http://www.sugarzone.in.th


ข่าวเศรษฐกิจเกี่ยวกับอ้อยและน้ำตาล (เดือนตุลาคม 2564]

ตั้งหน่วยฯฝนหลวงเคลื่อนที่เร็ว ช่วยเหลือพื้นที่ต้องการน้ำ แก้ฝุ่นละออง-หมอกควันไฟป่า

อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร สั่งปรับแผนการทำงานหลังหมดฤดูฝน ปิดหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงทั่วประเทศ ดำเนินการซ่อมบำรุงอากาศยานให้ได้มาตรฐานเพื่อปฏิบัติงานในปีถัดไป พร้อมทบทวนบทเรียน พัฒนาบุคลากรหลังจากการปฏิบัติงานในปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ ยังตั้งหน่วยฯ เคลื่อนที่เร็ว เตรียมช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่ต้องการน้ำ เพิ่มความชุ่มชื้นให้พื้นที่ป่าไม้ บรรเทาปัญหาฝุ่นละออง และหมอกควันไฟป่า

วันที่ 31 ต.ค.64 นายสำเริง แสงภู่วงค์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า ขณะนี้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร ได้ปิดหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง 13 หน่วยทั่วประเทศแล้ว เนื่องจากกำลังจะเข้าสู่ฤดูหนาวในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2564 ตามประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา ซึ่งสภาพอากาศในช่วงฤดูหนาวจะมีความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศมีปริมาณต่ำและอากาศมีความเสถียรภาพมากขึ้น ทำให้ปฏิบัติการฝนหลวงได้ยาก อีกทั้งในช่วงเดือนพฤศจิกายน–กุมภาพันธ์ เป็นระยะเวลาของการตรวจซ่อมอากาศยานประจำปีของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร หลังจากที่อากาศยานได้บินปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานถึง 8 เดือน เพื่อเป็นการบำรุงรักษาอากาศยานให้พร้อมสมบูรณ์ รวมถึงในช่วงเวลาดังกล่าวจะเป็นการทบทวนการทำงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา และพัฒนาบุคลากรเพื่อเตรียมความพร้อมปฏิบัติงานในปีถัดไป

นายสำเริง กล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า ขณะเดียวกันในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 – กุมภาพันธ์ 2565 กรมฝนหลวงและการบินเกษตรยังคงจัดตั้งหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงเคลื่อนที่เร็ว จำนวน 2 ชุดปฏิบัติการ ณ สนามบินนครสวรรค์ อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ใช้อากาศยานเครื่องบินชนิด Casa (คาซ่า) จำนวน 2 ลำ และชนิด Caravan (คาราแวน) จำนวน 2 ลำ เพื่อปฏิบัติการฝนหลวงในช่วงที่มีสภาพอากาศเหมาะสมในการช่วยเหลือพื้นที่การเกษตรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง เติมน้ำต้นทุนให้กับอ่างเก็บน้ำและเขื่อนต่างๆ สร้างความชุ่มชื้นให้กับพื้นที่ป่าไม้เพื่อเป็นการป้องกันไฟป่า และบรรเทาปัญหาหมอกควัน รวมทั้งช่วยบรรเทาปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็กในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม สำหรับผลการปฏิบัติการฝนหลวงตั้งแต่เปิดหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงสู้ภัยแล้ง ประจำปี 2564 เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 ถึงวันที่ 30 ตุลาคม 2564 มีการขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง จำนวน 227 วัน 4,243 เที่ยวบิน มีวันฝนตกจากการปฏิบัติการฝนหลวงคิดเป็นร้อยละ 95.0 มีจังหวัดที่มีรายงานฝนตกรวม 64 จังหวัด ทั้งนี้ ในส่วนของการปฏิบัติการฝนหลวงในปี 2565 คาดว่าจะเริ่มดำเนินการในช่วงเดือนกุมภาพันธ์เป็นต้นไป ซึ่งพี่น้องเกษตรกรและประชาชนสามารถติดตามข้อมูลข่าวสาร ขอรับบริการฝนหลวง หรือแจ้งข้อมูลความต้องการน้ำในพื้นที่ได้ทุกวันทางช่องทางการติดต่อ เพจ Facebook กรมฝนหลวงและการบินเกษตร Line Official Account Instagram Twitter : @drraa_pr หรือหมายเลขโทรศัพท์ 02-109-510​

จาก https://siamrath.co.th วันที่ 31 ตุลาคม 2564

เซิร์ฟสเก็ตจากอ้อย สอน.ผนึกสถาบันพลาสติกสร้างมูลค่าเพิ่ม

สอน. ร่วมกับ สถาบันพลาสติกพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชีวภาพสร้างมูลค่าเพิ่มจากชานอ้อย และส่งเสริมการเล่นเซิร์ฟสเก็ตผ่านกิจกรรมอ้อยสู่เซิร์ฟสเก็ต เพื่อน้อง

รายงานข่าวระบุว่า สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ได้ดำเนินการร่วมกับสถาบันพลาสติกพัฒนาเซิร์ฟสเก็ตภายใต้โครงการการพัฒนาและส่งเสริมผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ที่ทำจากวัสดุเหลือทิ้งอย่างชานอ้อย ซึ่งมีปริมาณมากจากการผลิตน้ำตาล อีกทั้งยังถือเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายและตอบสนองต่อนโยบาย BCG ของทางรัฐบาลอีกด้วย

สำหรับตัวเซิร์ฟสเก็ตจะทำจากอิพอกซีและชานอ้อยด้วยวิธีการหล่อ (Casting) ซึ่งมีลวดลายอันเป็นเอกลักษณ์ของชานอ้อยและช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับเซิร์ฟสเก็ต หากเทียบราคากับเซิร์ฟสเก็ตที่มีขายทั่วไปในท้องตลาดแล้วถือว่ามีราคาที่ต่ำกว่าทำให้ผู้ที่มีงบน้อยสามารถจับต้องได้

นอกจากนั้นภายในโครงการฯ ได้มีการนำผลผลิตจากอ้อยและน้ำตาลมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในรูปแบบต่าง ๆ อาทิเช่น ถุงพลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ ถุงซองน้ำตาล ยูเอสบีแฟลชไดรฟ์ เหล้ารัม ลิปบาล์มที่มีส่วนผสมจากไขอ้อย สบู่เหลวผสมสควาเลนและเยื่อสกัดจากชานอ้อย เป็นต้น โดยเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เศษเหลือทิ้งจากชานอ้อย

ทั้งนี้ เซิร์ฟสเก็ตภายใต้โครงการดังกล่าวได้ถูกส่งมอบให้กับ มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตกรุงเทพ สวนวชิรเบญทัศ (สวนรถไฟ) สวนสมเด็จสราญราษฎร์มณีรมย์ (Pink Park) และบ้านเด็กกำพร้า (บ้านลูกรัก) จ.ขอนแก่น เพื่อเป็นการขยายโอกาสให้แก่ผู้ที่สนใจในการเล่นเซิร์ฟสเก็ต  ในกิจกรรม อ้อยสู่เซิร์ฟสเก็ต เพื่อน้อง

"กิจกรรมดังกล่าว ถือเป็นการเปิดตัวเซิร์ฟสเก็ตที่พัฒนาขึ้นจากเศษชานอ้อย ซึ่งจะช่วยสร้างการรับรู้ให้แก่เยาวชนและประชาชนทั่วไป ได้รับรู้ถึงคุณค่าของอ้อยและน้ำตาลทรายที่ไม่ได้ให้แค่ความหวาน แต่ยังสามารถทำประโยชน์อย่างอื่นได้หลากหลายอีกด้วย"

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 30 ตุลาคม 2564

แถลงข่าว 1 พ.ย. ค้าน "ตรึงราคาปุ๋ย" ธุรกิจแบกหนี้ ลามเจ๊ง

ครั้งแรกในรอบ 15 ปี เปิดแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ “เปล่งศักดิ์” แม่ทัพสมาคมการค้าปุ่ยเคมีฯ นำผู้บริหาร กรรมการ สมาคม ชี้แจง ทำไมถึงตรึงราคาปุ๋ยเคมี ถึงสิ้นปี ตามที่ "กระทรวงพาณิชย์" ร้องขอ ไม่ได้ โอดแบกหนี้ ส่งดอกแบงก์ ลามธุรกิจเจ๊ง วอนสังคมเข้าใจ

“แม่ปุ๋ยเคมี” ราคาพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ผลพวงจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นในรอบ 7 ปี ตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้าขาดแคลน และค่าระวางเรือปรับตัวสูงขึ้น 4-5 เท่าจากปีที่แล้วทำให้ต้นทุนการนำเข้า-ส่งออกเพิ่มขึ้นมาก

ประกอบกับสถานการณ์ "โควิด-19" ที่ทำให้ทุกประเทศตระหนักถึงความจำเป็นความมั่นคงทางด้านอาหารที่ต้องมีหล่อเลี้ยงในประเทศ ทั่วโลกตระหนักและพร้อมใจกันพลิกผืนดินของตัวเองเพื่อเพิ่มผลผลิตทางด้านอาหาร ทำให้มีความต้องใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้น

นายเปล่งศักดิ์ ประกาศเภสัช นายกสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ประเทศไทยก็คงหลีกหนีไม่พ้น เพราะเราก็เป็นผู้ใช้รายเล็ก นำเข้าเพียงกว่า 5 ล้านตันเศษ เล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับผู้ใช้รายใหญ่ ทั้งหมดกว่า 200 ตัน ทั่วโลก ประเทศไทยไม่มีอำนาจการต่อรอง ดังนั้นทางสมาคมจึงจำเป็นที่จะต้องแถลงชี้แจงความจริงให้กับสังคมรับทราบ

กระทรวงพาณิชย์ จะให้ทางสมาคม ตรึงราคาปุ๋ยเคมี ไปถึงสิ้นปี ในนามสมาคมทำไม่ได้ เนื่องจากบริษัทแต่ละบริษัท ก็มีผลดำเนินธุรกิจเป็นของตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากบริษัทสั่งนำเข้า แล้วให้มาขายในราคาเดิมจะทำได้อย่างไร อีกทั้งยังมีบริษัทที่ดำเนินธุรกิจในตลาดหลักทรัพย์อีก บริษัทก็ต้องดำเนินผลธุรกิจของพนักงาน ผู้ถือหุ้น จ่ายดอกเบี้ยธนาคาร จะทำตามนโยบายรัฐบาลได้อย่างไร อีกด้านหนึ่งก็เข้าใจดีว่าถ้าปรับขึ้นในราคาสูงเกษตรกรไม่มีกำลังซื้อ แต่ก็ต้องปรับราคาเพื่อให้ธุรกิจอยู่รอดได้

“วันนี้ราคาแม่ปุ๋ยเคมีของใหม่หากสั่งนำเข้า จะต้องเป็นไปตามราคาตลาดโลก แล้วจะให้เอกชนไปรับผิดชอบแทนเกษตรกรได้อย่างไร แล้วไม่รู้ว่าหากสั่งนำเข้ามาแล้วเกษตรกรไทยจะรับได้หรือเปล่า เพราะฉะนั้นปัญหาเรื่องปุ๋ยแพง ประเทศอื่นก็ยอมรับ ทีน้ำมันแพง ทำไม่รัฐบาลช่วย ค่าขนส่งแพงก็ให้ แต่พอปุ๋ยแพงทำไมไม่ให้ พอเราบอกไปอนาคตปุ๋ยจะขาดแคลน หากโดนบีบราคาก็ไม่ให้ปรับ ก็ไม่มีใครอยากนำเข้า”

นายเปล่งศักดิ์ กล่าวว่า เพื่อให้สังคมเข้าใจ สมาคม กรรมการบริหารสมาคม นักวิชาการ จะขอแถลงข่าวอย่างเป็นทางการ ในรอบ 15 ปี ในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้  ทำไม่สามารถให้ความร่วมมือกับภาครัฐได้ในการ "ตรึงราคาปุ๋ยเคมี" ไปจนถึงสิ้นปี ต้องบอกตามตรงว่าไม่มีใครอยากจะนำตัวเข้าแลก แต่ที่ทำทุกวันก็เพราะนั่งเป็นนายกสมาคม

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 30 ตุลาคม 2564

เงินบาทอ่อนยวบ 10% นำโด่งในภูมิภาคเอเชีย

10 เดือน เงินบาทอ่อนค่า 10% แม้เงินยังไหลเข้าสุทธิ จับตา 2 ปัจจัย “การเมืองสหรัฐ-เฟด” ดันเงินบาทผันผวนเดือนธ.ค. ชี้แนวโน้มปีหน้าทิศทางแข็งค่า แต่ผันผวนระหว่างทาง ตลาดยังจับตา “เงินเฟ้อ”

ผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19  ส่งผลให้เงินบาทในปี 2564 อ่อนค่าลงจากปีก่อน และเงินดอลลาร์สหรัฐยังได้รับแรงหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐต่อเนื่อง  หลังสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลายลง แต่ต้นทุนค่าขนส่งและต้นทุนการผลิต ที่ปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ราคาสินค้าปรับตัวเพิ่มขึ้น และอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับสูงในปี 2565

ดังนั้นธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) มีแนวโน้มปรับดอกเบี้ยนโยบายเพิ่มขึ้นในปี 2565  ซึ่งอาจไม่สอดคล้องกับทิศทางดอกเบี้ยนโยบายของไทยที่จำเป็นต้องคงอยู่ในระดับต่ำ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ความแตกต่างของอัตราผลตอบแทนดอกเบี้ยอาจส่งผลให้เม็ดเงินจากภูมิภาคเอเชียไหลกลับเข้าสู่สหรัฐฯเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ปี 2565 ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯมีแนวโน้มแข็งค่าเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และส่งผลให้สกุลเงินบาทและสกุลเงินเอเชียอื่นๆ อ่อนค่าลง

แต่ด้วยสถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่กำลังฟื้นตัวอย่างช้าๆ และการท่องเที่ยวที่ทยอยฟื้นตัวในปีหน้า หลังเปิดประเทศในวันที่ 1 พฤศจิกายน อาจทำให้เกิดความต้องการเงินบาทเพิ่มสูงขึ้นในระยะสั้น ประกอบกับปี 2564 เงินบาทอ่อนค่ามากสุดของเอเชีย อาจส่งผลให้เงินบาทปรับตัวแข็งค่าระยะสั้น และมีความผันผวนเพิ่มมากขึ้น

นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ ตลาดเงินตลาดทุน ธนาคาร กรุงไทยเปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ก่อนจะสิ้นปี 2564 การเมืองของสหรัฐ จะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่มีผลต่อทิศทางอัตราแลกเปลี่ยน สกุลเงินดอลลาร์อาจจะแข็งจากเกมการเมืองในเดือนธันวาคมและเงินบาทผันผวนได้ จากประเด็นที่รัฐบาลสหรัฐฯ จะพิจารณาเรื่องเพดานหนี้หรือ การกู้เงินเกินเพดานหนี้ในเดือนธันวาคมนี้ ซึ่งเป็นประเด็นที่ตลาดจับตาว่าจะเป็นอย่างไร เพราะปีหน้าสหรัฐจะมีเลือกตั้งกลางเทอมด้วย

สำหรับมุมมองของธนาคาร กรุงไทย ยังคงเป้าการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 33 บาท/ดอลลาร์ (กรอบ 32.75-33.00 บาท/ดอลลาร์) เพราะปัจจัยพื้นฐานในประเทศยังไม่เปลี่ยนมาก โดยต้องติดตามสถานการณ์หลังเปิดประเทศ ทั้งด้านรายได้จากนักท่องเที่ยวและเงินทุนเคลื่อนย้าย (ฟันด์โฟลว์) รอการฟื้นตัว ที่ต้องจับตาคือ การแพร่ระบาดของโควิด-19 หรือกลายพันธุ์ว่า จะสามารถควบคุมได้หรือไม่

หากมีปัญหาเรื่องโควิด-19 กลับมา อาจจะเห็นนักท่องเที่ยวกลับมาในครึ่งหลังของปีหน้า บนสมมติฐานการฉีดวัคซีนแล้ว 80 ล้านโดสแล้ว

ทั้งนี้ระยะสั้น มองเงินบาทยังไม่แข็งค่ามาก จากปัญหาซัพพลายเชน ทำให้ดุลบัญชีเดินสะพัดยังขาดดุล ซึ่งต้องรอปํญหาซัพพลายเชนคลี่คลายและนักท่องเที่ยวกลับมา จึงจะเห็นดุลบัญชีเดินสะพัดขาดดุลน้อยลง มองแนวโน้มเงินบาทแข็งค่าปีหน้า โดยไตรมาส 2-3 จะเห็นการกลับมาแข็งค่าชัดเจน จากที่ไตรมาสแรก จะเห็นเงินบาทเคลื่อนไหวที่ 32.75 ไตรมาสสอง 32.50 ไตรมาสสาม 31.50 และไตรมาสสี่ หากจำนวนนักท่องเที่ยวกลับมาได้แล้ว โอกาสจะเห็นเงินบาทอยู่ที่ 31-30 บาทต่อดอลลาร์

การเคลื่อนไหวของค่าเงินสกุลต่งๆ

“เราคิดว่าเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยได้เร็ว ซึ่งก่อนเฟดจะขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในไตรมาสแรกของปีหน้า ดังนั้นไตรมาส 4 ปีนี้เงินบาทอาจจะแข็งค่า แต่ไม่มาก ส่วนเงินเฟ้อมีผลต่อประมาณการขึ้นดอกเบี้ยของเฟด ถ้าเฟดขึ้นดอกเบี้ยเร็ว อาจจะเห็นเงินดอลลาร์แข็งค่าในไตรมาส 3 ปีนี้” นายพูน กล่าว

สำหรับเงินบาท ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันอ่อนค่า 10% กดดันผู้นำเข้า ที่ต้องเจอ 2 เด้งจากต้นทุนแพงขึ้น ทั้งราคาสินค้าแพงและเงินบาทอ่อน แม้พยายามจะปิดความเสี่ยงแล้วก็ตาม โดยเฉพาะถ้าเป็นการนำเข้าผลิต เพื่อใช้ในประเทศจะเครียดมาก

ส่วนแนวโน้มเงินทุนเคลื่อนย้ายปีนี้ ที่ผ่านมาเกือบ 10 เดือน(ณ 27 ต.ค.64) จะเห็นว่า นักลงทุนต่างชาติขายสุทธิหุ้น 58,450 ล้านบาท แต่เงินไหลเข้าตลาดพันธบัตร 112,686 ล้านบาท โดยรวมนักลงทุนต่างชาติถือพันธบัตรไทย จากปัจจัยบวกมาจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตร (บอนด์ยิลด์) อายุ 10 ปี 1.94%, อายุ 5 ปี 1.28% และอายุ 2 ปีอยู่ที่ 0.70%

สะท้อนการปรับเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีก่อนอยู่ที่ 1.41%, 0.86%, 0.59% ตามลำดับ หรือหากเทียบเมื่อต้นปีที่ผ่านมาบอนด์ยิลด์จะอยู่ที่ 1.25%, 0.59% ,0.36% ตามลำดับ โดยตลาดพันธบัตรปีหน้ามีแนวโน้มบอนด์ยิลด์ขาขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับภาครัฐที่มีการปรับแผนในการระดมทุนแทนการออกพันธบัตร เพื่อลดต้นทุนลง

อย่างไรก็ตาม ภาพรวมตลาดเงินตลาดทุนในระยะข้างหน้า การฟื้นตัวของเศรษฐกิจใกล้จุดสูงสุดของวัฎจักรเศรษฐกิจ โดยเริ่มเห็นตลาดเอเชีย (ไม่รวมจีน) และตลาด EM โดยรวม ที่เศรษฐกิจทยอยฟื้นตัวจากโควิด-19 และยังเป็นตลาดทำผลตอบแทนได้น่าสนใจ

ระยะถัดไป ปีนี้และปีหน้าเงินเฟ้อเป็นประเด็นสำคัญที่ต้องจับตา เพราะมีผลต่อการเลือกสินค้าลงทุน ถ้าเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้น อาจส่งผลบอนด์ยิลด์ปรับลดลง คนจะหันมาถือทองคำได้ ส่วนหุ้นกลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์อาจจะได้รับอานิสงส์ แต่ต้องระวังหุ้นในกลุ่มเทคโนโลยี

นายอมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทยกล่าวว่า ช่วงนี้ตลาดรอปัจจัยใหม่คือ การเปิดเมืองในวันที่ 1 พฤศจิกายนและเงินบาทเปลี่ยนทิศ อาจเห็นเงินบาทกลับมาแข็งได้เร็ว แต่เป็นกระแสชั่วคราว แม้จะเห็นเงินบาทแข็งค่าปลายปี  แต่ต้องจับตาสัปดาห์หน้า ถ้าเฟดส่งสัญญาณปรับลดการทำคิวอีชัดเจน จะเห็นสกุลเงินดอลลาร์กลับมาแข็งค่าและทำให้เงินบาทอ่อนค่าลง

สำหรับทิศทางเงินบาท จะกลับมาแข็งค่าในเดือนธันวาคม หลังจากเฟดมีความชัดเจนเรื่องลดหรือถอนคิวอีและปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยทำให้เงินบาทแข็งค่าได้ที่ 32.00 บาท/ดอลลาร์ จากปลายปีที่คาดไว้ที่ 32.50 บาท/ดอลลาร์ แต่ปีหน้าเงินบาทยังผันผวนระหว่างทาง เช่นไตรมาส 2 อาจจะมีความเป็นไปได้ที่เงินบาททะลุ 33 บาท/ดอลลาร์ เพราะแนวโน้มการเกินดุลบัญชีเดินสะพัดยังน้อยแต่กระแสเงินทุนไหลออก

“ตลาดน่าจะคลายความกังวลเรื่องเงินเฟ้อ เห็นการผลิตน้ำมันเพิ่มขึ้น ถ้าราคาน้ำมันดิบเบรน์ทะลุ 90 ดอลลาร์/บาเรลในช่วงปลายปีนี้เท่านั้น เรามองว่า การผลิตน้ำมันน่าจะไล่ทันความต้องการ/ดีมานด์ได้ในไตรมาส 1 ปีหน้า เรื่องอัตราเงินเฟ้อเป็นปัจจัยชั่วคราวแต่หากมีการเปลี่ยนแปลงไปจากนี้อาจจะต้องจับตาอีก” นายอมรเทพ กล่าว

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 30 ตุลาคม 2564

ลงทุนพลังงานทดแทนได้ไปต่อ กฤษฎีกาปลดล็อกให้เว้นผังเมืองตามเดิม

กฤษฎีกาปลดล็อก พพ.ออกหนังสือรับรองเอกชนลงทุนตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 2018 ให้ได้สิทธิ์ตามคำสั่ง คสช. 4/2559 ยกเว้นบังคับใช้กฎกระทรวงผังเมือง ล่าสุดไฟเขียว 4 โครงการผ่านแล้ว อยู่ระหว่างพิจารณาอีก 4-5 โครงการ เอกชนมั่นใจช่วยกระตุ้นการลงทุนพลังงานหมุนเวียน ลดการปล่อยคาร์บอน ดันเศรษฐกิจฉลุย

นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หลังจากที่กรมออกประกาศ ชะลอการรับเรื่องพิจารณารับรองโครงการภายใต้แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ปี 2561-2580 (AEDP 2018) เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 26 สิงหาคม 2564 เพื่อรอความชัดเจนเรื่องอำนาจ พพ. ในการพิจารณารับรองโครงการตามคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) 4/2559

ที่ว่าให้ยกเว้นกฎหมายผังเมือง ซึ่งได้ผูกกับแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP 2015) และแผน AEDP 2015 แต่ปัจจุบันประเทศได้ผ่านแผนใหม่เป็น PDP 2018 และ AEDP 2018 เมื่อปลายปี 2563

ล่าสุดทางสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาได้พิจารณาและมีความเห็นว่า กรมยังคงทำหน้าที่พิจารณารับรองโครงการได้ตามเดิม ทางกรมจึงได้ให้ยกเลิกประกาศเรื่องการชะลอการรับรองโครงการ ที่ออกมาเมื่อวันที่ 26 สิงหาคมแล้ว และได้ออกประกาศใหม่ลงวันที่ 18 ตุลาคม 2564 เพื่อดำเนินการพิจารณาออกหนังสือรับรองโครงการตามปกติแล้ว ซึ่งจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์คือเป็นโครงการที่ผลิตพลังงานทดแทนไว้ใช้เอง ไม่ใช่จำหน่ายเข้าการไฟฟ้า

“ขณะนี้ได้อนุมัติโครงการพลังงานทดแทนฯที่ยื่นค้างอยู่ไปแล้ว จำนวน 4 โครงการ และอยู่ระหว่างทยอยพิจารณาอนุมัติออกหนังสือรับรองอีก 4-5 โครงการ ซึ่งคาดว่าในสัปดาห์หน้าน่าจะเคลียร์ครบหมด ซึ่งจะทำให้เกิดการลงทุนโครงการพลังงานทดแทนใหม่ ๆ ที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ และทำให้เกิดการใช้พลังงานทดแทน ตามที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายไว้ได้”

รายงานข่าวระบุว่า ตามประกาศเรื่องการพิจารณารับรองโครงการภายใต้แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ปี 2561-2580 (AEDP 2018) ซึ่งลงนามโดยนายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน วันที่ 18 ตุลาคม 2564 ระบุว่า โครงการที่จะขอรับรองจะต้องเป็นโครงการที่เข้าหลักเกณฑ์การยกเว้นการใช้บังคับกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม สำหรับการประกอบกิจการบางประเภทตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง ที่มีผลบังคับใช้อยู่แล้วในวันที่ 20 มกราคม 2559

และที่จะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2559-19 มกราคม 2560 และอยู่ภายใต้แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ปี 2561-2580 (AEDP 2018) ตามประกาศคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ 3 โครงการ ดังนี้

1) โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเพื่อใช้เอง หรือจำหน่ายให้กับลูกค้าโดยตรง

2) โครงการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวล

และ 3) โครงการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ตลอดจนระบบคลังที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การขนส่ง และการจำหน่าย ได้แก่ เอทานอล ไบโอดีเซล น้ำมัน ไพโรไลซิส ก๊าซไบโอมีเทนอัด และเชื้อเพลิงทางเลือกอื่น

สำหรับหลักเกณฑ์การพิจารณาออกใบรับรองโครงการจะต้องยื่นประกอบการพิจารณา นอกจากจะมีสำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลแล้ว ต้องมีสำเนาหนังสือแจ้งจากกรมโยธาธิการและผังเมือง ว่าพื้นที่ประกอบกิจการอยู่ในเขตพื้นที่ตามประกาศ

แผนผังกำหนดการใช้ประโยชน์ที่ดินตามที่ได้จำแนกประเภทท้ายกฎกระทรวงให้ใช้บังคับผังเมืองรวม ตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองที่มีผลบังคับใช้อยู่แล้ว ในวันที่ 20 มกราคม 2559 และที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 20 มกราคม 2559-19 มกราคม 2560 และระบุพิกัด พื้นที่ประกอบกิจการ เพื่อเป็นหลักฐานประกอบการพิจารณารับรองโครงการ

รวมถึงหนังสือการตรวจสอบข้อบัญญัติท้องถิ่นตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคารจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) และสำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (รง.4) สำหรับกรณีโครงการมีการขยายกำลังการผลิตของโรงงานเดิม และรายละเอียดของแผนงานโครงการ

ซึ่งคณะทำงานพิจารณารับรองโครงการที่อยู่ในแผน AEDP 2018 ของกรมจะเชิญผู้ที่เกี่ยวข้องมาชี้แจง ให้ความยินยอม ทั้งนี้ กระบวนการดำเนินการ กรมจะใช้ระยะเวลาประมาณ 10 วัน นับจากได้รับเอกสารจากผู้ประกอบการครบ

ด้านแหล่งข่าวจากวงการพลังงานทดแทนกล่าวว่า หลังจากทราบข่าวจากทาง พพ. ขณะนี้โครงการพลังงานหมุนเวียนต่าง ๆ ที่ติดค้างอยู่นับสิบโครงการ คิดเป็นมูลค่าการลงทุนประมาณ 300 ล้านบาท จะสามารถกลับมาดำเนินการได้แล้ว ถือว่าเป็นประโยชน์และช่วยสนับสนุนพลังงานสะอาด และลดการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคตด้วย

“ผลจากการชะลอโครงการก่อนหน้านี้ ทำให้กลุ่มผู้ประกอบการส่วนนี้เดือดร้อน ประมาณหลาย 10 โครงการค้างท่อ รวมประมาณ 50-100 เมกะวัตต์ได้ ส่วนใหญ่เป็นโครงการโซลาร์ ใช้เงินลงทุนประมาณ 30 ล้านบาทต่อขนาด 1 เมกะวัตต์ ประเมินเป็นมูลค่าความเสียหายรวม น่าจะไม่ต่ำกว่า 150-300 ล้านบาท ซึ่งบางรายได้ลงทุนไปดำเนินการกู้เงินธนาคาร ออกแบบ และสั่งซื้อสินค้ามาเตรียมไว้แล้ว แต่เมื่อมีการให้อำนาจ พพ.กลับไปตามเดิม จะช่วยให้การลงทุนดำเนินต่อไปได้”

จาก https://www.prachachat.net  วันที่ 30 ตุลาคม 2564

"ยูเค" เจ้าภาพ COP26 เข็น "ไทย" ปักหมุดลดคาร์บอน

"สหราชอาณาจักร" ในฐานะเจ้าภาพ COP26 ผลักดันไทยปักหมุดลดคาร์บอน พร้อมหวังว่าจะใช้เวทีนี้สร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาและแก้ไขปัญหาสภาพอากาศทั่วโลกที่เปลี่ยนแปลงรุนแรงระดับวิกฤติในขณะนี้

“สหราชอาณาจักร” ในฐานะเจ้าภาพการประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติ ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 (COP26) ซึ่งจัดขึ้นที่เมืองกลาสโกว์ ประเทศสก็อตแลนด์ ระหว่างวันที่ 31 ต.ค. - 12 พ.ย.ปีนี้ ด้วยความหวังว่าจะใช้เวทีนี้สร้างความตระหนักรู้ถึงปัญหาและแก้ไขปัญหาสภาพอากาศทั่วโลกที่เปลี่ยนแปลงรุนแรงระดับวิกฤติในขณะนี้

“มาร์ค กูดดิ้ง” เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร ประจำประเทศไทย ให้สัมภาษณ์ กรุงเทพธุรกิจ ว่า สหราชอาณาจักรเห็นถึงความสำคัญของการดำเนินการตามข้อเสนอแนะในรายงานของคณะกรรมการระหว่างรัฐบาล ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (International Panel on Climate Change :IPCC) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่วิเคราะห์ข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ ที่พบว่า  ปัจจุบัน อุณหูมิโลกเพิ่มสูงขึ้น 1 องศาเซลเซียล ส่งผลต่อสภาพภูมิอากาศโลกแบบสุดขั้วอย่างที่เห็นทั้งภัยแล้ง และน้ำท่วมรุนแรง

"เราต้องเร่งขยายการจัดการและรับมือภัยคุกคามจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เพื่อให้มีโอกาสควบคุมอุณหภูมิไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นอีก 1.5 องศาลเซลเซียล และคาดว่า เหลือเวลาอีกเพียง 10 ปีในการควบคุมอุณหภูมิโลกไม่ให้สูงกว่านี้ เพราะถ้าสูงเกิน ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงว่าจะเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่จะทำให้คนยากจนมีจำนวนมากขึ้น และส่งผลกระทบต่อผู้คนหลายร้อยล้านคนทั่วโลก" กูดดิ้ง กล่าว

ในการประชุม COP26 ซึ่งจะเป็นเวทีที่ผู้นำโลกจากหลายประเทศ รวมทั้งไทยและผู้นำองค์กรระหว่างประเทศ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (เอ็นจีโอ) และภาคธุรกิจได้เจรจาด้านสภาพภูมิอากาศ ประกาศเจตนารมณ์และระดมความพยายามเพื่อจัดการวิกฤติ Climate Change ถือเป็นก้าวย่างที่สำคัญอย่างมากในปีแห่งการดำเนินงานด้านสภาพภูมิอากาศ

การประชุมCOP26 ได้กำหนดเป้าหมายไว้ 4 ประการคือ

1.ผลักดันให้บรรลุเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ในระดับโลกภายในปี 2593 และเรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ เสนอเป้าที่สูงขึ้นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกภายในปี 2573เพื่อให้สอดคล้องกับเป้าหมายลดก๊าซเรือนกระจำทั่วโลกลงครึ่งหนึ่งในปีดังกล่าว และบรรลุเป้า Net Zero ภายในกลางคริสต์ศตวรรษนี้

 2.ปรับตัวเพื่อปกป้องชุมชนและแหล่งที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติ

3.ระดมเงินทุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากภาครัฐและเอกชน

4.ร่วมมือและทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย และเอาชนะความท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ

 “แอนดรูว์ เบิร์น” ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจของผู้แทนถาวรสหราชอาณาจักร ประจำ UNESCAP กล่าวว่าประเด็นเหล่านี้เป็นเป้าหมายใหญ่ และท้าทายสำหรับทุกประเทศ ในการบรรลุเป้าหมายการลดก๊าซเรือนกระจกตามข้อตกลงปารีสปี 2558

"ขณะนี้หลายประเทศทั่วโลกพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2573 และเราเข้าใจดีว่า มีอีกหลายประเทศยังไม่แสดงเจตนารมณ์เพื่อกำหนดเป้าหมายคาร์บอนฯเป็นศูนย์ แต่เราขอให้ทุกประเทศวางเป้าหมายมให้สูงขึ้น ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของประเทศตนเอง"เบิร์น กล่าว

ในส่วนของประเทศไทย ให้คำมั่นในปี 2558 ว่าจะลดการปล่อยมลพิษลง 20% ขณะเดียวกัน คณะรัฐมนตรีได้ประกาศแผนพลังงานแห่งชาติฉบับใหม่เมื่อกลางเดือน ต.ค.ที่ผ่านมา โดยมีเป้าหมายที่จะบรรลุเป้าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในระหว่างปี 2565 - 2600

เบิร์น มองว่า ไทยตั้งเป้าบรรลุในช่วงครึ่งหลังของศตวรรษอาจจะช้าไป ขณะที่หลายประเทศตั้งเป้าไว้ภายในปี 2593 ซึ่งเป็นเป้าหมายแรกของ COP26 แต่อย่างไรเสีย ยังมีที่ว่างสำหรับประเทศไทยที่จะเพิ่มเป้าหมายใหม่ที่ท้าทายยิ่งขึ้น

ในระหว่างปี 2542 - 2561 ประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้รับผลกระทบจากภาวะสภาพอากาศรุนแรงสุดขั้วมากที่สุดเป็นอันดับที่ 9 ของโลก โดยมีตัวเลขความเสียหายสูงถึง 7,764 ล้านดอลลาร์ และประเทศไทยยังเสี่ยงที่จะต้องเผชิญหน้ากับความสูญเสียอีกในอนาคตคิดเป็นมูลค่า 300-420 ล้านดอลลาร์ และอาจสูญเสียผลผลิตทางการเกษตรประเภทหลักๆอีกถึง 15% ภายในปี 2593  เนื่องจากปัญหาภัยแล้งที่ยืดเยื้อและรูปแบบลมมรสุมที่คาดการณ์ไม่ได้ ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เบิร์น กล่าวว่า "เราเข้าใจดีว่า ขณะนี้หลายประเทศนำงบประมาณมหาศาลมาจัดการและบรรเทาปัญหาทุกด้านที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่รัฐบาลสหราชอาณาจักรมีความพยายามผลักดันให้ทุกประเทศใช้โอกาสนี้ฟื้นตัวจากระบาดของไวรัส เพิ่มประสิทธิภาพในการพัฒนาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และสร้างความยืดหยุ่นในการปรับตัวต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ ซึ่งจะเป็นประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อเศรษฐกิจของประเทศและของโลก

รัฐบาลสหราชอาณาจักร จะช่วยเหลือประเทศต่างๆให้ปรับตัว เพื่อลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ประเทศที่พัฒนาแล้วกำลังระดมเงินทุนประมาณ 1 แสนล้านดอลลาร์ หรือราว 3.3 ล้านล้านบาท เพื่อช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนารับมือกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อน

เบิร์น กล่าวในตอนท้ายว่า เราต้องการให้ประเทศไทยเป็นผู้นำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่ได้หมายความว่าประเทศไทยจะต้องทำมากมายเพื่อเป็นผู้นำระดับโลก และเชื่อว่าเมื่อไทยสามารถลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากขึ้น และแสดงบทบาทนำเกี่ยวกับเรื่องนี้ในภูมิภาค ย่อมมีอีกหลายประเทศดำเนินการตาม

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 29 ตุลาคม 2564

ราคาปุ๋ยเคมีไทย-โลกพุ่ง ผู้ค้าขอจับเข่าคุยพาณิชย์ ไม่ให้ขยับ-ไม่นำเข้า

ผู้ค้าปุ๋ยเคมีพล่าน ของแพง- ขาดตลาด “จีน-รัสเซีย”ผู้ผลิตใหญ่ ลดส่งออก โรงงานใหญ่ระบุยังพอมีสต๊อกเก่าพร้อมเทขาย ขณะโรงงานเล็กมองตาปริบของขาดมากว่าครึ่งปีแล้ว คาดสถานการณ์รุนแรงถึง Q1 ปีหน้า พาณิชย์ นัดสมาคมปุ๋ยถก 27 ต.ค.นี้ จับตาไม่ให้ขยับ-ไม่นำเข้า หวั่นขาดทุนอ่วม

ปัญหาปุ๋ยราคาแพงยังเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ของเกษตรกรไทย จากโดยเฉลี่ยต้นทุนปุ๋ยเคมีคิดเป็น 19-20 % ของต้นทุนการเพาะปลูกพืชทั้งหมด ดังนั้นการที่ราคาปุ๋ยเคมียังมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบทำให้ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรสูงขึ้นไม่หยุด ล่าสุดเรื่องนี้ยังมีความเคลื่อนไหวของคนในวงการต่อเนื่อง

แหล่งข่าววงการค้าปุ๋ยเคมี เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจีนจำกัดการส่งออกปุ๋ยเคมี หลังสถานการณ์โควิดคลี่คลาย เศรษฐกิจในประเทศฟื้นตัว และรัฐบาลสนับสนุนการปลูกพืชจีเอ็มโอเพิ่มขึ้น ขณะที่ไทยจะนำเข้าปุ๋ยที่เรียกว่าเป็นตัวกลาง สูตร 18-46-0   พอจีนส่งออกน้อยลงหรือไม่ส่งออกเลย ส่งผลให้ราคาปุ๋ยทุกสูตรในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้นเท่าตัว ยังผลสินค้าปุ๋ยเคมีในไทยขาดแคลนและราคาสูงตามไปด้วย สินค้าหรือสต๊อกที่มีอยู่ก็ขายแบบหมดแล้วหมดเลย

ประกอบกับประเทศไทยในช่วงนี้หมดฤดูการใช้ปุ๋ยมาก ๆ แล้ว ราคาปลายปีจะปรับลดลงมา ทุกบริษัทคาดการณ์กันแบบนี้ จึงยังไม่สั่งของ เพราะเวลาราคาลงบริษัทขาดทุน จากก่อนหน้านี้หลายบริษัทเข็ด จากสั่งเข้ามาแล้วปลายปีราคาลง เคยขาดทุนหนักกันมาแล้ว ก็กลัวประวัติศาสตร์จะซ้ำรอย

อย่างไรก็ดี เวลานี้ราคาปุ๋ยไม่ได้ปรับตัวลดลงเช่นทุกปี แต่กลับพุ่งสูงขึ้น จากโรงงานประเทศผู้ผลิตลดการผลิตจากผลกระทบโควิด และเวลานี้ราคาพลังงานทั้งน้ำมัน ถ่านหิน ก๊าซในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น รวมถึงค่าระวางเรือที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ส่งผลให้สินค้าที่เกี่ยวเนื่อง เช่นราคาแม่ปุ๋ยยูเรียในตลาดล่วงหน้าทำลายสถิติสูงสุดในรอบ 13 ปี (กราฟิกประกอบ) และยังขึ้นไม่หยุด ทำให้ผู้นำเข้าไม่กล้าซื้อ

“ตอนนี้ทำให้ปุ๋ยเคมีขาดตลาดรุนแรงมาก คาดว่าไตรมาสแรกของปี 2565 ปุ๋ยจะขาดตลาดเกือบทุกสูตร หรือถ้ามีก็มีน้อย แล้วจะแพง ตอนนี้หยุดขายหลายบริษัทแล้ว โดยเฉพาะบริษัทเล็กไม่มีของขายมาเกือบครึ่งปีแล้ว เพราะรัฐบาลควบคุมราคา ทำให้ขาดทุน ในส่วนของบริษัทยังมีสต๊อกพอขายเองได้ แต่ไม่สามารถที่จะส่งให้โรงงานเล็กขายได้เพราะของมีน้อย”

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับปุ๋ยเคมี “สูตร 0-0-60”  หรือ โพแทสเซียมคลอไรด์ ความจริงตัวนี้มีการนำเข้าฝั่งจากประเทศยุโรป รัสเซีย และจีน (มีเหมืองที่ลาว ส่งตรงมาขายไทย) แต่ลาว เป็นบริษัทจีน พอรัฐบาลไม่ให้ส่งออก ให้เก็บไปใช้ในประเทศทั้งหมด ทำให้ปรับราคาขึ้น หากย้อนกลับไปเมื่อประมาณ 5 ปีที่แล้ว ราคาสินค้าจะถูกมากในทุกสูตร แต่พอมาปีนี้ราคาพุ่งสูงถึง 2 หมื่นกว่าบาทต่อตัน(รวมค่าขนส่ง) ซึ่งผลจากที่จีนไม่ส่งออกปุ๋ยก็กระทบตลาดโลก และกระทบถึงไทยด้วย

จากปัญหาปุ๋ยขาดแคลนและสินค้านำเข้ามีต้นทุนที่สูงขึ้นมากนี้ ประมาณวันที่ 27 ตุลาคมนี้ ทางกระทรวงพาณิชย์ได้เชิญสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจเกษตรไทย เข้าไปหารือ โดยหากไม่ให้ปรับราคา หลายบริษัทก็คงไม่นำเข้า เพราะราคาแพงและสินค้ามีน้อย ส่วนโรงงานใหญ่ที่ยังพอมีสต๊อกคงปล่อยของเพื่อไม่ให้เสียลูกค้าประจำ

ด้านนายเปล่งศักดิ์ ประกาศเภสัช นายกสมาคมการค้าปุ๋ยและธุรกิจการเกษตรไทย กล่าวว่า ในภาพรวมราคาปุ๋ยทั้งในและต่างประเทศยังไม่นิ่ง แต่ละบริษัทจะต้องตัดสินใจจะสั่งนำเข้าหรือไม่สั่งนำเข้า วันนี้สมาคมฯได้พยายามพูดกับกระทรวงพาณิชย์ว่าจะให้ทำอย่างไร เพราะถ้าไม่สามารถทำให้บริษัทพอมีกำไรและอยู่ได้ คิดว่าหลายบริษัทก็คงจะไม่สั่ง เพราะสั่งมาแล้วหากรัฐบางควบคุมราคา ก็ขายไม่ได้ จากราคาแพงเกินไปและผู้ค้าจะขาดทุน ทั้งนี้ในข้อเท็จจริงผู้ค้าก็อยากขายของ ไม่อยากที่จะปรับราคาสูงจนเกินไป จากทราบดีว่าเกษตรกรไม่มีกำลังที่จะซื้อในราคาสูงมาก

“ประเทศจีนหันมาปลูกพืชจีเอ็มโอ ส่งเสริมให้ทำเกษตรในประเทศมากขึ้น ไม่ให้ส่งออกปุ๋ย มีการปิดท่าเรือหลายแห่ง และเก็บสต๊อกสินค้า ปล่อยให้ราคาขึ้น ส่วนรัสเซียอีกหนึ่งผู้ส่งออกปุ๋ยเคมีรายใหญ่ ตอนนี้ก็ยังมีการล็อกดาวน์ประเทศ กระทบกับการนำเข้าปุ๋ยของไทยแน่นอน”

นายเปล่งศักดิ์  กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมาธุรกิจ “ปุ๋ยเคมี” ตกเป็นเหยื่อของนักการเมืองทุกยุคทุกสมัยถึงผลกระทบต่อสุขภาพ แต่ในข้อเท็จจริงหากใช้ให้ถูกต้องตามข้อกำหนดปุ๋ยเคมี ไม่เป็นอันตราย และช่วยเพิ่มผลผลิต ดังนั้นต้องยึดผลประโยชน์ของเกษตรกรเป็นที่ตั้ง ปัจจุบันเกษตรกรยังต้องเผชิญกับปัญหาราคาและผลผลิตต่อไร่ต่ำ ตรงนี้ควรจะมาหาทางแก้ไข ส่วนราคาปุ๋ยเป็นราคาตามตลาดโลก ผู้ค้าไม่ได้เป็นคนกำหนดราคา มีลักษณะซื้อมาขายไป ต้องขอทำความเข้าใจด้วย

แหล่งข่าวจากเกษตรกร  กล่าวว่า ราคาปุ๋ยที่ปรับตัวสูงขึ้นสร้างภาระเพิ่มให้เกษตรกร เวลานี้ทำให้ต้นทุนในการทำไร่นาสูงขึ้นมากถึง 500-800 บาทต่อไร่ ซึ่งหากดูจากผลผลิตข้าวต่อไร่ของชาวนาทั่วประทศเฉลี่ยเพียง 643 กิโลกรัม(กก.)ต่อไร่ ส่วนข้าวโพดได้ผลผลิตเฉลี่ยเพียง 713 กก.ต่อไร่  ถือว่ายังต่ำกว่าศักยภาพผลผลิตที่ควรได้อยู่มาก มีผลให้รายได้สุทธิหลังหักต้นทุนผลผลิตของเกษตรกรโดยเฉพาะชาวนา ชาวไร่ลดลงอย่างมาก

จากก่อนหน้านี้ก่อนปุ๋ยขึ้นราคารายได้ของเกษตรกรรายเล็กส่วนใหญ่ก็แทบไม่พอกินอยู่แล้ว ไหนจะมีภาระหนี้สินที่เกิดจากทำไร่ทำนารอบตัวอีก หากภาครัฐไม่หันมาปฏิรูปพัฒนาภาคเกษตรอย่างจริงจังและจริงใจแล้ว อนาคตอาชีพของเกษตรกรไทยคงต้องไปอยู่ในมือของนายทุนใหญ่อย่างแน่นอน

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 28 ตุลาคม 2564

นํ้าท่วมภาคเกษตรอ่วม 5.5 ล้านไร่ วัตถุดิบวูบ-โรงงานลดผลิต 50%

น้ำท่วมกระทบหนักภาคเกษตรกว่า 5.5 ล้านไร่ ข้าวมากสุด 3.8 ล้านไร่ พืชผักใช้แปรรูปส่งออกเสียหายรง.แปรรูปลดผลิต 50% เร่งเจรจาคู่ค้าขอชะลอส่งมอบ ชวดโอกาสรับออร์เดอร์ใหม่ ผู้ส่งออกข้าวรอประเมินผลผลิตวูบแค่ไหน ไก่ชี้ไม่กระทบ ห่วงขาดแรงงานหนัก ปั๊มตัวเลขปลายปีไม่ขึ้น

ศูนย์ติดตามและแก้ไขปัญหาภัยพิบัติด้านการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รายงานผลกระทบจากอุทกภัยช่วงภัยวันที่ 1 ก.ย. -25 ต.ค. 2564 ด้านพืชได้รับผลกระทบในทุกภาคของประเทศรวม 51 จังหวัด รวมพื้นที่ได้รับผลกระทบ 5.53 ล้านไร่ แบ่งเป็นข้าว 3.80 ล้านไร่ พืชไร่และพืชผัก 1.68 ล้านไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น และอื่นๆ 4.18 หมื่นไร่ สำรวจพบความเสียหายแล้ว เกษตรกร 6.49 หมื่นราย พื้นที่ 8.39 แสนไร่ คิดเป็นเงิน 1,387.64 ล้านบาท ช่วยเหลือแล้วเกษตรกร 1 ราย พื้นที่ 5 ไร่ คิดเป็นเงิน 6,700 บาท

อย่างไรก็ดีผลกระทบที่ตามมาจากพื้นที่เกษตรได้รับความเสียหายคือผลผลิตวัตถุดิบ และสินค้าทางการเกษตรที่ลดลง กระทบต่อโรงงานแปรรูปเพื่อส่งออกที่กำลังไปได้ดีในช่วงโค้งสุดท้ายของปีนี้ต้องสะดุดลงในหลายสินค้า

โรงงานแปรรูปส่งออกลดผลิต 50%

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และนายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากข้อมูลของสมาคมผู้ผลิตอาหารสำเร็จรูป ผลกระทบน้ำท่วมในช่วงที่ผ่านมาถึง ณ ปัจจุบันที่หลายจังหวัดยังมีสถานการณ์อยู่ ส่งผลให้วัตถุดิบทางการเกษตรเพื่อใช้แปรรูปส่งออก รวมถึงจำหน่ายในประเทศได้รับความเสียหาย จากหลายพื้นที่เป็นแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญ

ตัวอย่างในสินค้าข้าวโพดหวาน ในโซนเขตภาคเหนือที่มีปัญหาน้ำท่วมขังมาตั้งแต่เดือนสิงหาคมถึงตุลาคม พื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหายราว 20-25% ของพื้นที่ ขณะพื้นที่ที่เตรียมไว้สำหรับการเพาะปลูกส่งผลให้แผนการเพาะปลูกล่าช้ากว่าที่กำหนดไว้ ส่งผลให้โรงงานแปรรูปต้องปรับลดกำลังการผลิตลง 20-25%

ส่วนพื้นที่ปลูกข้าวโพดหวานในโซนเขต จ.กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และนครราชสีมา ซึ่งเป็นอีกแหล่งผลิตใหญ่ พื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหาย 40-50% ของพื้นที่ ผลผลิตของวัตถุดิบที่เก็บเกี่ยวได้ลดลง 50% ส่งผลให้โรงงานต้องปรับลดกำลังการผลิตลง 15-20%

ในสินค้าข้าวโพดฝักอ่อน ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมในพื้นที่กาญจนบุรี นครปฐม และราชบุรี พื้นที่เพาะปลูกได้รับความเสียหายราว 90% ของพื้นที่ ส่งผลให้โรงงานต้องปรับลดกำลังการผลิตลงถึง 50% เป็นต้น

ชะลอส่งมอบ-ชวดออร์เดอร์ใหม่

“ตัวอย่างวัตถุดิบพืชผักที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมข้างต้น มีผลให้โรงงานไม่สามารถรับออร์เดอร์ใหม่ได้ ขณะที่สินค้ามีเพียงพอต่อการส่งออกถึงเดือนพฤศจิกายน แต่อาจขาดช่วงในเดือนธันวาคมถึงมกราคมปีหน้า ดังนั้นสิ่งที่ทำได้เวลานี้คือการเจรจาและอธิบายให้คู่ค้ารับทราบถึงข้อเท็จจริง และขอชะลอการส่งมอบ ซึ่งกรณีส่งมอบไม่ได้ตามกำหนดเวลาอาจถูกปรับ แต่ก็จำเป็นต้องเจรจาขอยืดเวลาออกไป เพราะพืชผักเหล่านี้ต้องใช้เวลาปลูกกว่าให้ผลผลิต 45-85 วัน ซึ่งหลังสถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลายต้องเร่งปลูกต่อไป”

นายวิศิษฐ์ กล่าวอีกว่า จากที่ภาคเอกชนร่วมกับสถาบันอาหารตั้งเป้าหมายการส่งออกสินค้าอาหารปี 2564 ไว้ที่ 1.05 ล้านล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 7.1% จากปี 2563 ล่าสุดตัวเลข 7 เดือนแรกปี 2564 ไทยส่งออกสินค้าอาหารได้ 8.06 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มั่นใจว่าปีนี้จะทำได้ตามเป้าหมาย ส่วนหนึ่งขึ้นกับเดือนที่เหลือของปีนี้วัตถุดิบในการผลิตจะมีเพียงพอหรือไม่

อย่างไรก็ดีสินค้าอาหารที่ยังขยายตัวได้ดีในเวลานี้ ได้แก่ อาหารสัตว์เลี้ยง อาหารพร้อมทาน รวมถึงอาหารที่ใช้เป็นวัตถุดิบป้อนให้กับกลุ่ม HORECA (โรงแรม,ร้านอาหาร,ร้านกาแฟและธุรกิจจัดเลี้ยง) ที่เริ่มกลับมาขยายตัวได้ดี

ผลผลิตข้าวไม่วูบมีแต่เพิ่ม

นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์ สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรฯ ที่ระบุนาข้าวได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมล่าสุด 3.8 ล้านไร่นั้น ยังเร็วเกินไปที่จะด่วนสรุปว่าปริมาณผลผลิตข้าวจะเสียหายไปเท่าใด เพราะในจำนวนนาข้าวที่ได้รับผลกระทบจะมีทั้งที่เสียหายสิ้นเชิง และเสียหายบางส่วน ดังนั้นคงต้องรอข้อมูลที่ชัดเจนจากผลการสำรวจอย่างเป็นทางการอีกครั้ง อย่างไรก็ดีส่วนตัวคาดผลผลิตข้าวของไทยในปีนี้ (ปีการผลิต 2564/2565) ภาพรวมคงไม่ได้ลดลงจากปีที่ผ่านมา คาดจะมีผลผลิตข้าวเปลือกประมาณ 32 ล้านตัน คิดเป็นประมาณ 20 ล้านตันข้าวสาร(จากปีผลิต 2563/2564 มีผลผลิตประมาณ 28 ล้านตันข้าวเปลือก หรือ 16 ล้านตันข้าวสาร) เนื่องจากผลผลิตข้าวนาดอนปีนี้ได้ผลดีทดแทนนาลุ่มที่เสียหาย และรัฐบาลมีโครงการประกันรายได้ข้าว จูงใจเกษตรกรเพิ่มพื้นที่เพาะปลูก

โรงงานไก่ร้องขาดแคลนแรงงาน

ด้านนายคึกฤทธิ์ อารีปกรณ์ ผู้จัดการสมาคมผู้ผลิตไก่เพื่อส่งออกไทย กล่าวว่า จากข้อมูลระบุน้ำท่วมครั้งนี้มีสัตว์ปีกได้รับผลกระทบกว่า 11 ล้านตัว ในจำนวนนี้ไม่ได้ระบุว่าเป็น ไก่ เป็ด หรือนกจำนวนเท่าใด แต่จากการประเมินคงเป็นไก่พื้นเมืองมากกว่า เพราะสวนใหญ่ฟาร์มเลี้ยงไก่เพื่อแปรรูปส่งออก หรือจำหน่ายในประเทศจะมีที่ตั้งในพื้นที่สูง หรือเตรียมการรองรับน้ำท่วมไว้แล้ว เช่นการอพยพไก่เมื่อน้ำใกล้มาถึง อาทิ ในเขต จ.ลพบุรี อ่างทอง เป็นต้น ดังนั้นน้ำท่วมครั้งนี้ไม่มีนัยผลกระทบที่สำคัญต่อผลผลิตไก่ รวมถึงโรงงานแปรรูปไก่เพื่อส่งออกที่จะมีวัตถุดิบที่ลดลง

“ปัญหาหนักสุดของโรงงานแปรรูปไก่เวลานี้ไม่ใช่เรื่องน้ำท่วม แต่เป็นปัญหาการขาดแคลนแรงงานจากผลกระทบโควิด ที่ส่วนหนึ่งแรงงานต่างด้าวกลับประเทศ และแรงงานไทยกลับต่างจังหวัดจากมีคนงานติดเชื้อโควิด ทำให้มากกว่า 10 โรงงานต้องเปิดๆ ปิดๆ ผลิตไม่ได้เต็มร้อยก่อนหน้านี้ เวลานี้ทั้งระบบอุตสาหกรรมไก่ขาดแคลนแรงงานอยู่กว่า 2 หมื่นคน ขณะที่ออเดอร์ปลายปีดีขึ้นแต่มีแรงงานไม่เพียงพอ เป็นปัญหาใหญ่ที่ต้องเร่งแก้ไข ทำให้เป้าหมายการส่งออกสินค้าไก่ทั้งปีนี้ที่ 9.5-9.6 แสนตันยังต้องลุ้นว่าจะทำได้หรือไม่”นายคึกฤทธิ์ กล่าว

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 28 ตุลาคม 2564

เอกชนโอด ราคาพลังงานแพงกระทบต้นทุนผลิต หนุนลดภาษี-ตรึงราคา

ส.อ.ท.เผย FTI Poll ห่วงราคาพลังงานพุ่งกระทบต้นทุนอุตสาหกรรม ชงรัฐกดค่าไฟ ตรึงราคาพลังงาน ออกนโยบายหนุนใช้พลังงานหมุนเวียน

นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 11 ในเดือนตุลาคม 2564 ภายใต้หัวข้อ “ราคาพลังงานพุ่งแรง กระทบภาคอุตสาหกรรมแค่ไหน พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. มองว่า สถานการณ์ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของภาคอุตสาหกรรมในระดับปานกลางถึงมาก โดยเฉพาะในเรื่องต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการ รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ที่ปรับตัวสูงขึ้น

ทั้งนี้เสนอขอให้ภาครัฐช่วยบรรเทาผลกระทบดังกล่าว ด้วยการตรึงราคาค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ(เอฟที) จนถึงสิ้นปี 2564 การปรับสูตรและโครงสร้างราคาพลังงาน ชั่วคราว 3 - 6 เดือน เพื่อลดภาระให้แก่ผู้ประกอบการ รวมทั้ง ดำเนินนโยบายในการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลในระยะยาว

อย่างไรก็ตามจากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 150 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก  45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด มีสรุปผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 11 จำนวน 7 คำถาม ดังนี้ 1.ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมระดับปานกลาง  49.3% กระทบมาก 38.0% และกระทบน้อย  12.7%

2.ปัจจัยใดที่ส่งผลกระทบให้ราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้นในปัจจุบัน พบว่าอันดับที่ 1  นโยบายการผลิตน้ำมันของประเทศกลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน  76.7%  อันดับที่ 2 : การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลทำให้อุปสงค์ด้านพลังงานเพิ่มสูงขึ้น  68.7% อันดับที่ 3  ความผันผวนของค่าเงิน และภาวะเงินบาทอ่อนค่า  53.3%  อันดับที่ 4  อุปสงค์ด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นจากการเข้าสู่ฤดูหนาวในกลุ่มประเทศฝั่งตะวันตก  51.3%

3.ปัจจุบันต้นทุนด้านพลังงานของธุรกิจท่านคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับต้นทุนในการประกอบการ พบว่า อันดับที่ 1  ต้นทุนด้านพลังงาน 10 – 20%  รองลงมาต้นทุนด้านพลังงาน น้อยกว่า 10- 24.0%    ต้นทุนด้านพลังงาน 30 – 50%  และต้นทุนด้านพลังงาน มากกว่า 50% 10.0%

ยานยนต์ฟื้นแล้ว!!! ค่ายรถเร่งปั๊มยอดผลิต หวังมอเตอร์เอ็กโปเพิ่มออเดอร์ปลายปีแตะ 7.5 แสนคัน

ดีมานด์เหล็กไทยฟื้น 8 เดือนพุ่ง 18% หลังโควิดดผ่อนคลาย

4.แนวโน้มราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในเรื่องใด อันดับที่ 1  ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้น  88.0% อันดับที่ 2  ค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ปรับตัวสูงขึ้น 84.0%   อันดับที่ 3  เกิดภาวะเงินเฟ้อ และกระทบต่อกำลังซื้อ/การบริโภคของภาคเอกชน  34.0% และอันดับที่ 4  ขาดแคลนวัตถุดิบจากจีน จากภาวะขาดแคลนพลังงาน  25.3%

5.ภาครัฐควรมีมาตรการช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบจากต้นทุนราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้นอย่างไร อันดับที่ 1  ตรึงราคาค่าไฟฟ้า (FT) จนถึงสิ้นปี 2564    66.0% อันดับที่ 2  ปรับสูตรและโครงสร้างราคาพลังงาน ชั่วคราว 3 - 6 เดือน เพื่อลดภาระผู้ประกอบการ 56.7%  อันดับที่ 3  จัดสรรงบประมาณหรือใช้เงินกองทุน เพื่อชดเชยและตรึงราคาพลังงานทุกประเภท  54.0%   อันดับที่ 4  ลดอัตราภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อลดราคาขายปลีกน้ำมัน ก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี)และ เอ็นจีวี 53.3%

6.ภาครัฐควรดำเนินนโยบายด้านพลังงานในระยะยาวอย่างไร เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน และลดผลกระทบจากราคาพลังงานที่ผันผวน  อันดับที่ 1 ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล  74.7%  อันดับที่ 2  ส่งเสริมการประหยัดพลังงาน และนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ 72.7%  อันดับที่ 3  ปรับโครงสร้างราคาพลังงานให้เป็นธรรมแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าและความร้อน  64.0%อันดับที่ 4  ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า 44.0%

7.ภาคอุตสาหกรรมควรมีการปรับตัวรับมือกับราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างไร อันดับที่ 1 นำเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพมาใช้เพื่อลดและประหยัดพลังงาน 77.3%  อันดับที่ 2  นำระบบการบริหารจัดการพลังงานมาใช้ ปรับแผนการผลิตและโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุน  73.3% อันดับที่ 3 : การใช้พลังงานหมุนเวียนภายในโรงงาน หรือ ผลิตไฟฟ้าใช้เอง เช่น Solar cell, Biogas, Biomass  71.3%  อันดับที่ 4  สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงานและเทคนิคการใช้พลังงานอย่างประหยัด 59.3%

จาก https://www.posttoday.com วันที่ 28 ตุลาคม 2564

ส.อ.ท.เปิดผลสำรวจราคาพลังงานพุ่งกระทบภาคผลิต จ่อปรับตัวหันใช้พลังงานหมุนเวียน

“ส.อ.ท.” เปิดผลสำรวจ CEO Survey มองราคาพลังงานพุ่งแรงกระทบภาคอุตสาหกรรม โดย 38% กระทบหนัก ขณะที่ 49.3% กระทบปานกลาง โดยพบว่า 88% ส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้น ขณะที่ 84% ค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ปรับตัวสูงขึ้น หนุนรัฐตรึงค่าไฟ ปรับสูตรโครงสร้างพลังงานชั่วคราว 3-6 เดือนลดภาระ และระยะยาวจ่อปรับตัวใช้พลังงานหมุนเวียนรับมือ

นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 11 ในเดือนตุลาคม 2564 ภายใต้หัวข้อ “ราคาพลังงานพุ่งแรง กระทบภาคอุตสาหกรรมแค่ไหน จากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 150 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด พบว่า ผู้บริหารส่วนใหญ่มองว่าราคาพลังงานโดยเฉพาะน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้นตามทิศทางตลาดโลกกระทบต่อการดำเนินธุรกิจภาคอุตสาหกรรมระดับปานกลางถึงหนักมาก โดยเฉพาะในเรื่องต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการ รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ที่ปรับตัวสูงขึ้น ดังนั้นจึงเสนอขอให้ภาครัฐช่วยบรรเทาผลกระทบดังกล่าว โดยสนับสนุนการตรึงราคาค่าไฟฟ้า (Ft) จนถึงสิ้นปี 2564 การปรับสูตรและโครงสร้างราคาพลังงานชั่วคราว 3-6 เดือน เพื่อลดภาระให้แก่ผู้ประกอบการ รวมทั้งดำเนินนโยบายในการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนเพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลในระยะยาว

โดยรายละเอียดของการสำรวจจาก 7 คำถาม ดังนี้ 1. ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นในปัจจุบันส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมระดับใด อันดับที่ 1 : กระทบปานกลาง 49.3% อันดับที่ 2 : กระทบมาก 38.0% อันดับที่ 3 : กระทบน้อย 12.7%

 2. ปัจจัยใดที่ส่งผลกระทบให้ราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้นในปัจจุบัน อันดับที่ 1 : นโยบายการผลิตน้ำมันของประเทศกลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน 76.7% อันดับที่ 2 : การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลทำให้อุปสงค์ด้านพลังงานเพิ่มสูงขึ้น 68.7% อันดับที่ 3 : ความผันผวนของค่าเงิน และภาวะเงินบาทอ่อนค่า 53.3% อันดับที่ 4 : อุปสงค์ด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นจากการเข้าสู่ฤดูหนาวในกลุ่มประเทศฝั่งตะวันตก 51.3%

3. ปัจจุบันต้นทุนด้านพลังงานของธุรกิจท่านคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับต้นทุนในการประกอบการ อันดับที่ 1 : ต้นทุนด้านพลังงาน 10-20% 46.0% อันดับที่ 2 : ต้นทุนด้านพลังงาน น้อยกว่า 10% 24.0% อันดับที่ 3 : ต้นทุนด้านพลังงาน 30-50% 20.0% อันดับที่ 4 : ต้นทุนด้านพลังงานมากกว่า 50% 10.0%

4. แนวโน้มราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในเรื่องใด อันดับที่ 1 : ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้น 88.0% อันดับที่ 2 : ค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ปรับตัวสูงขึ้น 84.0% อันดับที่ 3 : เกิดภาวะเงินเฟ้อ และกระทบต่อกำลังซื้อ/การบริโภคของภาคเอกชน 34.0% อันดับที่ 4 : ขาดแคลนวัตถุดิบจากจีน จากภาวะขาดแคลนพลังงาน 25.3%

5. ภาครัฐควรมีมาตรการช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบจากต้นทุนราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้นอย่างไร อันดับที่ 1 : ตรึงราคาค่าไฟฟ้า (FT) จนถึงสิ้นปี 2564 66.0% อันดับที่ 2 : ปรับสูตรและโครงสร้างราคาพลังงานชั่วคราว 3-6 เดือน เพื่อลดภาระผู้ประกอบการ 56.7% อันดับที่ 3 : จัดสรรงบประมาณหรือใช้เงินกองทุนเพื่อชดเชยและตรึงราคาพลังงานทุกประเภท 54.0% อันดับที่ 4 : ลดอัตราภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อลดราคาขายปลีกน้ำมัน LPG และ NGV 53.3%

6. ภาครัฐควรดำเนินนโยบายด้านพลังงานในระยะยาวอย่างไร เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน และลดผลกระทบจากราคาพลังงานที่ผันผวน อันดับที่ 1 : ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล 74.7% อันดับที่ 2 : ส่งเสริมการประหยัดพลังงาน และนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ 72.7% อันดับที่ 3 : ปรับโครงสร้างราคาพลังงานให้เป็นธรรมแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าและความร้อน 64.0% อันดับที่ 4 : ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า 44.0%

7. ภาคอุตสาหกรรมควรมีการปรับตัวรับมือกับราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างไร อันดับที่ 1 : นำเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพมาใช้เพื่อลดและประหยัดพลังงาน 77.3% อันดับที่ 2 : นำระบบการบริหารจัดการพลังงานมาใช้ ปรับแผนการผลิตและโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุน 73.3% อันดับที่ 3 : การใช้พลังงานหมุนเวียนภายในโรงงาน หรือผลิตไฟฟ้าใช้เอง เช่น Solar cell, Biogas, Biomass 71.3% อันดับที่ 4 : สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงานและเทคนิคการใช้พลังงานอย่างประหยัด 59.3%

จาก https://mgronline.com วันที่ 28 ตุลาคม 2564

ราคาพลังงานพุ่ง ทำต้นทุนการผลิตขึ้น 88% เอกชนขอรัฐตรึงค่าไฟถึงสิ้นปี

ส.อ.ท. เปิดผลสำรวจ CEO Survey “ราคาพลังงานพุ่งแรง กระทบภาคอุตสาหกรรมแค่ไหน ชี้กระทบต้นทุนหนักทั้งการผลิตขึ้น 88% โลจิสติกส์ขึ้น 84% เสนอรัฐบรรเทาผลกระทบด้วยการตรึงราคาค่าไฟฟ้า (FT) จนถึงสิ้นปี 2564 พร้อมปรับสูตรและโครงสร้างราคาพลังงานชั่วคราว 3 – 6 เดือน ลดภาระผู้ประกอบการ

วันที่ 28 ตุลาคม 2564 นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 11 ในเดือนตุลาคม 2564 ภายใต้หัวข้อ “ราคาพลังงานพุ่งแรง กระทบภาคอุตสาหกรรมแค่ไหน พบว่า ผู้บริหาร ส.อ.ท. มองว่า สถานการณ์ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของภาคอุตสาหกรรมในระดับปานกลางถึงมาก โดยเฉพาะในเรื่องต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการ รวมถึงค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ที่ปรับตัวสูงขึ้น

ดังนั้นจึงเสนอขอให้ภาครัฐช่วยบรรเทาผลกระทบดังกล่าว ด้วยการตรึงราคาค่าไฟฟ้า (FT) จนถึงสิ้นปี 2564 รวมถึงการปรับสูตรและโครงสร้างราคาพลังงาน ชั่วคราว 3 – 6 เดือน เพื่อลดภาระให้แก่ผู้ประกอบการ และดำเนินนโยบายในการส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลในระยะยาว

ซึ่ง จากการสำรวจผู้บริหาร ส.อ.ท. (CEO Survey) จำนวน 150 ท่าน ครอบคลุมผู้บริหารจาก 45 กลุ่มอุตสาหกรรม และ 76 สภาอุตสาหกรรมจังหวัด มีสรุปผลการสำรวจ FTI Poll ครั้งที่ 11 จำนวน 7 คำถาม ดังนี้ 1.ราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นในปัจจุบัน ส่งผลกระทบต่อภาคอุตสาหกรรมระดับใด

อันดับที่ 1 : กระทบปานกลาง 49.3% อันดับที่ 2 : กระทบมาก 38.0% อันดับที่ 3 : กระทบน้อย 12.7%

2.ปัจจัยใดที่ส่งผลกระทบให้ราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้นในปัจจุบัน อันดับที่ 1 : นโยบายการผลิตน้ำมันของประเทศกลุ่มผู้ผลิตน้ำมัน 76.7% อันดับที่ 2 : การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกที่ส่งผลทำให้อุปสงค์ด้านพลังงานเพิ่มสูงขึ้น 68.7% อันดับที่ 3 : ความผันผวนของค่าเงิน และภาวะเงินบาทอ่อนค่า 53.3% อันดับที่ 4 : อุปสงค์ด้านพลังงานที่เพิ่มขึ้นจากการเข้าสู่ฤดูหนาวในกลุ่มประเทศฝั่งตะวันตก 51.3%

3.ปัจจุบันต้นทุนด้านพลังงานของธุรกิจท่านคิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับต้นทุนในการประกอบการ อันดับที่ 1 : ต้นทุนด้านพลังงาน 10 – 20% สัดส่วนความคิดเห็น 46.0%อันดับที่ 2 : ต้นทุนด้านพลังงาน น้อยกว่า 10% สัดส่วน 24.0% อันดับที่ 3 : ต้นทุนด้านพลังงาน 30 – 50% สัดส่วน 20.0% อันดับที่ 4 : ต้นทุนด้านพลังงาน มากกว่า 50% สัดส่วน 10.0%

4.แนวโน้มราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในเรื่องใด อันดับที่ 1 : ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการปรับตัวสูงขึ้น 88.0% อันดับที่ 2 : ค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งและโลจิสติกส์ปรับตัวสูงขึ้น 84.0% อันดับที่ 3 : เกิดภาวะเงินเฟ้อ และกระทบต่อกำลังซื้อ/การบริโภคของภาคเอกชน 34.0% อันดับที่ 4 : ขาดแคลนวัตถุดิบจากจีน จากภาวะขาดแคลนพลังงาน 25.3%

5.ภาครัฐควรมีมาตรการช่วยเหลือบรรเทาผลกระทบจากต้นทุนราคาพลังงานที่ปรับสูงขึ้นอย่างไร

อันดับที่ 1 : ตรึงราคาค่าไฟฟ้า (FT) จนถึงสิ้นปี 2564 สัดส่วนความคิดเห็น 66.0%

อันดับที่ 2 : ปรับสูตรและโครงสร้างราคาพลังงาน ชั่วคราว 3 – 6 เดือน เพื่อลดภาระผู้ประกอบการ 56.7%

อันดับที่ 3 : จัดสรรงบประมาณหรือใช้เงินกองทุน เพื่อชดเชยและตรึงราคาพลังงานทุกประเภท 54.0% อันดับที่ 4 : ลดอัตราภาษีสรรพสามิต ภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อลดราคาขายปลีกน้ำมัน LPG และ NGV 53.3%

6.ภาครัฐควรดำเนินนโยบายด้านพลังงานในระยะยาวอย่างไร เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน และลดผลกระทบจากราคาพลังงานที่ผันผวน อันดับที่ 1 : ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน เพื่อลดการพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิล 74.7% อันดับที่ 2 : ส่งเสริมการประหยัดพลังงาน และนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ 72.7% อันดับที่ 3 : ปรับโครงสร้างราคาพลังงานให้เป็นธรรมแก่ผู้ใช้ไฟฟ้าและความร้อน 64.0% อันดับที่ 4 : ส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า 44.0%

7.ภาคอุตสาหกรรมควรมีการปรับตัวรับมือกับราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้นอย่างไร อันดับที่ 1 : นำเทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพมาใช้เพื่อลดและประหยัดพลังงาน 77.3% อันดับที่ 2 : นำระบบการบริหารจัดการพลังงานมาใช้ ปรับแผนการผลิตและโลจิสติกส์เพื่อลดต้นทุน 73.3% อันดับที่ 3 : การใช้พลังงานหมุนเวียนภายในโรงงาน หรือ ผลิตไฟฟ้าใช้เอง เช่น Solar cell, Biogas, Biomass 71.3% อันดับที่ 4 : สร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงานและเทคนิคการใช้พลังงานอย่างประหยัด 59.3%

จาก https://www.prachachat.net  วันที่ 28 ตุลาคม 2564

“ราคาน้ำมัน” ปัจจัยท้าทาย แผนเปลี่ยนผ่านพลังงานสะอาด

เป้าหมายลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในช่วงในช่วงปี 2065–2070 กำลังถูกท้าทายจากปัจจัยราคาพลังงานที่สูงขึ้น

ความท้าทายดังกล่าวสามารถประเมินได้ 2 ด้านคือ ราคาน้ำมัน ที่สูงกำลังเป็นแรงผลักให้เกิดการหาพลังงานทดแทนเพื่อลดความผันผวนที่อาจเกิดซ้ำในอนาคต อีกด้านของผลกระทบจากราคาพลังงาน คือ ผลที่จะทำให้พลังงานทดแทนซึ่งมี วัตถุดิบจากพืชพลังงาน ก๊าซธรรมชาติ หรือแม้แต่ไฟฟ้าสูงขึ้นจากฐานที่สูงอยู่แล้ว กลายเป็นอุปสรรคการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานของโลกและของประเทศไทย

สุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า การลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์เป็นกระแสสังคมโลกที่ไทยจะต้องดำเนินการ จึงต้องมีมาตรการต่างๆเร่งรัดส่งเสริม ทั้งมาตรการทางภาษี และไม่ใช่ภาษี

“มองว่านอกจากเป็นการลดความเสี่ยง ยังเป็นการสร้างโอกาสในการพลิกโฉม หรือต่อยอดอุตสาหกรรมดั้งเดิมเข้าสู่อุตสาหกรรมใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับสังคมคาร์บอนต่ำ”

ทั้งนี้ ประเทศไทยมีศักยภาพ มีความหลากหลายเรื่องของเชื้อเพลิง และพลังงานสะอาด ทั้งชีวมวล ชีวภาพ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ และการนำเข้าพลังงานสะอาดจากประเทศเพื่อนบ้าน

นที สิทธิประศาสน์ รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ส่วนตัวยังไม่แน่ใจว่าสถานการณ์ราคาน้ำมันผันผวนจะเกิดขึ้นอีกนานแค่ไหน ไม่ทราบว่าจะเป็นภาวการณ์ระยะสั้นหรือระยะยาว 

ในส่วนของการใช้พลังงานทางเลือก มองว่าราคาจะไม่ใช่ตัวที่มากำหนดเป็นหลัก การจะเปลี่ยนเป็นพลังงานหมุนเวียนหรือพลังงานสะอาดหรือไม่นั้น ต่อจากนี้ไปจะไม่ใช่เรื่องของราคาอย่างเดียว ความกดดันจากกระแสโลก อาทิ ภาวะโลกร้อน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะกดดันให้ทุกประเทศต้องร่วมมือกัน

ทั้งนี้ เครื่องมือที่ดีที่สุดที่จะมาช่วยลดก๊าซเรือนกระจก ลดภาวะโลกร้อน คือเรื่องของพลังงานหมุนเวียน (Renewable Energy) หรือ RE โดยเทรนด์ของราคา RE มีแนวโน้มที่จะลดลงไปเรื่อยๆ ตามเทรนด์ ที่เกิดขึ้นเพื่อบรรเทาภาวะโลกร้อน ส่วนราคาพลังงานแสงอาทิตย์ โซลาร์ เซลล์ เริ่มปรับราคาลงมาด้วยตามความต้องการใช้งาน และเมื่อมีการผลิตมากขึ้น กลไกตลาดก็ทำงาน ส่งผลให้ราคาถูกลง สุดท้ายอีกไม่นานราคาพลังงานหมุนเวียนจะเท่ากับต้นทุนค่าไฟที่อยู่ในสายส่ง

“เราอย่าลืมว่าไฟฟ้าที่ผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิล เราคิดแค่ต้นทุนจากราคาเชื้อเพลิง แต่ไม่เคยเอาต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อม ต้นทุนด้านการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมาคิดคำนวณ ถือเป็นต้นทุนภายนอกที่เกิดขึ้น ตรงนี้ถ้าเกิดเอาคิดคำนวณรวมแล้วราคาเชื้อเพลิงจากฟอสซิลอาจจะไม่ใช่ราคาที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ แต่อาจสูงขึ้นกว่านี้อีก”

นอกจากนี้ ในทางกลับกัน ราคาพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน ขณะนี้ อาจดูเหมือนราคาสูง แต่ถ้ารวมประโยชน์ที่ได้จากการลดก๊าซเรือนกระจก ก๊าซคาร์บอน การรักษาสิ่งแวดล้อมจะคุ้มค่ากว่า ดังนั้น สิ่งหนึ่งที่ต้องสื่อสารให้ผู้บริโภคและประชาชนเข้าใจถึงประโยชน์ของพลังงานหมุนเวียน และหากมองว่าจะเป็นภาระของประชาชนหรือไม่นั้น ให้ลองดูราคาของเก่า ถ้าคิดแล้วในอดีตที่มีต้นทุนสูง ราคาค่าไฟยังสูงอยู่แต่ก็จะลดลงเรื่อยๆ อนาคตจะลดลงอีก

"เมื่อมองไปข้างหน้า พลังงานหมุนเวียนที่เข้ามาแล้ว นอกจากจะเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ลดก๊าซเรือนกระจก ราคาต้นทุนไม่ได้แพงไปกว่าฟอสซิล และบางตัวอาจถูกกว่าด้วยซ้ำ เช่น โซลาร์ เซลล์ ที่มีราคาถูกกว่า"

นอกจากนี้ ยังมีพลังงานที่เกิดจากก๊าซชีวมวล ชีวภาค ที่อาจจะราคาใกล้เคียงกับฟอสซิล แต่หากมองในมิติบวก ถึงแม้จะมีต้นทุนราคาแพงกว่ากลุ่มฟอสซิล แต่ต้องไม่ลืมว่านอกจากช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม ลดก๊าซเรือนกระจกแล้ว ยังช่วยพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก เกิดประโยชน์ต่อชุมชน ช่วยให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียนในชุมชน ถือเป็นจุดแข็งของประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม จากวันนี้ไปถึงอนาคต ตาม นโยบายของแผนพลังงานชาติ (Policy Direction) เพื่อขับเคลื่อนให้ภาคพลังงานสามารถบรรลุเป้าหมายการมุ่งสู่เศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำ โดยการส่งเสริมการลงทุนพลังงานสีเขียวในภาคพลังงาน โดยต้องเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าใหม่โดยมีสัดส่วนพลังงานหมุนเวียน หรือ RE ไม่น้อยกว่า 50%

ถือว่ารัฐบาลได้ส่งสัญญาณแล้วว่า RE เป็นความหวังของประเทศและไม่ใช่ภาระของประเทศอีกต่อไป และจะเข้ามาเพื่อจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อม การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดภาวะโลกร้อนต่างๆ

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 28 ตุลาคม 2564

ส่งออกระทึกดิ้นปรับตัวรับมือ สหรัฐ-อียูเก็บภาษีสิ่งแวดล้อม

“สหรัฐ” เอาแน่ ชงกฎหมายใหม่ตั้งกำแพงภาษีรักษ์โลก ลดคาร์บอน-ลดก๊าซเรือนกระจก ตามรอยอียู คาดทยอยดีเดย์ตั้งแต่ต้นปี’65 เริ่มเก็บภาษีพลาสติก อะลูมิเนียม เหล็ก ซีเมนต์ ยันปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ แนะผู้ประกอบการเร่งปรับตัวรับมือ สร้างโอกาสทางการค้า ด้าน ส.อ.ท.เกาะติดมาตรการทางการค้าใกล้ชิด

ปัจจุบันการดูแลสิ่งแวดล้อมกำลังเป็นเทรนด์ที่ประเทศผู้ผลิตและผู้นำเข้าหันมาใส่ใจมากขึ้น โดยผู้นำเข้าหลายประเทศเริ่มออกกฎหมายที่ยึดโยงกับนโยบายการดูแลสิ่งแวดล้อม โดยก่อนหน้านี้ สหภาพยุโรป (EU) คู่ค้าหลักของไทย ได้ประกาศนโยบาย European Green Deal ออกมา

เป้าหมายเพื่อจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 60% ให้ได้ในปี 2030 และลดเป็น 0% ในปี 2050 และเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ได้ผ่านมาตรการ Carbon Border Adjustment Mechanism (CBAM)

โดยจะเริ่มใช้ในปี 2566 นี้ กลายเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของการค้าระหว่างประเทศ ขณะเดียวกันก็ทำให้ไทยต้องปรับตัวครั้งใหญ่ เพื่อสร้างมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมให้เทียบเท่ากับอียู ล่าสุดสหรัฐอเมริกาก็เป็นอีกประเทศหนึ่งที่กำลังเตรียมกฎกติกาในเรื่องนี้

สหรัฐชงกฎหมายสิ่งแวดล้อม

นางขวัญนภา ผิวนิล ผู้อำนวยการส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ประจำลอสแองเจลิส สหรัฐอเมริกา เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า หลังจากที่นายโจ ไบเดน จากพรรคเดโมแครต ได้เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งเป็นที่รับรู้กันดีว่า ที่ผ่านมาเดโมแครตได้ใช้นโยบายเรื่องสิ่งแวดล้อม การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในการหาเสียง

ที่ผ่านมาได้ทยอยเสนอให้ร่างกฎหมายหลายฉบับเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภา อาทิ เดือนกรกฎาคม เสนอร่างกฎหมาย Fair, Affordable, Innovative and Resilient Transition and Competition Act (Fair Transition and Competition Act) ที่กำหนดให้เก็บ carbon border tax สำหรับสินค้านำเข้าจากทุกประเทศ ยกเว้นประเทศที่ได้พัฒนาและประเทศที่มีการบังคับใช้กฎหมายและกฎระเบียบที่จำกัดหรือลดการปล่อยคาร์บอนเท่าเทียมหรือใกล้เคียงกับกฎหมายสหรัฐ

โดยกำหนดให้เก็บค่าธรรมเนียมคาร์บอน (carbon free) ในวันที่ 1 มกราคม 2024 (2567) สำหรับสินค้าเป้าหมาย คือ ปิโตรเลียม ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน และสินค้าที่มีกระบวนการผลิตเป็น carbon-incentive เช่น อะลูมิเนียม เหล็ก และซีเมนต์ และอาจจะเพิ่มรายการสินค้าอีกในอนาคต ซึ่งจะเป็นต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในรูปของ carbon emissions tax ที่มีการเรียกเก็บทั้งในปัจจุบันและในอนาคต

“วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของกฎหมายนี้ หลัก ๆ น่าจะอยู่ที่การคุ้มครองแรงงานสหรัฐ และเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้ธุรกิจสหรัฐ และหากกฎหมายฉบับนี้ผ่านออกมา อาจจะเป็นตัวอย่างที่นำไปสู่การจะทำค่าธรรมเนียม (border fee) สินค้านำเข้าอีกหลายรายการ โดยอ้างว่าเป็นต้นทุนด้านสิ่งแวดล้อมภายในประเทศ มาเป็นเงื่อนไข”

โดยมีการคาดการณ์ว่าสหรัฐนำเข้าสินค้าที่อาจจะเข้าข่ายเป็น carbon-incentive จากไทย เมื่อปี 2563 มูลค่า 11,569.87 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 30% ของมูลค่าสินค้าที่สหรัฐนำเข้าจากไทย เช่น สินค้าเหล็ก อะลูมิเนียม ซีเมนต์ mineral fuels, minerals oil, nuclear reactors (สินค้าในกลุ่มพิกัด 73, 76, 68, 72, 27, 83, 84, 25) เป็นต้น

นางขวัญนภากล่าวว่า นอกจากนี้ยังมีกฎหมายเกี่ยวกับการรักษาสิ่งแวดล้อม หรือ American Innovation and Manufacturing Act of 2020 เพื่อลดระดับการผลิตและการใช้สารไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน (HFCs) ซึ่งเป็นหนึ่งในก๊าซเรือนกระจก ให้ลดลง 85% ภายใน 15 ปี ตามนโยบายของประธานาธิบดีไบเดน

ล่าสุดเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ได้เสนอให้มีการยกร่างกฎหมาย Rewording Efforts to Decrease Unrecycled Contaminants in Environments (REDUCE) Act เพื่อเรียกเก็บภาษีสรรพสามิตเม็ดพลาสติกใหม่ (virgin plastic reisins) จากโรงงานผู้ผลิตและผู้นำเข้าในอัตราเพิ่มขึ้น

เบื้องต้นเริ่มการบังคับใช้ในปี 2565 อัตราภาษีจะอยู่ที่ 10 เซนต์ต่อปอนด์ และทยอยเพิ่มขึ้นแบบเป็นขั้นบันไดเป็น 15 เซนต์ต่อปอนด์ ในปี 2566 และ 20 เซนต์ต่อปอนด์ ในปี 2567 ซึ่งจะส่งผลกระทบกับสินค้าพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียวทิ้ง ทั้งบรรจุภัณฑ์พลาสติก บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่ม และบรรจุภัณฑ์อาหาร

อย่างไรก็ตาม กฎหมายดังกล่าวยังมีการถกเถียงและถูกคัดค้านจากกลุ่มอุตสาหกรรมภายในสหรัฐที่อาจจะถูกเรียกเก็บด้วย และมีความเป็นไปได้ว่าอาจจะต้องมีการปรับเปลี่ยนเนื้อหา โดยเฉพาะการให้คำจำกัดความเม็ดพลาสติกใหม่ ว่าจะครอบคลุมสินค้าชนิดใดบ้าง หรืออาจจะถูกนำไปรวมกับร่างกฎหมายฉบับอื่นที่มีลักษณะเนื้อหาคล้ายกัน ก่อนที่จะนำออกมาบังคับใช้

“หากประเทศไทยสามารถปรับตัวได้ทั้งในเรื่องการจัดหาวัตถุดิบและกระบวนการผลิตสินค้าเพื่อให้สอดรับเรื่องการรักษาสิ่งแวดล้อม จะสามารถสร้างโอกาสทางการค้ามากขึ้นในอนาคต เพราะเฉพาะในสหรัฐ รายงานของบริษัทวิจัย Nielsen คาดว่า ปีนี้ตลาดสินค้า sustainability ของสหรัฐ ยอดขายสูงถึง 1.5 แสนล้านเหรียญ” นางขวัญนภาย้ำ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การส่งออกไทยไปสหรัฐ ปี 2563 มีมูลค่า 34,381.2 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 9.67% และในช่วง 8 เดือนแรก (มกราคม-สิงหาคม) 2564 มีมูลค่า 26,883.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 20.56%

เอกชนเกาะติด-เร่งปรับตัวรับมือ

นายวิศิษฐ์ ลิ้มลือชา ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และประธานคณะกรรมการอาหารแปรรูปและอาหารแห่งอนาคต (PFC) หอการค้าไทย แสดงความเห็นในเรื่องนี้ว่า ปัจจุบันประเทศคู่ค้าต่าง ๆ มีการใช้มาตรการด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น โดยเฉพาะการลดการใช้พลาสติกในบรรจุภัณฑ์

นอกจากสหรัฐที่เตรียมเก็บภาษีสรรพสามิตเม็ดพลาสติกแล้ว ล่าสุดฝรั่งเศสมีนโยบายแบนการใช้ถุงพลาสติกในผักผลไม้ จะเริ่มในวันที่ 1 มกราคม 2022 ขณะที่สวีเดนได้วางระบบการคัดแยกขยะ และนำขยะแปรรูปเป็นพลังงานไฟฟ้า รวมถึงหลาย ๆ ประเทศในยุโรปที่มีการวางระบบมัดจำถุงพลาสติกในร้านค้า เช่น ที่เยอรมนี สวีเดน หรืออังกฤษ มีการเก็บค่าธรรมเนียมถุงพลาสติก เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาผู้ประกอบการได้ทยอยปรับตัวเพื่อรองรับ โดยมีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อใช้บรรจุภัณฑ์ เช่น การใช้ฟิล์มหด (shrink label) ที่ผลิตจากพลาสติก PET มาใช้ ซึ่งจะช่วยให้สามารถนำวัสดุนี้เข้าไปสู่กระบวนการรีไซเคิลได้ นอกจากนี้ก็มีการปรับใช้บรรจุภัณฑ์จากไบโอพลาสติกหลายประเภท เช่น พลาสติกชีวภาพจากพืช (PLA) ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากวัสดุโพลีโพรไพลีน (PP) ชนิดหมุนเวียน เป็นต้น

“เอกชนต้องปรับตัวให้สอดรับกับนโยบายของคู่ค้าโดยเฉพาะสหรัฐ และสหภาพยุโรปที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เราต้องทำให้สามารถใช้ซ้ำได้หลายครั้ง หรือปรับให้มีนวัตกรรมการผลิตที่ใช้พลาสติกที่มีส่วนผสม ให้เหลืออย่างเดียวหรือน้อยชนิด เพื่อให้สามารถนำกลับมารีไซเคิลได้”

ปัจจุบันสหรัฐนำเข้าพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติกจากไทยมากเป็นอันดับที่ 11 เมื่อปี 2563 มีมูลค่านำเข้า 740 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 23,680 ล้านบาท ในช่วง 7 เดือนแรกปีนี้ มีการนำเข้า 540 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 17,280 ล้านบาท

ขณะที่นายคงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC กล่าวว่า บริษัทได้ติดตามเรื่องของภาษีคาร์บอนข้ามแดน (carbon border tax) ของสหภาพยุโรป หรือสหรัฐอเมริกา ที่จะมีการเรียกเก็บภาษีจากสินค้านำเข้าในอนาคตมาต่อเนื่อง

ปัจจุบันแม้ว่าบริษัทจะไม่ได้ส่งออกไปยังอียูมากนัก แต่ก็ให้ความสำคัญกับประเด็น climate change ภายใต้อนุสัญญา Paris Agreement มาโดยตลอด ส่วนในสหรัฐ บริษัทก็มีฐานการผลิตและการลงทุนพลาสติกชีวภาพต่อเนื่อง

“บริษัทพร้อมจะลงทุนทั่วโลกและร่วมมือกับพันธมิตร และเรามีบอร์ดดูเรื่องโลกร้อนเฉพาะ และมุ่งการลดก๊าซเรือนกระจก โดย 10 ปีที่ผ่านมามีการขยายธุรกิจ ทั้งเพิ่มผลิตภัณฑ์ เพิ่มการลงทุนในต่างประเทศ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ปิโตรเคมี และเคมีภัณฑ์ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์เม็ดพลาสติก เรซิ่น และโพลีเมอร์ ซึ่งสามารถนำไปต่อยอดตลอดจนผลิตภัณฑ์ทดแทนการนำเข้าวัตถุดิบพื้นฐานของอุตสาหกรรมต่าง ๆ”

อียูจ่อเก็บภาษีไก่ปล่อยคาร์บอน

นายสมบูรณ์ วัชรพงษ์พันธ์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อ แสดงความเห็นเรื่องนี้ว่า ที่ผ่านมาอียูให้ความสำคัญเรื่องการลดโลกร้อน และต้องการซื้อสินค้าที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และอาหารสัตว์ที่ไม่ได้มาจากการรุกป่า หากประเทศไทยยังไม่สามารถผลิตไก่ที่ปราศจากการทำลายป่า หรือไก่ไร้คาร์บอนได้ ก็อาจถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้าตามจำนวนคาร์บอนที่ปล่อย

ซึ่งจะทำให้ความสามารถในการแข่งขันของไก่ไทยในเวทีโลกลดลง และจะกระทบถึงไก่เนื้อทั้งอุตสาหกรรมด้วย นอกจากสมาคมจะให้ความสำคัญกับการส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไร้คาร์บอนแล้ว ยังต้องการให้รัฐหันมาใส่ใจสนับสนุนในเรื่องนี้ด้วย

“อยากให้รัฐบาลเน้นมาส่งเสริมการเลี้ยงไก่ด้วยผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ไม่รุกป่า ไม่มีการเผาตอซัง และส่งเสริมการปลูกข้าวโพดหลังฤดูทำนา เพื่อป้องกันการสูญเสียตลาดส่งออกที่สำคัญไป” นายสมบูรณ์กล่าว

จาก https://www.prachachat.net วันที่ 28 ตุลาคม 2564

ปรับเศรษฐกิจไทยเพิ่มปีนี้โตได้ 0.2%

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 64 ขึ้นมาเป็น 0.2% มองปีหน้าขยายตัว 3.7% ยังมีความเสี่ยงจากราคาน้ำมันและเงินเฟ้อ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองเศรษฐกิจไทยปี 2564 ดีขึ้นกว่าเดิม รับคลายล็อกดาวน์และมาตรการเปิดประเทศที่เร็วกว่าที่มองไว้เดิม หลังการกระจายวัคซีนที่เร่งตัวขึ้นกว่าที่ประเมินไว้ในเดือนสิงหาคม 2564 นอกจากนี้ เศรษฐกิจไทยยังมีแรงส่งจากผลการเบิกจ่ายภาครัฐที่ออกมาดีกว่าคาดด้วย

นางสาวณัฐพร ตรีรัตน์ศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด มองว่า ผลจากการคลายล็อกดาวน์และการเปิดประเทศที่เร็วขึ้นนี้ ทำให้ปรับเพิ่มคาดการณ์จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 1.5 แสนคน มาเป็น 1.8 แสนคน ดังนั้น ในภาพรวมแล้ว จึงทบทวนประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 โดยปรับเพิ่มคาดการณ์ขึ้นจากหดตัว -0.5% มาอยู่ที่ 0.2% อย่างไรก็ตาม ผลกระทบจากน้ำท่วมและภาระการครองชีพที่สูงขึ้นจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นอย่างมาก ตลอดจนความเสี่ยงที่การแพร่เชื้อในประเทศจะกลับมาหลังเปิดประเทศยังเป็นปัจจัยที่ทำให้การปรับประมาณการเศรษฐกิจในปี 2564 เป็นไปอย่างจำกัด

ด้านนางสาวเกวลิน หวังพิชญสุข ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด เพิ่มเติมประเด็นผลกระทบจากน้ำท่วม โดยมองว่าผลกระทบส่วนใหญ่น่าจะอยู่ภายในปี 2564 โดยสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนกันยายนถึงตุลาคม 2564 คาดว่าจะสร้างความเสียหายให้กับทั้งภาคเกษตร ซึ่งน่าจะกระทบทั้งหมดประมาณ 6-7 ล้านไร่ รวมถึงนอกภาคเกษตร ที่สำคัญคือ ภาคบริการและแรงงานรับจ้างรายวันที่ได้รับผลกระทบจากการที่ธุรกิจหยุดชะงักลงบางพื้นที่ในกว่า 30 จังหวัด ดังนั้น โดยรวมแล้ว คาดว่ากระทบเศรษฐกิจไทยประมาณ 2.5 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 0.16% ของจีดีพี ซึ่งน้อยกว่าเหตุการณ์น้ำท่วมในปี 2551, 2553 และ 2560 ที่ผ่านมา และได้รวมผลกระทบข้างต้นในประมาณการจีดีพีปี 2564 แล้ว

ส่วนปี 2565 นางสาวณัฐพร มองว่า เศรษฐกิจไทยจะฟื้นตัวที่ 3.7% จากความครอบคลุมของประชากรที่จะได้รับวัคซีนเกินกว่า 70% ซึ่งจะช่วยลดความจำเป็นที่จะต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์ลง และการดำเนินธุรกิจไม่หยุดชะงัก นอกจากนี้ ยังมีปัจจัยหนุนจากการส่งออก การใช้จ่ายครัวเรือนที่ฟื้นตัวจากฐานที่ต่ำและการกลับมาบริโภคหลังจากอั้นไว้ในช่วงล็อกดาวน์ ขณะที่ ปัจจัยเสี่ยงจะอยู่ที่ราคาพลังงานสูงและเงินเฟ้อ อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยยังไม่ได้เข้าสู่ภาวะ Stagflation โดยมองเงินเฟ้อในปี 2565 ที่ 1.6% บนเงื่อนไขที่ราคาน้ำมันโลกไม่ได้ยืนอยู่ในระดับสูงมากกว่า 100 ดอลลาร์ฯ ต่อบาร์เรลเป็นระยะเวลายาวต่อเนื่อง

สำหรับผลกระทบต่อราคาน้ำมันสูงต่อธุรกิจในปี 2564 นางสาวเกวลิน มองว่า ในกรณีที่ราคาน้ำมันดีเซลในระยะที่เหลือของปีนี้ อยู่ในช่วง 25.0-29.2 บาทต่อลิตร จะมีผลให้ต้นทุนการผลิตของภาคธุรกิจ เพิ่มขึ้นประมาณ 0.55-0.73% และต้นทุนขนส่งเพิ่มขึ้นประมาณ 0.33-0.44% หรือรวมกันธุรกิจจะมีต้นทุนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นราว 1% แต่ท่ามกลางภาวะที่ราคาน้ำมันชนิดอื่นๆ ปรับขึ้นแรงกว่าน้ำมันดีเซลที่ยังมีกลไกการดูแลราคาจากภาครัฐ รวมถึงการที่ต้นทุนอื่นๆ โน้มเพิ่มขึ้นในภาวะที่ยอดขายยังไม่กลับมา ก็ย่อมจะเพิ่มโจทย์การฟื้นตัวให้กับภาคธุรกิจ ขณะที่ ยังต้องติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมันต่อในปีหน้าด้วย

จาก https://www.posttoday.com วันที่ 28 ตุลาคม 2564

มหากาพย์แก้ร่างพ.ร.บ.อ้อย รง.ค้านนิยามใหม่กากอ้อย

ร่างแก้ไข พ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาลทราย 2527 วุ่นหนัก หลังมีการแก้นิยาม”กากอ้อย-กากตะกอนกรอง” จากของเสียในระบบการผลิตน้ำตาลให้กลายเป็น “ผลพลอยได้” ให้ชาวไร่อ้อยนำเข้าระบบแบ่งปันผลประโยชน์ 70/30 โดยฝ่ายโรงงานน้ำตาลค้านสุดตัว พร้อมทำหนังสือถึง “วิษณุ-สุริยะ” การแก้คำนิยามทำระบบแบ่งปันผลประโยชน์ 70:30 ไม่เป็นธรรม ด้านชาวไร่อ้อยเสียงแข็งไม่ถอนคำนิยาม แต่พร้อมเปิดทางเจรจากันกับโรงงานน้ำตาล ขณะที่กระทรวงอุตสาหกรรมเผยเป็นมหากาพย์แก้สัดส่วนแบ่งปันผลประโยชน์คงยากถกไม่จบแน่

นายสิริวุทธิ์  เสียมภักดี รองประธานคณะกรรมบริหาร บริษัท ไทยชูการ์มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) และประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ กล่าวถึงกรณี 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ซึ่งเป็นตัวแทนจากผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลทรายทั้ง 57 โรงงาน มีมติ “คัดค้าน” ร่างแก้ไขมาตรา 4 ใน พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 ที่ต้องการนำ “กากน้ำตาลและกากตะกอนกรอง” เข้าสู่การคำนวณระบบแบ่งปันผลประโยชน์ 70: 30 โดยเพิ่มเติมคำนิยามใหม่ให้รวมกากอ้อย-กากตะกอนกรองเป็น “ผลพลอยได้” จากกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายเข้าไปด้วย

โดยฝ่ายโรงงานน้ำตาลยังคงยืนยันว่ากากอ้อยและกากตะกอนกรองเป็น”ขยะอุตสาหกรรม” ที่ต้องดำเนินการกำจัดของเสียเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งที่ผ่านมาโรงงานน้ำตาลได้นำกากอ้อยไปทำเชื้อเพลิงผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าเพื่อนำมาใช้ในกระบวนการผลิตน้ำตาล แต่มีเพียงบางโรงงานน้ำตาลที่นำกากอ้อย-กากตะกอนกรองไปสร้างมูลค่าเพิ่มโดยเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมดมูลค่าหลายพันล้านบาทเองทั้งหมด ดังนั้นการนำกากอ้อยและกากตะกอนกรองซึ่งเป็นขยะอุตสาหกรรมให้มาเข้าสู่ระบบแบ่งปันผลประโยชน์ 70:30  โดยอ้างว่าเป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตนั้น “ทาง 3 สมาคมเห็นว่าไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบการ” และส่งผลกระทบต่อสัดส่วนการแบ่งปันผลรายได้ที่เคยเห็นพ้องต้องกันของทุกฝ่ายระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาล

ล่าสุด 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทรายได้ยื่นหนังสือถึงนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี และนายสุริยะ  จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมอีกครั้ง เพื่อคัดค้านการแก้ไข พ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาลทรายในการเพิ่มเติมนิยามดังกล่าว ขณะนี้ร่าง พ.ร.บ.กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ  หลังได้ผ่านความเห็นชอบเพิ่มเติมมาตรา 4 ในส่วนคำนิยามผลพลอยได้ให้หมายรวมถึง “กากอ้อย” ไปแล้ว โดยเป็นการเพิ่มชนิดผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้คำนวณรายได้ในระบบแบ่งปันผลประโยชน์ 70:30 และที่สำคัญไม่ได้เปิดโอกาสให้ตัวแทนฝ่ายโรงงานน้ำตาลซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นหรือออกเสียงแม้แต่คนเดียว ดังนั้น ฝ่ายโรงงานน้ำตาลจึงเห็นว่าร่างแก้ไขฉบับดังกล่าวไม่เป็นธรรมและไม่สามารถยอมรับได้

“การเพิ่มเติมกากอ้อยเข้าไปในนิยามของผลพลอยได้นั้น ขัดต่อหลักการของข้อตกลงเดิมที่กำหนดให้โรงงานน้ำตาลเป็นผู้รับผิดชอบบริหารจัดการกากอ้อยถือเป็นของเสียในกระบวนการผลิต โดยโรงงานน้ำตาลได้นำกากอ้อยไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับระบบเศรษฐกิจ โดยเป็นการลงทุนของโรงงานเองทั้งหมด แต่กลับถูกบังคับให้ต้องนำรายได้จากการเพิ่มมูลค่าให้กับกากอัอยเข้าสู่ระบบแบ่งปันผลประโยชน์อีก” นายสิริวุทธิ์กล่าว

ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า กระบวนการในการพิจารณาร่างแก้ไข พ.ร.บ.อ้อยฯ ขณะนี้อยู่ในขั้นของกรรมาธิการที่ให้ใส่คำนิยาม”กากอ้อย” เข้าไปไว้แล้ว แต่โรงงานน้ำตาลก็อาจขอให้ “ทบทวน” เพื่อถอนคำนิยามนี้ออกได้ในขั้นตอนการพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรอีกครั้ง “ก็สามารถทำได้” ซึ่งในระหว่างนี้ทั้งฝ่ายโรงงานน้ำตาลและชาวไร่อ้อยยังคงพยายามหาทางพูดคุยกันอยู่

“เราสามารถปรับสัดส่วนการแบ่งปันผลประโยชน์ 70:30 ก็ทำได้เพื่อแก้ปัญหาตรงนี้ ซึ่งตามกฎหมายในมาตรา 17 (23) เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ในการกำหนดอัตราส่วน แต่เราใช้ 70:30 กันมาโดยตลอด การจะปรับสัดส่วนก็ยาก ปัญหาตอนนี้คือ  โรงงานน้ำตาลใส่เรื่องกากอ้อยก็ไม่ได้ ชาวไร่เปลี่ยน 70:30 ก็ไม่ยอมอีก ดังนั้น การแก้กฎหมายอ้อยฯคงเป็นมหากาพย์ต่อไป” แหล่งข่าวกล่าว

สำหรับระยะเวลาของการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.อ้อยฯนั้นได้เริ่มเข้าสภาวาระ 1 รับหลักการเมื่อวันที่ 23 ธ.ค.2563 และคณะกรรมาธิการเริ่มประชุมกรรมาธิการครั้งแรกเมื่อ 20 ม.ค.2564 แต่ช่วงเดือน เม.ย.-ส.ค.ไม่มีการประชุมเนื่องจากผลกระทบจาการระบาดของโควิท–19  เพราะการประชุมกรรมาธิการจำเป็นต้องประชุมแบบเผชิญหน้า ห้ามประชุมผ่านระบบออนไลน์จึงทำให้การพิจารณายึดเยื้อออกไปอีก

ด้านนายนราธิป  อนันตสุข หัวหน้าสำนักงานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย และหัวหน้าสำนักงานสมาคมชาวไร่อ้อย เขต 7 กล่าวในประเด็นกากอ้อยว่า ได้มีการหารือกับฝ่ายโรงงานน้ำตาลมาแล้ว 1 ครั้ง แต่ไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้ เนื่องจากกรรมาธิการได้ใส่คำนิยามของคำว่า “กากอ้อย” ไปแล้ว ซึ่งมันเป็นการผ่านความเห็นชอบจากทุกฝ่าย

ดังนั้น จุดตรกลางที่จะทำให้ทั้ง 2 พอใจที่สุดจึงเป็นเรื่องที่ต่างฝ่ายต่างมีระบบของตัวเอง ยกตัวอย่าง ชาวไร่อ้อยต้องการแค่ว่า “ผลพลอยได้คือรวมทั้งหมดที่ได้จากอ้อย” จะใช้วิธีบวกราคาเพิ่มให้ต่อตันอ้อยจากสิ่งที่เรียกว่า “ผลพลอยได้เท่าไรก็ต้องระบุให้ชัดเจน” ดังนั้นแล้วทั้ง 2 ฝ่ายยังจำเป็นต้องเจรจากันต่อไปจนถึงที่สุดและสุดท้ายก็จะอยู่ที่กรรมาธิการพิจารณา

จาก https://www.prachachat.net  วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2564

เศรษฐกิจใครทรุดแรงหากเงินเฟ้อพุ่ง

เงินเฟ้อไม่น่ากลัวอย่างที่คิด แต่ให้ระวังมาตรการตั้งรับเงินเฟ้อ

ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า จากกระแสความกังวลถึงความเสี่ยงสำคัญปี 2565 ว่าเศรษฐกิจโลกจะเข้าสู่สภาวะ Stagflation หรือ เศรษฐกิจชะลอตัวแรง ที่มักตามมาด้วยปัญหาคนว่างงาน พร้อมกับเผชิญปัญหาเงินเฟ้อเร่งตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว เรามองว่า จากสถานการณ์ปัจจุบัน ราคาน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นจากความต้องการน้ำมันเร่งตัวเร็ว สวนทางกับกำลังการผลิตน้ำมันเติบโตช้า ความต้องการน้ำมันเพิ่มสูงขึ้นตามความแข็งแกร่งของเศรษฐกิจสหรัฐ และประเทศพัฒนาแล้วอื่นๆ ที่ฟื้นตัวรวดเร็วจากมาตรการกระตุ้นการเงินและการคลังมหาศาล แต่กำลังการผลิตน้ำมันวิ่งตามไม่ทัน เพราะธุรกิจสำรวจและขุดเจาะน้ำมันหลายแห่งล้มเลิกกิจการไปช่วงที่ราคาน้ำมันลดลงต่ำในปีก่อน แม้ราคาน้ำมันขยับสูงขึ้น แต่การลงทุนยังต่ำ ขณะที่กลุ่มโอเปกเพิ่มกำลังการผลิตอีก 4 แสนบาร์เรลต่อวันก็ยังตามไม่ทันอุปสงค์น้ำมันที่โตเร็วกว่า คาดว่าสถานการณ์จะลากยาวถึงไตรมาสแรกปีหน้า หลังจากนั้น ราคาน้ำมันจะเริ่มลดลงและกลับมามีเสถียรภาพอีกครั้ง กรณีฐานเช่นนี้ อัตราเงินเฟ้อของไทยในไตรมาสสี่ปี 2564 น่าจะอยู่ที่ราว 1.5% จากปีก่อน และน่าจะขยับขึ้นไปที่เฉลี่ยราว 1.7% ในปี 2565 ภายใต้สมมติฐานราคาน้ำมันดิบเบรนท์เฉลี่ยที่ 83 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลในไตรมาสสี่ปีนี้ และ 66 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลในปีหน้า

อย่างไรก็ดี มีความเป็นไปได้ที่อัตราเงินเฟ้อจะสูงกว่า 2% ในไตรมาสสามปี 2565 จากฐานที่ต่ำปี 2564 แต่อัตราเงินเฟ้อที่สูงขึ้นชั่วคราวตามราคาน้ำมัน ไม่น่าเป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ เศรษฐกิจไทยช่วงไตรมาสสี่ปี 2564 น่าจะฟื้นตัวจากไตรมาสสามได้ราว 1.4% (QoQ) แม้จะหดตัวเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันปีก่อนราว 0.9% (YoY) จากการบริโภคที่อ่อนแอ คนขาดกำลังซื้อ นักลงทุนและผู้บริโภคขาดความเชื่อมั่นจากจำนวนผู้ติดเชื้อรายวันที่ยังสูงแม้จะเปิดเมืองแล้วก็ตาม เนื่องจากจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติยังไม่มาก เราคงหวังมาตรการทางการคลังในการกระตุ้นการบริโภคและประคองค่าครองชีพของประชาชนที่มีรายได้น้อย เพื่อบรรเทาปัญหาเศรษฐกิจชะลอตัวในช่วงที่เงินเฟ้อขยับขึ้น แต่ในภาวะเช่นนี้ เศรษฐกิจไทยยังห่างไกลจากภาวะ stagflation โดยเรายังมองว่าเศรษฐกิจไทยมีโอกาสขยายตัวได้ราว 3.2% ในปีหน้า ยกเว้นมีปัจจัยเสี่ยงเพิ่มเติมที่ทำเงินเฟ้อเร่งขึ้น เราจะมาประเมินว่า ผลกระทบต่อภาคส่วนเศรษฐกิจต่างๆ จะมีมากน้อยเพียงไร และประเทศไทยจะได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจเช่นไรเทียบกับประเทศอื่น

จาก https://www.posttoday.com   วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2564

“พาณิชย์” ปลื้มส่งออก ก.ย.พุ่ง 17.1% คาดทั้งปีทะลุเป้าโตเกิน 10%

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยถึงสถิติการค้าระหว่างประเทศของไทย เดือน ก.ย.64 ว่าการส่งออก มีมูลค่า 23,036 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 17.1% เทียบเดือน ก.ย.63 หากคิดเป็นเงินบาทมีมูลค่า 760,556 ล้านบาท เพิ่ม 24.4% การนำเข้ามีมูลค่า 22,426.2 ล้านเหรียญฯ เพิ่ม 30.3% คิดเป็นเงินบาท 750,267 ล้านบาท เพิ่ม 38.4% ดุลการค้าเกินดุล 609.8 ล้านเหรียญฯ หรือ 10,289.3 ล้านบาท ขณะที่ช่วง 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.) ปี 64 การส่งออก 199,997.7 ล้านเหรียญฯ เพิ่ม 15.5% จากช่วงเดียวกันของปี 63 คิดเป็นเงินบาท 6.202 ล้านล้านบาท เพิ่ม 15% ส่วนการนำเข้า 197,980.9 ล้านเหรียญฯ เพิ่ม 30.9% คิดเป็นเงินบาท 6.226 ล้านล้านบาท เพิ่ม 30.5% ดุลการค้าเกินดุล 2,016.8 ล้านเหรียญฯ แต่คิดเป็นเงินบาทขาดดุล 24,620.7 ล้านบาท

“ปัจจัยที่ทำให้ส่งออกเดือน ก.ย.64 เพิ่มขึ้น 17.1% แม้มีสถานการณ์โควิด-19 กระทบต่อภาคการผลิต และโลจิสติกส์ในช่วงล็อกดาวน์ เป็นเพราะแผนส่งเสริมการส่งออกในช่วงครึ่งปีหลังที่มี 130 กิจกรรมทำได้บรรลุผล โดยกระทรวงพาณิชย์ภาคเอกชน และส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทำงานร่วมกันเปิดตลาดใหม่ เช่น ตะวันออกกลาง แอฟริกา ละตินอเมริกา รวมทั้งเร่งแก้ปัญหาส่งออก เช่น ขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ การส่งออกผ่านด่านไปเวียดนามและจีน การเร่งรัดเปิดด่านการค้าชายแดน ขณะที่การค้าโลกดีขึ้นส่งผลให้มีความต้องการสินค้าเพิ่มขึ้น ค่าเงินบาทอ่อนค่าส่งผลให้สินค้าไทยแข่งขันได้ดีขึ้น ราคาน้ำมันแม้เพิ่มขึ้นทำให้ต้นทุนนำเข้าเพิ่มขึ้น แต่ทำให้ราคาสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมันเพิ่มขึ้น ที่สำคัญเอกชนไทยเข้มแข็ง การผลิตฟื้นตัวเร็วแม้มีปัญหาล็อกดาวน์ และแรงงานติดเชื้อโควิด-19

ด้านนายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนายการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวว่า การส่งออกไทยเดือน ก.ย.64 กลับมาอยู่ที่เหนือระดับ 23,000 ล้านเหรียญฯเป็นครั้งที่ 3 ในรอบปีนี้ หลังจากเดือน มี.ค.64 และเดือน มิ.ย. 64 ส่วนในช่วง 3 เดือนที่เหลือของปีนี้ การส่งออกมีแนวโน้มขยายตัวดีต่อเนื่อง เพราะความต้องการซื้อจากต่างประเทศยังมีทิศทางฟื้นตัวดีตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยคาดว่ามูลค่าส่งออกทั้งปี 64 จะขยายตัวเป็นตัวเลข 2 หลัก หรือเกิน 10% มากกว่าเป้าหมายของกระทรวงพาณิชย์ที่ตั้งไว้ 4% แน่นอน.

จาก https://www.thairath.co.th  วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ลดโตเศรษฐกิจปีนี้เหลือ 0.6% ผลสำรวจนักวิเคราะห์ฟันธงไทยฟื้นตัวปี 65

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เผยแพร่ Business Intelligence : ผลการสำรวจความเห็นนักวิเคราะห์ต่อเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 โดยผลสำรวจนักวิเคราะห์ในรอบนี้ พบว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยปีนี้ยังไม่ฟื้นตัวชัดเจน โดยความคิดเห็นส่วนใหญ่นักวิเคราะห์ได้ปรับลดคาดการณ์การฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ลงเหลือขยายตัว 0.6% จากระยะเดียวกันของปีก่อน ลดลงจากที่เคยประเมินว่าจะขยายตัว 1.3% ในการสำรวจครั้งก่อน ขณะที่ประเมินว่าเศรษฐกิจปี 65 จะขยายตัว 3.5% เพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์การขยายตัวที่ 3.0% ในครั้งก่อน โดยประมาณการอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในปีนี้ที่ 1% ขยับขึ้นเป็น 1.5% ในปี 65 และคณะกรรมการนโยบายการเงินจะคงดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 0.5% ทั้งในปีนี้ และตลอดทั้งปีหน้า

ทั้งนี้ นักวิเคราะห์ ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ปีนี้มีแนวโน้มฟื้นตัว สะท้อนจากการคาดการณ์ว่าทุกเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจจะขยายตัวเพิ่มขึ้น จากแรงสนับสนุนทั้งนโยบายด้านการคลังและการเงิน รวมถึงการฉีดวัคซีนที่คืบหน้าไปมากและการทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมการระบาดของโควิด-19 ส่งผลให้กำลังซื้อในประเทศเริ่มฟื้นตัว โดยภาคการผลิตมีแนวโน้มฟื้นตัวตามการส่งออกที่มีแนวโน้มขยายตัวตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า อย่างไรก็ตาม การขาดแคลนชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ค่าระวางเรือและราคาพลังงานที่อยู่ในระดับสูง รวมถึงปัญหาหนี้ครัวเรือน ความไม่แน่นอนทางการเมือง ยังคงกดดันให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังมีความไม่แน่นอนสูง

อย่างไรก็ตาม หากมองภาพในอนาคต นักวิเคราะห์คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะกลับสู่ภาวะปกติเร็วขึ้นเมื่อเทียบกับการสำรวจครั้งก่อน โดยนักวิเคราะห์ที่มองว่าเศรษฐกิจจะกลับเป็นปกติภายในปี 65 มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่เห็นว่าประชาชนจะกลับมาใช้ชีวิตปกติได้ช้ากว่าการประเมินในรอบเดือน ก.ค.ที่เป็นช่วงก่อนการระบาดรุนแรง ส่วนหนึ่งเพราะกังวลว่า การระบาดอาจกลับมารุนแรงขึ้นอีกหลังจากเริ่มผ่อนคลายล็อกดาวน์ โดยจำนวนผู้ได้รับวัคซีน 2 เข็มเกิน 70% ของประชากร เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อการกลับมาใช้ชีวิตปกติของประชาชน.

จาก https://www.thairath.co.th  วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ชงเสนอครม. เปิดเจรจา  FTA อาเซียน-แคนาดา พ.ย.นี้

 “พาณิชย์” เผยผลศึกษาการจัดทำ FTA อาเซียน-แคนาดา เตรียมเสนอ ครม. ให้ไทยร่วมประกาศเปิดการเจรจาพร้อมสมาชิกอาเซียน พ.ย. นี้ ชี้ไทยจะได้ประโยชน์จากความตกลงทั้งด้านสินค้า บริการและการลงทุนเพิ่มขึ้น ยันเดินหน้าเตรียมความพร้อมทุกภาคส่วนปรับตัวและใช้ประโยชน์จาก FTA   

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (DTN) เปิดเผยว่า รัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-แคนาดา เตรียมจัดประชุมพิจารณาเรื่องการเปิดการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (FTA) อาเซียน-แคนาดา ในเดือนพฤศจิกายนนี้ โดยบรูไนฯ ได้ผลักดันให้เป็นผลลัพธ์ด้านเศรษฐกิจที่สำคัญของอาเซียนในปีนี้ด้วย ซึ่งกรมฯ ได้เตรียมการในส่วนที่เกี่ยวข้องมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการหารือและรับฟังความเห็นภาคส่วนต่าง ๆ รวมถึงมอบหน่วยงานวิจัยศึกษาประโยชน์และผลกระทบของการจัดทำ FTA อาเซียน-แคนาดา ซึ่งได้เผยแพร่ผลการศึกษาบนเว็บไซต์กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ “www.dtn.go.th” แล้ว

จากผลการศึกษาพบว่า หากอาเซียนและแคนาดามีการลดภาษีศุลกากรทุกรายการสินค้าที่ร้อยละ 50 - 100 จะส่งผลให้ GDP ของไทยเพิ่มขึ้น 249 - 388 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การลงทุนจะเพิ่มขึ้น 1,134 - 2,412 ล้านดอลลาร์สหรัฐ การส่งออกของไทยไปแคนาดาจะเพิ่มขึ้น 244 - 513 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และการนำเข้าจากแคนาดาจะเพิ่มขึ้น 233 - 495 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

โดยสินค้าที่คาดว่าไทยจะส่งออกไปแคนาดาเพิ่มขึ้น เช่น ผักและผลไม้แปรรูป ผลิตภัณฑ์ปรุงรส ผลิตภัณฑ์ยาง เครื่องใช้ไฟฟ้า และยานยนต์และชิ้นส่วน เป็นต้น ส่วนสินค้าที่คาดว่าจะนำเข้าจากแคนาดาเพิ่มขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ธัญพืช ไม้แปรรูป เครื่องยนต์ เครื่องทำน้ำร้อน และยานยนต์และชิ้นส่วน เป็นต้น สำหรับบริการที่คาดว่าไทยจะส่งออกหรือลงทุนในแคนาดาเพิ่มขึ้น เช่น การท่องเที่ยว บริการด้านธุรกิจ การก่อสร้าง การเงิน และโลจิสติกส์ เป็นต้น ส่วนสาขาบริการที่คาดว่าแคนาดาจะเข้ามาลงทุนมากขึ้น เช่น บริการด้านธุรกิจ การท่องเที่ยว การเงิน โทรคมนาคม และบริการด้านคอมพิวเตอร์และข้อมูล เป็นต้น

“ประโยชน์และผลกระทบจากการศึกษาตั้งอยู่บนสมมติฐานในเชิงวิชาการ ซึ่งในทางปฏิบัติ กรมฯ ได้หารือกับภาคส่วนต่าง ๆ อย่างใกล้ชิด เพื่อให้การเจรจามีความรอบคอบและเกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศ รวมทั้งพิจารณาถึงแนวทางรองรับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น เนื่องจากการจัดทำ FTA กับแคนาดา อาจมีประเด็นการเจรจาใหม่ ๆ ที่มีความท้าทาย แต่การเจรจากับแคนาดาพร้อมกับอาเซียนจะช่วยให้ไทยมีแนวร่วมกับสมาชิกอาเซียนที่ใกล้เคียงกับไทย ปัจจุบัน กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมฯ อยู่ระหว่างเตรียมการเสนอเรื่องการเข้าร่วมเจรจาจัดทำ FTA อาเซียน-แคนาดา ต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อให้ไทยสามารถร่วมประกาศเปิดการเจรจาพร้อมกับสมาชิกอาเซียนและแคนาดาได้ ในเดือนพฤศจิกายนนี้”

ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือน (ม.ค.-ส.ค.) ของปี 2564 การค้าระหว่างอาเซียนกับแคนาดา มีมูลค่า 16,218 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้น 29%) โดยอาเซียนส่งออกไปแคนาดา มูลค่า 12,391 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้น 33%) และอาเซียนนำเข้าจากแคนาดา มูลค่า 3,827 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้น 17.6%) สำหรับการค้าระหว่างไทยกับแคนาดา มีมูลค่า 1,774 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้น 19.1%) โดยไทยส่งออกไปแคนาดา มูลค่า 1,186 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้น 20.8%) และไทยนำเข้าจากแคนาดา มูลค่า 588 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (เพิ่มขึ้น 15.8%) สินค้าส่งออกสำคัญ เช่น อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ข้าว ผลิตภัณฑ์ยาง คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เตาอบไมโครเวฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน เป็นต้น และสินค้านำเข้าสำคัญ เช่น ธัญพืช เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ ปุ๋ยและยากำจัดศัตรูพืชและสัตว์ เยื่อกระดาษและเศษกระดาษ เคมีภัณฑ์ เป็นต้น

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564

เปิดแผนเกษตรอัจฉริยะ ปี’65-66มุ่งประสิทธิภาพการผลิต

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังมอบนโยบายและเปิดตัวแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ

ปี 2565-2566 ว่า จากนโยบาย Thailand 4.0 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ของรัฐบาล จึงมีนโยบายการขับเคลื่อนงานด้านเกษตรอัจฉริยะ มุ่งหวังยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร ปรับรูปแบบการเกษตรให้มุ่งสู่เกษตร 4.0 โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาสู่การเกษตรอัจฉริยะ เน้นใช้ทรัพยากรการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด สำหรับแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะที่จัดทำขึ้นนี้ จะช่วยกำหนดทิศทางการเกษตรอัจฉริยะและเป็นการวางรากฐานการเกษตรอัจฉริยะของประเทศอย่างเป็นระบบ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สามารถนำกรอบข้อเสนอโครงการที่จัดทำไว้ไปปรับใช้ขับเคลื่อนการเกษตรอัจฉริยะของประเทศ

นอกจากนี้ ยังเร่งพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน ทั้งส่วนกลางและภูมิภาคให้มีความพร้อมทั้งด้านวิจัยและพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ รวมถึงการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่รัฐและเกษตรกร สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และช่วยเป็นครูผู้ฝึกหรือเทรนเนอร์ ให้แก่เกษตรกร โดยมุ่งเน้นทั้ง Smart Farmer และ Young Smart Farmer ตลอดจนผู้นำเกษตรกรของ ศพก. และแปลงใหญ่ มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาแปลงใหญ่เกษตรอัจฉริยะให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมในทุกจังหวัด และให้เข้าถึงทุกอำเภอ ภายใน 3 ปี เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติด้านการเกษตรต่อไป

ด้านนายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารมว.เกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 กล่าวว่า ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรของประเทศด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ขึ้นมีองค์ประกอบอนุกรรมการ 4 ด้าน ประกอบด้วย 1.คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนBig Data และ Gov Tech 2.คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ 3.คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน E-commerce และ 4.คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยอาศัยเทคโนโลยี นวัตกรรม และการตลาด เข้ามาช่วยขับเคลื่อนดำเนินการมุ่งสู่เกษตร 4.0

ขณะที่ ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ ได้สานต่อการทำงานด้านเกษตรอัจฉริยะ เช่น การขับเคลื่อนการจัดทำแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ การพัฒนา IoTs Platform การรวบรวม Innovationlist ด้านเทคโนโลยี/องค์ความรู้ จากศูนย์ AIC 76 แห่งทั่วประเทศ เพื่อจัดทำ Innovation Catalog และหนึ่งในภารกิจสำคัญ คือการจัดทำแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ ปี 2565-2566 โดยร่วมกับหน่วยงานภายนอก จัดทำแผนปฏิบัติการและร่วมจัดทำกรอบข้อเสนอ 63 โครงการ ภายใต้ 18 แผนงาน และ 6 ยุทธศาสตร์ ผลักดันให้เกิดผลเป็นรูปธรรมมีการติดตามขับเคลื่อนการดำเนินการผ่านคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญและการแก้ไขปัญหาภาคการเกษตร

จาก https://www.naewna.com วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564

แอปพลิเคชัน “ฟ้าฝน” ตัวช่วยเกษตรกร

จากสถานการณ์ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกร เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาเกษตรอัจฉริยะของประเทศ สำนักงาน ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (ดีป้า) ร่วมกับ บริษัท ซีพีเอส เวเธอร์ จำกัด และ บริษัท ซีพีเอส อะกริ จำกัด เปิดตัวแอปพลิเคชัน “ฟ้าฝน” ภายใต้โครงการ “CPS AGRI : ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อเกษตรอัจฉริยะของประเทศไทย” ผ่านมาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (depa Digital Infrastructure Fund for Private Investment)

เป็นแอปพลิเคชันบนมือถือที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถทราบถึงสภาพอากาศแบบรายชั่วโมง หรือล่วงหน้า 7 วัน โดยดูการเคลื่อนไหวของสภาพอากาศผ่านดาวเทียมที่มีความละเอียดและแม่นยำ รวมถึงสามารถตั้งค่าเพื่อรับการแจ้งเตือนพายุ ฝน ลม และการเปลี่ยนแปลงฉับพลันของอุณหภูมิได้แบบรายแปลง รายพิกัด

นอกจากนี้ แอปพลิเคชัน “ฟ้าฝน” ยังรองรับการสร้างเครือข่าย ชุมชนเกษตรกร พร้อมมีเครื่องมือช่วยเหลือสำหรับการบริหารจัดการ พื้นที่แปลงเพาะปลูก ได้แก่ การรังวัดเพื่อหาพิกัด ความยาว และพื้นที่ การคำนวณปริมาตรดิน สำหรับขุดบ่อและถมดิน ตลอดจนการหาขอบเขตพื้นที่ภายในระยะรัศมีที่ต้องการ

นอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมแล้ว ยังเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนในการใช้ชีวิตประจำวัน ด้านการเดินทาง ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ การท่องเที่ยว การออกกำลังกาย การวางแผนทำกิจกรรมกลางแจ้งอีกด้วย

คาดว่าภายในระยะเวลา 3 ปี จะมีเกษตรกรและประชาชนทั่วไปเข้าใช้บริการมากกว่า 10 ล้านคน ช่วยลดต้นทุนให้เกษตรกรและสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศมากกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน “ฟ้าฝน” ได้แล้วทั้งระบบ Android และ iOS.

จาก https://www.thairath.co.th  วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2564

“นายกฯ” สั่ง “พณ.-เกษตรฯ-พลังงาน” แก้ปัญหาปุ๋ยแพงเร่งด่วน

“นายกฯ” สั่ง “พณ.-เกษตรฯ-พลังงาน” แก้ปัญหาปุ๋ยแพงเร่งด่วน ผลักดันเกษตรบีซีจี ช่วยเหลือเกษตรกรเดือดร้อน หนุนอุตสาหกรรมอีสปอร์ต

วันนี้ (25 ต.ค.) เมื่อเวลา 14.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม สั่งการแก้ปัญหาปุ๋ยราคาแพงอย่างเร่งด่วน เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร ซึ่งปัจจุบันปุ๋ยมีราคาสูงมากตั้งแต่ต้นปี เนื่องจากมีปัจจัยหลายอย่างไม่ว่าจะเป็นในเรื่องราคาน้ำมัน ค่าขนส่ง ค่าระวางเรือ รวมทั้งการการที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ 100% ฉะนั้น นายกรัฐมนตรีจึงมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพลังงานไปพิจารณาแนวทางในการแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรรวมถึงชี้แจงทำความเข้าใจกับเกษตรกรว่ารัฐบาลกำลังเร่งดำเนินการแก้ไขอยู่

นายธนกร กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ ปัญหาราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ นายกรัฐมนตรีห่วงใยเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อนจากผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ จากสถานการณ์น้ำท่วม ราคาน้ำมันโลกที่สูงขึ้น โดยมอบหมายกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งหารือช่วยเหลือเกษตรกรโดยเร่งด่วน โดยเฉพาะในวันเดียวกันนี้ ครม.มีการพิจารณากรอบวงเงิน 27,000 ล้านบาท เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรใน 3 โครงการ ไม่ว่าจะเป็นโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว

นายธนกร กล่าวอีกว่า นายกรัฐมนตรียังได้สั่งการให้มีการผลักดันเกษตรเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (บีซีจี) และการแปรรูปอาหาร โดยนายกรัฐมนตรีได้เน้นให้เศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (บีซีจี) และการแปรรูปอาหารโดยมีเป้าหมายเพื่อยกระดับสินค้าเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมถือเป็นโครงการแซนด์บ็อกซ์ทางด้านเกษตรของนายกรัฐมนตรี เพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมอย่างเร่งด่วน เพื่อช่วยเหลือประชาชนที่เดือดร้อน ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรียังได้สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงมหาดไทยประสานงานกับคณะกรรมการขับเคลื่อนกลุ่มจังหวัด เพื่อกำหนดเป็นแผนงานโครงการให้ชัดเจน เพื่อส่งเสริมการแปรรูปเกษตรของไทยให้มีสัดส่วนในตลาดโลกที่สูงขึ้นทั้งปริมาณและมูลค่า

นายธนกร ยังกล่าวด้วยว่า อย่างไรก็ตาม นายกรัฐมนตรียังสั่งการให้มีการส่งเสริมอุตสาหกรรมอีสปอร์ต โดยมอบหมายให้กระทรวงดิจิทัลเศรษฐกิจและสังคม (ดีอีเอส) ของไทยเป็นสถานที่แข่งขันกีฬาอีสปอร์ตระดับโลก เพราะถือว่าอีสปอร์ตเป็นส่วนหนึ่งของซอฟต์เพาเวอร์ของไทย ซึ่งเป็นนโยบายของนายกรัฐมนตรี

จาก https://mgronline.com  วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ชาวไร่ลุ้นอ้อยทะลุพันบาทต่อตัน อานิสงส์ราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดโลกขาขึ้น

นายนราธิป อนันตสุข หัวหน้าสำนักงานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย และหัวหน้าสำนักงานสมาคมชาวไร่อ้อย เขต 7 เปิดเผยว่า ราคาน้ำตาลทรายดิบตลาดโลกมีแนวโน้มอยู่ในช่วงขาขึ้นเห็นได้ จากราคาน้ำตาลส่งมอบล่วงหน้าเดือนมีนาคม 2566 อยู่ที่ 18.35 เซนต์ต่อปอนด์ และในช่วงปี 2564 ราคาก็สูงขึ้นต่อเนื่อง เนื่องจากบราซิลผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาลทรายรายใหญ่สุดของโลกประสบปัญหาภาวะภัยแล้งทำให้หลายฝ่ายมองว่าผลผลิตจะลดต่ำลงจึงทำให้ราคาตลาดโลกปรับขึ้น ประกอบกับขณะนี้ราคาน้ำมันตลาดโลกสูงขึ้นอาจทำให้บราซิลนำน้ำตาลปรับไปผลิตเอทานอลแทน จะทำให้ราคาน้ำตาลทรายสูงขึ้นไปอีก และการที่ค่าเงินบาทอ่อนค่าจะส่งผลดีต่อการส่งออกน้ำตาล

จากระดับราคาดังกล่าว คาดว่า จะส่งผลให้แนวโน้มราคาอ้อยขั้นต้น ฤดูกาลผลิตปี’64/65 ราคาเกินระดับ 1,000 บาทต่อตัน สอดรับกับที่โรงงานน้ำตาลทราย ประกาศราคารับซื้ออ้อยสดเข้าหีบฤดูกาลผลิต ที่ราคาขั้นต่ำ 1,000 บาทต่อตัน ถือเป็นการพ้นช่วงต่ำสุดมาแล้ว ซึ่งขณะนี้ต้องรอติดตามผลการประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) คาดว่า จะประกาศราคาอ้อยขั้นสุดท้ายฤดูการผลิตปี’63/64 และจะประกาศราคาอ้อยขั้นต้นฤดูกาลผลิตปี’ 64/65 ก่อนที่จะเปิดหีบฤดูกาลผลิตใหม่ในเดือนธันวาคมนี้

“เชื่อว่าการเปิดหีบอ้อยฤดูกาลปี 64/65 ภาพรวมปริมาณผลผลิตอยู่ที่ประมาณ 85-90 ล้านตัน สูงกว่าฤดูกาลผลิตปี 63/64 ทางโรงงานและชาวไร่มีความพร้อมแล้ว จากก่อนหน้านี้มีผลกระทบเล็กน้อย จากปัญหาขาดแคลนแรงงานในภาคตะวันออก ที่ส่วนใหญ่ใช้แรงงานจากกัมพูชา และล่าสุดจากนโยบายรัฐบาลที่สนับสนุนปัจจัยการเพิ่มผลผลิตต่างๆ เชื่อว่า ทำให้สถานการณ์หลายๆ อย่างเริ่มดีขึ้น”นายนราธิปกล่าว

ส่วนกรณีสมาคมโรงงานน้ำตาลทรายมีมติคัดค้านร่างแก้ไขพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ที่ต้องการนำกากอ้อยและกากตะกอนกรองเข้าสู่การคำนวณระบบแบ่งปันผลประโยชน์ 70 : 30 โดยเพิ่มเติมคำนิยามให้รวมกากอ้อย กากตะกอนกรอง เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาล และมีความเห็นว่ากากอ้อยเป็นกากขยะอุตสาหกรรมไม่ใช่ผลพลอยได้จากการผลิตเป็นการปิดกั้นโอกาสพัฒนาอุตสาหกรรมนำของเสียกากอ้อยและกากตะกอนกรองในอุตสาหกรรมไปสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในอนาคตนั้น ประเด็นนี้ทางชาวไร่อ้อยยืนยันหลักการตามร่างพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย (ฉบับที่..) พ.ศ. .... ที่เสนอโดยภาคประชาชนและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ที่ให้นำกากอ้อย กากตะกอนกรอง เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาล

จาก https://www.naewna.com วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564

อ้อยระวังหนอนกอลายจุดใหญ่

ฤดูกาลเข้าสู่ระยะปลายฝนต้นหนาว สภาพอากาศยังมีความชื้นสูง กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรเฝ้าระวัง หนอนกอลายจุดใหญ่ เข้าทำลายอ้อยในระยะย่างปล้องจนถึงระยะเป็นลำของต้นอ้อย

เริ่มแรกจะมีผีเสื้อกลางคืนสีน้ำตาลเข้ม ลำตัวยาว 14.53-18.24 ซม. จะบินมาวางไข่คล้ายเกล็ดปลาเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 27-370 ฟอง ประมาณ 9 วัน ตัวหนอนจะฟักออกจากไข่ เดินเรียงแถวเจาะยอดอ้อยที่ห่างจากที่วางไข่ประมาณ 1 ปล้องอ้อย

เจาะรูเข้าไปเพียงรูเดียว แต่เข้าไปกัดทำลายในลำต้นอ้อยหลายร้อยตัวทำให้ต้นอ้อยเสียหาย หากเป็นอ้อยพันธุ์ที่อ่อนแอ ตัวหนอนจะเจาะไปถึงโคนต้นและกัดกินเนื้ออ้อยจนหมด ทำให้ลำต้นเป็นโพรงเหลือแต่เปลือก ส่งผลให้ต้นอ้อยสูญเสียน้ำหนักและความหวาน

การป้องกันควรใช้แบบผสมผสาน ใช้วิธีกล ใช้ศัตรูธรรมชาติกำจัดศัตรูพืช และใช้สารเคมี

วิธีกล ให้เกษตรกรหมั่นสำรวจตรวจแปลงปลูกอ้อยอย่างสม่ำเสมอ หากพบการเข้าทำลายของหนอนกอลายจุดใหญ่ที่ลำต้นอ้อย ให้ตัดออกมาทำลายทิ้งนอกแปลงปลูกและทำลายตัวหนอนที่อยู่ในลำต้นอ้อย

การใช้ศัตรูธรรมชาติกำจัดศัตรูพืช ถ้าพบการเข้าทำลายลำต้นอ้อยของหนอนกอลายจุดใหญ่น้อยกว่า 20% ให้เกษตรกรปล่อยแตนเบียนหนอนทุกสัปดาห์ อัตราไร่ละ 100-500 ตัว...กรณีพบไข่ 0.5-1.0 กลุ่มต่อต้น ให้เกษตรกรปล่อยแตนเบียนไข่ อัตรา 12,000-20,000 ตัวต่อไร่

ส่วนการใช้สารเคมี หากพบไข่ของหนอนกอลายจุดใหญ่ 0.5-1.0 กลุ่มต่อต้น ให้ฉีดพ่นด้วย ปิโตรเลียมสเปรย์ออยล์ อัตรา 100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร...สำหรับในแปลงอ้อยที่พบหนอนเริ่มเป็นตัวเต็มวัยประมาณ 50% สังเกตได้จากการผ่าลำต้นอ้อยและดูคราบดักแด้ ให้ฉีดพ่นด้วยสารฆ่าแมลง เดลทาเมทริน 3% อีซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร

ฉีดพ่นในช่วงเย็นด้วยเครื่องพ่นแรงดันน้ำสูง หลังจากนั้น 5-7 วัน ให้เกษตรกรปล่อยแตนเบียนไข่ตามอีกครั้ง.

จาก https://www.thairath.co.th  วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564

กลุ่ม KTIS ยันน้ำมากไม่กระทบอ้อย คาดได้มากกว่าปีก่อน 20-25%

กลุ่มเกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนลฯ มั่นใจปัญหาน้ำมากไม่กระทบต่อพื้นที่ปลูกอ้อยของชาวไร่อ้อยคู่สัญญา เพราะเป็นภาวะน้ำท่วมแบบเฉียบพลัน ไม่ได้ขังนาน แถมยังส่งผลเชิงบวก ช่วยให้มีน้ำเพียงพอสำหรับการปลูกอ้อยในฤดูกาลผลิตถัดไป ยืนยันผลผลิตอ้อยฤดูกาลผลิตปี 64/65 สูงกว่าปีก่อน 20-25%

นายณัฎฐปัญญ์ ศิริวิริยะกุล รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือกลุ่ม KTIS ผู้นำในอุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมต่อเนื่องครบวงจร เปิดเผยว่า จากการประเมินผลกระทบจากปัญหาน้ำมากที่มีต่อพื้นที่ปลูกอ้อยของชาวไร่อ้อยคู่สัญญาของกลุ่ม KTIS ซึ่งอยู่ในแถบภาคกลางและภาคเหนือตอนล่างแล้วเห็นว่า น่าจะมีผลเชิงบวกมากกว่าเชิงลบ เนื่องจากน้ำมากจนถึงน้ำท่วมในปีนี้เป็นภาวะน้ำท่วมแบบเฉียบพลัน ไม่ได้ท่วมขังนาน และธรรมชาติของอ้อยนั้นเป็นพืชที่ทนน้ำได้ดี ดังนั้น จึงไม่ได้กังวลกับพื้นที่ปลูกอ้อยที่ประสบปัญหาน้ำมากเพียงชั่วคราว แต่กลับรู้สึกดีกับพื้นที่ปลูกอ้อยที่อยู่ระดับสูงที่จะได้รับน้ำมากเพียงพอที่จะทำให้อ้อยเจริญเติบโตได้เต็มที่ และเมื่อนำไปทำน้ำตาลและผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องอื่นๆ จะได้ผลผลิตที่ดีด้วย

“เรามองว่าปริมาณฝนที่มีมากในปีนี้จะส่งผลเชิงบวกกับกลุ่ม KTIS และยังยืนยันว่าจะได้ผลผลิตอ้อยที่เข้าหีบในฤดูกาลผลิตปี 2564/2565 เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 20-25% ซึ่งจะส่งผลดีต่อทุกสายธุรกิจทั้งสายน้ำตาลและธุรกิจชีวภาพ ได้แก่ เอทานอล ไฟฟ้า และเยื่อกระดาษจากชานอ้อย ซึ่งจะมีวัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิตมากขึ้น” นายณัฎฐปัญญ์กล่าว และเสริมด้วยว่า ปริมาณน้ำฝนที่มากช่วยให้แหล่งน้ำที่ชาวไร่ได้สร้างไว้ รวมทั้งแหล่งน้ำธรรมชาติมีปริมาณน้ำเพียงพอและพร้อมที่จะปลูกอ้อยในฤดูกาลผลิตต่อไปด้วย

ทั้งนี้ หากมีผลผลิตอ้อยในปริมาณที่มากขึ้น รายได้จากการจำหน่ายน้ำตาลและอุตสาหกรรมต่อเนื่องจะดีขึ้นทั้งหมด เพราะจะมีโมลาสที่นำไปผลิตเอทานอลมากขึ้น มีชานอ้อยที่นำไปเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้ามากขึ้น และมีชานอ้อยเข้าสู่กระบวนการผลิตเยื่อกระดาษมากขึ้นด้วย นอกจากนี้ ในปี 2565 กลุ่ม KTIS จะเริ่มรับรู้รายได้จากกลุ่มธุรกิจใหม่เพิ่มเติมเข้ามาอีกด้วย คือ โครงการผลิตบรรจุภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมจากเยื่อชานอ้อย ซึ่งมีกำลังการผลิตสูงถึง 50 ตันต่อวัน โดยมีเครื่องจักร 50 เครื่อง ที่สามารถผลิตบรรจุภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้หลากหลายรูปแบบ เช่น จาน ชาม กล่อง ถาดหลุม เป็นต้น รวมไปถึงการผลิตและจำหน่ายหลอดชานอ้อยซึ่งออกสู่ตลาดมาระยะหนึ่งแล้ว และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี และโครงการนครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ (NBC) เฟส 1 จะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ โดยมีโรงงานผลิตเอทานอลจากน้ำอ้อย กำลังการผลิต 6 แสนลิตรต่อวัน และโรงไฟฟ้า 3 โรง กำลังการผลิตติดตั้งรวม 85 เมกะวัตต์

จาก https://mgronline.com  วันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ปรับ “แปลงใหญ่” สู่ “เกษตรแม่นยำ” ดึงพืชเศรษฐกิจป้อน 7 โรงงานแก้ราคาดิ่ง

เกษตรผนึก ส.อ.ท.ดึง 7 บริษัทเอกชนนำร่องเกษตรแม่นยำ 2 ล้านไร่ ใน 3 ปี แทนแปลงใหญ่ ช่วยเกษตรกร 25,286 ราย 32 จังหวัด เฟสแรก 5 พืช ลุยต่อเฟส 2 อีก 6 พืช ด้าน “ไทยอีสเทิร์นรับเบอร์” ประเดิมเป็นบิ๊กบราเทอร์ยางมาตรฐาน FSC ให้ราคาพิเศษเพิ่ม กก.ละ 3 บาท ส่วนปาล์มราคาตลาดพุ่ง กก. 9 บาท ชะลอซื้อ

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (กษ.) กล่าวว่า มอบหมายให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ดำเนินโครงการพัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม เพื่อยกระดับการบริหารจัดการสินค้าเกษตร สร้างความเชื่อมโยงเครือข่ายการผลิต การตลาด และโลจิสติกส์สินค้าเกษตร ตามนโยบายตลาดนำการผลิต

โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมาย 2 ล้านไร่ ผ่านกลไกคณะทำงานจัดทำแนวทางการส่งเสริมการใช้ปัจจัยการผลิตและการปลูกพืชที่เหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่ มุ่งเน้นเพื่อสนับสนุนให้เกษตรกรเกิดการรวมกลุ่มเป็นแปลงใหญ่และบริหารจัดการแผนการผลิตสินค้า เพื่อมีตลาดอุตสาหกรรมรอรับซื้อผลผลิตที่แน่นอน โดยกำหนดดำเนินการ 2 เฟส ใน 3 ปี ระหว่างปี 2564-2566

สำหรับการดำเนินโครงการ ระยะที่ 1 มีสินค้าเกษตรเป้าหมาย 5 ชนิด ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อย โรงงานข้าวโพดหวาน และมะเขือเทศ พื้นที่รวม 298,087.86 ไร่ เกษตรกร 25,286 ราย ครอบคลุม 32 จังหวัดมีโรงงานอุตสาหกรรมรับซื้อผลผลิตรวม 7 บริษัท

โดยเกษตรกรและโรงงานอุตสาหกรรมรับซื้อ ร่วมกันจัดทำแผนปฏิบัติงาน (action plan) ด้านการผลิตและการตลาดที่ชัดเจน ซึ่งจะระบุถึงพื้นที่เป้าหมาย เกษตรกรเป้าหมาย คุณลักษณะ (SPEC) ผลผลิตที่โรงงานต้องการ ราคาตามชั้นคุณภาพของผลผลิต รวมถึงปริมาณและช่วงเวลาการรับซื้อ แล้วขยายผลต่อ

ระยะที่ 2 ยกระดับขีดความสามารถ (scale up) ของแปลงใหญ่ขึ้นไปสู่การรวมเป็นกลุ่มจังหวัด/ภูมิภาค (area base) โดยจะคัดเลือกกลุ่มสินค้าเกษตร (product base) ที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจ เพื่อป้อนเข้าสู่กลุ่มอุตสาหกรรมต่าง ๆ ให้หลากหลายมากขึ้น ซึ่งขณะนี้ ส.อ.ท.เสนอความต้องการสินค้าเกษตรมาพร้อมแล้ว อาทิ มันสำปะหลัง ผักอินทรีย์ ผลไม้ ยูคาลิปตัส และโกโก้

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ กล่าวว่า โครงการนี้ริเริ่มจากแนวคิดจากนายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธาน ส.อ.ท. นำเสนอมา และเครือข่ายเอกชน ที่สำคัญเพื่อตอบโจทย์มาตรฐานโลก เทรนด์ของสิ่งแวดล้อม

“โครงการนี้มี 3 มิติคือ 1.ผลักดันเกษตรแปลงใหญ่ 2.การเอานวัตกรรมเข้ามา เพิ่มผลผลิตต่อไร่สูง และ 3.ยกระดับการผลิตที่เน้นการทำมาตรฐานสู่สากล เพราะอย่างไรราคาก็เพิ่มขึ้นหากมาตรฐานดี โครงการนี้จะลดต้นทุนได้ถึง 30% และมีข้อตกลงร่วมกันป้องกันการเอารัดเอาเปรียบ”

นายสมัย ลี้สกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ระยะเเรกพบปัญหาการรวมกลุ่มยาก รายละเอียดมาก แต่ปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วม 1.7 แสนราย กำลังเริ่มเฟส 2 อนาคตคาดว่าจะมี 4-5 ล้านคน ไปถึง 50 ล้านไร่ ช่วยให้ไทยแข่งขันในตลาดโลกได้ ช่วยลดต้นทุนเกษตรกรและยังมีตลาดรับซื้อชัดเจน

นายเฉลิม โกกนุทาภรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท ไทยอีสเทิร์นรับเบอร์ จำกัด กล่าวว่า 1 ปีที่ผ่านมา ได้รับมอบหมายให้เป็นบิ๊กบราเทอร์ยางพารา ซึ่งเราเริ่มจากทำบิ๊กบราเทอร์ BCG (bio-circular-green economy) นั่นคือ โมเดลเศรษฐกิจสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน โดยติดตามงานทุกเดือน ตั้งเป้าหมายเบื้องต้น 11,515 ไร่ ปัจจุบันมีเกษตรกร 33,347 คน และจะเพิ่ม จ.สระแก้ว และ จ.ตราด

“บริษัทเราเป็นเจ้าเดียวที่ทำมาตรฐานออร์แกนิกลาเท็กซ์ ความพิเศษของโครงการนี้อยู่ที่การทำมาตรฐานหากสมาชิกทำมาตรฐาน FSC สามารถขอราคาพิเศษได้ถึง 3 บาทต่อกิโลกรัม โครงการนี้ดีมาก เพราะถ้าไม่มี เราจะใช้เวลาในการสื่อสารเกษตรกรยากมากและไม่ทั่วถึง ปัจจุบันยิ่งมีเกษตรเข้าร่วมเพิ่ม ถามว่าราคาจะได้เท่าไร แค่ไหน ผมก็ต้องบอกว่า สินค้าเกษตรเป็นไปตามราคาตลาดโลก”

นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ กล่าวกับ“ประชาชาติธุรกิจ” ว่า โครงการเกษตรแม่นยำเป็นโครงการที่ดี เพียงแต่ว่าเกษตรกรเข้าถึงยากมาก การประชาสัมพันธ์ก็น่าจะยังไม่ทั่วถึง ทำให้ข้อมูลไปไม่ถึงเกษตรกร และที่สำคัญหากต้องมีต้นทุนในการใช้เงินลงทุนเพิ่มตอนนี้คงต้องถามว่าเกษตรกรจะมีเงินทุนเองด้วยหรือไม่อย่างไร

รายงานข่าวระบุว่า โครงการเกษตรแม่นยำคือโครงการแปลงใหญ่เดิม เป้าหมาย 2 ล้านไร่ เป็นความร่วมมือของ ส.อ.ท.กับ กษ. โดยผลสำเร็จทำได้ดีเฉพาะส่วนของอ้อยและยางพารา ส่วนปาล์มน้ำมันยังมีข้อจำกัดเรื่องต้นทุนค่าขนส่งในการรับซื้อ ทาง กษ.ขอให้รับซื้อทั้งภาคใต้ ซึ่ง “เป็นไปไม่ได้แน่นอน” ทำได้แค่เพียงพื้นที่ในรัศมีระยะทางไม่เกิน 50 กม. ประมาณ 2,000-3,000 ไร่ อีกทั้งขณะนี้ราคาปาล์มสูงมาก กก.ละ 9 บาท เกษตรกรไม่เดือดร้อนจึงชะงักหมด

จาก https://www.prachachat.net วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2564

จับตาประชุมสุดยอดผู้นำ“อาเซียน” 26-28ตุลาคมนี้ เน้นฟื้นเศรษฐกิจร่วมกัน

"อาเซียน" เตรียมประชุมสุดยอดผู้นำครั้งที่20 ระหว่างวันที่26-28 ตุลาคมนี้ พร้อมเผยผลการดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ ลดอุปสรรคทางการค้า แผนฟื้นฟท่องเที่ยว เห็นชอบร่างแถลงการณ์ยกระดับอาเซียนสู่ดิจิทัล ก่อนเสนอผู้นำอาเซียนรับรองปลายเดือนนี้

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า กรมได้เข้าร่วมการประชุมคณะมนตรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC Council) ครั้งที่ 20 เพื่อเตรียมการสำหรับการประชุมผู้นำอาเซียน (ASEAN Summit) ที่จะจัดขึ้นในวันที่ 26 – 28 ตุลาคมนี้  โดยที่ประชุมได้รับทราบความสำเร็จการดำเนินงานของอาเซียนในปีนี้ โดยเฉพาะประเด็นเศรษฐกิจ ซึ่งบรูไนดารุสซาลามในฐานะประธานอาเซียนผลักดันภายใต้แนวคิดหลัก เราห่วงใย เราเตรียมพร้อม เรารุ่งเรือง (We Care, We Prepare, We Prosper) ได้แก่ การจัดทำเครื่องมือประเมินต้นทุนและประสิทธิภาพการใช้มาตรการที่มิใช่ภาษี (NTM Toolkit) เพื่อลดอุปสรรคต่อการค้าในภูมิภาค  การจัดทำแผนฟื้นฟูการท่องเที่ยวอาเซียนหลังสถานการณ์โควิด-19 เพื่อช่วยฟื้นอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของภูมิภาคให้ยั่งยืน การจัดทำกรอบการอำนวยความสะดวกด้านการลงทุนของอาเซียน เพื่อส่งเสริมบรรยากาศการลงทุนในภูมิภาค และ การจัดทำแผนดำเนินงานตามความตกลงพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของอาเซียน เช่น การคุ้มครองผู้บริโภคออนไลน์ การชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ การบริหารจัดการของข้อมูล และป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังได้ติดตามการดำเนินงานตามแผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนระยะกลาง เพื่อให้อาเซียนสามารถเดินตามพิมพ์เขียวประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปี 2568 ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“ที่ประชุมได้เห็นชอบและรับรองเอกสารสำคัญ อาทิ กรอบการพัฒนาเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (Circular Economy) เพื่อบรรลุเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืนของภูมิภาค แผนงานสู่ความเป็นดิจิทัลของอาเซียน (แผนงานบันดาร์เสรีเบกาวัน) เพื่อขับเคลื่อนอาเซียนให้เป็นเศรษฐกิจดิจิทัล แผนยุทธศาสตร์อาเซียนในการรับมือกับการปฏิวัติอุตสาหกรรม ครั้งที่ 4 (4IR) และกรอบความร่วมมืออาเซียนด้าน

การสร้างความเข้มแข็งวิสาหกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) โดยจะเสนอที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ในช่วงปลายเดือนนี้”

นอกจากนี้ รัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจอาเซียนยังได้ประชุมร่วมกับรัฐมนตรีด้านดิจิทัลอาเซียนเป็นครั้งแรก โดยได้ร่วมกันพิจารณาและเห็นชอบร่างแถลงการณ์ของผู้นำอาเซียนว่าด้วยการยกระดับการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลของอาเซียน ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญในการจัดทำวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียนหลังปี 2568 เพื่อกำหนดเป้าหมายให้สอดคล้องกับพลวัตของโลก รวมถึงประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) เพื่อให้เศรษฐกิจของอาเซียนเติบโตได้อย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ ในช่วง 8 เดือนของปี 2564 (ม.ค. – ส.ค.) การค้าระหว่างไทยกับอาเซียน มีมูลค่า 72,546 ล้านดอลลารสหรัฐ ขยายตัว16.25 % จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยไทยส่งออกไปอาเซียน มูลค่า 42,024.88 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้าจากอาเซียน มูลค่า 30,521.12 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตลาดส่งออกและแหล่งนำเข้าสำคัญของไทยในอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย เวียดนาม อินโดนีเซีย สิงคโปร์ และฟิลิปปินส์

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2564

“นโยบายพลังงานยุคโควิด” ภารกิจท้าทาย

น้ำมันขาขึ้นยังเป็นประเด็นร้อน จากความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นหลังโควิด-19 คลี่คลาย ทำให้ราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลในประเทศปรับสูงขึ้นต่อเนื่อง กระทบภาคการผลิต การขนส่ง โดยเฉพาะดีเซลกำลังเป็นโจทย์ใหญ่ท้าทายรัฐบาล

ต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา สหพันธ์การขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย นำผู้ประกอบการรถบรรทุกเคลื่อนไหวเรียกร้องให้ตรึงราคาดีเซลที่ 25 บาท/ลิตร อย่างน้อย 1 ปี ลดภาษีสรรพสามิตดีเซล 1 ปี ให้ปรับสูตรน้ำมันไบโอดีเซลเนื่องจากราคาปาล์มสูงขึ้น ฯลฯ

แม้นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พลังงาน รับปากจะนำข้อเรียกร้องดังกล่าวเสนอ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและ รมว.กลาโหม พิจารณา แต่ชี้ว่าการลดราคาดีเซลเหลือ 25 บาท/ลิตร ไม่น่าเป็นไปได้ เพราะรัฐต้องแบกภาระเพิ่มขึ้นมาก

ขณะเดียวกันที่ประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) เมื่อ 20 ต.ค. มีมติตรึงราคาน้ำมันกลุ่มดีเซลไม่ให้เกิน 30 บาท/ลิตร โดยใช้เงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง

ซึ่งสถานะกองทุน ณ วันที่ 17 ต.ค. 2564 อยู่ที่ 27,533 ล้านบาท อุดหนุน และหากน้ำมันในตลาดโลกยังพุ่งสูง เงินกองทุนไม่เพียงพอ จะประสานกระทรวงการคลังพิจารณาปรับลดภาษีสรรพสามิต

เท่ากับข้อเรียกร้องของสหพันธ์การขนส่งทางบกฯ ได้รับการสนองตอบบางข้อ แต่ประเด็นหลัก อาทิ การตรึงราคาดีเซลที่ 25 บาท/ลิตร ลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันกลุ่มดีเซลลงเหลือ 0% สถานการณ์ขณะนี้รัฐบาลอาจตัดสินใจลำบาก

เพราะนอกจากต้องใช้เงินอุดหนุนจำนวนมาก และกระทบรายได้รัฐแล้ว เสียงวิพากษ์วิจารณ์ทั้งจากฝ่ายที่คัดค้าน-เห็นด้วยยังกระหึ่ม

โดยเฉพาะการลดภาษีสรรพสามิต 1 ใน 3 รายได้หลักที่จัดเก็บภาษีเข้ารัฐ ช่วงวิกฤตโควิดที่ผ่านมา เศรษฐกิจสะดุดขับเคลื่อนได้ไม่เต็มที่

การจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพากร กรมสรรพสามิต กรมศุลกากร ต่ำกว่าเป้ามาก 9 เดือนแรกงบประมาณ 2564 (ต.ค. 63-มิ.ย. 64) มีรายได้สุทธิ 1.73 ล้านล้านบาท ต่ำกว่าประมาณการ ถึง 1.95 แสนล้านบาท หรือต่ำกว่า 10.1%

ขณะที่หนี้สาธารณะพุ่งขึ้น จากที่ต้องก่อหนี้เพิ่มเพื่อช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด และฟื้นฟูเศรษฐกิจ ทำให้รัฐต้องขยายกรอบเพดานหนี้สาธารณะเพิ่มจากเดิมไม่เกิน 60% ของจีดีพี เป็นไม่เกิน70% ของจีดีพี เพื่อรองรับความเสี่ยงเศรษฐกิจ กับโควิดที่อาจย้อนระบาดใหม่

ผลกระทบจากราคาน้ำมันโลกพุ่งขึ้นเป็นเรื่องน่าเห็นใจ แต่การดำเนินนโยบายพลังงานรัฐ การแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ภาคธุรกิจแต่ละกลุ่มจึงต้องพิจารณาอย่างรอบด้าน ดูถึงผลดีผลเสีย ประโยชน์ประเทศชาติในระยะยาวไม่ใช่แค่เฉพาะหน้า ที่สำคัญต้องไม่สร้างภาระให้คนส่วนใหญ่ต้องแบกรับ

จาก https://www.prachachat.net วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2564

WTO มองการค้าโลก ปี’65 ฟื้นไข้

การปรับประมาณตัวเลขการค้าโลกครั้งล่าสุดขององค์การการค้าโลก (WTO) เมื่อ 4 ตุลาคม 2564 สูงขึ้นกว่าการประมาณการในรอบเดือนมีนาคม 2564 ผลจากการกระจายฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ที่เริ่มมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้ว ซึ่งมีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ได้ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรจำนวนมาก ทั้งยังมีการคิดค้นยาและนวัตกรรมการแพทย์ออกมา ล้วนแต่ส่งผลต่อการฟื้นเศรษฐกิจโลก

WTO จึงปรับคาดการณ์ว่าการค้าโลกในปี 2564 จะขยายตัว 10.8% ปรับสูงขึ้นจากการคาดการณ์ครั้งก่อนในเดือนมีนาคม 8% และปี 2565 จะขยายตัว 4.7% เพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ครั้งก่อนที่ 4% เป็นผลจากสัญญาณการฟื้นตัวของตัวเลขจีดีพีโลกที่คาดว่าจะขยายตัว 5.3% เพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ครั้งก่อนหน้าที่ 5.1% ทำให้การค้าโลกในไตรมาส 2 ที่เติบโต 22% ส่วนสัญญาณเศรษฐกิจปี 2565 จีดีพีโลกอาจจะขยายตัว 4.1%

นางพิมพ์ชนก พิตต์ฟีลด์ เอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกและองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ณ นครเจนีวา ระบุว่า WTO ปรับคาดการณ์การค้าโลกปี 2564 สูงขึ้น เป็นผลจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก โดยจากข้อมูลราคาในตลาดซื้อขายล่วงหน้า พบว่าราคาน้ำมันดิบ ทองแดง และเหล็กกล้าสูงขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ปลายปี 2563 ถือเป็นสัญญาณการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และการเพิ่มขึ้นของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของทั่วโลก

อีกทั้งประเทศสมาชิก WTO มีแนวโน้มลดการใช้มาตรการและข้อจำกัดทางการค้า (trade-restrictive measures) และเพิ่มมาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้า (trade-facilitating measures) มากขึ้น นับเป็นสัญญาณที่ดีของการส่งออกไทย

โดยในรายงาน Goods Trade Barometer ซึ่งเป็นมาตรวัดแนวโน้มการค้าโลกที่ทันเหตุการณ์ฉบับล่าสุดของ WTO ระบุว่า ดัชนีการค้าสินค้า (Goods Trade Barometer) พุ่งขึ้น 110.4 สูงที่สุดในรอบ 6 ปี นับตั้งแต่เริ่มคำนวณเมื่อปี 2016 สะท้อนการฟื้นตัวของการค้าโลก ดัชนีย่อยทั้งหมดต่างมีค่า “สูงกว่าค่าแนวโน้ม”

อาทิ ดัชนีการขนส่งทางอากาศ การขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ การผลิตรถยนต์ ยกเว้นเพียงดัชนีส่วนประกอบอิเล็กทรอนิกส์ที่ลดลงเล็กน้อยจากการขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ และดัชนีการสั่งซื้อเพื่อการส่งออกก็ลดลงเล็กน้อยเช่นกัน อย่างไรก็ตาม การที่ Goods Trade Barometer ขยายตัวในอัตราที่ลดลงแสดงให้เห็นว่าการค้าโลกอาจใกล้แตะจุดสูงสุด และจะไม่เพิ่มสูงขึ้นเหมือนก่อน

นอกจากนี้ จากผลการศึกษายังระบุอีกว่า ตลาดนำเข้าหลายภูมิภาคตอนนี้ขยายตัวแข็งแกร่งตามแนวโน้มการค้าโลกที่เพิ่มขึ้น ในปี 2564 โดยเฉพาะอเมริกาใต้คาดว่าจะขยายตัวสูงที่สุดที่ 19.9% ตามด้วยกลุ่ม CIS ขยายตัว 13.8% และอเมริกาเหนือ ขยายตัว 12.6% แม้กระทั่งยุโรปขยายตัวที่ 9.1% (ตาราง) อย่างไรก็ตาม ในปี 2565 ตลาดตะวันออกกลางกลับมาขยายตัวสูงที่สุด 8.7% และยุโรปขยายตัว 6.8%

ส่วนสินค้าที่ขยายตัวสูงในไตรมาส 2 ปี 2564 ได้แก่ ชิ้นส่วนอุปกรณ์ยานยนต์ เหล็กและเหล็กกล้า ถือเป็นสัญญาณล่วงหน้าถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งสินค้าที่ใช้ภายในบ้าน เช่น ของเล่น เกม อุปกรณ์กีฬา เฟอร์นิเจอร์ กระเป๋าถือ เสื้อผ้า และรองเท้า

อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่า ภาคการค้าบริการ ขยายตัว 102.5 ถือว่ายังช้ากว่าภาคการค้าสินค้า โดยในไตรมาสแรกปีนี้ การค้าบริการหดตัว 9.0% เป็นผลจากการเดินทางระหว่างประเทศยังมีข้อจำกัดทำให้การเดินทาง (travel) หดตัว 62% ดังนั้น ภาคบริการโดยเฉพาะการท่องเที่ยวจึงยังไม่สามารถเป็นพระเอกขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้

“การขยายตัวทางการค้า แต่ละภูมิภาคยังไม่เท่ากัน โดยประเทศยากจนจะขยายตัวช้า ขณะที่ประเทศรายได้สูงจะขยายตัวเร็วกว่า จากสาเหตุสำคัญ คือ การผลิตและกระจายวัคซีนที่ไม่เท่าเทียม ซึ่งปัจจุบันทั่วโลกผลิตและกระจายวัคซีนได้เพียง 6 ล้านโดสเท่านั้น และสัดส่วนของประชากรในประเทศรายได้ต่ำที่ได้รับวัคซีน 1 โดส มีเพียง 2.2% เท่านั้น ซึ่งอาจเป็นแหล่งกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสด้วย”

“เรื่องนี้มีความสำคัญ เพราะประเทศยากจนที่มีอยู่ประมาณ 34 ประเทศ ยังมีปัญหาหนี้ (sovereign debt) พอกพูนมากขึ้นทุกวัน ประเทศเหล่านี้ต้องนำงบประมาณประเทศไปชำระหนี้ ไม่มีงบประมาณด้านสาธารณสุขเพียงพอ ซึ่งรวมถึงการจับจ่ายเพื่อนำเข้าสินค้าจำเป็นด้วย”

อย่างไรก็ตาม ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2564 การส่งออกไทยยัง “ขยายตัวต่ำกว่า” โลก โดยไตรมาส 1 การส่งออกโลกขยายตัว 17% ส่วนไทยขยายตัว 2.1% และการส่งออกไตรมาส 2 ของโลก ขยายตัว 45% ไทยขยายตัว 31.85%

ซึ่งแม้ว่าการส่งออกไทยจะขยายตัวในอัตราที่ช้า แต่ยังเป็นความหวังในการฟื้นเศรษฐกิจในปีนี้ เพราะรายได้จากภาคบริการ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวซึ่งเป็นเครื่องยนต์อีกตัวในการผลักดันเศรษฐกิจไทย ก็ยังมีความหวังน้อยจากปัญหาการเดินทางทั่วโลกที่ยังหดตัว

ดังนั้น แม้ผลการศึกษา WTO ชี้ว่าการค้าโลกปี 2565 จะฟื้นไข้ แต่การจะฟื้นตัวเร็วหรือช้า ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยสำคัญ “เรื่องวัคซีน” เป็นตัวหลัก เพราะจะผูกโยงกับภาคบริการ การท่องเที่ยว การขนส่งและการบิน ซึ่งคงต้องใช้เวลาอีกสักพัก ขณะที่การค้าสินค้ายังมีปัจจัยลบบางเรื่อง เช่น การขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์ ที่ทำให้การผลิตบางสินค้าอาจลดลง ซึ่งในส่วนนโยบายส่งออกของไทยต้องปรับให้สอดคล้องกับภูมิภาค และโฟกัสไปที่ตลาดที่ฟื้นตัวสูง

จาก https://www.prachachat.net วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2564

เร่งกรมชลฯระบายน้ำ 17 อ่าง สทนช.หวั่น “หมาเหล่า” ถล่มซ้ำน้ำทะเลหนุน

 “หมาเหล่า” ถล่มอีกระลอก 28-31 ต.ค. สมทบน้ำทะเลหนุนสูง 23-27 ต.ค. เร่งกรมชลฯพร่องน้ำ 17 อ่างเก็บเต็มศักยภาพ สทนช.ชี้ขอให้ประชาชนติดตามสถานการณ์น้ำใกล้ชิด 15 จังหวัดยังอ่วมอุทกภัย

นายฐนโรจน์ วรรัฐประเสริฐ รองโฆษกสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) กล่าวว่า สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (สสน.) และกรมอุตุนิยมวิทยา รายงานว่า มีการก่อตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำซึ่งอาจพัฒนาเป็นพายุลูกใหม่ “หมาเหล่า”ทำให้มีปริมาณฝนตกเพิ่มขึ้นระหว่างวันที่ 29-31 ตุลาคม 2564 จึงมอบหมายให้กรมชลประทานเร่งพร่องน้ำ ระบายน้ำเขื่อนใหญ่ เพื่อเตรียมพร้อม

โดยจากการติดตามสถานการณ์น้ำภาพรวมขณะนี้ประเทศไทยมีฝนเพิ่มขึ้นทุกภูมิภาค รวมปริมาณน้ำทั้งประเทศ 59,920 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 73% ของความจุอ่าง ซึ่งในจำนวนนี้เป็นแหล่งน้ำขนาดใหญ่ 52,859 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 74% ของความจุอ่าง โดยพบว่ามีเขื่อน อ่างเก็บน้ำศักยภาพหมายถึงจุเกินความจุ 80% รองรับน้ำเต็มที่แล้ว17 แห่งที่มีปริมาณน้ำเกินกว่าระดับกักเก็บต้องเฝ้าระวัง

“วันนี้คณะทำงานส่วนหน้า จะบริหารจัดการน้ำลุ่มน้ำท่าจีนเพื่อเร่งการระบายน้ำลงทะเลให้มากที่สุด โดยเฉพาะเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จะระบายน้ำให้อยู่ในอัตรา 570 ลบ.ม./วินาที เพื่อให้ด้านท้ายเขื่อนรับผลกระทบน้อยที่สุด และเขื่อนอุบลรัตน์ประสาน กฟผ.ใกล้ชิด ช่วงวันที่ 28-31 ตุลาคมนี้ มีเเนวโน้มการเกิดพายุลูกใหม่ ประกอบกับกรมอุทกศาสตร์รายงานว่า จะมีน้ำทะเลหนุน 23-27 ตุลาคม ขอให้ประชาชนติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด”

ทั้งนี้ ปัจจุบันยังคงมีพื้นที่ 15 จังหวัดที่ยังประสบอุทกภัย ดังนี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใน จ.ขอนแก่น ชัยภูมิ มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ ภาคกลาง บริเวณ จ.ลพบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนครปฐม ภาคตะวันออก บริเวณ จ.ปราจีนบุรี และสระแก้ว

สำหรับสถานการณ์ลุ่มเจ้าพระยามีแนวโน้มลดลง แต่ยังเฝ้าระวังน้ำจากแม่น้ำท่าจีน ซึ่งกรมชลฯจะผันน้ำเข้าทุ่งโพธิ์พระยา อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำส่วนที่เหลือจะส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำท่าจีน ตั้งแต่ จ.สุพรรณบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร เพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน ประมาณ 30-50 ซม. และฝนที่ตกหนักในพื้นที่เพิ่มขึ้น มีน้ำหลากจากคลองจะร้า จ.กาญจนบุรี ไหลหลากในอัตรา 120-150 ลบ.ม./วินาที ส่งผลกระทบพื้นที่ทุ่งโพธิ์พระยา อ.อู่ทอง และ อ.เมืองสุพรรณบุรี จ.สุพรรณบุรี น้ำเพิ่มสูงขึ้น

สำหรับอ่างเก็บน้ำที่มีความจุเต็มศักยภาพ 17 แห่ง ประกอบด้วย บึงบอระเพ็ด หนองหารกุมภวาปี แม่มอก แควน้อยบำรุงแดน ทับเสลา ป่าสักชลสิทธิ์ กระเสียว อุบลรัตน์ จุฬาภรณ์ ลำตะคอง ลำพระเพลิง มูลบน ลำนางรอง ลำแชะ ขุนด่านปราการชล นฤบดินทรจินดา และหนองปลาไหล

รายงานข่าวระบุว่า สถานการณ์อุทกภัยปี 2564 ที่ผ่านมา พบประมาณ 6 ลูก ได้แก่ 1.พายุไซโคลนยาอาส ระหว่าง 25-29 พฤษภาคม 2564 2.พายุโคะงุมะ ระหว่าง 12-13 มิถุนายน 2564 3.พายุโซนร้อนโกนเซิน ระหว่าง 9-10 กันยายน 2564 4.พายุโซนร้อนเตี้ยนหมู่ ระหว่าง 23-30 กันยายน 2564 5.พายุโซนร้อนไลออนร็อก ระหว่าง 10-12 ตุลาคม 2564

6.พายุโซนร้อนคมปาซุ 13-15 ตุลาคม 2564 และ 7.ว่าที่พายุหมาเหล่า ระหว่าง 29-31 ตุลาคม 2564 สถานการณ์ดังกล่าว ทำให้ประเทศไทยมีฝนตกชุกหนาแน่นและมีฝนตกหนักถึงหนักมาก หลายพื้นที่เกิดน้ำท่วมเฉียบพลัน น้ำป่าไหลหลาก เข้าท่วมบ้านเรือนประชาชน และพื้นที่การเกษตร ร่องมรสุมกำลังแรงดังกล่าวมีสาเหตุจากปรากฏการณ์ลานิญา

จาก https://www.prachachat.net วันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2564

“ไร่อ้อย” จมน้ำเฉียด 6 หมื่นไร่ ลุ้นเปิดหีบ’64/65ผลิตถึง 90 ล้านตัน

GISTDA ชี้ไร่อ้อยน้ำท่วมเฉียด 6 หมื่นไร่ จับตาราคา-ปริมาณอ้อยเข้าหีบฤดูกาล 64/65 ธ.ค. “สอน.” ยังมั่นใจระบายน้ำเร็วไม่ท่วมขัง จะหนุนผลผลิตอ้อยเข้าหีบแตะ 90 ล้านตันแถมราคาตลาดโลกพุ่ง 18-19 เซนต์/ปอนด์ บวกกับเงินบาทอ่อน ชมรมสถาบันอ้อยภาคอีสานคาดไม่กระทบผลผลิต ยังมั่นใจได้ราคาตันละ 1 พันบาท

รายงานข่าวจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือ GISTDA ระบุว่า ขณะนี้พื้นที่ปลูกอ้อยที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม (วันที่ 18 ต.ค. 2564) มี 24 จังหวัด รวม 59,903 ไร่

โดยจังหวัดที่ได้รับผลกระทบสูงสุด 5 อันดับแรก คือ จ.ชัยภูมิ 15,631 ไร่ กำแพงเพชร 11,026 ไร่ ขอนแก่น 7,905 ไร่ นครราชสีมา 6,059 ไร่ และลพบุรี 2,742 ไร่

ขณะที่แหล่งข่าวจากโรงงานน้ำตาลแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า สภาพอากาศในช่วงที่ผ่านมามีปริมาณน้ำฝนจำนวนมากและส่งผลให้เกิดน้ำท่วมในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ซึ่งคาดว่าจะมีบางพื้นที่เพาะปลูกอ้อยได้รับความเสียหาย นับจากวันที่ 23 กันยายน เป็นต้นมา มีฝนตกมากต่อเนื่องไปถึงปลายเดือนตุลาคมก่อนเข้าฤดูหนาว หากแปลงอ้อยมีน้ำท่วมขังขณะนี้ต่อเนื่อง 8-12 สัปดาห์ อ้อยจะหยุดเติบโต ใบเหลือง และเกิดความเสียหาย ผลผลิตต่ำกว่ามาตรฐาน จากที่รากอ้อยขาดอากาศ

สอดคล้องกับแหล่งข่าวกระทรวงอุตสาหกรรมกล่าวว่า โดยปกติแล้วหากน้ำท่วมมิดยอดอ้อยประมาณ 7 วัน อ้อยจะเสียหาย 50% แต่ขณะนี้ยังไม่มีผลกระทบกับปริมาณอ้อยที่จะเข้าหีบ

เพราะช่วงนี้อ้อยอยู่ในช่วงโตแล้ว แต่อาจมีผลกระทบกับคุณภาพของอ้อยบ้าง เนื่องจากพืชอ้อยเมื่อโดนน้ำท่วมขังจะมีการแตกกอ ซึ่งก็จะดึงสารอาหารมาใช้ ทำให้อ้อยจะหยุดการเติบโต (ความสูง) และน้ำหนักลำอ้อยจะลดลง

ทั้งนี้ ไร่อ้อยโดยส่วนใหญ่จะอยู่ในพื้นที่ดอน น้ำท่วมครั้งนี้จึงยังไม่ส่งผลกระทบมากนัก อย่างไรก็ตาม บางพื้นที่ปีนี้ปริมาณน้ำฝนมาก กลับส่งผลทำให้อ้อยเติบโตได้ดี ซึ่งปริมาณอ้อยที่เพิ่มจากฝนที่ดีในปีนี้จะไปชดเชยอ้อยที่เสียหายจากน้ำท่วม จึงทำให้ไม่กระทบกับปริมาณอ้อยเข้าหีบของฤดูกาล 2564/2565

ซึ่งตามคาดการณ์ของคณะกรรมการอ้อยฯประเมินอ้อยที่จะเข้าหีบปีนี้ไว้ที่ 85 ล้านตัน และคาดว่าจะเกินกว่าที่ประเมิน เนื่องจากฝนดีอาจอยู่ที่ 85-90 ล้านตันจากปีก่อน 66.6 ล้านตัน

ในส่วนของค่าความหวาน CCS รวมของทั้งประเทศก็ไม่น่าลดลงเช่นกัน โดยปีที่แล้ว CCS เฉลี่ยอยู่ที่ 12.91 ในส่วนของราคาอ้อยปี’64/65 คาดว่าราคาจะดีเช่นกัน เพราะราคาตลาดโลกอยู่ที่ 18-19 เซนต์/ปอนด์ จากปีก่อน 16 เซนต์/ปอนด์ บวกกับอัตราแลกเปลี่ยนของไทยไม่แข็งค่าอยู่ที่ 33 บาท

“อ้อยถ้าโตแล้วแช่ในน้ำได้ (ยอดอ้อยพ้นน้ำ) แต่ปีนี้บางส่วนโดนพายุทำให้อ้อยล้มก็เลยถูกน้ำท่วมเสียหายบ้างแต่ไม่มาก ถ้าน้ำลดเร็วภายในสิ้นเดือน ต.ค.นี้ก็ไม่น่ามีปัญหา อาจมีปัญหาในการเข้าไปตัดอ้อย เพราะถ้าดินนิ่มรถตัดและรถบรรทุกอ้อยจะเข้าไม่ได้

อาจติดหล่มและไปย่ำทำให้ตออ้อยเสียหาย ซึ่งปกติไร่อ้อยปลูก 1 ครั้ง จะเก็บตอเดิมไว้ตัดใหม่ได้ 3-4 รอบ จากการประเมินของเราคาดว่ามันไม่กระทบปริมาณอ้อยปีนี้แน่นอน”

นายเลียบ บุญเชื่อง ประธานชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน เปิดเผยว่า ฝนปีนี้ทางภาคอีสานต่อให้ตกมาก แต่ด้วยพื้นที่ปลูกเป็นที่ราบสูง และคาดว่าฝนจะหยุดตกภายในสิ้นเดือนนี้

ซึ่งยังไม่เป็นอะไรที่น่ากังวล แต่ต้องจับตามองพื้นที่ปลูกในส่วนภาคกลางมากกว่า เพราะเป็นพื้นที่ราบลุ่ม น้ำท่วมแล้วลดช้า แต่เบื้องต้นยังไม่พบว่าปริมาณอ้อยจะลดลงเกินกว่าที่คาดไว้ ขณะเดียวกันราคาอ้อยขั้นต้นก็คาดว่าจะเกิน 1,000 บาทนับว่าเป็นราคาที่ดี

จาก https://www.prachachat.net   วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2564

"เอทานอล" ทำนิวไฮรอบกว่า 2 ปี ดันราคาข้าวโพดติดลมบน

ตลาดชิคาโก “เขียวยกกระดาน” "เอทานอล" ทำนิวไฮรอบกว่า 2 ปี ดันราคาข้าวโพดติดลมบน “ข้าวสาลี” รัสเชีย เสนอขายตรงให้แอลจีเรีย เป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี “ถั่วเหลือง” ไบโอดีเซล-บริโภค แย่งซื้อราคาพุ่ง “บราซิล” ได้ทีเพิ่มพื้นที่เพาะปลูกในปีหน้า คาดจะทำให้ยอดส่งออกเพิ่มขึ้นอีก 8%

แหล่งข่าววงการค้าเกษตร เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า รายงานสถานการณ์ตลาดชิคาโก หรือ Chicago Mercantile Exchang (CME) และ Chicago Board of Trade  (CBOT) วันนี้ สภาวะอากาศที่เปียกชิ้นเพิ่มขึ้นทั้งในภาคกลางรวมไปถึงภาคตะวันตกของสหรัฐอเมริกา ที่คาดว่าจะทำให้การเก็บเกี่ยว “ข้าวโพด”  “ถั่วเหลือง” ล่าช้าในช่วงปลายสัปดาห์นี้มีส่วนช่วยหนุนราคาในตลาด, ขณะที่การขายส่งออกค่อนข้างเงียบตั้งแต่เริ่มต้นของสัปดาห์นี้

“ข้าวโพด” สัญญาพลิกพุ่งขึ้น + 1.70% ด้วยรายงานการผลิตเอทานอลที่เพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี โดยสัปดาห์สิ้นสุด ณ วันที่ 15 ตุลาคม 2564 มีปริมาณการผลิตเฉลี่ยที่ 1.096 ล้านบาร์เรลมากที่สุดนับแต่เดือน มิ.ย. 2019 เป็นต้นมา บ่งบอกถึงความต้องการใช้พลังงานที่สูงขึ้น

การส่งมอบข้าวโพด

ขณะที่มีข่าวว่า “จีน” กำลังหนุนให้ผู้ผลิตปุ๋ยเคมีเข้าถึงถ่านหิน ไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติและกำมะถัน เพื่อให้สามารถผลิตปุ๋ยให้เพียงพอใช้ในการเพาะปลูกฤดูต่อไป

“ถั่วเหลือง”  สัญญาขยับขึ้นอีก +1.425% และปิดบวกเป็นวันที่ 5 ติดต่อกันจากราคาน้ำมันถั่วเหลืองเพื่อใช้ทั้งเป็นไบโอดีเซลและบริโภค อีกทั้งคาดการยอดขายส่งออกที่จะเผยแพในวันพรุ่งนี้จะมีปริมาณมากขึ้น, USDA คาดการณ์ว่าบราซิลจะปลูกถั่วเหลือง ปี 2021/22 ได้เพิ่มขึ้น อีก 37 ล้านบุชเชล

ถั่วเหลือง ส่งมอบตลาดล่วงหน้า

จากระดับ 5.291 ไปเป็น 5.327 พันล้านบุชเชล ด้วยมีการเพิ่มพื้นปลูกอีก 4% สู่ระดับ 100. ล้านเอเคอร์ จะทำให้บราซิลส่งออกถั่วเหลืองในปีหน้าได้เพิ่มขึ้นอีก 8% สู่ระดับ 3.38 พันล้านบูชเชล จากที่คาดการณ์ไว้เดิมที่ 3.417 พันล้านบุชเชล

“ข้าวสาลี”  สัญญาขยับขึ้นปิดบวก + 1.80% ด้วยค่าเงินดอลลาร์ที่อ่อนตัวลงบวกกับความต้องการใช้ข้าวสาลีในตลาดโลกยังแข็งแกร่ง, “ยูเครน” เพิ่มโควตาส่งออกข้าวสาลีปี 2021/22 อีก 44% จากปี 2020/21 ขึ้นสู่ระดับ 929.6 ล้านบุชเชล (25.3 ล้านต้น), “จอร์แดน” เสนอซื้อ milling wheat 2.2 ล้านบุชเชล optional origin ส่งมอบต้นเดือน ม.ค. 2022, “รัสเซีย” เสนอชายข้าวสาลี 2.2 ล้านบุชเชลให้กับแอลจ๊เรีย ซึ่งจะเป็นครั้งแรกในรอบ 5 ปี นับแต่ปี 2016 เป็นต้นมา โดยแอลจีเริยจะเสนอซื้อข้าวสาลีผ่านฝรั่งเศสเสมอมา

"ข้าวสาลี" ราคาตลาดล่วงหน้า

"เงินดอลลาร์" อ่อนค่าลงเทียบเงินสกุลหลัก นักลงทุนขายเงินดอลลาร์ในฐานะสกุลเงินที่ปลอดภัยออกไปในช่วงก่อนปัดตลาด เพื่อไปลงทุนในสกุลเงินที่มีความเสี่ยงและให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า, "เงินปอนด์" แข็งค่าขึ้นต่อจากเมื่อวานนี้ หลังจากธนาคารกลางอังกฤษ (Bank of England)  ส่งสัญญานจะขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายซึ่งจะเริ่มขึ้นในเดือน พ.ย.นี้

ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ อายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะระดับ 1.65% จากคาดการณ์ว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ จะปรับลดวงเงินซื้อพันธบัตรในโครงการ E และมีแนวโน้มจะขยับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วขึ้นดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปิดที่ 35,609.34 จด เพิ่มขึ้น + 152.03 จุด หรือ +0.43%,

ดัชนี S&P500 ปีดที่ 4,536.19 จุด เพิ่มขึ้น+16.56 จุด หรือ +0.37% และดัชนี NASDAQ ปีดที่ 15,121.68 จุด ลดลง -7.41 จุด หรือ -0.05% ดัชนีดาวโจนส์ปีดบวกเป็นวันที่ 2 ติดต่อกัน ด้วยหุ้นกลุ่มธุรกิจบล็อกเชนพุ่งขึ้นจากราคา Bitcoins พุ่งทะลุ 66,000 ดอลลาร์

นักลงทุนสนใจลงทุนบิตคอยน์มากกว่าทองคำในการประกันความเสี่ยงจากเงินเฟ้อมากขึ้น, ส่วนดัชนี S&P500 ปัดบวกเป็นวันที่ 6 ติดต่อกัน ขณะที่ดัชนี NASDAQ ปิดตัวลงในแดนลบ ด้วยแรงขายออกทำกำไรหลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีดีดตัวขึ้นสู่ระดับ 1.65%

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือน พ.ย.เพิ่มขึ้น +91 เซนต์ หรือ 1.1 ปิดที่ 83.87 ดอลลาร์/บาร์เรล น้ำมันดิบ WTI ขยับขึ้นปิดบวกต่อและยังปิดเป็นระดับปิดสูงสุดในรอบกว่า 7 ปีนับตั้งแต่วันที่ 13 ต.ค. 2557 หลังจากสำนักงานสารสนเทศการพลังงานสหรัฐเผยสอกน้ำมันดิบในสัปดาห์ที่แล้ว สิ้นสุด ณ วันที่ 15 ต.ค.ลดลง 400,000 บาร์รลสวนทางกับที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 2 ล้านบาร์เรล

ในขณะที่ปริมาณน้ำมันดิบที่เมืองคุชชิ่ง รัฐโอคลาโฮมา จุดส่งมอบน้ำมันดิบล่วงหน้าของสหรัฐมีปริมาณลดลงถึง 2.4 ล้านบาร์เรล, ขณะที่สัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ (BRENT) ส่งมอบเดือน ธ.ค.เพิ่มขึ้น + 74 เซนต์ หรือ 0.9% ปิดที่ 85.82 ดอลลาร์/บาร์เรล ซึ่งปิดเป็นระดับปิดสูงสุดในรอบกว่า 3 ปีนับตั้งแต่วันที่ 3 ต.ค.2561

สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange Market) ส่งมอบเดือน ธ.ค.เพิ่มขึ้น + 14.4 ดอลลาร์ หรือ 0.81% ปิดที่ระดับ 1,784.9 ดอลล่าร์/ออน เงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าบวกกับความกังวลเงินเฟ้อ ทำให้นักลงทุนกลับมาซื้อทองคำในฐานะสินทรัพย์ที่ปลอดภัย

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2564

โรงงานน้ำตาลร้อง‘วิษณุ’ ค้านร่างพรบ.อ้อยมาตรา4ชี้ไม่เป็นธรรม

นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี รองประธานกรรมการบริหารบริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์จำกัด (TSMC) และประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ เปิดเผยว่า 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ได้ยื่นหนังสือถึง ดร.วิษณุเครืองาม รองนายกรัฐมนตรี และรมว.อุตสาหกรรม เพื่อคัดค้านการแก้ไข พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญ หลังได้ผ่านความเห็นชอบเพิ่มเติมมาตรา 4 แล้ว

ทั้งนี้ ในมาตรา 4 กำหนดคำนิยาม “ผลพลอยได้” ให้หมายรวมถึง “กากอ้อย” โดยเป็นการเพิ่มชนิดผลิตภัณฑ์ที่นำมาใช้คำนวณรายได้ในระบบแบ่งปันผลประโยชน์ 70/30 ซึ่งเป็นประเด็นนำมาซึ่งความไม่เป็นธรรมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในระบบอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งในปัจจุบันและอนาคต เนื่องจากการพิจารณาเพิ่มเติมในคำนิยามกากอ้อยในมาตรการดังกล่าวโดยไม่ได้เปิดโอกาสให้ตัวแทนฝ่ายโรงงานซึ่งเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงต่อการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าวเข้าร่วมแสดงความคิดเห็นหรือออกเสียงแม้แต่คนเดียว ฝ่ายโรงงานจึงเห็นว่าร่างแก้ไขดังกล่าวไม่เป็นธรรมและไม่สามารถยอมรับกับข้อบังคับนี้ได้

ทั้งนี้ ฝ่ายโรงงานมองว่า การเพิ่มเติม “กากอ้อย” เป็นคำนิยามในผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาลทราย ขัดต่อหลักการของข้อตกลงเดิมที่กำหนดให้โรงงานเป็นผู้รับผิดชอบบริหารจัดการกากอ้อย ถือเป็นของเสียในกระบวนการผลิต และเมื่อโรงงานได้นำกากอ้อยไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับระบบเศรษฐกิจ โดยเป็นการลงทุนของโรงงานเองทั้งหมดเป็นมูลค่าหลายพันล้านบาท แต่กลับถูกบังคับให้ต้องนำเงินเข้าสู่ระบบแบ่งปันจึงไม่เป็นธรรมต่อโรงงาน รวมถึงยังทำลายเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ฉบับเดิม ที่เน้นหลักจริยธรรมแห่งการอยู่ร่วมกันระหว่างชาวไร่และโรงงาน สร้างความร่วมมือ ความยั่งยืนและความเป็นธรรมระหว่างชาวไร่อ้อยกับโรงงานน้ำตาล

นอกจากนี้ มติดังกล่าวยังขัดต่อร่างแก้ไข พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย ของภาครัฐที่จัดทำโดยกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งเป็นร่างหลักที่ผ่านการทำประชาพิจารณ์เห็นชอบทุกฝ่ายทั้งชาวไร่อ้อย โรงงานและหน่วยงานภาครัฐ แต่กลับไม่ได้ถูกนำมาใช้เป็นร่างหลักเพื่อเป็นหลักในการพิจารณาปรับปรุง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายดังนั้น สมาคมฯ จึงดำเนินการคัดค้านมติของกรรมาธิการวิสามัญฯ ดังกล่าว และสนับสนุนให้ใช้ร่างกระทรวงอุตสาหกรรม มาเป็นแนวทางปรับปรุง พ.ร.บ.อ้อยและ

น้ำตาลทราย พ.ศ. 2527

“การยื่นหนังสือในครั้งนี้ เพื่อแสดงออกถึงท่าทีฝ่ายโรงงานจะคัดค้านมติของคณะกรรมาธิการวิสามัญถึงที่สุด ที่เพิ่ม “กากอ้อย”อยู่ในนิยามผลพลอยได้ โดยไม่มีตัวแทนโรงงานน้ำตาลเข้าร่วมแม้แต่คนเดียว เราจึงไม่อาจยอมรับได้ และยังกังวลว่าประเด็นนี้จะก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงาน และส่งผลกระทบต่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายในอนาคต” นายสิริวุทธิ์ กล่าว

จาก https://www.naewna.com วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2564

“ไทย” เตรียมเปิดการค้าเชื่อมทางรถไฟบุกตลาด จีน  เอเชียกลาง ยุโรป สิ้นปีนี้

 “อลงกรณ์” เผย กระทรวงเกษตรฯ ผนึก สภาอุตสาหกรรมภาคเหนือเดินหน้ากลยุทธ์โลจิสติกส์ใหม่ใช้ด่านรถไฟโมฮ่าน –โลว์คอสต์แอร์คาร์โก้ “เชื่อมเหนือ-เชื่อมโลก” เปิดตลาดจีนทุกมณฑล-เอเชียกลาง-ยุโรป ภายในสิ้นปีนี้ ภายใต้ ”5ยุทธศาสตร์เฉลิมชัย ศรีอ่อน ”

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานคณะกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(กรกอ.)เปิดเผยวันนี้ (21ต.ค.)หลังจากเข้าร่วมการประชุมทางไกลพร้อมมอบนโยบายให้แก่คณะอนุกรรมการความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยภาคเหนือ(กรกอ.ภาคเหนือ)

โดยมีนายทวีกิจ จตุรเจริญคุณ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยภาคเหนือเป็นประธานโดยมีคณะกรรมการทั้งภาครัฐภาคเอกชนภาควิชาการศูนย์AICละภาคเกษตรกรเช่นดร.สุขกิจ ยะโสธรศรีกุล คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร นายพิศณุ ไชยนิเวศน์ ประธานกรรมการชุมนุมสหกรณ์การเกษตรภาคเหนือ นายสุพจน์ ป้อมชัย ผู้แทนสภาเกษตรกรแห่งชาติ สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่1-2-12 และหน่วยงานกระทรวงเกษตร ในพื้นที่ภาคเหนือ ร่วมประชุมกว่า50คนเพื่อบูรณาการทำงานเชิงรุกขับเคลื่อนโครงการสำคัญๆได้แก่

1.โครงการพัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม 2 ล้านไร่ทั้งเฟส1และเฟส2ปี2564-2566ในสินค้าเป้าหมาย 15ชนิด: ปาล์มน้ำมัน และยางพารา อ้อยโรงงาน ข้าวโพดหวาน และมะเขือเทศ ภายใต้ความร่วมมือระหว่างระบบเกษตรแปลงใหญ่(Big Farm)ที่กระทรวงเกษตรฯสนับสนุนให้เกษตรกรรวมกลุ่ม

และบริหารจัดการแผนการผลิตและจำหน่ายจับคู่กับบริษัทอุตสาหกรรมขนาดใหญ่(Big Brothers)ตามความต้องการของอุตสาหกรรมทั้งด้านปริมาณ คุณภาพและช่วงเวลาการรับซื้อ พร้อมพัฒนากระบวนการจัดการเพื่อลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มผลผลิต     โดยใช้องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ 2.โครงการ1กลุ่มจังหวัด 1นิคมอุตสาหกรรมเกษตรอาหาร

3.โครงการพัฒนาเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกของกลุ่มภาคเหนือตอนล่าง 1 (พิษณุโลก สุโขทัย อุตรดิตถ์ เพชรบูรณ์ ตาก)เช่นโครงการศูนย์พัฒนาผลไม้สดเพื่อการส่งออก ประกอบด้วยโครงการโรงอบไอน้ำและคัดบรรจุมะม่วง 2.โครงการโรงงานแปรรูปแช่แข็งบรรจุมะม่วง วงเงินงบประมาณ 150 ล้าน

4.โครงการพื้นที่เศรษฐกิจนวัตกรรมอาหารภาคเหนือ (Northern Thailand Food Valley : NTFV) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงเกษตรและสหกรณ์และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันภาคอุตสาหกรรมอาหารของไทย

5.การขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่ภาคเหนือตามแนวคิดใหม่ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่13ว่าด้วยทิศทางการพัฒนาภาคเหนือ ปี 2566 – 2570 ซึ่งเน้น“เศรษฐกิจสร้างสรรค์ สานสัมพันธ์ระหว่างพื้นที่ สุขภาวะดี วิถีชีวิตยั่งยืน” บนทิศทางการพัฒนาบน “4ได้แก่

1. Creative : พัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูง

2.Connect : สร้างโอกาสในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจภายในประเทศ และอนุภูมิภาค

3. Clean : พัฒนาตามแนววิถีใหม่ (New Normal) บนฐานการเติบโตอย่างยั่งยืนของการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และการใช้พลังงานสะอาด

4.Care : ที่ให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องกับการดูแลผู้สูงอายุ และผู้ด้อยโอกาส

ทั้งนี้เพื่อให้ประเทศไทยก้าวสู่เป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปในอาเซียนยุทธศาสตร์

นอกจากนี้ที่ประชุมยังเห็นชอบ”แนวทางการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารภาคเหนือเพื่อเป็นกรอบการดำเนินงานของกรกอ.ภาคเหนือภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ปฏิรูปภาคเกษตรของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ คือยุทธศาสตร์ตลาดนำการผลิตโมเดลเกษตร-พาณิชย์,ยุทธศาสตร์เทคโนโลยีเกษตร 4.0

เพื่อการบริหารราชการแผ่นดินการบริการประชาชนและการพัฒนาภาคเกษตรกรรมโดยการใช้เทคโนโลยีตลอดห่วงโซ่อุปทานและมูลค่า(Supply-Value Chain)ตั้งแต่การผลิต การแปรรูปจนถึงการตลาด,ยุทธศาสตร์ 3S เกษตรปลอดภัย เกษตรมั่นคง เกษตรยั่งยืน (Safety-Security-Sustainability),ยุทธศาสตร์บูรณาการเชิงรุกและยุทธศาสตร์ศาสตร์พระราชา

นายอลงกรณ์ยังได้มอบนโยบายต่อกรกอ.ภาคเหนือเพิ่มเติมอีก 6 เรื่อง

1.Product based เพิ่มลำไยในโครงการเกษตรแม่นยำ 2 ล้านไร่

2.Logistics Advantage เพิ่มแผนงานโลจิสติกส์”เชื่อมเหนือเชื่อมโลก”เปลี่ยนLand lockเป็นLand Linkด้วยการขนส่งทางรางเชื่อมด่านเชียงของกับด่านรถไฟโมฮ่านสู่ทุกมณฑลในจีน เอเซียตะวันออก เอเซียกลาง ตะวันออกกลาง รัสเซียและยุโรป โดยใช้ท่าเรือบกคอร์คอสของคาซัคสถานเป็นศูนย์พักและกระจาย(Hub&Spoke)สินค้าเกษตรอาหารของไทยและการขนส่งทางอากาสในระบบLow cost air cargo systemด้วยสนามบินนานาชาติในภาคเหนือเช่นสนามบินเชียงใหม่และเชียงราย

3.Sustainable Agroindustry โครงการอุตสาหกรรมสีเขียว(Green Industry)ในกรอบเกษตรกรรมยั่งยืน

4.งบประมาณการวิจัยและพัฒนาสินค้าเกษตรโดยการสนับสนุนของสวก.องค์การมหาชนในสังกัดกระทรวงเกษตรฯ

5.ระบบสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อการลงทุนเกษตรอุตสาหกรรมโดยความร่วมมือของธกส.และกระทรวงเกษตร

6.โครงการLaboratoryภาคเหนือระดับจังหวัดและกลุ่มจังหวัด

รายงานข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ยังแจ้งด้วยว่า นอกจากการประชุมกรกอ.ภาคเหนือแล้วในสัปดาห์หน้า กรกอ.ภาคตะวันออกจะมีการประชุมในวันที่ 27 ตุลาคม 2564

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ไทยพร้อมร่วม “อาเซียน ซัมมิท” ชู BCG ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลังโควิด

 “จุรินทร์” เผยไทยพร้อมร่วมประชุมอาเซียน ซัมมิท 26-28 ต.ค.นี้ ถกวาระการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ชู BCG ขับเคลื่อนเศรษฐกิจหลังโควิด

วันที่ 20 ตุลาคม 2564 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในวันที่ 26-28 ตุลาคม 2564 จะมีการประชุมอาเซียนซัมมิท ซึ่งปีนี้บรูไนเป็นเจ้าภาพ และหลังการประชุม จะมีการส่งมอบประธานอาเซียนให้กับกัมพูชา โดยประเด็นสำคัญในการประชุมครั้งนี้ ผู้นำประเทศจะหารือกันทั้งเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

เช่น การหารือเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 BCG โมเดล เพื่อเดินหน้าเศรษฐกิจสีเขียว จุดยืนอาเซียนต่อภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก บทบาททางสร้างสรรค์ให้กับสถานการณ์ในเมียนมา ความร่วมมือทางเทคโนโลยีและนวัตกรรมระหว่างอาเซียนกับกลุ่มประเทศต่าง ๆ รวมทั้งการแก้ปัญหาในคาบสมุทรเกาหลีอย่างสร้างสรรค์ เป็นต้น และยังจะมีการประชุมระหว่างอาเซียนกับจีน เกาหลี สหรัฐ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เอเชียตะวันออก อินเดีย และรัสเซีย เป็นต้น

“หลักใหญ่จะเป็นเรื่องของ BCG โมเดล (Bio-Circular-Green Economy) ซึ่งจะมีหลายกระทรวงที่เกี่ยวข้อง กระทรวงการต่างประเทศจะเป็นผู้ที่เข้าไปมีบทบาทหลัก เรื่องเศรษฐกิจจะเป็นส่วนประกอบ เพราะเป็นหนึ่งใน 3-4 ประเด็นใหญ่ ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ ความมั่นคง เป็นต้น ผมคิดว่าสิ่งที่ประเทศไทย รวมทั้งอาเซียน จะต้องติดตามสถานการณ์โดยใกล้ชิด”

โดยประเด็นหนึ่ง คือ ความขัดแย้งทางการค้าและการเมืองโลกระหว่างกลุ่มประเทศมหาอำนาจทางเศรษฐกิจทั้งสหรัฐ สหภาพยุโรป (อียู) จีน ออสเตรเลีย ฝรั่งเศส ที่กำลังมีปัญหาในขณะนี้ อยากเห็นอาเซียนติดตามเรื่องนี้โดยใกล้ชิด เพราะนอกจากจะมีผลกระทบทางด้านการเมืองของภูมิภาค อาจจะมีผลกระทบทางเศรษฐกิจตามมา ไทยและอาเซียนควรได้มีการหารือกำหนดจุดยืนร่วมกัน เพื่อจะได้มีพลังในการติดตามสถานการณ์และเดินหน้าทางเศรษฐกิจต่อไป

จาก https://www.prachachat.net วันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2564

WTO พบอุปสรรคการค้าทั่วโลกเพิ่มขึ้นเจอแนวทางเกี่ยวข้องกับโควิด-19 ถึง 384 มาตรการ

นางพิมพ์ชนก พิตต์ฟิลด์ เอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกและองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก ณ นครเจนีวา เปิดเผยว่า องค์การการค้าโลก (WTO) ได้ออกผลการศึกษาฉบับล่าสุดเกี่ยวกับผลกระทบของโควิด-19 ต่อการค้าโลก พบว่า ตั้งแต่โควิด-19 เริ่มแพร่ระบาด ประเทศสมาชิกได้ใช้มาตรการทางการค้าที่เกี่ยวกับโควิด-19 แล้ว 384 มาตรการ แบ่งเป็นมาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้า 248 มาตรการ ครอบคลุมมูลค่าการค้า 291,300 ล้านเหรียญสหรัฐ และมาตรการจำกัดการค้า 136 มาตรการ ครอบคลุมมูลค่าการค้า 205,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยในจำนวนนี้ เป็นมาตรการจำกัดการส่งออก ถึง 114 มาตรการ ถือเป็นปัญหาสำคัญในการแก้ไขปัญหาการกระจายวัคซีนและสินค้าสำคัญทางการแพทย์อื่น ๆ

สำหรับมาตรการทางการค้าที่ไม่เกี่ยวกับโควิด-19 ระหว่างเดือนต.ค.2563 ถึงพ.ค.2564 พบว่า ประเทศสมาชิกมีการใช้มาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้า 61 มาตรการ ต่ำกว่าจำนวนมาตรการจำกัดการค้าที่ 70 มาตรการ แต่เมื่อคิดเป็นมูลค่าความครอบคลุมทางการค้า มาตรการอำนวยความสะดวกทางการมีมูลค่าทางการค้าสูงถึง 445,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่มาตรการจำกัดทางการค้ามีมูลค่าทางการค้าเพียง 127,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งแสดงว่าแม้สมาชิกจะใช้มาตรการจำกัดการค้า แต่ก็มีการออกมาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้าที่ครอบคลุมมูลค่าการค้าที่สูงกว่า

จาก https://www.thaipost.net   วันที่ 20 ตุลาคม 2564

กรมฝนหลวงฯเล็งเติมน้ำให้เขื่อน

นางนรีลักษณ์ วรรณสาย รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ประเทศไทยยังคงเฝ้าระวังผลกระทบจากพายุ “ไลออนร็อก” ที่ส่งผลให้หลายพื้นที่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือเสี่ยงต่อการเกิดฝนตกหนักมากบางพื้นที่ ประกอบกับลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้กำลังแรงพัดปกคลุมทะเลอันดามันภาคใต้ และอ่าวไทย ทำให้มีฝนเพิ่มขึ้นในพื้นที่ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ฝั่งตะวันตก ส่วนผลการปฏิบัติการฝนหลวง มีการขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อเติมน้ำให้กับเขื่อนที่ยังคงมีปริมาณน้ำน้อย โดยมิให้ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วม ทำให้มีฝนตกบริเวณพื้นที่ลุ่มรับน้ำเขื่อนแม่งัดสมบูรณ์ชล อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ เขื่อนกิ่วลม อ.แจ้ห่ม จ.ลำปาง และเขื่อนสิริกิติ์ อ.ท่าปลา จ.อุตรดิตถ์

จากแผนที่อากาศผิวพื้นของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่าประเทศไทยมีพื้นที่เสี่ยงฝนตกหนักบริเวณภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและภาคกลางบางแห่ง จากนี้สถานการณ์อุทกภัยในหลายจังหวัดเริ่มคลี่คลาย ในส่วนของการปฏิบัติการฝนหลวง ได้มีการติดตามวิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ และระมัดระวังการปฏิบัติการทำฝน เพื่อหลีกเลี่ยงการปฏิบัติการทำฝนในบริเวณที่มีน้ำท่วมขัง

สำหรับการตรวจสภาพอากาศของกรมฝนหลวงฯ พบว่ายังไม่มีสภาพอากาศเข้าเงื่อนไขการปฏิบัติการฝนหลวง จึงขอติดตามสภาพอากาศระหว่างวัน และเฝ้าระวังสถานการณ์น้ำในพื้นที่ โดยมีหน่วยฯ จ.อุดรธานี และหน่วยฯ จ.ขอนแก่น ไม่มีการขึ้นบินปฏิบัติการ ส่วนหน่วยฯ จ.เชียงใหม่ หน่วยฯ จ.ตาก และหน่วยฯ จ.พิษณุโลก หากสภาพอากาศมีการเปลี่ยนแปลงและเข้าเงื่อนไข ก็พร้อมขึ้นบินปฏิบัติการช่วยเหลือพื้นที่ซึ่งต้องการน้ำได้ทันที โดยพี่น้องประชาชนสามารถขอรับบริการฝนหลวงและติดตามข้อมูลข่าวสารได้ที่เฟซบุ๊คกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ทวิตเตอร์อินสตาแกรม ไลน์ @drraa_pr หรือหมายเลขโทรศัพท์ 0-2109-5100

จาก https://www.naewna.com วันที่ 20 ตุลาคม 2564

ไทยแห่ใช้สิทธิ FTA-GSP 8 เดือนโต 36.46% หลังจีน อาเซียน สหรัฐ เศรษฐกิจฟื้น

พาณิชย์เผยภาพรวมการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าภายใต้ FTA และ GSP 8 เดือนแรก โตต่อเนื่อง 36.46% โดยจีน อาเซียน สหรัฐ ไทยเข้าไปใช้สิทธิมากสุด ผลจากการฟื้นเศรษฐกิจ การผ่อนคลายมาตรการของประเทศผู้นำเข้า

วันที่ 20 ตุลาคม 2564 นายกีรติ รัชโน อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยการใช้สิทธิประโยชน์สำหรับการส่งออกภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) และภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) เดือนสิงหาคม 2564 พบว่ามีมูลค่า 7,341.37 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 18.29% เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2564 ที่มีมูลค่า 6,206.26 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับการใช้สิทธิประโยชน์ระหว่างเดือนมกราคม-สิงหาคม 2564 มีมูลค่า 53,804.40 ล้านเหรียญสหรัฐ มีสัดส่วนการใช้สิทธิ 79.13%

โดยแบ่งเป็นมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงการค้าเสรี (FTA) 51,277.57 ล้านเหรียญสหรัฐ และมูลค่าการใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป (GSP) 2,526.83 ล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้ โดยภาพรวมการใช้สิทธิประโยชน์ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2564 เพิ่มขึ้น 36.46%

การใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ความตกลงทางการค้าเสรี (FTA) เดือนสิงหาคม 2564 มีมูลค่า 7,030.93 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 19.07% เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2564 ที่มีมูลค่า 5,904.78 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับการใช้สิทธิฯ ภายใต้ FTA ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2564 มีมูลค่า 51,277.57 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน 36.50% และมีสัดส่วนการใช้สิทธิ 80.09%

โดยตลาดที่ไทยส่งออกโดยมีมูลค่าการใช้สิทธิภายใต้ FTA สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) จีน (มูลค่า 17,771.78 ล้านเหรียญสหรัฐ) 2) อาเซียน (มูลค่า 17,384.02 ล้านเหรียญสหรัฐ) 3) ออสเตรเลีย (มูลค่า 5,609.05 ล้านเหรียญสหรัฐ) 4) ญี่ปุ่น (มูลค่า 4,662.69 ล้านเหรียญสหรัฐ) และ 5) อินเดีย (มูลค่า 3,029.17 ล้านเหรียญสหรัฐ) สำหรับกรอบความตกลงการค้าเสรีที่มีอัตราการใช้สิทธิประโยชน์สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ 1) อาเซียน-จีน ( 97.33%) 2) ไทย-เปรู (93.24%) 3) ไทย-ชิลี (92.57%) 4) ไทย-ญี่ปุ่น (79.75%) และ 5) อาเซียน-เกาหลี (69.05%)

การใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรเป็นการทั่วไป หรือ GSP ทั้ง 4 ระบบ สหรัฐอเมริกา สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซียและเครือรัฐเอกราช และนอร์เวย์ เดือนสิงหาคม 2564 มีมูลค่า 310.44 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 2.97% เมื่อเทียบกับเดือนกรกฎาคม 2564 ที่มีมูลค่า 301.48 ล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับการใช้สิทธิ ภายใต้ GSP ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2564 มีมูลค่าการใช้สิทธิ 2,526.83 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 35.59% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน และมีสัดส่วนการใช้สิทธิ 63.69%

ตลาดส่งออกที่ไทยมีมูลค่าการใช้สิทธิมากที่สุดคือ สหรัฐอเมริกา มีมูลค่าการใช้สิทธิฯ 2,255.25 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 43.94% และมีสัดส่วนการใช้สิทธิ 67.10% อันดับสองคือ สวิตเซอร์แลนด์ มีมูลค่าการใช้สิทธิ 169.90 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 11.33% และมีสัดส่วนการใช้สิทธิ 36.74% อันดับสามคือ รัสเซียและเครือรัฐเอกราช มีมูลค่าการใช้สิทธิ 90.34 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 2.86% และมีสัดส่วนการใช้สิทธิ 71.44% และนอร์เวย์ มีมูลค่าการใช้สิทธิ 11.34 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 6.91% และมีสัดส่วนการใช้สิทธิฯ 64.33%

สำหรับสินค้าส่งออกที่มีการใช้สิทธิสูง อาทิ ข้าวโพดหวาน อาหารปรุงแต่ง เนื้อสัตว์แปรรูป ของผสมของสารที่มีกลิ่นหอมชนิดที่ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตอาหารหรือเครื่องดื่ม ปลาทูน่ากระป๋อง สับปะรดกระป๋อง เนื้อปลาแบบฟิลเล สด แช่เย็น แช่แข็ง ซอสและของปรุงแต่งสำหรับทำซอส มะพร้าวปรุงแต่ง น้ำหรือเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์

ในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2564 ไทยมีการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าเพื่อส่งออกภายใต้กรอบ FTA เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากความต้องการสินค้าที่มากขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลกโดยรวม และการคลายมาตรการล็อกดาวน์ของประเทศต่าง ๆ อาทิ อินเดีย นอกจากนี้ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ผลักดันมาตรการสนับสนุนการส่งออก และการจัดสัมมนาเกี่ยวกับการใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้าอย่างต่อเนื่องของกรม ทำให้การใช้สิทธิฯ ภายใต้ FTA เพิ่มขึ้น 36.50% และมีสัดส่วนการใช้สิทธิ เพิ่มขึ้นสูง 80.09%

สำหรับสินค้าที่มีมูลค่าการใช้สิทธิสูง ประกอบไปด้วยสินค้าหลากหลาย ทั้งสินค้าอุตสาหกรรม อาหาร/เครื่องดื่ม และเกษตร อาทิ รถยนต์เพื่อขนส่งของ/รถยนต์เพื่อขนส่งบุคคล (อาเซียน, อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์, ไทย-ชิลี, อาเซียน-จีน) เครื่องปรับอากาศ (อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์, ไทย-อินเดีย) ตู้เย็น (ไทย-อินเดีย) เนื้อไก่และเครื่องในไก่ปรุงแต่ง (ไทย-ญี่ปุ่น) กุ้งปรุงแต่ง (อาเซียน-ญี่ปุ่น) ปลาซาร์ดีนปรุงแต่ง (อาเซียน-ญี่ปุ่น) ทุเรียนสด (อาเซียน-จีน) ผลไม้ เช่น ฝรั่ง มะม่วง มังคุด (อาเซียน-จีน) ยางธรรมชาติ (อาเซียน-เกาหลี) ปลาทูน่า ปลาสคิปแจ็ก และปลาโบนิโตชนิดซาร์ดา (กระป๋อง) (ไทย-ชิลี) ด้ายทำด้วยเส้นใยสังเคราะห์ เป็นต้น

จาก https://www.prachachat.net  วันที่ 20 ตุลาคม 2564

สนค.แนะผู้ส่งออกติดตามมาตรการตอบโต้การทุ่มตลาด หาแนวทางป้องกัน ก่อนกระทบการค้า

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการ สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า หรือ สนค. กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ในรอบ 25 ปีที่ผ่านมา ประเทศกำลังพัฒนาใช้มาตรการตอบโต้การทุ่มตลาดหรือ AD เพิ่มขึ้น และเป็นการใช้มาตรการระหว่างประเทศกำลังพัฒนาด้วยกันเองถึงเกือบร้อยละ 80 และจากสถิติการไต่สวนการทุ่มตลาด และการใช้มาตรการ AD ของสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO)ระหว่างปี 2538 – 2563 พบว่า การเปิดไต่สวนการทุ่มตลาดเพิ่มขึ้นหลังจากปี 2561 โดยในปี 2563 มีการไต่สวน 349 ครั้ง เพิ่มขึ้นกว่าสองเท่า

เมื่อเทียบกับปี 2538 โดยจีนเป็นประเทศที่ถูกไต่สวนและถูกใช้มาตรการ AD มากที่สุดใน WTO รองลงมา ได้แก่ เกาหลีใต้ และไต้หวัน ขณะที่ไทย อยู่อันดับที่ 6 ส่วนอินเดียเป็นประเทศที่ใช้มาตรการ AD มากที่สุดใน WTO ตามด้วย สหรัฐอเมริกาและสหภาพยุโรป นอกจากนี้ อินเดียยังเป็นประเทศที่ใช้มาตรการ AD กับไทยมากที่สุด ในส่วนของไทย มีการเปิดไต่สวนการทุ่มตลาดแล้วรวม 97 ครั้ง อยู่อันดับที่ 17 ของ WTO และอันดับที่ 3 ของอาเซียน โดยประเทศที่ถูกไทยไต่สวนการทุ่มตลาด และใช้มาตรการ AD สูงสุด ได้แก่ จีน เกาหลีใต้ และไต้หวัน

โดย สนค. เห็นว่า จำนวนการใช้มาตรการ AD ของสมาชิก WTO มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ผู้ประกอบการไทยจึงควรปรับตัวในเชิงรุก เพื่อป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากการถูกประเทศคู่ค้าเก็บอากร AD

ซึ่งจะทำให้สินค้าส่งออกของไทยมีราคาสูงขึ้น และส่งผลต่อขีดความสามารถในการแข่งขันและการส่งออกของไทย ไปยังประเทศนั้น ๆ ตลอดจนอาจส่งผลกระทบต่อเนื่องไปยังภาคการผลิตและการจ้างงานในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง และเพื่อป้องกันการถูกเรียกเก็บอากร AD หรือลดโอกาสที่จะถูกเรียกเก็บอากร AD ในอัตราสูง ผู้ส่งออกสามารถดำเนินการดังนี้ คือ จัดทำระบบการบันทึกต้นทุน และราคาเป็นรายสินค้า สำหรับใช้ในการคำนวณมูลค่าปกติและราคาส่งออก ทดลองตอบแบบสอบถามจำลอง

เพื่อเตรียมความพร้อมในการส่งคำตอบแก่หน่วยงานไต่สวน ปรับปรุงและทบทวนการบันทึกต้นทุน ราคา และรายการวัสดุให้เป็นปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ เพื่อกำจัดส่วนต่างของราคาระหว่างตลาดได้ง่ายขึ้น ติดตามการเคลื่อนไหวของราคาและอัตราแลกเปลี่ยน

เพื่อตรวจสอบว่า ราคาส่งออกต่ำกว่าราคาขายในประเทศหรือไม่ อัตราแลกเปลี่ยนส่งผลให้ราคาส่งออกต่ำกว่าราคาขายในประเทศหรือไม่และจะสามารถปรับราคาให้อยู่ในระดับเดียวกันได้อย่างไร หลีกเลี่ยงการขายสินค้าส่งออกในราคาต่ำกว่าปกติ หรือการขายสินค้าในประเทศที่ราคาแพงกว่าปกติ เนื่องจากราคาที่ต่างกันมากจะมีผลต่อการคำนวณส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดและ ให้ความร่วมมือกับหน่วยงานไต่สวนอย่างเต็มที่ เพื่อให้การคำนวณส่วนเหลื่อมการทุ่มตลาดมีความถูกต้อง และเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาดในประเทศผู้นำเข้าไว้

จาก https://www.innnews.co.th  วันที่ 19 ตุลาคม 2564

ค่า PM2.5 ใหม่ของ WHO จุดท้าทายที่ไทยต้องไต่ระดับ 

       ปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศ“เกณฑ์แนะนำคุณภาพอากาศ (Air Quality Guidelines: AQGs) ”ฉบับใหม่เป็นครั้งแรกในรอบ 15 ปี โดยปรับระดับเกณฑ์แนะนำคุณภาพอากาศใหม่เข้มงวดขึ้นกว่าเดิม  เพิ่มมาตรฐานการกำหนดค่าเฉลี่ยรายปี ของฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 อยู่ที่ 5ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร จากดิม 10 มคก./ลบ.ม.  และค่าเฉลี่ยราย 24ชั่วโมงของฝุ่น PM 2.5 ที่ 15 มคก./ลบ.ม. ลดจากเดิมที่กำหนดไว้ที่ 25 มคก./ลบ.ม.

      ก่อนหน้านี้ WHOได้จัดทําและนำเสนอเกณฑ์แนะนำคุณภาพอากาศ เพื่อเป็นมาตรฐานสำหรับการลดผลกระทบมลพิษทางอากาศที่มีต่อสุขภาพมวลมนุษยชาติ ตั้งแต่ปี 2530  และมีการทบทวนเป็นระยะ ในปี 2540 และปี 2548 จนมาถึงการปรับแก้เกณฑ์ครั้งล่าสุด

      สำหรับเกณฑ์แนะนำปี 2564 ที่เพิ่งออกมานั้น ดร.อุมา ราชรัฐนาม  ตัวแทนจากองค์การอนามัยโลก ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้กล่าวในงานประชุมเสวนาออนไลน์ ในหัวข้อ“ประเทศไทยไปทางไหนต่อเกณฑ์แนะนำคุณภาพอากาศใหม่ของ WHO ” ว่า เกณฑ์ใหม่ WHO จัดทำขึ้นอ้างอิงจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เพื่อระบุระดับคุณภาพอากาศ  ซึ่งจำเป็นในการปกป้องสุขภาพของประชาชนทั่วโลก  โดยให้คำแนะนำเกี่ยวกับระดับคุณภาพอากาศสำหรับฝุ่น PM2.5, ฝุ่น PM10,โอโซน (O3), ไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2), ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2)และคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ทั้งยังให้เป้าหมายระหว่างทาง (Interim Target: IT)เพื่อเป็นทางเลือกสําหรับกําหนดเป้าหมายทางนโยบายในการจัดการคุณภาพอากาศกรณี ที่ยังไม่สามารถดําเนินงานให้คุณภาพอากาศบรรลุตามคำแนะนําของ WHO ได้

       ดร.อุมาระบุเกณฑ์นี้ให้แนวปฏิบัติสำหรับการตัดสินใจกำหนดมาตรฐานและเป้าหมาย ซึ่งมีผลผูกพันทางกฎหมายในการจัดการคุณภาพอากาศรวมถึงเป็นเครื่องมือในการออกแบบมาตรการที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดมลพิษอากาศ และปกป้องสุขภาพของมนุษย์

      “ การจัดทำ AQGsฉบับใหม่อ้างอิงหลักฐานและข้อมูลซึ่งปรากฏชัดเจนมากขึ้นว่า นับตั้งแต่ปี 2548มลพิษอากาศส่งผลต่อสุขภาพด้านต่างๆทั้งยังมีข้อมูลเชิงลึก แหล่งที่มาการปล่อยมลพิษและการมีส่วนของมลพิษอากาศต่อภาระโรคภัยในระดับโลก  เกณฑ์ใหม่ยังให้แนวปฏิบัติช่วยจัดการอนุภาคขนาดเล็กจากพายุฝุ่นหรือพายุทราย, ผงฝุ่นเขม่าดำ/ธาตุคาร์บอน และอนุภาคละเอียดพิเศษ  รวมทั้ง การจัดการอนุภาคฝุ่นละอองขนาดเล็ก ฝุ่น PM  บางประเภทซึ่งยังมีหลักฐานไม่เพียงพอ  ที่จะหาระดับแนวทางคุณภาพอากาศเชิงปริมาณ แต่ชี้ให้เห็นถึงความเกี่ยวข้องด้านสุขภาพ “  ดร.อุมาให้ข้อมูล

     ผู้แทน WHO ย้ำสถานการณ์มลพิษอากาศที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้เลวร้ายกว่าที่คาดคิด ในแต่ละปีมีประชาชนทั่วโลกต้องเสียชีวิตก่อนวัยมากถึง 7 ล้านคนทั้งจากโรคไม่ติดต่อ (NCDs)และผลกระทบจากมลพิษอากาศในสิ่งแวดล้อมและในครัวเรือนมากกว่า 2ล้านคนเกิดขึ้นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ประเทศที่มีรายได้ต่ำและรายได้ปานกลางได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการใช้พลังงานฟอสซิล ซึ่งก่อมลพิษมาก

        ปัจจุบันมลพิษอากาศเป็นภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อมที่ใหญ่ที่สุดต่อสุขภาพของมนุษย์ควบคู่ไปกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเธอบอกว่าแม้ปัจจุบันคุณภาพอากาศจะค่อยๆ ดีขึ้นในประเทศที่มีรายได้สูงแต่ความเข้มข้นของสารก่อมลพิษยังคงเกินมาตรฐาน โดยในปี 62 พบว่าประชากรโลกมากกว่าร้อยละ 90 อาศัยอยู่ในพื้นที่ ซึ่งมีความเข้มข้นฝุ่น PM2.5เกินมาตรฐาน 10 มคก./ลบ.ม. ของ WHOขณะที่ระดับความเข้มข้นสูงของไนโตรเจนไดออกไซด์ (NO2)ในพื้นที่เอเชียตะวันออก ตะวันออกกลาง อเมริกาเหนือและยุโรปส่วนใหญ่สะท้อนถึงการปล่อยมลพิษจากเครื่องยนต์สันดาป

     “ ในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลางส่วนใหญ่คุณภาพอากาศลดลงจากการขยายตัวของเมืองในวงกว้างและการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนใหญ่อาศัยการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างไม่มีประสิทธิภาพ จากการศึกษาของ WHO พบว่า 30 ปีที่ผ่านมา แม้จะมีปรับปรุงคุณภาพอากาศในบางภูมิภาคแต่จำนวนผู้เสียชีวิตและการสูญเสียปีสุขภาพดี (Healthy Life Years) กลับเพิ่มขึ้น"

      ดร.อุมากล่าวด้วยว่าเกณฑ์แนะนำคุณภาพอากาศใหม่นี้สามารถใช้เป็นเครื่องมือการปฏิบัติอิงหลักฐานสำหรับผู้มีอำนาจตัดสินใจร่างกฎหมายและนโยบายเพื่อลดระดับมลพิษอากาศ และลดภาระด้านสุขภาพที่เกิดจากการสัมผัสมลพิษอากาศทั่วโลกทั้งยังสามารถช่วยปรับปรุงมาตรฐานและเพิ่มรายชื่อมลพิษอากาศอีกด้วยประเทศไทยเผชิญมลพิษทาง PM2.5ระดับเกินกว่าค่าแนะนำคุณภาพอากาศของ WHO  อย่างไรก็ตามมีความตื่นตัวต่อวิกฤตฝุ่นพิษเป็นโอกาสที่จะทำให้คุณภาพอากาศของประเทศดีขึ้น ที่ผ่านมามีการเรียกร้องให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติและกรมควบคุมมลพิษ (คพ.)ยกระดับมาตรฐานคุณภาพอากาศของไทยให้เข้มข้นขึ้นเพื่อปกป้องชีวิตประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง

        ในมุมมอง    อรรคพล  เจริญชันษา อธิบดีกรมควบคุมมลพิษกล่าวเวทีเดียวกันว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญกับปัญหามลพิษทางอากาศมาตลอด ปี  2562  ผลักดันสู่วาระแห่งชาติ และขับเคลื่อนการแก้ปัญหาจนถึงปัจจุบันมีทิศทางและโครงสร้างการแก้ปัญหาที่ชัดเจนขึ้นบูรณาการการแก้ไขปัญหาภายใต้ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศทุกกระทรวงรับแผนไปปฏิบัติการมากขึ้นแนวโน้มดีขึ้นเมื่อเทียบกับจุดความร้อนที่เกิดขึ้น แม้ค่าเฉลี่ยราย 24 ชม.และรายปี ของฝุ่น PM2.5 จะยังไม่น่าพึงพอใจ

           “ มีหลายพื้นที่มลพิษ PM2.5  สูงเกินเกณฑ์ พื้นที่ในเมืองสถานการณ์คุณภาพอากาศยังน่าห่วงจากการจราจร ปัญหา  ควันดำ ปีนี้ปรับค่ามาตรฐานให้ต่ำลง และส่งเสริมยานยนต์ไฟฟ้าควบคู่กันจะเป็นจุดเปลี่ยนในเมือง  ส่วนพื้นที่นอกเมืองและพื้นที่เกษตรมีความท้าทายในการควบคุมเผาในที่โล่งแม้จะมีผลสำเร็จแก้เผาไร่อ้อยลดลง 70 % แต่ยังมีพื้นที่เกษตรที่พึ่งพาการเผาโดยเฉพาะในป่า ปีนี้ คพ.กำหนดในแผนเฉพาะกิจให้ท้องถิ่นจัดแผนและงบฯแก้ปัญหาไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่เพิ่มอนาคตวางแผนให้ท้องถิ่นนำค่าเฉลี่ยคุณภาพอากาศเป็นตัวชี้วัดระดับพื้นที่ ส่วนปัญหาหมอกควันข้ามแดนจะทำอย่างไรให้มีตัวชี้วัดชัดเจนร่วมกันในระดับภูมิภาคอาเซียน “ นายอรรคพล กล่าว

      กรณี WHO คลอดมาตรฐานใหม่ อธิบดี คพ. กล่าวว่ามาตรฐานควรมีความเหมาะสมกับมาตรการที่เดินไปพร้อมกัน รัฐบาลมีคณะกรรมอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศทั่วไปภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พร้อมรับฟังความคิดเห็นและนำเกณฑ์ใหม่เป็นเป้าหมายสูงสุดที่ไทยจะต้องไปให้ได้ ต้องปรับมาตรการในแต่ละพื้นที่การปรับมาตรฐานจะต้องไม่ให้เกิดความตระหนกและไม่ให้เกิดอุปสรรคในการดำเนินการตามมาตรการหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องพูดคุยกันหาแนวทางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับไทยในสถานการณ์ปัจจุบัน

        ด้าน พันศักดิ์ ถิรมงคล  ผู้อำนวยการกองจัดการคุณภาพและเสียง คพ.กล่าวว่า ปัญหา PM2.5 จะเกิดขึ้นทุกปี พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลมีวิกฤตหนักระหว่างเดือน พ.ย.- ก.พ เมื่อเปรียบเทียบจำนวนวันที่ PM 2.5มีค่าเกินมาตรฐาน ปี 2563 กับปี 2564 ลดลงร้อยละ 9 ขณะที่ภาคเหนือ 17จังหวัด วิกฤตระหว่างเดือน ม.ค. - พ.ค.เมื่อเปรียบเทียบจำนวนวันที่ค่าฝุ่นเกินมาตรฐานปี 63 กับปี 64 ลดลงร้อยละ 8ส่วนจุดความร้อนเปรียบเทียบภาพของรวมของประเทศไทยปี 63 กับ ปี64ลดลงร้อยละ 50 ส่วนจุดความร้อนจังหวัดภาคเหนือลดลงร้อยละ 52รัฐบาลมีนโยบายการป้องกันไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองปี 65เกี่ยวข้องกับทุกหน่วยงานลดปัญหาฝุ่นละออง ในส่วน คพ.ปรับการทำงานในเชิงปฏิบัติการมากขึ้นโดยร่างแผนเฉพาะกิจเพื่อแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี 2565จะปฏิบัติการร่วมกับจังหวัด ท้องถิ่น และชุมชนในการลดเกิดฝุ่น PM2.5 ในพื้นที่มิติใหม่การบริหารจัดการคุณภาพอากาศของประเทศไทย

        พันศักดิ์ย้ำว่า ต้องขยายผลต่อยอดจากแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติ”การแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง” แผนเฉพาะกิจเพื่อการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละออง ปี 2565แผนงานป้องกันและแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองจากไฟป่าและการเผาในที่โล่งในภาคเหนือปี 2564 นอกจากนี้ จำเป็นต้องใช้ความเชี่ยวชาญใช้ประโยชน์จากงานวิจัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่แก้ไขปัญหามลพิษที่สำคัญต้องทำงานเป็นทีมสร้างพลังในการลดมลพิษทางอากาศ   

      ส่วนเกณฑ์แนะนำคุณภาพอากาศใหม่ของ WHOปรับลดมาตรฐานเข้มงวดขึ้น ผู้อำนวยการกองคนเดิมเปรียบเทียบให้เห็นชัดๆ ว่ามาตรฐานคุณภาพอากาศของไทยกับเกณฑ์แนะนำใหม่ของ WHOไทยจะหย่อนกว่าเกือบ 3 เท่า ค่าเฉลี่ย 24 ชม. ฝุ่น PM 10 อยู่ที่ 120 มคก./ลบ.ม.ส่วนเกณฑ์ WHO 45 มคก./ลบ.ม. PM 2.5 เกณฑ์ไทยที่ 50 มคก./ลบ.ม ส่วน WHO 15มคก./ลบ.ม. ส่วนซัลเฟอร์ไดออกไซด์หย่อนกว่า 7 เท่าคุณภาพอากาศมาตรฐานเฉลี่ย 1 ปี ของไทยกับ WHO ก็หย่อนกว่าหลายเท่าอย่าง ฝุ่น PM 10 มาตรฐานไทย 50 มคก./ลบ.ม. ส่วนเกณฑ์ใหม่ WHO 15มคก./ลบ.ม. ฝุ่น PM2.5 ไทยอยู่ที่ 25 มคก./ลบ.ม. ส่วน WHO อยู่ที่ 5 มคก./บ.ม.

      สำหรับสถานการณ์คุณภาพอากาศของไทยพันธุ์ศักดิ์ระบุสารมลพิษทางอากาศที่ยังคงเป็นปัญหา คือ ฝุ่น PM 10 ฝุ่น PM 2.5โอโซน และสาร VOC แหล่งกำเนิดสำคัญ คือ ยานพาหนะ การเผาที่โล่งและอุตสาหกรรม แนวโน้มสถานการณ์คุณภาพอากาศรอบ 10 ปีมีแนวโน้มลดลงในทุกพื้นที่ สำหรับ PM 10 ยังพบปัญหาที่ อ.หน้าพระลาน จ.สระบุรีส่วน PM 2.5 จากการขยายสถานีตรวจวัดมากขึ้นพบว่าพื้นที่เกินค่ามาตรฐานเพิ่มขึ้น ถือเป็นปัญหาสำคัญของไทยส่วนโอโซนแนวโน้มดีขึ้น ขณะที่คาร์บอนมอนนอกไซด์สถานการณ์คงที่

       “ เกณฑ์ใหม่ของ WHOถือเป็นคุณภาพอากาศเป้าหมายของประเทศที่จะต้องมุ่งไปให้ถึงเพื่อคุณภาพอากาศที่ดีของประเทศ การกำหนดปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพอากาศต้องดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดโดยจะต้องอาศัยหลักวิชาการ กฎเกณฑ์และหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นพื้นฐาน และความเป็นได้เชิงเศรษฐกิจ สังคมและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องโดยขับเคลื่อนจากคณะอนุกรรมการกำหนดมาตรฐานคุณภาพอากาศในบรรยากาศโดยทั่วไปภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ คพ.จะนำเกณฑ์ใหม่WHOมาประกอบการพิจารณาปรับปรุงแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติการแก้ไขปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองระยะถัดไปปี 2565ดำเนินการปรับปรุงมาตรฐานคุณภาพอากาศที่กำหนดไว้แล้วให้เข้มข้นขึ้น “พันศักดิ์ เผยทิศทาง

       รศ.วงศ์พันธ์ ลิมปเสนีย์  ศูนย์วิชาการเพื่อขับเคลื่อนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษอากาศ กล่าวว่ามลพิษอากาศทำให้คนเสียชีวิต 7 ล้านคนต่อปีในจำนวนนี้มลพิษอากาศในบรรยากาศทั่วไป 4.2 ล้านคนและมลพิษอากาศจากการใช้เชื้อเพลิงในครัวเรือน 3.8 ล้านคน มีรายงานมูลค่าความเสียหายเชิงเศรษฐศาสตร์ของมลพิษทางอากาศมีการปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ 2560-2562ถ้าเปรียบเทียบเกณฑ์แนะนำ WHO กับค่ามาตรฐานคุณภาพอากาศไทยโดยเฉพาะมาตรฐานรายปี PM2.5 ที่ 5 มคก./ลบ.ม. ถ้าไทยจะทำตามเป้าหมายนี้ต้องลดร้อยละ 80 ส่วนมาตรฐาน 24 ชม. ไทยสูงกว่าอยู่ที่ 50 มคก./ลบ.ม. WHO  อยู่ที่ 15 มคก./ลบ.ม. เราต้องลดร้อยละ 70หากอยากให้สุขภาพของคนไทยดีขึ้น ต้องปรับมาตรฐานให้เข้มงวดขึ้น“ ถ้าอยากท้าทายตัวเองต้องปรับมาตรฐานรายปีลงมาที่ 20 มคก./ลบ.ม.ส่วนราย 24 ชม. ปรับลดเหลือ 35 มคก./ลบ.ม.มีการศึกษาการปรับลดมาตรฐานใหม่ของ WHOจะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร 1.7 แสนคนต่อปีคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ 5.8 ล้านล้านบาท โดยภาคกลาง ภาคเหนือและภาคอีสานได้ประโยชน์สูงสุดจากการปรับเกณฑ์คุณภาพอากาศ “

     รศ.วงศ์พันธ์ย้ำในการจัดการคุณภาพอากาศของไทยที่เจอมลพิษหนักหากจะทำให้ถึงเกณฑ์คุณภาพอากาศใหม่ WHO นักวิชาการคนเดิมให้แนวทางว่าจากรายงานสถานการณ์มลพิษปี 63 ค่าเฉลี่ยรายปีของ PM 2.5 .ในประเทศไทย คือ 23 มคก./ลบ.ม ยังสูงกว่าเกณฑ์คุณภาพอากาศเดิม WHO ที่กำหนด 10 มคก./ลบ.ม. ซึ่งไทยยังต้องลด 56% จะถึงเป้านี้ จะต้องห้ามเผา 100% และควบคุม 50% ของมลพิษจากรถยนต์ มาตรการที่ต้องดำเนินการร่วมกัน คือ ห้ามเผาใช้รถยนต์มาตรฐาน EURO V หรือ EURO V1 รวมทั้งรถยนต์เก่าด้วย อาจจะกำหนดรถที่สามารถใช้ในเมืองได้ต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปี รถต่ำกว่ายูโร 3ไม่สามารถใช้ได้ ส่วนเกณฑ์ใหม่ WHO ถ้าไทยจะลดฝุ่นพิษจาก 23 มคก./ลบ.ม. เหลือ 5มคก./ลบ.ม. จะต้องลด 78% ห้ามเผา 100% ลด 100% ของมลพิษจากรถยนต์และลดมลพิษ 25% จากแหล่งอื่นๆ ลดมลพิษได้ 78% มาตรการที่ต้องทำร่วมกันห้ามเผา อนุญาตให้ใช้เฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าในเขต กทม.-ปริมณฑล เพิ่มมาตรการลดมลพิษในโรงงานอุตสาหกรรมและแหล่งอื่นๆ ให้ลดลง 25% เช่นบ้านเรือน ฝุ่นจากถนน การก่อสร้าง

      ในเวทีนี้ รศ.วงศ์พันธ์ ยังเสนอการลดผลกระทบต่อสุขภาพของมลพิษฝุ่น PM2.5 จากภาคขนส่ง ผ่านแบบจำลอง 10 สถานการณ์ซึ่งอ้างอิงงานศึกษามหาวิทยาลัยมหิดลว่า 1.บังคับใช้เชื้อเพลิงกำมะถันต่ำ2.รถไฟฟ้ามีสัดส่วน 50% ของรถจดทะเบียนใหม่ตั้งแต่ปี 2567 3.เปลี่ยนรถประจำทาง ขสมก. ทั้งหมดเป็นรถไฟฟ้า 4.ปรับมาตรฐานรถเป็น ยูโร 5ในปี 2564 และ ยูโร 6 ในปี 2565 5.ห้ามรถยนต์นั่งส่วนบุคคลดีเซลวิ่งในพื้นที่ กทม. 6.ห้ามรถบรรทุกวิ่งในพื้นที่ กทม. 7.ห้ามรถที่มีอายุมากกว่า 20 ปี วิ่งในพื้นที่กทม.และปริมณฑลฯ 8.ติดตั้ง DPF ให้กับรถดีเซลทุกประเภทที่มีมาตรฐานตั้งแต่ยูโร 3 ลงไป 9.ติดตั้ง PDF พร้อมทั้งมีการบังคับใช้เชื้อเพลิงกำมะถันต่ำ และสุดท้าย 10.รวมการปฏิบัติของทุกแนวทาง

      “ ถ้ารวมทุกแนวทางปริมาณการปล่อยฝุ่น PM 2.5 จากไอเสียรถจาก 7,000 ตันต่อปี จะลดลงเหลือ 1,223 ตันต่อปีในปี 2572 ลดการสูญเสียด้านสุขภาพจาก 4 หมื่นรายต่อปี เหลือ 6,500 รายต่อปี นอกจากนี้ การใช้ทุกมาตรการจะเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในพื้นที่กรุงเทพฯ 2.3 หมื่นล้านบาท “ รศ.วงศ์พันธ์ ย้ำนโยบายจัดการคุณภาพต้องให้ความสำคัญกับภาคขนส่งและการจราจรเพื่อยก ระดับคุณภาพอากาศในทุกพื้นที่ให้ดีขึ้นไม่เฉพาะเมืองหลวงของไทยอย่างกทม.และ17จังหวัดภาคเหนือที่จมฝุ่น

จาก https://www.thaipost.net   วันที่ 19 ตุลาคม 2564

“เงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อย” โรงงานเริ่มทยอยโอนเข้าบัญชี 22 ต.ค. เป็นต้นไป

"ชาวไร่อ้อย" เฮ "เงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อย" โรงงาน เริ่มทยอยโอนเงินเข้าบัญชีแล้ว ตั้งแต่ วันที่ 26 ต.ค. เป็นต้นไป มีโรงงานไหนบ้าง เช็กได้เลย

โรงงานน้ำตาลทรายแห่งประเทศไทย โพสต์  ระบบการแบ่งปันผลประโยชน์ชาวไร่ 70% และโรงงาน 30% สำหรับ อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ของประเทศไทย มีระเบียบ การคำนวณค่าอ้อย กำหนดให้รอบปีการผลิตน้ำตาลแต่ละปี เริ่มต้นตั้งแต่เดือนตุลาคม สิ้นสุดเดือนกันยายน โดยราคาอ้อยจะมี 2 ส่วน คือ

"ราคาอ้อยขั้นต้น" คำนวณจาก "สมมติฐาน" ที่คาดว่าจะเกิดขึ้น เช่น ปริมาณอ้อย ค่าความหวานอ้อย ผลผลิตน้ำตาล ราคาน้ำตาล ราคาโมลาส อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท เป็นต้น โดยมีจุดประสงค์เพื่อใช้อ้างอิงการซื้อขายอ้อยในช่วงฤดูหีบ

สำหรับ "ราคาอ้อยขั้นสุดท้าย" 63/64 ยังไม่ถูกประกาศอย่างเป็นทางการ ซึ่งคาดว่าทุกเขตจะมีจ่ายกับพี่น้องชาวไร่อ้อย อัตราต่ำสุด 60 บาท และสูงสุด 110 บาทต่อตัน เป็นเงินส่วนเพิ่มจากราคาอ้อยขั้นต้น 920 บาทต่อตัน (เพิ่มเป็น 960 ถึง 1,030 บาทต่อตัน)

"เงินช่วยเหลือชาวไร่อ้อย" หลายโรงงานเริ่มทยอยจ่ายแล้ว เริ่ม จาก  บริษัท ไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด สาขาสกลนคร มีความห่วงใยชาวไร่คู่สัญญา ในการดำเนินการปลูกอ้อย ประจำปีการผลิต 2565/2566 จึงขอประกาศ สำรองจ่ายเงินค่าอ้อยเบื้องสุดท้าย 50 บาท/ตัน  (ก่อนประกาศไม่รวม CCS.) จะโอนเข้าบัญชี ธนาคารกรุงศรีอยุธยา ในวันที่ 22 ตุลาคม 2564 ทั้งนี้ยอดเงินที่โอนเข้าบัญชีเป็นยอดเงินที่ไม่หักภาษี

บริษัท ไทยรุ่งเรืองอุตสาหกรรม จำกัด สาขาศรีเทพ จ่ายค่าอ้อยเบื้องสุดท้าย 60 บาท/ตัน นัดโอน 21 ต.ค.

สาขาศรีเทพ

มาต่อที่ บริษัท น้ำตาลสระบุรี จำกัด ประกาศกำหนดการสำรองจ่ายเงินค่าอ้อยขึ้นสุดท้าย ปีการผลิต 2563/2564  เพื่อเป็นการสนับสนุนเกษตรกรชาวไร่อ้อย ให้เกิดสภาพคล่อง  เป็นเงิน 60 บาทต่อตันอ้อย  โดยโอนเข้าบัญชีธนาคารกรุงไทย ในวันที่ 26 ตุลาคม 2564

บริษัท น้ำตาลสระบุรี จำกัด

บริษัท น้ำตาล ขอนแก่น จำกัด (มหาชน)  สำรองเงินจ่ายค่าอ้อยเบื้องสุดท้าย  50 บาท/ตัน จะทำการโอนเข้าบัญชีในวันที่ 27 ตุลาคม 2564 ในกรณีที่ชาวไร่มีหนี้ค้างเก่า ทางบริษัทจะทำการหักหนี้ก่อนจ่าย

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 19 ตุลาคม 2564

WTO คาดการค้าโลกปี’64 โต 10.8% จี้สมาชิกลดอุปสรรคคอขวดสินค้าโควิด

WTO คาดการค้าโลกปี 2564 โต 10.8% สะกิดประเทศสมาชิกลดอุปสรรคคอขวดการค้าสินค้าเกี่ยวกับโควิด ‘ไทย’ ติดท็อปอันดับ 7 จาก 27 ประเทศผู้ผลิตวัคซีนที่ภาษีนำเข้าปัจจัยการผลิตสูง

วันที่ 19 ตุลาคม 2564 น.ส.พิมพ์ชนก วอนขอพร เอกอัครราชทูต คณะผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลกและองค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก เปิดเผยว่า องค์การการค้าโลก (WTO) ออกผลการศึกษาฉบับล่าสุดเกี่ยวกับผลกระทบของโควิด-19 ต่อการค้าโลก พบว่า การค้าโลก ในไตรมาสที่ 2 ปี 2564 ขยายตัวถึง 46% และคาดว่าในปี 2564 จะขยายตัวที่ 10.8% โดยการแพร่ระบาดของโควิดเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่มีผลต่อการขยายตัวของการค้าโลก

และยังมีปัญหาคอขวดที่เป็นอุปสรรคต่อการค้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับโควิด ทั้งมาตรการจำกัดการส่งออก ขั้นตอนการขึ้นทะเบียนและขออนุญาตต่าง ๆ ส่งผลให้การผลิตและกระจายวัคซีนโควิดทั่วโลกหยุดชะงัก เกิดความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงวัคซีน ส่งผลต่อเนื่องไปยังการค้าและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งอัตราอากรขาเข้าสินค้าที่เป็นปัจจัยการผลิตวัคซีนยังคงอยู่ในระดับสูงอย่างมากในหลายประเทศ โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนารวมทั้งไทย

ดังนั้น การทบทวนพิจารณาเพื่อลดอัตราอากรของสินค้าข้างต้น รวมถึงความร่วมมือระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหาคอขวดจึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการส่งเสริมการฟื้นตัวของการค้าโลกในระยะต่อไป

สำหรับสาระสำคัญ ผลการศึกษา ระบุว่า

1.ทั่วโลกผ่อนคลายการจำกัดทางการค้า และหันมาส่งเสริมการอำนวยความสะดวกทางการค้ามากขึ้น ประเทศสมาชิกใช้มาตรการจำกัดการค้า (Trade-restricting measures) ทุก ๆ ปี แต่ยังใช้มาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้า (Trade-facilitating measures) ที่ครอบคลุมมูลค่าการค้าที่สูงกว่า ซึ่งถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การค้าสินค้าของโลกฟื้นตัวดังกล่าว

โดยสำนักเลขาธิการของ WTO ออกรายงานการใช้มาตรการทางการค้าของประเทศสมาชิก ในช่วง ต.ค. 63 – พ.ค. 64 ทั้งที่เกี่ยวข้องกับโควิดและไม่เกี่ยวของกับโควิด พบว่า 1.1 มาตรการทางการค้าที่เกี่ยวกับโควิด : สัดส่วนจำนวนมาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้าสูงขึ้น เมื่อเทียบกับมาตรการจำกัดการค้า ตั้งแต่การเริ่มแพร่ระบาดของโควิด ประเทศสมาชิกได้ใช้มาตรการทางการค้าที่เกี่ยวกับโควิดแล้ว 384 มาตรการ

ซึ่งประมาณ 65% เป็นมาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้า หรือเป็นจำนวน 248 มาตรการ ครอบคลุมมูลค่าการค้า 291.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ ที่เหลืออีก 136 มาตรการเป็นมาตรการจำกัดการค้า ครอบคลุมมูลค่าการค้า 205 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่ง 114 มาตรการในนั้นเป็นมาตรการจำกัดการส่งออก ที่ถือว่าเป็นปัญหาสำคัญในการแก้ไขปัญหาการกระจายวัคซีนและสินค้าสำคัญทางการแพทย์อื่น ๆ

1.2 มาตรการทางการค้าที่ไม่เกี่ยวกับโควิด ประเทศสมาชิกมีการใช้มาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้า 61 มาตรการ ต่ำกว่าจำนวนมาตรการจำกัดการค้าที่ 70 มาตรการ ระหว่างเดือน ต.ค. 2563 และ พ.ค. 2564 อย่างไรก็ตาม เมื่อคิดเป็นมูลค่าความครอบคลุมทางการค้า (Trade coverage) แล้ว มาตรการอำนวยความสะดวกทางการกลับมีมูลค่าทางการค้าสูงถึง 445 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่มาตรการจำกัดทางการค้ามีมูลค่าทางการค้าเพียง 127 พันล้านเหรียญสหรัฐ

โดยสัดส่วนมาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้าในมูลค่าการค้ารวมคิดเป็น 77.8% เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากช่วงเวลาการทบทวนในอดีต แสดงให้เห็นว่า ถึงแม้ประเทศสมาชิกจะใช้มาตรการจำกัดการค้าทุก ๆ ปี แต่ก็ยังออกมาตรการอำนวยความสะดวกทางการค้าที่ครอบคลุมมูลค่าการค้าที่สูงกว่า ช่วงส่งเสริมการฟื้นตัวของการค้าโลก

1.3 มาตรการปกป้องและตอบโต้ทางการค้าที่ประเทศสมาชิกประกาศเริ่มไต่สวน (Initiation) ในช่วงระหว่างเดือน ต.ค. 2563 และ พ.ค. 2564 มีจำนวนต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 2012 และมีค่าเฉลี่ยการเริ่มไต่ส่วนต่อเดือนที่ 19.1 เคสต่อเดือน ซึ่งต่ำที่สุดตั้งแต่ปี 2012 เช่นกัน

อย่างไรก็ตาม มาตรการปกป้องและตอบโต้ทางการค้ายังคงเป็นมาตรการหลักที่ประเทศสมาชิกใช้ ซึ่งมีสัดส่วนถึง 67% ของมาตรการทางการค้าที่ไม่เกี่ยวกับโควิดทั้งหมดที่ประทศสมาชิกประกาศใช้ในช่วงระหว่างเดือน ต.ค. 2563 และ พ.ค. 2564

2.การขยายการผลิตและกระจายวัคซีนโควิดยังคงมีปัญหาคอขวด (Bottleneck) สำคัญหลายประการ ส่งผลให้การฟื้นตัวของการค้าแตกต่างกันตามภูมิภาค ตามรายงานที่จัดทำโดยสำนักเลขาธิการของ WTO เกี่ยวกับปัญหาสภาวะคอขวดของการค้าสินค้าที่เกี่ยวข้องกับโควิด-19 รวมถึงวัคซีนและวัตถุดิบ

ซึ่งแสดงให้เห็นว่าปัจจัยเสี่ยงในการขยายตัวของการค้าโลกยังคงมีอยู่ในระดับสูง และความร่วมมือระหว่างประเทศยังมีความจำเป็นอย่างมาก เพื่อให้การค้าสินค้าและปัจจัยการผลิตที่จำเป็นต่อการผลิตวัคซีนโควิดเป็นไปอย่างลื่นไหลและมีประสิทธิภาพที่สุด ได้แก่

2.1 การใช้มาตรการจำกัดการส่งออกวัคซีนและวัตถุดิบ รวมทั้งกระบวนการทางศุลกากรที่ยังคงเป็นอุปสรรคต่อวัตถุดิบวัคซีนบางชนิด อาทิ บางประเทศไม่อนุญาตให้วัตถุดิบในการผลิตวัคซีนผ่าน green channel หรือตัวอย่างวัคซีนที่ถูกส่งไปทดสอบที่ต่างประเทศต้องผ่านพิธีการทางศุลกากรเสมือนเป็นสินค้าทั่วไป

2.2 การขึ้นทะเบียนยา การขออนุญาตจำหน่าย การตรวจปล่อย กระบวนการ Post-approval changes รวมทั้งขั้นตอนการขยายการผลิต (Scaling up) ใช้เวลายาวนาน เปลี่ยนแปลงบ่อย และไม่สอดคล้องกันระหว่างประเทศ

2.3 ปัญหาทางด้านโลจิสติกส์ในการขนย้ายวัคซีนและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เช่น การขาด Syringe และห้องเย็น

3.อากรนำเข้าสินค้าที่เป็นปัจจัยการผลิตวัตซีนโควิดของประเทศผู้ผลิตวัคซีนทั่วโลก รวมทั้งไทย ยังอยู่ในระดับสูงมาก นอกจากปัญหาด้านกฎระเบียบต่าง ๆ แล้ว สินค้าที่เกี่ยวกับโควิด โดยเฉพาะวัตถุดิบที่จำเป็น ยังคงถูกเก็บอากรนำเข้า (Average applied MFN tariff) ในระดับที่สูง ใน 23 ประเทศ จากทั้งหมด 27 ประเทศที่เป็นผู้ผลิตวัคซีนที่โควิดทั่วโลก

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง อิหร่าน (11.9%) คิวบา (10.3) อาร์เจนตินา (9.6%) คาซัคสถาน (8.9%) และอินเดีย (8.5%)

โดยไทยมีอัตราภาษีเฉลี่ยอยู่ที่ 6.4% สูงเป็นอันดับที่ 7 ในบรรดา 27 ประเทศผู้ผลิตวัคซีน ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่สูงอย่างมีนัยสำคัญและไม่ควรเพิกเฉย (Consequential and non-negligible)

ทั้งนี้ สินค้าปัจจัยการผลิตวัคซีนโควิดที่ไทยมีอัตราภาษีนำเข้าสูง รวมทั้งมีสัดส่วนในการนำเข้าสูง ได้แก่ ถุงเครื่องปฏิกรณ์ชีวภาพ (Bioreactor bags) อุปกรณ์การผลิตวัคซีน (Manufacturing equipment) และสารวัตถุดิบสำหรับวัคซีน (Vaccine ingredients) และไทยยังเก็บภาษีซูโครสบริสุทธิ์ในรูปของแข็ง (Chemically pure sucrose, in solid form) ซึ่งถือเป็น inactive ingredient ของการผลิตวัคซีนโควิดสูงถึง 94% สูงรองเพียงแค่อินเดียที่เก็บอากรนำเข้าสินค้าชนิดนี้ที่ร้อยละ 100

จาก https://www.prachachat.net  วันที่ 19 ตุลาคม 2564

"คณิศ" มั่นใจ 5G ดันอุตสาหกรรมอีอีซีรุดหน้า 5 ปี การลงทุนทะลุ 2.2 ล้านล้าน

"คณิศ" มั่นใจ 5G ผลักดันการลงทุนในอีอีซีเพิ่มเป็น 2.2 ล้านล้านบาท เผย 5G ขับเคลื่อนอุคสาหกรรมในอีอีซีรุดหน้า ล่าสุด บีโอไอ พร้อมสนับสนุนการลงทุนระบบอัตโนมัติ ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มให้อีก 3 ปี

ขณะเดียวกัน ปรับแผนการลงทุนปี 2565-2569 จากเป้า 1.6-1.7 ล้านล้าน เป็น 2.2 ล้านล้าน พร้อมปักธงไตรมาสแรกปี 2565 ได้พันธมิตรร่วมเดินหน้าพัฒนาโครงการ EECd ส่วนการพัฒนาบุคลากรมั่นใจได้ 1 แสนคนภายใน 3 ปีแน่นอน

ดร. คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ. หรือ เลขาฯ EEC) เปิดเผยในงานเสวนา "5G ดันศักยภาพไทยแข่งขันเวทีโลก" ของกรุงเทพธุรกิจ ว่า ขณะนี้พื้นที่อีอีซี มีโครงสร้างพื้นฐานและมีสัญญาณ 5G เต็ม 100% จากทั้งเอไอเอส และทรูซึ่งถือเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญที่ทำให้การลงทุนอุตสาหกรรมในอีอีซีรุดหน้าอย่างรวดเร็ว โดยช่วง 3 ปีแรกของการดำเนินงานเกิดการลงทุนรวมที่ได้รับอนุมัติแล้ว 1.6 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 94% จากเป้าหมายแผน 5 ปี (ปี 61-65) ของอีอีซีจำนวน 1.7 ล้านล้านบาท หลังจากดำเนินงานมา 3 ปี 8 เดือน สามารถบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้แล้ว จึงมีการตั้งเป้าขยายการลงทุนในพื้นที่อีอีซีในช่วง 5 ปีข้างหน้า (ปี 65-69) ไม่น้อยกว่า 2.2 ล้านล้านบาท เพื่อเติมเต็มประเทศจากที่ได้รับผลกระทบจากโควิด -19

"4G ช้า ทำให้เราสูญเสียโอกาสเยอะ แต่ตอนนี้จากดิจิทัลมันเป็น 5G ออโตเมชั่นกับสมาร์ทซิสเต็ม ที่เข้าอุตสาหกรรมอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นการแพทย์ เชื่อเพลิง อุตสาหกรรมเกษตร ขนส่ง การบิน เคมีชีวภาพ อยานยนต์ อันนี้ช่วยได้หมด เพราะฉะนั้น 5G คือ การพัฒนาระบบออโตเมชั่นครั้งสำคัญของประเทศ" ดร.คณิศกล่าวและว่า จากระบบออโตเมชั่นทำให้เกิดฐานจ้อมูลเป็นดาต้าเซ็นเตอร์ ทำให้เกิดดิจิทัลแพลทฟอร์ม ซึ่งทำให้เกิดแอปพลิเคชั่น เกิดสังคมไร้เงินสด และการพัฒนาอีคอมเมิร์ซที่เต็มรูปแบบ ทำให้สตาร์ทอัพทำงานได้ง่ายขึ้น ทั้งหมดเกิดจากมี 5G เข้ามา

ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ได้มีการทำแผน 5G ในอีอีซี เสนอ คณะรัฐมนตรี ซึ่งประกอบด้วย 1.ด้านโครงสร้างพื้นฐานจากสัญญาณสู่ข้อมูลกลาง แยกเป็นโครงสร้างพื้นฐานด้านสัญญาณ ได้แก่ ท่อ เสา สาย สัญญาณ และโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลกลาง ซึ่งขณะนี้ อีอีซีมีสัญญาณ 5G 100% 2. ด้านการใช้ประโยชน์ก้าวเข้าสู่ดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมซึ่งจะมีกาเรพิ่มผู้ใช้ 5G ในภาคการผลิตและบริการ การนำ 5G สร้างประโยชน์ให้ชุมชน และการสร้างธุริกจใหม่จาก 5G 3. ด้านการพัฒนาบุคลากร ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการร่วมกับพาร์ทเนอร์ อาทิ หัวเว่ย และอื่นๆ ซึ่งมั่นใจได้ว่า จะสามารถพัฒนาบุคลากรได้ไม่ต่ำกว่า 1 แสนตำแหน่งงานแน่นอน ยืนยันว่าสามารถสร้างบุคลากรได้เพียงพอและทันต่อการเติบโตของอุตสาหกรรมในอีอีซี และ 4. การมีส่วนร่วมของประชาชน

ดร.คณิศ ได้ขยายความ การใช้ประโยชน์ของ 5G ที่ต้องเพิ่มผู้ใช้ในภาคการผลิต ผลักดันธุรกิจให้มาใช้ 5G ทำให้เกิดการเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมโรงแรม หน่วยราชการ และเอสเอ็มอี ส่วนการนำ 5G ลงชุมชน ขณะนี้ลงไปแล้วที่บ้านฉาง สิ้นปีน่าจะได้ 60 ต้น จากตอนนี้ได้ 5 ต้น และมีหัวเว่ย เข้าไปช่วยติดตั้งให้ที่พัทยา

ล่าสุด บีโอไอ ได้ออกมาตรการสนับสนุนการลงทุนระบบอัตโนมัติ และการยกระดับไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 เช่น การลงทุนที่มีระบบอัตโนมัติและการเชื่อมโยงต่อระหว่างอุปกรณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลและการปฏิบัติการที่ชาญฉลาด หรือการนำเทคโนโลยี ดิจิทัลมาใช้บริหารจัดการในกระบวนการผลิต โดยผู้ประกอบการสามารถยื่นคำช้อได้ที่บีโอไอ และเมื่อผ่านการพิจารณา จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มอีก 3 ปี

ส่วน ดิจิทัลฮับ หรือ โครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (EECd) กำลังจะเริ่มพิชและคัดเลือกบริษัทเข้ามา โดยไตรมาสแรกจะศึกษาความเป็นไปได้โครงการ และสรรหาผู้ร่วมพัฒนา ส่วนไตรมาส 2 ได้ผู้ร่วมพัฒนาโครงการฯ ร่วมประเมินความเป้นไอได้ และกำหนดรูปแบบความร่วมมือ ต่อจากนั้นไตรมาส 3 พร้อมพัฒนา จัดภูมิทัศน์พื้นที่โครงการ และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ไตรมาส 4 เริ่มพัฒนาระยะที่ 2 พัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ส่วนที่ 1 ดำเนินการด้านการตลาด ดึงดูดการลงทุน และไตรมาสแรกปี 2566 สำเร็จตามเป้าหมาย ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน และมีนักลงทุนเข้าพื้นที่โครงการ

ปัจจัยข้างนอกไม่ค่อยมีอะรไ เราสามารถแข่งขันได้ เรื่อง 5G เราก้าวไกลกว่าคนอื่นเยอะ ปัญหาอยู่ทที่กฎระเบียบ และความเข้าใจ เราต้องทำความเข้าใจและแก้ไขกฎระเบียบ ซึ่งตอนนี้มีการดำเนินการไปเยอะแล้ว

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 18 ตุลาคม 2564

มิตรผลแจกผลิตภัณฑ์น้ำตาลมิตรผลฟรี 9,000 ชุด

มิตรผล เติมความหวาน เคียงข้างผู้ประกอบการไทยรอบที่ 2 แจกผลิตภัณฑ์น้ำตาลมิตรผลฟรี 9,000 ชุด เพื่อช่วยลดต้นทุน เพิ่มกำไร ให้ก้าวผ่านวิกฤตโควิด-19 ไปด้วยกัน

วันที่ 18 ตุลาคม 2564 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ยังคงไม่คลี่คลายมานานกว่า 2 ปี ส่งผลให้ประเทศไทยต้องเผชิญหน้ากับผลกระทบรุนแรงในทุกภาคส่วน โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจของประเทศที่ถูกล็อคดาวน์เพื่อความปลอดภัยในการควบคุมโรค

กลุ่มมิตรผล ตระหนักถึงความยากลำบากของหลายภาคส่วน โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหาร

เบเกอรี และเครื่องดื่มต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องรัดเข็มขัดเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย รวมถึงปรับวิธีการบริหารจัดการธุรกิจที่ต้องลดต้นทุนเพื่อให้ก้าวผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปได้ จึงเดินหน้าสานต่อโครงการ “มิตรผล เติมความหวาน เคียงข้างผู้ประกอบการไทย”

เพื่อย้ำจุดยืนในความมุ่งมั่นที่จะอยู่เคียงข้าง และร่วมส่งกำลังใจให้ผู้ประกอบการไทยสามารถกลับมาเดินหน้าต่อได้อีกครั้ง โดยแจกชุดผลิตภัณฑ์น้ำตาลมิตรผลให้นำไปใช้ได้ฟรี 3,000 ชุด / สัปดาห์ รวมทั้งสิ้น 9,000 ชุด ระหว่างวันที่ 18 ต.ค. 2564 – 7 พ.ย. 2564 หรือจนกว่าสินค้าจะหมด พร้อมจัดส่งฟรีทั่วประเทศ (เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ กำหนด) ซึ่งชุดผลิตภัณฑ์ที่จะแจกในแต่ละสัปดาห์ ประกอบด้วย

สัปดาห์ที่ 1 : วันที่ 18 ต.ค. 2564 – 24 ต.ค. 2564 หรือจนกว่าสินค้าจะหมด แจกฟรี ชุดน้ำเชื่อมเข้มข้นมิตรผลขนาด 800 มล. จำนวน 12 ถุง มูลค่า 480 บาทต่อชุด จำนวน 3,000 ชุด

สัปดาห์ที่ 2 : วันที่ 25 ต.ค. 2564 – 31 ต.ค.2564 หรือจนกว่าสินค้าจะหมด แจกฟรี ชุดน้ำตาลทรายแดงสำหรับเบเกอรีมิตรผล ขนาด 1 กก. จำนวน 4 ถุง, น้ำตาลเบเกอรีมิตรผล ขนาด 1 กก. จำนวน 4 ถุง และ น้ำตาลไอซิ่งมิตรผล ขนาด 900 กรัม จำนวน 4 ถุง มูลค่า 508 บาทต่อชุด จำนวน 3,000 ชุด

สัปดาห์ที่ 3 : วันที่ 1 พ.ย. 2564 – 7 พ.ย. 2564 หรือจนกว่าสินค้าจะหมด แจกฟรี ชุดน้ำตาลอ้อยธรรมชาติมิตรผล ขนาด 1 กก. จำนวน 10 ถุง และน้ำตาลอ้อยผสมน้ำตาลมะพร้าวมิตรผล ขนาด 1 กก. จำนวน 5 ถุง มูลค่า 510 บาทต่อชุด จำนวน 3,000 ชุด

ทั้งนี้ ผู้ที่สนใจสามารถติดต่อแจ้งความประสงค์ผ่านช่องทาง LINE @mitrpholsugar หรือ โทร Call Center

02-030-9600 เวลา 08.30 น. – 17.30 น.

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ Call Center 02-030-9600 เวลา 08.30 น.-17.30 น.

เงื่อนไข

1. ท่านที่ต้องการชุดสินค้าที่ทางบริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด (“บริษัทฯ”) ได้จัดเตรียมไว้จะต้องติดต่อแจ้งความประสงค์ผ่านช่องทาง LINE @mitrpholsugar หรือ โทร Call center ที่เบอร์ 02-030-9600 เวลา 08.30 น. – 17.30 น. โดยมีรายละเอียดดังนี้

สัปดาห์ที่ 1 : วันที่ 18 ต.ค. 2564 – 24 ต.ค. 2564 หรือจนกว่าสินค้าจะหมด แจกฟรี ชุดน้ำเชื่อมเข้มข้นมิตรผลขนาด 800 มล.จำนวน 12 ถุง มูลค่า 480 บาทต่อชุด จำนวน 3,000 ชุด

สัปดาห์ที่ 2 : วันที่ 25 ต.ค.2564 – 31 ต.ค.2564 หรือจนกว่าสินค้าจะหมด แจกฟรี ชุดน้ำตาลทรายแดงสำหรับเบเกอรีมิตรผล ขนาด 1 กก. จำนวน 4 ถุง ,น้ำตาลเบเกอรีมิตรผล ขนาด 1 กก. จำนวน 4 ถุง และ น้ำตาลไอซิ่งมิตรผล ขนาด 900 กรัม จำนวน 4 ถุง มูลค่า 508 บาทต่อชุด ต่อจำนวน 3,000 ชุด

สัปดาห์ที่ 3 : วันที่ 1 พ.ย.2564 – 7 พ.ย.2564 หรือจนกว่าสินค้าจะหมด แจกฟรี ชุดน้ำตาลอ้อยธรรมชาติมิตรผล ขนาด 1 กก. จำนวน 10 ถุง และ น้ำตาลอ้อยผสมน้ำตาลมะพร้าวมิตรผล ขนาด 1 กก. จำนวน 5 ถุง มูลค่า 510 บาทต่อชุด ต่อจำนวน 3,000 ชุด

2. ทางบริษัทฯขอสงวนสิทธิ์ให้ 1 ท่าน ต่อ 1 ชุด ตลอดโครงการมิตรผลเติมความหวาน เคียงข้างผู้ประกอบการไทย โดยไม่สามารถโอนสิทธิ์ให้กับผู้อื่นได้

3. ทางบริษัทฯ บริการจัดส่งให้ฟรีทั่วประเทศไทย โดยใช้บริการผู้ขนส่งที่ทางบริษัทฯ จัดหา

4. ระยะเวลาการจัดส่งประมาณ 5 – 10 วัน หลังจากวันที่ท่านได้รับการยืนยันสิทธิ์จากบริษัทฯ

5. ท่านสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มได้ที่ Call Center เบอร์โทร 02-030-9600 เวลา 08.30 น.-17.30 น.

6. บริษัทฯ ขอสงวนสิทธิ์ในการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆ หรือทำการยุติกิจกรรมโดยไม่ต้องแจ้งให้ทราบล่วงหน้า กรณีมีข้อขัดแย้งหรือข้อพิพาท ขอให้ถือคำสั่งตัดสินชี้ขาดของบริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด เป็นที่สิ้นสุด

จาก https://www.prachachat.net  วันที่ 18 ตุลาคม 2564

อุตฯหนุนใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตแข่งขันตลาดโลก

นายกอบชัย สังสิทธิสวัสดิ์ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ผลิตภาพการผลิตรวม (Total Factor Productivity) หรือ TFP ภาคอุตสาหกรรมไทยในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา (2560-2562) เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.50% ต่อปีสูงกว่าผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของภาคอุตสาหกรรม ที่เฉลี่ยเพิ่มขึ้น 0.93% ต่อปีสะท้อนให้เห็นว่าผลิตภาพการผลิตที่มีการเติบโตที่สูงกว่านั้น เป็นจุดแข็งที่สร้างความแข็งแกร่งและเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญของภาคอุตสาหกรรมซึ่งขณะต้องเผชิญความผันผวนรุนแรงของเศรษฐกิจและการแข่งขันที่สูงขึ้น เมื่อมาพิจารณาถึงการขยายตัวของ TFP จะพบว่าเป็นผลมาจากประสิทธิภาพด้านเครื่องจักรมากถึง 1.41% และประสิทธิภาพด้านแรงงาน 0.09% สะท้อนว่าการขยายตัวของ TFP ถูกขับเคลื่อนด้วยประสิทธิภาพด้านเครื่องจักรเป็นสำคัญ

กลไกสำคัญที่จะขับเคลื่อนให้อุตสาหกรรมมีความแข็งแกร่ง คือ การผลักดันให้อุตสาหกรรมใช้อุปกรณ์อัตโนมัติ/กึ่งอัตโนมัติให้มากขึ้น (Automation/Semi Automation) ที่จะมาช่วยลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการผลิต ซึ่งจะสอดคล้องกับสถานการณ์ในปัจจุบัน ที่มีการแพร่ระบาดของโควิด-19ที่ส่งผลกระทบต่อแรงงาน ไม่สามารถทำการผลิตได้เต็มที่

“TFP เป็นตัวชี้วัดหนึ่งที่สำคัญตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (2561-2580) ได้กำหนดเป้าหมายผลิตภาพการผลิตรวมของอุตสาหกรรมต้องเติบโต 2% ต่อปี เพื่อที่จะหลุดพ้นจากกับดักรายได้ปานกลางและกลายเป็นประเทศร่ำรวยซึ่งเป็นการวัดการเพิ่มผลผลิตที่เกิดจากปัจจัยเชิงคุณภาพ เช่น ความก้าวหน้าของนวัตกรรมและเทคโนโลยี การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ(เป็นปัจจัยที่มิได้มาจากการเพิ่มของปัจจัยการผลิตเช่น แรงงาน ที่ดิน ทุน) จึงเป็นตัวชี้วัดที่สะท้อนถึงความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมที่แท้จริง” นายกอบชัย กล่าว

ดังนั้นจึงสนับสนุนให้ผู้ประกอบการยกระดับและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดโลกได้ โดยสนับสนุนให้โรงงานใช้เครื่องจักรอัตโนมัติปรับปรุงกระบวนการผลิต อีกทั้งยังได้เตรียมเม็ดเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำจากกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีสำหรับผู้ประกอบการที่สนใจ นอกจากนี้ยังเตรียมเพิ่มจำนวน Local SI ทั่วประเทศ เพื่อรองรับการขยายตัวของความต้องการใช้ระบบอัตโนมัติ ซึ่งจะดำเนินการผ่านเครือข่ายคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติภูมิภาค ที่กระทรวงอุตสาหกรรมได้ตั้งขึ้น โดยมีมหาวิทยาลัยชั้นนำในแต่ละภูมิภาค เข้าเป็นเครือข่าย เช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยบูรพาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบังและมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

จาก https://www.naewna.com วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ติดตามการส่งออกไทยและจีดีพีจีน

เงินบาทมีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 32.80-33.80 ในสัปดาห์นี้ ปัจจัยที่ต้องติดตามคือตัวเลขส่งออกของไทยที่เป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยในปีนี้

คอลัมน์ มันนี่วีก (Money…week) โดย...กฤติกา บุญสร้าง, มนัสวิน ฐิติสมบูรณ์ สายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทย

สายงานธุรกิจตลาดทุน ธนาคารกสิกรไทยประเมินว่า เงินบาทมีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 32.80-33.80 ในสัปดาห์นี้ ปัจจัยที่ต้องติดตามคือตัวเลขส่งออกของไทยที่เป็นปัจจัยขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทยในปีนี้ ท่ามกลางค่าขนส่งที่อยู่ในระดับสูง ภาวะคอขวดในภาคอุปทาน และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่พุ่งขึ้น ทำให้ตลาดคาดการณ์ว่าการส่งออกไทยจะขยายตัว 12.35%YoY ในเดือนกันยายน จาก 8.93%YoY ในเดือนสิงหาคม และคาดการณ์ว่าการนำเข้าในเดือนกันยายนจะขยายตัวชะลอลงที่ 33.3%YoY จากเดือนก่อนหน้าที่ 47.92%YoY นอกจากนี้ ยังคาดการณ์ว่าดุลการค้าจะติดลบ 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนกันยายน จาก 1.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในเดือนก่อนหน้า

ทางด้านจีนจะเปิดเผยจีดีพีไตรมาสที่ 3 ของปีนี้ ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่าจะเติบโต 0.4%QoQ เนื่องจากการชะลอตัวภาคธุรกิจและการจ้างงาน ด้วยความกังวลด้านประเด็นการผิดนัดชำระหนี้ในภาคอสังหาริมทรัพย์ นอกจากนี้ ทางฝั่งอเมริกา ต้องติดตามการเปิดเผยรายงานเศรษฐกิจของเฟด ซึ่งจะสะท้อนภาพเศรษฐกิจในเชิงลึกรวมถึงคาดการณ์ของเฟดในอนาคตด้วย

ภาพรวมตลาดอัตราแลกเปลี่ยนในช่วงวันที่ 11-15 ตุลาคม 2564 ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นอย่างมาก ภายหลังจากที่รัฐบาลไทยประกาศจะเปิดรับนักท่องเที่ยวแบบไม่ต้องกักตัวในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ และคาดการณ์ว่าจะมีวัคซีนเข้าประเทศในปีนี้ทั้งหมดมากกว่า 170 ล้านโดส นอกจากนี้ ภาครัฐยังได้ปรับลดพื้นที่สีแดงเข้มเหลือ 23 จังหวัด จากเดิม 29 จังหวัด และปรับลดเคอร์ฟิวลง ส่งผลให้มีเงินทุนไหลกลับเข้ามาลงทุนในประเทศทางตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตรไทย แม้ว่าไอเอ็มเอฟจะปรับลดคาดการณ์จีดีพีไทยในปีนี้ลงเหลือ 1.0 % และปีหน้าลงเหลือ 4.5% จากประมาณการในเดือนกรกฎาคมที่ 2.1% และ 6.1% ตามลำดับ เนื่องจากการแพร่ระบาดในประเทศที่รุนแรง นอกจากนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดเผยรายงานการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินล่าสุดระบุว่าการลดดอกเบี้ยไม่มีประสิทธิผลเท่านโยบายการเงินแบบตรงจุด และสนับสนุนขยายกรอบหนี้สาธารณะเพื่อให้ภาครัฐยืดหยุ่นมากขึ้น แต่ต้องมีประสิทธิภาพและโปร่งใส

ด้านสหรัฐฯ รายงานการประชุมเฟดส่งสัญญาณเริ่มลดคิวอีในกลางเดือนพฤศจิกายนหรือกลางเดือนธันวาคม เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯ ฟื้นตัวตามคาดการณ์ โดยการลดคิวอีนี้เหมาะสมที่จะสิ้นสุดลงในช่วงกลางปีหน้า สำหรับเงินเฟ้อสหรัฐฯ ในเดือนกันยายนสูงกว่าคาดเล็กน้อย เนื่องจากราคาพลังงานที่เร่งตัวขึ้น ด้านเงินเฟ้อพื้นฐานขยายตัวตามคาดการณ์ นอกจากนี้ รายงานการประชุมเฟดระบุถึงความกังวลต่อเงินเฟ้อที่อาจอยู่ยาวนานและไม่ใช่เพียงปัจจัยชั่วคราว ทำให้เงินเฟ้อที่เร่งขึ้นนี้สนับสนุนการคาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยในปีหน้า ในขณะที่สมาชิกเฟดสนับสนุนการลดคิวอีในการประชุมเดือนพฤศจิกายนนี้ แต่ยังคงมีความเห็นที่แตกต่างกันในเรื่องของการขึ้นดอกเบี้ย ด้านตลาดแรงงานสหรัฐฯ ยังคงฟื้นตัวต่อเนื่อง โดยการจ้างงานในเดือนกันยายนเพิ่มขึ้น 1.94 ตำแหน่ง แม้จะต่ำกว่าคาดที่ 5 แสนตำแหน่ง ในขณะที่อัตราว่างงานลดลงจาก 5.2% เป็น 4.8% บรรลุเป้าหมายของเฟด ณ สิ้นปีแล้ว

ฝั่งยุโรป นักนโยบายอีซีบียังคงถกเถียงกันในเรื่องเงินเฟ้อและมาตรการคิวอี โดยลาการ์ดย้ำว่าอย่าตื่นตระหนกกับเงินเฟ้อที่เพิ่มสูงขึ้น พร้อมทั้งยืนยันว่าจะคงมาตรการคิวอีต่อไปและจะไม่ถอนออกก่อนกำหนด ซึ่งสมาชิกอีซีบี โอลลิ เรนห์ สนับสนุนลาการ์ด โดยมองว่าควรคงมาตรการคิวอีต่อไป แม้เศรษฐกิจจะฟื้นตัวดีแต่ยังคงมีความเสี่ยงในระยะข้างหน้า อย่างไรก็ตาม สมาชิกอีซีบี คลาวส์ น็อต ระบุว่ามีความเสี่ยงที่เงินเฟ้อจะเร่งตัวเพิ่มสูงขึ้นอีก เนื่องจากการชะงักงันภาคอุปทาน ในขณะที่ตลาดยังคงจับตามองเงินเฟ้อยุโรปที่อยู่ในระดับสูงและคาดการณ์ว่าอีซีบีจะขึ้นดอกเบี้ยภายในสิ้นปีหน้า นอกจากนี้ ความตึงเครียดด้านพลังงานของยุโรปมีแนวโน้มผ่อนคลายลงเล็กน้อย หลังประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดิเมียร์ ปูตินระบุว่าพร้อมจะส่งก๊าซให้ยุโรปมากเท่าที่ต้องการ

ด้านเอเชีย การส่งออกจีนเดือนกันยายนขยายตัวดีกว่าคาดการณ์ ในขณะที่การนำเข้าขยายตัวต่ำกว่าคาดการณ์ ด้านการส่งออกจากจีนไปสหรัฐฯ ขยายตัว 30.6 %YoY ซึ่งอาจทำให้ความตึงเครียดระหว่างจีนและสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นอีกครั้ง โดยในการประชุมระหว่างสองฝ่าย จีนเรียกร้องให้สหรัฐฯ ยกเลิกกำแพงภาษี ในขณะที่สหรัฐฯ เรียกร้องให้จีนหยุดอุดหนุนสินค้าภายในประเทศและดำเนินการแข่งขันทางการค้าอย่างเป็นธรรมก่อน จึงจะพิจารณาการพูดคุยในลำดับถัดไป ในขณะเดียวกัน สีจิ้นผิงประกาศว่ารวมไต้หวันเข้ากับแผ่นดินใหญ่ อย่างไรก็ตาม ประธานาธิบดีไต้หวัน ไช่อิงเหวินกล่าวว่าจะไม่ยอมจำนนต่อจีน แต่เสนอการพูดคุยอย่างเท่าเทียม นอกจากนี้ จีนยังเผชิญความกังวลจากการผิดนัดชำระหนี้ครั้งที่ 3 ของเอเวอร์แกรนด์ในวันที่ 11 ตุลาคมที่ผ่านมา ส่งสัญญาณลบต่อภาคธุรกิจจีนโดยเฉพาะในภาคอสังหาริมทรัพย์ แม้ภาครัฐจีนจะออกมากล่าวว่าความเสี่ยงจากประเด็นดังกล่าวสามารถควบคุมได้ ด้านญี่ปุ่น ฟูมิโอะ คิชิดะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ยุบสภาเพื่อเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 31 ตุลาคม เพื่อให้ประชาชนมีโอกาสเลือกผู้มาจัดการกับวิกฤตโควิด-19 ที่เกิดขึ้น โดยปัจจุบัน คิชิดะยังได้รับคะแนนนิยมข้างมากจากประชาชน และมีแนวโน้มได้รับเสียงข้างมากในสภาด้วย

เงินบาทปิดตลาดที่ 33.31 ในวันศุกร์ที่ 15 ตุลาคม 2564 ณ เวลา 17.00 น.

ภาพรวมตลาดตราสารหนี้ในสัปดาห์ที่ผ่านมาเส้นอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลของประเทศสหรัฐฯ ปรับตัวโดยมีความชันลดลง (Flattening) กล่าวคืออัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับตัวลดลง ซึ่งตัวเลขหนึ่งที่นักลงทุนดูคือ spread ระหว่างอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 2 ปีกับ 10ปี (UST 2-10Y Spread) ปรับตัวแคบลงมาประมาณ 10 bps มาอยู่แถวบริเวณ 119 bps ที่เป็นเช่นนี้ส่วนหนึ่งมาจากการประกาศตัวเลขเงินเฟ้อสหรัฐฯ ในเดือนกันยายนสูงกว่าคาดเล็กน้อยที่ 0.4%MoM และ 5.4%YoY เทียบกับคาดการณ์ที่ 0.3%MoM และ 5.3%YoY ตามลำดับ โดยสาเหตุหลักมาจากราคาพลังงานที่เร่งตัวขึ้น ประกอบกับรายงานการประชุมเฟดที่ระบุถึงความกังวลต่อเงินเฟ้อที่อาจอยู่ยาวนานและไม่ใช่เป็นเพียงปัจจัยชั่วคราว ทำนักลงทุนมีความกังวลว่าเฟดจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ และเป็นสาเหตุที่ทำให้พันธบัตรระยะสั้นปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตามการปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วนั้นอาจส่งผลกระทบต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว และเป็นสาเหตุที่ทำให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรระยะยาวปรับตัวลดลงนั่นเอง

ขณะที่ความเคลื่อนไหวของอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลไทยปรับตัวขึ้นเล็กน้อย อย่างไรก็ตามเริ่มเห็นแรงซื้อ ณ ระดับปัจจุบัน ส่วนหนึ่งมาจากทิศทางของค่าเงินบาทที่กลับมาแข็งค่าอย่างรวดเร็ว ทำให้เห็นแรงเข้าซื้อของนักลงทุนต่างชาติ ภายหลังจากที่เงินทุนไหลออกสุทธิกว่า 5 สัปดาห์ติดต่อกัน โดยในสัปดาห์ที่ผ่านมากระแสเงินทุนต่างชาติไหลเข้าสู่ตลาดตราสารหนี้ไทยมูลค่าสุทธิประมาณ 4,224 ล้านบาท ซึ่งเป็นการซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะสั้น 3,835 ล้านบาท ซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะยาว 1,219 ล้านบาท และมีตราสารหนี้ที่ถือครองโดยนักลงทุนต่างชาติหมดอายุ 830 ล้านบาท ขณะที่ประเด็นสำคัญอื่นๆ มีการเปิดเผยรายงานการประชุม กนง. ระบุว่าการลดดอกเบี้ยไม่มีประสิทธิผลเท่านโยบายการเงินแบบตรงจุด ถือเป็นการย้ำถึงโอกาสที่ กนง. จะลดดอกเบี้ยลงไปต่ำกว่าระดับปัจจุบันน่าจะเป็นไปได้ยาก โดย ณ วันที่ 15 ตุลาคม 2564 อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลไทยรุ่นอายุ 1, 2, 3, 5, 7 และ 10ปี อยู่ที่ 0.52% 0.64% 0.86% 1.17% 1.61% และ 1.98% ตามลำดับ

 จาก https://www.posttoday.com  วันที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ติดตาม 5ปัจจัย18-22ต.ค.64 ชี้ทิศค่าเงินบาทและดัชนีหุ้นไทย

ธนาคารกสิกรไทยมองสัปดาห์หน้าระหว่างวันที่ 18-22ตุลาคม 2564 กรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 32.80-33.80 บาทต่อดอลลาร์ฯบล.กสิกรไทยมองดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,630 และ 1,615 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,655 และ 1,665 จุด ตามลำดับ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยแนะติดตาม 5ปัจจัยระหว่างวันที่ 18-22ต.ค.2564  “ ทิศทางเงินทุนของต่างชาติในตลาดการเงินไทย -สถานการณ์โควิด - การเมืองในประเทศ -ตัวเลขการส่งออกของไทยเดือนก.ย. และตัวเลขเศรษฐกิจต่างประเทศอื่นๆ”

ธนาคารกสิกรไทยมองสัปดาห์หน้าระหว่างวันที่ 18-22ตุลาคม 2564 กรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 32.80-33.80 บาทต่อดอลลาร์ฯ ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ ทิศทางเงินทุนของต่างชาติในตลาดการเงินไทย สถานการณ์โควิด และตัวเลขการส่งออกของไทยเดือนก.ย. ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ข้อมูลผลผลิตภาคอุตสาหกรรม การเริ่มสร้างบ้าน ยอดขายบ้านมือสองเดือนก.ย. ดัชนีตลาดที่อยู่อาศัยและผลสำรวจภาคการผลิตจากเฟดสาขาฟิลาเดลเฟีย เดือนต.ค. และจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงาน

นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามตัวเลขเศรษฐกิจต่างประเทศอื่นๆ ประกอบด้วย ข้อมูลจีดีพีไตรมาส 3/64 และข้อมูลเศรษฐกิจเดือนก.ย. ของจีน อาทิ ยอดค้าปลีก การผลิตภาคอุตสาหกรรม และการกำหนดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ LPR ของธนาคารกลางจีน รวมถึงข้อมูล PMI (เบื้องต้น) เดือนต.ค. ของสหรัฐฯ ยูโรโซน และอังกฤษ และอัตราเงินเฟ้อของยูโรโซนและอังกฤษ

ทั้งนี้ เมื่อ (15 ต.ค.) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 33.30 เทียบกับระดับ 33.86 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (8 ต.ค.)

ด้านบริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด(บล.) มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,630 และ 1,615 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,655 และ 1,665 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก ผลประกอบการไตรมาส 3/64 ของบจ. โดยเฉพาะกลุ่มธนาคาร สถานการณ์โควิด ปัจจัยทางการเมือง และทิศทางเงินลงทุนจากต่างประเทศ ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ข้อมูลการเริ่มสร้างบ้าน และยอดขายบ้านมือสองเดือนก.ย. รวมถึงดัชนี PMI (เบื้องต้น) เดือนต.ค.

ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ จีดีพีไตรมาส 3/64 และข้อมูลเศรษฐกิจเดือนก.ย. ของจีน รวมถึงดัชนี PMI (เบื้องต้น) เดือนต.ค.ของยูโรโซนและญี่ปุ่น ดัชนีราคาผู้บริโภคเดือนก.ย. ของยูโรโซนและญี่ปุ่น   โดยดัชนี SET ปิด(เมื่อวันที่ 15ต.ค.2564)ที่ระดับ 1,638.34 จุด ลดลง 0.07% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 86,443.97 ล้านบาท ลดลง 5.88% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai ลดลง 1.10% มาปิดที่ 554.45 จุด

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2564

กองทุน ซีพีทีพีพี - เอฟทีเอ  แผนรับปรับทัพการค้าโลก

หลังจากที่นายกรัฐมนตรีส่งสัญญาณไทยเดินหน้าเข้าเป็นสมาชิก CPTPP แบบสงวนท่าที โดยจะใช้เวทีเอเปคปีหน้า ประกาศจุดยืนของประเทศไทย และเริ่มการเข้าสู่การเจรจา ส่วนการเยียวยาดูแลผู้ที่ได้ผลกระทบก็เดินหน้าควบคู่กันไปในลักษณะกองทุนที่จะช่วยเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ

หลังรัฐบาลไทย โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีท่าทีที่ชัดเจนต่อข้อตกลงความตกลงที่ครอบคลุมและก้าวหน้าสำหรับหุ้นส่วนเศรษฐกิจภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (ซีพีทีพีพี) ว่าไทยควรจะสมัครเข้าเป็นสมาชิกเพื่อร่วมกระบวนการเจรจาก่อนนั้น แม้ในทางปฎิบัติเมื่อการเจรจาเสร็จสิ้นไทยอาจไม่ร่วมภาคีข้อตกลงดังกล่าวหรือในทางกลับกันฝ่ายสมาชิกซีพีทีพีพีอาจไม่รับไทยร่วมภาคีข้อตกลง ซึ่งนั่นเป็นเรื่องของอนาคต

สถานการณ์ล่าสุดต่อก้าวย่างสำคัญด้านการค้าระหว่างประเทศของไทยขณะนี้คือการจัดการกับความเข้าใจภายในประเทศ โดยล่าสุดทางกลุ่มศึกษาข้อตกลงเขตการค้าเสรีภาคประชาชน (เอฟทีเอ ว็อทช์) ได้ออกแถลงการณ์คัดค้านการเข้าร่วม CPTPP ผ่านเฟสบุ๊คชื่อ FTA Watchสาระสำคัญส่วนหนึ่งระบุว่า การเข้าร่วม CPTPP อาจส่งผลดีทางเศรษฐกิจบ้างต่อบางกลุ่มธุรกิจ แต่ขัดแย้งและส่งผลกระทบอย่างกว้างขวางต่อการบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ด้านแหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า  ในการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับผลจากข้อตกลงนี้ฯรัฐบาลมีการพิจารณาในหลายด้านโดยเฉพาะข้อเสนอจากคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบการเข้าร่วมซีพีทีพีพีของประเทศไทยของสภาผู้แทนราษฎร และผลการศึกษาเพิ่มเติมของคณะทำงานที่คณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ที่ตั้งขึ้น โดยประเด็นที่มีความอ่อนไหว และมีประเด็นที่จะส่งผลกระทบกับประเทศไทยมากที่สุดก็คือในเรื่องของภาคเกษตร ซึ่งยังมีความกังวลว่าการเข้าร่วมซีพีทีพีพีจะกระทบกับภาคเกษตรของไทย รวมทั้งมีข้อกังวลเกี่ยวกับอนุสัญญาUPOV1991 คืออนุสัญญาระหว่างประเทศที่มุ่งเน้นเรื่องการคุ้มครองพันธุ์พืชใหม่โดยให้สิทธิเด็ดขาดในพันธุ์พืชใหม่แก่นักปรับปรุงพันธุ์

ทั้งนี้รัฐบาลได้เตรียมที่จะมีการจัดตั้ง“กองทุนเพื่อช่วยเหลือและเยียวยาภาคเกษตรจากผลกระทบของการเข้าร่วมซีพีทีพีพี”โดยขนาดของกองทุนเบื้องต้นจะมีขนาดไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท หรืออาจมีขนาดใหญ่กว่านี้ก็ได้ โดยอยู่ระหว่างการทำงานร่วมกันของหลายหน่วยงาน เช่น กระทรงการคลัง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรงพาณิชย์ สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อออกแบบกองทุนฯและที่มาของเงินงบประมาณที่จะมาใช้จัดตั้งกองทุนนี้

สำหรับการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเข้าร่วมซีพีทีพีพีในขณะนี้มีเหตุผลสำคัญ 3 ประการคือ 1.แนวโน้มการเข้าร่วมซีพีทีพีพีของประเทศจีนซึ่งถือว่าเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ และเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย

2.แนวโน้มการย้ายฐานการลงทุน (Relocate) ของบริษัทต่างๆเพื่อหลีกเลี่ยงการกีดกันทางการค้า และการขัดแย้ง เช่น กรณีจีน - ไต้หวัน สหรัฐ-จีน และประเทศต่างๆในยุโรปที่เริ่มมีความขัดแย้ง

และ 3.การเป็นเจ้าภาพการประชุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) ซึ่งประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมในปีหน้า

อย่างไรก็ตาม  แนวคิดจัดตั้งกองทุนเพื่อดูแลผลกระทบจากข้อตกลงการค้าเสรีในกรอบซีพีทีพีพีนี้ไม่ใช่แนวความคิดใหม่ เนื่องจากขณะนี้ไทยมีกองทุนลักษณะเดียวกันนี้อยู่แล้ว

อรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า การจัดตั้งกองทุน เอฟทีเอเบื้องต้นจะมีการขอใช้งบประมาณเพื่อใช้เป็นทุนประเดิมจัดตั้งกองทุนกว่า 5,000 ล้านบาทสำหรับใช้เป็นแหล่งเงินทุนเพื่อเตรียมความพร้อม ปรับตัว และช่วยเหลือเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีการค้าในรูปแบบต่างๆ

สำหรับที่มาของกองทุนนั้นได้วางไว้ 2 แนวทาง คือ

1.ทุนประเดิมจากรัฐที่จ่ายเพียงครั้งเดียว

และ 2.นำมาจากผู้ที่ได้รับประโยชน์จากการเปิดการค้าเสรีเข้ามาอุดหนุนกองทุน เช่น รายได้ค่าธรรมเนียมจากการขอใบรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า ที่ได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรภายใต้เอฟทีเอเพื่อให้กองทุนมีรายได้ต่อเนื่องทุกปีๆ ไม่ต่ำกว่าปีละ 100 ล้านบาท เบื้องต้นวางทุนประเดิมไว้ที่ 5,000 ล้านบาท

ขณะที่หลักเกณฑ์ในการเยียวยาและช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากเอฟทีเอนั้น ได้วางได้ 2 แนวทางเช่นกัน คือ

1. เงินจ่ายขาดสำหรับการวิจัยพัฒนา การจัดหาที่ปรึกษา การฝึกอบรม กิจกรรมที่สนับสนุนการตลาด

2.เงินหมุนเวียน เช่น เงินลงทุนในสิ่งก่อสร้าง โครงการพัฒนาต่างๆ และค่าเครื่องมืออุปกรณ์ พร้อมกับมีหน่วยงานกลางของรัฐ เข้าไปประสานงานและเสนอคำขอรับความช่วยเหลือไปยังหน่วยบริหารกองทุน

เกษตรมีแล้วเอฟทีเอฟันด์กลไกภาคผลิตรับ“ค้าเสรี”

ฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า ในกรณีที่ไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิก ซีพีทีพีพีและอาจจะส่งผลกระทบกับภาคการผลิตสินค้าเกษตรของไทย นั้น กระทรวงเกษตรฯสามารถจะยกระดับ กองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศ (กองทุน FTA) ที่มีอยู่เพื่อ รองรับได้ทันที

เนื่องจาก ซีพีทีพีพีถือเป็นส่วนหนึ่งของความตกลงการเปิดเขตเสรีทางการค้าเช่นกัน จึงอยู่ในขอบข่ายที่กองทุนเอฟทีเอ ภายใต้มติคณะรัฐมนตรี (ครม.)เมื่อปี2547 มีทุนหมุนเวียนประเดิมจากรัฐบาล วงเงิน 1,000 ล้านบาท เพื่อปล่อยกู้กับสถาบันเกษตรกรสำหรับนำไปปรับโครงสร้างการผลิตภาคการเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน

ทั้งนี้สถาบันเกษตรกรสามารถเขียนแผนการดำเนินการเสนอผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงเกษตร เพื่อกู้ยืมเงินในกองทุนดังกล่าว อัตราดอกเบี้ย 0% ปัจจุบันมีการปล่อยกู้ไปแล้ว1,130 ล้านบาท ถือว่ายังน้อยอยู่ เนื่องจากเกษตรกรทำแผนธุรกิจไม่เป็น

ดังนั้น สศก. จึง ลงนาม ความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการผลักดันให้สถาบันเกษตรกรเข้ามาใช้ประโยชน์จากกองทุนฯมากขึ้น ซึ่งแบ่งออกเป็น  2 ชุดความร่วมมือ ประกอบด้วย ชุดที่ 1ความร่วมมือทางด้านนโยบายและข้อมูล ประกอบด้วย 8 หน่วยงานคือ สศก. โดยกองทุน FTA ลงนามร่วมกับ กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย สภาเกษตรกรแห่งชาติ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย

และชุดที่ 2ความร่วมมือด้านการปฏิบัติงานกับหน่วยงานต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ ประกอบด้วย 3 หน่วยงาน คือ สศก. โดยกองทุน FTA ลงนามร่วมกับ สหกรณ์โคเนื้อกำแพงแสน จำกัด และ บริษัท พรีเมี่ยม บีฟ จำกัด

“กองทุนนี้มีกฎหมายรองรับ เพื่อปรับขีดความสามารถให้กับภาคการผลิตที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าอย่างแท้จริงต่างไปจากกองทุนเอฟทีเอของกระทรวงพาณิชย์ ที่มีไว้เพื่อการศึกษา วิเคราะห์ หาผลกระทบเท่านั้น ส่วนใหญ่จะเน้นไปยังผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากเอฟทีเอไม่มากนัก”

จาก https://www.bangkokbiznews.com   วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2564

โลกช็อก! จีนจำกัดโควตาส่งออก ดันปุ๋ย “ไนโตเจน-ฟอสเฟส” ราคาพุ่งสุดในรอบ 13 ปี

วงการปุ๋ยเคมีช็อก จีนจำกัดโควตาส่งออก ถึง ม.ค.ปี 2565 ส่งผลทำให้ ปุ๋ย “ไนโตเจน-ฟอสเฟส” ราคาพุ่งสุดในรอบ 13 ปี ส่งผลทำให้ราคาปุ๋ยเคมีปรับต่อเนื่อง

แหล่งข่าววงการค้าปุ๋ยเคมี เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” วันนี้ ทราบข่าวแล้วว่าทางรัฐบาลจีนจะเริ่มประกาศใช้มาตรการทางศุลกากร และจำกัดโควตาในการส่งออกสินค้าปุ๋ย “ไนโตรเจน” และ “ฟอสเฟต” จนกว่าจะถึงเดือนมกราคมปี 2022 ดึงราคาส่งออก “ยูเรีย” ขึ้นไป  47 ดอลล่าร์สหรัญต่อตันในรอบสัปดาห์ ไปอยู่ใน ระดับ 700 - 720 ดอลล่าร์สหรัฐ (เอฟ.โอ.บี.)  สูงที่สุดในรอบ 13 ปี

เช่นเดียวกับ ราคาส่งออกใน "อียิปต์" ปรับสูงเช่นกัน ไปอยู่ใน ระดับ 830 - 850 ดอลลาร์สหรัฐ (เอฟ.โอ.บี.) แต่ยังไม่มีการซื้อขายเกิดขึ้น เนื่องจากผู้ผลิตได้ทำการขายสินค้าในมือ แต่เพียงแค่จำกัดไปจนถึงเดือนพฤศจิกายน  ส่วนราคาดังกล่าวเป็นราคาล่วงหน้าสำหรับจัดส่งในเดือนธันวาคม

สำหรับการซื้อขายจำกัดเช่นเดียวกันในตะวันออกกลาง โดยผู้ผลิตทำการตั้งราคาเป้าหมายสำหรับเทรดเดอร์ที่ต้องการยูเรีย คาดว่า "อินเดีย" จะประกาศราคา ในช่วงสิ้นเดือนตุลาคมนี้ไว้ที่ระดับ 730 - 750 ดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวขึ้น 32 ดอลล่าร์ต่อตัน

ฝั่งผู้นำเข้าอย่าง "ประเทศบราซิล" เริ่มชะลอการนำเข้าลง หลังราคานำเข้าล่าสุดไปแตะระดับ 800 ดอลลาร์สหรัฐ (ซี.เอฟ.อาร์)  และผู้ใช้เริ่มลดจำนวนการใช้ปุ๋ยยูเรียสำหรับเพาะปลูกลง

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2564

โรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนสะดุด พพ.ชะลอออกใบอนุญาตเว้นผังเมือง

นับเป็นระยะเวลา 6 ปี หลังจากที่กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ได้ประกาศแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก พ.ศ. 2558-2579 (AEDP 2015)

ภายใต้แผนบูรณาการพลังงานแห่งชาติ 5 แผนหลัก ในช่วงปี 2558-2579 ซึ่งในเวลาต่อมามีประกาศคําสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ที่ 4/2559 ลงวันที่ 20 มกราคม 2559 ให้การยกเว้นการใช้บังคับ “ผังเมืองรวม”

สำหรับกิจการ 4 ประเภท เป็นเวลา 1 ปี (ตามตาราง) เพื่อเร่งส่งเสริมให้เกิดการลงทุนด้านพลังงานทดแทนของประเทศ โดยกำหนดให้ผู้ประกอบการที่จะลงทุนต้องขอรับการรับรองกฎหมายผังเมืองจาก พพ. ก่อน

แต่ล่าสุดหลังจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบการใช้แผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของประเทศ (PDP) ฉบับใหม่ ปี 2018 และแผน AEDP 2018 เมื่อเดือนตุลาคม 2563 ส่งผลเชื่อมโยงต่อกระบวนการพิจารณาออกหนังสือรับรองการยกเว้นผังเมืองดังกล่าว

เบรกยาวเกินครึ่งปี

แหล่งข่าวจากวงการพลังงานทดแทนเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เดิมผู้ประกอบการจะยื่นขอใบรับรองโครงการภายใต้แผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกจาก พพ. ตามการประกาศแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศ หรือ PDP 2015 มาตั้งแต่เดือนกันยายน 2558 ซึ่งตามแผนนั้น รัฐบาลส่งเสริมการลงทุนอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน

เพราะถือว่าสร้างประโยชน์ให้กับประเทศ จึงได้มีประกาศ คสช.ฉบับที่ 4/2559 กำหนดประเภทกิจการนี้ได้รับการยกเว้นผังเมือง ซึ่งต้องได้รับหนังสือรับรองการยกเว้นผังเมืองจาก พพ. และสำนักงานโยธาธิการและผังเมืองจังหวัดก่อน

ในช่วงปี 2560-2561 ก็ราบรื่นไม่มีปัญหา แม้กระทั่งหลังจากประกาศ ม.44 หมดอายุเมื่อปี 2561 แต่ทาง พพ.ยังได้รับคำยืนยันจากกฤษฎีกาว่า สามารถอนุญาตได้ (ตามระบบเดิม) สำหรับพื้นที่ใดที่ยังไม่ประกาศกฎหมายผังเมืองใหม่ ซึ่งมีถึง 60% การออกหนังสือรับรองยังเดินหน้าต่อ

แต่ล่าสุดปลายปี 2563 ที่มีการผ่านแผนพีดีพี 2018 ฉบับปรับปรุง (PDP 2018 Rev.1) มาถึงช่วงเดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ทุกโครงการที่อยู่ระหว่างขอล่าช้าหมด ผู้ประกอบการในกลุ่มพลังงานหมุนเวียน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ลงทุนในโครงการโซลาร์รูฟท็อป ได้ทำหนังสือสอบถามไปยัง พพ. ภายหลังจากถูกชะลอการออกหนังสือรับรองโครงการลงทุนมานานเกือบครึ่งปี นับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน 2564

ทาง พพ.ตอบหนังสือกลับมาเมื่อเดือนสิงหาคม 2564 ว่า จะชะลอการพิจารณาออกหนังสือรับรองโครงการภายใต้แผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก ไปจนกว่าทางคณะกรรมการกฤษฎีกาจะตีความว่าจะให้อำนาจ พพ.ให้สามารถออกหนังสือรับรองได้ตามแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าฉบับทบทวนซึ่งเป็นฉบับใหม่หรือไม่

ฉุดลงทุน-กระทบสภาพคล่อง

แหล่งข่าวกล่าวว่า โดยปกติผู้ผลิตจะมี 2 แบบ คือ ผู้ผลิตต้องการลงทุนติดตั้งแผงโซลาร์หรือพลังงานหมุนเวียนใช้เอง พื้นที่เขาอนุญาตอยู่แล้วให้ผลิตพลังงานใช้เองได้ แบบที่ 2 ที่ได้รับความนิยมมาก คือ ผู้ประกอบการที่มีเงินลงทุน มันก็จะมีผู้ลงทุนมาติดตั้งให้ไฟฟ้าขายไฟให้กับโรงงานในราคาถูก หรือที่เรียกว่า private PPA ซึ่งกลุ่มนี้จะถูกห้ามยกเว้นได้รับยกเว้นผังเมืองก็จะไม่สามารถสร้างได้ ซึ่งเดิมทีก็จะมี ม.44 เข้ามาช่วย ก็จะดำเนินธุรกิจได้

“ผลจากการชะลอโครงการทำให้กลุ่มผู้ประกอบการส่วนนี้เดือดร้อน ประมาณหลาย 10 โครงการ ค้างท่ออยู่ระหว่างการพิจารณาประมาณ 50-100 เมกะวัตต์ได้ ส่วนใหญ่เป็นโครงการโซลาร์ ใช้เงินลงทุนประมาณ 30 ล้านบาทต่อขนาด 1 เมกะวัตต์ ประเมินเป็นมูลค่าความเสียหายรวม น่าจะไม่ต่ำกว่า 150-300 ล้านบาท ซึ่งหากรอการตีความอาจจะต้องใช้เวลานานกว่า 1 ปีจะกระทบต่อสภาพคล่องผู้ประกอบการที่มีการเตรียมแผนการก่อสร้างออกแบบ”

“บางรายได้ลงทุนไปดำเนินการกู้เงินธนาคารออกแบบและสั่งซื้อสินค้ามาเตรียมไว้แล้ว เมื่อใบนี้ไม่มาก็ไม่สามารถที่จะทำต่อได้ ซึ่งมันไม่มีเหตุไม่มีผล ไม่มีปี่ไม่มีขลุ่ย ทั้งที่ที่ผ่านมาอนุมัติมาโดยตลอด เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้ว่ากรมจะให้เหตุผลเรื่องแผนที่ปรับใหม่ PDP 2018 Rev.1 และ AEDP 2018 ก็จริง แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีว่าก่อนหน้านี้มีการประกาศใช้แผน PDP 2018 และ AEDP มาหลายปีแล้ว”

“นับตั้งแต่อดีตรัฐมนตรีพลังงาน ดร.ศิริ ซึ่งโครงการต่าง ๆ ก็ได้รับการอนุญาตตามมาตรา 44 ดังกล่าวมาตลอด นั่นจึงไม่น่าจะใช่สาเหตุที่กรมจะให้เหตุผลว่าไม่มั่นใจ ต้องขอความเห็นกฤษฎีกา การออกประกาศชะลอดูไม่ค่อยมีปี่มีขลุ่ย อยู่ ๆ จะมารู้สึกกลัวว่าตัวเองจะมีสิทธิ์ให้อนุญาตได้หรือไม่ ทั้งที่ทุกอย่างเหมือนเดิมหมดเลย”

พพ.แจงปมชะลอใบอนุญาต

ด้าน นายประเสริฐ สินสุขประเสริฐ อธิบดีกรมพัฒนาพลังงานทดแทน (พพ.) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การชะลอคำสั่ง คสช. 4/2559 ที่ว่าให้ยกเว้นกฎหมายผังเมือง แต่ว่าข้อกฎหมายนี้มันผูกกับ PDP และ AEDP 2015 แต่ปัจจุบันแผนดังกล่าวกลายเป็น PDP และ AEDP 2018

คำถามคือ คำสั่ง คสช.ฉบับนี้บังคับใช้ครอบคลุมถึง PDP และ AEDP 2018 ได้หรือไม่ ด้วยเหตุนี้ พพ.จึงส่งหนังสือเพื่อขอความเห็นจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เมื่อประมาณเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยล่าสุดให้ พพ.ไปชี้แจงแล้ว 1 รอบ คาดว่าจะสรุปได้ภายในเดือนนี้

“กรมหวังว่าจะได้รับคำตอบภายในเดือนนี้ เพราะก็เห็นใจผู้ประกอบการ แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับผลการตีความของคณะกรรมการกฤษฎีกาด้วยว่าอย่างไร ถ้าออกมาว่าไม่ครอบคลุม PDP และ AEDP 2018 ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมายผังเมือง แต่ถ้าครอบคลุม เราก็สามารถที่จะออกหนังสือรับรองขอยกเว้นให้ได้”

ส่วนประเด็นที่ว่า แผน PDP และ AEDP 2018 ผ่านการพิจารณาของที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มาตั้งแต่เดือนตุลาคมปี 2563 แล้ว ล่วงเลยมากว่าครึ่งปี เหตุใดจึงเพิ่งตีความนั้น

“ยอมรับว่าเรื่องนี้ไม่ชัดเจนมาระยะหนึ่ง แต่มีการคุยกันภายในกระทรวงถึงการแก้ไขปัญหา ซึ่งในตอนแรกไม่คิดว่าจะเป็นประเด็น แต่มีนักกฎหมายแจ้งท้วงติงมาว่า ประกาศอาจไม่ครอบคลุมกับแผน PDP และ AEDP ใหม่ จึงจำเป็นต้องส่งคณะกรรมการกฤษฎีกาตีความก่อน ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างการขอหนังสือรับรองค้างท่อในขณะนี้”

“คาดว่าจะมีจำนวน 7-8 โครงการที่ยื่นคำขอไว้ ซึ่งทางกรมแจ้งว่าต้องชะลอการขออนุญาตเพื่อขอยกเว้นกฎหมายผังเมืองออกไปก่อน อย่างไรก็ตาม ถ้าสมมุติว่าผลกฤษฎีกาตีความออกมาว่าไม่สามารถออกหนังสือรับรองได้”

“ทางกรมจะทำจดหมายถึงผู้ประกอบการ ขอให้ยึดตามกฎหมายผังเมืองต่อไป ส่วนกรณีที่อนุญาตไปแล้วช่วงเดือน ต.ค. 2563 เป็นต้นมาก็ต้องให้กลับไปทำกฎหมายผังเมือง แม้ว่าส่วนตัวยังเชื่อว่าน่าจะใช้ได้ เพราะว่าดูจาก wording แล้ว ก็ต้องทำให้มั่นใจ”

ปัดไม่เกี่ยวโรงไฟฟ้าชุมชน

ส่วนกรณีโรงไฟฟ้าชุมชน ที่ผ่านการพิจารณาแล้วนั้นจะไม่เข้าข่ายต้องขออนุญาต พพ. เพราะ “ถือว่าเป็นคนละประเด็น” เพราะหนังสือรับรองนี้ทาง พพ.จะออกให้เฉพาะโครงการที่ผลิตไฟฟ้าใช้เอง ส่วนโรงไฟฟ้าชุมชนจะมีประกาศตามแนบท้าย ระบุไว้เลยว่ามีโครงการใดบ้างที่ได้รับยกเว้น

อย่างไรก็ตาม ประเมินว่าโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนก่อสร้างไม่ได้ ไม่กระทบกับแผนภาพใหญ่ตามนโยบายเรื่องการลดการปล่อยคาร์บอน เพราะถึงจะไม่ได้หนังสือรับรอง ก็ใช่ว่าจะก่อสร้างไม่ได้ ทางเอกชนสามารถก่อสร้างได้ ยังมีช่องทางอื่น เพียงแต่ว่าต้องปฏิบัติตามกฎหมายผังเมือง คือต้องหาพื้นที่ที่สามารถลงทุนได้โดยไม่ผิดกฎหมายผังเมือง

จาก https://www.prachachat.net   วันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2564

EEC ดึง 4 ยักษ์อเมริกาปั้นบุคลากรรับ 5G ดันไทยฮับดิจิทัลอาเซียน

EEC จับมือ 4 พันธมิตรยักษ์ใหญ่ด้านนวัตกรรมระดับโลก ซิสโก้-มาเวนเนีย-5จีซีที-แพลนเน็ตคอม เดินหน้าพัฒนาทักษะบุคลากรด้านดิจิทัล ขับเคลื่อนเทคโนโลยี 5G สร้างอุตสาหกรรม 4.0 ตั้งเป้าสร้างคน ตรงความต้องการอุตสาหกรรมดิจิทัล 40,000 คน ภายใน 3 ปี ดึงการลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย ดันไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมดิจิทัลอันดับ 1 อาเซียน

วันที่ 15 ตุลาคม 2564 นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ. หรือ EEC) กล่าวว่า EEC ร่วมกับบริษัท ซิสโก้ ซีสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท มาเวนเนีย ซิสเท็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท 5จี แคททะลิซท์ เทคโนโลยีส์ จำกัด และบริษัท แพลนเน็ต คอมมิวนิเคชั่น เอเชีย จำกัด (มหาชน) ลงนามความร่วมมือ (MOU) “การพัฒนาทักษะบุคลากร เพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และ 5G แก่ภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่อีอีซี (5G & Digital Talent Development in EEC)”

โดยทั้ง 4 บริษัทถือเป็นนักลงทุนสำคัญสัญชาติอเมริกันที่ได้เข้ามาลงทุนในอุตสาหกรรมในพื้นที่ EEC ซึ่งจากสถิติในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สหรัฐได้ลงทุนในไทยสูงถึง 1.6 แสนล้านเหรียญสหรัฐ และในปี 2563 มีการลงทุนตรง (FDI) กว่า 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งทั้งไทยและสหรัฐมีนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียนและเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) ที่จะส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือพัฒนาธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในอีอีซี และขับเคลื่อนคู่ไปกับการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ ตามแผนลงทุนอีอีซีระยะ 2 ที่จะให้มีมูลค่าการลงทุนรวมไม่น้อยกว่า 2.2 ล้านล้านบาท เน้นการลงทุนนวัตกรรมและเทคโนโลยีขั้นสูงจากอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (EV) อุตสาหกรรมขนส่ง อุตสาหกรรมการแพทย์ และอุตสาหกรรมดิจิทัล 5G

ความร่วมมือดังกล่าวจะนำเรื่องของเทคโนโลยีดิจิทัล 5G ต่อยอดในเทศบาลตำบลบ้านฉาง จ.ระยอง สู่ต้นแบบเมืองอัจฉริยะ (Smart City) คาดว่าในสิ้นปี 2564 จะเกิดการติดตั้งเสา 5G smart pole แล้วเสร็จรวม 160 ต้น ซึ่งจะครอบคลุมพื้นที่บ้านฉางทั้งหมด นำร่องสู่โรงงานอัจฉริยะ Factory 4.0 ก้าวสู่เมืองอุตสาหกรรมแห่งอนาคต

นอกจากนี้จะเชื่อมโยงการพัฒนาทักษะบุคลากร ควบคู่การส่งเสริมประยุกต์ใช้ดิจิทัล และ 5G แก่ภาคอุตสาหกรรม ตั้งเป้าหมายพัฒนาทักษะบุคลากร ทั้งด้านเพิ่มทักษะใหม่ ยกระดับ ปรับทักษะบุคลากร New–Up-Reskill ตามแนวทางสร้างคนให้ตรงกับความต้องการ (Demand Driven) ให้ได้ไม่ต่ำกว่า 40,000 คน ภายใน 3 ปี

“การเอา 5G มาใช้ในภาคอุตสาหกรรมอย่างเรื่องของการผลิตภายในโรงงาน สถิติเราพบว่าเมื่อ 5G เข้ามาเป็นเครือข่ายในหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ทำให้ต้นทุนการผลิตลดลง 30% นั่นแสดงให้เห็นว่ามันเป็นการเพิ่มและเปิดโอกาส ให้อุตสาหกรรมที่ขยายตัวไม่ได้มีแรงขยับและฟื้นกำลังกลับมา งานเขาไม่ได้ลดลงแต่ผลผลิตเขาเพิ่มขึ้นและมีคุณภาพมากขึ้น มันมีส่วนช่วยดัน GDP ขยายตัว 0.5%”

นายชิต เหล่าวัฒนา ที่ปรึกษาพิเศษด้านการพัฒนาบุคลากรฯ สกพอ. กล่าวว่า เทคโนโลยี 5G ถือเป็นนวัตกรรมสำคัญ ช่วยสนับสนุนและขยายโอกาสการสรรค์สร้างบริการดิจิทัลให้กว้างขวาง ตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้มากขึ้นในภาคอุตสาหกรรมที่ต้องอาศัยความเร็วสูงของสัญญาณ 5G ให้การใช้งานอุปกรณ์ต่าง ๆ มีความแม่นยำสูงและความผิดพลาดน้อยที่สุด โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ (Robotics) และระบบการผลิตแบบอัตโนมัติ (Automation)

ซึ่งปัจจุบันอีอีซีได้ขับเคลื่อนคู่ไปกับการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี 5G เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสู่โรงงานอัจฉริยะ ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง Digital Manufacturing 4.0 ไม่น้อยกว่า 10,000 โรงงาน ภายใน 5 ปี โดยบุคลากรในพื้นที่อีอีซี จะได้รับการถ่ายทอดความรู้จากพันธมิตรที่ลงนามความร่วมมือในวันนี้ เพื่อสร้างความพร้อม และจูงใจผู้ประกอบการทั่วโลกให้สนใจลงทุนอุตสาหกรรมดิจิทัลในพื้นที่อีอีซีต่อไป

นายอภิชาต ทองอยู่ ประธานคณะทำงานประสานงานด้านการพัฒนาบุคลากร (EEC HDC) กล่าวว่า อีอีซีประสบความสำเร็จในการพัฒนาบุคลากรร่วมกับหน่วยงานต่างประเทศ เพื่อยกระดับทักษะบุคลากรด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างต่อเนื่อง และวันนี้ ได้ต่อยอดความสำเร็จจากการร่วมกับ 4 พันธมิตรดังกล่าว พัฒนาบุคลากร ยกระดับทักษะด้านดิจิทัล ที่จะเร่งเดินหน้าผลิตคนให้ตรงความต้องการอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่อีอีซี ตามแนวทาง Demand Driven ต่อไป

โดยที่ผ่านมาอีอีซีได้มีการจัดทำข้อตกลงความร่วมมือ MOU ที่สำคัญ ๆ ไปแล้ว เช่น หลักสูตร 5G ICT และ Digital ภายใต้ Huawai ASEAN Academy ดำเนินการอบรมทักษะบุคลากรด้านดิจิทัล 30,000 คนภายใน 3 ปี ความร่วมมือกับ มิตซูบิชิ อิเล็คทริค ผลักดัน EEC Automation Park เน้นการนำเทคโนโลยีไปปรับใช้ เป้าหมาย 8,000 โรงงานในอีอีซี เป็นต้น

นายทวีวัฒน์ จันทรเสโน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซิสโก้ ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) ผู้นำทางด้านไอทีและระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตระดับโลก กล่าวว่า การสร้างทักษะใหม่ (Reskill) จำเป็นในการทำงาน และการพัฒนาเพื่อยกระดับทักษะเดิม (Upskill) ให้ดีขึ้น โดยนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาปรับใช้ในการทำงาน และสร้างฐานความรู้ด้านต่าง ๆ เช่น ระบบเครือข่ายและความปลอดภัยสำหรับอุตสาหกรรมและระบบขนส่งอัจฉริยะ ระบบไร้สายแบบต่าง ๆ สำหรับการใช้งานในอุตสาหกรรมและเมืองอัจฉริยะ ระบบศูนย์ข้อมูล ตลอดจนระบบบริหารจัดการเครือข่ายที่ควบรวมทั้ง IP และ 5G ให้เป็นหนึ่งเดียว

นายนอร์แมน โดนัลด์ ไพรซ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคนิค ธุรกิจเกิดใหม่ และหน่วยธุรกิจองค์กร บริษัท มาเวนเนีย ซิสเต็มส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า พื้นที่อีอีซีเป็นประตูสู่เศรษฐกิจที่เติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และเป็นที่ตั้งของบุคลากรที่สำคัญ โดยบริษัทมีแผนที่จะสร้างเครือข่ายแห่งอนาคต ด้วยการนำซอฟต์แวร์คลาวด์เนทีฟมาใช้ ในการสร้างแรงงานให้มีทักษะที่จำเป็น และแสดงให้เห็นถึงความจำเป็นของเทคโนโลยี 5G ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

นางสาวชาริณี กัลยาณมิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท 5จี แคททะลิซท์ เทคโนโลยีส์ จำกัด กล่าวว่า วิกฤตโควิด-19 ทำให้ Digital Transformation ยิ่งมีความสำคัญเพิ่มขึ้นต่อทุกธุรกิจ ดังนั้นในฐานะของตัวแทนบริษัทขนาดย่อมและสตาร์9อัพ จะเข้ามาทำหน้าที่เชื่อมโยงเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้ปรับใช้กับธุรกิจในประเทศไทย ด้วยการสร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างผู้ประกอบการ ธุรกิจสตาร์9อัพ และหน่วยงานภาครัฐ เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานใหม่ด้านเทคโนโลยีดิจิทัลบนโครงข่าย 5G โดนตั้งเป้าจัดโครงการฝึกอบรม 5G Connected Tech เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการและบุคลากรปีละ 300 คน

นายประพัฒน์ รัฐเลิศกานต์ กรรมการผู้อำนวยการ และหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แพลนเน็ต คอมมิวนิเคชั่น เอเชีย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้เน้นสร้างฐานความรู้และแพลตฟอร์มสำหรับ Smart City Data Platform และ IOT Platform ซึ่งมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนด้านการศึกษาในพื้นที่อีอีซี และช่วยให้ EEC HDC ได้รับความสนใจและเป็นที่รู้จักมากขึ้น เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ด้านเทคโนโลยีและการลงทุนในพื้นที่อีอีซี คาดว่าจะสามารถดึงดูดการลงทุนจากทั่วโลก ผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมดิจิทัลอันดับ 1 ของภูมิภาคอาเซียน

จาก https://www.prachachat.net   วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564

เปิดเกณฑ์เยียวยาเกษตรกรเสียหายจากน้ำท่วม สูงสุดไม่เกิน 30 ไร่

เกษตรกรที่ได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม อิทธิพลจากพายุสองลูกที่พัดเข้าสู่ประเทศไทยติดต่อกัน สามารถดำเนินการขอเงินชดเชยจากกระทรวงเกษตรฯ สูงสุดครัวเรือนละไม่เกิน 30 ไร่ โดยพื้นที่เพาะปลูกแต่ละชนิดจะมีเกณฑ์การชดเชยแตกต่างกัน

วันที่ 15 ตุลาคม 2564 นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า จากผลกระทบของพายุดีเปรสชั่นเตี้ยนหมู่ และพายุโซนร้อนคมปาซุ ที่กำลังจะพัดเข้าสู่ประเทศไทย ส่งผลให้พื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายเป็นจำนวนมาก โดยหลังสถานการณ์อุทกภัยเริ่มคลี่คลาย ได้เร่งสำรวจพื้นที่เกษตรที่ได้รับความเสียหายทันที เพื่อให้เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบได้รับการเยียวยาอย่างทันท่วงที

ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 และหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564 มีหลักเกณฑ์ดังนี้

ด้านพืช ชดเชยครัวเรือนละไม่เกิน 30 ไร่ แบ่งอัตราเป็น

ข้าว ไร่ละ 1,340 บาท

พืชไร่และพืชผัก ไร่ละ 1,980 บาท

ไม้ผลไม้ยืนต้นและอื่น ๆ ไร่ละ 4,048 บาท

ทั้งนี้ เกษตรกรที่จะได้รับความช่วยเหลือ จะต้องเป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตรก่อนเกิดภัยพิบัติ จึงจะได้รับการช่วยเหลือตามพื้นที่เสียหายจริง ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ไร่

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า หลังจากที่ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉินแล้ว เกษตรกรต้องยื่นแบบขอรับการช่วยเหลือ (กษ 01) โดยให้ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน อบต. หรือนายกเทศมนตรีรับรอง จากนั้นจะมีการตรวจสอบทะเบียนเกษตรกรและพื้นที่เสียหายจริง เพื่อช่วยเหลือตามขั้นตอนต่อไป

จาก https://www.prachachat.net   วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ผวา กฎหมายอียู คุมคาร์บอน CBAM ฉุดส่งออกปุ๋ย-เหล็ก-อะลูมิเนียม-ซีเมนต์

อียูงัด กฎหมายใหม่ “CBAM” ตั้งการ์ดคุมเข้มสินค้าไม่รักษ์โลก บีบผู้นำเข้าแจงรายละเอียดการปล่อยคาร์บอน 5 สินค้า ปุ๋ย เหล็ก อะลูมิเนียม ไฟฟ้า ซีเมนต์ ดีเดย์ 1 ม.ค. 66 ก่อนไต่ระดับบี้เก็บ “ค่าปล่อยคาร์บอน” ปี’69 ด้าน ส.อ.ท.หวั่นกระทบตลาดส่งออก 2 หมื่นตัน ขอเวลาปรับตัว 5 ปี เตรียมระดมสมองรับมือ พ.ย.นี้ วอนรัฐหนุน

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์จะต้องช่วยผู้ประกอบการเตรียมพร้อมกรณีที่สหภาพยุโรป (อียู) บังคับใช้กฎหมายควบคุมการปล่อยคาร์บอน ในสินค้านำเข้า 5 รายการ คือ ปุ๋ย เหล็ก อะลูมิเนียม ไฟฟ้า ซีเมนต์ คาดว่าจะบังคับใช้ในอีก 2 ปีข้างหน้า

ทั้งนี้ อียูได้เผยแพร่ร่างกฎหมายมาตรการปรับคาร์บอนก่อนเข้าพรมแดน (Carbon Border Adjustment Mechanism : CBAM) เมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 กำหนดให้ผู้นำเข้าอียูต้องซื้อ “ใบรับรอง CBAM” ตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยในช่วง 3 ปีแรก (2566-2568) จะเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน ทางผู้นำเข้าเพียงแค่รายงานข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเท่านั้น จากนั้น 1 มกราคม 2569 จะเริ่มบังคับใช้ CBAM เต็มรูปแบบ ผู้นำเข้าจะต้องซื้อและส่งมอบใบรับรอง CBAM

เบื้องต้นประเมินว่าจะกระทบการส่งออกสินค้าไทย โดยเฉพาะเหล็ก เหล็กกล้า และอะลูมิเนียมที่ส่งออกไปอียู ในปี 2563 มูลค่า 145 ล้านเหรียญสหรัฐ (4,785 ล้านบาท) ซึ่งกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศและเอกชนต้องร่วมกันศึกษารายละเอียดของมาตรการ กฎหมายต่าง ๆ รวมถึงหารือกับอียู เพื่อลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น

ด้านนายธีรพันธุ์ พิมพ์ทอง ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอะลูมิเนียม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สหภาพยุโรปได้เริ่มดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องลดภาวะโลกร้อน ภายใต้กระแสเรื่อง European Green Deal อย่างเป็นรูปธรรมก่อนประเทศอื่น ๆ ซึ่ง CBAM เป็นส่วนต่อขยายระบบ EU-ETS (EU Emission Trading Scheme : EU-ETS) จะเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566 และเริ่มมีค่าใช้จ่ายจริงในวันที่ 1 มกราคม 2569

คาดว่ามีผลกระทโดยตรงต่ออุตสาหกรรมอะลูมิเนียมที่มีการส่งออกไปยังสหภาพยุโรป ซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น เนื่องจากค่าธรรมเนียมในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ผ่านทางใบแสดงสิทธิในการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CBAM certificates)

“ยอมรับว่ามาตรการที่ EU จะใช้นั้นเร็วมาก ตอนนี้เราตามดูเรื่อง CBAM อยู่ เท่าที่ติดตาม embedded emissions จะมีการเก็บค่า carbon credit จริง ๆ ในปี 2569 สิ่งที่เราต้องทำคือปรับตัวตาม ในกลุ่มอะลูมิเนียมกำลังดำเนินการกันอยู่ คาดว่าภายใน 5 ปีน่าจะสามารถปรับตัวได้ ปัจจุบันไทยส่งออกอะลูมิเนียมไปยุโรป ประมาณ 20,000 ตัน/ปี ในปี 2563”

โดยค่าคาร์บอนที่ปลดปล่อย แบ่งออกตามช่วงวัฏจักรชีวิต (LCA) เป็น 3 ช่วง คือ การได้มาของวัตถุดิบ ค่าการปลดปล่อยทางอ้อมจากการผลิต (indirect emission) และค่าการปล่อยทางตรงจากการผลิต (direct emission/embedded emission) ในการบังคับใช้ช่วงแรกจะเก็บเฉพาะส่วนการปล่อยทางตรงจากการผลิตก่อน โดยดูจากราคาประมูลเฉลี่ยรายสัปดาห์จากทาง EU-ETS

ซึ่งอุตสาหกรรมอะลูมิเนียมในสหภาพยุโรปมีค่าการปล่อยคาร์บอนทางตรงจากการผลิตโดยเฉลี่ยเท่ากับ 1.9 ตัน CO2 eq./ตันอะลูมิเนียม จากที่มีการผลิตต้นน้ำด้วย ส่วนประเทศไทยไม่มีการผลิตต้นน้ำ แต่จะผลิตกลางน้ำ ซึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมอะลูมิเนียมแผ่น 80% ซึ่งจะมีค่าการปล่อยคาร์บอนทางตรงเท่ากับ 0.5 ตัน CO2 eq./ตันอะลูมิเนียม ส่วนในกลุ่มอุตสาหกรรมอะลูมิเนียมเส้นประมาณ 50% จะมีค่าการปล่อยคาร์บอนเท่ากับ 0.5 ตัน CO2 eq./ตันอะลูมิเนียม

อย่างไรก็ตาม สมาชิกกลุ่มให้ความสนใจเรื่องนี้ค่อนข้างมาก ทางกลุ่มจึงประสานกับนายจุลเทพ ขจรไชยกุล ผู้อำนวยการศูนย์ M-Tech และตัวแทนทางองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (อบก.) เพื่อจัดสัมมนาให้ผู้สนใจทั่วไป ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2564 เพื่อเริ่มดำเนินการเก็บตัวเลขการปล่อยคาร์บอนทางตรงจากการผลิตโดยเฉลี่ย เพื่อใช้เป็นค่ากลางสำหรับอุตสาหกรรมอะลูมิเนียมในไทย เพื่อเป็น base line ในการปรับปรุงพัฒนา ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนในอนาคต

สำหรับแนวทางการปรับตัว เราพยายามนำพลังงานแสงอาทิตย์มาทดแทนแบบดั้งเดิม เพิ่มปริมาณการใช้เศษอะลูมิเนียมตามนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียนให้มากขึ้น จะช่วยให้ลดปริมาณการปลดปล่อยคาร์บอนได้ค่อนข้างมาก และหากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ เช่น จัดหาพลังงานสะอาดราคาต่ำ สนับสนุนการลงทุนด้านพลังงานสะอาดให้กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการนี้

รวมถึงสนับสนุนการหมุนเวียนเศษอะลูมิเนียม เพื่อใช้สำหรับอุตสาหกรรมภายในประเทศ จะช่วยลดปริมาณการใช้ไฟฟ้า และการปลดปล่อยคาร์บอนได้ถึง 95% ทันที เมื่อเทียบการใช้อะลูมิเนียมบริสุทธิ์จากกระบวนการต้นน้ำ เป็นการเสริมสร้าง circular economy ที่ตามนโยบายรัฐด้วย

ด้านนายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า ไทยอาจจะได้รับผลกระทบจาก CBAM น้อย เนื่องจาก 5 สินค้าที่อียูประกาศนั้น ไทยส่งออกไปน้อยมาก และบางสินค้าไทยยังต้องมีการนำเข้า แต่ก็ต้องเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต หากอียูเพิ่มการบังคับใช้ในรายการสินค้าอื่น

ทั้งนี้ การส่งออกตลาดอียู 8 เดือน (มกราคม-สิงหาคม 2564) ขยายตัว 24.6% คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 8% สำหรับสินค้าที่ไทยส่งออกไปอียู เช่น ยางพาราและผลิตภัณฑ์ยาง ชิ้นส่วนยานยนต์ ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาหาร เป็นต้น

จาก https://www.prachachat.net วันที่ 15 ตุลาคม 2564

วิกฤติพลังงานจีนลามไทย สินค้านำเข้าจ่อพุ่งยกแผง

วิกฤติพลังงานในจีน ลามกระทบห่วงโซ่การผลิตโลก สภาอุตฯ-สรท.เปิดโผสินค้าส่งออก-นำเข้าไทย-จีนมีได้เสีย จับตาจีนลดการผลิต กระทบนำเข้ายางพารา ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เม็ดพลาสติกไทย บาทอ่อน-น้ำมันพุ่งผสมโรง สินค้านำเข้าจากจีนพุ่งยกแผง

วิกฤติพลังงาน ขาดแคลนถ่านหินซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตกระแสไฟฟ้าของจีนที่เป็น “โรงงานของโลก” กำลังส่งผลกระทบรุนแรงมากขึ้นทุกขณะ จากผลพวงหลายปัจจัยรวมกัน ได้แก่ จีนแบนการนำเข้าถ่านหินจากออสเตรเลีย (สัดส่วน 26% ของการนำเข้า) จากมีข้อพิพาทระหว่างกัน จากการลดลงของอุปทานถ่านหินในจีน และลดการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตกระแสไฟฟ้า และหันไปใช้พลังงานทดแทนอื่น ๆ เพื่อลดโลกร้อน

ขณะที่การเพิ่มขึ้นของราคาถ่านหินกว่าเท่าตัวในช่วงที่ผ่านมา (ราคาถ่านหินก่อนโควิดจาก 100 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ปัจจุบัน 240 ดอลลาร์ต่อตัน) ทำให้ต้นทุนการผลิตกระแสไฟฟ้าในจีนเพิ่มขึ้นเท่าตัว แต่ราคาไฟฟ้าของผู้ผลิตในจีนถูกควบคุมโดยรัฐบาลกลาง ทำให้ผู้ประกอบการประสบปัญหาการขาดทุน และการปรับลดกำลังการผลิตลง ยังผลกระทบต่อโรงงานผลิตสินค้าของจีนไฟฟ้าไม่พอใช้ และต้องปรับลดกำลังผลิตลงตาม ขณะที่อีกด้านการปรับขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลกส่งผลให้ต้นทุนการผลิตสินค้าของจีน และทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้น

ผลกระทบลามถึงไทย

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จีนเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทย แน่นอนว่าวิกฤติพลังงานที่เกิดขึ้นในจีนที่ส่งผลกระทบต่อโรงงานผู้ผลิตสินค้าของจีนในเวลานี้ ย่อมส่งผลกระทบถึงไทยที่เป็นหนึ่งในห่วงโซ่อุปทาน (ซัพพลายเชน) ของจีนด้วย

ทั้งนี้การลดกำลังการผลิต หรือการหยุดชะงักของโรงงานผลิตสินค้าในจีนจะส่งผลกระทบต่อแนวโน้มการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบจากไทยลดลง อาทิ ยางพารา ไม้ยางพารา มันสำปะหลัง ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น เพื่อนำไปผลิตสินค้าสำเร็จรูปเพื่อส่งออกต่อ ขณะเดียวกันสินค้าอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่จีนปรับลดการผลิตลงจะส่งผลกระทบสินค้าในตลาดโลก เช่น สินค้าที่จีนส่งออกไปยุโรป หรืออเมริกา จะเริ่มขาดตลาด

“นอกจากนี้จากวิกฤติขาด แคลนพลังงาน และต้นทุนการผลิตในจีนสูงขึ้น ประกอบกับเวลานี้เงินบาทอ่อนค่า (ระดับ 33 บาท) และราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นมากในเวลานี้ ทำให้สินค้านำเข้าหลักของไทยจากจีนปรับตัวสูงขึ้น เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อปรับเปลี่ยนการผลิตรวมถึงสินค้าที่ไทยจำเป็นต้องนำเข้าจากทั่วโลกจะปรับตัวสูงขึ้น จะส่งผลต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยที่กำลังจะเปิดประเทศ กระทบต่อกำลังซื้อของผู้บริโภคที่ปรับตัวลดลง และจะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น”

จีดีพีจีนวูบ 0.5% เรื่องใหญ่

อย่างไรก็ตามวิกฤติพลังงานในจีนล่าสุดโกลด์แมน แซกส์ได้ปรับลดคาดการณ์ขยายตัวของเศรษฐกิจ(จีดีพี) จีนจาก 8.2% ลงเหลือ 7.8% ขณะที่โนมูระ ปรับลดคาดการณ์ขยายตัวจาก 8.2% เหลือ 7.7% หรือลดลง 0.4-0.5% ซึ่งการปรับลดลงของจีพีดีจีน 0.4-0.5%นี้ ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก เพราะเทียบแล้วระดับจีดีพีที่ลดลงอาจใหญ่พอ ๆ กับงบประมาณของประเทศไทย ทั้งนี้การแก้ไขปัญหาขาดแคลนพลังงานในจีนล่าสุดรัฐบาลได้ให้ธนาคารปล่อยกู้ให้โรงไฟฟ้าเพื่อจัดซื้อถ่านหินเพิ่มอีก 100 ล้านตัน คงต้องจับตาหากจีนสามารถนำเข้าถ่านหินเพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าได้เร็วและเป็นปัญหาชั่วคราวก็อาจจะไม่กระทบเศรษฐกิจมาก แต่หากปัญหาทอดยาวออกไปถึงสิ้นปีนี้จะส่งผลกระทบไปทั่วโลก รวมถึงไทยเพิ่มขึ้น

 เปิดโผสินค้าไทยได้-เสีย

ด้านนายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า ปัจจุบันจีนใช้พลังงานจากถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าสัดส่วนถึง 72% พลังงานน้ำจากเขื่อน 14% พลังงานลม 7% พลังงานนิวเคลียร์ 5% และพลังงานแสงอาทิตย์ 2% การปรับขึ้นของราคาถ่านหินจึงมีผลกระทบมาก ต้องจับตาช่วงหน้าหนาวนี้ราคาถ่านหินจะปรับขึ้นไปอีกเท่าใด และจะส่งผลกระทบกับการผลิตไฟฟ้า และการผลิตสินค้าของโรงงานอุตสาหกรรมในจีนมากขึ้นเพียงใด

สำหรับผลกระทบจากวิกฤติพลังงานในจีนครั้งนี้ต่อสินค้าไทยแบ่งออกเป็น 2 กรณี กรณีแรก การปรับลดกำลังผลิตของโรงงานผลิตในจีนจะกระทบสินค้าวัตถุดิบที่จีนนำเข้าจากไทยลดลง เช่น ยางพารา ไม้ยางพาราชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เม็ดพลาสติก เป็นต้น กรณีที่ 2 สินค้าไทยที่เป็นคู่แข่งขันกับสินค้าจีนในประเทศที่ 3 อาจได้รับอานิสงส์ส่งออกทดแทนสินค้าจีนที่ขาดแคลนได้เพิ่มขึ้นในตลาดสหรัฐฯ ยุโรป และตลาดอื่นๆ เช่น กลุ่มอาหาร เครื่องใช้ไฟฟ้า ผลิตภัณฑ์พลาสติก สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม ล้อยางรถยนต์ (ส่วนหนึ่งผู้ผลิตยางล้อรถยนต์รายใหญ่ของจีนมาตั้งฐานผลิตในไทยส่งออก)

“ภาพผลกระทบเชิงบวกและเชิงลบจากวิกฤติพลังงานในจีนจะเริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ไม่ว่าสถานการณ์จากนี้ไปจะเป็นอย่างไร ผู้ประกอบการของไทยต้องเตรียมรับมือ เพราะจะเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะส่งผลกระทบทั้งด้านลบและด้านบวกต่อการนำเข้าและส่งออกของไทย”

คาดลากยาวถึงมี.ค.65

ดร.ไพจิตร วิบูลย์ธนสาร รองประธานและเลขาธิการหอการค้า ไทยในจีน ประเมินว่า ปัญหาวิกฤติพลังงานจะเกิดขึ้นกับโรงงานผลิตสินค้าในจีนยาวไปจนถึงเดือนมีนาคม 2565 ผลจากรัฐวิสาหกิจด้านการไฟฟ้าของจีนต้องเร่งเตรียมสต๊อกถ่านหินและพลังงานอื่นให้เพียงพอต่อการผลิต “ความร้อน” ที่จะส่งผ่านตามท่อไปยังอาคารบ้านเรือนที่อยู่ทางตอนเหนือของจีนเพื่อต่อสู้กับความหนาวที่จะมาเยือนถึงช่วงวันที่ 15 พ.ย.64-15 มี.ค.65 ขณะที่ปักกิ่งและเมืองบริวารเตรียมเป็นเจ้าภาพการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูหนาวในช่วงเดือน ก.พ. 65 ทำให้ต้องใช้พลังงานเพิ่มขึ้น

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 15 ตุลาคม 2564

เกษตรฯลุยขึ้นทะเบียน ’เกษตรกร’ รับเงินเยียวยา

กระทรวงเกษตรฯได้แจ้งไปยังเกษตรกรทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง ให้มาขึ้นทะเบียนหรือปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรให้เป็นปัจจุบันตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด

เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)ในฐานะโฆษกกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ฉันทานนท์ วรรณเขจร ระบุ กระทรวงเกษตรฯได้แจ้งไปยังเกษตรกรทั้งด้านพืช ปศุสัตว์ ประมง ให้มาขึ้นทะเบียนหรือปรับปรุงทะเบียนเกษตรกรให้เป็นปัจจุบันตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในการยืนยันสถานภาพรับเงินเยียวยา รวมถึงมาตรการช่วยเหลือจากรัฐบาล โดยกระทรวงเกษตรฯจะจ่ายเงินช่วยเหลือแก่เกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติฉุกเฉินตามที่ขึ้นทะเบียนไว้เท่านั้น

จาก https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 14 ตุลาคม 2564

วิกฤตพลังงานโลก ยังไม่เห็นทางออกอันใกล้

ชีพจรเศรษฐกิจโลก

นงนุช สิงหเดชะ

หนึ่งในประเด็นร้อนระดับโลกที่กำลังถูกกล่าวถึงมากที่สุดในขณะนี้ก็คือ “ราคาพลังงาน” ถีบตัวสูงขึ้นมาก ทั้งน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ ถ่านหิน พร้อมกับที่เริ่มได้ยินนักวิเคราะห์ทำนายว่าราคาน้ำมันดิบอาจดีดตัวไปถึง 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ซึ่งเป็นตัวเลขคุ้น ๆ ที่กลับมาให้ได้ยินอีกครั้งหนึ่ง

วิกฤตพลังงานโลกในขณะนี้มีสาเหตุทั้งจากสภาพอากาศ และความต้องการที่พุ่งขึ้นฉับพลัน ภายหลังจากเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวจากโควิด-19 และหากเข้าสู่หน้าหนาวสถานการณ์จะยิ่งเลวร้าย และเรื่องยิ่งยุ่งยากขึ้นไปอีก เมื่อเกิดแรงกดดันให้รัฐบาลทั่วโลกเร่งเปลี่ยนไปใช้พลังงานสะอาดที่บรรดาผู้นำโลกเตรียมประชุมสุดยอดเรื่องวิกฤตสภาพภูมิอากาศในเดือนพฤศจิกายนนี้

โดย “คาดริ ซิมสัน” หัวหน้าด้านพลังงานของสหภาพยุโรป (อียู) กล่าวว่า ราคาพลังงานที่พุ่งสูง เป็นวิกฤตที่ไม่คาดหมาย ซึ่งดันมาเกิดขึ้นในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญยิ่ง ซึ่งทางอียูจะจัดทำโครงร่างแผนตอบสนองปัญหาระยะยาวในสัปดาห์หน้า

ในยุโรป ราคาก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นมากกว่า 130% ตั้งแต่ต้นเดือนกันยายน สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่แล้วมากกว่า 8 เท่า ส่วนในเอเชีย ราคาก๊าซธรรมชาติขยับขึ้น 85% ตั้งแต่เดือนกันยายนเช่นกัน

“นิกอส ซาฟอส” ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานและภูมิรัฐศาสตร์ ศูนย์ศึกษาระหว่างประเทศและกลยุทธ์ในวอชิงตัน ระบุว่า มีหลายปัจจัยกระตุ้นให้เกิดความกลัวว่าจะเกิดอะไรขึ้นในหน้าหนาวที่กำลังจะมาถึง ความวิตกกังวลเป็นเหตุให้ตลาดแยกพื้นฐานของดีมานด์และซัพพลายออกจากกัน

ความบ้าคลั่งที่จะได้ก๊าซธรรมชาติมาไว้ในมือยังเป็นเหตุให้ราคาถ่านหินและน้ำมันซึ่งสามารถใช้ทดแทนกันได้ในบางเรื่องทะยานขึ้นไปด้วย สภาพเช่นนี้ยิ่งเลวร้ายต่อสภาพภูมิอากาศ สภาวการณ์ดังกล่าวทำให้บรรดาธนาคารกลางและนักลงทุนกังวล เพราะจะซ้ำเติมปัญหาเงินเฟ้อ

วิกฤตพลังงานดูเหมือนจะไม่มีทางออกที่ง่าย อากาศที่หนาวยาวนานกว่าปกติเมื่อต้นปีนี้ ทำให้สต๊อกก๊าซธรรมชาติในยุโรปหมดไป และประจวบเข้ากับความต้องการที่พุ่งสูง ทำให้การจะจัดหาก๊าซมาสต๊อกไว้อีกครั้งมีอุปสรรค ซึ่งปกติกระบวนการสต๊อกจะเริ่มดำเนินการในช่วงฤดูใบไม้ผลิ (มีนาคมถึงพฤษภาคม) และฤดูร้อน (มิถุนายนถึงสิงหาคม) นักวิเคราะห์พลังงานของโซซิเอเต เจเนอราล ชี้ว่า ราคาพลังงานที่พุ่งสูงในยุโรปเป็นสิ่งเฉพาะอย่างแท้จริง เราไม่เคยเห็นราคาพุ่งขึ้นถึงระดับนี้อย่างรวดเร็วมาก่อน

สิ่งที่เกิดขึ้นสร้างผลสะเทือนไปทั่วโลก ราคาก๊าซธรรมชาติที่สูงหมายถึงราคาน้ำมันสูง เพราะพลังงาน 2 ชนิดมีความสัมพันธ์กัน โดยราคาน้ำมันในสหรัฐสัปดาห์ที่แล้วมีราคาสูงสุดในรอบ 7 ปี ซึ่ง “แบงก์ออฟอเมริกา” ทำนายว่า อากาศหนาวอาจผลักดันราคาน้ำมันดิบเบรนต์ ซึ่งเป็นราคาอ้างอิงโลกขยับขึ้นเกิน 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยเบรนต์ไม่เคยมีราคาสูงขนาดนี้มาก่อนนับแต่ปี 2014

บรรดาผู้เชี่ยวชาญระบุว่า “วิกฤตพลังงานครั้งนี้ ยังมองไม่เห็นหนทางว่าจะบรรเทาลงโดยเร็ว” เนื่องจากมติของกลุ่มโอเปกเมื่อเร็ว ๆ นี้ยืนยันว่าจะไม่เพิ่มกำลังการผลิตน้ำมัน ดังนั้นก็หมายถึงว่าไม่มีซาอุดีอาระเบียมาช่วยเหลือเรื่องก๊าซธรรมชาติ เพราะซาอุฯคือผู้ผลิตเพียงรายเดียวที่สามารถเพิ่มกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติได้รวดเร็ว

นักวิเคราะห์ประเมินว่า หากหน้าหนาวนี้อุณหภูมิอยู่ในค่าเฉลี่ยไม่หนาวมากเกินไป จะช่วยผ่อนแรงกดดันช่วงไตรมาส 2 ของปีหน้าได้ แต่ถ้าอากาศหนาวรุนแรงจะสร้างแรงกดดันมหาศาล โดยเฉพาะประเทศที่พึ่งพาก๊าซธรรมชาติสูงมากในการผลิตกระแสไฟฟ้า เช่นอังกฤษและอิตาลี โดยเฉพาะอังกฤษนั้นอยู่ในจุดลำบากเป็นพิเศษ เพราะขาดแคลนศักยภาพในการสต๊อกก๊าซธรรมชาติ

“เฮนนิ่ง กลอยสไตน์” ผู้อำนวยการทีมพลังงาน ภูมิอากาศและทรัพยากรของยูเรเซีย กรุ๊ป ชี้ว่า อังกฤษมีความเสี่ยงสูงที่สุดในบรรดาประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของยุโรปที่จะขาดแคลนพลังงานช่วงหน้าหนาว หากเกิดการขาดแคลนมีแนวโน้มที่รัฐบาลจะเรียกร้องให้บรรดาโรงงานต่าง ๆ ลดการผลิต และลดใช้ก๊าซเพื่อรับประกันว่าบรรดาครัวเรือนจะมีพลังงานใช้

การพุ่งขึ้นของราคาพลังงานที่ยังไม่มีท่าทีจะผ่อนคลายลง กระพือความกลัวเงินเฟ้อที่มีอยู่แต่เดิม เพราะค่าไฟฟ้าและพลังงานที่สูงอาจทำให้ผู้บริโภคลดการใช้จ่ายด้านเสื้อผ้าหรือกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การกินอาหารนอกบ้าน ส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัวจากโควิด-19 อีกทั้งหากบรรดาธุรกิจและโรงงานต่าง ๆ ถูกขอร้องให้ลดกิจกรรมลงเพื่อสงวนพลังงาน ก็จะทำร้ายเศรษฐกิจโดยรวม ดังนั้นจึงเกิดความกังวลว่าจะทำให้การฟื้นตัวของเศรษฐกิจยุโรปหลังโควิด-19 มีความเสี่ยง

จาก https://www.prachachat.net วันที่ 13 ตุลาคม 2564

ไทยเล็งร่วม “ซีพีทีพีพี” แบบสงวนท่าที เตรียมความพร้อมประชุมเอเปก

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีการหารือเรื่องการให้ประเทศไทยเข้าร่วมข้อตกลงความครอบคลุมและความก้าวหน้าเพื่อหุ้นส่วนทางการค้าภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก (ซีพีทีพีพี) โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้สอบถามความคืบหน้าของผู้เกี่ยวข้องภายหลังคณะกรรมการร่วมเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้เรียกร้องให้รัฐบาลตัดสินใจเข้าร่วมเป็นสมาชิก เพื่อสร้างโอกาสส่งออกและการลงทุนของไทยให้มากขึ้น ซึ่งนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกฯและ รมว.ต่างประเทศ ชี้แจงว่าคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ได้สรุปประเด็นสำคัญเพื่อเสนอ ครม.เร็วๆนี้ โดยสามารถตอบข้อคำถาม และข้อสังเกตของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาผลกระทบจากการเข้าร่วมซีพีทีพีพีได้ทุกประเด็นและชี้แจงกับสภาได้

ขณะที่นายกรัฐมนตรีระบุว่า ความจำเป็นของการเข้าร่วมซีพีทีพีพี เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและประเทศไทยสามารถเข้าร่วมเป็นสมาชิกแบบสงวนท่าทีในประเด็นที่ยังไม่มีความพร้อมได้ และค่อยไปขอเจรจาเพิ่มเติมในอนาคต ขณะที่การแสดงท่าทีที่ชัดเจนในการเข้าร่วมจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนและนักธุรกิจ เพราะขณะนี้หลายประเทศมีการขับเคลื่อนในเรื่องนี้ หลังจากจีนแสดงท่าทีสนใจที่จะเข้าร่วมข้อตกลงทางการค้านี้ โดยหากมีการตัดสินใจจากรัฐบาล การเดินหน้าเข้าสู่กระบวนการเป็นสมาชิก รวมทั้งการเจรจากับประเทศต่างๆก็จะเริ่มในปี 2565

ทั้งนี้ ครม.ยังมีมติรับทราบผลการประชุมคณะกรรมการระดับชาติเพื่อเตรียมการจัดการประชุมผู้นำเขตเศรษฐกิจเอเปก ซึ่งเป็นกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างเขตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ปัจจุบันมีสมาชิก 21 เขตเศรษฐกิจ โดยไทยกำลังจะรับหน้าที่เป็นเจ้าภาพการประชุม APEC ในปี 2565 ตั้งแต่วันที่ 12 พ.ย.นี้

จาก https://www.thairath.co.th  วันที่ 13 ตุลาคม 2564

"สอน. แจงกรณี 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลคัดค้านการนำกากอ้อยเข้าสู่ระบบแบ่งปัน" ราย

 นายเอกภัทร วังสุวรรณ เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เปิดเผยว่า ตามที่ปรากฏข่าว เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2564 กรณี 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทรายมีมติคัดค้านร่างแก้ไขมาตรา 4 ในพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ที่ต้องการนำกากอ้อยและกากตะกอนกรองเข้าสู่การคำนวณระบบแบ่งปันผลประโยชน์ 70 : 30 โดยเพิ่มเติมคำนิยามให้รวมกากอ้อย กากตะกอนกรอง เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาล และมีความเห็นว่ากากอ้อยเป็นกากขยะอุตสาหกรรมไม่ใช่ผลพลอยได้จากการผลิต ระบุเป็นการปิดกั้นโอกาสพัฒนาอุตสาหกรรมนำของเสียกากอ้อยและกากตะกอนกรองในอุตสาหกรรมไปสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในอนาคตนั้น

 “ขอเรียนชี้แจงว่า ร่างพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่เสนอโดยกระทรวงอุตสาหกรรม คณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการเป็นการแก้ไขให้กฎหมายมีความสอดคล้องกับข้อตกลงทางการค้าระหว่างประเทศ และปัญหาการดำเนินการของคณะกรรมการชุดต่าง ๆ เท่านั้น โดยกรณีของ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทรายได้มีมติคัดค้านนั้น เป็นหลักการที่อยู่ในร่างพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... ที่เสนอ โดยภาคประชาชนและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และขณะนี้อยู่ในระหว่างขั้นตอนการพิจารณาของคณะกรรมาธิการเพื่อหาข้อยุติ

 สำหรับประเด็นที่ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทรายมีความเห็นว่า กากอ้อยเป็นกากขยะอุตสาหกรรมนั้น ขอเรียนว่า กากอ้อยหรือชานอ้อยถูกจัดให้เป็นสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548 แต่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขออนุญาตในการนำออกไป โดยสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ แต่ต้องแจ้งข้อมูลให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมทราบว่ามีปริมาณเท่าไหร่ และนำไปใช้ประโยชน์ที่ไหน อย่างไร”

จาก https://www.banmuang.co.th  วันที่ 12 ตุลาคม 2564

ดีป้า หนุน ซีพีเอส เวเธอร์ ผุดแอพพลิเคชั่น “ฟ้าฝน” ช่วยเกษตรกรกว่า 10 ล้านคน วางแผนรับมือภัยธรรมชาติ

เศรษฐกิจ

นายณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า เปิดเผยว่า ดีป้า ร่วมมือกับ บริษัท ซีพีเอส เวเธอร์ จำกัด และ บริษัท ซีพีเอส อะกริ จำกัด ส่งเสริมและสนับสนุนการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิตอล ได้พัฒนาแพลตฟอร์ม ที่มีชื่อว่า “ฟ้าฝน” ภายใต้โครงการ “CPS AGRI: ระบบฐานข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อเกษตรอัจฉริยะของประเทศไทย ผ่านมาตรการช่วยเหลือหรือการอุดหนุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเกี่ยวกับการพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิตอล

“จากสถานการณ์ภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้สร้างความเสียหายให้กับเกษตรกร ส่งผลต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ แพลตฟอร์มดังกล่าวคือ แอพพลิเคชันบนมือถือ ซึ่งเกษตรกรสามารถทราบผลการพยากรณ์อากาศ ล่วงหน้า 7 วัน ช่วยเตือนภัยธรรมชาติ รับทราบถึงข้อมูลสภาพอากาศและปริมาณน้ำฝนล่วงหน้าในพื้นที่ของตนเองได้อย่างแม่นยำ ทำให้เกษตรกรสามารถบริหารจัดการทรัพยากร วางแผนการเพาะปลูกได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล”

ด้านนายชินวัชร์ สุรัสวดี กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพีเอส เวเธอร์ จำกัด และ บริษัท ซีพีเอส อะกริ จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันพื้นที่การเกษตรประมาณ 80% ของประเทศ อยู่นอกเขตชลประทาน ซึ่งต้องอาศัยน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติและฝนเป็นหลัก ดังนั้น แอพพลิเคชัน ฟ้าฝน จึงเป็นแพลตฟอร์มสำคัญ ที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถทราบถึงสภาพอากาศแบบรายชั่วโมง หรือล่วงหน้า 7 วัน โดยดูการเคลื่อนไหวของสภาพอากาศผ่านดาวเทียมที่มีความละเอียดและแม่นยำ

รวมถึงสามารถตั้งค่าเพื่อรับการแจ้งเตือนพายุ ฝน ลม และการเปลี่ยนแปลงฉับพลันของอุณหภูมิได้แบบรายแปลง รายพิกัด คาดว่าภายในระยะเวลา 3 ปี จะมีเกษตรกรและประชาชนทั่วไปเข้าใช้บริการมากกว่า 10 ล้านคน ช่วยลดต้นทุนให้เกษตรกรและสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศมากกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี โดยสามารถดาวน์โหลดแอพฟ้าฝน ได้แล้วทั้งระบบแอนดรอยด์ และไอโอเอส

จาก https://www.khaosod.co.th   วันที่ 12 ตุลาคม 2564

ดัชนีเชื่อมั่นอุตฯ กย. ฟื้นครั้งแรกรอบ 6 เดือน

ส.อ.ท.เผยคลายล็อกดันดัชนีเชื่อมั่นอุตฯก.ย.ดีขึ้นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน แตะ 79.0 ขณะเปิดประเทศเป็นปัจจัยบวกสำคัญในอนาคต

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท. เปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม ประจำเดือนกันยายน 2564 พบว่า ดัชนีมีการปรับตัวดีขึ้นครั้งแรกในรอบ 6 เดือน มาอยู่ที่ระดับ 79.0 ในขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นในอนาคตช่วง 3 เดือนข้างหน้าปรับตัวดีขึ้นอยู่ที่ระดับ 93.0 ทั้งนี้เป็นผลมาจากการประกาศคลายล็อกดาวน์ของรัฐบาลตั้งแต่วันที่1กันยายน และคลายล็อกต่อเนื่องในเดือนตุลาคม ทำให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจเดินหน้าได้ และสถานการณ์โควิด-19 เริ่มดีขึ้น จากตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลงและการฉีดวัคซีนที่มีมากขึ้น ประกอบกับการติดเชื้อในโรงงานที่ลดลงด้วย และการประกาศเปิดประเทศจะเป็นปัจจัยบวกสำคัญสำหรับอนาคตทำให้ดัชนีความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรมดีขึ้นอย่างต่อเนื่องได้

ทั้งนี้ปัจจัยที่ยังส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นของภาคอุตสาหกรรม คือต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น สถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ ความล่าช้าของการขนส่งสินค้าส่งออก การขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ รวมถึงค่าระวางเรือที่ยังอยู่ในระดับสูง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยใหม่ที่เริ่มมีผลกระทบมากยิ่งขึ้นคือสถานการณ์ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้ต้นทุนของผู้ประกอบการไทยปรับตัวสูงขึ้น โดยราคาน้ำมันที่สูงขึ้นนั้นเป็นผลมาจากความต้องการใช้ในตลาดโลกมีมากขึ้นหลังเศรษฐกิจโลกเริ่มมีการฟื้นตัว

อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนอยากให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาน้ำท่วมที่เกิดขึ้นเป็นประจำทุกปีโดยให้ประเมินสถานการณ์ล่วงหน้าวางแผนแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนเพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนต่างประเทศในอนาคต ดูแลราคาน้ำมันให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมเพื่อไม่ให้เป็นภาระต้นทุนมากจนเกินไป ดำเนินนโยบายแบบผ่อนคลายให้ภาคธุรกิจสามารถประกอบกิจการได้ และเร่งฟื้นฟูกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศผ่านโครงการต่างๆให้มากขึ้น รวมถึงการพักชำระหนี้ให้กับผู้ประกอบการที่เริ่มกลับมาดำเนินธุรกิจและยังคงขาดสภาพคล่องในเวลานี้

จาก https://www.innnews.co.th วันที่ 12 ตุลาคม 2564

"ภูสิต"สั่งลุย รุกหนักเอเชียใต้เพิ่มส่งออกโค้งท้าย

“ภูสิต” เครื่องร้อน ประกาศรุกหนักตลาดเอเชียใต้ส่งท้ายปี หลังเห็นโอกาสทางการตลาดยังมีทิศทางขยายตัวต่อเนื่อง เน้นเจรจาค้าออนไลน์ เจาะเมืองหลัก-เมืองรองของอินเดีย โชว์ตัวเลข 8 เดือนพุ่งกว่า 55% ขณะน้ำมันตลาดโลกปรับขึ้นส่งผลดีส่งออกพลาสติก เคมีภัณฑ์เพิ่ม

เข้ามารับไม้ต่อจากนายสมเด็จ  สุสมบูรณ์  อดีตอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ (สค.) ที่ลาออกจากปัญหาสุขภาพเมื่อช่วงเดือนกันยายน   ล่าสุดอธิบดีใหม่ป้ายแดงอย่างนายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ เข้ามาสานต่อเพื่อให้แผนการผลักดันการส่งออกไทยในช่วงปลายปีนี้ยังเดินหน้าและขยายตัวตามเป้าของกระทรวงพาณิชย์ ที่ตั้งไว้ 4% และทั้งปีอาจจะขยายตัวมากกว่าที่ตั้งไว้ ตามที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้ประกาศไว้ทุกครั้งที่นั่งหัวโต๊ะแถลงตัวเลขส่งออกประจำเดือน

นายภูสิต รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ  เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงการผลักดันการส่งออกช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ (ตัวเลข 8 เดือนแรกส่งออกไทยขยายตัว 15.25%) กรมได้เตรียมกิจกรรมผลักดันการส่งออก เน้นการเจรจาการค้าผ่านออนไลน์ โดยเฉพาะตลาดเอเชียใต้ ซึ่งเป็นหนึ่งในตลาดส่งออกสำคัญที่กรมให้ความสนใจมาโดยตลอด หากมองเป็นรายประเทศในกลุ่มนี้ อินเดียถือว่าเป็นตลาดขนาดใหญ่ที่สุดของภูมิภาคนี้มีประชากรมากกว่า 1,300 ล้านคน

ดังนั้นในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้กรมได้สั่งการให้ทูตพาณิชย์ 4 แห่งในเอเชียใต้ ได้แก่ เมืองมุมไบ,กรุงนิวเดลี และเมืองเจนไน ของอินเดีย และ กรุงธากา ประเทศบังกลาเทศ ปรับตัวรับสถานการณ์โควิด-19 จัดกิจกรรมเจรจาการค้ารูปแบบออนไลน์ (OBM) เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ประกอบการไทยขยายธุรกิจสู่ตลาดเอเชียใต้อย่างต่อเนื่องท่ามกลางข้อจำกัดในการเดินทางในยุคที่ยังมีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19

ทั้งนี้สาเหตุที่กรมเน้นรุกตลาดเอเชียใต้ เน้นอินเดียทางตะวันตกทั้งเมืองหลักและเมืองรองใน 6 รัฐ ไม่ว่าจะเป็น รัฐมหาราษฏระ คุชราต มัธยประเทศ กรณาฏกะ เกรละ และกัว  จากมองว่าเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูงอย่างต่อเนื่อง และยังเป็นการรุกตลาดเมืองรองมากขึ้นด้วย สินค้าที่ได้รับความสนใจ ได้แก่ อาหารพร้อมรับประทาน อาหารมังสวิรัติ ขนมขบเคี้ยว น้ำผลไม้ ผลไม้อบกรอบ ครีมทากันยุง สบู่และครีมอาบน้ำ น้ำหอมและโลชั่น รองเท้าแตะ ผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก  และสินค้าที่มีโอกาสในการเจาะตลาดเอเชียใต้ เช่น เครื่องสำอาง สุขภาพและความงาม อาหารแปรรูปอาหารพร้อมรับประทาน ของใช้ภายในบ้าน อาหารและผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยง เคมีภัณฑ์  ซึ่งจะเป็นรูปแบบการเจรจาที่ให้ผู้ประกอบการไทยส่งสินค้าตัวอย่างให้ผู้นำเข้าได้เห็นและสัมผัสสินค้าจริง ทั้งนี้กิจกรรมผ่านออนไลน์ของกรมที่ผ่านมาสามารถสร้างยอดคำสั่งซื้อภายใน 1 ปีได้สูงถึง 650 ล้านบาท

“ส่วนในปีงบประมาณ 2565 ที่จะเริ่มต้นเดือนตุลาคมนี้ กรมจะยังคงรุกตลาดเอเชียใต้อย่างต่อเนื่องเพราะนอกเหนือจากกิจกรรม OBM ในกลุ่มสินค้าต่าง ๆ แล้ว กรมยังเตรียมแผนดำเนินโครงการสำคัญต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นงานแสดงสินค้า Top Thai Brands ณ เมืองปูเน่ อินเดีย และกรุงธากา บังกลาเทศ กิจกรรมส่งเสริมการจำหน่ายสินค้าไทยผ่านช่องทางค้าปลีกสมัยใหม่ร่วมกับซุปเปอร์มาร์เก็ตชั้นนำรายใหม่ในอินเดีย เช่น Namdhari  จะเห็นได้ว่าไทยส่งออกไปตลาดเอเชียใต้ในช่วง 8 เดือนแรกปี 2564 มีมูลค่า 7,312 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 54% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ในจำนวนนี้เฉพาะตลาดอินเดียอย่างเดียวไทยส่งออกไปมีมูลค่า 5,168 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 55% ถือว่าเป็นการขยายตัวอย่างต่อเนื่องและเป็นตลาดที่มีกำลังซื้อสูงดังนั้นกรมจะรุกตลาดนี้อย่างเข้มข้น”

นายภูสิต กล่าวอีกว่า ช่วงเดือนที่เหลือของปีนี้ สินค้าอุตสาหกรรมส่งออกของไทยหลายรายการยังเติบโตได้ต่อเนื่อง ประกอบกับราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ช่วยสนับสนุนการขยายตัวของการส่งออกสินค้าที่เกี่ยวเนื่องกับน้ำมันไม่ว่าจะเป็นเม็ดพลาสติก เคมีภัณฑ์  และมาตรการผ่อนคลายการล็อกดาวน์ในสหรัฐฯ จีน และสหภาพยุโรป รวมไปถึงการเร่งฉีดวัคซีนทั่วโลก ส่งผลดีต่อกำลังซื้อของประเทศคู่ค้า ที่สำคัญค่าเงินบาทยังมีทิศทางอ่อนค่าต่อเนื่อง ส่งผลดีต่อสินค้าส่งออกของไทยที่เน้นการแข่งขันด้านราคาในปีนี้

จาก https://www.thansettakij.com    วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2564

กกร.เตรียมทำหนังสือถึงบิ๊กตู่ จี้ไทยเข้าร่วมเจรจาCPTPP

กกร.เตรียมทำหนังสือถึงรัฐบาล-กระทรวงต่างประเทศ-พาณิชย์ นำเสนอผลศึกษาของเอกชน จี้ไทยเข้าร่วมCPTPP  หลังจีน อังกฤษ และไต้หวันแสดงความสนใจเข้าร่วม ชี้หากไทยล่าช้าต้องเจราจาตามเงื่อนไขอีก3ประเทศจากเดิม11ปท.เดิม

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน  (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย เปิดเผยภายหลังการประชุม กกร. ถึงความคืบหน้า CPTPP ของประเทศไทยกกร.ขอให้รัฐบาลเร่งรัดการดำเนินการเกี่ยวกับการเข้าร่วมการเจรจา CPTPP โดยทาง กกร. จะทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เพื่อนำเสนอผลการศึกษาของภาคเอกชน และเร่งรัดการพิจารณา

เนื่องจาก ปัจจุบันทางจีน สหราชอาณาจักร และไต้หวัน ได้มีเจตจำนงเข้าร่วมเจรจากับ CPTPP อย่างชัดเจนแล้ว และหากไทยยังล่าช้าไปกว่านี้ อาจทำให้ต้องเจรจาตามเงื่อนไขของประเทศทั้ง 3 เพิ่มเติม จากเดิมที่จะต้องเจรจากับ 11 ประเทศที่เป็นสมาชิก CPTPP ในปัจจุบัน และทำให้ไทยเสียโอกาสในการแข่งขันทางการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านอย่าง เวียดนาม มาเลเซีย และสิงคโปร์ ซึ่งก่อนหน้านี้ กกร. ได้เคยทำหนังสือถึงประธานคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ถึงจุดยืนของภาคเอกชนและผลการศึกษาของภาคเอกชน เพื่อเป็นข้อมูลในการพิจารณาของภาครัฐไปแล้ว กกร. จะขอให้กระทรวงการต่างประเทศ โดยคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ จัดประชุมเสวนา เพื่อทำความเข้าใจร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยเร็ว รวมถึงนำเสนอผลการศึกษาของภาคเอกชน เพื่อสร้างความเข้าใจในภาพรวมของการเข้าร่วมเจรจา CPTPP ของไทย ต่อไป

นอกจากนี้กกร.ยังมีข้อเสนอเดิมเติม เช่น  แนวทางการแก้ไข พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.2562 (PDPA)กกร. ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า ควรเสนอแนวทางให้รัฐบาลดำเนินการแต่งตั้งให้มีตัวแทนภาคเอกชน (กกร.) ร่วมในกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และคณะกรรมการชุดย่อยอื่น ๆ รวมถึงพิจารณาเลื่อนการบังคับใช้มาตราที่เกี่ยวกับบทลงโทษ (หมวดที่ 6 และหมวดที่ 7) ออกไปเป็นเวลาอีก 3 ปี และพิจารณาแก้ไขกฎหมายเพื่อให้เหมาะสมและไม่อุปสรรค

การผลักดันและสนับสนุนการผลิตและบริโภคสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยภาคเอกชนจะขอให้กรมบัญชีกลางและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ออกระเบียบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมให้เป็นภาคบังคับ และผลักดันให้บัญชีสินค้าที่ได้รับการรับรองฉลากอีโค่พลัส อยู่ในบัญชีรายชื่อสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของกรมควบคุมมลพิษ เป็นพัสดุที่รัฐต้องการส่งเสริมหรือสนับสนุน พร้อมทั้ง ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ประกอบการผลิตและจัดซื้อจัดจ้างสินค้าที่ได้รับการรับรองอีโค่พลัส และสนับสนุนให้ภาคเอกชนที่ผลิตและจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ได้รับการลดหย่อนภาษี 2 เท่า

ส่วน สถานการณ์ตัวเลขผู้ติดเชื้อในปัจจุบันทรงตัวถึงลดลง เนื่องจากแผนการจัดหาและจัดสรรวัคซีนที่ชัดเจน มีการกระจายวัคซีนไปต่างจังหวัดมากขึ้น ขณะที่ภาครัฐเริ่มผ่อนคลายกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ให้กิจกรรมทางเศรษฐกิจทยอยเปิดดำเนินการได้อย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยต้องจับตามองมาตรการผ่อนคลายที่จะออกมากลางเดือน ต.ค.ถึงต้นเดือน พ.ย. ต่อไป  ขณะที่ ปัจจัยบวกที่ช่วยเสริมให้ภาพรวมเศรษฐกิจปลายปีน่าจะดีขึ้น คือ มาตรการที่รัฐบาลได้ออกมาในช่วงนี้ เช่น โครงการคนละครึ่ง เฟส 3 ที่จะช่วยกระตุ้นกำลังซื้อภายในประเทศ โครงการเราเที่ยวด้วยกัน เฟส 3 ที่ขยายสิทธิเพิ่มอีก 2 ล้านสิทธิ จะเป็นแรงเสริมภาคการท่องเที่ยวในช่วง High-Season ทั้งนี้ รัฐบาลควรมีมาตรการเสริม ทั้งช้อปดีมีคืน และเติมเงินให้คนละครึ่ง เพื่อให้เกิดเงินหมุนเวียนในระบบมากขึ้น นอกจากนั้น แผนการเปิดประเทศที่รัฐบาลประกาศไว้ จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยว และนักลงทุนต่างประเทศ แม้ว่าเวลา 2 เดือนที่เหลือ จำนวนนักท่องเที่ยวอาจจะมีไม่มากในปีนี้ แต่จะส่งผลดีและสร้างความเชื่อมั่นในระยะต่อไป ซึ่ง กกร. กำลังรวบรวมประเด็นข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับมาตรการการเงิน การคลัง และภาษี และส่งหนังสือเพื่อขอเข้าพบนายกรัฐมนตรีภายในสัปดาห์นี้

สำหรับปัจจัยลบที่ต้องจับตามอง คือสถานการณ์น้ำท่วมของประเทศ แม้ว่าหลายพื้นที่จะเริ่มมีระดับน้ำที่ลดลงบ้าง แต่ยังคงมีพื้นที่เฝ้าระวังหลายแห่ง ซึ่งสร้างความเสียหายต่อภาคการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่ภาคอีสานและภาคกลาง โดยเบื้องต้นประเมินว่าสถานการณ์น้ำท่วมจะกระทบเศรษฐกิจประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท หรือราว 0.1% ของจีดีพี

นอกจากนี้ ปัญหาราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่องแตะระดับสูงสุดในรอบ 7 ปี กระทบต้นทุนการผลิต การขนส่ง การเดินทางของภาคธุรกิจ และประชาชนในวงกว้าง ประกอบกับเงินบาทอ่อนค่าลง ทำให้ต้นทุนนำเข้าพลังงานทั้งน้ำมันและก๊าซพุ่งขึ้นในอัตราเร่ง การอ่อนค่าของเงินบาท แม้ส่งผลดีต่อธุรกิจส่งออก แต่ธุรกิจและอุตสาหกรรมหลายสาขาได้รับผลกระทบตามมา แม้ว่า (กบง.) จะมีมติลดเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงในส่วนน้ำมันดีเซล เพื่อให้ราคาขายปลีกน้ำมันดีเซลไม่เกิน 30 บ./ลิตร แต่ก็เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และคาดว่าราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกยังอยู่ในขาขึ้น ซึ่งรัฐต้องวางแผนบริหารจัดการพลังงานให้มีประสิทธิภาพ เพื่อไม่ให้ซ้ำเติมและกระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ

ความท้าทายหลังจากนี้ จะต้องติดตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ในตลาดโลกที่เร่งตัวขึ้นอย่างมาก อันเนื่องจาก 1) เศรษฐกิจโลกฟื้นตัวอย่างต่อเนื่อง 2) อุปทานตึงตัว และ 3) การลดกำลังการผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิล เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่นโยบายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net zero emissions) ส่งผลทำให้ต้นทุนการผลิตสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด รวมถึงทำให้อัตราเงินเฟ้อผู้บริโภค (CPI) ทั่วโลกปรับตัวสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นผลให้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลระยะยาวทั่วโลกปรับตัวขึ้นตามอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐฯ ซึ่งเงินเฟ้อที่สูงขึ้นเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อาจตัดสินใจลดการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินเร็วกว่าที่ประเมินไว้ ส่งผลให้ตลาดการเงินทั่วโลกรวมถึงค่าเงินบาทมีแนวโน้มผันผวนไปในทิศทางอ่อนค่าได้ในระยะต่อไป

สำหรับที่ประชุม กกร. จึงปรับประมาณการเศรษฐกิจไทยปี 2564 ดีขึ้นมาอยู่ในกรอบ 0.0 % ถึง 1% แต่ยังต้องติดตามสถานการณ์น้ำท่วมและตัวเลขการติดเชื้อหลังผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ไปอีกระยะ ส่วนการส่งออก กกร. คาดว่าจะขยายตัว 12 14% จากเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวดี ภายใต้เงื่อนไขค่าระวางเรือที่ไม่สูงจนเกินไป สามารถควบคุมการระบาดในกลุ่มแรงงานภาคอุตสาหกรรมได้ และการฉีดวัคซีนให้แรงงานได้ทั่วถึง ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปจะอยู่ในกรอบ 1 -1.2%

จาก https://www.thansettakij.com    วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2564

BOI ปลดล็อก Local Content 30% ลงทุนใช้หุ่นยนต์-ระบบอัตโนมัติในโรงงาน

บอร์ดบีโอไอ อนุมัติมาตรการสนับสนุนการยกระดับอุตสาหกรรมและบริการให้เป็นระบบอัจฉริยะ ใช้หุ่นยนต์-ระบบอัตโนมัติในโรงงานได้ หวังดันไทยสู่ ก้าว Industry 4.0 ผู้ประกอบการไม่ต้องเข้าเงื่อนใช้ local content 30% ได้ยกเว้นภาษี 3 ปี สัดส่วน 100% ของเงินลงทุนในการปรับปรุง คาด 10,000 โรงงานใน EEC ได้อานิสงส์เพียบ ทั้งนี้บอร์ดยังต่ออายุมาตรการ SMEs อีก 1 ปี ยื่นขอบีโอไอได้ถึงสิ้นปี 65

วันที่ 11 ตุลาคม 2564 นางสาวดวงใจ อัศวจินตจิตร์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บอร์ดบีโอไอ) ซึ่งมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้พิจารณาเห็นชอบมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อการยกระดับไปสู่ Industry 4.0 เพื่อสนับสนุนผู้ประกอบการให้ลงทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักรเพื่อยกระดับสู่อุตสาหกรรม 4.0 ตามเกณฑ์ที่กำหนดในด้านต่าง ๆ เช่น ระบบอัตโนมัติและการเชื่อมต่อระหว่างอุปกรณ์ (Automation and Network Technology) การวิเคราะห์ข้อมูลและการปฏิบัติการที่ชาญฉลาด (Smart Operation) หรือการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้บริหารจัดการในกระบวนการผลิตและการบริหารองค์กร (Digital Technology in Production & Enterprise Processes) เป็นต้น

โดยให้ได้รับสิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 3 ปี สัดส่วน 100% ของเงินลงทุนในการปรับปรุง ทั้งนี้ ต้องเสนอแผนการลงทุนที่ได้รับความเห็นชอบจาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยยื่นขอรับการส่งเสริมภายในวันทำการสุดท้ายของปี 2565 และต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 3 ปี นับจากวันที่ออกบัตรส่งเสริม

“จากการสำรวจของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ภาคอุตสาหกรรมไทยกว่า 70% ยังอยู่ในระดับอุตสาหกรรม 2.0 หรือต่ำกว่า ระดับอุตสาหกรรม 3.0 มีเพียง 28% บีโอไอจึงเห็นความจำเป็นที่จะต้องมีมาตรการสนับสนุนการยกระดับไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ซึ่งต้องมีการปรับปรุงในหลายมิติไปพร้อม ๆ กัน ทั้งระบบอัตโนมัติ ระบบอัจฉริยะ และเทคโนโลยีดิจิทัล และใช้เงินลงทุนสูง มาตรการใหม่นี้จะช่วยเสริมมาตรการสนับสนุนการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรไปสู่ระบบอัตโนมัติและมาตรการสนับสนุนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ที่มีอยู่เดิม”

ซึ่งเดิมมาตรการดังกล่าวจะมีเงื่อนไขที่ว่า หากลงทุนใช้หุ่นยนต์หรือระบบอัตโนมัติเพื่อปรับปรุงการผลิตในสถานประกอบการณ์ของตนเอง นอกจากจะได้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปี ยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักรแล้ว แต่จะต้องมีการเชื่อมโยงหรือสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตระบบอัตโนมัติในประเทศ (local content) ไม่น้อยกว่า 30% ของมูลค่าระบบอัตโนมัติที่มีการปรับเปลี่ยน จึงจะได้รับ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 3 ปีในสัดส่วน 100% ของเงินลงทุน

ครั้งนี้บอร์ดได้ปลดล็อก 30% ดังกล่าวให้ แต่มีเงื่อนไขใหม่ว่าต้องปรับปรุงเพื่อไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ตามที่ สวทช. ประเมิน ซึ่งแน่นอนว่าในพื้นที่ EEC มีอุตสาหกรรมเหล่านี้ที่เข้าเงื่อนไขกว่า 10,000 โรงงาน แม้การไปถึง 4.0 จะยากแต่เชื่อว่าในอีก 4-5 ปี มาตรการดังกล่าวจะเป็นตัวผลักดันให้อุตสาหกรรมไทยก้าวไปถึง 4.0 ได้

อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ประกอบการที่ยังไม่เข้าเงื่อนไขหรือยังไม่สามารถไปถึง 4.0 ได้ จะยังคงได้รับสิทธิประโยชน์ตามมาตรการเดิม คือต้องมีเงื่อนไข local content) ไม่น้อยกว่า 30% เช่นเดิม และในช่วงที่ผ่านมาก็ยังคงพบว่าผู้ประกอบการยังไม่สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพไปถึง 4.0 ได้ ดังนั้นมาตรการเดิมเงื่อนไขเดิมยังคงต้องมีอยู่

สำหรับมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตโดยการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรมาใช้หุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ 9 เดือนปี 2564 มีมูลค่า 7,378 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 177% หรืออยู่ที่ 2,666 ล้านบาท ส่วน 9 เดือนปีนี้มีจำนวน 45 โครงการ เพิ่มขึ้น 67% จาก 27 โครงการของปีก่อน

นอกจากนี้ที่ประชุมยังอนุมัติขยายเวลามาตรการส่งเสริมการลงทุนสำหรับวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) เป็นสิ้นสุดวันทำการสุดท้ายของปี 2565 จากเดิมมาตรการจะสิ้นสุดในวันทำการสุดท้ายของปี 2564 โดยมาตรการพิเศษสำหรับ SMEs กำหนดวงเงินยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็น 2 เท่าจากเกณฑ์ปกติ และผ่อนปรนเงื่อนไขต่าง ๆ รวมถึงการให้สิทธิและประโยชน์เพิ่มเติมตามคุณค่าของโครงการ (Merit-based Incentives) เพื่อกระตุ้นให้ SMEs พัฒนาศักยภาพด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งจะช่วยให้สามารถเติบโตและแข่งขันได้ ตลอดจนส่งเสริม SMEs ที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคและเขตเศรษฐกิจพิเศษ

จาก https://www.prachachat.net  วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2564

เช็คเลย! สถานการณ์การน้ำ “ป่าสัก-เจ้าพระยา-ชี-มูล”

กรมชลประทานชี้ ลุ่มน้ำป่าสัก-เจ้าพระยาลดลงต่อเนื่อง แต่ยังเฝ้าระวังพายุ “ไลออนร็อก” ด้านศูนย์บริหารฯ ลุ่มน้ำชี-มูล (ส่วนหน้า) จัดทัพพร้อมรับมวลน้ำเหนืออย่างเต็มศักยภาพ

วันที่ 11 ต.ค. 64 นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในลุ่มน้ำป่าสัก วันนี้ (11 ต.ค. 64) เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ได้ปรับลดการระบายน้ำลงสู่ด้านท้ายเขื่อนเหลือ 451 ลบ.ม./วินาที ส่งผลให้ระดับน้ำในแม่น้ำป่าสักบริเวณด้านท้ายเขื่อนลดลงอย่างต่อเนื่อง ได้แก่อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี ลดลง 1.33 เมตร

อ.แก่งคอย จ.สระบุรี ลดลง 97 เซนติเมตร อ.เมือง จ.สระบุรี ลดลง 78 เซนติเมตร อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา ลดลง 46 เซนติเมตร และจะระบายน้ำส่วนหนึ่งเข้าคลองระพีพัฒน์ประมาณ 163 ลบ.ม./วินาที และควบคุมน้ำไหลผ่านเขื่อนพระราม 6 ในอัตรา 676 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำเหนือเขื่อน ลดลง 33 เซนติเมตร ช่วยลดปริมาณน้ำที่จะไปสมทบกับแม่น้ำเจ้าพระยา

ด้านลุ่มน้ำเจ้าพระยา มีแนวโน้มลดลงทุกสถานี โดยที่สถานีวัดน้ำท่า C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ มีปริมาณน้ำไหลผ่าน 2,371 ลบ.ม./วินาที แนวโน้มลดลง ก่อนไหลลงสู่เขื่อนเจ้าพระยา จ.ชัยนาท

ซึ่งกรมชลประทานได้ใช้คลองชลประทานทั้ง 2 ฝั่งรับน้ำเข้าไปรวม 360 ลบ.ม./วินาที ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาลดลงเล็กน้อยประมาณ 6 เซนติเมตร ในขณะที่ได้ลดการระบายน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาเหลือ 2,520 ลบ.ม./วินาที ส่งผลให้ระดับน้ำด้านท้ายเขื่อนลดลง ดังนี้อ.เมือง จ.สิงห์บุรี ลดลง 5 ซม. และอ.เมือง จ.อ่างทอง ลดลง 3 ซม.

สำหรับคลองชัยนาท-ป่าสัก ปัจจุบันอยู่ระหว่างการระบายน้ำท่วมขังพื้นที่ฝั่งซ้ายของคลองในเขต อ.บ้านหมี่ และ อ.เมือง จ.ลพบุรี ภาพรวมลดลงต่อเนื่องเฉลี่ยวันละประมาณ 10 เซนติเมตร

“ขอให้ประชาชนเฝ้าระวังติดตามสภาพอากาศ ที่จะทำให้มีฝนตกหนักจากอิทธิพลของพายุ “ไลออนร็อก” และติดตามสถานการณ์น้ำจากหน่วยงานราชการอย่างใกล้ชิด หากประชาชนต้องการความช่วยเหลือติดต่อได้ที่โครงการชลประทานใกล้บ้าน หรือโทร.สายด่วนกรมชลประทาน 1460 ได้ตลอดเวลา”

ด้านดร.วัชระ เสือดี ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมชลประทาน (ด้านบำรุงรักษา) ในฐานะประธานศูนย์บริหารจัดการอุทกภัยลุ่มน้ำชี-มูล (ส่วนหน้า) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำว่า จากอิทธิพลของพายุโซนร้อน “เตี้ยนหมู่” ที่ส่งผลให้เกิดฝนตกหนักในหลายพื้นที่ ทำให้ปริมาณน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ มีปริมาณเพิ่มมากขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องที่ดีทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำมากขึ้น กรมชลประทาน จะดำเนินการเก็กกักน้ำดังกล่าวสำหรับไว้ใช้ในฤดูแล้งหน้า ตามข้อสั่งการของ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

สำหรับสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี ยังคงมีน้ำท่วมขังในพื้นที่ลุ่มต่ำบางแห่ง ดังนี้ พื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำมูล ในเขต อ.เมืองอุบลราชธานี ได้แก่ บริเวณชุมชนวังแดง มีน้ำท่วมขังสูงประมาณ 1.70 ม. ชุมชนหาดคูเดื่อ น้ำท่วมขังสูงประมาณ 0.10 ม.ชุมชนหาดวัดใต้ น้ำท่วมขังสูงประมาณ 0.20 – 0.80 ม.

ชุมชนหลังโรงเรียนสมเด็จ เนื่องจากน้ำในแม่น้ำมูลเพิ่มสูงขึ้นจนเอ่อเข้าท่วมมีบ้านเรียนราษฎร น้ำท่วมขังสูงประมาณ 0.40 ม. ชุมชนเยาวเรศ 3 น้ำท่วมขังสูงประมาณ 0.40 ม.ริมตลิ่งชุมชนทัพไท น้ำท่วมขังสูงประมาณ 0.20 – 0.60 ม.ชุมชนวังสว่าง น้ำท่วมขังสูงประมาณ 0.20 – 0.60 ม.

พื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำมูล ในเขต อ.วารินชำราบ ได้แก่ชุมชนท่าบ้งมั่ง , ชุมชนเกตุแก้ว , ชุมชนหาดสวนยา , ชุมชนดีงาม และชุมชนดอนงิ้ว น้ำท่วมสูงประมาณ 0.30 – 0.70 ม.

ในขณะเดียวกัน โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษามูลล่าง ได้ประสานไปยังเขื่อนราษีไศล สำนักงานชลประทานที่ 8 ว่าเมื่อระดับน้ำหน้าเขื่อนราษีไศล ถึงระดับ +119.00 ม. (รทก.) ขอให้ทำการแขวนบานระบายพ้นน้ำทั้ง 7 บาน เพื่อช่วยเพิ่มการระบายให้กับลำน้ำมูลอย่างเต็มศักยภาพตามธรรมชาติ เนื่องจากขณะนี้มวลน้ำจาก จ. นครราชสีมา กำลังทะยอยเคลื่อนตัวลงสู่เขื่อนราษีไศล เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบกับประชาชนในพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด (สุรินทร์ ร้อยเอ็ด และศรีสะเกษ)

ทั้งนี้ กรมชลประทาน ได้ติดตั้งเครื่องสูบน้ำ ขนาด 12 นิ้ว 2 เครื่อง และขนาด 8 นิ้ว จำนวน 2 เครื่อง บริเวณประตูระบายน้ำวัดเสนาวงศ์ อ.วารินชำราบ ติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ขนาด 4 นิ้ว จำนวน 2 เครื่อง ขนาด 8 นิ้ว จำนวน 1 เครื่องบริเวณชุมชนท่ากอไผ่ อ.วารินชำราบ

พร้อมติดตั้งเครื่องผลักดันน้ำ 100 เครื่อง บริเวณสะพานพิบูลมังสาหาร เร่งระบายน้ำลงสู่แม่น้ำโขง และเรือสูบน้ำอีก 1 ลำ บริเวณแก่งสะพือ

นอกจากนี้ สำนักเครื่องจักรกล ได้เตรียมเครื่องจักร เครื่องมือ กว่า 1,200 หน่วย ที่พร้อมจะสนับสนุนภารกิจในการช่วยเหลือประชาชน ตามที่ นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน ได้กำชับไว้

หากต้องการความช่วยเหลือสามารถติดต่อศูนย์บริหารจัดการอุทกภัยลุ่มน้ำชี-มูล (ส่วนหน้า) สำนักงานชลประทานที่ 7 โทร.0 4524 5320 หรือโทรสายด่วนกรมชลประทาน 1460 ได้ตลอดเวลา

จาก https://www.prachachat.net  วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2564

พาณิชย์เตรียมยื่นความเห็นกฎหมายคาร์บอนของอียู ชี้สุ่มเสี่ยงเลือกปฏิบัติ

กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศเผยอียูกำลังอยู่ระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นการใช้มาตรการปรับคาร์บอนข้ามพรมแดน กำหนดให้ยื่นข้อคิดเห็น ข้อกังวลภายใน 18 พ.ย.นี้ ยันจะยื่นข้อกังวลการสอดคล้องกติกา WTO สุ่มเสี่ยงเลือกปฏิบัติ ผลกระทบการค้า แนะผู้ประกอบการรับมือ

 นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ขณะนี้ สหภาพยุโรป (อียู) ได้เปิดรับฟังความเห็นต่อร่างกฎหมายมาตรการปรับคาร์บอนข้ามพรมแดน (CBAM) โดยกำหนดให้ผู้ที่สนใจ หรือมีข้อกังวลต่อมาตรการ สามารถส่งความเห็นได้จนถึงเที่ยงคืนของวันที่ 18 พ.ย.2564 (เวลาบรัสเซลส์) ซึ่งกรมฯ เองก็อยู่ระหว่างจัดทำความเห็นต่อร่างกฎหมายดังกล่าว โดยเฉพาะข้อกังวลในเรื่องความสอดคล้องกับกติกาขององค์การการค้าโลก (WTO) ความสุ่มเสี่ยงว่าจะเป็นการเลือกปฏิบัติระหว่างผู้นำเข้ากับผู้ผลิตในอียู และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับการค้าระหว่างสองฝ่าย เป็นต้น และขอเชิญชวนให้ผู้ประกอบการแจ้งความเห็นหรือข้อกังวลต่อมาตรการ CBAM ไปที่อียูภายในเวลาที่กำหนดด้วย

ทั้งนี้ กรมฯ ขอให้ผู้ผลิตและผู้ส่งออกสินค้าไทยไปอียู ควรเตรียมความพร้อมในการปรับตัวรับมาตรการ CBAM ที่จะเกิดขึ้นในปี 2566 ซึ่งรัฐและเอกชนจะต้องร่วมกันทำงานอย่างใกล้ชิด เพื่อปรับกระบวนการผลิตไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และใช้พลังงานทางเลือกที่ปกป้องสิ่งแวดล้อมและสภาพภูมิอากาศมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา  กรมฯ ได้ประสานกับหน่วยงานต่าง ๆ เช่น องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เป็นต้น เพื่อเตรียมรับมือในเบื้องต้นแล้ว

สำหรับร่างกฎหมายดังกล่าว อียูกำหนดใช้กับสินค้านำเข้า 5 ชนิด ได้แก่ ซีเมนต์ ไฟฟ้า ปุ๋ย เหล็กและเหล็กกล้า และอะลูมิเนียม ต้องซื้อใบรับรอง CBAM ตามปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เพื่อกระตุ้นให้ประเทศผู้ส่งออกเร่งผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อมตามที่อียูกำหนด โดยมาตรการ CBAM จะมีผลบังคับใช้ในปี 2566 เริ่มจากในช่วง 3 ปีแรก (2566-2568) ถือเป็นช่วงเปลี่ยนผ่าน ผู้นำเข้าจะต้องแจ้งข้อมูลปริมาณการนำเข้าและปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของสินค้านำเข้าต่ออียู และตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.2569 จะเริ่มบังคับใช้มาตรการ CBAM อย่างเต็มรูปแบบ ส่งผลให้ผู้นำเข้าต้องซื้อและส่งมอบใบรับรอง CBAM ให้หน่วยงานผู้มีอำนาจของประเทศสมาชิกอียู และมีความเป็นไปได้มากที่หลังจากนั้น อียูจะขยายมาตรการให้ครอบคลุมไปถึงสินค้าประเภทอื่น ๆ

ในปี 2563 ไทยส่งออกสินค้าตามรายการที่ครอบคลุมในมาตรการ CBAM ไปยังอียู เป็นมูลค่า 145.08 ล้านดอลลาร์ คิดเป็น 4.25% ของการส่งออกสินค้าดังกล่าวของไทยไปสู่โลก ประกอบด้วยเหล็กและเหล็กกล้า 104.46 ล้านดอลลาร์หรือ 5.03 % และของการส่งออกของไทยไปสู่โลก  อะลูมิเนียม 40.62 ล้านดอลลาร์หรือ 4.58 % ของการส่งออกของไทยไปสู่โลก  ส่วนซีเมนต์ ปุ๋ย และไฟฟ้า ไทยส่งออกไปอียูในปริมาณที่น้อยมาก หรือไม่มีการส่งออก

จาก https://www.bangkokbiznews.com   วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2564

BBGI คาดเทรดหุ้นไตรมาส 1/65 หลังยื่นไฟลิ่ง IPO 216.6 ล้านหุ้น

บีบีจีไอคาดเข้าซื้อขายหุ้นในไตรมาส 1/64 หลังยื่นไฟลิ่งขายหุ้น IPO จำนวน 216.60 ล้านหุ้นเมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา หวังนำเงินมาใช้ในการขยายธุรกิจและคืนเงินกู้

แหล่งข่าวบริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (BCP) เปิดเผยว่า บมจ.บีบีจีไอ (BBGI) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยที่บางจากถือหุ้นอยู่ 60% ได้ยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เมื่อปลายเดือนกันยายน 2564 เพื่อเสนอขายหุ้นสามัญต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) จำนวนรวมไม่เกิน 216.60 ล้านหุ้น คิดเป็นไม่เกิน 30% ของจำนวนหุ้นสามัญที่ออกและเรียกชำระแล้วทั้งหมด มูลค่าที่ตราไว้ (พาร์) หุ้นละ 5.00 บาท โดยจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (SET) หมวดพลังงานและสาธารณูปโภค คาดว่าหุ้น BBGI จะเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้ในช่วงไตรมาส 1/2565

ทั้งนี้ มีการจัดสรรหุ้น IPO แบ่งเป็นผู้ถือหุ้นของ บมจ.บางจาก คอร์ปอเรชั่น (BCP) และ บมจ.น้ำตาลขอนแก่น (KSL) เฉพาะกลุ่มที่มีสิทธิได้รับการจัดสรรหุ้นตามสัดส่วนการถือหุ้น (Pre-emptive Rights) และประชาชนทั่วไป ซึ่งรวมถึงบุคคลตามดุลพินิจของผู้จัดจำหน่ายหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนสถาบัน ผู้มีอุปการคุณของบริษัทฯ และบุคคลที่มีความสัมพันธ์ซึ่งเป็นกรรมการหรือผู้บริหารของบริษัท โดยมี บล.กรุงไทย ซีมิโก้ เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจำหน่าย

สำหรับเงินที่ได้จากการขายหุ้น IPO บริษัทนำมาใช้ในการลงทุนโครงการในอนาคตของกลุ่มบริษัทฯ รวมถึงกระบวนการพัฒนา ปรับปรุงประสิทธิภาพในการดำเนินงานของกลุ่มบริษัทฯ เพื่อใช้ชำระคืนเงินกู้ยืมให้แก่สถาบันการเงิน และชำระคืนหุ้นกู้ของกลุ่มบริษัทฯ รวมทั้งใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน

ทั้งนี้ BBGI มีโครงการในอนาคต ดังนี้ คือ ธุรกิจเชื้อเพลิงชีวภาพ (Biofuel) บริษัทมีโครงการขยายกำลังการผลิตเอทานอลของโรงงานน้ำพอง 2 ของ บมจ.เคเอสแอล กรีน อินโนเวชั่น (KGI) ลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอลแห่งใหม่ กำลังการผลิตติดตั้ง 2 แสนลิตร/วัน ส่งผลให้กำลังการผลิตเอทานอลรวมเพิ่มขึ้นจาก 1 ล้านลิตร/วัน เป็น 1.2 ล้านลิตรต่อวัน คาดว่าจะใช้เงินลงทุนรวม 1,200 ล้านบาท และจะเปิดดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ภายในไตรมาส 1/2565

โครงการติดตั้งบ่อก๊าซชีวภาพของ บริษัท บีบีจีไอ ยูทิลิตี้ แอนด์ เพาเวอร์ จำกัด (BUP) ที่จังหวัดกาญจนบุรี กำลังการผลิต 8.4 หมื่นลูกบาศก์เมตรต่อวัน เพื่อรองรับโรงงานผลิตเอทานอลของ KGI ที่สาขาบ่อพลอย คาดว่าจะใช้เงินลงทุนรวมประมาณ 150 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง คาดว่าจะเปิดดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ในไตรมาส 4/2564 และโครงการติดตั้งหม้อไอน้ำและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของ BUP ที่จังหวัดขอนแก่น ขนาดกำลังผลิตไฟฟ้า 3 เมกะวัตต์และไอน้ำ 20 ตันต่อชั่วโมง ใช้เงินลงทุน 180 ล้านบาท เปิดดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ในไตรมาส 1/2565

ส่วนธุรกิจผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่าสูงที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ดูแลและส่งเสริมสุขภาพ (Health and Well-Being Products) บริษัทมีแผนลงทุนโครงการผลิตสารให้ความหวานและผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่มีมูลค่าสูงด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อเป็นฐานการผลิตและจัดจำหน่ายในภูมิภาคเอเชีย คาดว่าจะใช้เงินลงทุนรวม 1,000 ล้านบาท คาดว่าจะเปิดดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ในไตรมาส 4/2566

นอกจากนี้ยังมีแผนลงทุนโรงงานผลิตภัณฑ์ชีวภาพประเภทเอนไซม์และผลิตภัณฑ์ชีวภาพมูลค่าสูง เพื่อการผลิตและจัดจำหน่ายในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จะใช้เงินลงทุนรวม 600 ล้านบาท คาดเปิดดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ในไตรมาส 4/2566 และโรงงานผลิตผลิตภัณฑ์ชีวภาพให้เป็น Biorefinery Complex ในพื้นที่โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

BBGI มีทุนจดทะเบียนจำนวน 3,615 ล้านบาท แบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 723 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5.0 บาท และมีทุนชำระแล้วจำนวน 2,532 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็นหุ้นสามัญจำนวน 506.40 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 5.0 บาท ภายหลังจากการเสนอขายหุ้นสามัญที่ออกใหม่ทั้งหมดในครั้งนี้แล้ว บริษัทฯ จะมีทุนจดทะเบียนและทุนชำระแล้วเต็มจำนวน ขณะที่โครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทหลังขายหุ้น IPO ประกอบด้วย BCP ถือหุ้นลดลงจาก 60% เป็น 42%, KSL ถือหุ้นลดลงเหลือ 28% จากเดิม 40%

จาก https://mgronline.com   วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ปุ๋ยเคมีโลกราคาพุ่ง  12 ปี ผู้ค้าสต๊อกเก่า เสือนอนกิน จับตาขอพาณิชย์ปรับราคา

อุตสาหกรรมปุ๋ยเคมีโลกป่วน ความต้องการพุ่งถึงขั้นต้องแย่งกันซื้อ ผู้นำเข้าไทยช็อก วงการระบุ ยูเรีย ไทยมีสต๊อกสิ้นสุดฤดูกาลนี้เท่านั้นชี้ใครนำเข้าเสี่ยงขาดทุนยับ พาณิชย์กดเพดานขายห้ามขึ้นราคา จับตา “ยี่ปั๊ว-ซาปั๊ว” เสือนอนกิน กอดสต๊อกต้นทุนต่ำ ฟันกำไรเละ

ราคาปุ๋ยเคมีที่พุ่งสูงสุดรอบ 12 ปีในเวลานี้ กลายเป็นอีกประเด็นร้อนที่น่าจับตามอง ผลพวงจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นในรอบ 7 ปี ตู้คอนเทนเนอร์ขนส่งสินค้าขาดแคลน และค่าระวางเรือปรับตัวสูงขึ้น 4-5 เท่าจากปีที่แล้วทำให้ต้นทุนการนำเข้า-ส่งออกเพิ่มขึ้นมาก

ประกอบกับสถานการณ์ "โควิด-19" ที่ทำให้ทุกประเทศตระหนักถึงความจำเป็นความมั่นคงทางด้านอาหารที่ต้องมีหล่อเลี้ยงในประเทศได้อย่างเพียงพอ ไม่เช่นนั้นอาจซ้ำรอยประเทศเคนยา ที่ต้องเบียดเสียดแย่งชิงอาหาร ทำให้ทั่วโลกตระหนักและพร้อมใจกันพลิกผืนดินของตัวเองเพื่อเพิ่มผลผลิตทางด้านอาหาร ทำให้มีความต้องใช้ปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้น

จากสถานการณ์ดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อผู้ค้า ผู้นำเข้าแม่ปุ๋ยเคมีของไทย โดยแหล่งข่าววงการค้าปุ๋ยเผยว่า เวลานี้แม่ปุ๋ยที่ไทยต้องนำเข้าทั้งแม่ปุ๋ยยูเรีย ไดแอมโมเนียฟอสเฟต และโพแทส เซียม ราคาปรับตัวสูงขึ้นมาก จากความกังวลเรื่องซัพพลายที่มีน้อยในปัจจุบัน จากโรงงานผลิตแม่ปุ๋ยในยุโรปปิดหลายแห่ง ส่วนสหรัฐฯมีความต้องการปุ๋ยเคมีเพิ่มขึ้น

ขณะที่อินเดียเปิดประมูล 1-12 ตุลาคมนี้ ส่วนจีน รัฐบาลมีการตรวจเข้ม (นำเข้าและส่งออก) อีกครั้ง หลังราคาปุ๋ยในจีนปรับสูงขึ้น ส่วนไทยมีแม่ปุ๋ยยูเรียเพียงพอในการผลิตแค่สิ้นฤดูกาลเดือนตุลาคมนี้เท่านั้น และไม่มีซื้อเข้าแล้วจากราคาแพงมาก ส่งผลกระทบทำให้ตลาดเอเชีย และ ทั่วโลกปรับตัวขึ้นตามตลาดปุ๋ยไนโตรเจน ประกอบกับซัพพลายที่ยังมีน้อย และความต้องการที่เพิ่มขึ้น ส่วนจีนซึ่งเป็นตลาดที่กำหนดราคาในตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีการปรับราคาขึ้น

ส่วนปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต ยังไม่ได้รับอิทธิพลจากตลาดปุ๋ยไนโตรเจน ทำให้ราคาค่อนข้างคงที่ แต่ปัจจัยที่ต้องติดตามคือ จากการเข้าควบคุมราคาปุ๋ยเคมีในจีนซึ่งเป็นผู้ใช้ปุ๋ยและส่งออกแม่ปุ๋ยเคมีรายใหญ่ของโลก จะทำให้ตลาดและการส่งออกเป็นอย่างไร ซึ่งล่าสุดมีผู้ค้าของจีนมาเสนอขายแม่ปุ๋ย 40,000 ตัน ราคา 673 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน พร้อมจัดส่งเดือนตุลาคมนี้ แต่ยังไม่มีการซื้อจากราคาสูง ขณะที่ตลาดโลก อินเดีย เสนอซื้อแม่ปุ๋ย 680 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน โมร็อกโก แข่งซื้อบวกเพิ่ม 80 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เป็น 760 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน

เช่นเดียวกับปุ๋ยโพแทสเซียม มีความต้องการเพิ่มขึ้น ทั้งยุโรป บราซิล และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยอินโดนีเซียเสนอซื้อราคาสูงกว่า 640 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน ซึ่งน่าจะส่งผลต่อภาพรวมราคาในภูมิภาคนี้

ดังนั้นเมื่อสถานการณ์เป็นเช่นนี้ ก็ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของแต่ละบริษัทว่าจะสั่งนำเข้าหรือไม่ แล้วถ้าสั่งนำเข้ามาจะมีของหรือไม่ อย่างไรก็ดีข้อเท็จจริงเวลานี้ประเทศไทยอยู่ในช่วงโลว์ซีซั่นของการเพาะปลูก จาก 1.น้ำท่วม 2.ผลผลิตราคาถูกขายไม่ได้ราคา หากสั่งเข้ามาใหม่ ขายในราคานี้ขาดทุนทันที

จากกระทรวงพาณิชย์มีเพดานราคาให้จำหน่าย และถ้าปรับขึ้นเกษตรกรก็จะลำบากต้นทุนพุ่ง ส่วนผู้นำเข้าก็อยู่ไม่ได้ เพราะปรับขึ้นราคาไม่ได้ ถือว่าเป็นช่วงที่ลำบากที่สุด ขณะที่ผู้ที่ได้ประโยชน์มากที่สุดในช่วงนี้คือ “ยี่ปั๊ว- ซาปั๊ว” ที่มีสต๊อกเก่าในต้นทุนต่ำที่จะขายสินค้ามีกำไรมากขึ้น

ด้านสำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร  สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.)  รายงานข้อมูลจากที่ สศก. รวบรวมจากผู้ประกอบการ และข้อมูลราคาขายปลีกจาก สศท . เขต 1-12 พบว่า ราคาปุ๋ยเคมี ณ ปัจจุบันทุกสูตรมีราคาสูงในรอบ 12 ปี เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกัน  อาทิ ราคาขายปลีก เดือน ส.ค. 2564 ปุ๋ยเคมีสูตร “21-0-0” อยู่ที่ 8,267 บาทต่อตัน, สูตร “46-0-0” 14,697 บาทต่อตัน สูตร “16-16-8” 12,460 บาทต่อตัน, สูตร “0-0-60” 12,820 บาท/ตัน, สูตร “18-46-0” 16,360 บาท/ตัน, สูตร “16-20-0” 13,343 บาทต่อตันตัน, สูตร “15-15-15” 16,386 บาทต่อตัน และสูตร “13-13-21”  18,030 บาทต่อตัน เป็นต้น

ทั้งนี้การใช้ปุ๋ยเคมีของไทยคาดจะเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในพืช 5 ชนิด ไม่ว่าจะเป็นข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ที่รัฐบาลมีโครงการประกันรายได้ ทำให้เกษตรกรมีแรงจูงใจในการผลิตจากรัฐบาลช่วยจ่ายส่วนต่างให้

ขณะที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยนายอำพันธุ์ เวฬุตันติ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในฐานะประธานการประชุมหารือแนวทางการบริหารจัดการปุ๋ย ปี 2565 - 2569  เรื่องการลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยและลดการนำเข้าปุ๋ยเคมีจากต่างประเทศ กล่าวว่า จากสถานการณ์ปุ๋ยเคมีในตลาดโลก ราคาแพง และขาดแคลนในเวลานี้ จำเป็นต้องมีการบริหารปุ๋ยที่ชัดเจน จากที่ไทยมีเป้าหมายจะช่วยเกษตรกรลดต้นทุนอย่างต่ำ 25% ใน 5 ปี ขณะที่ในแต่ละปีไทยมีการนำเข้าปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 5-5.4 ล้านตัน คาดว่าแผนการบริหารปุ๋ยทั้งประเทศจะเสร็จสิ้นกลางเดือนพฤศจิกายนนี้

ต้องจับตาผู้ค้า ผู้นำเข้าปุ๋ยเคมีจะออกมาเคลื่อนไหวให้กระทรวงพาณิชย์ปรับขึ้นราคาปุ๋ยหรือไม่ โดยมีเกษตรกรเป็นตัวประกัน

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2564

รง.น้ำตาลค้านแก้พรบ.อ้อยมาตรา4

นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี รองประธานกรรมการบริหารบริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) และประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ เปิดเผยว่า 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ซึ่งเป็นตัวแทนจากผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลทรายทั้ง 57 โรงงาน มีมติคัดค้านร่างแก้ไขมาตรา 4 ใน พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ที่ต้องการนำกากอ้อยและกากตะกอนกรองเข้าสู่การคำนวณระบบแบ่งปันผลประโยชน์ 70/30 โดยเพิ่มเติมคำนิยามให้รวมกากอ้อยกากตะกอนกรอง เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลถือเป็นเรื่องที่ไม่ต้องถูกต้อง เนื่องจากกากอ้อยและกากตะกอนกรอง เป็นขยะอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่ผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาลทราย จึงต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.โรงงาน โดยต้องดำเนินการกำจัดของเสียดังกล่าวเพื่อไม่ได้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

โดยที่ผ่านมาโรงงานได้นำกากอ้อยไปเป็นเชื้อเพลิงผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าเพื่อนำมาใช้ในกระบวนการผลิตน้ำตาล และมีเพียงบางโรงงานที่นำไปสร้างมูลค่าเพิ่มและเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด เช่นเดียวกับกากตะกอนกรองที่มาจากการนำสิ่งปนเปื้อน เช่นอิฐ หิน ดิน ทราย ที่ติดมากับอ้อยเข้าหีบ ที่ชาวไร่ส่งมอบให้แก่โรงงานซึ่งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการผลิต โรงงานจึงนำไปผลิตเป็นปุ๋ยเป็นการช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น การนำกากอ้อยและกากตะกอนกรอง ซึ่งเป็นขยะอุตสาหกรรมมาเข้าสู่ระบบแบ่งปันผลประโยชน์ โดยพยายามอ้างว่าเป็นพลอยได้จากกระบวนการผลิตนั้น จึงถือว่าไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบการฯ และส่งผลกระทบต่อสัดส่วนต่อการแบ่งปันผลรายได้ที่เคยเห็นพ้องต้องกันของทุกฝ่ายระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงาน

จาก https://www.naewna.com วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2564

แนะติดตาม 6ปัจจัยสัปดาห์หน้า ชี้ทิศค่าเงินบาทและดัชนีหุ้นไทย

กสิกรไทยมองสัปดาห์หน้าเงินบาทเคลื่อนไหวที่ 33.40-34.20 บาทต่อดอลลาร์ บล.กสิกรไทยคาด ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,620 และ 1,600 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,650 และ 1,675 จุด ตามลำดับ

6ปัจจัยต้องติดตาม “สถานการณ์ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์จีน- เม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ -สถานการณ์โควิด  -การทยอยประกาศผลประกอบการไตรมาส 3/64 ของบจ. สถานการณ์ราคาพลังงานในตลาดโลก ปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ เช่น ข้อมูลเศรษฐกิจจีนเดือนก.ย.และสหรัฐฯ -ผลการประชุมของธนาคารกลางเกาหลีใต้   ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค. ของญี่ปุ่นและยูโรโซน”

ธนาคารกสิกรไทยมองสัปดาห์หน้าระหว่างวันที่ 11-15ตุลาคม 2564 กรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทที่ 33.40-34.20 บาทต่อดอลลาร์ฯ

ขณะที่ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ สถานการณ์ของบริษัทอสังหาริมทรัพย์จีน เม็ดเงินลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ และสถานการณ์โควิด ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ตัวเลขการเปิดรับสมัครงานและอัตราการหมุนเวียนของแรงงาน (JOLTS) เดือนส.ค. ดัชนีราคาผู้บริโภค ดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดค้าปลีก ดัชนีราคาสินค้านำเข้า/ส่งออกเดือนก.ย. ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (เบื้องต้น) เดือนต.ค. จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานรายสัปดาห์ และบันทึกการประชุมเฟดเมื่อ 21-22 ก.ย. นอกจากนี้ตลาดยังรอติดตามข้อมูลเศรษฐกิจจีนเดือนก.ย. และผลการประชุมของธนาคารกลางเกาหลีใต้ด้วยเช่นกัน  ทั้งนี้  ในวันศุกร์ (8 ต.ค.) เงินบาทอยู่ที่ระดับ 33.85 เทียบกับระดับ 33.63 บาทต่อดอลลาร์ฯ ในวันศุกร์ก่อนหน้า (1 ต.ค.)

บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด(บล.)มองว่า ดัชนีหุ้นไทยมีแนวรับที่ 1,620 และ 1,600 จุด ขณะที่แนวต้านอยู่ที่ 1,650 และ 1,675 จุด ตามลำดับ โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินปัจจัยสำคัญที่ต้องติดตาม ได้แก่ การทยอยประกาศผลประกอบการไตรมาส 3/64 ของบจ. สถานการณ์โควิด ทิศทางเงินลงทุนจากต่างประเทศ และสถานการณ์ราคาพลังงานในตลาดโลก ส่วนข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาผู้ผลิต ยอดค้าปลีก ดัชนีราคานำเข้าและส่งออกเดือนก.ย. รวมถึงบันทึกการประชุมเฟด

ขณะที่ปัจจัยต่างประเทศอื่นๆ ได้แก่ ดัชนีราคาผู้ผลิตเดือนก.ย.ของญี่ปุ่น ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเดือนส.ค. ของญี่ปุ่นและยูโรโซน รวมถึงข้อมูลเศรษฐกิจเดือนก.ย. ของจีน อาทิ ตัวเลขส่งออกและเงินเฟ้อ  สำหรับ ดัชนี SET เมื่อวันที่ 8ต.ค. 2564 ปิดที่ระดับ 1,639.41 จุด เพิ่มขึ้น 2.13% จากสัปดาห์ก่อน ขณะที่มูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 91,842.36 ล้านบาท ลดลง 7.08% จากสัปดาห์ก่อน ส่วนดัชนี mai เพิ่มขึ้น 3.17% มาปิดที่ 560.62 จุด

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ส่องการจัดการมลพิษทางอากาศ จากการเผาในพื้นที่เกษตร ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

วิถีการเพาะปลูกพืชในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มักพบการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร จึงส่งผลกระทบต่อมลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะปัญหาเรื่องหมอกควัน และปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กกว่า 2.5 ไมครอน หรือ PM2.5 ที่มีเกินค่ามาตรฐานที่กำหนด โดยเฉพาะในช่วงการเตรียมพื้นที่เพื่อเพาะปลูกรอบใหม่หลังเก็บเกี่ยว จะเห็นการเผาในพื้นที่เกษตรเกิดขึ้นอย่างชัดเจนและส่งผลกระทบในวงกว้าง

หลายภาคส่วนได้ตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงร่วมกันหาแนวทางการแก้ไข โดยสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย ร่วมกับ โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP), the Asia Pacific Clean Air Partnership, Live and Learn, Global Alliance on Health and Pollution, and Vietnam Clean Air Partnership จึงได้หยิบยกปัญหาการเผาในพื้นที่เกษตรมาหารือกัน รวมถึงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากกรณีตัวอย่างจากประเทศไทยและประเทศในแถบภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การเผาในที่โล่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีปัญหาเกือบทั้งปี

การเผาในพื้นที่โล่งเพื่อเตรียมที่ดินสำหรับการปลูกพืชในรอบถัดไปหรือเพื่อกำจัดเศษเหลือจากการเกษตรในพื้นที่หลังเก็บเกี่ยว จากการสำรวจข้อมูลดาวเทียมพบว่ามีการเผาในพื้นที่โล่งในช่วงเดือนพฤศจิกายน-เมษายน ในกลุ่มประเทศ CLMVT ได้แก่ กัมพูชา ลาว พม่า เวียดนาม และไทย และพบในกลุ่มประเทศทางตอนใต้ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย บรูไน อินโดนีเซีย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์ ซึ่งมีปัญหาไฟไหม้ป่าและพื้นที่เกษตรด้วย ส่วนในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคม พบการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และมักเกิดกระจายในหลาย ๆ พื้นที่ โดยเฉพาะในพื้นที่ป่าพรุ

รศ. ดร. สาวิตรี การีเวทย์ ผู้เชี่ยวชาญจากบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า “แม้จะมีสถานกการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี้ มีการล็อกดาวน์ในหลายพื้นที่ทำให้การเดินทางและกิจรรมหลายอย่างลดลง แต่การเผาในที่โล่งของเกษตรกรกลุ่มประเทศทางตอนใต้ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไม่ได้ลดลงเลย”

UN ส่งเสริม Smart famer เกษตรยั่งยืนเพื่อลดปัญหาการเผา

นางกิต้า ซับบระวาล (Mrs. Gita Sabharwal) ผู้ประสานงานสหประชาชาติ ประเทศไทย กล่าวว่า จากการศึกษาพบว่าการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรนอกจากเป็นแหล่งปัญหา PM2.5 แล้วยังเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก ซึ่งส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งองค์การสหประชาชาติ หรือ UN (United Nations) ให้ความสำคัญในเรื่องนี้และได้มีส่วนในการสนับสนุนให้เกิดแนวทางจัดการปัญหาการเผาชีวมวลอย่างบูรณาการ โดยคำนึงถึงผลกระทบทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม รวมถึงประเด็นผลกระทบมลพิษข้ามพรมแดนประเทศ ซึ่งทาง UN ให้ความสำคัญและสนับสนุนการดำเนินการทั่วโลก ได้แก่ การหาแนวทางจัดการปัญหาบนพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ การเสริมสร้างขีดความสามารถในระดับประเทศ การสนับสนุนแนวทางการพัฒนาสู่ Smart farmer ในพื้นที่ทั่วโลก การร่วมกับภาคเอกชนในจัดการปัญหาการขาดแคลนตลาด และการสร้างมาตรฐานหรือบรรทัดฐานในการทำเกษตรอย่างยั่งยืน “

การจัดการและลดการเผาในพื้นที่เกษตรในภูมิภาค

ดร.สุพัฒน์ หวังวงศ์วัฒนา ที่ปรึกษา สถาบันสิ่งแวดล้อมไทย เปิดเผยว่า “ประเทศไทยมีแนวทางการจัดการปัญหาการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรหลากหลายวิธี เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีในการติดตามตรวจสอบมลพิษทางอากาศ การย่อยสลายวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรด้วยจุลินทรีย์ การเพิ่มมูลค่าให้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร การพัฒนาเครื่องจักรสำหรับจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร การสนับสนุนการปลูกพืชเหลื่อมฤดู และยังแนวทางในการจัดการไฟป่าด้วยการใช้หลักวิชาการในการควบคุมปริมาณชีวมวลในพื้นที่ป่า การใช้เทคโนโลยีในการสำรวจจุดที่เกิดไฟป่า กลุ่มลาดตระเวน การสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่น การจัดทำแนวป้องกันไฟ การอนุญาตให้ชาวบ้านใช้ป่าเป็นพื้นที่ทำกินแต่ไม่อนุญาตให้ตัดไม้ เป็นต้น”

ด้าน Ms. Thuy Le Thanh หัวหน้าฝ่ายบริหารโครงการและสื่อสาร สำนักงานคุ้มครองสิ่งแวดล้อมเมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม กล่าวว่า ประเทศเวียดนามให้ความสำคัญกับปัญหาเรื่องการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพิ่มขึ้น จากการขับเคลื่อนของชุมชนท้องถิ่นและการเกิดปัญหาหมอกควัน และในปี 2560 ได้มีการออกประกาศให้แก้ปัญหาการเผา โดยมีการวิจัยพบว่าในปี 2560 มีการเผาฟางข้าวประมาณร้อยละ 40 จึงก่อให้เกิดการรวมตัวกันของกลุ่มต่าง ๆ เพื่อหาแนวทางการแก้ไขร่วมกัน ต่อมาในปี 2563 ได้มีการออกประกาศห้ามเผาฟางข้าวและขยะ จากใช้เทคโนโลยีในการสำรวจพบว่ามีการเผาลดลงเหลือประมาณร้อยละ 20 มาตรการสำคัญที่ทางภาครัฐได้ดำเนินการคือการสร้างความตระหนักถึงผลกระทบทางด้านสุขภาพ การพัฒนาโมเดลเพื่อแสดงพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากการเผา การขยายผลจากกรณีตัวอย่าง และใช้มาตรการทางการเงินมาช่วยสนับสนุนการดำเนินการของเกษตรกรอีกด้วย

ปัญหาการเผาในพื้นที่กาลิมันตันกลาง ประเทศอินโดนีเซีย ส่วนใหญ่เกิดจากไฟไหม้ป่าพรุและการเผาในพื้นที่เกษตร

ด้าน Ms. Merty Ilona หัวหน้ากองควบคุมมลพิษและสิ่งแวดล้อม สำนักงานสิ่งแวดล้อมกาลิมันตันกลาง (Division of Pollution and Environmental Damage Control from the Environment Agency) ส่วนกรณีประเทศอินโดนีเซีย เปิดเผยว่า “การเผาในที่พื้นที่โล่งที่สามารถพบได้ในพื้นที่เกาะกาลิมันตันส่วนใหญ่มีสาเหตุจากการเกิดไฟไหม้ป่าในพื้นที่ป่าพรุ ในช่วงปี 2558-2562 พบการเกิดไฟไหม้ในพื้นที่ป่าพรุ 969,517 เฮกตาร์ หรือคิดเป็นร้อยละ 60.19 ส่วนใหญ่เกิดขึ้นในพื้นที่ตอนกลางของกาลิมันตันคิดเป็นร้อยละ 43.80 และเกิดไฟไหม้นอกพื้นที่ป่า 641,265 เฮกตาร์ หรือคิดเป็นร้อยละ 39.81 ส่วนใหญ่เกิดขั้นในพื้นที่ตอนใต้ของกาลิมันตัน โดยภาครัฐได้มีการจัดตั้งหน่วยควบคุมไฟป่า เก็บรวมรวมข้อมูลจากจุด Hotspot ในพื้นที่เกาะ โดยการรับมือกับปัญหาในแต่ละปี ได้มีการคาดการณ์และเตรียมป้องกันไฟป่าพรุและการเผาในพื้นที่เกษตร สร้างความตระหนักและให้ความรู้แก่ประชาชน รวมทั้งใช้มาตรการทางกฎหมายควบคุมสำหรับเป็นสาเหตุทำให้เกิดไฟไหม้”

ความพยายามของภาครัฐและเอกชนเพื่อลดการเผาในประเทศไทย

นายสามารถ น้อยวัน ผู้อำนวยการกองยุทธศาสตร์และแผนงาน สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กล่าวว่า “ประเทศไทยได้มีการตั้งเป้าหมายหยุดการเผาในปี 2567 โดยมีแผนการลดอ้อยไฟไหม้ในแต่ละปีให้น้อยกว่าร้อยละ 10 ในปี 2565 และน้อยกว่าร้อยละ 5 ในปี 2566 จนกระทั่งหยุดการเผาในปี 2567 นอกจากนั้น ยังมีแนวทางในการลดการเผาอื่น ๆ ได้แก่ การสร้างความรู้ความเข้าใจให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย การสนับสนุนการเทคโนโลยีในการเก็บเกี่ยวอ้อยสดปราศจากการเผาของเกษตรกร และจัดทำข้อบังคับทางกฎหมายรองรับ รวมถึงมีแนวทางให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงเครื่องจักรกลได้ง่ายมากขึ้น โดยสารถยืมเครื่องสางใบอ้อยในแต่ละพื้นที่ได้ ซึ่งมีจำนวนประมาณ 300 เครื่อง เพื่ออำนวยความสะดวกให้เกษตรกรเก็บเกี่ยวอ้อยสด ซึ่งส่งผลให้ในปีที่ผ่านมาปริมาณอ้อยไฟไหม้มีจำนวนลดลงอย่างมากจากเมื่อเปรียบเทียบกับช่วง 4 ปีที่ผ่านมา”

มาตรการจูงใจให้ลดการเผา เกษตรกรที่ขายอ้อยไฟไหม้ให้โรงงานจะเสียเงิน 30 บาท/ตัน ส่วนเกษตรกรที่ขายอ้อยสดให้โรงงานจะได้เงิน 30 บาท/ตัน

นายวรวัฒน์ ศรียุกต์ ผู้อำนวยการด้านบริหารองค์กรเพื่อความยั่งยืน กลุ่มมิตรผล เปิดเผยว่า “การดำเนินงานของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมน้ำตาลและอุตสาหกรรมต่อเนื่องรายใหญ่ สาเหตุที่เกษตรกรต้องเผา เพราะขาดแคลนแรงงาน คนงานที่เก็บเกี่ยวอ้อยสดได้ช้ากว่าอ้อยไฟไหม้ ถึง 3 เท่า ส่วนใหญ่จึงต้องการที่จะรับจ้างเกี่ยวอ้อยไฟไหม้มากกว่า และยังมีข้อกำจัดในเรื่องคิวการส่งอ้อยเข้าโรงงานน้ำตาลอีกด้วย ดังนั้น ตั้งแต่ปี 2561 กลุ่มมิตรผลได้สนับสนุนให้เกษตรกรลดการเผาอ้อยและส่งเสริมให้เก็บเกี่ยวอ้อยสดมากขึ้น โดยการใช้มาตรการจูงใจ เช่น เกษตรกรที่ขายอ้อยไฟไหม้ให้โรงงานจะเสียเงิน 30 บาท/ตัน และเกษตรกรที่ขายอ้อยสดให้โรงงานจะได้เงิน 30 บาท/ตัน ร่วมกับภาครัฐในการส่งเสริมให้เกษตรกรลดการเผาและดำเนินคดีกับผู้ที่เผาอ้อย ส่งเสริมการใช้เครื่องจักรในการเก็บเกี่ยวทดแทนการใช้แรงงาน

แนวทางการจัดการการเผาในพื้นที่เกษตรเพื่อลดมลพิษทางอากาศ

1)การให้ข้อมูลและทางเลือกแก่เกษตรกร การที่เกษตรกรซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญได้รับข้อมูลที่เพียงพอ มีทางเลือก และยอมรับในเงื่อนไขที่หน่วยงานเกี่ยวข้องกำหนดขึ้นนั้น เป็นเรื่องที่ต้องสร้างความรู้ความเข้าใจแก่เกษตรกรให้ชัดเจน รวมถึงทางเลือกในการจัดการวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและช่องทางการตลาด ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากเผาในพื้นที่เกษตร

2)การส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มเกษตรกร เพื่อก่อให้เกิดการใช้เครื่องจักรอย่างเต็มประสิทธิภาพ ลดต้นทุนการเป็นเจ้าของเครื่องจักรเอง ซึ่งจะต้องลงทุนสูงและมีค่าใช้จ่ายในการบำรุงรักษาตามมา

3)การสนับสนุนธุรกิจ Start-up พัฒนารูปแบบการใช้วัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มาจากการผลิตที่ปลอดการเผาและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

4)ความร่วมมือระหว่างรัฐ-เอกชน-เกษตรกร-วิชาการ รวมถึงผู้มีส่วนได้เสียในภาคส่วนต่าง ๆ ตลอดห่วงโซ่อุปทานการผลิตอ้อยจนถึงการแปรรูป รวมถึงการพัฒนาการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการการเผาในพื้นที่เกษตร

5)การสร้างความเข้าใจกับผู้บริโภค ในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่มาจากการผลิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สิ่งที่สำคัญที่จะช่วยผลักดันการสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ รวมถึงการสร้างความร่วมมือกันในระดับภูมิภาค เพราะแม้ว่าประเทศใดประเทศหนึ่งดำเนินการสำเร็จ ก็อาจมีโอกาสได้รับผลกระทบที่เกิดจากการเผาในประเทศข้างเคียงได้ เนื่องจากปัญหามลพิษทางอากาศจากการเผาเป็นปัญหามลพิษไร้พรมแดนนั่นเอง

จาก https://mgronline.com   วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2564

เปิดศึก “คาร์บอนวอร์”กำแพงการค้าใหม่ อียู-สหรัฐบังคับติดฉลาก CO2

3.6 หมื่นผู้ส่งออกไทยผวาสหรัฐฯ-อียูเร่งแผนก่อ “คาร์บอนวอร์” บังคับติดฉลาก-จ่ายค่าธรรมเนียมนำเข้า หอการค้า-สภาอุตฯ-สรท. จี้สมาชิกรับมือ โอดทำต้นทุนพุ่งกว่า 10% ห่วง SME ปรับตัวไม่ทันถูกกีดกันการค้า อบก.เผย 685 บริษัท 5,000 ผลิตภัณฑ์ ผ่านรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์แล้ว

ความตกลงปารีส (Paris Agreement) หรือความตกลงลดโลกร้อน ของ 196 ประเทศ คือความพยายามครั้งใหญ่ของมนุษยชาติในการแก้ปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยมีเป้าหมายท้าทายคือการยับยั้งไม่ให้อุณหภูมิโลกเพิ่มสูงเกิน 2 องศาเซลเซียส หรือหากทำได้ จะพยายามควบคุมอุณหภูมิโลกให้สูงไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส รวมถึงการจำกัดปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ ให้อยู่ในระดับเดียวกับที่ต้นไม้ ดิน และมหาสมุทรสามารถดูดซับได้ โดยจะมีการทบทวนการมีส่วนร่วมของประเทศสมาชิกในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทุก ๆ 5 ปี เพื่อกระตุ้นให้เกิดความพยายามยิ่งขึ้น

อียู-สหรัฐลุยลดโลกร้อน

ในส่วนของสหภาพยุโรป(อียู) ผู้นำในการลดโลกร้อน ได้ประกาศเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจากอย่างน้อย 55% ภายในปี 2573 และปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ภายในปี 2593 และเดินหน้าเรื่องคาร์บอนฟุตพริ้นท์ (หรือฉลากคาร์บอนที่ระบุถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์แต่ละหน่วย ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ โดยคำนวณออกมาในรูปของคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า) เพื่อสร้างทางเลือกให้ผู้บริโภค

ล่าสุดอียูได้ยกร่างกฎหมายมาตรการปรับคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของอียู (CBAM) คาดจะมีผลบังคับใช้ในปี 2566 นำร่องในสินค้า 5 ประเภทที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงได้แก่ ซีเมนต์ เหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ปุ๋ย และไฟฟ้า และจะขยายให้ครอบคลุมทุกสินค้าและบังคับใช้กฎหมายเต็มรูปแบบในปี 2569 สาระสำคัญคือผู้นำเข้าจะต้องซื้อใบแสดงสิทธิในการปล่อยคาร์บอน (CBAM certificates) เพื่อจ่ายค่าธรรมเนียม หรือ “ค่าปรับ” ในการปล่อยก๊าซฯของสินค้าที่นำเข้า

ส่วนสหรัฐฯที่ได้กลับเข้าร่วมอนุสัญญาฯปารีสแล้ว (หลังถอนตัวออกไปสมัยโดนัลด์ ทรัมป์)ประธานาธิบดีไบเดนได้ประกาศจัดสรรงบ 2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯเพื่อภารกิจด้านสิ่งแวดล้อมและพลังงานสะอาด และประกาศเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์และเป็นเศรษฐกิจพลังงานสะอาด 100% ในปี 2593 รวมถึงมีแนวโน้มจะบังคับให้สินค้าทั่วโลกรวมทั้งไทยที่ส่งออกไปสหรัฐฯต้องติดฉลากคาร์บอน ซึ่งเมื่อ 2 ตลาดใหญ่ของโลกขยับในเรื่องเหล่านี้ ซึ่งเปรียบเสมือนการทำสงครามที่เรียกว่า “คาร์บอนวอร์” แม้เป้าใหญ่เพื่อลดโลกร้อน แต่จะส่งผลกระทบการค้าโลกในช่วงถัดจากนี้ไปอย่างแน่นอน

ผู้ผลิตไทยต้นทุนพุ่ง

นายวิศิษฐ์  ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า นโยบายลดโลกร้อนของอียูและสหรัฐข้างต้นจะส่งผลกระทบกับผู้ผลิตส่งออกสินค้าไทย จากที่ต้องปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิต การเตรียมพร้อมด้านบุคลากร รวมถึงมีค่าใช้จ่ายในการประเมินและรักษาระบบเพื่อลดการปล่อยก๊าซคาร์บอน ไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจก เบื้องต้นคาดมีผลให้มีต้นทุนสูงขึ้นอีกมากกว่า 10%

“เฉพาะเรื่อง CBAM ของอียูที่จะมีผลบังคับใช้ในเวลาอันใกล้นี้ เบื้องต้นผู้นำเข้าจะเป็นคนจ่ายค่าธรรมเนียมในการปล่อยก๊าซของสินค้านำเข้า ซึ่งจะเป็นอัตราเท่าใดนั้นยังไม่ชัดเจน แต่ผู้นำเข้าก็อาจผลักภาระมาให้ผู้ส่งออก รวมถึงผู้บริโภคปลายทาง ซึ่งอะไรก็เกิดขึ้นได้ทั้งนั้น ขณะเดียวกันอียูส่งสัญญาณก่อนหน้านี้ให้สินค้านำเข้าต้องติดฉลากคาร์บอน จากที่เวลานี้ยังเป็นมาตรการสมัครใจ”

3.6 หมื่นบริษัทเร่งรับมือ

เพื่อเตรียมความในเรื่องคาร์บอนฟุตพริ้นท์ในตลาดอียู สหรัฐ และตลาดอื่น ๆ ผู้ประกอบการส่งออกของไทยได้เตรียมพร้อมรับมือแล้ว โดยจากข้อมูลจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก.ที่เป็นผู้รับขึ้นทะเบียนบริษัท และผลิตภัณฑ์เพื่อตรวจประเมินและรับรอง และอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ ล่าสุดผ่านการรับรองแล้ว 685 บริษัท รวม 4,900 ผลิตภัณฑ์ ใน 18 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก โดย 5 อันดับแรกได้แก่ กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม, ปิโตรเลียม ปิโตรเคมี และเคมีภัณฑ์, ก่อสร้าง, พลาสติกและบรรจุภัณฑ์ และหัตถกรรมและเครื่องประดับ จากปัจจุบันบริษัทส่งออกไทยมีกว่า 3.6 หมื่นบริษัท สินค้าส่งออกรวมกว่า 3.6 หมื่นรายการที่ต้องเร่งรับมือ

ห่วงเอสเอ็มอีปรับตัวไม่ทัน

ด้านนายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า การลดโลกร้อนโดยลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นทิศทางของโลกที่ผู้ประกอบการไทยคงไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่อีกด้านจะทำให้มีต้นทุนที่สูงขึ้นจากการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิต เครื่องจักร และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ซึ่งรายใหญ่ไม่น่าห่วง เพราะมีทุนและมีความสามารถ แต่ห่วงผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ขาดเงินทุนในการปรับเปลี่ยนการผลิต ขอให้ภาครัฐหรือกองทุนพัฒนาเอสเอ็มอีได้เข้ามาช่วยเหลือ

“ห่วงผู้ประกอบการรายเล็กที่เป็นซัพพลายเชนส่งวัตถุดิบให้รายใหญ่ หรือเป็นผู้ส่งออกโดยตรง ที่ต้องปรับเปลี่ยนตัวเองให้มีมาตรฐานการผลิตที่สูงขึ้น ในอนาคตหากไทยมีการจัดทำเอฟทีเอกับอียู การส่งออกไทยไปตลาดอียูจะเพิ่มขึ้นดังนั้นต้องเร่งปรับตัวเองให้เข้ากับกฎเกณฑ์ที่เขากำหนด หากทำไม่ได้อาจกลายเป็นการถูกกีดกันการค้า เฉพาะอย่างยิ่งเรื่องฉลากคาร์บอนคาดอียูจะบังคับใช้ไม่เกิน 5 ปีนับจากนี้”

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า การลดโลกร้อนเป็นทิศทางของโลก ตราบใดที่ไทยยังพึ่งพาตลาดส่งออก ผู้ประกอบการก็ต้องเตรียมพร้อมในการปรับตัวเพื่อรองรับกับมาตรการทั้งของภาครัฐและเอกชนของประเทศคู่ค้าเพื่อรักษาส่วนแบ่งตลาด ในส่วนของมาตรการ CBAM ล่าสุดอียูได้นำร่างกฎหมายนี้ขึ้นเว็บไซต์เพื่อเปิดรับฟังความเห็นจากทั่วโลกแล้ว หากภาคเอกชนของไทยเห็นอย่างไรก็สามารถเข้าไปแสดงความเห็นได้ และหากเห็นว่าเป็นมาตรการที่ไม่เป็นธรรมหรือเข้มงวดมากเกินไปก็สามารถใช้เวที WTO หรือสอบถามจากคณะกรรมาธิการของสหภาพยุโรปที่อยู่ในไทยได้

อนึ่ง ประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากสุด 5 อันดับแรกของโลก ณ ปัจจุบัน ได้แก่ จีน สัดส่วน 28%, สหรัฐฯ 15%, อินเดีย 7%, รัสเซีย 5% และญี่ปุ่น 3%

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2564

3 สมาคมโรงงานน้ำตาลค้านนำกากอ้อยเข้าสู่ระบบแบ่งปัน ชี้เป็นขยะไม่ใช่ผลพลอยได้

3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ย้ำจุดยืนคัดค้านการนำกากอ้อย กากตะกอนกรอง เข้าไปคำนวณในระบบแบ่งปันผลโยชน์ 70/30 เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง ชี้เป็นกากขยะอุตสาหกรรมไม่ใช่ผลพลอยได้จากการผลิต ระบุเป็นการปิดกั้นโอกาสพัฒนาอุตสาหกรรมนำของเสียกากอ้อยและกากตะกอนกรองในอุตสาหกรรมไปสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจในอนาคต

นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี รองประธานกรรมการบริหารบริษัท ไทยชูการ์ มิลเลอร์ จำกัด (TSMC) และประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ เปิดเผยว่า 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย ซึ่งเป็นตัวแทนจากผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลทรายทั้ง 57 โรงงาน มีมติคัดค้านร่างแก้ไขมาตรา 4 ใน พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ที่ต้องการนำกากอ้อยและกากตะกอนกรองเข้าสู่การคำนวณระบบแบ่งปันผลประโยชน์ 70/30 โดยเพิ่มเติมคำนิยามให้รวมกากอ้อย กากตะกอนกรอง เป็นผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตน้ำตาลถือเป็นเรื่องที่ไม่ต้องถูกต้อง เนื่องจากกากอ้อยและกากตะกอนกรอง เป็นขยะอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่ผลพลอยได้จากการผลิตน้ำตาลทราย จึงต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.โรงงาน โดยต้องดำเนินการกำจัดของเสียดังกล่าวเพื่อไม่ได้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งที่ผ่านมาโรงงานได้นำกากอ้อยไปเป็นเชื้อเพลิงผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าเพื่อนำมาใช้ในกระบวนการผลิตน้ำตาล และมีเพียงบางโรงงานที่นำไปสร้างมูลค่าเพิ่มและเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด

เช่นเดียวกับกากตะกอนกรองที่มาจากการนำสิ่งปนเปื้อน เช่น อิฐ หิน ดิน ทราย ที่ติดมากับอ้อยเข้าหีบ ที่ชาวไร่ส่งมอบให้แก่โรงงานซึ่งไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการผลิต โรงงานจึงนำไปผลิตเป็นปุ๋ยเป็นการช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม ดังนั้น การนำกากอ้อยและกากตะกอนกรอง ซึ่งเป็นขยะอุตสาหกรรมมาเข้าสู่ระบบแบ่งปันผลประโยชน์ โดยพยายามอ้างว่าเป็นพลอยได้จากกระบวนการผลิตนั้น จึงถือว่าไม่เป็นธรรมต่อผู้ประกอบการฯ และส่งผลกระทบต่อสัดส่วนต่อการแบ่งปันผลรายได้ที่เคยเห็นพ้องต้องกันของทุกฝ่ายระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงาน

นอกจากนี้ การแก้ไขมาตราดังกล่าว ยังเป็นการปิดกั้นต่อภาคอุตสาหกรรมในการพัฒนาสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่อุตสาหกรรม โดยนำกากขยะอุตสาหกรรมสิ่งที่ไม่ใช้แล้วมาก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ ตามนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรม BCG ที่ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมให้นำผลผลิตทางเกษตร เช่น อ้อยและมันสำปะหลังไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์พัฒนาขึ้นใหม่ที่มีมูลค่าสูง หากมีการนำผลิตภัณฑ์อื่นๆ ที่เป็นการต่อยอดจากขยะอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมหรือจากผลผลิตอ้อยและน้ำตาล ต้องนำมาคำนวณแบ่งปันรายได้จากผลิตที่ถูกพัฒนาขึ้นนั้น จะไม่มีภาคเอกชนรายใดที่ต้องการเข้ามาลงทุนเพื่อต่อยอดผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในอนาคต

“เราไม่เห็นด้วยและพร้อมคัดค้านทุกทาง ที่จะนำกากอ้อยและกากตะกองกรองมารวมเป็นผลพลอยได้เพื่อเข้าสู่ระบบแบ่งปันผลโยชน์ เนื่องจากการนำกากอ้อยและกากตะกอนกรองที่เป็นขยะอุตสาหกรรมมาสร้างรายได้ โดยโรงงานเป็นผู้แบกภาระการลงทุนทั้งหมด ดังนั้นหากมีการบังคับแก้ไข ต่อไปคงไม่มีเอกชนรายใดต้องการเข้ามาลงทุนนำผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายไปต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่เศรษฐกิจแน่นอน” นายสิริวุทธิ์ กล่าว

จาก https://mgronline.com วันที่ 8 ตุลาคม 2564 

เงินบาทเปิด 33.85/87 แนวโน้มแกว่งกรอบแคบ ตลาดรอดูตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐคืนนี้

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงเทพ เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ระดับ 33.85/87 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าจากเย็นวานนี้ที่ปิดตลาดที่ระดับ 33.76/78 บาท/ดอลลาร เช้านี้เงินบาทอ่อนค่าจากเย็นวาน โดยวันนี้คาดว่าระหว่างวันเงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบแคบ เนื่องจากยังไม่มีปัจจัยใหม่เข้ามากดดัน เพราะตลาดจะรอดูตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเกษตรของสหรัฐฯคืนนี้ คาดว่า วันนี้เงินบาทจะเคลื่อนไหวในกรอบ 33.80 - 33.90 บาท/ดอลลาร์

จาก https://siamrath.co.th  วันที่ 8 ตุลาคม 2564

“เฉลิมชัย” คิกออฟ แผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ ต่อยอดแปลงใหญ่

“เฉลิมชัย ศรีอ่อน” คิกออฟ แผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ ต่อยอดแปลงใหญ่ กว่า 3.8 พันแปลง เน้นทำเกษตรแบบทำน้อยได้มาก ยกระดับรายได้ ปลัดเกษตรฯ เผย วันที่ 1 พ.ย.นี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเป็นกระทรวงแรกที่เปิดตัว “next normal 2022”

ตามสถิติของสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า ในปีพ.ศ. 2561 จีดีพี(GDP : GROSSDomestic Product) หรือผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติมีมูลค่า 15 ล้านล้านบาท ส่วนในภาคเกษตรกรรมมีมูลค่าเพียง 7 แสนล้านบาท เท่านั้น

โดยกิจกรรมเกษตรในภาพรวมของประเทศไทยกระจุกตัวในพืชเศรษฐกิจหลักเพียงไม่กี่ชนิด ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง ข้าวโพด และอ้อย แต่ตั้งแต่ช่วงปีพ.ศ. 2558 สัดส่วนเนื้อที่ของการเพาะปลูกไม้ผล พืชผัก และสมุนไพร มีแนวโน้มขยายตัวเข้าไปทดแทนเนื้อที่พืชอื่นๆเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทุกปี ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวตามลำดับ

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังมอบนโยบายและเปิดตัวแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ ปี พ.ศ. 2565 – 2566 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผ่านระบบการประชุมทางไกล (zoom meeting) จากห้องประชุมกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ว่า จากนโยบาย Thailand 4.0 และยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีของรัฐบาล

ได้กำหนดให้มีแผนแม่บทด้านการเกษตรและแผนย่อยเกษตรอัจฉริยะ ภายใต้ยุทธศาสตร์ด้านการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ มีนโยบายการขับเคลื่อนงานด้านเกษตรอัจฉริยะ ที่มุ่งหวังยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น ด้วยการนำเทคโนโลยีมาสนับสนุนกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร ปรับรูปแบบการเกษตรในปัจจุบันให้มุ่งสู่เกษตร 4.0

โดยการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาสู่การเกษตรอัจฉริยะแห่งอนาคต มีเป้าหมายสำคัญที่มุ่งเน้นให้เกิดการทำเกษตรแบบทำน้อยได้มาก ใช้ทรัพยากรในการผลิตให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มีการลดต้นทุน ลดการสูญเสีย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มากขึ้น ลดความเหนื่อยยากของการใช้แรงงานในภาคการเกษตร มีการนำเอาเครื่องมือจักรกลและเครื่องมือทันสมัย โดยเฉพาะการนำเกษตรดิจิทัลมาใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มผลิตภาพการผลิตและการแข่งขันของภาคการเกษตรไทยในตลาดโลก

สำหรับแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะที่จัดทำขึ้นนี้ จะเป็นแผนปฏิบัติการที่ช่วยกำหนดทิศทางการเกษตรอัจฉริยะและเป็นการวางรากฐานการเกษตรอัจฉริยะของประเทศอย่างเป็นระบบ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกร สามารถนำกรอบข้อเสนอโครงการที่จัดทำไว้ ภายใต้แผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะฉบับนี้ไปปรับใช้เป็นข้อเสนอโครงการในหน่วยงาน เพื่อขับเคลื่อนการเกษตรอัจฉริยะของประเทศ นอกจากนี้ ยังเร่งพัฒนาบุคลากรในหน่วยงาน

ทั้งส่วนกลางและภูมิภาคให้มีความพร้อมทั้งด้านวิจัยและพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ รวมถึงการส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่รัฐและเกษตรกร สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และช่วยเป็นครูผู้ฝึกหรือเทรนเนอร์ ให้แก่เกษตรกร โดยมุ่งเน้นทั้ง Smart Farmer และ Young Smart Farmer ตลอดจนผู้นำเกษตรกรของ ศพก. และแปลงใหญ่ ทั้งนี้ มุ่งหวังให้เกิดการพัฒนาแปลงใหญ่เกษตรอัจฉริยะให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรมในทุก ๆ จังหวัดของประเทศ และให้เข้าถึงทุกอำเภอภายใน 3 ปี เพื่อให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ตามเป้าหมายของยุทธศาสตร์ชาติด้านการเกษตรต่อไป

นายเฉลิมชัย กล่าวว่า อยากจะฝากเจ้าหน้าที่ ข้าราชการในส่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งผู้บริหาร อธิบดี ทุกกรม ถึงระดับภูมิภาคทุกหน่วยงาน ให้นำแผนปฏิบัติไปขับเคลื่อนตามแนวทางที่คณะอนุกรรมการ และคณะกรรมการได้กำหนดเพื่อที่จะนำไปสู่เป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ได้เขียนไว้ พร้อมกับให้ปลัดเกษตร แต่งตั้งคณะกรรมการกำกำกับและติดตามการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ เพื่อที่จะบรรจุโครงการสำคัญ

“การทำงานหากไม่มีงบประมาณการขับเคลื่อนจะเป็นไปได้ยาก เพราะฉะนั้นในการจัดเตรียมงบประมาณ ปี2566 ขอให้ฝ่ายทำแผนช่วยบรรจุในส่วนของการจัดสรรงบประมาณในการที่จะดำเนินการขับเคลื่อน “เกษตรอัจฉริยะ” เป็นโครงการตามแผนยุทธศาสตร์ชาติอยู่แล้ว เพื่อที่จะให้สำนักงบประมาณและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พิจารณา ซึ่งจะทำให้คณะทำงานที่ตั้งขึ้นมาสามารถทำงานได้อย่างแท้จริง สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดจะเป็นไปตามเป้าหมาย ก็ทุกฝ่ายร่วมมือกันทำ ช่วยกันทำ ขับเคลื่อนไปพร้อมกัน”

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 กล่าวว่า ภายใต้นโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน) ได้ให้ความสำคัญในการขับเคลื่อนภาคการเกษตรของประเทศไทย ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงแต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายเทคโนโลยีเกษตร 4.0 ขึ้น

มีองค์ประกอบอนุกรรมการ 4 ด้าน ประกอบด้วย 1) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน Big Data และ Gov Tech 2) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ 3) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อน E-commerce และ 4) คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนธุรกิจเกษตร เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเกษตรกร โดยอาศัยเทคโนโลยี นวัตกรรม และการตลาด เข้ามาช่วยขับเคลื่อนดำเนินการมุ่งสู่เกษตร 4.0

ด้าน ดร.ทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเกษตรอัจฉริยะ ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สานต่อการทำงานด้านเกษตรอัจฉริยะของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อาทิเช่น การขับเคลื่อนการจัดทำแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ การพัฒนา IoTs Platform การรวบรวม Innovation list ด้านเทคโนโลยี/องค์ความรู้ จากศูนย์ AIC 76 แห่งทั่วประเทศ เพื่อจัดทำ Innovation Catalog

หนึ่งในภารกิจสำคัญ คือ การจัดทำแผนปฏิบัติการเกษตรอัจฉริยะ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปี พ.ศ. 2565 - 2566 โดยกระทรวงเกษตรฯ ร่วมกับผู้แทนของหน่วยงานภายนอกกว่า 200 คน ทั้งจากกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

ศูนย์ AIC ศูนย์เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร Smart Farmer และ Young Smart Farmer ร่วมระดมสมองในการจัดทำแผนปฏิบัติการและร่วมจัดทำกรอบข้อเสนอโครงการ ปี พ.ศ. 2565 - 2566 จำนวน 63 โครงการ ภายใต้ 18 แผนงาน 6 ยุทธศาสตร์

ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ ยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างการรับรู้ เข้าถึง ใช้ประโยชน์ และการส่งเสริมขยายผลเทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างแปลงเรียนรู้เกษตรอัจฉริยะ แปลงใหญ่เกษตรอัจฉริยะ ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาการแปรรูปและการตลาดเกษตรอัจฉริยะ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การส่งเสริมและพัฒนาเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อการบริหารจัดการเกษตรอัจฉริยะ และ ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาบุคลากรและเครือข่ายเกษตรอัจฉริยะ

“กระทรวงเกษตรฯ พร้อมขานรับนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมผลักดันให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยจะมีการติดตามการขับเคลื่อนการดำเนินงานผ่านคณะกรรมการบริหารการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญ และการแก้ไขภาคการเกษตร”

ดร.ทองเปลว กล่าวว่า แผนที่วางไว้ในปี 2565-2566  ดำเนินแผนเกษตรอัจฉริยะมีเป้าหมาย มูลค่าผลผลิตการเกษตรที่จะเพิ่มขึ้น 3% ผลผลิต “ 1 อำเภอ  1 แปลงเกษตรอัจฉริยะ” ตั้งเป้าหมาย 10% เพื่อเดินตามนโยบาย มั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืน งบประมาณ ประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาท ปี2566 ส่วนในปี2565 ได้สั่งให้หน่วยงานทุกกรมให้ดึงงบประมาณที่เกี่ยวกับ 6 แผนย่อยทางเกษตรอัจฉริยะนำมาขับเคลื่อนตามรัฐมนตรีได้สั่งการรับนโยบายตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อน

ในตัวชี้วัดของเกษตรมีอยู่ 4 ตัว และหวังในจีดีพีเกษตร เพิ่มขึ้น 3.8% คาดประสิทธิภาพผลผลิตทางเกษตรเพิ่มขึ้น 1.2% ส่วนเส้นความยากจนให้ให้ภาคเกษตรลดเฉลี่ยปีละ 10%  อย่างไรก็ตามความยากจน มีปัจจัยอื่นๆ ด้วย อย่างไรก็ดีความยากจนนี้ก็ยังมีส่วนนอกภาคเกษตรด้วย ก็ต้องพิจารณาในภาพรวมด้วย

“เกษตรอัจฉริยะ” ไม่ใช่จะส่งเสริมให้เฉพาะเกษตรกรที่มีฐานะเท่านั้น เพราะที่ผ่านมาภาครัฐมีการให้อุดหนุนโครงการเงินกู้ แปลงใหญ่ หรือวิสาหกิจชุมชน เพราะฉะนั้นเป็นการบ้านของกระทรวงที่จะพัฒนาบุคลากร สร้างการรับรู้ แปลงสาธิต ทุกคนทุกมิติสามารถที่จะเข้าถึงได้ เป็นวาระแห่งชาติของรัฐบาลที่ดำเนินนโยบายจะไปต่อยอดกับแปลงใหญ่ทั้งหมดที่เข้าร่วมโครงการ กว่า 3,800 แปลง ไปซื้อเครื่องจักร เครื่องมือเทคโนโลยี

แต่ถ้าเกษตรกรรายใหม่เลยที่จะก้าวเข้าสู่เกษตรอัจฉริยะ จะบรรจุไว้ในปี 2566  “ 1 อำเภอ  1 แปลงเกษตรอัจฉริยะ” จะเพิ่มมากขึ้น หากทำแล้วเชื่อมั่นว่าเกษตรกรจะดำรงชีพอยู่ได้แล้วภูมิใจในอาชีพเกษตรกรรม และในวันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์  “next normal 2022” จะเป็นกระทรวงแรกที่จะเปิดตัว

จาก https://www.thansettakij.com วันที่ 7 ตุลาคม 2564

ส่งออกสินค้าอาหาร-เกษตรแปรรูป พาณิชย์แนะใช้ประโยชน์ FTAบุกตลาดจีน

นายสินิตย์ เลิศไกร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่าได้กำชับให้กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เร่งเดินหน้าส่งเสริมผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA) เพื่อเพิ่มแต้มต่อทางการค้า โดยเฉพาะการส่งออกสินค้าเกษตร อาหาร และเกษตรแปรรูป ไปตลาดคู่ FTA ของไทย ปีนี้ ได้มอบหมายให้กรม ดำเนินโครงการ DTN Business Plan Award 2021 “ชี้ช่องโอกาส บุกตลาดด้วย FTA” เพื่อช่วยผู้ประกอบการและผู้ส่งออกในช่วงโควิด-19 โดยเน้นใช้ประโยชน์จาก FTA อาเซียน-จีน ที่ปัจจุบันจีนได้ยกเว้นภาษีศุลกากรนำเข้าสินค้าอาหาร เกษตร และเกษตรแปรรูปให้ไทยแล้ว อาทิ สิ่งปรุงรส เครื่องแกงไทยสำเร็จรูป อาหารพร้อมปรุง ผักผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและอบแห้ง และผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ซึ่งจะช่วยสร้างโอกาสที่ดีให้ผู้ประกอบการและผู้ส่งออกสินค้าเกษตรของไทย สามารถแข่งขันในตลาดจีนเพิ่มขึ้น

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศกล่าวว่าปีนี้ มีผู้ประกอบการสนใจสมัครเข้าร่วมโครงการจำนวนมาก โดยกรมได้ตั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมกันคัดเลือก โดยใช้หลักเกณฑ์การพิจารณา เช่น ศักยภาพของสินค้าและความเหมาะสมในการเจาะตลาดจีน ผู้ผ่านการคัดเลือก 20 ราย จะได้เข้าร่วมกิจกรรม Boot Camp ติวเข้มเรื่องการใช้ประโยชน์ของ FTA การจัดทำแผนธุรกิจ กลยุทธ์เจาะตลาดออนไลน์และออฟไลน์ของจีน รวมทั้งจะมีการประกวดการนำเสนอแผนธุรกิจ เพื่อคัดเลือกผู้ประกอบการ 5 รายสุดท้าย เข้าร่วมกิจกรรมจับคู่ธุรกิจกับผู้นำเข้าจีนในรูปแบบออนไลน์ ในต้นปีหน้า รวมทั้งจะได้นำสินค้าขึ้นจำหน่ายและทำ Live Sale บนแพลตฟอร์มอี-คอมเมิร์ซที่ได้รับความนิยมในตลาดจีน ตรวจสอบรายชื่อผู้ที่ผ่านการคัดเลือกทั้ง 20 ราย ได้ทางwww.dtn.go.th และ Facebook กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ

ในช่วง 8 เดือน (มกราคม-สิงหาคม 2564) ไทยส่งออกสินค้าอาหารและเกษตรแปรรูปไปจีน มูลค่า 788.37 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 8.7% จากช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้า และนำเข้าจากจีนมูลค่า 1,203.64 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 6.9% สินค้าอาหารส่งออกสำคัญของไทยไปจีน เช่น เครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูป ผลไม้กระป๋องและแปรรูป อาหารสัตว์เลี้ยง อาหารทะเล และกระป๋องและแปรรูป ส่วนสินค้าอาหารนำเข้าสำคัญจากจีน เช่น ผักและผลไม้สด ปลาแช่เย็น/แช่แข็ง ปลาแปรรูป และอาหารปรุงแต่ง เป็นต้น

จาก https://www.naewna.com วันที่ 7 ตุลาคม 2564

ค่าเงินบาทอ่อนยวบใกล้ 34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ 33.83 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯยังคงอ่อนค่าอย่างต่อเนื่อง จากปิดตลาดวันก่อนที่ 33.74 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ และระหว่างวันค่าเงินบาทได้อ่อนค่าสุดลงไปแตะ 33.99 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ก่อนจะมายืนปิดตลาดที่ 33.96 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ โดยเงินบาทอ่อนค่าเป็นไปตามการเคลื่อนไหวตามทิศทางตลาดโลก หลังนักลงทุนกลับมาถือครองเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐฯเพิ่มขึ้น ทำให้ค่าเงินสกุลอื่นๆอ่อนค่าลง

ทั้งนี้ ปัจจัยที่ต้องติดตามคือตัวเลขการจ้างงานนอกภาคเอกชนของสหรัฐฯ ซึ่งหากตัวเลขออกมาดีก็มีโอกาสที่เงินบาทจะทะลุ 34.00 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ อย่างไรก็ตาม กลุ่มงานโกลบอลมาร์เก็ตส์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) มีมุมมองต่อทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ เงินบาทสัปดาห์นี้มีแนวโน้มเคลื่อนไหวในกรอบ 33.50-34.20 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ จากสัปดาห์ที่ผ่านมาค่าเงินบาทได้อ่อนค่าสุดในรอบกว่า 4 ปี ท่ามกลางแรงซื้อเงินดอลลาร์สหรัฐฯที่เข้ามาเป็นจำนวนมาก.

จาก https://www.thairath.co.th  วันที่ 7 ตุลาคม 2564

“สุพัฒนพงษ์” โวเศรษฐกิจปี 65 โต 5% ตั้งเขตเศรษฐกิจฯ ในอีอีซีอีก 6 แห่ง

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มเติมในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เพื่อดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายและรองรับการลงทุนในอนาคต เนื่องจากคาดว่าอีอีซีจะรองรับการลงทุนได้เพียง 5 ปีเท่านั้น จึงต้องตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพิ่ม 6 แห่ง เป็นการจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ 5 แห่ง ตั้งเป้าหมายการลงทุน 300,000 ล้านบาทใน 10 ปี (2564-2573)

1.นิคมอุตสาหกรรมโรจนะแหลมฉบัง จ.ชลบุรี รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การบินและโลจิสติกส์

2.นิคมอุตสาหกรรมโรจนะหนองใหญ่ จ.ชลบุรี รองรับยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การบินและโลจิสติกส์

3.นิคมอุตสาหกรรมเอเชียคลีน จ.ชลบุรี รองรับอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ ยานยนต์สมัยใหม่ การเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ

4.นิคมอุตสาหกรรมเอ็กโกระยอง จ.ระยอง รองรับยานยนต์สมัยใหม่ หุ่นยนต์ การบิน โลจิสติกส์ และดิจิทัล

5.นิคมอุตสาหกรรมดับบลิวเอชเอ อินดัสเตรียล เอสเตท ระยอง จ.ระยอง รองรับยานยนต์สมัยใหม่ หุ่นยนต์ การบินและโลจิสติกส์ และจัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ 1 แห่ง คือ ศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีขั้นสูงบ้านฉาง จ.ระยอง เป้าหมายการลงทุน 20,000 ล้านบาท ใน 10 ปี (พ.ศ.2564-2573) พัฒนาพื้นที่ในกลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัลและการใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ขณะที่ได้เปลี่ยนแปลงเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ 1 แห่ง คือ ศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจรธรรมศาสตร์ พัทยา (EECmd) รองรับการลงทุนการแพทย์ในอนาคต

ด้านนายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้โจทย์ในการบริหารจัดการเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศเปลี่ยนไป หลังจากสถานการณ์โควิด-19 โดยรัฐบาลมีเป้าหมายขับเคลื่อนการขยายตัวของเศรษฐกิจปี 2565 เพิ่มขึ้น 5% จากการที่รัฐบาลใส่มาตรการต่างๆ และการใส่เงินในกระเป๋าประชาชน รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยจะเร่งพัฒนารถไฟรางคู่ให้ไปเชื่อมรถไฟใน สปป.ลาวใน 2 ปีครึ่ง.

จาก https://www.thairath.co.th วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2564

อุตฯปรับทัพตั้งเป้าผู้นำการผลิต-ใช้หุ่นยนต์ เร่งอัดฉีดสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ

นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงฯ พร้อมขับเคลื่อนสร้างความเข้มแข็งให้กับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมทุกระดับรองรับการผลิตสมัยใหม่ ผ่านเครื่องมือสำคัญภายใต้แนวคิด 4 เครื่องมือ กับ 1 กลยุทธ์ ประกอบด้วย 1. การให้บริการด้านการพัฒนาระบบข้อมูลและสารสนเทศ  2.การนำระบบอัตโนมัติ มาใช้ในพัฒนาระบบการผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการผลิต 3.หุ่นยนต์  ลดการใช้แรงงานในกระบวนการผลิต และ 4.นวัตกรรม พัฒนานวัตกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม

สำหรับ 1 กลยุทธ์ คือ มุ่งพัฒนาการรวมกลุ่มอุตสาหกรรม เพื่อขับเคลื่อนเป็นพลังใหญ่ต่อยอด SMEs ไทยให้เข้มแข็งและสร้างเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน ตลอดจนสนับสนุนการพัฒนาตามแนวทาง BCG Model โดยหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและลดความสูญเสียตลอดทั้งระบบห่วงโซ่อุปทาน ของภาคอุตสาหกรรม 

จาก https://www.thaipost.net  วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ชี้ส่งออกปี’64พุ่ง12% สรท.ปลื้ม‘บาทอ่อนรอบ4ปี’ช่วยดัน

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) หรือสภาผู้ส่งออก เปิดเผยว่า สรท. คงคาดการณ์การส่งออกไทยในปี 2564 เติบโต 12%โดยมีปัจจัยบวกที่สำคัญ ได้แก่ 1.เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ ฟื้นตัวต่อเนื่องและอุปสงค์ยังคงทรงตัวในระดับสูง จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นของประชาชนในการกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามปกติ 2.ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมากที่สุดในระยะ 4 ปี รวมถึงความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยที่ยังไม่คลี่คลายและมีความเป็นไปได้ในการกลับมาระบาดรุนแรงอีกครั้ง

ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญ ได้แก่ 1.สถานการณ์การระบาดโควิด-19 ที่มีความรุนแรงในประเทศ และการกระจายวัคซีนยังไม่ทั่วถึง แม้จำนวนผู้ติดเชื้อโดยรวมภายในประเทศจะลดลง แต่จำนวนผู้ติดเชื้อในพื้นที่ต่างจังหวัดเริ่มเพิ่มขึ้น 2.ค่าระวางเรือมีทิศทางทรงตัวในระดับสูงจนถึงปลายปี 2565 โดยเฉพาะ สหภาพยุโรป และสหรัฐฯ รวมถึงค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม 3.ปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและราคาผันผวน ส่งผลให้ภาคการผลิตเพื่อส่งออก ยังคงประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง และอาจส่งผลรุนแรงขึ้นในไตรมาสที่ 4

อย่างไรก็ตาม สรท. มีข้อเสนอแนะ อันได้แก่ 1.เร่งฉีดวัคซีนให้พนักงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตให้ครอบคลุมโดยเร็วและขอให้รัฐช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมและภาคการผลิต 2.เร่งแก้ไขปัญหาค่าระวางเรือในเส้นทางหลักให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสมและไม่กระทบต่อต้นทุนโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ 3.เร่งจัดหาแรงงานป้อนเข้าสู่ระบบรองรับการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรม และ 4.เร่งปรับลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าวัตถุดิบ อาทิ ภาษีสินค้าเหล็ก เซมิคอนดักเตอร์ วัตถุดิบสำหรับสินค้าอุปโภค-บริโภค สำหรับนำเข้าผลิตเพื่อส่งออก

สำหรับภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนสิงหาคม 2564 พบว่าการส่งออกมีมูลค่า 21,976.23 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 8.93% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 715,416.40 ล้านบาทขยายตัว 12.83% ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 23,191.89 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 47.92% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 765,248.80 ล้านบาทขยายตัว 53.20% ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนสิงหาคม 2564ขาดดุลเท่ากับ 1,215.66 ล้านดอลลาร์สหรัฐหรือคิดเป็น 49,832.40 ล้านบาท

ส่วนภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของไทยช่วง 8 เดือนแรกของปีนี้(ม.ค.- ส.ค. 2564) พบว่า ไทยส่งออกรวมมูลค่า 176,961.71 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 15.25% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 5,441,613.75 ล้านบาทขยายตัว 13.78% ในขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 175,554.75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 30.97% และมีมูลค่าในรูปเงินบาทเท่ากับ 5,476,523.71 ล้านบาท ขยายตัว 29.52% ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนมกราคม-สิงหาคมของปี 2564 เกินดุล 1,406.96 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แต่ขาดดุล 34,909.96 ล้านบาท

จาก https://www.naewna.com วันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2564

สรท.ฟันธง ส่งออกไทยปีนี้โต12% เอกชนกังวลปัญหาค่าระวางเรือที่พุ่งสูง

สรท.ยืนยันส่งออกไทยปีนี้ขยายตัว12% จากปัจจัยบวกทั้งการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ตลาดส่งออกสำคัญๆที่กลับมาสั่งสินค้า แต่ปัญหาที่เอกชนกังวลคือค่าระวางเรือที่พุ่งสูง หวั่นฉุดส่งออกไตรมาส 4/2564 ลากยาวปี 2565

นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) เปิดเผยถึงสถานการณ์การส่งออกไทยในปีนี้ว่า สรท.ยังคงคาดการณ์การส่งออกไทย เติบโต 12% (ณ เดือนตุลาคม 2564) หรือเฉลี่ยส่งออกเดือนละ21,000-22,000ล้านดอลลาร์สหรัฐ ในช่วง3เดือนที่เหลือนี้  โดยมีปัจจัยบวกที่สำคัญ เช่น เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ ไม่ว่าจะเป็น สหรัฐ จีน สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ที่ฟื้นตัวต่อเนื่องและอุปสงค์ยังคงทรงตัวในระดับสูงมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และความคืบหน้าในการฉีดวัคซีน ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นของประชาชนในการกลับมาดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามปกติ รวมถึงดัชนีผู้จัดการฝ่ายการผลิตโลก (World PMI Index) ของประเทศคู่ค้าสำคัญที่ยังคงทรงตัวอยู่ ณ ระดับ 50 ถึง 60 สะท้อนการฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งของกิจกรรมการผลิตและเศรษฐกิจโลก 2) ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมากที่สุดในระยะ 4 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ จากการที่ Fed เข้าซื้อพันธบัตรตามมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ QE เร็วขึ้น และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่าคาดการณ์ รวมถึงความกังวลต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด–19 ในประเทศไทยที่ยังไม่คลี่คลาย และมีความเป็นไปได้ในการกลับมาระบาดรุนแรงอีกครั้ง  ส่วนในเดือนหน้าสรท.จะประเมินการส่งออกปีหน้าอีกครั้ง

ขณะที่ ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นอุปสรรคสำคัญในปี 2564 ได้แก่ สถานการณ์การระบาดโควิด-19 ที่มีความรุนแรงในประเทศ และการกระจายวัคซีนยังไมทั่วถึง แม้จำนวนผู้ติดเชื้อโดยรวมภายในประเทศจะลดลง แต่จำนวนผู้ติดเชื้อในพื้นที่ต่างจังหวัดเริ่มเพิ่มขึ้น ขณะที่อัตราการกระจายวัคซีนยังไม่ทั่วถึง

โดยเฉพาะในพื้นที่อุตสาหกรรม ซึ่งหากภาครัฐไม่สามารถควบคุมการระบาดและไม่สามารถเร่งกระจายวัคซีนให้ได้ตามเป้าหมายวัคซีนสองเข็ม 50 ล้านคน ภายในสิ้นปี และหากต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์อีกครั้งจะส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก และการส่งออกจะไม่สามารถขยายตัวได้ตามที่คาดการณ์ไว้   ปัญหาค่าระวางเรือมีทิศทางทรงตัวในระดับสูงจนถึงปลายปี 65 โดยเฉพาะ สหภาพยุโรป และสหรัฐฯ รวมถึงค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม อาทิ Peak Season Surcharge (PSS) ส่งผลต่อภาระต้นทุนการขนส่งสินค้าที่ผู้ส่งออกต้องจ่ายเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว จนอาจเทียบเท่าราคาสินค้า และปัญหา Container Circulation และ Space allocation ส่งผลให้ปริมาณตู้สินค้ายังไม่เพียงพอกับความต้องการส่งออก  

รวมถึง ปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและราคาผันผวน ไม่ว่าจะเป็นชิป, เหล็ก ส่งผลให้ภาคการผลิตเพื่อส่งออก ยังคงประสบปัญหาอย่างต่อเนื่อง และอาจส่งผลรุนแรงขึ้นในไตรมาสที่ 4 โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้การส่งออกไม่สามารถเติบโตได้ตามที่คาดการณ์

ทั้งนี้สรท.ได้เสนอแนะไปยังภาครัฐเพื่อเร่งดำเนินการโดยเฉพาะการเร่งฉีดวัคซีนให้พนักงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตให้ครอบคลุมโดยเร็วและขอให้รัฐช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมและภาคการผลิตที่เริ่มเข้ามาตรการ Factory Quarantine (FQ) หรือ Factory Accommodation Isolation (FAI) ชุดตรวจหาเชื้อโควิด-19 Antigent Test Kit (ATK) ให้กับโรงงานอุตสาหกรรมในช่วงตั้งต้นของการดำเนินมาตรการ

การเร่งแก้ไขปัญหาค่าระวางเรือในเส้นทางหลักให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสมและไม่กระทบต่อต้นทุนโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ ซึ่งสวนทางกับปริมาณคำสั่งซื้อต่างประเทศยังคงฟื้นตัวในระดับสูงต่อเนื่องและคุณภาพการให้บริการของสายเรือ ในระยะสั้นผู้ประกอบการอาจไม่สามารถแบกรับต้นทุนค่าขนส่งไหวและจะกระทบต่อการส่งออกในภาพรวมของประเทศ  และเร่งจัดหาแรงงานป้อนเข้าสู่ระบบรองรับการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรม รวมถึงเร่งปรับลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าวัตถุดิบ อาทิ ภาษีสินค้าเหล็ก เซมิคอนดักเตอร์ วัตถุดิบสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค สำหรับนำเข้าผลิตเพื่อส่งออก

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2564

เอกชนเชื่อส่งออกปีนี้แตะ12% ห่วงต้นทุนขนส่งพุ่งกระทบออเดอร์ปลายปี

สรท.มั่นใจสัญญาณส่งออกปีนี้โตได้ตามเป้าหมาย จี้รัฐเร่งฉีดวัคซีนคุมโควิดให้อยู่ หวั่นล็อกดาวน์อีกรอบกระทบส่งออกปลายปี

ดร.ชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.)  เปิดเผยว่า สถานการณ์ส่งออก เดือนส.ค. มีมูลค่า 21,976.23 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 8.93% (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัยการส่งออกขยายตัว 19.43%)

ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า23,191.89 ล้านเหรียญสหรัฐขยายตัว 47.92% ส่งผลให้ดุลการค้าของประเทศไทยในเดือนส.ค. 2564 ขาดดุลเท่ากับ 1,215.66 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็น 49,832.40 ล้านบาท

สำหรับภาพ 8 เดือน(ม.ค.-ส.ค.) ไทยส่งออกรวมมูลค่า 176,961.71 ล้านเหรียญสหรัฐขยายตัว15.25% (เมื่อหักทองคำ น้ำมัน และอาวุธยุทธปัจจัย พบว่าการส่งออกใน 8 นี้ขยายตัว 21.22%)  โดยทั้งนี้สรท.ยังเป้าหมายส่งออกไทย เติบโต 12%  จากมีปัจจัยบวก เศรษฐกิจประเทศคู่ค้าสำคัญ อาทิ สหรัฐ จีน สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น ฟื้นตัวต่อเนื่องและอุปสงค์ยังคงทรงตัวในระดับสูงจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและความคืบหน้าในการฉีดวัคซีนทำให้เกิดความเชื่อมั่นของประชาชน รวมถึงค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมากที่สุดในระยะ 4 ปี เมื่อเปรียบเทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ และการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่าคาดการณ์

สำหรับปัจจัยเสี่ยงที่ต้องระวังคือสถานการณ์การระบาดโควิด-19ที่มีความรุนแรงในประเทศ และการกระจายวัคซีนยังไมทั่วถึงจำนวนผู้ติดเชื้อในพื้นที่ต่างจังหวัดเริ่มเพิ่มขึ้นหากภาครัฐไม่สามารถควบคุมการระบาดและเร่งกระจายวัคซีนให้ได้ตามเป้าหมายวัคซีนสองเข็ม 50 ล้านคนภายในสิ้นปี จนต้องใช้มาตรการล็อกดาวน์อีกครั้งจะส่งผลให้การดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจหยุดชะงัก และการส่งออกจะไม่สามารถขยายตัวได้ตามที่คาดการณ์ไว้

นอกจกนี้ค่าระวางเรือมีทิศทางทรงตัวในระดับสูงจนถึงปลายปี 65 โดยเฉพาะ สหภาพยุโรป และสหรัฐฯ รวมถึงค่าใช้จ่ายส่วนเพิ่ม อาทิ Peak Season Surcharge (PSS) ส่งผลต่อภาระต้นทุนการขนส่งสินค้าที่ผู้ส่งออกต้องจ่ายเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ปัญหาวัตถุดิบขาดแคลนและราคาผันผวน อาทิ ชิป, เหล็ก ส่งผลให้ภาคการผลิตเพื่อส่งออก ยังคงประสบปัญหาอย่างต่อเนื่องและอาจส่งผลรุนแรงขึ้นในไตรมาสที่ 4 โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า ซึ่งจะทำให้การส่งออกไม่สามารถเติบโตได้ตามที่คาดการณ์

“ยังมั่นใจส่งออกปีนี้ทั้งปีจะโตได้ 12% ตามที่คาดการณ์ไว้  ซึ่งไตรมาสสุดท้ายน่าจะอยู่ที่เดือนละ 2.1-2.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนจะโตถึง 14-15%หรือไม่ อาจจะเป็นไปได้ยากเนื่องจากสถานการณ์โควิด-19 ยังไม่คลี่คลาย ขณะที่ปัญหาค่าระวางเรือที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง  ซึ่งสรท.จะมีการประเมินภาพรวมอีกครั้งในเดือนพ.ย.นี้”

อย่างไรก็ตามสรท.ได้จัดทำข้อเสนอแนะไปยังภาครัฐ ดังนี้ 1.ขอให้เร่งฉีดวัคซีนกับพนักงานในภาคอุตสาหกรรมการผลิตและสนับสนุนค่าใช้จ่ายสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมและภาคการผลิตที่เริ่มเข้ามาตรการ Factory Quarantine (FQ)  ชุดตรวจหาเชื้อโควิด-19 

2.เร่งแก้ไขปัญหาค่าระวางเรือในเส้นทางหลักให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสมและไม่กระทบต่อต้นทุนโลจิสติกส์ระหว่างประเทศในระยะสั้นผู้ประกอบการอาจไม่สามารถแบกรับต้นทุนค่าขนส่งไหวและจะกระทบต่อการส่งออกในภาพรวมของประเทศ 3.เร่งจัดหาแรงงานป้อนเข้าสู่ระบบรองรับการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรม และ 4.เร่งปรับลดต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าวัตถุดิบ อาทิ ภาษีสินค้าเหล็ก เซมิคอนดักเตอร์ วัตถุดิบสำหรับสินค้าอุปโภคบริโภค สำหรับนำเข้าผลิตเพื่อส่งออก

จาก https://www.posttoday.com วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ดันเศรษฐกิจโต 5% ต่อปี เพิ่มการลงทุนใน “อีอีซี” 2.2 ล้านล้านบาท

 “ประยุทธ์” เคาะปรับเพิ่มแผนการลงทุนอีอีซี 2.2 ล้านล้านบาท ในอีก 5 ปีข้างหน้า หรือปีละ 500,000 ล้านบาท ดันเศรษฐกิจกลับมาโต 4.5–5% ต่อปีหลังเจอผลกระทบโควิด-19 พร้อมนำร่องเมืองการบินภาคตะวันออก เป็นพื้นที่แซนด์บ็อกซ์ปฏิรูปและยกระดับไทย ก้าวสู่ 10 อันดับของประเทศที่ประกอบธุรกิจง่ายที่สุด ดันปฏิรูปภาคเกษตรในอีอีซี ใช้เทคโนโลยีสร้างสินค้าเกษตรคุณภาพดี

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวัน ออก (สกพอ. หรืออีอีซี) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้เห็นชอบปรับแผนลงทุนอีอีซีระยะ 5 ปีข้างหน้า (ปี 2565-2569) ให้มีวงเงินลงทุนรวม 2.2 ล้านล้านบาท หรือต้องทำให้ได้ปีละ 500,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากแผนเดิมที่วางไว้ปีละ 300,000 ล้านบาท เพื่อผลักดันเศรษฐกิจไทยให้เติบโตเต็มศักยภาพ 4.5-5% ต่อปี บรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 พร้อมส่งผลให้ไทยพ้นจากกับดักรายได้ปานกลาง ก้าวสู่ประเทศพัฒนาได้ในปี 2572 ส่วนผลการดำเนินงานในระยะแรกของอีอีซี ปี 2561-2565 กำหนดเงินลงทุนไว้ 1.7 ล้านล้านบาท ปัจจุบัน เกิดเงินลงทุนแล้ว 1,605,241 ล้านบาท หรือ 94% คาดว่าสิ้นปีนี้จะได้ตามเป้าหมาย โดยเร็วกว่าแผน 1 ปี

สำหรับแผนลงทุนอีอีซีระยะ 2 จะขับเคลื่อนต่อยอด เร่งรัดการลงทุนด้วยการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม และวิจัยพัฒนา เพื่อเพิ่มขีดความสามารถ การแข่งขันของประเทศด้วย 3 ส่วนสำคัญ ได้แก่ 1.ต่อยอดโครงสร้างพื้นฐาน 200,000 ล้านบาท จากเมืองการบินภาคตะวันออก การพัฒนาพื้นที่ 30 กิโลเมตร (กม.) รอบสนามบิน และพัฒนาพื้นที่รอบสถานีหลักรถไฟความเร็วสูง (TOD)

2.ดึงดูดอุตสาหกรรมเป้าหมาย ปีละ 400,000 ล้านบาท ด้วยการลงทุนในระดับฐานปกติ ปีละ 250,000 ล้านบาท และการลงทุนส่วนเพิ่ม ที่เน้นอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ (New S-Curve) อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ (EV) ดิจิทัล การแพทย์สมัยใหม่ เกษตรสมัยใหม่และอาหาร ภายใต้บริบทเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมปีละ 150,000 ล้านบาท 3.ยกระดับชุมชนและประชาชน เร่งพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนระดับหมู่บ้าน พัฒนาตลาดสด อีคอมเมิร์ซสร้างรายได้ให้ชุมชนเพิ่มขึ้น ฯลฯ

“ กพอ.ได้เห็นชอบขยายมาตรการ สนับสนุนการลงทุนจากโครงการที่เป็นนโยบายของรัฐบาลสู่การให้สิทธิประโยชน์แก่ผู้ประกอบการในเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เริ่มนำร่องที่เขตส่งเสริมฯ เมืองการบินภาคตะวันออก (EECa) ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบ (แซนด์บ็อกซ์) ในการปฏิรูป ยกระดับประเทศไทยก้าวสู่ 10 อันดับของประเทศ ที่ประกอบธุรกิจง่ายที่สุด และให้ สกพอ.จัดทำ (ร่าง) ประกาศสิทธิประโยชน์ สำหรับผู้ประกอบกิจการในเขตส่งเสริมฯที่ครอบคลุมสิทธิประโยชน์ด้านภาษีอากร และที่มิใช่ภาษีอากร เพื่อสนับสนุนการลงทุนโดยเน้นกลุ่มที่มีศักยภาพใช้นวัตกรรมขั้นสูง ภายใต้การออกแบบสิทธิประโยชน์ที่ตรงตามความต้องการของผู้ประกอบการเพื่อเป็นต้นแบบการปฏิรูประบบราชการ ลดอุปสรรคการลงทุน เน้นสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน”

นอกจากนี้ ได้เห็นชอบร่างแผนปฏิบัติการพัฒนาการเกษตรในอีอีซี (2566-2570) ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เน้นตลาดนำการผลิต นำเทคโนโลยีสร้างรายได้ สร้างโอกาส การตลาดให้กับสินค้าเกษตรคุณภาพดี ใน 5 คลัสเตอร์สำคัญ ได้แก่ ผลไม้ ทุเรียน มังคุด มะม่วง ประมงเพาะเลี้ยง สัตว์น้ำทดแทนนำเข้า พืชอุตสาหกรรมชีวภาพ มันสำปะหลัง

พืชสมุนไพร ฟ้าทะลายโจร และเกษตรมูลค่าสูง โคเนื้อพรีเมียม เพื่อยกระดับรายได้ให้ชุมชนเกษตรกรในอีอีซี เทียบเท่ากลุ่มอุตสาหกรรม-บริการ พร้อมให้ศึกษาการจัดตั้งบริษัท เพื่อบริหารโครงการระเบียงผลไม้ภาคตะวันออก (EFC) ร่วมทุนกับเอกชนท้องถิ่น วางระบบการค้าสมัยใหม่ โดยโครงการ EFC จะสร้างรายได้ 20-30% มูลค่า 10,000-15,000 ล้านบาทต่อปี.

จาก https://www.thairath.co.th    วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2564

เงินบาทเปิดตลาดวันนี้ 33.80 อ่อนค่าเล็กน้อยจากความกังวลเงินเฟ้อมะกัน

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้อยู่ที่ 33.80 บาท/ดอลลาร์ อ่อนค่าเล็กน้อยจากปิดตลาดเย็นวานนี้ที่ระดับ 33.78 บาท/ดอลลาร์ หลังดอลลาร์แข็งค่าจากแรงซื้อ เนื่องจากความกังวลเกี่ยวกับปัญหาเงินเฟ้อของสหรัฐหลังจากราคาพลังงานปรับตัวสูงขึ้น ซึ่งอาจเป็นแรงหนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด

ทั้งนี้ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวของเงินบาทในวันนี้ไว้ที่ 33.70-33.85 บาท/ดอลลาร์ ปัจจัยที่ตลาดติดตาม ได้แก่ ดัชนีภาคบริการเดือน ก.ย.จากสถาบันจัดการด้านอุปทานของสหรัฐ (ISM) และตัวเลขจ้างงานนอกภาคเกษตรเดือน ก.ย.ของสหรัฐฯ

จาก https://www.posttoday.com   วันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2564

เกษตรกรโคราชระทม! น้ำท่วมพื้นที่เกษตรสูญยับ 6.6 แสนไร่ ยังจม 9 อำเภอ เดือดร้อน 4,000 ครัวเรือน

ศูนย์ข่าวนครราชสีมา - โคราชน้ำยังท่วม 9 อำเภอ ประชาชนเดือดร้อนกว่า 4,000 ครัวเรือน เผยพื้นที่เกษตรสูญยับแล้ว 6.6 แสนไร่ มวลน้ำลำเชียงไกรทะลักท่วม อ.พิมาย ไหลลงสู่ อ.ชุมพวงแล้ว เร่งฟื้นฟู อ.โนนไทย-โนนสูง น้ำเริ่มแห้งหลังซ่อมอ่างฯ ลำเชียงไกรเสร็จ หากฝนไม่ตกคาด 3-4 วันเข้าสู่ภาวะปกติ

วันนี้ (4 ต.ค.) นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวถึงสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาว่า จังหวัดนครราชสีมามีพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลจากพายุเตี้ยนหมู่ ทำให้เกิดอุทกภัยในพื้นที่ 20 อำเภอ 81 ตำบล 349 หมู่บ้าน 10 ชุมชน ประชาชนได้รับความเดือดร้อน 15,315 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 5 ราย ซึ่งจังหวัดได้เข้าไปดำเนินการช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นแล้ว ในปัจจุบันสถานการณ์เริ่มคลี่คลายแล้ว ยังคงเหลือสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่รวม 8 อำเภอ ได้แก่ อ.โนนไทย อ.โนนสูง อ.จักราช อ.เมืองนครราชสีมา อ.พิมาย อ.คง อ.แก้งสนามนาง และ อ.โนนแดง รวม 33 ตำบล 183 หมู่บ้าน 5 ชุมชน 4,086 ครัวเรือน

ขณะที่สำนักงานเกษตรจังหวัดนครราชสีมารายงานคาดการณ์ความเสียหายด้านการเกษตรจากปัญหาน้ำท่วมว่า ขณะนี้ได้รับรายงานว่ามีพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายจำนวน 26 อำเภอ 196 ตำบล พื้นที่การเกษตรประสบอุทกภัย 840,768 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 667,368 ไร่ แยกเป็น นาข้าว 433,443 ไร่, มันสำปะหลัง 190,893 ไร่, ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 38,573 ไร่, อ้อย 1,842 ไร่, พืชอื่นๆ ประมาณ 2,500 ไร่

นายวิเชียรกล่าวต่อว่า สำหรับสถานการณ์มวลน้ำของอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกรขณะนี้ได้ไปอยู่ที่ อ.พิมาย ที่ ต.ชีวาน ต.กระชอน ต.ท่าหลวง ต.ดงใหญ่ และจะเข้าสู่ อ.โนนแดง และ อ.ชุมพวง ซึ่งได้มีการแจ้งเตือนพี่น้องประชาชนและได้ส่งกำลังเจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยเหลือแล้ว ส่วนในพื้นที่ อ.โนนไทย ยังคงมีบางพื้นที่ที่จะคงมีน้ำขังอยู่ แต่ภาพรวมน้ำเริ่มลดลงแล้ว คาด 3-4 วันหากไม่มีฝนตกลงมา อ.โนนไทย และ อ.โนนสูง จะกลับเข้าสู่สภาวะปกติ

อย่างไรก็ตาม ในช่วงนี้ยังไม่สิ้นสุดฤดูฝน ฉะนั้นพี่น้องประชาชนจะต้องติดตามสภาพดินฟ้าอากาศให้ดี ซึ่งหากมีพายุเข้ามาจะทำให้ระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นอีก ดังนั้นจึงควรรับฟังการแจ้งเตือนจากหน่วยงานราชการอย่างใกล้ชิด สถานการณ์น้ำท่วมเริ่มดีขึ้นในทุกอำเภอ มวลน้ำที่ไหลเข้าสู่พื้นที่อำเภอตอนล่างจะมีปริมาณน้ำที่ท่วมน้อยกว่าอำเภอต้นน้ำ คือ อ.โนนสูง อ.โนนไทย

นายวิเชียรกล่าวอีกว่า สำหรับการดำเนินการก่อสร้างซ่อมแซมประตูระบายน้ำอ่างลำเชียงไกรตอนล่างนั้น ทางชลประทานได้มีการดำเนินการนำเครื่องจักรขนาดใหญ่แบ็กโฮ เข้าไปแก้ไขส่วนพนังกั้นน้ำบริเวณก่อสร้างอาคารประตูระบายน้ำล้นใหม่ที่พังชำรุด เพื่อปิดทางน้ำที่ไหลทะลักลงท้ายอ่างฯ เสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนี้จะต้องมีการบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสมกับสภาพอากาศต่อไป ซึ่งได้มีการรายงานความคืบหน้าในการซ่อมแซมปรับปรุงให้ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี รับทราบแล้ว ว่าทางจังหวัดนครราชสีมาได้ดำเนินการซ่อมแซมเสร็จตามกำหนดที่รองนายกรัฐมนตรีได้สั่งการไว้

หน่วยกู้ภัยสว่างเมตตาฯ นครราชสีมา และหลายหน่วยงานระดมกำลังเข้าช่วยประชาชน ต.ชีวาน อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ที่มวลน้ำจากอ่างฯ ลำเชียงไกร อ.โนนไทย ไหลบ่าเข้าท่วมสูงอยู่ในขณะนี้

หน่วยกู้ภัยสว่างเมตตาฯ นครราชสีมา และหลายหน่วยงานระดมกำลังเข้าช่วยประชาชน ต.ชีวาน อ.พิมาย จ.นครราชสีมา ที่มวลน้ำจากอ่างฯ ลำเชียงไกร อ.โนนไทย ไหลบ่าเข้าท่วมสูงอยู่ในขณะนี้

ล่าสุดชลประทานนครราชสีมารายงานสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำลำเชียงไกร (ตอนล่าง) มีความจุที่ระดับเก็บกัก 27.70 ล้าน ลบ.ม. มีปริมาณน้ำ 5.875 ล้าน ลบ.ม. หรือ 21.21% ปริมาณน้ำไหลเข้าเมื่อวาน 4.256 ล้าน ลบ.ม. สะสม 214.16 ล้าน ลบ.ม. หรือ 254.96% ของค่าเฉลี่ยรายปี แนวโน้มยังมีน้ำไหลเข้าอ่างฯ ต่อเนื่อง ปริมาณน้ำไหลออกเมื่อวานนี้ 4.50 ล้าน ลบ.ม. สะสม 211 ล้าน ลบ.ม. แนวโน้มเริ่มลดลง

รวมปริมาณน้ำไหลออกสะสมจากอุทกภัยพายุเตี้ยนหมู่ (26 ก.ย.- 3 ต.ค. 64) เท่ากับ 141.96 ล้าน ลบ.ม. หรือ 5.12 เท่าของความจุอ่างฯ ปริมาณน้ำไหลออกท้ายอ่างฯ รวมกับวังกะทะ และบึงพุดซา บริเวณ ต.โคกสูง อ.เมือง มีแนวโน้มลดลง แต่ผลรวมยังมากกว่าความสามารถของลำน้ำที่จะระบายได้ (60-90 ลบ.ม./วินาที) หากไม่มีฝนตกเพิ่มขึ้นแนวโน้มจะลดลง

จาก https://mgronline.com  วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ศูนย์วิจัยธ.ก.ส.ชี้ราคาสินค้าเกษตรปรับเพิ่มรับคลายล็อกดาวน์

ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. ชี้การผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ และยอดฉีดวัคซีนโควิด-19 ในประเทศที่เพิ่มขึ้น ทำให้ประชาชนเริ่มออกมาใช้ชีวิตนอกบ้าน รวมถึง ความต้องการของตลาดโลก ทำให้ราคาสินค้าเกษตรเดือนต.ค.มีแนวโน้มราคาเพิ่มขึ้น

นายสมเกียรติ กิมาวหา รองผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เปิดเผยว่า ศูนย์วิจัยและพัฒนานวัตกรรม ธ.ก.ส. คาดการณ์ราคาสินค้าเกษตรในเดือนตุลาคม 2564 โดยสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวสูงขึ้น ได้แก่ ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคาอยู่ที่ 10,035 - 10,090 บาท/ตัน เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 2.45 - 3.01%

เนื่องจาก มาตรการผ่อนคลายล็อกดาวน์ อาทิ มาตรการเปิดห้างสรรพสินค้าและร้านอาหาร ในพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ส่งผลให้มีความต้องการใช้ข้าวหอมมะลิของร้านอาหารเพิ่มขึ้น น้ำตาลทรายดิบตลาดนิวยอร์ก ราคาอยู่ที่ 19.31 - 19.49 เซนต์/ปอนด์ (13.98 - 14.11 บาท/กก.) เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.70 - 1.60% จากราคาน้ำมันดิบที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในเดือนตุลาคม ซึ่งส่งผลดีต่อราคาเอทานอลและกระตุ้นให้โรงงานน้ำตาลในประเทศบราซิลนำอ้อยไปผลิตเอทานอลและลดการผลิตน้ำตาลลง

ประกอบกับ สภาพอากาศที่แห้งแล้งและอุณหภูมิที่สูงขึ้นในประเทศบราซิลส่งผลให้ผลผลิตอ้อยลดลง และปัญหาการส่งออกน้ำตาลของประเทศอินเดียที่ยังไม่มีความแน่นอนในเรื่องคำตัดสินของ WTO ที่อาจจะพิจารณาตัดสินเอาผิดกับประเทศอินเดียในเรื่องนโยบายอุดหนุนการส่งออกน้ำตาล โดยจะกระทบต่อการส่งออกน้ำตาลของประเทศอินเดีย ทำให้ผลผลิตน้ำตาลในตลาดโลกลดลง มันสำปะหลัง  ราคาอยู่ที่ 2.13 - 2.18 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.47 – 2.83%

เนื่องจากเป็นช่วงต้นฤดูกาลผลิตมันสำปะหลัง ปีการผลิต 2564/65 ผลผลิตออกสู่ตลาดยังไม่มาก และไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ประกอบการ โดยผลผลิตที่ออกสู่ตลาดในเดือนตุลาคม 2564 ส่วนใหญ่จะถูกส่งเข้าสู่โรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง

ปาล์มน้ำมัน ราคาอยู่ที่ 7.46 - 7.58 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 3.81 - 5.44% เนื่องจาก สต็อกน้ำมันจากพืชทั่วโลกลดลงจากการเกิดคลื่นความร้อนและการระบาดของแมลงศัตรูพืชในประเทศผู้ผลิตสำคัญ ประกอบกับประเทศมาเลเซียซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มอันดับสองของโลกประสบปัญหาข้อจำกัดการเดินทางของกำลังแรงงานต่างชาติจากการระบาดของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนแรงงานในการเก็บเกี่ยวผลผลิต

กุ้งขาวแวนนาไม ราคาอยู่ที่ 124.77 – 126.08 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 1.40 - 2.50% เนื่องจาก การคลายมาตรการล็อกดาวน์ในเดือนตุลาคม 2564 ทำให้ร้านอาหารกลับมาดำเนินกิจการได้ตามปกติ ประกอบกับอัตราการฉีดวัคซีนในประเทศที่เพิ่มขึ้น ประชาชนจึงมีความมั่นใจในการเดินทางท่องเที่ยวและการรับประทานอาหารนอกบ้าน ซึ่งเป็นแรงหนุนให้ความต้องการบริโภคกุ้งเพิ่มขึ้น และคาดว่าการส่งออกกุ้งในเดือนตุลาคมอาจจะเพิ่มขึ้นจากปัจจัยค่าเงินบาทที่อ่อนค่า ทำให้ราคาส่งออกกุ้งไทยสามารถแข่งขันกับคู่แข่งขันได้

อย่างไรก็ตาม ในเดือนตุลาคม 2564 เป็นช่วงเทศกาลกินเจ ซึ่งอาจจะเป็นปัจจัยกดดันราคากุ้งให้ปรับตัวลดลง  และโคเนื้อ ราคาอยู่ที่ 95.50 - 96.00 บาท/กก. เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อน 0.40 – 0.93% จากการผ่อนคลายมาตรการล็อกดาวน์ ที่ขยายให้กิจการสามารถเปิดบริการเพิ่มขึ้น คาดว่าจะช่วยเพิ่มความต้องการบริโภคเนื้อโค

อย่างไรก็ตาม ในช่วงต้นเดือนตุลาคมเป็นช่วงเทศกาลถือศีล กินเจ อาจทำให้ความต้องการบริโภคเนื้อโคลดลง และกระทบต่อราคาขายโคเนื้อมีชีวิตของเกษตรกรได้

ด้านสินค้าเกษตรที่มีแนวโน้มราคาปรับตัวลดลง ได้แก่ ข้าวเปลือกเจ้าความชื้น 15% ราคาอยู่ที่ 7,350 - 7,430 บาท/ตัน ลดลงจากเดือนก่อน 0.10 - 1.17% เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากราคาข้าวในตลาดโลกมีแนวโน้มลดลงจากราคาข้าวของประเทศเวียดนามในตลาดโลกที่ปรับลดลง เพราะผลจากการบังคับใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 อย่างเข้มงวด ทำให้ขาดแคลนแรงงานในกิจกรรมการผลิตข้าว

ข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว ราคาอยู่ที่ 8,010 - 8,204 บาท/ตัน ลดลงจากเดือนก่อน 0.71 - 3.07% เนื่องจากปริมาณน้ำฝนสะสมที่เพิ่มขึ้นจากอิทธิพลของพายุโกนเซินที่พัดผ่านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นแหล่งผลิตข้าวเหนียวที่สำคัญ ส่งผลให้ผลผลิตข้าวเหนียวนาปีเพิ่มขึ้น

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ความชื้นไม่เกิน 14.5% ราคาอยู่ที่ 7.95 - 8.08 บาท/กก. ลดลงจากเดือนก่อน 0.60 - 2.20% เนื่องจากผลผลิตออกสู่ตลาดเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยว ขณะที่ คาดว่าผู้ประกอบการจะนำเข้าวัตถุดิบอื่นทดแทนมากขึ้นจากสัญญาส่งมอบข้าวโพด ข้าวสาลี และถั่วเหลืองในเดือนธันวาคม 2564 ที่ปรับลด 1.04% 1.13% และ1.67% ตามลำดับ

จาก https://mgronline.com  วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2564

รัฐบาลเดินหน้าโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำในเขื่อนทั่วประเทศ

รัฐบาลเดินหน้าโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริดในเขื่อนทั่วประเทศ รับนโยบายนายกฯลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนฯ เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าพลังงานสะอาด

น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการโรงไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ลอยน้ำไฮบริด (Hydro Floating Solar Hybrid) เขื่อนสิรินธร ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ) ซึ่งเป็นโซลาเซลล์ลอยน้ำที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีขนาดกำลังผลิต 45 เมกะวัตต์ ปัจจุบัน มีความคืบหน้ากว่าร้อยละ 99.26 พร้อมจ่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ภายในเดือนตุลาคม นี้

รัฐบาลมีเป้าหมายขับเคลื่อนพลังงานโดยมุ่งเน้นการใช้พลังงานสะอาดและพลังงานทางเลือก ซึ่งโครงการโรงไฟฟ้าแบบไฮบริดนี้ คณะรัฐมนตรี เมื่อ ต.ค. 2562 ได้สนับสนุนงบกลาง วงเงิน 643 ล้านบาท เป็นการดำเนินการร่วมกับโรงไฟฟ้าพลังน้ำเขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี วงเงินลงทุน 2,265 ล้านบาท คาดว่าจะสามารถผลิตไฟฟ้าได้ประมาณ 87.53 ล้านหน่วยต่อปี รองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าในจังหวัดอุบลราชธานี และภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่เพิ่มขึ้น

นอกจากนี้ทางกฟผ. ยังเดินหน้าโครงการในพื้นที่เขื่อนอุบลรัตน์และเขื่อนอื่นๆ ทั่วประเทศ โดยมีเป้าหมายกำลังผลิตรวมทั้งหมด 2,725 เมกะวัตต์ ภายในปี 2580 ด้วย เพื่อเร่งส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด ลดการซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ โดยเป็นการใช้พื้นที่อ่างเก็บน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ทั้งนี้ รัฐบาลยังได้กำหนดแผนพลังงานชาติ (National Energy Plan) ครอบคลุมแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (PDP) แผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) แผนอนุรักษ์พลังงาน (EEP) แผนบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติ (Gas Plan) และแผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิง (Oil Plan) เพื่อขับเคลื่อนภาคพลังงานของประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมคาร์บอนต่ำ เพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าใหม่ที่มีสัดส่วนของพลังงานสะอาดไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ภายใต้เป้าหมายไทยในการปลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net zero) และสร้างความเป็นกลางทางคาร์บอน (carbon neutral) ภายในปี 2065-2070 สอดคล้องกับเป้าหมายที่ 7 ของสหประชาชาติ ในการประกันการเข้าถึงการบริการด้านพลังงานที่สมัยใหม่ ในราคาที่สามารถหาซื้อหาได้ เชื่อถือได้ และยั่งยืน

"พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เน้นความสำคัญที่ไทยต้องเปลี่ยนผ่านทางพลังงาน ลดภาวะโลกร้อนและลดปัญหา PM 2.5 ส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานที่ปล่อยคาร์บอนต่ำ มีการผลักดันนโยบายพลังงานของรัฐบาลให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เช่น โรงไฟฟ้าชุมชน ส่งเสริมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า (EV) รวมถึงการวางเป้าหมายให้ไทยเป็นศูนย์กลางการซื้อขายไฟฟ้าในภูมิภาค สร้างความสมดุลระหว่างขับเคลื่อนเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการผลิตของไทย และการรักษาสิ่งแวดล้อม มุ่งสร้างความมั่นคงและยั่งยืนด้านพลังงานให้ประเทศ ที่สำคัญ คือ คนไทยมีพลังงานสะอาดใช้ในราคาที่จับต้องได้" น.ส.รัชดา กล่าว

จาก https://www.posttoday.com   วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2564

ไทยหนุนยกระดับ FTA อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์

นายสรรเสริญ สมะลาภา ผู้ช่วยรมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อช่วงกลางเดือนกันยายน 2564 ที่ผ่านมา ได้รับมอบจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ให้เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทยเพื่อเข้าร่วมการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจอาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ ครั้งที่ 26 ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยที่ประชุมได้หารือการเร่งเจรจายกระดับความตกลง FTA อาเซียน-ออสเตรเลีย-นิวซีแลนด์ (AANZFTA) ให้ไปสู่ความตกลงที่ทันสมัยสอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของโลก เช่น การค้าบริการ การลงทุน พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การแข่งขันทางการค้า การจัดซื้อจัดจ้างโดยรัฐ การอำนวยความสะดวกทางการค้าและพิธีการศุลกากร การพัฒนาการเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง เล็ก และย่อม เป็นต้น ซึ่งที่ประชุมมอบหมายเจ้าหน้าที่เร่งเจรจายกระดับให้แล้วเสร็จภายในปี 2565 ตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้

ทั้งนี้ ที่ประชุมยังได้แลกเปลี่ยนความเห็นต่อความสนใจของชิลีที่ต้องการเข้าร่วมความตกลง AANZFTA โดยไทยได้ชี้ให้เห็นว่าชิลีจะมีส่วนสำคัญในการเชื่อมโยงการค้าระหว่างอาเซียนกับภูมิภาคลาตินอเมริกา ซึ่งที่ประชุมได้มอบระดับเจ้าหน้าที่อาวุโสไปพิจารณารายละเอียดและหาแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมในเรื่องนี้แล้ว

สำหรับประเด็นการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการค้าการลงทุนในภูมิภาค ที่ประชุมเห็นว่าอาเซียน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ จำเป็นต้องร่วมมืออย่างแข็งขันเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นและเร่งฟื้นฟูเศรษฐกิจในยุคหลังโควิด-19 ต่อไป ส่วนการหารือกับภาคเอกชนจากออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ ได้แก่ หอการค้าออสเตรเลีย-อาเซียน (AustCham ASEAN) สภาธุรกิจอาเซียน-ออสเตรเลีย (AABC) และสภาธุรกิจอาเซียน-นิวซีแลนด์ (ANZBC) ภาคเอกชนขอให้เร่งยกระดับความตกลง AANZFTA แก้ปัญหามาตรการที่ไม่ใช่ภาษี (NTMs) เร่งเชื่อมโยงยกมาตรฐานร่วมกันในอาเซียน และพัฒนาด้านดิจิทัล และ e-commerce ในภูมิภาค เป็นต้น

ส่วนการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียน-อินเดีย ครั้งที่ 18 ได้หารือเรื่องการเตรียมการเพื่อเริ่มเจรจายกระดับความตกลงการค้าสินค้าอาเซียน–อินเดีย (AITIGA) ที่ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการหารือเรื่องกรอบแนวทางการเจรจา จึงได้เห็นพ้องร่วมกันที่จะให้เจ้าหน้าที่อาวุโสด้านเศรษฐกิจของอาเซียนและอินเดียเร่งรัดหาข้อยุติขอบเขตการทบทวนความตกลง AITIGA โดยเร็วเพื่อจะได้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมและเริ่มเจรจาทบทวนต่อไป ซึ่งเป็นการดำเนินการตามที่ความตกลงได้กำหนดไว้ และจะทำให้เป็นประโยชน์ในการเพิ่มการค้าของทั้งสองฝ่ายที่มีขนาดตลาดผู้บริโภครวมกันกว่า 2,000 ล้านคน โดยไทยหวังให้ทั้งสองฝ่ายเร่งดำเนินการหาข้อยุติในเรื่องกรอบขอบเขตการทบทวนโดยเร็ว และเน้นย้ำเป้าหมายให้ความตกลง AITIGA เปิดกว้างในการเข้าถึงตลาด มีความทันสมัย ลดอุปสรรคการค้าและจะต้องอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจการค้ามากขึ้น

นอกจากนี้ที่ประชุมยังร่วมกันยินดีที่ประเทศสมาชิกได้ให้สัตยาบันความตกลงการลงทุนอาเซียน–อินเดีย (AIIA) ครบแล้ว และได้ร่วมย้ำความสำคัญของการเจรจาระดับพหุภาคีในกรอบองค์การการค้าโลก (WTO) ด้วย ส่วนการประชุมร่วมกับสภาธุรกิจอาเซียน–อินเดีย (AIBC) ภาคเอกชนได้ย้ำเรื่องการทบทวนความตกลง AITIGA ให้ครอบคลุมการเปิดเสรีเพิ่มเติม กฎถิ่นกำเนิดสินค้าที่เปิดกว้าง และการอำนวยความสะดวกด้านพิธีการทางศุลกากร และขอให้สนับสนุนความร่วมมือของภาคเอกชนสองฝ่ายในสาขาที่สนใจร่วมกัน เช่น การดูแลสุขภาพ เทคโนโลยีและดิจิทัล การเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน การเชื่อมโยงระบบโลจิสติกส์ สตาร์ทอัพอุปกรณ์และผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ การพัฒนาผู้ประกอบการสตรีและผู้ประกอบการรุ่นใหม่ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

จาก https://www.naewna.com วันที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2564

นํ้าท่วมพื้นที่เกษตรจม 2.5 ล้านไร่ ทุบเศรษฐกิจหมื่นล้าน เร่งเยียวยาใน 90 วัน

น้ำท่วม 36 จังหวัด ซัดพื้นที่เกษตรเสียหายหนักแล้วกว่า 2.5 ล้านไร่ ข้าวมากสุด 1.5 ล้านไร่ กระทรวงเกษตรฯสั่ง จนท.เร่งสำรวจ พร้อมจ่ายเยียวยาใน 90 วันหลังน้ำลด หอการค้าไทยประเมินกระทบศก.หมื่นล้าน ยันไม่ถึงขั้นทำจีดีพีติดลบ อธิบดีกรมชลฯชี้โอกาสน้ำท่วมใหญ่เหมือนปี 54 มีน้อย

อุทกภัยปี 2564 สถานการณ์เวลานี้ยังน่าห่วง กรมชลประทานรายงาน ณ วันที่ 30 ก.ย. 2564 จากอิทธิพลร่องมรสุมและพายุดีเปรสชั่น (โกนเซิน) รวม 4 ลูก พัดผ่านหลายภาคของประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 11 ก.ย. และลูกที่ 5 ล่าสุดคือพายุดีเปรสชั่น “เตี้ยนหมู่” ส่งผลให้มีพื้นที่ประสบอุทกภัยรวม 36 จังหวัด (เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว 13 จังหวัด และยังประสบอุทกภัย 23 จังหวัด) และมวลน้ำก้อนใหญ่กำลังไหลบ่าเข้าสู่ภาคกลาง ทำให้พื้นที่ชั้นในคือกรุงเทพฯ และปริมณฑลต้องเตรียมรับมือนั้น

พื้นที่เกษตรเสียหาย 2.5 ล้านไร่

นายอลงกรณ์ พลบุตร ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ข้อมูลจากศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและบรรเทาภัยพิบัติทางการเกษตร ณ วันที่ 27 ก.ย. 2564 พบความเสียหายด้านพืช ด้านประมง ด้านปศุสัตว์ในวงกว้าง เบื้องต้น ด้านพืช มีเกษตรกรได้รับผลกระทบ 184,946 ราย พื้นที่คาดว่าจะได้รับความเสียหาย 2.56 ล้านไร่ ในจำนวนนี้เป็นนาข้าว 1.55 ล้านไร่ พืชไร่และพืชผัก 9.92 แสนไร่ และไม้ผลไม้ยืนต้น 1.79 หมื่นไร่

ด้านประมง เกษตรกรได้รับผลกระทบ 14,398 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้รับผลกระทบ(บ่อปลา,บ่อกุ้ง) 1.77 หมื่นไร่ กระชัง 816 ตารางเมตร และด้านปศุสัตว์ เกษตรกรได้รับผลกระทบ 13,260 ราย สัตว์ได้รับผลกระทบ 4.82 แสนตัว (โค-กระบือ 3.41 หมื่นตัว สุกร 1.41 หมื่นตัว แพะ-แกะ 2,336 ตัว สัตว์ปีก 4.82 แสนตัว) แปลงหญ้า 844 ไร่ (กราฟิกประกอบ)

 “ความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อเกษตรกรในพื้นที่ที่ถูกประกาศให้เป็นเขตภัยพิบัติ หลังน้ำลดจะมีการสำรวจความเสียหายโดยเจ้าหน้าที่เกษตร ปศุสัตว์ และประมงอำเภอ เพื่อรวบรวมข้อมูลนำสู่คณะกรรมการระดับอำเภอ และจังหวัด เมื่อได้ข้อมูลครบถ้วนและผ่านการรับรองแล้ว ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์จะส่งเรื่องให้ปลัดกระทรวงเกษตรฯดำเนินการต่อไป ซึ่งจากกระบวนการสำรวจความเสียหายจนถึงอนุมัติจ่ายเงินเยียวยาตามระเบียบใหม่ไม่เกิน 90 วัน แต่ทางกระทรวงฯจะเร่งให้เร็วกว่านั้น ส่วนวงเงินทั้งหมดจะเป็นเท่าไรนั้น ยังไม่สามารถประเมินได้ชัดเจนต้องรอให้น้ำลดก่อน ขณะที่กรมอุตุฯพยากรณ์ว่าจะมีมรสุมเข้ามาอีก 2 ลูกช่วงวันที่ 8 ตุลาคม และกลางเดือนตุลาคม คงต้องติดตามสถานการณ์รวมถึงความเสียหายที่จะเกิดขึ้นต่อไป”

ทุบเศรษฐกิจสูญหมื่นล้าน

ด้านนายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หอการค้าไทยประเมินสถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในเวลานี้จะสร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจประมาณ 5,000–10,000 ล้านบาท ซึ่งจะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่คาดว่าจะดีขึ้นในช่วงปลายปี ทั้งนี้สถานการณ์น้ำท่วมค่อนข้างรุนแรงในหลายจังหวัดกระทบต่อการเดินทาง และการขนส่งสินค้า รวมถึงภาคธุรกิจอีกหลายภาคส่วน

“น้ำท่วมเวลานี้ แม้สถานการณ์ยังไม่น่าไว้ใจในหลายจังหวัด แต่ประเมินแล้วคงไม่กระทบถึงขั้นทำให้จีดีพีปีนี้ติดลบได้ เพราะผลกระทบที่ทางหอการค้าไทย และม.หอการค้าไทยประเมินนั้นอยู่ที่ 5,000-10,000 ล้านบาท นับว่าไม่มากถึงขนาดจะส่งผลกระทบต่อการขยายตัวของจีดีพี (กกร.คาดจีดีไทยปีนี้ -0.5% ถึง 1%) แต่ปัจจัยน้ำท่วมรวมถึงสถานการณ์โควิดหากมีการระบาดของเชื้อไวรัสกลับมา ยังเป็นปัจจัยลบต่อเศรษฐกิจไทย อย่างไรก็ตามสถานการณ์น้ำท่วมคิดว่าคงไม่รุนแรงใกล้เคียงปี 54 แต่ทุกฝ่ายต้องไม่ประมาท ควรติดตามสถานการณ์และประเมินแผนรับมือให้ชัดเจน”

กรมชลประทานสั่งรับมือเต็มพิกัด

ขณะที่นายประพิศ จันทร์มา อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า สถานการณ์อุทกภัยยังน่าห่วง จากมีน้ำท่าปริมาณมาก จากลำน้ำสาขาไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา ทำให้ระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ทางกรมชลฯได้ปรับแผนระบายน้ำ ซึ่งความเป็นไปได้ที่จะเกิดน้ำท่วมใหญ่ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑลเหมือนในปี 2554 มีน้อย เพราะเงื่อนไขต่างกัน โดยปี 2554 มีพายุหลายลูกถาโถมเข้ามา และเขื่อนด้านบนเหนือลุ่มน้ำเจ้าพระยาทั้ง 4 เขื่อน (ภูมิพล สิริกิติ์ แควน้อยบำรุงแดน ป่าสักชลสิทธิ์) เก็บน้ำในปริมาณมากและต้องเร่งระบาย ขณะที่ทั้งน้ำเหนือและน้ำฝนตอนบนโหมกระหน่ำลงมา

ต่างจากปีนี้ น้ำที่ทางกรมชลประทานระบายอยู่ส่วนใหญ่เป็นน้ำท่าที่เกิดจากฝนตกในพื้นที่ ขณะที่น้ำในเขื่อนด้านบนลุ่มน้ำเจ้าพระยา ยังมีปริมาณน้ำไม่เกิน 50% ของความจุ (เช่น ภูมิพล สิริกิติ์) เวลานี้กรมชลฯอยู่ระหว่างจัดจราจรน้ำให้เข้าทุ่งรับน้ำต่าง ๆ ใน 10 ทุ่งรับน้ำ ทำให้บางส่วนของน้ำก็ไม่ได้ลงมาถึงลุ่มน้ำเจ้าพระยา รวมถึงการปรับการระบายน้ำลงน้ำเจ้าพระยา ส่วนพื้นที่นอกคันกั้นน้ำก็ได้มีการแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ทราบเป็นระยะ โดยประสานกับหน่วยงานท้องถิ่นเพื่อให้มีผลกระทบน้อยที่สุด

“เท่าที่ทราบจากการพยากรณ์ของกรมอุตุฯต้องดูหลังวันที่ 8-9 ตุลาคมอาจมีพายุเข้าซึ่งต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด อย่างไรก็ตามสถานการณ์คงไม่รุนแรงอย่างปี 54 ซึ่งผมค่อนข้างมั่นใจจากเท่าที่ดูสถานการณ์ ทั้งนี้จะบริหารจัดการน้ำให้เกิดผลกระทบกับประชาชนน้อยที่สุด” นายประพิศ กล่าว

อนึ่ง กรมส่งเสริมการเกษตร รายงานสถานการณ์น้ำท่วมต่อผลกระทบด้านการเกษตรช่วงค่ำของวันที่ 30 ก.ย. มีจังหวัดที่ได้รับได้รับผลกระทบแล้ว จำนวน 3.93 ล้านไร่ ใน 36 จังหวัด ในจำนวนนี้เป็นนาข้าว 2.44 ล้าน ไร่ พืชไร่และพืชผัก จำนวน 1.48 ล้านไร่ ไม้ผล ไม้ยืนต้น และอื่นๆ จำนวน 1.84 หมื่นไร่ มีเกษตรกรได้รับผลกระทบ 2.98 แสนราย

จาก https://www.thansettakij.com  วันที่ 2 ตุลาคม 2564

เอกชนไทยเข็นจีดีพีปีหน้า 6-8% ดันส่งออกหนุนเข้าขบวน CPTPP

“กกร.” ประสานเสียงดันจีดีพี 65 ฝ่าโควิดโต 6% “ส.อ.ท.-หอการค้าฯ” ชี้ปัจจัยบวกเศรษฐกิจโลกฟื้น ไทยเข้า APEC หนุนเครื่องยนต์ส่งออก-เปิดประเทศดันท่องเที่ยว-ลงทุนกลับมาคึก “สนั่น” หารือ รมว.ต่างประเทศ เข้าขบวน CPTPP ต.ค.นี้ ชง “ทีมไทยแลนด์พลัส” หวังจีบทุนจีนย้ายฐาน “สุพันธุ์” เตือนระเบิดเวลาปีหน้า “พักหนี้” หมดอายุ 4 แสนบัญชี

นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กกร.มองปี 2565 เศรษฐกิจไทยน่าจะไปได้ 6-8% ถ้าย้อนปี 2562 เศรษฐกิจติดลบ 6% กว่า ปีนี้บวกประมาณ 0.5-1% ถ้าปี 2565 ขึ้นไป 6% ไม่ได้ถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ เพราะมันเท่ากับว่าเรากลับเข้าสู่ที่เดิมก่อนหน้านี้

ซึ่งการตั้งเป้าหมายระดับนี้ถือเป็นเรื่องต้องทำ เราต้องกล้าที่จะท้าทายตัวเอง ต้องทำให้ได้ และที่สำคัญ ปีหน้ามีปัจจัยบวกจากเศรษฐกิจประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกจะอยู่ในภาวะขาขึ้น หลายประเทศฉีดวัคซีน

ส่วนปัจจัยเสี่ยงที่เจอในปีนี้อย่างตู้คอนเทนเนอร์ขาดหรือแพงไม่น่าห่วง เพราะเป็นปัจจัยที่ทั่วโลกเจอเหมือนกัน แต่ที่เราจะห่วงมีเพียงว่าโควิดจะมีรอบที่ 5 หรือไม่ ถ้าเราไม่มีปัญหานี้ โรงงานต่าง ๆ ไม่ปิด เราไปต่อไปได้

ชง กนศ.เคาะ CPTPP ต.ค.นี้

แนวทางในการขับเคลื่อนจีพีดี สิ่งสำคัญ คือ ภาครัฐ มีโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจก็ต้องไปด้วยกันกับภาคเอกชน ซึ่งทางหอการค้าฯเตรียมแผนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เป็นไปตามเป้าหมาย

โดยเฉพาะการเข้าร่วมความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (CPTPP) จากการหารือร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (นายดอน ปรมัตถ์วินัย) ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ (กนศ.) ได้รับคำยืนยันว่า “กระทรวงพร้อมที่จะรับฟังภาคประชาสังคมเพื่อหาทางออกร่วมกันทุกประเด็น”

ทั้งนี้ เอกชนมองว่าการตัดสินใจเข้าร่วมการเจรจาต้องดำเนินการอย่างรวดเร็ว เพราะขณะนี้ จีน ไต้หวัน หรือแม้แต่สหราชอาณาจักรต่างเข้าร่วม CPTPP แล้ว ในส่วนของไทยควรต้องสรุปให้ได้อย่างช้าที่สุดภายในตุลาคมนี้

เพื่อยื่นจดหมายเข้าร่วมการเจรจา ซึ่งจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 4 ปี และเพื่อจะได้ไม่ต้องเจรจาต่อรองแลกเปลี่ยนกับประเทศสมาชิก CPTPP มากยิ่งขึ้น

ทีมไทยแลนด์พลัส “จีน-สหรัฐ”

“หอการค้าไทยประสานหารือเพื่อจัดตั้ง ‘ทีมไทยแลนด์พลัส’ ซึ่งเป็นโมเดลที่ผมในฐานะประธานสภาธุรกิจไทย-เวียดนาม ได้นำมาใช้ที่เวียดนามแล้วประสบความสำเร็จมาก มีเอกชนไทยสามารถขยายการค้า การลงทุนไปได้ถึง 600 บริษัท จึงเสนอให้นำโมเดลนี้มาใช้กับประเทศคู่ค้าสำคัญ นำร่องกับจีน และสหรัฐก่อน ซึ่งจะเริ่มในปี 2565”

 “ทีมไทยแลนด์พลัสจะเป็นการทำงานร่วมระหว่างรัฐบาล และเอกชนทั้งในประเทศไทย และในประเทศคู่ค้า โดยให้ทางเอกอัครราชทูต ซึ่งท่านมีกงสุลใหญ่ข้าราชการ บีโอไอ อยู่ที่ฮานอย โฮจิมินห์ และมีการบินไทย นำเอกชนในประเทศไทย สภาธุรกิจไทย-เวียดนามซึ่งผมเป็นประธาน

พร้อมทั้งสมาคมนักธุรกิจไทยในเวียดนามได้มีการประชุมทุก 2 เดือน เน้น issue ที่มีปัญหาอะไรบ้างที่อยากให้ภาครัฐบาลสนับสนุน ในการที่จะปลดล็อกปัญหาการค้า การลงทุน ซึ่งผมมองว่ามันได้ผลมาก ทำให้การค้ากับการลงทุนไปได้ดี”

นายสนั่นมองว่า “จีน” เป็นคู่ค้าที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เหตุใดจึงไม่ทำทีมไทยแลนด์พลัสแบบนี้ขึ้นมา จึงได้ประสานกับทางทูตไทยที่ปักกิ่งให้ได้เป็นหัวทีม และทางหอการค้าฯเป็น หัวหน้าทีมโคแชร์ ดูแลคนไทยไปลงทุนที่ประเทศจีนจำนวนมาก

ทั้ง ซี.พี. มิตรผล และที่นั่นมีกงสุลใหญ่มากจำนวน 9 แห่ง มีทูตพาณิชย์อีกหลายสำนักงาน เป้าหมายคือ การดึงจีนมาลงทุนในเมืองไทย

“ขณะเดียวกัน เราก็อยากทำทีมไทยแลนด์พลัสที่อเมริกาด้วย เพื่อกระจายไปยังตลาดหลักที่ทำการค้า การลงทุนกับไทย หัวหน้าทีม วอชิงตัน ดี.ซี. และทางคุณกลินท์ สารสิน ประธานกิตติมศักดิ์หอการค้าไทย และจะเอาหอการค้าสหรัฐในไทยมาร่วมทีม synergy นี้จะแข็งแกร่งมาก คงจะเริ่มต้นได้ในปี 2565”

ปรับมาตรการ BOI-EEC

“ขณะที่มาตรการส่งเสริมการลงทุนทั้งในส่วนของบีโอไอก็ต้องปรับเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ ส่วนอีอีซีก็ต้องทำให้เกิดให้ได้ ต้องดึงอุตสาหกรรมใหม่ ๆ เข้ามาให้ได้ ควบคู่กับการเจรจาความตกลงเอฟทีเอ ต้องทำ CPTPP ที่จะดึงดูดการลงทุนต้องใช้เวลาอีก 4 ปี ฉะนั้นต้องมีเอฟทีเออื่น เช่น ไทย-อียูด้วย”

ส.อ.ท.เห็นด้วยจีดีพีฟื้น

ขณะที่นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กกร.จะมีการประชุมเพื่อประเมินสถานการณ์เศรษฐกิจไทยในปี 2565 คาดการณ์โอกาสที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจ

หรือจีพีดีปี 2565 จะสามารถไปได้ 5-6% ซึ่งเท่ากับว่าไทยจะกลับไปยืนเท่ากับปีก่อนที่มีโควิด จากที่ตัวเลขจีดีพีปีก่อนหดตัว 6% และปีนี้ไม่โต หรืออาจจะเรียกว่าเศรษฐกิจไทยไม่โตมา 2 ปีแล้ว

ซึ่งในปีหน้ามีปัจจัยบวกสนับสนุนทั้งเรื่องการฟื้นตัวเศรษฐกิจโลกส่งผลดีต่อเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า ระดับราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น และไทยเองมีโอกาสจะเป็นเจ้าภาพการจัดประชุม APEC

โดยเครื่องยนต์หลักที่จะมาขับเคลื่อนเศรษฐกิจปีหน้า ยังเป็นภาคการส่งออกที่มีโอกาสขยายตัวมากขึ้น ส่งผลเชื่อมโยงให้เอกชนผู้ส่งออกลงทุนขยายกำลังการผลิตมากขึ้น และการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่จะย้ายฐานการผลิตมาไทย

และหากไทยสามารถขับเคลื่อนนโยบายสำคัญอย่างการเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เร่งทำเอฟทีเอ อย่างเอฟทีเอไทย-อียู และ CPTPP ให้เกิด จะเป็นแรงหนุนในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ขณะที่รายได้จากภาคการท่องเที่ยวน่าจะมีการเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวได้และค่อย ๆ ฟื้นตัวในไตรมาส 2/2565

แนะอุดปัจจัยเสี่ยง

อย่างไรก็ตาม สิ่งที่รัฐบาลต้องเฝ้าระวังอย่างมากในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ คือ เรายังมี “ระเบิดเวลา” จากการสิ้นสุดมาตรการพักชำระหนี้ในช่วงสิ้นปีนี้จะหมดลง มีผู้ที่ได้รับการพักชำระหนี้ 4 ล้านบัญชี ทางภาครัฐต้องมีนโยบายที่ชัดเจนว่าจะดำเนินการมาตรการนี้ต่อหรือไม่ และจะดำเนินการอย่างไร ซึ่งทาง “สถาบันการเงินเองก็เหนื่อยแล้ว”

ขณะที่มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจถือเป็นเรื่องสำคัญโดยเฉพาะการแก้ปัญหาเรื่องสภาพคล่องเอสเอ็มอี ซึ่งการที่ศูนย์บริหารสถานการณ์เศรษฐกิจ (ศบศ.) พิจารณาออกมาตรการออกมาช่วยจ่าย (โคเพย์) เพื่อพยุงการจ้างงานถือว่าเป็นเรื่องที่ดี

แต่อย่างไรก็ตาม “เรื่องประสิทธิภาพการใช้เม็ดเงิน” กระตุ้นเศรษฐกิจ 1 ล้านล้านบาท ในไตรมาส 4 ปีนี้ และต้นปี 2565 รวมถึงการใช้งบประมาณปี 2565 เป็นเรื่องที่ควรต้องให้ความสำคัญอย่างมาก โดยเฉพาะการใช้เม็ดเงินในด้านสาธารณสุข ซึ่งที่ผ่านมาเราพบว่ายังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร

“การตัดสินใจที่ล่าช้าในเรื่องการจัดหาวัคซีน และเอทีเค ทำให้ปัญหาการแพร่ระบาดยืดเยื้อทั้งที่ควรจะจบในเดือนเมษายน หรืออย่างช้าในเดือนกรกฎาคม นั่นจึงทำให้เราเสียโอกาสทางเศรษฐกิจ

และสร้างความเสียหายต่อเศรษฐกิจเดือนละ 1-2 แสนล้านบาท ส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยปีนี้เป็นอันดับท้าย ๆ ในอาเซียน ทั้งที่เศรษฐกิจประเทศขนาดใหญ่อย่างสหรัฐยังสามารถขยายตัวได้ถึง 6% ในปีนี้ จากที่ปกติขยายตัวเพียงแค่ 1-2% เท่านั้น”

หอการค้าคาดโตเฉลี่ย 5%

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยปี 2565 มีโอกาสที่จะขยายตัว 6-8%

กลับไปเท่ากับก่อนที่จะมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 แต่ต้องมาจากหลายปัจจัย โดยต้องสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาให้ได้ หากมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวภายในประเทศได้ 20 ล้านคน ครึ่งหนึ่งที่เคยเข้ามา ควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้ ส่งเสริมให้เกิดการท่องเที่ยว จะส่งผลให้เงินสะพัดเป็นจำนวนมาก

ภาครัฐดึงดูดการเข้ามาลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติในพื้นที่ EEC หรือแผนการดึงคนต่างชาติเข้ามาอยู่ในประเทศไทย หากในปีหน้าสามารถดึงคนต่างชาติเข้ามาได้ 50,000-100,000 คน

จะทำให้เกิดการใช้จ่ายได้ปีละ 1 ล้านบาท หากสามารถผลักดันได้ โอกาสที่เศรษฐกิจไทยในปี 2565 จีดีพีสามารถโตได้ 6-8% แต่หากมุมมองของหอการค้าโอกาสที่เป็นไปได้มากสุดที่จีดีพีไทยจะโตได้นั้นเฉลี่ยอยู่ที่ 5%

นอกจากนี้ ประคองค่าเงินบาทไม่ให้อ่อนค่า ผลักดันการส่งออก โดยให้การส่งออกทั้งปี 2565 ขยายตัว 7-8% การกระตุ้นวัคซีนโควิด-19 เข็มที่ 3 เติมมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงไตรมาส 1-2 ของปี

โดยอัดฉีดเม็ดเงินตั้งแต่เทศกาลปีใหม่จนถึงตรุษจีน การใช้จ่ายผ่าน “คนละครึ่ง” การนำมาตรการช้อปดีมีคืนกลับมาใช้ จะทำให้มีเงินสะพัดได้ 1 แสนล้านบาท และภาครัฐอัดฉีดเม็ดเงินเข้าระบบเศรษฐกิจ 3-5 แสนล้านบาท โดยการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ที่ก่อให้เกิดการจ้างงาน จะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างดี

จาก https://www.prachachat.net วันที่ 2 ตุลาคม 2564

เกษตรฯผนึก9หน่วยงาน เพิ่มขีดความสามารถสู้การค้าเสรี

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ภาคการเกษตรบางภาคของไทย เกษตรกรเผชิญปัญหาหลายประการทั้งการขาดแคลนปัจจัยพื้นฐานในการประกอบอาชีพ ขาดความรู้และเทคโนโลยีในการผลิต การเข้าไม่ถึงแหล่งเงินทุน การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงปัญหาการค้าระหว่างประเทศ จากการเจรจาการเปิดการค้าเสรี ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบทวิภาคี หรือพหุภาคี ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ ตระหนักถึงปัญหาที่เกษตรกรประสบอยู่ จึงเร่งแก้ปัญหาในหลายมิติ อาทิ สนับสนุนการผลิตสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออกการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิต การยกระดับมาตรฐานและคุณภาพสินค้าเกษตร ขยายโอกาสและเพิ่มช่องทางการตลาด เพื่อยกระดับรายได้ให้เกษตรกรมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และที่สำคัญการพัฒนาภาคเกษตรจะขับเคลื่อนให้สำเร็จได้ต้องมาจากความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อสร้างความเข้มแข็งแก่ภาคการเกษตรของไทยให้สามารถแข่งขันในตลาดโลก

อย่างไรก็ดี เป็นที่น่ายินดีที่หน่วยงานต่างๆ แสดงเจตนารมณ์ที่จะพัฒนาการเกษตร โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ตลอดจนความรู้ทางวิชาการระหว่างกัน เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันภาคเกษตรทั้งด้านการผลิต การแปรรูป และการตลาด รวมถึงการวางแผนและพัฒนาโครงการเพื่อปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร ซึ่งจะทำให้เกิดการพัฒนาภาคเกษตรที่มีประสิทธิภาพ

สำหรับกองทุน FTA เป็นกองทุนหมุนเวียนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือสนับสนุนเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า ให้มีขีดความสามารถในการแข่งขัน เมื่อมีการลงนามความร่วมมือกัน ก็เป็นการสร้างความร่วมมือพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้เกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้าในทุกๆ กรอบการค้าเสรี ทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี

ทั้งนี้ การลงนามข้อตกลงแบ่งเป็น 2 ชุดความร่วมมือ ชุดที่ 1 ความร่วมมือทางด้านนโยบายและข้อมูล มี 8 หน่วยงานคือ สศก.โดยกองทุน FTA ลงนามร่วมกับ กรมปศุสัตว์ กรมส่งเสริมสหกรณ์ องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยสภาเกษตรกรแห่งชาติ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย และชุดที่ 2 ความร่วมมือด้านการปฏิบัติงานกับหน่วยงานต้นแบบที่ประสบความสำเร็จ มี 3 หน่วยงาน คือ สศก.โดยกองทุน FTA ลงนามร่วมกับสหกรณ์โคเนื้อกำแพงแสน จำกัด และบริษัท พรีเมี่ยมบีฟ จำกัด โดยข้อตกลงทั้ง 2 ฉบับ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือและจะสิ้นสุดในวันที่ 30 กันยายน 2565

จาก  https://www.naewna.com วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564

คิกออฟ‘พัฒนาเกษตรสู่อุตสาหกรรม’

นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังเปิดตัวโครงการพัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม ว่าได้ร่วมกับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ยกระดับการบริหารจัดการสินค้าเกษตร และสร้างความเชื่อมโยงของเครือข่ายการผลิต การตลาด และโลจิสติกส์สินค้าเกษตร ระหว่างเกษตรกรกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ภายใต้นโยบาย “ตลาดนำการผลิต” ขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเกษตรแม่นยำสู่ธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม ระยะที่ 1 สู่ระยะที่ 2มีพื้นที่เป้าหมาย 2 ล้านไร่ ในปี 2566ครอบคลุมกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีสินค้าเกษตรเป็นวัตถุดิบ

ทั้งนี้ สำหรับการดำเนินโครงการฯระยะที่ 1 มีสินค้าเกษตรเป้าหมาย5 ชนิด ได้แก่ ยางพารา ปาล์มน้ำมัน อ้อยโรงงาน ข้าวโพดหวาน และมะเขือเทศพื้นที่รวม 298,084 ไร่ เกษตรกร 25,286 ราย ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย 32 จังหวัด และมีโรงงานอุตสาหกรรมรับซื้อผลผลิตรวม 7 บริษัท

ด้านสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร(สศก.) ได้ชี้แจงทำความเข้าใจ และสร้างการรับรู้ในการขับเคลื่อนโครงการฯ ระยะที่ 1 ให้หน่วยงานระดับจังหวัดที่เป็นจังหวัดเป้าหมายแล้ว ซึ่งขณะนี้หน่วยงานในจังหวัดเป้าหมายรับนโยบายและเร่งขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่ เชิญชวนเกษตรกรตั้งกลุ่มเกษตรกรแปลงใหญ่ เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อให้ทันก่อนฤดูการเพาะปลูก

อย่างไรก็ดี ในส่วนของโครงการฯ ระยะที่ 2 มีการประชุมกำหนดพื้นที่และสินค้าเป้าหมายเบื้องต้น 10 ชนิด ในพื้นที่1,762,684.14 ไร่ เกษตรกร 134,310 รายครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย 42 จังหวัด และมีโรงงานอุตสาหกรรมรับซื้อผลผลิตรวม16 บริษัท และการเปิดตัวโครงการฯ ครั้งนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในความร่วมมือระหว่างกระทรวงเกษตรฯ กับสภาอุตสาหกรรมฯ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ 2 ล้านไร่ ในปี 2566

 จาก  https://www.naewna.com วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564

“พาณิชย์” เตือนภาคเอกชน ปมลดคาร์บอน ”กีดกันการค้า”

“อรมน”ชี้ แนวโน้มเวทีการค้าระหว่างประเทศ นำปมสิ่งแวดล้อมมาเป็นเงื่อนไขทำการค้าระหว่างแประเทศ แนะเอกชนเร่งปรับตัวให้สอดคล้องทิศทางการค้าโลก

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ กล่าวในการสัมมนา GO GREEN เมกะเทรนด์เพื่อโลกสีเขียว ที่น.ส.พ.กรุงเทพธุรกิจ จัดขึ้น ในหัวข้อ GEEN MISSION ปฏิบัติการไทย สู่สังคมโลว์คาร์บอน ลดโลกร้อน ว่า ปัจจุบันทุกเวทีการค้าระหว่างประเทศไม่ว่าจะเป็นพหุภาคี ทวิภาคี ต่างให้กับสำคัญกับข้อบทด้านสิ่งแวดล้อม  ไม่ว่าจะเป็นองค์การการค้าโลกหรือดับบลิวทีโอที่ให้มีการยกเลิกมาตรการกีดกันทางการค้าโดยใช้ประเด็นเรื่องสิ่งแวดล้อม โดยให้มีการยกเว้นให้สมาชิกจำกัดการนำเข้าเพื่อสิ่งแวดล้อมได้แต่ต้องสมเหตุสมผล มีการตั้งคณะกรรมการว่าด้วยการค้าและสิ่งแวดล้อม ที่เป็นเวทีหารือหลักเรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อม

ในเวทีเอเปคก็มีการจัดทำบัญชีรายการสินค้าสิ่งแวดล้อม เพื่อลดภาษีนำเข้าให้เหลือไม่เกิน 5 % ในสินค้า54 รายการ การจัดทำแนวทางส่งเสริมและอำนวยความสะดวกแก่บริการสิ่งแวดล้อม โดยสมาชิกต้องลดภาษี ซึ่งถือเป็นความร่วมมือของประเทศสมาชิกที่ต้องการทำเรื่องสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้เวทีสหประชาชาติเองก็มีอนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่มีหลักการถึงผลกระทบต่อกาค้าระหว่างประเทศ

ด้านเวทีข้อตกลงการค้าเสรีหรือเอฟทีเอในปัจจุบันก็มีข้อบทเรื่องสิ่งแวดล้อมและข้อบทเรื่องการค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืน เช่น เอฟทีเอสหภาพยุโรปหรือียูที่ทำกับประเทศต่างๆก็มักจะมีข้อบทที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประเทศที่ทำเอฟทีเอให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ซึ่งประเทศไทยมีเอฟทีเอ 13 ฉบับที่ได้ทำไปแล้วยังไม่มีข้อบทเรื่องสิ่งแวดล้อมแต่ปัจจุบันหากจะทำเอฟทีเอใหม่ก็จะมีเรื่องสิ่งแวดล้อมมาเกี่ยวข้อง ส่วนอาเซียนเองก็มีAEC Blueprint 2025 กำหนดให้เรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และรับรองกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับAEC โดยมอบให้ฝ่ายเลขาธิการอาเซียนไปศึกษากลยุทธ์ในการทำให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีความเป็นกลายทางคาร์บอน รวมทั้งการทำเอฟทีเอกับหลายประเทศ ทางประเทศคู่เจรจาของอาเซียนเสนอให้มีการอัพเกรดเอฟทีเอให้มีข้อบทเรื่อง ของสิ่แวดล้อมด้วยเช่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ เป็นต้น

นางอรมน กล่าวว่า สำหรับการนำสิ่งแวดล้อมมาเป็นเงื่อนไขหรือข้อกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศมีแนวโน้มมากขึ้น โดยเฉพาะประเทศที่พัฒนาแล้ว ทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น มาตรการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย หรือ IUU คดีกุ้ง-เต่า ที่ สหรัฐห้ามนำเข้ากุ้งจากไทย คดีแร่ร์เอิร์ธ ของจีนที่ห้ามส่งออก ซึ่งแร่ดังกล่าวเป็นวัตถุดิบในการผลิตเครื่องใช้อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องโทรศัพท์ การต่อต้านการละเมิดสวัสดิภาพสัตว์ในการผลิตสินค้า เช่นในการกรณีลิงเก็บมะพร้าว การกำหนดให้แสดงข้อมูลการตรวจสอบย้อนกลับสินค้า เป็นต้น ดังนั้นผู้ประกอบการไทยควรต้องปรับตัวให้สอดคล้องกับทิศทางของโลก ทั้งการปรับตัวให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มีธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถืงประเด็นด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม การจัดทำระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้า ใช้โมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน เศรษฐกิจสีเขียว

จาก  https://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2564