http://www.sugarzone.in.th


ข่าวเศรษฐกิจเกี่ยวกับอ้อยและน้ำตาล (เดือนพฤษภาคม 2565]

เอกชนชี้"ค่าเฟรท"ยังพุ่ง5-7เท่าถึงปลายปีแนะผปก.ทำสัญญาส่งมอบล่วงหน้า

เอกชนชี้ค่าระวางเรือยังพุ่ง 5-7 เท่าถึงปลายปี แนะผู้ประกอบการทำสัญญาส่งมอบล่วงหน้า ชี้หากจีนเปิดประเทศยิ่งส่งผลให้ค่าระวางเรือยังสูง ส่วนหนึ่งมาจากความต้องการใช้และสงครามรัสเซีย ทำราคาพลังงานพุ่ง สินค้ามีแต่ส่งออกไม่ได้จากถูกคว่ำบาตร จี้รัฐคุมราคาน้ำมัน

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ถึง สถานการณ์ค่าระวางเรือ (Ocean freight charge)หรือ "ค่าเฟรท" ว่า ยังคงมีแนวโน้มสูงต่อเนื่อง แม้ในช่วงไตรมาส1ของปีนี้ ค่าระวางเรือจะปรับลดลงมาบ้าง แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่สูง จากช่วง 1-2  เดือนที่ผ่าน ค่าระวางเรือลดลงจากจีนมีการปิดประเทศจากสถานการณ์โควิดทำให้การตู้คอนเทนเนอร์มีเพียงพอ

แต่หลังจากนี้หากสถานการณ์โควิดในจีนทุเลาลง และกลับมาเปิดประเทศ มีการขยายตัวของภาคการขนส่ง จะทำให้ความต้องการใช้ตู้คอนเทนเนอร์เพิ่มขึ้น แน่นอนว่าค่าระวางเรือย่อมกลับมาสูงอีก เพราะความต้องการที่สูงขึ้น ประกอบกับราคาพลังงานที่สูงต่อเนื่อง และน่าจะสูงถึง 5-7 เท่าของค่าระวางเรือก่อนโควิดในปี 2019  และน่าจะสูงไปจนถึงปลายปีนี้

 “ยกตัวอย่างเช่น ค่าระวางเรือก่อนโควิดอยู่ที่ 3,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตู้ 40 ฟุต แต่ปัจจุบันค่าระวางเรืออยู่ที่ 10,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อตู้ 40 ฟุต ซึ่งถือว่าสูงมาก ดังนั้นสิ่งที่ทำได้ในช่วงนี้คือผู้ประกอบการต้องเร่งวางแผนส่งมอบสินค้าล่วงหน้าอย่างน้อย 1 เดือน

ทั้งนี้เพื่อจองตู้คอนเทนเนอร์ และการทำสัญญาล่วงหน้ากับสายเดินเรือ ส่วนภาครัฐเองสิ่งที่เอกชนต้องการให้ดำเนินการคือการตรึงราคาน้ำมัน ถ้าไม่อยากให้มีผลกระทบเป็นลูกโซ่ รัฐต้องเร่งหาทางแก้ไขในเรื่องนี้”

สอดคล้องกับ นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย  ที่กล่าวว่า ที่ผ่านมาค่าระวางเรือขึ้นมาสูงมากและเริ่มเบาลงในช่วง1-2เดือน แต่ก็ลงมาอยู่ในระดับที่ยังสูงอยู่ แม้ว่าจีนจะล็อกดาวน์ประเทศแต่ก็ยังส่งออกได้แม้ว่าจะลดลง แต่หลังจากนี้คาดว่าจีนจะเปิดประเทศเร็ว ๆ นี้ดังนั้นโอกาสที่ค่าระวางเรือจะปรับตัวลงมาคงยาก

ประกอบกับราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอีกยิ่งส่งผลให้ต้นของผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น ดังนั้นตราบใดที่ราคาน้ำมันยังไม่ลดลงมาและยังไม่มีประเทศผู้ผลิตน้ำมัน ผลิตน้ำมันเพิ่มเพื่อทดแทนน้ำมันจากรัสเซีย น่าจะทำให้ราคาน้ำมันยังสูงขึ้น และถ้าสงครามยังยืดเยื้อไม่มีประเทศไหนยอมถอย ผลกระทบที่เกิดคือวิกฤติทางเศรษฐกิจ ความจริงสินค้ายังมีอยู่ในตลาด 2 ประเทศเพียงแต่นำออกมาไม่ได้เท่านั้นเอง จากถูกคว่ำบาตรของนานาประเทศ

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 31 พฤษภาคม 2565

ส่งออกไทยส่งสัญญาณแผ่ว ตลาดยุโรป จีน ญี่ปุ่น รัสเซีย หดตัวหนัก

วิจัยกรุงศรี ประเมิน การส่งออกไทยมีสัญญาณชะลอตัว ขณะที่ตลาดแรงงานยังอ่อนแอ และอาจต้องพึ่งพามาตรการช่วยเหลือในช่วงที่เผชิญกับภาวะค่าครองชีพสูง "สุพัฒนพงษ์" เตรียมหารือ ธปท. สศช. และกระทรวงการคลัง ประเมินผลกระทบสถานการณ์การสงครามรัสเซีย-ยูเครน ยืดเยื้อ

มูลค่าส่งออกเดือนเมษายนแผ่วลง จากผลกระทบที่ชัดชึ้นจากการชะงักงันของห่วงโซ่การผลิต มูลค่าส่งออกในเดือนเมษายนอยู่ที่ 23.5 พันล้านดอลลาร์ ขยายตัว 9.9%_YoY_ชะลอลงจากเดือนก่อนที่มีมูลค่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 28.9 พันล้านดอลลาร์ และหากหักทองคำมูลค่าส่งออกเดือนนี้จะเติบโต 8.9% ชะลอลงต่อเนื่องจาก 9.5% เดือนมีนาคม

สำหรับกลุ่มสินค้าส่งออกที่ขยายตัว ได้แก่

สินค้าที่ได้อานิสงส์จากราคาพลังงานและโภคภัณฑ์ที่ปรับสูงขึ้น เช่น น้ำมันสำเร็จรูป เคมีภัณฑ์ เม็ดพลาสติก

สินค้าเกษตรและอาหาร เนื่องจากตลาดมีความต้องการ สต๊อกสินค้าเพิ่มขึ้น อาทิ ข้าว ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง น้ำตาลทราย

สินค้าที่ขยายตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและสินค้าทางการแพทย์ อาทิ แผงวงจรไฟฟ้า เตาอบไมโครเวฟ และเครื่องมือแพทย์ 

ด้านตลาดส่งออกพบว่าตลาดหลักโดยเฉพาะสหรัฐฯ อาเซียน-5 และ CLMV ขยายตัวต่อเนื่อง ขณะที่ตลาดสหภาพยุโรป จีน และญี่ปุ่น กลับมาหดตัว รวมถึงตลาดรัสเซียที่ยังคงหดตัวรุนแรง

แม้การส่งออกจะได้ปัจจัยบวกจากการทยอยเปิดประเทศในภูมิภาคอาเซียน แต่การส่งออกไปตลาดสำคัญทั้งจีนและสหภาพยุโรปในเดือนเมษายน กลับมาหดตัวเป็นครั้งแรกในรอบปีกว่า ผลกระทบจากเศรษฐกิจจีนที่ชะลอลงจากมาตรการปิดเมืองสำคัญ ที่มีการระบาดของโควิด-19 และสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน รวมถึงมาตรการคว่ำบาตรต่อรัสเซีย ที่ส่งผลต่อการชะงักงันของห่วงโซ่การผลิต

 วิจัยกรุงศรีประเมินแนวโน้มการส่งออกในช่วงที่เหลือของปี ยังคงได้รับแรงกดดันจากเศรษฐกิจและการค้าโลกที่ชะลอลง โดยองค์การการค้าโลก (WTO) ล่าสุด ได้ปรับลดคาดการณ์ปริมาณการค้าโลกในปี 2565 ขยายตัวเหลือ 3.0% จากเดิมคาดไว้ 4.7% เนื่องจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสถานการณ์ความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครน ประกอบกับมีสัญญาณการชะลอตัวของการส่งออกในหลายประเทศเอเชียซึ่งเป็นผู้ส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่สำคัญ อาทิ ไต้หวัน เกาหลี

รวมถึงดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิต (PMI) ของประเทศแกนหลักเติบโตชะลอลงต่อเนื่องในเดือนพฤษภาคม จึงอาจส่งผลให้การส่งออกของไทยในระยะถัดไปมีแนวโน้มชะลอลงจากที่เติบโตได้ 13.7% ในช่วง 4 เดือนแรกของปี แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่ามูลค่าส่งออกทั้งปี 2565 จะยังเติบโตได้ประมาณ 6%

ทางการเตรียมพิจารณามาตรการบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตราคาพลังงานเพิ่มเติมในช่วงที่ตลาดแรงงานยังเปราะบาง นายสุพัฒน์พงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี เผยว่า ช่วงเดือนมิถุนายนเตรียมหารือร่วมธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และกระทรวงการคลัง เพื่อประเมินถึงผลกระทบของสถานการณ์การสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ ซึ่งจะนำมาทบทวนมาตรการบรรเทาผลกระทบจากวิกฤตราคาพลังงาน หรืออาจจะมีการเพิ่มความช่วยเหลือเพื่อลดความเดือดร้อนให้กับประชาชน หลังรัฐบาลได้ออกมาตรการระยะสั้นไปก่อนหน้า

แนวโน้มความผันผวนของราคาพลังงานในระดับสูง สร้างแรงกดดันต่ออัตราเงินเฟ้อและภาวะค่าครองชีพเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่สถานการณ์การจ้างงานในไตรมาส 1/2565  มีการปรับดีขึ้นทั้งในภาคเกษตร และนอกภาคเกษตร ทั้งสาขาการผลิต การค้าส่งและค้าปลีก และโลจิสติกส์  ส่วนการจ้างงานในสาขาก่อสร้าง โรงแรม และร้านอาหารยังหดตัวเล็กน้อย อย่างไรก็ตาม แม้สถานการณ์การระบาดคลี่คลายลง กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยกลับมาดำเนินการ โดยเฉพาะธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับภาคท่องเที่ยวซึ่งคาดว่าจะช่วยหนุนให้เกิดการจ้างงานตามมาแต่ยังต้องใช้เวลากว่าจะกลับมาเท่ากับระดับก่อนเกิดการระบาด เนื่องจากจำนวนผู้เสมือนว่างงานหรือผู้ที่ทำงานน้อยกว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน ยังมีจำนวนสูง 3.8 ล้านคน เนื่องจากหลายธุรกิจใช้วิธีลดจำนวนชั่วโมงการทำงานลงเพื่อประคองธุรกิจ จึงอาจกระทบต่อรายได้และการใช้จ่ายของกลุ่มที่ยังได้รับผลกระทบอยู่ สะท้อนมาตรการความช่วยเหลือจึงอาจยังมีความจำเป็น

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 31 พฤษภาคม 2565

ครม.อนุมัติโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ชาวไร่อ้อย ปี 65-67

ครม.อนุมัติโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ชาวไร่อ้อย ปี 65-67 ปล่อยกู้ปลูกอ้อยและบริหารจัดการไร่อ้อย 6,000 ล้านบาท รัฐช่วยดอกเบี้ย 2-3%

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2565 ว่า ครม.เห็นชอบโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย เพื่อใช้ในการบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ปี 2565 - 2567 โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นผู้สนับสนุนสินเชื่อให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย วงเงินปีละ 2,000 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 6,000 ล้านบาท และรัฐบาลเป็นผู้ชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 2 - 3% ให้เกษตรกรชาวไร่อ้อย ซึ่ง ครม.อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส. เป็นเงิน 789.75 ล้านบาท ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ

โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยนี้ มีเป้าหมายเพื่อจัดหาแหล่งเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อย การปรับพื้นที่ปลูกอ้อยเป็นแปลงใหญ่ และการจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร ใช้ในการปลูกอ้อยและบริหารจัดการไร่อ้อยอย่างครบวงจร โดยวงเงินกู้แยกตามวัตถุประสงค์การกู้ ซึ่งวงเงินกู้แต่ละรายรวมทุกวัตถุประสงค์แล้วต้องไม่เกิน 38.05 ล้านบาท ดังนี้ 1)เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อย รายละไม่เกิน 500,000 บาท เช่น การขุดบ่อสระ กักเก็บน้ำ การเจาะบ่อบาดาล การจัดทำระบบน้ำ 2)เพื่อปรับพื้นที่ปลูกอ้อย เป็นแปลงใหญ่ให้เหมาะสมกับเครื่องจักรกลการเกษตร รายละไม่เกิน 500,000 บาท ในอัตราไม่เกินไร่ละ 2,500 บาท 3)เพื่อจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร เช่น รถตัดอ้อย รายละไม่เกิน 15 ล้านบาท รถคีบอ้อย รายละไม่เกิน 2 ล้านบาท รถแทรกเตอร์ รายละไม่เกิน 6 ล้านบาท มีระยะเวลาจ่ายเงินกู้ 3 ปี (1 ต.ค.2564 – 30 ก.ย.2567)

สำหรับระยะเวลาการชำคืน แบ่งเป็นเงินกู้การบริหารจัดการน้ำและปรับพื้นที่ปลูกอ้อย ไม่เกิน 6 ปี ส่วนการซื้อเครื่องจักรกลชำระคืนไม่เกิน 8 ปี โดยคิดอัตราดอกเบี้ยจากผู้กู้ร้อยละ 2 รัฐบาลจะชดเชยให้ ธ.ก.ส.ร้อยละ 2 - 3 ขึ้นอยู่กับประเภทผู้กู้ ยกเว้นการซื้อรถบรรทุก คิดจากผู้กู้ร้อยละ 4 และรัฐบาลจะไม่ชดเชยให้

นางสาวรัชดากล่าวด้วยว่า โครงการนี้จะมีพื้นที่ปลูกอ้อยได้รับประโยชน์ประมาณ 1.5 ล้านไร่ ซึ่งในปี 2562 – 2564 ปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 4,579 ล้านบาท มีพื้นที่ปลูกอ้อยได้รับประโยชน์ 8.4 แสนไร่

จาก https://www.posttoday.com วันที่ 31 พฤษภาคม 2565

ครม.ไฟเขียว ธกส.ปล่อยสินเชื่อเกษตรกรไร่อ้อย วงเงินกู้ไม่เกิน38ล้าน/ราย

รองโฆษกรัฐบาล" เผย ครม.อนุมัติโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ชาวไร่อ้อย ปี 65-67 ธกส.ปล่อยกู้สินเชื่อปลูกอ้อยและบริหารจัดการไร่อ้อย 6,000 ล้านบาท วงเงินกู้แต่ละรายรวมทุกวัตถุประสงค์ไม่เกิน 38.05 ล้านบาท รัฐช่วยดอกเบี้ย 2-3%

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2565 ว่า ครม.เห็นชอบโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย เพื่อใช้ในการบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร

นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ปี 2565 - 2567

โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นผู้สนับสนุนสินเชื่อให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย วงเงินปีละ 2,000 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 6,000 ล้านบาท

และรัฐบาลเป็นผู้ชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 2 - 3% ให้เกษตรกรชาวไร่อ้อย ซึ่ง ครม.อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส. เป็นเงิน 789.75 ล้านบาท ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ

โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยนี้ มีเป้าหมายเพื่อจัดหาแหล่งเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อย การปรับพื้นที่ปลูกอ้อยเป็นแปลงใหญ่ และการจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร ใช้ในการปลูกอ้อยและบริหารจัดการไร่อ้อยอย่างครบวงจร

โดยวงเงินกู้แยกตามวัตถุประสงค์การกู้ ซึ่งวงเงินกู้แต่ละรายรวมทุกวัตถุประสงค์แล้วต้องไม่เกิน 38.05 ล้านบาท ดังนี้

เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อย รายละไม่เกิน 500,000 บาท เช่น การขุดบ่อสระ กักเก็บน้ำ การเจาะบ่อบาดาล  การจัดทำระบบน้ำ

เพื่อปรับพื้นที่ปลูกอ้อย เป็นแปลงใหญ่ให้เหมาะสมกับเครื่องจักรกลการเกษตร รายละไม่เกิน 500,000 บาท ในอัตราไม่เกินไร่ละ 2,500 บาท

เพื่อจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร เช่น รถตัดอ้อย รายละไม่เกิน 15 ล้านบาท รถคีบอ้อย รายละไม่เกิน 2 ล้านบาท รถแทรกเตอร์ รายละไม่เกิน 6 ล้านบาท มีระยะเวลาจ่ายเงินกู้ 3 ปี (1 ต.ค.2564 – 30 ก.ย.2567)

สำหรับระยะเวลาการชำคืน แบ่งเป็นเงินกู้การบริหารจัดการน้ำและปรับพื้นที่ปลูกอ้อย ไม่เกิน 6 ปี ส่วนการซื้อเครื่องจักรกลชำระคืนไม่เกิน 8 ปี โดยคิดอัตราดอกเบี้ยจากผู้กู้ร้อยละ 2  รัฐบาลจะชดเชยให้ ธ.ก.ส.ร้อยละ 2 - 3 ขึ้นอยู่กับประเภทผู้กู้ ยกเว้นการซื้อรถบรรทุก คิดจากผู้กู้ร้อยละ 4 และรัฐบาลจะไม่ชดเชยให้

นางสาวรัชดากล่าวด้วยว่า โครงการนี้จะมีพื้นที่ปลูกอ้อยได้รับประโยชน์ประมาณ 1.5 ล้านไร่ ซึ่งในปี 2562 – 2564 ปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 4,579 ล้านบาท มีพื้นที่ปลูกอ้อยได้รับประโยชน์ 8.4 แสนไร่

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 30 พฤษภาคม 2565

ครม.อนุมัติชดเชยดอกเบี้ยชาวไร่อ้อย ปี 2565-2567

ครม.อนุมัติโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้ชาวไร่อ้อย ปี 65-67 ปล่อยกู้ปลูกอ้อยและบริหารจัดการไร่อ้อย 6,000 ลบ. รัฐช่วยดอกเบี้ย 2-3%

วันที่ 30 พฤษภาคม 2565 นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.เห็นชอบโครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อย เพื่อใช้ในการบริหารจัดการแหล่งน้ำและซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร นำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก (PM 2.5) ปี 2565-2567

โดยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นผู้สนับสนุนสินเชื่อให้แก่เกษตรกรชาวไร่อ้อย วงเงินปีละ 2,000 ล้านบาท รวมเป็นเงิน 6,000 ล้านบาท และรัฐบาลเป็นผู้ชดเชยดอกเบี้ยร้อยละ 2-3% ให้เกษตรกรชาวไร่อ้อย ซึ่ง ครม.อนุมัติกรอบวงเงินงบประมาณชดเชยดอกเบี้ยให้ ธ.ก.ส. เป็นเงิน 789.75 ล้านบาท ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ

โครงการชดเชยดอกเบี้ยให้กับเกษตรกรชาวไร่อ้อยนี้ มีเป้าหมายเพื่อจัดหาแหล่งเงินกู้อัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อพัฒนาการบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อย การปรับพื้นที่ปลูกอ้อยเป็นแปลงใหญ่ และการจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร ใช้ในการปลูกอ้อยและบริหารจัดการไร่อ้อยอย่างครบวงจร โดยวงเงินกู้แยกตามวัตถุประสงค์การกู้ ซึ่งวงเงินกู้แต่ละรายรวมทุกวัตถุประสงค์แล้วต้องไม่เกิน 38.05 ล้านบาท ดังนี้

1. เพื่อพัฒนาแหล่งน้ำและการบริหารจัดการน้ำในไร่อ้อย รายละไม่เกิน 500,000 บาท เช่น การขุดบ่อสระ กักเก็บน้ำ การเจาะบ่อบาดาล การจัดทำระบบน้ำ

2. เพื่อปรับพื้นที่ปลูกอ้อย เป็นแปลงใหญ่ให้เหมาะสมกับเครื่องจักรกลการเกษตร รายละไม่เกิน 500,000 บาท ในอัตราไม่เกินไร่ละ 2,500 บาท

3. เพื่อจัดซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร เช่น รถตัดอ้อย รายละไม่เกิน 15 ล้านบาท รถคีบอ้อย รายละไม่เกิน 2 ล้านบาท รถแทรกเตอร์ รายละไม่เกิน 6 ล้านบาท มีระยะเวลาจ่ายเงินกู้ 3 ปี (1 ต.ค.2564 – 30 ก.ย.2567)

สำหรับระยะเวลาการชำคืน แบ่งเป็นเงินกู้การบริหารจัดการน้ำและปรับพื้นที่ปลูกอ้อย ไม่เกิน 6 ปี ส่วนการซื้อเครื่องจักรกลชำระคืนไม่เกิน 8 ปี โดยคิดอัตราดอกเบี้ยจากผู้กู้ร้อยละ 2 รัฐบาลจะชดเชยให้ ธ.ก.ส.ร้อยละ 2 – 3 ขึ้นอยู่กับประเภทผู้กู้ ยกเว้นการซื้อรถบรรทุก คิดจากผู้กู้ร้อยละ 4 และรัฐบาลจะไม่ชดเชยให้

นางสาวรัชดากล่าวด้วยว่า โครงการนี้จะมีพื้นที่ปลูกอ้อยได้รับประโยชน์ประมาณ 1.5 ล้านไร่ ซึ่งในปี 2562 – 2564 ปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 4,579 ล้านบาท มีพื้นที่ปลูกอ้อยได้รับประโยชน์ 8.4 แสนไร่

จาก https://www.prachachat.net  วันที่ 30 พฤษภาคม 2565

เดินหน้าเพิ่มศักยภาพภาคเกษตรไทยภายใต้ "5ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย"

กระทรวงเกษตรฯฯสร้างโอกาสประเทศไทยในยุคโลกขาดแคลนอาหาร เร่งเครื่องอัพเกรดบริการภาครัฐ( e-Service ) 22 หน่วยงาน 176 ระบบเพิ่มศักยภาพภาคเกษตรไทยภายใต้”5ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย”

เมื่อวันที่ 30 พ.ย. นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารมว.กษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 เปิดเผยว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์กำลังเร่งเครื่องอัพเกรดบริการภาครัฐ( e-Service )สู่กระทรวงเกษตร4.0 เพื่อยกระดับศักยภาพและประสิทธิภาพภาคเกษตรภายใต้ ”5ยุทธศาสตร์และนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรฯ ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสไทยในฐานะครัวโลกในยุคที่โลกกำลังเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนอาหารจากผลกระทบของโควิด-19 และสงครามรัสเซีย-ยูเครน

ทั้งนี้ หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรOทั้ง 22 หน่วยงานกําหนดเป้าหมายแรกให้บริการแก่ประชาชน ในรูปแบบบริการอีเล็คทรอนิกส์( e-Service ) รวม 176 ระบบ โดยได้ดําเนินการแล้วเสร็จและให้บริการเรียบร้อยแล้วจํานวน 167 ระบบ และอยู่ระหว่างการพัฒนา 9 ระบบ ซึ่งคาดว่าจะดําเนินการพัฒนาให้แล้วเสร็จภายในปี 2565 สําหรับระบบริการ จะมุ่งเน้นให้บริการครอบคลุมตลอดวัฏจักรการทําการเกษตร ตั้งแต่การวางแผนการผลิต จนถึงการตลาด อาทิ ระบบ ตรวจสอบดิน (กรมพัฒนาที่ดิน) ระบบโปรแกรมประยุกต์การคํานวณการให้อาหารกุ้งทะเล (Feed App) (กรมประมง)

ขณะที่ ระบบการขอใบอนุญาตนําหรือเคลื่อนย้ายสัตว์หรือซากสัตว์ภายในราชอาณาจักร (ร.3 /ร.4 /ร.5) (กรมปศุสัตว์) ระบบงานยื่น คําขอและออกใบสําคัญขึ้นทะเบียน/ใบรับรอง/ใบอนุญาตนําเข้าปุ๋ย (กรมวิชาการเกษตร) รวมทั้งยังมีระบบที่เชื่อมโยง ข้อมูลกับระบบ National Single Window (NSW) ของกรมศุลกากร เพื่อการออกใบอนุญาตที่สําคัญต่าง ๆ ใบสําคัญใน การนําเข้า-ส่งออก หรือการรับรองผลการตรวจสุขอนามัยพืชและสัตว์ (จํานวน 55 ระบบ)

นายอลงกรณ์กล่าวว่า  เพื่อเป็นการอํานวยความสะดวกต่อผู้ใช้งานทั้งเจ้าหน้าที่และประชาชนทั่วไปให้สืบค้นข้อมูลได้ อย่างรวดเร็วและเข้าถึงการบริการ e-Service ของกระทรวงเกษตรฯได้ง่ายยิ่งขึ้น สํานักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะอนุกรรมการขับเคลื่อน Big Data และ Gov Tech ภายใต้คณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ของกระทรวงเกษตรฯได้จัดทํา Web Application “ระบบบริการภาครัฐ: http://mis.oae.go.th/rservice ” เพื่อเป็นช่องทางกลางในการเข้าถึงบริการ e-Service ของกระทรวงเกษตรฯโดย “ระบบบริการภาครัฐ” มีเมนู จําแนกตามกิจกรรมบริการที่สอดคล้องกับวัฏจักรการทําการเกษตรทั้ง 6 ด้าน

อย่างไรก็ตาม ประกอบด้วย 1.การวางแผนการผลิต 2.การหาปัจจัยการผลิต 3.การเพาะปลูก เลี้ยงสัตว์ ดูแลรักษา 4.การเก็บเกี่ยว 5.การแปรรูป การเพิ่มมูลค่าและ 6.การตลาด การจําหน่าย นอกจากนี้ ยังมีเมนูพิเศษ อื่น ๆ เพื่อการสืบค้นและสามารถเข้าถึงงานวิจัย ตลอดจน รายชื่อองค์ความรู้เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมของศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรม(ศูนย์ AIC 77จังหวัด)โดยผู้ใช้งานสามารถค้นหาระบบ e-Service ที่ต้องการได้ทันที และระบบจะเชื่อมโยงไปถึงระบบ e-Service ของหน่วยงานต้นทางที่พร้อมให้บริการได้อย่างสะดวก รวดเร็วและง่าย ต่อการใช้งาน

“กระทรวงเกษตรฯพร้อมที่จะขับเคลื่อน การพัฒนาศูนย์ข้อมูล(Big Data )และรัฐบาลเทคโนโลยี( Gov Tech )ให้มีระบบ e-Service เพื่อ ให้บริการเพิ่มข้น ตลอดจนปรับเปลี่ยนระบบการทํางานหรือการให้บริการแบบเดิมมาสู่รูปแบบดิจิทัล ซึ่งสอดรับนโยบายรัฐบาลที่ต้องการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทํางานให้กลายเป็นองค์การดิจิทัล (Digital Organization)โดยเร็วที่สุดอย่างต่อเนื่องต่อไป”นายอลงกรณ์กล่าว

จาก https://www.posttoday.com วันที่ 30 พฤษภาคม 2565

ส่งออกพุ่งดันดัชนีผลผลิตภาคอุตฯโตเป็นเดือนที่ 8 เชื่อ 1-2 เดือนศก.ไทยยังขยายตัว

ดัชนี MPI เดือนเม.ย.เพิ่ม 0.56% เศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรมยังไปได้หลังเปิดประเทศ ห่วงปัจจัยเสี่ยงดีเซลแพง-ต้นทุนอาหารสัตว์-วัตถุดิบขาด ช่วงมิ.ย.-ก.ค.

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ   รมว.อุตสาหกรรม  เปิดเผยว่า ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรม (MPI) เดือนเมษายน 2565 ขยายตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 0.56 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 8 ติดต่อกัน ส่งผลให้ MPI ช่วง 4 เดือนแรกของปี 2565 ขยายตัวร้อยละ 1.37 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิต 4 เดือนแรกอยู่ที่ระดับ 64.63 หลังสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศคลี่คลายลงจากการผ่อนคลายมาตรการควบคุมต่าง ๆ ตามลำดับ ส่งผลให้การบริโภคในประเทศปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง รวมถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ทั้งนี้สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิภาคอุตสาหกรรมมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น จากการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่เติบโตต่อเนื่อง โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรมทางการเกษตร 

นายทองชัย ชวลิตพิเชฐ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศมีแนวโน้มคลี่คลาย ประชาชนสามารถออกมาใช้ชีวิตประจำวันและบริโภคได้ตามปกติมากขึ้น ส่งผลให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัว สะท้อนได้จากอุตสาหกรรมน้ำมันปิโตรเลียมที่ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 7 รวมถึงการอ่อนค่าของเงินบาทส่งผลดีต่อภาคการส่งออกทำให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก โดยการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม (ไม่รวมทองคำ อาวุธ รถถังและอากาศยาน) เดือนเมษายนขยายตัวร้อยละ 4.98

ขณะที่สถานการณ์ความไม่สงบของรัสเซียและยูเครนได้ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะราคาพลังงานและค่าขนส่ง ด้านภาพรวมสถานการณ์เงินเฟ้อเริ่มส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการในภาคอุตสาหกรรม สะท้อนได้จากดัชนีราคาผู้ผลิต (PPI) ของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้าหมวดสินค้าอุตสาหกรรมเดือนเมษายนขยายตัวที่ร้อยละ 11.4 เร่งตัวขึ้นจากเดือนมีนาคมขยายตัวที่ร้อยละ 10.4

ทั้งนี้สถานการณ์เศรษฐกิจอุตสาหกรรมของประเทศไทยยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดย สศอ. ได้ใช้เครื่องมือระบบเตือนภัยด้านเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไทย (The Early Warning System Industry Economics : EWS-IE) ในการคำนวณ สะท้อนให้เห็นว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มจะขยายตัวใน 1-2 เดือนข้างหน้า อุปสงค์ในประเทศและการส่งออกมีแนวโน้มขยายตัว ความเชื่อมั่นทางภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมปรับตัวดีขึ้นจากการเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ทำให้มีความต้องการสินค้าอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น ด้านปัจจัยต่างประเทศยังคงส่งสัญญาณปกติจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจในหลายประเทศที่ยังเติบโตได้

สำหรับอุตสาหกรรมหลักที่ดัชนีผลผลิตส่งผลบวกในเดือนเมษายน 2565 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ยานยนต์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.82 จากผลิตภัณฑ์รถบรรทุกปิคอัพ รถยนต์นั่งขนาดกลาง เครื่องยนต์ดีเซล เป็นหลัก โดยขยายตัวตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศและประเทศคู่ค้า รวมถึงราคาพืชผลเกษตรสำคัญหลายรายการปรับตัวสูงขึ้น

น้ำมันปิโตรเลียม ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 12.53 จากผลิตภัณฑ์น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว น้ำมันเครื่องบิน เป็นหลัก เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศมีแนวโน้มคลี่คลาย เศรษฐกิจฟื้นตัวดีขึ้นหลังการผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาด ทำให้การขนส่งเดินทางในประเทศเพิ่มขึ้น ประชาชนสามารถการเดินทางกลับภูมิลำเนาในช่วงเทศกาลสงกรานต์ได้

ด้านผลิตภัณฑ์ยางอื่น ๆ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 23.41 จากผลิตภัณฑ์ยางแท่ง เป็นหลัก เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของแรงงานในปีก่อน ส่งผลให้มีการผลิตได้  เป็นจำนวนน้อย ประกอบกับในปีนี้เศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าฟื้นตัวจึงมีคำสั่งซื้อกลับเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

สำหรับชิ้นส่วนและแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.22 จากผลิตภัณฑ์ PCBA และ IC เป็นหลัก เนื่องจากความต้องการในตลาดโลกยังขยายตัวอย่างต่อเนื่อง

จาก https://www.posttoday.com วันที่ 30 พฤษภาคม 2565

อุตสาหกรรมชีวภาพโต! ต่างชาติลงทุน 7.6 หมื่นล้านบาท มุ่งสู่ฮับอาเซียน

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการเยือนญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 26-27 พ.ค. ว่า ส่วนหนึ่งของการกล่าวปาฐกถาบนเวที นิคเคอิ ฟอรั่ม นายกฯได้กล่าวถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศที่มุ่งเป้าสร้างความสมดุล ลดความเหลื่อมล้ำและขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวครอบคลุมการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมชีวภาพของอาเซียน (Bio Hub of ASEAN) ภายในปี 2570 ทั้งนี้ รัฐบาลได้ออกมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพที่ครอบคลุมหลายด้านตั้งแต่ปี 2561 และมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เฉพาะปี 64 มีโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมชีวภาพ เช่น การเกษตรและแปรรูปอาหาร เทคโนโลยีชีวภาพ รวม 222 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 76,500 ล้านบาท ได้แก่ 1.โครงการผลิตพลาสติกชีวภาพชนิด Thermoplastic Strach ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก 2.โครงการผลิตพลาสติกชีวภาพชนิด Polylactic Acid ในจังหวัดนครสวรรค์ และ 3.โครงการผลิตหลอดดูดน้ำย่อยสลายได้จากเศษแป้ง จังหวัดขอนแก่น

สำหรับความคืบหน้าโครงการภาคเอกชน เช่น โครงการไบโอฮับเอเชีย ที่ จ.ฉะเชิงเทรา มูลค่าลงทุน 57,600 ล้านบาท เป็นการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศอัจฉริยะ เช่น พลังงานชีวภาพ เคมีชีวภาพ และอาหารแห่งอนาคตสำหรับคนและสัตว์ มีการลงนามสัญญาร่วมทุนกับนักลงทุนต่างชาติแล้ว และเกษตรกรสนใจเข้าร่วมโครงการกว่า 60,000 ครัวเรือน.

จาก  https://www.thairath.co.th วันที่ 30 พฤษภาคม 2565

รองโฆษกรัฐบาลเผยอุตสาหกรรมชีวภาพโต ปี64 ต่างชาติสนใจลงทุน 7.6หมื่นล้าน รัฐบาลตั้งเป้าเป็นฮับอาเซียนในปี 2570

วันนี้ (28 พ.ค.65) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการเยือนประเทศญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 26-27 พ.ค. ว่า ส่วนหนึ่งของการกล่าวปาฐกถา บนเวที นิคเคอิฟอรั่ม นายกฯได้กล่าวถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศที่มุ่งเป้าสร้างความสมดุล ลดความเหลื่อมล้ำและขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวครอบคลุมการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมชีวภาพของอาเซียน (Bio Hub of ASEAN) ภายในปี พ.ศ. 2570

ทั้งนี้ รัฐบาลได้ออกมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพที่ครอบคลุมหลายด้านตั้งแต่ปี 2561 และมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เฉพาะในปี 2564 มีโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมชีวภาพ เช่น การเกษตรและแปรรูปอาหาร เทคโนโลยีชีวภาพ รวม 222 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 7.65 หมื่นล้านบาท อาทิ 1)โครงการผลิตพลาสติกชีวภาพชนิด Thermoplastic Strach ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก2)โครงการผลิตพลาสติกชีวภาพชนิด Polylactic Acid ในจังหวัดนครสวรรค์ และ 3) โครงการผลิตหลอดดูดน้ำย่อยสลายได้จากเศษแป้ง จังหวัดขอนแก่น

สำหรับความคืบหน้าโครงการของภาคเอกชน เช่น โครงการไบโอฮับเอเซีย ที่จ.ฉะเชิงเทรา มูลค่าลงทุน 57,600 ล้านบาท ซึ่งเป็นการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศอัจฉริยะ เช่น พลังงานชีวภาพ เคมีชีวภาพ และอาหารแห่งอนาคตสำหรับคนและสัตว์ มีการลงนามสัญญาร่วมทุนกับนักลงทุนต่างชาติแล้ว และเกษตรกรสนใจเข้าร่วมโครงการกว่า 6 หมื่นครัวเรือน

ส่วนการดำเนินงานภายใต้มาตรการอื่น ซึ่งประกอบด้วย การกระตุ้นความต้องการในการซื้อสินค้าและบริการ การขจัดปัญหาและอุปสรรค เช่น การปรับปรุงร่างพ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาล การปรับปรุงกฎกระทรวงต่างๆเพื่อเอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมฯ การใช้แผนที่เกษตรเพื่อจัดการการปลูกพืชเศรษฐกิจให้เหมาะกับสภาพพื้นดิน การออกไปรับรองผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อให้สามารถยื่นขอยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อสร้างบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญด้านชีวภาพและการพัฒนาศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะอุตสาหกรรมชีวภาพ เป็นต้น

“อย่างไรก็ตาม การดำเนินการยังพบปัญหาและอุปสรรคอยู่บ้าง เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้การลงทุนของภาคเอกชนไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ บางจังหวัดยังพบปัญหาด้านผังเมืองที่ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาโครงการอุตสาหกรรมฯ บุคคลากรที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญไม่เพียงพอ และปริมาณเม็ดพลาสติกชีวภาพที่ผลิตในประเทศมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมชีวภาพ ซึ่งทั้งหมดนี้ รัฐบาลได้เร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขอยู่ เพื่อให้เกิดการใช้ศักยภาพด้านการเกษตรของประเทศที่มีอยู่มาก เป็นฐานรองรับการขยายตัวอุตสาหกรรมชีวภาพที่ค่าเฉลี่ยตลาดโลกเติบโตไม่ต่ำกว่า 14% ซึ่งหมายความว่า เกษตรกรจะมีรายได้มากขึ้นและอย่างยั่งยืน รวมถึงเศรษฐกิจเติบโตและผนวกการส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน” นางสาวรัชดา กล่าว

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 28 พฤษภาคม 2565

ดันไทยสู่ศูนย์กลางเศรษฐกิจโลกอนาคต ตลาดเงิน-ทุน-พลังงานปั่นป่วน

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นยุคหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้น จะเต็มไปด้วยความผันผวนและเป็นโจทย์ใหม่ที่แตกต่างไปจากช่วงที่ผ่านมาค่อนข้างมาก จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการและนักลงทุนจะต้องทำความเข้าใจ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินธุรกิจในโลกยุคใหม่ หรือที่เรียกว่า New Chapter

“ความผันผวนที่กำลังก่อตัว และจะเป็นประเด็นความท้าทายที่สำคัญในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า คือ ปัญหาขัดแย้งระหว่างประเทศ โดยเฉพาะสงครามรัสเซีย-ยูเครน และมาตรการแซงก์ชันที่สหรัฐฯและประเทศต่างๆมีต่อรัสเซีย ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะไม่ยุติลงได้ง่ายนัก และยังก่อให้เกิดวิกฤติด้านราคาพลังงาน และวิกฤติอาหารโลก”

ทั้งนี้ ปัญหาราคาพลังงานและอาหารเป็นปัจจัยหลักที่ผลักให้ต้นทุนสินค้าปรับตัวสูงขึ้น และนำไปสู่อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสู้กับสถานการณ์นี้ ขณะเดียวกัน เฟดยังต้องแก้ปัญหาเรื่องสภาพคล่องที่เคยอัดฉีดเงินเข้ามาจำนวนมาก เพื่อรองรับวิกฤติโควิด-19 ในช่วงก่อนหน้านี้ โดยต้องดึงสภาพคล่องออกจากระบบ ราคาสินทรัพย์ต่างๆที่เคยพุ่งสูงขึ้นในช่วงโควิด-19 ระบาด ก็จะเริ่มกลับข้าง ซึ่งจะสร้างความปั่นป่วนให้ตลาดการเงินโลก ทั้งตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตร อัตราแลกเปลี่ยน ราคาน้ำมันไปถึงสกุลเงินดิจิทัลอย่างบิทคอยน์ ทั้งยังมีโอกาสสูงมากที่การขึ้นดอกเบี้ยอาจนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจติดลบ หรือ Recession ปีหน้า

นายกอบศักดิ์ยังกล่าวว่า ช่วงเวลารับมือกับความผันผวนนี้ ประเทศไทยต้องเตรียมการเข้าสู่โลกยุคใหม่ โดยเศรษฐกิจกลุ่มประเทศในเอเชียถูกคาดการณ์ว่าอีก 30 ปีข้างหน้าเอเชียจะเติบโตเป็นครึ่งหนึ่งของโลก ซึ่งสอดรับกับ “ศตวรรษแห่งเอเชีย” ที่ประเทศไทยต้องเตรียมแผนสำหรับเปิดรับโอกาสเหล่านี้ และเป็นโจทย์ที่ต้องคิดต่อไปว่าทำอย่างไรจะให้ไทยเป็นศูนย์กลางบริษัทต่างๆในภูมิภาค ทั้งเรื่องที่ตั้งสำนักงานศูนย์วิจัยและพัฒนาการเชื่อมต่อด้านขนส่งและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมแห่งอนาคต และธุรกิจสตาร์ตอัพ ส่วนโครงการที่มีอยู่แล้ว เช่น โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ทำอย่างไรจะขับเคลื่อนไปให้ได้ การพัฒนาย่านศูนย์กลางธุรกิจหรือ CBD อีกหลายโซนที่กำลังเกิดขึ้น สำหรับเมืองที่จะเป็นศูนย์กลาง รวมถึงรถไฟฟ้าใต้ดินที่จะสร้างเสร็จ 5 ปีข้างหน้า ระบบโลจิสติกส์ เช่น รถไฟรางคู่ หากสร้างเสร็จและเปิดพรมแดนเต็มที่ รวมถึงการลงทุนในโครงการประตูเศรษฐกิจฝั่งตะวันตกที่จะช่วยเชื่อมต่อเอเชียตะวันออกไปสู่เอเชียตะวันตกซึ่งอาจเป็นศูนย์กลางใหม่ของเอเชีย.

จาก https://www.thairath.co.th  วันที่ 28 พฤษภาคม 2565

รองโฆษกรัฐบาลเผยอุตสาหกรรมชีวภาพโต ปี64 ต่างชาติสนใจลงทุน 7.6หมื่นล้าน รัฐบาลตั้งเป้าเป็นฮับอาเซียนในปี 2570

วันนี้ (28 พ.ค.65) นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงการเยือนประเทศญี่ปุ่นของนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อวันที่ 26-27 พ.ค. ว่า ส่วนหนึ่งของการกล่าวปาฐกถา บนเวที นิคเคอิฟอรั่ม นายกฯได้กล่าวถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศที่มุ่งเป้าสร้างความสมดุล ลดความเหลื่อมล้ำและขยายการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งการดำเนินการดังกล่าวครอบคลุมการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมชีวภาพของอาเซียน (Bio Hub of ASEAN) ภายในปี พ.ศ. 2570

ทั้งนี้ รัฐบาลได้ออกมาตรการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพที่ครอบคลุมหลายด้านตั้งแต่ปี 2561 และมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เฉพาะในปี 2564 มีโครงการที่ได้รับอนุมัติการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมชีวภาพ เช่น การเกษตรและแปรรูปอาหาร เทคโนโลยีชีวภาพ รวม 222 โครงการ มูลค่าเงินลงทุน 7.65 หมื่นล้านบาท อาทิ 1)โครงการผลิตพลาสติกชีวภาพชนิด Thermoplastic Strach ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก2)โครงการผลิตพลาสติกชีวภาพชนิด Polylactic Acid ในจังหวัดนครสวรรค์ และ 3) โครงการผลิตหลอดดูดน้ำย่อยสลายได้จากเศษแป้ง จังหวัดขอนแก่น

สำหรับความคืบหน้าโครงการของภาคเอกชน เช่น โครงการไบโอฮับเอเซีย ที่จ.ฉะเชิงเทรา มูลค่าลงทุน 57,600 ล้านบาท ซึ่งเป็นการพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศอัจฉริยะ เช่น พลังงานชีวภาพ เคมีชีวภาพ และอาหารแห่งอนาคตสำหรับคนและสัตว์ มีการลงนามสัญญาร่วมทุนกับนักลงทุนต่างชาติแล้ว และเกษตรกรสนใจเข้าร่วมโครงการกว่า 6 หมื่นครัวเรือน

ส่วนการดำเนินงานภายใต้มาตรการอื่น ซึ่งประกอบด้วย การกระตุ้นความต้องการในการซื้อสินค้าและบริการ การขจัดปัญหาและอุปสรรค เช่น การปรับปรุงร่างพ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาล การปรับปรุงกฎกระทรวงต่างๆเพื่อเอื้อต่อการพัฒนาอุตสาหกรรมฯ การใช้แผนที่เกษตรเพื่อจัดการการปลูกพืชเศรษฐกิจให้เหมาะกับสภาพพื้นดิน การออกไปรับรองผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ย่อยสลายได้ทางชีวภาพให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อให้สามารถยื่นขอยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล การจัดทำหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อสร้างบุคลากรและผู้เชี่ยวชาญด้านชีวภาพและการพัฒนาศูนย์ข้อมูลอัจฉริยะอุตสาหกรรมชีวภาพ เป็นต้น

“อย่างไรก็ตาม การดำเนินการยังพบปัญหาและอุปสรรคอยู่บ้าง เช่น สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้การลงทุนของภาคเอกชนไม่เป็นไปตามแผนที่วางไว้ บางจังหวัดยังพบปัญหาด้านผังเมืองที่ไม่สอดคล้องกับการพัฒนาโครงการอุตสาหกรรมฯ บุคคลากรที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญไม่เพียงพอ และปริมาณเม็ดพลาสติกชีวภาพที่ผลิตในประเทศมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมชีวภาพ ซึ่งทั้งหมดนี้ รัฐบาลได้เร่งดำเนินการเพื่อแก้ไขอยู่ เพื่อให้เกิดการใช้ศักยภาพด้านการเกษตรของประเทศที่มีอยู่มาก เป็นฐานรองรับการขยายตัวอุตสาหกรรมชีวภาพที่ค่าเฉลี่ยตลาดโลกเติบโตไม่ต่ำกว่า 14% ซึ่งหมายความว่า เกษตรกรจะมีรายได้มากขึ้นและอย่างยั่งยืน รวมถึงเศรษฐกิจเติบโตและผนวกการส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อมเข้าด้วยกัน” นางสาวรัชดา กล่าว

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 28 พฤษภาคม 2565

ดันไทยสู่ศูนย์กลางเศรษฐกิจโลกอนาคต ตลาดเงิน-ทุน-พลังงานปั่นป่วน

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า สถานการณ์ทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นในระยะ 2-3 ปีข้างหน้า ซึ่งเป็นยุคหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19 นั้น จะเต็มไปด้วยความผันผวนและเป็นโจทย์ใหม่ที่แตกต่างไปจากช่วงที่ผ่านมาค่อนข้างมาก จึงเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้ประกอบการและนักลงทุนจะต้องทำความเข้าใจ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการดำเนินธุรกิจในโลกยุคใหม่ หรือที่เรียกว่า New Chapter

“ความผันผวนที่กำลังก่อตัว และจะเป็นประเด็นความท้าทายที่สำคัญในช่วง 2-3 ปีข้างหน้า คือ ปัญหาขัดแย้งระหว่างประเทศ โดยเฉพาะสงครามรัสเซีย-ยูเครน และมาตรการแซงก์ชันที่สหรัฐฯและประเทศต่างๆมีต่อรัสเซีย ซึ่งมีแนวโน้มว่าจะไม่ยุติลงได้ง่ายนัก และยังก่อให้เกิดวิกฤติด้านราคาพลังงาน และวิกฤติอาหารโลก”

ทั้งนี้ ปัญหาราคาพลังงานและอาหารเป็นปัจจัยหลักที่ผลักให้ต้นทุนสินค้าปรับตัวสูงขึ้น และนำไปสู่อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นในระดับสูงสุดในรอบ 40 ปี ธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือเฟด ต้องปรับขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสู้กับสถานการณ์นี้ ขณะเดียวกัน เฟดยังต้องแก้ปัญหาเรื่องสภาพคล่องที่เคยอัดฉีดเงินเข้ามาจำนวนมาก เพื่อรองรับวิกฤติโควิด-19 ในช่วงก่อนหน้านี้ โดยต้องดึงสภาพคล่องออกจากระบบ ราคาสินทรัพย์ต่างๆที่เคยพุ่งสูงขึ้นในช่วงโควิด-19 ระบาด ก็จะเริ่มกลับข้าง ซึ่งจะสร้างความปั่นป่วนให้ตลาดการเงินโลก ทั้งตลาดหุ้น ตลาดพันธบัตร อัตราแลกเปลี่ยน ราคาน้ำมันไปถึงสกุลเงินดิจิทัลอย่างบิทคอยน์ ทั้งยังมีโอกาสสูงมากที่การขึ้นดอกเบี้ยอาจนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจติดลบ หรือ Recession ปีหน้า

นายกอบศักดิ์ยังกล่าวว่า ช่วงเวลารับมือกับความผันผวนนี้ ประเทศไทยต้องเตรียมการเข้าสู่โลกยุคใหม่ โดยเศรษฐกิจกลุ่มประเทศในเอเชียถูกคาดการณ์ว่าอีก 30 ปีข้างหน้าเอเชียจะเติบโตเป็นครึ่งหนึ่งของโลก ซึ่งสอดรับกับ “ศตวรรษแห่งเอเชีย” ที่ประเทศไทยต้องเตรียมแผนสำหรับเปิดรับโอกาสเหล่านี้ และเป็นโจทย์ที่ต้องคิดต่อไปว่าทำอย่างไรจะให้ไทยเป็นศูนย์กลางบริษัทต่างๆในภูมิภาค ทั้งเรื่องที่ตั้งสำนักงานศูนย์วิจัยและพัฒนาการเชื่อมต่อด้านขนส่งและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมแห่งอนาคต และธุรกิจสตาร์ตอัพ ส่วนโครงการที่มีอยู่แล้ว เช่น โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ทำอย่างไรจะขับเคลื่อนไปให้ได้ การพัฒนาย่านศูนย์กลางธุรกิจหรือ CBD อีกหลายโซนที่กำลังเกิดขึ้น สำหรับเมืองที่จะเป็นศูนย์กลาง รวมถึงรถไฟฟ้าใต้ดินที่จะสร้างเสร็จ 5 ปีข้างหน้า ระบบโลจิสติกส์ เช่น รถไฟรางคู่ หากสร้างเสร็จและเปิดพรมแดนเต็มที่ รวมถึงการลงทุนในโครงการประตูเศรษฐกิจฝั่งตะวันตกที่จะช่วยเชื่อมต่อเอเชียตะวันออกไปสู่เอเชียตะวันตกซึ่งอาจเป็นศูนย์กลางใหม่ของเอเชีย.

จาก https://www.thairath.co.th  วันที่ 28 พฤษภาคม 2565

หน่วยฯ ลพบุรี ทำฝนช่วยพื้นที่เกษตรปลูกข้าวโพด-อ้อย ในพื้นที่ภาคกลาง

วันที่ 27 พฤษภาคม 2565 นายสำเริง แสงภู่วงค์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า เมื่อวานนี้ (26 พ.ค. 2565) กรมฝนหลวงและการบินเกษตร โดยหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.ลพบุรี มีการติดตามสถานการณ์การเพาะปลูกของพื้นที่การเกษตรในพื้นที่ภาคกลาง ซึ่งได้รับการประสานจากอาสาสมัครฝนหลวงว่า บริเวณ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ เริ่มทำการหยอดข้าวโพด ซึ่งมีความต้องการน้ำมากสำหรับการเจริญเติบโตตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงมิถุนายน และพื้นที่บริเวณดังกล่าวมีฝนตกปริมาณเพียงเล็กน้อย และไม่ต่อเนื่องประมาณ 1 สัปดาห์แล้ว ทำให้มีน้ำไม่เพียงพอสำหรับการเพาะปลูก เช่นเดียวกับบริเวณตอนล่างของ อ.บ้านไร่ จ.อุทัยธานี ช่วงรอยต่อกับ จ.สุพรรณบุรี ที่พบว่า อ้อยที่อยู่ในระยะแตกกอ มีความต้องการน้ำอย่างต่อเนื่องเช่นกัน หน่วยปฏิบัติการฝนหลวง จ.ลพบุรี จึงได้ติดตามสภาพอากาศและวางแผนปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือ ทำให้มีฝนตกเล็กน้อยในพื้นที่ดังกล่าว ทั้งนี้ จะยังคงติดตามสถานการณ์น้ำและสภาวะอากาศเพื่อให้ช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องต่อไป

ด้านการช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรและพื้นที่ลุ่มรับน้ำในภูมิภาคอื่นๆ กรมฝนหลวงฯ ยังคงติดตามสถานการณ์เป็นประจำทุกวันและเน้นปฏิบัติการฝนหลวงภารกิจเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักให้กับเขื่อนและอ่างเก็บน้ำที่มีความต้องการน้ำ ตามข้อมูลการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ครั้งที่ 20/2565 เมื่อวันจันทร์ที่ 23 พฤษภาคม 2565 โดยกรมชลประทาน รายงานถึงสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศ (35 แห่ง) ปัจจุบันปริมาณน้ำทั้งประเทศ รวม 39,512 ล้าน ลบ.ม. และสามารถนำมาใช้ได้ 15,970 ล้าน ลบ.ม. โดยที่ประชุมยืนยันให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อช่วยเติมน้ำต้นทุนให้กับเขื่อนขนาดใหญ่รวม 9 แห่ง ในพื้นที่ภาคเหนือ ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เขื่อนแม่กวงอุดมธารา เขื่อนสิริกิติ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เขื่อนห้วยหลวง เขื่อนน้ำอูน เขื่อนลำปาว ภาคกลาง อ่างเก็บน้ำทับเสลา และภาคตะวันออก อ่างเก็บน้ำคลองสียัด ซึ่งกรมฝนหลวงฯ จะปฏิบัติการทันทีเมื่อสภาพอากาศเข้าเงื่อนไขการปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อให้มีปริมาณน้ำเพียงพอรองรับระยะฝนทิ้งช่วงที่อาจเกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม ในการวางแผนบินปฏิบัติการจะหลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีปริมาณน้ำเพียงพอแล้ว เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อพี่น้องเกษตรกร

ทั้งนี้ พี่น้องเกษตรกรและประชาชนยังสามารถขอรับบริการฝนหลวงและติดตามข้อมูลข่าวสารของกรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้ที่ช่องทางเพจ Facebook กรมฝนหลวงและการบินเกษตร Twitter Instagram Line Official Account TikTok : @drraa_pr และหมายเลขโทรศัพท์ 02-109-5100 อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวทิ้งท้าย

จาก https://www.banmuang.co.th  วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทวันนี้เปิด "ทรงตัว" ที่ระดับ 34.20 บาท/ดอลลาร์

ค่าเงินบาทอาจไม่ได้แข็งค่าไปมากนัก เหตุผู้นำเข้าบางส่วนอาจทยอยเข้ามาซื้อเงินดอลลาร์ในช่วงปลายเดือน หากเงินเฟ้อสหรัฐออกมาสูงกว่าคาด หนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่ากดดันเงินบาทอ่อนค่าลงบ้าง

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 34.20 บาทต่อดอลลาร์ "ทรงตัวไม่เปลี่ยนแปลง" จากระดับปิดวันก่อนหน้า

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทยระบุว่าแนวโน้มค่าเงินบาท เรามองว่า ภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดรวมถึงการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์อาจช่วยหนุนให้เงินบาทมีแนวโน้มผันผวนในฝั่งแข็งค่าขึ้นได้บ้างระหว่างวัน

อย่างไรก็ดี เรามองว่า เงินบาทอาจไม่ได้แข็งค่าไปมากนัก เนื่องจากผู้นำเข้าบางส่วนอาจทยอยเข้ามาซื้อเงินดอลลาร์ในช่วงปลายเดือน นอกจากนี้ ในช่วงก่อนรับรู้รายงานเงินเฟ้อ PCE สหรัฐฯ ตลาดค่าเงินอาจเคลื่อนไหวผันผวนและต้องระวังในกรณีที่เงินเฟ้อออกมาสูงกว่าคาด ทำให้ตลาดอาจกลับมากังวลปัญหาเงินเฟ้อและการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟดอีกครั้ง ซึ่งภาพดังกล่าวอาจหนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่าขึ้นและกดดันให้เงินบาทอ่อนค่าลงได้บ้าง

 ทั้งนี้ เรามองว่า กรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในช่วงนี้ อาจอยู่ในโซน 34.00-34.40 จนกว่าจะมีปัจจัยใหม่ๆ เข้ามาปรับเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนไหวของเงินบาท อนึ่ง ในช่วงที่ตลาดการเงินยังมีความผันผวนสูง เราคงแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ ใช้ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 34.10-34.30 บาท/ดอลลาร์

ผู้เล่นในตลาดการเงินยังคงเดินหน้าเปิดรับความเสี่ยง หนุนให้ในฝั่งตลาดหุ้นสหรัฐฯ ดัชนี S&P500 สามารถปรับตัวขึ้นกว่า +1.99% ท่ามกลางความคาดหวังว่า เฟดอาจไม่สามารถเร่งขึ้นดอกเบี้ยไปได้มาก อย่างที่ตลาดเคยกังวลไว้ หลังจากที่รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในช่วงที่ผ่านมาเริ่มสะท้อนภาพการชะลอตัวลงมากขึ้นของเศรษฐกิจ

ล่าสุด กระทรวงพาณิชย์สหรัฐฯ ยังได้รายงานตัวเลขประมาณการครั้งที่ 2 ของ จีดีพีสหรัฐฯ ในไตรมาสแรกของปีนี้ โดยพบว่า เศรษฐกิจสหรัฐฯ หดตัวกว่า -1.5% จากไตรมาสก่อนหน้า เมื่อเทียบเป็นรายปี แย่ลงจากประมาณการครั้งแรกและแย่กว่าที่นักวิเคราะห์ต่างคาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ยังได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มค้าปลีก หลังจากที่ Macy’s ซึ่งเป็นห้างสรรพสินค้ารายใหญ่ได้ประกาศผลกำไรดีกว่าคาด พร้อมปรับประมาณการรายได้สูงขึ้น ซึ่งภาพดังกล่าวได้ช่วยลดความกังวลผลกระทบต่ออัตราผลกำไรจากปัญหาเงินเฟ้อสูงและการชะลอตัวของเศรษฐกิจ

ส่วนทางด้านตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX50 สามารถปรับตัวขึ้นราว +2.54% หนุนโดยแนวโน้มเฟดอาจขึ้นดอกเบี้ยตามที่ตลาดคาดการณ์ไว้ และความหวังการฟื้นตัวเศรษฐกิจ หลังจากที่รัฐบาลอังกฤษได้ประกาศมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจใหม่ วงเงินกว่า 1.5 หมื่นล้านปอนด์ หรือ 1.9 หมื่นล้านดอลลาร์ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อสูงและช่วยหนุนการใช้จ่ายของผู้คน ทำให้หุ้นกลุ่มค้าปลีกรวมถึงหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือยต่างปรับตัวสูงขึ้น อาทิ Louis Vuitton +3.7%. Kering +3.5%

ในฝั่งตลาดบอนด์ แนวโน้มเฟดอาจไม่ได้เร่งขึ้นดอกเบี้ยไปมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ ได้กดดันให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ยังคงแกว่งตัวใกล้ระดับ 2.75% แม้ว่าตลาดจะกลับมาเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้นก็ตาม อนึ่ง เราคงมุมมองเดิมว่า แนวโน้มบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ยังคงผันผวนต่อ จนกว่าผู้เล่นในตลาดจะมีมุมมองที่ชัดเจนต่อแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดมากขึ้น โดยผู้เล่นในตลาดอาจรอประเมินทิศทางดอกเบี้ยอีกครั้ง ผ่านคาดการณ์ดอกเบี้ยเฟด หรือ Dot Plot ใหม่ในการประชุมเดือนมิถุนายน

ในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงต่อเนื่องเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ปรับตัวลดลงใกล้ระดับ 101.8 จุด ท่ามกลางภาวะเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้นของตลาด ทำให้ผู้เล่นบางส่วนทยอยลดการถือครองสินทรัพย์ปลอดภัย นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังเผชิญแรงกดดันจากการแข็งค่าขึ้นของเงินปอนด์อังกฤษ (GBP) ที่แข็งค่าขึ้นสู่ระดับ 1.261 จากความหวังต่อมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจล่าสุดของรัฐบาลอังกฤษ อนึ่ง การอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์และบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ที่ยังแกว่งตัว sideways นั้น กลับไม่ได้ช่วยหนุนให้ ราคาทองคำปรับตัวขึ้นไปมาก เนื่องจากภาวะเปิดรับความเสี่ยงของตลาดได้หนุนให้ผู้เล่นบางส่วนเดินหน้าทยอยขายทำกำไรทองคำ กดดันให้ราคาทองคำยังคงติดแนวต้านในช่วง 1,850-1,860 ดอลลาร์ต่อออนซ์

สำหรับวันนี้ ตลาดจะรอลุ้นรายงานเงินเฟ้อ PCE ของสหรัฐฯ ในเดือนเมษายน เพื่อประเมินแนวโน้มเงินเฟ้อและทิศทางนโยบายการเงินของเฟด โดยตลาดมองว่า เงินเฟ้อ PCE เดือนเมษายนอาจชะลอลงสู่ระดับ 6.2% ซึ่งแนวโน้มการชะลอตัวลงของเงินเฟ้ออาจช่วยลดความกังวลต่อปัญหาเงินเฟ้อรวมถึงทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างคลายกังวลการเร่งขึ้นดอกเบี้ยอย่างรุนแรงของเฟดได้

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

คาดรายได้เกษตรกรจาก 5 พืชเศรษฐกิจ โต 8.86 แสนล้านบาท

ttb analytics คาดรายได้เกษตรกรจาก 5 พืชเศรษฐกิจ ปี 2565 เติบโต 16.1% อยู่ที่ 8.86 แสนล้านบาท สูงสุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา ห่วงต้นทุนปุ๋ยเคมีและน้ำมันเชื้อเพลิงที่อาจฉุดรั้ง ดึงรายได้สุทธิเกษตรกรลดลง

เศรษฐกิจไทยในปี 2564 โดยภาพรวมแม้จะมีการชะลอตัวลงโดยได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 อย่างไรก็ดี เมื่อพิจารณาภาคเกษตรจะพบว่าเริ่มมีการฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยในปี 2564 รายได้เกษตรกรจาก 5 พืชเศรษฐกิจ ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ยางพารา อ้อย และข้าว รวมกันอยู่ที่ 7.63 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นกว่า 19.2% จากปี 2563 และเมื่อแยกเป็นพืชแต่ละประเภท พบว่าเพิ่มขึ้น 52.6% 26.4% 23.4% 20.3% และ 3.4% ตามลำดับ โดยรายได้เกษตรกรที่ปรับตัวดีขึ้น เป็นผลเนื่องมาจากราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับปริมาณนํ้าฝนที่เพิ่มขึ้นตั้งแต่ปลายปี 2563 ต่อเนื่องถึงปี 2564 ทำให้นํ้าในอ่างเก็บนํ้าที่สำคัญ และแหล่งนํ้าตามธรรมชาติมีปริมาณมากขึ้นเพียงพอ เป็นสาเหตุจูงใจให้เกษตรกรขยายพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มมากขึ้น

ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจ ทีทีบี หรือ ttb analytics คาดว่าในปี 2565 รายได้เกษตรกรจาก 5 พืชเศรษฐกิจ (ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง อ้อย ปาล์มน้ำมัน) จะเพิ่มขึ้นเป็น 8.86 แสนล้านบาท ซึ่งเติบโตต่อเนื่องจากปีก่อนถึง 16.1% และสูงสุดในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา โดยได้รับอานิสงส์จาก 1) ปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นสาเหตุจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกร 2) ปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเพาะปลูกพืช 3) แนวโน้มราคาอาหารเพิ่มขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่ปรับตัวสูงขึ้นจากความต้องการของผู้บริโภคที่เพิ่มขึ้นจากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวภายหลังจากการระบาดของโรคโควิด-19 และ 4) ความตึงเครียดของสงครามรัสเซียและยูเครน ทำให้ราคาพืชอาหารและพืชที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลต่อมูลค่ารายได้เกษตรกรจาก 5 พืชเศรษฐกิจหลักของไทย ในปี 2565 เป็นดังนี้

ข้าวเปลือก : คาดว่ารายได้เกษตรกรจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.93 แสนล้านบาท หรือขยายตัว 12.6% โดยปริมาณผลผลิตข้าวจะเพิ่มขึ้น 4.1% และราคาข้าวเปลือก (ความชื้น 15%) จะเพิ่มขึ้น 8.2% (ปี 2564 ราคาข้าวเปลือกปรับตัวลดลง 5.2% จากอุปทานเพิ่มขึ้น) โดยรายได้เกษตรกรชาวนาจะได้รับผลดีจากผลผลิตที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากการขยายพื้นที่เพาะปลูกข้าวนาปรัง และปริมาณน้ำจะเพียงพอทั้งในอ่างเก็บกักน้ำและน้ำฝนตามธรรมชาติที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น ส่วนราคาข้าวเปลือกคาดว่าจะดีขึ้น จากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศและเศรษฐกิจโลก ทำให้การค้ากลับมาเป็นปกติ โดยข้าวไทยยังเป็นที่ต้องการของตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ

ยางพารา : คาดว่ารายได้เกษตรกรจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.89 แสนล้านบาท หรือขยายตัว 12.3% โดยปริมาณผลผลิตคาดว่าจะทรงตัวจากปีก่อน สำหรับราคายางพาราคาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้น 12.0% ซึ่งได้รับอานิสงส์จากราคาน้ำมันดิบที่ปรับสูงขึ้น ทำให้ผู้ผลิตยางรถยนต์ปรับสัดส่วนการใช้ยางสังเคราะห์มาเป็นยางธรรมชาติมากขึ้น รวมถึงความต้องการยางพาราที่เพิ่มขึ้น ทั้งจากตลาดในประเทศและตลาดส่งออกหลัก (จีนและมาเลเซีย) ที่ต้องการนำไปผลิตเป็นสินค้าขั้นปลาย ได้แก่ ยางรถยนต์ และถุงมือยางทางการแพทย์ มากขึ้น

ปาล์มน้ำมัน : คาดว่ารายได้เกษตรกรจะเพิ่มขึ้นเป็น 1.28 แสนล้านบาท หรือขยายตัว 13.6% โดยปริมาณผลผลิตและราคาคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 3.6% และ 9.7% ตามลำดับ ปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมาจากราคาปาล์มน้ำมันปรับสูงขึ้นจูงใจให้เกษตรกรหันมาเพาะปลูกมากขึ้น ด้านราคาที่ปรับเพิ่มนั้นสาเหตุมาจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น และอินโดนีเซียผู้ผลิตปาล์มรายใหญ่ของโลกจำกัดการส่งออกน้ำมันปาล์มเพื่อคุมราคาน้ำมันปาล์มที่ใช้ประกอบอาหารในประเทศไม่ให้สูงเกินไป

อ้อย : คาดว่ารายได้เกษตรกรจะเพิ่มขึ้นเป็น 0.97 แสนล้านบาท หรือขยายตัว 47.9% โดยปริมาณผลผลิตและราคาคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 28.1% และ 15.5% ตามลำดับ ปริมาณผลผลิตที่เพิ่มขึ้นมาสภาวะอากาศที่กลับสู่ปกติรวมถึงราคาอ้อยที่ปรับสูงขึ้น เนื่องจาก 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ได้แก่ สมาคมโรงงานน้ำตาลไทย สมาคมผู้ผลิตน้ำตาลและชีวพลังงานไทย และสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาล ร่วมกันประกันราคาอ้อยฤดูกาลผลิตปี 2565/66 ขั้นต่ำไว้ที่ 1,000 บาทต่อตัน จูงใจให้เกษตรกรเพาะปลูกมากขึ้น

มันสำปะหลัง : คาดว่ารายได้เกษตรกรจะเพิ่มขึ้นเป็น 0.79 แสนล้านบาท หรือขยายตัว 17.1% โดยปริมาณผลผลิตและราคาคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 0.6% และ 16.4% ตามลำดับ แม้ว่าเนื้อที่เก็บเกี่ยวจะลดลงจากอุทกภัยในช่วงเดือนกันยายนและตุลาคม ปี 2564 ที่ผ่านมา ทำให้มันสำปะหลังเสียหาย ไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้ อย่างไรก็ดี คาดว่าผลผลิตมันสำปะหลังต่อไร่ในปี 2565 จะดีขึ้นจากปริมาณน้ำฝนที่เพียงพอช่วยชดเชย ทำให้ผลผลิตใกล้เคียงกับปี 2564 ด้านราคามันสำปะหลังจะปรับตัวดีขึ้น เนื่องจากความต้องการที่จะนำไปแปรรูปเป็นมันเส้น มันอัดเม็ด แป้งมันสำปะหลัง และเอทานอลเพิ่มขึ้น ประกอบกับราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้นทำให้ราคามันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้น

ห่วงต้นทุนปุ๋ยเคมีและต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่พุ่งกว่าเท่าตัว ฉุดรายได้สุทธิเกษตรกรให้ลดลง

ปุ๋ยเคมีถือเป็นต้นทุนสำคัญในการเพาะปลูกพืช จากข้อมูลปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีของเกษตรกรจาก 5 พืชเศรษฐกิจหลักของประเทศ โดยสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร พบว่า พืชที่ใช้ปุ๋ยเคมีมากคือ ปาล์มน้ำมันใช้ปุ๋ยเคมี 120 กิโลกรัมต่อไร่ รองลงมาเป็น ยางพารา อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวเปลือก ใช้ปุ๋ยเคมี 76 63 41 และ 30-49 กิโลกรัมต่อไร่ ตามลำดับ

ttb analytics คาดว่าในปี 2565 ราคาปุ๋ยเคมีขายปลีกท้องถิ่น (สูตร 46-0-0) จะปรับเพิ่มขึ้นเป็น 26,000 บาทต่อตันจากปี 2564 ที่ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 13,541 บาทต่อตัน สาเหตุเนื่องจาก 1) ความต้องการปุ๋ยเคมีโลกที่เพิ่มขึ้นจากการที่ประเทศต่าง ๆ มุ่งเน้นด้านความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้งการสนับสนุนจากรัฐบาลต่อภาคการเกษตร 2) อุปทานการผลิตปุ๋ยเคมีหยุดชะงักจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน 3) ราคาวัตถุดิบแม่ปุ๋ยปรับเพิ่มขึ้นตามราคาพลังงานที่สูงขึ้น 4) จีนและรัสเซียผู้ผลิตปุ๋ยรายใหญ่ของโลกลดปริมาณการส่งออกปุ๋ยเคมี

ราคาปุ๋ยเคมีที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลทำให้ต้นทุนปุ๋ยเคมีของเกษตรกรในปี 2565 ปรับเพิ่มขึ้นกว่า 92% จากปี 2564 และหากคิดเป็นต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจะพบว่า พืชที่ต้นทุนปุ๋ยเคมีเพิ่มมากที่สุด คือ ปาล์มน้ำมัน คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 1,495 บาทต่อไร่ (จาก 1,625 บาทต่อไร่ในปี 2564 เป็น 3,120 บาทต่อไร่ในปี 2565) รองลงมา ได้แก่ ยางพารา อ้อย มันสำปะหลัง และข้าวเปลือก โดยต้นทุนปุ๋ยเคมีในปี 2565 จะเพิ่มขึ้นจากปี 2564 เท่ากับ 947 785 511 และ 492 บาทต่อไร่ ตามลำดับ นอกจากนี้ ต้นทุนน้ำมันเชื้อเพลิงที่ใช้ทางการเกษตร อาทิ การขนส่งสินค้าเกษตร การสูบน้ำ ฯลฯ นับเป็นอีกต้นทุนหนึ่งที่จะส่งผลกระทบต่อรายได้สุทธิของเกษตรกรให้ลดลงได้

แนะเกษตรกรลดต้นทุนการผลิต และภาครัฐช่วยเหลือด้านต้นทุน เพื่อให้รายได้สุทธิเป็นบวก

แม้รายได้เกษตรกรจาก 5 พืชเศรษฐกิจของไทย ในปี 2565 จะดีขึ้นจากทิศทางราคาและปริมาณผลผลิตสินค้าเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นก็ตาม แต่ต้นทุนการผลิต อาทิ ปุ๋ยเคมี น้ำมันเชื้อเพลิง และค่าแรง ฯลฯ มีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเช่นกัน ซึ่งต้นทุนที่ปรับเพิ่มย่อมส่งผลทำให้รายได้สุทธิของเกษตรกรลดลง จึงเสนอแนะแนวทางการลดต้นทุน ดังนี้

- แนวทางการลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกร ได้แก่ 1) ปรับสัดส่วนเปลี่ยนจากปุ๋ยเคมีมาใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการเพาะปลูกมากขึ้น 2) จัดทำบัญชีรายการต้นทุนการเพาะปลูกโดยละเอียด อาทิ ค่าปุ๋ยเคมี ค่าเมล็ดพันธุ์ ค่าแรงงาน ค่าสูบน้ำ ค่าหว่าน ค่าไถพรวนดิน ฯลฯ เพื่อให้ทราบต้นทุนการเพาะปลูกทั้งหมดและนำไปประกอบการพิจารณาลดต้นทุนการเพาะปลูกแยกตามลำดับความสำคัญ ตามความสามารถที่เกษตรกรจะสามารถปรับลดเองได้

- แนวทางการช่วยเหลือด้านต้นทุนการผลิตของภาครัฐ ได้แก่ 1) ส่งเสริมให้เกษตรกรใช้ปุ๋ยสั่งตัด ซึ่งเป็นการผสมแม่ปุ๋ยให้ตรงกับสภาพดินและความต้องการของพืช ช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีได้ 2) ส่งเสริมและให้ความรู้เกษตรกรเกี่ยวกับวิธีการใช้ปุ๋ยเคมีและปุ๋ยอินทรีย์แบบผสมผสาน ซึ่งจะช่วยลดค่าปุ๋ยเคมีลงได้ 3) ในกรณีที่ต้นทุนปัจจัยการผลิตเพิ่มสูงขึ้นมากเกินไป ภาครัฐควรพิจารณาใช้งบประมาณช่วยเหลือปัจจัยการผลิตตามความเหมาะสม ฯลฯ

การลดต้นทุนของเกษตรกรด้วยตัวเองและได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น จะเป็นกุญแจสำคัญที่จะสนับสนุนให้ภาคเกษตรไทยมีศักยภาพในการสร้างรายได้ให้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะสามารถรับมือกับความผันผวนของราคาสินค้าเกษตรได้ นับเป็นแรงผลักดันให้เศรษฐกิจระดับภูมิภาคหรือเศรษฐกิจฐานรากเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป

จาก https://www.posttoday.com  วันที่ 27 พฤษภาคม 2565

10สินค้าส่งออกดาวรุ่งไทย ความท้าทายใหม่ท่ามกลางวิกฤติอาหารโลก

วิกฤติอาหารโลก โอกาสสินค้าไทย เปิด10สินค้าส่งออกดาวรุ่งไทย  ความท้าทายใหม่ท่ามกลางสงครามระหว่างประเทศ-อาหารโลกขาดแคลน

ปัญหาปากท้อง ถือเป็นปัญหาต้นๆที่ส่งผลต่อคุณภาพของชีวิตประชากร วิกฤติอาหารราคาแพงถือเป็นหนึ่งในปัญหาที่ทั่วทั้งโลกต่างเผชิญกันอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูล ที่ส่อให้เห็นถึงวิกฤติราคาอาหารแพงทั่วโลก โดยจากรายงาน FAO ระบุว่าดัชนีราคาอาหาร (Food Price Index)  ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดการเปลี่ยนแปลงรายเดือนของสินค้า อาหารและโภคภัณฑ์ที่มีการซื้อขายมากที่สุดทั่วโลก

ราคาอาหารที่แพงขึ้นนำมาสู่ความไม่มั่นคงด้านอาหาร (Food Insecurity) เมื่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตพุ่งสูงขึ้น เช่น ข้าว ขนมปัง เนื้อสัตว์ นม ไข่ นั่นแปลว่าประชาชนต้องหักส่วนรายได้เพื่อมาใช้จ่ายในส่วนนี้มากขึ้น สำหรับประเทศที่ค่าครองชีพมีความสอดคล้องกัน

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและนายกกิติมศักด์สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูปข้าวสาลี เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ปัจจุบันสถานการณ์การค้าของโลกและไทยต่างได้รับความท้าทาย ในการรับมือกับสถานการณ์ ทั้งภาวะวิกฤติโควิด และ ปัญหาความขัดแย้งระหว่างประเทศ เช่น สงครามรัสเซียและยูเครนที่ จะครบ 3 เดือนในวันที่ 24 พ.ค.นี้ ซึ่งจากสงคราม

ได้ส่งผลต่อซัพพลายเชนห่วงโซ่การผลิต ราคาสินค้า ภาวะเงินเฟ้อ ค่าครองชีพสูงขึ้นทั่วโลกและไทย และยังส่งผลต่อด้านต้นทุนการผลิตสินค้า เช่น ราคา พลังงาน ค่าขนส่งที่ปรับตัวสูงขึ้น การขาดแคลนสินค้าเกษตร อย่าง ข้าวสาลี น้ำมัน และปุ๋ย ซึ่งส่งผลต่อเนื่องไปยังสินค้าเกษตร ทั้งผักผลไม้ และ อาหารสัตว์เลี้ยงและ สินค้าปศุสัตว

สำหรับสถานการณ์การส่งออกอาหารของไทยล่าสุด - สภาหอการค้าฯ-สภาอุตสาหกรรม-สถาบันอาหาร เผยส่งออกอาหารไทยไตรมาสแรกปี 2565 มูลค่า 286,022 ล้านบาท โต 28.8%คาด ครึ่งปีหลังโตลดลง ท่ามกลางแรงกดดันด้านต้นทุน เงินเฟ้อที่พุ่งสูงขึ้น และความกังวลเศรษฐกิจโลกถดถอย กระทบกำลังซื้อ คงเป้าส่งออก ทั้งปี 1.20 ล้านล้านบาท โต 9.3%

แนวโน้มการส่งออกสินค้าอาหารไทยในช่วง 3 ไตรมาสที่เหลือของปี 2565 คาดว่าจะมีมูลค่า 913,978 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 และคงคาดการณ์ส่งออกทั้งปีไว้ที่ 1,200,000 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 - ปัจจัยสนับสนุนการส่งออกที่เติบโตในไตรมาสแรกปี 2565 : ประเทศคู่ค้านำเข้าสินค้าอาหารเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่คาดว่าจะกลับมาฟื้นตัว จากการเตรียมเปิดประเทศ (Reopening) รับการท่องเที่ยว และจากการผ่อนมาตรการในช่วงการแพร่ระบาดโค วิด19 อีกทั้งปัจจัยด้านค่าเงินบาทที่อ่อนค่าลง ส่งผลดีต่ออุตสาหกรรมอาหารที่ผลิตเพื่อการส่งออก - อุปสรรคและความท้าทาย การส่งออกที่เติบโตในไตรมาสแรกปี 2565 : ปัญหาด้านการขนส่งที่กระทบต่อการส่งออก ทั้งจากที่จีนมี มาตรการนโยบาย “Zero-COVID” ค่าระวางเรือ และการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์

นอกจากนั้นยังมีปัญหาสำคัญอย่างด้านต้นทุนการ ผลิตและค่าขนส่งเพิ่มสูงขึ้น อันเป็นผลมาจากสถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ที่กระทบต่อราคาวัตถุดิบอาหาร พลังงาน รวมทั้งปัจจัยการผลิต สำคัญทั่วโลก โดยในวิกฤติของสถานการณ์ปัจจุบัน ก็ยังมีโอกาสสำหรับสินค้าอาหารไทย เนื่องจากทุกประเทศได้ให้ความสำคัญในความ มั่นคงทางอาหาร ดังนั้นสินค้าไทยจึงได้รับผลกระทบทั้งบวกและลบ ทำให้สินค้าบางตัวเติบโตและบางตัวหดตัวลง เป็นสินค้าดาวรุ่งและ สินค้าที่ต้องติดตาม

ทั้งนี้10สินค้าดาวรุ่งที่จะเป็นโอกาสของการส่งออกไทยประกอบด้วย

 1. ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง มีการเติบโตอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2563 จนถึงปัจจุบัน ไตรมาส1 2565 มีการเติบโต 17.4% เนื่องจากผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ไทยเป็นสินค้าที่มีคุณภาพภาพ โดยเฉพาะในตลาดจีน ที่มีการนำเข้าไปชดเชยสินค้าข้าวโพดในประเทศจีน

2. อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ถึงแม้ว่าที่ผ่านมาอุตสาหกรรมอาหารทะเลแปรรูปจะได้รับผลกระทบจากภาวะวิกฤติต่างๆ แต่ในไตรมาส 1 ปี2565 มีการเติบโตถึง ร้อยละ 15 เนื่องจากตลาดมีความต้องการที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในทวีปเอเชีย อีกทั้งธุรกิจร้านอาหารและโรงแรมใน สหรัฐอเมริกาและยุโรปเริ่มทยอยฟื้นตัว และอีกปัจจัยที่ทำให้การเติบโตเพิ่มขึ้นเนื่องจากหลายประเทศให้ความกังวลในการขาดแคลน อาหารอีกครั้ง

ส่งออกดาวรุ่งไทย  ความท้าทายใหม่ท่ามกลางวิกฤติอาหารโลก

 3.สินค้าข้าวไตรมาส 1 ปี2565 เติบโตร้อยละ 30 ซึ่งมีผลมาจาก การที่ปีนี้มีผลผลิตในตลาดมาก เนื่องจากปริมาณน้ำฝนอุดมสมบูรณ์ แต่ยังต้องติดตามเรื่องราคาปุ๋ย และต้นทุนด้านการเกษตรต่อไป โดย ต้องมีการหาความร่วมมือ ส่งเสริมเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้าข้าว ทดแทนสินค้าข้าวสาลี ทีกำลังขาดแคลนในตลาดโลก

4. น้ำตาล ภาพรวมของตลาดน้ำตาลในปีนี้มีแนวโน้มจะสดใส ส่งผลให้ในไตรมาส1 ปี2565 เติบโตที่ร้อยละ 198 อีกทั้ง น้ำตาลอ้อยยังเป็นวัตถุดิบทำน้ำตาลที่สามารถเป็นสินค้าพลังงาน ได้ด้วยเช่นกันในบางประเทศจึงหันไปใช้เป็นเชื้อเพลิง ทดแทน ราคาน้ำมันที่ปรับสูงขึ้นอย่างมาก

5.ไก่แปรรูป ความต้องการสินค้าไก่แปรรูปไทยมีมาก เนื่องจากปัจจุบันมีการแพร่ระบาดของโรคในสัตว์ปีกในหลายประเทศ เช่นในยุโรป อีกทั้งมาเลเซียมี ประกาศห้ามส่งออกไก่ตั้งแต่1 มิถุนายน จึงเป็นโอกาสอันดีของไทยในการส่งออกไก่ไปยังคู่ค้าของมาเล แต่อุตสาหกรรมไก่ยังเจอผลกระทบ ด้านการขาดแคลนแรงงาน โดยไตรมาส1 ปี 2565 เติบโตร้อยละ 28

6.ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ในไตรมาส 1 ปี 2565 ผลไม้กระป๋องและแปรรูปเติบโตที่ร้อยละ 22.5 โดยมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากกระแสรักสุขภาพ และการ ฟื้นตัวของเศรษฐกิจกิจโดยเฉพาะร้านอาหาร โรงแรม ทั้งในและต่างประเทศ

 7.เครื่องดื่ม สินค้าเครื่องดื่มปัจจุบันมีการพัฒนาออกมาหลายประเภท เพื่อตอบโจทย์ลูกค้า โดยเฉพาะในแง่ของเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ และ เครื่องดื่ม วิตามิน functional drink ทำให้เป็นโอกาสที่ดีในการเติบโตในตลาดเอเชีย จีน และยุโรป โดยในไตรมาส1 ปี2565 เติบโตที่ร้อยละ 6.4

8.ไขมันและน้ำมัน หลายประเทศมีการให้ความสำคัญในความมั่นคงทางอาหารในประเทศ ทำให้บางประเทศได้ออกมาตรการระงับห้ามส่งออกน้ำมันพืชเกิดขึ้น ทั้งนี้เพื่อปรับสมดุล เรื่องระดับราคาในประเทศแต่เมื่อถึง ราคาที่ลดลงมาระดับหนึ่งรัฐบาล ก็ ต้องปรับ ให้ส่งออกได้ทันทีเพื่อไม่ใ ห้เกิด ผลกระทบกับเกษตรกรราคาน้ำมันในตลาดจึงปรับตัวสูงขึ้นโดย ในไตรมาส1 ปี2565 เติบโตที่ร้อยละ 241

9.ซอสและสิ่งปรุงรสและซุป อาหารปรุงแต่ง กลุ่มซอสปรุงรส ในไตรมาส 1 ปี2565 มีมูลค่าการส่งออกเติบโตที่ร้อยละ 25 ซึ่งตลอด 3 ปีที่ผ่านมาสินค้ากลุ่มนี้เติบโตอย่างต่อเนื่อง

10. อาหารอนาคต สินค้าอาหารอนาคตกำลังเติบโตและเป็นที่นิยมในตลาดโลกเนื่องจากตอบโจทย์กระแสสุขภาพ สิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน ซึ่งสินค้าอาหาร อนาคตปัจจุบันมีการพัฒนาและความหลากหลายมากขึ้น สินค้าที่กำลังเป็นที่นิยมได้แก่ อาหารจากพืช Plant based food & Plant based Protein

สินค้าแมลง กลุ่มสินค้าอาหารสุขภาพ Functional Food & Drink เป็นต้น ในไตรมาสที่ 1 ปี 2565 มีการเติบโตถึงร้อยละ 24 แม้ปัจจุบันมูลค่าการส่งออกจะไม่ได้สูงมาก แต่เป็นสินค้าดาวรุ่งของไทยที่มีการ เติบโตอย่างต่อเนื่อง และเป็นที่สนใจในตลาดโลก ทั้งเอเซีย จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และตลาดสหภาพยุโรป

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 27 พฤษภาคม 2565

จับตาชาวไร่-โรงงานขยับจ่อปรับราคาน้ำตาลหน้าโรงงานเพิ่มหลังต้นทุนพุ่ง

กอน.เคาะแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดลดฝุ่น PM 2.5 ตันละ 120 บาท วงเงินประมาณ 8,000 ล้านบาท หลังปิดหีบจากปริมาณอ้อยสดคุณภาพดี 66.9 ล้านตัน เตรียมเสนอ”ง "สุริยะ" ชง ครม.ขอจัดสรรงบผ่าน ธ.ก.ส. ยันไทยไม่ขาดแคลนน้ำตาลแน่นอน จับตาท่าทีชาวไร่-โรงงานส่งสัญญาณปรับต้นทุนการผลิตใหม่อิงสูตรราคา Cost Plus หลังปุ๋ย น้ำมัน แพงหนักดันราคาน้ำตาลหน้าโรงงานขยับตาม

นายเอกภัทร วังสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ที่มีนายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานเมื่อวันที่ 25 พ.ค.ที่ผ่านมา ได้มีมติเห็นชอบแนวทางการช่วยเหลืออ้อยสด 120 บาทต่อตันตามโครงการช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ปีการผลิต 2564/65 หลังจากที่โรงงานน้ำตาลทราย 57 แห่งได้ปิดหีบอ้อยเรียบร้อยแล้วและสรุปปริมาณอ้อยสดคุณภาพดีที่ 66.9 ล้านตัน คิดเป็นวงเงินช่วยเหลือประมาณ 8,000 ล้านบาท ซึ่งหลังจากนี้จะนำเสนอต่อนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เพื่อเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบต่อไป

“โครงการดังกล่าวเป็นไปตามหลักการเช่นปีที่ผ่านๆมาตามนโยบายส่งเสริมการตัดอ้อยสดที่รัฐบาลสนับสนุนเพื่อลดฝุ่น PM 2.5 ที่ ครม.จะอนุมัติเงินผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จ่ายให้กับชาวไร่อ้อยเพิ่มเติมอีกตันละ 120 บาทสำหรับการตัดอ้อยสดที่เน้นคุณภาพดีเท่านั้น หากคุณภาพไม่ดีเช่นไม่ลิดใบ มีสิ่งสกปรกเจือปนไม่ถือว่าเป็นอ้อยสด” นายเอกภัทรกล่าว

สำหรับกรณีราคาน้ำตาลทรายตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นโดยเฉพาะน้ำตาลทรายดิบเฉลี่ย 19-20 เซ็นต์ต่อปอนด์ และล่าสุดอินเดียผู้ผลิตรายใหญ่สุดของโลกและส่งออกอันดับสองรองจากบราซิล เตรียมหยุดส่งออกน้ำตาล หลังจัดส่งไปยังคู่ค้าที่ทำสัญญาไว้ใกล้ครบแล้วที่ 10 ล้านตัน และหลังจากนี้จนถึงเดือนกันยายนจะผลิตน้ำตาลไว้บริโภคในประเทศเพียงอย่างเดียวเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาในช่วงฤดูผลิตน้ำตาล ดังนั้นคงต้องติดตามใกล้ชิดว่าจะมีผลกระทบต่อระดับราคาน้ำตาลทรายตลาดโลกเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด แต่สำหรับไทยปัญหาการขาดแคลนน้ำตาลทรายเพื่อการบริโภคภายในประเทศยืนยัน กอน.มีกลไกการบริหารจัดการไว้รองรับอยู่แล้วจะไม่ขาดแคลนอย่างแน่นอน

“กอน.ได้มีการจัดสรรปริมาณน้ำตาลทรายบริโภคภายในประเทศไว้รองรับในแต่ละปีอยู่แล้ว ขณะเดียวกันยังกำหนดบับเบิลสต๊อกไว้ดูแลเพิ่มเติมอีกด้วย จึงไม่มีปัญหานี้ ประกอบกับฤดูหีบปี 2564/65 เราหีบอ้อยได้ 92.07 ล้านตันสูงกว่าปีก่อนซึ่งอยู่ระดับราว 66.67 ล้านตันทำให้ปริมาณน้ำตาลทรายปรับตัวสูงขึ้นด้วย” นายเอกภัทรกล่าว

นายนราธิป อนันตสุข หัวหน้าสำนักงานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย

กล่าวว่า ราคาน้ำตาลทรายดิบและทรายขาวตลาดโลกยังคงทรงตัวระดับสูงหลังจากที่โลกเกิดวิกฤตราคาพลังงานและอาหาร โดยบราซิลเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่ของโลกได้หันนำน้ำตาลทรายไปผลิตเอทานอลมากขึ้นหลังราคาน้ำมันโลกปรับตัวแรงจึงส่งผลมายังราคาน้ำตาลทรายตลาดโลกปรับตัวเพิ่ม แม้ว่าผลผลิตหลายประเทศจะสูงขึ้นก็ตาม แต่ราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงานของไทยขณะนี้ราคาน้ำตาลทรายขาวธรรมดาอยู่ที่ 17.25 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์อยู่ที่ 18.25 บาทต่อ กก.

“ตัวแทนชาวไร่อ้อยเองได้มีการหยิบยกประเด็นแนวโน้มราคาตลาดโลกมาหารือใน กอน.แล้วที่จะต้องติดตามใกล้ชิด เนื่องจากต้นทุนการผลิตของชาวไร่อ้อยปรับขึ้นสูงมากโดยเฉพาะจากปุ๋ย น้ำมัน จำเป็นที่จะต้องทบทวนต้นทุนการผลิตที่ยึดตามสูตรราคา Cost Plus เพื่อให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริง ซึ่งยอมรับว่าต้นทุนที่สูงขึ้นท้ายที่สุดอาจจำเป็นต้องมีการทบทวนราคาหน้าโรงงานใหม่” นายนราธิปกล่าว

แหล่งข่าวจากโรงงานน้ำตาลทรายกล่าวว่า ยอมรับว่าขณะนี้ชาวไร่อ้อยมีการเรียกร้องเรื่องต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจำเป็นต้องคำนวณต้นทุนการผลิตใหม่ทั้งจากชาวไร่อ้อยและโรงงาน หากพิจารณาเบื้องต้นจำเป็นต้องปรับราคาน้ำตาลทรายหน้าโรงงานไปสู่จุดเดิมก่อนลอยตัวคือ 19-20 บาทต่อ กก. แต่ทั้งนี้คณะทำงานคำนวณต้นทุนจะต้องมาสรุปตัวเลขจากนั้นจึงจะนำเข้าหารือใน กอน. หากมีความเห็นชอบก็ต้องผ่านการลงนามจาก 3 รัฐมนตรีที่กำกับดูแล

จาก https://mgronline.com  วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

กลุ่มมิตรผล โชว์นวัตกรรมความยั่งยืนในTHAIFEX - Anuga Asia 2022

กลุ่มมิตรผล ขนทัพผลิตภัณฑ์พร้อมเผยนวัตกรรมใหม่ ในงาน THAIFEX - Anuga Asia 2022 ภายใต้คอนเซ็ปต์ “The power of sustainability & Thai Innovations” ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารระดับโลก

กลุ่มมิตรผล ตอกย้ำความเป็นผู้นำด้านการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนในกลุ่มอุตสาหกรรมอาหารระดับโลก ร่วมจัดแสดงผลิตภัณฑ์หลากหลายพร้อมเผยนวัตกรรมใหม่ ในงาน THAIFEX - Anuga Asia 2022 ภายใต้คอนเซ็ปต์ “The power of sustainability & Thai Innovations” ที่ผสานพลังแห่งความยั่งยืนไว้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทุกด้าน สอดคล้องกับการดำเนินงานที่มิตรผลยึดมั่นมาเป็นเวลานาน การันตีด้วยรางวัลด้านความยั่งยืนอันดับ 3 ของโลกในกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร จากการจัดอันดับของ S&P Global

โดยการจัดแสดงบูธในครั้งนี้ กลุ่มมิตรผลคำนึงถึงความยั่งยืนในทุกองค์ประกอบ และสะท้อนแนวคิดผ่านการเลือกใช้วัสดุต่าง ๆ ที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ อาทิ หลอดชานอ้อย ไม้ ผ้า รวมถึงวัตถุดิบที่นำมาประกอบกิจกรรมภายในงาน ก็ล้วนแต่เป็นวัสดุที่สามารถนำไปใช้ต่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด เพื่อลดการเกิดขยะที่จะส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมในอนาคต ทั้งหมดนี้เป็นความพิเศษที่แฝงไปด้วยความหมายและเป็นงานดีไซน์ที่สามารถถ่ายทอดเอกลักษณ์ของกลุ่มมิตรผลออกมาได้อย่างลงตัว

และหากพูดถึงกลุ่มมิตรผลแล้ว แน่นอนว่าต้องโดดเด่นและเชี่ยวชาญในเรื่องของความหวาน งานนี้นอกจากมิตรผลจะส่งผลิตภัณฑ์น้ำตาลที่หลากหลายมาให้เลือกสรรแล้ว ยังดึงไฮไลต์ที่น่าสนใจอย่างการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำเกี่ยวกับการใช้น้ำตาลอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับเมนูแต่ละประเภทซึ่งผู้บริโภคอาจไม่เคยทราบมาก่อน เพื่อจุดประกายให้ผู้บริโภคได้เลือกใช้ผลิตภัณฑ์น้ำตาล เสริมรสชาติเมนูคาวหวานต่าง ๆ ให้ดีขึ้นกว่าเดิม อาทิ น้ำตาลอ้อยธรรมชาติ น้ำเชื่อมสูตรละลายเร็ว น้ำตาลปี๊บสูตรใหม่ หรือน้ำตาลทรายแดง

มากไปกว่านั้นยังมาพร้อมสินค้าชูโรงอย่าง Senorita แบรนด์ไซรัปพรีเมียมของไทย ที่มาในธีม Thai Dessert Drink หยิบยกจุดเด่นของไซรัปผลไม้ไทยที่ดังไกลถึงต่างประเทศอย่าง ไซรัปกลิ่นมะม่วงอกร่องทอง และไซรัปกลิ่นมะพร้าวน้ำหอม โดยได้แบรนด์แอมบาสเดอร์อย่างคุณณิกษ์ อนุมานราชธน ที่มาร่วมสร้างสรรค์เมนูจากพรีเมียมไซรัปทั้งสองรสชาติให้มีความพิเศษได้กลิ่นอายความเป็นไทยอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ

นอกจากผลิตภัณฑ์เติมความหวานที่พร้อมเสิร์ฟแล้ว มิตรผลยังนำสินค้ากลุ่มอื่น ๆ ที่น่าสนใจมาจัดแสดง ตอกย้ำความเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืน อย่างน้ำแร่ธรรมชาติ VAVA ที่มาจากแหล่งน้ำใต้ชั้นหินธรรมชาติแห่งผืนป่าเขาใหญ่ หนึ่งในมรดกโลกทางธรรมชาติ (UNESCO World Heritage) อุดมไปด้วยแร่ธาตุที่ให้คุณประโยชน์ต่อร่างกาย และยังเป็นน้ำดื่มแบรนด์แรกของไทยที่มุ่งสู่การเป็น Carbon Neutral นอกจากนี้ยังมีผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อสุขภาพที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง รวมถึงวัสดุบรรจุภัณฑ์รักษ์โลกที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ที่ล้วนเป็นการเพิ่มมูลค่าและต่อยอดจากผลผลิตอ้อยและน้ำตาล ซึ่งนอกจากจะเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสานต่อความมุ่งมั่นในด้านความยั่งยืนเช่นเดียวกัน

นอกจากนี้ยังมีการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เป็น Thai Innovations นวัตกรรมใหม่ที่สร้างสรรค์โดยคนไทยที่มีศักยภาพ อาทิ

แบรนด์ Meat Avatar ผลิตภัณฑ์ทดแทนเนื้อสัตว์ (Plant-based Protein) ที่ให้ประโยชน์ต่อร่างกายด้วยโปรตีนจากพืช เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และกำลังเป็นเทรนด์อาหารที่น่าจับตามอง และแบรนด์ UNC แคลเซียมที่สกัดจากก้างปลา ด้วยแนวคิดการสร้างคุณค่าให้กับวัสดุเหลือใช้จากการแปรรูปปลาทะเล ต่อยอดสู่นวัตกรรมใหม่ที่การันตีด้วยการคว้ารางวัล 4 เหรียญทองจากเวทีประกวดนวัตกรรมนานาชาติที่ประเทศอังกฤษ

ด้านนางสาววิภาดา อัตศรัณย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานกลยุทธ์การตลาดและขายในประเทศ กลุ่มมิตรผล กล่าวถึงภาพรวมผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมิตรผลในงาน THAIFEX ครั้งนี้ไว้ว่า “กลุ่มมิตรผล เราให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจอย่างยั่งยืนมาโดยตลอด ในงาน THAIFEX ปีนี้เรามาในคอนเซปต์ The power of sustainability & Thai Innovations โดยได้นำผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในเครือของเรามาจัดแสดง รวมถึงนำผลิตภัณฑ์นวัตกรรมด้านอาหารใหม่ ๆ ที่สร้างสรรค์โดยคนไทยเพื่อแนะนำให้คู่ค้าและผู้บริโภคได้รู้จักและเป็นที่ยอมรับมากขึ้น ซึ่งเรามีความตั้งใจที่อยากสนับสนุนและอยากเห็นผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพและมีความมุ่งมั่น สามารถเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งต่อไป ตอกย้ำจุดยืนการเป็นองค์กรแห่งความยั่งยืนไปพร้อมกับการคิดค้นนวัตกรรมใหม่เพื่อคนไทย”

ผู้ที่สนใจชมผลิตภัณฑ์ของกลุ่มมิตรผล สามารถพบกันได้ที่ งาน THAIFEX - Anuga Asia 2022 มหกรรมงานแสดงสินค้าอาหารสุดยิ่งใหญ่ ณ ชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 2 บูธ 2-Z01 ระหว่างวันที่ 24-27 พฤษภาคม 2565 (วันเจรจาธุรกิจ) และวันที่ 28 พฤษภาคม 2565 (วันจำหน่ายปลีก) ณ อิมแพ็คอารีน่า เมืองทองธานี

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

แนะวิธีปราบด้วงหนวดยาว ทำลายอ้อยปลูกใหม่และระยะแตกกอ

นายศรุต สุทธิอารมณ์ ผู้อำนวยการสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวไร่อ้อย ในช่วงนี้ขอให้เฝ้าระวังการระบาดของด้วงหนวดยาวอ้อยที่จะเข้าทำลายอ้อยในระยะปลูกใหม่และในระยะอ้อยแตกกอ

การเข้าทำลายในระยะเริ่มปลูก ด้วงหนวดยาวอ้อยจะเจาะไชเข้าไปกัดกินเนื้ออ้อยภายในท่อนพันธุ์ ทำให้ท่อนพันธุ์ไม่งอก ถ้าหน่ออ้อยอายุ 1-3 เดือนจะถูกกัดกินตรงส่วนโคนที่ติดกับเหง้าให้ขาดออก ทำให้หน่ออ้อยแห้งตาย

แต่หากอ้อยมีลำแล้ว ด้วงหนวดยาวอ้อยจะทำให้กาบใบและใบอ้อยแห้งตายทั้งต้นหรือทั้งกออ้อย เนื่องจากหนอนที่มีขนาดเล็กจะกัดกินบริเวณเหง้าอ้อยทำให้การส่งน้ำและอาหารจากรากไปสู่ลำต้นและใบน้อยลง เมื่อหนอนมีขนาดใหญ่ขึ้นจะเริ่มเจาะไชจากส่วนโคนลำต้นขึ้นไปกินเนื้ออ้อย ทำให้ลำต้นเป็นโพรงเหลือแต่เปลือก ทำให้ลำต้นอ้อยหักล้มและแห้งตาย

วิธีการป้องกันกำจัดในอ้อยปลูกใหม่ ผอ.สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช แนะนำ หากพบการเข้าทำลายของด้วงหนวดยาวให้ป้องกันกำจัดด้วยวิธีผสมผสาน คือไถพรวนดินแล้วเก็บตัวหนอนและดักแด้ของด้วงหนวดยาวอ้อยตามรอยไถ หากพบการเข้าทำลายไม่มากให้ป้องกันกำจัดด้วยศัตรูธรรมชาติ โดยโรย เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ บนท่อนพันธุ์พร้อมปลูกแล้วกลบดิน

ส่วนในพื้นที่ที่มีการระบาดของด้วงหนวดยาวอ้อยอย่างรุนแรง ให้ป้องกันกำจัดด้วยสารเคมีชนิดน้ำพ่นสารฆ่าแมลง ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นไปบนท่อนพันธุ์อ้อยพร้อมปลูกแล้วกลบดิน หรือใช้สารเคมีชนิดเม็ด ฟิโพรนิล 0.3% GR อัตราไร่ละ 6 กก. โรยบนท่อนพันธุ์อ้อยพร้อมปลูกแล้วกลบดิน

สำหรับอ้อยระยะแตกกอ ให้ทำการป้องกันกำจัดด้วยวิธีผสมผสาน ถ้าพบหน่ออ้อยแห้งตายให้ขุดกออ้อยและจับตัวหนอนและดักแด้ของด้วงหนวดยาวอ้อยออกมาทำลายนอกแปลง และเมื่อปิดร่องอ้อยแล้วโรยเชื้อราเขียวเมตาไรเซียม อัตราไร่ละ 10 กก. ให้ชิดกออ้อยแล้วกลบดิน

ส่วนในพื้นที่ที่มีการระบาดของด้วงหนวดยาวอ้อยอย่างรุนแรง ให้ป้องกันกำจัดด้วยสารเคมีชนิดน้ำ ด้วยการเปิดร่องอ้อยแล้วพ่นสารฆ่าแมลง ฟิโพรนิล 5% SC อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ชิดกออ้อยแล้วกลบดิน การใช้สารเคมีชนิดเม็ดก็เช่นกัน หลังจากเปิดร่องอ้อยแล้วโรยสารฆ่าแมลง ฟิโพรนิล 0.3% GR อัตราไร่ละ 6 กก. ให้ชิดกออ้อย แล้วกลบดิน

นายศรุต ให้คำแนะนำต่ออีกว่า การระบาดด้วงหนวดยาวอ้อยจะเข้าทำลายได้ทั้งอ้อยที่ปลูกใหม่และอ้อยที่อยู่ในระยะแตกกอ จึงขอให้เกษตรกรหมั่นสำรวจไร่อ้อย หากพบการระบาดไม่มากให้ป้องกันกำจัดด้วยวิธีกลและวิธีผสมผสาน แต่หากพบการระบาดรุนแรงให้ใช้สารเคมีชนิดและอัตราการใช้ตามคำแนะนำ

“ข้อสำคัญการใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียมและสารเคมี ขณะใช้ดินต้องมีความชื้นหรือเป็นพื้นที่ที่สามารถให้น้ำได้ และในช่วงที่ฝนเริ่มตก ด้วงหนวดยาวอ้อยจะออกเป็นตัวเต็มวัย ฉะนั้น ให้เฝ้าระวังเมื่อฝนตกหนักครั้งแรกให้สำรวจตัวเต็มวัยในช่วงพลบค่ำ ถ้าไม่พบตัวเต็มวัยให้รอฝนตกซ้ำครั้งที่ 2 ด้วงหนวดยาวอ้อยจะออกจากดักแด้เป็นตัวเต็มวัยให้ทำกับดักหลุมในแปลงอ้อยเพื่อจับตัวเต็มวัยหรือเดินเก็บตัวเต็มวัยในแปลงอ้อยช่วงค่ำ” ผอ.สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืชกล่าว.

จาก https://www.thairath.co.th  วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ราคาน้ำตาลตลาดโลกพุ่ง หลังอินเดียจำกัดการส่งออกน้ำตาลครั้งแรกในรอบ 6 ปี

ราคาน้ำตาลในตลาดโลกพุ่งขึ้นวานนี้ (25 พ.ค.) หลังรัฐบาลอินเดียประกาศจำกัดการส่งออกน้ำตาลเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปีที่ระดับ 10 ล้านตันในฤดูกาลนี้ เพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของราคาน้ำตาลภายในประเทศ

ราคาน้ำตาล สัญญาน้ำตาลที่มีการซื้อขายในตลาดลอนดอน พุ่งขึ้นกว่า 1% เมื่อวันพุธ (25 พ.ค.) ขานรับมาตรการจำกัดการส่งออกน้ำตาล ของ อินเดีย ที่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี ท่ามกลางภาวะ วิกฤตอาหารโลก

ทั้งนี้ รัฐบาลอินเดียออกแถลงการณ์จำกัดการส่งออกน้ำตาลเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปีเมื่อวันที่ 25 พ.ค. 2565เพื่อสกัดการพุ่งขึ้นของราคาน้ำตาลภายในประเทศ โดยแถลงการณ์ระบุว่า อินเดียจะจำกัดการส่งออกน้ำตาลที่ระดับ 10 ล้านตันในฤดูกาลนี้ โดยนับตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.-31 ต.ค. บริษัทส่งออกของอินเดียจะต้องได้รับใบอนุญาตจากรัฐบาลก่อนที่จะทำการส่งออกน้ำตาลไปยังต่างประเทศ

ก่อนหน้านี้ รัฐบาลอินเดียมีแผนจำกัดการส่งออกที่ระดับ 8 ล้านตัน แต่ได้ตัดสินใจเพิ่มการส่งออกเป็น 10 ล้านตัน เนื่องจากมีการปรับเพิ่มตัวเลขคาดการณ์ผลผลิตน้ำตาลภายในประเทศ

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า หากอินเดียตั้งเป้าระงับการส่งออกน้ำตาลที่ 10 ล้านตัน นั่นก็แปลว่าอินเดียใกล้จะหยุดส่งออกน้ำตาลในเร็ว ๆนี้แล้ว เนื่องจากส่งมอบน้ำตาลไปยังคู่ค้าที่ทำสัญญาไว้ใกล้ครบ 10 ล้านตันแล้ว หลังจากนั้นจนถึงเดือนกันยายนก็จะผลิตน้ำตาลไว้บริโภคในประเทศเพียงอย่างเดียว เพื่อรักษาเสถียรภาพราคาในช่วงฤดูผลิตน้ำตาล

กระทรวงอาหารของอินเดียระบุในถ้อยแถลงว่า คาดว่าการส่งออกน้ำตาลจะแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีการตลาดนี้ โดยมีการลงนามในสัญญาซื้อขายไว้ประมาณ 9 ล้านตัน และส่งออกไปแล้วกว่า 7.8 ล้านตัน

ด้านสมาคมโรงฟอกน้ำตาลอินเดียได้ปรับตัวเลขคาดการณ์ผลผลิตน้ำตาลในปีนี้สู่ระดับ 35.5 ล้านตัน จากเดิมที่ระดับ 31 ล้านตัน

มีตัวเลขคาดการณ์ว่า หลังจากที่จำกัดการส่งออกน้ำตาลที่ระดับ 10 ล้านตันในฤดูกาลนี้ จะทำให้อินเดียมีสต็อกน้ำตาลราว 6 ล้านตัน ณ วันที่ 1 ต.ค. ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูกาล 2565/66 โดยจะเพียงพอสำหรับความต้องการบริโภคในช่วงเทศกาลในไตรมาส 4/65

อินเดียเป็นประเทศที่ผลิตน้ำตาลมากที่สุดในโลก และส่งออกสูงเป็นอันดับ 2 รองจากบราซิล

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานตั้งแต่ช่วงเดือนมี.ค.ว่า อินเดียมีแผนจะจำกัดการส่งออกน้ำตาลเพื่อแก้ปัญหาราคาน้ำตาลแพง และสร้างความมั่นใจว่าจะมีปริมาณน้ำตาลอย่างเพียงพอสำหรับการบริโภคภายในประเทศ หลังจากที่บริษัทอินเดียได้ส่งออกน้ำตาลจำนวนมากในตลาดโลก

เมื่อกลางเดือนพ.ค. อินเดียอ้างถึงอัตราเงินเฟ้อและความต้องการความมั่นคงด้านอาหารของตนเอง จึงระงับการส่งออกข้าวสาลี หลังสงครามยูเครนทำข้าวสาลีในตลาดโลกขาดแคลน และการเปลี่ยนแปลงด้านสภาพภูมิอากาศจนเกิดภาวะคลื่นความร้อนในพื้นที่เพาะปลูกของอินเดีย ทำให้ผลผลิตข้าวสาลีในประเทศตกต่ำลง

การเคลื่อนไหวดังกล่าวจะยิ่งผลักดันให้ราคาอาหารโลกพุ่งสูงขึ้นอีก หลังหลายประเทศทั่วโลกได้จำกัดหรือระงับการส่งออกสินค้าอาหารนานาชนิดไปแล้วก่อนหน้านี้

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

4ปีเงินสะพัดกว่า1.72ล้านล้าน

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) หรืออีอีซี เปิดเผยในงานสัมมนา “4 ปี อีอีซี ภารกิจขับเคลื่อนไทย เชื่อมทุกมิติอย่างยั่งยืน” ว่า การขับเคลื่อนเขตพัฒนาภาคตะวันออก(อีอีซี)ตลอด 4 ปีได้สร้างเม็ดเงินการลงทุนระยะที่ 1 (ปี 2561-64) กว่า 1.72 ล้านล้านบาทเร็วกว่าแผนที่ตั้งเป้าหมายไว้ 5 ปี (ปี2561-65)ส่งผลให้ขณะนี้อยู่ระหว่างการเดินหน้าในระยะที่ 2 (ปี 2565-69) ที่จะเร่งรัดการลงทุนให้เกิดขึ้น 2.2 ล้านล้านบาท หรือเฉลี่ยปีละ 4 แสนล้านบาท โดยมุ่งเน้นการลงทุนนวัตกรรมขั้นสูง 12 อุตสาหกรรมเป้าหมายภายใต้ยุทธศาสตร์ BCG โมเดล ฯลฯซึ่งแนวโน้มการลงทุนยังมีต่อเนื่องโดยเฉพาะยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) ที่จีนสนใจที่จะมาลงทุนแบบคลัสเตอร์ ทั้งแบตเตอรี่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ รถอีวี ฯลฯ มากขึ้น

“นักลงทุนยังเข้ามาดูพื้นที่ต่อเนื่องถือว่าการลงทุนยังคงมีสัญญาณที่ดีเชื่อว่าปีนี้จะเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ที่การลงทุนเฉลี่ยในอีอีซีจะอยู่ที่ปีละ 4 แสนล้านบาทตามแผนระยะที่ 2 เพื่อเป็นกลไกผลักดันให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ(จีดีพี)เติบโตเฉลี่ย 4.5-5% ต่อปี เพื่อหนุนให้ไทยพ้นกับดักรายได้ปานกลางก้าวสู่ประเทศพัฒนาปี 2572” นายคณิศ กล่าว

4 ปีที่ผ่านมาอีอีซีได้ผลักดันโครงการร่วมทุนรัฐ-เอกชน (PPP) จนสำเร็จครบ 4 โครงการหลัก (รถไฟความเร็วสูงฯ-สนามบินอู่ตะเภา ท่าเรือมาบตาพุดและแหลมฉบัง) เกิดการลงทุนรวมทั้งภาครัฐและเอกชนสูงถึง 655,821 ล้านบาทซึ่งเป็นส่วนที่ภาครัฐลงทุนเพียง 36%แต่รัฐจะได้รับผลตอบแทนคิดเป็นมูลค่าปัจจุบันกว่า 440,193 ล้านบาท ทำให้ประเทศก้าวสู่การพึ่งพาตนเอง ไม่ต้องพึ่งพาทุนจากต่างประเทศในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็น ประหยัดเงินงบประมาณของรัฐ เกิดความร่วมมือภาคเอกชนไทย เกิดการจ้างงานสร้างอาชีพ ซึ่งในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นซึ่ง 4 โครงการคืบหน้าและจะเปิดบริการได้ราวปี 2569

อีอีซี ได้สร้างความเชื่อมโยงกับภูมิภาคเอเชียและภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลกผลักดันให้เกิดการลงทุนขนาดใหญ่จากต่างชาติ การลงทุนในระยะที่ 1 อีอีซีทำสำเร็จเร็วกว่าเป้าหมายที่วางไว้ ใช้เวลาเพียง 4 ปี (2561-2564) อนุมัติการมูลค่าการลงทุน 1,722,720 ล้านบาทใช้งบประมาณรัฐเพียง 5% จากที่ตั้งเป้าหมายไว้ 1.7 ล้านล้านบาทใน 5 ปีแรก (2561-2565) เป็นการลงทุนจากโครงสร้างพื้นฐาน 4 โครงการหลัก 654,921 ล้านบาท การลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย (ประมาณการจากบัตรส่งเสริมลงทุนบีโอไอ) 985,799 ล้านบาท และการพัฒนาพื้นที่ผ่านแผนบูรณาการร่วมกับหน่วยงานกว่า 30 แห่ง มูลค่า 82,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ยังมีการใช้ 5G ในพื้นที่อีอีซีซึ่งติดตั้งสัญญาณครบ 100% ถือเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่มีการใช้ 5G อย่างกว้างขวาง โดยต่อยอดพัฒนาในภาคการผลิต สู่อุตสาหกรรม 4.0 การพัฒนาในระดับชุมชน และด้านการจัดการข้อมูลเพื่อต่อยอดธุรกิจ ทั้งนี้ ความสำเร็จที่เกิดขึ้น ได้ผลักดันให้ชุมชนบ้านฉาง ก้าวสู่ smart city เกิดศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีขั้นสูงบ้านฉาง (EEC Tech Park) มูลค่าลงทุนกว่า 20,000 ล้านบาท คาดว่าก่อสร้างในเฟสแรกภายในปี 2567 และในพื้นที่เมืองพัทยา ได้วางโครงสร้างพื้นฐานเสา 5G ไปแล้วกว่า 100 เสา อยู่ระหว่างขยายเพิ่มเติมเพื่อให้พัทยาก้าวสู่ smart city เช่นกัน รวมทั้งในปี 2565 จะนำร่องต้นแบบ EEC Common Data Lake นำข้อมูล Data platform ภาครัฐและเอกชน ใช้ประโยชน์เพื่อต่อยอดธุรกิจ คาดว่าจะทำให้เกิดธุรกิจต่อเนื่อง มีมูลค่าสูงกว่า 1 ล้านล้านบาท ได้ประโยชน์เพิ่ม 5 เท่า จากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานท่อ เสา สาย 2 แสนล้านบาท

จาก https://www.naewna.com วันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ส่งโดรนเกษตร DJI Agras T10-T30 เจาะกลุ่มสมาร์ทฟาร์ม

 DJI ส่งโดรนเกษตร DJI Agras T10 กับ T30 ตอบโจทย์สมาร์ทฟาร์มชูจุดแข็งช่วยเกษตรลดต้นทุนค่าใช้จ่ายและเวลาทำงานจาก 9 ไร่เป็น 40-50 ไร่ต่อวัน พร้อมขานรับนโยบายการสนับสนุนและส่งเสริมการใช้เทคโนฯ เพื่อยกระดับด้านเกษตรของไทย

นายดอนนี่ เจีย (MR. Donnie Jia) ผู้จัดการฝ่ายขาย ประเทศไทย DJI  เปิดเผยว่า รัฐบาลไทยต้องการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในภาคเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม (NRAA, SDGs) จากสัดส่วน 9-10.5% GDP ประเทศไทย โดยมี 40% ของประชากรในนั้นเป็นเกษตรกร 60% จากจำนวนเกษตรกร 13 ล้านคนปลูกข้าว และยังเป็นผู้ส่งออกทุเรียนอันดับ 1 ของโลก

ปัจจุบันโดรนเกษตรเป็นเครื่องมือสำคัญที่เข้ามามีบทบาทในภาคการเกษตร รองรับกับความต้องการของประชากรโลกที่เติบโตอย่างต่อเนื่องจากความต้องการอาหารเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งอุตสาหกรรมยังต้องเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานและการปฏิบัติงานแบบดั้งเดิมที่มีประสิทธิภาพต่ำ รวมถึงการขาดความรู้ในเทคโนโลยีใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พร้อมด้วยต้นทุนที่มีราคาสูงและอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพได้

ดังนั้นเทคโนโลยีโดรนจะเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในการจัดการกับความท้าทายขั้นพื้นฐานในขณะนี้ จึงนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการเกษตรแบบดั้งเดิม สู่การเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการบริหารจัดการและใช้เทคโนโลยี นวัตกรรมหรือเรียกว่า สมาร์ทฟาร์ม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้การผลิต ประหยัดทรัพยากร และช่วยลดต้นทุนการทำเกษตร

ล่าสุดในงานนิทรรศการเครื่องจักรกลการเกษตรของประเทศไทย AGRITECHNICA ASIA 2022 ครั้งที่ 3  ณ ไบเทค บางนา กรุงเทพฯ ประเทศไทย DJI ผู้นำด้านการพัฒนาและผลิตเทคโนโลยีโดรนเกษตร ได้ส่งโดรนเกษตรรุ่น DJI Agras T10 และ DJI Agras T30 ที่เป็นเรือธงปีนี้เข้ามาทำตลาดอย่างเป็นทางการในประเทศไทย  โดยชูจุดเด่นด้วยการพัฒนาให้มีน้ำหนักเบาทำให้คล่องตัว ถังขนาด 8 ลิตรและความกว้างของสเปรย์สูงสุด 5 เมตร ช่วยให้เครื่องบินครอบคลุมพื้นที่ถึง 15 เอเคอร์/ชั่วโมง

และระบบเรดาร์ดิจิทัลรอบทิศทางช่วยยกระดับความปลอดภัย แอพ DJI Agriculture ใหม่ทำให้ใช้งานง่ายขึ้น  พร้อมรองรับการใช้งานหลากหลายรูปแบบ อาทิ การสํารวจ การทําแผนที่ ไปจนถึงการพ่นและการกระจายน้ำ เป็นต้น  อีกทั้งยังมีจุดเด่นในการสร้างแผนที่ใหม่เพื่อการคำนวณการขับเคลื่อนโดยไม่ต้องเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต พร้อมด้วยระบบหลบหลีกสิ่งกีดขวางอัตโนมัติแบบ 3 มิติในราคาที่คุ้มค่าการลงทุน เพื่อรองรับการเติบโตโดรนเกษตรในยุคสมาร์ทฟาร์ม (Smart Farm)

พร้อมกันนี้ยังได้นำโดรนเกษตรรุ่น DJI Agras T30 ที่มีการเปลี่ยนรูปโฉมใหม่มาอวดโฉมในครั้งนี้  ซึ่งมีจุดเด่นที่จะช่วยให้การฉีดพ่นมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับพืชเกษตรในกลุ่มไม้ผล ด้วยการพัฒนาและใช้โซลูชันการเกษตรดิจิทัลของ DJI T30 ที่มาช่วยลดการใช้ปุ๋ยและเพิ่มผลผลิต ด้วยแนวทางการปฏิบัติที่ดีที่สุดของการขับเคลื่อนโดรนด้วยข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ  พร้อมยังมีความแม่นยำในการวางแผนการควบคุมระยะไกล  พร้อมด้วยแพลตฟอร์ม Smart Agriculture Cloud และการทำแผนที่บนคลาวด์ เกษตรกรสามารถบริหารจัดการและตอบโจทย์การทำเกษตรยุคดิจิทัลได้โดยง่าย

ตั้งแต่ปี 2561 โดรนเกษตร DJI เริ่มเข้าทำตลาดประเทศไทย ในฐานะผลิตภัณฑ์โดรนเพื่อการเกษตรที่ได้รับความนิยมสูงสุดในประเทศไทย ซึ่งมียอดขายในปี 2564 เพิ่มขึ้น 227% เมื่อเทียบกับปี 2563 ปัจจุบันมีการใช้โดรนในแปลงเกษตรกลุ่มพืชผล เช่น ข้าว ทุเรียน ,ทานตะวันและปาล์มน้ำมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในปี 2564 DJI Agriculture มียอดขายรวม 100,000 ยูนิตในตลาดโลก โดยมีพื้นที่ปฏิบัติการทั่วโลกสะสมมากกว่า 667 ล้านเฮกตาร์ และได้ฝึกอบรมนักบินมืออาชีพที่ผ่านการรับรองแล้วมากกว่า 65,000 คน ปัจจุบัน DJI Agriculture ให้บริการโซลูชั่นการเกษตรแบบดิจิทัลแก่กว่า 30 ประเทศและภูมิภาคทั่วโลก โดยให้บริการผู้ปฏิบัติงานด้านการเกษตรมากกว่า 10 ล้านคน ในอนาคต DJI Agriculture จะยังคงลงทุนในเทคโนโลยีและทรัพยากรเพิ่มเติมในตลาดเกษตร และทำงานร่วมกับพันธมิตรเพื่อสร้างโซลูชั่นด้านการเกษตรแบบดิจิทัล โดยใช้อุปกรณ์อวกาศอัจฉริยะ ที่จะเข้าช่วยเกษตรกรปรับปรุงระดับการจัดการพื้นที่เพาะปลูก ช่วยพัฒนาด้านการเกษตรทั่วโลก

นอกจากนี้ DJI ยังได้ทำการสำรวจและได้นำจากกรณีศึกษาเกษตรกรจากจังหวัดร้อยเอ็ด  เมื่อช่วงต้นปี 2563 มีการแพร่ระบาดของโควิด (COVID-19) ทำให้นางจุไรรัตน์และนายนิกร หลังวิกฤตโควิดจึงได้เดินทางกลับไปยังภูมิลำเนาเดิมโดยได้ลงทุนซื้อโดรนการเกษตร DJI มีประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยม เมื่อเทียบกับการใช้แรงงานคน เนื่องจากโดรนสามารถฉีดพ่นยาฆ่าแมลงได้ครอบคลุมและประหยัดเวลาในการทำงานได้อย่างมาก รวมทั้งต้นทุนการดำเนินงานและเพิ่มการผลิต  วิธีการแบบดั้งเดิมที่ใช้คนเดินฉีดพ่นเฉลี่ย 8.3 ไร่ต่อวัน แต่โดรนการเกษตรสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากกว่า

โดยได้ยกตัวอย่างโดรนรุ่น T30 ที่มีถังบรรจุขนาด 30 ลิตรและสเปรย์ฉีดน้ำ 9 เมตร สามารถทำงานได้ประมาณ 100 ไร่ต่อชั่วโมง โดยการควบคุมด้วย "คลิกเดียว"  สำหรับการใช้โดรนการเกษตร DJI ในการฉีดพ่นยาให้กับเกษตรกรรายอื่นๆ โดยรอบยังช่วยให้ครอบครัวต่างๆ มีชีวิตที่ดีขึ้นอีกด้วย หนึ่งในเกษตรกรที่ได้ใช้โดรน DJI ได้คำนวณว่าในฤดูทำนาโดรนสามารถทำงานเฉลี่ย 40-50 ไร่ต่อวันให้กับเกษตรกรโดยรอบ ซึ่งทำให้มีรายได้อยู่ที่ 5,000-6,000 บาทต่อวัน และมีรายได้เกือบ 200,000 บาทต่อเดือน

ส่วนกรณีศึกษาของนายอรุณ ชาวสวนทุเรียนในจังหวัดชุมพรใช้โดรนการเกษตรแก้ปัญหาในการทำงาน ปัจจุบันมีสวนทุเรียนขนาด 30 ไร่ หลังการระบาดโควิด (COVID-19) คนงานไม่สามารถฉีดพ่นยาและใส่ปุ๋ยได้  ดังนั้นจึงได้เริ่มศึกษาเกี่ยวกับการใช้โดรนและเลือกโดรนการเกษตร DJI T30 ปัจจุบันเกษตรกรใช้โดรนเพื่อการเกษตรมา 2 ปีแล้ว โดยยอมรับว่าในช่วงแรกๆ มีคำถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพการทำงานของโดรนเกษตร แต่หลังจากใช้งานจริงพบว่าโดรน T30 ช่วยประหยัดค่าแรงได้และเวลาในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยได้เทียบกับที่ผ่านมาใช้แรงงานคนฉีดพ่นยาได้วันละ 5 ไร่ แต่โดรนการเกษตร DJI สามารถฉีดพ่นได้ 40 ไร่ต่อวัน ผ่านการทำแผนที่บนคลาวด์ เพื่อคำนวณการฉีดพ่นแบบแปรผัน จากการคำนวณการพ่นยา 50 ครั้งต่อปี จากการใช้โดรนช่วยประหยัดค่าแรงได้ถึง 300,000 บาท ที่สำคัญเรื่องความปลอดภัยที่ไม่ต้องสัมผัสกับยาฆ่าแมลงโดยตรงอีกด้วย

จากปัญหาด้านการขาดแคลนแรงงาน ค่าแรงที่สูงขึ้น และความกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยกับสุขภาพของเกษตรกร รัฐบาลไทยได้ให้การส่งเสริมและสนับสนุนการนำเทคโนโลยีการเกษตรสมัยใหม่มาใช้ในการดำเนินงานเพื่อช่วยให้เกษตรกรในท้องถิ่นมี ชีวิตที่ดีขึ้น ในบริบทนี้ โดรนการเกษตรจึงเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหา

ทั้งนี้แนวโน้มการเติบโตด้วยปัจจัยดังกล่าว DJI เชื่อมั่นว่าเทคโนโลยีโดรนการเกษตรจะเข้ามาช่วยยกระดับและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับภาคการเกษตรของประเทศไทย  รวมทั้งแนวโน้มการนำโดรนการเกษตรมาใช้ในกลุ่มคนรุ่นใหม่ ธุรกิจเกษตรขนาดใหญ่ และเกษตรกรที่เป็นคู่สัญญากับธุรกิจเกษตรขนาดใหญ่ เป็นต้นจะเป็นปัจจัยขับเคลื่อนให้ตลาดโดรนเกษตร  พร้อมกันนี้ DJI ได้ขานรับนโยบายการสนับสนุนและส่งเสริมจากรัฐบาลไทยในการใช้เทคโนฯ และการสนับสนุนในการเข้าถึงเครื่องจักรกลเกษตรผ่านการให้สินเชื่อเพื่อเพิ่มขีดความสามารถและยกมาตรฐานเกษตรของประเทศไทย

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

สศช. ยันรอ 10 ปี GDP ไทยโตกระฉูด 5.8% ดันระเบียงเศรษฐกิจใหม่ 4 ภาค

สศช. กางแผนพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจ 4 ภาคทั่วประเทศ รอ 10 ปี GDP ไทยโตกระฉูด 5.8% คาดว่าจะช่วยให้เกิดการลงทุนในพื้นที่รวมประมาณ 3.1 แสนล้านบาท ไปดูแผนการพัฒนาแต่ละพื้นที่มีอะไรที่น่าสนใจบ้าง

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยว่า สศช.ได้ผลักดันการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาคทั่วประเทศ ซึ่งจะดำเนินการในช่วงปี 2565 - 2575 คาดว่าจะช่วยให้เกิดการลงทุนในพื้นที่รวม 3.1 แสนล้านบาท โดยหากทำสำเร็จน่าจะส่งผลให้ GDP ของประเทศเฉลี่ยเพิ่มขึ้นกว่า 5.8% ต่อปี

“การทำระเบียงเศรษฐกิจทั้งหมด 4 ภาค จะเป็นพื้นที่รองรับการลงทุนใหม่ โดยการจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาพื้นที่ทั้งหมดจะเสร็จสิ้นในเดือนพฤษภาคม 2565 นี้ โดยแต่ละแห่งจะมีรูปแบบการส่งเสริมแตกต่างกัน และกำหนดสิทธิประโยชน์ลงไปตามพื้นที่ เชื่อว่า เมื่อแผนเสร็จในช่วงเวลา 1-2 ปีจากนี้จะเริ่มมีเอกชนเข้าไปลงทุนในพื้นที่” นายดนุชา กล่าว

ทั้งนี้ที่ผ่านมา สศช. ได้มีการศึกษาแนวทางการพัฒนาเชิงพื้นที่ภายใต้โครงการศึกษาจัดทำแผนแม่บทและขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ เพื่อดูศักยภาพและโอกาสของพื้นที่ การวางยุทธศาสตร์การพัฒนา และการออกแบบฉากทัศน์เศรษฐกิจเชิงพื้นที่ของจังหวัดในระเบียงเศรษฐกิจ ตามจุดเด่นของแต่ละภาค

ส่งผลให้เกิดการขยายตัวของกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การผลิต การจ้างงาน การบริโภคสินค้าและบริการ ในศูนย์กลางของระเบียงเศรษฐกิจที่เป็นจังหวัดหลัก และกระจายความเจริญไปยังพื้นที่โดยรอบ รวมทั้งเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจเชิงพื้นให้ฟื้นตัวภายหลังการแพร่ระบาดของโควิด-19

สำหรับการกำหนดการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ไว้ 4 ภาค 16 จังหวัด ดังนี้

ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Northern Economic Corridor: NEC – Creative LANNA)

พื้นที่ จังหวัดเชียงราย จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำปาง และจังหวัดลำพูน

แนวทางการพัฒนาเป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์หลักอย่างยั่งยืน ต่อยอดอุตสาหกรรมและบริการดั้งเดิมที่มีศักยภาพ การสร้างฐานอุตสาหกรรมและบริการใหม่ รวมไปถึงการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ล้านนา

 ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (Northeastern Economic Corridor: NeEC - Bioeconomy)

พื้นที่ จังหวัดหนองคาย จังหวัดอุดรธานี จังหวัดขอนแก่น และจังหวัดนครราชสีมา

แนวทางการพัฒนาเป็นเมืองศูนย์กลางของภาคที่มีศักยภาพด้านการเกษตร เป็นแหล่งวัตถุดิบที่มีคุณภาพ สามารถพัฒนาเป็นฐานอุตสาหกรรมชีวภาพแห่งใหม่ ด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ตลอดห่วงโซ่การผลิตเชื่อมโยงการเกษตรและอุตสาหกรรมชีวภาพ

ตัวอย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ชีวภาพจากอ้อยและมันสำปะหลัง และอุตสาหกรรมอาหารแห่งอนาคต โดยเฉพาะโปรตีนแทนเนื้อสัตว์จากพืช และโปรตีนจากแมลง

ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคกลาง-ตะวันตก (Central-Western Economic Corridor: CWEC)

พื้นที่ จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครปฐม และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

แนวทางการพัฒนาเป็นฐานเศรษฐกิจชั้นนำของภาค ทั้งด้านอุตสาหกรรมเกษตร อาหารแปรรูป การท่องเที่ยว และอุตสาหกรรมไฮเทคมูลค่าสูง

เชื่อมโยงกับพื้นที่เศรษฐกิจหลักของประเทศและพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

เน้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม งานวิจัยเข้ามาเพิ่มขีดความสามารถและพัฒนาอุตสาหกรรมในอนาคต รวมไปถึงการเพิ่มศักยภาพด้านระบบขนส่งโลจิสติกส์เพื่อให้ภาคกลาง-ตะวันตกเป็นศูนย์กลางในการขนส่งและกระจายสินค้า

ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคใต้ (Southern Economic Corridor: SEC)

พื้นที่ จังหวัดชุมพร จังหวัดระนอง จังหวัดสุราษฎร์ธานี และจังหวัดนครศรีธรรมราช

แนวทางการพัฒนาเป็นจุดศูนย์กลางของภาคใต้ในการเชื่อมโยงการค้าและระบบโลจิสติกส์กับพื้นที่เศรษฐกิจอื่นๆ ทั้งในและต่างประเทศในฝั่งอันดามัน (BIMSTEC) เป็นประตูการค้า Western gateway

เป็นฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพและการแปรรูปการเกษตรมูลค่าสูง และยกระดับคุณภาพและมาตรฐานการท่องเที่ยวสู่นานาชาติ

 อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษาฯ จะเป็นกรอบการพัฒนาที่ช่วยสนับสนุนการขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจพิเศษให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันตามนโยบายของคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน

โดยในการประชุมที่ผ่านมา กพศ. ได้มีมติสำคัญในการกำหนดขอบเขตพื้นที่ของระเบียงฯ ใน 4 ภาค รวม 16 จังหวัด และได้ให้ความเห็นชอบข้อเสนอการขับเคลื่อนแล้ว

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

กระทรวงเกษตรฯ โชว์เกษตรอัจฉริยะ AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA 2022

กระทรวงเกษตรฯ โชว์เกษตรอัจฉริยะ AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA 2022

ครั้งแรกในไทย! กระทรวงเกษตรฯ ยกทัพจัดใหญ่ โชว์ Thailand Smart Farming Pavilion เทคโนโลยี และนวัตกรรมการเกษตรอัจฉริยะแห่งอนาคตในงาน AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA 2022

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผย ว่าการจัดแสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรไทย ในงาน AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA 2022 ในโซน Thailand Smart Farming Pavilion ซึ่งจัดขึ้นวันที่ 25 – 27 พฤษภาคม 2565  ได้แสดงเทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรของไทย  โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ได้แก่ กรมการข้าว กรมชลประทาน กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน และกรมวิชาการเกษตร

ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรฯ มีนโยบายการขับเคลื่อนงานด้านเกษตรอัจฉริยะ โดยมุ่งหวังที่จะยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร ปรับเปลี่ยนรูปแบบการเกษตรในปัจจุบัน ให้มุ่งสู่เกษตร 4.0  นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อพัฒนาสู่การเกษตรอัจฉริยะแห่งอนาคต

มีเป้าหมายสำคัญที่มุ่งเน้นให้เกิดการทำเกษตรแบบทำน้อยได้มาก ใช้ทรัพยากรในการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพมีการลดต้นทุนลดการสูญเสีย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มากขึ้น ลดความเหนื่อยยากของการใช้แรงงานในภาคการเกษตร โดยเฉพาะการนำเกษตรดิจิทัลมาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตการแข่งขันของการเกษตรไทยในตลาดโลก และยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องเกษตรกร

โดยการจัดทำ “แผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ ปี พ.ศ. 2565 - 2566 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์” ซึ่งเป็นแผนที่ใช้ในการช่วยกำหนดทิศทางการเกษตรอัจฉริยะ และเป็นการวางรากฐานการเกษตรอัจฉริยะของประเทศอย่างเป็นระบบ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานอื่นๆ สามารถนำแนวทางที่จัดทำไว้ภายใต้แผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะฉบับนี้ ไปพิจารณาปรับใช้เป็นข้อเสนอโครงการในหน่วยงาน เพื่อขับเคลื่อนการเกษตรอัจฉริยะของประเทศ

ซึ่งการทำแผนปฏิบัติการฯ ดังกล่าว ได้ดำเนินการระดมสมองร่วมกับผู้แทนจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้องโดยได้ร่วมกันกำหนดยุทธศาสตร์ 6 ด้าน ประกอบด้วย

1. การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ

2. การสร้างการรับรู้ เข้าถึงใช้ประโยชน์ และส่งเสริมการขยายผลเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ

3. การสร้างแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ แปลงใหญ่เกษตรอัจฉริยะ

4. การพัฒนาการแปรรูปและการตลาดเกษตรอัจฉริยะ

5. การส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการบริหารจัดการเกษตรอัจฉริยะ และ6. การพัฒนาบุคลากรและเครือข่ายเกษตรอัจฉริยะ

กระทรวงเกษตรฯ ยังได้เร่งพัฒนาบุคลากรในหน่วยงานทั้งส่วนกลางและภูมิภาค ให้มีความพร้อมในด้านวิจัยและพัฒนาการเกษตรอัจฉริยะ รวมถึงการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่รัฐ และเกษตรกร สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และช่วยเป็นครูผู้ฝึกหรือพี่เลี้ยงให้แก่เกษตรกร โดยมุ่งเป้าทั้ง Smart Farmer และ Young Smart Farmer ตลอดจนผู้นำเกษตรกรของศูนย์เรียนรู้การเพิ่ม

ประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร และแปลงใหญ่ ทั้งนี้ มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาแปลงใหญ่เกษตรอัจฉริยะให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมในทุกๆ จังหวัดของประเทศ และให้เข้าถึงทุกอำเภอ ภายใน 3 ปี ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติด้านการเกษตรต่อไป”    

นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กล่าวภายหลังเป็นประธานพิธีเปิด งาน AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA 2022 ว่า นับเป็นครั้งแรกที่การจัดงาน AGRITECHNICA ASIA & HORTI ASIA 2022 ได้จัดให้มีโซนสำหรับการนำเสนอการทำ Smart Farming ของประเทศไทย จากหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และหน่วยงานภายนอก รวมทั้งภาคเอกชน ซึ่งได้ร่วมกันนำเสนอนวัตกรรม การนำเทคโนโลยีและดิจิทัลมาใช้ในการช่วยการทำการเกษตร เช่น

การจัดการดิน การเพิ่มประสิทธิภาพข้าวด้วยเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ การทำนาเปียกสลับแห้ง การปลูกผักใน Plant Factory การควบคุมโรงเรือนอัจฉริยะ และการทำงานของเครื่องจักรกลเกษตรที่ใช้ในการปลูกหญ้าแพงโกลา ตลอดจนการสาธิตโดรนเพื่อการเกษตร เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังมีเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ในหัวข้อต่างๆ ที่นักวิชาการทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนมาร่วมคุยแลกเปลี่ยนกันในเวทีตลอดระยะ เวลา 3 วัน

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

BRRกำไรพุ่ง128.73% อานิสงส์ราคาน้ำตาลเพิ่ม-ค่าบาทอ่อน

นายอนันต์ ตั้งตรงเวชกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท น้ำตาลบุรีรัมย์ หรือ BRR เปิดเผยว่าผลประกอบการของบริษัท งวดไตรมาส 1 ปี 2565 บริษัทมีกำไรสุทธิ 425.09 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 239.25 ล้านบาท ซึ่งเติบโต 128.73% จากงวดเดียวกันของปี 2564 ที่มีกำไร 185.85ล้านบาท สาเหตุที่กำไรเพิ่มขึ้น เนื่องจากราคาน้ำตาลเพิ่มสูงขึ้น และค่าเงินบาทที่อ่อนค่าโดยมีรายได้จากการขายและบริการ 2,212.21ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,237.14 ล้านบาท หรือคิดเป็น 126.88% เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้อยู่ที่ 975.07 ล้านบาท รายได้ที่เพิ่มขึ้นสาเหตุหลักมาจากการปรับแผนส่งมอบน้ำตาลในช่วงปี 2564 มาส่งมอบในปี 2565 ทำให้ปริมาณการขายน้ำตาลเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 69,084 ตัน หรือเพิ่มขึ้น 244% รวมถึงราคาขายน้ำตาลเฉลี่ยในปี 2565 ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาตลาดโลก เมื่อเทียบกับปี 2564 เฉลี่ย 10% ต่อตันน้ำตาล

สำหรับปี 2565 บริษัทวางเป้าหมายรายได้เติบโต 50% เมื่อเทียบกับปีก่อน เหตุจากทุกธุรกิจในเครือเติบโต หนุนรายได้เติบโตแข็งแกร่ง และมุ่งสู่การดำเนินธุรกิจแบบ New S Curve ที่เน้นความยั่งยืนและใส่ใจสิ่งแวดล้อม อีกทั้งธุรกิจหลักมีแนวโน้มขาขึ้นจากความต้องการน้ำตาลในตลาดโลกขยายตัว ประกอบกับปริมาณผลผลิตน้ำตาลที่ออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้น รวมทั้งรายได้จากธุรกิจบรรจุภัณฑ์จากชานอ้อยขยายตัวมากขึ้น

“เพื่อลดการพึ่งพารายได้จากธุรกิจน้ำตาลเพียงอย่างเดียว บริษัทจึงได้ลงทุนธุรกิจบรรจุภัณฑ์จากชานอ้อย ภายใต้การดำเนินงานของบริษัทชูการ์เคน อีโคแวร์(SEW) และได้หาพันธมิตรที่มีศักยภาพมาร่วมลงทุนธุรกิจเชื้อเพลิงชีวมวลอัดแท่ง (Wood pellet) เป็นการบริหารความเสี่ยงและต่อยอดผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย” นายอนันต์ กล่าว

จาก https://www.naewna.com วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

"อินเดีย" ซ้ำเติมวิกฤตอาหาร เล็งจำกัดส่งออกน้ำตาลครั้งแรกในรอบ 6 ปี

อินเดียเตรียมจำกัดการส่งออกน้ำตาลไว้ที่ระดับ 10 ล้านตันในฤดูกาลนี้ ซึ่งจะเป็นการจำกัดการส่งออกน้ำตาลเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี เป้าหมายเพื่อสกัดกั้นการพุ่งขึ้นของราคาภายในประเทศ

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานอ้างอิงแหล่งข่าววานนี้ (24 พ.ค.) ระบุว่า รัฐบาลอินเดีย จะจำกัด การส่งออกน้ำตาล ที่ระดับ 10 ล้านตันในฤดูกาลนี้ซึ่งจะสิ้นสุดในเดือนกันยายน

มีตัวเลขคาดการณ์ว่า หลังจากที่ จำกัดการส่งออกน้ำตาล ที่ระดับ 10 ล้านตันในฤดูกาลนี้แล้ว จะทำให้อินเดียมีสต็อกน้ำตาลราว 6 ล้านตัน ณ วันที่ 1 ต.ค. ซึ่งเป็นช่วงเริ่มต้นฤดูกาล 2565/66 โดยจะเพียงพอสำหรับความต้องการบริโภคในช่วงเทศกาลในไตรมาส 4/65

ทั้งนี้ อินเดียเป็นประเทศที่ผลิตน้ำตาลมากที่สุดในโลก และส่งออกสูงเป็นอันดับ 2 รองจากบราซิล

สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานในเดือนมี.ค.ว่า อินเดียมีแผนจะจำกัดการส่งออกน้ำตาลเพื่อแก้ปัญหาราคาน้ำตาลแพง และสร้างความมั่นใจว่าจะมีปริมาณน้ำตาลอย่างเพียงพอสำหรับการบริโภคภายในประเทศ รายงานข่าวล่าสุดจึงเป็นการตอกย้ำยืนยันแผนการดังกล่าว

ด้านสื่อท้องถิ่นของอินเดียรายงานว่า กระทั่งถึงขณะนี้ อินเดียส่งออกน้ำตาลไปแล้วประมาณ 7.2 ล้านตัน และเมื่อฤดูฝนมาถึงคาดว่าปริมาณการส่งออกจะลดลงอยู่แล้ว และการส่งออกไม่น่าจะถึง 10 ล้านตันได้ง่ายๆ ขณะที่สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า ท่าทีล่าสุดของอินเดียสะท้อนมาตรการป้องกันตนเองเพื่อความมั่นคงด้านอาหารภายในประเทศ โดยก่อนหน้านี้เมื่อต้นเดือนพ.ค. อินเดียจำกัดการส่งออกข้าวสาลีเนื่องจากผลผลิตได้รับผลกระทบจากคลื่นความร้อน ซึ่งทำให้ราคาในประเทศทะยานขึ้น

นอกจากอินเดียแล้ว ยังมีอีกหลายประเทศในขณะนี้ ที่ได้ประกาศ “จำกัด” หรือ “ห้าม” การส่งออกอาหารหรือธัญพืชบางรายการ เพื่อแก้ไขปัญหาราคาที่ทะยานสูงขึ้นภายในประเทศ รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งของมาตรการป้องกันการขาดแคลนที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

จากข้อมูลของ สถาบัน Peterson Institute for International Economics หรือ PIIE ระบุว่า ปัจจุบันมีประเทศที่มีนโยบายห้ามส่งออกอาหาร อาทิ

อาร์เจนตินา : น้ำมันถั่วเหลือง, กากถั่วเหลือง สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565

แอลจีเรีย : พาสต้า, เมล็ดข้าวสาลี, น้ำมันพืช, น้ำตาล สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565

อียิปต์ : น้ำมันพืช, ข้าวโพด สิ้นสุดวันที่ 12 มิถุนายน 2565 และข้าวสาลี, แป้งสาลี, น้ำมันพืช, ถั่วเลนทิล, พาสต้า, ถั่ว สิ้นสุดวันที่ 10 มิถุนายน 2565

อินโดนีเซีย : น้ำมันปาล์ม, น้ำมันปาล์มจากเมล็ดปาล์ม สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565 อย่างไรก็ตาม ต่อมาภายหลัง รัฐบาลอินโดนีเซียได้ยกเลิกคำสั่งห้ามส่งออกดังกล่าวแล้ว และได้เริ่มอนุญาตให้ส่งออกได้ภายใต้เงื่อนไขบางอย่างตั้งแต่วันที่ 23 พ.ค.2565

อิหร่าน : มันฝรั่ง, มะเขือม่วง, มะเขือเทศ, หัวหอม สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565

คาซัคสถาน : ข้าวสาลี, แป้งสาลี สิ้นสุดวันที่ 15 มิถุนายน. 2565

โคโซโว : ข้าวสาลี, ข้าวโพด, แป้งสาลี, น้ำมันพืช, เกลือ, น้ำตาล สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565

ตุรกี : เนื้อวัว, เนื้อแกะ, เนื้อแพะ, เนย, น้ำมันประกอบอาหาร สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565

ยูเครน : ข้าวสาลี, ข้าวโอ๊ต, ข้างฟ่าง, น้ำตาล สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565

รัสเซีย : น้ำตาล, เมล็ดทานตะวัน สิ้นสุดวันที่ 31 สิงหาคม 2565 และข้าวสาลี, แป้งเมสลิน, ข้าวไรย์, ข้าวบาร์เลย์, ข้าวโพด สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2565

เซอร์เบีย : ข้าวสาลี, ข้าวโพด, แป้งสาลี, น้ำมันพืช สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565

ตูนิเซีย : ผัก, ผลไม้ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565

คูเวต : ผลิตภัณฑ์จากเนื้อไก่, ธัญพืช, น้ำมันพืช สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทวันนี้เปิด "แข็งค่า"ที่ระดับ 34.11 บาท/ดอลลาร์

ค่าเงินบาทมีความเสี่ยงที่จะผันผวนและในระหว่างวันอาจ "อ่อนค่า"ได้บ้าง หลังตลาดพลิกกลับมาปิดรับความเสี่ยง ทำให้นักลงทุนต่างชาติอาจกลับมาขายหุ้นไทย

อัตราแลกเปลี่ยนค่าค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  34.11 บาทต่อดอลลาร์" แข็งค่า"ขึ้นเล็กน้อยจากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  34.15 บาทต่อดอลลาร์

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน  ธนาคารกรุงไทยระบุว่าเงินบาทมีความเสี่ยงที่จะผันผวนและในระหว่างวันอาจอ่อนค่าได้บ้าง หลังตลาดพลิกกลับมาปิดรับความเสี่ยง ทำให้นักลงทุนต่างชาติอาจกลับมาขายหุ้นไทยได้ อย่างไรก็ดี การอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ รวมถึงโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำ อาจเป็นปัจจัยที่ช่วยหนุนไม่ให้เงินบาทอ่อนค่าไปมากนัก

ทั้งนี้ การแข็งเร็วของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการเริ่มปรับมุมมองการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน โดยในฝั่งผู้นำเข้า อาจรอจังหวะเงินบาทแข็งค่าใกล้ระดับ 34.00 บาทต่อดอลลาร์ หรือ ต่ำกว่านั้น ในการเข้าซื้อเงินดอลลาร์ ส่วนผู้ส่งออกอาจเริ่มกลับเข้ามาขายเงินดอลลาร์ หากเงินบาทกลับมาอ่อนค่าใกล้ระดับ 34.30-34.40 บาทต่อดอลลาร์ ทำให้โดยรวมเงินบาทอาจมีการขยับกรอบการเคลื่อนไหวมาสู่ช่วง 34.00-34.40 ในระยะนี้ นอกจากนี้ ในช่วงที่ตลาดการเงินยังมีความผันผวนสูง เราคงแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ ใช้ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

 มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 34.05-34.20 บาท/ดอลลาร์

ความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอลงจนอาจเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Recession) ได้กลับมากดดันตลาดการเงินอีกครั้ง หลังจากที่รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อภาคการผลิตอุตสาหกรรมและการบริการ (Manufacturing & Services PMIs) เดือนพฤษภาคม ของสหรัฐฯ อังกฤษและยูโรโซน ออกมาแย่กว่าที่ตลาดคาด

นอกจากนี้ผู้เล่นในตลาดก็กลับมากังวลแนวโน้มผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนที่อาจแย่ลง ท่ามกลางปัญหาเงินเฟ้อสูงและแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวลง หลังจากบริษัท Snap (เจ้าของแอพพลิเคชั่น Snapchat) แสดงความกังวลต่อแนวโน้มผลประกอบการในอนาคต รวมถึงระบุว่าบริษัทอาจชะลอการจ้างงานเพื่อควบคุมต้นทุน เช่นเดียวกันกับ บริษัทค้าปลีกเสื้อผ้า Abercrombie & Fitch ที่ปรับลดคาดการณ์รายได้และกำไรลง ท่ามกลางปัญหาเงินเฟ้อสูงที่อาจกดดันการใช้จ่ายของผู้คน

ภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาด ได้กดดันให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ผันผวนหนัก โดยหุ้นกลุ่มเทคฯ ยังคงเผชิญแรงขายจากความกังวลแนวโน้มผลประกอบการที่อาจแย่ลงต่อเนื่อง อาทิ Facebook -7.6%, Tesla -6.9%, Alphabet (Google) -5.0% กดดันให้ ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ดิ่งลงกว่า -2.35% ส่วนดัชนี S&P500 ปิดตลาด -0.81% รีบาวด์ขึ้นจากที่ปรับตัวลดลงหนักจากแรงขายหุ้นกลุ่มเทคฯ โดยดัชนี S&P500 ยังได้แรงหนุนจากความต้องการซื้อหุ้นกลุ่มที่มีความได้เปรียบของ pricing-power อย่างหุ้นกลุ่ม Healthcare รวมถึงแรงซื้อหุ้น defensive อย่าง กลุ่ม Utilities

ส่วนทางด้านตลาดหุ้นยุโรป ดัชนี STOXX50 พลิกกลับมาปรับตัวลง -1.64% กดดันโดยรายงานดัชนี PMI ภาคการผลิตและการบริการที่ออกมาแย่กว่าที่ตลาดคาด ทำให้ผู้เล่นในตลาดยังคงกังวลความเสี่ยงเศรษฐกิจชะลอตัวลงหนักและเลือกที่จะเทขายหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย อาทิ L’Oreal -1.7%, Louis Vuitton -1.6% นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังถูกกดดันจากแรงขายหุ้นกลุ่มเทคฯ เช่นเดียวกับฝั่งสหรัฐฯ นำโดย  Adyen -6.9%, ASML -2.3%

ในฝั่งตลาดบอนด์ ความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจชะลอตัวหนัก รวมถึง ท่าทีของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด อาทิ Esther George (Voting member), Raphael Bostic (Non-Voting member) ที่เริ่มออกมาระบุว่า เฟดอาจหยุดหรือชะลอการขึ้นดอกเบี้ยได้ หลังการเร่งขึ้นดอกเบี้ยราว 0.50% อีก 2 ครั้ง ได้ช่วยหนุนให้ผู้เล่นในตลาดต่างเพิ่มการถือครองพันธบัตรรัฐบาล ส่งผลให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องสู่ระดับ 2.76% อย่างไรก็ดี แนวโน้มบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ ยังคงผันผวนต่อ จนกว่าผู้เล่นในตลาดจะมีมุมมองที่ชัดเจนต่อแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดมากขึ้น ซึ่งต้องรอจับตารายงานการประชุมเฟดในสัปดาห์นี้ และ Dot Plot ใหม่ในการประชุมเดือนมิถุนายน

ในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์อ่อนค่าลงต่อเนื่องเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ปรับตัวลงสู่ระดับ 101.8 จุด แม้ว่าตลาดจะปิดรับความเสี่ยง แต่ผู้เล่นในตลาดก็เลือกที่จะถือสินทรัพย์ปลอดภัยอื่น อย่าง ค่าเงินเยนญี่ปุ่น พันธบัตรรัฐบาล หรือ ทองคำ

นอกจากนี้ เงินดอลลาร์ยังคงถูกกดดันจากการแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องของเงินยูโร (EUR) สู่ระดับ 1.073 ดอลลาร์ต่อยูโร จากแนวโน้มธนาคารกลางยุโรป (ECB) อาจทยอยขึ้นดอกเบี้ยนโยบายตั้งแต่เดือนกรกฎาคม จนอัตราดอกเบี้ยกลับมาเป็นบวกได้ในไตรมาสที่ 3 อย่างไรก็ดี การอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์และการปรับตัวลงของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ได้ช่วยหนุนให้ราคาทองคำยังสามารถปรับตัวขึ้นเหนือระดับ 1,865 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเราคาดว่าระดับดังกล่าวอาจเห็นผู้เล่นในตลาดทยอยขายทำกำไรการรีบาวด์ของราคาทองคำได้

สำหรับวันนี้ ตลาดรอประเมินแนวโน้มนโยบายการเงินของเฟดผ่านรายงานการประชุมเฟดล่าสุด (FOMC Meeting Minutes) โดยเฉพาะมุมมองของเฟดต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ โอกาสในการเร่งขึ้นดอกเบี้ย 0.50% หรือ 0.75% รวมถึงคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงสุด (Terminal Rate) ที่ปัจจุบันตลาดได้มองไว้ราว 3.25%

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

"เศรษฐพงค์" หนุนตั้งสถาบันเทคโนโลยีอวกาศ ต่อยอดพัฒนาประเทศในอนาคต

"เศรษฐพงค์" หนุน "มทร.อีสาน-สมาคมดาวเทียมฯ" ตั้งสถาบันเทคโนโลยีอวกาศ พร้อมดันโครงการพัฒนาดาวเทียม Earth Observation ส่งเสริมนโยบาย climate change มั่นใจศักยภาพงานวิจัย-บุคลากร หวังขับเคลื่อนกิจการอวกาศต่อยอดสู่การพัฒนาประเทศในอนาคต

เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 65 ที่ จ.นครราชสีมา คณะกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ร่วมกับคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน สำนักงาน กสทช. ได้จัดการสัมมนาเรื่อ "เทรนด์เปลี่ยนโลกในทศวรรษหน้า 2030 (GLOBAL MEGA TRENDS TO 2030)"

โดย พ.อ.เศรษฐพงค์ มะลิสุวรรณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคภูมิใจไทย (ภท.) ในฐานะรองประธานกรรมาธิการการสื่อสาร โทรคมนาคม และดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (กมธ.ดีอีเอส) เปิดเผยว่า ในการสัมมนาดังกล่าวนอกจากจะมีการบรรยายพิเศษจากผู้ทรงคุณวุฒิในด้านเทคโนโลยีด้านการสื่อสาร การบิน ดาวเทียม กิจการอวกาศแล้ว ยังได้มีการลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ หรือ MOU ระหว่างคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน กับสมาคมดาวเทียมสื่อสารเพื่อพัฒนาประเทศไทย (TSAT) เพื่อก่อตั้งสถาบันวิจัยเพื่อการบูรณาการเทคโนโลยีอวกาศ อากาศ และภาคพื้นดิน (Institute of Integrated Space-Air-Ground Technology: I-SAT) โดยมีภารกิจทางการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เช่น การใช้เทคโนโลยีที่เกิดใหม่ในอุตสาหกรรมอวกาศ เพื่อการเชื่อมโยงกับภาคอากาศยานและภาคพื้นดิน ทั้งเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคมในยุค 5G/6G การใช้ระบบดาวเทียมขั้นสูง การเชื่อมโยงระบบ Internet of Things (IoTs) ข้อมูลขนาดใหญ่ (Big data) การประมวลผลภาพและข้อมูล รวมถึงปัญญาประดิษฐ์และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในการยกระดับขนาดของการปฏิบัติการในอวกาศกับภาคอากาศยานและภาคพื้นดิน

ด้าน รศ.ดร.โฆษิต ศรีภูธร อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน กล่าวว่า การตั้งสถาบันดังกล่าวตรงกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย เพื่อส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) การสร้างดาวเทียมขนาดเล็ก และการพัฒนาก่อตั้งสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน เพื่อการวิจัยในพื้นที่กำกับดูแลเป็นการเฉพาะ (Sandbox) ส่งเสริมการพัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ และการบินของพลเรือนในพื้นที่กำกับดูแลเป็นการเฉพาะ (Sandbox) โดยผลงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมเพื่อนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับสังคมเมือง เกษตรกรรม และเทคโนโลยีชีวภาคอุตสาหกรรม สาธารณสุข การศึกษา การท่องเที่ยว เช่น การนำภาพถ่ายดาวเทียม Earth Observation มาวิเคราะห์ในรู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ (climate change) การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อลดการทำลายสิ่งแวดล้อมให้เกิดความยั่งยืน การบริหารจัดการเมืองอัจฉริยะ ความปลอดภัยในการใช้ชีวิต การเก็บข้อมูลรับส่งข้อมูลในระบบเกษตรอัจฉริยะฟาร์มอัจฉริยะ การควบคุมหุ่นยนต์ แขนกล และระบบขนส่งในโรงงานด้วยการบูรณาการระบบ 5G และ IoT ซึ่งถือว่าสอดคล้องกับเป้าหมายของทางมหาวิทยาลัย

ด้าน ผศ.ดร.ศตคุณ เดชพันธ์ คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นการพัฒนาและวิจัยเทคโนโลยีอวกาศ อากาศ และภาคพื้นดิน ของทางมหาวิทยาลัยอย่างก้าวกระโดด เพราะโลกในยุคปัจจุบันมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก หลายภาคส่วนล้วนแต่ใช้เทคโนโลยีต่างๆ ที่ทันสมัยมาช่วยงาน ทั้งภาคอุตสาหกรรม สาธารณสุข เกษตรกรรม รวมถึงการใช้ชีวิตประจำวันของเราทุกคน หากเรามีการวิจัยและพัฒนาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงได้ทันก็จะเป็นเรื่องที่ดี ซึ่งจะสามารถสร้างงานและรายได้ให้กับคนในประเทศได้อีกมาก ซึ่งตนก็เชื่อว่าหลายภาคส่วนทั้งรัฐบาล กสทช. ภาคเอกชน รวมทั้ง กมธ.ดีอีเอส พร้อมที่จะสนับสนุนโครงการดังกล่าวนี้เพื่อขับเคลื่อนต่อยอดไปสู่การพัฒนาประเทศได้ในอนาคต การพัฒนางานวิจัยเทคโนโลยีต่างๆ เป็นเรื่องที่สำคัญมากในปัจจุบัน เพราะหลายประเทศชั้นนำมีการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านอวกาศ และแพลตฟอร์มที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) ซึ่งจะเป็นอีกหนึ่งในเมกะเทรนด์สำคัญในอนาคต

ด้าน ดร.ณัฏฐพัฒน์ ธีรนันทวาณิช และ น.ส.แคทลียา เดลแมร์ ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการกิจการอวกาศเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ให้ความเห็นว่า การวิจัยและพัฒนาของสถาบัน I-SAT เป็นสถาบันที่ตั้งขึ้นที่สอดคล้องกับนโยบายสากล ตามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change: UNFCCC) ซึ่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศไม่เพียงส่งผลกระทบต่อประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่ส่งผลกระทบโดยรวมต่อทุกประเทศทั่วโลก ทั้งผลกระทบจากภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงขึ้น ทั้งธรณีพิบัติภัย อุทกภัย วาตภัย และไฟป่า ผลกระทบต่อระบบนิเวศสิ่งแวดล้อม และความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งถือได้ว่าทางมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานมีวิสัยทัศน์ในระดับสากลที่น่าชื่นชม ซึ่งหากเราสามารถพัฒนาและวิจัยจนเป็นพื้นฐานสำคัญของประเทศได้ เราจะสามารถสู้กับนานาประเทศและประเทศที่พัฒนาแล้วได้ทัน และก้าวสู่การเป็นผู้นำในภูมิภาคได้อย่างรวดเร็ว.

จาก https://www.thairath.co.th   วันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

14 ประเทศห้ามส่งออกอาหาร ดร. สุวิทย์ เตือนไทยรับมือวิกฤต

“สุวิทย์ เมษินทรีย์” เตือนวิกฤตอาหารโลก Global Food Crisis หลังสงครามรัสเซีย-ยูเครน สถาบัน Peterson Institute for International Economics เผย 14 ประเทศที่มีนโยบายห้ามส่งออกอาหาร มุ่งสร้างความมั่นคงทางอาหารเฉพาะตัว ‘Food Protectionism’

วันที่ 24 พฤษภาคม 2565 ผู้สื่อข่าว ”ประชาชาติธุรกิจ” รายงานว่า เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2565 เฟชบุ๊ค ดร.สุวิทย์ เมษินทรีย์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ระบุถึงสถานการณ์วิกฤตอาหารโลกที่กำลังรุนแรงขึ้น โดยได้รวบรวมจากแหล่งข้อมูลต่างๆ อาทิ สถาบัน Peterson Institute for International Economics หรือ PIIE ที่ระบุว่า ปัจจุบันมีประเทศที่มีนโยบายห้ามส่งออกอาหาร 14 ประเทศ ได้แก่

1. อาร์เจนตินา ห้ามส่งออก น้ำมันถั่วเหลือง, กากถั่วเหลือง สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565และอาร์เจนตินา ยังเป็นผู้ส่งออกเนื้อวัวรายใหญ่อันดับ 5 ของโลก จำกัดการส่งออกเนื้อวัว ยาวจนถึงปี 2566

2 แอลจีเรีย ห้ามส่งออกพาสต้า, เมล็ดข้าวสาลี, น้ำมันพืช, น้ำตาล สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565

3. อียิปต์ ห้ามส่งออกน้ำมันพืช, ข้าวโพด สิ้นสุดวันที่ 12 มิถุนายน 2565 และข้าวสาลี, แป้งสาลี, น้ำมันพืช, ถั่วเลนทิล, พาสต้า, ถั่ว สิ้นสุดวันที่ 10 มิถุนายน 2565

4. อินโดนีเซีย ห้ามส่งออกน้ำมันปาล์ม, น้ำมันปาล์มจากเมล็ดปาล์ม สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565

5. อิหร่าน ห้ามส่งออก มันฝรั่ง, มะเขือม่วง, มะเขือเทศ, หัวหอม สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565

6. คาซัคสถาน ห้ามส่งออก ข้าวสาลี, แป้งสาลี สิ้นสุดวันที่ 15 มิถุนายน. 2565

7.โคโซโว ห้ามส่งออก ข้าวสาลี, ข้าวโพด, แป้งสาลี, น้ำมันพืช, เกลือ, น้ำตาล สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565

8.ตุรกี ห้ามส่งออก เนื้อวัว, เนื้อแกะ, เนื้อแพะ, เนย, น้ำมันประกอบอาหาร สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565

9.ยูเครน ห้ามส่งออก ข้าวสาลี, ข้าวโอ๊ต, ข้างฟ่าง, น้ำตาล สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565

10.รัสเซีย ห้ามส่งออก น้ำตาล, เมล็ดทานตะวัน สิ้นสุดวันที่ 31 สิงหาคม 2565 และข้าวสาลี, แป้งเมสลิน, ข้าวไรย์, ข้าวบาร์เลย์, ข้าวโพด สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2565

11.เซอร์เบีย ห้ามส่งออกข้าวสาลี, ข้าวโพด, แป้งสาลี, น้ำมันพืช สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565

12.ตูนิเซีย ห้ามส่งออกผัก, ผลไม้ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565

13.คูเวต ห้ามส่งออกผลิตภัณฑ์จากเนื้อไก่, ธัญพืช, น้ำมันพืช สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565

14.อินเดีย ประกาศห้ามส่งออกข้าวสาลี

โดย ดร.สุวิทย์ ระบุว่า ปัญหาปากท้อง ถือเป็นปัญหาต้นๆที่ส่งผลต่อคุณภาพของชีวิตประชากร วิกฤตราคาอาหารแพงถือเป็นหนึ่งในปัญหาที่ทั่วทั้งโลกต่างเผชิญกันอยู่ในขณะนี้ เนื่องจากราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์

องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ได้ออกมาเปิดเผยข้อมูล ที่ส่อให้เห็นถึงวิกฤตราคาอาหารแพงทั่วโลก โดยจากรายงาน FAO ระบุว่าดัชนีราคาอาหาร (Food Price Index) ซึ่งเป็นดัชนีชี้วัดการเปลี่ยนแปลงรายเดือนของสินค้า อาหารและโภคภัณฑ์ที่มีการซื้อขายมากที่สุดทั่วโลก ได้แก่

ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มธัญพืช ผลิตภัณฑ์จากนม เนื้อสัตว์ น้ำมันพืช และน้ำตาล มีค่าเฉลี่ยในเดือนธันวาคม 2564 อยู่ที่ 133.7 จากระดับ 134.9 เทียบกับเดือนพฤศจิกายนปีเดียวกัน ซึ่งถือเป็นเดือนที่ 4 ที่ดัชนีเพิ่มสูงขึ้น และยังเป็นระดับที่พุ่งสูงสุดในรอบ 10 ปี

ซึ่งหากพิจารณารวมทั้งปี 2564 แล้วดัชนีที่ว่าจะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 125.7 เพิ่มขึ้น 28.1% เทียบกับปี 2563 และถือเป็นระดับที่สูงที่สุดนับตั้งแต่แตะระดับ 131.9 ในปี 2554 หรือ 10 ปีก่อน

โดยราคาในกลุ่มธัญพืชและผลิตภัณฑ์จากนม เป็นกลุ่มที่ราคาเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุด ตามมาด้วยน้ำตาล ในขณะที่ราคาเนื้อสัตว์และน้ำมันพืชในเดือนพฤศจิกายนลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า

ในส่วนของปี 2565 FAO เผยว่าดัชนีราคาอาหารในเดือนมีนาคม 2565 เพิ่มขึ้นเกือบ 13% จากเดือนกุมภาพันธ์ในปีเดียวกัน และราคาอาหารพุ่งขึ้นเกือบ 30% เมื่อเทียบเป็นรายปีในเดือนเมษายน 2565 ตามดัชนีราคาอาหารของ FAO

วิกฤตอาหารส่งผลต่อประชาคมโลกอย่างไร

ราคาอาหารที่แพงขึ้นนำมาสู่ความไม่มั่นคงด้านอาหาร (Food Insecurity) เมื่อราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตพุ่งสูงขึ้น เช่น ข้าว ขนมปัง เนื้อสัตว์ นม ไข่ นั่นแปลว่าประชาชนต้องหักส่วนรายได้เพื่อมาใช้จ่ายในส่วนนี้มากขึ้น สำหรับประเทศที่ค่าครองชีพมีความสอดคล้องกัน อาจส่งผลกระทบบ้างเล็กน้อยประปราย แต่ในประเทศรายได้น้อยนั้นได้รับผลกระทบอย่างมาก

เพราะการซื้ออาหารคิดเป็นอย่างน้อยครึ่งหนึ่งของค่าใช้จ่ายครัวเรือนทั้งหมด จากข้อมูลของธนาคารโลกระบุว่า ผู้คน 10 ล้านคนถูกผลักให้เข้าสู่ความยากจนขั้นรุนแรงทั่วโลกสำหรับราคาอาหารที่เพิ่มขึ้นทุก ๆ เปอร์เซ็นต์

การที่ราคาอาหารสูงขึ้น แต่ประชาชนยังมีรายได้เท่าเดิมหรือน้อยลง ย่อมส่งผลโดยตรงต่อการเข้าถึงอาหาร และนำไปสู่ปัญหาความอดอยากและขาดสารอาหาร ซึ่งส่งผลต่อพัฒนาการทางร่างกายและสติปัญญาของประชากร โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศรายได้ต่ำและรายได้ปานกลาง

เฉพาะในประเทศเอเชียแปซิฟิก FAO ระบุว่า มีผู้ได้รับผลกระทบจากวิกฤติอาหารแพงและการขาดแคลนอาหารมากถึง 1,800 ล้านคน และยังมีคนเป็นโรคขาดสารอาหารที่เรียกกันว่า โรคผอมแห้ง มากถึง 40 ล้านคน เพิ่มจาก 31 ล้านคนเมื่อปีที่ผ่านมา

นักวิเคราะห์ระบุว่า นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนของการเกิดวิกฤติที่เรียกว่า The Great (Food) Shortage หรือภาวะขาดแคลนอาหารครั้งใหญ่ของโลก

และในหลายประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ ความไม่มั่นคงด้านอาหารเป็นสาเหตุของความไม่สงบทางสังคมและความเสี่ยงด้านภูมิรัฐศาสตร์ ราคาอาหารและพลังงานที่พุ่งสูงขึ้นได้จุดชนวนให้เกิดการประท้วงในศรีลังกา ตูนิเซีย และเปรู

นอกจากนี้ในประเทศร่ำรวยก็เจอผลกระทบเช่นกัน เช่น ชาวอังกฤษเกือบ 10 ล้านคนลดการบริโภคอาหารในเดือนเมษายน และฝรั่งเศสวางแผนที่จะออกคูปองอาหารให้กับครัวเรือนที่ยากจนที่สุด และอัตราเงินเฟ้อที่นำโดยราคาอาหารและพลังงานเป็นปัญหาการหาเสียงทางการเมืองของสหรัฐที่อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของที่นั่งในรัฐสภา

ในส่วนของประเทศไทยคงเห็นได้ชัดเจน จากทั้งราคาหมูที่เพิ่มขึ้นจากกิโลกรัมละ 180 บาท เป็น 250 บาท และแตะ 300 บาทไปแล้วเมื่อเร็วๆนี้ ส่วนไก่ ปลา ผักสด ก็แพงขึ้นแบบก้าวกระโดด ส่งผลให้ร้านค้าจำนวนมากต้องติดป้ายขอขึ้นราคาอาหารเนื่องจากวัตถุดิบแพงขึ้นจนไม่สามารถแบกรับต้นทุนที่ราคาขายแบบเดิมได้ ยังไม่รวมแก๊สหุงต้ม LPG ค่าโดยสารรถสาธารณะ ค่าทางด่วน ที่ขยับขึ้นราคาตามในขณะที่รายได้ประชาชนยังคงเท่าเดิม

สาเหตุของวิกฤตอาหารโลก

1. ผลพวงจากสงครามรัสเซีย–ยูเครน

สาเหตุที่ราคาอาหารทั่วโลกแพงขึ้นอย่างรวดเร็ว เกิดมาจากราคาวัตถุดิบทางการเกษตรที่นำมาใช้ประกอบอาหารปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นราคาข้าวสาลีในเดือนมีนาคม 2565 ที่ปรับตัวขึ้นกว่า 31% เมื่อเทียบกับเดือนธันวาคม 2564 หรือจะเป็นราคาข้าวโพดที่ปรับตัวสูงขึ้นกว่า 32% ในช่วงเวลาเดียวกัน

ซึ่งปัจจัยหลักที่ทำให้ราคาวัตถุดิบทางการเกษตรปรับตัวสูงขึ้น คือผลพวงจากภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครน เนื่องจากทั้งสองประเทศถือเป็นผู้ผลิตและผู้ส่งออกวัตถุดิบทางการเกษตร เพื่อนำไปประกอบอาหารรายใหญ่ของโลก อาทิ ข้าวสาลี คิดเป็น 30% ของตลาดโลก น้ำมันพืชจากเมล็ดดอกทานตะวัน คิดเป็น 80% ของตลาดโลก ข้าวโพด คิดเป็น 19% ของตลาดโลก

การสู้รบที่เกิดขึ้น ทำให้การเพาะปลูกและการเก็บเกี่ยวผลผลิตต่าง ๆ เช่น ข้าวสาลีและข้าวโพด ไม่สามารถทำได้ ซึ่ง FAO ระบุว่า สงครามจะทำให้พื้นที่การเกษตรของยูเครน 20-30% ไม่ได้รับการเพาะปลูกหรือไม่ได้รับการเก็บเกี่ยวในฤดูกาล 2565 อีกทั้งการส่งออกสินค้าดังกล่าวไปขายต่างแดนผ่านท่าเรือในทะเลดำต้องหยุดชะงักลง จากการถูกเรือรบของรัสเซียปิดล้อม

ดังนั้นหลายประเทศที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าอาหารและปัจจัยการผลิตทางการเกษตรจากรัสเซียและยูเครน อาทิ มองโกเลีย อาเมเนีย อียิปต์ เยเมน ลิเบีย ปากีสถาน ตุรกี จึงได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง

ซึ่งบางประเทศ อย่างเช่น เลบานอน ถึงขั้นต้องร้องขอความช่วยเหลือเงินกู้จากธนาคารโลกกว่า 150 ล้านดอลลาร์ หรือราว 4,800 ล้านบาท เพื่อนำมาอุดหนุนค่าอาหาร โดยเฉพาะขนมปังและธัญพืช ให้แก่ประชากรในประเทศ

โดยโครงการอาหารโลก (World Food Programme) ระบุว่า หากสงครามยังดำเนินต่อไป อาจนำไปสู่ภาวะข้าวยากหมากแพง ประเทศต่าง ๆ จะค่อย ๆ ขาดเสถียรภาพและการอพยพ นำไปสู่วิกฤตอื่น ๆ ต่อไปอีก

2. ราคาปุ๋ยแพง

ขณะนี้เกิดปัญหาการขาดแคลนปุ๋ยทั่วโลก นอกจากสินค้าเกษตรแพงแล้ว ราคาปุ๋ยซึ่งเป็นวัตุดิบสำคัญในการเพาะปลูกก็แพงขึ้นเช่นกัน เนื่องจากภาวะสงครามในรัสเซียซึ่งถือเป็นผู้ส่งออกวัตถุดิบที่ใช้ในการทำปุ๋ยรายใหญ่ อาทิ โพแทสและซัลเฟต ส่งผลกระทบต่อระบบการขนส่งปุ๋ยดังกล่าวไปยังต่างประเทศ

อีกทั้งด้วยราคาก๊าซที่ปรับตัวสูงขึ้น ทำให้ราคาปุ๋ยต้องปรับขึ้นตาม เนื่องจากก๊าซเป็นต้นทุนสำคัญในการผลิตแอมโมเนียในปุ๋ย

3. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำลง เนื่องจากภาวะโลกร้อนทำให้สภาพอากาศในหลายประเทศแปรปรวนอย่างหนัก ดังนั้นการเพาะปลูกพืชทางเศรษฐกิจในหลาย ๆ ประเทศจึงเกิดความเสียหาย

หากย้อนดูข้อมูลดัชนีราคาอาหารโลกจะพบว่า ดัชนีราคาอาหารโลกนั้นเริ่มมีทิศทางเพิ่มขึ้นมาตั้งแต่ก่อนจะมีสงครามรัสเซีย-ยูเครนแล้ว

ตามรายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change: IPCC) ในเดือนกุมภาพันธ์ ระบุว่า อุณหภูมิที่สูงขึ้นมีแนวโน้มที่จะเพิ่มความแห้งแล้ง น้ำท่วม และไฟไหม้ในพื้นที่เกษตรกรรมที่ครั้งหนึ่งเคยเชื่อถือได้ อย่างเช่น แคลิฟอร์เนียและยุโรปตอนใต้

ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้จำนวนผลผลิตตกต่ำลง และมีบางประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแล้ว เช่น อินเดีย ที่เผชิญกับคลื่นความร้อนรุนแรง ส่งผลให้ผลผลิตข้าวสาลีในปีนี้ลดลง รวมถึงจีน ที่รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรของจีนได้ออกมาเตือนว่า ผลผลิตข้าวสาลีในฤดูหนาวของประเทศจะย่ำแย่ เนื่องจากพื้นที่ปลูกข้าวสาลีได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมครั้งใหญ่

นอกจากผลกระทบทางการเกษตรแล้ว ยังมีเหตุการณ์สภาพอากาศเลวร้ายในท่าเรือสำคัญต่าง ๆ ตั้งแต่บัลติมอร์ ไปจนถึงทะเลดำ ส่งผลให้การส่งออกหยุดชะงัด นำไปสู่ราคาอาหารที่เพิ่มขึ้น

Enock Chikava ผู้อำนวยการชั่วคราวด้านการพัฒนาการเกษตรของมูลนิธิ Bill & Melinda Gates กล่าวว่า ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะรุนแรง จนทำให้ผลกระทบจากวิกฤตยูเครนที่มีต่อราคาอาหารนั้นเป็นเพียงแค่ระดับอนุบาล และเขายังกล่าวอีกว่า ผลกระทบที่เราเห็นในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นแมลงศัตรูพืช ภัยแล้ง หรือความร้อนที่เพิ่มขึ้น นั่นเป็นผลจากการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิโลกเพียง 1 องศาเซลเซียสเท่านั้น และหากอุณหภูมิของโลกยังคงเพิ่มขึ้นต่อไปเช่นนี้ จนถึง 1.5 หรือ 2 องศาเซลเซียส จะนำไปสู่ผลกระทบที่รุนแรงมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

ธนาคารโลกเตือน “วิกฤตอาหารโลก” ยืดเยื้อถึงปี 2566

นายเดวิด มัลพาส ประธานธนาคารโลกได้ออกมากล่าวระหว่างการประชุมประจำฤดูใบไม้ผลิ 2565 ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และธนาคารโลกเมื่อวันพุธ (20 เม.ย.) ว่า สงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลทำให้ราคาอาหารปรับตัวสูงขึ้น และส่งผลกระทบกลุ่มคนยากไร้มากที่สุด พร้อมเตือนว่า วิกฤตการณ์ความไม่มั่นคงทางอาหารครั้งนี้จะครอบคลุมระยะเวลาหลายเดือนและอาจจะยืดเยื้อไปจนถึงปี 2566

โดยธนาคารโลกได้ประกาศแผนรับมือวิกฤติความมมั่นคงด้านอาหารโลก โดยจะอัดฉีดงบประมาณ 3 หมื่นล้านดอลลาร์เข้าสู่โครงการในปัจจุบันและโครงการใหม่ ซึ่งงบประมาณดังกล่าวจะครอบคลุมด้านเกษตรกรรม, โภชนาการ, การคุ้มครองทางสังคม, น้ำ และการชลประทาน เพื่อแก้ไขปัญหาด้านความมั่นคงทางอาหารตลอดช่วง 15 เดือนข้างหน้า

นอกจากนี้ งบประมาณดังกล่าวจะยังครอบคลุมการส่งเสริมการผลิตอาหารและปุ๋ย เพิ่มประสิทธิภาพให้กับระบบอาหาร สนับสนุนด้านการค้าให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ตลอดจนให้ความช่วยเหลือครัวเรือนและผู้ผลิตกลุ่มที่เปราะบาง

โดยธนาคารโลกจะร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในการจัดตั้งโครงการใหม่ ๆ มูลค่า 1.2 หมื่นล้านดอลลาร์ในช่วง 15 เดือนข้างหน้า เพื่อรับมือวิกฤติความมั่นคงด้านอาหาร รวมถึงกระตุ้นให้ประเทศต่าง ๆ พยายามร่วมกันเพื่อเพิ่มปริมาณพลังงานและผลผลิตปุ๋ย ช่วยให้เกษตรกรสามารถเพิ่มอัตราการเพาะปลูกและปริมาณผลผลิต รวมถึงยกเลิกนโยบายระงับการส่งออกและนำเข้า

วิกฤตอาหารโลกนำมาสู่ “Food Protectionism” ในหลายประเทศ

สงครามรัสเซีย-ยูเครน จุดชนวนผลกระทบเศรษฐกิจโลกหลายด้าน โดยเฉพาะแนวโน้ม “วิกฤตอาหารโลก” ที่เขย่าความมั่นคงทางอาหารของประชากรโลก จากการที่ทั้งสองประเทศหยุดการส่งออกสินค้าโภคภัณฑ์สำคัญอย่างข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ข้าวสาลี เรพซีดออยล์ และน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อสำรองอาหารและพลังงานไว้เพื่อความมั่นคงในประเทศ

ซึ่งสินค้าธัญพืชเหล่านั้นเป็นปัจจัยการผลิตสำคัญในการเลี้ยงสัตว์และผลิตอาหาร และกำลังกลายเป็นกระแสผลักดันให้ประเทศผู้ผลิตอาหารออกนโยบาย “ห้ามส่งออก” ในแบบเดียวกัน เพื่อรักษาสมดุลอาหารเพื่อเลี้ยงคนในประเทศ รวม 14 ประเทศดังกล่าว

สำนักข่าวบลูมเบิร์ก รายงานว่า บรรดาผู้ซื้อข้าวสาลีทั่วโลกได้แห่ไปซื้อข้าวสาลีจากอินเดีย หลังจากที่การส่งออกข้าวสาลีจากเมืองท่าแถบทะเลดำลดลงตั้งแต่รัสเซียบุกโจมตียูเครน ส่งผลให้ราคาข้าวสาลีตลอดจนผลิตภัณฑ์จากข้าวสาลีในอินเดียพุ่งสูงถึง 15-20% หลังสงครามรัสเซียยูเครนปะทุ

เช่นเดียวกับราคาข้าวสาลีในตลาดโลกพุ่งสูงสุดในรอบ 14 ปี ซึ่งไม่เพียงแต่จะกระทบต่อปัจจัยต้นทุนราคาอาหาร การห้ามส่งออกข้าวสาลีของอินเดียยังคาดว่าจะกระทบต่อต้นราคาอาหารสัตว์ให้มีแนวโน้มสูงขึ้นด้วยเช่นกัน

เห็นได้ว่านโยบายปกป้องตัวเองเพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหารเฉพาะตัว (Food Protectionism) เริ่มแพร่หลายไปในหลายประเทศแม้ไม่ได้อยู่ในภาวะสงครามก็ตาม เพราะต่างตระหนักถึงผลกระทบทางตรงต่อนโยบายบริหารประเทศช่วงต่อจากนี้ไป คือภาวะเงินเฟ้อและการขาดแคลนอาหารโดยเฉพาะประเทศที่นำเข้าอาหาร เช่น แอฟริก

เนื่องจากประเทศผู้ส่งออกอาหารจะไม่สามารถหาวัตถุดิบมาสนับสนุนการผลิตได้เต็มประสิทธิภาพ หรือ หาได้ก็มีต้นทุนสูงมากจนทำให้ต้องปรับราคาให้สูงขึ้นด้วย ราคาสินค้าสูงก็จะผลักดันให้เงินเฟ้อสูงขึ้นเป็นเงาตามตัว ซึ่งเป็นเหตุผลที่รัฐบาลแต่ละประเทศพยายามหลีกเลี่ยง

จาก  https://www.prachachat.net  วันที่ 24 พฤษภาคม 2565

ไทยร่วมเปิดตัว IPEF กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจวงใหม่ที่มีสหรัฐเป็นแกนนำ

​นายกฯ กล่าวถ้อยแถลงร่วมประชุมทางไกลเปิดตัวกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (IPEF) ที่มีสหรัฐเป็นแกนนำจัดตั้ง หวังผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจอย่างสร้างสรรค์และครอบคลุม เพื่อความเจริญรุ่งเรืองและมั่งคั่งต่อประชาชนในภูมิภาค

ที่ทำเนียบรัฐบาลวานนี้ (23 พ.ค.) พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้เข้าร่วมกิจกรรมเปิดตัว กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด - แปซิฟิก (Indo-Pacific Economic Framework หรือ IPEF) ผ่านระบบการประชุมทางไกล (Video Conference) ซึ่งเป็นไปตามตามคำเชิญของ นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีร่วมกับประธานาธิบดีสหรัฐ และนายฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น รวมทั้งผู้นำอินเดีย นิวซีแลนด์ ฟิลิปปินส์ สาธารณรัฐเกาหลี สิงคโปร์ และเวียดนาม ได้ร่วมกันประกาศถ้อยแถลงว่าด้วยกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิกเพื่อความเจริญรุ่งเรือง (Statement on Indo-Pacific Economic Framework for Prosperity) เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันที่จะพัฒนาความร่วมมือด้านเศรษฐกิจภายใต้กรอบความร่วมมือ IPEF พร้อมกล่าวถ้อยแถลงต่อที่ประชุม ซึ่งนายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สรุปสาระสำคัญดังนี้

ประธานาธิบดีสหรัฐ รู้สึกยินดีที่ได้ร่วมมือกับหุ้นส่วนประเทศพันธมิตรเสริมสร้าง กรอบความร่วมมือ IPEF ซึ่งให้ความสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เปิดกว้าง ครอบคลุม ยั่งยืน และส่งผลประโยชน์ต่อประชาชนของภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก รวมทั้งยังมุ่งที่จะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน เพิ่มการสร้างงานในสาขาที่เปลี่ยนผ่านไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล และพลังงานสะอาด รวมถึงผลักดันการค้าและการลงทุนที่เป็นธรรม มีมาตรฐาน และขจัดคอร์รัปชันที่เป็นอุปสรรคในการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

ขณะที่นายฟุมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นกล่าวว่า IPEF จะช่วยเสริมสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก ซึ่งมีประชากรมากกว่ากึ่งหนึ่งของโลก มี GDP ครอบคลุมถึงร้อยละ 60 และเป็นภูมิภาคที่มีส่วนสำคัญขับเคลื่อนเศรษฐกิจของโลก ทั้งนี้ ญี่ปุ่นมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับสหรัฐฯ และพันธมิตร ขับเคลื่อนความร่วมมือที่สร้างเข้มแข็ง เชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทาน สร้างการค้าและการลงทุนที่มีความโปร่งใส มีการพัฒนาทุนมนุษย์ และมีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ญี่ปุ่นยังให้ความสำคัญกับความเป็นหนึ่งเดียว และการเป็นแกนกลางของอาเซียน และยินดีเปิดรับหุ้นส่วนประเทศอื่น ๆ เข้าร่วมในอนาคต จึงหวังว่าทุกฝ่ายจะได้ร่วมกันขับเคลื่อน IPEF ให้เป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่เสริมสร้างความร่วมมือกับทุกประเทศในภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก

ด้านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวขอบคุณประธานาธิบดีสหรัฐ และนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นที่จัดกิจกรรมเปิดตัว กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด-แปซิฟิก (IPEF) และขอแสดงความยินดีกับสหรัฐต่อแนวคิดที่สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของสหรัฐในการมีบทบาทอย่างสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจของภูมิภาค ซึ่งได้รับการตอบรับด้วยดีจากประเทศสมาชิกอาเซียน

โดย IPEF เป็นกรอบความร่วมมือเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ที่จะนำไปสู่โอกาสใน 4 สาขา เพื่อยกระดับมาตรฐานในด้านต่าง ๆ ทั้งนโยบาย กฎหมาย อุตสาหกรรม และสิ่งแวดล้อม ให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและเทคโนโลยีที่จะนำมาพัฒนาประเทศ ตลอดจนเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานเข้าด้วยกัน ซึ่งหวังว่าจะมีการปรึกษาหารือในรายละเอียดต่อไป

นายกรัฐมนตรีกล่าวเพิ่มเติมว่า ไทยสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจมาทุกยุคสมัยด้วยรายได้จากการส่งออกสินค้า และบริการซึ่งคิดเป็นร้อยละ 60 ของ GDP ไทยจึงให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมความร่วมมือในภูมิภาค ขยายโอกาสทางการค้า การลงทุน เร่งขับเคลื่อนประเทศ และประชาชนไปสู่อนาคตที่มั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน มุ่งเน้นเสริมสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่สมดุล และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมผ่านโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งรวมถึงการเร่งการเปลี่ยนผ่านทางพลังงานไปสู่การใช้พลังงานสะอาด การลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน การส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล และการสร้างมูลค่าเพิ่มโดยใช้องค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ทั้งนี้ ไทยเห็นว่าไม่มีประเทศใดที่จะสามารถรับมือกับความท้าทายนี้โดยลำพังได้ จึงยินดีที่ IPEF มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาค เพื่อเสริมสร้างความเจริญรุ่งเรือง มั่งคั่ง ยั่งยืน และครอบคลุมร่วมกัน

ในช่วงท้าย นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำว่า ประวัติศาสตร์ของโลกและของประเทศไทยได้แสดงให้เห็นแล้วว่า การขยายตัวทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน จะเกิดประโยชน์สูงสุดได้ ก็ต่อเมื่อนำไปใช้สร้างความปรองดองในภูมิภาค และประเทศไทยยึดมั่นในระบบการค้าเสรีและเปิดการค้าเสรีกับหลายประเทศ พร้อมเชื่อว่าความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันในภูมิภาคอย่างครอบคลุม จะก่อให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองและมั่งคั่งร่วมกัน นำมาซึ่งประโยชน์สูงสุดต่อประชาชนอย่างแท้จริง

อนึ่ง กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจอินโด - แปซิฟิก (Indo-Pacific Economic Framework: IPEF) จัดขึ้น ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ในระหว่างการเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการของนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ (22-24 พ.ค.2565) โดยมีผู้นำหลายประเทศเข้าร่วมแถลงผ่านระบบการประชุมทางไกล อาทิ ประธานาธิบดีเกาหลีใต้ นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ นายกรัฐมนตรีเวียดนาม เป็นต้น รวมทั้งนายกรัฐมนตรีของไทย ส่วนนายกรัฐมนตรีอินเดียได้เดินทางไปเข้าร่วมการประชุมด้วยตนเอง

ทั้งนี้ สหรัฐได้เชิญนายกรัฐมนตรีของไทยเข้าร่วมกิจกรรมและกล่าวถ้อยแถลง ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่ไทยได้ใช้โอกาสนี้แสดงความพร้อมในการมีบทบาทส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจที่สร้างสรรค์ในภูมิภาค เพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและยั่งยืน รวมทั้งได้นำเสนอวิสัยทัศน์ด้านเศรษฐกิจของไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความร่วมมือต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมไทยหลังสถานการณ์โรคโควิด-19

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 24 พฤษภาคม 2565

ราคาปุ๋ยยูเรีย ปี 65 คาดยืนระดับสูงในกรอบ 950-1,000 ดอลลาร์ต่อตัน

ราคาปุ๋ยเคมี (ยูเรีย) ปี 2565 คาดยืนระดับสูงในกรอบ 950-1,000 ดอลลาร์ต่อตัน จากอุปทานโลกตึงตัว กระทบพืชเศรษฐกิจหลักแตกต่างกัน

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ราคาปุ๋ยเคมีปรับพุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องเป็นประวัติการณ์ ตามราคาวัตถุดิบและอุปทานปุ๋ยในตลาดโลกที่ตึงตัวจากผลกระทบของความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ผนวกกับภาครัฐได้อนุญาตให้ปรับเพิ่มราคาขายปุ๋ยเคมีในประเทศให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงมากขึ้น ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า ราคาปุ๋ยยูเรียนำเข้าของไทยในปี 2565 จะยืนอยู่ในระดับสูงที่กรอบ 950-1,000 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน เร่งขึ้นกว่าเท่าตัวจากปี 2564

ทั้งนี้ เกษตรกรที่ปลูกปาล์มน้ำมัน เป็นกลุ่มที่จะได้รับผลกระทบมากจากราคาปุ๋ยที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากมีอัตราการใช้ปุ๋ยต่อไร่สูง ตามมาด้วยยางพาราและอ้อย ขณะที่ ข้าว แม้จะมีอัตราการใช้ปุ๋ยต่อไร่ที่น้อยกว่า แต่ด้วยฤดูเพาะปลูกหลักของข้าวนาปีที่เพิ่งเริ่มต้น ทำให้หากเกษตรกรที่ปลูกข้าวจำนวนมากไม่สามารถปรับตัวได้ ก็อาจจะกระทบต่อปริมาณผลผลิตข้าวทั้งปีนี้ให้ลดลงกว่าที่คาดไว้

จาก https://www.posttoday.com  วันที่ 24 พฤษภาคม 2565

เกษตรฯตั้งคณะทำงาน หนุนปลูกพืชพลังงาน แนวทางอัตรารับซื้อไฟฟ้าชีวมวล

กระทรวงเกษตรฯ หนุนเกษตรกรเพิ่มรายได้ ปลูกพืชพลังงานสร้างเสถียรภาพทางด้านพลังงานให้แก่ประเทศ ตั้งคณะกรรมการร่วม 7 กิจกรรม ปูพรมเคลียร์พื้นที่ปลูกไม้เศรษฐกิจโตเร็ว หาแนวทางการพิจารณาอัตรารับซื้อไฟฟ้าและเชื้อเพลิงชีวมวล หนุนรายได้

วันที่ 20 พฤษภาคม 2565 นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรรมการร่วมการสร้างความมั่นคงอย่างยั่นยืนให้แก่เกษตรกรด้วยการผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อนจากพืชพลังงาน เพื่อชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ห่วงใยต่อพี่น้องเกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกในพื้นที่ทำการเกษตรที่ขาดศักยภาพ

จึงวางแนวทางในการส่งเสริมการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรโดยการปลูกพืชพลังงานในพื้นที่ทำการเกษตรที่ยังขาดศักยภาพ รวมถึงส่งเสริมให้มีการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อสร้างเสถียรภาพทางด้านพลังงานให้แก่ประเทศ

จากแนวทางดังกล่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ร่วมลงนามความร่วมมือการสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรด้วยการผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อนของพืชพลังงาน เพื่อชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2564 ภายหลังจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมการสร้างความมั่นคงอย่างยั่นยืนให้แก่เกษตรกรด้วยการผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อนจากพืชพลังงาน เพื่อชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก

โดยมีอำนาจหน้าที่ อาทิ กำหนดแผนส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อนจากพืชพลังงาน การกำหนดพื้นที่เป้าหมายที่มีศักยภาพ การจัดทำแนวทางส่งเสริม การพิจารณาแนวทางการจัดทำโครงการนำร่องเพื่อเป็นต้นแบบและสามารถนำไปสู่การขยายผลในระยะต่อไป

ล่าสุด จึงมีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมฯ 7 กิจกรรมได้แก่ 1. การพิจารณาระดับความเหมาะสมของดินสำหรับการปลูกพืชพลังงาน 2. โครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน 3. แผนส่งเสริมการปลูกแทนของการยางแห่งประเทศไทย 4. การจัดการพื้นที่ไม่เหมาะสม ไม้เศรษฐกิจโตเร็ว 5. แนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนไปผลิตพืชพลังงาน 6. ความเสี่ยงหรือความเป็นไปได้ที่อาจเกิดการผิดสัญญาในระบบเกษตรพันธสัญญา

และ 7. แนวทางการพิจารณาอัตรารับซื้อไฟฟ้าและเชื้อเพลิงชีวมวล อีกทั้งที่ประชุมยังร่วมกันพิจารณา และให้ความเห็นชอบ ร่างกรอบแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการร่วมฯ ทั้ง 7 กิจกรรรม ทั้งนี้ จะเร่งขับเคลื่อนในแต่ละกิจกรรมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ในการสร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกร ชุมชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน รวมถึงสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศต่อไป

จาก https://www.prachachat.net วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

‘สุริยะ’ยันไม่ทบทวนมติ แบนสารอันตรายการเกษตร

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม ในฐานะประธานกรรมการ คณะกรรมการวัตถุอันตราย เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมยืนยันไม่นำ2 สารอันตราย คือ พาราควอตและคลอร์ไพริฟอส กลับมาใช้อีกอย่างแน่นอน ซึ่งกระบวนพิจารณาแบน 2 สารดังกล่าวเสร็จสิ้นไปแล้วซึ่งเป็นไปตามมติคณะกรรมการวัตถุอันตรายตั้งแต่เมื่อวันที่ 27 พ.ย. 2562 โดยมีเหตุผลรองรับอยู่แล้วถึงความเป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน (เกษตรกร)ในวงกว้าง    

ทั้งนี้แม้การประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายเมื่อวันที่ 17 พ.ค. 2565 จะมีการยกประเด็นดังกล่าวขึ้นมาพิจารณา แต่เป็นเพียงการนำเสนอต่อที่ประชุมเพื่อขอหลักการในการตอบผู้ร้องคัดค้านเท่านั้น กระทรวงอุตสาหกรรมไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง

“ในฐานะหน่วยงานที่กำกับคณะกรรมการวัตถุอันตรายและมีกลุ่มคนมาร้องเรียนก็จำเป็นต้องรับพิจารณาตามขั้นตอน และยังคงยืนยันข้อมูลตามมติคณะกรรมการวัตถุอันตรายและหลักวิชาการคือ คงการแบน 2 สารอันตราย คือพาราควอตและคลอร์ไพริฟอส” นายสุริยะ กล่าว

นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการวัตถุอันตราย กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมได้รับเรื่องจากผู้ร้องที่ขอให้พิจารณาทบทวนมติการยกเลิก โดยผู้ร้องแจ้งว่าข้อมูลสารเคมีตกค้างในผลผลิตทางการเกษตรที่ตรวจวิเคราะห์โดยกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไม่ตรงตามที่เคยเสนอให้คณะกรรมการฯ พิจารณา

จาก https://www.naewna.com วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทวันนี้เปิด "แข็งค่า" ที่ระดับ 34.42 บาท/ดอลลาร์

ค่าเงินบาทยังมีความเสี่ยงที่จะผันผวนและอาจอ่อนค่าลงใกล้โซนแนวต้านก่อนหน้าในช่วง 34.70 บาทต่อดอลลาร์ อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ 34.42 บาทต่อดอลลาร์ "แข็งค่า" ขึ้นจากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ 34.52 บาทต่อดอลลาร์

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทยระบุว่า  แนวโน้มค่าเงินบาท เรามองว่า แม้เงินบาทจะแข็งค่าขึ้นตามการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ ทว่า หากตลาดยังไม่กลับมาเปิดรับความเสี่ยง เงินบาทก็ยังมีความเสี่ยงที่จะผันผวนและอาจอ่อนค่าลงใกล้โซนแนวต้านก่อนหน้าในช่วง 34.70 บาทต่อดอลลาร์ได้

อย่างไรก็ดี ในช่วงนี้ เงินบาทอาจพอได้รับแรงหนุนจากโฟลว์ธุรกรรมขายทำกำไรทองคำบ้าง แต่ หากนักลงทุนต่างชาติไม่ได้กลับเข้ามาซื้อสินทรัพย์ไทยอย่างต่อเนื่องและเพิ่มขึ้น เงินบาทก็อาจไม่ได้แข็งค่าไปมาก ซึ่งเรามองว่าการแข็งค่าของเงินบาทอาจถูกจำกัดด้วยโฟลว์ธุรกรรมของบรรดาผู้นำเข้าที่ต่างรอทยอยซื้อเงินดอลลาร์ในช่วง 34.40 บาทต่อดอลลาร์

ทั้งนี้ ในช่วงที่ตลาดการเงินยังมีความผันผวนสูง เราคงแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ ใช้ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 34.35-34.55 บาท/ดอลลาร์

ผู้เล่นในตลาดยังคงไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยง กดดันให้ ดัชนี S&P500 ปรับตัวลดลงต่อเนื่อง -0.58% ท่ามกลางความกังวลว่าปัญหาเงินเฟ้ออาจส่งผลกระทบต่อผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน รวมถึง การเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟดเพื่อคุมเงินเฟ้อก็อาจฉุดให้เศรษฐกิจสหรัฐฯ ชะลอตัวลงและเสี่ยงที่จะเข้าสู่สภาวะถดถอย (Recession) ได้

นอกจากนี้ รายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ล่าสุด อาทิ ดัชนีภาคการผลิตที่สำรวจโดยเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย (Philly Fed Manufacturing Index), ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ (Conference Board Leading Index) และ ยอดผู้รับสวัสดิการว่างงานครั้งแรก (Initial Jobless Claims) ก็ต่างออกมาแย่กว่าคาด กดดันบรรยากาศในตลาดการเงินเพิ่มเติม

ส่วนทางด้านตลาดหุ้นยุโรปยังคงปรับตัวลงต่อ -1.36% เช่นกัน กดดันโดยความกังวลปัญหาเงินเฟ้อที่อาจกดดันให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) สามารถปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายได้เร็ว ขณะเดียวกันเศรษฐกิจยุโรปก็เผชิญความเสี่ยงที่อาจชะลอตัวลงมากขึ้น จากผลกระทบของปัญหาเงินเฟ้อที่อาจทวีความรุนแรงมากขึ้น หากยุโรปมีการคว่ำบาตรการนำเข้าพลังงานจากรัสเซีย จนอาจส่งผลให้ราคาสินค้าพลังงานพุ่งสูงขึ้นรุนแรง

ในฝั่งตลาดบอนด์ ผู้เล่นในตลาดยังคงไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงและเลือกที่จะถือพันธบัตรรัฐบาลเป็นสินทรัพย์ปลอดภัย ทำให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวลดลงต่อเนื่องสู่ระดับ 2.84% สอดคล้องกับมุมมองของเราที่คาดว่า บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ มีแนวโน้มแกว่งตัวในกรอบ Sideways และผู้เล่นในตลาดอาจเน้นเทรดในกรอบ (Buy on Dip and Sell on Rally) โดยคาดว่า บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ อาจแกว่งตัวในกรอบ 2.75%-3.00% ในช่วงนี้ โดยแผนการทยอยลดงบดุลของเฟดที่จะเริ่มในเดือนมิถุนายน อาจช่วยหนุนไม่ให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวลดลงไปมากได้ ในขณะที่ ภาวะระมัดระวังตัวของผู้เล่นในตลาดก็อาจกดดันไม่ให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ปรับตัวขึ้นไปมากได้เช่นกัน

ในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์พลิกกลับมาอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลัก โดยล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) ปรับตัวลงสู่ระดับ 102.9 จุด นับเป็นการอ่อนค่าสุดในรอบ 2 สัปดาห์ โดยแม้ว่า ตลาดจะยังไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยงและยังคงต้องการถือสินทรัพย์ปลอดภัย ทว่าผู้เล่นบางส่วนก็อยากทยอยขายทำกำไรเงินดอลลาร์และกระจายความเสี่ยงการถือสินทรัพย์ปลอดภัยไปยังสินทรัพย์อื่นๆ อาทิ พันธบัตรรัฐบาล หรือ ค่าเงินเยนญี่ปุ่น เป็นต้น

นอกจากนี้ การอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ พร้อมกับการปรับตัวลงของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ท่ามกลางภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาด ได้หนุนให้ ราคาทองคำปรับตัวขึ้นต่อเนื่องสู่ระดับ 1,840 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเรามองว่า การปรับตัวขึ้นราว 40 ดอลลาร์ จากโซนแนวรับก่อนหน้า อาจทำให้ผู้เล่นบางส่วนทยอยขายทำกำไรทองคำออกมาบ้าง ซึ่งโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวจะเป็นปัจจัยหนุนการแข็งค่าของเงินบาทได้

สำหรับวันนี้ ตลาดประเมินว่า แม้ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะทยอยฟื้นตัว แต่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) ในเดือนเมษายนอาจเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 2.5% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลของการปรับตัวขึ้นของราคาสินค้าพลังงานและผลของการปรับลดค่าบริการโทรศัพท์มือถือในปีก่อนหน้า ทั้งนี้ การปรับตัวขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในญี่ปุ่นยังคงไม่ได้มาจากความต้องการบริโภคที่สูงขึ้นเป็นหลัก ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังมีแนวโน้มใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไป

ส่วนในฝั่งจีน ตลาดประเมินว่า ธนาคารกลางจีน (PBOC) อาจยังคงต้องใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น เพื่อประคองการฟื้นตัวเศรษฐกิจ โดย PBOC อาจปรับลด อัตราดอกเบี้ย MLF ประเภท 1 ปีลงในระยะสั้นนี้ ซึ่งแนวโน้มการทยอยลดดอกเบี้ยของ PBOC อาจทำให้บรรดาธนาคารพาณิชย์ต่างปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกหนี้ชั้นดี (LPR) โดยผู้เล่นในตลาดต่างคาดว่า PBOC จะประกาศ LPR (หลังรวบรวมจากบรรดาธนาคารพาณิชย์) ที่ลดลงสู่ระดับ 3.60% สำหรับ LPR 1 ปี และลดลงสู่ระดับ 4.55% สำหรับ LPR 5 ปี

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่าเงินบาทปรับตัวอยู่ที่ระดับประมาณ 34.45-34.47 บาทต่อดอลลาร์ฯ (9.20 น.) เทียบกับระดับปิดตลาดวานนี้ที่ 34.56 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยเงินบาทขยับแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง ขณะที่เงินดอลลาร์ฯ อ่อนค่าลงตามการปรับตัวลงของบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ หลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ออกมาอ่อนแอ กระตุ้นความกังวลต่อแนวโน้มชะลอตัว/ถดถอยของเศรษฐกิจสหรัฐฯ โดยจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานที่พุ่งขึ้นแตะ 218,000 ราย ซึ่งสูงกว่าที่ตลาดคาด และเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนม.ค. ขณะที่ยอดขายบ้านมือสองลดลง 3 เดือนติดต่อกัน มาที่ระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนมิ.ย. 2563  

สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ คาดไว้ที่  34.35-34.55 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สถานการณ์ยูเครน-รัสเซีย และทิศทางเงินทุนต่างชาติ และการประกาศอัตราดอกเบี้ย LPR ของจีน

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ไทยดัน “เอเปก” ทำเอฟทีเอ มั่นใจสมาชิกขัดแย้งกันไม่เป็นอุปสรรค!

“จุรินทร์” ประกาศไทยดันเอเปกทำเอฟทีเอ เตรียมบรรจุในแถลงการณ์ร่วม รมต.การค้า หวังให้สมาชิกเดินหน้าเจรจาให้สำเร็จ แม้สมาชิกมีคู่ขัดแย้งกันอยู่แต่เชื่อทุกเขตเศรษฐกิจ ทำเพื่อประโยชน์ร่วมกันในอนาคต

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยในการสัมมนาขับเคลื่อนการจัดทำเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (FTAAP) ระหว่างการประชุมรัฐมนตรีการค้ากลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก เอ็มอาร์ที) ว่า ช่วง 20 ปีที่ผ่านมา FTAAP ยังขับเคลื่อนได้ไม่เร็วนัก แม้ 3 ปีที่ผ่านมา ที่มาเลเซียเป็นเจ้าภาพเอเปก ได้ประกาศวิสัยทัศน์ปุตราจายาว่า สมาชิกจะเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรีระหว่างกัน และตั้งเป้าหมายเจรจาให้สำเร็จในปี 2583 แต่ถึงขณะนี้

ยังไม่ได้เริ่มอย่างจริงจัง แต่ไทยในฐานะเจ้าภาพเอเปกปีนี้ ได้ประกาศขับเคลื่อนการจัดทำความตกลง และจะบรรจุไว้ในแถลงการณ์ร่วมของรัฐมนตรีการค้าเอเปก โดยจะร่วมกับสมาชิก พยายามทำให้การเจรจาสำเร็จเร็วกว่าเป้าหมาย “ถ้า FTAAP สำเร็จ จะเป็นประโยชน์กับสมาชิกทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจมาก เพราะช่วยขยายการค้า การลงทุน จากการที่ภาษีนำเข้าระหว่างกันจะลดเป็น 0% มีการเปิดตลาดการค้าสินค้าและบริการมากขึ้น ลดอุปสรรค อำนวยความสะดวกการค้า การลงทุนมากขึ้น มั่นใจว่า FTAAP จะได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจ แม้ระหว่างสมาชิกจะมีคู่ขัดแย้งกันอยู่ แต่ทุกเขตเศรษฐกิจ จะมองเห็นประโยชน์ที่จะได้รับร่วมกัน เพื่อสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของภูมิภาคในอนาคต”

นายเกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ประธานสถาบัน อนาคตศึกษาเพื่อการพัฒนา กล่าวว่า เอฟทีเอจะช่วยให้เศรษฐกิจ การค้า การลงทุนฟื้นตัวได้ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ เพราะจะลดอุปสรรคทางการค้าการลงทุน สมาชิกสามารถลดต้นทุนการผลิต การค้า การขนส่ง เพราะเลือกใช้ปัจจัยการผลิตและวัตถุดิบราคาถูกจากสมาชิก และยังช่วยแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงาน รวมทั้งดึงดูดการลงทุนจากประเทศต่างๆได้ ที่สำคัญเศรษฐกิจในภูมิภาคกำลังฟื้นตัว เป็นโอกาสที่เอเปกจะผลักดันให้เกิดเอฟทีเอโดยเร็ว “แต่ยังมีความท้าทายของการเจรจา คือ ระดับการพัฒนาของ 21 เขตเศรษฐกิจต่างกัน สมาชิกมีทั้งประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา ขนาดเศรษฐกิจมีทั้งเล็ก กลาง ใหญ่ ความได้เปรียบเสียเปรียบต่างกัน จึงทำให้การเจรจามีความยากลำบาก”

นายทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ กรรมการผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ กล่าวว่า โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการค้าโลก ซ้ำเติมด้วยวิกฤติยูเครน ทำให้เกิดความกังวลเรื่องความมั่นคงทางอาหาร การค้าเสรีเป็นตัวช่วยให้การค้าการลงทุนโลกขยายตัว ซึ่งการผลักดันให้เกิด FTAAP สิ่งที่ต้องคำนึงถึง คือ 1.การปลดล็อกแนวคิดการกีดกันทางการค้า เพื่อดูแลผลประโยชน์ตัวเอง 2.อี-คอมเมิร์ซ ที่มีบทบาททางการค้ามากขึ้น 3.การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ซึ่งมาเร็วและแรง แต่ในเอเชียยังไม่ให้ความสนใจทั้งที่เชื่อมโยงกับการค้ามากขึ้น

นางสาวกรรณิการ์ กิจติเวชกุล รองประธานกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) กล่าวว่า ภาคประชาชนต้องการเห็นความตกลงที่มีความยืดหยุ่นภายใต้โลกที่ซับซ้อนรุนแรงขึ้น ไม่มีกฎระเบียบที่เข้มงวดเกินไปจนเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวเศรษฐกิจ อย่างความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจซีพีทีพีพี ที่มีกฎระเบียบที่เข้มงวดเกินไป ทำให้สมาชิกไม่ทำตามความตกลง และเกิดการฟ้องร้องกันแล้ว เช่น นิวซีแลนด์ฟ้องแคนาดาไม่เปิดตลาดนมให้ตามข้อผูกพัน นอกจากนี้ยังต้องการเห็นความตกลงที่คำนึงถึงนโยบายสาธารณะที่เกี่ยวกับประชาชน เช่น การเข้าถึงยา ความมั่นคงทางอาหาร คำนึงถึงการพัฒนาอย่างยั่งยืน และต้องการให้สมาชิกเห็นอกเห็นใจกันเพื่อเติบโตไปด้วยกัน.

จาก https://www.thairath.co.th  วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ลุยปั้นไทยเสือเศรษฐกิจอาเซียน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยในงานประชุมเสวนา “Better Thailand Open Dialogue : ถามมา-ตอบไป เพื่อประเทศไทยที่ดีกว่า” ในหัวข้อ “เศรษฐกิจไทยยุคใหม่ ประเทศไทยก้าวต่อไปอย่างไร” ว่า แม้ว่าในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาจะมีการแพร่ระบาดของโควิด แต่กระทรวงคมนาคมก็ไม่ได้หยุดหรือชะลอการลงทุนในโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานและโครงข่ายคมนาคม โดยปี 2565 จะมีโครงการลงทุนทั้งทางถนน ทางราง ทางน้ำ และทางอากาศ ในวงเงิน 1.4 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย โครงการที่ได้ลงนามสัญญาแล้ว 516,000 ล้านบาท และโครงการลงทุนใหม่ 974,000 ล้านบาท ซึ่งสามารถสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นมูลค่าสูงถึง 2.24 ล้านล้านบาท

ในส่วนของระบบราง กระทรวงคมนาคมจะมีการก่อสร้างในโครงการรถไฟฟ้ารวมกว่า 14 สี 27 สายทาง ระยะทางรวมกว่า 554 กม. ซึ่งจะแล้วเสร็จทุกสายทางเปิดให้บริการได้ในปี 2572 และขณะนี้รถไฟฟ้าได้เปิดใช้งานไปแล้วกว่า 7 เส้นทาง และอยู่ระหว่างการก่อสร้างอีก 4 เส้นทาง ระยะทางรวม 114 กม. ขณะเดียวกัน เพื่อเป็นการเพิ่มศักยภาพการขนส่งสินค้า ได้มีการดำเนินการในโครงการรถไฟทางคู่ทั่วประเทศซึ่งจะทำให้เกิดการปฏิวัติระบบโลจิสติกส์ของประเทศ ต้นทุนถูกลง เวลาส่งของแม่นยำ ขณะเดียวกัน ได้มีการดำเนินการในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ซึ่งจะเชื่อมต่อไปยังระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) นอกจากนั้นได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปดูเส้นทางรถไฟลาวเพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อกับรถไฟเร็วสูงในไทย

ส่วนมิติการขนส่งทางน้ำนั้น ได้มีการดำเนินการ อาทิ โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 (ท่าเทียบเรือ F) และโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 ขณะเดียวกันให้ต่อยอดการขนส่งทางน้ำจากอีอีซีมายังโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์) บริเวณชุมพร-ระนอง จากการลงทุนในทุกๆด้านจะทำให้ประเทศไทยเข้มแข็ง ที่ผ่านมาประเทศไทยเป็นเสือเศรษฐกิจของอาเซียน และมั่นใจว่าประเทศไทยยังเป็นต่อไปและจะเป็นท็อปทรี.

จาก https://www.thairath.co.th  วันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

เกษตรฯ หนุนปลูกพื้นพลังงานในพื้นที่เกษตร

กระทรวงเกษตรฯ ส่งเสริมเกษตรกรเพิ่มรายได้ ปลูกพืชพลังงานในพื้นที่ทำการเกษตร เพื่อสร้างเสถียรภาพทางด้านพลังงานให้แก่ประเทศ

วันนี้ (19 พ.ค.65) นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรรมการร่วมการสร้างความมั่นคงอย่างยั่นยืนให้แก่เกษตรกรด้วยการผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อนจากพืชพลังงาน เพื่อชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก ครั้งที่ 1/2565 โดยมีนางดาเรศร์ กิตติโยภาส คณะที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมการร่วมฯ พร้อมด้วย นายธัญญา เนติธรรมกุล รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน สภาอุตสาหกรรรมแห่งประเทศไทย เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุม 1403 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และผ่านระบบ Cloud Zoom Meeting

นายสมชวน กล่าวว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ภายใต้การนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน) มีความห่วงใยต่อพี่น้องเกษตรกรที่ทำการเพาะปลูกในพื้นที่ทำการเกษตรที่ขาดศักยภาพ จึงวางแนวทางในการส่งเสริมการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรโดยการปลูกพืชพลังงานในพื้นที่ทำการเกษตรที่ยังขาดศักยภาพ รวมถึงส่งเสริมให้มีการนำวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรมาใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อสร้างเสถียรภาพทางด้านพลังงานให้แก่ประเทศ

นายสมชวน กล่าวต่อไปว่า จากแนวทางดังกล่าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้ร่วมลงนามความร่วมมือการสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรด้วยการผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อนของพืชพลังงาน เพื่อชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2564

โดยมีวัตถุประสงค์ คือ 1.เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการสร้างความมั่นคงอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรด้วยการผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อนจากพืชพลังงาน 2.เพื่อชุมชนและเศรษฐกิจฐานรากภายใต้แนวทางตลาดนำการผลิต และ 3) เพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนและสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศ

ภายใต้ร่างความร่วมมือฯ ดังกล่าว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงนามคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรรมการร่วมการสร้างความมั่นคงอย่างยั่นยืนให้แก่เกษตรกรด้วยการผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อนจากพืชพลังงาน เพื่อชุมชนและเศรษฐกิจฐานราก โดยมีอำนาจหน้าที่ อาทิ กำหนดแผนส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าและพลังงานความร้อนจากพืชพลังงาน การกำหนดพื้นที่เป้าหมายที่มีศักยภาพ การจัดทำแนวทางส่งเสริม การพิจารณาแนวทางการจัดทำโครงการนำร่องเพื่อเป็นต้นแบบและสามารถนำไปสู่การขยายผลในระยะต่อไป เป็นต้น

ในการนี้ ที่ประชุมได้รับทราบคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการร่วมฯ  7 กิจกรรมได้แก่ 1. การพิจารณาระดับความเหมาะสมของดินสำหรับการปลูกพืชพลังงาน  2. โครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน 3. แผนส่งเสริมการปลูกแทนของการยางแห่งประเทศไทย 4. การจัดการพื้นที่ไม่เหมาะสม ไม้เศรษฐกิจโตเร็ว 5. แนวทางการช่วยเหลือเกษตรกรในการปรับเปลี่ยนไปผลิตพืชพลังงาน

6. ความเสี่ยงหรือความเป็นไปได้ที่อาจเกิดการผิดสัญญาในระบบเกษตรพันธสัญญา และ 7. แนวทางการพิจารณาอัตรารับซื้อไฟฟ้าและเชื้อเพลิงชีวมวล อีกทั้งที่ประชุมยังร่วมกันพิจารณา และให้ความเห็นชอบ ร่างกรอบแนวทางการดำเนินงานของคณะกรรมการร่วมฯ ทั้ง 7 กิจกรรรม ซึ่งจะเร่งขับเคลื่อนในแต่ละกิจกรรมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ ในการสร้างความมั่นคงให้กับเกษตรกร ชุมชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน รวมถึงสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศต่อไป

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ใช้เวที APEC เจรจาเน้นทำ FTAAP สำเร็จปี 2040 หวังเพิ่มการค้า 200-400%

กรุงเทพฯ 19 พ.ค.-ไทยใช้เวทีประชุม APEC โน้มน้าวให้สมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจร่วมเจรจาเน้นทำ APEC  FTAAP เพื่อสำเร็จตามเป้าปี 2040 หวังเพิ่มมูลค่าการค้าในกลุ่มมากถึง 200-400% ซึ่งจะเป็นกลุ่มการค้าที่ใหญ่สุดของโลก ย้ำจะพยายามเจรจาให้ได้ข้อตกลงร่วมกันให้มากสุดเพื่อนำไปประกาศแถลงการณ์ประชุมกรอบผู้นำประเทศในช่วงปลายปีนี้

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  เปิดการสัมมนาการขับเคลื่อนการจัดทำเขตการค้าเสรีเอเชีย- แปซิฟิก(FTAAP)ในช่วงโควิด-19 และอนาคต (Symposium on FTAAP in the  post-COVID-19) ที่ห้อง World Ballroom ชั้น 23 โรงแรม เซ็นทารา แกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์ โดยหัวข้อ การเสวนาวันนี้คือการขับเคลื่อนการจัดทำเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (FTAAP) เป็น FTA ของกลุ่มความร่วมมือกลุ่มเศรษฐกิจการค้าเอเปค เป้าหมายสำคัญเพื่อให้ทุกภาคส่วน ภาครัฐ เอกชน ภาควิชาการหรือนักธุรกิจ ประชาชนทั่วไป เกิดความเข้าใจและรวมพลังขับเคลื่อนจากความร่วมมือทางเศรษฐกิจของกลุ่มเขตเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก 21 เขตเศรษฐกิจไปเป็น FTAAP ในอนาคต ซึ่งตั้งเป้าหมายไว้ในปี 2040 หากสำเร็จจะกลายเป็น FTA ที่ใหญ่ที่สุดในโลก เพราะมีประชากรรวมกันถึง 2,900 ล้านคน คิดเป็น 38% ของประชากรโลกและจะมี GDP คิดเป็นร้อยละ 62 ของ GDP โลกมีมูลค่าประมาณ 52 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1,768 ล้านล้านบาท มูลค่าการค้าจาก 21 เขตเศรษฐกิจ มีมูลค่า 608 ล้านล้านบาท หรือ 18 ล้านล้านหรียญสหรัฐ ซึ่งเขตเศรษฐกิจทั้ง 21 เขตนี้ จะได้รับประโยชน์โดยตรงอย่างน้อยภาษีจะเป็นศูนย์ระหว่างกัน เมื่อเป็น FTA กฎระเบียบการค้าจะเป็นกฎระเบียบเดียวกัน และจะมีการเปิดตลาดระหว่างกันทั้งในส่วนของสินค้าและบริการ รวมทั้งการส่งเสริมการลงทุนระหว่างกัน หากเป็น FTAAP ในปี 2040 จริง คาดการณ์ว่ามูลค่าการค้าในกลุ่ม 21 เขตเศรษฐกิจ จะเพิ่มขึ้นประมาณ 200-400% สำหรับประเทศไทยปัจจุบันเรามีมูลค่าการค้ากับ 21 เขตเศรษฐกิจ 12.2 ล้านล้านบาทหรือคิดเป็น 385,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ถ้าเป็น FTAAP ในปี 2040 จริง จะขยายตัว 200-400% เช่นเดียวกัน

ทั้งนี้ ต้องยอมรับความจริงว่า 20 ปีที่ผ่านมา FTAAP ยังขับเคลื่อนไปได้ไม่เร็วนักยังมีความล่าช้าอยู่ แม้ในปี 2020 ตอนที่มาเลเซียเป็นเจ้าภาพจะมีการบรรจุเป้าหมาย FTAAP ไว้ในวิสัยทัศน์ปุตราจายา ของเอเปคว่าจะทำให้สำเร็จในปี 2040 ก็ตาม

ปีนี้ 2022 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพต่อจากนิวซีแลนด์ ได้กำหนดธีมสำคัญในการประชุมเอเปคครั้งนี้ ซึ่งจะเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ 19-22 พฤษภาคม และต่อด้วยการประชุมสุดยอดผู้นำในช่วงเดือนพฤศจิกายนปลายปีนี้โดยประมาณ ประเทศไทยได้กำหนดธีมสำคัญของการประชุมไว้ 3 เป้าหมาย ประกอบด้วย  “Open. Connect. Balance.” คือการที่เราจะเปิดกว้างให้มีการเคลื่อนไหวทางการค้าการลงทุนระหว่างกันของกลุ่มเศรษฐกิจเอเปค การเชื่อมโยงทางการค้าการลงทุนทั้งภาคการผลิต ห่วงโซ่การผลิต การตลาดร่วมกันในกลุ่มเขตเศรษฐกิจเอเปค และสร้างสมดุลทั้งในสิ่งแวดล้อมและการค้าการลงทุนให้ทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจได้ประโยชน์ร่วมกัน

นอกจากนี้ ในนโยบายประเทศไทยมีนโยบายที่จะผลักดัน FTA ให้เกิดขึ้นอย่างเต็มกำลังความสามารถ คือเป้าหมายนอกจากเป็นทิศทางของเอเปคแล้วประเทศไทยประกาศให้ความสำคัญและประสงค์จะร่วมขับเคลื่อนกับกลุ่มเศรษฐกิจที่เหลืออย่างเต็มที่ ให้เกิด FTA ให้ได้ในอนาคตอันรวดเร็วตามเป้าหมายที่กำหนดไว้อย่างน้อยปี 2040

ปัจจุบันประเทศไทยมี FTA กับประเทศต่างๆ 18 ประเทศรวม 14 ฉบับ FTA ที่ใหญ่ที่สุดที่เพิ่งทำสำเร็จคือ RCEP  หรือความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (Regional Comprehensive Economic Partnership) ซึ่งเราเป็นเจ้าภาพการประชุมเมื่อ 2-3 ปีที่แล้ว ตนเป็นประธานที่ประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจการค้า RCEP จนประสบความสำเร็จ และออกแถลงการณ์ร่วมกันว่าจะจัดตั้ง บัดนี้ RCEP เกิดขึ้นแล้วคือ FTA ที่ใหญ่ที่สุดในปัจจุบัน แต่ถ้ามี FTAAP เมื่อไหร่จะใหญ่กว่า RCEP ทุกเขตเศรษฐกิจจะได้ประโยชน์มากขึ้นเป็นเงาตามตัว

ประเทศไทยมีเป้าหมายทำ FTA เพิ่มเติมนอกจากกับ 18 ประเทศ 14 ฉบับที่มีอยู่แล้วเช่น FTA กับกลุ่มสหภาพยุโรปหรือ EU ไทยกับสหราชอาณาจักร ซึ่งตนจะเดินทางไปประชุม JTC  (การประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า หรือ Joint Trade Committee) กับประเทศอังกฤษในช่วงประมาณกลางเดือนมิถุนายนนี้ และมีเป้าหมายที่จะทำ FTA กับกลุ่มประเทศเอฟตา(สมาคมการค้าเสรียุโรป) ประกอบด้วยไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์ ตนจะนำคณะเดินทางไปที่ไอซ์แลนด์ประมาณช่วงวันที่ 20 มิ.ย. 65 เพื่อพบกับรัฐมนตรีจาก 4 ประเทศ ประกาศนับหนึ่งในการเริ่มเจรจา FTA ระหว่างกัน

อย่างไรก็ตาม ไทยมีเป้าหมายทำ FTA กับอีกหลายประเทศรวมทั้ง FTAAP การเสวนาวันนี้จะเป็นเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นสร้างความรู้ความเข้าใจระหว่างคนไทยและสมาชิกประชากรของกลุ่มเขตเศรษฐกิจเอเปคให้เกิดขึ้น ซึ่งจะมีการคุยกันหลายประเด็น เช่น การกำหนดสาระสำคัญที่ควรบรรจุไว้ใน FTAAP อีคอมเมิร์ซ การแข่งขันทางการค้า สิ่งแวดล้อม สิทธิมนุษยชนเป็นต้น แต่สิ่งเหล่านี้ควรมีขอบเขตแค่ไหนอย่างไรที่เป็นรูปธรรม เพื่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันกับทุกฝ่ายทั้ง 21 เขตเศรษฐกิจสมาชิก โดยผลการประชุมตลอด 4 วันนี้ จะพยายามให้ได้ข้อสรุปด้านต่างๆมากที่สุด เพื่อนำไปสู่การแถลงการณ์ร่วมระดับประชุมสุดยอดผู้นำหรือ เอเปค ซัมมิท เป็นระดับนายกรัฐมนตรีในช่วงเดือนพฤศจิกายนนี้ต่อไป.

จาก https://tna.mcot.net   วันที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

กรมโรงงานฯ ขีดเส้น 23 ต.ค.โรงงานใช้สารเคมีตั้งแต่ 1 ตัน/ปีต้องรายงานข้อมูล

กรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ออกคำสั่งให้โรงงานที่ใช้จัดเก็บสารเคมีอันตรายตั้งแต่ 1 ตัน/ปี ต้องรายงานผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ มีผลบังคับใช้ 23 ตุลาคม 2565 พร้อมจัดการฝึกอบรม “ระบบข้อมูลเพื่อการจัดการความปลอดภัยด้านสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม” ผ่านช่องทางออนไลน์ให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงานในเดือนมิถุนายน และกันยายน 2565

นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า จากกรณีเกิดเหตุการณ์ไฟไหม้ บริษัท หมิงตี้เคมีคอล จำกัด จ.สมุทรปราการ เมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 มีสารเคมีกว่า 20 ตันระเบิดรั่วไหลออกมา ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชนที่อาศัยอยู่โดยรอบโรงงาน ทั้งความเสียหายทางทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้จัดทำประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง มาตรการความปลอดภัยเกี่ยวกับการจัดการสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม กำหนดให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานตามบัญชีแนบท้ายประกาศฯ และผู้ประกอบกิจการโรงงาน

นอกเหนือจากบัญชีแนบท้ายประกาศฯ ต้องรายงานข้อมูลสารเคมีอันตรายที่มีการเก็บ หรือการใช้ในการประกอบกิจการโรงงาน ในปริมาณตั้งแต่ 1 ตัน/ปี ต่อสารเคมีอันตรายหนึ่งชนิด ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของ กรอ. โดยประกาศดังกล่าวได้ลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 เมษายน 2565 และจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 23 ตุลาคม 2565 ส่งผลให้โรงงาน 24 ประเภทตามบัญชีแนบท้ายประกาศ ที่เก็บหรือใช้สารเคมีอันตราย เช่น โรงงานปิโตรเคมี โรงงานผลิตยางเรซินสังเคราะห์ โรงงานฟอกย้อม ต้องรายงานการเก็บหรือการใช้สารเคมีอันตรายของปี 2565 ภายในวันที่ 20 เมษายน 2566 และรายงานการเก็บหรือใช้สารเคมีอันตรายตั้งแต่ปี 2566 ภายในวันที่ 1 มีนาคมของปีถัดไป

ทั้งนี้ ก่อนที่ประกาศฉบับดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ กรอ. จะได้จัดการฝึกอบรม “ระบบข้อมูลเพื่อการจัดการความปลอดภัยด้านสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม” ผ่านช่องทางออนไลน์ให้แก่ผู้ประกอบกิจการโรงงาน และบุคลากรด้านความปลอดภัยของโรงงาน โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการรายงานข้อมูลสารเคมีอันตรายผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ของ กรอ. ซึ่งระบบรายงานข้อมูลดังกล่าวได้มีการพัฒนาและเริ่มเปิดให้ใช้งานไปแล้วเมื่อต้นปี 2565

สำหรับข้อมูลสารเคมีที่รายงานเข้ามาในระบบข้อมูลเพื่อการจัดการความปลอดภัยด้านสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม จะถูกเชื่อมโยงไปยังระบบการรายงานด้านสารเคมีอื่นๆ ของกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อลดความซ้ำซ้อนในการรายงานข้อมูล และอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการมากยิ่งขึ้น เช่น ระบบแจ้งข้อมูลการประกอบกิจการโรงงานรายปี ระบบรายงานความปลอดภัยการเก็บรักษาวัตถุอันตรายประจำปี ระบบการรับรองตนเองของผู้ประกอบกิจการโรงงาน

ผู้ประกอบการสามารถเข้าดูวิธีการเข้าใช้งาน “ระบบข้อมูลเพื่อการจัดการความปลอดภัยด้านสารเคมีในโรงงานอุตสาหกรรม” โดยสแกนคิวอาร์โค้ด หรือ http://facchem.diw.go.th และสามารถติดตามข่าวสารการเข้าร่วมฝึกอบรมได้ที่ http://reg3.diw.go.th/safety/ อธิบดีกรมโรงงานฯ กล่าว

จาก https://mgronline.com   วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ฝนหลวงฯ เดินหน้าทำฝนเติมน้ำเขื่อน เหตุปริมาณน้ำเขื่อนขนาดใหญ่น้อยกว่า 30%

วันที่ 18 พฤษภาคม 2565 นายสำเริง แสงภู่วงค์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่าจากผลการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ ครั้งที่ 19/2565 เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 เวลา 13.00 น. ซึ่งมีการสรุปข้อมูลจากสภาพอากาศ ในช่วงวันที่ 17-18 พฤษภาคม 2565 พบว่ามรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังปานกลางพัดปกคลุมประเทศไทย ทะเลอันดามันและอ่าวไทย ทำให้ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกและภาคใต้ฝั่งตะวันตกยังคงมีฝนตกอย่างต่อเนื่องและมีฝนตกหนักเป็นบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 19-23 พฤษภาคม 2565 มรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันประเทศไทยและอ่าวไทยมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลางด้านตะวันตก ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ถึงแม้ว่าขณะนี้ประเทศไทยมีปริมาณฝนตกเพิ่มมากขึ้น แต่จากข้อมูลการรายงานของกรมชลประทาน พบว่าสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บขนาดใหญ่ยังคงมีน้ำใช้การในปริมาณน้อยกว่าเกณฑ์ คือร้อยละ 30 จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำคลองสียัด อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา เขื่อนขุนด่านปราการชล และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งคณะที่ประชุมยังคงยืนยันให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ปฏิบัติการฝนหลวงช่วยเหลือเติมน้ำต้นทุนให้กับเขื่อนขนาดใหญ่ที่น้ำยังคงมีปริมาณน้อยกว่าเกณฑ์ รวม 11 แห่งทั่วประเทศ ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล เขื่อนแม่กวงอุดมธารา เขื่อนกิ่วลม เขื่อนกิ่วคอหมา เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนห้วยหลวง เขื่อนน้ำอูน เขื่อนน้ำพุง เขื่อนลำปาว อ่างเก็บน้ำทับเสลา และอ่างเก็บน้ำคลองสียัด

นายสำเริง กล่าวเพิ่มเติมว่า จากสถานการณ์ความต้องการน้ำดังกล่าวจึงได้สั่งการให้หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเตรียมความพร้อมและวางแผนขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงในการปฏิบัติภารกิจทำฝนเพิ่มปริมาณน้ำให้กับเขื่อนและอ่างเก็บน้ำ และช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรตามที่พี่น้องประชาชนมีการร้องขอเข้ามา โดยจากผลปฏิบัติการฝนหลวงเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2565 กรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้ขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 4 หน่วยปฏิบัติการ ช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่ขาดแคลนน้ำบางส่วนของจังหวัดนครสวรรค์ ลพบุรี สระบุรี กาญจนบุรี และเพิ่มปริมาณน้ำเก็บกักให้กับเขื่อนภูมิพล จ.ตาก และอ่างเก็บน้ำคลองสียัดจ.ฉะเชิงเทรา

ทั้งนี้สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ขาดแคลนน้ำในภูมิภาคอื่นๆ กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ยังคงติดตามสภาพอากาศและวางแผนช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง โดยพี่น้องเกษตรกรและประชาชนยังสามารถขอรับบริการฝนหลวงและติดตามข้อมูลข่าวสารของกรมฝนหลวงและการบินเกษตรได้ที่ช่องทางเพจ Facebook กรมฝนหลวงและการบินเกษตร Twitter Instagram Line Official Account TikTok : @drraa_prและหมายเลขโทรศัพท์ 02-109-5100

จาก https://www.banmuang.co.th วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

4 เรื่องใหญ่ต้องจับตา ดันราคาน้ำตาลขาขึ้น ไทยรับอานิสงส์ถึงปีหน้า

สงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ การค้า เงินเฟ้อ ราคาสินค้า ราคาพลังงาน ค่าขนส่ง ต้นทุนการผลิต รวมถึงซัพพลายเชนของโลกโดยรวมอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะราคาน้ำตาลทรายดิบ หนึ่งในสินค้าเกษตรสำคัญของไทยที่มีบทบาทในตลาดโลก

4 เรื่องใหญ่ต้องจับตา ดันราคาน้ำตาลขาขึ้น ไทยรับอานิสงส์ถึงปีหน้า

นายอภิชาติ ลักษณะสิริศักดิ์  ผู้จัดการทั่วไป บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด (อนท.) ให้สัมภาษณ์พิเศษ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงผลที่เกิดจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ต้องจับตามอง  และประเมินทิศทางและภาพรวมของอุตสาหกรรมน้ำตาลที่เชื่อมโยงกับอาหาร ที่คนทั่วโลกยังต้องบริโภค  โดยมองว่าราคาน้ำตาลทรายดิบน่าจะผันผวนมากตามราคาน้ำมัน และค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ที่มีความผันผวน แต่จะยังคงตัวในระดับที่สูงกว่า 17 เซนต์ต่อปอนด์ (คาดสงครามสหรัฐฯกับรัสเซียในทุกรูปแบบไม่น่าจะจบได้เร็ว) ตลาดน้ำตาลในระดับโลก น่าจะมีความผันผวนของปริมาณการผลิต และราคามากขึ้น เนื่องจากปัจจัยที่มีผลกระทบเริ่มมีความไม่แน่นอนและคาดเดายากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของภัยธรรมชาติ และการเปลี่ยนผ่านของดุลอำนาจในระดับโลก ใน 1-2 ปีข้างหน้า

สงครามไม่ใช่แค่น้ำมันแพง

นอกจากนี้ยังตั้งข้อสังเกตอีกว่า สงครามรัสเซีย-ยูเครนครั้งนี้ จะสร้างปรากฏการณ์ที่ทำให้ทั้งไทยและโลกต้องจับตา 4 เรื่องใหญ่คือ1.ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น โดยเฉพาะราคาปุ๋ยและยาปราบศัตรูพืชที่แพงขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลกและเกิดการขาดแคลน  2.ราคาน้ำมันดิบโดยเฉลี่ยทั้งปีนี้จะอยู่ในระดับไม่น้อยกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อบาร์เรล ทั้งนี้สงครามรัสเซีย-ยูเครนยิ่งยืดเยื้อออกไป จะทำให้บราซิลใช้อ้อยไปผลิตเป็นเอทานอลมากขึ้น และจะส่งผลให้ราคาน้ำตาลน่าจะทรงตัวในระดับสูง (มากกว่า 17 เซนต์ต่อปอนด์) ไปอีกระยะหนึ่ง

3.มีความกังวลเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหาร เช่น อาจจะเกิดสงครามระหว่างจีนกับสหรัฐฯ หรือ การโอนย้ายสินค้าจากผู้ซื้อไปยังผู้ขายไม่คล่องตัว เป็นต้น และอาจจะมีการสำรองสินค้าคงคลังให้มากขึ้นกว่าเดิม ส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ทางด้านอาหารของโลกสูงขึ้น (น้ำตาลเป็นส่วนหนึ่งที่ได้รับผลกระทบดังกล่าว) รวมถึงการที่กองทุนรวมต่าง ๆ ในระดับโลก อาจจะมีการโยกย้ายเงินลงทุน ในสัดส่วนที่มากขึ้น โดยมาลงทุนในสินทรัพย์ที่จับต้องได้ทางด้านอาหาร

4 เรื่องใหญ่ต้องจับตา ดันราคาน้ำตาลขาขึ้น ไทยรับอานิสงส์ถึงปีหน้า

4.ความน่าเชื่อถือในระบบการเงินรูปแบบเดิม ๆ จะลดลง (ระบบพิมพ์แบงก์ใช้ได้เอง หรือระบบโอนเงินแบบ SWIFT) ทำให้ความนิยมในสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐฯจะลดลง  สาเหตุหลักอันหนึ่งเนื่องมาจากสหรัฐฯ มีหนี้มากถึง 30 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯในปัจจุบัน  ตัวอย่างเช่น จีน และอินเดีย ไม่ได้ซื้อน้ำมันจากรัสเซีย เป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯแล้ว และมีข่าวว่าซาอุดิอาระเบีย อาจจะเริ่มขายน้ำมันให้จีนในรูปสกุลเงินหยวน เป็นต้น ซึ่งจะส่งผลให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้นตามการด้อยค่าลงของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ

“สงครามรัสเซีย ยูเครน รอบนี้ไม่ใช่แค่เรื่องที่ทำให้ราคาน้ำมันแพงขึ้น แต่ยังเป็นสงครามที่ไม่อยากให้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯมีบทบาทครองโลกต่อไป และไม่ใช้เงินดอลลาร์สหรัฐฯเป็นตัวหลักแต่ควรมีสกุลเงินอื่น ๆ และระบบการโอนเงินอื่น ๆ ที่สร้างความสมดุลในโลกมากขึ้น ซึ่งถ้าเงินดอลลาร์สหรัฐฯอ่อนค่าก็จะทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์สูงขึ้น”

จับตาน้ำตาลโลกขาดแคลน

นอกจากนี้หากมองในแง่ Demand และ Supply ของน้ำตาลโลก ในปีนี้น่าจะเป็นส่วนเกิน (Surplus) มากกว่าเล็กน้อย เนื่องจากอินเดียส่งออกได้มาก (มากกว่า 8.5 ล้านตัน) ในขณะที่การบริโภคน่าจะเริ่มฟื้นตัวได้บ้าง ส่วนปีหน้า (2565-2566) น่าจะมีส่วนขาดมากกว่า จากบราซิลผู้ผลิตรายใหญ่จะใช้อ้อยไปผลิตเป็นเอทานอลมากขึ้น และอินเดียไม่น่าจะส่งออกได้มากเหมือนปี 2564-2565 เนื่องจากสินค้าคงคลังน่าจะลดต่ำลงมาก และจะนำอ้อยไปผลิตเอทานอลมากขึ้นเช่นกัน แม้ว่าไทยจะผลิตเพิ่มได้มากขึ้นบ้าง ส่วนการบริโภคน่าจะกลับมาในภาวะปกติเหมือนก่อนมีโควิด

4 เรื่องใหญ่ต้องจับตา ดันราคาน้ำตาลขาขึ้น ไทยรับอานิสงส์ถึงปีหน้า

อุตฯน้ำตาลขาขึ้นถึงปีหน้า

นายอภิชาติ กล่าวอีกว่า หากโฟกัสมาที่ไทย น่าจะเน้นการส่งออกเป็นน้ำตาลทรายขาวในสัดส่วนที่มากขึ้น เนื่องจากคู่แข่งขันมีต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นจากราคาพลังงานที่แพงขึ้นมากในปัจจุบัน  และราคา White premium ก็สูงมากเช่นกัน ส่วนสถานะโรงงานน้ำตาลในประเทศก็น่าจะกลับมามีกำไรได้เป็นกอบเป็นกำในปีนี้ เนื่องจากราคาดีขึ้นและจำนวนอ้อยที่เพิ่มมากขึ้น และคาดว่าจะดีต่อเนื่องไปถึงปีหน้า อย่างไรก็ดีโรงงานต้องสร้างแรงจูงใจและการสนับสนุนให้กับเกษตรกรมากขึ้น เพื่อให้ปริมาณอ้อยไม่น้อยกว่า 90-100 ล้านตัน ในอนาคต

อย่างไรก็ตามมองว่าการแก้ไข พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาล น่าจะมีการเน้นถึงความมั่นคงของกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย ที่จะต้องมีแหล่งเงินเข้าไปสู่กองทุนให้มากขึ้นกว่าเดิม และต้องมีจำนวนสะสมที่ใหญ่เพียงพอ เพื่อให้สามารถรองรับความผันผวนของราคาอ้อยในช่วงที่ราคาตกต่ำได้อย่างน้อย 2 ฤดูการผลิต เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในระบบอ้อยและน้ำตาลมากขึ้น

ห่วงภัยธรรมชาติมากที่สุด

เมื่อถามว่าระหว่างภัยธรรมชาติ  สงคราม และโรคระบาด(โควิด) ปัญหาใดกระทบต่ออุตสาห กรรมอ้อยและน้ำตาลมากที่สุด  นายอภิชาติ อธิบายว่า  ภัยธรรมชาติน่าจะกระทบมากที่สุด จากเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถควบคุมได้ และเริ่มสร้างปัญหาให้มากขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต เนื่องจากคนได้ทำลายธรรมชาติไปมากแล้ว หากยังไม่หยุด ธรรมชาติก็จะสนองกลับคืน ส่วนสงครามและโรคระบาดก็มีผลกระทบบ้างทั้งในแง่บวกและลบ  แต่น่าจะเป็นปัจจัยที่แก้ไข ควบคุม หรือบรรเทาได้มากกว่า

สำหรับข้อกังวลในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ที่สำคัญคือชาวไร่อ้อยต้องมีต้นทุนการผลิตที่ต่ำลง โดยภาครัฐต้องเข้ามาสนับสนุนเช่น การคิดค้นสายพันธุ์ที่ดีขึ้น หาแหล่งปุ๋ยที่มีคุณภาพที่ดี สามารถทดแทนปุ๋ยที่มีราคาแพง มีการผลักดันอย่างเต็มที่ในเรื่องของกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายให้มีความมั่นคงและเป็นจุดที่ช่วยลดความผันผวนของราคาให้มากขึ้น

ขณะเดียวกันชาวไร่เองก็ต้องมีความรู้และความเข้าใจในการปลูกอ้อยที่แท้จริง และ ไม่ฝืนปลูกในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น ขาดแหล่งน้ำ สภาพดินที่ยังไม่เหมะสมที่จะปลูกอ้อย ราคาดีแล้วแห่กันปลูก เป็นต้น

อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลไทย ควรมีทางเลือกให้มากขึ้นในการแปรรูปอ้อยให้มีความหลากหลายมากขึ้น อย่าทำเพียงแค่น้ำตาลทรายดิบหรือทรายขาวเป็นหลัก (ต้องให้ภาครัฐสนับสนุนมากขึ้นในการเพิ่มทางเลือก)

ในระยะยาว อุตสาหกรรมอ้อยของทั้งโลกต้องการผลผลิตที่เพิ่มขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป ตามอัตราการขยายตัวของประชากรโลก และความผันผวนของภัยธรรมชาติที่มีมากขึ้นจะส่งผลให้มีความผันผวนของปริมาณการผลิตมากขึ้น จะเห็นได้ว่าบราซิลแทบจะไม่ได้เพิ่มผลผลิตขึ้นในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ส่งผลให้ปริมาณอ้อยมีความผันผวนมากขึ้น

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ก.อุต เผย กรรมการวัตถุอันตราย เตรียมคงมติแบน 2 สารเคมีอยู่แล้ว

กรณี พล.อ.ประยุทธ์ ​จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี สั่งการให้นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการวัตถุอันตราย ถอนวาระการพิจารณาทบทวนยกเลิกมติการใช้พาราควอต และ คลอร์ไพริฟอส ออก เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคมนั้น

รายงานข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรม ระบุว่า การประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย วันที่ 17 พฤษภาคมนั้น นายสุริยะ ได้มอบให้ นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานแทน และนายกอบชัยมอบให้ นายภานุวัฒน์ ตริยางกูรศรี รองปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุมแทน โดยวาระการประชุมได้แจ้งวาระล่วงหน้าให้กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รับทราบแล้วว่าจะมีการพิจารณาประเด็นที่ชมรมคนรักแม่กลองที่เรียกร้องให้มีการทบทวนการแบน 2 สารเคมีและให้มีมตินำกลับมาใช้ได้ และที่ประชุมจะยังคงมีมติแบน 2 สารต่อไป เพราะหากมีเจตนากลับมติ จะต้องให้ประธานเป็นระดับรัฐมนตรี ไม่ใช่ระดับรองปลัด

รายงานข่าวระบุว่า ประเด็นการแบนสารเคมี กระทรวงอุตสาหกรรมไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง แต่ในฐานะหน่วยงานที่กำกับคณะกรรมการวัตถุอันตราย และมีกลุ่มคนมาร้องเรียนก็จำเป็นต้องรับพิจารณาตามขั้นตอน และยังคงข้อมูลตามหลักวิชาการคือคงการแบน 2 สารต่อไป ทั้งนี้ตามกฎหมายจะมีการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายอีกครั้งภายในเดือนสิงหาคมนี้

จาก  https://www.matichon.co.th   วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ผลผลิตอ้อยเข้าหีบ 92.07 ล้านตัน เหตุน้ำฝนมาก-ราคาน้ำตาลตลาดโลกสูง

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ผลผลิตอ้อยเข้าหีบประจำฤดูกาลผลิตปี 2564/65 ของโรงงานน้ำตาลทั้ง 57 โรง ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2564 จนถึงวันที่ 7 พฤษภาคม 2565 รวมระยะเวลาหีบอ้อย 152 วัน มีปริมาณอ้อยเข้าหีบทั่วประเทศที่ 92.07 ล้านตัน แยกเป็นอ้อยสด 66.95 ล้านตัน คิดเป็น 72.72% และอ้อยไฟไหม้ 25.12 ล้านตัน คิดเป็น 27.28% ยิลด์น้ำตาลต่อตันอ้อย โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 110.08 กิโลกรัมต่อตันอ้อย และมีค่าความหวานอ้อยเฉลี่ยอยู่ที่ 12.71 ซีซีเอส โดยปริมาณผลผลิตอ้อยรวมเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 25.41 ล้านตัน คิดเป็น 38.12%

“สาเหตุที่ปริมาณผลผลิตอ้อยเพิ่มขึ้นมาจากปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นและราคาน้ำตาลโลกสูงขึ้น ส่วนแนวทางการช่วยเหลือต้นทุนการตัดอ้อยสด อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำเสนอ คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาต่อไปโดยการช่วยเหลือต้นทุนการตัดอ้อยสดนั้น นอกจากจะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 แล้ว ยังทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยหันมาตัดอ้อยสดส่งโรงงานมากขึ้น มีรายได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น”นายสุริยะกล่าว

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) กล่าวว่า จากปัญหาอ้อยสดสกปรกที่เกิดจากการเก็บเกี่ยวโดยไม่มีการตัดยอด และไม่มีการสางใบอ้อย กลายเป็นอ้อยมีสิ่งปนเปื้อน และอ้อยยอดยาว ที่เป็นสาเหตุทำให้ยิลด์ น้ำตาลต่อตันอ้อยลดลงนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมจะวางแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไป

วังสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กล่าวว่า ปริมาณตัวเลขอ้อยไฟไหม้ในฤดูกาลผลิตปี 2564/65 ยังไม่เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ คือ ปริมาณอ้อยไฟไหม้เข้าหีบไม่เกิน 10% ของปริมาณอ้อยทั้งหมดสาเหตุมาจากฝนตกอย่างต่อเนื่องทำให้อ้อยล้มเป็นจำนวนมาก เป็นอุปสรรคในการตัดอ้อยสด สอน. ได้วางแนวทางบริหารจัดการการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ให้เข้มข้นยิ่งขึ้น อาทิ จัดหาเครื่องสางใบอ้อยมาให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยยืมเพื่อสางใบอ้อย ส่งเสริมการรับซื้อใบอ้อยเพื่อเพิ่มรายได้ และลดการเผาใบอ้อย การขอรับการสนับสนุนเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลเพื่อลดต้นทุนการตัดอ้อยสด การสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยกู้เพื่อซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร รวมทั้งการ

ลงนามในบันทึกความร่วมมือการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดนโยบายชัดเจนที่จะไม่ส่งเสริมอ้อยไฟไหม้ในการลดฝุ่น PM2.5 ประกอบกับโรงงานน้ำตาลทรายเองได้เข้าไปส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดมากขึ้น

“คาดว่าฤดูกาลผลิตปีหน้าปริมาณอ้อยสดจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลทำให้ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยสูงขึ้น โดยสอน. ได้คาดการณ์แนวโน้มฤดูกาลผลิตปี 2565/66 จะมีปริมาณอ้อยเพิ่มขึ้นมากกว่า 100 ล้านตัน สาเหตุจากปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นและราคาน้ำตาลในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูง”นายเอกภัทรกล่าว

จาก https://www.naewna.com วันที่ 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ไทยเตรียมชงรัฐมนตรีการค้าเอเปคหนุนจัดทำแผนพัฒนา FTAAP  21-22 พ.ค.นี้

 หนึ่งในประเด็นสำคัญที่ไทยในฐานะเจ้าภาพเตรียมผลักดันในเวที "การประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค" ระหว่างวันที่ 21-22 พ.ค.นี้ ก็คือ การขับเคลื่อนแนวคิดการจัดตั้งเขตการค้าเสรีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ FTAAP

การขับเคลื่อนแนวคิดการจัดตั้ง เขตการค้าเสรีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก หรือ FTAAP ซึ่งเป็น การร่วมกลุ่มทางเศรษฐกิจ ในภูมิภาคนั้น ไทยในฐานะเจ้าภาพจัด การประชุมเอเปค ในปีนี้ มุ่งให้มีการจัดทำแผนงานการพัฒนา เตรียมความพร้อมสมาชิก และขับเคลื่อนความร่วมมือดังกล่าวออกมาอย่างเป็นรูปธรรมในลำดับต่อไป

จากการประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสเอเปค ครั้งที่ 2 ที่มีขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งมีการหารือเกี่ยวกับการส่งเสริมการค้าการลงทุนที่เปิดกว้างและเสรีอันเป็นหัวใจของเอเปค รวมทั้งเป็นแนวทางฟื้นฟูเศรษฐกิจในภูมิภาค ภายใต้หัวข้อหลัก "เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล" นั้น คณะกรรมการว่าด้วยการค้าและการลงทุนของเอเปคได้เปิดเผยถึงประเด็นสำคัญที่จะนำเสนอเข้าสู่การประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค ที่กำลังจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 21-22 พฤษภาคมศกนี้

ในการประชุมดังกล่าว ที่ประชุมจะขับเคลื่อน 4 ประเด็นสำคัญ ซึ่งได้แก่

(1) การส่งเสริมการค้าพหุภาคี โดยรับฟังความเห็นจากภาคธุรกิจ ที่เรียกร้องให้รัฐมนตรีการค้าเอเปคร่วมกันผลักดันให้ที่ประชุม MC12 (เป็นที่ประชุมรัฐมนตรีขององค์การการค้าโลก ครั้งที่ 12 ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันกับที่ประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค) สนับสนุนการส่งเสริมการค้าพหุภาคีเพื่อรับมือผลกระทบจากโควิด-19 เร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสนับสนุนความต้องการของภาคธุรกิจที่ปรับเปลี่ยนเร็วตามบริบทโลก

(2) การร่วมกลุ่มทางเศรษฐกิจในภูมิภาค โดยเน้นหารือเพื่อพัฒนาแนวทางการทบทวนการจัดทำ เขตการค้าเสรีในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก (FTAAP) ที่คำนึงถึงบทเรียนจากโควิด-19 รวมทั้งพัฒนาการของความตกลงการค้าเสรีอื่น ๆ อันประกอบด้วยความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA)

(3) การอำนวยความสะดวกทางการค้า ความเชื่อมโยง การเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล และนวัตกรรม

(4) การส่งเสริมความครอบคลุมและความยั่งยืน

ประเด็นที่ไทยให้ความสำคัญคือ การหารือเพื่อขับเคลื่อนแนวความคิดการจัดตั้งเขตการค้าเสรีแห่งเอเชีย-แซิฟิก หรือ FTAAP โดยไทยในฐานะเจ้าภาพการประชุมได้ปูพื้นบทสนทนาเพื่อนำไปสู่การจัดทำแผนงานการพัฒนา FTAAP และเตรียมความพร้อมสมาชิกด้วยการเพิ่มขีดความสามารถ ซึ่งไทยคาดหวังให้นำประเด็นนี้ไปสู่การหารือในที่ประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคด้วย เพื่อขอรับการสนับสนุน และมอบหมายคณะทำงานฯ จัดทำแผนงานหลายปีเพื่อขับเคลื่อนความร่วมมือดังกล่าวอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

สิ่งนี้จะถือเป็นผลลัพธ์แรกในการเป็นเจ้าภาพเอเปคของไทยด้วย นอกจากนี้ ไทยยังเน้นนำแนวคิดเศรษฐกิจ BCG ซึ่งเป็นการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนและครอบคลุม มาใช้ประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจ โดยไทยจะจัดการเสวนาเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการใช้ประโยชน์จากโมเดล BCG สำหรับ MSMEs ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2565 โดยเน้นแลกเปลี่ยนแนวทางการเพิ่มขีดความสามารถ องค์ความรู้ และเทคนิคที่เป็นประโยชน์แก่ MSMEs และเสนอแนะแนวทางการดำเนินนโยบายภาครัฐเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้ภาคธุรกิจใช้ประโยชน์โมเดล BCG มากขึ้น พร้อมทั้งจะช่วยสร้างเครือข่ายระหว่างทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

ทั้งนี้ การส่งเสริมการค้าการลงทุนที่เปิดกว้างและเสรี โดยคำนึงถึงประเด็นความท้าทายใหม่ ๆ ของโลก จะช่วยให้เอเปคได้พัฒนารูปแบบการจัดทำเขตการค้าเสรี FTAAP ที่มีคุณภาพ และสร้างประโยชน์อย่างครอบคลุมให้ทุกกลุ่ม การมุ่งพัฒนาศักยภาพของสมาชิกอย่างต่อเนื่องเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับ FTAAP และความเปลี่ยนแปลงในอนาคต จะทำให้ไทยได้ประโยชน์ในการเรียนรู้ พัฒนา และเตรียมความพร้อมร่วมกับสมาชิกอื่น ๆ ได้โดยไม่ตกขบวน

กำหนดการประชุมเอเปคและกิจกรรมในเดือนพฤษภาคม

สำหรับกิจกรรมคู่ขนานของการประชุมที่จะมีขึ้นใน วันที่ 19 พ.ค.นี้ จะเป็น การสัมมนาเกี่ยวกับการขับเคลื่อนการจัดทำเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (Symposium on FTAAP) เพื่อส่งเสริมการรับรู้และการมีส่วนร่วมของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ และประชาชนไทยเกี่ยวกับการขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่การจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) ของเอเปค

ส่วน วันที่ 20 พ.ค.จะมีกิจกรรม งานเสวนานานาชาติ BCG Symposium ซึ่งสอดรับกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการพัฒนาเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ BCG Economy ประกอบด้วยเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว เพื่อแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีระหว่างภาครัฐ-เอกชน-วิชาการ และจัดทำข้อเสนอแนะในการส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) กับ BCG

นอกจากนี้ ยังจะมี กิจกรรม App Challenge ซึ่งเป็นการจัดประกวดแข่งขัน Application เพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ในส่งเสริมการค้าการลงทุน โดยในปีนี้ กำหนดโจทย์การพัฒนา Application เพื่อช่วยให้เกษตรกรและผู้ประกอบการในภาคการเกษตรในเอเปคสามารถต่อยอดด้านเกษตรและอาหาร และสร้างโอกาสเข้าถึงตลาดท้องถิ่นและตลาดส่งออก

ในส่วนของการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปคซึ่งจะมีขึ้นระหว่างวันที่ 21 – 22 พ.ค.นั้น ที่ประชุมจะร่วมกันผลักดันและกำหนดทิศทางความร่วมมือในการส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจการค้าของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ผ่านทางการสนับสนุนระบบการค้าพหุภาคีที่ยึดถือกฎเกณฑ์ภายใต้ WTO การหารือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในเรื่องการขับเคลื่อน FTAAP ในช่วงโควิด-19 และอนาคต ซึ่งเน้นการอยู่ร่วมกับโควิด-19 และการมองไปข้างหน้า โดยใช้นโยบายการค้าเป็นเครื่องมือสร้างการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างครอบคลุมและยั่งยืน ซึ่งจะสะท้อนหัวข้อหลักในการเป็นเจ้าภาพของไทยซึ่งก็คือ Open. Connect. Balance. หรือ "เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกัน สู่สมดุล" นั่นเอง

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 17 พฤษภาคม 2565

บอร์ดวัตถุอันตราย ถอนวาระทบทวนมติยกเลิกแบน “พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส”

อธิบดีกรมโรงงานฯ เผยมติบอร์ดวัตถุอันตราย สั่งถอนวาระทบทวนมติยกเลิกแบน “พาราควอต-คลอร์ไพริฟอส” ด้านเครือข่ายอาสาคนรักแม่กลอง เดือด! เตรียมบุกยื่นหนังสือขอคัดคำสั่งนายกรัฐมนตรี 19 พ.ค.นี้ ว่ามีคำสั่งจริงหรือไม่ ห้ามทบทวนแบน 2 สารเคมี

สืบเนื่องจาก วันนี้ (17 พ.ค.65) ได้มีประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย ครั้งที่ 5-1/2565 มีเรื่องเพื่อพิจารณา  4  เรื่อง โดยในเรื่อง มีวาระ 4.3  เรื่องการพิจารณาข้อเสนอให้ทบทวนมติการยกเลิกพาราควอต และคลอร์ไพริฟอส นั้น

นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม และในฐานะฝ่ายเลขาฯ บอร์ดวัตถุอันตราย  เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”  ว่า ในวาระข้อ 4.3 นั้น ทางมติคณะกรรมการให้ถอนเรื่องออกมา แล้วก็ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในส่วนของกระทรวงสาธารณสุขและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่ามีข้อมูลอย่างไร ซึ่งทาง 2 หน่วยงานก็บอกว่ามีข้อมูล ที่ทางเครือข่ายฯ ร้องเข้ามาได้มีข้อมูลทางการแพทย์และวิทยาศาสตร์ไม่ตรง  สุดท้ายในเรื่องนี้ทำอะไรไม่ได้ อยู่ในระหว่างการฟ้องร้องด้วย จึงต้องถอนเริ่องวาระการประชุมออกไปก่อน

ด้านนางสาวอัญชุลี ลักษณ์อำนวยพร ประธานเครือข่ายอาสาคนรักแม่กลอง กล่าวว่า ในวันที่ 19 พฤษภาคมนี้ จะเดินทางไปที่เลขาสำนักนายกรัฐมนตรีเพื่อขอคัดคำสั่ง นายกรัฐมนตรี ได้สั่งห้ามทบทวนยกเลิกใช้พาราควอต คลอร์ไพริฟอส จริงหรือไม่ จนเป็นเหตุทำให้วันนี้มีการถอนวาระการประชุมการพิจารณาออกไป

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 17 พฤษภาคม 2565

คาดผลผลิตอ้อยเข้าหีบประจำฤดูการผลิตปี 65/66 เพิ่มขึ้นมากกว่า 100 ล้านตัน

คาดผลผลิตอ้อยเข้าหีบประจำฤดูการผลิตปี 65/66 เพิ่มขึ้นมากกว่า 100 ล้านตัน กระทรวงอุตสาหกรรมเผยฤดูการผลิตปี 64/65 ผลผลิตอ้อยรวม 92.07 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 25.41 ล้านตัน

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า คาดการณ์แนวโน้มผลผลิตอ้อยเข้าหีบประจำฤดูการผลิตปี 2565/66 จะมีปริมาณอ้อยเพิ่มขึ้นมากกว่า 100 ล้านตัน สาเหตุจากปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นและราคาน้ำตาลในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูง

ผลผลิตอ้อยเข้าหีบประจำฤดูการผลิตปี 2564/65 ของโรงงานน้ำตาลทั้ง 57 โรง ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2564 จนถึงวันที่ 7 พฤษภาคม 2565 รวมระยะเวลาหีบอ้อย 152 วัน มีปริมาณอ้อยเข้าหีบทั่วประเทศที่ 92.07 ล้านตัน

แยกเป็นอ้อยสด จำนวน 66.95 ล้านตัน คิดเป็น 72.72% และอ้อยไฟไหม้ จำนวน 25.12 ล้านตัน คิดเป็น 27.28% yield น้ำตาลต่อตันอ้อย โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 110.08 กิโลกรัมต่อตันอ้อย

และมีค่าความหวานอ้อยเฉลี่ยอยู่ที่ 12.71 CCS ปริมาณผลผลิตอ้อยรวมเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 25.41 ล้านตัน คิดเป็น 38.12% สาเหตุมาจากปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นและราคาน้ำตาลโลกสูงขึ้น

 ส่วนแนวทางการช่วยเหลือต้นทุนการตัดอ้อยสด อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำเสนอ ครม. พิจารณาต่อไป โดยการช่วยเหลือต้นทุนการตัดอ้อยสดนั้น นอกจากจะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 แล้ว ยังทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยหันมาตัดอ้อยสดส่งโรงงานมากขึ้น มีรายได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) กล่าวว่า จากปัญหาอ้อยสดสกปรกที่เกิดจากการเก็บเกี่ยวโดยไม่มีการตัดยอด

และไม่มีการสางใบอ้อย กลายเป็นอ้อยมีสิ่งปนเปื้อน และอ้อยยอดยาว ที่เป็นสาเหตุทำให้ yield น้ำตาลต่อตันอ้อยลดลงนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมจะวางแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไป

นายเอกภัทร วังสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กล่าวเพิ่มเติมว่า ปริมาณตัวเลขอ้อยไฟไหม้ในฤดูการผลิตปี 2564/65 ยังไม่เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ คือ ปริมาณอ้อยไฟไหม้เข้าหีบไม่เกิน 10% ของปริมาณอ้อยทั้งหมด สาเหตุมาจากฝนตกอย่างต่อเนื่องทำให้อ้อยล้มเป็นจำนวนมาก เป็นอุปสรรคในการตัดอ้อยสด

ทาง สอน. ได้วางแนวทางบริหารจัดการการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ให้เข้มข้นยิ่งขึ้น อาทิเช่น จัดหาเครื่องสางใบอ้อยมาให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยยืมเพื่อสางใบอ้อย ส่งเสริมการรับซื้อใบอ้อยเพื่อเพิ่มรายได้

และลดการเผาใบอ้อย การขอรับการสนับสนุนเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลเพื่อลดต้นทุนการตัดอ้อยสด การสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยกู้เพื่อซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร

รวมทั้งการลงนามในบันทึกความร่วมมือการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดนโยบายชัดเจนที่จะไม่ส่งเสริมอ้อยไฟไหม้ในการลดฝุ่น PM 2.5 ประกอบกับโรงงานน้ำตาลทรายเองได้เข้าไปส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดมากขึ้น คาดว่าฤดูการผลิตปีหน้าปริมาณอ้อยสดจะมีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลทำให้ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยสูงขึ้น

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 17 พฤษภาคม 2565

สภาพัฒน์ หั่นเศรษฐกิจปี 65 โตเหลือ 3%

สภาพัฒน์ หั่นเศรษฐกิจปี 65 โตเหลือ 3% เนื่องจากผลกระทบจากราคาน้ำมันพุ่งทะลุ 100 เหรียญต่อบาร์ ทำให้เกิดวิกฤตเงินเฟ้อสูง

นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ (สศช.) หรือ สภาพัฒน์ เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยไตรมาส 1 ปี 2565 ขยายตัว 2.2% จากการส่งออกที่ขยายตัวได้ดี

สำหรับเศรษฐกิจไทยปี 2565 สภาพัฒน์ มีการปรับการขยายตัวลงจากที่ประมาณไว้เมื่อวันที่ 21 ก.พ. 2565 ก่อนที่มีสงครามรัสเซียยูเครน โดยคาดว่าเศรษฐกิจจะขยายตัวได้ 2.5-3.5% หรือ ค่าเฉลี่ยกลางอยู่ที่ 3% จากเดิมที่คาดไว้ก่อนหน้าจะขยายตัวได้ 3.5-4.5%

"เศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงจาการยืดเยื้อของสงครามรัสเซียยูเครน ทำให้ราคาน้ำมันแพง ส่งผลต่อเงินเฟ้อของไทยสูงถึง 4.2 - 5.2% นอกจากนี้เศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงหนี้ครัวเรือนไทยสูง โดยเฉพาะหนี้เสีย และหนี้จะเสียของหนี้ครัวเพิ่มสูงขึ้น" นายดนุชา กล่าว

นายดนุชา กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปี 2565 มีปัจจัยสนับสนุนสำคัญจาการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว การส่งออกสินค้า การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชน การลงทุนภาครัฐ ซึ่งการบริหารนโยบายเศรษฐกิจในปี 2565 ควรให้ความสำคัญกับ

(1) การรักษาแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายของภาคครัวเรือน

(2) การสนับสนุนการฟื้นตัวของการท่องเที่ยวและบริการเกี่ยวเนื่อง

(3) การรักษาแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกสินค้า

(4) การส่งเสริมการลงทุนภาคเอกชน

(5) การขับเคลื่อนการใช้จ่ายและการลงทุนภาครัฐ

(6) การดูแลการผลิตภาคเกษตรและรายได้เกษตรกร

(7) การติดตาม เฝ้าระวัง และเตรียมมาตรการรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจและการเงินโลก

จาก https://www.posttoday.com  วันที่ 17 พฤษภาคม 2565

อ้อยเข้าหีบ 92.07 ล้านตัน ชาวไร่ลุ้นเงินช่วยเหลือตัดอ้อยสด

กระทรวงอุตสาหกรรม เผยผลผลิตอ้อยเข้าหีบประจำฤดูการผลิตปี 64/65 ผลผลิตอ้อยรวม 92.07 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 25.41 ล้านตัน คิดเป็น 38.12% เหตุปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นและราคาน้ำตาลโลกสูงขึ้น

วันที่ 17 พฤษภาคม 2565 นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ผลผลิตอ้อยเข้าหีบประจำฤดูการผลิตปี 2564/65 ของโรงงานน้ำตาลทั้ง 57 โรง ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2564 จนถึงวันที่ 7 พฤษภาคม 2565 รวมระยะเวลาหีบอ้อย 152 วัน มีปริมาณอ้อยเข้าหีบทั่วประเทศที่ 92.07 ล้านตัน แยกเป็นอ้อยสด จำนวน 66.95 ล้านตัน คิดเป็น 72.72% และอ้อยไฟไหม้ จำนวน 25.12 ล้านตัน คิดเป็น 27.28% yield (ยิลด์) น้ำตาลต่อตันอ้อย โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 110.08 กิโลกรัมต่อตันอ้อย และมีค่าความหวานอ้อยเฉลี่ยอยู่ที่ 12.71 CCS ปริมาณผลผลิตอ้อยรวมเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 25.41 ล้านตัน คิดเป็น 38.12% สาเหตุมาจากปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นและราคาน้ำตาลโลกสูงขึ้น

ส่วนแนวทางการช่วยเหลือต้นทุนการตัดอ้อยสด อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำเสนอ ครม. พิจารณาต่อไป โดยการช่วยเหลือต้นทุนการตัดอ้อยสดนั้น นอกจากจะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 แล้ว ยังทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยหันมาตัดอ้อยสดส่งโรงงานมากขึ้น มีรายได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) กล่าวว่า จากปัญหาอ้อยสดสกปรกที่เกิดจากการเก็บเกี่ยว โดยไม่มีการตัดยอดและไม่มีการสางใบอ้อย กลายเป็นอ้อยมีสิ่งปนเปื้อน และอ้อยยอดยาว ที่เป็นสาเหตุทำให้ yield น้ำตาลต่อตันอ้อยลดลงนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมจะวางแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไป

นายเอกภัทร วังสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ปริมาณตัวเลขอ้อยไฟไหม้ในฤดูการผลิตปี 2564/65 ยังไม่เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ คือ ปริมาณอ้อยไฟไหม้เข้าหีบไม่เกิน 10% ของปริมาณอ้อยทั้งหมด สาเหตุมาจากฝนตกอย่างต่อเนื่องทำให้อ้อยล้มเป็นจำนวนมาก เป็นอุปสรรคในการตัดอ้อยสด ทาง สอน. ได้วางแนวทางบริหารจัดการการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ให้เข้มข้นยิ่งขึ้น

เช่น จัดหาเครื่องสางใบอ้อยมาให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยยืมเพื่อสางใบอ้อย ส่งเสริมการรับซื้อใบอ้อยเพื่อเพิ่มรายได้ และลดการเผาใบอ้อย การขอรับการสนับสนุนเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลเพื่อลดต้นทุนการตัดอ้อยสด การสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยกู้เพื่อซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร รวมทั้งการลงนามในบันทึกความร่วมมือการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดนโยบายชัดเจนที่จะไม่ส่งเสริมอ้อยไฟไหม้ในการลดฝุ่น PM 2.5

ประกอบกับโรงงานน้ำตาลทรายเอง ได้เข้าไปส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดมากขึ้น คาดว่าฤดูการผลิตปีหน้าปริมาณอ้อยสดจะมีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลทำให้ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยสูงขึ้น ทั้งนี้ สอน. ได้คาดการณ์แนวโน้มฤดูการผลิตปี 2565/66 จะมีปริมาณอ้อยเพิ่มขึ้นมากกว่า 100 ล้านตัน สาเหตุจากปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นและราคาน้ำตาลในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูง

จาก https://www.prachachat.net  วันที่ 17 พฤษภาคม 2565

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทวันนี้เปิด “แข็งค่า”ที่ระดับ 34.70 บาท/ดอลลาร์

ค่าเงินบาทยังมีทิศทางผันผวน อาจอ่อนค่าทดสอบแนวต้านสำคัญแถว 34.90 บาทต่อดอลลาร์ได้ หากตลาดยังอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง - หาก GDP ของไทยในไตรมาสแรกออกมาดีกว่าคาดมาก อาจทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นได้บ้างอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  34.70 บาทต่อดอลลาร์ “แข็งค่า”ขึ้นจากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 34.78 บาทต่อดอลลาร์ (ระดับปิด ณ วันที่ 12 พฤษภาคม)

นายพูน  พานิชพิบูลย์  นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน  ธนาคารกรุงไทยระบุว่าสัปดาห์ที่ผ่านมา ความผันผวนรุนแรงยังคงอยู่กับตลาดการเงิน จากความกังวลเฟดอาจเร่งขึ้นดอกเบี้ยนโยบายรุนแรงกว่าคาดและความกังวลแนวโน้มเศรษฐกิจโลกชะลอตัวลงหนัก

ในสัปดาห์นี้ เรามองว่า ตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟด โดยเฉพาะประธานเฟดในสัปดาห์นี้ เพื่อประเมินทิศทางนโยบายการเงินเฟด นอกจากนี้ รายงานข้อมูล GDP ของไทยในไตรมาสแรกก็อาจส่งผลต่อมุมมองของผู้เล่นในตลาดต่อทิศทางนโยบายการเงินธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้เช่นกัน

โดยในส่วนของรายงานข้อมูลเศรษฐกิจที่น่าสนใจมีดังนี้

ฝั่งสหรัฐฯ – ตลาดจะจับตาสัญญาณการบริโภคและการใช้จ่ายของคนอเมริกันผ่านรายงานข้อมูลยอดค้าปลีก (Retail Sales) เดือนเมษายน ซึ่งตลาดคาดว่ายอดค้าปลีกอาจขยายตัวเพียง +0.5% จากเดือนก่อนหน้าชะลอลงจากที่โตได้กว่า 0.7% ในเดือนมีนาคม จากผลกระทบของราคาสินค้าโดยรวมที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง สะท้อนผ่านอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ที่ยังคงอยู่ในระดับสูง

นอกจากนี้ ความต้องการบริโภคของผู้คนได้เปลี่ยนจากสินค้าสู่การบริการมากขึ้น ก็อาจกดดันยอดค้าปลีกได้เช่นกัน  นอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว ตลาดจะจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าเฟด โดยเฉพาะ ประธานเฟด Jerome Powell ว่าจะมีมุมมองต่อแนวโน้มเศรษฐกิจหลังการทยอยขึ้นดอกเบี้ยอย่างไร โอกาสที่เฟดจะเร่งขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงมีมากน้อยขนาดไหน รวมถึงคาดการณ์อัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงสุด (Terminal Rate) ในรอบนี้

ฝั่งยุโรป – ตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางยุโรป (ECB) โดยเฉพาะมุมมองการฟื้นตัวเศรษฐกิจ ทิศทางเงินเฟ้อ และแนวโน้มนโยบายการเงิน ECB จากประธาน ECB Christine Lagarde หลังผู้เล่นในตลาดต่างประเมินว่า ECB อาจจำเป็นต้องขึ้นดอกเบี้ยนโยบายได้เร็วกว่าที่เคยมองไว้ จากภาวะเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูงและมีแนวโน้มเร่งตัวขึ้นจากการพุ่งขึ้นของราคาสินค้าพลังงาน หากยุโรปตัดสินใจคว่ำบาตรการนำเข้าพลังงานจากรัสเซีย ซึ่งต้องติดตามบทสรุปของมาตรการคว่ำบาตรของทาง EU ต่อรัสเซียในสัปดาห์นี้อย่างใกล้ชิด

ฝั่งเอเชีย – ตลาดประเมินว่า ผลกระทบจากการระบาดโอมิครอนในไตรมาสแรกของปีนี้ จะกดดันให้เศรษฐกิจญี่ปุ่น หดตัว -1.8% จากไตรมาสก่อนหน้า เมื่อเทียบเป็นรายปี อย่างไรก็ดี การทยอยผ่อนคลายมาตรการ Lockdown มีแนวโน้มที่จะช่วยหนุนให้เศรษฐกิจกลับมาขยายตัวได้ดีขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้ ทว่ายังคงต้องติดตามผลกระทบจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน รวมถึงเศรษฐกิจคู่ค้าสำคัญ และผลกระทบจากปัญหา Supply Chain Disruption ที่อาจกดดันภาคการค้าของญี่ปุ่นได้

อนึ่ง แม้ว่าเศรษฐกิจญี่ปุ่นจะทยอยฟื้นตัว แต่อัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) ในเดือนเมษายนอาจเร่งตัวขึ้นสู่ระดับ 2.5% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผลของการปรับตัวขึ้นของราคาสินค้าพลังงานและผลของการปรับลดค่าบริการโทรศัพท์มือถือในปีก่อนหน้า ทั้งนี้ การปรับตัวขึ้นของอัตราเงินเฟ้อในญี่ปุ่นยังคงไม่ได้มาจากความต้องการบริโภคที่สูงขึ้นเป็นหลัก ทำให้ธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) ยังมีแนวโน้มใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายต่อไป

ส่วนในฝั่งฟิลิปปินส์ ตลาดมองว่า ธนาคารกลางฟิลิปปินส์ (BSP) อาจปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายสู่ระดับ 2.25% หลังเศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวดีขึ้นต่อเนื่องและเงินเฟ้อล่าสุดได้ปรับตัวขึ้นทะลุกรอบของ BSP (2%-4%) และเงินเฟ้ออาจอยู่ในระดับสูงได้นาน

อนึ่ง แม้ว่าหลายธนาคารกลางในฝั่งเอเชียอาจเริ่มใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้น แต่ตลาดประเมินว่า ธนาคารกลางจีน (PBOC) อาจยังคงต้องใช้นโยบายการเงินที่ผ่อนคลายมากขึ้น เพื่อประคองการฟื้นตัวเศรษฐกิจ โดย PBOC อาจปรับลด อัตราดอกเบี้ย MLF ประเภท 1 ปีลงในระยะสั้นนี้ ซึ่งแนวโน้มการทยอยลดดอกเบี้ยของ PBOC อาจทำให้บรรดาธนาคารพาณิชย์ต่างปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลูกหนี้ชั้นดี (LPR) โดยผู้เล่นในตลาดต่างคาดว่า PBOC จะประกาศ LPR (หลังรวบรวมจากบรรดาธนาคารพาณิชย์) ที่ลดลงสู่ระดับ 3.60% สำหรับ LPR 1 ปี และลดลงสู่ระดับ 4.55% สำหรับ LPR 5 ปี

ฝั่งไทย – ตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูล GDP ในไตรมาสแรกของปีนี้ โดยคาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ราว +1.7% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ดี หากการเติบโตของเศรษฐกิจไทยนั้นออกมาดีกว่าคาดไว้มาก อาจทำให้ผู้เล่นในตลาดยังคงคาดหวังการขึ้นดอกเบี้ยนโยบายที่เร็วขึ้นของธนาคารแห่งประเทศไทยทำให้ บอนด์ยีลด์มีโอกาสปรับตัวขึ้นต่อได้บ้าง ขณะเดียวกันเงินบาทก็อาจชะลอการอ่อนค่าลงและกลับมาแข็งค่าขึ้นได้เล็กน้อย

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาทยังมีทิศทางผันผวนและอาจอ่อนค่าทดสอบแนวต้านสำคัญแถว 34.90 บาทต่อดอลลาร์ได้ หากตลาดยังอยู่ในภาวะปิดรับความเสี่ยง อย่างไรก็ดี หาก GDP ของไทยในไตรมาสแรกออกมาดีกว่าคาดมาก ก็อาจทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นได้บ้าง จากมุมมองของผู้เล่นที่คาดว่า ธปท. อาจเริ่มส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินที่เข้มงวดมากขึ้นในการประชุมเดือนมิถุนายนได้

ในส่วนเงินดอลลาร์นั้น เราประเมินว่า เงินดอลลาร์ยังคงมีแรงหนุนอยู่จากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย หากตลาดยังไม่กล้าเปิดรับความเสี่ยง ซึ่งตลาดอาจรอลุ้นถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดว่าส่วนใหญ่จะออกมาในทิศทางใด โดยหากบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดไม่ได้ส่งสัญญาสนับสนุนการเร่งขึ้นดอกเบี้ยรุนแรง ตลาดก็สามารถทยอยกลับมาเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้นได้บ้าง

ทั้งนี้ ในช่วงที่ตลาดการเงินยังมีความผันผวนสูงจากปัจจัยเสี่ยงหลายประการ ทั้งความเสี่ยงสงคราม ปัญหาการระบาดของโอมิครอนในจีน และความกังวลเกี่ยวกับทิศทางนโยบายการเงินเฟด เราแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

มองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 34.40-34.90 บาท/ดอลลาร์

ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 34.60-34.80 บาท/ดอลลาร์

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุว่า เงินบาทดีดกลับข้ามแนว 34.70 มาปรับตัวอยู่ที่ระดับประมาณ 34.65 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในช่วงเช้าวันนี้ (9.45 น.) แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดเมื่อปลายสัปดาห์ก่อนที่ 34.78 บาทต่อดอลลาร์ฯ โดยทิศทางเงินบาทที่แข็งค่าสอดคล้องกับจังหวะการย่อตัวลงของค่าเงินดอลลาร์ฯ และบอนด์ยีลด์สหรัฐฯ หลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ เมื่อคืนที่ออกมาน่าผิดหวังเช่นกัน

โดยข้อมูลผลสำรวจภาคการผลิตของเฟดสาขานิวยอร์ก พลิกลงโซนหดตัวในเดือนพ.ค. กระตุ้นความกังวลต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ นอกจากนี้ เงินบาทน่าจะได้รับอานิสงส์เพิ่มเติมจากข้อมูลจีดีพีไตรมาส 1/65 ของไทยที่ออกมาดีกว่าที่คาด โดย +1.1% เทียบกับไตรมาสก่อน (ปรับฤดูกาล) และ +2.2% เทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน [ตลาดคาดที่ +0.9% QoQ, s.a. และ +2.1% YoY ตามลำดับ]

สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทวันนี้ คาดไว้ที่ 34.60-34.75 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด วิกฤตยูเครน สัญญาณเงินทุนต่างชาติ และตัวเลขยอดค้าปลีกและการผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนเม.ย.ของสหรัฐฯ

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 17 พฤษภาคม 2565

"สุริยะ" เผยผลผลิตอ้อยปี 64/65 เพิ่ม 38.12% เตรียมชง ครม. ช่วยเหลือตัดอ้อยสด

"สุริยะ" เผยผลผลิตอ้อยเข้าหีบประจำฤดูการผลิตปี 2564/65 ของโรงงานน้ำตาล 57 โรง เปิดหีบรวม 152 วัน มีปริมาณอ้อยเข้าหีบ 92.07 ล้านตัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 25.41 ล้านตัน คิดเป็น 38.12% มีค่าความหวานอ้อยเฉลี่ยอยู่ที่ 12.71 CCS เตรียมชง ครม. ช่วยเหลือต้นทุนตัดอ้อยสด ลดอ้อยไฟไหม้

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ผลผลิตอ้อยเข้าหีบประจำฤดูการผลิตปี 2564/65 ของโรงงานน้ำตาลทั้ง 57 โรง ตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2564 จนถึงวันที่ 7 พฤษภาคม 2565 รวมระยะเวลาหีบอ้อย 152 วัน มีปริมาณอ้อยเข้าหีบทั่วประเทศที่ 92.07 ล้านตัน แยกเป็นอ้อยสด จำนวน 66.95 ล้านตัน คิดเป็น 72.72% และอ้อยไฟไหม้ จำนวน 25.12 ล้านตัน คิดเป็น 27.28% ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อย (ยิลด์) โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 110.08 กิโลกรัมต่อตันอ้อย และมีค่าความหวานอ้อยเฉลี่ยอยู่ที่ 12.71 CCS

โดยปริมาณผลผลิตอ้อยฤดูกาลผลิตปี 2564/65 รวมเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 25.41 ล้านตัน คิดเป็น 38.12% เนื่องจากปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นและราคาน้ำตาลโลกสูงขึ้น

ส่วนแนวทางการช่วยเหลือต้นทุนการตัดอ้อยสด อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำเสนอ ครม. พิจารณาต่อไป โดยการช่วยเหลือต้นทุนการตัดอ้อยสดนั้น นอกจากจะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 แล้ว ยังทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยหันมาตัดอ้อยสดส่งโรงงานมากขึ้น มีรายได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) กล่าวว่า จากปัญหาอ้อยสดสกปรกที่เกิดจากการเก็บเกี่ยวโดยไม่มีการตัดยอด และไม่มีการสางใบอ้อย กลายเป็นอ้อยมีสิ่งปนเปื้อน และอ้อยยอดยาว ที่เป็นสาเหตุทำให้ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อย (ยิลด์) ลดลงนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมจะวางแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไป

นายเอกภัทร วังสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กล่าวเพิ่มเติมว่า ปริมาณตัวเลขอ้อยไฟไหม้ในฤดูการผลิตปี 2564/65 ยังไม่เป็นไปตามเป้าที่วางไว้ คือ ปริมาณอ้อยไฟไหม้เข้าหีบไม่เกิน 10% ของปริมาณอ้อยทั้งหมด สาเหตุมาจากฝนตกอย่างต่อเนื่องทำให้อ้อยล้มเป็นจำนวนมาก เป็นอุปสรรคในการตัดอ้อยสด โดย สอน. ได้วางแนวทางบริหารจัดการการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ให้เข้มข้นยิ่งขึ้น อาทิ จัดหาเครื่องสางใบอ้อยมาให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยยืมเพื่อสางใบอ้อย ส่งเสริมการรับซื้อใบอ้อยเพื่อเพิ่มรายได้ และลดการเผาใบอ้อย การขอรับการสนับสนุนเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลเพื่อลดต้นทุนการตัดอ้อยสด การสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยกู้เพื่อซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร

รวมทั้งการลงนามในบันทึกความร่วมมือการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดนโยบายชัดเจนที่จะไม่ส่งเสริมอ้อยไฟไหม้ในการลดฝุ่น PM 2.5 ประกอบกับโรงงานน้ำตาลทรายเองได้เข้าไปส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดมากขึ้น คาดว่าฤดูการผลิตปีหน้าปริมาณอ้อยสดจะมีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลทำให้ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยสูงขึ้น

ทั้งนี้ สอน. ได้คาดการณ์แนวโน้มฤดูการผลิตปี 2565/66 จะมีปริมาณอ้อยเพิ่มขึ้นมากกว่า 100 ล้านตัน สาเหตุจากปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้นและราคาน้ำตาลในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูง

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 17 พฤษภาคม 2565

อ้อยไฟไหม้ยังหลุดเป้า สั่งเร่งแก้ด่วน! หาสินเชื่อดอกต่ำ – เครื่องสางใบให้เช่า

สั่งเร่งแก้ปัญหาอ้อยไฟไหม้เข้มขึ้น หลังฤดู 64/65 ยังหลุดเป้าทะลุเกิน 27.28% เดิมตีกรอบไม่เกิน 10% เหตุฝนตกอ้อยล้ม เก็บยาก เดินหน้าจัดหาเครื่องสางใบให้ชาวไร่ยืม หาสินเชื่อดอกต่ำลดต้นทุนตัดอ้อยสด

นายเอกภัทร วังสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผยว่า ผลผลิตอ้อยเข้าหีบประจำฤดูการผลิตปี 64/65 ของโรงงานน้ำตาลทั้ง 57 โรง ตั้งแต่วันที่ 7 ธ.ค. 64 – 7 พ.ค. 65 รวมระยะเวลาหีบอ้อย 152 วัน มีปริมาณอ้อยเข้าหีบทั่วประเทศที่ 92.07 ล้านตัน แยกเป็นอ้อยสด จำนวน 66.95 ล้านตัน คิดเป็น 72.72% และอ้อยไฟไหม้ จำนวน 25.12 ล้านตัน คิดเป็น 27.28% ซึ่งปริมาณตัวเลขอ้อยไฟไหม้ในฤดูการผลิตปี 64/65 ไม่เป็นไปตามเป้าที่วางไว้เข้าหีบไม่เกิน 10% ของปริมาณอ้อยทั้งหมด เนื่องจากฝนตกอย่างต่อเนื่องทำให้อ้อยล้มเป็นจำนวนมาก เป็นอุปสรรคในการตัดอ้อยสด ทางสอน.ได้วางแนวทางบริหารจัดการแก้ปัญหาอ้อยไฟไหม้ให้เข้มข้นยิ่งขึ้น เช่น จัดหาเครื่องสางใบอ้อยมาให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยยืม เพื่อสางใบอ้อย ส่งเสริมการรับซื้อใบอ้อยเพื่อเพิ่มรายได้ และลดการเผาใบอ้อย

นอกจากนี้ยังขอรับการสนับสนุนเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลเพื่อลดต้นทุนการตัดอ้อยสด การสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยกู้เพื่อซื้อเครื่องจักรกลการเกษตร รวมทั้งลงนามในบันทึกความร่วมมือการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ ซึ่งรัฐบาลได้กำหนดนโยบายชัดเจนที่จะไม่ส่งเสริมอ้อยไฟไหม้ในการลดฝุ่นพีเอ็ม 2.5 ประกอบกับโรงงานน้ำตาลทรายเองได้เข้าไปส่งเสริมให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสดมากขึ้น คาดว่า ฤดูการผลิตปีหน้าปริมาณอ้อยสดจะมีทิศทางเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ส่งผลทำให้ผลผลิตน้ำตาลต่อตันอ้อยสูงขึ้น สอน.ได้คาดการณ์แนวโน้มฤดูการผลิตปี 65/66 จะมีปริมาณอ้อยเพิ่มขึ้นมากกว่า 100 ล้านตัน เนื่องจากปริมาณน้ำฝนที่เพิ่มขึ้น และราคาน้ำตาลในตลาดโลกยังอยู่ในระดับสูง

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า  ผลผลิตอ้อยเข้าหีบประจำฤดูการผลิตปี 64/65 ของโรงงานน้ำตาลทั้ง 57 โรง มีปริมาณอ้อยเข้าหีบทั่วประเทศที่ 92.07 ล้านตัน มีค่าความหวานอ้อยเฉลี่ยอยู่ที่ 12.71 ซีซีเอสปริมาณผลผลิตอ้อยรวมเพิ่มขึ้นจากปีก่อน 25.41 ล้านตัน คิดเป็น 38.12% เนื่องจากปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นและราคาน้ำตาลโลกสูงขึ้น ส่วนแนวทางการช่วยเหลือต้นทุนการตัดอ้อยสด อยู่ระหว่างการรวบรวมข้อมูลเพื่อนำเสนอ ครม. พิจารณาต่อไป โดยการช่วยเหลือต้นทุนการตัดอ้อยสดนั้น นอกจากจะเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาฝุ่นพีเอ็ม 2.5 แล้ว ยังทำให้เกษตรกรชาวไร่อ้อยหันมาตัดอ้อยสดส่งโรงงานมากขึ้น มีรายได้และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) กล่าวว่า จากปัญหาอ้อยสดสกปรกที่เกิดจากการเก็บเกี่ยวโดยไม่มีการตัดยอดและไม่มีการสางใบอ้อย กลายเป็นอ้อยมีสิ่งปนเปื้อน และอ้อยยอดยาว ที่เป็นสาเหตุทำให้ยิวด์ น้ำตาลต่อตันอ้อยลดลงนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมจะวางแนวทางในการแก้ปัญหาต่อไป ++ประเด็น  สั่งเร่งแก้ปัญหาอ้อยไฟไหม้เข้มขึ้น หลังฤดู 64/65 ยังหลุดเป้าทะลุเกิน 27.28% เดิมตีกรอบไม่เกิน 10% เหตุฝนตกอ้อยล้ม เก็บยาก เดินหน้าจัดหาเครื่องสางใบให้ชาวไร่ยืม หาสินเชื่อดอกต่ำลดต้นทุนตัดอ้อยสด

จาก https://www.dailynews.co.th   วันที่ 17 พฤษภาคม 2565

ภาครัฐ-เอกชนไทย  เจรจาซื้อปุ๋ยจากซาอุฯ แก้ปัญหาขาดปุ๋ย

ภาครัฐ-เอกชนไทย  เจรจาซื้อปุ๋ยจากซาอุฯ แก้ปัญหาขาดปุ๋ย  เตรียนจับคู่เจรจา140รายเพื่อจะขยายการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ระหว่างกัน

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า วันแรกของการมาเยือนประเทศซาอุดิอาระเบียอย่างเป็นทางการของเอกชน ร่วมกับภาครัฐในรอบ 32 ปีนั้น นายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ

ได้นำคณะเข้าพบหารือทวิภาคีกับ นาย Khalid Abdulaziz Al-Falih รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุนของซาอุดิอาระเบีย โดยได้หารือถึงโอกาสการมาลงทุนและการค้าระหว่างกัน ซึ่งระหว่างการหารือ ท่านดอน รองนายกรัฐมนตรีฯได้เสนอขอซื้อปุ๋ยซึ่งขณะนี้ไทยประสบปัญหาขาดแคลนเนื่องจากสงครามระหว่างรัสเซีย-ยูเครน

ซึ่งเรื่องนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการลงทุนของซาอุฯ ตอบว่า ขณะนี้มี หลายประเทศที่ติดต่อขอซื้อปุ๋ยจากซาอุฯ เช่นเดียวกัน แต่ประเทศซาอุฯ จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษกับประเทศไทยก่อน และได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ของตนจัดหาผู้ผลิตและจำหน่ายปุ๋ยของประเทศซาอุฯ มาพบกับภาคเอกชนไทย

สำหรับกำหนดการถัดไป ทางคณะเดินทางจะร่วมงาน Saudi-Thailand Investment Forum ซึ่งจากการที่ หอการค้าไทยนำคณะนักธุรกิจเอกชนไทย กว่า 40 บริษัทมาเยือนนั้น ทางซาอุดิอาระเบียก็ได้เชิญบริษัทต่าง ๆ มาจับคู่ด้วยถึง 140 บริษัท ซึ่งเห็นได้ถึงความตั้งใจจริงของทั้งสองฝ่าย เพื่อจะขยายการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว ระหว่างกัน

“ถือเป็นจังหวะที่ดีนอกจากจะมาช่วยเปิดโอกาส การค้า การลงทุนเพิ่มขึ้นแล้ว รัฐบาลยังสามารถช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องปุ๋ยให้กับเกษตรกรได้อีกด้วย” นายสนั่นกล่าว

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 16 พฤษภาคม 2565

‘สกพอ.’กางแผนพัฒนา ยกระดับ ‘ศก.ชุมชน’อีอีซี

เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เป็นต้นแบบในการพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อสร้างเครื่องยนต์สำคัญในการขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมไทย โดยที่ผ่านมามีการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านโลจิสติกส์และดิจิทัล การให้สิทธิประโยชน์จูงใจการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย

ทั้งนี้ ภารกิจของอีอีซีในระยะต่อไปจะขยับไปที่การลงพื้นที่และพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ตามเป้าหมายหลักที่ต้องการสร้างสภาพแวดล้อมด้านเศรษฐกิจ สังคม และความเป็นอยู่ที่ดีให้ประชาชนในพื้นที่

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ร่วมกับมูลนิธิสถาบันวิจัยนโยบายเศรษฐกิจการคลัง (มูลนิธิ สวค.) จัดสัมมนาวิชาการ EEC Macroeconomic Forum ในหัวข้อ“EEC x เศรษฐกิจชุมชน: ก้าวหน้าไปด้วยกันอย่างยั่งยืน”เมื่อวันที่ 12 พ.ค. 2565 เน้นเชิญกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่มีพลังในการผลักดันการพัฒนาด้านชุมชนโดยมีผู้สนใจเข้าร่วมฟังกว่า 200 คน

คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ สกพอ. กล่าวว่า ภารกิจในระยะต่อไปของอีอีซีที่สำคัญคือการสร้างสภาวะแวดล้อมของชุมชนที่ดี ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม และความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่ 3 จังหวัดในพื้นที่อีอีซีโดยในช่วงที่เกิดการระบาดของโควิด-19 ในระยะแรก อีอีซีได้มีโครงการจิตอาสาร่วมกับสาธารณสุขเพื่อช่วยเหลือพื้นที่เสี่ยงในชุมชนต่างๆ อาทิ บ้านฉาง มาบตาพุด ปลวกแดง

จนกระทั่งสถานการณ์เริ่มกลับสู่ภาวะปกติ ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา อีอีซีจึงได้มีการทำสัญญาความร่วมมือกับสถาบันการเงินของรัฐ 7 แห่ง เพื่อช่วยเพิ่มสภาพคล่องให้ประชาชนกลับมาดำเนินธุรกิจต่อได้ ทั้งยังช่วยผลักดันให้เกิดการแก้ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง อาทิ โครงการสินเชื่อเพิ่มสภาพคล่องดอกเบี้ยต่ำของธนาคารออนสิน วงเงิน 2 แสนบาท โดยไม่ต้องมีหลักทรัพย์ค้ำประกัน แต่มีเงื่อนไขว่าต้องเป็นการใช้เพื่อดำเนินธุรกิจที่มีอยู่เดิม รวมทั้งสินเชื่ออื่นๆ เพื่อผู้ประกอบการรายย่อย รายใหญ่ และผู้ส่งออก

นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่ดำเนินการร่วมกับชุมชนอีกหลายโครงการ อาทิ โครงการเสริมสร้างพลังและการมีส่วนร่วมของกลุ่มพลังสตรี เด็กและเยาวชน ในการดูแลและเฝ้าระวังการจัดการทรรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงการบัณฑิตอาสาพัฒนาชุมชนเพื่อดึงให้กลุ่มเด็กรุ่นใหม่กลับมาเป็นกำลังหลักในการทำงานและแก้ปัญหาร่วมกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ธัชพล กาญจนกูล รองเลขาธิการ สกพอ. กล่าวว่า การนำโมเดลของการพัฒนาเศรฐกิจชุมชนที่สำคัญ มุ่งเป้าไปที่การสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชน สร้างอาชีพและโอกาสในการมีงานทำ รวมทั้งกำหนดหน่วยงานที่รับผิดชอบดูแลการพัฒนาชุมชน เพื่อเตรียมพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี

ยกตัวอย่าง ภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น 5-6% ต่อเดือน ที่อาจทำให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย (Stagflation) หากเศรษฐกิจโตไม่ทันตามอัตราเงินเฟ้อ การที่สหรัฐใช้นโยบายการเงินด้วยการปรับอัตราดอกเบี้ย ปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ ราคาพลังงานที่พุ่งสูงขึ้น รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยี ซึ่งจะส่งผลกระทบกับการดำเนินชีวิตของผู้คนอย่างมากในอนาคต

ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวนำไปสู่แนวคิดทางเศรษฐศาสตร์ยุคใหม่ ที่เรียกว่า Sharing Economy และการสร้างเศรฐกิจแบบสมดุล โดยเน้นให้มีการแบ่งปันและจัดสรรทรัพยากรเพื่อความเสมอภาค ลดความเหลื่อมล้ำ เช่นเดียวกับการให้ความสำคัญกับเศรษฐกิจชุมชน

‘สกพอ.’กางแผนพัฒนา ยกระดับ ‘ศก.ชุมชน’อีอีซีสำหรับแนวคิดในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนของอีอีซี ได้นิยามความหมายว่า เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการผลิต การบริโภค การจำหน่าย สินค้าในท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนในการร่วมกันคิดร่วมกันทำและร่วมเป็นเจ้าของเศรษฐกิจโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

โดยกำหนดแนวคิดการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน 5 สร้าง ประกอบด้วย 1.สร้างความรู้ โดยการสร้างความร่วมมือกับสถาบันการศึกษา สถาบันการเงิน และจัดตั้ง EEC Incubation Center เพื่อเป็นศูนย์ความรู้ในการธุรกิจแก่ประชาชนอาทิ การบริหารจัดการ การตลาด การออกแบบสินค้า และการหาเงินทุนเพื่อการผลิต

 2.สร้างอาชีพ โดยการร่วมกับเอกชนในการพัฒนาวิสาหกิจชุมชน จัดตั้ง EEC Enterprise เป็นหน่วยงานที่ช่วยผลักดันและปิดจุดอ่อนของการดำเนินธุรกิจ อาทิ การขยายช่องทางการตลาดและการจำหน่ายสินค้า การบริหารจัดการด้านโลจิสติกส์ การจัดหาวัตถุดิบที่เหมาะสม และการส่งเสริมให้เข้าถึงนักลงทุน แหล่งเงินทุน และการระดมทุนในรูปแบบต่างๆ

 3. สร้างรัฐสวัสดิการ เน้นเรื่องสุขภาพ โดยมีโครงการที่ดำเนินการแล้วบางส่วน อาทิ โรงพยาบาลปลวกแดง ประกันรายได้เกษตรกร หรือ EFC ประกันรายได้ทุเรียน พร้อมหาตลาดส่งออก

4. สร้างเครือข่าย ร่วมกับกองทุนหมู่บ้าน และกรมพัฒนาชุมชน เพื่อสร้างเครือข่ายของวิสาหกิจชุมชนในพื้นที่อีอีซีทั้งหมด

5.สร้างการเข้าถึงสถาบันการเงิน เป็นส่วนที่ได้เริ่มดำเนินการไปแล้ว ด้วยการลงนามในสัญญาความร่วมมือกับ 7 สถาบันการเงิน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ประกอบการ นอกจากนี้ อยู่ในระหว่างการพัฒนา EEC Virtual Banking เป็นรูปแบบการให้บริการผ่านระบบออนไลน์ ให้ประชาชนที่ไม่สามารถเดินทางไปธนาคารได้รับบริการผ่านระบบออนไลน์

ทั้งนี้ การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนมีขั้นตอนในการดำเนินการ ตั้งแต่การลงพื้นที่เพื่อสำรวจความต้องการของพื้นที่ เพื่อนำมาออกแบบ Conceptual Design ของการพัฒนาพื้นที่ แล้วนำแนวคิดที่ได้ไปรับฟังความคิดเห็นของคนในพื้นที่ด้วย จากนั้นจึงนำมาพัฒนาในเชิงโครงการ ยกตัวอย่าง โครงการโอลด์ทาวน์ นาเกลือ ที่คาดว่าจะสร้างรายได้ให้ผู้ประกอบการในพื้นที่เพิ่มขึ้น 4 เท่า

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 15 พฤษภาคม 2565

โรงงานน้ำตาลคาดการณ์ผลผลิตอ้อยปี 65/66 แตะ 110 ล้านตัน

โรงงานน้ำตาลทรายลุ้นผลผลิตอ้อยฤดูหีบปี 2565/66 แตะระดับ 110 ล้านตันหลังสิ้นสุดฤดูหีบปี 64/65 57 โรงงานมีอ้อยเข้าหีบรวม 92.07 ล้านตัน โรงงาน-ชาวไร่ประสานเสียงกังวลต้นทุนเพิ่มทั้งราคาปุ๋ยที่แพงกว่าเท่าตัว แถมค่าแรงขั้นต่ำอาจขยับขึ้นอีก

นายชลัส ชินธรรมมิตร์ ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำตาล สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า โรงงานน้ำตาลทรายทั้ง 57 แห่งได้ทำการปิดหีบอ้อยปี 2564/65 ครบทุกแห่งแล้ว โดยมีปริมาณอ้อยเข้าหีบรวมอยู่ที่ประมาณ 92.07 ล้านตัน ค่าความหวานอ้อยเฉลี่ย 12.71 ซีซีเอส ผลผลิตน้ำตาล 110.07 กิโลกรัมต่อตันอ้อย โดยคาดว่าฤดูหีบปี 2565/66 ที่จะเกิดขึ้นช่วงปลายปีนี้มีโอกาสที่ไทยจะเห็นระดับผลผลิตอ้อยประมาณ 110 ล้านตันเนื่องจากปริมาณฝนมาเร็วทำให้อ้อยค่อนข้างเติบโตได้ดี

“ฤดูหีบปี 2564/65 มีอ้อยหีบรวม 92.07 ล้านตันเทียบกับฤดูหีบปี 63/64 ซึ่งอยู่ระดับ 66.67 ล้านตันก็ถือว่าสูงขึ้นพอสมควร แต่ยอมรับว่ากระบวนการหีบค่อนข้างมีปัญหาจากขาดแคลนแรงงานที่ต้องพึ่งพิงการนำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้านมาตัดอ้อยสดทำให้การตัดอ้อยป้อนโรงงานของชาวไร่ไม่มีคุณภาพนักเพราะไม่มีการลิดใบอ้อย มีสิ่งสกปรกเจือปน ส่งผลกระทบต่อเครื่องจักรพอสมควรและทำให้ผลผลิตน้ำตาลทรายปีนี้เฉลี่ยคาดว่าจะอยู่เฉลี่ยราว 10-10.5 ล้านตัน ส่วนการตัดอ้อยสดเฉลี่ยคิดเป็นสัดส่วน 72.72% ถือว่าทำได้ดีมากแล้วจากปริมาณอ้อยที่สูงขึ้น" นายชลัสกล่าว

ทั้งนี้ แม้แนวโน้มผลผลิตอ้อยฤดูหีบปี 2565/66 จะสูงขึ้นสู่ระดับ 110 ล้านตันจากปริมาณฝนที่มาเร็วและตกต่อเนื่องในขณะนี้ แต่ปัจจัยที่ต้องติดตามคือผลกระทบจากระดับราคาปุ๋ยที่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมากจะส่งผลให้ชาวไร่อ้อยอาจไม่สามารถใส่ปุ๋ยเพื่อบำรุงดินส่งเสริมการเติบโตได้มากพอ ซึ่งปัจจัยนี้ก็จะมีผลต่อปริมาณอ้อยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายภาพรวมยังคงมีปัจจัยบวกจากระดับราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดโลกที่ทรงตัวระดับสูงเฉลี่ย 18-19 เซ็นต์ต่อปอนด์ที่จะเอื้อให้ราคาอ้อยยังคงอยู่ในระดับสูงกว่า 1,000 บาท/ตัน จูงใจการเพาะปลูกและดูแลพันธุ์อ้อยต่อเนื่อง

ประกอบกับค่าเงินบาทของไทยอ่อนค่ามาอยู่ระดับ 33-34 บาทต่อเหรียญสหรัฐจะส่งผลให้มูลค่าการส่งออกน้ำตาลทรายของไทยเพิ่มสูงขึ้น แต่สิ่งที่ต้องติดตามอีกประเด็นหนึ่งคือทิศทางการปรับขึ้นค่าแรงของรัฐในปี 2565 นี้ว่าจะเป็นอย่างไรหากปรับขึ้นย่อมกระทบต่อต้นทุนการผลิตโดยรวม

นายนราธิป อนันตสุข หัวหน้าสำนักงานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า คาดการณ์ว่าผลผลิตอ้อยฤดูหีบปี 2565/66 เบื้องต้นจะมากกว่าระดับ 100 ล้านตันแต่จะมากน้อยเพียงใดยังคงจะต้องติดตาม 2 ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ 1. ค่าเฉลี่ยปริมาณฝนที่ตกว่าจะดีต่อเนื่องมากน้อยแค่ไหนเพราะหากเจอภัยแล้งก็จะกระทบได้เช่นกัน 2. การใส่ปุ๋ยเพื่อบำรุงดินในการสร้างการเติบโตให้อ้อย ซึ่งขณะนี้มีราคาแพงกว่าปีที่ผ่านมาเฉลี่ยกว่าเท่าตัวจะทำให้เกษตรกรลดปริมาณการใส่ปุ๋ยมากน้อยเพียงใด โดยยอมรับว่าผลกระทบเรื่องนี้จะเป็นกันทั่วโลก

“ขณะนี้ราคาปุ๋ยยังคงไม่มีทีท่าจะลดลงแต่อย่างใดหากสงครามรัสเซีย-ยูเครนยังยืดเยื้อภาพรวมต้นทุนที่สูงอาจทำให้เกษตรกรลดปริมาณการใส่ปุ๋ยลง เช่นปีหนึ่งเคยใส่ 2 ครั้งก็อาจลดเหลือครั้งเดียว ส่วนการตัดอ้อยสดฤดูหีบปี 64/65 ที่เพิ่งสิ้นสุดยอมรับว่าเรามีอุปสรรคพอสมควรเพราะฝนมาเร็วทำให้รถตัดอ้อยลงไปยาก แรงงานจากเพื่อนบ้านที่เราต้องพึ่งพิงก็มีปัญหาเพราะการเข้มงวดเรื่องโควิด-19 ทำให้ไม่เพียงพอ แต่ภาพรวมเราก็ทำได้ดีในการลดอ้อยไฟไหม้เพราะอ้อยมีปริมาณสูงกว่าปีก่อนมาก อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กังวลคือรัฐอาจปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำในช่วงกลางปีนี้ที่จะทำให้ต้นทุนค่าใช้จ่ายในฤดูหีบต่อไปสูงขึ้นอีก” นายนราธิปกล่าว

จาก https://mgronline.com  วันที่ 13 พฤษภาคม 2565

Agrivoltaic – เทคโนโลยี synergy ภาคพลังงานและการเกษตร

ความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะส่งผลกระทบทางลบต่อภาคการเกษตรทั้งในด้านภัยพิบัติ (acute) เช่น ไฟป่า น้ำท่วม และพายุ ที่จะเกิดบ่อยขึ้น และทวีความรุนแรงขึ้น

นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอย่างถาวร (chronic) เช่น อุณหภูมิเฉลี่ยที่สูงขึ้น และความเครียดน้ำ (water stress) ที่มีแนวโน้มรุนแรงขึ้น โดยความเสี่ยงเหล่านี้จะส่งผลให้การควบคุมคุณภาพและผลผลิตทางการเกษตรมีความท้าทายมากขึ้นในอนาคต

อะกริวอลเทอิกส์ (Agrivoltaic: APV) คือ แนวคิดการใช้พื้นที่ร่วมกันของเกษตรกรรม และการผลิตไฟฟ้าด้วยโซลาร์เซลล์ (Photovoltaics) โดยแผงโซลาร์จะถูกติดตั้งสูงกว่าโซลาร์ฟาร์มทั่วไปเพื่อให้มีความสูงเพียงพอที่เกษตรกรสามารถปลูกพืชใต้แผงได้ (ซึ่งรวมไปถึงเครื่องจักรที่ใช้ในการเพาะปลูกด้วย) ประโยชน์ของการแนวคิด APV คือ ร่มเงาจากแผงโซลาร์จะช่วยลดความเสี่ยงที่พืชบางชนิดจะถูกแดดเผาหรือเกิดความเครียดจากความร้อน (Heat stress) นอกจากนี้ ยังช่วยลดปริมาณการระเหยของน้ำส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำในการเพาะปลูกลดลง

ในด้านพลังงาน การใช้ APV จะเพิ่มการผลิตพลังงานหมุนเวียนโดยไม่แย่งพื้นที่ทำการเกษตร นอกจากนี้ การศึกษาของ Oregon State University พบว่าหากแผงโซลาร์ถูกติดตั้งในตำแหน่งที่ถูกต้องพืชที่ปลูกใต้แผงจะช่วยลดความร้อนของแผงได้ซึ่งจะส่งผลให้ประสิทธิภาพของแผงในการผลิตไฟฟ้าสูงขึ้น ดังนั้น การใช้พื้นที่ร่วมกันระหว่างการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์ และการเกษตรสามารถสร้าง synergy ของระบบ APV ได้ บริษัท Groenleven ได้ทดลองใช้ APV ในแปลงปลูกราสป์เบอร์รีในประเทศเนเธอร์แลนด์ พบว่าในปีที่อากาศร้อนและแห้งผลผลิตจากแปลง APV สูงกว่าแปลงที่ไม่มี APV

อย่างไรก็ตาม การใช้ APV คือ การ tradeoff ระหว่างปริมาณผลผลิตทางการเกษตรและปริมาณการผลิตไฟฟ้า แน่นอนว่าการใช้ APV จะส่งผลให้พื้นที่ในการเพาะปลูกลดลง นอกจากนี้ ในบางฤดูหรือช่วงเวลาพืชอาจไม่ได้รับแสงในปริมาณที่ต้องการ ในทางกลับกันการผลิตไฟฟ้าในระบบ APV ก็จะไม่สามารถผลิตได้มากเท่าโซลาร์ฟาร์ม ดังนั้น การออกแบบ APV จึงเป็นการหาสมดุลระหว่างผลผลิตทางการเกษตรและการผลิตไฟฟ้า ซึ่งการออกแบบระบบนั้นขึ้นอยู่กับความต้องการของเกษตรกรเจ้าของพื้นที่ เช่น ลดการใช้น้ำ ปกป้องพืชจากสภาพอากาศที่รุนแรง เช่น ความร้อน พายุ ลูกเห็บ หรือปริมาณการผลิตไฟฟ้า เป็นต้น

การนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ก็จะช่วยให้ระบบ APV มีประสิทธิภาพมากขึ้น จากตัวอย่างของบริษัท Goenleven ข้างต้น ระบบ APV ที่ใช้นอกจากจะถูกออกแบบมาเพื่อปลูกราสป์เบอร์รีโดยเฉพาะแล้วยังมีการใช้แผงโซลาร์ที่มีความโปร่งแสง (transparency) มากกว่าแผงโซลาร์ที่ใช้ในโครงการไฟฟ้าปกติ หรือโปรเจกต์ APV ปลูกองุ่นในทางใต้ของฝรั่งเศสของบริษัท Sun’Agri ที่ใช้ AI ในการควบคุมองศาของแผงตามความต้องการแสงแดดและน้ำของการปลูกองุ่น ตามโมเดลการเจริญเติบโตขององุ่น เพื่อสนับสนุนการเจริญเติบโตและในกรณีที่มีอันตรายจากสภาพอากาศ AI จะควบคุมแผงเพื่อปกป้องพืช

ในสภาวะที่อุณหภูมิโลกมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องการใช้ APV จึงเป็นแนวคิดที่น่าสนใจเพื่อลดผลกระทบจาก heat stress และลดการใช้น้ำโดยเฉพาะในเขตร้อนอย่างประเทศไทย

ทั้งนี้ไทยควรต้องเตรียมความพร้อมเพื่อใช้ประโยชน์จาก APV โดยมุ่งเน้นที่การพัฒนาศักยภาพใน 3 ด้านหลัก 1. ลดต้นทุนการติดตั้งระบบโซลาร์ที่สูงซึ่งจะเป็นอุปสรรคสำคัญของเกษตรกรรายย่อย 2. สร้างความรู้และความเชี่ยวชาญในการออกแบบ APV เพื่อให้เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิดโดยพัฒนาบุคลากรที่มีความเข้าใจทั้งในด้านการเกษตรและในด้านการออกแบบโครงสร้างที่นอกจากจะต้องรองรับแผงโซลาร์แล้วยังต้องคำนึงถึง micro climate ภายใต้แผงด้วย 3. ทบทวนและแก้ไขกฎระเบียบที่อาจไม่เอื้อต่อการให้เกษตรกรใช้พื้นที่การเกษตรร่วมกับการผลิตไฟฟ้ารวมไปถึงกฎระเบียบและตลาดซื้อขายไฟฟ้าอีกด้วย

บทความโดย

พิมใจ ฮุนตระกูล

ผู้อำนวยการฝ่าย Digital และ New Business Model

Economic Intelligence Center ธนาคารไทยพาณิชย์

eic@scb.co.th | EIC Online: www.scbeic.com

Article for Bangkokbiznews 6 May 2022

พิสูจน์อักษร โดย....สุรีย์  ศิลาวงษ์

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 13 พฤษภาคม 2565

อัตราแลกเปลี่ยน ค่าเงินบาทวันนี้เปิด"อ่อนค่า" ที่ระดับ  34.68 บาท/ดอลลาร์

ค่าเงินบาทวันนี้มีแนวโน้มผันผวนฝั่งอ่อนค่า มองกรอบเคลื่อนไหววันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 34.60-34.75 บาท/ดอลลาร์

อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ ที่ระดับ  34.68 บาทต่อดอลลาร์ "อ่อนค่า"ลงจากระดับปิดวันก่อนหน้า ที่ระดับ  34.61 บาทต่อดอลลาร์

นายพูน  พานิชพิบูลย์  นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคารกรุงไทย ระบุว่าแนวโน้มค่าเงินบาท เรามองว่า เงินบาทยังมีโอกาสที่จะผันผวนในฝั่งอ่อนค่า

และอาจอ่อนค่าไปทดสอบแนวต้านสำคัญใกล้ระดับ 34.75 บาทต่อดอลลาร์ได้ ตามการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ และภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาดการเงินฝั่งเอเชีย จากความกังวลแนวโน้มเฟดอาจเร่งขึ้นดอกเบี้ย

อย่างไรก็ดี เรามองว่า หากฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติยังไม่ได้ไหลออกรุนแรง ก็จะทำให้เงินบาทไม่ได้อ่อนค่าไปมากนัก ซึ่งเรามองว่า การย่อตัวลงของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ อาจช่วยลดแรงเทขายบอนด์ระยะยาวในฝั่งไทยได้บ้าง ในขณะที่ฝั่งหุ้น ต้องรอจับตาว่านักลงทุนต่างชาติจะกลับเข้ามาซื้อหุ้นไทยในจังหวะย่อตัวมากขึ้นหรือไม่

ทั้งนี้ ในช่วงที่ตลาดการเงินยังมีความผันผวนสูง เราคงแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ ใช้ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน

มองกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 34.60-34.75 บาท/ดอลลาร์

ตลาดการเงินยังคงผันผวนหนัก โดยผู้เล่นในตลาดต่างกล้าเปิดรับความเสี่ยงมากขึ้นในช่วงก่อนรับรู้รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไป (CPI) สหรัฐฯ ในเดือนเมษายน จากความหวังว่า เงินเฟ้อจะชะลอตัวลง ทว่า อัตราเงินเฟ้อ CPI สหรัฐฯ เดือนเมษายน กลับชะลอลงสู่ระดับ 8.3% สูงกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้

นอกจากนี้ เมื่อหักผลของราคาสินค้าที่ผันผวนสูง อาทิ อาหารและพลังงาน อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) แม้จะชะลอลงสู่ระดับ 6.2% แต่คิดเป็นการเพิ่มขึ้นในอัตราเร่งตัวขึ้นถึง +0.6% จากเดือนก่อนหน้า สูงกว่าที่ตลาดคาด หนุนโดยการปรับตัวขึ้นของราคาสินค้าในหมวดที่พักอาศัย ราคารถยนต์ใหม่ รวมถึงสินค้าหมวดบริการ อาทิ ราคาตั๋วเครื่องบิน และสะท้อนว่าอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ อาจไม่ได้ชะลอลงได้เร็วและอาจกดดันให้เฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ยอย่างรุนแรงเพื่อคุมปัญหาเงินเฟ้อได้

ความกังวลแนวโน้มเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ย หลังอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ออกมาสูงกว่าคาด ได้ส่งผลให้ ผู้เล่นในตลาดต่างกลับสู่โหมดปิดรับความเสี่ยง (Risk-Off) และเลือกที่จะเทขายสินทรัพย์เสี่ยงที่อ่อนไหวกับการปรับตัวขึ้นของอัตราดอกเบี้ย อาทิ หุ้นกลุ่มเทคฯ และหุ้นสไตล์ Growth ส่งผลให้ในฝั่งตลาดหุ้นสหรัฐฯ ดัชนีหุ้นเทคฯ Nasdaq ดิ่งลงกว่า -3.18%

ส่วนดัชนี S&P500 ปิดตลาด -1.65% ท่ามกลางความผันผวนในตลาดการเงินจากความกังวลปัญหาเงินเฟ้อสูงที่อาจกดดันให้เฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ยจนอาจทำให้เศรษฐกิจซบเซาลง (Stagflation) เราคงแนะนำการลงทุนในหุ้นกลุ่ม Healthcare ซึ่งข้อมูลในอดีตสะท้อนว่า หุ้นกลุ่ม Healthcare นั้นสามารถให้ผลตอบแทนที่โดดเด่นได้ในช่วงภาวะดังกล่าว อีกทั้งระดับราคาปัจจุบันก็อยู่ในระดับที่ถูกกว่าตลาดหุ้นโดยรวม

ส่วนทางด้านตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวขึ้นแรงถึง +2.62% สวนทางกับภาพตลาดหุ้นสหรัฐฯ หนุนโดยรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนที่ส่วนใหญ่ยังคงออกมาดีกว่าคาด นอกจากนี้ ตลาดหุ้นยุโรปยังได้แรงหนุนจากการปรับตัวขึ้นของหุ้นกลุ่มสินค้าฟุ่มเฟือย อาทิ L’Oreal +4.8%, Louis Vuitton +4.3% จากความหวังการผ่อนคลายมาตการ Lockdown ในจีน หลังยอดผู้ติดเชื้อในจีนชะลอลงอย่างต่อเนื่อง

ในฝั่งตลาดบอนด์ รายงานอัตราเงินเฟ้อทั่วไปสหรัฐฯ ได้ส่งผลให้บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ผันผวนหนักเช่นกัน โดยบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ได้พุ่งขึ้นกลับไปแตะระดับ 3.07% หลังเงินเฟ้อชะลอลงน้อยกว่าคาด ทำให้ตลาดยังกังวลว่าเฟดอาจเร่งขึ้นดอกเบี้ยรุนแรง ทว่าภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาด ได้ส่งผลให้ บอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ พลิกกลับมาปรับตัวลดลงสู่ระดับ 2.91% จากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยในช่วงตลาดผันผวน

ในฝั่งตลาดค่าเงิน เงินดอลลาร์ยังคงได้แรงหนุนจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยท่ามกลางความผันผวนในตลาด ทำให้ล่าสุดดัชนีเงินดอลลาร์ (DXY Index) สามารถปรับตัวขึ้นสู่ระดับ 104 จุด ได้อีกครั้ง ซึ่ง เรามองว่า ในระยะสั้น เงินดอลลาร์ยังมีแนวโน้มได้รับแรงหนุนจากความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัย ท่ามกลางภาวะปิดรับความเสี่ยงของตลาด จนกว่าตลาดจะเริ่มคลายกังวลแนวโน้มการเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟด

และควรจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดในสัปดาห์นี้ว่าจะมีมุมมองต่อทิศทางนโยบายการเงินเฟดอย่างไร หลังอัตราเงินเฟ้อล่าสุดชะลอลงน้อยกว่าคาด ทั้งนี้ แม้เงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้น ทว่าความต้องการสินทรัพย์ปลอดภัยและการย่อตัวลงของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ได้หนุนให้ราคาทองคำสามารถรีบาวด์ขึ้นจากระดับ 1,837 ดอลลาร์ต่อออนซ์ กลับสู่ระดับ 1,852 ดอลลาร์ต่อออนซ์ ซึ่งเรามองว่า ในช่วงนี้ ราคาทองคำอาจเคลื่อนไหวผันผวนตามทิศทางของบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ซึ่งหากบอนด์ยีลด์ 10 ปี สหรัฐฯ ย่อตัวลงต่อเนื่องก็อาจหนุนให้ราคาทองคำปรับตัวขึ้นต่อได้

สำหรับวันนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจอังกฤษ โดยตลาดประเมินว่า เศรษฐกิจอังกฤษอาจโตราว +1.0%q/q ในไตรมาสแรกของปีนี้ ชะลอลงจากช่วงปลายปีที่แล้ว จากผลกระทบของการระบาดโอมิครอนและผลกระทบจากสงครามที่กดดันการบริโภคภาคเอกชนและภาคการผลิต ผ่านปัญหาราคาสินค้าและต้นทุนการผลิตที่พุ่งสูงขึ้น

นอกจากนี้ การทยอยขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) เพื่อคุมปัญหาเงินเฟ้อก็อาจเป็นอีกปัจจัยกดดันการฟื้นตัวเศรษฐกิจและทำให้เศรษฐกิจอังกฤษมีความเสี่ยงที่จะซบเซาหนักในปลายปีมากขึ้น

และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลดังกล่าว ตลาดจะจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าเฟด หลังอัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ ไม่ได้ชะลอลงมากเท่าที่ตลาดคาดหวัง โดยตลาดจะรอจับตาว่าบรรดาเจ้าหน้าที่เฟดจะมีมุมมองต่อแนวโน้มนโยบายการเงินเฟดอย่างไร โดยเฉพาะโอกาสในการเร่งขึ้นดอกเบี้ยรุนแรงเพื่อคุมเงินเฟ้อ

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 12 พฤษภาคม 2565

กกร.คงกรอบจีดีพีปี 65 โต 2.5-4% ชง 2 มาตรการรัฐช่วยประคองธุรกิจรอฟื้นตัว

“กกร.” ยังคงคาดการณ์จีดีพีไทยปี 2565 โต 2.5-4% เงินเฟ้อ 3.5-5.5% และส่งออก 3-5% หากขยับค่าแรงในอัตราที่เหมาะสม แนะ 2 มาตรการรัฐช่วยประคอง ศก.ทั้งมาตรการดูแลต้นทุนการผลิตและสภาพคล่อง เช่น ตรึงเพดานดีเซล 35 บาทต่อลิตรนาน 3 เดือน ต่ออายุภาษีฯ ดีเซล 3 เดือน ฯลฯ และมาตรการกระตุ้น ศก.เช่น คนละครึ่งเฟส 5

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ในฐานะประธานที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) เปิดเผยว่า กกร.เดือน พ.ค.ยังคงประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจไทยปี 2565 คงเดิมเมื่อเทียบกับเม.ย.โดยผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) จะขยายตัวได้ในกรอบ 2.5% ถึง 4.0% หากการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอยู่ในอัตราที่เหมาะสม และยังคงประมาณการการส่งออกอยู่ในกรอบ 3.0% ถึง 5.0% และอัตราเงินเฟ้อทั่วไป 3.5% ถึง 5.5% แม้ว่าเศรษฐกิจไทยยังคงเผชิญกับความเสี่ยงรอบด้าน

“เศรษฐกิจโลกยังคงมีความอ่อนไหวและท้าทายการส่งออกที่เหลือของปีนี้จากสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ยังยืดเยื้อ ทำให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์และเงินเฟ้อยังคงมีทิศทางที่ปรับเพิ่มขึ้นสูง โดยกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ลดการเติบโต ศก.โลกปีนี้ลงเหลือ 3.6% จาก 4.4% ซึ่งจะส่งผลต่อความต้องการสินค้าส่งออกของไทย แต่ราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้นก็จะทำให้อัตราการส่งออกของไทยสูงขึ้นทำให้ส่งออกยังคงเติบโตได้” นายเกรียงไกรกล่าว

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่กังวลคือหากราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลและค่าแรงขั้นต่ำปรับเพิ่มขึ้นมาก จะยิ่งเพิ่มแรงกดดันต่อภาวะเงินเฟ้อและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อไทยที่พุ่งสูงขึ้นเริ่มบั่นทอนความเชื่อมั่นผู้บริโภคและนักลงทุน และมีแนวโน้มส่งผลลบต่อการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการในธุรกิจที่ยังเปราะบาง เช่น โรงแรม ค้าปลีก สะท้อนว่าการเพิ่มขึ้นของต้นทุนมีผลกระทบมากและส่วนใหญ่อาจจำเป็นต้องปรับราคาสินค้า การปรับขึ้นราคาน้ำมันดีเซลและค่าแรงขั้นต่ำในระยะข้างหน้าซึ่งจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อขึ้นไปสู่ระดับ 5% จึงต้องทำด้วยความระมัดระวังและอยู่ในระดับที่เหมาะสม

สำหรับการท่องเที่ยวจากการที่รัฐเปิดประเทศเมื่อ 1 พ.ค. ทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติมีจำนวนที่เพิ่มขึ้นชัดเจน คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในปีนี้มีแนวโน้มอยู่ที่ประมาณ 6 ล้านคน ส่วนนักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางในประเทศมีแนวโน้มฟื้นตัวดีมาอยู่ที่ 70-80% ของจำนวนนักท่องเที่ยวในปี 2562 เนื่องจากนักท่องเที่ยวในไทยปรับตัวอยู่กับโควิด-19 บ้างแล้ว อีกทั้งได้อานิสงส์จากมาตรการภาครัฐ คาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวไทยมีแนวโน้มอยู่ที่ 119 ล้านคน-ครั้ง เพิ่มขึ้นกว่าประมาณการเดิมเช่นกันจึงเป็นปัจจัยบวกต่อ ศก.ภาพรวม

จากภาวะเศรษฐกิจที่ยังคงมีความเสี่ยงโดยเฉพาะจากภาวะเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น และสถานการณ์ความขัดแย้งจากยูเครน-รัสเซีย กกร.จึงขอเสนอให้ภาครัฐเข้ามาดูแลเรื่องเศรษฐกิจอย่างจริงจัง เพื่อช่วยประคับประคองภาคธุรกิจ รักษาความสามารถในการแข่งขัน โดยเฉพาะ SMEs และประชาชน ในช่วงไตรมาส 2-3 ก่อนที่เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เต็มที่มากขึ้นในช่วงปลายปี จากทั้งภาระค่าครองชีพ ต้นทุนการผลิต/การขนส่ง และราคาสินค้าที่เพิ่มขึ้น โดยแบ่งมาตรการออกเป็น 2 ส่วน ดังนี้

1. มาตรการดูแลต้นทุนการผลิตและสภาพคล่อง ได้แก่ การตรึงเพดานดีเซลไม่เกิน 35 บาท/ลิตร เป็นเวลา 3 เดือน, ขยายเวลาการลดการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ดีเซลลง 3 บาทต่อลิตร เป็นระยะเวลา 3 เดือน, ลดต้นทุนวัตถุดิบนำเข้า เช่น ลดภาษีนำเข้าสินค้าวัตถุดิบ, เพิ่มโควตานำเข้า และเสริมสภาพคล่องให้แก่ผู้ประกอบการ เช่น เร่งคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม มาตรการเงินกู้ ดอกเบี้ยต่ำ

2. การกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ เช่น จัดทำโครงการคนละครึ่งเฟส 5, ขยายจำนวนสิทธิโครงการเราเที่ยวด้วยกัน ผ่อนคลายกิจกรรมทางเศรษฐกิจเต็มรูปแบบ รวมถึงธุรกิจสถานบันเทิง การลดภาระให้แก่ผู้ประกอบการ เช่น ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างไม่ควรคิดเบี้ยปรับเงินเพิ่มสำหรับคนที่ชำระภาษีล่าช้า การเปิดประเทศโดยสมบูรณ์ การส่งเสริมและอำนวยความสะดวกให้แก่นักท่องเที่ยวต่างชาติ การจัดกิจกรรมกระตุ้นการท่องเที่ยว และการดูแลค่าเงินบาทให้เหมาะสม

"การขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ภาครัฐควรคำนึงถึงภาวะเศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อ ความสามารถของภาคธุรกิจ ประสิทธิภาพแรงงานในแต่ละจังหวัดนั้นๆ" นายเกรียงไกรกล่าว

จาก https://mgronline.com วันที่ 11 พฤษภาคม 2565

รัฐเร่งเครื่องปิโตรเคมีเฟสอีอีซี”ปักธง25โปรเจกต์4แสนล.ฟื้นศก.

สนพ.เผยภาครัฐโดยกระทรวงพลังงานและสกพอ.เร่งขับเคลื่อนแผนพัฒนาอุตฯปิโตรเคมีเฟส 4 ระยะ 5 ปีผุด 25 โครงการลงทุน 4 แสนล้านบาทวาง 5 ประเภทการลงทุนเน้นในพื้นที่อีอีซี ระดมหน่วยงานวางเงื่อนไขส่งเสริมฯ หวังช่วยขับเคลื่อนศก.รับอุตสาหกรรมแห่งอนาคต พร้อมกางแผนขับเคลื่อนพลังงานสะอาดรับเทรนด์โลก

นายวัฒนพงษ์ คุโรวาท ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน(สนพ.) กระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงความคืบหน้าแผนพัฒนาอุตสาหกรรมปิโตรเคมีระยะที่ 4 ว่า กระทรวงพลังงานได้ขับเคลื่อนแผนงานร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.)ในรูปแบบคณะกรรมการร่วมการพัฒนาการลงทุนฯที่มีปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานร่วมกับเลขาธิการสกพอ. และมีกรรมการจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้แผนดำเนินงาน 5 ปี(ปี2565-2567)ซึ่งมีทั้งหมด 25 โครงการประมาณการเม็ดเงินลงทุนรวม 3.9-4 แสนล้านบาทก่อให้เกิดการจ้างงานเพิ่มอย่างน้อย 2,231 อัตรา

สำหรับ 25 โครงการประกอบด้วยประเภทการลงทุน 1. อุตสาหกรรมปิโตรเคมี รวม 12 โครงการวงเงินลงทุนประมาณ 338,364 ล้านบาท เกิดการจ้างงาน 1,661 อัตรา 2. อุตฯเกี่ยวกับการรีไซเคิลและพลาสติกชีวภาพ(RecycleและBiochimical) 3 โครงการ วงเงินลงทุน 22,500 เกิดการจ้างงาน 300 อัตรา 3. การปรับปรุงกระบวนการผลิต 5 โครงการเงินลงทุน 8,270 ล้านบาท 4. การวิจัยและพัฒนา 2 โครงการวงเงินลงทุน 4,000 ล้านบาท การจ้างงาน 20 อัตรา 5. โครงสร้างพื้นฐานและUtilities 3โครงการ ลงทุน 18,500 ล้านบาท จ้างงาน250 อัตรา

“ การพัฒนาปิโตรเคมีระยะที่ 4 เป็น Big Rock ภายใต้การปฏิรูปประเทศด้านพลังงานโดยกระทรวงฯได้ศึกษาแผนพัฒนาในพื้นที่อีอีซีและพื้นที่ที่มีศักยภาพและเสนอคณะกรรมการปฏิรูปตั้งแต่ก.ย.ปี 2564 และคณะกรรมการปฏิรูปได้มอบให้จัดทำแนวทางมาตรการส่งเสริมร่วมกับเอกชนและรัฐโดยปี 2565-67 หรือแผน 5 ปี โดยระยะแรกการลงทุนจะเน้นพื้นที่อีอีซีโดยการขยายอุตสาหกรรมปิโตรเคมีชนิดพิเศษ และกลุ่มรีไซเคิล พลาสติกชีวภาพเพื่อตอบสนองนโยบายเศรษฐกิจBCG จากนั้นปี 2567 เป็นต้นไปจะสนับสนุนการลงทุนอุตสาหกรรมและเทคโนโลยี Low Carbon “นายวัฒนพงษ์กล่าว

สำหรับการขับเคลื่อนแผนงานหลักๆ ได้หารือกับสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ในการดำเนินการตามมาตรการด้านสิทธิประโยชน์ที่มีในปัจจุบัน สิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการ(Merit-based Incentive) ด้านการพัฒนาความสามารถในการแข่งขัน มาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่อีอีซี มาตรการส่งเสริมการลงทุนเศรษฐกิจฐานราก และมาตรการกระตุ้นการลงทุนในปี 2565 เพื่อที่จะเป็นแรงจูงใจในการดึงการลงทุนจากภาคเอกชน เช่นเดียวกับอัตราค่าเช่าของการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กนอ.)ที่ได้มีมติขึ้นค่าเช่าเหลือ 2% ต่อปีจากเดิมที่อัตราค่าเช่าที่หมดอายุต้องปรับขึ้น 10% ทุก 3 ปี เป็นต้น

นายวัฒนพงษ์ยังได้กล่าวถึง มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ( กพช.)เมื่อ 6 พ.ค.ที่รับทราบแผนการ เพิ่มการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ภายใต้แผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย พ.ศ. 2561 – 2580 ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1 (PDP2018 Rev.1) ในช่วงปี พ.ศ. 2564 – 2573 (ปรับปรุงเพิ่มเติม) โดยมีกำลังผลิตตามสัญญาจากพลังงานสะอาดรวมทั้งสิ้น 9,996 เมกะวัตต์แบ่งเป็นพลังงานแสงอาทิตย์4.455 เมกะวัตต์ ลม 1,500 เมกะวัตต์ ก๊าซชีวภาพ 335 เมกะวัตต์ ชีวมวล 485 เมกะวัตต์ ขยะชุมชน400เมกะวัตต์ ขยะอุตสาหกรรม 200 เมกะวัตต์ซื้อไฟต่างประเทศ 2,569 เมกะวัตต์ พลังงานน้ำขนาดเล็ก52 เมกะวัตต์

กพช.ยังเห็นชอบอัตรารับซื้อไฟจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบ Feed-in Tariff สำหรับปี พ.ศ. 2565 – 2573 สำหรับกลุ่มที่ไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง กำลังผลิตตามสัญญาไม่เกิน 90 เมกะวัตต์ ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินอัตรารับซื้อ 2.16 บาทต่อหน่วย(ระยะเวลา 25 ปี) พลังงานแสงอาทิตย์แบบติดตั้งบนพื้นดินร่วมกับระบบกักเก็บพลังงาน (Solar+BESS) 2.83 บาทต่อหน่วย พลังงานลม 3.10 บาทต่อหน่วย และก๊าซชีวภาพ (น้ำเสีย/ของเสีย)2.07บาทต่อหน่วย (ระยะ20ปี)

จาก https://mgronline.comวันที่ 11 พฤษภาคม 2565

สหรัฐผนึกอาเซียน ฟื้นเศรษฐกิจ-พัฒนายั่งยืน

“ประยุทธ์”ร่วมประชุมสุดยอดอาเซียน - สหรัฐฯสมัยพิเศษ 12 - 13 พ.ค.ดึงลงทุนพลังงานสะอาด ชูประเด็น BCG - EV พร้อมแสดงความพร้อมเป็นเจ้าภาพเอเปค ด้านหอการค้าไทยชี้ถือเป็นโอกาสร่วมมือผลักดันเศรษฐกิจอาเซียนให้เติบโตยั่งยืน

ท่ามกลางวิกฤติซ้ำวิกฤติที่ทุกประเทศเผชิญอยู่ทั้งโรคระบาดโควิด-19 และผลกระทบจากสงคราม ความร่วมมือกันระหว่างประเทศต่างๆน่าจะเป็นทางออก หรือ บรรเทาผลจากวิกฤติต่างๆได้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม มีกำหนดการเดินทางเยือนกรุงวอชิงตัน สหรัฐ ระหว่างวันที่ 12-13 พ.ค. 2565 ตามคำเชิญของ โจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐ เพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐ สมัยพิเศษ ครั้งที่ 2 (ASEAN-U.S. Special Summit) ร่วมกับผู้นำอาเซียนชาติต่างๆ

ธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การหารือกับผู้นำและผู้แทนระดับสูงของสหรัฐ เพื่อผลักดันความร่วมมือการขับเคลื่อนการฟื้นฟู และการเติบโตอย่างยั่งยืนของภูมิภาค

รวมทั้งเป็นโอกาสให้พบกับภาคเอกชนสหรัฐเพื่อย้ำความพร้อมของไทยในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจและเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ย้ำความพร้อมของไทยในการเป็นห่วงโซ่อุปทานที่เข้มแข็งกับสหรัฐย้ำความพร้อมของไทยในการเป็นหุ้นส่วนกับภาคเอกชนสหรัฐ

ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างแถลงการณ์วิสัยทัศน์ร่วมของการประชุมสุดยอดอาเซียน – สหรัฐ สมัยพิเศษ ซึ่งมีประเด็นสำคัญของร่างแถลงการณ์วิสัยทัศน์ร่วมฯ นั้น เป็นเอกสารแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันระหว่างอาเซียน – สหรัฐ ในการขับเคลื่อนความสัมพันธ์และส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน ได้แก่ การต่อสู้กับการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 และการฟื้นตัวร่วมกันมีการเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต เช่น การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากสหรัฐได้แก่ กองทุนอาเซียนเพื่อรับมือกับโรคโควิด 19 คลังสำรองอุปกรณ์ทางการแพทย์อาเซียนสำหรับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขระบบประสานงานภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุขอาเซียน

รวมถึงการส่งเสริมให้มีการทำวิจัยร่วม การสนับสนุนทางการเงินที่ยั่งยืนสำหรับความมั่นคงด้านสาธารณสุข การลงทุน และร่วมทุนในอุตสาหกรรมด้านเภสัชกรรม การร่วมผลิตวัคซีน เพื่อรับมือกับภาวะฉุกเฉินด้านสาธารณสุข รวมถึงผ่านข้อริเริ่มอาเซียน – สหรัฐ ด้านสาธารณสุขเพื่ออนาคต

นอกจากนี้ ยังรวมถึง การสนับสนุนทางการเงินในระดับนานาชาติที่เพิ่มขึ้นและยั่งยืนยิ่งขึ้น เพื่อการป้องกัน การเตรียมความพร้อม และการตอบสนองต่อโรคระบาด และการลงทุนเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ระบบสาธารณสุขผ่านหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า โดยเฉพาะบริการสาธารณสุขมูลฐาน และกำลังคนด้านสุขภาพ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่เข้มแข็งของความมั่นคงด้านสาธารณสุข โดยคำนึงถึงวาระและเป้าหมายความมั่นคงด้านสุขภาพโลก ค.ศ. 2024

ขณะเดียวกันยังมีประเด็นด้านการส่งเสริมความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจให้เข้มแข็งกว่าเดิม ได้แก่ ขับเคลื่อนการฟื้นฟูเศรษฐกิจของไทยให้มีความเท่าเทียม เข้มแข็ง และยั่งยืน การเติบโตที่ครอบคลุม และการพัฒนาที่ยั่งยืน, การส่งเสริมความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน, การตอบสนองต่อความต้องการด้านโครงสร้างพื้นฐานของภูมิภาค ซึ่งจะช่วยให้เกิดการลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานที่มีมาตรฐานสูง โปร่งใส ยั่งยืน และมีภูมิต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ, การส่งเสริมการค้าการลงทุน และสนับสนุนห่วงโซ่อุปทานระดับโลกที่มั่นคงและฟื้นตัวได้เร็ว และความเชื่อมโยงไร้รอยต่อในภูมิภาค

การกระชับความร่วมมือด้านความเชื่อมโยงด้านคมนาคม เพื่อสนับสนุนการนำเทคนิคที่เป็นเลิศมาใช้ เช่น การสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า รวมถึงประเด็นเรื่องการส่งเสริมความร่วมมือทางทะเล, การเสริมสร้างความเชื่อมโยงระดับประชาชน, การส่งเสริมการพัฒนาในอนุภูมิภาค, การใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีและการส่งเสริมนวัตกรรม, การรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เป็นต้น

สนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ในด้านเศรษฐกิจ สหรัฐเป็นคู่ค้าสำคัญของประเทศไทย การเดินทางของนายกรัฐมนตรีครั้งนี้ เป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับนานาชาติ ได้ทราบถึงแผนฟื้นฟูเศรษฐกิจในอนาคต เพื่อการเป็น Regional Hub ทางเศรษฐกิจของภูมิภาค รวมถึงโปรโมท โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(EEC)  เพิ่มเติม

โดยเป็นการเดินหน้าเชิงรุก ในการหาตลาดใหม่เพิ่มเติม เพื่อส่งออกสินค้าและหานักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยเสริมเครื่องจักรทางเศรษฐกิจทั้งการค้า การลงทุน การท่องเที่ยวของประเทศไทย และย้ำความพร้อมของไทยทั้งในด้านเศรษฐกิจดิจิทัล การพัฒนาที่ยั่งยืน พลังงานสะอาด และยานยนต์ไฟฟ้า ตลอดจนเป็นโอกาสในการขับเคลื่อนการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค 2022 ของไทย

เท่าที่เอกชนทราบว่า มีการเตรียมเนื้อหาการประชุมคือ การส่งเสริมให้สหรัฐ มีบทบาทสร้างสรรค์ในภูมิภาค เพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูและการเติบโตอย่างยั่งยืนในยุค next normal เน้น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ การส่งเสริมบทบาทที่สร้างสรรค์ของสหรัฐในภูมิภาค การฟื้นฟูทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งและยั่งยืน และการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยเฉพาะการส่งเสริมเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว หรือ BCG โมเดล รวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นในประเด็นภูมิภาค

“ถือเป็นโอกาสหารือกับผู้นำและผู้แทนระดับสูงของสหรัฐ ในการผลักดันความร่วมมือการขับเคลื่อนการฟื้นฟู และการเติบโตอย่างยั่งยืนของภูมิภาค”

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับการเดินทางเยือนสหรัฐครั้งนี้ตามคำเชิญของโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐเพื่อเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐซึ่ง สหรัฐเป็นฝ่ายเสนอจัดขึ้น โดยเสนอทาบทามมาตั้งแต่ปลายปี 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 45 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐ ในโอกาสนี้จะได้มีการหารือกับผู้แทนระดับสูงของสหรัฐในด้านต่างๆเพื่อผลักดันความร่วมมือการขับเคลื่อนการฟื้นฟู และการเติบโตอย่างยั่งยืนของภูมิภาค

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 11 พฤษภาคม 2565

จากอาเซียน-สหรัฐ ถึงเอเปค บทบาท“ไทย”ในเวทีโลก

วันที่ 12-13 พ.ค.2565 นี้ โลกกลั้นใจจับตาการประชุมสุดยอดอาเซียน-สหรัฐฯ สมัยพิเศษ ครั้งที่ 2 ที่กรุงวอชิงตัน ตามคำเชิญของนายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ที่เสนอจัดและทาบทามมาตั้งแต่ปลายปี 2564 เพื่อเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 45 ปี ความสัมพันธ์อาเซียน-สหรัฐฯ

 เดิมผู้นำสหรัฐฯ ทาบทามให้พบปะในเดือนมีนาคม 2565 แต่ผู้นำชาติอาเซียนหลายประเทศไม่พร้อม ประจวบกับโลกกำลังร้อนระอุจากเหตุวิกฤตยูเครน เมื่อรัสเซียเปิดปฎิบัติการพิเศษทางทหารเมื่อ 24 ก.พ.2565 ที่ผู้นำสหรัฐ-ยุโรป เรียกร้องทั้งโลกร่วมตอบโต้ด้วยการบอยคอตต์ทางเศรษฐกิจต่อรัสเซีย จนเกิดการแบ่งฝ่ายแยกข้างไปทั้งโลก

การประชุมครั้งนี้ มีประเด็นหารือบนโต๊ะมีอาทิ การรับมือและฟื้นตัวจากโควิด-19 ความมั่นคงด้านสาธารณสุข การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การพัฒนาอย่างยั่งยืน ความร่วมมือทางทะเล การพัฒนาทุนมนุษย์ การศึกษา ความเชื่อมโยง และเศรษฐกิจ รวมถึงแลกเปลี่ยนความเห็นในประเด็นภูมิภาคและระหว่างประเทศที่สำคัญ

ส่วนความมุ่งหวังของฝ่ายไทยต่อการไปร่วมประชุมเวทีนี้ เพื่อย้ำความพร้อมของไทยในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจ และเปิดประเทศอย่างเต็มรูปแบบ ย้ำความพร้อมของไทยในการเป็นห่วงโซ่อุปทานที่เข้มแข็งกับสหรัฐฯ ย้ำความพร้อมของไทยในการเป็นหุ้นส่วนกับภาคเอกชนสหรัฐฯ ทั้งเศรษฐกิจดิจิทัล การพัฒนาที่ยั่งยืน พลังงานสะอาด และยานยนต์ไฟฟ้า ตลอดจนเป็นโอกาสในการขับเคลื่อนการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปค 2022 ของไทย ที่จะนำเสนอโมเดลเศรษฐกิจ BCG ซึ่งสามารถต่อเนื่องสู่การเป็นเจ้าภาพของสหรัฐฯ ในปี 2023

แต่ที่ทั่วโลกเฝ้าจับตาคือ อาเซียนจะถูกสหรัฐฯ รวบหัวรวบหางดึงเข้าเป็นพวกกับสหรัฐฯ หรือไม่ โดยเป้าหมายแรกสุดคือ เป็นพันธมิตรร่วมต้านรัสเซีย ที่กำลังงัดข้อสุดกำลังกับนาโต้

ถัดไปคือ การฟื้นความร่วมมือทางความมั่นคง-ทหาร ตามนโยบายปักหมุดอาเซียนของสหรัฐฯ ที่เเรียกกันว่านาโต้ 2  เพื่อปิดล้อมการขยายอิทธิพลของจีนในเอเซียและอาเซียน

ไทยได้แสดงจุดยืนอย่างระมัดระวังต่อสถานการณ์ความขัดแย้ง กรณีการยกกำลังทหารบุกยูเครนของรัสเซีย ไทยแม้ไม่ได้ประณาม แต่ก็ไม่เห็นด้วยกับการใช้ความรุนแรง และเรียกร้องให้แก้ปัญหาอย่างสันติ ตามมติของอาเซียน สนับสนุนกับมติเสียงข้างมากของสหประชาชาติ เป็นต้น

การประชุมร่วมกับสหรัฐฯ ครั้งนี้ ประเทศไทยไปในฐานะหนึ่งในสมาชิกประชาคมอาเซียน ซึ่งผู้นำอาเซียนมีระดับการแสดงจุดยืนเข้ม-อ่อนต่อแต่ละประเด็นแตกต่างกันได้มาก จุดยืนหรือท่าที “ทางการ” ของอาเซียนจึงต้องกว้างพอจะรองรับสมาชิกอาเซียนทั้งหมดได้ ทำให้ไทยพอมี “พื้นที่” เพื่อวางน้ำหนักอย่างได้ดุลในเวทีโลก

อีกทั้ง การไปเยือนสหรัฐฯ ของผู้นำไทยครั้งนี้ ยังเป็นการปูทางสู่การจัดประชุมเอเปค 2022 ของไทยในปลายปีนี้ ซึ่งจะเป็นครั้งแรกที่ผู้นำชาติเอเปคอาจเดินทางมาร่วมประชุมด้วยตนเอง หลังจากที่ต้องประชุมทางไกลในช่วงการระบาดเชื้อโควิด-19 มาหลายปี ทั้งจะเป็นเวทีแรกที่เปิดโอกาสให้เกิดการพบปะของผู้นำ 3 ชาติ คือ สหรัฐฯ รัสเซีย และจีน ซึ่งอาจเป็นกุญแจไขสู่การแก้วิกฤตยูเครนตามแนวทางที่ไทยผลักดัน

ฉากทัศน์ดังกล่าวยังต้องรอ ทั้งพัฒนาการความขัดแย้ง ในเวลานั้น ท่าทีและความพร้อมของ 3 ผู้นำโลก ที่ยังต้องประเมินก่อนตัดสินใจจะตอบรับหรือไม่ แม้โอกาสดังกล่าวจะมีน้อยเพียงใด แต่การเตรียมพร้อมไว้ย่อมไม่เสียหาย และหากโอกาสดังกล่าวเกิดเป็นจริงขึ้นได้ นี่ย่อมเป็นอีกบทบาทของประเทศไทย ในการส่งเสริมสันติภาพบนเวทีโลก

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 11 พฤษภาคม 2565

สรท.ห่วงศึกรัสเซียยูเครนกระทบส่งออกฉุดการค้า

สรท.ห่วงสงครามรัสเซียยูเครนกระทบส่งออกทางอ้อม ทำวัตถุดิบผลิตสินค้าขาดแคลน ฉุดตัวเลขการค้าหด

 นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย หรือ สรท. เปิดเผยสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า สรท.มีความเป็นห่วงผลกระทบที่เกิดขึ้น จากสงครามระหว่างรัสเซียและยูเครนที่ยังคงยืดเยื้อ และไม่มีท่าทีจะเจรจาให้คลี่คลายได้ โดยเฉพาะผลกระทบทางอ้อมที่จะเกิดขึ้นกับการส่งออกของไทย สงครามอาจทำให้วัตถุดิบในการผลิตสินค้าบางรายการขาดแคลน โดยเฉพาะชิบเซมิคอนดักเตอร์ ซึ่งเป็นชิ้นส่วนสำคัญในการผลิตรถยนต์ และนอกจากขาดแคลนแล้วราคาจะมีการปรับสูงขึ้นด้วย อาจส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมยานยนต์ของประเทศไทยในระยะถัดไป

นอกจากนี้ตลาดคู่ค้าของประเทศไทยอาจได้รับผลกระทบจากสงครามมากขึ้น มีผลต่อคำสั่งซื้อชะลอตัวลง โดยเฉพาะคู่ค้าในฝั่งสหภาพยุโรปเนื่องจากสงครามมีผลโดยตรงต่อการขนถ่ายสินค้าและราคาค่าระวางเรือที่ยังคงอยู่ในระดับสูงถึงแม้ว่าจะมีการปรับตัวลดลงมาบ้างแล้ว แต่ก็ยังถือว่ามีราคาสูงกว่าช่วงปกติมากและโอกาสที่จะปรับราคาค่าระวางลงเป็นไปได้น้อย

ผู้ส่งออกไทยควรปรับแผนเปลี่ยนตลาดเน้นขายในภูมิภาคอาเซียน และเอเชีย ให้มากขึ้นเนื่องจากหลายประเทศ มีความต้องการสินค้าเพื่อเข้ามาทดแทนในช่วงที่ปิดประเทศมาตลอด 2 ปีจากการระบาดของโควิด-19 ไม่ว่าจะเป็นมาเลเซีย สิงคโปร์ เกาหลีใต้ เริ่มที่จะขยายคำสั่งซื้อมากขึ้นแล้ว เชื่อว่าในช่วงไตรมาสที่ 2 การส่งออกของไทยจึงยังคงเติบโตได้อย่างน้อยร้อยละ 5

จาก https://www.innnews.co.th   วันที่ 11 พฤษภาคม 2565

KSL ฟันธงปี 66 ปีทองของธุรกิจน้ำตาล ลั่นมีอ้อยเข้าหีบเพิ่ม 23%

“น้ำตาลขอนแก่น” คาดปี 66 มีปริมาณอ้อยเข้าหีบพุ่งแตะ 8 ล้านตันอ้อย คิดเป็นปริมาณน้ำตาล 8 แสนตัน สูงขึ้นกว่าปีนี้ถึง 23% ขณะที่ราคาน้ำตาลยังสูงอยู่แตะ 20 เซ็นต์/ปอนด์ แย้มไตรมาส 2/65 คาดรายได้โตขึ้นต่อเนื่อง ชี้บาทอ่อนส่งผลดีต่อธุรกิจอ้อยและน้ำตาล

นายชลัช ชินธรรมมิตร์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทน้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) (KSL) เปิดเผยว่า

บริษัทคาดการณ์ประเทศไทยจะปริมาณอ้อยเข้าหีบในฤดูกาลผลิตปี 2565/66 อยู่ที่ 110-115 ล้านตันอ้อย เพิ่มขึ้นจากปี 2564/65 ที่มีปริมาณอ้อยเข้าหีบ 92 ล้านตันอ้อย โดยบริษัทคาดว่าจะมีปริมาณอ้อยเข้าหีบปี 2566 เพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 8 ล้านตันอ้อย คิดเป็นการผลิตน้ำตาลอยู่ที่ 8 แสนกว่าตัน เพิ่มขึ้นจากปีนี้ที่มีปริมาณอ้อยเข้าหีบอยู่ที่ 6.56 ล้านตันอ้อย คิดเป็นส่วนแบ่งตลาด 7.13% ใหญ่เป็นอันดับ 4 ของปริมาณการหีบอ้อยทั่วประเทศ โดยปี 2565 บริษัทมีปริมาณการผลิตน้ำตาลอยู่ที่ 7 แสนตัน

ขณะที่แนวโน้มราคาน้ำตาลในตลาดโลกในปีหน้าคาดว่ายังอยู่ในระดับสูง 19-20 เซ็นต์/ปอนด์ใกล้เคียงปัจจุบัน แม้ว่าปริมาณการส่งออกน้ำตาลของผู้ผลิตรายใหญ่อย่างบราซิลและไทยจะเพิ่มมากขึ้น ทำให้ภาพรวมน้ำตาลโลกอยู่ในภาวะเกินดุลก็ตาม ขณะที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าลง ส่งผลดีต่อโรงงานน้ำตาลในการส่งออกไปจำหน่ายในต่างประเทศ

จากแนวโน้มปริมาณการผลิตอ้อยที่เพิ่มมากขึ้นในปีหน้า บริษัทคาดว่าการเปิดหีบอ้อยใหม่จะต้องเร็วขึ้นกว่าเดิมที่ผ่านมา น่าจะเปิดหีบอ้อยในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2565 เพื่อให้การหีบอ้อยแล้วเสร็จก่อนเดือนเมษายนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาการขาดแคลนแรงงาน

นายชลัชกล่าวว่า ทิศทางผลประกอบการงวดไตรมาส 2/2565 สิ้นสุดวันที่ 30 เมษายน 2565 บริษัทคาดว่าจะมียอดขายเพิ่มขึ้นจากไตรมาส 1/2565 ราว 10-20% ส่วนต้นทุนอาจจะมีการปรับเพิ่มขึ้นบ้าง ส่งผลให้กำไรขั้นต้นปรับตัวลดลงเล็กน้อยแต่ชดเชยจากราคาน้ำตาลที่อยู่ระดับสูง กล่าวได้ว่าผลการดำเนินงานบริษัทในช่วง 2 ปีนี้เป็นปีที่ดีของบริษัทฯ

สำหรับปัจจัยลบสำหรับอุตสาหกรรมอ้อยน้ำตาลพบว่าปีนี้ปริมาณน้ำฝนมีเพียงพอในการเพาะปลูก แต่ราคาปุ๋ยปรับตัวสูงขึ้น ทำให้เกษตรกรอาจลดการใส่ปุ๋ยลงทำให้อ้อยขาดความสมบูรณ์ ดังนั้นบริษัทจะแนะนำเกษตรกรให้ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีราคาถูกแทนการใช้ปุ๋ยเคมี ส่งผลให้แนวโน้มบริษัทจะเพิ่มกำลังการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ได้เต็มกำลังผลิตได้

สำหรับผลประกอบการงวดไตรมาส 1/2565 สิ้นสุดวันที่ 31 มกราคม 2565 บริษัทมีรายได้จากการขายและบริการ 3,426 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีรายได้อยู่ที่ 1,713 ล้านบาท และมีกำไรอยู่ที่ 332.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนที่มีกำไรอยู่ที่ 308.56 ล้านบาท

จาก https://mgronline.com   วันที่ 10 พฤษภาคม 2565

ค่าเงินบาทวันนี้ (10 พ.ค.) แข็งค่า 34.52 บาท บทวิเคราะห์ล่าสุด

ค่าเงินบาทวันนี้ (10 พ.ค.) เปิดตลาดแข็งค่าเล็กน้อย 34.52 บาทต่อดอลลาร์ โดยกรอบแนวรับ 34.50 บาท แนวต้าน 34.65 บาท

วันที่ 10 พฤษภาคม 2565 ศูนย์วิจัยกสิกรไทย รายงานว่า เงินบาทปรับตัวอยู่ที่ระดับประมาณ 34.52-34.55 บาทต่อดอลลาร์ ในช่วงเช้าวันนี้ (09.15 น.) แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับระดับปิดตลาดวันทำการก่อนหน้าที่ 34.61 บาทต่อดอลลาร์

ประกาศฉบับที่ 8 พายุไซโคลน “อัสนี” เตือนฝนตกหนักมาก เสี่ยงท่วมฉับพลัน

ราชกิจจาฯประกาศแล้ว นั่งรถด้านหลังไม่คาดเข็มขัดนิรภัย โดนปรับ 2 พันบาท

อนุทินเปิดตัวภรรยาคนที่ 3 หลังหย่าแจก 50 ล้าน จ่ายเงินสดรายเดือนตลอดชีพ

โดยเงินบาทฟื้นตัวกลับมาได้บางส่วน (หลังแตะระดับอ่อนค่าสุดในรอบ 5 ปีครั้งใหม่เมื่อวานนี้ที่ 34.63 บาทต่อดอลลาร์) ขณะที่แรงหนุนของเงินดอลลาร์เริ่มชะลอลงตามการปรับตัวลงของบอนด์ยีลด์สหรัฐ เนื่องจากนักลงทุนยังคงรอติดตามข้อมูลเงินเฟ้อ (CPI) ของสหรัฐ ในคืนวันพุธอย่างใกล้ชิด

อย่างไรก็ดี แรงเทขายสินทรัพย์เสี่ยงและแนวโน้มการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐยังเป็นปัจจัยที่จะจำกัดกรอบการแข็งค่าของเงินบาทในระหว่างวัน

สำหรับกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ คาดไว้ที่ 34.50-34.65 บาทต่อดอลลาร์ ขณะที่ปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ถ้อยแถลงของเจ้าหน้าที่เฟด แผนในการรับมือกับภาวะเงินเฟ้อของประธานาธิบดี โจ ไบเดน สถานการณ์ยูเครน-รัสเซีย และทิศทางเงินทุนต่างชาติ

จาก https://www.prachachat.net   วันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ไอ ซี พี หนุนเกษตรกรไทยสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ทุ่มงบลงทุนร่วมกับ Bug Away Thailand ผุดโดรนต้นแบบเพื่อการเกษตร “Mah Bin” (ม้าบิน)

กลุ่มบริษัท ไอ ซี พี หนุนเกษตรกรไทยสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ทุ่มงบลงทุนร่วมกับ Bug Away Thailand ผุดโครงการโดรนต้นแบบเพื่อการเกษตร “Mah Bin” (ม้าบิน) รายแรกในประเทศไทย ตั้งเป้าครอบคลุมพื้นที่การใช้งานกว่า 60% ทั่วประเทศ เพิ่มยอดผู้ใช้งานโดรนเกษตรกว่า 10,000 ราย พร้อมขยายศูนย์บริการครอบคลุม 40 แห่งทั่วประเทศ ภายในปี 2566

วันนี้ (9 พ.ค.) กลุ่มบริษัท ไอ ซี พี ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย ปุ๋ยตราม้าบิน ปุ๋ยท็อปวัน ตรา ไอ ซี พี และผลิตภัณฑ์อารักขาพืช ตรา ไอ ซี พี ลัดดา ที่อยู่คู่เกษตรกรไทยมายาวนานกว่า 40 ปี ทุ่มงบขับเคลื่อนการเกษตรไทยด้วยนวัตกรรม     สู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ประกาศร่วมทุนกับ Bug Away Thailand (บัค อะเวย์) ผู้ผลิตโดรนเพื่อการเกษตร โดย บริษัท ดีจีไอ โปรดักชั่น จำกัด พัฒนาโครงการโดรนต้นแบบเพื่อการเกษตร ที่คิดค้น ออกแบบ และผลิตโดยคนไทย เจ้าแรกในประเทศไทย ภายใต้แบรนด์ Mah Bin (ม้าบิน) เดินหน้ายกระดับเกษตรกรไทยสู่ New S-Curve เพิ่มมูลค่าและความยั่งยืนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อเปลี่ยนรูปแบบการเกษตรแบบดั้งเดิมสู่การเกษตรสมัยใหม่ที่มีประสิทธิภาพ ตั้งเป้าครอบคลุมพื้นที่การใช้งาน 60% เพิ่มยอดผู้ใช้งานโดรนเกษตรกว่า 10,000 ราย พร้อมขยายศูนย์บริการครอบคลุม 40 แห่งทั่วประเทศ ภายในปี 2566


คุณคณิน สุวรรณนภาศรี ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายกลยุทธ์ บริษัท ไอ ซี พี เฟอทิไลเซอร์ จำกัด กล่าวว่า “กลุ่มบริษัท ไอ ซี พี ประกอบด้วย บริษัท ไอ ซี พี เฟอทิไลเซอร์ จำกัด บริษัท ไอ ซี พี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และบริษัท ไอ ซี พี ลัดดา จำกัด ผู้ผลิตและจัดจำหน่าย ปุ๋ยตราม้าบิน ปุ๋ยท็อปวัน ตราไอ ซี พี และผลิตภัณฑ์อารักขาพืช ตราไอ ซี พี ลัดดา เรามีความเชี่ยวชาญและอยู่คู่เกษตรกรไทยมายาวนานกว่า 40 ปี โดยการเกษตรกรรมมีความสำคัญต่อประเทศไทยมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สำหรับไทยแลนด์ 4.0 เป็นยุคแห่งการใช้นวัตกรรมพลิกโฉมและขับเคลื่อนเกษตรกรไทย ทำน้อยแต่ได้ผลมาก ซึ่งหนึ่งในปัญหาหลักของธุรกิจภาคการเกษตรประเทศไทย คือการขาดแคลนแรงงาน และขาดความรู้ในเทคโนโลยีใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต หนึ่งในแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว คือการเปลี่ยนการเกษตรแบบดั้งเดิม (Traditional Farming) สู่การเกษตรสมัยใหม่ที่เน้นการบริหารจัดการและใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม (Smart Farming) เพื่อให้ผลิตได้อย่างแม่นยำ ประหยัดทรัพยากร สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน และต้องการให้เกษตรกรไทยมีคุณภาพชีวิตที่ดี นี่จึงเป็นที่มาของครั้งแรกกับการร่วมลงทุนระหว่าง กลุ่มบริษัท ไอ ซี พี (70%) และ Bug Away Thailand – บัค อะเวย์ (30%) ผู้ผลิตโดรนเพื่อการเกษตร โดย บริษัท ดีจีไอ โปรดักชั่น จำกัด พัฒนาโครงการโดรนต้นแบบเพื่อการเกษตร ที่คิดค้น ออกแบบ และผลิตโดยคนไทย เจ้าแรกในประเทศไทย ภายใต้แบรนด์ Mah Bin (ม้าบิน)”

คุณรัตยา เฉลิมวงศ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ บริษัท ดีจีไอ โปรดักชั่น จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า “โดรนเกษตร คืออากาศยานไร้คนขับ ที่ใช้งานทางการเกษตร ปัจจุบันมีทั้งการฉีดพ่นสารน้ำ การหว่านปุ๋ยและเมล็ดพันธุ์ การถ่ายภาพเพื่อสำรวจคุณภาพผลผลิต โดยปัจจุบันกว่า 90% ของโดรนเกษตร จะอยู่ในรูปแบบของการพ่นสารน้ำ การหว่านปุ๋ยและเมล็ดพันธุ์ โดรนเกษตรมีแนวโน้มเติบโตในตลาดขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี โดยปี 2564 เติบโตขึ้นถึง 200% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ซึ่งโดรนเกษตรเข้ามาทดแทนการทำงานเดิมที่เกษตรกรต้องแบกเครื่องพ่นสะพายหลัง ที่มีขนาดถังบรรจุถึง 25 กิโลกรัม ส่งผลเสียต่อเกษตรกรในด้านสุขภาพ และใช้ระยะเวลานานในการทำงาน ไม่สม่ำเสมอ รวมทั้งมีข้อจำกัดในบางช่วงอายุของพืช เช่น ช่วงข้าวออกรวง หรือพืชสูง เป็นต้น โดรนเกษตรจึงเข้ามาตอบโจทย์ ลดระยะเวลาการทำงานให้แก่เกษตรกร เพิ่มคุณภาพการฉีดพ่นที่ทั่วถึงด้วยระบบการวางแผนงานอย่างครอบคลุม และสามารถใช้งานกับพืชได้หลากหลายชนิด ทุกช่วงอายุของพืช พร้อมสร้างอาชีพให้แก่คน  รุ่นใหม่ ที่หันมาทำการเกษตรผ่านเทคโนโลยีกันมากขึ้น”

สำหรับประเภทของโดรนเกษตร แบรนด์ Mah Bin (ม้าบิน) ประกอบด้วย โดรนฉีดพ่นขนาดเล็ก สำหรับกลุ่มเกษตรกรระดับครัวเรือน โดรนฉีดพ่นขนาดใหญ่ สำหรับกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ รวมทั้งผู้ให้บริการ และโดรนสำรวจพื้นที่ สำหรับวิเคราะห์รูปแบบแปลง รวมถึงตรวจสอบและประเมินคุณภาพของผลิต โดยมีจุดเด่นที่เป็นแบรนด์แรกของประเทศไทย ซึ่งคิดค้น ออกแบบ และผลิตโดยคนไทย พร้อมรับรองรูปแบบจากกรมวิชาการเกษตร ปั๊มแรงดันสูง รองรับการติดตั้งหัวพ่นทุกรูปแบบ ขนาดเล็ก เบา ง่ายต่อการขนย้าย สีสันสวยงามโดดเด่น    ไม่ซ้ำใคร ราคาไม่แพง พร้อมรับประกัน 1 ปีเต็ม

กลุ่มเกษตรกรทั่วประเทศไทย โดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกพืชไร่ต่างๆ เช่น ข้าว อ้อย ข้าวโพด มันสำปะหลัง พืชสวน ทุเรียน ปาล์ม ส้ม ลำไย ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจการเกษตรของประเทศไทย นิยมนำโดรนเกษตรมาเป็นเครื่องมือการฉีดพ่นแทนการใช้แรงงาน โดยปัจจุบันมีผู้ใช้งานโดรนเพื่อการเกษตรในประเทศไทยอยู่ที่ 2,000 – 3,000 ลำทั่วประเทศ ครอบคลุมพื้นที่การใช้งานเพียง 20% เท่านั้น โดยโดรนเพื่อการเกษตรแบรนด์ Mah Bin     (ม้าบิน) ตั้งเป้าขยายพื้นที่การใช้งานให้ครอบคลุมกว่า 60% พร้อมเดินหน้าขยายศูนย์บริการครอบคลุม 40 แห่ง   ทั่วประเทศ ทะยานสู่รายได้รวม 2,500 ล้านบาท ภายในปี 2566

“ปัจจุบันตลาดปุ๋ยเคมี และผลิตภัณฑ์อารักขาพืช ในประเทศไทยมีมูลค่ารวม ประมาณ 1 แสนล้านบาท  ต่อปี โดยกลุ่มบริษัทไอ ซี พี มีส่วนแบ่งการตลาดประมาณอยู่ที่ 15% มูลค่ายอดขายรวมมากกว่า 15,000 ล้านบาทต่อปี และมีฐานลูกค้าที่ให้ความไว้วางใจผลิตภัณฑ์อยู่ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศไทยมากกว่า 2,000 ร้านค้า พร้อมนำเข้า ผลิตและจัดจำหน่าย สินค้าปัจจัยการผลิตทางการเกษตรครบวงจรมากที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย โดยมั่นใจว่าจากศักยภาพและความชำนาญของกลุ่มบริษัทไอซีพี และ Bug Away Thailand (บัค อะเวย์)            จะสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับเกษตรกรไทย พร้อมขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ยุคแห่งการพัฒนาเศรษฐกิจ  ยุคใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด” คุณคณิน กล่าวทิ้งท้าย

จาก https://mgronline.com  วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

กรมชลฯจัดการน้ำตามแผน ย้ำให้ปฏิบัติตาม13มาตรการรับมือ

นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ปริมาณน้ำในอ่างขนาดใหญ่ขนาดกลาง และขนาดเล็ก มีปริมาณ 20,068 ล้านลูกบาศก์เมตร (ล้านลบ.ม.) หรือ 38% ของความจุอ่าง จากปริมาณน้ำต้นทุนเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 มีปริมาณ 37,857 ล้าน ลบ.ม. มีการจัดสรรน้ำเพื่อใช้ในฤดูแล้งในกิจกรรมต่างๆ 22,998 ล้าน ลบ.ม. เกินแผนประมาณ 3% จากแผนบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้งปีเพาะปลูก 2564/65 เริ่มวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 กำหนดปริมาณน้ำใช้การได้ในฤดูแล้ง 22,280 ล้าน ลบ.ม. โดยมีการติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำแหล่งน้ำ และแม่น้ำสายหลักต่างๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องและเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน แต่จากสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ประชาชนกลับภูมิลำเนาและทำอาชีพเกษตรเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อการปลูกข้าวนาปรังในปีนี้ที่เกินแผนส่งเสริมเท่าตัว แต่ทางกลับกันพบว่ามีการใช้น้ำเกินแผนไปเล็กน้อย

สำหรับ ผลการเพาะปลูก ข้าวนาปรัง 2564/65 ทั่วประเทศ มีการปลูก ข้าวไปแล้วจำนวน 8.11 ล้านไร่ เกินแผนประมาณ 26.5% จากแผน 6.41 ล้านไร่ ขณะนี้มีการเก็บเกี่ยว 5.22 ล้านไร่ ในจำนวนนี้ ลุ่มเจ้าพระยาถือว่าเพาะปลูกข้าวมากที่สุด 4.41 ล้านไร่ มากกว่าแผน 56.75% จากแผนที่วางไว้ 2.81 ล้านไร่ถือเป็นพื้นที่ที่ทำนาปรังมากที่สุด สัดส่วนประมาณ 55% ของพื้นที่ทำนาปรังทั่วประเทศ

นายทวีศักดิ์กล่าวต่อว่า เพื่อรับมือฤดูฝนที่กำลังจะมาถึงจึงมอบหมายสำนักงานชลประทานทั่วประเทศ ประสานงานและตรวจสอบพื้นที่ที่มีการปรับปรุงอาคารชลประทานและทางน้ำที่อาจจะมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการระบายน้ำพร้อมเตรียมแผนการแก้ไขบัญหาไว้ล่วงหน้า รวมถึงเน้นย้ำให้ดำเนินการปฏิบัติตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2565 ของรัฐบาล บริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุม เร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำอย่างสม่ำเสมอ ติดตาม วิเคราะห์สภาพอากาศ สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำ แม่น้ำสายหลักต่างๆ

พร้อมกันนี้ ได้ให้สำนักเครื่องจักรกล ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานและการบำรุงรักษาเครื่องจักร เครื่องมือ ให้กับบุคลากรของหน่วยงานในทุกพื้นที่ ให้สามารถบำรุงรักษาและใช้งานเครื่องจักร เครื่องมือได้อย่างเต็มศักยภาพ เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน ซึ่งคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ที่ผ่านมา รับทราบ 13 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2565 แล้ว

จาก https://www.naewna.com วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

ธ.ก.ส.คาดราคาสินค้าเกษตรในเดือนนี้ส่วนใหญ่ปรับเพิ่ม

ธ.ก.ส.ชี้มาตรการผ่อนคลายนักท่องเที่ยวต่างชาติ ส่งผลราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่มีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ขณะที่​ สงครามยูเครนกระทบราคาน้ำมันแพง​

นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. คาดการณ์ราคาสินค้าเกษตรในเดือนพฤษภาคม 2565 โดยสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวสูงขึ้น

ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ราคาอยู่ที่ 8,546 -8,719 บาท/ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.08 - 3.14 ข้าวเปลือกเจ้าหอมมะลิ ราคาอยู่ที่ 11,904 -12,130 บาท/ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.61 - 3.55 เนื่องจาก​ ภาวะความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ทำให้ประเทศผู้นำเข้ามีความต้องการข้าวเพื่อเพิ่มความมั่นคงทางอาหารและใช้เป็นสินค้าทดแทน ข้าวสาลีและข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ประกอบกับค่าเงินบาทอ่อนตัว ส่งผลให้ข้าวไทยสามารถแข่งขันกับคู่แข่งได้

ข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ราคาอยู่ที่ 8,793 - 8,830 บาท/ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.20 - 0.62 เนื่องจากข้าวเหนียวนาปรังออกสู่ตลาดลดลง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ราคาอยู่ที่ 9.62 - 9.69 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.28 - 1.06 เนื่องจากความต้องการใช้เพื่อผลิตอาหารสัตว์ยังคงเพิ่มขึ้นจากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์อื่นมีราคาสูง

น้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์ก ราคา 19.38 – 19.60 เซนต์/ปอนด์ (14.49 - 14.66 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.21 – 1.32 เนื่องจากแนวโน้มน้ำมันดิบที่สูงขึ้น ส่งผลดีต่อราคาเอทานอล ทำให้ผู้ประกอบการเพิ่มสัดส่วนการนำอ้อยไปผลิตเอทานอล ประกอบกับการเริ่มเก็บเกี่ยวอ้อยบราซิลล่าช้าและการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในจีน ส่งผลให้ประเทศจีนชะลอการนำเข้าน้ำตาลทรายและผลผลิตน้ำตาลทรายจากอินเดีย

ยางพาราแผ่นดิบชั้น 3 ราคาอยู่ที่ 62.27 - 63.34 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.61 - 2.34 เนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากความกังวลต่อมาตรการคว่ำบาตรของสหภาพยุโรป ส่งผลให้ความต้องการยางธรรมชาติทดแทนยางสังเคราะห์เพิ่มขึ้นและนโยบายภาครัฐในการส่งเสริมการใช้รถไฟฟ้า รวมถึงผลผลิตยางพาราในตลาดน้อย เพราะอยู่ในช่วงปิดกรีดยางและพบปัญหาโรคใบร่วงในแหล่งผลิตยางที่สำคัญของไทย

มันสำปะหลัง ราคาอยู่ที่ 2.40 - 2.50 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.84 - 5.04 เนื่องจากปริมาณผลผลิตออกสู่ตลาดลดลง ในขณะที่ความต้องการการใช้มันสำปะหลังในประเทศและส่งออกยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ประกอบกับความขัดแย้งรัสเซีย-ยูเครนที่ยืดเยื้อ ทำให้ความต้องการใช้มันสำปะหลังเพิ่มขึ้น

กุ้งขาวแวนนาไม ราคาอยู่ที่ 153.55 - 155.51 บาท/กก. ราคาเพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 1.02 - 2.31 เนื่องจากภาวะต้นทุนอาหารสัตว์ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรลดปริมาณการเลี้ยงกุ้งลง ขณะที่ความต้องการส่งออกเพิ่มขึ้น และการผ่อนคลายมาตรการโควิด-19 ส่งผลดีต่อการบริโภคกุ้งในประเทศ

สุกร ราคาอยู่ที่ 93.43 - 95.83 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 4.11 – 6.78 เนื่องจากต้นทุนการเลี้ยงสุกร เพิ่มสูงขึ้นจากปัจจัยราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์และต้นทุนค่าขนส่งที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับปัญหาสภาพอากาศร้อนทำให้สุกรเจริญเติบโตช้า ผลผลิตเนื้อสุกรออกสู่ตลาดน้อย ส่งผลให้ราคาสุกรเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

โคเนื้อ ราคา 100 - 105 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนร้อยละ 0.32–5.34 เนื่องจากมาตรการผ่อนคลายการ เดินทางเข้าประเทศของนักท่องเที่ยวต่างชาติและการเฉลิมฉลองเทศกาลฮารีรายออิดิ้ลฟิตรีหลังการถือศีลอดของชาวไทยมุสลิม ทำให้ความต้องการบริโภคเนื้อโคปรับตัวเพิ่มขึ้น ด้านสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวลดลง ได้แก่ ปาล์มน้ำมัน ราคา 9.63 – 9.75 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อนร้อยละ 1.11 – 2.33 เนื่องจากเป็นช่วงที่ผลผลิต

ปาล์มน้ำมันออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมากในช่วงไตรมาส 2 (เมษายน - มิถุนายน 2565) อยู่ที่ 5.75 ล้านตัน คิดเป็นร้อยละ 32.73 ของปริมาณผลผลิตทั้งหมดต่อปี นอกจากนี้​ ตามนโยบายรัฐมีการปรับสัดส่วนไบโอดีเซลจาก 7%  เหลือ 5% ส่งผลให้สต็อกน้ำมันปาล์มดิบเพิ่มสูงขึ้น

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

เงินบาทอ่อนค่า....มีผลอย่างไรต่อฟื้นเศรษฐกิจไทย  

อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกลายเป็นประเด็นได้รับความสนใจเนื่องจากเงินบาทอ่อนค่าหรือแข็งค่าจนเกินความสมดุลล้วนมีผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่พึ่งพาการค้าระหว่างประเทศในระดับสูง ช่วงโค้งสุดท้ายของไตรมาสแรกเงินบาทสวิงค่อนข้างมากและแนวโน้มไปในทางอ่อนค่าเห็นได้จากศุกร์ที่ผ่านมา (6 พ.ค.) ตลาด “Offshore” ซึ่งเป็นตลาดซื้อ-ขายและเก็งกำไรอัตราแลกเปลี่ยนนอกประเทศอยู่ที่ระดับ 34.370 บาทต่อเหรียญสหรัฐเป็นอัตราที่สูงสุดในรอบหลายปี

ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทยหรือ "ธปท.” ตรึงไว้ที่อัตราเฉลี่ย 34.101 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ก่อนเข้าเรื่องผู้เขียนขอออกตัวเช่นเคยว่าไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับตลาดค่าเงินและอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศเพียงแต่ด้วยอาชีพเกี่ยวข้องกับผู้ส่งออกและนำเข้า รวมถึงติดตามการเคลื่อนไหวของเงินบาทและเงินสกุลสำคัญของโลกมาหลายปีข้อมูลที่นำเสนอเป็นเพียงการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น

การเข้าใจผลกระทบค่าเงินบาทจำเป็นที่ต้องเข้าใจบริบทตลาดค้าเงินระหว่างประเทศซึ่งส่วนใหญ่เป็น การเก็งกำไรแต่มีผลชี้นำต่ออัตราแลกเปลี่ยน การที่เงินบาทจะอ่อนค่า (Depreciates) หรือเงินบาทแข็งค่า (Appreciates) หมายถึงการเปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทกับเงินสกุลกับประเทศใดประเทศใด ณ เวลาใดเวลาหนึ่ง ส่วนใหญ่หากไม่ระบุชัดเจนอนุมานว่าเป็นการเปรียบเทียบกับเงินเหรียญสหรัฐซึ่งเป็นเงินสกุลหลักทั่วโลกใช้หมุนเวียนประมาณร้อยละ 60 และเป็น 1 ใน 3 ของเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ เงินบาทได้รับการท้าทายหลังจากธนาคารกลางสหรัฐอเมริกาหรือ “FED”  ก่อนหน้านี้ทยอยลดมาตรการเชิงปริมาณ (QE) และทยอยลดปรับดอกเบี้ยนโยบาย

ล่าสุดปลายสัปดาห์ที่แล้วปรับขึ้นดอกเบี้ยไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.75-1.0 จากเดิมตรึงไว้ที่ร้อยละ 0-0.25  เป็นการปรับครั้งใหญ่มากสุดในรอบ 20 ปีและกลางปีอาจปรับสูงกว่านี้ นัยของการปรับดอกเบี้ยเพื่อลดความร้อนแรงทางเศรษฐกิจที่มีเงินจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจหมุนเวียนสูงจนทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อสูงสุดในรอบสี่ทศวรรษ จากการที่เงินเหรียญสหรัฐใช้เป็นเงินสกุลกลางในการค้าของโลกผลกระทบทำให้เงินสกุลต่างๆ ของโลกได้รับผลกระทบมากน้อยต่างกัน จากการเปรียบเทียบกับเงินสกุลหลักของภูมิภาคช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา (ม.ค.-เม.ย.) เงินสกุลของประเทศต่างๆ ส่วนใหญ่มีแนวโน้มไปทางอ่อนค่า เช่น เงินเยนของญี่ปุ่นอ่อนค่าร้อยละ 12.654, เงินริงกิตมาเลเซียอ่อนค่าร้อยละ 3.986, เงินหยวนจีนอ่อนค่าร้อยละ 3.708, เงินดอลล่าร์สิงคโปร์อ่อนค่าร้อยละ 2.173 มีเพียงเงินยูโรที่แข็งค่าร้อยละ 6.906 ขณะที่ไทยเงินบาทช่วงเดียวกันอ่อนค่าร้อยละ 3.076

ตัวเลขนี้แสดงว่าเงินบาทอ่อนค่าไปตามเงินสกุลอื่นๆ ในภูมิภาคและไทยอ่อนค่าน้อยกว่าหลายประเทศ แสดงให้เห็นถึงเสถียรภาพเงินบาทสะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศสุทธิเดือนมีนาคมปีนี้สูงถึง 272,930.46 ล้านเหรียญสหรัฐ ภาคส่วนส่งออกได้รับอานิสงส์ทั้งจากเศรษฐกิจโลกขยายตัวและเงินบาทหนุนทำให้ไตรมาสแรกขยายตัวสูงถึงร้อยละ 14.9 สูงสุดในรอบหลายปี องค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องกับส่งออกเรียกร้องให้กระทรวงการคลังและธปท.ช่วยพยุงเงินบาทให้ทรงตัวในระดับอ่อนค่าเช่นนี้ต่อไป

อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทอ่อนหรือแข็งค่าเป็นเสมือน “เหรียญสองด้าน” ถึงแม้ว่าบาทอ่อนจะทำให้ส่งออกขยายตัวได้ดีเพราะสินค้าราคาถูกลงขายได้ง่ายเป็นผลบวกต่อเศรษฐกิจ แต่อีกด้านหนึ่งไทยเป็นประเทศนำเข้าเป็นหลักหรือ “Import Intensive”  อัตราการขยายตัวในช่วงที่ผ่านมาพอๆ กับการส่งออกโดยปีพ.ศ.2564 มูลค่าการนำเข้าต่อมูลค่าส่งออกสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 98.69 และปีนี้ราคาพลังงานและเงินเฟ้อโลกสูงสัดส่วนอาจแซงหน้า การที่ค่าเงินบาทอ่อนส่งผลทำให้ราคาสินค้านำเข้าในรูปเงินบาทสูงขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 3.2 ทำให้ต้นทุนราคาสินค้าต่างๆ สูงขึ้น เช่น น้ำมันเชื้อเพลิง, วัตถุดิบสินค้ากึ่งสำเร็จรูป, ปุ๋ย, ธัญพืช ฯลฯ  ผลกระทบย่อมกลับไปสู่ประชาชนอีกทั้งสินค้าส่งออกส่วนใหญ่ใช้วัตถุดิบและ/หรือสินค้ากึ่งสำเร็จรูปที่ต้องนำเข้าในสัดส่วนที่สูงในที่สุดกลับไปเพิ่มต้นทุนส่งออก

ดังนั้นการที่ภาคส่งออกเรียกร้องให้รัฐพยุงเงินบาทให้อ่อนค่าอาจไปกระทบภาคส่วนอื่นให้ได้รับความเดือดร้อน ที่ต้องติดตามคือค่าเงินบาทซึ่งปีนี้มีแนวโน้มไปในทางอ่อนค่าเหตุผลสำคัญ เช่น ประการแรก ธนาคารกลางสหรัฐ (FED) ทยอยปรับดอกเบี้ยและนโยบายจากอัตราเกือบ “ศูนย์” ไปร้อยละ 1.5 และจะปรับสูงขึ้นอีกจนถึงเพดานร้อยละ 2.0 อาจทำให้ทุนไหลออก (Cash Outflow) เพื่อทำกำไรในตลาดค้าเงินที่มีการโยกย้ายเงินเพื่อการเก็งกำไร  ประการที่สอง เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกามีแนวโน้มฟื้นตัวอาจขยายตัวได้ร้อยละ 4.5 และโลกหลังผ่านโควิดจะมีความต้องการสินค้าเทคโนโลยีก้าวหน้าซึ่งสหรัฐเป็นผู้นำตลาดทำให้อุปสงค์เงินดอลล่าร์สูงกดดันให้เงินสกุลอื่นอ่อนค่า

ประการที่สาม รัฐบาลสหรัฐฯ ให้เงินช่วยเหลืออุตสาหกรรมในประเทศด้านยุทธปัจจัยกับประเทศยูเครนนัยว่าอาจถึง 3.0 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับเหล็กและอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับทหารสามารถทำกำไรได้สูง  ประการสุดท้าย เงินดุลบัญชีสะพัดไทยหรือ “Balance of Payment” เป็นบวกหลังจากการฟื้นตัวของภาคท่องเที่ยวซึ่งคาดว่านักท่องเที่ยวต่างชาติอาจเดินทางเข้ามา 7-10 ล้านคนอาจมีเงินเข้ามาไม่น้อยกว่า 1.25 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ อีกทั้งตลาดหุ้นไทยยังขยายตัวได้ดีทำให้เงินทุนต่างชาติอาจไหลเข้ามาเป็นปัจจัยบวกต่อเสถียรภาพเงินบาทสะท้อนจากเงินทุนสำรองระหว่างประเทศอยู่ในปริมาณที่สูงทำให้ต่างชาติมีความเชื่อมั่นต่อค่าเงินบาทโดยที่อัตราแลกเปลี่ยนหากจะอ่อนค่าคงไม่มากไปกว่าประเทศต่างๆ ในภูมิภาค

ประเด็นคือความสมดุลของเงินบาทควรอยู่ ณ ที่ใดจึงเหมาะสม จากประสบการณ์ในอดีตที่เงินบาทเป็นสกุลหลักอยู่ในตลาดค้าเงินระหว่างประเทศ การที่รัฐหรือธนาคารกลางเข้าไปแทรกแซงอาจมีความเสี่ยงเหมือนที่เคยเกิดขึ้นจากวิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปีพ.ศ.2540 ที่ต้องทำความเข้าใจคือเงินบาทได้รับแรงกดดันจาก “FED” ที่ปรับดอกเบี้ยนโยบายสูงกว่าดอกเบี้ยนโยบายของ “กนง.” ซึ่งคงไว้ร้อยละ 0.5 ทำให้มีช่องว่างสูงอาจทำให้เกิดการไหลออกของเงินทุนและการเข้ามาเก็งกำไรซึ่งจะไปซ้ำเติมให้บาทมีการอ่อนค่า ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์ว่าอาจไปถึงอัตรา 35-36 บาทต่อเหรียญสหรัฐโดยอัตราแลกเปลี่ยนตลาดออฟชอร์มีการ “Bidding” ราคาเป็นรายนาที ตรงนี้ไม่ได้หมายความว่าให้ ธปท.หรือกนง. ไปปรับขึ้นดอกเบี้ยซึ่งจะเป็นต้นทุนต่อผู้ประกอบการในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจอ่อนไหวได้ง่าย

ข้อเท็จจริงตลาดค้าเงินของภูมิภาคจะเป็นตัวกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนโดยธนาคารแห่งประเทศไทยอาจเข้าไปแทรกแซงบางช่วงเวลาเพื่อไม่ให้ราคาสวิงหรือ “เก็งกำไร” มากเกินไปแต่จะไปพยุงไว้ตามอัตราที่ต้องการคงไม่ได้เป็นเรื่องของอุปสงค์และอุปทาน กระแสกดดันค่าเงินบาทท่ามกลางความไม่แน่นอนของโลกซึ่งส่วนใหญ่เป็นปัจจัยภายนอกอาทิ เช่น การปรับดอกเบี้ยนโยบายของสหรัฐตลอดจนความเสี่ยงของสงครามยูเครนซึ่งกลายเป็นการเผชิญหน้ารัสเซียกับนาโต้รวมถึงผลที่ตามมาจากการแซงชั่นรัสเซียทางเศรษฐกิจทำให้ปริมาณน้ำมันและสินค้าโภคภัณฑ์หายไปจากตลาดส่งผลต่อราคาไปกดดันเงินเฟ้อทำให้ราคาสินค้าในประเทศแพงจนชาวบ้านออกมาโวยต่อว่ารัฐบาลในการแก้ปัญหา ที่กล่าวมาล้วนเป็นความท้าทายของผู้บริหารประเทศซึ่งของไทยไม่รู้ว่าใครเป็นเบอร์หนึ่งด้านเศรษฐกิจที่มีกึ๋นพอเข้ามาเป็นกัปตันมืออาชีพแก้ปัญหา....ใครทราบช่วยบอกด้วยครับ

จาก https://www.posttoday.com วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

“4 ปี อีอีซี” คนไทยได้อะไร โมเดลต้นแบบการพัฒนาเชิงพื้นที่

ย้อนกลับไปมากกว่า 30 ปี ประเทศไทยมีโครงการพัฒนาชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก หรืออีสเทิร์น ซีบอร์ด เกิดขึ้นมาจนสามารถพลิกประเทศไทยสู่การเป็นประเทศอุตสาหกรรม

จุดเริ่มต้นของเศรษฐกิจยุคสมัยนั้น ที่ใช้คำว่า “โชติช่วงชัชวาล”

หลังจากนั้น การพัฒนาประเทศดำเนินเรื่อยมา มีทั้งรุ่งโรจน์ และล้มลุกคลุกคลาน จนถึงจุดอิ่มตัวของอุตสาหกรรมเดิม ภายใต้รัฐบาลปัจจุบันที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จึงมีนโยบายขับเคลื่อนให้พัฒนาประเทศไทย ภายใต้นโยบายไทยแลนด์ 4.0 เพื่อขับเคลื่อนให้ประเทศพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง (Mid dle income trap) ผ่านการลงทุนโครงสร้าง พื้นฐานสำคัญและการลงทุน 12 อุตสาห กรรมเป้าหมาย ที่ต่อยอดจากฐานอุตสาหกรรมเดิม รวมทั้งเร่งส่งเสริมการลงทุนยกระดับนวัตกรรมใหม่ เพื่อให้มีเทคโนโลยีที่เป็นของประเทศไทยเอง จึงจะสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก

ภายใต้บริบทดังกล่าว ได้เกิดโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ขึ้นมาภายใต้พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (พ.ร.บ.อีอีซี) ที่มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 15 พ.ค.2561

ช่วงเวลา 4 ปีมานี้ โครงการอีอีซีถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางว่าเป็นความหวังใหม่ของประเทศ

“ทีมเศรษฐกิจ” จึงได้รวบรวมโครงการที่เกิดขึ้นในอีอีซีตลอด 4 ปี มาให้ท่านผู้อ่านได้ติดตามกันต่อไปว่า ในที่สุดแล้วโครงการนี้มาช่วยเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าประเทศไทยไปในทิศทางใด และคนไทยได้อะไรจากโครงการนี้บ้าง

โครงสร้างพื้นฐานสำคัญครบ

จุดเริ่มต้นของการพัฒนาอีอีซี ซึ่งประกอบด้วย 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ภายใต้การบริหารงานสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ที่มีนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ สกพอ. เป็นผู้ประสานการทำงานของทุกๆหน่วยงานมาร่วมมือกัน มองว่าต้องเริ่มต้นจากการวางโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ให้กับอีอีซี ปัจจุบันได้เห็นผลสัมฤทธิ์การทำงานของอีอีซีที่เห็นเป็นรูปธรรมชัดเจน คือสามารถผลักดันโครงการร่วมลงทุนรัฐ-เอกชน (PPP)

ปัจจุบันเซ็นสัญญาครบทั้ง 4 โครงการ ที่จะเริ่มเข้าสู่การก่อสร้างในปีนี้ ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด และโครงการท่าเรือแหลมฉบัง เกิดมูลค่าลงทุนรวมสูงถึง 654,921 ล้านบาท ซึ่งเป็นการลงทุนจากภาคเอกชน 416,080 ล้านบาท หรือ 64% และการลงทุนภาครัฐ 238,841 ล้านบาท หรือ 36% โดยภาคเอกชนจะให้ผลตอบแทนภาครัฐ 440,193 ล้านบาท และรัฐได้ผลตอบแทนสุทธิสูงถึง 210,352 ล้านบาท

ถือเป็นประวัติศาสตร์ความสำเร็จครั้งสำคัญของประเทศไทยและอีอีซี ที่ได้ยกระดับโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่เกิดประโยชน์ต่อประเทศ ประเด็นที่สำคัญคือ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ดังกล่าว ไม่ต้องพึ่งพาเงินกู้ต่างประเทศเช่นในอดีต

รัฐได้ประหยัดงบประมาณโดยร่วมมือกับเอกชนไทย ใช้เงินไทย และบริษัทไทยที่แข็งแกร่งเป็นแกนหลักนำพันธมิตรต่างชาติ มาร่วมลงทุน สร้างงานให้คนไทย สร้างผลตอบแทนภาครัฐ

ลงมือก่อสร้างโครงการหลัก

เมื่อไล่เรียงความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ ขณะนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ได้โอนการบริหารงานแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ให้แก่เอกชนเพื่อยกระดับการให้บริการประชาชน ขณะเดียวกัน ได้จัดการให้มีพื้นที่ก่อสร้างเส้นทางรถไฟครบ 100% ภายในเดือน พ.ค.ปีนี้ เพื่อส่งมอบให้กับเอกชนคู่สัญญา

ขณะที่เอกชนได้เตรียมการก่อสร้างพื้นฐาน เช่น งานปรับพื้นที่สำหรับช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภา งานก่อสร้างถนนและสะพานชั่วคราวเพื่อลำเลียงวัสดุ งานก่อสร้างสำนักงานสนามโรงหล่อชิ้นงานโครงสร้าง งานด้านสิ่งแวดล้อม เป็นต้น โดยการก่อสร้างทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 4-5 ปี และจะเปิดให้บริการภายในปี 2569

สำหรับ โครงการสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ส่วนความรับผิดชอบภาครัฐ เช่น การก่อสร้างทางวิ่งที่ 2 โดยกองทัพเรือ มีงานปรับพื้นที่สำหรับก่อสร้างทางวิ่งและทางขับที่ 2 ระยะที่ 1 และลานจอดของศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน มีความก้าวหน้า 62.51% งานก่อสร้างระบบสาธารณูปโภคของสนามบิน เช่น ระบบไฟฟ้าและน้ำเย็น ระบบประปาและระบบบำบัดน้ำเสีย ซึ่งเอกชนคู่สัญญากับอีอีซีได้รับพื้นที่และเริ่มก่อสร้างแล้วเช่นกันและจะเปิดให้บริการระยะที่ 1 ในปี 2568

ด้านโครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ได้มีการก่อสร้างโดยเฉพาะการถมทะเลตั้งแต่เดือน เม.ย.ที่ผ่านมา และ โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ได้มีการก่อสร้างระบบรางและระบบเชื่อมโยงต่างๆ รวมทั้งเริ่มดำเนินการถมทะเลเมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมาเช่นกัน

ลงทุนทะลุ 1.7 ล้านล้านบาท

ความก้าวหน้าด้านการลงทุนในพื้นที่อีอีซี ตลอด 4 ปีที่ผ่านมา เกิดการลงทุนรวมที่ได้อนุมัติการลงทุนแล้ว มูลค่า 1,722,720 ล้านบาท สำเร็จได้ตามเป้าหมายการลงทุนของอีอีซี ที่ตั้งไว้ 1.7 ล้านล้านบาท

แบ่งออกเป็น โครงสร้างพื้นฐานหลัก 4 โครงการ มูลค่ารวม 654,921 ล้านบาท ขับเคลื่อนการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยประมาณการจากการออกบัตรส่งเสริมลงทุนจากบีโอไอ มูลค่า 985,799 ล้านบาท การอนุมัติงบบูรณาการอีอีซี 82,000 ล้านบาท

ขณะที่ในอีก 5 ปีข้างหน้า (2565-2569) ภายใต้แผนลงทุนอีอีซี ได้กำหนดการขับเคลื่อนต่อยอดและเร่งรัดการลงทุนด้วยการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และวิจัยพัฒนา เพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ วงเงินลงทุน 2.2 ล้านล้านบาท ประกอบด้วย 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ ต่อยอด โครงสร้างพื้นฐาน 200,000 ล้านบาท จากเมืองการบินภาคตะวันออก การพัฒนาพื้นที่ 30 กิโลเมตรรอบสนามบิน และพัฒนาพื้นที่รอบสถานีหลักรถไฟความเร็วสูงฯ (TOD) ดึงดูดอุตสาหกรรมเป้าหมายปีละ 400,000 ล้านบาท

แบ่งเป็น 2 ส่วนคือ การลงทุนในระดับฐานปกติ ปีละ 250,000 ล้านบาท และการลงทุนส่วนเพิ่มที่เน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) เช่น อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (EV) ดิจิทัล การแพทย์สมัยใหม่ การขนส่งโลจิสติกส์ เกษตรสมัยใหม่และอาหาร ภายใต้บริบทเศรษฐกิจหมุนเวียนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (BCG) รวมปีละ 150,000 ล้านบาท ยกระดับชุมชนและประชาชน เร่งพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนระดับหมู่บ้าน พัฒนาตลาดสด/e-commerce สร้างรายได้ให้ชุมชนเพิ่ม ยกเครื่องการศึกษา สาธารณสุขพื้นฐาน สิ่งแวดล้อม และสาธารณูปโภคที่สะดวกสบายให้ชุมชน

ทั้งนี้ แผนอีอีซีใน 5 ปีข้างหน้า จะทำให้มูลค่าการลงทุนเพิ่มขึ้น 400,000 ล้านบาท/ปี มากกว่าเดิมที่วางไว้ 300,000 ล้านบาท/ปี เพื่อให้เป็นกลไกหลัก ผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เติบโตเต็มศักยภาพ 4.5- 5% ต่อปี และยังช่วยบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 พร้อมส่งผลให้ไทยพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ก้าวสู่ประเทศพัฒนาได้ในปี 2572

ใช้ประโยชน์ 5G ครบมิติ

ภายในพื้นที่อีอีซี วางเป้าหมายในการสร้างชุมชนต้นแบบ ส่งเสริมให้เกิดโรงงานอัจฉริยะ และพัฒนาทักษะบุคลากร โดยผลักดันให้นำเทคโน โลยี 5G มาใช้ประโยชน์ เพื่อดึงดูดนักลงทุนด้านดิจิทัลทั่วโลกเข้ามาในพื้นที่

ปัจจุบันจึงมีการลงทุนพัฒนาระบบ 5G ในพื้นที่อีอีซี โดยจะติดตั้งท่อ เสา สาย และสัญญาณ ให้ได้ 100% ในพื้นที่ เพื่อผลักดันภาคธุรกิจ โรงงานในอีอีซี โรงแรม หน่วยราชการ สถานศึกษา โรงพยาบาล กลุ่ม SMEs ให้มาใช้ประโยชน์จากสัญญาณ 5G ปัจจุบันเริ่มทำโครงการนำร่องนำ 5G สร้างประโยชน์ชุมชน โดยผลักดันให้บ้านฉาง และเมืองพัทยา ก้าวสู่ชุมชนอนาคต (Smart city) และในอนาคตจะนำ 5G มาใช้ประโยชน์ในแผนพัฒนาภาคเกษตร เกิดระบบเกษตรอัจฉริยะ (Smart farming)

ตลอดจนสนับสนุนการใช้ดิจิทัลเพื่อดูแลสุขภาพชุมชน รวมถึงการสร้างธุรกิจใหม่จาก 5G ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาหุ่นยนต์ และระบบออโตเมชัน ตลอดจนส่งเสริมการจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ ด้านดิจิทัลและการใช้ข้อมูล ส่งเสริมสตาร์ตอัพ ทำแอปพลิเคชันด้านหุ่นยนต์และออโตเมชัน เป็นต้น

นอกจากนี้ อีอีซีได้ร่วมกับภาคเอกชนชั้นนำ และสนับสนุนให้ทุกบริษัทที่จะมาลงทุนด้านดิจิทัลให้เข้ามาร่วมพัฒนาทักษะบุคลากร โดยมีความร่วมมือสำคัญกับหัวเว่ย อาเซียน อะคาเดมี บริษัท ซิสโก้ พัฒนาทักษะบุคลากรด้านดิจิทัล ด้วยเทคโนโลยี 5G ผ่านการจัดอบรมบุคลากรร่วมกัน ตั้งเป้าหมายพัฒนาทักษะบุคลากรด้านดิจิทัล กว่า 50,000 คนภายในเวลา 4 ปีข้างหน้า

ยกระดับการลงทุนหลังโควิด

ภายหลังการระบาดของสถานการณ์โควิด-19 ทำให้ทั่วโลกและประเทศต้องระวังผลกระทบที่จะตามมาในพื้นที่อีอีซีได้สร้างแนวทางส่งเสริมการลงทุนใหม่ ประกอบด้วย 1.อุตสาหกรรมสุขภาพและการแพทย์ 2.อุตสาหกรรมดิจิทัล 3.อุตสาหกรรมการขนส่งและโลจิสติกส์ และ 4.อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่

โดยวางแผนขับเคลื่อนทั้ง 4 อุตสาหกรรมอยู่ภายใต้บริบทของเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม (Green and Circular Economy) และจะทำให้อีอีซี เป็นพื้นที่การลงทุนอุตสาหกรรมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ที่เป็น เทรนด์สำคัญของโลก เพิ่มแรงจูงใจและรองรับธุรกิจที่จะมาลงทุนต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ได้ผลักดันการลงทุนสำคัญหลายโครงการ เช่น โครงการเปิดสวนน้ำโคลัมเบีย พิคเจอร์ อควาเวิร์ส แห่งแรกของโลก ที่มีการใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นหลัก ซึ่งจะพร้อมเปิดดำเนินการภายในเดือน มิ.ย.2565 นี้

ขณะเดียวกัน ได้มีโครงการลงทุนและผลิตแบตเตอรี่เก็บไฟฟ้าร่วมกับผู้ประกอบการทั้งไทยและต่างประเทศ โดยเฉพาะบริษัทพลังงานบริสุทธิ์ EVlomo ปตท. และบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ ซึ่งจะช่วยกันพัฒนากำลังการผลิตแบตเตอรี่ของประเทศไทยให้ใหญ่ที่สุดในอาเซียน รวมทั้ง ดำเนินการจัดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้า (Charging Station) ในที่พักอาศัย สถานีบริการในอีอีซี ไม่น้อยกว่า 2,000 แห่ง ภายในปีหน้า

พัฒนาสังคมดันรายได้ชุมชน

นอกจากการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา งานที่เป็นหัวใจสำคัญของอีอีซีอีกประการ คือการพัฒนาเชิงสังคมเพื่อยกระดับรายได้ของชุมชน ได้มีความร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผลักดันแผนพัฒนาภาคเกษตรให้พื้นที่อีอีซีเป็นต้นแบบการใช้ตลาดนำการผลิต ใช้เทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตให้เข้าถึงตลาดสินค้ามูลค่าสูง กำหนด 5 คลัสเตอร์ที่มีศักยภาพ ได้แก่ ผลไม้-ประมง-พืชชีวภาพ-สมุนไพร-เกษตรมูลค่าสูง เพื่อสร้างรายได้เกษตรให้เทียบเท่ากลุ่มอุตสาหกรรมและบริการ

รวมทั้งอีอีซี ยังได้เดินหน้ารักษาเสถียรภาพของราคาผลไม้ในภาคตะวันออกให้กับเกษตรกร ร่วมกับ อบจ.ระยอง และ ปตท. ช่วยรับซื้อผลไม้โดยตรงจากเกษตรกร ขยายช่องทางตลาดภายในประเทศ รวมถึงจัดเตรียมห้องเย็นสำหรับจัดเก็บรักษาผลไม้

พร้อมกันนี้ ได้ยกระดับให้ชุมชนเข้าถึงบริการสาธารณสุข และแผนการขับเคลื่อนการรักษาแบบการแพทย์แม่นยำ โดยเร่งส่งเสริมให้เกิดการลงทุน ศูนย์บริการจีโนมิกส์ในอีอีซี และบริการที่เกี่ยวข้อง เพื่อถอดรหัสพันธุกรรมประชาชน 50,000 ราย วิเคราะห์ DNA และจัดเก็บเป็นข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยและเลือกการรักษาโรคที่ถูกต้อง เป็นต้นแบบในพื้นที่อีอีซี เพื่อให้คนไทยทุกคนมีสุขภาพที่ดีต่อไปในอนาคต

นอกจากนี้ ได้มีการพัฒนาทักษะบุคลากร ตามแนวทางสร้างคนให้ตรงกับงาน (EEC Model-Demand Driven Education) ผ่านการขับเคลื่อนคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากรในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC HDC) ซึ่งได้ประมาณการความต้องการบุคลากรเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมายสูงถึง 475,668 คน

ในช่วงที่ผ่านมา ได้ดำเนินการฝึกอบรมตามแนวทาง EEC Model จำนวน 8,392 คน แบ่งเป็นการฝึกอบรมแบบ EEC Type A (เอกชนจ่าย 100%) จำนวน 4,660 คน และ EEC Type B (รัฐ-เอกชนร่วม 50-50) จำนวน 3,732 คน ในระยะต่อไปเตรียมจัดอบรม (EEC Type B) อาทิ โครงการฝึกอบรมระยะสั้น 12 อุตสาหกรรมเป้าหมาย เน้นพัฒนาทักษะที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานได้จริง ได้ตั้งเป้าหมายระยะเวลา 2561-2566 รวม 114,542 คน

นอกเหนือจากที่กล่าวข้างต้น อีอีซียังมีโครงการอีกมากมาย ตั้งแต่ช่วยให้พ่อค้าแม่ขายที่เจอผลกระทบจากโควิด-19 สามารถกู้เงินได้ โดยไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน การเร่งเดินหน้ายกระดับการท่องเที่ยวในพื้นที่ โดยร่วมกับภาครัฐ เอกชน ท้องถิ่น จัดทำโครงการพัฒนาพื้นที่ตลาดลานโพธิ์นาเกลือเป็นโครงการนำร่องตามแนวทาง NEO PATTAYA และการเร่งส่งเสริมสินค้าโอทอป ให้ตรงความต้องการตลาดมากยิ่งขึ้น

ทั้งหมดนี้ เป็นภาพรวมการทำงานของอีอีซีตลอด 4 ปีที่ผ่านมา ที่ทุกเนื้องานจะใช้วิธีประสานงานร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ ทั้งส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น ตลอดจนภาคเอกชน และประชาชน โดยหวังว่าโมเดลลักษณะนี้จะเป็นต้นแบบ การพัฒนาเชิงพื้นที่ของประเทศ เพื่อทำให้ประเทศไทยสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลก และเป็นคำตอบสำหรับอนาคตให้คนไทยทุกคนได้.

จาก https://www.thairath.co.th  วันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2565

เปิดเหตุผล “พลังงาน” กดส่วนผสม “ไบโอดีเซล” ลงได้แค่ไหน?

ด้วยสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลกที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันในประเทศไทย ซึ่งหากสำนักงานกองทุนน้ำมันแห่งชาติ (สกนช.) ไม่เข้าไปอุดหนุนจะทำให้ราคาน้ำมันดีเซลขายปลีกหน้าสถานีบริการน้ำมันทะลุลิตรละ 40 บาท ทันที

แหล่างขาวจากกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ประเด็นการลดราคาน้ำมันดีเซลเพื่อลดผลกระทบต่อจำนวนการใช้งานวันละกว่า 65 ล้านลิตรทั่วประเทศ คือการปรับลดส่วนผสมไบโอดีเซล B100 ในน้ำมันดีเซลลงอีกรอบเหลือ 3% จากปัจจุบันจำหน่ายน้ำมันดีเซลทุกชนิดเป็น B5

เนื่องจากราคาน้ำมันB100 มีราคาสูงกว่าดีเซลธรรมดามาก โดยมีราคาสูงถึงลิตรละกว่า 60 บาท แล้ว โดยส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยการที่ประเทศอินโดนีเซียประกาศห้ามส่งออกน้ำมันปาล์มทุกชนิดนับตั้งแต่ 28 เม.ย. 2565 เป็นต้นไป ทั้งนี้ เมื่อมีการนำมารวมส่วนผสมกับน้ำมันดีเซลแล้วจะส่งผลให้ต้นทุนราคาน้ำมันดีเซลที่สูงขึ้นจากปัจจัยราคาน้ำมันตลาดโลกสูงขึ้นยิ่งสูงขึ้นอีก

แหล่งข่าว กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ที่มีนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานกบง. เคยหารือถึงกรณีการจะปรับลดส่วนผสมไบโอดีเซลอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว แต่มติที่ประชุมก็ยังไม่มีความคิดเห็นในเรื่องดังกล่าว

ทั้งนี้ เพราะหากจะปรับสูตรลงจะต้องหารือกับหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง อาทิ เกษตรกรชาวสวนปาล์ม แม้ว่าราคาปาล์มจะมีราคาสูง แต่ในส่วนของโรงงาน B100 ที่ผลิตส่วนผสมไบโอดีเซลที่ได้ลงทุนไปหลัก 1,000 ล้านบาท ที่อาจจะยังไม่คุ้มทุนจะทำอย่างไร เรื่องนี้ต้องขอความเห็นชอบกับคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) ที่มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน รวมถึงจะต้องจ่ายค่าภาษีเพิ่มขึ้นอีกที่ลิตรละกว่า 20 สตางค์ เมื่อคำนวนดูแล้วอาจจะไม่คุ้มทุน

“ตอนนี้ประเด็นไหนก็กระทบหลายฝ่ายหมด เพราะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ติดลบแล้วกว่า 6 หมื่นล้านบาท ซึ่งตอนนี้ก็ไม่แน่ใจว่ามีธนาคารเสนอเงื่อนไขให้กู้เงินหรือไม่ จึงมองว่าตอนนี้ยังไม่มีบทสรุปอะไร เพราะต้องรอดูท่าทีกระทรวงการคลังด้วยว่าจะต่อมาตรการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลิตรละ 3 บาท ที่จะหมดวันที่ 20 พ.ค. 2565 อีกหรือไม่” แหล่งข่าว กล่าว

อย่างไรก็ตาม เงินที่ใช้สนับสนุนจากบัญชีของกองทุนน้ำมันปัจจุบันติดลบไปแล้ว 60,993 ล้านบาท แบ่งเป็นบัญชีน้ำมันติดลบ 28, 217ล้านบาท และบัญชีก๊าซ LPG ติดลบ32,776 ล้านบาท โดยฐานะกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ณ วันที่ 1 พ.ค.2565 มีเงินฝากธนาคาร 780 ล้านบาท เงินฝากที่กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง 11,575 ล้านบาท รวมกันเป็นเงินหมุนเวียนที่ยังไม่ครบกำหนดชำระหนี้ 12,355 ล้านบาท จะต้องนำไปชำระให้กับผู้ค้ามาตรา 7 เดือนละ 7,000 ล้านบาท

ในช่วงกลางสัปดาห์นี้หรือไม่เกินกลางเดือนพ.ค. 2565 กระทรวงพลังงาน จะชี้แจงแผนงานพยุงราคาน้ำมันดีเซลต่อสาธารณชนอีกครั้ง ว่าจะสามารถอุดหนุนได้ขนาดไหน

จาก https://www.bangkokbiznews.com วันที่ 7 พฤษภาคม 2565

เอเปค 19-22 พ.ค.ร่วมผลักดัน FTA-AP  ชูโมเดล BCG ฟื้นเศรษฐกิจในภูมิภาค

 เอเปค 19-22 พ.ค.ร่วมผลักดัน FTA-AP  “ไทย”เจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรี ชูโมเดล BCG ฟื้นเศรษฐกิจในภูมิภาค ระดมความเห็นเรื่องการจัดทำ FTA เอเชีย-แปซิฟิก หนุน MSMEsพร้อมจัดประกวดทำแอปพลิเคชันช่วยเกษตรกร ใช้ช่องทางออนไลน์เข้าถึงตลาด

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ในปีนี้ไทยได้รับโอกาสเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเอเปคอีกครั้งในรอบ 20 ปี โดยมุ่งเน้นผลักดันผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมภายใต้หัวข้อหลัก คือ เปิดกว้างสร้างสัมพันธ์ เชื่อมโยงกันสู่สมดุล หรือ Open. Connect. Balance. ในส่วนของกระทรวงพาณิชย์ได้ผลักดัน 2 เรื่องสำคัญ

คือ การขับเคลื่อนเพื่อนำไปสู่การจัดทำเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (FTA-AP) ในยุคโควิด-19 และอนาคต และ โครงการแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีของเขตเศรษฐกิจสำหรับ MSMEs ที่เป็นมิตรต่อแวดล้อมและมีนวัตกรรม ผ่านการใช้โมเดล BCG Economy

โดย กรมฯ ในฐานะหน่วยงานหลักรับผิดชอบด้านการค้าและการลงทุนภายใต้กรอบเอเปค จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค (APEC Ministers Responsible for Trade Meeting 2022: MRT) และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง ระหว่างวันที่ 19 – 22 พฤษภาคมนี้ ณ โรงแรม Centara Grand and Bangkok Convention Centre at Central World กรุงเทพฯ ซึ่งในครั้งนี้รัฐมนตรีการค้าของ 21 เขตเศรษฐกิจเอเปค จะเดินทางเข้ามาร่วมประชุมเป็นครั้งแรกนับจากมีการแพร่ระบาดของโควิด-19

สำหรับในวันที่ 19 พ.ค. 2565 จะมีการสัมมนาเกี่ยวกับการขับเคลื่อนการจัดทำเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (Free Trade Area of the Asia-Pacific: FTA-AP) ในช่วงโควิด-19 และอนาคต เพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้กับหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคเกษตร และประชาชน ได้รับทราบแนวคิดและเป้าหมายระยะยาวของเอเปคในการจัดตั้งเขตการค้าเสรีเอเชีย-แปซิฟิก (FTA-AP) โดยได้เชิญวิทยากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญมาแลกเปลี่ยนความรู้ มุมมอง และข้อคิดเห็นเกี่ยวกับ FTA-AP ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างรวดเร็ว ยั่งยืนและครอบคลุม 

สำหรับวันที่ 20 พ.ค. 2565 กำหนดจัดงานเสวนานานาชาติ APEC BCG Symposium 2022 เพื่อแลกเปลี่ยนแนวปฏิบัติที่ดีระหว่างภาครัฐ-เอกชน-วิชาการ เพื่อดำเนินการตามแนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green (BCG) Economy) ซึ่งเป็นแนวคิดในการพัฒนาเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคมและการรักษาสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุล โดยจะจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อส่งเสริมผู้ประกอบการขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) กับ BCG Economy ซึ่งมุ่งหวังให้ MSMEs มีการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีนวัตกรรมสามารถต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าและบริการ

นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมประกวดแข่งขัน APEC Mobile App Challenge โดยไทยในฐานะเจ้าภาพร่วมกับมูลนิธิ Asia Foundation บริษัท Google และสำนักงานเลขาธิการเอเปค เป็นผู้จัดกิจกรรม โดยรับสมัครผู้สนใจจากเขตเศรษฐกิจเอเปค เพื่อออกแบบ Application เพื่อนำเทคโนโลยีมาใช้ในส่งเสริมการค้าการลงทุน โดยโจทย์ของปีนี้

คือการช่วยให้เกษตรกรและผู้ประกอบการในภาคการเกษตรในเอเปค สามารถต่อยอดด้านเกษตรและอาหาร และสร้างโอกาสเข้าถึงตลาดท้องถิ่นและตลาดส่งออก ผ่านการใช้แนวคิด BCG Economy

เอเปค หรือความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก ประกอบด้วย สมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจ ได้แก่ ออสเตรเลีย บรูไนดารุสซาลาม แคนาดา ชิลี จีน จีนฮ่องกง อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย เม็กซิโก นิวซีแลนด์ ปาปัวนิวกินี เปรู ฟิลิปปินส์ รัสเซีย สิงคโปร์ จีนไทเป ไทย สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม ทั้งนี้ ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2565 (ม.ค. – มี .ค.) การค้ารวมระหว่างไทยกับเอเปค มีมูลค่า 3.35 ล้านล้านบาท (102 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เพิ่มขึ้น 23.91% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยไทยส่งออกไปเอเปค มูลค่า 1.65 ล้านล้านบาท (50.82 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เพิ่มขึ้น 22.95% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า และไทยนำเข้าจากเอเปคมูลค่า 1.69 ล้านล้านบาท (51.10 พันล้านเหรียญสหรัฐ) เพิ่มขึ้น 24.87% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 6 พฤษภาคม 2565

เมื่อนโยบายการเงินโลกแบ่งขั้ว ไทยจะเดินไปทางไหน

หากเราติดตามการประชุมของธนาคารกลางแต่ละประเทศทั่วโลกในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา จะพบว่า ในปัจจุบัน แนวทางการดำเนินนโยบายการเงินของธนาคารกลางทั่วโลก ได้แบ่งออกเป็น 2 แนวทางที่แตกต่างอย่างชัดเจน ได้แก่ แนวทางที่ 1 การดำเนินนโยบายทางการเงินที่ตึงตัวมากขึ้น ผ่านการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นอย่างรวดเร็ว และแนวทางที่ 2 การดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลาย ผ่านการคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำและเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ระบบ

ธนาคารกลางสหรัฐฯ เป็นธนาคารกลางที่ดำเนินนโยบายทางการเงินในแนวทางแรกอย่างชัดเจน โดยการประชุมของคณะกรรมการนโยบายการเงินสหรัฐฯ ที่เพิ่งผ่านไปในสัปดาห์นี้ เป็นการยืนยันทิศทางอย่างชัดเจน โดยการปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% ในเดือนพฤษภาคมนี้ นับเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2549 ที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายต่อเนื่องในการประชุมสองครั้งติดต่อกัน นอกเหนือจากสหรัฐฯ แล้ว ยังมีประเทศอื่น ๆ เช่น อังกฤษ ที่ดำเนินนโยบายการเงินที่ตึงตัวเช่นกัน โดยธนาคารกลางอังกฤษปรับอัตราดอกเบี้ยนโยบายขึ้นสามครั้งติดต่อกัน จนทำให้อัตราดอกเบี้ยนโยบายกลับไปเทียบเท่าระดับเดียวกับก่อนการระบาดของโรคโควิด-19

ในทางตรงกันข้าม ธนาคารกลางญี่ปุ่น ได้ประกาศแนวทางการคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิม พร้อมทั้งยืนยันที่จะดำเนินนโยบายควบคุมอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลต่อไป เพื่อสนับสนุนสภาพคล่องและต้นทุนการกู้ยืมของภาคธุรกิจให้อยู่ในระดับต่ำ ถึงแม้ว่ามาตรการนี้จะส่งผลกระทบให้เงินทุนจำนวนมากไหลออกจากประเทศญี่ปุ่น และส่งผลให้ค่าเงินเยนทำสถิติอ่อนค่าเมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ มากที่สุดในรอบ 20 ปี

แนวทางการดำเนินนโยบายทางการเงิน ถือเป็นการตัดสินใจเฉพาะตัวของธนาคารกลางของแต่ละประเทศ ซึ่งโดยพื้นฐานจะประเมินจากสภาพปัจจัยภายในประเทศเป็นหลัก ทั้งนี้ ปัจจัยสำคัญ 2 ประการ ที่ส่งผลต่อการกำหนดแนวทางการดำเนินนโยบายทางการเงินในปีนี้ คือ ผลกระทบจากอัตราเงินเฟ้อ และ สภาพการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ ที่แต่ละประเทศอาจเผชิญในระดับที่แตกต่างกัน ส่งผลให้เกิดการดำเนินแนวทางนโยบายในทิศทางที่แตกต่างกันออกไป

หนึ่งในหน้าที่สำคัญของธนาคารกลาง คือการควบคุมระดับราคาให้มีเสถียรภาพ เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในระดับต่ำที่สุด ซึ่งอัตราเงินเฟ้อที่ทวีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นในปีนี้ อันเป็นผลมาจากการความขัดแย้งระหว่างรัสเซียและยูเครน ที่ส่งผลให้ราคาน้ำมันและสินค้าอื่น ๆ ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ถือเป็นปัญหาที่ธนาคารกลางจำเป็นต้องเข้ามาแก้ไข ผ่านการเปลี่ยนแปลงแนวทางการดำเนินนโยบายทางการเงิน

ธนาคารกลางจำเป็นต้องพิจารณา การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างถี่ถ้วน เพราะการขึ้นอัตราดอกเบี้ยอาจก่อให้เกิดผลกระทบเชิงลบต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในอนาคต เนื่องจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายส่งผลกระทบทำให้ต้นทุนการกู้ยืมและการผลิตสูงขึ้น ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการผลิตและการบริโภคภายในประเทศปรับตัวลดลงในอนาคต ดังนั้น ธนาคารกลางจึงจำเป็นต้องมีการประเมินสภาพความพร้อมของเศรษฐกิจ ก่อนที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเพื่อแก้ไขปัญหาอัตราเงินเฟ้อ

หากพิจารณากลุ่มประเทศที่มีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ เช่น สหรัฐอเมริกา อังกฤษ และ ออสเตรเลีย จะพบว่า ทุกประเทศประสบปัญหาการเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในระดับที่สูงเป็นประวัติการณ์ แต่ในขณะเดียวกัน ทุกประเทศต่างก็มีความพร้อมทางเศรษฐกิจต่อการดำเนินนโยบายที่ตึงตัวเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากประเทศเหล่านี้ มีการฟื้นตัวทั้งด้านเศรษฐกิจและการจ้างงานที่ดี ตัวอย่าง สหรัฐฯ ที่ผลของการคลายล็อกดาวน์ ตั้งแต่ต้นปี 2564 ประกอบกับ การมีโครงการสนับสนุนด้านการบริโภคจากภาครัฐ

ส่งผลให้ผลิตภาพทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี (GDP) เติบโตในระดับที่สูงกว่าช่วงเวลาก่อนการระบาดของโรคโควิด-19 ในปี 2654 ที่ผ่านมา ยิ่งไปกว่านั้น ตลาดแรงงานสหรัฐฯ มีการฟื้นตัวที่แข็งแกร่ง อัตราการว่างงานในประเทศปรับตัวลดลงต่ำกว่าก่อนเกิดวิกฤตโควิด-19 ตั้งแต่ช่วงกลางปี 2564 ดังนั้น สหรัฐฯ จึงมี ความแข็งแกร่งของสภาพเศรษฐกิจมากเพียงพอ ที่ส่งผลให้ธนาคารกลางสามารถดำเนินนโยบายทางการเงินที่ตึงตัวเพิ่มมากขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้นสูงในประเทศเหล่านั้นได้อย่างเหมาะสม

กรณีของประเทศไทย แม้ในช่วงระยะสั้น แนวโน้มอัตราเงินเฟ้อในประเทศจะปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นจากการปรับเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานและสาธารณูปโภค แต่สาเหตุเหล่านี้มีที่มาจากปัจจัยด้านอุปทาน ซึ่งอาจทำให้การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยที่เกิดผลกระทบต่ออุปสงค์ในตลาด ไม่ยืนยันว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาเงินเฟ้อได้ ยิ่งไปกว่านั้น

แม้ประเทศไทยจะมีแนวโน้มการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในปี 2565 แต่ยังเผชิญโครงสร้างทางเศรษฐกิจที่ยังมีความเปราะบางสูง จากสถานการณ์หนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ประกอบกับ การฟื้นตัวอย่างช้า ๆ ของธุรกิจ SMEs ที่ยังมีธุรกิจอีกจำนวนมากที่ได้รับความช่วยเหลือผ่านทางโครงการพักชำระและปรับโครงสร้างหนี้  ดังนั้น การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบาย อาจก่อให้เกิดความเสี่ยงที่ทำให้ความสามารถในการชำระหนี้ลดลง จากการปรับเพิ่มขึ้นของดอกเบี้ยกู้ยืม เป็นการเพิ่มภาระดอกเบี้ยที่เพิ่มมากขึ้นต่อครัวเรือนและ SMEs ซึ่งเผชิญกับสถานการณ์ลำบากอยู่แล้ว และอาจกดดันการบริโภคและส่งผลให้เศรษฐกิจชะลอตัว

อย่างไรก็ตาม การคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายในระดับต่ำเป็นเวลานาน อาจเกิดส่งกระทบในเชิงลบต่อกระแสเงินทุนไหลออกและการอ่อนค่าของสกุลเงิน ดังเช่นที่เกิดกับประเทศญี่ปุ่นและประเทศอื่น ๆ ในเอเชีย ช่วงปี 2558 ที่สหรัฐฯ ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เนื่องจากนักลงทุนให้ความสนใจต่อผลต่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายระหว่างประเทศ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงจากการปรับเพิ่มขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐฯ

สำหรับประเทศไทย คงต้องตั้งคำถามว่าการเพิ่มอัตราดอกเบี้ยนโยบายจะแก้ปัญหาเงินเฟ้อได้มีประสิทธิภาพเพียงใด เนื่องจากระดับราคาสินค้าที่สูงขึ้นส่วนใหญ่มาจากปัจจัยภายนอก ในช่วงที่ดีมานด์ในประเทศยังอยู่ในช่วงฟื้นตัว  การปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ยอาจต้องคำนึงถึงผลข้างเคียงต่องบดุล ของครัวเรือนและ SMEs รวมทั้ง ค่าเงินบาทที่อาจจะอ่อนลงด้วยเช่นกัน

  ดังนั้น ปัจจุบันอาจยังไม่ถึงเวลาที่เหมาะสมในการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย เมื่อพิจารณาภาพรวมโครงสร้างและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปัจจุบัน สิ่งสำคัญในขณะนี้จึงควรสนับสนุนให้เศรษฐกิจไทยมีความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับติดตามสถานการณ์อัตราเงินเฟ้อและเสถียรภาพทางการเงินอย่างใกล้ชิด เพื่อนำมาพิจารณาการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่จะเกิดขึ้นในอนาคตให้เป็นไปอย่างเหมาะสมและเกิดผลประโยชน์ต่อเศรษฐกิจไทยมากที่สุด

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 6 พฤษภาคม 2565

เอเปค 2022 ชูเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ  ตั้งเป้าทำ FTA คู่ค้าครอบคลุม 80%การค้าโลก

เอเปค 2022 ชูเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจ ตั้งเป้าทำ FTA คู่ค้าครอบคลุม 80% ของการค้าไทยกับโลก  พร้อมยังมีแผนใช้เวที JTC แก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้า พร้อมลงพื้นที่ชี้ช่องใช้ประโยชน์จาก FTA

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมรัฐมนตรีการค้าเอเปค (MRT) ระหว่างวันที่ 19-22 พฤษภาคมนี้ โดยมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน ซึ่งจะผลักดันการขับเคลื่อนเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Model) การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน การฟื้นฟูการท่องเที่ยว การเปิดการค้าเสรี การรวมตัวทางเศรษฐกิจในภูมิภาค การก้าวไปสู่สังคมดิจิทัล การส่งเสริมแนวคิดการดำเนินธุรกิจที่มีความรับผิดชอบ

การส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดี ความมั่นคงทางอาหารและการเกษตร และที่สำคัญจะให้ความสำคัญกับการขับเคลื่อนการค้า การลงทุน ให้รองรับรูปแบบการค้าใหม่สอดคล้องกับสถานการณ์โลกที่เผชิญกับการแพร่ระบาดโควิด-19 การอำนวยความสะดวกทางการค้าเพื่อสนับสนุนการเข้าถึงวัคซีน สินค้าจำเป็น การขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัล โดยมีเป้าหมายเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของสมาชิกเอเปคและการเพิ่มบทบาทของ WTO ในการรับมือกับโควิด-19 และการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังโควิด-19

นอกจากนี้ครบรอบ 80 ปีของกรมได้กำหนดวิสัยทัศน์การทำงานในอีก 5 ปีข้างหน้า (พ.ศ. 2565-2570) โดยตั้งเป้าที่จะผลักดันการเจรจาความตกลงการค้าเสรี (FTA) กับประเทศคู่ค้า ให้ครอบคลุม 80% ของสัดส่วนการค้าไทยกับโลก ซึ่งปัจจุบันการทำ FTA กับคู่ค้า มีสัดส่วนอยู่ที่ 64% เมื่อเทียบกับอาเซียน อาทิ สิงคโปร์ทำ FTA กับประเทศทั่วโลก สูงถึง 96% เวียดนาม 73% อินโดนีเซีย 67% และฟิลิปปินส์ 71% ดังนั้น กรมฯ จึงต้องเร่งผลักดันการเจรจาจัดทำ FTA กับคู่ค้าเพิ่มขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าสินค้า บริการและการลงทุน ให้กับผู้ประกอบการไทย

“ปีนี้ กรมฯ มีแผนที่จะผลักดันการเจรจา FTA คงค้างให้ได้ข้อยุติ อาทิ ไทย-ตุรกี ไทย-ปากีสถาน ไทย-ศรีลังกา โดย FTA ไทย-ตุรกี มีแนวโน้มที่จะสรุปผลการเจรจาได้ภายในปีนี้ และจะเร่งเปิดเจรจา FTA ฉบับใหม่ ได้แก่ ไทย-สมาคมการค้าเสรียุโรป (EFTA) และไทย-สหภาพยุโรป (อียู) ซึ่ง FTA ไทย-EFTA และการอัพเกรด FTA ในกรอบอาเซียนกับคู่เจรจา ได้แก่ จีน อินเดีย เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ กำลังอยู่ระหว่างการเสนอกรอบการเจรจาให้คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) และเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา รวมทั้งมีแผนศึกษาทำ FTA กับประเทศที่ภาคเอกชนเสนอ อาทิ ตะวันออกกลาง แอฟริกา และละตินอเมริกา”

นอกจากนี้กรมฯ ยังมีแผนใช้เวทีการเป็นเจ้าภาพจัดประชุมคณะกรรมการเจรจาการค้า (Joint Trade Committee : JTC) กับประเทศคู่ค้าสำคัญ เพื่อแก้ปัญหาอุปสรรคทางการค้า และกระชับความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ โดยในปีนี้ ไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม JTC ระดับรัฐมนตรี กับเวียดนามและภูฏานแล้ว เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา และมีแผนจะประชุม JTC กับประเทศคู่ค้าสำคัญ เช่น สิงคโปร์ สหราชอาณาจักร มัลดีฟส์  จีนและบังกลาเทศ ในปีนี้ด้วย

นอกจากนี้ การเจรจา FTA ในกรอบต่างๆ ไปสู่การปฏิบัติจริง โดยจะลงพื้นที่ไปพบปะกับเกษตรกร และผู้ประกอบการในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อไปแนะนำ ให้ข้อเสนอแนะ ชี้โอกาสและลู่ทางการใช้ประโยชน์จาก FTA ในการทำตลาดต่างประเทศ โดยมีแผนที่จะลงพื้นที่ อาทิ โครงการสนับสนุนการดำเนินงานของศูนย์ FTA Center ระดับจังหวัด ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 27 - 29 พฤษภาคม 2565 ณ จ.พะเยา โครงการพัฒนาความพร้อมทางการค้าของสหกรณ์ไทยสู่การค้าเสรี (ร่วมกับกรมส่งเสริมสหกรณ์) ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 10 – 12 มิถุนายน 2565 ณ จ.นครศรีธรรมราช โครงการการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยง 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ สู่ตลาดการค้าเสรีอาเซียน ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 16 - 18 มิถุนายน 2565 ณ จ.นราธิวาส โครงการเพิ่มศักยภาพเกษตรกรในยุคการค้าเสรี (ร่วมกับสภาเกษตรกรแห่งชาติ) ครั้งที่ 3 ระหว่างวันที่ 18 - 20 สิงหาคม 2565 ณ จ.แม่ฮ่องสอน

“แม้กรมฯจะเร่งเดินหน้าการเจรจา FTA เพื่อเพิ่มโอกาสทางการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน แต่จะดำเนินการไปพร้อมกับการสร้างภูมิคุ้มกันให้กับผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร และผู้ประกอบการ โดยได้ผลักดันให้มีการจัดตั้งกองทุน FTA แบบถาวร ซึ่งได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการนโยบายการบริหารทุนหมุนเวียนของกระทรวงการคลังแล้ว และอยู่ระหว่างการเสนอ ครม. เพื่อพิจารณา”

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 5 พฤษภาคม 2565

เปิดสารทดแทน หลัง “พาราควอต” โดนแบน 1 มิ.ย. 63

 “จรรยา มณีโชติ” นายกสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย โพสต์เฟซบุ๊ก เปิดสารทดแทน “พาราควอต” หลังโดนแบน 1 มิ.ย. 63 รวบรวมรายชื่อสาร ตามระยะเวลาการใช้ 2 ระยะ คือ 1. พ่นก่อนวัชพืชงอก หรือ ยาคุม /2. พ่นหลังวัชพืชงอก หรือ ยาฆ่า ส่วนอัตราใช้ดูจากฉลากข้างขวด

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศ 19 พฤษภาคม 2563  (คลิกอ่านข่าว ) ลงนามโดย นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม “ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม” เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่6) พ.ศ.2563 อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคสอง และมาตรา 18 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม  โดยความเห็นชอบของคณะกรรมการวัตถุอันตราย ออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ1 ให้ยกเลิกรายการเกี่ยวกับวัตถุอันตราย ในบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายแนบท้ายประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย พ.ศ. 2556 ลงวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ.2556 ดังต่อไปนี้ โดยให้รายการตามบัญชีรายชื่อวัตถุอันตรายแนบท้ายประกาศฉบับนี้แทน

บัญชีที่1 ที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ บัญชี 1.1 รายชื่อสารควบคุม ลำดับที่53 คอลร์ไพริฟอส ลำดับที่ 54 คลอร์ไพริสฟอส-เมทิล ลำดับที่ 352 พาราควอต ลำดับที่ 353 พาราควอตไดคลอไรด์ และลำดับที่ 354 พาราควอตไดคลอไรด์

ข้อ2. ให้ผู้ผลิจ ผู้นำเข้า ผู้ส่งออก หรือผู้มีไว้ครอบครองซึ่งวัตถุอันตรายชนิดที่4 ตามประกาศฉบับนี้ ที่ได้ดำเนินการอยู่ก่อนวันที่ประกาศบับนี้มีผลใช้บังคับ ปฎิบัติตามคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ในระยะเวลาที่พนักงานเจ้าหน้าที่กำหนด

ข้อ3 ประกาศนี้ให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2563 เป็นต้นไป นั้น

ดร.จรรยา มณีโชติ นายกสมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย โพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก สมาคมวิทยาการวัชพืชแห่งประเทศไทย ไม่มีพาราควอตแล้ว..‼ พืชเศรษฐกิจ เช่น ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา ปาล์มน้ำมัน สับปะรด และไม้ผล เหลือสารชนิดใดบ้างที่สามารถใช้เป็น "สารทางเลือก" ถ้าใช้แล้วได้ผลดี คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ จึงเรียกสารนั้นว่า "สารทดแทน"

สมาคมฯ ได้รวบรวมรายชื่อสารตามระยะเวลาการใช้ 2 ระยะ คือ

1. พ่นก่อนวัชพืชงอก หรือ ยาคุม (pre-emergence)

2. พ่นหลังวัชพืชงอก หรือ ยาฆ่า (post-emergence)

หมายเหตุ อัตราใช้ดูจากฉลากข้างขวด

แนะวิธีใช้สารทางเลือก แทน "พาราควอต"

แนะวิธีใช้สารทางเลือก แทน "พาราควอต"

ขอย้ำอีกทีว่า ยาคุม ที่มีกลไกออกฤทธิ์ไปย้บยั้งการสังเคราะห์แสง เช่น กลุ่ม C หรือเกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราห์แสง เช่น กลุ่ม E สามารถใช้เป็นยาฆ่าได้ในระยะต้นอ่อนของวัชพืช (early post-emergence) สารเหล่านี้จึงได้เปรียบยาคุมในกลุ่มอื่นๆ

ส่วนลูกเพจ เสียงสะท้อนการใช้สารเคมี "กลูโฟซิเนต" ที่ภาครัฐสนับสนุนใช้เป็นสารทดแทน หลังแบนพาราควอต

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 5 พฤษภาคม 2565

กรมชล ปิดจ๊อบ แล้ง 65 เหลือน้ำในอ่าง 2 หมื่นล้าน ลบ.ม.เล็งรับมือฝนต่อ

กรมชล เอาอยู่ จบแล้ง 65 มีน้ำในอ่าง 2 หมื่นล้าน ลบ.ม. 38 % ของความจุ ใกล้เคียงแผนบริหารจัดการ พร้อมเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ บำรุงรักษาเครื่องจักร เครื่องมือ-ย้ำสำนักชลประทานทั่วประเทศปฏิบัติตาม13มาตรการรับมือฝน

นายทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า  ผลการสำรวจปริมาณน้ำในอ่างขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก เมื่อวันที่ 30 เม.ย.  ซึ่ง ถือว่าสิ้นสุดฤดูแล้ง   ปี2565 มีปริมาณ 20,068 ล้านลูกบาศก์เมตร (ล้านลบ.ม.) หรือ 38% ของความจุอ่าง จากปริมาณน้ำต้นทุนเมื่อ 1 พ.ย.2564 มีปริมาณ 37,857 ล้านลบ.ม.มีการจัดสรรน้ำเพื่อใช้ในฤดูแล้งในกิจกรรมต่างๆ ปริมาณ 22,998 ล้านลบ.ม. หรือ เกินแผนประมาณ 3% จากแผนบริหารจัดการน้ำในฤดูแล้งปีเพาะปลูก 2564/65 เริ่ม 1 พ.ย. 2564 กำหนดปริมาณน้ำใช้การได้ในฤดูแล้ง 22,280 ล้านลบ.ม.

ในแต่ละปีกรมชลประทาน มีการติดตามและวิเคราะห์สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำ และแม่น้ำสายหลักต่าง ๆ เพื่อเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการน้ำให้สอดคล้องและเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ เหมาะสมกับการวางแผนเพาะปลูกให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน แต่ในปีนี้จากสถานการณ์โควิด-19 ประชาชนกลับภูมิลำเนาและทำอาชีพเกษตรเพิ่มมากขึ้น ส่งผลต่อการปลูกข้าวนาปรังในปีนี้ที่เกินแผนส่งเสริมเท่าตัว แต่ทางกลับกันพบว่ามีการใช้น้ำเกินแผนไปเล็กน้อย

สำหรับ ผลการเพาะปลูก ข้าวนาปรัง 2564/65 ทั่วประเทศ มีการปลูก ข้าวไปแล้วจำนวน 8.11 ล้านไร่ เกินแผนประมาณ 26.5% จากแผน 6.41 ล้านไร่ ขณะนี้มีการเก็บเกี่ยว 5.22 ล้านไร่ ในจำนวนนี้ ลุ่มเจ้าพระยาถือว่าเพาะปลูกข้าวมากที่สุด 4.41 ล้านไร่ มากกว่าแผน 56.75% จากแผนที่วางไว้ 2.81 ล้านไร่ ถือเป็นพื้นที่ที่ทำนาปรังมากที่สุด สัดส่วนประมาณ 55% ของพื้นที่ทำนาปรังทั่วประเทศ

นายทวีศักดิ์ กล่าวว่า เพื่อรับมือฤดูฝนที่กำลังจะมาถึง กรมชลประทานมอบหมายให้สำนักงานชลประทานทั่วประเทศ ประสานงานและตรวจสอบพื้นที่ที่มีการปรับปรุงอาคารชลประทานและทางน้ำที่อาจจะมีผลกระทบต่อประสิทธิภาพการระบายน้ำ พร้อมเตรียมแผนการแก้ไขบัญหาไว้ล่วงหน้า รวมไปถึงเน้นย้ำให้ดำเนินการปฏิบัติตาม 13 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2565 ของรัฐบาลอย่างเคร่งครัด เน้นย้ำให้มีการตรวจสอบอาคารชลประทานให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานตลอดเวลา การบริหารจัดการน้ำในอ่างเก็บน้ำให้อยู่ในเกณฑ์ควบคุม

อีกทั้งเร่งกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำอย่างสม่ำเสมอ ติดตาม วิเคราะห์สภาพอากาศ สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำ แหล่งน้ำ แม่น้ำสายหลักต่าง ๆ พร้อมกันนี้ได้ให้สำนักเครื่องจักรกล ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้งานและการบำรุงรักษาเครื่องจักร เครื่องมือ ให้กับบุคลากรของหน่วยงานในทุกพื้นที่ ให้สามารถบำรุงรักษาและใช้งานเครื่องจักร เครื่องมือได้อย่างเต็มศักยภาพ เพื่อให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน

คณะรัฐมนตรี (ครม.)เมื่อวันที่ 3 พ.ค.2565 รับทราบ 13 มาตรการรับมือฤดูฝนปี 2565 มาตรการที่ 1 คาดการณ์ชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติ (เดือนมี.ค. 2565 เป็นต้นไป)  โดยประเมินพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมในช่วงเดือนมี.ค. – ธ.ค.2565 และ ประเมินพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำจากภาวะฝนน้อยกว่าค่าปกติ และฝนทิ้งช่วงในเดือนมิ.ย. -ก.ค. 2565 เพื่อให้หน่วยงานนำไปกำหนดแผนปฏิบัติการเพื่อดำเนินการในเชิงป้องกันล่วงหน้าในพื้นที่เสี่ยง

มาตรการที่ 2 การบริหารจัดการน้ำพื้นที่ลุ่มต่ำเพื่อรองรับน้ำหลาก ภายในเดือนส.ค. 2565  โดยจัดทำแผนการใช้พื้นที่ลุ่มต่ำแก้มลิงเพื่อรองรับน้ำหลากและเป็นพื้นที่หน่วงน้ำ1ในช่วงฤดูน้ำหลาก บริหารจัดการเพื่อป้องกันและบรรเทาระดับความรุนแรงของน้ำท่วม รวมถึงจัดทำแผนเก็บกักน้ำไว้ใช้ก่อนสิ้นฤดูฝน เช่น พื้นที่ทุ่งบางระกำ และพื้นที่ลุ่มต่ำลุ่มน้ำเจ้าพระยาตอนล่าง  รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์การใช้พื้นที่ลุ่มต่ำเป็นพื้นที่รับน้ำนองและการจ่ายเงินค่าทดแทนหรือค่าชดเชยความเสียหาย

มาตรการที่ 3 ทบทวน ปรับปรุงเกณฑ์บริหารจัดการน้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ - กลาง และเขื่อนระบายน้ำ ภายในเดือนเม.ย.2565 และ ติดตามสถานการณ์น้ำในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ - กลาง เพื่อเฝ้าระวังและควบคุมการบริหารจัดการน้ำให้เป็นไปตามเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำหรือเกณฑ์ควบคุม  จัดทำแผนการบริหารจัดการน้ำแหล่งน้ำขนาดใหญ่ - กลาง ในช่วงภาวะวิกฤติ

,มาตรการที่ 4 ซ่อมแซม ปรับปรุงอาคารชลศาสตร์/ระบบระบายน้ำ สถานีโทรมาตรให้พร้อมใช้งาน ภายในเดือนก.ค.2565 ตรวจสอบสภาพความมั่นคงและซ่อมแซมอ่างเก็บน้ำ อาคารควบคุมบังคับน้ำ รวมทั้งระบบระบายน้ำ

มาตรการที่ 5 ปรับปรุง แก้ไขสิ่งกีดขวางทางน้ำ ภายในเดือนก.ค.2565 สำรวจและจัดทำแผนดำเนินการกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำที่เกิดจากการก่อสร้างและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การจัดการพื้นที่น้ำท่วม/พื้นที่ชะลอน้ำ และการปรับปรุงคูคลองเพื่อเพิ่มพื้นที่รับน้ำและระบายน้ำได้อย่างสะดวกรวดเร็ว

,มาตรการที่ 6 ขุดลอกคูคลองและกำจัดผักตบชวา ภายในเดือนก.ค.2565 จัดทำแผนบูรณาการด้านเครื่องจักร เครื่องมือ/สารชีวภัณฑ์ ในการกำจัดผักตบชวาและวัชพืช และดำเนินการขุดลอกคูคลอง  ประชาสัมพันธ์และเชิญชวนประชาชนในชุมชนช่วยกันจัดเก็บหรือกำจัดผักตบชวา

มาตรการที่ 7 เตรียมพร้อม/วางแผนเครื่องจักร เครื่องมือประจำพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและฝนน้อยกว่าค่าปกติ ภายในเดือนก.ค.2565  เตรียมความพร้อมแผนป้องกัน  แผนเผชิญเหตุ ความพร้อมด้านบุคลากร เครื่องจักร  พร้อมใช้งานเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำท่วม ฝนน้อยกว่าค่าปกติ ฝนทิ้งช่วง สำหรับให้ความช่วยเหลือได้ตลอด 24 ชั่วโมง  ปฏิบัติการฝนหลวงในช่วงฝนทิ้งช่วง,

มาตรการที่ 8 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำและปรับปรุงวิธีการส่งน้ำ ก่อนฤดูฝน-ตลอดช่วงฤดูฝน วางแผนการจัดสรรน้ำให้สอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุน ลดการสูญเสียน้ำโดยการปรับปรุงวิธีการส่งน้ำและซ่อมแซมระบบการส่งน้ำเพื่อเพิ่มศักยภาพการใช้น้ำให้ได้ประโยชน์สูงสุด

มาตรการที่ 9 ตรวจความมั่นคงและปลอดภัยคัน/ทำนบ/พนังกั้นน้ำ ก่อนฤดูฝน-ตลอดช่วงฤดูฝน ตรวจสอบความมั่นคง แข็งแรงของคันกั้นน้ำ ทำนบ และพนังกั้นน้ำ และซ่อมแซม/ปรับปรุงให้มีสภาพดี ,มาตรการที่ 10 จัดเตรียมพื้นที่อพยพและซักซ้อมแผนเผชิญเหตุ ภายในเดือนพ.ค. 2565 จัดเตรียมพื้นที่อพยพและซักซ้อมแผนเผชิญเหตุระดับต่าง ๆ อย่างน้อยภาคละ 1 พื้นที่

,มาตรการที่ 11 ตั้งศูนย์ส่วนหน้าก่อนเกิดภัย ตลอดช่วงฤดูฝน ,มาตรการที่ 12 การสร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์ ก่อนฤดูฝน-ตลอดช่วงฤดูฝน สร้างการรับรู้และประชาสัมพันธ์เครือข่ายต่าง ๆ และประชาชน

และมาตรการที่ 13 ติดตาม ประเมินผล และปรับมาตรการให้สอดคล้องกับสถานการณ์ภัย ตลอดช่วงฤดูฝน

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 5 พฤษภาคม 2565

80 ปี ก.อุตฯ “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ให้เติบโตยั่งยืน”

กระทรวงอุตสาหกรรม ย้ำแผนปี 2565 เดินหน้ายกระดับขีดความสามารถผู้ประกอบการ สนับสนุนปัจจัยที่เอื้อต่อการเติบโตภาคอุตสาหกรรมใหม่ เพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน ตามแนวทาง BCG Model พร้อมมุ่งสู่องค์กรดิจิทัลเพื่อให้บริการประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพ

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในงานวันคล้ายวันสถาปนากระทรวงอุตสาหกรรม ครบรอบ 80 ปี โดยมีนายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม พร้อมด้วยผู้บริหารระดับสูง ข้าราชการ และพนักงานกระทรวงอุตสาหกรรม เข้าร่วมงาน โดยช่วงเช้ามีพิธีถวายเครื่องบวงสรวงองค์พระนารายณ์ และพระภูมิ ณ กระทรวงอุตสาหกรรม

ทั้งนี้ นายสุริยะ เปิดเผยว่า ตลอดระยะเวลา 80 ปีที่ผ่านมา กระทรวงอุตสาหกรรมได้สนับสนุนให้ภาคอุตสาหกรรมไทยมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง สำหรับระยะต่อไป ได้จัดทำแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) เพื่อการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการและภาคอุตสาหกรรมให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลกด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ขับเคลื่อน รวมทั้งพัฒนาระบบนิเวศอุตสาหกรรม (Ecosystem) เพื่อเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0

นอกจากนี้ ยังให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ด้วยการบูรณาการการดำเนินงานหน่วยงานภายในและภายนอกกระทรวงเพื่อให้บรรลุผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมาย เป็นแนวทางการทำงานและพัฒนาอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพสอดคล้องกับบริบทของสถานการณ์โลกในปัจจุบันเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ

โดยมีกรอบแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับแผนการพัฒนาประเทศและภาคอุตสาหกรรม เป็นไปตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แผนความมั่นคงเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) แห่งสหประชาชาติ และนโยบายระดับกระทรวง เพื่อก่อให้เกิดการเชื่อมโยงในทิศทางเดียวกันอย่างเป็นรูปธรรม และสอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงไปมากขึ้น

“กระทรวงฯ ได้ผลักดันให้ภาคอุตสาหกรรม ภาคการผลิตมีความสมดุล มั่นคง และยั่งยืน ภายใต้วิสัยทัศน์ “ปฏิรูปอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรมยุคใหม่ให้เติบโตอย่างยั่งยืน” ด้วยการเปลี่ยนผ่านอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรม 4.0 โดยที่การส่งเสริม และการพัฒนาต้องสอดคล้องกับศักยภาพพื้นฐานของประเทศ โดยการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ จะก่อให้เกิดการเพิ่มผลิตภาพ มูลค่า และมาตรฐาน รวมถึงพัฒนาศักยภาพของผู้ประกอบการให้มีความเข้มแข็งและแข่งขันได้ในเวทีโลก”

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวเสริมว่า ในส่วนของแผนปฏิบัติราชการระยะ 5 ปี (พ.ศ.2566-2570) ของกระทรวงฯ ยังคงมุ่งเน้นไปที่การยกระดับขีดความสามารถของผู้ประกอบการ และภาคอุตสาหกรรม ด้วยเทคโนโลยี และนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมให้มีการพัฒนาอุตสาหกรรมสอดคล้องกับศักยภาพพื้นฐานของประเทศ โดยเน้นไปที่งานวิจัย การต่อยอดงานวิจัย และการประยุกต์ใช้ทางวิทยาศาสตร์ การพัฒนาปัจจัยสนับสนุนให้เอื้อต่อการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมใหม่ ด้วยการสนับสนุน สร้างโอกาส และลดอุปสรรคในการประกอบธุรกิจอุตสาหกรรม

การเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืนด้วย BCG Model เป็นการเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับภาคอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นการดำเนินกิจการที่เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาองค์กรสู่องค์กรดิจิทัลเพื่อให้การบริการอย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยการพัฒนาระบบและความสามารถของบุคลากรในการให้บริการแก่ผู้ประกอบการ และประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพและมีธรรมาภิบาล และสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงของโลกได้

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 5 พฤษภาคม 2565

พลังงานพุ่งดัน "เงินเฟ้อ" สูงเดือนเม.ย.ขึ้นต่อเนื่อง

"เงินเฟ้อ" เดือน เม.ย.เพิ่ม 4.65% ผลจากราคาพลังงงาน อาหารสด มาตรการควำบาตรของรัสเซีย แต่ต่ำกว่าเดือนเม.ย.เนื่องจากฐานที่ปีแล้วสูง คาดเงินเฟ้อ เดือนพ.ค. 2565 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค หรือ "เงินเฟ้อ" เดือนเม.ย. 2565 เท่ากับ 105.15  ขยายตัว4.65 % 

ปัจจัยหลักยังคงเป็นราคาพลังงาน อาหารสด และต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น ส่งผลให้ราคาอาหารสำเร็จรูปสูงขึ้น และส่วนหนึ่งมาจากสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน และมาตรการคว่ำบาตร ส่งผลต่อห่วงโซ่อุปทานการผลิต การค้า และการขนส่ง ราคาสินค้าและบริการในประเทศจึงปรับสูงขึ้น และส่งผลให้ อัตราเงินเฟ้อ เพิ่มขึ้นในที่สุด ซึ่งเป็นทิศทางเดียวกับหลายประเทศที่ประสบอยู่ในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ราคาต้นทุนหรือราคาหน้าโรงงานของไทยที่สูงขึ้นค่อนข้างมาก สะท้อนได้จากดัชนีราคาผู้ผลิต ที่สูงขึ้นถึง12.8%  ยังไม่ส่งผ่านไปยังราคาขายปลีกมากนัก เนื่องจากมาตรการของภาครัฐ และความต้องการที่ยังไม่ฟื้นตัวจากวิกฤติโควิด-19 โดยมีรายละเอียด

สำหรับสินค้าสำคัญที่ทำให้ "เงินเฟ้อ" อยู่ที่ระดับ 4.65% อาทิ สินค้าในกลุ่มพลังงาน สูงขึ้น 21.07 % ส่งผลให้สินค้าในหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร สูงขึ้น 10.73 % โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิง และส่งผลให้ค่าโดยสารสาธารณะปรับสูงขึ้นตาม หมวดเคหสถาน สูงขึ้น 0.98 % จากการสูงขึ้นของค่ากระแสไฟฟ้า และก๊าซหุงต้ม ราคาปรับสูงขึ้นเนื่องจากสิ้นสุดมาตรการตรึงราคาและเริ่มปรับราคาสูงขึ้นแบบขั้นบันได 3 ครั้ง ตั้งแต่เดือนเม.ย. – พ.ย. 2565

สินค้าในกลุ่มอาหาร สูงขึ้น 4.83 % จากการสูงขึ้นของอาหารสดในกลุ่มปศุสัตว์ อาทิ ไข่ไก่ เนื้อสุกร ไก่สด ราคาเปลี่ยนแปลงตามต้นทุนการเลี้ยง ผักสดบางชนิด ซึ่งปรับขึ้นตามสภาพภูมิอากาศ และปริมาณผลผลิต ส่วนน้ำมันพืช ราคาปรับสูงขึ้นตามต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น นอกจากนี้ อาหารสำเร็จรูป และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (กาแฟ/ชา (ร้อน/เย็น)) ปรับขึ้นเล็กน้อย

สินค้าอื่น ๆ ที่ปรับสูงขึ้น อาทิ สิ่งที่เกี่ยวกับทำความสะอาด (น้ำยาล้างจาน ผงซักฟอก น้ำยารีดผ้า) ของใช้ส่วนบุคคล (แชมพู ยาสีฟัน สบู่ถูตัว) เนื่องจากหมดโปรโมชั่นลดราคาแต่ราคาสินค้ายังไม่เกินช่วงแนะนำ

แนวโน้มอัตรา "เงินเฟ้อ" เดือนพ.ค. 2565 มีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง จากราคาน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน ประกอบกับมาตรการตรึงราคาและการปรับลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซล ได้สิ้นสุดลงในเดือนเม.ย.และปลายเดือนพ.ค. และการปรับราคาสูงขึ้นแบบขั้นบันไดของก๊าซหุงต้ม หรือ LPG  ในเดือนเม.ย. - พ.ค. 2565 รวมทั้งสินค้าอุปโภคบริโภค โดยเฉพาะอาหารสดและอาหารสำเร็จรูปยังมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นตามต้นทุนการผลิตและวัตถุดิบ

นอกจากนี้ ราคาพลังงานและสินค้าโภคภัณฑ์โลก มาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐฯ และพันธมิตร และการแพร่ระบาดของโควิด-19 รวมถึงความไม่แน่นอนของสภาพอากาศ ยังคงเป็นปัจจัยที่จะส่งผลให้เงินเฟ้อของประเทศสูงขึ้นได้ในระยะต่อไป ซึ่งจะต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

ส่วนแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อ ปี 2565 กระทรวงพาณิชย์ คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อทั่วไปของไทย ปี 2565 จะเคลื่อนไหวในกรอบ 4.0 - 5.0^%  ค่ากลางอยู่ที่ 4.5 % ซึ่งเป็นระดับที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 5 พฤษภาคม 2565

เกษตรไทยอ่วม! ส.อ.ท.ชี้ต้นทุนปุ๋ย-ดีเซลพุ่ง ดันสินค้าแพง หวั่นโลกขาดแคลนอาหาร

เกษตรไทยอ่วม! ส.อ.ท.ชี้ต้นทุนปุ๋ย-ดีเซลพุ่ง ดันสินค้าแพง หวั่นโลกขาดแคลนอาหาร เชื่อพลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้ ถ้าบริหารจัดการดี

เมื่อวันที่ 4 พ.ค. 2565 นายธนารักษ์ พงษ์เภตรา รองประธานและประธานสถาบันอุตสาหกรรมเพื่อการเกษตร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า การสู้รบระหว่างรัสเซีย-ยูเครนส่งผลกระทบต่อต้นทุนการเกษตรของไทยโดยรวมสูงขึ้น โดยเฉพาะปุ๋ยเคมีและน้ำมันดีเซลที่รัฐปรับเพดานเกินลิตรละ 30 บาท และส่งผ่านไปยังราคาอาหารสำเร็จรูปที่ต้องใช้วัตถุดิบทางการเกษตรเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

“โลกมีแนวโน้มขาดแคลนอาหาร แม้ไทยจะมีต้นทุนสูงขึ้น แต่ถ้าบริหารจัดการให้ดี เราก็ยังมีต้นทุนที่ต่ำกว่าหลายประเทศทั่วโลก เพราะไทยมีความหลากหลายทางชีวภาพวัตถุดิบทางเกษตรมาก รวมถึงปศุสัตว์ที่ไทยมีศักยภาพ สามารถพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสและสร้างรายได้ให้กับประเทศไปพร้อมๆ กับการดูแลเกษตรกรที่เป็นรากฐานของไทยให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นได้ โดยมุ่งไปสู่อาหารแห่งอนาคตหรือเกษตรที่ตอบโจทย์เทรนด์โลก”

ดังนั้น ไทยต้องปรับตัวรองรับกับทิศทางต้นทุนที่สูงขึ้น และใช้นวัตกรรมเข้ามาบริหารจัดการ มุ่งสู่เกษตรมูลค่าสูง เน้นตลาดในประเทศและส่งออกที่สมดุลในการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรแบบยั่งยืน

นายธนารักษ์ กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่อินโดนีเซียระงับส่งออกน้ำมันปาล์ม เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนภายในประเทศเมื่อ 27 เม.ย.ผลักดันให้น้ำมันพืชมีราคาสูงสุดทุบสถิติ เนื่องจากอินโดนีเซียส่งออกน้ำมันปาล์มคิดเป็น 35% ของการส่งออกทั้งหมด และกดดันให้ราคาน้ำมันจากพืชชนิดอื่นสูงตามไปด้วย เช่น ถั่วเหลือง น้ำมันคาโนลา ฯลฯ ทำให้ราคาน้ำมันพืชในไทยปรับตัวสูงขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตามคงต้องติดตามใกล้ชิดว่าอินโดนีเซียจะกลับมาส่งออกเมื่อใด เนื่องจากหากกลับมาส่งออกได้ ระดับราคาน้ำมันปาล์มจะไต่ระดับลดลง

จาก https://www.khaosod.co.th  วันที่ 4 พฤษภาคม 2565

ค่าเงินบาทวันนี้ อ่อนค่า 34.46 บาท จับตาผลประชุมเฟด-โควิดในจีน

เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ 3 พ.ค.65 อ่อนค่า 34.46 บาทต่อดอลลาร์ ปัจจัยโควิดโอมิครอนระบาดในจีนยังรุนแรง รวมทั้งเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ย จับตาสัปดาห์นี้อ่อนร่วงทะลุ 34.50 บาท

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ 3 พ.ค.65 ที่ระดับ 34.46 บาทต่อดอลลาร์ อ่อนค่าลง จากระดับปิดสัปดาห์ก่อนหน้า ที่ระดับ 34.22 บาทต่อดอลลาร์ (ระดับปิด ณ วันที่ 29 เมษายน) โดยมองกรอบค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ ที่ระดับ 34.10-34.60 บาทต่อดอลลาร์ ส่วนกรอบเงินบาทวันนี้ คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 34.35-34.55 บาทต่อดอลลาร์

ทั้งนี้สัปดาห์ที่ผ่านมา ปัญหาการระบาดของโอมิครอนในจีน รวมถึงปัญหาสงครามที่ยังยืดเยื้อและความกังวลแนวโน้มเฟดเร่งขึ้นดอกเบี้ยนโยบายยังคงกดดันให้ตลาดการเงินโดยรวมปิดรับความเสี่ยง

ในสัปดาห์นี้ มองว่า ไฮไลท์สำคัญจะอยู่ที่การประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ หรือ เฟด ที่อาจส่งผลต่อทิศทางตลาดการเงินในช่วงนี้ได้ นอกจากนี้ ตลาดจะยังคงติดตามรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียน โดยหากผลประกอบการส่วนใหญ่ออกมาดีกว่าคาด ตลาดหุ้นโดยรวมอาจเริ่มทรงตัวได้

สำหรับ แนวโน้มของค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มผันผวนในฝั่งอ่อนค่าและมีโอกาสทดสอบแนวต้าน “34.50” บาทต่อดอลลาร์ จากการแข็งค่าของเงินดอลลาร์ในช่วงก่อนรับรู้ผลการประชุมเฟดและโฟลว์ธุรกรรมซื้อทองคำในจังหวะย่อตัว ทั้งนี้ ควรติดตามทิศทางฟันด์โฟลว์นักลงทุนต่างชาติ เพราะ แรงซื้อสินทรัพย์ไทยโดยเฉพาะหุ้นไทยอาจพอช่วยชะลอการอ่อนค่าของเงินบาท อนึ่ง เราเชื่อว่านักลงทุนต่างชาติอาจจะรอผลการประชุมเฟดก่อนมีการปรับสถานะถือครองที่ชัดเจน

“ในช่วงที่ตลาดการเงินยังมีความผันผวนสูงจากปัจจัยเสี่ยงหลายประการ ทั้งความเสี่ยงสงคราม ปัญหาการระบาดของโอมิครอนในจีน และความกังวลเกี่ยวกับทิศทางนโยบายการเงินเฟด เราแนะนำว่า ผู้ประกอบการควรใช้เครื่องมือป้องกันความเสี่ยงที่หลากหลาย อาทิ Option เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน”

จาก https://www.dailynews.co.th  วันที่ 3 พฤษภาคม 2565

ปีนี้ตั้งเป้า 2.5 หมื่นล้าน! “สกพอ.” เห่กล่อมญี่ปุ่นยกทัพลงทุนใน “อีอีซี”

“สกพอ.” วาดฝันนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเยือนไทยจะเพิ่มโอกาสที่นักลงทุนญี่ปุ่นยกทัพเข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรม รถยนต์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ฯลฯ ในอีอีซีเพิ่มขึ้น ตั้งเป้าญี่ปุ่นลงทุนในอีอีซีปีนี้ 25,000 ล้านบาท

นายเพ็ชร ชินบุตร รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า ในโอกาสที่นายคิชิดะ ฟูมิโอะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เยือนประเทศไทย จะเป็นโอกาสที่นักลงทุนญี่ปุ่นจะพิจารณาลงทุนเพิ่มเติมในอุตสาหกรรมเป้าหมายต่างๆ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการเพิ่มการลงทุนในอุตสาหกรรมแห่งอนาคตที่นักลงทุนญี่ปุ่นมีศักยภาพ เช่น ยานยนต์ไฟฟ้า (อีวี) อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เซมิคอนดักเตอร์ ยาและเครื่องมือแพทย์ ดิจิทัล เกษตรอัจฉริยะ อุตสาหกรรมชีวภาพ อุตสาหกรรมหมุนเวียน และอุตสาหกรรมสีเขียว (บีซีจี) โดยตั้งเป้าว่าญี่ปุ่นจะลงทุนในอีอีซีปีนี้ 25,000 ล้านบาท เนื่องจากอีอีซีเป็นฐานการผลิตที่สำคัญของญี่ปุ่นมาตั้งแต่สมัยเป็นอีสเทิร์นซีบอร์ด

“ประเทศไทยต้องการดึงดูดให้ญี่ปุ่นลงทุนในการผลิตอีวี การผลิตแบตเตอรี่ เนื่องจากเอกชนญี่ปุ่นใช้ไทยเป็นฐานการผลิตอุตสาหกรรมยานยนต์ในภูมิภาคมาเป็นเวลานาน รัฐบาลไทยก็ได้ประกาศมาตรการส่งเสริมการผลิตอีวี ซึ่งเป็นข้อเสนอแนะของญี่ปุ่นด้วย ขณะที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในอีอีซีรวมทั้งพื้นที่เขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซีไอ) เขตส่งเสริมอุตสาห กรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (อีอีซีดี) ซึ่งเป็นเขตบ่มเพาะนวัตกรรมให้เป็นโอกาสในการลงทุนของสตาร์ตอัพและเอสเอ็มอีของญี่ปุ่นที่มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ จะเป็นการส่งเสริมให้ญี่ปุ่น มาลงทุนได้อย่างมีคุณภาพ”

สำหรับการลงทุนของญี่ปุ่นในอีอีซีตั้งแต่ก่อตั้งอีอีซี ปี 2561-2564 ญี่ปุ่นให้ความสนใจลงทุนในอีอีซีเป็นอันดับที่ 1 มีมูลค่าที่ได้รับการออกบัตรส่งเสริมการลงทุน จากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน รวม 139,970 ล้านบาท และปีที่ผ่านมามีการลงทุน 19,445 ล้านบาท ในอุตสาห กรรมยานยนต์ 64% เทคโนโลยีชีวภาพ 10% ปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ 8% แม้ในช่วงการระบาดของโควิด-19 เมื่อปี 2563-2564 มูลค่าการลงทุนของญี่ปุ่นในอีอีซีโดยรวมจะลดลง โดยเฉพาะอุตสาห กรรมด้านการบริการ แต่ในภาคการผลิต เช่น ยานยนต์ เคมีภัณฑ์ อาหาร ยา ยังขยายตัว และปัจจุบันมีผู้ประกอบการญี่ปุ่นในประเทศไทย 5,856 บริษัท โดย 40% มีธุรกิจอยู่ในอีอีซี.

จาก https://www.thairath.co.th วันที่ 3 พฤษภาคม 2565

อียูเสนอร่างกฎหมาย "ข้อมูล" มุ่งพัฒนาเศรษฐกิจข้อมูลดิจิทัล | EU Watch

ในยุคดิจิทัลที่ “ข้อมูล” มีบทบาทมากขึ้น และกลายเป็นกุญแจสำคัญที่จะช่วยปลดล็อกประตู สู่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมถึงการส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ

จึงนับเป็นโอกาสของภาคธุรกิจในการเข้าถึงข้อมูลจำนวนมาก เพื่อนำไปใช้ต่อยอดให้เกิดประโยชน์ เพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ตลอดจนส่งเสริมไอเดียธุรกิจใหม่ ๆ สำหรับการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจดิจิทัลที่ยั่งยืนต่อไป

ข้อมูลดิจิทัลจัดอยู่ในกลุ่มสินค้าที่ไม่มีคู่แข่งในการบริโภค (non-rival good) ที่ผู้คนจำนวนมากสามารถเข้าถึงได้พร้อม ๆ กันและสามารถนำไปใช้ซ้ำได้หลายครั้ง โดยไม่ส่งผลกระทบต่อคุณภาพและไม่ต้องกังวลว่าปริมาณสินค้าจะลดน้อยลง

ในชีวิตประจำวันมีการผลิตและจัดเก็บข้อมูลดิจิทัลเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่องตามไลฟ์สไตล์ร่วมสมัยที่มีพึ่งพาเทคโนโลยีมากขึ้น จึงคาดการณ์ได้ว่าภายในปี ค.ศ. 2025 จะมีปริมาณข้อมูลกว่า 175 เซตตะไบต์ (ล้านล้านกิกาไบต์) ในเศรษฐกิจสหภาพยุโรป

อย่างไรก็ดี ปัจจุบันข้อมูลเหล่านี้ยังไม่ถูกนำไปใช้อย่างเต็มศักยภาพ โดยเฉพาะข้อมูลอุตสาหกรรมที่ปัจจุบันถูกนำไปใช้ประโยชน์เพียงร้อยละ 20 เท่านั้น

มาตรการส่งเสริมเศรษฐกิจข้อมูลของอียู

เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2565 คณะกรรมาธิการยุโรปจึงได้เสนอร่างกฎหมายเกี่ยวกับการเข้าถึงและใช้ข้อมูล (Data Act) เพื่อปลดล็อกให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายขึ้น เพื่อเปิดโอกาสด้านนวัตกรรมที่เน้นการใช้ข้อมูล (date-driven innovation) และนำไปสู่เศรษฐกิจดิจิทัล

ตามแนวทางของแผนยุทธศาสตร์ด้านข้อมูลของสหภาพยุโรป (European strategy for Data) โดยกำหนดมาตรการว่าใครสามารถเข้าถึงและ/หรือนำข้อมูลที่ผลิตในสหภาพยุโรปไปใช้ได้ ตลอดจนลดอุปสรรคด้านกฎหมาย ด้านเศรษฐกิจ และด้านเทคนิคที่จำกัดการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ โดยได้เสนอมาตรการที่สำคัญ ดังนี้

(1) มาตรการเพื่อให้ผู้ใช้อุปกรณ์เชื่อมต่อสามารถเข้าถึงและจัดการข้อมูลที่ตนผลิตได้ เช่น เดียวกับผู้ผลิตอุปกรณ์ โดยผู้ใช้สามารถมอบสิทธิ์ในการใช้ข้อมูลนี้ให้แก่บุคคลที่สามเพื่อให้บริการหลังการขายหรือบริการอื่น ๆ ที่ใช้นวัตกรรมขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

โดยมีข้อยกเว้นว่าผู้ใช้ไม่สามารถแบ่งปันข้อมูลให้กับบริษัทคู่แข่งของผู้ผลิต และบริษัทยักษ์ใหญ่ ซึ่งมีหน้าที่เป็นผู้คุมประตูตามเกณฑ์ของกฎหมายการตลาดดิจิทัลของอียู (Digital Markets Act (DMA)

(2) มาตรการเพื่อรักษาสมดุลของอำนาจ ในการเจรจาสัญญาการแบ่งปันข้อมูลระหว่าง SMEs และบริษัทยักษ์ใหญ่ ป้องกันไม่ให้ผู้ประกอบการรายย่อยเสียเปรียบในสัญญาที่ไม่เป็นธรรม โดยคณะกรรมาธิการยุโรปจะพัฒนา “สัญญาต้นแบบ” เพื่อช่วยสนับสนุนบริษัทรายย่อยในการร่างและเจรจาสัญญาแบ่งปันข้อมูลอย่างเป็นธรรม

(3) มาตรการเพื่ออนุญาตให้ภาครัฐมีสิทธิ์เข้าถึงและใช้ข้อมูลที่จัดเก็บ โดยภาคเอกชนในบริบทเพื่อผลประโยชน์ส่วนรวมในสถานการณ์ฉุกเฉิน อาทิ การก่อการร้าย อุทกภัย ไฟป่า และ/หรือเพื่อดำเนินการตามข้อกำหนดทางกฎหมาย โดยภาครัฐจำเป็นต้องมีข้อมูลเชิงลึกเพื่อรับมือสถานการณ์ฉุกเฉินอย่างรวดเร็วและปลอดภัย

(4) มาตรการเพื่อให้ลูกค้าสามารถพิจารณาเปลี่ยนผู้ให้บริการระบบคลาวด์ได้ โดยมีมาตรฐานระบบคลาวด์ที่สามารถเชื่อมต่อ แลกเปลี่ยนข้อมูลและทำงานร่วมกันได้ (Interoperability) และกำหนดมาตรการป้องกันการถ่ายโอนข้อมูลที่ผิดกฎหมาย อาทิ การโอนถ่ายข้อมูลอุตสาหกรรมออกนอกสหภาพยุโรป และการเข้าถึงข้อมูลจากรัฐบาลจากประเทศที่สามที่ขัดแย้งกับกฎหมายสหภาพยุโรป/กฎหมายของประเทศสมาชิก

นอกจากนี้ คณะกรรมาธิการยุโรปเสนอให้มีการทบทวนกฎหมายฐานข้อมูล (Database Directive) จากปี ค.ศ. 1990 เพื่อชี้แจงให้ชัดเจนว่าฐานข้อมูลที่มีการจัดเก็บข้อมูลจากอุปกรณ์เชื่อมต่อ (Internet of Things (IoT) ไม่ควรอยู่ภายใต้การคุ้มครองทางกฎหมายแยกต่างหาก เพื่อส่งเสริมให้สามารถเข้าถึงและนำข้อมูลดิจิทัลไปใช้ต่อได้

วงการคริปโทสะเทือน เตรียมปรับตัวตามกฎหมายใหม่

ในมิติด้านผลกระทบของร่างกฎหมายเกี่ยวกับการเข้าถึงและใช้ข้อมูลต่อระบบนิเวศของสกุลเงินคริปโทนั้น เนื่องจากในร่างกฎหมายเกี่ยวกับการเข้าถึงและใช้ข้อมูลได้เสนอมาตรการควบคุมสัญญาอัจฉริยะ (smart contracts)

หรือ กระบวนการทางดิจิทัลที่กำหนดขั้นตอนการทำธุรกรรมโดยอัตโนมัติไว้ล่วงหน้า โดยไม่มีตัวกลางควบคุม ซึ่งเป็นจุดเด่นของการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านสกุลเงินดิจิทัล อาทิ Bitcoin และ Ethereum

เนื่องจากสามารถทำธุรกรรมได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ โดยในร่างกฎหมายฯ กำหนดให้ผู้พัฒนาแอปพลิเคชันต้องสร้าง “kill switch” เพื่อเป็นกลไกในการยุติการทำธุรกรรมต่อเนื่อง และกระทบต่อคุณสมบัติการเปลี่ยนแปลงไม่ได้ (immutability)

กอปรกับข้อเสนอในการปรับปรุงกฎหมายการโอนเงินของสหภาพยุโรป ขยายภาระผูกพันของสถาบันการเงินที่เกี่ยวข้องกับการโอนเงินให้ครอบคลุมการทำธุรกรรมคริปโท

ผู้ให้บริการจะต้องมีการบันทึกและตรวจสอบข้อมูลชื่อลูกค้า ที่อยู่ วันเกิด หมายเลขบัญชี และชื่อของผู้รับเงินทุกรายการ เพื่อความโปร่งใสและให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ เพื่อป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย

วงการคริปโทไม่เห็นด้วยกับแนวทางการปรับปรุงกฎหมายนี้ และมองว่าเป็นการสอดแนมที่เกินจำเป็น ซึ่งเป็นความท้าทายของสหภาพยุโรปในการพัฒนากฎหมายเพื่อคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของประชาชน ในขณะเดียวกันก็ต้องพิจารณาความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อไม่ออกกฎหมายที่กีดกันการพัฒนานวัตกรรมในอนาคต

สุดท้ายนี้ สหภาพยุโรปมีแผนจัดตั้ง “Common European Data Spaces” เพื่อรวบรวมข้อมูลสำคัญอันเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ 9 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลด้านอุตสาหกรรม ข้อมูลด้านสุขภาพ ข้อมูลด้านการเกษตร และข้อมูลด้านพลังงาน เป็นต้น สำหรับประยุกต์ใช้ในเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล

คณะกรรมาธิการยุโรปคาดการณ์ว่า กฎหมายเกี่ยวกับการเข้าถึงและใช้ข้อมูลจะสามารถสร้าง GDP เพิ่มให้แก่เศรษฐกิจสหภาพยุโรปกว่า 270 พันล้านยูโรภายในปี ค.ศ.2028.

คอลัมน์ : EU watch

ทีมงาน ThaiEurope.net

คณะผู้แทนไทย ณ กรุงบรัสเซลส์ ทำหน้าที่  'คัด' และ 'กรอง' ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับยุโรป/สหภาพยุโรป เพื่อนำเสนอในลักษณะข้อมูลเชิงลึก เตือนให้ภาคธุรกิจไทยไทยรับทราบ

facebook @thaieurope.net

www.thaieurope.net

จาก https://www.bangkokbiznews.com   วันที่ 2 พฤษภาคม 2565

แนวโน้มที่น่าเป็นห่วงของเศรษฐกิจโลก (1) | ศุภวุฒิ สายเชื้อ

เมื่อวันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมามีรายงานข่าว 2 เรื่องที่สะท้อนความน่าเป็นห่วงของเศรษฐกิจโลกในปีนี้และปีหน้า

คือข่าวจาก Aljazeera ชื่อเรื่อง “Asia facing  stagflationary risks, IMF official warns” และข่าวจาก CNN ชื่อเรื่อง “A major recession is coming Deutsche Bank warns” ซึ่งเป็นการตอกย้ำว่าเศรษฐกิจ ณ วันนี้กำลังต้องเผชิญกับเรื่องที่น่าหนักใจ 3 เรื่องหลักคือ

1.สงครามที่ยูเครน

2.การปราบเงินเฟ้อที่สหรัฐ

3.การปราบโควิดที่จีน

ผมจะขอเสนอแนวคิดเกี่ยวกับ 3 เรื่องดังกล่าวและผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยในบทความนี้และบทความครั้งต่อไป โดยพยายามประเมินว่าเหตุการณ์ทั้ง 3 นั้นจะส่งผลในการฉุดกำลังซื้อและชะลอการขึ้นของราคาสินค้าและบริการ (deflationary) และ/หรือเพิ่มปัญหาขาดแคลนและเติมเชื้อให้กับเงินเฟ้อ (inflationary) มากน้อยเพียงใด

ต้องขอกล่าวก่อนเลยว่าเป็นการประเมินที่ยาก เพราะแม้จะพูดได้ในเชิงทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัตินั้นย่อมจะต้องมีข้อมูลที่ถูกต้องเพียงพอและทันสมัย พร้อมกับแบบจำลองทางเศรษฐกิจที่จำลองกลไกของเศรษฐกิจจริงได้อย่างแม่นยำ เพื่อประเมินน้ำหนัก (impact) ของตัวแปรต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง

ซึ่งทำได้ยากเมื่อต้องเผชิญกับตัวแปรที่ในอดีตที่ไม่ค่อยมีแบบอย่างให้เปรียบเทียบได้มากคือโรคระบาดและสงคราม

แต่สิ่งที่มีความชัดเจนคือสหภาพยุโรป สหรัฐ อเมริกาและประเทศจีนนั้น จีดีพีรวมกันประมาณ 3 ใน 4 ของจีดีพีโลก ดังนั้นจึงจะเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดทิศทางของเศรษฐกิจโลก

สำหรับผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยนั้นการค้าของไทย (ส่งออก+นำเข้า) กับกลุ่มประเทศดังกล่าวน่าจะประมาณ 60% ของการค้าต่างประเทศของไทยทั้งหมดซึ่งมีสัดส่วนประมาณ 30% ของจีดีพีของไทย แต่ผลกระทบต่อจีดีพีไทยโดยรวมน่าจะสูงกว่านั้น

 เพราะประเทศคู่ค้าอื่นๆ ที่สำคัญของไทย เช่น ญี่ปุ่น อาเซียนและเกาหลีใต้ ก็จะได้รับผลกระทบที่รุนแรงจากความผันผวนของเศรษฐกิจยุโรป อเมริกาและจีนเช่นกัน

ขอเริ่มที่สงครามที่ยูเครนก่อน ซึ่งผมขอยึดบทวิเคราะห์ของ The Economist เมื่อวันที่ 25 เมษายนที่มีชื่อเรื่องว่า “America is thinking of winning the war in Ukraine” ซึ่งสรุปได้ดังนี้

1.ในช่วงแรกที่กองทัพรัสเซียเริ่มรุกเข้าไปในยูเครน สหรัฐคงเชื่อเหมือนหลายฝ่ายว่ากองทัพยูเครนคงจะต่อสู้กองทัพรัสเซียไม่ได้ จึงเพียงแต่ส่งอาวุธเพื่อป้องกันตัว (defensive weapons) ให้ยูเครนและประกาศคว่ำบาตรรัสเซียเพียงเพื่อให้รัสเซียมีต้นทุนสูงขึ้นจากการเข้ายึดครองประเทศยูเครน

2.ต่อมาเมื่อกองทัพและประชาชนยูเครนต่อสู้กับกองทัพรัสเซียได้อย่างที่ไม่มีใครคาดหวังมาก่อน ท่าทีของสหรัฐก็เปลี่ยนไปโดยการเพิ่มความช่วยเหลือทางการทหารอย่างจริงจังเพื่อให้กรุงเคียฟและรัฐบาลของประธานาธิบดี Zelinski ปกครองประเทศต่อไปได้

แต่ประธานาธิบดีไบเดนของสหรัฐก็ยังยั้งๆ มือเพราะกลัวว่าการให้ความช่วยเหลือที่จริงจังมากเกินไปจะเสี่ยงต่อการที่รัสเซียจะหันมาใช้อาวุธนิวเคลียร์และเป็นการขยายความขัดแย้งไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 3 (ประธานาธิบดีไบเดนพูดเองก่อน)

3.แต่ล่าสุดเมื่อรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐนาย Anthony Blinken และรัฐมนตรีกลาโหมของสหรัฐนายพล Lloyd Austin ร่วมกันเดินทางไปเยือนกรุงเคียฟเมื่อวันที่ 25 เมษายน

ซึ่งนายพล Austin (ที่มักจะไม่ค่อยพูด) กล่าวว่า “เราต้องการให้รัสเซียอ่อนแอลงจนกระทั่งไม่มีศักยภาพที่จะทำสงครามแบบที่กำลังทำกับยูเครน และจะต้องไม่สามารถเสริมสร้างกำลังทางการทหารขึ้นมาใหม่ได้อีกในอนาคต”

สามารถตีความได้ว่า สหรัฐคาดหวังว่า รัสเซียอาจรบพ่ายแพ้จนต้องหันมาเจรจาเพื่อยุติความขัดแย้งกับยูเครน ดังนั้น ประธานาธิบดีไบเดนจึงอนุมัติงบประมาณเพื่อซื้ออาวุธให้กับยูเครนเพิ่มขึ้นอีกอย่างรวดเร็ว และระยะหลังนี้ก็เป็นการให้อาวุธเชิงรุก (offensive weapons) และเป็นอาวุธหนักซึ่งรวมถึงปืนใหญ่ จรวด ชิ้นส่วนของเครื่องบินขับไล่และแม้แต่การส่งเครื่องบินขับไล่ให้

ตลอดจนการฝึกฝนทหารของยูเครนให้สามารถใช้อาวุธของนาโต้ที่ดีกว่าของรัสเซียที่ทหารยูเครนใช้อยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้สหรัฐและสมาชิกนาโต้ส่วนใหญ่ (เยอรมนียังกลับใจหันมายอมส่งอาวุธหนักให้กับยูเครน) กล้าปรับท่าที

แม้ว่าประธานาธิบดีปูตินและรัฐมนตรีต่างประเทศของรัสเซียนาย Lavrov จะออกมาขู่อย่างชัดเจนมากขึ้นเป็นลำดับว่า รัสเซียพร้อมจะใช้อาวุธนิวเคลียร์หากการดำเนินการของนาโต้ถือเป็นภัยคุกคามรัสเซีย

ล่าสุดบริษัท Gazprom ของรัสเซียประกาศยุติการส่งก๊าซธรรมชาติขายให้กับโปแลนด์และบัลกาเลีย ซึ่งย่อมจะยิ่งทำให้พลังงานขาดแคลนมากขึ้นในยุโรปและประเทศต่างๆ ในยุโรปย่อมจะต้องเร่งรีบหาแหล่งพลังงานจากที่อื่นๆ จึงทำให้ราคาพลังงานในตลาดโลกสูงขึ้นและอยู่ที่ระดับสูงไปได้อีกนาน เพราะการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและแหล่งพลังงานนั้นย่อมต้องใช้เวลานาน 3-5 ปี

แต่ในขณะเดียวกัน ยุโรปมีความเสี่ยงสูงว่าการต้องเผชิญกับทั้งภาวะสงคราม ความเสี่ยงที่สงครามจะเพิ่มความรุนแรง (เช่น กลัวการใช้อาวุธนิวเคลียร์โดยรัสเซีย) บวกกับพลังงานราคาสูงและอาหารกับปุ๋ยขาดแคลน ซึ่งรวมกันแล้วน่าจะทำให้เศรษฐกิจยุโรปมีความเสี่ยงมากกว่าส่วนอื่นๆ ของโลกที่จะชะลอตัวลงอย่างรุนแรงหรืออาจเข้าสู่ภาวะถดถอยก็เป็นได้

ดังนั้น ผมจึงสรุปว่าสำหรับยุโรปนั้นความเสี่ยงสุทธิน่าจะไปในทิศทางของเศรษฐกิจชะลอตัวลงอย่างรุนแรง (deflation) มากกว่าการเผชิญกับปัญหาเงินเฟ้อที่คุมไม่อยู่ (inflation) เช่นที่อาจจะเกิดขึ้นที่สหรัฐ

สำหรับผลกระทบต่อประเทศไทยนั้น ก็น่าจะเห็นได้จากราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก (ยกเว้นราคาข้าวที่ราคาค่อนข้างนิ่งในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา) และราคาปุ๋ยซึ่งเราเริ่มเห็นผลกระทบบ้างแล้ว เช่น จีนห้ามส่งออกปุ๋ยและอินโดนีเซียห้ามส่งออกน้ำมันปาล์ม (ซึ่งในช่วงที่ผ่านมานั้นราคาปุ๋ยกับราคาน้ำมันพืชปรับสูงขึ้นกว่าราคาน้ำมันดิบ) ตรงนี้น่าจะมีความเสี่ยงสูงว่าประเทศไทยจะขาดแคลนปุ๋ยอย่างมากนับจากวันนี้

สิ่งที่น่าจะเกิดขึ้นคือ เมื่อราคาปุ๋ยสูงเกินเอื้อม เกษตรกรก็จะต้องจำยอมซื้อปุ๋ยน้อยลงเพื่อใช้ในการเพาะปลูกฤดูกาลนี้ แต่ผลที่จะตามมาคือความเสี่ยงที่ปีนี้ผลผลิตทางการเกษตรจะตกต่ำกว่าปีก่อนๆ มาก

ชาวนาที่ปลูกข้าวจะพบว่ารายได้ตกต่ำ และจะเรียกร้องเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลได้ เพราะรัฐบาลมีนโยบาย “ประกันรายได้” แปลว่าไม่ว่ารายได้จะตกต่ำเพราะเหตุผลใด รัฐบาลก็ต้องเยียวยาให้อย่างไม่มีเงื่อนไข

ประเด็นที่น่าสนใจที่ผมพบจากงานวิจัยของธนาคารกรุงศรีคือ การประเมินความจำเป็นในการใช้ปุ๋ยของเกษตรกรในพืชผลประเภทต่างๆ คือ

•น้ำมันปาล์ม  ใช้ปุ๋ยไร่ละ 120 กิโลกรัม

•ยางธรรมชาติ ใช้ปุ๋ยไร่ละ 76 กิโลกรัม

•อ้อย ใช้ปุ๋ยไร่ละ 63 กิโลกรัม

•ข้าวนาปี ใช้ปุ๋ยไร่ละ 49 กิโลกรัม

•ข้าวโพด ใช้ปุ๋ยไร่ละ 46 กิโลกรัม

•มันสำปะหลัง ใช้ปุ๋ยไร่ละ 41 กิโลกรัม

เนื่องจากปาล์มราคาดีมากจึงเป็นไปได้ว่า ปุ๋ยน่าจะขาดแคลนอย่างมากสำหรับพืชผลอื่นๆ ครับ.

แนวโน้มที่น่าเป็นห่วงของเศรษฐกิจโลก (1) | ศุภวุฒิ สายเชื้อ

คอลัมน์ : เศรษฐศาสตร์+สุขภาพ

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

นักเศรษฐศาสตร์ และที่ปรึกษาสถาบันวิจัยภัทร

กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร 

จาก https://www.bangkokbiznews.com   วันที่ 2 พฤษภาคม 2565

สหรัฐฯ ประกาศคงบัญชี WL ไทย “พาณิชย์” ลุยต่อผลักดันให้หลุด

“พาณิชย์” เผยสหรัฐฯ ประกาศสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของคู่ค้า ภายใต้กฎหมายมาตรา 301 พิเศษ ประจำปี 65 แล้ว ไทยยังคงอยู่ในบัญชี WL เหมือนเดิม แต่ชื่นชมมีความคืบหน้าการปราบปราม การแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตรและลิขสิทธิ์ “วุฒิไกร” เตรียมลุยชี้แจง ผลักดันให้ไทยหลุดจากบัญชี WL ต่อไป

นายวุฒิไกร ลีวีระพันธุ์ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 27 เม.ย. 2565 ที่ผ่านมา สำนักงานผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (USTR) ได้ประกาศสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศคู่ค้ารายสำคัญ ภายใต้กฎหมายการค้าสหรัฐฯ มาตรา 301 พิเศษ (Special 301) ประจำปี 2565 โดยไทยสามารถรักษาสถานะอยู่ในบัญชีประเทศที่ต้องจับตามอง (Watch List : WL) ซึ่งกรมฯ จะเดินหน้าสร้างความเข้าใจกับสหรัฐฯ เพิ่มเติม เพื่อให้สหรัฐฯ รับทราบความก้าวหน้าด้านการคุ้มครองและปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของไทยอย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น เพื่อสะท้อนข้อเท็จจริงในรายงานได้อย่างเหมาะสม และผลักดันให้ไทยหลุดจากบัญชี WL ได้สำเร็จต่อไป

ทั้งนี้ แม้สหรัฐฯ จะคงบัญชี WL แต่ได้ชื่นชมไทยที่พัฒนาทรัพย์สินทางปัญญาในหลายมิติ ทั้งด้านการปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา การผลักดันการแก้ไขกฎหมายสิทธิบัตร การแก้ไขปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ในภาครัฐ และการแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์ ที่ส่งผลให้ไทยพร้อมเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาว่าด้วยลิขสิทธิ์ขององค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) รวมถึงการจัดกิจกรรมรณรงค์และสร้างความตระหนักรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญาในหลากหลายรูปแบบอย่างต่อเนื่อง

นายวุฒิไกรกล่าวว่า ที่ผ่านมากรมฯ ได้ทำงานเชิงรุกเพื่อขับเคลื่อนระบบทรัพย์สินทางปัญญาของไทยให้เข้มแข็ง จนเกิดผลชัดเจนเป็นรูปธรรมหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบจดทะเบียนแบบ Fast Track การให้คำปรึกษาด้านทรัพย์สินทางปัญญาอย่างครบวงจร การส่งเสริมการสร้างสรรค์และใช้ประโยชน์ทรัพย์สินทางปัญญาในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนการกวดขันปราบปรามการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาทุกรูปแบบ ซึ่งเห็นได้จากในรายงานตลาดที่มีการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาทั่วโลก (Notorious Markets) ประจำปี 2564 ซึ่งสหรัฐฯ ประกาศเมื่อเดือน ก.พ. 2565 ก็ไม่ปรากฏย่านการค้าและตลาดออนไลน์ของไทยแต่อย่างใด

“กรมฯ ขอขอบคุณหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่ทำงานร่วมกันอย่างแข็งขัน โดยเชื่อมั่นว่าความร่วมมือนี้จะช่วยผลักดันให้ไทยหลุดจากบัญชี WL ได้สำเร็จ และในส่วนของกรมฯ จะมุ่งมั่นพัฒนาระบบทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศอย่างต่อเนื่อง เพื่อเอื้ออำนวยต่อการสร้างสรรค์นวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ และเสริมสร้างบรรยากาศทางการค้าและการลงทุนในประเทศ รวมทั้งสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนต่างประเทศในการเข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยมากยิ่งขึ้น” นายวุฒิไกรกล่าว

สำหรับการประกาศสถานะการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของประเทศคู่ค้ารายสำคัญของสหรัฐฯ ในปีนี้มี 7 ประเทศถูกจัดอยู่ในบัญชี PWL ได้แก่ จีน อินโดนีเซีย อินเดีย รัสเซีย อาร์เจนตินา ชิลี และเวเนซุเอลา และมี 20 ประเทศที่ถูกจัดให้อยู่ในบัญชี WL ได้แก่ เวียดนาม ปากีสถาน เติร์กเมนิสถาน อุซเบกิสถาน อียิปต์ แอลจีเรีย ตุรกี บาร์เบโดส โบลิเวีย บราซิล แคนาดา โคลอมเบีย สาธารณรัฐโดมินิกัน เอกวาดอร์ กัวเตมาลา เม็กซิโก ปารากวัย เปรู ตรินิแดดและโตเบโก และไทย

จาก https://mgronline.com    วันที่ 2 พฤษภาคม 2565

เงินบาทเศรษฐกิจไทย จับตาการประชุมเฟดและเงินเฟ้อไทย

เงินบาทมีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 33.80-34.50ในสัปดาห์นี้ ประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามคือการประชุมของเฟดในวันที่ 3-4 พฤษภาคมนี้

สายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทยประเมินว่า เงินบาทมีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 33.80-34.50ในสัปดาห์นี้ ประเด็นสำคัญที่ต้องติดตามคือการประชุมของเฟดในวันที่ 3-4 พฤษภาคมนี้ โดยเฟดได้เริ่มปรับขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว 25bps ในการประชุมเดือนมีนาคมที่ผ่านมา และในรายงานการประชุมเฟดในเดือนมีนาคมแสดงให้เห็นว่าเฟดมีพิจารณาการขึ้นดอกเบี้ย 50bps และการลดขนาดงบดุลครั้งใหญ่สูงสุดที่ 9.5 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งตลาดได้คาดการณ์เฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 50bps ในการประชุมในอาทิตย์หน้านี้ แต่จะจับตาการประเมินของเฟดในระยะข้างหน้าหลังจากตัวเลขจีดีพีไตรมาส 1 ออกมาติดลบเมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา

ด้านไทยจะมีการเปิดเผยตัวเลขเงินเฟ้อที่เป็นปัจจัยที่ตลาดเฝ้าจับตามอง ซึ่งคาดการณ์ว่าจะยังอยู่ในระดับสูงกว่าขอบบนของเป้าธปท. ตามราคาพลังงานและอาหารที่ยังอยู่ระดับสูงทั่วโลกอย่างต่อเนื่อง โดยตลาดคาดเงินเฟ้อไทยเดือนเมษายนอยู่ที่ 4.76%YoY จาก 5.73%YoY ในเดือนมีนาคม

ภาพรวมตลาดอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงวันที่ 25-29 เมษายน 2022 เงินบาทไทยอ่อนค่าที่สุดนับตั้งแต่พฤษภาคม 2017 จากปัจจัยดอลลาร์สหรัฐที่แข็งค่า ท่ามกลางท่าทีเร่งขึ้นดอกเบี้ยของเฟด และปัจจัยฤดูกาลเงินปันผลไหลออก แม้จะมีปัจจัยบวกจากการที่รัฐบาลไทยผ่อนคลายมาตรการเข้าประเทศต่อเนื่อง โดยยกเลิกการตรวจ RT-PCR เปลี่ยนเป็นการตรวจ ATK พร้อมลดวันกักตัวสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ลงเหลือเพียง 5 วัน ในขณะที่การส่งออกไทยเดือนมีนาคมขยายตัว 19.50%YoY ดีกว่าคาดการณ์มาก ส่งผลให้ดุลบัญชีเดินสะพัดไทยพลิกกลับมาเป็นบวก 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้านกระทรวงการคลังปรับลดคาดการณ์จีดีพีในปีนี้ลงเหลือ 3.5% จาก 4.0% จากผลกระทบสงครามรัสเซียยูเครนที่กระทบคู่ค้าไทย พร้อมเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อเป็น 5.0% จาก 1.9% ในปีนี้ ท่ามกลางราคาพลังงานที่พุ่งขึ้น ด้านนโยบายการเงิน ผู้ว่า ธปท. ส่งสัญญาณว่าเงินเฟ้อในไทยระยะกลางยังคงอยู่ในกรอบเป้าหมายที่ 2-3% แม้เงินเฟ้อปัจจุบันจะพุ่งเหนือเป้าหมายที่ตั้งไว้ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐแข็งค่าต่อเนื่อง ท่ามกลางสัญญาณ Hawkish จากเฟด กดดันให้ตลาดหุ้นสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงอย่างมาก ด้านจีดีพีไตรมาสที่ 1 พลิกติดลบ 1.4% annualized QoQ น้อยกว่าคาดการณ์ เนื่องจากการขาดดุลการค้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์และการลงทุนในสินค้าคงคลังเอกชนที่ลดลง ในขณะที่การบริโภคภายในสหรัฐฯ ยังคงขยายตัว และเงินเฟ้อพุ่ง ในขณะที่สมาชิกเฟดมีแนวโน้มสนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ยไปสู่ระดับปกติที่ 2.50% ในปีนี้ พร้อมส่งสัญญาณเห็นด้วยกับการขึ้นดอกเบี้ย 50bps ในการประชุม FOMC ในช่วงวันที่ 3-4 พฤษภาคมนี้

ด้านความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ปูตินหันไปให้ความสนใจกับการยึดครองดินแดนมากกว่าการทำข้อตกลงกับยูเครน หลังจากมีการร่างข้อตกลงในการประชุมที่อิสตันบูลในช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา พร้อมหยุดการส่งก๊าซให้โปแลนด์และบัลแกเรียตามที่เคยประกาศไว้ว่าหากผู้ซื้อไม่ยอมจ่ายค่าก๊าซเป็นเงินรูเบิ้ล ทำให้ราคาก๊าซในยุโรปพุ่งขึ้น 24% ล่าสุดมีบริษัทยุโรป 4 บริษัทจ่ายค่าก๊าซในสกุลเงินรูเบิ้ลแล้ว ด้านลาการ์ดต้องออกมายืนยันจะดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายเงินเฟ้อที่ตั้งไว้ พร้อมระบุว่ามีโอกาสสูงที่จะยกเลิกคิวอีในช่วงต้นไตรมาสที่ 3 ในขณะที่เงินเฟ้อในยุโรปราวครึ่งหนึ่งเกิดจากราคาพลังงานที่สูง ด้านการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส มาครองชนะเลอแปง ได้เป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 2

ด้านจีน ค่าเงินหยวนอ่อนค่าแตะระดับ 6.6 หยวน/ดอลลาร์สหรัฐ ท่ามกลางความกังวลปิดเมืองปักกิ่ง และการแพร่ระบาดภายในประเทศจีน ซึ่งส่งผลให้อุปสงค์ภายในประเทศหดตัว อย่างไรก็ตาม รัฐบาลจีนประกาศช่วยเหลือเศรษฐกิจ โดยได้สัญญาจะเพิ่มสภาพคล่องในตลาดและใช้นโยบายการเงินเพื่อช่วยเหลือเศรษฐกิจ ด้านธนาคารกลางจีนปรับลดอัตราเงินทุนสำรองต่างชาติของธนาคารพาณิชย์ 1% และผ่อนมาตรการปล่อยกู้ของธนาคารพาณิชย์เพื่อช่วยภาคอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ จีนและอิหร่านประกาศความร่วมมือทางการทหาร ทำให้ภาพรวมภูมิรัฐศาสตร์โลกซับซ้อนมากยิ่งขึ้น

บีโอเจคงดอกเบี้ยนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายต่อเนื่องตามคาด และปรับเพิ่มมุมมองเงินเฟ้อ โดยบีโอเจคงดอกเบี้ยที่ -0.1% พร้อมคงมาตรการควบคุมเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปี โดยจะซื้อทุกวันทำการไม่จำกัด ที่ 0.25% นอกจากนี้ บีโอเจยังได้ปรับเพิ่มคาดการณ์เงินเฟ้อพร้อมปรับลดคาดการณ์จีดีพีญี่ปุ่นลง ท่าทีของบีโอเจกดดันค่าเงินเยนให้อ่อนค่าทันที 1% และ USDJPY อ่อนค่าทะลุ 130 เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2002 และนับเป็นค่าเงินที่อ่อนค่ามากที่สุดในภูมิภาคที่ 12%YTD ทำให้กระทรวงการคลังญี่ปุ่นต้องออกมากล่าวแสดงความกังวลและระบุอาจมีการแทรกแซงค่าเงินเยน

ภาพรวมตลาดตราสารหนี้ในสัปดาห์ที่ผ่านมาอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของประเทศสหรัฐฯ อายุ 10ปี เคลื่อนไหวอยู่ในกรอบ 2.75% - 2.90% รอความชัดเจนจากการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ ที่จะมีขึ้นในวันที่ 3-4 พ.ค. 65 โดยนักลงทุนส่วนใหญ่คาดว่าเฟดจะประกาศขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย 0.50% ซึ่งสอดคล้องกับตัวเลข Fed Fund Future ที่ได้ price in โอกาสที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 50 bps ในการประชุมที่จะเกิดขึ้นในเดือนพ.ค. อยู่ที่ 96% ขณะที่อีก 4% เป็นโอกาสของการปรับขึ้น 75 bps โดยสิ่งที่นักลงทุนจะต้องติดตามเป็นพิเศษคือการเปิดเผยรายละเอียดของการลดขนาดงบดุล รวมถึงความเห็นต่อการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในอนาคตว่าจะออกมาในโทน Hawkish หรือ Dovish ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะเป็นตัวกำหนดทิศทางอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลในระยะต่อไป โดยเมื่อพิจารณาถึงแนวรับสำคัญของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10ปี จะอยู่แถวบริเวณ 3.00% ซึ่งถ้าความเห็นของเฟดออกมาในโทน Dovish และอัตราผลตอบแทนพันธบัตรอยู่ต่ำกว่า 3% อาจจะทำให้มีแรงซื้อเข้ามาอีกรอบ ในทางกลับกันหากความเห็นออกมาในโทน Hawkish และอัตราผลตอบแทนปรับสูงขึ้นทะลุ 3% อาจทำให้เกิดแรงขายกดดันให้อัตราผลตอบแทนกลับมาอยู่ในแนวโน้มขาขึ้นต่อไป

ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับตัวสูงขึ้น เนื่องจากแรงซื้อจากนักลงทุนภายในประเทศยังคงเบาบาง ประกอบกับมีแรงขายเพื่อลดความเสี่ยงในช่วงวันหยุดของไทย รวมถึงรอดูความชัดเจนจากเฟด ขณะที่กระแสเงินทุนต่างชาติในสัปดาห์ที่ผ่านมาไหลเข้าสู่ตลาดตราสารหนี้เป็นมูลค่าสุทธิประมาณ 1,961 ล้านบาท ซึ่งเป็นการซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น 611 ล้านบาท ซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว 1,545 ล้านบาทและมีตราสารหนี้ที่ถือครองโดยนักลงทุนต่างชาติหมดอายุ 195 ล้านบาท ส่งผลให้ ณ วันที่ 29 เมษายน 2565 อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลไทยรุ่นอายุ 1, 2, 3, 5, 7 และ 10ปี อยู่ที่ 0.63% 1.40% 1.84% 2.29% 2.62% และ 2.85% ตามลำดับ

จาก https://www.posttoday.com  วันที่ 2 พฤษภาคม 2565

ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยเคล็ดลับ 6 วิธีรับความผันผวนของค่าเงิน เช็คเลย

ธนาคารแห่งประเทศไทย เผยเคล็ดลับ 6 วิธีรับความผันผวนของค่าเงิน หลังมีการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง ผู้ประกอบการควรรู้

จากกรณีที่ ธนาคารแห่งประเทศไทย ออกมาเปิดเผยข้อมูลการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทในรอบ 2 ปี คือ ปี 2559-2560 เงินบาทเปลี่ยนแปลงขึ้นลงถึง 4 บาทต่อ 1 ดอลลาร์ สรอ.(แข็งค่าสุดเกือบ 32 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.และ อ่อนค่าสุดกว่า 36 บาทต่อดอลลาร์ สรอ.)

ล่าสุด ธนาคารแห่งประเทศไทย  ออกมาเปิดเผยข้อมูลว่า ภาคเอกชนควรบริหารความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยนอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดผลกระทบจากความผันผวนของตลาดการเงินในสถานการณ์ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง

ทั้งนี้ แบงก์ชาติได้ติดตามสถานการณ์การเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทและเงินทุนเคลื่อนย้ายอย่างใกล้ชิด และพร้อมดูแลหากเงินบาทเคลื่อนไหวผันผวนมากผิดปกติ

นอกจากนี้  ธนาคารแห่งประเทศไทย แนะนำ 6 วิธีรับมือความผันผวนของค่าเงิน

Forward การล็อกเรทอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้ากับธนาคาร

Options การประกันค่าเงิน

Futures การทำสัญญา ล็อกเรกล่วงหน้าผ่านตลาดอนุพันธ์แห่งประเทศไทย (TFEX)

Foreign Currency Deposit (FCD) การเปิดบัญชีฝากเงินตราต่างประเทศ

Natural Hedge การจับคู่รายรับและรายจ่าย ที่เป็นเงินตราต่างประเทศ

Local Currency การใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการค้าขายระหว่างกัน

 อัตราแลกเปลี่ยนคืออะไร

อัตราแลกเปลี่ยน คือ ราคาของเงินสกุลหนึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเงินอีกสกุลหนึ่ง เช่น 1 ดอลลาร์สหรัฐอเมริกา (ดอลลาร์ สรอ.) เท่ากับ 32.00 บาท

 อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาท

อัตราแลกเปลี่ยนเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบธุรกิจส่งออก/นำเข้าต้องเผชิญ โดยการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนจะมีผลให้กระแสรายได้หรือรายจ่ายในรูปเงินบาทของธุรกิจมีความไม่แน่นอน ซึ่งอาจทำให้เกิดกำไรเพิ่มขึ้น หรือขาดทุนก็ได้.

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 2 พฤษภาคม 2565