 7,500 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างโรงงานน้ำตาล กำลังการผลิต 24,000 ตันต่อวัน และก่อสร้างโรงผลิตเอทานอล กำลังการผลิต 600,000 ลิตรต่อวัน และโรงผลิตไฟฟ้าและไอน้ำ กำลังการผลิตไฟฟ้า 85 เมกะวัตต์

ขณะเดียวกัน ยังพบว่ามีโรงงานน้ำตาลที่ได้รับใบรับรองการตั้งโรงงานแห่งใหม่ แต่ไม่มีการลงทุนและใบรับรองดังกล่าวกำลังจะหมดอายุลงในปี 2563 รวม 2 แห่ง คือ ที่จังหวัดนครสวรรค์ และพะเยา เนื่องจากผู้ได้รับใบรับรองแจ้งว่า สถานการณ์การลงทุนโรงงานน้ำตาลแห่งใหม่อาจไม่คุ้มทุน จึงขอชะลอการลงทุนและยอมปล่อยให้ใบรับรองหมดอายุตามกำหนดดังกล่าว

นางวรวรรณกล่าวว่า ฤดูการผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายปี 2561/62 ที่ปิดการผลิตลงเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา ปรากฏว่าประเทศไทยมีผลผลิตอ้อยเข้าหีบรวม 130 ล้านตัน มีผลผลิตน้ำตาลทรายรวม 14.5 ล้านตัน ซึ่งในจำนวนดังกล่าวทำให้ประเทศไทยต้องส่งออกน้ำตาลประมาณ 11.5 -12 ล้านตัน เพราะมีความต้องการบริโภคน้ำตาลเพียง 2.5-3 ล้านตัน

ส่วนสถานการณ์ราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์ก ส่งมอบเดือน ก.ค.2563 อยู่ที่ 13.06 เซนต์ต่อปอนด์ เป็นราคาที่ปรับขึ้นเล็กน้อย ทำให้บริษัทอ้อย และน้ำตาลไทย (อนท.) ต้องพยายามทำราคาขายน้ำตาลล่วงหน้าในระดับราคาที่ไม่ให้ต่ำกว่า 13 เซนต์ต่อปอนด์ เพื่อไม่ให้ราคาอ้อยที่จะคำนวณราคาขั้นต้นปีการผลิต 2562/63 ที่จะเริ่มในเดือน พ.ย.นี้ ต่ำกว่า 700 บาทต่อตัน ซึ่งต้องยอมรับว่าราคาน้ำตาลทรายโลก ยังคงลดลงต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา.

จาก www.thairath.co.th วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

กรมชลน้อมนำรับสั่งร.10 ชูศาสตร์พระราชาบริหารจัดการน้ำทั่วปท.

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานน้อมนำพระราชกระแสของพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่ทรงให้ติดตาม ขับเคลื่อน และเร่งรัด รวมทั้งแก้ปัญหาการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ให้ครบถ้วนสมบูรณ์เกิดประโยชน์สูงสุดกับราษฎร มาขับเคลื่อนผลักดันโครงการฯ รวมทั้งน้อมนําศาสตร์พระราชามาใช้บริหารจัดการน้ำของประเทศ โดยกำหนดให้เป็นภารกิจสำคัญในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์กรมชลประทาน ภายใต้กรอบแนวคิด “RID No.1” ทั้งนี้ เพื่อให้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริดำเนินงานได้ต่อเนื่อง สอดคล้องกับแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี ที่รัฐบาลกำหนดให้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการสำคัญ เร่งด่วน ที่ต้องดำเนินการ

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชดำริให้กรมจัดทำโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในต.ยางหัก อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี เป็นโครงการแรก เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2534 ครั้งเมื่อยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ซึ่งประกอบไปด้วยอ่างเก็บน้ำ 5 แห่ง คือ อ่างเก็บน้ำบ้านพุกรูดอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ่างเก็บน้ำห้วยพุกรูดอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ่างเก็บน้ำเขาหัวแดงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ่างเก็บน้ำบ้านไทยประจันอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และอ่างเก็บน้ำหินสีตอนบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จากนั้นในการเสด็จเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ต่างๆ พระราชทานแนวพระราชดำริพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้ราษฎรในพื้นที่นั้นๆ เรื่อยมา จนเสด็จฯขึ้นครองราชสมบัติ ปัจจุบันมีโครงการอันเนื่องพระราชดำริแล้ว 116 โครงการ กระจายอยู่ทั่วประเทศไทย แบ่งเป็นโครงการปรับปรุงก่อสร้างฝาย 1 แห่ง โครงการปรับปรุงอ่างเก็บน้ำ 13 แห่ง โครงการสร้างฝาย 18 แห่ง โครงการสร้างอ่างเก็บน้ำ 31 แห่ง และอื่นๆ เช่น สนับสนุนการจัดการน้ำ สร้างแก้มลิง ขุดลอกแก้มลิง ปรับปรุงสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า สร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า ปรับปรุงระบบท่อส่งน้ำ สร้างระบบประปา 53 โครงการ โดยโครงการอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 44 โครงการ ภาคใต้ 42 โครงการ ภาคเหนือ 21 โครงการ และภาคกลาง 9 โครงการ

“ตั้งแต่ปี 2534 ที่พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงริเริ่มโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ ที่ต.ยางหัก เป็นโครงการแรก จนถึงปัจจุบันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำฯของพระองค์ได้อำนวยประโยชน์ สร้างฐานะทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีให้พสกนิกร สร้างความมั่นคง ความสงบสุข และประโยชน์กับสังคมโดยรวมของประเทศอีกด้วย” อธิบดีกรมชลประทานกล่าวในตอนท้าย

จาก www.thairath.co.th  วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ชาวไร่อ้อยหนีปลูกพืชอื่นหลังราคาดิ่ง-ภัยแล้งจัด ลุ้นผลผลิตใหม่ลดดันราคาเด้งอีกครั้ง

นางวรวรรณ ชิตอรุณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.) เปิดเผยถึงแนวโน้มผลผลิตน้ำตาลทรายฤดูการผลิต 2562/63 ว่า สอน.ได้ติดตามสถานการณ์ภัยแล้งและราคาน้ำตลาดโลกใกล้ชิดเนื่องจากนักวิเคราะห์คาดการณ์ว่าภาวะภัยแล้งจะรุนแรงขึ้น ประกอบกับราคาอ้อยที่ตกต่ำต่อเนื่องมา 3-4 ปีส่งผลให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่นที่ราคาดีกว่า จึงคาดว่าผลผลิตน้ำตาลทรายของโลกฤดูหีบปี 2562/63 จะต่ำกว่าฤดูหีบที่ผ่านมา จากนั้นจะทำให้โลกเข้าสู่จุดสมดุลของการผลิตและการบริโภคน้ำตาล และจะทำให้ระดับราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดโลกกลับมาสู่ระดับราคา 15 เซนต์ต่อปอนด์เป็นต้นทุนที่ทำให้ประเทศผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายอยู่ได้

นางวรวรรณกล่าวว่า สำหรับฤดูหีบปี 2561/62 ที่ปิดหีบล่าสุดของไทย มีปริมาณอ้อยเข้าหีบ 130 ล้านตัน มีปริมาณน้ำตาลทรายผลิตได้ 14.5 ล้านตัน แม้ว่าปริมาณอ้อยจะลดลงกว่าฤดูหีบที่ผ่านมา 4 ล้านตัน แต่ปริมาณน้ำตาลใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมาเพราะค่าความหวานที่สูงจากประสิทธิภาพโรงงานที่เพิ่ม โดยราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดนิวเยอร์ค ส่งมอบเดือนกรกฎาคม 2563 อยู่ที่ประมาณ 13.06 เซนต์ต่อปอนด์ ปรับขึ้นเล็กน้อย ซึ่งทางบริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย(อนท.) พยายามทำราคาขายน้ำตาลล่วงหน้าในระดับราคาไม่ให้ต่ำกว่า 13 เซนต์ต่อปอนด์ เพื่อไม่ให้ราคาอ้อยที่คำนวณขั้นต้นฤดูปี 2562/63 ตกต่ำ อย่างไรก็ตามยอมรับว่าราคาน้ำตาลทรายที่ยังไม่ดีนักช่วงที่ผ่านมาประกอบกับผลผลิตที่สูงกว่าประเมินไว้ขณะนี้สต็อกน้ำตาลหลายโรงงานเกิดภาวะล้นโกดังทำให้ต้องจัดหาที่จัดเก็บเพิ่มเติมมากขึ้น

จาก https://www.matichon.co.th  วันที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

เกษตรเมืองกาฬสินธุ์ถ่ายทอดเคล็ดลับนำเทคโนโลยีผลิตอ้อยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

ที่ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร อ.ยางตลาด บ้านหนองกาว ม.5 ต.นาเชือก อ.ยางตลาด จ.กาฬสินธุ์ นายวิบูลย์   ไชยวรรณ เกษตร จ.กาฬสินธุ์ นายผดุงศักดิ์  อิ่มเอิบ นายอำเภอยางตลาด  นายอิสระ ทินภัทรภิญโญกุล  ปลัด อบต.นาเชือก  น.ส.อรนุช  เกษสัญชัย  หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์ สำนักงานเกษตร จ.กาฬสินธุ์ นางละม่อม   สุนทรชัย  เกษตรอำเภอยางตลาด นายวิรัตน์   แสงแก้ว ผอ.สถานีพัฒนาที่ดินกาฬสินธุ์ นายบุญช่วย   สงฆนาม ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์(สวพ.) พร้อมด้วยหน่วยงานราชการในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ผู้นำชุมชน และประชาชนร่วมกันจัดกิจกรรมงานวันถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่ Field  Day (อ้อย) ปี 2562 และประกาศยุทธศาสตร์การผลิตอ้อยที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จ.กาฬสินธุ์

นายวิบูลย์   ไชยวรรณ เกษตร จ.กาฬสินธุ์  กล่าวว่า สำนักงานเกษตร จ.กาฬสินธุ์ร่วมกับหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในเขตพื้นที่ จ.กาฬสินธุ์ และภาคเอกชน ร่วมทั้งฝ่ายปกครอง และผู้นำชุมชนจัดวันถ่ายทอดความรู้(Field  Day)ตามนโยบายของจังหวัดกาฬสินธุ์ และรัฐบาล เพื่อเริ่มต้นฤดูกาลผลิตใหม่  เนื่องจากภาคเกษตรของไทยกำลังจะเข้าสู่ฤดูกาลผลิตใหม่ จึงจำเป็นต้องใช้องค์ความรู้ที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

นายวิบูลย์ กล่าวว่า สำหรับวัตถุประสงค์ในการจัดงาน เพื่อต้องการเผยแพร่เทคโนโลยีการบริหารจัดการน้ำและสร้างความตระหนักของเกษตรกร  ให้เห็นแนวทางการใช้ประโยชน์จากน้ำอย่างรู้คุณค่าและประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อเป็นการกระตุ้นให้เกษตรกรเริ่มต้นการผลิตในปีการเพาะปลูกใหม่โดยใช้เทคโนโลยีและภูมิปัญญาที่มีความเหมาะสมกับพื้นที่ให้เกิดการน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและองค์ความรู้จากศูนย์ศึกษาการพัฒนาและโครงการพระราชดำริต่างๆ ให้เข้าถึงเกษตรกรพร้อมนำไปประยุกต์ใช้ได้กว้างขวางยิ่งขึ้น พร้อมบริการและช่วยแก้ไขปัญหาการผลิตของเกษตรกร  ตลอดจนเป็นการเผยแพร่ให้เกษตรกรรู้จักและใช้ประโยชน์จากศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตรที่มีอยู่ในพื้นที่อีกด้วย

ด้านน.ส.อรนุช  เกษสัญชัย  หัวหน้ากลุ่มยุทธศาสตร์ สำนักงานเกษตร จ.กาฬสินธุ์ กล่าวว่า สำหรับกิจกรรมในงานมีการแบ่งฐานเรียนรู้ออกเป็น 6 ฐาน ประกอบด้วย ฐานที่ 1 การเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตอ้อย  ฐานที่ 2 การใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า  ฐานที่ 3 การลดการเผา ฐานที่ 4 องค์ความรู้เครื่องจักรกลการเกษตร  ฐานที่ 5 เศรษฐกิจพอเพียง และ ฐานเรียนรู้ที่ 6 บัญชีครัวเรือน โดยมีเกษตรกรร่วมกว่า 500 กว่าคน นอกจากนี้ยังมีการจำหน่ายสินค้าวิสาหกิจชุมชน  สินค้าจากกลุ่มเกษตรอินทรีย์ ของเครือข่ายศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงจาก อ.ยางตลาด  มีการประกาศยุทธศาสตร์การผลิตอ้อยที่เป็นมิตรต่อส่งแวดล้อม  จัดทำบันทึกข้อตกลงกับตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย  ร่วมปลูกอ้อยชำถุง  สาธิตการการใช้เครื่องสางใบอ้อยติดรถไถและการรณรงค์ไม่เผ้าอ้อย

ขณะที่นางละม่อม   สุนทรชัย  เกษตรอำเภอยางตลาด กล่าวว่า จังหวัดกาฬสินธุ์ มีโรงงานน้ำตาลทราย 2 โรงงาน ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ อ.กุฉินารายณ์และอำเภอสามชัย  ในช่วงนี้โรงานนำตาลทั้ง 2 แห่งกำลังรับซื้ออ้อยป้อนโรงงานเพื่อแปรรูปเป็นน้ำตาลทรายและผลิตภัณฑ์อื่นๆ  ซึ่งการตัดอ้อยให้ได้ผลผลิตและคุณภาพสูง เราสามารถปฏิบัติได้ดังนี้ ให้ตรวจสอบอายุและความแก่ของอ้อยก่อนการตัด ควรทำผังแปลงที่จะตัดเพื่อสะดวกในการตัดอ้อย เตรียมแรงงานตัดอ้อย และรีบติดต่อรถบรรทุกอ้อยให้พร้อม การตรวจสอบความแก่ของอ้อย เพื่อให้อ้อยมีน้ำหนักและความหวานสูง ชาวไร่สามารถสังเกตได้จากอ้อยออกดอกหรือใบอ้อยเริ่มเหลือง อ้อยที่เราจะจัดมีอ้อยปลายฝน อ้อยตอและอ้อยต้นฝน

นางละม่อม กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับวิธีการตัดอ้อย แรกๆควรติดต่อรับใบคิวในเขตส่งเสริม จะทำให้อ้อยไม่ตกค้างในไร่นาน ควรตัดอ้อยที่แก่ หากตัดอ้อยออกดอกต้องตัดก่อนดอกจะร่วง ควรตัดอ้อยให้ชิดดิน ลอกกาบออกแล้วตัดยอดที่กาบใบแห้งสุดท้าย เพื่อลดการสูญเสียน้ำหนักและความหวานของอ้อย กรณีที่ใช้รถขนส่งควรส่งอ้อยเข้าโรงงานภายใน 48 ชั่วโมง เพื่อลดการสูญเสียน้ำหนักอ้อย แต่มีข้อระวังไม่ควรเผาอ้อยก่อนตัด จะทำให้เสียน้ำหนักและความหวาน และทำให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินลดลง 5-10% ต่อปี มีผลเสียต่อการไว้ตออ้อยในปีต่อไปและยังทำให้เกิดมลพิษอีกด้วย

จาก https://www.naewna.com วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

โรงงานน้ำตาล-เอทานอลปีนี้ผุดเพิ่มอีก! “สอน.” ลุ้นปลายปีราคาน้ำตาลโลกจะผงกหัว

สอน.เผยโรงงานน้ำตาลปีนี้เตรียมเปิดหีบเพิ่มอีก 2 แห่ง พร้อมเล็งออกใบรับรองตั้ง รง.ในโครงการไบโอคอมเพล็กซ์ จ.นครสวรรค์ของ GGC และ KTISS จ่อยื่นร่าง พ.ร.บ.อ้อยฯ เสนอรมว.อุตสาหกรรมคนใหม่เข็นออกเป็น กม.อีกระลอก ลุ้นราคาน้ำตาลโลกจะผงกหัวปลายปีนี้

นางวรวรรณ ชิตอรุณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผยว่า ฤดูหีบปี 2562/63 ที่จะเปิดหีบปลายปีนี้จะมีโรงงานน้ำตาลเปิดหีบเพิ่มขึ้นอีก 2 แห่ง คือ โรงงานน้ำตาลของ บ.มิตรผล จำกัด ที่ อ.อำนาจเจริญ และของ บ.ไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด จ.สกลนคร ซึ่งจะทำให้มีโรงงานจากปัจจุบัน 54 แห่งเป็น 56 แห่ง ขณะเดียวกัน สอน.ยังเตรียมออกใบรับรองตั้งโรงงานให้กับโครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ของ บมจ.โกลบอลครีนเคมิคอล หรือ GGC ในเครือ ปตท.ที่ร่วมมือกับ บมจ.เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น หรือ KTIS ในการสร้างโรงงานผลิตอ้อยและเอทานอล

“โครงการไบโอคอมเพล็กซ์นี้จะเป็นการทำในเฟสแรก คือการเปิดโรงหีบอ้อย กำลังการผลิต 24,000 ตัน/วัน และสร้างโรงผลิตเอทานอล กำลังการผลิต 600,000 ลิตร/วัน หรือประมาณ 186 ล้านลิตร/ปี และโรงผลิตไฟฟ้าและไอน้ำ กำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้า 85 เมกะวัตต์” นางวรวรรณกล่าว

ส่วนความคืบหน้าการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ…..ได้ผ่านความเห็นจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว และต่อมาอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ แต่เมื่อมีรัฐบาลใหม่ทาง สอน.จะนำกลับมายกร่างใหม่ โดยมีการปรับปรุงบางมาตราซึ่งจำเป็นต้องเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมคนใหม่เห็นชอบ หากไม่มีอะไรแก้ไขก็สามารถเสนอตามขั้นตอนเพื่อนำไปสู่การพิจารณาของคณะกรรมาธิการ สนช.ต่อไป

“ ระหว่างรอร่าง พ.ร.บ.นี้ ในส่วนของคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้ ม.44 ประกาศลอยตัวราคาขายปลีกน้ำตาลทรายในประเทศซึ่งมีกำหนดไว้ 2 ฤดูผลิตซึ่งจะครบในสิ้นเดือน ก.ย.นี้แล้วนั้นอาจจะมีการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาที่เน้นแก้ไขเฉพาะบางมาตราหรืออาจจะใช้วิธีอื่นที่กำลังดูอยู่แต่ต้องไม่ผิดเงื่อนไขกับบราซิล” นางวรวรรณกล่าว

สำหรับผลผลิตของไทยฤดูหีบที่เพิ่งปิดไปมีอ้อย 130 ล้านตันน้ำตาล 14.5 ล้านตัน ทำให้ไทยต้องส่งออกน้ำตาลกว่า 12 ล้านตันเช่นเดียวกับอินเดียที่ผลผลิตเกินทำให้สต๊อกมีเพิ่มสะสมที่รอส่งออก จึงเป็นปัจจัยกดดันราคาน้ำตาลตลาดโลกที่ผ่านมาลดลง แต่ฤดุหีบใหม่ปีนี้ที่จะถึง (ปี 62/63) นักวิเคราะห์มองว่าผลผลิตไทยและอินเดียจะลดลงจากปัจจัยพื้นฐานหลักคือภัยแล้งและการลดพื้นที่เพาะปลูก เพราะราคาอ้อยที่ผ่านมาตกต่ำต่อเนื่องทำให้โลกเข้าสู่จุดสมดุลของการผลิตและการบริโภคน้ำตาล และจะทำให้ระดับราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดโลกกลับมาสู่ระดับราคา 15 เซ็นต์ต่อปอนด์ซึ่งเป็นต้นทุนที่ทำให้ประเทศผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายอยู่ได้

“ยอมรับว่าขณะนี้น้ำตาลที่ผลิตได้ล้นสต๊อกเพราะยังไม่สามารถทำราคาที่เหมาะสมได้ โดยราคาน้ำตาลต้นเดือนตกมาสู่ระดับ 11 กว่าเซ็นต์ต่อปอนด์ แต่ขณะนี้ราคาส่งมอบล่วงหน้าล่าสุด ก.ค. 62 ขึ้นมาสู่ระดับ 13 เซ็นต์ต่อปอนด์ แต่ราคาน้ำตาลทรายนั้นยังมีตัวแปรอื่นคือราคาน้ำมันและการเก็งกำไร” นางวรวรรณกล่าว

จาก https://mgronline.com  วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ครม.ไฟเขียวแก้ก.ม.กองทุนฟื้นฟูฯ 3 มาตรา ช่วยปลดหนี้เกษตรกร

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้ (21 พ.ค.62) ที่ประชุม ครม.มีมติอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่..) พ.ศ... ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)พิจารณา ก่อนเสนอ สนช.ต่อไป

ทั้งยังรับทราบแผนในการจัดทำกฎหมายลำดับรอง กรอบระยะเวลา และกรอบสาระสำคัญของ กฎหมายลำดับรองที่ออกตามร่างกฎหมายดังกล่าว โดยให้กระทรวงเกษตรฯรับความเห็นของกระทรวงการคลัง และสำนักงานสภาพัฒน์ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย

สำหรับสาระสำคัญของร่างกฎหมายฉบับนี้ คือ 1.กำหนดให้การชำระหนี้แทนเกษตรกรทั้งทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันและบุคคลค้ำประกันได้กำหนดวิธีการในการชำระหนี้แทนเกษตรกรกรณีบุคคลค้ำประกันให้ชัดเจนโดยให้กองทุนชำระหนี้แทนได้ตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนดเพื่อให้สามารถขยายขอบเขตการชำระหนี้ให้ครอบคลุมเกษตรกรที่มีปัญหามากยิ่งขึ้น

2.แก้ไขวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรกรจากคราวละ 2 ปีเป็น 4 ปี สำหรับกรณีที่กรรมและผู้แทนเกษตรกร พ้นจากตำแหน่ง ให้กรรมการชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีกรรมการชุดใหม่เข้ารับหน้าที่ และกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการของสำนักงานเพื่อให้ได้กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรกร ให้สำนักงานดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 120 วัน นับแต่วันที่ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรกรครบวาระ ทั้งนี้ เพื่อให้มีความต่อเนื่องในการทำงานและเพื่อประหยัดงบประมาณในการจัดการเลือกตั้ง  และ 3.แก้ไขสำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรมีสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาตามความเป็นจำเป็นเพื่อให้เกิดความคล่องตัวและยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ

จาก www.thansettakij.com  วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

สอน. คาดอ้อยปี 2562/63 ลดลง ชาวไร่หนีไปปลูกพืชอื่นแทนหลังราคาวูบต่อเนื่อง

สอน. พยากรณ์แนวโน้มผลผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายฤดูผลิตปี 2562/63 ส่อลดลง เหตุเกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่นทดแทนหลังราคาตกต่ำต่อเนื่อง เชื่อดันราคาน้ำตาลโลกลุ้นแตะ 15 เซนต์ต่อปอนด์

สอน. คาดอ้อยปี 62/63 ลดลง – นางวรวรรณ ชิตอรุณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผยว่า สอน. คาดการณ์ผลผลิตน้ำตาลทรายตลาดโลกฤดูการผลิตปี 2562/63 จะต่ำกว่าฤดูการผลิตที่ผ่านมา เนื่องจากนักวิเคราะห์มองสถานการณ์ภัยแล้งจะรุนแรงขึ้น ประกอบกับราคาอ้อยที่ตกต่ำต่อเนื่องมา 3-4 ปี ส่งผลให้เกษตรกรหันไปปลูกพืชอื่นที่มีราคาดีกว่า หลังจากนั้นประเมินแนวโน้มราคาน้ำตาลโลกจะเข้าสู่จุดสมดุลระหว่างการผลิตและการบริโภคน้ำตาล ทำให้ระดับราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดโลกกลับมาสู่ระดับราคา 15 เซนต์ต่อปอนด์ ซึ่งเป็นต้นทุนที่ทำให้ประเทศผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายอยู่ได้

“ขณะนี้ สอน. ยังคงติดตามปัจจัยพื้นฐานของสถานการณ์ภัยแล้งและราคาน้ำตลาดโลกอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะภัยแล้งที่มีผลกระทบต่อผลผลิตไทยและอินเดียเป็นสำคัญ ขณะที่จีน อินโดนีเซียยังคงมีความต้องการบริโภคเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้บราซิลนำอ้อยไปผลิตเอทานอลแทนการส่งออกน้ำตาล ทั้งยังมีการเก็งกำไรจากการซื้อขายล่วงหน้า ทำให้ราคาน้ำตาลโลกกลับเข้าสู่จุดสมดุลได้”นางวรวรรณ กล่าว

สำหรับอ้อยของไทยฤดูการผลิตปี 2561/62 ที่ปิดหีบไปล่าสุดมีปริมาณอ้อยเข้าหีบ 130 ล้านตัน มีปริมาณน้ำตาลทรายที่ผลิตได้ประมาณ 14.5 ล้านตัน แม้ปริมาณอ้อยจะลดลง 4 ล้านตัน แต่ปริมาณน้ำตาลใกล้เคียงกับปีที่ผ่านมา เห็นได้จากค่าความหวานที่สูงจากประสิทธิภาพโรงงานที่เพิ่ม ทำให้ภาพรวมตัวเลขผลผลิตสูงกว่าที่ประเมินไว้ และสามารถส่งออกได้ประมาณ 12 ล้านตัน เป็นภาวะเดียวกับอินเดียที่ผลผลิตก็เหลือบริโภคในประเทศ ทำให้ปริมาณน้ำตาลโลกมีสต็อกล้นเกินความต้องการในฤดูนี้

นางวรวรรณ กล่าวว่า ปัจจุบันราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์ก ส่งมอบเดือนก.ค. 2563 อยู่ที่ประมาณ 13.06 เซนต์ต่อปอนด์ เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งทางบริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย (อนท.) พยายามทำราคาขายน้ำตาลล่วงหน้าในระดับราคาที่ไม่ให้ต่ำกว่า 13 เซนต์ต่อปอนด์ เพื่อไม่ให้ราคาอ้อยที่จะคำนวณขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2562/63 ตกต่ำ

อย่างไรก็ตาม กรณีที่คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ใช้ ม.44 ประกาศลอยตัวราคาขายปลีกน้ำตาลทรายในประเทศ 2 ฤดูการผลิต ที่จะครบกำหนดสิ้นเดือนก.ย.นี้ นั้น อาจมีการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาแก้ไขเฉพาะบางมาตราเพื่อให้ทุกอย่างดำเนินไปปกติ แต่ก็มีกฤษฎีกาบางท่านเสนอว่าให้กำหนดแบบไม่กำหนด คงต้องหารือกับนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีที่ดูแลกฎหมายอีกครั้ง

ส่วนร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) อ้อยและน้ำตาลทราย ที่สอน. ยกร่างใหม่ได้ปรับปรุงบางมาตรา เตรียมเสนอให้รมว.อุตสาหกรรมคนใหม่พิจารณาอีกครั้ง หากไม่ต้องแก้ไขก็ไม่ต้องทำประชาพิจารณ์ จากนั้นก็เข้าสู่วาระการพิจารณาในขั้นกรรมาธิการได้ทันที

นางวรวรณ กล่าวถึงความคืบหน้าการลงทุนใหม่ของโรงงานน้ำตาลในไทย ว่า ล่าสุดมีเอกชน 2 รายใหญ่ เตรียมเปิดโรงงานน้ำตาลใหม่ 2 แห่งภายในปีนี้ ที่จังหวัดอำนาจเจริญ 1 แห่งของบริษัท มิตรผล จำกัด น้ำตาลยี่ห้อมิตรผล และที่จังหวัดสกลนครอีก 1 แห่งของบริษัท ไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด น้ำตาลยี่ห้อลิน ส่งผลให้ไทยมีโรงงานน้ำตาลทั้งหมด 56 โรง จากปัจจุบันมีทั้งหมด 54 โรง

นอกจากนี้ ยังเตรียมออกใบรับรองตั้งโรงงานให้กับโครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ ของ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ในเครือ ปตท. และบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ KTIS ที่พร้อมลงทุน 7,500 ล้านบาท เพื่อก่อสร้างโรงหีบอ้อย กำลังการผลิต 24,000 ตัน/วัน และสร้างโรงผลิตเอทานอล กำลังการผลิต 600,000 ลิตร/วัน หรือประมาณ 186 ล้านลิตร/ปี และโรงผลิตไฟฟ้าและไอน้ำ กำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้า 85 เมกะวัตต์

จาก https://www.khaosod.co.th   วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

เกษตรกรเฮ! ครม.แก้กฎหมายกองทุน เปิดทางซื้อหนี้คนค้ำคืนได้ – แห่ลงทะเบียน 3.6 แสนราย

เกษตรกรเฮ! ครม.แก้กฎหมายกองทุน เปิดทางซื้อหนี้คนค้ำคืนได้ – แห่ลงทะเบียน 3.6 แสนราย เป็นหนี้คนค้ำประกัน 2.4 หมื่นล้าน

เกษตรกรเฮ! ครม.แก้กฎหมายกองทุน – นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ โฆษกประจำรองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติปรับปรุง ร่างพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (ฉบับที่…) พ.ศ…. (พ.ร.บ.กองทุนฯ) โดยการแก้ไขกฏหมายที่ว่าด้วยการกำหนดให้มีการชำระหนี้แทนเกษตรกร กรณีบุคคลค้ำประกันได้ จากเดิมการชำระนี้แทน หรือการซื้อหนี้เกษตรกรจากสถานบันการเงิน สามารถทำได้กรณีที่หนี้สินนั้นมีหลักทรัพย์ค้ำประกันเท่านั้น

ทั้งนี้ ครม. เห็นว่าเพื่อแก้ปัญหาและช่วยเหลือประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ จึงแก้ไขกฏหมาย ให้กองทุนฯ สามารถซื้อหนี้สินของสมาชิกที่มีบุคคลค้ำประกันได้ ซึ่งส่วนมากสมาชิกกองทุนฯ เป็นเกษตรกรเพื่อลดปัญหาความเหลื่อมล้ำของเกษตรกรได้ ซึ่งเกษตรกรดังกล่าวสามารถมีจุดยืนในการดำรงชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“เกษตรกรที่มาลงทะเบียนเป็นสมาชิกกองทุนฯ ขณะนี้มีจำนวน 3.6 แสนราย มีมูลหนี้อยู่กับสถาบันการเงิน 5.6 หมื่นล้านบาท เป็นหนี้ที่บุคคลค้ำประกัน 2.4 แสนราย มูลหนี้ทั้งหมด 2.4 หมื่นล้านบาท เฉลี่ยเป็นหนี้ประมาณ 9.6 หมื่นบาทต่อราย สำหรับรายละเอียดและความเสี่ยงของการรับซื้อหนี้ หรือใช้หนี้แทนเกษตรกร กองทุนฟื้นฟูฯ จะต้องหารือกับธนาคารหรือสถาบันการเงินเจ้าหนี้อีกครั้งก่อนพิจารณารับซื้อหนี้ก้อนนั้นๆ”

นายณัฐพร กล่าวต่อว่า อย่างไรก็ตาม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขอให้ครม. พิจารณาอนุมัติหลักการร่างพ.ร.บ.กองทุนฯ ใน 4 เรื่องคือ 1. การแก้ไขวาระการดำรงตำแหน่งของกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แทนเกษตรกร โดยให้กรรมการชุดเดิมปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีกรรมการชุดใหม่ จะทำให้กรรมการสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นการลดช่องว่างในการบริหารงาน 2. การแก้ไขกรณีของสำนักงานใหญ่และสำนักงานสาขาจังหวัด โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการเพื่อเป็นการกำหนดให้มีสำนักงานที่มีความเหมาะสมกับสภาพการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นการลดปัญหาการจราจรที่ติดขัด

3. การกำหนดให้มีการชำระหนี้แทนเกษตรกร กรณีบุคคลค้ำประกันได้ เป็นการช่วยเหลือประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ซึ่งส่วนมากเป็นเกษตรกรสมาชิกกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกรและสามารถลดปัญหาความเหลื่อมล้ำของเกษตรกรได้ ซึ่งเกษตรกรดังกล่าวสามารถมีจุดยืนในการดำรงชีวิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ และ 4. ฝ่ายนโยบาย และผู้ปฏิบัติ สามารถดำเนินงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ลดปัญหาการกระทำที่เสี่ยงต่อการกระทำผิดกฎหมาย

จาก https://www.khaosod.co.th   วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

อีสท์ วอเตอร์ เตรียมพร้อมรับมือภัยแล้งถึงเดือนส.ค. ตั้งวอเตอร์วอร์รูมเกาะติดสถานการณ์

อีสท์ วอเตอร์ เดินหน้าสร้างความมั่นใจมีน้ำเพียงพอต่อความต้องการใช้ในภาคอุตสาหกรรมภาคตะวันออก

นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์ วอเตอร์ เปิดเผยว่า จากการคาดการณ์ของศูนย์พยากรณ์ต่างๆ คาดว่าในปี 2562 ประเทศไทยจะได้รับผลกระทบจากปรากฎการณ์เอลนีโญกำลังอ่อนต่อเนื่องตั้งแต่เดือนมกราคมไปจนถึงเดือนสิงหาคม

ทางอีสท์ วอเตอร์ ได้เตรียมมาตรการต่างๆ ได้แก่ การปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบสูบน้ำในทุกพื้นที่ การเพิ่มประสิทธิภาพการสูบผันน้ำข้ามพื้นที่ และการเตรียมน้ำดิบจากบ่อดินเอกชนเพิ่มเติม เพื่อให้ผู้ใช้น้ำทุกภาคส่วนมีน้ำใช้อย่างพอเพียง โดยปัจจุบันจากการบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบและบูรณาการแบบอีสท์วอเตอร์โมเดล ที่ได้พัฒนาระบบท่อส่งน้ำดิบด้วย Water Grid เชื่อมโยงแหล่งน้ำสำคัญในภาคตะวันออกกว่า 491.8 กม. ทำให้ภาคตะวันออกมีน้ำใช้อย่างเพียงพอกับความต้องการของทุกภาคส่วน

นอกจากนี้ยังได้จัดประชุมวอเตอร์วอร์รูม (Water War Room)หรือศูนย์ปฏิบัติการน้ำภาคตะวันออก เพื่อรายงานสถานการณ์น้ำภาคตะวันออกในพื้นที่จังหวัดระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา เพื่อติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด และจัดทำแผนป้องกันปัญหาภัยแล้งได้แก่ การสูบผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำประแสร์-คลองใหญ่ การสูบผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำประแสร์-หนองปลาไหล การจัดหาแหล่งน้ำดิบสำรองจากบ่อดินเอกชน เป็นต้น โดยประสานงานกับกรมชลประทานอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การบริหารจัดการน้ำเกิดประโยชน์สูงสุดทั้งการจัดการปริมาณน้ำให้เพียงพอและการจัดการต้นทุนให้เกิดความคุ้มค่าสูงสุด

สำหรับนโยบายเพื่อรองรับการพัฒนาโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซีในบริเวณ 3 จังหวัดพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดระยอง ชลบุรี และฉะเชิงเทรา ซึ่งจะส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำดิบและน้ำประปาของบริษัทในระยะยาวมีแนวโน้มเติบโตมากขึ้น

อีสท์ วอเตอร์จึงมุ่งเน้นการขยายธุรกิจน้ำครบวงจรซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าและนโยบายของรัฐบาลในโครงการอีอีซี ซึ่งปัจจุบันได้รับความสนใจจากลูกค้าหลายราย นอกเหนือจากนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ โรงไฟฟ้ากัลฟ์ปลวกแดง ซึ่งได้ลงนามในสัญญาซื้อขายน้ำอุตสาหกรรมแล้ว ยังมีนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ระหว่างการพัฒนาอื่นๆ รวมทั้งลูกค้าที่อยู่นอกพื้นที่อีอีซี ซึ่งบริษัทอยู่ระหว่างนำเสนอการให้บริการน้ำครบวงจร

จากการวิเคราะห์อุตสาหกรรมน้ำครบวงจรพบว่ามีการแข่งขันสูง

จาก https://www.posttoday.com  วันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

นำร่องผลิตท่อนพันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาว แจกชาวไร่1แสนต้น-สกัดแพร่ระบาด

รศ.สุภาพร กลิ่นคง ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) นักวิจัยเปิดเผยว่า โรคใบขาวอ้อย เป็นโรคที่สร้างความเสียหายคิดเป็นมูลค่าไม่น้อยกว่า 2,000 ล้านบาท สาเหตุเกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา ซึ่งแพร่กระจายของเชื้อโดยถ่ายทอดติดไปกับท่อนพันธุ์จากต้นหรือตอที่เป็นโรคใบขาว และยังถ่ายทอดเชื้อได้โดยมีแมลงปากดูดพวกเพลี้ยจักจั่นเป็นแมลงพาหะ จากการขยายกำลังผลิตอ้อยโดยเพิ่มพื้นที่ปลูก ทำให้ขาดแคลนท่อนพันธุ์ จึงเกิดการขนย้ายท่อนพันธุ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นท่อนพันธุ์ที่มีเชื้อไฟโตพลาสมาแฝงอยู่ข้ามไปพื้นที่ต่างๆ ส่งผลให้การแพร่ระบาดของโรคใบขาวรวดเร็ว และชาวไร่อ้อยส่วนใหญ่มักเก็บอ้อยที่ปลูกส่งโรงงานไว้ใช้ทำพันธุ์ต่อ ทำให้พื้นที่ปลูกอ้อยระบาดโรคขยายวงกว้างขึ้นทุกปี เกิดการสะสมโรคใบขาวก่อให้เกิดความเสียหายรุนแรงในระยะยาว

การใช้ต้นพันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาว จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อและผ่านกระบวนการอนุบาลต้นกล้าจนถึงการผลิตต้นอ้อย เพื่อใช้เป็นท่อนพันธุ์ปลอดโรคใบขาวในแปลง การตรวจแปลง และตรวจรับรองแปลงพันธุ์ปลอดโรคใบขาว ร่วมกับควบคุมแมลงพาหะ เพื่อลดการระบาดของโรคใบขาวในแปลง เป็นวิธีป้องกันกำจัดโรคใบขาวอ้อยที่ได้ผลแบบยั่งยืนระยะยาว โดยได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ตั้งแต่ปี 2559 ในโครงการ“การขยายผลเทคโนโลยีการผลิตต้นพันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาว” ใน 2560 เรื่อง “การจัดทำแปลงพันธุ์ขยายอ้อยปลอดโรคใบขาว”และปี 2562 เรื่อง “การส่งเสริมและติดตามเทคโนโลยีการผลิตท่อนพันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาวแบบประณีตแนวใหม่สำหรับเกษตรกร” ซึ่งผลิตต้นพันธุ์อ้อยปลอดโรค โดยใช้เทคโนโลยีเกี่ยวกับระบบผลิตพันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาวได้พัฒนาต่อเนื่อง และปัจจุบันนำมาใช้เป็นรูปธรรม ได้แก่ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่ออ้อยปลอดโรคใบขาว การขยายพันธุ์อ้อยเชิงอุตสาหกรรมด้วยระบบไบโอรีแอคเตอร์ การอนุบาลต้นกล้าในระบบโรงเรือนกันแมลงการพัฒนาเทคนิคที่มีความไวสูง (sensitivity) มาใช้ตรวจเชื้อไฟโตพลาสมาปริมาณน้อย ในทุกส่วนของต้นอ้อย เช่น เทคนิค PCR : Polymerase chain reaction และเทคนิค LAMP: Loop mediated isothermal amplification

โครงการนำร่องผลิตต้นพันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาวนี้ ผลิตอ้อยปลอดโรคใบขาวพันธุ์ขอนแก่น 3 และ LK92-11 รวม 100,000 ต้น นำไปแจกเกษตรกรใช้ปลูกทดแทนอ้อยเป็นโรค และลดพื้นที่ระบาดของโรคใบขาว และถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตอ้อยปลอดโรคใบขาวให้เจ้าหน้าที่โรงงานน้ำตาลและผู้สนใจนำไปใช้ปลูกขยายพันธุ์ทดแทน และได้รับความรู้เรื่องเทคโนโลยีการผลิตต้นพันธุ์อ้อยปลอดโรคใบขาว และจัดทำแปลงพันธุ์ขยายอ้อยปลอดโรคใบขาว เพื่อให้ได้ผลผลิต ราคาดีส่งผลให้เศรษฐกิจส่งออกน้ำตาลของประเทศดีขึ้น ผู้สนใจติดต่อได้ที่สำนักงานประสานงานชุดโครงการด้านอ้อยและน้ำตาล โทรศัพท์ 09-4931-4114 หรือ 09-4986-2020 หรือ email: kusugarproject@gmail.com

จาก https://www.naewna.com วันที่ 21 พฤษภาคม 2562

กรมชลฯแจงน้ำเขตชลประทานพอใช้แม้ภัยแล้งยาวอีก 2 เดือน

“กรมชลฯแจงแม้ภัยแล้งยาวไปอีก2เดือน ยืนยันน้ำในเขตชลประทาน เพียงพอใช้ส่วนพื้นที่ขาดน้ำภาคอีสาน ระดมสูบน้ำช่วยประปาอีสานกลางสำเร็จ ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนจากปัญหาขาดน้ำกินน้ำใช้ได้ในหลายพื้นที่”

นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่าขอชี้แจงกรณีที่มีการนำเสนอข่าวว่า จากสัญญาณภัยแล้งปีนี้ ที่มีผลกระทบจากภัยแล้งที่อาจยาวนานขึ้นอีก 2 เดือน สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นอีกประมาณเดือนละ 1,000 ล้านบาท หากภัยแล้งลากยาวไปจนถึงเดือนกรกฎาคม อาจทำให้เกิดมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจรวมประมาณ 17,300 ล้านบาท นั้น กรมชลประทาน ได้จัดลำดับแผนการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่ในอ่างเก็บน้ำต่างๆ เพื่อให้เพียงพอต่อการใช้น้ำในพื้นที่ชลประทานทุกกิจกรรมตลอดช่วงฤดูแล้ง ได้แก่ การอุปโภคบริโภค รักษาระบบนิเวศ สำรองน้ำสำหรับการใช้น้ำในช่วงต้นฤดูฝน ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมจนถึงเดือนกรกฎาคม การเกษตร และการอุตสาหกรรม

สถานการณ์น้ำปัจจุบัน(ณ 17 พ.ค. 62) อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 40,808 ล้านลูกบาศก์เมตร(ล้าน ลบ.ม.)คิดเป็นร้อยละ 54 ของความจุอ่างฯรวมกัน มีปริมาณน้ำใช้การได้ประมาณ 16,800 ล้าน ลบ.ม. เพียงพอที่จะสนับสนุนการใช้น้ำไปจนถึงเดือนกรกฎาคมนี้แน่นอน

ถึงแม้ว่าในช่วงสิ้นสุดฤดูฝนในปี 2561 ที่ผ่านมา อ่างเก็บน้ำบางแห่งจะมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างและปริมาณน้ำต้นทุนสำหรับใช้ในฤดูแล้งปี 2561/62 ในปริมาณที่จำกัด แต่กรมชลประทาน ได้วางแผนในการบริหารจัดการน้ำในช่วง ฤดูแล้งอย่างเคร่งครัด โดยการกำหนดมาตรการบริหารจัดการแบ่งเป็น 2 พื้นที่ คือ พื้นที่ที่ไม่สามารถสนับสนุนน้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งปี 2561/62 ได้ และมีปริมาณน้ำเพื่อสนับสนุนการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศ อย่างเพียงพอใช้ไปจนถึงเดือนกรกฎาคม 2562 ส่วนอีกพื้นที่ จะเป็นพื้นที่ที่สามารถสนับสนุนน้ำเพื่อการเพาะปลูกพืชฤดูแล้งเฉพาะพืชใช้น้ำน้อย(พืชไร่-พืชผัก)เท่านั้น ซึ่งก็มีปริมาณน้ำเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศไปจนถึงเดือนกรกฎาคม 2562 เช่นกัน

อนึ่ง กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ประกาศการเริ่มต้นฤดูฝนของประเทศไทยในปีนี้ จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 20 พฤษภาคม 2562 อย่างไรก็ตาม ในบางช่วงของฤดูฝนปีนี้ โดยเฉพาะช่วงปลายเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนกรกฎาคม จะมีการกระจายของฝนไม่สม่ำและมีปริมาณน้อย อาจเกิดภาวะฝนทิ้งช่วงได้ ซึ่งจะส่งผลให้มีน้ำไม่เพียงพอสำหรับการเกษตรในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะพื้นที่นอกเขตชลประทาน จึงขอให้ประชาชนติดตามสถานการณ์ฝนจากกรมอุตุนิยมวิทยาอย่างใกล้ชิด รวมทั้งขอให้ร่วมกันใช้น้ำอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์สูงสุดด้วย

ด้านนายศักดิ์ศิริ อยู่สุข ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 6 ขอนแก่น กล่าวว่า ในปีนี้ตลอดช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมา ถือว่าเป็นปีที่ประเทศไทยมีอุณหภูมิสูงที่สุดในรอบ 20 ปี ส่งผลให้ปริมาณน้ำต้นทุนจากแหล่งน้ำต่างๆ ลดลงอย่างรวดเร็ว จนทำให้หลายพื้นที่เผชิญกับปัญหาขาดแคลนน้ำกินน้ำใช้ ทั้งนี้กรมชลประทาน โดย สำนักงานชลประทานที่ 6 ได้ให้ความช่วยเหลือน้ำอุปโภคบริโภค สำหรับผลิตน้ำประปา เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของราษฎร ในพื้นที่ดังต่อไปนี้

โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาเสียวใหญ่ บูรณาการร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ ทำการสูบน้ำเพื่อส่งน้ำให้การประปาส่วนภูมิภาคสาขาสุวรรณภูมิ สำหรับใช้ผลิตน้ำประปาส่งให้พื้นที่ในเขตเทศบาลเกษตรวิสัย และเทศบาลเมืองบัว อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด เริ่มทำการสูบน้ำมาตั้งแต่วันที่ 12 ธ.ค.61 โดยดำเนินการสูบน้ำไปยังบริเวณจุดสูบน้ำประปาบ้านเมืองบัว สูบทอยน้ำจากลำน้ำเสียวใหญ่ และลำเตา มาเติมให้กับฝายยางลำเตา

โครงการชลประทานกาฬสินธุ์ เข้าให้ความช่วยเหลือพื้นที่ ต.นาคู อ.นาคู จ.กาฬสินธุ์ พื้นที่ดังกล่าวใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำห้วยมะโน เป็นแหล่งน้ำหลักสำหรับใช้ผลิตน้ำประปา โดยดำเนินการขุดร่องชักน้ำเพื่อให้น้ำไหลเข้าไปยังด้านหน้าโรงสูบประปานาคูได้สะดวกขึ้น และทำการสูบน้ำเติมลงในร่องชักน้ำ เพื่อเพิ่มระดับน้ำในอ่างเก็บน้ำห้วยมะโน

โครงการชลประทานมหาสารคาม บูรณาการร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ให้ความช่วยเหลือน้ำอุปโภคบริโภค สำหรับผลิตประปาท้องถิ่น ต.เม็กดำ อ.พยัคฆภูมิพิสัย จ.มหาสารคาม ดำเนินการแก้ไขปัญหา โดยการสนับสนุนรถบรรทุกน้ำ แจกจ่ายน้ำให้ราษฎรในพื้นที่ดังกล่าว

โครงการชลประทานขอนแก่น ให้ความช่วยเหลือน้ำเพื่อการเกษตรและอุปโภค-บริโภค ต.ดอนหัน อ.เมือง จ.ขอนแก่น ดำเนินการขุดลอกลำห้วยซัน บริเวณด้านหน้าและด้านท้ายที่ตื้นเขิน พร้อมทั้งชักน้ำมาเติมบริเวณหนองโง้ง เพื่อสูบน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกผักปลอดสารพิษ จำนวน 150 ไร่ และสูบทอยเติมสระผลิตน้ำประปาหมู่บ้านโนนเขวา ตำบลดอนหัน อำเภอเมือง ซึ่งขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค

แม้ปัจจุบันจะประกาศเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการแล้ว อีกทั้งพื้นที่ดังกล่าวจะมีปริมาณน้ำเพียงพอสำหรับผลิตประปาเพื่อการอุปโภคบริโภค หรือเพียงพอต่อความต้องการแล้วก็ตาม แต่กรมชลประทานยังคงเฝ้าติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดและเตรียมความพร้อมสำหรับการให้ความช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้กรมชลประทาน ขอความร่วมประชาชนทุกภาคส่วนให้ตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากรน้ำ ใช้น้ำอย่างรู้คุณค่า เพื่อลดความเสี่ยงเกิด ปัญหาขาดแคลนน้ำในอนาคตด้วย

จาก https://www.naewna.com วันที่ 18 พฤษภาคม 2562

‘บาท’ เปิดตลาดเช้านี้ ‘อ่อนค่า’ ที่ 31.66 บาทต่อดอลลาร์

ตลาดเงินเปิดรับความเสี่ยง คาดเงินบาทกลับมาเคลื่อนไหวตามสกุลเงินภูมิภาคที่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์ จับตาปัจจัยเสี่ยงของเงินบาท จากบอนด์ยีลด์สหรัฐที่เริ่มฟื้นตัว และราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น

นายจิติพล พฤกษาเมธานันท์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดเช้าวันนี้ที่ระดับ31.66 บาทต่อดอลลาร์อ่อนค่าจากช่วงปิดสิ้นวันทำการก่อนที่ระดับ31.62 บาทต่อดอลลาร์

ในคืนที่ผ่านมาตลาดการเงินเปิดรับความเสี่ยง(Risk-On) ติดต่อกันเป็นวันที่สามหลังการเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯที่แข็งแกร่งดัชนีS&P500 ปรับตัวขึ้น0.89% และภาพนโยบายกีดกันการค้าที่ชะลอความร้อนแรงลงก็หนุนตลาดทุนฝั่งยุโรปส่งผลให้ดัชนีFTSE100 ของอังกฤษปิดบวก0.74% เช่นเดียวกันกับดัชนีSTOXX50 ของยุโรปที่ดีดตัวขึ้นถึง1.56%

ในส่วนของรายงานข้อมูลเศรษฐกิจจุดเด่นยังอยู่ที่ฝั่งสหรัฐล่าสุดยอดผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก(Initial Jobless Claims) ลดลง1.6 หมื่นรายสู่ระดับ2.12 แสนรายนอกจากนี้ยอดการเริ่มสร้างบ้าน(Housing starts) ในเดือนเมษายนก็เพิ่มขึ้น5.7% จากเดือนก่อนหน้าพร้อมกับที่เฟดสาขาฟิลาเดลเฟียรายงานดัชนีภาวะธุรกิจในภูมิภาคมิดแอตแลนติก(Philly Fed Business Outlook) ทะยานขึ้นแตะระดับ16.6 จุดจากระดับ8.5จุดมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ที่ระดับ10จุดชี้ว่าภาคธุรกิจสหรัฐฯยังขยายตัวได้ดีต่อเนื่อง

ส่วนของค่าเงินบาทช่วงนี้เคลื่อนไหวในกรอบ10-15 สตางค์ได้เพราะระยะสั้นผู้นำเข้ายังคงรอจังหวะซื้อดอลลาร์ที่ต่ำกว่า31.50 บาทต่อดอลลาร์ขณะที่ฝั่งผู้ส่งออกก็รอลุ้นให้เงินบาทอ่อนกลับไปใกล้32.00 บาทต่อดอลลาร์ก่อน

สำหรับวันนี้เชื่อว่าเงินบาทจะกลับมาเคลื่อนไหวตามสกุลเงินภูมิภาคที่อ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์โดยปัจจัยเสี่ยงของเงินบาทคือบอนด์ยีลด์สหรัฐที่เริ่มฟื้นตัวและราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น

มองกรอบค่าเงินบาทวันนี้31.60 - 31.70 บาทต่อดอลลาร์

จาก www.bangkokbiznews.com   วันที่ 17 พฤษภาคม 2562

สทนช.จี้เคลียร์สิ่งกีดขวางทางน้ำทั่วปท. ระดมสมองปรับแผนบริหารตามRule Curve

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า คณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำหารือมาตรการเตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำช่วงฤดูฝน ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์จะประกาศเข้าสู่ฤดูฝนปลายเดือนมิถุนายนนี้ ใน 4 ประเด็นหลัก คือ 1. ให้หน่วยงานที่ดูงานอ่างเก็บน้ำทุกหน่วยงานรับทราบแนวทางปรับเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำ (Rule Curve) ใหม่ที่ดำเนินการแล้วเสร็จทั้งอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 36 แห่ง และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 414 แห่งแล้ว ทั้งนี้ Rule Curve ที่ปรับใหม่นั้น จะสอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน พิจารณาจากข้อมูลสถิติ เงื่อนไขใช้น้ำ และขีดความสามารถรับน้ำของลำน้ำด้านท้ายน้ำ โดยนำมาใช้บริหารจัดการน้ำช่วงฤดูฝนปีนี้ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งเก็บกักน้ำฤดูถัดไป และระบายน้ำโดยไม่กระทบพื้นที่ท้ายน้ำ

2.ติดตามตรวจสอบฐานข้อมูลและมาตรการบริหารจัดการน้ำทั้งแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ขนาดกลาง ที่สทนช.รวบรวมแล้ว เหลือเพียงขนาดเล็กที่คาดว่าจะมีฐานข้อมูลทั้งหมดภายในสิ้นพฤษภาคมนี้ ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญใช้บริหารจัดการน้ำในฤดูฝนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด 3.ให้เตรียมข้อมูลทำแผนบริหารจัดการน้ำหลากรายจังหวัด ให้สอดคล้องปริมาณน้ำต้นทุน โดยที่ประชุมมอบให้กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) เร่งตรวจสอบสภาพอาคารชลศาสตร์ สถานีโทรมาตร เพื่อติดตามเฝ้าระวัง ระบบระบายน้ำ จัดทำแผนบริหารจัดการน้ำหลาก

และ 4.การปรับปรุงสิ่งกีดขวางทางน้ำ ซึ่งเป็นต้นเหตุสำคัญของปัญหาน้ำท่วม ให้สำรวจและปรับปรุงสิ่งกีดขวางทางน้ำตามภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ด้านที่ 3 การจัดการน้ำท่วมและอุทกภัย เพื่อเตรียมรองรับสถานการณ์น้ำหลากในฤดูฝนที่จะถึง ซึ่งตามเป้าหมายดำเนินงาน 5 ปีแรก (2561-2565) ต้องปรับปรุงสิ่งก่อสร้างกีดขวางทางน้ำทั้งสิ้น 562 แห่งทั่วประเทศ แบ่งเป็น ภาคเหนือ 161 แห่ง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 60 แห่ง ภาคกลาง 115 แห่ง ภาคตะวันออก 115 แห่ง และภาคใต้ 111 แห่ง ให้แล้วเสร็จ ทั้งนี้ เพื่อให้การระบายน้ำเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งจะแก้ไขหรือบรรเทาปัญหาอุทกภัยได้อีกทางหนึ่งด้วย

อย่างไรก็ตาม ในส่วนภาคใต้นั้นล่าสุดได้รับรายงานว่า จากการสำรวจและปรับปรุงสิ่งกีดขวางทางน้ำ 111 แห่ง ปรับปรุงแล้วเสร็จ 91 แห่ง คงเหลือดำเนินงานปี 2562 จำนวน 20 แห่ง ในจ.สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช เพชรบุรี ตรัง ชุมพร และยะลา

จาก https://www.naewna.com  วันที่ 16 พฤษภาคม 2562

หวั่นสหรัฐฯผุด‘สงครามตัวแทน’กดดันส่งออกไทย

กูรูประเมินไทย หลุด 3 เงื่อนไข ประเทศเฝ้าระวังแทรกแซงค่าเงิน แต่อย่าวางใจ ชี้มีโอกาส “โดนัลด์ ทรัมป์” ใช้วิธีทางอ้อม ผ่านประเทศคู่ค้าไทย หรือ Proxy Way แนะผู้ส่งออกไทยรักษาฐานประเทศคู่ค้า อย่ารอรัฐบาล ชี้ 2 ปัจจัยหนุนเงินบาทแข็ง “เสถียรภาพการเมือง-ราคานํ้ามัน”

ภาพการค้าโลกกลับมาอึมครึมอีกครั้ง หลังจากที่ประธานาธิบดีสหรัฐฯอเมริกา นายโดนัลด์ ทรัมป์ ประกาศขึ้นภาษี 25% กับสินค้าจีนมูลค่า 2 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ พร้อมกับที่จีนตอบโต้ด้วยการขึ้นภาษี 20-25% กับสินค้าสหรัฐฯมูลค่า 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ

ขณะเดียวกัน ยังมีกระแสข่าวออกมาอีกว่า ไทยติด 1 ใน 20 ประเทศที่กระทรวงการคลัง สหรัฐฯ จะขึ้นบัญชี “เฝ้าระวัง” กรณีเป็นประเทศที่บิดเบือนค่าเงิน(Currency Manipulator) ซึ่งจะครบรอบปีเปิดรายชื่อในเดือนพฤษภาคม 2562 ซึ่งเป็นประเด็นที่กลับมาลุ้นอีกรอบ เนื่องจากเข้าข่าย 3 เงื่อนไขประเทศที่ต้องเฝ้าระวังการแทรกแซงค่าเงินคือ1.เกินดุลบัญชีเดินสะพัดสหรัฐฯ

นายอมรเทพ จาวะลา ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคารซีไอเอ็มบี ไทย (CIMBT)กล่าวกับ“ฐานเศรษฐกิจ”ว่า แม้ไทยจะติด 1 หรือ 2 ใน 3 เงื่อนไขของการแทรกแซงค่าเงิน แต่ส่วนตัวยังมองเหตุผลสนับสนุนได้ว่า ไทยไม่น่าจะอยู่ในข่ายหรือติดโผประเทศที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะหากย้อนดูประวัติที่ผ่านมา สหรัฐฯจะขึ้นบัญชีหรือแบนประเทศที่เกินดุลการค้ามากอย่างเห็นได้ชัด อย่าง จีน ญี่ปุ่น เยอรมนีหรือ เม็กซิโก ขณะที่ไทยเกินดุลการค้าสหรัฐฯไม่มากนักในช่วงที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งมาจากการค้าและการท่องเที่ยว ประกอบกับบริษัทต่างชาติที่เข้ามาทำธุรกิจในไทย

“อย่าเพิ่งวางใจ แม้เราจะมีเหตุผลสนับสนุน แต่ยังไม่แน่ใจว่านายโดนัลด์ ทรัมป์ จะใช้วิธีเบนทางตรงคือ อาจขยับฐานภาษีโดยตรงกับสินค้าส่งออกของไทย แต่อย่างน้อยเขาจะมีเวลาของการเจรจา หรือหากจะแบนไทยทางอ้อม ด้วยการขยับฐานภาษีกับประเทศที่เป็นซัพพลายเชน ซึ่งต้องจับตา 2 ประเทศคือ จีนและเวียดนาม เพราะดูจากค่าเงินแล้ว จะเห็นการอ่อนค่าเพียงขาเดียว ซึ่งแตกต่างจากเงินบาทที่เคลื่อนไหวใน 2 ทางทั้งอ่อนค่าและแข็งค่า”

นายจิติพล พฤกษาเมธานันท์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน บมจ.ธนาคารกรุงไทยกล่าวว่า ปีที่ผ่านมา ไทยเกินดุลการค้าสหรัฐฯ ไตรมาสละ 3,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยตัวเลขจากกระทรวงพาณิชย์พบว่า ปี 2561 ไทยเกินดุลการค้า 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่วนทุนสำรองสิ้นปี 2561 เพิ่มจาก 2.05 เป็น 2.1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯและดุลบัญชีเดินสะพัดประมาณ 7% ต่อจีดีพี โดยรวมไทยเป็นประเทศขายมากกว่าซื้อ ซึ่งสอดคล้องกับการพึ่งพิงการส่งออกสินค้ามาอย่างต่อเนื่อง

เมื่อสถานการณ์การค้าโลกสะท้อนผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อผู้ส่งออกไทย ไม่ว่าปริมาณการส่งออกที่มีแนวโน้มลดลง จากมาตรการทางกำแพงภาษี หรือกรณีจีนและประเทศอาเซียนลดการนำเข้าจากไทย ซึ่งเป็นผลกระทบทางอ้อมจากสงครามทางการค้าและยังมีความไม่แน่นอนที่สหรัฐฯอาจขึ้นภาษีอีก 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อตอบโต้จีน ที่ประกาศขึ้นภาษี 25% เท่ากับที่สหรัฐฯปรับขึ้นสำหรับสินค้าจากจีน ซึ่งย่อมกระทบต่อเศรษฐกิจจีนและเศรษฐกิจโลกชะลอตัว แต่ไม่กระทบสหรัฐฯ เนื่องจากสหรัฐฯส่งออกเพียง 10-15%

อย่างไรก็ตาม ส่วนตัวยังมองว่า สหรัฐฯอาจจะมองข้าม 3 เงื่อนไขประเทศที่ต้องเฝ้าระวังสำหรับไทย แต่มีโอกาสที่จะเห็นสหรัฐฯใช้วิธีกันการค้าผ่านประเทศใดประเทศหนึ่ง ซึ่งเป็นสงครามตัวแทนหรือ Proxy War โดยสหรัฐฯอาจจะเลือกประเทศหนึ่งขึ้นมาเพื่อกดดันจีน เพราะการเอาชนะจีนนั้น เป็นเหตุผลทางการเมืองที่เรียกคะแนนเสียงนายโดนัลด์ ทรัมป์เพิ่มขึ้นตลอดหลังจากทรัมป์มีมาตรการหรือแนวทางจัดการจีน

“หากประเทศใดประเทศหนึ่งถูกสหรัฐฯจับเป็น Proxy War เราหนีไม่พ้นผลกระทบจากสงครามการค้าดังนั้นผู้ส่งออกไทยในระยะสั้นต้องรักษาฐานของประเทศคู่ค้าไว้ให้ได้อย่ารอรัฐบาล และอนาคตควรต้องขยายฐานการผลิตไปในประเทศคู่ค้ารวมทั้งเน้นกำลังซื้อหรือสร้างเศรษฐกิจภายในประเทศและลดการส่งออกให้น้อยลงเพราะเหล่านี้เป็นเทรนด์ ของการค้าโลก”

จาก www.thansettakij.com  วันที่ 16 พฤษภาคม 2562

“สมคิด”เรียกทูตพาณิชย์ถกรับมือสงครามการค้าปลายพ.ค.นี้

พาณิชย์รับต้องทบทวนเป้าหมายส่งออกปีนี้ใหม่ โดยรองนายกฯ สมคิด จะนั่งหัวโต๊ะถกทูตพาณิชย์ปรับแผนรับมือสงครามการปลายเดือนนี้

นางสาวชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ รักษาราชการแทนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวถึงการทำสงครามระหว่างจีนกับสหรัฐว่าจะส่งผลให้การส่งออกของไทยในปี 2562 นี้ ลดลงจากเป้าหมายเดิมที่กำหนดว่าจะเติบโต 8% แน่นอน โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมหลักที่มีมูลค่าการส่งออกสูง ซึ่งแม้ว่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหารยังสามารถเติบโตได้ดี แต่ก็ไม่อาจชดเชยมูลค่าการส่งออกสินค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงได้

กระทรวงพาณิชย์จะทบทวนเป้าหมายการส่งออกปีนี้ใหม่ แต่ยังไม่สามารถบอกได้ว่าจะปรับลดลงเหลือกี่เปอร์เซ็นต์ เพราะต้องรอการประเมินตัวเลขจากการประชุมทูตพาณิชย์ทั่วโลกที่จะกลับมาประชุมในไทยปลายเดือนนี้ ซึ่งนอกจากจะทบทวนเป้าหมายการส่งออกอย่างเป็นทางการแล้วยังจะต้องปรับแผนผลักดันการส่งออกใหม่ทั้งหมด  โดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีจะเป็นประธานการประชุมด้วยตัวเอง อย่างไรก็ตาม จากการปรับแผนส่งออกเมื่อปลายปีที่แล้วที่มุ่งเน้นเจาะตลาดเมืองรองที่มีศักยภาพของจีน ทำให้น่าจะช่วยชดเชยผลกระทบ จากสงครามการค้าในปีนี้ได้บ้าง แต่ในเมื่อ เศรษฐกิจของจีนเองก็จะได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีของสหรัฐ ไทยเองก็จำเป็นต้องเพิ่มความเข้มข้นในการขยายตลาด ไปยังประเทศอื่นๆที่มีศักยภาพ อย่างไรก็ตาม ปัญหาการส่งออกลดลงไม่ใช่แค่ไทยเท่านั้นที่ได้รับผลกระทบแต่เป็นปัญหาของทั่วโลกที่ต้องเผชิญภาวะการค้าชะลอตัว ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ยังมองในแง่บวกว่าจะสามารถรับมือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นได้

จาก www.thansettakij.com  วันที่ 15 พฤษภาคม 2562

กักน้ำแบบขั้นบันได แนวทางแก้น้ำยมแล้งอย่างยั่งยืน

กรมชลประทาน เร่งศึกษาการพัฒนาอาคารบังคับน้ำในแม่น้ำยมเป็นช่วง ๆ แบบขั้นบันได เพื่อให้สามารถบริหารจัดการน้ำในแม่น้ำยมได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดลำน้ำ

     นายทองเปลว  กองจันทร์  อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงพื้นที่ลุ่มน้ำยมตอนล่างบริเวณฝั่งขวาแม่น้ำยมที่มีการเพาะปลูกเป็นประจำ ในเขตอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก อำเภอโพธิ์ประทับช้าง อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตรว่า กรมชลประทานจะสนับสนุนน้ำเป็นครั้งคราว ตามความจำเป็น ​และเพื่อเป็นการบรรเทาสถานการณ์ ในปัจจุบัน กรมชลประทานจึงมีโครงการศึกษาการพัฒนาอาคารบังคับน้ำในแม่น้ำยมเป็นช่วง ๆ แบบขั้นบันได เพื่อให้สามารถบริหารจัดการน้ำในแม่น้ำยมได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดลำน้ำ โดยได้พิจารณาจุดที่เหมาะสม 6 แห่ง  เป็นประตูระบายน้ำจำนวน  4 แห่ง ซึ่งต้องศึกษา EIA ประกอบด้วย 1. อาคารบังคับน้ำบ้านวังน้ำเย็น 2. อาคารบังคับน้ำบ้านหาดอ้อน 3. อาคารบังคับน้ำบ้านบานชื่น และ 4. อาคารบังคับน้ำบ้านเกาะน้อย และมีการพิจารณารูปแบบอาคารเป็นฝายอีก 2 แห่ง คือ อาคารบังคับน้ำบ้านหาดรั่ว และ อาคารบังคับน้ำบ้านสุเม่น ซึ่งไม่เข้าข่ายต้องศึกษา EIA

​     อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ขณะนี้ กรมชลประทาน ได้มอบหมายให้บริษัทที่ปรึกษา เข้ามาศึกษาความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA)  สำหรับอาคารบังคับน้ำในแม่น้ำยมทั้ง 4 แห่ง ซึ่ง 2 แห่งอยู่ในเขตอำเภอลอง กับอำเภอวังชิ้น จังหวัดแพร่ และอีก 2 แห่งอยู่ในอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย โดยโครงการบังคับน้ำทั้ง 4 แห่ง นี้ จะช่วยเป็นแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้สำหรับการเพาะปลูกในพื้นที่เกษตรกรรมซึ่งขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง ใช้สำหรับอุปโภคบริโภคของประชาชนตลอดจนสัตว์เลี้ยง และยังช่วยบรรเทาความเสียหายจากอุทกภัย โดยมีพื้นที่ที่จะได้รับประโยชน์จากโครงการทั้งสิ้นกว่า 147,000 ไร่

     ​“ในการศึกษาครั้งนี้ ได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น โดยมีการดำเนินการภายใต้แนวคิด การพัฒนาลุ่มน้ำยมแบบร่วมคิดร่วมทำ เปิดโอกาสให้ประชาชนในพื้นที่เข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดตำแหน่งที่ตั้งโครงการ รูปแบบหัวงาน และระดับเก็บกักที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้เป็นที่ยอมรับจากชุมชนเอง ทั้งผู้ที่ได้รับผลกระทบ ผู้ได้รับประโยชน์ และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง” อธิบดีกรมชลประทาน กล่าว​    

           ด้านนายเฉลิมเกียรติ คงวิเชียรวัฒน์ รองอธิบดีฝ่ายวิชาการ กรมชลประทาน ได้นำคณะผู้สื่อข่าวลงพื้นที่ อำเภอลอง จังหวัดแพร่ ระบุว่า กรมชลประทานได้จัดให้มีการแสดงความคิดเห็น และการมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนตั้งแค่เริ่มโครงการ โดยได้เสนอผลการดำเนินงาน และความก้าวหน้าของโครงการเป็นระยะ ๆ พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นปัญหา และข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพื่อนำไปสู่การปรับปรุงการดำเนินงานของโครงการให้บรรลุผล และเป็นการสร้างการยอมรับความมั่นใจของประชาชน

     สำหรับโครงการศึกษความเหมาะสมและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมอาคารบังคับน้ำในแม่น้ำยม ประกอบด้วย 4 งานหลักคือ 1.การทบทวนแผนหลักการบริหารจัดการน้ำและการจัดการน้ำอย่างเป็นระบบในลุ่มน้ำยม 2. การศึกษาความเหมาะสมโครงการอาคารบังคับน้ำในแม่น้ำยม อย่างน้อย 4 โครงการ 3. การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ( EIA) และ 4 การประชาสัมพันธ์ มวลชนสัมพันธ์ และการมีส่วนรวมของประชาชน และงานสนับสนุนการศึกษา ซึ่งเมื่อได้ผลการศึกษาเสร็จสิ้นแล้ว จะส่งไปให้สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) เพื่อพิจารณาต่อไป

                ทั้งนี้สำหรับการก่อสร้างอาคารบังคับน้ำลุ่มน้ำยมในพื้นที่จังหวัดแพร่และสุโขทัย จะช่วยเป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับการเพาะปลูกในพื้นที่ของทั้ง 2 จังหวัด ที่เดิมนั้นจะขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง และใช้สำหรับอุปโภคบริโภค รวมทั้งจะช่วยบรรเทาความเสียหายจากอุทกภัยด้วย

จาก www.komchadluek.net  วันที่ 15 พฤษภาคม 2562

ธนาคารโลกหั่นGDPไทยปี62อีกรอบก.ค.

ธนาคารโลก เตรียมปรับลดจีดีพีไทยอีกรอบในเดือนก.ค.นี้ เหตุได้รับผลกระทบสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีน

นายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำประเทศไทยธนาคารโลก กล่าวในงานสัมมนาแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ค่าเงิน และตลาดหุ้น ว่า สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนมีความไม่แน่นอนมากขึ้น หลังจากทั้ง 2 ประเทศตอบโต้กันด้วยการขึ้นภาษี ซึ่งต้องติดตามเศรษฐกิจจีนหากเติบโตน้อยจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยและมาเลเซีย แต่เบื้องต้นประเมินว่าเศรษฐกิจจีนยังโตร้อยละ 6 ถือว่าชะลอตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป แต่ยอมรับว่าความไม่แน่นอนทางการค้ายังมีอยู่สูงมาก จนกระทบการลงทุนให้ชะลอตัว ซึ่งการลงทุนภาคเอกชนในประเทศไทยเติบโตน้อยกว่าปีที่แล้ว

ทั้งนี้ ในเดือนกรกฎาคม 2562 ธนาคารโลกจะทบทวนอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจไทยอีกครั้งจากที่คาดว่าจะเติบโตร้อยละ 3.8 ในปีนี้ และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.9 ในปี 2563 ซึ่งขณะนี้กำลังเก็บข้อมูลเศรษฐกิจไทยเพิ่มเติม แต่ยอมรับว่ามีปัจจัยเสี่ยงมากขึ้น โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงจากเศรษฐกิจโลก จากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ทำให้มีความเสี่ยงจะปรับลดจีดีพีเศรษฐกิจไทย

ขณะที่ ปัจจัยการเมืองในประเทศ แม้ว่าขณะนี้จะยังไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ แต่เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อการลงทุนใน 1-2 ปีนี้ เพราะหลายโครงการลงทุนผ่านขั้นตอนการประมูลและการจัดซื้อจัดจ้างไปแล้ว และเริ่มทยอยเบิกงบลงทุน แต่อาจจะส่งผลต่อการลงทุนในอีก 3 ปีข้างหน้า หลายโครงการอาจจะชะลอออกไป เพราะยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง

จาก https://www.innnews.co.th   วันที่ 15 พฤษภาคม 2562

ภัยแล้งกลางฤดูฝน

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ได้กล่าวภายหลังการประชุมคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำครั้งที่ 5/2562 โดยมีรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยาที่แจ้งว่า ภายในสัปดาห์หน้าจะสามารถประกาศให้ประเทศไทยเข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการได้ ดังนั้นทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องวางแผนรับมือเอาไว้ล่วงหน้า โดยในเดือนพฤษภาคมจะมีฝนตกจากอิทธิพลของพายุฤดูร้อนพัดผ่าน แต่ฝนจะเริ่มลดลงในปลายเดือนและน้อยลงในเดือนมิถุนายน เนื่องจากการเปลี่ยนฤดูกาล และฝนจะมีน้อยที่สุดในเดือนกรกฎาคม จะก่อให้เกิด “ภัยแล้งในฤดูฝน” ขึ้น มีพื้นที่เสี่ยงภัยคือภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ต้นลำน้ำชี ลำน้ำสะพุง และภาคตะวันออก จ.ประจวบคีรีขันธ์และเพรชบุรี โดยจะมีน้อยน้ำกว่าเกณฑ์ 10-20%

“ในระหว่างนี้ชาวนาจะเริ่มปลูกข้าวกันบ้างแล้ว จากปัจจุบันพื้นที่ลุ่มน้ำที่ อ.บางระกำเริ่มทำนาปีไปแล้วประมาณ 150,000 ไร่ พื้นที่ลุ่มต่ำ 12 ทุ่ง แถบอยุธยา-สิงห์บุรี-อ่างทองเริ่มทำไปแล้ว เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ที่เหลือรออยู่ ดังนั้นในช่วงที่ฝนตกน้อยเดือนมิถุนายน-กรกฎาคมจะเป็นฝนทิ้งช่วง ข้าวในนาที่เริ่มปลูกไปแล้วเสี่ยงที่จะเสียหาย จึงมีความจำเป็นต้องระบายน้ำจากเขื่อนมาช่วย โดยเขื่อนที่จะระบายน้ำได้จะมาจากเขื่อนภูมิพล-สิริกิติ์ที่คาดว่า เริ่มต้นฤดูฝนจะมีน้ำไหลเข้าอ่างมากถึง 1,500 ล้านลบ.ม.หรือมากกว่าที่ระบายออกก่อนหน้านี้ที่ 1,000 ล้าน ลบ.ม. แต่ยังเป็นห่วงในลุ่มน้ำแม่กวงที่มีปริมาณน้ำน้อยมากจะส่งผลให้พื้นที่เชียงใหม่และลำพูนมีภาวะแล้งจัด ต้องขอฝนหลวงเข้ามาช่วย”

ส่วนที่เขื่อนอุบลรัตน์ก็ยังมีปัญหามีน้ำ “ต่ำกว่า” ปริมาณน้ำที่ใช้การได้กว่า 10% มีความจำเป็นต้องสูบน้ำก้นเขื่อนขึ้นมาใช้อีก ทำให้ไม่สามารถประกาศยกเลิกเขตพื้นที่ภัยแล้ง 7 จังหวัดและพื้นที่เสี่ยงขาดน้ำ 12 จังหวัดในขณะนี้ได้ แต่คาดการณ์ว่าในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายนน่าจะมีพายุเข้าไทยประมาณ 1-2 ลูก ซึ่งต้องเร่งกักเก็บน้ำเพื่อใช้ในฤดูแล้งปี 2562/63 ที่คาดว่าภัยแล้งจะรุนแรงมากกว่าปีนี้ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์แจ้งว่า แผนข้าวครบวงจรปี 2562/63 กำหนดการทำนาปีไว้ที่ 59 ล้านไร่ หรือลดลงจากปี 2562 ที่กำหนดไว้ 60 ล้านไร่ ส่วนข้าวนาปรังที่กำหนดไว้ 13.8 ล้านไร่นั้น จะมีปริมาณน้ำเพียงพอแค่ 11.5 ล้านไร่เท่านั้น

อย่างไรก็ตาม สทนช.ประเมินหากไม่มีพายุเข้ามา 2 ลูกหรือเข้ามาน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้จำเป็นต้องมีการปรับแผนข้าวครบวงจรใหม่ทั้งหมด ส่วนในช่วงที่มีฝนตกหนัก สทนช.จะประกาศใช้มาตรการปรับเกณฑ์ปฏิบัติอ่างเก็บน้ำ (rule curve) จากเดิมที่กำหนดห้ามระบายน้ำออกจากเขื่อนจนกว่าระดับน้ำจะถึง 80% ส่งผลให้เขื่อนขนาดเล็กมีปัญหาเมื่อปีที่ผ่านมา ไม่สามารถระบายน้ำได้และเป็นผลให้เกิดน้ำท่วมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

จาก https://www.prachachat.net วันที่ 15 พฤษภาคม 2562

สงครามการค้าพ่นพิษจ่อปรับลดจีดีพี-ส่งออกไทย

ธนาคารโลก - กสิกรไทย จ่อปรับลดจีดีพีและส่งออกไทยปีนี้ ผลจากสงครามการค้าพ่นพิษ

นายเกียรติพงศ์ อริยปรัชญา นักเศรษฐศาสตร์อาวุโสประจำประเทศไทยธนาคารโลก กล่าวในงานสัมมนาแนวโน้มเศรษฐกิจโลก ค่าเงิน และตลาดหุ้น ว่า ในเดือนกรกฎาคมนี้ธนาคารโลกจะมีการปรับคาดการณ์อัตราขยายตัวเศรษฐกิจไทยใหม่ จากที่คาดว่าโตร้อยละ 3.8 ในปีนี้ และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.9 ในปี 2563 โดยธนาคารโลกกำลังเก็บข้อมูลเศรษฐกิจไทยเพิ่มเติม แต่ยอมรับว่ามีปัจจัยเสี่ยงมากขึ้น โดยเฉพาะภาคการส่งออกที่มีแนวโน้มขยายตัวชะลอลงจากเศรษฐกิจโลกโตลดลง จากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ทำให้มีความเสี่ยงจะปรับลดจีดีพีเศรษฐกิจไทย

“สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีนมีความไม่แน่นอนมากขึ้น หลังจากทั้ง 2 ประเทศมีการขึ้นภาษีตอบโต้กัน โดยต้องติดตามเศรษฐกิจจีนหากเติบโตน้อยลงจะมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยและมาเลเซีย แต่เบื้องต้นประเมินว่าเศรษฐกิจจีนยังโตร้อยละ 6 ซึ่งถือว่าชะลอตัวแบบค่อยเป็นค่อยไป ผลกระทบจึงยังไม่ได้เกิดขึ้นมากในปีนี้ แต่ยอมรับว่าความไม่แน่นอนทางการค้ายังมีอยู่สูงมาก จนกระทบการลงทุนให้ชะลอตัว ซึ่งการลงทุนภาคเอกชนในประเทศไทยเติบโตน้อยกว่าปีที่แล้ว” นายเกียรติพงศ์ กล่าว

ส่วนปัจจัยการเมืองในประเทศ แม้ว่าขณะนี้จะยังไม่มีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ ก็เชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบต่อการลงทุนใน 1-2 ปีนี้ เพราะหลายโครงการลงทุนผ่านขั้นตอนการประมูลและการจัดซื้อจัดจ้างไปแล้ว และเริ่มทยอยเบิกงบลงทุนบางส่วน แต่ที่น่ากังวล คือ การลงทุนในอีก 3 ปีข้างหน้า หลายโครงการอาจจะชะลอออกไป เพราะยังไม่ได้เข้าสู่กระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง

นายกอบสิทธิ์  ศิลปชัย ผู้บริหารงานวิจัยเศรษฐกิจและตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า มีแนวโน้มที่จะปรับลดการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย (จีดีพี) จากเดิมคาดว่าโตร้อยละ 3.7 รวมทั้งลดการขยายตัวของการส่งออกที่คาดว่าโตร้อยละ 3.2 เนื่องจากได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลงและสงครามการค้าระหว่างสหรัฐ -จีน โดยรอตัวเลขจีดีพีไตรมาสแรกปีนี้ของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่จะรายงานในวันอังคารที่ 21 พฤษภาคมนี้ก่อน ซึ่งทางธนาคารกสิกรไทยคาดว่าจีดีพีไตรมาสแรกจะโตร้อยละ 3.2 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และโตร้อยละ1.5 เมื่อเทียบกับไตรมาส 4 ปี 2561

นายกอบสิทธิ์ กล่าวว่า สงครามการค้ายังส่งผลกระทบให้ค่าเงินบาทมีความผันผวนสูง โดยตั้งแต่เดือนพฤษภาคมเงินบาทแข็งค่าอย่างต่อเนื่องถึง 31.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ สาเหตุเพราะนักลงทุนมีมุมมองบวกต่อเงินบาทไทยในฐานะสินทรัพย์ปลอดภัย จึงเข้ามาพักเงินในตลาดตราสารหนี้ระยะสั้น รวมถึงกระแสข่าวที่สหรัฐอาจจะเพิ่มรายชื่อประเทศไทยเป็นกลุ่มประเทศที่มีการแทรกแซงค่าเงิน ทำให้นักลงทุนคาดการณ์ว่าแนวโน้มเงินบาทจะอ่อนค่าในระยะข้างหน้า แต่ส่วนตัวเชื่อว่าสหรัฐจะไม่ขึ้นบัญชีประเทศไทย เนื่องจากเงินบาทเคลื่อนไหวแข็งค่าขึ้นร้อยละ 3.9 เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา และแข็งค่าขึ้นเป็นอันดับที่ 4  เมื่อเทียบเงินสกุลภูมิภาค ซึ่งการที่เงินบาทแข็งค่าไม่เป็นผลดีต่อการส่งออก ทำให้ความสามารถทางการแข่งขันของผู้ส่งออกไทยลดลง ซึ่งเป็นเหตุผลที่ไทยสามารถชี้แจงต่อสหรัฐได้ว่า ทางการไทยไม่ได้แทรกแซงค่าเงิน เพื่อผลประโยชน์ทางการค้า

อย่างไรก็ตาม ธนาคารกสิกรไทยยังมองว่าแนวโน้มเงินบาทในระยะต่อไปมีโอกาสอ่อนค่าลง โดยสิ้นปีนี้ยังคงเป้าหมายที่ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ โดยเฉพาะจะมีการจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนไทยอีกกว่า 19,000 ล้านบาทในสัปดาห์หน้า รวมทั้งการหมดฤดูไฮซีซั่นของการท่องเที่ยวไทย รวมทั้งการส่งออกของไทยปีนี้ที่คาดว่าจะขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง ทำใหการเกินดุลการค้าของไทยน่าจะลดลงกว่าปีก่อน

จาก https://tna.mcot.net  วันที่ 15 พฤษภาคม 2562

หยุดภัยแล้ง! ฝนหลวงฯจ่อใช้เทคนิค'ซุปเปอร์แซนวิช' คาดทำฝนตกมากขึ้น

กรมฝนหลวงฯขึ้นบินทำฝนหลวง"พิษณุโลก" จ่อใช้เทคนิค"ซุปเปอร์แซนวิช" คาดทำฝนตกมากขึ้นหยุดภัยแล้ง

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า ขณะนี้แม้ความรุนแรงของพายุลูกเห็บเริ่มลดน้อยลงแล้วเนื่องจากเป็นช่วงรอยต่อเข้าสู่ฤดูฝน แต่สถานการณ์ภัยแล้งยังคงขยายวงกว้างอยู่ในหลายพื้นที่ ประกอบกับปริมาณน้ำในเขื่อน/อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่าร้อยละ 30 ของความจุ เพิ่มขึ้นเป็น 18 แห่ง และเขื่อน/อ่างเก็บน้ำขนาดกลางเพิ่มขึ้นเป็น 193 แห่ง ดังนั้น กรมฝนหลวงฯ โดยหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.พิษณุโลก จึงวางแผนเตรียมพิจารณาใช้เทคนิค "ซุปเปอร์แซนวิช" (Super Sandwich) ปฏิบัติการโจมตีเมฆในพื้นที่การเกษตรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง และพื้นที่เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค เพื่อหวังผลให้มีฝนตกในบริเวณพื้นที่เป้าหมายได้ในปริมาณมากขึ้น

ทั้งนี้ เทคนิคซุปเปอร์แซนวิชเป็นอีกหนึ่งเทคนิคในการโจมตีเมฆตามตำราฝนหลวงพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ซึ่งจะปฏิบัติการเมื่อมียอดเมฆอยู่ที่ระดับ 20,000 ฟุตขึ้นไป โดยใช้เครื่องบิน Super King Air โจมตีในส่วนที่เป็นเมฆเย็นด้วยพลุซิลเวอร์ไอโอไดด์เข้าสู่ยอดเมฆร่วมกับการโจมตีแบบเมฆอุ่น

ทั้งนี้ จากผลการปฏิบัติการฝนหลวง เมื่อวานนี้ (13 พ.ค.) หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง 9 หน่วยฯ ได้แก่ หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.เชียงใหม่ พิษณุโลก ลพบุรี กาญจนบุรี อุดรธานี นครราชสีมา หัวหิน สุราษฎร์ธานี และสงขลา ได้ขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง บรรเทาปัญหาหมอกควันและฝุ่นละออง เพิ่มความชุ่มชื้นให้พื้นที่ป่าไม้ ยับยั้งความรุนแรงของพายุลูกเห็บ ทำให้มีฝนตกบริเวณพื้นที่การเกษตร พื้นที่ประสบภัยแล้ง และพื้นที่เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภคของ จ.พะเยา น่าน เชียงราย นครราชสีมา กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร บริเวณพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนลำปาว เขื่อนอุบลรัตน์ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ อ่างเก็บน้ำซับตะเคียน รวมถึงบริเวณพื้นที่ป่าต้นน้ำป่าพรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส

สำหรับแผนปฏิบัติการฝนหลวงวันนี้ ได้ขึ้นทำฝนหลวงในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปฏิบัติการภารกิจที่ 1 ขั้นตอนที่ 1 บริเวณทิศใต้ อ.วังน้ำเขียว - ทิศตะวันตกเฉียงใต้ อ.เสิงสาง จ.นครราชสีมา ภารกิจที่ 2 ขั้นตอนที่ 2 บริเวณทิศเหนือ อ.วังน้ำเขียว - ทิศตะวันออก อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา และภารกิจที่ 3 ขั้นตอนที่ 2 บริเวณ ทิศเหนือ อ.ปักธงชัย - ทิศตะวันออก อ.หนองบุนมาก จ.นครราชสีมา โดยมีเป้าหมายช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัยแล้ง อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.นครราชสีมา พื้นที่เสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำอุปโภคบริโภค อ.ห้วยแถลง อ.เมืองนครราชสีมา อ.ขามสะแกแสง จ.นครราชสีมา และพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนลำมูลบน เขื่อนลำแชะ ด้านหน่วยฯ จ.อุดรธานี ปฏิบัติการภารกิจที่ 1 ขั้นตอนที่ 1 บริเวณลุ่มรับน้ำเขื่อนลำปาว ภารกิจที่ 2 ขั้นตอนที่ 1 บริเวณลุ่มรับน้ำเขื่อนห้วยหลวง และเขื่อนอุบลรัตน์ และภารกิจที่ 3 ขั้นตอนที่ 2 บริเวณลุ่มรับน้ำเขื่อนห้วยหลวง อ.หนองวัวซอ จ.อุดรธานี อ.โนนสัง จ.หนองบัวลำภู เพื่อช่วยเหลือพื้นที่ภัยแล้งและเพิ่มปริมาณน้ำในพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อน/อ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลางทั่วประเทศที่มีปริมาณน้ำน้อยกว่า 30% ส่วนพื้นที่ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้ ในช่วงเช้าสภาพอากาศมีลักษณะปิด จึงไม่สามารถขึ้นทำฝนได้ ขอติดตามสภาพอากาศระหว่างวัน

จาก https://www.naewna.com  วันที่ 15 พฤษภาคม 2562

สทนช.ผนึกกำลังเกาะติดสถานการณ์น้ำ เดินหน้า144โครงการ1.2พันล.แก้ภัยแล้ง

สทนช.ผนึกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เกาะติดสถานการณ์แล้งมั่นใจผ่านพ้นไปได้ ก่อนเข้าสู่ฤดูฝน ปลายเดือนพ.ค.นี้ พร้อมวางแผนแก้ปัญหาระยะกลาง เดินหน้า 144 โครงการ มูลค่ากว่า 1,200 ล้านบาท ตามมติ ครม.

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะทำงานอำนวยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ครั้งที่ 5/2562 ครั้งล่าสุดได้ติดตามผลดำเนินมาตรการให้ความช่วยเหลือพื้นที่เสี่ยงเกิดภัยแล้งและแนวทางการให้ความช่วยเหลือที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะพื้นที่ประสบภัยแล้ง 7 จังหวัดคือ พิษณุโลก ร้อยเอ็ด ศรีสะเกษ นครราชสีมา มหาสารคาม ตราด และชลบุรี รวมทั้งพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำเพิ่มเติมอีก 12 จังหวัด คือ พิจิตร กำแพงเพชร ลำพูน อุตรดิตถ์ ตาก สุรินทร์ กาฬสินธุ์ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา ชัยนาท อ่างทอง และเพชรบุรี ซึ่งในระยะสั้นได้จัดหาน้ำแจกจ่ายในพื้นที่ประสบภัย โดยรถบรรทุกน้ำแจกจ่ายน้ำดื่ม จัดซื้อภาชนะบรรจุสำรองน้ำ ซ่อมแซมและขุดบ่อบาดาล ซ่อมแซมถังเก็บน้ำ ขุดลอกแหล่งน้ำ ก่อสร้างและซ่อมแซมระบบกระจายน้ำ ทำให้พื้นที่ดังกล่าวสามารถผ่านพ้นฤดูแล้งปีนี้ไปได้

 ส่วนการแก้ปัญหาระยะกลาง ครม.ได้อนุมัติงบกลางแล้วจำนวน 1,226 ล้านบาท เพื่อเพิ่มความจุให้แหล่งน้ำธรรมชาติ อ่างเก็บน้ำ และแหล่งน้ำอื่นๆ โดย สทนช.จะลงพื้นที่ทุกเดือน เพื่อติดตามผลดำเนินการพัฒนาแหล่งน้ำรวมทั้งสิ้น 144 โครงการ ซึ่งดำเนินการโดย 6 หน่วยงานได้แก่ กรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน กรมทรัพยากรน้ำบาดาล กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย การประปาส่วนภูมิภาค กองทัพบก ให้แล้วเสร็จโดยเร็วตามเป้าหมาย

สำหรับสถานการณ์น้ำทั่วประเทศล่าสุด ก่อนกรมอุตุนิยมวิทยาคาดการณ์จะประกาศเข้าสู่ฤดูฝนประมาณช่วงปลายเดือนพฤษภาคม 2562 นั้น ขณะนี้มีปริมาณน้ำในแหล่งน้ำต่างๆ ทั่วประเทศ 45,476 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 56 ของปริมาณน้ำที่เก็บกัก และศักยภาพน้ำบาดาล 1,228 ล้าน ลบ.ม. โดยมีอ่างเก็บน้ำเฝ้าระวังที่มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่า 30% แบ่งเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 12 แห่ง เช่น อ่างเก็บน้ำกระเสียว มีปริมาณน้ำ 20% อ่างเก็บน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ มีปริมาณน้ำ 24% อ่างเก็บน้ำทับเสลา มีปริมาณน้ำ 24% เป็นต้น และเป็นอ่างเก็บน้ำขนาดกลางอีก จำนวน 149 แห่ง ซึ่งการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมาส่วนใหญ่เป็นไปตาม หรือใกล้เคียงเป้าหมายที่วางไว้ ยกเว้นในพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยาใหญ่ ตามแผนจัดสรรไว้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2561 – 30 เมษายน 2562 จำนวน 7,772 ล้าน ลบ.ม. แต่เมื่อถึงสิ้นเดือนเมษายน 2562 ปรากฏว่า จัดสรรน้ำไปถึง 9,300 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 120 ของแผน

ด้านกรมส่งเสริมการเกษตร ได้รายงานการปลูกพืชในช่วงฤดูแล้งที่ผ่านมาว่า การทำข้าวนาปรังในเขตชลประทานตามแผนกำหนดไว้ทั่วประเทศ 8.03 ล้านไร่ แต่มีการปลูกถึง 8.76 ล้านไร่ และมีการทำนาปรังรอบที่ 2 อีก 180,000 ไร่ โดยเฉพาะในพื้นที่ลุ่มเจ้าพระยา ตามแผนกำหนดไว้ 5.30 ล้านไร่ แต่มีการปลูกถึง 5.86 ล้านไร่ และมีการทำนาปรังรอบที่ 2 อีก 120,000 ไร่ ในพื้นที่จังหวัดชัยนาท พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี ปทุมธานี สุพรรณบุรี สมุทรสาคร และ ฉะเชิงเทรา

จาก https://www.naewna.com  วันที่ 15 พฤษภาคม 2562

“สมคิด” ถกทูตพาณิชย์รับมือสงครามการค้า

“สมคิด” หารือทูตพาณิชย์ 30-31 พ.ค.นี้ ประเมินผลกระทบสงครามการค้า  หลังเรียกเก็บภาษีสินค้าอุตสาหกรรม-เกษตรกรรมค่อนข้างสูง

น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า วันที่ 30-31 พฤษภาคมนี้ จะมีการประชุมทูตพาณิชย์ โดยนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน เพื่อประเมินสถานการณ์สงครามการค้าสหรัฐและจีนเริ่มรุนแรงมีการเรียกภาษีหลายกลุ่มสินค้าทั้งอุตสาหกรรม เกษตรกรรมค่อนข้างสูง แม้ว่าไทยจะได้รับทั้งผลดีและผลกระทบ โดยคาดว่าจากมาตรการตอบโต้ทั้ง 2 ประเทศ น่าจะทำให้การส่งออกไทยหายไปไม่ต่ำกว่าร้อยละ 2-3 ทำให้ทบทวนเรื่องนี้เร่งด่วน และคาดการณ์ว่าการประชุมครั้งนี้นอกจากจะมีการรับฟังการวิเคราะห์ทูตพาณิชย์ไทยทั่วโลก เพื่อรับทราบแนวทางและทิศทางว่าการทำตลาดส่งออกหรือหาตลาดชดเชยหรือแผนเจาะตลาดต่าง ๆ จะสามารถชดเชยการสูญเสียจากมาตรการตอบโต้ทั้ง 2 ประเทศอย่างไร

เบื้องต้นจากที่กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์ส่งออกปี 2562 จะเป็นบวกไม่น้อยกว่าร้อยละ 8 แต่หลายเหตุการณ์ที่ผ่านมาทั้งปัญหาสงครามสหรัฐและจีน ราคาน้ำมัน อัตราแลกเปลี่ยน สิ่งเหล่านี้เป็นตัวบั่นทอน ทำให้เป้าหมายส่งออกปีนี้อาจไม่เป็นไปตามเป้าที่คาดการณ์ไว้  และไม่เพียงไทยเท่านั้นผลกระทบนี้ถือว่ากระทบทั่วโลก ดังนั้น จากเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่กล่าวมาถ้าส่งออกไทยปีนี้จะเติบโตมากว่าร้อยละ 2-3 ถือว่าน่าพอใจแล้ว แต่จะเป็นอัตราบวกเท่าไหร่คงต้องรอความชัดเจนในการประชุมร่วมปลายเดือนนี้ เพราะจะมีความชัดเจนของแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมว่าครึ่งปีหลังจะสามารถผลักดันการส่งออกให้เติบโตเป็นบวกเท่าไหร่

น.ส.ชุติมา กล่าวว่า ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ทั้งกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศอยู่ระหว่างการทบทวนและวิเคราะห์ว่าสินค้าอุตสาหกรรมไทยชนิดใดได้รับผลกระทบจากการขึ้นภาษีสหรัฐครั้งนี้ ซึ่งภาคอุตสาหกรรมไทยยังสามารถทำเรื่องให้สหรัฐเห็นว่าสามารถปรับลดภาษีบางกลุ่มอุตสาหกรรมของไทยลดลงได้หรือไม่ 

ส่วนที่หลายฝ่ายวิตกกังวลสหรัฐและจีนทำสงครามการค้าอาจทำให้สินค้าจีนทะลักเข้าไทยนั้น  กระทรวงพาณิชย์และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีมาตรการดูแล หากสินค้าใดเข้ามาทำตลาดทั้งปริมาณและราคาอย่างผิดปกติ ไทยมีมาตรการตอบโต้สินค้าเหล่านี้อยู่แล้ว

จาก https://tna.mcot.net   วันที่ 15 พฤษภาคม 2562

ขยายผลผลิตวิทยากร3สารอันตราย ดีเดย์23พค.อบรมรุ่นแรก1.3พันคน

กรมวิชาการเกษตร  เร่งเครื่องต่อยอดวิทยากร 3 สาร  กรมส่งเสริมการเกษตร  จับมือสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย  เข้าคิวติวเข้มรุ่นแรกกว่า 1 พันคน อบรมพร้อมกันทั่วประเทศ 23 พฤษภาคมนี้  พร้อมดึง 3 สมาคมภาคเอกชนร่วมอบรมเพิ่มยอดวิทยากร

นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์  อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า กรมวิชาการเกษตรเตรียมส่งเจ้าหน้าที่ของกรมจำนวน 240 คน ซึ่งผ่านการอบรมหลักสูตรการใช้วัตถุอันตรายอย่างถูกต้องและปลอดภัยไปปฏิบัติหน้าที่วิทยากรอบรมเจ้าหน้าที่ของกรมส่งเสริมการเกษตร การยางแห่งประเทศไทย และสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจำนวน 2,000 คน  ตามแผนปฏิบัติการฝึกอบรมที่กรมวิชาการเกษตรจัดทำไว้ภายใต้มาตรการจำกัดการใช้วัตถุอันตราย 3 ชนิด ได้แก่ พาราควอต  ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส โดยการอบรมในรุ่นแรก จะเป็นเจ้าหน้าที่จากกรมส่งเสริมการเกษตรและสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย 1,375 คน อบรมวันที่ 23 พฤษภาคมนี้ ที่สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรและศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร  ซึ่งเป็นหน่วยงานในส่วนภูมิภาคของกรมวิชาการเกษตร

พร้อมกันนี้ กรมวิชาการเกษตรยังขอความร่วมมือสมาคมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ สมาคมคนไทยธุรกิจเกษตร สมาคมอารักขาพืชไทย และสมาคมการค้านวัตกรรมเพื่อการเกษตรไทย เข้าร่วมอบรมเป็นวิทยากรเพื่อไปอบรมเกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ข้าวโพด และไม้ผล ร่วมกับกรมส่งเสริมการเกษตร โดยกำหนดจัดอบรมเจ้าหน้าที่จากสมาคมดังกล่าวรุ่นแรก 150 คนวันที่ 23 พฤษภาคมนี้ เช่นเดียวกัน

อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าวต่อว่า ช่วงเดือนพฤษภาคมนี้ กรมวิชาการเกษตร อยู่ระหว่างสร้างวิทยากรร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อไปทำหน้าที่วิทยากรนำความรู้ที่ได้รับทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติไปอบรมเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย 1.5 ล้านคน ที่ยังจำเป็นต้องใช้สารทั้ง 3 ชนิดนี้ ส่วนการจัดอบรมวิทยากรรุ่นที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่จากการยางแห่งประเทศไทยเพื่อให้ครบ 2,000 คน ได้กำหนดจัดขึ้นช่วงวันที่ 6 มิถุนายน  2562

ทั้งนี้ เกษตรกรที่จะเข้ารับการอบรมต้องมีทะเบียนเกษตรกร หรือหลักฐานแสดงพื้นที่ปลูกพืชที่มีความจำเป็นต้องใช้สารพาราควอตและไกลโฟเซต สำหรับกำจัดวัชพืชใน อ้อย ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ข้าวโพด มันสำปะหลัง และไม้ผล และใช้คลอร์ไพริฟอสเพื่อกำจัดแมลงในไม้ดอก พืชไร่ และกำจัดหนอนเจาะลำต้นในไม้ผล ซึ่งต่อไปการซื้อสารทั้ง 3 ชนิด ไปใช้เกษตรกรจะต้องซื้อจากร้านที่ได้รับอนุญาต แสดงหลักฐานผ่านการอบรม พร้อมกับแสดงชนิดพืชที่ปลูก และพื้นที่ปลูก เพื่อกำหนดปริมาณวัตถุอันตรายที่จะซื้อได้

จาก https://www.naewna.com  วันที่ 14 พฤษภาคม 2562

‘บาท’ เปิดตลาดเช้านี้ ‘ทรงตัว’ ที่ 31.65 บาทต่อดอลลาร์

 เงินบาทอยู่ท่ามกลางสงครามการค้าทวีความรุนเรงขึ้น ตลาดปิดรับความเสี่ยง เป็นแรงกดดันค่าเงินเอเชียและเงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง

นายจิติพล พฤกษาเมธานันท์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า  เงินบาทเปิดเช้าวันนี้ที่ระดับ31.65 บาทต่อดอลลาร์ไม่เปลี่ยนแปลงจากช่วงปิดสิ้นวันทำการก่อน

ในคืนที่ผ่านมาความเสี่ยงสงครามการค้าทวีความรุนแรงขึ้นหลังทางการจีนประกาศเพิ่มภาษีนำเข้าจากระดับ10% สู่ระดับ25% บนสินค้าสหรัฐส่งผลให้นักลงทุนทั่วโลกต่างปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) ดัชนีS&P500 ของสหรัฐฯดิ่งลงหนักถึง2.41% เช่นเดียวกันกับดัชนีSTOXX50 ของยุโรปซึ่งปรับตัวลดลง1.20% พร้อมกับFTSE100 ของอังกฤษที่ปิดลดลง0.55%

ภาพความตึงเครียดทางการค้าระหว่างจีนกับสหรัฐฯที่เพิ่มขึ้นดูจะกดดันเฟดได้เช่นกันล่าสุดนายRobert Kaplan ประธานเฟดสาขาดัลลัสและหนึ่งในคณะกรรมการนโยบายการเงินธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) ออกโรงแสดงความกังวลว่าความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าจะส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจและทำให้เฟดต้องใช้ความอดทนในการดำเนินนโยบายการเงิน

ท่ามกลางภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดและนโยบายการเงินที่มีแนวโน้มผ่อนคลายลงนักลงทุนจึงเลือกที่จะพักเงินในสินทรัพย์ปลอดภัย(Safe Haven Assets) อย่างพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐและทองคำส่งผลให้บอนด์ยีลด์สหรัฐอายุ10ปีปรับตัวลงแตะระดับ2.40% ส่วนราคาทองคำปรับตัวขึ้นราว1.4% ยืนเหนือระดับ1,300 ดอลลาร์ต่อออนซ์ครั้งแรกในรอบหนึ่งเดือน

ในส่วนของค่าเงินบาทแน่นอนว่ายังคงอยู่ท่ามกลางความผันผวนจากสงครามการค้าเราเชื่อว่าการที่สกุลเงินต่างๆในตลาดเกิดใหม่และภูมิภาคเอเชียอ่อนค่าลงต่อเนื่องจะเป็นแรงกดดันให้เงินบาทเคลื่อนไหวในทิศทางอ่อนค่าลงได้ในวันนี้และในระหว่างวันยังคงต้องติดตามทั้งผลกระทบจากการตอบโต้ด้วยกำแพงภาษีของจีนและฝั่งสหรัฐที่กำลังจะใช้นโยบายภาษีเพิ่มบนสินค้าทั้งหมดของจีนเพื่อตอบโต้กลับ

มองกรอบค่าเงินบาทวันนี้31.60 - 31.70 บาทต่อดอลลาร์

จาก www.bangkokbiznews.com วันที่ 14 พฤษภาคม 2562

เลาะรั้วเกษตร : หยุดเผา

เมื่อเดือนมีนาคม-เมษายนที่ผ่านมา นอกจากเป็นเดือนที่อุณหภูมิของบางจังหวัดในประเทศไทยจะขึ้นไปสูงถึง 42-43 องศาเซลเซียสแล้ว ปริมาณหมอกควันและฝุ่นในบางจังหวัดภาคเหนือ ยังอยู่ในเกณฑ์เป็นอันตรายต่อสุขภาพติดต่อกันยาวนาน นับว่าเป็นสถานการณ์ที่ค่อนข้างหนักหนาสาหัสกว่าทุกปีที่ผ่านมา

กระทรวงพลังงานของไทย บอกว่าสภาพหมอกควันที่เกิดขึ้นในประเทศไทยนั้นเกิดจากสาเหตุที่สำคัญ ได้แก่ การเผาในที่โล่งมีมากกว่า50% นอกนั้นเกิดจากอุตสาหกรรม การคมนาคมขนส่ง การผลิตกระแสไฟฟ้า และบ้านเรือนที่อยู่อาศัย

การเผาในที่โล่ง มีทั้งการเผาป่าที่มีคนตั้งใจเผาเพื่อนำพื้นที่มาใช้ประโยชน์ทางการเกษตร หรือไฟไหม้ป่าที่เกิดขึ้นเองจากความร้อนและแห้งแล้ง นอกจากนี้ยังมีการเผาทางการเกษตร เช่น การเผาไร่อ้อย การเผาตอซังข้าว ตอซังข้าวโพด หรือเศษซากพืชอื่นๆ ที่เก็บเกี่ยวผลผลิตไปแล้ว หรือเศษวัชพืช ส่วนการเผาที่ว่านี้เกิดขึ้นในประเทศไทย หรือประเทศเพื่อนบ้านก็ไม่มีใครฟันธง นายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา จึงฟันธงเสียเองให้เรื่องมาลงที่ประทรวงเกษตรและสหกรณ์ ของท่าน กฤษฎา บุญราช ที่ขยันทำงาน และขยันสั่งการ แม้ว่าจะมีเวลาอยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯอีกไม่กี่วัน

รัฐมนตรีกฤษฎา สั่งการให้ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อนันต์ สุวรรณรัตน์ ไปมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ไขปัญหาหมอกควัน งานเข้าที่ กรมส่งเสริมการเกษตร ของอธิบดีสำราญ สาราบรรณ์ โดยให้สำนักงานเกษตรจังหวัด เป็นผู้เสนอแผนป้องกันแก้ไขปัญหาการเผาเศษซากพืช และวัสดุการเกษตร โดยร่วมกับป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด

ให้สำนักงานเกษตรอำเภอร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ จัดชุดปฏิบัติการออกตรวจ ป้องปราม ระงับ ยับยั้ง และแจ้งเหตุเผาในพื้นที่เกษตร ให้ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หรือ ศพก. ทุกหน่วยในอำเภอ เป็นหน่วยเฝ้าระวัง และให้ความรู้ปลุกจิตสำนึกของชุมชนไม่ให้เผาเศษซากพืชและวัสดุทางการเกษตร โดยให้นายอำเภอเป็นผู้กำกับดูแล

งานยังเข้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอีก 5 หน่วยงาน คือ กรมพัฒนาที่ดิน ให้ส่งเสริมการไถกลบ และผลิตปุ๋ยอินทรีย์ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้ทำโครงการส่งเสริมระบบวนเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินภาคเหนือ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ให้จัดทำแผนบรรเทาปัญหาหมอกควันและไฟป่า โดยใช้ปฏิบัติการฝนหลวงและดัดแปลงสภาพอากาศเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้พื้นที่ป่า

ให้ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรฯ ทุกเขตลงพื้นที่ติดตามการปฏิบัติงานแก้ไขปัญหา โดยให้ประเมินจุดความร้อน หรือ ฮอตสปอต และฝุ่นที่ขนาดเล็กกว่า PM10 ในพื้นที่เกษตร พร้อมกับมอบสำนักแผนงานและโครงการพิเศษ สำนักงานปลัดกระทรวง เป็นผู้ติดตามสถานการณ์ และรายงานผลการดำเนินงาน

อย่างที่บอกว่าพื้นที่ปลูกพืชที่มักจะพบการเผาอยู่มากมีอยู่ไม่กี่พืช คือ ข้าว อ้อย และข้าวโพด.....

การเผาตอซังข้าว มีการรณรงค์มานานหลายปีไม่ให้ชาวนาเผาตอซังข้าว ประกอบกับเดี๋ยวนี้การทำนาส่วนใหญ่ใช้เครื่องจักรกลในการเตรียมดินจึงใช้วิธีไถกลบแทนการเผาไปมากแล้ว

ส่วนอ้อยไม่ต้องพูดถึง ใช้วิธีการเผาเสียเป็นส่วนใหญ่ เพื่อสะดวกในการใช้แรงงานคนตัดอ้อยเข้าโรงงานให้ทันเวลา แม้จะพยายามส่งเสริมให้ใช้เครื่องจักรกลตัดอ้อยแทนแรงงาน แต่ก็ยังไม่มีการใช้อย่างแพร่หลาย เพราะธรรมชาติของอ้อยไม่เหมือนกับพืชอื่น ต้นอ้อยสูงท่วมหัว ใบอ้อยยาว ระคาย และคม โดนลมพัดใบพันกันอีกต่างหาก ถึงแม้จะมีรถตัดอ้อยก็ทำงานไม่ได้ ต้องเผาอยู่ดี

สำหรับข้าวโพด หลายปีที่ผ่านมาอาจจะมีการปลูกข้าวโพดบนเขา และมีการเผาตอซังหลังเก็บเกี่ยวเพื่อปลูกใหม่ แต่ระยะหลังการปลูกข้าวโพดมีเงื่อนไขในการรับซื้อว่า ต้องปลูกในพื้นที่ที่ถูกกฎหมาย และต้องไม่เผาตอซัง เพราะข้าวโพดส่วนใหญ่เข้าโรงงานอาหารสัตว์ ประเทศที่รับซื้อเนื้อสัตว์ใช้มาตรการในการตรวจสอบย้อนกลับว่าการเลี้ยงสัตว์นั้นต้องไม่ทำลายสภาพแวดล้อม จึงลดการเผาลงไปได้มาก

พื้นที่ปลูกพืช 3 ชนิดนี้ อยู่ที่ไหนบ้างในอำเภอ เกษตรอำเภอ เกษตรตำบล รวมทั้งศพก. คงต้องเข้าไปชี้แจงทำความเข้าใจและขอความร่วมมือกับเกษตรกรเสียตั้งแต่ก่อนเก็บเกี่ยว ให้คำแนะนำในการจัดการกับเศษซากพืชเหล่านั้นด้วยวิธีอื่นแทนการเผา ก่อนที่จะจัดหน่วยปฏิบัติการเข้าไปตรวจสอบ เพื่อเกษตรกรจะได้เตรียมการจัดการกับเศษซากพืชเหล่านั้นได้อย่างถูกต้องภายหลังเก็บเกี่ยวผลผลิต

แต่ยังมีอีกพืชหนึ่งที่ต้องระวัง นั่นคือ วัชพืชหรือหญ้าต้นใหญ่ๆ ที่อยู่ในพื้นที่สาธารณะ ที่ไม่สามารถใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชได้ตามประกาศกระทรวงเกษตรฯ เรื่องการจำกัดการใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ถ้าเกิดไฟไหม้ขึ้นมาเพราะความแห้งแล้ง เข้าข่ายการเผาในที่โล่ง แต่จับมือใครดมไม่ได้ ก็ตัวใครตัวมันนะขอรับ...

จาก https://www.naewna.com วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

กสิกรฯชี้แล้งทุบศก.กว่าหมื่นล. ฉุด “ข้าวนาปรัง-อ้อย”-รายได้เกษตรวูบ

ศูนย์วิจัยกสิกรฯเผยฤดูแล้งลากยาวถึงเดือน ก.ค. ส่งผลกระทบต่อผลผลิต “ข้าวนาปรังและอ้อย” ประเมินความสูญเสียทางเศรษฐกิจ 17,300 ล้านบาท ซ้ำเติมปัญหารายได้เกษตรกรวูบ 2.1-2.4%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยรายงานว่า จากสัญญาณความแห้งแล้งที่อาจยาวนานต่อเนื่องออกไปอีก ผนวกกับปริมาณน้ำฝนที่ยังน้อย และมีแนวโน้มของฝนที่อาจทิ้งช่วงในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม ส่งผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนยังคงทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ โดยระดับน้ำในเขื่อน ณ วันที่ 8 พฤษภาคม 2562 จะเห็นว่าปริมาตรน้ำใช้การได้ในเขื่อนทั้งประเทศลดลง 21.4% เทียบกับปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนในระดับที่ต่ำมาก ทำให้ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงเป็นภาคที่มีสถานการณ์น้ำที่น่าเป็นห่วง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อข้าวนาปรังและอ้อยเป็นหลักดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยจึงได้มีการปรับคาดการณ์ผลกระทบจากภัยแล้งที่มีต่อพืชเกษตรที่กำลังเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูแล้ง จากเดิมที่ประเมินผลกระทบของภัยแล้งในปี 2562 น่าจะสิ้นสุดในเดือนพฤษภาคม โดยคิดเป็นมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจราว 15,300 ล้านบาท แต่ล่าสุดได้ปรับคาดการณ์ว่า ภัยแล้งอาจกินเวลาลากยาวออกไปอีกราว 2 เดือน คือ มิถุนายน-กรกฎาคม ซึ่งอาจกระทบต่อมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้น และจะยิ่งเป็นการซ้ำเติมรายได้เกษตรกรให้แย่ลงไปอีก จากคาดการณ์เดิม ดังนี้

พืชเกษตรที่กำลังเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูแล้งที่จะได้รับผลกระทบหนักสุด คือ “ข้าวนาปรังและอ้อย” โดยหากภัยแล้งลากยาวกินเวลาต่อไปอีก 2 เดือน จะกระทบต่อผลผลิตข้าวนาปรังที่ยังทยอยออกสู่ตลาด และผลผลิตอ้อยที่จะอยู่ในช่วงการปลูกอ้อยต้นฝน (ในเขตอาศัยน้ำฝน) ทำให้คาดว่า ราคาข้าวและอ้อยอาจขยับขึ้นได้ในช่วงเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม 2562 แต่ในแง่ของภาพรวมราคาเฉลี่ยทั้งปี 2562 อาจยังให้ภาพที่หดตัวอยู่ ด้วยปัจจัยด้านการแข่งขันในตลาดโลกที่ยังรุนแรง รวมถึงปริมาณผลผลิตที่ยังอยู่ในระดับสูง

ขณะที่ภาพรวมราคาข้าวเฉลี่ยในปี 2562 ประเมินอยู่ที่ 10,700-10,800 บาทต่อตัน หรือหดตัว 0.3-1.2% เทียบกับปีที่ผ่านมา สำหรับราคาอ้อยเฉลี่ยในปี 2562 คาดว่าจะอยู่ที่ 700-710 บาทต่อตัน หรือหดตัว 0.4-1.8% จากปีก่อนหน้า

นอกจากนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า รายได้เกษตรกรในปี 2562 อาจให้ภาพที่แย่ลงไปอีก ผลจากภัยแล้งที่กินเวลาเพิ่มขึ้นอีก 2 เดือน จะยิ่งส่งผลกดดันซ้ำเติมรายได้เกษตรกร จากผลของแรงฉุดด้านผลผลิตจะส่งผลต่อรายได้เกษตรกรในปีนี้ หดตัว 2.1-2.4% เมื่อเทียบกับคาดการณ์เดิมที่หดตัว 1.2-1.6%

โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินว่า มูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจอาจเพิ่มขึ้นราวเดือนละ 1,000 ล้านบาท ทำให้อาจประเมินได้ว่า หากภัยแล้งลากยาวไปจนถึงเดือน ก.ค. 2562 อาจทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจรวมที่ราว 17,300 ล้านบาท อย่างไรก็ดี หากภัยแล้งมีแนวโน้มที่จะกินเวลายาวนานไปจนถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งจะเป็นช่วงฤดูการเพาะปลูกข้าวนาปี ก็อาจทำให้มีมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากกว่าที่ประเมินไว้

จาก https://www.prachachat.net  วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

"กฤษฏา"เดินหน้าวิสาหกิจแปลงใหญ่ทั่วประเทศดันสำเร็จปีนี้

"กฤษฏา"ปัดตอบอนาคตการเมือง ระบุไม่มีใครกำหนดได้ เดินหน้าวิสาหกิจแปลงใหญ่ทั่วประเทศดันสำเร็จ ปูพรมจัดระบบครบวงจรลุยปฏิรูปเกษตรทั้งโครงสร้าง

นายกฤษฏา บุญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงอนาคตทางการเมืองในรัฐบาลหน้า ว่ายังไม่มีใครกำหนดได้เป็นเรื่องการเมืองทั้งหมด ทั้งนี้นายกฤษฏา ได้ส่งข้อความถึงผู้บริหารกระทรวงเกษตรฯ

โดยระบุว่าแนวโน้มเกษตรกรรมของไทยควรมุ่งไปสู่การรวมผืนที่ดินเป็นเกษตรแปลงใหญ่ โดยรวมเกษตรกรรายเล็กรายน้อยให้เป็น วิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ ซึ่งจะเป็นความหวังใหม่ที่จะนำมาเป็นกลไกปฏิรูปภาคการเกษตรของไทย ช่วยให้เกษตรกรสมาชิกที่เข้าร่วมโครงการมีช่องทางการจำหน่ายผลผลิตที่แน่นอนขึ้น ช่วยลดต้นทุนการผลิต และยังช่วยเพิ่มอำนาจต่อรองในการซื้อปัจจัยการผลิตและขายผลผลิตอีกด้วย

 “ขนาดพื้นที่วิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ กำหนดให้มีขนาดพื้นที่ติดกันรวมกันแล้วไม่น้อยกว่า 500 ไร่ ขึ้นไป เพื่อก่อให้เกิดการประหยัดต่อขนาดจากการผลิต ซึ่งจะทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง กระทรวงเกษตรฯ จะรวบรวมกลุ่มเกษตรกรที่เป็นเจ้าของที่ดินเพื่อจดทะเบียนเป็นสหกรณ์การเกษตร หรือวิสาหกิจชุมชน พร้อมกัลมีการแต่งตั้ง ผู้จัดการวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ คัดเลือกจากเกษตรกรเจ้าของที่ดินที่มีศักยภาพ และต้องการทำการเกษตรเอง หรือคัดเลือกจากบุตรหลานเกษตรกรในพื้นที่ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการเกษตรกรรมขณะเป็นทหารกองประจำการของกองทัพภาคต่างๆ คัดเลือกบุตรหลานของเกษตรกรเจ้าของที่ดินที่ผ่านการอบรมหลักสูตรเกษตรสมัยใหม่ (Smart Farmer) ของกรมส่งเสริมการเกษตรมาทำหน้าที่เป็นผู้จัดการประจำวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่”นายกฤษฏา กล่าว

รวมทั้งใช้กลไกรัฐผลักดันให้เกิดความร่วมมือระหว่างภาครัฐ เอกชน ส่งเสริมองค์ความรู้และวิทยาการจัดการสมัยใหม่แบบเกษตรแม่นยำ (Precision Agriculture) จัดหลักสูตรอบรมให้กับเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ ตลอดจนให้การแนะนำวิธีการผลิตและการจัดการวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ที่ใช้ต้นทุนต่ำแต่ให้ผลผลิตสูงมีคุณภาพที่ดี ซึ่งภาคเอกชนกับเกษตรกร จะตกลงหารือร่วมกันก่อนว่าจะทำการเกษตรชนิดไหนหรือจะปลูกพืชหรือเลี้ยงสัตว์อะไรที่เป็นความต้องการของตลาด หลังจากนั้นให้เกษตรกรเจ้าของที่ดินจะใช้ที่ดินของตนเองลงทุนร่วมกันในวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ เหมือนการร่วมกันทำนาด้วยการลงแขกในอดีต โดยมีข้อตกลงให้เอกชนลงทุนออกค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับเครื่องมือ เครื่องจักร หรือแนะนำวิธีการทำเกษตรกรรมสมัยใหม่และหรือรับซื้อผลผลิตของวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ โดยมีการแบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกันอย่างเหมาะสมและเป็นธรรม

ในส่วนการจำหน่ายผลผลิต มอบหมายให้สหกรณ์การเกษตร หรือวิสาหกิจชุมชน ทำหน้าที่เป็นตัวแทนเกษตรกรรวบรวมผลผลิตในโครงการขายให้กับภาคเอกชน หรือส่งไปจำหน่ายในตลาด รวมทั้งส่งออกไปขายต่างประเทศ หรือขายในระบบออนไลน์ อีกทั้งเร่งส่งเสริมการยกระดับมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิตจากวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ ด้วยเชิญชวนภาคเอกชนเข้ามาตั้งโรงงานรวบรวมผลผลิต หรือตั้งโรงงานแปรรูปผลผลิตของโครงการโดยตรงในลักษณะอุตสาหกรรมการเกษตร

 “ต้องเร่งปรึกษาหารือกันเพื่อกำหนดภารกิจและหน่วยงานผู้รับผิดชอบแต่ละด้านในการบริหารจัดการปฏิรูปภาคการเกษตรให้ประสบความสำเร็จให้จงได้ปีนี้ ทำเกษตรตรงความต้องการตลาด ทำแล้วขายได้ ทั้งต้นทุนการผลิตจะถูกลง มีการตกลงกันก่อนปลูก จึงมีคนรับซื้อแน่นอนเหมือนโครงการข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ กว่า 8 แสนไร่ ที่ผลผลิตในประเทศยังขาดแคลน สามารถลดการนำเข้าข้าวโพดจากต่างประเทศได้ ดึงพื้นที่ปลูกข้าวโพดบนเขา มาพื้นราบ ที่สำคัญงดทำนาปรังรอบสอง แก้ปริมาณข้าวล้นตลาด”นายกฤษฏา กล่าว

จาก www.komchadluek.net  วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

กกร.เล็งปรับเป้าจีดีพี,ส่งออกก.ค.

กกร.เล็งปรับเป้าจีดีพี, ส่งออก ก.ค. ขณะเอกชนห่วงค่าเงิน หลังสงครามการค้าปะทุ จี้ รัฐถก FTA เปิดตลาดใหม่

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และ ประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า ประมาณเดือนกรกฎาคมนี้ ทางกกร.จะปรับประมาณการณ์ตัวเลขจีดีพี ส่งออก อีกครั้งหนึ่ง เพื่อให้สะท้อนถึงภาพรวมเศรษฐกิจมากขึ้น พร้อมมองว่า สงครามการค้าที่เกิดขึ้นระหว่างสหรัฐฯกับจีน แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ภาคเอกชนเผชิญมาโดยตลอด แต่ก็มีความเป็นห่วงเรื่องของค่าเงิน และการหาตลาดใหม่ ดังนั้นภาครัฐจะต้องเร่งการเจรจาการค้าภาคใต้กรอบ FTA ให้มากขึ้น โดยเฉพาะยุโรป, อินเดีย รวมถึงนำผู้ประกอบการไปเปิดตลาดหาลู่ทางใหม่ ๆ

นอกจากนี้ นายสุพันธุ์ กล่าวอีกว่า จะต้องติดตามการจัดตั้งรัฐบาลใหม่อย่างใกล้ชิด ขณะที่ประชาชนก็ต้องใช้จ่ายด้วยความพอเพียง เพราะขณะนี้ภาพรวมของเศรษฐกิจโลกไม่ได้ดีขึ้น

จาก https://www.innnews.co.th  วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

โรงงาน 1.4แสนรายเฮ! กม.ใหม่เปิดช่องไม่ต้องต่อ ‘ใบร.ง.

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ขณะนี้พ.ร.บ.โรงงานฉบับใหม่ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 และจะมีผลบังคับใช้เมื่อพ้นกำหนด 180 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา หรือในวันที่ 27 ตุลาคม 2562 ซึ่งจะเป็นผลดีต่ออุตสาหกรรมภาพรวมของประเทศ ทั้งการลงทุนและการจ้างงาน เนื่องจากจะช่วยอำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมที่ปัจจุบันมีปริมาณกว่า 140,000 แห่งทั่วประเทศ โดยเฉพาะผู้ประกอบธุรกิจเอสเอ็มอีประมาณ 70,000 ราย ที่ไม่ต้องขอใบอนุญาตใบประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) ขณะที่ผู้ประกอบการทั่วไปก็ไม่ต้องต่ออายุใบ ร.ง.4 อีกต่อไปจากเดิมที่ผู้ประกอบการต้องต่ออายุใบ ร.ง.4 ทุกๆ 5 ปี

“กรอ.มั่นใจว่าพ.ร.บ.โรงงานฉบับใหม่ที่จะมีผลบังคับใช้ในเร็วๆ นี้ จะไม่มีข้อเสียใดๆ เนื่องจากการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายครั้งนี้ ทำให้การประกอบกิจการได้รับความสะดวกและมีความคล่องตัวขึ้น และที่สำคัญการปรับปรุงแก้ไขนี้ไม่ทำให้การกำกับดูแลผ่อนคลายลงแต่อย่างใด เพราะประชาชนก็ยังได้รับความคุ้มครองจากการกำกับดูแลที่จะทำให้โรงงานไม่ก่อให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อมหรือความไม่ปลอดภัยใดๆ เช่นเดิม ” นายทองชัย กล่าว

สำหรับสาระสำคัญอื่นๆ ของพ.ร.บ.โรงงานฉบับใหม่ เช่น แก้ไขขอบเขตการเป็นโรงงานจากเดิมต้องมีเครื่องจักร 5 แรงม้า หรือคนงาน 7 คน มาเป็น 50 แรงม้า หรือคนงาน 50 คน พร้อมทั้งมีการกำหนดให้มีผู้ตรวจสอบเอกชนที่มาตรวจสอบโรงงานหรือเครื่องจักรแทนพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ โดยผู้ตรวจสอบเอกชนนั้นจะต้องได้รับใบอนุญาตตรวจสอบรับรองจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมก่อน และที่สำคัญการกำกับดูแลผู้ตรวจสอบเอกชนก็มีความเข้มงวด หากผู้ตรวจสอบเอกชนจัดทำรายงานเท็จก็จะมีโทษจำคุกหรือปรับหรือทั้งจำทั้งปรับอีกด้วย

จาก https://www.naewna.com วันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ไทย-อินเดีย !!!! ต้นเหตุทุบราคาน้ำตาลโลกร่วงต่อเนื่องในรอบ 7 เดือน

วงการอ้อยและน้ำตาลเป็นอันต้องเกิดอาการหน้าแตกกันเป็นแถว เพราะก่อนหน้านี้ต่างพากันพยากรณ์ว่าปัญหาภัยแล้งในช่วงที่ผ่านมา จะเป็นต้นเหตุสำคัญที่จะทำให้ปริมาณอ้อยและน้ำตาลมีปริมาณลดลง  และเมื่อ 2-3 เดือน ที่ผ่านมาวงการอ้อยและน้ำตาลเพิ่งประเมินว่า ภายในเดือนพฤษภาคมนี้หลังปิดหีบอ้อย ในประเทศไทยจะมีปริมาณอ้อยไม่ถึง 120 ล้านตันอ้อย บางรายก็พยากรณ์ว่าปริมาณอ้อยน่าจะอยู่ที่ระดับ 126 ล้านตันอ้อย และปริมาณน้ำตาลจะอยู่ที่ระดับ 13.5  ล้านตันน้ำตาล เช่นเดียวกับการคาดการณ์ปริมาณน้ำตาลในประเทศอินเดียที่มองไปทิศทางเดียวกันว่าจะมีปริมาณน้ำตาลในประเทศไม่ถึง 30 ล้านตันน้ำตาล และพากันคาดหวังว่าถ้าปริมาณอ้อยและน้ำตาลจากประเทศผู้ผลิตและส่งออกรายใหญ่ลดลงแบบนี้ ก็จะช่วยดีดให้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกกลับมาไต่ระดับราคาสูงขึ้น

-ประเมินปริมาณอ้อยผิดคาด

ล่าสุดทุกอย่างกลับตาลปัตร เมื่อตัวเลขปริมาณอ้อยในประเทศไทยอยู่ที่ 130.97 ล้านตันอ้อย มีปริมาณน้ำตาลอยู่ที่ 14.5-14.6 ล้านตันน้ำตาล ขณะที่อินเดียมีปริมาณน้ำตาลสูงถึง 33  ล้านตันน้ำตาลในปี2561/2562 

หากมองในแง่ผู้บริโภคสินค้ามีจำนวนมากน่าจะเป็นทางเลือกที่ดี แถมหาซื้อได้ในราคาถูกลง  แต่ถ้ามองในแง่ผู้ลงทุน บรรดากองทุนเก็งกำไรต้องรีบออกมาเทขายตั๋วน้ำตาลกันเป็นแถว เนื่องจากผลผลิตน้ำตาลของไทยและอินเดียมีมากกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้แต่แรก เกรงว่าหากปล่อยไว้ราคาจะยิ่งร่วงลง 

ยังไม่นับรวมความผันผวนของค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าในขณะที่เงินเรียลของบราซิลอ่อนค่าลง  เพราะบราซิลอยู่ในฐานะผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ที่สุดของโลกจึงเป็นอีกตัวแปรสำคัญ ซึ่งเมื่อปีที่ผ่านมาบราซิลมีการส่งออกน้ำตาลราว 18-19 ล้านตันน้ำตาล 

-ราคาน้ำตาลโลกต่ำสุดในรอบ7เดือน

แต่อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำตาลที่เพิ่มขึ้นเหนือการคาดการณ์หนนี้ ในวงการน้ำตาลต่างโฟกัสว่าไทยและอินเดีย  เป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกร่วงลงมาอยู่ที่ 11-12 เซ็นต์ต่อปอนด์ต่ำสุดในรอบ 7 เดือน โดยสถานะของไทยเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลเบอร์ 2 ของโลก  ขณะที่อินเดียอยู่ในฐานะที่มีปริมาณน้ำตาลจำนวนมากแต่ส่วนใหญ่บริโภคภายในประเทศ  ในขณะที่บราซิล แม้จะเป็นผู้ผลิตอ้อยและน้ำตาลรายใหญ่อีกรายและเป็นผู้ส่งออกเบอร์หนึ่งของโลก เพราะมีปริมาณส่งออกเกือบครึ่งหนึ่งของปริมาณส่งออกของโลก แต่ในช่วงที่ผ่านมาบราซิลนำอ้อยไปทำน้ำตาลลดลง และนำไปผลิตเอทานอลมากกว่า โดยปี2561/62 นำอ้อยไปทำน้ำตาลเพียง 35% ของปริมาณอ้อยทั้งหมด จึงไม่ใช่ต้นเหตุที่ทำให้ราคาน้ำตาลในตลาดโลกร่วงในครั้งนี้

สำหรับประเทศไทยในฐานะผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่เบอร์ 2 ของโลกรองจากบราซิล ยังน่าจับตาผลผลิตรวมของปริมาณอ้อยและน้ำตาลในประเทศ หลังจากที่เกษตรกรรายย่อยที่มีราว  8,000 รายทั่วประเทศเริ่มเข้าสู่ระบบมากขึ้น โดยมาขึ้นทะเบียนเป็นชาวไร่อ้อยที่ถูกต้อง เดินตามกติกา โดยชาวไร่อ้อยที่มาขึ้นทะเบียนจะต้องระบุพื้นที่ปลูกอ้อย และปริมาณการปลูกอ้อยที่จะส่งมอบให้โรงงานน้ำตาลที่เป็นคู่สัญญา

  ปัจจุบันมีชาวไร่อ้อยที่มาเข้าระบบอย่างถูกต้องรวมทั้งสิ้นประมาณ 360,000 รายทั่วประเทศ จากที่ก่อนหน้านั้นจะมีชาวไร่อ้อยรายเล็ก ขายอ้อยผ่านคนกลางหรือขายยังลานอ้อยจำนวนมาก และเป็นกลุ่มที่มีการหมุนเวียนปลูกพืชชนิดอื่นสลับกับอ้อย จึงมีความไม่แน่นอนในการขายอ้อยสูง ทำให้ที่ผ่านมาข้อมูลตัวเลขปริมาณอ้อยเข้าระบบเกิดความไม่แน่นอนและมีการคาดการณ์ผิด ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นหลัก และยังเป็นพื้นที่ที่มีโรงงานน้ำตาลเกิดขึ้นใหม่อีกด้วย

    นายนราธิป อนันตสุข  หัวหน้าสำนักงานสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยเขต 7 และหัวหน้าสำนักงานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย ยอมรับว่าปริมาณอ้อยที่ออกมาที่ 131ล้านตันอ้อย เป็นยอดการผลิตที่ลดลง หากเทียบกับปีก่อน  เพียงแต่ว่าก่อนหน้านี้มีการคาดการณ์ว่าปริมาณอ้อยจะลดลงค่อนข้างรุนแรงจากผลกระทบภัยแล้ง  แต่ผลปรากฏว่าการเก็บข้อมูลของบางพื้นที่การผลิตไม่เสถียร และพบว่าพื้นที่ปลูกอ้อยขนาดเล็กมีปริมาณเพิ่มขึ้น  และบางพื้นที่ไม่มีการทำสัญญาขายอ้อยโดยตรงให้กับโรงงานน้ำตาล   แต่หลังจากนี้ไปเมื่อชาวไร่อ้อยรายเล็กๆ หันมาเข้าระบบมากขึ้น เชื่อว่าจะทำให้ข้อมูลปริมาณอ้อยมีเสถียรภาพมากขึ้น

   ส่วนความเคลื่อนไหวของราคาน้ำตาลตลอดปีนี้ยังต้องติดตามใกล้ชิดว่าจะหลุดกรอบเลข 2 หลัก หรือไม่ โดยวงการน้ำตาลตั้งข้อสังเกตว่าราคาน้ำตาลในตลาดโลกจากนี้ไปไม่น่าจะร่วงหลุดกรอบ 10 เซ็นต์ต่อปอนด์  แต่ที่แน่ๆขณะนี้ทั้งไทยและอินเดียกลายเป็นผู้เล่นรายสำคัญ ที่วงการน้ำตาลต้องจับตา  อีกทั้งชาวไร่อ้อยรายย่อยของไทยหันหน้าเข้าระบบมากขึ้น ผลผลิตอ้อยเพิ่ม ราคาน้ำตาลในตลาดโลกคงร่วงกราวรูดหรืออาจมีตัวแปรอื่นที่ทำให้ราคาพุ่งก็เป็นไปได้

จาก https://www.naewna.com วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

“ธ.ก.ส.” เตรียม 1.5 หมื่นล.ปล่อยกู้เกษตรกรซื้อโดรน!

นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ในปี 2562 ธนาคารได้เตรียมวงเงินสินเชื่อสำหรับการซื้ออากาศยานไร้คนขับ (โดรน) และเครื่องจักรอื่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้กับเกษตรกร และกลุ่มเกษตรกร 1.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะมีเกษตรกรซื้อโดรนสำหรับใช้ทำการเกษตรไม่ต่ำกว่า 100 ลำ ๆ ละ 5 แสนบาท เพื่อมาใช้ทดแทนแรงงานในการพ่นยาฆ่าแมลง หว่านเมล็ดพันธุ์ ลดต้นทุนการผลิต

“การปล่อยสินเชื่อเพื่อการซื้อโดรน จะให้กับกลุ่มสหกรณ์และเกษตรกรรายย่อยที่มีศักยภาพ โดยคิดดอกเบี้ย 3% สำหรับกลุ่มสหกรณ์และ 5% สำหรับเกษตรกรรายย่อย ซึ่งธนาคารจะเน้นให้เกษตรกรรวมกลุ่มกัน เพื่อใช้โดรนร่วมกัน เพราะต้นทุนค่าเครื่องค่อนข้างสูง โดยปีก่อนมีกลุ่มสหกรณ์ขอสินเชื่อเพื่อซื้อโดรนไปแล้ว ทั้งหมด 60 ลำ วงเงิน 30 ล้านบาท โดยแต่ละราย ยืนยันว่าต้นทุนการผลิตลงจริง เพราะการใช้โดรนสามารถลดปริมาณการใช้ปุ๋ยและลดเวลาในการหว่านเมล็ดพืชได้ แม้ค่าจ้างใช้แรงงานคนตกไร่ 500บาท แต่โดรนใช้ 600 บาท แต่โดยรวมแล้วคุ้มกว่า” นายอภิรมย์ กล่าว

สำหรับแผนการดำเนินงานในรอบปีบัญชี 2562 (1 เม.ย. 2562-31 มี.ค.2563) ตั้งเป้าหมายปล่อยสินเชื่อใหม่ 7.7 แสนล้านบาท คิดเป็นยอดคงค้างที่เพิ่มขึ้น 9.5 หมื่นล้านบาท เพื่อให้เป็นเงินหมุนเวียนในการนำไปช่วยเหลือเกษตรกร ใน 3 กลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มรายย่อยซึ่งมีปัญหาด้านเงินทุน เช่น ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ วงเงิน 1.3 หมื่นล้านบาท กลุ่มลูกค้าทั่วไป รวมถึงทายาทเกษตรกรรุ่นใหม่วงเงิน 4.4 หมื่นล้านบาท และกลุ่มผู้ประกอบการด้านการเกษตร กลุ่มสหกรณ์การเกษตรและวิสาหกิจชุมชนที่เป็นหัวขบวนในการเพิ่มมูลค่าผลผลิต วงเงิน 3.8 หมื่นล้านบาท

ด้านเงินฝากมีเป้าหมายเพิ่มขึ้น 6หมื่นล้านบาท จากการออกสลากออมทรัพย์ เงินฝากแบบมีกรมธรรม์และสวัสดิการ กองทุนทวีสุข เป็นต้น และคาดมีกำไร 8.71พันล้านบาทลดลงจากปีก่อน 1 พันล้านบาท เนื่องจากมีมาตรการพักชำระเงินต้นช่วยเหลือเกษตรกร 2.9 ล้านราย

นายอภิรมย์ กล่าวอีกว่า ในส่วนแผนการทำงานที่เตรียมเสนอรัฐบาลใหม่ จะมีแผนการช่วยเหลือเกษตรกรภายหลังจากมีมาตรการชำระหนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและรายได้ให้สูงขึ้น โดยจะเน้นเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกในสินค้าเกษตรสำคัญ ทั้ง ข้าว อ้อย มันสำปะหลังและข้าวโพด ซึ่งจะต้องมีมาตรการดูแลอย่างเป็นระบบ เพราะจะต้องปรับเปลี่ยนวิธีการผลิต ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ซึ่งกระบวนการเหล่านี้จะทำให้ ผลผลิตที่ออกมามีประสิทธิภาพขณะที่เกษตรกรจะมีรายได้สูงขึ้น

“ปีบัญชี 2562 จะขับเคลื่อนภายใต้แผนการปฏิรูปภาคเกษตร ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ชาติ โดยมุ่งเน้นการปรับการผลิต โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมการเกษตร เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เช่น การใช้โดรนเพื่อการเกษตร การปลูกพืชโดยระบบน้ำหยด การผสมปุ๋ยใช้เอง    เป็นต้น การเปลี่ยนการผลิตให้สอดคล้องกับพื้นที่และความต้องการของตลาด เช่น เกษตรแปลงใหญ่ เกษตรอินทรีย์ เป็นต้น การพัฒนาสหกรณ์การเกษตรและผู้ประกอบการ และการเชื่อมโยงด้านการตลาด รวมถึง ธ.ก.ส.ยังมุ่งเน้นการสร้างความยั่งยืนภายใต้หลัก โกกรีน โดยมีเป้าหมายสนับสนุนชุมชน 400 ชุมชน พื้นที่กว่า 4หมื่นไร่” นายอภิรมย์ กล่าว

อย่างไรก็ดี ในส่วนของผลการดำเนินงานในรอบปีบัญชี 2561 หรือตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2561- 31 มี.ค.2562 นั้น ธนาคารมีรายได้ดำเนินงานรวม 1 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.74%, กำไร 9.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 0.24% ขณะที่หนี้เสียอยู่ที่ 3.87% ส่วนสินเชื่อรวม ปล่อยไปได้ 1. 44 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.86% ส่วนเงินรับฝากรวม อยู่ที่ 1.6 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.75% ด้านสินทรัพย์​รวมอยู่ที่ 1 ล้าน 8.73 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.47%

จาก https://www.thaipost.net  วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ภัยแล้งยืดเยื้อ!!! ฉุดเศรษฐกิจเสียหาย 17,300 ล้านบาท

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยชี้ ภัยแล้งยืดเยื้อกว่าคาด ฉุดเศรษฐกิจเสียหายเพิ่มเดือนละ 1 พันล้านบาท รวม 17,300 ล้านบาท

               ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ปรับคาดการณ์ผลกระทบจากภัยแล้งที่มีต่อพืชเกษตรที่กำลังเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูแล้ง จากเดิมที่เคยประเมินผลกระทบของภัยแล้งในปี 2562 เมื่อเดือนมีนาคมว่า น่าจะสิ้นสุดในเดือนพฤษภาคม โดยคิดเป็นมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจราว 15,300 ล้านบาท แต่ล่าสุด ได้ปรับคาดการณ์กรอบเวลาที่เกิดภัยแล้งว่า อาจกินเวลาลากยาวออกไปอีกราว 2 เดือนคือ มิถุนายน-กรกฎาคม ซึ่งอาจกระทบต่อมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจที่เพิ่มขึ้นราวเดือนละ 1,000 ล้านบาท

ดังนั้น จึงอาจประเมินได้ว่า หากภัยแล้งลากยาวไปจนถึงเดือนก.ค.2562 ก็อาจทำให้เกิดมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจรวมที่ราว 17,300 ล้านบาท โดยเป็นการประเมินความเสียหายของข้าวนาปรังและอ้อยเป็นหลักและจะยิ่งเป็นการซ้ำเติมรายได้เกษตรกรให้แย่ลงไปอีกจากคาดการณ์เดิม  และหากภัยแล้งมีแนวโน้มที่จะกินเวลายาวนานไปจนถึงเดือนสิงหาคม ซึ่งจะเป็นช่วงฤดูการเพาะปลูกข้าวนาปี ก็อาจทำให้มีมูลค่าความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากกว่าที่ประเมินไว้

 ทั้งนี้พืชเกษตรที่กำลังเก็บเกี่ยวในช่วงฤดูแล้ง ที่จะได้รับผลกระทบหนักสุดคือ ข้าวนาปรังและอ้อย ซึ่ง หากภัยแล้งลากยาวกินเวลาต่อไปอีก 2 เดือนข้างหน้า ก็จะกระทบต่อผลผลิตข้าวนาปรังที่ยังทยอยออกสู่ตลาดและผลผลิตอ้อยที่อยู่ในช่วงการปลูกอ้อยต้นฝน(ในเขตอาศัยน้ำฝน) ศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดว่า ราคาข้าวและอ้อยอาจขยับขึ้นได้ในช่วงมิถุนายน-กรกฎาคม แต่ราคาเฉลี่ยทั้งปี 2562 ยังหดตัว จากการแข่งขันในตลาดโลกที่ยังรุนแรง รวมถึงปริมาณผลผลิตที่อยู่ในระดับสูง โดยคาดว่า ภาพรวมราคาข้าวเฉลี่ยปี 2562 อาจอยู่ที่ 10,700-10,800 บาทต่อตัน หรือหดตัว 0.3-1.2% จากช่วงเดียวกันปีก่อน

สำหรับราคาอ้อยเฉลี่ยปี 2562 อาจอยู่ที่ 700-710 บาทต่อตัน หรือหดตัว 0.4-1.8% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน ทำให้รายได้เกษตรกรปี 2562 อาจแย่ลงไปอีก โดยคาดว่า ผลจากภัยแล้งที่ อาจกินเวลาเพิ่มขึ้นอีก 2 เดือน จะยิ่งส่งผลกดดันซ้ำเติมรายได้เกษตรกรจากผลของแรงฉุดด้านผลผลิต ซึ่งจะส่งผลต่อภาพรวมรายได้เกษตรกรในปี 2562 ให้หดตัวเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 2.1-2.4%  เมื่อเทียบกับคาดการณ์เดิมที่หดตัว 1.2-1.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

จาก www.thansettakij.com  วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ธ.ก.ส.ชงรัฐบาลใหม่เพิ่มประสิทธิภาพ ข้าว อ้อย มัน ข้าวโพด เตรียมสินเชื่อหนุน 1.5 หมื่นล.

นายอภิรมย์ สุขประเสริฐ ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ธ.ก.ส.เตรียมแนวทางเพิ่มขีดความสามารถเกษตรกรและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตในพืชเกษตรหลัก เช่น ข้าว อ้อย มัน และข้าวโพด เสนอต่อรัฐบาลใหม่ โดยธนาคารมีสินเชื่อฟื้นฟูและเพิ่มประสิทธิภาพเตรียมไว้ให้กลุ่มเกษตรกรเข้ามากู้วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท ในอัตราดอกเบี้ยพิเศษ ถ้าเป็นกลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์ดอกเบี้ย MLR-2 หรือประมาณ 3%ต่อปี และกลุ่มลูกค่าทั่วไป MRR-2 หรือประมาณ 5% ต่อปี ซึ่งในการดูแลลูกค้าของ ธ.ก.ส.นอกจากจะปล่อยกู้แล้ว ธ.ก.ส.จะเข้าไปดูเป็นรายบุคคล ถึงความสามารถที่จะสร้างรายได้ โดยเฉพาะในกลุ่มพักหนี้ 2.92 ล้านราย

“ในปีที่ผ่านมา ธ.ก.ส.ได้ปล่อยกู้ให้กับโดรนใช้ในภาคเกษตรประมาณ 60 ลำ โดรนดังกล่าวมีราคาประมาณ 5 แสนบาท ใช้ในการหว่านเมล็ดพืช ให้ปุ๋ย ให้ยา ใช้เวลาน้อยกว่าใช้แรงงานคน และแม้จะค่าจ้างต่อไร่สูงกว่า แต่การใช้โดรนลดเวลา ปริมาณปุ๋ย ยา ลง ปีนี้หวังว่าจะสามารถปล่อยกู้ในลักษณะดังกล่าวเพิ่มขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในภาคการเกษตร” นายอภิรมย์กล่าว

จาก https://www.matichon.co.th   วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

บัญชีแหล่งน้ำ-บัญชีผู้ใช้น้ำ ฐานข้อมูลบริหารจัดการน้ำของประเทศ

ฐานข้อมูลแหล่งน้ำเท่าที่ประกาศมาโดยตลอด มีเพียงฐานข้อมูลแหล่งน้ำของกรมชลประทานเพียงเจ้าเดียว และเมื่อพูดถึงการบริหารจัดการน้ำก็จะเป็นการบริหารจัดการน้ำโดยกรมชลประทานเพียงหน่วยเดียว

 ทั้งที่แหล่งน้ำในประเทศนั้นมีจำนวนมากมายกว่าที่เห็น  มีความจุน้ำรวมกันมากกว่าเพียงความจุ 70,000 ล้านลูกบาศก์เมตรของกรมชลประทานเท่านั้น มีบทบาทมากกว่าที่ควรจะเป็นในการบริหารจัดการน้ำอย่างจริงจัง

 ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)กล่าวว่า สทนช. และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศหรือจิสด้า ร่วมกันจัดทำ “บัญชีแหล่งน้ำ” ของประเทศ โดยมีการแยกประเภทแหล่งน้ำใหม่ โดยยึดตามขนาดความจุเพียงอย่างเดียว จากเดิมที่มีนิยามหลากหลาย

 แหล่งน้ำขนาดใหญ่ ความจุ 100 ล้านลูกบาศก์เมตรขึ้นไป จำนวน 38 แห่ง ความจุรวม 71,421 ล้านลูกบาศก์เมตร ประกอบด้วยแหล่งน้ำภายใต้ความรับผิดชอบของกรมชลประทาน 25 แห่ง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) 11 แห่ง และแหล่งน้ำสาธารณะภายใต้กรมประมง 2 แห่ง ได้แก่ บึงบอระเพ็ดและหนองหาร

 แหล่งน้ำขนาดกลาง ความจุ 2 ล้านลูกบาศก์เมตร-100 ล้านลูกบาศก์เมตร จำนวน 662 แห่ง ความจุรวม 5,884 ล้านลูกบาศก์เมตร  ประกอบด้วยกรมชลประทาน 347 แห่ง กฟผ. 3 แห่ง กรมพัฒนาพลังงานทดแทนฯ 6 แห่ง กรมทรัพยากรน้ำ 65 แห่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 29 แห่ง กรมประมง 1 แห่ง กรมเจ้าท่า 1 แห่ง และแหล่งน้ำธรรมชาติ 50 แห่ง และยังมีแหล่งน้ำรอการยืนยันข้อมูลเพิ่มเติม 160 แห่ง

แหล่งน้ำขนาดเล็ก ความจุน้อยกว่า 2 ล้านลูกบาศก์เมตร มีจำนวน 142,304 แห่ง ความจุรวม 5,100 ล้านลูกบาศก์เมตร  ประกอบด้วย กรมชลประทาน 975 แห่ง กรมทรัพยากรน้ำ 387 แห่ง กรมพัฒนาพลังงานทดแทนฯ 1 แห่ง การประปาส่วนภูมิภาค 75 แห่ง กรมพัฒนาที่ดิน 4,015 แห่ง องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1,825 แห่ง สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม 105 แห่ง กฟผ. 2 แห่ง รอข้อมูลยืนยันอีก 36,535 แห่ง และอยู่ระหว่างตรวจสอบประมาณ 100,000 แห่ง

“จิสด้าจะพัฒนาแอพพลิเคชั่นในการจัดเก็บข้อมูลแหล่งน้ำ ขณะเดียวกัน ได้ประสานและทำงานร่วมกันกับกระทรวงมหาดไทยในการตรวจสอบข้อมูลแหล่งน้ำ โดยเฉพาะแหล่งน้ำขนาดเล็กที่มีจำนวนมากและกระจายทั่วประเทศ” ดร.สมเกียรติกล่าว

 ข้อมูลข้างต้นนี้ ทำให้เห็นภาพรวมของแหล่งน้ำและปริมาณน้ำได้ชัดเจน แม้จะยังไม่ยืนยันหรือตรวจสอบได้ทั้งหมดในขณะนี้ แต่อนาคตไม่ไกลนัก เลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า สามารถยืนยันหรือตรวจสอบได้ทั้งหมด

 เป็นข้อมูลที่ตุนอยู่ในมือ สทนช. ในฐานะหน่วยงานกลางบริหารจัดการน้ำของประเทศ

นอกจากบัญชีแหล่งน้ำแล้ว สทนช. ยังกำหนดให้หน่วยงานรับผิดชอบต่างๆ จัดทำบัญชีผู้ใช้น้ำ เมื่อมีทั้ง 2 บัญชีแล้ว การบริหารจัดการน้ำจะกระทำได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถเห็นที่มา ที่ไป และความสมดุลของน้ำได้ชัดเจนกว่าเก่า

 ที่สำคัญ สทนช. ยังทะยอยปรับปรุงเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำ (Rule Curve) สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง เพื่อให้อ่างเก็บน้ำเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำให้เกิดประสิทธิภาพและได้ประโยชน์มากขึ้น ทั้งในช่วงฤดูฝนและฤดูแล้ง เพราะน้ำทุกหยดล้วนมีค่า

 ดร.สมเกียรติยังกล่าวด้วยว่า เครื่องมือบริหารน้ำอีกส่วนคือสถานีวัดน้ำฝน สถานีวัดน้ำท่า และสถานีวัดคุณภาพน้ำ ที่มีหลายหน่วยงานกระจายรับผิดชอบก็ให้จัดทำเกณฑ์มาตรฐานเสียใหม่เช่นกัน เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันง่ายต่อการบริหารข้อมูลและใช้งานจริง โดยสถานีวัดน้ำฝน 94 แห่ง ดูแลโดยกรมอุตุนิยมวิทยา สถานีวัดน้ำท่า 47 แห่ง เป็นของกรมชลประทาน 44 แห่ง กรมทรัพยากรน้ำ 1 แห่ง และสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำเพื่อการเกษตร 2 แห่ง  สถานีวัดคุณภาพน้ำ 91 แห่ง เป็นของกรมควบคุมมลพิษ 73 แห่ง การประปานครหลวง 11 แห่ง และการประปาส่วนภูมิภาค 7 แห่ง

 “ถ้าใช้กันคนละเกณฑ์ คนละมาตรฐาน  การบริหารจัดการน้ำเดินไม่ได้เลย  จึงต้องปรับเป็นเกณฑ์มาตรฐานเดียวกันทั้งหมด”

เลขาธิการ สทนช. กล่าวอีกว่า จากการตรวจสอบพบว่า สถานีหลักเหล่านี้ยังไม่ครอบคลุมพื้นที่  หน่วยงานเกี่ยวข้องจึงเสนอติดตั้งเพิ่มเติม 88 แห่งโดยเพิ่มสถานีวัดน้ำฝน 53 แห่ง มีทั้งกรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำฯ และ กฟผ. และเพิ่มสถานีวัดน้ำท่า 35 แห่ง โดยกรมชลประทาน สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำฯ กรมทรัพยากรน้ำ และ กฟผ.

 “ถ้าเป็นในอดีต ต่างคนต่างคิด ต่างคนต่างทำ ก็จะขับเคลื่อนไปคนละทิศคนละทาง แต่เมื่อจัดตั้ง สทนช. เป็นหน่วยงานกลางก็ต้องบูรณาการทั้งแผนงานโครงการ งบประมาณ สามารถขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำได้อย่างเป็นระบบและมีพลัง ทำให้ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำของประเทศได้ดีขึ้น ประชาชนเองได้เห็นภาพรวมการบริหารจัดการน้ำชัดเจนมากขึ้นเช่นเดียวกัน” ดร.สมกียรติกล่าว

 เป็นการยืนยันความเป็นหน่วยงานกลางและการทำงานเป็นทีมของหน่วยงานด้านน้ำ เพื่อขับเคลื่อนการบริหารจัดการน้ำของประเทศอย่างมืออาชีพ

จาก www.banmuang.co.th  วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

แล้งกดอ้อยหาย4ล้านตัน จับตาม.44ลอยตัวราคาถึงก.ย.นี้

แล้งกดอ้อยหาย4ล้านตัน ลุ้นตลาดโลกดันขั้นต้นทะลุ 700 บ./ตัน จับตาม.44ลอยตัวราคถึงก.ย.นี้

นายบุญถิ่น โคตรศิริ ผู้อำนวยการสำนักบริหารอ้อยและน้ำตาลทราย เปิดเผยถึงสถานการณ์อุตสาหกรรมอ้อยฤดูการผลิต 2562-63 ว่า ขณะนี้ทุกฝ่ายกำลังติดตามภาวะภัยแล้งใกล้ชิด เนื่องจากหากแล้งจัดต่อเนื่องอาจส่งผลกระทบต่อปริมาณอ้อยในฤดูผลิตปี 2562/63 ที่จะเปิดหีบปลายปีนี้ลดลง เพราะจากระดับราคาอ้อยในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมาไม่สูงมากตามทิศทางราคาตลาดโลกส่งผลให้ไม่มีแรงจูงใจในการขยายพื้นที่เพาะปลูกอ้อย ดังนั้นหากไทยต้องประสบภัยแล้งและราคาตลาดโลกตกต่ำต่อเนื่องอาจกระทบให้ปริมาณอ้อยลดลง ประเมินการปิดหีบล่าสุดจะมีอ้อย 131 ล้านตันลดลงจากฤดูหีบที่ผ่านมาประมาณ 4 ล้านตัน

นายบุญถิ่นกล่าวว่า สำหรับกรณีกรมสรรพสามิตจะเก็บภาษีความหวานตามขั้นบันไดเพิ่มอีกวันที่ 1 ตุลาคม 2562-30 กันยายน 2564 เป็น 3 บาทต่อลิตรจากขณะนี้ 1 บาทต่อลิตรจะกระทบต่อการใช้น้ำตาลทรายในประเทศลดลงแต่จะมีผลชัดเจนปี 2563 แต่แนวโน้มอุตสาหกรรมอาหารยังเติบโตต่อเนื่องทำให้การใช้น้ำตาลทรายภาพรวมยังสูงขึ้นชดเชยส่วนที่ลดไปได้

นายวีระศักดิ์ ขวัญเมือง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย(กท.) กล่าวว่า ราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดโลกยังแกว่งตัวตามทิศทางน้ำมัน โดยราคาอ้อยขั้นต้นฤดูใหม่ปี 2562/63 หากดูราคาตลาดโลกล่วงหน้าขณะนี้คงจะดีกว่า 700 บาทต่อตัน แต่จะมากน้อยแค่ไหนก็คงต้องติดตามราคาตลาดโลก ขณะที่ฤดูการผลิต 2561/62 นั้นชาวไร่อ้อยได้รับเพิ่มจากปัจจัยการผลิตที่รัฐบาลจัดงบสนับสนุนตันละ 50 บาทและกองทุนอ้อยฯนำเงินที่จะได้รับมาจ่ายล่วงหน้าอีกตันละ 53 บาททำให้ชาวไร่อ้อยเฉลี่ยได้รับค่าอ้อยเป็น 803 บาทต่อตันที่ความหวาน 10 ซีซีเอส

นายชัยวัฒน์ คำแก่นคูณ นายกสมาคมกลุ่มชาวไร่อ้อยน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า ชาวไร่กำลังติดตามกรณีคำสั่งม.44 ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ลอยตัวราคาน้ำตาลทรายในประเทศที่จะสิ้นสุดคำสั่งในสิ้นเดือนกันยายน 2562 รัฐจะดำเนินการอย่างไรต่อไปโดยให้เกิดประโยชน์ต่อระบบอย่างแท้จริง ซึ่งที่ผ่านมาหลังการลอยตัวราคาน้ำตาลทรายส่งราคาขายปลีกน้ำตาลในประเทศปรับลดลงตามราคาตลาดโลกนับตั้งแต่ต้นปี 2561 แต่สินค้าที่ใช้น้ำตาลทรายเป็นวัตถุดิบโดยเฉพาะเครื่องดื่มกลับไม่ได้ลดราคาแต่อย่างใด ดังนั้นรัฐควรจะมองในประเด็นดังกล่าวเพื่อตัดสินใจในการดูแลราคาน้ำตาลทรายในประเทศหลังจากนี้ด้วย

รายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.) แจ้งว่า ราคาสำรวจน้ำตาลทรายในประเทศเฉลี่ยเดือนมีนาคม 2562 พบว่าน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์เฉลี่ย 17.48 บาทต่อกิโลกรัม(กก.) ลดลงจากมีนาคม 2561 ประมาณ 0.54 บาทต่อกก. ราคาน้ำตาลขาวธรรมดาอยู่ที่ 15.22 บาทต่อกก. ลดลงประมาณ 1.82 บาทต่อกก.

จาก https://www.matichon.co.th วันที่ 7 พฤษภาคม 2562

เร่ง 4 แผนพลังงานรับพีดีพีใหม่ สนพ.ชี้ต้องเร่งแผนก๊าซรับความต้องการในประเทศ

สนพ.เร่งจัดทำ 4 แผนพลังงานสอดรับแผนพีดีพีใหม่ รับแผนก๊าซฯต้องเกิดโดยเร็ว

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพัลังงาน(สนพ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดทำ 4 แผนพลังงานรองรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศปี2561-2580 (พีดีพี 2018) หลังผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2562 ว่า สนพ.จะต้องเร่งประชาสัมพันธ์ให้ทุกภาคส่วนมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับแผนพีดีพี ขณะเดียวกันกระทรวงพลังงาน จะต้องเร่งจัดทำร่างแผนแม่บทกระทรวงพลังงาน ปี2562-2566 และจัดทำ 4 แผนพลังงานได้แก่ แผนอนุรักษ์พลังงาน(อีอีพี),แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก(เออีดีพี),แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ และแผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง ให้สอดคล้องกับแผนพีดีพีฉบับใหม่

“แผนที่ต้องเร่งจัดทำอันดับแรก คือแผนก๊าซฯ เป็นหน้าที่ของกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติจะต้องดูว่าการจัดหาก๊าซจากในประเทศว่ามีปริมาณเท่าไร ต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี)เท่าไรรวมไปถึงระบบสาธารณูปโภคที่จะรองรับการนำเข้าเพียงพอหรือไม่อย่างไร เพื่อให้ทันกับการรองรับการผลิตไฟฟ้าตามแผนพีดีพีฉบับใหม่”นายวัฒนพงษ์กล่าว

นายวัฒนพงษ์กล่าวกล่าวว่า ตามร่างแผนพีดีพี ฉบับใหม่ ในปีนี้จะต้องมีความชัดเจนเรื่องกำลังผลิตไฟฟ้าในพื้นที่ภาคตะวันตกเป็นโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่(ไอพีพี)แห่งแรก กำลังผลิตรวม 1,400 เมกะวัตต์ แบ่งออกเป็น 2 โรง โรงละ 700 เมกะวัตต์ กระทรวงพลังงานได้มอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) ไปพิจารณาเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์กับประเทศมากที่สุด เบื้องต้นจะแบ่งออกเป็น 2 แนวทาง คือ โรงแรกจะเป็นการก่อสร้างทดแทนโรงไฟฟ้าไตรเอนเนอจี้ของ บริษัท ราชกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กำลังผลิต 700 เมกะวัตต์ จะสิ้นสุดอายุสัญญาเดือนกรกฎาคม 2563 ใช้รูปแบบการเจรจากับเจ้าของโรงไฟฟ้าเดิมเป็นหลัก ส่วนอีกโรงเป็นการสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ 700 เมกะวัตต์ อาจใช้เป็นรูปแบบการเปิดประมูลแข่งขัน โดยคาดว่า กกพ.จะสรุปแนวทางที่ชัดเจนในเร็วๆนี้

จาก  https://www.matichon.co.th วันที่ 3 พฤษภาคม 2562

เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าในระยะสั้น

กรุงศรีฯ คาดเงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าในระยะสั้น หลังเฟดคงดอกเบี้ย กังวลการค้าโลกชะลอตัว

กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มีความเห็นต่อผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ที่มีมติคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ในกรอบ 2.25-2.50% ซึ่งเป็นการตรึงดอกเบี้ยเป็นครั้งที่ 3 ติดต่อกัน ส่งผลให้เงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยและมองแนวโน้มเงินบาทอ่อนค่าในระยะ 1 เดือนข้างหน้าจากท่าทีแบ่งรับแบ่งสู้ของเฟด ความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของการค้าโลก

รวมถึงฤดูกาลจ่ายเงินปันผลของบริษัทจดทะเบียนกลับไปที่บริษัทแม่ในต่างประเทศ ขณะที่กระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายยังคงรอภาพความชัดเจนทางการเมืองในประเทศและนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลใหม่เป็นหลัก โดยประเมินว่าแม้เงินดอลลาร์จะมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอย่างช้าๆ ในระยะยาว แต่นักลงทุนยังคงลังเลที่จะขายเงินดอลลาร์ในช่วงนี้ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจยุโรปที่เปราะบาง

ประเด็นสำคัญจากความเห็นของประธานเฟด ที่ลดการคาดการณ์ของตลาดที่ว่าเฟดอาจปรับลดดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ และสนับสนุนมุมมองที่ว่าเฟดมีแนวโน้มตรึงดอกเบี้ยตลอดทั้งปี 2562 โดยเฟดเน้นย้ำถึงการใช้ความอดทนในการตัดสินใจกำหนดอัตราดอกเบี้ย ทั้งนี้ เฟดระบุว่าพอใจกับการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและมั่นใจว่าอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับต่ำจะขยับสูงขึ้นได้ในอนาคต แต่การใช้จ่ายของผู้บริโภคและการลงทุนของภาคธุรกิจชะลอตัวลงในไตรมาสแรก

สำหรับปัจจัยชี้นำถัดไปจะอยู่ที่ การเปิดเผยข้อมูลการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯในวันนี้ และความคืบหน้าการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐฯและจีน รวมถึงการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของไทยในสัปดาห์หน้า

จาก  https://www.innnews.co.th วันที่ 3 พฤษภาคม 2562

ส่งออกโตแค่3% สรท.ปรับลดเป้า/ห่วง5ปัจจัยเสี่ยงฉุด

เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2562 นางสาวกัณญภัค ตันติพิพัฒนพงศ์ ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธาน สรท. และนายคงฤทธิ์ จันทริก ผู้อำนวยการบริหาร สรท. แถลงการส่งออก ที่ สภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย อาคารลุมพินีทาวเวอร์

นางสาวกัณญภัคกล่าวว่า สรท.ปรับคาดการณ์การส่งออกปี 2562 โต3%(เดิมเคยประมาณการณ์ไว้ที่ 5%) บนสมมุติฐานค่าเงินบาท 33.0 (# 0.5) บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ (อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ 30 เม.ย. 2562 = 31.97 เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 31.7 – 32.1 บาทต่อเหรียญสหรัฐฯ)

โดยความเสี่ยงที่อาจเป็นอุปสรรคสำคัญประกอบด้วย 1. เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ทำให้กระทบกำลังซื้อ สอดคล้องกับ องค์การการค้าโลก (WTO) ประเมินว่าการค้าโลกเริ่มชะลอตัวลงชัดเจน 2. มูลค่าการส่งออกของเวียดนามที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในตลาดสหภาพยุโรปซึ่งเป็นตลาดศักยภาพของไทย แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการแข่งขันที่ปรับเพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่งเนื่องจากสินค้าส่งออกจากไทยและเวียดนามเป็นสินค้าที่มีความใกล้เคียงกันจนสามารถเป็นสินค้าทดแทนได้ จากความได้เปรียบทางด้านภาษีจากทั้งข้อตกลง GSP และ FTA

3. ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับช่วงที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการอ่อนค่าตามทิศทางภูมิภาค หลังดอลลาร์สหรัฐฯ แข็งค่ามากขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักทั้งหมด ซึ่งผู้ประกอบการหลายอุตสาหกรรมยังคงได้รับผลกระทบจากความผันผวน 4. ปรากฏการณ์เอลนิโญทำให้เกิดภัยแล้งซึ่งเป็นที่น่ากังวลต่อสินค้าเกษตรในกลุ่มพืชระยะสั้น แต่กลุ่มพืชยืนต้นจะยังไม่ได้รับผลกระทบเนื่องจากติดดอกมาจากในฤดูกาลที่แล้ว และ 5. แนวโน้มการปรับขึ้นค่าแรงอาจส่งผลกระทบต่อต้นทุนผู้ประกอบการขนาดเล็กที่ยังไม่สามารถปรับตัวได้

ส่วนปัจจัยบวกสำคัญคือ 1. เศรษฐกิจสหรัฐเติบโต 3.2% ในไตรมาสแรก มากกว่าที่คาดการณ์ที่ 2.3% อาจส่งผลให้เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าได้รับอานิสงส์เพิ่มขึ้น และ 2. เศรษฐกิจจีนในไตรมาสแรกขยายตัวที่ 6.4% ซึ่งมากกว่าที่ได้ทำการคาดการณ์ในช่วงก่อนหน้าว่าจะเติบโตที่ระดับ 6.3%

สำหรับการส่งออกเดือนมีนาคม 2562 มีมูลค่า 21,440.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯหดตัว -4.9% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) การส่งออกในรูปเงินบาทเท่ากับ 663,225 ล้านบาท หดตัว -5.6% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (YoY) ในขณะที่ การนำเข้าในเดือนมีนาคม 2562 มีมูลค่า 19,436 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว -7.6% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อน (YoY) ส่งผลให้ไตรมาสแรกไทยส่งออกรวมมูลค่า 61,988 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัว -1.6% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) คิดเป็นมูลค่าการส่งออกในรูปเงินบาทที่ 1,975,838 ล้านบาทหดตัว -2.1% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY)

สรท. มีข้อเสนอแนะที่สำคัญต่อรัฐบาลใหม่ ควรสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการส่งออกสินค้าและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของภูมิภาคสนับสนุนให้เกษตรกรจัดการพื้นที่ในการปลูกพืชตามความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ (Agriculture Zoning) เพื่อรับมือกับเอลนิโญ รวมถึงการทำเกษตรพันธะสัญญา (Contract Farming) 3. ภาครัฐควรเร่งจัดกิจกรรม Roadshow เพื่อพานักธุรกิจไทยไปเปิดตลาดและเจรจาการค้าระหว่างประเทศเพิ่มมากขึ้น

จาก  https://www.naewna.com  วันที่ 3 พฤษภาคม 2562

รายงานพิเศษ : รบ.น้อมนำพระราชปณิธาน‘ร.10’ สานต่อพระราชดำริ‘ร.9’พัฒนาแหล่งน้ำเพื่อราษฎร

สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ทรงตระหนักถึงความสำคัญของ “น้ำ” ที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับฐานะของราษฎรได้มั่นคงยั่งยืน ประกอบกับการที่ได้ทรงเรียนรู้การทรงงานด้านพัฒนาต่างๆ จากพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร สมเด็จพระบรมชนกนาถ ในการเสด็จฯไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจแต่ละครั้งนั้น นอกจากสร้างขวัญกำลังใจ และนำความปลื้มปีติสู่ราษฎรแล้ว ทรงศึกษาและทอดพระเนตรโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ด้วยความสนพระราชหฤทัย และพระราชทานแนวทางเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ราษฎรผู้รับประโยชน์จากโครงการนั้นๆ อีกด้วย

พระองค์ทรงริเริ่มโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการพัฒนาแหล่งน้ำ เมื่อครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร โดยเสด็จฯไปทอดพระเนตรพื้นที่โครงการอุทยานเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน ต.ยางหัก อ.ปากท่อ จ.ราชบุรี และโครงการสวนป่าสิริกิติ์ บ้านห้วยม่วง ต.ตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี เมื่อวันที่ 10 เมษายน 2534 ราษฎรต.ยางหัก ได้กราบบังคมทูลขอพระราชทาน ความช่วยเหลือด้านแหล่งน้ำ พระองค์จึงมีพระราชดำริให้กรมชลประทานพิจารณาจัดทำโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในตำบลยางหักอันเนื่องมาจากพระราชดำริขึ้น เพื่อช่วยเหลือราษฎรในพื้นที่ดังกล่าว

โครงการพัฒนาแหล่งน้ำในตำบลยางหัก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงนับว่าเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริโครงการแรกของพระองค์ โดยสร้างอ่างเก็บน้ำขึ้น 5 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำห้วยแม่ประจัน 2 อ่างเก็บน้ำบ้านพุกรูด อ่างเก็บน้ำเขาหัวแดง อ่างเก็บน้ำห้วยพุกรูด และอ่างเก็บน้ำหินสีตอนบน ในปัจจุบันอ่างเก็บน้ำทั้ง 5 แห่งดังกล่าว ส่งน้ำให้พื้นที่เพาะปลูกในตำบลยางหัก มากกว่า 7,300 ไร่ ได้ทั่วถึง ช่วยส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรม สร้างฐานะรายได้ที่ดีขึ้น ราษฎรที่เคยอพยพทิ้งถิ่นฐานบ้านเกิดไปเพราะการประกอบอาชีพที่ไม่ได้ผล พากันกลับสู่บ้านเกิดด้วยความหวังในชีวิตที่เกิดขึ้นจากน้ำพระราชหฤทัย

นับจากนั้นเป็นต้นมา เกือบทุกครั้งที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยเสด็จสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9 ไปทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่ต่างๆ มักจะทรงแยกไปทอดพระเนตรความเป็นอยู่ของราษฎรและพระราชทานแนวพระราชดำริพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อช่วยเหลือปัดเป่าความเดือดร้อนให้ราษฎรในพื้นที่นั้น

จากปี 2534 จนถึงปัจจุบัน โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว กระจายอยู่ทั่วทุกภูมิภาคของประเทศกว่า 100 โครงการ โดยโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้งหมด ได้อำนวยประโยชน์ สร้างฐานะทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีให้พสกนิกร ขณะเดียวกันก็สร้างความมั่นคง ความสงบสุข และประโยชน์กับสังคมโดยรวมของประเทศอีกด้วย

ทั้งนี้ พระองค์พระราชทานพระราชกระแสให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องติดตาม ขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ให้ครบถ้วนสมบูรณ์ บังเกิดประโยชน์สูงสุดกับราษฎร และเพื่อให้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริสำเร็จตามวัตถุประสงค์

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เปิดเผยว่า สทนช. ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลให้น้อมนำพระราชกระแสของ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาขับเคลื่อน และผลักดันโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รวมทั้งน้อมนำศาสตร์พระราชามาใช้บริหารจัดการน้ำของประเทศ โดยดำเนินการจัดลำดับความสำคัญพิจารณาแผนงาน งบประมาณโครงการพระราชดำริที่พร้อม ไม่ติดปัญหาอุปสรรคใดเป็นลำดับแรก ช่วง 1 ปีที่ผ่านมาสทนช.เสนอโครงการสำคัญเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ให้ความเห็นชอบ รวม 19 โครงการ ในจำนวนนี้เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 จำนวน 6 โครงการ เช่น โครงการประตูระบายน้ำศรีสองรัก จ.เลย อ่างเก็บน้ำลำสะพุง จ.ชัยภูมิ และประตูระบายน้ำลำน้ำพุง-น้ำก่ำ จ.สกลนคร นอกจากนี้ ยังร่วมกับ สำนักงาน กปร.ทำแผนการพัฒนาเพื่อให้ดำเนินโครงการได้ต่อเนื่อง

และที่สำคัญภายใต้แผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580) รัฐบาลยังได้กำหนดให้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นโครงการสำคัญเร่งด่วน ที่ต้องดำเนินการ พร้อมให้บูรณาการหน่วยงาน เร่งติดตามประสานการขับเคลื่อนโครงการพระราชดำริด้านพัฒนาแหล่งน้ำที่อยู่ระหว่างการขอใช้พื้นที่ โดยให้ สทนช. ดำเนินการร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยกรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และรายงานให้ สำนักงาน กปร.ทราบ

“สทนช. ได้กำหนดทิศทางการดำเนินงานยึดโยงกับแนวทางพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร รัชกาลที่ 9 เรื่องบูรณาการหน่วยงานแก้ปัญหาน้ำร่วมกัน ดังเช่น กรณีการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งได้มีพระราชดำริให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำงานด้วยกัน แทนที่จะเป็นเพียงหน่วยงานเดียวอย่างที่เคยเป็นมา อีกทั้งยังร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการขับเคลื่อนงานโครงการพระราชดำริให้เป็นไปอย่างรวดเร็ว มีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะสานงานต่อ ก่องานใหม่ จัดการน้ำตามแนวพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10” เลขาธิการ สทนช. กล่าว

สำหรับโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 กว่า 100 โครงการทั่วประเทศ ส่วนใหญ่เป็นโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็ก มีทั้งที่เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระองค์ และที่เกิดขึ้นจากขอพระราชทานโครงการจากราษฎรในพื้นที่ ซึ่งทุกโครงการล้วนสนับสนุนให้ประชาชนมีน้ำใช้เพื่ออุปโภค-บริโภค การประกอบอาชีพ และกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณในสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงตระหนักถึงความสำคัญของ “น้ำ” และการพัฒนาแหล่งน้ำที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของราษฎรได้อย่างมั่นคงยั่งยืน ภายหลังจากปี 2534 ที่ทรงริเริ่มโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านการพัฒนาแหล่งน้ำโครงการแรกถึงปัจจุบันโครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระองค์ ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ได้อำนวยประโยชน์ สร้างฐานะทางเศรษฐกิจและคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับพสกนิกร ขณะเดียวกัน ด้วยพระราชปณิธานที่จะมุ่งสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทำให้วันนี้ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำอันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นจุดเริ่มต้นสำคัญในการพัฒนาอาชีพ ความเป็นอยู่ของราษฎร สร้างความมั่งคั่ง มั่นคง และยั่งยืน สร้างรอยยิ้ม และความปีติสุขให้เกิดขึ้นกับพสกนิกรในพระองค์ตราบนานเท่านาน

จาก  https://www.naewna.com  วันที่ 3 พฤษภาคม 2562

พาณิชย์แนะผู้ส่งออกใช้ประโยชน์FTA

กระทรวงพาณิชย์ แนะผู้ส่งออก ใช้ประโยชน์ เอฟทีเอ 2 ฉบับ ช่วยส่งออกญี่ปุ่น หลังถูกตัด GSP

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ญี่ปุ่นได้ประกาศตัดสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร หรือ GSP กับไทยตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ที่ผ่านมา เนื่องจากในช่วงปี 2556-2558 ไทยเป็นประเทศที่มีรายได้ประชาชาติต่อหัวอยู่ในเกณฑ์ปานกลางระดับสูง จึงถูกตัดสิทธิดังกล่าว แต่เชื่อว่าจะไม่มีผลกระทบต่อผู้ส่งออกของไทย เนื่องจากปัจจุบันผู้ส่งออกหันมาใช้สิทธิประโยชน์จากเอฟทีเอ 2 ฉบับ ได้แก่ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจที่ใกล้ชิดไทย-ญี่ปุ่น หรือ JTEPA และ ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น หรือ AJCEP ซึ่งให้สิทธิประโยชน์มากกว่า

ทั้งนี้ ในปี 2561 ไทยใช้สิทธิประโยชน์จาก JTEPA และ AJCEP รวมมูลค่ากว่า 7,566 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 9 จากปีที่ผ่านมา คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 30.3 ของมูลค่าการส่งออกรวมไปญี่ปุ่น ในขณะที่มีการส่งออกโดยใช้สิทธิ GSP เพียง 7.85 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 0.03 ของมูลค่าการส่งออกรวมไปญี่ปุ่น โดยผู้ส่งออกไทยควรศึกษาและเพิ่มมูลค่าการใช้ประโยชน์ภายใต้กรอบเอฟทีเอ ดังกล่าวให้มากขึ้น โดยญี่ปุ่นถือเป็นคู่ค้าอันดับ 2 ของไทย รองจากจีน โดยในปี 2561 การค้ารวมระหว่างไทยกับญี่ปุ่นมีมูลค่า 60,201 ล้านเหรียญสหรัฐ สูงกว่าปี 2560 ร้อยละ 11.24

จาก https://www.innnews.co.th  วันที่ 2 พฤษภาคม 2562

“กฤษฎา”ทิ้งทวน! นโยบายแก้ปัญหาเกษตรกรอย่างไรให้สำเร็จ

รัฐมนตรีเกษตรฯ ทิ้งทวนเปิดเคล็ดลับนโยบายแก้ปัญหาเกษตรกรอย่างไรให้สำเร็จ แนะบูรณาการร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานสังกัดเกษตร ผนึกกำลังเป็นหนึ่ง ดึงเอกชนร่วม เปิดช่องทางให้เกษตรกรมีที่จำหน่ายผลผลิตยั่งยืน ขีดเส้นเดือน พ.ค.ต้องส่งรายงาน!! หวังลดภาระการเงินการคลังประเทศ ไม่เป็นปัญหากับรัฐบาลใหม่

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ในข้อแนะนำในการทำงานตามภารกิจและบทบาทใหม่ให้ประสบความสำเร็จ (Coaching Tips)ตามที่ได้กำหนดให้หน่วยงานในสังกัดเกษตรในพื้นที่และในส่วนกลางได้ปรับภารกิจและบทบาทใหม่ให้ครอบคลุมทั้งงานด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตและงานด้านการประสานงานร่วมกับหน่วยงานรัฐและภาคเอกชนเพื่อให้เกษตรกรมีช่องทางจำหน่ายผลผลิตหรือมีตลาดรองรับผลผลิตซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาราคาผลผลิตตกต่ำที่ทำให้เกษตรกรมาเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยเหลือและสนับสนุนงบประมาณจำนวนมากในการพยุงราคาสินค้าเกษตรในรูปแบบโครงการต่างๆ ซึ่งเป็นปัญหาภาระการเงินและการคลังของประทศ นั้น

“ ขอทบทวนแนวทางและวิธีการทำงานดังกล่าวข้างต้นซึ่งได้ชี้แจงผ่านการประชุมทางไกล ผ่านระบบ Web Conference ไปทุกจังหวัดแล้วอีกครั้งหนึ่ง ดังนี้ ขอให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัดร่วมกับเกษตรจังหวัดไปขอพบ ผวจ. ซึ่งทำหน้าที่เป็นประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัด (อ.พ.ก.) ตามพ.ร.บ. เศรษฐกิจการเกษตร พ.ศ.2522 เพื่อชี้แจงแนวทางการทำงานตามภารกิจและบทบาทใหม่ของหน่วยงานในสังกัด กระทรวง เพื่อให้ผู้ว่าราชการจังหวัดได้พิจารณาสนับสนุนแนวทางการทำงานดังกล่าวซึ่งจะทำให้การปฏิบัติงานของหน่วยงาน  ในจังหวัดได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานรัฐและภาคเอกชนในจังหวัดมากขึ้น รวมทั้ง ผวจ. อาจสนับสนุนงบประมาณพัฒนาจังหวัดหรือกลุ่มจังหวัดแบบบูรณาการและหรือจากองค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) มาใช้สนับสนุนการดำเนินงานตามภารกิจและบทบาทใหม่ของหน่วยงานภายในจังหวัดได้ด้วย”

นายกฤษฎา กล่าวว่า เนื่องจากคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัด (อ.พ.ก.) มีองค์ประกอบที่มาจากหน่วยงานรัฐและภาคเอกชน จึงขอให้ใช้การประชุม อ.พ.ก. ในการตกลงกันเพื่อจัดกลุ่มงานและมอบหมายภารกิจให้หน่วยงานต่างๆ ไปปฏิบัติในรูปคณะทำงานเฉพาะกิจ (Task Force) ดังนี้

คณะทำงานการส่งเสริม สนับสนุนการผลิต และจัดทำข้อมูลด้านการผลิต (Supply Side) มีหน้าที่ในการวางแผนการผลิตและส่งเสริมรวมทั้งการสนับสนุนการผลิตของเกษตรกรในพื้นที่ตามความต้องการของตลาดโดยมอบหมายให้เกษตรจังหวัด/ปศุสัตว์จังหวัด/ประมงจังหวัดเป็นหน่วยงานหลักโดยมีหน่วยงานสนับสนุน เช่น พัฒนาที่ดิน/ชลประทาน/ปฏิรูปที่ดิน/ศูนย์หรือสถานีในสังกัดกรมวิชาการเกษตร/กรมการข้าว/กรมฝนหลวงและการบินเกษตร/กรมหม่อมไหมซึ่งมีที่ตั้งในพื้นที่เป็นหน่วยสนับสนุนในการส่งเสริมและวางแผนรวมทั้งการสนับสนุนการผลิตด้วย

2 คณะทำงานการประสานงานด้านการตลาด (Demand Side) มีหน้าที่ในการประสานงานกับหน่วยงานรัฐและภาคเอกชนเพื่อรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลแนวโน้มความต้องการสินค้าเกษตรของตลาดรวมทั้งแนะนำและอำนวยความสะดวกหน่วยงานรัฐและภาคเอกชนให้เข้ามาซื้อผลผลิตจากเกษตรกรโดยมอบหมายให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัด ,สหกรณ์จังหวัดและสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรเขต 12 เขต ทำหน้าที่ประสานงานกับ พาณิชย์ /นพ.สสจ./ผอ.ทัณฑสถาน/ผู้บริหารสถาบันการศึกษา/ผบ.กกล.ทหาร&ตำรวจและภาคเอกชนเช่น หอการค้า/สภาอุตสาหกรรม/ห้างสรรพสินค้า (Modern Trade)/ศูนย์รวบรวมและกระจายสินค้าของกลุ่มค้าปลีกเอกชน (DC)/ผอ.นิคมอุตฯ/เจ้าของโรงงานที่มีคนงานจำนวนมากเพื่อให้พิจารณารับซื้อผลผลิตทางการเกษตรไปใช้ในหน่วยงานหรือนำไปจำหน่ายในตลาดภายในประเทศหรือส่งออกต่างประเทศด้วย

“ในระยะเริ่มต้นของการดำเนินงานตามภารกิจใหม่นี้ ขอให้เกษตรจังหวัดได้แนะนำและประสานงานให้สมาชิกกลุ่มเกษตรกรสมัยใหม่ (Young Smart Farmers) ที่เป็นบุตรหลานของเกษตรกรในพื้นที่และผ่านการอบรมจากสำนักเกษตรจังหวัดแล้วให้เข้ามามีบทบาทร่วมในการทำหน้าที่ทั้งฝ่ายส่งเสริมการผลิตและฝ่ายประสานงานระหว่างกลุ่มเกษตรกรกับหน่วยงานรัฐหรือภาคเอกชนที่เข้ามารับซื้อผลผลิตในพื้นที่ด้วย

นายกฤษฎา เผยว่า.ในการทำงานตามภารกิจและบทบาทข้างต้นเมื่อ อ.พ.ก. สามารถประสานและเชื่อมโยงระหว่างฝ่ายเกษตรกรผู้ผลิตกับฝ่ายการตลาดได้แล้ว ก็อาจจะพัฒนาระบบการผลิตทางการเกษตรในพื้นที่ให้สอดคล้องหรือสนองตอบต่อนโยบาย “การตลาดนำการผลิต” รวมทั้งการนำมาขยายผลหรือต่อยอดโครงการและแผนงานการเกษตรสำคัญๆซึ่ง รมว.กษ. ได้สั่งการหรือมอบหมายไปแล้วให้ต่อเนื่องกันได้ดังนี้

“ให้คณะทำงานการส่งเสริม สนับสนุนการผลิต และจัดทำข้อมูลด้านการผลิต (Supply Side)  แนะนำเกษตรกรทำการเกษตรหรือผลิตตามความต้องการของตลาด หรือผลิตให้ได้ตามคุณสมบัติที่ผู้รับซื้อกำหนด เช่น การเกษตรปลอดภัย (GAP) หรือเกษตรอินทรีย์ (Organic) หรือในกรณีที่ผู้ซื้อหรือตลาดต้องการสินค้าเกษตรจำนวนมากและตกลงทำสัญญารับซื้อระยะยาวก็อาจสนับสนุนให้เกษตรกรรวมกลุ่มกันทำการเกษตรในรูปวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่ (Mega Farm Enterprise) หรือใช้เครื่องจักรกลหรือเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่ทำเกษตรแม่นยำ(Precision) เข้ามาใช้ในกลุ่มวิสาหกิจเกษตรแปลงใหญ่เพื่อเป็นการลดต้นทุนการผลิต”

 สำหรับคณะทำงานการประสานงานด้านความต้องการของตลาด (Demand Side) พิจารณาว่าหากมีกลุ่มเกษตรกรหลายกลุ่มและหรือมีการผลิตได้จำนวนมากก็ให้แนะนำหรือประสานงานกับภาคเอกชนให้เข้ามาตั้งโรงงานรับซื้อผลผลิตหรือตั้งโรงงานแปรรูปหรือโรงถนอมอาหารภายในพื้นที่ด้วยก็ได้ ทั้งนี้ให้สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดและหรือสำนักงานสหกรณ์จังหวัดประสานงานกับธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธกส.) ในพื้นที่ให้เข้าไปพิจารณาสนับสนุนทุนในรูปเงินกู้ให้แก่กลุ่มเกษตรกรเพื่อขยายการผลิตให้สอดคล้องกับปริมาณความต้องการของตลาดที่มากขึ้นด้วย

“เมื่อกลุ่มเกษตรกรเริ่มมีความเข้มแข็งหรือผลผลิตเริ่มเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้นแล้ว ขอให้สหกรณ์จังหวัดเข้าไปส่งเสริมและสนับสนุนให้กลุ่มเกษตรกรรวมตัวกันจดทะเบียนเป็นสหกรณ์การเกษตรหรือวิสาหกิจชุมชนเพื่อให้มีตัวแทนของกลุ่มเกษตรกรเข้ามาทำหน้าที่ในการติดต่อเพื่อขายผลผลิตกับภาคเอกชนโดยตรงแทนหน่วยงานรัฐต่อไป”

อย่างไรก็ตามขอให้ที่ประชุม อ.พ.ก. จังหวัด นำข้อมูลที่ได้จากคณะทำงานเฉพาะกิจ ประเมินสถานการณ์และปัญหาการเกษตรของพื้นที่ในด้านต่างๆ เพื่อพิจารณาว่าควรจะมีการปรับเปลี่ยนแผนการผลิตทางการเกษตรของพื้นที่การเกษตรที่ไม่เหมาะสม ไปใช้พื้นที่ให้สอดคล้องกับแผนที่เกษตร (Agri-Map) หรือลดการทำเกษตรเชิงเดี่ยวไปทำการเกษตรแบบผสมผสานหรือเกษตรทฤษฎีใหม่ตามพระราชดำริหรือลดการทำเกษตรกรรมจากชนิดหนึ่งไปทำการเกษตรชนิดใหม่ที่เป็นความต้องการของตลาดเพื่อลดปัญหาสินค้าเกษตรล้นตลาด (Over Supply) เช่น ลดพื้นที่สวนยางพาราหรือสวนปาล์ม ไปปลูกกล้วยหอม กาแฟ หรือพืชผัก แซมระหว่างแถวต้นยางพารา หรือต้นปาล์ม หรือลดพื้นที่การทำนาปรัง ไปปลูกพืชตระกูลถั่วหรือข้าวโพดอาหารสัตว์ที่ตลาดต้องการ เป็นต้น

ในส่วนกลาง นั้น ขอให้ ปลัดเกษตรจัดกลุ่มงานและมอบหมายภารกิจให้สำนักงานปลัด/กรมหรือหน่วยงานเทียบเท่าและหน่วยงานรัฐวิสาหกิจรวมทั้งองค์การมหาชนในสังกัดเกษตรให้สอดคล้องเชื่อมโยงกับภารกิจงานในพื้นที่เพื่อให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานอำนวยการและสนับสนุนการทำงานในระดับพื้นที่ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยให้แบ่งเป็นกลุ่มงานดังนี้

“กลุ่มงานการวางแผน ส่งเสริม สนับสนุน และรายงานสถานการณ์การผลิตทางการเกษตร ให้มอบหมาย กรมส่งเสริมการเกษตร กรมปศุสัตว์ กรมประมงกรมชลประทาน กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (สปก.) กรมวิชาการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ฯลฯ รวมทั้งรัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน ในสังกัด กษ. เช่น สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร ทำหน้าที่อำนวยการวางแผน ส่งเสริม สนับสนุน และรายงานสถานการณ์การผลิต (Supply) ของประเทศ ให้สอดคล้องกับความต้องการ (Demand) ของตลาดในประเทศและตลาดต่างประเทศ”

นายกฤษฎา กล่าวเพิ่มเติมว่า กลุ่มงานการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ให้มอบหมายสำนักงานปลัดกระทรวง กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศทุกแห่ง ฯลฯ รวมทั้งรัฐวิสาหกิจและองค์การมหาชนในสังกัด ได้แก่ การยางแห่งประเทศไทย (กยท) องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) องค์การสะพานปลา และองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร เพื่อทำหน้าที่รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และอำนวยความสะดวกรวมทั้งการประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในและต่างประเทศ

เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม กลุ่มสานพลังประชารัฐ หอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ค้าสินค้าเกษตรหรืออาหารที่มาจากผลผลิตทางการเกษตร ฯลฯ เพื่อให้ทราบแนวโน้มราคาและความต้องการสินค้าเกษตรของตลาดทั้งในและต่างประเทศ และหรือมารับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรและหรือกลุ่มเกษตรกรโดยตรงในราคาที่เป็นธรรมและยั่งยืน ขอให้คณะทำงานเฉพาะกิจใที่มอบหมายโดยคณะอนุกรรมการพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัด (อ.พ.ก.) และกลุ่มงานส่วนกลางที่แต่งตั้งโดย ปลัดเกษตรรายงานข้อมูลความก้าวหน้าและสถานการณ์ด้านการผลิตและการตลาดทั้งหมด ให้กับปลัดเกษตรรับทราบ

เพื่อขอให้สำนักงานปลัดกระทรวงออกแบบรูปแบบการจัดเก็บข้อมูลและเป็นศูนย์กลางในการรวบรวมข้อมูลทั้งหมดเพื่อให้สามารถนำข้อมูลทั้งหมดมาใช้ในการตัดสินใจเชิงนโยบายได้อย่างทันท่วงที และมอบหมายให้ ผู้ตรวจกระทรวงทุกเขตได้ไปติดตามการทำงานในพื้นที่ว่าได้ดำเนินการตามภารกิจข้างต้นไปแล้วอย่างไรหรือไม่ขอให้ตรวจสอบและกำชับเป็นรายจังหวัดทุกจังหวัดต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2562 ให้จงได้!!

จาก www.thansettakij.com วันที่ 1 พฤษภาคม 2562

ร้อน แล้ง กระทบเงินเฟ้อเดือนเมษายนพุ่ง

 ร้อน แล้ง กระทบเงินเฟ้อเดือนเมษายน พุ่งสูงกว่าปีก่อน ร้อยละ 1.23 ส่วนการท่องเที่ยวไตรมาสแรกยังมาแรง ยอดใช้น้ำมันโตร่วม 2%

วันนี้แม้เป็นวันหยุดของภาคเอกชน และรัฐวิสาหกิจ เนื่องจากวันแรงงานแห่งชาติ แต่หน่วยงานราชการทำงานตามปกติ และวันนี้กระทรวงพาณิชย์แถลงตัวเลขเงินเฟ้อเดือนเมษายน พบว่า สูงขึ้นร้อยละ 1.23 เมื่อเทียบกับเดือนเมษายนปีที่แล้ว ปัจจัยสำคัญคือการเพิ่มขึ้นต่อเนื่องจองราคาอาหารสด ที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่ร้อนแห้งแล้งและมีแนวโน้มรุนแรงกว่าปีที่ผ่านมา กระทบต่อผลผลิตสินค้าเกษตรหลายชนิด เช่น มะนาว ราคาไม่ต่ำกว่า 7 บาท/ผล ราคาเนื้อสุกรก็ปรับเพิ่มขึ้น แต่ก็มีการร่วมกันดูแลราคาไม่ให้เกิน 150 บาท/กก. ผักสดอื่นๆ ก็ปรับเพิ่มขึ้น พริกสด ต้นหอม ถั่วฝักยาว เป็นต้น ส่งผลให้ข้าวราดแกง กับข้าวสำเร็จรูปมีราคาแพงขึ้นด้วย ในขณะที่ราคาน้ำมันก็แพงขึ้นตามปัจจัยตลาดโลกไม่ว่าจะเป็นการคุมกำลังผลิตของกลุ่มโอเปกพลัส การที่สหรัฐคว่ำบาตรอิหร่าน เวเนซุเอลา ส่วนค่าโดยสารที่มีการปรับขึ้นไปแล้วนั้นกระทรวงพาณิชย์คาดว่าจะไม่ส่งผลกระทบกับเงินเฟ้อในเดือนถัดไปมากนัก และกระทรวงพาณิชย์ยังไม่ปรับอัตราคาดการณ์เงินเฟ้อทั้งปี แม้หลายหน่วยงาน เช่นกระทรวงการคลังจะมีการปรับเป้าเงินเฟ้อแล้วก็ตาม โดยยังคงเคลื่อนไหวอยู่ในกรอบที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 0.7 - 1.7 มีค่ากลางอยู่ที่ ร้อยละ 1.2 บนพื้นฐานจีดีพีขยายตัว ร้อยละ 3.5 - 4.5

ส่วนการใช้น้ำมัน ไตรมาสแรกของประเทศ เปิดเผยโดยกรมธุรกิจพลังงานพบว่ายอดเฉลี่ยทุกผลิตภัณฑ์โตขึ้นร้อยละ 1.8 เป็นการเพิ่มขึ้นของกลุ่มน้ำมันเบนซินถึงร้อยละ 3.21 กลุ่มน้ำมันอากาศยานร้อยละ 2.23 กลุ่มน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว ร้อยละ 1.68  และแอลพีจี ร้อยละ 1.58 ส่งผลให้ไทยมีการนำเข้า เฉลี่ย 993,182 บาร์เรลต่อวัน มูลค่าการนำเข้ารวม 184,915 ล้านบาท ปริมาณนำเข้าโตขึ้นร้อยละ 1.4% แต่มูลค่าการนำเข้าลดลง 5,437 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.9 เนื่องจากได้รับอานิสงส์ ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น โดยการใช้น้ำมันไตรมาสแรกเพิ่มขึ้นมาจากปัจจัยหลักได้แก่ การท่องเที่ยวของไทยที่เติบโตต่อเนื่อง ประกอบกับเป็นช่วงฤดูเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรทำให้เกิดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงโดยรวมปรับเพิ่ม สำหรับยอดขายน้ำมันพบว่า ปตท.ยังคงเป็นแชมป์อันดับหนึ่ง ตามมาด้วยเอสโซ่ บางจาก เชลล์ และเชฟรอนหรือคาลเท็กซ์

อีกหนึ่งเรื่องหากจำกันได้กลางปีที่แล้ว ครม. มีมติเห็นชอบหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดให้ทรัพย์สินอื่นเป็นหลักประกันทางธุรกิจ โดยกำหนดให้ไม้ยืนต้นที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจ 58 ชนิด เช่น ไม้ปีบ ไม้สกุลมะม่วง ไม้ทุเรียน ไม้สัก ไม้มะหาด เป็นต้น  มาเป็นหลักประกันทางธุรกิจเพื่อกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินได้ เพื่อสนับสนุนให้ผู้ประกอบการมีโอกาสในการประกอบธุรกิจมากขึ้น แต่ความเชื่อมั่นของธนาคารพาณิชย์ในการปล่อยกู้ ก็เรียกได้ว่าจะปล่อยอย่างไร หลักประกันทำอย่างไร โดยเฉพาะเกษตรกรรายย่อย

 เมื่อวานนี้ กรมพัฒนาธุรกิจการค้าก็พานายธนาคารลงพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรีและราชบุรี ไปดูไม้โตเร็ว ที่ภาคเอกชนส่งเสริมเกษตรกรปลูกยูคาลิปตัส แล้วเอกชนนำไปแปรรูปได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการทำกระดาษ ทำกล่อง ทำแพ็กเกจจิ้งต่างๆ  โดยหวังว่า เมื่อนายแบงก์มีความเข้าใจแล้ว ก็จะสามารถทำหลักเกณฑ์ในการปล่อยกู้ต่อเกษตรกรเพื่อเสริมสภาพคล่องได้ ในช่วงระหว่างรอไม้ให้เติบโต เพราะกว่าจะปลูกยูคาลิปตัสแล้วส่งโรงงานได้ ต้องใช้เวลา 3-5 ปี ซึ่งพบว่าเกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกยูคาลิปตัสต่างเห็นว่าโครงการใช้ต้นไม้เป็นหลักประกันจะได้มีประโยนช์มาก โดยหากปลูก 5-10 ไร่ ก็ต้องการเงินกู้ 50,000-100,000 บาท จึงอยากให้สถาบันการเงินช่วยมาสนับสนุน โดยขณะนี้ตลาดต่างประเทศที่มีความต้องการไม้ยูคาลิปตัสสูง เช่น จีนและญี่ปุ่น โดยเฉพาะไม้ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน FSC การรับรองมาตรฐานป่าไม้ที่มุ่งเน้นเรื่องความยั่งยืน ราคาขายไม้ยูคาฯปรับตัวจาก 130 ดอลลาร์สหรัฐ เป็น 145 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ซึ่งบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ บสย. ก็พร้อมสนับสนุนในเรื่องการค้ำประกันด้วย โดยที่ผ่ายมาเกษตรกรรายใหญ่ได้รับการอุดหนุนสินเชื่อบ้างแล้ว แต่รายย่อยยังไม่ได้รับการสนับสนุน.

จาก https://tna.mcot.net  วันที่ 1 พฤษภาคม 2562

.“สอน.” ลุยจับมือองค์กรชั้นนำหนุนชาวไร่อ้อยเป็นเกษตร 4.0

แม้ปัจจุบันไทยจะส่งออกน้ำตาลเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากบราซิลทำรายได้ส่งออกปีละ 200,000 ล้านบาท แต่ไทยยังมีจุดอ่อนที่ระยะยาวอาจเกิดการเสียดุลการค้าถ้าไม่เร่งปรับปรุงประสิทธิภาพ-ความสมารถเกษตรกรชาวไร่อ้อย โดยส่วนใหญ่ยังถือว่าขาดองค์ความรู้ในการปลูกและบริหารจัดการไร่อ้อยที่ดี ซึ่งอาจส่งผลต่อศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลกได้

ที่ผ่านมา “สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย” ในฐานุหน่วยงานนสังกัดกระทรวงอุตสาหกรรมที่มีบทบาทและวิสัยทัศน์ “ผลักดันอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายด้วยนวัตกรรมสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูงภายในปี 2564”  ก็ไม่นิ่งนอนจีแนวทางสนับสนุนการใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาช่วยชาวไร่อ้อยในการบริหารจัดการไร่อย่างต่อเนื่อง เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาเกษตรกรที่ทันสมัย เป็นเกษตรกร 4.0 (Smart Farmers)

นางวรวรรณ  ชิตอรุณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2561 สอน. ได้ดำเนินโครงการ “การพัฒนาและสาธิตการเพิ่มผลผลิตในเกษตรแปลงใหญ่สมัยใหม่” โดยนำเครื่องจักรกลทางการเกษตรรุ่นใหม่มาใช้ในการเตรียมและปลูกอ้อย พร้อมกับพัฒนาระบบสารสนเทศ เชื่อมคนกับอินเตอร์เน็ตสิ่งของกับอินเตอร์เน็ต เพื่อให้เกษตรกรสามารถบันทึกข้อมูล บริหารต้นทุนการปลูก ไปพร้อมกับการเห็นพื้นที่ไร่ของตนเองผ่านโดรน รวมถึงมีการนำเทคโนโลยีเสมือนจริง (Aug - mented Reality) มาใช้งานโดยมีการเฝ้าติดตาม ประเมินผลและตรวจสอบต้นทุนการผลิตอย่างละเอียดทุกขั้นตอนผ่านเว็บแอพพลิเคชั่น Thai smartarming.com ตลอดจนมีการจัดสัมมนาเผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตรแปลงใหญ่ เพื่อเพิ่มผลผลิตอ้อยให้กับชาวไร่อ้อยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

ล่าสุด ผลักดันให้มีโครงการ “การเพิ่มศักยภาพการผลิตอ้อยมุ่งสู่ Smart Farming“ เน้นเข้าถึงทั้งเกษตรกรขนาดเล็ก-กลาง-ใหญ่มากขึ้น เพื่อสร้างกลุ่มเกษตรกรต้นแบบในการดำเนินการบริหารจัดการอ้อยตามแนวคิด Smart Farming ที่พัฒนาครบทั้งกระบวนการปลูกอ้อยตั้งแต่การเตรียมดินจนถึงการจัดการไร่หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ที่ใช้งานระบบสารสนเทศในการบริหารจัดการไร่อ้อยอย่างมีประสิทธิภาพผ่านเว็บฯและทำได้จริงโดย 25 เมษายนที่ผ่านมา ได้จัดให้มีพิธีบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ “การเพิ่มศักยภาพการผลิตอ้อยมุ่งสู่ Smart Farming  แบบระยะ 5 ปี ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) ,บมจ.เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์คอร์เปอเรชั่น (KTIS) และสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 11 จังหวัดนครสวรรค์ ณ ห้องแซฟไฟร์  โรมแรมเซ็นจูรี่ พาร์ค

นางวรวรรณ ชิตอรุณ กล่าวว่า การบันทึกข้อตกลงครั้งนี้ สอน. จะสนับสนุนในด้านงบประมาณ มจพ. สนับสนุนด้านบุคลากร เครื่องมือ อุปกรณ์ ห้องปฏิบัติการ ขณะที่ KTIS สนับสนุนด้านสถานที่ ข้อมูล การนำไปทดสอบใช้และแนวทางสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 11 นครสวรรค์ สนับสนุนด้านข้อมูลและร่วมกันประชาสัมพันธ์ไปยังเกษตรกรชาวไร่อ้อยทั่วประเทศ ซึ่งโครงการดังกล่าวได้เลือกขยายผลการดำเนินงานไปยังกลุ่มเกษตรกรชาวไร่อ้อยพื้นที่ จ.นครสวรรค์  พิจิตร  สุโขทัย  เป็นกลุ่มแรกที่มีความพร้อม ไม่ว่าจะเป็นรายเล็ก (พื้นที่ปลูกอ้อย 1-59 ไร่) รายกลาง (60-199 ไร่) ไปจนถึงรายใหญ่ (ตั้งแต่ 200 ไร่) จำนวนไม่น้อยกวา 30 ราย โดยกลุ่มนี้จะเป็นต้นแบบให้ชาวไร่อ้อยรายอื่นๆ เห็นว่าการทำไร่อ้อยแบบ Smart Farming   ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ด้วยการนำเทคโนโลยีและเครื่องจักเข้ามาใช้อย่างเหมาะสมและแม่นยำ สามารถลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตได้

แม้ไทยยังเป็นรองประเทศคู่เข่งในแง่ปริมาณและคุณภาพของอ้อยที่ผลิตได้โดยผลผลิตต่อไร่อยู่ที่ 10.29 ตันต่อไร่ และค่าความหวานอยู่ที่ 11 - 12 ซี.ซี.เอส. ต่ำกว่าประเทศคู่แข่งซึ่งอยู่ที่ระดับ 12.5 - 14 ซี.ซี.เอส. ก็ตามการสนับสนุนผ่านโครงการดังกล่าว จะไม่เพียงทำให้ผลผลิตสูงขึ้น ต้นทุนต่ำลง แต่ยังสามารถแข่งขันในตลาดอาเซียนและตลาดโลกในระยะยาวได้อีกด้วย

จาก https://www.prachachat.net  วันที่ 1 พฤษภาคม 2562