http://www.sugarzone.in.th


ข่าวเศรษฐกิจเกี่ยวกับอ้อยและน้ำตาล(เดือนกันยายน 2559)

 ก.อุตฯ เตรียมชง 3 แผนฯ ขับเคลื่อนอุตสาหกรรม เข้า ครม. ภายในเดือนตุลาคมนี้  

         อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรมได้เร่งปรับปรุงเนื้อหาของ 3 แผนงานใหญ่ ที่จะเป็นการวางรากฐานการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในอนาคต เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาภายในเดือนตุลาคม 2559

        1) ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) เสนอโดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)

        2) แผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ปี พ.ศ.2560-2564 โดยสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.)

        3) แผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) โดยกรมโรงงานอุตสาหกรรมจะเสนอเรื่องให้ สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เห็นชอบก่อนนำเรื่องดังกล่าวเสนอให้ ครม.พิจารณาต่อไป

       “แผนที่จะออกมาทั้งสามนั้น สอดคล้องกับแนวคิดการขับเคลื่อนประเทศไทยภายใต้โมเดลประเทศไทย 4.0 ที่มีเป้าหมายในการผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลาง สู่ประเทศรายได้สูงภายใน 20 ปีจากนี้ และตอบโจทย์หลัก 3 ด้าน คือ 1.การเติบโตของผลิตภาพ (Productivity growth) 2.การลดความเหลื่อมล้ำ (inclusive growth) และ3.การเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green growth) นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรมจะปรับบทบาทและโครงสร้างกระทรวงตลอดจนสถาบันฯ ภายใต้การกำกับดูแล เพื่อให้สามารถบริการแก่ SMEs กลุ่มต่างๆที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ในระดับจังหวัดทั้งรายเดิมและรายใหม่ และกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรของกระทรวงฯ ให้สามารถทำงานเชิงรุก เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการและนักลงทุน รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือไอที เพื่อให้บริการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น” อรรชกา กล่าว

          ด้าน สมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า “แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย ระยะ 20 ปี มีความคืบหน้ามากที่สุดคาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรีได้ก่อน ซึ่งแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวเกิดขึ้น เพื่อยกระดับและสร้างผู้ประกอบการพันธุ์ใหม่ให้เป็นกลไกหลักทางเศรษฐกิจ ปรับระบบนิเวศอุตสาหกรรมเพื่อเอื้อต่อการสร้างนวัตกรรม และการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมไทยให้เป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจโลก โดยมีเป้าหมายในการเพิ่ม GDP ภาคอุตสาหกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 4.5 ต่อปี และผลิตภาพรวม (Total Factor Productivity : TFP) เติบโตไม่น้อยกว่าร้อยละ 2.0 ต่อปี”

       ส่วนแผนแม่บท Productivity จะเป็นการสร้างความเข้มแข็งและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้อุตสาหกรรมไทย สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวสินค้าและบริการของไทย การพัฒนาดังกล่าวจะมุ่งเน้นไปที่กลุ่ม SMEs เป็นการพัฒนาทั้งบุคลากร กระบวนการผลิต และการประยุกต์ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินธุรกิจเพื่อมุ่งไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 ในที่สุด

       ขณะที่แผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ เกิดขึ้นหลังจากการที่คณะรัฐมนตรีได้ประกาศให้ 15 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง สมุทรปราการ สมุทรสาคร ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี ปทุมธานี นครปฐม ชลบุรี พระนครศรีอยุธยา ขอนแก่น นครราชสีมา สระบุรี ราชบุรี สุราษฎร์ธานี และสงขลา เป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ได้มีการขับเคลื่อนต่อโดยให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งหมดในพื้นที่ มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนปฏิบัติการด้วย ทั้งนี้แผนดังกล่าวจะมุ่งเน้นที่การทำความสะอาดเมือง (Cleaning) การฟื้นฟูเมือง (Recovering) และการพัฒนาเมือง (Developing) โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการสร้างความสุขให้กับประชาชน และการอยู่ร่วมกันได้ระหว่างชุมชนและโรงงานอุตสาหกรรม

 จาก http://manager.co.th   วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2559

สมคิด'สั่งรับมืออุตสาหกรรม4.0 เล็งปรับชื่อ'กระทรวง'ให้เหมาะสม

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมทบทวนภารกิจและการปรับโครงสร้างกระทรวงอุ ตสาหกรรม ว่า เพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมไทยไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 เพื่อให้ประเทศไทยก้าวพ้นการติดกับดักประเทศรายได้ปานกลางไปสู่ ประเทศที่พัฒนาแล้วที่มีรายได้ ระดับสูง ได้มอบนโยบายให้กระทรวงอุตสาหกรรมปรับภารกิจจากเดิมที่รองรับเพียง 10 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของรัฐบาล (เอสเคิร์ฟ) ซึ่งยังไม่ครอบคลุมอุตสาหกรรมทั้งหมด โดยจะเพิ่มอุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์และอุตสาหกรรมบริการไปสู่การสร้าง 5 คลัสเตอร์อุตสาหกรรมที่ครอบคลุมไปภาคอุตสาหกรรมในทุกๆ ด้าน ประกอบด้วย คลัสเตอร์เกษตร คลัสเตอร์สุขภาพ คลัสเตอร์ไฮเทค คลัสเตอร์ดิจิทัล และคลัสเตอร์อุตสาหกรรมเชิงสร้างสรรค์

ขณะเดียวกันได้สั่งการให้กระทรวงอุตสาหกรรมมุ่งเน้นงานสร้างกลุ่มผู้ประกอบการใหม่ (สตาร์ทอัพ) โดยเฉพาะเอสเอ็มอี และผลักดันไปสู่การเป็นระดับกลางและขยายตัวได้ (สเกลลิ่ง อัพ) และพัฒนาไปสู่การเป็นผู้ประกอบการขนาดใหญ่ พร้อมเชื่อมโยงการทำงานกับทุกภาคส่วน เช่น สถาบันการศึกษา สถาบันการเงิน สถาบันเครือข่ายที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ที่จะทำหน้าที่ส่งเสริมการลงทุน เป็นต้น

นอกจากนี้ กระทรวงควรสนับสนุนภาคเอกชนดำเนินโครงการพัฒนาอุตสาหกรรมร่วมกับภาครัฐ เช่น นิคมอุตสาหกรรมเฉพาะอุตสาหกรรมอาหาร สอดคล้องกับโครงการโครงการไทยแลนด์ ฟู้ด วัลเลย์ ที่บริษัทเอกชนร่วมพัฒนา มีสถาบันอาหารดูแลงานด้านอุตสาหกรรมอาการ และมีการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ควรเข้ามาช่วยสนับสนุนในการหาพื้นที่

นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุ ตสาหกรรม กล่าวว่า กระทรวงอุตสาหกรรมจะปรับเรื่อง การปรับโครงสร้างกระทรวงอุ ตสาหกรรมและสถาบันเครือข่ายเพิ่ มเติมตามนโยบายที่นายสมคิดสั่ งให้สร้าง 5 คสัสเตอร์อุตสาหกรรมเพื่อปู ทางไปสู่ อินดัสตรี 4.0 คาดว่า จะแล้วเสร็จภายใน 2 เดือนนับจากนี้ไป ซึ่งทางกระทรวงอุตสาหกรรมจะจั ดทำให้เสร็จภายใน 2  เดือน และนำไปหารือกับสำนั กงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรื อน(ก.พ.ร.) เพื่อขอคำแนะนำที่เหมาะสมต่อไป

ทั้งนี้ ภายใต้โครงสร้างกระทรวงอุตสาหกรรมใหม่ ยังมีการสร้างหน่วยงานที่ชื่อว่า ศูนย์ส่งเสริมงานวิจัยสู่การผลิตเชิงพานิชย์ (Industrial Tranfromation Center) ที่จะคอยช่วยเหลือผู้ประกอบการ ตั้งแต่เริ่มต้นธุรกิจไปจนสู่ การผลิตเชิงพาณิชย์ โดยจะส่งต่อความช่วยเหลือไปตามภารกิจของสถาบันเครือข่ายทั้งหมดของกระทรวงอุตสาหกรรม ในเบื้องต้น มอบหมายให้ นายเกรียงศักดิ์ วงศ์พร้อมรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันพลาสติกดูแลไปก่อน

นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า การปรับโครงสร้างกระทรวงอุตสาหกรรมใหม่ นอกจากปรับเปลี่ยนภาระหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ และสถาบันเครือข่ายให้สอดรับกับนโยบายสร้าง 5 คลัสเตอร์ของรองนายกรัฐมนตรี อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงชื่อเพื่อความเหมาะสม เช่น กระทรวงอุตสาหกรรม อาจเปลี่ยนชื่อเป็น "กระทรวงอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.) อาจเปลี่ยนเป็น สำนักงานคณะกรรมการอุตสาหกรรมชีวภาพ โดยดูแลอุตสาหกรรมปลายน้ำด้วย เช่น ไอโอพลาสติก มีการตั้งสำนักงานคณะกรรมการพั ฒนาอุตสาหกรรมแห่งชาติ ดูแลการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเพื่อให้การพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เป็นต้น

จาก http://www.naewna.com  วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2559

กสอ.รุกยุทธศาสตร์ออกแบบอุตฯ ไทย 4 มิติ แข่งเวทีโลก  

นายพสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

         กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รุกยุทธศาสตร์ยกระดับการออกแบบของอุตสาหกรรมไทย 4 มิติ การออกแบบเชิงสร้างสรรค์ การออกแบบพัฒนาวัสดุ การออกแบบด้านการบริการ และการออกแบบเชิงวิศวกรรม หวังผลักดันและยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่เวทีโลก

               นายพสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า งานดีไซน์เป็นสิ่งที่มีความจำเป็นและมีความสำคัญในการประกอบธุรกิจและอุตสาหกรรมอย่างยิ่ง เนื่องจากสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มและความแปลกใหม่ในโลกธุรกิจและตลาดการค้าที่กำลังมีการแข่งขันกันอย่างสูง โดยในการแข่งขันกันอย่างเข้มข้นนี้ กสอ.ได้เล็งเห็นว่าผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องตามระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนให้ทันด้วยการออกแบบและนวัตกรรมซึ่งจะเป็นหัวหอกสำคัญในการนำพาเศรษฐกิจของประเทศสู่การสร้างมูลค่าและพัฒนาไปสู่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ดังนั้น กสอ.จึงได้กำหนดทิศทางการออกแบบเพื่อให้มีความครอบคลุมสอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลง โดยมุ่งส่งเสริมให้ผู้ประกอบการบูรณาการการออกแบบใน 4 มิติ ได้แก

               1. การออกแบบเชิงสร้างสรรค์ สามารถทำให้มูลค่าทางธุรกิจและการตลาดเพิ่มสูงขึ้น ผู้ประกอบการยุคใหม่จำเป็นที่จะต้องหาจุดแข็งนำมาสร้างให้เกิดความโดดเด่น ทั้งในด้านรูปลักษณ์ ความสวยงาม ประโยชน์ใช้สอย หรือการตอบสนองความรู้สึก พร้อมทั้งมุ่งสร้างความพึงพอใจและตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายในด้านความต้องการพื้นฐานและความต้องการเฉพาะ โดย กสอ.ได้ส่งเสริมผลักดันและพัฒนาในด้านการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมแฟชั่นไทย โครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด โครงการส่งเสริมพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าด้วยบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น

               2. การออกแบบพัฒนาวัสดุ เป็นกระบวนการออกแบบวัสดุที่เหมาะสมทางด้านสมรรถนะมาพัฒนา เพื่อให้ได้รูปลักษณ์และลักษณะของสินค้าต้นแบบที่ต้องการ พร้อมทั้งก่อให้เกิดความคุ้มค่าในทางเศรษฐกิจ สามารถผลักดันให้เกิดผลลัพธ์ใหม่ ทั้งในเรื่องของความสามารถในการใช้สอย สามารถสร้างมูลค่าและคุณค่าได้มากกว่าที่ตลาดต้องการ ตัวอย่างการออกแบบประเภทนี้ ได้แก่ การออกแบบเพื่อให้เบาขึ้นผ่านการใช้วัสดุพิเศษ การออกแบบให้กระจกมือถือโค้งมนใช้งานได้เหมือนปกติ ฯลฯ

               3. การออกแบบเพื่อการบริการ แม้ว่าการออกแบบผลิตภัณฑ์จะมีส่วนสำคัญมากในการสร้างทางเลือก ให้ผู้บริโภค แต่ปัจจุบันความต้องการที่แท้จริงไม่ได้มีเพียงแค่ประโยชน์ใช้สอยหรือรูปลักษณ์ของสินค้าเท่านั้น ความพึงพอใจจากการให้บริการถือเป็นอีกกลยุทธ์ที่มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดอนาคตของธุรกิจ โดยการบริการสามารถก่อคุณประโยชน์มากมายต่อผู้บริโภคเมื่อประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมหลายๆ ประเภท อาทิ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ อุตสาหกรรมการสื่อสารและโทรคมนาคม เป็นต้น ซึ่งโมเดลการออกแบบประเภทนี้สามารถตอบสนองความต้องการอันแท้จริงของผู้ใช้ และสร้างมูลค่าใหม่ให้เกิดขึ้นในเชิงเศรษฐกิจได้อย่างมหาศาล โดยมีข้อมูลหลายงานวิจัยพบว่าผู้บริโภคยินดีจ่ายเงินเพิ่มมากกว่าหลายเท่าเพียงให้ได้บริการที่ดีกว่

               4. การออกแบบเชิงวิศวกรรม เป็นการออกแบบเพื่อให้เกิดการใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ และเป็นกระบวนการที่ต้องประยุกต์ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ และแนวปฏิบัติด้านวิศวกรรมศาสตร์ให้เข้ากับความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์ เช่น การออกแบบเครื่องจักร การออกแบบอุปกรณ์เครื่องมือที่เป็นปัจจัยจากการผลิต

               สำหรับการออกแบบเชิงวิศวกรรมถือเป็นสิ่งที่สำคัญมากสิ่งหนึ่ง เพราะสามารถนำไปใช้ได้ตั้งแต่อุตสาหกรรม SMEs จนถึงอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ รวมถึงกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย หรือ S-Curve และ New S-Curve เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมประเภทชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์ ฯลฯ ซึ่งหากประเทศไทยมีความสามารถในการออกแบบกลุ่มดังกล่าวได้ก็จะสามารถทำให้อุตสาหกรรมเป้าหมาย S-Curve และ New S-Curve ดังกล่าว สามารถเติบโตได้อย่างมีศักยภาพ ลดการนำเข้าเครื่องจักรอันเป็นปัจจัยการผลิตหลักของอุตสาหกรรม

               อย่างไรก็ตาม การออกแบบในมิตินี้ กสอ.ได้ผลักดันผ่านโครงการต่างๆ เช่น โครงการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อยกระดับความสามารถการแข่งขัน (MDICP) โครงการพัฒนากิจการด้วยดิจิทัล เป็นต้น รวมถึงได้จัดตั้งศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Thailand Industrial Design Center) เพื่อเป็นศูนย์รวมงานนวัตกรรมด้านการออกแบบเพื่อเป็นการเปลี่ยนโมเดลธุรกิจจากเพิ่มมูลค่าไปสู่การสร้างมูลค่า เพื่อสร้างความเติบโตและเชื่อมโยงสู่ตลาดโลกได้อย่างแท้จริง 

จาก http://manager.co.th  วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2559

โคคา-โคลา ต่อยอดสร้างคุณค่าร่วม “ผู้หญิง” นำร่องเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อย 2 จังหวัด

          เดินหน้าโครงการธุรกิจยั่งยืนกับโคคา-โคลา ระยะที่ 2 ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม กลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง และสถาบันคีนันแห่งเอเซีย นำร่อง 1 ปี ด้วยงบลงทุนโครงการ 4 ล้านบาท มุ่งพัฒนาศักยภาพเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อย 600 คน ให้เป็นห่วงโซ่คุณค่าของกลุ่มธุรกิจโคคา-โคลาผ่านการจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน

               ‘โครงการธุรกิจยั่งยืนกับโคคา-โคลา เพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อย’ เป็นการต่อยอดของกลุ่มธุรกิจโคคา-โคลา ในประเทศไทย ซึ่งประกอบด้วย บริษัท โคคา-โคลา (ประเทศไทย) จำกัด บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด และบริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) โดยร่วมกับกลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง และสถาบันคีนันแห่งเอเซีย ภายใต้การสนับสนุนโดยสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม

       หลังจากเปิดตัวโครงการฯ เพิ่มศักยภาพทางเศรษฐกิจเจ้าของร้านค้าปลีกหญิงเมื่อปีพ.ศ. 2557 ล่าสุด โคคา-โคลา ลงทุน 4 ล้านบาทในโครงการนำร่องเพิ่มศักยภาพเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อย 600 คน ในอำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ และอำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี ด้วยการฝึกอบรมหลักสูตรการบริหารจัดการการเงินและทำการเกษตรอย่างยั่งยืน ภายใน 1 ปี (สิงหาคม พ.ศ. 2559 - กรกฎาคม พ.ศ. 2560) โดยมีเป้าหมายเพื่อขยายผลการดำเนินโครงการฯ นำร่องไปสู่เกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อยและกลุ่มพันธมิตรผู้ผลิตวัตถุดิบน้ำตาลรายอื่นในระยะต่อไป เพื่อพัฒนาความเป็นอยู่ที่ดีของเกษตรกรชาวไร่อ้อยในรูปแบบการสร้างคุณค่าร่วมกัน และการเติบโตอย่างยั่งยืน

        พรวุฒิ สารสิน ประธานกรรมการ บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด กล่าวว่า “ในฐานะผู้นำตลาดเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ในประเทศไทย กลุ่มธุรกิจ โคคา-โคลาฯ ให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าร่วมกันระหว่างภาคเอกชน ภาครัฐ และภาคประชาสังคม กล่าวคือการสร้างธุรกิจให้เติบโตไปพร้อมกับการพัฒนาสังคมอย่างยั่งยืน จากการเปิดตัวโครงการในระยะแรกในปี 2557 ซึ่งมีกลุ่มเป้าหมายคือเจ้าของร้านค้าปลีกหญิง จนถึงขณะนี้ มีผู้เข้าร่วมโครงการฯ แล้วกว่า 10,000 คนทั่วประเทศ”

               “ในปีนี้ กลุ่มธุรกิจโคคา-โคลาฯ ได้ขยายโครงการฯ ไปสู่กลุ่มเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อย โดยเราได้ร่วมกับพันธมิตรในการออกแบบหลักสูตรการฝึกอบรมที่มุ่งเน้นในสองหัวข้อหลัก คือ การบริหารการเงินส่วนบุคคล และการทำการเกษตรอย่างยั่งยืน อันเกิดจากการประเมินความต้องการของเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อย ซึ่งพบว่า กลุ่มเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อยเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลครอบครัวและมีอำนาจตัดสินใจทางการเงิน แต่ยังขาดความรู้และทักษะในสองเรื่องนี้

       ทั้งนี้ โครงการฯ ในระยะที่สองนี้ จะไม่เพียงสร้างประโยชน์ให้กับเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อยในการประกอบอาชีพและดูแลครอบครัวเท่านั้น แต่ยังสร้างคุณค่าร่วมให้ทุกฝ่ายที่ทำงานในโครงการฯ คือ ส่งเสริมพันธกิจพัฒนาศักยภาพเกษตรกรชาวไร่อ้อยของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ส่งเสริมการผลิตน้ำตาลและจัดหาวัตถุดิบที่ได้คุณภาพของน้ำตาลไทยรุ่งเรือง ส่งเสริมแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมด้วยองค์ความรู้ของสถาบันคีนันแห่งเอเซีย และ สอดคล้องกับพันธกิจการจัดหาวัตถุดิบอย่างยั่งยืน (Sustainable Sourcing) ของโคคา-โคลา”

               ดร.ณัฐพล อัษฎาธร กรรมการบริหาร กลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง กล่าวว่า “นับเป็นโครงการที่ตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกรชาวไร่อ้อยอย่างแท้จริง และสอดคล้องกับพันธกิจของกลุ่มบริษัทน้ำตาลไทยรุ่งเรือง ที่เล็งเห็นความสำคัญของการยกระดับคุณภาพชีวิตชาวไร่อ้อย และได้ดำเนินโครงการส่งเสริมเกษตรยั่งยืน โดยมุ่งเน้นการเตรียมและบำรุงดินเพื่อเพิ่มอินทรีย์และปรับปรุงคุณภาพดิน การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อเพิ่มน้ำต้นทุน ไปจนกระทั่งการส่งเสริมการลดการเผาอ้อยในฤดูเก็บเกี่ยว โดยในปีนี้ บริษัทฯ ได้คัดเลือกเกษตรกรสตรีกลุ่มเป้าหมายรวม 600 คน ที่มีศักยภาพในการต่อยอดองค์ความรู้ให้เครือข่ายเกษตรกร เข้าร่วมโครงการฯ และมีเจ้าหน้าที่บริษัทฯ 30 คน เข้ารับการอบรมเพื่อทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงกับกลุ่มเกษตรกรให้คำแนะนำและติดตามผลตลอดโครงการฯ โดยคาดว่าหลังจากนี้ 1 ปี เกษตรกรสตรีที่เข้าร่วมโครงการจะมีผลการทดสอบระดับความรู้เรื่องการทำเกษตรอย่างยั่งยืน เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20”

               ขณะที่ ปิยะบุตร ชลวิจารณ์ ประธานอำนวยการและรองประธานกรรมการ สถาบันคีนันแห่งเอเซีย กล่าวว่า “การฝึกอบรมเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อยในโครงการฯ นี้ มีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของชาวไร่อ้อยให้ดีขึ้นผ่านการเสริมสร้างทักษะการทำบัญชีและการบริหารจัดการเงินในครัวเรือน โดยสถาบันคีนันแห่งเอเซียเป็นองค์กรซึ่งทำงานด้านนี้มายาวนานกว่า 15 ปี โดยเริ่มจากการสำรวจความต้องการของเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อยกลุ่มเป้าหมาย และนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาหลักสูตรการบริหารจัดการการเงิน ที่ตอบโจทย์ความต้องการเหล่านั้น ซึ่งเบื้องต้นได้เริ่มทำการอบรมไปแล้วกว่า 200 คน และตลอดการดำเนินโครงการฯ จะมีการติดตามและประเมินผลเกษตรกรที่เข้ารับการอบรมอย่างต่อเนื่อง เพื่อปรับปรุงโครงการให้สอดคล้องกับความต้องการหรือปัจจัยต่างๆ ที่อาจเปลี่ยนแปลงไป ทั้งนี้ คาดว่า ภายหลังเข้ารับการอบรม เกษตรกรสตรีจะมีผลการทดสอบระดับความรู้เรื่องการบริหารจัดการการเงิน เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 20 และมีระดับความตระหนักถึงความสำคัญในการจัดการการเงินเพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 30”

               ด้าน สมศักดิ์ จันทรรวงทอง เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า “อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายมีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาประเทศและเศรษฐกิจไทย เพราะสร้างงานให้เกษตรกรกว่า 600,000 คน สร้างรายได้ให้ประเทศจากการบริโภคในประเทศและส่งออกถึงปีละ 150,000 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 1.6 % ของจีดีพี โดยไทยส่งออกน้ำตาลเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากบราซิล และอันดับ 1 ในเอเชีย และยังเอื้อต่ออุตสาหกรรมอื่นๆ อาทิ อาหาร พลังงาน ผลิตภัณฑ์ชีวเคมี สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายมีพันธกิจขับเคลื่อนการพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายสู่ความเป็นเลิศ และจะร่วมผลักดันและประชาสัมพันธ์การส่งเสริมศักยภาพกลุ่มเกษตรกรสตรีชาวไร่อ้อย ในโครงการธุรกิจยั่งยืนกับโคคา-โคลาฯ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน ช่วยให้เกษตรกรปรับตัวต่อสภาวะแวดล้อมโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

         ‘โครงการธุรกิจยั่งยืนกับโคคา-โคลา’

       เป็นส่วนหนึ่งของโครงการระดับโลก ‘5by20’ ที่มุ่งพัฒนาศักยภาพของผู้หญิงในห่วงโซ่คุณค่าของโคคา-โคลา ได้แก่ ร้านค้าปลีก ผู้ผลิตวัตถุดิบ ซัพพลายเออร์ผู้แทนจำหน่าย คนเก็บบรรจุภัณฑ์ เพื่อนำไป รีไซเคิล และช่างฝีมือที่ใช้วัสดุจากผลิตภัณฑ์ จำนวน 5 ล้านคน ในกว่า 100 ประเทศทั่วโลก ภายในปีพ.ศ. 2563

        ซึ่งมีที่มาจากรายงานขององค์การทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติ หรือ ยูนิเซฟ ที่ระบุว่า ผู้หญิงเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม คือ การใช้จ่ายทั่วโลกที่เกิดจากผู้หญิงมีมูลค่าสูงกว่า 20 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และแรงงานของผู้หญิงคิดเป็นร้อยละ 66 ของแรงงานทั่วโลก แต่รายได้ของผู้หญิงกลับมีเพียงร้อยละ 10 ของรายได้รวมของทั้งโลก ในขณะที่ผู้หญิงนำรายได้กว่าร้อยละ 90 ไปใช้จ่ายในครัวเรือน ดังนั้น การเพิ่มศักยภาพของผู้หญิงให้สามารถเพิ่มรายได้จึงถือเป็นการพัฒนาความเป็นอยู่ของสังคมในภาพรวม ปัจจุบัน ในระดับโลก โคคา-โคลาได้พัฒนาศักยภาพผู้หญิงไปแล้วกว่า 1.2 ล้านคน

 จาก http://manager.co.th  วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2559

'สมคิด'ประชุมทบทวนโครงสร้างก.อุตฯ

รองนายกรัฐมนตรี "สมคิด  จาตุศรีพิทักษ์" ประชุมทบทวนโครงสร้างกระทรวงอุตสาหกรรมวันนี้

วาระกระทรวงอุตสาหกรรม ในวันนี้ 30 กันยายน  นายสมคิด  จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานการประชุมทบทวนภารกิจและการปรับโครงสร้างกระทรวงอุตสาหกรรม โดยมีผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงอุตสาหกรรม กรม และสถาบันเครือข่าย เข้าร่วมประชุม ณ  ห้องประชุมชั้น 2 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เวลา 09.30 น.

ขณะที่ในเวลา 11.00 น. สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม  กำหนดจัดการแถลงข่าว “ดัชนีอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2559” เพื่อสรุปภาพรวมภาวะอุตสาหกรรม และรายงานดัชนีอุตสาหกรรมเดือนสิงหาคม 2559 โดยมีนายวีรศักดิ์ ศุภประเสริฐ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม เป็นประธานแถลงข่าว  ณ ห้อง 202 ชั้น 2 สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม

จาก http://www.innnews.co.th วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2559

กรมชลฯเตรียมพร้อมประชุมน้ำโลก ดันไทยศูนย์กลางเทคโนฯอาเซียน!

โดย - โต๊ะข่าวเกษตร

          กรมชลประทานเดินหน้าเตรียมความพร้อมจัดประชุมชลประทานโลก ครั้งที่ 2 มุ่งผลักดันไทยก้าวสู่ประเทศศูนย์กลางการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการชลประทานและการระบายน้ำในภูมิภาคอาเซียน

         ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ในฐานะเลขาธิการคณะกรรมการด้านการชลประทานและการระบายน้ำแห่งประเทศไทย หรือ THAICID เปิดเผยว่า กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมชลประทานโลก ครั้งที่ 2 และการประชุมมนตรีฝ่ายบริหารระหว่างประเทศ ครั้งที่ 67 ระหว่างวันที่ 6-12 พฤศจิกายน2559 ณ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งจะมีนักวิชาการด้านชลประทานกว่า 1,000 คน จาก60 ประเทศทั่วโลกร่วมประชุม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นตลอดจนหาแนวทางร่วมกันในการพัฒนางานด้านชลประทานและการระบายน้ำ หัวข้อ “บริหารจัดการน้ำภายใต้สภาวะการ เปลี่ยนแปลงของโลก : บทบาทชลประทานต่อความยั่งยืนด้านอาหาร”

   ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์

         โดยการจัดการประชุมดังกล่าว เป้าหมายเพื่อแสวงหาแนวทางการบริหารจัดการเพื่อสร้างความสมดุล ระหว่างน้ำ อาหาร พลังงานและระบบนิเวศน์ ทั้งยังร่วมกำหนดวิธีการรับมือที่เหมาะสมกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของ ภูมิอากาศที่มีผลต่อปริมาณน้ำ ทั้งอุทกภัยและภัยแล้ง และการใช้ระบบชลประทานและการระบายน้ำเพื่อลด ความยากจนและความหิวโหย นอกจากนี้ กรมชลประทานยังหวังว่าการประชุมชลประทานโลก ครั้งที่ 2 และ การประชุมมนตรีฝ่ายบริหารระหว่างประเทศ ครั้งที่ 67 จะมีส่วนช่วยผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการ พัฒนาเทคโนโลยีด้านการชลประทานและการระบายน้ำในภูมิภาคอาเซียนอีกด้วย

        “ความคืบหน้าในการเตรียมพร้อม ทางกรมชลฯได้จัดฝึกอบรมเจ้าหน้าอาคันตุกะสัมพันธ์ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติงาน และยังได้รับความร่วมมือจากสถานบันการศึกษา 3 แห่ง ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ในการคัดเลือกนักศึกษามาช่วยปฏิบัติงาน ประกอบด้วยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา” ดร.สมเกียรติ กล่าวทิ้งท้าย

จาก http://www.komchadluek.net วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2559

สั่งกรมชลฯเร่งพร่องน้ำออกสู่ทะเล

“กรมชลฯ” เร่งพร่องน้ำทางเหนือลงทะเลรับมือสถานการณ์ฝนยังหนักถึงกลางเดือน ต.ค. เตือนประชาชนเฝ้าระวัง

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้กำชับให้กรมชลประทานเร่งพร่องน้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์และเขื่อนเจ้าพระยา-ชัยนาทอย่างต่อเนื่อง โดยขณะนี้มีน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาประมาณ 1,700 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.)/วินาที แม้น้ำในระดับนี้จะไม่เกิดน้ำท่วมเหมือนปี 2554 แน่นอน แต่ในการพร่องน้ำต้องใช้ความระมัดระวังไม่ให้พื้นที่ได้รับผลกระทบขยายวงกว้างขึ้น ส่วนพื้นที่การเกษตรหากมีน้ำท่วมขังให้มีการตั้งเครื่องสูบน้ำเร่งระบายออกช่วยเหลือเกษตรกร

นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า สถานการณ์น้ำลุ่มเจ้าพระยาล่าสุด มีปริมาณน้ำจากแม่น้ำปิงไหลมาจาก จ.กำแพงเพชร เริ่มลดน้อยลง แต่ยังมีน้ำจากแม่น้ำน่านที่ยังมีปริมาณมากมาสมทบ ทำให้น้ำมารวมที่จ.นครสวรรค์ ยังอยู่คงที่ระดับ 1,790 ลบ.ม./วินาที เมื่อรวมน้ำ จ.อุทัยธานี ทำให้น้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยามีอัตราการไหล 2,342 ลบ.ม./วินาที หรือเท่ากับ 202 ล้าน ลบ.ม./วัน

ทั้งนี้ กรมได้จัดการระบายออกสองฝั่งเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกเข้าคลองชัยนาท-อยุธยา 127 ลบ.ม./วินาที ฝั่งตะวันออกเข้าคลองชัยนาท-ป่าสัก 217 ลบ.ม./วินาที และปล่อยระบายน้ำลงท้ายเขื่อนเจ้าพระยา 2,000 ลบ.ม./วินาที ทำให้ระดับน้ำท่วมสูงขึ้น 7 จังหวัดท้ายเขื่อน แต่สูงสุดไม่เกิน 50 เซนติเมตร (ซม.)

“ต้องเร่งพร่องน้ำลงทะเลโดยเร็ว เพื่อให้น้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยาลดระดับลงเฉลี่ยชั่วโมงละ 1 ซม. จะมีช่องว่างรับน้ำเหนือได้อีกไว้รอรับปริมาณฝนตกชุกช่วงปลายสัปดาห์นี้ต่อเนื่องถึงกลางเดือน ต.ค.” นายสุเทพ กล่าว

นายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ด้านเขื่อนป่าสักฯ ที่คาดว่าน้ำอาจเต็มอ่างได้ ในวันที่ 8 ต.ค. 2559 นั้น จำเป็นต้องเพิ่มการระบายน้ำโดยกรมได้ทำหนังสือแจ้งไปยัง จ.อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี และสุพรรณบุรี รวมถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เพื่อแจ้งเตือนให้ประชาชนเฝ้าระวัง

จาก http://www.posttoday.com  วันที่ 30 กันยายน พ.ศ.2559

ฟื้นฟูดินในพื้นที่ ส.ป.ก.ทั่วประเทศ

                    ตามที่มาตรการเร่งด่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่กำหนดให้เร่งดำเนินการในขณะนี้คงไม่พ้นปัญหาการบุกรุกพื้นที่การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามคำสั่งหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ กรณีที่ดินที่ไม่เข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดิน เนื้อที่ 500 ไร่ขึ้นไป

       ตามที่มาตรการเร่งด่วนของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ที่กำหนดให้เร่งดำเนินการในขณะนี้คงไม่พ้นปัญหาการบุกรุกพื้นที่การเกษตรในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ตามคำสั่งหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ กรณีที่ดินที่ไม่เข้าสู่กระบวนการปฏิรูปที่ดิน เนื้อที่ 500 ไร่ขึ้นไป

      ซึ่งที่ผ่านมา พลเอกฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ลงพื้นที่ และสั่งให้หน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้องเร่งบูรณาการการทำ งาน โดยจะใช้แผนที่เกษตร (Agri-Map) พิจารณาความเหมาะสมของพื้นที่ และใช้รูปแบบสหกรณ์เข้ามาดูแล แบ่งพื้นที่เป็น 4 ส่วน คือ พื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่ทำกิน พื้นที่ส่วนรวม อาทิ สำนักงานสหกรณ์ แปลงรวม ตลาดเกษตรกร และพื้นที่ป่า

       ด้านนายสุรเดช เตียวตระกูล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน (พด.) กล่าวว่า ขณะนี้ในส่วนของกรมพัฒนาที่ดินได้ส่งเจ้าหน้าที่ และหมอดินลงสำรวจดินในพื้นที่ ส.ป.ก. แล้วว่าเหมาะสมกับการปลูกพืชชนิดไหนบ้าง แล้วทำอย่าง ไรในการปรับปรุงบำรุงดินให้เพาะปลูกได้ พร้อมได้มีกำหนดการจัดแปลงโดยใช้แผนที่เกษตรเข้ามาร่วมด้วยเพื่อความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ในแต่ละพื้นที่

       ทั้งนี้ ได้สั่งการให้สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัดทั่วประเทศ ร่วมมือกับหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน ในชุมชนทุกแห่ง ปรับวิธีการทำงานในพื้นที่ โดยใช้แผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก ส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ ส.ป.ก. ให้มีความรู้ความเข้าใจสามารถทำการเก็บตัวอย่างดินเพื่อการตรวจวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ

      และเห็นความสำคัญของการตรวจวิเคราะห์ดินก่อนการเพาะปลูกพืช เพื่อให้ทราบว่าในดินมีธาตุอาหารสำคัญอะไรบ้าง ที่จำเป็นสำหรับการเพาะปลูก และจะต้องทำการปรับปรุงบำรุงดินด้วยวิธีใดจึงจะมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืช

      ทั้งนี้เพื่อช่วยเหลือให้เกษตรกรรายย่อยได้ลดต้นทุนการผลิต โดยกรมพัฒนาที่ดินพร้อมให้การสนับสนุนเกษตรกรด้านปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านองค์ความรู้การพัฒนาที่ดิน เมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดสำหรับปลูกเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์สารเร่ง พด. ชนิดต่าง ๆ วัสดุปูนขาวเพื่อการปรับปรุงสภาพดิน รวมทั้งการแจกจ่ายกล้าหญ้าแฝกสำหรับปลูก เพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ เป็นต้น

      สำหรับเกษตรกรที่ได้รับการจัดสรรที่ดินทำกินในพื้นที่ ส.ป.ก. ทั่วประเทศ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดต่างๆ เกี่ยวกับวิธีเก็บตัวอย่างดินเพื่อการตรวจวิเคราะห์ดิน หรือขอรับการบริการตรวจวิเคราะห์ดินได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด หมอดินอาสาประจำหมู่บ้านในชุมชน ได้ในวันและเวลาราชการ.

จาก http://www.dailynews.co.th  วันที่ 29 กันยายน 2559

ก.อุตฯชงแผนยุทธศาสตร์4.0ให้สมคิดพรุ่งนี้

กระทรวงอุตสาหกรรม เตรียมเสนอแผนยุทธศาสตร์พัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 ต่อ รองนายกฯ "สมคิด" ในวันพรุ่งนี้

นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปตรวจเยี่ยมพร้อมติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของกระทรวงอุตสาหกรรมนั้น ทางกระทรวงฯ โดย ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม จะมีการนำเสนอแผนยุทธศาสตร์พัฒนาอุตสาหกรรม 4.0 สอดคล้องยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี การปรับโครงสร้างภายในกระทรวงอุตสาหกรรม ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ใหม่ การนำเสนอโครงการต่าง ๆ ที่จะดำเนินการในปีหน้า และการปรับโครงสร้างในแต่ละอุตสาหกรรมว่าจะมีการดำเนินการอะไร รวมถึงมาตรการที่จะช่วยเหลือผู้ประกอบการให้แก่รองนายกรัฐมนตรี พิจารณา

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นายสมคิด เดินทางไปตรวจเยี่ยมพร้อมติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานของกระทรวงและหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง อาทิ กระทรวงการคลัง กระทรวงคมนาคม รวมถึงกระทรวงอุตสาหกรรม ในวันพรุ่งนี้ เพื่อเร่งรัดการทำงานให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้

จาก http://www.innnews.co.th  วันที่ 29 กันยายน 2559

แห่เสนอขายไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมเกินเป้าหมาย 4 เท่า

 “เรกูเลเตอร์” เผยมีผู้เสนอขายไฟฟ้าจากขยะอุตสาหกรรมรวมทั้งสิ้น 26 ราย และมีกำลังผลิตไฟฟ้าที่เสนอขายรวมกว่า 200 เมกะวัตต์ เกินกว่าเป้าหมาย

นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) ระบุว่า การยื่นข้อเสนอขายไฟฟ้าจากโครงการการรับซื้อไฟฟ้าพิเศษจากขยะอุตสาหกรรมในรูปแบบ Feed-in Tariff (FiT) สำหรับการประกาศรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนปี 2558 – 2562 ที่เริ่มเปิดรับมาตั้งแต่วันที่ 22 – 28 ก.ย. ที่ผ่านมา มียอดผู้สนใจเข้าร่วมโครงการจำนวน 26 ราย คิดเป็นปริมาณกำลังการผลิตติดตั้งกว่า 200 เมกะวัตต์ สูงกว่าเป้าหมายการรับซื้อจำนวน 50 เมกะวัตต์ ถึง 4 เท่า

หลังปิดรับยื่นข้อเสนอแล้ว จะเข้าสู่กระบวนการพิจารณาคุณสมบัติและประเมินคำร้องและข้อเสนอขอขายไฟฟ้า โดยคณะอนุกรรมการที่มาจากผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ กกพ. แต่งตั้งขึ้นมา ซึ่งจะตรวจสอบคุณสมบัติและเงื่อนไขการเข้าร่วมโครงการให้เป็นไปตามระเบียบ ประกาศ และหลักเกณฑ์การรับซื้อไฟฟ้า ตามที่ กกพ. ได้กำหนดไว้ ได้แก่ ความพร้อมด้านที่ดิน ความพร้อมด้านเชื้อเพลิง ความพร้อมด้านเทคนิค ความพร้อมด้านแหล่งเงินลงทุน ตลอดจนด้านสิ่งแวดล้อมที่ผู้ยื่นต้องมีหนังสือรับรองว่ามีการใช้เทคโนโลยีที่สามารถควบคุมมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการนำขยะอุตสาหกรรมมากำจัดในเตาเผาและเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าได้อย่างมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามกฎหมาย

กกพ. จะพิจารณาให้ความเห็นชอบและประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือกภายในวันที่ 28 ต.ค. นี้ ทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. (www.erc.or.th) และจะทำการคืนหลักค้ำประกันให้ผู้ที่ไม่ผ่านการคัดเลือกต่อไป ทั้งนี้ ภายหลังจากการประกาศผลการคัดเลือกแล้ว ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกห้ามเปลี่ยนแปลงจุดรับซื้อไฟฟ้าหรือจุดเชื่อมโยงไฟฟ้า (Feeder) ประเภทเชื้อเพลิง และขนาดกำลังการผลิตติดตั้ง และภายใน 120 วัน นับจากวันที่ กกพ. ออกประกาศรายชื่อผู้ที่ได้รับการคัดเลือก ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกต้องดำเนินกระบวนการยื่นขออนุญาตต่างๆ เพื่อที่จะสามารถลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (PPA) กับการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายได้ภายในวันที่ 25 ก.ย. 2560 และสามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (SCOD) ได้ภายในวันที่ 31 ธ.ค. 2562

จาก http://www.innnews.co.th  วันที่ 29 กันยายน 2559

ค่าเงินจ่อแข็งค่าขึ้น หลังโอเปกประกาศคงยอดผลิตน้ำมัน ดัน นลท.ซื้อสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่ม

ผู้สื่อข่าวรายงานค่าเงินบาท ประจำวันที่ 29 ก.ย.ค่าเงินบาท เปิดตลาดที่ 34.57บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เท่าราคาปิดตลาดวานนี้ โดยค่าเงินบาทซื้อขายล่าสุดที่ 34.59 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

โดยนักวิเคราะห์ค่าเงินบาท ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ค่าเงินบาท มีแนวโน้มแข็งค่าได้ต่อ หลังคาดว่านักลงทุนบางส่วนจะกลับมาซื้อสินทรัพย์เสี่ยงในกลุ่มน้ำมัน หลังผู้ผลิตและส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ได้ประกาศว่าจะคงกำลงการผลิตน้ำมันในปีนี้ ซึ่งอาจทำให้ราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้นได้จากปัจจุบัน

ส่วนปัจจัยที่ต้องติดตาม คือ การปรับตัวเลขจีดีพีสหรัฐของไตรมาส 2 ในรอบที่สองของปีนี้ โดยจะประกาศคืนนี้ ขณะที่จะมีการประกาศตัวเลขเศรษฐกิจสำคัญๆ เช่น ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน ส.ค.จากฝั่งประเทศยูโรโซนที่จะทยอยประกาศคืนนี้เป็นต้นไป

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 29 กันยายน 2559

กรมชลฯ พร้อมรับมือฝนรอบใหม่ 28 ก.ย.-2 ต.ค.นี้ เตือน 7 จังหวัดเฝ้าระวัง ยังเสี่ยงเจอท่วม

นายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า สถานการณ์น้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา วันที่ 29 กันยายน มีปริมาณน้ำไหลผ่านที่สถานี C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 1,790 ลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ต่อวินาที และแม่น้ำสะแกกรัง 167 ลบ.ม.ต่อวินาที กรมชลฯจึงยังคงเดินหน้าระบายน้ำตอนบนลงสู่อ่าวไทยให้เร็วที่สุด เพื่อรองรับปริมาณฝนตกหนักในพื้นที่ภาคกลาง ตามที่กรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (สสนก.) คาดการณ์ว่า ช่วงวันที่ 28 กันยายน -2 ตุลาคม ความกดอากาศต่ำจะเคลื่อนตัวขึ้นไปบริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบน ทำให้เกิดฝนตกในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ผ่านมา ล่าสุดปริมาณน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ที่ 1,998 ลบ.ม.ต่อวินาที ซึ่งจะทำให้ระดับน้ำด้านท้ายเจ้าพระยา มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากเดิมอีกประมาณ 50-70 เซนติเมตร (ซม.)

นายทองเปลวกล่าวว่า สำหรับสถานการณ์น้ำในเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ตามที่กรมชลประทานได้ประเมินว่ามีโอกาสที่เขื่อนจะมีปริมาณน้ำเต็มอ่างฯ ในวันที่ 8 ตุลาคมนี้ จึงจำเป็นต้องเพิ่มการระบายน้ำออกจากเขื่อน โดยได้ปรับเพิ่มการระบายจากเดิมวันละ 20.75 ล้าน ลบ.ม. เป็นวันละ 40 ล้านลบ.ม.แล้ว ส่วนปริมาณน้ำจะไหลมารวมกับปริมาณน้ำที่มาจากคลองชัยนาท-ป่าสัก บริเวณเหนือเขื่อนพระรามหก กรมชลฯจะควบคุมปริมาณน้ำให้ไหลผ่านเขื่อนพระรามหกไม่เกิน 600 ลบ.ม.ต่อวินาที ปัจจุบันมีน้ำไหลผ่านเขื่อนพระรามหก 433 ลบ.ม.ต่อวินาที ส่งผลให้ระดับน้ำที่มาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณ อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 1-1.50 เมตร

นายทองเปลวกล่าวว่า ส่วนในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนล่าง กรมชลฯได้ใช้ประตูระบายน้ำคลองลัดโพธิ์ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ เป็นเครื่องมือในการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยา ช่วยย่นระยะทางการไหลของน้ำจาก 18 กม. เหลือเพียง 600 เมตร ทำให้สามารถระบายน้ำลงสู่อ่าวไทยได้เร็วมากขึ้นในช่วงที่น้ำลง อย่างไรก็ตาม กรมชลฯได้ทำหนังสือแจ้งไปยัง จ.อุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี และสุพรรณบุรี รวมถึงกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย แจ้งเตือนประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำป่าสัก นอกคันกั้นน้ำให้เตรียมพร้อมรับสถานการณ์น้ำเอ่อล้นตลิ่งและเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิด

จาก http://www.matichon.co.th   วันที่ 29 กันยายน 2559

ไทย-จีน เดินเครื่องความร่วมมือเป็นหุ้นส่วนเศรษฐกิจ ครอบคลุม 14 สาขา

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า จากการหารือกับนางเกา เยี่ยน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์จีน ในการประชุมคณะอนุกรรมาธิการว่าด้วยการค้าและการลงทุนไทย-จีน ครั้งที่ 1 ที่กรุงเทพฯ ได้หารือถึงความคืบหน้าในการร่วมมือเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจระหว่างกัน หลังจากที่ไทยและจีนได้ตกลงต่ออายุแผนพัฒนาเศรษฐกิจระยะ 5 ปีฉบับเดิม ที่ครอบคลุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ 14 สาขา จะหมดอายุในปี 2559 และตกลงต่ออายุอีก 5 ปี ตั้งแต่ปี 2560-2564

สำหรับความร่วมมือใน 14 สาขา ได้แก่ 1.การอำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุน 2.นวัตกรรมและเทคโนโลยีสีเขียว 3.การให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ 4.ทรัพย์สินทางปัญญา 5.เอสเอ็มอี 6.เกษตร 7.อุตสาหกรรม ได้แก่ สิ่งทอ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องจักรและอิเล็กทรอนิกส์ ยานยนต์ เคมีภัณฑ์ 8.สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน 9.เหมืองแร่ 10.พลังงาน 11.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 12.การท่องเที่ยว 13.โลจิสติกส์ 14.การเงิน

นายสุวิทย์กล่าวว่า เบื้องต้น จะทำแผนความร่วมมือในระยะแรก 1-2 ปี โดยเน้นความร่วมมือในสาขานวัตกรรมทั้งสองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน คือ โครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และพลังงาน ส่วนสาขาอื่นๆ จะเพิ่มความร่วมมือในปีต่อๆ ไป โดยฝ่ายจีนได้แสดงความสนใจในการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ หรือ Special Economic Zone (SEZ) และเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor หรือ EEC) ของไทยด้วย

” การร่วมมือกับจีน จะเน้นด้านนวัตกรรมที่สอดรับกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของจีน และยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 โดยจากนี้ไปจะมีการหารือในรายละเอียดโครงการและกิจกรรมความร่วมมือ ทั้งในระดับรัฐบาลต่อรัฐบาล และระหว่างภาคธุรกิจไทย-จีน เพื่อผลักดันให้เกิดแผนปฏิบัติการร่วมกัน และนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าการลงทุนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ครั้งที่ 5 ระดับรองนายกรัฐมนตรีไทย-จีน ในเดือนธันวาคมนี้ต่อไป ” นายสุวิทย์กล่าว

จาก http://www.matichon.co.th   วันที่ 29 กันยายน 2559

คอลัมน์ ชีพจรพลังงาน/อุตสาหกรรม: ยุทธศาสตร์อุตสาหกรรม 20 ปี 

          การชูนโยบายขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 ภายใต้รัฐบาลของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการนำพาประเทศให้ก้าวสู่การเป็นประเทศหนึ่ง ที่ก้าวพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง และเปลี่ยนจากเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยประสิทธิภาพเป็นเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม ก็ดูเหมือนว่าจะเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาบ้าง เมื่อกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งมี ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาห กรรม กำลังจะเสนอยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมระยะ 20 ปี(2560-2579) ให้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เห็นชอบภายในเร็วๆ นี้  ก่อนนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาภายในเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งถือเป็นแผนที่นำทางในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศเพื่อ ขับเคลื่อนไปสู่ประเทศไทย 4.0 ให้ได้

          ทั้งนี้ เท่าที่เห็นแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว จะประกอบไปด้วย 3 ยุทธศาสตร์หลัก ได้แก่ยุทธศาสตร์ที่ 1 การปฏิรูปภาคอุตสาหกรรมไทยสู่อุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญา ที่มีเป้าหมายในการเพิ่มจำนวนผู้ประกอบการและมูลค่าของการลงทุนในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของอุตสาหกรรมเป้าหมาย ลดของเสียจากภาคอุตสาห กรรม และเพิ่มอัตราการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลในการดำเนินการของผู้ประกอบการจะประกอบไปด้วย 3 กลยุทธ์ ที่สำคัญได้แก่ 1.1 การสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงคลัสเตอร์อุตสาหกรรม ซึ่งจะมีการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่อุตสาหกรรม ตั้งแต่การพัฒนาวัตถุดิบ การผลิต และจำหน่าย สร้างการเชื่อมโยงผู้ประกอบการรายใหญ่กับรายย่อยในคลัสเตอร์ เป็นต้น

          1.2 การเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานรากและสังคมผู้ประกอบการ ที่จะเข้าไปส่งเสริมผู้ประกอบการกลุ่มธุรกิจเกิดใหม่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายโดยเฉพาะ และให้เกิดการยกระดับด้วยนวัตกรรม เป็นต้น และ 1.3 การยกระดับผลิตภาพ มาตรฐาน และนวัตกรรม เช่น การพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อปรับปรุงคุณภาพของสินค้า เป็นต้น

          ยุทธศาสตร์ที่ 2 เป็นการปฏิรูปนิเวศอุตสาหกรรมรองรับอุตสาหกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยปัญญา มีเป้าหมายในการเพิ่มการลงทุนในด้านการวิจัยและพัฒนา เพิ่มจำนวนนักวิจัยในอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพิ่มมูลค่าผลผลิตของอุตสาหกรรมกลุ่มเป้าหมาย เพิ่มจำนวนแรงงานคุณภาพเพื่อรองรับอุตสาหกรรมเป้าหมาย และปฏิรูปองค์กรภาครัฐเพื่อรองรับการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งประกอบไปด้วย 3 กลยุทธ์ที่สำคัญได้แก่ 2.1 การพัฒนาระบบนิเวศรองรับการเติบโตของอุตสาหกรรม ให้เอื้อต่อการประกอบกิจกรรมด้านอุตสาหกรรม เช่น การจัดตั้งเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบคลัสเตอร์ พัฒนาเขตนิคมอุตสาหกรรม และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิตอลมารองรับ

          2.2 การปฏิรูปองค์กรภาครัฐให้ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะการปรับโครงสร้างของกระทรวงอุตสาหกรรมให้มีความยืดหยุ่น ที่จะปรับเปลี่ยนจากหน่วยงานกำกับดูแล มาเป็นหน่วยงานที่ช่วยอำนวยความสะดวกมากขึ้น การปรับปรุงการจัดตั้งและยุบหน่วยงานรัฐให้ง่ายขึ้น และการปรับเปลี่ยนโครงสร้างหน่วยงานตามบทบาทหน้าที่ และ 2.3 การพัฒนาทักษะ องค์ความรู้รองรับการเปลี่ยนแปลง เช่น การยกระดับทักษะและองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยี การสร้างผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีและนวัตกร การเชื่อมโยงนวัตกรรมและองค์ความรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิตอล เป็นต้น

          ยุทธศาสตร์ที่ 3 เป็นการเชื่อมโยงอุตสาหกรรมไทยกับเศรษฐกิจโลก โดยมีเป้าหมายในการเพิ่มการลงทุนในผู้ประกอบการไทยและนักลงทุนต่างชาติในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย และเพิ่มการขยายตัวของอุตสาหกรรมกลุ่มเป้าหมาย ประกอบไปด้วย 3 กลยุทธ์ ได้แก่ 3.1 การเชื่อมโยงการผลิตและการตลาดด้วยดิจิตอล 3.2 ส่งเสริมการลงทุนขยายฐานการผลิตในและนอกประเทศ และ 3.3 การส่งเสริมอุตสาหกรรมไทยเชื่อมโยงห่วงโซ่การผลิตของโลก

          ทั้งหมดนี้ถือเป็นยุทธศาสตร์ภาพกว้างๆ ในการขับเคลื่อนอุตสาห กรรม 4.0 ที่มีเป้าหมายว่า จะเพิ่ม GDP ภาคอุตสาหกรรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 4.5 ต่อปี และผลิตภาพรวม เติบโตไม่น้อยกว่าร้อยละ 2.0 ต่อปี

จาก http://www.thansettakij.com    วันที่ 29 กันยายน 2559

โลกทึ่ง! กรอ.ยกเครื่องคำขอ ขอใบอนุญาตขนกากอุตสาหกรรมแค่ 3 นาที

          นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยหลังเป็นประธานร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ โครงการนำร่องการอนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช่แล้วออกนอกบริเวณโรงงานโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ว่า ช่วยอำนวยความสะดวกรวดเร็ว และเพิ่มช่องทางให้กับผู้ประกอบกิจการโรงงานกำจัดกากอุตสาหกรรม สามารถยื่นคำขออนุญาตผ่านระบบอินเตอร์เน็ต วิเคราะห์ข้อมูลในคำขออนุญาตและแจ้งผลให้ทราบทันที โดยจะดำเนินการเพียงไม่เกิน 3 นาที จากปกติที่มีระยะเวลาในการพิจารณาอนุญาต 10-30 วัน

          การดำเนินการครั้งนี้เป็นไปตามแผนขับเคลื่อนประเทศตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 โดย กรอ.จะคัดเลือกโรงงานที่มีประสิทธิภาพ และกลุ่มผู้ประกอบการชั้นดีเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ตั้งเป้าหมายจะจัดการกากอุตสากรรมเข้าสู่ระบบตามแผนยุทธศาสตร์การจัดการกากอุตสาหกรรม 2558-2562 ที่จะดำเนินการเข้าสู่ระบบ 90% จากขยะที่มีในระบบ 3 ล้านตัน ต่อปีภายในปี 2562 ในปีงบประมาณ 2559 มั่นใจว่าจัดการกากอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบเป็นไปตามเป้าที่ 1.5 ล้านตันเพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2558 ซึ่งอยู่ที่ 1.2 ล้านตัน

          นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) กล่าวว่า สถิติปี 2557-2558 การพิจารณาการอนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน โดยเจ้าหน้าที่มีจำนวนคำขอ รวม 80,000 คำขอ มีรายการกากอุตสาหกรรมที่ต้องพิจารณา 500,000 รายการ ในบางช่วงเวลาทำให้คำขอของโรงงานใช้เวลาพิจารณานานมากกว่า 3 เดือน เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว กรอ.จึงได้จับมือกับ ส.อ.ท. จัดทำโครงการนำร่องการอนุญาตนำสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงานโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็ว สามารถลดเวลาเหลือเพียงไม่เกิน 3 นาที ซึ่งระบบนี้รองรับเฉพาะการยื่นขออนุญาตนำกากอุตสาหกรรมออกนอกบริเวณโรงงาน (สก.2) ที่ยื่นผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เท่านั้น.

จาก http://www.thairath.co.th  วันที่ 29 กันยายน 2559

พาณิชย์ไทย-จีน เดินหน้าต่ออายุแผนพัฒนาเศรษฐกิจระยะ 5 ปี

กระทรวงพาณิชย์ โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ จัดการประชุมคณะอนุกรรมาธิการว่าด้วยการค้าและการลงทุน ไทย-จีน ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 26 – 27 กันยายน 2559 ณ โรงแรม Royal Orchid Sheraton โดยมีรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ (นายสุวิทย์ เมษินทรีย์) เป็นประธานร่วมกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์จีน (นางเกา เยี่ยน) เพื่อเป็นการกระชับความสัมพันธ์ทางการค้าและการลงทุนระหว่างกันให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นการเตรียมการสำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (ระดับรองนายกรัฐมนตรี) ที่จีนจะเป็นเจ้าภาพในช่วงปลายปี 2559

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า การหารือเป็นไปด้วยบรรยากาศที่เป็นมิตร โดยเป็นการต่อยอดผลการหารือระหว่างรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) กับรองนายกรัฐมนตรีจีน (นายจาง เกาลี่) และ มนตรีแห่งรัฐ (นายหวัง หย่ง) เมื่อเดือนมิถุนายน 2559 ในการนี้ ไทยและจีนได้ตกลงที่จะต่ออายุแผนพัฒนาเศรษฐกิจระยะ 5 ปี ฉบับเดิม ที่จะหมดอายุในปี 2559 ออกไปอีก 5 ปี (พ.ศ. 2560-2564) ซึ่งมีสาระครอบคลุมความร่วมมือทางเศรษฐกิจ 14 สาขา[1] โดยจะจัดทำแผนปฏิบัติการเพื่อการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจเพื่อยกระดับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ โดยในระยะ 1 – 2 ปีแรก จะเน้นนวัตกรรมของความร่วมมือในสาขาที่สองฝ่ายมีความสนใจร่วมกัน และให้ความสำคัญในลำดับต้นๆ ได้แก่ 1) โครงสร้างพื้นฐาน 2) อุตสาหกรรม 3) เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 4) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ 5) พลังงาน และให้มีการหารือสาขาความร่วมมือด้านอื่นๆ ในปีถัดไป ซึ่งแนวทางการจัดทำหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจนี้ จะเน้นความร่วมมือด้านนวัตกรรมที่จะสอดรับกับทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจของจีน และยุทธศาสตร์ “ไทยแลนด์ 4.0” ของไทย ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายจะเร่งหารือรายละเอียดโครงการ และกิจกรรมความร่วมมือต่างๆ ทั้งความร่วมมือระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล และความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจไทย-จีน ภายใต้แผนปฏิบัติการดังกล่าวให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อให้สามารถนำเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ครั้งที่ 5 (ระดับรองนายกรัฐมนตรี) ในเดือนธันวาคม 2559 ต่อไป

การประชุมครั้งนี้ สองฝ่ายได้หารือเพื่อแก้ไขปัญหาอุปสรรคทางการค้าและการลงทุนระหว่างกัน โดยไทยขอให้จีนเร่งรัดการนำเข้าค้าสินค้าเกษตร อาทิ ข้าว และยางพารา ภายใต้ MOU ความร่วมมือการค้าสินค้าเกษตร รวมทั้งขอให้ทั้งสองฝ่ายเร่งประสานการดำเนินงาน เพื่อให้สามารถส่งออกรังนกไทยไปจีนได้โดยเร็ว นอกจากนี้ ยังมีการหารือเพื่อลดอุปสรรคของนักลงทุนไทยในจีน และอุปสรรคของนักลงทุนจีนในไทย ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและการลงทุนให้กันและกันต่อไป นอกจากนี้ ฝ่ายจีนได้แสดงความสนใจในการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ หรือ Special Economic Zone (SEZ) และ เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ Eastern Economic Corridor (EEC) ของไทยอีกด้วย

ปัจจุบันจีนเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทยโดยจีนเป็นตลาดส่งออกอันดับ 2 และเป็นแหล่งนำเข้าอันดับ 1 ในขณะที่ไทยเป็นคู่ค้าลำดับที่ 13 ของจีนโดยเป็นตลาดส่งออกลำดับที่ 12 และแหล่งนำเข้าลำดับที่ 10 ของจีน ในปี 2558 การค้าสองฝ่ายมีมูลค่ารวม 65 พันล้านเหรียญสหรัฐ สำหรับปี 2559 (ม.ค.-ก.ค.) มีมูลค่าการค้ารวมระหว่างไทยกับจีน 36 พันล้านเหรียญสหรัฐ สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย ได้แก่ เม็ดพลาสติก ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา เคมีภัณฑ์ เครื่องคอมพิวเตอร์อุปกรณ์และส่วนประกอบ เป็นต้น ในขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าประเภทเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน เคมีภัณฑ์ อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ และผลิตภัณฑ์เหล็ก เป็นต้น

จาก http://www.thansettakij.com   วันที่ 29 กันยายน 2559

คณะทำงานด้านการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ik

คณะทำงานด้านการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ ได้จัดประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 11/2559 ณ ห้องประชุมโลตัส ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ โดยมี พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หัวหน้าคณะทำงานภาครัฐ และนายอิสระ ว่องกุศลกิจ บมจ.น้ำตาล มิตรผล หัวหน้าคณะทำงานภาคเอกชน ร่วมเป็นประธานการประชุม ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย คณะทำงานร่วมจากภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม เพื่อติดตามผลการดำเนินงานที่มีความก้าวหน้ามาอย่างต่อเนื่อง ยกตัวอย่างพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จในการถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรมเพื่อลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิต เช่น

สหกรณ์ประมงคุ้งกระเบน อ.ท่าใหม่ จ.จันทบุรี ที่เป็นสหกรณ์ในโครงการประชารัฐเกษตรสมัยใหม่ ดำเนินการแบบบูรณาการระหว่างศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนและบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) (CPF) สภาพโดยทั่วไปของพื้นที่มีระบบชลประทานน้ำเค็มเพื่อการเลี้ยงกุ้ง และในพื้นที่ประสบปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม และโรค EMS โดยบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ได้สนับสนุนเทคโนโลยีการเลี้ยงโดยลดการใช้พันธุ์ และเพิ่มอัตราการรอดของกุ้งเป็นร้อยละ 85 พัฒนาการเลี้ยงกุ้งตามการส่งเสริมและพัฒนาการเลี้ยงด้วยแนวทาง 3 สะอาด ได้แก่ ลูกกุ้งสะอาด น้ำสะอาด และพื้นบ่อสะอาด ปรับปรุงบ่อตกตะกอนและดึงน้ำเข้าบ่อเพื่อเตรียมน้ำสู่บ่อเลี้ยง ปรับปรุงบ่อเลี้ยงกุ้งโดยการปู (Polyethylene: PE)

นอกจากนี้ การเลี้ยงได้มีการบำบัดเพื่อนำกลับมาใช้ในฟาร์มโดยไม่ปล่อยสู่ธรรมชาติ ซึ่งได้มีการศึกษารูปแบบการผลิตและการบำบัดน้ำในฟาร์มจากการประปา จึงทำให้การเลี้ยงกุ้งในรูปแบบนี้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ขณะนี้อยู่ระหว่างการปล่อยลูกกุ้งและลงบ่อ โดยสามารถลดต้นทุนการเลี้ยงได้ในช่วง 30 วันแรก (การอนุบาลลูกกุ้ง และเพิ่มรุ่นการเลี้ยงจาก 2 รุ่น เป็น 4 รุ่น) และคาดว่าจะสามารถเริ่มจับขายได้อีกประมาณ 3 เดือน

อย่างไรก็ตาม เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกร คณะทำงานฯ จึงได้มีความร่วมมือร่วมกันทั้งจากภาครัฐและเอกชนเพื่อส่งเสริมการปลูกพืชเสริมรายได้หลังจากการเพาะปลูก ตัวอย่างเช่น การส่งเสริมการปลูกถั่วเหลืองหลังนา ซึ่งได้รับความสนับสนุนจากภาคเอกชนในการจัดหาตลาดรับซื้อ และภาครัฐได้ดำเนินการวางแผนการผลิต การตลาด เจรจากับบริษัท/ผู้ประกอบการในการรับซื้อและราคาที่เหมาะสม รวมทั้งให้สหกรณ์เข้ามามีส่วนร่วมในการรับซื้อถั่วเหลืองจากสหกรณ์ด้วย

จากการประชุมในวันนี้ นอกจากจะได้รับทราบความก้าวหน้า ปัญหา อุปสรรคการดำเนินงานในพื้นที่แล้ว ในพื้นที่ก็จะได้สร้างการรับรู้มาตรการที่ภาครัฐให้การสนับสนุนที่ผ่านมติ ครม. เมื่อวันที่ 30 ส.ค.59 ในโครงการสนับสนุนสินเชื่อเพื่อพัฒนาระบบส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ เพื่อให้ภาคเอกชนรับรู้และเข้าใจกระบวนการให้การสนับสนุนของภาครัฐอีกด้วย

ทั้งนี้ คณะทำงานการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ (D6) เป็นองค์ประกอบใน 12 คณะทำงาน ภายใต้คณะกรรมการภาครัฐและเอกชนเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ (Public-Private Steering Committee) ตามนโยบายของรัฐบาล เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายสูงสุดในการยกระดับรายได้ของประเทศให้เป็นประเทศที่มีรายได้สูง ควบคู่ไปกับการเจริญเติบโตอย่างมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน และมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาของประเทศ โดยคณะทำงาน D6 มีเป้าหมายเพื่อ “ลดการเหลื่อมล้ำ พัฒนาเกษตรกรให้เป็น Smart Farmer และ SME เกษตร และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันภาคเกษตร”

แผนการดำเนินงานทั้งแบบระยะ 6 เดือน (Quick win) โดยดำเนินการรวมกลุ่มการผลิตการเกษตรให้เป็นระบบแปลงใหญ่แบบเกษตรสมัยใหม่ พัฒนาสหกรณ์การเกษตรประชารัฐ แผนงานระยะปานกลาง – ยาว (1 ปีขึ้นไป) ดำเนินการการจัดตั้งศูนย์วิจัยและพัฒนาพันธุ์สัตว์น้ำ และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารมาพัฒนา Application เพื่อการเกษตร

ที่ผ่านมา หัวหน้าคณะทำงานภาครัฐและเอกชนได้ให้ความสำคัญและติดตามผลการดำเนินงานในพื้นที่ โดยได้มีการตรวจเยี่ยมพื้นที่แปลงใหญ่ประชารัฐเกษตรสมัยใหม่ ครั้งที่ 1 วันศุกร์ ที่ 1 ก.ค. 59 ศูนย์เรียนรู้ชุมชนพลังเกษตรสุขสยามคูโบต้า– ผักไหม ในพื้นที่ ต.ผักไหม อ.ห้วยทับทัน จ.ศรีสะเกษ และโครงการหงษ์ทองนาหยอด ในพื้นที่ อ.เมือง จ.ศรีสะเกษ  ซึ่งแปลงใหญ่ประชารัฐเกษตรสมัยใหม่ข้าว ครั้งที่ 2 วันศุกร์ ที่ 8 ก.ค. 59 ตรวจเยี่ยม 1 แปลงสหกรณ์ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชลบุรี จำกัด (ปลานิล) หอการค้าไทย ต.เกาะลอย อ.พานทอง จ.ชลบุรี ครั้งที่ 3 วันศุกร์ ที่ 5 ส.ค. 59 ตรวจเยี่ยมโครงการขับเคลื่อนพัฒนาสหกรณ์ประมงประชารัฐ 2 พื้นที่ 1. สหกรณ์การเกษตรบ้านสร้าง จำกัด (ปลานิลร่วมกับกุ้งขาวแวนนาไม) บ.ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป จำกัด ต.บางปลาร้า อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี 2. สหกรณ์นิคมบ้านสร้างพัฒนา จำกัด (ปลานิลร่วมกับกุ้งขาวแวนนาไม) บ.ไทยยูเนี่ยนกรุ๊ป จำกัด ต.บางปลาร้า อ.บ้านสร้าง จ.ปราจีนบุรี

จาก http://www.thansettakij.com   วันที่ 29 กันยายน 2559

อันดับแข่งขันเศรษฐกิจไทยหล่นอยู่อันดับ 34

รศ.พสุ เดชะรินทร์ คณบดี คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในฐานะเป็นพันธมิตรอย่างเป็นทางการของ เวิลด์ อีโคโนมิกส์ ฟอรั่ม หรือ ดับเบิลยูอีเอฟ ในประเทศไทย เปิดเผยว่ารายงานดัชนีความสามารถทางการแข่งขันระดับโลก ประจำปี 2559 ซึ่งเปรียบเทียบความสามารถการแข่งขันของ 138 ประเทศทั่วโลก โดย 10 อันดับแรก ยังคงเป็นประเทศเดิมๆ เพียงแต่อันดับเปลี่ยนไป แต่อย่างไรก็ดี 3 อันดับแรก ยังคงเป็นกลุ่มประเทศเดิม คือ สวิสเซอร์แลนด์ สิงคโปร์และ สหรัฐอเมริกา ตามลำดับ โดยประเทศไทยได้รับการจัดอันดับให้อยู่ในอันดับที่ 34 ตกลงจากปีก่อนที่อยู่อันดับ 32 ในขณะที่คะแนนเท่าเดิม 4.6 จากคะแนนเต็ม 7 คะแนน และหากเปรียบเทียบกับภูมิภาคเอเชีย พบว่าไทยมีขีดความสามารถอันดับ 10 แต่เมื่อเปรียบเทียบในภูมิภาคอาเซียนพบว่า เกือบทั้งหมดมีอันดับความสามารถในการแข่งขันลดลงจากปีที่แล้ว ยกเว้น กัมพูชาที่มีอันดับเพิ่มขึ้นเป็น 89 จาก 90 ส่วนสิงคโปร์ อันดับ 2 เท่าเดิม

หากเปรียบเทียบกับดัชนีความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ในด้านที่มีอันดับที่ดีขึ้น ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจมหภาค ซึ่งได้คะแนนเพิ่มขึ้นจาก 5.7 เป็น 6.1 และอยู่ในอันดับ 13 ถือว่าปรับดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดจากอันดับที่ 27 ในปีที่แล้ว โดยที่การปรับอันดับดีชึ้นจากในแง่ สมดุลในงบประมาณภาครัฐ สัดส่วนการออมของประเทศต่อผลผลิตมวลรวมประชาชาติที่สูงขึ้น และสัดส่วนหนี้รัฐบาลต่อผลผลิตมวลรวมประชาชาติที่ลดต่ำลง ที่สำคัญคือ ในด้านนวัตกรรมได้อันดับดีชึ้นจาก 57 เป็น 54 ในขณะที่ได้คะแนนยังอยู่เท่าเดิม

อย่างไรก็ดี ดับเบิ้ลยูอีเอฟ มีข้อเสนอแนะที่น่าสนใจ ต่อการเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของประเทศไทย และเพื่อให้ไทยก้าวพ้นกับดักรายได้ปานกลางเพื่อให้เศรษฐกิจของประเทศเติบโตต่อไปได้ ประเทศไทยจะต้องให้ความสำคัญกับเรื่องของนวัตกรรมเป็นพิเศษ เพื่อเตรียมรองรับต่อการพัฒนาสู่อุตสาหกรรมยุค 4.0 ตามที่รัฐบาลมุ่งเน้นมาโดยตลอดในช่วงที่ผ่านมา ซี่งประเทศจะต้องให้ความสำคัญกับทักษะของบุคคลากรที่จำเป็นสำหรับอนาคตในการพัฒนาของภาคธุรกิจ และความสามารถทางด้านนวัตกรรม ขณะเดียวกันหากประเทศไทยยังไม่เร่งผลักดันการพัฒนาภาคธุรกิจด้านนวัตกรรมเพิ่มขึ้น และหากประเทศไทยไม่มีการผลักดันเรื่องนวัตกรรมอย่างจริงจัง คะแนนด้านนวัตกรรมของไทยก็จะอยู่เท่าเดิม แต่อันดับจะลดลง เนื่องจากประเทศอื่นๆ ทำได้ดีกว่า

ขณะเดียวกันเป็นที่น่าสังเกตว่า มื่อเปรียบเทียบประเทศไทยกับภาพรวมของการจัดอันดับทั้งโลก ปรากฏว่า ดัชนีชี้วัดที่น่าสนใจของประเทศไทย ที่ได้รับการจัดให้อยู่ใน 30 อันดับแรกของโลกนั้น ประกอบด้วย สมดุลในงบประมาณรัฐบาล และ สัดส่วนการออมของประเทศต่อผลผลิตมวลรวมประชาชาติ ซึ่งทั้งสองประเด็นนี้อยู่ในอันดับที่ 13 ดีขึ้นอย่างมากจากปีที่แล้วที่อยู่อันดับที่ 46 และ 26 ตามลำดับ ส่วนขนาดของตลาดทั้งตลาดต่างประเทศและตลาดภายในประเทศ ได้รับการจัดอันดับที่ 13 และ 22 ตามลำดับ รวมถึง สัดส่วนของการส่งออกต่อผลผลิตมวลรวมประชาชาติ ก็ได้รับการจัดอันดับที่ 18 นับเป็นอันดับที่สูงมากเช่นกัน นอกจากนี้ ยังมีประเด็นทางด้าน บริการทางการเงินที่ตรงกับความต้องการของธุรกิจ ได้อันดับที่ 23 ปัจจัยด้านการตลาด ได้รับอันดับที่ 24 และ ระดับการมุ่งเน้นลูกค้า ได้รับอันดับที่ 26 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าประเทศไทยได้รับการยอมรับเป็นอย่างสูงในระดับโลก

ด้านนายสมคิด กล่าวว่า การจัดอันดับขีดความสามารถการแข่งขันทางเศรษฐกิจของเวิร์ด อีโคโนมิค ฟอร์รัม อันดับของไทยตกลงมา 2 อันดับ แต่ประเทศเพื่อนบ้านตกมากกว่า โดยประเทศมาเลเซียตกลงไป 7 อันดับ ฟิลิปปินส์ตกลงไป 10 อันดับ อินโดนีเซียและเวียดนามตกลงไป 4 อันดับ และลาวตกลงไป 10 อันดับ เมื่อดูรายละเอียดของการจัดอันดับ พบว่า การพัฒนาเศรษฐกิจของไทยเพิ่มขึ้น 10 อันดับ จากอันดับที่ 27 มาอยู่ที่ 13 ด้านนวัตกรรมก็อันดับดีขึ้น ด้านการศึกษายังไม่ดีขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่รัฐบาลรู้ปัญหาและแก้ไขอยู่เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลา

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมช.พาณิชย์ กล่าวว่า หากเปรียบกับประเทศในอาเซียน ไทยอันดับของไทยยังตกน้อย เหมือนอย่างประเทศมาเลเซีย ตกไป 7 อันดับ และเวียดนาม 4 อันดับ ซึ่งเมื่อดูประเด็นต่างๆ ในส่วนที่ทำให้อันดับตกลง คือ ในด้านสุขภาพ ตกไป 5 อันดับ และความพร้อมในด้านเทคโนโลยีและสาธารณูปโภค ตกไป 5 อันดับ อาจเป็นเพราะสาเหตุการได้รับข้อมูลไม่ครบถ้วนและยังไม่มีการอัพเดทข้อมูล ซึ่งที่ผ่านมาไทยมีการลงทุนและให้ความสำคัญต่อนวัตกรรมและการศึกษา โดยเฉพาะการพัฒนาที่เน้นระดับอุดมศึกษา ทำให้ 3 ประเทศเจอประเด็นเดียวกัน คือ ไทย มาเลเซีย และจีน

 “ขณะที่ประเด็นที่ดีขึ้น คือเศรษฐกิจมหาภาค จากการใช้จ่ายของภาครัฐ ส่งเสริมการออมให้มากขึ้น คุณภาพทางการศึกษา และการปรับปรุงในด้านนำนวัตกรรมมาใช้ ซึ่งส่วนนี้ดีขึ้นถึง 3 อันดับ ผมมองว่าไม่น่าห่วงเพราะหลายประเทศในอาเซียนอันดับตกต่ำมากกว่าไทย ซึ่งทิศทางด้านการศึกษา นวัตกรรม และการเริ่มนำเทคโนโลยีมาใช้ มีทิศทางดีขึ้น สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลผลักดันสู่ไทยแลนด์ 4.0”นายสุวิทย์ กล่าว

จาก https://www.khaosod.co.th   วันที่ 28 กันยายน 2559

ลุยพัฒนาลุ่มน้ำตะเพินแบบขั้นบันได กรมชลเร่งเสริมความมั่นคงน้ำพื้นที่รอยต่อ‘กาญจนบุรี-สุพรรณบุรี’

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานได้ดำเนินโครงการศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) อ่างเก็บน้ำลำตะเพินตอนบนและระบบผันน้ำ เพื่อสร้างความมั่นคงในเรื่องน้ำสำหรับภาคการผลิตตามยุทธศาสตร์บริหารจัดการทรัพยากรน้ำ โดยเฉพาะน้ำเพื่อการเกษตรและการอุปโภคบริโภค ในพื้นที่อ.หนองปรือ อ.บ่อพลอย อ.ห้วยกระเจา อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี และบางส่วนของ อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี รวมทั้งช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่่วมในบางพื้นที่ช่วงฤดูน้ำหลากอีกด้วย

ทั้งนี้พื้นที่รอยต่อ 2 จังหวัดดังกล่าวมีลักษณะภูมิประเทศเป็นที่สูง ไม่มีแหล่งเก็บกักน้ำไว้ใช้อย่างเพียงพอ และบางพื้นที่ไม่มีแหล่งน้ำธรรมชาติอีกด้วย ในปี 2533 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชดำริแก่กรมชลประทานให้พิจารณาวางโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อจัดหาน้ำช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกของราษฎร ซึ่งกรมชลประทานได้สนองพระราชดำริด้วยการดำเนินโครงการพัฒนาแหล่งน้ำขนาดเล็กหลายโครงการ รวมทั้งได้ดำเนินก่อสร้างอ่างลำตะเพิน ขึ้นที่รอยต่อระหว่าง ต.องค์พระอ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี กับ ต.หนองปรือ อ.บ่อพลอย จ.กาญจนบุรี ซึ่งเป็นอ่างฯขนาดกลางมีความจุ 50 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) โดยมีปริมาณน้ำท่าที่ไหลลงอ่างฯเฉลี่ยประมาณ 90.05 ล้าน ลบ.ม./ปี มีพื้นที่รับประโยชน์ในฤดูฝน 34,000 ไร่ และในฤดูแล้ง 6,800 ไร่

อย่างไรก็ตาม ปริมาณเก็บกักน้ำที่มีอยู่ ยังไม่เพียงพอที่จะส่งน้ำไปให้พื้นที่ที่เดือดร้อนจากการขาดแคลนน้ำได้ทั่วถึง โดยเฉพาะพื้นที่ในเขต อ.เลาขวัญ และอ.ห้วยกระเจา จ.กาญจนบุรี กรมชลประทานมีแนวคิดที่จะพัฒนาแหล่งน้ำโดยการเพิ่มปริมาณความจุของอ่างฯลำตะเพินที่มีอยู่ในปัจจุบันให้มากขึ้นใกล้เคียงกับปริมาณน้ำท่าที่ไหลลงอ่างฯ รวมถึงการพัฒนาแหล่งน้ำใหม่ที่มีอยู่ทางตอนบนของอ่างฯ แต่การเพิ่มปริมาณความจุของอ่างฯหากเพิ่มในพื้นที่เดิมด้วยการเสริมทางระบายน้ำล้น (Spillway) ให้สูงขึ้นแม้จะได้ปริมาณเพิ่มขึ้น แต่ไม่สามารถส่งน้ำช่วยเหลือพื้นที่ตอนบนที่ยังขาดแคลนน้ำตามแรงโน้มถ่วงโลกได้

ดังนั้น เพื่อให้สามารถส่งน้ำที่กักเก็บเพิ่มขึ้นไปช่วยพื้นที่ท้ายอ่างฯลำตะเพิน ได้อย่างทั่วถึงตามแรงโน้มถ่วงโลกโดยไม่ต้องสูบ กรมชลประทานจึงวางแผนที่จะเพิ่มความจุในลักษณะขั้นบันได ด้วยการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำลำตะเพินบนขึ้นบริเวณบ้านละว้าวังควายต.วังยาว และบ้านไผ่สีทอง ต.องค์พระ อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี เป็นอ่างฯขนาดกลาง ความจุในระดับกักเก็บ 10.67 ล้าน ลบ.ม. พร้อมทั้งก่อสร้างท่อผันน้ำ 1 ท่อไปเสริมปริมาณน้ำในแหล่งน้ำขนาดเล็กที่มีอยู่ในเขตอ.เลาขวัญและ อ.ห้วยกระเจา เช่น สระเก็บน้ำบ้านหนองประดู่ สระเก็บน้ำบ้านหนองจั่น อ่างเก็บน้ำห้วยเทียบ จนถึง สระเก็บน้ำหนองนาทะเล เป็นต้น และก่อสร้างท่อผันน้ำอีก 1 ท่อส่งน้ำไปยังอ่างเก็บน้ำห้วยทวีปและอ่างเก็บน้ำพุปลาก้าง เพื่อเพิ่มความมั่นคงในเรื่องน้ำให้กับพื้นที่ชลประทานในเขต อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรีอีกด้วย

สำหรับผลประโยชน์ที่ได้รับจากการสร้างอ่างฯลำตะเพินตอนบนดังกล่าว นอกจากจะแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและบรรเทาปัญหาน้ำท่วมแล้ว ยังจะมีการพัฒนาต่อยอดด้านการท่องเที่ยวจากอ่างเก็บน้ำลำตะเพิน (เดิม) ที่มีชื่อเสียงในการประมงและการตกปลา เช่น ปลาชะโด ปลากระสูบเป็นต้น ไปสู่สถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่คือ อ่างเก็บน้ำลำตะเพินตอนบน เป็นรูปแบบรีสอร์ทและโฮมสเตย์ทั้งริมน้ำและกลางน้ำ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว และช่วยให้ประชาชนในพื้นที่มีรายได้เสริมเพิ่มขึ้นอีกด้วย

“ขณะนี้การศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) อ่างเก็บน้ำลำตะเพินตอนบนและระบบผันน้ำดังกล่าวได้ดำเนินเสร็จเรียบร้อยแล่้ว อยู่ระหว่างการสรุปผลการศึกษาเพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) พิจารณาดำเนินการในขั้นตอนต่อไป” ดร.สมเกียรติกล่าว

จาก http://www.naewna.com  วันที่ 28 กันยายน 2559

'ฉัตรชัย'ถกประชารัฐพัฒนาเกษตรสมัยใหม่ 

"พล.อ.ฉัตรชัย" ประชุมประชารัฐด้านพัฒนาเกษตรสมัยใหม่ร่วมเอกชน เผย คืบหน้าโครงการเกษตรแปลงใหญ่กว่า 67.16%

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในการประชุมคณะทำงานร่วมภาครัฐและเอกชนด้านการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ ครั้งที่ 11/2559 ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาพรัฐและเอกชน อาทิ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย บริษัทในกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ กลุ่มโคนม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร กล่าวว่า การทำงานของคณะกรรมการชุดนี้มีความคืบหน้าตามกรอบของแนวทางประชารัฐ ทั้งการทำเกษตรแปลงใหญ่ที่ทันสมัย การทำเกษตรหลังเก็บเกี่ยวในเชิงเกษตรผสมผสาน การหาพืชมาให้เกษตรกรทดลองปลูก พร้อมมีข้อเสนอแนะเพิ่มเติมให้กับที่ประชุม ในการสร้างความมั่นใจให้กับเกษตรกร เมื่อทำการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกตามคำแนะนำและความเหมาะสมแล้วจะมีตลาดรองรับผลผลิตและได้ราคาที่เหมาะสม

พร้อมกันนี้ในที่ประชุมได้สรุปสถานะพื้นที่แปลงใหญ่ประชารัฐเกษตรสมัยใหม่และความก้าวหน้าในการดำเนินการแปลงใหญ่ประชารัฐ ที่ได้ดำเนินการแล้ว ณ สิ้นเดือน สิงหาคม 2559 จำนวน 43 แปลง ประกอบด้วย ข้าว มันสำปะหลัง อ้อยโรงงาน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผัก ผลไม้  สมุนไพร หม่อน กุ้งขาว โคเนื้อเป็นต้น รวมมีความก้าวหน้าของโครงการที่ร้อยละ 67.16

จาก http://www.innnews.co.th   วันที่ 28 กันยายน 2559

Waste to Energy จากของเหลือใช้ สู่พลังงานทดแทน สร้างมูลค่าเพิ่มทางการเกษตร

  ประเทศไทยเป็นที่รู้จักในฐานะประเทศกสิกรรมสำคัญของโลก และตอนนี้ยังเป็นที่รู้จักในฐานะประเทศที่มีการผลิตและพัฒนาพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่องและหลากหลายอีกด้วย โดยเฉพาะพลังงานทดแทนจากพืชผลทางการเกษตร 

   ในอดีตหลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรและแปรรูปเพื่อจำหน่ายเรียบร้อยแล้ว ยังมีของเหลือใช้ทางการเกษตรมากมายที่ถูกทิ้งไว้รอวันย่อยสลายอย่างไร้ประโยชน์ แต่ปัจจุบันทั้งภาครัฐและเอกชน ได้หันมาผลิตพลังงานทดแทนโดยใช้ของเหลือใช้จากภาคอุตสาหกรรมการเกษตรมากขึ้น โดยพลังงานทดแทนที่ผลิตจะอยู่ในรูปชีวมวล (Biomass) และก๊าซชีวภาพ (Biogas) เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับของเหลือใช้เหล่านั้นมหาศาล

ก๊าซชีวภาพ : พลังงานทดแทนสะอาดจากของเหลือใช้

   ก๊าซชีวภาพ (Biogas)เป็นพลังงานทดแทนสะอาดที่เกิดจากการนำของเสีย เช่น มูลสัตว์ น้ำเหลือใช้จากฟาร์มปศุสัตว์ หรือจากโรงงานอุตสาหกรรม ขยะ และของเหลือใช้ทางการเกษตร มาผ่านกระบวนการหมักเพื่อให้เกิดการย่อยสลายสารอินทรีย์ในภาวะไร้ออกซิเจน (Anaerobic Digestion)โดยใช้แบคทีเรียหลายชนิดในการบำบัดก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้จะถูกนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงให้ความร้อนของหม้อต้มไอน้ำทดแทนเชื้อเพลิงปิโตรเลียม เช่น น้ำมันเตา และใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าสำหรับกระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม

   การนำน้ำเหลือใช้จากกระบวนการผลิตอุตสาหกรรมมาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพ น้ำที่ผ่านระบบบำบัดแล้วสามารถนำไปใช้ทำเป็นปุ๋ยน้ำได้

   ปัจจุบันโรงงานอุตสาหกรรมจะบริหารจัดการน้ำเหลือใช้จากกระบวนการผลิตของโรงงานในรูปแบบนี้ โดยเฉพาะโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลัง และโรงงานผลิตเอทานอล ที่ส่วนใหญ่จะนำน้ำที่ผ่านระบบการผลิตก๊าซชีวภาพแล้ว ส่งผ่านท่อให้กับเกษตรกรละแวกใกล้เคียงเพื่อเป็นปุ๋ยน้ำ ซึ่งปุ๋ยน้ำที่ได้เต็มไปด้วยธาตุอาหารที่พืชต้องการ เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูก

กลุ่มบริษัทอุบลไบโอเอทานอล

ผลิตก๊าซชีวภาพจากน้ำเหลือใช้จากกระบวนการผลิต เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

   กลุ่มบริษัทอุบลไบโอเอทานอล ตั้งอยู่ที่จังหวัดอุบลราชธานี ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์แป้งมันสำปะหลังและเอทานอล ด้วยกระบวนการผลิตที่ทันสมัยครบวงจรได้รับการรับรองตามมาตรฐานสากล และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยตระหนักและให้ความสำคัญกับการนำผลพลอยได้ที่เหลือใช้จากกระบวนการผลิต มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ได้แก่ น้ำเหลือใช้จากกระบวนการผลิต และกากมันสำปะหลัง นำมาผลิตเป็นก๊าซชีวภาพเพื่อใช้เป็นพลังงานหมุนเวียนภายในโรงงาน

   ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทฯ ได้ใช้ระบบการผลิตก๊าซชีวภาพที่ทันสมัยและครบวงจรที่สุดในประเทศ แบ่งออกเป็น 3 ระบบ ตามความเหมาะสมของวัตถุดิบ โดยในส่วนของกากมันสำปะหลังจะใช้ระบบ CLBR (Covered Lagoon Bio-Reactor) ส่วนน้ำเหลือใช้จากกระบวนการผลิตเอทานอลใช้ระบบ MUR (Methane Upflow Reactor) และน้ำเหลือใช้จากกระบวนการผลิตแป้งมันสำปะหลังใช้ระบบ UASB (Upflow  Anaerobic Sludge Blanket) ซึ่งจะผลิตก๊าซชีวภาพได้สูงถึง 200,000 ลบ.ม.ต่อวัน ก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้จะถูกนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในการอบแป้งทดแทนการใช้น้ำมันเตา บางส่วนใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ในโรงงานและจำหน่ายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ต่อยอดน้ำปุ๋ยสำหรับเกษตรกร ลดต้นทุนการผลิต แก้ปัญหาเรื่องน้ำในการเพาะปลูก

   สำหรับน้ำที่ผ่านระบบผลิตก๊าซชีวภาพแล้ว จะถูกส่งไปพักที่บ่อผึ่งแบบธรรมชาติที่มีทั้งหมด 6 บ่อ เพื่อให้คุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน จากนั้นน้ำในบ่อสุดท้ายจะนำมาใช้ประโยชน์ใน “โครงการชลประทานน้ำปุ๋ยเพื่อการเกษตร” ส่งผ่านท่อตรงถึงพื้นที่เพาะปลูกของเกษตรกรกว่า 200 ครอบครัวในรัศมีรอบโรงงาน เป็นปุ๋ยน้ำอย่างดีสำหรับบำรุงพืช สามารถเพิ่มผลผลิตทางเกษตร และลดต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และการดำเนินการเรื่องน้ำปุ๋ยได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมเรียบร้อยแล้ว

   ส่วนกากมันสำปะหลังจัดเป็นอีกวัสดุเหลือใช้ที่ต่อยอดในการลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตได้อย่างชัดเจน ซึ่งในพื้นที่ใกล้ๆ นับเป็นความโชคดีของเกษตรกรที่มีหน่วยงานภาครัฐ สถานีพัฒนาที่ดินอุบลราชธานี อ.สว่างวีระวงศ์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่มุ่งเน้นส่งเสริมนโยบายการลดต้นทุนเพิ่มผลผลิตด้วยการให้เกษตรกรทำปุ๋ยหมักใช้เองแทนการซื้อปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพง และส่งผลต่อการปนเปื้อนในดินในระยะยาว จึงจัดทำปุ๋ยหมักจากกากมันสำปะหลัง นำไปผสมกับมูลสัตว์ แกลบ ฯลฯ พร้อมใส่จุลินทรีย์ที่เรียกว่า สารเร่งซุปเปอร์พด.1 จนเป็นปุ๋ยหมักที่มีจุลธาตุ สามารถเป็นอาหารต่อพืชทุกชนิดที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน

    กลุ่มบริษัทอุบลไบโอเอทานอล มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจภายใต้นโยบายความรับผิดชอบต่อสังคมในด้านสิ่งแวดล้อม ด้านการส่งเสริมการเกษตร และด้านการพัฒนาชุมชน เพื่อให้การดำเนินธุรกิจสามารถอยู่ร่วมกันกับสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนตลอดไป

จาก https://www.khaosod.co.th  วันที่ 28 กันยายน 2559

เขื่อนป่าสักเพิ่มการระบายน้ำ เตือนพื้นที่ท้ายเขื่อนติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด

นายภานุ แย้มศรี ผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรีกล่าวถึงการระบายน้ำของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์จังหวัดลพบุรีว่า ณ ขณะนี้มีปริมาณน้ำ 780 ล้านลบ.เมตร คิดเป็นร้อยละ 81 ของความสามารถในการเก็บกัก ระบายน้ำ 20 ล้าน ลบ.เมตร/วัน โดยวันนี้ (28 ก.ย.59) กรมชลประทานได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ เพิ่มการระบายน้ำเพิ่มเป็น 40 ล้านลบ.เมตร/วัน โดยวางแผนเพิ่มการระบายน้ำทุก 3 ชั่วโมง เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อพื้นที่ท้ายเขื่อน เนื่องจากในวันที่ 29 กันยายน - 2 ตุลาคม 2559 จะมีฝนชุดใหม่เข้ามาจึงจำเป็นต้องระบายออกเพื่อรับน้ำใหม่เข้ามา และเตรียมรองรับน้ำที่ท่วมขังจากจังหวัดเพชรบูรณ์ซึ่งจะไหลมาลงที่เขื่อนป่าสักฯด้วย

สำหรับพื้นที่ 2 หมู่บ้าน ในพื้นที่ตำบลหนองบัว อำเภอพัฒนานิคม ที่อยู่ด้านท้ายจากประตูระบายน้ำได้ให้นายอำเภอพัฒนานิคมแจ้งเตือนไปยังกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ให้ติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด แต่อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำที่ระบายออกไปไม่น่าจะมีผลกระทบต่อ 2 หมู่บ้านนี้ อย่างไรก็ตามฝากแจ้งไปยังประชาชนจังหวัดสระบุรี และพระนครศรีอยุธยา ที่อยู่ริมแม่น้ำป่าสัก ซึ่งเป็นพื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบเก็บของสิ่งของขึ้นที่สูง พร้อมติดตามสถานการณ์และข่าวสารจากทางราชการอย่างใกล้ชิด

จาก http://www.prachachat.net   วันที่ 28 กันยายน 2559

ชงคสช.ปลดล็อกผังเมืองตั้งรง.นํ้าตาล

กระทรวงอุตสาหกรรม ชง “ประยุทธ์” ใช้ม.44 ปลดล็อกผังเมือง ห้ามตั้งและขยายโรงงานน้ำตาล 14 แห่ง ใน 8 จังหวัด ก.ย.นี้ หวังช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจช่วง 5 ปี เงินลงทุนกว่า 1.65 แสนล้านบาท หลังออกใบอนุญาตตั้งใหม่ 22 แห่ง และขอขยายอีก 17 แห่ง ด้านกรมโยธาธิการฯ ไฟเขียว แต่ต้องให้ครม.อนุมัติ

นายสมศักดิ์ จันทรรวงทอง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า จากที่สอน.ได้เปิดให้ผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลทรายที่มีความประสงค์จะตั้งโรงงานหรือย้ายโรงงานน้ำตาล รวมทั้งขยายกำลังการผลิตตั้งแต่ปลายปี 2558 เป็นต้นมา โดยสอน.มีการพิจารณาและออกใบรับรองการตั้งโรงงานน้ำตาลใหม่ไปแล้วจำนวน 22 โรงงาน คิดเป็นกำลังการผลิตรวมประมาณ 4.21 แสนตันอ้อยต่อวัน และมีการออกใบรับรองในการขยายกำลังการผลิตอีกจำนวน 17 โรงงาน คิดเป็นกำลังการผลิต 3.36 แสนตันอ้อยต่อวัน โดยให้มีระยะเวลาการก่อสร้างโรงงานและเปิดดำเนินการได้ภายใน 5 ปี นับจากวันออกใบอนุญาต

โดยมีเงื่อนไขว่า ผู้ประกอบการจะต้องไปเร่งการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการจัดทำรายงานศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ การทำแผนส่งเสริมปลูกอ้อย ที่จะต้องเร่งดำเนินการภายใน 1 ปีแรกควบคู่กับทำอีไอเอ เป็นต้น เพื่อป้องกันให้ผู้ประกอบการที่ได้ใบอนุญาตไปแล้ว ไม่สนใจที่จะลงทุนหรือนำไปดองไว้ เพื่อกันสิทธิ์โรงงานอื่น ทำให้ผู้ที่สนใจรายอื่นและชาวไร่อ้อยเสียโอกาสในการสร้างรายได้

 ชงแก้ 8 จังหวัดติดผังเมือง

แต่ทั้งนี้ จากการตรวจสอบของสอน.พบว่า ยังมีบางพื้นที่ ที่ไม่สามารถเข้าดำเนินการได้ เนื่องจากติดปัญหาผังเมืองรวม ที่ห้ามให้มีการตั้งและขยายโรงงานน้ำตาลทราย โดยเฉพาะในพื้นที่ 8 จังหวัด คือจังหวัดชัยภูมิ สระแก้ว พะเยา เชียงราย ปราจีนบุรี นครสวรรค์ สุรินทร์ และบึงกาฬ จึงทำให้มีโรงงานน้ำตาลทรายที่ขอตั้งใหม่จำนวน 10 แห่ง และขอขยายโรงงานน้ำตาลอีก 4 แห่ง รวมจำนวน 14 แห่ง ยังไม่สามารถดำเนินการได้ในขณะนี้

ดังนั้น ในช่วงที่ผ่านมาทางกระทรวงอุตสาหกรรมได้ส่งเรื่องไปยังคณะทำงานด้านกฎหมายของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อที่จะขอให้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจในมาตรา 44 ขอยกเว้นข้อบังคับการใช้ผังเมืองรวม ที่ห้ามตั้งโรงงานน้ำตาลทรายในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อให้เกิดการขับเคลื่อนด้านการลงทุน ซึ่งทางคณะทำงานได้พิจารณาแล้ว และให้กระทรวงอุตสาหกรรมประมวลผล ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียด เพื่อนำเสนอคณะทำงานด้านกฎหมาย เสนอไปยังหัวหน้าคสช.อีกครั้งหนึ่ง โดยคาดว่าจะสามารถดำเนินการได้ภายในเดือนกันยายนนี้

 ปรับแก้กฎหมายใช้เวลานาน

นายสมศักดิ์ กล่าวอีกว่า การที่กระทรวงอุตสาหกรรมต้องใช้มาตรา 44 ในการปลดล็อกผังเมืองดังกล่าว เป็นผลสืบเนื่องจากรัฐบาลชุดนี้ได้มีการประกาศยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีในการห้ามตั้งโรงงานน้ำตาลทั่วประเทศ และมีนโยบายที่จะส่งเสริมการตั้งโรงงานน้ำตาลทรายขึ้นมาใหม่ ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด ที่ต้องห่างจากโรงงานน้ำตาลเดิมที่มีอยู่แล้ว 50 กิโลเมตร ประกอบกับนโยบายด้านอำนวยความสะดวกของรัฐบาลออกมา ในฐานะที่เป็นหน่วยงานราชการก็ต้องนำมาปฏิบัติในการแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่มีอยู่เพราะมองว่าการตั้งโรงงานน้ำตาลจะเป็นประโยชน์กับการพัฒนาประเทศ และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับพืชพลังงาน ที่สามารถนำไปต่อยอดในการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นไบโอชีวภาพ ไบโอพลาสติก เป็นการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรเพิ่มขึ้น

หากจะดำเนินการแก้ไขกฎหมายผังเมืองของจังหวัดต่างๆ ตามขั้นตอน อาจจะต้องใช้เวลา 2-3 ปี ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลทรายไม่มีความมั่นใจที่จะไปลงทุน และใบอนุญาตตั้งโรงงานหรือขยายโรงงานที่ให้ไป อาจจะหมดอายุก่อนที่โรงงานจะสร้างเสร็จได้ เมื่อรัฐบาลเปิดช่องให้นำเสนอเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการโดยในมาตรา 44 ทางกระทรวงอุตสาหกรรมจึงขออำนาจในส่วนนี้มายกเว้นการห้ามตั้งโรงงานน้ำตาลทราย ซึ่งเป็นกรณีเดียวกับกระทรวงพลังงานที่ขอยกเว้นการตั้งโรงไฟฟ้าในหลายพื้นที่ไปแล้ว

 ขับเคลื่อนเงินลงทุน1.65แสนล.

เพื่อปลดล็อกปัญหาผังเมืองได้ จะทำให้การลงทุนในช่วง 5 ปีนี้ เดินหน้าไปได้ เพราะจากที่ประเมินโรงงานน้ำตาลขอตั้งใหม่ทั้ง 22 แห่งนี้ คาดว่าจะต้องใช้เม็ดเงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 8 หมื่นล้านบาท และเมื่อรวมกับโรงงานน้ำตาลที่ขอขยายกำลังการผลิตอีก 17 แห่ง จะใช้เงินลงทุนอีกประมาณ 8.5 หมื่นล้านบาท รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 1.65 แสนล้านบาท ซึ่งจะสามารถช่วยให้เกิดเงินทุนหมุนเวียน กระตุ้นภาวะเศรษฐกิจของประเทศได้อีกทางหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม ในเร็วๆนี้ ทางสอน.จะเชิญผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลทรายที่ได้ออกใบรับรองการตั้งและขยายโรงงานไปแล้วมาหารือเพื่อสอบถามถึงความคืบหน้าในการดำเนินงาน และเป็นการติดตามตรวจสอบว่าโรงงานน้ำตาลทรายได้มีการลงทุนจริงหรือไม่ มีการทำรายงานศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ ไปถึงไหน เพราะขณะนี้ผ่านมา 1 ปีแล้ว หรือเพียงแค่ขอใบอนุญาตเก็บไว้ เพื่อกีดกันการลงทุนของผู้ประกอบการรายอื่นๆ หรืออาจจะมีการนำไปเก็บไว้สร้างมูลค่าเพิ่มจากการขายบาอนุญาตในอนาคต เพราะหากผู้ประกอบการรายใดไม่มีความคืบหน้าตามระยะเวลาที่กำหนด ทางสอน.ก็มีสิทธิที่จะถอนใบอนุญาตได้ เนื่องจากไม่เป็นไปตามข้อตกลงที่ได้กำหนดร่วมกันไว้

 กรมโยธาฯหนุนหากครม.เห็นชอบ

ด้านนายพิชัย อุทัยเชฎฐ์ รองอธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมืองเปิดเผยว่า กรมโยธาธิการและผังเมืองสามารถผ่อนผันให้กระทรวงอุตสาหกรรมอนุญาตโรงงานน้ำตาลก่อสร้างในพื้นที่ควบคุมทางผังเมืองรวมจังหวัดได้ แต่ทั้งนี้จะต้อง ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี(ครม.) หากใช้อำนาจตามมาตรา 44 แห่ง ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) รัฐธรรมนูญชั่วคราว พ.ศ. 2557 แต่ขณะนี้ยังไม่มีหนังสือจากกระทรวงอุตสาหกรรมแจ้งผ่านมายังกรมแต่อย่างใด ซึ่งตรงนี้มองว่าอาจมีปัญหาติดขัดเกี่ยวกับระยะห่างที่ตั้งโรงงานน้ำตาลที่เดิม 50 กิโลเมตรและ ปัญหาผังเมืองรวมจังหวัดที่ประกาศไปแล้ว และติดปัญหาบริเวณที่เอกชนจะลงทุนโรงงานน้ำตาลเป็นพื้นที่ที่ ไม่สามารถใช้ประโยชน์ที่ดินตั้งโรงงานอุตสาหกรรมได้

ด้านแหล่งข่าวจาก โยธาธิการจังหวัดนครสวรรค์ กล่าวว่า ผังเมืองรวมจังหวัดนครสวรรค์ ได้บังคับใช้แล้ว เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2558 ที่ผ่านมา แน่นอนว่า พื้นที่ทั้งจังหวัดจะเป็นพื้นที่สีเขียว หรือที่ดินประเภทชนบทและเกษตรกรรม อนุญาตให้ ใช้เพื่อการเกษตร ที่อยู่อาศัยบางประเภท โรงงานน้ำตาลบางประเภทที่ไม่กระทบต่อสิ่งแวดล้อม ส่วนโรงงานน้ำตาลฟอกสีไม่สามารถตั้งได้ในพื้นที่สีเขียว ขณะที่ พื้นที่สีม่วง จะมีอยู่บางบริเวณ ได้แก่ บริเวณ อำเภอตาคลี และอำเภอพยุหะคีรี อย่างไรก็ดี ประเมินว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ต้องการกำหนดพื้นที่ ให้เอกชนลงทุนบริเวณ ทำเลสำคัญหรือพื้นที่ที่ ห้ามก่อสร้างโรงงานอุตสาหกรรมทั้งนี้ หากจะใช้มาตรา 44 ปลดล็อกผังเมือง ให้พัฒนาโครงการที่ขัดต่อการใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณนั้นได้ ตามนโยบายรัฐบาล แต่จะต้อง เปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน เสียก่อน เช่นกัน

 เปิดรายชื่อตั้งรง.น้ำตาล

อนึ่ง สำหรับโรงงานน้ำตาลทรายที่ขอตั้งใหม่ 22 โรงงาน เช่น บริษัท น้ำตาลบ้านโป่ง จำกัด ในพื้นที่อ.ปทุมรัตต์ จ.ร้อยเอ็ด กำลังผลิต 2.4 หมื่นตันอ้อยต่อวัน บริษัท น้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ พื้นที่อ.เมือง จ.อำนาจเจริญ กำลังผลิต 2 หมื่นตันอ้อยต่อวัน บริษัท น้ำตาลมิตรกาฬสินธุ์ พื้นที่อ.เสลภูมิ จ.ร้อยเอ็ด กำลังผลิต 2 หมื่นตันอ้อยต่อวัน บริษัท น้ำตาลบุรีรัมย์ จำกัด (มหาชน) พื้นที่อ.ชำนิ จ.บุรีรัมย์ กำลังผลิต 2 หมื่นตันอ้อยต่อวัน บริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาลปราณบุรี จำกัด พื้นที่อ.หนองหญ้าปล้อง จ.เพชรบุรี กำลังผลิต 2 หมื่นตันอ้อยต่อวัน บริษัท น้ำตาละครบุรี จำกัด (มหาชน) พื้นที่อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา กำลังผลิต 2 หมื่นตันอ้อยต่อวัน บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด พื้นที่อ.บ้านไผ่ จ.ขอนแก่น กำลังผลิต 2 หมื่นตันอ้อยต่อวัน

บริษัท อุตสาหกรรมน้ำตาลบ้านไร่ จำกัด พื้นที่อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี กำลังผลิต 2.8 หมื่นตันอ้อยต่อวัน บริษัท น้ำตาลทิพย์สุโขทัย จำกัด พื้นที่อ.วัดโบสถ์ จ.พิษณุโลก กำลังผลิต 1.8 หมื่นตันอ้อยต่อวัน บริษัท อุตสาหกรรมกัญจน์สยาม จำกัด พื้นที่อ.บุณฑริก จงอุบลราชธานี กำลังผลิต 2 หมื่นตันอ้อยต่อวัน บริษัท ไทย ชูการ์ มิล กรุ๊ป จำกัด พื้นที่อ.เชียงคาน จ.เลย กำลังผลิต 2.4 หมื่นตันต่อวัน บริษัท วิวรรธน์การเกษตร จำกัด พื้นที่อ.โพนพิสัย จ.หนองคาย กำลังผลิต 2 หมื่นตันอ้อยต่อวัน และในเครือบริษัท น้ำตาลทิพย์สุโขทัย ตั้งในจ.เชียงรายและพะเยา อีก 3 แห่ง รวมกำลังการผลิต 3 หมื่นตันอ้อยต่อวัน(ดูตารางประกอบ)

ส่วนโรงงานที่ขอขยายกำลังการผลิต และติดปัญหาผังเมือง เช่น บริษัท รวมเกษตรกรอุตสาหกรรม จำกัด พื้นที่อ.ภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ขอขยายกำลังผลิตเพิ่มเป็น 3.6 หมื่นตันอ้อยต่อวัน บริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการณ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) 2 โรงงาน ในพื้นที่ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ ขยายกำลังผลิตเป็น 5 หมื่นตันอ้อยต่อวัน และในพื้นที่อ.เมือง ขอขยายกำลังผลิตเพิ่มเป็น 1.6 หมื่นตันอ้อยต่อวัน และบริษัท น้ำตาลสุรินทร์ จำกัด ในพื้นที่อ.ปราสาท จ.สุรินทร์ ขยายกำลังผลิตเพิ่มเป็น 2.6 หมื่นตันอ้อยต่อวันเป็นต้น

จาก http://www.thansettakij.com   วันที่ 28 กันยายน 2559

กรมชลฯสั่งเพิ่มปริมาณน้ำผ่านเขื่อนเจ้าพระยา ส่งผลน้ำท้ายเขื่อนสูง กระทบพื้นที่ลุ่มต่ำริมเจ้าพระยา

กรมชลประทานสั่งเพิ่มปริมาณน้ำผ่านเขื่อน เจ้าพระยาจังหวัดชัยนาท เป็น 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที วันที่ 6 ตุลาคมนี้ กระทบพื้นที่ลุ่มต่ำริมแม่น้ำเจ้าพระยา

กรมชลประทานออกหนังสือด่วนที่สุด ลงวันที่ 27 กันยายนที่ผ่านมา แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำลุ่มน้ำเจ้าพระยา ฉบับที่ 2 ถึงผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี และสุพรรณบุรี ปัจจุบันวันที่ 27 กันยายน 2559 ปริมาณน้ำที่สถานีวัดน้ำ C.2 จังหวัดนครสวรรค์ 1,779 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาทีและแม่น้ำสะแกกรัง 362 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งกรมชลประทานได้ควบคุมปริมาณการไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาไม่เกิน 1,800 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา 16.64 ม.รทก.

จากการประชุมคณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ เมื่อวันที่ 26กันยายนที่ผ่านมา กรมอุตุนิยมวิทยาและสถาบันสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร ได้คาดการปริมาณฝนในวันที่ 26-27 กันยายน 2559 จะมีปริมาณน้อยลง และในช่วงวันที่ 28 กันยายนถึง 2 ตุลาคม 2559 สภาพความกดอากาศต่ำจะเคลื่อนตัวขึ้นไปในบริเวณภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอน บน จะทำให้ฝนตกในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนใกล้เคียงกับสัปดาห์ที่ ผ่านมา กรมชลประทานจึงคาดการณ์ ปริมาณน้ำที่จะเกิดจากปริมาณฝนตามการคาดการณ์ดังกล่าว ที่สถานี C2 จังหวัดนครสวรรค์ จะมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีค่าสูงสุดประมาณ 2,155 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที และมีปริมาณน้ำจากแม่น้ำสะแกกรังสูงสุดประมาณ 400ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที รวมที่จะเข้าเขื่อนเจ้าพระยา 2,555 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ในวันที่ 6 ตุลาคม 2559 ทำให้ในระยะนี้ต้องมีการระบายน้ำจากเขื่อนเจ้าพระยาในอัตรา 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที เป็นลำดับ โดยกรมชลประทานได้รับความเห็นชอบจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการดำเนินการ ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวจะส่งผลให้พื้นที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยาตั้งแต่ท้าย เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท มีระดับน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากปัจจุบัน 50-70 เซนติเมตร

ด้านนายฎรงค์กร สมตน ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 12 กล่าวว่า วันที่ 27 ก.ย.2559 เมื่อเวลา 20.00 น. ปริมาณน้ำเหนือเขื่อนเจ้าพระยา อยู่ที่ 16.70 ม.รทก. เกินระดับเก็บกักไปประมาณ 20 เซนติเมตร ซึ่งปกติอยู่ที่ระดับ 16.50 ม.รทก. โดยจะทำการพร่องน้ำเพื่อรอรับน้ำเหนือโดยรักษาระดับน้ำเหนือเขื่อนอยู่ที่ 16.50 ม.รทก. โดยจะเพิ่มปริมาณน้ำไหลผ่านเขื่อนเจ้าพระยาตามลำดับจนถึง 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที จะส่งผลให้ระดับน้ำท้ายเขื่อนสูงขึ้นจากเดิม กระทบต่อผู้อาศัยอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณที่ลุ่มต่ำ โดยเฉพาะใน อ.เสนา อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา ระดับน้ำจะสูงขึ้นจากเดิมประมาณ 50-70 เซนติเมตร สำหรับตัวเมืองของแต่ละจังหวัด ได้แก่ สิงห์บุรี อ่างทอง และพระนครศรีอยุธยา ไม่ส่งผลกระทบ

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 28 กันยายน 2559

ปฏิวัติวงการเกษตร! ครม. เห็นชอบกฎหมาย Contract Farming เพิ่มอำนาจต่อรอง

นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบ ร่างพ.ร.บ.ส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธะสัญญาที่เป็นธรรม พ.ศ. ....สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติ ดังนี้ กำหนดขอบเขตการใช้บังคับกฎหมายให้ใช้เฉพาะการทำสัญญาในระบบเกษตรพันธสัญญา  โดยกำหนดบทนิยามคำว่า "ระบบเกษตรพันธสัญญา" ให้หมายถึงเฉพาะระบบการผลิตผลิตผลหรือบริการทางการเกษตรที่เกิดขึ้นจากสัญญาระหว่างผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรกับบุคคลธรรมดาซึ่งประกอบอาชีพเกษตรกรรมตั้งแต่สิบรายขึ้นไป หรือกับองค์กรทางการเกษตรที่มีกฎหมายรองรับ โดยผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรเข้าไปมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตด้วยเท่านั้น

กำหนดให้มีคณะกรรมการส่งเสริมและพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญาขึ้น โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นประธาน  มีอำนาจหน้าที่ในการเสนอแผนการพัฒนาระบบเกษตรพันธสัญญาต่อคณะรัฐมนตรี กำหนดแนวทางให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการให้เป็นไปตามแผน กำหนดรูปแบบของสัญญาในระบบเกษตรพันธสัญญา และออกประกาศเพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการต่าง ๆ ตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้

กำหนดให้สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีหน่วยงานในระดับพื้นที่ทำหน้าที่สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการ และให้มีอำนาจหน้าที่ในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลและสภาพปัญหาเกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมในระบบเกษตรพันธสัญญาเสนอต่อคณะกรรมการ

กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรที่ประสงค์จะประกอบธุรกิจในระบบเกษตรพันธสัญญาหรือเลิกการประกอบธุรกิจในระบบเกษตรพันธสัญญาต้องจดแจ้ง การประกอบธุรกิจหรือการเลิกประกอบธุรกิจต่อสำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และให้สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดทำทะเบียนผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตร และเปิดเผยให้ประชาชนสามารถตรวจสอบได้

กำหนดให้ผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรต้องทำเอกสารสำหรับการชี้ชวนให้เกษตรกรทราบเป็นการล่วงหน้าก่อนทำสัญญาในระบบเกษตรพันธสัญญา  และต้องส่งให้สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เก็บไว้เพื่อใช้เป็นเอกสารในการตรวจสอบ โดยเอกสารสำหรับการชี้ชวนดังกล่าวถือเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาและจะต้องมีข้อมูลตามที่กำหนด

กำหนดให้อำนาจคณะกรรมการในการประกาศกำหนดแบบของสัญญาในกรณีที่การทำสัญญาในระบบเกษตรพันธสัญญาใดอาจมีผลกระทบอย่างสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ในกรณีที่การทำสัญญาไม่เป็นไปตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด ให้ถือว่าสัญญาส่วนนั้นไม่มีผลใช้บังคับและให้นำความตามแนบมาใช้แทน

กำหนดให้ข้อตกลงหรือเงื่อนไขในสัญญาในระบบเกษตรพันธสัญญาอันเป็นข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมตามที่กำหนด ไม่มีผลใช้บังคับ และกำหนดให้คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต้องเข้าสู่กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อนจึงจะมีสิทธินำข้อพิพาทเข้าสู่การพิจารณาของอนุญาโตตุลาการหรือนำคดีไปสู่ศาล ในกรณีที่คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งประสงค์จะใช้กระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

กำหนดมาตรการคุ้มครองระหว่างกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทโดยห้ามมิให้คู่สัญญาชะลอ ระงับ หรือยุติการปฏิบัติตามสัญญาจนเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหาย กระทำการใด ๆ  ให้คู่สัญญาอีกฝ่ายได้รับความเสียหายทั้งทางตรงและทางอ้อม ในกรณีที่สัญญาสิ้นสุดลงแล้ว หรือทำข้อตกลงเพิ่มเติมหรือแก้ไขสัญญาเพื่อให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งรับความเสี่ยงภัย รับภาระ หรือมีหน้าที่เพิ่มเติมโดยไม่มีค่าตอบแทนอย่างเป็นธรรม

กำหนดโทษปรับไม่เกินสามแสนบาทสำหรับผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตรซึ่งไม่แจ้งการประกอบธุรกิจในระบบเกษตรพันธสัญญา ไม่แจ้งการยกเลิกการประกอบธุรกิจในระบบเกษตรพันธสัญญา หรือไม่จัดทำเอกสารสำหรับการชี้ชวนก่อนการทำสัญญา

กำหนดโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท และปรับอีกไม่เกินวันละห้าพันบาท ตลอดเวลาที่ฝ่าฝืน สำหรับคู่สัญญาซึ่งชะลอ ระงับ หรือยุติการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาจนเป็นเหตุให้อีกฝ่ายหนึ่งได้รับความเสียหายในระหว่างกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท หรือกระทำการใด ๆ ที่เป็นการเสียหายแก่อีกฝ่ายหนึ่งในกรณีที่สัญญาสิ้นสุดลงแล้วในระหว่างกระบวนการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท

กำหนดโทษปรับไม่เกินสามแสนบาทสำหรับผู้ประกอบธุรกิจทางการเกษตร ซึ่งดำเนินการใด ๆ เพื่อให้การทำสัญญาไม่เข้าลักษณะของสัญญาในระบบเกษตรพันธสัญญา

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 27 กันยายน 2559

"รมว.เกษตร" เร่งขยายเครือข่ายศูนย์เรียนรู้เกษตรกร ลั่นอีก 20 ปี ไทยจะเป็นมหาอำนาจด้านอาหาร

กรมส่งเสริมการเกษตรดันแผนปี 60 ต่อยอดเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ผ่านเกษตรต้นแบบ หวังลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพ เชื่อมโยงแปลงใหญ่ สนองตลาดชุมชน ลั่นอีก 20 ปี ไทยจะเป็นมหาอำนาจด้านอาหาร

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการรายงานขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ หรือเอฟเอโอ ระบุว่าอีก 20 ข้างหน้าจะเกิดวิกฤตทางด้านอาหาร เนื่องจากความต้องการจะเพิ่มขึ้นตามจำนวนประชากร ในขณะที่เอเชียเป็นแหล่งผลิตอาหารของโลก โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียน ซึ่งไทยมีศักยภาพสูงสุด ดังนั้นไทยจึงมีโอกาสที่จะเป็นมหาอำนาจทางอาหารในอนาคต และคาดว่าใน 10 ปีข้างหน้านี้ราคาสินค้าเกษตรจะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน 

ทั้งนี้กระแสดังกล่าวมั่นใจว่าทุกประเทศในเอเชียรับรู้ และอยู่ระหว่างปรับโครงสร้างทางการเกษตร ซึ่งไทยจะต้องเร่งทำเช่นกันเพื่อยกระดับราคาสินค้ารองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อีกทั้งปัจจุบันการแข่งขันด้านตลาดมีความรุนแรงกดดันให้เกษตรกรต้องปรับตัวเข้าสู่กระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพเร็วขึ้น ซึ่งการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร 882 แห่งทั่วประเทศมีความสำคัญในการพัฒนาการเกษตรให้มีความมั่นคง แข็งแรง เพื่อนำไปสู่ระบบเกษตรแปลงใหญ่ต่อไป

โดยในปี 2560 ทั้ง 882 ศูนย์นี้ มีเป้าหมายที่จะต้องเห็นการปฏิบัติได้จริง จากในปี 2559 ที่ศูนย์ประสบผลสำเร็จแล้วในด้านการอบรมเป็นเกษตรกรต้นแบบ ที่ต้องนำไปปฎิบติในพื้นที่จริงและสร้างเครือข่ายเกษตรรายอื่นขยายวงให้กว้างขึ้น เพื่อเพิ่มศักยภาพการพัฒนาให้มีประสิทธิภาพในการผลิต สนองความต้องการด้านการเกษตรของชุมชนได้

ทั้งนี้ ทางกองสลากกินแบ่งรัฐบาลได้สนับสนุนเงิน 132 ล้านบาทในการสร้างศาลาเรียนรู้ให้กับศูนย์เรียนรู้ 882 แห่งทั่วประเทศ เพื่อใช้ประโยชน์ในการเป็นสถานที่พบปะ อบรม และเป็นแหล่งถ่ายทอดองค์ความรู้ของเกษตรกรด้วย

“เป้าหมายของผมไม่ได้หวังให้เกษตรกรร่ำรวย แต่ต้องมีรายได้เพียงพอที่จะดูแลครอบครัวได้อย่างมีความสุข การปฏิรูปทางการเกษตรต้องลดต้นทุนเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ได้สินค้าที่ตรงกับความต้องการของตลาด ซึ่งทั้งหมดเกษตรกรจะหนีการทำแปลงใหญ่ไม่ได้  ในวิธีการร่วมกันคิดร่วมกันทำ หากทำแบบเดิมเกษตรกรจะไปไม่รอด” พล.อ.ฉัตรชัยกล่าว

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 27 กันยายน 2559

ครม.อนุมัติมาตรการปลดหนี้เกษตรกร

ครม.อนุมัติตาม ธ.ก.ส. เสนอมาตรการปลดหนี้ให้เกษตรกรที่มีเหตุผิดปกติ พร้อมลดดอกเบี้ยลูกนี้ชั้นดีที่จ่ายดอกเบี้ยแล้ว 30% ทุ่มงบปี 60 รวมกว่า 6,500 ล้านบาท จ่ายเงินช่วยเกษตรกรรายได้ไม่เกิน 1 แสนต่อปี

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรีในวันนี้ ว่า ที่ประชุมเห็นชอบมาตรการช่วยเหลือผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. เพื่อบรรเทาภาระหนี้สิน โดยแบ่งเป็นการจำหน่ายหนี้เป็นศูนย์ หรือ ปลดหนี้ให้เกษตรกรที่มีเหตุผิดปกติ เช่น เสียชีวิต หรือ พิการ จนไม่สามารถประกอบอาชีพได้ และไม่มีทายาท ส่วนกรณีมีทายาทจะพิจารณาลดภาระหนี้ และรับมาเป็นลูกค้าแทน เพื่อมาปรับปรุงการผ่อนชำระหนี้ และมาตรการปรับโครงสร้างหนี้และลดภาระให้แก่เกษตรกรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป หรือมีภาระหนี้จำนวนมาก โดยจะมีการให้พักชำระหนี้ในเวลา 2 ปี หลังจากนั้นให้ผ่อนส่งต่อโดยปรับลดดอกเบี้ยลง ร้อยละ 50 - 80 รวมทั้งมาตรการ ชำระดี มีคืน โดยจะคืนดอกเบี้ยที่ชำระหนี้ในอัตราร้อยละ 30 ของดอกเบี้ยทั้งหมดที่ชำระมา แก่เกษตรกรที่มีความสามารถในการชำระหนี้

ครม.ทุ่ม6,500ล้านจ่ายเงินช่วยเกษตรกร

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันนี้ว่า ที่ประชุมมีมติเห็นชอบมาตรการส่งเสริมคุณภาพชีวิตเกษตรกรรายย่อยที่มีรายได้น้อย หลังได้รับผลกระทบจากปัญหาภัยแล้ง และราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ รวมแล้วสถิติโดยรวมยังฟื้นตัวช้า โดยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรที่ลงทะเบียนกับทางกระทรวงการคลัง ผ่านโครงการสวัสดิการของรัฐไว้แล้วในกรณีที่เกษตรกร มีรายได้ไม่เกิน 3 หมื่นบาทต่อปี จะได้รับเงินช่วยเหลือรายละ 3,000 บาท และเกษตรกรมีรายได้ไม่เกิน 1 แสนบาทต่อปี จะได้รับเงินช่วยเหลือรายละ 1,500 บาท โดยมีเกษตรกรกลุ่มเป้าหมาย ครอบคลุม 2.8 ล้านราย และต้องใช้เงินงบประมาณจากงบประมาณในปี 2560 รวม 6,500 ล้านบาท

จาก http://www.innnews.co.th   วันที่ 27 กันยายน 2559

อนุญาตขนกากอุตฯ 3 นาที

                    กรมโรงงานลดขั้นตอน ยื่นขอขนกากอุตฯ เร็วปรี๊ดใน 3 นาที จากเดิมลากยาวเป็นเดือน มั่นใจปี 62 ขยะอุตฯเข้าระบบ 90%  ย้ำปีนี้จัดการตามเป้า 1.5 ล้านตัน

                    นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจ โครงการนำร่องการอนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงานโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ ระหว่างกรมโรงงานอุตสาหกรรม(กรอ.) กับสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ว่า โครงการนี้จะช่วยเพิ่มความรวดเร็ว และเพิ่มช่องทางให้ผู้ประกอบกิจการโรงงานกำจัดกาก ยื่นคำขออนุญาตผ่านระบบอินเทอร์เนต วิเคราะห์ข้อมูลในคำขออนุญาตและแจ้งผลให้ทราบทันที ดำเนินการไม่เกิน 3 นาที จากปกติใช้ระยะเวลาพิจารณาอนุญาตประมาณ 10 - 30 วัน เป็นไปตามแผนขับเคลื่อนประเทศตามนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ของรัฐบาล

ทั้งนี้กระทรวงอุตฯ จะคัดเลือกโรงงานที่มีประสิทธิภาพ และกลุ่มผู้ประกอบการชั้นดีเข้าร่วมโครงการดังกล่าว ตั้งเป้าหมายจะจัดการกากอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบตามแผนยุทธศาสตร์การจัดการการอุตสาหกรรม ปี 58 - 62 ที่จะดำเนินการเข้าสู่ระบบไม่น้อยกว่า 90% จากขยะที่มีในระบบ 3 ล้านตันต่อปีภายในปี  62 โดยในปีงบประมาณ  59 มั่นใจว่า จะสามารถจัดการกากอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบเป็นไปตามเป้าหมาย 1.5 ล้านตันแน่นอน เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาร 58 ซึ่งอยู่ที่ 1.2 ล้านตัน

นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า สถิติปี 57 - 58 การพิจารณาการอนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงานโดยเจ้าหน้าที่มีจำนวนคำขอรวม 80,000 คำขอ มีรายการกากอุตสาหกรรมที่ต้องพิจารณา 500,000 รายการ ในบางช่วงเวลาทำให้คำขอของโรงงานผู้ก่อกำเนิดหลายรายใช้เวลาพิจารณานานมากกว่า 3 เดือน เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว และเป็นการรองรับปริมาณคำขอที่จะเพิ่มมากขึ้นจากนโยบายเร่งรัดให้กากอุตสาหกรรมเข้าสู่ระบบบริหารจัดการฯ กรมโรงงานอุตสาหกรรม จึงได้จับมือกับ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จัดทำโครงการนำร่องการอนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงานโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกรวดเร็วการให้บริการตามนโยบายของรัฐบาล และตาม พ.ร.บ.การอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ 2558 สามารถลดเวลาเหลือเพียงไม่เกิน 3 นาที ซึ่งระบบนี้จะรองรับเฉพาะการยื่นขออนุญาตนำกากอุตสาหกรรมออกนอกบริเวณโรงงาน (สก.2) ที่ยื่นผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์เท่านั้น

จาก http://www.dailynews.co.th   วันที่ 27 กันยายน 2559

นํ้าท่วมเสียหาย 4.5 แสนไร่ อุตุฯสั่งรับมือฝนตกหนัก

ก.เกษตรฯเผยน้ำท่วมทำพื้นที่เกษตรเสียหายแล้วกว่า 4.5 แสนไร่ ข้าวงหนักสุด 3.2 แสนไร่ ขณะอธิบดีกรมอุตุฯยันข่าวพายุ TORAY เข้าไทยไม่จริง ระบุเพจปลอมปล่อยข่าว เผยปลายเดือนนี้มรสุมเข้า เตือนภาคกลางตอนล่าง ตะวันออก อีสาน ใต้ตอนบนรับมือฝนตกชุก

นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงสถานการณ์ภัยพิบัติด้านการเกษตร ผลกระทบจากอุทกภัยตั้งแต่วันที่ 27 สิงหาคม – 21 กันยายน 2559 ว่า มีฝนตกหนัก ทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วมฉับพลัน ในพื้นที่ 42 จังหวัด ปัจจุบันยังเหลือ 1 จังหวัด ยังคงมีน้ำท่วมขังได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา ส่วนอีก 7 วัน ระดับน้ำลดลงแล้ว ได้แก่ กำแพงเพชร พิษณุโลก หนองบัวลำภู ชัยภูมิ พังงา เพชรบูรณ์ และสุโขทัย มีเกษตรกรได้รับผลกระทบ 6.97 หมื่นราย พื้นที่ 4.56 แสนไร่ แบ่งเป็น ข้าว 3.24 แสนไร่ พืชไร่ 1.11 แสนไร่ พืชสวนและอื่นๆ 2.0 หมื่นไร่ ไร่ ด้านประมง มีเกษตรกรได้รับผลกระทบ 2,028 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 1,879 ไร่ (บ่อปลา 1,020ไร่ บ่อกุ้ง/ปู/หอย 859 ไร่

ด้านนายวันชัย ศักดิ์อุดมไชย อธิบดีกรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าจากกรณีที่มีข่าวพายุ “TORAY” จะเข้าประเทศไทยในช่วงนี้ไม่เป็นความจริง เป็นเพจปลอมที่ทำเลียนขึ้นมา เรื่องดังกล่าวนี้ได้มีประชุม ( 21 ก.ย. 59) ชี้แจงให้กับทางผู้ใหญ่ของรัฐบาลทราบเรียบร้อย และขอยืนยันว่าในช่วง 1-2 สัปดาห์นี้ยังไม่มีพายุเข้าไทย อีกทั้งชื่อพายุที่กล่าวอ้าง ทางกรมก็ได้มีการตรวจสอบไม่มีในระบบเลย จึงขอให้ประชาชนฟังหูไว้หู อย่าเพิ่งแชร์ ให้ตรวจสอบข้อมูลก่อน ส่วนพายุที่จะเข้าไทย ประมาณต้น ตุลาคม กำลังจับตาพายุลูกที่กำลังเคลื่อนตัวมาจากไต้หวัน ฮ่องกง จะต้องพิจารณาการก่อตัวว่าความรุนแรงที่จะเข้าไทยมากหรือน้อย ต้องให้มาใกล้กว่านี้ก่อน

“ในช่วงนี้บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนยังคงปกคลุมตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ทำให้ร่องมรสุมพาดผ่านบริเวณภาคกลางตอนล่าง และภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยจะมีกำลังแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ฝนตกชุกหนาแน่นกับมีฝนตกหนักหลายพื้นที่ และมีฝนตกหนักมากบางแห่งในบริเวณภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ตอนบน”

นายวันชัย กล่าวอีกว่า ในช่วงวันที่ 24-28 กันยายนนี้ บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนที่แผ่มาปกคลุมตอนบนของภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้ร่องมรสุมจะเลื่อนขึ้นไปพาดผ่านภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน สำหรับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยยังคงกำลังแรง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง ส่วนบริเวณภาคกลางตอนล่าง ภาคตะวันออก มีปริมาณฝนลดลง สำหรับคลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยตอนบนมีกำลังปานกลาง

จาก http://www.thansettakij.com  วันที่ 27 กันยายน 2559

ไทย-บราซิล"หารือด้านเกษตร ผลิตเอทานอล-ขยายตลาด2ประเทศ!

โดย -โต๊ะข่าวเกษตร

             ก.เกษตรฯ หารือบราซิลแลกเปลี่ยนภูมิวิจัยด้านการเกษตร พุ่งเป้าการผลิตเอทานอลจากอ้อย มุ่งนำความรู้พัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตรไทย ทั้งขยายการค้าภาคเกษตรระหว่างกัน

             พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หารือร่วมกับนายบลาโร บอร์เกส มากกี (H.E. Mr. Blairo Borges Maggi) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และการผลิตอาหาร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล โดยได้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการเกษตร ตลอดทั้งเสริมสร้างความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างกัน โดยทางบราซิลได้มีความประสงค์ในการเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี การวิจัยพัฒนาระหว่างประเทศไทยและสถาบัน EMBRAPA องค์การวิจัยเกษตรของบราซิล

              เนื่องจาก บราซิลมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการเกษตรชั้นสูง และการจัดการการผลิตเอทานอลจากอ้อย ซึ่งหากเกิดความร่วมมือก็จะเกิดการแลกเปลี่ยนการพัฒนาวิจัยงานด้านการเกษตรอันเป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างทั้งสองประเทศ พร้อมกันนี้ ทางฝ่ายไทยได้แจ้งความประสงค์ให้บราซิลสนับสนุนการนำเข้าข้าวและยางพาราของไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากไทยเป็นผู้ผลิตข้าวหอมมะลิส่งออก ที่มีคุณภาพมาตรฐานสากล และยางพาราธรรมชาติที่มีคุณภาพ โดยไทยได้ส่งออกสินค้าดังกล่าวไปหลายประเทศทั่วโลก โดยขณะเดียวกัน บราซิลก็ได้ขอความร่วมมือให้ไทยช่วยพิจารณานำเข้าเนื้อวัวและไก่ป่นจากบราซิลเช่นกัน

              นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศได้หารือเกี่ยวกับการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตร ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ของไทย และกระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และการผลิตอาหารของบราซิล โดยร่างบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว มีเนื้อหาครอบคลุมงานด้านการเกษตรในหลายมิติ ทั้งด้านพืช สัตว์ ประมง ดิน และน้ำ ซึ่งไทยจะได้รับประโยชน์จากความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีด้านการเกษตรทั้งแบบที่ใช้เครื่องจักรกล และเทคโนโลยีชั้นสูงด้วย

จาก http://www.komchadluek.net  วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

อนท.ตะลุยขายน้ำตาลทรายตลาดโลก! แก้ข้อหา “บราซิล” ฟ้ององค์การการค้าโลก

นายนราธิป อนันตสุข หัวหน้าสำนักงานสมาคมชาวไร่อ้อยเขต 7 จังหวัดกาญจนบุรี เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด (อนท.) ได้ทำการเสนอขายน้ำตาลล่วงหน้าฤดูการผลิตปี 2559/60 ที่จะเริ่มเปิดหีบอ้อยเดือน พ.ย.นี้ ไปแล้วเกือบ 70% ราคาเฉลี่ยที่ระดับ 20 เซนต์ต่อปอนด์ ทำให้แนวโน้มการคำนวณราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 2559/60 จะไม่ต่ำกว่าระดับ 1,000 บาทต่อตัน ขณะเดียวกัน อนท.จะมีการประชุมเร็วๆนี้ เพื่อตัดสินใจทำการขายน้ำตาลล่วงหน้าฤดูการผลิตปี 2560/61 อีกด้วย

ทั้งนี้ วันที่ 28 ก.ย.นี้ ตัวแทนชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาล จะร่วมกันหารือในรายละเอียด ถึงการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ที่จะสามารถปฏิบัติได้ เพื่อแก้ไขประเด็นข้อกังวลของประเทศบราซิล ที่ได้ยื่นคำร้องต่อองค์การการค้าโลก (WTO) กล่าวหารัฐบาลไทย ใช้มาตรการอุดหนุนการส่งออกและอุดหนุนภายในประเทศ ในสินค้าน้ำตาลเพื่อที่จะได้นำเสนอความเห็นประกอบการหารือในคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(กอน.)วันที่ 30 ก.ย.นี้ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป “ขั้นตอนล่าสุด บราซิลยังอยู่ระหว่างเจรจากับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมน้ำตาลของไทย ยืดระยะเวลาที่เคยประกาศว่าจะฟ้องร้องประเทศไทยวันที่ 15 ต.ค.ออกไปได้ หากการเจรจามีแนวโน้มที่ดี และหากไทยชี้แจงได้ว่ามาตรการที่ผ่านๆ มาในการช่วยเหลือชาวไร่อ้อยของรัฐบาล ไม่ได้ขัดต่อข้อกำหนดขององค์การการค้าโลก”.

จาก http://www.thairath.co.th   วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

ส่งออกเดือนส.ค.พลิกบวก6.5% พาณิชย์ถกเอกชนเร่งสปีด-คาดขอบีโอไอแตะ5.5แสนล.

ส่งออก ส.ค.พลิกบวก 6.54% ขยายตัวสูงสุดในรอบ 6 เดือน สินค้าอุตสาหกรรมขยายตัวดี แต่กลุ่มเกษตรยังติดลบ "สุวิทย์" หวังทั้งปีหดตัวไม่เกิน 1% นัดถกเอกชนดันยอดโค้งท้ายปี ด้าน รมว.อุตฯ คาดโครงการขอบีโอไอปีนี้ชนเป้า 5.5 แสนล้านบาท

นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า การส่งออกของไทยในเดือน ส.ค.2559 มีมูลค่า 18,824.9 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 6.54% เป็นการกลับมาขยายตัวเป็นบวกอีกครั้งในรอบ 5 เดือน และเป็นการขยายตัวสูงสุดในรอบ 6 เดือนนับจากเดือน มี.ค.2559 ที่เพิ่มขึ้น 1.30% แต่ยอดรวม 8 เดือนแรกของปีมูลค่า 141,007 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบ 1.2%

โดยการส่งออกเดือน ส.ค. หากตัดตัวเลขที่มีปัญหาของเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา คือ ยานยนต์ ที่เพิ่งนำมาลงเป็นตัวเลขส่งออกในเดือนนี้มูลค่า 370 ล้านเหรียญสหรัฐ ออกไปยังเป็นบวก 4%

ส่วนการนำมีมูลค่า 16,697.3 ล้านเหรียญสหรัฐ ลดลง 1.48% โดยไทยเกินดุลการค้ามูลค่า 2,127.6 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนช่วง 8 เดือนมีมูลค่านำเข้า 125,624 ล้านเหรียญสหรัฐ ติดลบ 8.8% แต่ยังเกินดุลการค้า 15,384 ล้านเหรียญสหรัฐ

สาเหตุที่ทำให้การส่งออกในเดือน ส.ค.เพิ่มขึ้น มาจากการเพิ่มขึ้นของการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมที่ขยายตัวได้ถึง 9% ส่วนสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร ยังลดลง 4.1% ส่วนตลาดส่งออกพบว่าตลาดสำคัญเพิ่มขึ้นทุกตลาด เช่น จีนเพิ่ม 4.4% ญี่ปุ่นเพิ่ม 5.7% อาเซียนเพิ่ม 2.6% CLMV เพิ่ม 0.3% และสหรัฐเพิ่ม 14.9% เป็นต้น

"แนวโน้มการส่งออกในช่วงที่เหลือของปีนี้ ประเมินจนถึงขณะนี้ มีแนวโน้มที่จะขยายตัวในช่วงเป็นบวกได้นิดๆ หรือติดลบไม่เกิน 1% เพราะกระทรวงฯ มีแผนที่จะหารือกับผู้ผลิตรายใหญ่รายสำคัญ เช่น อาหาร อัญมณีและเครื่องประดับ ยานยนต์และชิ้นส่วน และอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น เพื่อดูว่าจะเร่งส่งออกอะไรได้เพิ่มขึ้นบ้างในช่วงที่เหลือของปีนี้ ซึ่งจะทำให้เพิ่มยอดการส่งออกได้ในระดับหนึ่ง" นายสุวิทย์กล่าว

ทั้งนี้ การส่งออกในช่วง 4 เดือนที่เหลือของปีนี้ หากทำได้เดือนละ 17,800 ล้านเหรียญสหรัฐ การส่งออกจะติดลบ 1% ทำได้เดือนละ 18,300 ล้านเหรียญสหรัฐ จะขยายตัวที่ 0% หากทำได้เดือนละ 18,500 ล้านเหรียญสหรัฐ จะขยายตัว 0.3% และส่งออกเดือนละ 19,000 ล้านเหรียญสหรัฐ การส่งออกจะเป็นบวก 3%

นางอรรชกา สีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรม กล่าวภายหลังนายชินสึเกะ ยูอาสะ ประธานบริษัท ไทยโอซูก้า จำกัด ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมทางการแพทย์ของญี่ปุ่นเข้าพบ ว่า แนวโน้มการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศในช่วงไตรมาสสุดท้ายปี 2559 ยังมีแนวโน้มที่ดี โดยมีการยื่นโครงการลงทุนเพื่อขอรับการส่งเสริมการลงทุน โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลส่งเสริม หรือ NEW S-CURVE ใน 10 อุตสาหกรรม ดังนั้นในปี 2559 ยอดขอรับการส่งเสริมฯ น่าจะได้ตามเป้า คือ 550,000 ล้านบาท

ขณะที่ปี 2560 เชื่อว่ายอดขอรับการส่งเสริมฯ จะขยายตัวมากกว่าปีนี้ เพราะนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทำงานหนักขึ้น มีนโยบายให้เพิ่มความเข้มข้นในการชักจูงการลงทุนกลุ่มประเทศเป้าหมาย และปีหน้ายังมีกฎหมายสนับสนุนการลงทุนหลายฉบับมีผลบังคับใช้ ประกอบด้วย กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก กฎหมายกองทุนเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน 10,000 ล้านบาท กฎหมายบีโอไอที่มีการปรับปรุงใหม่ เป็นต้น.

จาก http://www.thaipost.net   วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559

ส.อ.ท.เตรียมMOUอนุญาตนำสิ่งปฏิกูลออกโรงงาน

ส.อ.ท. เตรียมลงนามความร่วมมือกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม โครงการนำร่องการอนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน โดยระบบอิเล็กทรอนิกส์

ในวันนี้ กลุ่มอุตสาหกรรมการจัดการเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ร่วมกับกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) จัดงานแถลงข่าวและพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจเพื่อร่วมจัดทำโครงการนำร่องการอนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงานโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Auto E License) โดยในระยะแรกมี 10 บริษัท เข้าร่วมโครงการนำร่องเพื่อพิจารณาผลสัมฤทธิ์ และหากโครงการดังกล่าวได้ผลเป็นที่น่าพอใจ จะขยายการดำเนินงานไปยังผู้ประกอบการโรงงานอื่น ๆ โดยมี นายเจน นำชัยศิริ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจกับ นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงาน-อุตสาหกรรม และ นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวมอบนโยบายด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม ณ ห้องบอร์ดรูม 4 โซนซี ชั้น 3 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

จาก http://www.innnews.co.th   วันที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2559 

กลุ่มวังขนาย ปรับโฉมถุงน้ำตาลซิบล็อค เอาใจใส่ชาวไร่อ้อย

          กลุ่มวังขนาย ผู้ผลิตและจำหน่ายน้ำตาลออร์แกนิค ปรับโฉมดีไซน์ถุงน้ำตาลซิบล๊อคให้มีรูปรอยยิ้มของเกษตรกรชาวไร่อ้อยอยู่บนถุงน้ำตาล ซึ่งสะท้อนอัตลักษณ์ความเป็นวังขนาย ที่ใกล้ชิดกับเกษตรกร และคำนึงถึงสุขภาพของผู้บริโภค ตั้งแต่การปลูกอ้อย การผลิตน้ำตาล จนถึงมือผู้บริโภค โดยถุงน้ำตาล ซิบล๊อค 3 ชนิด คือ น้ำตาลกรวด บรรจุ 500 กรัม เหมาะสำหรับต้ม หรือตุ๋นอาหารเพื่อสุขภาพ เช่น รังนก เครื่องดื่มสมุนไพร น้ำตาลคาราเมล บรรจุ 500 กรัม ช่วยเพิ่มความหอมกรุ่นให้กับเครื่องดื่ม และน้ำตาลทรายแดง บรรจุ 400 กรัม ที่คงความหอมของน้ำอ้อยไว้ในเกล็ดน้ำตาล ช่วยเพิ่มสีของขนม และอาหารให้น่ารับประทานมากยิ่งขึ้น โดยน้ำตาลถุงซิบล๊อค จัดทำขึ้นเพื่อเอาใจคนรักสุขภาพสะดวกในการใช้และการเก็บรักษา มีจำหน่ายแล้วตั้งแต่วันนี้ที่ห้างค้าปลีกชั้นนำทั่วประเทศ

          สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทรศัพท์ 02-6758327-30

จาก http://www.bangkokbiznews.com วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

"กลุ่มมิตรผล" จับมือ "DFI สหรัฐ" ร่วมวิจัยสารความหวานจากอ้อย

กลุ่มมิตรผลร่วมทุน DFI สหรัฐ วิจัย "สารให้ความหวาน" จากแป้ง น้ำตาลที่มีแคลอรีต่ำ "อีริทริทอลและไซลีทอล" ขานรับนโยบาย "ประเทศไทย 4.0" เล็งตั้งโรงงานผลิตสารให้ความหวานจากธรรมชาติที่ "ฟู้ดอินโนโพลีส" เร็ว ๆ นี้

นายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มมิตรผล กล่าวหลังพิธีลงนามความร่วมมือกับบริษัท Dynamic Food Ingredients (DFI) ซึ่งเป็นบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาสารให้ความหวาน จากประเทศสหรัฐอเมริกาว่า การร่วมลงทุนวิจัยกับ DFI ครั้งนี้มุ่งเน้นการผลิตสารให้ความหวานจากแป้งหรือน้ำตาลที่มีแคลอรีต่ำ 2 ชนิด คือ อีริทริทอล (Erythritol) และไซลีทอล (Xylitol) โดยใช้วัตถุดิบจากพืชเกษตรที่ปลูกในเมืองไทย เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับอุตสาหกรรมอาหารและผู้บริโภคไทยที่ใส่ใจเรื่อง สุขภาพ ซึ่งการวิจัยระยะแรกมุ่งผลิตที่ประเทศสหรัฐอเมริกาก่อน ควบคู่กับการร่วมวิจัยและพัฒนาที่เมืองนวัตกรรมอาหาร (Food Innopolis) และในอนาคตอันใกล้กลุ่มมิตรผลมุ่งหวังที่จะนำองค์ความรู้มาต่อยอดผลิตสารให้ ความหวานจากธรรมชาติในไทยต่อไป

ทางกลุ่มมิตรผลได้เล็งเห็นถึงความ สำคัญในการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มให้ แก่ธุรกิจมาเป็นเวลากว่า 20 ปี สอดรับกับนโยบายประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาล ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีล้ำหน้าของ DFI ในการผลิตสารให้ความหวานด้วยกระบวนการทางไฟฟ้าด้วยการดึงคาร์บอนออกจาก โมเลกุล มาแปรรูปน้ำตาลให้เป็นสารให้ความหวานจากธรรมชาติที่มีแคลอรีต่ำกำลังเป็นที่ แพร่หลายในโลก มีผลวิจัยทางวิทยาศาสตร์แสดงให้เห็นว่า อีริทริทอล และไซลีทอล คือทางเลือกของสารให้ความหวานจากธรรมชาติ ซึ่งมีรสชาติอย่างที่ผู้บริโภคต้องการโดยไม่ทิ้งกลิ่นใด ๆ ในปาก และไม่มีผลกระทบต่อสุขภาพเหมือนสารให้ความหวานสังเคราะห์อื่น ๆ ซึ่งตอนนี้ผู้ผลิตอาหารและเครื่องดื่มรายใหญ่หลายรายทั่วโลกใช้สารทั้งสอง ชนิดนี้ รวมถึงมีการนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ประเภทอื่น ๆ มากขึ้นในอนาคต

นายพอล แม็กนอตโต ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท DFI กล่าวว่า มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งกับการที่กลุ่มมิตรผลมาร่วมเป็นพันธมิตรครั้งนี้ จะเป็นการขยายศักยภาพด้านนวัตกรรมการผลิตโดยใช้ไฟฟ้า ซึ่ง DFI ได้จดสิทธิบัตรในการแปรรูปน้ำตาลให้เป็นผลิตภัณฑ์แคลอรีต่ำจากธรรมชาติ โดยที่ยังคงรสชาติที่ดีไว้

ไม่ใช้สารให้ความหวานสังเคราะห์ (Artificial) สารแต่งสี สารแต่งกลิ่น สารเติมเต็ม หรือสารกันเสียใด ๆ เพื่อให้สามารถผลิตสารให้ความหวานจากธรรมชาติที่ได้รับการรับรองทาง วิทยาศาสตร์แล้วว่าปลอดภัยต่อสุขภาพให้กับผู้บริโภคที่หันมาหาวิถีการกินที่ มีคุณค่าต่อสุขภาพมากขึ้น โดยเลือกใช้สารให้ความหวานจากธรรมชาติแทนสารให้ความหวานสังเคราะห์

ปัจจุบัน มีการใช้อีริทริทอล และไซลีทอล เป็นสารให้ความหวานแคลอรีต่ำกันแพร่หลายมากขึ้น ในผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งเป็นเครื่องปรุงรสบนโต๊ะอาหารในร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์อาหารจาก ธรรมชาติ เทคโนโลยีสิทธิบัตรของ DFI จะเป็นมิติใหม่ในการสร้างกระบวนการผลิตที่มีประสิทธิภาพ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมสำหรับผลิตภัณฑ์ซึ่งผู้บริโภคให้การยอมรับ นอกจากนั้นการร่วมมือกันครั้งนี้ยังมีการพัฒนาวัตถุดิบซึ่งสามารถลดการใช้ยา ปฏิชีวนะในอาหารสัตว์ และสารเคมีที่หมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่ได้

ในปี 2558 ที่ผ่านมา อัตราการบริโภคอีริทริทอลทั่วโลกอยู่ที่ 65,000 ตัน โดยคาดว่ามีอัตราการเติบโต 7-8% ต่อปี ขณะที่การบริโภคไซลีทอลทั่วโลกอยู่ที่ 250,000 ตัน โดยคาดว่ามีอัตราการเติบโต 8-9% ต่อปี

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2559

ก.อุตฯชง3แผนยุทธศาสตร์เข้าครม.ต.ค.นี้

กระทรวงอุตสาหกรรม จ่อชง 3 แผนยุทธศาสตร์ ขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรม ก้าวข้ามกับดักรายได้ปานกลาง เข้า ครม. ภายในเดือนตุลาคมนี้

นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า กระทรวงอุตสาหกรรม ได้เร่งปรับปรุงเนื้อหาของ 3 แผนงานใหญ่ ได้แก่ ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560–2579) แผนแม่บทการเพิ่มประสิทธิภาพและผลิตภาพการผลิตของภาคอุตสาหกรรม ปี พ.ศ.2560-2564 และแผนแม่บทการพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ (Eco Industrial Town) โดยจะนำเสนอให้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เห็นชอบ ก่อนนำเรื่องดังกล่าวเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ( ครม.) พิจารณาภายในเดือนตุลาคม 2559 โดยแผนดังกล่าวจะสอดคล้องกับแนวคิดการขับเคลื่อนประเทศไทยภายใต้โมเดลประเทศไทย 4.0 ที่มีเป้าหมายในการผลักดันการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวข้ามกับดักประเทศรายได้ปานกลาง สู่ประเทศรายได้สูงภายใน 20 ปีจากนี้ และตอบโจทย์หลัก 3 ด้าน คือ การเติบโตของผลิตภาพ (Productivity growth) การลดความเหลื่อมล้ำ (inclusive growth) และการเติบโตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green growth)

นอกจากนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม จะปรับบทบาทและโครงสร้างกระทรวงตลอดจนสถาบันฯ ภายใต้การกำกับดูแล เพื่อให้สามารถบริการแก่ SMEsกลุ่มต่าง ๆ ที่ครอบคลุมทุกพื้นที่ในระดับจังหวัดทั้งรายเดิมและรายใหม่ และกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรของกระทรวงฯ ให้สามารถทำงานเชิงรุก เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ผู้ประกอบการและนักลงทุน รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือไอที เพื่อให้บริการได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

จาก http://www.innnews.co.th วันที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2559

มิตรผลลดเสี่ยงน้ำตาลป่วน

มิตรผลลดความเสี่ยงราคาน้ำตาลในตลาดโลกผันผวน ผนึกดีเอฟไอ สหรัฐ รุกธุรกิจสารให้ความหวาน

นายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มมิตรผล เปิดเผยว่า บริษัทได้จับมือร่วมกับบริษัท ไดนามิก ฟู้ด อินเกรเดียนท์ส หรือดีเอฟไอ บริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนาสารให้ความหวานจากสหรัฐอเมริกา เพื่อนำนวัตกรรมการใช้พลังงานไฟฟ้าในการขบวนการผลิต ที่ดึงคาร์บอนออกจากโมเลกุล มาแปรรูปน้ำตาลให้เป็นสารให้ความหวานจากธรรมชาติเป็นสินค้า 2 กลุ่ม คืออิริทริทอล และไซลิทอล เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคหันมาใส่ใจสุขภาพและหันมาบริโภคสารให้ความหวานแทนน้ำตาลมากขึ้น บริษัทจึงเห็นโอกาสในการเข้ามาทำธุรกิจดังกล่าว

นอกจากนี้ บริษัทยังร่วมมือกันในด้านของการลงทุนสร้างโรงงานเพื่อผลิตสินค้าดังกล่าวในประเทศสหรัฐ งบลงทุนประมาณ 55 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 2,000 ล้านบาท ซึ่งในอีกประมาณ 2-3 เดือนนับจากนี้ คาดว่าจะเริ่มทำการผลิตสินค้าในส่วนของสารอิริทริทอลก่อน เบื้องต้นคาดว่าจะมีกำลังผลิตอยู่ที่ปีละ 6,000 ตัน ส่วนสารไซลิทอล ยังไม่มีแผนผลิตสินค้าในขณะนี้ เพราะยังอยู่ระหว่างการวิจัยและพัฒนา

นายปีเตอร์ มิเชนเนอร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ สายงานกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจ บริษัท น้ำตาลมิตรผล กล่าวว่า การหันมารุกธุรกิจสารให้ความหวานแทนน้ำตาลในครั้งนี้ ถือเป็นการลดความเสี่ยงในการทำธุรกิจน้ำตาล เนื่องจากปัจจุบันราคาน้ำตาลในตลาดโลกมีความผันผวนซึ่งหลังจากลงทุนโรงงานผลิตในประเทศสหรัฐ บริษัทก็มีแผนที่จะลงทุนสร้างโรงงานในประเทศไทย โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาทำเลที่เหมาะสม

“การลงทุนโรงงานในไทยน่าจะเกิดขึ้นในอีก 2 ปีนับจากนี้ ขนาดของโรงงานจะใหญ่กว่าสหรัฐหลายเท่า เนื่องจากบริษัทวางแผนไว้ว่าโรงงานจะมีกำลังผลิตมากกว่า 4-5 เท่าตัว” นายมิเชนเนอร์ กล่าว

จาก http://www.posttoday.com วันที่ 24 กันยายน 2559

กระทรวงศึกษาธิการ จับมือกลุ่มวังขนาย ตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีฯ อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย

          เมื่อเร็วๆ นี้ ทาง สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เพื่อจัดตั้งสถานศึกษาอาชีวศึกษาเน้นความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านเทคโนโลยีอ้อยและน้ำตาลทราย เป็นแห่งแรกในประเทศไทย ซึ่งได้จัดขึ้นระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กับบริษัท น้ำตาลวังขนาย จำกัด และบริษัทในกลุ่มวังขนาย ซึ่งเป็นการจัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีและการบริหารจัดการ อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ซึ่งจะตั้งอยู่ที่อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี โดยจะเปิดการเรียนการสอนได้ ประมาณปีการศึกษา ๒๕๖๑ จำนวน ๔ สาขา วิชา ได้แก่ ๑) สาขาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย (เน้นอ้อยอินทรีย์) ๒) สาขาการบริหารจัดการระบบโลจิสติค ๓) สาขาเทคโนโลยีการผลิตน้ำตาล และ ๔) สาขาเทคโนโลยีชีวมวล ซึ่งจะเป็นการขยายบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของประเทศไทยให้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องการผลิตอ้อยออร์แกนิค ซึ่งทางกลุ่มวังขนายมีความเชี่ยวชาญและเป็นบริษัทฯ เพียงแห่งเดียวที่สามารถผลิตได้ในประเทศไทย

          นายวณิชย์ อ่วมศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ซึ่งได้มาเป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือครั้งนี้ ได้กล่าวว่า "โครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนตามระบบทวิภาคีเต็มรูปแบบ ๑๐๐% เพื่อผลิตนักเรียน นักศึกษาในระดับอาชีวศึกษา ที่มีความโดดเด่นทั้งทางวิชาการและทักษะการปฎิบัติ เพื่อรองรับในภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และภาคบริการในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ที่ได้เติบโตเพิ่มมากขึ้น โดยมีการเรียนและการปฏิบัติจริง จากครูฝึกซึ่งประกอบอาชีพอยู่ในสถานประกอบการของกลุ่มวังขนายและบริษัทในเครือ รวมถึงในภาคเอกชนอื่นๆ ที่มีความสนใจ เป็นการให้โอกาสแก่นักเรียน นักศึกษาในระดับอาชีวศึกษา โดยได้จัดทำและพัฒนาหลักสูตรด้านเทคโนโลยีการผลิต และการบริหารจัดการอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย และสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ยังจะได้มีการฝึกอาชีพตามหลักสูตรและฝึกปฎิบัติจริง รวมทั้งการสนับสนุนการวิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ร่วมกัน โดยทางสำนักงานคณะ กรรมการการอาชีวศึกษา รับผิดชอบจัดหาอาคารศูนย์วิทยบริการ จำนวน ๑ หลัง อาคารเรียนและปฏิบัติการ จำนวน ๒ หลัง และอาคารโรงฝึกงาน จำนวน ๒ หลัง รวมทั้งสิ้น ๕ หลัง, จัดเตรียมงบประมาณ วัสดุ ครุภัณฑ์ สนับสนุนการจัดตั้งสถาบันการศึกษา และจัดทำพัฒนาหลักสูตรด้านเทคโนโลยีการผลิตและการบริหารจัดการ อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย และสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยว ข้อง รวมทั้งโครงการกิจกรรมเพื่อสร้างภาพลักษณ์ให้นักเรียน นักศึกษาเป็นผู้ที่มีคุณธรรมในชีวิตและการประกอบอาชีพในอนาคต จัดทำแนวทางการดำเนินงาน ประชุม วางแผน จัดระบบ ระเบียบ และกิจกรรมอื่น ๆ ส่งเสริมสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ การวิจัย และพัฒนาองค์ความรู้ ซึ่งรวมทั้งติดตามประเมินผล และปรับปรุงเพื่อให้การศึกษามีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล การสานพลังประชารัฐ ยกระดับคุณภาพวิชาชีพ ผลักดันอาชีวศึกษาไทย สู่ทางเลือกเพื่ออนาคต ตอบโจทย์ยุทธศาสตร์และประเทศไทย"

          ด้าน นายอารีย์ ชุ้นฟุ้ง ประธานกรรมการบริหาร กลุ่มวังขนาย กล่าวว่า "โครงการจัดตั้งวิทยาลัยฯ ในครั้งนี้ ทางกลุ่มวังขนาย ได้บริจาคที่ดินประมาณ ๓๐ ไร่ ซึ่งอยู่ติดทางหลวงแผ่นดินหมายเลข ๒๒๕๖ ในเขตอำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี เพื่อใช้เป็นที่ตั้งของวิทยาลัยฯ รวมทั้งดำเนินการก่อสร้างอาคารอำนวยการ จำนวน ๑ หลัง การปรับพื้นที่และทำระบบสาธารณูปโภค จัดสร้างอาคารโรงฝึกงาน จำนวน ๒ หลัง อาคารหอพักของนักเรียน นักศึกษา ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษา จำนวน ๒ หลัง รวมทั้งสิ้น ๕ หลัง ให้กับสถานศึกษา โดยจะเปิดการเรียน การสอนประมาณปีการศึกษา ๒๕๖๑ จำนวน ๔ สาขาวิชา ได้แก่ ๑) สาขาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย (เน้นอ้อยอินทรีย์) ๒) สาขาการบริหารจัดการระบบโลจิสติค ๓) สาขาเทคโนโลยีการผลิตน้ำตาล และ ๔) สาขาเทคโนโลยีชีวมวล นอกจากนี้ยังได้ร่วมกับ สอศ. จัดทำแผนงานโครงการเกี่ยวกับงบประมาณของอาคารสถานที่ ระบบสาธารณูปโภค ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา และวัสดุ ครุภัณฑ์ ในการเป็นสถานศึกษาที่มีความเป็นเลิศเต็มรูปแบบ รวมถึงการสนับสนุนในด้านอื่นๆ แก่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา หรือวิทยาลัย ซึ่งคาดว่าจะเป็นการขยายบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของประเทศไทยให้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องการผลิตอ้อยออร์แกนิค ซึ่งทางกลุ่มวังขนายมีความเชี่ยวชาญ และเป็นบริษัทฯ เพียงแห่งเดียวที่ผลิตได้ในประเทศไทย นอกจากนี้การร่วมมือดัง กล่าวถือว่าเป็นการจัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยี และการบริหารจัดการอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งนับเป็นการร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนซึ่งได้แก่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ และกลุ่มวังขนาย"

          โดยผู้สนใจใน โครงการจัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยี และการบริหารจัดการ อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ซึ่งตั้งอยู่ที่ อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี จะสามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ สำนักงานคณะ กรรมการการอาชีวศึกษา โทรศัพท์ 02-2815555 และที่กลุ่มวังขนาย โทรศัพท์ 02-2100853 ต่อ 82402 ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

'เคทิส’ จับมือ 'วว.’ ส่งเสริมธุรกิจเครือข่ายชาวไร่อ้อย รับยุทธศาสตร์ชาติ-นโยบายรัฐ ดันชุมชนเข้มแข็ง

           กลุ่ม KTIS โดยบริษัท เคทิส วิจัยและพัฒนา ร่วมลงนามในเอ็มโอยูกับสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) เพื่อนำความรู้และงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้เพิ่มศักยภาพการผลิต โดยเคทิสจะเป็นพี่เลี้ยงให้กับเครือข่ายเกษตรกร โดยเฉพาะชาวไร่อ้อย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายเกษตรกรอย่างยั่งยืน สอดรับกับยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายรัฐบาล ในการสนับสนุน ส่งเสริม และเสริมสร้างความเข้มแข็งในระบบเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ

          นายประพันธ์ ศิริวิริยะกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ เคทิส (KTIS) เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ว่าด้วย "การใช้เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ และส่งเสริมการเพิ่มผลผลิตให้เครือข่ายเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย" ระหว่างสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) กับ บริษัท เคทิส วิจัยและพัฒนา จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในกลุ่ม KTIS ว่า ในปัจจุบันกลุ่มเคทิสรับซื้ออ้อยจากชาวไร่อ้อยประมาณ 20,000 ครัวเรือน เป็นพื้นที่ปลูกอ้อยกว่า 1.2 ล้านไร่ และมีทีมงานที่ดูแลชาวไร่อ้อยอย่างใกล้ชิดกว่า 700 คน อันแสดงถึงการเอาใจใส่และให้ความสำคัญกับชาวไร่อ้อยเป็นอย่างมาก จึงมีความยินดีอย่างยิ่งที่จะได้ร่วมกับ วว. ในการนำองค์ความรู้และผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้พัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อเพิ่มผลผลิต ซึ่งจะส่งผลไปถึงการสร้างรายได้ที่ดีขึ้นให้กับเกษตรกร

          นายอภิชาต นุชประยูร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เคทิส วิจัยและพัฒนา จำกัด กล่าวเสริมว่า ความร่วมมือกับ วว.ในครั้งนี้ ทาง วว. จะสนับสนุนองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพ ที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และส่งเสริมการเพิ่มผลผลิต ส่วนกลุ่มเคทิสจะมีหน้าที่เป็นพี่เลี้ยง คอยให้คำปรึกษาด้านธุรกิจ ให้ความรู้ด้านการบริหารจัดการ การเพิ่มช่องทางการตลาด รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ เพื่อร่วมกันยกระดับศักยภาพการผลิตให้แก่เครือข่ายเกษตรกรและผู้ประกอบการในชุมชนให้มีความสามารถในการแข่งขันได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว

          "ในกระบวนการทำงานนั้น เคทิสกับ วว. จะมีการพบปะเพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างกันอยู่ตลอดเวลา เพื่อกำหนดแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ตรงกับความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ เพื่อให้นวัตกรรมผลิตภัณฑ์ที่จะเกิดขึ้น ไม่สร้างผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และยังคงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมพื้นถิ่นไว้ อีกทั้งยังสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้กับเครือข่ายเกษตรกร ชุมชน และสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบเศรษฐกิจฐานราก ตามแนวยุทธศาสตร์ชาติและนโยบายของรัฐบาลนี้" นายอภิชาตกล่าว

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

ถกบราซิลแลกเปลี่ยนงานวิจัย l เกษตรฯเล็งพัฒนาผลิตเอทานอลจากอ้อย

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้หารือร่วมกับ นายบลาโร บอร์เกส มากกี (H.E. Mr. Blairo Borges Maggi) รมว.เกษตร ปศุสัตว์ และการผลิตอาหาร ของประเทศบราซิล โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการเกษตร ตลอดทั้งเสริมสร้างความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างกัน โดยบราซิลต้องการเสริมสร้างความสัมพันธ์ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และการวิจัยพัฒนาระหว่างประเทศ เนื่องจากบราซิลมีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีการเกษตรชั้นสูง และการจัดการการผลิตเอทานอลจากอ้อย ซึ่งหากเกิดความร่วมมือก็จะเกิดการแลกเปลี่ยนการพัฒนาวิจัยงานด้านการเกษตร อันเป็นประโยชน์ร่วมกันระหว่างทั้ง 2 ประเทศ พร้อมกันนี้ ทางฝ่ายไทยได้แจ้งความประสงค์ให้บราซิลสนับสนุนการนำเข้าข้าวและยางพาราของไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากไทยเป็นผู้ผลิตข้าวหอมมะลิส่งออก ที่มีคุณภาพมาตรฐานสากล และยางพาราธรรมชาติที่มีคุณภาพ โดยไทยได้ส่งออกสินค้าดังกล่าวไปหลายประเทศทั่วโลก โดยขณะเดียวกัน บราซิลก็ได้ขอความร่วมมือให้ไทยช่วยพิจารณานำเข้าเนื้อวัวและไก่ป่นจากบราซิลเช่นกัน

นอกจากนี้ ยังได้หารือเกี่ยวกับการจัดทำบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตร ระหว่าง 2 ประเทศ โดยร่างบันทึกความเข้าใจดังกล่าว มีเนื้อหาครอบคลุมงานด้านการเกษตรในหลายมิติ ทั้งด้านพืช สัตว์ ประมง ดิน และน้ำ ซึ่งไทยจะได้รับประโยชน์จากความรู้ในเรื่องเทคโนโลยีด้านการเกษตรทั้งแบบที่ใช้เครื่องจักรกล และเทคโนโลยีชั้นสูง ทั้งนี้ บราซิลได้ส่งร่างโต้ตอบบันทึกความเข้าใจ ให้ฝ่ายไทยแล้ว ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ จะพิจารณาร่างโต้ตอบดังกล่าว เพื่อนำไปสู่การลงนามบันทึกความเข้าใจ ต่อไป

สำหรับด้านการค้าสินค้าเกษตรระหว่างไทยและบราซิลนั้น ในปี 2558 มีมูลค่าการค้ารวม 127,479 ล้านบาท มีการนำเข้า 66,917 ล้านบาท และการส่งออก 60,562 ล้านบาท ซึ่งในภาพรวม ไทยทั้งเป็นฝ่ายได้เปรียบและเสียเปรียบดุลการค้าสลับกันกับบราซิล โดยสินค้าส่งออกสำคัญของไทย ได้แก่ ปลาทูน่าปรุงแต่ง ปลาที่ปรุงแต่งชนิดบด พืชมีชีวิตอื่นๆ เช่น ต้นกล้วยไม้ เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปลา เช่น กระเพาะปลา เป็นต้น กิ่งชำที่ไม่มีรากและกิ่งตอน และของปรุงแต่งอื่นๆ ชนิดที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์ ส่วนสินค้าที่นำเข้า ได้แก่ ถั่วเหลือง ที่ไม่ใช้สำหรับทำพันธุ์ กากน้ำมัน ออยล์ เค้ก และกากแข็งอื่นๆ ที่ได้จากการสกัดน้ำมันถั่วเหลือง ข้าวสาลี และเมสลินอื่นๆ เป็นต้น

จาก http://www.naewna.com  วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

กรุงไทยรื้อระบบ จ่ายเช็คเกี๊ยวอ้อย

กรุงไทยใช้อี-เพย์เมนต์ จ่ายค่าเกี๊ยวอ้อยให้เกษตรกร 1 หมื่นรายแทนเช็ค ช่วยชาวไร่อ้อยประหยัดปีละ 40 ล้าน เล็งขยายบริการไปกลุ่มยางพาราต่อนายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารจัดการทางการเงินเพื่อธุรกิจ ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยว่า ธนาคารได้ให้บริการขายลดเช็คอิเล็กทรอนิกส์ (KTB e-LBD) แก่เกษตรกรผู้ปลูกอ้อย และโรงงานน้ำตาลในกลุ่มบริษัท เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น (เคทิส) เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายให้เกษตรกรลดต้นทุนเช็คให้โรงงานน้ำตาล และสนับสนุนระบบชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ (เนชั่นแนล อี-เพย์เมนต์) ของรัฐบาล

จาก http://www.posttoday.com   วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

กรุงไทยตั้งเป้าเป็นผู้นำโซลูชั่นอุตสาหกรรมน้ำตาล ให้บริการขายลดเช็คอิเล็กทรอนิกส์กลุ่ม KTIS

           นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานบริหารจัดการทางการเงินเพื่อธุรกิจ นางจรี วุฒิสันติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานธุรกิจขนาดใหญ่ 1ธนาคารกรุงไทย และ นายประพันธ์ ศิริวิริยะกุล กรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น (KTIS) ร่วมแถลงข่าวความร่วมมือ การให้บริหารขายลดเช็คอิเล็กทรอนิกส์ (KTB e-LBD) กับเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย และโรงงานน้ำตาลในกลุ่ม เพื่ออำนวยความสะดวก ลดงานด้านเอกสารและเป็นการสนับสนุนระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ หรือ National e Payment ของรัฐบาล ที่โรงแรมเรเนอซองส์

          นายทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์ กล่าวว่า ธนาคารกรุงไทย และ บมจ. เกษตรไทย อินเตอร์เนชั่นแนล ชูการ์ คอร์ปอเรชั่น ซึ่งดำเนินกิจการโรงงานน้ำตาลโรงเดี่ยวที่มีกำลังการผลิตใหญ่ที่สุดของประเทศ และเป็นลูกค้าที่เติบโตเคียงคู่ธนาคารมาตลอด 50 ปี ได้ร่วมกันพัฒนาระบบงานเพื่อรองรับการขายลดเช็คในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (KTB e-LBD) โดยธนาคารกรุงไทยเป็นธนาคารแรกที่ให้บริการรับซื้อลดค่าอ้อย เกี๊ยวอ้อยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์แทนการใช้เช็ค เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับลูกค้ากลุ่มโรงงานน้ำตาลและเกษตรกร ชาวไร่อ้อย โดยธนาคารตั้งเป้าเป็นผู้นำโซลูชั่นในอุตสาหกรรมน้ำตาล และจะพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งโรงงานน้ำตาลที่ใช้บริการ KTB e-LBD เพียงมีวงเงินสินเชื่อขายลดตั๋วสัญญาใช้เงินกับธนาคารเท่านั้น

          "บริการ KTB e-LBD จะช่วยลดขั้นตอนและต้นทุนในการรับซื้อลดค่าอ้อย เกี๊ยวอ้อย เกษตรกรผู้ใช้บริการเพียงแจ้งเลขที่บัญชีที่ใช้รับเงินค่าเกี๊ยวอ้อยกับโรงงานน้ำตาลและสาขาของธนาคารกรุงไทย เมื่อถึงเวลาจ่ายค่าเกี๊ยวอ้อย ธนาคารจะดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีให้โดยอัตโนมัติ โดยโรงงานน้ำตาลไม่ต้องเขียนเช็คจำนวนมากให้เกษตรกร และเกษตรกรก็ไม่ต้องนำเช็คค่าอ้อย เกี๊ยวอ้อยไปขึ้นเงินที่ธนาคารเหมือนที่ผ่านมา และในเฟสต่อไป ธนาคารจะให้บริการจ่ายเงินค่าอ้อย เกี๊ยวอ้อยเต็มวงเงิน เพื่อให้เกษตรกรบริหารเงินได้ด้วยตนเอง ซึ่งโรงงานน้ำตาลและเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่สนใจ สามารถสมัครใช้บริการ KTB e-LBD ได้ที่สาขากว่า 1,200 แห่งทั่วประเทศ "

          ด้าน นายประพันธ์ ศิริวิริยะกุล เปิดเผยว่า กลุ่ม KTIS เป็นกลุ่มที่ให้ความสำคัญกับพี่น้องชาวไร่อ้อยเป็นอย่างมาก สิ่งใดที่เป็นประโยชน์กับพี่น้องชาวไร่อ้อย เป็นหน้าที่ของเราซึ่งต้องดำเนินการให้ได้ดีที่สุด ซึ่งบริการ KTB e-LBD ที่ร่วมกันพัฒนาในครั้งนี้ช่วยเกษตรกรชาวไร่อ้อยได้มาก เพราะระบบเดิม เกษตรกรจะต้องรับเช็คแล้วนำไปขายลดเช็คที่สาขาของธนาคาร ทำให้เสียเวลา ซึ่งหากเกษตรกรไปพร้อมๆ กันจำนวนมาก ก็จะเจอปัญหาการต่อคิวซึ่งสูญเสียเวลามากขึ้นไปอีก แต่ระบบใหม่ได้เงินเข้าบัญชีของเกษตรกรโดยตรง ปัญหานี้จึงหมดไป

          ในส่วนของกลุ่ม KTIS เองนั้น ก็ไม่เคยหยุดนิ่งในการพัฒนาระบบและกระบวนการทำงานในด้านต่างๆ อยู่เสมอ รวมถึงด้านบัญชีการเงินด้วย ซึ่ง KTB e-LBD ก็ถือว่าเป็นพัฒนาการที่สำคัญ เพราะในระบบการจ่ายเช็คค่าอ้อย เช็คเกี๊ยว ให้กับชาวไร่อ้อยแบบเดิมจะต้องให้ผู้มีอำนาจลงนามของบริษัทฯ ลงนามในเช็คทีละฉบับ จำนวนหลายพันหรือหลักหมื่นฉบับต่อฤดูการหีบอ้อยแต่ละครั้ง ซึ่งสูญเสียทั้งแรง เวลา และค่าใช้จ่ายในการซื้อเช็ค

จาก http://www.bangkokbiznews.com วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2559

กลุ่มมิตรผลรอซื้อโรงน้ำตาลในจีน

นายกฤษฎา มนเทียรวิเชียรฉาย ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มมิตรผล เปิดเผยว่า ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา ราคาน้ำตาลในตลาดโลกตกต่ำอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ประกอบการในจีนประสบภาวะขาดทุนหนัก และไม่มีเงินจ่ายค่าอ้อยให้กับชาวไร่ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว รัฐบาลจึงมีนโยบายควบรวมกิจการกิจการน้ำตาลประมาณ 28 แห่ง ในมณฑลกวางซี ซึ่งผลิต น้ำตาลได้มากกว่า 70% ของการผลิตทั้งประเทศ ให้เหลือเพียงผู้ประกอบการ 6 กลุ่มเท่านั้น เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายผู้ประกอบการรายย่อย

ทั้งนี้ ทางมิตรผลอยู่ระหว่างการเข้าซื้อบริษัทที่ถูกขายทอดตลาด หรือเข้าซื้อหุ้น ตามที่รัฐบาลจีนกำหนด ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มที่เป็นบริษัทของรัฐบาลกลางจีน 2 บริษัท คือ คอฟโก และกวางหมิง บริษัทของรัฐบาลท้องถิ่น 2 บริษัทคือ หนานถิง และหนงเขิ่นและบริษัทของภาคเอกชน 3 บริษัท คือ กลุ่มมิตรผล ตงย่า และหนานหัว โดยทั้งหมดต้องมีกำลังการผลิต 1.5- 2 ล้านตันต่อกลุ่มต่อปี มีเป้าหมายกำลังผลิตรวมอย่างน้อย 12 ล้านตันต่อปี โดยต้องดำเนินการภายใน 2 ปีข้างหน้า จากแผนการควบรวมที่รัฐบาลจีนกำหนดให้แล้วเสร็จในปี 2563

นายจารึก กรีทวี กรรมการผู้จัดการ กลุ่มธุรกิจประเทศจีน กล่าวว่า ปัจจุบันมิตรผลรับซื้ออ้อย 87,500 ตันอ้อยต่อวัน โดยมีระยะเวลาหีบ 90 วันต่อปี ซึ่งการควบรวมกิจการครั้งนี้จะทำให้มิตรผลต้องรับซื้ออ้อยมากขึ้น ซึ่งคาดว่าจะทำให้กำลังหีบอ้อยสูงถึง 120 วันต่อปี ตามกำลังผลิตที่มิตรผลมีทั้งหมด มิตรผลจึงได้ส่งเสริมให้เกษตรกรเรียนรู้การใช้เครื่องจักรเทคโนโลยี การบริหารจัดการแปลงอ้อย หรือมิตรผลโมเดิร์นฟาร์ม เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นจากปัจจุบันอยู่ที่ 10.5 ตันต่อไร่ เพิ่มขึ้นเทียบเท่าประเทศไทยประมาณ 11-12 ตันต่อไร่ ซึ่งขณะนี้มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 140,000 ราย พื้นที่ 500,000 ไร่.

จาก http://www.thairath.co.th   วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2559

ชงครม.ไฟเขียวยุทธศาสตร์อุตฯ20 ปี

                    ก.อุตสาหกรรม จ่อชงครม.ไฟเขียวยุทธศาสตร์อุตฯ 20 ปี ตั้งเป้าหมายเพิ่มจีดีพีอุตฯโต 4.5% มูลค่าส่งออกเฉลี่ย 7.02% เน้นสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ เชื่อมโยงอุตฯไทย – โลก               

                     นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรม ระยะ 20 ปี (ปี 60 - 79 )ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างส่งให้นางอรรชกา สีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรม พิจารณาปรับแก้ไขก่อนนำเสนอที่ประชุมครม. พิจารณาเร็ว ๆ นี้ โดยมีเป้าหมายผลักดันให้อุตสาหกรรมไทยขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อหลุดพ้นจากกับดักประเทศรายได้ปานกลาง  โดยเฉพาะการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรมขยายตัวเฉลี่ย 4.5% ต่อปี จากปัจจุบันอยู่ที่ 3% ต่อปี  พร้อมขยายมูลค่าการส่งออกภาคอุตฯให้ขยายตัว 7.02% ต่อปี จากปัจจุบันเฉลี่ย 5.43% ต่อปี รวมทั้งการเพิ่มการลงทุน โดยเฉพาะโรงงานใหม่เพิ่มขึ้น

                    นอกจากนี้จะสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ 150,000 ราย พร้อมยกระดับผลิตภาพอุตสาหกรรมจาก 0.7% ต่อปี เป็น 2% ต่อปี การแก้ไขข้อจำกัดจากการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยการขับเคลื่อนอุตสาหกรรม 4.0 จะต้องร่วมมือด้วยเครือข่ายประชารัฐ โดยใช้ความรู้ใหม่ การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ การจัดหาภายนอก ไปสู่ภาคเศรษฐกิจ สังคม ชุมชน และท้องถิ่น

                    สำหรับแผนยุทธศาสตร์ดังกล่าว ประกอบด้วยยุทธศาสตร์ 5 ด้าน สนับสนุนนโยบายภาครัฐสู่ประเทศไทย 4.0 ได้แก่ การยกระดับและสร้างนักรบอุตสาหกรรมพันธุ์ใหม่ให้เป็นกลไกหลักทางเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ,การปฎิรูปนิเวศอุตสาหกรรมเพื่อการปรับปรุงสภาพแวดล้อมและการสร้างนวัตกรรม ,การเชื่อมโยงอุตสาหกรรมไทยให้เป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจโลก เป้าหมายแรกคือ  กลุ่มซีแอลเอ็มวี ขณะเดียวกันวันที่ 30 ก.ย.นี้ จะประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย เพื่อพิจารณาร่างแก้ไขพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย ก่อนสรุปผลนำเสนอให้ที่ประชุมครม.พิจารณาในช่วงต้นเดือนต.ค.นี้  โดยร่างพ.ร.บ.ดังกล่าวจะช่วยขยายขอบเขตการใช้น้ำตาลให้ได้มูลค่าเพิ่มมากขึ้นพร้อมดูแลเกษตรและผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลอย่างเป็นธรรม

จาก http://www.dailynews.co.th วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2559

สอศ.จับมือวังขนายตั้งสถาบันอาชีวะ ด้านเทคโนโลยีอ้อยแห่งแรกในปท.

ที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา นายวณิชย์ อ่วมศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา พร้อมด้วยนายอารีย์  ชุ้นฟุ้ง ประธานกรรมการบริหารกลุ่มวังขนาย ได้ร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เพื่อจัดตั้งสถานศึกษาอาชีวศึกษาที่มีความเป็นเลิศเฉพาะด้านเทคโนโลยีอ้อยและน้ำตาลทราย เป็นแห่งแรกในประเทศไทย

โดยนายวณิชย์ กล่าวว่า สอศ.ได้ร่วมกับบริษัท น้ำตาลวังขนาย จำกัด และบริษัทในกลุ่มวังขนาย จัดตั้งสถานศึกษาอาชีวศึกษาที่มีความเป็นเลิศเฉพาะด้านตามนโยบายรัฐบาลเพื่อให้มีความเป็นเลิศด้านวิชาการทั้งทางทฤษฎีและทักษะในการปฏิบัติตั้งแต่ระดับประกาศนียบัติวิชาชีพ(ปวช.) ขึ้นไป โครงการนี้ยังสอดรับกับ นโยบายประชารัฐ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในการจัดการเรียนการสอนระบบทวิภาคี ผลิตนักเรียน นักศึกษาอาชีวะให้ให้มีเความรู้ความชำนาญทั้งก้านทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อจบออกไปอย่างมีคุณภาพและใช้งานได้จริง และมีรายได้ระหว่างเรียน

ทั้งนี้ ตามภารกิจหลักของ สอศ.ในการผลิตกำลังคนให้มีคุณภาพมาตรฐานสากล ดังนั้น การร่วมมือกับกลุ่มบริษัทวังขนาย เป็นการสร้างบุคลากร และเป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้ก้าวไปสู่ความเป็นเลิศหรือฮัฟทางด้านอุตสาหกรรมน้ำตาล โดย สอศ.จะเข้าไปส่งเสริมสนับสนุนและยกระดับบุคลากรของวังขนายในด้านวุฒิการศึกษา รวมถึงการพัฒนาหลักสูตรร่วมกันเพื่อพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษา ครูฝึกในสถานประกอบการให้พัฒนาตนเองทันต่อเทคโนโลยีใหม่ ๆ

ด้านนายอารีย์ ชุ้นฟุ้ง ประธานกรรมการบริหารกลุ่มวังขนาย กล่าวว่า กลุ่มวังขนาย ได้บริจาคที่ดิน จำนวน 29 ไร่ 3 งาน 47 ตารางวา ให้กับสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา(สอศ.) เพื่อใช้เป็นที่จัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยี และการบริหารจัดการอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ที่ อ.ท่าหลวง จ.ลพบุรี เพื่อดำเนินการก่อสร้างอาคารต่าง ๆ รวม 5 หลัง และจะเริ่มเปิดการเรียนการสอนประมาณปี 2561 ใน 4 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย สาขาการบริหารจัดการระบบโลจิสติค สาขาเทคโนโลยีการผลิตน้ำตาล และ สาขาเทคโนโลยีชีวมวล

"สถาบันแห่งนี้จะมีความเป็นเลิศเต็มรูปแบบ คาดว่าจะสามารถขยายบุคลากรในภาคอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของประเทศให้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการผลิตอ้อยออร์แกนิค ที่กลุ่มวังขนายมีความเชี่ยวชาญและเป็นบริษัทเดียวที่ผลิตได้ในประเทศไทย และการร่วมมือจัดตั้งวิทยาลัยเทคโนโลยีและการบริหารจัดการอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย แห่งแรกของประเทศไทย ที่เป็นความร่วมมมือระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนโดยกลุ่มวังขนาย" นายอารีย์ กล่าว

จาก http://www.naewna.com วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2559

สมาคมอ้อยชลบุรี ชี้ลอยตัวราคาน้ำตาลมีทั้งได้-เสีย แนะลองใช้นโยบายเก่าแก้ไขได้

นายจิรวุฒิ สิงห์โตทอง นายกสมาคมกลุ่มอาชีพการเกษตรชลบุรี กล่าวถึงกรณีการปล่อยราคาน้ำตาลลอยตัวว่า ถือว่ามีผลทั้งบวกและลบ หากราคาน้ำตาลอยู่ที่กิโลกรัมละ 20 บาทอย่างนี้ไม่ดีแน่นอน เกิดผลกระทบต่อเกษตรกร หากราคาขึ้นสูงถึงกิโลกรัมละ 25-26 บาท อย่างนี้เกษตรกรอยู่ได้ เพราะปัจจุบันราคาน้ำตาลอยู่ที่กิโลกรัมละ 23.50 บาท เกษตรกรยังแย่เลย อย่างไรก็ตาม เชื่อว่ารัฐบาลคงได้มีการระดมความเห็นทุกฝ่ายแล้ว จึงกล้าตัดสินใจออกมาอย่างนี้ ส่วนสถานการณ์น้ำตาลโลกยอมรับว่าราคายังต่ำ เนื่องจากผลผลิตอ้อยหรือพืชใช้ผลิตน้ำตาลยังมีผลผลิตออกมามาก ถึงแม้ว่าประเทศไทยประสบปัญหาภัยแล้ง แต่ประเทศบราซิล รัสเชีย หรือประเทศอื่นๆ ก็ยังสามารถผลิตได้ หากจะให้ราคาน้ำตาลดีจริง ต้องดูที่ราคาน้ำมัน เพราะหากมีราคาสูง ก็จะมีการนำน้ำตาลไปแปรรูปเพื่อทำเชื้อเพลิง เพราะถือว่าคุ้มค่า หากน้ำมันราคาถูกก็ไม่คุ้มกับการลงทุน

นายจิรวุฒิกล่าวว่า ตนมั่นใจว่ารัฐบาลคงประเมินสถานการณ์แล้วว่าดีมากกว่าเสีย จึงได้มีการประกาศราคาน้ำตาลลอยตัว แต่ถ้าหากมีการประกาศราคาน้ำตาลลอยตัวไปแล้ว แต่ราคาน้ำตาลยังตกต่ำ ก็ยังสามารถแก้ไขสถานการณ์ได้ โดยนำปัญหาเข้าคณะรัฐมนตรีกลับมาใช้นโยบายอย่างเก่าก็ได้ ถือว่าไม่ลองก็ไม่รู้ ก็ลุ้นอยู่ว่าหากราคาน้ำตาลมีราคาสูงขึ้น ก็จะเกิดผลดีต่อเกษตรกรผู้ปลูกอ้อย ก็หวังไว้เช่นนั้น

จาก http://www.matichon.co.th   วันที่ 18 กันยายน 2559

อุบลไบโอขึ้นครองตลาดเอทานอล ทุ่ม 6 พันล.ขยายโรงงานใหม่เล็งเข้าตลาดหลักทรัพย์

อุบลไบโอเอทานอลฯ จับไทยออยล์-บางจากทุ่ม 6 พันล้านขยายโรงเอทานอลอีก 9 แสนลิตร ดันกำลังผลิตขึ้นเป็นเบอร์ 1 ในตลาด รวม 1.3 ล้านลิตร รองรับการใช้ในประเทศเป็นหลัก แพลนจ่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ ไตรมาส 3 ปี′60 ระดมทุนหวังต่อยอดขยายโรงไฟฟ้าไบโอก๊าซ จากหญ้าเนเปียร์อีก 600 ล้านบาท โอดราคาน้ำมันลงทำมาร์จิ้นเอทานอลเหลือแค่ 50 สตางค์/ลิตร แต่โชคดียอดใช้น้ำมันพุ่งช่วยพยุง

นายเดชพนต์ เลิศสุวรรณโรจน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัทอุบลไบโอเอทานอล จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เตรียมที่จะลงทุนขยายโรงงานเอทานอล เพิ่มอีก 1 โรง ในพื้นที่ส่วนขยายของโรงงานเดิม จังหวัดอุบลราชธานี กำลังผลิต 900,000 ลิตร/วัน ที่ใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบ คาดจะใช้เงินลงทุนประมาณ 6,000 ล้านบาท มีผู้ร่วมลงทุนคือ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเมื่อเร็ว ๆ นี้ได้ยื่นขอส่งเสริมการลงทุนไปที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) แล้ว กำลังผลิตใหม่ที่เพิ่มขึ้นนั้นรองรับความต้องการใช้ในประเทศร้อยละ 98 ส่วนที่เหลือร้อยละ 2 ในบางช่วงอาจจะมีการส่งออกไปยังประเทศฟิลิปปินส์ ทั้งนี้คาดว่าปริมาณการใช้เอทานอลยังมีการขยายตัวต่อเนื่อง ในขณะที่กำลังผลิตใหม่ภายในประเทศยังไม่มี จึงมองว่าเป็นโอกาสในการขยายโรงงานเพื่อรองรับความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น เมื่อขยายโรงงานแห่งใหม่เสร็จ บริษัท อุบลไบโอฯ จะกลายเป็นผู้ผลิตเอทานอลรายใหญ่ที่สุดของประเทศรวมกำลังผลิตที่ 1.3 ล้านลิตร/วัน

สำหรับความต้องการใช้เอทานอลทั้งระบบในขณะนี้อยู่ที่ 4 ล้านลิตร/วัน ในขณะที่ภาพรวมการผลิตทั้งหมดอยู่ที่เพียง 5 ล้านลิตร เท่ากับว่ามีการผลิตจริงเพียงร้อยละ 80 ฉะนั้นจะเห็นว่าตลาดนี้ยังมีโอกาสที่จะขยายได้อีกมาก รวมถึงหากกระทรวงพลังงานมีความชัดเจนที่จะเดินหน้าตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 2558-2579 หรือ AEDP (Alternative Energy Development Plan) ที่ต้องการให้มีการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพเพิ่มเป็นร้อยละ 30 หรือจะมีการใช้เอทานอลไม่น้อยกว่า 11.3 ล้านลิตร ภายในปี 2579 ก็เท่ากับว่าตลาดของพลังงานทดแทนค่อนข้างน่าสนใจ แต่ในกรณีที่หากภาครัฐมีนโยบายที่จะปรับแผนใหม่ในแง่ของการปรับลดเป้าหมายก็จะส่งผลกระทบต่อแผนลงทุนแน่นอนทั้งนี้เมื่อประเมินสถานการณ์ตามราคาน้ำมันที่ปรับลดลงส่งผลให้กำไรต่อหน่วย(Margin)ของเอทานอลเหลือเพียง50 สตางค์/ลิตร แต่ความต้องการใช้น้ำมันกลับเพิ่มขึ้นจึงทำให้ยอดขายเอทานอลเพิ่มขึ้นเช่นกัน

"ตลาดเอทานอลยังไปได้บนสมมุติฐานที่ว่ากระทรวงพลังงานไม่มีการปรับแผนAEDPเพราะมันเป็นเทรนด์ของโลกจะหันมาใช้พลังงานสะอาดเพิ่มมากขึ้นนอกจากการเดินหน้าตามแผน AEDP แล้วหากภาครัฐมีความชัดเจนที่จะยกเลิกน้ำมันเบนซินปกติจะยิ่งช่วยทำให้การใช้เพิ่มขึ้นอีก ส่วนราคาเอทานอลที่ผลิตในประเทศในปัจจุบันอยู่ที่ 22-23 บาท/ลิตร ซึ่งเป็นระดับที่แข่งขันกับตลาดโลกที่ 20 บาท/ลิตร แต่เมื่อบวกรวมค่าขนส่งแล้วถือว่าอยู่ในระดับเดียวกัน"

นายเดชพนต์กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้ยังได้เตรียมที่จะนำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2560 นี้ เพื่อระดมทุนมาใช้ในโรงงานเอทานอลแห่งใหม่ ซึ่งคาดว่าจะนำเสนอขายหุ้นต่อประชาชนทั่วไป (IPO) ร้อยละ 20 โดยยังได้วางแผนการลงทุนของบริษัทเพื่อการเป็นบริษัทพลังงานสีเขียวครบวงจร คือ เตรียมพัฒนาโรงไฟฟ้าไบโอก๊าซที่ใช้หญ้าเนเปียร์เป็นวัตถุดิบ เพราะในปัจจุบันบริษัท อุบลไบโอฯได้เริ่มลงทุนปลูกหญ้าเนเปียร์ไปแล้วรวม 2,000 ไร่ และเร็ว ๆ นี้จะเพิ่มเป็น 6,000 ไร่ โดยจะนำหญ้าเนเปียร์เข้ากระบวนการหมักเพื่อให้ได้ก๊าซไปใช้เดินเครื่องผลิตไฟฟ้า กำลังผลิตไม่เกิน 10 เมกะวัตต์ ที่คาดว่าจะใช้เงินลงทุนประมาณ 600 ล้านบาท ซึ่งไฟฟ้าจากโครงการดังกล่าวจะใช้ภายในโรงงานทั้งหมดไม่มีการขายเข้าระบบให้กับการไฟฟ้า

รายงานข่าวจากกระทรวงพลังงานเพิ่มเติมว่าปัจจุบันมีกำลังผลิตเอทานอลรวมที่5ล้านลิตร/วันจาก 21 โรงงาน แบ่งเป็นโรงงานที่ใช้กากน้ำตาลเป็นวัตถุดิบ 9 โรง รวมกำลังผลิต 1.9 ล้านลิตร/วัน โรงงานที่ใช้น้ำอ้อย-กากน้ำตาล 1 โรง กำลังผลิต 230,000 ลิตร/วัน โรงงานที่ใช้มันสำปะหลังและกากน้ำตาลรวม 4 โรง กำลังผลิต 850,000 ลิตร/วัน และโรงงานที่ใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบรวม 7 โรง กำลังผลิต 1.4 ล้านลิตร/วัน

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

บราซิล ยืดเส้นตายตั้งผู้พิจารณา WTO อุตสาหกรรมอ้อยน้ำตาลให้ไทยอีก 1 เดือน

นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า  เมื่อวันที่ 15 ก.ย.ที่ผ่านมา กระทรวงอุตสาหกรรมได้รับการยืนยันจากเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรไทยประจำองค์การการค้าโลก (WTO)  ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ว่า บราซิลยังไม่ยื่นฟ้องไทย ต่อ WTO และยังไม่มีการตั้งคณะผู้พิจารณา (Panel) หลังจากที่กล่าวหาว่ารัฐบาลไทยดำเนินมาตรการอุดหนุนการส่งออก และอุดหนุนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลภายในประเทศไทย จนส่งผลกระทบต่อการส่งออกน้ำตาลของประเทศบราซิล และกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำตาลภายในประเทศบราซิล

ซึ่งหลังจากนี้ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) กระทรวงอุตสาหกรรม จะประชุมร่วมกับทางกรมเจราจาการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ เตรียมหารือและเตรียมข้อมูลไว้เพื่อประสานกับทูตไทยประจำ WTO ขณะเดียวกัน ร่าง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย เบื้องต้นเสร็จแล้ว และเตรียมนำเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาภายในเร็วๆนี้ เพื่อแสดงเจตนาที่ชัดเจนให้รัฐบาลบราซิลเห็นว่า รัฐบาลไทยไม่ได้มีเจตนาในการอุดหนุนอุตสาหกรรมอ้อยแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ไทยไม่ได้นิ่งนอนใจ เพราะบราซิลอาจจะยื่นฟ้องไทยต่อ WTO อีกเป็นได้ แต่กาแสดงท่าทีของบราซิลครั้งนี้ถือว่าส่งผลดีต่อไทย และยังเปิดโอกาสให้มีการเจรจากันโดยตรงกันอีกครั้งซึ่งน่าจะหลังจากนี้ 1 เดือน หรือประมาณวันที่ 15 ต.ค.2559

 “แต่ยังไม่ได้รับการยืนยันจากทางบราซิลว่า เวทีการเจรจาครั้งต่อไปจะเป็นวันที่เท่าไร และเป็นสถานที่ใด กรุงเจนีวา หรือบราซิล ซึ่งทั้งหมดนี้ได้มีการพูดคุยผ่านทางทูตของแต่ละฝ่ายเท่านั้น จึงต้องรอรับการยืนยันที่ชัดเจนจากทางบราซิลก่อน”

ทั้งนี้ รัฐบาลไทยได้แสดงความจริงใจในการหารือ ส่งข้อมูล โดยเฉพาะความพยายามในการแก้ พ.ร.บ. และโครงสร้างอ้อยและน้ำตาลทราย ให้สอดคล้องกับความตกลงระหว่างประเทศ ขณะเดียวกันได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อศึกษา ร่าง พ.ร.บ อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ ... ให้ดำเนินควบคู่กันไปจนกว่าจะหาข้อตกลงร่วมกันได้ระหว่างโรงงานและชาวไร่อ้อย ซึ่งคณะทำงานชุดดังกล่าวจึงประกอบไปด้วย ฝ่ายโรงงาน้ำตาลและชาวไร่

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559

บราซิลยังไม่ฟ้องไทยอุดหนุนน้ำตาล

บราซิลยังไม่ตัดสินใจยื่นฟ้องดับเบิลยูทีโอ กล่าวหาไทยอุดหนุนส่งออกน้ำตาล "สมชาย" เร่งเคลียร์แผนปรับโครงสร้างอ้อยฯ

นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ได้รับทราบข้อมูลจากกรมเจรจาการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่าทูตไทยประจำองค์การการค้าโลก(WTO) ที่กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้รายงานความเคลื่อนไหวของบราซิล ในวันที่ 15 ก.ย.ที่ผ่านมา ยังไม่ยื่นฟ้องไทยต่อWTO กรณีกล่าวหาไทยอุดหนุนส่งออกน้ำตาลทราย จนเป็นสาเหตุให้ราคาน้ำตาลทรายในตลาดโลกตกต่ำ กระทบต่ออุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของบราซิล ซึ่งเป็นผู้ส่งออกน้ำตาลเบอร์ 1 ของโลกได้รับความเสียหาย

ทั้งนี้ กระทรวงอุตสาหกรรม จะเร่งวางแผนร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งเป็นหัวหน้าทีมในการเจรจายุติข้อพิพาทที่เกิดขึ้น โดยจะกำหนดขั้นตอนดำเนินการต่างๆ เพื่อเตรียมความพร้อมไปเจรจากับบราซิลในครั้งต่อไป ซึ่งตามกำหนดเดิมในวันที่ 15 ต.ค.นี้

“ถือว่า ระหว่างนี้ไทยยังมีเวลาเตรียมข้อมูลต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงเจตนารมณ์ในการแก้ไขปัญหา โดยจะต้องเร่งนำแผนปรับโครงสร้างอ้อยและน้ำตาลทราย และร่าง พ.ร.บ.อ้อยฯ เข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีโดยเร็ว หรือ ภายในเดือนก.ย.นี้ เพราะยังไม่สามารถวางใจ ซึ่งระหว่างนี้บราซิลสามารถยื่นฟ้องได้ตลอด”

สำหรับความคืบหน้า ร่างพ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย(ฉบับที่..)พ.ศ.... ยังอยู่ในขั้นตอนเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และต้องเร่งหาข้อสรุประหว่างโรงงานน้ำตาลและชาวไร่อ้อย ที่มีความขัดแย้งในการปรับแก้ มาตรา 3 เรื่องบทนิยาม “ผลพลอยได้” โดยเพิ่มเติมกากตะกอน กากอ้อย เป็นผลพลอยได้ให้ชัดเจน และให้หมายความรวมถึงผลพลอยได้อื่นใดที่ได้จากการผลิตน้ำตาลทรายโดยตรง เพื่อเปิดทางให้คณะกรรมการสามารถกำหนดผลพลอยได้อื่นๆ เพิ่มเติมได้ และจะนำไปสู่ระบบแบ่งปันรายได้ 70:30 นั้น ทำให้โรงงานน้ำตาลและชาวไร่ยังไม่สามารถตกลงกันได้

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้การจัดทำร่างพ.ร.บ.อ้อยฯ เสร็จสิ้นโดยเร็วนั้น เบื้องต้น กระทรวงอุตสาหกรรม จะยังไม่ปรับแก้มาตรา 3 โดยให้คงบทนิยามตามเดิมไปก่อน เพราะเรื่องนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับข้อห่วงใยของบราซิล แต่เป็นเรื่องของผลประโยชน์ที่ต้องตกลงกันระหว่างโรงงานน้ำตาลและชาวไร่อ้อย

นายสมชาย ยืนยันว่า ร่างพ.ร.บ.อ้อยฯ ที่แก้ไขใหม่ จะเป็นการลดบทบาทภาครัฐที่จะเข้าไปกำกับดูแลขั้นตอนต่างๆ โดยจะให้โรงงานและชาวไร่อ้อย เจรจาร่วมกันให้มากขึ้น และนำไปสู่การเปิดเสรีอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลของไทยอย่างแท้จริง

จาก http://www.bangkokbiznews.com   วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559

กอน.ตั้งคณะทำงานยุติศึกรง.-ชาวไร่เร่งแก้4ข้อกังวลบราซิลให้ทัน 15 ก.ย.

“กอน.” ทุบโต๊ะลุยแก้ 4 ประเด็นข้อกังวลบราซิลให้ทัน 15 ก.ย.นี้ พร้อมหย่าศึกชั่วคราวผลประโยชน์โรงงานน้ำตาล-ชาวไร่อ้อย ซื้อเวลาตั้งคณะทำงานร่วมแก้ไขร่าง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย ตีกรอบเวลา 1 ปี

นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในฐานะประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ภายหลังการประชุมคณะกรรมการ กอน.ว่าที่ประชุมเห็นชอบในหลักการและแนวทางการแก้ไขพระราชบัญญัตอ้อยและน้ำตาลทราย (ฉบับที่..) พ.ศ.... โดยเฉพาะใน 4 ประเด็นที่บราซิลมีความกังวล และเห็นว่าขัดกับข้อตกลงขององค์การการค้าโลก (WTO)

ซึ่งเบื้องต้นได้แก้ไขในหลักการ 2 เรื่องก่อนคือ 1.ยกเลิกการประกาศราคาน้ำตาลทรายซึ่งปัจจุบันประกาศโดยกระทรวงพาณิชย์แนวทางใหม่มีความเป็นไปได้ที่จะใช้ราคาอ้างอิงตามตลาดโลก โดยจะตั้งคณะทำงานขึ้นมา 1 ชุด ประกอบด้วยโรงงานน้ำตาลและชาวไร่อ้อย เพื่อมาบริหารจัดการกำหนดราคาน้ำตาลที่เหมาะสมรวมถึงระบบการทำงานของกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย และพิจารณาส่วนอื่นๆ ตามกรอบนโยบายที่รัฐประกาศ ขณะที่รัฐเองจะมีหน้าที่กำหนดนโยบายและประกาศราคาเท่านั้น

2. ยกเลิกการกำหนดโควตาน้ำตาล ก. ข. ค. ซึ่งกำหนดวิธีการไว้ 1- 2 แนวทางอาจใช้วิธีการสต๊อก แต่ต้องไม่ขัดกับข้อตกลง WTO แม้ว่าเดิมการกำหนดโควตาขึ้นมาเพื่อป้องกันน้ำตาลทรายขาดแคลนสำหรับใช้ในประเทศ ไม่ได้กำหนดเพื่อใช้แข่งขันราคาในตลาดโลก

ส่วนข้อกังวลที่บราซิลมองว่า รัฐบาลไทยมีการอุดหนุนราคาอ้อย โดยรัฐประกาศราคาอ้อยขั้นต้น และราคาอ้อยขั้นสุดท้ายเมื่อใดราคาอ้อยขั้นสุดท้ายต่ำกว่าราคาอ้อยขั้นต้น ที่ผ่านมารัฐต้องนำเงินไปจ่ายชดเชยช่วยเหลือ หมายถึงรัฐเข้าสนับสนุนขัดกับWTO ดังนั้น ต่อไปการาช่วงเหลือราคาอ้อยจะใช้รูปแบบของการสนับสนุนพันธุ์อ้อย

การแก้ พ.ร.บ. และปรับโครงสร้างอ้อยและน้ำตาลมันเกี่ยวพันกัน แต่มีเรื่องหลักๆ ที่สำนักงานอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ต้องเร่งแก้ ส่วนโครงสร้างใหม่จะหยิบมาตรฐานโรงงานน้ำตาล และกำหนดประสิทธิภาพอ้อย รายใดที่ต่ำก็ไม่ผ่านหรือจ่ายค่าปรับ หรือรายใดที่เกินก็ให้รางวัลเป็นแรงใจ ในการพัฒนา ซึ่งจะไปโยงกับเรื่องอ้อยไฟไหม้ด้วย เพราะต้องการให้ลดและตัดอ้อยสดมากขึ้น ซึ่งจะได้ค่าความหวาน CCS ต่างกันมาก ต่อไปจะกำหนด CCS จะต้องได้เท่าไรต่อกิโลกรัมเป็นต้น ซึ่งอาจจะกำหนดใช้ในปี 2560

นางอรรชกา สีบุญเรือง รํฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ในวันนี้ (13 ก.ย.) Blairo Borges Maggi รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ปศุสัตว์และอาหาร ประเทศบราซิล ได้เดินทางมาเยือนประเทศไทย ทางบราซิลได้เชิญกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์รับประทานอาหารมื้อค่ำ ซึ่งเป็นโอกาศดีที่รัฐบาลไทยจะหารือถึงข้อตกลงเรื่องของอุตสาหกรรมน้ำตาล ก่อนจะหารืออย่างเป็นทางการในวันที่ 15 ก.ย.นี้

จาก http://www.thansettakij.com  วันที่ 14 กันยายน 2559

ครม.เคาะแผนพัฒน์ฉบับ12 วาง10ยุทธศาสตร์พัฒนาชาติ20ปี

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (ปี 2560-2564) ซึ่งจะสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ 20 ปีด้วย โดยจะมีผลบังคับใช้หลังจากประกาศลงราชกิจจานุเบกษา หรือเริ่มในวันที่ 1 ตุลาคม 2559

สำหรับแผนดังกล่าว จะประกอบด้วย 10 ยุทธศาสตร์ คือ ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทุนมนุษย์ จะให้ความสำคัญกับการดำเนินการเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม เพราะยังมีความเหลื่อมล้ำทางด้านสินทรัพย์และการถือครองที่ดิน และปัญหากระจายบริการภาครัฐที่มีคุณภาพที่ยังไม่ทั่วถึง ยุทธศาสตร์ที่ 3 เป็นการสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน โดยการเร่งการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ สร้างบรรยากาศการลงทุน และปฏิรูปเศรษฐกิจในหลายด้าน มีเป้าหมายเพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างมีเสถียรภาพ เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 5% ต่อปี โดยมีรายได้ต่อหัวเป็น 8,200 ดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2564 จากปัจจุบันที่มีรายได้อยู่ที่ 6,000 ดอลลาร์สหรัฐ

ส่วนยุทธศาสตร์ที่ 4 การเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยแผนฯ 12 จะเร่งขับเคลื่อนทั้งการรักษา ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และตั้งเป้าเพิ่มพื้นที่ป่าให้ได้ 40% ของประเทศ, ยุทธศาสตร์ที่ 5 ความมั่นคง เนื่องจากงานด้านความมั่นคงมีความสำคัญเพิ่มขึ้นต่อเนื่องมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคม ยุทธศาสตร์ที่ 6 การบริหารจัดการภาครัฐ การป้องกันการทุจริตประพฤติมิชอบ โดยตั้งเป้าเพิ่มคะแนนดัชนีภาพลักษณ์คอร์รัปชั่น (CPI) ให้อยู่สูงกว่า 50% จากปัจจุบัน 38%

สำหรับยุทธศาสตร์ที่ 7 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบโลจิสติกส์ โดยตั้งเป้าว่าในปี 2564 จะลดต้นทุนโลจิสติกส์ของประเทศไทยเหลือ 12% ของจีดีพี เพิ่มการขนส่งทางรางเป็น 4% จาก 2% ทางน้ำเป็น 19% จาก 15% ขยายโครงข่ายอินเตอร์เนตความเร็วสูงให้ได้ 85% ของหมู่บ้านทั่วประเทศ ยุทธศาสตร์ที่ 8 วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และนวัตกรรม มีเป้าหมายสำคัญ คือ เพิ่มสัดส่วนค่าใช้จ่ายการลงทุนเพื่อการวิจัยและพัฒนาเป็น 1.5% ของจีดีพี จากปัจจุบัน 0.48% ขณะที่ยุทธศาสตร์ที่ 9 การพัฒนาภาคเมือง และพื้นที่เศรษฐกิจ เพื่อกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคของประเทศไทย เช่น การพัฒนาภาคเหนือให้เป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์มูลค่าสูง พัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้หลุดพ้นจากความยากจน ฯลฯ และยุทธศาสตร์ที่ 10 การต่างประเทศ ประเทศเพื่อนบ้าน และภูมิภาค โดยใช้ประโยชน์จากจุดเด่นของทำเลที่ตั้งของประเทศเป็นจุดเชื่อมโยงสำคัญของแนวระเบียงเศรษฐกิจต่างๆ ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

จาก http://www.naewna.com  วันที่ 14 กันยายน 2559

ไทยจับกระแสลดโลกร้อน รัฐ-เอกชนมุ่งผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน

กระแสภาวะโลกร้อนที่ทุกประเทศกำลังตื่นตัวอยู่ในเวลานี้ กำลังเป็นจุดเปลี่ยนที่หลายๆ ประเทศพยายามจะหาเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้า ที่ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ต่ำที่สุด ซึ่งเห็นได้จากการประชุมการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศโลกครั้งที่ 21 หรือ COP21 ในช่วงปลายปี 2558 ที่ผ่านมา หลายประเทศทั่วโลกต่างปรับแผนพลังงานให้เป็นไปตามเทรนด์ของโลกมากที่สุด ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยที่เร่งปรับ 5 แผนบูรณาการพลังงาน โดยกำหนดสัดส่วนการลดคาร์บอนไดออกไซด์ 20-25% ในปี 2573

ผลักดันพลังงานทดแทนสู่ฟอสซิล

พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวในงานสัมมนา Energy Symposium 2016 หัวข้อ พลังงานไทยในกระแสพลังงานโลก จัดโดยสถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) โดยเน้นย้ำว่า หลายประเทศทั่วโลกให้ความสำคัญกับการลดภาวะโลกร้อนมากขึ้น และนำไปสู่การลงนามกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติ COP21 ซึ่งไทยได้ร่วมลงนามลดภาวะโลกร้อนด้วย และได้กำหนดแผนบูรณาการพลังงานของประเทศให้สอดคล้องกับ COP 21 เช่นกัน โดยเฉพาะการลดใช้พลังงานและการส่งเสริมการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน

โดยกระทรวงพลังงานจะผลักดันให้การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบได้ต่อเนื่อง 24 ชั่วโมง และราคาต้องไม่แพงกว่าการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหลัก อย่างก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน เป็นต้น พร้อมกันนี้เตรียมปรับลดเงินสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าพลังงานทดแทนตามต้นทุนที่แท้จริง(FiT) อาทิ โครงการโซลาร์ฟาร์มพบว่าต้นทุนลดลงมาก มองว่าจะช่วยให้ค่าไฟฟ้าโดยรวมของประเทศไม่สูงเกินไป ซึ่งเป็นความท้าทายที่กระทรวงพลังงานจะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย ให้พลังงานทดแทนสามารถแข่งกับเชื้อเพลิงฟอสซิลได้

เอกชนพร้อมหนุนช่วยลดต้นทุน

ขณะที่นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม และรองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) คาดการณ์ว่าในปี 2573 พลังงานทางเลือกจะเป็นแหล่งพลังงานที่ใหญ่ของประเทศ โดยเฉพาะพลังงานน้ำจะมีสัดส่วนการผลิตสูงสุด รองลงมาคือ ลมและแสงอาทิตย์ เนื่องจากปัจจุบันแนวโน้มการใช้พลังงานทดแทนของไทยมีใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ภาคธุรกิจมีการผลิตพลังงานทดแทนก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน เพราะช่วยลดต้นทุนการผลิตลงได้

ทั้งนี้ กระแสพลังงานที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จากตัวแปรทั้งทางด้านความต้องการของผู้บริโภค และกลไกทางการตลาด ทำให้ผู้ประกอบการต้องเตรียมความพร้อมในการรับมืออยู่เสมอ เนื่องจากพลังงานเป็นต้นทุนสำคัญในการประกอบกิจการ นอกจากนี้ ความต้องการพลังงานของโลกที่เพิ่มสูงขึ้น โดยภาคขนส่งมีความต้องการบริโภคน้ำมันเพิ่มสูงขึ้น 25% และพลังงานหมุนเวียนก็มีสัดส่วนการใช้พลังงานที่เพิ่มมากขึ้น เป็นผลมาจากโครงสร้างพลังงานโลกได้ถูกขับเคลื่อนด้วยกลไกตลาดและการแข่งขันเสรี และส่งผลให้มีบทบาทต่อการกำหนดทิศทางการพัฒนาด้านพลังงานของโลกในอนาคต ปัจจุบันศูนย์กลางความต้องการพลังงานของโลกอยู่ที่กลุ่มประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่ และภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งอาเซียนกลายเป็นภูมิภาคสำคัญที่มีความต้องการพลังงานเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องเช่นกัน

กฟผ.ขอโควตาผลิตไฟฟ้าเพิ่ม

นายสหรัฐ บุญโพธิภักดี รองผู้ว่าการกิจการสังคม ในฐานะโฆษก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มองว่า ภาพรวมสถานการณ์พลังงานโลกพบว่ามีการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้ามากถึง 60-70% เนื่องจากถ่านหินมีปริมาณสำรองเกือบ 100 ปี และเป็นที่น่าสังเกตว่าหลายๆประเทศตื่นตัวที่จะเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนมากขึ้น และเมื่อมองลงมาในระดับอาเซียน พบว่ามีแนวโน้มความต้องการใช้พลังงานเติบโตขึ้นมาก แต่เชื้อเพลิงถ่านหินยังเป็นเชื้อเพลิงสำคัญในการผลิตไฟฟ้า ขณะที่ไทยนับว่าเป็นประเทศที่ใช้พลังงานสูงสุดเป็นอันดับ 2 ในอาเซียน แต่มีสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงถ่านหินที่ต่ำมาก จึงทำให้ ประเทศนำเข้าน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติเป็นจำนวนมาก

อย่างไรก็ตาม การที่กระทรวงพลังงานกำหนด 5 แผนบูรณาการด้านพลังงาน โดยเฉพาะแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าระยะยาวปี 2558-2579 (พีดีพี 2015) ที่ต้องการกระจายเชื้อเพลิง จากปัจจุบันใช้ก๊าซเป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า 67% ลดลงเหลือ 30-40% ,ถ่านหิน 20% เป็น 20-25% และให้ความสำคัญกับการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน จากปัจจุบัน 9% เป็น 30% ในช่วงปลายแผน ซึ่งนับว่าไทยเป็นประเทศผู้นำด้านพลังงานทดแทน เทียบกับอาเซียนที่มีเป้าหมายจะเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนอีก 15-20% ในอีก 20 ปีข้างหน้า เป็น 23% ของการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด

โดยในส่วนของ กฟผ. ปัจจุบันมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลังงานน้ำอยู่เกือบ 3,000 เมกะวัตต์ และมีแผนจะผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนอื่นๆเพิ่มขึ้นอีก 1,500-2,000 เมกะวัตต์ ซึ่งอยู่ระหว่างการจัดทำแผนเสนอคณะกรรมการ(บอร์ด) กฟผ.พิจารณา ก่อนจะนำเสนอขออนุมัติจากกระทรวงพลังงาน เพื่อกำหนดว่าจะเข้าไปอยู่ในโควตาเดิมในแผนพีดีพี 2015 หรือจะต้องกำหนดเป็นโควตาใหม่ เนื่องจากการลงทุนด้านพลังงานทดแทนของ กฟผ. ไม่ได้ต้องการแข่งขันกับเอกชนแต่อย่างใด

ขณะที่การขยายการลงทุนด้านพลังงานทดแทนของ กฟผ. จะพิจารณาในพื้นที่ของ กฟผ. ก่อน และมุ่งเน้นไปที่การผลิตไฟฟ้าจากชีวมวล เนื่องจากเป็นประโยชน์ต่อเกษตรกรโดยตรง ซึ่งขณะนี้กำลังศึกษาพื้นที่ที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม กฟผ.จะไม่ปิดกั้นการลงทุนจากภาคเอกชน หากวงเงินลงทุนไม่เกินเพดานตาม พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)การให้เอกชนร่วมทุนในกิจการของรัฐ(พีพีพี) ก็พร้อมลงทุนทันที

 ปตท.จับกระแสรถยนต์อีวี

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน) สะท้อนให้เห็นว่า ความต้องการใช้พลังงานของโลกเติบโตขึ้น โดยมองทิศทางทางราคาน้ำมันของโลกในระยะสั้นจะทรงตัวระดับ 40-50 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ขณะที่ต้นทุนการผลิตเชลล์ออยล์และเชลล์แก๊ส อยู่ที่ 60 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ดังนั้น ในระยะยาวราคาน้ำมันดิบจะยังไม่เกิน 100 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล เนื่องจากการผลิตเชลล์ออยล์ และเชลล์แก๊ส ยังจุดคุ้มทุนในการผลิตที่ 60 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล หากราคาน้ำมันดิบแตะ 60 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล ผู้ผลิตเซลล์ออยล์ก็จะหันกลับมาผลิตน้ำมันมากขึ้น กดดันให้ราคาไม่ปรับตัวสูงมากนัก

ปัจจุบันพบว่าประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบมากถึง 80% ,ก๊าซธรรมชาติ 27% และถ่านหิน 70% มูลค่าการนำเข้ารวม 1 ล้านล้านบาทต่อปี ขณะเดียวกันประเทศไทยยังใช้พลังงานสูงเมื่อเทียบกับตัวเลขจีดีพี ซึ่ง ปตท. ในฐานะบริษัทที่ต้องดูแลความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ จำเป็นต้องเสาะแสวงหาแหล่งปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ในราคาที่ยุติธรรม ซึ่งจะเห็นว่าบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เข้าไปลงทุนแหล่งสัมปทาน 33 โครงการใน 11 ประเทศทั่วโลก เพื่อเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน

อย่างไรก็ตาม ตามกระแสของโลก พบว่ามีการให้ความสำคัญกับพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น ขณะที่ภาคขนส่งจากปัจจุบันใช้น้ำมัน ในอนาคตของโลกจะหันไปสู่การใช้รถยนต์ไฟฟ้า(อีวี)กันมากขึ้น โดยปตท.เตรียมแผนรองรับสถานการณ์ดังกล่าว โดยขณะนี้ได้สร้างปั๊มชาร์จไฟฟ้าสำหรับรถยนต์อีวีแล้ว 4 จุด และสิ้นปี 2559 นี้จะมีอีก 2 จุด ส่วนในปี 2560 จะสร้างเพิ่มรวมเป็น 20 จุด เพื่อรองรับการเติบโตของรถยนต์อีวีในอนาคต

จาก http://www.thansettakij.com   วันที่ 14 กันยายน 2559

ชาวไร่มีลุ้นราคาอ้อยทะลุ 1,000 บาท/ตัน แต่ส่อไม่ได้เงินช่วยเพิ่ม  

         แนวโน้มราคาอ้อยขั้นต้นปี 59/60 มีลุ้นทะลุ 1,000 บาทต่อตัน กระทรวงอุตฯ ส่งสัญญาณไม่ให้กู้เพิ่มราคาชี้สูงแล้วและยังไม่เป็นการขัดต่อ WTO ชาวไร่รอรัฐชัดเจนแนวทางการประกาศ เหตุหลายเรื่องยังไม่คืบ ขณะที่โรงงานน้ำตาลย้ำท่าทีชัดเจนค้านนิยามผลพลอยได้

                แหล่งข่าวจากกระทรวงอุตสาหกรรมเปิดเผยว่า แนวโน้มราคาอ้อยขั้นต้นฤดูหีบปี 59/60 ที่จะประกาศในช่วงเดือน ต.ค.นี้จะไม่ต่ำกว่าระดับ 1,000 บาทต่อตัน ที่ระดับความหวาน 10 ซีซีเอส หลังจากที่บริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด (อนท.) ได้ทำการขายน้ำตาลส่งออกโควตา ข. ไปแล้วกว่า 50% เฉลี่ยราคา 20 เซ็นต์ต่อปอนด์ ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากระดับราคาดังกล่าวแล้วรัฐจึงมีแนวคิดที่จะไม่มีนโยบายที่จะช่วยเหลือในการเพิ่มราคาอ้อยเช่นที่ผ่านๆ มา

                “ราคาอ้อยขั้นต้นปี 58/59 เฉลี่ยที่ 808 บาทต่อตันซึ่งไม่คุ้มทุน กองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย (กท.) ก็ได้กู้ธนาคารกรุงไทยวงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาทมาเพิ่มราคาอ้อยอีกตันละ 160 บาท ซึ่งในจุดนี้ก็เป็นประเด็นหนึ่งที่บราซิลมองว่าไทยมีการอุดหนุนและจะทำการฟ้องร้องไทยต่อองค์การการค้าโลก (WTO) และรัฐก็ได้มีการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ... ที่จะเสนอ ครม.ภายในสิ้นเดือนนี้ ดังนั้นแม้ว่าจะต้องมีการตั้งคณะทำงานมาศึกษาในหลายประเด็นก่อนที่จะประกาศใช้ภายใน 1 ปี แต่เราก็เห็นว่าการจะกู้เงินอีกทั้งที่ราคาก็สูงก็ไม่สมควรและยังเป็นการให้บราซิลเห็นว่าเรามีความตั้งใจที่จะปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมฯ ของเราจริงๆ” แหล่งข่าวกล่าว       

        นายธีระชัย แสนแก้ว ประธานชมรมสถาบันชาวไร่อ้อยภาคอีสาน กล่าวว่า ราคาอ้อยขั้นต้นฤดูการผลิตปี 59/60 คาดว่าจะอยู่ในระดับเฉลี่ยเกินกว่า 1,000 บาทต่อตัน เพราะส่วนใหญ่ระดับความหวานของอ้อยเฉลี่ยจะอยู่ที่ 12 ซีซีเอส ซึ่งก็เป็นระดับที่ถือว่ากลับมาสูงอีกครั้งเมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่ราคาน้ำตาลทรายตลาดโลกตกต่ำให้ราคาอ้อยขั้นต้นเฉลี่ยอยู่เพียง 808 บาทต่อตัน ส่วนจะกู้เพิ่มหรือไม่คงจะต้องมาพิจารณากันในภาพรวมอีกครั้ง       

        แหล่งข่าวจาก 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทรายกล่าวว่า คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) ได้เห็นชอบหลักการในร่าง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายฉบับใหม่ เพื่อที่จะนำเสนอต่อ ครม.เห็นชอบเพื่อให้สอดคล้องกับแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย และรวมไปถึงการชี้แจงข้อกังขาบราซิลที่มองว่าไทยมีการอุดหนุนอุตสาหกรรมดังกล่าวและกำลังเตรียมข้อมูลที่จะฟ้องร้องไทยต่อ WTO โดยในส่วนของประเด็นที่เป็นปัญหาได้มีการตั้งคณะทำงานมาหารือ เช่น เรื่องคำนิยามของผลพลอยได้ซึ่งโรงงานยืนยันไม่เห็นด้วย

 จาก http://manager.co.th  วันที่ 13 กันยายน 2559

รมว.เกษตรบราซิลชี้ไทยยังพยายามไม่มากพอในการแก้ปัญหาพิพาทน้ำตาลทราย

นายไบลโร มาจิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ปศุสัตว์ และอาหาร ของประเทศบราซิล เปิดเผยภายในงานสัมมนาทางธุรกิจบราซิล-ไทย “New Perspectives in Agricultural Trade and Investment” ที่โรงแรมดุสิตธานีว่า รัฐบาลบราซิลมีความสนใจที่จะเพิ่มมูลค่าการค้าการลงทุน และขยายความร่วมมือด้านต่างๆ กับประเทศไทยให้มากขึ้น เนื่องจากไทย เป็นประเทศศูนย์กลางในกลุ่มภูมิภาคอาเซียน และยังมีจุดแข็งใกล้เคียงบราซิล โดยเฉพาะสินค้าเกษตรและปศุสัตว์ ซึ่งประเทศไทยมีความชำนาญ ในเรื่องของข้าว อ้อย สัตว์ปีก และประมง ส่วนบราซิลมีความชำนาญในเรื่องของถั่วเหลือง ข้าวโพด อ้อย สัตว์ปีก เนื้อวัว และการทำไบโอดีเซล ซึ่งหากเกิดความร่วมมือกันและการลงทุนระหว่างกัน ก็เชื่อว่าจะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการทั้งสองประเทศให้สามารถใช้จุดแข็งดังกล่าวมาต่อยอดพัฒนาในแต่ละอุตสาหกรรมได้ดียิ่งขึ้น ทั้งนี้บราซิลยังมีแผนกระชับความสัมพันธ์กับประเทศไทยให้มากขึ้น โดยการเตรียมลงนามในบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ว่าด้วยเรื่องการพัฒนาและแลกเปลี่ยนนักวิจัยด้านการเกษตรร่วมกัน และเอ็มโอยูกับกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (ไทก้า) กระทรวงต่างประเทศ ว่าด้วยเรื่องการพัฒนางานวิจัยทางวิทยาศาสตร์

“นอกจากนี้บราซิลยังประเมินว่า ประเทศในกลุ่มภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ซึ่งรวมถึงไทย ถือเป็นตลาดที่น่าสนใจสำหรับบราซิลมาก เนื่องจากมีประชากรมากถึง 51% ของประชากรทั้งโลก หรือคิดสัดส่วนเป็น 19% ของผลิตภัณฑ์มวลรวม (จีดีพี) ของทั้งโลก และยังมีแนวโน้มประชากรเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะชนชั้นกลาง ซึ่งมีกำลังซื้อสูง จึงถือเป็นโอกาสสำคัญที่บราซิลจะเข้ามาเจาะตลาดสินค้าเกษตร โดยเฉพาะสินค้าประเภทสัตว์ปีก เนื้อวัว ผลิตภัณฑ์นม และน้ำตาล เนื่องจากบราซิลมีศักยภาพส่งออกเป็นอันดับต้นๆ ของโลก” นายไบลโรกล่าว

นายไบลโร กล่าวว่า ส่วนประเด็นข้อพิพาทที่บราซิลเตรียมฟ้องต่อองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) ว่า รัฐบาลไทยได้มีเรื่องการอุดหนุนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลนั้น เรื่องดังกล่าวไม่ได้เกี่ยวข้องกับกระทรวงเกษตรฯโดยตรง แต่สิ่งที่จะสามารถตอบได้ในตอนนี้คือเรื่องดังกล่าวเป็นการดำเนินการภายในประเทศไทย ซึ่งสิ่งที่รัฐบาลไทยกำลังดำเนินการเพื่อแก้ไขปัญหาอยู่ในขณะนี้ บราซิลยังมองไม่เห็นความตั้งใจที่เพียงพอของรัฐบาลไทย อย่างไรก็ตามแม้ว่าบราซิลจะเป็นประเทศผู้ผลิตและส่งออกน้ำตาลเป็นอันดับ 1 ของโลก แต่ก็ไม่เคยมีความคิดที่จะเป็นผู้กำหนดราคาในตลาดโลก จึงมองว่าทางออกที่ดีสุดในเรื่องดังกล่าว คือ การที่ไทยและบราซิลเดินหน้าพัฒนาอุตสาหกรรมน้ำตาลร่วมกัน

จาก http://www.matichon.co.th   วันที่ 13 กันยายน 2559

สศท.4 รุกขอนแก่น สู่ศูนย์กลาง AEC อีสานกลาง หวังดันไทยก้าวสู่ Sugarcane Hub ของอาเซียน

          แจงผลศึกษางานวิจัย แนวทางพัฒนาการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการเกษตร AEC อีสานกลาง กรณีศึกษาอ้อยโรงงานของจังหวัดขอนแก่น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 เปิดกลยุทธ์ผลศึกษา ต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ หวังร่วมผลักดันให้ไทยเป็น Sugarcane Hub ของอาเซียน

          นายคมสัน จำรูญพงษ์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยถึงผลการศึกษาวิจัย "ขอนแก่น: แนวทางพัฒนาการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการเกษตร AEC อีสานกลาง กรณีศึกษาอ้อยโรงงาน ในปีงบประมาณ 2559" โดยทางสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 จังหวัดขอนแก่น (สศท.4) ได้ทำการศึกษา เพื่อวิเคราะห์ถึงจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรคการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการเกษตรของจังหวัดขอนแก่น กรณีอ้อยโรงงาน และเสนอแนะแนวทางกลยุทธ์การพัฒนาให้จังหวัดขอนแก่นเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการเกษตรของอีสานกลาง สำหรับสินค้าอ้อยโรงงาน เพื่อรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

          การศึกษา สศท.4 ได้รวบรวมความคิดเห็นจากการสัมภาษณ์เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยโรงงาน หน่วยงานภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ โรงงานน้ำตาล สมาคมชาวไร่อ้อย และสหกรณ์ชาวไร่อ้อย รวมจำนวน 98 ราย และเสนอกลยุทธ์ต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ ในการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจการเกษตร AEC อีสานกลางของจังหวัดขอนแก่น อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญคือ ควรมีการบูรณาการร่วมกันในการดำเนินการทั้ง 3 ภาคส่วน ประกอบด้วย ภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกร พัฒนาระบบโรงสร้างพื้นฐานให้สามารถรองรับต่อการเติบโต ศึกษาความต้องการของตลาดก่อนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าและขยายตลาดนอกเหนือจากอาเซียน สร้างความสัมพันธ์อันดีกับประเทศในกลุ่มอาเซียน เพื่อประโยชน์ในการเจรจาการค้า และผลักดันพัฒนาให้ประเทศไทยเป็น Sugarcane Hub ของอาเซียน เนื่องจากไทยมีศักยภาพในการผลิตอ้อยและน้ำตาลทรายมากที่สุดในอาเซียน

          ด้านนางราตรี พูนพิริยะทรัพย์ ผู้อำนวยการ สศท.4 ได้กล่าวเสริมในรายละเอียดผลการศึกษา ซึ่งแบ่งเป็นกลยุทธ์ส่วนต้นน้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำ โดยกลยุทธ์ส่วนต้นน้ำ ได้แก่ การส่งเสริมการให้ความรู้แก่เกษตรกรในการปลูกพืชให้เหมาะสมกับสภาพดินตามนโยบาย Zoning ส่งเสริมการปลูกอ้อยอินทรีย์ ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาพันธุ์อ้อย ส่งเสริมให้เกษตรกรกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชด้วยวิธีทางธรรมชาติ การส่งเสริมให้เกษตรกรสร้างพื้นที่กักเก็บน้ำไว้ใช้ และส่งเสริมให้เกษตรกรใช้เครื่องจักรกลการเกษตร ตลอดจนการจัดตั้งศูนย์เรียนรู้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยประจำอำเภอ เป็นต้น

          กลยุทธ์ส่วนกลางน้ำ ได้แก่ ความร่วมมือกันของภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาแอพพลิเคชั่นระบบจองคิวส่งอ้อยล่วงหน้า การจัดโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ เพื่อการพัฒนากระบวนการผลิตหรือเครื่องจักรการผลิตให้แก่โรงงานน้ำตาล และกลยุทธ์ส่วนปลายน้ำ ได้แก่ การส่งเสริมการลงทุนการตั้งอุตสาหกรรมต่อเนื่อง สนับสนุนโครงการนวัตกรรมของอุตสาหกรรม เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์จากอ้อยและน้ำตาลทราย ส่งเสริมการใช้เอทานอล และสนับสนุนให้โรงงานน้ำตาลขนส่งสินค้าทางรถไฟทางคู่ เป็นต้น

          นอกจากนี้ ภาครัฐควรร่วมทำบันทึกข้อตกลง (MOU) กับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ เพื่อร่วมกันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายต่อไป เพื่อร่วมกันผลักดันให้ประเทศไทยเป็น Sugarcane Hub ของอาเซียนต่อไป สำหรับท่านที่สนใจผลการศึกษาดังกล่าว สามารถขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 4 โทร. 043 261 1513 หรืออีเมล zone4@oae.go.th

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 13 กันยายน 2559

มรภ.สงขลา สุดปลื้ม นายกฯ มอบรางวัลบริหารการคลังเป็นเลิศ

          อธิการฯ มรภ.สงขลา นำทีมบริหารเข้ารับโล่จากนายกรัฐมนตรี โชว์ผลงานเยี่ยม เป็น 1 ใน 2 ราชภัฏรับรางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศบริหารจัดการด้านการเงินการคลัง

          รศ.ดร.สุนทร โสตถิพันธุ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ตนและ นายพินิจ ดำรงเลาหพันธ์ รองอธิการบดีฝ่ายบริหาร พร้อมด้วยหัวหน้างานคลัง หัวหน้างานพัสดุ เป็นตัวแทน มรภ.สงขลา เข้ารับรางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศในการบริหารจัดการด้านการเงินการคลัง ครั้งที่ 3 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 จาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ณ ตึกสันติไมตรี (หลังนอก) ทำเนียบรัฐบาล จัดโดยกรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง ซึ่ง มรภ.สงขลา ได้รับรางวัลในระดับชมเชย ร่วมกับอีก 9 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมหม่อนไหม กรมควบคุมโรค กรมสุขภาพจิต กรมอนามัย และ มรภ.หมู่บ้านจอมบึง รางวัลดังกล่าวประเมินจากผลการปฏิบัติงานของส่วนราชการตามขั้นตอนการบริหารด้านการเงินการคลัง 5 มิติ คือ มิติด้านการจัดซื้อจัดจ้าง มิติด้านการเบิกจ่าย มิติด้านการบัญชี มิติด้านการตรวจสอบภายใน และมิติด้านความรับผิดทางละเมิด ซึ่งแต่ละมิติมีการปรับปรุงเกณฑ์ให้เหมาะสม และสอดคล้องกับสถานการณ์ เช่น มิติด้านการจัดซื้อจัดจ้างมีการเพิ่มการประเมินด้านการก่อหนี้ผูกพัน มิติด้านความรับผิดทางละเมิดมีการเพิ่มเกณฑ์ด้านการบริหารงานด้วยความโปร่งใส เป็นต้น

          รศ.ดร.สุนทร กล่าวว่า ขอขอบคุณชาว มรภ.สงขลา ที่ร่วมกันปฏิบัติงานด้านการเงินการคลังด้วยความถูกต้องโปร่งใส มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าของเงินงบประมาณที่องค์กรได้รับจัดสรร ตลอดจนความถูกต้องตามระเบียบ หลักเกณฑ์ ในการใช้จ่ายเงินงบประมาณ สอดรับกับวัตถุประสงค์ เป้าหมายทางการเงิน และสอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับของราชการ ตามนโยบายของมหาวิทยาลัย นอกจากนั้น ยังได้นำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ โดยมีเว็บไซต์ให้บริการเพื่อความสะดวกรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ สร้างเครือข่ายการเงินการคลัง และพัสดุ นอกจากนั้น ยังมีการจัดอบรมสัมมนาแก่บุคลากรทางการเงิน การคลัง และการพัสดุ จากวิทยากรภายนอกผู้มีความรู้ความชำนาญและประสบการณ์สูง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปฏิบัติ มุ่งเน้นการให้บริการที่ดีด้วยการทำงานเป็นทีม ภายใต้กรอบแห่งการยึดมั่นในความถูกต้อง ซื่อสัตย์ มีคุณธรรมและจริยธรรม

          โอกาสนี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวแสดงความยินดีกับหน่วยงานที่ได้รับรางวัล และกล่าวเพิ่มเติมว่า รัฐบาลให้ความสำคัญในการวางรากฐานในการพัฒนาประเทศด้านการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังให้มีเสถียรภาพ และขยายตัวเติบโตอย่างมั่นคงและต่อเนื่อง โดยมีการประสานนโยบายการเงินและการคลังของประเทศให้สอดคล้องกัน ตั้งแต่ระดับกระทรวงระดับท้องถิ่น ตลอดจนมีการจัดการอย่างมีระบบ พร้อมมีกลไกตรวจสอบให้มีการใช้จ่ายงบประมาณอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์กับประชาชนทั่วประเทศอย่างแท้จริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างความเข้มแข็งด้านการเงินการคลังให้หน่วยงานภาครัฐมีการบริหารจัดการที่ได้มาตรฐาน ตามหลักธรรมาภิบาล โปร่งใส ถูกต้อง เป็นธรรม และไม่เลือกปฏิบัติ ทั้งนี้ เพื่อให้มีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศให้ทัดเทียมนานาชาติต่อไป

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 13 กันยายน 2559

กรมโรงงานฯเสริมความสะดวก นำร่องเปิดระบบนัดหมายล่วงหน้า

13 กันยายน 2559 กรมโรงงานอุตสาหกรรม นำร่องเปิดระบบนัดหมายล่วงหน้าผ่านระบบอินเตอร์เน็ตสำหรับผู้ประกอบกิจการโรงงาน ใน 3 กลุ่มงานบริการ

นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากนโยบายของรัฐบาลที่สนับสนุนให้หน่วยงานภาครัฐอำนวยความสะดวกให้แก่ ภาคเอกชนและประชาชนที่มาติดต่อราชการโดยนำระบบอิเล็กทรอนิกส์เข้ามามีบทบาทในการอำนวยความสะดวก เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการกรอกแบบฟอร์มในการยื่นคำขอ การขออนุญาต หรือ บริการต่างๆ ของทางราชการได้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ กรมโรงงานอุตสาหกรรมจึงเปิดช่องทางใหม่ในการให้บริการนัดหมายล่วงหน้าผ่านระบบอินเตอร์เน็ต ณ ศูนย์บริการสารพันทันใจ หรือ One Stop Service โดยนำร่อง 3 กลุ่มบริการ ได้แก่

 1.งานบริการด้านการขออนุญาตวัตถุอันตราย เช่น การอนุญาตนำเข้า ส่งออก ครอบครอง วัตถุอันตราย และการต่ออายุ

 2.งานบริการด้านการขออนุญาตกากอุตสาหกรรม เช่น การยื่นขอขยายระยะเวลาในการกักเก็บสิ่งปฏิกูล หรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว(สก.1) การขออนุญาตนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกบริเวณโรงงาน (สก.2) การขอเลขประจำตัว 13 หลัก ผู้ดำเนินงานเกี่ยวกับการจัดการของเสียอันตราย การขอใบกำกับการขนส่งของเสีย Manifest และ

3.งานบริการด้านใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน เช่น การยื่นขออนุญาตประกอบกิจการโรงงานและการขยายโรงงาน (ร.ง.4) การโอนใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน การต่ออายุใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน  โดยผู้รับบริการสามารถเข้าไปที่ www.diw.go.th เพื่อเลือกวันและเวลาที่สะดวกในการติดต่อขอรับบริการล่วงหน้าได้ตามเวลาที่ระบุไว้ และไม่ต้องเสียเวลาในการนั่งรอคิว โดยสามารถเข้าใช้บริการจองคิวทางอินเตอร์เน็ตได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

นายมงคล กล่าวต่อว่า ปัจจุบัน ศูนย์บริการสารพันทันใจ เปิดให้บริการแก่ผู้ประกอบการในด้านต่างๆ ได้แก่ การให้บริการเกี่ยวกับใบอนุญาตวัตถุอันตราย การให้บริการเกี่ยวกับกากอุตสาหกรรม การบริการเกี่ยวกับใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน การจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร การบริการด้านความปลอดภัย การบริการด้านสิ่งแวดล้อม การบริการด้านการเงิน เปิดบริการทุกวันจันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.และวันเสาร์ เวลา 08.30 – 12.00 น.

สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่ศูนย์บริการสารพันทันใจ กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ถนนพระรามที่ 6 กรุงเทพฯ โทร.02-2024093 หรือสอบถามข้อมูลโครงการอื่นๆของกรมโรงงานอุตสาหกรรม โทร.0 2202 4014หรือเข้าไปที่ www.diw.go.th หรืออีเมล์ pr@diw.mail.go.th

จาก http://www.naewna.com  วันที่ 13 กันยายน 2559

“พาณิชย์” กางยุทธศาสตร์ 20 ปี ตั้งเป้าไทยผู้นำการค้าในภูมิภาค และที่หนึ่งค้าขายเกษตรนวัตกรรม   

         “พาณิชย์” กางแผนยุทธศาสตร์ 20 ปี ตั้งเป้าดันไทยเป็นผู้นำการค้าในภูมิภาค และที่หนึ่งของโลกด้านการค้าขายสินค้าเกษตรนวัตกรรม เผยแนวโน้มในอนาคตจะเลิกควบคุมราคา ปล่อยเสรีตามกลไกตลาด พร้อมเร่งสร้างผู้บริโภคเข้มแข็ง

                 นายสมเกียรติ ตรีรัตนพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ได้กำหนดยุทธศาสตร์กระทรวงพาณิชย์ในระยะ 20 ปี (2559-2579) โดยมีความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของประเทศไทย 4.0 ที่เน้นการใช้นวัตกรรม ใช้เทคโนโลยีในทุกๆ ด้าน โดยตั้งเป้าว่าไทยจะก้าวเป็นผู้นำการค้าของโลก หรืออย่างต่ำต้องเป็นที่ 1 ในภูมิภาค โดยเฉพาะด้านสินค้าเกษตรเชิงนวัตกรรมที่ตั้งเป้าเป็นที่ 1 ของโลก แต่หากไม่เดินตามแผน แม้ไทยจะยังค้าขายต่อไปได้ตามปกติ แต่ก็จะเสียโอกาสการค้าและการลงทุน ไม่สามารถแข่งขันกับประเทศที่มีการปรับตัวและมีการเตรียมพร้อมที่ดีกว่า

                สำหรับแผนยุทธศาสตร์กระทรวงพาณิชย์ระยะ 20 ปี ได้กำหนดแผนเร่งด่วนที่ต้องทำภายใน 18 เดือน ใน 4 ยุทธศาสตร์ ได้แก่ ยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้ประกอบการแบบครบวงจร จะจัดตั้งสถาบันส่งเสริมสินค้าเกษตรนวัตกรรมเพื่อช่วยผู้ประกอบการพัฒนาสินค้าเกษตรขั้นสูงเป็นสินค้าที่มีมูลค่า เร่งรัดแก้ไขปัญหาคำขอจดทะเบียนสิทธิบัตรและเครื่องหมายการค้าที่ค้างอยู่ (Backlog) เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าสินค้านวัตกรรมให้ผู้ประกอบการ เร่งรัดแก้ปัญหาละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อให้ไทยพ้นจากบัญชีที่ต้องถูกจับตาเป็นพิเศษ (PWL) ภายในปี 2560 และส่งเสริมการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินทางปัญญาและผลักดันการพัฒนาการค้าบริการ

                นายสมเกียรติกล่าวว่า ในด้านการพัฒนาระบบการค้า จะมีการปฏิรูประบบการผลิตและการค้าสินค้าเกษตร โดยใช้การตลาดนำการผลิต เช่น ข้าว ปาล์มน้ำมัน น้ำตาล มันสำปะหลัง เพื่อแก้ปัญหาปริมาณส่วนเกิน หรือคุณภาพไม่ตรงตามความต้องการ เพราะหากสามารถวางแผนการผลิตและการตลาดได้แล้วก็จะช่วยผลักดันให้ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้น และเกษตรกรได้รับประโยชน์ในที่สุด

                นอกจากนี้ จะมีการปฏิรูปกฎหมาย ทั้งกฎหมายแข่งขันทางการค้า กฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว กฎหมายการจัดตั้งนิติบุคคลเดียว กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา กฎหมายการส่งออกและนำเข้า การบังคับใช้กฎหมายหลักประกันทางธุรกิจให้มีประสิทธิภาพ และการผลักดันอำนวยความสะดวกทางธุรกิจและการค้า เช่น การพัฒนาระบบการจดทะเบียนธุรกิจ เป็นต้น

                ส่วนยุทธศาสตร์การเสริมสร้างบทบาทผู้บริโภคจะเป็นยุทธศาสตร์ที่สำคัญ เพราะอนาคตกระทรวงพาณิชย์จะต้องลดบทบาทการควบคุมราคาสินค้า และปล่อยลอยตัวให้เป็นไปตามกลไกตลาด หรือหากควบคุมจะดำเนินการให้น้อยที่สุด ซึ่งบทบาทของกระทรวงพาณิชย์จะเปลี่ยนเป็นการอำนวยความสะดวกและต้องสร้างระบบผู้ประกอบการที่ซื่อสัตย์ ตรงไปตรงมา ไม่ทำร้ายตลาด โดยมีงานเร่งด่วนภายใน 18 เดือน คือ สร้างทางเลือกให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าด้วยราคาเป็นธรรม พัฒนาแอปพลิเคชันลายแทงของถูก พัฒนาช่องทางร้องเรียนให้สะดวกรวดเร็ว และส่งเสริมการสร้างเครือข่ายผู้บริโภค

                สำหรับยุทธศาสตร์สุดท้าย คือ การบูรณาการกับระบบการค้าโลก โดยงานเร่งด่วนคือ กระชับความร่วมมือกับกลุ่ม CLMVT เพื่อลดอุปสรรคการค้าการลงทุน สร้างภาพลักษณ์สินค้า ธุรกิจบริการของไทยให้เป็นที่ยอมรับในต่างประเทศ ผลักดันการส่งออกด้วยการตลาดนำการผลิต สร้างความเข้าใจและใช้ประโยชน์จากข้อตกลงการค้าระหว่างประเทศ และเข้าร่วมประชุมเจรจาเพื่อขยายตลาด เป็นต้น

จาก http://manager.co.th   วันที่ 13 กันยายน 2559

ค่าเงินบาทวันนี้แข็งขึ้นเล็กน้อย หลังดอลลาร์ดิ่ง

ผู้สื่อข่าวรายงานค่าเงินบาทวันที่ 13 ก.ย. ค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ 34.85 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แข็งค่าขึ้นเล็กน้อยจากระดับปิดวานนี้ที่ 34.86 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ล่าสุดยังซื้อขายที่ระดับ 34.82 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

โดยนักวิเคราะห์ค่าเงินบาทธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น หลังมีแรงเทขายดอลลาร์สหรัฐ หลังคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) 1 ท่าน ออกมาคอมเมนต์ว่า เฟดอาจยังไม่ต้องรีบขึ้นดอกเบี้ย เนื่องจากตัวเลขเงินเฟ้อยังไม่ได้ดีขึ้นถึงเป้าหมาย ทำให้มีแรงขายดอลลาร์ออกมาจากนักลงทุน เพราะโอกาสการขึ้นดอกเบี้ยใน ก.ย.นี้มีน้อยลงแล้ว

ส่วนปัจจัยที่ต้องติดตาม คือการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง.พรุ่งนี้ ว่าจะพิจารณานโยบายดอกเบี้ยอย่างไร

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 13 กันยายน 2559

ก.เกษตรฯเร่งเดินหน้าเพิ่มน้ำ4เขื่อนหลัก

กระทรวงเกษตรฯ เร่งเดินหน้าทำฝนหลวง เพิ่มน้ำ 4 เขื่อนหลัก 8,000 - 9,000 ล้านลูกบาศก์เมตร

นายสุรสีห์ กิตติมณฑล รองอธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกณ์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เตรียมพร้อมในการทำฝนหลวงตลอดเวลา เพราะสภาพอากาศช่วงนี้มีความเหมาะสม มีความชื้นจากหย่อมความกดอากาศต่ำพาดผ่านบริเวณเหนือเขื่อน ซึ่งจะใช้ปฏิบัติการโจมตีโดยใช้เครื่องบินฝนหลวงทั้งกรณีโปรยสารและยิงพลุสารดูดความชื้นเพิ่มปริมาณก้อนเมฆ จะเน้นโจมตีเพิ่มปริมาณน้ำฝนให้ตกในเขื่อนเป้าหมาย เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อย เขื่อนป่าสักฯ

ทั้งนี้ ในช่วงดีเปรสชันเข้าหากสภาพอากาศไม่ปิด สามารถขึ้นบินได้ต่อเนื่อง จะเพิ่มน้ำใช้การตามเป้าหมาย 4 เขื่อนใหญ่ 8-9 พันล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อลดปัญหาพื้นที่ท้ายเขื่อน 4 เช่น ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ พิจิตร ให้มีน้ำเพียงพอในการเพาะปลูกข้าว

จาก http://www.innnews.co.th  วันที่ 13 กันยายน 2559

กอน.ปล่อยลอยตัวราคาขายปลีกน้ำตาล

นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการ กอน.ว่า ที่ประชุมเห็นชอบหลักการแนวทางแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) อ้อยและน้ำตาลทราย (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ....ที่ประเทศบราซิล ผู้ผลิตน้ำตาลอันดับ 1 ของโลก เห็นว่าขัดกับข้อตกลงองค์การการค้าโลก (ดับเบิลยูทีโอ) โดยจะยกเลิกการประกาศราคาขายปลีกน้ำตาลในประเทศ ที่ปัจจุบันกำหนดราคาไว้ที่ 23.50 บาทต่อกิโลกรัม (กก.) ที่จะต้องปล่อยให้เคลื่อนไหวตามทิศทางราคาตลาดโลก ที่อาจเป็นราคาอ้างอิง หรือราคาแนะนำ เช่นเดียวกับบราซิล อินเดีย จีน เพื่อไม่ให้บราซิลมองว่าประเทศไทยมีการบิดเบือนหรือแทรกแซงกลไกราคาในประเทศ

นอกจากนี้ กอน.จะยกเลิกการกำหนดโควตาน้ำตาล จากปัจจุบันไทยกำหนดเป็น 3 โควตา คือ โควตา ก คือ น้ำตาลที่ใช้บริโภคในประเทศ โควตา ข คือ น้ำตาลเพื่อการส่งออก โควตา ค คือ น้ำตาลที่เหลือจากการส่งออก นำมาจำหน่ายในประเทศ โดยขณะนี้มีแนวทาง    เช่นอาจเป็นการเก็บสต๊อกน้ำตาลที่ กอน. ต้องหารือในรายละเอียดต่อไป จากนั้นจะมีการตั้งคณะทำงานร่วมระหว่างชาวไร่ โรงงานน้ำตาลทรายและภาครัฐ มากำหนดรายละเอียดเงื่อนไขที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายใหม่ ส่วน การช่วยเหลือราคาอ้อย ก็มีวิธีการดูแลแบบอื่นๆ ซึ่งเป็นหน้าที่ของสำนักงานกรรมการอ้อยและน้ำตาล (สอน.) ที่จะกำหนดวิธีการ

จาก http://www.thairath.co.th วันที่ 13 กันยายน 2559

“กอน.” เคาะหลักการแก้ไข พ.ร.บ.อ้อยใหม่ เลิกคุมราคาน้ำตาล-โควตา  

         “กอน.” เห็นชอบหลักการแก้ไข พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. ... เร่งดูระเบียบที่ขัด WTOเพื่อให้บราซิลพอใจหลังจ่อฟ้องไทยอุดหนุน ชี้ต้องทำให้เสร็จภายใน 1 ปี จ่อถอดบัญชีน้ำตาลออกจากสินค้าควบคุมโดยจะปล่อยให้ลอยตัวโดยใช้วิธีกำหนดราคาแนะนำ รวมถึงไม่มีการกำหนดโควตาน้ำตาล ก.ข.ค.

                นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ในฐานะประธานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ กอน.ว่า ที่ประชุมเห็นชอบหลักการแนวทางแก้ไขพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทราย (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ที่ประเทศบราซิลเห็นว่าขัดต่อข้อตกลงองค์การการค้าโลก (WTO) โดยจะมีการหารือร่วมกันจากทั้งชาวไร่อ้อยและโรงงานเพื่อเร่งดำเนินการให้เสร็จภายใน 1 ปี เพื่อคลายข้อกังวลของประเทศบราซิลผู้ผลิตน้ำตาลอันดับ 1 ของโลกที่มองว่าไทยมีการอุดหนุนอุตสาหกรรมน้ำตาล โดยเฉพาะในเรื่องของประเด็นราคาอ้อย และราคาจำหน่ายน้ำตาลทราย รวมไปถึงระบบโควตา ดังนั้น หลักการจะต้องมีการแก้ไขราคาขายปลีกน้ำตาลทรายที่ประกาศควบคุมโดยกระทรวงพาณิชย์ ไปสู่ระบบที่สะท้อนต้นทุน หรือลอยตัว แต่แนวทางจะเป็นอย่างไรนั้นก็ต้องศึกษาโดยจะมีคณะทำงานขึ้นมาดูแลราคา โดยอาจเป็นประกาศแนะนำที่อ้างอิงตลาดโลก

                นอกจากนี้จะมีการยกเลิกระบบการจัดสรรน้ำตาลที่แบ่งเป็นโควตา ก.(บริโภคในประเทศ) น้ำตาลโควตา ข. คือ น้ำตาลทรายดิบที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนดให้ผลิตเพื่อส่งมอบให้บริษัทอ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด ส่งออกและจำหน่ายไปยังต่างประเทศ จำนวน 8 แสนตันเพื่อใช้ทำราคาในการคำนวณราคาน้ำตาลส่งออก และน้ำตาลโควตา ค.น้ำตาลทรายส่งออกไปต่างประเทศในส่วนที่เหลือจากโควตาก.และข. ซึ่งเหตุผลที่มีการจัดสรรเพื่อป้องกันการขาดแคลนบริโภคในประเทศโดยวิธีใหม่ยืนยันว่าจะไม่ทำให้น้ำตาลขาดแคลนแน่นอน

                ขณะที่ราคาอ้อยจะเป็นราคาแนะนำ แต่จะไม่มีการประกันราคาว่าจะต้องได้เท่าไหร่ พร้อมปรับรูปแบบเงินเพิ่มค่าอ้อย โดยไม่เป็นการอุดหนุนโดยตรงจากภาครัฐที่ขัดกับข้อตกลงของ WTO อีกต่อไป ส่วนการช่วยเหลือราคาอ้อยจะมีวิธีการดูแลแบบอื่น โดยเป็นหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล (สอน.) ที่จะพิจารณาร่วมกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอีกครั้ง ขณะเดียวกันยังกำหนดประสิทธิภาพการผลิตน้ำตาลของโรงงานน้ำตาลและชาวไร่อ้อย โดยขณะนี้มีผลการศึกษามาแล้ว อยู่ระหว่างตกลงในรายละเอียด หากดำเนินการได้ทันจะใช้ในปีนี้

                “โรงงานที่มีประสิทธิภาพในการผลิตต่ำก็จะต้องจ่ายค่า penalty ในระบบ หากผลิตได้ดีจะได้รางวัลเป็นต้น เพื่อสร้างแรงจูงใจพัฒนาขีดความสามารถในการผลิต นอกจากนี้จะกำหนดมาตรฐานอ้อยมีเรื่อง penalty เช่นกัน เพื่อหลีกเลี่ยงค่าเฉลี่ยเพื่อสร้างแรงจูงใจ ส่วนจะกำหนดว่าจะกี่ CCS ยังจะต้องตกลงกันตป อ้อยไฟไหม้ที่จะป้อนเข้าโรงงานจะค่อยๆ ลดลงส่วนระบบแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานในสัดส่วนชาวไร่อ้อย 70% โรงงาน 30% ยังมีอยู่ตามเดิม” นายสมชายกล่าว

จาก http://manager.co.th  วันที่ 12 กันยายน 2559

กรมโรงงานฯ เดินหน้าแก้กฎหมายหวังออกใบอนุญาตคล่องตัวขึ้น

รายงานข่าวแจ้งว่า นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) ได้เปิดเผยถึงการจัดทำร่างกฎกระทรวง 2 ฉบับ ว่าด้วยอนุญาตให้เอกชน (Third Party) เข้ามาช่วยตรวจสอบเครื่องจักรแทนพนักงานเจ้าหน้า ได้แก่ ร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาต และเพิกถอนใบอนุญาต เป็นผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชน และร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานการตรวจสอบเครื่องจักร หลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบเครื่องจักร และการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบเครื่องจักรของผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชน

ทั้งนี้ กฎกระทรวงดังกล่าวสร้างความคล่องตัวในการจดทะเบียนเครื่องจักรแก่ผู้ประกอบการเพื่อนำไปเป็นหลักประกันเพื่อเพิ่มวงเงินจำนองด้านเครื่องจักร เพื่อหมุนเวียนในกิจการอุตสาหกรรม ซึ่งคาดว่าจะมีวงเงินจำนองเครื่องจักรเพิ่ม รวมกว่า 8 แสนล้านบาทต่อปี ทั้งนี้ กฎกระทรวงดังกล่าว คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติหลักการแล้ว เมื่อวันที่ 6 กันยายน 2559 ที่ผ่านมา หลังจากนี้จะส่งให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาต่อไปตามลำดับ

โดยเรื่องแรก 1.ร่างกฎกระทรวงการขอรับใบอนุญาต การออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต การพักใช้ใบอนุญาต และเพิกถอนใบอนุญาต เป็นผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชน เป็นการกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการสำหรับบุคคลหรือนิติบุคคลใดที่ประสงค์จะเป็นผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชน เพื่อให้ผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชนปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องชัดเจน โดยมีรายละเอียด อาทิ กำหนดหน้าที่ของผู้ตรวจเครื่องจักรเอกชน เป็น 3 ระดับ

ได้แก่ ผู้ตรวจสอบเครื่องจักรระดับ 1 มูลค่าเครื่องจักรไม่เกิน 50 ล้านบาท ผู้ตรวจสอบเครื่องจักรระดับ 2 มูลค่าเครื่องจักรไม่เกิน 100 ล้านบาท และผู้ตรวจสอบเครื่องจักรระดับ 3 ไม่จำกัดมูลค่าเครื่องจักร กำหนดวิธีการขอใบอนุญาต กำหนดคุณสมบัติของบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลที่จะขอเป็นผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชน กำหนดขั้นตอนการพิจารณาออกใบอนุญาต การต่ออายุใบอนุญาต การออกใบแทนใบอนุญาต รวมทั้งการพักใช้และเพิกถอนใบอนุญาตของผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชน

และ 2.ร่างกฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานการตรวจสอบเครื่องจักรให้เอกชน (Third Party) เข้ามาช่วยตรวจสอบเครื่องจักรแทนพนักงานเจ้าหน้าที่ รวมถึงหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสอบเครื่องจักร และการจัดทำรายงานผลการตรวจสอบเครื่องจักร ของผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชนเป็นการกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานการตรวจสอบเครื่องจักร อาทิ กำหนดให้ผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชนต้องมีเครื่องมือหรืออุปกรณ์พร้อม กำหนดให้ผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชนต้องตรวจสอบเครื่องจักรตามระดับที่ได้รับอนุญาต กำหนดวิธีการจัดทำรายงานและรับรองผลการตรวจสอบ

โดยกรมโรงงานฯ ได้ทำรายละเอียดคุณสมบัติของผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชนนั้นจะต้องมี คุณสมบัติ อาทิ ต้องเป็นบุคคลธรรมดา อายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี สำเร็จการศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ มีทุนจดทะเบียนไม่น้อยกว่า 3 ล้านบาท ฯลฯ โดยบุคคลหรือนิติบุคคลที่จะเป็นผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชนได้นั้นจะต้องมา ยื่นคำขอรับใบอนุญาตต่อนายทะเบียนเครื่องจักรประจำจังหวัดก่อน และจะต้องผ่านการฝึกอบรม ผ่านการทดสอบเพื่อให้ได้ใบรับรอง

จากนั้นจะต้องนำเอกสารมายื่นเพื่อให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมตรวจสอบก่อนออกใบ อนุญาตให้เป็นผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชนตามกฎหมาย โดยผู้ตรวจสอบเครื่องจักรเอกชนจะสามารถปฏิบัติหน้าที่แทนพนักงานเจ้าหน้าที่ ได้ก็ต่อเมื่อได้รับใบอนุญาตแล้ว อย่างไรก็ตามการใช้บริการผ่านช่องทางการให้บริการของผู้ตรวจสอบเครื่องจักร เอกชนคาดว่า จะใช้เวลาประมาณ 30 วัน ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล และประมาณ 37 วัน สำหรับต่างจังหวัด จากปกติ 45 – 60 วัน

จากการลดระยะเวลาในการจดทะเบียนฯ จะช่วยประหยัดเวลาได้มากถึง 37% ทำให้ราชการมีความสามารถในการให้บริการออกทะเบียนในช่องทางปกติของทางราชการ จากเดิม 800 ฉบับต่อปี เพิ่มขึ้นเป็น 1,300 ฉบับต่อปี ในส่วนของเอกชนคาดว่าจะให้บริการได้กว่า 500 ฉบับต่อปี หากรวมกันทั้ง 2 ช่องทางแล้วสามารถออกทะเบียนได้เพิ่มมากขึ้นถึง 1,800 ฉบับต่อปี อีกทั้งคาดว่า จะมีผู้ประกอบการนำเล่มทะเบียนเครื่องจักรมาจดจำนองประมาณ 1,200 ฉบับต่อปี มูลค่าเฉลี่ยต่อฉบับกว่า 680 ล้านบาท รวมมูลค่ากว่า 8 แสนล้านบาทต่อปี ที่จะเป็นเงินทุนหมุนเวียนทางเศรษฐกิจในภาคอุตสาหกรรม

ปัจจุบันสถิติยอดการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักร ปี 2559 ตั้งแต่เดือนมกราคม – สิงหาคม 2559 มีผู้ประกอบการขอรับการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ 1,113 ราย เครื่องจักรที่ได้จดทะเบียน 6,099 เครื่อง รวมมูลค่าการจดทะเบียนเครื่องจักร 5.6 แสนล้านบาท และมีการจดทะเบียนจำนอง 527 ราย โดยมีวงเงินจำนองเครื่องจักร 3.6 แสนล้านบาท โดยที่สถิติการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์เครื่องจักรในช่วง 3 ปี ที่ผ่านมา (มกราคม 2556 – ธันวาคม 2558) มีผู้ประกอบการขอรับการจดทะเบียนกรรมสิทธิ์ รวม 4,852 ราย เครื่องจักรที่ได้จดทะเบียน รวม 24,030 เครื่อง มูลค่าการจดทะเบียนเครื่องจักร รวม 1.3 ล้านล้านบาท และมีการจดทะเบียนจำนอง รวม 2,914 ราย โดยมีวงเงินจำนองเครื่องจักรรวม 1.6 ล้านล้านบาท

จาก http://www.prachachat.net วันที่ 12 กันยายน 2559

"โคกโพธิ์ชัย"ในพระราชดำริ ช่วยเกษตรกรขอนแก่น 2 หมื่นไร่!

โดย - โต๊ะข่าวเกษตร

           กรมชลประทานก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าโคกโพธิ์ชัย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ขอนแก่น ครบทั้ง 3 แห่ง เปิดพื้นที่ชลประทานได้ถึง 2 หมื่นไร่ หรือ 50% ของพื้นที่การเกษตร

           นายประพิศ  จันทร์มา ผู้อำนวยการกองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กรมชลประทาน เปิดเผยความคืบหน้าโครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าบ้านโพธิ์ชัย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จ.ขอนแก่น ว่าการก่อสร้างเกือบแล้วเสร็จและน่าจะเปิดใช้งานปลายปี 2559 นี้ ซึ่งจะทำให้โครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า อ.โคกโพธิ์ชัย จ.ขอนแก่น เสร็จสิ้นโดยสมบูรณ์ สามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้รวมทั้งสิ้น 2 หมื่นไร่

          โครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า อ.โคกโพธิ์ชัย สูบน้ำจากแม่น้ำชีขึ้นมาใช้ ทั้งเพื่อการเกษตรและอุปโภคบริโภค ประกอบด้วยสถานีสูบน้ำ  3 แห่ง ได้แก่ สถานีสูบน้ำบ้านศรีสำราญ สถานีสูบน้ำ บ้านท่าเอียด และสถานีสูบน้ำบ้านโพธิ์ชัย ซึ่งสถานีสูบน้ำสองแห่งแรกได้ก่อสร้างแล้วเสร็จ และเปิดใช้งานไปก่อนหน้านี้แล้ว

         “ลุ่มน้ำบริเวณนี้มีพื้นที่การเกษตร 4 หมื่นไร่ บริเวณที่ราบเหมาะแก่การเกษตร เมื่อโครงการสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้าแล้วเสร็จทั้ง 3 แห่ง สามารถส่งน้ำให้พื้นที่การเกษตรได้ถึง 2 หมื่นไร่ เท่ากับครึ่งหนึ่งของพื้นที่การเกษตรเลยทีเดียว”

         พื้นที่ในภาคอีสานส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง มีแม่น้ำไหลผ่านในระดับต่ำกว่า  จึงต้องใช้วิธีก่อสร้างสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า เพื่อกระจายน้ำไปยังพื้นที่การเกษตร แทนการปล่อยให้น้ำไหลลงปลายทางที่แม่น้ำโขงโดยเปล่าประโยชน์

จาก http://www.komchadluek.net วันที่ 12 กันยายน 2559

ถกด่วนรับมือพายุดีเปรสชั่นเข้าไทย13-15 ก.ย.นี้ กรมชลฯมั่นใจช่วยเพิ่มในเขื่อน

ที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวภายหลังประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับมือกับพายุดีเปรสชั่นว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้แสดงความห่วงใยถึงสถานการณ์น้ำทั่วประเทศ ภายหลังกรมอุตุนิยมวิทยาได้ประกาศว่าระหว่างวันที่ 13-15 กันยายน จะมีพายุดีเปรสชั่นพัดผ่านเข้ามาประเทศไทย อาจทำให้เกิดน้ำท่วมขังในบางพื้นที่ได้ จึงได้สั่งการให้กระทรวงเกษตรฯ เร่งหารือและทำงานบูรณาการกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรับมือกับสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้น

ทั้งนี้ มอบหมายให้กรมอุตุนิยมวิทยา ทำหน้าที่ให้ข้อมูลบริเวณที่พายุพัดผ่านและคำนวณปริมาณน้ำฝนที่ไทยจะได้รับ กรมชลประทานดูแลพื้นที่ในเขตชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่ดูแลพื้นที่นอกเขตชลประทาน ส่วนกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย เตรียมแผนเผชิญเหตุ และรับมือกับผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น หากเกิดปัญหาน้ำท่วม และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ทำหน้าที่เป็นฝ่ายสนับสนุนให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

นายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า กรมชลฯประเมินว่า พายุดีเปรสชั่นที่จะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 13-15 กันยายนนี้ น่าจะส่งผลดีต่อประเทศไทย โดยเฉพาะบริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง อาทิ สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ นครราชสีมา รวมถึงภาคเหนือตอนล่าง ซึ่งส่งผลให้ปริมาณน้ำในเขื่อนต่างๆเพิ่มขึ้น อาทิ เขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์ เขื่อนห้วยหลวง จ.อุดรธานี เขื่อนอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น เขื่อนลำตะคอง เขื่อนมูลบน เขื่อนลำพระเพลิง จ.นครราชสีมา เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จ.ลพบุรี เขื่อนกิ่วลม เขื่อนกิ่วคอหมา จ.ลำปาง และเขื่อนภูมิพล จ.ตาก

อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำในเขื่อนที่เพิ่มสูงขึ้น จะไม่กระทบให้เกิดภาวะน้ำล้นเขื่อน หรือน้ำท่วมในพื้นที่ท้ายเขื่อน เนื่องจากขณะนี้ปริมาณน้ำในเขื่อนต่างๆ ยังสามารถรองรับน้ำได้อีกมาก รวมทั้งกรมชลฯได้ทำการพร่องน้ำบางส่วนออกจากคลองส่งน้ำ หรือเส้นทางระบายน้ำต่างๆ ให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมแล้ว จึงเชื่อว่าจะไม่เกิดปัญหาน้ำล้นตลิ่งอย่างแน่นอน

“พายุดีเปรสชั่นที่กำลังเข้าไทย จะไม่ส่งผลให้แม่น้ำต่างๆ น้ำล้นตลิ่ง จนเกิดปัญหาน้ำท่วมอย่างแน่นอน เพราะขณะนี้แม่น้ำส่วนใหญ่ในภาคอีสานตอนล่าง และภาคเหนือตอนล่าง ยังมีปริมาณน้ำเพียง 30% ของความจุลำน้ำเท่านั้น เมื่อเกิดพายุ เชื่อว่าจะส่งผลดีต่อปริมาณน้ำเพิ่มขึ้น คาดว่าแม่น้ำมูลตอนล่าง จะมีปริมาณน้ำเพิ่มเป็น 80% ของความจุลำน้ำ แม่น้ำชี จะเพิ่มเป็น 50% และแม่น้ำยม จะเพิ่มเป็น 40 -50% รวมทั้งช่วยเติมน้ำเข้าเขื่อนภูมิพลอีกประมาณ 200 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) ส่งผลให้ปริมาณน้ำใช้การได้เพิ่มขึ้นจาก 36% เป็น 39% และช่วยให้เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำสำหรับใช้การในฤดูแล้งได้มากขึ้น ” นายทองเปลวกล่าว

จาก http://www.matichon.co.th  วันที่ 12 กันยายน 2559

โรงงาน-ชาวไร่ค้านแก้ พ.ร.บ.อ้อย ผลประโยชน์บนเส้นด้าย WTO

ร้อนระอุขึ้นอีกครั้งสำหรับรัฐบาล คสช.ภายใต้การนำของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เมื่อสมาคมผู้ผลิตอ้อยและน้ำตาลของประเทศบราซิล ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญของไทยในการส่งออกน้ำตาลไปขายในตลาดโลก ได้เรียกร้องให้รัฐบาลบราซิลยื่นฟ้องต่อองค์การการค้าโลก (WTO) เมื่อเดือนพฤษภาคม 2559 โดยกล่าวหาว่า รัฐบาลไทยดำเนินมาตรการอุดหนุนการส่งออก และอุดหนุนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลภายในประเทศไทย จนส่งผลกระทบต่อการส่งออกน้ำตาลของประเทศบราซิล และกระทบต่ออุตสาหกรรมน้ำตาลภายในประเทศบราซิล จนมีการปิดโรงงานน้ำตาลไปกว่า 50 โรงงาน
เพราะหาก "แพ้คดี" ขึ้นมา นั่นหมายถึงความเสียหายไม่ใช่เพียงระดับหลายหมื่นล้านบาท จากการที่จะต้องจ่ายค่าเสียหาย แต่ผลกระทบจะเกิดขึ้นกับประเทศชาติอย่างประเมินค่ามิได้ หากถูกประเทศที่จ้องเล่นงานไทยอย่างสหรัฐ และสหภาพยุโรป หาเรื่องกระทบชิ่งไปถึงอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มิใช่เฉพาะอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย
สอน.ลุยแก้ พ.ร.บ.ตาม "ใบสั่ง"
เรื่อง นี้พลเอกประยุทธ์ถึงกับสั่งการให้ นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ไปดำเนินการแก้ปัญหาข้อขัดแย้งต่าง ๆ ให้เรียบร้อย โดยระบุว่า ไม่ต้องการให้มีปัญหาข้อขัดแย้งกับต่างประเทศ เพราะนายกฯทราบดีว่ามีหลายประเทศที่พร้อมทิ่มแทงไทย
การทำงานให้ บรรลุเป้าหมายในการแก้ข้อกล่าวหาต่าง ๆ ที่รัฐบาลบราซิลแสดงความกังวล จึงเป็นหน้าที่หลักของสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ภายใต้สังกัดกระทรวงอุตสาหกรรม ซึ่งมี นายสมศักดิ์ จันทรรวงทอง เลขาธิการ เป็นผู้กุมบังเหียน ได้เร่งเครื่องเต็มสูบในการเดินตาม "ใบสั่ง" เพราะตามขั้นตอนแรกของการยื่นฟ้อง WTO มีกำหนดระยะเวลาในการหารือระหว่างคู่กรณีภายใน 60 วัน นับจากวันที่ยื่นคำร้อง
ด้วยการเปิดฉากลุยทำแผนปรับโครงสร้าง อุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย รวมถึงการแก้ไขพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ. 2527 ที่ใช้มานานเกือบ 32 ปี เพื่อปลดล็อกปมต่าง ๆ ที่บราซิลกล่าวหาไทยให้ทันเวลาที่ไล่หลังมา ได้แก่
1) ไทยอุดหนุนส่งออกน้ำตาลสูงมาก หากเทียบกับที่ผูกพันไว้กับ WTO คือปีละ 19,000 ล้านเหรียญสหรัฐในสินค้าเกษตรทั้งหมด 2) การจัดระบบการจำหน่ายน้ำตาลทรายออกเป็น โควตา ก. เพื่อบริโภคในประเทศ, โควตา ข. ส่งออกโดยบริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด (อนท.) และโควตา ค.
น้ำตาล ที่ส่งออกไปต่างประเทศที่หักจากโควตา ก. และโควตา ข. อาจเป็นระบบที่เรียกว่า Cross Subsidy หรือการอุดหนุนที่ให้ผู้บริโภคกลุ่มหนึ่งซื้อน้ำตาลแพง/ถูกกว่าผู้บริโภค อีกกลุ่มหนึ่ง
3) กรณีที่ พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาล กำหนดให้จ่าย "เงินชดเชย" ให้กับชาวไร่อ้อยในอัตรา 160 บาท/ตันนั้น แม้ว่าจะเป็นเงินกู้จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) แต่ให้กู้ตามคณะรัฐมนตรีอนุมัติถือเป็นนโยบายรัฐบาล
นอกจากนี้ การที่ครม.ประกาศราคาอ้อยขั้นต้น และขั้นสุดท้าย บราซิลมองว่า รัฐบาลมีการประกันราคา
"กากอ้อย-ตะกอน" ขัดแย้งหนัก
ปกติ การแก้ปัญหาในระบบอ้อยและน้ำตาลทราย ต้องมีการเปิดฉากเจรจาระหว่างแกนนำชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลให้ได้ข้อยุติ ในหลักการก่อน จึงจะนำไปสู่การแก้ไขกฎกติกา ซึ่งที่ผ่านมามีการตั้งคณะทำงานปรับโครงสร้างมาหลายชุดในหลายรัฐบาล แต่ยังตกลงกันไม่ได้ในหลายเรื่อง โดยเฉพาะการแบ่งปันผลประโยชน์ และการเปิดเสรีอ้อยและน้ำตาล ซึ่งยืดเยื้อมาไม่ต่ำกว่า 20 ปีแล้ว
ดังนั้นเมื่อมีบราซิลเอาดาบมาจี้ข้างหลังเช่นนี้ ทำให้ สอน.ลุยโดยไม่รั้งรอผลการตกลงของคณะทำงานปรับโครงสร้างอีกต่อไป
เริ่มด้วยการเสนอให้ยกเลิกระบบโควตา ก. ข. ค. โดยให้มีการสต๊อกน้ำตาลภายในไว้ในปริมาณเพียงพอต่อการบริโภค ถ้าเพียงพอแล้วจึงอนุญาตให้ส่งออก แต่การส่งออกให้ถือตามข้อตกลงโดยผ่าน อนท.
นอกจากนี้ ให้ยกเลิกการกำหนดราคาน้ำตาลภายในประเทศของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) โดยให้กระทรวงพาณิชย์ ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายอยู่แล้วเป็นผู้กำหนดราคาหน้าโรงงาน ขายปลีก ขายส่ง ในลักษณะที่ TDRI เคยศึกษาไว้ เป็นราคากึ่งลอยตัว ราคาเป็นไปตามกลไกตลาดโลก ถ้ามีการนำเข้าน้ำตาลจากต่างประเทศเข้ามาขายภายในประเทศต้องราคาสูงกว่า จะมีส่วนต่าง จะทำลักษณะคู่ขนานกึ่งลอยตัว
ส่วนเรื่องเงินชดเชย 160 บาทจะต้องยกเลิกไป และการประกันราคาที่บราซิลกล่าวหาไทยได้มีการปรับแก้มาตรา 56 ให้สอดคล้องไม่ผิดหลักการของ WTO
อย่างไรก็ตาม การแก้ไขข้อกล่าวหาแต่ละปมได้สร้างความไม่พอใจให้ 3 สมาคม
โรงงานน้ำตาลทราย มีข้อคัดค้านไม่เห็นด้วยในหลายประเด็น โดยเฉพาะการปรับคำนิยาม "ผลพลอยได้" ซึ่งเป็นเรื่องที่กระทบต่อระบบแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างชาวไร่และโรงงาน ซึ่งเป็นเม็ดเงินมหาศาลที่คงไม่ยอมกันง่าย ๆ
ถึงกับที่ นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ ประธานคณะกรรมการประสานงาน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย (TSMC) กล่าวในเวทีการเปิดประชาพิจารณ์ร่าง พ.ร.บ.อ้อยฯ เมื่อช่วงต้นสัปดาห์ว่า
"ในอดีตกว่าที่จะตกลงเรื่องแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างชาวไร่และโรงงานได้ มีการคุยกันค่อนข้างหนัก ′มีการยิงระดับผู้นำตายไปหลายคน′ เป็นประวัติศาสตร์ของอุตสาหกรรมนี้เลยทีเดียว ฉะนั้นจุดของการเริ่มต้นของอุตสาหกรรมนี้ได้เริ่มจากการเสียเลือดเนื้อของคน ไปหลายคน ถึงได้สงบและเดินมาเรื่อยๆ"
ทั้งนี้ ทางสมาคมได้ยื่นหนังสือข้อคิดเห็นและคัดค้านการแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าว โดยกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย และประเพณีปฏิบัติที่ยึดโยงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงาน น้ำตาล ซึ่งยึดหลักการแบ่งปันรายได้จากระบบมายาวนานกว่า 30 ปี
โดยเฉพาะมาตรา 3 ได้กำหนดให้กากอ้อยและกากตะกอนกรอง เข้าไปรวมในคำนิยามของ "ผลพลอยได้" โดยกำหนดให้นำไปคำนวณราคาอ้อยและผลตอบแทนจากการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทราย ด้วย จากเดิมที่กากอ้อยและกากตะกอนกรองได้ถูกรวมอยู่ในน้ำหนักอ้อยเข้าหีบที่โรง งานซื้อไปแล้ว และยังเป็นของเสียจากกระบวนการผลิต ทำให้โรงงานน้ำตาลมีค่าใช้จ่ายในการกำจัด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ดังนั้นโรงงานน้ำตาลทุกแห่ง จึงนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตน้ำตาลทรายและมีเพียงบางโรงที่มี เพียงพอนำไปจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยลงทุนเองทั้งหมด ที่สำคัญมาตราดังกล่าวยังไม่ได้รับการเห็นพ้องร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย คือชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลก่อน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งและไม่สามารถปฏิบัติได้ในอนาคต
การกำหนดนิยามตามร่างแก้ไข พ.ร.บ. ในมาตรา 3 ขัดกับประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดปริมาณการผลิตน้ำตาลและเงื่อนไข และราคาการรับซื้ออ้อยที่กำหนดให้แบ่งรายได้สุทธิจากการขายน้ำตาลภายใน ประเทศและต่างประเทศ ในสัดส่วน 70/30 โดยผลพลอยได้ทุกชนิดจากการผลิตอ้อยให้ตกเป็นของโรงงานน้ำตาล ซึ่งเป็นไปตามสัญญาซื้อขายอ้อยระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาล
นอกจากนี้ ในการแก้ไขมาตรา 17 อาจจะขัดแย้งกับข้อตกลง WTO ในหลายประเด็น เช่น คงให้ กอน.กำหนดหรือจัดสรรปริมาณน้ำตาลให้แก่โรงงานน้ำตาลผลิต หรือประเด็นการยังคงให้รัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอการแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าวในบางมาตรา แทน ครม. ยังถือว่า รัฐบาลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องหรือไม่ เนื่องจากมีการกำหนดให้ลงราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับในทางกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม ก่อนที่ทุกเรื่องจะลุกลามบานปลายใหญ่โต อยากให้ทุกฝ่ายนึกถึงผลประโยชน์ของประเทศชาติ และส่วนรวมเป็นที่ตั้ง

จาก http://www.prachachat.net   วันที่ 12 กันยายน 2559

แฉปลูกป่าสงวนทำไร่มัน, อ้อย, ข้าว

เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 11 ก.ย.ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่าที่บ้านก้างป่า หมู่ 5 ต.ด่านซ้าย อ.ด่านซ้าย จ.เลย มีโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ ร่วม 100 ไร่ ในพื้นที่ป่าสงวนป่าภูเปลือย ป่าภูขี้เถ้าและป่าภูเรือ และชาวบ้านเกิดความครางแคลงใจว่ามีการปลูกป่าจริงหรือไม่ ไปตรวจสอบพบว่ามีการตั้งเต็นท์พิธี ขึ้นป้าย “ธรรมสร้างคน คนสร้างป่า” โครงการธรรมรวมใจคนรักษ์น้ำ เพื่อเฉลิมพระเกียรติฯ และป้ายอุทยานมงคลอริยะสาวก สถานปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐานโดยแม่ชีณัฐนก พบว่ามีการแผ้วถางป่าบริเวณดังกล่าวเนื้อที่ 3-4 ไร่ เพื่อเปิดโครงการปลูกป่า สอบถามชาวบ้านทราบว่าพื้นที่ดังกล่าว ญาติของแม่ชีได้ซื้อที่ป่าจากจากชาวบ้านมานานนับสิบปี จนกระทั่งมีชาวบ้านเข้าไปบุกรุกแผ้วถาง ทำให้แม่ชีณัฐนก ผู้ดูแลสถานปฏิบัติธรรม ได้เปิดโครงการปลูกป่าขึ้นมา และไม่ทราบว่ามีเจตนายึดพื้นที่ป่าสงวนหรือไม่

นายบัญฑิต วงศ์อรินทร์ หน.หน่วยป้องกันรักษาป่า ลย.4 อ.ด่านซ้าย เปิดเผยว่า ทราบเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว พื้นที่ดังกล่าวเป็นป่าสงวนป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้าและป่าภูเรือ ได้ส่ง จนท.ไปสังเกตการณ์ว่าโครงการปลูกป่ามีการแอบแฝงหรือต้องการฮุบพื้นที่ป่าสงวนเอาไว้เอง ถ้าเป็นจริงก็ต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย แต่ถ้ามีเจตนาปลูกป่าจริง และดูแลรักษาก็เป็นสิ่งที่ดี ต้องรอดูต่อไป

ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่บ้านศาลาน้อย ต.โป่งชี อ.ด่านซ้าย จ.เลย พบว่ามีโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ ของสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 6 อุดรธานี เนื้อที 1,000 ไร่ ตั้งแต่ปี 2555-2556 บริเวณป่าสงวนป่าภูเปือย ป่าภูขี้เถ้า และป่าภูเรือ จากการตรวจสอบพบว่ามีการปลูกป่าเพียง 200-300 ไร่เท่านั้น ตามโครงการที่จะต้องปลูกป่าจริง 1,000 ไร่ และที่บ้านกกกะบาก หมู่ 10 ต.โป่ง อ.ด่านซ้าย จ.เลย มีโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ ของสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 6 อุดรธานี เช่นกัน มีจำนวน 3 แปลง ร่วม 1,000 ไร่ ตั้งแต่ปี 2553 แปลงที่ 1 จำนวน 300 ไร่ แปลงที่ 2 จำนวน 200 ไร่ และแปลงที่ 3 จำนวน 200 ไร่ และแปลงที่ 3 จำนวน 200 ไร่ แต่ปลูกป่ายังไม่เต็มพื้นที่โครงการ หรือเพียง 30% เท่านั้น

ยังมีอีกหลายแปลงของสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 6 อุดรธานี ในพื้นในพื้นที่ อ.ด่านซ้าย มีการปลูกป่าไม่ตรงตามโครงการที่เสนอมา โดยเฉพาะเขตอุทยานแห่งชาติ ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่าโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯของกรมป่าไม้ เกือบทุกแปลงปลูกป่าได้เพียง 30-40 เปอร์เซ็นต์ เมื่ออุทยานแห่งชาติส่งมอบโครงการปลูกป่าให้กับกรมป่าไม้ แต่ จนท.อุทยานฯบางหน่วยงานยังไม่ยอมส่งมอบให้กับกรมป่าไม้ เนื่องจากบางโครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติฯ มีแต่ไร่มันสำปะหลัง ไร่อ้อย หรือไร่ข้าวไปหมดแล้ว หรือไม่มีโครงการปลูกป่านั้นเอง

ผู้สื่อข่าวได้พยายามสอบถามไปยังสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 6 อุดรธานี และผู้ที่เกี่ยวข้องแล้ว แต่ยังไม่สามารถติดต่อได้ ซึ่งข่าวคืบหน้าจะนำเสนอต่อไป.

จาก http://www.thairath.co.th  วันที่ 12 กันยายน 2559

ค่าเงินบาทอ่อนค่า หลังเฟดคาดมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยใน ก.ย.นี้

ผู้สื่อข่าวรายงานค่าเงินบาท วันที่ 12 ก.ย. โดยค่าเงินบาทเปิดตลาดที่ 34.84 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ เปิดเท่ากับระดับปิดตลาดของท้ายสัปดาห์ก่อน ขณะที่ซื้อขายล่าสุดอยู่ที่ 34.88 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

โดยนักวิเคราะห์ค่าเงินบาทธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ค่าเงินที่อ่อนค่าต่อเนื่อง มาจากการที่มีคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) 2 คน ออกมาพูดถึงความเป็นไปได้ในการที่เฟดจะขึ้นดอกเบี้ยใน ก.ย.นี้มีสูง เพราะตัวเลขเศรษฐกิจต่างๆ บ่งชี้ว่าสหรัฐสามารถขึ้นดอกเบี้ยได้ เพราะเศรษฐกิจแข็งแกร่งมากขึ้นแล้ว ซึ่งส่งผลให้นักลงทุนขายสินทรัพย์เสี่ยงในภูมิภาคเอเชีย กลับไปถือดอลลาร์ทำให้ดอลลาร์แข็งค่าในวันนี้

ส่วนปัจจัยที่ต้องติดตาม คือการฟังคอมเมนต์ของคณะกรรมการเฟดอีก 1 ท่าน ที่จะมาพูดถึงนโยบายการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐวันนี้ ซึ่งหากคอมเมนต์ว่ามีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยอีก ก็ยิ่งตอกย้ำความมั่นใจในการพิจารณานโยบายการเงินในสิ้นเดือนนี้ ว่าเฟดพร้อมขึ้นดอกเบี้ยขึ้นมีมากขึ้น และติดตามการพิจารณาการของคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง.ว่าจะมีทิศทางอย่างไร

จาก http://www.prachachat.net วันที่ 12 กันยายน 2559

ทิศทางการพัฒนาเกษตรไทย ภายใต้โมเดล“ไทยแลนด์ 4.0

โดย - ดลมนัส กาเจ

            ท่ามกลางที่รัฐบาลกำลังพลักดันนโยบายเกษตร-อุตสาหกรรม ภายใต้โมเดล “ไทยแลนด์ 4.0 ” หรือประเทศไทย 4.0 น. หลายคนกำลังจับตามองว่า รูปแบบจะเป็นอย่างไร ล่าสุดบนเวทีสัมมนาหัวข้อทิศทางการพัฒนาเกษตรไทย ภายใต้โมเดล “ไทยแลนด์ 4.0 ” จัดโดยสมาคมสื่อมวลชนเกษตรแห่งประเทศไทย ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อิมแพ็คเมืองทองธานี และสภาเกษตรกร ในงาน“ซีมา อาเซียน ไทยแลนด์ 2016 ” ทีศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค อารีน่า เมืองทองธานี จ.นนทบุรี เมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาทั้งในส่วนของภาครัฐ เอกชน และตัวแทนภาคเกษตรกร ได้สะท้อนแนวทางในหลายมิติล้วนแต่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง

           นายโอฬาร พิทักษ์ อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวบรรยายพิเศษเรื่อง “จากเกษตรแปลงใหญ่ "ประชารัฐ" สู่ ไทยแลนด์ 4.0 " บนเวทีสัมมนาว่า ในยุคนี้รัฐบาลให้ความสำคัญในการพัฒนาภาคการเกษตรที่ถูกทาง เริ่มมีการปฏิบัติที่เป็นรูปธรรมแล้ว นับตั้งแต่เกษตรแปลงใหญ่ประชารัฐ เพื่อนำไปสู่ประเทศไทย ภายใต้โมเดล"ไทยแลนด์ 4.0 " ตามเป้าหมายที่วาง ตามแผนพัฒนาภาคการเกษตรภายใน 20 ปีข้างหน้านี้ เพราะทั่วโลกมองว่าอีก 20 ปีข้างหน้า ประกรเพิ่มขึ้น ภาคการเกษตรซึ่งมีส่วนสำคัญในการผลิตอาหารจะไปทางไหน

           แต่กระนั้นในฐานะที่ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม การทำเกษตรที่จะให้อยู่รอดได้ ต้องอนยู่บน 3 ฐานรากที่สำคัญจึงตอบโจทย์ใหญ่ของการเกษตรได้ คือ 1 ฐานองค์ความรู้กับเทคโนโลยี ที่รัฐบาล พยายาม นำวิธีการเหล่านี้ ลงไปสู่ชาวบ้านมาโดยตลอด เพราะปัจจุบันประเทศไทยกำลังประสบปัญหาด้านขาดแคลนแรง จึงจำเป็นที่จะต้องนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อลดต้นการผลิต และเพิ่มผลิตที่มีคุณภาพด้วย

           ฐานรากที่ 2. การตลาด ซึ่งตรงนี้ประเทศไทยน่าเป็นห่วง เพราะวิถีการตลาดการเกษตรของไทย ยังเป็นรูปแบบเดิมๆ เน้นการผลิตเพื่อหยังชีพ ต้องเปลี่ยนใหม่ให้เกษตรกอุตสาหกรรม ต้องทำการลาดนำการผลิต เกษตรกรจึงจะอยู่ได้ ต้องผลิตสิ่งที่ตลาดต้องการ แต่ปัญหาเดิมๆคือเราไม่มีตลาด ทั้งตลาดกลางด้านการเกษตร ตลาดล่วงหน้า รนวมถึงตลาดเสรี ต่อไปต้องทำการตลาดให้คอนโทรลการผลิตให้ได้ และฐานรากสุดท้ายคือการบริหาร จัดการ เพราะโจทย์วันนี้ คือเราทำนาแปลงใหญ่เพื่อจะแก้ปัญหาตลาดการและจัดการและเทคโนโลยีให้เข้าถึงเกษตรกรอย่างแท้จริง

          “ภาคการเกษตรบ้านเรา เป็นรายย่อย การนำเทคโนโลยี ไม่คุ้มกับการลงทุน ฉะนั้นต้องรวมตัวเป็นเกษตรแปลงใหญ่ รัฐบาลจะช่วยเหลือในด้านเทคโนโลยีในนามกลุ่มหรือสถาบันเกษตรกร โดยให้เกษตรกรช่วยกันดูแลและเป็นเจ้าของ เพราะเกษตรแปลงใหญ่เป็นจักรกลสำคัญในการที่จะให้การเกษตรภายใต้โมเดลไทยแลนด์ 4.0 ได้ ตอนนี้เราทำมาแล้วกว่า 5-600 แปลงเป้นการนำร่องไปก่อน” นายโอฬาร กล่าว

          ขณะที่เดียวกัน อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ระบุอีกว่า ขณะที่กรมส่งเสริมการเกษตรได้ส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่เข้าสู่ภาคเกษตรกรรม  (Young Smart Farmer) และเกษตรกรปราดเปรื่อง (Smart Farmer) เพื่อต่อยอดในการเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรต่อไป

          สอดคล้อแนวคิดของนายเสน่ห์ วิชัยวงษ์ รองเลขาธิการสภาเกษตรแห่งชาติ ที่ระบุ การพัฒนา เกษตรกร ที่บ้านเรา เป็นแปลงเล็กๆและรายย่อย จะให้ พัฒนาก้าวข้ามไป เป็นเกษตร 4.0 ต้องพัฒนาที่ คนและนโยบายสนับสนุนของภาครัฐต้อง ออกมา ให้ ชัดเจนคือถ้าก้าวข้ามกับดัก 2.0 และ 3.0 ที่ผลิตและขายวัตถุดิบอย่างเดียว ออกไปให้ได้ ซึ่งภาคเอกชน มีส่วนสำคัญที่จะนำทางด้านทุนและเทคโนโลยีมาช่วยสนับสนุน เป้าหมาย คือการบริหารจัดการ เกษตรกรจะต้องก้าวไปเป็นผู้ประกอบการสร้างแบรนด์ของตัวเองสร้าง story ของตัวเองขึ้นมาให้ได้

          ด้านนายอำนาจ บุตรทองคำวงษ์ ผู้ช่วยผู้จัดการส่วน-ส่งเสริมนวัตกรรมการเกษตรบริษัท สยามคูโบต้า คอปอเรชั่น จ่ากัด ได้ยกตัวอย่าง การพัฒนา ของบริษัท ที่ภาคเอกชน พยายามผลักดันจากเกษตรดั้งเดิม ไปเกษตรสมัยใหม่และจะต่อไปยังเกษตรล้ำยุค ที่ต้องนำองค์ความรู้มาผสมผสานให้เหมาะเหมาะกับเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ ทั้งต้นน้ำกลางน้ำและปลายน้ำเราส่งเสริมด้านเทคโนโลยีให้แต่ละกลุ่มเพื่อให้มีการลดต้นทุนให้เกษตรกรโดยการรวมกลุ่มนอกจากนี้ยังได้ยกตัวอย่าง 10 เทคโนโลยีที่เข้าไปส่งเสริมให้เกษตรกรมานำเสนออีกด้วย โดย สิ่งที่สยามคูโบต้าได้ดำเนินการในรูปแบบเกษตรกแปลงใหญ่ พบว่ามารถลดต้นทุนและบริหารจัดการได้ดีขึ้น

          ส่วนนายธนัช ทรงเมธากฤษ ผู้จัดการพัฒนาธุรกิจ บริษัท ธาอัส จ่ากัด บอกว่า เกษตรเกษตรแปลงใหญ่ต้องมีความแม่นยำ ทางบริษัท จึงเข้าอุปกรณ์เครื่องบอกตำแหน่งและพิกัดของพื้นเป้าหมายทางการเกษตร หรือจีพีเอส(GPS) เครื่อวัดระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อเก็บข้อมูล และบอกตำแหน่งในพื้นที่กว้างสำหรับแปลงเพาะปลูกพืชเศณษฐกิจ หรือจีไอเอส(GIS) ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ผ่านสัญญาณดาวเทียม สำหรับติดตั้งบนเครื่องจักรกลการเกษตร โดยเฉพาะรถแทรกเตอร์ และล่าสุดได้นำเครื่องเลเซอร์สำหรับปรับพื้นที่การเกษตรให้เสมออยู่ในระดับเดียวกันทั้งแปลง มาจากประเทศสหรัสอเมริกา พร้อมได้ออกแบบและผลิตอุปกรณ์การเกษตรที่เหมาะกับสภาพของประเทศไทย อาทิ อุปกรณ์ปรับหน้าดินจำพวกใบมีดลากหลังของรถแทรกเตอร์ ก่อนทำการเพาะปลูก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ให้มากที่สุด ในการผลิต

           นอกจากนี้ เทคโนโลยีต่างๆสามารถเลือกได้ให้เหมาะสมประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมเป็นต้น ทั้งนี้เพื่อให้เป็นทางเลือกของผู้ประกอบการด้านการเกษตรในอนาคต ที่ใช้เทคโนโลยีความแม่นยำสูง มายกตัวอย่าง เช่นการปรับพื้นที่ของเกษตรกร ก่อนทำการเพาะปลูก เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ให้มากที่สุด ในการผลิต นอกจากนี้ เทคโนโลยีต่างๆสามารถเลือกได้ให้เหมาะสมประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมต่อไป

         ทั้งหมดเป็นทรรศนะและมุมของผู้ที่มีส่วนที่จะผลักดันภาคการเกษตรไทยให้ดีขึ้นในที่เป็นหน่วยงานของรัฐ เอกชนและตัวแทนในส่วนของเกษตรกรด้วย

จาก http://www.komchadluek.net วันที่ 12 กันยายน 2559

ไทย-ปากีสถานเจรจาFTAรอบ4สำเร็จ

ไทย-ปากีสถาน เจรจา FTA รอบ 4 สำเร็จเสนอรายการเปิดตลาดระหว่างกันได้ นัดคุยรอบ 5 ที่ไทย เร่งสรุปผลให้เสร็จสิ้นปีนี้

นางสาวสุนันทา กังวาลกุลกิจ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ในฐานะหัวหน้าผู้แทนไทย เปิดเผยถึงผลการ เข้าร่วมประชุมการเจรจา FTA ไทย-ปากีสถาน ครั้งที่ 4 ณ กรุงอิสลามาบัด ประเทศสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน ระหว่างวันที่ 6 - 8 กันยายนที่ผ่านมา ว่า การเจรจาครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก โดยทั้งสองฝ่ายสามารถตกลงข้อบทว่าด้วยกฎถิ่นกำเนิดสินค้าได้แล้ว และยังได้หารือรูปแบบการลดภาษี และยื่นรายการสินค้าที่ต้องการให้มีการเปิดตลาดระหว่างกันในที่ประชุมแล้ว

โดยไทยเสนอให้ปากีสถานเปิดตลาดสินค้าสำคัญ เช่น อาหารแปรรูป น้ำตาล เคมีภัณฑ์ ปิโตรเคมี และพลาสติก ยางพาราและผลิตภัณฑ์ไม้อัด ไม้บาง สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ และ เพื่อเป็นการเร่งการเจรจาให้สามารถสรุปผลได้ภายในสิ้นปีนี้ ทั้งสองฝ่ายตกลงให้มีการประชุมเจรจา FTA ระหว่างกันเป็นประจำทุกเดือน โดยไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม ครั้งที่ 5 ระหว่างวันที่ 18 - 20 ตุลาคมนี้ที่ ประเทศไทย

จาก http://www.innnews.co.th วันที่ 11 กันยายน พ.ศ.2559

แก้พ.ร.บ.อ้อยฯเจอแรงต้าน สอน.ไม่สนเร่งสรุปก่อน 13 ก.ย.หวังบราซิลยุติการฟ้อง

3 สมาคมโรงงานน้ำตาล ส่งหนังสือถึง “อรรชกา” ให้ทบทวนการแก้ไขพ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายใหม่ หลังมีความชัดแย้งระหว่างโรงงานและชาวไร่ แบ่งปันผลประโยชน์จากผลพลอยได้ยังไม่ลงตัว ขณะที่สอน.วอนขอเพื่อประเทศ เร่งสรุปกรอบกว้างๆ ให้ได้ก่อน ใช้เจรจาต่อรองกับทางบราซิลเดินทางมาไทย 13 ก.ย.นี้ หวังยุติการฟ้อง WTO

นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี ประธานคณะทำงานด้านประชาสัมพันธ์ 3 สมาคมโรงงานน้ำตาล เปิดเผยกับ”ฐานเศรษฐกิจ” เมื่อวันที่ 6 กันยายน ที่ผ่านมา 3 สมาคมโรงงานน้ำตาล ประกอบด้วยสมาคมโรงงานน้ำตาลไทย สมาคมผู้ผลิตน้ำตาลและชีวพลังงานไทย และสมาคมการค้าอุตสาหกรรมน้ำตาล ได้ยื่นหนังสือถึง ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อให้คัดค้านและเสนอข้อคิดเห็นการแก้ไข พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย ซึ่งเป็นสวนหนึ่งในการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบ และกำลังอยู่ในช่วงรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

ทั้งนี้ เนื่องจากเห็นว่ามีบางมาตรายังนำไปสู่ข้อขัดแย้ง ที่ยังไม่เป็นข้อตกลงระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาล โดยเฉพาะกรณีที่จะมีการแก้ไขคำนิยามของผลพลอยได้ โดยให้รวมกากอ้อย และกากตะกอนกรอง นอกเหนือจากเดิมที่กำหนดเพียงกากน้ำตาลไว้เท่านั้น ซึ่งจะมีผลทำให้ต้องนำรายได้จากการจำหน่ายผลพลอยได้ดังกล่าวมาเข้าระบบแบ่งให้กับชาวไร่ ทางโรงงานเห็นว่าไม่เกิดความยุติธรรม เนื่องจากกากอ้อยถือเป็นการรับซื้ออ้อยที่ได้จ่ายไปแล้ว อีกทั้ง บางโรงงานไม่มีปริมาณกากอ้อยเพียงพอที่จะนำไปจำหน่ายได้ เพราะใช้ผลิตไฟฟ้าให้กับโรงงานก็ยังไม่เพียงพอ ขณะที่กากตะกอนกรอง ถือเป็นสิ่งสกปรกที่ปนเปื้อนมากับอ้อย ถือเป็นกากของเสียที่ต้องกำจัด แต่เมื่อมีเทคโนโลยีมาสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการนำไปทำปุ๋ย สร้างรายได้ แต่โรงงานต้องเป็นผู้ลงทุนเอง ทำให้ไม่เกิดความยุติธรรมเกิดขึ้น

อีกทั้ง การแก้ไขบทนิยามน้ำตาลทรายให้ครอบคลุมถึงน้ำอ้อย ที่จะนำไปใช้ในการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ซึ่งยังมีปัญหาว่า ยังไม่สามารถคำนวณราคาน้ำอ้อยที่จะนำไปจำหน่ายในอัตราใด จึงทำให้รายได้ส่วนนี้มีความชัดเจนที่จะนำมาแบ่งปันให้กับชาวไร่ได้

นอกจากนี้ การกำหนดจัดสรรปริมาณน้ำตาลทราย ที่จะให้มีการยกเลิกระบบโควตา ก.ข.และค.รวมทั้ง การยกเลิกควบคุมราคาน้ำตาลทรายในประเทศให้เป็นไปตามกลไกตลาด อาจจะขัดกับกฎกติกาการค้าโลก เป็นต้น ดังนั้น ในช่วงระหว่างรับฟังความคิดเห็นอยู่นี้ จึงอยากให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ลงมาพิจารณาในปัญหาต่างๆ ว่าสมควรจะต้องมีการแก้ไขหรือไม่

นายสมศักดิ์ จันทรรวงทอง เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.) เปิดเผยว่า ในการรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียถึงการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยอ้อยและน้ำตาลทรายเมื่อวันที่ 6 กันยายน ที่ผ่านมา ถือเป็นการรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 3 แล้ว จากที่คณะกรรมการพัฒนากฎหมาย ของสอน.ได้หารือกันมา 27 ครั้ง ซึ่งการรับฟังความคิดเห็นแต่ละครั้งกลุ่มของโรงงานน้ำตาลจะไม่เห็นด้วยต่อการแก้ไขบางมาตราก็ตาม ในขณะที่ชาวไร่ก็อยากจะมีรายได้เพิ่มขึ้น ดังนั้น จะทำอย่างไรจึงจะได้จุดสมดุลให้เกิดขึ้น เพื่อนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาให้ทันภายในสิ้นเดือนกันยายนนี้

ทั้งนี้ เนื่องจากคณะทำงานมีเวลาจำกัด ประกอบกับถูกบีบจากประเทศบราซิลที่จะทำการฟ้ององค์การการค้าโลก(WTO) ในการอุดหนุนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ซึ่งภาครัฐจะต้องเร่งปลดล็อกในส่วนนี้ให้ได้ก่อน โดยการเร่งแก้ไขกฎหมาย และจัดทำแผนอนุบัญญัติ เสนอครม.เพื่อเป็นกรอบหรือมีแนวทางที่ชัดเจนในการดำเนินงานให้พ้นข้อกล่าวหากจากบราซิล

 ในขณะที่ส่วนไหนยังมีปัญหาที่โรงงานและชาวไร่อ้อยยังตกลงกันไม่ได้ เช่น การแบ่งปันผลประโยชน์จากผลพลอยได้ ก็ต้องให้ทั้ง 2 ฝ่ายมาเจรจากันในภายหลัง แต่ในเบื้องต้นนี้ขอให้การแก้ไขกฎหมายในกรอบกว้างๆ ให้สามารถเดินไปได้ก่อน

โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 13-14 กันยายน ที่จะถึงนี้ ทางรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ และคณะชาวไร่กว่า 45 คน จะเดิมทางเข้าพบพล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทางสอน.ก็จะจัดเตรียมข้อมูลการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไว้ชี้แจง เพื่อหวังว่าจะได้มีความเข้าใจ และไม่นำไปสู่การฟ้อง WTO รวมถึงไม่ต้องเดินทางไปกรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ เพื่อเจรจากับทางบราซิลในวันที่ 15 ตุลาคมนี้

“การแก้ไขกฎหมายครั้งนี้ เป็นนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการนำอ้อย มาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์อย่างอื่น เพื่อเพิ่มมูลค่า นอกเหนือจากน้ำตาลทราย ประกอบกับมีเรื่องบราซิลจะฟ้อง WTO เข้ามาพอดี จึงมีการแก้ไขข้อกังวลของทางบราซิลเข้าไปด้วย ซึ่งมองว่า หากสามารถสรุปและมีความชัดเจนได้เร็วเท่าใด ก็จะช่วยให้หลุดพ้นจากการฟ้องได้ ซึ่งล่าสุดได้รับแจ้งมาว่า ทางบราซิลจะมีการตั้งคณะผู้พิจารณา เพื่อนำไปสู่ขั้นการไต่สวนแล้ว แต่ก็เปิดช่องให้ฝ่ายไทยเจรจาควบคู่ไปด้วยได้ ดังนั้น เมื่อมีกรอบการแก้ปัญหาที่ชัดเจน ก็หวังว่าจะทำให้ทางบราซิลถอนฟ้องได้”

จาก http://www.thansettakij.com วันที่ 10 กันยายน 2559

รัฐบาลยันไม่ทิ้งเกษตรกร

                    โฆษกรัฐบาลแจง โมเดลประเทศไทย 4.0 ไม่ทิ้งภาคเกษตรและอุตสาหกรรม ย้ำทุกส่วนต้องเกื้อกูลกัน เน้นขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม ตั้งเป้าเปลี่ยนประเทศให้พัฒนาและมีรายได้สูง ภายใน 3-5 ปี                     

                    พลตรี สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยขับเคลื่อนเศรษฐกิจแบบ 1.0 ที่เน้นภาคการเกษตร ผลิตและขายพืชไร่ พืชสวน เนื้อสัตว์ ไปสู่ประเทศไทย 2.0 ที่เน้นอุตสาหกรรมเบา ขายรองเท้า กระเป๋า เครื่องนุ่งห่ม และก้าวเข้าสู่โมเดลปัจจุบัน คือประเทศไทย 3.0 ที่เน้นอุตสาหกรรมหนักและการส่งออก ผลิตและขาย ส่งออกเหล็กกล้า รถยนต์ กลั่นน้ำมัน ปูนซีเมนต์

“โครงสร้างเศรษฐกิจรูปแบบเดิมที่ใช้เทคโนโลยีไม่ซับซ้อน ฉุดรั้งให้ประเทศติดกับดักรายได้ปานกลางมาหลายสิบปีแล้ว รัฐบาลจึงต้องการเปลี่ยนให้เป็นประเทศไทย 4.0 ที่เน้นขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม เปลี่ยนจากการผลิตสินค้าที่มีเหมือนกันทั่วโลกให้เป็นสินค้าเชิงนวัตกรรม เปลี่ยนภาคอุตสาหกรรมธรรมดาให้ใช้เทคโนโลยี ความคิดสร้างสรรค์ และนวัตกรรม และเน้นการบริการแทนที่จะเน้นการผลิตสินค้า”

ทั้งนี้พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประสงค์ให้พี่น้องประชาชนเข้าใจว่า เมื่อมีนโยบายประเทศไทย 4.0 แต่รัฐบาลก็ไม่ได้ละเลยภาคการเกษตรหรือภาคอุตสาหกรรม โดยทั้งหมดจะต้องสนับสนุนเกื้อกูลกัน โดยท่านนายกฯ เน้นว่า เราจะต้องเปลี่ยนการเกษตรแบบดั้งเดิมให้เป็นเกษตรสมัยใหม่ ที่เน้นการจัดการและเทคโนโลยี เช่น เปลี่ยนข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง ให้เป็นอาหารสุขภาพหรือผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีมูลค่าสูง เปลี่ยนจาก SMEs ที่รอความช่วยเหลือจากรัฐเป็น Smart SMEs หรือบริษัทเกิดใหม่ (Startup) ที่ขายสินค้าไอเดียใหม่ ๆ เช่น หุ่นยนต์การแพทย์รองรับสังคมผู้สูงอายุ รวมทั้งเปลี่ยนการบริการธรรมดาให้มีมูลค่าสูงขึ้น เช่น ให้บริการครบวงจรทั้งคำปรึกษา บริหารจัดการ และบริการหลังการขาย และเปลี่ยนแรงงานธรรมดาให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญสูง

จาก http://www.dailynews.co.th  วันที่ 10 กันยายน 2559

ผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาล ติง พ.ร.บ.อ้อยฯ ฉบับใหม่ ยังเสี่ยงต่อการขัดหลัก WTO หวั่นแก้ไขคำนิยมผลพลอยได้กระทบความสัมพันธ์โรงงานและชาวไร่อ้อยในระยะยาว

          3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย คัดค้านการแก้ไข พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ระบุไม่เห็นด้วย 3 มาตรการหลักของการแก้ไขกฎหมาย ตั้งแต่ประเด็น มาตรา 3 การนำกากอ้อยและกากตะกอนกรองไปรวมเป็นผลพลอยได้ในระบบแบ่งปันผลประโยชน์ 70/30 อีกทั้งรายละเอียดหน้าที่ กอน. ตามมาตรา 17 ยังขัดต่อหลักกฎหมายของ WTO หวั่นข้อกฎหมายทำลายประเพณีปฏิบัติและกระทบความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานที่มีมายาวนานกว่า 30 ปี

          นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ ประธานคณะกรรมการประสานงาน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย หรือ TSMC เปิดเผยว่า หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้เปิดการรับฟังความคิดเห็นการแก้ไข พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ทางสมาคมฯ ได้ยื่นหนังสือข้อคิดเห็นและคัดค้านการแก้ไข พ.ร.บ. ดังกล่าว ซึ่งนำมาสู่การรับฟังความเห็นในครั้งที่ 2 (วันที่ 8 ก.ย.) ซึ่งทางผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลทรายยังคงยืนยันถึงข้อกังวลต่อการแก้ไข พ.ร.บ.ฉบับนี้ ที่จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย และประเพณีปฏิบัติที่ยึดโยงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลทรายที่มีมามากกว่า 30 ปี

          เนื่องจากมาตรา 3 ของ ร่าง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย (ฉบับที่..) พ.ศ. …. ซึ่งอยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการและชาวไร่อ้อยนั้น ได้กำหนดให้ กากอ้อย และกากตะกอนกรอง เข้าไปรวมในคำนิยามของผลพลอยได้ โดยกำหนดให้นำไปคำควณราคาอ้อยและผลตอบแทนจากการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายด้วย จากเดิมที่กากอ้อยและกากตะกอนกรองได้ถูกรวมอยู่ในน้ำหนักอ้อยเข้าหีบที่โรงงานซื้อไปแล้ว และยังเป็นของเสียจากกระบวนการผลิตทำให้โรงงานน้ำตาลมีค่าใช้จ่ายในการกำจัดเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น โรงงานน้ำตาลทุกแห่งจึงนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตน้ำตาลทราย และมีเพียงบางโรงที่มีเพียงพอนำไปจำหน่ายให้แก่ กฟผ. โดยลงทุนเองทั้งหมด

          นอกจากนี้ ข้อเสนอมาตราดังกล่าวยังไม่ได้รับการยอมรับและความเห็นพ้องร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ ชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลก่อน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งและไม่สามารถปฏิบัติได้ในอนาคตหากมีการบังคับใช้ในมาตราดังกล่าว เนื่องจากที่ผ่านมาโรงงานน้ำตาลทรายและชาวไร่อ้อยมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน โดยยึดหลักการแบ่งปันรายได้จากระบบมายาวนานกว่า 30 ปี

"การกำหนดนิยามตามร่างแก้ไข พ.ร.บ. ในมาตรา 3 ขัดกับหลักข้อตกลงร่วมกันระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดปริมาณการผลิตน้ำตาลทรายและเงื่อนไข และราคาการรับซื้ออ้อยที่กำหนดให้แบ่งรายได้สุทธิจากการขายน้ำตาลทรายภายในประเทศและต่างประเทศในสัดส่วน 70/30 โดยผลพลอยได้ทุกชนิดจากการผลิตอ้อยให้ตกเป็นของโรงงานน้ำตาลทราย ซึ่งเป็นไปตามสัญญาซื้อขายอ้อยระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาล" นายเชิดพงษ์ กล่าว

          ประธาน คณะกรรมการประสานงาน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายฉบับใหม่ ที่เสนอให้แก้ไขมาตรา 17 อาจจะขัดแย้งกับข้อตกลง WTO ในหลายประเด็น เช่น ยังคงให้ กอน. กำหนดหรือจัดสรรปริมาณน้ำตาลทรายให้แก่โรงงานน้ำตาลทรายผลิต หรือประเด็นการยังคงให้รัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอการแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าวในบางมาตรา แทน ครม. ยังถือว่ารัฐบาลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายหรือไม่ เนื่องจากมีการกำหนดให้ลงราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับในทางกฎหมาย

          ขณะที่การแก้ไขข้อกำหนดบทลงโทษทั้งฝ่ายชาวไร่และโรงงานน้ำตาลนั้น ทางสมาคมไม่เห็นด้วยเนื่องจากที่ผ่านมา บทลงโทษใน พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลฉบับเดิม มิได้ก่อให้เกิดปัญหาอย่างรุนแรงต่อระบบแต่อย่างใด อีกทั้งการเพิ่มค่าปรับตามที่เสนอใน พ.ร.บ.ฉบับแก้ไขใหม่นั้น โดยให้เหตุผลว่าปรับให้สูงเพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและค่าเงินที่เปลี่ยนแปลงไป และกำหนดอัตราขั้นต่ำ ยังขัดกับการหลักการออกกฎหมายทั่วไป จึงเห็นว่าไม่ควรปรับแก้ในมาตรานี้แต่อย่างใด

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 9 กันยายน 2559

TSMCติงพ.ร.บ.อ้อย-น้ำตาลฉบับใหม่ เสี่ยงขัดต่อข้อตกลงWTO กระทบด้านเสถียรภาพอุตฯ

นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ ประธานคณะกรรมการประสานงาน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย หรือ TSMC เปิดเผยว่า หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ได้เปิดการรับฟังความคิดเห็นการแก้ไข พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 สมาคมได้ยื่นหนังสือข้อคิดเห็นและคัดค้านการแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่งนำมาสู่การรับฟังความเห็นในครั้งที่ 2 (วันที่ 8 กันยายน) ซึ่งผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลทรายยังคงยืนยันถึงข้อกังวลต่อการแก้ไข พ.ร.บ.ที่จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย และประเพณีปฏิบัติที่ยึดโยงความสัมพันธ์ที่ดีของชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลทรายที่มีมามากกว่า 30 ปี

ทั้งนี้มาตรา 3 ของ ร่าง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย (ฉบับที่..) พ.ศ. ....ซึ่งอยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการและชาวไร่อ้อยนั้น ได้กำหนดให้กากอ้อย และกากตะกอนกรอง เข้าไปรวมในคำนิยามของผลพลอยได้ โดยกำหนดให้นำไปคำนวณราคาอ้อยและผลตอบแทนจากการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายด้วย จากเดิมที่กากอ้อย และกากตะกอนกรอง ได้ถูกรวมอยู่ในน้ำหนักอ้อยเข้าหีบที่โรงงานซื้อไปแล้ว และยังเป็นของเสียจากกระบวนการผลิต ทำให้โรงงานน้ำตาลทรายมีค่าใช้จ่ายในการกำจัด เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นโรงงานน้ำตาลทรายทุกแห่งจึงนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตน้ำตาลทราย และมีเพียงบางโรงงานที่มีเพียงพอนำไปจำหน่ายให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) โดยเป็นการลงทุนเองทั้งหมด

นอกจากนี้ ข้อเสนอมาตราดังกล่าว ยังไม่ได้รับการยอมรับและความเห็นพ้องร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือชาวไร่อ้อย และโรงงานน้ำตาลทราย ก่อนซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งและไม่สามารถปฏิบัติได้ในอนาคต หากมีการบังคับใช้ในมาตราดังกล่าว เนื่องจากที่ผ่านมาโรงงานน้ำตาลทรายและชาวไร่อ้อยมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน โดยยึดหลักการแบ่งปันรายได้จากระบบมายาวนานกว่า 30 ปี

“การกำหนดนิยามตามร่างแก้ไข พ.ร.บ.ในมาตรา 3 ขัดกับหลักข้อตกลงร่วมกันของชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลทราย ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดปริมาณการผลิตน้ำตาลทรายและเงื่อนไข และราคาการรับซื้ออ้อยที่กำหนดให้แบ่งรายได้สุทธิจากการขายน้ำตาลทรายภายในประเทศและต่างประเทศในสัดส่วน 70/30 โดยผลพลอยได้ทุกชนิดจากการผลิตอ้อยให้ตกเป็นของโรงงานน้ำตาลทราย ซึ่งเป็นไปตามสัญญาซื้อขายอ้อยระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลทราย”นายเชิดพงษ์ กล่าว

สำหรับร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่ ที่เสนอให้แก้ไขมาตรา 17 อาจจะขัดแย้งกับข้อตกลงขององค์การการค้าโลก (WTO) เช่น ยังคงให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) กำหนดหรือจัดสรรปริมาณน้ำตาลทรายให้แก่โรงงานน้ำตาลทรายผลิต หรือการยังคงให้รัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอการแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าวในบางมาตรา แทนคณะรัฐมนตรี (ครม.) ยังถือว่ารัฐบาลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายหรือไม่ เนื่องจากมีการกำหนดให้ลงราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับในทางกฎหมาย

ในขณะที่การแก้ไขข้อกำหนดบทลงโทษทั้งฝ่ายชาวไร่และโรงงานน้ำตาลทราย สมาคมฯไม่เห็นด้วย เนื่องจากบทลงโทษใน พ.ร.บ.ฉบับเดิม ไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาอย่างรุนแรงต่อระบบ อีกทั้งการเพิ่มค่าปรับตามที่เสนอใน พ.ร.บ.ฉบับแก้ไขใหม่ โดยให้เหตุผลว่าปรับให้สูง เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจและค่าเงินที่เปลี่ยนแปลงไป และกำหนดอัตราขั้นต่ำ ยังขัดกับหลักการออกกฎหมายทั่วไป จึงเห็นว่าไม่ควรปรับแก้ในมาตรานี้

จาก http://www.naewna.com วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2559

รง.ค้านนำรายได้กากอ้อยเข้าระบบแบ่งผลประโยชน์

แก้พรบ.อ้อย-น้ำตาลใหม่วุ่นชี้ขัดดับเบิลยูทีโอหลายประเด็น

กอน.เร่งสรุปกม.อ้อยและน้ำตาลทรายให้เสร็จภายในกย.นี้ปรับหลักเกณฑ์เงินเข้ากองทุนฯ ช่วยโรงน้ำตาลเกษตรกรปรับปรุงการผลิต ด้านโรงงานค้านนำรายได้กากอ้อยเข้าระบบแบ่งปันผลประโยชน์

นายสมศักดิ์  จันทรรวงทอง เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) กล่าวภายหลังการหารือกับกลุ่มโรงงานน้ำตาลในแนวทางการแก้ไขร่าง พรบ.อ้อยและน้ำตาลทรายว่า ในขณะนี้ข้อกังวลหลักๆ ของโรงงานน้ำตาลในเรื่องการกำหนดให้ต้องนำกากอ้อยและกากตะกอนกรอง เข้าไปรวมอยู่ในคำนิยามของผลพลอยได้ที่จะนำรายได้ของส่วนนี้ไปอยู่ในระบบแบ่งปันผลประโยชน์ 70:30 ด้วยซึ่งกอน.จะเป็นตัวการในการไกล่เกลี่ยผลประโยชน์ระหว่างโรงงานน้ำตาลกับชาวไร่อ้อยให้พอใจกับทุกฝ่ายมากที่สุด สุดท้ายหากไม่สามารถตกลงกันได้ก็ต้องส่งให้กับรมว.อุตสาหกรรมเป็นผู้ตัดสิน ซึ่งข้อสรุปทั้งหมดจะต้องเสร็จภายในเดือนก.ย.นี้

ในส่วนของความกังวลใจของประเทศบราซิลที่เตรียมจะฟ้องร้ององค์การการค้าโลก (ดับเบิลทีโอ) กล่าวหาว่าไทยอุดหนุนอุตสาหกรรมน้ำตาล ทั้งการส่งออกและน้ำตาลที่จำหน่ายในประเทศนั้น ยังอยู่ในขั้นตอนเจรจานอกรอบกับบราซิล โดยไทยจะนำข้อกังวงต่างๆ มาปรับปรุงกฎระเบียบต่างๆ ให้ชัดเจนขึ้น ซึ่งได้กล่าวหาไทยมา 32 เรื่องซึ่งไทยก็ได้อธิบายไปจนมีความเข้าใจไปแล้วเป็นส่วนใหญ่เช่นในเรื่องกล่าวหาว่าไทยอุดหนุนให้เปลี่ยนการปลูกข้าวมาปลูกอ้อย ซึ่งเรื่องนี้ชัดเจนว่าไทยไม่ได้อุดหนุน เพราะไม่ได้ให้เงินช่วยเหลือกับเกษตรกรแต่อย่างใด เป็นเพียงการให้คำแนะนำเป็นต้น

ส่วนในเรื่องเงินกองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายนั้น จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์กองทุนใหม่ โดยกองทุนจะต้องทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์โดยจะมีการจัดทำต้นทุนการผลิตน้ำตาลและต้นทุนการทำไร่อ้อย เพื่อให้เป็นฐานตัวเลขใช้ในการกำหนดการเก็บเงินเข้ากองทุนและยังเป็นตัววัดประสิทธิภาพการดำเนินงานของโรงงานผลิต และการปลูกอ้อยด้วยว่ามีประสิทธิภาพลดต้นทุนไดมากแค่ไหน

“ในการเก็บเงินเข้ากองทุน จะไม่ได้กำหนดตายตัวว่า จะต้องมีจำนวนเท่าไร ขึ้นอยู่กับโรงงานน้ำตาล และชาวไร่อ้อยจะตกลงกันเองว่าควรจะเก็บเท่าไรในแต่ละปีโดยอาจจะอิงกับตัวเลขต้นทุนกลางของกอน. เช่นหากปีใดราคาน้ำตาลในตลาดโลกเพิ่มขึ้นมาก มีส่วนต่างระหว่างต้นทุนกับกำไรสูงก็ให้ทั้ง 2 ฝ่ายไปตกลงว่าจะเก็บเท่าไรและเงินกองทุนนี้จะเปิดให้ทั้งโรงงานกู้ยืมไปปรับปรุงประสิทธิภาพโรงงาน หรือให้ชาวไร่อ้อยไปปรับปรุงกระบวนการผลิต การขุดบ่อเก็บน้ำหรือเครื่องจักรการเกษตร”

นายเชิดพงษ์  สิริวิชช์ ประธานคณะกรรมการประสานงาน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทรายหรือ TSMC กล่าวว่า ทางสมาคมฯได้ยื่นหนังสือข้อคิดเห็นและคัดค้านการแก้ไข พ.ร.บ. อ้อยและน้ำตาลทราย (ฉบับที่..) พ.ศ. ... กำหนดให้กากอ้อยและกากตะกอนกรอง เข้าไปรวมในคำนิยามของผลพลอยได้ โดยกำหนดให้นำไปคำนวณราคาอ้อยและผลตอบแทนจากการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายด้วย จากเดิมที่กากอ้อยและกากตะกอนกรองได้ถูกรวมอยู่ในน้ำหนักอ้อยเข้าหีบที่โรงงานชื้อไปแล้ว และยังเป็นของเสียจากกระบวนการผลิตทำให้โรงงานน้ำตาลมีค่าใช้จ่ายในการกำจัดเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นโรงงานน้ำตาลทุกแห่งจึงนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตน้ำตาลทราย

นอกจากนี้ ข้อเสนอมาตราดังกล่าวยังไม่ได้การยอมรับและความเห็นพ้องร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียคือชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลก่อน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งและไม่สามารถปฎิบัติได้ในอนาคตหากมีการบังคับใช้ในมาตราดังกล่าว

ส่วนร่างพ.ร.บ. ฯ ที่เสนอให้แก้ไขมาตรา 17 อาจจะขัดแย้งกับข้อตกลงดับเบิลทีโอในหลายประเด็น เช่น ยังคงให้กอน.กำหนดหรือจัดสรรปริมาณน้ำตาลทรายให้แก่โรงงานน้ำตาลทรายผลิต หรือประเด็นการยังคงให้รัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอการแก้ไขพ.ร.บ.ดังกล่าในบางมาตราแทน ครม.ยังถือว่ารัฐบาลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายหรืไม่ เนื่องจากมีการกำหนดให้ลงราชกิจจานุเบกษาเพื่อให้มีผลบังคับในทางกฏหมาย

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2559

เกษตรฯสั่งเร่งเติมน้ำ4เขื่อนหลัก ระดมฝนหลวงเหนือพื้นที่อ่าง

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า จากการจำลองสถานการณ์น้ำ คาดการณ์ว่า ในวันที่ 1 พฤศจิกายน จะมีปริมาณน้ำใช้การได้ใน 4 เขื่อนหลักของลุ่มน้ำเจ้าพระยา 7,683 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) โดยเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำใช้การ 5,837 ล้านลบ.ม.เขื่อนแควน้อย 896 ล้านลบ.ม. และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 950 ล้านลบ.ม. โดยมีแผนจัดสรรเพื่อการอุปโภค-บริโภคในฤดูแล้ง เพื่อรักษาระบบนิเวศน์ รวมทั้งกันไว้สำหรับการเพาะปลูกและอุปโภคบริโภคช่วงต้นฤดูฝนรวม 3,800 ล้าน ลบ.ม. หักลบแล้วมีปริมาณน้ำ 3,883 ล้าน ลบ.ม. แต่ยังต้องสำรองไว้สำหรับการอุปโภค-บริโภค รักษาระบบนิเวศน์ และการเตรียมแปลงเพาะปลูกในช่วงต้นฤดูฝนปี 2560 อีก 3,550 ล้าน ลบ.ม. คงเหลือปริมาณน้ำใช้การได้ในลุ่มเจ้าพระยา 333 ล้าน ลบ.ม.

จากสถานการณ์ดังกล่าวทำให้ส่งผลกระทบต่อภาคการเกษตรโดยรวมของประเทศ จึงได้มอบหมายให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตร เร่งดำเนินการเติมน้ำ 4 เขื่อนหลัก ซึ่งจากผลการดำเนินงานของกรมฝนหลวงและการบินเกษตร ตั้งแต่ 15 ก.พ. 2559-30 ส.ค. 2559 มีพื้นที่ได้รับการช่วยเหลือ รวม 159.125 ล้านไร่ มีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนสะสม รวม 35 เขื่อน 1,856.44 ล้าน ลบ.ม.และมีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนสะสม รวม 4 เขื่อนหลัก 1,305.98 ล้าน ลบ.ม. โดยแบ่งเป็น เขื่อนภูมิพล 698.25 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ 463.67 ล้าน ลบ.ม.เขื่อนแควน้อยฯ 53.16 ล้าน ลบ.ม.และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ 90.9 ล้าน ลบ.ม.

อย่างไรก็ตาม ปริมาณน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนสะสมของทั้ง 4 เขื่อนหลักถือว่ามีปริมาณที่น้อยมาก โดยเฉพาะเขื่อนภูมิพล ดังนั้น เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกร จึงเน้นเติมน้ำในเขื่อนภูมิพลเป็นหลัก เนื่องจากเป็นเขื่อนใหญ่และมีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย และกำหนดให้กรมฝนหลวงฯ เตรียมแผนรับมือฝนทิ้งช่วงเดือนกันยายนและตุลาคม 2559 ไว้เรียบร้อยแล้วโดยเร่งปฏิบัติการเติมน้ำเขื่อนภูมิพล ด้วยการระดมหน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดเชียงใหม่ ที่กองบิน 41 ชนิดกาซ่า จำนวน 2 เครื่อง หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดตาก ที่ท่าอากาศยานตาก มีเครื่องบินชนิดกาซ่าจำนวน 2 เครื่อง หน่วยปฏิบัติการฝนหลวงจังหวัดพิษณุโลก ที่กองบิน 46 มีเครื่องบินรวม 4 เครื่อง ได้แก่ ชนิดกาซ่า 1 เครื่อง ชนิดซุปเปอร์คิงแอร์ 1 เครื่อง และปรับแผนการดำเนินงานโดยเพิ่มเครื่องบินชนิดเอยู-23 (กองทัพอากาศ) 2 เครื่อง รวมทั้งหมด 8 เครื่อง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติการฝนหลวง

จาก http://www.naewna.com วันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2559

รง.น้ำตาลถกรอบสอง “สอน.” ค้าน พ.ร.บ.อ้อยใหม่คำนิยมผลพลอยได้   

         3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย คัดค้านการแก้ไข พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ระบุไม่เห็นด้วย 3 มาตรการหลักของการแก้ไขกฎหมาย ตั้งแต่ประเด็น มาตรา 3 การนำกากอ้อยและกากตะกอนกรองไปรวมเป็นผลพลอยได้ในระบบแบ่งปันผลประโยชน์ 70/30 อีกทั้งรายละเอียดหน้าที่ กอน.ตามมาตรา 17 ยังขัดต่อหลักกฎหมายของ WTO หวั่นข้อกฎหมายทำลายประเพณีปฏิบัติและกระทบความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานที่มีมายาวนานกว่า 30 ปี

                นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ ประธานคณะกรรมการประสานงาน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย หรือ TSMC เปิดเผยว่า หลังจากที่สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) ได้เปิดการรับฟังความคิดเห็นการแก้ไข พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ. 2527 ทางสมาคมฯ ได้ยื่นหนังสือข้อคิดเห็นและคัดค้านการแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าวซึ่งนำมาสู่การรับฟังความเห็นในครั้งที่ 2 (8 ก.ย.) ซึ่งทางผู้ประกอบการโรงงานน้ำตาลทรายยังคงยืนยันถึงข้อกังวลต่อการแก้ไข พ.ร.บ.ฉบับนี้ที่จะส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย และประเพณีปฏิบัติที่ยึดโยงความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลทรายที่มีมามากกว่า 30 ปี

                เนื่องจากมาตรา 3 ของร่าง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ที่อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ประกอบการและชาวไร่อ้อยนั้น ได้กำหนดให้กากอ้อย และกากตะกอนกรองเข้าไปรวมในคำนิยามของผลพลอยได้ โดยกำหนดให้นำไปคำควณราคาอ้อยและผลตอบแทนจากการผลิตและจำหน่ายน้ำตาลทรายด้วย จากเดิมที่กากอ้อยและกากตะกอนกรองได้ถูกรวมอยู่ในน้ำหนักอ้อยเข้าหีบที่โรงงานซื้อไปแล้ว และยังเป็นของเสียจากกระบวนการผลิตทำให้โรงงานน้ำตาลมีค่าใช้จ่ายในการกำจัดเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้น โรงงานน้ำตาลทุกแห่งจึงนำมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในกระบวนการผลิตน้ำตาลทราย และมีเพียงบางโรงที่มีเพียงพอนำไปจำหน่ายให้แก่ กฟผ.โดยลงทุนเองทั้งหมด

                นอกจากนี้ ข้อเสนอมาตราดังกล่าวยังไม่ได้รับการยอมรับและความเห็นพ้องร่วมกันระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ ชาวไร่อ้อย และโรงงานน้ำตาลก่อน ซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งและไม่สามารถปฏิบัติได้ในอนาคตหากมีการบังคับใช้ในมาตราดังกล่าว เนื่องจากที่ผ่านมาโรงงานน้ำตาลทรายและชาวไร่อ้อยมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างกัน โดยยึดหลักการแบ่งปันรายได้จากระบบมายาวนานกว่า 30ปี

                “การกำหนดนิยามตามร่างแก้ไข พ.ร.บ.ในมาตรา 3 ขัดกับหลักข้อตกลงร่วมกันระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมและกระทรวงพาณิชย์ เรื่องกำหนดปริมาณการผลิตน้ำตาลทรายและเงื่อนไข และราคาการรับซื้ออ้อยที่กำหนดให้แบ่งรายได้สุทธิจากการขายน้ำตาลทรายภายในประเทศและต่างประเทศในสัดส่วน 70/30 โดยผลพลอยได้ทุกชนิดจากการผลิตอ้อยให้ตกเป็นของโรงงานน้ำตาลทราย ซึ่งเป็นไปตามสัญญาซื้อขายอ้อยระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาล” นายเชิดพงษ์กล่าว

                ทั้งนี้ ร่าง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายฉบับใหม่ ที่เสนอให้แก้ไขมาตรา 17 อาจจะขัดแย้งกับข้อตกลง WTO ในหลายประเด็น เช่น ยังคงให้ กอน.กำหนดหรือจัดสรรปริมาณน้ำตาลทรายให้แก่โรงงานน้ำตาลทรายผลิต หรือประเด็นการยังคงให้รัฐมนตรีเห็นชอบตามข้อเสนอการแก้ไข พ.ร.บ.ดังกล่าวในบางมาตรา แทน ครม. ยังถือว่ารัฐบาลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกำหนดนโยบายหรือไม่ เนื่องจากมีการกำหนดให้ลงราชกิจจานุเบกษา เพื่อให้มีผลบังคับในทางกฎหมาย

 จาก http://manager.co.th  วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559

.ร.บ.อ้อยเดือด ตกลงผลประโยชน์กากน้ำตาลไม่ได้ โยน”อรรชกา”ตัดสิน 

นายสมศักดิ์ จันทรรวงทอง เลขาธิการคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) กล่าวภายหลังการหารือกับกลุ่มโรงานน้ำตาลในแนวทางการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย ว่า ข้อกังวลหลักของโรงงานน้ำตาล คือ การกำหนดให้ต้องนำกากอ้อยและกากตะกอนกรอง เข้าไปรวมอยู่ในคำนิยามของผลพลอย และนำรายได้ส่วนนี้ไปอยู่ในระบบแบ่งปันผลประโยชน์ 70:30 ด้วย ดังนั้นกอน.จะเป็นตัวกลางในการไกลเกลี่ยผลประโยชน์ระหว่างโรงน้ำตาลกับชาวไร่อ้อยให้พอใจกับทุกฝ่ายมากที่สุด สุดท้ายหากไม่สามารถตกลงกันได้จะส่งให้กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นผู้ตัดสิน ซึ่งข้อสรุปทั้งหมดจะต้องเสร็จภายในเดือนกันยายนนี้

นายสมศักดิ์กล่าวว่า นอกจากนี้ประเด็นเงินกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย จะมีการกำหนดหลักเกณฑ์กองทุนใหม่ โดยกองทุนจะต้องทำหน้าที่อย่างสมบูรณ์ มีการจัดทำต้นทุนการผลิตน้ำตาล และต้นทุนการทำไร่อ้อย เพื่อให้เป็นฐานตัวเลขใช้ในการกำหนดการเก็บเงินเข้ากองทุน และยังเป็นตัววัดประสิทธิภาพการดำเนินงานของทั้งโรงงานผลิต และการปลูกอ้อยด้วยว่ามีประสิทธิภาพลดต้นทุนได้มากแค่ไหน ทั้งนี้ในการเก็บเงินเข้ากองทุน จะไม่กำหนดตายตัวว่าต้องมีจำนวนเท่าไร ขึ้นอยู่กับโรงงานน้ำตาลและชาวไร่อ้อยจะตกลงกันเองว่าควรจะเก็บเท่าไรในแต่ละปี อาจอิงกับตัวเลขต้นทุนกลางของกอน. อาทิ หากปีใดราคาน้ำตาลในตลาดโลกเพิ่มขึ้นมาก มีส่วนต่างระหว่างต้นทุนกับกำไรสูง ให้ทั้ง 2 ฝ่ายไปตกลงว่าจะเก็บเท่าไร และเงินกองทุนนี้จะเปิดให้โรงงานกู้ยืมไปปรับปรุงประสิทธิภาพโรงงาน รวมทั้งให้ชาวไร่อ้อยไปปรับปรุงกระบวนการผลิต การขุดบ่อเก็บน้ำ หรือเครื่องจักรการเกษตร หรือช่วยเหลือในยามที่ภาวะน้ำตาลโตกต่ำ

จาก http://www.prachachat.net   วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559

พด.เร่งลงพื้นที่สำรวจดิน ในพื้นที่สปก.ทั่วประเทศ

              พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ได้สั่งการให้ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรรม (ส.ป.ก.) ได้ดำเนินการตาม ม.44 ยึดคืนที่ดิน ส.ป.ก.   ที่มีการครอบครองพื้นที่มากกว่า 500 ไร่ โดยมิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งปิดประกาศไปแล้วทั้งหมด 431 แปลง ใน 27 จังหวัด เนื้อที่ 437,156.081 ไร่ โดยเนื้อที่ที่สามารถยึดคืนได้ตั้งแต่ครั้งแรก คือ 100,149 ไร่ (มีผู้คัดค้าน 28 แปลง 27,874 ไร่ + เหลือจากผู้คัดค้านบางส่วน 72,275 ไร่) ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนของการตรวจสอบหลักฐานการยื่นคัดค้าน จึงได้เร่งการตรวจสอบเอกสารที่ยื่นคัดค้านอย่างใกล้ชิด และได้ประสานให้ทางกรมพัฒนาที่ดิน เร่งนำนำแผนที่ Agri-Map มาใช้ในการกำหนดพื้นที่การทำเกษตรกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่ และดำเนินการในรูปแบบแปลงใหญ่ โดยมีระบบสหกรณ์เข้าไปดูแล เพื่อให้เกษตรกรเกิดความเข้มแข็ง และสามารถได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐได้อย่างเต็มที่

                ด้าน นายสุรเดช เตียวตระกูล อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ทางกรมพัฒนาที่ดิน ได้มีการเตรียมการด้านการวิเคราะห์ดิน การส่งเสริม และการฝึกอบรม ในพื้นที่ที่มีการจัดแปลงที่ดิน ซึ่งกำหนดการจัดแปลงโดยใช้แผนที่เกษตร Agri-Map เข้ามาร่วมด้วยเพื่อความเหมาะสมในการใช้ประโยชน์ในแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้ ได้สั่งการให้สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัดทั่วประเทศ ร่วมมือกับหมอดินอาสาประจำหมู่บ้าน ในชุมชนทุกแห่ง ปรับวิธีการทำงานในพื้นที่ โดยใช้แผนที่เกษตรเพื่อการบริหารจัดการเชิงรุก (Agri-map) ส่งเสริมเกษตรกรในพื้นที่ สปก. ให้มีความรู้ความเข้าใจสามารถทำการเก็บตัวอย่างดินเพื่อการตรวจวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ และเห็นความสำคัญของตรวจวิเคราะห์ดินก่อนการเพาะปลูกพืช           เพื่อให้ทราบว่าในดินมีธาตุอาหารสำคัญอะไรบ้าง ที่จำเป็นสำหรับการเพาะปลูก และจะต้องทำการปรับปรุงบำรุงดินด้วยวิธีใดจึงจะมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสำหรับการเพาะปลูกพืช เพื่อช่วยเหลือให้เกษตรกรรายย่อยได้ลดต้นทุนการผลิต โดยกรมพัฒนาที่ดินพร้อมให้การสนับสนุนเกษตรกรด้านปัจจัยการผลิตต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นด้านองค์ความรู้การพัฒนาที่ดิน เมล็ดพันธุ์พืชปุ๋ยสดสำหรับปลูกเพื่อปรับปรุงบำรุงดิน ผลิตภัณฑ์จุลินทรีย์สารเร่ง พด. ชนิดต่าง ๆ วัสดุปูนเพื่อการปรับปรุงสภาพดิน รวมทั้งการแจกจ่ายกล้าหญ้าแฝกสำหรับปลูกเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ

                นายสุรเดช กล่าวอีกว่า เกษตรกรที่ได้รับการจัดสรรที่ดินทำกินในพื้นที่ สปก. ทั่วประเทศ สามารถติดต่อสอบถามรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับวิธีเก็บตัวอย่างดินเพื่อการตรวจวิเคราะห์ดิน หรือขอรับการบริการตรวจวิเคราะห์ดินได้ที่สถานีพัฒนาที่ดินทุกจังหวัด หมอดินอาสาประจำหมู่บ้านในชุมชน หรือติดต่อสอบถามรายละเอียดต่างได้ที่กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ กรมพัฒนาที่ดิน โทร. 02-579-8515

จาก http://www.naewna.com วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559

กรมชลฯยันมีน้ำมากกว่าปี58 เร่งทำฝนหลวงเติม4เขื่อนหลัก

นายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ทั่วประเทศ 34 แห่ง ว่าขณะนี้มีปริมาณ 37,636 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 53 ของความจุอ่างฯรวมกัน มีปริมาณน้ำใช้การได้ 14,109 ล้านลูกบาศก์เมตร มากกว่าปี 2558 ประมาณ 2,000 ล้านลูกบาศก์เมตร เขื่อนใหญ่ทั้งประเทศยังสามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 33,000ล้านลูกบาศก์เมตร

สำหรับสถานการณ์น้ำในสี่เขื่อนหลัก ของลุ่มน้ำเจ้าพระยา เช่น เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์  มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน 4,963 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำมากกว่าปี 2558 ประมาณ 2,900 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็นร้อยละ 16

 นายทองเปลว กล่าวว่าในปีนี้เขื่อนภูมิพล มีน้ำใช้การน้อย ร้อยละ 11 ซึ่ง กรมชลประทาน กรมฝนหลวงและการบินเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร และกรมวิชาการเกษตร ได้บูรณาการร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จัดทำแผนการทำงานในเชิงรุก เพื่อแก้ปัญหาล่วงหน้า และวางแผนการเพาะปลูกให้เหมาะสมกับสถานการณ์น้ำ ซี่งจากสภาพอากาศในช่วงเดือนก.ย. - ต.ค. นี้ร่องความกดอากาศต่ำยังพาดผ่านภาคเหนือตอนบน โดยกำหนดพื้นที่เป้าหมาย ให้ทำฝนหลวงจะสามารถเติมน้ำลงในสี่เขื่อนหลักได้ประมาณ 800 ล้านลูกบาศก์เมตร ในจำนวนนี้จะเป็นปริมาณน้ำที่เติมลงในเขื่อนภูมิพล ประมาณ 300-400 ล้านลูกบาศก์เมตร ก็จะทำให้สถานการณ์น้ำใช้การได้ในเขื่อนภูมิพลดีขึ้นไม่กระทบพื้นที่ท้ายเขื่อน ซึ่งนับเป็นปรากฏการณ์ครั้งแรก ที่เกิดขึ้นในรัฐบาลนี้ เป็นการทำงานตามหลักวิชาการ โดยตระหนักถึงผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นต่อประชาชนและประเทศชาติอย่างยั่งยืนในระยะยาว

จาก http://www.naewna.com วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559 

'พาณิชย์'ขอ350ลบ. ตั้งสถาบันส่งเสริมสินค้าเกษตรฯ

"ปลัดพาณิชย์" ทำหนังสือขอ "ครม." ทบทวนงบประมาณจัดตั้งสถาบันส่งเสริมสินค้าเกษตรและนวัตกรรม วงเงิน 350 ล้านบาท หลังรอบแรกแห้ว

น.ส.ชุติมา บุณยประภัศร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงพาณิชย์ได้จัดตั้งสถาบันส่งเสริมสินค้าเกษตรและนวัตกรรมแล้ว โดยได้จดทะเบียนเป็นมูลนิธิเรียบร้อยแล้ว และเร็ว ๆ นี้ ก็ทำหนังสือขอทบทวน เสนอให้ครม.พิจารณาอนุมัติงบประมาณ ในการจัดตั้งสถาบันฯ อีกครั้ง วงเงินเบื้องต้น 350 ล้านบาท เพื่อเป็นงบประเดิมจัดตั้งและดำเนินงานในช่วง 3 ปีแรก จากทั้งหมด ที่ของบประมาณไป 750 ล้านบาท สำหรับการดำเนินงานระยะ 5 ปี แต่ไม่ได้รับการอนุมัติ

“มองว่า การที่รัฐบาลเห็นประโยชน์จากการตั้งสถาบันฯ แล้ว ก็ต้องเร่งจัดตั้งสถาบันฯ ให้เกิดเป็นรูปธรรม เพราะต่อไปจะมีความสำคัญอย่างมาก ในสร้างตลาด และกระตุ้นความต้องการสินค้าเกษตรนวัตกรรม ซึ่งจะเริ่มจากสินค้าข้าว ก่อนขยายไปสินค้าเกษตรอื่น ๆ ต่อไป โดยตั้งเป้าหมายที่จะผลักดันสินค้าเกษตรนวัตกรรมออกสู่ตลาดอย่างน้อย 10 รายการ มีมูลค่าการค้าไม่ต่ำกว่า 20,000 ล้านบาท ภายใน 5 ปี แต่หากไม่ได้รับงบประมาณ ก็คงไม่สามารถดำเนินการตามแผนงานที่วางไว้ได้ ดังนั้นจึงจะทำหนังสือทบทวน เพื่อให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบกลางให้มาดำเนินการตามแผนงานระยะแรก ที่ครม.อนุมัติก่อน” 

ที่ผ่านมา ภาคเอกชนได้ให้ความสำคัญกับการจัดตั้งสถาบันดังกล่าวพอสมควร และจากที่ได้หารือกับเอกชน หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็พร้อมที่จะให้ความร่วมมือ เพราะต้องการให้มีสถาบันดังกล่าวเกิดขึ้นมา เพื่อเป็นข้อกลางในการเชื่อมโยงการผลิต การตลาดเข้าด้วยกัน นับเป็นประโยชน์ต่อวงการสินค้าเกษตรโดยรวม ซึ่งหน้าที่หลักของสถาบันฯ คือ จะทำงานโดยใช้หลักการตลาดนำการผลิต เป็นการทำตลาดเชิงรุก โดยจะคิดค้น และวิจัยสินค้าที่ตรงตามความต้องการของตลาด

สำหรับ สถาบันฯ นี้ จะเป็นองค์กรขนาดเล็ก มีบุคลากรมืออาชีพ มีความคล่องตัวสูง ประกอบด้วยผู้อำนวยการเป็นผู้บริหารสถาบันฯ มีเจ้าหน้าที่ 14 คน ปฏิบัติงานภายใต้การกำกับของคณะกรรมการบริหารสถาบันฯ  ซึ่งจะมีหน่วยงานต่าง ๆ เข้ามาเป็นคณะกรรมการ เช่น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุตสาหกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และยังเชื่อมโยงการทำงานกับคณะกรรมการอาหารแห่งชาติ และคณะกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม เป็นต้น อีกทั้งมีผู้ทรงคุณวุฒิจากภาควิชาการ เอกชน และเกษตรกร ร่วมเป็นที่ปรึกษาในคณะกรรมการด้วย ซึ่งตนพร้อมที่จะมาเป็นประธานสถาบันฯ หากเห็นว่าเหมาะสม โดยอาจมาช่วยปฏิบัติงานในช่วงแรก

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559

สถานการณ์น้ำในเขื่อนเริ่มดีขึ้น ยกเว้นเขื่อนภูมิพล กรมชลฯชี้เป้ากรมฝนหลวงขึ้นบินช่วยเติมน้ำอีก 400 ล้านลบ.ม.

นายทองเปลว กองจันทร์ รองอธิบดีกรมชลประทาน กล่าวถึงสถานการณ์น้ำในเขื่อนขนาดใหญ่ทั่วประเทศ วันที่ 8 กันยายน 2559 มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 37,636 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) หรือคิดเป็น 53 % ของความจุอ่างฯรวมกัน มีปริมาณน้ำใช้การได้ 14,109 ล้านลบ.ม. มากกว่าปี 2558 ประมาณ 2,000 ล้านลบ.ม. เขื่อนใหญ่ทั้งประเทศยังสามารถรองรับน้ำได้อีกกว่า 33,000 ล้านลบ.ม. ทั้งนี้หากพิจารณาสถานการณ์น้ำเป็นรายภาค จะเห็นได้ว่าในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ตอนบนสถานการณ์น้ำอยู่ในเกณฑ์น้ำดี ส่วนภาคกลาง ภาคอีสานตอนล่าง ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีน้ำอยู่ในเกณฑ์น้อย เนื่องจากร่องความกดอากาศต่ำยังไม่พาดผ่านลงมาทางตอนล่าง ซึ่งกรมอุตุนิยมวิทยาคาดว่าร่องความกดอากาศต่ำจะเคลื่อนตัวลงมาในพื้นที่ตอนล่างในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม 2559

นายทองเปลว กล่าวว่า สำหรับสถานการณ์น้ำในสี่เขื่อนหลักของลุ่มน้ำเจ้าพระยา ได้แก่ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ วันที่ 8 กันยายน 2559 มีปริมาณน้ำใช้การได้รวมกัน 4,963 ล้านลูกบาศก์เมตร ปริมาณน้ำมากกว่าปี 2558 ประมาณ 2,900 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือคิดเป็น 16% ของปริมาณน้ำใช้การของ 4 เขื่อนหลัก อย่างไรก็ตามจะเห็นได้ว่าในปีนี้เขื่อนภูมิพลยังคงมีปริมาณน้ำใช้การอยู่ในเกณฑ์น้อย เพียง 11% เท่านั้น ทั้งนี้ในช่วงเดือนกันยายน – ตุลาคม 2559 ร่องความกดอากาศต่ำยังคงพาดผ่านในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน กรมชลประทาน จึงได้กำหนดพื้นที่เป้าหมาย เพื่อให้กรมฝนหลวงและการบินเกษตรขึ้นปฏิบัติการฝนหลวง คาดว่าจะสามารถเติมน้ำลงในสี่เขื่อนหลักได้ประมาณ 800 ล้านลบ.ม. ในจำนวนนี้จะเป็นปริมาณน้ำที่เติมลงในเขื่อนภูมิพล ประมาณ 300-400 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งจะทำให้สถานการณ์น้ำใช้การได้ในเขื่อนภูมิพลดีขึ้น

จาก http://www.matichon.co.th   วันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2559

ชงกม.อ้อยลุยลอยตัวน้ำตาล

สอน.เร่งแก้ พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายก่อนชง ครม.เปิดทางลอยตัวราคาน้ำตาลทรายในประเทศนายสมศักดิ์ จันทรรวงทอง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผยระหว่างการเปิดรับฟังความคิดเห็นร่าง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย (ฉบับที่...) พ.ศ... ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายของประเทศไทย ว่า สอน.จะสรุปความเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเพื่อปรับปรุงร่างพ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย ภายในวันที่ 8 ก.ย.นี้ จากนั้นจะเสนอให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กอน.) พิจารณาในวันที่ 12 ก.ย. หากคณะกรรมการเห็นชอบ สอน.จะเสนอร่าง พ.ร.บ.ให้กับนางอรรชกา สีบุญเรือง รมว.อุตสาหกรรม เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในเดือน ก.ย.นี้

จาก http://www.posttoday.com   วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

ยอดขอใบร.ง.4ขยายกิจการ8เดือนแรกลดลง

กรอ. เผย ยอดขอใบ ร.ง.4 และขยายกิจการช่วง 8 เดือนแรก มูลค่าลดลง 12.8 % แตะ 2.98 แสนล้านบาท คาดทั้งปีมูลค่าลงทุนรวม 6 แสนล้านบาท

นายมงคล พฤกษ์วัฒนา อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า การขอใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) และขยายกิจการ ช่วง 8 เดือนปี 2559 (ม.ค. - ส.ค.) มีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น 3,298 โรงงาน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 4.48 ขณะที่มูลค่าการลงทุนอยู่ที่ 2.98 แสนล้านบาท ลดลงจากปีก่อน ร้อยละ 12.8 ที่อยู่ที่ 3.42 แสนล้านบาท โดยอุตสาหกรรมที่เปิดกิจการใหม่และขยายกิจการที่มีมูลค่ามากที่สุดในช่วง 8 เดือนแรกของปี 2559 ได้แก่ การผลิตยานพาหนะและอุปกรณ์ รวมทั้งการซ่อมยานพาหนะและอุปกรณ์ มูลค่าการลงทุน 4.94 หมื่นล้านบาท อุตฯ อาหาร 3.12 หมื่นล้านบาท เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ 1.99 หมื่นล้านบาท โดยยอด ร.ง.4 ที่ลดลงไม่ใช่ตัวชี้วัดในการบอกถึงเศรษฐกิจภายในประเทศทั้งหมด เนื่องจากยังมีปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้อง อาทิ การส่งออก การนำเข้า ยอดคำสั่งซื้อ เป็นต้น

ดังนั้น ยอดขอที่ลดลงดังกล่าวจึงไม่น่าเป็นห่วงมาก เนื่องจากในช่วงสิ้นปียอดขอโรงงานจะมีจำนวนมากขึ้นเหมือนทุกปี ซึ่งทั้งปีคาดว่า ยอดขอ ร.ง.4 ไม่ต่างจากปีที่ผ่าน ๆ มา ประมาณ 5,000 - 6,000 โรงงาน และมูลค่าลงทุนรวมประมาณ 6 แสนล้านบาท

จาก http://www.innnews.co.th  วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

พล.อ.ฉัตรชัยเตรียมถก3หน่วยงานหารือน้ำ

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ เตรียมเชิญ 3 หน่วยงานหารือรับมือสถานการณ์น้ำ ลดความเดือดร้อนให้ประชาชน สั่งเร่งกำหนดมาตรฐานทุเรียนแช่เยือกแข็ง เป็นมาตรฐานบังคับ

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ในวันพรุ่งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะเชิญ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งเเวดล้อม และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ มาประชุม เพื่อหารือถึงสถานการณ์น้ำ รวมถึงการรับมือน้ำหลาก ลดความเดือดร้อนและความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำหลากให้แก่ประชาชน เนื่องจากปัจจุบันทางด้านกรมชลประทานรับผิดชอบดูแลน้ำในพื้นที่ชลประทาน ร้อยละ 20 และอีกร้อยละ 80 เป็นความรับผิดชอบของกระทรวงทรัพยาการธรรมชาติและสิ่งเเวดล้อม

ขณะที่สถานการณ์น้ำล่าสุด พบว่า มีปริมาณน้ำไหลเข้า 34 เขื่อนหลัก 1,576.57 ล้านลูกบาศก์เมตร มีปริมาณน้ำใช้การได้ 13,811 ล้านลูกบาศก์เมตร มากกว่าปีที่ผ่านมา ถึงแม้จะมีปริมาณน้ำใช้เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังห่วงใยสถานการณ์น้ำในหลายๆ เขื่อนที่มีปริมาณน้ำน้อย โดยเฉพาะในเขื่อนภูมิพล ที่ปัจจุบันปริมาณน้ำภายในเขื่อนอยู่ที่ 990 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีปริมาณน้ำเพียง 560 ลูกบาศก์เมตร หลังจากนี้ จะต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และกรมอุตุนิยมวิทยาได้คาดการณ์ว่าในช่วง 2 สัปดาห์นี้ จะมีร่องความกดอากาศเกิดขึ้น เพื่อจะดำเนินการฝนหลวงเพิ่มปริมาณน้ำในเขื่อนต่างๆ

ทั้งนี้ ได้สั่งการให้ทางสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ หรือ มกอช. เร่งรัดจัดตั้งคณะทำงานวิชาการเพื่อจัดทำมาตรฐานเพื่อแก้ปัญหาส่งออกทุเรียนแช่เหยือกแข็ง หลังจากที่ทุเรียนแช่เหยือกแข็งเป็นที่ต้องการของและที่ชื่นชอบของผู้บริโภคชาวจีน ทำให้มีการลักลอบส่งออกทุเรียนที่ไม่ได้มาตรฐาน และขาดสุขลักษณะ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ มกอช. จะต้องเร่งออกมาตรฐานมารองรับการส่งออกทุเรียนแช่แข็ง ก่อนที่จะเกิดความเสียหายในต่อภาพลักษณ์การส่งออกทุเรียนของไทยขึ้น ทั้งนี้ ในปี 2558 ภาพรวมของการส่งออกทุเรียน มีปริมาณ 11,200 ตัน คิดเป็นมูลค่า 940 ล้านบาท

น.ส.ดุจเดือน ศศะนาวิน เลขาธิการ มกอช. กล่าวว่า ที่ประชุมคณะกรรมการมาตรฐานสินค้าเกษตร ได้มีมติเห็นชอบร่างมาตรฐานสินค้าเกษตรเพื่อประกาศเป็นมาตรฐานทั่วไป 6 เรื่อง ได้แก่ 1.การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 2.การปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงปลาทะเล 3.แนวปฏิบัติที่ดีสำหรับการผลิตรังไหม 4.การชันสูตรโรคไอเอชเอชเอ็นวีในกุ้ง 5.สารพิษตกค้าง : ปริมาณสารพิษตกค้างสูงสุด หรือ MLRs และ 6.มาตรฐานแตงเทศหรือเมลอน

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้ให้ มกอช. จัดตั้งคณะกรรมการขึ้นมาอีก 6 ชุด เพื่อจัดทำและพัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตร ได้แก่ 1.มาตรฐานแอปเปิ้ล 2.มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (จีเอพี) ในต้นพันธุ์มันสำปะหลัง 3.มาตรฐานจีเอพีในพืชสมุนไพร 4.มาตรฐานจีเอพีในยางพาราและผลิตภัณฑ์ยางพารา 5.มาตรฐานปลาร้า 6.มาตรฐานจีเอพีการเลี้ยงสัตว์น้ำทะเลสวยงาม

จาก http://www.innnews.co.th  วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

ไทยหนุนอาเซียนใช้ประโยชน์จากความตกลงหุ้นส่วนทาง ศก.อาเซียน-ญี่ปุ่น ผลักดันการเจรจา RCEP

ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติ นครหลวงเวียงจันทน์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน-ญี่ปุ่น ครั้งที่ 19 ซึ่งในที่ประชุมผู้นำอาเซียนและนายชินโสะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ต่างเห็นพ้องที่จะส่งเสริมการปฏิบัติตามวิสัยทัศน์ว่าด้วยมิตรภาพและความร่วมมืออาเซียน-ญี่ปุ่น และแผนปฏิบัติการ รวมทั้งแผนยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น ระยะ 10 ปี

ภายหลังเสร็จสิ้นการประชุม พลตรี วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปสาระสำคัญดังนี้

นายกรัฐมนตรีชื่นชมบทบาทของญี่ปุ่นในการส่งเสริมความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาค ซึ่งทำให้เกิดการเติบโต การลดช่องว่างด้านการพัฒนา การส่งเสริมการจ้างงาน และการส่งเสริมการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยพร้อมที่จะส่งเสริมให้นักธุรกิจญี่ปุ่นขยายการค้า เพิ่มการลงทุน และแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ในอาเซียนให้มากขึ้น โดยเฉพาะการพัฒนาธุรกิจ ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม นวัตกรรม เทคโนโลยีสีเขียวอุตสาหกรรมดิจิตัล อุตสาหกรรมยานยนต์ และอุตสาหกรรมการเกษตร

ในส่วนของไทยพร้อมที่จะส่งเสริมการลงทุนของญี่ปุ่นในเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดนภายใต้แนวคิด “วันพลัสวัน” เพื่อช่วยกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค และห่วงโซ่การผลิตของไทยกับประเทศเพื่อนบ้านให้เกิดความเชื่อมโยงและไร้พรมแดน

นายกรัฐมนตรีเห็นว่า อาเซียนต้องสนับสนุนการใช้ประโยชน์จากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่นอย่างเต็มที่ เพื่ออำนวยความสะดวกด้านการค้า การลงทุน และการบริการให้ได้มากที่สุด และต้องการให้การเจรจา RCEP (Regional Comprehensive Economic Partnership) จะเสร็จสิ้นโดยเร็ว เพื่อช่วยกระตุ้นการค้าขายและการลงทุนให้ขยายตัวมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีเห็นว่า RCEP และ TPP ควรเกื้อหนุนซึ่งกันและกัน และไม่ควรแข่งขันกัน

นอกจากนี้ ไทยได้สนับสนุนบทบาทของญี่ปุ่นในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคุณภาพสูงในเอเชียซึ่งช่วยพัฒนาความเชื่อมโยงในภูมิภาค และหวังว่าให้ญี่ปุ่นเพิ่มบทบาทในการปฏิบัติตามแผนแม่บทว่าด้วยความเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน ค.ศ. 2025 เพื่อให้ความเชื่อมโยงในภูมิภาคเป็นไปอย่างไร้รอยต่อและเป็นระเบียงทางเศรษฐกิจอย่างแท้จริง ซึ่งจะทำให้การคมนาคมขนส่งสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าถึงตลาดและแหล่งผลิตในพื้นที่ห่างไกลและแนวชายแดน ทำให้ประชาชนที่อยู่ใน ชนบทได้มีโอกาสอยู่ดีกินดีขึ้น

นายกรัฐมนตรีเห็นว่า การก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียนยังมีภารกิจที่ต้องทำอีกมาก ไทยจึงหวังว่าอาเซียนและญี่ปุ่นจะร่วมมือกันดำเนินโครงการภายใต้แผนปฏิบัติการตามข้อริเริ่มเพื่อการรวมตัวของอาเซียน ฉบับที่ 3 รวมทั้งเรียนรู้และแบ่งปันแนวปฏิบัติอันเป็นเลิศในสาขาที่แต่ละฝ่ายมีความเชี่ยวชาญ เช่น วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พลังงานสะอาด การเติบโตสีเขียว การรักษาสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ การดูแลผู้สูงอายุ บทบาทสตรีและเด็ก เพื่อให้การพัฒนาประเทศเป็นไปอย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ ไทยเห็นว่า ความเข้าใจอันดีระหว่างประชาชน คือ กุญแจสำคัญของความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นระหว่างกัน และชื่นชมบทบาทของญี่ปุ่นในการเชื่อมโยงประชาชนเข้าหากันผ่านข้อริเริ่มและโครงการต่าง ๆ ทั้งด้านการฝึกอบรมและพัฒนาฝีมือแรงงาน การศึกษา การกีฬา ภาษา การท่องเที่ยว และการแลกเปลี่ยนด้านวัฒนธรรม และไทยพร้อมที่จะร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับญี่ปุ่นในเรื่องเหล่านี้

ด้านการส่งเสริมสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาค ไทยเชื่อมั่นว่า นโยบาย “Proactive Contribution to Peace” ของรัฐบาลญี่ปุ่น ที่บนพื้นฐานของหลักกฎหมายและการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันอย่างสร้างสรรค์ จะช่วยสนับสนุนการสร้างความเข้มแข็งให้กับโครงสร้างสถาปัตยกรรมในภูมิภาคที่มีอาเซียนเป็นแกนกลาง และสร้างความเป็นปึกแผ่นของภูมิภาคในอนาคต

นอกจากนี้ ไทยสนับสนุนการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างอาเซียนกับญี่ปุ่นในประเด็นความมั่นคงรูปแบบใหม่ผ่านกลไกต่าง ๆ โดยเฉพาะการต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ ความมั่นคงทางไซเบอร์ การต่อต้านการก่อการร้ายและลัทธินิยมความรุนแรงสุดโต่ง และความมั่นคงทางทะเล

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

อุตสาหกรรมราชบุรีเข้าตรวจสอบบ่อลูกรังร้าง หลัง รง.น้ำตาลนำน้ำเสียมาทิ้ง  

         ราชบุรี - อุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรี นายอำเภอโพธาราม พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ทหาร และส่วนเกี่ยวข้องเข้าตรวจสอบบ่อลูกรังร้าง ในพื้นที่ตำบลหนองกวาง หลังโรงงานน้ำตาล นำน้ำเสียมาทิ้งส่งกลิ่นเหม็นรบกวนชาวบ้าน พบเป็นน้ำสุดท้ายจากขั้นตอนการผลิตเอทานอลในโรงงานน้ำตาล แต่ยังมีคุณสมบัติที่ชาวไร่สามารถนำมารดต้นอ้อยได้

                วันนี้ (7 ก.ย.) นายธรรมนูญ แก้วคำ นายอำเภอโพธาราม จ.ราชบุรี นายธัญญารัตน์ พรหมสุทธิ์ หัวหน้าฝ่ายโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรี เจ้าหน้าที่ทหารจากกองพลพัฒนาที่ 1 เจ้าหน้าที่ อบต.หนองกวาง กำนัน ผู้ใหญ่ในพื้นที่หมู่ 2 ต.หนองกวาง อ.โพธาราม และนายเชษฐพร บุญญชยันต์ ผู้จัดการฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ บริษัทกลุ่มน้ำตาลราชบุรี ได้เดินทางเข้าตรวจสอบบ่อลูกรังร้าง ในหมู่ 2 ต.หนองกวาง หลังได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านว่ามีโรงงานแอบนำน้ำเสียจากโรงงานมาทิ้งในบ่อลูกรังร้าง จำนวน 4 บ่อ ซึ่งมีบ่อที่ทิ้งไว้จนเต็มแล้ว จำนวน 2 บ่อ ส่วนอีก 2 บ่อกำลังมีการทิ้งกันอยู่ ซึ่งจากการเข้าตรวจสอบวันนี้พบว่า ไม่มีรถนำน้ำเสียมาทิ้งแล้ว แต่ยังมีน้ำเสีย และคราบน้ำเสียอยู่ในบ่อ

                นายธัญญารัตน์ พรหมสุทธิ์ หัวหน้าฝ่ายโรงงานอุตสาหกรรมจังหวัดราชบุรี กล่าวว่า เรื่องน้ำเสียในบ่อลูกรังนั้นได้ทำการตรวจสอบแล้วพบว่า เป็นน้ำสุดท้ายจากขั้นตอนการผลิตเอทานอลในโรงงานน้ำตาล แต่ยังมีคุณสมบัติที่ชาวไร่สามารถนำมารดต้นอ้อยได้ ทางโรงงานจึงได้ทำเรื่องขออนุญาตมาทิ้งที่นี่เพราะอยู่ห่างไกลชุมชน และเป็นจุดพักที่จะสามารถช่วยลดความเข้มข้นของน้ำเสียตัวนี้ได้เมื่อนำมาพักไว้บ่อ

                จากนั้นชาวไร่ก็จะมาทำการดูดขึ้นไป แต่ถ้าพบว่าส่งกลิ่นเหม็นจนไปรบกวนชาวบ้านก็จะต้องสั่งให้ทางโรงงานได้ทำการหยุดนำมาทิ้ง และตรวจสอบคุณภาพของน้ำว่า มีสารอะไรบ้าง รวมทั้งความเข้มข้นของน้ำด้วย

                นางจีราพร วงศ์ษาโรจน์ เกษตรกรที่ปลูกอ้อยในหมู่ 2 และนำน้ำเสียในบ่อลูกรังไปรดต้นอ้อย บอกว่า ที่ผ่านมา ได้นำน้ำเสียในบ่อลูกรังไปรดพื้นที่ปลูกอ้อยจากนั้นก็จะทำการไถกลบ ซึ่งสามารถทำให้ด้วงหนวดยาวซึ่งเป็นศรัตรูของอ้อยตาย และทำให้ต้นอ้อยงอกงามดี ซึ่งจะใช้แค่ในช่วงก่อนที่จะปลูกอ้อย และน้ำเสียเหล่านี้ก็ไม่ได้นำมาทิ้งตลอด แต่จะนำมาทิ้งแค่ช่วงหน้าฝนเพราะน้ำในโรงงานล้นจึงได้นำมาทิ้งให้เกษตรกรได้ใช้ฟรี เพราะถ้าไปซื้อก็จะมีราคาแพง

                นายเชษฐพร บุญญชยันต์ ผู้จัดการฝ่ายชุมชนสัมพันธ์บริษัทกลุ่มน้ำตาลราชบุรี กล่าวว่า ได้รับการร้องขอจากเกษตรกร จึงได้นำน้ำเหล่านี้มาทิ้ง โดยน้ำส่วนนี้เป็นน้ำกากส่าสุดท้ายของการผลิตเอทานอล ซึ่งยังมีธาตุอาหารที่ยังนำมาใช้ประโยชน์ได้ และพื้นที่ที่ทิ้งนั้นก็เป็นพื้นที่ของตนเอง แต่ถ้ามีชาวบ้านมาร้องเรียนว่ามีกลิ่นเหม็นรบกวนชาวบ้านก็จะสั่งหยุดไม่ให้นำมาทิ้งอีก พร้อมทั้งจะต้องวางแผนปรับเปลี่ยนแผนการผลิตและขนถ่าย แต่ที่ผ่านมา ไม่เคยได้รับเรื่องร้องเรียนจากชาวบ้าน ซึ่งจากนี้ไปก็จะเข้าไปเยียวยาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบด้วย 

จาก http://manager.co.th   วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

“บ่อจิ๋ว”หัวใจพัฒนาภาคเกษตร รอคิวอีกกว่า3แสนบ่อ!!

+ แผนดำเนินงานจากอดีตจนปัจจุบัน (สิ้นงบปี 2559)

           การพัฒนาแหล่งน้ำของกรมพัฒนาที่ดินจากอดีตจนปัจจุบันมีอยู่ 3 โครงการหลัก ได้แก่ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ โครงการพัฒนาแหล่งน้ำชุมชนและโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน หรือที่รู้จักกันในนาม “บ่อจิ๋ว” ทั้ง 3 โครงการก็มีเป้าหมายที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของโครงการนั้นๆ อย่างโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ โครงการนี้เริ่มมาตั้งแต่ปี 2524 จนถึงปัจจุบัน (สิ้นปีงบประมาณ 2558) กรมพัฒนาที่ดินได้ดำเนินการไปแล้วจำนวน 8,086 แห่ง ส่วนแผนปี 2559 จำนวน 166 แห่ง ขณะนี้เสร็จแล้ว 146 แห่งและคาดว่าคงจะดำเนินการเสร็จเรียบร้อยตามเป้าหลังสิ้นปีงบประมาณ 

            ส่วนการพัฒนาแหล่งน้ำชุมชน เริ่มมาตั้งแต่ปี 2524 เช่นกัน จนถึงสิ้นปีงบประมาณ 2558 มีจำนวน 36 แห่ง ส่วนปี 2559 จำนวน 7 แห่ง ขณะนี้ดำเนินการเสร็จแล้ว 5 แห่งเหลืออีก 2 แห่งคงจะเสร็จตามเป้าเช่นกันและสุดท้ายโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน หรือที่รู้จักกันในนาม “บ่อจิ๋ว” โดยเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2548 จนสิ้นปีงบประมาณ 2558 มีการดำเนินการไปแล้วทั้งสิ้น 353,246 แห่ง ส่วนปี 2559 จำนวน 20,000 แห่งขณะนี้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยแล้ว เมื่อรวมทั้ง 3 โครงการ สามารถเก็บกักปริมาณน้ำได้ 835.68 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่ได้รับประโยชน์จำนวน 2.53 ล้านไร่ ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 26,544.48 ล้านบาท

+ส่วนแผนในงบปี 2560 เป็นอย่างไร

            สำหรับในปีงบประมาณ 2560 กรมพัฒนาที่ดินเตรียมแผนงานไว้หมดอยู่ระหว่างการพิจารณาของสำนักงบประมาณ โดยโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำ จำนวน 187 แห่ง โครงการพัฒนาแหล่งน้ำชุมชนจำนวน 7 แห่ง และโครงการพัฒนาแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน หรือ “บ่อจิ๋ว” มีเป้าอยู่ที่ 44,000 แห่ง ขนาดบ่อ 1,260 ลูกบาศก์เมตร ค่าก่อสร้าง 19,600 บาทต่อบ่อแล้วต้องอยู่ในพื้นที่มีเอกสารสิทธิ เกษตรกรจะต้องสมทบด้วยบ่อละ 2,500 บาท วัตถุประสงค์เพิ่มประสิทธฺภาพในการผลิตและเก็บกักน้ำนอกเขตชลประทานและบรรเทาปัญหาภัยแล้ง เพิ่มผลิตทางการเกษตร เพิ่มรายได้ให้พี่น้องเกษตรกร ขณะนี้มีการแจ้งความจำนวนมาทั้งหมด 806,824 บ่อ จนถึงปัจจุบัน (ปี 59) ได้ดำเนินการไปเสร็จแล้ว 374,807 บ่อ

+ซ้ำซ้อนกับหน่วยงานอื่นหรือไม่

        ไม่ซ้ำซ้อนครับ อย่างโครงการบ่อจิ๋วการพัฒนาแหล่งน้ำนอกเขตชลประทาน เราดำเนินการในพื้นที่เขตพัฒนาที่ดิน โดยจะกำหนดไว้ตามลุ่มน้ำต่างๆ ทั้งหมด 556 แห่งทั่วประเทศ คือเป็นพื้นที่ของกรมพัฒนาที่ดิน ซึ่งเราประกาศไว้แล้ว เพราะพื้นที่ตรงนั้นเราจะมีการเข้าไปอนุรักษ์ดินและน้ำต่างๆ เอาแหล่งน้ำเข้าไปเสริมเพื่อความมั่นคงในการอนุรักษ์ดินและน้ำ ส่วนขั้นตอนการขอจะเรียงตามลำดับก่อนหลังและดูจากพื้นที่ด้วย อย่างอีสานเราก็จะให้ความสำคัญก่อน เพราะพื้นที่แห้งแล้งกว่าภาคอื่น

+ปัญหา “บ่อจิ๋ว” ที่ผ่านมา

           ต้องบอกก่อนว่าบ่อจิ๋วคือหัวใจของการพัฒนาภาคการเกษตร ที่ผ่านมาปัญหาก็มีไม่มาก บ่อร้างไม่มี เพราะเราจะเลือกพื้นที่ก่อน ขั้นตอนการเลือกบ่อจิ๋ว ต้องเป็นที่ราบเก็บน้ำได้ ชาวบ้านแจ้งความจำนงเสนอชื่อมา การพิจารณาอยู่ที่ว่าคำขอที่เหลืออยู่ ตอนนี้เหลืออยู่ 3 แสนกว่ารายที่รออยู่จะทำตามคิว ที่ผ่านมามีการประเมินทุกปี โดย สศก.ประเมินในภาพรวมพบว่าสามารถเก็บกักน้ำได้ทั้งปีประมาณ 73% แล้วก็อีก 27% เก็บได้ในฤดูฝน ผลตอบแทนที่เกิดขึ้นทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5,113 บาทต่อปี

            หลักการขุดขึ้นอยู่กับพื้นที่ แต่ต้องมีขนาด 1,260 ลูกบาศก์เมตร พื้นที่จะเป็นตัวไอ หรือแอลก็ได้ แต่ถ้าเกษตรกรต้องการจะขยายพื้นที่บ่อเพิ่มคุณจะต้องเพิ่มเงินส่วนเกินเอง เพราะเราให้งบเท่านี้ ตอนนี้กรมพัฒนาที่ดินมีการปรับแบบเป็นขนาด 2,000 ,4,000 และ 6,000 ลูกบาศก์เมตร แต่อยู่ในระหว่างการพิจารณาของ ครม. แต่ในความคิดของผมแค่ 1,260 ก็พอแล้วสำหรับเกษตรกรรายย่อย 1 ครัวเรือน ถ้าขยายพื้นที่เพิ่มเหมือนกับไปเอื้อให้นายทุนหรือผู้ที่มีพื้นที่เยอะๆ

+แผนการพัฒนาในอีก 4 ปีข้างหน้า (2561-2564)

           สำหรับแผนการพัฒนาแหล่งน้ำใน 4 ปีข้างหน้า ขณะนี้กรมพัฒนาที่ดินวางแผนเอาไว้แล้วในแต่ละโครงการ โดยโครงการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอนุรักษ์ดินและน้ำนั้นจะดำเนินการปีละ 200 แห่ง รวมทั้งสิ้น 800 แห่ง ใช้งบประมาณจำนวน 3,644.38 ล้านบาท  สามารถเก็บกักปริมาณน้ำจำนวน 40 ล้านลูกบาศก์เมตร มีพื้นที่ได้รับประโยชน์จำนวน 320,000 ไร่

           ส่วนโครงการพัฒนาแหล่งน้ำชุมชน จะดำเนินการปีละ 10 แห่ง รวม 40 แห่ง ใช้งบประมาณดำเนินการ 400 ล้าน สามารถเก็บกักปริมาณน้ำได้ 7.2 ล้านลบ.ม. มีพื้นที่ได้รับประโยชน์จำนวน 800 ไร่และโครงการสุดท้ายการพัฒนาแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน หรือบ่อจิ๋ว  มีเป้าหมายดำเนินการปีละ 40,000 แห่ง รวม 160,000 แห่ง ใช้งบประมาณดำเนินการ 2,848 ล้านบาท สามารถเก็บกักปริมาณน้ำได้ 160-201 ล้านลบ.ม. มีพื้นที่ได้รับประโยชน์ 320,000 ไร่

+นอกจาก 3 โครงการนี้แล้วยังมีอะไรอีก

           ก็มีโคกหนองนาโมเดล ที่กรมร่วมกับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าลากระบัง แล้วก็โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่สนองนโยบายของรัฐบาล เราก็จะเน้นไปที่บ่อจิ๋วมาพัฒนาเกษตรผสมผสานก่อนแล้วมาเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยร่วมกับหน่วยงานอื่นด้วย เช่น กรมประมง กรมส่งเสริมการเกษตร แล้วก็เข้าไปร่วม 882 ศูนย์ โดยเข้าไปจัดโซนนิ่งที่ดิน สนับสนนุนปัจจัยการผลิตเช่น ผลิตภัณฑ์ปุ๋ยพืชสด พด.ต่างๆ การวิเคราะหืดิน ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน โดยเราจะเข้าไปร่วมทุกศูนย์ทั้ง 882 ศูนย์ทั่วประเทศ

           อย่างไรก็ตาม สำหรับโครงการ "บ่อจิ๋ว" ยังคงดำเนินการต่อไป ดังนั้น เกษตรกร ประชาชน ผู้สนใจ สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานพัฒนาที่ดินอำเภอ สำนักงานพัฒนาที่ดินจังหวัดใกล้บ้านในวันเวลา ราชการ

จาก http://www.komchadluek.net  วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

พาณิชย์ลุยยุทธศาสตร์20ปี ปฏิรูปการค้าสู้ตลาดโลก

นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษา รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ครม.ได้มีมติเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์กระทรวงพาณิชย์ระยะ 20 ปี (2560-2579)ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การเป็นประเทศไทย 4.0 โดยแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ ช่วง 2559-2564 เน้นปรับกฎหมาย วางระบบการค้า ระยะที่ 2 ปี 2565-2569 เป็นห่วงโซ่คุณค่าสำคัญของภูมิภาค เน้นพัฒนาผู้ประกอบการให้สามารถเป็นผู้นำตลาดภูมิภาค ระยะที่ 3 ปี 2570-2574 เน้นยกระดับความสามารถของผู้ประกอบการไทยให้เป็นผู้ค้าสำคัญของโลก และระยะที่ 4 ปี 2575-2579 เน้นสร้างศักยภาพของประเทศให้สามารถส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยเป็นผู้ค้าหลักของโลก

สำหรับเป้าหมาย คือ 1.สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจการค้าของประเทศ ด้วยการยกระดับความสามารถทางการแข่งขัน 2.สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจการค้าของประเทศ ด้วยการผลักดันความเชื่อมโยงกับโลก 3.สร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจการค้าของประเทศ ด้วยการสร้างแรงยึดเหนี่ยวในระบบเศรษฐกิจการค้าของประเทศ โดยสร้างการค้าที่เป็นธรรม ทั่วถึง และยั่งยืน

ยุทธศาสตร์ดังกล่าวยังแบ่งออกเป็น 4 ยุทธศาสตร์ย่อย ประกอบด้วย ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาผู้ประกอบการแบบครงวงจร ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาระบบการค้าให้มีประสิทธิภาพ ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและการเปลี่ยนแปลงบริบทการค้าการลงทุนโลก

ขณะที่ยุทธศาสตร์ที่ 3 การเสริมสร้างบทบาทผู้บริโภค ในอนาคตเศรษฐกิจการค้าจะทวีความซับซ้อนมากขึ้น มีการแข่งขันและเปิดเสรีมากขึ้น ทำให้มีความจำเป็นต้องส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีความรอบรู้

ยุทธศาสตร์ที่ 4 การบูรณาการกับระบบการค้าโลก ประเทศไทยต้องเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วยการค้าระหว่างประเทศ ทั้งการค้ากับประเทศเพื่อนบ้านและการค้ากับประเทศในภูมิภาคอื่น โดยในภูมิภาคอาเซียนและเพื่อนบ้านจะเน้นการสร้างมาตรฐานร่วม เชื่อมโยงระบบขนส่ง และพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน

จาก http://www.naewna.com วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

ตลาดส่งออกทั่วโลกทรุด ทูตพาณิชย์ยอมรับลูกค้าหลักเดี้ยงตามพิษเศรษฐกิจซบ

ทูตพาณิชย์ ยอมรับตลาดส่งออกสำคัญของไทยทุกภูมิภาคทั่วโลก เจอปัญหาพิษเศรษฐกิจซบเซา ลากตัวเลขปี’59 ร่วงต่ำกว่าเป้าหมาย ปรับแผนสำหรับปีหน้าเน้นเจาะลูกค้าลงรายกลุ่ม ผลิตสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ญี่ปุ่นบุกกลุ่มผู้สูงวัย แฟชั่นชาย สหรัฐเล็งเป้า “เบบี้บูม” เช่น ท่องเที่ยว อาหารคุณภาพสูง ส่วนจีนมุ่งตลาดออนไลน์

ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงพาณิชย์ว่า ในวันที่ 6 ก.ย. 2559 กระทรวงพาณิชย์ได้จัดประชุมหารือกลุ่มย่อยรายภูมิภาค เพื่อจัดทำแผนดำเนินการที่สำคัญที่จะเร่งผลักดันในปี 2560 โดยผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ หรือ ทูตพาณิชย์ ประจำประเทศต่างๆ และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมหารือ

นางจิตต์วิภา ศักดิ์พิทักษ์สกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ประจำนครโอซากา ญี่ปุ่น กล่าวว่า ตลาดญี่ปุ่นในปี 2559 นี้ น่าจะลดลงแต่ไม่มาก โดยล่าสุดการส่งออกไปญี่ปุ่นติดลบ 2%จึงคาดว่าทั้งปีน่าจะขยายตัวที่ 0% มูลค่าประมาณ 20,000 ล้านเหรียญสหรัฐ จากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ 1% เนื่องจากเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังมีภาวะฝืด ทำให้ไม่มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ แต่เศรษฐกิจก็ถือว่าไม่แย่มากเพราะรัฐบาลญี่ปุ่นมีมาตรการต่างๆ ออกมาแก้ไขปัญหาต่อเนื่อง ส่วนในปี 2560 คาดว่าส่งออกไปญี่ปุ่นจะขยายตัว 1% มูลค่าจะเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ทำได้ในปีนี้ประมาณ 1,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับแผนส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นในปีหน้า ไทยจะเน้นการเจาะตลาดเฉพาะกลุ่มมากขึ้น เช่น ตลาดผู้สูงอายุ ซึ่งสังคมญี่ปุ่นเปลี่ยนมีประชากรผู้สูงอายุมากขึ้นตลาดสินค้าผู้ชาย ซึ่งผู้ชายญี่ปุ่นมีรสนิยม ชื่นชอบการแต่งตัว และกลุ่มผู้รักสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ขณะเดียวกันจะเน้นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยไปลงทุนในต่างประเทศ และญี่ปุ่นเองก็ตอบรับการไปลงทุนของไทยซึ่งปัจจุบันญี่ปุ่นต้องต้องการการเงินลงทุนจากต่างประเทศเพื่อใช้หมุนเวียนในญี่ปุ่นมากขึ้น

ด้าน นายนภดล ทองมี ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ประจำนครนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกากล่าวว่า ในปีนี้ส่งออกไทยไปสหรัฐจะขยายตัว 1%จากเดิมที่คาดไว้ 5% ตามการค้าโลก แต่ทั้งนี้ก็ต้องติดตามการเลือกตั้งประธานาธิบดีของสหรัฐ ในเดือน พ.ย. ที่จะมีผลต่อการบริโภคของประชากรในสหรัฐ และจะมีผลต่อเศรษฐกิจการค้านำเข้า ส่งออกสินค้าของสหรัฐ ด้วย ส่วนในปี 2560 คาดว่าตลาดสหรัฐ จะดีขึ้นจากปีนี้ เบื้องต้นตั้งเป้าขยายตัว 3% มูลค่าประมาณ 25,000 ล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับแผนกลยุทธ์การส่งออกในปี 2560 ตลาดสหรัฐจะเน้นกลุ่มผู้บริโภคเฉพาะกลุ่มมากขึ้น เช่น กลุ่ม ลาตินอเมริกาที่มีประชากรคิดเป็น 40% ของประชากรในสหรัฐ กลุ่มฮิสแปนิก ซึ่งเป็นกลุ่มที่นิยมบริโภคข้าว, กลุ่มเบบี้บูม หรือกลุ่มผู้ที่เกิดในยุคหลังสงครามโลก มีประชากรประมาณ 76 ล้านคนในสหรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นกลุ่มที่มีกำลังซื้อมาก ชื่นชอบการท่องเที่ยว และอาหารที่ดีมีคุณภาพ,

นางพรพิมล เพชรกูล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ประจำกรุงฮานอย เวียดนาม กล่าวว่าตลาดอาเซียน 9 ประเทศ ในปีนี้คาดว่าจะส่งออกจะขยายตัวได้ 0.8% มูลค่า 54,713 ล้านเหรียญสหรัฐลดลงจาเป้าเดิม 7.4% มูลค่า 59,225 ล้านเหรียญสหรัฐที่ได้ตั้งไว้เมื่อปลายปีก่อน เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา ส่งผลให้อาเซียนที่เป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออกของโลกไม่สามารถส่งสินค้าได้เหมือนเดิม ไทยจึงได้รับผลกระทบจากการเป็นฐานผลิตสินค้าวัตถุดิบที่ส่งออกไปอาเซียนในการแปรรูปเพื่อส่งออกต่อไปยังประเทศอื่นๆ ด้วย

สำหรับแผนการผลักดันส่งออกในปีหน้า ตลาดอาเซียนจะเน้นการสร้างเครือข่ายให้ผู้ประกอบการไทย โดยให้ความสำคัญกับเมืองรองที่มีศักยภาพ ซึ่งเบื้องต้นจะเน้นจัดงานแสดงสินค้าก่อน ขณะเดียวกัน จะเน้นส่งเสริมผลักดันภาคบริการของไทยไปอาเซียนได้ เช่น โรงพยาบาลคลินิกสัตว์เลี้ยง คลินิกเด็ก สถาบันการศึกษา วิศวกร งานบริหารจัดการโรงแรม ร้านอาหาร เป็นต้น

นางสาวพรรณกาญจน์ เจียมสุชน ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ประจำเมืองกว่างโจวสาธารณรัฐประชาชนจีน กล่าวว่า ในปีนี้มีโอกาสที่จะปรับลดเป้าหมายส่งออกลงจากเดิม เพราะยังมีปัจจัยที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ ทั้งเศรษฐกิจจีนที่ยังไม่ดี และการย้ายฐานการผลิต ประกอบการตัวเลขการส่งออกในช่วงที่ผ่านมายังคงติดลบ แต่อย่างไรก็ตาม จะพยายามทำให้ดีที่สุด ซึ่งในส่วนของเป้าหมายการทำงานยังคงให้เป็นบวก ส่วนแผนผลักดันการส่งออกตลาดจีนในปี 2560 จะเชื่อมโยมรูปแบบการค้าออนไลน์ของไทย (อี-คอมเมิร์ซ) เข้ากับของจีน ซึ่งเป็นตลาดค่าออนไลน์ที่มีอัตราการเติบโตดีที่สุดของโลก เนื่องจากตอนนี้การค้าออนไลน์ มีเยอะมากและลูกค้าก็มีหลากหลายซึ่งตอนนี้อยู่ระหว่างการนำ thaitrade.com small oder ok เข้ามาเชื่อมโยงกับอี-คอมเมิร์ซจีน ซึ่งปีหน้าจะเริ่มคิ๊กออฟกิจกรรมดังกล่าวได้ซึ่งจะเป็นการนำร่องให้สามารถทราบถึงฐานของลูกค้า ขณะเดียวกัน จะปูพรมรุกตลาดเมืองรองให้มากขึ้น เพราะจีนมีแผนพัฒนาชนบทดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดีของธุรกิจอี-คอมเมิร์ซไทย นอกจากนี้ในส่วนแผนรองรับความเสี่ยงเศรษฐกิจจีนระยะสั้นปีหน้ามองว่าสินค้าอาหารยังมีโอกาสขยายตัวได้ดีโดยเฉพาะทางจีนตอนใต้ส่วนสินค้าเกษตรยังเป็นสินค้าที่น่าจำตามองเพราะยังมีความเสี่ยงเรื่องราคาที่ยังไม่ดี

นางสาวสุภาวดี แย้มกมล อัครราชทูต (ฝ่ายการพาณิชย์) ประจำกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร กล่าวว่าภาพรวมการส่งออกไทยไปยังสหภาพยุโรป (อียู) ปีนี้คาดจะยังขยายตัว 1% จากปีที่ผ่านมา มูลค่า 22,169 ล้านเหรียญสหรัฐแต่การส่งออก 8 เดือนแรกปีนี้ ติดลบ 2.4% มูลค่า 12,542 ล้านเหรียญสหรัฐ สาเหตุสำคัญมาจาก ผลกระทบจากประชามติเบร็กซิท ทำให้ค่าเงินปอนด์อ่อนลงประมาณ 10% ส่งผลให้ราคาสินค้าจากต่างประเทศปรับขึ้น ส่วนสินค้าไทยที่นำเข้าไปปรับราคาขึ้นประมาณ 15% จึงกระทบต่อปริมาณการนำเข้าสินค้าลดลง

จาก http://www.naewna.com วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

เศรษฐกิจโลกไม่ฟื้น ทูตพาณิชย์แห่ลดเป้าส่งออก

"ทูตพาณิชย์" แห่ลดเป้าส่งออกปีนี้ หลังเศรษฐกิจโลกไม่ฟื้น ตลาดหลักหดตัว ด้าน "อภิรดี" เตรียมถกแผนส่งออกปีหน้า 9 ก.ย.นี้ มุ่งเจาะตลาดใหม่

มูลค่าการส่งออกของไทยในปีนี้ มีแนวโน้มเป็นไปตามคาดหมายของหน่วยงานด้านเศรษฐกิจ หลังทูตพาณิชย์ในตลาดหลักยอมรับภาวะการส่งออกของไทยซบเซา จากภาวะเศรษฐกิจโลก ทำให้มีแนวโน้มว่าปีนี้มูลค่าการส่งออกจะติดลบเป็นปีที่ 3

สำหรับมูลค่าการส่งออกของไทยใน 7 เดือนแรก(ม.ค.-ก.ค.)ในรูปเงินดอลลาร์ ติดลบ 2.28%

นางพรพิมล เพชรกูล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ (สคต.)ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม กล่าวว่า การส่งออกปี 2559ไป ตลาดอาเซียน 9 ประเทศ ซึ่งเป็นตลาดสำคัญของไทย คาดว่าจะติดลบ 0.8% มูลค่า 54,713 ล้านดอลลาร์ ลดลงจากเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ขยายตัว 7.4% มูลค่า 59,225 ล้านดอลลาร์ เนื่องจากอาเซียนเป็นฐานการผลิตของสินค้ากึ่งวัตถุดิบที่ส่งต่อไปทั่วโลก เมื่อเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าไม่ดีจากปัญหาเศรษฐกิจโลก จึงทำให้การส่งออกของอาเซียนได้รับผลกระทบ

นอกจากนี้ สินค้าหลายรายการ ของไทย เช่น เสื้อผ้า สินค้าเกษตร มีการย้ายฐานผลิตไปยังเพื่อนบ้านแล้ว ทำให้ตัวเลขส่งออกไปจะไปขยายตัวที่ประเทศเหล่านั้นแทนที่จะเป็นการผลิตและส่งออกจากไทยเหมือนในอดีตที่ผ่านมา

นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบการค้าขายที่มีการส่งออกแบบส่วนบุคคล (กองทัพมด) ซึ่งไม่มีการบันทึกสถิติไว้จึงไม่มีตัวเลขการส่งออกจากไทยในช่องทางนี้

สำหรับเป้าหมายการส่งออกไปตลาดอาเซียนในปี 2560 คาดว่าจะขยายตัว 2.5% มูลค่า 56,054 ล้านดอลลาร์ จากปัจจัยที่เศรษฐกิจหลายประเทศยังเติบโตได้ เช่น เวียดนาม พม่า ฟิลิปปินส์ ซึ่งสอดคล้องกับทุนไทยที่เข้าไปลงทุนในกลุ่มประเทศอาเซียนมากขึ้น โดยการลงทุนในกลุ่มสินค้าที่ใช้เทคโนโลยีการผลิต การเกษตร สิ่งแวดล้อม กำลังเป็นที่ต้องการและไทยก็มีความสามารถ

ในปีหน้า สคต.มีแผนผลักดันให้ทุนไทยไปลงทุนในอาเซียนมากขึ้น และจะส่งเสริมการค้าการลงทุนไปยังเมืองรอง (ซิตี้ โฟกัส) เช่น ไฮฟองของเวียดนาม ซึ่งเป็นเมืองท่าทางตอนเหนือ เน้นกิจกรรมแสดงงานสินค้าเพื่อแนะนำสินค้าไทย ขณะที่สินค้าไทยในภาพรวมยังมีศักยภาพโดยเฉพาะในตลาดซีแอลเอ็มวี (เวียดนาม สปป.ลาว เมียนมา และเวียดนาม)

ตลาดสหรัฐฯได้อานิสงส์รายงานค้ามนุษย์

นางสาวประนิตา เกิดพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ปี 2559 เดิมคาดว่าจะขยายตัว 5% แต่สถานการณ์ขณะนี้อาจจะขยายตัวไม่ถึง 1% เนื่องจากเศรษฐกิจยังชะลอตัว ผู้บริโภคยังไม่มั่นใจที่จะใช้จ่าย แม้จะมีการเลือกตั้งทั่วไปแต่ก็ยังไม่ได้ทำให้เศรษฐกิจคึกคักเท่าที่ควร

ส่วนปี 2560 ตั้งเป้าไว้ 3% โดยสินค้าส่งออกยังเป็นสินค้าทุน เช่น อุปกรณ์ประกอบรถยนต์ เครื่องจักร ซึ่งมีสัดส่วน 40-50% ของตลาดส่งออก ที่เหลือเป็นอาหาร กุ้ง ทูน่า ปลาทูน่า แช่แข็ง สับปะรดกระป๋อง คาดว่าสินค้าประมงจะเพิ่มขึ้นปีหน้าประมาณ 10% หลังไทยถูกจัดอันดับรายงานการค้ามนุษย์ (TIP Report) ให้อยู่ในอันดับ Tier 2 Watch list ทำให้ไทยมีแต้มต่อมากกว่าคู่แข่งทั้งด้านซับพลายสินค้าประมงที่มากขึ้นและความเชื่อมั่นจากผู้บริโภค

ประเมินตลาดญี่ปุ่นปีหน้าโตเล็กน้อย1%

นางจิตต์วิภา ศักดิ์พิทักษ์สกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ นครโอซากา ประเทศญี่ปุ่น กล่าวว่า ตลาดญี่ปุ่นในปี 2559 น่าจะลดลงแต่ไม่มาก โดยล่าสุดการส่งออกไปญี่ปุ่นติดลบ 2% จึงคาดว่าทั้งปีน่าจะขยายตัวที่ 0% มูลค่าประมาณ 20,000 ล้านดอลลาร์ จากเดิมที่ตั้งเป้าไว้ 1% เนื่องจากเศรษฐกิจของญี่ปุ่นยังมีภาวะชะลอตัว ทำให้ไม่มีเงินหมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ แต่ยังไม่ถือว่าแย่มาก เพราะรัฐบาลญี่ปุ่นมีมาตรการต่างๆออกมาแก้ไขปัญหาต่อเนื่อง

ส่วนในปี 2560 คาดว่าส่งออกไปญี่ปุ่นจะขยายตัว 1% มูลค่าจะเพิ่มขึ้นจากเดิมที่ทำได้ในปีนี้ประมาณ 1,000 ล้านดอลลาร์

สำหรับแผนส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นในปีหน้า ไทยจะเน้นการเจาะตลาดเฉพาะกลุ่มมากขึ้น เช่น ตลาดผู้สูงอายุ ตลาดสินค้าผู้ชาย ซึ่งผู้ชายญี่ปุ่นมีรสนิยม ชื่นชอบการแต่งตัว และกลุ่มผู้รักสิ่งแวดล้อม ขณะเดียวกันจะเน้นการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการไทยไปลงทุนในต่างประเทศซึ่งญี่ปุ่นเองตอบรับการไปลงทุนของไทย เพราะปัจจุบันญี่ปุ่นต้องการการเงินลงทุนจากต่างประเทศ เพื่อใช้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งทุนไทยที่เข้าไปลงทุนในญี่ปุ่น แล้ว เช่น พลังงานทางเลือก สปา

ตลาดอียูรับผลกระทบเบร็กซิท

นางสาวสุภาวดี แย้มกมล อัครราชทูต(ฝ่ายการพาณิชย์) ประจำกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร กล่าวว่า ภาพรวมการส่งออกไทยไปยังสหภาพยุโรป (อียู) ปีนี้คาดจะยังขยายตัว 1% จากปีที่ผ่านมา มูลค่า22,169 ล้านดอลลาร์ แต่การส่งออก 8 เดือนแรกปีนี้ ติดลบ 2.4% มูลค่า 12,542 ล้านดอลลาร์ สาเหตุสำคัญมาจาก ผลกระทบจากประชามติเบร็กซิท ทำให้ค่าเงินปอนด์อ่อนลงประมาณ 10% ส่งผลให้ราคาสินค้าจากต่างประเทศปรับขึ้น ส่วนสินค้าไทยที่นำเข้าไปปรับราคาขึ้นประมาณ 15% จึงกระทบต่อปริมาณการนำเข้าสินค้าลดลง

นางสาวพรรณกาญจน์ เจียมสุชน ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ เมืองกวางโจว สาธารณะรัฐประชาชนจีน กล่าวว่า เป้าหมายการส่งออกปีนี้มีโอกาสที่จะปรับลดลงจากเดิมเล็กน้อย เพราะยังมีปัจจัยที่ยังไม่สามารถควบคุมได้ ทั้งเศรษฐกิจจีนที่ยังไม่ดี และการย้ายฐานการผลิต ประกอบการตัวเลขการส่งออกในช่วงที่ผ่านมายังคงติดลบ อย่างไรก็ตามจะพยายามทำให้ดีที่สุด ซึ่งในส่วนของเป้าหมายการทำงานยังคงให้เป็นบวก

ส่วนแผนผลักดันการส่งออกตลาดจีนในปี 2560 จะเชื่อมโยมรูปแบบการค้าออนไลน์ของไทยเข้ากับของจีน เพราะจีนเป็นตลาดที่มีอัตราขยายตัวสินค้าออนไลน์สูง

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

เปิดยุทธศาสตร์พาณิชย์20ปี ตั้งเป้า'ผู้นำ'ภูมิภาคสู่ผู้ค้าโลก

กระทรวงพาณิชย์วางยุทธศาสตร์ 20 ปี ตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งให้ทุกกระทรวงเร่งจัดทำยุทธศาสตร์ดังกล่าวเพื่อให้สอดรับกับนโยบาย “ประเทศไทย4.0”

กระทรวงพาณิชย์วางยุทธศาสตร์ 20 ปี ตามนโยบายของรัฐบาล ซึ่งให้ทุกกระทรวงเร่งจัดทำยุทธศาสตร์ดังกล่าวเพื่อให้สอดรับกับนโยบาย “ประเทศไทย4.0” เพื่อผลักดันให้เศรษฐกิจของประเทศก้าวสู่ยุคใหม่

หากประเมินยุทธศาสตร์ของกระทรวงพาณิชย์จะเห็นได้ว่าในระยะแรกมุ่งไปที่การสร้างความเข้มแข็ง “ภายใน” ด้วยการเร่งผลักดันกฏกติกาต่างๆให้มีมาตรฐาน จากนั้นจะเริ่มเน้นไปที่การพัฒนาผู้ประกอบการไทยก้าวสู่ “ผู้นำ” ในระดับภูมิภาค ก่อนก้าวขึ้นสู่ผู้ค้าระดับโลก

ตามร่างยุทธศาสตร์ของกระทรวงพาณิชย์ระยะ 20 ปี (2559 – 2579) มีการแบ่งระยะการทำงานออกเป็น 4 ระยะ คือ

ระยะที่ 1 ในปี 2559-2564 ดำเนินการแบบเร่งด่วน (Quick Win) ในการปฏิรูปการค้า เน้นปรับกฎหมาย วางระบบการค้า

ระยะที่ 2 ปี 2565–2569 ผลักดันให้ประเทศไทยอยู่ในห่วงโซ่สำคัญของภูมิภาค เน้นพัฒนาผู้ประกอบการให้สามารถเป็นผู้นำในตลาดภูมิภาค

ระยะที่ 3 ปี 2570–2574 เป็นห่วงโซ่สำคัญของโลก เน้นยกระดับความสามารถของผู้ประกอบการไทยให้เป็นผู้ค้าสำคัญในตลาดโลก

ระยะที่ 4 ปี 2575–2579 เน้นการพัฒนาศักยภาพของประเทศไทยให้สามารถส่งเสริมให้ผู้ประกอบการไทยเป็นผู้ค้าหลักของโลก

ยุทธศาสตร์ดังกล่าวมีเป้าหมาย 3 ด้านคือ

1.สร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจของการค้าของประเทศ ด้วยการยกระดับความสามารถการแข่งขัน โดยมุ่งส่งเสริมการสร้างมูลค่า ปรับเปลี่ยนจากการผลิตและขายส่งมอบตามคำสั่งซื้อ เป็นการสร้างรูปแบบการดีไซน์ของตนเอง สร้างแบรนด์ และทำตลาดของตัวเองเพื่อให้มีตลาดที่เป็นของตนเอง รวมทั้งการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจภาคบริการของการค้าของประเทศโดยสร้างการเชื่อมโยงกับโลก

2.เป้าหมายในการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจการค้าของประเทศ ด้วยการผลักดันความเชื่อมโยงกับโลก โดยมุ่งใช้อุปสงค์นำการค้า (Demand Driven) ซึ่งเป็นการปรับเปลี่ยนจากการส่งเสริมสินค้าที่ผลิตแล้วออกไปสู่ตลาด เป็นการศึกษาตลาดเพื่อต้องการความเข้าใจของตลาดและส่งเสริมการผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาด การบูรณาการกับภูมิภาคทั้งอาเซียนและกลุ่มประเทศซีแอลเอ็มวี เพื่อใช้ประโยชน์จากการประสานเศรษฐกิจให้มีความคล่องตัว และ

3.เป้าหมายในการสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการค้าของประเทศ ด้วยการสร้างแรงยึดเหนี่ยวในระบบเศรษฐกิจการค้า มุ่งสร้างการค้าที่เป็นธรรม ทั่วถึงและยั่งยืน เพื่อไม่ให้บางภาคส่วนของระบบเศรษฐกิจถูกทิ้งไว้ข้างหลัง โดยเฉพาะชนบทและผู้ด้อยโอกาส

ตามยุทธศาสตร์ไปสู่เป้าหมายในระยะเวลา 20 ปีแบ่งเป็น 4 ด้าน คือ

ยุทธศาสตร์การพัฒนาผู้ประกอบการแบบครบวงจร โดยเพิ่มบทบาทในการพัฒนาผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้เป็นเอสเอ็มอีที่สามารถก้าวไปเป็นเอสเอ็มอีที่สามารถส่งออกสินค้าตามมาตรฐานสากล มีการพัฒนานวัตกรรม รวมทั้งขยายการลงทุนไปยังต่างประเทศได้

ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการค้าให้มีประสิทธิภาพ โดยเปลี่ยนบทบาทจากผู้ควบคุมกฎระเบียบมาเป็นผู้อำนวยความสะดวก ปรับระบบการค้าโดยยกระดับการค้าในชนบทให้สามารถเชื่อมโยงและได้ประโยชน์จากห่วงโซ่การค้าในภาคการผลิตและการบริการที่ก้าวหน้า โดยคำนึงถึงบริบท สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมไปพร้อมๆกัน

ยุทธศาสตร์การเสริมสร้างบทบาทผู้บริโภค สร้างให้ผู้บริโภคมีความรอบรู้ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน มีความพอประมาณ และสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของตลาดและนวัตกรรมสมัยใหม่ได้อย่างทันท่วงที สอดคล้องกับหลักการเศรษฐกิจพิเพียง รวมทั้งส่งเสริมให้ผู้บริโภคมีบทบาทในการดูแลการพัฒนาการของตลาด โดยรวมตัวกันเพื่อสร้างอำนาจต่อรองกับการค้าในระบบตลาดได้

ยุทธศาสตร์การบูรณาการกับระบบการค้าโลก โดยเพิ่มมูลค่าเศรษฐกิจด้วยการค้าระหว่างประเทศ ทั้งการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน การค้าในภูมิภาค และการค้าระหว่างภูมิภาคโดใช้ประโยชน์จากการค้าทวิภาคีและการค้าพหุภาคี ได้แก่ ความตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership:TPP) และความตกลงพันธมิตรทางการค้าระดับภูมิภาค(RCEP) เป็นต้น

ยุทธศาสตร์การค้าของกระทรวงพาณิชย์ในระยะ 20 ปีข้างหน้ามีมิติที่ครอบคลุมทั้งการพัฒนาผู้ประกอบการ การพัฒนาผู้บริโภค และการมุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากการค้าในระดับต่างๆ รวมทั้งการพัฒนาช่องทางการค้า และการพัฒนาตลาดให้ไปสู่ห่วงโซ่อุปทานในระดับโลกของผู้ประกอบการทั้งในเมืองและในชนบทเพื่อลดช่องว่างของประโยชน์ทางการค้าที่จะได้รับให้มีความเท่าเทียมกันและเป็นเครื่องมือที่ช่วยลดความเหลื่อมล้ำ

หากพิจารณาจากยุทธศาสตร์ดังกล่าว ถือว่ามีความท้าทายไม่น้อยหากต้องการผลักดันให้ผู้ประกอบการไทยก้าวสู่เป็น“ผู้ค้า”ของโลก เพราะต้องมีเงื่อนไขอื่นอีกมากในการสร้างผู้ประกอบการไทย แต่ยุทธศาสตร์20ปีของกระทรวงพาณิชย์ก็มีความสำคัญไม่น้อย ในบทบาทของ“การส่งเสริม”ให้ผู้ประกอบการไทยก้าวสู่ระดับโลก

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

เงินบาทกลับมาแข็งค่าตามภูมิภาคจับตาECB

ตลาดเงินบาทเปิด 34.57 กลับมาแข็งค่าตามภูมิภาค จากแรงขายดอลลาร์หลังตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ อ่อนแอ

นักบริหารเงินจากธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า เงินบาทเปิดตลาดเช้านี้ ที่ระดับ 34.57 บาท/ดอลลาร์ แข็งค่าจากวานนี้ที่ปิดตลาดอยู่ที่ระดับ 34.67 บาท/ดอลลาร์ โดยเงินบาทกลับมาแข็งค่าตามภูมิภาค หลังดอลลาร์ถูกเทขาย จากการเปิดเผยตัวเลข ISM ของสหรัฐฯ ออกมาไม่ดี และต่ำสุดในรอบ 5 ปี อีกทั้งวานนี้ราคาปิดต่ำกว่าราคาตอนเปิดเป็นสัญญาณที่ไม่ดี หมดเวลาของการอ่อนค่าแล้ว อย่างไรก็ตามคาดว่า วันนี้เงินบาทน่าจะเคลื่อนในลักษณะแข็งค่าต่อเนื่องตามภูมิภาค กรอบการเคลื่อนไหวระหว่าง 34.50-34.65 บาท/ดอลลาร์ โดยสัปดาห์นี้ให้ติดตามการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB Meeting)

จาก http://www.innnews.co.th   วันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2559

ก.อุตฯ เร่งคลอด พ.ร.บ.อ้อยใหม่ ปูทาง “ลอยตัวราคา”  

         “สอน.” เปิดประชาพิจารณ์ร่าง พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลใหม่ เลิกกำหนดราคาขายในประเทศหวังปูทางสู่การลอยตัวในอนาคต พร้อมเร่งคลอดโครงร่างกางให้บราซิลหายสงสัยไทยอุดหนุน หวังเจรจาช่วง รมว.เกษตรบราซิลเยือนไทย 13-14 ก.ย.ให้เลื่อนฟ้องออกไปอีก 1 เดือน ด้านโรงงานต้าน พ.ร.บ.ไม่ตอบโจทย์แก้ปัญหา

                นายสมศักดิ์ จันทรรวงทอง เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (สอน.) เปิดเผยระหว่างการเปิดเวทีประชาพิจารณ์ร่างแก้ไขพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาล (ฉบับที่...) พ.ศ. ... ซึ่งมีตัวแทนชาวไร่อ้อย โรงงานน้ำตาล และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมเมื่อวันที่ 6 ก.ย.ว่า หลังจากรับฟังความเห็นจะมีการนำเสนอเข้าสู่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย (กนอ.) วันที่ 12 ก.ย. ก่อนสรุปความเห็นทั้งหมดเสนอ ครม.ภายในสิ้นเดือนนี้ซึ่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวส่วนหนึ่งจะเน้นแก้ไขข้อกังวลใจของบราซิลผู้ส่งออกน้ำตาลอันดับ 1 ของโลกที่แสดงท่าทีจะฟ้องร้องไทยต่อองค์การการค้าโลก (WTO) เพราะเห็นว่าไทยอุดหนุนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย

               “ล่าสุดได้รับแจ้งจากทูตไทยประจำสหประชาชาติ ณ นครเจนีวา ว่าบราซิลอาจจะฟ้องต่อคณะผู้พิจารณา (Panel) ในวันที่ 15 กันยายน และล่าสุดรัฐมนตรีเกษตรประเทศบราซิลจะนำคณะผู้แทนชาวไร่อ้อยบราซิลเดินทางมาเยือนไทยช่วงวันที่ 13-14 กันยายนนี้ เพื่อเข้าพบและหารือกับ พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยโอกาสนี้เราหวังว่าจะเป็นโอกาสในการเจรจาขอให้ขยายเวลาการตัดสินใจฟ้องร้องของบราซิลออกไป 1 เดือน” นายสมศักดิ์กล่าว

                 สำหรับร่าง พ.ร.บ.ใหม่นี้จะแก้ไขข้อกังวลของบราซิลที่สำคัญ ได้แก่ กรณีการกู้เงินของกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย (กท.) เพื่อช่วยเหลือราคาอ้อยที่เดิมต้องเสนอ ครม.ก็จะไม่ผ่านขั้นตอนดังกล่าวเพื่อไม่ตอกย้ำว่ารัฐช่วยทั้งที่จริงรัฐเองก็ไม่ได้ช่วยในจุดนี้อยู่แล้ว มาตรา 9 โดยจะยกเลิกเรื่องการกำหนดราคาขายน้ำตาลภายในประเทศเพื่อนำไปสู่การลอยตัวซึ่งอาจจะเป็นกึ่งลอยตัวก่อนก็ได้

                พร้อมกับยกเลิกโควตาน้ำตาลทราย ก. ข. ค. เป็นการสต๊อกน้ำตาลทรายแทนเพื่อดูแลการบริโภคในประเทศให้เพียงพอที่เหลือจึงส่งออก รวมถึงกำหนดคำนิยามน้ำตาลทรายเพื่อครอบคลุมถึงน้ำอ้อย และแก้ไขคำนิยามผลพลอยได้ด้วยการเพิ่มกากตะกอนกรอง กากอ้อยและผลพลอยได้ให้ชัดเจน เป็นต้น

                 นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์ ประธานคณะกรรมการประสานงาน 3 สมาคมโรงงานน้ำตาลทราย กล่าวว่า 3 สมาคมฯ ไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ.ครั้งนี้เพราะการกำหนดกรอบต่างๆ ทั้งโรงงานและชาวไร่ต้องเห็นพ้องต่อกันก่อน โดยเฉพาะผลพลอยได้นั้นเห็นว่ายังมีปัญหาข้อคิดเห็นที่ต่างกัน หากไปเขียนไว้ที่สุดจะปฏิบัติไม่ได้

                 นายนราธิป อนันตสุข หัวหน้าสำนักงานสหพันธ์ชาวไร่อ้อยแห่งประเทศไทย กล่าวว่า หลักการผลพลอยได้อื่นๆ ก็ควรจะนำมาสู่การเพิ่มรายได้ให้แก่ชาวไร่ เพราะต่อไปอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลจะมีการสร้างมูลค่าเพิ่มได้หลายอย่าง 

จาก http://manager.co.th  วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

ครบรอบ 60 ปี กลุ่มมิตรผล เปิดเวทีเฟ้นหาสุดยอดไอเดียสร้างสรรค์การต่อยอดคุณค่าพืชเศรษฐกิจ ผ่านการประกวดโครงการ “Mitr Phol Bio Innovator Awards 2016

          นวัตกรรมความคิด พลิกชีวิตสู่อนาคต ตอกย้ำการเป็นผู้นำด้าน Bioeconomy

          กลุ่มมิตรผลเดินหน้าเจตนารมณ์ส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยี ตอกย้ำการเป็นผู้นำด้าน "Bioeconomy" ที่ต่อยอดแนวความคิดเศรษฐกิจฐานชีวภาพและดำเนินธุรกิจด้วยความใส่ใจในสังคมมาตลอดระยะเวลากว่า 60 ปี ผ่านโครงการประกวด "Mitr Phol Bio Innovator Awards 2016" นวัตกรรมความคิด พลิกชีวิตสู่อนาคต ประจำปี 2559 เปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษาทั่วประเทศได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการส่งไอเดียสร้างสรรค์เพื่อต่อยอดคุณค่าและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่พืชเศรษฐกิจ ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 1 ล้านบาท

          นายประวิทย์ ประกฤตศรี ประธานเจ้าหน้าที่กลุ่มพลังงาน กลุ่มมิตรผล กล่าวว่า "ด้วยทุกวันนี้ทรัพยากรธรรมชาติบนโลกที่ใช้แล้วหมดไปอย่างเชื้อเพลิงฟอสซิลถูกนำไปใช้ในการทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ มากมาย จนส่งผลให้แหล่งทรัพยากรทางธรรมชาติมีแนวโน้มที่จะหมดลงในอนาคต และยังสร้างผลกระทบและมลภาวะในปริมาณมหาศาล ปัจจุบันได้มีการวิจัยคิดค้นนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ขึ้นมาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่ทรัพยากรอย่างยั่งยืนอันได้แก่พืชเศรษฐกิจ เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ข้าว ซึ่งสามารถทดแทนฟอสซิลในการนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ได้ จนเกิดเป็นโมเดล "เศรษฐกิจฐานชีวภาพ" (Bioeconomy) ที่กำลังเป็นที่สนใจไปทั่วโลกในขณะนี้ โดยเศรษฐกิจฐานชีวภาพนี้จะเป็นทางออกของปัญหาที่ได้กล่าวไว้ ทั้งในด้านอาหาร พลังงาน และสิ่งแวดล้อม คาดการณ์ว่าในอีก 30 ปีข้างหน้า ประชากรโลกเพิ่มขึ้นถึง 7,000 ล้านคน ประเทศไทยเป็นประเทศที่ได้เปรียบหลากหลายด้านเมื่อเทียบกับหลากหลายประเทศ อาทิ พื้นฐานเศรษฐกิจฐานชีวภาพที่ดี โครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งพร้อมสู่การต่อยอด โดยเฉพาะภาคการเกษตรที่มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง กลุ่มมิตรผลได้ดำเนินธุรกิจเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจฐานชีวภาพมากว่า 20 ปี เป็นหนึ่งในองค์กรที่พร้อมผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่ยุคเศรษฐกิจฐานชีวภาพอย่างแข็งแกร่ง ขานรับนโยบายภาครัฐที่มีนโยบายปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจของประเทศสู่ Thailand 4.0 ด้วย New S-Curve ที่มุ่งหวังเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรและยกระดับรายได้ของเกษตรกรภายใน 10 ปี พร้อมยกระดับประเทศไทยให้หลุดพ้นกับดักประเทศรายได้ปานกลาง (Middle-income trap) ในอนาคต ซึ่งอีกหนึ่งหัวใจสำคัญที่จะนำพาประเทศไทยให้ไปถึงเป้าหมายได้ คือ การพัฒนาคน ด้วยการสร้างนวัตกรจำนวนมาก กลุ่มมิตรผล ได้เล็งเห็นถึงศักยภาพและความสามารถของคนรุ่นใหม่ซึ่งให้ความสนใจกับเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมมากขึ้น ด้วยพลังแห่งการสร้างสรรค์ที่มีอยู่อย่างเต็มเปี่ยม อีกทั้งเป็นการเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 60 ปีของกลุ่มมิตรผลที่ได้ดำเนินธุรกิจควบคู่ความใส่ใจในสังคมมาโดยตลอด และตอกย้ำภาพการเป็นผู้นำด้าน Bioeconomy จึงได้จัดการประกวดโครงการ Mitr Phol Bio Innovator Awards 2016 นวัตกรรมความคิด พลิกชีวิตสู่อนาคตประจำปี 2559 ขึ้น เพื่อเฟ้นหานวัตกรไอเดีย นำนวัตกรรมต่อยอดคุณค่าพืชเศรษฐกิจ ด้วยความมุ่งหวังที่จะเป็นแรงผลักดันให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ"

          โครงการดังกล่าวเปิดโอกาสให้ นิสิต นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอนุปริญญาจนถึงปริญญาโทหรือเทียบเท่าทั่วประเทศ ทีมละไม่เกิน 4 คน สามารถนำเสนอภาพรวมของแนวคิดที่นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สามารถต่อยอดคุณค่าให้กับพืชเศรษฐกิจแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน โดยแนวความคิดที่ได้จะต้องสามารถช่วยต่อยอดคุณค่าพืชเศรษฐกิจนั้นให้มีความยั่งยืน ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมและเกษตรกรให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยโครงการนี้จะจัดอบรมเพื่อให้ความรู้ทั้งในด้านความคิดสร้างสรรค์ และการสร้างแผนธุรกิจที่ครอบคลุมทั้งทฤษฎีและภาคปฏิบัติ พร้อมเงินรางวัล ประกอบด้วย รางวัลที่ 1 เงินสด 200,000 บาท รางวัลที่ 2 เงินสด 150,000 บาท และ รางวัลที่ 3 เงินสด 100,000 บาท นอกจากนี้ ผู้เข้าประกวดที่ถูกคัดเลือกเข้าในรอบ 12 ทีมสุดท้ายที่มีไอเดียโดดเด่น มีโอกาสได้รับทุนการศึกษาจากกลุ่มมิตรผล เพื่อศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศอีกด้วย

          สำหรับผู้สนใจโครงการ Mitr Phol Bio Innovator Awards 2016 สามารถส่งผลงานได้ตั้งแต่บัดนี้ ถึงวันที่ 15 ตุลาคม 2559โดยสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.mitrphol.com/bioinnovator หรือ www.facebook.com/mitrpholbioinnovatorawards หรือสามารถสอบถามรายละเอียดได้ที่ฝ่ายสื่อสารองค์กร บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด โทร. 02-794-1270

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

กูรูพลังงานหมุนเวียน! ชูไทยเป็นผู้นำพลังงานแห่งอาเซียน

 ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม จัดเวทีเสวนาเรื่อง "อนาคตพลังงานหมุนเวียนไทยกับทิศทางพลังงานภูมิภาคอาเซียน" เพื่อเป็นเวทีแสดงความคิดเห็นถึงทิศทางพลังงาน และแนวโน้มการใช้พลังงานทดแทนในอนาคตว่าจะไปในทิศทางใดต่อไป

นายศุภกิจ นันทะวรการ ผู้จัดการฝ่ายนโยบายสาธารณะ มูลนิธินโยบายสุขภาวะ มองถึงการใช้พลังงานหมุนเวียนประเภทต่างๆ บนโลกใบนี้ รวมถึงในประเทศไทยว่า ปัจจุบันพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมมีการซื้อขายได้จริง ซึ่งทำให้เกิดการแข่งขันทางการค้าแล้ว เห็นได้จากข้อมูลราคาพลังงานทดแทนใน 16 ประเทศ จาก 6 ทวีปทั่วโลก ปัจจุบันราคาพลังงานแสงอาทิตย์เฉลี่ยอยู่ที่ 1.70 - 3.30 บาท/หน่วย ส่วนพลังงานลมราคาอยู่ที่ 1.10 - 3.50 บาท/หน่วย หากเทียบกับพลังงานหลักที่ใช้ในปัจจุบัน พลังงานหมุนเวียนมีราคาถูกกว่า

สำหรับประเทศไทยตั้งแต่ปี 2552 - 2556 มีการใช้พลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น เห็นได้จากการขายพลังงานเข้าสู่ระบบของไทยที่มีมากสุดในภาคกลาง รองลงมาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ และภาคใต้ ตามลำดับ

อย่างไรก็ตาม ในทางกลับกันนโยบาย แผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของรัฐบาลปี 2558 - 2579 ที่รัฐบาลอนุมัติเมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา ได้กำหนดว่าจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าประเภทต่างๆ เพิ่ม อาทิ โรงไฟฟ้าถ่านหิน 9 โรง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และโรงไฟฟ้าอื่นๆ ในอนาคต โดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากที่ผ่านมาไทยทำลายสถิติการใช้พลังงานไฟฟ้าเลยจุดสูงสุดหลายครั้ง เห็นได้จากเมื่อวันที่ 11 พ.ศ.2558 มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดที่ 29,619 เมกะวัตต์ แต่หากเทียบกับกำลังผลิตไฟฟ้าสูงสุดของประเทศที่สามารถรองรับได้ถึง 40,932 เมกะวัตต์ ซึ่งตรงนี้มีค่าส่วนต่าง 11,313 เมกะวัตต์ ฉะนั้นจึงมองว่าตรงนี้ไทยยังมีกำลังผลิตไฟฟ้าที่เพียงพออยู่

"อีก 10 ปีข้างหน้า ตั้งแต่ปี 2558 - 2568 รัฐบาลจะมีการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มอีก 25 แห่ง ซึ่งจะทำให้อัตราค่าไฟฟ้าเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันอยู่ที่ 3.75 บาท/หน่วย เพิ่มเป็น 5.26 บาท/หน่วย โดยราคานี้ไม่นับรวมภาษีอื่นเพิ่มเติม แต่ผมมองว่าศักยภาพการผลิตพลังงานหมุนเวียนของไทยยังเพียงพอต่อจุดพีกการใช้พลังงานไฟฟ้าของประเทศในอีก 20 ปีข้างหน้า แต่การดำเนินการขึ้นอยู่ที่ว่าส่วนราชการจะทำหรือไม่นั้น"

ทั้งนี้ ปัญหา 10 ปีที่ผ่านมาของไทย กับนโยบายการรับซื้อพลังงานแสงอาทิตย์ ส่วนตัวมองว่าเป็นนโยบายการคอร์รัปชั่น รูปแบบหนึ่ง คือ 1.การรับซื้อมีการกำหนดปริมาณเฉพาะและเปิดเป็นรอบๆ โดยไม่ยอมให้เปิดแบบรับซื้อเสรี จึงทำจำนวนการรับซื้อพลังงานทดแทนไม่มีความแน่นอน  2.ราคารับซื้อถูกกำหนดโดยฝ่ายการเมือง และไม่ยอมเปิดให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องเข้าไปมีส่วนร่วมในการพิจารณาราคากลาง จึงทำให้การปรับราคาไม่โปร่งใส 3.การอนุมัติโครงการต่างๆ ยังคงมีความล่าช้าในการพัฒนาทางธุรกิจ จึงทำให้ภาพรวม 3 นโยบายดังกล่าวเอื้อต่อการคอร์รัปชั่น

ผู้จัดการฝ่ายนโยบายสาธารณะ มูลนิธินโยบายสุขภาวะ ได้เสนอแนะว่า การใช้พลังงานทดแทนในอนาคตไทยยังติดอยู่กับรูปแบบการทำอุตสาหกรรมแบบเดิม ดังนั้นควรต้องปรับตัวเพื่อให้เท่าทัน เช่น กลางวันใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ ส่วนกลางคืนใช้พลังงานชีวมวล ถ้าตอบปัญหาเรื่องนี้ได้ ก็จะแก้ปัญหาพลังงานฟอสซิลในอนาคตได้

ด้าน ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้พัฒนาธุรกิจพลังงานหมุนเวียนรายแรกในประเทศไทย อธิบายว่า พลังงานเป็นเรื่องที่ใกล้ชิดกับชีวิตของคน ซึ่งในประเทศไทยเริ่มมีการประกาศรับซื้อพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนครั้งแรกเมื่อ  6 ปีที่แล้ว สมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสใหม่ทางด้านพลังงานของประเทศ

อย่างไรก็ตาม หลังเอสพีซีจีประสบความสำเร็จจากโครงการที่ 1 ทำให้การลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เติบโตอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเซีย สำหรับประเทศไทยเอสพีซีจีสามารถช่วยสร้างานกว่า 20,000 คนในช่วงก่อสร้าง และอีกกว่า 2,000 ตำแหน่งงานในช่วงอีก 30 ปี นอกจากนี้เอสพีซีจียังช่วยลดมลภาวะ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เทียบแล้วจะลดการปล่อยคาบอนไดออกไซด์ 210,000 ตันต่อปี

"ในประเทศไทยช่วง 5 ปีที่ผ่าน มีการพัฒนา และนำไปสู่การพึ่งตนเอง คือประชาชนที่มีความรู้ได้ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อใช้เอง หรือเรียกว่า solar roof top และเชื่อมั่นว่า แนวทางการพัฒนาการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยสร้างงานสร้างรายได้ในชนบท และเป็นพลังงานที่ยั่งยืนและมั่นคงแก่ประเทศในอนาคต"

ดร.วันดี ยังมองถึงการเติบโตทางด้านการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์จากโซลาร์เซลล์ด้วยว่า ขณะนี้การผลิตพลังงาน โซลาร์เซลล์กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ  ซึ่งประเทศไทยสามารถผลิตได้ปีละ 3,000 เมกะวัตต์ ใกล้เคียงกับประเทศอังกฤษ และไทยยังติด 1 ใน 10 ประเทศของโลกที่มีการพัฒนาเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์ดีที่สุด จนถูกยกให้เป็นผู้นำด้านโซลาร์เซลล์ในอาเซียน และในอีก 20 ปีข้างหน้าคาดว่าไทยจะสามารถผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้ถึงปีละกว่า 2 หมื่นเมกะวัตต์ เพราะอนาคตไม่เกิน 3 ปีข้างหน้าจะเป็นยุคของพลังงานหมุนเวียนและพลังงานทดแทน เพราะจะต้องเป็นโจทย์การใช้พลังงานของประเทศอย่างเห็นได้ชัด

ขณะที่ นายธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการประจาประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มองว่า ประเด็นพลังงานที่ผ่านมาในไทยมีการถกเถียงเรื่องนี้มาโดยตลอด เพราะถึงแม้ว่าพลังงานหมุนเวียนจะโตเร็วมากในอาเซียน แต่พลังงานฟอสซิลยังคงมีสัดส่วนการใช้ที่มีอยู่มาก เห็นได้จากประเทศในแถบยุโรป จีน อินเดีย ยังคงใช้เชื้อเพลิงถ่านหินเป็นหลักในการผลิตพลังงานอยู่ ทั้งนี้ จากแผนความร่วมมือด้านพลังงานหมุนเวียนในอาเซียน ที่มีแนวโน้มการประหยัดพลังงานในทางที่ดีขึ้น ซึ่งประเทศไทยถือว่าเป็นเสาหลักในการดำเนินการเรื่องนี้มาพอสมควร ดังนั้นคิดว่าหน่วยงานองค์กรต่างๆ ของไทยควรพัฒนาเรื่องพลังงานหมุนเวียนให้เกิดการขยายตัวในอาเซียน

จาก http://www.naewna.com  วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

วางยุทธศาสตร์ดันอุตสาหกรรมไทยสู่ยุค 4.0 นำร่องเฟสแรก 4 สาขา   

        รมต.อุตฯ เร่งผลักดันอุตสาหกรรมไทยสู่โมเดล 4.0 ชี้ต้องขับเคลื่อนโดยข้อมูล และสร้างคุณค่า ระบุยุทธศาสตร์นำร่องเฟสแรก 4 สาขา ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 2. อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่และชิ้นส่วน 3. อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และ 4. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์       

        นางอรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ปัจจุบันอุตสาหกรรมไทยในประเทศส่วนใหญ่มีระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมอยู่ที่ 2.0-2.5 และมีเพียงบางสาขาที่มีศักยภาพในการปรับเปลี่ยนไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 นอกจากนี้ยังพบว่าบางสาขาอาจไม่มีความจำเป็นที่จะปรับเปลี่ยนไปสู่อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) เนื่องจากลักษณะการผลิตและผลิตภัณฑ์เป็นประเภทตลาดเฉพาะกลุ่ม (Niche Market) เช่น อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่เชื่อมทุนวัฒนธรรมและบริการ ได้แก่ ท่องเที่ยว แฟชั่น ไลฟ์สไตล์ เฟอร์นิเจอร์ เครื่องใช้ของตกแต่งบ้าน ของเล่น และเซรามิก

                ทั้งนี้ การเริ่มต้นเข้าสู่โมเดล Industry 4.0 ผู้ประกอบการจะต้องเปลี่ยนผ่านไปสู่องค์กรดิจิตอลเพื่อให้สามารถปรับตัวเป็นโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory) โดยจะมีการปรับตัวที่สำคัญใน 2 ลักษณะ คือ 1. เป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล (Data Driven Enterprise) เพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้บริโภคนำมาวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าเพื่อนำเสนอคุณค่าให้กับลูกค้า 2. เป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนโดยการสร้างสรรค์คุณค่า (Value Driven Enterprise) เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า โดยมีสินค้าที่น่าสนใจและใช้กระบวนการผลิตขั้นสูงที่มีประสิทธิภาพ

                นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวเสริมว่า ร่างยุทธศาสตร์อุตสาหกรรม 4.0 (Industry 4.0) เพื่อให้มีความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติและสอดคล้องกับสถานภาพอุตสาหกรรมไทย กำหนดอุตสาหกรรมเป้าหมายที่จะพัฒนาเป็นลำดับแรก 4 สาขา ได้แก่ 1. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 2. อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่และชิ้นส่วน 3. อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร และ 4. อุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ โดยแบ่งตัวชี้วัดเป็น 3 ระยะ คือ 1. ระยะสั้น 2-3 ปี ได้แก่ ตัวชี้วัดสถานภาพของสถานประกอบการนำร่อง 2. ระยะกลาง 5 ปี ได้แก่ ตัวชี้วัดด้านผลิตภาพอุตสาหกรรม และ 3. ระยะยาว 10 ปี ได้แก่ ตัวชี้วัดผลิตภาพการผลิตรวมของภาคอุตสาหกรรมที่ต้องเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 3

                นอกจากนี้ยังกำหนดประเด็นยุทธศาสตร์ และกลยุทธ์ต่างๆ ในการส่งเสริมของภาครัฐ เช่น การส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการให้เข้าถึงระบบการพัฒนาอัตโนมัติ การส่งเสริมพัฒนาการให้บริการอุตสาหกรรม การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการพัฒนาเปลี่ยนสู่อุตสาหกรรม 4.0 และแหล่งสนับสนุนเงินทุนรวมทั้งมาตรการทางภาษี คาดว่าร่างยุทธศาสตร์จะเสร็จสิ้นภายในเดือนกันยายนนี้

จาก http://manager.co.th   วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

เร่งขยาย"แก้มลิง"ระยะ2พื้นที่1.3หมื่นไร่ช่วยเกษตรกร!

โดย - โต๊ะข่าวเกษตร

            กรมชลฯขยายแก้มลิงบึงลาดน้ำเตียน จ.สุพรรณบุรี ระยะที่ 2 หลังระยะที่ 1 แล้วเสร็จและใช้น้ำทันฤดูแล้งที่ผ่านมา เผยความจุแก้มลิง 2 ระยะถึง 10 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับประโยชน์กว่า 1.3 หมื่นไร่

            นายประพิศ จันทร์มา ผู้อำนวยการกองพัฒนาแหล่งน้ำขนาดกลาง กรมชลประทาน เปิดเผยว่า  โครงการแก้มลิงบึงลาดเตียน จ.สุพรรณบุรี ระยะที่ 1 ความจุ 7 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับประโยชน์ 7,000 ไร่ ได้ดำเนินการก่อสร้างโดยขุดลอกบึง ปรับปรุงคันกั้นน้ำและอาคารชลประทาน แล้วเสร็จในช่วงปี 2559 และเกษตรกรใช้น้ำจากแก้มลิงดังกล่าวได้ทันเพาะปลูกในฤดูแล้งที่ผ่านมา

          นอกจากนั้น ยังเป็นแหล่งน้ำต้นทุนเสริมสำหรับผลิตน้ำประปาในเขต อ.อู่ทอง ที่มักประสบปัญหาน้ำประปาไม่เพียงพอในฤดูแล้ง

         นายประพิศกล่าวว่า กรมชลประทานยังมีแผนก่อสร้างแก้มลิงบึงลาดน้ำเตียน ระยะที่ 2 ความจุ3 ล้านลูกบาศก์เมตร ในปี 2560 คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2561 โดยมีพื้นที่รับประโยชน์อีก 6,000 ไร่

         “เมื่อรวมกันทั้งหมด แก้มลิงบึงลาดน้ำเตียนจะมีความจุรวม 10 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีพื้นที่รับประโยชน์รวมกันไม่น้อยกว่า 13,000 ไร่ ถือว่าเกิดประโยชน์มากมายทีเดียว”

          นอกจากเป็นแหล่งน้ำต้นทุนในการเพาะปลูกและอุปโภคบริโภคแล้ว แก้มลิงบึงลาดน้ำเตียนยังลดและชะลอปริมาณน้ำที่ระบายจากโครงการระบายใหญ่สามชุก 2 ไปลงคลองระบายใหญ่สองพี่น้อง ซึ่งจะช่วยลดปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่ได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

จาก http://www.komchadluek.net  วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

กูรูพลังงานหมุนเวียน ชูไทยเป็นผู้นำพลังงานแห่งอาเซียน แนะรัฐบาลเร่งออกนโยบายสนับสนุน

ที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ชมรมนักข่าวสิ่งแวดล้อม จัดเวทีเสวนาเรื่อง “อนาคตพลังงานหมุนเวียนไทยกับทิศทางพลังงานภูมิภาคอาเซียน” เพื่อเป็นเวทีแสดงความคิดเห็นถึงทิศทางพลังงาน และแนวโน้มการใช้พลังงานทดแทนในอนาคตว่าจะไปในทิศทางใดต่อไป  นายศุภกิจ นันทะวรการ ผู้จัดการฝ่ายนโยบายสาธารณะ มูลนิธินโยบายสุขภาวะ มองถึงการใช้พลังงานหมุนเวียนประเภทต่างๆ บนโลกใบนี้ รวมถึงในประเทศไทยว่า ปัจจุบันพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมมีการซื้อขายได้จริง ซึ่งทำให้เกิดการแข่งขันทางการค้าแล้ว เห็นได้จากข้อมูลราคาพลังงานทดแทนใน 16 ประเทศ จาก 6 ทวีปทั่วโลก ปัจจุบันราคาพลังงานแสงอาทิตย์เฉลี่ยอยู่ที่ 1.70-3.30 บาท/หน่วย ส่วนพลังงานลมราคาอยู่ที่ 1.10-3.50 บาท/หน่วย หากเทียบกับพลังงานหลักที่ใช้ในปัจจุบัน พลังงานหมุนเวียนมีราคาถูกกว่า

นายศุภกิจ กล่าวว่า ทั้งนี้ ในทางกลับกันนโยบาย แผนพัฒนาการผลิตไฟฟ้าของรัฐบาลปี 2558-2579 ที่รัฐบาลอนุมัติเมื่อปี 2558 ที่ผ่านมา ได้กำหนดว่าจะก่อสร้างโรงไฟฟ้าประเภทต่างๆ เพิ่ม อาทิ โรงไฟฟ้าถ่านหิน 9 โรง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์และโรงไฟฟ้าอื่นๆ ในอนาคต โดยให้เหตุผลว่าเนื่องจากที่ผ่านมาไทยทำลายสถิติการใช้พลังงานไฟฟ้าเลยจุดสูงสุดหลายครั้ง เห็นได้จากเมื่อวันที่ 11 พ.ค. 2558 มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดที่ 29,619 เมกะวัตต์ แต่หากเทียบกับกำลังผลิตไฟฟ้าสูงสุดของประเทศที่สามารถรองรับได้ถึง 40,932 เมกะวัตต์ ซึ่งตรงนี้มีค่าส่วนต่าง 11,313 เมกะวัตต์ ฉะนั้นจึงมองว่าตรงนี้ไทยยังมีกำลังผลิตไฟฟ้าที่เพียงพออยู่             

ดร.วันดี กุญชรยาคง จุลเจริญ ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสพีซีจี จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้พัฒนาธุรกิจพลังงานหมุนเวียนรายแรกในประเทศไทย อภิปราย ว่า พลังงานเป็นเรื่องที่ใกล้ชิดกับชีวิตของคน ซึ่งในประเทศไทยเริ่มมีการประกาศรับซื้อพลังงานไฟฟ้าหมุนเวียนครั้งแรกเมื่อ  6 ปีที่แล้ว สมัยรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสใหม่ทางด้านพลังงานของประเทศ

ดร.วันดี กล่าวว่า หลังเอสพีซีจีประสบความสำเร็จจากโครงการที่ 1 ทำให้การลงทุนก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เติบโตอย่างรวดเร็วทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่นๆในภูมิภาคเอเซีย สำหรับประเทศไทยเอสพีซีจีสามารถช่วยสร้างานกว่า 20,000 คนในช่วงก่อสร้าง และอีกกว่า 2,000 ตำแหน่งงานในช่วงอีก 30 ปี นอกจากนี้เอสพีซีจียังช่วยลดมลภาวะ ที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เทียบแล้วจะลดการปล่อยคาบอนไดออกไซด์ 210,000 ตันต่อปี

"ในประเทศไทยช่วง 5 ปีที่ผ่าน มีการพัฒนา และนำไปสู่การพึ่งตนเอง คือประชาชนที่มีความรู้ได้ติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อใช้เอง หรือเรียกว่า solar roof top และเชื่อมั่นว่า แนวทางการพัฒนาการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาด เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ช่วยสร้างงานสร้างรายได้ในชนบท และเป็นพลังงานที่ยั่งยืนและมั่นคงแก่ประเทศในอนาคต" ดร.วันดี กล่าว

ดร.วันดี ยังมองถึงการเติบโตทางด้านการผลิตพลังงานแสงอาทิตย์จากโซลาร์เซลล์ด้วยว่า ขณะนี้การผลิตพลังงาน โซลาร์เซลล์กำลังเติบโตขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งประเทศไทยสามารถผลิตได้ปีละ 3,000 เมกะวัตต์ ใกล้เคียงกับประเทศอังกฤษ และไทยยังติด 1 ใน 10 ประเทศของโลกที่มีการพัฒนาเรื่องพลังงานแสงอาทิตย์ดีที่สุด จนถูกยกให้เป็นผู้นำด้านโซลาร์เซลล์ในอาเซียน และในอีก 20 ปีข้างหน้าคาดว่าไทยจะสามารถผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์ได้ถึงปีละกว่า 2 หมื่นเมกะวัตต์ เพราะอนาคตไม่เกิน 3 ปีข้างหน้าจะเป็นยุคของพลังงานหมุนเวียนและพลังงานทดแทน เพราะจะต้องเป็นโจทย์การใช้พลังงานของประเทศอย่างเห็นได้ชัด

 นายธารา บัวคำศรี ผู้อำนวยการประจาประเทศไทย กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มองว่า ประเด็นพลังงานที่ผ่านมาในไทยมีการถกเถียงเรื่องนี้มาโดยตลอด เพราะถึงแม้ว่าพลังงานหมุนเวียนจะโตเร็วมากในอาเซียน แต่พลังงานฟอสซิลยังคงมีสัดส่วนการใช้ที่มีอยู่มาก เห็นได้จากประเทศในแถบยุโรป จีน อินเดีย ยังคงใช้เชื้อเพลิงถ่านหินเป็นหลักในการผลิตพลังงานอยู่ ทั้งนี้ จากแผนความร่วมมือด้านพลังงานหมุนเวียนในอาเซียน ที่มีแนวโน้มการประหยัดพลังงานในทางที่ดีขึ้น ซึ่งประเทศไทยถือว่าเป็นเสาหลักในการดำเนินการเรื่องนี้มาพอสมควร ดังนั้นคิดว่าหน่วยงานองค์กรต่างๆ ของไทยควรพัฒนาเรื่องพลังงานหมุนเวียนให้เกิดการขยายตัวในอาเซียน

จาก http://www.khaosod.co.th   วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

ชงกึ่งลอยตัวนํ้าตาลแก้บราซิลฟ้องWTO

กอน.ไฟเขียว แผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย เตรียมชงครม.ภายใน ก.ย.นี้ รับมือบราซิลฟ้อง WTO ปลดล็อก 4 ข้อครหาอุดหนุน ปล่อยราคาน้ำตาลเป็นแบบกึ่งลอยตัว ยกเลิกระบบโควตาส่งออก สต๊อกน้ำตาลให้เหลือพอแค่บริโภคภายในประเทศ ไม่ประกันราคาอ้อยขั้นต่ำ และเลิกการอุดหนุนต้นทุนเพาะปลูก 160 บาทต่อตัน ยันเป็นทางออกในการเจรจาต.ค.นี้ ด้านปฏิกิริยาชาวไร่อ้อย-โรงงานน้ำตาลและผู้ใช้น้ำตาลเห็นต่าง

นายสมศักดิ์ จันทรรวงทอง เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.) กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ”ว่า ในการประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย(กอน.)ที่มีดร.สมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธาน เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบในหลักการตามแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบใหม่ โดยได้มีการแก้ไขกฎหมาย พ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทราย พ.ศ.2527 รวมทั้งกฎหมายและระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมการนำน้ำอ้อยไปผลิตเอทานอลและผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ เช่น ไบโอพลาสติก ไบโอเคมี นอกเหนือจากการผลิตเป็นน้ำตาลเพียงอย่างเดียว รวมทั้ง การเปิดให้ตั้งโรงงานหีบอ้อยได้ แต่ไม่มีการผลิตเป็นน้ำตาลทราย เพื่อที่จะนำน้ำอ้อยไปผลิตผลิตภัณฑ์อื่นๆ ได้ จากปัจจุบันที่กฎหมายยังไม่เอื้อให้ตั้งโรงงานหีบอ้อยได้อย่างเสรี

พร้อมทั้ง ให้นำรายได้จากการจำหน่ายกากน้ำตาล(โมลาส) เพื่อไปใช้ผลิตเอทานอล การจำหน่ายชานอ้อย เพื่อนำไปผลิตไฟฟ้า รวมถึงกากตะกรัน ที่นำไปทำปุ๋ย นำส่งเป็นรายได้ส่งเข้าระบบ เนื่องจากเป็นผลพลอยจากการผลิตน้ำตาลทราย จากปัจจุบันไม่มีการนำส่วนดังกล่าวนี้มาแบ่งให้ ซึ่งจะเป็นการช่วยให้ชาวไร่อ้อยมีรายได้เพิ่มขึ้นมาอีกส่วนหนึ่งด้วย

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการแก้ปัญหากรณีที่บราซิลจะยื่นคำร้องต่อองค์การการค้าโลก(WTO) กล่าวหารัฐบาลไทยดำเนินมาตรการอุดหนุนการส่งออกและอุดหนุนภายในประเทศให้กับสินค้าน้ำตาลทราย โดยเปิดทางฝ่ายไทยให้เจรจาถึงข้อกล่าวหาไปรอบหนึ่งแล้วเมื่อช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และจะต้องเดินทางไปชี้แจงอีกรอบหนึ่งในช่วงเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ว่าทางไทยจะมีแนวทางการแก้ปัญหาการอุดหนุนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายอย่างไร ก่อนที่จะมีการยื่นฟ้อง WTO ต่อไป

ทั้งนี้ เนื่องจากทางบราซิลยังติดใจใน 4 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1.การกำหนดราคาน้ำตาลทรายในประเทศไม่เป็นไปตามข้อตกลงทางการค้า มีการควบคุมราคาภายในประเทศไว้ที่ 23.50 บาทต่อกิโลกรัม 2.การที่รัฐบาลกำหนดโควตาน้ำตาลทรายประกอบด้วยโควตา ก.(บริโภคในประเทศ) โควตา ข. (ส่งออกโดยผ่านบริษัท อ้อยและน้ำตาลไทยฯหรืออนท.)และโควตา ค.(ส่งออกโดยโรงงานน้ำตาล) นั้น ผิดหลักการค้าของ WTO 3.การกำหนดราคาอ้อยขั้นต้น และขั้นสุดท้าย ในกรณีที่ราคาอ้อยขั้นสุดท้ายต่ำกว่าราคาอ้อยขั้นต้นชาวไร่ไม่ต้องคืนเงินจากส่วนต่างที่ได้รับไปแล้ว และ4.การอุดหนุนต้นทุนการเพาะปลูกให้กับชาวไร่อ้อยในอัตรา 160 บาทต่อตัน

ต่อเรื่องนี้นายสมศักดิ์ กล่าวว่า เพื่อเป็นการแก้ข้อสงสัยต่างๆเหล่านี้ การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบ จึงได้เสนอแนวทางไว้ และมีกรอบระยะเวลาดำเนินงานที่ชัดเจนหรือมีโรดแมปไว้ว่า จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จเมื่อใด ไม่ว่าจะเป็นการปล่อยให้ราคาน้ำตาลทรายเป็นกึ่งลอยตัว ตามราคาตลาดโลก โดยอ้างอิงจากราคาน้ำตาลทรายขาวที่นำเข้ามาในประเทศ หรือไม่ใช้ราคาอ้างอิงจากราคาที่ส่งน้ำตาลทรายดิบออกไป และมีการประกาศราคาขึ้นลงเป็นระยะๆ คล้ายคลึงกับราคาน้ำมัน

จ่อยกเลิกโควตาก.ข.ค.

อีกทั้ง ยกเลิกระบบโควตาน้ำตาลทราย ก. ข. และค. โดยจะให้แต่ละโรงงานน้ำตาลเป็นผู้สต็อกน้ำตาลทรายขั้นต่ำให้เพียงพอต่อการบริโภคภายในประเทศเท่านั้น ส่วนที่เหลือให้ส่งออก ซึ่งหากทางโรงงานไม่มีการสต็อกน้ำตาลทรายไว้ ก็จะมีการไม่อนุญาตหรือไม่ออกใบขนส่งออกน้ำตาลทรายได้ พร้อมทั้ง ยกเลิกระบบประกันราคาอ้อยขั้นต้น หากราคาอ้อยขั้นสุดท้ายต่ำกว่าราคาอ้อยขั้นต้น ให้นำส่วนต่างของราคาอ้อยที่รับเงินไปแล้ว ให้ถือว่าชาวไร่เป็นหนี้ และให้ยกหนี้ไปคำนวณราคาอ้อยขั้นต้นในฤดูถัดไปแทน รวมทั้งจะไม่มีการนำเงินอุดหนุนต้นทุนชาวไร่ 160 บาทต่อตันอีกต่อไป

ดังนั้น เมื่อแนวทางผ่านการเห็นชอบจากอน.แล้ว หลังจากนี้ไป จะนำเสนอ ดร.อรรชกา สีบุญเรือง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เพื่อพิจารณาและนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรีเห็นชอบ อย่างช้าสุดไม่น่าจะเกินวันที่ 27 กันยายนนี้ เพื่อที่จะได้นำแนวทางดังกล่าวไปหารือกับกับทางบราซิลในช่วงเดือนตุลาคมนี้ว่ารัฐบาลไทยมีแนวทางและเวลาในการแก้ปัญหาที่ชัดเจนตามข้อท้วงติงของบราซิล เพื่อไม่ให้นำไปสู่การฟ้องร้องต่อไป

“การเจรจากับทางรัฐบาลบราซิลช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ถือว่ามีสัญญาณค่อนข้างดี ที่เห็นว่าฝ่ายไทยมีการตื่นตัวในการปรับปรุงแก้ไขโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ซึ่งปกติหลังจบการเจรจารองแรกแล้ว ทางบราซิลจะต้องมีการตั้งคณะผู้พิจารณา( Panel) ขึ้นมาเพื่อเปิดไต่สวน แต่ก็ได้ชะลอออกไป เพื่อเปิดช่องให้มีการเจรจาในรอบที่ 2 เกิดขึ้น ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมก็ต้องเตรียมข้อมูลต่างๆ เพื่อไปแก้ข้อกล่าวหาให้มีความชัดเจนขึ้น ดังนั้น เมื่อครม.เห็นชอบในแนวทางการดำเนิน การเจรจาในช่วงเดือนตุลาคมนี้ ก็จะมีกรอบเวลาในการดำเนินงานแต่ละเรื่องที่ชัดเจน และน่าจะสร้างความพอใจให้กับทางบราซิลไม่ยื่นฟ้อง WTO ได้”

ขนม-เครื่องดื่มในปท.กระทบบางช่วง

ด้าน นายบุญถิ่น โครตศิริ ผู้อำนวยการ สำนักบริหารอ้อยและน้ำตาลทราย(สอน.) กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวเสริมว่า การปล่อยให้ราคาน้ำตาลทรายเป็นกึ่งลอยตัวตามราคาตลาดโลก จะทำให้ราคาน้ำตาลรายขึ้นลงตามตลาดโลก ทำให้ราคาขายปลีกที่เคยควบคุมอยู่ที่23.50 บาทในร้านโมเดร์นเทรด หรือในร้านขายของชำทั่วไปที่ราคา 24-25 บาทต่อกิโลกรัมขึ้นอยู่ที่ค่าขนส่ง โดยพาณิชย์จังหวัดจะเป็นผู้กำหนดราคาอ้างอิงที่เหมาะสมนั้น จะไม่มีการควบคุมแล้ว จะได้รับผลกระทบบางช่วงตามราคาน้ำตาลในตลาดโลก เพียงแต่การปล่อยให้ราคาน้ำตาลทรายเป็นกึ่งลอยตัวนั้น จะมีเพดานกำหนดกรณีที่ราคาน้ำตาลในตลาดโลกพุ่งสูงขึ้นมากผู้บริโภคภายในประเทศจะได้ไม่กระทบมาก ส่วนที่ยกเลิกการกำหนดโควตา ก. ข. และค. นั้น ไม่น่าจะมีอุปสรรคตามมาเนื่องจากกอน.จะตั้งคณะทำงานขึ้นมาดูแล กำกับ เหมือนพลังงาน ที่มีการกำหนดค่าไฟฟ้าผันแปร.หรือค่าเอฟที โดยจะคำนึงว่าปริมาณน้ำตาลในประเทศจะต้องเพียงพอก่อนเป็นหลัก

 อย่างไรก็ตามที่ผ่านมาในส่วนของภาคอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำตาลเป็นวัตถุดิบเช่น เครื่องดื่ม ขนม ที่ผลิตเพื่อส่งออกจะใช้น้ำตาลตามราคาตลาดโลกอยู่แล้ว ส่วนอุตสาหกรรมที่ใช้น้ำตาลและผลิตเพื่อใช้ในประเทศอาจกระทบบ้างบางช่วงกรณีราคาน้ำตาลในตลาดโลกสูงขึ้นจากเดิมที่ราคาน้ำตาลสำหรับบริโภคในประเทศจะควบคุมราคาไว้

“ส่วนที่บราซิลมองว่ารัฐบาลไทยอุดหนุนเงินค่าอ้อยนั้น ทางฝ่ายไทยได้ไปชี้แจงข้อเท็จจริงไปแล้วก่อนหน้านี้ ว่าเงินดังกล่าวนั้นเป็นเงินกู้จากกองทุนอ้อยและน้ำตาล(กท.)ที่ได้จากการขายน้ำตาลภายในประเทศซึ่งมาจากระบบแบ่งปันผลประโยชน์ซึ่งไม่ได้มาจากเงินงบประมาณแผ่นดิน”

ชาวไร่-โรงงานน้ำตาลเห็นต่าง

ด้านนายชัยวัฒน์ คำแก่นคูณ นายกสมาคมชาวไร่อ้อยน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น กล่าวว่า ชาวไร่เห็นด้วยกับแผนปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย โดยเฉพาะการแก้ไขกฎหมายพ.ร.บ.อ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527 รวมทั้งกฎหมายและระเบียบต่างๆที่เกี่ยวข้องให้ครอบคลุมการนำน้ำอ้อยไปผลิตเอทานอลและผลิตภัณฑ์อื่นๆ จะได้เกิดความเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย ส่วนที่ราคาน้ำตาลทรายปล่อยให้กึ่งลอยตัว จะทำให้ราคาขายปลีกในประเทศขึ้นลงตามราคาตลาดโลก ถ้าราคาน้ำตาลในตลาดโลกสูงมาก เรายังมีเพดานที่ควบคุมไม่ให้ผู้บริโภคได้รับผลกระทบมาก ซึ่งในส่วนนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าควรมีเพดานอย่างไรออกมา

“ส่วนกรณีที่บราซิลมองว่าที่รัฐบาลไทยไปอุดหนุนอุตสาหกรรมน้ำตาลส่งออกนั้น ความจริงแล้วรัฐบาลไม่ได้มาอุดหนุน แต่เป็นการนำเงินของชาวไร่มาชำระหนี้ โดยผ่านทางคณะรัฐมนตรี ดังนั้นต่อไปเพื่อไม่ให้ถูกนำมาเป็นประเด็นอีก ก็ไม่ควรนำเรื่องนี้ผ่านครม. แต่ไปใช้บอร์ดกองทุนอ้อยและน้ำตาลทราย(กท.) พิจารณา”

ขณะที่นายชลัช ชินธรรมมิตร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายพัฒนาธุรกิจ บริษัท น้ำตาลขอนแก่น จำกัด (มหาชน) หรือเคเอสแอล กล่าวว่า ในส่วนตัวเอง ยังไม่เห็นรายละเอียดการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย แต่เข้าใจว่าโครงการสร้างใหม่น่าจะมีการนำวัตถุดิบที่เหลือจากการหีบอ้อยและน้ำตาลทราย เช่น ชานอ้อย กากน้ำตาล ที่จะต้องขายออกไปเพื่อผลิตเป็นไฟฟ้าและเอทานอล มาเป็นรายได้แบ่งเข้าระบบ ซึ่งทางโรงงานน้ำตาลคงไม่เห็นด้วย เพราะมองว่าโรงงานได้จ่ายค่าอ้อยให้กับชาวไร่ไปตั้งแต่แรกแล้ว แต่เมื่อภาครัฐต้องการเพิ่มรายได้ให้กับชาวไร่ ทางโรงงานก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ แต่ต้องมีความชัดเจนในการคำนวณราคากัน ส่วนการตอบโจทย์กับทางบราซิล โดยเสนอแนวทางให้รัฐบาลเห็นชอบ และยกเลิกการควบคุมราคาน้ำตาลทรายในประเทศมาเป็นกึ่งลอยตัวนั้น ก็ต้องขึ้นกับว่า จะใช้การอ้างอิงคำนวณราคาอย่างไร เพื่อไม่ให้ผู้บริโภคในประเทศได้รับผลกระทบ

ผู้ใช้น้ำตาลลั่นปรับวิธีไหนก็เสี่ยง

นายชนิต สุวรรณพรินทร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ที.เอ.ซี.คอนซูมเมอร์ ประเทศไทย จำกัด และเลขาธิการสมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยกล่าวในฐานะผู้ผลิตชาเขียว “เซนย่า” และกาแฟ “วีสลิม” ว่า จะปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลโดยวิธีไหนก็มีความเสี่ยงในแง่ผู้ผลิต เพราะราคาวัตถุดิบเช่น น้ำตาล เป็นเรื่องของต้นทุนหลัก ที่ทำให้ผู้ผลิตมีการควบคุมต้นทุนได้ยาก ขณะที่ราคาสินค้าก็ไม่สามารถปรับราคาได้ทันทีตามต้นทุนที่สูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าควบคุมเช่น นมถั่วเหลือง หรือเครื่องดื่ม น้ำอัดลม ยิ่งบริหารจัดการต้นทุนยาก จึงอยากให้รัฐบาลพิจารณาให้รอบด้าน ให้กระทบต่อผู้ผลิตและผู้บริโภคปลายทางให้น้อยที่สุด

จาก http://www.thansettakij.com วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

ตั๊กแตนข้าวระบาดไร่อ้อย แก้ได้ด้วยน้ำหมักสมุนไพร

                    ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรราชบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 ลงพื้นที่ติดตามการวางเหยื่อพิษ ตั๊กแตนข้าวในไร่อ้อยเกษตรกร หมู่ 2 ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี  เมื่อช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา      

    ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรราชบุรี สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 ลงพื้นที่ติดตามการวางเหยื่อพิษ ตั๊กแตนข้าวในไร่อ้อยเกษตรกร หมู่ 2 ต.หนองกวาง อ.โพธาราม จ.ราชบุรี พื้นที่ระบาดและได้มอบเหยื่อพิษ ให้เกษตรกรในพื้นที่ประมาณ 380ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ติดต่อกับ ต.ปากช่อง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี ที่เป็นแหล่งระบาดตั๊กแตนข้าวในไร่อ้อยเดิม เมื่อช่วงเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา

   ทั้งนี้ ตั๊กแตนข้าว หรือตั๊กแตนไฮโรไกลฟัส ได้ระบาดหนักในพื้นที่ ต.ปากช่อง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี ในพื้นที่ไม่น้อยกว่า 1,500 ไร่ โดยตั๊กแตนข้าว จะมีลักษณะตัวมีหลายสี ทั้งสีเขียวอ่อน สีน้ำตาลแดง เหลืองอ่อน และบางตัวจะมีสีดำ ส่วนที่ใต้ท้องจะมีสีดำตลอดลำตัว จะกัดกินใบอ้อยจนเหลือแต่เส้นกลางใบ ทำให้ต้นอ้อยชะงักการเจริญเติบโต และจะขยายพันธุ์ออกไปเรื่อย ๆ สำหรับพื้นที่แห่งนี้ได้เริ่มระบาดเมื่อประมาณ 2 เดือนที่ผ่านมา

   ซึ่งการที่ตั๊กแตนเข้ามาทำลายไร่อ้อยด้วยการกัดกินใบ จะทำให้ต้นอ้อยชะงักการเติบโต ในอดีตมักจะพบระบาดในป่าหญ้าคา แฝก ต่อมาเมื่อปลูกอ้อยและข้าวโพดแทนในพื้นที่ดังกล่าว ตั๊กแตนก็จะระบาดในแหล่งปลูกอ้อยและข้าวโพดนั้น ๆ และระบาดเรื้อรังเรื่อยมาจวบจนปัจจุบัน ตั๊กแตนจะไม่เกิดหรือฟักเป็นตัวอ่อนภายในแปลง

แต่วางไข่และฟักออกเป็นตัวอ่อนที่หัวไร่ปลายนาแล้วระบาดเข้าสู่แปลงพืช ตราบใดที่หัวไร่ปลายนานั้นไม่มีการขยายแปลงหรือไถดิน ตั๊กแตนก็จะมีการระบาดทุกปี แต่ถ้าพื้นที่ใดชาวไร่ไถแปลงปลูกพืชด้วยรถแทรกเตอร์ ตั๊กแตนก็จะเบาบางลง และมีผลให้หายไปเองจากพื้นที่

   ตั๊กแตนมี 6-8 วัย การลอกคราบแต่ละครั้งห่างกันประมาณ 7 วัน ตัวอ่อนสีต่าง ๆ เช่น เขียวอ่อน น้ำตาลแดง เหลืองอ่อน และสีดำทั้งตัว แต่ที่สังเกตได้ง่ายก็คือหน้าดำ  ใต้ท้องก็ดำตลอดตัว แต่ที่หลังเป็นเส้นนวลทองยาวตลอดลำตัว เส้นนี้อยู่กลางระหว่างเส้นสีน้ำตาลแดง ลักษณะดังกล่าวจะปรากฏอยู่ระยะที่เป็นตัวอ่อน พอเป็นตัวเต็มวัยก็จะหายไป

ตัวเต็มวัยจะมีสีเขียวเหมือนกันหมด ตัวอ่อนนั้นบางตัวมีสีดำ

  แต่บินช้ากว่าตั๊กแตนปาทังกา จึงทำให้ปราบได้ง่ายกว่า ขั้นต้นเจ้าหน้าที่แนะนำว่าควรกำจัดวัชพืชที่อยู่หัวไร่ปลายนา ที่อาจเป็นที่

อยู่อาศัยของตัวอ่อน ด้วยการไถรื้อพื้นที่พลิกตากดินเพื่อทำลายตัวอ่อนของตั๊กแตน โดย

ไถหลังจากที่ตั๊กแตนเต็มวัยวางไข่ คือ ตั้งแต่เดือนตุลาคม–เมษายน ก่อนทำการเพาะปลูกอ้อย

   บางพื้นที่ได้ใช้วิธีแก้ไขปัญหาตั๊กแตนข้าวด้วยการใช้น้ำหมักสมุนไพร ที่ผลิตขึ้น

มาเอง จากส่วนผสมของว่านน้ำ ข่าแก่ ว่านไฟ เมล็ดสะเดา หนอนตายหยาก ขมิ้นชันและพริกสด ในอัตรารวมกันที่ 30 กิโลกรัม ส่วนผสมอื่นก็มี กากน้ำตาล 10 กิโลกรัม รำ 1 กิโลกรัม น้ำ 20 ลิตร สารเร่ง พด. 7 จำนวน 1 ซอง คือประมาณ 25 กรัม

   โดยการนำสมุนไพรที่กล่าวมาสับให้ละเอียด นำมาหมักกับส่วนผสมต่าง ๆ ในถังหมัก คลุกเคล้าให้เข้ากัน ตามด้วยใส่น้ำ แช่ทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที ใส่สารเร่ง พด.7 ลงไป คลุกเคล้าอีกครั้งให้เข้ากัน ตามด้วยปิดฝาถังหมักให้สนิทตั้งไว้ในที่ร่ม เปิดฝาพร้อมคนให้ทั่วทุกวันวันละครั้ง จนครบ 12 วัน จึงนำไปใช้จัดการกับตั๊กแตน

   ด้วยการนำน้ำหมักผสมกับน้ำอัตรา 1 ส่วนกับน้ำเปล่า 500 ส่วน หรือ 4 ช้อนโต๊ะต่อน้ำ 20 ลิตร แล้วนำไปฉีดพ่นให้ทั่วที่ใบ ลำต้น ประมาณ 5-7 วันต่อครั้ง จะทำให้ตั๊กแตนไม่เข้ามากัดกินใบอ้อย ซึ่งสูตรนี้มีเกษตรกรในหลายพื้นที่นำมาใช้และได้ผลดีพอควร ที่สำคัญปลอดภัยต่อเกษตรกรผู้ใช้ และใช้ทุนน้อยกว่าใช้สารเคมี

จาก http://www.dailynews.co.th  วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

การส่งออกผจญความเสี่ยง กกร.ห่วงเศรษฐกิจโลกเปราะบางค่าเงินผันผวน

กกร.ห่วงเศรษฐกิจโลกยังเปราะบาง กระแสเงินทุนเคลื่อนย้าย ค่าเงินบาทผันผวน แนะผู้ส่งออกบริหารความเสี่ยง พร้อมจับมือสมาคมแบงก์ให้ความช่วยเหลือธุรกิจโรงแรม ปล่อยวงเงินกู้เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขัน เน้นขยายกิจการเพิ่ม รองรับนักท่องเที่ยว กำหนดวงเงินกู้ไม่เกิน 80% ของเงินลงทุน

นายปรีดี ดาวฉาย ประธานสมาคมธนาคารไทยทำหน้าที่ประธานคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) ที่ประกอบด้วยสมาคมธนาคารไทยสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(สอท.) และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ที่ประชุมมีความเห็นร่วมกันว่า เศรษฐกิจโลกยังมีความเปราะบาง ขณะที่เศรษฐกิจสหรัฐเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น จากตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตร หลายฝ่ายจึงคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐ(เฟด) อาจปรับเพิ่มดอกเบี้ยช่วงปลายปีนี้ สวนทางกับธนาคารกลางญี่ปุ่น ได้ส่งสัญญาณผ่อนคลายนโยบายการเงินต่อเนื่อง เพื่อหวังหยุดยั้งปัญหาอัตราเงินฝืด

ทั้งนี้จากกระแสเงินทุนเคลื่อนย้ายในหลายภูมิภาคดังกล่าวจึงทำให้ค่าเงินบาทผันผวน เมื่อหลายสำนักคาดการณ์ว่าเฟดมีแนวโน้มปรับเพิ่มอัตราดอกเบี้ย ส่งผลต่อเงินทุนไหลกลับและทำให้ค่าเงินบาทกลับไปอ่อนค่าลงช่วงปลายปี

สำหรับเศรษฐกิจไทยในไตรมาส 2 ปีนี้ ขยายตัว 3.5% สูงกว่าที่คาดการณ์ไว้ จากปัจจัยการบริโภคในครัวเรือนดีขึ้น แต่ยังมีปัจจัยน่ากังวลหลายส่วนทั้งการลงทุนยังทรงตัว การส่งออกหดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 ติดต่อกัน ดังนั้นกกร.จึงคงอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจหรือจีดีพีไว้ที่ประมาณ 3-3.5% ตัวเลขการส่งออกติดลบ -2-0% แต่ที่ประชุมยังเป็นห่วงค่าเงินบาทแข็งค่า แม้จะเคลื่อนไหวสอดคล้องกับทิศทางของประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค ดังนั้นจึงแนะให้ผู้ประกอบการส่งออกบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันความเสียหาย อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เองก็ได้ติดตามดูแลการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด เพราะแม้ช่วงนี้จะแข็งค่าแต่ช่วงปลายปีอาจกลับมาอ่อนค่าลง ดังนั้นค่าเงินบาทจึงอาจมีความผันผวน

“กกร.จะมีการพิจารณาปรับกรอบประมาณการจีดีพีในการประชุมเดือนตุลาคมนี้อีกครั้งส่วนจะเป็นอย่างไรคงยังไม่สามารถระบุได้ อย่างไรก็ตามค่าเงินบาทที่แข็งค่ายังเป็นปัจจัยสำคัญที่ผู้ประกอบการมีความกังวล”

ด้านนายเจน นำชัยศิริ ประธานสอท. กล่าวว่า จีดีพีเบื้องต้นซึ่งพิจารณาภาพรวมในเบื้องต้นปีนี้น่าจะดีกว่าที่เคยคาดการณ์ไว้ในกรอบล่างคืออาจจะดีกว่า 3% ส่วนจะเกินระดับ 3.5% ได้หรือไม่จะต้องมาพิจารณารายละเอียดอื่นๆ ประกอบด้วยแต่การส่งออกคงอยู่ในกรอบเดิม ซึ่งสิ่งที่ต้องการคือให้รัฐเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อการลงทุนมากขึ้นโดยเฉพาะระบบจัดการน้ำนั้นยังมีน้อยมาก ขณะเดียวกันจะได้ติดตามแนวทางการพัฒนาระบบรางที่ต้องการให้สนับสนุนใช้วัสดุอุปกรณ์จากผู้ผลิตในประเทศด้วย ซึ่งการประชุมครั้งหน้าจะมีการนำเสนอประเด็นดังกล่าว

รายงานข่าวจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ระบุว่าสศค. ได้ประเมินกรณีที่มีเงินไหลเข้าประเทศไทยจำนวนมาก ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเทียบกับสกุลเงินของเวียดนามและจีน ซึ่งประเทศเหล่านี้เป็นประเทศที่เป็นคู่แข่งการค้าที่สําคัญ ทั้งนี้ จากข้อมูลล่าสุดในเดือนกรกฎาคม 2559 การส่งออกของไทยขยายตัวติดลบ 6.4% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น

อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทของไทยยังต้องติดตามข้อมูลทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เนื่องจากข้อมูลดังกล่าวจะส่งผลต่อการตัดสินใจในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ อีกทั้งยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในการเคลื่อนย้ายเงินเข้า หรือออกจากประเทศไทย ซึ่งจะส่งผลต่อค่าเงินบาท ทั้งนี้สศค. ได้ประมาณการค่าเงินบาทเฉลี่ยปี 2559 ไว้ที่ 35.50 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นการคาดการณ์ ณ เดือนกรกฎาคม 2559

พร้อมกันนี้ที่ประชุมกกร.ยังได้พิจารณาช่วยเหลือและสนับสนุนแก่ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมให้สามารถเข้าถึงสินเชื่อกับสถาบันการเงินเพื่อการปรับปรุงและยกระดับคุณภาพสถานที่ประกอบการเพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันให้ธุรกิจโรงแรมไทย

 ดังนั้นสมาคมธนาคารไทยจึงร่วมกับสมาชิกพิจารณาโครงการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมโดยให้วงเงินสูงสุดไม่เกิน 80% ของเงินลงทุนระยะเวลาไม่เกิน 5 ปี โดยมีระยะเวลาการเบิก 1 ปี หลังจากได้รับอนุมัติสินเชื่อแล้วโดยแต่ละธนาคารจะไปพิจารณาปล่อยกู้ได้ตามดุลยพินิจและสามารถกำหนดเงื่อนไขเพิ่มเติมให้จูงใจเพิ่มขึ้นได้ โดยผู้ประกอบการโรงแรมสามารถยื่นคำขอสินเชื่อกับธนาคารที่ผู้ประกอบการมีวงเงินสินเชื่ออยู่แล้ว

จาก http://www.naewna.com วันที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2559

เกษตรเร่งแก้วิกฤตน้ำโคราชแห้ง ศูนย์ฝนหลวง'กลาง-อีสาน'ผนึกกำลังทำฝนเพิ่ม 

          ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงโคราชจับมือศูนย์ลพบุรีปั้นเมฆจากภาคกลางแล้วโจมตีเมื่อเมฆลอยเข้าภาคอีสาน หวังแก้วิกฤตน้ำใช้การได้จริงเขื่อนลำตะคอง ลำพระเพลิง ลำแชะเหลือน้อย เตรียมหารือเกษตรกรแก้ปัญหาทำฝนตกตรงจุดยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มผลผลิตในไร่นา

          จากกรณีปริมาณน้ำใช้การได้จริงในเขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนลำแชะ เขื่อนมูลบน จ.นครราชสีมา และเขื่อนภูมิพล จ.ตาก เหลือเพียง 12%, 10%, 16%, 17% และ 9% ตามลำดับ ค่อนข้างต่ำมาก และมีเวลาเหลืออีกประมาณ 1 เดือนครึ่งก็จะหมดฤดูฝน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการอุปโภคบริโภคในฤดูแล้งที่จะถึงนั้น

          นายปนิธิ เสมอวงษ์ ผู้อำนวยการกองปฏิบัติการฝนหลวง กรมฝนหลวงและการบิน เกษตร เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เพื่อแก้ปัญหาน้ำในเขื่อนลำตะคองและอีกหลายเขื่อนใน จ.นครราชสีมาเหลือน้อย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการอุปโภคบริโภคในฤดูแล้งที่จะถึง กรมฝนหลวงฯจะมีการ บูรณาการประสานงานกันระหว่างศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง จ.นครราชสีมา กับศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง จ.ลพบุรี โดยให้ศูนย์ฝนหลวงลพบุรีขึ้นบินทำการเลี้ยงหรือปั้นเมฆให้ใหญ่ขึ้นจากอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดเข้ามาแรงในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายนของทุกปี เมื่อลมพัดเมฆดังกล่าวเข้ามาในเขต จ.นครราชสีมา ก็จะใช้เครื่องบินลำใหญ่ 1 ลำ และเครื่องบินเล็กอีก 2 ลำของศูนย์ฝนหลวงนครราชสีมาขึ้นโจมตีเพื่อให้เกิดฝนตกและน้ำไหลเข้าเขื่อนเพิ่ม

          ปัญหาที่ฝนตกลงเขื่อนลำตะคองและเขื่อนอื่น ๆ ในนครราชสีมาน้อย เพราะเมื่อลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้ามาจะต้องยกตัวขึ้นสูงข้ามภูเขาระหว่าง ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฝนจึงตกที่สระบุรีและลพบุรีเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งการปั้นเมฆให้อ้วนเพื่อให้ลมพัด เข้าไปตกที่ภาคอีสาน มักจะเจอลมระดับบนแรง ทำให้ก้อนเมฆที่อ้วนกลาย เป็นเมฆแผ่น ฝนเลยตกน้อยกว่าที่ควร จะเป็น

          ส่วนเขื่อนภูมิพลที่ปริมาณน้ำใช้การ มีน้อย ก็มีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงแล้วที่ จ.เชียงใหม่ จ.ตาก และ จ.พิษณุโลก และเขื่อนบางลาง จ.ยะลา ที่น้ำในเขื่อนเหลือน้อยมาก ก็มีการตั้งศูนย์ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อทำฝนหลวง ขณะที่ศูนย์ที่ จ.กาญจนบุรี ได้เร่งทำฝนหลวงเพื่อเติมน้ำในเขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ และอีกหลายเขื่อน

          นายทวี กาญจนา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผยว่า ในแนวทางปฏิบัติการจริงเริ่มทำตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา และในสุดสัปดาห์นี้จะให้อาสาสมัครที่มีไม่ต่ำกว่าจังหวัดละ 10 คน คัดเลือกตัวแทนเกษตรกรมาหารือเรื่องการปลูกพืชและปัญหาภัยแล้งว่าต้องการให้กรมฝนหลวงฯทำอะไรบ้าง หรือจะให้เพิ่มประสิทธิภาพหรือปรับแผนที่ผ่านมาเพิ่มเติมอย่างไร เพราะเกษตรกรอาจมองว่ากรมทำฝนไม่ตรงเป้าหมาย มากไปหรือน้อยไปในจุดไหน จากที่ทำฝนในวงกว้างต่อไปก็จะเจาะลงเป้าหมายยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มผลผลิตในไร่นาอีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากการเติมน้ำในเขื่อน ซึ่งอาจจะปรับเวลาขึ้นบินและตรงตามหลักวิชาการด้วย คาดว่าน่าจะทำฝนหลวงได้จนถึงกลางเดือนตุลาคมนี้ นอกจากนี้หากขยายพื้นที่การบินทำฝนหลวงเพิ่มไปยัง จ.บุรีรัมย์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด ที่ยังต้องการความช่วยเหลืออยู่ ก็อาจจะต้องเพิ่มจำนวนเครื่องบิน โดยอาจจะดึงเครื่องบินจากศูนย์ที่ จ.อุบลราชธานีมาช่วย เพราะสถานการณ์น้ำคลายตัวบ้างแล้ว

          ทางด้านนายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวว่า แม้จะเข้าฤดูฝน แต่เนื่องจากฝนตกไม่ ต่อเนื่องหรือตกเป็นจุด ๆ ทำให้ดินไม่ คายน้ำ ดังนั้นในช่วง 2 เดือนที่เหลือ กรมจะปรับแผนปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อให้ฝนตกในพื้นที่เป้าหมาย รวมทั้ง พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเดินทางไปตรวจสภาพน้ำในเขื่อนภูมิพล ซึ่งมีน้ำใช้การจริงเพียง 9% โดยกรมจะตั้งฐานปฏิบัติการทำฝนหลวงเพิ่มที่ จ.ตาก และจะร่วมกับกองทัพอากาศใช้ฐานบินที่ จ.พิษณุโลก เพื่อให้เครื่องเอยู 23 จำนวน 2 ลำ ขึ้นบินไปถึงระดับความสูง 1 หมื่นฟิต แล้วยิงพลุปล่อยสารดูดความชื้นออกจากเครื่องเอยู ซึ่งจะทำให้ปั้นเมฆได้ใหญ่ขึ้น และเพิ่มปริมาณฝนตกได้มากกว่า 20%

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

คลังชี้เงินบาทแข็งค่ากว่าคู่แข่ง ทำส่งออกขยายตัวติด-6.4%

รายงานข่าวจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ระบุว่า สศค. ได้ประเมินกรณีที่มีเงินไหลเข้าประเทศไทย จำนวนมาก ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเทียบกับสกุลเงินของเวียดนามและจีน ซึ่งประเทศเหล่านี้ เป็นประเทศที่เป็นคู่แข่งการค้าที่สําคัญ

ทั้งนี้ จากข้อมูลล่าสุด ในเดือน ก.ค.59 การส่งออกของไทยขยายตัวติดลบ 6.4 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทของไทย ยังต้องติดตามข้อมูลทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เนื่องจากข้อมูลดังกล่าว จะส่งผลต่อการตัดสินใจในการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) อีกทั้งยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในการเคลื่อนย้ายเงินเข้า หรือออกจากประเทศไทย ซึ่งจะส่งผลต่อค่าเงินบาท

สำหรับในปัจจุบัน สศค. ได้ประมาณการค่าเงินบาทเฉลี่ยปี 2559 ไว้ที่ 35.50 บาทต่อดอลล่าร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นการคาดการณ์ ณ เดือน ก.ค. 2559

นอกจากนี้ สศค. ยังประเมินอีกว่า ข้อมูลล่าสุดในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบ 2559 (ต.ค. 2558 - ก.ค. 2559) งบลงทุนสามารถเบิกจ่ายได้แล้ว 56.1% ของกรอบวงเงินงบประมาณ โดยคาดว่าในช่วงที่เหลือของปีงบ จะมีการเร่งการเบิกจ่ายงบลงทุนเพื่อให้เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการเบิกจ่ายงบลงทุนดังกล่าว ถือว่าเป็นปัจจัยสนับสนุนสําคัญของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา

ทั้งนี้ เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2559 พบว่า การลงทุนภาครัฐยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องในระดับสูงที่ 11.8% โดยส่วนของไตรมาสสุดท้ายของปี 2559 คาดว่า การลงทุนภาครัฐก็จะยังเป็นส่วนช่วย สําคัญในการรักษาระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีมาตรการสนับสนุน 3 มาตรการ ได้แก่ 1.มาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ (Front Load) 2.มาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กทั่วประเทศ และ 3. มาตรการเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กร

จาก http://www.naewna.com   วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

คลังชี้ค่าเงินบาทไทยแข็งกว่าคู่แข่ง

สำนักงานเศรษฐกิจการคลังประเมินเงินไหลเข้าไทยดันเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ประเมินว่า หลังจากมีเงินไหลเข้าประเทศไทยจํานวนมาก ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ได้ประเมินว่า หลังจากมีเงินไหลเข้าประเทศไทยจํานวนมาก ส่งผลให้ค่าเงินบาทแข็งค่าเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อเทียบกับสกุลเงินของเวียดนามและจีน ซึ่งประเทศเหล่านี้เป็นประเทศที่เป็นคู่แข่งการค้าที่สําคัญ

 ทั้งนี้จากข้อมูลล่าสุดในเดือน ก.ค. การส่งออกของไทยขยายตัวติดลบ 6.4 % เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งเป็นผลจากค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น อย่างไรก็ตาม ค่าเงินบาทของไทยยังต้องติดตามข้อมูลทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯ อีกทั้งยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนในการเคลื่อนย้ายเงินเข้าหรือออกจากประเทศไทย ซึ่งจะส่งผลต่อค่าเงินบาท

ปัจจุบัน สศค. ได้ประมาณการค่าเงินบาทเฉลี่ยปี 2559 ไว้ที่ 35.50 บาทต่อดอลเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นการคาดการณ์ ณ เดือน ก.ค. 2559

สศค. ยังประเมินว่า ข้อมูลล่าสุดในช่วง 10 เดือนแรกของปีงบ 2559 (ต.ค. 2558 - ก.ค. 2559) งบลงทุนสามารถเบิกจ่ายได้แล้ว 56.1% ของกรอบวงเงินงบประมาณ โดยคาดว่าในช่วงที่เหลือของปีงบ จะมีการเร่งการเบิกจ่ายงบลงทุนเพื่อให้เงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องซึ่งการเบิกจ่ายงบลงทุนดังกล่าว ถือว่าเป็นปัจจัยสนับสนุนสําคัญของเศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมา

ทั้งนี้ เศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2559 พบว่าการลงทุนภาครัฐยังสามารถขยายตัวได้อย่างต่อเนื่องในระดับสูงที่ 11.8% โดยส่วนของไตรมาสสุดท้ายของปี 2559 คาดว่าการลงทุนภาครัฐก็จะยังเป็นส่วนช่วยสําคัญในการรักษาระดับการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยมีมาตรการสนับสนุน 3 มาตรการ ได้แก่ 1. มาตรการเร่งรัดการใช้จ่ายงบประมาณ (Front Load) 2. มาตรการกระตุ้นการลงทุนขนาดเล็กทั่วประเทศ และ 3. มาตรการเพื่อพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรและองค์กร

จาก http://www.posttoday.com   วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

ขรก.-ปชช.เชียงใหม่แห่ซื้อน้ำตาลทราย-ไข่ไก่ ธงฟ้าฯ เผยประหยัดน้อย ดีกว่าจ่ายแพง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2559 จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ จัดจำหน่ายสินค้าอุปโภค-บริโภค ที่จำเป็นต่อการครองชีพในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้โครงการ ′ธงฟ้าราคาประหยัด ลดค่าครองชีพประชาชน′ บริเวณศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อลดภาระค่าครองชีพแก่ประชาชนผู้มีรายได้น้อย กระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดการหมุนเวียน และประชาชนมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น

โดยภายในงานมีสินค้าอุปโภค-บริโภคที่จำเป็น อาทิ น้ำตาลทราย น้ำมันพืช ไข่ไก่ ที่มีการจัดช่วงนาทีทองใน 2 เวลา คือ 11.00 น. และ 14.00 น. ทำให้มีข้าราชการและประชาชนมาเข้าแถวยาวเพื่อรอซื้อสินค้ากันอย่างคึกคัก นอกเหนือจากสินค้าจากกลุ่มวิสาหกิจชุมชน พืชผักปลอดสาร อาหาร-เสื้อผ้าพื้นเมือง ที่แต่ละชุมชนนำมาจำหน่ายในราคาย่อมเยา ซึ่งนายตุ๊ ข้าราชการที่ทำงานบนศาลากลางฯ บอกว่า ภรรยาสั่งให้ซื้อน้ำตาลทรายและไข่ไก่กลับบ้าน เพราะราคาถูกกว่าท้องตลาดทั่วไป เขาบอกว่าต้องประหยัด 5 บาท 10 บาท ก็ยังดีกว่าซื้อแพง เนื่องจากมีรายจ่ายหลายทาง

อย่างไรก็ตามนายกฤษณ์ ธนาวณิช รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เปิดเผยว่า จังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับ กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ จัดงานดังกล่าวขึ้นเป็นประจำทุกเดือน โดยตระเวนไปยังสถานที่ต่างๆ ซึ่งในเดือนกันยายน 2559 มีจำนวน 2 ครั้ง ได้แก่ งานตลาดนัดชุมชนคนเชียงใหม่ ระหว่างวันที่ 5-6 กันยายน 2559 ณ ศาลากลางเชียงใหม่ และตลาดต้องชม ′กาดชุมชนเจียงใหม่ อาหารปลอดภัย′ โครงการจริงใจมาร์เก็ต วันที่ 24 กันยายน 2559

จาก http://www.matichon.co.th    วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

เกษตรผสมผสานกลางไร่อ้อย รายได้ดีกว่าปลูกพืชเชิงเดี่ยว

หลายคนมีความเชื่อว่า การทำเกษตรให้มีกินมีใช้ ต้องทำเกษตรเชิงเดี่ยวในแปลงใหญ่เท่านั้น ถึงจะได้...การทำเกษตรผสมผสาน ไม่มีทางเป็นไปได้ อย่างดีก็แค่พอเพียง

แต่ จิรศักดิ์ คำสีทา เกษตรกรบ้านนาคำ อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น กลับมองต่าง ทั้งที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวทำไร่อ้อยมาทั้งชีวิต แต่เมื่อตัดสินใจทำเกษตรผสมผสานกลางไร่อ้อยใช้พื้นที่น้อยกว่า แต่ได้มากกว่า

“เมื่อก่อนพื้นที่ทั้งหมด 16 ไร่ ทำอ้อยอย่างเดียว จนเมื่อปี 2555 เข้าร่วมโครงการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืนกับมิตรผล ไปอบรมดูงานตามที่ต่างๆ จึงลองเจียดพื้นที่ 6 ไร่ ทำเกษตรผสมผสานตามที่ได้รับการอบรมมา ปลูกข้าว พืช ผัก ผลไม้ ไม้ยืนต้น เลี้ยงหมู ขุดสระเลี้ยงปลา ไก่ กบ วันนี้แค่ผักขายอย่างเดียว ได้วันละ 450 บ.แล้ว

” จิรศักดิ์ เล่าถึงที่มาของการปลูกพืชผสมผสานกลางไร่อ้อย จากเดิมปลูกแต่อ้อย มีรายได้หลังหักค่าใช้จ่ายปีละ 2 แสนกว่าบาท แต่ปัจจุบัน แค่เก็บผักขายทุกวัน ได้ปีละเกือบ 2 แสนบาท...ยังไม่รวมผลผลิตอื่นที่มีรายได้เป็นอาทิตย์ เป็นเดือน และตามฤดูกาล

พื้นที่ 6 ไร่ ทำเกษตรผสมผสาน แบ่งเป็นทำนา ข้าวไรซ์เบอร์รี่ 2 ไร่ ได้ผลผลิตไร่ละ 800 กก. หลังเก็บเกี่ยว ปลูกถั่วเขียว ปอเทือง ผักทนแล้งหลังนา รำจากสีข้าว นำไปเลี้ยงหมูหลุม พื้นที่ว่างปลูก ผักสวนครัวอินทรีย์ส่งขายตลาดในชุมชน เปิดขายอาทิตย์ละวัน พื้นที่หัวไร่ปลายนาจะมี หลุมพอเพียง 200 หลุม...แต่ละหลุมพื้นที่ 1 ตารางวา ปลูกพืชผสมผสาน 4 อย่าง 1) กล้วย 1 ต้น เป็นไม้พี่เลี้ยงอยู่ตรงกลาง, 2) ไม้ยืนต้น 4 ต้น 4 มุม อาทิ สัก ตะเคียนทอง ประดู่ ยางนา เป็นธนาคารต้นไม้ เมื่อโตก็ให้ร่มเงา ตัดนำไปขายหรือใช้งานได้เมื่ออายุ 20 ปีขึ้นไป แถมเมื่อยางนามีอายุ 5 ปี ขึ้นไป จะมีเห็ดโคน เห็ดระโงก ขึ้นใต้ต้นยางนาปีละ 3-4 ครั้ง ขายได้อีก กก.ละ 80 บ. 3) ไม้ฉลาด 5 ต้น ไม้ผล มะม่วง มะละกอ ชมพู่ ขายได้ตามฤดูกาล, 4) ไม้ปัญญาอ่อน 10 ต้น ผักสวนครัว... ...อาศัยหลักการพืชความสูงต่างกัน ไม่แย่งอาหารกัน ใช้หลักการความหลากหลายทางชีวภาพ แมลงแต่ละชนิดจะกินพืชผักไม่เหมือนกัน

มีบ่อน้ำทั้งหมด 3 บ่อเล็ก 1 บ่อใหญ่ เก็บน้ำ ไว้ใช้ยามแล้ง พร้อมกับเลี้ยง ปลาดุก ปลาหมอเทศ ปลานิล อย่างละ 1,000 ตัว เลี้ยงกบ ในกระชัง หมูหลุม 1 คู่ ไว้ขายลูก ได้มูลทำปุ๋ยใช้ในแปลง เป็ด 60 ตัว ไก่ 50 ตัว รายได้รายวัน เฉพาะขายผัก ไข่ไก่ไข่เป็ด วันละ 750 บ. เดือนละ 22,500 บ. ดีกว่ามนุษย์เงินเดือนหลายคน ตามด้วยรายได้รายสัปดาห์...ผักอินทรีย์อาทิตย์ละ 800 บ. กล้วยอาทิตย์ละ 800 บ. อีกเดือนละ 6,400 บาท...แล้วไหนยังมีรายได้ตามฤดูกาล ข้าว อ้อย ผลไม้ เห็ด ลูกหมู กบ ปลา อีกต่างหาก รวมแล้วปีปีหนึ่งจิรศักดิ์บอกว่า สวนผสมผสาน 6 ไร่ กลางป่าอ้อยทำเงินได้ประมาณห้าแสนบาท แค่นั้นเอง.

จาก http://www.thairath.co.th  วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559 

เตือนด้วงหนวดยาวระบาดไร่อ้อย สวพ.2แนะ3วิธีป้องกัน-รับประกันประสิทธิภาพ

นายสมเพชร พรหมเมืองดี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 (สวพ.2) กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ด้วงหนวดยาวเป็นแมลงศัตรูที่สำคัญชนิดหนึ่งในไร่อ้อย เพราะการเข้าทำลายของด้วงหนวดยาวสามารถทำให้ผลผลิตอ้อยปลูกลดลง 13-43% และน้ำตาลลดลงได้มากถึง 11-46% ส่วนอ้อยตอทำให้ผลผลิตอ้อยสูญเสียได้ถึง 54% และน้ำตาลลดลงได้มากถึง 57% แม้การระบาดมักพบรุนแรงในช่วงฤดูแล้ง แต่ระยะอื่นก็ยังพบการระบาดอยู่เสมอ โดยเฉพาะในแปลงดินร่วนปนทรายที่มีปริมาณอินทรียวัตถุค่อนข้างต่ำ มักมีการระบาดมากกว่าแปลงดินเหนียว

ด้าน นายวีรวัฒน์ นิลรัตนคุณนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 กล่าวว่าเมื่อพบว่ามีการระบาดของด้วงหนวดยาว วิธีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ คือวิธีผสมผสานโดยการใช้วิธีกลร่วมกับการใช้ศัตรูธรรมชาติและการใช้สารเคมี ดังนี้ 1.การป้องกันกำจัดด้วยวิธีกล ในช่วงที่ไถเตรียมดินให้เดินเก็บหนอนตามรอยไถเพื่อกำจัดหนอนออกจากแปลงก่อนปลูกอ้อย พร้อมกับเฝ้าระวังและกำจัดด้วงหนวดยาวตัวเต็มวัยเมื่อฝนเริ่มตกในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน โดยเฉพาะช่วงฝนตกซ้ำครั้งที่ 2 ด้วงหนวดยาวจะออกจากดักแด้เป็นตัวเต็มวัย ให้จับเก็บตัวเต็มวัยก่อนที่จะวางไข่เพื่อตัดวงจรชีวิตหนอน โดยเดินเก็บตัวเต็มวัยในแปลงช่วงค่ำ 2.การป้องกันกำจัดด้วยศัตรูธรรมชาติ โดยใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม โดยในอ้อยปลูกใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ โรยบนท่อนพันธุ์พร้อมปลูก สำหรับอ้อยตอให้เปิดร่องอ้อยแล้วโรยเชื้อราเขียวเมตาไรเซียม อัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ชิดกออ้อยแล้วกลบดิน ซึ่งเชื้อราจะมีประสิทธิภาพสูงเมื่อดินมีความชื้น

3.การป้องกันกำจัดด้วยสารเคมี ในพื้นที่ที่มีการระบาดของด้วงหนวดยาวอ้อยอย่างรุนแรง ให้ป้องกันกำจัดด้วยสารเคมีซึ่งมีทั้งแบบชนิดที่เป็นน้ำและเป็นเม็ด โดยการใช้สารเคมีชนิดน้ำในอ้อยปลูก ให้ใช้สารฆ่าแมลง ฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อัตรา 320 มิลลิลิตรต่อไร่ พ่นบนท่อนพันธุ์อ้อยพร้อมปลูกแล้วกลบดิน ส่วนในอ้อยตอเปิดร่องอ้อยแล้วพ่นสารฆ่าแมลงฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อัตรา 320 มิลลิลิตรต่อไร่ ให้ชิดกออ้อยแล้วกลบดิน ส่วนการใช้สารเคมีชนิดเม็ดในอ้อยปลูกให้ใช้สารฆ่าแมลง ฟิโพรนิล0.3% จี อัตรา 6 กิโลกรัมต่อไร่ โรยบนท่อนพันธุ์อ้อยพร้อมปลูกแล้วกลบดิน ส่วนอ้อยตอให้เปิดร่องอ้อยแล้วโรยสารฆ่าแมลง ฟิโพรนิล0.3% จี อัตรา 6 กิโลกรัมต่อไร่ ให้ชิดกออ้อยแล้วกลบดิน หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการป้องกันกำจัดด้วงหนวดยาวด้วยวิธีผสมผสาน สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สวพ.2 จ.พิษณุโลก โทร. 0-5531-1305

จาก http://www.naewna.com วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2559

พณ.จับมือNIDAทำแผนยุทธศาสตร์การค้า

กระทรวงพาณิชย์ จับมือ NIDA ทำแผนยุทธศาสตร์การค้ากลุ่มจังหวัดระยะ 5 ปี หวังใช้ขับเคลื่อน ศก. ท้องถิ่น คาด สรุปเริ่มแผนได้ ก.ย. นี้

นางอภิรดี ตันตราภรณ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กระทรวงพาณิชย์ ได้ร่วมกับสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (NIDA) จัดทำแผนยุทธศาสตร์การค้ากลุ่มจังหวัด 18 กลุ่มจังหวัด ระยะ 5 ปี (2560–2564) และได้มีการเดินสายระดมความคิดเห็นจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนในกลุ่มจังหวัดต่างๆ เพื่อร่วมกันปรับปรุงแผน จนสามารถกำหนดยุทธศาสตร์ทางการค้าของแต่ละกลุ่มจังหวัดได้แล้ว โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการระดมความคิดเห็นขั้นสุดท้ายในระดับผู้บริหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อนที่จะนำไปปรับปรุงแผนยุทธศาสตร์การค้ากลุ่มจังหวัดให้ชัดเจน และมอบให้หน่วยงานในสังกัดกระทรวงพาณิชย์นำไปปฏิบัติ คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ตั้งแต่เดือน ก.ย. นี้เป็นต้นไป ซึ่งแผนปฏิบัติการระดับจังหวัดจะสามารถ กระตุ้นเศรษฐกิจในท้องถิ่นให้เกิดการพัฒนาได้อย่างต่อเนื่อง

จาก  http://www.innnews.co.th วันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2559

รมว.เกษตรสั่งกรมฝนหลวงเติมน้ำในเขื่อน

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ สั่งกรมฝนหลวงเร่งเติมน้ำในเขื่อน เพื่อเพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้มากขึ้น แม้ล่าสุดปริมาณน้ำใช้ถึง 1.1 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำปีนี้ว่า ภาพรวมทั้งประเทศดีขึ้นกว่าปีที่ 58 ที่มีน้ำใช้การประมาณ 1.1 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร โดยปีนี้มีปริมาณน้ำที่ 1.3 หมื่นล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเขื่อนภูมิพล ปีที่แล้วมี 200 กว่าล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งปีนี้มีน้ำใช้การ 900 กว่าล้านลูกบาศก์เมตร คิดเป็น 10% แต่ยังน้อยมาก จะส่งผลกระทบได้กับพื้นที่เกษตร จ.ตาก กำแพงเพชร สุโขทัย พิจิตร ซึ่งคาดว่าเดือน ก.ย. น้ำจะเข้ามากขึ้น เพราะมีร่องฝนขยับลงมาจากภาคเหนือตอนบน โดยให้กรมฝนหลวงฯ เติมน้ำเขื่อนภูมิพล เพิ่มปริมาณน้ำต้นทุนให้มากที่สุด โดยเขื่อนใหญ่ที่ยังมีน้ำใช้การน้อยวิกฤติต่ำกว่า 30% เขื่อนจุฬาภรณ์, เขื่อนสิรินธร, เขื่อนน้ำพุง, เขื่อนรัชชประภา, เขื่อนบางลาง, เขื่อนอุบลรัตน์, เขื่อนแก่งกระจาน, เขื่อนวชิราลงกรณ์, เขื่อนศรีนครินทร์

จาก  http://www.innnews.co.th วันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2559

ปลัดก.อุตฯย้ำกนอ.ยังคงสถานะเดิม

ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม ย้ำ กนอ. ยังคงสถานะเดิม เพิ่มอำนาจเครื่องมือช่วยดูดการลงทุน หวังเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นรูปธรรมโดยเร็ว

นายสมชาย หาญหิรัญ ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า สาระสำคัญของร่างพระราชบัญญัติการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ฉบับที่…) พ.ศ. ... นั้น การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) จะยังคงสภาพเดิมอยู่ต่อไป เนื่องจากแนวโน้มในอนาคตจะมีนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นอีก ดังนั้น หากมีองค์กรขึ้นมาบริหารจัดการเขตเศรษฐกิจพิเศษโดยการจัดตั้งหน่วยงานขึ้นมาใหม่ โดยไม่ต้องแปรสภาพกฎหมายว่าด้วยการนิคมอุตสาหกรรมฯ จะเป็นแนวทางที่ดีกว่า โดยการแก้ไขบทบาทหน้าที่ของ กนอ. จะให้สอดคล้องกับหลักการของการตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อผลักดันให้นโยบายเป็นรูปธรรมโดยเร็ว ซึ่ง กนอ. จะสามารถดำเนินกิจการต่าง ๆ ได้กว้างขวางมากขึ้น มีอำนาจดำเนินกิจการท่าเรืออุตสาหกรรม สามารถร่วมดำเนินการกับบุคคลอื่นในต่างประเทศได้ จัดตั้งบริษัทจำกัดและบริษัทมหาชนจำกัดเช่นเดียวกับรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ มีอำนาจอนุมัติอนุญาตแบบจุดเดียวเบ็ดเสร็จครบวงจรได้อย่างสมบูรณ์ กำหนดราคาขายที่ดินและส่วนควบในนิคมอุตสาหกรรม และให้สิทธิประโยชน์เพื่อรองรับการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ด้วย

จาก  http://www.innnews.co.th วันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2559

สภาหอการค้านัดผู้ว่าธปท.ดูวันถกค่าบาท

รองประธานสภาหอการค้า เผย พรุ่งนี้นัด ผู้ว่าฯ ธปท. ดูวันถกค่าบาทห่วงส่งออก คาด GDP โต 3.5%

นายสนั่น อังอุบลกุล รองประธานสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผยกับ สำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า ในวันพรุ่งนี้ (5 ก.ย.) จะนัดผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพื่อนัดวันเข้าพบ หารือถึงค่าเงินบาทที่แข็งค่า ซึ่งภาคเอกชนมองว่าเป็นความเสี่ยงต่อการดำเนินธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งการส่งออก สำหรับเศรษฐกิจไทยในปี 2559 คาดว่าจะขยายตัวได้ที่ร้อยละ 3.5 ทั้งนี้ นักลงทุนต่างชาติ ยังให้น้ำหนักกับการลงทุนในประเทศไทยเพราะการเมืองมีเสถียรภาพ อีกทั้งนโยบายรัฐมีความต่อเนื่องและมีสิทธิประโยชน์เอื้อต่อการลงทุนมากมาย รวมทั้งเชื่อ

มั่นว่าการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นในปี 2560 ตามโรดแมปที่รัฐบาลได้วางกรอบไว้

จาก  http://www.innnews.co.th วันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2559

เกษตรเร่งแก้วิกฤตน้ำโคราชแห้ง ศูนย์ฝนหลวง"กลาง-อีสาน"ผนึกกำลังทำฝนเพิ่ม

ศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงโคราชจับมือศูนย์ลพบุรีปั้นเมฆจากภาคกลางแล้วโจมตีเมื่อเมฆลอยเข้าภาคอีสาน หวังแก้วิกฤตน้ำใช้การได้จริงเขื่อนลำตะคอง ลำพระเพลิง ลำแชะเหลือน้อย เตรียมหารือเกษตรกรแก้ปัญหาทำฝนตกตรงจุดยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มผลผลิตในไร่นา

จากกรณีปริมาณน้ำใช้การได้จริงในเขื่อนลำตะคอง เขื่อนลำพระเพลิง เขื่อนลำแชะ เขื่อนมูลบน จ.นครราชสีมา และเขื่อนภูมิพล จ.ตาก เหลือเพียง 12%, 10%, 16%, 17% และ 9% ตามลำดับ ค่อนข้างต่ำมาก และมีเวลาเหลืออีกประมาณ 1 เดือนครึ่งก็จะหมดฤดูฝน ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการอุปโภคบริโภคในฤดูแล้งที่จะถึงนั้น

นายปนิธิ เสมอวงษ์ ผู้อำนวยการกองปฏิบัติการฝนหลวง กรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เพื่อแก้ปัญหาน้ำในเขื่อนลำตะคองและอีกหลายเขื่อนใน จ.นครราชสีมาเหลือน้อย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการอุปโภคบริโภคในฤดูแล้งที่จะถึง กรมฝนหลวงฯจะมีการบูรณาการประสานงานกันระหว่างศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง จ.นครราชสีมา กับศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวง จ.ลพบุรี โดยให้ศูนย์ฝนหลวงลพบุรีขึ้นบินทำการเลี้ยงหรือปั้นเมฆให้ใหญ่ขึ้นจากอิทธิพลลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดเข้ามาแรงในช่วงเดือนสิงหาคม-กันยายนของทุกปี

เมื่อลมพัดเมฆดังกล่าวเข้ามาในเขต จ.นครราชสีมา ก็จะใช้เครื่องบินลำใหญ่ 1 ลำ และเครื่องบินเล็กอีก 2 ลำของศูนย์ฝนหลวงนครราชสีมาขึ้นโจมตีเพื่อให้เกิดฝนตกและน้ำไหลเข้าเขื่อนเพิ่ม

ปัญหาที่ฝนตกลงเขื่อนลำตะคองและเขื่อนอื่น ๆ ในนครราชสีมาน้อย เพราะเมื่อลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดเข้ามาจะต้องยกตัวขึ้นสูงข้ามภูเขาระหว่างภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฝนจึงตกที่สระบุรีและลพบุรีเป็นส่วนใหญ่ อีกทั้งการปั้นเมฆให้อ้วนเพื่อให้ลมพัดเข้าไปตกที่ภาคอีสาน มักจะเจอลมระดับบนแรง ทำให้ก้อนเมฆที่อ้วนกลายเป็นเมฆแผ่น ฝนเลยตกน้อยกว่าที่ควรจะเป็น

ส่วนเขื่อนภูมิพลที่ปริมาณน้ำใช้การมีน้อย ก็มีการตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงแล้วที่ จ.เชียงใหม่ จ.ตาก และ จ.พิษณุโลก และเขื่อนบางลาง จ.ยะลา ที่น้ำในเขื่อนเหลือน้อยมาก ก็มีการตั้งศูนย์ที่ อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา เพื่อทำฝนหลวง ขณะที่ศูนย์ที่ จ.กาญจนบุรี ได้เร่งทำฝนหลวงเพื่อเติมน้ำในเขื่อนศรีนครินทร์ เขื่อนวชิราลงกรณ และอีกหลายเขื่อน

นายทวี กาญจนา ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงภาคตะวันออกเฉียงเหนือเปิดเผยว่า ในแนวทางปฏิบัติการจริงเริ่มทำตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคมที่ผ่านมา และในสุดสัปดาห์นี้จะให้อาสาสมัครที่มีไม่ต่ำกว่าจังหวัดละ 10 คน คัดเลือกตัวแทนเกษตรกรมาหารือเรื่องการปลูกพืชและปัญหาภัยแล้งว่าต้องการให้กรมฝนหลวงฯทำอะไรบ้าง หรือจะให้เพิ่มประสิทธิภาพหรือปรับแผนที่ผ่านมาเพิ่มเติมอย่างไร เพราะเกษตรกรอาจมองว่ากรมทำฝนไม่ตรงเป้าหมาย มากไปหรือน้อยไปในจุดไหน

จากที่ทำฝนในวงกว้างต่อไปก็จะเจาะลงเป้าหมายยิ่งขึ้นเพื่อเพิ่มผลผลิตในไร่นาอีกทางหนึ่ง นอกเหนือจากการเติมน้ำในเขื่อน ซึ่งอาจจะปรับเวลาขึ้นบินและตรงตามหลักวิชาการด้วย คาดว่าน่าจะทำฝนหลวงได้จนถึงกลางเดือนตุลาคมนี้ นอกจากนี้หากขยายพื้นที่การบินทำฝนหลวงเพิ่มไปยัง จ.บุรีรัมย์ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด ที่ยังต้องการความช่วยเหลืออยู่ ก็อาจจะต้องเพิ่มจำนวนเครื่องบิน โดยอาจจะดึงเครื่องบินจากศูนย์ที่ จ.อุบลราชธานีมาช่วย เพราะสถานการณ์น้ำคลายตัวบ้างแล้ว

ทางด้านนายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร กล่าวว่าแม้จะเข้าฤดูฝน แต่เนื่องจากฝนตกไม่ต่อเนื่องหรือตกเป็นจุด ๆ ทำให้ดินไม่คายน้ำ ดังนั้นในช่วง 2 เดือนที่เหลือ กรมจะปรับแผนปฏิบัติการฝนหลวงเพื่อให้ฝนตกในพื้นที่เป้าหมาย รวมทั้ง พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะเดินทางไปตรวจสภาพน้ำในเขื่อนภูมิพล ซึ่งมีน้ำใช้การจริงเพียง 9% โดยกรมจะตั้งฐานปฏิบัติการทำฝนหลวงเพิ่มที่ จ.ตาก และจะร่วมกับกองทัพอากาศใช้ฐานบินที่ จ.พิษณุโลก เพื่อให้เครื่องเอยู 23 จำนวน 2 ลำ ขึ้นบินไปถึงระดับความสูง 1 หมื่นฟิต แล้วยิงพลุปล่อยสารดูดความชื้นออกจากเครื่องเอยู ซึ่งจะทำให้ปั้นเมฆได้ใหญ่ขึ้น และเพิ่มปริมาณฝนตกได้มากกว่า 20%

จาก  http://www.prachachat.net  วันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2559

ไทย-ปากีสถาน ลุยเจรจาเอฟทีเอรอบ 4วันที่ 6-8 ก.ย.จับตาเคาะนำร่องสินค้าลดภาษีเหลือ0%

นางสาวสุนันทา กังวาลกุลกิจ รองอธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่า ไทยและปากีสถาน จัดเจรจาความตกลงการค้าเสรีระหว่างกัน(เอฟทีเอไทย-ปากีสถาน) ครั้งที่ 4 ระหว่างวันที่ 6-8 กันยายน 2559 ณ กรุงอิสลามาบัด ประเทศสาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน เพื่อหารือรายการสินค้าที่จะเปิดตลาดระหว่างกัน โดยในการหารือไทยจะเสนอให้ปากีสถานเปิดตลาดสินค้า เช่น อาหารแปรรูป น้ำตาล เคมีภัณฑ์ ปิโตรเคมี และพลาสติก ยางพาราและผลิตภัณฑ์ ไม้อัด ไม้บาง และไม้แผ่น เยื่อและกระดาษ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์ของเครื่องใช้ไฟฟ้า ยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น รวมทั้งกฎถิ่นกำเนิดเฉพาะรายสินค้า ข้อบทความตกลงด้านการค้าสินค้า ข้อบทด้านกฎถิ่นกำเนิดสินค้า รวมทั้งประเด็นด้านกฎหมายอื่นๆ

นางสาวสุนันทา กล่าวว่า การจัดทำเอฟทีเอไทยกับปากีสถาน จะช่วยให้ไทยสามารถขยายตลาดการค้าสู่ภูมิภาคเอเชียใต้และตะวันออกกลางมากขึ้น เนื่องจากปากีสถานเป็นตลาดใหญ่อันดับ 2 ในภูมิภาคเอเชียใต้ รองจากอินเดีย ขณะที่ปากีสถานสามารถใช้ไทยเป็นประตูสู่อาเซียน เพิ่มโอกาสการส่งออกโดยเฉพาะสินค้าวัตถุดิบ ซึ่งปากีสถานยังมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์และมีค่าจำนวนมาก รวมถึงเพิ่มโอกาสลงทุนระหว่างสองประเทศและประเทศที่ 3 ปัจจุบันการค้ารวมสองประเทศมีมูลค่า 1.03 พันล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวประมาณปีละ 2% โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้ามาโดยตลอด

จาก  http://www.matichon.co.th วันที่ 4 กันยายน พ.ศ.2559

สวพ.2จับมือธกส.ดัน‘Mr.Product’ ถ่ายถอดเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพผลิตภาคเหนือล่าง

นายสมเพชร พรหมเมืองดี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2(สวพ.2) กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่านอกจากการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมกับพื้นที่ซึ่งเป็นภารกิจหลักแล้ว การถ่ายทอดความรู้หรือเทคโนโลยีการผลิตให้เกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญเช่นเดียวกัน โดยปกติแล้ว สวพ.2 จะทำการถ่ายทอดความรู้ผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งการบรรยายให้ความรู้โดยตรง การถ่ายทอดผ่านทางสื่อและสิ่งพิมพ์ การจัดนิทรรศการ รวมทั้งการทำแปลงเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ภายในศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร และการทำแปลงต้นแบบการผลิตพืชในแปลงของเกษตรกรกระจายอยู่ในแหล่งผลิตพืชที่สำคัญทุกจังหวัด ซึ่งเกษตรกรสามารถไปศึกษาและเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองตลอดเวลา โดยเฉพาะองค์ความรู้เรื่องปุ๋ยและวิธีการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญและมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกร สวพ.2 จึงร่วมมือกับฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนล่าง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในการเผยแพร่ความรู้ให้กับเกษตรกรลูกค้าของ ธ.ก.ส. โดย สวพ.2 จะอบรมให้ความรู้กับพนักงานของ ธ.ก.ส. เพื่อนำไปเผยแพร่อีกทางหนึ่ง

นายดำรงชัย เดชาธิคม ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนล่าง ธ.ก.ส. กล่าวว่า ธนาคารเล็งเห็นความสำคัญของการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องและการผสมปุ๋ยใช้เอง ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนให้เกษตรกร สอดคล้องกับนโยบายธนาคารในการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพื่อทำให้เกษตรกรลูกค้ามีรายได้จากการขายผลผลิตได้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้นทุนการผลิต

ธ.ก.ส. มีพนักงานพัฒนาธุรกิจที่ทำหน้าที่ในการให้สินเชื่อและแนะนำ แลกเปลี่ยนความรู้ในอาชีพและการเงิน และพนักงานพัฒนาลูกค้า ที่มีบทบาทในการพัฒนาอาชีพ ให้กับเกษตรกรในทุกๆด้าน มีโอกาสพบปะกับเกษตรกรเป็นประจำอยู่แล้ว ดังนั้นจึงจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเกษตรกร หากพนักงานเหล่านี้ได้รับความรู้เรื่องปุ๋ยและการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ข้าว ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง จนสามารถให้คำแนะนำเบื้องต้นหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกร จึงมีแผนจะให้แต่ละสาขาใน 9 จังหวัดภาคเหนือ จำนวน 138 สาขา มีพนักงานมาอบรมเรียนรู้ในโครงการ Mr. Product สาขาละ 2 ราย และมีแผนที่จะดำเนินการโครงการนี้ให้ต่อเนื่องและเพิ่มขีดความสามารถให้พนักงานต่อไป

นายวีรวัฒน์ นิลรัตนคุณผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่ ภาคเหนือตอนล่าง กล่าวว่า สวพ.2 ได้บรรยายให้ความรู้เรื่องปุ๋ยอย่างละเอียด เป็นขั้นตอน ตั้งแต่ความสำคัญของปุ๋ย ปุ๋ยคืออะไร ความหมายของสูตรปุ๋ย หน้าที่ของธาตุอาหารพืช จนถึงวิธีการใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพซึ่งประกอบด้วยการใช้ปุ๋ยถูกสูตร ถูกเวลา ถูกวิธี และถูกปริมาณและการผสมปุ๋ยใช้เอง และยกตัวอย่างเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จจากการใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำ พร้อมมอบสไลด์เพื่อใช้ประกอบคำบรรยาย และเอกสารคำแนะนำการใช้ปุ๋ยของกรมวิชาการเกษตรสำหรับพืชเศรษฐกิจที่สำคัญเช่น ข้าว ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง และพืชผักต่าง ๆ สำหรับแจกให้กับเกษตรกร

ทั้งนี้ สวพ.2 ได้อบรมพนักงานของ ธ.ก.ส. ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนล่างไปแล้ว 2 รุ่น จำนวน 300 กว่าราย และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากเกษตรกรลูกค้า ธ.ส.ก. ที่ได้รับความรู้เรื่องปุ๋ยซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพโดยตรงแล้ว ยังช่วยไม่ให้ถูกหลอกซื้อปุ๋ยปลอมหรือปุ๋ยด้อยคุณภาพได้อีกด้วย

จาก http://www.naewna.com วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2559

เกษตรฯลดต้นทุนผลิตอ้อย‘อีสาน’ จับมือเอกชนนำร่อง‘โคราช-บุรีรัมย์’20,000ไร่

นายสมชาย ชาญณรงค์กุล อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า เนื่องจากราคาปัจจัยการผลิตทางการเกษตรที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น ทั้งพันธุ์อ้อย ปุ๋ยเคมี สารกำจัดวัชพืช สารกำจัดศัตรูพืช รวมถึงค่าจ้างแรงงาน ประกอบกับเกษตรกรส่วนใหญ่เลือกปลูกอ้อยตามความต้องการของตลาด และปลูกในพื้นที่ไม่เหมาะสม ขาดความรู้ความเข้าใจเรื่องการใช้ปุ๋ยเคมีอย่างถูกต้อง และใช้ปุ๋ยโดยไม่ได้วิเคราะห์ดิน ทำให้ชาวไร่อ้อยมีต้นทุนการผลิตสูงขึ้น มากกว่า 10,000 บาท/ไร่ และสำหรับอ้อยตอต้นทุนจะอยู่ที่ไร่ละ 5,000-6,000 บาท กรมวิชาการเกษตร จึงมอบหมายให้ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ร่วมกับ บริษัท อุตสาหกรรมโคราช จำกัด (โรงงานน้ำตาลพิมาย) ถ่ายทอดเทคโนโลยีการจัดการธาตุอาหารตามความต้องการของอ้อย เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นำร่องใน จ.นครราชสีมาและบุรีรัมย์มีเกษตรกรเป้าหมาย 2,400 ราย ครอบคลุมพื้นที่ปลูกอ้อยไม่น้อยกว่า 20,000 ไร่

เบื้องต้น เจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรและโรงงานน้ำตาลได้ลงพื้นที่เก็บตัวอย่างดินในแปลงปลูกอ้อยของเกษตรกร ซึ่งอยู่รอบโรงงานน้ำตาลรัศมี 50 กิโลเมตร มาตรวจวิเคราะห์ธาตุอาหาร แล้วร่วมหารือเพื่อวางแนวทางการปรับสูตรปุ๋ยเคมีที่โรงงานน้ำตาลแนะนำเกษตรกร ให้หันมาใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน พร้อมให้ความรู้เรื่องการจัดการธาตุอาหารพืชที่ถูกต้องแก่เกษตรกร เพื่อให้ผู้ประกอบการและเกษตรกรสามารถปรับอัตราและสูตรปุ๋ยได้อย่างเหมาะสมซึ่งคาดว่า จะช่วยลดต้นทุนการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้ถึง 20-30% ทั้งยังได้ผลตอบแทนคุ้มค่า และทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น

ด้าน นายอิสระ พุทธสิมมานักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น กล่าวว่า โครงการนี้ต่อยอดมาจากโครงการแก้ไขปัญหาโรคใบขาวอ้อย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งนอกจากส่งเสริมให้เกษตรกรจัดการธาตุอาหารตามความต้องการของอ้อย และแนะนำให้ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินแล้วยังมีการอบรมการใช้โปรแกรมประยุกต์ในการใส่ปุ๋ยอ้อย โดยใช้สมาร์ทโฟนในระบบแอนดรอยด์ ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินให้กับเกษตรกร ขณะเดียวกันยังได้จัดทำแปลงเรียนรู้การลดต้นทุนการผลิตอ้อย จำนวน 10 แปลงแปลงละ 4 ไร่ เป็นแปลงอ้อยปลูก 6 แปลง และอ้อยตอ 4 แปลง รวม 40 ไร่ เพื่อเป็นแปลงต้นแบบและเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับเกษตรกรในพื้นที่ เป็นช่องทางหนึ่งที่จะขยายผลองค์ความรู้การจัดการแปลงอ้อยอย่างเหมาะสมไปสู่เกษตรกรเพิ่มมากขึ้น ให้เกษตรกรสามารถนำความรู้ไปปรับใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตอ้อย และลดต้นทุนการผลิตได้

จาก http://www.naewna.com วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2559

สวพ.2จับมือธกส.ดัน‘Mr.Product’ ถ่ายถอดเทคโนโลยีเพิ่มประสิทธิภาพผลิตภาคเหนือล่าง

นายสมเพชร พรหมเมืองดี ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2(สวพ.2) กรมวิชาการเกษตร กล่าวว่านอกจากการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตที่เหมาะสมกับพื้นที่ซึ่งเป็นภารกิจหลักแล้ว การถ่ายทอดความรู้หรือเทคโนโลยีการผลิตให้เกษตรกรสามารถนำไปปฏิบัติได้ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มีความสำคัญเช่นเดียวกัน โดยปกติแล้ว สวพ.2 จะทำการถ่ายทอดความรู้ผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งการบรรยายให้ความรู้โดยตรง การถ่ายทอดผ่านทางสื่อและสิ่งพิมพ์ การจัดนิทรรศการ รวมทั้งการทำแปลงเรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ภายในศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร และการทำแปลงต้นแบบการผลิตพืชในแปลงของเกษตรกรกระจายอยู่ในแหล่งผลิตพืชที่สำคัญทุกจังหวัด ซึ่งเกษตรกรสามารถไปศึกษาและเรียนรู้ได้ด้วยตัวเองตลอดเวลา โดยเฉพาะองค์ความรู้เรื่องปุ๋ยและวิธีการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญและมีผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตของเกษตรกร สวพ.2 จึงร่วมมือกับฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนล่าง ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในการเผยแพร่ความรู้ให้กับเกษตรกรลูกค้าของ ธ.ก.ส. โดย สวพ.2 จะอบรมให้ความรู้กับพนักงานของ ธ.ก.ส. เพื่อนำไปเผยแพร่อีกทางหนึ่ง

นายดำรงชัย เดชาธิคม ผู้อำนวยการฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนล่าง ธ.ก.ส. กล่าวว่า ธนาคารเล็งเห็นความสำคัญของการใช้ปุ๋ยที่ถูกต้องและการผสมปุ๋ยใช้เอง ซึ่งจะช่วยเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนให้เกษตรกร สอดคล้องกับนโยบายธนาคารในการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพื่อทำให้เกษตรกรลูกค้ามีรายได้จากการขายผลผลิตได้เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้นทุนการผลิต

ธ.ก.ส. มีพนักงานพัฒนาธุรกิจที่ทำหน้าที่ในการให้สินเชื่อและแนะนำ แลกเปลี่ยนความรู้ในอาชีพและการเงิน และพนักงานพัฒนาลูกค้า ที่มีบทบาทในการพัฒนาอาชีพ ให้กับเกษตรกรในทุกๆด้าน มีโอกาสพบปะกับเกษตรกรเป็นประจำอยู่แล้ว ดังนั้นจึงจะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อเกษตรกร หากพนักงานเหล่านี้ได้รับความรู้เรื่องปุ๋ยและการผลิตพืชเศรษฐกิจที่สำคัญได้แก่ ข้าว ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง จนสามารถให้คำแนะนำเบื้องต้นหรือแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเกษตรกร จึงมีแผนจะให้แต่ละสาขาใน 9 จังหวัดภาคเหนือ จำนวน 138 สาขา มีพนักงานมาอบรมเรียนรู้ในโครงการ Mr. Product สาขาละ 2 ราย และมีแผนที่จะดำเนินการโครงการนี้ให้ต่อเนื่องและเพิ่มขีดความสามารถให้พนักงานต่อไป

นายวีรวัฒน์ นิลรัตนคุณผู้เชี่ยวชาญด้านการผลิตพืชที่เหมาะสมกับพื้นที่ ภาคเหนือตอนล่าง กล่าวว่า สวพ.2 ได้บรรยายให้ความรู้เรื่องปุ๋ยอย่างละเอียด เป็นขั้นตอน ตั้งแต่ความสำคัญของปุ๋ย ปุ๋ยคืออะไร ความหมายของสูตรปุ๋ย หน้าที่ของธาตุอาหารพืช จนถึงวิธีการใช้ปุ๋ยอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพซึ่งประกอบด้วยการใช้ปุ๋ยถูกสูตร ถูกเวลา ถูกวิธี และถูกปริมาณและการผสมปุ๋ยใช้เอง และยกตัวอย่างเกษตรกรที่ประสบความสำเร็จจากการใช้ปุ๋ยตามคำแนะนำ พร้อมมอบสไลด์เพื่อใช้ประกอบคำบรรยาย และเอกสารคำแนะนำการใช้ปุ๋ยของกรมวิชาการเกษตรสำหรับพืชเศรษฐกิจที่สำคัญเช่น ข้าว ข้าวโพด อ้อย มันสำปะหลัง และพืชผักต่าง ๆ สำหรับแจกให้กับเกษตรกร

ทั้งนี้ สวพ.2 ได้อบรมพนักงานของ ธ.ก.ส. ฝ่ายกิจการสาขาภาคเหนือตอนล่างไปแล้ว 2 รุ่น จำนวน 300 กว่าราย และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากเกษตรกรลูกค้า ธ.ส.ก. ที่ได้รับความรู้เรื่องปุ๋ยซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการประกอบอาชีพโดยตรงแล้ว ยังช่วยไม่ให้ถูกหลอกซื้อปุ๋ยปลอมหรือปุ๋ยด้อยคุณภาพได้อีกด้วย

จาก http://www.naewna.com วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2559

เลาะรั้วเกษตร : จัดทัพเกษตรใหม่

หลังจากที่ลุ้นระทึกมา 2 สัปดาห์ ในที่สุดโผแต่งตั้งโยกย้ายในกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ก็ผ่านความเห็นชอบของ ครม. ท่ามกลางความสมหวัง ผิดหวัง และงุนงงของใครหลายคน...ก่อนที่โผจริงจะออกมา มีโผลับ ลวง พราง ออกมา 2-3 โผ เล่นเอาผู้มีชื่อตามโผร้อน ๆ หนาวๆ โดยเฉพาะอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์วิณะโรจน์ ทรัพย์ส่งสุข ที่บางโผว่าจะมาดำรงตำแหน่งรองปลัดฯ บ้าง เป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ บ้าง แล้วโยกรองปลัดหญิงแกร่ง บริสุทธิ์ เปรมประพันธ์ไปเป็นอธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์แทน

แต่สุดท้าย อธิบดีฯ วิณะโรจน์ยังยึดเก้าอี้อธิบดีกรมส่งเสริมสหกรณ์ไว้ได้อย่างเหนียวแน่น.....ในขณะที่รองปลัดฯ บริสุทธิ์ สุดท้ายก็ไปลงตัวที่อธิบดีกรมตรวจบัญชีสหกรณ์....โดยโยกอธิบดีฯ สมปองอินทร์ทอง ไปนั่งเก้าอี้เลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม รับงานหนักทวงคืนที่ดิน ส.ป.ก.

อีกตำแหน่งหนึ่งที่คาดหมาย และกล่าวถึงมานาน คือ ตำแหน่งอธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร ที่พูดกันหนาหูว่าน่าจะไม่พ้น ผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ นำชัย พรหมมีชัย....แต่สุดท้ายกลายเป็นอธิบดีกรมวิชาการเกษตร สมชาย ชาญณรงค์กุล ที่ข้ามฝั่งมานั่งเก้าอี้อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร กรมที่เคยอยู่มาเมื่อแรกเริ่มบรรจุเข้ารับราชการในตำแหน่งนักวิชาการเกษตรเมื่อกว่า 30 ปีมาแล้ว และจากมาประมาณ 20 ปี กลับไปคราวนี้ มีเวลาเพียง 2 ปี ท่านจะสร้าง จะสานต่อ จะพัฒนาอะไรอย่างไร คงต้องรีบทำ ถ้าให้ดีปรึกษา คนชื่อ อนันต์ ดาโลดม ก็น่าจะยังได้อยู่....ส่วนผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ มีชัย พรหมมีชัย ถูกโยกจากชั้น4 ลงมาชั้น 2 ในตำแหน่งรองปลัดกระทรวงฯ ก็ผิดหวังไปตามระเบียบ กองเชียร์ทั้งหลายอย่าลืมให้กำลังใจ.....

ส่วนกรมวิชาการเกษตร....ได้ผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ ซึ่งเป็นลูกหม้อเก่าที่จากกรมวิชาการเกษตรไป 2 ปีกลับมาเป็นอธิบดีตาม Road Map เลยทีเดียว กลับมาคราวนี้เตรียมตัวเตรียมใจไว้สำหรับปัญหาคลาสสิกต่างๆ ที่กี่อธิบดีก็แก้ไม่หาย เก่งอย่างไรก็โดนจนได้ โดยเฉพาะ เรื่องสารเคมี....

ส่วนคนที่เป็นไปตามคาด คือ อธิบดีกรมหม่อนไหม อภัย สุทธิสังข์ ที่กลับไปบ้านเดิม กรมปศุสัตว์ นั่งเก้าอี้เบอร์ 1 อธิบดีกรมปศุสัตว์ ที่บางโผว่า ผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ ธนิตย์ เอนกวิทย์จะมาลง แต่สุดท้ายก็ให้ผู้ตรวจฯธนิตย์ ไปลงในตำแหน่งรองปลัดกระทรวงฯ...... ดีใจกับอธิบดีฯอภัย ที่ได้กลับบ้านเดิม หลังจากที่หลงทางไปปลูกหม่อนเลี้ยงไหมเสียพักใหญ่ เกรงแต่ว่าจะกลับมาใส่ยีนส์ สวมหมวกคาวบอย แทนเสื้อผ้าไหมไม่ได้เท่านั้น...ขณะเดียวกันกรมหม่อนไหม ก็ได้ผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ สาวสวย สุดารัตน์ วัชรคุปต์เหล่าวิชยา มานั่งเก้าอี้เบอร์ 1 แทนชายหนุ่มผิวเข้ม ชาวกรมหม่อนไหมปลื้มหรือไม่ไม่ทราบ..ทราบแต่ว่ามีเสียงอุทานว่า... “จริงดิ”....พร้อมทำหน้าว่างเปล่า...

กรมที่ยังอยู่นิ่ง ๆ ไม่มีการเปลี่ยนแปลง คือ กรมการข้าว ของอธิบดีฯ อนันต์สุวรรณรัตน์ กรมพัฒนาที่ดินของ อธิบดีฯ สุรเดชเตียวตระกูล ที่โผลับลวงพรางบอกว่าอธิบดีฯ สุรเดช จะถูกโยกไปเป็นผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ แล้วให้ รองอธิบดีฯ เข้มแข็ง ยุติธรรมดำรงขึ้นแทน แต่รองอธิบดี เข้มแข็ง ดีใจได้เพียงวันเดียว...เพราะโผจริงยังไม่ขยับเช่นเดียวกับ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร จริยา สุทธิไชยา ที่โผให้มาดำรงตำแหน่งเลขาธิการฯ แทน เลขาฯ สุรพงษ์ เจียสกุล ที่กลับกระทรวงเกษตรฯ ไปดำรงตำแหน่งรองปลัดกระทรวงฯ แต่โผจริงยังไม่แต่งตั้งเลขาธิการ สศก. เสียฉิบ....

กรมฝนหลวงและการบินเกษตรซึ่งอธิบดีฯเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ จะเกษียณอายุราชการ ก็น่าจะต้องมีการแต่งตั้งคนมาแทน แต่ตามโผลับลวงพราง บอกว่ามี 2 ชื่อ คือ รองอธิบดีกรมฝนหลวงฯสุรสีห์ กิตติมณฑล และ รองอธิบดีกรมชลประทาน ไพเจน มากสุวรรณ ถ้ามี 2 ท่านนี้จริงก็คงยังเคลียร์ไม่ลงตัว รอลุ้นระทึกกันต่อไป...ขอให้ชาวกรมฝนหลวงฯ โชคดี ได้คนที่อยากได้....

กรมที่ออกจะเหนือความคาดหมาย คือ กรมชลประทาน ที่อธิบดีคนใหม่ที่มาแทน อธิบดีฯ สุเทพ น้อยไพโรจน์ ซึ่งจะเกษียณอายุราชการ ชื่อ สัญชัย เกตุวรชัย ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมโยธา (ด้านวางแผนและโครงการ)เป็นอธิบดีท่านแรกที่ไม่ได้มาจากรองอธิบดี ไม่ได้มาจากรองปลัดฯ ไม่ได้มาจากผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ แต่มาจากสายวิชาการตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งเทียบเท่าอธิบดีอยู่แล้ว....ท่านคงเก่งจริงแหละ....รอดูว่าจะเอา “น้ำ” อยู่หรือไม่

การจัดทัพใหม่ของกระทรวงเกษตรฯ ภายใต้การนำของแม่ทัพ พลเอกฉัตรชัยสาริกัลยะ ในครั้งนี้ยังไม่สมบูรณ์ ยังรบไม่ขาด....ต้องรอดูและลุ้นระทึกต่อไปกับตำแหน่ง อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร และตำแหน่งผู้ตรวจราชการกระทรวงฯ ที่ว่างลงรวมทั้งห้ามกะพริบตากับตำแหน่งปลัดกระทรวงเกษตรฯ ว่าจะอยู่หรือไป

จาก http://www.naewna.com วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2559

เร่งสรุป‘อ่างน้ำกิ-น้ำกอน’ ได้ผลศึกษาEIAในปีนี้แก้ท่วม-แล้ง‘น่าน’

ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทานได้ศึกษาความเหมาะสมและผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการอ่างเก็บน้ำน้ำกิ พร้อมระบบส่งน้ำ ต.ผาทอง อ.ท่าวังผา จ.น่าน และโครงการอ่างเก็บน้ำน้ำกอน ต.เชียงกลาง อ.เชียงกลาง จ.น่าน ซึ่งคาดว่าจะศึกษาแล้วเสร็จภายในปี 2559

สำหรับอ่างเก็บน้ำน้ำกิ จะสร้างกั้นลำน้ำกิ ลำน้ำสาขาของแม่น้ำน่าน เป็นอ่างขนาดกลางความจุ 52.31 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) โดยจะก่อสร้างพร้อมกับระบบส่งน้ำ มีพื้นที่ได้รับประโยชน์ในฤดูฝน31,675 ไร่ ฤดูแล้ง 12,403 ไร่ ครอบคลุม 42 หมู่บ้าน8 ตำบล ใน อ.ท่าวังผา ได้แก่ เทศบาลตำบลท่าวังผา ต.ผาทอง ต.ผาตอ ต.ริม ต.ป่าคา ต.ศรีภูมิ ต.แสนทองและ ต.ตาลชุม งบก่อสร้างประมาณ 2,957 ล้านบาท ส่วน อ่างเก็บน้ำน้ำกอน จะสร้างกั้นลำน้ำกอน ลำน้ำสาขาของแม่น้ำน่าน และเป็นอ่างขนาดกลางเช่นกัน แต่มีความจุถึง 73.73 ล้าน ลบ.ม. โดยจะก่อสร้างพร้อมกับระบบส่งน้ำ มีพื้นที่ได้รับประโยชน์ฤดูฝน 77,000 ไร่ และฤดูแล้ง 31,573 ไร่ ใช้งบก่อสร้างประมาณ 3,372 ล้านบาท

ทั้งนี้ที่ผ่านมา กรมชลประทานได้จัดเวทีประชาคมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในการสร้างอ่างเก็บน้ำน้ำกิ และอ่างเก็บน้ำน้ำกอน ปรากฏว่า ประชาชนในพื้นที่ มีความต้องการให้ก่อสร้างอ่างฯดังกล่าว อย่างเร่งด่วน เนื่องจากประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ ในฤดูแล้ง และเวลาที่ฝนทิ้งช่วงอย่างรุนแรง ส่วนในฤดูฝนก็ประสบปัญหาน้ำหลากเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรและที่อยู่อาศัยซ้ำซากเป็นประจำเกือบทุกปี

สำหรับประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำทั้ง 2 แห่งดังกล่าวนั้น นอกจากผลกระทบโดยตรงในการแก้ปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูฝน และบรรเทาปัญหาน้ำท่วมในฤดู ตลอดจนผลประโยชน์ด้านการเกษตร รวมทั้งการอุปโภคบริโภคแล้วยังจะช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้กับผืนป่าต้นน้ำ เป็นแหล่งน้ำสำหรับดับไฟป่า เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ เกิดอาชีพประมงพื้นบ้าน การเลี้ยงปลาในกระชัง สร้างรายได้เสริมให้กับชุมชน ตลอดจนยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยว พักผ่อนแห่งใหม่ของ จ.น่าน รวมทั้งยังสามารถที่จะสร้างโรงไฟฟ้าพลังน้ำได้เนื่องจากอ่างทั้ง 2 แห่งมีระดับความสูงเพียงพอ

จาก http://www.naewna.com วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2559

ซื้อไฟฟ้าทดแทนทะลัก

“พล.อ.อนันตพร” สั่งเกาะติดแผนพลังงานทดแทนหลังพบยอดซื้อไฟฟ้า 2 ปี พุ่ง 9,000 เมกะวัตต์

พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการติดตามการดำเนินงานของแผนบูรณาการพลังงานระยะยาว 5 แผน โดยเฉพาะแผนพัฒนาพลังงานทดแทน พ.ศ. 2558-2579 (AEDP 2015) ซึ่งปัจจุบันพบว่ามีการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนค่อนข้างมาก

โดยในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาหรือปี 2558-2559 ภาครัฐมีพันธะผูกพันซื้อขายไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนแล้ว 9,000 เมกะวัตต์ ซึ่งสิ่งสำคัญจะต้องคำนึงถึงการพัฒนาของเทคโนโลยีในอนาคตที่จะมีต้นทุนที่ต่ำลงและก่อให้เกิดความมั่นคงด้านพลังงาน

“แม้ว่าการดำเนินตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศ (พีดีพี 2015) จะมีอุปสรรคบ้างทั้งเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินที่จะต้องเลื่อนออกไป รวมทั้งการบริหารจัดการเชื้อเพลิงต่างๆ แต่ขณะนี้ยังไม่มีการปรับแผนใดๆ แต่ได้ให้ไปติดตามแผนพลังงานทดแทนในประเด็นความมั่นคง และการทำให้เกิดความสมดุลตลอดจนต้องเป็นพลังงานที่ผลิตได้ตลอด 24 ชม. และไม่กระทบกับต้นทุนค่าไฟ เพราะปัจจุบันภาครัฐได้รับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนแล้ว 9,000 เมกะวัตต์ จากแผนที่กำหนดซื้อไฟฟ้า 1.6 หมื่นเมกะวัตต์ในปี 2579” พล.อ.อนันตพร กล่าว

นายทวารัฐ สูตะบุตร ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า สนพ.ติดตามแผนพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะประเด็นในเรื่องต้นทุนการผลิตไฟฟ้า เพื่อนำมาใช้ในการปรับแนวทางการรับซื้อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพราะพลังงานทดแทนบางประเภท เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ (โซลาร์เซลล์) ที่เทคโนโลยีเปลี่ยนเร็วและมีแนวโน้มต้นทุนลดลง แต่ก็ต้องยอมรับว่าการผลิตไฟฟ้ายังไม่เสถียรพอ เพราะผลิตได้เฉพาะกลางวัน จึงยังไม่ตอบโจทย์ของระบบการผลิตไฟฟ้า และหากจะต้องลงทุนเพื่อให้มีระบบกักเก็บพลังงานก็ต้องลงทุนเพิ่มอีก 5-8 เท่าตัว

 “ในเร็วๆ นี้จะมีการเปิดรับฟังความคิดเห็นถึงแนวทางการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนแบบผสมผสาน หรือ (SPP-Hybrid) ที่มีหลักการ คือ

1.จะต้องมีการผสมผสานเชื้อเพลิงต่างๆ ได้ เช่น ผสมแสงอาทิตย์กับพลังงานชีวมวล ฯลฯ 2.การขายไฟจะต้องเป็นแบบสัญญา Firm และ 3.มีระบบกักเก็บพลังงาน ซึ่งแนวทาง ดังกล่าวจะทำให้เกิดความมั่นคงแก่พลังงานทดแทนมากขึ้น”นายทวารัฐ กล่าว

นายเริงชัย คงทอง ผู้อำนวยการฝ่ายควบคุมระบบไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า กฟผ.มีแผนในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนเช่นกัน โดยจะขอโควตาผลิตในช่วงปี 2560-2569 ประมาณ 1,500-2,000 เมกะวัตต์ จากปัจจุบันที่ กฟผ.ผลิตพลังงานทดแทนในระบบ 3,000 เมกะวัตต์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ

จาก http://www.posttoday.com  วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2559

ธุรกิจเอทานอล : การวางแผนใช้วัตถุดิบสร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันได้ในระยะสั้น 

           ปริมาณการใช้เอทานอลของไทยมีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2559 มีปริมาณการใช้อยู่ที่ 3.59 ล้านลิตร/วัน ขยายตัวร้อยละ 2.3 (YoY) และสูงเกินเป้าหมาย ปี 2559 ที่กำหนดไว้ที่ 3.55 ล้านลิตร/วัน สะท้อนให้เห็นว่า ภายใต้สถานการณ์ราคาน้ำมันโลกที่ยังคงอยู่ในระดับเฉลี่ย 37.00 ดอลลาร์ฯ/บาร์เรล (ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2559) ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่ไม่สูง ปริมาณการใช้เอทานอลยังคงเพิ่มขึ้น จากแรงส่งเสริมเชิงนโยบายในการกำหนดโครงสร้างราคาเชื้อเพลิงของภาครัฐเป็นหลัก ทั้งนี้ ในระยะข้างหน้า ปริมาณการใช้เอทานอลของไทยยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จากนโยบายส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนของทางภาครัฐและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่ปรับตัวตามสถานการณ์ด้านพลังงานที่เปลี่ยนไป โดยมีรายละเอียดที่น่าสนใจ ดังนี้

          1) นโยบายภาครัฐที่ผลักดันการใช้เอทานอลเพิ่มสูงขึ้นทุกปี: ผ่านการอุดหนุนราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ (ที่มีเอทานอลเป็นส่วนผสม) เพื่อให้โครงสร้างราคาแก๊สโซฮอล์อยู่ในระดับต่ำ ทำให้มีความได้เปรียบด้านราคาอย่างชัดเจน จนจูงใจให้ผู้บริโภคหันมาใช้น้ำมันในกลุ่มแก๊สโซฮอล์เพิ่มมากขึ้น เพื่อให้เป็นไปตามแผนบริหารจัดการน้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศระยะยาวปี 2558-2579 (Oil Plan 2015) ที่กำหนดเป้าหมายการใช้เอทานอลไว้ที่ 11.3 ล้านลิตร/วัน จากปัจจุบันที่ปริมาณการใช้เอทานอลผสมในน้ำมันเชื้อเพลิงเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3.59 ล้านลิตร/วัน (ในช่วงครึ่งแรกของปี 2559) เพื่อส่งเสริมการใช้วัตถุดิบทางการเกษตรภายในประเทศและยกระดับรายได้เกษตรกรไทย

          2) ความต้องการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์มีแนวโน้มปรับเพิ่มสูงขึ้น: โดยในช่วงที่ผ่านมา พบว่า ปริมาณการใช้ก๊าซ LPG เพื่อเป็นเชื้อเพลิงในการขับขี่มีแนวโน้มลดลง นับตั้งแต่ราคาน้ำมันในประเทศปรับลดลงตั้งแต่ช่วงปลายปี 2557 ตามทิศทางราคาน้ำมันในตลาดโลก จนทำให้ช่วงห่างระหว่างราคาน้ำมันกับก๊าซ LPG แคบลง ประเด็นนี้จูงใจให้ผู้บริโภคหันมาใช้น้ำมัน เพื่อการขับขี่รถยนต์ส่วนตัวเพื่อเดินทางทำงานหรือท่องเที่ยวมากขึ้น ประกอบกับกลุ่มผู้ใช้ก๊าซ LPG บางส่วน หันมาใช้น้ำมันทดแทน ส่งผลให้ปริมาณการจำหน่ายน้ำมัน โดยเฉพาะในกลุ่มแก๊สโซฮอล์ปรับเพิ่มสูงขึ้น โดยในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2559 ปริมาณการจำหน่ายน้ำมันในกลุ่มแก๊สโซฮอล์พุ่งไปอยู่ที่ 27.2 ล้านลิตร/วัน (+11.7%) ซึ่งกลุ่มที่มีอัตราการขยายตัวเพิ่มมากที่สุด ได้แก่ แก๊สโซฮอล์ E10 ออกเทน 95 (+22.5%) รองลงมาคือ E20 (+17.7%) ตามลำดับ สวนทางกับปริมาณการจำหน่ายก๊าซ LPG ที่ลดลงมาอยู่ที่ 4.0 ล้านลิตร/วัน (-16.4%)

          หากมองไปในระยะข้างหน้า ด้วยทิศทางราคาน้ำมันที่น่าจะมีแนวโน้มปรับเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประมาณการไว้ว่า ราคาน้ำมันดิบดูไบทั้งปี 2559 น่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 41 ดอลลาร์ฯ/บาร์เรล ในขณะที่ปี 2560 นั้น ราคาน่าจะขยับขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 48 ดอลลาร์ฯ/บาร์เรล ในประเด็นนี้น่าจะกระตุ้นให้ผู้บริโภคหันมาเติมน้ำมันที่มีราคาต่ำกว่า ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในกลุ่มแก๊สโซฮออล์ที่มีส่วนผสมของเอทานอลในสัดส่วนที่สูง อาทิ E20 หรือ E85 เป็นต้น ดังนั้น จึงคาดว่าความต้องการใช้น้ำมันในกลุ่มแก๊สโซฮอล์น่าจะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

          3) ปริมาณรถยนต์สะสมที่เพิ่มขึ้น: ปัจจุบันจำนวนรถจดทะเบียนสะสมที่ใช้น้ำมันเบนซิน (แม้ว่าจะจดทะเบียนใช้น้ำมันเบนซิน แต่ก็สามารถเลือกเติมน้ำมันได้ 2 ประเภท ทั้งในกลุ่มน้ำมันเบนซินและน้ำมันแก๊สโซฮออล์) มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเฉลี่ย 4-5 แสนคัน/ปี โดยในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2559 มียอดจดทะเบียนสะสมอยู่ที่ 25.36 ล้านคัน ดังนั้น จากอัตราการเพิ่มขึ้นของปริมาณรถยนต์สะสม ก็เป็นปัจจัยที่บ่งชี้ได้ว่า ปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงทั้งในส่วนของเบนซินและแก๊สโซฮฮล์ น่าจะมีทิศทางที่ปรับเพิ่มขึ้นตามไปด้วยเช่นกัน

          จากปัจจัยดังกล่าวในข้างต้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ปริมาณการใช้เอทานอลในปี 2559 น่าจะยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ไต่ไปอยู่ที่ระดับ 3.7 ล้านลิตร/วัน และมีโอกาสขยับเพิ่มขึ้นเป็น 3.9-4.0 ล้านลิตร/วัน ในปี 2560 ตามความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น

          อนึ่ง ประเด็นที่น่าจับตาในระยะต่อไป คือ การเปลี่ยนแปลงเชิงนโยบายเกี่ยวกับเชื้อเพลิงของภาครัฐ ยกตัวอย่างเช่น นโยบายยกเลิกการใช้แก๊สโซฮอล์ 91 ในปี 2561 หลังจากยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91 ไปแล้วเมื่อปี 2556 ซึ่งจะทำให้ชนิดน้ำมันที่จำหน่ายในไทยปรับลดลง และทำให้มีหัวจ่ายน้ำมันว่างและปรับเปลี่ยนไปเป็นหัวจ่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ E20 หรือ E85 แทน ซึ่งจะช่วยเพิ่มความต้องการใช้เอทานอลในประเทศได้เพิ่มขึ้น และส่งผลดีต่อโรงงานผู้ผลิตเอทานอลที่ปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 21 รายรวมกำลังการผลิต 4.44 ล้านลิตร/วัน และที่กำลังก่อสร้างอีก 2 ราย รวมกำลังการผลิต 1.22 ล้านลิตร/วัน โดยหากมีการยกเลิกแก๊สโซฮอล์ 91 ตามแผนที่ได้วางไว้ ก็น่าจะทำให้มีผู้ใช้รถยนต์บางส่วนหันไปเติมแก๊สโซฮอล์ 95 รวมถึง E20 และ E85 เพิ่มขึ้น ตามความสะดวกในการหาสถานีบริการน้ำมัน รวมทั้งแรงจูงใจจากส่วนต่างราคาระหว่างน้ำมันแต่ละประเภท ทั้งนี้ หากผู้บริโภคหันไปใช้แก๊สโซฮอล์ในกลุ่มที่มีสัดส่วนของการผสมเอทานอลในปริมาณสูงอย่าง E85 หรือ E20 มากขึ้น ก็จะทำให้แผนการใช้เอทานอลที่ภาครัฐวางไว้ เข้าใกล้เป้าหมายได้เร็วขึ้น

          อีกประเด็นหนึ่งก็คือ การแข่งขันการพัฒนาเทคโนโลยีในตลาดรถยนต์ เพราะอาจมีผลกระทบต่อความต้องการใช้เอทานอลในอนาคต จะเห็นได้ว่า ปัจจุบันรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินและแก๊สโซฮฮล์เริ่มมีคู่แข่งมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล รถยนต์ไฮบริด รวมถึงรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่คาดว่าจะเข้ามามีบทบาทในตลาดรถยนต์ในอนาคตซึ่งเป็นเทรนด์ทั่วโลก แต่กลุ่มนี้ก็ยังมีข้อจำกัดบางประการในปัจจุบัน อาทิ ราคารถยนต์ สถานีบริการ ระยะเวลาในการชาร์จไฟฟ้า รวมถึงค่าบำรุงรักษา และฐานลูกค้ายังเป็นกลุ่มเฉพาะ (Niche Market) ทั้งนี้ แม้ว่าเทรนด์รถยนต์ในอนาคต จะไม่ใช่คู่แข่งที่เข้ามาตีตลาดหลักอย่างชัดเจน และส่งผลต่อความต้องการใช้เอทานอลในระยะสั้น แต่หากมีการพัฒนาเทคโนโลยีจนลดข้อจำกัดต่างๆ ได้ จนทำให้เกิดความนิยมในรถยนต์ประเภทดังกล่าวมากขึ้นเป็นลำดับ ประกอบกับนโยบายสนับสนุนจากภาครัฐที่จูงใจให้เกิดการใช้รถยนต์ในกลุ่มนี้มากขึ้น อาทิ มาตรการทางภาษี เป็นต้น ในที่สุดแล้วก็อาจจะกระทบต่อความต้องการใช้เอทานอลในระยะถัดๆ ไป

                    ภายใต้ความต้องการใช้เอทานอลที่เพิ่มสูงขึ้น

          แต่การวางแผนใช้วัตถุดิบอาจส่งผลต่อศักยภาพการเติบโตของผู้ประกอบการที่แตกต่างกัน

          แม้ว่าความต้องการใช้เอทานอลที่มีแนวโน้มปรับเพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลบวกต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการผลิตเอทานอล ในแง่ของการผลิตเพื่อป้อนเข้าสู่ตลาดได้ตามความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น แต่ศักยภาพในการเติบโตของผู้ประกอบการแต่ละรายอาจจะแตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขในการเลือกใช้วัตถุดิบ กล่าวคือ ปัจจุบันวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตเอทานอลของไทย จะใช้กากน้ำตาลเป็นหลัก รองลงมาคือ มันสำปะหลังและน้ำอ้อย ตามลำดับ ทั้งนี้ หากมองแนวโน้มสัดส่วนการใช้วัตถุดิบต่างๆ เพื่อผลิตเอทานอล จะพบว่า ในระยะสั้นสัดส่วนการใช้กากน้ำตาลเพื่อผลิตเอทานอล มีแนวโน้มปรับลดลง ในขณะที่สัดส่วนการใช้มันสำปะหลังมีแนวโน้มปรับเพิ่มขึ้น เนื่องจาก

          กากน้ำตาล ค่อนข้างได้รับผลกระทบจากภาวะภัยแล้ง ตามปริมาณผลผลิตอ้อยที่ลดลง และส่งผลให้ราคาปรับเพิ่มสูงขึ้น กดดันผู้ประกอบการที่ใช้วัตถุดิบกากน้ำตาลและน้ำอ้อยเพื่อการผลิตเอทานอลอยู่ไม่น้อย

          ในขณะที่มันสำปะหลัง ก็กำลังประสบปัญหาราคาตกต่ำ เนื่องจากตลาดหลักอย่างจีน ลดการนำเข้า จากมาตรการระบายข้าวโพดในสต๊อก กฎระเบียบใหม่ในการนำเข้าของจีนที่เข้มงวดมากขึ้น รวมถึงคู่แข่งอย่างเวียดนาม ที่เข้ามาตีตลาด ทำให้การส่งออกมันสำปะหลังของไทย โดยเฉพาะมันเส้นมีแนวโน้มหดตัว แต่ภายใต้ความท้าทายนี้กลับส่งผลดีต่อผู้ผลิตเอทานอลที่ใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบในการผลิตมากขึ้น เนื่องจากไม่ต้องประสบภาวะขาดแคลนวัตถุดิบ และเกิดความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิต

          แม้ว่าสัดส่วนการใช้กากน้ำตาลจะขยับเพิ่มมากขึ้นจากระดับ 64.7 ในปี 2558 มาอยู่ที่ร้อยละ 66.2 ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2559 ซึ่งอาจจะเป็นผลมาจากในช่วงต้นปีเป็นช่วงรอยต่อของฤดูการเก็บเกี่ยวและหีบอ้อย ทำให้มีผลผลิตมากกว่าช่วงอื่นๆ แต่คาดว่า ภายหลังจากที่กากน้ำตาลต้องเผชิญกับผลผลิตที่ลดลงจากภาวะภัยแล้ง ประกอบกับในช่วงปลายปีเมื่อถึงช่วงฤดูเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังออกมา และยอดการส่งออกมันสำปะหลังยังมีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง สัดส่วนการใช้มันสำปะหลังเพี่อการผลิตเอทานอลภายในประเทศ น่าจะมีโอกาสปรับเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องจากปี 2558

          ดังนั้น หากวิเคราะห์การแข่งขันในตลาดในระยะสั้น ก็จะพบว่า การวางแผนใช้วัตถุดิบเพื่อการผลิต น่าจะส่งผลต่อศักยภาพในการแข่งขันของผู้ประกอบการแต่ละรายที่แตกต่างกันออกไป กล่าวคือ

          กลุ่มที่คาดว่าจะมีศักยภาพในการแข่งขันสูง ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตหรือโรงงานที่สามารถปรับเปลี่ยนวัตถุดิบในการผลิตได้ทั้งสองประเภท ไม่ว่าจะเป็นกากน้ำตาลหรือมันสำปะหลัง เนื่องจากมีความยืดหยุ่นสูงและได้เปรียบด้านวัตถุดิบ กล่าวคือ หากวัตถุดิบอย่างใดอย่างหนึ่งมีราคาต่ำ ก็สามารถปรับเปลี่ยน (Switching) มาใช้วัตถุดิบอีกอย่างหนึ่งทดแทนได้ ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงนี้ที่กากน้ำตาลอยู่ในภาวะขาดแคลนและราคาปรับสูงขึ้น ก็สามารถปรับเปลี่ยนมาใช้มันสำปะหลังทดแทน เนื่องจากราคามันสำปะหลังอยู่ในระดับต่ำ เป็นต้น ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับเทคโนโลยี เครื่องจักรที่ใช้ผลิตและความพร้อมในการจัดหาวัตถุดิบเพื่อป้อนโรงงาน

          กลุ่มที่เผชิญความท้าทายด้านการแข่งขัน ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตหรือโรงงานเอทานอลที่ใช้กากน้ำตาล รวมถึงน้ำอ้อยเป็นวัตถุดิบ โดยเฉพาะกลุ่มที่ไม่มีวัตถุดิบต้นน้ำ (โรงงานน้ำตาล) เป็นของตนเอง ซึ่งกลุ่มนี้อาจจะต้องประสบกับราคาวัตถุดิบที่ปรับเพิ่มสูงขึ้นในระยะถัดไป อย่างไรก็ดี สำหรับกลุ่มผู้ผลิตหรือโรงงานที่มีสายการผลิตต้นน้ำเป็นของตนเอง ถือว่ายังค่อนข้างได้เปรียบมากกว่า เนื่องจากการตั้งราคามีความยืดหยุ่น

          กลุ่มที่คาดว่าจะเข้ามามีบทบาทในระยะถัดไป ได้แก่ กลุ่มผู้ผลิตหรือโรงงานเอทานอลที่ใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบ จะเห็นได้ว่า กลุ่มโรงงานผลิตเอทานอลที่อยู่ระหว่างดำเนินการก่อสร้าง เป็นกลุ่มที่ใช้มันสำปะหลังเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิต มีกำลังการผลิตสูงถึง 1.02 ล้านลิตร/วัน ซึ่งคาดว่าเมื่อสร้างเสร็จและเปิดดำเนินการ น่าจะอยู่ในช่วงราคามันสำปะหลังยังคงอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้มีความได้เปรียบทางด้านต้นทุนการผลิต

          แต่หากวิเคราะห์ถึงศักยภาพในการแข่งขันในระยะยาวนั้น กลุ่มที่มีศักยภาพในการแข่งขันมากที่สุด ยังคงอยู่ในกลุ่มของผู้ผลิตหรือโรงงานที่มี By Product เป็นของตนเอง (โรงงานน้ำตาล ลานมัน) หรือกลุ่มที่มีทำเลที่ตั้งที่ใกล้แหล่งวัตถุดิบมากที่สุด รวมถึงกลุ่มผู้ผลิตที่มีการสานสัมพันธ์หรือข้อตกลงทางธุรกิจกับผู้ผลิตกากน้ำตาล หรือมันสำปะหลัง ที่จะสามารถป้อนวัตถุดิบเข้าสู่โรงงานได้อย่างสม่ำเสมอ เนื่องด้วยในการดำเนินธุรกิจเอทานอลนั้น ต้นทุนวัตถุดิบคิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 70 ของต้นทุนการผลิตทั้งหมด ดังนั้น การเข้าถึงแหล่งวัตถุดิบ จะทำให้เกิดความได้เปรียบทางธุรกิจมากกว่า ทั้งในเรื่องต้นทุนการขนส่งที่ต่ำ และลดความเสี่ยงด้านวัตถุดิบที่จะป้อนเข้าสายการผลิต นอกเหนือจากปัจจัยด้านราคาวัตถุดิบที่จะมีผลต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการในระยะสั้น

          จะเห็นได้ว่า แม้ว่าราคาวัตถุดิบจะเป็นปัจจัยหนึ่งที่สร้างความได้เปรียบด้านต้นทุนการผลิตให้แก่ผู้ผลิตหรือโรงงานเอทานอลที่สามารถปรับเปลี่ยนวัตถุดิบในการผลิตได้ แต่ความได้เปรียบที่เกิดขึ้นถือเป็นความได้เปรียบในระยะสั้น เพราะหากมองถึงปัจจัยที่สร้างความได้เปรียบด้านการแข่งขันในธุรกิจเอทานอลในระยะยาวแล้ว พบว่า ยังขึ้นอยู่กับการเข้าถึงวัตถุดิบเพื่อรักษากำลังการผลิตให้ได้อย่างต่อเนื่องเป็นสำคัญ

          นอกเหนือจากประเด็นดังกล่าว สิ่งที่ต้องติดตามในระยะต่อไปก็คือ การแข่งขันในตลาดที่อาจจะเพิ่มดีกรีความร้อนแรงมากขึ้น จากการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ ในขณะเดียวกัน อาจจะต้องติดตามด้วยว่า ในระยะข้างหน้าหากเกิดอุปทานเอทานอลส่วนเกินมาก ผู้ประกอบการและภาครัฐจะผลักดันอุปทานส่วนเกินนี้ไปสู่ตลาดส่งออกหรือไม่ ซึ่งประเด็นนี้ ก็กำลังเป็นที่สนใจของผู้ประกอบการ และภาครัฐก็กำลังอยู่ในช่วงพิจารณาปรับแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งออกเอทานอลของไทย (อาทิ ปริมาณผลผลิตส่วนเกินของแต่ละบริษัทยังน้อย การนำผลผลิตส่วนเกินเพื่อส่งออกเพียงลำพัง อาจไม่คุ้มกับต้นทุนการบริหารจัดการซึ่งรวมถึงค่าขนส่งและค่าเก็บสินค้ารอจัดส่ง จึงมีแนวคิดในการศึกษาการวมผลผลิตส่วนเกินจากหลายบริษัทเพื่อส่งออกร่วมกัน) ซึ่งหากสำเร็จ ก็คาดว่าน่าจะส่งผลเชิงบวกต่อผู้ประกอบการเอทานอล ที่จะสามารถขยายช่องทางการจำหน่ายไปสู่ตลาดต่างประเทศได้

จาก http://www.bangkokbiznews.com  วันที่ 1 กันยายน 2559

กรมฝนหลวงลุยเติมน้ำเขื่อนภูมิพล ตั้งเป้าเพิ่มปริมาณ5พันล้านลบ.ม.

ที่หน่วยปฎิบัติการฝนหลวง จ.ตาก นายเลอศักดิ์ ริ้วตระกูลไพบูลย์ อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยภายหลังประชุมติดตามการปฎิบัติงานศูนย์ฝนหลวงภาคเหนือใน จ.เชียงใหม่ จ.ตาก จ.พิษณุโลก ว่าได้ปรับแผนทำฝนหลวงเพื่อเติมน้ำต้นทุน ตั้งแต่ 1 ก.ย.-15 ต.ค. โดยเฉพาะเขื่อนภูมิพล ที่มีน้ำใช้การ 800 กว่าล้านลบ.ม. คิดเป็น 8% โดยสองสัปดาห์แรกเดือนก.ย. ต้องเฝ้าติดตามสภาพอากาศทำฝนหลวงตลอด 24 ชม.โดยไม่หยุดพัก ช่วงชิงสภาพอากาศช่วงร่องฝนขยับพาดผ่านภาคเหนือตอนล่าง หากมีพายุจรเข้าด้วยทำให้เพิ่มปริมาณน้ำเขื่อนภูมิพล อาจได้ถึง 5 พันล้านลบ.ม.

"รมว.เกษตรฯเน้นให้ทำฝนหลวงพื้นที่เขื่อนภูมิพล ตลอด 24 ชม. ช่วยพื้นที่เกษตร จ.ตาก กำแพงเพชร นครสวรรค์ วันนี้เปิดศูนย์ปฎิบัติการ จ.ตาก โดยใช้เครื่องเอยู 23 ของกองทัพอากาศ 2 ลำยิงพุลสารความชื้น เพิ่มปริมาณฝน ให้ผ่านแล้งนี้ไปได้ ต้นฤดูฝนน้ำไหลเข้าเขื่อนมีปริมาณน้อย เนื่องจากพื้นที่ลุ่มต่ำตามลำน้ำปิงแห้งแล้งมา 2 -3 ปีน้ำไหลเข้าเขื่อนไม่สม่ำเสมอ ขณะนี้ถ้าฝนหลวงมาช่วยเขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์ ให้ได้ 8 พันกว่าล้านลบ.ม. วางแผนปลูกพืชฤดูแล้ง 1 พ.ย. ส่วนจะให้ปริมาณน้ำกลับศักยภาพเดิม ใช้เวลา 2-3 ปี หลังจากปล่อยน้ำทิ้งไปรัฐบาลที่แล้ว"

นายเลอศักดิ์ กล่าวว่า จะใช้เทคนิกพิเศษวิธียิงพุลช่วยเพิ่มปริมาณก้อนเมฆเพิ่มฝนให้มากขึ้น ซึ่งที่ตั้งเขื่อนภูมิพลอับฝน ติดแนวเขาตะนาวศรี  ทั้งนี้เพิ่มหน่วยฝนหลวง ที่อีสานตอนใต้ เป็นห่วงเขื่อนอุบลรัตน จุฬาภรณ์ ลำตะคอง ลำแซะ มูลบน น้ำใช้การน้อยวิฤกติ  แม้ขณะนี้เข้าสู่ฤดูฝน แต่ภาวะลานินย่า เข้าไทย ปลายเดือนก.ย. ต้องอธิบายชาวนาอย่าเห็นน้ำจะปลูกข้าวนาปรังมาก ยังต้องประยัดน้ำก่อนช่วยกันสักปีสองปี ยังทำไม่ได้เต็มพื้นที่ นาปรังรอบสองปลูกได้ 2 ล้านไร่ รัฐบาลมีนโยบายช่วยให้ไปปลูกพืชทดแทน  ขณะนี้ทำวิจัยกองทัพอากาศ ทำฝนหลวงในพื้นที่จำกัดใช้วิธียิงจรวดจากพื้นดิน มาช่วยเสริมฝนตกได้ตรงจุด

จาก http://www.naewna.com วันที่ 1 กันยายน 2559

กรมชลประทานตะลุยสร้างเขื่อน แก้น้ำยมท่วม-รับเขตศก.ชายแดน

กรมชลประทานเร่งสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง-เล็กรับภัยแล้ง-น้ำท่วม ลุยสำรวจพื้นที่สร้างเขื่อนน้ำปี้ พะเยาแก้ปัญหาแม่น้ำยมท่วมพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง อ่างกั้นแม่น้ำน่านตอนบนและในพื้นที่สระแก้วหลายแห่งรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน

รายงานข่าวจากกรมชลประทาน เปิดเผย"ประชาชาติธุรกิจ" ว่า จากกรณีแม่น้ำยมไม่มีเขื่อนเก็บกักน้ำ เพราะมีการคัดค้านการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ที่จะทำลายป่าสักทองผืนใหญ่ของประเทศ ทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมตั้งแต่จังหวัดแพร่ลงมาถึงจังหวัดสุโขทัยเกือบทุกปี แม้รัฐบาลจะมีการศึกษาพื้นที่สร้างแห่งใหม่เป็นอ่างเก็บน้ำยมบน-ยมล่างแทน แต่ยังต้องใช้เวลาศึกษาอีกพอสมควร เพื่อให้เกิดความรอบคอบ ล่าสุดปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ รองอธิบดีกรมชลประทาน ได้เดินทางไปตรวจสอบปริมาณการไหลของน้ำช่วงฤดูฝนและพื้นที่ก่อสร้างเขื่อนน้ำปี้ อ.ปง จ.พะเยา ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริ ก่อนสร้างอย่างเป็นทางการในปี 2560 หลังจากเขื่อนแห่งนี้ที่มีขนาดความจุ 100 กว่าล้าน ลบ.ม. ผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีและด้านสิ่งแวดล้อม รวมทั้งประชาชนในพื้นที่ต้องการให้ภาครัฐเร่งสร้างเพื่อแก้ปัญหาน้ำในการอุปโภคบริโภคที่ค่อนข้างขาดแคลนในฤดูแล้งและหากสร้างเสร็จจะตัดกำลังน้ำส่วนหนึ่งไม่ให้ไหลท่วมพื้นที่ตอนล่างของแม่น้ำยมได้พอสมควร

รายงานข่าวกล่าวต่อว่าในปลายเดือนสิงหาคมนี้ผู้บริหารระดับสูงของกรมชลประทานจะมีการเดินทางไปตรวจสอบพื้นที่ที่เหมาะสมการสร้างอ่างเก็บน้ำหลายแห่งในจังหวัดสระแก้ว รองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ประกาศจัดตั้งขึ้นมาอีกด้วย นอกจากนี้ในเดือนกันยายนจะมีการเดินทางไปสำรวจพื้นที่การก่อสร้างการสร้างอ่างเก็บน้ำกั้นลำน้ำกิและลำน้ำกอนที่เป็นลำน้ำสาขาของแม่น้ำน่านที่จังหวัดน่านก่อนไหลลงเขื่อนสิริกิติ์ที่จังหวัดอุตรดิตถ์อีกด้วยว่าพื้นที่จุดไหนจะมีความเหมาะสมในการก่อสร้างมากที่สุด หากมีการก่อสร้างแล้วเสร็จจะช่วยประชาชนในลุ่มน้ำน่านตอนบนได้เป็นอย่างมาก

ทางด้านนายสุเทพ น้อยไพโรจน์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในช่วงนี้ว่า ปริมาณน้ำใน 33 เขื่อนใหญ่มีน้ำใช้การได้ 12,101 ล้าน ลบ.ม. ฤดูแล้งนี้จะจัดสรรน้ำในการทำนาทั่วประเทศไม่เกิน 7 ล้านไร่ ที่เหลือจะสนับสนุนการปลูกพืชใช้น้ำน้อย

สำหรับลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด ใน 4 เขื่อนใหญ่ คือ เขื่อนภูมิพล เขื่อนสิริกิติ์เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำใช้การได้จริงเมื่อวันที่ 26 สิงหาคมนี้ประมาณ 3,951 ล้าน ลบ.ม. คาดว่า ณ วันที่ 1 พฤศจิกายนนี้ที่จะเข้าสู่ฤดูแล้ง จะมีปริมาณน้ำในระดับ 9,000 ล้าน ลบ.ม. จึงมีน้ำเพียงพอในการอุปโภคบริโภคอย่างแน่นอน

แต่ที่น่าเป็นห่วงคือ การกำจัดผักตบชวาที่กีดขวางทางน้ำไหล และการสัญจรทางน้ำในฤดูฝน หลังจากกำจัดได้หมดที่เขื่อนเจ้าพระยา ขณะนี้เริ่มกำจัดที่เขื่อนพระราม 6 คลองมะขามเฒ่า-อู่ทอง ผ่านสุพรรณบุรีกำจัดแล้ว 90% สัปดาห์นี้จะกำจัดได้หมด ส่วนกรุงเทพมหานครจะกำจัดได้หมดภายในเดือนกันยายนนี้แม่น้ำแม่กลองภายในเดือนกันยายนนี้จะกำจัดได้หมด และในส่วนพื้นที่แม่น้ำที่กรมเจ้าท่าดูแลอยู่จะมีการบูรณาการร่วมกันกับกรมโยธาธิการและผังเมือง กรมชลฯ และฝ่ายความมั่นคงกำจัดร่วมกันต่อไป

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 1 กันยายน 2559

ลุ้นระทึกภัยแล้งปี'60 4 เขื่อนหลักน้ำไหลลงอ่างยังไม่เข้าเป้า 

          ตลอด 3 เดือนที่ผ่านมา ประเทศไทยยังคงมีฝนตกอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางความคาดหวังที่ว่าในฤดูแล้งหน้า ประเทศไทยจะมีปริมาณน้ำในเขื่อนเพียงพอต่อการอุปโภค-บริโภค พร้อมกับความคาดหวังสูงสุดที่ว่า ปริมาณน้ำที่ว่า จะเหลือเพียงพอต่อภาคการเกษตรด้วย

          ด้าน พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้แสดงความเป็นห่วงถึงสถานการณ์น้ำใช้การได้ใน 33 เขื่อนใหญ่ของประเทศว่า มีน้อยกว่า 30% โดยมีเขื่อนใหญ่ที่ต้องเฝ้าระวังมาก ได้แก่ เขื่อนกระเสียว มีน้ำใช้การได้ 8% เขื่อนจุฬาภรณ์ มีน้ำใช้การได้ 10% เขื่อนอุบลรัตน์ มีน้ำใช้การได้ 6% จากฤดูแล้งที่ผ่านมา ซึ่งเขื่อนอุบลรัตน์ต้องนำน้ำ Dead Storage มาใช้ ขณะนี้ปริมาณน้ำใช้การได้ดีกว่าเมื่อเทียบกับปี 2558 ที่ฝนหยุดเร็ว ดังนั้นน้ำที่ไหลเข้าเขื่อนปีนี้ น่าจะได้น้ำ "มากกว่า" ทั้งทางภาคเหนือกับภาคอีสาน

          "ปริมาณน้ำเริ่มดีกว่าปีที่แล้ว และน้ำจะไหลเข้าเขื่อนมากขึ้นในช่วงปลายปี ทางกรมฝนหลวงได้ขึ้นปฏิบัติการเติมน้ำเขื่อนในพื้นที่เป้าหมายเขื่อนหลัก นอกจากนี้ผมยังสั่งการให้กรมชลประทานบริหารจัดการน้ำที่ชัดเจนด้วยการเก็บน้ำในปีนี้ให้มากที่สุด เพื่อพลิกสถานการณ์น้ำกลับมา โดยผมมั่นใจว่าหน้าแล้งนี้ไทยจะมีน้ำอุปโภคบริโภคและรักษาระบบนิเวศได้เพียงพอ"

          เขื่อนสิริกิติ์ช่วยภาคกลาง

          อย่างไรก็ตาม หากเปรียบเทียบปริมาณน้ำปัจจุบันกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา จะพบว่า ณ วันที่ 30 สิงหาคม 2559 ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศอยู่ที่ 12,736 ล้าน ลบ.ม. หรือ 27% ขณะที่วันที่ 31 สิงหาคม 2558 ปริมาณน้ำอยู่ที่ 11,456 ล้าน ลบ.ม. หรือ 24% เท่ากับมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นมาเพียงแค่ 1,280 ล้าน ลบ.ม.เท่านั้น

          เฉพาะ 4 เขื่อนหลักที่ส่งผลกระทบต่อลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและ กรุงเทพมหานครพบว่า เขื่อนภูมิพล มีปริมาณน้ำใช้การได้ 873 ล้าน ลบ.ม. หรือ 9% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา มีปริมาณน้ำ 563 ล้าน ลบ.ม. หรือ 6% ซึ่งต่ำมาก โดยมีปริมาณน้ำไหลเข้าเขื่อนเพียงวันละ 24.20 ล้าน ลบ.ม.เท่านั้น ในขณะที่ เขื่อนสิริกิติ์ มีปริมาณน้ำ 2,851 ล้าน ลบ.ม. หรือ 43% เทียบกับ ช่วงเดียวกันปริมาณน้ำ 970 ล้าน ลบ.ม. หรือ 15% แต่มีน้ำไหล เข้าเขื่อนวันละ 72.17 ล้าน ลบ.ม. รวม 2 เขื่อนรวมกันมีปริมาณน้ำ 3,723 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 23% น้ำไหลเข้าอ่างวันละ 96.37 ล้าน ลบ.ม.

          ส่วนเขื่อนแควน้อยบำรุงแดน มีปริมาณน้ำใช้การได้ 305 ล้าน ลบ.ม. หรือ 34% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา มีปริมาณน้ำ 196 ล้าน ลบ.ม. หรือ 22% น้ำไหลลงอ่างวันละ 5.87 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีปริมาณน้ำใช้การได้ 237 ล้าน ลบ.ม. หรือ 26% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา มีปริมาณน้ำ 115 ล้าน ลบ.ม. หรือ 12% มีน้ำไหลลงอ่าง 13.65 ล้าน ลบ.ม.

          เท่ากับในสถานการณ์แล้งปี 2560 ตอนนี้พอมองออกแล้วว่า ในเขื่อนหลักทั้ง 4 เขื่อน สถานการณ์น้ำที่น่าเป็นห่วงที่สุด ก็คือ เขื่อนภูมิพล ที่มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างน้อยมาก น่าจะส่ง ผลกระทบต่อการทำนาในลุ่มน้ำเจ้าพระยาค่อนข้างแน่นอน โดย "น้ำ" จากเขื่อนสิริกิติ์จะเป็นตัวหลักในเรื่องของน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภค และการผลักดันน้ำเค็มไม่ให้ไหลย้อนมาถึงแหล่งน้ำดิบ

          12 เขื่อนอาการน่าเป็นห่วง

          ด้านปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่นอกเหนือไปจาก 4 เขื่อนหลักข้างต้นพบว่า มีถึง 12 เขื่อนที่มีปริมาณน้ำใช้การน้อยกว่า 20% กระจายอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก โดยเขื่อนที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดจะได้แก่

          เขื่อนอุบลรัตน์ มีปริมาณน้ำใช้การได้จริงแค่ 102 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 6% แต่ยังมีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจคือ วันละ 21.05 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนนฤบดินทรจินดา จ.ปราจีนบุรี มีปริมาณ 20 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 7% มีน้ำไหล ลงอ่างวันละ 4.90 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนกระเสียว มีปริมาณน้ำ 16 ล้าน ลบ.ม. หรือคิดเป็น 8% มีน้ำไหลลงอ่างวันละ 8.39 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนลำพระเพลิง มีปริมาณน้ำ 16 ล้าน ลบ.ม. หรือ 10% มีน้ำไหลลงอ่างวันละ 0.80 ล้าน ลบ.ม. และเขื่อนลำตะคอง มีปริมาณน้ำ 34 ล้าน ลบ.ม. หรือ 12% มีน้ำไหลลงอ่างวันละ 0.25 ล้าน ลบ.ม.เท่านั้น

          นั่นหมายความว่าจังหวัดที่มีความเสี่ยงที่จะต้องเผชิญกับสถานการณ์ภัยแล้งเมื่อปีที่ผ่านมา จะได้แก่จังหวัดตาก-กำแพงเพชร และบางส่วนของ จ.นครสวรรค์ ในกรณีของเขื่อนภูมิพล จังหวัดขอนแก่น ในกรณีของเขื่อนอุบลรัตน์ จังหวัดสุพรรณบุรี ในกรณีของเขื่อนกระเสียว และจังหวัดนครราชสีมา ในกรณีของเขื่อน ลำตะคอง-ลำพระเพลิง ซึ่งมีปริมาณน้ำไหลลงอ่างน้อยมาก

          นายสุทธิโรจน์ กองแก้ว ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง กล่าวว่า เขื่อนลำตะคองมีแผนการปล่อยน้ำวันละ 430,000 ลบ.ม. เพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภคใน 5 อำเภอ คือ สีคิ้ว-ขามทะเลสอ-สูงเนิน-อ.เมือง-เฉลิมพระเกียรติ โดยมีการประปาที่ดึงน้ำไปใช้จากเขื่อนลำตะคอง 81 แห่ง ทั้งประปา อบต. เทศบาล และภูมิภาค จากการประเมินสถานการณ์ในขณะนี้ยังคงมีน้ำใช้เพียงพอต่อความต้องการ ยังไม่ถึงขั้นขาดแคลนน้ำและยังคงมีฝนตกลงมาเป็นระยะ

          สำหรับแผนรับมือระยะสั้นได้ทำการประสานงานกับหน่วยปฏิบัติการฝนหลวง เพื่อทำฝนหลวงให้มีฝนตกลงในพื้นที่ลำตะคองในช่วงเดือนสิงหาคม-ตุลาคมนี้ ส่วนในเขตเทศบาลนครโคราชใช้น้ำของ การประปาเทศบาลนครโคราชและภูมิภาค มีการสูบน้ำจากเขื่อนลำแชะ อ.ครบุรี และการสูบน้ำจากเขื่อนลำพระเพลิงด้วย

          นายอนุรักษ์ ธีระโชติ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานยะลา ยังได้กล่าวถึงสถานการณ์น้ำในเขื่อนบางลางอยู่ในขั้นวิกฤตหนักในรอบ 30 ปี ตั้งแต่ได้สร้างเขื่อนมา ปัจจุบันน้ำต้นทุนเหลือเพียง 30% ของความจุอ่าง หรือเหลือเพียง 446 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งต้อง ระบายน้ำเพื่อใช้ในการอุปโภคบริโภค และรักษาระบบนิเวศถึงวันละ 2 ล้าน ลบ.ม. ในจังหวัดยะลา ปัตตานี

          หากฝนไม่ตกลงมาเติม สถานการณ์ลากยาวไปจนถึงปลายเดือนตุลาคม จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงมาก

          น้ำน้อยกดดันภาคเกษตร-การบริโภค

          ด้าน ดร.เบญจรงค์ สุวรรณคีรี หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารกลยุทธ์องค์กร ธนาคารทหารไทย กล่าวว่า แม้ขณะนี้จะมีปริมาณน้ำฝนไหลเข้าไปเติมเขื่อนหลายแห่งมากขึ้น แต่ภาพรวมของปริมาณน้ำในเขื่อนทั่วประเทศเริ่มต้นปี 2559 ยังอยู่ในระดับ "ต่ำกว่า"ปีก่อนหน้านี้ ดังนั้นจึงยังต้องเฝ้าติดตามว่า ในอีก 2 เดือนสุดท้ายของฤดูฝนปีนี้ถึงช่วงปลายปีจะมีปริมาณน้ำไหลลงเขื่อนอยู่ในระดับที่เพียงพอหรือไม่ โดยเฉพาะเขื่อนในภาคอีสาน เนื่องจากตอนนี้ใน 4 เขื่อนใหญ่มีเพียงแห่งเดียวที่ปริมาณน้ำเข้าสู่ภาวะปกติ (เขื่อนสิริกิติ์) แต่อีก 3 เขื่อนยังต่ำกว่าปกติ

          "ช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนยังต้องจับตาอยู่ว่า ปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนใหญ่จะเข้าสู่ภาวะปกติจริง ๆ หรือไม่ หากน้ำยังน้อย พอถึงต้นปี 2560 ก็อาจประสบปัญหาภัยแล้ง และเป็นปัจจัยกดดันภาคการเกษตร กดดันการฟื้นตัวของการบริโภคภายในประเทศ ซึ่งธนาคารยังคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีหน้าว่า การบริโภคภายในประเทศยังไม่เข้าสู่ภาวะปกติ เศรษฐกิจโตได้ด้วยแรงผลักดันของการลงทุนภาครัฐและท่องเที่ยวอยู่ แม้ในไตรมาส 2/2559 จะมีการขยายตัวของการบริโภคภาคเอกชนสูงถึง 3.8% โตแซงหน้า GDP ที่โต 3.5% แต่เป็นการโตจากปัจจัยชั่วคราว ยังไม่ใช่การฟื้นตัวจริง ๆ ขณะที่เรายังมีเรื่องราคาสินค้าเกษตรและหนี้ครัวเรือนกดดันการบริโภคภายในประเทศอยู่" นายเบญจรงค์กล่าว

จาก http://www.prachachat.net  วันที่ 1 กันยายน 2559

2ปีที่ชลประทานเพิ่มล้านไร่

“ฉัตรชัย” เผยแผนยุทธศาสตร์น้ำผ่านไป 2 ปี ช่วยเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ 1.35 ล้านไร่

พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า ผลจากยุทธศาสตร์น้ำ ปี 2558-2569 ที่คณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติ

(กนช.) เข้ามาดำเนินการ ปรากฏว่าการดำเนินการในปี 2557-2559 สามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ 1.35 ล้านไร่ เพิ่มปริมาณน้ำได้ 756 ล้านลูกบาศก์เมตร (ลบ.ม.) จากเดิมที่กรมชลประทานมีพื้นที่ชลประทานก่อนที่คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จะเข้ามาบริหารประเทศ 30.22 ล้านไร่

ขณะที่ปี 2560 คาดว่าจะเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้อีก 3.8 แสนไร่ เพิ่มปริมาณน้ำได้ 420 ล้าน ลบ.ม. ส่วนปี 2561-2569 จะต้องใช้งบประมาณเท่าไรนั้นอยู่ที่ กนช.จะพิจารณาแผนงานและโครงการในอนาคต โดยเฉพาะโครงการผันน้ำในฝั่งตะวันตกและตะวันออก ซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาโครงการทั้งฝั่งแม่น้ำโขงและแม่น้ำสาละวิน แต่ต้องการให้ใช้น้ำในประเทศก่อนที่จะไปใช้น้ำนานาชาติ

“หากดำเนินการตามแผนน้ำ 2558-2569 จะสามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ 7.47 ล้านไร่ เพิ่มปริมาณน้ำได้ 4,098 ล้าน ลบ.ม. นอกจากนี้ผมยังให้กรมชลประทานไปทำยุทธศาสตร์น้ำฉบับใหม่ปี 2570-2579 เพื่อพัฒนาพื้นที่ชลประทานเพิ่มให้สอดรับกับแผนปฏิรูปประเทศ 20 ปีด้วย“

พล.อ.ฉัตรชัย กล่าว พล.อ.ฉัตรชัย กล่าวอีกว่า ได้สั่งการให้เร่งทำฝนหลวงเพื่อเติมน้ำในเขื่อนภูมิพลในช่วงที่อากาศเหมาะสม เนื่องจากปริมาณน้ำยังวิกฤต โดยมีปริมาณน้ำใช้การได้ประมาณ 893 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณ 7% เท่านั้น แต่ปริมาณน้ำใน 4 เขื่อนใหญ่ลุ่มเจ้าพระยามีปริมาณน้ำใช้การได้ 4,357 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งมากกว่าช่วงเดียวกันของปี 2558 ที่มีปริมาณ 1,800 ล้าน ลบ.ม.

ด้าน นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ อธิบดีกรมชลประทาน กล่าวว่า ตามแผนยุทธศาสตร์น้ำปี 2558-2559 สามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ 1.35 ล้านไร่ เป้าหมายปี 2560 จะเพิ่มอีก 3.8 แสนไร่ งบประมาณ 4.8 หมื่นล้านบาท ส่วนปี 2561-2564 จะเพิ่ม 4.87 ล้านไร่ และปี 2565-2569 จะเพิ่มตามแผนยุทธศาสตร์น้ำปี 2558-2559 สามารถเพิ่มพื้นที่ชลประทานได้ 1.35 ล้านไร่ เป้าหมายปี 2560 จะเพิ่มอีก 3.8 แสนไร่ งบประมาณ 4.8 หมื่นล้านบาท ส่วนปี 2561-2564 จะเพิ่ม 4.87 ล้านไร่ และปี 2565-2569 จะเพิ่ม 2.10 ล้านไร่ ซึ่งงบประมาณจะอยู่ที่การอนุมัติโครงการ ขณะที่แผนปี 2570-2579 กรมชลประทานจะเพิ่มพื้นที่ชลประทานให้ได้อีก 10 ล้านไร่ ซึ่งขณะนี้กรมทรัพยากรน้ำ ซึ่งเป็นเลขานุการคณะกรรมการ กนช. อยู่ระหว่างการจัดทำรายละเอียด

เมื่อเร็วๆ นี้ กรมชลประทาน กรมส่งเสริมการเกษตร กรมการข้าว และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ร่วมกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ลงนามบันทึกข้อตกลงการร่วมกันพัฒนาข้อมูลพื้นที่เพาะปลูกข้าวของประเทศไทยจากภาพถ่ายดาวเทียม โดยใช้ดาวเทียมติดตามพื้นที่เพาะปลูกข้าวทุกๆ 15 วัน

จาก http://www.posttoday.com  วันที่ 1 กันยายน 2559

ลุยขยายท่อขนส่งน้ำมันภาคอีสาน

พล.อ.อนันตพร กาญจนรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) มีมติเมื่อวันที่ 13 ส.ค.58 เห็นชอบให้กระทรวงพลังงานดำเนินโครงการ ขยายระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อไปยังภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นโครงการที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งน้ำมันของประเทศ โดยมอบหมายให้กรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.) เป็นผู้ดำเนินการพิจารณาสนับสนุนผู้ลงทุนที่จะมาพัฒนาโครงการฯ เพื่อให้เกิดการแข่งขันเสรี เพื่อให้ระบบการขนส่งน้ำมันของประเทศมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด

โดยปัจจุบันมีผู้สนใจลงทุนในการขยายระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อทั้ง 2 เส้นทางเรียบร้อยแล้วและในวันที่ 31 ส.ค.59 ธพ.ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) กับบริษัท ไทย ไปป์ไลน์ เน็ตเวิร์ค จำกัด (TPN) ภายใต้กลุ่มบริษัท เอส ซี กรุ๊ป (SCGroup) เพื่อสนับสนุนโครงการขยายระบบขนส่งน้ำมันทางท่อไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในการประสานขอความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องในการวางท่อขนส่งน้ำมัน การออกใบอนุญาตให้ผู้ลงทุน และให้ข้อเสนอแนะ แนะนำ รวมถึงข้อคิดเห็นต่อการดำเนินงาน ให้สอดคล้องกับแนวนโยบายของรัฐ ในโครงการขยายระบบขนส่งน้ำมันทางท่อไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากที่ก่อนหน้านี้ทาง ธพ.ได้มีการลงนาม MOU กับทางบริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด (FPT) เพื่อลงทุนก่อสร้างขยายระบบท่อน้ำมันไปยังภาคเหนือแล้ว

พล.อ.อนันตพร กล่าวว่า สำหรับโครงการขยายระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น จะทำการต่อขยายจากระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อที่มีอยู่เดิมของบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด (THAPPLINE) ที่คลังน้ำมัน อ.เสาไห้ จ.สระบุรี ไปยังคลังน้ำมันปลายทางที่ จังหวัดขอนแก่น เป็นระยะทางประมาณ 350 กิโลเมตร ใช้งบประมาณในการลงทุนประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งหลังจากที่ ธพ.ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) แล้ว ทางบริษัทฯ จะไปดำเนินการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ต่อไป และคาดว่าจะสามารถเริ่มก่อสร้างได้ต้นปี 2561 และเปิดใช้งานได้ปลายปี 2563 ตามแผนที่ได้วางไว้

 “โครงการขยายระบบการขนส่งน้ำมันทางท่อไปยังภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งจะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ในการก้าวสู่การเป็นศูนย์กลางพลังงานของภูมิภาค ลดความสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงในการขนส่ง ลดปัญหาด้านอุบัติเหตุรวมถึงแก้ปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม ยังเป็นโครงการฯ สำคัญที่มีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศด้วยมูลค่าการลงทุน 2 เส้นทาง รวมเกือบ 2 หมื่นล้านบาท”

จาก http://www.banmuang.co.th  วันที่ 1 กันยายน 2559